You are on page 1of 23

19

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 2

บทที่ 2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหา

หัวข้อเนื้อหาประจำบท
1. ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2. ประโยชน์ของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. องค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
4. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
5. แนวทางการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
6. การจัดการเรียนรู้สู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
7. การคิดแก้ปัญหา
8. ประโยชน์ของความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
9. องค์ประกอบของการคิดแก้ปัญหา
10. ขั้นตอนการคิดแก้ปัญหา
11. แนวทางการส่งเสริมให้นักเรียนคิดแก้ปัญหา
12.การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหา
13. การจัดการเรียนรู้สู่การคิดแก้ปัญหา
14. สรุป
15. กิจกรรมและแบบฝึกหัดท้ายบท
16. เอกสารอ้างอิง

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. อธิบายความหมายการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหาได้
2. อธิบายองค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหาได้
3. บอกประโยชน์ของการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหาได้
4. ประยุกต์ใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหาได้
20

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยาย
2. กิจกรรมระดมสมอง
3. การอภิปรายกลุ่ม
4. แบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. แผ่นภาพเลื่อน (PowerPoint)
3. วีดีทัศน์ (Video)
4. กิจกรรมและแบบฝึกหัดท้ายบท

การวัดและการประเมินผล
1. สังเกตการมีส่วนร่วม
2. การอภิปรายและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. การทำกิจกรรมและแบบฝึกหัดท้ายบท
21

บทที่ 2
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหา

อภิเดช โยชน์เยื้อน

การคิดอย่ างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เป็ นการคิดที่มีกระบวนการทางปัญ ญา


อย่างเป็นระบบ โดยมีการคิดพิจารณาใคร่ครวญ ไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลรอบด้าน มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
การตัดสินใจว่าสิ่งใด ข้อความใดเป็นจริง ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลหลักฐานต่างๆ มาประกอบการคิดและ
ตัดสิน ใจ บุ คคลที่รู้ จักใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ย่อมเป็นผู้ ที่กระทำกิจการงานต่างๆ ประสบ
ความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ สังคมใดที่ส มาชิกรู้จักใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณย่อมจะ
ทำให้เกิดความสงบสุข ส่งผลต่อความสงบเรียบร้อย ความมัน่ คงต่อประเทศชาติ

ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เป็นการคิดที่มีกระบวนการทางสมองที่มี


ความซับซ้อน ซึ่งมีนักจิตวิทยา นักการศึกษาหลายคนได้ให้คำนิยามความหมายไว้ เช่น
ดิวอี้ (Dewey, 1933 : 9) ได้ให้ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณว่าเป็นการคิด
อย่างใคร่ครวญไตร่ ตรอง เริ่มต้นจากสถานการณ์ที่ มีความยุ่งยาก และสิ้นสุดลงด้วยสถานการณ์ที่มี
ความชัดเจน
ฮิ ล การ์ ด (Hilgard, 1962 : 336) ได้ ให้ ค วามหมายของการคิ ด อย่ า งมี วิ จ ารณญาณว่ า
หมายถึง ความสามารถในการตัดสินข้อความหรือปัญหาว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือเป็นเหตุเป็นผลกัน
กู๊ด (Good, 1973 : 680) ได้ให้ความหมายของการคิดอย่างมีวิ จารณญาณว่าหมายถึงการ
คิ ด อย่ า งรอบคอบตามหลั ก ของการประเมิ น ลี ห ลั ก ฐานอ้ า งอิ ง เพื่ อ หาข้ อ สรุป ที่ น่ า จะเป็ น ไปได้
ตลอดจนพิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและใช้กระบวนการทางตรรกวิทยาได้อย่างถูกต้อง
สมเหตุผล
เอนนิส (Ennis, 1985 : 46) ได้ให้ความหมายของการคิ ดอย่างมีวิจารณญาณว่า หมายถึง
การคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตัดสินใจว่า สิ่งใดควรเชื่อหรือสิ่งใดควร
ทำ ช่วยให้ตัดสินใจสภาพการณ์ได้ถูกต้อง
สรุปได้ว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง กระบวนการคิดทีใ่ ช้เหตุผลโดยมีการศึกษา
ข้อเท็จจริง หลักฐาน และข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ แล้วนำมาพิจารณาวิเคราะห์อย่าง
22

สมเหตุสมผล ก่อนตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ ผู้ที่มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ จะเป็นผู้


มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของดผู้ อื่นอย่างมีเหตุผล ไม่ยึดถือความคิดเห็นของตนเอง ก่อนจะ
ตัดสินใจในเรื่องใดก็จต้อมีข้อมูลหลักฐานเพียงพอและสามารถเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองให้เข้า
กับผู้อื่นได้ ถ้าผู้นั้นมีเหตุผลที่เหมาะสมถูกต้องกว่า เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการค้นหาข้อมูล
และความรู้ กล่าวได้ว่าผู้ทมี่ ีความคิดอย่างมีวิจารณญาณจะเป็นผู้มีเหตุผล

ประโยชน์ของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บุคคลผู้ที่รู้จักนำวิธีคิดอย่างมีวิ จารณญาณไปใช้ในการดำเนินชีวิตย่ อมเกิดประโยชน์หลาย


ประการ เช่น
1. มีความมั่นใจในการเผชิญต่อปัญหาต่างๆ และแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้ถูกทาง
2. สามารถตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีเหตุผล
3. มีบุคลิกภาพดี เป็นคนสุขุมรอบคอบ ละเอียดลออ ก่อนตัดสินใจในเรื่องใดจะต้องมี
ข้อมูลหลักฐานประกอบ แล้ววิเคราะห์ด้วยเหตุผลก่อนตัดสินใจ
4. ทำกิจการงานต่ างๆ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีคุณ ภาพ
เนื่องจากมีระบบความคิดอย่างเป็นขั้นตอน
5. มีทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี ทั้งด้านการอ่าน เขียน ฟัง พูด
6. การพัฒนาวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่เสมอ ส่งผลให้สติปัญญาเฉียบแหลม พัฒนา
ความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่องในสถานการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง
7. เป็นผู้ทมี่ ีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย
8. เป็นผู้ทปี่ ฏิบัติงานอยู่บนหลักการและเหตุผล ส่งผลให้งานสำเร็จอย่างมีคุณภาพ

องค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายเกีย่ วกับองค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณไว้ดังนี้
ชนาธิป พรกุล (2544 : 177-178) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณมี
4 องค์ประกอบ และในแต่ละองค์ประกอบจะมีทักษะที่สามารถนำมาใช้ในชั้นเรียน ได้แก่
1. การให้คำจำกัดความและการทำให้กระจ่าง ทักษะที่ฝึก ได้แก่ การระบุข้อสรุป การ
ระบุเหตุผลที่กล่าวถึง การระบุเหตุผลทีไ่ ม่ได้กล่าวถึง การเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง
การระบุและการจัดการกับสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องและการสรุปย่อ
23

