You are on page 1of 5

Personal Summary and Reflection

วิชา 219 730 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร วันที่ 13 กันยายน 2551


นางสาวศุภธิดา ศรีพงษ์วิวัฒน์ รหัสประจำตัว 517050028-3
สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน ระดับปริญญาเอก โครงการพิเศษ

1. Understanding
การประเมินหลักสูตร คือ กระบวนการในการพิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตรว่า
หลักสูตรนั้น ๆ มีประสิทธิภาพแค่ไหน เมื่อนำไปใช้แล้วบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ มี
อะไรที่ต้องแก้ไขเพื่อนำผลที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่ดีกว่าต่อไป
การประเมินหลักสูตร แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. การประเมินก่อนใช้หลักสูตร
2. การประเมินระหว่างใช้หลักสูตร
3. การประเมินหลังใช้หลักสูตร
ระยะที่ 1 การประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้ (Project Analysis)
ในช่วงระหว่างที่มีการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตร อาจมีการดำเนินการตรวจสอบทุกขั้น
ตอนของการจัดทำ นับแต่การกำหนดจุดมุ่งหมายไปจนถึงการกำหนดการวัดและประเมินผลการ
เรียนซึ่งสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1. ประเมินหลักสูตรเมื่อสร้างหลักสูตรฉบับร่างเสร็จแล้วก่อนจะนำหลักสูตรไปใช้จริง
ควรมีการประเมินตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฉบับร่าง และองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรในระยะนี้ต้องอาศัยความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาหลักสูตร ทาง
ด้านเนื้อหาวิชา ทางด้านวิชาชีพครู ทางด้านการวัดผล หรือจะให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์หรือ
พิจารณาก็ได้
จุดมุ่งหมายการประเมินในขั้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการตรวจสอบหาหลักฐานยืนยันว่า
รูปแบบหลักสูตรที่ออกแบบไว้มีความเหมาะสม เป็นเหตุเป็นผล และสามารถทำให้จุดหมาย
หลักสูตร
2. ประเมินหลักสูตรในขั้นทดลองใช้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขส่วนที่ขาดตกบกพร่องหรือเป็น
ปัญหาให้มีความสมบูรณ์เพื่อประสิทธิภาพในการนำไปใช้ต่อไป เช่น หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.
2521 มีการทดลองใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 และ 2520 เพื่อหาข้อบกพร่อง อุปสรรค จะได้แก้ไขให้
เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป

ขอบเขตของการประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้
1. การประเมินจุดหมาย เป็นการช่วยให้นักพัฒนาหลักสูตร ตรวจสอบตนเองว่าจุดหมาย
ที่กำหนดแต่ละข้ออยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้ศึกษามาอย่างมีระบบมีความสำคัญความจำเป็นเร่ง
ด่วน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสังคมและเตรียมคนสำหรับอนาคตหรือไม่
นอกจากนั้นยังช่วยให้คนนอกกลุ่มการพัฒนาหลักสูตร(ผู้ประเมินภายนอก) ตรวจสอบว่าจุดหมาย
ที่นักพัฒนาหลักสูตรกำหนดขึ้นมีความเหมาะสมหรือไม่ เป็นต้น
2. การประเมิน(ร่าง)หลักสูตร สิ่งที่จะประเมินในขั้นนี้คือรูปแบบหลักสูตรและองค์
ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรที่เลือกมา และควรเลือกเฉพาะองค์ประกอบที่จะมีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงหลักสูตรไปสู่สิ่งที่คาดหวังไว้ในจุดหมายหลักสูตรมาประเมิน Lewy (1977) ได้
เสนอองค์ประกอบสำคัญที่ควรจะนำมาประเมินดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์การสอน
2.2 ขอบข่ายและลำดับสาระความรู้ที่นำมาสอน
2.3 ยุทธศาสตร์การสอน
2.4 สื่อต่าง ๆ (แบบเรียน ตำรา อุปกรณ์ช่วยสอน)
3. การประเมินขั้นทดลองใช้ (Try out) มีเป้ าหมายเพื่อรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การทดลองใช้ยุทธศาสตร์การสอนและสื่อกับนักเรียนว่า นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้อะไร การเรียน
รู้และพฤติกรรมเกิดขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ อะไรที่นักเรียนเรียนได้ดี และอะไรที่
เรียนไม่ได้ดี หากเรียนได้ดีหรือไม่ได้ดีเป็นเพราะอะไร สื่อที่เตรียมนั้นเหมาะกับกลุ่มนักเรียนหรือ
ไม่ เพื่อนำผลไปปรับปรุงแก้ไข หรือเพิ่มเติมส่วนที่บกพร่อง สิ่งที่ต้องประเมินได้แก่
3.1 ยุทธศาสตร์การสอน
3.2 สื่อ
ระยะที่ 2 การประเมินหลักสูตรระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร (Formative
Evaluation)
ในขณะที่มีการดำเนินการใช้หลักสูตรที่จัดทำขึ้น ควรมีการประเมินเพื่อตรวจสอบว่า
หลักสูตรสามารถนำไปใช้ได้ดีเพียงใดหรือบกพร่องในจุดไหน จะได้แก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสม
เช่น ประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรในด้านการบริหาร การจัดการหลักสูตร การนิเทศกำกับ
ดูแล และการจัดกระบวนการเรียนการสอน
การประเมินหลักสูตรระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร หมายถึง การทำให้หลักสูตรมี
ความกระจ่าง มีความชัดเจนของกระบวนการการใช้หลักสูตรในด้านระบบการบริหารและการ
จัดการหลักสูตร การนิเทศกำกับดูแล และกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพราะการใช้
หลักสูตรในระยะนี้เป็นการใช้หลักสูตรในภาพกว้างมีกลุ่มเป้ าหมาย สถานที่รวมทั้งสภาพแวดล้อม
ที่แตกต่างกัน การประเมินระยะนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่กว้างและลึก เพื่อใช้ในการตัดสินคุณค่าของ
หลักสูตรได้ประการหนึ่ง การประเมินการเรียนการสอนก็รวมอยู่ในส่วนของการประเมินหลักสูตร
ระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตรด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถาม 2 คำถาม ได้แก่
ก. หลักสูตรที่ดำเนินการนั้นนำไปใช้กับกลุ่มเป้ าหมายได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
ข. หลักสูตรที่ดำเนินการนั้น กิจกรรมการใช้หลักสูตรมีการนำไปปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา
ตามที่กำหนดหรือออกแบบไว้ในหลักสูตรหรือไม่ อย่างไร
สำหรับประเด็นที่ประเมินระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร มีดังนี้
1. การประเมินระบบบริหารและการจัดการหลักสูตร ผู้บริหารและคณะกรรมการบริหาร
หลักสูตรควรร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ในการวางแผนสำหรับการประเมิน
หลักสูตรร่วมกัน เพื่อดูความก้าวหน้าของการใช้หลักสูตรเป็นระยะ ๆ ว่าจะประเมินผลย่อยใน
ระยะเวลาเท่าใด ควรประเมินผลรวบยอดในช่วงระยะเวลาใดของการใช้หลักสูตร การประเมิน
หลักสูตรในระยะนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาอธิบายความก้าวหน้า และนำมา
ใช้สำหรับการแก้ไขจุดบกพร่องของการใช้หลักสูตร เช่น การวางแผนการใช้หลักสูตร การ
กำหนดหรือจัดหาทรัพยากร การบริหารงบประมาณ การใช้หลักสูตร การฝึกอบรมเพิ่มเติม
ระหว่างการใช้หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้หลักสูตรให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ
หลักสูตรที่จำเป็นมีอะไรบ้าง
2. การประเมินการจัดกระบวนการเรียนการสอน จุดเน้นหลักของการประเมินส่วนนี้เป็น
สิ่งสำคัญของกระบวนการใช้หลักสูตร จะต้องมีการวางแผนและกำหนดขอบข่ายของการประเมิน
ให้รอบคอบ มีความชัดเจน ด้วยการใช้วิธีการประเมินทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ สิ่งที่มุ่งเน้นใน
การประเมิน ได้แก่ ครูผู้สอนมีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรนี้มากน้อย
เพียงใด การนิเทศการสอนเพื่อช่วยเหลือผู้สอนมีคุณภาพและได้รับการยอมรับจากผู้สอนมากน้อย
เพียงใด การสนับสนุนจากฝ่ ายบริหารด้านการจัดการเรียนการสอน การสร้างบรรยากาศในชั้น
เรียน การจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน การฝึกอบรมเพิ่มเติม วิธีการวัดและประเมินผลการ
เรียนการสอนมีความชัดเจนเหมาะสม ผลการประเมินสามารถอธิบายความก้าวหน้าของผู้เรียน
3. การประเมินระบบการบริหารและวิธีการนิเทศกำกับดูแลเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร ผล
การประเมินหลักสูตรนี้ช่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตรให้ได้ผล สิ่งที่มุ่งเน้นในการประเมิน ได้แก่
