You are on page 1of 140

ประวัติผู้จัดทำ

ประวัติการศึกษา

 จบปริญญาตรี สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน เกียรตินิยมอันดับ 1


จากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

ประวัติการสอบ

 ข้าราชการรุ่นสอบบรรจุ ปี พ.ศ.2560
 สอบภาค ก ของ สำนัก ก.พ. ผ่านรอบแรก ในปี พ.ศ. 2559
 สอบภาค ข ของสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผ่านรอบแรก ในปี พ.ศ. 2560
 ขึ้นบัญชีรายชื่อลำดับที่ 3 ของเขตสุขภาพที่ 5 (โควตา 25 อัตรา)
 ได้เลือกสถานที่ทำงานคนแรก เนื่องจากลำดับที่ 1 และ 2 สละสิทธิ์
 สอบผ่านใบประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขรุ่นแรก ปี พ.ศ.2562

ประวัติการทำงาน
 1 มิถุนายน พ.ศ.2559 – 31 กรกฎาคม พ.ศ.2561 ทำงานที่โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
 1 สิงหาคม พ.ศ.2561 – 12 กันยายน พ.ศ.2561 รับราชการที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี
 13 กันยายน พ.ศ.2561 – 7 กันยายน พ.ศ.2563 รับราชการที่ รพ.สต.บ้านรางจิก จังหวัดเพชรบุรี
 8 กันยายน พ.ศ.2563 – ปัจจุบัน รับราชการที่ รพ.สต.บ้านวังยาว จังหวัดเพชรบุรี
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ความรู้ความสามารถพื้นฐานด้านสาธารณสุข
1 การประเมินสุขภาพและการวินิจฉัยอนามัยชุมชน 1
2 การวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุขชุมชน และการติดตามประเมินผล 10
3 ระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ 16

4 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข 23
5 ประชากรศาสตร์ 29

6 เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข 33

7 ชีวสถิติ 36
ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ การประยุกต์ความรู้ทางด้านสาธารณสุข
8 สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข 41

9 ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค 51

10 บริหารสาธารณสุข 72
11 อนามัยสิ่งแวดล้อม 77

12 อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน 89
13 กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพการสาธารณสุข 99

14 การตรวจประเมิน การบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพ 104


และการส่งต่อ
15 การส่งเสริมสุขภาพ 119
16 สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ 124
17 ความรู้เกี่ยวกับนโยบายของรัฐด้านสาธารณสุข 127

18 ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของระบบสาธารณสุขและสุขภาพ 130
19 ความรู้เกี่ยวกับสสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข 132
--- การประเมินสุขภาพและวินิจฉัยอนามัยชุมชน ---

ความรู้ความสามารถพื้นฐานด้านสาธารณสุข

ชุดวิชาที่ 1 การประเมินสุขภาพและวินิจฉัยอนามัยชุมชน

การประเมินสภาวะสุขภาพชุมชน หรือการวินิจฉัยชุมชน (Community Diagnosis)

เป็นการประเมินสถานการณ์อนามัยของชุมชนทั้งในแง่สถานะสุขภาพของประชากร บริการสุขภาพ ตลอดจน


ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหรือส่งผลต่อสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นั้น เช่น ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพ และ
สังคม ลักษณะโครงสร้างทางสังคม ประชากร เศรษฐกิ จ และการเมือง เพื่อทราบถึ งปัญหาและความต้องการด้าน
อนามัย ซึง่ จะทำให้ทราบถึงปัญหาสาธารณสุขของชุมชนที่ควรได้รับการแก้ไข หรือพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ
ต้ องคำนึ งถึ งปัญหาและความต้ องการที่ แท้ จริ งของชุ มชนคื ออะไร สาเหตุ ของปัญหาและความต้ องการ
เป็นอย่างไร จึงจะวางแผนและดำเนินการแก้ไขได้ตรงจุด
JUM!! ข้อสอบปี 59 รอบ 2
วัตถุประสงค์ของการวินิจฉัยชุมชน ประโยชน์การวินิจฉัยชุมชน

1. เพื่อวัดสภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน
2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชน แนวโน้มของปัญหา รวมทั้งการกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
3. เพื่อใช้ในการวางแผนแก้ปัญหาหรือให้การดูแล หรือจัดโครงการสุขภาพแก่ชุมชนหรือเพื่อคาดประมาณการใช้
บริการ และค่าใช้จ่ายอันเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความเสี่ยงในการจัดบริการบางอย่างเช่น การประกันสุขภาพ

หลักการสำคัญของการวินิจฉัยชุมชน
1. เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูล วินิจฉัยปัญหาและความต้องการ การวางแผนแก้ไข ปฏิบัติตามแผนและประเมินผล
2. นำไปสู่การแก้ปญ
ั หาถูกจุด
3. เป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง ยืนหยัดพึ่งตนเองได้ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และองค์กรทุกขัน
้ ตอน
5. ทางราชการให้การสนับสนุนและให้คำแนะนำ
6. กระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม

**กระบวนการประเมินสุขภาพและวินิจฉัยอนามัยชุมชน

เตรียมชุมชน วินิจฉัยปัญหาอนามัยชุมชน JUM!!

โจทย์ชอบถามขัน
้ ตอนแรกของการประเมิน
สุขภาพ/วินิจฉัยชุมชน ตอบ เตรียมชุนชน
JUM!! - เก็บรวบรวมข้อมูล
- วิเคราะห์แปรผลข้อมูล
เคยออกข้อสอบปี 56 วางแผน ดำเนิน ประเมิน
ขั้นตอนการวินิจฉัย - ระบุปัญหา
โครงการ โครงการ ผล
ชุมชน - จัดลำดับความสำคัญของปัญหา
-ศึกษาสาเหตุของปัญหา

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 1


--- การประเมินสุขภาพและวินิจฉัยอนามัยชุมชน

กระบวนการวินิจฉัยชุมชน สรุปได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ

1. เตรียมชุมชน (community assessment) JUM!! ขั้นตอน ออกสอบ ทั้ง 3 รอบ ปี 56 ปี 59 รอบ 1

2. การวินิจฉัยปัญหาอนามัยชุมชน (community diagnosis) และ 2

3. การวางแผนแก้ปัญหาอนามัยชุมชน (community planning)


4. การปฏิบัติตามแผนงาน (community implementation)
5. การประเมินผลแผนงานโครงการ (community evaluation)

เป็ นการสร้ า งหรื อดำเนิ นการให้ สภาพการณ์ ข องชุ ม ชน มี ความพร้ อ ม


การเตรียมชุมชน
เหมาะสมที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาของชุมชน และพร้อมที่จะมีการพัฒนา
ชุมชนอย่างต่อเนื่องในอนาคต

2. การเตรียมประชาชน
1. การเตรียมเจ้าหน้าที่
1.1 ผู้นำ/องค์กรชุมชน ➔ ฝึกอบรม ประชุม ศึกษาดูงาน
1.1 เตรียมใจ ➔ มีทัศนคติและจิตสำนักที่ดีเหมาะสำหรับ
1.2 หัวหน้ากลุ่มบ้าน (ละแวกบ้าน)
การทำงานกับชุมชน
1.3 กำลังคนในชุมชน ➔ อสม. กลุ่มแม่บ้าน เกษตรหมู่บ้าน
1.2 เตรียมความรู้&ทักษะ
1.4 มวลชน ➔ สมาชิกทุกคนในครอบครัว
- ทั ก ษ ะแนวใหม่ : เน้ น เชิ ง รุ ก บุ ก ทุ ก ที่ มี ป ั ญ หา
หาข้อเท็จจริง อ้างอิงทฤษฎี √√
1.3 สร้างแรงจูงใจในการทำงานตามแนวทางใหม่
3. การเตรียมการสนับสนุน
➔ รู้บทบาทของตนเอง เชื่อมั่นในพลังกลุ่ม และการมี
- การสร้างงานและการตลาด - ความรู้/เทคโนโลยี
ส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการพัฒนา
- ข้อมูลข่าวสาร - สนับสนุนเจ้าหน้าที่
- บริการของรัฐ - องค์กรอาสาสมัครต่าง ๆ

การประเมินชุมชน

➔ การที่เข้า ไปศึ กษาชุมชนเพื่อหาข้อมูล และประเมินสภาพของชุมชนในด้า นต่า ง ๆ ทั้งกายภาพ ชีวภาพ


