You are on page 1of 110

ฉบับคนมี

วิเคราะห์ เวลาน้อย
ข้อสอบ
เตรียมสอบ
ใบประกอบวิชาชีพครู
ตามเกณฑ์
ใหม่ 2566

การเปลี่ยนเเปลงบริบทโลก สังคม เเละปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


จิตวิทยาเเละการเเก้ปัญหาผู้เรียน
หลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
การวัด ประเมินผล การวิจัยเพื่อเเก้ปัญหาเเละพัฒนาผู้เรียน
การประกันคุณภาพการศึกษา

โดย : ครูน้ำ เพจกว่าจะได้ใบประกอบวิชาชีพครู


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 2

พิจารณาบทความวิจัยต่อไปนี้

ผลการวิเคราะห์การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่งพบว่าผล


สัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกกลุ่มสาระมีคะแนนค่าเฉลี่ยระดับโรงเรียนต่ำกว่าระดับชาติ ระดับเขต
พื้นที่ ระดับจังหวัด และจากการวัดประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ยกเว้นวิชาการงานอาชีพเเละวิชาศิลปะ นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สำหรับผลการประเมินสมรรถนะผู้เรียนด้านความสามารถในการคิดและความสามารถแก้ปัญหาตาม
หลักสูตรสถานศึกษา พบว่ามีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่อยู่ในเกณฑ์ ดี-ดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังพบว่าการดำเนินชีวิตนักเรียนไม่
ค่อยให้ความสนใจการเรียน มีสติถิขาดเรียนเป็นประจำสูง

จากบทความวิจัยข้างต้นตอบคำถามข้อ 1 - 9
1. จากบทความวิจัยนี้ข้อใดไม่ใช่ปัญหาที่พบในโรงเรียนดังกล่าว
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกกลุ่มสาระมีคะเเนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนต่ำกว่าระดับ
ชาติ ระดับเขตพื้นที่ ระดับจังหวัด
2. ผลการประเมินสมรรถนะผู้เรียนด้านความสามารถในการคิดเเละความสามารถในการเเก้ปัญหาเพียงร้อยละ 5
เท่านั้นอยู่ในเกณฑ์ดี - ดีเยี่ยม
3. นักเรียนไม่ค่อยให้ความสนใจในการเรียน
4. นักเรียนมีสถิติขาดเรียนเป็นประจำสูง
5. เนื่องจากเป็นโรงเรียนขยายโอกาสจึงมีอุปกรณ์เอื้ออำนวยในการจัดการเรียนการสอนไม่เพียงพอ
ตอบ 5. เนื่องจากเป็นโรงเรียนขยายโอกาสจึงมีอุปกรณ์เอื้ออำนวยในการจัดการเรียนการสอนไม่เพียงพอ
2. หากต้องการทำการวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในรายวิชาที่ท่านสอนท่านคิดว่าครูคนใดตั้งชื่อการ
วิจัยได้เหมาะสมที่สุด
1. ครูหวานทำการวิจัยเรื่องการศึกษาความพึงพอใจในการนำผลการทดสอบทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนา
คุณภาพผู้เรียน
2. ครูเเก้วทำการวิจัยเรื่องการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอน ONET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. ครูน้อยทำการวิจัยเรื่องเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของนักเรียนเจตคติต่อการสอน ONET เเละ
การสนับสนุนจากครู โรงเรียน เเละผู้ปกครองในการสอน ONET ของนักเรียน
4. ครูบอยทำการวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ONET
5. ครูสงกรานต์ได้ทำการวิจัยเรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ต
เพื่อให้ผู้เรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาเเห่งชาติสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
ตอบ 5. ครูสงกรานต์ได้ทำการวิจัยเรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ตเพื่อ
ให้ผู้เรียนมีผลการทดสอลทางการศึกษาเเห่งชาติสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 3

3. หากท่านต้องการทำการวิจัยเรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ตจะเขียน
วัตถุประสงค์การวิจัยว่าอย่างไร
1. กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ตทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเเละผู้เรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษา
เเห่งชาติสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
2. ผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ตมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเเละผู้เรียนมีผลการทดสอบ
ทางการศึกษาเเห่งชาติสูงกว่าผู้เรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ต
3. กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ตทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเเละผู้เรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษา
เเห่งชาติสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาหรือไม่
4. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ตให้ผู้เรียนมีผลการทดสอบทางการ
ศึกษาเเห่งชาติสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
5. กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ตส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเเละผู้เรียนมีผลการทดสอบทาง
การศึกษาเเห่งชาติสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาหรือไม่
ตอบ 4. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ตให้ผู้เรียนมีผลการทดสอบทางการ
ศึกษาเเห่งชาติสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
4. หากท่านต้องการทำการวิจัยเพื่อเเก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการวิจัยประเภทใด
1. การวิจัยเชิงคุณภาพ
2. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
3. การวิจัยเพื่อตัดสินผลการเรียน
4. การวิจัยเชิงพรรณนา
5. การวิจัยรายกรณี
ตอบ 2. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
การวิจัยในชั้นเรียน เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่
เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไป หรือเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผลการวิจัยที่ค้นพบนี้ไม่สามารถนำไปใช้
อ้างอิงกับกลุ่มอื่น ๆ ได้ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงจำกัดหรือเป็นปัญหาเฉพาะที่ เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนบาง
อย่างที่ครูต้องการคำตอบมาอธิบายเฉพาะที่เกิดขึ้นในห้องที่ตนรับผิดชอบอยู่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาของห้องเรียนอื่น ๆ
การศึกษาปัญหาลักษณะนี้ เราเรียกว่า การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ซึ่งเป็นรูปแบบของการวิจัยที่ครู
กำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถนำไปใช้เพื่อการศึกษา และการวิจัยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของห้องเรียน
จึงอาจกล่าวได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียนเป็นวิธีการวิจัยที่ออกแบบ และพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ครูสามารถค้นพบว่ามีอะไรเกิด
ขึ้นในห้องเรียนบ้าง และยังช่วยให้ครูทราบข้อมูลที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนที่จะมีขึ้นต่อไปในอนาคต โดย
เลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงบรรยาย หรือการวิจัยเชิงทดลอง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นวิธี
การศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 4

5. หากท่านทำการวิจัยเรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ตเพื่อให้ผู้เรียนมี
ผลการทดสอบทางการศึกษาเเห่งชาติสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาท่านจะกำหนดตัวเเปรต้นในการทำการวิจัยคือข้อใด
1. กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ต
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. ผลการทดสอบทางการศึกษาเเห่งชาติ
4. ความพร้อมของครู
5. ขนาดโรงเรียน
ตอบ 1. กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ต
6. หากท่านทำการวิจัยเรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ตเพื่อให้ผู้เรียนมี
ผลการทดสอบทางการศึกษาเเห่งชาติสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาท่านจะกำหนดตัวเเปรตามในการทำการวิจัยคือข้อใด
1. กิจกรรมเตรียมความฟิต พิชิตโอเน็ต
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเเละผลการทดสอบทางการศึกษาเเห่งชาติ
3. เเรงจูงใจในการเรียน
4. ความพร้อมของครู
5. ขนาดโรงเรียน
ตอบ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเเละผลการทดสอบทางการศึกษาเเห่งชาติ
7. ท่านคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาของใคร
1. ปัญหาของนักเรียนส่วนใหญ่
2. ปัญหาของหน่วยงานต้นสังกัด
3. ปัญหาของครูผู้สอน
4. ปัญหาของนักเรียนบางคน
5. ปัญหาของผู้ออกข้อสอบ
ตอบ 1. ปัญหาของนักเรียนส่วนใหญ่
8. ครูท่านใดทำการวิจัยในลักษณะที่ไม่ใช่วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
1. ครูสาวทำการวิจัยเพื่อหาวิธีช่วยให้นักเรียนหันมาสนใจการเรียนมากขึ้น
2. ครูนิดาทำการวิจัยเพื่อหานวัตกรรมในการช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. ครูเเววทำการวิจัยเพื่อหาวิธีช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์เเละสามารถเเก้ปัญหาโจทย์ได้
4. ครูเเสงดาวทำการวิจัยเพื่อหาสาเหตุการไม่มาเรียนของนักเรียน
5. ครูโฉมฉายทำการวิจัยเพื่อให้นักเรียนสามารถเเก้โจทย์ปัญหาได้
ตอบ 4. ครูเเสงดาวทำการวิจัยเพื่อหาสาเหตุการไม่มาเรียนของนักเรียน
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 5

9. ข้อใดเป็นการนำผลการวิจัยไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามผลการวิจัยที่เกิดขึ้น
1. ครูนำรายงานผลการวิจัยไปขอรับวิทยฐานะที่สูงขึ้น
2. ผู้อำนวยการนำผลการวิจัยไปประกวดเพื่อรับรางวัลระดับชาติ
3. ผู้บริหารนำผลการวิจัยไปพัฒนาผลงานทางวิชาการเพื่อสร้างชื่อเรียนให้เเก่โรงเรียน
4. ครูพัฒนาระดับเจตคติจากระดับปานกลางเป็นระดับดีด้วยการให้รางวัลแก่เด็กเรียนดี
5. ครูนำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้พัฒนาทักษาการคิดเเละการเเก้ปัญหาของนักเรียน
ตอบ 5. ครูนำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้พัฒนาทักษาการคิดเเละการเเก้ปัญหาของนักเรียน
10. คุณครูต้นข้าวสอนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนไม่สามารถแก้ไขโจทย์
ปัญหาได้ เนื่องจากนักเรียนอ่านโจทย์ไม่ออกและไม่เข้าใจโจทย์ จนทำให้นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน คุยกันเสียงดัง จาก
สถานการณ์ดังกล่าวปัญหาสำคัญคืออะไร
1. นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน
2. นักเรียนคุยกันเสียงดัง
3. นักเรียนไม่เข้าใจโจทย์
4. นักเรียนอ่านโจทย์ไม่ออก
5. นักเรียนไม่สามารถแก้ไขโจทย์ปัญหาได้
ตอบ 4. นักเรียนอ่านโจทย์ไม่ออก
11. จากข้อที่ 10 ปัญหาวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้จากสถานการณ์ดังกล่าวควรเป็นอย่างไร
1. นักเรียนไม่ตั้งใจเรียนเพราะสาเหตุใด
2. พฤติกรรมการคุยของนักเรียนมีลักษณะ อะไรบ้าง
3. ครูจะใช้วิธีการใดได้บ้างเพื่อให้นักเรียนอ่านหนังสือออก
4. ครูจะใช้วิธีการใดได้บ้างเพื่อให้นักเรียนเข้าใจโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
5. ครูจะใช้วิธีการใดได้บ้างเพื่อให้นักเรียนสามารถแก้ไขโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
ตอบ 3. ครูจะใช้วิธีการใดได้บ้างเพื่อให้นักเรียนอ่านหนังสือออก

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 6

12. การเปรียบเทียบคะเเนน O-NET ของนักเรียนในเเต่ละสถานศึกษาในสพฐ. ส.ช. อปท. ข้อใดคือตัวเเปรต้น


1. ขนาดโรงเรียน
2. หน่วยงานต้นสังกัด
3. โรงเรียน
4. คะเเนน O-NET
5. จำนวนนักเรียน
ตอบ 3. โรงเรียน
13. การเปรียบเทียบคะเเนน O-NET ของนักเรียนในเเต่ละสถานศึกษาในสพฐ. ส.ช. อปท. ข้อใดคือตัวเเปรตาม
1. ขนาดโรงเรียน
2. หน่วยงานต้นสังกัด
3. โรงเรียน
4. คะเเนน O-NET
5. จำนวนนักเรียน
ตอบ 4. คะเเนน O-NET
14. ในการสอนรายวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเเห่งหนึ่งพบว่านักเรียนส่วนมากมีปัญหา
ในการยืนเข้าเเถวส่งงานหรือเข้าเเถวในการรับใบงาน เอกสารต่างๆในระหว่างจัดการเรียนการสอน โดยนักเรียนจะ
เเย่งกันอยู่ข้างหน้า มีการเเซงเเถว จนเกิดการทะเลาะวิวาทกัน ทำให้ครูผู้สอนต้องว่ากล่าวตักเตือน ส่งผลให้ครูเสียเวลาใน
การสอนในเเต่ละคาบ จากเหตุการณ์นี้ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร
1. นักเรียนขาดระเบียบวินัย
2. โรงเรียนขาดบุคลากรด้านการอบรมระเบียบวินัย
3. ครูเสียเวลาในการสอนทำให้สอนได้ไม่เต็มที่
4. นักเรียนไม่ได้รับการอบรมสั่งสอน
5. นักเรียนไม่เชื่อฟังครู
ตอบ 1. นักเรียนขาดระเบียบวินัย
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 7

15. จากข้อที่ 14 ข้อใดเหมาะสมที่จะเป็นคำถามวิจัยมากที่สุด


1. นักเรียนขาดวินัยจริงหรือ
2. วิธีที่ครูใช้เเก้ปัญหาระเบียบวินัยให้ได้ผลทำอย่างไร
3. เพราะเหตุใดนักเรียนจึงขาดระเบียบวินัย
4. ผลที่เกิดจากการขาดระเบียบวินันทำให้ชั้นเรียนเป็นอย่างไร
5. นักเรียนมากเเค่ไหนที่ขาดระเบียบวินัย
ตอบ 2. วิธีที่ครูใช้เเก้ปัญหาระเบียบวินัยให้ได้ผลทำอย่างไร
16. ข้อใดเป็นการวิจัยเพื่อเเก้ปัญหาผู้เรียน
1. ควรเเก้นักเรียนที่ขาดระเบียบวินัยจำนวนเท่าไร
2. ครูจะใช้วิธีการใดเพื่อช่วยปรับพฤติกรรมการขาดระเบียบวินัยของนักเรียน
3. นักเรียนขาดระเบียบวินัยมีปัจจัยใดเกี่ยวข้องบ้าง
4. นักเรียนไม่เข้าเเถวส่งงานมีสาเหตุมาจากอะไร
5. ครูจะว่ากล่าวตักเตือนนักเรียนอย่างไรให้นักเรียนเชื่อฟัง
ตอบ 2. ครูจะใช้วิธีการใดเพื่อช่วยปรับพฤติกรรมการขาดระเบียบวินัยของนักเรียน
17. จากข้อที่ 14 ครูควรเเก้ปัญหาในชั้นเรียนอย่างไรเป็นอันดับเเรก
1. ลดเวลาการตักเตือนนักเรียนในคาบสอนเพื่อไม่ให้เสียเวลา
2. สอนเสริมนักเรียนหลังเลิกเรียน
3. ไม่ให้นักเรียนส่งงานในคาบเรียนเพื่อไม่ให้เสียเวลาเรียน
4. ให้เเรงเสริมในการปรับพฤติกรรมการมีวินัยของนักเรียน
5. ทำโทษทันที่เพื่อไม่ให้เป็นเเบบอย่างที่ไม่ดีเเ่ก่คนอื่น
ตอบ 4. ให้เเรงเสริมในการปรับพฤติกรรมการมีวินัยของนักเรียน

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 8

18. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
1. การวิจัยในชั้นเรียนมีเป้าหมายสูงสุดที่การพัฒนาตนเองของครูผู้สอน
2. การวิจัยช่วยทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. การวิจัยเป็นการสร้างชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
4. การวิจัยช่วยพัฒนาผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์
5. การวิจัยช่วยพัฒนาครูไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ
ตอบ 1. การวิจัยในชั้นเรียนมีเป้าหมายสูงสุดที่การพัฒนาตนเองของครูผู้สอน ผิดเพราะการวิจัยในชั้นเรียนมีเป้าหมายสูงสุดที่
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีผลพลอยได้คือการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน
19. ข้อใดเป็นขั้นตอนเเรกของกระบวนการวิจัย
1. ออกเเบบการวิจัย
2. กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย
3. กำหนดขอบเขตการวิจัย
4. ตั้งสมมติฐานการวิจัย
5. กำหนดปัญหาการวิจัย
ตอบ 5. กำหนดปัญหาการวิจัย
อธิบาย กระบวนการวิจัยมีดังนี้
1. กำหนดปัญหา / หัวข้อวิจัย
2. กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย
3. กำหนดขอบเขตของการวิจัย/ สมมติฐาน
4. ออกเเบบการวิจัย
5. เก็บรวบรวมข้อมูล
6. วิเคราะห์ข้อมูลเเละการเเปลผล
7. เขียนรายงาน
8. ตีพิมพ์เผยเเพร่
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 9

20. ข้อใดเป็นขั้นตอนทำหลังจากขั้นตอนการตั้งสมมติฐานการวิจัย
1. วิเคราะห์ข้อมูลเเละการเเปลผล
2. เก็บรวบรวมข้อมูล
3. กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
4. กำหนดหัวข้อ / ปัญหาการวิจัย
5. ออกเเบบการวิจัย
ตอบ 5. ออกเเบบการวิจัย
21. ครูท่านใดตั้งคำถามการวิจัยเหมาะสมน้อยที่สุด
1. เด็กชายบอยมีพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างไรบ้าง
2. นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อการประเมินตนเอง
3. นักเรียนมาสายกี่คน ใครมาสายบ้าง
4. จะมีวิธีการอย่างไรในการเเก้ปัญหาพฤติกรรมการมาโรงเรียนสาย
5. นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อการเเก้ปัญหาด้วยวิธีการลงโทษ
ตอบ 3. นักเรียนมาสายกี่คน ใครมาสายบ้าง
อธิบาย ในการตั้งคำถามการวิจัยคำตอบที่ได้จะต้องเน้นกระบวนการพัฒนาตัวผู้เรียนเเละครูผู้ทำวิจัย ทั้งในด้านเนื้อหาที่
ทำเเละกระบวนการวิจัย ควรยกเว้นคำถามที่ตอบเพียงว่าใช่ / หรือไม่ เพราะเมื่อทรายคำตอบเเล้วไม่สามารถเเก้ไขหรือทำ
อะไรได้ คำถามต้องเป็นคำถามที่ส่งเสริมความคิดในระดับสูงไม่ใช่คำถามที่ต้องการคำตอบเพียงเเค่รู้เฉยๆ เเต่ต้องนำไปสู่
การพัฒนา + ใช้ผลการวิจัยได้

22. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ข้อใดเป็นการตั้งวัตถุประสงค์การวิจัยที่เหมาะสม
ก. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข. เพื่อให้นักเรียนมีทัศนคติที่สูงขึ้น
ค. เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ง. เพื่อสร้างเเละหาประสิทธิภาพของชุดการสอนเรื่องโรคจากยุงลาย
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 10

จ. เพื่อเเก้ไขปัญหาพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นป.6 จำนวน 6 คน
1. ก ง จ
2. ก ข ค
3. ง เท่านั้น
4. ข ค ง
5. ง เเละ จ
ตอบ 5. ง เเละ จ
23. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการสอนที่เเตกต่างกัน
3 วิธี
1. ตัวเเปรต้น คือ วิธีการสอนที่เเตกต่างกัน 3 วิธี
2. ตัวเเปรอิสระ คือ ความรู้เดิม
3. ตัวเเปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์
4. ตัวเเปรเเทรกสอด คือ ความเหนื่อยหน่าย
5. ตัวเเปรเเทรกซ้อน คือ ความรู้เดิม
ตอบ 2. ตัวเเปรอิสระ คือ ความรู้เดิม
อธิบาย 1. ตัวเเปรต้น คือ วิธีการสอนที่เเตกต่างกัน 3 วิธี
2. ตัวเเปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์
3. ตัวเเปรเเทรกสอดจะเป็นตัวเเปรที่เข้ามาคั่นกลางระหว่าตัวเเปรต้นกับตัวเเปรตาม จากโจทย์ คือ ความเหนื่อย
หน่าย
4. ตัวเเปรเเทรกซ้อน คือ ตัวเเปรอิสระที่ไม่ต้องการศึกษาเเต่มีผลกระทบต่อผลการศึกษาหากไม่ควบคุมหรือกำจัด
ออก จากโจทย์ คือ ความรู้เดิม

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 11

24. ข้อใดเป็นคำถามการวิจัยประเภทการวิจัยเชิงทดลอง
1. ทำไมนักเรียนจึงมีรูปเเบบการเรียนรู้เเตกต่างกัน
2. ทำไมเด็กชายน้อยจึงมีพฤติกรรมมาโรงเรียนสายเป็นประจำ
3. ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนอยู่ในระดับใด
4. ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการการเรียนวิชาคณติศาสตร์ของนักเรียน
5. นักเรียนที่เรียนตามรูปเเบบการสอน 5E มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนตามคู่มือครูหรือไม่
ตอบ 5. นักเรียนที่เรียนตามรูปเเบบการสอน 5E มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนตามคู่มือครูหรือไม่
25. ข้อใดเป็นคำถามการวิจับประเภทการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
1. สื่อหรือรูปเเบบการสอนหรือนวัตกรรมมีประสิทธิภาพเเละประสิทธิผลระดับใด
2. นักเรียนมีพัฒนาการด้านการเขียนอย่างไรเมื่อครูใช้วิธีการพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์
3. พฤติกรรมการสอนของครูส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์นักเรียนมากน้อยเพียงใด
4. การจัดการเรียนรู้เเบบโครงงานที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมควรมีรูปเเบบลักษณะอย่างไร
5. ผู้เรียนมีรุปเเบบการเรียนรู้ Learning style อะไรบ้าง
ตอบ 2. นักเรียนมีพัฒนาการด้านการเขียนอย่างไรเมื่อครูใช้วิธีการพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์
26. ข้อใดเป็นคำถามการวิจัยประเภทการวิจัยเชิงพัฒนา
1. สาเหตุการมาสายของนักเรียนคืออะไร ควรเเก้ไขอย่างไรบ้าง
2. การเเก้ไขปัญหานักเรียนมีพฤติกรรมเเต่งกานไม่เรียบร้อยโดยใช้เทคนิคการเสริมเเรงได้ผลอย่างไร
3. ทำไมนักเรียนจึงมีรูปเเบบการเรียนรู้เเตกต่างกัน
4. รููปเเบบการสอนโดยใช้เทคนิค STEM ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดีขึ้นมากน้อยเพียงใด
5. เหตุใดเด็กหญิงสกายจึงชอบเรียนวิชาศิลปะเเละทำผลงานออกมาได้อย่างดีเยี่ยม
ตอบ 4. รููปเเบบการสอนโดยใช้เทคนิค STEM ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดีขึ้นมากน้อยเพียงใด

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 12

27. จากคำถามวิจัย ''นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อการจัดการเรียนการสอนเเบบห้องเรียนกลับด้าน'' ครูควรจะเก็บข้อมูลอย่างไร


1. วิเคราะห์พฤติกรรม
2. สังเกตพฤติกรรมนักเรียน
3. ประเมินพฤติกรรม
4. สอบถามนักเรียน
5. ทดสอบนักเรียน
ตอบ 4. สอบถามนักเรียน
จากคำถามวิจัยต้องการทราบความรู้สึกของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนเเบบห้องเรียนกลับด้าน จึงควรเก็บ
ข้อมูลด้วยการสอบถามนักเรียน เพราะการสอบถามจะทำให้ครูทราบถึงความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ความสนใจ ข้อเท็จจริงบาง
อย่างได้
28. ครูขวัญใจสอนนักเรียนชั้น อนุบาล 3 จำนวน 20 คน สังเกตพบว่ามีนักเรียนบางคนไม่สามารถเล่นกับเพื่อนๆ ได้ ถ้าครู
ขวัญใจจะทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ครูขวัญใจควรเริ่มต้นด้วยข้อใด
1. นำนิทานเรื่อง ลูกหมู 3 ตัวมาจัดประสบการณ์ให้นักเรียน
2. โทรคุยกับผู้ปกครองให้เสนอแนะวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3. เรียกเด็ก ๆ มาพูดคุยเพื่อให้รู้สาเหตุ
4. สังเกตพฤติกรรมเพื่อเก็บข้อมูลก่อนเรียน
5. รีบหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ตอบ 3. เรียกเด็ก ๆ มาพูดคุยเพื่อให้รู้สาเหตุ
คำอธิบาย
การกำหนดปัญหาวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียน (ปัญหา = ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง)
2. วิเคราะห์สาเหตุปัญหาการเรียนรู้ เมื่อได้ปัญหาการเรียนรู้แล้ว ให้วิเคราะห์สาเหตุว่าปัญหาการเรียนรู้นั้นเกิด
จากสาเหตุใด สามารถแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการวิจัยได้หรือไม่
3. เลือกนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 13

4. กำหนดปัญหาการวิจัย โดยตั้งปัญหาวิจัยในลักษณะประโยคคำถาม
จากโจทย์ ครูขวัญใจเจอปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียน คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 บางคนไม่สามารถเล่นกับเพื่อนๆ ได้ ซึ่งจัด
อยู่ในขั้นตอนแรก แล้วขั้นตอนถัดไปที่ครูขวัญใจควรทำ คือ วิเคราะห์สาเหตุปัญหาการเรียนรู้ โดยเรียกเด็กๆ มาพูดคุยเพื่อ
ให้รู้สาเหตุและวางแผนทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่อไป

29. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
1. ผลของการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่สำคัญคือผู้สอนสามารถนำไปเป็นผลงานทางวิชาการได้
2. การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผลการเรียนของนักเรียนไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
4. ผู้เรียนทุกคนต้องผ่านการพัฒนาด้วยกระบวนการวิจัยของครู
5. ครูทุกคนต้องทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน
ตอบ 2. การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผลการเรียนของนักเรียนไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
คำอธิบาย
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มุ่งให้ครูผู้สอนสามารถทำวิจันเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ปัญหา
การเรียนรู้ วางแผนแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ครูผู้สอนสามารถทำวิจัยและ
พัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่นำไปสู่คุณภาพการเรียนรู้ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ ออกแบบและพัฒนา
นวัตกรรมการเรียนรู้ ทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลการใช้นวัตกรรมนั้นๆ และครูผู้สอน
สามารถนำกระบวนการวิจัยมาจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนจากการ
วิเคราะห์ปัญหา สร้างแนวทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดำเนินตามแนวทางที่เลือก และสรุปผลการแก้ไขปัญหาอันเป็นการ
ฝึกทักษะ ฝึกกระบวนการคิด ฝึกการจัดการจากการเผชิญสถานการณ์จริง และปรับประยุกต์ประสบการณ์มาใช้แก้ไขปัญหา

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 14

30. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการเลือกใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ในการแก้ปัญหาในชั้นเรียน


1. ไม่เน้นการกำหนดกรอบแนวคิดทฤษฎี
2. สามารถนำผลการวิจัยมาใช้ได้ทันที
3. นวัตกรรมที่นำมาใช้แก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องสร้างเอง
4. ทำได้อย่างรวดเร็ว
5. ใครเป็นคนทำวิจัยก็ได้
ตอบ 5. ใครเป็นคนทำวิจัยก็ได้
คำอธิบาย
ใครเป็นคนทำวิจัยก็ได้ ไม่ใช่เหตุผลในการเลือกใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ในการแก้ปัญหาใน
ชั้นเรียน เนื่องจากการวิจัยในชั้นเรียนเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (เชิงปฏิบัติการ) ซึ่งเกิดขึ้นจากการค้นคว้าทดลอง แสวงหาความ
จริงเชิงวิทยาศาสตร์อย่างใกล้ชิดในสถานการณ์จริงของครูในชั้นเรียนหรือในโรงเรียน
อ่านบทความวิจัยต่อไปนี้เเล้วตอบคำถาม
ครูมุกศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเเละความพึงพอใจโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือ STAD ในรายวิชา
วิทยาศาสตร์ เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 โดยทดสอบกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 30 คน ก่อนเรียนเเละหลัง
เรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เเละเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเเละหลังเรียน
ข้อมูลการวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ 3 คนให้ผลดังนี้

