You are on page 1of 166

คู่ มื อ ก า ร ขั บ เ ค ลื่ อ น ก า ร ใ ช้

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้ นฐาน
พุ ทธศักราช ๒๕๕๑
เพื่ อพั ฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(ACTIVE LEARNING) และการประเมินสมรรถนะ
ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
คู่มือการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
และการประเมินสมรรถนะ
ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
(17 มิถุนายน 2565)
คำนำ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ตั้ง “สพฐ. ONE TEAM” ซึ่งเป็นการผนึกกำลั ง
และรวมตัวของสํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) สํานักงาน
บริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา (สบว.) และ
หน่ว ยศึกษานิเทศก์ (ศนฐ.)ร่ว มกัน ดำเนินการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางกา รศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และ
การประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำ “คู่มือการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) และการประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด”
ขึ้น สำหรับใช้ประกอบการอบรมและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้แก่ ผู้บริหาร รองผู้บริหารสถานศึกษา
ศึ ก ษานิ เ ทศก์ และครู ผ ู ้ ส อน สำหรั บ การนำไปจั ด ทำหลั ก สู ต รสถานศึก ษาเพื ่ อ พั ฒ นาสมรรถนะผู ้เ รียน
ตามหลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั ้ น พื ้ น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๑ ได้ แ ก่ ความสามารถในการสื ่ อ สาร
ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถใน
การใช้เทคโนโลยี ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ คณะวิทยากร และคณะทำงาน
ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำคู่มือฉบับนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือฉบับนี้จะเป็น
ประโยชน์สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ในการนำคู่มือไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการ
จัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะทีจ่ ำเป็นในศตวรรษที่ 21

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ตอนที่ 1 โครงการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
และการประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด ๑
๑. หลักการและเหตุผล ๑
๒. วัตถุประสงค์ ๓
๓. เป้าหมายการดำเนินงาน ๓
๔. กลุ่มเป้าหมาย ๓
๕. วิธีดำเนินงาน ๓
๖. ผู้รับผิดชอบโครงการ 4
ตอนที่ ๒ รูปแบบและแนวคิดการดำเนินงาน ๕
๑. แนวคิดการดำเนินงาน ๕
๒. เนื้อหาสาระการอบรม ๕
๓. โครงสร้างของกิจกรรม ๖
๔. ตารางการดำเนินงาน 10
5. คณะวิทยากร 11
ตอนที่ ๓ กิจกรรมการฝึกอบรม 14
กิจกรรมที่ 1 การสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน 15
ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
กิจกรรมที่ 2 การทบทวนหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน และการพัฒนา 37
หลักสูตรสถานศึกษา
กิจกรรมที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ 48
และการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
กิจกรรมที่ 4 การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนา 55
สมรรถนะผู้เรียน
สารบัญ (ต่อ)
เรื่อง หน้า

กิจกรรมที่ ๕ การทบทวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสะท้อนคิดจากการปฏิบัติงาน 90


๕.๑ การบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน 90
ของผู้บริหารสถานศึกษา
๕.๒ การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนา 109
สมรรถนะผู้เรียน ของรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ/
หัวหน้างานหลักสูตร/ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
๕.๓ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือวัด 118
และประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ของครูผู้สอน
๕.๔ การจัดทำแผนการนิเทศ กำกับ และติดตามผลการอบรม 131
ของศึกษานิเทศก์
กิจกรรมที่ ๖ การวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 144
พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
ตอนที่ 4 การติดตามและประเมินผล 149

คณะทำงาน 160
1

ตอนที่ ๑
โครงการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
และการประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด

1. หลักการและเหตุผล
โลกในปัจจุบ ันเป็นโลกยุค โลกาภิวัตน์ วิทยาการต่าง ๆ และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้า และ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะและความสามารถในการปรับตัว
มีคุณลักษณะสำคัญในการดำรงชีวิตในโลกยุคไร้พรมแดนได้อย่างรู้เท่าทัน สงบ สันติ มีความสุข มีคุณภาพชีวิต
ที่ดี เหมาะสม และเพียงพอ
การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ให้ความสำคัญกับการพัฒ นาสมรรถนะของผู้เรียนให้ทันต่อ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในปัจจุบันและอนาคต และการเผชิญต่อความท้าทายกับชีวิตวิถใี หม่
ดังนั้น การจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ให้มีหลากหลายเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่
การเป็นผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา
ของชาติ และแผนการปฏิ ร ู ป ด้ า นการศึ ก ษา กิ จ กรรมการพั ฒ นาการจั ด การเรี ย นการสอนสู่ การเรียนรู้
ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
กระทรวงศึกษาธิการได้ป ระกาศใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีลักษณะเป็น “หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards - based Curriculum)” มีลักษณะสำคัญ
คื อ มี ม าตรฐานการเรี ย นรู ้ แ ละตั ว ชี ้ ว ั ด สมรรถนะสำคั ญ ของผู ้ เ รี ย น และคุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์
เป็นจุดหมายสำคัญสำหรับการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยหลักสูตรแกนกลางฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย
สมรรถนะสำคัญของผู้เรีย น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัว ชี้ว ัด ๘ กลุ่มสาร ะ
การเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเรียนรู้
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้การศึกษาต่อ การดำรงชีวิต การทำงาน และ
การประกอบอาชีพ รวมทั้งมีเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริย ธรรม และค่านิยมที่ดีเพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน
ในสังคมไทย ประชาคมอาเซียน และสังคมโลก
นอกจากส่ว นที่ร ะบุไว้เป็น คุณภาพมาตรฐานการเรียนรู้ที่เป็นจุดร่ว มสำหรับพัฒนาผู้เรียนทุ กคน
ในประเทศแล้ว หลักสูตรแกนกลางฯ ได้เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรใน
ส่ ว นสาระการเรี ย นรู ้ เพิ ่ มเติ ม ให้ ส อดคล้ อ ง เหมาะสมกั บสภาพ บริ บท และความต้ อ งการของตนเอง
การพัฒนาหลักสูตรในส่วนนี้ จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ทุกระดับทั้งระดับชาติ
เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา ตลอดจนชุมชนผู้เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งรวมถึงภาคธุรกิจ
ในการระดมความคิด วางแผน ระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรเป็นไปอย่างมีคุณภาพ
และประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร
สำหรับการนำหลัก สูตรไปสู่การปฎิบัติ เขตพื้นที่การศึกษาจะจัดทำกรอบหลักสูตรระดับท้ องถิ่น
โดยจัดทำเป็นสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และ
นำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง เขตพื้นที่
การศึกษาจะทำหน้าที่นิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการนำหลักสูตรไปสู่การปฎิบัติ
2

สถานศึกษามีบทบาทในการนำหลักสูตรแกนกลางฯ สู่การปฏิบัติทั้งในส่วนของการจัดทำหลักสูตร
สถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน หลักสูตรสถานศึกษาจะต้องสอดคล้องเหมาะสมกั บบริบท
ความพร้อมของสถานศึกษา และความต้องการและความถนัดของผู้เรียน โดยหลักสูตรที่สถานศึกษาจัดทำขึ้น
จะต้องครอบคลุมส่วนที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ เพราะเป็นความคาดหวังร่วมกัน
ในการพัฒนาเยาวชนทุกคนในชาติ อีกทั้งจะต้องสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และ
จุดเน้น ความต้องการของสถานศึกษานั้น ๆ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
และคุณภาพของผู้เรียน โดยให้ความสำคัญ ในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการจัด
การศึกษาของ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายที่ 1 การปรับหลักสูตร
และกระบวนการเรียนรู้ ให้ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นไปตามแผนการ
ปฏิ ร ู ป ประเทศ ฉบั บ ปรั บ ปรุ ง ที ่ ใ ห้ ม ี ก ารปฏิ รู ป การเรี ย นรู ้ โดยการปรั บ เปลี ่ ย นการเรี ย นการสอน
ตามหลักสูตรอิงมาตรฐานในปัจจุบัน ไปสู่การเรียนรู้ที่พัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
สามารถดำเนินการได้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้
โดยการบูรณาการตัวชี้วัดและการบูรณาการข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป็นหน่ว ยการเรีย นรู้
ที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของนักเรียน และชุมชน โดยใช้การจัดการเรียนรู้
แบบ Active Learning ในการจัดการเรี ยนการสอน เพื่อให้นั กเรีย นได้ล งมื อ ปฏิบ ัต ิจริง เกิดการเรี ย นรู้
ด้วยตนเอง มีความสุขในการเรียน และนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษา
ขั้น พื้น ฐานของประเทศ ตระหนักถึ งความสำคั ญ และความจำเป็น ที่ จ ะต้ อ งพัฒ นาหลั กสู ตรและการจั ด
การเรียนรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการศึกษาไทยให้พร้อมสำหรับโลกในยุคศตวรรษที่ 21 จึงได้ ผลึกกำลัง
โดยตั้งทีมงาน “สพฐ. ONE TEAM” ซึ่งเป็นการรวมตัว กันของสำนักต่าง ๆ ในสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สำนักทดสอบทางการศึกษา
(สทศ.) สํานักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) สำนัก บริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์
ศึกษา (สบว.) และหน่วยศึกษานิเทศก์ (ศนฐ.) ร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ในการขับเคลื่อนผู้นำวิชาการครบทุกกระบวนการลงสู่ห้องเรียน
ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ
และสามารถขับ เคลื่ อนการใช้ ห ลั กสู ตรแกนกลางการศึก ษาขั ้น พื้ นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อพั ฒ นา
สมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) รวมทั้งสามารถพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษาและบริหารจัดการหลั กสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตาม
สมรรถนะสำคั ญ ของผู ้ เ รี ย น ๕ ประการ ได้ แ ก่ ความสามารถในการสื ่ อ สาร ความสามารถในการคิ ด
ความสามารถในการแก้ ป ั ญหา ความสามารถในการใช้ท ั กษะชีว ิ ต และความสามารถในการเทคโนโลยี
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้ วัด และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำคู่มือการขับเคลื่อนการใช้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติ
จริงและการสะท้อนคิดขึ้น เพื่อใช้ประกอบในการอบรม และขยายผลการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สำหรับสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างการรับ รู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ การพัฒ นาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัด
การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติ จริง
และการสะท้อนคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย การจัดทำ
หลักสูตรสถานศึกษา การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล
ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
2. เพื่อทบทวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนคิด และวางแผนการขับเคลื่อนการใช้ห ลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
3. เป้าหมายการดำเนินงาน
ผู้บ ริห ารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ/ หัว หน้างานหลักสูตร / หัว หน้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน ๗ จุดอบรม
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีการทบทวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนคิด และวางแผนการขับเคลื่อนการใช้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
4. กลุ่มเป้าหมาย
ผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ/
หัวหน้างานหลักสูตร/ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์ จากสำนักงานเขตพื้น ที่
การศึกษาต้นแบบ จำนวน ๗ จุดอบรม โดยจัดขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ๒๕๖๕ ดังนื้
จุดที่ ๑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร (จำนวน ๓๐๖ คน)
จุดที่ ๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี (จำนวน ๕๑๕ คน)
จุดที่ ๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๒
จุดที่ ๔ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่
จุดที่ ๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1
จุดที่ ๖ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
จุดที่ ๗ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
๕. วิธีดำเนินงาน
วิธีการดำเนินงานครั้งนี้ ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
๑. การพัฒนาคู่มือการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
เพื่อพัฒ นาสมรรถนะผู้เรีย น ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการประเมิน
สมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด
๒. การเตรียมสื่อและเอกสารประกอบการดำเนินงานขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้น ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ เรี ยน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ เชิ งรุ ก (Active
Learning) และการประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด
๓. การดำเนินงานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และ
การประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด
4

๔. การวิเคราะห์ สรุปผล และเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลาง


การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) และการประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด
๕. การเผยแพร่ร ายงานผลการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั ้ น พื ้ น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๑ เพื ่ อพั ฒ นาสมรรถนะผู ้ เรี ย น ผ่ านกระบวนการจั ด การเรี ย นรู ้ เชิ ง รุ ก
(Active Learning) และการประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด
๖. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.)
สำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.)
สํานักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.)
สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา (สบว.)
หน่วยศึกษานิเทศก์ (ศนฐ.)
5

ตอนที่ ๒
รูปแบบและแนวคิดการดำเนินงาน

๑. แนวคิดการดำเนินงาน
แนวคิดการดำเนินงานสำหร้บ ใช้ในการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และ
การประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด ประกอบด้วยแนวคิด
๑) การฝึกอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – based Training) ๒) การสะท้อนคิด(Reflection) จาก
ผลการปฏิบัติงานจริงในโรงเรียน ๓) การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง (Learning by doing) ๔) การทำงาน
กลุ่ม (Group working) และ ๕) การจับคู่เรียนรู้และแลกเปลี่ยน (Pair and Share) จากประสบการณ์ร่วมกัน
ระหว่างบุคคลทั้งในและนอกโรงเรียน
๒. เนื้อหาสาระการอบรม
เนื้อหาสาระการอบรมเพื่อขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
๒๕๕๑ เพื ่ อ พั ฒ นาสมรรถนะผู ้ เ รี ย น ด้ ว ยกระบวนการจั ด การเรี ย นรู ้ เ ชิ ง รุ ก ( Active Learning) และ
การประเมิ น สมรรถนะ ด้ ว ยกระบวนการฝึ ก อบรมจากการปฏิบ ัต ิ จริง และการสะท้อ นคิด ประกอบด้วย
การเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดของเนื้อหา จำนวน ๖ เรื่อง ดังนี้
1. การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
2. หลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
3. การกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้และการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนา
สมรรถนะผู้เรียน
4. การวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
๕. การสะท้อนคิดจากการปฏิบัติงาน จำนวน ๔ เรื่อง
๕.๑ การบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษา
๕.๒ การบริ ห ารจั ด การหลั ก สู ต รสถานศึ ก ษาที ่ เ อื ้ อ ต่ อ การพั ฒ นาสมรรถน ะผู ้ เ รี ย นของ
รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ/ หัวหน้างานหลักสูตร/ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
๕.๓ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนา
สมรรถนะผู้เรียนของครูผู้สอน
๕.๔ การจัดทำแผนการนิเทศ กำกับ และติดตามผลการอบรมของศึกษานิเทศก์
๖. การวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
6

๓. โครงสร้างของกิจกรรม
โครงสร้างของกิจกรรมทั้ง ๖ กิจ กรรม มีรายละเอียดเกี่ยวกับวั ตถุประสงค์ ขอบข่ายเนื้อหา และ
ลักษณะการจัดกิจกรรม ดังนี้
หัวข้อ รายละเอียด
กิจกรรมที่ ๑ การสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
วัตถุประสงค์ เพื ่ อ สร้ า งการรั บ รู ้ แ ละความเข้ า ใจเกี ่ ย วกั บ การพั ฒ นาสมรรถนะผู ้ เ รี ย น
ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ขอบข่ายเนื้อหา - นโยบายการจัดการศึกษา
- ตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
- ตัวชี้วัดผู้บริหารและครู ของแผนปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา
- การพัฒนาการเรียนการสอนสมรรถนะผู้เรียนสูศ่ ักยภาพเด็กไทยในศตวรรษที่ 21
- กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การพัฒนาสมรรถนะ
ผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
- แนวคิด ทฤษฎี การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
- ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ลักษณะการจัดกิจกรรม ๑. การรับฟังการบรรยายจากวิทยากร
๒. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กิจกรรมที่ ๒ การทบทวนหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
๒. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อ
การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
ขอบข่ายเนื้อหา จากหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
- การพัฒนาสมรรถนะ
- การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
- การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนที่เหมาะสม
- การประเมินแนวใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะผู้เรียน
- มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561
- การเชื่อมโยงสมรรถนะ กับสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตร
แกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางฯ วิสัยทัศน์
หลักสูตร สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๕ ประการ มาตรฐานการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ
จากหลักสูตรสู่การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
- หลักการของหลักสูตรแกนกลางฯ หลักสูตรอิงมาตรฐาน
- การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- การนำหลักสูตรแกนกลางฯ ไปสู่การปฏิบัติ
7

หัวข้อ รายละเอียด
- โครงสร้างเวลาเรียน รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
และกิจกรรมเสริมหลักสูตร
- จากหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
- ความเคลื่อนไหวของหลักสูตรแกนกลาง 2551 เช่น การปรับมาตรฐาน
การเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระ
ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ.2560) การปรับโครงสร้างเวลาเรียนให้ยืดหยุ่น ตัวชี้วัดต้องรู้
และตัวชี้วัดควรรู้
- การบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา
- การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
- การส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ลักษณะการจัดกิจกรรม ๑. การรับฟังการบรรยายจากวิทยากร
๒. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กิจกรรมที่ ๓ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้และการออกแบบ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบและ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมปรับปรุงหน่วยและแผนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ
การออกแบบและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ขอบข่ายเนื้อหา ๑. การกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๑๕๕๑
๒. การออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
ลักษณะการจัดกิจกรรม 1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. การฟังบรรยาย
3. การฝึกปฏิบัติ
4. การนำเสนอผลงาน
กิจกรรมที่ ๔ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลที่
มุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
๒. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลที่
มุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
ขอบข่ายเนื้อหา การวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
ลักษณะการจัดกิจกรรม 1. การฟังบรรยาย
2. การศึกษาเอกสารเสริมความรู้
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสะท้อนคิด
4. การทำใบงาน
8

หัวข้อ รายละเอียด
กิจกรรมที่ ๕ การทบทวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสะท้อนคิดจากการปฏิบัติงาน
๕.๑ การบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษา
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อฝึกทักษะสำคัญของการบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนา
สมรรถนะของผู้เรียน
2. เพื่อวิเคราะห์จุดเด่น/จุดพัฒนาของการบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการ
พัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
3. เพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
4. เพื่อฝึกสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองได้ อธิบายหลักการและเทคนิคการ
สะท้อนการเรียนรู้
ขอบข่ายเนื้อหา 1. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการปรับการเรียนรู้สู่สมรรถนะ: เป็นการกำหนด
วิสัยทัศน์ สมรรถนะผู้เรียนและกลยุทธ์สำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนที่
แท้จริง
2. นวัตกรรมการเรียนรู้ที่สร้างให้เกิดผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน บริบทแวดล้อมการเรียนรู้
(SEL) และการช่วยเหลือครูนำสู่การใช้จริงในห้องเรียน
3. การพัฒนาบุคลากรแบบ 70-20-10
70% มาจากการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติงานจริง
20% มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
10% มาจากการรับความรู้รูปแบบต่าง ๆ เช่น การอบรม การศึกษาต่อ
4. Bridge leadership และ Collective leadership เป็ น ภาวะผู ้ น ำที ่ ใ ช้
ในการสร้างความมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่งเสริมการทำงาน
ร่วมกันเป็นองค์รวมขององค์กร
4.1 Bridge Leadership เป็ น ภาวะผู้ น ำที ่ ส ่ ง เสริ ม กระบวนการของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเพื่อจัดการกับความไม่เท่าเทียมกันและสร้าง
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม: การสร้างความเป็นเจ้าของ การพัฒนาความเป็น
เจ้าของร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ และร่วมกันมีส่วนร่วมในการสร้าง
ความเป็นจริงใหม่
4.2 Collective leadership เป็ น การทำงานเคี ย งบ่ า เคี ย งไหล่ ร ่ ว มกั น
กับบุคคล/หน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพ ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน และ
ร่วมมือกันในการพัฒนางานให้สำเร็จ
5. Ladder feedback คือ บันไดการให้ข้อเสนอแนะ เป็นรูปแบบการประเมิน
เพื่อเข้าใจ และสร้างวัฒนธรรมของความไว้วางใจและการส่งเสริมทางบวก ซึ่ง
บันไดให้ข้อเสนอแนะนี้จะทำตามลำดับ 4 ขั้นตอน คือ สร้างความชัดเจน สร้าง
ค่านิย ม สร้างความตระหนัก และสร้างค่านิยม เป็นแนวคิดการพั ฒ นา
ทรัพยากรมนุษย์ โดยเทียบกระบวนการในการพัฒนาคนเป็น 100%
ลักษณะการจัดกิจกรรม 1. การรับฟังการบรรยายจากวิทยากร
2. การประเมินตนเอง
3. การปฏิบัติงานกลุ่ม
4. การระดมสมอง
9

