You are on page 1of 36

1

โครงงานคุณธรรม
เรื่อง 1 คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม

จัดทำโดย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1

ครูที่ปรึกษา
นายคมไผ่ พรรณา
นางสาวรัศมี คำกอง

โรงเรียนสร้างนกทาวิทยาคม
ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ

ชื่อโครงงาน 1 คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม


คณะผู้จัดทำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
ครูที่ปรึกษา 1. นายคมไผ่ พรรณา
2. นางสาวรัศมี คำกอง
ปีที่จัดทำ 2565
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทคัดย่อ
โครงงาน เรื่อง “1 คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม” มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเป็นการฝึกให้
นักเรียนมีจิตอาสาในการพัฒนาหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน ๒) เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อ
หน้าที่ของตนเอง รู้จักการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ ๓) เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนา
คุณธรรม จริยธรรม และรู้จักร่วมมือกันดูแลสาธารณสมบัติของส่วนรวม รู้จักการเสียสละประโยชน์
ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 22 คนโดย
มี ก ารศึก ษาหาข้อ มูล เกี่ยวกับกิจ กรรมที ่ จ ะพั ฒนาชุ ม ชน ประกอบด้ ว ย ตั ้ ง หั ว ข้ อ กิ จ กรรมที ่ จะ
ดำเนินการ คัดเลือกหัวข้อกิจกรรมที่จะดำเนินงาน ศึกษาสถานที่ที่จะดำเนินงาน และกำหนดวัน เวลา
สถานที่และกิจกรรมที่จะดำเนินงาน
จากการทำโครงงาน พบว่า
1. นักเรียน ชั้น ม.6/1 ทุกคนมีจิตอาสาในการพัฒนาหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน
๒. นักเรียน ชั้น ม.6/1 ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง รู้จักการสร้างความ
สามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ
๓. นักเรียน ชั้น ม.6/1 ทุกคนรู้จักร่วมมือกันดูแลสาธารณสมบัติของส่วนรวม รู้จักการ
เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
สารบัญ ข
บทที่ 1 บทนำ 1
บทที่ 2 หลักการและหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง 3
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการโครงงาน 10
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 11
บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ 13
บรรณานุกรม 15
ภาพประกอบการดำเนินโครงงาน 16
1

บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สภาพของสังคมปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าทางด้านวิวัฒนาการและด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ
รวมทั้งวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของมนุษย์สภาพสังคมปัจจุบั น คนต้อง
ดิ้นรนต่อสู้ช่วยเหลือตนเอง และเพื่อความอยู่รอดโดยเน้นประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก สังคมปัจจุบั นจึง
เกิดความเห็นแก่ตัว ทุจริตคดโกง เอารัดเอาเปรียบ ให้ความชื่นชมและยกย่องทางด้านวัตถุนิยม และ
ขาดความสามัคคีโดยละเลยความเจริญทางด้านจิตใจ ซึ่งสิ่งเหล่านีเ้ ป็นหนทางแห่งความเสื่อมทางด้าน
จิตใจ จึงควรอย่างยิ่งที่เราควรร่วมมือกันแก้ไขเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป การที่จะทำให้ปัญหาเหล่านี้
บรรเทาลงได้ต้องอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่ง
เป็นคำสอนหลักที่สามารถนำมาประยุกต์ได้เป็นอย่างดี
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ทุกคนเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้รวมกลุ่มกันเพื่อบำเพ็ญ
ประโยชน์ต่อสังคม โดยการทำความสะอาดหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน ซึ่งยึดคุณธรรมนำความรู้สร้าง
ความตระหนักสำนึกในคุณค่าตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติ วิธี วิถี
ประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือ
ของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนา และสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาตนเองให้
เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพ
สูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
ที่ต้องการส่งเสริมให้เยาวชนเป็นคนดีคนเก่ง และมีความสุข ร่วมกันสืบสานพระราชปณิธานของใน
หลวงด้านจิตอาสาในโครงการ “จิตอาสา เราทำความดีด้วยหัวใจ”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียนมีจิตอาสาในการพัฒนาหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน
๒. เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง รู้จักการสร้างความสามัค คีใ ห้
เกิดขึ้นในหมู่คณะ
๓. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และรู้จักร่วมมือกันดูแลสาธารณสมบัติของ
ส่วนรวม รู้จักการเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
เป้าหมายของการแก้ปญ ั หา
1. เป้าหมายเชิงปริมาณ : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 22 คน
2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ :
- เป้าหมายระยะสั้น : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6/1 จำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม
- เป้าหมายระยะยาว : ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6/1 จำนวน 22 คน เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม
2

หลักธรรมที่นำมาใช้
อิทธิบาท 4 ธรรมะทีใ่ ช้ในการทำงาน ประกอบด้วย
1. ฉันทะ คือ ความรักงาน พอใจกับงานที่ทำอยู่
2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน
3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน
4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ ประกอบด้วย