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


15
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
31. ครูมุกควรตั้งชื่อการวิจัยว่าอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด
1. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค
STAD รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด19 อยู่ในระดับมาก
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้
เทคนิค STAD รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด 19 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างไร
3. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเเละความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด19
4. การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด19
5. เราจะมีวิธีการใดนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาวิทยาศาสตร์
เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด19
ตอบ 3. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเเละความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด19
32. ครูท่านใดตั้งคำถามการวิจัยเหมาะสมน้อยที่สุด
1. ครูนกตั้งคำถามการวิจัยว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนเเละหลังเรียนด้วยรูปเเบบการจัดการ
เรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
รายวิชาวิทยาศาสตร์ สูงขึ้นหรือไม่
2. ครูหวานตั้งคำถามการวิจัยว่าผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปเเบบการ
จัดการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD อยู่ในระดับใด
3. ครูน้อยตั้งคำถามการวิจัยว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หรือไม่
4. ครูพลอยตั้งคำถามการวิจัยว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนเเละหลังเรียนด้วยรูปเเบบการจัดการ
เรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
รายวิชาวิทยาศาสตร์ เเตกต่างกันหรือไม่
5. ครูบอยตั้งคำถามการวิจัยว่าสาเหตุใดทำให้นักเรียนพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปเเบบการจัดการเรียนรู้
เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 16
ตอบ 5. ครูบอยตั้งคำถามการวิจัยว่าสาเหตุใดทำให้นักเรียนพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปเเบบการจัดการเรียนรู้
เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
33. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้
1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัย
จากโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
3. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ในรายวิชา
วิทยาศาสตร์ เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 1
4. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD รายวิชา
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ตอบ 4. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD รายวิชาวิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เป็นสมมติฐาน
34. ครูท่านใดตั้งสมมติฐานการวิจัยเหมาะสมน้อยที่สุด
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน.....มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้
เทคนิค STAD รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 อยู่ในระดับมากที่สุด
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD รายวิชา
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD รายวิชา
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ก่อนเรียนเเละหลังเรียนเเตกต่างกัน
4. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจาก
โควิด-19 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
ตอบ 3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD รายวิชาวิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ก่อนเรียนเเละหลังเรียนเเตกต่างกัน เนื่องจากเป็นการ
วิจัยทางการศึกษา ก่อนจะทำการวิจัยจะมีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยที่เคยมีผู้ทำไว้เเล้ว เเสดงว่าเทคนิคการสอนที่
ใช้ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงความตั้งสมมติฐานเเบบมีทิศทาง
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
17
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
35. ตัวเเปรอิสระ ของการวิจัยในครั้งนี้คือข้อใด
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
2. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19
4. ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
5. คะเเนนก่อนเรียนเเละหลังเรียน
ตอบ 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
36. ข้อใดไม่ใช่ตัวเเปรตามของการวิจัยในครั้งนี้
1.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
2. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19
4. ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
ตอบ 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD คือ ตัวเเปรต้น
37. ข้อใดคือตัวเเปรเกินของการวิจัยในครั้งนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
2. เเรงจูงใจในการเรียน
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19
4. ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
5. เพศ อายุ ของนักเรียน
ตอบ 5. เพศ อายุ ของนักเรียน
ตัวเเปรเกิน เป็นตัวเเปรอิสระที่ไม่อยู่ในข่ายของการศึกษา เเต่อาจมีผลต่อตัวเเปรตามที่มุ่งศึกษา ตัวเเปรเกินจึงนับ
ว่ามีความสำคัญที่ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาขจัดให้หมดอิทธิพลหรือนำมาเป็นตัวควบคุม

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 18
38. ตัวเเปรเเทรกซ้อนของการวิจัยในครั้งนี้คือข้อใด
1. ทัศนคติต่อการเรียน
2. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโควิด-19
4. ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
5. คะเเนนก่อนเรียนเเละหลังเรียน
ตอบ 1. ทัศนคติต่อการเรียน
ตัวเเปรเเทรกซ้อนเป็นตัวเเปรอิสระที่เป็นลักษณะภายในของกลุ่มตัวอย่างบุคคลที่ศึกษาหรือสภาวะเเวดล้อมซึ่งไม่
สามารถสังเกตได้โดยตรง ในการวัดต้องวัดจากพฤติกรรมที่สังเกตหรือสิ่งที่ปรากฏภายนอกเพื่อสรุปอ้างอิงถึงคุณลักษณะภาย
ในตัวเเปร ลักษณะภายในของกลุ่มตัวอย่าง เช่น IQ, ทัศนคติ, บุคลิกภาพ, พื้นฐานความรู้เดิม, ความวิตกกังวล, เเรงจูงใจ
39. จากการทำการวิจัยในครั้งนี้ควรใช้เเบบเเผนการวิจัยใด
1.One Shot Case Study
2. One Group Pretest Posttest Design
3. Static Group Comparison
4. Posttest Only Control Group Design
5. Pretest Posttest Control Group Design
ตอบ 2. One Group Pretest Posttest Design ในการทดลองครั้งนี้ควรใช้เเบบเเผนการวิจัยเเบบใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่ม
เดียวเเละมีการวัดผลการทดลอง 2 ครั้ง คือ ก่อนเเละหลังการทดลอง โดยมีข้อดีคือมีการวัดผลก่อนเเละหลังการทดลองจะช่วย
ให้ผลการวิจัยมีความตรงภายใน คือ ผลการวิจัยสามารถสรุปได้อย่างถูกต้องเเม่นยำ
40. ควรใช้สถิติใดในการทดสอบสมมติฐาน
1. t-test for dependent sample
2. t-test for independent sample
3. หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน S.D.
4. ค่าร้อยละ
5. หาค่าเฉลี่ยของคะแนน
ตอบ 1. t-test for dependent sample สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
19
ข้อสอบบทการประกันคุณภาพการศึกษา
41. . ปัญหาอุปสรรคใดที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษามากที่สุด
1. การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ครูแต่ละคนไม่ชัดเจน
2. การนิเทศติดตามจากผู้บริหารและหน่วยงานต้นสังกัดไม่สม่ำเสมอ
3. ระบบสารสนเทศที่รองรับข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไม่มีประสิทธิภาพ
4. ไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมคุณภาพให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
5. ครูและผู้บริหารไม่เข้าใจมาตรฐานและเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษา
ตอบ 5. ครูและผู้บริหารไม่เข้าใจมาตรฐานและเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษา
คำอธิบาย
การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของ
สถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและ
สาธารณชนว่า สถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าหมายของหน่วย
งานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล หากครูและผู้บริหารไม่เข้าใจมาตรฐานและเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษา จะ
ส่งผลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนขาดความมั่นใจในเรื่องประสิทธิภาพและคุณภาพการดำเนินงานของสถานศึกษานั้น
42. ข้อใดคือองค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพ และการติดตามตรวจสอบคุณภาพ
2. การวางแผนการจัดการศึกษา การบริหารจัดการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา และการติดตามคุณภาพ
3. การวางแผนการจัดการศึกษา การบริหารจัดการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพ
4. การบริหารจัดการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพ
5. การวางแผนการจัดการศึกษา การบริหารจัดการศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษา
ตอบ 1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพ และการติดตามตรวจสอบคุณภาพ
คำอธิบาย
องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่
1). การพัฒนาคุณภาพการศึกษา -> เป็นการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้บรรลุถึงมาตรฐาน
การศึกษาที่กำหนดไว้การศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัด และการประเมินภายนอก
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
20
2). การประเมินคุณภาพ -> เป็นการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน กำกับติดตามและยืนยันการพัฒนา
คุณภาพสถานศึกษา การติดตาม นิเทศ ตรวจสอบจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษษและหน่วยงานต้นสังกัด
3). การติดตามตรวจสอบคุณภาพ -> เริ่มจากการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษษ การติดตามตรวจสอบ
คุณภาพโดยสำนักงานเขตพื้นที่
43. การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน กับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก มีความเชื่อมโยงกันที่เอกสารฉบับใด
1. รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
2. รายงานผลการประกันคุณภาพของสถานศึกษา
3. แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา
4. แผนยุทธศาสตร์คุณภาพของสถานศึกษา
5. รายงานมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ตอบ 1. รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
กับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก
44. ลักษณะใดคือความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในกับผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก
1. ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาจาก สมศ.
2. มีประสบการณ์การทำงานตรงตามระดับการศึกษาที่จะไปประเมิน
3. มีความรู้ความสามารถตรงตามระดับการศึกษาที่จะประเมิน
4. สามารถประมวลข้อมูลที่ได้จากสถานศึกษามาเทียบกับเกณฑ์การประเมินในแต่ละระดับ ได้อย่างเที่ยงตรงและ
ยุติธรรม
5. มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลที่มีความสำคัญจากหลายแหล่ง
ตอบ 1. ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาจาก สมศ.
คำอธิบาย
- ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษาทุกคนในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร
ครู และบุคลากรอื่นๆ ในสถานศึกษา
- ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ได้แก่ บุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้รับการ
รับรองจาก สมศ. ให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอก
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
21
45. หากท่านได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร ให้เป็นผู้รับผิดชอบดูแลการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ท่านต้อง
วางแผนขั้นตอนการดำเนินงานตามลำดับอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับหลักการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
1. การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ดำเนินการตามแผน ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา
ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2. การศึกษามาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา การดำเนินการตามแผน ประเมิน
ผลและตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา
3. การศึกษามาตรฐานการศึกษาของชาติ ศึกษาบริบทของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ประเมิน
ผลและตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา
4. การศึกษามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ดำเนินการตามแผน ประเมิน
ผลและตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา
5. การศึกษามาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ดำเนินการตามแผน
ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา
ตอบ 4. การศึกษามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ดำเนินการตามแผน ประเมินผล
และตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา
46. ตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2561 เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา ส่งผลให้การประกันคุณภาพการศึกษา
ภายใน และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ตามตัวเลือกใด
1. ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา
2. การกำหนดมาตรฐานการศึกษา
3. ผู้รับผิดชอบในการกำกับควบคุมคุณภาพการศึกษา
4. เกณฑ์การประเมินคุณภาพและระดับคุณภาพการศึกษา
5. ระยะเวลาในการประเมิน
ตอบ 2. การกำหนดมาตรฐานการศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
22
คำอธิบาย
การประกันคุณภาพการศึกษาภายในกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกเชื่อมโยงกันด้วยมาตรฐานการ
ศึกษา โดยสถานศึกษาจะใช้มาตรฐานการศึกษาใดก็ได้ตามความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นกระบวนการประเมินผลและติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการ
ศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจากการรายประเมินตนเองของสถานศึกษา จะต้องส่งให้สำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เพื่อให้คณะผู้ประเมินภายนอกได้ศึกษาอย่างละเอียดก่อนการตรวจเยี่ยม
สถานศึกษา
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก เป็นงานต่อเนื่องและสัมพันธ์กันกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
และเป็นการตรวจสอบผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาตามาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินภายนอกระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานแก่สถานศึกษา ทำให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพนการจัดการ
ศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง
47. ข้อใดกล่าวถึงบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องในการประกันคุณภาพภายในไม่ถูกต้อง
1. ผู้เรียน พ่อเเม่ ผู้ปกครอง มีบทบาทโดยเข้ามามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพเเละการจัดการศึกษาของ
สถานศึกษา โดยให้ข้อคิดเห็น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน เเละให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของสถาน
ศึกษา
2. ชุมชนมีบทบาทเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมให้เเละใช้ข้อมูล เพื่อกำหนดเป้าหมาย จัดทำเเผนพัฒนา ตรวจ
สอบ ประเมินผล เเละปรับปรุงสถานศึกษา
3. เขตพื้นที่เเละหน่วยงานที่กำกับดูเเล มีบทบาทในการบริหารจัดการ ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวก
ให้คำปรึกษาเเนะนำ ดูเเลให้มีการประกันคุณภาพภายในที่ทุกผ่านเข้ามามีส่วนร่วม เป็นเเกนนำในการจัดทำเเผน รวมทั้ง
กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามเเผน การนำผลการประเมินตนเองมาใช้ในการปรับปรุงสถานศึกษา เเละการรายงานผล
ให้สาธารณชนรับทราบ
4. บุคลากรทางการศึกษาเข้ามามีบทบาทในการกำกับ ส่งเสริม เเละสนับสนุนการพัฒนาเเละการประกันคุณภพา
ของผู้บริหารเเละครู
5. ครูนำผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา หน่วยการเรียนรู้/แผนการ จัดการเรียนการสอน
และผลการปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการ มาศึกษาวิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ควร พัฒนาเป็นรายบุคคล รายชั้น รายภาค รายปี
เพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายใหม่ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิด การพัฒนาตามศักยภาพให้มากที่สุด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
23
ตอบ 3. เขตพื้นที่เเละหน่วยงานที่กำกับดูเเล มีบทบาทในการบริหารจัดการ ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวก ให้คำ
ปรึกษาเเนะนำ ดูเเลให้มีการประกันคุณภาพภายในที่ทุกผ่านเข้ามามีส่วนร่วม เป็นเเกนนำในการจัดทำเเผน รวมทั้งกำกับ
ติดตามให้มีการดำเนินงานตามเเผน การนำผลการประเมินตนเองมาใช้ในการปรับปรุงสถานศึกษา เเละการรายงานผลให้
สาธารณชนรับทราบ เป็นบทบาทของผู้บริหาร ส่วนเขตพื้นที่เเละหน่วยงานที่กำกับดูเเลมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ
ทางด้านวิชาการเเละการสนับสนุนทรัพยากรรวมทั้งกำกับติดตามให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามเเผนพัฒนา
สถานศึกษาเเละมาตรฐานการศึกษา
48. ข้อใดเป็นขั้นตอนเเรกในการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน
1. ตรวจสอบประเมินผลเป็นระยะๆเพื่อพิจารณาว่าการดำเนินการเป็นไปในทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้า
หมายหรือมาตรฐานเเละข้อบ่งชี้ที่กำหนดในเเผนพัฒนาเเละเเผนปฏิบัติการหรือไม่ เพียงใด
2. ประเมินผลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินการที่ผ่านมาที่
กำหนดไว้เพียงใด ต้องประปรับปรุงเเก้ไขในเรื่องใด
3. สถานศึกษาจัดทำเเผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
4. สถานศึกษาดำเนินการตามเเผน
5. วิเคราะห์ สังเคราะห์ เเปรผลในภาพรวมทั้งหมด เเล้วนำเสนอผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง
ตอบ 3. สถานศึกษาจัดทำเเผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
49. ข้อใดเป็นการนำผลการประเมินภายนอกไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียนเหมาะสมน้อยที่สุด
1. โรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในเเต่ละ
มาตรฐาน
2. ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สนับสนุนให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วย
ตนเองจากสิ่อเเละเเหล่งเรียนรู้ต่างๆ
3. เน้นให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร การประเมินผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เเละนำ
ผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงผู้เรียน
4. ส่งเสริมให้ครูนำนวัตกรรมเเละการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนเเละส่งเสริมศักยภาพด้านวิชากรในเเต่ละกลุ่ม
สาระการเรียนรู้โดยบริหารวิชาการเเก่ชุมชน
5. ผู้บริหารนำผลการประเมินภายนอกมาใช้เป็นผลงานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระดับประเทศ
ในการสร้างชื่อเสียงให้เเก่โรงเรียน สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
24
ตอบ 5. ผู้บริหารนำผลการประเมินภายนอกมาใช้เป็นผลงานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระดับประเทศ
ในการสร้างชื่อเสียงให้เเก่โรงเรียน
50. ข้อใดเป็นการประยุกต์ใช้ผลการประกันคุณภาพไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมมากที่สุด
1. ครูผู้สอนมีการพัฒนาเชิงรุกให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างมีคุณภาพ
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระเเละกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจเเละความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึง
ความเเตกต่างระหว่างบุคคล
2. สถานศึกษามีการจัดองค์กรโครงสร้างการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการปรับโครงสร้างองค์กรโดยเพิ่ม
โครงสร้างด้านการประกันคุณภาพเเละด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
3. สถานศึกษามีการนำวงจรคุณภาพ PDCA มาใช้ในการปฏิบัติงาน
4. ผู้บริหารโรงเรียนได้ใช้ผลการประเมินภายนอกมาทำความเข้าใจร่วมกับบุคลากรในโรงเรียนถึงสภาพการดำเนิน
งานของโรงเรียนเป็นการทบทวนการจัดการศึกษาของโีรงเรียน
5. ผู้ปกครองนักเรียนนำผลการประเมินไปใช้ในการเเสดงความคิดเห็นสะท้อนกลับมายังโรงเรียนในการติดตามการ
จัดการเรียนการสอนของครูเพื่อนำผลสะท้อนกลับไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอน
ตอบ 1. ครูผู้สอนมีการพัฒนาเชิงรุกให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างมีคุณภาพทุก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระเเละกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจเเละความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความ
เเตกต่างระหว่างบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
25
เนื้อหาอ่านเสริมบทการวิจัยเพื่อเเก้ปัญหาผู้เรียนตามเกณฑ์ใหม่ 2566
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน
1. การกำหนดปัญหาวิจัย
2. การตั้งวัตถุประสงค์เเละชื่อวิจัย
3. การพัฒนานวัตกรรม
4. การเลือกประเภทของการวิจัย
5. การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
6. การออกเเบบเครื่องมือวิจัย
7. การเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูล
8. การเขียนรายงานวิจัย
อ่านเพิ่ม
ขั้นตอนการกำหนดปัญหาวิจัย
ลักษณะของปัญหา
1.ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น อ่านไม่ออก เขียนไม่เป็น ไม่เข้าใจเนื้อหา เรียนช้า บวกเลขไม่ได้
2.ปัญหาเกี่ยวกับทักษะการปฏิบัติงานของผู้เรียน เช่น การเล่นดนตรี การใช้คอมพิวเตอร์ การเล่นกีฬา
3.ปัญหาเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
ก่อนที่จะเลือกปัญหามาทำวิจัยจะต้องทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้เรียนก่อนซึ่งจะช่วยให้ครูระบุปัญหาที่สำคัญที่สุด
มาทำวิจัย จากนั้นระบุกลุ่มผู้ร่วมวิจัย เช่น นักเรียน, ครูผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จากนั้นเลือกใช้รูปเเบบในการทำวิจัย ระดับการทำ
วิจัย เช่น ระดับบุคคล กลุ่ม หรือโรงเรียน
การเลือกปัญหามาทำวิจัย
1. ต้องเป็นปัญหาที่พบจริงๆในการจัดการเรียนการสอน
2. ต้องมีความชัดเจนเเละเเน่ใจว่าเป็นปัญหาที่เเท้จริง
3. ปัญหาต้องไม่เกิดจากการตัดสินตามความคิดของตัวคุณครูเอง
4. ต้องสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ เเละศักยภาพในการทำวิจัยของครู
5. ต้องมีความสัมพันธ์หรือเป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นๆ
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 26
การวิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้เรียน
เป็นสิ่งที่ครูใช้ในการตัดสินใจว่าจะเลือกปัญหาใดมาทำวิจัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เข้าถึง เเละสามารถเเก้ปัญหา
ที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด
เเนวทางในการวิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้เรียน
1. สภาพปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร
2. ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นของใคร
3. ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อใครบ้าง
4. เมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาอื่นที่เกิดพร้อมกันปัญหาใดสำคัญกว่า
5. ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลายนั้นเชื่อมโยงกันอย่างไร
6. ใครคือผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อปัญหานั้น
การตั้งคำถามการวิจัย
คำถามการวิจัยเป็นประโยคหรือข้อความที่เขียนขึ้นมาเพื่อค้นหาคำตอบในปรากฏการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้น
คำถามการวิจัยในชั้นเรียนอาจเเบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
คำถามระดับที่ 1 เป็นคำถามระดับพื้นฐาน เป็นคำถามที่มีความมุ่งหมายตอบว่า ใคร ทำอะไร เเละได้ผลอย่างไร
เช่น ใครเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในชั้นเรียนมากที่สุด เด็กชายนกเเก้วมีพฤติกรรมก่อกวนชั้นเรียนอย่างไรบ้าง
คำถามระดับที่ 2 เป็นคำถามที่มีความลึกซึ้งเเละซับซ้อนกว่าคำถามเบื้องต้น เป็นการศึกษาความรู้สึกของผู้ร่วม
ทำวิจัยในชั้นเรียนต่อปรากฏการณ์ต์ที่เกิดขึ้น เช่น นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อการประเมินตนเอง
หลักในการตั้งคำถามการวิจัย
- คำตอบที่ได้จะต้องเน้นกระบวนการพัฒนาตัวผู้เรียนเเละครูผู้ทำวิจัยเองทั้งในด้านเนื้อหาที่ทำเเละ
กระบวนการวิจัย
- ควรยกเว้นคำถามที่ตอบเพียงว่าใช่หรือไม่เพราะเมื่อทราบคำตอบเเล้วก็ไม่สามารถเเก้ไขหรือทำอะไรได้
- ต้องเป็นคำถามที่ส่งเสริมความคิดในระดับสูง ไม่ใช่คำถามที่ต้องการคำตอบเพียงเเค่รู้เฉยๆ เเต่ต้องนำไปสู่
การพัฒนา + ใช้ผลการวิจัยได้ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด

คำถามที่ควรปรับปรุง เช่น นักเรียนมาสายกี่คน ใครมาสายบ้าง


คำถามที่ถูกต้อง เช่น ทำไมนักเรียนถึงมาโรงเรียนสาย จะมีวิธีการอย่างไรในการเเก้ไขพฤติกรรมการมาโรงเรียนสาย
นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อการเเก้ไขปัญหาด้วยวิธีการลงโทษ
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
27
การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
ขั้นตอนนี้จะช่วยให้คุณครูรู้ว่าสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุอะไร เมื่อทราบสาเหตุเเล้วก็มุ่งเเก้ที่สาเหตุนั้นได้
โดยตรง การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา เช่น การสอบถามจากนักเรียน เพื่อนครู ผู้ปกครอง หรือใช้การสังเกตสิ่งที่เกิด
ขึ้น ใช้การทดสอบหรือเเบบสำรวจ เเล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ
การวิเคราะห์หาวิธีการเเก้ไขปัญหา
การสร้างนวัตกรรมทั้งที่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ ชุดฝึก วิธีการสอน เเละวิธีการปรับพฤติกรรม
การตั้งวัตถุประสงค์เเละชื่อเรื่องวิจัย
วัตุถุประสงค์เป็นข้อความที่เเสดงว่าเราต้องการจะทำอะไรเพื่อตอบคำถามการวิจัย
วัตถุประสงค์การวิจัยจึงต้องเขียนตามลำดับเเละเป็นขั้นตอนจะช่วยชี้ลำดับการวิจัยของครูได้ถูกต้องโดยเขียนเป็น
ประโยคบอกเล่า เขียนถึงสิ่งที่ต้องการทำจริงๆไม่ใช่เขียนสิ่งที่ต้องการให้เกิด
การเขียนวัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับคำถามการวิจัย
วัตถุประสงค์การวิจัยครอบคลุมตัวเเปรเเละประเด็นที่ต้องการศึกษา
ไม่ควรเเยกย่อยจนเกินไป มีความชัดเจนเเละชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวเเปร
การเขียนวัตถุประสงค์ที่ดี
- มีความเฉพาะเจาะจง
- สามารถวัดได้
- ดำเนินการให้สำเร็จได้
- ตรงกับสภาพความเป็นจริง
- เเสดงถึงช่วงเวลา
การตั้งชื่อการวิจัย
การเขียนชื่อเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนจะต้องอิงวัตถุประสงค์เเละเนื้อหาที่จะทำ มีลักษณะเขียนเป็นประโยคบอกเล่า
เเละเเสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวเเปร ใช้ภาษาที่ชัดเจน ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ซ้ำซ้อนกัน ควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ
คือ จุดมุ่งหมาย ตัวเเปร กลุ่มเป้าหมาย เเละวิธีการ/นวัตกรรมที่นำมาศึกษาหรือเเก้ไขปัญหา
- จุดมุ่งหมายการวิจัย
การกำหนดจุดมุ่งหมายการวิจัยควรระบุว่าต้องการจะทำอะไร โดยอาจจะอิงจากวัตถุประสงค์
โดยอาจะใช้คำต่อไปนี้ เช่น การเเก้ไข การพัฒนา การเเก้ปัญหา การเปรียบเทียบ
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
28
ตัวเเปร
- ตัวเเปรต้นหรือตัวเเปรอิสระ เป็นตัวเเปรที่มีอิทธิพลหรือส่งผลต่อตัวเเปรอื่น
- ตัวเเปรตาม เป็นตัวเเปรผลที่เกิดขึ้นจากการส่งผลของตัวเเปรอิสระ
- ตัวเเปรเเทรกซ้อน เป็นตัวเเปรอิสระที่ไม่ต้องการศึกษาหรือไม่ได้เลือกมาศึกษาผล ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อผลการ
วิจัยหากคุณครูไม่ได้ควบคุมหรือกำจัดออกไป
- ตัวเเปรเเทรกสอด เป็นตัวเเปรที่สอดเข้ามาคั่นกลางระหว่างตัวเเปรอิสระเเละตัวเเปรตาม โดยที่อาจจะได้รับ
อิทธิพลจากตัวเเปรอิสระก่อนเเล้วจงส่งผลต่อตัวเเปรตาม ตัวเเปรเเทรกสอดผู้วิจัยมิได้คำนึงถึงไว้ล่วงหน้า เเต่ถ้าควบคุมหรือ
ออกเเบบการวิจัยให้ดีผู้วิจัยอาจนำตัวเเปรเเทรกสอดมาอธิบายได้
กลุ่มเป้าหมาย
เป็นกลุ่มนักเรียนที่ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนา ส่งเสริม เเละเเก้ปัญหา
วิธีการหรือนวัตกรรมที่นำมาศึกษาหรือเเก้ไขปัญหา
เป็นการระบุว่าเราจะใช้วิธีการใดหรือนวัตกรรมอะไรมาส่งเสริมพัฒนาหรือเเก้ไขปัญหา ในงานวิจัยในชั้นเรียนที่พบ
บ่อย คือ สื่อการสอน วิธีการจัดการเรียนรู้ เเละวิธีการปรับพฤติกรรม
**เนื้อหาขั้นตอนการวิจัยหลังจากนี้ให้อ่านทบทวนในเล่มสีม่วง ชีทสรุปการวิจัยทางการศึกษา
การนำผลการวิจัยไปใช้
ผู้เรียนจะต้องใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
ครูต้องทำการวิจัยควบคู่ไปกับการจัดการเรียนรุ้โดยวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน เเล้วนำมาเป็นปัญหาการ
วิจัย ออกเเบบเเละดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน
******วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้
โรงเรียน ผู้บริหาร สนับสนุนให้ครูทำวิจัย นำผลการวิจัยไปใช้เเก้ปัญหาในชั้นเรียน เเละพัฒนาการเรียนรู้ในชั้น
เรียน
1. นำไปใช้เพื่อเเก้ปัญหา + พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. ปรับปรุง + พัฒนาการจัดการเรียนรู้
3. ประกอบการตัดสินใจการบริหารการศึกษา
4. ต่อยอดผลงานทางวิชาการ
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
29
ข้อสอบบทการประกันคุณภาพ (ต่อ)
51. ข้อใดเป็นการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้เหมาะสมน้อยที่สุด
1.เมื่อสถานศึกษาที่ถูกประเมินได้รับรายงานการประเมินอย่างเป็นทางการเเล้วจากนั้นสถานศึกษานำผลจากรายงาน
นี้รายงานไปยังหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจในการใช้บริการในสถานศึกษามากยิ่งขึ้น
2. ผู้ปครองที่ใช้บริการในสถานศึกษาที่ถูกประเมินติดตามข้อมูลรายงานการประเมินของสถานศึกษาเพื่อจะเป็น
ประโยชน์ ทำให้เกิดความมั่นใจในการใช้บริการในสถานศึกษามากยิ่งขึ้น
3. สถานศึกษานำผลจากรายงานมาใช้ในการวางเเผนปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป
4. ต้นสังกัดช่วยสนับสนุนสถานศึกษาตามข้อเสนอเเนะของสมศ.เพื่อให้สถานศึกษาสามารถดำเนินไปใช้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
5. สถานศึกษานำข้อค้นพบสำคัญๆจากการประเมินมากำหนดเเนวทางการพัฒนาเเละเเผนปกิบัติการโดยกำ
หนดเเนวทางการดำเนินการเเก้ไขปัญหาหรือพัฒนาอย่างชัดเจนเป็นระบบ
ตอบ 1.เมื่อสถานศึกษาที่ถูกประเมินได้รับรายงานการประเมินอย่างเป็นทางการเเล้วจากนั้นสถานศึกษานำผลจากรายงานนี้
รายงานไปยังหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจในการใช้บริการในสถานศึกษามากยิ่งขึ้น ผิดเพราะเมื่อสถานศึกาา
ที่ถูกประเมินได้รับรายงานอย่างเป็นทางการเเล้วก็จะทราบการดำเนินงานของสถานศึกาา จากหลักฐาน ข้อมูล เเละร่องรอย
ต่างๆที่ผู้ประเมินพบเห็นเป็นอย่างไร มีเรื่องไหนที่สถานศึกษาทำอยู่ในระดับดี ระดับพอใช้ หรือระดับต้องปรับปรุงเเก้ไข ผู้
ประเมินเสนอเเนะให้สถานศึกษาปรับเเก้ไขในเรื่องไหน อย่างไรบ้าง สถานศึกษาก็นำผลจากรายงานนี้มาใช้เพื่อวางเเผน
ปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป
ส่วนหน่วยงานต้นสังกัดที่สถานศึกษาถูกประเมิน
รายงานการประเมินสถานศึกษาที่ส่งไปทางต้นสังกัดทำให้ต้นสังกัดทราบว่าสถานศึกษานั้นมีสภาพการดำเนิน
งานในเเต่ละเรื่องเป็นอย่างไร มีปัญหาเร่งด่วนอะไรบ้างหรือไม่ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานต้นสังกัดจะต้องสนับสนุนช่วยเหลือ
สถานศึกษาอย่างไรบ้าง สถานศึกษาจึงจะสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หน่วยงานต้นสังกัดควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้นำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียนโดยเฉพาะด้าน
ผู้เรียนเเละการจัดการอบรมให้ความรู้เเก่ครูในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 30