หัวข้อ รายละเอียด
๕.๒ การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของ
รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ/ หัวหน้างานหลักสูตร/ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อทบทวน ตรวจสอบหลักสูตรสถานศึกษา
๒. เพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพั ฒนา
สมรรถนะผู้เรียน
ขอบข่ายเนื้อหา - การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
- การตรวจสอบองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา
- การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
ลักษณะการจัดกิจกรรม ๑. การรับฟังการบรรยายจากวิทยากร
๒. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การปฏิบัติงานกลุ่ม
๕.๓ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนา
สมรรถนะผู้เรียนของครูผู้สอน
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบและ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมปรับปรุงหน่วยและแผนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ
การออกแบบและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ขอบข่ายเนื้อหา - การกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๑๕๕๑
- การออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
ลักษณะการจัดกิจกรรม 1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. การฟังบรรยาย
3. การฝึกปฏิบัติ
4. การนำเสนอผลงาน
๕.๔ การจัดทำแผนการนิเทศ กำกับ และติดตามผลการอบรมของศึกษานิเทศก์
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อวางแผนการนิเทศ ติดตาม การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ระดับเขตพื้นที่และรายบุคคล
๒. เพื่อออกแบบกิจกรรมการนิเทศในชั้นเรียน/การสังเกตการสอน
๓. เพื่อฝึกปฏิบัติ/ สาธิตการนิเทศชั้นเรียนด้วยกระบวนการ Coaching &
Mentoring และวิธีอื่น ๆ
ขอบข่ายเนื้อหา ๑. การดำเนินงานนิเทศ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของเขต
พื้นที่ (สภาพปัจจุบัน ปัญหา จุดเด่น จุดพัฒนา และอื่น ๆ)
๒. การนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
๓. การนิเทศในชั้นเรียน/การสังเกตการสอนในชั้นเรียน
1) ขั้นก่อนการนิเทศ
2) ขั้นระหว่างการนิเทศ
3) ขั้นหลังการนิเทศ
10

หัวข้อ รายละเอียด
ลักษณะการจัดกิจกรรม ๑. การอภิปราย ระดมความคิดเห็น
๒. การประชุม focus Group
๓. การสาธิต ทดลองปฏิบัติการนิเทศ
กิจกรรมที่ ๖ การวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
วัตถุประสงค์ เพื่อวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรฯ
ขอบข่ายเนื้อหา การขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
ลักษณะการจัดกิจกรรม ๑. การรับฟังการบรรยายจากวิทยากร
๒. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การปฏิบัติงานกลุ่ม

๔. ตารางการดำเนินงาน
วันที่หนึ่ง
เวลา 08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
เวลา 09.00 – 10.30 น. พิธีเปิดการประชุม และบรรยายพิเศษ เรื่อง “การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑”
เวลา 10.30 – 12.00 น. “จากหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน” และ
“จากหลักสูตรสู่การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา”
เวลา 13.00 – 14.30 น. “การกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้และการออกแบบการจัด
การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน”
เวลา 14.30 – 16.30 น. “การวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน”
เวลา 18.00 – 21.00 น. การทบทวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสะท้อนคิดจากการปฏิบัติงาน
- กลุ่ม 1 ผู้อำนวยการสถานศึกษา
การบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ของกลุ่มผู้บริหาร
สถานศึกษา
- กลุ่ม 2 รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ/ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ/
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
- กลุ่ม 3 ครูผู้สอน
การจัดทำหน่ว ยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมื อ วั ด
และประเมินผล ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
- กลุม่ 4 ศึกษานิเทศก์
การจัดทำแผนการนิเทศ กำกับ และติดตามผลการอบรม
11

วันที่สอง
เวลา 09.00 – 12.00 น. การทบทวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสะท้อนคิดจากการปฏิบัติงาน (ต่อ)
- กลุ่ม 1 ผู้อำนวยการสถานศึกษา
การบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ของกลุ่มผู้บริหาร
สถานศึกษา
- กลุ่ม 2 รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ/ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ/
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
- กลุ่ม 3 ครูผู้สอน
การจัดทำหน่ว ยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมื อ วั ด
และประเมินผล ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
- กลุ่ม 4 ศึกษานิเทศก์
การจัดทำแผนการนิเทศ กำกับ และติดตามผลการอบรม
เวลา 13.00 – 15.00 น. - การวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
- ปิดประชุม
๕. คณะวิทยากร
วิทยากร ตำแหน่ง
เรื่องที่ ๑ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑
ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เรื่องที่ ๒ จากหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน และจากหลักสูตรสู่การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
๑. ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
๒. ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา
ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้
3, ดร.ชยพร กระต่ายทอง สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
4. ดร.ปิยธันว์ เบญจเทพรัศมี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
เรื่องที่ ๓ การกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้และการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนา
สมรรถนะสมรรถนะผู้เรียน”
๑. อ.จรูญศรี แจบไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาและส่งเสริมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
2. อ.วีรศักดิ์ สมัครสมาน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมภาษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สพฐ.
3. อ.เอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง รก.นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
4. อ.วราภรณ์ ศรีแสงฉาย นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สพฐ.
12

วิทยากร ตำแหน่ง
เรื่องที่ ๔ การวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
๑. ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
2. ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา
3. ดร.ณัฐา เพชรธนู รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
4. ดร.เพ็ญนภา แก้วเขียว รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
5. ดร.ฉัตรชัย หวังมีจงมี นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
เรื่องที่ ๕ การทบทวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสะท้อนคิดจากการปฏิบัติงาน
กลุ่ม 1 ผู้อำนวยการโรงเรียน
การบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
๑. อ.วงเดือน สุวรรณศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพฐ.
๒. ดร.โชติมา หนูพริก ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
3. อ.สุอารีย์ ชื่นเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
4. ดร.สมเจตน์ พันธ์พรม ศึกษานิเทศก์ หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
5. อ.เอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง รก.นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาการจัดการศึกษา
สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สพฐ.
6. ดร.ฉัตรชัย หวังมีจงมี นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
นักวิชาการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
7. ดร.อริสรา เริงสำราญ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
8. อ.ณภัทร ศรีละมัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ/
ช่วยปฏิบัติราชการหน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
กลุ่ม 2 รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ/ หัวหน้างานหลักสูตร/ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
๑. ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
๒. ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา
๓. ดร.เพ็ญนภา แก้วเขียว รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
4. ดร.ชยพร กระต่ายทอง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
5. ดร.อริสรา เริงสำราญ นักวิชาการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
6. อ.ชนาภัทร ปิยะเสถียร นั ก วิ ช าการศึ ก ษาปฏิ บ ั ต ิ ก าร กลุ ่ ม พั ฒ นาหลั ก สู ต รและมาตรฐาน
การเรียนรู้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
7. อ.ตรัยรัตน์ โพธิ์กะสังข์ นั ก วิ ช าการศึ ก ษาปฏิ บ ั ต ิ ก าร กลุ ่ ม พั ฒ นาหลั ก สู ต รและมาตรฐาน
การเรียนรู้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
กลุ่ม 3 ครูผู้สอน
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนา
สมรรถนะผู้เรียน
13

วิทยากร ตำแหน่ง
๑. ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา
๒. ดร.ณัฐา เพชรธนู รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
๓. อ.จรูญศรี แจบไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาและส่งเสริมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
4. อ.วีรศักดิ์ สมัครสมาน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมภาษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สพฐ.
5. ดร.ฉัตรชัย หวังมีจงมี นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ กลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐาน
6. อ.ตรัยรัตน์ โพธิ์กะสังข์ การเรียนรู้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
7. อ.วราภรณ์ ศรีแสงฉาย นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สพฐ.
8. ดร.ปิยธันว์ เบญจเทพรัศมี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
กลุ่ม 4 ศึกษานิเทศก์
การจัดทำแผนการนิเทศ กำกับ และติดตามผลการอบรม
๑. อ.รวิภัทร เหล่าคุ้ม ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์
สพฐ.
๒. อ.หัทยา เข็มเพ็ชร ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง
3. อ.ณภัทร ศรีละมัย ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ/
ช่วยปฏิบัติราชการหน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
4. ดร.มธุรส ประภาจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
5. อ.พิชญา คำปัน ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ช่วยปฏิบัติราชการหน่วยศึกษานิเทศก์
สพฐ.
6. ดร.สมเจตน์ พันธ์พรม ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ ช่วยปฏิบัติราชการหน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
7. ดร.ปิยธันว์ เบญจเทพรัศมี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
8. อ.ชนาภัทร ปิยะเสถียร นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ กลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐาน
การเรียนรู้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
เรื่องที่ ๖ วางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะ
ผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และนำเสนอ
๑. ดร.สมเจตน์ พันธ์พรม ศึกษานิเทศก์ หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
๒. อ.เอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง รก.นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาการจัดการศึกษา
สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สพฐ.
๓. ดร.ฉัตรชัย หวังมีจงมี นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
14

ตอนที่ ๓
กิจกรรมการฝึกอบรม

กิ จ กรรมการฝึ ก อบรมตามโครงการขั บ เคลื ่ อ นการใช้ ห ลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั ้ น พื ้ น ฐาน


พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และ
การประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด ประกอบด้วย ๖
กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
กิจกรรมที่ 2 การทบทวนหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
กิจกรรมที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้และการออกแบบ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
กิจกรรมที่ 4 การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
กิจกรรมที่ ๕ การทบทวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสะท้อนคิดจากการปฏิบัติงาน ซึ่งมี ๔ กิจกรรมย่อย
กิจกรรมที่ ๕.๑ การบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของผู้บริหาร
สถานศึกษา
กิจกรรมที่ ๕.๒ การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
ของรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ/ หัวหน้าหลักสูตร/ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
กิจ กรรมที่ ๕.๓ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือวัดและ
ประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของครูผู้สอน
กิจกรรมที่ ๕.๔ การจัดทำแผนการนิเทศ กำกับ และติดตามผลการอบรมของศึกษานิเทศก์
กิจกรรมที่ ๖ การวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
โดยรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมนำเสนอตามลำดับ ดังนี้
15

กิจกรรมที่ 1 การสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

๑. แนวคิดการจัดกิจกรรม
การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ให้ความสำคัญกับการพัฒ นาสมรรถนะของผู้เรียนให้ทันต่อ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในปัจจุบันและอนาคต และการเผชิญต่อความท้าทายกับชีวิตวิถใี หม่
ดังนั้น การจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ให้มีหลากหลายเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่
การเป็นผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา
ของชาติ และแผนการปฏิ ร ู ป ด้ า นการศึ ก ษา กิ จ กรรมการพั ฒ นาการจั ด การเรี ย นการสอนสู่ การเรียนรู้
ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
กระทรวงศึกษาธิการได้ป ระกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีลักษณะเป็น “หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards - based Curriculum)” มีลักษณะสำคัญ
คื อ มี ม าตรฐานการเรี ย นรู ้ แ ละตั ว ชี ้ ว ั ด สมรรถนะสำคั ญ ของผู ้ เ รี ย น และคุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์
เป็นจุดหมายสำคัญสำหรับการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยหลักสูตรแกนกลางฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย
สมรรถนะสำคัญของผู้เรีย น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัว ชี้ว ัด ๘ กลุ่มสาร ะ
การเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเรียนรู้
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้การศึกษาต่อ การดำรงชีวิต การทำงาน และ
การประกอบอาชีพ รวมทั้งมีเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริย ธรรม และค่านิยมที่ดีเพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน
ในสังคมไทย ประชาคมอาเซียน และสังคมโลก
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภพาการจัดการศึกษา
ประกอบด้วย นโยบายการจัดการศึกษา ตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และแผนปฏิรูปประเทศด้าน
การศึกษา ตัวชี้วัดผู้บริหารและครู ของแผนปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอน
สมรรถนะผู้เรียนสู่ศักยภาพเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่
การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ แนวคิด ทฤษฎี
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

๒. วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก (Active Learning)

๓. รูปแบบการจัดกิจกรรม
๑. การรับฟังการบรรยายจากวิทยากร
๒. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
16

๔. ขั้นตอนการดำเนินงาน
ที่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา สื่อและเอกสารประกอบ
1 การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการ 09.00 – 10.30 น. PowerPoint
จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) (๑ ชั่วโมง 30 นาที) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ผู้เข้ารับการอบรมฟังวิทยากรบรรยาย และมี Active Learning สู่การ
การซักถาม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ พัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการ ในศตวรรษที่ 21
จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

5. การประเมินผลการจัดกิจกรรม
5.1 การสังเกตพฤติกรรม
๕.๒ การตอบคำถามจากการซักถาม

6. สื่อและเอกสารประกอบ
PowerPoint การจัดการเรียนรูเ้ ชิงรุก Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
17

PowerPoint ประกอบการบรรยาย
เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37

กิจกรรมที่ 2 การทบทวนหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน และการพัฒนาหลักสูตร


สถานศึกษา

๑. แนวคิดการจัดกิจกรรม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่พัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้อง
กับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (เพิ่มเติม พ.ศ. 2545) ซึ่งกำหนดให้การจัด
การศึกษา ตามหลักสูตรต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยพัฒนาทั้งด้านความรู้ทาง
วิชาการ และทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งรวมถึงการประกอบอาชีพ หลักสูตรแกนกลางฯ มีลักษณะ
เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards - Based Curriculum) มีมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดเป็นตัวกำหนด
คุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยหลักสูตรแกนกลางฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียนทุกคน
จำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อให้ มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ การศึกษาต่อ การดำรงชีวิต
การทำงาน และการประกอบอาชีพ รวมทั้งมีเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี ในการจัดการเรียนรู้
ยึดหลักว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดกับ
ผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
สถานศึกษาสามารถนำมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไปใช้ เป็นกรอบทิศทางในการกำหนดเนื้อหา
ทักษะกระบวนการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพบรรลุตาม
เป้าหมายของหลักสูตร หลักสูตรสถานศึกษาเป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรี ยนและ
ท้องถิ่น และมีความยืดหยุ่น เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายสอดคล้องกับโลกยุคปัจจุบันซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว หลักสูตรสถานศึกษาประกอบด้วย ความรู้ และประสบการณ์ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผน
พัฒ นาผู้เรีย น โดยเกิดจากการมีส ่วนร่วมของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึ กษา
หลักสูตรสถานศึกษาเป็นแบบแผน แนวทาง หรือข้อกำหนดของการจัดการที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ
โดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตน โดยมีการจัดขอบข่าย ระดับขั้นของมวลประสบการณ์
ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำไปสู่การปฏิบัติ สามารถพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน สังคม และโลกอย่างมีความสุข

๒. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
๒. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะ
ผู้เรียน

๓. รูปแบบการจัดกิจกรรม
๑. การรับฟังการบรรยายจากวิทยากร
๒. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
38

๔. ขั้นตอนการดำเนินงาน
ที่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา สื่อและเอกสารประกอบ
1 จากหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ๑0.๔๕ – 1๒.00 น. PowerPoint
ผู้เข้ารับการอบรมฟังวิทยากรบรรยาย และมี (๑ ชั่วโมง ๑๕ นาที) จากหลักสูตรสู่การ
การซักถาม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ พัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
๒ จากหลักสูตรสู่การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา PowerPoint จาก
ผู้เข้ารับการอบรมฟังวิทยากรบรรยาย และมี หลักสูตรสู่การพัฒนา
การซักถาม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ หลักสูตรสถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

5. การประเมินผลการจัดกิจกรรม
5.1 การสังเกตพฤติกรรม
๕.๒ การตอบคำถามจากการซักถาม

6. สื่อและเอกสารประกอบ
๖.๑ PowerPoint จากหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
๖.๒ PowerPoint จากหลักสูตรสู่การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
39

PowerPoint ประกอบการบรรยาย
เรื่อง จากหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
40
41
42
43

PowerPoint ประกอบการบรรยาย
เรื่อง จากหลักสูตรสู่การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
44
45
46
47
48

กิจกรรมที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้และการ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

๑. แนวคิดการจัดกิจกรรม
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นกระบวนการของการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน
เกิดคุณภาพตามเป้าหมายที่ต้องการ โดยเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้น
พื ้ น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๑ ประกอบด้ ว ย สมรรถนะสำคั ญ ของผู ้ เ รี ย น ๕ ประการ คุ ณ ลั ก ษณะ
อันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด และความสามารถด้านการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน
ประกอบด้วย ๓ ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
และการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยทั้ง 3 ขั้นตอนต้องมีความสอดคล้องกัน
การจัดการเรีย นรู้เชิงรุก เป็น กระบวนการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนตามแนวคิดของการจัด
การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หรือการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
สร้างความรู้ห รือแนวคิดจากกิจ กรรมที่ได้ปฏิบัติ และสื่อสารความรู้ความเข้าใจในรปแบบต่าง ๆ อย่าง
สร้างสรรค์ และเพื่อเป็นการตรวจสอบการเกิดความสามารถของนักเรียนระหว่างพัฒนา การออกแบบการ
จัดการเรียนรู้จึงดำเนินควบคู่กันไปกับการออกแบบการประเมินในชั้นเรียน

2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

3. รูปบบการจัดกิจกรรม
3.1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.2 การฟังบรรยาย
3.3 การนำเสนอผลงาน

4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
กิจกรรม/กระบวนการ เวลา สื่อและเอกสารประกอบ
การกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ 13.00 - 1.1 PowerPoint: การ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 14.30น. จัดการเรียนรู้เชิงรุก
๑๕๕๑ (1.30 ชม.) (Active Learning)
1. วิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมร่วมกันทบทวนความรู้ 1.2 ใบกิจกรรม: เป้าหมาย
ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของสมรรถนะ ของการจัดการเรียนรู้
กระบวนการจัดการเรียนรู้ และเป้าหมายของการ ตามหลักสูตร
จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น หลักสูตรแกนกลาง
พื้นฐาน พุทธศักราช ๑๕๕๑ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒. วิทยากรบรรยายสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงลึก พุทธศักราช ๑๕๕๑
เกี่ยวกับเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร อย่างเป็นองค์รวม
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๑๕๕๑
อย่างเป็นองค์รวม (สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
49

