You are on page 1of 10

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ(Proceedings)

การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์และระดับความเครียดของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง
Correlation between Emotional Quotient Level and Stress Level
in Students of Lampang Rajabhat University
ชิสาพัชร์ ชูทอง
Chisapath Choothong
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง
*
Corresponding author. E-mail: cc_chisapath@hotmail.com

บทคัดย่อ
การวิจั ยครั้งนี้มีวัต ถุประสงค์เ พื่อศึก ษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ในแต่ละด้ านและระดั บความเครี ยดของ
นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์กับระดับความเครียดและ
ปัจจัยทั่วไปของนักศึกษา ได้ทาการวิจัยสารวจในนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จานวน 82 คน ที่ศึกษา
ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจาวัน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์และแบบ
ประเมินความเครียดด้วยตนเอง สร้างโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติหาระดั บ
ความฉลาดทางอารมณ์ ระดับความเครียดโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Division) และหาความสัมพันธ์โดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบลาดับที่
ของสเปยรแมน (Spearman Rank Correlation Coefficient)
ผลการศึกษาพบว่าระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาอยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ ( ̅ = 158.28) และมีระดับ
ความเครียดอยู่ระดับเกณฑ์ปกติ ( ̅ = 17.16) จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์พบว่า ระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมมี
ความสัมพันธ์ทางลบ (r = - 0.287) กับระดับความเครียดอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ
ความฉลาดทางอารมณ์รายด้านทุกด้าน (ด้านดี r = 0.557, ด้านเก่ง r = 0.636, ด้านสุข r = 0.613) ระดับความเครียดมี
ความสัมพันธ์ทางลบ (r = - 0.265) กับระดับความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีและมีความสัมพันธ์ด้านบวกกับปัจจัยสาขาวิชา (r =
0.262) รูปแบบการเลี้ยงดู (r = 0.234) และรายรับต่อเดือนของครอบครัว (r = 0.218) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05
ระดับความฉลาดทางอารมณ์รายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกันทุกด้านอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 และเมือ
พิจารณาระดับความฉลาดทางอารมณ์และปัจจัยทั่วไป พบว่าระดับความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีมีความสัมพันธ์ทางลบกับ
ปัจจัยรูปแบบการเลี้ยงดู (r = - 0.228) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 และระดับความฉลาดทางอารมณ์ด้านสุขมี
ความสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยด้านเพศ (r= 0.605) อย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ 0.01
คาสาคัญ: ความสัมพันธ์ ความฉลาดทางอารมณ์ ความเครียด นักศึกษาระดับปริญญาตรี

Abstract
This research aimed to study the level of emotional quotient in different dimensions and stress
levels of university student of Lampang Rajabhat University who studied in science in daily life class, and
to determine the correlation between the level of university students’ emotional quotient, their stress
levels, and general factors. This research samples were university student who attended class of science
in daily life, semester 2 in the academic year 2016 by purposive sampling. The instruments were self-
1573
รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ(Proceedings)
การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

assessment emotional quotient and self-stress evaluation for Thai civilian aged 18-25 years from the
Division of Mental Health, Ministry of Public Health. Descriptive analysis was used to gathering the general
information (Frequency, Percentage, Mean, and Standard deviation). Pearson product moment correlation
coefficient was used to analyze the association of independent and dependent variables.
The result staged that emotional quotient was in normal standard level ( ̅ = 158.28) and
the stress level also was in normal standard level ( ̅ = 17.16). After tested the correlation found that the
level of total emotional quotient and stress level were negatively correlated at p-level 0.01
(r = - 0.287) and level of total emotional quotient were positively correlated with all dimension of
emotional quotient (good dimension r = 0.557, smart dimension r = 0.636, and happy dimension r =
0.613) at p-level 0.05. Stress level showed negatively correlated with emotional quotient in good
dimension (r = - 0.265) and showed positively correlated with major, parenting styles, and monthly family
income (r = 0.262, 0.234 and 0.218, respectively) at p-level 0.05. The correlations between each
dimension of emotional quotient were positively correlated with all dimensions at p-level 0.01. And good
dimension was negatively correlated with parenting style factors (r = - 0.228) at p-level 0.05 and happy
dimension was positively correlated with sex factor (r= 0.605) at p-level 0.01.
Keywords: Correlation, Emotional Quotient, Stress Level, University Student

