You are on page 1of 38

คู่มือ

หลักสูตร “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า”


สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2566

โครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
ชื่อหนังสือ คู่มือวิทยากรหลักสูตร “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า”
ผู้เขียน ศศกร วิชัย
ปาณิตา กัณสุทธิ์
หนึ่งฤทัย ถิ่นวงษ์เย็น
อมรรัตน์ แสงโสด
ชลธิชา แย้มมา
อังคณา สมสง
พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2566
จำนวน (เอกสารอิเล็กทรอนิกส์)
จัดพิมพ์โดย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
โทรศัพท์ 0 2248 8999 โทรสาร 0 8848 8998
คำนำ
คู่มือหลักสูตร “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า” เป็นพื้นฐานสําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในการพัฒนาเรียนรู้ทักษะที่จำเป็น การดูแลเบื้องต้นในการดูแลนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าสำหรับ ครูและบุคลากร
ทางการศึกษาที่ต้องดูแลนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า และการสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะ
ซึมเศร้า โดยวิทยากรผู้นําหลักสูตรไปใช้ในการฝึกอบรมสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบุคลากรผู้รับการ
อบรมในแต่ละบริบทของพื้นที่
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มุ่งหวังให้คู่มือ
ฉบับนี้เป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข ครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็น
ทรัพยากรบุคคลที่เป็นพลังสําคัญที่จ ะผลักดันระบบบริการสุขภาพวัยรุ่น เป็นไปอย่างมีคุณภาพและเกิด
ประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อวัยรุ่นของประเทศ
สารบัญ
หน้า
คำนำ
สารบัญ
บทนำ 1
- ความเป็นมาของคู่มือ 1
- โครงสร้างของหลักสูตร 3
- เป้าหมายของหลักสูตร 5
- การนำหลักสูตรไปใช้ 5
- รูปแบบการฝึกอบรม 6
- การประเมินผลการฝึกอบรม 7
แผนการสอนที่ 1 เรื่อง ภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนวัยรุ่น 8
- แผนการสอนที่ 1 เรื่อง ภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนวัยรุ่น 9
- ใบงานที่ 1 แผนการสอนที่ 1 ตัวอย่างวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า 10
- ใบงานที่ 2 แผนการสอนที่ 1 แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น 11
- ใบความรู้ แผนการสอนที่ 1 เรื่องภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนวัยรุ่น 12
แผนการสอนที่ 2 เรื่อง การรับฟังเชิงลึกสำหรับผู้มีภาวะซึมเศร้า 15
- แผนการสอนที่ 2 เรื่อง การรับฟังเชิงลึกสำหรับผู้มีภาวะซึมเศร้า 16
แผนการสอนที่ 3 เรื่อง การปฐมพยาบาลทางใจ (Psychological First Aid : PFA)
และแผนเผชิญเหตุ 21
- แผนการสอนที่ 3 เรื่อง การปฐมพยาบาลทางใจ (Psychological First Aid : PFA)
และแผนเผชิญเหตุ 22
แผนการสอนที่ 4 เรื่อง ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ (School Health HERO) 26
- แผนการสอนที่ 4 เรื่อง ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ (School Health HERO) 27
ตัวอย่างแบบประเมินที่ใช้ในการอบรม 30
- แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น 31
- เครื่องมือเฝ้าระวังอาการที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นไทย (9S) 32
อ้างอิง 33
1

บทนำ

ความเป็นมาของคู่มือ วิทยากรหลักสูตร “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า” สำหรับบุคลากร


สาธารณสุข ครู และบุคลากรทางการศึกษา
ผลจากการสำรวจวัยรุ่นอายุ 11-19 ปี ที่ศึกษาในโรงเรียน เป็นตัวแทน 13 จังหวัด จาก 13 เขต
สุขภาพทั่วประเทศ ใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นฉบับภาษาไทย (Thai version of Patient Health
Questionnaire for Adolescents; PHQ-A) วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล โดยใช้ ส ถิ ต ิ เชิ ง พรรณนาและวิ เ คราะห์
ความสัมพันธ์โดยใช้ Odds Ratio (OR) โดยกลุ่มตัวอย่าง 5,345 คน พบวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 17.5
มีความคิดฆ่าตัวตายร้อยละ 5.1 และเคยพยายามฆ่าตัวตาย ร้อยละ 6.4 แสดงให้เห็นถึงขนาดของปัญหาภาวะ
ซึมเศร้าและฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในบริบทโรงเรียนซึ่งควรได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ชี้ให้เห็นถึง
ความสำคัญของระบบคัดกรองด้านสุขภาพจิตในโรงเรียนและการส่งต่อสถานบริการสาธารณสุขในพื้น ที่
ใกล้เคียง (วิมลวรรณ ปัญญาว่อง รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล และโชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, 2563)
จากสถานการณ์ในปัจจุบันได้มีข่าวการฆ่าตัวตายของนักเรียนมากขึ้นในหลายพื้นที่ เนื่องจากภาวะ
โรคซึมเศร้า เช่น นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อายุ 14 ปี จังหวัดนครราชสีมา ตกตึกชั้น 8 เสียชี วิต
ซึ่งนักเรียนที่เสียชีวิต มีอาการซึมเศร้า และกรณีนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กระโดดจากอาคารเรียนชั้น 6
เสีย ชีว ิต เหตุเกิดภายในโรงเรี ย นระดับ มัธ ยมชายล้ว นขนาดใหญ่ พิ เ ศษ ซึ่งเป็นโรงเรี ยนประจำจั ง หวั ด
นครราชสีมา แพทย์หญิงวิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวถึง
กรณีเด็กและวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง แบบตั้งใจให้ถึงกับเสียชีวิต ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุของโรค
ซึมเศร้า ซึ่งโรคซึมเศร้านี้ มาจากปัจจัยทางชีวภาพ คล้ายโรคเบาหวานหรือโรคอื่นๆที่มาจาก กรรมพันธุ์และถูก
กระตุ้นจากปัจจัยภายนอก เช่นปัญหาเรื่องการเรียน ได้รับความกดดันจากความคาดหวังของครอบครัว เรื่อง
ความรัก เรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวและเพื่อน ทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้ จึงหาทางออกด้วยการทำร้าย
ตั ว เองหรื อ ฆ่ า ตัว ตายในที ่ส ุด จากสถิ ต ิ ข องกระทรวงสาธารณสุ ข พบว่ า ภาว ะซึ มเศร้า จะเป็ นที ่ ม าของ
“โรคซึมเศร้า” กำลังพบมากขึ้นโดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่น พบว่าประชากร (2564) ในประเทศตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้น
ไปทั่วประเทศ จำนวน 50,521,654 คน พบจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสะสมที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาจำนวน
1,235,335 ราย โดย 3 จังหวัดที่พบมากที่สุดได้แก่ 1. นครราชสีมา 64,928 ราย 2. จังหวัดเชียงใหม่ 50,112 ราย
และ 3. อุบลราชธานี 46,809 ราย
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าผลกระทบของภาวะโรคซึมเศร้านั้น เป็นปัญหาระดับประเทศและระดับโลก
ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยของการคึกคะนองและสามารถที่จะตัดสินใจทำอะไรได้
2