กิจกรรม/กระบวนการ เวลา สื่อและเอกสารประกอบ


คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และ
ตัวชี้วัด และความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์
และการเขียน)
3. ผู้เข้ารับการอบรมฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเป้าหมายของการ
จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช ๑๕๕๑ อย่างเป็นองค์รวม

5. การประเมินการจัดกิจกรรม
5.1 การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม
5.๒ การตรวจใบงาน
แนวทางการประเมินจากใบงาน
รายการประเมิน
น้อย ปานกลาง มาก
ความรู้ความเข้าใจ ส่งใบงาน แต่ผลงงานไม่ ส่งใบงาน ผลงานครบถ้วน ส่งใบงาน ผลงานครบถ้วน
การนำความรู้ไปใช้ในการ ครบถ้วน แต่บางประเด็นไม่ถูกต้อง ถูกต้อง และสมบูรณ์
ปรับปรุงงานและออกแบบ
การจัดการเรียนรู้

6. สื่อและเอกสารประกอบ
6.1 Power Point เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
6.2 ใบกิจกรรม: เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๑๕๕๑ อย่างเป็นองค์รวม
50

PowerPoint ประกอบการบรรยาย
เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
51
52
53
54

ใบกิจกรรม
เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2๕๕๑ อย่างเป็นองค์รวม

เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ รายการ ผลลัพธ์สุดท้าย


(Ultimate outcome)

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

มาตรฐานการเรียนรู้และ
ตัวชี้วัด
55

กิจกรรมที่ 4 การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

๑. แนวคิดการจัดกิจกรรม
หลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้ น พื ้น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช 2551 เป็ น หลั ก สู ต รที ่ ม ีเ ป้า หมายหรือ
เจตนารมณ์ของหลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย มีทักษะกระบวนการ รู้เท่าทัน
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคม มีทักษะชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ผ่าน
กระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น การวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนจึงมี
บทบาทสำคัญต่อการพัฒ นาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน ใน 2 บทบาท ได้แก่ การวัดและประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ( Formative
Assessment) เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนเพื่อตรวจสอบจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องทางการเรียนรู้ของผู้เรียน
เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล และการวัดและประเมินผลเพื่อสรุปผล
การเรียนรู้ของผู้เรียน (Summative Assessment) เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนเพื่อ ตัดสินผลว่าผู้เรียนมี
คุณภาพบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ได้กำหนดเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ผลผลิตที่เกิดจากการเรียนรู้
(Output) ซึ่งได้แก่ มาตรฐานและตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้
(Outcomes) ซึ่งได้แก่ สมรรถนะที่จำเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด
ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
๒.๒ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

๓. รูปแบบการจัดกิจกรรม
๓.๑ การรับฟังการบรรยายจากวิทยากร
๓.๒ การศึกษาเอกสารเสริมความรู้
๓.๓ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนคิด
๓.๔ การทำกิจกรรมใบงาน

๔. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
56

ขั้นตอน ระยะเวลา สื่อและเอกสารประกอบ


การวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน 14.30-16.30น. (2 ชม.) - Power point เรื่อง
๑. ฟังบรรยาย 7๐ นาที การวัดและ
๒. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนคิด 3๐ นาที ประเมินผลทีม่ ุ่ง
๓. ทำใบกิจกรรม 2๐ นาที พัฒนาสมรรถนะของ
ผู้เรียน
- ใบความรู้ เรื่อง การวัด
และประเมินผลที่มุ่ง
พัฒนาสมรรถนะของ
ผู้เรียน
- ใบกิจกรรม เรื่อง การ
วัดและประเมินผลที่
มุ่งพัฒนาสมรรถนะ
ของผู้เรียน

5. การประเมินผลการจัดกิจกรรม
๕.๑ ประเมินจากการมีส่วนร่วมการทำกิจกรรม
๕.๒ ประเมินจากผลการทำใบกิจกรรม

6. สื่อและเอกสารประกอบการจัดกิจกรรม
6.1 Power point ประกอบการบรรยาย เรื่อง การวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะของ
ผู้เรียน
๖.๒ ใบความรู้ เรื่อง การวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
๖.๓ ใบกิจกรรม เรื่อง การวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
57

PPT ประกอบการบรรยาย
เรื่อง การวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนา
สมรรถนะของผู้เรียน
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74

ใบความรู้ เรื่อง การวัดและประเมินผลทีม่ ุ่งพัฒนา


สมรรถนะของผูเ้ รียน

หลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้ น พื ้น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช 2551 เป็ น หลั ก สู ต รที ่ ม ีเ ป้า หมายหรือ
เจตนารมณ์ของหลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย มีทักษะกระบวนการ รู้เท่าทัน
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคม มีทักษะชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ผ่าน
กระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น การวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนจึงมี
บทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุตามเจตนารมณ์จองหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน ใน 2 บทบาท ได้แก่ การวัดและประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (Formative
Assessment) เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนเพื่อตรวจสอบจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องทางการเรียนรู้ของผู้เรียน
เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล และการวัดและประเมินผลเพื่อสรุปผล
การเรียนรู้ของผู้เรียน (Summative Assessment) เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนเพื่อตัดสินผลว่าผู้เรียนมี
คุณภาพบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้
ตามหลักสูตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ผลผลิตที่เกิดจากการเรียนรู้ (Output) ซึ่งได้แก่ มาตรฐานและตัวชี้วัด
ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ (Outcomes) ซึ่งได้แก่ สมรรถนะที่จำเป็น 5
ด้าน
1. มาตรฐานและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จะระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้
ปฏิบัติได้ มีึคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตรฐานการเรียนรู้เป็น
กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบเพราะจะสะท้อนให้ทราบว่า ต้องการอะไร จะสอน
อย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา ส่วน
ตัวชี้วัดเป็นตัวที่ระบุถึงสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ มีความเฉพาะเจาะจงเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนด
เนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรี ยนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่ อ
ตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดมาตรฐานที่เป็นผลผลิตที่เกิด
จากการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในลักษณะของกลุ่มของพฤติกรรมหลายพฤติกรรมของ
ผู้เรียนที่มาเขียนเชื่อมโยงกันมีความเป็นนามธรรม ดังนั้นเพื่อสามารถพัฒ นาคุณภาพผู้เรียนให้เต็ม ตาม
มาตรฐานจึงจำเป็นต้องจำแนกกลุ่มพฤติกรรมเหล่านั้นให้แตกเป็นพฤคิกรรมย่อยๆที่มีความเป็นรูปธรรมที่
เรียกว่า ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดแต่ละตัวจะมีลักษณะของพฤติกรรมแตกต่างกันตามทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของ
มนุษย์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่มพฤติกรรม ดังนี้
1.1 ตัวชี้วัดด้านความรู้ (Knowledge: K) เป็นพฤติกรรมด้านสติปัญญาที่สมองต้องประมวลผลหรือ
ทำงานก่อนถึงจะแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ออกมา เช่น ระดับพฤติกรรมด้านสติปัญญาของบลูม แบ่งเป็น 6 ระดับ
คือ 1) ความรู้ความจำ 2) ความเข้าใจ 3) นำไปใช้ 4) วิเคราะห์ 5) สังเคราะห์ และ 6) ประเมินค่า เป็น
ต้น
75

1.2 ตัวชี้วัดด้านทักษะกระบวนการ (Process skill: P) เป็นพฤติกรรมด้านกายภาพของผู้เรียนที่ต้อง


ใช้อวัยวะหลายส่วนทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน เช่น ระดับพฤติกรรมด้านทักษะของบลูม
แบ่งเป็น 6 ระดับ คือ 1) การรับรู้ 2) กระทำตามแบบหรือเครื่องชี้แนะ 3) การหาความถูกต้อง 4) การ
กระทำอย่างต่อเนื่อง และ 6) การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นต้น
1.3 ตัวชี้วัดด้านคุณลักษณะ (Attribute: A) เป็นพฤติกรรมด้านคุณลักษณะเชิงคุณธรรมจริยธรรมที่
แฝงอยู่ในร่างกายของคนเรา รวมทั้งค่านิยม เจตคติ เช่น ระดับพฤติกรรมด้านจิตพิสัยของบลู ม แบ่งเป็น 6
ระดับ คือ 1) การรับรู้ 2) การตอบสนอง 3) การเกิดค่านิยม 4) การจัดระบบ 5) เกิดเป็นบุคลิกภาพ
โดยวัตถุประสงค์หลักของการวิเคราะห์เพื่อจำแนกตัวชี้วัดออกเป็น 3 กลุ่มพฤติกรรมคือ เพื่อใช้เป็น
ข้อมูลประกอบการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และเพื่อใช้เป็นข้ อมูลประกอบการออกแบบกิจกรรมการวัด
และประเมินผลการเรียนรู้
2. สมรรถนะ
สมรรถนะเป็น ความสามารถของบุ คคลในการใช้ ความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่า ง ๆ
ที่ตนมีในการทำงาน หรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จในระดับใดระดับหนึ่ง....ซึ่งสมรรถนะ
สามารถวัดและประเมินผลได้ ดังนั้น สมรรถนะจึงเป็นผลรวมของความรู้ ทักษะ เจตคติ คุณลักษณะ และ
ความสามารถอื่น ๆ ที่ช่วยให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลประสบความสำเร็จในการทำงาน (สำนักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา, 2562) ซึ่งสอดคล้องกับแผนภาพแสดงนิยามความหมายที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
และการพัฒ นา หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development, OECD)
ดังต่อไปนี้

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราชการ 2551 ได้กำหนดสมรรถนะที่เป็นที่เป็ น


ผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ไว้ 5 สมรรถนะ ได้แก่
2.1 ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา
ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และ
ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลด
76

ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการ


เลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2.2 ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่าง
สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ
เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
2.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้
อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการ
เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการ
ตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
2.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการ
ดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม
ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม
การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึง
ประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
2.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ
และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การ
ทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม
3. การวัดและประเมินผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
การวัดและประเมิน ผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ สามารถแบ่งตาม
จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนออกเป็น 2 บทบาท คือ
1) การวัดและประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (Formative Assessment) เป็น
การวัดและประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผู้เรีย นรายมาตรฐานและตัวชี้วัดในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดย
ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดภาคเรียน/ปีการศึกษา โดยครูผู้สอนต้องวางแผนเกี่ยวกับวิธีการและเครื่องมือที่
ใช้ในการวัดและประเมินผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัดในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลที่
หลากหลาย เช่น ผ่านการตรวจการบ้านหรือแบบฝึกหัด การประเมินภาคปฏิบัติ การสัมภาษณ์ การซักถาม
แฟ้มสะสมงาน ไม่มุ่งเน้นการทดสอบแต่เพียงอย่างเดียว โดยข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการวัดและประเมินผล
สามารถสะท้อนจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องทางการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ใ นการพัฒนา
คุณภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล
2) การวัดและประเมินผลเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (Summative Assessment) เป็นการ
วัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนเพื่อสรุปความคิดรวบยอดของผู้เรียนหลังจากการเรียนรู้มาตลอดภาคเรียน/ปี
การศึกษา ได้แก่ การสอบกลางภาค/ปี และการสอบปลายภาค/ปี โดยครูผู้สอนควรกำหนดกรอบในการวัด
และประเมินผล โดยพิจารณาคัดเลือกมาตรฐานและตัวชี้วัดสำคัญที่สามารถสะท้อนความคิดรวบยอดของ
ผู้เรียนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน ซี่งผลที่ได้จากการวัดและประเมินผลสามารถสะท้อนหรือตัดสินผลว่า
ผู้เรียนมีคุณภาพบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ รายละเอียดดังแผนภาพ
77

ดังนั้นการวัดและประเมินผลคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานและตัวชรี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการ
เรียนรู้จะเป็นการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนตามลักษณะธรรมชาติของพฤติกรรมที่แตกต่างกัน โดยสามารถ
แบ่ ง กลุ ่ ม พฤติ ก รรมของตั ว ชี ้ ว ั ด ออกได้ เ ป็ น 3 กลุ ่ ม ได้ แ ก่ กลุ ่ ม พฤติ ก รรมด้ า นสติ ป ั ญ ญาหรื อ ความรู้
(Knowledge: K) กลุ ่ ม พฤติ ก รรมด้ า นทั ก ษะกระบวนการ (Process skill: P) และกลุ ่ ม พฤติ ก รรมด้ า น
คุณลักษณะ (Attribute: A) ดังนั้น ในการวัดและประเมินผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ ครูผู้สอนต้องเริ่มจากการวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวชี้วัดแต่ละตัว แล้วทำการออกแบบวิธีการวัดและ
ประเมินผลที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด และนำไปสู่การสร้างเครื่องมือที่สามารถวัดและประเมินผลตัวชี้วัดได้อย่าง
แท้จ ริง โดยมีร ายละเอีย ดของการสร้างเครื่องมือในการวัดและประเมินผลตามมาตรฐานและตัว ชี้ว ัด มี
ดังต่อไปนี้
3.1 การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อออกแบบการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล
ก่อนที่จะทำการสร้างเครื่องมือในการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด ครูผู้สอนจะต้อง
ทำการวิเคราะห์ตัวชี้วัดก่อนว่าเป็นตัวชี้วัดในกลุ่มพฤติกรรมใด เพื่อที่จะสามารถออกแบบวิธีการและเครื่องมื อ
ในการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่ต้องการวัดอย่างแท้จริง โดยมีรายละเอียดของ
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อทำการจำแนกตัวชี้วัดเข้ากลุ่มพฤติกรรม 3 ด้าน ได้แก่ กลุ่มพฤติกรรมด้านสติปัญญา
หรือความรู้ (Knowledge: K) กลุ่มพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการ (Process skill: P) และกลุ่มพฤติกรรม
ด้านคุณลักษณะ (Attribute: A) มีแนวทางการดำเนินงานอยู่ 2 แนวทาง คือ
แนวทางที่ 1 พิจารณาจากพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก โดยให้ครูผู้สอนค้นหาคำสำคัญหรือ
พฤติกรรมที่นักเรียนต้องแสดงออกของตัวชี้วัด แล้วทำการวิเคราะห์พฤติกรรมเหล่านั้นว่ามีพฤติกรรมใน
ลักษณะใด ควรอยู่ในกลุ่มพฤติกรรมใด ตัวอย่างเช่น
คำสำคัญ หรือ ลักษณะของพฤติกรรม
ตัวชี้วัด พฤติกรรมที่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้าน
แสดงออก กระบวนการ คุณลักษณะ
อธิบายการเจริญเติบโตของมนุษย์ อธิบาย ✓

จากวัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่
ปฏิ บ ั ต ิ ต ามคำสั ่ ง คำขอร้ อ งและ ปฏิบัติตาม ✓

คำแนะนำที่ฟังและอ่าน
มีมารยาทในการอ่าน มีมารยาท ✓
78

แนวทางที่ 2 พิจารณาจากเครื่องมือหรือวิธีการที่จะใช้ในการวัดและประเมินผลตัวชี้วัด
เหล่านี้ ซึ่งในแต่ละประเภทพฤติกรรมจะมีวิธีการวัดและประเมินผลไม่เหมือนกัน เช่น ด้านความรู้ใช้การ
ทดสอบด้วยข้อสอบในการวัดและประเมินผล ด้านทักษะกระบวนการใช้การสอบภาคปฏิบัติในการวัดและ
ประเมิน และด้านคุณลักษณะใช้การสังเกตพฤติกรรมในการวัดและประเมิน
ลักษณะของพฤติกรรม
วิธีการ ทักษะ
ตัวชี้วัด ความรู้ คุณลักษณะ
วัดและประเมินผล กระบวนการ
(K) (A)
(P)
อธิบายการเจริญเติบโตของมนุษย์ การทดสอบด้วยข้อสอบ ✓

จากวัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่
ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้องและ การทดสอบภาคปฏิบัติ ✓

คำแนะนำที่ฟังและอ่าน
มีมารยาทในการอ่าน การสังเกตพฤติกรรม ✓

3.2 การออกแบบการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล
ครูผู้สอนจะต้องเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของตัวชี้วัด โดย
ตัวชี้วัดที่เป็นกลุ่มพฤติกรรมด้านความรู้ (Knowledge: K) ส่วนใหญ่จะใช้การทดสอบ การซักถาม และการ
สัมภาษณ์ ส่วนตัวชี้วัดที่เป็นกลุ่มพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการ (Process & skill: P) จะใช้การทดสอบ
ภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) และตัวชี้วัดที่เป็นกลุ่มพฤติกรรมด้านคุณลักษณะ (Attribute: A)
จะใช้การสังเกตพฤติกรรมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ดังแผนภาพ ต่อไปนี้

3.2.1 การวัดและประเมินผลตัวชี้วัดด้านความรู้ (Knowledge: K)


ครูผู้สอนส่วนใหญ่มักใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องในการวัดตัวชี้วัดที่เป็นกลุ่มพฤติกรรมด้านความรู้
(Knowledge: K) โดยมีรูปแบบการข้อสอบใน 2 รูปแบบ คือ ข้อสอบแบบเลือกตอบ และข้อสอบแบบเขียน
สอบ ซึ่งข้อสอบทั้งสองรูปแบบมีทั้งข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ครูผู้สอนนิยมใช้ทั้งข้อสอบแบบเลือกตอบใน
79

การวัดพฤติกรรมด้านสติปัญญาในระดับการจำ ความเข้าใจ และการนำไปใช้(ผลจากการนำไปใช้) และใช้


ข้อสอบแบบเขียนตอบในการวัดพฤติกรรมด้านสติปัญญาในระดับการนำไปใช้ (กระบวนการนำไปใช้) และการ
คิดขั้นสูงของผู้เรียน ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า และการสร้างสรรค์ ดังแผนภาพ
ต่อไปนี้

3.2.2 การวัดและประเมินผลตัวชี้วัดด้านทักษะกระบวนการ (Process skill: P)


ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ที่มีตัวชี้วัดที่เป็นทักษะกนระบวนการเป็นเป้าหมายปลายทางในการ
จัดการเรีย นรู้ ครูผ ู้ส อนจะต้องออกแบบกิจกรรรมการเรียนรู้ให้ผ ู้เรียนได้ล งมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความ
แคล่วคล่องและเชี่ยวชาญตามขั้นตอนกระบวนการ หลังจากนั้นเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนรู้ครูผู้สอนจะมีการ
กำหนดภาระงาน กิจกรรม ชิ้นงาน หรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ ลงมือปฏิบัติแล้วทำการประเมินภาคปฏิบัติ
(Performance Assessment) เพื่อตรวจสอบทักษะกระบวนการของผู้เรียนและบันทึกผลการผ่านมาตรฐาน
และตัวชี้วัดในแบบ ปพ.5 ดังภาพ
80

