You are on page 1of 17

67

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4

บทที่ 4 การร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ

หัวข้อเนื้อหาประจำบท
1. การร่วมมือ
1.1 ความหมายของการร่วมมือ
1.2 ทักษะการร่วมมือ
1.3 วิธีการสร้างความร่วมมือ
1.4 ปัญหาเกี่ยวกับการร่วมมือ
2. การทำงานเป็นทีม
2.1 ความหมายของการทำงานเป็นทีม
2.2 ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม
2.3 ประเภทของทีม
2.4 ขั้นตอนการพัฒนาทีม
2.5 ลักษณะของทีมที่มีประสิทธิผล
2.6 กระบวนการในทีม
3. ภาวะผู้นำ
3.1 ความหมายของภาวะผู้นำ
3.2 ความสำคัญของภาวะผู้นำ
3.3 คุณลักษณะของผู้นำ
4. สรุป
5. กิจกรรม
6. แบบฝึกหัดท้ายบท
7. เอกสารอ้างอิง

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. สรุปความหมายของการร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำได้ถูกต้อง
2. บอกถึงความสำคัญของการร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำได้ถูกต้อง
3. สรุปวิธีการสร้างความร่วมมือได้ถูกต้อง
4. สรุปปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือได้ถูกต้อง
68

5. อธิบายขั้นตอนการพัฒนาทีมได้ถูกต้อง
6. อธิบายลักษณะของทีมที่มีประสิทธิภาพได้ถูกต้อง
7. อธิบายกระบวนการในทีมได้ถูกต้อง
8. สรุปคุณลักษณะของผู้นำได้ถูกต้อง

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. การอภิปรายร่วมกัน
2. การระดมสมอง
3. การใช้กรณีศึกษา
4. การทำกิจกรรม

สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. Power Point
3. กิจกรรมและแบบฝึกหัดท้ายบท

การวัดผลและการประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเข้าชั้นเรียน
2. การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกิจกรรมระดมสมองและการอภิปรายกลุ่ม
3. ประเมินความถูกต้องของผลการอภิปรายกลุ่มจากการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4. ความถูกต้องและทันเวลาของกิจกรรมและแบบฝึกหัดท้ายบท
69

บทที่ 4

การร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรา วรรธนานันต์

การดำเนิ น ชี วิ ต ในศตวรรษที่ 21 ซึ่ ง เต็ ม ไปด้ ว ยการเปลี่ ย นแปลงอย่ า งรวดเร็ ว และ


หลากหลาย ส่งผลให้บุคคลต้องปรับตัวให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย ต้องเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลง เรียนรู้การปรับตัว รวมไปถึงเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตและ
การประกอบอาชีพในอนาคต และการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพจำเป็นต้องประกอบด้วย
ลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งคือ การร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะ
ทำให้การดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น เนื่องจากบุคคลไม่สามารถ
ดำเนินชีวิตเพียงลำพัง และไม่สามารถประกอบอาชีพให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเองเพียงผู้เดียว
ดังนั้น การร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ จึงเป็นทักษะที่สำคัญที่นำไปใช้ในการเรียนรู้และ
การทำงาน เพื่อให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพได้

การร่วมมือ (Collaboration)

ความหมายของการร่วมมือ
การร่วมมือ (Collaboration) หมายถึง การทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความยืดหยุ่น สามารถ
ปรับตัวให้ทำงานในสถานการณ์หรือทีมที่แตกต่างกันได้ เพื่อเป้าหมายเดียวกัน รวมถึงการยอมรับ
ความสามารถและความแตกต่างของความแตกต่างระหว่างบุคคลควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อ
ส่วนรวม เป็นกระบวนการที่คนในกลุ่มร่ วมแบ่งปันความคิดเห็นของตนเอง พร้อมกับรับฟังและนำ
ความคิดเห็นจากมุมมองของผู้อื่นมาต่อยอดหารือ คิด วิเคราะห์ ลงมือทำตามความถนัดหรือหน้าที่ที่
ได้รับมอบหมายจนนำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยวิธีการใหม่ ๆ ร่วมกัน (บุญชนก ธรรมวงศา, 2561)
การร่วมมือหรือการทำงานร่วมกับผู้ อื่น เป็นทักษะที่สำคัญ เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นใน
สังคม การจะปลูกฝังทักษะนี้ได้จำเป็นต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมภายใต้เป้าหมายบางอย่างร่วมกัน
ทำอย่างไรให้เคารพความคิดต่างของผู้อื่นในขณะที่ยังรักษาจุดยืนของตนเองเอาไว้ได้แม้ยังไม่มีใครเห็น
ด้วย ทำอย่างไรให้ มองเห็ นตนเองเป็นส่วนหนึ่งของทีม ชั้นเรียน ครอบครัว ชุมชน และสังคม การ
ทำงานร่วมกับผู้อื่นจึงจำเป็นต้องควบคู่ไปกับการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นด้วย
70

ทักษะการร่วมมือ (Collaborative skill) ประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้


1. สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเคารพซึ่งกันและกัน
2. สามารถคิดหรือปฏิบัติงานอย่างยืดหยุ่นไม่ได้ติดตายตัวกับรูปแบบใดรูปแบบ
3. รู้จักประนีประนอมเพื่อบรรลุเป้าหมายของทีม
4. รู้จักบทบาทหน้าที่ที่มีร่วมกันเพื่อทำงานจนสำเร็จ
5. สามารถรับฟังและให้คุณค่ากับความคิดและการปฏิบัติงานของทุกคนในทีม
วิธีสร้างการร่วมมือ
1. การชี้ให้เห็นประโยชนร่วมกัน
2. การผูกมิตรไมตรีต่อกัน
3. การแนะนำกัน
4. การสื่อสารที่ดี
5. การเพิ่มความใกล้ชิด
ปัญหาเกี่ยวกับการร่วมมือ
1. ความไม่เต็มใจในการให้ความช่วยเหลือ
2. การขาดแรงจูงใจในการให้ความร่วมมือ
3. ความไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์
4. การไม่ให้ความร่วมมือ
5. ไม่สามารถดำเนินการตามจังหวะเวลา
6. ผู้เกี่ยวข้องไม่รู้ในสาระสำคัญของงานบางลักษณะ
7. มีความเข้าใจในเนื้อหาของงานไม่ตรงกัน
การร่วมมือหรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้บุคคลได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนและ
ผู้อื่น คุณค่าของกฎกติกา มารยาทการอยู่ร่วมกันในสังคม และยังมีส่วนสร้างเสริมรากฐานในจิตใจ
เช่น ความไว้วางใจ เห็นอกเห็นใจ เคารพซึ่งกันและกัน ใจกว้าง และการมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ซึ่ง
เหล่านี้เป็นโครงสร้างที่ยั่งยืนของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสังคม

การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

ความหมายของการทำงานเป็นทีม
การทำงานเป็นทีม หมายถึง การรวมตัวกันทางสังคมของบุคคลจำนวนหนึ่งเพื่อทำ
กิจกรรม ทำงาน หรือปฏิบัติภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน มีการ
71

แบ่งบทบาทหน้ าที่กัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน มีการประสานงานกัน และมีปฏิสัมพันธ์กันอย่าง


สม่ำเสมอเพื่อให้กิจกรรม งาน หรือภารกิจสำเร็จตามเป้าหมาย (ชูชัย สมิทธิไกร, 2557 ; รัตติกรณ์
จงวิศาล, 2560)

ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม
องค์การมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างทีมงานด้วยเหตุผลมากมาย เช่น งานบางอย่างไม่
สามารถทำสำเร็จเพียงคนเดียว หน่วยงานมีงานเร่งด่วนที่ต้องการระดมบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานให้เสร็จ
ทันเวลาที่กำหนด งานบางอย่างต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญจากหลายฝ่ าย งาน
บางอย่างเป็ นงานที่มีหลายหน่วยงานรับผิดชอบจึงต้องการความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้อง หรือเป็นงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์เพื่อแสวงหาแนวทาง วิธีการ และเป้าหมายใหม่ ๆ
จากหลายฝ่าย และหน่วยงานต้องการสร้างบรรยากาศของความสามัคคีให้เกิดขึ้น
เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่าสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาลและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มากมายใน
โลกนี้ มนุษย์ไม่สามารถได้มาด้วยการทำงานคนเดียว อาจจะได้มาต่อเมื่อร่วมกันทำงานเป็นทีม เห็น
ความสำคัญ และเห็นความจำเป็นในการทำงานร่วมกันเป็นทีม แต่คำถามที่มักจะตามมาเสมอ คือ ทำ
อย่างไรเราจึงจะสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่นได้ ในเมื่อธรรมชาติของมนุษย์คือมีความแตกต่าง
กัน และเมื่อมีมนุษย์มาอยู่ร่วมกันก็มักจะมีปัญหา มีความขัดแย้ง มีความอิจฉาริษยากัน และทั้ง ๆ ที่
ธรรมชาติของมนุษย์ไม่สามารถที่จะอยู่คนเดียวได้ มนุษย์ต้องมีการพึ่งพาอาศั ยกัน แต่ทำไมเราทำงาน
เป็นทีมไม่ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ โดยเฉพาะในคนไทยมักจะมีการกล่าวถึงเสมอว่าทำงาน
เป็นทีมไม่ค่อยสำเร็จ ทั้ง ๆ ที่เราก็มีลักษณะสังคมและวัฒ นธรรมแบบรวมกลุ่มหรือแบบพรรคพวก
บางคนกล่าวอีกว่าเรามักทำงานเป็ นทีมสำเร็จ หากเป็นทีมเพื่อผลประโยชน์ ในทางไม่ช อบหรือผิ ด
จริยธรรม เช่น โกงกันเป็นทีม คอรัปชั่นกันเป็นทีม ฮั้วการประมูลการรับเหมากันเป็นทีม อย่างไรก็ตาม
ดูเหมือนว่าทีมงานที่มีป ระสิทธิภ าพสำหรับมนุษย์แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นได้เองทันทีทันใด มีปัจจัย
สำคัญ หลายประการที่ มีอิทธิพ ลต่อที มงานที่มี ประสิ ท ธิภ าพ ทั้ งคนที่เป็ นผู้ น ำ สมาชิกในที ม และ
องค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่งนักวิชาการทั้งทางจิตวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ และการบริหารต่างให้ความสนใจ
ในแนวคิดหรือเทคนิคในการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ พยายามพัฒนาสมรรถภาพของทีมงาน รวมทั้ง
มีความเชื่อว่ามนุษยสัมพันธ์เป็นทักษะที่สำคัญในการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ (รัตติกรณ์ จงวิศาล,
2560)

ประเภทของทีม
การพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของทีม ทำให้สามารถจำแนกประเภทของทีมได้อย่างน้อย
3 ประเภทดังต่อไปนี้ (Larson & La Fasto, 1989 อ้างถึงใน ชูชัย สมิทธิไกร, 2557)
72

1. ที ม แก้ ไขปั ญ หา (problem resolution teams) คื อ ที ม ที่ ถู ก ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ แก้ ไ ข
ปัญหาบางอย่างที่มีความสำคัญ สมาชิกในทีมต้องมีความไว้วางใจ เปิดเผย และให้ความสำคัญแก่
ประเด็นปัญหามากกว่าตำแหน่งของแต่ละคน รวมทั้งมีความเชื่อว่าทีมจะมีวุฒิภาวะในการจัดการกับ
ปัญหาเหล่านั้น
2. ทีมสร้างสรรค์ (creative teams) คือ ทีมที่มีความรับผิดชอบในด้านการค้นหา
โอกาสและทางเลือกใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒ นาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ลักษณะพิเศษของทีม
ประเภทนี้ คือ การมีอิส ระเป็ น ตัวของตัว เอง ( autonomy) โดยไม่ถูกจำกัดกรอบการทำงานจาก
กฎระเบียบ กระบวนการ ระบบ หรือบรรยากาศในองค์ การ เพื่อให้สามารถทำงานสร้างสรรค์ได้จน
บรรลุเป้าหมาย
3. ทีมยุทธวิธี (tactical teams) คือ ทีมที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติการตามแผน
ซึ่งมีการกำหนดงานและบทบาทหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน ความสำเร็จของทีมยุทธวิธีจึงขึ้นอยู่กับความ
เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง การมีมาตรฐานการทำงานที่ชัดเจน และการปฏิบัติงานตามหน้าที่
อย่างแข็งขันของสมาชิกของทีม

