You are on page 1of 82

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)

: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 3
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี
(Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข

กลุ่มงานสุขภาพจิตโรงเรียนและชุมชน
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ปีงบประมาณ 2559

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 1
ชื่อหนังสือ แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
บรรณาธิการ ศศกร วิชัย
อาริสรา ทองเหม
ISBN 978-974-296-864-9
จัดพิมพ์โดย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0 2248 8999
โทรสาร 0 2248 8998
พิมพ์ครั้งที่ 2 ธันวาคม 2558
จำ�นวนพิมพ์ 1,000 เล่ม
พิมพ์ที่ บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำ�กัด

ข้อมูลสำ�หรับห้องสมุด
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
แนวทางการประชุ ม ปรึ ก ษารายกรณี : ในสถานศึ ก ษาสำ � หรั บ บุ ค ลากร
สาธารณสุข
กรุงเทพฯ : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
1. การประชุมปรึกษารายกรณี

2
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
คำ�นำ�
การดำ�เนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา มี
เป้าหมายให้นักเรียนทุกคนได้รับการดูแล ส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไข
ปัญหา ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทาง
จิตใจ สามารถแก้ปัญหาพัฒนาตนเอง และดำ�รงชีวิตได้อย่างมีความสุข
การประชุมปรึกษารายกรณี (Case Conference) เป็นกิจกรรมสำ�คัญ
อย่างหนึง่ ในการปรึกษาหารือเพือ่ ช่วยเหลือนักเรียนกลุม่ เสีย่ งและกลุม่ ทีม่ ปี ญ
ั หา
ยุง่ ยากซับซ้อน อันเป็นบทบาทสำ�คัญของครูแนะแนวตามระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน และบุคลากรสาธารณสุขซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการทำ�งานเครือข่าย
เพือ่ การดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนวัยรุน่ ในการให้ความรู้ ร่วมกับการให้ความเห็น
เชิงวิชาการ
“แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case Conference) : ในสถานศึกษา
สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข” ฉบับนี้ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์
โดยกลุ่มงานสุขภาพจิตโรงเรียนและชุมชน ได้จัดทำ�ขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้บุคลากร
สาธารณสุข ตลอดจนนักวิชาการผู้สนใจ มีแนวทางในการร่วมประชุมปรึกษา
รายกรณีในสถานศึกษา ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วย บทบาทสาธารณสุขกับขั้นตอน

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 3ก
การประชุมปรึกษารายกรณี ความรู้ และทักษะที่สำ�คัญ โดยผู้จัดทำ�พร้อมรับ
ข้อคิด เห็ น และข้ อเสนอแนะในการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดในการนำ�ไปปฏิบัติงานจริงต่อไป

กลุ่มงานสุขภาพจิตโรงเรียนและชุมชน
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
ธันวาคม 2558

4ข
สารบัญ
คำ�นำ� ก
สารบัญ ค
บทที่ 1 บทนำ� 1
ความเป็นมาและความสำ�คัญในการประชุมปรึกษา
รายกรณี (Case Conference) 4
คำ�จำ�กัดความของการประชุมปรึกษารายกรณี
(Case Conference) 6
ผังงานที่ 1 กระบวนการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 7
ผังงานที่ 2 กระบวนการดำ�เนินงานดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนของครูแนะแนว/ผู้เกี่ยวข้อง 8
ผังงานที่ 3 การประชุมปรึกษารายกรณี
(Case Conference) 9
ขั้นตอนการประชุมปรึกษารายกรณี 10
หน้าที่ของประธานและสมาชิกในการประชุมปรึกษา
รายกรณี 12
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมปรึกษา
รายกรณีในสถานศึกษา (Case Conference) 13
บทที่ 2 บทบาทสาธารณสุขกับขั้นตอนการประชุมปรึกษารายกรณี
(Case Conference) 15
เทคนิคการประชุมปรึกษารายกรณีให้มีประสิทธิภาพ 21
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 5ค
บทที่ 3 ความรู้ที่เกี่ยวข้องและทักษะที่จำ�เป็น 23
1. การให้การปรึกษาวัยรุ่นที่พฤติกรรมเสี่ยง 23
2. แนวทางช่วยเหลือในกรณีปัญหาที่พบบ่อย
โดย พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น) 39
2.1 ปัญหาการเรียน 39
2.2 ปัญหาพฤติกรรมลักขโมย 41
2.3 ปัญหาการใช้สารเสพติด 42
2.4 ปัญหาการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม 44
2.5 ปัญหาอารมณ์จิตใจ เด็กเก็บตัว หรือแยกตัวเอง 46
2.6 ปัญหาเด็กก้าวร้าว 47
2.7 การติดเกม 49
3. กระบวนการกลุ่ม 50
4. การรักษาความลับ 54
5. การจัดการในเหตุการณ์ที่มักพบในที่ประชุมปรึกษา
รายกรณี (Case Conference) 56
บรรณานุกรม 57
รายนามผู้วิพากษ์ 59
ที่ปรึกษาและรายนามคณะทำ�งาน 60
ภาคผนวก
แบบบันทึกสรุปผลการประชุม 64
ตัวอย่างแบบปรึกษาสถานบริการสาธารณสุข
(สำ�หรับสถานศึกษา) 66
เกณฑ์การประเมินปัญหานักเรียนเพื่อส่งต่อ (กรณียุ่งยากซับซ้อน) 68
ตัวอย่างหนังสือยินยอมการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง
โรงเรียนและบุคลากรสาธารณสุข 69
เครือข่ายสาธารณสุข 70
หน่วยงานและองค์กรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเด็ก 72
6ง
บทที่ 1
บทนำ�
จากสถานการณ์สังคมไทยในปัจจุบัน การพัฒนาระบบเทคโนโลยีและ
การสื่อสารที่นำ�สมัย ความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึง เผยแพร่และส่งต่อ
ข้ อ มู ล ทางอิ น เทอร์ เ น็ ต ภาวะการเติ บ โตและขยายตั ว ทางสั ง คมเศรษฐกิ จ
รูปแบบการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ล้วนมีผลกระทบต่อระบบความคิด
ความเชือ่ ค่านิยม แบบแผนการเลีย้ งดู ความเป็นอยูข่ องครอบครัว ซึง่ ส่งผลต่อ
สุขภาพด้านร่างกายจิตใจ และรูปแบบการใช้ชวี ติ ในเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ
การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางเพศความรุนแรง
ก้าวร้าว การใช้สารเสพติด การติดเกมและการพนันรูปแบบต่างๆ รวมไปถึง
ปัญหาการปรับตัว ปัญหาสุขภาพจิต ภาวะความเจ็บป่วยทางสุขภาพจิตและ
จิตเวช จากการศึกษาสถานการณ์เด็กและเยาวชนปี พ.ศ. 2551 - 2552 โครงการ
child watch พบปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น คือ พฤติกรรมทางเพศ การดื่มเหล้า
สูบบุหรี่ ยาเสพติดในสถานศึกษา แม่วัยเยาว์ และการพนัน ในเรื่องการใช้
อินเทอร์เน็ตพบกลุ่มเยาวชนอายุ 18 - 24 ปี ใช้เฟซบุ๊กมากที่สุดเกือบร้อยละ 40

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 1
ของผูใ้ ช้ทงั้ หมด และจากสถิตกิ ารให้บริการในสถานพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต
ปีพ.ศ. 2549 พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45.9
(ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน, 2550) และในปีพ.ศ. 2550 - 2552
มีเยาวชนอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายจำ�นวน 194 คน
190 คนและ 196 คน ตามลำ�ดับ ซึ่งในความเป็นจริงยังมีเด็กและเยาวชน
ที่มีปัญหาอีกมากที่ยังไม่ได้รับการดูแล โดยคาดว่าปัจจุบันมีเด็กและวัยรุ่น
ที่ มี ปั ญ หาสุ ข ภาพจิ ต และพฤติ ก รรมในระดั บ ผิ ด ปกติ ท่ี ต้ อ งพบจิ ต แพทย์ ถึ ง
8 แสนคนขณะที่บุคลากรวิชาชีพเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตมีจำ�นวนจำ�กัด
ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ในปีพ.ศ. 2550 บุคลากรวิชาชีพ ได้แก่ จิตแพทย์
พยาบาลจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยาคลินกิ มีอตั ราต่อประชากร
แสนคนเท่ากับ 0.80, 3.65, 0.47 และ 0.67 ตามลำ�ดับ (อภิชาติ จำ�รัสฤทธิรงค์
ปราโมทย์ ประสาทกุล และปัญญา ชูเลิศ, 2553)
เพื่อให้กลุ่มเด็กวัยเรียนวัยรุ่นเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นและได้รับบริการ
ทีเ่ หมาะสม สามารถพัฒนาศักยภาพและเติบโตเป็นประชาชนไทยทีม่ คี ณ ุ ภาพชีวติ
ที่ดีต่อไป กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จึงมุ่งเน้นบูรณาการการทำ�งาน
ทุกระดับในแต่ละพื้นที่ และพัฒนาเชื่อมโยงระบบส่งต่อทั่วทุกอำ�เภอตามแผน
พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข (12 พวงบริการ) สนับสนุนการจัดบริการการ
ดูแลทางสังคมจิตใจ (Psychosocial care) กลุ่มวัยรุ่นในโรงพยาบาล/สถาน
บริการ เชื่อมโยงกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน พัฒนาระบบ
คู่เครือข่ายให้บริการสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นโดยเครือข่ายสุขภาพจิต
ในโรงพยาบาลชุมชนภายใต้โครงการ OHOS (One Hospital One School)
ซึ่งระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นการดำ�เนินการร่วมกันโดยกรมสามัญ
ศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นับตัง้ แต่ป ี

2
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
พ.ศ. 2543 ซึ่งได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีพ.ศ. 2553 สำ�นักงาน
กองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุนงบประมาณให้ส�ำ นัก
วิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลยุวประสาท
ไวทโยปถัมภ์ สถาบันราชานุกลู และสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์
กรมสุ ข ภาพจิ ต ดำ � เนิ น งานโครงการพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยในระบบการดู แ ล
ช่วยเหลือนักเรียน ภายใต้แนวคิดที่จะสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนของระบบ
การดูแลช่วยเหลือ ซึง่ กระบวนการทีจ่ ะทำ�ให้การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนประสบความสำ�เร็จคือ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ได้แก่
ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งจะเป็นก้าวแรกในการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (ธงชาติ วงษ์สวรรค์ และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, 2555)
ในการทำ � งานเครื อ ข่ า ยเพื่ อ การดู แ ลช่ ว ยเหลื อ เด็ ก วั ย เรี ย นวั ย รุ่ น
ดั ง กล่ า ว บุ ค ลากรสาธารณสุ ข เป็ น ผู้ มี บ ทบาทสำ� คั ญ ต่ อ การขั บ เคลื่ อ นการ
ทำ � งานเครื อ ข่ า ยในพื้ น ที่ ต ามภารกิ จ ที่ รั บ ผิ ด ชอบ ซึ่ ง บุ ค ลากรสาธารณสุ ข
มีภาระงานต่างๆ มากมายที่ต้องรับผิดชอบ ในการทำ�งานจึงต้องมีการบริหาร
จัดการและวางแผนกระบวนการในการทำ�งานให้สามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุด
จากการศึกษารวบรวมประสบการณ์ของบุคลากรสาธารณสุขกับการทำ�งาน
ในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่าการประชุมปรึกษารายกรณี (Case
conference) เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำ�คัญในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ที่สามารถทำ�ให้ระบบการทำ�งานคู่เครือข่ายสาธารณสุขและสถานศึกษาเกิด
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระยะยาวได้หากบุคลากรสาธารณสุขมีความ
เข้าใจการดำ�เนินงานประชุมปรึกษารายกรณีในสถานศึกษา รวมถึงความรู้ที่
เกี่ยวข้องและทักษะที่จำ�เป็น จะช่วยให้การดำ�เนินงานประชุมปรึกษารายกรณี
ในสถานศึกษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 3
ความเป็นมาและความสำ�คัญในการประชุมปรึกษารายกรณี
(Case conference)
การสร้ า งคู่ เ ครื อ ข่ า ยการดู แ ลช่ ว ยเหลื อ นั ก เรี ย น เป็ น การสร้ า ง
ความร่วมมือระหว่างระบบการศึกษาและระบบสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์
เพือ่ สร้างการมีสว่ นร่วมอย่างแท้จริงของคูเ่ ครือข่าย ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ได้รวบรวม
ประสบการณ์การดำ�เนินงานสุขภาพจิตโรงเรียน และการดำ�เนินโครงการพัฒนา
เครือข่ายในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่าปัจจัยสำ�คัญที่เอื้อต่อความ
สำ�เร็จคือการทำ�งานร่วมกันในลักษณะคูเ่ ครือข่ายระหว่างสถานศึกษา และสถาน
บริการสาธารณสุข โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานปฏิบตั กิ าร มุง่ เน้นการดำ�เนินงาน
ให้สอดคล้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาที่พัฒนาความ
ร่วมมือร่วมใจกันระหว่างอาจารย์ทปี่ รึกษา คณาจารย์ ในโรงเรียน ทีมงานสุขภาพจิต
ของสถานบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำ�เนินงานประชุมปรึกษา
รายกรณีในสถานศึกษา ทีไ่ ม่ได้เน้นการแก้ไขปัญหาทีป่ ลายเหตุ แต่เป็นการทำ�ให้
ผูท้ เี่ กีย่ วข้องได้รกู้ ารป้องกันทีต่ น้ เหตุ ก่อนทีป่ ญ
ั หาจะลุกลามเป็นปัญหาทีซ่ บั ซ้อน
จนเกินกำ�ลังของครูทปี่ รึกษา ทัง้ จากตัวเด็กนักเรียนเอง จากครอบครัว การเลีย้ งดู
ข้อมูลแวดล้อมจากผู้เกี่ยวข้อง และกลไกการเกิดปัญหา ไปจนถึงแนวทางการ
ดูแลแก้ไขในด้านต่างๆ มุมมองต่างๆ ดังนั้นการช่วยเหลือดูแลนักเรียนคนใด
คนหนึ่งในการจัดประชุมปรึกษารายกรณีในสถานศึกษา จึงเป็นการช่วยให้
ครูผู้รับผิดชอบสามารถนำ�ไปปรับใช้ในการดูแล ป้องกัน และช่วยเหลือนักเรียน

4
รายอื่ น ๆ ได้ ก่ อ นที่ ปั ญ หาจะเกิ ด หรื อ ช่ ว ยเหลื อ ได้ ทั น ที อี ก ทั้ ง ยั ง ลดการ
มารับบริการ หรือลดจำ�นวนการส่งต่อมารับบริการที่สถานบริการสาธารณสุข
เมื่อปัญหามากขึ้นแล้ว