ซึ่งในหลักสูตรที่ผ่านมาในการประเมินภาคปฏิบัติหลังจบหน่วยการเรียนรู้ ครูผู้สอนจะกำหนด
ประเด็นพิจารณาและเกณฑ์ในการตรวจให้คะแนนของงานแต่ละชิ้น เช่น การวางแผน การลงมือปฏิบัติหรือ
กระบวนการทำงาน ผลผลิต และคุณลักษณะของผู้เรียน แต่ถ้าเป็นการวัดและประเมินผลตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
ดังนั้น ครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนจากประเด็นพิจารณาเป็นตัวชี้วัดและเกณฑ์ในการตรวจให้คะแนน ดังแผนภาพ

3.2.3 การวัดและประเมินผลตัวชี้วัดด้านคุณลักษณะ (Attribute: A)


ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ที่มีตัวชี้วัดที่เป็นคุณลักษณะ ครูผู้สอนสามารถปลูกฝังคุณลักษณะต่าง ๆ
ผ่านกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง
แล้วให้นักเรียนเห็นคุณค่าในสิ่งที่ผู้เรียนปฏิบัติ จะทำให้ผู้เรียนปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัยติดตัว โดยครูผู้
ต้องใช้วิธีการวัดและประเมินที่หลากหลาย เนื่องจากคุณลักษณะเป็นพฤติกรรมที่แฝงอยู่ร่างกายของเด็กและไม่
สามารถวัดและประเมินผลด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จึงจำเป็นต้องทำการวัดประเมินผลแบบทางอ้อม โดยใช้สิ่ง
เร้ากระตุ้นให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะ โดยมีธรรมชาติของการวัดและประเมินคุณลักษระ
ดังต่อไปนี้
⚫ การวั ด คุ ณ ลั ก ษณะเป็ น การวั ด ทางอ้ อ ม ไม่ ส ามารถวั ด ได้ โ ดยตรงจากประสาทสั ม ผั ส ทั ้ ง 5
จำเป็นต้องวัดทางอ้อม โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมทางกายและวาจาที่เราคาดว่า เป็นผลสะท้อนให้เห็นถึง
อารมณ์และความรู้สึก
⚫ คุณลักษณะมีลักษณะเป็นนามธรรม ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง ทำให้เกิดความลำบากในการ
อธิบายในแง่ของปริมาณและคุณภาพ จึงต้องมีการพัฒนาเทคนิควิธีในการวัดผลและประเมินผล
⚫ การวัดมีความคลาดเคลื่อนได้ง่าย เนื่องจากอารมณ์หรือความรู้สึกอาจเปลี่ยนแปลงได้ ต าม
สถานการณ์ เงื่อนไข วุฒิภาวะ และประสบการณ์ของผู้ที่ถูกวัด การวัดคุณลักษณะจึงต้องการเครื่องมือที่มีความ
เชื่อมั่นสูง
⚫ การวัดคุณลักษณะไม่มีถูกผิดเหมือนข้อสอบที่ใช้ในการวัดความสามารถทางด้านสมอง คำตอบ
ของผู้ที่ถูกวัดเพียงแต่บอกให้ทราบว่า ถ้าผู้ถูกวัดได้ประสบกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด
ตามที่กำหนดให้ เขาจะตัดสินใจเลือกกระทำอย่างไร สิ่งที่เขาเลือกกระทำจะเป็นเพียงตัวแทนของความคิด
ความเชื่อในสิ่งที่คิดว่าเขาพร้อมที่จะประพฤติปฏิบัติเท่านั้น
81

⚫ แหล่งข้อมูลในการวัดสามารถวัดได้จากหลายฝ่าย ได้แก่ จากบุคคลที่เราต้องการวัด จากบุคคล


ผู้ใกล้ชิด และจากการสังเกตของผู้วัดเอง ซึ่งพฤติกรรมแสดงออกของบุคคลนั้น อาจไม่ใช่คุณลักษณะที่แท้จริง
ของเขาก็เป็นได้ การแสดงพฤติกรรมของเขาอาจมีสาเหตุเบื้องหลังแอบแฝงอยู่ อาจทำเพื่อหวังผลประโยชน์ข้าง
เดีย ว เช่น ขยัน เข้าห้องสมุดเพื่อเอาใจอาจารย์สอนวิช าบรรณารักษ์ ทั้ง ๆ ที่ไม่ช อบการค้นคว้าเลย ไป
ห้างสรรพสินค้าบ่อย ๆ เพราะต้องไปช่วยถือของให้คุณแม่ ทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบการเดินดูสินค้า เป็นต้น
⚫ การวัดต้องใช้สถานการณ์จำลองเป็นเงื่ อนไขให้ผู้ถู กวัดตอบข้ อคำถามหรื อแสดงพฤติ ก รรม
ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้แบบวัดมีผลการวัดตรงกับพฤติกรรมที่แสดงออกในสถานการณ์ที่เป็น
จริงในสภาพที่เป็นปกติของบุคคลนั้น ฉะนั้น แบบทดสอบหรือแบบวัดเจตพิสัยจึงต้องการคุณลักษณะด้านความ
ตรงตามสภาพความเป็นจริง
ขั้นตอนในการประเมินตัวชี้วัดด้านคุณลักษณะ สามารถดำเนินการ ดังนี้
1) ศึกษาความหมาย หรือนิยามเชิงปฏิบัติการของตัวชี้วัดที่เป็นคุณลักษณะที่ต้องการวัด
2) จำแนกพฤติกรรมบ่งชี้ จากนิยามเชิงปฏิบัติการของของตัวชี้วัดที่เป็นคุณลักษณะ
3) กำหนดวิธีการและรูปแบบเครื่องมือในการประเมินตัวชี้วัดที่เป็นคุณลักษณะ
4) นำพฤติกรรมบ่งชี้ไปเป็นรายการในการเก็บรวบรวมข้อมูลของเครื่องมือประเภทต่าง ๆ
5) กำหนดเกณฑ์ในการตัดสินการผ่าน/ไม่ผ่านของตัวชี้วัด
6) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
7) นำผลที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์การตัดสินและนำผลการการตัดสินผ่าน/ไม่ผ่านของตัวชี้วัดไประบุ
ในแบบ ปพ.5 ดังแผนภาพต่อไปนี้

3.4 การวัดและประเมินสมรรถนะผู้เรียน
การประเมินสมรรถนะผู้เรียนเป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียนในการใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ
และคุณลักษณะที่ตนมีอยู่ ในการปฏิบัติงานหรือการแก้ปัญหาจนประสบผลสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายหรือเกิน
กว่าที่เป้าหมายกำหนด โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการและรูปแบบการประเมินอิงสมรรถนะดังต่อไปนี้
3.4.1 หลักการสำคัญในการประเมินสมรรถนะ
82

1) เป็นการประเมินเพื่อการพัฒนาและการตัดสินผลการเรียน ที่ให้ความสำคัญกับ การ


นำผลการประเมินไปพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้เต็มตามศักยภาพ
2) เป็นการประเมินแบบบูรณาการหรือแบบองค์รวม ที่เป็นการพิจารณาคุณภาพของ
ผู้เรียนที่ครอบคลุมทั้งในด้านความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะของผู้เรียน ซี่งสามารถพิจารณาได้จาก
ข้อมูล หลายแหล่ง ทั้ งการประเมิน ผลงานการปฏิบัติงาน การแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ การร่วม
กิจกรรม/โครงงาน ที่สะท้อนสมรรถนะของผู้เรียน
3) เป็นการประเมินที่ต้องใช้วิธีการที่หลากหลายที่มีความเที่ยงตรง ยุติธรรม เชื่อมั่นได้
สอดคล้องตามสภาพปัจจุบันที่เป็นจริง และมีข้อมูลสารสนเทศเพีย งพอต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและการ
ตัดสินใจ
4) เป็นการประเมินที่เน้นหลักแห่งกัลยาณมิตร (friendly) ที่ช่วยเสริมสร้างพลังบวก
ให้แก่ผู้เรียน โดย ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและทำการประเมิน รวมทั้งได้รับทราบถึงผล
การประเมินและแนวทางในการพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น
3.4.2 ขั้นตอนการประเมินสมรรถนะผู้เรียน
1) กำหนดสมมรถนะให้เป็นผลลัพธ์การเรียนรู้( Outcomes)ของแต่ละกลุ่มสาระการ
เรียนรู้
ผู้บริหาร ทีมวิชาการและครูผู้สอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ร่วมกันวิเคราะห์สมรรถนะที่
จำเป็น 5 ด้าน และร่วมกันกำหนดให้สมรรถนะแต่ละด้านเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ โดยในหนึ่งสมรรถนะสามารถเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้มากกว่างหนึ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้ และในบาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้อาจมีสมรรถนะทุกด้านเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ ตัวอย่างดังแผนภาพ

2) ศึกษานิยามความหมาย ตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้ของสมรรถนะ
ครูผู้สอนต้องทำการศึกษานิยามความหมาย ตัวชี้วัด และพฤติกรรมบ่งของสมรรถนะที่ต้องการวัด โดย
สามารถศึกษาได้จากเอกสารคู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำขึ้น
ในปี พ.ศ.2555 ดังแผนภาพ
83

โดยมีตัวอย่างของสมรรถนะ ตัวชี้วัด และพฤติกรรมบ่งชี้ ดังนี้

3) กำหนดหรือเลือกภาระงาน/ชิ้นงาน/สถานการณ์ที่สามารถสะท้อนสมรรถนะของผู้เรียน
ครูผู้สอนกำหนดหรือเลือกภาระงาน/ชิ้นงาน/สถานการณ์ที่สามารถสะท้อนสมรรถนะของผู้เรียน
เพื่อทำการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน โดยมีแนวทางในการกำหนดกำหนดหรือเลือกภาระงาน/ชิ้นงาน/
สถานการณ์ที่สามารถสะท้อนสมรรถนะของผู้เรียน 2 แนวทาง ดังต่อไปนี้
84

3.1) กำหนดภาระงาน/ชิ้นงาน/สถานการณ์ขึ้นใหม่ ภายหลังจากจัดการเรียนการสอนเสร็จสิ้นแล้ว


ทุกหน่วยการเรียนรู้แล้ว (ในช่วงปลายภาคเรียน หรือ ปลายปีการศึกษา)
3.2) คั ด เลื อ กภาระงาน/ชิ ้ น งาน/สถานการณ์ จ ากการเรี ย นรู ้ ใ นหน่ ว ยการเรี ย นรู ้ ท ี ่ ผ ่ า นมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยการเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้เชิงลึก (Active Learning) จะมีภาระงาน/ชิ้นงานเกิดขึ้น
ภายหลังจากการเรียนรู้
โดยภาระงาน/ชิ้นงาน/สถานการณ์ที่กำหนดให้จะต้องมีกิจกรรมให้เด็กได้ปฏิบัติที่สามารถสะท้อน
สมรรถนะของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง โดยมีลักษณะดังนี้
• สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สมรรถดังกล่าวเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้
• สอดคล้องกับรูปแบบ/กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เช่น ถ้าเป็นการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
ภาระงาน/ชิ้นงานควรเป็นโครงงานที่ดำเนินการเสร็จแล้ว หรือถ้าจั ดการเรียนรู้แบบSTEM ภาระงาน/ชิ้นงาน
ควรเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่นักเรียนพัฒนาขึ้น เป็นต้น
• สอดคล้องกับตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้ของสมรรถนะที่เราต้องการวัด ดังแผนภาพต่อไปนี้

4) กำหนดกรอบในการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน
ครูผู้สอนควรกำหนดกรอบการประเมินสมรรถนะของผู้เรี ยน ซึ่งประกอบไปด้วยสมรรถนะ ตัวชี้วัด
พฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละตัวชี้วัด ภารกิจหรือชิ้นงานที่มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติ พฤติกรรมบ่งชี้ตามภารกิจหรือ
ชิ้นงาน วิธีการประเมิน เครื่องมือในการประเมิน และช่วงเวลาในการประเมิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
4.1) สมรรถนะ ตัวชี้วัด และพฤติกรรมบ่งชี้ ต้องตรงตามกรอบตามที่ สพฐ. กำหนด
4.2) ภารกิจหรือชิ้นงานที่มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติ ต้องมีการกำหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติ
สอดคล้องกับตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้
4.3) พฤติกรรมบ่งชี้ตามภารกิจหรือชิ้นงาน เป็นพฤติกรรมบ่งชี้ตามบริบทของภารกิจหรือชิ้นงานที่
ปรับจากพฤติกรรมบ่งชี้ตามกรอบนิยามที่ สพฐ. กำหนด
4.4) วิธีการประเมิน จะต้องพิจารณาจากพฤติกรรมบ่งชี้ตามภารกิจหรือชิ้นงานว่าควรใช้วิธีการ
ประเมินอย่างไร
85

4.5) เครื่องมือในการประเมิน จะต้องกำหนดให้สอดคล้องกับวิธีการประเมิน


4.6) ช่วงเวลาในการประเมิน ต้องพิจารณาจากพฤติกรรมบ่งชี้ตามภารกิจหรือชิ้นงานสามารถเก็บ
รวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาใด ดังตัวอย่างต่อไปนี้

5) สร้างเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน
ครูผู้สอนนำพฤติกรรมบ่งชี้ ตามภารกิจหรือชิ้นงานในกรอบการประเมินสมรรถนะไประบุเป็นรายการ
ในเครื่องมือประเมินสมรรถนะของผู้เรียนตามที่ระบุไว้ในตารางกรอบการประเมิน โดยครูผู้สอนสามารถใน
เครื่องมือในการวัดและประเมินผลที่หลากหลายได้ ดังแผนภาพ
86

6) การตัดสินผลการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน
การประเมินสมรรถนะของผู้เรียน ในการตัดสินผลการประเมินแบบบูรณาการหรือแบบองค์รวม
(Holistic Judgement) โดยครู ผ ู้ ส อนจะต้อ งจัด ทำเกณฑ์ ใ นการตั ด สิ นแบบบู รณาการหรื อ แบบองค์รวม
(Holistic Rubric) โดยมีการกำหนดประเด็นพิจารณาสำหรับสร้างเกณฑ์ในการตัดสิน ครูผู้สอนสามารถกำหนด
ได้ 2 แนวทาง คือ
6.1) กำหนดให้ตัวชี้วัดเป็นประเด็นพิจารณา ครูผู้สอนจะพิจารณาจากจำนวนพฤติกรรมตาม
ตัวชี้วัดของผู้เรียน โดยมีประเด็นพิจารณาย่อย ดังนี้
• จำนวนพฤติกรรมตามตัวชี้วัดของสมรรถนะ (ปฏิบัติได้ครบทุกตัวชี้วัด หรือ ไม่ครบตัวชี้วัด)
• ความสำเร็จของงาน (ไม่บรรลุเป้าหมาย บรรลุเป้าหมาย สูงกว่าเป้าหมาย)
โดยมีตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
87

6.2) กำหนดให้องค์ประกอบของสมรรถนะเป็นประเด็นพิจารณา ครูผู้สอนจะพิจารณาจาก


ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่ใช้ในการปฏิบัติงานของผู้เรียน โดยมีประเด็นพิจารณาย่อย ดังนี้
• จำนวนองค์ประกอบของสมรรถนะที่นักเรียนใช้ในการปฏิบัติงาน (ใช้ครบทุกด้าน หรือ
บางด้าน)
• ลั ก ษณะการบู ร ณาการของความสามารถแต่ ล ะด้ า น (ร่ ว มกั น เป็ น อย่ า งดี หรื อ
แยกส่วนกัน)
• ความสำเร็จของงาน (ไม่บรรลุเป้าหมาย บรรลุเป้าหมาย สูงกว่าเป้าหมาย)
โดยมีตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

หลังจากที่ครูผู้สอนทำการประเมินสมรรถนะผู้เรียนด้วยเครื่องมือประเภทต่าง ๆ เสร็จสิ้นแล้วให้นำข้อมูล
หรือข้อค้นพบที่ได้จากเก็บรวบรวมข้อมูลมาพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์การตัดสินใจบูรณาการหรือแบบองค์
รวม (Holistic Rubric) แล้วสรุปผลการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนที่เป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไป ดัง
ภาพ
88
89

ใบกิจกรรม
เรื่อง การวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนา
สมรรถนะของผู้เรียน
คำชี้แจง จากกรอบ
ความคิดด้านการวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนด้านล่าง ให้เขียนสรุปความคิดรวบ
ยอดเกี่ยวกับความรู้ด้านการวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนใน 2 ประเด็น

กรอบความคิดด้านการวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

ความคิดรวบยอดประเด็นที่ 1
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
ความคิดรวบยอดประเด็นที่ 2
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................

https://forms.gle/nfozB1YLWYEZ7Sz36
90

กิจกรรมที่ ๕ การทบทวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสะท้อนคิดจากการปฏิบัติงาน


กิจกรรมที่ ๕.๑ การบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของผู้บริหาร
สถานศึกษา
1. แนวคิดการจัดกิจกรรม
การบริหารจัดการสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน มีเนื้อหาสาระสำคัญดังนี้
1.1 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการปรับการเรียนรู้สู่สมรรถนะ: เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ สมรรถนะ
ผู้เรียนและกลยุทธ์สำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนที่แท้จริง
1.2. นวัตกรรมการเรียนรู้ที่สร้างให้เกิดผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน บริบทแวดล้อมการเรียนรู้ (SEL) และการช่วยเหลือ
ครูนำสู่การใช้จริงในห้องเรียน
1.3 การพัฒนาบุคลากรแบบ 70-20-10
70% มาจากการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติงานจริง
20% มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
10% มาจากการรับความรู้รูปแบบต่าง ๆ เช่น การอบรม การศึกษาต่อ
1.4 Bridge leadership และ Collective leadership เป็นภาวะผู้นำที่ใช้ในการสร้างความมีส่วน
ร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นองค์รวมขององค์กร
1.4.1 Bridge Leadership เป็นภาวะผู้นำที่ส่งเสริมกระบวนการของผู้มีส ่วนได้ส่ว นเสี ย
หลายฝ่ายเพื่อจัดการกับความไม่เท่าเทียมกันและสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม: การสร้างความเป็นเจ้าของ
การพัฒนาความเป็นเจ้าของร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ และร่วมกันมีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นจริง
ใหม่
1.4.2 Collective leadership เป็นการทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกันกับบุคคล/หน่วยงาน
อื่นที่มีศักยภาพ ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน และร่วมมือกันในการพัฒนางานให้สำเร็จ
1.5 Ladder feedback คือ บันไดการให้ข้อเสนอแนะ เป็นรูปแบบการประเมินเพื่อเข้าใจ และสร้าง
วัฒนธรรมของความไว้วางใจและการส่งเสริมทางบวก ซึ่งบันไดให้ข้อเสนอแนะนี้จะทำตามลำดับ 4 ขั้นตอน คือ สร้าง
ความชัดเจน สร้างค่านิยม สร้างความตระหนัก และสร้างค่านิยม เป็นแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย
เทียบกระบวนการในการพัฒนาคนเป็น 100%