52. เเนวทางที่สถานศึกษาจะปรับปรุงพัฒนางาน หลังจากรับรายงานการประเมินของสมศ.ข้อใดเหมาะสมน้อยที่สุด


1.จัดให้มีการปรับเเก้ทันทีในเรื่องที่ผู้ประเมินเเนะนำให้ปรับปรุงเเก้ไขโดยกำหนดเงื่อนไขเวลาเรื่องที่ต้องดำเนิน
การโดยเร่งด่วนไว้ด้วย
2. รักษาค่าเป้าหมายของงานในการดำเนินการต่อไปให้อยู่ในระดับเดิมเหมือนปีการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อรักษาเป้า
หมายตามระดับเดิมที่ได้กำหนดไว้เเล้ว
3. พิจารณากำหนดค่าเป้าหมายของงานในการดำเนินการต่อไปให้สูงขึ้นโดยเฉพาะเรื่องที่ผู้ประเมินเห็นว่าสถาน
ศึกษาทำได้ดีอยู่เเล้วหรืองานที่สถานศึกษาดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้เเล้ว
4. พิจารณาเเนวทางในการปรับปรุงเเก้ไขหรือเพิ่มเติมวิธีการดำเนินงานใหม่ในเรื่องที่ผู้ประเมินเห็นว่าสถานศึกษา
ยังทำได้ไม่ดี ต้องปรับปรุงเเก้ไขโดยเฉพาะถ้ามีข้อเสนอเเนะให้ปรับปรุงเเก้ไขในรายงานการประเมินเเล้วสถานศึกษาก็ควร
นำข้อเสนอเเนะนั้นมาใช้เป็นเเนวทางในการดำเนินงาน
5. ประสานหรือดำเนินงานอื่นตามข้อเสนอเเนะในรายงานการประเมิน
ตอบ 2. รักษาค่าเป้าหมายของงานในการดำเนินการต่อไปให้อยู่ในระดับเดิมเหมือนปีการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อรักษาเป้า
หมายตามระดับเดิมที่ได้กำหนดไว้เเล้ว
53. ข้อใดเป็นการนำผลการประเมินภายนอกที่ได้รับรายงานจากสมศ.มาใช้ในเชิงปฏิบัติมากที่สุด
1. ทำให้ผู้บริหารรับรู้ข้อมูลการปฏิบัติงาน รู้สภาพปัญหา ทำให้เข้าใจในสิ่งที่ประเมิน
2. การใช้สารสนเทศของการประเมินโดยผู้ตรวจสอบหรือคณะกรรมการกำกับการประเมิน
3. ใช้เป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจออกเเบบโครงการ ปรับเปลี่ยน วิธีดำเนินงาน ขยายโครงการ
4. ใช้เป็นเครื่องช่วยติดตาม กำกับ หรือควบคุมการประเมินเพื่อเเสดงว่าการดำเนินการประเมินเป็นไปตามเเนวทาง
เเละมีระเบียบขั้นตอนที่เหมาะสม
ตอบ 3. ใช้เป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจออกเเบบโครงการ ปรับเปลี่ยน วิธีดำเนินงาน ขยายโครงการ
พิจารณา 1. ทำให้ผู้บริหารรับรู้ข้อมูลการปฏิบัติงาน รู้สภาพปัญหา ทำให้เข้าใจในสิ่งที่ประเมิน สะสมสำหรับนำไปใช้ในการ
ตัดสินใจเชิงสภาพนโยบายที่เกี่ยวข้อง เป็นการนำไปใช้ในเชิงเเนวคิด ใช้ผลทางอ้อม โดยนำผลมาสอดเเทรกในเเนวคิด
ของผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การใช้สารสนเทศของการประเมินโดยผู้ตรวจสอบหรือคณะกรรมการกำกับการประเมิน เป็นการนำไปใช้เชิง
สัญลักษณ์ ใช้ผลการประเมินเป็นเครื่องมือช่วยติดตาม กำกับ หรือควบคุมการประเมินเพื่อเเสดงว่าการดำเนิน
การเป็นไปตามเเนวทางเเละระเบียบขั้นตอนที่เหมาะสม
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 31
3. ใช้เป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจออกเเบบโครงการ ปรับเปลี่ยน วิธีดำเนินงาน ขยายโครงการ เป็นการใช้ผลประเมิน
เชิงปฏิบัติ ใช้ผลการประเมินในการเเก้ปัญหาโดยตรงเเละมีหลักฐานสำหรับการอ้างอิง ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนเเปลง
ปรัชญา วิสัยทัศน์ขององค์กร หลักการ ทฤษฏีของโครงการ ทรัพยากรการดำเนินงานเเละอนาคตของเเผนงานโครงการ
อ่านเสริม
ซึ่งรูปแบบการนำผลการประเมินไปใช้มี 4 รูปแบบ ดังนี้
1. การใช้ผลประเมินในเชิงความคิด เป็นการนำผลการประเมินไปใช้เพื่อจุดประกายความคิดหรือสะท้อนความคิด
ของผู้เกี่ยวข้องต่อสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดความรู้ความเข้าใจต่อสิ่งที่มุ่งประเมินมากขึ้น โดยไม่ได้นำผลการ
ประเมินไปสู่การตัดสินใจโดยตรงเพื่อการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
2. การใช้ผลประเมินในเชิงตรวจสอบยืนยัน เป็นการนำผลการประเมินไปใช้เป็นเหตุผลสนับสนุน หรือยืนยันผล
การตัดสินใจในการกำหนดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ทำให้แนวทาง/นโยบายที่เลือกใช้มีน้ำหนัก
และมีความถูกต้อง เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
3. การใช้ผลประเมินในเชิงสัญลักษณ์ เป็นการนำผลการประเมินไปใช้เพื่อเป็นเครื่องมือติดตาม กำกับ หรือ
ควบคุมการประเมินว่าได้มีการดำเนินงานตามแนวทาง ระเบียบ ขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อให้กระบวนการประเมินมีคุณภาพ
และเป็นที่ยอมรับ
4. การใช้ผลประเมินในเชิงปฏิบัติ เป็นการนำผลการประเมินไปใช้โดยตรงในทางปฏิบัติ ถือเป็นเครื่องมือหรือวิธี
การในการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามมา
แนวปฏิบัติของสถานศึกษาในการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์
1. การใช้ผลการประเมินในเชิงความคิด
·นำผลการประเมินมาสร้างความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานที่เกิดขึ้นแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทุกฝ่าย
·ใช้เป็นสารสนเทศในการกำหนดกรอบความคิดหรือการตัดสินใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา
2. การใช้ผลการประเมินในเชิงตรวจสอบยืนยัน
·นำผลการประเมินมาสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการ
ประจำปี โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
32
3. การใช้ผลการประเมินในเชิงสัญลักษณ์
·นำผลการประเมินไปใช้ในการกำกับ ติดตาม และควบคุมการดำเนินงาน
·ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
4. การใช้ผลการประเมินในเชิงปฏิบัติ
·นำแผนปฏิบัติการประจำปีที่อิงผลการประเมินสู่การปฏิบัติ
·ใช้ผลการประเมินเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
54. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอก
1. เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกาาเเละประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐาน
การศึกษาที่กำหนด
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น จุดด้อยของสถานศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จเเละสาเหตุของ
ปัญหา
3. เพื่อช่วยเสนอเเนะเเนวทางปรับปรุงเเละัพัฒนาคุณภาพการศึกษาเเก่สถานศึกษาเเละหน่วยงานต้นสังกัด
4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกาามีการพัฒนาคุณภาพการศึกาาเเละประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพเเละมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อผู้ประเมินคุณภาพภายนอกที่ได้
รับรองจากสมศ.
ตอบ 5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพเเละมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อผู้ประเมินคุณภาพภายนอกที่ได้
รับรองจากสมศ. ต้องเป็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเเละสาธารณชน
55. การประเมินคุณภาพภายนอกข้อใดมีความสำคัญมากที่สุด
1. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่ระบบเกณฑ์มาตรฐานเเละพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่าง
ต่อเนื่อง
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลในการกำหนดนโยบายทางการศึกษาเเละจัดสรรงบประมาณเพื่อศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อเพิ่มความมั่นใจเเละคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าสถานศึกษาจัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพ
ตามมาตรฐานการศึกษา
4. เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการตามเป้าหมายที่กำหนด
5. เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพเเละมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
33
ตอบ 5. เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพเเละมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
จากช้อยทุกข้อเป็นความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอกหมด เรียงลำดับความสำคัญจากมากสุดไปน้อยสุดได้ดังนี้
1. เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพเเละมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่ระบบเกณฑ์มาตรฐานเเละพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่าง
ต่อเนื่อง
3. เพื่อเพิ่มความมั่นใจเเละคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าสถานศึกษาจัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพ
ตามมาตรฐานการศึกษา
4. เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการตามเป้าหมายที่กำหนด
5. เพื่อให้ได้ข้อมูลในการกำหนดนโยบายทางการศึกษาเเละจัดสรรงบประมาณเพื่อศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
56. ข้อใดเป็นการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้เหมาะสมน้อยที่สุด
1. ผู้อำนวยการใช้ในการจัดทำหลักสูตรเเละจัดบุคลากรให้เหมาะสม
2. ผู้ปกครองใช้เเสดงความคิดเห็นสะท้อนกลับมายังโรงเรียน
3. ครูใช้ในการผลิตสื่อการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
4. นักเรียนใช้ปรับปรุงผลงานของตนเอง
5. หน่วยงานต้นสังกัดใช้ในการตรวจสอบงบประมาณในการดำเนินงาน
ตอบ 5. หน่วยงานต้นสังกัดใช้ในการตรวจสอบงบประมาณในการดำเนินงาน ควรเป็น หน่วยงานต้นสังกัดใช้ในการ
สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงเเก้ไขตามข้อเสนอเเนะของสมศ.
57. ข้อใดเป็นการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้เหมาะสมน้อยที่สุด
1. ผู้อำนวยการโรงเรียนจัดกิจกรรมเเละอบรมความรู้ในการจัดการเรียนการสอนให้เเก่บุคลากร
2. ครูใช้ทำเเผนการสอน วิเคราะห์หลักสูตร เเละจัดกิจกรรมสอดเเทรกทักษะให้นักเรียน
3. ผู้ปกครองใช้ร่วมกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน
4. นักเรียนใช้วางเเผนในการทำงานของตนเองให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
5. ผู้บริหารใช้พัฒนาความรู้ให้เเก่ตนเอง
ตอบ 5. ผู้บริหารใช้พัฒนาความรู้ให้เเก่ตนเอง เหมาะสมน้อยสุด ควรใช้พัฒนาความรู้ให้กับองค์กรหรือสถานศึกษาถึงจะ
เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
34
อ่านเสริม สำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
การนำผลการประเมินภายนอกไปใช้
1. ด้านผู้บริหาร
ใช้พัฒนาตนเองเเละองค์กร
จัดทำหลักสูตรเเละบุคลากรให้เหมาะสม
ใช้จัดกิจกรรมเเละอบรมให้บุคลากร
2. ครู
ใช้พัฒนาหาความรู้ให้ตนเอง
ใช้จัดกิจกรรมสอดเเทรกทักษะให้นักเรียน
ใช้ทำเเผนการสอนเเละวิเคราะห์หลักสูตร
ใช้ผลิตสื่อการสอนให้เหมาะสม
3. ผู้ปกครอง
ใช้ร่วมกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน
ใช้เเสดงความคิดเห็นสะท้อนกับมายังโรงเรียน
4. นักเรียน
ปรับปรุงผลงานของตนเอง
ใช้วางเเผนการทำงาน
ให้ความสนใจกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
35
อ่านเสริม สำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
สรุปการนำผลการประเมินภายนอกไปใช้
1. มีการนำไปใช้ในการพัฒนามาตรฐานให้มีคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในสถานศึกษาโดยเน้นการจัด
กิจกรรมต่างๆเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนเเละกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต่างๆ
2. ผู้บริหารใช้ผลการประเมินภายนอกมาทำความเข้าใจร่วมกับบุคลากรในโรงเรียนถึงสภาพการดำเนินงาน
ของโรงเรียน เป็นการทบทวนการจัดการศึกษาของโรงเรียน
3. ผู้บริหารใช้ผลการประเมินภายนอกเป็นเครื่องช่วยกำกับ ควบคุม ดำเนินการจัดการเรียนการอสนเเละ
บริหารโรงเรียน
4. การจัดทำเเผนปฏิบัติราชการเป็นการกำหนดเเนวทางการปฏิบัติงานโดยใช้ผลการประเมินภายนอกมา
อ้างอิงประกอบการจัดทำเเผนปฏิบัติราชการโดยใช้สอดคล้องกับความสำคัญของการประเมินภายนอก เพื่อใช้เป็นข้อมูลใน
การกำหนดนโยบายทางการศึกษาเเละจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ได้จากการประเมินนำเอา
มาช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการตามเป้าหมายที่กำหนด
5. นำผลการประเมินไปใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับ ตั้งเเต่ระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฏิบัติการ โดย
นำข้อค้นพบสำคัญๆจากการประเมินมากำหนดเป็นเเนวทางการพัฒนาเเละเเผนปฏิบัติการโดยกำหนดเป็นเเนวทางการดำ
เนินการเเก้ปัญหาหรือพัฒนาอย่างชัดเจน เป็นระบบ เเละเเผนปฏิบัติการที่จัดทำในทุกระดับต้องมีความสอดคล้องกัน
นอกจากนี้ควรกำหนดเเผนการนิเทศ กำกับ ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของบุคลากรในความรับผิดชอบด้วย
6. ผู้บริหารเเละครูทำความเข้าใจถึงสภาพของการจัดการเรียนการสอน การบริหารโรงเรียน นำผลที่ได้ไป
ตรวจสอบยืนยันผลการตัดสินใจเเละดำเนินกิจกรรมต่างๆ สนับสนุนให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
เพิ่มมากขึ้น

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
36
อ่านเสริม สำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ในการนำผลการประเมินไปใช้นั้น สถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้
1. ศึกษาผลการประเมินหรือข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ของสถานศึกษา เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาการ
จัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน โดยวิเคราะห์ปัญหาและสภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งหาสาเหตุ และแนวทางการพัฒนา เพื่อ
กำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้ผลการประเมินของสถานศึกษา
2. กำหนดเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
3. จัดทำและดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่เน้นคุณภาพผู้เรียน
4. นิเทศ กำกับ ติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องตามแผนที่จัดทำไว้
5. ประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในกรณีที่ผลการประเมินผ่านหรือเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
ก็ให้ตั้งเป้าหมายใหม่เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้น และกรณีที่ผลการประเมินไม่ผ่านหรือไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่
กำหนด ก็นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขโดยเริ่มต้นตามวงจรการพัฒนาคุณภาพใหม่ต่อไป
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา
1. การที่จะนำผลการประเมินไปใช้ในเชิงปฏิบัติจะต้องเกิดขึ้นหลังการใช้ผลการประเมินในเชิงความคิดซึ่ง
เป็นการใช้ขั้นพื้นฐาน โดยการใช้ผลการประเมินนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้บริหารได้รับรู้สารสนเทศของการประเมินที่มีความหมาย
และตรงประเด็นกับความต้องการแล้วนำมาสังเคราะห์กับสารสนเทศเดิมเพื่อจัดระบบความรู้ จากนั้นจึงนำไปใช้ในการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงทั้งด้านแนวคิดและมุมมอง รวมถึงการสร้างความคิดรวบยอดในการประเมิน
2. การใช้ผลการประเมินจะมีความเป็นไปได้สูงและมีสัมฤทธิผลขึ้นอยู่กับการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจ
ร่วมกันระหว่างผู้ประเมินและผู้ต้องการใช้ผลการประเมิน
3. ผลการประเมินมีความสัมพันธ์กับการนำผลการประเมินไปใช้และส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งในด้านบวกและ
ด้านลบ ดังนั้นการวางแผนดำเนินงานประเมินอย่างเหมาะสมและการสร้างแรงจูงใจในการแก้ปัญหาร่วมกัน อาจลดผลกระทบ
ที่ไม่พึงปรารถนาและเพิ่มผลกระทบในทางบวกด้วย
4. สภาพการใช้ผลการประเมินขึ้นกับสภาพแวดล้อมหรือบริบทของการประเมิน ดังนั้นจะต้องมีการพิจารณาบริบท
อย่างแท้จริงเพื่อวางแผนในทุกขั้นตอนและทำการประเมินที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากผลการประเมิน
5. การที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับรู้ เรียนรู้การประเมินร่วมกัน การประเมินจะนำไปสู่การใช้ผลการประเมินและเกิด
ผลกระทบในเชิงสร้างสรรค์
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
37
อ่านเสริม สำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
การนําผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียน
ในการนําผลการประเมินไปใช้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกระดับ ควรดําเนินการดังนี้
1. ศึกษาผลการประเมินภายในสถานศึกษา ทั้งด้านจุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุงข้อค้นพบ สําคัญที่คณะ
กรรมการประเมินให้ข้อสังเกต ตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆ คือ ในระดับผู้บริหาร สถานศึกษา จําเป็นต้องศึกษาผลการประ
เมินในภาพรวมของสถานศึกษา ส่วนในระดับรองลงมาได้แก่ ระดับหมวดวิชา/ฝ่าย และระดับผู้ปฏิบัติการควรให้ความสําคัญ
กับการศึกษาผลการประเมินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานในความรับผิดชอบตามบทบาทของตน
2. นําข้อค้นพบสําคัญๆ จากการประเมินมากําหนดแนวทางการพัฒนา และแผนปฏิบัติการ โดยกําหนด
แนวทางการดําเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอย่างชัดเจน เป็นระบบและแผนปฏิบัติการที่จัดทําในทุกระดับต้องมีความ
สอดคล้องกัน ในระดับสถานศึกษาและหมวดวิชาควรกําหนดแผนการ นิเทศ กํากับ ติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินงาน
ของบุคลากรในความรับผิดชอบ
3. ดําเนินการตามแผนที่กําหนดไว้และประเมินความก้าวหน้าของการดําเนินงานเป็นระยะๆ พร้อมทั้งให้การ
สนับสนุน ส่งเสริม ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพเข้าสู่มาตรฐาน
4. สรุปรายงานผลการดําเนินงาน เสนอผู้เกี่ยวข้องตามลําดับ
การใช้ผลการประเมิน
1. สถานศึกษาที่ถูกประเมิน
สถานศึกษาที่ถูกประเมินเมื่อได้รับรายงานอย่างเปนทางการแล้วก็จะทราบวาการดำเนินงานของสถาน
ศึกษาจากหลักฐานข้อมูลและร่องรอยต่างๆ ที่ผู้ประเมินพบเห็นเป็นอย่างไร มีเรื่องไหนที่สถานศึกษาทําอยู่ในระดับดีระดับ
พอใช้หรือระดับต้องปรับปรุงแก้ไข ผู้ประเมินเสนอแนะให้สถานศึกษาปรับแก้ในเรื่องไหน อย่างไรบ้าง สถานศึกษาก็นําผล
จากรายงานนี้มาใช้เพื่อวางแผน ปรับปรงการดำเนินงานต่อไป
2. ต้นสังกัดสถานศึกษาที่ถูกประเมิน
รายงานการประเมินสถานศึกษาที่ส่งไปทางต้นสังกัดทำให้ต้นสังกัดทราบว่าสถานศึกษานั้นมีสภาพ
การดําเนินงานในแต่ละเรื่องเป็นอย่างไร มีปัญหาเร่งด่วนอะไรบ้างหรือไม่ ในฐานะที่เป็นต้น สังกัดจะต้องสนับสนุนช่วยเหลือ
สถานศึกษาอย่างไรบ้าง สถานศึกษาจึงจะสามารถดําเนินไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
38
อ่านเสริม สำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
3. ประชาชนที่ใช้บริการในสถานศึกษาที่ถูกประเมิน
โดยเฉพาะประชาชนที่ใช้บริการในสถานศึกษาใด หรือผู้ปกครองของนักเรียน ในสถานศึกษาใดก็คง
ติดตามข้อมูลรายงานการประเมินของสถานศึกษานั้นเพื่อจะเป็นประโยชน์หรือทําให้เกิดความมั่นใจในการใช้บริการในสถาน
ศึกษามากยิ่งขึ้น
ลักษณะแรกประชาชนหรือผู้ปกครองนักเรียนให้การช่วยเหลือหรือการสนับสนุนตามข้อเสนอแนะในการ
ปรับปรุงแก้ไขในบางเรื่องที่อยู่ในวิสัยที่พอจะช่วยเหลือได้เพราะทราบ ปัญหาและข้อจํากัดของสถานศึกษา และอีกลักษณะ
หนึ่งประชาชนหรือผู้ปกครองนักเรียนจะคอยติดตามการดําเนินงานของสถานศึกษาในเรื่องที่สถานศึกษาได้รับคําแนะนําให้
ปรับปรุงแก้ไขหากเห็นว่าสถานศึกษานั้นไม่ดําเนินการก็จะได้หาทางกระตุ้นหรือประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องให้ดําเนินการตาม
ความเหมาะสมต่อไป การดําเนินงานทั้งสองลักษณะก็เป็นทั้งการส่งเสริมสนับสนุนและการติดตามกํากับ ให้สถานศึกษาได้
พัฒนาขึ้น โดยอาศัยข้อมูลหลักฐานจากรายงานการประเมิน
แนวทางที่สถานศึกษาจะปรับปรุง พัฒนางานหลังจากรับรายงานการประเมินของสมศ. เช่น
1. จัดให้มีการปรับแก้ทันทีในเรื่องที่ผู้ประเมินแนะนําให้ปรับปรุงแก้ไขโดยกําหนดเงื่อนไขเวลา เรื่องที่ต้องดํา
เนินการโดยเร่งด่วนไว้ด้วย เพราะเรื่องดังกล่าวขืนปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อนักเรียนหรือ บุคลากรหรือทําให้เกิดความเสีย
หายต่อสถานศึกษา
2. พิจารณากําหนดเป้าหมายของงานในการดําเนินการต่อไปให้สูงขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่ผู้ประเมิน เห็นว่าสถาน
ศึกษาทําได้ดีอยู่แล้วหรืองานที่สถานศึกษาดําเนินการบรรลุตามเป้าหมายเดิมที่กําหนดไว้แล้ว
3. พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมวิธีการดําเนินงานใหม่ในเรื่องที่ผู้ประเมินเห็นว่าสถาน
ศึกษายังทําได้ไม่ดีต้องปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะถ้ามีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขในรายงานประเมินแล้ว สถานศึกษาก็
ควรนําข้อเสนอแนะนั้นมาใช้เป็นแนวในการดําเนินการ
4. ประสานหรือดําเนินงานอื่นตามข้อเสนอแนะในรายงานการประเมิน

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
39
อ่านเสริม สำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
สรุปการนําผลการประเมินภายนอกไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียน
มาตรฐานด้านผู้เรียน
โรงเรียนดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่กําหนดไว้ใน
แต่ละมาตรฐาน ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สนับสนุนให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้
ด้วยตนเองจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
ด้านครู
จัดการอบรมให้ความรู้แก่ครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างทักษะและประสบ
การณ์การจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ครูทุกคนได้รับการศึกษาเพิ่มเติมขั้นต่ํ่าระดับปริญญาตรี จัดให้ครูสอนตามตามความถนัด
ความสามารถและสาขาวิชาที่สําเร็จการศึกษา เน้นให้ครู จัดทําหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพและบริบทของ
โรงเรียน เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร การประเมินผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์และนําผล
การประเมินไป พัฒนาปรับปรุงผู้เรียน
ด้านผู้บริหาร
เน้นการทํางานในรูปของคณะกรรมการทั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา คณะ
กรรมการบริหารงานวิชาการ มีการจัดองค์กรโครงสร้างการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการปรับโครงสร้างองค์กรโดยเพิ่ม
โครงสร้างด้านการประกันคุณภาพและด้านความสัมพันธ์กับชุมชน นําวงจรคุณภาพ PDCA มาใช้ในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้
ครูนํานวัตกรรมและการวิจัยมาใช้ ในการพัฒนาผู้เรียน และส่งเสริมศักยภาพด้านวิชาการในแต่ละกลุุ่มสาระการเรียนรู้โดยให้
บริการ วิชาการแก่ชุมชน

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
40
58. ตารางผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนเเห่งหนึ่งเป็นดังนี

จากข้อมูลข้างต้นโรงเรียนดังกล่าวว่าควรพัฒนาตามข้อใด
1. จัดให้ผู้เรียนสามารถสร้างผลงานที่เป็นผลงานของตนเอง ผ่านนกระบวนการเรียนรู้กิจกรรมโครงงานอย่างหลาก
หลายเเละมีคุณภาพ
2. ทำเเผนงานเเละโครงการต่างๆอย่างเป็นระบบโดยยึดนโยบายจากต้นสังกัดเเละบริบทของชุมชน อาศัยข้อมูล
จากการประเมินเเผนงานของปีการศึกษาในอดีตอย่างน้อย 2 ปี โดยผนวกเอาความต้องการของชุมชนมาประกอบก่อนที่จะ
วางเเผนงานทุกเเผน
3. จัดการเรียนการสอนเเบบ Active Learning โดยมีการวางเเผนที่เหมาะสมกับบริบทเเละผนวกกับนโยบายต้น
สังกัด
4. จัดทำเเผนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความถนัดเเละ
ความสนใจ
5. ครูมีการบริหารห้องเรียนเชิงบวก มีการพัฒนาเเผนการสอนอย่างต่อเนื่องทุกปี มีเครื่องมือวัดผลที่หลากหลาย ครู
มีการพัฒนาตนเองไปสุ่การพัฒนาการสอนโดยมีการวิจัยในชั้นเรียนทุกภาคเรียน
ตอบ 1. จัดให้ผู้เรียนสามารถสร้างผลงานที่เป็นผลงานของตนเอง ผ่านกระบวนการเรียนรู้กิจกรรมโครงงานอย่างหลาก
หลายเเละมีคุณภาพ ด้านคุณภาพผู้เรียน ส่วน 2 ด้านกระบวนการบริหารเเละการจัดการ ส่วน 3 4 5 ด้าน
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 41
59. ตารางผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนเเห่งหนึ่งเป็นดังนี

