You are on page 1of 4

1.

ความหมายของสุขศึกษาและพลศึกษา

สมาคมการศึกษาแห่งชาติและสมาคมแพทย์อเมริกัน ได้ให้ความหมายของคาว่า "สุขศึกษา" ไว้ดังนี้


สุขศึกษา คือ ผลรวมของประสบการณ์ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติ เจตคติและความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ

Dorothy Nyswander ได้ให้ความหมายของสุขศึกษาไว้ดังนี้ สุขศึกษา คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลง


ซึ่งเกิดขึ้นในตัวบุคคล การเปลี่ยนแปลงนี้สัมพันธ์กับความสัมฤทธิ์ผลส่วนบุคคลและส่วนชุมชนตามเป้าหมาย
ทางสุขภาพอนามัย สุขศึกษาไม่สามารถที่จะหยิ บยื่นให้บุคคลอื่นโดยบุคคลหนึ่งได้ สุขศึกษาเป็นกระบวนการ
เปลี่ยนแปลงพลวัตรที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยบุคคลอาจยอมรับหรือไม่ยอมรับข้อมูล เจตคติ และการปฏิบัติ
ใหม่ๆ ซึ่งเกี่ยวกับเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขก็ได้

W.H.O. Technical Report No.89 ให้ความเห็นว่า สุขศึกษาก็เช่นเดียวกับการศึกษาทั่วๆไป คือ


เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมของบุคคล สุขศึกษาจะเน้นที่การพัฒนาการ
ปฏิบัติทางสุขภาพอนามัย ซึ่งเชื่อว่าจะก่อให้เกิดสภาวะความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ที่สุด

Mayhew Derryberry ให้ความหมายสุขศึกษาไว้ง่ายๆ เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจดังนี้ สุขศึกษาเป็น


การเปลี่ ยนแปลงความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เจตคติที่มีต่อการป้องกันและรักษา และการปฏิบัติทาง
สุขภาพอนามัย ตลอดจนนิสัยในชีวิตประจาวัน ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์หลายๆอย่างของบุคคลนั้น ดังนั้น
สุขศึกษาจึงไม่ใช่กิจกรรมที่จะทาโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น แต่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของประชาชนที่มี
ต่อประสบการณ์ทางด้านสุขภาพทั้งหมดของเขา

จากคาจากัดความต่างๆ ดังกล่าวพอจะสรุปได้ว่า สุขศึกษา คือ ประสบการณ์ทั้งมวลทางด้านสุขภาพ


ที่ทาให้บุคคลเกิดความรู้ เจตคติและการปฏิบัติ ที่ดีและถูกต้องต่อสุขภาพของตัวเองและชุมชน ทั้งยังผลให้
บุคคลและชุมชนมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ความหมายพลศึกษา พลศึกษาเป็น “ศาสตร์’’ แขนงหนึ่งที่อยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์ และมี


ความเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์แขนงอื่นๆอีกหลายแขนง พลศึกษา มาจากคาว่า “พละ” และ “ศึกษา” พละ
แปลว่า กาลัง ส่วนคาว่า ศึกษา แปลว่า การเล่าเรียน เมื่อนาคาทั้งสองคานี้มารวมกันเป็นคาสมาสสระอะลดรูป
รวมเป็น “พลศึกษา” แปลตามรูปศัพท์ว่า การศึกษาเล่าเรียนในการบารุง ร่างกายโดยการออกกาลังกาย และ
จากความหมายดังกล่าว ได้มีนักพลศึกษาทั้งของไทยและต่างประเทศได้ให้ความหมายของคาว่า พลศึกษาไว้
อย่างกว้างขวาง ดังต่อไปนี้คือ เจย์ บี แนช (Jay B. Nash) พลศึกษาเป็นการศึกษาแขนงหนึ่งในกระบวนการ
ศึกษาทั้งหมด เป็นการศึกษาที่ใช้กิจกรรมเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางกาย ทางประสาท ทางสติปัญญา
ทางอารมณ์ ผลเหล่านี้ จะประจักษ์ก็ต่อเมื่อได้มีการจัดกิจกรรมพลศึกษาขึ้นตามสถานที่ต่างๆเช่น สนามกีฬา
โรงฝึกพลศึกษา และสระว่ ายน้า เป็นต้น เอชเธอริงตัน (Hetherington) พลศึกษาหมายถึง สิ่งสาคัญสอง
ประการ คือ เป็นกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายประการหนึ่ง อีก ประการหนึ่งเป็น
กระบวนการศึกษาที่ช่ว ยให้เด็กเจริญเติบโต มีสุขภาพดี ซึ่งจะช่วยให้เขาสามารถเรียนได้โดยไม่มีอุปสรรคต่อ
การเจริญเติบโตแต่อย่างใด กอง วิสุทธารมณ์ พลศึกษา คือ การฝึกฝนร่างกายให้มีสมรรถภาพดีขึ้นโดยใช้
กิจกรรมบางอย่างเป็นเครื่องมือประกอบการศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีร่างกายเจริญงอกงาม เติบโต แข็งแรง
และว่องไว อบรมให้เป็นผู้ที่มีระเบียบ วินัย หนักแน่น อดทน รู้แพ้ รู้ชนะ สร้างสรรค์สามัคคี

2. ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขศึกษา

1. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ - การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก - ปัจจัยที่มีผลต่อการ


เจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก - เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตและพัฒนาการของของมนุษย์การพัฒนา
ตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย

2. ชีวิตและครอบครัว - การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมกับพัฒนาการทางเพศ -การปฏิบัติ


ตนที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และพัฒนาการทางเพศ -ความสาคัญของ
เพื่อน และการคบเพื่อน - วิธีผูกมิตร - ความหมายและองค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธุ์ -วิธีปฏิบัติตนเพื่อ
สุขอนามัยทางเพศของวัยรุ่น • สิว • กลิ่นตัว • ประจาเดือน • ฝันเปียก

- พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์
- ปัญหาและผลกระทบจากโรคทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์
- การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงโรคทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์

3. การเสริมสร้างสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค


- ความสาคัญของการมีพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันและการดารงสุขภาพ
- คุณค่าของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี การป้องกันโรคและการดารงสุขภาพ
- ความสาคัญของการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพชุมชนและสิ่งแวดล้อม
- การประเมินภาวะโภชนาการของตนเอง
- โรคหรือปัญหาที่เกิดจากภาวะโภชนาการ
- หลักการบริโภคอาหารตามธงโภชนาการ
- ความหมายและความสาคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
- คุณค่าของภาวะสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต
- ประเมินภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิต
- ความรู้เกี่ยวกับอารมณ์และความเครียด
- ความหมายและวิธีการจัดการกับอารมณ์ ความเครียด และการฝึกจิต
- การมองปัญหาเชิงบวก
- การเข้าใจและยอมรับอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น
- วิธีการวางแผนและจัดเวลาในการออกกาลังกาย การพักผ่อน และสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย
และการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ
- ความสาคัญของการมีสมรรถภาพที่ดีจากการออกกาลังกาย และสมรรถภาพกลไก
- วิธีการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ และสมรรถภาพทางกลไก
- ความแตกต่างระหว่างบุคคล

4. ความปลอดภัยในชีวิต
- ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพเกี่ยวกับ • การอุปโภคบริโภค • อุบัติเหตุ • อนามัยส่วนบุคคล
- แนวปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ และความปลอดภัย
- กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ตนเองและครอบครัว
- ความสาคัญของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ตนเองและครอบครัว
- การตัดสินใจปฏิบัติตนในการแก้ปัญหาเมื่อเผชิญกับภัยอันตราย
- ภัยอันตรายและสถานการณ์ที่คับขัน

3. ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับพลศึกษา

1. Thorndike Theory E.L. Thorndike ได้ตั้งกฎการเรียนรู้ซึ่งช่วยให้การแสวงหาวิธีการที่จะทาให้


การเรียนการสอนทางพลศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่

- Law of Readiness กฎการเรียนรู้เกี่ยวกับความพร้อม เมื่อร่างกายมีความพร้อมที่จะแสดง


พฤติกรรม ย่อมก่อให้เกิดความพอใจในทางพลศึกษา ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจในการที่จะเรียน จะต้อง
มีวุฒิภาวะและมีเหตุผล ส่วนทางด้านร่างกาย ความพร้อมทาให้เกิดการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ หรือฝึกให้มีทักษะ
ในกิจกรรมนั้น ๆ เช่น ความแข็งแรง ความทนทาน ความว่องไว ฯลฯ

- Low of Exercise ถ้าหากร่างกายได้กระทาพฤติกรรมใดซ้าอยู่เสมอ จะมีผลให้ร่างกายผนึก


พฤติกรรมนั้นติดตัว ในทางตรงกันข้ามพฤติกรรมที่ร่างกายไม่ค่อยได้ใช้ พฤติกรรมนั้นมีทีท่าว่าจะถูกลืมไป ถ้า
ไม่ลืมก็ไม่อาจกระทาได้ถูกต้องสมบูรณ์นัก จากกฎในข้อนี้การเรียนพลศึกษาให้ได้ผลดีต้องให้กล้ามเนื้อได้มีการ
ฝึกบ่อย ๆ สมรรถภาพจะดีขึ้น การเคลื่อนไหวดีขึ้น และมีผลให้ทักษะดีขึ้นด้วย

- Low of Effect เมื่อผลที่ได้รับก่อให้เกิดความชื่นบาน พึงพอใจการตอบสนองของร่างกายมีแนวโน้ม


ที่จะเกิดขึ้นอีก ในทางกลับกันเมื่อการตอบสนองของร่างกายตามมาด้ว ยความไม่สบายใจ เจ็บปวด ไม่ส ม
ประสงค์ การตอบสนองดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะไม่เกิดขึ้นอีก

2. Trial and Error Theory ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการเรียนแบบลองผิดลองถูก คือการทาหลาย ๆ ครั้ง


ลองแล้ว ลองอีกก็สามารถจะทาให้ถูกต้องได้ ในทางพลศึกษานั้น อาจนาทฤษฎีมาใช้ในการเรียนเกี่ยวกับ
Motor Skill wft แต่ในการสอนนั้นจะต้องแนะนาหลักเกณฑ์และวิธีการที่ถูกต้องในการกระทาให้รู้ว่าอะไรผิด
อะไรถูกเสียก่อน เมื่อนักเรียนรู้วิธีการแล้วก็ให้ลองทาดู ครั้งแรก ๆ อาจจะทาได้ไม่ถูกต้องแต่เมื่อลองทาซ้าบ่อย
ๆ ต่อไปก็จะพัฒนาขึ้นจนทาได้ถูกต้อง

ที่มา : - http://www.vcharkarn.com/
- https://www.gotoknow.org/posts/131296
- http://yaiaunchaweeyaiaunchawee.blogspot.com/

You might also like