อย่างฉับพลัน จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการและแก้ไขปัญหาอย่าง
เร่งด่วน และจะต้องอาศั ยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทางด้าน
สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่จะส่งผลรุนแรงตามมา และการดูแลช่วยเหลือโรงเรียน
ในด้านต่างๆ จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ตระหนักและ
เล็งเห็นความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา และสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต จึงได้จัดทำ “โครงการโรงเรียน
สุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า” โดยจะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตั้งแต่เดือน มี นาคม - กันยายน
2566 มีกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทุกเขต
พื้นที่ 75 จังหวัด ๆ ละ 2 โรงเรียน (ยกเว้นกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครราชสีมา) รวม 150 โรงเรียน
รวมจำนวนครู 600 คน โรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาสั ง กั ด สำนั ก งานเขตพื ้ น ที ่ ก ารศึ ก ษามั ธ ยมศึ ก ษาพื ้ น ที่
กรุงเทพมหานคร และจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดละ 5 โรงเรียน รวมจำนวนครู 40 คน รวมทั้งสิ้น 160
โรงเรียน จำนวนครูรวมทั้งสิ้น 640 คน โดยคัดเลือกครูแกนนำแต่ละโรงเรียน ๆ ละ 4 คน ได้แก่ ครูแนะแนว
ครูฝ่ายปกครอง และครูที่รับผิดชอบปัญหาเด็กนักเรียน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเป้าหมายเป็น สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา ทุกเขตพื้นที่ จำนวน 62 เขตพื้นที่ ๆ ละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริม
การจัดการศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา และนักจิตวิทยาโรงเรียน
ประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้น 186 คน โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อสร้างระบบการ
ดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะโรคซึมเศร้า และพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะที่จำเป็นในการ
ดูแลนักเรีย นที่ มีภ าวะโรคซึ มเศร้า เนื่องจากครู และบุ คลากรทางการศึก ษาเป็นผู้ ที่ อ ยู่ ใ กล้ช ิด นั กเรี ย น
ความสำคัญในการเพิ่มทักษะการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะโรคซึมเศร้า การฟังอย่างลึกซึ้ง ( Deep
Listening) ทักษะการเผชิญหน้ากับสถานการณ์วิกฤติ และการดูแลเบื้องต้นสำหรับครูที่ต้ องดูแลนักเรียนที่มี
ภาวะโรคซึมเศร้าให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้สามารถที่จะ
เตรียมพร้อมรับมือในการดูแลนักเรียนกลุ่มที่มีภาวะโรคซึมเศร้าได้ทันท่วงทีและดูแลช่วยเหลือให้นักเรียนกลุ่มนี้
ได้กลับ มาใช้ช ีว ิตได้อย่างปกติ รวมทั้งพั ฒ นาและขยายผลโครงการโรงเรียนสุ ขใจปลอดภัย โรคซึม เศร้ า
ให้ครอบคลุมในทุกโรงเรียน
โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัย รุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ร่ว มกับมหาวิทยาลัยราชภั ฏ
สวนสุน ัน ทา และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒ นาหลักสูตร “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัย
โรคซึมเศร้าสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ครู และบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการเริ่มต้นจัดทําร่างหลักสูตรฯ
จากพื้นฐานประสบการณ์ในการจัดบริการระบบคัดกรองด้านสุขภาพจิตในโรงเรียนและการส่งต่อสถานบริการ
สาธารณสุขในพื้นที่ใกล้เคียงร่วมกับการศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการจากโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีการพัฒนาร่างหลักสูตรฯ ดําเนินการทดลองใช้ร่ว มกับ
3

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี โดยมีครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี และบุคลากรสาธารณสุข


จาก สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ สถาบันราชานุกุล
และศูนย์สุขภาพจิตที1่ -13 เข้าร่วมเรียนรู้เพื่อทดลองการใช้หลักสูตรฯ และได้ร่วมกันสรุปการเรียนรู้และพัฒนา
จัดทํา เป็นหลักสูตร “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัย โรคซึมเศร้า” สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ครู และบุคลากร
ทางการศึกษา เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรสาธารณสุข ครู และบุคลากรทางการศึกษา สามารถนําหลักสูตรไปใช้
ในการฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุข ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้มีทักษะที่จำเป็น
ใช้ในการดูแลนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า และการสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าที่มี
คุณภาพต่อไป

โครงสร้างของหลักสูตร “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า” สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ครู และ


บุคลากรทางการศึกษา
หลักสูตร “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัย โรคซึมเศร้า” สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ครู และบุคลากรทางการ
ศึกษา ประกอบด้วยแผนการสอน 4 แผน เน้นการดูแลเบื้องต้นสำหรับ บุคลากรสาธารณสุข ครู และบุคลากร
ทางการศึกษาที่ต้องดูแลนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า พัฒนาบุคลากรสาธารณสุข ครู และบุคลากรทางการศึกษา
ให้มีทักษะที่จำเป็นใช้ในการดูแลนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) การเผชิญหน้า
กับสถานการณ์วิกฤต และการสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า ตามภาพรวมโครงสร้าง
หลักสูตรดังภาพที่ 1 ได้แก่
1. การดูแลเบื้องต้นสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องดูแลนักเรียนที่มี
ภาวะซึมเศร้า
แผนการสอนที่ 1 เรื่องภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนวัยรุ่น
2. การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะที่จำเป็นใช้ในการดูแล
นักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า
แผนการสอนที่ 2 เรื่องการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)
แผนการสอนที่ 3 เรื่องการเผชิญหน้ากับสถานการณ์วิกฤต
3. การสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า
แผนการสอนที่ 4 เรื่องระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ (School Health HERO)
4

ภาพที่ 1 ภาพรวมโครงสร้างหลักสูตร “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า” สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ครู


และบุคลากรทางการศึกษา

แผนการสอน สาระสำคัญ
1.ภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนวัยรุ่น อารมณ์เศร้า กับ ภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนวัยรุ่นมีความแตกต่างกัน
การเข้าใจธรรมชาติอารมณ์ทั้งบวกและลบในวัยรุ่น
การช่วยสังเกตอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นจะช่วยให้นักเรียนได้รับการช่วยเหลือ
เบื้องต้น หรือส่งต่อภายใน/ภายนอกโรงเรียนได้ทันท่วงที
2.การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) การฟังเชิงลึกหรือการฟังอย่างใส่ใจ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วม
มอบรมเข้าใจเรื่องราว ความคิด อารมณ์ของผู้พูดอย่างลึกซึ้ง รวมถึงเข้าใจถึง
ความสำคัญของการฟัง การแสดงออกถึงความเข้าใจ (Empathy) และฝึก
ปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะการรับฟังเชิงลึกในกลุ่มผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ทักษะ
การฟัง การถาม การสะท้อนความรู้สึก การทวนคำ/ทวนความ และการสรุป
เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกวิเคราะห์จากสิง่ ที่เกิดขึ้นจากการฟัง ทั้งเนื้อหาและ
ความรูส้ ึกของผู้พูด และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะเพื่อช่วยเหลือด้านจิตใจใน
ภาวะเศร้ากับผู้อื่นได้
3.การเผชิญหน้ากับสถานการณ์วกิ ฤต การให้ความช่วยเหลือผู้ทไี่ ด้รบั ผลกระทบทางด้านจิตใจจากภาวะวิกฤตหรือ
เหตุการณ์รุนแรงในระยะแรก เป็นการประเมินสภาพปัญหาสุขภาพจิตที่อาจ
เกิดขึ้นและการให้การปฐมพยาบาลทางใจ (Psychological First Aid : PFA)
ด้วยหลักการ สอดส่องมองหา (Look) ใส่ใจรับฟัง (Listen) และส่งต่อเชื่อม
โยง (Link) เพื่อลดความเครียดและช่วยประเมินความต้องการเร่งด่วน ซึ่ง
ความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลทางใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยเสริมความมั่นใจ
สำหรับผู้ปฏิบตั ิงาน
5

แผนการสอน สาระสำคัญ
4.ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ (School Health HERO: Health and
(School Health HERO) Educational Reintegrating Operation) คือ ระบบที่ออกแบบให้เป็นแอป
พลิเคชันบนเว็บไซต์ เพื่อให้ครูใช้เฝ้าระวัง เรียนรู้และรับคำปรึกษาเพื่อดูแล
นักเรียนที่เสี่ยงต่อปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และทักษะสังคม ระบบนี้
พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการประเมินนักเรียนแบบเก่า ที่ครูต้องประเมิน
นักเรียนทุกคนดัวยแบบประเมิน SDQ จำนวน 25 ข้อ ด้วยกระดาษ มีความ
ยุ่งยากและใช้ระยะเวลานานเป็นภาระงานของครูที่ส่งผลให้ครูไม่อยาก
ประเมินนักเรียน

ตารางที่ 1 สาระสำคัญของแผนการสอนหลักสูตร“โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า” สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ครู


และบุคลากรทางการศึกษา

เป้าหมายของหลักสูตร
เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุข ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจการดูแลเบื้องต้น
รวมถึงทักษะที่จำเป็นใช้ในการดูแลนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า และการสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มี
ภาวะซึมเศร้า

การนำหลักสูตรไปใช้
1. วิทยากร ได้แก่ บุคลากรผู้ผ่านการอบรมวิทยากรหลักสูตร“โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า”
สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ครู และบุคลากรทางการศึกษา และ/หรือบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเด็ก
และวัยรุ่น
2. ผู้รับการฝึกอบรม ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ครู
และบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ใกล้ชิดนักเรียน
3. จำนวนผู้รับการอบรม 190-200 คน/รุ่น โดยมีวิทยากรหลัก 4 คน และวิทยากรผู้ช่วย 2-3 คน
4. ระยะเวลาในการฝึกอบรม ใช้เวลาในการฝึกอบรม 2 วัน ดังตาราง
6