1. ขยัน คือ ความตั้งใจความอดทน การกระทำด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่น
2. ประหยัด คือ รูจ้ ักใช้อย่าง ประหยัดและรู้จกั พอเพียง
3. ซื่อสัตย์ คือ ความ เทีย่ งตรง
4. มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน
5. สุภาพ คือ การแสดงออก ด้วยความอ่อนโยน
6. สะอาด คือ ความสะอาด เป็นระเบียบ เรียบร้อย
7. สามัคคี คือ การร่วมมือ ร่วมใจกัน
8. มีน้ำใจ คือ การแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
คุณธรรมอัตลักษณ์
คุณธรรมเป้าหมาย : ความรับผิดชอบ ความมีจติ สาธารณะ
พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก : นักเรียนสร้างความดีอย่างน้อย 1 กิจกรรม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้คณ
ุ ธรรมจริยธรรมและปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนาได้
๒. ถนนในชุมชน วัด และโรงเรียนสะอาด สวยงามน่าอยู่
๓. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีจติ สาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ให้กับชุมชน
๔. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความสามารถได้เข้าร่วมกิจกรรมกับสังคม มีความรู้ ความสามารถ
มีประสบการณ์ได้ประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด และส่งเสริมให้ผู้อื่นมีจิตอาสาต่อไป
๕. ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสารวมไปถึงสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นการ
ขัดเกลา ทางจิตใจให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้รู้คณ
ุ ค่าของการแบ่งปันและการช่วยเหลือผู้อื่น
๖. ปริมาณขยะในชุมชนลดลง
3

บทที่ 2
หลักการ และหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง
อิทธิบาท 4
หมายถึง หลักธรรม 4 ประการ สำหรับการทำงานหรือทำสิ่งใด ๆ เพือ่ ให้งานประสบ
ความสำเร็จตามที่มุ่งหวังไว้ ซึ่งประกอบด้วย
1. ฉันทะ (ความรัก และความพอใจ)
2. วิริยะ (ความเพียร)
3. จิตตะ (ความเอาใจจดจ่อ ความเอาใจใส่)
4. วิมังสา (การใช้ปัญญาไตร่ตรอง ตรวจสอบ)
1. ฉันทะ หมายถึง ความรัก และความพอใจในสิ่งนั้น ๆ คือ เมื่อทำสิ่งใดก็ทำด้วยความพอใจ
ด้วยความรักในสิ่งนั้น ทำสิ่งนั้นด้วยความเต็มใจ ไม่เบื่อหน่ายในกิจที่ทำ (การเต็มใจ)
2. วิริยะ หมายถึง ความเพียรในการกระทำสิ่งนั้น ๆ คือ เมื่อทำสิ่งใดก็ทำด้วยความขยันหมั่นเพียร
ด้วยความพยายาม และมีมานะอุตสาหะ ไม่ทอดทิ้งกิจที่ทำนั้น (การแข็งใจ)
3. จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่ ความเอาใจจดจ่อในสิ่งที่ทำ ไม่วางธุระในสิ่งนั้น ๆ คือ เมื่อ
ทำสิ่งใดก็ทำด้วยความรู้จักไตร่ตรอง ทำด้วยปัญญา รู้จักพิจารณาใคร่ครวญ รู้จักพินิจพิเคราะห์
ทดลอง ทดสอบ ตรวจหาสาเหตุด้วยความรอบคอบ (การเข้าถึง)
4. วิมังสา หมายถึง การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง ตรวจสอบในสิ่งนั้นๆ คือ เมื่อทำสิ่งใดก็
ทำด้วยความรู้จักไตร่ตรอง ทำด้วยปัญญา รู้จักพิจารณาใคร่ครวญ รู้จักพินิจพิเคราะห์ ทดลอง ทดสอบ
ตรวจตราหาสาเหตุด้วยความรอบคอบ (การเข้าใจ)
“อิทธิบาท” มาจากคำว่า อิทธิ หมายถึง ความสำเร็จ บาท หมายถึง วิถีทางที่จะนำไปสู่
ดังนั้น คำว่า “อิทธิบาท” หากแปลตามคำจึงหมายความว่า วิถีทางหรือหลักการ ที่จะนำไปสู่จุดหมาย
ปลายทางหรือไปสู่ความสำเร็จได้ ซึ่งมี 4 ประการ หรือเรียกว่า อิทธิบาท 4
อิทธิบาท ถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามความประสงค์ 4 อย่าง ซึ่ง
เป็นหลักใกล้เคียงกับหลักการพึ่งตนเอง แต่แสดงให้เห็นว่าพึ่งตนเองอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ ซึ่ง
คำว่า อิทธิ นอกจากจะแปลว่า สำเร็จแล้ว ยังแปลว่า ฤทธิ์ของมนุษ ย์ ที ่ แสดงได้ จะโดยวิธีท าง
วิทยาศาสตร์หรือจิตศาสตร์ก็ตาม ซึ่งต้องอาศัยหลักอิทธิบาท 4
พุทธทาสภิกขุ อธิบายว่า การทำงานแบบใดๆ โดยไม่รู้สึกตัว มีระดับมากน้อยแตกต่างกัน คน
ที่ทำงานด้วยความพอใจ ขยันขันแข็ง เอาใจใส่ใคร่ครวญอยู่เสมอนั้น เรียกว่า มีอิทธิบาท 4 ประการ
มีการปฏิบัติโดยไม่ได้ตั้งตัว ซึ่งอิ ทธิบาททั้ง 4 ประการนี้ ถ้าปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น
เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม ย่อมที่จะประสบความสำเร็จดังประสงค์
อิทธิบาท 4
1. ฉันทะ (aspiration)
ฉันทะ แห่งอิทธิบาท 4 คือ ความพอใจ รักใคร่ เต็มใจ และฝักใฝ่ในงานอยู่เสมอ ทุ่มเท
ความสามารถ และปรารถนาเพื่อ ที่จะทำงานนั้นให้ดีที่สุด ด้วยการรักในงานของตน ชอบในงานของ
4

ตน งานในที่นี้หมายถึง สิ่งที่เราทำ ผู้ใดมีงานอะไรแล้วมีความรักใคร่พอใจในงานนั้น เรียกว่า มีฉันทะ