ขั้นตอนการพัฒนาทีม
โดยทั่วไปขั้นตอนการพัฒนาทีมประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ขั้นรวมทีม (forming stage) เป็นระยะเริ่มต้น สมาชิกในทีมอาจจะยังไม่รู้จักกันดี
หรือเพิ่งเริ่มที่จะรู้จักกัน อาจมีการระมัดระวัง ป้องกันตนเอง ยังไม่กล้าแสดงความคิด บทบาทหน้าที่
และเป้าหมายของกลุ่มอาจจะยังไม่ชัดเจน ในขั้นนี้สมาชิกจะพยายามจำแนกว่าทีมควรจะทำอย่างไร
และเริ่มพัฒนาปฏิสัมพันธ์กันในระยะเริ่มแรก สมาชิกอาจเริ่มเข้าใจในคุณค่า ความเชื่อ และทัศนคติ
ของกันและกัน และจะเริ่มต้นทำงานตามบทบาทที่กำหนด และตามความคาดหวังของสมาชิกแต่ละ
คน (เป็ น ระยะที่ ส มาชิกที มทำความรู้จั กและสร้างความคุ้น เคยซึ่งกัน และกัน สมาชิกทีม จะมีการ
ทดสอบปฏิกิริยาของกันและกันว่าพฤติกรรมแบบใดที่ควรและไม่ควรกระทำ แต่ยังมีความสับสนและ
ความไม่แน่นอนวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และภาวะผู้นำในทีมจะเป็นอย่างไร และยังไม่มีเอกลักษณ์
และความรู้สึกเป็นเจ้าของทีมอย่างแท้จริง ขั้นตอนนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อสมาชิกแต่ละคนคิดว่าตนเองเป็น
สมาชิกของทีมแล้ว)
2. ขั้น เผชิญ มรสุ ม (stroming stage) เป็ น ระยะที่ มี ค วามขั ด แย้ งเกิ ดขึ้ น ภายในที ม
ค่อนข้างสูง สมาชิกมีการต่อต้านบทบาทการควบคุมของผู้นำทีม ถ้าสามารถคลายความขัดแย้งได้ และ
ผู้นำทีมได้รับการยอมรับ ก็แสดงว่าขั้นตอนและเชิญมรสุมได้ผ่านพ้นไปด้วยดี (ทีมเริ่มมีความตึงเครียด
และความขัดแย้งสูง เริ่มมีการตั้งคำถามถึงทิศทางและความก้าวหน้าของทีม สมาชิกบางคนอาจ
73

ต้องการให้ผู้นำใช้วิธีการชี้นำเพื่อให้การทำงานสำเร็จ สมาชิกบางคนตั้งคำถามถึงเป้าหมายของทีม
การมอบหมายงาน และกระบวนการทำงาน และต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง สมาชิกบางคนอาจ
แสดงความคับข้องใจ เนื่องจากงานของทีมมีความยากขึ้น และสมาชิกสงสัยในความสามารถของทีมว่า
จะสามารถไปถึงเป้าหมายหรือความสำเร็จหรือไม่ อาจจะมีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มย่อยๆในกลุ่มใหญ่
3. ขั้นกำหนดบรรทัดฐาน (norming stage) เป็นระยะที่ทีมมีความเหนียวแน่นมากขึ้น
ความใกล้ ชิดสนิ ทสนมต่อกัน มีเพิ่ มมากขึ้น มีความรู้สึ กว่าทีมมีเอกลั กษณ์ ของตน สามารถร่วมกัน
กำหนดบรรทั ดฐานของที ม เพื่ อ ใช้เป็ น หลั ก ในการทำงานและมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ต่อ กัน (ที ม จะพั ฒ นา
ความสามารถในการทำงานและความรู้สึกร่วมในการทำงานร่ วมกัน และการทำงานเป็นทีม จะมีการ
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และมุ่งที่การทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล)
4. ขั้นมีผลปฏิบัติงาน (performing stage) เป็นระยะที่ระบบและโครงสร้างของทีม
ได้ รั บ การยอมรั บ และตกลงร่ ว มกัน แล้ ว และที ม มี ค วามพร้อ มที่ จ ะปฏิ บั ติ งานร่ ว มกั น เพื่ อ ให้ งาน
บรรลุผลสำเร็จ (จะมีการเปิดกว้างและมีความร่วมมือกันภายในสมาชิกของทีม สมาชิกจะเต็มใจในการ
ปฏิ บั ติ ง านของตนและจะมี ก ารเปลี่ ย นแปลงตามที่ จ ำเป็ น ในระยะนี้ ที ม จะปฏิ บั ติ ง านอย่ า งมี
ประสิทธิผลทั้งในระดับบุคคล อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกทีมที่ตั้งขึ้นจะสามารถไปถึงขั้นที่ 4 ของการ
พัฒนาทีม แต่ทีมที่จะถึงระยะที่ 4 นี้จะเกิดการเรียนรู้ว่าจะบรรลุถึงความสมดุลระหว่างแนวทางของ
ทีมและของบุคคลได้อย่างไร และจะสามารถปรับตัวอดทนอย่างสร้างสรรค์ต่อความตึงเครียด ซึ่งจะ
ช่วยให้ทีมมีผลการปฏิบัติงานหรือผลิตผลที่สูงขึ้นได้
5. ขั้นสลายทีม (adjouring stage) เป็นระยะที่อาจเกิดขึ้นโดยมีการวางแผนล่วงหน้า
เช่น เมื่อเป้าหมายของทีมบรรลุแล้ว งานสำเร็จ หรือครบระยะเวลาที่กำหนด และอาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้
มีการวางแผนล่ วงหน้ า อาจเกิดจากประสบการณ์ ที่ไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน เช่น ความขัดแย้ง
ระหว่างสมาชิก และอาจทำให้สมาชิกในการลาออกไป นโยบายมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สามารถ
บรรลุเป้าหมาย ถ้าหากท่านสลายทีมเกิดขึ้นเนื่องจากงานของทีมสำเร็จแล้ว สมาชิกของทีมเดิมอาจจะ
มีการรวมตัวกันใหม่เป็นทีมอีกครั้ง หรืออาจจะมีสมาชิกใหม่เข้ามาร่วมทีมด้วย หรือหากไม่มีการรวม
ทีมกันอีก ทีมก็อาจจะสลายไป ในกรณีที่ทีมเข้าสู่ขั้นสลายทีมโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า อาจจะ
ก่อให้เกิดปั ญ หากับ สมาชิกตามมา เช่น สมาชิกเกิดความเครียด เกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ หมด
ความหวัง เนื่องจากเกิดความล้มเหลวในการทำงานเป็นทีมหลายๆครั้ง อย่างไรก็ตามหากผู้นำได้มีการ
ประเมินปัญหาหรือสาเหตุความล้มเหลวของทีมและหาแนวทางแก้ไข หรือป้องกันอย่างสร้างสรรค์
รวมถึงการพัฒนาทักษะและพฤติกรรมที่ดีในการทำงานร่วมกันเป็นทีม และพัฒนาภาวะผู้นำที่ดีทั้ง
ของผู้นำและของสมาชิกช่วยให้การรวมทีมประสบความสำเร็จและมีประสิทธิผลได้
74