2. การตั้งคำถามที่เหมาะสมเพื่อทำให้ กระจ่างหรือท้าทาย เช่น ข้อ ความสำคัญ คือ


อะไร หมายความว่าอย่างไร ตัวอย่างคืออะไร อะไรไม่ใช่ตัวอย่าง จะนำเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
อะไรคือข้อเท็จจริง นี่คือสิ่งที่กำลังพูดถึงหรือไม่ ไม่มีอะไรที่ยังไม่ได้พูดถึง
3. การตัดสินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล โดยพิจารณาจากความมีชื่อเสียง ความ
สอดคล้องกันระหว่างแหล่งข้อมูล ความไม่ขัดแย้งประโยชน์ ความสามารถในการให้เหตุผล
4. การแก้ปัญหาและการลงข้อสรุป โดยวิธีการนิรนัยและตัดสินอย่างเที่ยงตรง วิธีการ
อุปนัยและตัดสินข้อสรุปการคาดคะเนผลที่จะเกิดตามมา
เพ็ญพิศุทธิ์ เนคมานุรักษ์ (2537 อ้างถึงใน สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ 2555 : 108-109)
ได้แบ่งองค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็น 7 ด้าน คือ
1. การระบุ ป ระเด็ นปั ญ หา เป็น การระบุห รือทำความเข้ าใจกั บ ประเด็นปัญ หา ข้อ
คำถาม ข้ออ้าง หรือข้อโต้แย้ง ประกอบด้วย ความสามารถในการพิจ ารณาข้อมูลหรือสถานการณ์ที่
ปรากฏ รวมทั้งความหมายของคำหรือความชัดเจนของข้อความ เพื่อกำหนดประเด็นข้อสงสัยและ
ประเด็นหลักที่ควรพิจารณา และการแสวงหาคำตอบ
2. การรวบรวมข้อมูล เป็นความสามารถในการรวบรวมข้อมูลทั้งทางตรงและทางอ้อม
จากแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงการดึงข้อมูลจากประสบการณ์ เดิมที่มีอยู่ ซึ่งได้จากการคิด การพูดคุย
การสังเกตที่เกิดขึ้นจากตนเองและผู้อื่น
3. การพิ จ ารณาความน่ าเชื่ อถื อของแหล่ งข้ อมู ล เป็ น การวัดความสามารถในการ
พิจารณา ประเมิน ตรวจสอบ ตัดสินข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยพิจารณาถึงที่มาของ
ข้อมูลสถิติ และหลักฐานที่ปรากฏ รวมทั้งความเพียงพอของข้อมูลในแง่มุมต่างๆ ที่จะนำไปสู่การลง
ข้อสรุปอย่างมีเหตุผล หากยังไม่เกี่ยวข้องทีจ่ ะใช้พิจารณาลงข้อสรุป ก็จะต้องรวบรวมข้อมูลเพิม่ เติม
4. การระบุลักษณะของข้อมูล เป็นการวัดความสามารถในการจำแนกประเภทของ
ข้อมูล ระบุแนวคิดที่อยู่เบื้องต้นหลังข้อมูลที่ปรากฎ ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการพิจารณา
แยกแยะ เปรียบเทียบความแตกต่ างของข้อมูล การตีความข้อมูล ประเมินว่าข้อมูลใดเป็นข้อเท็จจริง
ข้อมูล ใดเป็ นข้อคิดเห็ น รวมถึงการระบุข้อสั นนิษฐานหรือข้อตกลงเบื้อ งต้นที่อยู่เบื้องหลังข้อมูล ที่
ปรากฏ เป็นการนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่อาศัยข้อมูลจากประสบการณ์เดิมมาร่วมพิจารณา
เพื่อทำการสั งเคราะห์ จัดกลุ่มและจั ดลำดับความสำเร็จของข้อมูล เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการ
พิจารณาตั้งสมมติฐานต่อไป
5. การตั้งสมมติฐาน เป็นการวัดความสามารถเหนือกำหนดขอบเขต แนวทางการ
พิจารณาหาข้อสรุปของคำถาม ประเด็นปัญหา และข้อโต้แย้ง ประกอบด้วยความสามารถในการคิดถึง
ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่ างข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อระบุทางเลือกที่เป็นไปได้ โดยเน้นที่ความสามารถ
พิจารณาเชื่อมโยงเหตุการณ์และสถานการณ์
24

6. การลงข้อสรุป เป็นการวัดความสามารถในการลงข้อสรุปโดยการใช้เหตุผล ซึ่งถือว่า


เป็นส่วนสำคัญของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในการลงข้อสรุป อย่างสมเหตุผลนั้น อาจใช้เหตุผลเชิง
อุปนัยหรือเหตุผลเชิงนิรนัย
การให้เหตุผลเชิงอุปนัย เป็นการสรุปความโดยพิจารณาข้อมูล หรือกรณีเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นเฉพาะเรื่อง เพื่อไปสู่กฎเกณฑ์ ในที่นี้เป็นการวัดความสามารถในการสรุปความ เหตุการณ์ หรือ
ข้อมูลที่กำหนดเป็นคำถาม โดยใช้ข้อมูลหรือข้อความที่บ อกมาเป็นเหตุผลหรือกฎเกณฑ์เพื่อการหา
ข้อสรุป
การใช้เหตุ ผ ลเชิงนิ รนั ย เป็ น การสรุป ความโดยพิจารณาเหตุผ ลจากกฎเกณฑ์และ
หลักการทั่วไป ไปสู่เรื่องเฉพาะ ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการสรุปความโดยพิจารณาจากหลักการ
หรือกฎเกณฑ์ทั่วไปที่กำหนดไว้ แล้วตัดสินใจลงข้อสรุปในประเด็นคำถาม
7. การประเมิน ผล เป็น การวัดความสามารถในการพิจารณา ประเมินความถูกต้อง
สามเหตุ ผ ลของข้อ สรุ ป ซึ่ งต้ องอาศั ย ความสามารถในการวิเคราะห์ แ ละประเมิ น อย่างไตร่ ต รอง
รอบคอบ เพื่ อ พิ จ ารณาความสมเหตุ ผ ลเชิ งตรรกะจากข้ อ มู ล ที่ มี อ ยู่ ข้ อ สรุ ป นี้ ส ามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้หรือไม่ มีผลตามมาอย่างไร มีการตัดสินคุณค่าได้อย่างไร และมีหลักเกณฑ์อย่างไร
กล่าวได้ว่า องค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่สามารถนำมาใช้ในชั้นเรียนนั้น
จะประกอบด้ว ย การทำความเข้าใจกับ ประเด็น ปัญ หา คำถาม หรือสถานการณ์ ที่พ บ แล้ ว มีการ
รวบรวมข้ อ มู ล หรื อ หาข้ อ มู ล ที่ เกี่ ย วข้ อ ง โดยการพิ จ ารณาว่ าข้ อ มู ล ใดมี เหตุ ผ ลน่ าเชื่ อ ถือ หรื อ ไม่
น่าเชื่อถือ แล้วจึงสรุปเพื่อตัดสินใจ

กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

นักการศึกษาต่างก็ได้กล่าวถึงกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณไว้หลากหลาย ดังนี้
วั ต สั น และเกลเซอร์ (Watson-Glaser, 1964 : 24) ได้ ก ล่ า วถึ งกระบวนการคิ ด อย่ างมี
วิจารณญาณว่าประกอบด้วย ทัศนคติ ความรู้ และทักษะในเรื่องต่อไปนี้
1. การอุปนัย
2. การระบุสมมติฐาน
3. การอุปมาน
4. การตีความ
5. การประเมินการอ้างเหตุผล
ดี ค าโรล (Decarole, 1973 : 67-69) กล่ า วว่ า กระบวนการคิ ด อย่ า งมี วิ จ ารณญาณ
ประกอบด้วย
25

1. การนิยาม เป็นการกำหนดปัญหา ทำความตกลงเกี่ยวกับความหมายของคำ และ


ข้อความ และกำหนดเกณฑ์
2. การกำหนดสมมติฐาน การคิดถึงความสั มพันธ์เชิงเหตุผล หาทางเลือก และการ
พยากรณ์
3. การประมวลผลข่าวสาร เป็นการระบุข้อมูลที่จำเป็น รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หา
หลักฐานและจัดระบบข้อมูล
4. การตีความข้อเท็จจริง และการสรุปอ้างอิงจากหลักฐาน
5. การใช้เหตุผล โดยระบุเหตุ และผลความสัมพันธ์เชิงตรรกศาสตร์
6. การประเมินผล โดยอาศัยเกณฑ์ความสมเหตุผล
7. การประยุกต์ใช้หรือนำไปปฏิบัติ
นี ด เลอร์ (อั ค รพนธ์ ศรี ห าคำ. 2545 : 15 อ้ า งอิ ง จาก Woolfolk. 1995 : 312 ; citing
Kneedler. 1985 : 277) ได้เสนอกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณว่ามีขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
1. การนิยามและทำความกระจ่างกับปัญหา ประกอบด้วย
1.1 การระบุประเด็นที่สำคัญหรือระบุปัญหา
1.2 การเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่างของคน ความคิด วัตถุสิ่งของ
1.3 การตัดสินว่าข้อมูลใดชัดเจน ข้อมูลใดคลุมเครือ ข้อมูลใดเกี่ยวข้อง ข้อมูลใดไม่
เกี่ยวข้อง ข้อมูลใดมีความจำเป็น ข้อมูลใดไม่มีความจำเป็น
1.4 การตั้งคำถามที่จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ชัดเจนและลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องราวหรือ
สถานการณ์
2. การพิจารณาตัดสินข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับปัญหา ประกอบด้วย
2.1 จำแนกความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น
2.2 ตัดสิ นว่าข้อความนั้น สิ่งนั้น หรือสัญลักษณ์ ที่กำหนดนั้น มีความสอดคล้อง
สัมพันธ์กนั และสอดคล้องกันทั้งหมดหรือไม่
2.3 คาดเดาหรือระบุข้อสมมติฐานที่ไม่ได้กล่าวไว้ในการอ้างเหตุผล
2.4 ระบุความคิดเดิมๆ ที่คนยึดติด
2.5 ระบุความมีอคติ ปัจจัยด้านอารมณ์ การโฆษณา การเข้าข้างตนเอง
2.6 ระบุความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างค่านิยมและอุดมการณ์
3. การแก้ปัญหาและการลงข้อสรุป
3.1 ระบุความเพียงพอของข้อมูล สามารถตัดสินใจว่าข้อมูลที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่
3.2 พยากรณ์/ทำนายผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้
26

บลูมและกาเย่ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ . 2545 : 197-198 อ้างอิงจาก