คนที่ขาดฉันทะ ไม่พอใจในงานของตน มักจะทำงานด้วยความเหน็ดเหนื่อยใจ และชอบทิ้งงานให้จับ
จดและคั่งค้าง ความอยากหรือความฝักใฝ่ทเี่ กิดจากฉันทะนี้ มิได้มีความหมายเหมือนกับความอยากได้
เพื่อให้ได้มาซึ่งการเสพเสวยแก่ตนในทุกสิ่งทุกอย่าง หรือที่เรียกว่า ตัณหา เพราะความอยากที่เกิดจาก
ฉันทะนั้น เป็นความอยากในทางสุจริตที่ต้องมีการทุ่มเทกำลังกาย และกำลังใจเพื่อให้สิ่งนั้นสำเร็จตาม
ความมุ่งหมาย ภายใต้พื้นฐานของคุณธรรม และความดี
องค์ประกอบของฉันทะ
1. ความยินดีในสิ่งที่ทำนัน้ ๆ
2. ความพอใจในสิ่งที่ทำนั้น ๆ
3. ความเต็มใจในขณะทีท่ ำสิ่งนั้น ๆ
4. ความมีใจรักในขณะทีท่ ำสิ่งนั้น ๆ
5. ความอยากหรือฝักใฝ่ที่จะทำสิ่งนั้น ๆ ให้บรรลุถึงจุดหมาย
ทั้งนี้ ลักษณะของฉันทะที่เกิดขึ้นมิได้เพียงใช้สำหรับการกระทำในการงานเพียงอย่างเดียว แต่
สามารถนำไปใช้เป็นหลักการดำเนินชีวิตในด้านอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน ได้แก่
- ความยินดี และพอใจในฐานะทางครอบครัว
- ความยินดี และพอใจในทรัพย์สินที่ตนมี
- ความยินดี และพอใจในความสามารถของตน
- ความยินดี และพอใจในคู่ครองของตน
- ความยินดี และพอใจในตำแหน่ง และหน้าที่ของตนในสังคม
- ความยินดี และพอใจในศาสนาหรือลัทธิที่ตนนับถือ
ฯลฯ
ฉันทะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตภายใต้หลักธรรม คือ โยนิ โสมนสิการ คือ การรู้จักคิด วิเคราะห์
หรือคิดในทางที่ถูก และเหมาะสมเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ภายใต้สภาวะแห่งเหตุ
และผล ดังนั้น เมื่อเกิดฉันทะ คือ ความพอใจหรือยินดีในสิ่งนั้นแล้ว ย่อมทำให้เป็นผู้ที่รู้จักใช้โยนิโส
มนสิการ คือ การคิดวิเคราะห์หาแนวทางที่จะดำเนินต่อไป ซึ่งจะนำมาสู่การเกิดวิริยะ คือ ความเพียร
ในแนวทางนั้น ต่อไป
2. วิริยะ (exertion)
วิริยะ แห่งอิทธิบาท 4 คือ ความเพียรพยายาม ความอุตสาหะ และมานะบากบั่น ที่จะ
ทำงานหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีที่สุด ไม่ท้อถอยเมื่อเกิดอุปสรรค และความยากลำบากต่าง ๆ ด้วยการ
มองปัญหาหรืออุปสรรคที่ขัดขวางต่อการทำสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทาย และต้องเอาชนะให้สำเร็จ
วิริยะ เป็นความเพียรที่ประกอบความดี มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ทอดธุระ เป็นเครื่องพยุง
ความพอใจไม่ให้ท้อถอยในการทำงาน เพราะว่างานทุกชนิดมักจะง่ายตอนคิด แต่มั กจะติดตอนทำจึง
จำเป็นต้องใช้ความพยายามเรื่อยไปจนกว่าจะสำเร็จตามความพอใจที่ปลูกไว้
วิริยะ หรือ ความเพียรนี้ มีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานหรือการกระทำต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ในขณะนั้น เพราะหากต้องการความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ก็ต้องจำเป็นต้องมีความพยายาม
เป็นสำคัญ แต่ความพยายามนี้ มิใช่หมายครอบคลุมถึง การปฏิบัติหรือการกระทำที่ไม่มีวันหยุด หรือ
5

ไม่รู้ซึ่งพื้นฐานของตนเอง ที่มาจากหลักธรรมแห่งโยนิโสมนสิการ คือ การรู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุ


และผลในคันรองคลองธรรม เช่นกัน
ประเภทของวิริยะ
1. สังวรปธาน หมายถึง เพียรระวัง คือ การกระทำสิ่งใดๆจะต้องรู้จักพึงระวังรอบคอบด้วย
การรู้จักเหตุ และผล ไม่ตั้งอยู่ในความประมาทหรืออกุศลกรรมทั้งปวง
2. ปหานปธาน หมายถึง เพียรละ คือ การรู้จักละ ลด หรือหลีกเลี่ยงจากอกุศลกรรมทั้งปวงที่
จะเป็นเหตุทำให้การกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ประสบความสำเร็จ
3. ภาวนาปธาน หมายถึง เพียรบำเพ็ญ คือ การรู้จักเพียรตั้งมั่น และอุทิศตนต่อการกระทำ
ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างสม่ำเสมอ
4. อนุรักขนาปธาน หมายถึง เพียรตามรักษาไว้ คือ รู้จักรักษาหรือทำให้ความเพียรในสิ่งนั้น ๆ
คงอยู่กับตนเป็นนิจ
องค์ประกอบของวิริยะ
1. ความเพียรในการทำสิ่งนั้นๆในทางที่ถูกตามเหตุ และผล ภายใต้พื้นฐานตามหลักคุณงาม
ความดี
2. การมีความกล้า และความแน่วแน่ที่จะทำในสิ่งนั้นๆ
3. การไม่ละทิ้งซึ่งการงานหรือสิ่งที่กำลังทำอยู่
4. การความอุตสาหะ และอดทนต่อความยากลำบากอย่างเป็นนิจ
ทั้งนี้ ลักษณะของวิริยะที่เกิดขึ้น มิได้อยู่ในกรอบสำหรับการงานเท่านั้น แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้
เป็นหลักการดำเนินชีวิตในด้านอื่น ๆ ได้แก่
- ความเพียรในการเจริญธรรม การเจริญภาวนา หรือการรักษาศีล
- ความเพียรในการศึกษาเล่าเรียน
ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ วิริยะจึงเป็นหลักที่มีความสำคัญอันจะนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติในการงานหรือ
การกระทำต่อสิ่งใดๆ ภายใต้พื้นฐานของหลักการเหตุ และผลที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ เพื่อมุ่งให้สิ่ง
นั้นๆดำเนินไปสู่จุดหมาย และสำเร็จตามที่ได้ตั้งไว้ โดยมีความเพียรที่ดำเนิน ไปในลักษณะของการ
ปฏิบัติตามหลักปธาน 4 ในข้างต้น
แต่ทั้งนี้ ความเพียรที่มีมากเกินไป มักจะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน ความไม่มีสติ ความเหน็ด
เหนื ่ อ ย จนนำไปสู ่ ก ารการเกิ ด อุป สรรค และปั ญ หาในสิ ่ ง นั ้ น ส่ ง ผลต่ อ ความท้ อ แท้ ต ามมาได้
นอกจากนั้น หากมุ่งเพียรต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป มักจะทำให้เกิดการลืมที่จะกระทำต่อสิ่งอื่นได้งา่ ย
เช่นกัน
3. จิตตะ (thoughtfulness)
จิตตะ แห่งอิทธิบาท 4 คือ การเอาใจใส่ และให้ใจจดจ่ออยู่กับอยู่กับสิ่งที่ทำ มีสมาธิมั่นคงอยู่
กับงาน ไม่ปล่อยปละละเลยในงานที่ทำ และทำงานด้วยความตั้งใจที่จะให้งานนั้นสำเร็ จ แต่หากใคร
ทำการสิ่งใดด้วยความเป็นคนประมาท ไม่เอาใจใส่กับงานที่ตนทำ ทำอะไรทิ้งๆ ขว้างๆ งานนั้นย่อมไม่
สำเร็จตามเป้าประสงค์หรือหากสำเร็จ แต่ก็เป็นความสำเร็จที่ไม่มีประสิทธิผลในงาน
6

ทั้งนี้ จิตตะ หมายถึง จิตใจ คือ ส่วนที่ทำหน้าที่รู้สำนึก รู้คิด ซึ่งความรู้ที่ เกิดมาจากจิตนั้น


เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อดีตกาล หรือกำลังจะเกิดในอนาคต ล้วนเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในจิต หรือ
ที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น หมายถึง จิตสั่งสมความรู้ให้เกิดขึ้นในกาลทั้ง 3 นั่นเอง ส่วนจิตตะในที่นี้ หมายถึง
สภาวะทางอารมณ์ที่สะท้อนมาจากจิต อาทิ ความเข้มแข็ง ความมั่นคง ความมุ่งมั่น และความจดจ่อ
ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทำอยู่นั้น
องค์ประกอบของจิตตะ
1. มีความสนใจในสิ่งทีจ่ ะทำนั้นอย่างจริงจัง
2. การเอาใจใส่ในขณะทีก่ ระทำสิ่งนั้น ๆ
3. การมีใจที่เป็นสมาธิในขณะที่กระทำสิ่งนั้น ๆ
4. การที่มีจติ ใจมุ่งมั่น และแน่วแน่ในขณะที่กระทำสิ่งนั้น ๆ
ทั้งนี้ ลักษณะของจิตตะที่เกิดขึ้น มิได้อยู่ในกรอบสำหรับการงานเท่านั้น แต่สามารถนำไป
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้านอื่นๆ ได้แก่
- การเอาใจใส่ และมุ่งมัน่ ในการเจริญธรรม
- การเอาใจใส่ และมุ่งมัน่ ในการศึกษาเล่าเรียน
ฯลฯ
จิตตะ มีความสัมพันธ์กับสมาธิ คือ หมายถึง จิตเป็นเครื่องผลักดัน และควบคุมการเกิดของ
สมาธิ โดยสภาวะจิตที่มีความแน่วแน่ และจดจ่อต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ภาวะที่เกิดขึ้นกับจิตนี้จึงเรียกว่า
สมาธิ ซึ่งเป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการจะกระทำสิ่งใดๆให้ประสบความสำเร็จ เพราะจิตที่เป็น
สมาธิแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กำลังทำ อยู่ โดยไม่เกิดความฟุ้งซ่าน ย่อมทำให้งานประสบความสำเร็จได้ดี ไม่
ผิดพลาด และมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่วางไว้
4. วิมังสา (investigation)
วิมังสา แห่งอิทธิบาท 4 คือ การสอบสวน ไตร่ตรอง และพิจารณาตรวจสอบในสิ่งที่กำลังทำ
นั้น ๆ รวมถึงการรู้จักค้นคว้า ทดลอง คิดค้น และรู้จักคิดแก้ไขปรับปรุงงาน ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ทั้งนี้
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำสิ่งใดๆ ย่อมเกิดจากปัจจัยจากข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะ
การใช้วิมังสา คือ การคิด วิเคราะห์ อย่างมีเหตุ และผล ย่อมทำให้เข้าใจต่อกระบวนการ วิธีการ และ
แนวทางในการดำเนินงานที่ถูกต้อง เหมาะสม รวมถึงย่อมรู้จักแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่อาจ
เกิดขึ้นได้ดี แต่หากไม่มีการใช้ปัญญาก่อนทำหรือขณะทำสิ่งใด ๆ แล้ว ย่อมนำมาซึ่งปัญหา และ
อุปสรรคในสิ่งนั้น ๆ ส่งผลต่อการท้อแท้ การทำสิ่งนั้นไม่สำเร็จ หรือหากสำเร็จก็จะไม่เกิดประสิทธิผล
อย่างเต็มที่
องค์ประกอบของวิมังสา
1. การใช้ปัญญาคิด วิเคราะห์ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติหรือระหว่างปฏิบัติในสิ่งนั้น ๆ
3. การใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์ในสิ่งนั้น ๆ ตามคันรองคลองธรรม
2. การแก้ไข ปรับปรุงข้อบกพร่อง และพัฒนาในสิ่งนั้น ๆ ด้วยปัญญา
ทั้งนี้ ลักษณะของวิมังสาที่เกิดขึ้น มิได้เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการงานเท่านั้น แต่สามารถ
นำไปประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจำวันด้านอื่น ๆ ได้แก่
- การรู้จักคิด วิเคราะห์ในการเจริญธรรม
7