การนิเทศจากภายนอกที่มีระบบและเป็นประโยชน์ต่อการใช้หลักสูตรเพียงใด ผู้บริหารมีวิธีการ
นิเทศภายในเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอย่างไร และมีวิธีการใดทำให้การนิเทศมีประสิทธิภาพ การ
นิเทศภายในและภายนอกประสานสอดคล้องสัมพันธ์กันทำให้เกิดการใช้หลักสูตรบรรลุผลตาม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรหรือไม่
4. การประเมินผลผลิตของหลักสูตร การประเมินหลักสูตรส่วนนี้เพื่อต้องการอธิบาย
พัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่เป็นผลมาจากการใช้หลักสูตรในแต่ละช่วง รวมทั้งการประเมิน
รวบยอดเพื่อดูผลในช่วงสุดท้าย เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ทำกิจกรรมตามขั้นตอนครบกระบวนการใช้
หลักสูตร นอกจากการประเมินผลผลิตของหลักสูตรโดยตรง อาจสอบถามความคิดเห็นผู้ที่
เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนว่ามีอะไรและจะมีแนวโน้มให้เกิดใน
เรื่องใดอีก
ระยะที่ 3 การประเมินหลักสูตรหลังการใช้หลักสูตร (Summative Evaluation)
หลังจากที่มีการใช้หลักสูตรมาแล้วระยะหนึ่งหรือครบกระบวนการเรียบร้อยแล้ว ควรจะ
ประเมินหลักสูตรทั้งระบบ ซึ่งได้แก่ การประเมินองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ของหลักสูตรทั้งหมด
คือ เอกสารหลักสูตร วัสดุหลักสูตร บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร การบริหารหลักสูตร
การนิเทศกำกับติดตาม การจัดกระบวนการเรียนการสอน ฯลฯ เพื่อสรุปผลตัดสินว่าหลักสูตรที่จัด
ทำขึ้นนั้นควรจะดำเนินการใช้ต่อไป หรือควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น หรือควรจะยกเลิก เช่น
หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 มีช่วงระยะเวลาการใช้ 6 ปี เมื่อครบ 6 ปี แล้ว จะมีการ
ประเมินผลหลักสูตรรวบยอดทั้งหมด โดยนำข้อมูลตั้งแต่ระยะที่ 1 จนถึงระยะที่ 2 มารวบรวม
วิเคราะห์และประเมินคุณค่า ทั้งนี้อาจจะต้องอาศัยข้อมูลที่สำคัญอีกบางข้อมูล เช่น ผลสัมฤทธิ์
ทางการศึกษาของผู้เรียน ซึ่งได้แก่ การนำไปใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ เข้ามา
ประกอบการวิเคราะห์และประเมินค่าด้วย
สำหรับในด้านการเรียนการสอน การประเมินผลรวมจะกระทำเมื่อผู้เรียนได้เรียนจบวิชา
หนึ่งในแต่ละภาคเรียน และในภาคปลายของแต่ละปี การศึกษา เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบดู
ว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ตามจุดประสงค์ของวิชาหรือไม่ ควรได้คะแนนเท่าใดและควรถือว่าสอบได้หรือ
ตก
เนื่องจากการประเมินผลรวมเป็นการประเมินผลที่มุ่งปรับปรุงแก้ไขเป็นส่วนรวมและมี
ขอบเขตของการประเมินผลที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น วิเคราะห์หลักสูตรทั้งระบบและ
ประเมินผลการเรียนการสอนทุกวิชาในหลักสูตรเป็นส่วนรวม ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกการประเมิน
ผลประเภทนี้ว่าการประเมินผลเชิงมหภาค (Macro Evaluation)
สำหรับการประเมินหลักสูตรหลังการใช้หลักสูตร สามารถประเมินจากผลลัพธ์
(Outcomes) ของหลักสูตรคือผลที่เกิดขึ้นโดยตรง (Output) ตามที่หลักสูตรคาดหวังเช่น ความรู้
ความสามารถของผู้เรียนที่ถูกกำหนดไว้ในจุดหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและผลทางอ้อม
ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในจุดหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เช่น ชื่อเสียงของศิษย์เก่า ความ
สามารถของครูในการนำความรู้จากสิ่งที่ตนเองสอนไปพัฒนาวิชาชีพได้ เป็นต้น ผลลัพธ์จึงเป็น
ผลรวมของผลโดยตรงกับผลทางอ้อม ซึ่งมีคำถามที่ผู้ประเมินหลักสูตรต้องค้นหาคือ
1. ข้อมูลหรือปรากฏการณ์อะไรบ้างที่จะบอกหรือสะท้อนถึงการบรรลุจุดหมายและ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร ข้อมูลดังกล่าวจะเก็บได้อย่างไร
2. ผลการสอนของครูที่ยอมรับได้ว่าสามารถทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จมีอะไรบ้าง
3. ผลระยะยาวที่เกิดขึ้นจากหลักสูตรควรได้แก่อะไรบ้าง และเกิดกับใครบ้าง