ความเป็นอยู่ ระบบวิธีคิด อาชีพ ความสัมพันธ์ในชุมชน สภาวะด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ตลอดจน
ปัญหาและปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งนี้เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจในการวางแผนพัฒนาอนามัย
ชุมชนต่อไป
สถานการณ์อนามัย (Health Situation)
➔ การวินิจฉัยชุมชน ≠ การวัดสถานะสุขภาพของประชากรแต่เพียงอย่างเดียว
➔ เป็นสถานการณ์ของสังคมที่มองในแง่มุมของสถานภาพอนามัย รวมถึงสุขภาพของปัจเจกบุคคลและกลุ่มสถานะ
ทางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อสถานการณ์นั้น
ประเด็นสำคัญของการมองสถานการณ์อนามัย  การมองในเชิงระบบ
➔ สถานการณ์อนามัยของชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางสังคม และในระบบย่อยด้านอนามัยที่ประกอบด้วย
องค์ประกอบต่าง ๆ เช่น องค์ประกอบด้านประชากร สิ่งแวดล้อม บริการอนามัย และสภาพอนามัย ซึ่งองค์ประกอบ
เหล่านี้ จะมีผลต่อสถานการณ์อนามัยของชุมชน ดังนั้น ในการวินิจฉัยชุมชนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องประเมินสถานะของ
องค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบย่อยด้านอนามัยและด้านอื่น ๆ ในระบบสังคมด้วย

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 2


--- การประเมินสุขภาพและวินิจฉัยอนามัยชุมชน
สถานะสุขภาพ (Health Status)
➔ องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมาย “สุขภาพอนามัย” เป็นสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ
และสังคม และจิตปัญญา ไม่เพียงแต่ความไม่เป็นโรคหรือไม่พิการเท่านั้น
**ข้อมูลสถานะสุขภาพ คือ สถิติชีพอัตราการเกิด การตาย การเพิ่ม สาเหตุการป่วยและการตาย
แนวคิดเรื่องปัญหาอนามัยชุมชน (Community Health Problem Concept)
แนวคิดแรก ปัญหาอนามัยควรจะระบุออกมาในรูปของโรค (Disease) ที่เป็นเหตุหลักของการเจ็บป่วย ความพิการ
การตาย ความรู้สึกไม่สบาย และความรู้สึกไม่พึงพอใจของคนในชุมชน โดยให้เหตุผลว่า ปัจจัยด้านภาวะต่างๆ นั้นเป็น
“เหตุ” และเพราะความบกพร่องของเหตุเหล่านั้น จึงทำให้เกิดโรคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มประชากร เพราะฉะนั้น
“โรค” จึงเป็นตัวปัญหา
แนวคิดที่ 2 ทั้งโรคและภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคนั้น ใช้ระบุปัญหาได้ เพราะการมองปัญหาเป็นเรื่องของการรับรู้
ขึ้ นอยู ่ กั บ พื้ น ฐานและภู มิ หลั ง ของผู ้ ม อง และทั้ งโรคและภาวะของการเสี่ ย งต่ อ โรค ต่ า งก็ มี ผ ลต่ อ กั น และกั น
จึงควรมองปัญหาในเชิงระบบ เพื่อจะได้เลือกมาตรการในการแก้ปัญหาที่ครอบคลุม
การที่จะระบุว่าอะไรเป็นปัญหา ต้องมีตัวเปรียบเทียบว่า สิ่งที่ควรจะเป็นนั้นคืออะไรและขณะนี้สถานการณ์ของเราเป็น
อย่างไร อยู่ห ่างจากสิ่ งที่ต ้องการมากน้อยเพี ยงใด และเรารู ้สึกอย่ างไรต่ อสภาพความแตกต่ างนั้น ต้องมีตัวชี้วั ด และ
มาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบ เรียกว่า “ดัชนีอนามัย” ออกสอบ ปี 65-66 เครื่องชี้บง่ ภาวะสุขภาพอนามัยชุมชน

“ดัชนีอนามัย (Heath indices)” ➔ เครื่องชี้บ่งภาวะสุขภาพอนามัยชุมชน โดยมากเป็นการวัดด้านปริมาณเพื่อแสดง


ถึงสุขภาพอนามัยของชุมชนในด้านต่างๆ มีลักษณะเป็นได้ทั้งในรูปอัตราอัตราส่วนและสัดส่วน ในทางระบาดวิทยามักใช้ใน
รูปอัตราเป็นส่วนใหญ่ ดัชนีอนามัยเป็นเครื่องบ่งชี้ ความถี่ของการเกิดการเจ็บป่วย ความพิการ การตาย และภาวะสุขภาพ
อนามัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการให้และการใช้บริการอนามัยของชุมชน แบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆ ได้ 4 ชนิด คือ -
1. ดัชนีอนามัยเกี่ยวกับการป่วย ได้แก่ ความชุก (Prevalence) อัตราชุก (Prevalence rate) อัตราป่วยและอัตราตาย
ด้วยโรคต่าง ๆ เช่น อัตราอุบัติการณ์ (Incidence Rate) ซึ่งมักจะใช้กับโรคติดเชื้อเฉียบพลัน หรือเมื่อมีการระบาด (Outbreak)
ของโรค มีหน่วยเป็นร้อยละ หรืออัตราป่วย (Attack Rate) **ออกข้อสอบ ปี 55-56 ข้อใดคือดัชนีอนามัย
2. ดั ชนี อนามั ย เกี่ ย วกั บ การตาย เช่ น อั ตราตาย สั ด ส่ ว นสาเหตุ ก ารตาย (Proportional mortality rate)
อัตราเด็กเกิดไร้ชีพ (Fetal death rate) อัตราตายของทารก และมารดา เป็นต้น
3. ดัชนีอนามัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย เช่น อัตราเกิดอย่างหยาบ หรืออัตราเด็กเกิดมีชีพ อัตราเจริญพันธุ์ทั่วไป
4. ดัชนีอนามัยรวม เช่น ดัชนีชีพ (Vital index, birth death ratio) อัตราคุมกำเนิด อายุขัยเฉลี่ย

ข้อมูลที่จำเป็นในการประเมินภาวะอนามัยชุมชน
1. ข้อมูลทรัพยากร ความพร้อม ความเข้มแข็ง การมีส่วนร่วม จุดอ่อน จุดแข็งของชุมชนเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ
2. ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
3. ข้อมูลความเป็นอยู่ พฤติ กรรมเสี่ยงค่ านิ ยม ความเชื่อปัญหาสุ ขภาพ เพื่อสร้างสั มพั นธภาพและความคุ ้ นเคย
กับประชาชนในชุมชน
4. ข้อมูลที่ทำให้ทราบปัจจัยเสริม ปัญหา อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น

เครื่องมือประเมินชุมชน

1. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินชุมชนโดยวิธีทางมานุษยวิทยา **เคยออกสอบ
➔ เครื่องมือ 7 ชิ้น (โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, 2550) ประกอบด้วย 1) แผนที่เดินดิน 2) ผังเครือญาติ 3) การจัดทำผัง
โครงสร้างองค์กรชุมชน 4) ระบบสุขภาพชุมชน 5) ปฏิทินชุมชน 6) ประวัติศาสตร์ชุมชน 7) ประวัติชีวิตบุคคลในชุมชน
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 3
--- การประเมินสุขภาพและวินจิ ฉัยอนามัยชุมชน ---

2. การประเมินทางชีววิทยาศาสตร์การแพทย์ (Biomedical Science)


1. มุมมองด้านการแพทย์ ➔ เป็นวิธีการประเมินสุขภาพเฉพาะบุคคล โดยอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย
และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แล้วทำการแปรผลข้อมูลที่ได้โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเพื่อบ่งบอก
สถานะทางสุขภาพของบุคคลนั้น ๆ
2. มุมมองทางระบาดวิทยา ➔ เป็นการประเมินสภาวะสุขภาพที่เกี่ยวกับการเกิด และการกระจายของปัญหาสุขภาพ
รวมถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุหรือเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพในประชากร โดยอาศัยวิธีการศึกษาทางระบาดวิทยา 2 ลักษณะ คือ
2.1 การศึกษาเชิงสังเกต ได้แก่ การศึกษาเชิงพรรณนา ที่อธิบายเกี่ยวกับการเกิดและการกระจายของโรค และ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ ที่มงุ่ หาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหรือปัญหาสาธารณสุข
2.2 การศึกษาเชิงทดลอง การศึกษาเพื่อหาประสิทธิผลของวิธีการในการรักษา ป้องกัน และควบคุมโรค หรือ
การเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์ทางสุขภาพ
3. เครื่องมือวัดพฤติกรรมสุขภาพ
พฤติกรรมการเรียนรู้ของบลูม และคณะ แบ่งพฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคคลออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
1. พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) หรือความรู้ของบุคคลในระดับของการจำได้มองเห็นหรือระลึกได้เกี่ ยวกั บ
ข้อเท็จจริง ทฤษฎี และวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เจตพิสัย (Affective Domain) หรือทัศนคติ ซึ่งเป็นความรู้สึก ความสนใจความชอบ ของบุคคลในเรื่องต่าง ๆ
3. ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) หรือการปฏิบัติ ซึง่ หมายถึงการแสดงออกมา ให้เห็นของพฤติกรรมด้วย
การปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเชื่อว่าพฤติกรรมทั้ง 3 มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน
จึงใช้การประเมินสภาวะสุขภาพโดยยึดตามองค์ประกอบของพฤติกรรมการเรียนรู้ 3 ด้าน ในการสำรวจ เพื่อประเมิน
พฤติกรรมสุขภาพ 3 ด้าน (KAP-survey) ได้แก่ ความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และการปฏิบัติ (Practice)
4. การประเมินโดยใช้ครอบครัวเป็นฐาน
➔ ใช้ หน่ วยครอบครั วเป็ นฐานในการศึ กษา ถ้ าครอบครั วมี คุ ณภาพชี วิ ตที่ ดี ส่ งผลต่ อสุ ขภาพชุ มชนโดยรวม
โดยใช้แบบบันทึกแฟ้มประวัติสุขภาพครอบครัว (family folder) แบบสำรวจ จปฐ. เป็นต้น