บทนา
การเรีย นในระดับอุดมศึ กษา นิ สิตนักศึก ษาจาเป็นต้องทุ่มเทกาลังกายกาลังใจเป็นอย่ างมาก เพื่อที่จ ะประสบ
ความสาเร็จในการเรียน (Study Success) เมื่อนักศึกษาจะต้องสาเร็จการศึกษา แล้วออกไปประกอบอาชีพตามสาขาวิชาของ
ตนจนประสบความสาเร็จในอาชีพ (Career Success) และต้องแสวงหาแนวทางต่างๆ เพื่อจะประสบความสาเร็จในชีวิต
(Life Success) ซึ่งการได้มาซึ่งความสาเร็จแรกในชีวิตนั้น แน่นอนไม่ใช่เรื่องง่ายสาหรับทุกคน (วิไลรัตน์ แสงศรี และธวัชชัย
พึ่งธรรม, 2556) นิสิตนักศึกษาต้องเผชิญในสภาวการณ์ที่มีความผันผวนทางสังคมในปัจจุบันทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และ
สิ่งแวดล้อม นิสิตนักศึกษาที่มีความสามารถปรับตัวก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่ก็มีกลุ่มนิสิตนักศึกษาบางคนที่ไม่
สามารถปรับตัวได้ ก็ย่อมเกิดความเครียด ท้อแท้ หรือสิ้นหวัง นักวิชาการทางการศึกษาและนักจิตวิทยาต่างให้ความเห็น
ตรงกันว่าความรู้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทาให้บุคคลประสบความสาเร็จในชีวิตได้ ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆ คือ ด้าน
การปรับตัว ด้านการรู้จักสังคม ด้านการมองโลกในแง่ดี และด้านการแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกว่า ความ
ฉลาดทางอารมณ์ หรือ Emotional Intelligence หรือ Emotional Quotient (สุธีร์ อินต๊ะประเสริฐ และคณะ, 2554) การ
ประสบความสาเร็จในชีวิต มีส่วนจากเชาว์ปัญญาเพียงร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นผลมาจากความฉลาดทางอารมณ์ (Gibbs,
1995) โกลแมนสนับสนุนแนวคิดของกิ๊บส์ที่ว่า ความฉลาดทางอารมณ์ไม่เพียงแต่เป็นตัวขับเคลื่อ นความสาเร็จในชีวิตเท่านั้น
แต่ เ ป็ น สิ่ งที่ ทุ ก คนควรมี แ ละควรพั ฒ นาให้ ดี ขึ้ น อี ก ทั้ งโกลแมนได้ ใ ห้ ค วามหมายของความฉลาดทางอารมณ์ ไ ว้ ว่ า เป็ น
ความสามารถที่รู้เท่าทันตัวเองและผู้อื่น สามารถจัดการอารมณ์ของตนเองที่สัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ รอบตัวได้ และยังสามารถสร้าง
แรงจูงใจให้กับตนเองได้ในสภาวการณ์ที่กดดันหรือต้องเผชิญกับปัญหา ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ 1.การตระหนักรู้
ด้วยตนเอง 2. การควบคุมตนเอง 3. การจูงใจตนเอง 4. การเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และ 5. ทักษะทางสังคม (Goleman, 1995)
ความฉลาดทางอารมณ์ช่วยให้บุคคลรับรู้ และแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัยและ สังคมนาไปสู่การเป็นคนดีมีคุณค่า
และมีความสุข บุคคลผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์และพัฒนา ความฉลาดทางอารมณ์ที่ดีย่อมทาให้บุคคลนั้นๆ สามารถจัดการ
กับความเครียดได้ และสุขภาพจิตดี ไม่ว่าจะเผชิญกับเหตุการณ์ที่กดดัน หรือยากลาบากเพียงใด (พรพรรณ ภูสาหัส และสมสุข
ภานุรัตน์, 2559) สาหรับการมีสุขภาพจิตที่ดี กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความหมายไว้ว่า สุขภาพจิตที่ดี
1574
รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ(Proceedings)
การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

หมายถึง สภาพจิตที่เป็นสุข เป็นพลังที่จะส่งเสริมให้บุคคลสามารถเผชิญปัญหาและหาทางแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม


สภาวะทางจิตใจ และความฉลาดทางอารมณ์เป็นองค์ประกอบของการพัฒนาและสร้างความมั่นคงในจิตใจ เป็นสิ่งที่ทุกคนพึง
มี ตระหนักถึงความสาคัญ และน าไปเป็ นแนวปฏิบัติใ นการดาเนิน ชีวิตได้อย่างมีความสุข (กรมสุ ขภาพจิต กระทรวง
สาธารณสุข, 2550)
สาหรับความเครียดนั้น เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ กับบุคคล ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ เมื่อบุคคลเกิดความเครียด
ย่อมส่งผลกระทบอย่างมากทั้งทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ผลกระทบทางจิตใจและอารมณ์ เช่น กลุ้มใจ ท้อแท้
รับประทานอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ มีอารมณ์ฉุนเฉียว วู่วาม ก้าวร้าว ต่อต้าน ซึ่งต่างส่งผลกระทบทางสังคมด้วย (ปวิดา
โพธิ์ทอง และคณะ, 2554) แต่ความเครียดไม่ได้มีเพียงแต่ด้านลบเท่านั้น หากมีความเครียดในระดับที่เหมาะสมจะทาให้
ร่างกายของมนุษย์รู้สึกตื่นตัว สนใจในกิจวัตรประจาวันของตนเอง หากมีความเครียดอยู่ในระดับต่า จะส่งผลทาให้ร่างกายของ
มนุษย์เฉื่อยชา เกียจคร้าน ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบกาย (สุภาพ หวังข้อกลาง, 2554) โดยเฉพาะความเครียดจาก
การเรียนเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญ เนื่องจากมีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 กาหนดให้ทุกคนต้องได้รับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (พรพรรณ ภูสาหัส และสมสุข ภานุรัตน์, 2559) แต่มาตรา 6 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 ได้กาหนดให้จัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่ง
หากต้องการพัฒนานิสิต นักศึกษาให้มีคุณสมบัติดังกล่าว จะต้องอาศัยการพัฒนาด้านจิตใจ ความฉลาดทางอารมณ์ และการ
จั ด การความเครี ย ดควบคู่ ไ ปกั บ ความสามารถทางวิ ช าการ เพื่ อ ให้ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาเติ บ โตไปเป็ น บุ ค ลากรที่ มี คุ ณ ภาพ
มีความสามารถ ทาประโยชน์ให้กับประเทศได้อย่างดีต่อไป (อมรรัตน์ ลือนาม และประภาศรี คุปต์กานต์, 2558)
นักวิจัยหลากหลายท่านต่างให้ความสาคัญกับการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์และความเครียดใน
นักศึกษา โดยผลการวิจัยมีความแตกต่างกัน อาจจะเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละสถานศึกษา ด้วย
เหตุนี้ทางผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์และระดับความเครียดของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความฉลาดทางอารมณ์ ระดับความเครียดของนักศึกษา
เพื่อนามาปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการจัดรูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษา
ได้อย่างเหมาะสมในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ในแต่ละด้านและระดับความเครียดของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์กับระดับความเครียดและปัจจัย
ทั่ ว ไปของนั ก ศึ ก ษา ในรายวิ ชาวิ ท ยาศาสตร์ ใ นชี วิ ต ประจ าวั น (4000112) ภาคเรี ย นที่ 2 ประจ าปี ก ารศึ ก ษา 2559
มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง

วิธีดาเนินการวิจัย
ประชากรในการวิจัยนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ที่ศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจาวัน
(4000112) ภาคเรียนที่ 2 ประจาปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง จานวน 420 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้
ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จานวน 82 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดปลายปิดแบบมีโครงสร้าง ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม จานวน 12 ข้อ 2) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สร้างโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวง
สาธารณสุข จานวน 52 ข้อ สาหรับคนไทยอายุ 12 – 60 ปี ผ่านการตรวจมาตรฐานความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นในระดับ

1575
รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ(Proceedings)
การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

มาตรฐาน มีค่าดัชนีอานาจจาแนกเท่ากับ (r) = 0.36 - 0.69 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.7819 ประกอบด้วย 3 ด้านใหญ่ๆ


ซึ่งประกอบด้วยด้านย่อยๆ ดังนี้
1. ด้านดี ประกอบด้วย ด้านควบคุมตนเอง ด้านเห็นใจผู้อื่น และด้านรับผิดชอบ
2. ด้านเก่ง ประกอบด้วย ด้านมีแรงจูงใจ ด้านตัดสินใจแก้ปัญหา และด้านสัมพันธภาพ
3. ด้านสุข ประกอบด้วย ด้านภูมิใจในตนเอง ด้านพอใจชีวิต และด้านสุขสงบทางใจ
การประเมินผลความฉลาดทางอารมณ์ ค่าคะแนนและการแบ่งช่วงคะแนนตามการจัดคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ในกลุ่ม
ตัวอย่างอายุ 18 – 25 ปีของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กาหนดให้ ช่วงคะแนน 0 – 137 มีความฉลาดทางอารมณ์
อยู่ในเกณฑ์ต่ากว่าปกติ ช่วงคะแนน 138 – 170 มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ ช่วงคะแนนมากกว่า 171 ขึ้นไปมี
ความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ (กรมสุขภาพจิต, 2543) และ 3) แบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง สร้างโดย
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จานวน 20 ข้อ ซึ่งบุษบา ใจดีเคยนาไปใช้ในการศึกษาความเครียดในพยาบาลวิชาชีพ
มีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 (พรพรรณ ภูสาหัส และสมสุข ภานุรัตน์, 2559)
การแปลความหมายของแบบประเมินความเครียดด้วยตนเองของกรมสุขภาพจิต ประกอบด้วยเกณฑ์การให้คะแนน
ดังต่อไปนี้ คือ ช่วงคะแนน 0 – 5 มีความเครียดในระดับต่ากว่าเกณฑ์อย่างมาก ช่วงคะแนน 6 – 17 มีความเครียดอยู่ในเกณฑ์
ปกติ ช่วงคะแนน 18 – 25 = ความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย ช่วงคะแนน 26 – 29 มี ความเครียดอยู่ใน
ระดับสูงกว่าปกติปานกลาง และช่วงคะแนน 30 – 60 มีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติมาก
ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย นามาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป
ในทางสถิติ ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ระดับความฉลาดทางอารมณ์ และระดับความเครียด แสดงข้อมูลในรูปแบบการแจกแจง
ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Division) การทดสอบ
สมมติฐานของงานวิจัยใช้การทดสอบค่าที (Independent t-test) การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบลาดับที่ของ
สเปยรแมน (Spearman Rank Correlation Coefficient) และการทดสอบการแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)