จากข้อมูลข้างต้นโรงเรียนดังกล่าวว่าควรพัฒนาตามข้อใด
1. จัดกิจกรรมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูเเละบุคลากรภายในสถานศึกษา
2. มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลในเเต่ละห้องเรียน จัดกลุ่มเรียนเพื่อปรับพื้นฐานพัฒนาต่อยอดเเละสอนซ่อม
เสริมนักเรียนตามความต้องการเเละจำเป็น
3. มีการเเต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบงานตามโครงสร้างของสถานศึกษา มีโครงการเเละกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อน
4. ส่งเสริมให้ครูพัฒนาสื่อ นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน เเละส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน
5. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูนำผลการประเมินมาวิเคราะห์เเละจัดทำเเผนพัฒนาตนเอง
ตอบ 3. มีการเเต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบงานตามโครงสร้างของสถานศึกษา มีโครงการเเละกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อน
1 4 5 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2 ด้านคุณภาพผู้เรียน

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 42
60. ตารางผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนเเห่งหนึ่งเป็นดังนี

จากข้อมูลข้างต้นโรงเรียนดังกล่าวว่าควรพัฒนาตามข้อใด
1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ทักษะความสามารถเเละศักยภาพของสถานศึกษาในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนานวัตกรรม
2. วิเคราะห์สภาพปัญหาจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อวางเเผนเเก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมการสอนที่เหมาะสม
3. จัดสภาพเเวดล้อมที่ร่มรื่น สะอาด ปลอดภัย มีเเหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ
4. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาเเละความเเตกต่างระหว่างผู้เรียนรายบุคคล
5. พัฒนาเเนวคิดการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
ตอบ 2. วิเคราะห์สภาพปัญหาจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อวางเเผนเเก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมการสอนที่เหมาะสม
1 ด้านคุณภาพผู้เรียน 3 4 5 ด้านการบริหารเเละการจัดการ

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 43
วิเคราะห์ข้อสอบตามเกณฑ์ใหม่บทหลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจัทัลในการจัดการเรียนรู้
61. ครูท่านใดออกเเบบการจัดการเรียนรู้เหมาะสมน้อยที่สุด
1. ครูหวานสอนให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ได้รู้จักวิธีเเสวงหาความรู้ ได้ฝึกคิดเเก้ไขปัญหา
2. ครูน้อยใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ มีการใช้คำถามกระตุ้นคิด ใช้วิธีการสอนหลากหลายรูปเเบบ เปิดโอกาสให้ผู้
เรียนได้ลงมือกระทำ
3. ครูวิทยาเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการเเสดงความคิดเห็น
4. ครูนกเเก้วจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา เเละผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมในรูป
เเบบต่างๆที่เหมาะสม
5. ครูบอยเเจ้งคะเเนนปลายภาคเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ผู้เรียนตั้งใจอ่านหนังสือสอบ
ตอบ 5. ครูบอยเเจ้งคะเเนนปลายภาคเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ผู้เรียนตั้งใจอ่านหนังสือสอบ เพราะควรให้ผู้เรียนได้รับทราบ
ผลงานของตนเองเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง นักเรียนได้นำมาปรับปรุง พัฒนา
พิจารณา 1. ครูหวานสอนให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ได้รู้จักวิธีเเสวงหาความรู้ ได้ฝึกคิดเเก้ไขปัญหา เหมาะสม
เพราะเป็นการสอนที่คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2. ครูน้อยใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ มีการใช้คำถามกระตุ้นคิด ใช้วิธีการสอนหลากหลายรูปเเบบ เปิดโอกาสให้
ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ เหมาะสมเพราะเป็นการสอนที่เร้าความสนใจของผู้เรียน
3. ครูวิทยาเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการเเสดงความคิดเห็น เหมาะสมเพราะเป็นการสอนที่ส่งเสริมการ
ปกครองระบบประชาธิไตย ตัวอย่างเเนวทางการสอนเพื่อส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิไตย เช่น
- ผู้เรียนได้ฝึกทำงานกลุ่มร่วมกัน
- ฝึกเป็นผู้นำ ผู้ตาม
- ฝึกการทำตามข้อกำหนดกลุ่ม
- ฝึกระเบียบวินัยในตนเอง
4. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์กับเนื้อหาเเละกับผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมในรูปเเบบ
ต่างๆที่เหมาะสม เหมาะสม

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
การจัดการเรียนรู้ที่ดีหรือการสอนที่ดีที่ผู้สอนสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ดังนี้ (อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2553 : 11-13)
1. เป็นการสอนที่มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ครบองค์ประกอบของการสอน อันได้แก่
44
- การตั้งจุดประสงค์การสอน
- การจัดเนื้อหาสาระ
- การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- การใช้สื่อการสอน
- การวัดผลประเมินผล
2. เป็นการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา ทั้งด้านความรู้ความคิด ด้านเจตคติและด้านทักษะ ทำให้ผู้เรียนเกิด
ความรู้แจ้ง คิดชอบ และปฏิบัติดี
3. เป็นการสอนที่ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์กับเนื้อหาและ กับผู้เรียน โดยใช้
กิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม
4. การสอนที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเอง หรือได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ เรียนการสอน
5. เป็นการสอนที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร เช่น ผู้สอนจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิด
คุณลักษณะดังที่หลักสูตรกำหนดไว้
6. เป็นการสอนที่คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การสอนโดยให้ผู้เรียนได้คิด
วิเคราะห์ วิจารณ์ ได้รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ได้ฝึกคิดแก้ปัญหา การให้ผู้เรียนได้นำประสบการณ์ทั้งความรู้ ความคิด ไปใช้ในชีวิต
ประจำวันปัจจุบันและอนาคตได้
7. เป็นการสอนที่เร้าความสนใจผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนตลอดจนจบกระบวนการสอน เช่น ผู้สอนใช้สื่อ
การสอนที่น่าสนใจ ใช้คำถามกระตุ้นให้คิด ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบที่เหมาะสม ให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ (Learning by
doing) ได้ทดลอง ได้คิดค้นคว้า ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความสนใจ
8. เป็นการสอนที่มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งบรรยากาศด้านวัตถุและด้านจิตใจ บรรยากาศด้านวัตถุ หมาย
ถึง การมีสภาพห้องเรียน อุปกรณ์การเรียน และสิ่งแวดล้อมที่ดี เอื้ออำนวยให้เกิดความสบายตาสบายใจในการเรียน ส่วนด้าน
จิตใจ หมายถึง การที่ครูมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนด้วยดี ให้ ความเป็นกันเอง ให้ความเมตตา ความรัก ความอบอุ่นแก่นักเรียน
ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข มีชีวิตชีวา และไม่ตึงเครียด

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 45
การจัดการเรียนรู้ที่ดีหรือการสอนที่ดีที่ผู้สอนสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ดังนี้ (อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2553 : 11-13)
9. เป็นการสอนที่ผู้สอนรู้จักใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เช่น การให้รางวัลและการลงโทษที่พอดี การ
ให้คำชม การจูงใจ เร้าใจให้ผู้เรียนเกิดแรงกระตุ้นภายใน การให้ผู้เรียนได้รับทราบ ผลงานของตนโดยทันที การทำให้ผู้เรียน
เกิดความภูมิใจในความสำเร็จของตน การคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การให้เรียนจากสิ่งที่ง่ายไปยาก ฯลฯ เหล่านี้
เป็นปัจจัยช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดี
10. เป็นการสอนที่ที่ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น ให้ผู้เรียนมีอิสระในการ แสดงความคิดเห็น ผู้
เรียนได้ฝึกการทำงานกลุ่มร่วมกัน ได้ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตาม ฝึกการทำตามข้อกำหนด กลุ่ม และฝึกระเบียบวินัยในตนเอง
11. เป็นการสอนที่มีกระบวนการ มีลำดับขั้นตอนการสอนที่ไม่สับสน ในการสอนจำเป็นต้องมีการเตรียมการสอน
เตรียมจัดลำดับการสอนให้สอดคล้องต่อเนื่องกันอย่างเหมาะสมตั้งแต่ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป ผู้สอนต้องวางแผน จัดลำดับ
ขั้นตอนการสอนให้ถูกต้อง
12. เป็นการสอนที่มีการวัดผลประเมินผลทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังการเรียน โดยอาจใช้วิธีต่าง ๆ เช่น
การสังเกต การซักถาม การทดสอบ การให้ค้นคว้ารายงาน การทำแบบฝึกหัด ฯลฯ การ วัดผลประเมินผลจะช่วยวัดผลสัมฤทธิ์
ของผู้เรียน และวัดผลสำเร็จของผู้สอน ผู้สอนจะนำผลการประเมิน มาเป็นข้อมูลย้อนกลับพิจารณาการสอนของตนว่า มีข้อ
บกพร่องที่องค์ประกอบการสอนข้อใด ทำให้แก้ไข ได้ตรงจุด เพื่อความบูรณ์ของการสอนครั้งต่อไป
สรุปการจัดการเรียนรู้ที่ดีในสถานศึกษาทุกระดับ กุลิสรา จิตรชญาวณิช (2562 : 10)
1. เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มองเห็นได้ (Visible Learning) โดยผู้สอนอาจใช้วิธีการหรือ มาตรการต่าง ๆ มาช่วยใน
การจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพที่สูง เช่น การให้ผู้เรียนบอกความคาดหวัง และให้เกรดตนเอง การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม
กับวัย การอภิปรายในชั้นเรียน การมีความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน การฝึกคิดเกี่ยว
กับการใช้ความคิดของตนเอง (Think about Thinking) การจัดการห้องเรียนและการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครอง
2. ใช้หลักจิตวิทยาในการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา และปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผล
ให้ผู้เรียนและผู้สอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ เช่น วัยวุฒิ ภาวะของผู้เรียน ความ ยากง่ายของเนื้อหาที่เรียน การใช้แรงเสริม
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
3. จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วน ร่วมในการ
จัดการเรียนรู้ เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือฝึกปฏิบัติค้นพบความรู้ด้วยตนเอง และจะต้องส่งเสริม พัฒนาการผู้เรียนทั้งทางด้านร่างกาย
อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
การจัดการเรียนรู้ที่ดีหรือการสอนที่ดีที่ผู้สอนสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ดังนี้ (อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2553 : 11-13)
4. ใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายทันสมัย การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียนมีความสุข
สนุกในการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องพยายามใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ นวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายมีความน่าสนใจและทัน
สมัยมาใช้พัฒนาผู้เรียนเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้ 46

5. มีการวัดผลและประเมินผล การจัดการเรียนรู้ที่ดีจะต้องสามารถบรรลุผลตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งปัจจุบัน


การวัดผลประเมินผลสามารถใช้วิธีการได้หลายรูปแบบ เช่น การวัดผลตามสภาพจริง ทั้งนี้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนจะต้องอยู่บนจุดมุ่งหมายพื้นฐานสองประการ คือ การ วัดผลและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน การวัดผลและประเมินผลเพื่อ
ตัดสินผลการเรียน
62. ในการจัดการเรียนรู้ สิ่งใดที่ครูผู้สอนต้องดำเนินการเป็นลำดับเเรก
1. ครูสายใจกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จัดให้ผู้เรียน
2. ครูตูนทำการศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3. ครูขวัญออกเเบบเเผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ชุมชน เเละท้องถิ่น
4. ครูนิกทำการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนเเละพัฒนาผู้เรียน
5. ครูกรเตรียมสื่อการสอนที่น่าสนใจเเละเเหล่งเรียนรู้ใหม่ๆโดยอาศัยเทคโนโลยี
ตอบ 2. ครูตูนทำการศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ในการจัดการเรียนรู้จะต้องจัดเนื้อหาเเละกิจกรรมสอดคล้องกับความสนใจเเละความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึง
ความเเตกต่างระหว่างบุคคลดังนั้นครูผู้สอนควรศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลก่อนเป็นอันดับเเรกเพื่อนำข้อมูลมาใช้ใน
การวางเเผนการจัดการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 47
63. ครูผู้สอนต้องดำเนินการอย่างไรเป็นลำดับเเรกในการออกเเบบการเรียนรู้
1. ออกเเบบวิธีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้
2. นำตัวชี้วัดมาจัดทำเเผนการสอน
3. กำหนดสาระการเรียนรู้
4. วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้
5. วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้
ตอบ 4. วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ในการออกเเบบการเรียนรู้ สิ่งที่ครูผู้สอนควรทำเป็นอันดับเเรก คือ วิเคราะห์มาตรฐาน
การเรียนรู้ เนื่องจากมาตรฐานการเรียนรู้ คือ สิ่งที่ผู้เรียนรู้เเละสามารถปฏิบัติได้ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เมื่อครูทราบเเล้ว
ทำให้สามารถออกเเบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้
64. ครูท่านใดจัดการเรียนการสอนส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยน้อยที่สุด
1. ครูน้อยเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน
2. ครูวิทยาเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถเเสดงความคิดได้อย่างอิสระเเต่ต้องเคารพในความคิดของผู้อื่น
3. ครูมิกสอนให้ผู้เรียนมีความผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง
4. ครูน้อยสอนให้ผู้เรียนคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
5. ครูเเก้วส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเห็นคุณค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น
ตอบ 5. ครูเเก้วส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเห็นคุณค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น
คำอธิบาย เเนวทางสำคัญในการพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียน เช่น
- ด้านการมีส่วนร่วม ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการร่วมกิจกรรม มีความอดทนต่อการมีส่วนร่วม
- การเคารพซึ่งกันเเละกัน ผู้เรียนทุกคนจะต้องให้เกียรติซึ่งกันเเละกันทั้งทางกาย วาจา เเละความคิด ทุกคนย่อม
เคารพในความคิดของผู้อื่น เเสดงความคิดเห็นออกมาได้โดยไม่ล่วงเกินผู้อื่น ผู้เรียนต้องมีความเคารพตนเอง เคารพผู้อิื่น เเละ
เคารพในความหลากหลาย
- ความรับผิดชอบ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
- การตัดสินใจเลือกทางเลือกในการเเก้ปัญหา ผู้เรียนใช้ความรู้ คิดวิเคราะห์การอภิปราย โต้เเย้งในประเด็น
ปัญหา มีอิสระในการคิด ตัดสินใจ ใช้เหตุผลในการเเก้ปัญหา ร่วมกันเเก้ปัญหาโดยสันติวิธี ตัดสินเเก้ปัญหาโดยใช้เสียงข้าง
มาก เคารพเสียงข้างน้อย มีการกระตุ้นเเละเปิดโอกาสให้มีการเเสดงออกของความคิดอย่างอิสระ มีการเเลกเปลี่ยนเเนวคิดซึ่ง
กันเเละกัน มีการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 48
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เรียนรู้จากสถานการณ์จริง เน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง
เเละมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น เเละประเทศ
- ฝึกให้ผู้เรียนปฏิบัติตามกติกา ระเบียบสังคม
- ฝึกให้ผู้เรียนเป็นผู้มีิจิตสาธารณะ
65. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักสูตรแบบบูรณาการ
1. เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้เรียนได้ฝึกการเรียนรู้ ตัดสินใจและแก้ปัญหา
2. มีเนื้อหาวิชาต่างๆ สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ทำให้สะดวกต่อการค้นหาและการเรียนรู้
3. เน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆ ที่จำเป็นและมีความหลากหลาย
4. ครูจัดการเรียนการสอนแบบแยกรายวิชาแล้วทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการนำความรู้ที่ได้เรียนไปแล้วมาบูรณา
การกันเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
5. กระบวนการจัดการเรียนรู้เน้นการดำรงชีวิตในปัจจุบันและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ตอบ 4. ครูจัดการเรียนการสอนแบบแยกรายวิชาแล้วทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการนำความรู้ที่ได้เรียนไปแล้วมาบูรณาการ
กันเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
แนวคิดการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum) คือการจัดหลักสูตรเชื่อมโยงความรู้และ
ประสบการณ์ทุกประเภทเข้าด้วยกันในแผนการจัดหลักสูตรโดยเน้นการเชื่อมโยงประเด็นและหมวดหมู่จากเนื้อหาต่างๆ
ทั้งหมดเข้าด้วยกันในแนวนอน เพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นภาพรวมของความรู้และได้เรียนรู้ความหมายที่ลึกซึ้งของสาระวิชาที่
เรียน ซึ่งจะต้องมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบในแนวนอน ในลักษณะเป็นหน่วย
เดียวกันไม่แยกเป็นส่วนๆและแต่ละรายวิชาต้องเชื่อมโยงเข้ากับวิชาอื่นๆ ในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน
66. ในการประเมินหลักสูตรข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
1. ควรประเมินให้ครอบคลุมเฉพาะองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการพิจารณาหลักสูตร
2. ไม่มีการกำหนดเวลาที่เเน่นอนเพราะจำเป็นต้องดูการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
3. ควรประเมินหลักสูตรให้ครอบคลุมด้านความรู้
4. ต้องอาศัยเครื่องมือเเละเเหล่งข้อมูลหลายๆเเหล่งเเละมีความสมเหตุสมผล
5. ควรประเมินในปลายปีการศึกษา หลังมีผู้สำเร็จการศึกษาไปเเล้ว
ตอบ 5. ควรประเมินในปลายปีการศึกษา หลังมีผู้สำเร็จการศึกษาไปเเล้ว

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 49

การประเมินหลักสูตร เป็นการประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรว่าเมื่อได้นำหลักสูตรไปใช้แล้วนั้น ผู้ที่จบ


หลักสูตรนั้นๆ ไปแล้ว มีคุณสมบัติ มีความรู้ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้ การประเมิน
หลักสูตรจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณค่าสูงขึ้น อันเป็นผลในการนำหลักสูตรไปสู่ความ
สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การประเมินผลหลักสูตรควรทำให้ครอบคลุมระบบหลักสูตรทั้งหมด และควรจะประเมินให้
ต่อเนื่องกัน ดังนั้นการประเมินหลักสูตรจึงประกอบด้วยการประเมินสิ่งต่อไปนี้
1. การประเมินเอกสารหลักสูตร เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรว่า มีความเหมาะสมดีและถูกต้อง
ตามหลักการพัฒนาหลักสูตรเพียงใด หากมีสิ่งใดบกพร่องจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขก่อนจะได้นำไปประกาศใช้ใน
โอกาสต่อไป
2. การประเมินการใช้หลักสูตร เป็นการตรวจสอบว่า หลักสูตรสามารถนำไปใช้ได้ดีในสถานการณ์จริงเพียง
ใด มีส่วนไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้หลักสูตร โดยมากหากพบข้อบกพร่องในระหว่างการใช้หลักสูตรมักได้รับการ
แก้ไขโดยทันที เพื่อให้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตร โดยทั่วไปจะดำเนินการหลังจากได้มีผู้สำเร็จการศึกษาไปแล้ว การ
ประเมินหลักสูตรในลักษณะนี้มักจะทำการติดตามความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษาว่าสามารถประสบความสำเร็จใน
การทำงานเพียงใด
4. การประเมินระบบหลักสูตร เป็นการประเมินหลักสูตรในลักษณะที่มีความสมบูรณ์และสลับซับซ้อนมาก
กล่าวคือ การประเมินระบบหลักสูตรจะมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตรด้วย เช่น
ทรัพยากรที่ต้องใช้ ความสัมพันธ์ของระบบหลักสูตรกับระบบบริหารโรงเรียน ระบบการจัดการเรียนการสอน และระบบ
การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นต้น
67. ข้อใดสำคัญที่สุดในกระบวนการใช้หลักสูตร
1. การบริหารจัดการหลักสูตร
2. การนำหลักสูตรใหม่มาเเทนหลักสูตรที่ได้ปรับเเก้ไข
3. การสนับสนุนเเละการส่งเสริมการนำหลักสูตรไปใช้
4. การติดตาม ตรวจสอบ ในการนำหลักสูตรไปใช้
5. การจัดการเรียนรู้

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 50

ตอบ 5. การจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ซึ่งจัดขึ้นโดยครูผู้สอนเพื่อให้สนองต่อเจตนารมณ์ของหลักสูตร จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่สุดใน
กระบวนการใช้หลักสูตร
68. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาหลักสูตร
1. การนำหลักสูตรไปใช้
2. กำหนดเนื้อหา/ประสบการณ์การเรียนรู้
3. การประเมินผลหลักสูตร
4. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
5. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ
ตอบ 5. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ
สรุปว่า การพัฒนาหลักสูตร มี 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย
3. กำหนดเนื้อหา/ประสบการณ์การเรียนรู้
4. การนำหลักสูตรไปใช้
5. การประเมินผลหลักสูตร
6. การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหลักสูตร
69. ครูท่านใดจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเหมาะสมน้อยที่สุด
1. ครูวิชใช้สื่อการสอนเป็นเทคโนโลยีทั้งหมดเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้เทคโนโลยี
2. ครูกรที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก ผู้สนับสนุน ให้แก่ผู้เรียน
3. ครูนภาสนับสนุนให้มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงในการทํางาน
4. ครูที่มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับชีวิตประจำวัน สังคมและนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
5. ครูปิ่นพานักเรียนไปเรียนในเเหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายนอกห้องเรียน
ตอบ 1. ครูวิชใช้สื่อการสอนเป็นเทคโนโลยีทั้งหมดเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้เทคโนโลยี
ในการจัดการเรียนรู้ควรใช้สื่อการสอนที่หลากหลายรูปเเบบเเละคำนึงถึงความเเตกต่างของผู้เรียนเป็นสำคัญ

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 51
วิเคราะห์ข้อสอบตามเกณฑ์ใหม่บทหลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจัทัลในการจัดการเรียนรู้
70. ครูท่านใดจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดขั้นสูงเหมาะสมน้อยที่สุด
1. ครูเเก้วตาจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการคิดเเละการเเสดงออกของผู้เรียน
2. ครูไอยรากระตุ้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงระหว่างปัญหากับองค์ความรู้ของผู้เรียน
3. ครูวิทยาฝึกให้ผู้เรียนมีการสรุปเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนรู้เข้ากับสถานการณ์อื่นหรือบริบทอื่น ฝึกให้ผู้เรียน
หาวิธีเชื่อมโยงที่ซับซ้อนเป็นนามธรรม
4. ครูก้อยสอดเเทรกคำถามให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดย้อนกลับไปยังคำตอบหรือวิธีการเเก้ปัญหาของตนเองว่าถูก
ต้องหรือไม่ มีวิธีการอื่นที่ดีกว่าหรือไม่
5. ครูกิ่งเปรียบเทียบการเเก้ปัญหาโดยใช้เเนวทางที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียวเพื่อไม่ให้ผู้เรียนจำเเนวทางที่ไม่ถูก
ต้องไปใช้
ตอบ 5. ครูกิ่งเปรียบเทียบการเเก้ปัญหาโดยใช้เเนวทางที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียวเพื่อไม่ให้ผู้เรียนจำเเนวทางที่ไม่ถูกต้องไป
ใช้ เพราะครูผู้สอนควรเเสดงการเปรียบเทียบการเเก้ปัญหาที่ถูกต้องเเละไม่ถูกต้องเพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นความเเตกต่าง
อ่านเสริม
การคิดขั้นสูง (Higher-order Thinking) เป็นความสามารถทางสติปัญญาของบุคคล ในการแสวงหาข้อมูล
โดยใช้การคิดในหลายขั้นตอน ต้องอาศัยการคิดขั้นพื้นฐาน การเชื่อมโยง และการให้เหตุผล ในการจัดกระทำข้อมูล เพื่อนำ
ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการคิดที่มีความยืดหยุ่น มองเห็นได้หลากหลายแง่มุม ซึ่งอาจ
ทำให้เกิดเป็นแนวคิดใหม่ นวัตกรรมใหม่ ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ
ประเภทของการคิดขั้นสูง แบ่งเป็น 4 ประเภทตามลักษณะการคิดได้ดังนี้
1. การคิดวิจารณญาณ (Critical Thinking) หมายถึง ความสามารถในการคิดโดยใช้เหตุผล พิจารณา
ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ มีการค้นคว้าข้อมูล หลักฐาน วิเคราะห์และกลั่นกรองข้อมูลนั้นว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือ เป็นเพียงความ
คิดเห็นของบุคคล พิจารณาแหล่งข้อมูลและความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจอย่างรอบคอบ ว่าควรเชื่อสิ่งใด
และควรทำสิ่งใด ผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณจะเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาข้อมูลและความรู้ เป็นผู้ที่มี
เหตุผล ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เข้าใจความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น สามารถวิพากษ์และประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ
ได้อย่างมีเหตุผล

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 52
วิเคราะห์ข้อสอบตามเกณฑ์ใหม่บทหลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจัทัลในการจัดการเรียนรู้
2. การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการเลือกทางเลือกโดยผ่านการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ พิจารณาและประเมินข้อมูล อาจมีการคาดการณ์มาประกอบการตัดสินใจ แล้วเลือกทางเลือกที่ดีและเหมาะ
สมที่สุด การตัดสินใจที่ดีจะต้องพิจารณาประเด็นในการเลือกให้ชัดเจน รวบรวม ข้อมูลที่จะใช้ในการตัดสินใจอย่างครอบคลุม
พยายามมองประเด็นในหลายด้าน พิจารณาผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นจากการตัดสินใจ เมื่อได้ค้นพบทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
แล้ว จึงก่อให้เกิดการตัดสินใจได้อย่าง สมเหตุสมผล
3. การแก้ปัญหา (Problem Solving) หมายถึง ความสามารถในการแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น ให้เป็นไปตามสิ่งที่ คาด
หวัง โดยใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของบุคคล ในการหาแนวทางปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมายที่ คาดหวัง มี
กระบวนการคิดอย่างมีระบบ โดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหา ทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นรวบรวมข้อมูลและหา
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหา พิจารณาอย่างไตร่ตรอง และเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่คิดว่าเป็นไปได้มากที่สุด ซึ่งแนวทางในการ
แก้ปัญหาของแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์และความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Differences)
4. การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการคิดสิ่งแปลกใหม่และ หลากหลายจาก
เดิม เป็นการคิดที่ไม่ยึดติดแบบเก่าและมีความยืดหยุ่นในการคิดแตกต่าง การคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่มีประโยชน์และมี
คุณค่า มีการประยุกต์ใช้ความรู้หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความ ถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่
แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่ ต่อยอดกลายเป็น นวัตกรรมที่มีประโยชน์และสามารถใช้งานได้จริงในการดำเนินชีวิต
ของมนุษย์
กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดขั้นสูง สรุปได้ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้ให้รู้จักการคิด เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการคิด โดย ผู้สอน
อาจจะให้องค์ความรู้ในเรื่องการคิด ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในความเหมือนและความแตกต่างของการคิด แต่ละประเภท
ลักษณะการคิด โดยผู้สอนอาจยกกรณีศึกษาหรือเหตุการณ์ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการคิด ให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ว่ามี
ความเชื่อมโยงกับการคิดอย่างไร ถ้าผู้เรียนอยู่ในเหตุการณ์ผู้เรียนจะทำอย่างไร กระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ของการคิด
นอกจากนั้นยังมีการฝึกการคิดในแต่ละประเภทโดยการใช้สื่อการ เรียนรู้ ประเภทแบบฝึกหัด โปรแกรม หรือเกมในการฝึก
คิดในแบบต่าง ๆ โดยเริ่มต้นจากการคิดขั้นพื้นฐาน ไปสู่การคิดที่ขั้นสูงซับซ้อนขึ้น