ลักษณะของทีมงานที่มีประสิทธิผล
พาร์เกอร์ (Parker, 1990 อ้างถึงใน รัตติกรณ์ จงวิศาล, 2560) เสนอคุณลักษณะ 12
ประการของทีมงานที่มีประสิทธิผลดังต่อไปนี้
1. มีความชัดเจนในวัตถุประสงค์ พันธกิจ เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ของทีม
2. มีบรรยากาศการทำงานที่ไม่เป็นทางการ เรียบง่าย อบอุ่น เป็นกันเอง ยิ้มแย้ม
แจ่มใส มีอารมณ์ขัน
3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการอภิปรายและในกิจกรรมต่าง ๆ
4. การรับฟังซึ่งกันและกัน สมาชิกเคารพและตั้งใจฟังการแสดงความคิดเห็นของ
สมาชิกคนอื่น เปิ ดกว้างเต็มใจที่จ ะรับ รู้ข้อมูล และความคิดเห็ นต่าง ๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากของ
ตนเอง
5. ความไม่เห็นด้วยทางบวก สมาชิกในทีมมีการสื่อสารความคิดเห็นที่แตกต่าง
โดยมีการยอมรับความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วย ยอมรับจุดต่าง แสวงหาจุดร่วม ยืดหยุ่น มีการวิเคราะห์
ความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีระบบ
6. ความเห็นพ้องต้องกัน มีการใช้เทคนิคความเห็นพ้องต้องกันในการหาข้อยุติ
เกี่ยวกับปัญหา ความคิดหรือการตัดสินใจ ซึ่งแสดงออกถึงความมีสมานฉันท์และเอกภาพของทีม แต่
ไม่ได้มาจากการออกคะแนนเสียงหรือใช้เสียงส่วนใหญ่ สมาชิกมีการอภิ ปราย แลกเปลี่ยนข้อมูล ความ
คิดเห็น และหาข้อสรุปสุดท้ายที่สมาชิกยอมรับได้ และเต็มใจที่จะปฏิบัติตามมติของทีม แม้ว่าสมาชิก
บางคนอาจจะไม่เห็นด้วย
7. การสื่อสารที่เปิดเผย เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างทีมงานที่เต็มไปด้วยการ
เปิดเผย จริงใจ เชื่อมั่น และไว้วางใจซึ่งกันและกัน
8. บทบาทและการมอบหมายงานที่ชัดเจนในทีมงาน มีการกำหนดบทบาทที่
ชัดเจนตามลักษณะงาน ตามความคาดหวังของบุคคลและของทีมงาน มีการมอบหมายงานให้ทีมงาน
อย่างเสมอภาค
9. มีภาวะผู้นำร่วม หมายถึง ภาวะผู้นำของทีมไม่จำกัดเฉพาะผู้นำที่เป็นทางการ
เท่านั้น แต่สมาชิกทุกคนในทีมต้องมีภาวะผู้นำด้วย โดยแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ส่งเสริมการทำงาน
และส่งเสริมความสัมพันธ์ของทีมงานให้ดียิ่งขึ้น
10. ความสัมพันธ์กับภายนอก สมาชิกในทีมต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิก
ภายนอกที่เกี่ยวข้องกับงาน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่จะให้ข้อมูลด้านต่างๆ หรือให้ความช่วยเหลือสนับสนุน
งานด้านต่าง ๆ ของทีม
75

11. รูปแบบการทำงานที่หลากหลาย ทีมงานที่มีประสิทธิผลควรประกอบด้วย


สมาชิกที่มีความสามารถ มีทักษะ มีแนวคิด มีวิธีการทำงานที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป เพื่อ
ช่วยกันสร้างทีมให้มีความแข็งแกร่งและสามารถบรรลุเป้าหมายในการทำงานได้
12. การประเมิ น ตนเอง ที ม งานต้ อ งมี ก ารตรวจสอบและหาข้ อ มู ล ว่ าผลการ
ปฏิบัติงานของตนอยู่ในระดับใด มีปัญหาและอุปสรรคอะไรในการทำงาน มีการค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง
และแสวงหาแนวทางในการปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานของทีมของตนอยู่เสมอ