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 5
คำ�จำ�กัดความของการประชุมปรึกษารายกรณี
(Case Conference)
การประชุมปรึกษารายกรณี (Case Conference) เป็นกิจกรรมหนึ่ง
ตามระบบการดู แ ลช่ ว ยเหลื อ นั ก เรี ย น เป็ น การดำ � เนิ น งานโดยคณะครู
และผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่ อ ประชุ ม ปรึ ก ษาในการช่ ว ยเหลื อ นั ก เรี ย นกลุ่ ม เสี่ ย ง
หรื อ นั ก เรี ย นที่ มี ปั ญ หายุ่ ง ยากซั บ ซ้ อ น ซึ่ ง ครู แ นะแนวได้ รั บ การส่ ง ต่ อ จาก
ครูที่ปรึกษา เนื่องจากมีความจำ�เป็นต้องประชุมร่วมกันช่วยเหลือ ติดตามผล
เมื่อเสร็จสิ้นการช่วยเหลือในแต่ละกรณี ดังผังงานที่ 1
ในกรณีกลุ่มเสี่ยงและกรณียุ่งยากซับซ้อนในการแก้ไขปัญหา และ
ต้องการความคิดเห็นทางการแพทย์และการดูแลที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากทีม
สาธารณสุข โรงเรียนจะพิจารณาเชิญทีมบุคลากรสาธารณสุข เช่น จิตแพทย์เด็ก
และวัยรุ่น พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา
คลินิก หรือนักจิตวิทยาโรงเรียน ฯลฯ เข้าร่วมประชุมปรึกษารายกรณีด้วย
ดังผังงานที่ 2

6
รู้จักนักเรียนรายบุคคล

คัดกรองนักเรียน

กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา


ครูประจำ�ชั้น/
ครูที่ปรึกษา
ส่งเสริมพัฒนาการ ป้องกัน แก้ไข

ดีขึ้น
พฤติกรรม

การส่งต่อ ไม่ดีขึ้น

รับนักเรียนจากครูประจำ�ชั้น/ครูที่ปรึกษา

ครูแนะแนว/ ดีขึ้น
พฤติกรรม
ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ส่งต่อภายนอกโรงเรียนบุคลากรสาธารณสุข

ผังงานที่ 1 กระบวนการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ที่มา : สำ�นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ, 2544.
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 7
ครูแนะแนวรับนักเรียนต่อจากครูที่ปรึกษา

ให้การปรึกษาช่วยเหลือ
ส่งกลับครูที่ปรึกษา
พฤติกรรมนักเรียน ดีขึ้น ให้การดูแลช่วยเหลือ
ต่อไป

พฤติกรรมที่รุนแรง/ พฤติกรรมที่มีปัญหา
ยุ่งยากซับซ้อน

ประชุมปรึกษารายกรณี

พฤติกรรมนักเรียน ดีขึ้น

ไม่ดีขึ้น
ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญภายนอก

ติดตาม/บันทึก/รายงานผล

ผังงานที่ 2 กระบวนการดำ�เนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ของครูแนะแนว/ผู้เกี่ยวข้อง

8
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
แนวคิด
เป็นการประชุมปรึกษาเพื่อระดมความคิดเห็นหาสาเหตุและแนวทาง
ในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหายุ่งยาก ซับซ้อน รวมทั้งค้นหาศักยภาพของ
นักเรียนและผู้ดูแลนักเรียน ระหว่างสถานศึกษากับสหวิชาชีพ เพื่อช่วยเหลือ
นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดำ�เนินงาน ดังภาพประกอบ
สถานศึกษา

P กำ�หนดแผนการจัดประชุมศึกษารายกรณีในสถานศึกษา

ศึกษารายละเอียดปัญหาของนักเรียน

ประชุมปรึกษารายกรณี

D สรุปแนวทางให้การช่วยเหลือและมอบ
หมายภารกิจร่วมกัน

ดำ�เนินภารกิจ

C ไม่/NO
ภารกิจสำ�เร็จหรือไม่

พอใจ/YES
A สรุปผล

ผังงานที่ 3 การประชุมปรึกษารายกรณี (Case Conference)

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 9
ขั้นตอนการประชุมปรึกษารายกรณี
1. ครูแนะแนวกำ�หนดแผนและเตรียมการจัดประชุมปรึกษารายกรณี
1.1 กำ�หนดวันการประชุมเป็นปฏิทินการปฏิบัติงาน เช่น วันพุธที่ 3 ของ
เดือน เป็นต้น
1.2 กำ�หนดสถานที่ประชุม ควรเป็นห้องแบบปิดและเป็นสัดส่วน
1.3 ประสานงานครูที่ปรึกษาเจ้าของกรณีศึกษา เตรียมประวัตินักเรียน
นำ�ส่งเลขาฯ ของที่ประชุม
1.4 ในกรณีการประชุมครั้งแรกควรจัดตั้งทีมงาน ประกอบด้วย ประธาน
รองประธาน เลขาฯ และผู้ช่วยเลขาฯ โดยผู้อำ�นวยการโรงเรียนเป็นประธาน
ทีมแนะแนวเป็นเลขาฯ และรองเลขาฯ
1.5 ทีมเลขาฯ ประสานงานการจัดประชุม ประกอบด้วย จัดเตรียมสถานที่
ประชุม ทำ�หนังสือเชิญแจ้งวาระการประชุมแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและ
ติดต่อประสานงาน
2. ครูแนะแนว/ผูป้ กครอง และบุคลกรทีเ่ กีย่ วข้อง ศึกษารายละเอียดทีเ่ กีย่ วข้อง
กับปัญหาของนักเรียน
3. ดำ�เนินการประชุมปรึษารายกรณี ตามกระบวนการดังนี้
3.1 ประธานกล่าวเปิดและแจ้งข้อตกลงสำ�หรับการประชุม คือ
- ให้รักษาความลับ ไม่นำ�เรื่องที่ประชุมไปพูดนอกการประชุม
- การพูด ให้พูดทีละคน และให้ทุกคนตั้งใจฟังเมื่อสมาชิกคนอื่นพูด
- ให้อภิปราย โต้แย้งอย่างมีเหตุผล

10
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
3.2 เลขาฯ เกริ่นนำ� และกำ�หนดเวลา
3.3 ครูทปี่ รึกษาเจ้าของกรณีศกึ ษา นำ�เสนอรายละเอียดของกรณีศกึ ษาโดย
กรณีใหม่ให้นำ�เสนอข้อมูลโดยละเอียด ส่วนกรณีเก่าให้นำ�เสนอเฉพาะความ
ก้าวหน้าในการช่วยเหลือ
3.4 สอบถามประวัติ ข้อมูลนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของปัญหา และ
ค้นหาศักยภาพในการช่วยเหลือนักเรียนจากบุคลากรที่ดูแลนักเรียนทุกฝ่าย
3.5 ห าแนวทางการแก้ ไขปั ญ หา ที่ ส อดคล้ อ งเหมาะสมกั บ ปั ญ หาและ
ศักยภาพของนักเรียนและผู้ช่วยเหลือ
4. ประธานที่ประชุมมอบหมายงาน
5. เลขาฯ สรุปการประชุมและนัดหมายครั้งต่อไป

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 11
หน้าที่ของประธานและสมาชิกในการประชุมปรึกษารายกรณี

หน้าที่ของประธาน
1. บอกเป้าหมายของการประชุม
2. กระตุ้นให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
3. ตัดสินใจ สรุปทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
4. มอบหมายหน้าที่แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในกรณีต้องดูแลช่วยเหลือ
ต่อเนื่อง เช่น หาประวัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการ ประวัติครอบครัว และการดูแล
ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
5. นัดการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป
หมายเหตุ เลขาฯ อาจทำ�หน้าทีแ่ ทนประธานในกรณทีไ่ ด้รบั มอบหมายให้
ดำ�เนินการประชุมแทน

หน้าที่ของสมาชิก
1. เข้าร่วมประชุมตรงเวลา
2. ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติ สาเหตุและ
แนวทางการช่วยเหลือโดยให้ความเคารพและรับฟังสมาชิกทุกคน
3. ให้ข้อมูลในส่วนที่มีความคิดเห็นแตกต่าง โดยไม่ใช้วิธีการต่อว่าหรือ
โต้เถียงเพื่อเอาชนะ

12
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมปรึกษา
รายกรณีในสถานศึกษา (Case conference)
การดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยความร่วมมือของครู ผูป้ กครอง บุคลากร
สาธารณสุข และบุคลากรในโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่เกิดจากกระบวนการ
ประชุมปรึกษารายกรณี ทำ�ให้คุณภาพของการช่วยเหลือมีประสิทธิภาพ และ
ส่งผลให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อตัวนักเรียน ผู้เกี่ยวข้องและสังคมส่วนรวมได้
ดังต่อไปนี้
ประโยชน์ต่อนักเรียน
1. นักเรียนได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกวิธีจากผู้เกี่ยวข้องในการแก้ไข
ปัญหายุ่งยากที่เผชิญ
2. มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีแนวทางในการแก้ปัญหา
3. มี ค วามสามารถในการปรั บ ตั ว ในโรงเรี ย น และเป็ น ตั ว แบบที่ ดี
สามารถช่วยเหลือเพื่อนได้
4. มีผลกระทบที่ดีต่อการเรียนของนักเรียน

ประโยชน์ต่อครู
1. มมี มุ มองหลากหลายเกีย่ วกับเด็ก เห็นจุดแข็ง และแนวทางการพัฒนา
ศักยภาพของเด็ก
2. เพิ่มความรู้ และทักษะในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3. เกิดความภาคภูมิใจ และความมั่นใจในการช่วยเหลือนักเรียน
4. มีเครือข่ายในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 13
5. มีผลงานเชิงประจักษ์ด้านการดูแลนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนที่สอดคล้องกับ มาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษา

ประโยชน์ต่อโรงเรียน
1. สนับสนุนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในมาตรฐานการประกันคุณภาพ
การศึกษา
2. สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3. มีการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ และมีความเอื้ออาทรต่อกัน
4. มีการประสานงานของบุคลากรในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่าง
เป็นระบบ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
1. เข้าใจแนวทางการเลี้ยงดูที่เหมาะสมกับยุคสมัย และสภาพปัญหา
ความต้องการของนักเรียน
2. มีสัมพันธภาพที่ดีกับนักเรียน ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของครอบครัว

ประโยชน์ต่อบุคลากรสาธารณสุข
1. ทราบสถานการณ์ ปัญหา ความต้องการในพื้นที่ เพื่อวางแผนเชิงรุก
ในการป้องกันแก้ไข
2. มีสว่ นร่วมในการทำ�งานกับบุคลากรในพืน้ ที่ เพือ่ พัฒนาสูก่ ารทำ�งาน
อย่างเป็นระบบ
3. สนับสนุน และส่งเสริมให้การดูแลเด็กมีประสิทธิภาพมากขึ้น

14
บทที่ 2
บทบาทสาธารณสุขกับขั้นตอนการประชุม
ปรึกษารายกรณี
(Case conference)
บุ ค ลากรสาธารณสุ ข ที่ ไ ด้ รั บ เชิ ญ ให้ ร่ ว มประชุ ม ปรึ ก ษารายกรณี
(Case conference) เช่น แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์
หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีบทบาทหน้าที่ตาม 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1. สร้างความสัมพันธ์อันดีในที่ประชุม (Relationship)
2. สร้ า งการยอมรั บ ระหว่ า งคณะครู และคณะครู กั บ นั ก เรี ย น
(Recognition)
3. ถ่ายทอดแนวคิด ทักษะ และติดตามการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ในฐานะที่ปรึกษา (Response)
4. ประสานแหล่งบริการหรือให้การช่วยเหลือในกรณีสง่ ต่อ (Resource)

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 15
ขั้นตอนที่ 1 สร้างความสัมพันธ์อันดีในที่ประชุม (Relationship)
 สังเกตและตั้งใจฟังสิ่งที่คณะครูทุกคนนำ�เสนอ และต้องการความ
ช่วยเหลือ
 สื่อให้คณะครูเห็นว่าเราเข้าใจปัญหาความรู้สึกครู ความลำ�บากใจ
ในการช่วยเหลือ และแสดงการยอมรับทุกคนที่เข้าร่วมประชุม
 ใช้เทคนิคในการขจัดความขัดแย้ง ไม่เข้าข้างใคร เห็นประโยชน์ของ
การช่วยเหลือมุ่งเน้นเด็กเป็นสำ�คัญยอมรับปัจเจกบุคคล

บุคลากรสาธารณสุขมีบทบาทในการเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์อันดี
ระหว่างสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุม เป็นผู้สร้างบรรยากาศให้การประชุมเกิด
ความเข้าใจ และยอมรับซึ่งกันและกัน โดย “รับฟังและไม่ประเมิน” บุคลากร
สาธารณสุขเป็นผู้ช่วยแต่ไม่ใช่ผู้นำ�กลุ่ม ทำ�ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเกิดความรู้สึก
มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยน ช่วยให้ครูได้รับรู้ปัญหาที่แท้จริงเพื่อร่วมกัน
แก้ไข ในกรณีที่ครูไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง บุคลากรสาธารณสุขมีส่วนในการ
แลกเปลีย่ นมุมมองเพือ่ ให้ทปี่ ระชุมได้เห็นข้อเท็จจริง การประชุมปรึกษารายกรณี
ในโรงเรียนจะสำ�เร็จได้ หากครูทุกคนรู้สึกมีส่วนร่วม รู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมเป็น
เจ้าของกรณีศกึ ษา กจ็ ะทำ�ให้เกิดความรูส้ กึ อยากร่วมมือในการดูแล ซึง่ จะแตกต่าง
กับการประชุมปรึกษารายกรณีในระบบสาธารณสุขที่มีเจ้าของกรณีอยู่แล้ว

16
ขัน้ ตอนที่ 2 สร้างการยอมรับระหว่างคณะครูกบั นักเรียน (Recognition)
 ช่วยให้คณะครูมองเห็นจุดแข็งและสนับสนุนให้นำ�จุดดีของนักเรียนมา
แก้ไข
 ช่วยให้คณะครูมองเห็นความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคน
 หาปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำ�ให้ครูไม่สามารถช่วยเหลือนักเรียนได้ เพื่อหา
แนวทางแก้ไข ในกรณีคณะครูมีปฏิกิริยาต่อต้าน หรือไม่เห็นด้วยต่อวิธีการ
ช่วยเหลือที่กลุ่มเสนอแนะ

บุคลากรสาธารณสุขมีบทบาทในการช่วยให้เกิดการยอมรับระหว่างครู
กับนักเรียน เป็นผู้ช่วยให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ครูรู้สึกว่าการ
ช่วยเหลือเด็กนักเรียนเป็น “บทบาทหน้าที”่ ของครูทกุ คน ครูทกุ วิชาทีเ่ กีย่ วข้อง
ให้ครูรู้สึกมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนข้อมูลนักเรียนซึ่งกันและกันระหว่างครูจะ
ทำ�ให้ครูมองเห็นข้อมูลนักเรียนครบทุกด้าน ทั้งจุดแข็งและจุดบกพร่อง ทั้งนี้
สนับสนุนให้ครูมองจุดดีที่เด็กนักเรียนมีนำ�มาส่งเสริมพัฒนาและแก้ไขปัญหา
ในกรณีทพี่ บว่าครูตอ่ ต้านในการให้ความช่วยเหลือ บุคลากรสาธารณสุข
มีส่วนสำ�คัญในการให้ข้อเท็จจริงและตอกยํ้า จุดแข็ง ความดีหรือความสามารถ
ที่เด็กนักเรียนมีเพื่อให้ครูเข้าใจและให้ความร่วมมือในการดูแล เช่น กรณีปัญหา
เกเร สูบบุหรี่ ครูรสู้ ึกหมดกำ�ลังและไม่อยากช่วยเหลือแต่จากการรวบรวมข้อมูล
การประชุม เด็กนักเรียนก็ยังมาเรียน เข้าห้องเรียนสมํ่าเสมอ ในจุดนี้ บุคลากร
สาธารณสุขสามารถดึงจุดดีในเรื่องความตั้งใจที่จะมาเรียนให้ครูมองเห็น และ
ยอมรับที่จะช่วยเหลือได้ ฯลฯ