การวินิจฉัยปัญหาอนามัยชุมชน

การเก็บรวบรวมข้อมูล
➔ ต้องมีความชัดเจนว่าจะเก็บข้อมูลอะไร จากใคร ช่วงเวลาใด และจะนำข้อมูลนั้นมาทำอะไร
• แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรงโดยการสำรวจ การสอบถาม การ
สังเกต หรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น สำมะโนประชากร การสำรวจจากตัวอย่าง การสัมภาษณ์เป็นต้น **ออกสอบปี 64-65
• แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่มีการบันทึกข้อมูลไว้แล้ว เช่น ข้อมูลทะเบียน
ราษฎร์ ข้อมูลจากแฟ้มผู้ป่วย ข้อมูลจากโรงพยาบาล ข้อมูลจากระเบียนรายงานของหน่วยงานสาธารณสุขในระดับพื้นที่
เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินสุขภาพชุมชน ได้แก่
1. การสังเกต
1.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation)
- การเข้าไปร่วมโดยสมบูรณ์ (Complete participant) ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว ข้อมูลที่ได้มีคุณค่ามาก
- การเข้าไปร่ วมโดยไม่สมบู รณ์ (Incomplete participant) ผู้สังเกตจะเข้ าร่วมกิ จกรรม เพื่อสร้างความสั มพันธ์ กั บ
ผู้ถูกสังเกต นิยมใช้กันมากในการศึกษาชุมชน

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 4


--- การประเมินสุขภาพและวินจิ ฉัยอนามัยชุมชน ---

1.2 การสังเกตโดยไม่เข้าไปร่วม (Non-participant observation) ➔ ผู้สังเกตจะทำตนเป็นบุคคลภายนอก โดยไม่เข้าร่วม


กิจกรรมของกลุ่มเลย ต้องระวังไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัวเพราะอาจแสดงพฤติกรรมให้ผิดไปจากความจริงได้

ข้อดีของการสังเกต ข้อเสียของการสังเกต
1. ได้ข้อเท็จจริงได้ด้วยวิธีการตรง 1. ผลการสังเกตขึ้นกับความสามารถของผู้สังเกต
ถ้าไม่มีความรู้ดีพอ การสังเกตจะได้ผลน้อย
2. รวบรวมข้อมูลบางชนิดที่ผู้ถูกสังเกตไม่เต็มใจบอก 2. เสียเวลามาก เพราะพฤติกรรมบางอย่างที่ต้องการสังเกต
อาจไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น
3. ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้โดยวิ
3.ธเหตุ
ีอื่น การณ์บางอย่างยากที่จะเข้าไปสังเกต
4. ช่วยให้ได้ข้อเท็จจริงบางอย่างที่เป็นผลพลอยได้ 4. ผู ้ ถู กสั งเกตอาจรู ้ ตั ว จะพยายามทำพฤติ กรรมที่ ไม่ ตรง
(By product) ซึ่งอาจเกิดขึ้น กับความจริง ข้อมูลที่ได้จะผิดพลาด

2. การสัมภาษณ์ หมายถึ งการสังเกตโดยมีจุดมุ่งหมายระหว่างผู้ต้องการทราบเรื่องราว เรียกว่า “ผู้สัมภาษณ์” กั บ


“ผู้ถูกสัมภาษณ์” เป็นกระบวนการที่มีการสื่อสารระหว่างบุคคล 2 คน โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การสัมภาษณ์แบบมาตรฐาน (Standardized structured interview) ➔ เตรียมคำถามไว้ก่อนล่วงหน้า
2.2 การสัมภาษณ์แบบมีกฎเกณฑ์น้อย (Less structured interview) ➔ ไม่มีการเตรียมคำถามไว้ก่อนล่วงหน้า คำถาม
ที่ใช้ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว มีอิสระเต็มที่ในการถามและตอบ

ข้อดีของการสัมภาษณ์ ข้อเสียของการสัมภาษณ์
1. ช่วยให้รู้ข้อเท็จจริงบางอย่างขณะสัมภาษณ์ 1. ค่าใช้จ่ายสูง
2. สามารถรวบรวมข้อมูลได้จากบุคคลทุกประเภท 2. ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สัมภาษณ์เป็นหลัก
แม้ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก
3. สามารถสืบสวนหาข้อเท็จจริงที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ 3. อาจมีความลำเอียงของผู้สัมภาษณ์
4. มีโอกาสทำความเข้าใจให้ตรงกันได้ถ้าไม่เข้าใจคำถาม 4. ต้องใช้เวลา และแรงงาน

3. การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ➔ ชุดของคำถามที่สร้างขึ้นมาสำหรับรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ เพื่อให้ได้คำตอบทั้ง


ในด้านปริมาณ และคุณภาพ

ข้อดีของแบบสอบถาม ข้อเสียของแบบสอบถาม
1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเดินทางไปเก็บ 1. ได้แบบสอบถามกลับคืนมาน้อย ไม่ครบตามจำนวนที่
รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ต้องการ
2. ผู้ตอบมีอิสระในการตอบ 2. ผู้ตอบอาจไม่ได้ตอบด้วยตนเอง อาจให้ผู้อื่นตอบแทน
3. สะดวกในกรณีต้องรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3. ใช้ได้จำกัด เฉพาะผู้ที่อ่านออกเขียนได้
เป็นจำนวนมาก
4. มีหลักฐานของข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร เก็บได้ 4. ผู้ตอบอาจไม่เข้าใจคำถามจึงไม่ตอบ หรือตอบไม่ตรง
นาน และตรวจสอบได้ กับความเป็นจริง
5. ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการเก็บ 5. สังเกตปฏิกิริยาของผู้ตอบไม่ได้ จึงไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่
ได้มาจากใจจริงหรือไม่

4. วิธีอื่น ๆ เช่น การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ อาจทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมบางอย่างการบันทึก การรายงาน เช่น


การทำระเบียนรายงานของสถานีอนามัย เป็นต้น การคัดลอก เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิที่มีผู้ทำการเก็บรวบรวม
ข้อมูลไว้แล้ว

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 5


--- การประเมินสุขภาพและวินิจฉัยอนามัยชุมชน ---

การวิเคราะห์ข้อมูล

นำข้ อ มู ล ดิ บ ที่ ไ ด้ จ ากการเก็ บ รวมรวมข้ อ มู ล ไม่ ว ่ า โดยวิ ธี ใ ดก็ ต าม เช่ น การสั ง เกต สั ม ภาษณ์ สอบถาม
มาประมวลผลข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการทางสถิติ ให้มองเห็นได้งา่ ย และใช้ประโยชน์ต่อไปได้
สถิติที่จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนมากนิยมใช้การวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ การหาค่าสัดส่วน
การวัดค่าตัวกลาง การวัดค่าการกระจาย
การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์
1. ปัจจัยภายในตัวบุคคล (ปัจจัยนำ) : ความรู้ การรับรู้ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศคติ ทักษะ **ออกสอบปี 65-66
2. ปัจจัยภายนอกตัวบุคล (ปัจจัยเอื้อ) : ปัจจัยทางกายภาพ ระบบริการสุขภาพ
3. ปัจจัยเสริม : ปัจจัยทางสังคม กฎระเบียบ มาตรฐานสังคม วัฒนธรรม

การนำเสนอข้อมูล
1) การนำเสนอในรูปบทความหรือบรรยาย ➔ เหมาะสำหรับรายการข้อมูลน้อย นำเสนอเป็นคำบรรยายสั้น ๆ
ปนไปกับตัวเลข

2) การนำเสนอในรูปกึ่งบทความหรือบรรยาย ➔ คล้ายกับการเสนอในรูปบทความ โดยจัดตัวเลขให้เป็น


หมวดหมู่ เพื่อจะได้อ่านง่าย ไม่จำเป็นต้องแสดงเป็นตารางที่สมบูรณ์

จากการสำรวจหมู่บ้าน ก. เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 สามารถจำแนกประชากรตามการประกอบอาชีพ ได้ดังนี้


เกษตรกรรม 800 คน
รับจ้าง 200 คน
ค้าขาย 100 คน
รวม 1,100 คน

3) การนำเสนอในรูปตาราง ➔ เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีรายการเป็นจำนวนมากและซ้า ๆ กัน