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 53
วิเคราะห์ข้อสอบตามเกณฑ์ใหม่บทหลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจัทัลในการจัดการเรียนรู้
2. การจัดการเรียนรู้ให้คิดเป็น เน้นฝึกให้ผู้เรียนได้คิดในแบบต่าง ๆ ผู้สอนอาจเลือกเนื้อหาจากบางส่วน ของ
บทเรียน ออกแบบกิจกรรม สร้างเป็นสถานการณ์ปัญหา หรือภาระงานให้ผู้เรียนมีความรู้สึกท้าทาย ต้องการที่จะแก้ปัญหา
เป็นการฝึกคิดและสืบค้นหาข้อมูลเรื่องที่เป็นปัญหา ฝึกการเป็นนักคิดที่ดีในการ แก้ปัญหา ส่งเสริมนิสัยการคิดที่ถูกต้อง และ
สร้างสรรค์ คิดอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และถูกกาลเทศะ ผู้สอนจะต้องเตรียมบทเรียน วางแผนการจัดกิจกรรม สร้าง
สถานการณ์ปัญหาที่ท้าทาย มีการใช้สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัยของผู้เรียน ผู้สอนจัดบรรยากาศการเรียนรู้ใน
ชั้นเรียนให้เอื้อต่อการคิด การแสดงออกของผู้เรียน ใช้เทคนิคการใช้คำถามและการเสริมแรงเข้าประกอบในการจัดการเรียน
รู้ โดยอาจใช้เทคนิคย่อยประกอบ ดังนี้
1) เมื่อผู้เรียนอยู่ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ปัญหา ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงระหว่าง ปัญหากับองค์
ความรู้ของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งที่สำคัญของการแก้ปัญหานั้น
2) ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเปรียบเทียบวิธีการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เหมือนกัน และสถานการณ์ ที่แตกต่าง
กัน วิธีการแก้ปัญหาที่เหมือนกันจะเป็นประโยชน์กับผู้เรียนที่มีความรู้เดิมสูง และการเปรียบเทียบ ประเภทของปัญหาจะเป็น
ประโยชน์มากสำหรับผู้เรียนที่มีความรู้พื้นฐานต่ำ
3) หลังจากที่ผู้เรียนได้ลงมือแก้ปัญหาหรือสำรวจด้วยตนเอง ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำเสนอ แนวคิดที่
แตกต่างกันของแต่ละกลุ่ม จะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกการคิดของผู้เรียน
4) ผู้สอนแสดงการเปรียบเทียบการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ซึ่งมีประโยชน์มากกว่าการ เปรียบเทียบการ
แก้ปัญหาที่ถูกต้องทั้งสอง
5) ผู้สอนฝึกให้ผู้เรียนมีการสรุปเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนรู้ เข้ากับสถานการณ์อื่นหรือบริบทอื่น ฝึกให้ ผู้เรียนหาวิธี
เชื่อมโยงที่ซับซ้อนเป็นนามธรรมเพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูง
3. การจัดการเรียนรู้ให้ตระหนักคิด เน้นให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อของการคิด ไม่ว่าจะเป็นสภาพ
ทางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ใน สังคมที่มีผลอย่างมากต่อ
การคิด เห็นคุณค่าความคิดของตนเองและผู้อื่น ยึดมั่นในหลักของความดีและความ ถูกต้อง รู้จักแลกเปลี่ยนความคิดและ
ยอมรับความคิดที่แตกต่าง เรียนรู้ความคิดและวิธีการคิดของบุคคลอื่น เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดอย่างมีมิติที่หลาก
หลาย ผู้สอนควรฝึกการตระหนักคิดให้กับผู้เรียนควบคู่ไป กับการฝึกคิด โดยเริ่มจากการสอดแทรกคำถามให้ผู้เรียนสะท้อน
ความคิดย้อนกลับไปยังคำตอบหรือวิธีการ แก้ปัญหาของตนเองว่ามีความถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ มีวิธีการอื่นที่ดี
กว่าหรือไม่ เป็นต้น สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 54
วิเคราะห์ข้อสอบตามเกณฑ์ใหม่บทหลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจัทัลในการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดขั้นสูง
1. การจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 Steps)
2. การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐาน (Evidence Based Learning : EBL) การจัดการ
เรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐาน ช่วยส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างอิสระ เปิด โอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด
เห็น นำแนวคิดที่แตกต่างนั้นมาสังเคราะห์และตกผลึกเป็นความคิดรวบยอด เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียน ได้คิด
วิเคราะห์ปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหา โดยใช้หลักฐานมาอ้างอิงอย่างสมเหตุสมผล เพื่อนำมาแก้ปัญหา และสร้างเป็นองค์
ความรู้ใหม่ในที่สุด
3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research Based Learning : RBL) การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัย
เป็นฐาน เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการ แก้ปัญหา สืบเสาะหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นรูปแบบ
การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่าง เป็นระบบ สามารถค้นหาคำตอบ โดยใช้การคิด การค้นคว้าและเลือกสรร
ข้อมูล ผ่านการศึกษาจากสถานการณ์จริง
ที่มา : กมลพร ทองธิยะ และ กิตติชัย สุธาสิโนบล.การพัฒนาการคิดขั้นสูง : ความสามารถทางสติปัญญาที่สำคัญในโลกยุค New Normal .วารสารศึกษา
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กมลพร ทองธิยะ และ กิตติชัย สุธาสิโนบล ปีที่ 19 ฉบับที่ 2

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 55
สรุปเเนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
1. โรงเรียนควรสร้างความสัมพันธ์กับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน จะทำให้การส่งเสริม
สนับสนุนในสถานศึกษาดีมากขึ้น
2. โรงเรียนควรส่งเสริม สนับสนุนให้ครูได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ
และความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
3. โรงเรียนควรประสานความร่วมมือ กับบุคคลในท้องถิ่น เช่น ผู้นําภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ให้เข้า
มามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
4. โรงเรียนควรหาวิธีการ กระบวนการ หรือจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ครูเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจไปใน
ทิศทางเดียวกัน
5. โรงเรียนควรวางแผนติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาทั้งระบบตามสภาพจริง
6. โรงเรียนควรปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
มีส่วนร่วมในการหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางในการแก้ไข
7. การสร้างความตระหนักแก่ครูผู้สอน ผู้บริหาร กรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียน การ
พัฒนาให้บุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันจัดทำหลักสูตร มีการ
วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
8. จัดทำโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาออกแบบการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้
/ แหล่งเรียนรู้ การวัด และประเมินผลจัดการเรียนการสอนที่ได้รับ มอบหมายได้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
9. ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่ทำการศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษา และเอกสาร
ประกอบหลักสูตรอื่นๆ โดยศึกษาวิเคราะห์จากหลักสูตรแกนกลาง ส่งเสริมให้ครูผู้สอนศึกษาวิเคราะห์ และทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับหลักสูตรในสถานศึกษาและเอกสารประกอบหลักสูตร เตรียมบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อใช้หลักสูตรในสถานศึกษา
มีส่วนร่วมในการจัดครูเข้าสอน มีส่วนร่วมในการจัดตารางสอน และมีแนวปฏิบัติในการจัดตารางสอน โดยวิเคราะห์จาก
โครงสร้างหลักสูตร การจัดระบบงานบริการให้มีวัสดุหลักสูตร
10. ครูผู้สอนมีความเข้าใจมาตรฐานการเรียนรู้ และปรับการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของ
ท้องถิ่น มีการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กำหนดแนวทางการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนโดยกําหนดให้สอดคล้อง
กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดและสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา ได้ใช้สื่อในการส่ง
เสริมการเรียนรู้ มีการจัดซ่อมเสริม มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 56
สรุปเเนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
11. โรงเรียนควรสร้างความสัมพันธ์กับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน จะทำให้การส่งเสริม
สนับสนุนในสถานศึกษาดีมากขึ้น
แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการสำรวจความต้องการ
1.1 สำรวจความต้องการของชุมชมและผู้เรียน เกี่ยวกับหลักสูตรและแผนการเรียน
1.2 จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ
ความจำเป็นต่าง ๆ ของชุมชนและสังคม ศึกษาทำความเข้าใจในจุดเด่น จุดด้อย และบริบทของชุมชน สังคม เพื่อส่งเสริม
ปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ให้พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
พร้อมสำหรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาหรือระดับที่สูงขึ้น
1.3 จัดตั้งคณะทำงานในการพัฒนาหลักสูตรที่ชัดเจน และพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบ ให้มีความรู้ ความ
สามารถในการวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่าง ๆ ของ สังคม เพื่อนำไปสู่การจัดทำหลักสูตรที่
สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและสังคม
แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการกำหนดวัตถุประสงค์
2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้สอนในการกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและ การจัดทำหลักสูตร เพื่อให้ครูผู้
สอนได้กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการ ความจำเป็นต่าง ๆ และบริบทของชุมชน และสังคม
รวมถึงความต้องการของผู้เรียน
2.2 ครูผู้สอนกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้สอดคล้องกับพัฒนาการต่าง ๆ ของผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ
แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการเลือกเนื้อหาสาระ
3.1 จัดประชุม วางแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำหน่วยการเรียนรู้โดยบูรณาการ ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ที่หลากหลาย สามารถปรับและประยุกต์ความรู้ที่ ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
3.2 กำหนดโครงสร้างหลักสูตรแต่ละระดับชั้น / สัดส่วนเวลาเรียน / สาระการเรียนรู้ รายปี หรือรายภาคให้
เหมาะสม กับบริบทของสถานศึกษา ชุมชน สังคม และความต้องการของผู้เรียน
3.3 ผู้บริหารให้การสนับสนุน และเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้ร่วมกันจัดทำหลักสูตร
แบบบรูณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3.4 ครูผู้สอนมีการศึกษาหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัด อย่างละเอียด และนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 57
สรุปเเนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการจัดเนื้อหาสาระ
4.1 จัดทำสาระการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือรายวิชา เป็นวิชาเลือกเสรี ที่หลากหลายในทุกกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ โดยจัดทำสาระของหลักสูตรที่ที่สอดคล้องกับ สภาพปัญหา ความต้องการ ความจำเป็นต่าง ๆ ของชุมชนและสังคม
รวมถึงตรงกับความถนัด ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนและแสดงความสามารถได้
อย่างเต็มตามศักยภาพ
4.2 จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทั้งกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรม เพื่อสาธารณะประโยชน์
อย่างหลากหลาย และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมที่เหมาะสม กับวัย วุฒิภาวะ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
5.1 ผู้บริหารมีการพิจารณาความรู้ ความสามารถของครูผู้สอนแต่ละคนและจัดให้ครูได้เข้าสอนตามความรู้ความ
สามารถ และตรงตามสาขาวิชาของตนเอง หากมีครูผู้สอนไม่ เพียงพอต่อความต้องการควรพิจารณาในการรับครูผู้สอนเพิ่ม
เติม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา
5.2 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
เพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
6.1 จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้มีสื่อการเรียนรู้ นวัตกรรม และ เทคโนโลยีการศึกษา
อย่างเพียงพอตามความต้องการ และเหมาะสมเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6.2 ผู้บริหารอำนวยความสะดวก และส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อการเรียนรู้ของครูอย่างเต็มกำลัง
6.3 ครูผู้สอนสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน
และควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการคิด วิเคราะห์ และสรุปเป็นความรู้ และแนวคิดด้วย
ตนเอง

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 58
สรุปเเนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการประเมินผลและวิธีการประเมินผล
7.1 จัดอบรม และให้ความรู้แก่ครูผู้สอนเกี่ยวกับการออกแบบวิธีการวัดและการประเมินผลอย่างหลากหลาย
เหมาะสมกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ และเหมาะสมกับผู้เรียน เน้นการวัดผลจากพัฒนาการของผู้เรียนมากกว่าการตัดสินผู้
เรียนในช่วงสิ้นภาคเรียน
7.2 จัดประชุมคณะครูเพื่อเน้นย้ำและให้ความสำคัญกับการจัดระบบการวัด และประเมินผลตามสภาพจริงของ
ผู้เรียนอย่างชัดเจน
7.3 จัดตั้งคณะกรรมการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการใช้หลักสูตรที่ชัดเจน มีการนำผลการ
ประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในปีการศึกษาถัดไป
กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีกระบวนการ ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาและคณะทำงาน
2. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น
และเอกสารประกอบหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพ หาจุดเน้น ความต้องการของสถานศึกษา ผู้เรียน
และชุมชน
3. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ ส่วนนำ โครงสร้างหลักสูตร สถานศึกษา คำ
อธิบายรายวิชา เกณฑ์การวัดและประเมินผล และเกณฑ์การจบการศึกษา
4. ตรวจสอบองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษา โดยพิจารณาคุณภาพ ความถูกต้องและความเหมาะสม
5. นำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาให้ความเห็นชอบ หากมีข้อเสนอแนะจากคณะ
กรรมการ ให้นำข้อเสนอแนะไปพิจารณาปรับปรุงก่อนการอนุมัติใช้หลักสูตร
6. จัดทำเป็นประกาศหรือคำสั่ง เรื่องให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษา และประธาน
กรรมการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนาม หรือผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ลงนาม
7. การใช้หลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนนำหลักสูตรสถานศึกษาไปกำหนดโครงสร้างรายวิชา และออกแบบ
หน่วยการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมาย
8. วิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตร ดำเนินการติดตามผลการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่องเป็น
ระยะๆ เพื่อนำผลจากการติดตามมาใช้เป็นข้อมูลพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
59
องค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษา
1. ส่วนนำ ข้อมูลในส่วนนี้ช่วยให้ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง ทราบถึงเป้าหมายโดยรวมของสถานศึกษาใน
การพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ ความนำ วิสัยทัศน์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์
2. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดรายวิชาที่จัดสอน ในแต่ละปี/
ภาคเรียน ประกอบด้วยรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนพร้อมทั้งจำนวนเวลาเรียน หรือหน่วยกิต
ของรายวิชาเหล่านั้น (โครงสร้างเวลาเรียน และโครงสร้างหลักสูตรชั้นปี)
3. คำอธิบายรายวิชา ส่วนนี้เป็นรายละเอียดที่ช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนจะเรียนอะไรจากรายวิชา นั้นๆ ในคำอธิบาย
รายวิชาจะประกอบด้วยรหัสวิชา ชื่อรายวิชา ประเภทวิชา (พื้นฐาน/ เพิ่มเติม) กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้นที่สอนพร้อมทั้ง
คำอธิบายให้ทราบว่าเมื่อเรียนรายวิชานั้นแล้วผู้เรียนจะมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะหรือเจตคติอะไร ซึ่งอาจระบุให้ทราบถึง
กระบวนการเรียน หรือประสบการณ์ สำคัญที่ผู้เรียนจะได้รับด้วยก็ได้
4. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. กิจกรรมแนะแนว
2. กิจกรรมนักเรียน
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
5. เกณฑ์การจบการศึกษา เป็นส่วนที่สถานศึกษากำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะจบการศึกษาในแต่ละระดับ โดย
พัฒนาเกณฑ์ดังกล่าวให้สอดคล้องสัมพันธ์กับเกณฑ์การจบหลักสูตรแกนกลาง แต่สถานศึกษาจะต้องจัดทำระเบียบว่าด้วย
การวัดและประเมินผลการเรียนเพื่อใช้ควบคู่กับหลักสูตรสถานศึกษาด้วยอีกเล่มหนึ่ง

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 60
วิเคราะห์ข้อสอบตามเกณฑ์ใหม่บทหลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจัทัลในการจัดการเรียนรู้
71. ข้อใดเป็นขั้นตอนเเรกของกระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
1. จัดทำโครงสร้างหลักสูตร
2. วิเคราะห์หลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. วิเคราะห์หลักสูตรระดับท้องถิ่น
4. วิเคราะห์ความต้องการสถานศึกษา ผู้เรียน เเละชุมชน
5. ตรวจสอบองค์ประกอบของหลักสูตร
ตอบ 2. วิเคราะห์หลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อ่านเสริม
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีกระบวนการ ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาและคณะทำงาน
2. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและ
เอกสารประกอบหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพ หาจุดเน้น ความต้องการของสถานศึกษา ผู้เรียนและ
ชุมชน
3. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ ส่วนนำ โครงสร้างหลักสูตร สถานศึกษา คำอธิบาย
รายวิชา เกณฑ์การวัดและประเมินผล และเกณฑ์การจบการศึกษา
4. ตรวจสอบองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษา โดยพิจารณาคุณภาพ ความถูกต้องและความเหมาะสม
5. นำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาให้ความเห็นชอบ หากมีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ
ให้นำข้อเสนอแนะไปพิจารณาปรับปรุงก่อนการอนุมัติใช้หลักสูตร
6. จัดทำเป็นประกาศหรือคำสั่ง เรื่องให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษา และประธานกรรมการ
สถานศึกษาเป็นผู้ลงนาม หรือผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ลงนาม
7. การใช้หลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนนำหลักสูตรสถานศึกษาไปกำหนดโครงสร้างรายวิชา และออกแบบ
หน่วยการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมาย
8. วิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตร ดำเนินการติดตามผลการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ เพื่อนำผล
จากการติดตามมาใช้เป็นข้อมูลพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 61
วิเคราะห์ข้อสอบตามเกณฑ์ใหม่บทหลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจัทัลในการจัดการเรียนรู้
72. ข้อใดเป็นขั้นตอนเเรกของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
1. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
2. นำหลักสูตรไปใช้
3. ตรวจสอบเเละทดลองใช้หลักสูตร
4. ศึกษาเเละวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
5. กำหนดเนื้อหาสาระ
ตอบ 4. ศึกษาเเละวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
อ่านเสริม
สรุปแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นไว้ 6 ขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ทรัพยากรมนุษย์
สภาพความต้องการของท้องถิ่น สภาพจัดการศึกษา และสภาพความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน
2. การสร้างหลักสูตรฉบับร่าง ได้แก่ คำชี้แจง เหตุผลความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรหลักของหลักสูตร
โครงสร้างเนื้อหา อัตราเวลาเรียน แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดประเมินผล คำ
อธิบายรายวิชา ตารางวิเคราะห์หลักสูตร จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม รายละเอียดของเนื้อหาของแต่ละหน่วยโดยละเอียด พร้อม
ภาพประกอบทุกขั้นตอน และบรรณานุกรมซึ่งจะต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องที่จะพัฒนาอย่างจริงจัง แล้วจัดพิมพ์
เป็นรูปเล่ม
3. การตรวจสอบหลักสูตรฉบับร่าง เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรและวัสดุหลักสูตรต่างๆ เพื่อนำผลมา
ปรับปรุงข้อบกพร่องก่อนนำหลักสูตรไปทดลองใช้ โดยจะต้องมีการกำหนดเป็นแผนอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ มีการ
ประชุมพิจารณาร่วมกันหรือให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร เช่น จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม
การเรียนการสอน คาบเวลาเรียนวิธีการวัดและประเมินผลมีความสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร
4. การนำหลักสูตรไปทดลองใช้ มีการขออนุมัติหลักสูตร จัดทำตารางแผนการใช้ หลักสูตรประชาสัมพันธ์หลักสูตร
เตรียมความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุหลักสูตร โดยการใช้หลักสูตร อาจเป็นการสอนเองหรือให้คนอื่นสอนแทน
และจะต้องมีการจัดทำคู่มือการใช้หลักสูตร โดยระบุขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียด

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 62
วิเคราะห์ข้อสอบตามเกณฑ์ใหม่บทหลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจัทัลในการจัดการเรียนรู้
5. การประเมินผลการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ มีการวางแผนการประเมิน ประเมินย่อย ประเมินรวบยอด ประเมิน
การสอนของผู้สอน ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
6. การปรับปรุงแก้ไขเพื่อปรับแก้หลักสูตร ได้แก่ แผนการสอน สื่อและเครื่องมือวัดผลประเมินผลให้สมบูรณ์และมี
คุณภาพ
เเนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
1. การปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม สามารถกระทำได้กับทุกกลุ่มประสบการณ์ในหลักสูตร
ประถมศึกษาและในรายงานวิชาบังคับและวิชาเลือกเสรีทุกรายวิชาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น โดยไม่ทำให้จุดประสงค์
เนื้อหา และคาบเวลาเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแม่บท
2. ปรับรายละเอียดของเนื้อหา เป็นการพัฒนาหลักสูตรโดยการลดหรือเพิ่มรายละเอียดของเนื้อหาจากหัวข้อ หรือ
ขอบข่ายที่ระบุไว้ในคำอธิบายรายวิชา วิชาบังคับ และวิชาเลือกเสรีทุกรายวิชา ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้จุดประสงค์หัวข้อ ขอบข่าย
เนื้อหา และคาบเรียนที่กําหนดไว้ในหลักสูตรแม่บทเปลี่ยนแปลงไป
3. จัดทำคำอธิบายหรือรายวิชาเพิ่มเติม
4. การจัดทำคำอธิบายหรือรายวิชาเพิ่มเติมจากที่มีปรากฏในหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา ท้องถิ่นสามารถจัดทำ
รายวิชาเพิ่มเติมได้เฉพาะส่วนที่เป็นวิชาบังคับเลือก และวิชาเลือกเสรีทุกกลุ่มวิชา โดยรายวิชาที่เพิ่มเติมนี้จะต้องไม่มีเนื้อหาที่
ไปซ้ำซ้อนกับรายวิชา บังคับแกน วิชาบังคับเลือกและวิชาเลือกเสรี ที่มีอยู่แล้วในหลักสูตรแม่บท
73. ข้อใดกล่าวถึงการนำหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรเเกนกลางไปใช้ไม่ถูกต้อง
1. ออกเเบบหน่วยการเรียนรู้ที่สะท้อนมาตรฐานการเรียนรู้เเละตัวชี้วัด
2. จัดทำเเผนการสอนที่เน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
3. วัดเเละประเมินผลตามสภาพจริง สอดคล้องกับตัวชี้วัดเเละจุดประสงค์การเรียนรู้
4. นำผลการวัดเเละประเมินผลไปปรับปรุงเเละพัฒนา
5. นำโครงสร้างรายวิชาที่ยังไม่กำหนดชั่วโมงเเต่ละหน่วยไปออกเเบบการเรียนรู้
ตอบ 5. นำโครงสร้างรายวิชาที่ยังไม่กำหนดชั่วโมงเเต่ละหน่วยไปออกเเบบการเรียนรู้ ผิดเพราะต้องนำโครงสร้างรายวิชา
ที่มีการกำหนดชั่วโมงเเต่ละหน่วยอย่างชัดเจนก่อนจึงนำไปไปออกเเบบการเรียนรู้

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 63
อ่านเสริม
การนำหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ไปใช้นั้น มีขั้น
ตอนตามลำดับ คือ
1. ครูนำโครงสร้างแต่ละรายวิชาที่ระบุจำนวนชั่วโมงที่ชัดเจนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ไปออกแบบหน่วยการ
เรียนรู้ เพื่อไปพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
2. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่สะท้อนมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
3. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
4. ครูเป็นผู้จัดเตรียมสื่อ นวัตกรรม วัสดุ อุปกรณ์ แหล่งการเรียนรู้ เครื่องมือและอำนวยความสะดวกให้นักเรียน
ได้ทำกิจกรรม
5. ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติที่ตอบสนองตัวชี้วัดในแต่ละ
หน่วยและแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้
6. ครูทำการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้ พร้อมกับ
นำผลการวัด และประเมินผลการเรียนรู้มาปรับปรุงและพัฒนา ให้นักเรียนแต่ละคนบรรลุตามตัวชี้วัด เต็มตามศักยภาพ ของ
แต่ละคนอย่างต่อเนื่อง

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 64
วิเคราะห์ข้อสอบตามเกณฑ์ใหม่บทหลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจัทัลในการจัดการเรียนรู้
74. เจตนารมณ์ อุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ อนาคตที่พึงประสงค์ เอกลักษณ์ของโรงเรียนเพื่อสร้างศรัทธา จุดประกาย
ความคิดในการพัฒนาองค์กร หมายถึงข้อใด
1. ความนำ
2. วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
3. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5. ส่วนนำ
ตอบ 2. วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
ลักษณะของวิสัยทัศน์ที่สมบูรณ์
- กำหนดคำสำคัญที่บ่งบอกถึงเจตนารมณ์ อุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ อนาคตที่พึงประสงค์ที่จะพัฒนาผู้เรียนไปสู่
จุดมุ่งหมายของสถานศึกษา
- สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย หลักการของหลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
- สอดคล้องกับกรอบหลักสูตรท้องถิ่น
- เเสดงภาพอนาคตของผู้เรียนที่ครอบคลุมความต้องการของโรงเรียน ชุมชน เเละท้องถิ่น
75. ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาคำนึงถึงสิ่งใดน้อยที่สุด
1. วิเคราะห์หลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น
3. ข้อมูลความต้องการของท้องถิ่น
4. จุดเน้นของท้องถิ่นเเละโรงเรียน
5. ความพร้อมด้านเทคโนโลยี
ตอบ 5. ความพร้อมด้านเทคโนโลยี

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 65
วิเคราะห์ข้อสอบตามเกณฑ์ใหม่บทหลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจัทัลในการจัดการเรียนรู้
76. ในการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาควรสอดคล้องกับข้อใดน้อยที่สุด
1. หลักสูตรเเกนกลาง
2. กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น
3. ความต้องการของผู้เรียน
4. ความต้องการของพ่อเเม่ ผู้ปกครอง เเละชุมชน
5. ความต้องการของบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ 5. ความต้องการของบุคลากรทางการศึกษา
อ่านเสริม การวิจัยพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
1. เพื่อนำผลมาประกอบการพิจารณา ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสม สอดคล้องกับผู้เรียนเเละความ
ต้องการของผู้ปกครองเเละชุมชน
2. การประเมินความต้องการจำเป็นในการศึกาาต่อ เเละการประกอบอาชีพของผู้เรียนในอนาคตเพื่อนำมาใช้กำหนด
โครงสร้างการเรียนรู้เเละเวลาเรียน
3. การประเมินความต้องการของพ่อเเม่ ผู้ปกครอง เเละชุมชนในการพัฒนาผ้เรียนเพื่อนำมาใช้กำหนดโปรเเกรม
การเรียนเเละโครงการต่างๆ
4. การประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาโดยมีหัวข้อพิจารณา เช่น
- ความครบถ้วนขององค์ประกอบหลักสูตร
- ความสอดคล้องของเเต่ละองค์ประกอบ สอดคล้องกับหลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เเละกรอบ
หลักสูตรระดับท้องถิ่น สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน พ่อเเม่ เเละชุมชน ความเหมาะสมของเเนวทางการเรียนรู้ การ
จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เเละระบบการวัดเเละประเมินผล