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 17
ขั้นตอนที่ 3 ถ่ายทอดแนวคิด ทักษะและติดตามการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนในฐานะที่ปรึกษา (Response)
 ช่วยให้ผนู้ �ำ เสนอกรณีศกึ ษาสามารถนำ�เสนอกรณีศกึ ษาได้อย่างชัดเจน
และครบถ้วน โดยการทวนถึงข้อสรุป ประเด็นปัญหาที่ต้องการปรึกษา
อย่างเป็นรูปธรรม การสอบถามเพิ่มเติมถึงปัญหา อาการ ประวัติส่วนตัว
การปรับตัวของนักเรียน ประวัติครอบครัว การสรุปสาเหตุ และการ
ช่วยเหลือเบื้องต้น เพื่อประกอบเป็นข้อมูลสำ�คัญในการพิจารณาการ
ช่วยเหลือให้ครอบคลุมต่อไป
 แสดงให้ครูเห็นทักษะการช่วยเหลือทีห่ ลากหลายโดยสอดแทรกข้อคิด
นำ�เสนอทักษะต่างๆ ในการประเมินปัญหาและการแก้ไขปัญหาในแต่ละ
ขั้นตอนของการประชุมปรึกษารายกรณี
 ช่วยให้ข้อมูลทางวิชาการที่ช่วยสร้างความเข้าใจต่อปัญหาและการ
ช่วยเหลือที่ถูกต้องในกรณีที่ครูประเมินพฤติกรรมนักเรียนคลาดเคลื่อน
และก่อให้เกิดทัศนคติทางลบ วิธีการดูแลที่ไม่เหมาะสม รวมถึงเกิดความ
ขัดแย้งระหว่างครูในการแก้ปัญหา
 ให้กำ�ลังใจและสร้างพลังใจ (Empower) แก่ครูทุกคนที่ร่วมมือร่วมใจ
ให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยเฉพาะเมื่อเห็นว่าครูเหล่านั้นรู้สึก
เหนื่อยและท้อแท้
 ร่วมติดตามความก้าวหน้าในการช่วยเหลือ รวมทัง้ การประเมินผลการ
ประชุมปรึกษาในแต่ละกรณีทุกครั้ง

18
บุคลากรสาธารณสุขควรมีความรู้ทางวิชาการเพื่อให้การสนับสนุน ให้
ความรู้ข้อมูลทางวิชาการในการดูแล โดยเน้นการรับฟังอย่างใส่ใจ มีทัศนคติที่ดี
ไม่ประเมิน ไม่ตัดสิน สนับสนุนให้ครูรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เป็น Coaching ให้
กับครูให้สามารถดูแลและแก้ไขปัญหานักเรียนได้ ในกรณีทนี่ �ำ เข้าประชุมปรึกษา
ในการประชุมปรึกษารายกรณีแต่ละครั้ง นอกจากครูจะสามารถช่วยเหลือ
เด็ ก นั ก เรี ย นคนนั้ น ได้ แ ล้ ว ครู จ ะสามารถนำ � วิ ธี ก ารดู แ ล แก้ ไขไปช่ ว ยเด็ ก
คนอื่นๆ ที่มีปัญหาหรือลักษณะใกล้เคียงกันได้ ซึ่งทำ�ให้ครูได้เป็นส่วนสำ�คัญ
ของการป้องกัน หรือช่วยเหลือก่อนที่จะนำ�ไปสู่การเกิดปัญหาที่รุนแรงหรือ
ยุ่งยากมากขึ้น

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 19
ขั้นตอนที่ 4 ประสานแหล่งบริการ หรือให้การช่วยเหลือในกรณีส่งต่อ
(Resource)
 ชว่ ยให้ครูมชี อ่ งทางในการส่งต่อเด็กนักเรียนเข้ารับบริการในหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง
 เกิ ด ความร่ ว มมื อ ในการดู แ ลร่ ว มกั น ระหว่ า งบ้ า น โรงเรี ย น และ
สาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บุคลากรสาธารณสุขมีบทบาทในการสนับสนุน ให้ข้อมูล คำ�แนะนำ�


แหล่งบริการ โรงพยาบาล มูลนิธิ หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้
การดูแลต่อในกรณีทพี่ บว่ามีความจำ�เป็น เช่น ต้องได้รบั การรักษา สภาพแวดล้อม
ไม่เหมาะสม ประสบปัญหาเศรษฐานะ ฯลฯ ในกรณีที่ต้องได้รับการตรวจรักษา
บุคลากรสาธารณสุขอาจมีช่องทางด่วนพิเศษ (fast track) ระหว่างโรงเรียนกับ
สาธารณสุขผ่านระบบบริการที่มีอยู่แล้ว เช่น Teen clinic, Psycho social
Clinic, YFHS คลินิกวัยใส ฯลฯ

20
เทคนิคการประชุมปรึกษารายกรณีให้มีประสิทธิภาพ

1. สมาชิกเข้าใจวัตถุประสงค์ และภารกิจของการประชุมปรึกษารายกรณี
ที่มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลของกรณีศึกษาอย่างกว้างขวาง รอบด้าน และหา
แนวทางที่เหมาะสมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. จดั บรรยากาศของการประชุมแบบสบาย ๆ ไม่เครียด สนใจและสนุก
กับการแลกเปลี่ยนอย่างจริงจัง
3. จั ด ให้ มี ก ารอภิ ป รายถกเถี ย งกั น อย่ า งกว้ า งขวาง โดยทุ ก คนมี
ส่วนร่วมอภิปรายอย่างจริงจังเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหา หากมีสมาชิก
อภิปรายนอกประเด็น ให้ดึงกลับเข้าสู่ประเด็นอย่างรวดเร็ว
4. สมาชิกรับฟังทุกเรื่องอย่างตั้งใจ และฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน
5. สมาชิกมีอิสระในการแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นต่อปัญหา และ
การปฏิบัติงานร่วมกันของทีม
6. เ มื่ อ มี ค วามคิ ด เห็ น ไม่ ส อดคล้ อ งหรื อ ขั ด แย้ ง ไม่ ค วรหลี ก เลี่ ย ง
ความคิดเห็นที่ขัดแย้งแต่ควรเปิดโอกาสให้ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ อย่างถี่ถ้วน
หลากหลาย จนได้ข้อยุติภายใต้บรรยากาศที่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
อย่างแท้จริง
7. ใช้หลักความเห็นพ้องต้องกันในการตัดสินใจ ซึง่ จะช่วยให้ทกุ คนเห็น
ด้วยในหลักการและเต็มใจปฏิบัติตามมติของที่ประชุม

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 21
8. มีการมอบหมายอย่างชัดเจน ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ และยอมรับภารกิจ
ต่าง ๆ ด้วยความเต็มใจ
9. มีการนัดหมาย ติดตามผลการปฏิบัติงาน และปัญหาอุปสรรคเป็น
ระยะ

22
บทที่ 3
ความรู้ที่เกี่ยวข้องและทักษะที่จำ�เป็น
1. การให้การปรึกษาวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
 พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น
พฤติ ก รรมเสี่ยง คือพฤติกรรมซึ่ง จะก่อให้เกิดอันตรายหรือผลเสีย
ต่อตนเอง ผู้อื่น สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งด้วยธรรมชาติ และพัฒนาการของ
วัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทำ�ให้
เกิดลักษณะอยากรู้อยากเห็น อยากเด่น อยากลอง อยากพิสูจน์ ชอบท้าทาย
ชอบความตื่นเต้นสนุกสนาน ต้องการเป็นที่ยอมรับ ทำ�ให้วัยรุ่นมีการแสดงออก
อย่างมากโดยขาดการยับยั้งชั่งใจตนเอง ขาดการไตร่ตรอง ขาดความรอบคอบ
ขาดทักษะในการแสดงออกให้ถูกกาลเทศะ พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ จึงพบได้บ่อย
ในวัยรุ่น ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 23
ประเภทที่ 1 พฤติกรรมที่ไม่ยั้งคิด มักเกิดจากความหุนหันพลันแล่น
ไม่ คิ ด ถึ ง อั น ตรายที่ จ ะตามมา เช่ น การเล่ น กี ฬ าที่ โ ลดโผนอั น ตราย
การรับประทานอาหารมากไปหรือน้อยไป ซึ่งวัยรุ่นมักทำ�ไปด้วยความสนุก
คึกคะนองโดยไม่ได้คำ�นึงถึงผลที่จะตามมา
ประเภทที่ 2 พฤติกรรมการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ อาจเริ่มต้น
จากความรุนแรงทีเ่ ป็นการกระทำ�ในลักษณะทีไ่ ม่เหมาะสม แต่ยงั ไม่เป็นอันตราย
ต่อบุคคลอืน่ นัก เช่น ดือ้ ส่งเสียงดัง พูดคำ�หยาบ แต่งกายไม่เรียบร้อย ไม่เรียนหนังสือ
ขี่มอเตอร์ไซค์เสียงดังและหวาดเสียว หรือแข่งขันบนถนน วัยรุ่นส่วนใหญ่
รู้ว่าพฤติกรรมแบบนี้ไม่ดี ไม่เหมาะสม แต่ก็อดทำ�ไม่ได้ ในขณะที่วัยรุ่นบางคน
คิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย
ประเภทที่ 3 พฤติกรรมละเมิดกฎเกณฑ์และสิทธิผอู้ นื่ เป็นพฤติกรรมทีม่ ี
ความรุนแรงขึน้ ทำ�ให้ผอู้ นื่ หรือสังคมเดือดร้อน ได้แก่ เกเร ก้าวร้าว ขโมย ทำ�ร้าย
ร่างกายผู้อื่น ทำ�ลายทรัพย์สินสาธารณะ ลวนลามเพศตรงข้าม และทำ�ความผิด
ต่อกฎหมายหรือก่ออาชญากรรมที่มีความรุนแรงซับซ้อนต่างๆ วัยรุ่นจะทำ�โดย
รู้ว่าผิด แต่ทำ�เนื่องจากมีความต้องการที่จะกระทำ�สูง และการควบคุมตัวเองตํ่า
ทำ�แล้วมักหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง
ประเภทที่ 4 พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมกับวัย และอาจนำ�มา
ซึ่งปัญหาต่อตนเองและผู้อื่น ได้แก่ การสนใจเรื่องเพศมากจนเกินปกติ การ
หมกมุน่ กับการสำ�เร็จความใคร่ดว้ ยตนเอง การแสดงออกทางเพศไม่เหมาะสมกับ
กาลเทศะ การยั่วยวนหรือเล้าโลมทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ การทำ�แท้ง การใช้
ชีวิตคู่สามีภรรยาในวัยรุ่น และการสำ�ส่อนทางเพศ

24
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
ประเภทที่ 5 พฤติกรรมการใช้ยาหรือสารเสพติด เป็นพฤติกรรมที่
วัยรุ่นใช้หาความสุข หรือแก้ไขความทุกข์ให้หมดไปในระยะเวลาสั้น เริ่มต้น
จากการใช้สารเสพติด เช่น บุหรี่ เหล้า ไปใช้สารเสพติดที่รุนแรงมากขึ้น เช่น
ดมกาว ยาบ้า เฮโรอีน ฯลฯ

พฤติกรรมเสี่ยง และพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กและ
วัยรุ่นเป็นสัญญาณบอกเหตุว่า วัยรุ่นกำ�ลังมีความคับข้องใจ
อย่างรุนแรงและต้องการได้รับความช่วยเหลือด้วย
ความเข้าใจจากคนรอบข้าง

 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น
1. พื้นอารมณ์ (Temperament) คือลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์ ซึ่ง
สังเกตได้ตงั้ แต่แรกเกิด ปัจจัยทางพืน้ อารมณ์ทที่ �ำ ให้วยั รุน่ มีโอกาสเกิดพฤติกรรม
เสี่ยงได้มาก ได้แก่
 ขาดการยับยั้งชั่งใจตนเอง (Impulsive)
 อารมณ์ไม่สมํ่าเสมอ ขึ้นๆ ลงๆ
 อารมณ์เสียได้ง่าย
 การแสดงออกรุนแรงเวลาอารมณ์เสีย
 สมาธิสั้น
 ซนมาก
 ก้าวร้าว
 มีปัญหาการเรียนเฉพาะด้าน
 มีปัญหาในทักษะสังคม
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 25
2. การเลี้ยงดู (Child rearing) ได้แก่
 การเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง
 การเลี้ยงดูแบบทารุณ ก้าวร้าว รุนแรง
 การเลี้ยงดูที่ไม่สมํ่าเสมอ
 การเลี้ยงดูที่ตามใจมากเกินไป ขาดกฎเกณฑ์
3. ระบบการเรียนที่โรงเรียน (School System) ได้แก่
 มีการเร่งรัดการเรียนมากเกินไป
 ใช้วิธีการลงโทษรุนแรง ไม่เข้าใจจิตใจเด็ก
 ไม่เข้าใจเด็กวัยรุ่น ใช้วิธีรุนแรงและพยายามเอาชนะเด็กตรงๆ
4. เพือ่ น (Peer group) ในวัยรุน่ เด็กจะผูกพันกับเพือ่ นๆ มาก และจะ
เรียนรู้ทักษะสังคมรวมถึงยอมรับเอาค่านิยม แนวคิด การปฏิบัติจากเพื่อนๆ ซึ่ง
วัยรุน่ ในกลุม่ เพือ่ นทีม่ พี ฤติกรรมเสีย่ ง จะเลียนแบบพฤติกรรมเสีย่ งนัน้ โดยไม่รตู้ วั
ขณะที่วัยรุ่นบางคนไม่มีเพื่อน เหงา ขาดความรู้สึกเป็นที่ยอมรับของคนอื่น
ก็อาจมีพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อชดเชยหรือเรียกร้องความสนใจ
5. ปัญหาครอบครัว (Family problems) ส่งผลต่อความสัมพันธ์และ
สภาวะแวดล้อมในครอบครัวทีเ่ ครียด ขัดแย้ง หรือการเลีย้ งดูทปี่ ล่อยปละละเลย
ไม่สนใจ เข้มงวด ขาดความสมดุล ส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นวัยรุ่นที่เกิดปัญหาทาง
จิตใจ อารมณ์ มีความเครียด หงุดหงิด ซึมเศร้า ก้าวร้าว อาจมีพฤติกรรมการ
แสดงออกในลักษณะของพฤติกรรมเสีย่ งต่างๆ ได้ เพือ่ ให้ตนเองเบีย่ งเบนอารมณ์
มาสู่เรื่องที่ตื่นเต้นสนุกสนาน ซึ่งทำ�ให้มีความสุขได้ชั่วครั้งชั่วคราว

