You are on page 1of 11

การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัด

เพื่อลดความเครียดของนักศึกษา
สาขาวิชาชีพด้านสุขภาพในมหาวิทยาลัย
เอกชนแห่งหนึ่ง
A STUDY OF EFFECT OF MUSIC THERAPY FOR REDUCING STRESS
OF HELTH SCIENCE PROGRAM STUDENTS AT A PRIVATE
UNIVERSITY
ข้อมูลวิจัยเบื้องต้น

ผู้เขียน : ภารดี พิริยะพงษ์รัตน์ และ


ปาจรีย์ ศรีสมบัติ
แหล่งข้อมูล:https://he01.tci-
thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/
241589
วารสาร : วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน
ปีที่ 20 ฉบับที่ 2
(เมษายน - มิถุนายน ) 2557
เหตุผลในการวิจัย
ความเครียดเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งการศึกษาใน
ระดับอุดมศึกษา เป็นช่วงวัยที่ ผู้เรียนหรือนักศึกษามีการพัฒนาการคิด
มีการปรับตัว การเข้าร่วมสังคมใหม่ การเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่
บทบาทของวิชาชีพ อีกทั้งสภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ สภาวะทางสังคม
เศรษฐกิจ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน รวมทั้งการดำเนินชีวิตภายใต้
ความคาดหวังของครอบครัวและคนอื่นๆ นักศึกษาจะพยายาม
หาวิธีจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นโดยนักศึกษาแต่ละบุคคล
จะมีวิธีการในการจัดการกับความเครียดที่แตกต่าง ซึ่งวิธีการใช้ดนตรี
เข้ามาช่วยในเรื่องของการจัดการความเครียดอาจจะสามารถเป็นทางเลือก
ของนักศึกษาเพื่อจัดการความเครียดเมื่อมีปัญหาที่มาจากการเรียน
ผู้วิจัยจึงสนใจการศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อลดความเครียดของ
นักศึกษาสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง
วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1

เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของระดับความเครียด ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า อัตราการเต้นของหัวใจ และความดัน


โลหิต ของนักศึกษาในระยะก่อนฟังดนตรีบำบัดและหลังฟังดนตรีบำบัด

ข้อที่ 2

เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา พื้นฐานดนตรีสากล และหลักการคิดจิตวิทยาพื้นฐาน

สมมติฐาน
นักศึกษาที่ฟังดนตรีบำบัดจะมีระดับความเครียด ความวิตกกังวล และการซึมเศร้า อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต ลดลง
กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา


ประชากร สาขาวิชาชีพด้านสุขภาพในมหาวิทยาลัยเอกชน
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แห่งหนึ่งโดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่
นักศึกษาสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพใน นักศึกษาสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งจำนวน 107 สาขาวิชากายภาพบำบัด และสาขาวิชาอุปกรณ์
คน เทคโนโลยี ชีวการแพทย์ คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง
ตามสูตรของ ทาโร ยามาเน กำหนดขอบเขต
ความคลาดเคลื่อน 0.05 มีจำนวน 84 คน
วิธีการวิจัย
การวิจัย เรื่อง การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัด
เพื่อลดความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ
ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยกึ่งทดลอง

เครื่องมือในการวิจัย
โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1) แบบสอบถาม
ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 7 ข้อ
ส่วนที่ 2 แบบวัดปฎิกริยาตอบสนองความเครียด จำนวน 21 ข้อ

2) เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล
การเก็บข้อมูล
ขั้นตอนที่ 1
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3
นักศึกษาสาขา
ผ่านเกณฑ์การคัด ตอบแบบสอบถามงาน
วิชาชีพด้านสุขภาพ
เข้า - ออก และลงนาม วิจัย อัตราการเต้นของ
ในมหาวิทยาลัย
ยินยิมเข้าร่วมการวิจัย หัวใจ และความดันโลหิต
เอกชนแห่งหนึ่ง
จำนวน 84 คน ก่อนการฟังดนตรี
จำนวน 2641 คน

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนที่ 6

ฟังเพลงยาว 5 นาที 21 ตอบแบบสอบถามงาย วิเคราะห์ข้อมูล


วินาที วันละ 1 เป็นเวลา 7 วิจัย และวัดความดัน
วัน โดยเป็นเพลงที่มี โลหิต อัตราการเต้นของ
จังหวะเพลง 60 ครั้งต่อ หัวใจหลังฟังดนตรี
นาที และฟังโดยใช้หูฟัง
ผลการวิจัย

จากการศึกษาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจากตารางดังกล่าว
พบว่า ค่าเฉลี่ยของอาการซึมเศร้า ความวิตกกังวล
ความเครียด และอัตราการเต้นของหัวใจ
ก่อนและหลังการใช้ดนตรีบำบัดมีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
แต่ค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตซิสโตลิก และ ความดันโลหิต
ไดแอสโตลิก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05
อภิปรายผล

ข้อค้นพบจากการวิจัย พบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัย


มีอาการซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเครียดลดลง
และมีการเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจ
แต่ไม่พบความแตกต่างของค่าความดันโลหิตอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การใช้ดนตรีบำบัด
สามารถลดความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพใน
มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งได้
การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
ในสถาบันการศึกษาควรนำเรื่องของดนตรีบำบัดมาใช้เป็นแนวทางในการ
ลดความเครียดของนักเรียนหรือนักศึกษาเพื่อให้เกิดการผ่อนคลายในภาวะ
ปัญหาอุปสรรคต่างๆที่ก่อให้ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะอาการซึม
เศร้า
ที่มีสาเหตุมาจากการเรียน การเตรียมความพร้อมในสาขาวิชาชีพ หรือ
ความเครียด
ที่เกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรี เช่น
การเปิดเพลงที่มีจังหวะที่เหมาะสมในช่วงพักของนักเรียนหรือนักศึกษา การจัด
ชั่วโมง
ฟังเพลง หรือจัดห้องฟังเพลง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ
ทางด้านความคิด สติปัญญา ความจำ หรือในด้านการเรียน การดำเนินชีวิต
เป็นต้น
THANK YOU!
ผู้จัดทำ
นางสาวพลอยชมพู วิสุธิธารากร ม.4 /6 เลขที่ 8
นางสาวดารากุล สารภาพ ม.4/6 เลขที่ 14

You might also like