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อฝึกทักษะสำคัญของการบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
2.2 เพื่อวิเคราะห์จุดเด่น/จุดพัฒนาของการบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะของ
ผู้เรียน
2.3 เพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
2.4 เพื่อฝึกสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองได้ อธิบายหลักการและเทคนิคการสะท้อนการเรียนรู้

3. รูปแบบการจัดกิจกรรม
3.1 การรับฟังการบรรยายจากวิทยากร
3.2 การประเมินตนเอง
3.3 การปฏิบัติงานกลุ่ม
3.4 การระดมสมอง
91

4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
ที่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา สื่อและเอกสาร
ประกอบ
1 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการปรับการเรียนรู้สู่สมรรถนะ: 09.00 - 09.30 น. - PowerPoint
เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ สมรรถนะผู้เรียน และกลยุทธ์ (30 นาที) - ใบงาน 1
สำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนที่แท้จริง
- ทำใบงานที่ 1 ปรับกลยุทธ์การพัฒนาการเรียนรู้มุ่งสู่
สมรรถนะ: เขียนเป็นรายบุคคล จับคู่ตรวจสอบ
3Why/3How
2 นวัตกรรมการเรียนรู้ที่สร้างให้เกิดผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน 09.30 - 10.00 น. - PowerPoint
บริบทแวดล้อมการเรียนรู้ (SEL) และการช่วยเหลือครู (30 นาที) - ใบงาน 2
นำสู่การใช้จริงในห้องเรียน
- ปรับนวัตกรรมการเรียนรู้
- ทำใบงานที่ 2 รายบุคคล
- รวมกลุ่มตามนวัตกรรมอภิปรายว่าประสิทธิภาพของ
นวัตกรรมการเรียนรู้นั้น มีประสิทธิภาพต่อการสร้าง
สมรรถนะผู้เรียนมากน้อยเพียงใด
3 การพัฒนาบุคลากรแบบ 70-20-10 10.00 - 10.30 น. - PowerPoint
- ทำใบงานที่ 3 พัฒนาสมรรถนะครูเพื่อจัดการเรียนรู้สู่ (30 นาที) - ใบงาน 3
สมรรถนะ: รวมกลุ่มสหวิทยาเขต และร่วมกันหาแนว
ทางการพัฒนาสมรรถนะครูร่วมกัน
4 4.1 Bridge Leadership เป็นภาวะผู้นำที่ส่งเสริม 10.30 - 11.00 น. - PowerPoint
กระบวนการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเพื่อจัดการ (30 นาที) - ใบงาน 4
กับความไม่เท่าเทียมกันและสร้างการเปลี่ยนแปลงทาง
สังคม: การสร้างความเป็นเจ้าของ การพัฒนาความเป็น
เจ้าของร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ และร่วมกันมีส่วน
ร่วมในการสร้างความเป็นจริงใหม่
4.2 Collective leadership เป็นการทำงานเคียงบ่า
เคียงไหล่ร่วมกันกับบุคคล/หน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพ
ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน และร่วมมือกันในการพัฒนา
งานให้สำเร็จ
- ทำใบงานที่ 4 ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่
ละโรงเรียน
- กลุ่มร่วมกันพิจารณาจัดลำดับความสำคัญ/หาแนวทาง
การให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิด 1) การสร้างความเป็น
เจ้าของ 2) การพัฒนาความเป็นเจ้าของร่วมกับผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียอื่น ๆ 3) ร่วมกันมีส่วนร่วมในการสร้างความเป็น
จริงใหม่
92

ที่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา สื่อและเอกสาร


ประกอบ
5 Ladder feedback คือ บันไดการให้ข้อเสนอแนะ เป็น 11.00 - 11.45 น. - PowerPoint
รูปแบบการประเมินเพื่อเข้าใจ และสร้างวัฒนธรรมของ (45 นาที) - ใบงาน 5
ความไว้วางใจและการส่งเสริมทางบวก ซึ่งบันไดให้
ข้อเสนอแนะนี้จะทำตามลำดับ 5 ขั้นตอน คือ สร้างความ
ชัดเจน สร้างค่านิยม สร้างความตระหนัก และสร้าง
ค่านิยม
- ทำใบงานที่ 5 ออกแบบแผนการบริหารจัดการศึกษาที่
เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน โดยจัดทำเป็น
รายบุคคล แล้วจับกลุ่ม 6 คน นำเสนอแผน ฯ และให้ใช้
Ladder feedback แบบงูกินหาง: 1 นำเสนอ 6
feedback/2 นำเสนอ 1 feedback/ 3 นำเสนอ 2
feedback/ 4 นำเสนอ 3 feedback/ 5 นำเสนอ 4
feedback/ 6 นำเสนอ 1 feedback
6 สรุปการอบรมวันที่ 2 ช่วงเช้าและสะท้อนการเรียนรู้การ 11.45 – 12.00 น. - PowerPoint
สะท้อนคิด (Reflection) นำมาใช้เพิ่มศักยภาพการ (15 นาที) - ใบงาน 6
เรียนรู้อย่างสูงสุด ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้าน
พุทธิพิสัย (Cognitive domain) และด้านจิตพิสัย
(Affective domain) โดยผลจากการสะท้อนคิดทำให้เกิด
มุมมองใหม่แบบแผนทางความคิดแบบใหม่ การ
เปลี่ยนแปลงสภาวะทางอารมณ์และเจตคติ และทัศนคติ
ทางบวกต่อการเรียนรู้ รวมถึงการวิเคราะห์และประเมิน
ตนเองสำหรับวางแผนพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นทักษะสำคัญ
ของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning)
- ทำใบงานที่ 6 แต่ละคนเขียนโน๊ตข้อความถึง รอง ผอ.
และครูที่ทำกิจกรรมอยู่ในห้องอื่น ใน 3 ประเด็น ดังนี้
1) Learn
2) Unlearn
3) Learn
- แลกเปลี่ยนกัน
- อาสาสมัครมาแชร์สิ่งที่เขียน
- ร่วมกันสรุปหลักการการสะท้อนการเรียนรู้

5. การประเมินผลการจัดกิจกรรม
5.1 การสังเกตพฤติกรรม
5.2 การตรวจผลงาน
5.3 การปฏิบัติงานกลุ่ม
93

6. สื่อและเอกสารประกอบ
6.1 PowerPoint เรื่อง การบริหารจัดการสถานศึกษาจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะของ
ผู้เรียน
6.2 ใบงาน
ใบงานที่ 1 ทบทวนกลยุทธ์ในการบริหารการศึกษาในโรงเรียน
ใบงานที่ 2 นวัตกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน
ใบงานที่ 3 โมเดล 70 : 20 : 10
ใบงานที่ 4 วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ใบงานที่ 5 แผนปฏิบัติการ ( Action plan)
ใบงานที่ 6 แบบบันทึกการเรียนรู้ : การสะท้อนการเรียนรู้
94

PowerPoint ประกอบการบรรยาย
เรื่อง การบริหารจัดการสถานศึกษาจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106

ใบงานที่ 1 ทบทวนกลยุทธ์ในการบริหารการศึกษาในโรงเรียน

ใบงานที่ 2 นวัตกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน
107

ใบงานที่ 3 โมเดล 70 : 20 : 10

ใบงานที่ 4 วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
108

ใบงานที่ 5 แผนปฏิบัติการ ( Action plan)

ใบงานที่ 6 แบบบันทึกการเรียนรู้ : การสะท้อนการเรียนรู้


109

กิจกรรมที่ ๕.๒ การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของ


รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ/ หัวหน้าหลักสูตร/ หัวหน้ากลุม่ สาระ
การเรียนรู้

๑. แนวคิดการจัดกิจกรรม
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
สถานศึกษาสามารถนำมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไปใช้ เป็นกรอบทิศทางในการกำหนดเนื้อหา
ทักษะกระบวนการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพบรรลุตาม
เป้าหมายของหลักสูตร หลักสูตรสถานศึกษาเป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและ
ท้องถิ่น และมีความยืดหยุ่น เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย มีสมรรถนะที่จำเป็นสอดคล้องกับโลกยุคปัจจุบันซึ่งมี
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลักสูตรสถานศึกษาประกอบด้วย ความรู้ และประสบการณ์ที่สถานศึกษาแต่
ละแห่งวางแผนพัฒนาผู้เรียน โดยเกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก
สถานศึกษา หลักสูตรสถานศึกษาเป็นแบบแผน แนวทาง หรือข้อกำหนดของการจัดการที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้
ความสามารถ โดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตน โดยมีการจัดขอบข่าย ระดับขั้นของมวล
ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เ รียนนำไปสู่การปฏิบัติ สามารถพัฒนาต่อยอดการ
เรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน สังคม และโลกอย่างมีความสุข รวมทั้งสถานศึกษา
ดำเนินการตรวจสอบหลักสูตรสถานศึกษาตามองค์ประกอบของหลักสูตร เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพและ
มาตรฐาน
การบริหารจัดการหลักสูตร
การพั ฒ นาและใช้ ห ลั ก สู ต รให้ ป ระสบความสำเร็ จจำเป็ นต้ อ งอาศั ย การบริหารจั ดการหลั กสูตร
ที่มีประสิทธิภาพ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกันเกี่ยวกับหลักสูตร รวมทั้งเข้าใจถึงบทบาท
หน้าที่ของตนเองและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่ อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนา
คุณภาพผู้เรียน การบริหารจัดการหลักสูตรในปัจจุบัน ซึ่งมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และสถานศึกษาให้มี
ส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในการพัฒนาหลักสูตรของตนเองนั้น ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงแนวคิด วิธีการ
รูปแบบ และปรับเปลี่ยน

๒. วัตถุประสงค์
2.๑ เพื่อทบทวน ตรวจสอบหลักสูตรสถานศึกษา
2.๒ เพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

๓. รูปแบบการจัดกิจกรรม
3.๑ การรับฟังการบรรยายจากวิทยากร
3.๒ การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.3 การปฏิบัติงานกลุ่ม
110

๔. ขั้นตอนการดำเนินงาน
ที่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา สื่อและเอกสารประกอบ
1 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อ ๑๘.0๐ – ๒๑.00 น. - PowerPoint
ต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของรอง และ การบริหารจัดการ
ผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ/ หัวหน้า ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. หลักสูตรสถานศึกษา
งานหลักสูตร/ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ (๖ ชั่วโมง) ที่เอื้อต่อการพัฒนา
ผู้เข้ารับการอบรมฟังวิทยากรบรรยาย และ สมรรถนะผู้เรียน
มีการซักถาม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - แบบตรวจสอบ
เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อ องค์ประกอบหลักสูตร
ต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ทบทวน สถานศึกษา
ตรวจสอบหลักสูตรสถานศึกษา และจัดทำแผน
ขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อ
การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

5. การประเมินผลการจัดกิจกรรม
5.1 การสังเกตพฤติกรรม
๕.๒ การตอบคำถามจากการซักถาม
๕.๓ การตรวจแผนขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

6. สื่อและเอกสารประกอบ
๖.๑ PowerPoint การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
๖.๒ แบบตรวจสอบองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษา
111

PowerPoint ประกอบการบรรยาย
เรื่อง การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
112
113
114

แบบตรวจสอบองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษา
โรงเรียน................................................อำเภอ.....................................จังหวัด.............................
สพป./ สพม. ..............................................................................................................................................
คำชี้แจง
ให้รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและ/ หรือผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบองค์ประกอบหลักสูตร
สถานศึกษา ตามลำดับดังนี้
1. ตรวจสอบองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษาตามรายการที่กำหนด แล้วเขียนเครื่องหมาย 
ลงในช่องผลการตรวจสอบตามความเป็นจริง
2. บันทึกข้อสังเกต/ ข้อเสนอแนะแต่ละรายการ เพื่อให้โรงเรียนนำไปใช้ประโยชน์ในการปรั บปรุง
และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาต่อไป
3. สรุปผลการตรวจสอบองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษา ลงในจุดเด่นของหลักสูตรสถานศึกษา
และจุดที่ต้องเพิ่มเติมและพัฒนา
องค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ผลการตรวจสอบ ข้อสังเกต/
รายการ
มี ไม่มี ข้อเสนอแนะ
1. ส่วนนำ
1.1 ความนำ
แสดงความเชื่อมโยงระหว่างหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรอบหลักสูตร
ระดับท้องถิ่น จุดเน้น และความต้องการ ของโรงเรียน
1.2 วิสัยทัศน์
1.2.1 แสดงภาพอนาคตที่พึงประสงค์ของผู้เรียนที่
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อย่างชัดเจน
1.2.2 แสดงภาพอนาคตที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
สอดคล้องกับกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น
1.2.3 แสดงภาพอนาคตที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
ครอบคลุมสภาพความต้องการของโรงเรียน ชุมชน ท้องถิ่น
1.2.4 มีความชัดเจนสามารถปฏิบัติได้
1.3 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
มีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.4.1 มีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.4.2 มีความสอดคล้องกับเป้าหมายจุดเน้น
กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น
115

ผลการตรวจสอบ ข้อสังเกต/
รายการ
มี ไม่มี ข้อเสนอแนะ
1.4.3 สอดคล้องกับวิสัยทัศน์โรงเรียน
2. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
2.1 โครงสร้างเวลาเรียน
2.1.1 มีการระบุเวลาเรียนของ 8 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ ที่เป็นเวลาเรียนพื้นฐานและเพิ่มเติม จำแนกแต่ละ
ชั้นปีอย่างชัดเจน
2.1.2 มีการระบุเวลาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
จำแนกแต่ละชั้นปีอย่างชัดเจน
2.1.3 เวลาเรียนรวมของหลักสูตรสถานศึกษา
สอดคล้องกับโครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2.2 โครงสร้างหลักสูตรชั้นปี
2.2.1 มีการระบุรายวิชาพื้นฐานทั้ง 8 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ พร้อมทั้งระบุเวลาเรียนและ/ หรือหน่วยกิต
2.2.2 มีการระบุรายวิชาเพิ่มเติมที่สถานศึกษา
กำหนด พร้อมทั้งระบุเวลาเรียนและ/ หรือหน่วยกิต
2.2.3 มีการระบุกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พร้อมทั้ง
ระบุเวลาเรียน
2.2.4 มีรายวิชาพื้นฐานที่ระบุรหัสวิชา ชื่อรายวิชา
จำนวนเวลาเรียน และ/ หรือหน่วยกิต ไว้อย่างถูกต้องชัดเจน
2.2.5 มีรายวิชาเพิ่มเติม/ กิจกรรมเพิ่มเติม
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ จุดเน้นของโรงเรียน
3. คำอธิบายรายวิชา
3.1 มีการระบุรหัสวิชา ชือ่ รายวิชา และชื่อกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ไว้อย่างถูกต้องชัดเจน
3.2 มีการระบุชั้นปีที่สอนและจำนวนเวลาเรียนและ/
หรือหน่วยกิต ไว้อย่างถูกต้องชัดเจน
3.3 การเขียนคำอธิบายรายวิชาเขียนเป็นความเรียง
โดยระบุองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ
หรือเจตคติที่ต้องการ
3.4 มีการจัดทำคำอธิบายรายวิชาพื้นฐานครอบคลุม
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
3.5 มีการระบุรหัสตัวชี้วัด ในรายวิชาพื้นฐาน
และจำนวนรวมของตัวชี้วัด
3.6 มีการระบุผลการเรียนรู้ ในรายวิชาเพิ่มเติม
และจำนวนรวมของผลการเรียนรู้
116

ผลการตรวจสอบ ข้อสังเกต/
รายการ
มี ไม่มี ข้อเสนอแนะ
3.7 มีการกำหนดสาระการเรียนรรู้ท้องถิ่นสอดแทรก
อยู่ในคำอธิบายรายวิชาพื้นฐานหรือรายวิชาเพิ่มเติม
4. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4.1 จัดกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรมตามที่กำหนดไว้ใน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551
4.2 จัดเวลาทั้ง 3 กิจกรรมสอดคล้องกับโครงสร้าง
เวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
4.3 มีแนวทางการจัดกิจกรรมที่ชัดเจน
4.4 มีแนวทางการประเมินกิจกรรมที่ชัดเจน
5. เกณฑ์การจบการศึกษา
5.1 มีการระบุเวลาเรียน/ หน่วยกิต รายวิชาพื้นฐาน
และรายวิชาเพิ่มเติม ตามเกณฑ์การจบหลักสูตรของ
โรงเรียนไว้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับโครงสร้าง
หลักสูตรของโรงเรียน
5.2 มีการระบุเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์
และเขียนไว้อย่างชัดเจน
5.3 มีการระบุเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ไว้อย่างชัดเจน
5.4 มีการระบุเกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ไว้อย่างชัดเจน

สรุปผลการตรวจสอบองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษา
จุดเด่นของหลักสูตรสถานศึกษา
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
จุดที่ต้องเพิ่มเติมและพัฒนา
1. ส่วนนำ
1.1 ความนำ
.........................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
1.2 วิสัยทัศน์โรงเรียน
.........................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
117

1.3 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
.........................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
1.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
.........................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................

2. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
.........................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
3. คำอธิบายรายวิชา
............................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
4. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
.......................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
5. เกณฑ์การจบการศึกษา
............................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................

