You are on page 1of 29

รายงานการปฏิบตั ิสหกิจศึกษา
ณ มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก จังหวัดเชียงใหม่

นางสาวปัฏฏิมา ฮองต้น

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาพัฒนาสังคม
พฤศจิกายน 2560
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 

   

 

กิตติกรรมประกาศ
การที่ข้าพเจ้าได้มาปฏิบัติสหกิจศึกษา ณ มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2560 ถึงวันที่ 1
ธันวาคม 2560 ส่งผลให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ แนวความคิด ทักษะ เทคนิค และประสบการณ์ต่างๆ ในการทํางานเป็นอย่างมากและ
ได้รู้จักการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น สําหรับรายงานฉบับนี้ สําเร็จลงด้วยดีจากการสนับสนุนของ
1. นางสาวจารุวรรณ ไพศาลธรรม หัวหน้ากลุ่มงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. นางสาวสลักจิต แก้วคํา ผู้ประสานงาน
3. นางสาวฉวีวรรณ ขวัญสุข ผู้ประสานงาน
4. นางสาวจารุวรรณ อุทาปา ผู้ประสานงาน
และบุคลากรท่านอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวนามทุกท่านที่ได้ให้คําปรึกษาแนะนําและช่วยเหลือในการจัดทํารายงาน
ข้าพเจ้าใคร่ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและเป็นที่ปรึกษาในการทํารายงานฉบับนี้
จนเสร็จสมบูรณ์ ตลอดจนให้การดูแลและให้ความเข้าใจในชีวิตการทํางานต่อข้าพเจ้าจักขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้
ปัฏฏิมา ฮองต้น

   

 

สถานที่ปฏิบัติงาน มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก
ผู้ปฏิบัติงาน นางสาวปัฏฏิมา ฮองต้น
อาจารย์นิเทศ อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ

บทคัดย่อ
(Abstract)
มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ทํางานเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษามีพื้นที่การ
ทํางานทั้งหมด 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และกัมพูชา โดยแบ่งกลุ่มงานเป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มการศึกษาขั้นสูง และกลุ่มสุขภาพ โดยในแต่ละกลุ่มจะมีเป้าหมายที่ต่างกัน จัดโครงการที่ต่างกัน แต่มีเป้าหมายขององค์กรที่
เหมือนกันคือ การพัฒนาสุขภาพและการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในพื้นที่ ประเทศไทย, พม่า, ลาว และกัมพูชา
จากการที่นิสิตได้เข้ามา ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาที่มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก นิสิตได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่ง ผู้ช่วย
ผู้ประสานงานทุนการศึกษาประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กที่เรียนดีแต่ยากจน ให้โอกาสเด็กได้ศึกษาต่อใน
ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น พัฒนาระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่นักเรียน การที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษานั้น ทําให้
ข้าพเจ้าได้รับประสบการณ์หลายๆอย่างจากการทํางาน ซึ่งการปฏิบัติงานครั้งนีจ้ ะเป็นแนวทางสําหรับการเตรียมความพร้อมในการ
ปฏิบัติงานจริงในอนาคตของข้าพเจ้าต่อไป

   

 

สารบัญ
เรื่อง หน้า

บทที่ 1 บทนํา 1
1.1 วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน 1
1.2 รายละเอียดเกี่ยวกับสถานประกอบการ 1
1.3 ตําแหน่งและลักษณะการปฏิบัติงานที่นิสิตได้รับมอบหมาย 7
1.4 พนักงานที่ปรึกษาและตําแหน่งของพนักงานที่ปรึกษา 8
1.5 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 8
1.6 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 8

บทที่ 2 รายละเอียดการปฏิบัติงาน 9
2.1 หน้าที่เตรียมอุปกรณ์ในการออกค่ายของนักเรียนทุน 9
2.3 หน้าที่ช่วยติดตามผลของนักเรียนทุน 9
2.4 หน้าที่ช่วยงานเอกสารในโครงการทุนการศึกษาประเทศไทย 10
2.5 หน้าที่ช่วยงานในทีมการศึกษาขึ้นพื้นฐานของประเทศไทย 10
2.6 หน้าที่ช่วยควมคุมกิจกรรม ประสานงานในค่ายนักเรียนทุน 11
2.7 หน้าที่อื่นๆ 11

บทที่ 3 ผลการปฏิบัติงาน 12
3.1 ประโยชน์ที่ได้รับด้านความรู้ ทักษะ 12
3.2 ประโยชน์ที่ได้รับการจัดการตัวเอง สังคม 12

   

 

สารบัญ(ต่อ)
เรื่อง หน้า

บทที่ 4 โครงการ การฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนทุนมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก 13


4.1 ที่มาและความสําคัญ 13
4.2 วัตถุประสงค์ 14
4.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 14
4.4เนื้อหากิจกรรม 15

บทที่ 5 บทสรุป ปัญหา และข้อเสนอแนะ 21


5.1 บทสรุป 21
5.2 ปัญหาและอุปสรรค 21
5.3 ข้อเสนอแนะ 22
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
 

   

 

บทที่ 1
บทนํา
1.1 วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน
1. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้การปฏิบัติงานก่อนการเข้าทํางานจริง
2. เพื่อให้นิสิตใช้ความรู้ความสามารถที่ได้รับจากในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
3. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้การปรับตัว ในด้านความรับผิดชอบ ความอดทน และกฎระเบียบของการ อยู่ร่วมกันเป็นสังคม
เพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
4. เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติ
5. เพื่อให้นิสิตได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง และปรับปรุงให้มีประสิทธธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
1.2 รายละเอียดเกี่ยวกับสถานประกอบการ

ภาพที่1.1 สํานักงานของมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก
หน่วยงาน : Child's Dream Foundation (มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก)
ที่ตั้ง : 238/3 ถนนวัวลาย ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทรศัพท์ : 053 201 811
อีเมล : info@childsdream.org
เว็บไซต์ : www.childsdream.org

   

 

