You are on page 1of 8

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้

1 เอกสารที่เกี่ยวข้องและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างๆ
1.1 ความเครียดคืออะไร
1.2 ความเครียดส่งผลอะไรบ้าง
1.3 วิธีการจัดการกับความเครียด
1.4 สารเสพติดคืออะไร
1.5 สาเหตุการใช้สารเสพติด
1.6 สารเสพติดใช้แล้วมีผลอย่างไร
1.7 วิธีการเลิกใช้สารเสพติด

2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3 กรอบแนวคิดวิจัย

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างๆ

ความเครียดคืออะไร

รศ. ดร. ภญ. ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์ ได้บอกไว้ว่า ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่


เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ และทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล
ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะก่อให้เกิด
อันตรายแก่ร่างกาย จะส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป เมื่อเกิดความเครียด บุคคลจะแสดง
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้าน
จิตใจและอารมณ์ รวมทั้งด้านพฤติกรรม แต่เมื่อเวลาผ่านไป และความเครียดเหล่านั้นคลายลง ร่างกายจะกลับ
เข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้บอกไว้ว่า ควาเครียด คือ การหดตัว
ของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกาย นั่นเอง ซึงทุกคนจำเป็นต้องมีอยู่เสมอในการดำรง
ชีวิต เช่น การทรงตัว เคลื่อนไหวทั่วๆไป มีการศึกษาพบว่าทุกครั้งที่เราคิดหรือมีอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างเกิด
ขึ้นะจะต้้องมีการหดตัว เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแห่งใดแห่งหนึ่ง ในร่างกายควบคู่เสมอ

ความเครียดส่งผลอย่างไรบ้าง

ด้านร่างกาย
ภาวะที่เครียดเกิดขึ้นจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม เจ็บหน้าอก
ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน โรคอ้วน แผลในกระเพาะอาหาร เมื่อบุคคลตกอยู่ในความเครียด
เป็นเวลานาน จะทำให้สุขภาพร่างกายเลวลงเนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมน ซึ่งเป็นชีวเคมีที่
สำคัญต่อมนุษย์ เพราะทำหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ภายใน ขณะเกิดความเครียดจะทำให้
ต่อมใต้ถูกกระตุ้น ทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดอาการทางกาย
หลายอย่างแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตั้งแต่ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย หากบุคคลนั้นต้องเผชิญกับ
ความเครียดที่รุนแรงมากๆ อาจส่งผลให้บุคคลเสียชีวิตได้เนื่องจากระบบการทำงานที่ล้มเหลวของร่างกาย เช่น
คนที่มีโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว หากเกิดความเครียดอย่างรุนแรง ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะไปกระตุ้น
ระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นหรือลดต่ำลงอย่างผิดปกติ และทำให้เกิดอาการช็อกได้ หรือในบางรายที่ระบบ
ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ส่งผลให้เกิดเป็นอาการของโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ต่างๆ โรคผิวหนัง
อาจมีอาการผมร่วงและมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับคนปกติ

ด้านจิตใจและอารมณ์

จิตใจของบุคคลที่เครียดจะเต็มไปด้วยการหมกมุ่นครุ่นคิด ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ใจลอย ขาดสมาธิ ความ

ระมัดระวังในการทำงานเสียไปเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จิตใจขุ่นมัว โมโหโกรธง่าย สูญเสียความเชื่อมั่น

ในความสามารถที่จะจัดการกับชีวิตของตนเอง เศร้าซึม คับข้องใจ วิตกกังวล ขาดความภูมิใจในตนเอง ในบาง

รายที่ตกอยู่ในภาวะเครียดอย่างยาวนานมาก อาจก่อให้เกิดอาการทางจิต จนกลายเป็นโรคจิตโรคประสาทได้


เนื่องจากการเผชิญต่อภาวะเครียดเป็นเวลานานฮอร์โมนคอร์ติซอลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น จะทำให้เซลล์ประสาท

ฝ่อและลดจำนวนลง โดยเฉพาะในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับกับความจำและสติปัญญา ความเครียดจึงทำให้

ทำให้ความจำและสติปัญญาลดลง และยังมีผลต่อการทำงานของระบบสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ

อารมณ์และพฤติกรรมโดยเฉพาะสารสื่อประสาท จึงทำให้เกิดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลกว่าเวลาปกติ

ด้านพฤติกรรม

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายดังที่กล่าวในข้างต้น ไม่เพียงแต่จะทำให้ระบบการทำงานของร่างกาย

ผิดเพี้ยนไป แต่ยังทำให้พฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลเปลี่ยนแปลงด้วย ยกตัวอย่างเช่น บุคคลที่เครียด

มากๆ บางรายจะมีอาการเบื่ออาหารหรือบางรายอาจจะรู้สึกว่าตัวเองหิวอยู่ตลอดเวลาและทำให้มีการบริโภค

อาหารมากกว่าปกติ มีอาการนอนหลับยากหรือนอนไม่หลับหลายคืนติดต่อกัน ประสิทธิภาพในการทำงาน

น้อยลง เริ่มปลีกตัวจากสังคม และเผชิญกับความเครียดอย่างโดดเดี่ยว บ่อยครั้งบุคคลจะมีพฤติกรรมการปรับ

ตัวต่อความเครียดในทางที่ผิด เช่น สูบบุหรี่ ติดเหล้า ติดยา เล่นการพนัน การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีบาง

อย่างในสมองทำให้บุคคลมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ความอดทนเริ่มต่ำลง พร้อมที่จะเป็นศัตรูกับผู้อื่นได้ง่าย