ลงชื่อ ................................................. ผู้ตรวจสอบ


(...................................................)
ตำแหน่ง....................................................
.............../.............../..............
118

กิจกรรมที่ ๕.๓ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือวัดและ


ประเมินผลที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของครูผู้สอน

1. แนวคิดการจัดกิจกรรม
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นกระบวนการของการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน
เกิดคุณภาพตามเป้าหมายที่ต้องการ โดยเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้น
พื ้ น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๑ ประกอบด้ ว ย สมรรถนะสำคั ญ ของผู ้ เ รี ย น ๕ ประการ คุ ณ ลั ก ษณะ
อันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด และความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
ประกอบด้วย ๓ ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ การกำหนดหลักฐานการเรี ยนรู้
และการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยทั้ง 3 ขั้นตอนต้องมีความสอดคล้องกัน
การจัดการเรีย นรู้เชิงรุก เป็น กระบวนการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนตามแนวคิดของการจัด
การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หรือการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
สร้างความรู้ห รือแนวคิดจากกิจ กรรมที่ได้ปฏิบัติ และสื่อสารความรู้ความเข้าใจในรปแบบต่าง ๆ อย่าง
สร้างสรรค์ และเพื่อเป็นการตรวจสอบการเกิดความสามารถของนักเรียนระหว่างพัฒนา การออกแบบการ
จัดการเรียนรู้จึงดำเนินควบคู่กันไปกับการออกแบบการประเมินในชั้นเรียน

2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

3. รูปบบการจัดกิจกรรม
3.1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.2 การฟังบรรยาย
3.3 การฝึกปฏิบัติ
3.4 การนำเสนอผลงาน

4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
ที่ กิจกรรม/กระบวนการ เวลา สื่อและเอกสารประกอบ
1. วิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมร่วมกันทบทวน 09.00 – 12.00น. 1. PowerPoint: การ
การนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3 ชม.) จัดการเรียนรู้เชิงรุก
พุทธศักราช ๑๕๕๑ สู่หลักสูตรสถานศึกษา (Active Learning)
และการกำหนดเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ 2. แบบตรวจสอบรายการ
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. ใบงานการออกแบบ
พุทธศักราช ๑๕๕๑ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
2 วิทยากรพาเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบการ 4. ตัวอย่างกิจกรรมการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยและร่วมกันสะท้อน เรียนรู้แบบ Active
กิจกรรมการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนา Learning
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
119

ที่ กิจกรรม/กระบวนการ เวลา สื่อและเอกสารประกอบ


3 ผู้เข้ารับการอบรมออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ตัวอย่างที่ 1
และออกแบบการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการ รูปเรขาคณิตสองมิติและ
ประเมินในชั้นเรียน โดยใช้แบบตรวจสอบความ สามมิติ
สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของหน่วย ตัวอย่างที่ 2
และแผนการจัดการเรียนรู้ กระดาษห่อของขวัญ

5. การประเมินการจัดกิจกรรม
5.1 การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม
5.๒ การตรวจใบงาน
แนวทางการประเมินจากใบงาน
รายการประเมิน
น้อย ปานกลาง มาก
ความรู้ความเข้าใจ ส่งใบงาน แต่ผลงงานไม่ ส่งใบงาน ผลงานครบถ้วน ส่งใบงาน ผลงานครบถ้วน
การนำความรู้ไปใช้ในการ ครบถ้วน แต่บางประเด็นไม่ถูกต้อง ถูกต้อง และสมบูรณ์
ปรับปรุงงานและออกแบบ
การจัดการเรียนรู้

6. สื่อและเอกสารประกอบ
6.1 Power Point เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน (ใช้
PowerPoint ร่วมกับกิจกรรมที่ 3)
6.2 แบบตรวจสอบรายการการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินสะท้อนสมรรถนะ
6.3 ใบงานการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
6.4 ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning
ตัวอย่างที่ 1: รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
ตัวอย่างที่ 2: กระดาษห่อของขวัญ
120

แบบตรวจสอบรายการการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินสะท้อนสมรรถนะ
คำชี้แจง ให้ท่านใช้รายการตรวจสอบต่อไปนี้ วิเคราะห์/ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับ
ลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกและการประเมินผลที่สะท้อนสมรรถนะ

ข้อที่ รายการตรวจสอบ ความสอดคล้อง สาเหตุ


สอดคล้อง ไม่สอดคล้อง
ด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่สะท้อนสมรรถนะ
1 มีเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งความรู้
ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะของผู้เรียนที่
ต้องการพัฒนาผ่านกิจกรรมการเรียนรู้
2 กิจกรรมการเรียนรูม้ ีการให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ
กิจกรรม คิดเชื่อมโยง(สร้างความรู)้ และสื่อสารความ
เข้าใจหรือใช้ความรู้ในการแก้ปญ ั หา
3 กิจกรรมการเรียนรูม้ ีสถานการณ์การเรียนรู้เพื่อสร้าง
ประสบการณ์ทางการเรียนมีความเหมาะสม สามารถ
นำพาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายหรือสามารถเกิด
ความสามารถตามภาระงานรวบยอด
4 กิจกรรมการเรียนรูม้ ีกิจกรรมประเมินการเกิด
พฤติกรรมของผูเ้ รียนทีส่ ะท้อนสมรรถนะหรือ
จุดประสงค์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ
5 หน่วยการเรียนรูม้ ีเป้าหมาย กิจกรรมการเรียนรู้ และ
การวัดและประเมินผลการเรียนรูส้ อดคล้องกัน
ด้านการประเมินสมรรถนะ
6 ก่อนเริ่มกิจกรรมผู้เรียนต้องรับรู้และเข้าใจจุดมุ่งหมาย
แต่ละหน่วยการเรียนรู้
7 สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินให้แก่
ผู้เรียน
8 ครูให้ข้อมูลป้อนกลับทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็น
ทางการที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนรู้
9 เป็นการประเมินแบบบูรณาการหรือแบบองค์รวม ที่
เป็นการพิจารณาคุณภาพของผู้เรียนที่ครอบคลุมทั้ง
ในด้านความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะของ
ผู้เรียน
10 ข้อมูลสารสนเทศจากการประเมินสะท้อนระดับ
สมรรถนะของผู้เรียน
121

ใบงาน: การออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
คำชี้แจง : ให้ผู้เข้ารับการอบรมออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน

ผลผลัพธ์การเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล รายการสื่อประกอบการ


การเรียนรู้ จัดการเรียนรู้
122

ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning


ตัวอย่างที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
• แนวคิดกิจกรรมการเรียนรู้ Active based Learning
• กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ผลผลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การประเมินการ รายการสื่อประกอบ


(Active based Learning) เรียนรู้ในชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้
สมรรถนะสำคัญของ 1.1 นั ก เรี ย นทบทวนความรู้ -ประเมินสมรรถนะ 1. กระดาษรูปสี่เหลี่ยม
ผู้เรียน เกี่ยวกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดย สำคัญของผู้เรียนด้าน จัตุรัส ๓ สี ที่มีขนาด
• ความสามารถใน ครู แ จกกระดาษรู ป สี ่ เ หลี ่ ย ม การคิดและการเขียน แตกต่างกันสำหรับ
การสื่อสาร จัตุรัสที่มีขนาดและสีแตกต่าง เพื่อการสื่อสารด้วย นักเรียนทุกคนในห้องโดย
• ความสามารถในการคิด กั น พร้ อมกระดาษโพสอิ ท ให้ ภาษาและสัญลักษณ์ แต่ละขนาดให้มีจำนวน ๖
คุณลักษณะอันพึง นั ก เรี ย นคนละ ๑ ชุ ด ให้ ทางคณิตศาสตร์จาก แผ่น
ประสงค์ นักเรียนเขียนอธิบายลักษณะ ข้อความในกระดาษ ๒. กระดาษโพสอิทสำหรับ
• มีวินัย ของรูปสี่เหลี่ยมลงในกระดาษ โพสอิท นักเรียนทุก
• ใฝ่เรียนรู้ โพสอิ ท ตามความรู ้ ค วาม ๓. ใบกิจกรรมที่ ๑ จาก
เข้าใจของนักเรียน สองมิติสู่สามมิติ
1.2 นักเรียนจับกลุ่มกลุ่มละ ๖ -ประเมินอันพึง
ผลผลัพธ์การเรียนรู้ คน โดย ให้ แต่ละกลุ่มมีขนาด ประสงค์ด้านความมี
• นักเรียนสามารถสร้าง ของกระดาษเท่ า กั น และ วินัย โดยพิจารณาจาก
คำอธิบายเกี่ยวกับ มีกระดาษ 3 สี ผลการเข้ากลุ่มของแต่
ความสัมพันธ์ระหว่างรูป ละกลุ่ม
เรขาคณิตสองมิติและ 1.3 นั ก เรี ย นแต่ ล ะคนอ่ า น -ประเมินสมรรถนะ
สามมิติจากกิจกรรมการ ข้อความในกระดาษโพสอิท ที่ สำคัญของผู้เรียนด้าน
เรียนรู้และสามารถใช้ เขีย นมาให้ส มาชิกในกลุ่ม ฟั ง การคิดและการพูด
ความสัมพันธ์เพื่อ แล้ ว แต่ ล ะกลุ ่ ม ร่ ว มกั บ สรุ ป
สื่อสารด้วยภาษาและ
อธิบายลักษณะของรูป ความรู ้ ต ่ า ง ๆ เกี ่ ย วกั บ รู ป และสัญลักษณ์ทาง
สามมิติชนิดต่าง ๆ อย่าง สี่เหลี่ยมจัตุรัส และนำเสนอ คณิตศาสตร์จากการ
สมเหตุสมผลและมั่นใจ ข้อสรุปความกลุ่มต่อห้องเรียน นำเสนอต่อห้องเรียน
1.4 นักเรียนแต่ละกลุ่ม -ประเมินอันพึง
ร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรมตาม ประสงค์ด้านความมี
ใบกิจกรรมที่ ๑ จากสองมิติสู่ วินัยและใฝ่เรียนรู้จาก
สามมิติ ตามคำชี้แจงใน การปฏิบัติกิจกรรม
ใบกิจกรรม กลุ่ม
-ประเมิน
1.5 นักเรียนแต่ละกลุ่ม “สร้าง ความสามารถตาม
คำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ มาตรฐานการเรียนรู้
ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติ และตัวชี้วัด
123

ผลผลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การประเมินการ รายการสื่อประกอบ


(Active based Learning) เรียนรู้ในชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้
และสามมิติ” นำเสนอและ
ร่วมกันสรุป
1.6 นักเรียนเชื่อมโยงข้อสรุป
ไปใช้ใ นการอธิบายลั ก ษณะ
ของรู ป สามมิ ต ิ ช นิ ด ต่ า ง ๆ
อย่างสมเหตุสมผลและมั่นใจ
124

ใบกิจกรรมที่ ๑ จากสองมิตสิ ู่สามมิติ


ผลลัพธ์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติจากกิจกรรม
การเรียนรู้และสามารถใช้ความสัมพันธ์เพื่ออธิบายลักษณะของรูปสามมิติชนิดต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผลและมั่นใจ
วัสดุ-อุปกรณ์การเรียนรู้
๑. กระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๓ สี ขนาดแตกต่างกัน 3-๔ ขนาด ขนาดละ ๖ แผ่น เท่ากับจำนวนนักเรียน
ในห้องเรียน
๒. กระดาษโพสอิท
เวลาในการปฏิบัติกิจกรรม 45 นาที
วิธีการปฏิบัติกิจกรรม

นักเรียนระดมความคิดหรือหาวิธีการพับหรือทำกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดย
๑. เขียนขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน
๒. เขียนอธิบายความสัมพันธ์ของสี่เหลี่ยมจัตุรสั กับทรงสามมิติ
๓. นำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมในข้อ ๑ และ ๒
125

ตัวอย่างที่ ๒ กระดาษห่อของขวัญ (เลือกกระดาษห่อของขวัญขนาดใด เหมาะสมกับของขวัญ


ที่สุด)
• แนวคิดกิจกรรมการเรียนรู้ Thinking based Learning
• กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ผลผลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การประเมิน รายการสื่อประกอบ


(Thinking based Learning) การเรียนรู้ในชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้
สมรรถนะสำคัญของ ๑. ชี้แจงการปฏิบัติงานตาม -ประเมินความสามารถ ๑.กระดาษ A4 กลุ่ม
ผู้เรียน ใบกิจกรรมที่ ๑ และ ด้านการสื่อสารจาก ละ ๑ แผ่น
• ความสามารถใน ให้นักเรียนซักถามข้อสงสัย อภิปรายระหว่าง ๒.กระดาษโพสอิท ๔
การสื่อสาร จนทุกคนเข้าใจกติกา ปฏิบัติกิจกรรมสร้าง สี คือ เขียว ส้ม ชมพู
• ความสามารถใน ๒. ปฏิบัติกิจกรรมตาม คำถาม ๓ ข้อ และการ และฟ้า
การคิด ขั้นตอนในใบกิจกรรมที่ ๕ ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ ๓. กระดาษห่อ
คุณลักษณะอันพึง ดังนี้ ในการสื่อสารจาก ของขวัญ
ประสงค์ 2.1 นักเรียนแต่ละกลุ่ม ข้อความ ๔. กรรกไกร และ
• มีวินัย ร่วมกันอภิปรายเพื่อสร้างชุด -ประเมินความสามารถ เทปใส
• ใฝ่เรียนรู้ คำถามที่นำไปสู่การรู้ขนาด ด้านการคิดเป็นระบบ ๕.ใบกิจกรรมที่ ๕
ของกล่องขวัญ จำนวน ๓ จากความต่อเนื่องของ เลือกกระดาษห่อ
คำถามที่ต่อเนื่องกัน และ คำถามที่ ๑-๓ ของขวัญขนาดใด
ผลผลัพธ์การเรียนรู้ เรียบเรียงคำถามในกระดาษ -ประเมินคุณลักษณะ เหมาะสมกับ
• นักเรียนสามารถเลือก โพสอิท โดย อันพึงประสงค์ด้าน ของขวัญที่สุด
กระดาษห่อของขวัญ - โพสอิท ๑ แผ่น ๑ ความมีวินัยและใฝ่
ได้เหมาะสมกับกล่อง คำถาม เรียงต่อกัน ๓ สี คือ เรียนจากการปฏิบัติ
ของขวัญโดยใช้ความรู้ Q1-เขียว Q2-ส้ม Q3-ชมพู ตามกติกาหรือเงื่อนไข
ความเข้าใจเกี่ยวกับ - เป็นคำถามที่ต้องตอบว่า ของกิจกรรม เขียน
พื้นที่ผิวและปริมาตร “ใช่/ไม่ใ” คำถาม ๓ ข้อใน
ของปริซึมผ่าน - ทุกคำถามต้องมีคำหรือ กระดาษโพสอิท โดย
กระบวนการสร้าง ข้อความเกี่ยวกับปริซึมและ Q1-เขียว Q2-ส้ม Q3-
คำถามที่นำไปสู่การ ทรงกระบอก เช่น “กล่อง ชมพู ถามคำถามที่
แก้ปัญหาอย่าง ของขวัญมีลักษณะเป็นทรง ต่อเนื่องจากข้อมูลของ
สมเหตุสมผล สี่เหลี่ยมมุมฉาก ใช่หรือไม่” กลุ่มก่อนหน้า
2.2 นักเรียนแต่ละกลุ่ม -ประเมินความสามารถ
ถามคำถามครั้งละ ๑ คำถาม ในการใช้ความรู้ตาม
โดย ตัวชี้วัดจากทุกคำถาม
- กลุ่มแรก ถามคำถาม ของนักเรียน
แรกที่กลุ่มเขียนไว้
- กลุ่มต่อไป สามารถ
เลือกใช้คำถามหนึ่งในสามที่
126

ผลผลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การประเมิน รายการสื่อประกอบ


(Thinking based Learning) การเรียนรู้ในชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้
เขียนไว้ หรือเขียนเพิ่มเป็น
คำถามที่สี่ โดยพิจารณาจาก
คำถามหรือคำตอบก่อนหน้า
ของกลุ่มอื่นก็ได้ โดย นักเรียน
ต้องเขียนคำถามลงในโพสอิท
ทุกครั้งก่อนถามเป็น Q4,
Q5, Q6, …. โดยใช้โพสอิทสี
ฟ้า
- ปฏิบัติไปจนสามารถหา
กล่องของขวัญได้
- ทุกคำถามของแต่ละกลุ่ม
ให้ติดบนกระดาษ A4 จำนวน
๑ แผ่น และส่งครูเมื่อจบ
กิจกรรม
๒.๓ เมื่อได้กล่องของขวัญ
แล้วแจกกระดาษห่อและเทป
ใสเพื่อให้นักเรียนช่วยกันห่อ
ของขวัญ และมอบให้นักเรียน
เป็นของขวัญ
๓. ประเมินและสะท้อนการ
เรียนรู้ของนักเรียน ดังนี้
3.1 ครูประเมินผลการ
นักเรียน โดยประเมินภาพรวม
ของงานทั้งห้อง ด้วยการ
ยกตัวอย่างผลงานกรณีที่มี
ความไม่สมเหตุสมผลใน
ห้องเรียน เช่น ไม่เป็นไปตาม
กติกา/เงื่อนไข ใช้คำ ข้อความ
หรือภาษไม่ถูกต้องกับลักษณะ
ของเรขาคณิตสามมิติ เป็นต้น
3.2 นักเรียนแต่ละกลุ่ม
ประเมินผลงานตนเองว่าผล
การประเมินของครู โดย
พิจารณาว่า
127

ผลผลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การประเมิน รายการสื่อประกอบ


(Thinking based Learning) การเรียนรู้ในชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้
- ผลงานเป็นไปตาม
กติกา/เงื่อนไขของกิจกรรม
หรือไม่
- คำถามเป็นคำ/
ข้อความที่ใช้ภาษาหรือ
สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่
สมหตุสมผล
- ปรับปรุงผลงาน
3.3 ครูประเมินอีกครั้ง
เพื่อสรุปความสามารถของ
นักเรียนจากการปฏิบัติ
กิจกรรม
128

ใบกิจกรรม กระดาษห่อของขวัญ (เลือกกระดาษห่อของขวัญขนาดใด เหมาะสมกับของขวัญ


ที่สุด)
แนวคิดกิจกรรม
กิจกรรมมีลักษณะเป็นเกมที่ไม่ได้แข่งขัน แต่เป็นการให้นักเรียนร่วมมือกันแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่ครู
กำหนดตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหานักเรียนต้องปฏิบัติงานเงื่อนไขและใช้
ความรู้ความเข้าใจสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก หรือความรู้ทาง
คณิตศาสตร์อื่น ๆ เป็นเครื่องมือผ่านการตั้งคำถามที่ต่อเนื่องกัน และนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างสมเหตุสมผล
ลักษณะกิจกรรม
เป็นกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละ ๓ – 6 คน ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียนในห้อง ในการปฏิบัติ
กิจกรรมนักเรียนแต่ละคนต้องสร้างคำถาม ๑ ข้อ นำเสนอคำถามต่อสมาชิกกลุ่ม กลุ่มอภิปรายเพื่อสร้างคำถาม
จำนวน ๓ ข้อ ตามเงื่อนต่อเนื่องกัน และนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างสมเหตุสมผล
ผลลัพธ์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถเลือกกระดาษห่อของขวัญได้เหมาะสมกับกล่องของขวัญโดยใช้ความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับพื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึมผ่านกระบวนการสร้างคำถามที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างสมเหตุสมผล

อุปกรณ์
1. ของขวัญ จำนวน 1 ชิ้น ดังรูป

ขนาด 2 x 3 x 4 ลูกบาศก์เซนติเมตร
129

2. กระดาษห่อของขวัญลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก จำนวน 3 ขนาด

10 x 4 8x6 12 x 8
ตารางนิ้ว ตารางนิ้ว ตารางนิ้ว

3. เทปใส ริบบิ้น และกรรไกรสำหรับห่อกล่องของขวัญ

สถานการณ์

ของขวัญ ๑ ชิ้นถูกซ่อนไว้ภายใต้แผ่นป้าย จำนวน ๑๘ แผ่นป้าย นักเรียนได้รับมอบหมายให้ห่อของขวัญ


สำหรับเป็นของขวัญวันเกิดให้กับคุณครูที่ปรึกษา โดยนักเรียนต้องช่วยกันเลือกกระดาษห่อของขวัญที่เหมาะสม
ที่สุดเพียง ๑ แผ่นเท่านั้น โดยมีกระดาษให้เลือก ๓ ขนาด ดังรูป