Bloom, 1961 และ Gagne′, 1985) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณว่าเป็น
กระบวนการที่เริ่มจากสัญลักษณ์ทางภาษา จนโยงมาเป็น ความคิดรวบยอด เป็นกฎเกณฑ์และนำ
กฎเกณฑ์ไปใช้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. สั งเกต ให้ ผู้ เรี ย นสั งเกต รับ รู้ และพิ จ ารณาคำ ข้อ ความ หรื อ ภาพเหตุ การณ์ ที่
เกิดขึ้น ให้ทำกิจกรรมการรับรู้ เข้าใจ ได้ความคิดรวบยอดที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ สรุป
เป็นใจความสำคัญครบถ้วน ตรงตามหลักฐานข้อมูล
2. อธิบาย ให้ผู้เรียนอธิบายหรือตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น เห็นด้วยหรือไม่เห็น
ด้วยกับสิ่งทีก่ ำหนด เน้นการใช้เหตุผลด้วยหลักการ กฎเกณฑ์ อ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ
3. รับฟัง ให้ผู้เรียนได้ ฟังความคิดเห็นที่แตกต่างจากความคิดเห็นของตน ได้ฟังและ
ตอบคำถามตามความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เน้นการปรับเปลี่ยนความคิดอย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์
หรือถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่
4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้ผู้ เรียนได้เปรียบเทียบความแตกต่างและความคล้ายคลึง
ของสิ่งต่างๆ จัดกลุ่มสิ่งที่เป็นพวกเดียวกัน หาเหตุผลหรือกฎเกณฑ์มาเชื่อมโยงในลักษณะอุปมาอุปมัย
5. วิจ ารณ์ จั ดกิ จ กรรมให้ ผู้ เรียนได้วิเคราะห์ เหตุการณ์ คำกล่ าว แนวคิ ด หรือ การ
กระทำที่กำหนด แล้วให้จำแนกหาข้อดี ข้อด้อย ส่วนดี ส่วนด้อย ส่วนสำคัญหรือส่วนที่ไม่สำคัญจาก
สิ่งนั้น ด้วยการยกเหตุผลและหลักฐานประกอบ เช่น บอกว่าการกระทำนั้นไม่เหมาะสม เพราะอะไร
ทำถูกต้องเพราะอะไร
6. สรุป ให้ผู้เรียนพิจารณาการกระทำ หรือข้อมูลต่างๆ ที่ เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันแล้ว
สรุปผลอย่ างตรงไปตรงมาตามหลักฐานข้อมูล เช่น การกระทำนั้นผู้ เรียนเห็ นว่าเป็ นการกระทำที่
ถูกต้อง ควรประพฤติปฏิบัติอย่างไร มีเหตุผลสนับสนุนอย่างไร ข้อความที่กล่าวมานั้นเชื่อถือได้หรือไม่
อย่างไร
เดรสเซลและเมย์ฮิว (Dressel and Mayhew, 1957 : 179-181) กล่าวว่ากระบวนการคิด
วิจารณญาณ ประกอบด้วย 5 ขั้น
1. การนิ ย ามปั ญ หา เป็ น ความสามารถในการกำหนดปั ญ หา ข้อโต้ แย้ง วิ เคราะห์
ข้อความ หรือข้อมูลที่คลุมเครือให้ชัดเจน และเข้าใจความหมายของคำหรือข้อความ หรือแนวคิด
ภายในขอบเขตขอเท็จจริงที่กำหนดให้ ระบุองค์ ป ระกอบที่สำคัญของปัญหา จัดองค์ประกอบของ
ปัญหาให้เป็นลำดับขั้นตอน
2. การรวบรวมข้ อ มู ล สำหรั บ การแก้ ปั ญ หา เป็ น ความสามารถในการพิ จ ารณา
ปรากฏการณ์ ต่างๆ ด้วยความเป็ น ปรนั ย เลื อ กข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับปั ญ หาข้อโต้แย้ง หรือข้อมูล ที่
คลุมเครือ แสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
27

3. การจัดระบบข้อมูล เป็นความสามารถในการแสวงหาแหล่งที่มาของข้อมูล วินิจฉัย


ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ระบบ ข้อตกลงเบื้องต้ นของข้อความ พิจารณาความเพียงพอของ
ข้ อ มู ล จั ด ระบบโดยวิธี ก ารต่ างๆ เช่ น จำแนกความแตกต่ างระหว่ างข้ อ มู ล ที่ ชั ด เจนกั บ ข้ อ มู ล ที่
คลุมเครือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหา ข้อเท็จจริงกับความคิด เห็น พิจารณา
ข้อมูลที่แสดงถึงความลำเอียงและการโฆษณาชวนเชื่อ และตัดสินความขัดแย้งของข้อความ และเสนอ
ข้อมูลได้
4. การเลือกสมมติฐาน เป็นความสามารถในการเลือกสมมติฐาน ที่สามารถเป็นไปได้
มากที่สุดมาพิจารณาเป็นอันดั บแรก การกำหนดสมมติฐานจากความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ตรวจสอบ
ความสอดคล้องระหว่างสมมติฐานกับข้อมูล พิจารณาทางเลือกหลายๆ ทางในการแก้ปัญหา
5. การสรุป เป็ นความสามารถในการคิดพิจารณาข้อความคลุมเครือของข้อมูล โดย
จำแนกข้อมูลที่มีเหตุผลหนักแน่น และน่าเชื่อถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา เพื่อนำไปสู่การ
ตัดสินใจสรุป ถ้าการสรุปไม่มีเหตุผลเพียงพอต้องมีการหาเหตุผลเพิ่มเติมมาพิจารณาตัดสินการสรุป
ใหม่ แล้วจึงนำข้อสรุปและหลักการไปประยุกต์ใช้
เอนนี ส (Ennis, 1985 : 45 - 48) ได้ อ ธิ บ ายแนวคิ ด เกี่ ย วกั บ กระบวนการคิ ด อย่ า งมี
วิจารณญาณ ดังนี้
1. นิยาม ได้แก่ การระบุจุดสำคัญของประเด็นปัญหา ข้อสรุ ป ระบุเหตุผล การตตั้ง
คำถามที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ การระบุเงื่อนไขข้อตกลงเบื้องต้น
2. การตัดสินข้อมูล ได้แก่ การตัดสินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมู ล การตัดสินความ
เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา
3. การอ้ า งอิงในการแก้ ปั ญ หาและการสรุป อย่ างสมเหตุ ผ ล ได้ แก่ ก ารอ้ างอิ งและ
ตัดสินใจในการสรุปแบบอุปนัยและนิรนัย
สรุปได้ว่า กระบวนการคิดอย่ างมีวิจารณญาณนั้น มีขั้นตอนการฝึกการคิดหลายรูปแบบ
ตามหลักการและแนวคิดของนักการศึ กษาต่างๆ ที่ได้ผ่านการทดลองมาแล้ว ดังนั้นครูผู้สอนสามารถ
เลือกกระบวนการคิดที่มีขั้นตอนต่างๆ ตามที่เหมาะสมกับเรื่องที่จะสอนหรือให้เข้ ากับสภาพแวดล้อม
การจั ดการเรีย นรู้ ซึ่งขั้น ตอนส่วนใหญ่จะมีหั วข้อที่ ส ามารถสรุปได้ว่ามีความคล้ ายคลึงกัน ในเรื่อง
ต่อไปนี้ คือ
1. การทำความเข้าใจกับปัญหา / ประเด็นสำคัญ / สถานการณ์ที่พบ
2. การรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำมาเป็นแนวทางการแก้ปัญหา
3. การวิเคราะห์ข้อมู ล พิจารณาข้อมูล เพื่อหาทางเลือกหรือคำตอบที่ถูกต้ องอย่าง
รอบคอบ ประเมินทางเลือกหลายๆ ทาง
4. การสรุป เพือ่ นำไปสู่การตัดสินใจ
28

แนวทางการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ในการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้แก่นักเรี ยนนั้น ครูผู้สอนมีส่วน


สำคัญในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ (สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ 2555 : 114-115) เช่น
1. ปรั บ ปรุ ง เปลี่ ย นแปลงกระบวนการสอน โดยมี ก ารจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ที่ เ น้ น
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณอย่างเป็นระบบ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้
ผู้เรียนรู้จักคิดในสิ่งที่เรียน รู้จักคิดในแง่การตีความหมายในรายละเอียด รู้จักขยายผลของสิ่งที่คิดและ
ปรับสิ่งที่ได้จากการคิดดังกล่าวไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ฝึกให้นักเรียนได้รู้ปัญหา วิธีแก้ไขปัญหา บน
พื้นฐานของข้อมูลต่างๆ โดยนำมาวิเคราะห์ พิจารณาความน่าเชื่อถือก่อนการตัดสินใจ ประเด็นสำคัญ
คือการสร้างให้นักเรียนรู้จักคิดก่อนทำ และสามารถอธิบายการกระทำของตนว่ามีเหตุผลอย่างไร การ
ฝึกให้นักเรียนมีเหตุผลจะใช้คำถามว่า “ทำไม” ให้นักเรียนตอบ โดยมีพื้นฐานรองรับอยู่เสมอ
2. ส่งเสริมให้นักเรียนตตัดสินใจด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักเรียนตัดสินใจด้วยตนเองเป็น
การพัฒนาทักษะการคิด มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความรู้สึกที่เป็นอิสระ ซึ่งผู้สอนอาจจัดกิจกรรม
เสริมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน และให้นักเรียนได้มีโอกาสตัดสินใจในการทำกิจกรรมต่างๆ
เป็นการฝึกฝนและพัฒนาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่ส่งเสริมให้นักเรียนมี
ทักษะการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
3. จัดสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมการฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่ง
สื่อมีหลายรูปแบบ สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ บทความประเภทต่างๆ หนังสือพิมพ์ นิทาน ฯลฯ เมื่อ
นั ก เรี ย นอ่ า นแล้ ว ครู อ าจใช้ ค ำถามฝึ ก การคิ ด เช่ น เรื่ อ งนี้ ค ล้ า ยคลึ ง หรื อ แตกต่ า งกั น อย่ า งไร
ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลในการอ่านจะช่วยพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้วิธีหนึ่ง
ครูอาจจั ดทำแบบฝึ กทั กษะการเรี ยนรู้ให้ แก่นักเรี ยน ซึ่งอาจมีรู ปแบบหลากหลาย เช่น
สถานการณ์จำลอง และครูใช้คำถามเพื่อฝึกการคิดหลังจากนักเรียนอ่านสถานการณ์แล้ว หรือฝึกการ
คิดจากภาพ เป็นต้น
4. ฝึกให้นั กเรี ยนมีการอภิปรายร่วมกัน ตามหั วข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ หรือเป็นเหตุ การณ์ที่
เกิดขึ้นในปัจจุบัน จากข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ ในข่ าวประจำวัน จาก
การ์ตูนล้อการเมือง จะทำให้นักเรียนมีทักษะในการอภิปรายเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ ฝึกให้นักเรียนมี
ทักษะในการลงข้อสรุปและรู้จักประเมินความคิดเห็นของผู้อื่น ทำให้นักเรียนรู้จักการอ้างเหตุผล และ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยใจเป็นกลาง
5. ส่งเสริมให้นั กเรียนรู้จักวางแผนการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ โดยแนะนำให้ นักเรียน
วางเป้าหมาย ตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงานว่าเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ โดยมีข้อมูลหลักฐาน
29

ในการตรวจสอบและใช้เหตุผลในการพิจารณาตัดสินใจปรับปรุง หรือดำเนินงานตามแผน และรู้จัก


วิธีการในการแก้ปัญหาได้อ ย่างเหมาะสม รอบคอบ และควบคุมตนเองให้ดำเนิ นงานตามแผน การ
ทำงานหรือกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ครูฝึกให้นักเรียนรู้จักวางแผนการย่อมเป็นการดำเนินงานและมีการ
ตรวจสอบ ตลอดจนเมื่อมีการดำเนินงานตามแผนแล้วมีการประเมินผลการทำงานนั้นจัดได้ว่าเป็น
แนวทางหนึ่งที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

การจัดการเรียนรู้สู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

นักการศึกษาหลายท่านต่างก็มีแนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับกระบวนการคิดอย่างมี


วิจารณญาณว่ามีขั้นตอนการดำเนินการฝึกคิดที่หลากหลาย แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีขั้นตอน
ใหญ่ๆ ที่คล้ายคลึงกัน คือ เริ่มจากการทำความเข้าใจกับปัญหา / ประเด็นสำคัญ / สถานการณ์ที่พบ
ต่อจากนั้นก็จะมีการรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำมาเป็นแนวทางแก้ปัญหา โดยมี
การวิเคราะห์ข้อมูล พิจารณาข้อมูล เพื่อหาทางเลือก คือ คำตอบที่ถูกต้องอย่างรอบคอบ และมีการ
ประเมินทางเลือกหลายๆ ทางว่าทางเลือกใดเหมาะสมที่สุด ต่อจากนั้นก็สามารถสรุปและตัดสิน ใจได้
ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของนักการศึกษาบางท่าน คือ
การจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนของบลูมและกาเย่ (Bloom and Gagne′) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต ให้นักเรียนอ่านข้อความจากหนังสือพิมพ์ที่มีชายคนหนึ่งแจ้งข่าวต่อผู้สื่อข่าว
ว่าเขากินชาเขียวยี่ห้อหนึ่งแล้วเขาปวดท้องอย่างรุนแรง ต้องเข้ารักษาตัวทีโ่ รงพยาบาล
2. อธิบ าย ให้ นั กเรีย นแสดงความคิ ด เห็ นว่า เห็ น ด้ ว ยหรือ ไม่เห็ น ด้ วย โดยอธิบ าย
เหตุผลประกอบตามหลักการหรือความรู้ที่ตนมี โดยอ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ
3. รับฟัง ให้นักเรียนรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากความ
คิดเห็นของตน มีการปรับเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์หรือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่
4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ให้นักเรียนเปรียบเทียบ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ เช่น ลอง
พิจารณาว่า นอกจากชายคนที่มาแจ้งข่าวแล้วยังมีบุคคลอื่นๆ แจ้งข่าวทำนองนี้อีกหรือไม่ หรือลองไป
สัมภาษณ์คนที่กินชาเขียวยี่ห้อนัน้ ว่ากินชาเขียวแล้วมีใครปวดท้องบ้าง

5. วิ จ ารณ์ นั ก เรี ย นวิ เคราะห์ เหตุ ก ารณ์ ห รื อ ข้ อ ความที่ เป็ น ข่ า วว่ า มี ห ลั ก ฐานใด
สนับสนุนควรเชื่อเพียงไร
6. สรุป นักเรียนสรุปผลอย่างตรงไปตรงมาตามหลักฐาน ข้อมูล คือ สมควรจะเชื่อข่าว
กินชาเขียวแล้วปวดท้องหรือไม่ มีเหตุผลสนับสนุนอย่างไร
30

การจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอน แนวคิดของเดรสเซล (Dressel) กระบวนการคิด


วิจารณญาณ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การนิ ย ามปั ญ หา ครู น ำข้ อ ความหรือ สถานการณ์ ม าให้ นั ก เรีย นวิ เคราะห์ ตาม
ประเด็นที่กำหนด เช่น สถานการณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนดอนหวาย เมื่อผลิตออกมาขายไม่ได้ต้องลดราคา
สินค้าขายในราคาถูก จึ งจะมีคนซื้อ นักเรียนจะต้องมาวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของปัญหา คือ
ผลิตภัณฑ์ของชุมชนขายไม่ได้ และเมื่อต้องการให้หมดก็ต้องขายลดราคา
2. การรวบรวมข้อมูลสำหรับการแก้ปั ญหา เป็นการฝึกให้นักเรียนหาข้อ มูลเกี่ยวกับ
ผลิตภัณฑ์ของชุมชนมาพิจารณา
3. การจัดระบบข้อมูล เป็นการฝึกให้นักเรี ยนนำข้อมูลมาจัดระบบโดยวิธีการต่างๆ
เช่น ข้อมูลใดเกี่ยวข้องกับปั ญหาผลิตภั ณฑ์ชุมชนที่ไม่เป็นต้องการของตลาด ข้อมูลใดไม่เกี่ยวข้ อง
ข้อมูลใดเป็นความคิดเห็น แล้วคัดสรรข้อมูลที่เป็นจริงมารวมกันอย่างเป็นระบบ
4. การเลือกสมมติฐาน นักเรียนจะเลือกสมมติฐานที่สามารถแก้ปัญหาได้อันดับแรกมา
พิจารณา เช่น ตั้งสมมติฐานว่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ส่งผลให้ไม่มีคน
รู้จัก เมื่อนักเรียนตรวจสอบความสอดคล้อ งที่เป็นไปได้ของข้อมูล แล้ วมาพิจารณาทางเลือกหลายๆ
ทางในการแก้ปัญหา เช่น
- ลงข่าวหนังสือพิมพ์
- โฆษณาทางวิทยุ
- เขียนแผ่นป้ายโฆษณาตรงหน้าหมู่บ้าน และในเขตชุมชนของจังหวัด
5. การสรุป
นั กเรีย นจะจำแนกข้อมูล ที่มีเหตุผ ลหนักแน่น น่ า เชื่อถือว่ามีความเกี่ยวข้อ งกับ
ประเด็นปัญหา เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ

การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking)

