You are on page 1of 21

10103

ทักษะชีวิต

หนวยที่ 1-7
REV22-5850

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B

ไฟล์มีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ คัดลอก ดัดแปลง แก้ไขหรือจําหน่ายนะคะ

ฉบับปรับปรุงใหมสุด
ทักษะการคิด
REV22-5850

ความคิดการคิดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองที่ใช้สัญลักษณ์หรือภาพแทนสิ่งของเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ โดยการจัดระบบความรู้
ข้อมูล ข่าวสารซึ่งเป็นประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งเร้าใหม่ที่เป็นไปได้ทั้งในรูปแบบธรรมดาและแบบสลับซับซ้อน ผลจากการ
จัดระบบสามารถแสดงออกได้หลากหลายลักษณะการฝึกการคิดจัดเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ โดยการคิดจะเกิดขึ้นได้จําเป็น
ต้องอาศัยองค์ประกอบและปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อการเกิดความคิด

องค์ประกอบของการคิด

1. สิ่งเร้า : เป็นสื่อและองค์ประกอบแรกที่เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดการรับรู้นําไปสู่การคิด อาจจะเป็นสิ่งของ ข้อมูล ภาพ เสียงหรือ สถานการณ์


2. การรับรู้ : บุคคลสามารถรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยการรับรู้จะมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพของสิ่งเร้า
3. จุดมุ่งหมายในการคิด : เช่น เพื่อแก้ปัญหาหรือตัดสินใจ หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
4. วิธีการคิด : ต้องเลือกวิธีที่ตรงกับจุดมุ่งหมายในการคิด เช่น คิดเพื่อตัดสินใจควรใช้วิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ
5. ข้อมูลหรือเนื้อหา เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
6. ผลของการคิด เป็นผลที่ได้จากการปฎิบัติงานทางสมองของมนุษย์แต่ละคน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดมนุษย์

1. พื้นฐานทางครอบครัว (เป็นปัจจัยหลัก)
2. พื้นฐานความรู้
3. ประสบการณ์ชีวิต
4. การทํางานของสมอง
5. วัฒนธรรม
6. จริยธรรม
7. การรับรู้
8. สภาพแวดล้อม
9. ศักยภาพทางการเรียนรู้
10. ประสาทรับรู้

http://forum.eduzones.com/topic/12848

ประโยชนของการคิด ในศตวรรษที่ 21
• การคิด ทําให้มนุษย์สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย
• การคิดก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของมนุษย์ Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
• การคิดมีความสําคัญต่อการเรียนรู้ การจดจําและระลึกได้
• การคิดเป็นกระบวนการทางจิตใจ ก่อให้เกิดจินตนาการและช่วยเยียวยาจิตใจ
• การคิดทําให้สามารถสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่นและนําไปใช้ประโยชน์ได้
• การคิดทําให้สามารถทํากิจกรรมเพื่อผู้อื่นและสังคมได้
คุณค่าของการคิดของมนุษย์
1. ความคิดกําหนดการแสดงออกของมนุษย์ สิ่งที่มนุษย์แต่ละคนคิดจะเป็นตัวกําหนดความเป็นบุคคลนั้นๆ
2. ความคิดทําให้มนุษย์รู้จักจัดการ เช่น ต้องการอาหารก็ไม่ใช้วิธียื้อแย่ง โดยการประกอบอาชีพและนําเงินไปแลกมาแทน
3. ความคิดทําให้มนุษย์รู้จักประดิษฐ์สิ่งที่งดงาม เช่น การเขียนภาพวาด การแกะสลัก การเล่นดนตรี ฯลฯ
4. ความคิดทําให้รู้จักการดําเนินชีวิต
5. ความคิดของมนุษย์ทําให้โลกเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญของโลกมีดังต่อไปนี้
- คลื่นลูกที่หนึ่ง : สังคมเกษตรกรรม
- คลื่นลูกที่สอง : สังคมอุตสาหกรรม
- คลื่นลูกที่สาม : สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
- คลื่นลูกที่สี่ : สังคมแห่งการเรียนรู้

ทักษะการคิดในชีวิตประจําวัน หมายถึง ทักษะการคิดที่จําเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดํารงชีวิตประจําวัน แบ่งเป็น 3 ระดับ


1. ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน หมายถึง ทักษะการคิดที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นต่อการคิดในระดับสูงขึ้นและซับซ้อนขึ้น ส่วนใหญ่
จะเป็นทักษะการสื่อความหมายที่บุคคลทุกคนจําเป็นต้องใช้ ได้แก่ ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน
2. ทักษะการคิดเป็นแกนสําคัญหรือทักษะการคิดทั่วไป หมายถึง ทักษะการคิดที่จําเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดํารงชีวิต
ประจําวัน ได้แก่ ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การตีความ การขยายความ การสรุปและการอ้างอิง
3. ทักษะการคิดของสูงหรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน หมายถึง ทักษะการคิดที่มีขั้นตอนหลายชั้น ต้องอาศัยทักษะการสื่อความ
หมายและการคิดที่เป็นแกนในหลายๆทักษะ เช่น ทักษะการตั้งสมมุติฐาน ทักษะการวิเคราะห์

ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน

• ทักษะการคิดที่ใช้ในการสื่อสาร ได้แก่ ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน


• ทักษะการคิดที่เป็นแกน มี 18 ทักษะ การสังเกต การสํารวจ การสํารวจค้นหา การตั้งคําถาม การระบุ การขัดแยก การรวบรวมข้อมูล การเปรียบ
เทียบ การจัดกลุ่ม การจําแนกประเภท การเรียงลําดับ การแปลความ การเชื่อมโยง การนําความรู้ไปใช้ การตีความ การสรุปย่อ การสรุปอ้างอิง และ
ทักษะการให้เหตุผล เพจสรุปทุกวิชามสธ by B

ทักษะการคิดขั้นสูง

• การคิดซับซ้อน มี 18 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการให้ความกระจ่าง การสรุปลงความเห็น การให้คําจํากัดความ การจัดระเบียบ การวิเคราะห์ การ


สังเคราะห์ การประยุกต์ใช้ความรู้ การสร้างความรู้ การจัดโครงสร้าง การปรับโครงสร้าง การหาแบบแผน การพยากรณ์ การหาความเชื่อพื้นฐาน การ
ตั้งสมมุติฐาน การพิสูจน์ความจริง การทดสอบสมมุติฐาน การตั้งเกณฑ์และการประเมิน
• ทักษะพัฒนาลักษณะการคิด มี 9 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการคิดคล่อง การคิดหลากหลาย การคิดละเอียด การคิดชัดเจน การคิดอย่างมีเหตุผล
การคิดถูกทาง การคิดกว้าง การคิดไกล และการคิดลึกซึ้ง
• ทักษะกระบวนการคิด มี 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการคิดตัดสินใจ การคิดแก้ปัญหา กระบวนการวิจัย
และกระบวนการคิดสร้างสรรค์

มิติการในชีวิตประจําวันของมนุษย์
• มิติด้านข้อมูลเนื้อหาที่ใช้ในการคิด
• มิติด้านคุณสมบัติด้านการเอื้ออํานวยต่อการคิด
• มิติด้านทักษะการคิด
• มิติด้านลักษณะการคิด
• มิติด้านกระบวนการคิด
• มิติด้านการควบคุมและประเมินการคิดของตนเอง
1. การคิดสรางสรรค (Creative thinking) ห
  มายถึง กระบวนการคิดในรูป
แบบใหมๆ ความสามารถในการรับรูความคิดใหม ๆ และนวัตกรรมโดย
แยกออกจากความคิดทฤษฎีกฎและขั้นตอนการทํางาน มันเกี่ยวของกับ
การวางสิ่งตางๆดวยกันในรูปแบบใหมและจินตนาการ ความคิด
สรางสรรคมักเรียกกันวา "การคิดนอกกรอบ"
 
2. การคิดเชิงวิเคราะห (Analytical thinking) หมายถึง กระบวนการคิดใน
รายละเอียด ความสามารถในการแยกแยะสวนตางๆออกเปนสวนพื้น
ฐาน หรือสวนยอยๆ เพื่อตรวจสอบและวิเคราะหความเชื่อมโยง หรือ
ความสัมพันธของสวนประกอบตางๆ  เปนการคิดในเชิงตรรกะทีละขั้น
ตอนเพื่อแบงระบบขอมูลขนาดใหญออกเปนสวน ๆ เพื่อมาวิเคราะหหา
สาเหตุ หรือเปาหมายที่ตองการ
 
3. การคิดเชิงอยางมีเหตุผล (Critical thinking) หมายถึง กระบวนการคิด
โดยใชวิจารณญาณหรือการตัดสินอยางมีเหตุผลรอบดาน  โดยใชเหตุผล
ในการวิเคราะหประเด็น รวมทั้งการรวบรวมขอมูลตางๆรอบดาน การ
สํารวจองคประกอบอื่น ๆ ที่อาจมีอิทธิพลตอขอสรุป เพื่อตรวจสอบ
พิจารณา ตัดสินและประเมินความถูกตอง หรือสิ่งที่เปนประเด็นในขณะ
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
นั้นๆ ใหแมนยํา