วันที่ 1
เวลา หัวข้อ
09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียน
09.30 –10.00 น. พิธีเปิดการอบรม
10.00 – 10.40 น. อภิปราย เรื่อง ภาวะอารมณ์เศร้า และโรคซึมเศร้า
10.40 – 11.00 น. กิจกรรม Super Hero
11.00 – 11.30 น. อภิปราย เรื่อง การได้ยิน และการฟัง (Hearing & Listening)
11.30 – 12.00 น. อภิปราย แบ่งกลุม่ ทำกิจกรรม “ปรับ-ไม่ปรับ”
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 13.30 น. อภิปราย เรื่อง ความเข้าใจ และความเห็นใจ (Empathy VS Sympathy)
13.30 – 14.30 น. อภิปราย เรื่อง การฟังอย่่างตั้งใจ (Active listening)
14.30 – 16.30 น. อภิปราย เรื่อง ทักษะการฟังเชิงลึก 5 ทักษะ (Skill of Active listening)

วันที่ 2
เวลา หัวข้อ
08.30 – 10.30 น. บรรยาย เรื่อง School Health Hero “ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถใี หม่”
10.30 – 12.00 น. อภิปราย เรื่อง การปฐมพยาบาลปฏิกิริยาทางใจต่อภาวะวิกฤต
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. อภิปราย เรื่อง แผนเผชิญเหตุ
14.30 – 16.30 น. แลกเปลีย่ นความคิดเห็นและซักถามข้อสงสัย
16.30น. พิธีปิดการอบรม

ตารางที่ 2 ตัวอย่างตารางการฝึกอบรมหลักสูตร“โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า” สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ครู


และบุคลากรทางการศึกษา

รูปแบบการฝึกอบรม
เพื่อให้ผู้รับการอบรมได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด จึงได้นํากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
(ParticipatoryLearning) มาใช้ในการฝึกอบรมโดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับการฝึกปฏิบัติ
7

การประเมินผลการฝึกอบรม
1. ประเมินผลก่อนและหลังการอบรม
2. ประเมินความร่วมมือขณะเข้าร่วมกิจกรรมการตอบคําถาม การมีส่วนร่วมความสนใจ
3. ประเมินหลังเข้าร่วมกิจกรรมโดยการสรุปการเรียนรู้ร่วมกัน (After Action Review)
8

แผนการสอนที่ 1
เรื่อง ภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนวัยรุ่น
9

แผนการสอนที่ 1 เรื่อง ภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนวัยรุ่น


จำนวนชั่วโมง 40 นาที
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แนวทางในการสังเกตอาการโรคซึมเศร้าในวัยเรียนวัยรุ่น
2. เพื่อให้ผู้รับการอบรมได้ฝึกการใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (Thai version of
The Patient Health Questionnaire for Adolescents: PHQ-A)

สาระสำคัญ
อารมณ์เศร้า กับ ภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนวัยรุ่นมีความแตกต่างกัน การเข้าใจธรรมชาติอารมณ์ทั้ง
บวกและลบในวัยรุ่น การช่วยสังเกตอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นจะช่วยให้นักเรียนได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น หรือ
ส่งต่อภายใน/ภายนอกโรงเรียนได้ทันท่วงที

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นตอนกิจกรรม ระยะเวลา สือ่ /อุปกรณ์
1.วิทยากรกล่าวทักทาย และนําเข้าสู่บทเรียน โดยเปิดคลิป 5 นาที -ฉันมีหมาดำตัวหนึ่ง...มันชื่อว่า
วิดีโอประกอบ ซึมเศร้า
https://www.youtube.com
/watch?v=xCN6zS4TLDI
2. บรรยายจากสไลด์ประกอบแผนการสอน / ใบความรู้ 15นาที -สไลด์ประกอบแผนการสอน /
แผนการสอนที่ 1 ใบความรู้แผนการสอนที่ 1
3. ทำกิจกรรมตามใบงานแผนการสอนที่ 1: ตัวอย่างวัยรุ่นที่ 5 นาที -ใบงานที่ 1
เป็นโรคซึมเศร้า สุ่มถามผู้เข้ารับการอบรม 1-2 คน
4. บรรยาย (ต่อ) เรื่องการประเมินเบื้องต้นในโรงเรียน และ 15 นาที -สไลด์ประกอบแผนการสอน /
ฝึกการใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น สุ่มถามความ ใบความรู้แผนการสอนที่ 1
เข้าใจผู้เข้ารับการอบรมจากการใช้แบบประเมิน 1-2 คน -ใบงานที่ 2
วิทยากรตอบข้อซักถาม

การวัดและประเมินผล
1. ประเมินผลก่อนแหละหลังการอบรม
2. ประเมินระหว่างการอบรมและฝึกปฏิบัติ โดยการสังเกต การซักถาม และการมีส่วนร่วมของ
ผู้เข้าร่วมอบรม
3. การทบทวนหลังปฎิบัติงาน (After Action Review : AAR)
10

ใบงานที่ 1 แผนการสอนที่ 1
ตัวอย่างวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า

วงกลมคำ หรืออาการของโรคซึมเศร้า
ตัวอย่าง ตุ้ยอายุ 15 ปี เล่นเกมทั้งวัน ไม่สนใจการเรียน ทะเลาะกับแม่บ่อยเพราะเรื่องเล่นเกม

• ประวัติโดยละเอียดพบว่า ตุ้ยรู้สึกเบื่อไม่อยากทำอะไร การเล่นเกมบางทีก็เบื่อแต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรทำ


ตุ้ยนอนไม่หลับมานานประมาณหนึ่งเดือน เบื่ออาหารบางครั้งรู้สึกหงุดหงิดง่าย เคยชอบเตะบอลกับ
เพื่อนแต่ปัจจุบันก็ไม่ได้ไปเล่นแล้วเพราะรู้สึกเบื่อ ๆ เซ็ง ๆ ไม่ส่งงานครูเพราะไม่มีสมาธิในการทำงาน
เคยมีความรู้สึกอยากจะหลับไปไม่ต้องตื่นขึ้นมาอีกแต่ไม่มีความคิดจะฆ่าตัวตาย
11

ใบงานที่ 2 แผนการสอนที่ 1
แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น
(Thai version of The Patient Health Questionnaire for Adolescents: PHQ-A)

อายุ _______ปี เพศ:  ชาย  หญิง วันที่_____________________


คำชี้แจง: ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณมีอาการต่อไปนี้บ่อยแค่ไหน? โปรดกาเครื่องหมาย “/” ลงใน ช่องว่าง
ที่ตรงกับความรู้สึกของคุณมากที่สุด
(0) (1) (2) (3)
ไม่มี มีบาง มี มีแทบ
เลย วัน มากกว่า ทุกวัน
7 วัน
1. รู้สึกซึม เศร้า หงุดหงิด หรือสิ้นหวัง
2. เบื่อ ไม่ค่อยสนใจหรือไม่เพลิดเพลิน เวลาทำสิ่งต่างๆ
3. นอนหลับยาก รู้สึกง่วงทั้งวัน หรือนอนมากเกินไป
4. ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด หรือกินมากกว่าปกติ
5. รู้สึกเหนื่อยล้า หรือไม่ค่อยมีพลัง
6. รู้สึกแย่กับตัวเอง หรือรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว หรือทำให้
ตัวเองหรือครอบครัวผิดหวัง
7. จดจ่อกับสิ่งต่างๆ ได้ยาก เช่น ทำการบ้าน อ่านหนังสือ หรือดู
โทรทัศน์
8. พูดหรือทำอะไรช้าลงมากจนคนอื่นสังเกตเห็นได้ หรือในทาง
ตรงกันข้ามคือ กระสับกระส่ายหรือ กระวนกระวาย จนต้อง
เคลื่อนไหวไปมามากกว่าปกติ
9. คิดว่าถ้าตายไปเสียจะดีกว่า หรือคิดจะทำร้ายตัวเอง ด้วยวิธี
ใดวิธีหนึ่ง

รวมคะแนน

ใน 1 เดือนที่ผ่านมา มีช่วงไหนที่คุณมีความคิดอยากตาย หรือไม่อยากมีชีวิตอยู่อย่างจริงจังหรือไม่


 ใช่  ไม่ใช่
ตลอดชีวิตที่ผ่านมา คุณเคยพยายามที่จะทำให้ตัวเองตาย หรือลงมือฆ่าตัวตายหรือไม่
 ใช่  ไม่ใช่
12