การคิดแก้ปั ญหาของบุ ค คลนั้ น มีพัฒ นาการมากขึ้นตามวัย และต้องอาศั ยสติปัญ ญาและ


ความคิดตลอดจนถึงประสบการณ์เดิมจากการเรียนรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อมมาเป็นพื้นฐานในการจัด
กระบวนการคิดแก้ปัญหาให้บรรลุ ตามจุดหมายที่ต้องการ ผู้ที่มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้
อย่างฉับไวและเหมาะสม ย่อมจะสามารถดำเนินชีวิตไปตามจุดหมายปลายทางอย่างถูกต้ อง อีกทั้งยัง
เป็ น ผู้ ที่ ได้ รั บ การยอมรั บ และเป็ น ที่ เชื่ อถือ ของสั งคม และเมื่ อ มี โอกาสได้ เป็ น ผู้ น ำกลุ่ มหรือ เป็ น ผู้
ประสานการดำเนิ น งานเพื่ อ แก้ ปั ญ หาของส่ ว นรวมก็ ย่ อ มบั งเกิ ด ผลสำเร็ จ ตามเป้ าหมายอย่ างมี
31

ประสิ ทธิภ าพ ดังนั้ นครูผู้ส อนจึ งควรตระหนักถึงความสำคัญ ของการฝึกนักเรี ยนผู้เป็นเยาวชนที่มี


อนาคตของประเทศชาติให้เป็นผู้รู้จักการคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและสร้างสรรค์

ความหมายของการคิดแก้ปัญหา

นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของความสามารถในการคิดแก้ปัญหาดังนี้
เพียเจต์ (Piaget, 1962 : 120) ได้อธิบายถึงความสามารถในการคิดแก้ปัญหาตามทฤษฎี
ด้านพัฒนาการ เป็นความสามารถของเด็ กที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่ขั้นที่ 3 คือ เด็กที่มีอายุ 7-10 ปี จะ
เริ่มมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาแบบง่ายๆ ภายในขอบเขตจำกัด และเมื่อมีอายุ 11-15 ปี ซึ่ง
ระดับ พัฒ นาการอยู่ในขั้นที่ 4 เด็กจะมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลดีขึ้น และสามารถคิด
แก้ปัญหาแบบซับซ้อนได้ สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นนามธรรมชนิดสลับซับซ้อนได้
กาเย่ (Gagne´, 1970 : 62) อธิบายว่าการคิดแก้ปัญหาเป็นรูปแบบการเรียนรู้อย่างหนึ่ งที่
ต้องอาศัยการเรียนรู้ประเภทหลักการที่มีความเกี่ยวข้องกันตั้งแต่ สองประเภทขึ้นไป และใช้หลักการ
นั้นมาผสมผสานกันจนเป็นความสามารถชนิดใหม่ที่เรี ยกว่าความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหา การ
เรียนรู้ประเภทนี้ต้องอาศั ยการเรียนรู้ป ระเภทความคิดรอบยอดเป็นพื้ นฐานของการเรียน เป็นการ
เรียนรู้ประเภทหนึ่งที่ต้องอาศัยความสามารถในการมองลักษณะร่วมของสิ่งเร้าทั้งหมด
กูด๊ (Good, 1973 : 518) อธิบายว่าการแก้ปัญหาเป็นแบบแผนหรือวิธีการซึ่งอยู่ในสภาวะที่
มีความยุ่งยากลำบาก หรืออยู่ในสภาวะที่พยายามตรวจข้อมูลที่ทำมาได้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับปัญหา
มีการตั้งสมมติฐานและการตรวจสอบสมมติฐาน ภายใต้การควบคุมมีการเก็บข้อมูลจากการทดลอง
เพื่อหาความสัมพันธ์นั้นว่าจริงหรือไม่

สรุปได้ว่า ความสามารถในการคิดแก้ปัญ หา หมายถึง การนำประสบการณ์เดิมที่เกิดจาก


การเรียนรู้มาเป็นพื้นฐานการแก้ปัญหาในสถานการณ์หรือปัญหาใหม่ โดยมีขั้นตอนหรือกระบวนการ
ในการแก้ปัญหาให้บรรลุเป้าหมายหรือเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้
ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของบุคคลจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวุฒิ ภาวะทางสมอง
ประสบการณ์ ความสนใจ สติปัญญา ความพร้อม แรงจูงใจ อารมณ์ และสภาพแวดล้อม

ประโยชน์ของความสามารถในการคิดแก้ปัญหา

1. ทำให้เป็นผู้ที่ตื่นตัวในการเรียนรู้ปัญหา เพราะปัญหาจะเป็นสิ่งทีส่ ร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้


32

2. มี ป ระสบการณ์ ต รงในการเรี ย นรู้ รู้ จั ก หาข้ อ มู ล ต่ า งๆ มาเป็ น พื้ น ฐานสำคั ญ ในการ


วิเคราะห์เพื่อการแก้ไขปัญหา
3. สามารถนำวิธีการคิดแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ทำให้สามารถแก้ไข
ปัญหาต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้อย่างถูกต้อง ส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาพจิต
4. ทำให้เป็นผู้ที่มีความหนักแน่นมั่นคง ใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และมี
การช่วยเหลือกัน
5. เป็นคนไม่เชื่อง่าย มีเหตุผลก่อนการตัดสินใจ
6. มีความรับผิดชอบต่อสังคม รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
7. สามารถทำงานร่วมกันอย่างเป็นประชาธิปไตย
8. ทำให้เป็นผู้ที่มีความจำในข้อมูลและวิธีการต่างๆ ได้ดี เพราะในการแก้ปัญหาจะต้องคิด
หาเหตุผลข้อมูลต่างๆ มาสัมพันธ์กัน
9. ทำให้เป็นผู้มีความรู้ ความคิด และทัศนะกว้าง

องค์ประกอบของการคิดแก้ปัญหา

นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการคิดแก้ปัญหาไว้ดังนี้
มอร์ แกน (Morgan, 1978 : 154 – 155) สรุป ความสามารถในการแก้ ปั ญ หาของบุ คคล
ต่างกันเนื่องจากองค์ประกอบต่อไปนี้
1. สติปัญญา ผู้มีสติปัญญาดีจะคิดแก้ปัญหาได้ดี
2. แรงจูงใจ เป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดแนวทางในการคิดแก้ปัญหา
3. ความพร้ อ มในการแก้ ปั ญ หาใหม่ ๆ ความพร้ อ มในการแก้ ปั ญ หานั้ น เนื่ อ งจาก
ประสบการณ์ที่มีมาก่อน
4. การเลือกวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
กรอสนิคเคลและบรูกเนอร์ (Grossnickle and Brueckner, 1959 : 310 – 311) กล่าวถึง
องค์ประกอบของกระบวนการแก้ปัญหา ดังนี้
1. ปัญหาต้องเกี่ยวข้องกับตัวเด็ก
2. เป็นปัญหาที่สามารถทำการแก้ไขได้
3. ปัญหานั้นอยู่ในขอบเขตที่ชัดเจนที่เด็กแต่ละคนสามารถเข้าใจได้
4. เด็กจะเสนอวิธีแก้ปญ ั หาที่เป็นไปได้
5. เด็กได้รับการแนะนำจากครูในการวางแผนการแก้ปั ญหา การเก็บรวบรวมข้อมูล
และการประเมินผล
33

6. นำวิธีการต่างๆ มาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
7. เด็กจะนำกระบวนการแก้ปั ญหาที่วางแผนไว้แล้วนั้ นมาใช้ในสถานการณ์ที่เป็นต้น
กำเนิดของปัญหาที่เกิดขึ้น
8. สรุปการแก้ปัญหา
รุ่งชีวา สุขดี (2531 : 35 อ้างถึงใน สุคนธ์ สิ นธพานนท์ และคณะ 2555 : 140) กล่ าวว่า
ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องฝึกฝนอยู่เสมอ และความสามารถในการ
คิดแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆ ด้านด้วยกัน คือ
1. ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลหรือความรู้เดิม
2. วุฒิภาวะของสมองและความสามารถทางสติปัญญา
3. สภาพการณ์ที่แตกต่างกัน
4. กิจกรรมและความสนใจของแต่ละคนที่มีต่อปัญหาหนึ่ง
5. ความสามารถในการมองเห็นลักษณะร่วมกันของสิ่งเร้าทั้งหมด
สรุปได้ว่าองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการแก้ปัญหา จะต้องคำนึงถึงนักเรียนเป็นสำคัญ
โดยพิ จ ารณาจากเรื่อ งที่ เกี่ย วข้ องกั บ ตัว นั ก เรียน อยู่ในขอบเขตความสามารถทางสติปั ญ ญาของ
นักเรียน มีกิจกรรมหรือสิ่งเร้าให้นักเรียนมองเห็นปัญหา ครูแนะนำวิธีการการวางแผนแก้ปัญหา เก็บ
รวบรวมข้ อ มู ล และการประเมิ น ผลให้ นั ก เรีย นเข้ า ใจ ส่ งผลให้ นั ก เรีย นสามารถดำเนิ น การตาม
กระบวนการแก้ปัญหา จนกระทั่งสรุปผลการแก้ปัญหาได้