อาจมีการอาละวาดขว้างปาข้าวของ ทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายร่างกายตนเอง หรือหากบางรายที่เครียดมากอาจเกิด

อาการหลงผิดและตัดสินใจแบบชั่ววูบนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด
วิธีจัดการกับความเครียด

-คิดในแง่ดี

-มีปัญหาเล่าสู่กันฟัง

-สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว

-รักษาสุขภาพกายและจิตใจให้แข็งแกร่ง

-ฝึกเทคนิคคลายเครียดด้วยวิธีการต่างๆ

-วางแผนการบริหารจัดการเวลา

-จัดการสิ่งที่จัดการได้ก่อน

-เลือกสิ่งที่เป็นไปได้จริง

-ตัดสินใจอย่างฉลาด

สารเสพติดคืออะไร

สำนักงานชันสูตร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ได้บอกไว้ว่า สารเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อ

เสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดย การกิน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วจะทำให้เกิดผลต่อร่างกายและ

จิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อยๆ, มีอาการอยากยาเมื่อขาดยา, มีความต้องการเสพ

ทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ส่งผลต่อสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง
สาเหตุการใช้สารเสพติด

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้บอกไว้ว่า สาเหตุการใช้สารเสพติดมี

ด้วยกัน 3 ด้าน

ทางด้านร่างกาย

-การจัดหาหรือซื้อสารเสพติดด้วยตนเองเนื่องจากมีอาการเจ็บปวดทางร่างกาย

-พวกรักษาตนเอง เช่นประสบอุบัติเหตุแพทย์ให้ยาระงับปวดอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ภายหลังได้ใช้ยาโดยไม่ปรึกษา

แพทย์เพื่อช่วยตนเอง เลยทำให้ติดยาโดยไม่ตั้งใจ

ทางด้านจิตใจ

-พวกบุคลิกภาพผิดปกติ เช่น ต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ชอบพึ่งพาผู้อื่น แยกตัวเองหรือซึมเศร้า

-พวกที่มีความกังวลใจ หวาดกลัว หรือป่วยเป็นโรคประสาทหรือโรคจิตมีอาการนอนไม่หลับ มักใช้ยาเสพติด

ระงับความรู้สึกจึงทำให้ติดได้

-สภาพครอบครัวแตกแยก พ่อแม่ไม่เข้าใจกัน เด็กขาดความอบอุ่น หรืออบรมเลี้ยงดูลูก ไม่ถูกต้อง หรือมีคนใน

ครอบครัวติดสารเสพติด

ทางด้านสังคม

-ถูกเพื่อนชวน อยากลอง
-อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับพวกติดสารเสพติด

-ความกดดันทางสังคม เช่น มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ไม่มีงานทำ

สารเสพติดใช้แล้วมีผลอย่างไร

โทษต่อร่างกายและจิตใจ

-ทำลายประสาทสมอง จิตใจเสื่อม ซึมเศร้า กังวล เลื่อนลอย และเป็นโรคจิตจากพิษยานั้นๆ

-เสียบุคลิกภาพ ขาดความสนใจตนเอง ขาดสติสัมปชัญญะ

-ร่างกายซูบซีด อ่อนเพลีย

-พิษยาทำลายอวัยวะต่างๆให้เสื่อมลง มีโรคแทรกได้ง่าย

-ประสบอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง

โทษต่อครอบครัว

-ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัวและญาติพี่น้อง

-เสียทรัพย์ที่จะต้องซื้อยามาเสพ และรักษาตัว

-ขาดหลักประกันของครอบครัว ทำงานไม่ได้ ไม่เป็นที่วางใจ ของคนทั่วไป นำภัยมาสู่บุตร ภรรยา ญาติพี่น้อง

โทษต่อสังคม

-เป็นภัยต่อสังคม
-มีโอกาสเป็นอาชญากรประเภทลักขโมยได้ง่ายเนื่องจากมีรายจ่ายสูง

วิธีการเลิกใช้สารเสติด

นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า

1.เตรียมใจให้พร้อม โดยเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก

2.เมื่อมีปัญหา มีความเครียดควรทบทวนหาสาเหตุ คุยกับเพื่อน หรือบุคคลที่เราไว้วางใจ เพื่อ

แลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขร่วมกัน

3.สร้างบรรยากาศ ปรับปรุงสถานที่ให้เหมาะสม ทั้งบ้าน ที่ทำงานให้บรรยากาศดีขึ้น รวมทั้งเสริมสร้าง

ความสัมพันธ์อันดีภายในบ้าน

4.ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์

5.นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

6.เมื่อมีเวลาว่าง ควรควรหางานอดิเรกหรือทำกิจกรรมสร้างสรรค์ หรือพักผ่อนหย่อนใจ เช่น ปลูกต้นไม้

ฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูทีวี ท่องเที่ยว

7.งดอบายมุข คือ งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา ไม่เล่นการพนัน และไม่สำส่อนทางเพศ

8.เข้าใจชีวิต คือ ยอมรับสภาพความเป็นจริงของชีวิต และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเท่าที่ทำได้เพื่อให้ชีวิต

ดีขึ้น ไม่ท้อถอย
9.ภูมิใจในตัวเอง โดยชื่นชมและสร้างความเชื่อมั่น สร้างกำลังใจให้ตนเอง มองตนเองว่ามีคุณค่า มีความ

สามารถ มีศักดิ์ศรี และภาคภูมิใจในตนเอง และ

10. คิดบวก หรือควรมองโลกในแง่ดี คิดทางบวกเป็นความคิดที่นำความสุขมาสู่ตน

You might also like