ภาพที่1.2 สัญลักษณ์ของมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก
ประวัติความเป็นมา
มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดย Daniel Marco Siegfried และ Marc Thomas Jenni ที่
สวิตเซอร์แลนด์องค์กรการกุศลภายใต้กฎหมายสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งสองคนเป็นนายธนาคารที่มีประสบการณ์การทํางาน การใช้ชีวิต
และการเดินทางในเอเชียมานานหลายปี ในช่วงที่ทั้งคู่ได้พักร้อนที่จังหวัดเชียงใหม่ พวกเขาได้คิดที่จะก่อตั้งมูลนิธิการกุศลขึ้น
เนื่องจากระหว่างการเดินทางหลายปีเขาได้พบกับเด็กที่ถูกการปฏิเสธการช่วยแหลือและเด็กที่ไม่มีโอกาสในการศึกษาและการ
เข้าถึงการรักษาสุขภาพ ดังนั้นจึงได้ก่อตั้งองค์กรการกุศลที่ชื่อว่ามูลนิธิเกื้อฝันเด็ก เป้าหมายของมูลนิธิที่ส่งเสริมเด็กผู้ด้อยโอกาส
ทางการศึกษา ปัจจุบันมูลนิธิเกื้อฝันเด็กส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาในกลุ่มเด็กด้อยโอกาสที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาใน
โรงเรียนรัฐบาล หรือได้รับการศึกษาไม่เพียงพอเนื่องจากอาศัยอยู่ในพื้นที่ชายขอบและด้อยพัฒนา โดยเฉพาะพื้นที่ตะเข็บชายแดน
ในกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่ฎาโขง
น้ (ประเทศไทย, พม่า, ลาว และกัมพูชา) เมื่อเขากลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เขาเริ่มที่ชักชวนและติดต่อกับ
เพื่อนๆที่เขารู้จักในวงการธนาคารและหาผู้ให้ทุนในขณะเดียวกัน ปีพ.ศ. 2548 มูลนิธิเกือฝันเด็กได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการใน
ประเทศไทย
ต.ค. 46 สมาคมเกื้อฝันเด็กได้จดทะเบียนเป็นองค์กรการกุศลอย่างเป็นทางการในประสวิสเซอร์แลนด์
ส.ค. 47 เราได้ขยายขอบเขตการทํางานจากพื้นที่เดิม คือสามเหลี่ยมทองคําเป็นเขตประเทศลุ่มน้ําโขง
พ.ค.48 ได้รับการรับรองจากรัฐบาลไทยอย่างเป็นทางการเป็น “มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก”
มิ.ย.48 ไดเวอร์เซติกจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ ที่สวิสเซอร์แลนด์เพื่อครอบคลุมการทํางานของมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก
มิ.ย.48 องค์กรภาคีที่มีชื่อว่า KAKO ในกัมพูชาได้เข้าร่วมกันทํางานเป็นส่วนหนึ่งกับมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก
ต.ค.48 เราได้ย้ายเข้ามาอยู่ในสํานักงานที่ถาวรของมูลนิธิเกื้อฝันเด็กในเชียงใหม่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
ก.ย.49 เราเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างการบริหารงานแบบ “กลุ่มงาน” แทนการใช้การแบ่งงานตามชื่อประเทศ
พ.ค.50 เรามีโครงการครบ 100 โครงการ

   

 

ต.ค.50 เราสิ้นสุดการทํางานร่วมกับ KAKO และเริ่มตั้งองค์กรใหม่ที่มีชื่อว่า Child’s Dream Cambodia Association (CDOC)


มี.ค.51 CDCO ก่อตั้งอย่างเป็นทางการภายใต้กฎหมายของกัมพูชา
ธ.ค.51 เราเริ่มโครงการที่ 150

ประวัติความเป็นมาของผู้ก่อตั้ง

Daniel Marco Siegfried

ในวัยเด็กของผม ความต้องการพัฒนาเพิ่มขึ้น เพื่อความยุติธรรมและช่วยเหลือผู้ที่โชคดีน้อยกว่า ในขณะนั้นผมได้ให้


ความสําคัญในการปกป้องเด็กที่ต้องออกจากโรงเรียนให้ได้มาเรียนในโรงเรียน ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้เรียนหนังสือตามคนอื่น เด็ก
กลุ่มนี้ค่อนข้างแตกต่างจากเด็กธรรมดา บางคนมีภูมิหลังครอบครัวที่ยากลําบากหรือพ่อแม่เป็นแรงงานต่างชาติ เด็กถูกผลักดันไป
มาระหว่างโรงเรียนเพราะเด็กไม่มีสัญชาติ หลายปีต่อมาหลังจากใช้เวลาห้าปีในเอเชียในฐานะคนต่างชาติและมีโอกาสเดินทางไปทั่ว
หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผมได้เจอกลุ่มคนไร้สัญชาติคนอื่นๆที่ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลบางอย่าง เด็กทุกคนดูเหมือนมี
ความต้องการที่จะได้รับโอกาสในการศึกษาและได้รับการดูแลรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล
การที่ได้เดินทางทําให้รู้สึกว่ายังมีเด็กอีกมากมายที่ไม่ได้รับโอกาสและต้องการความช่วยเหลือ เริ่มแรกผมพยายามเข้ามา
มีส่วนร่วมในโครงการการกุศลนอกเหนือจากงานประจําของผม ผมเริ่มต้นโดยการเยี่ยมชมเว็บไซต์ขององค์กรการกุศลหลายๆ
เว็บไซต์ และหลังจากนั้นผมยังเข้าเยี่ยมชมโครงการหลายๆโครงการและเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร ช่วงเวลาในการเป็นอาสาสมัครเป็น
ช่วงเวลาที่น่าประทับใจสําหรับผม ทําให้มันยากขึ้นเรื่อยๆที่จะหาแรงจูงใจในการทํางานในฐานะนายธนาคาร หลังจากเก้าปีกับ
UBS ในซูริค, ฮ่องกง, โซลและสิงคโปร์ผมตัดสินใจลาออกเพื่อช่วยเหลือผู้คนที่มีต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริง ผมได้คิด

   

 

ทบทวนกับสิ่งที่ผมได้เรียนรู้ในงานธนาคารของผม ผมรักมิตรภาพที่ก่อตัวขึ้นในช่วงเวลานั้นเพราะเป็นงานที่ทําให้ได้รู้ถึงความฝัน
ของผมคือการได้ช่วยคนอื่นๆ เมื่อลาออกผมก็ได้ทํางานเต็มเวลาโดยการดําเนินงานกับองค์กรการกุศล
เมื่อถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทํางานการกุศลผมตอบเพียงอย่างเดียวว่า 'มันรู้สึกถูกต้อง'

Marc Thomas Jenni

แรงจูงใจในการเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก เกิดจากประสบการณ์การทํางานการใช้ชีวิตและการเดินทางในเอเชียมา


นานหลายปี ในขณะที่ทํางานในฮ่องกงและในสิงคโปร์ในฐานะนายธนาคาร ฉันเริ่มมีความสนใจในการช่วยคนที่ด้อยโอกาสในสังคม
ฉันมีสิทธิ์ได้พบปะกับผู้คนที่ร่ํารวยและสร้างแรงบันดาลใจมากมายที่ให้ความสําคัญกับผู้ที่ไม่ได้โชคดีเหมือนกับพวกเขา โดยการ
ช่วยเหลือเงินหรือโดยการมีส่วนร่วมโดยตรงกับโครงการการกุศลต่างๆ ฉันมักจะชื่นชมพวกเขา แต่ฉันไม่เคยคิดว่าฉันสามารถ
ทํางานเพื่อการกุศลเต็มเวลาหรือแม้กระทั่งการสร้างมูลนิธิของตัวเอง
ในช่วงฤดูร้อนปี 2546 ฉันได้ลาพักร้อนเพื่อพักสมองจากการทํางาน ฉันกับแดเนียลเดินทางมาที่เชียงใหม่ซึ่งเขาได้คิดว่า
จะจัดตั้งมูลนิธิการกุศลของตัวเองขึ้นมา ในตอนนั้นฉันคิดว่ามันเป็นความคิดที่บ้ามาก ปฏิกิริยาเริ่มต้นของฉันคือความไม่เข้าใจว่า
เราจะทําอย่างไร ทําไปทําไม จะทําเมื่อไหร่ เราจะมีเงินหรือไม่ ใครจะเชื่อถือเรา เราไม่ได้เรียนหรือจบในสาขานั้น เราเป็นนาย
ธนาคารสองคน ความคิดบางอย่างและข้อสงสัยเริ่มแรกของฉันกลายเป็นความตื่นเต้นและองค์กรการกุศลของเราได้เกิดขึ้นนั่นคือ
มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก
ตั้งแต่จําความได้ชีวิตมักจะไม่ได้เป็นไปตามที่คุณวางแผนไว้ ฉันได้ตัดสินใจนานมาแล้วว่าจะขยายเวลาพักจากการทํางาน
ธนาคารไปเรื่อยๆ ฉันไม่เคยเสียใจกับการตัดสินใจครั้งนี้ ฉันมีความสุขกับชีวิตและการทํางานในวงการการเงิน แต่ตอนนี้ฉันรู้และ
ตระหนักดีว่ามีบางอย่างที่หายไปเพื่อทําให้ฉันมีความสุขอย่างสมบูรณ์ ด้วยการจัดการการเรียนรู้และเติมเต็มความฝันของเด็กๆ ฉัน
ได้รับประสบการณ์ทุกวันว่าการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่เติมช่องว่าง นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีในการมอบอะไรบางอย่างให้กับ
สังคมและได้รับคําพูดว่า "ขอบคุณ" สําหรับชีวิตที่มีสิทธิพิเศษมากมายที่ฉันสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 'เราต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราอยาก
เห็นในโลก'