ผลการวิจัย
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจาวัน
มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง ภาคเรียนที่ 2 ประจาปีการศึกษา 2559 จานวน 82 คน

ตาราง 1 ข้อมูลทั่วไปและความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมของกลุ่มตัวอย่างแยกตามปัจจัยทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป จานวน ร้อยละ ความฉลาดทางอารมณ์โดยรวม
̅ ± (S.D.)
เพศ ชาย 19 23.20 151.89 (13.141)
หญิง 63 76.80 160.14 (13.713)
ชั้นปีการศึกษา ชั้นปีที่ 2 82 100.00 158.28 (13.858)
คณะ คณะวิทยาการจัดการ 24 29.30 157.67 (11.890)
คณะครุศาสตร์ 58 70.70 158.53 (14.684)
สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 24 29.20 157.67 (11.890)
ภาษาอังกฤษ 29 35.40 163.21 (13.988)
การศึกษาปฐมวัย 29 35.40 153.86 (14.073)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน < 2.00 2 2.40 159.00 (8.485)
2.00 – 2.99 53 64.60 155.81 (14.201)

1576
รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ(Proceedings)
การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

ข้อมูลทั่วไป จานวน ร้อยละ ความฉลาดทางอารมณ์โดยรวม


̅ ± (S.D.)
3.00 – 4.00 27 33.00 163.07 (12.484)
ผลการเรียนที่คาดหวัง A 34 41.50 158.74 (15.727)
B+ 27 32.90 158.48 (12.065)
B 13 15.90 156.69 (14.851)
C+ 6 7.30 158.83 (12.384)
C 2 2.40 156.50 (12.021)
อาชีพของผู้ปกครอง ธุรกิจส่วนตัว 6 7.30 164.33 (9.791)
ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 5 6.10 158.20 (8.843)
ลูกจ้าง/พนักงานบริษัท 31 37.80 158.48 (13.613)
เกษตรกร 40 48.80 157.23 (15.138)
รายรับของครอบครัว <15,000 46 56.10 158.87 (13.368)
ต่อเดือน 15,000 – 30,000 29 35.40 156.90 (15.687)
> 30,000 7 8.50 160.14 (9.371)
รูปแบบการเลี้ยงดู แบบประชาธิปไตย 78 95.10 158.78 (13.690)
แบบเข้มงวด 3 3.70 150.67 (18.230)
แบบปล่อยปละละเลย 1 1.20 142.00
ที่พักอาศัยขณะศึกษา บ้านพ่อแม่ 15 18.30 161.80 (15.726)
บ้านญาติ 3 3.70 147.00 (19.157)
หอพัก/อพาร์ทเม้นต์/บ้านเช่า 64 78.00 157.98 (13.084)
ลักษณะการเรียน เรียนอย่างเดียว 65 79.30 158.29 (13.044)
เรียนพร้อมทางานไปด้วย 17 20.70 158.24 (17.075)
รายรับของนักศึกษา < 5,000 35 42.70 159.80 (11.295)
ต่อเดือน 5,000 – 7,500 40 48.40 157.55 (16.145)
> 7,500 7 8.50 154.86 (12.020)

ตารางที่ 1 พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.80 ซึ่งเพศหญิงมีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมสูงกว่า