4. การคิดเชิงกลยุทธ (strategic thinking) หมายถึง กระบวนการคิด


โดยการวิเคราะหและประเมินเหตุการณที่เกี่ยวของ และแนวทางการ
ปฏิบัติ เพื่อตัดสินใจใหบรรลุเปาหมายที่ตองการอยางมีประสิทธิภาพสูง
ที่สุด โดยเฉพาะในปจจุบันที่สถานการณของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยาง
รวดเร็ว 
 
5. การคิดเชิงบวก (Positive thinking) หมายถึง กระบวนการคิดและ
เขาใจในสิ่งที่เปนทั้งดานบวกและดานลบ  แลวหาเรื่องราวดีๆ หรือมุมบวก
ในเหตุการณหรือสิ่งตางๆ ที่ไดพบเจอ   เพื่อยอมรับ เรียนรู ปรับปรุงแกไข
และใหเราเติบโตขึ้น
 
6. การคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) หมายถึงกระบวนการคิด
สรางสรรคสิ่งใหมๆและนวัตกรรม จากทักษะและกระบวนการคิดแบบ
ตางๆ ที่มีประโยชนตอผูคน สังคม โลก ออกมาเปนรูปธรรม และสามารถ
ตอยอดในเชิงพาณิชยได
 
7. การคิดเชิงระบบ (System thinking) หมายถึง กระบวนการคิดอยาง
เปนขั้นตอน การมองภาพรวมอยางเปนระบบ มีสวนประกอบยอยๆ มีขั้น
ตอน และรายละเอียดแยกยอยออกมา และเชื่อมโยงกับระบบตางๆ
https://sites.google.com/a/mfu.ac.th/placement-tips/tips-trick/withikhidbaebhmwk6bi

การฝึกทักษะการคิดเชิงบวก เป็นกลวิธีที่จําเป็นต้องได้รับการฝึกฝนโดยฝึก
บันได 5 ขั้นของการคิดเชิงบวก
มองโลกให้กว้างและเปิดใจ โดยขจัดการคิดเชิงลบและต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง
ชีวิตสุขใช้แนวทางการคิดที่หลากหลาย ฝึกผ่อนคลายความรู้สึกเชิงลบ ใช้
แนวทางของพุทธศาสตร์และเทคนิคอื่นร่วมในการฝึกฝน
ประโยชน์ของการคิดบวก
1. เมื่อเจอปัญหาและสถานการณ์เลวร้าย สามารถหามุมมองที่ดีและผ่านไปได้
2. ทําให้มองกว้างและเปิดใจยอมรับสิ่งต่างๆได้ง่าย
3. ทําให้มีพลังเชิงสร้างสรรค์ทํางานได้หลากหลาย
4. คนคิดบวกเป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ทําให้มีเครือข่ายหลากหลาย
5. คนที่มีความคิดบวกมักมองข้ามปัญหาเล็กน้อย ทําให้เผชิญหน้ากับปัญหาที่
สําคัญได้ ซึ่งจะพุ่งความสนใจในการแก้ไขปัญหาได้สําเร็จ
ข้อเสียของการคิดบวก
เป็นการใช้ชีวิตที่มองเพียงด้านเดียวทําให้มองโลกในแง่ดีเกินไปอาจตกเป็น
เหยื่อของคนที่คิดไม่ดี การคิดบวกจนเคยชินทําให้ขาดภูมิคุ้มกันหากเกิดเหตุ
ไม่คาดฝันอาจจะทําให้เสียใจ และรับมือไม่ทัน
https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/6075a694-a84d-e711-80e0-00155da1b02a
การคิดลบ หมายถึง การตัดสินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและยังไม่เกิดขึ้นหรือการปฏิบัติต่อบุคคลในทางที่ไม่สร้างสรรค์ เช่น การมีอคติต่อบุคคลรอบ
ตัวการลําเอียง หรือขาดความยุติธรรมที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง การมีความโกรธแค้น อาฆาต พยาบาท
ลักษณะของคนคิดลบหรือมองโลกในแง่ร้าย
> ไม่เคยให้เครดิตตัวเองเวลา ที่ประสบความสําเร็จมองว่าเป็นเรื่องบังเอิญ , ไม่ให้อภัยใครง่ายๆ, หวาดระแวงคนอื่นไม่ไว้ใจใครและมักเห็น
แก่ตัว ,อิจฉาเวลาเห็นคนอื่นได้ดี โดยคนคิดลบมักจะเป็นคนที่มีแนวโน้มที่จะคิด 3 เรื่องต่อไปนี้
1. เหยียดผิว รูปร่าง ศาสนาและเชื้อชาติ คนคิดลบมักจะตีความจากสิ่งที่เห็นภายนอก
2. ตั้งแง่กับทุกสิ่งที่พบ
3. วิตกกังวลเกินเหตุ มักจะกลัวไปซะทุกอย่าง
ประโยชน์ของการคิดลบ
• คาดการณ์ถึงสิ่งที่เลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและนําไปสู่การไม่ประมาท
• คนคิดลบส่วนมากมักมองโลกตามความเป็นจริงมากกว่าคนคิดบวก
• ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้อีกทางหนึ่ง เช่น การคิดว่าอาหารที่ขายตามโรงอาหารมีสารพิษตกค้าง จึงระมัดระวังการรับประทานอาหาร
โทษของการคิดลบ
• ทําให้มองอย่างเป็นปัญหาอุปสรรคมีข้อจํากัดมากมาย
• การคิดลบมักเกิดอย่างอัตโนมัติ เกิดจากความรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
• ทําให้เป็นคนโกรธ เครียดแค้น และไม่พอใจตลอดเวลา
• การคิดลบมากๆ ทําให้เป็นคนหวาดระแวง

การฝึกทักษะขจัดการคิดลบต้องปรับเปลี่ยนมุมมองชีวิต ฝึกใช้แนวทางที่หลากหลาย ฝึกผ่อนคลายความรู้สึกเชิงลบใช้แนวทางของพุทธศาสตร์


และเทคนิคอื่นๆร่วมในการฝึกฝน การคิดลบเป็นกลไกการป้องกันภัยตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่ว่าทําให้เกิดความกดดันและความเครียดซึ่ง
ส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ จึงจําเป็นต้องฝึกลดความคิดเชิงลบและปรับเปลี่ยนมุมมองชีวิตให้ผ่อนคลาย
2 การใช้เหตุผล
เป็นกิจกรรมที่สําคัญที่เกิดขึ้นทางความคิดซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อและประสบการณ์ของบุคคล แต่การใช้เหตุผลก็ไม่ได้
เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าเป็นเหตุผลที่ดีและถูกต้องเสมอไป นั้นนั้นควรใช้วิจารณญาณในการประเมินค่าการใช้เหตุผล

ความคิดเห็น VS ข้อเท็จจริง

มีความแตกต่างกันความคิดเห็นเป็นเพียงแค่ความเชื่อบางครั้งอาจไม่มีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงมารองรับ จึงยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็น
สิ่งที่ดีหรือไม่ดี เช่น การยืนยันว่าโลกหลังความตายมีจริง ส่วนข้อเท็จจริงเป็นความเชื่อหรือความคิดเห็นที่สามารถพิสูจน์ความจริงได้อย่าง
ชัดเจน เช่น ข้อเท็จจริงว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกทุกวัน

การอ้างเหตุผล

หมายถึงอการยกเอาความเชื่อหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่ตนเองมีในประสบการณ์มาเชื่อมโยงความคิด เพื่ออธิบาย สรุป ชี้แจง ขยายความหรือ