26
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
การให้การปรึกษาวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
การให้การปรึกษาวัยรุ่น จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เสี่ยงต่างๆ โดยเริ่มต้นจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างแรงจูงใจในการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ร่วมกันทำ�ความเข้าใจและกำ�หนดเป้าหมายในการ
เปลี่ยนแปลง ร่วมกันค้นหาทางเลือก แนวทางการแก้ปัญหา การฝึกทักษะ การ
ปรับความคิดและพฤติกรรมในแนวทางทีส่ ร้างสรรค์และเหมาะสมกับตนเอง ซึง่
สิ่งสำ�คัญในการสร้างแรงจูงใจให้วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเกิดการเปลี่ยนแปลง
ตัวเอง สามารถทำ�ได้โดย
1. มีความสัมพันธ์ที่ดี
 การยอมรับและให้เกียรติ
 ความเป็นกลาง ปราศจากอคติ
 แสดงความเข้าใจ ความเห็นใจ
 บรรยากาศที่เป็นมิตร ปลอดภัย
2. มีการสื่อสารได้เข้าใจ
 การพูดคุยให้เกิดความเข้าใจ
 การสื่อสารที่ดี
 วัยรุ่นรู้สึกเป็นที่ยอมรับ
 การรักษาความลับ
3. มีการกระตุ้นให้คิดและรู้สึกได้ด้วยตนเองถึง
 เข้าใจปัญหา รู้สาเหตุของปัญหา
 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำ�ให้เกิดปัญหา
 ปัจจัยเสริมที่ช่วยในการป้องกันแก้ไขปัญหา

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 27
 ข้อดี ข้อเสีย ของการกระทำ�หรือไม่กระทำ�
 ปัญหาของการกระทำ�หรือไม่กระทำ�นั้น
 หาช่องทางเบี่ยงเบนพฤติกรรมเป็นแบบอื่น
4. ปล่อยให้เกิดการยอมรับจากภายใน
 รู้สึกว่าเป็นความคิดและการตัดสินใจโดยตนเอง
 ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับให้ยอมรับ
5. การให้แรงจูงใจทางบวกอย่างเหมาะสม
 ยอมรับปัญหาของตน
 อยากแก้ไขหรืออยากเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง
 การยกย่อง ชมเชย
 การให้รู้จักจุดดีจุดเด่นของตน ชื่นชมตนเอง ให้อภัยตนเอง
ให้โอกาสตนเองในการเริ่มต้นใหม่
 กระตุ้นให้มีเป้าหมายในอนาคตของตนเอง

 การให้การปรึกษาวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องเพศ
พฤติกรรมเสี่ยงเรื่องเพศในวัยรุ่น ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการ
ที่วัยรุ่นขาดความรัก ความใส่ใจจากบุคคลสำ�คัญในชีวิต การเห็นแบบอย่าง
บทบาทและพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของผู้ใหญ่ ทำ�ให้วัยรุ่นเข้าใจ
ว่ า การยอมเอาตั ว เข้ า แลกจะทำ � ให้ วั ย รุ่ น ได้ รั บ ความรั ก หรื อ สิ่ ง ที่ ต นมุ่ ง หวั ง
จากคนที่ต้องการได้ นอกจากนี้อิทธิพลของสื่อ การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
สังคม ค่านิยมสมัยใหม่ การแต่งกายที่ฟุ้งเฟ้อ การใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือยของ
วัยรุ่น รวมถึงการขาดการอบรมเลี้ยงดูที่ให้ตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง ทำ�ให้
วัยรุ่นจำ�นวนไม่น้อยหันมาหาเงินด้วยการขายบริการทางเพศ ซึ่งนับเป็นปัญหา

28
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
สังคม ที่ควรป้องกันแก้ไขก่อนที่จะสายเกินไปการตกเป็นเหยื่อการทารุณกรรม
ทางเพศ อาจทำ�ให้วัยรุ่นโกรธแค้นจนต้องการประชดชีวิต หรือทำ�ตนเป็นเหยื่อ
เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่มีอำ�นาจ การใช้สารเสพติดที่อาจกระตุ้นให้เกิดอารมณ์
และความต้องการทางเพศ เพราะทำ�ให้ความสามารถควบคุมตนเองของวัยรุ่น
ลดลง
สิ่ งสำ � คั ญ สำ �หรับผู้ให้การปรึกษาวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องเพศ
คือ การยอมรับ ไม่ตัดสิน ไม่ด่วนสรุปว่าวัยรุ่นเป็นคนไม่ดี ต้องให้เกียรติ
คำ�พูดของทั้งสองฝ่าย ไม่พยายามคาดคั้นว่าใครผิดใครถูก และไม่เข้าข้างฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่ง

 ประเด็นสำ�คัญที่ควรประเมินในกรณีวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
เรื่องเพศ
 ประวัตกิ ารอบรมเลีย้ งดูทที่ �ำ ให้ขาดความรักความอบอุน่ จากครอบครัว
 การได้รบั การทารุณกรรมทางเพศจากบุคคลในครอบครัวหรือบุคคล
อื่นๆ
 พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของบุคคลที่มีความสำ�คัญในชีวิต
วัยเด็ก
 ค่านิยมของการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นและบุคคลภายในครอบครัว
 การใช้สารเสพติดของวัยรุ่นและบุคคลในครอบครัว
 ภาวะซึมเศร้า รวมถึงความคิดฆ่าตัวตาย

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 29
 แนวทางการให้การปรึกษาและดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรม
เสี่ยงเรื่องเพศ
 สะท้อนให้วยั รุน่ ตระหนักและยอมรับด้วยตนเอง ว่าความสัมพันธ์ทาง
เพศ ไม่ช่วยให้วัยรุ่นได้รับความรักอย่างแท้จริง รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อ
การดำ�เนินชีวิต
 ลดพฤติกรรมทางเพศทีไ่ ม่เหมาะสมด้วยแนวทางพฤติกรรมบำ�บัด เมือ่
วัยรุน่ เห็นความจำ�เป็นและยอมรับทีจ่ ะหลีกเลีย่ งพฤติกรรมทางเพศทีไ่ ม่เหมาะสม
โดยให้วัยรุ่นจดบันทึกจำ�นวนครั้งของการมีเพศสัมพันธ์เดิม ปริมาณที่ลดลงได้
ใน 1 เดือน และจำ�นวนครั้งที่วัยรุ่นสามารถปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงให้
ข้อมูลและแนวทางการหลีกเลี่ยงโอกาสการมีเพศสัมพันธ์ ทักษะปฏิเสธการมี
เพศสัมพันธ์
 ให้ข้อมูลวิธีการต่างๆ ในการคุมกำ�เนิดที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคทาง
เพศสัมพันธ์และการตัง้ ครรภ์ในวัยเรียน รวมถึงแนวทางป้องกันและแก้ไขเมือ่ เกิด
ปัญหาต่างๆ ในกรณีที่วัยรุ่นตัดสินใจที่จะมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่สามารถปฏิเสธ
การมีเพศสัมพันธ์ได้
 เสริมสร้างความภาคภูมิใจ และคุณค่าในตนเองให้กับวัยรุ่น โดย
พยายามหากิจกรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์ รวมถึงความภาคภูมิใจที่เขาสามารถ
ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
 ให้ความเชื่อมั่น ความไว้ใจ รวมถึงให้คำ�ชมเชยและกำ�ลังใจเมื่อวัยรุ่น
สามารถปฏิเสธ หลีกเลี่ยง ป้องกันพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมด้วยวิธีการ
ที่ถูกต้องและปลอดภัย

30
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
 การให้การปรึกษาวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องสารเสพติด
วั ย รุ่ น ส่ ว นใหญ่ มั ก จะเริ่ ม ต้ น เข้ า ไปเกี่ ย วกั บ ยาเสพติ ด ด้ ว ยความ
อยากลอง อยากรู้ ซึ่ ง วั ย รุ่ น ที่ มี บุ ค ลิ ก ภาพที่ อ่ อ นแอ หวั่ น ไหวง่ า ย ขาด
ความเชื่อมั่นในตนเอง หรือมีปัญหาความกดดันในชีวิต จากปัญหาส่วนตัว
ปั ญ หาการเรี ย น ปั ญ หาครอบครั ว ความไม่ ส บายใจและคั บ ข้ อ งใจเหล่ า นี้
จะผลักดันให้วัยรุ่นใช้สารเสพติดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพื่อต้องการผ่อนคลาย
ความเครียดชั่วครู่ชั่วยาม แต่เมื่อใช้ไปนานๆ เนื่องจากปัญหาความไม่สบายใจ
ยังไม่ได้รับการแก้ไข ในที่สุด ก็จะเกิด “ภาวะเสพติด” ขึ้น ซึ่งภาวะดังกล่าว
มีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายทำ�ให้เกิดความยากลำ�บากในการ
เลิกยาอย่างมาก สิ่งสำ�คัญคือการจูงใจให้วัยรุ่นเห็นโอกาสในการรักษา ชักชวน
ให้เขาเกิดความมุ่งมั่นที่จะรับการรักษา ให้กำ�ลังใจ ให้โอกาส โดยไม่กล่าวโทษ
ว่าเป็นความผิดของใคร

 ประเด็นสำ�คัญที่ควรประเมินในกรณีวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่อง
สารเสพติด
 ประวัติการใช้สารเสพติด เช่น ประเภทของสารที่ใช้ จำ�นวน ขนาด
ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มใช้ ความถี่ห่างในการใช้ สาเหตุ สิ่งกระตุ้น สถานการณ์ที่
ทำ�ให้เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด
 บุคลิกภาพ การจัดการอารมณ์ ความรู้สึกอ่อนไหว หุนหันพลันแล่น
ความมั่นใจในตนเอง
 ประวัติการเรียน
 พฤติกรรม อารมณ์ การดำ�เนินชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น โกหก ขโมย
ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ แยกตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจดูแลตนเอง

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 31
 ประวัติการคบเพื่อน ความขัดแย้งและการจัดการแก้ไขปัญหา
 การอบรมเลีย้ งดูทที่ �ำ ให้วยั รุน่ ขาดความรัก ความสัมพันธ์ของสมาชิก
ในครอบครัว
 พฤติกรรมการใช้สารเสพติดของบุคคลในครอบครัว
 สภาพแวดล้อมในชุมชน
 ภาวะซึมเศร้า รวมถึงความคิดฆ่าตัวตาย

 แนวทางการให้การปรึกษาและดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรม
เสี่ยงเรื่องสารเสพติด
 สร้างสัมพันธภาพที่ดีและชื่นชมในสิ่งดีที่มีอยู่ในตัววัยรุ่น ไม่โต้เถียง
ในเชิงเหตุผล รวมทั้งพยายามลดแรงต้านการเปลี่ยนแปลง
 กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง
 สร้างคุณค่าและความเข้มแข็งให้เกิดในใจวัยรุ่น
 ให้ข้อมูลและเสริมสร้างทักษะชีวิตแก่วัยรุ่น

 การให้การปรึกษาวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องติดเกม
นอกจากความรู้และทักษะในการให้การปรึกษาวัยรุ่นแล้ว ผู้ให้การ
ปรึกษาวัยรุน่ ทีม่ พี ฤติกรรมเสีย่ งเรือ่ งติดเกม ควรมีความรูค้ วามเข้าใจวัยรุน่ ความรู้
เรือ่ งเกม อินเทอร์เนต คอมพิวเตอร์ และการปรับพฤติกรรม ซึง่ เป้าหมายสำ�คัญ
คือให้วัยรุ่นสามารถดำ�เนินชีวิตไปตามปกติทั่วไปได้ แต่สามารถยืดหยุ่นให้เล่น
เกมได้บ้าง และมีการบริหารจัดการเวลาอย่างเหมาะสม

32
 ประเด็นสำ�คัญที่ควรประเมินในกรณีวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่อง
ติดเกม ได้แก่
 พฤติกรรมการเล่นเกม ระยะเวลาที่เริ่มเล่น เกมที่เล่น เวลาในการ
เล่นเกม ผลกระทบและการเปลีย่ นแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรม การดำ�เนินชีวติ
จากการเล่นเกม
 ความสามารถด้านการเรียน กีฬา ดนตรี ศิลปะ กิจกรรมสร้างสรรค์
อื่นๆ ที่วัยรุ่นมีความสนใจและเหมาะสมตามความสามารถ
 การอบรมเลีย้ งดู ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว การใช้เวลาว่างของ
วัยรุ่นและกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัว
 การดูแลช่วยเหลือ และวิธีการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาของครอบครัว
 ความสัมพันธ์กับเพื่อน กลุ่มเพื่อน กิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มเพื่อน
 ภาวะซึมเศร้า รวมถึงความคิดฆ่าตัวตาย
 สภาพแวดล้อมภายในบ้าน ร้านเกมในชุมชน

 แนวทางการให้การปรึกษาและดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรม
เสี่ยงเรื่องติดเกม
 ในการพูดคุยครั้งแรกกับวัยรุ่น ไม่ควรคุยเรื่องปัญหาการติดเกม
ทันที ควรคุยเรื่องอื่นหรือเรื่องเกมที่เด็กสนใจเท่านั้น ซึ่งหลังจากสามารถสร้าง
สัมพันธภาพกับวัยรุ่นแล้ว อาจมีการมอบหมายงานในการพูดคุยครั้งต่อไป เช่น
ให้วยั รุน่ เล่าหรืออธิบายเกมทีช่ อบ ให้วยั รุน่ หาเคล็ดลับหรือการเอาชนะในเกม ฯลฯ
 อาจใช้ประโยชน์จากการที่ผู้ให้การปรึกษาไม่มีความรู้เรื่องเกมที่
วัยรุน่ ชอบเล่น โดยให้วยั รุน่ อธิบายให้ฟงั หรือนำ�มาเล่นให้ดเู ป็นตัวอย่าง เพือ่ สร้าง
สัมพันธภาพและความเข้าใจต่อวัยรุ่นมากขึ้น
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 33
 ให้วยั รุน่ ได้ส�ำ รวจและค้นหาสาเหตุ หรือแรงจูงใจทีท่ �ำ ให้ชอบเล่นเกม
ด้วยตนเอง
 ให้วยั รุน่ ได้ยอมรับและเลือกตัดสินถึงการเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมการ
เล่นเกมด้วยตนเอง เช่น เวลาในการเล่นเกม การควบคุมตนเองในการเล่นเกม
 ให้วัยรุ่นแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักการปรับพฤติกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง
โดยมุ่งเน้นไปที่การควบคุมตนเองในการเล่นเกมผ่านกระบวนการการเจรจา
ต่อรอง การหากิจกรรมทางเลือกทีส่ ร้างสรรค์และการกำ�หนดเป้าหมายเพือ่ การ
เปลี่ยนแปลงของตนเอง เช่น การจัดการกับอารมณ์ตนเอง ควบคุมและยั้งใจ
ตนเองในการเล่นเกม
 ช่ วยวั ย รุ่ น ในการค้น หาและเสริมสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง ให้ความหวังและโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน
ทางที่ดีขึ้น ให้ทางเลือกในการวางแผนและเป้าหมายในอนาคต
 ค วรคำ � นึ ง เสมอว่ า เกมช่ ว ยตอบสนองความต้ อ งการทางจิ ต ใจ
ของเด็กและวัยรุ่น ได้แก่ ความสนุกสนาน ความรู้สึกประสบความสำ�เร็จ
ความตื่ น เต้ น เร้ า ใจ และการระบายความก้ า วร้ า ว การเล่ น เกมมั ก จะมี
ความยากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดความท้าทาย โดยผู้เล่นทุกคนมีโอกาสชนะ
หรือประสบความสำ�เร็จมากขึ้นจากการเล่นซํ้าๆ และมักจะได้รับรางวัลซึ่ง
เป็ น แรงเสริ ม ด้ า นบวกทั น ที เ มื่ อ ได้ รั บ ชั ย ชนะ จึ ง เกิ ด ความรู้ สึ ก พึ ง พอใจที่
ตนเองก็สามารถเอาชนะหรือประสบความสำ�เร็จได้ วัยรุ่นที่มีความนับถือ
ตนเองตํ่ า จากการที่ ไ ม่ ค่ อ ยได้ รั บ ความสำ � เร็ จ จากกิ จ กรรมอื่ น ๆ ในโลก
ความเป็นจริง มักจะมีความสนุกสนานและพึงพอใจกับความสำ�เร็จในเกมจนไม่
สามารถควบคุมได้
 ระวังความรู้สึกของวัยรุ่นที่อาจมองว่าการเล่นเกมไม่ใช่ปัญหาที่ต้อง
แก้ไข หรือเป็นปัญหาร้ายแรง ควรเน้นการสร้างแรงจูงใจ และส่งเสริมพฤติกรรม
ทางบวก