8x6 12 x 8
10 x 4
ตารางนิ้ว ตารางนิ้ว
ตารางนิ้ว
130

การปฏิบัติกิจกรรม
๑.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเพื่อสร้างชุดคำถามที่นำไปสู่การรู้ขนาดของกล่องขวัญ จำนวน ๓
คำถามที่ต่อเนื่องกัน และเรียบเรียงคำถามในกระดาษ โพสอิท โดย
- โพสอิท ๑ แผ่น ๑ คำถาม เรียงต่อกัน ๓ สี คือ Q1-เขียว Q2-ส้ม Q3-ชมพู
- เป็นคำถามที่ต้องตอบว่า “ใช่/ไม่ใ”
- ทุกคำถามต้องมีคำหรือข้อความเกี่ยวกับปริซึมและทรงกระบอก เช่น “กล่องของขวัญมีลักษณะ
เป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ใช่หรือไม่”
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มถามคำถามครั้งละ ๑ คำถาม โดย
- กลุ่มแรก ถามคำถามแรกที่กลุ่มเขียนไว้
- กลุ่มต่อไป สามารถเลือกใช้คำถามหนึ่งในสามที่เขียนไว้ หรือเขียนเพิ่มเป็นคำถามที่สี่ โดย
พิจารณาจากคำถามหรือคำตอบก่อนหน้าของกลุ่มอื่นก็ได้ โดย นักเรียนต้องเขียนคำถามลงในโพสอิท ทุกครั้ง
ก่อนถามเป็น Q4, Q5, Q6, …. โดยใช้โพสอิทสีฟ้า
- ปฏิบัติไปจนสามารถหากล่องของขวัญได้
- ทุกคำถามของแต่ละกลุ่มให้ติดบนกระดาษ A4 จำนวน ๑ แผ่น และส่งครูเมื่อจบกิจกรรม
3. นักเรียนช่วยกันห่อของขวัญ ๑ กลุ่ม ๑ ชิ้น
131

กิจกรรมที่ ๕.๔ การจัดทำแผนการนิเทศ กำกับ และติดตามผลการอบรมของศึกษานิเทศก์

๑. แนวคิดการจัดกิจกรรม
การนิเทศการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยลักษณะของการนิเทศการศึกษามีทั้งนิเทศภายในสถานศึกษาและนิเทศจาก
บุคคลภายนอกสถานศึกษา ซึ่งหากมีการขับเคลื่อนและสร้างความเข้มแข็งการนิเทศการศึกษาภายใ น
สถานศึกษา จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนโดยตรง ซึ่งการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผล
กระทบต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูคือการนิเทศชั้นเรียน ทั้งนี้การนิเทศชั้นเรียนจะมี
ประสิทธิภาพ มีความจำเป็นที่จะต้องนำกระบวนการนิเทศการศึกษามาใช้ในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
และจะส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน เน้นการจัดการ
เรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะหลักตามหลักสูตร

๒. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อวางแผนการนิเทศ ติดตาม การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ระดับเขตพื้นที่และ
รายบุคคล
2.2 เพื่อออกแบบกิจกรรมการนิเทศในชั้นเรียน/การสังเกตการสอน
2.3 เพื่อฝึกปฏิบัติ/สาธิตการนิเทศชั้นเรียนด้วยกระบวนการ Coaching & Mentoring และวิธีอื่น ๆ

๓. รูปแบบการจัดกิจกรรม
3.1 การอภิปราย ระดมความคิดเห็น
3.2 การประชุม focus Group
3.3 การสาธิต ทดลองปฏิบัติการนิเทศ

4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
กิจกรรม/กระบวนการ เวลา สื่อและเอกสารประกอบ
1. ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการนิเทศ 09.00 – 12.00น. 1. PowerPoint
1.1 ใช้กระบวนการกลุ่มระดมความคิด โดย (3 ชม.) 2. แบบนิเทศ การประเมิน/
ให้สมาชิกภายในกลุ่มร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ ตรวจสอบแผนการ
ประเด็นของประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน จัดการเรียนรู้เชิงรุก
ของครูผู้สอนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และทำการ 3. แบบบันทึกการนิเทศ
เลือกประเด็นปัญหาที่สามารถดำเนินการปรับปรุง/ การสังเกตชั้นเรียน
แก้ไข/พัฒนาได้ (วิทยากรใช้คำถามเพื่อให้ผู้เข้ารับ 4. แบบบันทึกการสะท้อน
การอบรมได้เห็นภาพครูส่วนใหญ่จัดการเรียนการ ผลการนิเทศ สังเกตชั้น
สอนในห้องเรียน โดยใช้การบรรยาย อธิบาย มาก เรียน (Field Note)
เกินไป ไม่ได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน
ได้ลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง)
1.2 ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ โดยให้ผู้เข้ารับการ
อบรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และวิทยากรร่วม
132

กิจกรรม/กระบวนการ เวลา สื่อและเอกสารประกอบ


เติมเต็ม หรือร่วมกันอภิปราย เพื่อให้เห็นสภาพ
ปัญหาที่ชัดเจน (ใช้ App Menti-meter ในกิจกรรม
การระดมความคิดเห็น หลังจากการอภิปราย
สรุปผล )
2. กำหนดประเด็นและวางแผนในการนิเทศ
หลังจากศึกษาตัวอย่างคลิป/วิดีทัศน์การสอน
และคลิปการสังเกตชั้นเรียน แล้ว
2.1 สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนด
ประเด็นในการนิเทศ (เน้นการนิเทศชั้นเรียน)
2.2 ศึกษาเครื่องมือในการนิเทศชั้นเรียน
โดยแบ่งเป็นเครื่องมือแบบนิเทศแผนการจัดการ
เรียนรู้ และแบบนิเทศการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
(การสังเกตการสอน)
2.3 สมาชิกในกลุ่ม ร่วมกันวางแผนและ
กำหนดแนวทางในการนิเทศ
2.4 ตัวแทนกลุ่มนำเสนอแผนการนิเทศ โดย
มีวิทยากรร่วมเติมเต็ม
3. กรณีศึกษา (ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือนิเทศ)
แบ่งกลุ่มศึกษากรณีตัวอย่างและการใช้
เครื่องมือนิเทศ
3.1 ตัวอย่างการนิเทศเพื่อประเมิน/
ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้
3.2 ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนในชั้น
เรียน (คลิป หรือวีดิทัศน์)
4. การสะท้อนผลการนิเทศ
อภิปราย ระดมความคิดเห็น ศึกษากรณี
ตัวอย่าง ในการใช้เทคนิคในการสะท้อนผลหลังการ
นิเทศในชั้นเรียน
4.1 เทคนิคการตั้งคำถาม
4.2 เทคนิคการ Coaching & Mentoring
และวิธีอื่น ๆ
4.3 การให้ข้อมูลย้อนกลับ จากการนิเทศใน
ชั้นเรียนและการนิเทศอื่น ๆ
5. ปฏิบัติการจัดทำแผนการนิเทศของเขตพื้นที่
การศึกษา และแผนนิเทศรายบุคคล (อาจนัดหมาย/
มอบหมายให้ดำเนินการภายหลังวันประชุม)
133

กิจกรรม/กระบวนการ เวลา สื่อและเอกสารประกอบ


5.1 แผนการนิเทศ ติดตาม การปรับการ
เรียนรู้สู่สมรรถนะผู้เรียน
ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning )
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
5.2 แผนการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริม
การปรับการเรียนรู้สู่สมรรถนะผู้เรียนด้วยการจัดการ
เรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้กับครูผู้สอน
ของศึกษานิเทศก์รายบุคคล

5. การประเมินผลการจัดกิจกรรม
5.1 การเข้าร่วมกิจกรรม
5.2 แผนการนิเทศ /ชิ้นงานจากการประชุมปฏิบัติการ

6. สื่อและเอกสารประกอบ
6.1 PowerPoint เรื่อง การนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
6.2 แบบนิเทศ การประเมิน/ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
6.3 แบบบันทึกการนิเทศ การสังเกตชั้นเรียน
6.4 แบบบันทึกการสะท้อนผลการนิเทศ สังเกตชั้นเรียน (Field Note)
134

PowerPoint ประกอบการบรรยาย
เรื่อง การนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
135
136

แบบนิเทศ ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่สมรรถนะของผู้เรียน


ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ....................................... แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ....................
ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ................................................ จำนวนชั่วโมง.........................................ชั่วโมง
ระดับชั้น..........................ชื่อครูผู้สอน....................................โรงเรียน...............................................
คำชี้แจง
1. แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่สมรรถนะของผู้เรียน ฉบับนี้มี
วัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความเหมาะสม และความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของแผนการจัด
การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning ) โดยการประเมินแบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 เป็นการตรวจสอบรายการเกี่ยวกับองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
ตอนที่ 2 เป็นการตรวจสอบความเหมาะสม ความเชื่อมโยง และความสอดคล้องของประเด็น
สำคัญในแผนการจัดการเรียนรู้
2. โปรดทำเครื่องหมาย √ ในช่องระดับคุณภาพที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน และกรุณาเขียน
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางในการปรังปรุง/พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
ตอนที่ 1 แบบตรวจสอบรายการเกี่ยวกับองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
การปฏิบัติ
ที่ รายการประเมิน
มี ไม่มี
1 ชื่อหน่วยการเรียนรู้
2 ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้
3 เวลาในการจัดการเรียนรู้
4 มาตรฐาน/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
5 สมรรถนะสำคัญ
6 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
7 สาระสำคัญ/แนวคิดหลักของการจัดการเรียนรู้
8 จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ที่แสดงถึง ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ หรือเจตคติ
9 กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning
10 สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
11 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
12 บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
137

ตอนที่ 2 เป็นการตรวจสอบความเหมาะสม ความเชื่อมโยง และความสอดคล้องของประเด็นสำคัญ


ในแผนการจัดการเรียนรู้
การปฏิบัติ
ที่ รายการประเมิน
มี ไม่มี
1 การวิเคราะห์ ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ หรือเจตคติ ของเป้าหมายตามการเรียนรู้
ตามหลักสูตรได้ครบถ้วน ตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
2 การกำหนดสมรรถนะสำคัญที่ครอบคลุมทั้ง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ
3 การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล มีความ
เชื่อมโยงสอดคล้องกัน
4 จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ระบุพฤติกรรมบ่งชี้ที่ชัดเจนสามารถวัดได้สอดคล้องกับตัวชี้วัด
หรือผลการเรียนรู้
5 กิจกรรมการเรียนรู้นำไปสู่พฤติกรรมบ่งชี้ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
6 กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับพฤติกรรมบ่งชี้ตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
และสมรรถนะสำคัญ
7 กิจกรรมการเรียนรู้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติ
8 กิจกรรมการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง
9 กิจกรรมการเรียนรู้สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ตั้งคำถามอภิปรายร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
จนนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ของตนเอง
10 เครื่องมือการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับวิธีการวัดและประเมินผลตาม
วัตถุประสงค์ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้
11 เครื่องมือการวัดมีการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนไว้อย่างชัดเจน
12 การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ที่สะท้อนความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ตาม
จุดประสงค์การเรียนรู้ และสมรรถนะสำคัญ
13 ผลการประเมินจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สามารถสะท้อนภาพความสำเร็จที่
สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ตัวชี้วัดผลการเรียนรู้ และสมรรถนะสำคัญ ที่
กำหนด
14 สื่อนวัตกรรมแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกิจกรรมและเวลาตามแผนการจัดการเรียนรู้จริง
15 การประเมินผลตามสภาพจริงสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดผลการเรียนรู้
และกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ
138

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
การให้ค่าคะแนนการปฏิบัติ
มี = 1
ไม่มี = 0
เกณฑ์ระดับคุณภาพ
คะแนน 0 - 6 ระดับผลการประเมินปรับปรุงเร่งด่วน
คะแนน 7 – 11 ระดับผลการประเมินปรับปรุง
คะแนน 12 – 16 ระดับผลการประเมินพอใช้
คะแนน 17 – 21 ระดับผลการประเมินดี
คะแนน 22 - 27 ระดับผลการประเมินดีมาก
สรุปผล มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ปรับปรุงเร่งด่วน

ลงชื่อ.......................................................ผู้นเิ ทศ/ผู้
ประเมิน
(............................................................)
วันที่...........................................................
139

แบบบันทึกการนิเทศ การสังเกตชั้นเรียน

โรงเรียน ครั้งที่ ชื่อผู้สอน รายวิชา


ชั้น แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วันที่ เดือน พ.ศ.
ผู้สังเกตการสอน
ขั้นตอนที่ 1 การสังเกตการสอน
เวลาที่ใช้ ขั้นตอน กิจกรรมหลัก กิจกรรมการสอนที่ค้นพบ จุดเด่น จุดพัฒนา ข้อเสนอแนะ
1. การเตรียมการสอน
1.1 เตรียมการ จัดทำหน่วยการเรียนรู้/แผนการ
สอน จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ
ไม่มี มาตรฐาน/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้/
มี จุดประสงค์การเรียนรู้/การวัดและ
ประเมินผล
เครื่องมือการวัดและประเมินผล
กำหนดเกณฑ์การวัดและ
ประเมินผล
จัดเตรียมสื่อ นวัตกรรม
2. การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้
2.1 ขั้นนำเข้าสู่ สร้างสถานการณ์กระตุ้นให้สงสัย
บทเรียน ใช้คำถามกระตุ้น (Learn to
ไม่มี Question)
มี ใช้สื่อกระตุ้น
อื่น ๆ ..........................
140

เวลาที่ใช้ ขั้นตอน กิจกรรมหลัก กิจกรรมการสอนที่ค้นพบ จุดเด่น จุดพัฒนา ข้อเสนอแนะ


2.2 แจ้ง
จุดประสงค์
การเรียนรู้
ไม่มี
มี
2.3 ขั้นการจัด กระตุ้นคิด สร้างความกระตือรือร้น
กิจกรรมการ ในการเรียนรู้ในสถานการณ์การเรียนรู้
เรียนรู้ ใหม่
ไม่มี แสวงหาความรู้ ฝึกฝนทักษะ ที่
มี ต้องใช้ปฏิบัติในสถานการณ์ที่กำหนด
เลือกใช้สื่อ/เทคโนโลยีในการ
ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
และเหมาะสม
ลงมือปฏิบัติจริงและร่วม
ปฏิสัมพันธ์สะท้อนคิดในสถานการณ์ที่
กำหนด
สื่อสารผลการปฏิบัติ
มีการบริหารจัดการชั้นเรียน เชิง
บวก
ปรับ ประยุกต์ใช้ความรู้และ
เผยแพร่
141

เวลาที่ใช้ ขั้นตอน กิจกรรมหลัก กิจกรรมการสอนที่ค้นพบ จุดเด่น จุดพัฒนา ข้อเสนอแนะ


2.4 ขั้นสรุปองค์ สร้างกระบวนการสรุปองค์ความรู้
ความรู้ สรุปผลการเรียนรู้ และนำเสนอผลการ
ไม่มี เรียนรู้ (Learn to Communicate)
มี การเผยแพร่และใช้ประโยชน์
ความรู้ต่อตนเองและสังคม (Learn to
Service)
นำเสนอรายละเอียดการต่อยอด
นวัตกรรม
อื่น ๆ...................................
2.5 การวัดและ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนด
ประเมินผล เกณฑ์การวัดและประเมินผล
ไม่มี มีการวัดและประเมินผลอย่าง
มี หลากหลาย ครอบคลุมตัวชี้วัด/ผลการ
เรียนรู้/จุดประสงค์การเรียนรู้
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน
รวมทั้งผู้ปกครอง หรือผู้เกี่ยวข้อง
มีส่วนร่วมในการประเมิน
แจ้งผลการประเมินให้นักเรียนได้
ทราบเพื่อการพัฒนา
การนำผลการประเมินไปใช้พัฒนา
นักเรียน
142

ขั้นตอนที่ 2 การสะะท้อนผลการสังเกตการสอน
ขั้นตอน ความคิดเห็นของผู้รับการนิเทศ ข้อเสนอแนะของผู้นิเทศ
1. ท่านบรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ครั้งนี้
หรือไม่ เพราะเหตุใด

2. ท่านคิดว่าสิ่งที่ท่านทำได้ดีในการจัดการเรียนการ
สอนครั้งนี้ คืออะไร เพราะเหตุใด

3. ท่านคิดว่าสิ่งใดที่ไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะเหตุใด

4. ท่านจะวางแผนพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน
ต่อไปอย่างไร
143

ตัวอย่าง แบบบันทึกภาคสนาม (Field note) การนิเทศสังเกตชั้นเรียน


ขั้นตอน/กิจกรรม บันทึกการสังเกต ข้อเสนอแนะ
1. ขั้นก่อนการสอน/การเตรียมการ
สอน/นำเข้าสู่บทเรียน ...

2. ขั้นตอนการสอน/กิจกรรมการเรียนรู้

3. ขั้นตอนหลังการสอน

ลงชื่อ.......................................................ผู้นิเทศ
(............................................................)
วันที่...........................................................
144

กิจกรรมที่ ๖ การวางแผนการขับเคลื่ อนการใช้หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้ น ฐาน


พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

1. แนวคิดการจัดกิจกรรม
การวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อ
พัฒ นาสมรรถนะผู้เรีย น เป็น กระบวนการนำแผนพัฒ นาการศึกษาของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติ ผ่าน
แผนปฏิบัติการ (Action plans) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับส่วนต่าง ๆ ให้เป็นไป
อย่างสอดประสานกันทั้งในแง่ทิศทางและจังหวะเวลา โดยแผนปฏิบัติการ เป็นแผนที่ทำขึ้นสำหรับใช้ในการ
บริหารหน่วยงานให้เกิดความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่หน่วยงาน
กำหนด มีระบบการทำงานที่ชัดเจนและเป็นขั้นตอน มีการใช้งบประมาณอย่า งคุ้มค่าและมีการตรวจสอบผล
การทำงาน
การวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อ
พัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านแผนปฏิบัติการ (Action plans) จะทำให้สถานศึกษามีทิศทางและแนวทางในการ
ดำเนินการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อพัฒนาสมรรถนะ
ผู้เรียนให้บรรลุตามเป้าหมายของโครงการต่อไป

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานตามโครงการ / กิจกรรมการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรี ยนให้บรรลุตามเป้าหมายของ
โครงการ
2.2 เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินโครงการ / กิจกรรมการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
2.3 เพื่อกำกับ ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

3. รูปแบบการจัดกิจกรรม
3.1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การระดมความคิดเห็น และการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติงาน
3.2 การนำเสอนผลการปฏิบัติงาน

4. ขั้นตอนการดำเนินงาน

ที่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา สื่อและเอกสารประกอบ


1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การระดมความคิด 45 นาที -
2. การวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลาง 45 นาที ใบกิจกรรมที่ 6.1
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อพัฒนา การวางแผนปฏิบัติการ
สมรรถนะผู้เรียนของสถานศึกษา (Action plans)
145

3. การนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตร 30 นาที -
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของสถานศึกษา
5. การประเมินผลการจัดกิจกรรม
๕.๑ การมีส่วนร่วมการทำกิจกรรม
๕.๒ การทำใบกิจกรรมแผนการขับเคลื่อน

6. สื่อและเอกสารประกอบการจัดกิจกรรม
6.1 PowerPoint เรื่อง การวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ระดับสถานศึกษา
๖.๒ ใบกิจกรรม การวางแผนปฏิบัติการ (Action plans)
146

PPT ประกอบการบรรยาย
การวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนผ่าน
กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING)
ระดับสถานศึกษา
147
148

ใบกิจกรรม
เรื่อง การวางแผนการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(ACTIVE LEARNING) ระดับสถานศึกษา

แผนปฏิบัติการ (Action plans)