3.1. ตารางทางเดียว (One Way Table) เช่น ตารางแสดงจำนวน และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำแนก
ตามกลุ่มอายุ
3.2 ตารางสองทาง (Two Way Table) เช่น ตารางแสดงจำนวน และอัตราตายจากอุบั ติเหตุจำแนกตาม
กลุ่มอายุและเพศ
3.3 ตารางหลายทาง (Multiple Classification Table) เช่น ตารางแสดงจำนวน และอัตราตายจากอุบัติเหตุ
จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศและรายภูมิภาค

4) การนำเสนอในรู ป แผนภู มิ แ ละกราฟ ➔ ช่ ว ยให้ ผู ้ อ ่ า นเห็ น ลั ก ษณะที่ เ ด่ น ชั ด และดึ ง ดู ด ความสนใจ


เน้นให้เห็นถึงความสัมพันธ์และเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน แบ่งออกตามชนิดของข้อมูล คือ
4.1) ข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือข้อมูลไม่ต่อเนื่อง สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ ได้แก่ แผนภูมิแท่ง (bar
chart) แผนภูมิกง (pie chart) และแผนภูมิภาพ (pictogram)
4.2) ข้อมูลเชิงปริมาณ หรือข้อมูลต่อเนื่อง ใช้สำหรับข้อมูลที่วัดในระดับมาตรา อันตรภาค และมาตราอัตราส่วน
เช่น น้าหนัก ส่วนสูง เวลา อุณหภูมิ ระดับน้าตาลในเลือด เป็นต้น ที่นิยมใช้นำเสนอมี 2 แบบคือ ฮิสโตแกรม(histogram)
และกราฟเส้น (linegraph)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 6


--- การประเมินสุขภาพและวินิจฉัยอนามัยชุมชน ---

การวินิจฉัยปัญหาอนามัยชุมชน (community diagnosis) JUM!! ออกสอบ ปี 56

➔ เป็นการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอะไรคือปัญหา อะไรคือสาเหตุ และงบประมาณที่จำกัด จึงต้องจัดลำดับความสำคัญ


ของปัญหาว่าจะแก้ไขปัญหาใดก่อนหลัง ขั้นตอนการวินิจฉัยปัญหาอนามัยชุมชน ประกอบด้วย

1. การระบุปญ
ั หาอนามัยชุมชน (Identify problem) JUM!! เคยออกสอบ ปี 56

1.1 ใช้หลัก 5 D ประกอบด้วย โจทย์ให้วิเคราะห์ว่าข้อใดคือปัญหา

1) เจ็บป่วย (disease)
2) ตาย (death) ** หากพบเพียง 1 D ก็ถือว่าพบปัญหา ยิ่ง D มากยิ่งเพิ่มขนาดของปัญหา
3) พิการ (disability)
4) ความไม่สะดวกสบาย (discomfort)
5.) ความไม่พึงพอใจ (dissatisfaction)
1.2 เปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือค่ามาตรฐาน เช่น องค์การอนามัยโลก หรือตัวชี้วัดของประเทศ จังหวัด อำเภอ หรือ
เปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีตที่เคยเกิดขึ้น
1.3 กระบวนการกลุ่ม (nominal group process) โดยให้ชุมชน ผู้นำ หรือประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (ระบุ)
ว่าอะไรเป็นปัญหา เสนอเสียงสนับสนุนรับรองปัญหา Nominal Group Technique คือ Listing TTechnique นำมาใช้ประเมินความ
ต้องการเพื่อสำรวจสภาพปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ **ออกสอบปี 66

2. การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา (Priority Setting) JUM!! ออกข้อสอบต้องจำองค์ประกอบให้ได้

วิธีการพิจารณาองค์ประกอบ 4 ประการ ตามหลักของ Clark & Othumval Method (ภาควิชาบริหารสาธารณสุข ม.มหิดล)


2.1 สุขภาพอนามัยของประชาชน
ก.ขนาดของปัญหา (Magnitude) คำนวณจากจำนวนผู้ที่ประสบปัญหาหรือได้รับผลกระทบทั้งเชิงปริมาณ + คุณภาพ
เช่น RR OR Incident rate Prevalence rate **ออกสอบ ปี 64-65 อะไรเป็นขนาดของปัญหา

ร้อยละของผู้ที่ประสบกับปัญหา (ขนาดของปัญหา) คะแนนขนาดของปัญหา


ไม่มีเลย 0 คะแนน
มากกว่า 0- 25% 1 คะแนน
26 – 50% 2 คะแนน
51 – 75% 3 คะแนน
76-100% 4 คะแนน

ข. ความรุนแรงของปัญหา ถ้าปล่อยปัญหาทิ้งไว้โดยไม่แก้ไข จะทำให้เกิดความเสียหาย เป็นอันตรายถึงแก่ความตาย


หรือไม่ มีอัตราตายมากน้อยเพียงใด มีความพิการหลงเหลืออยู่หรือไม่ การแพร่ระบาดของโรค ยาก/ง่าย แนวโน้มโรค
ส่งผลเสียต่อครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติในด้านเศรษฐกิจอย่างไร นำมาคิดเป็นร้อยละ

ความรุนแรงของปัญหา คะแนนความรุนแรง
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มากกว่า 0- 15% 1 คะแนน
16 – 50% 2 คะแนน
51 – 75% 3 คะแนน
76-100% 4 คะแนน

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 7


--- การประเมินสุขภาพและวินิจฉัยอนามัยชุมชน ---

2.2 ความยากง่ายในการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหา
ค. ความยากง่ า ยในการแก้ ไขปั ญ หา การดำเนิ น กิ จ กรรมดั ง กล่ า วจะทำได้ ห รื อ ไม่ ไ ด้ ขึ้ น อยู ่ กั บ ความรู้
ความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี ทรัพยากรเพียงพอหรือไม่ คำนึงถึง คน เงิน ของ ระยะเวลา เพียงพอหรือไม่
ขัดแย้งกับข้อกฎหมายหรือศีลธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือไม่

ระดับความยากง่ายในการแก้ไขปัญหา คะแนนความยากง่าย
ไม่มีทางทำได้เลย 0 คะแนน
ยากมาก น้อยกว่า 0 -25% 1 คะแนน
ยาก 26-50% 2 คะแนน
ง่าย 51-70% 3 คะแนน
ง่ายมาก 71-100% 4 คะแนน

2.3 ความสนใจ ความวิตกกังวลของชุมชนต่อปัญหา (Community concern)


ง. ความสนใจ ความวิตกกังวลของชุมชน ประชาชนเห็นว่าเป็นปัญหาที่สำคัญและตระหนักต่อปัญหา ประเมินจาก
การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสอบถาม

ร้อยละของความตระหนัก/สนใจในปัญหา คะแนนความตระหนัก/สนใจ
ไม่มีเลย /ไม่สนใจเลย 0 คะแนน
มากกว่า 0- 25% / สนใจน้อย 1 คะแนน
26 – 50% / สนใจปานกลาง 2 คะแนน
51 – 75% / สนใจมาก 3 คะแนน
76-100% / สนใจมากที่สุด 4 คะแนน

** การที่คะแนนรวมเป็น 0 ไม่ได้หมายความว่า ปัญหานั้นจะไม่เป็นปัญหา


แต่หมายถึง ปัญหานั้นไม่อาจแก้ไขได้ในเวลาอันรวดเร็ว หรือปัญหานั้นแก้ไขด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน
**ออกสอบ ปี 66 คะแนนเป็น 0 คืออะไร

** หลักการให้ระดับคะแนนในการระบุปญ
ั หา เมื่อได้คะแนนทั้งหมดมาแล้ว หาคะแนนมารวมกันได้ 2 วิธี คือ
1. วิธีบวก มองเห็นความแตกต่างแต่ละปัญหาน้อย
2. วิธีคูณ มองเห็นความแตกต่างของปัญหากว้าง
➔ อาจจะให้น้าหนักของเกณฑ์แต่ละเกณฑ์เท่ากัน หรือแตกต่างกัน เช่น ในขณะนี้เรามุ่งเรื่องการช่วยชุมชนให้สามารถ
ช่วยตนเองได้ ดังนั้น เราอาจให้ความสำคัญของเกณฑ์ในหัวข้อความตระหนักในปัญหาของชุมชนในสัดส่วนที่สูงกว่า เช่น
ขนาดของปัญหาให้น้าหนัก 20 % ความรุนแรงของปัญหาให้น้าหนัก 20 % ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาให้น้าหนัก 25 %
และความตระหนักของชุมชนให้น้าหนัก 35 % เมื่อรวมน้าหนักของเกณฑ์ทั้ง 4 แล้ว ต้องเท่ากับ 100 %
➔ หลังจากให้คะแนนกับทุกปัญหาไปทีละเกณฑ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การจะตัดสินว่าปัญหาใดควรจะให้คะแนนเท่าใด
ก็ให้เอาคะแนนที่ให้ไปคูณกับน้าหนักของเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ถ้ามีการถ่วงน้าหนักด้วย) แล้วนำผลรวมของการคูณที่ได้ของ
แต่ละปัญหาในแต่ละเกณฑ์ไปบวกหรือคูณกันจนครบทั้ง 4 เกณฑ์ แล้วนำปัญหาทั้งหมดมาจัดเรียงใหม่ตามคะแนนรวมที่ได้
จากการบวก หรื อคู ณ ตามแต่ จะตกลงกั นในที่ ประชุ มว่ าจะเรี ยงตามวิ ธี การบวกหรื อคู ณ (ปกติ นิ ยมเรี ยงตามผลคู ณ)
เป็นตัวตัดสินขั้นสุดท้ายของการจัดลำดั บความสำคัญของปัญหา ปัญหาใดได้คะแนนสูงสุ ด ปัญหานั้นก็จะเป็นปัญหา
ที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ดังตัวอย่าง