แสดงความคิดเห็นที่ตนเองมีออกผ่านการสื่อสาร ทั้งนี้การอ้างเหตุผลจะแสดงผ่านการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน
องค์ประกอบของการอ้างเหตุผล
1. ความเชื่อ หรือหลักฐานตั้งต้น
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
2. ความเชื่อหรือหลักฐานสนับสนุน
3. ข้อสรุป
รูปแบบของการอ้างเหตุผล
> การอ้างเหตุผลแบบนิรนัย เป็นกระบวนการอ้างเหตุผลที่เริ่มต้นจากหลักการกฎที่ยอมรับได้ในสากล มักใช้ในการหาความรู้เชิงคณิตศาสตร์หรือ
ความจริงในลักษณะนามธรรม จากนั้นจึงนําหลักฐานสนับสนุนที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงไปสู่ข้อสรุปที่ต้องการตรวจสอบ สามารถสรุปลักษณะสําคัญ
ได้ดังนี้
• ข้อสรุปจากหลักฐานตั้งต้นที่ได้รับการยอมรับเชิงหลักการว่าจริงหรือถูกต้อง
• หากเป็นการอ้างเหตุผลที่ดีเนื้อหาสนับสนุนและข้อสรุปต้องอยู่ภายใต้บริบทเนื้อหาในหลักฐานตั้งต้น
• มีรูปแบบของการอ้างเหตุผลที่แน่นอนตายตัวและจะสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างชัดเจน
• ลักษณะการประเมินว่า เป็นการอ้างเหตุผลที่ดีหรือไม่ดี พิจารณาจากความสมเหตุสมผลหรือไม่สมเหตุสมผล
> การอ้างเหตุผลแบบอุปนัย เป็นกระบวนการอ้างเหตุผลที่มีรูปแบบแตกต่างจากนิรนัย มีลักษณะการอ้างเหตุผลโดยอาศัยความเชื่อหรือ
ประสบการณ์ของบุคคลเป็นหลักฐานตั้งต้น เช่น การอ้างเหตุผลเชิงสถิติ การอ้างเหตุผลเชิงเปรียบเทียบ สามารถสรุปลักษณะสําคัญได้ดังนี้
• หลักฐานตั้งต้นเริ่มจากข้อมูลที่อาจได้จากความเชื่อ ข้อเท็จจริงหรือประสบการณ์ของผู้ที่กําลังใช้เหตุผล
• การอนุมานจะค้นหาหลักฐานสนับสนุนที่มีความเป็นไปได้ว่า เชื่อมโยงความสัมพันธ์จากหลักฐานตั้งต้นไปสู่ข้อสรุปได้
• ข้อสรุปเกิดจากการประมวลความสัมพันธ์ร่วมที่ได้จากข้อเท็จจริงในการพิจารณาตั้งแต่หลักฐานตั้งต้นและหลักฐานที่ยกขึ้นมาสนับสนุน
• ข้อสรุปมีความจริงในลักษณะของความเป็นไปได้ที่วัดสาดระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานที่ยกมากล่าวอ้าง
• การประเมินคุณค่าของการอ้างเหตุผลวัดจากระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล
• ข้อสรุปสามารถเปลี่ยนได้เสมอหากมีข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือมากกว่ามาบอกล้าง
วิธีการนําเสนอเหตุผล
• การนําเสนอด้วยการพรรณนา : เป็นการนําเสนอข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆ โดยเน้นอารมณ์และความรู้สึกในถ้อยคําในภาษาพูดและภาษาเขียน
• การนําเสนอด้วยการบรรยาย : เป็นการบอกเล่าเรื่องราวหรือถ่ายทอดให้เกิดความรู้ความเข้าใจในบริบทที่กําลังพิจารณาหรือโต้เถียงกันอยู่
• การนําเสนอด้วยการอธิบาย : เป็นการนําเสนอเพื่อขยายความให้เกิดความเข้าใจ หรือไขข้อข้องใจให้กระจ่างยิ่งขึ้น
• การนําเสนอด้วยการใช้วาทศิลป์ : เป็นการนําเสนอโดยใช้ความสามารถในการโน้มน้าวผู้รับสารที่เกิดความคล้อยตาม
การพิจารณานัยยะทางภาษา • การใช้ภาษากํากวม ปกติแล้วคําหนึ่งคํา สื่อได้หลายความหมายแต่ปัญหาหลักๆของการสื่อสารที่

:ไม่ชัดเจนเกิดจากการใช้คําอย่างผิดความหมาย
• การใช้คําย้อมสี เป็นคําที่เราความรู้สึกและสร้างอารมณ์ร่วมมาเป็นคําที่ใช้แสดงความคิดเห็นซึ่ง
แสดงการตีค่าบางสิ่งบางอย่าง เช่น ดี ชั่ว สวย ขี้เหร่

การพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

1. การพิจารณาลักษณะร่วม เป็นการค้นหาสาเหตุพิจารณาจากลักษณะร่วมในชุดของข้อมูลต่างๆที่นํามาซึ่งผลเหมือนกัน
2.การพิจารณาลักษณะที่แตกต่าง เป็นการค้นหาสาเหตุพิจารณาจากลักษณะที่แตกต่างกันในชุดของข้อมูลที่กําลังทําความเข้าใจ ในปรากฏการณ์
ที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุ ซึ่งลักษณะที่ต่างกันเหล่านั้นนํามาซึ่งผลที่แตกต่างอาจมีความเป็นไปได้ข้อมูลที่แตกต่างนั้นเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่เป็น
ผล เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
3. การพิจารณาลักษณะร่วมประกอบและลักษณะที่แตกต่าง เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในปรากฏการณ์ที่คาดว่าจะเป็นเหตุกับ
ปรากฏการณ์ที่คาดว่าจะเป็นผล โดยพิจารณาทั้งสองลักษณะร่วมและลักษณะที่แตกต่างประกอบกัน
4. การพิจารณาส่วนที่เหลือ เป็นการค้นหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยตัดปรากฏการณ์ที่ทราบรายละเอียดอย่างชัดเจนแล้วว่าไม่ใช่สาเหตุออกไป
คงเหลือไว้เพียงปรากฏการณ์ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดพิจารณาต่อ
5. การพิจารณาความผันแปรร่วม เป็นการพิจารณาความผันแปรระหว่างข้อมูล ที่คาดว่าเป็นเหตุและผลร่วมกัน

ทักษะการใช้เหตุผลเบื้องต้นในชีวิตประจําวันที่สําคัญ

1. ทักษะเพื่อการคัดกรองหลักฐานหรือข้อเท็จจริง เป็นทักษะหรือวิธีการพิจารณาชุดข้อมูลอ้างอิงที่นํามาใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนความคิดว่ามีความ
ถูกต้องและน่าเชื่อถือ ประเภทของหลักฐาน แบ่งเป็น หลักฐานโดยตรงและหลักฐานโดยอ้อม
หลักการพิจารณาหลักฐาน
• พิจารณาว่าหลักฐานที่นํามาใช้สนับสนุนการใช้เหตุผลเป็นหลักฐานประเภทใด เช่น เป็นหลักฐานทางตรง/ทางอ้อม
• ความถูกต้องและความเป็นรูปธรรมของหลักฐาน โดยหลักฐานที่นํามาใช้ต้องสามารถพิสูจน์ความถูกต้องให้เห็นได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
• นํ้าหนักความน่าเชื่อถือของหลักฐาน
• ความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐาน หากมีหลักฐานสนับสนุนหลายชิ้นในกระบวนการอ้างอิงต้องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐานแต่ละชิ้นว่า
เกี่ยวข้องเป็นเหตุผลซึ่งกันและกันหรือไม่
• หากจําเป็นต้องนําหลักฐานจากการตีความของผู้อื่นมาใช้ในการสนับสนุนกระบวนการอ้างเหตุผล ต้องตรวจสอบภูมิหลังของผู้นั้นอย่างละเอียด
โดยพิจารณาความรู้ความสามารถในการตีความของบุคคลนั้นประกอบ
2. ทักษะการใช้เหตุผลเพื่อประเมินคุณค่า มีขั้นตอนการประเมินดังนี้
• กําหนดขอบเขตหรือบริบทที่ต้องการประเมินคุณค่า
• ค้นหาเกณฑ์การประเมินคุณค่า
• ประเมินคุณค่า
• สรุปผลการประเมินคุณค่า Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
(สามารถอ่านตัวอย่าง เพิ่มเติมได้ในหน้า 2-28, 2-28)
3. ทักษะการใช้เหตุผลเพื่อแก้ปัญหา
1. ทําความเข้าใจที่มาลักษณะของปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข
2. ระบุขอบเขตของปัญหา
3. ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
4. เลือกแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม
5. สรุปผลการแก้ปัญหา
ทักษะการใช้เหตุผลเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและข่าวสาร การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

1. สร้างความกระตือรือร้นและอยากรู้อยากเห็น • การจําแนกข้อมูลตามเหตุการณ์ หมายถึงการวิเคราะห์เหตุการณ์ตาม


2. ฝึกการคิดอย่างกล้าได้กล้าเสีย เรื่องราวที่ปรากฏจําแนกเป็น 2 วิธี
3. ฝึกการคิดซับซ้อน > การวิเคราะห์แบบอิงทฤษฎี เป็นการวิเคราะห์ไร้กรอบแนวคิดที่น่าเชื่อ
4. กระตุ้นจินตนาการ ถือและได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อจําแนกและทําความเข้าใจ
5. เปิดใจยอมรับสิ่งต่างๆ รายละเอียดของข้อมูลตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างมี
6. สร้างความมั่นใจในตนเอง หลักการ
> การวิเคราะห์แบบไม่อิงทฤษฎี เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ปรากฏใน
เหตุการณ์อย่างอิสระ ไม่อิงกับหลักการแนวคิดแต่อาศัยความรู้ความ
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B สามารถหรือประสบการณ์ของผู้วิเคราะห์เป็นเกณฑ์สําคัญ
• การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอุปนัย เป็นการวิเคราะห์ด้วยการเก็บข้อมูลเชิง
ประสบการณ์โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นตั้งแต่การ
ตั้งสมมุติฐาน การสังเกต ทดลองและหาข้อสรุป

สื่อสังคมออนไลน์ เซ็นเซอร์ใหม่ที่สื่อสารได้สองทางอาศัยการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย เป็นการสื่อสารที่อิสระทางในแง่การเข้าถึงข้อมูล