ใบความรู้
แผนการสอนที่ 1 เรื่องภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนวัยรุ่น
อารมณ์เศร้า มนุษย์ทุกคนมีอารมณ์พื้นฐาน (Basic Emotions) ทั้งด้านบวกและด้านลบ ความเศร้า
หรือ sadness เป็นหนึ่งในอารมณ์พื้นฐาน เช่นเดียวกับอารมณ์อื่น: ร่าเริง โกรธ กลัว รัก ชอบ ไม่ชอบ
อารมณ์เศร้าในวัยรุ่น ด้วยพัฒนาการวัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังค้นหาตนเอง และต้องการเข้ากลุ่มกับเพื่อน
ในวัยเดียวกัน หรือมีความสนใจเหมือน ๆ กัน ต้องการเป็นส่วนหนึ่งและได้รับการยอมรับในกลุ่มเพื่อน
ดังนั้นวัยรุ่นจึงเริ่มให้ความสนใจในเรื่องภาพลักษณ์ของตนและอิทธิพลของเพื่อนมีผลต่อความรู้สึก
ความคิดอย่างมาก หากวัยรุ่นมีการเปลี่ยนผ่านในช่วงวัยนี้ไม่ดีนัก เช่น มีมุมมองต่อตนเองในทางลบ มี
ปัญหากับเพื่อนหรือครูที่โรงเรียน โดนกีดกันจากกลุ่มเพื่อน มีปัญหาการปรับตัว รวมถึงวิกฤตต่าง ๆ ที่
เข้ามาในช่วงวัยรุ่น เช่น การหย่าร้างของพ่อแม่ การสูญเสียบุคคลที่รัก ฯลฯ โดยไม่มีคนใกล้ชิดคอย
สนับสนุนรับฟังอย่างใส่ใจ หรือให้กำลังใจในการผ่านเรื่องราว อารมณ์เศร้าหากมีระยะเวลายาวนาน
ต่อเนื่อง วัยรุ่นไม่มีวิธีการรับมือหรือไม่เห็น ทางออกของปัญหา ในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดปัญหา
สุขภาพจิตอื่น ๆ ได้
ดังนั้นเพื่อน ครอบครัว รวมถึงครูที่วัยรุ่นรู้สึกไว้วางใจ หากสังเกตเห็นตั้งแต่ต้นที่วัยรุ่นรู้สึกเศร้า
สามารถช่วยเหลือได้ด้วยวิธีการรับฟังอย่างใส่ใจ หรือการให้กำลังใจอย่างแท้จริงก็จะทำให้วัยรุ่นรู้สึก
ว่าตนเองยังมีคนที่ห่วงใยเขาอยู่ และสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ไวขึ้น
โรคซึมเศร้า เกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองที่ส่งผลต่อความคิด อารมณ์ความรู้สึก และ
พฤติกรรมของวัยรุ่น ครูจึงมักเห็นเพียงปัญหาพฤติกรรมบางอย่างที่แสดงออกมา แต่แท้จริงแล้ว
สาเหตุของปัญหาลึกกว่าพฤติกรรมที่มองเห็น ทั้งนี้โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นเป็นโรคที่พบบ่อยและมากกว่า
ร้อยละ 20 จะยังคงมีอาการของโรคต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยอาการที่สามารถสังเกตได้มีดังนี้
▪ ทางกาย/พฤติกรรม ไม่อยากลุกจากที่นอน หลีกหนีเพื่อนหรือพ่อแม่หรือ
ครูไม่พูดคุย ไม่มาโรงเรียน อยู่กับเกม/มือถือมาก ไม่ส่งงานผลการเรียนตกลง อาจใช้
สารเสพติด บุหรี่ แอลกอฮอล์ อาจเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์หรือตั้งครรภ์ ทำร้าย
ตัวเองหรือพูดถึงการตายไม่อยากมีชีวิตอยู่
▪ อารมณ์ความรู้สึก เหนื่อยล้า ไม่มีพลังงานในการทำอะไร ไม่มีความสุข
ซึมเศร้า รู้สึกว่างเปล่า เบื่อหน่าย หรือหงุด หงิดง่าย มีปัญหาในการจัดการอารมณ์
หรือใช้ความรุนแรงเมื่อเกิดปัญหา
▪ ความคิด คิดลบกับตนเอง สิ่งรอบตัว ไม่อยากมีชีวิตอยู่ ไม่มั่นใจตนเอง
ตัดสินคุณค่าในตนเองต่ำ
โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นกระทบกับการทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน วัยรุ่นไม่สามารถพาตนเองออก
จากความคิดความรู้สึกนี้ได้เนื่องจากภาวะความเจ็บป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่
ครูจะช่วยสังเกตและเชื่อมต่อกับนักเรียนเพื่อให้สามารถเข้าถึงแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว
13

ข้อสังเกตในวัยรุ่นซึมเศร้า
▪ ในวัยรุ่นอาจแสดงอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรือก้าวร้าว เปลี่ยนไปจากเดิมไม่ใช่เพียง
แสดงออกอารมณ์เศร้าเท่านั้น

▪ “ไม่มีความสุข” อาจแสดงออกเป็นพฤติกรรม เช่น อยู่กับมือถือตลอดเวลาไม่อยากพูดคุย


กับเพื่อน ครอบครัว ครู

▪ “เหนื่อยล้า ไม่มีพลังงานในการทำอะไร” อาจแสดงออก เช่น ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่


ทำงานที่ครูมอบหมายทั้งที่เคยรับผิดชอบทำได้

▪ “ไม่ส่งงาน ผลการเรียนตกลง” เป็นพฤติกรรมที่อาจตีความผิดว่า ขาดความรับผิดชอบ


หรือขี้เกียจ แต่ลึก ๆ คือวัยรุ่นรู้สึกเศร้า ไม่มีพลังงานซึ่งเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของ
สารเคมีในสมอง

สาเหตุของโรคซึมเศร้า ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งแต่มักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน
▪ พันธุกรรม จากการศึกษาพบว่าเด็กที่พ่อแม่มีภาวะซึมเศร้า จะมีอัตราการเกิดภาวะ
ซึมเศร้าได้สูงกว่าเด็กทั่วไป
▪ สารเคมีในสมอง การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติส่งผลต่อการควบคุม
อารมณ์ ร่างกาย และจิตใจ ซึ่งในปัจจุบันยาที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้าจะมีหน้าที่โดยตรง
ในการปรับสารเคมีเหล่านี้ให้อยู่ในภาวะสมดุล
▪ ปัจจัยแวดล้อมภายนอกหรือปัญหาทางจิตสังคม ความรุนแรงในครอบครัว การหย่า
ร้าง เผชิญเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น สูญเสียบุคคลที่รัก ถูกทารุณกรรม
การถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนหรือถูกเพื่อนกีดกันออกจากกลุ่ม cyberbullying
▪ มุมองต่อตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ บุคลิกภาพวิตกกังวลสูง ใช้วิธีแก้ปัญหา
แบบหนีปัญหา โทษตัวเองซ้ำ ๆ

การประเมินเบื้องต้นในโรงเรียน ครูสามารถทำได้โดย
▪ สังเกตพฤติกรรมอาการ ของนักเรียนจากพฤติกรรมอาการทีบ่ ่งชี้ภาวะซึมเศร้า
▪ เตรียมตนเองในการเชื่อมต่อกับนักเรียน รวมถึงกำหนดขอบเขตที่เหมาะสม
เพื่อให้ครูมั่นใจในการช่วยเหลือนักเรียนมากขึ้น และยังคงมีพื้นที่ส่วนตัวในกรณี
นอกเหนือจากเวลางานหรือกรณีที่ครูต้องรับมือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน มีร ะบบ
14

โรงเรียนที่สนับสนุนในส่วนงานสุขภาพจิตในโรงเรียน การมีนักจิตวิทยาโรงเรียน
เพื่อเป็นที่ปรึกษาหรือช่วยเหลือครู หรือประสานสายด่วนสุขภาพจิต 1323
▪ พูดคุยด้วยความใส่ใจและประเมิน การฆ่าตัวตายอย่า งจริงจัง (ใบงานที่ 2:
PHQ-A และสไลด์บรรยายการสอน: แนวคำถามประเมินการฆ่าตัวตาย)
▪ พิจารณาส่งต่อภายใน หรือภายนอกโรงเรียน
ตัวอย่าง คำถามเพื่อประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย
▪ ความรู้สึกเศร้า ทำให้เคยคิดอยากตายหรือไม่อยากอยู่หรือไม่
▪ เวลามีความคิดนี้ คิดจะทำอะไร/ คิดถึงวิธีการหรือไม่ว่าจะทำอะไร
▪ คิดจะทำร้ายตนเองหรือไม่/ เคยทำมาก่อนหรือไม่
▪ อะไรที่ทำให้ยังไม่ได้ทำ(คำถามที่ช่วยให้เห็นทรัพยากรที่จะเอามาช่วยเหลือต่อ)