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 8


--- การประเมินสุขภาพและวินิจฉัยอนามัยชุมชน ---

3. การศึกษาสาเหตุของปัญหาอนามัยชุมชน
➔ หลังจากได้ป ัญหาอนามัยชุ มชน และจั ดเรียงลำดั บความสำคัญของปัญหาแล้ว สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป คื อ
การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา หาข้อมูลสนับสนุนปัญหาเพิ่มเติม เพื่อให้รู้สาเหตุที่แท้จริง ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้
เกิดปัญหานั้น และการการะจายของปัญหา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย จะทำให้สามารถ
วางแผนแก้ปัญหาได้ตรงตามความจริง
การเขียนโยงใยสาเหตุของปัญหา (Web of Causation) ขั้นตอนดังนี้
• เขียนปัจจัยต่างๆ ก่อนทั้งคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม
• เขียนปัญหาที่ต้องการแก้ไขไว้ตรงกลาง
• เขียนพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของปัญหาไว้ใกล้ปัญหา
• เขียนปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ที่สอดคล้องกับพฤติกรรนั้น ๆ
• เขียนคุณลักษณะส่วนบุคคลไว้กรอบนอก
• ขีดเส้นเชื่อมโยงระหว่างปัจจัย หางลูกศรเป็นเหตุ หัวลูกศรเป็นผล
• พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เขียนไว้อยู่ในโยงใยทั้งหมดแล้วหรือไม่

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 9


--- การวางแผนแก้ไขปัญหาและการติดตามประเมินผล ---

ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุขชุมชนและการติดตามประเมินผล

การวางแผนแก้ปัญหาอนามัยชุมชน (community planning)

1. การวางแผนแก้ไขปัญหาในชุมชน

การวางแผน เป็นกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดความต้องการ วิธีการปฏิบัติ และผลของการกระทำ


ในอนาคต โดยใช้หลักวิ ชาการ เหตุผลของข้อมูลและปัญหามาประกอบการพิจารณาทำให้ทราบว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด
และอย่างไร เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปในแนวทางที่กำหนด

JUM!! ออกสอบปี 59 รอบ 2 โจทย์ถามขั้นตอนแรกของการแก้ไขปัญหาในชุมชนคืออะไร ข้อนี้ดูดีๆ โจทย์ถามเรื่องการแก้ไขปัญหา


จึงตอบ การวางแผนแก้ไขปัญหาชุมชน (เพราะถ้าตอบเตรียมชุมชน คือขั้นตอนแรกของการประเมินสุขภาพชุมชนหรือวินิจฉัย ชุมชน
อย่าหลงประเด็น !! โจทย์จะให้เราวิเคราะห์สักหน่อยเพือ
่ ทดสอบความเข้าใจ ต้องแม่นเรื่องขั้นตอน

ประเภทของแผน แบ่งตามเวลา เป็นแผนที่อาศัยเวลาดำเนินงานของแผนเป็นตัวกำหนด


1. แผนระยะยาว ➔ ระยะดำเนิ นงาน 6-10 ปี มี ลั กษณะเป็ นนโยบายหรื อหลั กการที่ ก ำหนดขึ้ นมี นโยบาย
และทิศทางการแก้ปัญหาอย่างกว้างๆ เพื่อถือปฏิบัติและเป็นแนวทางในการควบคุมการกระทำ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ
2. แผนระยะปานกลาง ➔ มากกว่า 1 ปี โดยระยะดำเนินงานอยู่ระหว่าง 2-5 ปี เป็นแผนที่อาศัยกรอบเค้าโครงจาก
แผนระยะยาว เช่น แผนระดับกระทรวง
3. แผนระยะสั้น ➔ แผนประจำปี หรือแผนที่สั้นกว่า 1 ปี อาศัยเค้าโครงจากแผนระยะปานกลางและแผนที่กำหนด
กิจกรรมเพียงครั้งเดียว เช่น แผนระดับท้องถิ่น
** แผนอนามัยชุมชน เป็นแผนปฏิบัติการ มีลักษณะเป็นแผนระดับล่าง ระยะไม่เกิน 1 ปี ทำในลักษณะโครงการ

ขั้นตอนในการเขียนโครงการ

1. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สภาพการณ์ (วิเคราะห์ปัญหา)
2. ขั้นการตั้งวัตถุประสงค์/เป้าหมายของโครงการ
3. ขั้นการทำแผนปฏิบัติงาน
4. ขั้นการดำเนินงานตามแผน
5. ขั้นการประเมินและติดตามผล
JUM !! โจทย์อาจถาม ลักษณะโครงการที่ดี ??
ลักษณะโครงการที่ดี

1. สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาของชุมชนได้
2. มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถดำเนินงานและปฏิบัติได้
3. รายละเอียดของโครงการต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กัน
4. รายละเอียดของโครงการสามารถเข้าใจง่าย สะดวกต่อการดำเนินงานตามโครงการ
5. เป็นโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และสามารถติดตามประเมินผลได้
6. โครงการต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลเป็นความจริงและได้รับจากการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 10
--- การวางแผนแก้ไขปัญหาและการติดตามประเมินผล ---

หัวข้อการเขียนโครงการ

1. โครงการอะไร ชื่อโครงการ
2. ทำไมต้องทำโครงการนี้ หลักการและเหตุผล
3. ทำเพื่ออะไร วัตถุประสงค์
4. ทำกับใคร ปริมาณเท่าใด เป้าหมาย
5. สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ใด ความสอดคล้องกับนโยบาย
6. ทำอย่างไร วิธีดำเนินการ
7. ทำเมื่อใดและนานแค่ไหน ระยะเวลาดำเนินการ
8. ทำทีไ่ หน สถานทีด
่ ำเนินการ
9. กิจกรรมนั้นทำในช่วงเวลาใด แผนการดำเนินงาน/กิจกรรม
10. ใช้ทรัพยากรอะไรเท่าใดและได้จากไหน งบประมาณ/ทรัพยากร
11. ทำได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ การประเมินผล
12. เกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
13. เกณฑ์การประเมินว่าทำได้บรรลุหรือไม่ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
14. ใครทำ หน่วยงานใด ผู้รับผิดชอบโครงการ

1. ชื่อโครงการ JUM !! โจทย์ให้ข้อมูลสุขภาพมาแล้วถามชื่อโครงการ


✓ ตั้งให้มีความชัดเจน
✓ บอกว่าจะทำอะไรบ้าง กับใคร โดยบอกลักษณะงานที่จะปฏิบัติ
เช่น อบรมแม่บ้านโภชนาการ ม.3 ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง
2. หลักการและเหตุผล แบ่งเป็น 3 วรรค ดังนี้
JUM !! ข้อสอบปี 56 การเขียนหลักการและ
✓ วรรค 1 >> สาเหตุที่ต้องทำโครงการนี้
เหตุผลมีหลักการอะไรบ้าง
✓ วรรค 2 >> ผลกระทบหรือความเสียหายที่จะเกิด ถ้าไม่ทำโครงการนี้
✓ วรรค 3 >> ประโยชน์หรือผลดีที่จะได้รับจากการจัดทำโครงการนี้
JUM !! ข้อสอบปี 59 รอบ 2
3. วัตถุประสงค์ โจทย์ให้ชื่อเรื่องมาแล้วถาม
✓ เขียนชัดเจน ไม่คลุมเครือ สามารถวัดและประเมินผลได้ วัตถุประสงค์

ข้อคำนึง 5 ประการในการเขียนวัตถุประสงค์ (SMART)


▪ S = Sensible (เป็นไปได้)
▪ M = Measurable (วัดได้)
▪ A = Attainable (ระบุสิ่งที่ตอ้ งการชัดเจน)
▪ R = Reasonable (เป็นเหตุเป็นผล)
▪ T = Time (มีขอบเขตเวลาที่แน่นอน)

>> เพื่อให้ประชาชน ม.3 ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง มีความรู้เรื่องการรับประทานอาหาร ทีถ
่ ูกหลักสุขาภิบาล
>> เพื่อปรับปรุงสุขาภิบาลน้าดื่มของประชาชน ม.8 ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง ให้ถูกหลักสุขาภิบาล

4. เป้าหมาย
✓ ระบุเป็นประเภทลักษณะและปริมาณให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
✓ เชิงปริมาณ = ใคร จำนวนเท่าใด

