You are on page 1of 4

2.

ความเป็ นมาของปั ญหา

การตัง้ ครรภ์ เป็ นภาวะปกติของสตรีวัยเจริญพันธุ์เป็ นช่วงของการ


เปลี่ยนแปลงทัง้ ด้านร่างกายและจิตใจ รวมทัง้ การเปลี่ยนแปลงของ
บทบาทการเป็ นมารดา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน
้ จึงส่งผลกระทบต่อ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพมารดาและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงใน
ระยะตัง้ ครรภ์ (กาญจนา ศรีสวัสดิ,์ ชุติมา ปั ญญาพินิจนุกูร และ ณัฐธิดา
สอนนาค,2562)

ความรอบรู้ด้านสุขภาพมารดา (maternal health literacy) เป็ น


ทักษะทางปั ญญาและสังคมที่กำหนดแรงจูงใจและความสามารถของหญิง
ตัง้ ครรภ์ในการเข้าถึง การทำความเข้าใจและการใช้ข้อมูล เพื่อส่งเสริม
และธำรงไว้ซึ่งการมีสุขภาพที่ดีของตนเองและทารกในครรภ์ ถ้าหญิงตัง้
ครรภ์มีความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำทำให้ขาดความสามารถในการเข้าถึง
ข้อมูลหรือแหล่งบริการทางสุขภาพที่จำเป็ น ตลอดจนไม่สามารถทำความ
เข้าใจข้อมูลด้านสุขภาพที่ได้รับได้ (ดวงหทัย เกตุทอง,2564) ซึง่ จะส่งผล
ให้หญิงตัง้ ครรภ์ขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองและทารก
ในครรภ์ นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม และมีผลลัพธ์ทาง
ลบเกี่ยวกับสุขภาพตามมา นอกจากนีย
้ ังส่งผลให้เกิดผลเสียต่อทารกใน
ครรภ์ในระยะยาวอีกด้วย

ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ เกิดได้จากปั จจัยระดับบุคคล ประกอบ


ด้วย 1) ความรู้ เช่น การอ่านตัวเลข ความสามารถในการวิเคราะห์ การรู้
เท่าทันเรื่องอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สื่อ สิทธิ และความรู้เกี่ยว
กับโรคและการดูแลตนเอง 2) คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ การศึกษา
เพศ อายุ อาชีพ รายได้ 3) ความเชื่อและทัศนคติ 4) พฤติกรรมความ
เสี่ยงทางสุขภาพ 5) ทักษะและความสามารถส่วนบุคคล ได้แก่ การมอง
เห็น การได้ยิน ความสามารถในการพูด ความสามารถในการประเมินสื่อ
ทางสุขภาพ ความสามารถในการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ ความสามารถใน
การสืบค้นข้อมูลสุขภาพ 6) รูปแบบการใช้ชีวิต 7) การจัดการสุขภาพและ
ความเจ็บป่ วย 8) ระดับความเครียด 9) ภาวะสุขภาพ 10) คุณภาพชีวิต
11) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 12) พฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วย การ
ปฏิบัติตาม คำสั่งแพทย์ การตรวจสุขภาพเป็ นประจำ ความร่วมมือในการ
ใช้ยาตามคำสั่งแพทย์ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การบริโภค การปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การดูแลสุขภาพตนเอง และปั จจัยภายในบุคคล
เอง (วัชราพร เชยสุวรรณ,2560)

โดยปั จจัยเหล่านีจ
้ ึงเป็ นปั จจัยที่มีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมสุขภาพ
ของหญิงตัง้ ครรภ์ อย่างไรก็ตามความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของหญิงตัง้
ครรภ์ มีอิทธิพลมาจากปั จจัยหลายด้าน ทัง้ ปั จจัยส่วนบุคคล และปั จจัย
ภายในที่มีผลโดยตรงต่อ อารมณ์ความรู้สึก กระบวนการคิด การตัดสินใจ
ปฏิบัติพฤติกรรมของบุคคล เช่น อายุ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว
ลําดับของการตัง้ ครรภ์ และการสนับสนุนทางสังคม รวมทัง้ การมองโลก
ในแง่ดี และการเห็นคุณค่าในตนเองของหญิงตัง้ ครรภ์ ซึ่งมีอิทธิพล
โดยตรงต่อคุณภาพ ชีวิตของหญิงตัง้ ครรภ์ (อัญญา ปลดเปลื้อง และคณะ,
2560)

การเข้าถึง ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านสุขภาพอย่าง
เพียงพอ เป็ นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพที่มี
ความเสี่ยงสูงและในสถานการณ์ที่เปราะบาง เช่น ในการตัง้ ครรภ์
เนื่องจากส่งผลต่อสุขภาพของหญิงตัง้ ครรภ์และทารกในครรภ์ ซึ่งหญิงตัง้
ครรภ์เองต้องเผชิญกับข้อมูลสุขภาพที่หลากหลายจากแหล่งต่างๆ
(Nawabi et al., 2564) หากหญิงตัง้ ครรภ์มีความรอบรู้ทางสุขภาพในระ
ดับตํ่า จะมีความเชื่อและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ซึง่ จะส่งผลต่อ
คุณภาพชีวิต และความสามารถในการจัดการตนเอง (สินีนาท วราโภค
และคณะ, 2563)

จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น คณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจและ
เห็นความสำคัญต่อสุขภาพของหญิงตัง้ ครรภ์และทารกในครรภ์ จึงระดม
ความคิด และนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาในการจัดทำผลงานนวัตกรรม
“เรื่องต้องรู้ คุณแม่ตงั ้ ครรภ์”เพื่อเสริมความรอบรู้และเตรียมความพร้อม
ในด้านความรู้แก่หญิงตัง้ ครรภ์ที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์โรง
พยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับพัฒนาของทารกในครรภ์ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและ
จิตใจ การปฏิบัติตัวของหญิงตัง้ ครรภ์รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาการของ
ทารกในครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 3 ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวนี ้
จะช่วยส่งเสริมให้หญิงตัง้ ครรภ์เกิดทักษะความรู้ที่ดีในการตัง้ ครรภ์ที่ส่งผล
ให้มีความรอบรู้ต่อสุขภาพ ส่งผลให้เกิด ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพของทารก
ในครรภ์และคุณภาพชีวิตสำหรับหญิงตัง้ ครรภ์ต่อไป

3.วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาการใช้นวัตกรรม “เรื่องต้องรู้ คุณแม่ตงั ้ ครรภ์” กับ


หญิงตัง้ ครรภ์ แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

2. เพื่อให้หญิงตัง้ ครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาของ
ทารกในครรภ์ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึง
การปฏิบัติตัวของหญิงตัง้ ครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 3
3. เพื่อศึกษาปั ญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้
นวัตกรรม “เรื่องต้องรู้ คุณแม่ตงั ้ ครรภ์” กับหญิงตัง้ ครรภ์

4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของหญิงตัง้ ครรภ์ที่ใช้นวัตกรรม “เรื่อง


ต้องรู้ คุณแม่ตงั ้ ครรภ์” สำหรับหญิงตัง้ ครรภ์ที่มารับบริการที่แผนก
ฝากครรภ์ โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

4.กลุ่มเป้ าหมาย

ในการจัดทำนวัตกรรมครัง้ นี ้ กำหนดกลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตัง้ ครรภ์


ที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัด
ราชบุรี จำนวน 20 คน

You might also like