34
 การให้การปรึกษาวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในวัยรุ่นมีสาเหตุจากหลายประการ เช่น
การที่ วั ย รุ่ น เรี ย นรู้ จ ากครอบครั ว ว่ า การใช้ ค วามก้ า วร้ า วหรื อ ต่ อ สู้ ด้ ว ย
วิ ธี ที่ รุ น แรงจะช่ ว ยหยุ ด ปั ญ หาได้ ขาดการฝึ ก ฝนระเบี ย บวิ นั ย ทางสั ง คม
ขาดการเรี ย นรู้ ใ นการควบคุ ม อารมณ์ ข องตนเอง และไม่ ส ามารถแสดง
ความคับข้องใจในทางที่เหมาะสม ในทางตรงกันข้าม เราพบว่าวัยรุ่นจำ�นวน
ไม่ น้ อ ย ที่ ไ ด้ รั บ ความกดดั น จากสถานการณ์ ที่ ไ ม่ มี ค วามสุ ข ในครอบครั ว
เช่ น การที่ พ่ อ แม่ เ ครี ย ด ทะเลาะ ทุ บ ตี กั น รวมถึ ง ใช้ ค วามรุ น แรงกั บ เด็ ก
การขาดความรัก ความอบอุ่น ถูกทอดทิ้ง ทำ�ให้เด็กเก็บกดความโกรธ แสดง
พฤติ ก รรมก้ า วร้ า วเป็ น การระบายออก หรื อ ต้ อ งการเป็ น คนเด่ น เป็ น ที่
ยอมรับแม้ในกลุ่มเพื่อนที่มีปัญหา เพื่อชดเชยปมด้อยของตนเอง ในบางราย
ปัญหาต่างๆ ในครอบครัวผลักดันให้วัยรุ่นรู้สึกว่าตนเองต้องเป็นภาระของ
พ่ อ แม่ ทำ � ให้ วั ย รุ่ น คิ ด ว่ า ตนเองต้ อ งมี ส่ ว นรั บ ผิ ด ชอบและประคั บ ประคอง
ครอบครั ว ให้ อ ยู่ ร อด วั ย รุ่ น จึ ง มั ก แสดงตั ว เป็ น ผู้ นำ � ในทางที่ ไ ม่ เ หมาะสม
เพื่อให้ผู้อื่นคิดว่าตนมีความสามารถจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง
พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงจึงอาจเป็นทางออกเมื่อวัยรุ่นมีอารมณ์เศร้า
หรือเมือ่ วัยรุน่ มีพฤติกรรมเกเร อาจทำ�ให้พอ่ แม่หนั มาสนใจปัญหาของวัยรุน่ และ
ลดการทะเลาะกันลงได้ เพราะโดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักแสดงความก้าวร้าว
เพื่อปกปิดความอ่อนแอภายในจิตใจของตนเอง
นอกจากนี้ พ ฤติ ก รรมก้ า วร้ า วอาจเกิ ด จากการมี พ ยาธิ ส ภาพทาง
สมองที่ ทำ � ให้ วั ย รุ่ น มี อ ารมณ์ แ ปรปรวน โกรธง่ า ย อาจมี ส มาธิ สั้ น หรื อ
อยู่ไม่นิ่งด้วย รวมถึงการเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวจากสื่อหรือกลุ่มเพื่อนที่
ชอบใช้ความรุนแรง

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 35
กล่ า วโดยสรุ ป สาเหตุ ด้ า นจิ ต ใจที่ ทำ � ให้ เ ด็ ก และวั ย รุ่ น มี พ ฤติ ก รรม
ก้ า วร้ า วรุ น แรงคื อ การมี พ ฤติ ก รรมอั น ธพาล เพราะมี แ บบอย่ า งหรื อ
ได้รับการเลี้ยงดูโดยใช้ความรุนแรง การเลี้ยงดูที่รักและตามใจมากเกินไปที่
ทำ�ให้เด็กขาดระเบียบวินัย ไม่เรียนรู้วิธีการแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่าง
เหมาะสมและการขาดความรั ก และความอบอุ่ น วั ย รุ่ น จึ ง พยายามแสดง
พฤติกรรมใดๆ ก็ได้เพื่อให้ได้รับการยอมรับ

 ประเด็นสำ�คัญที่ควรประเมินในกรณีวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่อง
ความก้าวร้าวรุนแรง ได้แก่
 ประวัติขาดความรัก ความอบอุ่นในวัยเด็ก
 ประวัติการใช้ความรุนแรงในครอบครัว
 การเลี้ยงดูที่รักและตามใจมากเกินไป ทำ�ให้วัยรุ่นขาดระเบียบวินัย
และแสดงออกทางอารมณ์ไม่เหมาะสม
 การได้รับความกระทบกระเทือนด้านสมองในวัยเด็ก
 ปัญหาด้านอารมณ์ตงั้ แต่วยั เด็ก เช่น หงุดหงิด โมโหง่าย มีความอดทน
ต่อความเครียดได้น้อย
 ประเมินว่าวัยรุน่ มีความรูส้ กึ ผิดต่อการกระทำ�พฤติกรรมนัน้ ๆ หรือไม่
เพราะหากพบว่าวัยรุน่ ยังมีความรูส้ กึ ผิดต่อสิง่ ทีก่ ระทำ�ลงไป แสดงว่าวัยรุน่ อาจ
มีปมปัญหาที่ซับซ้อนไม่สามารถระบายออกอย่างเหมาะสม จึงแสดงออกด้วย
พฤติกรรมก้าวร้าว แต่หากวัยรุ่นไม่มีความรู้สึกผิดต่อการ กระทำ�นั้น อาจเป็น
เพราะวัยรุ่นมีพฤติกรรมก้าวร้าวจนติดเป็นนิสัย หรือด้วยความคึกคะนองทำ�ให้
ไม่ ต ระหนั ก ถึ ง ผลกระทบที่ จ ะเกิ ด กั บ ผู้ อื่ น ซึ่ ง อาจเกิ ด จากการขาดวิ นั ย ใน

36
การอบรมเลี้ยงดู หรือได้รับแบบอย่างพฤติกรรมที่เป็นอันธพาลของบุคคลใน
ครอบครัว
 ประวัติการใช้สารเสพติด ที่อาจทำ�ให้วัยรุ่นขาดการควบคุมตัวเอง

 แนวทางการให้การปรึกษาและดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรม
เสี่ยงเรื่องก้าวร้าวรุนแรง
 การรักษาความลับ ปัญหาของวัยรุ่นอาจมีความล่อแหลมต่อการ
ถูกตีตรา ทำ�ให้วยั รุน่ รูส้ กึ อับอาย รูส้ กึ ผิด เป็นปมด้อย หรือมีผลทางกฎหมาย การ
ระมัดระวังในเรื่องการบันทึก การเก็บแฟ้มประวัติจำ�เป็นต้องมีความปลอดภัย
และควรมีการกำ�หนดชั้นความลับและผู้เข้าถึงข้อมูลได้
 หลีกเลี่ยงการตั้งกฎเกณฑ์หรือกติกาในช่วงแรก หากยังไม่มั่นใจใน
ความร่วมมือและสัมพันธภาพ อย่ารีบกำ�หนดกติกา ข้อห้าม ข้อบังคับกับวัยรุ่น
เพราะจะถูกต่อต้านตั้งแต่แรกและยากที่วัยรุ่นจะให้ความร่วมมือหรือเชื่อใจ
ดังนัน้ หากจำ�เป็นต้องทำ�ข้อตกลงอะไร ให้ประเมินอย่างแน่ชดั ก่อนว่าวัยรุน่ พร้อม
จะยอมรับได้ และต้องทำ�ร่วมกันในทุกประเด็น
 ให้ความเข้าใจ สนใจ รับฟังคำ�พูด ความคิด ความรู้สึกในการกระทำ�
 ให้ประเมินผลทีเ่ กิดขึน้ ต่อตนเองและผูอ้ นื่ และชีใ้ ห้เห็นถึงผลเสียของ
การกระทำ�
 ให้ทางเลือกในการระบายความโกรธ ก้าวร้าว ไม่พอใจ ในวิธีการที่
เหมาะสม เช่น การเล่นกีฬา ดนตรี งานศิลปะอื่นๆ ตามความสามารถ
 ให้ค้นหาศักยภาพของตนเอง ส่งเสริมเปิดโอกาสให้แสดงออก เช่น
เป็นผู้นำ�หรือสมาชิกกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ชมรมโต้วาที ชมรมกีฬา

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 37
 ใช้หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้แรงเสริมทางบวก
 ประเมินความเสี่ยงในเรื่องอิทธิพลของแก๊ง ส่วนมากวัยรุ่นมักจะ
กระทำ�พฤติกรรมรุนแรงเป็นกลุ่ม ควรประเมินว่าการมาให้การปรึกษาและดูแล
ช่วยเหลือมีผลต่อการกลับเข้ากลุ่มเพื่อนหรือไม่ หากพบว่าเด็กอาจถูกต่อต้าน
หรือถูกข่มขู่ ควรหามาตรการหรือแนวทางช่วยเหลือเด็ก เช่น ประสานโรงเรียน
ผู้นำ�ชุมชนหรือตำ�รวจ เพื่อช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก และหากเป็นไปได้ ควร
ทำ�การดูแลช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มของเด็กด้วย เพื่อป้องกันการกลับไปมีปัญหา
พฤติกรรมซํ้า
 ดำ � เนิ น การแก้ ไขปั ญ หาอย่ า งทั น ท่ ว งที หากพิ จ ารณาพบว่ า มี
ความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงซํ้า การไม่ร่วมมือหรือต่อต้านการให้ความ
ช่วยเหลือ ต้องพิจารณาปรับเปลีย่ นแนวทางปฏิบตั ทิ เี่ หมาะสม ซึง่ ควรจัดให้มกี าร
ประชุมหารือเพื่อปรับแนวทางร่วมกับทีมสหวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง
 แนวทางที่ได้ผลดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา คือการประสานความ
ร่วมมือทุกระบบ โดยกำ�หนดมาตรการทางสังคมร่วมกัน และถือปฏิบัติอย่าง
เคร่งครัด การให้การปรึกษาและการช่วยเหลือรักษาเป็นการดำ�เนินงานที่
ปลายเหตุ และหากการส่งเสริมป้องกันและระบบอื่นๆ ยังไม่เห็นความสำ�คัญ
และไม่เข้มแข็งก็เป็นเรือ่ งยากทีเ่ ยียวยาได้ โดยเฉพาะในรายทีม่ ปี ญั หายังไม่รนุ แรง
หรือเจ็บป่วย ที่สามารถช่วยเหลือและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้หากได้รับการ
สนับสนุนที่ดีพอ

38
2. แนวทางช่วยเหลือในกรณีปัญหาที่พบบ่อย
โดย แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

2.1 ปัญหาการเรียน เป็นปัญหาที่แสดงออกได้หลายรูปแบบ ลักษณะปัญหา


เป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับการเรียนโดยเฉพาะ หรือเป็นอาการทีแ่ สดงออกทางพฤติกรรม
ลักษณะต่างๆ ดังนี้
 ผลการเรียนตํ่า สอบตก บกพร่องในการเรียนรู้บางวิชา
 ไม่ตั้งใจ ไม่สนใจเรียน เล่น พูดคุยในชั้นเรียน
 เบื่อหน่าย นั่งหลับ ไม่มีสมาธิ ความสนใจสั้น เหม่อลอย
 ทำ�งานช้า ไม่ทำ�งานที่ได้รับมอบหมาย

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 39
บุคลากรสาธารณสุข

ผู้ปกครอง โรงเรียน
นักเรียน

1. ศึ ก ษาข้ อ มู ล การเลี้ ย งดู 1. กรณี เ รื่ อ งเชาวน์ ปั ญ ญา 1. ทำ � ความเข้ า ใจกั บ ครู ที่
และสิง่ แวดล้อมในครอบครัว ประเมิ น ระดั บ เชาวน์ ปั ญ ญา ปรึ ก ษาเรื่ อ งความสามารถ
2. ให้ผู้ปกครองเข้าใจปัญหา โดย ของเด็ก ให้ข้อเสนอแนะเรื่อง
สาเหตุ เพื่อให้มีส่วนร่วมใน  ดูประวัติผลการเรียนใน การเรียนการสอนตามความ
การแก้ไข อดีต สามารถ ให้การช่วยเหลือที่
3. ให้คำ�แนะนำ�ในการปรับ  ทดสอบเชาวน์ ปั ญ ญา เด็กควรได้รับ
บทบาท พฤติกรรมการสร้าง โดยหน่วยงานที่ให้บริการหรือ 2. ควรใช้ศักยภาพของกลุ่ม
สั ม พั น ธภาพ และการสื่ อ ใช้แบบประเมินความสามารถ เพื่อน เช่น หาบัดดี้ (Buddy)
ความเข้าใจในครอบครัว ทางเชาวน์ ปั ญ ญาเด็ ก อายุ ช่วยกระตุ้นแรงจูงใจในการ
2 - 15 ปี เรียน
หากพบว่ า เด็ ก มี ปั ญ หา 3. สนั บ สนุ น กิ จ กรรม เช่ น
เชาวน์ปัญญาควรส่งต่อรักษา ดนตรี กีฬา หรือกิจกรรมอืน่ ๆ
เพื่อให้เด็กได้รับการ กระตุ้น ที่นักเรียนทำ�ได้ดี เพื่อเสริม
พั ฒ น า ก า ร ที่ เ ห ม า ะ ส ม ความภาคภูมิใจให้เด็ก
2. กรณีเรื่องโรค การเจ็บป่วย
ฝ่ายกายส่งพบแพทย์เพื่อการ
ตรวจวินิจฉัยรักษา
3. กรณีจากบุคลิกภาพ ฝึกการ
ปรับเปลีย่ นพฤติกรรมการเรียน
รู้ให้กำ�ลังใจ เสริมแรงทางบวก

40
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
2.2 ปัญหาพฤติกรรมลักขโมย

บุคลากรสาธารณสุข

ผู้ปกครอง โรงเรียน
นักเรียน

1. ศึ ก ษาข้ อ มู ล การเลี้ ย งดู 1. ค้นหาสาเหตุที่แท้จริง 1. เลี่ ย งการประณามซํ้ า เติ ม