การรับส่งข้อมูลและการแพร่กระจายข้อมูลเป็นการสื่อสารที่ความเร็ว และหลากหลายต่างจากสื่อเก่าที่เป็นการสื่อสารเพียงทางเดียว ซึ่งมีความ
ล่าช้าและไม่ได้เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันในทุกมิติ แม้ว่าการสื่อสารแบบซื้อใหม่จะรวดเร็วและมีประโยชน์แต่ในอีกมุมหนึ่งสามารถสร้างผลกระ
ทบเชิงลบที่รุนแรงกว่าแบบตั้งเดิมได้ เนื่องด้วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทําได้ยากอีกทั้งการนําเสนอบางครั้งกํากวมและไม่ชัดเจน

ข่าวปลอม คือ ข่าวที่เป็นเท็จแต่สร้างความตื่นตัวให้เกิดขึ้นกับผู้คนในวงกว้างได้ มีหลายรูปแบบและหลายวัตถุประสงค์ เช่น ข่าวปลอม


เพื่อสร้างความบันเทิง ข่าวปลอมที่เกิดจากความไม่รู้และข่าวปลอมที่หวังผลประโยชน์แอบแฝง

ตรรกะวิบัติ คือ การอ้างเหตุผลที่บกพร่องในการใช้เหตุผลอย่างมีเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหลอกล่อให้ผู้รับสารยอมรับข้อสรุปทั้งที่ไม่ใช่เหตุและผล


ที่แท้จริงประเภทของตรรกะวิบัติ เช่น การอ้างผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ การอ้างคนส่วนใหญ่ การอ้างความเป็นพวกเดียวกัน การใช้อํานาจข่มขู่
และการด่วนสรุป เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
แนวทางการวิเคราะห์ตรรกะวิบัติในชีวิตประจําวัน
1. การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาของการอ้างเหตุผล ว่าภายในการอ้างเหตุผลมีความสัมพันธ์กันอย่างแท้จริงหรือไม่ โดย
พิจารณาจากหลักฐานสนับสนุนที่ใช้เชื่อมโยงความสัมพันธ์จากหลักฐานตั้งต้น
2. การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล คือ การตรวจสอบว่าแต่ละข้อมูลมีความสัมพันธ์ต่อกันเชิงเหตุผลอย่างแท้จริงหรือไม่
3. การวิเคราะห์ข้อสรุป คือ การตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดที่มีโดยพิจารณาว่าเพียงพอที่จะทําให้เกิดข้อสรุปดังกล่าวจริงหรือไม่
ความรู้ การแสวงหาความรู้และการเรียนรู้
3 ความรู้เกิดจากการผสมผสานระหว่างข้อมูล ข้อเท็จจริง สารสนเทศ ประสบการณ์ ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม การ
เรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงกับบริบทซึ่งข้อเท็จจริงอันเป็นที่รับรู้และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น
โดยความรู้เป็นสิ่งที่ไม่คงที่หรือความเป็นพลวัต สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และสั่งสมมากขึ้นได้ตามกาลเวลา

พัฒนาการของสังคม สังคมมีพัฒนาการควบคู่ไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิทยาการ และการเจริญ


สังคมเกษตรกรรม เติบโตทางเศรษฐกิจจากสังคมเกษตรกรรมที่เน้นวัตถุดิบและผลผลิตทางการเกษตร สู่
สังคมอุตสาหกรรม สังคมอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีเป็นปัจจัยป้อน การจัดการต้นทุนและแรงงาน การเพิ่ม
สังคมสารสนเทศหรือสังคมข้อมูลข่าวสาร มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรสู่ผลผลิตทางอุตสาหกรรม และขยายไปสู่สังคม
สังคมความรู้ สารสนเทศที่เป็นผลผลิตหลัก และการเปลี่ยนผ่านสังคมสู่สังคมความรู้ โดยความรู้เป็น
แกนกลางและมีมูลค่ากว่าแรงงานและทุน

ลักษณะสําคัญของสังคมความรู้ ประกอบด้วย การศึกษาและการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทอล การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม ระบบเศรษฐกิจ


ฐานความรู้ ทุนทางปัญญาและแรงงานความรู้ และการพัฒนาที่ยังยืน

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
แนวคิดเรื่องการแสวงหาความรู้

• การแสวงหาความรู้อย่างไม่เป็นระบบ เกิดความสงสัยของมนุษย์และมีการแสวงหาความจริง
• การนิรนัยและการอุปนัย
• วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ความจริงของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทําให้เกิดความน่าเชื่อถือ
และนําไปสู่การวิจัยอย่างเป็นระบบ
• การวิจัย เป็นการแสวงหาความรู้ความจริงโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผลและมีกระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็น
ระบบ เพจสรุปทุกวิชามสธ by B

การเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้

1. การเรียนรู้เป็นบ่อเกิดของความรู้ ความคิดและปัญญา
2. การเรียนรู้เปรียบเป็นขุมทรัพย์ในตน
3. การเรียนรู้คือชีวิต
4. การเรียนรู้เป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิต

การเรียนรู้ตามวิถีไทยแบบเดิม
> อิงแนวทางในพุทธศาสนาโดยเน้นการพัฒนาคนทั้งรายบุคคลและกลุ่มคน เป็นการบูรณาการความรู้และปฏิบัติ คุณธรรมจริยธรรมเพื่อการ
อยู่ร่วมกันในสังคม หลักการสําคัญของการเรียนรู้หรือการสร้างคุณลักษณะของผู้ใฝ่รู้ ในพุทธศาสนา คือ หลัก “พหูสูต” (สุ จิ ปุ ลิ)
สุ : การฟัง รวมถึงการรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ เช่น การฟังบรรยาย
จิ : การคิดเป็น รู้จักคิดพิจารณาไตร่ตรอง
ปุ : การซักถามหาความรู้หาคําตอบเพื่อให้กระจ่างชัดเจน
ลิ : การจดบันทึก
การเรียนรู้ในโลกของการเปลี่ยนแปลง

จะเริ่มจากการเรียนรู้จากบุคคลใกล้ตัวคือพ่อแม่และครอบครัว ขยายสู่ครูอาจารย์เพื่อนและสิ่งแวดล้อม สั่งสมความรู้จนนําไปสู่การเรียนรู้จาก


การทํางานและประสบการณ์จนเกิดความชํานาญ

การเรียนรู้ตลอดชีวิตในโลกยุคดิจิทัล จําเป็นต้องมีความฉลาดรู้ ในเรื่องสารสนเทศสื่อและดิจิทอล โดยการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

บุคคลแห่งการเรียนรู้ มีลักษณะสําคัญคือ เป็นผู้ใฝ่รู้ ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้มีความฉลาดรู้เรื่องสารสนเทศ สื่อและดิจิทอล


และผู้มีจริยธรรมสารสนเทศ

แหล่งการเรียนรู้ประเภทองค์การสารสนเทศ

1. ห้องสมุดหรือหอสมุด เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สําคัญเป็นแหล่งบริการสารสนเทศ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์


2. ศูนย์สารสนเทศ เป็นการเรียนรู้เฉพาะเรื่องมีลักษณะสําคัญโดยมักจํากัดขอบเขตตามสาขาวิชา เช่น ศูนย์สารสนเทศทรัพยากรธรณีและ
ศูนย์ข้อมูล เป็นแหล่งผลิต รวบรวม วิเคราะห์และให้บริการข้อมูล ทั้งข้อมูลดิบ ข้อมูลตัวเลขสถิติและข้อมูลที่วิเคราะห์และประมวลผลแล้ว
3. หน่วยงานจดหมายเหตุ จัดหา จัดเก็บและบริการสารสนเทศเช่นเกี่ยวกับห้องสมุด แต่มุ่งเน้นให้บริการสารสนเทศเก่าเพื่อการค้นคว้า
วิจัยเชิงประวัติศาสตร์ เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
4. พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่จัดแสดงและสงวนรักษาวัตถุสิ่งของโดยเฉพาะของที่มีค่าและหายาก
5. หอประวัติ เป็นแหล่งเรียนรู้สําคัญเกี่ยวกับบุคคลมาเป็นผู้มีความสําคัญในองค์กรนั้น
6. ศูนย์การเรียนรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ รวบรวมความรู้ โดยอาจเป็นบริการในส่วนสารสนเทศออนไลน์ เช่นเว็บไซต์ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
ความฉลาดรู้เรื่องสารสนเทศ สื่อและดิจิทอล
เทคโนโลยีดิจิทอลมีพัฒนาการจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่เชื่อมโยงการทํางานเป็นเครือข่าย สะท้อนความ
ซับซ้อนและความท้าทายของโลกยุคดิจิทัล

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
เทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโลก

1. อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เป็นแนวคิดการเชื่อมต่อสรรพสิ่งเครื่องใช้กับอินเตอร์เน็ต ทําให้สามารถรับส่งข้อมูลและเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะในชีวิต


ประจําวันได้ เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
2. ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ เน้นการทํางานให้คอมพิวเตอร์ทํางานได้ใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด แบ่งย่อยออกเป็นสาขาต่างๆเช่น การแปลภาษา
ด้วยเครื่อง ระบบผู้เชี่ยวชาญ วิทยาการหุ่นยนต์ การเรียนรู้เยี่ยงมนุษย์

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1416976

เทคโนโลยีเสมือนจริง เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และการทํางาน โดยพัฒนาให้ตอบสนองวัตถุประสงค์และความต้องการในด้านต่างๆ เช่น •


• ความเป็นจริงเสมือนหรือวีอาร์ เป็นสภาวะจําลองที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ให้เหมือนสภาวะจริง ผู้ใช้สามารถมีปฏิกิริยาตอบโต้กับ
สภาวะจําลองนี้ได้ เช่น ภาพในแว่นวีอาร์
• ความเป็นจริงเสริมหรือเออาร์ สภาวะจริงที่แต่งเติมขึ้นด้วยเทคโนโลยี เช่น ผู้ใช้กําลังดูรถยนต์อยู่และต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์อาจ
ใช้แว่นตาชนิดพิเศษที่สามารถแสดงข้อมูลรถยนต์ซ้อนลงบนภาพรถยนต์ที่กําลังมองอยู่
• ความเป็นจริงผสานอหรือเอ็มอาร์ เป็นการภาษาอโลกแห่งความจริงจริงในโลกเสมือนโดยใช้เทคโนโลยีการสัมผัสกับโลกรอบตัว เทคโนโลยีนี้
ทําลายแนวคิดพื้นฐานระหว่างความจริงและจินตนาการที่ให้ประสบการณ์ที่สามารถเปลี่ยนวิธีเล่นเกมและทํางานในยุคปัจจุบัน

MOOC คือการเรียนรู้ออนไลน์สําหรับคนจํานวนมาก เป็นนวัตกรรมการศึกษาของโลกรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ โดยผู้เรียน


จํานวนมากสามารถเข้าศึกษาเรียนรู้ได้พร้อมกันโดยไม่มีข้อจํากัด เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเรื่องเดียวกันเรียนรู้และทํากิจกรรมร่วมกัน และการเข้า
ถึงการศึกษาของประชากรโลกเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ลดความเหลื่อมลํ้า โดยจัดการเรียนการสอนระยะสั้น และมีตารางกําหนดไว้แน่นอน

ความฉลาดรู้เรื่องสารสนเทศ สื่อและดิจิทอล
> เป็นทักษะในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ความฉลาดรู้สําคัญสามด้านโดยมีแนวคิด ความเหมือน ความแตกต่าง จุดเน้นและความเชื่อมโยง
บูรณาการกันเป็นองค์รวม เนื่องจากความฉลาดรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งย่อมไม่เพียงพอในโลกปัจจุบัน จําเป็นต้องบูรณาการและรวบรวมความฉลาดรู้
เป็นความฉลาดรู้ชุดเดียวกัน เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีสมรรถนะที่จําเป็น ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ใหม่ในโลกยุคดิจิทัล และพัฒนาเป็น
พลเมืองดิจิทัล
ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัล

https://www.healthymediahub.com/media/detail/ความฉลาดทางดิจิทัล-(DQ:-Digital-Intelligence)

การค้นสารสนเทศและสื่อ Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B

• การค้นผ่านห้องสมุด กรณีศึกษา มสธ. ค้นได้สามทาง


1. การค้นโอแพ็ก (OPAC search) เป็นเครื่องมือสืบค้นสื่อการศึกษาผ่านเว็บไซต์ของห้องสมุด พัฒนามาจากรูปแบบตัดรายการซึ่งเป็นกระดาษมา
เป็นรายการออนไลน์ผู้ใช้สามารถสืบค้นให้อย่างรวดเร็วจากฐานข้อมูลหนังสือ books and Serials และฐานข้อมูลดัชนีวารสาร
2. การค้นแบบ Single Search เป็นการสืบค้นสารสนเทศจากข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์หลายฐานพร้อมกันโดยการสืบค้นเพียงครั้งเดียวด้วยระบบ EDS
3. การค้นพูลิเน็ต ใช้ค้นหารายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดในข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค มีสมาชิก 20 แห่งทั่วประเทศ
โดยค้นได้จากคําสําคัญ ชื่อเรื่อง และชื่อผู้แต่ง
• การค้นจากเว็บไซต์ ใช้โปรแกรมค้นหาหรือเสิร์จเอ็นจิ้น เป็นเครื่องมือสําคัญช่วยในการ สืบค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ค้นได้ทั้ง
ข้อความภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เพลง ข่าว การค้นด้วยโปรแกรมค้นหาค้นด้วยคําสําคัญ keywords ซึ่งเป็นภาษาธรรมชาติผลลัพธ์จากการค้น
แสดงในรูปแบบของลิงค์ เพจสรุปทุกวิชามสธ by B

การประเมินสารสนเทศและสื่อ

•การประเมินแหล่งสารสนเทศ พิจารณาในประเด็นความเชื่อถือได้ในเบื้องต้นพิจารณาจาก ผู้เขียน ผู้จัดทํา ผู้พิมพ์ ซึ่งควรเป็นแหล่งปฐมภูมิใน


กรณีที่เป็นหน่วยงานพิจารณาความรับผิดชอบ กรอบอํานาจ หน้าที่ ในกรณีที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์พิจารณาเพิ่มเติมจากยูอาร์แอลที่น่าเชื่อถือ
• การประเมินสารสนเทศ จะพิจารณาในประเด็นคือ ความถูกต้อง ความทันสมัย ทันเวลา ทันต่อการใช้งาน ความเกี่ยวข้องตรงประเด็น ความ
สมบูรณ์ครบถ้วน ความง่ายต่อการนําไปใช้ ความคุ้มค่า

ข่าวลวง

เป็นที่ปรากฎบนพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน มีหลายรูปแบบที่ประชาชนจะต้องรู้เท่าทัน เช่น


> ข่าวปลอม ข่าวที่ไม่มีมูลความจริงแม้แต่น้อยโดยคนที่นําข่าวนี้มากเขยแพร่จงใจที่จะทําให้ประชาชนเชื่อและเข้าใจผิด
> ข่าวลวง คือข่าวที่จงใจทําให้เข้าใจผิดแล้วมีการกระทําอะไรบางอย่างที่ไม่ถูกต้องสร้างความเสียหายให้แก่คนที่เชื่อข่าวและก่อให้เกิดความเกลียดชัง
( สามารถอ่านตัวอย่างข่าวลวง เรื่องสูตรนํ้ามะนาวผสมนํ้าส้มสายชูและโซดาฆ่าเชื้อ โควิด-19ในหน้า 4-39)
การใช้สารสนเทศ สื่อและดิจิทัลอย่างมีจริยธรรม และถูกต้องทางกฎหมาย
1. ประเด็นการนําผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
ลักษณะปัญหา เช่นการลอกเลียนวรรณกรรม การลอกเลียนผลงานลิขสิทธิ์ที่ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคล การไม่อ้างอิงหรือไม่แสดง
การรับรู้การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
แนวทางการแก้ปัญหา
1. การตรวจสอบคัดกรองผลงาน ในภาษาไทยมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบคัดกรองผลงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่น อักขราวิสุทธิ์ ของจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย Viper จะเป็นการใช้ในภาษาอังกฤษ
2. การเขียนด้วยสํานวนภาษาของตนเอง โดยการอ่านจับใจความสําคัญเพื่อค้นหาใจความหลัก และการแยกแยะองค์ประกอบของสิ่งที่อ่านมา
พิจารณาและจัดระเบียบความคิดใหม่ โดยตีความหมายตัวอักษรในประโยคและสรุปความออกมา เป็นภาษาของตนเอง
3. การอ้างอิง เป็นการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลหรือข้อความที่เราคัดลอกหรือแนวคิดที่นํามาใช้เพื่อแสดงหลักฐาน
2. ประเด็นการระรานทางไซเบอร์
ลักษณะปัญหา เช่น ปัญหาที่วัยรุ่นต้องประเชิญกับการกันแกล้งบนโลกไซเบอร์หลายรูปแบบ เช่น การตั้งกลุ่มแยกใน LINE เพื่อที่จะได้มี
เพื่อนบางคนไม่อยู่ในนั้น , การใช้ถ้อยคําบูลี่ดูถูกเหยียดหยาม, การขู่ทําร้าย , การสร้างบัญชีขึ้นมาเพื่อการใส่ความและการกลั่นแกล้ง
แนวทางการแก้ปัญหา
การพัฒนาความฉลาดรู้เรื่องสารสนเทศและความฉลาดรู้เรื่องสื่อ รวมทั้งการเป็นพลเมืองดิจิทัล มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต การคลิปก่อนที่จะ
โพสต์ การใส่ใจและให้เกียรติคนรอบข้างการปฏิบัติตนต่อทุกคนและความเคารพ