กระบวนการในทีม
แม้ว่าทีมในองค์การจะมีความแตกต่างหลากหลาย แต่ทุกทีมล้วนต้องมีกระบวนการใน
ทีมซึ่งเป็นระบบการดำเนินงานภายในทีม ครีมที่มีกระบวนการที่ดีย่อมทำให้ทีมสามารถปฏิบัติงานได้
อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ กระบวนการของทีมที่จะกล่าวถึง ได้แก่ การติดต่อสื่อสารในทีม
บรรทัดฐานของทีม ความเหนียวแน่นของทีม
1. การติดต่อสื่อสารในทีม
การติดต่อสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
ระหว่างสมาชิกเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน แต่ละทีมจะมีเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่ดี ซึ่งมีอิทธิพล
ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและพฤติกรรมของสมาชิก เครือข่ายการติดต่อสื่อสารภายในทีมมัก
ประกอบด้วย 3 รูปแบบดังต่อไปนี้
1.1 การติดต่อสื่อสารแบบลูกโซ่ เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่สมาชิกแต่ ละคน
จะติดต่อสื่อสารกับสมาชิกคนอื่นที่อยู่ถัดจากตนเองเท่านั้น ทำให้การเคลื่อนที่ของข้อมูลไม่เป็นอิสระ
เนื่องจากมีข้อจำกัดในการประสานงานและเชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับเพื่อนร่วมงานที่อยู่ถัดไปเท่านั้น
1.2 การติดต่อสื่อสารแบบวงล้อ เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่สมาชิกคนหนึ่งทำ
หน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารของทีม โดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้รับส่งข่าวสารและสร้างความ
เข้าใจกับสมาชิกคนอื่น ซึ่งบางครั้งอาจเป็นผู้ตัดสินใจและสั่งงานให้สมาชิกคนอื่นปฏิบัติตามหรือเป็น
ผู้นำของทีมนั่นเอง
1.3 การติดต่อสื่อสารแบบทุกช่องทาง เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่สมาชิกทุก
คนสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้โดยตรง ทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ
สมาชิกสามารถพูดจา สร้างความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็ นกันได้ โดยไม่ต้องผ่านบุคคล
ที่สาม
การติดต่อสื่อสารแต่ละรูปแบบมีข้อดีแตกต่างกัน ดังนั้นสมาชิกในทีมควรเลือกใช้แต่ละ
รูปแบบตามความเหมาะสม
76

2. บรรทัดฐานของทีม
ทีมมีบ ทบาทสำคัญ อย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงานของบุคคล เนื่องจากเพื่ อน
ร่วมงานเป็นแหล่งที่ให้ความสนับสนุน กำลังใจ ความรู้ และประโยชน์อื่น ๆ แก่บุคคล ทีมจึงเป็นกลุ่ม
ของผู้ที่มีความสำคัญหรือเป็นกลุ่มอ้างอิงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของบรรทัดฐานและค่านิยมต่าง ๆ ที่บุคคล
ยึดถือในการทำงาน บรรทัดฐานของทีม คือ แนวทางการปฏิบัติตนที่สมาชิกในทีมมีความเห็นพ้องกัน
อย่างไม่เป็นทางการ โดยถูกสร้างขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในทีม และชี้แนะให้บุคคล
ทราบว่า พฤติกรรมใดเป็นที่ยอมรับและพฤติกรรมใดไม่เป็นที่ยอมรับของทีม บรรทัดฐานของทีมจะทำ
หน้าที่เป็นแรงกดดันหรืออำนาจควบคุมทางสังคมที่คอยปรับพฤติกรรมของบุคคลอย่างเป็นทางการ
และไม่เป็นทาง บรรทัดฐานบางอย่างจะถูกถ่ายทอดให้สมาชิกทีมรับทราบอย่างโจ่งแจ้ง เช่น ประกาศ
และพิธีกรรมต่าง ๆ แต่บ รรทัดฐานบางอย่ างก็ได้รับการถ่ายทอดสู่ส มาชิกอย่างโจ่งแจ้ง เช่น การ
แสดงออกผ่านภาษาร่างกาย นอกจากนั้น บรรทัดฐานของที มยังมีลักษณะที่อ้างอิงตามสถานการณ์
และมีลักษณะเฉพาะทีมด้วย ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของทีมจะได้รับการลงโทษจากเครือข่ายทาง
สังคมของบุคคลผู้ฝ่าฝืนมิใช่จากระบบการลงโทษอย่างเป็นทางการขององค์การ
บรรทั ด ฐานของที มสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ บรรทั ด ฐานโดยนั ยและ
บรรทัดฐานตามการรับรู้ บรรทัดฐานโดยนัย หมายถึง ความคาดหวังเชิงพฤติกรรมที่ชี้แนะว่าบุคคล
หนึ่งควรจะปฏิบัติตนอย่างไรภายใต้สถานการณ์หนึ่ง ส่วนบรรทัดฐานตามการรับ หมายถึง แบบแผน
เชิงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการสังเกตการกระทำของสมาชิกอื่น ๆ ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ ในหลายกรณี
บรรทัดฐานตามการรับรู้จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมากกว่าบรรทัดฐานโดยนัย
การที่ บุ ค คลปฏิ บั ติ ตามบรรทั ดฐานของทีม นั้ น มีส าเหตุห ลายประการ เช่ น ผู้ ที่
ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของทีมเนื่องจากมีความต้องการที่จะได้รับการยอมรับทางสังคม บุคคลในสังคม
ได้รับการอบรมสั่งสอนว่าบรรทัดฐานที่สังคมกำหนดเป็นสิ่งที่ ดังนั้น การปฏิบัติตามสิ่งที่คนส่วนใหญ่
กระทำจะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกผิดกันออกจากทีม และผู้ที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของทีมจะมี
ส่วนรับผิดชอบน้อยที่สุดต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากความรับผิดชอบของแต่ละคนถูกแบ่ง
กระจายไปสู่ทีมโดยรวม เป็นต้น
3. ความเหนียวแน่นของทีม
ความเหนียวแน่นของทีม หมายถึง ระดับความดึงดูดและผูกพันระหว่างสมาชิกใน
ทีมและความต้องการที่จะคงอยู่ในทีมต่อไป สมาชิกของทีมที่มีความเหนียวแน่นมากจะมีความพึง
พอใจในทีม มีปฏิสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันและกัน ยอมรับและปฏิ บัติตามบรรทัดฐานของทีม ไม่โยน
ความผิดให้แก่ทีมงานล้มเหลว และไม่คิดจะลาออกจากการเป็นสมาชิกของทีม
77