   
10 
 

วิสัยทัศน์
เสริมสร้างความรับผิดชอบ และ การมีส่วนร่วมของชุมชน
พันธกิจ
-ช่วยเหลือชุมชนด้อยโอกาสในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
-พัฒนาด้านการดูแลสุขภาพ และการศึกษาสําหรับเด็ก ให้โอกาสทางด้านสังคมและเศรษฐกิจสําหรับครอบครัว โดยการ
ทํางานร่วมกับชุมชน
ยุทศาสตร์
เราออกแบบและทํางานร่วมกับองค์กรอื่นเพื่อสนับสนุนเด็กและเยาวชน เราตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน
และอนาคตโดยทํางานในประเทศพม่า ลาว กัมพูชา และไทยสนับสนุนเกี่ยวกับ:
-สุขภาพขั้นพื้นฐานหรือสิ่งที่จําเป็นต่อสุขภาพ
-สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการศึกษาที่มีคุณภาพ
-ผู้นําที่มีความรับผิดชอบและผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
-สันติภาพและความยุติธรรม
-ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ของมูลนิธิดําเนินไปตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ

   
11 
 

งานและบริการ
มูลนิธิเกื้อฝันเด็กมีกลุ่มงานหลัก 3 กลุ่ม
กลุ่มสุขภาพ ลดอัตราป่วย/ตายของเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการศึกษา
กลุ่มการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เด็กทุกคนให้รู้หนังสือ เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่เด็ก
กลุ่มการศึกษาขั้นสูง เพื่อสร้างโอกาสการ จ้างงาน การถ่ายทอดความรู้และทักษะตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพชุมชน
การศึกษาที่มีคุณภาพต้องสามารถเข้าถึงได้สําหรับเด็กทุกคนในพื้นที่ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง ได้แก่ กัมพูชา พม่า
ลาว และประเทศไทย
1.เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น โครงการครูอาสาสมัครภาษาอังกฤษ โครงการสอนทักษะชีวิต โครงการ
ทวิภาษา โครงการพัฒนาศักยภาพครู และการอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆ ร่วมกับภาครัฐ
2.เพื่อเพิ่มจํานวนนักเรียนให้สามารถเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น โครงการหอพักนักเรียนบ้านไกล โครงการ
ทุนการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย/โครงการทุนการศึกษาระดับอาชีวศึกษา เป็นต้น
3.เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา และสิ่งจําเป็นพื้นฐานทางการศึกษา เช่น อาคารเรียน อาคารหอพัก
นักเรียน สนามเด็กเล่น ระบบน้ําดื่มสะอาด อุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นต้น
โครงการที่ทําในประเทศไทย ได้แก่
-โครงการทุนการศึกษา นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย/ อาชีวศึกษา
-โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการในศูนย์การเรียนรู้เด็กตามแนวชายแดน

   
12 
 

-โครงการครูอาสาเกื้อฝันเด็ก
-โครงการทวิภาษา
1.3 ตําแหน่งและการปฏิบัติงานที่นิสิตได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ
ตําแหน่ง ผู้ช่วยผู้ประสานงานโครงการทุนการศึกษาประเทศไทย
หน้าที่ ได้รับหน้าที่ช่วยประสานงานโครงการทุนการศึกษาประเทศไทย โดยมีลักษณะงานดังนี้
1.หน้าที่ช่วยเตรียมอุปกรณ์ในการออกค่ายของนักเรียนทุน
2.หน้าที่ช่วยจดบันทึกและทํารายงานการออกค่ายของนักเรียนทุน
3.หน้าที่ช่วยติดตามผลการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนทุน
4.หน้าที่ช่วยงานเอกสารในโครงการทุนการศึกษาประเทศไทย
5.หน้าที่ช่วยงานในทีมการศึกษาขั้นพื้นฐานประเทศไทย
1.4 พนักงานที่ปรึกษาและตําแหน่งของพนักงานที่ปรึกษา
นางสาวสลักจิต แก้วคํา ตําแหน่ง ผู้ประสานงานโครงการทุนการศึกษาประเทศไทย
1.5 ระยะเวลาในการปฏิบัติ
ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน : 15 สิงหาคม 2560 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2560
วันในการปฏิบัติงาน : จันทร์ – ศุกร์
เวลาในการปฏิบัติงาน : 08:00 – 17:00 น.
1.6 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รบั ความรู้ ได้ประสบการณ์จากการทํางานจริง ในเรื่องของการปรับตัว เพราะต้องเจอคนหลากหลาย และการทํางาน
ที่ไม่เหมือนในห้องเรียน
2.สามารถนําความรู้ที่ได้จากกการทํางานไปปรับใช้ในการทํางานในอนาคต
3.ได้เรียนรู้เทคนิคและกระบวนการในการทํางานพัฒนาศักยภาพของเด็ก
4.สามารถนําความรู้ที่ได้จากการเรียนมาปรับใช้ในการทํางาน เช่นการลงชุมชน การทําSWOT
5.ได้พัฒนาความรู้ ความสามารถและศักยภาพของตนเองได้

   
13 
 

บทที่ 2
รายละเอียดการปฏิบัติงาน
2.1 หน้าที่เตรียมอุปกรณ์ในการออกค่ายของนักเรียนทุน
ได้รับหน้าที่เตรียมอุปกรณ์ในการจัดค่ายการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนทุนมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก เช่น ป้ายชื่อ
กระดาษ ปากกา เทปกาว สี ไหมพรม และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและจําเป็น
2.2 หน้าที่จดบันทึก ถ่ายรูป และทํารายงานการออกค่ายของนักเรียนทุน
ในการจัดกิจกรรมค่ายของนักเรียนทุนได้รับหน้าที่ให้ถ่ายรูปกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนทุน และทํารายงาน
สรุปกิจกรรมและผลที่ได้จากการทํากิจกรรมต่างๆในค่าย การเปลี่ยนแปลงของนักเรียนที่เกิดขึ้นหลังจากเข้าค่าย เพื่อใช้เป็นข้อมูล
ในการประเมินเพื่อพัฒนาการทํากิจกรรมกับนักเรียนในครั้งต่อไป