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 11


--- การวางแผนแก้ไขปัญหาและการติดตามประเมินผล ---

5. ความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ สอดคล้องกับ
✓ ยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2557 >> ด้านใด แผนงาน และโครงใด
✓ นโยบายกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2557 >> ประเด็นใด
✓ ภารกิจพื้นฐานของหน่วยงาน >> แผนงานใด
(แผนงาน /โครงการ และตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567)
6. วิธีดำเนินการ
✓ กิจกรรมที่กำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนตามลำดับก่อนหลัง
✓ โดยจะนำวัตถุประสงค์มาจำแนกเป็นกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม ดังนี้
6.1 การเตรียมโครงการ
6.2 กิจกรรมของวัตถุประสงค์ข้อ 1
6.3 กิจกรรมของวัตถุประสงค์ข้อ 2
7. ระยะเวลาดำเนินการ และสถานที่ดำเนินการ
✓ ระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งถึงเวลาสิ้นสุดโครงการ
เช่น เดือนตุลาคม พ.ศ.2566 – เดือนกันยายน พ.ศ.2567
✓ ระบุสถานที่ที่จะดำเนินโครงการ
8. แผนการดำเนินงาน/กิจกรรม ขั้นเตรียมงานและขั้นดำเนินงาน
JUM !! ปี 59 การประเมิน
9. งบประมาณ ระบุถึงจำนวนเงิน วัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการ
แผนงานโครงการช่วงไหนบ้าง
10. การประเมินผลโครงการ ตอบ ก่อน ระหว่าง และ หลัง
✓ ระบุวิธีการที่ใช้ในการควบคุมและประเมินผลโครงการให้ชัดเจน
✓ บอกรูปแบบการประเมินผลโครงการ เช่น ประเมินก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ หลังการดำเนินการ หรือ
ประเมินทุกระยะ 3 เดือน เป็นต้น
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
✓ เป็นการบอกว่าเมื่อโครงการสิ้นสุดลง จะมีผลกระทบในทางที่ดีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยตรงและโดยอ้อม
✓ ระบุให้ชัดเจนว่าใครจะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบนั้น
✓ ได้รับในลักษณะใด ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานและญาติได้รับความรู้และทักษะในการดูแลเท้าที่ถูกต้อง
ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนและไม่เกิดแผลที่เท้า
12. ตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
JUM !! โจทย์อาจให้วัตถุประสงค์มา แล้วให้เรากำหนดตัวชี้วัด
✓ มีเกณฑ์ตัวชี้วัดชัดเจนในเชิงปริมาณ
เช่น ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานหลังจากได้รับความรู้จากการอบรมแล้วสามารถบริหารเท้าตนเองได้อย่างถูกต้อง
13. ผู้รับผิดชอบโครงการ
✓ ระบุว่าเป็นใคร ตำแหน่งใด หรือหน่วยงานใด

2. การปฏิบัติตามแผนงาน (community implementation) นำโครงการซึ่งได้วางแผนไว้แล้วมาปฏิบัติโดย


• ผสมผสานการทำงานของหลายหน่วยงานเข้าด้วยกัน (intersectoral coordination)
• กระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม (community participation)
• นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม (appropriate technology)
• จัดบริการต่าง ๆ ให้ต้องครอบคลุมผู้รับบริการ (accessibility)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 12


--- การวางแผนแก้ไขปัญหาและการติดตามประเมินผล ---

รูปแบบ PDCA “Deming Cycle”


1. Plan (วางแผน) ➔ กำหนดเป้าหมาย / วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานให้ชัดเจน กำหนดวิธีการและขั้นตอนที่จำเป็น
เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย สอดคล้องนโยบาย กลยุทธ์ขององค์กร
2. DO (ปฏิบัติ) ➔ ปฏิบต
ั ิให้เป็นไปตามแผนทีไ่ ด้กำหนดไว้ทั้งวิธีการและขั้นตอนจะต้องเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลที่
เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานไว้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป
3. Check (ตรวจสอบ) ➔ ประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนหรือไม่ มีปัญหาเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานหรือไม่
4. Act (การปรับปรุง) ➔ เพื่อแก้ไขปัญหา อาจเป็นการแก้ไขแบบเร่งด่วนเฉพาะหน้า หรือการ

การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation)


➔ กระบวนการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานพัฒนาร่วมคิด ร่วมตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเอง
ร่วมใช้ความคิดสร้างสรรค์ความรู้และความชำนาญร่วมกับวิทยากรที่เหมาะสม และสนับสนุนติดตามผลการปฏิบัติงานของ
องค์กรและเจ้าหน้าทีท
่ เี่ กี่ยวข้องการมีส่วนร่วมของประชาชนทีแ
่ ท้จริง
➔ การที่ประชาชนหรือชุมชนพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในการจัดการและควบคุมการใช้ทรัพยากร และปัจจัยการ
ผลิตที่มีอยู่ในสังคม เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีพทางเศรษฐกิจและสังคม และการตัดสินใจต่างๆเกี่ยวกับโครงการทีเ่ หมาะสม
และเป็นทีย่ อมรับร่วมกันกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน มี 5 ระดับดังนี้ **ออกข้อสอบ
1 2 3 4 5

การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน
** 1. กระบวนการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม (Appreciation Influence Control : AIC) **ออกสอบปี 65
➔ เป็นวิ ธี การสร้างงาน โดยเน้ นการมองอนาคต เปิดโอกาสให้ ผู้ เข้าร่ วมประชุ ม ได้แลกเปลี่ ยนประสบการณ์
การเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจในปัญหา ค้นหาวิธีการแก้ปัญหา และปฏิบัติการแก้ปัญหาเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้
A. Appreciation : ขั้นตอนการสร้างความรู้ เพื่อการสร้างความตระหนักในปัญหาของหมู่บ้านร่วมกัน โดยใช้
เทคนิคการวาดภาพหมู่บ้าน และการสร้างอนาคตที่พึงประสงค์รวมกันของผู้เข้าร่วมประชุม
I. Influence : เป็นการระดมความคิดกิจกรรมโครงการที่จะให้บรรลุตามชุมชนที่ปรารถนาจัดกลุ่ม/ประเภท
ของกิจกรรม และจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมโครงการ
C. Control : การประชุมสร้างแนวทางปฏิบัติ การแบ่งความรับผิดชอบ และสร้างแผนปฏิบัติการ และเข้าสู่
การดำเนินงานตามแผน

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 13


--- การวางแผนแก้ไขปัญหาและการติดตามประเมินผล ---

1. ขั้นตอนการสร้างความรู้ (Appreciation : A)
1) การวิเคราะห์สถานการณ์ของหมูบ
่ ้านในปัจจุบัน (A1)
2) การกำหนดอนาคตของหมู่บ้านต้องการพัฒนาในทิศทางใด (A2)
2. ขั้นตอนการสร้างแนวทางการพัฒนา (Influence : I)
1) การคิดโครงการที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ (I1)
2) การคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญของโครงการ (I2)
3. ขั้นตอนการสร้างแนวทางปฏิบัติ (Control : C)
1) แบ่งกลุ่มรับผิดชอบ (C1)
2) การตกลงในรายละเอียดในการดำเนินงาน (C2)

2. การระดมการมีส่วนร่วมโดยการสร้างอนาคตร่วมกัน (Future Search Conference: FSC)


➔ เป็นกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้แทนกลุ่มหลายประเภท หลายระดับ ซึ่งต่างมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนั้น
มาร่วมกันทำงาน โดยนำประสบการณ์ของแต่ละคนมาสร้างอนาคตร่วมกัน และใช้อนาคตเป็นเป้าหมายของการพัฒนา
3. การวิจยั ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)
➔ วิธีการทีป
่ ระชาชนเข้ามามีสว่ นร่วมวิจัยเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
กับกิจกรรมการวิจัย นับตั้งแต่การกำหนดปัญหา การดำเนินการ การวิเคราะห์ขอ้ มูล ตลอดจนหาแนวทางการแก้ไขปัญหา
4. การประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal : PRA) **ออกสอบปี 65
➔ การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีสว่ นร่วม เป็นเทคนิคและวิธีการทีท
่ ำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่คนภายในชุมชนเป็นผู้ศึกษา
วิเคราะห์เอง โดยผ่านกระบวนการเสวนากลุ่ม เน้นใหเกิดการเรียนรูด
้ ้วยตนเอง โดยเริ่มจากสิ่งทีช
่ าวบ้านรู้ แล้วค่อยๆจัด
กระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน
5. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาสาธารณสุข (Participatory Learning for Health Development : PLD)
➔ เป็น รูปแบบการพัฒนาสาธารณสุขที่เป็น ผลมาจากการวิ จัยและพัฒนารูปแบบฝึกปฏิบั ติงานพัฒนาอนามัย
แบบเบ็ดเสร็จของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล

กลไกการตรวจ กำกับ ติดตาม และประเมินผลของกระทรวงสาธารณสุข


1. การกำกับติดตาม (Monitoring)
- ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) ระบบ e-Inspection ของกองตรวจราชการ ระบบ
Health KPI ระบบข้อมูล ระบบรายงานของกรม กอง และข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
- การประชุมติดตามงาน เช่น การประชุมผู้บริหารระดับกระทรวง กรม และเขตสุขภาพคณะกรรมการ
หรือคณะทำงาน
2. การประเมินผล (Evaluation)
- ประเมินผลเทียบกับเป้าหมายว่าบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ เช่น ประเมินตาม KPI เป็นช่วงเวลา
(Ongoing Evaluation)
3. การตรวจสอบ (Audit) อ้างอิงกับกฎระเบียบ เช่น การตรวจสอบภายใน ธรรมาภิบาลในการบริหารยาและ
เวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา
4. การตรวจราชการ (Inspection) การตรวจติดตามในเรื่องสำคัญหรือเป็นประเด็นการขับเคลื่อนงานเชิง
นโยบายของผู้บริหาร

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 14


--- การวางแผนแก้ไขปัญหาและการติดตามประเมินผล ---
3. การประเมินผลการดำเนินงาน (Evaluation)
➔ เป็ น กระบวนการในการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล และวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ แผนงาน/โครงการ ตลอดจน
การพิ จ ารณาผลสั ม ฤทธิ์ ข องแผนงาน/โครงการ เปรี ย บเที ย บกั บ เกณฑ์ ที่ ก ำ หนดขึ้ น พิ จ ารณาว่ า เป็ น ไปตาม
หลัก เกณฑ์และขั้นตอนที่ได้ก าหนดไว้หรือไม่ และบรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ มีป ัญ หาอุปสรรคอะไร
มีผลกระทบในแง่มุมต่างๆ อย่างไรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการ
การประเมินผล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารงานแบบมุง่ ผลสัมฤทธิ์
• เป็นการวัดผลความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามนโยบาย แผนงาน เป้าหมาย และวัตถุประสงค์
ของงานในภาพรวมและงานแต่ละด้านของหน่วยงาน
• ใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับ ตรวจสอบการปฏิบัติงาน/การใช้ทรัพยากรของหน่วยงานให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า
และมีประสิทธิภาพ
• ประเด็นการประเมินผล ได้แก่ Economy Efficiency Effectiveness
• ตัวชี้วัดการดำเนินงาน ได้แก่ Input Process Output Outcome Impact

ผลสัมฤทธิ์ (Results) = ผลผลิต (Outputs) + ผลลัพธ์ (Outcomes)


ผลผลิ ต (Outputs) คื อ ผลที่ เกิ ด ขึ้ น ทั น ที ที่ ก ารดำเนิ น งาน
กิจกรรม/โครงการ แล้วเสร็จ เช่นนักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
ผลกระทบ (impact) หมายถึง ผลที่เกิดต่อเนื่องมาจากผลผลิต
เช่น นักเรียนเรียนหนังสือเก่งขึ้น
ผลลั พ ธ์ (Outcomes) คื อ ผลระยะยาวซึ่ ง เกิ ด เป็ น ผลจุ ดหมาย
ปลายทาง หรื อ ผลต่ อ เนื่ อ งจากผลกระทบ เช่ น นั ก เรี ย นเป็ น
บุคคลแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
(Outcomes) ที่ดี มาจาก ผลผลิต (Outputs)ที่ดี **ออกสอบปี65

ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล **ออกสอบปี 64-66 (จำคำนิยาม+คำศัพท์อังกฤษ)


ประหยัด (Economy) ➔ ประหยัดต้นทุน ประหยัดทรัพยากร และประหยัดเวลา
ประสิทธิภาพ (Efficiency) ➔ การทำงานอย่างประหยัดต้นทุน ให้เสร็จทันเวลา ภายในคุณภาพที่กำหนดไว้
ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการทำงานให้เกิดผล หรือบรรลุเป้าหมายได้แบบประหยัดต้นทุน เสร็จทันเวลา ภายใน
คุณภาพที่ระบุไว้ โดยปัจจัยของประสิทธิภาพจะมีอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ ค่าใช้จ่าย, เวลา และคุณภาพ
ประสิ ท ธิ ผ ล (Effectiveness) ➔ การทำงานให้ บ รรลุ เป้ า หมาย ในคุ ณ ภาพและปริ ม าณที่ ต ้ อ งการ
ซึ่งหมายถึง ผลสำเร็จหรือการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ในเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ หรือทำตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
เป้าหมายที่ใช้วัดประสิทธิผลก็มีอยู่ 2 อย่าง ได้แก่ เป้าหมายเชิงปริมาณ และ เป้าหมายเชิงคุณภาพ
>> ประสิทธิภาพ คือ การทำให้ถูกวิธี / ประสิทธิผล คือ การทำให้ผลงานออกมาดี

รูปแบบการประเมินโครงการที่นิยมใช้
รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) **ออกสอบปี 64,65
1. การประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) ช่วยในการตัดสินใจวางแผนโครงการ
2. การประเมินปัจจัยนำเข้า/ปัจจัยป้อน (Input Evaluation : I) ช่วยกำหนดโครงสร้างหรือกิจกรรมของโครงการ
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) ช่วยในการตัดสินใจนำโครงการไปปฏิบัติ
4. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) เพื่อให้รู้ว่าควรดำเนินโครงการต่อไปหรือล้มเลิก

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 15


--- ระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ---

ชุดวิชาที่ 3 ระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ

ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
“ นพ.สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ”

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพ
ข้อมูล (Data) ➔ ข้อความจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งบอกสภาพการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว
มีความหมายและสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องหนึ่ง ๆ
สารสนเทศ (Information) ➔ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการ
ต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมายมีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้ สารสนเทศที่ดี มีดังนี้ ออกสอบ
- ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ - มีความถูกต้องและทันสมัย -มีความเป็นมาตรฐาน
- มาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ - มีความเที่ยงตรง - มีความครบถ้วน
**ออกสอบปี 63 ข้อแตกต่างระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ
**ออกสอบปี 56 สารสนเทศหมายถึงอะไร ??
ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information System) ➔ เป็นกระบวนการรวบรวม บันทึก ประมวลผล ข้อมูลให้เป็น
สารสนเทศ โดยอาศัยบุคคล และเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อประมวลผล และปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
ระบบสารสนเทศสุขภาพ (Health Information) ➔ สารสนเทศที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึง
ข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข และกิจกรรมสาธารณสุข สารสนเทศสุขภาพ มี 5 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลด้านประชากร
เศรษฐกิจและสังคม ข้อมูลด้านสถานสุขภาพ ข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข ข้อมูลด้านกิจกรรมสาธารณสุข และ
ข้อมูลด้านการบริหารจัดการ
ประโยชน์ของสารสนเทศสุขภาพ >> ทำให้ทราบข้อมูลสถานสุขภาพ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขภาพอนามัยของประชากร
ปั ญหาและอุ ปสรรคในการให้ บริ การสาธารณสุ ข ประสิ ทธิ ภาพและประสิ ทธิ ผลของการดำเนิ นงานบริ การสาธารณสุ ข
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
การจัดระบบสารสนเทศสุขภาพ
ขั้นตอนในการสร้างสารสนเทศในระบบสารสนเทศ มี 9 ขั้นตอน ได้แก่
1. กำหนดผู้ใช้ 6. กำหนดแหล่งหรือวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
2. กำหนดความต้องการของผู้ใช้ และพิจารณาคุณภาพของข้อมูล
3. กำหนดวัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศ 7. สร้างฐานข้อมูลและจัดการฐานข้อมูล
4. กำหนดสารสนเทศที่ต้องการจากระบบ 8. วิเคราะห์ข้อมูล
5. กำหนดรายการข้อมูลที่จำเป็น 9. กำหนดรูปแบบการนำเสนอสารสนเทศ
องค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสารสนเทศ ประกอบด้วย ความรู้ในศาสตร์รวมทั้งสาขาที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม และสถิติศาสตร์
ระบบสารสนเทศสาธารณสุข จำแนกตามภารกิจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ระบบสารสนเทศสาธารณสุขเพื่อการบริหาร
➔ เพื่อ การบริหารของหน่ว ยงานและจัดการข้อมูลเพื่อการวางแผนระบบที่ใช้ทั่วไปได้แก่ ระบบสารบรรณ
ระบบบัญชี ระบบคลัง ระบบบริหารงานบุคคล ระบบเงินเดือน ระบบรับผู้ป่วย ระบบจองห้อง ระบบคิดเงินและจัดเก็บ
เงินในการรักษาพยาบาล ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ ระบบสารสนเทศเพื่อการควบคุมและการจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการควบคุมด้านการปฏิบัติงาน

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 16


--- ระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ---

2. ระบบสารสนเทศสาธารณสุขเพื่อการบริการ เช่น ระบบสารสนเทศการบริการ ระบบสารสนเทศทางคลินิก