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนียวแน่นของทีมมีอยู่หลายประการดังต่อไปนี้
1) ขนาดของทีม ที มที่มีขนาดเล็ กจะมีความเหนี ยวแน่น มากกว่าที มขนาดใหญ่
เพราะสมาชิกทีมสามารถติดต่อสัมพันธ์กันได้ง่ายและทั่วถึงมากกว่า และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ง่าย
กว่า ครีมที่มีขนาดใหญ่เกินไปนอกจากจะทำให้การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของทีมน้อยลงแล้ว
ยังอาจทำให้เกิดการรวมกลุ่มย่อย ๆ ซ่อนอยู่ในทีมใหญ่อีกด้วย ซึ่งอาจทำให้ความเหนียวแน่นของทีม
โดยรวมลดลง
2) เวลาที่อยู่ร่วมกัน ปริมาณเวลาที่สมาชิกทีมมีปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกันมี
อิทธิพลต่อความเหนียวแน่นของทีม หากทีมได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกันมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้ความเหนียว
แน่นเพิม่ มากขึ้นเท่านั้น
3) ความคล้ายคลึงกัน หากสมาชิกของทีมมีความคล้ายคลึงกันในด้านต่างๆ เช่น
ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ เชื้อชาติ ศาสนา ก็จะทำให้เกิดความชอบพอกันได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้เกิด
ความเหนียวแน่นในทีมตามมา ในทางตรงกันข้าม หากสมาชิกของทีมมีความแตกต่างกั นมาก ก็จะทำ
ให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย ซึ่งทำให้เกิดความเหนียวแน่นได้ยากขึ้น
4) ภัยคุกคามจากภายนอก ถ้าทีมต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากภายนอก สมาชิกของ
ทีมจะต้องรวมตัวกันต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ซึ่งทำให้ทีมต้องหันหน้าเข้าหากันและร่วมกันทำงานเพื่อ
เอาชนะภัยคุกคามจากภายนอก และส่งผลให้ทีมเกิดความเหนียวแน่นกันมากขึ้น
5) ความสำเร็จของทีม ทีมที่มีประวัติประสบความสำเร็จในการทำงาน จะช่วยสร้าง
ความภาคภูมิใจที่ดึงดูดให้สมาชิกทีมมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สมาชิกทีมจะมีความพึงพอใจและ
ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม เพิ่ งส่งเสริมให้ทีมมีความรักใคร่ กลมเกลียว และทำงานร่วมกันเพื่อ
ความสำเร็จของทีมต่อไปในอนาคต
การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตอีกอย่างหนึ่ง การทำงานบางอย่าง
ต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน เป็น ทีมจึงจะประสบความสำเร็จ เนื่องจากบุคคลมีความสามารถ แต่
ความสามารถของแต่ละบุคคลมีจำกัด การนำความสามารถของแต่ละคนมารวมกันจึงทำให้เกิดผลงาน
มากขึ้ น และมี โ อกาสประสบความสำเร็ จ มากขึ้ น อี ก ทั้ ง งานบางอย่ า งต้ อ งอาศั ย ความคิ ด ริ เริ่ ม
สร้างสรรค์ จึงต้องการคนมาทำงานด้วยการคิดร่วมกัน งานจึงออกมาสำเร็จ หน่วยงานหรือองค์การใด
สามารถสร้างทีม พัฒ นาทีมให้ทำงานร่วมกันได้ หน่วยงานหรือองค์การนั้นจะก้าวหน้าไปได้อย่าง
รวดเร็ว ทีมงานที่ดีจึงส่ งผลให้ งานเกิดประสิ ทธิภ าพและประสิทธิผ ลต่อองค์การและช่วยลดความ
สูญเสียขององค์การ
78

ภาวะผู้นำ (Leadership)

ความหมายของภาวะผู้นำ
ผู้ น ำ หมายถึ ง ผู้ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ บุ ค คลอื่ น เป็ น ผู้ ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ในการกำหนด
เป้าหมายและชี้แนะแนวทางการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้นำ คือ
ผู้ที่สามารถโน้มน้าวจูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานต่าง ๆ จนสามารถบรรลุเป้าหมายของกลุ่ม
ภาวะผู้นํา หมายถึง คุณลักษณะ พฤติกรรม ความสามารถ หรือกระบวนการที่เป็น
ปฏิสัมพันธ์ หรือเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลที่สามารถมีอิทธิพลต่อผู้อื่น สามารถสร้างแรงบันดาล
ใจ สร้างความปรารถนา ทำให้เกิดความเชื่อถือศรัทธา การยอมรับ ความพยายาม การอุทิศตัว การใช้
ความสามารถอย่างดีที่สุด และช่วยเพิ่มพลังอำนาจของผู้อื่น เพื่อให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมาย
(รัตติกรณ์ จงวิศาล, 2556)
ผู้นำมีความสำคัญต่อองค์การหลายประการดังต่อไปนี้
1. เป็นพูดโน้มน้าวจูงใจให้บุคลากรในหน่วยงานปฏิบัติงานต่าง ๆ ด้วยความทุ่มเทและ
เสียสละจนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากผู้นำเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือและศรัทธาจาก
ผู้อื่น ดังนั้น ย่อมเป็นการง่ายที่ผู้นำจากกระตุ้นหรือชี้นำให้บุคลากรทำงานอย่างเต็มความสามารถ
2. เป็นผู้ประสานความเข้าใจและขจัดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกภายในทีม ความ
ขัดแย้งเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเป็นปกติภายในหน่วยงาน แต่ผู้นำจะเป็นผู้ที่ช่วยจัดการให้ความขัดแย้ง
เหล่านั้นยุติลงอย่างสร้างสรรค์และเป็นผลดีต่อหน่วยงาน
3. เป็นผู้ที่ผลักดันให้การดำเนินงานของทีมหรือหน่วยงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมี
ประสิ ทธิภ าพ เนื่ องจากการเสนอความคิดหรือแผนการต่าง ๆ ของผู้ นำมักได้รับความเชื่อถือและ
ยอมรับจากสมาชิกภายในหน่วยงาน ดังนั้น การผลักดันให้องค์การดำเนินงานไปอย่างถูกทิศทางและมี
ประสิทธิภาพจึงเป็นไปได้สูงมาก

ความสำคัญของภาวะผู้นำ
ในหน่วยงาน องค์การ หรือสถาบันต่าง ๆ ล้วนต้องประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นผู้นำ
เพื่อนำพาให้หน่วยงาน องค์การ หรือสถาบันประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดขึ้นร่วมกัน
สำหรับสถาบันที่ใกล้ชิดกับบุคคลมากที่สุดทั้งสถานบันครอบครับและสถาบันการศึกษา ย่อมมีบุคคล
ซึ่งเป็นผู้นำด้วยเช่นกัน ในสถาบันครอบครัวกล่าวกันว่า ภาวะผู้นำของพ่อแม่ ส่งผลต่อความสำเร็จและ
พัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ จิตวิญญาณ สติปัญญา คุณธรรม ความดี
งาม รวมถึงความสุขของลูกด้วย และสำหรับสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับโรงเรียนไปจนถึง
79