ข้อมูลประกอบแผนการสอน
15

แผนการสอนที่ 2
เรื่อง การรับฟังเชิงลึกสำหรับผู้มีภาวะซึมเศร้า
16

แผนการสอนที่ 2 เรื่อง การรับฟังเชิงลึกสำหรับผู้มีภาวะซึมเศร้า


จำนวนชั่วโมง 6 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์
1. เพือ่ ให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการฟังเชิงลึกสำหรับผู้มีสัญญาณเสี่ยงภาวะ
ซึมเศร้า
2. เพื่อฝึกทักษะในการฟังอย่างตั้งใจ
สาระสำคัญ
การฟังเชิงลึกหรือการฟังอย่างใส่ใจ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมมอบรมเข้าใจเรื่องราว
ความคิด อารมณ์ของผู้พูดอย่างลึกซึ้ง รวมถึงเข้าใจถึงความสำคัญของการฟัง การแสดงออกถึงความเข้าใจ
(Empathy) และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะการรับฟังเชิงลึกในกลุ่มผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ทักษะการฟัง การ
ถาม การสะท้อนความรู้สึก การทวนคำ/ทวนความ และการสรุป เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกวิเคราะห์จากสิ่งที่เกิดขึ้น
จากการฟัง ทั้งเนื้อหาและความรู้สึกของผู้พูด และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะเพื่อช่วยเหลือด้านจิตใจในภาวะ
เศร้ากับผู้อื่นได้

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นตอนกิจกรรม ระยะเวลา สือ่ /อุปกรณ์
ขั้นนำ ใบความรู้
1. กิจกรรม check in หัวใจ 15 นาที ใบงาน
1.1. ให้ผู้เข้าร่วมอบรม หลับตา กระบวนบวนให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้นึกถึง สไดล์นำเสนอ
ช่วงเวลาตั้งแต่เช้าจนถึงปัจจุบันที่อยู่ร่วมกันในการอบรม และตั้งคำถามว่า หัวใจ รูปแบบ
คุณสีอะไร และให้ผู้เข้าร่วมอบรม บอกว่า “หัวใจเป็นสี...” จากนั้นแลกเปลีย่ น
powerpoint
แสดงความคิดเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งเหตุการณ์และอารมณ์ความรูส้ ึกเพือ่ ประเมิน
ความพร้อมของผู้เข้าร่วมอบรม
ขั้นดำเนินการ
1.1. อภิปรายการฟังและการได้ยนิ Hearing & Listening และ ระดับของการ 5.30
ฟัง Level of Listing ชั่วโมง
การได้ยิน กับ การฟัง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
คุณสมบัต/ิ ลักษณะของผู้ฟังที่ดีมีอะไรบ้าง
การฟังมีความสำคัญอย่างไร ต่อผูพ้ ูด และต่อผู้ฟัง
เท่าที่เราสังเกต/รับรู้ มีการฟังระดับไหนบ้าง (นำสู่บทเรียน Level of Listening)
กิจกรรม “ปรับ-ไม่ปรับ”
- อธิบายกติกาของกิจกรรม : จะมีโจทย์ให้ผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งหมด 5 ข้อ ให้
สมาชิกแต่ละกลุม่ ลงความเห็นว่าบุคคลในโจทย์แต่ละข้อควรได้รบั บทลงโทษอะไร
17

ขั้นตอนกิจกรรม ระยะเวลา สือ่ /อุปกรณ์


โดยมีบทลงโทษทั้งหมด 6 แบบ ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวติ ปรับ 1
ล้านบาท ปรับ 5 หมื่นบาท ปรับ 2 พันบาท และปล่อยตัว
- ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มใหญ่ว่าในโจทย์แต่ละข้อ
ได้บทลงโทษแบบใด และเพราะอะไร
- วิทยากรชวนให้สังเกตทัศนคติ อคติ และการตัดสินของแต่ละกลุม่ พร้อม
ชี้ให้เห็นว่าทั้งสามสิ่งนั้นมีผลต่อการฟังอย่างไร “การตัดสินเป็นหลุมพรางของการ
ฟัง เมื่อใดที่เราตกหลุมพรางของการตัดสิน จะทำให้เราเป็นผู้ฟังที่ไม่เหมาะสม”
- วิทยากรสรุปบทเรียนของกิจกรรมปรับ-ไม่ปรับ เรื่อง การทำความเข้าใจ
เรื่องราวหรือฟังสิ่งที่เกิดขึ้นของแต่ละคน เพราะเราไม่รู้ว่าสิ่งที่แต่ละคนคิดหรือ
แสดงออก มีอะไรที่กำหนดหรือเขาเคยผ่านอะไรมาบ้าง การไม่ใช้

อภิปรายหัวข้อ Empathy and Sympathy


- ความแตกต่างระหว่าง Empathy กับ Sympathy
- ระดับของ Empathy (Spectrum of empathy)
- Iceberg Theory: อธิบายว่าคนเรานั้นมีทั้งพฤติกรรมที่มองเห็น (Behavior)
และความรู้สึกและความต้องการทีม่ องไม่เห็น (Feelings and needs) และการมี
empathy จะช่วยให้เราเข้าถึงส่วนล่างของน้ำแข็ง (ความรู้สึกและความต้องการ)
และเข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น
- สรุปหลักการและเชื่อมโยงการเรียนรู้ เรื่องการรับฟังอย่างมี Empathyและ
ชี้ให้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการฟังอย่าง Empathy ในฐานะผู้ฟัง

ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening)


บรรยาย Overview skill และ Active Listening
- การฟังเรื่องราว กับ การฟังความรู้สึก
- การฟังอย่างตั้งใจ (ฟังผ่านตา หู ปาก หัวใจ สมอง)
- ความหมายของ Active Listening โดยตั้งคำถามนำสู่การเรียนรู้ “การฟัง
อย่างตั้งใจคืออะไร”
- 5 ทักษะของการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening)
กิจกรรมนิทานชีวิต
1. บอกกติกากิจกรรม “นิทานชีวิต 5 นาที” โดยจะแบ่งห้องย่อย จับคู่
ทำกิจกรรม 15 นาที โดยแต่ละคนมีหน้าที่ดังนี้
- A ให้ “เล่าเรื่องราวชีวิตตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 7
ขวบจนถึงชีวิตในปัจจุบัน” ภายในเวลา 5 นาที
18

ขั้นตอนกิจกรรม ระยะเวลา สือ่ /อุปกรณ์


- B เป็นคนฟัง ให้ฟังอย่างตั้งใจ โดยห้ามถาม แต่มีภาษากายตอบโต้ได้ เช่น
การพยักหน้า และเมื่อ A เล่าจบ ให้ B เล่าเรื่องของ A ที่ได้ฟัง โดยขึ้นต้นว่า
“กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว…” และจบด้วย “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้วา่ …”
2. เมื่อ B เล่าจบ ให้ A ให้คะแนนการฟังของ B (1-10 คะแนน)
3. สลับบทบาทกัน
4. สรุปบทเรียน “นิทานชีวิต 5 นาที”
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมทราบว่าการฟังนั้นสามารถฟังได้ทั้งเรื่องราวและ
ความรูส้ ึก และทราบว่าการฟังอย่างตั้งใจสามารถทำได้อย่างไรบ้าง
อภิปรายและฝึกทักษะการฟังอย่างตั้งใจ 5 ทักษะ
1. บรรยายทักษะที1่ : การถาม (Open-end Questioning) (10 นาที)
- วัตถุประสงค์การถาม
- ประเภทของการถาม; คำถามปลายปิด-ปลายเปิด
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมเข้าใจวัตถุประสงค์ของคำถาม และสามารถเลือกใช้
รูปแบบคำถามได้อย่างเหมาะสม
2. ฝึกตั้งคำถามในกลุ่มใหญ่
อภิปรายทักษะที่ 2 : การสะท้อนความรู้สึก (Reflective Feeling)
1. ความหมายของ Reflective Feeling การสะท้อนความรูส้ ึกคืออะไร สังเกต
จากอะไรได้บ้าง (เนื้อหา น้ำเสียง)
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมเข้าใจว่าการสะท้อนความรูส้ ึกคืออะไร และเรา
สามารถสังเกตความรูส้ ึกของผู้พูดได้จากอะไรบ้าง
อภิปรายทักษะที่ 3 : การทวนคำ ทวนความ (Paraphrasing/Rephrasing)
1. ความหมายของ Paraphrasing การทวนความคืออะไร มีจดุ ประสงค์อะไร
และทำอย่างไร
2. ฝึกทวนความจากสถานการณ์จำลอง
กิจกรรม Right reflect!!
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมเข้าใจว่าการทวนความคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมเห็นความแตกต่างระหว่างการสะท้อนความรู้สึก
(เน้นที่อารมณ์) และการทวนความ (เน้นที่เรื่องราว)
อภิปรายทักษะที่ 4 : การสรุปความ (Summarize)
19