สิ่งแวดล้อมในครอบครัว 2. ให้ เ ด็ ก มี โ อกาสแสดง พฤติกรรมปัญหา
2. ชใี้ ห้เข้าใจปัญหาสาเหตุให้ ความคิ ด เห็ น ความรู้ สึ ก ใน 2. ติดตามสอดส่องพฤติกรรมใน
มีส่วนร่วมในการแก้ไข สิ่งกระทำ�และผลกระทบที่ ระยะแรก
3. ให้คำ�แนะนำ�ในการปรับ เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น 3. ร่ ว มกั น ป้ อ งกั น สถานการณ์
บทบาท พฤติกรรมการสร้าง 3. ชี้ แ จงให้ เ ข้ า ใจ ผลที่ ที่จะกระตุ้นจูงใจ นำ�ให้เกิดการ
สั ม พั น ธภาพ และการสื่ อ เกิดขึ้นในการหาทางเลือก ขโมยโดยการเก็บเงินสิ่งของมีค่า
ส่ ว นตั ว ให้ เรี ย บร้ อ ย ให้ ทุ ก คน
ความเข้าใจในครอบครัว ทางออกในการกระทำ�การ
มีสว่ นร่วมรับผิดชอบสิง่ ของเครือ่ ง
แก้ ไ ขปั ญ หาในทิ ศ ทางที่
ใช้ของส่วนร่วม
ถูกต้องเหมาะสม
4. ให้ข้อเสนอแนะกิจกรรมอื่นๆ
ในโรงเรียนเพือ่ ส่งเสริมพฤติกรรม
การอยูร่ ว่ มกับผูอ้ นื่ ในสังคม ได้แก่
กิ จ กรรมการรณรงค์ อภิ ป ราย
นิทรรศการเรื่อง
 จริยธรรม
 สิทธิส่วนบุคคล
 ระเบียบวินัย
 ความซื่อสัตย์สุจริต
 ความรับผิดชอบ
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 41
2.3 ปัญหาการใช้สารเสพติด
ลักษณะอาการทางร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์ที่แสดงออก
 สุขภาพร่างกาย ทรุดโทรม ผอม
 อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย หรือซึมลง
 พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม ชอบแยกตัว เบื่อหน่ายการเรียน
โดดเรียน
 ใช้แว่นกันแดด ใส่เสื้อผ้าแขนยาวปกปิดรอยเข็มฉีดยา
 มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด กระดาษตะกั่ว หลอดกาแฟ ไม้ขีด
หลอดยาฉีด
 ใช้เงินเปลือง อาจมีปัญหาลักขโมยเงิน พูดโกหก

42
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
บุคลากรสาธารณสุข

ผู้ปกครอง โรงเรียน
นักเรียน

1. ศึกษาข้อมูล การเลี้ยงดู 1. ให้ความเข้าใจในปัญหา 1. ประสานความร่ ว มมื อ กั บ


สิ่งแวดล้อมในครอบครัว ต่างๆ ที่เด็กประสบ บุคลากรทางการแพทย์เพื่อบำ�บัด
2. ให้เข้าใจปัญหา สาเหตุ 2. เป็นที่พึ่งที่ปรึกษา เมื่อ รักษาหรือช่วยเหลือด้านจิตใจ การ
และมี ส่ ว นร่ ว มในการช่ ว ย นักเรียนมีปัญหา ทำ�กลุ่มจิตสังคมบำ�บัดในโรงเรียน
2. จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและ
เหลือแก้ไข 3. เตรียมความพร้อมทาง การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาในกลุ่ม
3. ไม่ ล งโทษรุ น แรงหรื อ จิตใจเรือ่ งการพบแพทย์เพือ่ เด็กนักเรียนทั่วไป และกลุ่มเสี่ยง
ข่ ม ขู่ รั บ ฟั ง และพู ด ถึ ง บำ�บัดรักษา รวมทั้งกลุ่มที่มีปัญหาดังนี้
ข้อเท็จจริงด้วยเหตุผล 4. หาศักยภาพ ส่งเสริมให้  ให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง
4. ให้ความรัก ความเข้าใจ แสดงออก ให้ เ ห็ น คุ ณ ค่ า ประเภทของสารเสพติ ด ผลเสี ย
ในการดูแลช่วยเหลือ ของตนเอง ต่ อ ร่ า งกาย จิ ต ใจ การปรั บ ตั ว
5. นำ � บุ ต รออกห่ า งจาก 5. ชี้แนะ วิธีการ การฝึก ในสังคมโทษทางกฎหมายรวมทั้ง
ทักษะในการควบคุมตนเอง ปั ญ หาต่ อ สั ง คม ให้ ต ระหนั ก ว่ า
สภาพแวดล้อมทีม่ สี ารเสพติด
“ลองเพียงครั้งเดียวก็ติดได้ ”
(ถ้าสามารถทำ�ได้) การรูจ้ กั ปฏิเสธเมือ่ ถูกชักจูง  มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์
6.ครอบครัวบำ�บัด เช่น กีฬา ดนตรี การเป็นผู้นำ�กลุ่ม
การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3. หารู ป แบบ ตั ว อย่ า งบุ ค คล
สำ � คั ญ ในสั ง คม ภาพยนตร์ วี ดี โ อ
ข่ า วหนั ง สื อ พิ ม พ์ เ กี่ ย วกั บ เรื่ อ ง
สารเสพติดให้ตระหนักรู้ ร่วมกัน
แลกเปลี่ ย น ความคิ ด เห็ น การมี
ส่วนร่วมในการหาวิธีการ ป้องกัน
ช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ หลี ก เลี่ ย งจาก
สิ่งเสพติด

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 43
2.4 ปัญหาการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
เช่น ปัญหาชู้สาว ปัญหาสำ�ส่อนทางเพศ ปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบน
ทางเพศ ฯลฯ
 วัยอนุบาล-ประถมศึกษาตอนต้น เน้นการปรับพฤติกรรมที่
เหมาะสมกับเพศและวัย
 วั ย ประถมศึ ก ษาตอนปลาย-มั ธ ยมศึ ก ษา มั ก ไม่ ค่ อ ย
เปลีย่ นแปลง ควรให้ความรู้ คำ�แนะนำ�ในเรือ่ งการวางตัวทีเ่ หมาะสมกับกาลเทศะ
สถานที่การเรียนรู้ป้องกันในเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย

44
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข
บุคลากรสาธารณสุข

ผู้ปกครอง โรงเรียน
นักเรียน

1. ศึกษาข้อมูล การเลี้ยงดู 1. ปรับพฤติกรรมโดยให้ความรู้ 1. ส นั บ ส นุ น ใ ห้ เ ด็ ก มี


สิ่งแวดล้อมในครอบครัว ความเข้ า ใจเรื่ อ งเพศศึ ก ษา พฤติกรรมการแสดงออก
2. ให้เข้าใจปัญหาสาเหตุ บทบาทพฤติ ก รรมทางเพศที่ ทางสังคมกับเพื่อนและครู
แ ล ะ มี ส่ ว น ร่ ว ม ใ น ก า ร เหมาะสมตามเพศที่แท้จริง อย่างเหมาะสม
ช่วยเหลือ 2. กรณี นั ก เรี ย นต้ อ งการปรั บ 2. ไ ม่ จั ด กิ จ ก ร ร ม ที่
3. ไม่ส่งเสริม สนับสนุนให้ เปลี่ยนพฤติกรรมให้การปรึกษา ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ชั ก จู ง
เกิ ด พฤติ ก รรมที่ เ บี่ ย งเบน และวางแผนการแสดงออกที่ ให้ นั ก เรี ย นมี ก ารแสดง
เป็นปัญหามากขึ้น (ในกรณี เหมาะสมตามเพศ พฤติ ก รรมที่ เ บี่ ย งเบน
พฤติ ก รรมเบี่ ย งเบนระยะ 3. กรณีนักเรียนมีความพึงพอใจ ไปจากเพศที่แท้จริง
เริ่มต้น) ไม่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
4. ไม่ซาํ้ เติมลงโทษ ถ้าบุตร (กรณีพฤติกรรมเบีย่ งเบนทีเ่ ป็นมา
ไม่ ต้ อ งการปรั บ เปลี่ ย น นานแล้ว) ควรให้ข้อชี้แนะในการ
พฤติกรรม ปรับตัว ลดความรู้สึกขัดแย้งใน
5. ให้ ท างเลื อ กในการ จิตใจและการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม
ปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมที่ ได้อย่างเหมาะสม
เหมาะสม

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 45
2.5 ปัญหาอารมณ์จิตใจ
 เก็บตัวหรือแยกตัวเอง พฤติกรรมที่แสดงออกคือ ไม่ชอบสุงสิง
กับใคร ไม่ชอบเข้าสังคมมีเพื่อนน้อย ไม่กล้าแสดงออก พูดน้อย เฉยเมย
ไม่ยินดียินร้าย
บุคลากรสาธารณสุข

ผู้ปกครอง โรงเรียน
นักเรียน

1. ศึกษาข้อมูล การเลี้ยงดู 1. ให้ ค วามเข้ า ใจในปั ญ หา 1. จัดกิจกรรมให้มีส่วนร่วมในการ


สิ่งแวดล้อมในครอบครัว ต่างๆ ที่เด็กประสบ พูดคุย แสดงออกการมีปฏิสัมพันธ์
2. ให้ เข้ า ใจปั ญ หาสาเหตุ 2. เป็ น ที่ พึ่ ง ที่ ป รึ ก ษา เมื่ อ กับผู้อื่น
และมีสว่ นร่วมในการช่วยเหลือ นักเรียนมีปัญหา 2. แนะนำ � ให้ บุ ค คลรอบข้ า งให้
3. แนะนำ � ญาติ ใ ห้ ค วาม 3. เตรี ย มความพร้ อ มทาง กำ�ลังใจ กระตุ้นให้เกิดความมั่นใจ
สนใจ รั บ ฟั ง เป็ น ที่ พึ่ ง ที่ จิตใจเรือ่ งการพบแพทย์ หาก และยอมรับ แต่ก็ไม่ควรรีบผลักดัน
ปรึ ก ษาให้ เ ด็ ก ได้ ร ะบาย ต้องเข้ารับการบำ�บัดรักษา หรือบังคับให้เด็กกล้า เพราะจะยิ่ง
ความรู้ สึ ก นึ ก คิ ด และให้ 4. หาศักยภาพ ส่งเสริมให้ ทำ�ให้เด็กหวัน่ ไหวหรือไม่เชือ่ มัน่ มาก
กำ�ลังใจ แสดงออก ให้เห็นคุณค่าของ ขึ้น แต่ควรให้เด็กได้แสดงในสิ่งที่
4. แสดงความรั ก ห่ ว งใย ตนเอง ถนัดทีละน้อย และค่อยเป็นค่อยไป
ไต่ถามทุกข์สุข เมื่ออยู่ตาม พร้อมทั้งชื่นชมอย่างเหมาะสม
ลำ�พังกับเด็กตามโอกาส 3. แนะนำ�ให้หาเพื่อนสนิทให้เด็ก
5. ให้ทางเลือกในการปรับ อาจเริ่มขอความช่วยเหลือจากเด็ก
เปลีย่ นพฤติกรรมทีเ่ หมาะสม อื่น หรือมอบหมายงานที่เด็กสนใจ
คล้ายๆ กัน

46
2.6 ปัญหาก้าวร้าว
 จะมีพฤติกรรมแสดงออกที่ทำ�ให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนด้วยการ
ก่อเรื่องต่างๆ ตามความต้องการของตนเอง โดยไม่คำ�นึงถึงความเดือดร้อนของ
ผู้อื่น หาเรื่องทะเลาะวิวาท มีเรื่องขัดแย้งกับเพื่อน รังแกเพื่อน ชอบการทุบตี
เตะต่อย ท้าทาย ทำ�ลายสิง่ ของทัง้ ของตัวเองและส่วนรวม พูดจาไม่สภุ าพ ก้าวร้าว
ทางกายและวาจา ไม่เกรงกลัวผู้ใหญ่ อวดดี ไม่ค่อยเชื่อฟัง นิสัยหยาบคาย
ขณะเรียนหนังสือชอบก่อกวนในชั้นเรียน ทั้งก่อกวนเพื่อนและครูผู้สอน

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 47
บุคลากรสาธารณสุข

ผู้ปกครอง โรงเรียน
นักเรียน

1. ศึ ก ษาข้ อ มู ล การ 1. ให้ ค วามเข้ า ใจ ความเป็ น 1. ฝึ ก ให้ เ ด็ ก ได้ ทำ � กิ จ กรรม


เลี้ ย งดู สิ่ ง แวดล้ อ มใน กันเองหรือความใกล้ชิดสนิทกับ ต่างๆ เช่น ศิลปะ ดนตรี ออก
ครอบครัว เด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้ระบาย กำ�ลังกาย
2. ให้เข้าใจปัญหาสาเหตุ ความขุ่ น เคื อ งหรื อ ข้ อ ขั ด ข้ อ ง 2. ในกรณีที่พฤติกรรมก้าวร้าว
และมี ส่ ว นร่ ว มในการ ต่างๆ ออกมา เพื่อจะได้ทราบ เป็ น แบบไม่ ทำ � ร้ า ยตนเองและ
ช่วยเหลือ ถึงสาเหตุของความก้าวร้าวของ ผูอ้ นื่ เช่น ก้าวร้าวทางเสียง แสดง
3. แนะนำ�ญาติให้ความ เด็ก พฤติกรรมการเล่นที่รุนแรง และ
พบว่าเด็กแสดงออกเพือ่ ต้องการ
สนใจ รั บ ฟั ง เป็ น ที่ พึ่ ง 2. เป็ น ที่ พึ่ ง ที่ ป รึ ก ษา เมื่ อ
ให้ตอบสนอง การแก้ไข คือ การ
ที่ปรึกษาให้เด็กได้ระบาย นักเรียนมีปัญหา
ไม่ตอบสนอง เพิกเฉย จะช่วย
ความรู้ สึ ก นึ ก คิ ด และให้ 3. เตรียมความพร้อมทางจิตใจ ทำ � ให้ พ ฤติ ก รรมค่ อ ยๆ ลดลง
กำ�ลังใจ เรื่ อ งการพบแพทย์ ห ากต้ อ ง และหายไปในที่สุด
4. แสดงความรักห่วงใย เข้ารับการบำ�บัดรักษา 3. ใ น ก ร ณี ที่ พ ฤ ติ ก ร ร ม
ไต่ ถ ามทุ ก ข์ สุ ข เมื่ อ อยู่ 4. หาศั ก ยภาพ ส่ ง เสริ ม ให้ ก้าวร้าว เป็นแบบทำ�ร้ายตนเอง
ตามลำ � พั ง กั บ เด็ ก ตาม แสดงออก ให้ เ ห็ น คุ ณ ค่ า ของ และผู้อื่น จะต้องใช้วิธีการเข้า
โอกาส ตนเอง ควบคุมเด็กแทนการเพิกเฉย ไม่
5. ให้ ท างเลื อ กในการ *พฤติกรรมก้าวร้าวไม่ควร ตอบสนอง เช่น ในเด็กเล็กใช้วิธี
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ นิ่งนอนใจเมื่อเกิดในระยะแรก จับมือเด็กโดยโอบจากด้านหลัง
เหมาะสม ควรรีบปรับพฤติกรรมและแก้ไข ไม่แสดงการต่อสูก้ บั เด็กเบีย่ งเบน
ความสนใจของเด็กจากจุดเดิม
ไปยังจุดใหม่
4. ชื่นชมเด็กเมื่อแสดงพฤติกรรม
ก้าวร้าวน้อยลง