- การรู้จักคิด วิเคราะห์ในบทเรียน
- การรู้จักคิด วิเคราะห์กอ่ นที่จะพูดหรือทำในสิ่งใด ๆ
ฯลฯ
วิมังสา คือ การรู้จักคิด วิเคราะห์ ที่มักคู่กับคำว่า ปัญญา คือ ความรู้ หรือ ความรู้แจ้ง เป็น
ความรู้ ความเข้าใจ ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเหตุ และผล รวมถึงองค์ประกอบ และพื้นฐานของสิ่ง ๆ นั้น
สามารถตัดสิน และบ่งชี้สิ่งนั้นได้เป็นมาอย่างไร มีลักษณะอย่างไร รวมถึงรู้แยกแยะสิ่งต่างๆว่าถูกผิด
ดีชั่ว ดังนั้นแล้ว การมีปัญญาจึงเป็นการรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน และพึงใช้ปัญญาก่อนที่จะทำเพื่ อให้เกิด
ความเข้าใจ และลึกซึ้งก่อน เพื่อให้การนั้นๆดำเนินไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และไม่เกิดปัญหาอุปสรรค
พร้อมยังประสิทธิภาพในสิ่งนั้นให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
ประโยชน์ของอิทธิบาท 4
1. ประโยชน์ของฉันทะ คือ ทำให้เป็นผู้มีความพอใจ และมีใจรักต่องาน ทำให้เกิดความรู้สึก
เต็มใจในการทำงาน เกิดการทำงานด้วยความสุข ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายง่าย ไม่เกิดอาการท้อแท้ ช่วยให้
งานดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง และเกิดการสร้างสรรค์ในงาน
2. ประโยชน์ของวิริยะ คือ ทำให้เป็นคนมั่นเพียร และขยันในการทำงาน ไม่มีความเกียจ
คร้าน มุ่งมั่นที่จะทำงานให้เสร็จ ผู้ที่ขาดความขยัน ย่อมทำงานขาดๆเกินๆหรือมักทำงานนั้นไม่สำเร็จ
หรือหากสำเร็จก็สำเร็จล่าช้า และไม่มีประสิทธิภาพ
3. ประโยชน์ของจิตตะ คือ ทำให้เป็นคนมีความมุ่งมั่น และจดจ่อกับงานที่ทำ จิตมีความแน่ว
แน่ และมั่นคงต่อปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ช่วยให้งานดำเนินต่ อไปอย่างต่อเนื่องตามกระบวนการ ทราบ
ความเป็นไปของงานอยู่เสมอ
4. ประโยชน์ของวิมังสา คือ ทำให้เป็นผู้ที่รู้จักคิด วิเคราะห์ในงาน ช่วยทำให้ทราบ และ
เข้าใจในกระบวนการของงาน และหากเกิดปัญหาก็ย่อมเกิดแนวทางในการแก้ปัญหานั้นได้อย่าง
ง่ายดาย งานไม่ผิดพลาด และทำงานตามกรอบที่วางไว้ให้ประสบความสำเร็จ ถ้าขาดวิมังสาจะทำให้
เป็นคนทำงานไม่มีหลักการ ทำงานไม่มีแนวทาง ไม่มีแบบแผน ซึ่งยากที่จะเกิดความสำเร็จได้โดยง่าย
ดังนั้น ฉันทะ และวิริยะ เป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยให้บุคคลมีความมั่นใจในการที่จะเผชิญหน้ากับ
ปัญหา และอุปสรรคในการทำงาน และมีจิตตะ และวิมังสา เป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยในการเอาชนะ
ปัญหา และอุปสรรคในการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ
กระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรให้ปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการแก่เยาวชนไทย อัน
ได้แก่ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้
เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ด้วยการใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง
กับความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบัน การศึกษา การปลูกฝัง
คุณธรรมจึงหมายถึง การจัดสภาพการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นคุณค่าของการมีศีลธรรมและ
จริยธรรมในด้านต่างๆ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมที่ดีงาม
การพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงการฝึกฝนพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์ตามหลัก
ไตรสิกขา อันประ กอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา หรืออีกนัยหนึ่งคือ พฤติกรรม จิตใจ และปัญญาไป
8