ขั้นตอนการคิดแก้ปัญหา

บลูม (Bloom, 1956 : 122) ได้เสนอขั้นตอนการคิดแก้ปัญหา ดังนี้


ขั้นที่ 1 เมื่อผู้เรียนได้พบปัญหา ผู้เรียนจะคิดค้นหาสิ่งที่เคยพบเห็น ที่เกี่ยวกับปัญหา
ขั้นที่ 2 ผู้เรียนจะใช้ผลจากขั้นที่หนึ่งมาสร้างรูปแบบของปัญหาขึน้ มาใหม่
ขั้นที่ 3 จำแนกแยกแยะปัญหา
ขั้นที่ 4 การเลือกใช้ทฤษฎี หลักการ ความคิด และวิธีการที่เหมาะสมกับปัญหา
ขั้นที่ 5 การใช้ข้อสรุปของวิธีการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 6 ผลทีไ่ ด้จากการแก้ปัญหา
อนึ่ง ความสามารถทางสมองที่นำมาใช้คิดแก้ปัญหาในขั้นที่ 1-4 เป็นส่วนของการนำไปใช้
ขั้นที่ 5 และ 6 เป็นส่วนของความเข้าใจ สำหรับความรู้ ความจำ ถือว่าเป็นพื้นฐานที่จำเป็นในการคิด
แก้ปัญหา ส่วนความสามารถในการวิเคราะห์ เป็นความสามารถทางสมองทีน่ ำมาใช้ในกระบวนการคิด
แก้ปัญหาในขั้นที่ 3
34

โพลยา (Polya, 1957 : 6 – 22) ได้เสนอขัน้ ตอนของการคิดแก้ปัญหา ดังนี้


ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจในปัญ หา พยายามเข้าใจในสัญลักษณ์ต่ างๆ ในปัญหา สรุป
วิเคราะห์ แปลความ ทำความเข้าใจได้ว่าโจทย์ถามอะไร โจทย์ให้ข้อมูลอะไรบ้าง ข้อมูลมีเพียงพอหรือไม่
ขั้นที่ 2 การแยกแยะปัญ หาออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อสะดวกในการลำดับขั้นตอนใน
การแก้ปัญหา และวางแผนว่าจะใช้วิธีการใดในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 การลงมือทำตามแผน รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาด้วย
ขั้นที่ 4 การตรวจสอบวิธีการและคำตอบ เพื่อให้แน่ใจว่าแก้ปัญหาถูกต้อง
บรูเนอร์ (Bruner, 1966 : 123 – 124) ได้อธิบายขั้นตอนต่างๆ ในการคิดแก้ปัญหา ดังนี้
ขั้นที่ 1 รู้จักปัญหา เป็นขัน้ ทีบ่ ุคคลรับรู้สิ่งเร้าที่ตนกำลังเผชิญอยู่ว่าเป็นปัญหา
ขั้นที่ 2 แสวงหาเค้าเงื่อน เป็นขั้นตอนที่ระลึกถึงประสบการณ์เดิม
ขั้ น ที่ 3 ตรวจสอบความถู ก ต้ อ ง เป็ น ขั้ น ตอนที่ ต อบสนองในลั ก ษณะของการจั ด
ประเภทหรือแยกโครงสร้างของเนื้อหา
ขั้นที่ 4 การตัดสินใจตอบสนองทีส่ อดคล้องกับปัญหา
ดิวอี้ (Dewey, 1976 : 130) เสนอวิธีการคิดแก้ปัญหาเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้ น เตรี ย มการ (Preparation) หมายถึ ง การรับ รู้และเข้าใจปั ญ หา เมื่ อ มี ปั ญ หา
เกิดขึ้น ผู้ประสบปัญหาจะต้องรับรู้และเข้าตัวปัญหาก่อนว่าปัญหาที่แท้จริงของเหตุการณ์นั้นคืออะไร
2. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (Analysis) เป็นการพิจารณาดูว่าสิ่งใดบ้างเป็นสาเหตุที่สำคัญ
ของปั ญหา กล่าวคือ มีการระบุ และแจกแจงลักษณะของปัญ หาที่เกิดขึ้น จะมีลักษณะแตกต่างกัน
ระดับความยากง่ายที่จะแก้ไขต่างกัน โดยพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
1) มีตวั แปรต้นหรือองค์ประกอบอะไรบ้าง
2) มีอะไรบ้างที่ต้องทำให้เกิดปัญหา
3) ขจัดการมองปัญหาในวงกว้างออกไป โดยให้มองเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้ น เพื่อที่จะ
แก้ปัญหาไปทีละขั้นตอน
4) รู้จักถามคำถามที่จะเป็นกุญแจนำไปสู่การแก้ปัญหา
5) พยามดูเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัญหาจริงๆ
3. ขั้นเสนอแนวทางการแก้ปัญ หา (Production) หมายถึง การหาวิธีการให้ตรงกับ
สาเหตุ ของปั ญ หา แล้ ว ออกมาในรู ป แบบของวิธีการรวบรวมข้อ เท็ จจริ งเกี่ ยวกั บ ปั ญ หา เพื่ อการ
ตั้งสมมติฐาน
1) จะมีวิธีการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาอย่างไร ใครเป็นผู้ให้ข้อมูลนั้น
2) สร้างสมมติฐาน หรือคำถามที่อาจเป็นไปได้เพื่อช่วยแก้ปัญหา
35

4. ขั้นสำรวจผล (Verification) หมายถึง การเสนอเกณฑ์เพื่อการตรวจสอบผลลั พธ์ที่


ได้จากการเสนอวิธีแก้ปัญหา ถ้าผลที่ได้รับไม่ถูกต้อง ก็เสนอวิ ธีแก้ปัญหาใหม่จนกว่าจะได้วิธีก ารที่ดี
ที่สุดหรือถูกต้องทีส่ ุด
5. ขั้นการนำไปประยุกต์ใหม่ (Reapplication) หมายถึง การนำวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
ไปใช้ในโอกาสข้างหน้า เมื่อพบกับเหตุการณ์คล้ายกับปัญหาที่เคยพบมาแล้ว
กล่าวได้ว่าขั้น ตอนการแก้ปัญหานั้นนักการศึกษาได้เสนอไว้ห ลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่ง ทุก
รูปแบบจะมีขั้นตอนที่คล้ายกัน คือ
1. ระบุปัญหา / กำหนดปัญหา
2. ระบุสาเหตุของปัญหา
3. การเสนอแนวทาง / วิธีการแก้ปัญหา
4. ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากการแก้ปัญหา
สรุปได้ว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้แบ่งขั้นตอนของการฝึกคิดในการแก้ ปัญหาแตกต่างกัน
ตามแนวคิดของท่าน แต่ละวิธีการนั้นก็จะมีขั้นตอนการแก้ปัญหาที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการ
ฝึ ก ให้ นั ก เรี ย นรู้ จั ก คิ ด แก้ ปั ญ หาได้ ดั ง นั้ น ครู ผู้ ส อนก็ ส ามารถเลื อ กวิ ธี ก ารใดวิ ธี ก ารหนึ่ ง ของนั ก
การศึกษาที่ ส ามารถนำไปใช้ได้อย่ างเหมาะสมกับ สถานการณ์ ที่ มีการจัด การเรีย นรู้ เพื่ อให้ บรรลุ
วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

แนวทางการส่งเสริมให้นักเรียนคิดแก้ปัญหา

1. ฝึกให้นักเรียนได้ทำงานหรือทำกิจกรรมอยู่เสมอ การทำงานหรือทำกิจกรรมจะช่วยสร้าง
ประสบการณ์เพิ่มขึ้น และจะมีหนทางในการคิดแก้ปัญหามากขึ้น
2. ฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ จากการปฏิบัติจริง เมื่อครูได้ ให้ความรู้แก่นักเรียนแล้ ว ควรได้
ทดลองปฏิบัติจริง หรือถ้าเรื่องนั้นไม่สามารถปฏิบัติได้ก็อาจให้แก้ปัญหาโดยการทดสอบความรู้นั้นด้วย
การค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เป็นการฝึกให้นักเรียนคิดแก้ปัญหา
3. ฝึกให้นักเรียน เป็นผู้มีเหตุผล ให้มคี วามเชื่อมั่น
4. ฝึกให้นักเรียนรู้จักวิจารณ์ กำหนดวิธีการคิดแก้ปัญหาด้วยการวิเคราะห์วิจารณ์ปัญหา
โดยกำหนดวิธีการวิเคราะห์ วิ จ ารณ์ ออกเป็ นขั้ นๆ ได้แก่ การกำหนดปั ญ หา รวบรวมข้อ เท็ จจริง
ตั้งสมมติฐาน ทดสอบสมมติฐาน ประเมินผล
5. ฝึกให้นักเรียนรู้จักการวิเคราะห์ – สังเคราะห์ และฝึกให้รู้จักออกความคิดเห็น การฝึกให้
นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นอยู่เสมอ จะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกการใช้ความคิดของตนเอง แต่ครูจะต้อง
ช่วยเหลืออยู่เสมอ เพราะนักเรียนอาจแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ได้
36