เพศชาย เท่ากับ 160.14 (13.713) ซึ่งนักศึกษาทั้งหมดเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ทั้งหมด นักศึกษามาจาก 2 คณะ ได้แก่ คณะ
วิทยาการจั ดการ ร้อยละ 29.30 และคณะครุศาสตร์ ร้อยละ 70.70 เมื่อจ าแนกตามสาขาวิชาประกอบด้วย สาขาวิชา
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ร้อยละ 29.20, 35.40, และ 35.40 ตามลาดับ
ซึ่งสาขาวิชาภาษาอังกฤษมีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมสูงที่สุดเท่ากับ 163.21 (13.988) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 2.00-2.99 ร้อยละ 64.60 นักศึกษาส่วนใหญ่คาดหวังเกรด A ร้อยละ 41.50 เมื่อพิจารณา
ปัจจัยทั่วไปเกี่ยวกับครอบครัว พบว่าอาชีพของผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 48.80 รายรับต่อเดือน
ส่วนใหญ่น้อยกว่า 15,000 บาท ร้อยละ 56.10 และผู้ปกครองมีรูปแบบการเลี้ยงดูบุตรแบบประชาธิปไตย ร้อยละ 95.10 ที่
พักอาศัยของนักศึกษาส่วนใหญ่อาศัยอยู่หอพัก บ้านเช่า อพาร์ตเมนต์ ร้อยละ 78.00 นักศึกษาส่วนใหญ่ทางานอย่างเดียว
ร้อยละ 79.30 และมีรายรับต่อเดือนขณะศึกษาอยู่ระหว่าง 5000 – 7500 บาท ร้อยละ 48.40

1577
รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ(Proceedings)
การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

ตาราง 2 จานวนและร้อยละของระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและแยกรายด้าน
EQ ระดับ จานวน ร้อยละ คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ แปลผล
̅ ± (S.D.)
EQ โดยรวม เกณฑ์ต่ากว่าปกติ 6 7.30
เกณฑ์ปกติ 58 70.70 158.28 (13.858) ปกติ
เกณฑ์สูงกว่าปกติ 18 22.00
EQ ด้านดี เกณฑ์ต่ากว่าปกติ 2 2.40
เกณฑ์ปกติ 48 58.50 57.28 (4.728) ปกติ
เกณฑ์สูงกว่าปกติ 32 39.10
EQ ด้านเก่ง เกณฑ์ต่ากว่าปกติ 8 9.80
เกณฑ์ปกติ 66 80.40 51.22 (5.746) ปกติ
เกณฑ์สูงกว่าปกติ 8 9.80
EQ ด้านสุข เกณฑ์ต่ากว่าปกติ 6 740
เกณฑ์ปกติ 64 78.0 49.78 (5.975) ปกติ
เกณฑ์สูงกว่าปกติ 12 14.60

ตารางที่ 2 พบว่านักศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในเกณฑ์
ปกติ นักศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 158.28 (13.858) ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ความฉลาดทางอารมณ์ปกติ
(138 - 170) และเมื่อพิจารณาความฉลาดทางอารมณ์เป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีเฉลี่ยเท่ากับ
57.28 (4.728) ความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่งเฉลี่ยเท่ากับ 51.22 (5.746) และความฉลาดทางอารมณ์ด้านสุขเฉลี่ยเท่ากับ
49.78 (5.975)

ตาราง 3 จานวนและร้อยละของระดับความเครียดของนักศึกษา
ระดับความเครียด จานวน ร้อยละ ความฉลาดทางอารมณ์โดยรวม
̅ ± (S.D.)
ความเครียดในระดับต่ากว่าเกณฑ์อย่างมาก 1 1.20 170.00
ความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ 44 53.60 161.33 (13.332)
ความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย 30 36.60 154.30 (13.639)
ความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติปานกลาง 4 4.90 149.75 (13.793)
ความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติมาก 3 3.70 153.67 (14.640)
̅ = 17.16 S.D. = 6.25
ตารางที่ 3 พบว่านักศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ร้อยละ 53.60) คะแนน
ความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 17.16 (6.25) รองลงมาคือ ระดับความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย ระดับความเครียดอยู่
ในระดับสูงกว่าปกติปานกลาง ระดับความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติมาก และระดับความเครียดอยู่ในระดับต่ากว่าเกณฑ์
อย่างมาก ตามสัดส่วนและร้อยละจากมากไปหาน้อย โดยมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมเท่ากับ 161.33
(13.332), 154.30 (13.639), 149.75 (13.793), 153.67 (14.640) และ 170.00 ตามลาดับ

1578
รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ(Proceedings)
การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