พร้อมกัน โดยเน้นที่การพัฒนาปัญญาเป็นแกนหลักสำคัญของกระบวนการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


การฝึกฝนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง สามารถเข้าใจเหตุปัจจัยและแก้ไข
ปัญหาได้ มีความประพฤติที่เป็นมาตรฐานในสังคม มีจิตใจที่ผ่องใส เบิกบาน เป็นอิสระทั้งภายนอก
และภายใน ดับความทุกข์ ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับตน สามารถเป็นที่พึ่งให้กับตนเองได้
การจั ด การเรี ย นรู ้ ต ามหลั ก สู ต รการศึ ก ษาขั ้ น พื ้ น ฐาน มุ ่ ง ปลู ก ฝั ง ด้ า นปั ญ ญา พั ฒ นา
กระบวนการคิดของผู้เรียนให้ มีความ สามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และมุ่ง
พัฒนาความสามารถทางอารมณ์ โดยการปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง เข้าใจตนเอง เห็นอก
เห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาขัดแย้งทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น การจะพัฒนา
เยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และดำเนินชีวิตที่ดี มีความสุข คุณธรรมพื้นฐานสำคัญที่ควรเร่งปลูกฝังมี
8 ประการ ประกอบด้วย
ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทนไม่ท้อถอย
เมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้ปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ผู้
ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อ เนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม
ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่ งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย
ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประ หยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อน
ซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึก
ลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา
ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้องง
มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและ
วินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/
สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ
สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มี
ความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่ม
ผู้อื่น ทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตน
เหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญ
ตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม
ถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ
สามัค คี คือ ความพร้อ มเพรี ย งกั น ความกลมเกลี ย วกั น ความปรองดองกั น ร่ ว มใจกั น
ปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้อง การ เกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอา
รัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความ
หลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์ ผู้
ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและ
ผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและ
9

ขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความ


เชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ เห็น
คุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความ
ทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสา
ช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มี
ความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการ เพื่อบรรเทาปัญหาหรือ
ร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน
10

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการโครงงาน
๑. วิธีการดำเนินงาน
การดำเนินงานโครงงานคุณธรรม เรื่อง “1 คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม” ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6/1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2565 – 10 กุมภาพันธ์ 2566 มีขั้นตอน
วิธีการดำเนินงานดังนี้
1.1 การจัดตั้งและรวมกลุ่ม
มีการจัดตั้งและรวมกลุ่มที่มีทัศนคติ หรือมีความคิดอุดมการณ์ในแนวเดียวกันเพื่อจัดตั้งกลุ่ม
ในการดำเนินการทำโครงงาน โดยมีการอภิปราย คิด วิเคราะห์ ดูสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนซึ่งมี
ผลกระทบต่อคนในชุมชน
1.2 ตั้งชื่อโครงงาน
เมื่อได้รวบกลุ่มแล้วได้มีการประชุมสมาชิกภายในกลุ่ม เพื่อ กำหนดปัญหาและกำหนดชื่อ
โครงงาน โดยปัญหาที่สมาชิกในกลุ่มได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การมีจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนยังไม่ มี
การดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม และจากการประชุมกันจึงได้ร่วมกันตั้งชื่อโครงงานว่า
“1 คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม”
2.3 ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะพัฒนาชุมชน
๑) ตั้งหัวข้อกิจกรรมที่จะดำเนินการ
2) คัดเลือกหัวข้อกิจกรรมที่จะดำเนินงาน
๓) ศึกษาสถานที่ที่จะดำเนินงาน
๔) กำหนดวัน เวลา สถานที่และกิจกรรมที่จะดำเนินงาน
ตารางกำหนดวัน เวลา สถานที่และกิจกรรมที่จะดำเนินงาน
ที่ กิจกรรม สถานที่ หมายเหตุ
1 ทำความสะอาดภายในโรงเรียนสร้างนกทาวิทยาคม โรงเรียน
-เก็บขยะรอบบริเวณโรงเรียน สร้างนกทาวิทยาคม
-กวาดเศษขยะรอบบริเวณโรงเรียน
-จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพบริเวณภายในโรงเรียน
2 ทำความสะอาดวัดตามหมู่บ้านที่นักเรียนอาศัยอยู่ วัดในหมู่บ้าน
-กวาดขยะบริเวณวัด ของตนเอง
-ทำความสะอาดภายในศาลาการเปรียญ
-ล้างห้องน้ำ ล้างถ้วย จาน และทำความสะอาดโรงครัว
3 ทำความสะอาดหมู่บ้านที่นักเรียนอาศัยอยู่ หมู่บ้านของตนเอง
-กวาดถนน และเก็บเศษขยะรอบชุมชน
4 ดูแลผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่นักเรียนอาศัยอยู่ ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
-นวด และดูแลสุขภาพ เช่น ตัดเล็บ สระผม เป็นต้น ของตนเอง
11