ภาพที่2.1 กิจกรรมค่ายเด็กทุน

2.3 หน้าที่ช่วยติดตามผลของนักเรียนทุน

   
14 
 

การติดตามผลของนักเรียนทุนเป็นการไปพูดคุย สอบถามเกี่ยวกับเรื่องการเรียน การใช้ชีวิตในโรงเรียนและการปรับตัว


กับเพื่อนใหม่ เพราะเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กชาติพันธุ์ที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ไม่มีประสบการณ์หรือการใช้ชีวิตในเมือง แล้วต้องมา
อยู่ในเมือง วิถีชีวิตที่แตกต่างกันทําให้ต้องมีการปรับตัว การติดตามเด็กเพื่อประเมินว่าเด็กสามารถที่จะปรับตัวอยู่ในสภาพแวดล้อม
ที่ต่างจากหมู่บ้านของตัวเองได้หรือไม่ การพูดคุยกับเด็กทุนอย่างต่อเนื่องทําให้เด็กมีความคุ้นเคยระหว่างเจ้าหน้าที่กับเด็ก เด็กจะ
สามารถเล่าเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเองให้ฟังได้

ภาพที่2.2 การติดตามผลนักเรียนทุน

2.4 หน้าที่ช่วยงานเอกสารในโครงการทุนการศึกษาประเทศไทย
ได้รับมอบหมายให้จัดเก็บเอกสารของนักเรียนทุน เช่น ใบสมัคร สัญญาทุน จดหมายของนักเรียนทุน เป็นต้น
2.5 หน้าที่ช่วยงานในทีมการศึกษาขึ้นพื้นฐานของประเทศไทย
-ได้รับมอบหมายให้จดบันทึกและทํารายงานของทีมการศึกษาขั้นพื้นฐานในการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
จังหวัดเชียงใหม่ ดูรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนสําหรับโรงเรียนที่มูลนิธิให้การสนับสนุน
-ได้รับมอบหมายให้อ่านนโยบายปฏิรูปการศึกษาไทยแลนด์ 4.0 แล้วทําสรุป หาข้อมูลโครงการที่รัฐทํา และเชื่อมโยงกับ
งานที่มูลนิธิทําเพื่อให้เห็นทิศทางหรือการพัฒนาการทํางานของโครงการของมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก
-ได้รบั มอบหมายให้ช่วยงาน จดบันทึก ถ่ายรูป ทํารายงานภาษาไทย และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและจําเป็นใน
การถอดบทเรียนครูอาสารุ่น 7
-ได้รับมอบหมายให้อ่านรายงานสรุปโครงการครูอาสารุ่น 7 ตรวจสอบเนื้อหาว่ามีความครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ เพื่อส่ง
ต่อให้โรงเรียนและครูอาสารุ่นต่อไป
-ได้รับมอบหมายในช่วยงาน บันทึก ถ่ายรูป ทํารายงานภาษาไทย และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและจําเป็นในการ
จัดปฐมนิเทศครูอาสารุ่น 8

   
15 
 

-ได้รับมอบหมายให้เช็คบิลโครงการทวิภาษา โครงการหญ้าแพรกสารวิน เป็นโครงการที่มูลนิธิสนับสนุนเงินทุนในการ


ดําเนินโครงการ
2.6 หน้าที่ช่วยควมคุมกิจกรรม ประสานงาน และการจัดการปัญหาในค่ายนักเรียนทุน
-ควบคุมกิจกรรมย่อยบางกิจกรรม
-การประสานงานบางอย่างเช่น การจัดการห้องพัก กุญแจห้อง การจัดการเรื่องอาหาร เป็นต้น
-การจัดการปัญหา เด็กตักอาหารทานเองแล้วเหลือเศษอาหารเยอะ ก็ต้องคุยกับเด็กถึงการทิ้งเศษอาหารแล้วจะมีผลต่อ
สิ่งแวดล้อมอย่างไรและการตักอาหารเยอะเกินอาจทําให้คนที่มาทีหลังไม่ได้กินหรืออาหารอาจไม่พอ
-การจัดการปัญหา การใช้แก้วพลาสติกของเด็กนักเรียน เมื่อเด็กดื่มน้ําจะมีแก้วพลาสติกให้ เด็กใช้แก้วดื่มน้ําครั้งนึงแล้วก็
ทิ้ง ทําให้เกิดขยะจํานวนมาก จึงคุยกับเด็กว่าการทิ้งแก้วพลาสติกทําให้เกิดขยะเพิ่มขึ้น การมีขยะเพิ่มขึ้นทําให้โลกร้อน เราจึงต้อง
สร้างขยะให้น้อยลงโดยคนนึงให้ใช้แก้วได้แค่หนึ่งใบตลอดสามวัน เพื่อลดการสร้างขยะ
2.7 หน้าที่อื่นๆ
-การทําความรู้จักกับพนักงานและอาสาสมัครทุกคนในสํานักงาน โดยนัดคุยเป็นรายบุคคลเพื่อคุยทําความรู้จัก เรียนรู้การ
ทํางานของแต่ละคน
-สะท้อนการทํางานของคนในทีม แสดงความคิดเห็นเมื่อมีการประชุมทีม
-เวลาไม่เข้าใจงานให้ถามหรือพูดคุยกับพี่ในทีม เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดการทํางาน
-เรียนรู้ระบบการทํางานขององค์กร และเรียนรู้สิ่งที่มูลนิธิทํา
-ทํา Presentation เพื่อขอ Visa ให้กับอาสาสมัครชาวต่างชาติ

บทที่ 3

   
16 
 

ผลการปฏิบัติงาน
จากการที่ได้มาฝึกสหกิจที่มูลนิธิเกื้อฝันเด็กในวันที่ 15 สิงหาคม 2560 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2560 ในตําแหน่งผู้ช่วยผู้
ประสานงานโครงการทุนการศึกษาประเทศไทย ทําให้ได้ประสบการณ์ในการทํางานที่หาไม่ได้ในห้องเรียนหรือในมหาวิทยาลัย การ
ฝึกสหกิจที่มูลนิธิเกื้อฝันเด็กทําให้ได้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
3.1 ประโยชน์ที่ได้รับด้านความรู้ ทักษะ
-ได้รับความรู้เรื่องระบบการจัดการศึกษาไทยที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้เทคนิคการเขียนรายงานและการเขียนสรุปความ
-เรียนรู้การจัดการข้อมูลโดยใช้ database ของมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก
-เรียนรู้การประสานงาน และการติดต่อกับบุคคลอื่นมากขึ้น
-ได้เรียนรู้วัฒนธรรมอื่นที่หลากหลายในการปฏิบัติงาน
-ได้เรียนรู้ขั้นตอนในการประสานงาน ติดต่อบุคคลอื่นๆเพิ่มมากขึ้น
-ได้รู้ว่ายังมีเด็กอีกจํานวนมากที่ยังขาดโอกาสในการศึกษา และมีเด็กที่ไม่มีทางเลือกในการศึกษา แค่มีโอกาสเข้ามาก็ต้อง
รับไว้โดยไม่มีทางเลือกอื่นรองรับ
3.2 ประโยชน์ที่ได้รับการจัดการตัวเอง สังคม
-ได้เรียนรู้วิธีการทํางานร่วมกับผู้อื่นและการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น
-เรียนรู้การจัดการเวลา แบ่งเวลา ลําดับการทํางานก่อน-หลัง
-การควบคุมอารมณ์เมื่อเกิดปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
-การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อเกิดเหตุการณ์ท่ไี ม่คาดคิดเกิดขึ้น เช่น กระดาษไม่พอก็เอาอีกด้านมาเขียนไปก่อน
-มีความกล้ามากขึ้น เมื่อต้องไปค่าย หรือการติดตามนักเรียนทุนที่ต้องพูดคุยกับเด็ก
-มีความละเอียดรอบคอบมากขึ้น จากการพี่พนักงาานไว้ใจให้รับผิดชอบงาน เราต้องรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดความ
ผิดพลาด เพราะเมื่อพลาดแล้วมันจะเป็นความรู้สึกผิดที่ไม่ทํางานให้รอบคอบ