ตาราง 4 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง ระดับความฉลาดทางอารมณ์ ระดับความเครียดและปัจจัยทั่วไป


x y ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) Sig.
ระดับความเครียด EQ โดยรวม - 0.287** 0.009
EQ ด้านดี - 0.265* 0.016
สาขาวิชา 0.262* 0.017
รูปแบบการเลี้ยงดู 0.234* 0.035
รายรับของครอบครัวต่อเดือน 0.218* 0.49
EQ โดยรวม ระดับความเครียด - 0.287** 0.009
EQ ด้านดี 0.557** 0.000
EQ ด้านเก่ง 0.636** 0.000
EQ ด้านสุข 0.613** 0.000
EQ ด้านดี EQ โดยรวม 0.540** 0.000
EQ ด้านเก่ง 0.365** 0.001
EQ ด้านสุข 0.338** 0.005
ระดับความเครียด - 0.283* 0.010
รูปแบบการเลี้ยงดู - 0.228* 0.039
EQ ด้านเก่ง EQ โดยรวม 0.623** 0.000
EQ ด้านดี 0.365** 0.001
EQ ด้านสุข 0.477** 0.000
EQ ด้านสุข EQ โดยรวม 0.320** 0.003
EQ ด้านดี 0.338** 0.005
EQ ด้านเก่ง 0.477** 0.000
เพศ 0.605** 0.000
** Correlation is significant at the 0.01 level, * Correlation is significant at the 0.05 level: (2-tailed)

ตารางที่ 4 พบว่าระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี มีความสัมพันธ์ทางลบกับ


ระดับความเครียดอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ - 0.287 และ - 0.283 ตามลาดับ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์สูงจะมีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ต่ากว่าปกติหรืออยู่ใน
เกณฑ์ปกติ ส่วนนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ เกณฑ์ต่ากว่าปกติ จะมีระดับความเครียดอยู่ในระดับเกณฑ์สูงกว่าปกติ
นอกจากนี้ยังพบว่าระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความฉลาดทางอารมณ์รายด้านทุก
ด้านอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และระดับความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยสาขาวิชา รูปแบบการ
เลี้ยงดู และรายรับครอบครัวต่อเดือนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุปและอภิปรายผล
ผลการวิ จั ย พบว่ า ระดั บ ความฉลาดทางอารมณ์ ข องนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ที่ ศึ ก ษาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ใ น
ชีวิตประจาวัน (4000112) มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง ภาคเรียนที่ 2 ประจาปีการศึกษา 2559 พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มี
ระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านแต่ละด้านอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 70.70 คะแนนเฉลี่ยความฉลาด
ทางอารมณ์โดยรวมมีค่าเท่ากับ 158.28 (13.858) ตรงกับผลการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และ

1579
รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ(Proceedings)
การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

พฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล ที่ พบว่านักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 ของกนกพร หมู่พยัคฆ์ และคณะที่พบว่า


นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์อยู่ระดับปกติ (กนกพร หมู่พยัคฆ์ และคณะ, 2558) ทั้งนี้ผลการวิจัยยัง
ใกล้เคียงกับผลงานวิจัยเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัว
เฉียวเฉลิมพระเกียรติ ของ (อมรรัตน์ ลือนาม และประภาศรี คุปต์กานต์, 2558) ซึ่งนักศึกษามีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์
โดยรวมเท่ากับ 159.05 (16.32) ส่วนระดับความฉลาดทางอารมณ์ของงานวิจัยนี้สอดคล้องกับระดับความฉลาดทางอารมณ์ใน
นักศึกษาพยาบาลจากการวิจัยเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์และความพร้อมในการปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาลวิชาชีพของ
นักศึกษาพยาบาลที่มีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดับปกติ ร้อยละ 57.9 (ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์
แมนน์, 2553) และยังสอดคล้องกับการศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ในนักศึกษาพยาบาล เรื่อง ความเครียด การปรับตัว และ
ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ที่พบว่า นักศึกษาพยาบาล
ส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ (ปวิดา โพธิ์ทอง และคณะ, 2554)นอกจากผลการวิจัยนี้จะ
สอดคล้องกับผลการศึกษาในนักศึกษาพยาบาลแล้ว ผลการวิจัยยังสอดคล้องกับการศึกษาเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ใน
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอื่นๆ ในประเทศไทยอีกด้วย ได้แก่ การศึกษาการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี ที่นักศึกษามีภาพรวมระดับความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ (ร้อยละ 72.44) (คณิศร
ตรีผล, 2552) และสอดคล้องกับรายงานวิจัยความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมความเสี่ยงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราช
ภัฏนครราชสีมาที่มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ในทุกด้านอยู่ในระดับปกติ (สมบูรณ์ ตันยะ และคณะ, 2551) และ
สอดคล้องกับผลการศึก ษาที่พ บว่า ระดับความฉลาดทางอารมณ์ด้ านเก่งและด้า นสุข ของนักเรียนแพทย์ ทหารชั้น ปีที่ 5
วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้าอยู่ในระดับปกติ (อมรรัตน์ ลือนาม และประภาศรี คุปต์กานต์ , 2557) ซึ่งนักศึกษาที่มี
คะแนนความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและรายด้าน (ด้านดี ด้านเก่ง ด้านมีสุข) ที่สูงขึ้น จะยิ่งสามารถปรับตัวในการดาเนิน
ชีวิตประจาวันตามบทบาทหน้าที่ในการเป็นนิสิต นักศึกษาได้อย่างดี และจะช่วยให้มีความสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นอีกด้วย (กนก
พร หมู่พยัคฆ์ และคณะ, 2558)
นอกจากนี้ ผ ลการวิจั ย ที่ พบว่ า นัก ศึ ก ษานั ก ศึก ษาระดั บ ปริญ ญาตรี ที่ ศึ กษาวิ ชาวิ ท ยาศาสตร์ ใ นชีวิ ต ประจ าวั น
(4000112) มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง ภาคเรียนที่ 2 ประจาปีการศึกษา 2559 มีระดับความเครียดโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปกติ
จานวน 44 คน (ร้อยละ 53.60) รองลงมามีความเครียดอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติเ ล็กน้อย จานวน 30 คน (ร้อยละ 36.60)
ความเครียดอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติปานกลาง จานวน 4 คน (ร้อยละ 4.90) และความเครียดอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติมาก
จานวน 3 คน (ร้อยละ 3.70) และมีคะแนนความเครียดโดยรวมเฉลี่ย ( ̅ ) เท่ากับ 17.16 (6.25) ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัย
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิจิต ความเครียด และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลตารวจ ที่นักศึกษา
พยาบาลมีความเครียดอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 77.84 (พรพรรณ ภูสาหัส และสมสุข ภานุรัตน์ , 2559) และสอดคล้องกับ
การศึกษาของระวีรรรณ แสงฉายและคณะ มีสัดส่วนของนักศึกษาที่มีความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติที่ไม่แตกต่างกันมาก (ระ
วีวรรณ แสงฉาย, 2557) ยังสอดคล้องกับการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ความเครียด และภาวะ
ซึมเศร้าของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา ที่พบว่าระดับ
ความเครียดของนักศึกษาอยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 45.45) (เปรมฤดี ศรีวิชัย , 2555) และยังสอดคล้องกับการศึกษาเรื่อง
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์และระดับความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่แสดงผลการศึกษาว่า ระดับความเครียดของนักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติ ซึ่งจะเพิ่ม
แรงจูงใจ เพิ่มความกระตือรือร้นให้กับนักศึกษาในการศึกษาเล่าเรียนระดับอุดมศึกษา (สุธีร์ อินต๊ะประเสริฐ และคณะ, 2543)
รวมทั้งผลการวิจัยนี้ยังพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์และระดับความเครียดของนักศึกษา
ระดับปริญญาตรีที่ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจาวัน (4000112) มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง ภาคเรียนที่ 2 ประจาปี
การศึกษา 2559 พบว่าระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี มีความสัมพันธ์ทางลบกับระดับ

1580
รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ(Proceedings)
การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

ความเครียดอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ - 0.287 และ - 0.283 สอดคล้องกับ


การศึ กษาเรื่อง ความสัม พันธ์ร ะหว่ างระดับความฉลาดทางอารมณ์และระดั บความเครียดของนั กศึกษาแพทย์ชั้น ปีที่ 1
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลการศึกษาว่า ระดั บความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบกับระดับความฉลาดทาง
อารมณ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (สุธีร์ อินต๊ะประเสริฐ และคณะ, 2543) ยังสอดคล้องกับการศึกษาของปวิดา
เรื่อง ความเครียด การปรับตัว และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
สุพรรณบุรี ที่พบว่าความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบกับความฉลาดทางอารมณ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 (ค่า
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ – 0.365) (ปวิดา โพธิ์ทอง และคณะ, (2554) และสอดคล้องกับผลการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์
ระหว่างสมาธิจิต ความเครียด และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลตารวจ ที่พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์
โดยรวมและด้านดี มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
เท่ากับ – 0.385 และ – 0.266 ตามลาดับ (พรพรรณ ภูสาหัส และสมสุข ภานุรัตน์ , 2559) และผลการวิจัยนี้ยังพบว่า ระดับ
ความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความฉลาดทางอารมณ์รายด้านทุกด้านอย่างมีนัยสาคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดและปัจจัยทั่วไปของนักศึกษานี้พบว่า นักศึกษา
ที่มีสาขาวิชา รูปแบบการเลี้ยงดู และรายรับของครอบครัวต่อเดือน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความเครียดอย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาเรื่อง ปัจจัยทานายความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหา
บัณฑิต ที่พบว่าสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิ ดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียด (ทัศนา ทวีคูณ
และคณะ, 2553)