บทที่ 4
ผลการดำเนินการ
จากการทีก่ ลุ่มนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงงาน “1 คน 1 ความ
ดี กตเวทีต่อสังคม” มีผลจาการดำเนินงานดังนี้
ผลการดำเนินงาน ผลที่ได้รับ ผลกระทบ
1. นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อ นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดี มีจิต โรงเรียน วัด ชุมชน มีความ
หน้าที่ทั้งส่วนตนและส่วนรวม อาสา และสามารถต่อยอด เข้มแข็ง สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีต่อ
2. นักเรียนมีความสามัคคี ร่วมมือ แบบอย่างที่ดี เป็นแกนนำและ กัน
กันทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติตนเป็น
3. นักเรียนมีจิตสำนึกทีด่ ีต่อ ผู้มีจิตอาสา
สิ่งแวดลอ้ม บ้าน โรงเรียน ชุมชน
4. โรงเรียน วัด ชุมชน สะอาด ร่มรื่น
สวยงาม
หลักการและหลักธรรมที่นำมาใช้
ที่ หลักธรรม ความหมายของหลักธรรม ผลของการปฏิบัติ
1 อิทธิบาท 4 ฉันทะ : ความพอใจ นักเรียนชั้น ม.6/1 มีความพอใจในการ
รวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินกิจกรรมตามโครงงาน
1 คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม
วิริยะ : ความเพียร เมื่อได้มีการลงมือปฏิบัตงิ าน สมาชิกในกลุ่ม
ทุกคนมีความขยัน และลงมือปฏิบัติงานโดย
ไม่ย่อท้อต่องานที่ลงมือปฏิบัติ
จิตตะ : ความเอาใจใส เมื่อได้มีการลงมือปฏิบัตงิ าน สมาชิกในกลุ่ม
ทุกคนมีการดูแล และปฏิบัติงานด้วยความ
ตั้งใจและเอาใจใส่ในงานทุกครั้งที่ลงมือ
ปฏิบัตงิ าน
วิมังสา : การพิจารณา ในการดำเนินการทำโครงงาน สมาชิกในกลุ่ม
มีการสืบค้นหาข้อมูล กิจกรรมทีค่ วรทำที่เป็น
ประโยชน์ต่อชุมชนแล้ว จึงนำมาพิจารณา
ไตร่ตรองกิจกรรมที่ควรทำ
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง การวิเคราะห์ปัญหา
และสาเหตุและมีการแก้ไข เพื่อเป็นการสร้าง
จิตอาสาที่จะพัฒนาชุมชนให้มีสภาพแวดล้อม
ที่ดีขนึ้
12

ที่ หลักธรรม ความหมายของหลักธรรม ผลของการปฏิบัติ


2 คุณธรรมพื้นฐาน ขยัน : ความตั้งใจความ กลุ่มของข้าพเจ้าปฏิบัติงานจิตอาสาพัฒนา
8 ประการ อดทน การกระทำด้วย ชุมชนตามทีว่ างแผนร่วมกันทุกสัปดาห์ โดย
ความตั้งใจและมุ่งมัน่ ทำงานด้วยความตั้งใจเพือ่ ให้ชุมชนสะอาด
ประหยัด : รูจ้ ักใช้อย่าง จากการทำโครงงานเมื่อปฏิบัติงานเสร็จทุก
ประหยัดและรู้จัก ครั้งมีการเก็บรักษาอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการทำ
พอเพียง กิจกรรมครั้งต่อไป
ซื่อสัตย์ : มีความ ในการสำรวจข้อมูลเพื่อนำมาทำโครงงาน
เที่ยงตรง สมาชิกในกลุ่มได้สำรวจกิจกรรมที่สามารถ
ปฏิบตั ิและให้ประโยชน์แก่ชุมชนได้โดยใช้
ความซื่อสัตย์เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรง
เป้าหมาย
มีวินัย : การยึดมั่น จากการปฏิบัติงานจิตอาสาพัฒนาชุมชน
ในระเบียบแบบแผน สมาชิกภายในกลุ่มมีวินัยในตนเอง ปฏิบัติงาน
จนสำเร็จลุล่วงทุกกิจกรรมโดยที่ไม่ต้องมีครู
มาคอยเน้นย้ำ
สุภาพ : การแสดงออก ในการปฏิบัติงานจิตอาสาเมื่อกลุ่มของ
ด้วยความอ่อนโยน ข้าพเจ้าได้ออกไปปฏิบัติงานเมื่อพบเจอคนใน
ชุมชน สมาชิกในกลุ่มได้พูดคุยกับคนในชุมชน
ด้วยความสุภาพ อ่อนน้อม ถ่อมตน
สะอาด : มองดูแล้วเป็น -การออกปฏิบตั ิงานทุกครั้ง สมาชิกในกลุ่มจะ
สะอาดเป็นระเบียบ ทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยเน้น
เรียบร้อย เพื่อให้สถานที่ที่นนั้ สะอาด มองดูแล้วน่าอยู่
เช่น การเก็บเศษขยะบริเวณภายในโรงเรียน
กวาดเศษขยะภายในหมู่บ้าน และวัด
สามัคคี : การร่วมมือ การปฏิบตั ิงานจิตอาสาทุกครั้ง สมาชิกภายใน
ร่วมใจกัน กลุ่มทุกคนให้ความร่วมมือออกปฏิบัติงาน
พร้อมเพรียงกัน และมีการแบ่งหน้าที่กัน
ทำงานเมื่องานของตนเสร็จก่อนก็มาช่วย
เพื่อน จึงทำให้การทำงานทุกครั้งสำเร็จด้วยดี
มีนำ้ ใจ : การแบ่งปัน การปฏิบตั ิงานจิตอาสาพัฒนาชุมชนนีเ้ กิดขึน้
เอือ้ เฟื้อเผื่อแผ่ เพราะสมาชิกในกลุ่มมีจติ ใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
รู้จักการแบ่งปันแรงกาย แรงใจ โดยไม่หวัง
ผลตอบแทน
13

บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียนมีจิตอาสาในการพัฒนาหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน
๒. เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง รู้จักการสร้างความสามัค คีใ ห้
เกิดขึ้นในหมู่คณะ
๓. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และรู้จักร่วมมือกันดูแลสาธารณสมบัติของ
ส่วนรวม รู้จักการเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
เป้าหมายของการแก้ปญ ั หา
1. เป้าหมายเชิงปริมาณ : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 22 คน
2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ :
- เป้าหมายระยะสั้น : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6/1 จำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม
- เป้าหมายระยะยาว : ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6/1 จำนวน 22 คน เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม
หลักธรรมที่นำมาใช้
อิทธิบาท 4 ธรรมะทีใ่ ช้ในการทำงาน ประกอบด้วย
1. ฉันทะ คือ ความรักงาน พอใจกับงานที่ทำอยู่
2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน
3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน
4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ
คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ ประกอบด้วย
1. ขยัน คือ ความตั้งใจความอดทน การกระทำด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่น
2. ประหยัด คือ รูจ้ ักใช้อย่าง ประหยัดและรู้จกั พอเพียง
3. ซื่อสัตย์ คือ ความ เทีย่ งตรง
4. มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน
5. สุภาพ คือ การแสดงออก ด้วยความอ่อนโยน
6. สะอาด คือ ความสะอาด เป็นระเบียบ เรียบร้อย
7. สามัคคี คือ การร่วมมือ ร่วมใจกัน
8. มีน้ำใจ คือ การแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
คุณธรรมอัตลักษณ์
คุณธรรมเป้าหมาย : ความรับผิดชอบ ความมีจติ สาธารณะ
พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก : นักเรียนสร้างความดีอย่างน้อย 1 กิจกรรม
14

สรุปผล
1. นักเรียน ชั้น ม.6/1 ทุกคนมีจิตอาสาในการพัฒนาหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน
๒. นักเรียน ชั้น ม.6/1 ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง รู้จักการสร้างความ
สามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ
๓. นักเรียน ชั้น ม.6/1 ทุกคนรู้จักร่วมมือกันดูแลสาธารณสมบัติของส่วนรวม รู้จักการ
เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
อภิปรายผล
นักเรียน ชั้น ม.6/1 โรงเรียนสร้างนกทาวิทยาคม จำนวน 22 คน ที่ร่วมกันจัดตั้งโครงงาน 1
คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม เพื่อช่วยกันทำความสะอาดสาธารณสมบัติของส่ว นรวม ได้ลงมือ
ดำเนินโครงงานตามแผนที่ได้วางไว้ โดยการไปทำความสะอาดภายในโรงเรียนสร้างนกทาวิทยาคม
เก็บขยะรอบบริเวณโรงเรียน กวาดเศษขยะรอบบริเวณโรงเรียน ทำความสะอาดบริเวณวัดของ
หมู่บ้านแต่ละคนอาศัยอยู่ ซึ่งสมาชิกทุกคนได้พร้อมใจกันไปดำเนินตามโครงการทุกวันเสาร์และวัน
อาทิตย์ ซึ่งผลการดำเนินโครงงานทำให้บริเวณโรงเรียน วัด และหมู่บ้าน สะอาดและน่าอยู่มากขึ้น
การที่ ท ำให้ง านประสบผลสำเร็จ ตามที ่ ไ ด้ ว างสมาชิ ก ภายในกลุ ่ ม ได้ น ้ อ มนำพระราชดำรั ส ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำหลักธรรมอิทธิบาท ๔ และคุณธรรมพื้ นฐาน ๘ ประการมาปรับ
ประยุกต์ เช่น ได้เรียนรู้ว่าการที่งานจะประสบผลสำเร็จได้ต้องมีความสามัคคี ความขยัน การรู้จักมี
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่นอกจากนี้กลุ่มของข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า การเป็นผู้ให้ทั้งทางด้านแรงกายและ
แรงใจโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นการสร้างเกราะป้องกันไม่ให้จิ ตใจเสื่อมไปตามสภาพสังคมปัจจุบัน
และเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คนในชุมชนอยู่ได้อย่างปกติสุข
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการขยายผลการดำเนินการไปสู่นักเรียนทุกคนในโรงเรียนสร้างนกทาวิทยาคม
2. ควรมีการจัดทำโครงงานเกี่ยวกับการส่งเสริมหรือการสร้างอาชีพในชุมชน
15

บรรณานุกรม
กัลยาวา นิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2546. เกษตรและสหกรณ์,
กระทรวง. เศรษฐกิจพอเพียง. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก www.moac.go.th.
1 ธันวาคม2549.
ชยสาโรภิกขุ. (2546). พ่อแม่ ผู้แสดงโลก. กรุงเทพฯ : โรงเรียนทอสี.
ทรงพล ภูมิพัฒน์. จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2540.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
เทพนม เมืองแมน และ สวิง สุวรรณ. พฤติกรรมองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
สํานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจํากัด, 2540.
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรมไทย-อังกฤษฉบับใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
บริษัทรวมสาสน์ (1997) จํากัด, 2538.
นวลศิริ เปาโรหิตย์. จิตวิทยาทั่วไป. ภาควิชาจิตวิทยา. คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคําแหง,
2532.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร :
สุวีริยาสาสน์, 2535.
อดิศร จันทรสุข. (2548). รายงานการวิจัยการปลูกฝังคุณธรรมในเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนสร้างสรรค์
ของแกนนำโรงเรียนวิถีพุทธ. โครงการวิจัยภายใต้ทุนสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนา
พลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
(องค์การมหาชน).
ศึกษาธิการ, กระทรวง. ปฏิรูปการศึกษา 8 คุณธรรมพื้นฐาน แหล่งที่มา http://www.moe.go.th
16

ภาพประกอบการดำเนินโครงงาน
“1 คน 1 ความดี กตเวทีต่อสังคม”

You might also like