48
2.7 การติดเกม
พฤติ ก รรมติ ด เกมอาจแสดงออกให้ เ ห็ น แตกต่ า งกั น ออกไป เช่ น
ความสนใจเรียนลดลง เหม่อลอย ไม่ตั้งใจเรียน ผลการเรียนลดลง ไม่ส่งงาน
ขาดเรียน คบเพื่อนกลุ่มที่เล่นเกมเหมือนกัน ในบางคนอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว
แสดงออกมาด้วย
บุคลากรสาธารณสุข

ผู้ปกครอง โรงเรียน
นักเรียน

1. ศึกษาข้อมูล การเลี้ยงดู 1. หาศั ก ยภาพ ส่ ง เสริ ม ให้ 1. สนั บ สนุ น ให้ โ รงเรี ย นมี
สิ่งแวดล้อมในครอบครัว แสดงออก ให้เห็นคุณค่าของ กิจกรรมอืน่ ๆทีห่ ลากหลาย เช่น
2. ให้ เข้ า ใจปั ญ หาสาเหตุ ตนเอง ศิลปะ ดนตรี ออกกำ�ลังกาย
แ ล ะ มี ส่ ว น ร่ ว ม ใ น ก า ร 2. เตรี ย มความพร้ อ มทาง หรือกิจกรรมเกี่ยวกับเกมและ
ช่วยเหลือ จิตใจเรื่องการพบแพทย์หาก คอมพิวเตอร์ที่เป็นประโยชน์
3. แนะนำ�การสื่อสาร การ ต้องเข้ารับการบำ�บัดรักษา 2. หาจุ ด ดี ห รื อ สิ่ ง ที่ เ ด็ ก ทำ �
กำ�หนดกติกาในบ้านร่วมกัน แล้วเกิดความภูมิใจ สนับสนุน
ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง ให้เด็กทำ�อย่างต่อเนื่อง
4. กำ�กับ ติดตามกติกาทีต่ งั้ 3. ให้ ก ลุ่ ม เพื่ อ นเป็ น ตั ว ช่ ว ย
ไว้เสมอ เรื่องเรียน
5. สนับสนุนให้ครอบครัว
มี กิ จ กรรมทางเลื อ กที่ ทำ �
ร่วมกัน และส่งเสริมให้เด็ก
มีความภาคภูมิใจในตนเอง

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 49
3.กระบวนการกลุ่ม
บุคลากรสาธารณสุขใช้ความรู้และทักษะในเรื่องกระบวนการกลุ่ม เพื่อ
เป็นผู้สนับสนุนในกระบวนการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
ดังต่อไปนี้

1. ขั้นความปลอดภัย (The security stage)


2. ขั้นการยอมรับ (The acceptance stage)
3. ขั้นความรับผิดชอบต่อตนเอง (The responsibility stage)
4. ขั้นแก้ไขเปลี่ยนแปลง (The working stage)
5. ขั้นการปิดกลุ่มหรือยุติปรึกษา (The closing stage)

1. ขั้นความปลอดภัย (The security stage)


เป็ น ระยะเริ่ ม ต้ น ของกลุ่ ม บุ ค ลากรสาธารณสุ ข มี บ ทบาทเป็ น
ผู้ ส นั บ สนุ น ให้ ก ารประชุ ม ปรึ ก ษารายกรณี ดำ � เนิ น ไป โดยปราศจากท่ า ที
ต่อต้านหรือไม่ยอมรับ ระยะเริ่มต้นอาจใช้วิธีอุ่นเครื่องด้วยการกล่าวทักทาย
อย่างเป็นมิตร ให้สมาชิกแนะนำ�ตนเอง รวมถึงสังเกตและรับฟังโดยปราศจากการใช้
อำ�นาจ รวมถึงเป็นผู้สนับสนุนให้ครูรู้สึกมั่นคงปลอดภัย มีท่าทียอมรับฟังข้อมูล
รวมถึงข้อเสนอแนะที่แตกต่างอย่างเปิดกว้าง รับฟังด้วยความจริงใจ ใส่ใจ สร้าง
บรรยากาศความเป็นมิตรต่อกัน ไวต่อความรู้สึกเมื่อครูมีท่าทีไม่ยอมรับ ต่อต้าน
แสดงสีหน้ากังวลใจ ขณะที่เมื่อครูรู้สึกผ่อนคลาย หรือเกิดความไว้วางใจ ก็จะ
สามารถให้ข้อมูลนักเรียนได้อย่างรอบด้าน

50
เมื่ อ เริ่ ม ต้ น การประชุ ม ปรึ ก ษารายกรณี ใ นโรงเรี ย นที่ จั ด ขึ้ น เป็ น
ครั้ง แรกๆ อาจพบว่าผู้เข้าร่ว มประชุมยัง ไม่รู้สึกไว้วางใจที่จ ะพูด หรือเล่า
ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ กรณี ศึ ก ษา หรื อ คิ ด เห็ น ว่ า ข้ อ มู ล ที่ ต นเองมี แ ตกต่ า งออกไป
จาก ผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่น นอกจากบุคลิก ท่าที ของบุคลากรสาธารณสุข
ที่เปิดเผยรับฟังด้วยความใส่ใจแล้ว ก็สามารถพูดสื่อสารให้เกิดการผ่อนคลาย
เช่น “ข้อมูลทุกอย่างที่ทุกท่านพูดขอให้เป็นความลับ และเพื่อเป็นไปในการ
ช่วยเหลือนักเรียน” “ข้อมูลของคุณครูทุกท่านจะทำ�ให้เรามองเห็นนักเรียนได้
อย่างรอบด้าน และสามารถช่วยเหลือได้ตรงจุด” “จะเกิดประโยชน์มากหาก
คุณครูช่วยกันมองปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข”

2. ขั้นการยอมรับ (The acceptance stage)


บุคลากรสาธารณสุขมีบทบาทเป็นตัวแบบการแสดงออกถึงการ
ยอมรับสมาชิกกลุม่ ยอมรับอย่างจริงใจและยอมรับอย่างไม่มเี งือ่ นไขใดๆ เมือ่ ครู
ผูเ้ ข้าร่วมประชุมรูส้ กึ อิสระและปราศจากความกลัวในการถูกปฏิเสธจากกลุม่ เกิด
การยอมรับตนเองในการเปิดเผยหรือร่วมแลกเปลีย่ นข้อมูลก็จะสามารถให้ขอ้ มูล
ในด้านอืน่ ๆ ทีห่ ลากหลาย มีมมุ มองทีแ่ ตกต่างจากครูทา่ นอืน่ ได้ ซึง่ ข้อมูลทีแ่ ตกต่าง
จะนำ�ไปสู่การมองนักเรียนอย่างรอบด้านและเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือ
เมื่ อ กลุ่ ม เกิ ด การยอมรั บ และแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล อย่ า งเปิ ด เผย
โดยมุ่ ง เน้ น ไปที่ ก ารช่ ว ยเหลื อ เด็ ก เป็ น สำ � คั ญ บุ ค ลากรสาธารณสุ ข อาจ
กล่าวยํา้ “ข้อมูลทีค่ ณ ุ ครูได้รว่ มกันมองทัง้ จุดดี และจุดทีน่ กั เรียนต้องพัฒนา เป็น
ประโยชน์มากในการร่วมกันวางแผนช่วยเหลือ”

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 51
3. ขั้นความรับผิดชอบต่อตนเอง (The responsibility stage)
บุ ค ลากรสาธารณสุข เป็น ผู้ช่ว ยให้ครูเ ห็นถึงสิ่งที่ต้องดำ�เนินการ
รับผิดชอบร่วมกัน ให้มุ่งเน้นที่การวางแผนและดำ�เนินการดูแลนักเรียนมากกว่า
เน้นเหตุการณ์ปัญหาในอดีตที่ผ่านมาหรือมุ่งที่จะแก้ปัญหาที่บุคคลอื่นนอกการ
ประชุม ทัง้ นีบ้ คุ ลากรสาธารณสุขพึงหลีกเลีย่ งการสอนในเรือ่ งความรับผิดชอบ
แต่ควรให้ครูมีประสบการณ์เรื่องความรับผิดชอบ หรือรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ
นักเรียนด้วยตนเอง

4. ขั้นแก้ไขเปลี่ยนแปลง (The working stage)


บุคลากรสาธารณสุขเป็นผู้เอื้ออำ�นวยให้ครูพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล
เสนอแง่มมุ ต่างๆ ให้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะมากได้ และสร้างบรรยากาศให้ครูรสู้ กึ เป็น
เจ้าของในการดูแลนักเรียนร่วมกัน เพราะเมือ่ สิน้ สุดการประชุมปรึกษารายกรณี
ครูแต่ละท่านจะเป็นส่วนหนึ่งของทีมครูที่ต้องดูแลนักเรียนตามมติที่ประชุมได้
เสนอแนะแนวทางและยอมรับร่วมกัน
การประชุมปรึกษารายกรณีเป็นช่องทางสำ�คัญที่ครูแต่ละคนจะได้
เรียนรู้การดูแลนักเรียนที่แตกต่างกันออกไป พบว่าการดูแลนักเรียนหนึ่งคนให้
ดีขึ้นได้นั้นต้องอาศัยประสบการณ์ วิธีที่หลากหลายของครูแต่ละคนมาผสมกัน
และท้ายสุดจะสรุปเป็นแนวทางในการดูแลร่วมกันของทีมครูที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น
การทำ�ให้ครูรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน จึงจำ�เป็นที่จะต้องให้ครูมองเห็นสิ่งดีๆ ที่
ครูเคยดูแลจัดการนักเรียนแล้วได้ผล เป็นวิธจี ดั การในเชิงบวก และเปิดโอกาส
ให้มองเห็นวิธกี ารดูแลทีไ่ ด้ผลวิธอี นื่ ๆ ไม่มงุ่ ไปทีก่ ารจัดการทีล่ ม้ เหลวทีเ่ คยมีมา
ในอดีต เพราะนอกจากจะบั่นทอนกำ�ลังใจในการร่วมเป็นเจ้าของดูแลแล้ว อาจ
ทำ�ให้เกิดความไม่ร่วมมือในการดูแลกรณีนั้นได้

52
5. ขั้นการปิดกลุ่มหรือยุติปรึกษา (The closing stage)
บุคลากรสาธารณสุขเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้กำ�ลังใจ และช่วยชี้ให้
เห็นว่าครูทุกท่านมีส่วนสำ�คัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนให้ดีขึ้น
การช่วยเหลือนักเรียนคนหนึ่งจะสามารถช่วยนักเรียนคนอื่นๆ ได้ ครูจะมี
ประสบการณ์ในการช่วยเหลือกรณีทคี่ ล้ายๆ กันเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
ใหญ่ได้
ด้วยประสบการณ์จากการประชุมปรึกษารายกรณีเพียงหนึ่งรายจะ
สามารถพัฒนาไปสูแ่ นวทางการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอืน่ ๆ ทีม่ ปี ญ
ั หาคล้ายๆ กัน
ได้ เป็นการป้องกันและลดปัญหานักเรียนในกลุม่ เสีย่ งและมีปญ
ั หาได้ นอกจากนี้
ในกรณีที่ที่ประชุมเห็นควรต้องส่งต่อเข้ารับบริการสาธารณสุข ก็ทำ�ให้เกิด
เครือข่ายการทำ�งานร่วมกันในการดูแลที่เป็นรูปธรรมและเป็นระบบระหว่าง
สาธารณสุขและสถานศึกษา

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 53
4. การรักษาความลับ
การรักษาความลับเป็นทักษะที่สำ�คัญและจำ�เป็นอย่างยิ่งในการ
ประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference) ผู้เข้าร่วมประชุมจำ�เป็นต้อง
ตระหนักและเน้นยํ้าก่อนเริ่มการประชุมทุกครั้ง ไม่นำ�เรื่องเกี่ยวกับกรณีศึกษา
ไปพูดนอกห้องประชุม พูดในที่เปิดเผย หรือพูดหยอกล้อ เพราะเป็นสิทธิ
ส่วนบุคคล ทั้งนี้การนำ�กรณีศึกษาเข้าประชุมอาจต้องให้ผู้ปกครองหรือนักเรียน
ผู้ซึ่งเป็นกรณีศึกษาให้การยินยอม
ข้อมูลเกีย่ วกับกรณีศกึ ษาไม่ควรเปิดเผยกับผูท้ ไี่ ม่มสี ว่ นเกีย่ วข้องกับ
การช่วยเหลือนักเรียนด้วยเป็นสิทธิขั้นต้นที่ต้องปกป้อง และได้รับการยินยอม
จากตัวนักเรียนหรือผูป้ กครองเสียก่อน และเป็นการสร้างความไว้วางในระหว่าง
ผูใ้ ห้ขอ้ มูลและผูช้ ว่ ยเหลือ การเปิดเผยข้อมูลใดๆ ของนักเรียนต้องให้เกียรติและ
คำ�นึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำ�คัญ (ชลอศักดิ์ ลักษณะวงศ์ศรี, 2551)

แนวทางการรักษาความลับ ควรมีการปฏิบัติดังนี้
1. จำ�กัดผูเ้ ก็บรักษาแบบบันทึกสรุปผลการประชุม ได้แก่ ผูน้ �ำ ประชุม
เลขานุการ และเจ้าของกรณีศึกษาผู้บันทึกข้อมูลเท่านั้น
2. กำ�หนดการเข้าถึงข้อมูล โดยผูไ้ ม่เกีย่ วข้องกับผูเ้ รียนต้องได้รบั การ
พิจารณาอนุญาตโดยผูป้ ระชุมหรือจากมติทปี่ ระชุม รวมทัง้ ควรขอความเห็นชอบ
จากนักเรียนหรือผู้ปกครองของนักเรียนก่อน
3. การส่งต่อข้อมูลของผู้เรียนสู่ภายนอกสถานศึกษา ควรทำ�ด้วย
ความรัดกุมตามแบบฟอร์มที่กำ�หนดไว้ และควรให้ผู้ปกครองหรือนักเรียนรับรู้
ข้อมูลที่มีการส่งต่อทุกครั้ง

54
4. ในกรณีทตี่ อ้ งกล่าวถึงนักเรียน ซึง่ เป็นกรณีศกึ ษากับผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้อง
นอกการประชุมปรึกษาหรือทำ�ประวัติเพื่อการศึกษาควรใช้นามแฝงไม่ควรระบุ
ชื่อและนามสกุลที่แท้จริง เพราะการนำ�ความลับเปิดเผยกับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง
อาจสร้างความเสียหายแก่นักเรียนที่เป็นกรณีศึกษาได้

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 55
5. การจัดการในเหตุการณ์ที่มักพบในที่ประชุมปรึกษา
รายกรณี (Case conference)

จากประสบการณ์การร่วมประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


ของบุคลากรสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์ พบว่าในบางครัง้ อาจ
มีเหตุการณ์ทอี่ าจเป็นอุปสรรคทำ�ให้การดำ�เนินการประชุมไม่ตอ่ เนือ่ ง สถาบันฯ
จึงได้รวบรวมวิธีการจัดการในเหตุการณ์ที่มักพบในที่ประชุมปรึกษารายกรณี
(Case conference) ดังนี้
 กรณีผู้เข้าร่วมประชุมไม่พูดข้อมูลที่รู้หรือไม่มีอิสระในการพูด
ควรกระตุน้ และชีแ้ จงว่าข้อมูลทุกข้อมูลจะเป็นประโยชน์ในการเข้าใจ
ปัญหาและหาแนวทางการช่วยเหลือนักเรียน
 กรณีผู้เข้าร่วมประชุมมีการให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจนหรือมีอคติ
ควรขอให้ผู้ให้ข้อมูลผู้นั้นยืนยันข้อมูลโดยมีเหตุผลและหลักฐาน
ที่ชัดเจนและมีบุคคลอ้างอิงได้
 กรณีผู้ให้ข้อมูลพูดนอกประเด็น พูดเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
พูดมากคนเดียว
ต้องนำ�การพูดคุยกลับเข้าสูป่ ระเด็นโดยการสรุปความหรือทวนความ
ประเด็นที่พูดคุยล่าสุด ทั้งนี้โดยไม่ให้ครูผู้นั้นรู้สึกเสียหน้าหรืออับอาย

56
บรรณานุกรม

ชลอศักดิ์ ลักษณะวงศ์ศรีและหนึ่งฤทัย ถิ่นวงษ์เย็น .แนวทางการดำ�เนิน


งานจัดประชุมปรึกษารายกรณีในสถานศึกษา(ฉบับร่าง). กรุงเทพฯ
:ม.ป.ท, 2551.