บทที่ 4
โครงการ การฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนทุนมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก

   
17 
 

4.1 ที่มาความสําคัญ
มูลนิธิเกื้อฝันเด็กได้ให้ทุนการศึกษาสําหรับนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน นักเรียนส่วนใหญ่ที่มูลนิธิเกื้อฝันเด็กให้ทุนนั้นเป็น
เด็กชาติพันธุ์และเด็กที่อยู่ชายขอบเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เพราะเด็กกลุ่มนี้มาจากครอบครัวที่ยากจน
ทําให้ไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนต่อสาเหตุที่เด็กที่มาจากครอบครัวที่ยากจนไม่ได้เรียนต่อเพราะนโยบายเรียนฟรี 15 ปีท่ไี ม่ได้ฟรีจริง
และไม่ได้ช่วยคนจนได้จริงเนื่องจากรัฐบาลจัดงบประมาณไม่เพียงพอ โรงเรียนหลายๆโรงเรียนยังเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่ม อีกส่วนหนึ่ง
โรงเรียนในระดับที่สูงขึ้นก็อยู่ในเมืองอยู่ไกลจากบ้านก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก ทั้งค่าเดินทางหรือค่าหอพัก ยิ่งเรียนสูงขึ้น
ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทําให้เด็กที่มาจากครอบครัวที่ยากจนขาดโอกาสที่จะเรียนในระดับที่สูงขึ้น ปัญหาอีกอย่างของ
นักเรียนทุนคือเนื่องจากนักเรียนทุนส่วนใหญ่เป็นเด็กชาติพันธุ์และเด็กที่อยู่ชายขอบ เมื่อมาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองทําให้ปรับตัวอยาก
และไม่กล้าที่จะแสดงออกหรือพูดคุยกับผู้อื่นเพราะเด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ ใช้ภาษาเดิม (ภาษาแม่) ของตัวเองเป็นภาษาหลักในการ
สื่อสาร และเมื่อต้องใช้ภาษาไทย ทําให้ไม่มีความมั่นใจไม่กล้าพูดหรือแสดงความคิดเห็น
การที่นักเรียนที่อยู่ชายขอบมีผลสําฤทธิ์ทางการเรียนที่ไม่สูงเท่านักเรียนที่อยู่ในเมืองเกิดขึ้นเนื่องจากการเข้าถึงแหล่งการ
เรียนรู้ที่ต่างกันเด็กในเมืองสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่ดีกว่าเด็กที่อยู่รอบนอก การจัดสรรงบประมาณและการกระจายครูสู่
สถานศึกษาต่างๆของรัฐบาลมีความไม่เป็นธรรมสูง เอื้อต่อโรงเรียนขนาดใหญ่ในเมืองมากกว่าโรงเรียนขนาดเล็กในชนบท ทําให้
โรงเรียนมีคุณภาพแตกต่างกัน การวัดและประเมินผลแต่ละโรงเรียนใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งที่นักเรียนในแต่ละโรงเรียนได้รับ
การศึกษาที่ไม่เท่ากัน
จากการติดตามนักเรียนทุนและศึกษาข้อมูลของการศึกษาไทยทําให้เห็นถึงปัญหาคือนักเรียนส่วนใหญ่ไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้
ว่าตัวเองชอบหรืออยากทําอะไรจึงทําให้นักเรียนไม่สามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบหรือถนัดจริงๆ การที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่
สามารถกําหนดแนวทางในการเรียนต่อหรือไม่สามารถเลือกอาชีพ ตามความต้องการและความถนัดของตัวเองได้ เพราะเด็กส่วน
ใหญ่เรียนตามแผนการเรียนในห้องเรียน และเรียนอยู่แต่ในกรอป ครูแนะแนวไม่แนะแนวอาชีพที่หลากหลายให้แก่เด็ก อีกสาเหตุ
หนึ่งมาจากเด็กที่อยู่รอบนอกมีสภาพแวดล้อมที่ต่างจากเด็กที่อยู่ในเมือง เด็กที่อยู่รอบนอกไม่มีสื่อที่จะทําให้ได้เรียนรู้ว่ามีอาชีพ
ต่างๆในสังคมมากมาย แล้วครอบครัวเองก็มีส่วนเพราะครอบครัวของเด็กปลูกฝังว่าอาชีพที่ดีและมั่นคง ต้องรับราชการหรืออาชีพที่
รู้จักกันส่วนใหญ่อย่าง เช่น ครู หมอ พยาบาล ทหาร ตํารวจ เช่นเดียวกับครูในโรงเรียนที่แนะนําให้เด็กรู้แค่อาชีพที่คนส่วนใหญ่รู้จัก
เด็กที่มีความสามารถด้านดนตรี ศิลปะ กีฬาหรืออื่นๆ ก็จะถูกผู้ใหญ่ทั้งครูและครอบครัวบอกว่าสิ่งเหล่านั้นไม่สามารถประกอบ
อาชีพได้หรือถ้าเอาเป็นอาชีพหลักก็จะไม่มั่นคง ไม่สามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ ให้ทําแค่งานอดิเรก การเรียนในโรงเรียนไม่ได้เปิดกว้าง
ในการเรียนรู้อาชีพมากนัก จึงทําให้เด็กไม่รู้ว่าตัวเองอยากจะทําอาชีพอะไร เพราะอาชีพที่ครอบครัวอยากให้เป็นก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่
ตัวเองชอบหรือถนัด
จากปัญหาต่างๆที่กล่าวข้างต้นทําให้เกิดโครงการการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนทุนมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก เพื่อฝึก
ศักยภาพให้เด็กเห็นคุณค่าของความเป็นชาติพันธุ์ของตนเองมีความกล้าแสดงออก ได้รู้จักตัวเองเรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นและ
สามารถวางแผนการเรียนต่อหรือถ้าไม่เรียนต่อก็จะสามารถวางแผนการทํางานหรือการดําเนินชีวิตต่อไป
4.2 วัตถุประสงค์

   
18 
 

1.เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักตัวเอง รู้ความถนัด รู้ว่าตัวเองชอบหรืออยากจะทําอาชีพอะไรในอนาคต และรู้จักผู้อื่น เพื่อ


สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ รู้ว่าจะเข้าหาคนแต่ละประเภทอย่างไร
2.เพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าของตนเองและกล้าแสดงออก
3.เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักอุปสรรคภายในของตนเอง การรู้จักอุปสรรคของตนเองจะทําให้รู้ว่าตัวเองมีข้อบกพร่องอะไร
และนักเรียนสามารถจัดการกับอุปสรรคของตนเองได้
4.เพื่อให้นักเรียนได้ฝกึ การคิดวิเคราะห์และพูดอย่างมีเหตุผล
5.เพื่อให้นักเรียนรู้จักมองโลกเชิงบวก ฝึกชื่นชมและให้กําลังใจคนอื่น
4.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.นักเรียนสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
2.นักเรียนมีความมั่นใจในตัวเองและภูมิใจในความเป็นชาติพันธุ์ของตนเอง นักเรียนกล้าแสดงออก กล้าที่จะพูดต่อหน้า
คนจํานวนมากได้
3.นักเรียนรู้จักความถนัด ความรู้ ความต้องการของตนเองและสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว ที่จะสามารถวางแผน
อนาคตของตัวเองได้
4.นักเรียนสามารถวิเคราะห์ประเด็นข่าวหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างมีเหตุผล เชื่อมโยงการคิดวิเคราะห์อย่างเป็น
ระบบ
5.นักเรียนสามารถนําสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฝึกอบรมไปใช้ในชีวิตประจําวันได้
4.4 เนื้อหากิจกรรม
เนื้อหากิจกรรมเป็นกระบวนให้เด็กได้รู้จักตัวเองเพื่อให้สามารถวางแผนเส้นทางชีวิตเมื่อจบการศึกษาระดับชั้นมัธยม
ปลาย หรือปวช. การฝึกทักษะการปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากการจัดค่ายใช้เวลาสามวัน แล้วนักเรียนที่มาอยู่ในค่ายก็
เป็นนักเรียนต่างโรงเรียนต่างระดับชั้นกันมาอยู่ร่วมกัน มีกระบวนการที่ทําให้เด็กได้พูดคุยกันกับเด็กคนอื่นที่ไม่ใช่เพื่อนตัวเอง ได้ฝึก
ทักษะการพูดและความกล้าแสดงออก มีการสมมติสถานการขึ้นมาเพื่อให้เด็กคิดแก้ปัญหาฝึกการคิดวิเคราะห์และการทํางานเป็น
ทีม กิจกรรมที่ทําให้เด็กได้รู้จักตัวเอง กิจกรรมที่ทําให้เด็กได้รู้จักคุณค่าของสิง่ ของ และกิจกรรมที่ทําให้เด็กได้รู้จักคุณค่าของตนเอง
โดยมีกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมค่ายหนึ่ง
กิจกรรมหัวใจและความคาดหวัง ให้วาดหัวใจห้าดวงและถามคําถามเพื่อนในห้าคําถามโดยไม่ให้ถามซ้ําคนเดิมแล้วเติม
คําตอบของเพื่อนลงในหัวใจที่วาด เพื่อให้นักเรียนทุนได้พูดคุยและทําความรู้จักกับเพื่อนใหม่

   
19 
 

ภาพที่4.1 กิจกรรมหัวใจและความคาดหวัง
กิจกรรมหน้ากากเล่าเรื่อง แบ่งกลุ่มเป็นสี่กลุ่มนั่งเป็นวงกลมแต่ละกลุ่มจะมีหน้ากากและตุ๊กตามือวางไว้ตรงกลางของกลุ่ม
ให้แต่ละคนเล่าเรื่องของตัวเอง โดยอาจจะใช้หน้ากากหรือตุ๊กตามือเพื่อเป็นสื่อกลางในการพูดก็ได้ นักเรียนทุกคนก็จะได้เล่าเรื่อง
ของตัวเอง และทุกคนต้องตั้งใจฟังเรื่องของคนอื่นด้วย เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี

ภาพที่4.2 กิจกรรมหน้ากากเล่าเรื่อง
กิจกรรมปลาอพยพ ให้นักเรียนทุกคนเป็นปลาแล้วต้องว่ายน้ําไปจนสุดปลายน้ํา ในระหว่างทางจะมีอุปสรรคที่คอยขวาง
ไม่ให้ปลาไปถึงปลายทาง เปรียบเทียบเหมือนอุปสรรคในชีวิตที่ทําให้ไปไม่ถึงเป้าหมาย อุปสรรคภายใน เช่น ความขี้เกียจ นักเรียน
จะมีวิธีจัดการกับความขี้เกียจอย่างไร อุปสรรคภายในเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมและสาสมารถหาวิธีจัดการกับมันได้ โดยนักเรียนจะ
หาวิธีการผ่านอุปสรรคต่างๆเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายของตัวเอง

   
20 
 

ภาพที่4.3 กิจกรรมปลาอพยพ
กิจกรรมสัตว์สี่ทิศ คือ มีป้ายที่เขียนลักษณะนิสัยของสัตว์แต่ละทิศและให้นักเรียนให้เลือกลักษณะที่คิดว่าเป็นตัวเองที่สุด
จากนั้นวิทยากรจะเข้ามาคุยกับนักเรียนเพื่อวิเคราะห์ว่านักเรียนแต่ละคนนั้นมีลักษณะนิสัยเป็นไปตามที่เลือกจริงหรือไม่ ถ้าไม่
เป็นไปตามนั้นก็จะให้เลือกใหม่ว่าลักษณะนิสัยจริงๆของตนเองเป็นแบบไหน เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักลักษณะนิสัยของคนในแบบ
ต่างๆว่ามีจุดเด่นจุดด้อยอะไรและนําไปพัฒนาตัวเองต่อไป
ทิศเหนือ คือ กระทิง เป็นคนมุ่งมั่นใจร้อน ชอบเป็นผู้นํา
ทิศใต้ คือ หนู จิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ชอบเป็นผู้ตาม
ทิศตะวันออก คือ เหยี่ยว มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ชอบอะไรซ้ําซาก
ทิศตะวันตก คือ หมี เป็นคนละเอียดรอบคอบ มีความคิดที่เป็นกระบวนการ
กิจกรรมเก้าอี้อวกาศ ให้นักเรียนยืนเป็นวงกลมแล้วนั่งบนขาของเพื่อน โดยที่ไม่ให้ล้ม เพื่อให้นักเรียนมีความสามัคคีและ
ความไว้ใจผู้อื่น

   
21 
 

ภาพที่4.4 กิจกรรมเก้าอี้อวกาศ
กิจกรรมเข้าฐาน
-ใบไม้จินตนาการ หาใบไม้ที่ชอบมาวาดรูปตามเส้นขอบของใบไม้แล้ววาดเพิ่มเติมเป็นอะไรก็ได้จินตนาการ แล้วเปรียบเทียบกับ
ตัวเองว่าเพราะอะไรถึงวาดสิ่งนั้นเหมือนกับตัวเองอย่างไร นักเรียนได้เปรียบเทียบตัวเองกับใบไม้เพราะใบไม้มีทั้งใบที่เรียบ ขรุขระ
มีทั้งใบที่สวยและไม่สวย ก็เหมือนกับชีวิตคนเราที่มีทั้งช่วงเวลาที่เรียบง่ายและมีช่วงเวลาที่ยากลําบาก
-ความงามเล็กๆ เรียนรู้และทําความเข้าใจกับความงามในธรรมชาติ ความงามในความหมายของตัวเอง วาดรูปธรรมชาติอะไรก็ได้
แล้วเปรียบเทียบตัวเองกับธรรมชาติรูปที่ตัวเองวาดว่าตัวเองเหมือนกับสิ่งนั้นอย่างไร เพื่อให้นักเรียนได้รู้ถึงคุณค่าของตัวเอง
-พันไหมพรม ประดิษฐ์สิ่งของจากของที่เหลือใช้ จากกิ่งไม้จากสิ่งเล็กที่เราอาจจะมองข้ามไปสามารถนํามาประดิษฐ์เป็นอะไรก็ได้
ตามจินตนาการของเราทําให้สิ่งเหล่านั้นเพิ่มมูลค่าขึ้นมาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีค่าและสวยงาม เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ
และสามารถสร้างของที่เหลือใช้ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ภาพที่4.5 กิจกรรมใบไม้จินตนาการ