ขั้นตอนกิจกรรม ระยะเวลา สือ่ /อุปกรณ์


1. บรรยาย Summarize การสรุปความคืออะไร มีจุดประสงค์อะไร และทำ
อย่างไร
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ฝึกทักษะการทวนความ การฟังอย่างตั้งใจ และ
การจับประเด็นทีส่ ำคัญของเนื้อหา
อภิปรายทักษะที่ 5 : การชื่นชม ยืนยัน รับรอง (Affirmation)
1. บรรยาย Affirmation คืออะไร มีจุดประสงค์อะไร และทำอย่างไร
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ฝึกทักษะการชื่นชมโดยการมองหาจุดแข็งของผู้อื่น
และพูดชมออกมาเป็นประโยคทีไ่ ด้ใจความ

ฝึกทักษะทั้ง 5 ทักษะ
กิจกรรม “ปลดล็อคสกิลหูทองคำ” 1. ลูกบอลตาม
จำนวนกลุ่ม
1. แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมเป็นกลุม่ กลุ่มละ 8 – 10 คน
2. การ์ดบัตรคำ
2. ให้แต่ละกลุม่ นั่งเป็นวงกลม แต่ละกลุม่ จะได้รับบอล 1 ลูก และฟังเสียง
สัญญาณจากกระบวนกรหลักก่อนเริ่มกิจกรรม
3. กระบวนกรหลักเปิดเพลง และให้ผู้เข้าร่วมอบรมส่งบอลต่อไปให้คนทาง
ขวามือ เมื่อเพลงหยุด กระบวนกรกลุ่มย่อยจะแจกการ์ดโจทย์ และให้ฝึกทักษะ
ตามคำสั่งในโจทย์
4. ใช้เวลาทำกิจกรรมประมาณ 20 – 30 นาที

ขั้นสรุป 15 นาที
1. สรุปบทเรียนและเชื่อมโยงการเรียนรู้ Active Listening / Deep Listening
2. สอบถามข้อสงสัย Q&A (5 นาที)
3. วัดความรู้หลังฝึกกิจกรรม
4. สำรวจความพึงพอใจ QR Code (10 นาที)
กล่าวปิดและจบกิจกรรม
20

การวัดและประเมินผล
1. ประเมินระหว่างการอบรมและฝึกปฏิบัติ โดยการสังเกต การซักถาม และการมีส่วนร่วมของ
ผู้เข้าร่วมอบรม
2. การทบทวนหลังปฎิบัติงาน (After Action Review : AAR) โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมสแกน QR
Code

ข้อมูลประกอบแผนการสอน
21

แผนการสอนที่ 3
เรื่อง การปฐมพยาบาลทางใจ
(Psychological First Aid : PFA)
และแผนเผชิญเหตุ
22

แผนการสอนที่ 3 เรื่อง การปฐมพยาบาลทางใจ (Psychological First Aid : PFA)


และแผนเผชิญเหตุ

ระยะเวลา 3 ชั่วโมง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจการปฐมพยาบาลทางใจในเด็กและวัยรุ่น
2. เพื่อให้เข้าใจและสามารถนำความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลทางใจไปใช้ในการดูแลสุขภาพจิต
นักเรียนที่ประสบเหตุวิกฤตในชีวิตได้

สาระสำคัญ
ภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์รุนแรงต่างๆที่ เกิดขึ้นในโลก เช่น สงคราม ภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ อัคคีภัย
รวมถึงตัวอย่างเหตุการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม อุบัติเหตุ ไฟไหม้ ดิน
ถล่ม โป๊ะล่ม การระบาดของโรค COVID-19 และความรุนแรงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ล้วนส่งผล
กระทบต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม
แม้ว่าทุกคนจะได้รับผลกระทบในทางใดทางหนึ่งจากเหตุการณ์เหล่านี้ แต่ปฏิกิริยาตอบสนองและ
ความรู้สึกอาจแตกต่างกัน บางคนอาจรู้สึกมืดมน สับสน ไม่แน่ใจในสิ่งที่เกิดขึ้น รู้สึกหวาดกลัว หวั่นวิตก มึนชา
นิ่งเฉย บางคนอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางคนอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างรุนแรง
ซึ่งการตอบสนองของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ความแข็งแกร่งและศักยภาพในการรับมือกับเหตุการณ์
ท้าทายในชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามบางคนอาจอ่อนแอมากกว่าบุคคลอื่นในภาวะวิกฤตหรือ
เหตุการณ์รุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงตามช่วงวัย เช่น เด็ก หรือผู้สูงอายุ เพราะพวกเขามีแนวโน้มที่จะได้รับ
ความรุนแรง และผลกระทบทางจิตใจ หรือทางร่างกายมากกว่ากลุ่มอื่น จึงอาจต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม
มากกว่ากลุ่มอื่นด้วย
การให้ความช่วยเหลือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจจากภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์รุนแรงใน
ระยะแรก เป็ น การประเมิ น สภาพปั ญ หาสุ ข ภาพจิ ต ที ่ อ าจเกิ ด ขึ ้ น และการให้ ก ารปฐมพยาบาลทางใจ
(Psychological First Aid : PFA) ด้วยหลักการ สอดส่องมองหา (Look) ใส่ใจรับฟัง (Listen) และส่งต่อเชื่อม
โยง (Link) เพื่อลดความเครียดและช่วยประเมินความต้องการเร่งด่วน ซึ่งความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลทาง
ใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยเสริมความมั่นใจสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
23

สื่อ อุปกรณ์การสอน
1. คลิปวีดีโอ
2. สไลด์
3. แบบประเมิน Symptom check list

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นตอน/กระบวนการ
กิจกรรม ระยะเวลา เนื้อหา/สื่อ
ขั้นนำ
วิทยากรกล่าวทักทายผู้เข้าอบรม เพื่อเตรียมความพร้อม - 5 นาที
ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้
ขั้นดำเนินการ
วิทยากรบรรยายเรื่อง “การปฐมพยาบาลทางใจ” - บรรยาย - สไลด์การปฐม
- ความหมายของการปฐมพยาบาลทางใจ - กลุ่มใหญ่ พยาบาลทางใจ
- ความเข้าใจเรื่องการปฐมพยาบาลทางใจ - 10 นาที
- ตัวอย่างการปฐมพยาบาลทางใจในโรงเรียน
- จุดประสงค์ของการปฐมพยาบาลทางใจ
- คุณสมบัติผู้ที่ให้การปฐมพยาบาลทางใจ
- ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการปฐมพยาบาลทางใจ
วิทยากรบรรยายเรื่อง “ปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียด - บรรยาย - สไลด์การปฐม
หลังเผชิญเหตุ” - กลุ่มใหญ่ พยาบาลทางใจ
- ปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียด - 15 นาที
- ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญข่าวร้ายและการช่วยเหลือ
วิทยากรบรรยายเรื่อง “ทักษะการปฐมพยาบาลทางใจ - ดูคลิปเหตุการณ์ - คลิปผู้ประสบ
การสอดส่องมองหา (Look)” - บรรยาย เหตุการณ์ภัยพิบัติ
- กระบวนการค้นหาเด็กและวัยรุ่นผู้ประสบภาวะวิกฤต/ - กลุ่มใหญ่ - สไลด์การปฐม
เหตุการณ์รุนแรง ที่ต้องการความช่วยเหลือ จัดลำดับ - 15 นาที พยาบาลทางใจ
ความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือและขั้นตอนการ
ให้ความช่วยเหลือ
วิทยากรบรรยายเรื่อง “ทักษะการปฐมพยาบาลทางใจ - ดูคลิปเหตุการณ์ - คลิปสถานการณ์
การใส่ใจรับฟัง (Listen)” - บรรยาย ภัยพิบัติ
- กลุ่มใหญ่ - สไลด์การปฐม
- 15 นาที พยาบาลทางใจ
24