มหาวิทยาลัย ภาวะผู้นำของครูอาจารย์ยังส่งผลต่อความสำเร็จของนักเรียนนิสิตนักศึกษา ก่อให้เกิด


การพัฒ นาความรู้ ความสามารถ ศักยภาพ ความฉลาดทางสติปัญ ญา (intelligence) การพัฒ นา
ปัญญา (wisdom) รวมถึงการพัฒนาคุณธรรม และที่สำคัญรวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นำของนักเรียน
นักศึกษาด้วย นอกจากนั้นแล้วภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้บริหารมหาวิทยาลัยยังส่งผลต่อ
การพัฒ นาความสามารถ การใช้ศักยภาพ และแรงจูงใจในการทำงานของครูอาจารย์และบุคลากร
รวมถึงการพัฒนาความสำเร็จของสถาบันการศึกษาด้วย

คุณลักษณะของผู้นำ
การศึกษาคุณ ลักษณะของผู้ นำอย่างเป็นระบบเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1900
โดยมี ค วามเชื่ อ พื้ น ฐานว่ า จะต้ อ งมี คุ ณ ลั ก ษณะบางอย่ า งที่ ท ำให้ บุ ค คลหนึ่ ง กลายเป็ น ผู้ น ำของ
ผู้อื่น ดังนั้นนักวิชาการจึงพยายามศึกษาและระบุคุณลั กษณะต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวของผู้นำที่มีชื่อเสียง
ทั้งในวงการธุรกิจ วงการเมือง และวงการทหาร เช่นประธานาธิบดีอับราฮัม ลิงคอล์น และมหาตมะ
คานที อาจกล่าวได้ว่า คุณลักษณะที่มีความสำคัญมากต่อการเป็นผู้นำอาจมีอย่างน้อย 5 ประการ
ดังต่อไปนี้ (Northouse, 2009 อ้างถึงใน ชูชัย สมิทธิไกร, 2557)
1. ความสุจริต หมายถึง เป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ น่าไว้วางใจ รักษาสัญญา ซื่อสัตย์
จริงใจ และไม่แสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบ
2. สติปัญญา หมายถึง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มองการณ์ไกล มีความคิด
สร้างสรรค์
3. ความเชื่อมั่นในตนเอง หมายถึง เป็นผู้ที่มีความมั่นใจในความสามารถของตนเอง
รวมทั้งรู้สึกเห็นคุณค่าและนับถือในตนเอง
4. ความมุ่งมั่น หมายถึง เป็นผู้ที่พร้อมจะต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคทั้งปวง เพื่อให้การ
ทำงานบรรลุผลสำเร็จ โดยไม่ยอมแพ้หรือท้อถอยอย่างง่าย ๆ
5. มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง เป็นผู้ที่มีความสามารถติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
มีท่าทีเป็นมิตร คำนึงถึงผู้อื่น และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น
ผู้นำที่ประสบความสำเร็จในสังคมไทยจำเป็นต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะ
บุคลิกภาพ ค่านิยม และความเชื่อของคนไทย รวมทั้งวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
ของสังคมไทย และที่สำคัญผู้นำยังควรมีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตและการบริหารงาน
กล่าวคือ ผู้นำที่ดีในสังคมไทยควรจะยึดถือหลักการสำคัญ 3 ประการ ซึ่งได้แก่ ครองตน ครองงาน
และครองคน (ชูชัย สมิทธิไกร, 2557)
80

1. การครองตน หมายถึง การแสดงออกทางกาย วาจา และใจที่ดีงาม ตามหลักศีล


(ได้แก่ การเจรจาชอบ การกระทำชอบ และการเลี้ยงชีพชอบ) สมาธิ (ได้แก่ เพียรชอบ ระลึกชอบ
และตั้งใจมั่นชอบ) และปัญญา (ได้แก่ เห็นชอบ และดำริชอบ)
2. การครองงาน หมายถึง การจัดการกิจการงานต่างๆโดยอาศัยหลักอิทธิบาท 4 ได้แก่
ฉันทะหรือความรักในงาน วิริยะหรือความเพียร จิตตะหรือความมีใจจดจ่อในงาน และวิมังสาหรือการ
สังเกตและประเมินผลการปฏิบัติงาน
3. การครองคน หมายถึง การเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ โดยยึดหลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่
ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา และพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
หลักการครองตน ครองงาน และครองคน จึงเป็นหลักการที่เน้นทั้งคุณลักษณะและ
พฤติกรรมของผู้นำที่ดี เนื่องจากคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้นำจะเป็นสิ่งที่ชี้ขาดว่าผู้นำคนนั้นจะ
ได้รับการยอมรับนับถือและศรัทธาจากผู้ ตามหรือ ผู้นำคนใดที่มีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่ขัดต่อ
จริยธรรมและศีลธรรมของสังคม รวมทั้งวัฒ นธรรมองค์การ ย่อมถูกปฏิเสธจากผู้ตามอย่างแน่นอน
ดังนั้น ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำจึงต้องมีทั้งคุณลักษณะที่ดีและพฤติกรรมที่เหมาะสม
นอกจากนี้ รั ตติ กรณ์ (2549 อ้างถึงใน รัตติก รณ์ จงวิศาล, 2560) ได้เสนอแนวคิ ด
ภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบ ที่ได้ศึกษาวิจัยจากกลุ่มผู้บริหารและผู้บังคับบัญชาไทย ซึ่งภาวะผู้นำ 6
องค์ ป ระกอบ หมายถึ ง พฤติ ก รรมหรื อ กระบวนการที่ ผู้ บ ริ ห ารหรื อ ผู้ บั งคั บ บั ญ ชามี อิ ท ธิ พ ลต่ อ
ผู้ใต้บังคับบัญชา และจูงใจหรือสนับ สนุน ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจกรรมเพื่อให้
บรรลุเป้าหมายของทีมหรือกลุ่มหรือองค์การ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้
1. องค์ประกอบที่ 1 การส่งเสริมแรงบันดาลใจผู้ใต้บังคับบัญชา หมายถึง พฤติกรรม
ของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาที่ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความรักองค์การ พัฒนาตนเอง และมี
ส่วนร่วมในการทำงาน อีกทั้งตัวผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาเองต้องทำหน้าที่เป็นผู้จุดประกายความคิ ด
ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความสามารถหรือศักยภาพของตนเอง สร้าง
แรงบันดาลใจให้ทีมงานและให้ความสำคัญกับคนมากที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด
2. องค์ ป ระกอบที่ 2 การใส่ ใจและปรารถนาดี ต่ อ ผู้ อื่ น หมายถึ ง พฤติ ก รรมของ
ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาที่แสดงออกซึ่งการรักษาน้ำใจผู้ใต้บังคับบัญชา พยายามทำให้ผู้อื่นมีความ
ออมชอมประโยชน์แก่ทุกฝ่าย มีเมตตา กรุณา อ้อมอารี สร้างความสนิทเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา
และให้อภัยแก่ความผิดพลาดของผู้อื่น
3. องค์ ป ระกอบที่ 3 การมี ศีล ธรรมในการประกอบการ หมายถึ ง พฤติ ก รรมของ
ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาที่มีความพิถีพิถันกับงาน หรือคุณภาพของสินค้าหรือบริการ รักษาคำพูด
ยึดมั่นในศีลธรรม มีการดำเนินการอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้และมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น
81