กิจกรรมบทบาทสมมติ ให้นักเรียนเลือกว่าอยากเป็นอาชีพอะไร โดยมีเหตุการณ์คือ ในหมู่บ้านมีคนที่ประกอบอาชีพ


หลากหลายอาชีพแตกต่างกันไป แล้ววันหนึ่งเกิดเหตุการณ์น้ําท่วมในหมู่บ้าน พืชผลทางเกษตรได้รับความเสียหายไม่มีข้าวไม่มี

   
22 
 

อาหาร ถนนถูกตัดขาดคนไม่สามารถออกไปขอความช่วยเหลือนอกหมู่บ้านได้และคนที่อยู่ภายนอกก็ไม่สามารถเข้ามาในหมู่บ้าน
ด้วยเช่นกัน ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา กิจกรรมนี้ทําขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาและการทํางานเป็นทีม
กิจกรรมอาชีพของฉัน คือให้นักเรียนเลือกอาชีพที่อยากเป็นในอานาคตแล้วเขียนว่ามีวิธีการเตรียมตัวอย่างไรหรือทํา
อย่างไรเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย และบอกว่าอาชีพนั้นมีหน้าที่อะไรหรือทําอะไรแล้วนําเสนอให้เพื่อนคนอื่นฟัง เพื่อให้นักเรียนได้รู้จัก
อาชีพที่หลากหลายและรู้วิธีการเตรียมความพร้อมเพื่อไปสู่อาชีพนั้นๆ
กิจกรรมค่ายสอง
กิจกรรมสันทนาการที่ดี
แบ่งกลุ่มให้รับผิดชอบหน้าที่นําสันทนาการ, ดูแลสถานที่, จัดการเวลา/ตามเพื่อน ก่อนเข้ากิจกรรหลักในแต่ละช่วง เพื่อให้นักเรียน
ได้เรียนรู้การจัดสันทนาการที่ดี และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง
กิจกรรมนาฬิกาชีวิต
เขียนตารางเวลาประจําวันของตัวเอง ตั้งเป้าหมายและเขียนตารางเวลาใหม่ที่จะทํากิจกรรมเพื่อให้ถึงเป้าหมาย, ตารางที่จะทําให้
ชีวิตดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนตัวเองและเปลี่ยนแปลงตารางกิจกรรมในชีวิตให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
กิจกรรมเธอมีดี (ชื่นชมคนอื่น)
ให้ทบทวนตัวเอง อยู่กับตัวเอง และพูดชื่นชมคนอื่นอย่างจริงใจ ไม่พูดประชด เพื่อให้นักเรียนรู้จักการพูดชื่นชมผู้อื่น เพราะใน
ปัจจุบันการพูดชืน่ ชมคนอื่นเป็นเรื่องที่ยากโดยเฉพาะกับคนที่สนิท การพูดชื่นชมผู้อื่นจึงเป็นการฝึกเพื่อสร้างความคิดด้านบวกและ
การพูดด้านบวกของผู้อื่น
กิจกรรมดูหนังเปลี่ยนความคิด
ดูหนังเรื่อง inside out ทบทวนสิ่งที่ได้ดูจากหนัง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ดูจากหนัง แล้วเชื่อมโยงกับตัวเองว่าเห็นอะไร
ในหนังและสามารถปรับใช้กับตัวเองได้อย่างไร
กิจกรรมฝึกพูด/วิเคราะห์ประเด็นที่สนใจ
จับคู่ เลือกประเด็นที่สนใจ แล้วถกกับเพื่อนในประเด็นที่เลือกโดยพูดแบบมีหตุผล เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์ และฝึกการพูด
อย่างมีเหตุผล
กิจกรรมเชือกเชื่อมโยง
สมมติสถานการณ์ ทุกคนได้รับบทบาทของตัวเอง ให้ทุกคนพูดคุย และถกกันอย่างมีเหตุผลตามบทบาทที่ได้รับ เหตุการณ์คือ มี
หมู่บ้านแห่งหนึ่งเกิดเหตุการณ์ที่รัฐเวนคืนที่ดินของชาวบ้านส่วนหนึ่ง แล้วให้เด็กที่ได้รับบทบาทต่างๆแสดงความคิดเห็นเพื่อ
แก้ปัญหาเหล่านี้ บทบาทที่เด็กได้รับมีทั้ง เจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลาง, ผู้นําหมู่บ้าน, นักพัฒนาสังคม/NGO, พ่อค้าคนกลาง, ชาวบ้านที่
ได้ผลกระทบ, ชาวบ้านที่ไม่ได้รับผลกระทบ, พระ, เยาวชนในหมู่บ้าน

   
23 
 

กิจกรรมล่าสมบัติ (เข้าฐาน) เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนจับกลุ่มแล้วไปตามฐานต่างเพื่อทําภารกิจ โดยแต่ละกิจกรรมจะ


เป็นการฝึกการทํางานเป็นทีม การวางแผนการทํางาน การไว้ใจกัน และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีกิจกรรมย่อยดังนี้
-กิจกรรมร้อยลูกปัด เก็บลูกปัดที่กระจายมาร้อยใส่เชือก แยกสี แยกเส้น ให้เสร็จครบตามจํานวนเริ่มแรก
ภายในเวลาที่กําหนด
-กิจกรรมไหทองคํา ให้หาวิธีช่วยกันใช้ไม้ยกถังน้ําที่วางอยู่ไกลสุดเอื้อม เอามาหาตัวเองให้ได้ภายในเวลาที่
กําหนด ให้ใครก็ได้ในกลุ่มเป็นคนจับไม้ โดยให้นักเรียนวางแผนกันเอง
-กิจกรรมกระโดดเชือกกลุ่ม ให้กระโดดเชือกเป็นกลุ่มพร้อมกันโดยมีเชือกหนึ่งเส้น ให้กระโดดตามจํานวนที่
กําหนด
-กิจกรรมปิดตาหาของ ทั้งกลุ่มจะถูกปิดตาโดยเหลือไว้เพียงหนึ่งคนที่เปิดตาได้ เดินต่อแถวกันเพื่อไปหาของที่
ถูกซ่อนไว้กลับมาในเวลาที่กําหนด
-กิจกรรมนับดาว นับจํานวนดาวที่ถูกไว้ตามสถานที่ที่จัดไว้ ให้ครบตามจํานวน ถ้าจํานวนถูกต้องจะได้คําใบ้
สุดท้ายของทีม โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามหยิบ ห้ามเคลื่อนย้ายดาว
-กิจกรรมตามหาคําใบ้ ตามหาดาวที่มีสีเดียวกับสีของทีมตัวเอง เปิดดูคําใบ้ที่อยู่ข้างใน แล้วพับดาวเก็บไว้ที่เดิม
กิจกรรมบุคคลตัวอย่าง ให้ดูคลิปบุคคลตัวอย่างที่ประสบความสําเร็จในชีวิต โดยแต่ละคนมีพื้นฐานชีวิตครอบครัว และ
อุปสรรคในชีวิตที่ต่างกัน ให้นักเรียนทบทวนตัวเองจากการดูคลิป และเลือกแง่คิดหรือวิธีการจัดการอุปสรรคหรือการไปถึง
เป้าหมายของบุคคลตัวอย่างที่สามารถนํามาปรับใช้กับตัวเองได้
กิจกรรมแนะแนวอาชีพ เลือกอาชีพที่ต้องการทําในอนาคต ได้รับคําแนะนําจากพีๆ่ เพื่อให้เข้าใจอาชีพมากขึ้น ทั้งเรื่อง
ความรู้ ทักษะ ข้อจํากัด และเงื่อนไขการเงินในการศึกษาต่อ หรือประกอบอาชีพ