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
บุคลิกภาพ มนุษย์สัมพันธ์และการสร้างความสัมพันธ์ภายในสังคม

5 บุคลิกภาพ คือ ลักษณะของบุคคลหรือลักษณะเฉพาะของบุคคลที่ปรากฏทั้งภายในและภายนอกและยังเป็นเครื่อง


กําหนดการกระทําของบุคคลที่มีต่อตนเองและผู้อื่น บุคลิกภาพมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์โดยผู้มี
บุคลิกภาพที่ดีจะเป็นที่ชื่นชมของคนทั่วไปส่งผลให้ประสบความสําเร็จในด้านต่างๆของชีวิตรวมทั้งด้านการทํางานด้วย

บุคลิกภาพภายใน
> หมายถึง ลักษณะของบุคคลแต่ละบุคคลที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้แต่แก้ไขได้ยาก เช่น ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อมั่นในตนเอง อารมณ์
ที่มั่นคง สติปัญญา ทัศนคติและความสนใจในสิ่งต่างๆ เพจสรุปทุกวิชามสธ by B

บุคลิกภาพภายนอก

> หมายถึง สิ่งที่เห็นได้ชัดจากภายนอกของแต่ละคนหรือลักษณะของบุคคลที่สามารถสังเกตเห็นได้ สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ เช่น


หน้าตา สุขภาพ การแต่งกาย กิริยามารยาทการแสดงท่าทาง และศิลปะในการสนทนา

ความสําคัญของบุคลิกภาพ
1. ประสิทธิภาพการปฎิบัติงาน ถ้าบุคคลมีแรงจูงใจ ก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความพยายามที่จะดําเนินงานไปสู่ความสําเร็จได้
2. การกําหนดทิศทางการดําเนินงาน ได้แก่
> บุคคลที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูง ใช้กลยุทธ์ที่มีความหลากหลายและมีแนวคิดความแปลกใหม่ของผลผลิต
> บุคลิกภาพแบบกล้าได้กล้าเสีย บุคคลประเภทนี้มักจะยอมลงทุนกล้าเผชิญกับความล้มเหลว
> บุคคลที่มีความระมัดระวังรอบคอบ มักไม่ลงทุนกับสิ่งแน่นอนและจะทํางานด้วยความรู้สึกมั่นคง
3. ความน่าเชื่อถือ บางคนจะมีบุคลิกภาพบางด้าน เช่น บุคคลที่รักษาคําพูด อารมณ์มั่นคงมีเหตุผล จะเป็นที่ยอมรับต่อผู้คนรอบข้าง
และสังคม
การนําความสําคัญของบุคลิกภาพไปใช้ในประเด็นต่างๆ เช่น การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล, การตระหนักในเอกลักษณ์
ของบุคคล , การคาดหมายพฤติกรรม, ความมั่นใจ, การปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นๆ, การยอมรับของกลุ่ม และความสําเร็จ

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ

> พันธุกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ส่วนมากเป็นลักษณะทางกายภาพ เช่น ส่วนสูง ลักษณะเส้นผม นิ้วมือติดกัน


> สิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อพัฒนาการมนุษย์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านบุคลิกภาพมาก
ที่สุดจะเกี่ยวข้องกับคนในครอบครัว กลุ่มคนรอบตัว และวัฒนธรรม
> ช่วงเวลาในชีวิตของบุคคล ( ประสบการณ์) แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ประสบการณ์ทั่วไปและประสบการณ์ส่วนตัว

การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ในสังคม

การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก ได้แก่ Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B


• การพัฒนาบุคลิกภาพด้านการแต่งกาย
• การพัฒนาบุคลิกภาพด้านกริยาท่าทาง
• การพัฒนาด้านการติดต่อสื่อสารทางด้านการฟังและการพูด
การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน ต้องเกิดลําดับแรกก่อนการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก โดยการปลูกฝังบุคลิกภาพที่ดีเริ่มจากในวัยเด็ก
โดยการปลูกฝังทางความคิด ทัศนคติ จากบุคคลรอบตัวและการเป็นแบบอย่าง

ปัญหาของการให้สามารถพัฒนาบุคลิกภาพในการปรับบุคลิกภาพ
• เป็นคนที่มีอาการเคร่งเครียด ขาดความยืดหยุ่นบุคคลกลุ่มนี้ไม่พร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ทั้งสิ่งดีและไม่ดีที่เข้ามาในชีวิต
• มีอาการเจ็บป่วยทางกาย
• ไม่มีสมรรถภาพในการดําเนินชีวิต เช่นอาจจะเป็นคนที่ล้มละลาย ทําให้ไม่มีจิตใจที่จะพัฒนาตัวเอง

ประโยชน์ของการพัฒนาบุคลิกภาพ
1. ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสภาพเป็นจริงอย่างถูกต้อง
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
2. การแสดงอารมณ์ในลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสม
3. ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
4. ความสามารถในการทํางานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม
5. ความรักและความสนใจในเพศตรงข้าม
6. ความสามารถในการพัฒนาตน

มนุษย์สัมพันธ์กับการสร้างความสัมพันธ์และความสําคัญในสังคม

มนุษย์สัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อเกี่ยวข้องอันดีระหว่างบุคคลกับบุคคลเพื่อให้เกิดความรักความพึงพอใจและความร่วมมือสนับสนุนจากผู้อื่นนํา


ไปสู่การดํารงชีวิตอย่างราบรื่น มนุษย์สัมพันธ์มีความสําคัญในฐานะเป็นปัจจัยเสริมด้านหนึ่งที่ทําให้หน้าที่การงานประสบความสําเร็จและการ
ดําเนินชีวิตประจําวันของมนุษย์ เพราะจะทําให้มนุษย์พบความสุขและความสําเร็จในทุกด้าน มนุษย์สัมพันธ์มีองค์ประกอบที่สําคัญอยู่สาม
ประการ คือ การรู้จักตน การเข้าใจผู้อื่น และการมีสภาพแวดล้อมที่ดี
การพัฒนามนุษยสัมพันธ์
1. จงเป็นคนที่เรียบง่าย ไม่เรื่องมากสามารถร่วม
กิจกรรมกับบุคคลอื่นได้อย่างสนุกสนาน
2. ให้ความสนใจในผู้อื่นอย่างแท้จริง
3. เห็นคุณค่าของผู้อื่น
4. ทําความเข้าใจผู้อื่น
5. เต็มใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมและชักชวนให้ผู้
อื่นเข้าร่วมกิจกรรมด้วย
6. เป็นมิตรในยามยาก
7. ทําให้ผู้อื่นรู้สึกว่ามีความหมาย
8. รักษาความลับได้
https://www.slideserve.com/heinrich/principle-and-education-administration-system 9.ทําให้ตนเป็นคนที่ร่าเริงแจ่มใส
10. มีอารมณ์ขัน
11. หลีกเลี่ยงการนินทาผู้อื่น
12. หลีกเลี่ยงความอิจฉาริษยา
13. หลีกเลี่ยงการกล่าวถึงปมด้อยของผู้อื่น
หลักปฏิบัติในการดําเนินชีวิตที่นําไปสู่การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
• หลักธรรมคําสอนของพุทธศาสนา : พรหมวิหาร4 , สังคหวัตถุ4 ,ฆราวาสธรรม4
• หลักธรรมคําสอนของคริสต์ศาสนา: ความรักระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์และมนุษย์กับพระเจ้า, ความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และความรัก
ต่อเพื่อนมนุษย์
• หลักธรรมคําสอนของศาสนาอิสลาม : ด้วยฮิกมะห์ เรื่องการใช้ความนุ่มนวล, การตักเตือนที่ดี, การโต้แย้งในสิ่งที่ดีกว่า

ทฤษฎีการสร้างมนุษยสัมพันธ์มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ ให้มนุษย์มีความสุข, ให้การยอมรับแก่เพื่อนมนุษย์ และให้เพื่อนมนุษย์ได้รับ


ประโยชน์ร่วมกัน เพจสรุปทุกวิชามสธ by B

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม
> การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในสังคมได้นั้น ต้องเริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว โดยหากบุคคล
ในครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างอบอุ่นจะส่งผลถึงต่อสุขภาพจิตที่ดีของทุกคนในบ้านกลายเป็นพื้นฐานการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
ในสังคมโดยรวม การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวที่มีประสิทธิภาพของสังคมต้องประกอบด้วย
1. ด้านร่างกายและจิตใจ คือ เป็นบุคคลที่เข้มแข็ง มีจิตใจมุ่งมั่น สุขภาพจิตดี มองโลกในแง่ดี
2. ด้านสติปัญญา มีความเฉลียวฉลาดทันคน มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์
3. ด้านอารมณ์ มีความสามารถในการตระหนักรู้ถึงความรู้สึกของตนเอง บริหารจัดการอารมณ์ของตนเองและกล้าที่จะตัดสินใจ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
• การชื่นชมคุณค่าบุตรหลานและสมาชิกในครอบครัว
• การที่สมาชิกมีเวลาอยู่ร่วมกัน มีกิจกรรมหลายอย่างด้วยกัน
• การเต็มใจร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในครอบครัว
• การติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกในครอบครัว
• การมีศรัทธาต่อศาสนาร่วมกัน
• การที่สมาชิกใช้สมรรถนะที่ตนมีจัดการกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว

การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลทั่วไป
> จะต้องมีความเข้าใจความเหมือนกันและความต่างกันของคนและความต้องการของคนทั่วไป อาจจะนํามาใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ที่
ดีกับบุคคลทั่วไปในการทํางานมีวิธีการที่สําคัญดังนี้
1.ความจริงใจและไมตรีจิต
2. การแสดงออกถึงความเป็นมิตรและสามารถรับฟังเรื่องราวต่างๆ
3. ความอ่อนน้อมถ่อมตน
4. การให้ความสําคัญและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
5. การแสดงออกถึงความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือ
6. การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ในส่วนของการทํางานหาดอยู่ในตําแหน่งของผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้บังคับบัญชา อ่านเพิ่มเติมในเรื่องของการเป็นตัวอย่างที่ดีมีความ
อดทนอดกลั้นและควบคุมอารมณ์ตนเองได้ โดยต้องชื่นชมและยินดีกับความสําเร็จของผู้อื่นรวมทั้งให้ความช่วยเหลือเป็นกําลังใจและ
สนับสนุนแก่เพื่อนร่วมงาน เพจสรุปทุกวิชามสธ by B

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
6 การจัดการอารมณ์ ความเครียดและปัญหาทางอารมณ์

อารมณ์เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนและมีความเป็นสากล โดยเป็นกระบวนการที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกเพื่อรับมือกับสถานการณ์ใน
แต่ละช่วงเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอารมณ์ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายจิตใจ และการแสดงพฤติกรรมในหลักหลาย
ลักษณะตามภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้น เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
องค์ประกอบของอารมณ์
1. สิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นอารมณ์
2. การประเมินทางปัญญา
3. ปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกาย
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
4. การแสดงออกทางพฤติกรรม
5. พฤติกรรมตามเป้าหมาย

ชนิดของอารมณ์

• อารมณ์ดี ได้แก่ อารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้รับรู้ในสิ่งที่ปรารถนาจะรับรู้หรือตรงความต้องการของตัวเอง เช่น ร่าเริง ขําขัน


• อารมณ์ไม่ดี ได้แก่ อารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้รับรู้ในสิ่งที่ตรงข้ามความต้องการของตนเอง เช่น การพลัดพราก การอิจฉาริษยา
จากทฤษฏีของนักจิตวิทยาชื่อ Paul Ekman ความรู้สึกหรืออารมณ์ของมนุษย์ที่สามารถรับรู้ด้วยการแสดงออกทางใบหน้าได้มีอยู่ 6 ประเภทดังนี้
โกรธ ,ขยะแขยง, กลัว, มีความสุข, เศร้า และประหลาดใจ
ซึ่ง Ekman ได้กล่าวว่าในทฤษฎีอื่นอาจจะพบได้มากกว่า 6 ประเภทเหล่านี้ ซึ่งต่อมาได้มีนักจิตวิทยาชื่อ Daniel Cordaro และ Dacher
Keltner ได้ขยายทฤษฎีนี้ออกไปโดยนําการรับรู้ทางเสียงมาประกอบกับการรับรู้ทางใบหน้า โดยสามารถดูอารมณ์เหล่านี้ได้จาก emotional
wheel ซึ่งพัฒนาโดย Robert Plutchik เพื่อทําให้เราเข้าใจสภาวะอารมณ์ได้ง่ายขึ้น

ผลของอารมณ์ที่มีต่อตนเองและผู้อื่น
• ผลต่อร่างกาย อารมณ์ส่งผลโดยตรงต่อการตื่นตัวทางสรีระ
ภายในร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยระบบประสาทสัมผัสที่มี
ผลต่อการเกิดพฤติกรรม โดยอารมณ์จะส่งผลถึงร่างกายอาจเป็น
สาเหตุก่อให้เกิดการเจ็บป่วย เช่น อารมณ์เครียด
• ผลของอารมณ์ต่อความจําและการเรียนรู้
• ผลของอารมณ์ต่อกระบวนการรู้คิด
• ผลของอารมณ์ต่อพฤติกรรม
• ผลของอารมณ์ต่อสัมพันธภาพกับผู้อื่น เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว
พูดจาเสียงดัง มีผลกระทบทําให้เข้าสังคมได้ลําบาก
ความเครียดเป็นสภาวะทางอารมณ์ ที่ส่งผลให้เกิดความกดดันและเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และ
พฤติกรรมบุคคลจึงควรรู้จักวิธีการจัดการความเครียด โดยแนวทางการจัดการความเครียดมีดังนี้
•แนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อลดความเครียด
- การดูแลร่างกายของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- การมีกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ความเพลิดเพลิน
- การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- การฝึกหายใจเข้าออกช้าๆโดยใช้กระบังลม
- การปรับวิธีคิดให้ถูกต้องเพื่อลดความคิดที่เป็นผลร้ายต่อสุขภาพ
ปัญหาสุขภาพจิตที่ก่อให้เกิดโรคภัย ที่มาจากความเครียด เช่น โรคซึมเศร้า, ภาวะหมดไฟในการทํางาน และโรคไบโพล่าร์

การจัดการปัญหาทางอารมณ์และการส่งเสริมสุขภาพจิต

ความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสามารถในการตระหนักรู้เข้าใจตนเองและผู้อื่นรวมทั้งความสามารถ ในการจัดการอารมณ์ให้มีการแสดงออกอย่าง


เหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์ต่างๆและมีสัมพันธภาพที่ดีและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น โดยผู้ที่
มีความฉลาดทางอารมณ์สูงจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การเป็นคนมองโลกในแง่ดี
2. การเป็นคนที่รู้จากจิตใจและอารมณ์ของตนเองเป็นอย่างดี Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
3. การเป็นคนที่สามารถเข้าใจในความแตกต่างของผู้อื่นอยู่เสมอ
4. การเป็นผู้ที่มีเหตุผล
5. การเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สามารถทําได้โดย การใช้เวลาทบทวนอารมณ์ของตนเองและฝึกให้เกิดการรู้ตัวมีสติ การฝึกจัดการกับอารมณ์
ของตนเอง การฝึกสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง การหยั่งรู้อารมณ์ของผู้อื่นและการรู้จักรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
แนวทางในการจัดการกับอารมณ์และปัญหาสุขภาพจิต
1. การฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง
2. การฝึกหายใจ เช่น การหายใจด้วยกระบังลมใช้เมื่อเกิดความเครียดมีอาการวิตกกังวลและนอนไม่หลับ การหายใจแบบปราณายามะ
3. การทําสมาธิ
4. การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
5. การนวดผ่อนคลาย (สามารถอ่านตัวอย่างเพิ่มเติมได้ในหน้า 6-48)
6. การปรับปรุงสภาพการณ์รอบตัว
7. การจัดการกับอารมณ์ในทางลบในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การจัดการอารมณ์เสียใจ การจัดการอารมณ์ในที่ทํางาน

การให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางอารมณ์และสุขภาพจิตสามารถทําได้โดย
1. การสังเกตพฤติกรรมของบุคคล สังเกตการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกทางด้านจิตใจและพฤติกรรม
2. การช่วยเหลือด้วยเทคนิคการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้น โดยการพูดคุยถามไถ่และรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความเข้าอกเข้าใจ เพื่อให้ผู้
ที่มีปัญหารับรู้ได้ว่าเขายังมีคนที่มีคนอยู่เคียงข้างและอยู่อย่างเข้าใจ โดยอาศัยการมีสัมพันธาพดี การฟังอย่างใส่ใจการสะท้อนความรู้สึกและ
การทวนซํ้าเพื่อให้การสนทนานั้นมีประสิทธิภาพ
3. การส่งต่อเพื่อขอความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจากหน่วยงานดูแลด้านปัญหาทางอารมณ์และสุขภาพจิตของภาครัฐหรือเอกชน
การจัดการข้ามวัฒนธรรม
7 วัฒนธรรม คือ ความคิดรวบยอดของสังคมที่ตกผลึกจากองค์ประกอบต่างๆหล่อหลอมถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่น โดยไม่ใช่สิ่งที่
เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่เกิดจากการเรียนรู้ การแบ่งปัน การส่งผ่าน โดยมีค่านิยม ทัศนคติ และบรรทัดฐานคอยกลั่นกรอง
และบ่งชี้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ผิด และสิ่งใดเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรทํา

วัฒนธรรมสามารถแยกย่อยลงไปได้อีกขึ้นอยู่กับระดับความคิดของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ
1. กระบวนการคิดระดับปัจเจกบุคคล หมายถึง ความคิดของบุคคลเพียงคนเดียว เช่น รสนิยมความชื่นชอบ ทัศนคติส่วนตัว
2. ระดับความคิดของกลุ่ม หมายถึง วัฒนธรรมของผู้คนในกลุ่มเดียวกันที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ได้เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมหมู่บ้าน โดย
วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้ามวัฒนธรรม คือ
> วัฒนธรรมระดับชาติ เป็นความคิดรวบยอดซึ่งแสดงออกมาเป็นลักษณะประจําชาติแต่ละชาติ บนพื้นฐานของค่านิยมความเชื่อศาสนาทัศนคติ
> วัฒนธรรมย่อย เป็นกลุ่มวัฒนธรรมขนาดเล็กแฝงตัวอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมขนาดใหญ่ เช่นกลุ่มชาวพุทธในประเทศสหรัฐอเมริกา
> วัฒนธรรมองค์กร เป็นค่านิยม ความคิดรวบยอดที่กําหนดทิศทางการบริหารงานในการทํางานร่วมกัน
3. ระดับความคิดที่เป็นสากล กระบวนการคิดของมนุษย์ที่มีลักษณะร่วมกันโดยทั่วไปเป็นความคิดสากล เช่น การหัวเราะเมื่อมีความสุข

องค์ประกอบของวัฒนธรรม

• บรรทัดฐาน คือ สิ่งที่สังคมลงความเห็นกันว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทําและไม่ควรทํา เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับทั่วไปของสังคม เช่น สังคมไทยเน้นระบบ


อาวุโส เพจสรุปทุกวิชามสธby B
• ค่านิยม หรือ คุณค่า คือ สิ่งที่สังคมเห็นว่าเป็นคุณค่าร่วมซึ่งเป้าหมายร่วมกัน เช่น สังคมญี่ปุ่นเน้นความสะอาด
• ความเชื่อ คือ สิ่งที่สังคมเชื่อรวมกันว่าเป็นความจริงแท้ เช่น ศาสนา นิทานพื้นบ้าน

ลักษณะของวัฒนธรรม B 1. วัฒนธรรมเป็นคุณค่าร่วมกันของสังคม
Da 2. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
3. วัฒนธรรมมีระบบโครงสร้างแบบแผน
B 4. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สั่งสมกันมารุ่นต่อรุ่น

พื้นฐานวัฒนธรรมไทยที่มีผลต่อการทํางาน
• พื้นฐานทางด้านความเชื่อ : การทําบุญบริษัท , การตั้งศาล, การใช้เครื่องรางของขลังในการเรียกลูกค้า
• พื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง : เช่น ในสมัยสุโขทัยใช้การปกครองแบบพ่อปกครองลูก แนวคิดเรื่องความเป็นคนของผู้ปกครองเป็นผลผลิต
จากหลักการปกครองแบบ ทศพิธราชธรรม ตามความเชื่อทางศาสนา
• พื้นฐานทางด้านภาษา : ภาษาไทยแบ่งชนชั้นของการใช้ภาษาตามความเหมาะสมแต่ละคน เช่น ภาษาที่ใช้พูดกับผู้อาวุโส ภาษาที่ใช้พูดกับพระ
• พื้นฐานทางด้านค่านิยม มารยาทและทัศนคติ
• พื้นฐานทางด้านการศึกษา เกิดปัญหา สมองไหลหลังจากคนเก่งในประเทศไปทํางานในประเทศที่ได้รายได้สูงและ เจริญกว่า
• พื้นฐานทางด้านโครงสร้างทางสังคม เพจสรุปทุกวิชามสธ by B

ลักษณะการทํางานของสังคมไทยในปัจจุบัน
> สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความยืดหยุ่นสูงไม่ชอบการประทะ ใช้หลักการประนีประนอมและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ชอบการทํางานเป็นทีมมากกว่าการ
แข่งขัน มักใช้เส้นสายในระบบอุปถัมภ์เป็นเครื่องมือในการต่อรองกับอํานาจที่สูงกว่า ให้ความสําคัญกับการใช้เส้นสายความสัมพันธ์เชิงเครือญาตพี่
น้องมากกว่าความสามารถในการบริหารที่แท้จริง ผู้ชายและผู้หญิงสามารถทํางานได้ในตําแหน่งระดับใกล้เคียงกันโดยไม่มีการแบ่งแยกเพศ
วัฒนธรรมข้ามชาติ
คือ การติดต่อระหว่างวัฒนธรรมสองวัฒนธรรมขึ้นไป บนพื้นฐานของแนวคิดว่ามนุษย์มีจุดร่วมทางแนวคิดที่เหมือนกันเป็นสากล และมีแนวคิด
เฉพาะของแต่ละวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป
ปัญหาที่เกิดจากทัศนคติการติดต่อข้ามวัฒนธรรม
1. ทรรศนะที่เห็นว่าวัฒนธรรมตัวเองถูกต้องที่สุด
2. การเหมารวมและการด่วนสรุป
3. อคติและการเหยียดหยาม เช่น การเหยียดสีผิวและการเหยียดชาติพันธ์ุ , การเหยียดเพศ, การเหยียดอายุ , การเหยียดศาสนาและ
ความเชื่อ และภาวะการเข้าสู่วัฒนธรรมใหม่

ทักษะการจัดการข้ามวัฒนธรรม

การจัดการข้ามวัฒนธรรม เป็นการเรียนรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มหรือองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่แตก
ต่างกัน เพื่อลดอคติ ลดช่องว่างทางความคิด เสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันเพื่อให้การทํางานเป็นไปได้อย่างราบรื่น
พฤติกรรมเชิงลบในการจัดการข้ามวัฒนธรรม
1. การฉ้อโกงและการคอรัปชั่น
2. การให้ และ รับสินบน
3. ปัญหาสิทธิมนุษยชน
4. การทําลายสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ
5. การดําเนินธุรกิจโดยไม่คํานึงถึงจริยธรรม

การปรับใช้มิติต่างๆเพื่อการจัดการข้ามวัฒนธรรม Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B


1. มิติความแตกต่างของวัฒนธรรมที่คํานึงถึงบริบทตํ่า และวัฒนธรรมที่คํานึงถึงบริบทสูง
> วัฒนธรรมที่คํานึงถึงบริบทตํ่า หมายถึง วัฒนธรรมที่มีการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาชัดเจนไม่กํากวม เช่น อเมริกา
> วัฒนธรรมที่คํานึงถึงบริบทสูง หมายถึง วัฒนธรรมที่มีการสื่อสารด้วยภาษากํากวมไม่ตรงไปตรงมา เมื่อสื่อสารต้องคํานึงถึงบริบทอื่นที่ราย
ล้อม เช่น ญี่ปุ่น ไทย เพจสรุปทุกวิชามสธby B
2. มิติทางด้านภาษา ความกํากวมและการสื่อความหมาย
> วัจนภาษา : เป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนที่ใช้ในการสื่อความหมายโดยตรง
> อวัจนภาษา : เป็นการสื่อสารที่มาจากการแสดงออก เช่น การใช้สัญลักษณ์ การสบตา การสัมผัสร่างกาย การขยับมือระหว่างที่พูด การชี้
การแสดงออกทางสีหน้า และกิริยาท่าทางอื่นๆ
3. มิติทางด้านค่านิยมทัศนคติและมารยาท
> มารยาทในการทักทายและการแนะนําตัว
> ทัศนคติเกี่ยวกับเวลา เช่น กลุ่มที่มองว่าเวลามีจํากัด จะเน้นเรื่องการตรงต่อเวลาในการทํางานเขียนอีเมลจะใช้ถ้อยคําสั้นและกระชับ เช่น
ฝั่งตะวันตก กลุ่มที่มองว่าเวลามีมากมาย เวลาเป็นก็อย่างละหลวม และยอมรับได้หากไม่ตรงเวลา
> ทัศนคติในการทํางาน คนบางกลุ่มมองว่ามีชีวิตเพื่อทํางาน เช่น ชาวอเมริกา/ญี่ปุ่น
> ทัศนคติต่ออายุ เช่น คนไทยให้เกียรติและเคารพผู้อาวุโส
> ทัศนคติเรื่องเพศ เช่น การจํากัดการทํางานของผู้หญิงในอัฟกานิสถาน
4. มิติทางด้านศาสนาและความเชื่อ
เช่น การเชื่อ เจ้าแม่กวนอิมแล้วไม่รับประทานเนื้อวัว การเชื่อในพระเจ้า
5. มิติทางด้านโครงสร้างทางสังคม
> โครงสร้างทางการเมืองและปัญหาความขัดแย้งอันเกิดจากระบบการปกครอง
• สถาบันมหากษัตริย์
• การเชิดชูบุรุษและมรดกทางประวัติศาสตร์
> ปัญหาการจัดการความขัดแย้งทางด้านชาติพันธ์ุ

แอดมินไม่อนุญาตให้เผยแพร่ คัดลอก ดัดแปลง แก้ไขหรือจําหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตนะคะ มีความผิด


ตามพรบ ลิขสิทธิ์ค่ะ

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B

แอดมินกําลังใจให้เสมอนะคะ

You might also like