4. องค์ป ระกอบที่ 4 ความสามารถในการคิด เชิงกลยุท ธ์ หมายถึง พฤติก รรมของ


ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาที่แสดงออกซึ่งการมีวิสัยทัศน์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มองการณ์ไกล
และมีความคิดเชิงกลยุทธ์
5. องค์ประกอบที่ 5 การเสริมสร้างจิตสำนึกต่อสังคม หมายถึง พฤติกรรมของผู้บริหาร
หรือผู้บั งคับบั ญชาที่ยึดหลักธรรมาภิบาล ปลู กฝังให้คนในองค์การเสีย สละเพื่อส่วนรวมและสั งคม
ปลูกฝังจริยธรรมให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างและส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีที่ดี และดำเนินงานหรือ
ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นประโยชน์ให้กับสังคม
6. องค์ประกอบที่ 6 การเปิดกว้างยอมรับสิ่งต่าง ๆ หมายถึง พฤติกรรมของผู้บริหาร
หรือผู้บังคับบัญชาที่รับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และยอมรับข้อด้อยของ
ตนเอง
ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่บุคคลจำเป็นต้องมี ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเฉพาะบุคคลที่เป็นผู้นำเท่านั้น
เนื่องจากภาวะผู้นำเป็นการแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ส่งเสริมการทำงาน และส่งเสริมความสัมพันธ์ใน
การทำงานร่วมกับผู้อื่นให้ดียิ่งขึ้น จึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้บุคคลประสบ
ความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพได้ในอนาคต

สรุป

การร่วมมือหรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นทักษะที่สำคัญเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
เป็นความสามารถปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตหรือประกอบอาชีพร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อีกทั้งยัง
เป็นการยอมรับความสามารถและความแตกต่างของความแตกต่างระหว่างบุคคลควบคู่ไปกับการมี
ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม การสร้างทักษะการร่วมมือสามารถเกิดขึ้นได้จากการมีโอกาสได้ทำงาน
ร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม สร้างเป้าหมายร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน และทำให้งานต่าง ๆ บรรลุตามเป้าหมาย
ที่สร้างไว้ร่วมกัน
การทำงานเป็ น ที ม เป็ น การรวมตัว กัน ทางสั งคมของบุค คลจำนวนหนึ่งเพื่ อทำกิจกรรม
ทำงาน หรือปฏิบั ติภ ารกิจ อย่ างใดอย่างหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน มีการแบ่ ง
บทบาทหน้าที่กัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน มีการประสานงานกัน และมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้กิจกรรม งาน หรือภารกิจสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งการจะสามารถทำงานเป็นทีมได้ ต้องผ่าน
ขั้นตอนการพัฒนาทีม เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในทีมเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม และร่วมกันสร้างงาน
ของทีมให้มีประสิทธิผลและสำเร็จตามเป้าหมาย โดยอาศัยกระบวนการในทีมที่ประกอบด้วยการ
ติดต่อสื่อสารในทีม บรรทัดฐานของทีม และความเหนียวแน่นของทีม
82

ภาวะผู้นำ เป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่จะส่งเสริมให้การร่วมมือและการทำงานเป็นทีมประสบ
ความสำเร็จได้มากขึ้น ทำให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้มากขึ้น ซึ่งคุณลักษณะของภาวะผู้นำ
ที่มีความสำคัญอย่างน้อย 5 ประการ ได้แก่ ความสุจริต สติปัญญา ความเชื่อมั่นในตนเอง ความมุ่งมั่น
และมนุษยสัมพันธ์ นอกจากนี้ ภาวะผู้นำยังประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประกอบ คือ ครองตน ครอง
คน ครองงาน เพื่อให้การดำเนินชีวิตและการทำงานร่วมกับผู้อื่นประสบความสำเร็จ

กิจกรรมและแบบฝึกหัดท้ายบท

กิจกรรม
1.1 นั ก ศึ ก ษาอธิ บ ายคุ ณ ลั ก ษณะของตนเองที่ ส อดคล้ อ งกั บ ภาวะผู้ น ำอย่า งน้ อ ย 3
ประการ
1.2 นักศึกษาระดมสมองร่วมกันสร้างผังความคิด (mind map) เพื่อสรุปประเด็นการ
ทำงานเป็นทีม

แบบฝึกหัดท้ายบท
จงตอบคำถามต่อไปนี้
2.1 จงสรุปความหมายของการร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
2.2 จงอธิบายทักษะการร่วมมือ
2.3 จงสรุปขั้นตอนการพัฒนาทีม
2.4 จงอธิบายลักษณะของทีมที่มีประสิทธิภาพ
2.5 จงสรุปคุณลักษณะของผู้นำ
83

เอกสารอ้างอิง

ชูชัย สมิทธิไกร. (2557). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :


สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชนก ธรรมวงศา. (2561). COLLABORATIVE SKILL : เพราะปัญหายุคใหม่แก้ไม่ได้เพียง
ลำพัง สร้างห้องเรียนเป็นทีมเวิร์คเสียตั้งแต่ตอนนี้. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563, จาก
https://thepotential.org/knowledge/collaborative-skill/
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2560). มนุษยสัมพันธ์ : พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

You might also like