   
24 
 

บทที่ 5
สรุปและข้อเสนอแนะ
5.1 บทสรุป
จากการปฏิบัติสหกิจศึกษาที่มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก จังหวัดเชียงใหม่ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2560 – 1 ธันวาคม 2560 ได้
เรียนรู้การทํางานขององค์กรที่ไม่ใช่แค่การเรียนรู้งานจากตําแหน่งของตัวเองเท่านั้นแต่ได้เรียนรู้งานในส่วนอื่นขององค์กรด้วย ได้รับ
ความรู้ประสบการณ์ในการทํางานทั้งการทํางานกับคนในองค์กรเดียวกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันกับองค์กรอื่น การฝึกประสบการณ์
ทํางานเป็นสิ่งที่ยากสําหรับคนที่ไม่เคยทํางานมาก่อน แต่การไปทํางานจริงต้องยากยิ่งกว่าเพราะต้องรับผิดชอบเองทุกอย่าง ได้
เรียนรู้การประสานงานว่าเป็นสิ่งที่ยากมากเพราะเจรจากับคนต้องเจอคนที่หลากหลายต่างกันไป บางทีอาจจะไม่เป็นไปตามที่คิดไว้
ก็ได้ อีกประสบการใหม่คือการจัดโครงการฝึกอบรมศักยภาพเด็กทุนก็เป็นประสบการณ์ที่ไม่เคยทํามาก่อน การจัดกิจกรรมที่ให้เด็ก
มาทํากิจกรรมร่วมกันหลายคนเป็นเรืฎองที่ ่ยากมากเพราะเด็กแต่ละคนต่างกัน การที่ต้องบอกเด็กว่าต้องทําอะไร ทําอย่างไร เป็นงาน
ที่ท้าทายมาก การที่จะให้เด็กทําอะไรเอง เด็กทําไม่ได้เพราะเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เคยได้คิดหรือตัดสินใจเองต้องมีคนบอกถึง
จะทํา แต่การจัดกิจกรรมโครงการฝึกทักษะนักเรียนทุนเป็นการให้เด็กมาฝึกการคิดวิเคราะห์และการจัดการตัวเองโดยไม่มีใครมา
บอกหรือชี้นํา
5.2 ปัญหาและอุปสรรค
5.2.1 ตัวนิสิตเอง
1.ยังขาดความมั่นใจในตัวเอง ทักษะการเขียนสรุปความและทักษะภาษาอังกฤษ
2.ช่วงแรกของการฝึกสหกิจ เนื่องจากยังขาดประสบการณ์ในการทํางานทําให้ช่วยงานได้ไม่เต็มที่นัก
3.ตัวนิสิตเป็นโรคกระเพาะเมื่อออกนอกพื้นที่แล้วเกิดปวดท้องทําให้เป็นอุปสรรคในการทํางานเล็กน้อย
4.เป็นคนอ่อนไหวมีบางครั้งที่โดนกดดันแล้วรู้สึกท้อ ได้ยินคําพูดบางคําที่กระทบแล้วทําให้ร้องไห้
5.2.2 โครงการฝึกทักษะนักเรียนทุน
1.เด็กขาดความมั่นใจในตัวเอง เด็กบางคนยังไม่กล้าที่จะพูดหรือแสดงความคิดเห็น
2.เด็กไม่ชอบเวลาให้เขียนถอดบทเรียนจากกิจกรรม เด็กชอบกิจกรรมที่เล่นได้เคลื่อนไหวมากว่าการใช้ความคิด
3.มีเด็กบางคนที่ไม่อยากทํากิจกรรม เด็กคิดว่าการมาเข้าค่ายทําให้เสียเวลา ไม่ได้ทําการบ้าน
4.เด็กบางคนยังคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลไม่ได้
5.เด็กไม่ให้ความร่วมมือในการทํากิจกรรม ไม่มีความกระตือรือร้นในการทํากิจกรรม
6.เด็กบางคนไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เด็กเข้าใจแค่ว่ามาฝึกความกล้าแสดงออก

   
25 
 

5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 ข้อเสนอแนะต่อสหกิจศึกษา
1.ควรศึกษาเกี่ยวกับหน่วยงานที่จะไปฝึกสหกิจก่อน เพื่อทําความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยงานที่จะไปฝึกสหกิจ
2.ตั้งใจฝึกประสบการณ์และเก็บเกี่ยวความรู้ให้มากที่สุด เพราะเวลาหนึ่งเทอมผ่านไปเร็วมาก
3.เนื่องจากองค์กรมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์จึงใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและทํารายงาน นิสิตควรมี
ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5.3.2 ข้อเสนอแนะต่อโครงการฝึกทักษะนักเรียนทุน
1.ถามความสมัครใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฝึกอบรมศักยภาพของนักเรียนทุนเพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกเหมือน
โดนบังคับมาทํากิจกรรม
2.หากิจกรรมที่จะทําให้เด็กได้สนุก หรือกิจกรรมที่เหมาะกับเด็กแต่ละพื้นที่
3.ให้เด็กได้เสนอกิจกรรมที่อยากทําเอง ถ้าเด็กได้เลือกเองอาจจะทําให้เด็กได้สนุกกับการทํากิจกรรมมากขึ้น

บรรณานุกรม
กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร. คู่มือสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร :ดาวเงินการพิมพ์. พิษณุโลก. (2559)
เว็ปไซต์มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560, เว็ปไซต์ : http://childsdream.org/

   
26 
 

ภาคผนวก

ภาพ การทํา Presentation นําเสนอมูลนิธิให้กับครูอาสารุ่น8 ได้เห็นประวัติและการทํางานของมูลนิธิ

   
27 
 

ภาพการถอดบทเรียนครูอาสารุ่น7 การทํางานสี่เดือนของครูอาสาว่าได้อะไรบ้างจากการมาเป็นครูอาสา

ภาพการจัดกิจกรรมฝึกอบรมศักยภาพนักเรียนทุนเกื้อฝันเด็ก

   
28 
 

ภาพการทํา Presentation นําเสนอแถลงการปฏิรูปการศึกษาประเทศไทย

ภาพการปฐมนิเทศครูอาสารุ่น 8

ภาพการเรียนรู้การทํางานของคนในองค์กร

   
29 
 

ภาพการติดตามนักเรียนทุน

ภาพการทํา Presentation เพื่อขอ Visa ให้อาสาสมัครชาวต่างชาติ

   

You might also like