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
66
วิเคราะห์ข้อสอบตามเกณฑ์ใหม่บทหลักสูตร ศาสตร์การสอน เเละเทคโนโลยีดิจัทัลในการจัดการเรียนรู้
77. ข้อใดกล่าวถึงกระบวนการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาไม่เหมาะสม
1. ประเมินผลการใช้หลักสูตรระหว่างการใช้หลักสูตร
2. ประเมินผลการใช้หลักสูตรเมื่อนำหลักสูตรไปใช้เรียบร้อยเเล้ว
3. ติดตามจากผลผลิตของหลักสูตร นั่นคือผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตร
4. นำผลการประเมินหลักสูตรมาปรับปรุงเเละพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
5. ในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษานั้นควรประเมินที่กระบวนการใช้หลักสูตรเป็นสำคัญ
ตอบ 5. ในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษานั้นควรประเมินที่กระบวนการใช้หลักสูตรเป็นสำคัญ ผิด เพราะประเด็นในการ
ประเมินควรประเมินได้ทั้ง
- ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้หลักสูตร
- กระบวนการใช้หลักสูตร
- ผลการใช้หลักสูตร
อ่านเพิ่มเติม
การวิจัยประเมินผลการใช้หลักสูตร
การใช้หลักสูตรเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งสถานศึกษาจะต้องมีความ
ตระหนักในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านสติปัญญา
ร่างกาย คุณธรรม บรรลุตามมาตรฐาน การเรียนรู้ระดับชาติและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
กระบวนการประเมินผลการใช้หลักสูตรสามารถดำเนินการได้ทั้งระหว่างการใช้หลักสูตร และเมื่อนำหลักสูตรไปใช้เรียบร้อย
แล้ว หรือการติดตามจากผลผลิตของหลักสูตร คือ ผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตร
เพื่อให้การประเมินผลการใช้หลักสูตรบรรลุเป้าหมายของการควบคุมคุณภาพ สถานศึกษาควรจัดให้มีการ
ประเมินทั้งระบบ คือ
1. กำหนดให้มีการประเมินการใช้หลักสูตร เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษา
2. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินการใช้หลักสูตรด้วยตนเองให้เกิดขึ้นกับคณะครู
3. วางระบบเครือข่ายการทำงานและมอบหมายงานประเมินให้คณะผู้ปฏิบัติงานแต่ละคณะดำเนินการประเมิน
เป็นระยะๆ โดยกำหนดให้ชัดเจนว่าคณะใดต้องประเมินรายการใดบ้าง ภาพรวมและผลการประเมินที่แยกรายวิชา
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
การประเมินผล
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 67
4. สรุปผลการประเมินและนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การประเมินผลการใช้
หลักสูตรมีแนวทางการดำเนินการที่สำคัญ คือ พิจารณาองค์ประกอบ ของหลักสูตรที่ประเมิน พิจารณาหลักเกณฑ์ที่จะใช้ใน
การประเมิน ออกแบบการจัดเก็บข้อมูล ดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้พิจารณาตัดสินใจในการ
ปรับปรุงหลักสูตรต่อไป สำหรับประเด็นในการประเมินนั้น สามารถประเมินได้ทั้งเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการใช้หลักสูตร
กระบวนการใช้หลักสูตร และผลจากการใช้หลักสูตร อย่างไรก็ตาม สถานศึกษาควรมุ่งเน้นการประเมินส่วนที่เกี่ยวข้องต่อ
คุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญและควรคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สถาน
ศึกษาจะต้องให้ ความสำคัญโดยนำผลการประเมินระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติมาพิจารณาทั้งผล
การประเมินในหลักประกันและแยกรายมาตรฐาน หากผลการประเมินไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดหวังควรศึกษาวิเคราะห์เพื่อ
ค้นหา สาเหตุที่แท้จริง ซึ่งสาเหตุย่อมเกิดมาจากปัจจัย และกระบวนการใช้หลักสูตรสถานศึกษานั่นเอง จากนั้นจึงหาวิธีแก้
ปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพต่อไป

นอกจากนั้นสถานศึกษาควรสนับสนุนส่งเสริมให้ครูทำวิจัยปฏิบัติการ (Action research) เพื่อแก้ปัญหาและ


พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองโดยการวิจัยนั้นอาจเริ่มต้นจากการเลือกปัญหาการวิจัยที่มีความสำคัญและ
ส่งผลกระทบต่อผู้เรียนมากที่สุดและที่มาของปัญหาการวิจัยอาจเกิดจากผู้เรียน เช่น ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาการเรียน เป็นต้น
หรืออาจเกิดจากการจัดการเรียนรู้ของครูไม่เหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรียนรายคน เมื่อได้ปัญหาจากการวิจัยแล้วจึงดำเนินการ
ตามขั้นตอนการวิจัยต่อไป

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 68
78. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
1. ให้ท้องถิ่นเเละสถานศึกษามีบทบาทเเละมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความ
ต้องการของท้องถิ่น
2. ให้หน่วยงานต้นสังกัดมีหน้าที่จัดทำสาระหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนเเละสังคม
ภูมิปัญญา ท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์
3. ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาควรเกิดจากความร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง เเละคณะ
กรรมการสถานศึกษา
4. ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาจะต้องสอดคล้องกับสภาพเเละบริบทของสถานศึกษาเเละสอดคล้องกับสภาพ
ความต้องการ พัฒนาการจัดการศึกษาของท้องถิ่น
5. มีการประเมินผลการใช้หลักสูตร เเละนำผลการประเมินไปปรับปรุงเเละพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ตอบ 2. ให้หน่วยงานต้นสังกัดมีหน้าที่จัดทำสาระหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนเเละสังคม ภูมิปัญญา
ท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ไม่ถูกต้องเพราะให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้อง
กับสภาพปัญหาในชุมชนเเละสังคม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน
สังคม เเละประเทศชาติ
79. ข้อใดกล่าวถึงการออกเเบบหน่วยการเรียนรู้ได้ไม่เหมาะสม
1. หน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เเละกิจกรรมการเรียนรู้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
2. มีการประเมินผลตามสภาพจริงเเละสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด / กิจกรรมการเรียนรู้
3. สื่อการเรียนรู้มีความหลากหลาย หมาะสมกับเวลา เเละสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
4. กิจกรรมการเรียนรู้มีความครอบคลุมในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้
5. กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด เเละสาระการเรียนรู้่
ตอบ 4. กิจกรรมการเรียนรู้มีความครอบคลุมในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ไม่เหมาะสมเพราะกิจกรรมการเรียนรู้ต้องมี
ความครอบคลุมในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ กระบวนการ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน เเละคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์
ในการออกเเบบหน่วยการเรียนรู้ควรดำเนินการดังนี้
1. ชื่อหน่วยการเรียนรู้ต้องสะท้อนให้เห็นถึงสาระสำคัญ ความคิดรวบยอด หรือประเด็นหลักในหน่วย
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
การเรียนรู้นั้นๆ
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 69
2. มีความเชื่อมโยงกันระหว่างชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ ความคิดรวบยอด
สาระการเรียนรู้ เเละกิจกรรมการเรียนรู้
3. กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด เเละสาระการเรียนรู้
4. กิจกรรมการเรียนรู้มีความครอบคลุมในการผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ กระบวนการ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
เเละคุณลักษณะอันพึงประสงค์
5. กิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมสามารถนำผู้เรียนไปสู่การสร้างชิ้นงาน ภาระงาน
6. มีการประเมินผลตามสภาพจริงเเละสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด กิจกรรมการเรียนรู้
7. ประเด็นเเละเกณฑืการประเมินสามารถสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
8. สื่อการเรียนรู้ในเเต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสมกับเวลาเเละการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
80. ขั้นตอนใดเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในนำหลักสูตรสถานศึกษาเข้าสู่ชั้นเรียน
1. การกำหนดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
2. การออกเเบบโครงสร้างรายวิชา
3. การกำหนดเกณฑ์การวัดเเละประเมินผล
4. การกำหนดสาระสำคัญ
5. การออกเเบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
ตอบ 5. การออกเเบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกเเบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเพราะเป็น
ส่วนที่นำมาตรฐานการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติการเรียนการสอนอย่างเเท้จริง ผู้เรียนจะบรรลุมาตรฐานหรือไม่ อย่างไร ก็อยู่ที่
ขั้นตอนนี้ดังนั้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างเเท้จริงทุกองค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้ต้องเชื่อมโยงกับ
มาตรฐานการเรียนรู้เเละตัวชี้วัด

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 70
สรุปการออกเเบบหน่วยการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา
การนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ
ครูผู้สอนจะต้องศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ที่ระบุคุณภาพของผู้เรียนว่าควรรู้อะไร และทำอะไรได้
ไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนรู้และนำพาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดย
ดำเนินการ ให้มีความเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับชาติ ซึ่งได้แก่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ระดับเขตพื้นที่การศึกษาในส่วนของจุดเน้นคุณภาพของผู้เรียน ระดับสถานศึกษา ซึ่งได้แก่ หลักสูตรระดับชั้นเรียน ตั้งแต่
โครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้
โครงสร้างรายวิชา
โครงสร้างรายวิชาประกอบด้วยขั้นตอนการจัดทำดังนี้
1. ศึกษาโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรสถานศึกษาในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา ศึกษาอธิบายรายวิชา
2. ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาที่รับผิดชอบ
3. พิจารณาคัดเลือกมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่สอดคล้อง และสามารถนำมาจัดกิจกรรม การเรียนรู้ร่วมกันได้
ก่อนจัดทำป็นหน่วยการเรียนรู้
4. จัดทำมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกันและนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นหน่วยการเรียนรู้ให้
เหมาะสมตามสาระการเรียนรู้
5. วิเคราะห์แก่นความรู้/ความคิดรวบยอดของแต่ละตัวชี้วัดที่นำมาจัดกลุ่มร่วมกันเป็นหน่วยการเรียนรู้
6. นำแก่นความรู้/ความคิดหลัก มาหลอมรวมเป็นสาระสำคัญ/ความคิดรวบยอดของหน่วยการเรียนรู้นั้น ในบาง
กรณีให้พิจารณาสาระการเรียนรู้ประกอบการเขียนสาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
7. ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
8. กำหนดเวลาเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ควรให้เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ที่จะใช้ในการพัฒนาผู้เรียนตาม
ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ เมื่อกำหนดเวลาเรียนครบทุกหน่วยการเรียนรู้แล้วเวลาเรียนต้องเท่ากับจำนวนเวลาที่กำหนดไว้
ในโครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรของกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ
9. กำหนดน้ำหนักคะแนนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากจำนวนตัวชี้วัด ความยากง่าย ความซับซ้อน
ของเนื้อหา และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณภาพตามตัวชี้วัด โดยสามารถกำหนดน้ำหนักคะแนน
ทุกหน่วยการเรียนรู้โดยมีแนวทางการกำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนให้นำไปรวมกับคะแนนปลายปี: ปลายภาค
ตามที่โรงเรียนกำหนด สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 71

หน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการนำหลักสูตรสถานศึกษาเข้าสู่ชั้นเรียน
การออกเเบบหน่วยการเรียนรู้ควรครอบคลุมขั้นตอนการออกเเบบ 3 ขั้นตอนดังนี้
1. การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
2. การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
3. การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
องค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้ต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัดที่
สามารถนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันได้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ต้องสามารถนำพาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนเเละ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้ด้วย
การออกเเบบหน่วยการเรียนรู้ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. ชื่อหน่วยการเรียนรู้
2. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
3. สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
4. สาระการเรียนรู้
- สาระการเรียนรู้เเกนกลาง
- สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
5. สมรรถนะสำคัญของนักเรียน
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
7. ชิ้นงาน / ภาระงาน
8. การวัดเเละประเมินผล
9. กิจกรรมการเรียนรู้
10. เวลาเรียน / จำนวนชั่วโมง

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
72
การออกเเบบหน่วยการเรียนรู้
1. ชื่อหน่วยการเรียนรู้
ต้องสะท้อนให้เห็นถึงสาระสำคัญ ความคิดรวบยอด หรือประเด็นหลักในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ มีความ
น่าสนใจ อาจเป็นประเด็นปัญหา ข้อคำถามหรือข้อโต้แย้งที่สำคัญ สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและสังคมของผู้เรียน
2. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ที่นำมาจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน และนำมา
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันได้ ซึ่งอาจมาจากลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันหรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
ได้จากการวิเคราะห์แก่นความรู้แต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด รวมถึงสาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับ
จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้
4. สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ประกอบด้วย
สาระการเรียนรู้แกนกลาง และสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้ามี)
5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
วิเคราะห์ได้จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นผลจากการนำ
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนสอดคล้องกับทักษะกระบวนการตามธรรมชาติวิชา
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
วิเคราะห์ได้จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จุดเน้นของเขตพื้นที่การ
ศึกษา สถานศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งเป็นผลจากการนำมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้
7. ชิ้นงาน/ภาระงาน ชิ้นงาน/ภาระงาน
ต้องสะท้อนถึงความสามารถของผู้เรียนจากการใช้ความรู้และทักษะที่กำหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องตาม
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด โดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ สาธิต ละคร วีดิทัศน์ ฯลฯ อาจเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนกำหนดให้ หรือ
ครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ต้องแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ
ในการเรียนรู้ของผู้เรียน และเป็นร่องรอยหลักฐานแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้ทักษะและความสามารถบรรลุตามมาตรฐาน
การเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้ อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการจัดการเรียนรู้หรือชิ้นงาน/ภาระงาน
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 73
รวบยอด แต่ต้องแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนได้นำความรู้ ทักษะและความสามารถที่ได้จากการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ นั้นออก
มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม
8. การวัดและประเมินผล
ประกอบด้วยการวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลเมื่อสิ้นสุด
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในการกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลตลอดจนเกณฑ์การประเมินต้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานการ
เรียนรู้/ตัวชี้วัดที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ ครูผู้สอนและผู้เรียนควรร่วมกันสร้างเกณฑ์การประเมิน ชิ้นงาน/ภาระงาน การ
ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินคุณภาพผู้เรียน
9. กิจกรรมการเรียนรู้
เป็นการนำเทคนิคการสอนต่างๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา วิธีการ
จัดการเรียนรู้ ซึ่งจะนำผู้เรียนไปสู่การสร้างชิ้นงาน/ภาระงาน เกิดทักษะและความสามารถตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
กระบวนการตามธรรมชาติวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ซึ่งกำหนดไว้ในหน่วย
การเรียนรู้
10. เวลาเรียน จำนวนชั่วโมงเรียน
เวลาการจัดกิจรรมการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้จะต้องวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม
การเรียนรู้และสอดคล้องกับจำนวนมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ปรากฏในหน่วยการเรียนรู้จากโครงสร้างรายวิชา
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
1. สร้างความรู้ความเข้าใจ
1.1 ควรทำความเข้าใจกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จุดเน้นคุณภาพ
ผู้เรียน สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของเขตพื้นที่การศึกษา (ถ้ามี) หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ และ
องค์ประกอบที่สำคัญของหน่วยการเรียนรู้
1.2 ควรรู้ว่าในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จะจัดการเรียนรู้นั้นประกอบไปด้วยมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
จำนวนเท่าไร สาระการเรียนรู้ที่ได้จากคำอธิบายรายวิชา สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
และธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้
1.3 ควรรู้วิธีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งสามารถจัดทำได้หลายลักษณะแต่ต้องยึดมาตรฐานการเรียนรู้/
ตัวชี้วัดเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน โดยหน่วยการเรียนรู้สามารถออกแบบได้ 2 วิธี คือ
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
74
1. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้เริ่มจากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
2. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้เริ่มจากการกำหนดประเด็น/หัวเรื่องจากสภาพปัญหาหรือสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ
2. วางแผนและจัดทําหน่วยการเรียนรู้
ครูผู้สอนต้องนำตัวชี้วัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบมาพิจารณาว่าในแต่ละตัวชี้วัดเมื่อนำมาจัดการเรียนรู้
ผู้เรียนควรรู้อะไรและทำอะไรได้ ควบคู่กับการวิเคราะห์สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนว่าจะนำพาให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะใดเเละ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรแกนกลางกำหนดไว้ กรณีที่วิเคราะห์แล้วไม่ปรากฏคุณลักษณะในหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อย่างชัดเจน สามารถวิเคราะห์เพิ่มเติมได้จากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นจุดเน้น
ของเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด
การจัดทำเเผนการเรียนรู้
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
1. มีความละเอียด ชัดเจน มีหัวข้อและส่วนประกอบต่าง ๆ ครอบคลุมตามศาสตร์ของการสอนโดยสามารถตอบ
คำถามต่อไปนี้
1.1 สอนอะไร (หน่วย หัวเรื่อง ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ)
1.2 เพื่อเป้าหมายอะไร (ควรเขียนเป็นเชิงพฤติกรรมโดยคำนึงถึงเป้าหมายของตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้)
1.3 ด้วยสาระอะไร (เนื้อหา/โครงร่างเนื้อหา)
1.4 ใช้วิธีการใด (กิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ)
1.5 ใช้เครื่องมืออะไร (วัสดุอุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้)
1.6 ทราบได้อย่างไรว่าประสบความสำเร็จ (การวัดผลและประเมินผล)
2. แผนการจัดการเรียนรู้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
3. ส่วนประกอบต่าง ๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องสัมพันธ์เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เช่น
3.1 ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ มีครอบคลุมสาระ/เนื้อหา และเป็นจุดที่พัฒนาผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ
กระบวนการและเจตคติ
3.2 กิจกรรมการเรียนรู้ ควรสอดคล้องกับตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และเนื้อหา/สาระ
3.3 วัสดุอุปกรณ์ สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ ควรสอดคล้องสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้
3.4 การวัดผลและประเมินผล ควรสอดคล้องกับตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
75
แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญดังนี้
1. มีการวิเคราะห์หลักสูตร จัดทำตารางวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา หรือวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ จัดทำหน่วยการ
เรียนรู้ และจัดทำกำหนดการสอนหรือโครงการจัดการเรียนรู้
2. มีการวิเคราะห์ผู้เรียน โดยการจัดกลุ่มผู้เรียนตามความรู้ ความสามารถ ความสนใจ และความถนัด แล้วนำไป
เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. มีการกำหนดเนื้อหาสอดคล้องกับตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ สอดรับศักยภาพของผู้เรียน และอาจรวมทั้งการ
บูรณาการระหว่างวิชา
4. มีการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน มีการบูรณาการ
เน้นการคิด (ทักษะการคิด ลักษณะการคิด และกระบวนการคิด) การฝึกทักษะ การปฏิบัติจริง และการสร้างองค์ ความรู้ด้วย
ตนเอง
5. มีการกำหนดสื่อ /นวัตกรรม/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ กิจกรรมการ
เรียนรู้ วัยและความสามารถของผู้เรียน และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกจัดหาและจัดทำสื่อ/แหล่งการเรียนรู้
6. มีการกำหนดการวัดผลและประเมินผล สอดคล้องกับตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ มีการ วัดผล
ตามสภาพจริง ให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ
7. มีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เน้นคุณธรรม
จริยธรรม และมีการบูรณาการตามความเหมาะสม
8. มีความสมบูรณ์ถูกต้อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาด้านความรู้
ทักษะและเจตคติ

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
76
ขั้นตอนการจัดการทำแผนการจัดการเรียนรู้
1. วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อประโยชน์ในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้และรายละเอียดของแต่ละหัวข้อของ
แผนการจัดการเรียนรู้
2. วิเคราะห์มาตรฐานรายวิชาและคำอธิบายรายวิชา เพื่อนำมากำหนดตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ โดยให้ครอบคลุม
พฤติกรรมทั้งด้านความรู้ ทักษะ / กระบวนการ เจตคติและค่านิยม
3. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ โดยเลือกและขยายสาระที่เรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่น รวมทั้ง
วิทยาการหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
4. วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้ (กิจกรรมการเรียนรู้) โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ
5. วิเคราะห์กระบวนการประเมินผล โดยเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
6. วิเคราะห์แหล่งการเรียนรู้ โดยคัดเลือกสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียนให้เหมาะสม
สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 77
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
1. สาระสำคัญ
หมายถึง เเก่นของเรื่องหรือประเด็นหลักของเรื่องที่จะสอน โดยเขียนให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
เเละสาระการเรียนรู้หรือเนื้อหาที่สอน
ได้จากการวิเคราะห์แก่นความรู้แต่ละมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด รวมถึง สาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับ
จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ในหน่วยการเรียนรู้ที่นำมาจากโครงสร้างรายวิชาที่ได้ทำการ
วิเคราะห์หรือจะเขียนขึ้นใหม่ก็ได้
2. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
นำมาจากมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้
จากหลักสูตรเเกนกลางระบุไว้ว่าในเเต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมาย
สำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรมเเละค่านิยมที่พึง
ประสงค์ที่ต้องการให้เกิดเเก่ผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตัวชี้วัด ระบุสิ่งที่พึงรู้เเละปฏิบัติได้รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในเเต่ละระดับชั้นซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้
นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน เเละเป็นเกณพ์สำคัญในการวัดประเมินผลเพื่อ
ตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับหรือบรรลุผล
นำมาจากจุดประสงค์การเรียนรู้ ต้องมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน
หน่วยการเรียนรู้ ให้เขิียนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เขียนให้ครอบคลุม พฤติกรรมของผู้เรียน คือ ด้านพุทธิพิสัย ทักษะ
พิสัยและจิตพิสัย รวมทั้งเขียนให้สอดคล้องกับเนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ที่สอน
การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ที่แสดงพฤติกรรมของผู้เรียนด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัยของบลูม
(Bloom) แครทโรล (Krathrohl) และแฮร์โรว์ (Harrow) ได้แก่
1. ด้านพุทธิพิสัย
จุดประสงค์การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย หมายถึง จุดประสงค์ที่แสดง ความสามารถของสติปัญญาในการ
ประมวลข้อมูล พฤติกรรมที่ชี้บ่งความสามารถในด้านนี้สามารถแบ่งได้ 6 ระดับ จากระดับพื้นฐานไปสู่ระดับที่ซับซ้อน
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
ดังนี้
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 78
1. ความรู้ ความจำ เช่น เลือก ระบุ อธิบาย เติมคำให้สมบูรณ์ ชี้บ่ง จัดทำรายการ จับคู่ เรียกชื่อ ระลึก
บอก และกำหนด เป็นต้น
2. ความเข้าใจ เช่น เปลี่ยน อธิบาย ประมาณการ ขยายความ สรุป อ้างอิง แปลความหมาย คาดคะเน
ตีความ ขยายความ อุปมาอุปมัยสรุป และยกตัวอย่าง เป็นต้น
3. การนำไปใช้ เช่น การประยุกต์ การคำนวณ การสาธิต การพัฒนา การค้นพบ การดัดแปลง การ
ดำเนินการ การมีส่วนร่วม การแสดง วางแผน ทำนาย เชื่อมโยง แสดง และทำให้ดู เป็นต้น
4. การวิเคราะห์ เช่น วิเคราะห์ แยกแยะ จัดพวก จัดชั้น จัดประเภท จัดกลุ่ม เปรียบเทียบ หาความแตก
ต่าง วิจารณ์ แสดงแผนภูมิ จำแนก สรุปอ้างอิง และกำหนดองค์ประกอบ เป็นต้น
5. ประเมินค่า คือ ความสามารถในการตรวจสอบ วิจารณ์ ตัดสิน เช่น นักเรียนสามารถตัดสินคุณค่า
ของทฤษฎีได้
6. คิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการออกแบบ วางแผน ผลิต เช่น นักเรียนสามารถนำเสนอ
ทฤษฎีใหม่ที่แตกต่างไปจากทฤษฎีเดิมได้
2. ด้านจิตพิสัย จุดประสงค์การเรียนรู้ด้านจิตพิสัย หมายถึง จุดประสงค์ที่แสดงพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึก เจตคติ
และค่านิยม ซึ่งการเรียนรู้ด้านเจตคติและค่านิยม มีลำดับขั้นของการเกิดพฤติกรรม ดังนี้
1. การรับรู้ เช่น ถาม เลือก อธิบาย ตอบ บอกชื่อ สาธิต ระบุ บอกความแตกต่าง และบอกจุดเด่น
เป็นต้น
2. การตอบสนอง เช่น พิสูจน์ รวบรวม ทำตามคำสั่ง แสดง ฝึกปฏิบัติ นำเสนอ และเลือก เป็นต้น
3. การเห็นคุณค่า เช่น อธิบาย ทำตาม ริเริ่ม เข้าร่วม นำเสนอ และทำให้สมบูรณ์ เป็นต้น
4. การจัดระเบียบ เช่น จัดระเบียบ รวบรวม สรุป บูรณาการ ดัดแปลง จัดลำดับ สังเคราะห์ สร้าง และ
จัดระบบ เป็นต้น
5. การสร้างระบบค่านิยมของตนเอง ได้แก่ ปฏิบัติ แสดงออก แก้ปัญหา ประกาศตัว แสดงตน อุทิศตน
ทุ่มเท ยอมรับ และเกิดสำนึก เป็นต้น

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
79
3. ด้านทักษะพิสัย
เป็นทักษะความสามารถทางกายที่อาศัยการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเล็ก และกล้ามเนื้อใหญ่ในการ
ทำงาน เช่น การเล่นกีฬาต่าง ๆ การเต้นรำ งานช่างฝีมือต่างๆ การประกอบอาหาร การทำงานประดิษฐ์ การเล่นเครื่องดนตรี
เขียน ปฏิบัติตามระเบียบ ทำตามข้อกำหนด ขวั้นกิ่ง ตอนกิ่ง ทำตามขั้นตอน ทำความเคารพ ฝึกปฏิบัติงาน ร้องเพลง แสดง
ละคร ตรวจสอบ ประกอบเครื่องมือ ใช้เครื่องมือ ใช้อุปกรณ์ ปฏิบัติงาน ติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจและแก้ไข ซ่อมบำรุง สร้าง
ประดิษฐ์ เป็นต้น
4. สาระการเรียนรู้หรือเนื้อหา
คือ รายละเอียดของเรื่องที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 2 ลักษณะ คือ
- สาระการเรียนรู้หรือเนื้อหาที่เป็นข้อความรู้ทั่วไป
- สาระการเรียนรู้ อาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดมี 3 ด้าน
ด้านความรู้ คือ สาระความรู้ที่กำหนดให้ผู้เรียนได้เรียน
ด้านทักษะกระบวนการ คือ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ ทักษะการทำงาน ทักษะการ
เรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ฝึก
ด้านเจตคติ คุณค่า คือ อารมณ์ความรู้สึก การเห็นประโยชน์ คุณค่าของเรื่องที่เรียน
*สาระการเรียนรู้อาจจะเขียนเฉพาะหัวข้อเรื่องหลักและหัวข้อย่อยที่จะสอน หรือเขียนง่าย ๆ คล้ายกับ
การเขียนหัวข้อต่าง ๆ ในหนังสือหน้าสารบัญ
5. สื่อการเรียนรู้
เป็นการใช้สื่อ อุปกรณ์ วิธีการ ฯลฯ ที่จะนำมาประกอบการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้
รับประสบการณ์ ได้ปฏิบัติกิจกรรม หรือได้เรียนรู้ เพื่อให้บรรลุ การเรียนรู้ ตามแผน จัดการเรียนรู้ต้องกำหนดให้สอดคล้อง
กับจุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และเวลาเรียน ต้องเขียนระบุให้ชัดเจน
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
นำคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือจุด
เน้นที่เขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษากำหนด ที่ต้องการพัฒนาในแผนการจัดการเรียนรู้

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 80
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนอันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการ
ในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึกสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองและ
พลโลกดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความเป็น
ชาติไทย ศรัทธา ยึดมั่นในศาสนา และเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง ประพฤติ ตรงตามความเป็นจริง
ต่อตนเองและผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ
3. มีวินัย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์ และ ระเบียบข้อบังคับของ
ครอบครัว โรงเรียนและสังคม
4. ใฝ่เรียนรู้ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน แสวงหาความรู้จาก
แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
5. อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดำเนินชีวิตอย่าง พอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มี
คุณธรรม มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และปรับตัวเพื่อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
6. มุ่งมั่นในการทำงาน หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำหน้าที่การงาน
ด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย
7. รักความเป็นไทย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า ร่วมอนุรักษ์ สืบทอด
ภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม ใช้ภาษาไทยในการ สื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
8. มีจิตสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือ สถานการณ์ที่ก่อให้เกิด
ประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น โดยไม่หวังผลตอบแทน