แนวคิดเกี่ยวกับวิธีการประเมินผลลัพธ์เพื่อตอบคำถามดังกล่าวข้างต้น มี 3 แนวคิดคือ
1. การประเมินผลผลิตโดยผูกพันกับเนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร (Domain –
referenced Measurement) คือการประเมินผลสัมฤทธิ์ หรือการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
โดยมีระดับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา
และระดับชาติ ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินผล คือ การประเมินผลโดยการอิงเกณฑ์ การประเมินผล
โดยการอิงกลุ่ม การประเมินผลโดยอิงตนเอง
2. การประเมินผลผลิตตามจุดหมายโดยไม่ผูกพันกับเนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ใน
หลักสูตร (Goal Attainment Evaluation) หรือเรียกว่าการประเมินผลผลิตตามจุดหมาย เป็นการ
ประเมินผลผลิตโดยภาพรวมว่าผลผลิตส่วนใหญ่มีคุณลักษณะหรือความสำเร็จตามจุดหมายใน
ระดับใดหรือในปริมาณที่มากหรือน้อย มีขั้นตอนดังนี้
2.1 จำแนกจุดหมายใหญ่เป็นจุดหมายย่อย
2.2 พิจารณากำหนดน้ำหนัก (Weight) ของจุดหมายย่อยแต่ละข้อที่จำแนกไว้
แล้วในข้อ 2.1 ซึ่งเป็นจุดหมายย่อยที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จตามจุดหมายใหญ่
2.3 วัดความสำเร็จของผู้เรียนในแต่ละจุดหมายย่อยโดยผู้ประเมินภายนอก
2.4 ความสำเร็จของแต่ละจุดหมายย่อย
2.5 ความสำเร็จตามจุดหมายใหญ่
3. การศึกษาติดตามผลจากหลักสูตร (Follow – up Study) เป็นการหาคำตอบของผล
ระยะยาวที่เกิดขึ้นจากหลักสูตรว่าควรได้แก่อะไรบ้างและเกิดกับใครบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่นิยมติดตาม
ศึกษานักเรียนหรือนักศึกษาที่จบจากหลักสูตรและออกจากสถาบันการศึกษาไปแล้วว่าสามารถนำ
ความรู้ ความสามารถที่ได้จากการศึกษาตามหลักสูตรไปประกอบอาชีพและก่อประโยชน์ให้กับ
สังคมหรือไม่ ประโยชน์ของการศึกษาติดตามผลจะช่วยในการประเมินเพื่อปรับปรุงหลักสูตรและ
เพื่อการแนะแนวนักเรียนหรือนักศึกษาปัจจุบัน และช่วยบอกคุณค่าของหลักสูตร การศึกษา
ติดตามผลเท่าที่ผ่านมายังไม่นิยมศึกษาผลระยะยาวที่เกิดในตัวครู เช่น การพัฒนาวิชาชีพของครู
เมื่อได้สอนตามหลักสูตร และผลระยะยาวที่เกิดขึ้นกับสังคม ชุมชน
วิธีการศึกษาติดตามผลสามารถใช้เทคนิค วิธีการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดจน
เครื่องมือได้หลายวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เช่น การสำรวจเพื่อติดตามผลนักศึกษาที่จบ
จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ปี 2540 – 2544 การศึกษาภายใต้หัวข้อนี้จะเป็นการศึกษากับ
นักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคนที่เข้าเรียนในปี 2540 และจบการศึกษาในปี 2544 ศึกษาผลเฉพาะที่
เกิดจากการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน ด้วยการสอบถามสถานภาพการทำงานและความคิดเห็น
ของบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตร เนื้อหาวิชาที่เรียนและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับในขณะเรียนว่า
เพียงพอหรือเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของบัณฑิตหรือไม่ โดยเก็บข้อมูลเมื่อบัณฑิตมา
รับพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งจัดหลังจากที่บัณฑิตจบการศึกษาไปแล้ว ประมาณ 9 เดือน
2. Reflection
จากการเรียนเรื่องการประเมินหลักสูตร ทั้งก่อนใช้ ระหว่างใช้ และหลังใช้หลักสูตร
ทำให้ได้ทราบว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นหรือพัฒนาขึ้นนั้นมีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน ซึ่งจะเป็น
ประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงได้ถูกจุด ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นใน
ส่วนของการบริหารทางด้านวิชาการ ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุนช่วยเหลือ
หรือบริการทางใดบ้าง และที่สำคัญในส่วนของการวางแผนการเรียนในอนาคต ข้อมูลจากการ
ประเมินผลหลักสูตรทำให้ทราบเป้ าหมายแนวทาง และขอบเขตในการดำเนินการจัดการการศึกษา
ของโรงเรียน

You might also like