ธงชาติ วงษ์สวรรค์ และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. “การพัฒนาระบบการดูแล


ช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติ
การแบบมีส่วนร่วม.” Journal of Administration and
Development, Mahasarakham University Volume 4 Number
3 September – December 2012.

ธันวรุจน์ บูรณสกุล และคณะ. คู่มือวิทยการหลักสูตรการให้การปรึกษา


วัยรุ่นสำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย, 2558

เบญจพร ปัญญายง และคณะ. แนวทางการจัดบริการสุขภาพสำ�หรับ


วัยรุ่น : ประเด็นปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม.นนทบุรี:ม.ป.ท, 2556.

ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน[ออนไลน์]. 2550. [เข้าถึงเมื่อ 2550


ตุลาคม 15] เข้าถึงได้จาก : http://www.oknation.net/blog/
mafereyim/2007/10/15/entry-.

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 57
รัชนีย์ แก้วคำ�ศรี .ความสัมพันธ์ของรูปแบบความผูกพัน การเห็นคุณค่า
ในตนเองและกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักศึกษา. กรุงเทพฯ:ม.ป.ท,
2545.
วนิดา ชนินทยุทธวงศ์และคณะ. ความรู้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นสำ�หรับ
ผู้ปฏิบัติงานคู่เครือข่ายระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ:
ม.ป.ท, 2555.

เสาวนีย์ พัฒนอมร.ก้าวใหม่งานสุขภาพจิตโรงเรียน. กรุงเทพฯ :


บริษัทวงศ์กมล โปรดักชั่น จำ�กัด, 2544.

เสาวนีย์ พัฒนอมรและคณะ. คู่มือการสร้างคู่เครือข่ายการดูแลช่วยเหลือ


นักเรียนสำ�หรับบุคลากรสถานศึกษาและบุคลากรสาธารณสุข.
กรุงเทพฯ:ม.ป.ท, 2555.

อภิชาติ จำ�รัสฤทธิรงค์ ปราโมทย์ ประสาทกุล และปัญญา ชูเลิศ.


สถานการณ์สขุ ภาพจิตคนไทย.นครปฐม:สถาบันวิจยั ประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553.

อัมพร เบญจพลพิทักษ์. คู่มือการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตและป้องกันสาร


เสพติดในวัยรุ่น สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ :
บริษัทวงศ์กมล โปรดักชั่น จำ�กัด, 2545.

58
รายนามผู้วิพากษ์ร่างแนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี
(Case conference)
สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข

พญ.สุธิรา ริ้วเหลือง จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
นางกาญจนา ภู่วรวรรณ ข้าราชการบำ�นาญ
นางเสาวนีย์ พัฒนอมร ข้าราชการบำ�นาญ
นายชลอศักดิ์ ลักษณะวงศ์ศรี ข้าราชการบำ�นาญ

รายนามผู้วิพากษ์แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี
(Case conference)
สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข

ผศ.พญ.สุพร อภินันทเวช จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์
ศิริราชพยาบาล
พญ.สลักจิต ธีระนุกูล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
สถาบันกัลยาราชนครินทร์
พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
นางพิชญ์มณฑน์ ลีกำ�เนิดไทย สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 2
พญ.ทิพาวรรณ บูรณสิน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 59
ที่ปรึกษาโครงการจัดทำ�แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี
(Case conference)
สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข

นายเจษฎา โชคดำ�รงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต


นางพรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต
นายชิโนรส ลี้สวัสดิ์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต
นายพงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต
นางมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำ�นวยการ
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์

60
คณะทำ�งานโครงการจัดทำ�แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี
(Case conference)
สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข

นางสาวศศกร วิชัย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์


นางสาวจันทร์ชนก โยธินชัชชวาล สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์
นางหนึ่งฤทัย ยี่สุ่นศรี สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์
นายธนโชติ เทียมแสง สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์
นางสาวธัชกร ป้ายงูเหลือม สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์
นางสาวนภาพรรณ ล่าเต๊ะ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์
นางสาวปิยะมาศ รอดคืน สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 61
คณะทำ�งานโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมเสี่ยง

นางสาวศศกร วิชัย นักจิตวิทยาคลินิกชำ�นาญการพิเศษ


นางอาริสรา ทองเหม นักวิชาการสาธารณสุขชำ�นาญการ
นางสาวสรรกมล กรนุ่ม นักสังคมสงเคราะห์ชำ�นาญการ
พิเศษ
นายธนโชติ เทียมแสง พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ
นางอัมพวัน จันทชุม เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
ชำ�นาญงาน
นางรัชนีพร แก้วเสถียร เจ้าพนักงานธุรการ
นางสาววาณี อุดมศรี นักวิชาการสาธารณสุข

62
ภาคผนวก

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 63
ลับเฉพาะผู้เกี่ยวข้อง

แบบบันทึกสรุปผลการประชุม

วัน เดือน ปี............................ เวลา.......................สถานที่............................


ชื่อ-นามสกุลนักเรียน.............................................................................
อายุ...........ปี เพศ.................................................... ชั้น..................................
ปัญหาสำ�คัญ 1...............................................................................................
2...............................................................................................

ประวัติอาการ/ลักษณะปัญหา
...........................................................................................................................
...........................................................................................................................
............................................................................................................................

ประวัติส่วนตัว/โรคประจำ�ตัว/การปรับตัว
...........................................................................................................................
...........................................................................................................................
............................................................................................................................

ประวัติครอบครัว/การเลี้ยงดู
...........................................................................................................................
...........................................................................................................................
............................................................................................................................

64
ลักษณะเด็กใบหน้า/การแต่งตัว/ท่าทาง/การพูด/อารมณ์/การสื่อสาร
...........................................................................................................................
...........................................................................................................................
............................................................................................................................

สรุปสาเหตุของปัญหา 1..................................................................................

2..................................................................................
แนวทางการช่วยเหลือ
1. ปัญหาเร่งด่วน คือ ........................................................................
การช่วยเหลือ 1.1 ..............................................................
1.2 ..............................................................
2. ปัญหาอื่นๆ คือ .....................................................................
การช่วยเหลือ 2.1 ..............................................................
2.2 ...............................................................

ผลการติดตามการช่วยเหลือ ...........................................................................
...........................................................................................................................
............................................................................................................................

ข้อเสนอแนะอื่นๆ
...........................................................................................................................
...........................................................................................................................
...........................................................................................................................

ลงนาม..................................................ผู้บันทึก
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 65
ลับเฉพาะผู้เกี่ยวข้อง

ตัวอย่าง
แบบปรึกษาสถานบริการสาธารณสุข (สำ�หรับสถานศึกษา)

โรงเรียน.............................................
วันที่.........เดือน...................พ.ศ...............
เรื่อง ขอความร่วมมือในการช่วยเหลือนักเรียน
เรียน .................................................................

ด้วยนักเรียน ชื่อ (ชื่อเล่น).....................................................................
ชั้น ม......../........ มีพฤติกรรม / ปัญหา ดังนี้....................................................
...........................................................................................................................

ประวัติการเรียน (เช่น ผลการเรียน ความสัมพันธ์กับเพื่อน/ครู)


...........................................................................................................................
...........................................................................................................................

ประวัติครอบครัวที่อาจเกี่ยวข้องกับปัญหา (เช่น อาชีพของพ่อแม่/ผู้ปกครอง


ความใกล้ชิดกับพ่อแม่ ปัญหาอื่นๆ ในครอบครัว)
...........................................................................................................................
...........................................................................................................................

66
ประวัติอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง (เช่น การเจ็บป่วย การรักษา)
...........................................................................................................................
...........................................................................................................................

ได้ดำ�เนินการช่วยเหลือนักเรียนเบื้องต้นแล้วสรุปได้ดังนี้
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
...........................................................................................................................

แต่ยังคงมีพฤติกรรม/ปัญหา ดังนี้
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
...........................................................................................................................

จึงเรียนมาเพือ่ ขอความร่วมมือในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของนักเรียน
รวมทัง้ กรุณาแจ้งผลการช่วยเหลือกลับให้โรงเรียนทราบ เพือ่ โรงเรียนจะได้ด�ำ เนิน
การช่วยเหลือต่อไป และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ขอแสดงความนับถือ

(................................................)
อาจารย์ผู้รับผิดชอบ

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 67
เกณฑ์การประเมินปัญหานักเรียนเพื่อส่งต่อ
(กรณียุ่งยากซับซ้อน)

ปัญหาสุขภาพจิตที่ควรส่งต่อเพื่อการตรวจรักษา

1. นักเรียนที่มีความคิดฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือเคยลงมือ


ฆ่าตัวตายแล้ว
2. นั ก เรี ย นที่ มี อ าการของโรคจิ ต ซึ่ ง ได้ แ ก่ การได้ ยิ น เสี ย งแว่ ว
เห็นภาพหลอน หวาดระแวง มีความคิดผิดปกติรุนแรง พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
จนไม่สามารถดำ�รงชีวิตอย่างปกติสุขได้
3. นักเรียนที่ตั้งครรภ์ หรือมีแฟน/คู่นอนหลายคน
4. นักเรียนที่ติดสารเสพติด โดยไม่สามารถหยุดใช้ได้เอง ซึ่งอาจเกิด
จากภาวะเสพติดที่รุนแรง เรื้อรัง มีอาการอยากยา ซึ่งอาจบรรเทาได้ด้วยการ
บำ�บัดรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรืออยู่ในครอบครัว สิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำ�นวย
ต่อการเลิกยา หรือมีบทบาทเป็นผู้จำ�หน่ายยาเสพติด
5. นักเรียนที่มีอารมณ์รุนแรง เช่น ซึมเศร้า แยกตัว หรือวิตกกังวล
ก้าวร้าว ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้
6. นักเรียนที่ถูกทารุณกรรม ทั้งทางร่างกาย จิตใจ หรือทางเพศ
7. นักเรียนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต เช่น การฆาตกรรม การ
ข่มขืน อุบัติเหตุที่มีการสูญเสียรุนแรง
8. ปัญหาการเรียน ปัญหาอารมณ์ และปัญหาพฤติกรรมอืน่ ๆ ทีร่ นุ แรง

68
ลับเฉพาะผู้เกี่ยวข้อง
ตัวอย่าง
หนังสือยินยอมการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง
โรงเรียน..............................................................
และบุคลากรสาธารณสุข

เนื่องด้วย (ด.ช./ด.ญ./นาย/นางสาว).................................ชั้น .............
ซึง่ ครูประจำ�ชัน้ ได้สง่ มาพบครูแนะแนวด้วยเรือ่ ง..................................................
......................................................................................................................
และเพื่อประโยชน์ในการดูแลนักเรียนที่เหมาะสม จำ�เป็นต้องมีการประชุม
ปรึกษารายกรณี (Case conference) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางพฤติกรรม
ข้อมูลผลการทดสอบ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการวางแผนดูแลที่เหมาะสมต่อ
ไป โดยข้อมูลดังกล่าวโรงเรียนและบุคลากรทีเ่ กีย่ วข้อง จะเก็บรักษาเป็นความลับ
ดังนั้น ข้าพเจ้า.......................................................ซึ่งเป็น (กรณีศึกษา/
ผูป้ กครอง) ยินดีให้โรงเรียน และบุคลากรสาธารณสุข แลกเปลีย่ นข้อมูลระหว่างกัน
เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เหมาะสม

ลงชื่อ...............................................ผู้ยินยอม
(.........................................................)
วันที่................................................
ลงชื่อ...................................................พยาน
(.........................................................)
วันที่................................................
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 69
เครือข่ายสาธารณสุข

หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์
โรงพยาบาลศิริราช โทร. 0-2419-7000
โรงพยาบาลรามาธิบดี โทร. 0-201-1120
0-2201-1172
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โทร. 0-2256-4000
โรงพยาบาลราชวิถี โทร. 0-2354-8159
0-2354-8082
โรงพยาบาลตำ�รวจ โทร. 0-2207-6000
โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โทร. 0-2354-7600-28
สถาบันราชานุกูล โทร. 0-2245-4601-5
โรงพยาบาลศรีธัญญา โทร. 0-2525-0981-5
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โทร. 0-2437-0200
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ โทร. 0-2248-8999
โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ โทร. 0-2384-3381-3
สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ โทร. 0-2889-9066
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ โทร. 0-5389-0238-44
โรงพยาบาลสวนปรุง โทร. 0-5328-0228-46
โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ โทร. 0-5626-7281-8
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โทร. 0-4531-2550-4
โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ โทร. 0-4434-2666

70
หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ โทร. 0-4322-7422
โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ โทร. 0-4259-3103-7
โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ โทร. 0-3726-1795-9
โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ โทร. 0-4281-4893-5
โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ โทร. 0-7731-1308,
0-7731-1444
โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ โทร. 0-7431-3824
สถาบันพัฒนาการเด็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โทร 0-4391-0770-1
สถาบันพัฒนาการเด็กภาคใต้ โทร 0-7791-6500

แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)


: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 71
หน่วยงานและองค์กรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเด็ก
หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์
กรมประชาสงเคราะห์ โทร. 0-2247-9482
กองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
กองกำ�กับการสวัสดิภาพเด็ก โทร. 0-2282-3982-3
และเยาวชน
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร. 0-2412-1196,
0-2412-0739
บ้านอุปถัมภ์เด็ก มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก โทร. 0-2574-3753
บ้านทานตะวัน มูลนิธิเด็ก โทร. 0-2438-0353-4,
0-2438-9331-2
ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและครอบครัว โทร. 1579
กระทรวงศึกษาธิการ
ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (OSCC) โทร. 1300

72
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข 73
74
2
แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference)
: ในสถานศึกษา สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข

You might also like