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 81
7. ด้านสมรรถนะสําคัญของผู้เรียน
นำสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือจุด
เน้นที่เขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษากำหนดที่ต้องการพัฒนาในแผนการจัดการเรียนรู้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความ
สามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้หรือปฏิบัติงานหรือสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงาน
อื่น ๆ ในชั้นเรียน
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มี 5 ประการ
ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา
ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะ
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับ
หรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึง
ผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์การ คิดอย่าง
สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสิน
ใจเกี่ยวกับตน เองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้
อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลง
ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มี
ประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไป ใช้ในการ
ดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้าง
เสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้ง ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการ
เปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จัก หลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 82
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ
และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้
ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
8. ด้านการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน
แผนการจัดการเรียนรู้ต้องพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการจบหลักสูตรจึงต้องเขียน
ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และกิจกรรมการเรียนรู้
9. การบูรณาการ (ถ้ามีการบูรณาการ)
การจัดการเรียนรู้บางกิจกรรมอาจมีการเชื่อมโยงไปยังกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
10. กิจกรรมการเรียนรู้
ลักษณะการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ ต้องเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) มากกว่า
การให้ผู้เรียนนั่งฟัง อ่านหรือท่องจำเพียงอย่างเดียว (Passive Learning) การเขียนกระบวนการจัดการเรียนรู้ในแผนการ
จัดการเรียนรู้มี 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เขียนระบุกิจกรรมที่นำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เป็นกิจกรรมที่น่า
สนใจ และเชื่อมโยงกับบทเรียนที่เรียนโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ
พร้อมที่จะเรียนรู้ในเนื้อหาที่สอนโดยใช้เทคนิคเเละวิธีการต่างๆที่น่าสนใจ เช่น ใช้เพลง เกม เเละดูวิดีทัศน์
2. ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการเขียนรายละเอียดของกิจกรรมแต่ละขั้นตอนของแต่ละสาระการเรียนรู้ หลัก
การเขียนกิจกรรมต้องลำดับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ไปสู่สิ่งที่ผู้เรียนยังไม่รู้กิจกรรมต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
และควรเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การจัดกิจกรรมโดยการลงมือปฏิบัติจริง
3. ขั้นสรุปบทเรียน เป็นการเขียนกิจกรรมหรือคำถามนำทางให้ผู้เรียนสรุปบทเรียน หรือเนื้อหาที่เรียนใน
แต่ละครั้ง โดยผู้สอนอาจเป็นผู้สรุปหรือผู้เรียนร่วมกันสรุป ขึ้นอยู่กับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สอน รวมทั้ง
เป็นการ ตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าบรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 83
11. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผล เป็นการวัดผลและประเมินผลความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน โดยจะต้องระบุวิธี
วัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผลให้ชัดเจนสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลโดยทั่วไป
จะประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญดังนี้
1. การวัดผล เป็นการรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การตรวจผลงาน
การทดสอบ เป็นต้น
2. ประเมินผล เป็นการตัดสินสิ่งที่จะวัดโดยนำตัวเลขที่วัดประเมินผลได้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ในการ
ตัดสินคุณค่าสิ่งที่วัดประเมินผล เช่น ผ่าน ไม่ผ่าน
3. เกณฑ์การประเมินผล เป็นการกำหนดเงื่อนไขของการวัดและประเมินผลที่ผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์การวัดผล
และประเมินผลในลักษณะเชิงปริมาณและคุณภาพ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ต้องเขียนระบุวิธีการประเมินผล ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้ ได้แก่
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ต้องกำหนดผู้
มีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล
1. หลักฐานแสดงผลการเรียนรู้เป็นภาระงานที่ให้ผู้เรียนทำเพื่อแสดงพัฒนาการของผู้เรียน ตามมาตรฐานการ
เรียนรู้ ตัวชี้วัด ที่เป็นรูปธรรม มีร่องรอยหลักฐานที่สัมพันธ์กับเป้าหมาย ได้แก่
1.1 ผลผลิต : ผลผลิตของนักเรียน เช่น รายงานที่เป็นรูปเล่ม สิ่งประดิษฐ์ แบบจำลอง แผนภูมิ แฟ้มสะสม
งาน ผังมโนทัศน์ การเขียนอนุทิน การเขียนความเรียง คำตอบที่ผู้เรียนสร้างเอง โครงงาน ฯลฯ
1.2 ผลการปฏิบัติ : การรายงานด้วยวาจา การสาธิต การทดลอง การปฏิบัติงาน ภาคสนาม การอภิปราย
การจัดนิทรรศการ การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน รายงานผลการประเมินตนเอง ของผู้เรียน ฯลฯ
2. วิธีวัดผล ให้ระบุวิธีวัดผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมที่จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องและสัมพันธ์
เช่น การสังเกต การทดสอบ การประเมิน การสอบถาม การสัมภาษณ์ การประเมินตนเอง ฯลฯ
เครื่องมือวัดผล
ให้ระบุเครื่องมือวัดผลที่สัมพันธ์กับวิธีวัดผล เช่น การสังเกต ใช้แบบบันทึกการสังเกต แบบทดสอบ ใช้
แบบทดสอบ แบบสอบถาม ใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ใช้แบบสัมภาษณ์ การประเมินตนเอง ใช้แบบประเมินตนเอง
เป็นต้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 84
12. บันทึกผลการเรียนรู้หรือบันทึกหลังสอน คือ การบันทึกผลที่เกิดขึ้นหลังจากการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เสร็จสิ้น
ลง โดยเป็นการบันทึกสรุปรายละเอียดข้อมูลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่าบรรลุผลตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ประสบ
ปัญหาและอุปสรรคหรือไม่
สรุปการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง
กระบวนการเรียนรู้ที่ได้จัดดําเนินการให้สอดคล้องกับผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถทาง
ปัญญา
วิธีการเรียนรู้โดยบูรณาการคุณธรรม ค่านิยมอันพึงประสงค์ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง
ได้พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วนตนเองตามความถนัด ความ
สนใจด้วยวิธีการกระบวนการ และแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงทั้งใน และนอกห้องเรียน
มีการวัดผล ประเมินผลตามสภาพจริงทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานหลักสูตรที่กําหนด
การเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ
การพัฒนาหลักสูตร ต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน ต้องมีความหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียนโดยไม่จํากัดวัน
เวลา สถานที่ เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมเสริม ต้องยึดผู้เรียนเป็นหลักโดยต้องเน้นความสําคัญทั้งความ
รู้คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้
ปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน หลักสูตร ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง
นําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมและการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพ
และกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
การจัดกระบวนการเรียนตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีขั้นตอนสําคัญ ดังต่อไปนี้คือ
1. การสํารวจความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน สํารวจพื้นฐานความรู้เดิม
2. การเตรียมการ ครูเตรียมเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้และองค์ประกอบอื่นๆ ท ี่ เอื้อต่อการเรียนรู้ วางแผนการ
เรียนการสอน
3. การดําเนินกิจกรรมการเรียน เช่น ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียน ขั้นวิเคราะห์
อภิปรายผลงาน/องค์ความรู้ที่สรุปไต้จากกิจกรรมการเรียนวิเคราะห์อภิปรายกระบวนการเรียนรู้
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 85
4. การประเมินผล
5. การสรุปและนําไปประยุกต์ใช้
กระบวนการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
1. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียน
2. กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์และคิดสร้างสรรค์
3. กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้แสวงหาคําตอบ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
4. นําภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
5. ฝึกและส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมของผู้เรียน
6. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสุนทรียภาพอย่างครบถ้วนทั้งด้านดนตรีศิลปะ และกีฬา
7. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย การทํางานร่วมกับผู้อื่น และความรับผิดชอบต่อกลุ่มร่วมกัน
8. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรักสถานศึกษาของตนเอง และมีความกระตือรือร้นในการเรียน
9. ประเมินพัฒนาการผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ดังนี้
1. การวิเคราะห์ผู้เรียน การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มช่วยให้ครูผู้สอนมีข้อมูลที่สําคัญในการ
ออกแบบ การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมหลักการวิเคราะห์ผู้เรียนควรคํานึงถึงองค์ประกอบที่สําคัญ 3 องค์ประกอบ คือ
1. ธรรมชาติของผู้เรียน ประสบการณ์และพื้นฐานความรู้เดิมวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. การใช้จิตวิทยาการเรียนรู้และการบูรณาการคุณธรรม ค่านิยมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3. การวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเชื่อมโยงกับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ใน
สถานศึกษา
4. การออกแบบการเรียนรู้ตามสภาพจริงให้สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรและเชื่อมโยงบูรณาการ
ระหว่างกลุ่มวิชาโดยใช้ผลการเรียนรู้ที่กําหนดเป็นหลัก และใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่ง
พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
5. การออกแบบการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลายเพื่อสะท้อนภาพได้
ชัดเจนและแน่นอนว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้านต่างๆ อย่างไร ทําให้ได้ข้อมูลของผู้เรียนรอบด้านที่ สอดคล้องกับความเป็น
จริง เพื่อประกอบการตัดสินผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 86
วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้หลักการวิเคราะห์ผู้เรียน เช่น
วิเคราะห์จากรูปแบบการเรียนรู้ความภูมิใจตนเอง เจตคติต่อวิชา ความคาดหวังในการเรียน ใช้แบบวัดความรู้พื้นฐานของผู้
เรียน (Pretest) ก่อนเรียน วัดผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายหน่วยและมีการมอบหมายงานให้ผู้เรียนในระหว่างการเรียน
การสอน
2. ครูผู้สอนจัดทําแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เช่น การบูรณาการเนื้อหา การจัดการเรียนรู้เพื่อชี้แนะการ
รู้คิด
3. ครูผู้สอนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนเของตนเองและผู้เรียน
4. ครูผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนและอิงพัฒนาการ
ของผู้เรียน
5. ครูผู้สอนมีการนําผลประเมินมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ ใน
การนําผลการประเมินการเรียนรู้มาเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน
6. ครูผู้สอนมีการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและนําผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เมื่อพิจารณาผู้สอน
1. ผู้สอนจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่เอง
2. ผู้สอนให้ผู้เรียนใช้ทักษะกระบวนการ คือ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม และสร้างความรู้ด้วยตนเอง
3. ผู้สอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน
4. ผู้สอนสร้างบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้
5. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลทั้งทักษะ กระบวนการ ขีดความสามารถศักยภาพของผู้เรียน และผลผลิตจาก
การเรียนรู้ซึ่งเป็นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
6. ผู้สอนพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้
7. ผู้สอนเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้อํานวยความสะดวก (Facilitator) คือ เป็นผู้จัดประสบการณ์รวมทั้ง สื่อการ
เรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นแนวทางสร้างความรู้ด้วยตนเอง คือ ผู้สอนท ี่เป็นผู้อํานวยความสะดวกนั้นมีบทบาท
ดังนี้
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 87
7.1 เป็นผู้นําเสนอ
7.2 เป็นผู้สังเกต
7.3 เป็นผู้ถาม
7.4 เป็นผู้ไห้การเสริมแรง
7.5 เป็นผู้แนะนํา
7.6 เป็นผู้สะท้อนความคิด
7.7 เป็นผู้จัดบรรยากาศ
7.8 เป็นผู้จัดระเบียบ
7.9 เป็นผู้แนะแนว
7.10 เป็นผู้ประเมิน
7.11 เป็นผู้ไห้คําชื่นชม
7.12 เป็นผู้กํากับ
เมื่อพิจารณาผู้เรียน
1. ผู้เรียนสร้างความรู้รวมทั้งสร้างสิ่งประดิษฐ์ด้วยตนเอง
2. ผู้เรียนใช้ทักษะกระบวนการ คือ กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มสร้างความรู้ด้วยตนเอง
3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนและมีปฏิสัมพันธ์
4. ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข
5. ผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปใช้ได้
ตัวบ่งชี้สําคัญในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ การให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างความรู้ใหม่และ
สิ่งประดิษฐ์ใหม่ด้วยตนเอง

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 88
การเรียนรู้เชิงรุก
ลักษณะของ Active Learning
เป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติหรือการลงมือทำ
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ เเละการเเก้ปัญหา
ให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้เเก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ เเละการประเมินค่า
ครูต้องลดบทบาทในการสอน เเละการให้ความรู้เเก่ผู้เรียนโดยตรงเเต่ไปเพิ่มกระบวนการเเละ
กิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้นเเละอย่างหลากหลาย
กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำเเละใช้กระบวนการคิด
โดยผู้เรียนจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้
ผู้สอนจากผุ้ถ่ายทอดปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะวิธีการค้นคว้าหาความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้
สามารถแสวงหาความรู้ และประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆ สร้างความเข้าใจด้วยตนเอง จนเกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
เป็นการจัดการเรียนรู้แบบเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียน ประยุกต์ใช้ทักษะและ
เชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคต
เป็นการนำเอาวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ออกแบบ แผนการสอนและกิจกรรม
กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
การออกแบบการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง สร้างองค์ความรู้ ผ่านการ
คิดขั้นสูง การได้ปฏิบัติงาน สร้างสรรค์งาน และนำเสนองานด้วยตัวเอง
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง โดยต้องคำนึงถึงความรู้เดิม และความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้
ลักษณะการเรียนรู้เชิงรุก
1. เป็นการพัฒนาศักยภาพการคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในรูปแบบของความ
ร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด

3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
4. เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ สู่ทักษะการคิดวิเคราะห์ และ ประเมินค่า
5. ผู้เรียนได้เรียนรู้ความมีวินัยในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 89
6. ความรู้เกิดจากประสบการณ์ และการสรุปของผู้เรียน
7. ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
ลักษณะของการจัดกระบวนการเรียนรู้
1. จัดการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหาและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
2. จัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
3. จัดให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. จัดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน สร้างร่วมมือ
กันมากกว่าการแข่งขัน
5. จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทำงาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
ในภารกิจต่าง ๆ
6. จัดกระบวนการเรียนที่สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการ
เรียนรู้ด้วยตนเอง
7. จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง
8. จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร หรือสารสนเทศ และหลักการความคิดรวบยอด
9. ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
10. จัดกระบวนการสร้างความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้และการสรุปทบทวนของผู้เรียน
บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
1. จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและ
เน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน
2. สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอน และ
เพื่อนในชั้นเรียน
3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้ง กระตุ้นให้ผู้เรียน
ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
4. จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
90
5. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย วางแผน
เกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรมครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความ
สามารถในการแสดงออก และความคิดของที่ผู้เรียน ครูมีการจัดทำหน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้และนำไปใช้ในการจัดการ
เรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนตามแนวทางการนิเทศโดยใช้พื้นที่เป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การนิเทศภายในโรงเรียน
โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
- มีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ
- เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
- เรียนรู้อย่างมีความหมาย
- สร้างองค์ความรู้ได้
- มีความเข้าใจในตนเอง
- ใช้สติปัญญา ในการคิด วิเคราะห์
- สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่สอดคล้องกับสมรรถนะสำคัญในศตวรรษที่ 21
- มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพในการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย
4. ครูมีการบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ และนำผลไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียนหรือใช้ประกอบ
การวิจัยในชั้นเรียน
5. นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ระดับสูง สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
6. นักเรียนมีทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และทักษะชีวิตในการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย
การออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
โดยเริ่มจากวินิจฉัย ปัญหา และความต้องการของผู้เรียน เพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับ
สภาพผู้เรียน และเมื่อผู้เรียนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ จะต้องมีหลักฐานการเรียนรู้ที่สามารถสะท้อนผลว่าผู้เรียนได้เกิด
ความรู้ความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์ไว้จริง ผู้สอนจึงต้องกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ และหลักฐานแสดงผล การเรียนรู้ให้
ชัดเจนเสียก่อนจึงค่อยดำเนินการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่พึงประสงค์ วิธีการนี้สร้าง
ความมั่นใจได้ว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรอย่างแท้จริง

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
91
สรุปการออกเเบบหน่วยการเรียนรู้เชิงรุก
1. กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสาระสำคัญแต่ละหน่วย
2. กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อระบุมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมาย การพัฒนา
นักเรียนของหน่วยนั้น
3. กำหนดสาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้ สาระหลัก ทักษะกระบวนการนักเรียนต้องรู้และปฏิบัติอะไรได้
4. กระบวนการเรียนรู้ เป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนา มีความรู้และทักษะตาม มาตรฐานที่กำหนด
ไว้ แต่ละหน่วย รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม
4.1 กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน กระตุ้นความสนใจของนักเรียน
4.2 กิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ และทักษะ
4.3 กิจกรรมรวบยอด เพื่อแสดงว่านักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
กิจกรรมการเรียนรู้ ควรเขียนให้เห็นขั้นตอนต่างๆ และเลือกกิจกรรมที่สนองต่อความสนใจความถนัดของผู้เรียน และเน้นให้
ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของหลักสูตร เช่น
1) การใช้บทบาทสมมติ/การเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง
2) เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
3) การลงมือปฏิบัติจริง/การเรียนรู้โดยโครงงาน
4) การเรียนรู้โดยกรณีศึกษา/การเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ
5) การเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหา/กระบวนการกลุ่ม
6) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม/การเรียนอย่างร่วมมือ
7) การสร้างความรู้ด้วยตนเอง/การสืบเสาะแสวงหาความรู้
5. ชิ้นงาน/ภาระงาน ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดขึ้นแสดงให้ทราบถึงการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนบอก
ร่องรอยว่ามีความรู้และทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ชิ้นงานหรือภาระงานเป็นหลักฐาน/ร่องรอย ว่านักเรียน
บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ อาจเกิดจากผู้สอน กำหนดให้ หรืออาจให้ผู้เรียนร่วมกันกำหนด
ขึ้นจากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้ หลักการกำหนดชิ้นหรือภาระงาน มีดังนี้

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
92
1. ดูจากมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้ ระบุไว้ชัดเจนหรือไม่
2. ภาระงานหรือชิ้นงานครอบคลุมตัวชี้วัดที่ระบุไว้หรือไม่อาจระดมความคิดจากเพื่อนครู หรือผู้เรียน หรืออาจ
ปรับเพิ่มกิจกรรมให้เกิดชิ้นงานหรือภาระงานที่ครอบคลุม
3. ชิ้นงานชิ้นหนึ่งหรือภาระงาน 1 อย่าง อาจเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้เดียวกันหรือตัวชี้วัดต่าง
มาตรฐานการเรียนรู้กันได้
4. ควรเลือกตัวชี้วัดที่จะให้เกิดงานที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาสติปัญญาหลายๆ ด้านไปพร้อมกัน เช่น การ
แสดงละคร บทบาทสมมติ เคลื่อนไหวร่างกาย ดนตรี เป็นต้น
5. เลือกงานที่ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ และทำงานที่ชอบใช้วิธีทำที่หลากหลาย
6. เป็นงานที่ให้ทางเลือกในการประเมินผลที่หลากหลาย โดยบุคคลต่างๆ เช่น ผู้ปกครอง ผู้สอน ตนเอง
เป็นต้น
7. ลักษณะของชิ้นงานหรือภาระงาน
7.1 ชิ้นงาน ได้แก่
1) งานเขียน เช่น เรียงความ จดหมาย โคลงกลอน การบรรยาย การเขียน ตอบ ฯลฯ
2) ภาพ/แผนภูมิ เช่น แผนผัง แผนภูมิ ภาพวาด กราฟ ตาราง ฯลฯ
3) สิ่งประดิษฐ์ เช่น งานประดิษฐ์ งานแสดงนิทรรศการ หุ่นจ าลอง ฯลฯ
7.2 ภาระงาน ได้แก่ การพูด/รายงานปากเปล่า เช่น การอ่าน กล่าวรายงาน โต้วาที ร้องเพลง
สัมภาษณ์ บทบาทสมมติ เล่นดนตรี การเคลื่อนไหวร่างกาย ฯลฯ
7.3 งานที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างชิ้นงาน/ภาระงาน ได้แก่ การทดลอง การ สาธิต ละคร วิดิ
ทัศน์ ฯลฯ ชิ้นงานหรือภาระงานที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาการ เรียนรู้ของแต่ละเรื่อง หรือ
แต่ละขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นำสู่การประเมินเพื่อปรับปรุงเพิ่มพูน คุณภาพผู้เรียน/วิธีสอนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6. การประเมินผล การประเมินผลจะประเมินจากชิ้นงานหรือภาระงาน โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่ครู และ
นักเรียนร่วมกันกำหนด การประเมินโดยใช้รูบริค (Rubric) ช่วยในการสื่อสารอีกทางหนึ่งให้ผู้เรียน มองเห็นเป้าหมาย
ของการทำชิ้นงานหรือภาระงานของตนเอง และได้รับความยุติธรรมในการให้คะแนนของผู้สอน ตามคุณภาพของงาน
อย่างไรก็ตามการประเมินชิ้นงานหรือภาระงานอาจใช้วิธีการอื่นได้ตามความเหมาะสมกับธรรมชาติของชิ้นงานหรือภาระงาน
เช่น การทำแบบ check list การทดสอบ เป็นต้น
7. กำหนดเวลาเรียน ระบุเวลาที่ใช้ตามจริงในหน่วยนั้นๆ
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
93
81. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการประเมินผลผู้เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ครูเเววประเมินผลไปพร้อมๆกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. ครูนกใช้วิธีการประเมินผลด้วยเครื่องมือที่หลากหลายเเละสอดคล้องกับจุดประสงค์ในการประเมิน
3. ครูหวานเน้นการประเมินผลด้านการคิดเชิงพื้นฐานของผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. ครูนิกเน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆด้าน
5. ครูส้มเน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เเละการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง เเละผู้
สอน
ตอบ 3. ครูหวานเน้นการประเมินผลด้านการคิดเชิงพื้นฐานของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผิดเพราะควรเน้นการประเมิน
ด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
การวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง
1. เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน ซึ่งสามารถทำได้
ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
2. เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริงๆ
3. เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
4. ใช้ข้อมูลที่หลากหลายด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมินตลอดจนจุด
ประสงค์ในการประเมิน
5. เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลาย ๆ ด้าน
6. การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์สังเคราะห์
7. เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเองและการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้สอน

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 94

82. ข้อใดเป็นบทบาทของครูผู้สอนในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผุ้เรียนเป็นสำคัญ
1. ประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ของผู้เรียนอย่างต่เนื่องตรงตามสภาพจริง
2. ครูผู้สอนเป็นผู้ประเมินเเละสะท้อนผลการเรียนของผู้เรียน
3. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงหรือประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนในชีวิตจริงหรือสถานการณ์
ที่เป็นจริงให้มากที่สุด
4. เป็นผู้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้เเละเป็นผู้วางเเผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในบรรยากาศที่
ยืดหยุ่น
5. เป็นผู้กำหนดการสร้างผลงานเเละชิ้งานให้กับผู้เรียน
ตอบ 3. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเชื่อมโนงหรือประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนในชีวิตจริงหรือสถานการณ์ที่เป็น
จริงให้มากที่สุด
1. ผิด เพราะควรประเมินผลการเรียนเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกด้านทั้งด้านความรู้ กระบวนการ เเละ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย เเละจิตพิสัย)
2. ผิด เพราะครูผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนประเมินเเละสะท้อนผลการเรียนของตนเองเเละ
เพื่อน
4. ผิดเพราะครูผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้เเละร่วมวางเเผ
นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในบรรยากาศที่ยืดหยุ่น
5. ผิดเพราะครูผู้สอนควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเเละสร้างผลงาน
จากการเรียนรู้ตามความถนัดเเละความสนใจของตนเองเเละของกลุ่ม

อ่านเสริม บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ให้ผู้เรียนมีโอกาสกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้และร่วมวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ในบรรยากาศที่ยืดหยุ่น
2. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่
หลากหลาย
3. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่กระตุ้นและส่งเสริมการคิด การค้นคว้าหาความรู้ และการแสดงออก
ของผู้เรียน ฝึกให้ผู้เรียนค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งข้อมูลที่หลากหลายด้วยตนเอง
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
95
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกและสร้างผลงานจากการเรียนรู้ตามถนัดและ
ความสนใจของตนเองและของกลุ่ม
5. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลและการจัดการ
กระทำข้อมูล
6. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงหรือประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนในชีวิตจริงหรือ
สถานการณ์ที่เป็นจริงให้มากที่สุด
7. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ และฝึกปรับปรุงตนเอง
8. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันจากเพื่อนใน
กลุ่ม
9. ส่งเสริมให้มีโอกาสฝึกการทำงานเป็นทีมความมีวินัยและความรับผิดชอบ
10. จัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนการสอนที่เป็นกัลยาณมิตร มีชีวิตชีวา และมีความสุข
11. ใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่หลายหลายเพื่อส่งเสริมการคิด การแก้ปัญหาและการค้นพบความรู้
12. ประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาการทุกด้านของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและตรงสภาพจริง
13. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนประเมินและสะท้อนผลการเรียนของตนเองและเพื่อน
83. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติข้อใด
เป็นสิ่งที่ครูควรทำเป็นอันดับเเรก
1. การออกแบบการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
2. การวิเคราะห์ผู้เรียน การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3. การออกแบบการเรียนรู้ตามสภาพจริงให้สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรและเชื่อมโยงบูรณาการ
ระหว่างกลุ่มวิชา
4. การออกเเบบกำหนดชิ้นงานเเละสื่อการสอน
5. การกำหนดรูปเเบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัดเเละความต้องการของผู้เรียน
ตอบ 2. การวิเคราะห์ผู้เรียน การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566
96
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง
ชาติมีเทคนิคและวิธีการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1. การวิเคราะห์ผู้เรียน การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มช่วยให้ครูผู้สอนมีข้อมูลที่สําคัญในการ
ออกแบบ การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมหลักการวิเคราะห์ผู้เรียนควรคํานึงถึงองค์ประกอบที่สําคัญ 3 องค์ประกอบ คือ
ธรรมชาติของผู้เรียน ประสบการณ์และพื้นฐานความรู้เดิม วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. การใช้จิตวิทยาการเรียนรู้และการบูรณาการคุณธรรม ค่านิยมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3. การวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเชื่อมโยงกับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถาน
ศึกษา
4. การออกแบบการเรียนรู้ตามสภาพจริงให้สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรและเชื่อมโยงบูรณาการระหว่าง
กลุ่มวิชาโดยใช้ผลการเรียนรู้ที่กําหนดเป็นหลัก และใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่ง
พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
5. การออกแบบการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลายเพื่อสะท้อนภาพได้
ชัดเจนและแน่นอนว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้านต่างๆ อย่างไร ทําให้ได้ข้อมูลของผู้เรียนรอบด้านที่สอดคล้องกับความ
เป็นจริง เพื่อประกอบการตัดสินผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
84. ผลการประเมินจากข้อใดใช้ประเมินสถานศึกษาว่าสถานศึกษาได้จัดการศึกษาบรรลุมาตรฐานมากน้อย
เพียงใด ได้ทราบว่าโรงเรียนมีมาตรฐานหรือไม่ สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เเละประเมินหลักสูตร การประเมินการจัดการ
เรียนการสอน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์จุดอ่อน จุดเเข็งของหลักสูตร เเละคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อให้
สามารถหาเเนวทางปรับปรุงเเก้ไข เเละพัฒนาหลักสูตร เเละการเรียนการสอนของครูได้อย่างเหมาะสม
1. การประเมินก่อนเรียน
2. การประเมินระหว่างเรียน
3. การประเมินก่อนการใช้หลักสูตร
4. การประเมินระหว่างการใช้หลักสูตร
5. การประเมินหลังเรียน
ตอบ 5. การประเมินหลังเรียน การประเมินหลังเรียนสามารถนำมาใช้เพื่อประเมินว่าสถานศึกษาได้จัดการศึกษาบรรลุ
มาตรฐานมากน้อยเพียงใด โรงเรียนที่มีมาตรฐานเป็นโรงเรียนที่นักเรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานที่กำหนด
ไว้ในหลักสูตร ส่วนโรงเรียนที่ไม่ได้มาตรฐาน คือโรงเรียนที่นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้ ความสามารถ
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 97