กลยุทธ์/โครงการ :
............................................................................................................................. .....................................................
..............................
วัตถุประสงค์ :
............................................................................................................................................................. .....................
.....................................
กิจกรรมหลัก ทรัพยากรที่ต้องใช้ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ เกณฑ์ความสำเร็จ/
ความเสี่ยง
149

ตอนที่ 4
การติดตามและประเมินผล
1. แนวคิดการจัดกิจกรรม
การติ ด ตามและประเมิ น ผลการพั ฒ นา เป็ น กระบวนการวั ด และประเมิ น ผลที ่ เ กิ ด ขึ ้ น จาก
การจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อตรวจสอบว่า
ผู้รับการอบรมมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งด้านความคิด (Thinking) ความรู้สึก (Feeling) และการปฏิบัติ
(Acting) ในลักษณะใดและมากน้อยเพียงใด รวมถึงเป็นการวัดคุณภาพและประสิทธิผลชองกระบวนการพัฒนาว่า
ได้ผลบรรลุดังวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ และความคุ้มค่าของการบริหารงานการจัดกิจกรรมโดยรวม เพื่อนำ
ข้อมูลที่ได้ไปสู่การวางแผนและปรับปรุงกระบวนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของผู้รับการอบรมในครั้ง
ต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพของผู้รับการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก (Active Learning) ในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ ใน 4 ประเด็น
• การออกแบบการจัดการเรียนรู้และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการที่มุ่ง
พัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
• ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา และการบริหารจัดการหลักสูตร
• การนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทั้งระบบโรงเรียน
• การวัดและประเมินเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
2.2 เพื่อประเมิน ผลกิจ กรรมการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการใช้ห ลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning)

3. รูปแบบการติดตามและประเมินผล
3.1 การสอบถามความคิดเห็นของผู้รับการประชุมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการการประชุมและการ
ประเมินตนเองหลังการประชุมด้วยแบบสอบถาม
3.2 การนิ เ ทศติ ด ตามและประเมิ น ผลการจั ด การใช้ ห ลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั ้ น พื ้ นฐาน
พุทธศักราช 2551 เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ในสถานศึกษา รูปแบบผสมผสาน (on-site และ online) ได้แก่ การลงพื้นที่โรงเรียนและการประชุมรูปแบบ
ออนไลน์ โดยใช้แบบประเมินผลเพื่อติดตามการพัฒนา
150

4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
ที่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา เครื่องมือ
1 ผู้รับการอบรมทำแบบสอบถาม ระหว่างการอบรม แบบสอบถาม
การจัดกิจกรรมและการประเมินตนเอง
หลังการประชุม
2 ส่วนกลางจาก สพฐ. และผู้แทน หลังเสร็จสินการอบรม แบบประเมินผล
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นิเทศ ครั้งที่ 1: ภายใน 1 เดือน
ติดตามและประเมินผลการจัดการการใช้ หลังการประชุม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 2 : 2-3 เดือน
พุทธศักราช 2551ฯ หลังการประชุม
ครั้งที่ 3 : 4-5 เดือน
หลังการประชุม

5. การติดตามและประเมินผล
5.1 สอบถามความคิดเห็นของผู้รับการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการประชุมและการประเมินตนเองหลังการประชุม
5.2 ตรวจสอบหลักฐานเชิงประจักษ์และประเมินผลการจัดการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รูปแบบผสมผสาน (on-site และ online)

6. เครื่องมือการติดตามและประเมินผล
6.1 แบบสอบถามการจัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) และการประเมินตนเองหลังการประชุม
6.2 แบบประเมินผลการจัดการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อ
การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผ่านกระบวนการจัดการ
เรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
151

แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการประชุมและการประเมินตนเองหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ
ขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

ตอนที่ 1. ข้อมูลเบื้องต้น
ตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ศึกษานิเทศก์
ครู
ระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่
1-5 ปี
6-10 ปี
11-15 ปี
มากกว่า 15 ปี
อายุราชการ (ปี)
1-5 ปี
6-10 ปี
11-15 ปี
มากกว่า 15 ปี
วิทยฐานะ
ไม่มีวิทยฐานะ
ชำนาญการ
ชำนาญการพิเศษ
เชี่ยวชาญ
เชี่ยวชาญพิเศษ

ภาระงานที่ท่านรับผิดชอบในสถานศึกษา
การออกแบบการจัดการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
การวัดและประเมินผู้เรียน
การบริหารจัดการหลักสูตร
การบริหารจัดการสถานศึกษา
การนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา
อื่นๆ:........................................................................
152

ตอนที่ 2. แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เ ข้า รับ การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตร


แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
คำชี้แจง: แบบประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สอบถามความคิดเห็นของผู้รับการประชุมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม
การประชุมและการประเมิน ตนเองหลังจากเข้าร่ว มการประชุม เชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการใช้ห ลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการ
เรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นการวัดคุณภาพและประสิทธิผลชองกระบวนการพัฒนาว่าได้ผลบรรลุ
ดังวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ข้อมูลที่ได้นำไปใช้วางแผนและปรับปรุงกระบวนการสร้างศักยภาพของ
ผู้รับการประชุมในครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5 หมายถึง ระดับมากที่สุด
4 หมายถึง ระดับมาก
3 หมายถึง ระดับปานกลาง
2 หมายถึง ระดับน้อย
1 หมายถึง ระดับน้อยที่สุด
ด้านความรู้เดิม
ระดับความคิดเห็น
ข้อรายการ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
“การออกแบบการจัดการเรียนรู้และ
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิง
รุกแบบบูรณาการที่มุ่งพัฒนา
สมรรถนะของผู้เรียน” ก่อนเข้ารับ
การประชุม
2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ด้าน
การบริหารจัดการสถานศึกษาและการ
บริหารจัดการหลักสูตร”ก่อนเข้ารับ
การประชุม
3.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
“การนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้
เชิงรุกทั้งระบบโรงเรียน” ก่อนเข้ารับ
การประชุม
4.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “การ
วัดและประเมินเพื่อพัฒนาสมรรถนะ
ของผู้เรียน” ก่อนเข้ารับการประชุม
5.มีประสบการณ์ในการจัด
การเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการที่มุ่ง
พัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนก่อนเข้า
รับการประชุม
153

ด้านความรู้หลังการประชุม
ข้อรายการ ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
6.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “การ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้และ
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิง
รุกแบบบูรณาการที่มุ่งพัฒนา
สมรรถนะของผู้เรียน” หลังเข้ารับ
การประชุม
7.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ด้าน
การบริหารจัดการสถานศึกษา และการ
บริหารจัดการหลักสูตร” หลังเข้ารับ
การประชุม
8.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
“การนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้
เชิงรุกทั้งระบบโรงเรียน” หลังเข้ารับ
การประชุม
9.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “การ
วัดและประเมินเพื่อพัฒนาสมรรถนะ
ของผู้เรียน” หลังเข้ารับการประชุม

ด้านเนื้อหาหลักสูตร
ระดับความคิดเห็น
ข้อรายการ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
เนื้อหาหลักสูตรอบรมมีความสอดคล้อง
กับความต้องการของท่าน

ด้านกระบวนการประชุม
ระดับความคิดเห็น
ข้อรายการ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1.คุณภาพการนำเสนอเนื้อหาของ
วิทยากรในการประชุม
มีความเหมาะสม
2.การมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับ
การอบรมมีความเหมาะสม
3.กระบวนการประชุมมี
ความเหมาะสม
4.กิจกรรมที่ใช้ในการประชุมมี
ความเหมาะสม
154

ด้านประโยชน์ที่ได้รับ
ข้อรายการ ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1.สามารถ “ออกแบบการจัด
การเรียนรู้และจัดทำแผน
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณา
การที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะของ
ผู้เรียน” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.สามารถ “บริหารจัดการ
สถานศึกษา และการบริหารจัดการ
หลักสูตร” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.สามารถ “วัดและประเมินเพื่อ
พัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนวัดและ
ประเมินเพื่อพัฒนาสมรรถนะของ
ผู้เรียน” ได้อย่างเหมาะสม
4.สามารถ “นิเทศติดตาม
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกทั้งระบบ
โรงเรียน” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.สามารถนำความรู้จากการอบรมไป
ขยายผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความมั่นใจในการปฏิบัติงาน
ข้อรายการ ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1.หลังจากการประชุมครั้งนี้ ท่านมี
ความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่
เพิ่มขึ้น
2.หลังจากการประชุมครั้งนี้ ท่านมี
ความมั่นใจในการใช้ “การจัดการ
เรียนรู้เชิงรุก (Active learning)
แบบบูรณาการที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะ
ของผู้เรียน”มากขึ้น
3.การประชุมครั้งนี้ทำให้ท่านมี
ความมั่นใจเพราะมี “แผนการจัด
การเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการ
ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
อย่างมีประสิทธิภาพ”
155

ข้อรายการ ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
4.การประชุมครั้งนี้ทำให้ท่านมี
ความมั่นใจเพราะมี “แผนการ
ขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาทั้ง
ระบบโรงเรียนที่มุ่งพัฒนา
สมรรถนะของผู้เรียน”
5.การประชุมครั้งนี้ทำให้ท่านมีความ
มั่นใจเพราะมี “แผนการนิเทศ
ติดตาม การจัดการศึกษามุ่งพัฒนา
สมรรถนะของผู้เรียน”
6.การประชุมครั้งนี้ทำให้ท่านมี
ความกล้าที่จะทำในสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่
เคยทำมาก่อนมากขึ้น

การให้ความร่วมมือ ความประทับใจและข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
สิ่งที่ท่านต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมคือ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
156

แบบประเมินผลการจัดการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

คำชี้แจง แบบประเมินผลการจัดการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อการพัฒนา


สมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบ่งเป็น 4 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน
ตอนที่ 2 การดำเนินงานการจัดการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัด
การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ตอนที่ 3 ผลการปฏิบัติที่ดีของโรงเรียน (จุดเด่น)
ตอนที่ 4 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ

ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน
โรงเรียน.............................................................................................................................................
กลุ่มโรงเรียน.........................................ตำบล.......................อำเภอ......................จังหวัด.................
ชื่อผู้อำนวยการโรงเรียน..................................................เบอร์โทรศัพท์............................................
จำนวนนักเรียน
 อนุบาล.....................คน
 ประถมศึกษา.....................คน
 มัธยมศึกษา.....................คน
จำนวนบุคลากร
ผู้บริหาร.....................คน ครูผู้สอน (ประจำการ).....................คน
ครูผู้สอน (พนักงานราชการ) .....................คน ครูผู้สอน (อัตราจ้าง) ...................คน
พนักงานบริการครูผู้สอน.....................คน
รวมจำนวนบุคลากรครูผู้สอน.....................คน

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
 สอนปกติ  เรียนคละชั้น  สอนโดยใช้สื่อ DL TV (ทุกชั้นเรียน)
 สอนโดยใช้สื่อ DL TV (บางชั้นเรียน/บางวิชา)
 มีโรงเรียนอื่นๆ มาเรียนรวม ได้แก่...............................................................................
 ไปเรียนรวมกับโรงเรียนอื่นๆ ได้แก่ ...............................................................................
157

ตอนที่ 2 การดำเนินงานการจัดการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อ


การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

รายการประเมิน ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ คะแนนที่ได้ ข้อเสนอแนะ


1.การบริหารจัดการ 1.มีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับ 5 - ดีมาก
สถานศึกษา และการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 - ดี
บริหารจัดการหลักสูตร 2.มีแผนการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร 3 - ปานกลาง
3.มีกระบวนการในการพัฒนา/ปรับปรุง 2 - พอใช้
หลักสูตร 1 - ควรปรับปรุง
4.มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
5.หลักสูตรได้รับการเห็นชอบจาก
คณะกรรมการสถานศึกษา
6.หลักสูตรตอบสนองความต้องการของ
ท้องถิ่นและของสถานศึกษา
7.มีการสื่อสารหลักสูตรสถานศึกษาให้
บุคคลากร ผู้ปกคองและผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องทราบ
8.มีแผนการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา
ทั้งระบบโรงเรียนที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะ
ของผู้เรียน
9.ดำเนินการตามแผนในข้อ 8
2.การออกแบบการจัด 1.มีการกำหนดเป้าหมายของการจัด 5 - ดีมาก
การเรียนรู้และจัดทำ การเรียนรู้ครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ/ 4 - ดี
แผนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการ และคุณลักษณะของ 3 - ปานกลาง
เชิงรุกแบบบูรณาการ ผู้เรียนตามที่หลักสูตรกำหนด 2 - พอใช้
ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะ 2.มีแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 1 - ควรปรับปรุง
ของผู้เรียน (Active Learning) แบบบูรณาการ
ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ
สู่การคิดเชื่อมโยงเพื่อสร้างความรู้ และ
สื่อสารสร้างความเข้าใจหรือใช้ความรู้ใน
การแก้ปัญหา ในทุกกลุ่มสาระการ
เรียนรู้
3.กำหนดสถานการณ์การเรียนรู้เพื่อ
สร้างประสบการณ์ทางการเรียนที่มี
ความเหมาะสม สามารถนำพาผู้เรียนให้
บรรลุตามเป้าหมาย หรือเกิดความสามารถ
ตามภาระงานรวบยอด
4.มีกิจกรรมหรือสถานการณ์การเรียนรู้
ที่เอื้อให้ผู้เรียนใช้ความรู้ ทักษะ และ
158

รายการประเมิน ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ คะแนนที่ได้ ข้อเสนอแนะ


คุณลักษณะร่วมกันเชิงบูรณาการที่
สามารถสะท้อนสมรรถนะหรือ
จุดประสงค์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ
5.ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้มีการ
กำหนดเป้าหมาย กิจกรรมการเรียนรู้
และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่
สอดคล้องสัมพันธ์กัน
3.การวัดและประเมิน 1.มีการวัดประเมินผลที่สอดคล้องกับ 5 - ดีมาก
เพื่อพัฒนาสมรรถนะ หลักสูตรสถานศึกษา 4 - ดี
ของผู้เรียน 2.มีการวัดประเมินผลเพื่อการพัฒนา 3 - ปานกลาง
(Formative) และเพื่อสรุปผลการ 2 - พอใช้
พัฒนาผู้เรียน (Summative) 1 - ควรปรับปรุง
3.มีการใช้เทคนิคและเครื่องมือ
การประเมินที่หลากหลาย เหมาะสมกับ
กิจกรรมการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระ
4.มีการสื่อสารให้ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับ
กรอบพฤติกรรมบ่งชี้ที่เป้าหมายการ
เรียนรู้ที่จะต้องถูกประเมินผลในแต่ละ
หน่วยการเรียนรู้
5.ครูผู้สอนและผู้เรียนสร้างความเข้าใจ
ร่วมกันเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินในแต่
ละสมรรถนะผู้เรียน
6.ครูผู้สอนทำการประเมินคุณภาพ
ผู้เรียนแบบบูรณาการหรือแบบองค์รวม
โดยทำการพิจารณาครอบคลุมทั้งด้าน
ความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะ
ของผู้เรียนไปพร้อมๆกัน
7.ครูผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับทั้งในเชิง
ปริมาณและเชิงคุณภาพที่สะท้อนระดับ
สมรรถนะของผู้เรียน และแนวทางการ
พัฒนาสมรรถนะผู้เรียนให้มีระดับที่
สูงขึ้น
8.ครูผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับทั้งใน
รูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนรู้
9.ใช้ผลการวัดประเมินผลในการพัฒนา
ผู้เรียนรายบุคคล
159

รายการประเมิน ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ คะแนนที่ได้ ข้อเสนอแนะ


4.การนิเทศติดตามการ 1.มีแผนการนิเทศ ติดตามการจัด 5 - ดีมาก
จัดการเรียนรู้เชิงรุกทั้ง การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 4 - ดี
ระบบโรงเรียน ระดับเขตพืน้ ที่ 3 - ปานกลาง
2. ศึกษานิเทศก์มีแผนการนิเทศ 2 - พอใช้
Active Learning รายบุคคล 1 - ควรปรับปรุง
๓. ศึกษานิเทศก์ปฏิบัติการนิเทศและ
พัฒนา Active Learning ด้วยการ
นิเทศในชั้นเรียน/
การสังเกตการสอนในห้องเรียน
4. ครูได้รับการนิเทศ เรื่อง Active
Learning และนำไปปรับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้

ตอนที่ 3 ผลการปฏิบัติที่ดีของโรงเรียน (จุดเด่น)


……………………………………………………………………………………………………………………………………………

ตอนที่ 4 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ


……………………………………………………………………………………………………………………………………………
160

รายชื่อคณะทำงาน
โครงการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
และการประเมินสมรรถนะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริงและการสะท้อนคิด

ที่ปรึกษา
ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา
นางรวิภัทร เหล่าคุ้ม ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.

คณะทำงาน
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ดร.ชยพร กระต่ายทอง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้
ดร.โชติมา หนูพริก ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
นางสาวจรูญศรี แจบไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาและส่งเสริมการวัดประเมินผลการเรียนรู้
นายวีรศักดิ์ สมัครสมาน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการเรียนการสอนภาษา
ดร.ณัฐพล ตันเจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษการกีฬา
นายเอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
นางสาววราภรณ์ ศรีแสงฉาย นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
ดร.อริสรา เริงสำราญ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
นางสาวชนาภัทร ปิยะเสถียร นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
นายตรัยรัตน์ โพธิ์กะสังข์ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
นางสาวอุรชา นุชเหลือบ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
นางสาวพิบุลขวัญ เทพนะ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
สำนักทดสอบทางการศึกษา
ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา
ดร.ณัฐา เพชรธนู รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา
ดร.เพ็ญนภา แก้วเขียว รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา
ดร.มธุรส ประภาจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นางสาวบังอร กมลวัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาเครื่องมือและบริการการทดสอบ
นางสุอารีย์ ชื่นเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป
ดร.ฉัตรชัย หวังมีจงมี นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ
ดร.ศิวกร รัตติโชติ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
161

หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
นางรวิภัทร เหล่าคุ้ม ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
ดร.สมเจตน์ พันธ์พรม หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการนิเทศการบริหารและการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
นางหัทยา เข็มเพ็ชร ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง
นางสาวพิชญา คำปัน ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ช่วยปฏิบัติราชการ
หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
นายณภัทร ศรีละมัย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ช่วยปฏิบัติราชการหน่วย
ศึกษานิเทศก์ สพฐ.
ดร.ปิยธันว์ เบญจเทพรัศมี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.อุบลราชธานี เขต 4
สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
นางสาววงเดือน สุวรรณศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

คณะบรรณาธิการกิจคู่มือการอบรม
ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ดร.ชยพร กระต่ายทอง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้
ดร.โชติมา หนูพริก ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
นางสาวจรูญศรี แจบไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาและส่งเสริมการวัดประเมินผลการเรียนรู้
ดร.อริสรา เริงสำราญ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
ดร.ณัฐา เพชรธนู รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา
ดร.เพ็ญนภา แก้วเขียว รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา
ดร.ฉัตรชัย หวังมีจงมี นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ
นางสาววงเดือน สุวรรณศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

You might also like