6. จัดสิ่งเร้าหรือมีการกระตุ้นที่ดี จัดสถานการณ์ใหม่ หรือเสนอปัญหาหรือประเด็นที่ท้าทาย


น่าสนใจ และมีวิธีการแก้ปัญหาได้หลายวิธีมาให้นักเรียนได้ฝึกฝนการแก้ปัญหา และปัญหาที่หยิบ ยก
มาให้ นั ก เรี ย นฝึ ก นั้ น นั ก เรี ย นต้ อ งยั งไม่ เคยประสบมาก่ อ น และอยู่ ในวิ สั ย ที่ นั ก เรี ย นจะสามารถ
แก้ปัญหาได้การฝึกแก้ปัญหานั้นครูควรได้ชี้แนะให้นักเรียนตีปัญหาให้แตกก่อน ถ้าเป็นปั ญหาใหญ่ก็
แตกเป็นปัญหาย่อยๆ แล้วคิดแก้ปัญหาย่อยแต่ละปั ญหา การฝึกฝนให้นักเรียนแก้ปัญหาใดๆ ก็ตาม
ครูไม่ควรบอกวิธีแก้ปัญหาให้ตรงๆ
7. จัดบรรยากาศการเรียนรู้ หรือจัดสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสภาพภายนอกของนักเรียน เป็นไป
ในทางเปลี่ยนแปลงได้ เพื่ อให้นักเรียนมีความรู้สึ กว่าเขาสามารถคิ ดค้นเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง มี
อิสระในการคิด กล้าคิด กล้าแสดงออก
กล่ า วได้ ว่ า ในการจั ด การเรี ย นรู้ ให้ นั ก เรีย นรู้จั ก คิ ด แก้ ปั ญ หานั้ น ควรให้ นั ก เรี ย นได้ ฝึ ก
กระบวนการคิดแก้ปัญหาอยู่เสมอด้วยวิธีการที่ หลากหลาย จัดบรรยากาศให้เอื้ อต่อการคิดแก้ปัญหา
อีกทั้งควรฝึกให้นักเรียนมีความเชื่อมัน่ ในตนเองอย่างมีเหตุผล

การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหา

การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาให้แก่นักเรียนนั้น สามารถฝึกได้หลายรูปแบบ เช่น


1. ฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาจากบทความ ครูจะต้องเลือ กบทความหลายๆ ลักษณะมาให้
นักเรียนอ่านแล้วตอบคำถามเพื่อฝึกทักษะการคิดตามขั้นตอนของการแก้ปัญหา
2. ฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา ครูเลือกหรือเขียนกรณีศึกษาที่เป็นปัญหาใน
สังคมทั่วไป แล้วตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
3. ฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาจากภาพ ให้ นักเรียนวิเคราะห์ภาพต่างๆ ที่ แสดงถึงปัญหาที่
เกิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขที่ถูกต้อง
4. ฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนด เป็นสถานการณ์ซึ่งใกล้เคียงกับชีวิต
จริง เพื่อฝึกให้นักเรียนใช้ทักษะในการคิดแก้ปัญหา
นอกจากนั้นยังสามารถฝึกการคิดแก้ปัญหาจากสื่อประเภทต่างๆ เช่น วีดีทัศ น์ ซีดี ภาพนิ่ง
เพลง บทประพันธ์ต่างๆ ฯลฯ แล้วตอบคำถามเพือ่ นำไปสู่การแก้ไขปัญหา

การจัดการเรียนรู้สู่การคิดแก้ปัญหา

เมื่อครูผู้สอนได้ศึกษาวิธีการและกระบวนการฝึก ให้นักเรียนรู้จักคิดแก้ปัญหาและมีความ
เข้าใจดีแล้วก็สามารถนำไปจัดการเรียนรู้ เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดแก้ปัญหา ซึ่งขั้นตอนการจัดการ
37

เรียนรู้นี้ครูผู้สอนสามารถประยุกต์จากวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา และวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ หรือ


วิธีสอนต่างๆ ที่นักการศึกษาได้เสนอแนะไว้ตามความเหมาะสม ครูผู้สอนจะต้องแสวงหาข้อมูลความรู้
เกี่ยวกับวิธีสอนต่างๆ ซึ่งมีมากมายหลายวิธี ในแต่ละวิธีนั้นก็ได้ผ่านการทดลองจากนักการศึกษาต่างๆ
มาก่อน แล้วจึงได้นำเผยแพร่ แต่ทั้งนี้ครูผู้สอนจะต้องเลือกวิธีสอนหรือวิธีการจัดการเรียรู้ที่มีขั้นตอน
สอดคล้องกับวิธีการคิดแก้ปัญหา เพื่อที่จะได้ดำเนินกิจกรรมไปได้อย่างราบรื่น นอกจากนั้นครูผู้สอน
จะต้องรู้จักออกแบบฝึกทักษะการคิดแก้ ปัญหาเพื่อจะได้เป็นสื่อนำนักเรียนไปสู่การคิดแก้ปัญหาได้
อย่างเป็นระบบ ในตอนนี้จะขอยกตัวอย่างการนำวิธีการคิดแก้ปัญหาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้บางวิธี
เท่านั้น และนำเสนอวิธีการคิดแก้ปัญหาไปใช้ในวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และวิธีสอนแบบแก้ปัญหา ซึ่ง
การออกแบบการจัดการเรียนรู้จะเป็นไปในลักษณะคล้ายคลึงกัน
การจั ด การเรี ย นรู้ ที่ ฝึ ก การคิ ด แก้ ปั ญ หา สามารถจั ด ตามขั้ น ตอนตามแนวคิ ด ของนั ก
การศึกษาแต่ละท่าน เช่น
การจัดการเรียนรู้ให้คิดแก้ปัญหาตามขัน้ ตอนการคิดแก้ปัญหาของบลูม (Bloom) ดังนี้ คือ
ขั้นที่ 1 เมือ่ นักเรียนได้พบปัญหา นักเรียนจะคิดหาสิ่งที่เคยพบเห็นที่เกี่ยวกับปัญหา
ในขั้ น นี้ ครู ก็ จ ะนำสถานการณ์ ที่ เป็ น ปั ญ หามาให้ นั ก เรี ย นศึ ก ษา เช่ น
สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ขั้นที่ 2 นักเรียนจะใช้ผลจากขั้นที่หนึ่งมาสร้างรูปแบบของปัญหาขึน้ มาใหม่
ในขั้นนี้นักเรียนจะสามารถกำหนดปัญหาขึ้นมาใหม่ ต่อเนื่องจากขั้นที่ 1 เช่น
นักเรียนอาจกำหนดเกี่ยวกับปัญหาอากาศเป็นพิษ น้ำเสีย ฯลฯ
ขั้นที่ 3 จำแนกแยกแยะปัญหา
ในขั้นนีน้ ักเรียนจะวิเคราะห์ว่าปัญหาอากาศเป็นพิษนั้นเนื่องจากสาเหตุใดบ้าง
ขั้นที่ 4 การเลือกใช้ทฤษฎี หลักการ ความคิด และวิธีการทีเ่ หมาะสมกับปัญหา
ในขั้น นี้นักเรียนจะต้องค้นคว้าหาความรู้ เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกวิธีการ
แก้ไขปัญหา ปัญหาอากาศเป็นพิษ
ขั้นที่ 5 การใช้ข้อสรุปของวิธีการแก้ปัญหา
นักเรียนจะเลือกวิธีที่ถูกต้องเหมาะสมมาใช้ในการแก้ปัญหาอากาศเป็นพิษ
ขั้นที่ 6 ผลที่ได้จากการแก้ปัญหา
เมื่ อ ดำเนิ น การตามวิ ธี ก ารแก้ ปั ญ หาซึ่ ง นั ก เรี ย นสามารถไปทำโครงงาน
แก้ปัญหาอากาศเป็นพิษในโรงเรียนแล้ว ได้ผลตามจุดมุ่งหมาย
การจัดการเรียนรู้ตามวิธีการคิดแก้ปัญหาของดิวอี้ (Dewey) มีขั้นตอนดังนี้
1. ขัน้ เตรียมการ เป็นขั้นการรับรู้และเข้าใจปัญหา
38