หรือคุณลักษณะอื่นๆ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นการจะตัดสินใจว่าโรงเรียนใดมีมาตรฐานกว่ากันจึงจำเป็นต้องใช้


การประเมินที่เหมาะสมเเละเกณฑ์ที่นำมาเปรียบเทียบควรเป็นเกณฑ์ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วยเช่นกัน
85. ข้อใดเป็นการนำผลการประเมินผู้เรียนมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาน้อยที่สุด
1. การนำผลการประเมินผู้เรียนมาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา
2. การนำผลการประเมินผู้เรียนเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการสอน
3. การใช้ผลการประเมินผู้เรียนเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา
4. การใช้ผลการประเมินผู้เรียนในการกำหนดเป็นแผนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
5. การใช้ผลการประเมินผู้เรียนมาออกเเบบสร้างผลงานทางวิชาการของครู
ตอบ 5. การใช้ผลการประเมินผู้เรียนมาออกเเบบสร้างผลงานทางวิชาการของครู
อ่านเสริม
ผลการประเมินกับการพัฒนาหลักสูตร ผลการประเมินผู้เรียนในการจัดการศึกษาทุกด้าน เป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำ
มาใช้ในการพัฒนา หลักสูตร และสามารถปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรได้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง จุดใดควรส่ง
เสริมสนับสนุน จุดใดควรหาทางในการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน ในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
ข้อมูลการประเมินที่สถานศึกษาควรมีเพื่อใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่
1. ผลการประเมินความสามารถ ความถนัดและความสนใจของนักเรียน
2. ผลการประเมินพฤติกรรม
3. ผลการประเมินเกี่ยวกับค่านิยมและคุณธรรมในทุกด้าน
4. ผลการทำงานเป็นกลุ่ม
5. ผลการประเมินร่างกายและการเจริญเติบโต
6. ผลการประเมินการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
7. ผลการประเมินด้านความรักและเห็นความสำคัญของท้องถิ่น
8. ผลการประเมินทีเกี่ยวข้องกับทักษะวิชาชีพ

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 98

ผลการประเมินเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการสอน
แนวทางในการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนประกอบกระบวนการดำเนินการตามลำดับ
ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
ขั้นที่ 2 การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
ขั้นที่ 3 การดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
ขั้นที่ 4 การติดตามและการประเมินผลการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
1. การใช้ผลการประเมินเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอน การใช้ผลจากการประเมินผู้เรียนเปรียบ
เทียบกับเกณฑ์ขั้นต่ำ ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด เพื่อให้รับทราบเกี่ยวกับความก้าวหน้าของนักเรียนและผู้สอนมีข้อมูล
เกี่ยวคุณภาพการสอน โดยผู้สอนต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างเกณฑ์ขั้นต่ำตามตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 ระบุจำนวนผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
ขั้นที่ 3 เปรียบเทียบความสามารถของกลุ่มนักเรียนกับเกณฑ์
ขั้นที่ 4 ประเมินคุณภาพการสอนว่าควรปรับปรุงหรือแก้ไขอย่างไร
2. การใช้ผลการประเมินเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการเรียน
3. การใช้ผลการประเมินเพื่อพัฒนาและปรับปรุงสถานศึกษา สามารถใช้ได้ใน 4 ลักษณะ ได้แก่
3.1 การใช้ผลการประเมินเป็นรายห้อง ในกรณีที่สถานศึกษามีห้องเรียนมากกว่า 1 ห้อง สามารถนำ
ผลจากการประเมินมาเปรียบเทียบกันได้ เพื่อวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของแต่ละห้อง กระบวนการจัดการเรียนการสอน
การใช้สื่อเพื่อจะได้แก้ไขได้ตรงจุด และมีประโยชน์ในการพัฒนาครู การจัดกิจกรรมสนับสนุนในกรณีที่ต้องแก้ไขเกี่ยว
พันกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
3.2 การใช้ผลการประเมินเป็นรายชั้น ในกรณีที่สถานมีห้องเรียนหลายห้อง โดยอาจจะหาค่าเฉลี่ยจาก
ผลการประเมินทุกห้อง สถานศึกษาจะทราบว่านักเรียนในชั้นใดมีจุดเด่น จุดด้อย ในด้านใด จะก่อให้เกิดประโยชน์ใน
การพัฒนาครูแต่ละชั้นและการจัดกิจกรรมสนับสนุนในกรณีที่การ วิเคราะห์สาเหตุของการเรียนอ่อนเกี่ยวพันไปสู่เรื่อง
อื่น

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 99

3.3 การใช้ผลการประเมินเป็นรายวิชา สามารถนำผลที่ได้จากการประเมินมาใช้ในการพัฒนาได้หลาย


ประการ ได้แก่
3.3.1 การพัฒนาระบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีข้อบกพร่อง
3.3.2 การสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่เรียนอ่อนและส่งเสริมนักเรียนที่เรียนเก่ง
3.3.3 การแนะแนวทางการศึกษาและอาชีพ
3.4 การใช้ผลการประเมินในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยอาจจะจัดเป็น
โครงการแยกเป็นหมวดหมู่ เช่น งานหรือโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรใน สถานศึกษา งานหรือโครงการเกี่ยว
กับการจัดกิจกรรมเสริมในการพัฒนาคุณภาพ งานหรือโครงการ เกี่ยวกับการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ
4. การใช้ผลการประเมินในการวางแผนพัฒนาคุณภาพ โดยการนำผลการประเมินจากผู้สอนแต่ละคนมา
สังเคราะห์ร่วมกัน เพื่อกำหนดเป็นแผนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยอาจจะแยกเป็นงานหรือโครงการย่อยๆ
เช่น โครงการพัฒนาบุคลากร โครงการจัดกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาคุณภาพ โครงการแนะแนวการศึกษาต่อ ฯลฯ
5. การใช้ผลการประเมินเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา
86. ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นขั้นตอนใดเป็นขั้นตอนที่จะได้มาซึ่งกรอบเนื้อหาสาระการเรียนรู้หลักสูตร
ท้องถิ่น
1. การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตรท้องถิ่น
2. การกำหนดเนื้อหาของหลักสูตรท้องถิ่น
3. การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
4. การจัดทำเอกสารหลักสูตรท้องถิ่น
5. การศึกษาเเละวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ตอบ 5. การศึกษาเเละวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ขั้นตอนที่ 1 การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ผู้บริหาร สถานศึกษาควรแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ควรประกอบด้วย
หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ครูผู้รับผิดชอบปฏิบัติการสอนเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่น และทีมงานผู้ประสานงานกับ
วิทยากรท้องถิ่น/ ปราชญ์ชาวบ้าน
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 100

ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
เป็นขั้นตอนที่จะได้มาซึ่งกรอบเนื้อหาสาระการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งเนื้อหาสาระอาจเกี่ยวกับ
ประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหา เหตุการณ์สำคัญในท้องถิ่น และการพัฒนาท้องถิ่น โดยคณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตร
ท้องถิ่นควรจัดประชุมผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหลักสูตรท้องถิ่น ควรประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง
ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนชุมชน ปราชญ์ ชาวบ้าน/วิทยากรท้องถิ่น เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความต้องการของชุมชน/ท้อง
ถิ่น และความต้องการของผู้เรียน อีกทั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นควรศึกษาหลักสูตรแม่บทหรือหลักสูตร
แกนกลาง และวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน เพื่อประเมินแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน ซึ่งมี 2
ลักษณะ คือ การสร้างรายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่หรือการบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นกับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตาม
หลักสูตรแกนกลาง
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตรท้องถิ่น รายละเอียดแบ่งตามลักษณะของการพัฒนาหลักสูตร
ท้องถิ่น ดังนี้
3.1) การสร้างรายวิชาเพิ่มเติม ขึ้นมาใหม่ คณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดจุดประสงค์ของ
หลักสูตรท้องถิ่นครอบคลุมพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
3.2) การบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่น กับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง ยึดจุดประสงค์การเรียนรู้
ของรายวิชาหลักตามหลักสูตรแกนกลางและบูรณาการเนื้อหาสาระหลักสูตรท้องถิ่นลงในจุดประสงค์การเรียนรู้ด้านใด
ด้านหนึ่ง หรือครบทั้ง 3 ด้านก็ได้
ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดเนื้อหาของหลักสูตรท้องถิ่น
คณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกำหนดเนื้อหาของหลักสูตรท้องถิ่น โดยศึกษาจากกรอบเนื้อหาสาระ
การเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น ที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดเวลาเรียน รายละเอียดแบ่งตามลักษณะของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดังนี้
5.1) การสร้างรายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ คณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกำหนดเวลาเรียนโดยยึด
ว่ารายวิชาเพิ่มเติมที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้นอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดหรือจัดเป็นกิจกรรมชุมชน
5.2) การบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นกับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง ใช้เวลาเรียนของ
รายวิชาหลัก ตามหลักสูตรแกนกลาง
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด
วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 101

ขั้นตอนที่ 6 การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ รายละเอียดแบ่งตามลักษณะของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดังนี้


6.1) การสร้างรายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ คณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
เน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยพิจารณาจากจุดประสงค์ของหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีทั้งใน
ห้องเรียนและจากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนอีกทั้งควรมีวิทยากรท้องถิ่นมาให้ความรู้เพิ่มเติมถึงการปฏิบัติจริงในแต่ละ
เรื่อง
6.2) การบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นกับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง คณะทำงานเพื่อพัฒนา
หลักสูตรท้องถิ่น กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ อาจจะกำหนดเป็นการปรับหรือเพิ่มรายละเอียดของเนื้อหา
รายวิชาหลัก การปรับปรุงหรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมหรือการใช้ครูภูมิปัญญาเข้ามาช่วยจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้
ขั้นตอนที่ 7 การกำหนดวิธีและเกณฑ์การวัดและประเมินผล คณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นควร
กำหนดวิธีการและเกณฑ์การวัดและประเมินผลให้ชัดเจน ครบจุดประสงค์พฤติกรรมการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน
ขั้นตอนที่ 8 การจัดทำเอกสารหลักสูตรท้องถิ่น รายละเอียดแบ่งตามลักษณะของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ดังนี้
8.1) การสร้างรายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ คณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจัดทำเอกสารหลักสูตรท้องถิ่น
เช่น คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือครู และสื่อต่างๆ
8.2) การบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นกับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง คณะทำงานเพื่อพัฒนา
หลักสูตรท้องถิ่นจัดทำแผนการจัดการ เรียนรู้บูรณาการหลักสูตรท้องถิ่น เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นในคำ
อธิบายรายวิชา โครงสร้าง รายวิชาของรายวิชาหลักตามหลักสูตรแกนกลาง และสื่อต่างๆ
ขั้นตอนที่ 9 การตรวจสอบคุณภาพก่อนการนำไปใช้ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรท้องถิ่นและ
เอกสารหลักสูตรต่าง ๆ ก่อนการนำไปใช้จริง เพื่อให้คณะทำงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
หลักสูตรท้องถิ่นและเอกสารหลักสูตรให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการวัดและประเมิน ศึกษานิเทศก์ หรือวิทยากรท้องถิ่น เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 10 การเสนอขออนุมัติใช้หลักสูตรท้องถิ่น คณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เสนอต่อผู้บริหาร
และคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อขออนุมัติใช้หลักสูตรท้องถิ่น

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 102

ขั้นตอนที่ 11 การนำหลักสูตรท้องถิ่นไปใช้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ


ในการดำเนินการใช้หลักสูตรท้องถิ่น ครูผู้รับผิดชอบปฏิบัติการสอนเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นดำเนินการใช้หลักสูตร
ท้องถิ่นตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และคณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นควรมีการนิเทศติดตามการใช้
หลักสูตรท้องถิ่น ของครูผู้รับผิดชอบสอน
ขั้นตอนที่ 12 การประเมินหลักสูตรท้องถิ่น
การประเมินหลักสูตรท้องถิ่น แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
12.1) การประเมินก่อนการใช้หลักสูตร เป็นการประเมินหลังจากได้วางแผนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดย
อาศัยความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาวิชา ผู้เชี่ยวชาญด้านการ
วัดและประเมินรวมไปถึงวิทยากรท้องถิ่น
12.2) การประเมินระหว่างการใช้หลักสูตร เป็นการประเมินที่ยึดหลักการและเหตุผลในขั้นวางแผน เป็นหลัก
แล้วพิจารณาดูว่าการดำเนินการใช้หลักสูตรท้องถิ่นและการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างไรบ้าง
เป้าหมายของการประเมินระหว่างการใช้หลักสูตรเพื่อที่จะช่วยให้พิจารณาวิเคราะห์และปรับปรุงการดำเนินการใช้หลักสูตร
และการจัดการเรียนการสอนให้สมเหตุสมผลกับหลักการและเหตุผลในขั้นการวางแผน หลักสูตรท้องถิ่น โดยผู้ประเมิน
อาจเป็น ผู้บริหาร ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ วิทยากรท้องถิ่น และนักเรียน
12.3) การประเมินหลังการใช้หลักสูตร เป็นการประเมินผลหลังจากดำเนินการใช้หลักสูตรท้องถิ่นเรียบร้อย
แล้ว โดยอาศัยความคิดเห็นจากผู้บริหาร ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ วิทยากรท้องถิ่น ผู้ปกครอง และนักเรียน เพื่อนำผล
การประเมินไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นต่อไป
ขั้นตอนที่ 13 การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น คณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนำผล
การประเมินหลักสูตร มาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในประเด็นต่าง ๆ ของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้การพัฒนา
หลักสูตรท้องถิ่นในปีต่อไปมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 103

87. ข้อใดไม่ใชขั้นตอนการศึกษาสภาพหรือข้อมูลพื้นฐานของการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
1. ศึกษาหลักสูตรเเกนกลาง
2. ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น
3. ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการของผู้เรียน
4. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน
5. ศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ตามเเผนการจัดการเรียนรู้
ตอบ 5. ศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ตามเเผนการจัดการเรียนรู้
อ่านเสริม
การศึกษาสภาพหรือข้อมูลพื้นฐาน
ศึกษาหลักสูตรแม่บทหรือหลักสูตรแกนกลาง
ศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการของชุมชน/ ท้องถิ่น
ศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการของผู้เรียน
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน / วิเคราะห์ศักยภาพโรงเรียน
การสร้างหลักสูตรท้องถิ่น
ศึกษาผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น (ในขั้นตอนการศึกษาสภาพหรือ
ข้อมูลพื้นฐาน)
ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา
การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตรท้องถิ่น
การกำหนดเนื้อหาของหลักสูตรท้องถิ่น
การกำหนดเวลาเรียน
การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
การกำหนดวิธีและเกณฑ์การวัดและประเมินผล
การจัดทำเอกสารหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 104

การนำหลักสูตรท้องถิ่นไปใช้
การจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้
การใช้สื่อประกอบการจัดการเรียนรู้
การใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
การวัดและประเมินผล
การประเมินหลักสูตร
การประเมินก่อนการใช้หลักสูตร
การประเมินระหว่างใช้หลักสูตร
การประเมินหลังการใช้หลักสูตร
88. ข้อใดกล่าวถึงความจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นไม่ถูกต้อง
1. การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
2. เป็นการปรับเนื้อหาสาระเเละประสบการณ์จากหลักสูตรเเกนกลางให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา
เเละความต้องการของท้องถิ่นมากที่สุด
3. เป็นการจัดเนื้อหาสาระเเละประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพจริงที่ใกล้ตัว เรียนรู้จาก
ทรัพยากรที่อยู่ในท้องถิ่น
4. เป็นการปรับหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงในท้องถิ่นของตน รู้เท่าทันการเปลี่ยนเเปลง
ทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง เเละด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี
5. การใช้หลักสูตรเเกนกลางเป็นรายวิชาพื้นฐานเเละการเรียนให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา
ตอบ 5. การใช้หลักสูตรเเกนกลางเป็นรายวิชาพื้นฐานเเละการเรียนให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 105

89. ข้อใดกล่าวถึงหลักสูตรเเละวิธีการสอนในศตวรรษที่ 21 ไม่ถูกต้อง


1. ประยุกต์ทักษะเชิงบูรณาการข้ามสาระเนื้อหา
2. สร้างระบบการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐาน
3. สร้างนวัตกรรมเเละวิธีการเรียนรู้เชิงบูรณาการที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุน
4. ใช้วิธีการสอนเพื่อการทักษะขั้นสูงทางการคิด
5. เน้นให้ผู้เรียนสร้างรายได้เป็นสำคัญ
ตอบ 5. เน้นให้ผู้เรียนสร้างรายได้เป็นสำคัญ
90. ครูท่านใดจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับวิะีการสอนในศตวรรษที่ 21 น้อยที่สุด
1. ครูบอยจัดการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีห้องเรียนเสมือนจริงเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่าน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท
2. ครูนุกจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้จากปัญหาเป็นฐานโดยใช้กระบวนการกลุ่ม
3. ครูต้อยใช้วิธีการสอนเเบบเเก้ปัญหาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
4. ครูนิกสอนโดยใช้กระบวนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดสร้างสรรค์เพื่อให้นักเรียนสร้างนวัตกรรม
5. ครูหวานให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืนค้นเเล้วสรุปเป็นรายงานจากนั้นถามตอบเพื่อ
ทดสอบความรู้ที่ได้
ตอบ 5. ครูหวานให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืนค้นเเล้วสรุปเป็นรายงานจากนั้นถามตอบเพื่อ
ทดสอบความรู้ที่ได้

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 106

91. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ประเมินผู้เรียนด้านทักษะความรู้อย่างรอบด้าน
2. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกและเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. ใช้สื่อเทคโนโลยี และมีแหล่งเรียนรู้หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน
4. จัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดและให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในชีวิตจริง
5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินและสะท้อนผลการเรียนของตนเองและเพื่อนๆ
ตอบ 1. ประเมินผู้เรียนด้านทักษะความรู้อย่างรอบด้าน เพราะในการจัดการเรียนการสอนควรประเมินทุกด้านทั้งดัน
ความรู้ ด้านทักษะ เเละด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (พุทธิพิสัย จิตพิสัย เเละทักษะพิสัย)
92. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไม่ถูกต้อง
1. ครูแต้วส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันผ่านการสอนโดยใช้เทคนิค Problem
Base Learning
2. ครูต้อยทำการประเมินผู้เรียนด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
3. ครูน้อยจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงใช้สิ่งที่เรียนในชีวิตจริงหรือสถานการณ์ที่เป็นจริงมากที่สุด
4. ครูแก้วจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติในแหล่งเรียนรู้นอก
ห้องเรียน
5. ครูทรายเน้นการประเมินโดยใช้แบบทดสอบเพื่อให้นักเรียนตื่นตัวในการประเมินผลการเรียนมากขึ้น
ตอบ 5. ครูทรายเน้นการประเมินโดยใช้แบบทดสอบเพื่อให้นักเรียนตื่นตัวในการประเมินผลการเรียนมากขึ้น
เพราะในการประเมินควรใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายเเละให้ผู้เรียน ผู้ปครอง เเละครูมีส่วนร่วมในการประเมิน
ประเมินอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอน

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 107

93. ครูท่านใดจัดการเรียนรู้เหมาะสมน้อยที่สุด
1. ครูแก้วเปิดโอกาสให้นักเรียนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น
2. ครูแคร์เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทราบคะแนนผลงานของตนเองทันที
3. ครูหวานทำการประเมินผลทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนในทุกหน่วยการเรียนรู้
4. ครูสมรใช้สื่อการสอนที่มีสีสันสวยงามและมีความหลากหลาย
5. ครูแต้วจัดกิจกรรมการเรียนการอสนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา และผู้เรียนในรูปแบบกิจกรรมที่
แปลกใหม่
ตอบ 3. ครูหวานทำการประเมินผลทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนในทุกหน่วยการเรียนรู้ เพราะควรประเมินทั้งก่อนเรียน
ระหว่างเรียน เเละหลังเรียนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการสอนเเละพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
94. ครูท่านใดจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 เหมาะสมน้อย
ที่สุด
1. ครูสิตาพานักเรียนไปเรียนรู้การทำนานอกห้องเรียน
2. ครูสมหมายให้นักเรียนลงมือออกแบบสิ่งประดิษฐ์จากพลังงานสะอาดด้วยตนเอง
3. ครูสมิตรมอบหมายให้นักเรียนเลือกหัวข้อในการนำเสนอหน้าชั้นเรียนตามเรื่องที่ตนเองสนใจ
4. ครูสำลีจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองการเกิดเหตุการณ์อัคคีภัย
5. ครูสมหมายกำหนดหัวข้อการทำอาหารเมนูต่างๆในการสืบค้นข้อมูลให้นักเรียนเลือกเพื่อทำรายงานมาส่ง
ตอบ 5. ครูสมหมายกำหนดหัวข้อการทำอาหารเมนูต่างๆในการสืบค้นข้อมูลให้นักเรียนเลือกเพื่อทำรายงานมาส่ง
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตก
ต่างระหว่างบุคคล
2. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญ สถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและ
แก้ไขปัญหา
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้คิดเป็น ทำเป็นรักการอ่านและ
เกิดการใฝ่รู้ อย่างต่อเนื่อง

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 108

4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม


ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพ แวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อ
ให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอน
และผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่มีการ ประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคล
ในชุมชน ทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
95. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ข้อใดคือการเเก้ปัญหาของครูได้ตรงกับความต้องการของผู้สื่อสารเเละเหมาะสมกับ
สถานการณ์ ''ครูคะ กลุ่มนี้ไม่ดีเลย หัวหน้าไม่ยอมให้หนูออกไปพูดหน้าชั้น เค้าจะออกไปพูดคนเดียว''
1. เปลี่ยนหัวหน้ากลุ่มเพื่อให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมตามที่ตนถนัด
2. คุยกับนักเรียนให้เข้าใจหน้าที่ของหัวหน้าเเละเข้าใจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. คุยกับหัวหน้าเพื่อให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมตามที่ต้องการ
4. คุยกับสมาชิกในกลุ่มถึงปัญหาเเละหน้าที่รับผิดชอบ
5. ให้นักเรียนย้ายกลุ่ม
ตอบ 4. คุยกับสมาชิกในกลุ่มถึงปัญหาเเละหน้าที่รับผิดชอบ
96. คำพูดส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
1. Big data มีลักษณะอย่างไร
2. ภาษาที่ใช้ในการเขียน coding มีอะไรบ้าง
3. เหตุใดระบบ blockchain จึงปลอดภัย
4. นักเรียนใช้ประโยชน์จาก AI อย่างไรบ้าง
5. Bitcoin เเตกต่างจากสกุลเงินปัจจุบันอย่างไร
ตอบ 4. นักเรียนใช้ประโยชน์จาก AI อย่างไรบ้าง

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 109

97. จากสถานการณ์ต่อไปนี้ ครูเพ็ญศรีควรพูดเพื่อให้กำลังใจกับเด็กหญิงเเก้วตรงกับข้อใดเหมาะสมมากที่สุด


เด็กหญิงเเก้ว : ครูคะ การสอบปลายภาคที่ผ่านมาคะเเนนหนูได้น้อยตกลงมาระดับกลางๆ หนูโง่ใช่ไหมคะ
ครูเพ็ญศรี : ....................................
1. คะเเนนของเเก้วได้มากกว่าเพื่อนเกือบครึ่งห้อง ควรพอใจได้เเล้วนะ
2. เเก้วต้องพยายามมากขึ้น คนอื่นมีความพยายามมากกว่าเเก้ว จึงสอบได้คะเเนนมากกว่า
3. การสอบได้คะเเนนน้อยไม่ได้เเปลว่าไม่ฉลาด เเก้วต้องพยายามให้มากขึ้น ครูเชื่อว่าเเก้วทำได้
4. คิดว่าจะมาขอคำปรึกษาจากครูเเล้วจะได้อะไร ควรพยายามด้วยตัวเองก่อน
5. เธอพยายามเต็มที่เเล้วยัง ถ้าทำเต็มที่เเล้วควรพิจารณาตัวเองว่าเป็นเพราะเหตุใดถึงได้คะเเนนน้อย
ตอบ 3. การสอบได้คะเเนนน้อยไม่ได้เเปลว่าไม่ฉลาด เเก้วต้องพยายามให้มากขึ้น ครูเชื่อว่าเเก้วทำได้
98 . ข้อใดเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเเสดงความคิดเห็น
1. นายนิธิ เธอคิดอะไรอยู่
2. นายปัญญา ลุกขึ้นยืนเเล้วตอบคำถามนี้
3. มีใครเเสดงความคิดเห็นได้ดีกว่านายสุธีไหม
4. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไร เพราะอะไร เพราะเหตุใดเธอถึงคิดเช่นนั้น ช่วยอธิบายให้คุณครูเเละ
เพื่อนๆฟังหน่อยได้ไหม
5. นายสุนธรออกมาเเสดงความคิดเห็นหน้าชั้นเดี๋ยวนี้
ตอบ 4. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไร เพราะอะไร เพราะเหตุใดเธอถึงคิดเช่นนั้น ช่วยอธิบายให้คุณครูเเละเพื่อนๆ
ฟังหน่อยได้ไหม

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด


วิเคราะห์ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ใหม่ 2566 110

99. คำตอบของนักเรียนคนใดที่ใช้ความคิดระดับสูงกว่าการใช้ความรู้ความจำเพื่อตอบคำถามเมื่อครูถาม
ว่า‘นักเรียนมีเหตุผลอย่างไรจึงให้คำตอบเช่นนั้น’
1. เด็กหญิงจอยพูดว่าหนูคิดว่าเป็นคำตอบเหมือนกับที่ครูเฉลยค่ะ
2. เด็กหญิงต้อยพูดว่าหนูมั่นใจแน่นอนค่ะว่าคำตอบที่หนูตอบถูกต้องแน่นอนค่ะ
3. เด็กหญิงอริศพูดว่าหนูได้ปรึกษากับเพื่อนหลายๆคนแล้วว่าคำตอบที่หนูตอบถูกต้องแล้วค่ะ
4. เด็กหญิงกุ้งพูดว่าหนูได้แยกคำตอบออกมาเป็นหัวข้อย่อย ๆ ตามที่เขียนในหนังสือเรียนแล้วค่ะจึงมั่นใจว่าคำ
ตอบที่หนูตอบถูกต้อง
5. เด็กหญิงปลาได้สอบถามข้อมูลต่างๆจากข้อมูลที่นำมาอ้างอิงไว้อย่างชัดเจนแล้วค่ะจึงได้ตอบออกมาแบบนี้
ตอบ 5. เด็กหญิงปลาได้สอบถามข้อมูลต่างๆจากข้อมูลที่นำมาอ้างอิงไว้อย่างชัดเจนแล้วค่ะจึงได้ตอบออกมาแบบนี้
100 . ข้อใดคือบทบาทที่สำคัญที่สุดของผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอนแบบ Project-Based Learning
1. นักเรียนมีการเป็นผู้นำสูง
2. นักเรียนมีทักษะการตั้งคำถาม
3. นักเรียนมีความถนัดในการใช้เทคโนโลยี
4. นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
5. นักเรียนมีทักษะที่ดีในการสร้างสรรค์และการออกแบบการเรียนรู้
ตอบ 4. นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามคัดลอก ห้ามเผยเเพร่ ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด

You might also like