กิจกรรม ระยะเวลา เนื้อหา/สื่อ


- การเข้าหาเด็กและวัยรุ่นผู้ประสบภาวะวิกฤต/เหตุการณ์
รุนแรงอย่างให้เกียรติ สร้างความรู้สึกปลอดภัย สงบ ลด
ความตึงเครียด ให้การช่วยเหลืออย่างเข้าใจ ใส่ใจ
และรับฟัง
วิทยากรบรรยายเรื่อง “ทักษะการปฐมพยาบาลทางใจ ส่ง - ดูคลิปเหตุการณ์ - คลิปผู้ประสบภัย
ต่อ เชื่อมโยง (Link)” - บรรยาย พิบัติ
- กระบวนการและวิธีการส่งต่อเด็กและวัยรุ่นผู้ประสบภาวะ - กลุ่มใหญ่ - สไลด์การปฐม
วิกฤต/เหตุการณ์รุนแรงที่เหมาะสมกับความต้องการ - 15 นาที พยาบาลทางใจ
รวมถึงให้ข้อมูลการช่วยเหลือที่ถูกต้องและเข้าถึงได้ทันที
ขั้นสรุป
วิทยากรเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมซักถาม/เสนอแนะเพื่อ - ซักถาม/
ความเข้าใจ เสนอแนะ
- กลุ่มใหญ่
- 5 นาที

แผนเผชิญเหตุ
กิจกรรม ระยะเวลา เนื้อหา/สื่อ
ขั้นนำ
วิทยากรกล่าวทักทายผู้เข้าอบรม เพื่อเตรียมความพร้อม - 5 นาที
ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้
ขั้นดำเนินการ
วิทยากรบรรยายเรื่อง “การจัดการภาวะฉุกเฉินทาง - บรรยาย - สไลด์แผนเผชิญ
สาธารณสุข” - กลุ่มใหญ่ เหตุ
- 2P2R - 20 นาที
- การแบ่งกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์
วิทยากรบรรยายเรื่อง “แผนผังแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน - บรรยาย - ภาพแผนผัง
ช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย” - กลุ่มใหญ่ ขั้นตอนการ
- 10 นาที ปฏิบัติงาน
ช่วยเหลือเยียวยา
จิตใจผู้ประสบภัย
วิทยากรบรรยายเรื่อง “แบบประเมินต่างๆ” - บรรยาย - แบบประเมิน
- แบบประเมิน PHQ-A - กลุ่มใหญ่ PHQ-A
25

กิจกรรม ระยะเวลา เนื้อหา/สื่อ


- แบบประเมิน CRIES-8 - 45 นาที - แบบประเมิน
- แบบประเมิน Symptoms check list CRIES-8
- แบบประเมิน
Symptoms check
list
ขั้นสรุป
วิทยากรเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมซักถาม/เสนอแนะเพื่อ - ซักถาม/
ความเข้าใจ เสนอแนะ
- กลุ่มใหญ่
- 10 นาที

การวัดและประเมินผล
1. ประเมินผลก่อนและหลังการอบรม
2. ประเมินระหว่างการอบรมและฝึกปฏิบัติ โดยการสังเกต การซักถาม และการมีส่วนร่วมของ
ผู้เข้าร่วมอบรม
3. การทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR)

ข้อมูลประกอบแผนการสอน
26

แผนการสอนที่ 4
เรื่อง ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่
(School Health HERO)
27

แผนการสอนที่ 4 เรื่อง ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ (School Health HERO)

ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจและสามารถนำระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ (School Health HERO) หรือ
โปรแกรม HERO ไปใช้ในการดูแลสุขภาพจิตนักเรียนกลุ่มเสี่ยงปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ สังคมได้
2. เพื่อให้สามารถสมัครเข้าใช้งานโปรแกรม HERO ด้วยตนเองได้
3. เพื่อให้สามารถเข้าใช้งานโปรแกรม HERO ด้วยตนเองได้

สาระสำคัญ
ระบบสุ ข ภาพจิ ต โรงเรี ย นวิ ถ ี ใ หม่ (School Health HERO: Health and Educational
Reintegrating Operation) คือ ระบบที่ออกแบบให้เป็นแอปพลิเคชันบนเว็บไซด์ เพื่อให้ครูใช้เฝ้าระวัง เรียนรู้
และรับคำปรึกษาเพื่อดูแล นักเรียนที่เสี่ยงต่อปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และทักษะสังคม ระบบนี้พัฒนาขึ้นเพื่อ
แก้ปัญหาการประเมินนักเรียนแบบเก่า ที่ครูต้องประเมินนักเรียนทุกคนดัวยแบบประเมิน SDQ จำนวน 25 ข้อ
ด้วยกระดาษ มีความยุ่งยากและใช้ระยะเวลานาน เป็นภาระงานของครูที่ส่งผลให้ครูไม่อยากประเมินนักเรียน
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้พัฒนาระบบจึงได้ร่วมกัน
พัฒนาระบบ School Health HERO: HERO โดยเชื่อมต่อกับ HERO Dashboard ที่เป็นระบบฐานข้อมูล
กลางสำหรับจัดเก็บ ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับ การประเมินนักเรียนประจำโรงเรียนโดยครู โดยเริ่มพัฒนาช่ว ง
ปีงบประมาณ 2563 และดำเนินงานมาตั้งแต่ช่วงปีงบประมาณ 2564 จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่เริ่มเปิดใช้มา
โปรแกรม HERO ได้ช่วยให้ครูผู้ใช้งานสามารถเฝ้าระวังและช่วยเหลือนักเรียนที่มีความเสี่ยงได้อย่างมาก

สื่อ อุปกรณ์การสอน
1. คลิปวีดีโอ
2. สไลด์
3. แบบสังเกตอาการ 9S Plus
4. โปรแกรม HERO Demo เพื่อใช้ในการสอน
28

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นตอน/กระบวนการ
กิจกรรม ระยะเวลา เนื้อหา/สื่อ
ขั้นนำ
วิทยากรกล่าวทักทายผู้เข้าอบรม และเปิดคลิปวีดีโอ - 10 นาที คลิปวีดีโอ “ประสบการณ์
เมื่อคลิปวีดีโอจบ สุ่มถามผู้อบรม ดังนี้ (คลิป 3 นาที ครูที่ได้ใช้โปรแกรม
- หลังจากดูคลิปวีดีโอจบท่านรู้สึกอย่างไร ซักถาม/พูดคุย 7 HERO”
- ท่านคิดว่าสนใจนำโปรแกรมHEROไปใช้หรือไม่ นาที)
- และเพราะอะไร
ขั้นดำเนินการ
วิทยากรบรรยายเรื่อง “ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถี - บรรยาย - สไลด์ ระบบสุขภาพจิต
ใหม่: School Health HERO” - กลุ่มใหญ่ โรงเรียนวิถีใหม่:
- สถิติการใช้งานโปรแกรม HERO - 30 นาที School Health HERO
- MOU ความร่วมมือในการพัฒนา ระบบสุขภาพจิต - แบบสังเกตอาการ 9S
โรงเรียนวิถีใหม่: School Health HERO Plus
- ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่: School Health
HERO
- HERO Consultant
วิทยากรบรรยายเรื่อง “การใช้งานโปรแกรม HERO” - บรรยาย สไลด์ การใช้งานโปรแกรม
- การจัดการผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งาน - กลุ่มใหญ่ HERO
- ขอบเขตรับผิดชอบและการเข้าถึงข้อมูลของผู้ดูแล - 10 นาที
ระบบและผู้ใช้งาน
วิทยากรสาธิตวิธีการสมัครเข้าใช้งานโปรแกรม HERO - สาธิต/ทดลอง โปรแกรม HERO Demo
และให้ผู้อบรมปฏิบัติตามเพื่อสมัครเข้าใช้งานโปแกรม ปฏิบัติ เพื่อใช้ในการสอน
HERO - กลุ่มใหญ่
- 20 นาที

วิทยากรสาธิตการใช้งานโปรแกรม HERO และให้ผู้ - สาธิต/ทดลอง โปรแกรม HERO Demo


อบรมทดลองปฏิบัติตามเพื่อใช้งานโปรแกรม HERO ปฏิบัติ เพื่อใช้ในการสอน
- กลุ่มใหญ่
- 10 นาที
29

กิจกรรม ระยะเวลา เนื้อหา/สื่อ


ขั้นสรุป
วิทยากรเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมซักถาม/เสนอแนะเพื่อ - ซักถาม/
ความเข้าใจ เสนอแนะ
- กลุ่มใหญ่
- 10 นาที