ในขั้ น นี้ ครู จ ะนำสถานการณ์ ในแบบฝึ กที่ ค รูเตรียมมาให้ นั ก เรีย นพิ จารณาว่ามี
ปั ญ หาสำคั ญ คื อ อะไร หรื อ ครู จ ะนำข่ าว บทความมาให้ นั ก เรีย นพิ จ ารณาสภาพปั ญ หาก็ ได้ เช่ น
ผลิตภัณฑ์ของตำบลไม่เป็นที่นิยมของตลาด
2. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา เป็นการพิจารณาว่าสิ่งใดบ้างเป็นสาเหตุที่สำคัญของปัญหา
ครูจะฝึกนักเรียนให้วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่ผ ลิตภัณฑ์ของตำบลไม่เป็นที่
นิยมของตลาดว่า มีสาเหตุอะไรบ้ าง โดยมี การแยกแยะหาส่วนประกอบของปัญ หา สิ่งที่ ทำให้ เกิด
ปัญหา และตัดประเด็นที่ไม่ใช่ปัญหาออก จนได้ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร เช่น สรุปได้ว่าสาเหตุจากขาด
การประชาสัมพันธ์
3. ขั้นเสนอแนวทางแก้ปัญหา
เมื่อหาสาเหตุที่แท้ จริ งแล้ว ก็รวบรวมข้อมูล ความรู้ต่างๆ เพื่อเป็ นแนวทางการ
แก้ปัญหา และตัดสินใจว่าแนวทางที่แท้ จริงควรใช้วิธีการใด กล่าวคือ มีการสร้างสมมติฐานเพื่อเป็น
ประเด็นหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยกำหนดว่าการใช้แผ่นโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์
ตำบลจะช่วยให้คนรู้จักและสนใจซื้อผลิตภัณฑ์มากขึ้น
4. ขั้นตรวจสอบผล
เมื่อมี การแก้ ไขปั ญ หาตามแนวทางที่ กำหนดแล้ ว ก็ต้อ งตรวจสอบผลที่ได้รับว่า
ถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็สามารถเสนอวิธีแก้ปัญหาใหม่ จนกว่าจะได้วิธีการที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งในขั้น
นี้ นั ก เรี ย นอาจทำโครงงานเกี่ ย วกั บ การผลิ ต โปสเตอร์ ประชาสั ม พั น ธ์ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ต ำบลก็ ได้ เป็ น
ภาคปฏิบัติ เพื่อได้ผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามสมมติฐานหรือไม่ หรือนักเรียนอาจจะปฏิบัติจริง
ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 3
5. ขัน้ การนำไปประยุกต์ใหม่
เมื่อนักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้แ ล้วก็สามารถ
เสนอวิธีการนำไปประยุกต์ในเหตุการณ์อื่นๆ อีก

สรุป

การคิ ดอย่ างมี วิจ ารณญาณ คือ กระบวนการคิ ดที่ใช้เหตุผ ลโดยมีการศึกษาข้อ เท็จจริง
หลักฐาน และข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ แล้วนำมาพิจารณาวิเคราะห์อย่างสมเหตุสมผล
ก่อนตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ การคิดอย่างมีวิจารณญาณมีองค์ประกอบด้วย การทำ
ความเข้าใจกับประเด็นปัญหา คำถาม หรือสถานการณ์ที่พบ แล้วมีการรวบรวมข้อมูลหรือ หาข้อมูลที่
เกี่ยวข้อง โดยการพิจารณาว่าข้อมูลใดมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเชื่อถือ แล้วจึงสรุปเพื่อตัดสินใจ
39

กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้น มีขั้นตอนการฝึกการคิดหลายรูปแบบ ตามหลักการ


และแนวคิดของนั กการศึกษาต่างๆ ที่ได้ผ่ านการทดลองมาแล้ ว ซึ่งขั้นตอนส่ว นใหญ่ จะมีหั วข้ อที่
สามารถสรุปได้ว่ามีความคล้ายคลึงกันในเรื่องต่อไปนี้ คือ 1. การทำความเข้าใจกับปัญหา / ประเด็น
สำคัญ / สถานการณ์ ที่พบ 2. การรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูล ที่เ กี่ยวข้องกับการนำมาเป็นแนว
ทางการแก้ปัญหา 3. การวิเคราะห์ข้อมูล พิจารณาข้อมูล เพื่อหาทางเลือกหรือคำตอบที่ถูกต้องอย่าง
รอบคอบ ประเมินทางเลือกหลายๆ ทาง 4. การสรุป เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ
การคิดแก้ปัญหา หมายถึง การนำประสบการณ์เดิมที่เกิดจากการเรียนรู้มาเป็นพื้ นฐานการ
แก้ปั ญ หาในสถานการณ์ ห รือปั ญหาใหม่ โดยมีขั้นตอนหรือกระบวนการในการแก้ปัญ หาให้ บรรลุ
เป้าหมายหรือเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยมีองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการแก้ปัญหา จะต้อง
คำนึ ง ถึ ง นั ก เรี ย นเป็ น สำคั ญ โดยพิ จ ารณาจากเรื่ อ งที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ตั ว นั ก เรี ย น อยู่ ใ นขอบเขต
ความสามารถทางสติปัญญาของนักเรียน มีกิจกรรมหรื อสิ่งเร้าให้นักเรียนมองเห็นปัญหา ครูแนะนำ
วิธีการการวางแผนแก้ปั ญ หา เก็บ รวบรวมข้ อมู ล และการประเมิน ผลให้ นัก เรีย นเข้ าใจ ส่ ง ผลให้
นั กเรี ย นสามารถดำเนิ น การตามกระบวนการแก้ปั ญ หา จนกระทั่งสรุป ผลการแก้ปั ญ หาได้ และมี
ขั้นตอนการแก้ปัญหา คือ 1. ระบุปัญหา / กำหนดปัญหา 2. ระบุสาเหตุของปัญหา 3. การเสนอ
แนวทาง / วิธีการแก้ปัญหา 4. ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากการแก้ปัญหา

กิจกรรมและแบบฝึกหัดท้ายบท

กิจกรรม
1. ให้นักศึกษาอภิปรายกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหา
2. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มวิเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่การคิดอย่างมี
วิจารณญาณและการแก้ไขปัญหา

แบบฝึกหัดท้ายบท
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. จงอธิบายความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหา
2. จงอธิบายกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของนักการศึกษามา 1 แนวทาง
3. จงอธิบายการจัดการเรียนรู้สู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
4. จงอธิบายขั้นตอนการคิดแก้ปัญหาและแนวทางส่งเสริมให้นักเรียนคิดแก้ปัญหา
5. จงอธิบายการจัดการเรียนรู้ให้คิดแก้ปัญหาตามขั้นตอนการคิดแก้ปัญหาของบลูม (Bloom)
40

เอกสารอ้างอิง

ชนาธิป พรกุล. (2544). แคทส์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ :


สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2555). พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัครพนธ์ ศรีหาคำ. (2545). ผลการฝึกรุปแบบความคิดต่างกันที่มีต่อ ความสามารถในการคิดอย่าง
มีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร์
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bruner, S. (1966). Studies in Cognitive Growth : A Collaboration at the Center for
Cognitive Studies. New York : John Willy and Son.
Decarole, J. (1973 January). “What Research Say to Classroom teacher : Critical
Thinking”. Social Education. 37 (1) : 67-69.
Dewey, John. (1933). How we Think. New York : D.C. Health and Company.
_______. (1976). Moral Principle in Education. Boston : Houghton Miff in co.
Dressel, Paul and Lewis B. Mayhew. (1957). General Education : Exploration in
Evaluation. 2nd ed. Washington, D.C : American Council on Education.
Hilgard, Enest R. (1962). Introduction to Psychology. New York : Harcourt, Brace &
Wold Inc.
Ennis, R.H. (1985). “A Logical Basic for Measuring Critical Thinking skill” Education
Leadership. 43 (October 1985).
_______. (1985). “A Logical Basic for Measuring Critical Thinking skill” Education
Leadership. 43 (October 1985).
Gagne, Robert M. (1970). The Condition of Learning. 2nd ed. New York : Holt
Rinechart and Winston Inc.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education 3rd. ed., New York : McGraw-Hill Book
company.
Grossnickle, Foster E. and lee J. Brueckner. (1959). Discovery Meaning in Arithmetic.
New York : Holt Rinechart and Winston Inc.
Morgan, Clifford T. (1978). “Thinking and Problem Solving”. A Brief Introduction to
Psychology. 2nd ed. New Delhi : Tata McGraw-Hill.co.
41

Piaget, J. (1962). The Origins of Intelligence in Children. New York : W.W.Norton.


Polya, George. (1957). How to solve it. San Francisco : Stanford University.
Watson, G. and Glaser. E.M. (1964). Watson-Glaser Critical Thinking Appraisal
Manual. New York : Harcourt, Brace and world.

You might also like