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะสาหรับการประยุกต์ใช้ผลการวิจัย
อาจารย์ เพื่อน ผู้ใกล้ชิด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครอง ควรให้ความสาคัญ ใส่ใจ และเห็นคุณค่าในตัวนักศึกษา มี
การสังเกตหรือตรวจคัดกรองระดับความเครียดในนักศึกษา ซึ่งหากนักศึกษามีความเครียดสูง ควรจัดให้มีการปรึกษาพูดคุยกัน
อย่างเข้าใจ อาจมีกิจกรรมการจัดการความเครียด เพื่อผ่อนคลายและบรรเทาความเครียดแก่นักศึกษา
ฝ่ายพัฒนานักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และมหาวิทยาลัย ควรเล็งเห็น มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม พัฒนา และ
ติดตามความฉลาดทางอารมณ์ให้กับนักศึกษาแต่ละชั้นปี และแต่ละสาขาวิชาเป็นระยะๆ ไม่เพียงแต่สนับสนุนการจัดกิ จกรรม
เสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยแค่ในนักศึกษาแรกเข้า เนื่องจากความเครียดของนักศึกษาสามารถเกิดขึ้นได้
ตลอดเวลา
ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาในลักษณะการวิจัยเชิงกระบวนการ โดยศึกษาความฉลาด
ทางอารมณ์ภายในสถาบัน โดยเปรียบกันเป็นรายคณะ ชั้นปี อาจะเพิ่มปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เช่น การปรับตัว สมาธิจิต
หรือ ความชัดแย้งของนักศึกษา เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหาของระบบการจัดการเรียนการสอน และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ทา
ให้เกิดความเครียดแก่นักศึกษา รวมไปถึงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และการจัดการความเครียดของ
นักศึกษาในแต่ละสถาบันการอุดมศึกษา

กิตติกรรมประกาศ
ผู้วิจัยขอขอบคุณนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจาวัน (4000112) มหาวิทยาลัย
ราชภัฏลาปาง ภาคเรียนที่ 2 ประจาปีการศึกษา 2559 ที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบประเมินสาหรับการวิจัย ทาให้การ
วิจัยนี้เกิดขึ้นได้ และขอขอบพระคุณคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง สาหรับการอุดหนุนทุนวิจัยเป็นอย่างสูง

1581
รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ(Proceedings)
การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

เอกสารอ้างอิง
กนกพร หมู่พยัคฆ์ และคณะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษา
พยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์. 33 (1). 55 - 65.
กรมสุขภาพจิต. กระทรวงสาธารณสุข. (2543). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี. สานักพัฒนาสุขภาพจิต. 4 – 58.
กรมสุขภาพจิต. กระทรวงสาธารณสุข. (2550). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี. สานักพัฒนาสุขภาพจิต.
คณิศร ตรีผล. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาภาควิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี. วารสารครุราไพ. 2 (1). 23 – 25.
ทัศนา ทวีคูณ และคณะ. (2553). ปัจจัยทานายความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต . วารสารพยาบาล
กระทรวงสาธารณสุข. 1 – 11.
ปวิดา โพธิ์ทอง และคณะ. (2554). ความเครียด การปรับตัว และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า. 22 (2). 1 - 14.
เปรมฤดี ศรีวิชัย. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ความเครียด และภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาหลักสูตร
พยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารสภาการพยาบาล 27 (4). 57 – 68
พรพรรณ ภูสาหัส และสมสุข ภานุรัตน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิจิต ความเครียด และความฉลาดทางอารมณ์ของ
นักศึกษาพยาบาลตารวจ. วารสารพยาบาลตารวจ. 8 (1). 145-152.
ระวีวรรณ แสงฉาย. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี .
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
วิไลรัตน์ แสงศรี และธวัชชัย พึ่งธรรม. (2556). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์และความขัดแย้งของนักศึกษามหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายับ เชียงใหม่. รายงานวิจัย. คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์.
สุธีร์ อินต๊ะประเสริฐ และคณะ. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และระดับความเครียดของนักศึกษา
แพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภาพ หวังข้อกลาง. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและการเผขิญความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชา
สาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา. ปริญญานิพนธ์ วท.ม.
(สุขศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมบูรณ์ ตันยะ. และคณะ. (2551). ความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์. (2553). ความฉลาดทางอารมณ์และความพร้อมในการปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาลวิชาชีพของ
นักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 4 (2). 47 – 57.
อมรรัตน์ ลือนาม และประภาศรี คุปต์กานต์. (2558). ความฉลาดทางอารมณ์ของนัก ศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และ
สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ. 18 (36). 151 – 169.
อรัญญา ทรัพย์พ่วง และคณะ. (2557). ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนแพทย์ทหารชั้นปีที่ 5 วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์
พระมงกุฎเกล้า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 7 (4). 50 – 63.
Gibbs, N. (1995). The EQ factors. Time. (October 1995). 9: 24 – 31
Goleman, D. (1995). Emotional intelligence: Why it can matter more IQ. New York: Bantan Book; 1995

1582

You might also like