การวัดและประเมินผล
1. ประเมินผลก่อนแหละหลังการอบรม
2. ประเมินระหว่างการอบรมและฝึกปฏิบัติ โดยการสังเกต การซักถาม และการมีส่วนร่วมของ
ผู้เข้าร่วมอบรม
3. การทบทวนหลังปฎิบัติงาน (After Action Review : AAR)

ข้อมูลประกอบแผนการสอน
30

ตัวอย่างแบบประเมินทีใ่ ช้ในการอบรม
1. แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (Thai version of The Patient Health Questionnaire
for Adolescents: PHQ-A)
2. เครื่องมือเฝ้าระวังอาการที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นไทย (9S)
31

แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น
(Thai version of The Patient Health Questionnaire for Adolescents: PHQ-A)

อายุ _______ปี เพศ:  ชาย  หญิง วันที่_____________________


คำชี้แจง: ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณมีอาการต่อไปนี้บ่อยแค่ไหน? โปรดกาเครื่องหมาย “/” ลงใน ช่องว่าง
ที่ตรงกับความรู้สึกของคุณมากที่สุด
(0) (1) (2) (3)
ไม่มี มีบาง มี มีแทบ
เลย วัน มากกว่า ทุกวัน
7 วัน
1. รู้สึกซึม เศร้า หงุดหงิด หรือสิ้นหวัง
2. เบื่อ ไม่ค่อยสนใจหรือไม่เพลิดเพลิน เวลาทำสิ่งต่างๆ
3. นอนหลับยาก รู้สึกง่วงทั้งวัน หรือนอนมากเกินไป
4. ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด หรือกินมากกว่าปกติ
5. รู้สึกเหนื่อยล้า หรือไม่ค่อยมีพลัง
6. รู้สึกแย่กับตัวเอง หรือรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว หรือทำให้
ตัวเองหรือครอบครัวผิดหวัง
7. จดจ่อกับสิ่งต่างๆ ได้ยาก เช่น ทำการบ้าน อ่านหนังสือ หรือดู
โทรทัศน์
8. พูดหรือทำอะไรช้าลงมากจนคนอื่นสังเกตเห็นได้ หรือในทาง
ตรงกันข้ามคือ กระสับกระส่ายหรือ กระวนกระวาย จนต้อง
เคลื่อนไหวไปมามากกว่าปกติ
9. คิดว่าถ้าตายไปเสียจะดีกว่า หรือคิดจะทำร้ายตัวเอง ด้วยวิธี
ใดวิธีหนึ่ง

รวมคะแนน

ใน 1 เดือนที่ผ่านมา มีช่วงไหนที่คุณมีความคิดอยากตาย หรือไม่อยากมีชีวิตอยู่อย่างจริงจังหรือไม่


 ใช่  ไม่ใช่
ตลอดชีวิตที่ผ่านมา คุณเคยพยายามที่จะทำให้ตัวเองตาย หรือลงมือฆ่าตัวตายหรือไม่
 ใช่  ไม่ใช่
32

เครื่องมือเฝ้าระวังอาการที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นไทย (9S)
ชื่อ-สกุล (ระบุนามเป็นหมายเลขแทนตัว)..................................................อายุ..................................
ระดับชั้น...................................................... เพศ ชาย หญิง
อาการ มี ไม่มี
1. ซนเกินไป
2. ใจลอย
3. รอคอยไม่ได้
4. เครียดหงุดหงิดง่าย
5. ท้อแท้เบื่อหน่าย
6. ไม่อยากไปโรงเรียน
7. แกล้งเพื่อน
8. ถูกเพื่อนแกล้ง
9. ไม่มีเพื่อนสนิท
นิยาม (อ้างอิงตามเกณฑ์วินิจฉัยโรค DSM-V)
ซนเกินไป หมายถึง ซน มากกว่า และ/หรือ บ่อยกว่าเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน
ใจลอย หมายถึง ใจลอยหรือไม่สามารถจดจ่อหรือไม่มีสมาธิ มากกว่า และ/หรือ บ่อยกว่าเด็กคน
อื่นในวัยเดียวกัน
รอยคอยไม่ได้ หมายถึง ไม่สามารถรอคอยได้ มีอาการมากกว่า และ/หรือ บ่อยกว่าเด็กคนอื่นในวัย
เดียวกัน
เครียดหงุดหงิดง่าย หมายถึง หงุดหงิดหรือกังวลใจ หรือไม่สบายใจ จนคนรอบข้างสังเกตได้ มีอาการ
ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์
ท้อแท้เบื่อหน่าย หมายถึง มีอารมณ์ซึมเศร้า ท้อแท้ ไม่อยากทําอะไร ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ จนคนรอบ
ข้างสังเกตได้ มีอาการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์
ไม่อยากไปโรงเรียน หมายถึง ไม่อยากไปโรงเรียน มีอาการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์
แกล้งเพื่อน หมายถึง เป็นผู้กระทําทางร่างกายหรือทางวาจา เช่น ตบตี ชกต่อย ขโมยของ เปิด
กระโปรง ตั้งฉายา เรียกชื่อบุพการี ล้อเลียนหยาบคาย จนอีกฝ่ายได้รับ
ผลกระทบหรืออับอาย
ถูกเพื่อนแกล้ง หมายถึง เป็นผู้ถูกกระทําทางร่างกายหรือทางวาจา เช่น ตบตี ชกต่อย ขโมยของ เปิด
กระโปรง ตั้งฉายา เรียกชื่อบุพการี ล้อเลียนหยาบคาย จนได้รับผลกระทบหรืออับอาย
ไม่มีเพื่อน หมายถึง ไม่มีเพื่อนสนิท
33

อ้างอิง

1. ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล ศศกร วิชัย วินัย นารีผล และจันทร์ชนก โยธินชัชวาล. หลักสูตรการให้การ


ปรึกษาวัยรุ่นสํา หรับบุคลากรสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุง) : คู่มือวิทยากร. สถาบันสุขภาพจิตเด็ก
และวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2558.
2. มาโนช หล่อตระกูล. (2022). โรคซึมเศร้าโดยละเอียด. จาก
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/ generalknowledge/general/09042014-
1017
3. ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). เข้าใจวัยรุ่นซึมเศร้า. จาก
https://www.happyhomeclinic.com/sp16-depression-teen.html
4. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (2565). อาการโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น. จาก
https://www.camri.go.th/th/knowledge/article/ar2/ar2-52
5. กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์. (2565). การป้องกันการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น. จาก Website:
https://new.camri.go.th/
6. องค์การอนามัยโลก (WHO) แปลภาษาไทย โดย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์.
(2563). ฉันมีหมาดำตัวหนึ่ง...มันชื่อว่าซึมเศร้า
https://www.youtube.com/watch?v=xCN6zS4TLDI
7. แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (Thai version of The Patient Health Questionnaire for
Adolescents: PHQ-A). จาก bit.ly/426OGFr
8. Gerald coey .Theory and practice of counseling and psychotherapy. America,2015
9. Nielsen Norman Group.The Spectrum of empathy.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564
https://tooledesign.com/empathy/
10. Maryville University.How to Be a Better Listener: Exploring 4 Types of Listening. สืบค้น
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 https://online.maryville.edu/blog/types-of-listening/
11. Anthony Spirito.Cognitive-behavioral therapy for adolescent depression and
suicidality.Child Adolesc Psychiatr Clin N Am. 2011 Apr; 20(2): 191–204.
12. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต. การปฐมพยาบาลทางใจสำหรับผู้
ประสบภาวะวิกฤตและสูญเสีย: คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม. กรุงเทพฯ, 2565.
13. สถาบั น สุ ข ภาพจิ ต เด็ ก และวั ย รุ ่ น ราชนคริ น ทร์ กรมสุ ข ภาพจิ ต . การปฐมพยาบาลทางใจ
(Psychological First Aid : PFA) ในเด็กและวัยรุ่น : คู่มือวิทยากร. กรุงเทพฯ, 2565.
14. สมาคมอี เ อ็ ม ดี อ าร์ ประเทศไทย. การปฐมพยาบาลทางใจ (Psychological First Aid).
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, 2565.
34

15. Save the Children. Psychological first aid training manual for child practitioners.
Copenhagen, Denmark : Save the Children. 2013.
16. World Health Organization. Psychological first aid: facilitator’ s manual for field
workers. WHO, 2013.
17. ผศ.ดร.อิสระ อนันตวราศิลป์ . SCHOOL HEALTH HERO ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ : คู่มือ
การใช้งานสำหรับครู. 2565

You might also like