3. ระบบสารสนเทศสาธารณสุขเพื่องานวิชาการ เช่น ระบบการประชุมวิชาการทางไกลทางด้านสาธารณสุข
ระบบเครือข่ายสารสนเทศสุขภาพชุมชน ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพสำหรับประชาชน เผยแพร่ความรู้ด้านโรคภัยไข้
เจ็บและการดูแลรักษาตัวเอง การเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านสาธารณสุข โดยเก็บจากการทำสำมะโน เก็บจากการสำรวจ
ตัวอย่าง และเก็บจากลงทะเบียน
ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ “คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center – HDC)”
พัฒนาโดยสำนัก นโยบายและยุท ธศาสตร์ ร่ว มกั บ สำนัก เทคโนโลยีส ารสนเทศสำนัก งานปลัด กระทรวงสาธารณสุ ข
ที่รวบรวมข้อมูลที่หน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับบันทึกไว้มารวบรวมไว้ที่ระดับที่สูงขึ้น เช่น อำเภอ จังหวัด กระทรวง
การดำเนินงานตามกฎหมาย PDPA และ Cyber
➔ PDPA ย่อมาก Personal Data Protection Act: PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่ง
เป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดย
ไม่ได้แจ้งให้ทราบ และไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน เช่น การซื้อขายข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และข้อมูล
ส่วนตัวอื่น ๆ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ที่มักพบได้มากในรูปแบบการโทรมาโฆษณา หรือล่อลวง
➔ ความสำคัญของ PDPA คือ เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในข้อมูลส่วนตัวที่ถูกจัดเก็บไปแล้ว หรือกำลังจะถูกจัดเก็บมากขึ้น
เพื่อสร้างความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้แก่เจ้าของข้อมูล โดยมีสิทธิที่สำคัญคือ สิทธิการรับทราบและยิมยอมการเก็บ
ข้อมูลส่วนตัว และสิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว คัดค้านและเพิกถอนการเก็บและนำข้อมูลไปใช้ และสิทธิขอให้
ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนตัว
ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูล เก็บข้อมูลไม่เกินกำหนดระยะเวลา 10 ปี **อาจออกสอบ
** หากไม่ดำเนินการตามหลักของ PDPA อาจต้องรับโทษร้ายแรงทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครอง

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขที่สำคัญ
1. ระบบติดตามการบริหารยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ (Strategic Management System : SMS)
➔ เพื่อติดตามการกำกับงบประมาณและผลการดำเนินงานประจำปีตามกรอบยุทธศาสตร์ 4 Excellences
➔ รายงานข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณ และความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติราชการ
2. ระบบวัดผลการดำเนินงานรายตัวชี้วัด (Health KPI)
JUM !! ออกปี 65 โจทย์จะให้ข้อมูลมาแล้วถามว่า
➔ เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่กระทรวงได้กำหนดไว้
รายงานตามระบบใด เช่น ข้อมูลผลการดำเนินงาน
3. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข ตามตัวชี้วด
ั รายงานตามระบบใด ตอบ HDC
➔ มี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด, ระดับเขต และระดับกระทรวง
➔ เป็น ระบบฐานข้อ มูลกลางด้านสุขภาพ ซึ่งรวบรวมข้อ มูลสาธารณสุขของสถานบริก ารภายใต้ส ำนัก งาน
สาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง เป็นระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับ
ต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐาน 43 แฟ้ม ส่งจากหน่วยบริการสาธารณสุขมายัง
ฐานข้อมูลกลางระดับจังหวัด (HDC ระดับจังหวัด) เพื่อตรวจสอบและประมวลผลตามขั้นตอนการประมวลผลที่สร้าง
จากส่วนกลาง และข้อมูลที่ถูกประมวลผล และส่งมายังฐานข้อมูลกลางระดับกระทรวงแบบอัตโนมัติ
➔ระบบฐานข้อมูลกลาง (HDC) ระดับจังหวัดเปิดให้บริการ Web Service คืนข้อมูลด้านความครอบคลุม เช่น ANC,
EPI ให้กั บโปรแกรมในสถานบริ การ เช่น JHCIS, JHOS ฯลฯ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมู ลด้ านการแพทย์ ของผู้ป ่วยให้ มี
ความต่อเนื่องในการไปรับบริการรักษาพยาบาลในจังหวัดเดียวกันได้ โดยแบ่งข้อมูลเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ข้อมูลตัวชี้วัด เป็นข้อมูลตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ ในระดับกระทรวง ระดับกรม ระดับเขต และระดับจังหวัด
แบ่งตามกลุ่ม สตรีและเด็ก ปฐมวัย วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ
2. ข้อมูลด้านสุขภาพ เป็นข้อมูลสุขภาพของประชาชนทั้งประเทศ เช่น อัตราป่วย

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 17


--- ระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ---

แฟ้มฐานข้อมูลโครงสร้างโครงสร้างมาตรฐาน ข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ 43 แฟ้ม Ver.2.4 **ออกสอบ


ข้อมูล 43 แฟ้ม คืออะไร ??
➔ ที่มาของ ชุดข้อมูลมาตรฐานที่เริ่มคุ้นหู คุ้นตากันมากขึ้น คือ 43 แฟ้ม จากความหลากหลายของ HIS (Hospital
Information Systems) ที่สถานบริการแต่ละแห่งมีการใช้งาน ในหน่วยงาน ตัว Standard Data Set จึงเป็นชุดข้อมูล
ที่จะช่วยทั้งโรงพยาบาล และ รพ.สต. สามารถเชื่อมโยงนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ **ออกสอบปี 61
➔ โปรแกรม JHCIS เป็นระบบโปรแกรมระบบงานรพ.สต.และหน่วยบริการปฐมภูมิ โดย JHCIS เป็นอักษรย่อที่มา
จาก Java Health Center Information System เป็นโปรแกรม Freeware ไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ใดๆ ส่งออกข้อมูล 21 และ 43
แฟ้ม และส่งข้อมูล OP/PP Individual ให้กับ สป.สช.ได้ **ออกสอบปี 56,59
➔โปรแกรม HOSxP เป็นระบบที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Microsoft windows เป็นซอร์ฟแวร์ ประเภท Windows
Application Software โปรแกรม HOSxP ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้ในโรงพยาบาลโดยเฉพาะ แต่ปัจจุบันเริ่มนำเข้ามาใช้ใน
รพ.สต.มากขึ้น เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำการใช้งานสารสนเทศที่สามารถเชื่อ มโยงข้อมูลระบบการทำงาน
ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพในการให้บริการผู้ป่วย และเพื่อลดการทำงานที่ซับซ้อนของฝ่ายต่างๆ **ออกสอบปี 59
ประโยชน์ของข้อมูล 43 แฟ้ม
1. ประมวลผลรายงานให้บริการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับจังหวัดและระดับกระทรวง
2. ออกรายงานตาม Data set สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสามารถนำรายงานมาทำตัวชี้วัดได้
3. วิเคราะห์ นำเสนอข้อมูลที่ได้จาก 43 แฟ้มในมิติต่าง ๆ
4. มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ประมวลผลร่วมกัน ลดภาระในการจัดทำรายงานของหน่วยงาน
โครงสร้างของ 43 แฟ้ม ถ้าแบ่งออกตามกลุ่มข้อมูล ดังนี้

ประเภทของแฟ้มฐานข้อมูลโครงสร้างมาตรฐาน ข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ แบงเป็น 5 ลักษณะ ได้แก


1. แฟ้มสะสม แฟ้มสำรวจจัดเก็บข้อมูลปีละ 1 ครั้ง ในเดือนสิงหาคม และปรับข้อมูลเสร็จภายใน 1 ต.ค.ของทุกปี
หากข้อมูลผู้รับบริการมีการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม จะส่งข้อมูลให้ส่วนกลางภายในรอบเดือนนั้นๆ มีจำนวน 10 แฟ้ม
2. แฟ้มบริการ จัดเก็บและบันทึกข้อมูลบริการทุกครั้งที่มารับบริการ และส่งข้อมูลให้ส่วนกลางภายในรอบเดือน
นั้น ๆ มีจำนวน 25 แฟ้ม
3. แฟ้มบริการกึ่งสำรวจ จัดเก็บและบันทึกข้อมูลทุกครั้งที่มารับบริการ และสำรวจข้อมูลประชากรที่อาศัยในเขต
รับผิดชอบที่ไปรับบริการที่สถานบริการอื่นและบันทึกข้อมูล สงใหสวนกลางภายในรอบของเดือนนั้น มีจำนวน 15 แฟ้ม
4. แฟ้มตามนโยบาย เป็นการเก็บขอมูลตามนโยบาย ที่ถูกพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป มีจำนวน 1 แฟ้ม
5. แฟ้มแกไข เป็นแฟ้มที่บันทึกการแกไขในรายละเอียดของแต่ละแฟ้มเชน กรณีพบข้อมูลผิดพลาดตองการแกไข
ข้อมูล มีจำนวน 1 แฟ้ม
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 18
--- ระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ---
❖ แฟ้มสะสม
1. 1-PERSON : ข้อมูลทั่วไปของประชาชนในเขตรับผิดชอบ และผู้มารับบริการ
2. 4-CHRONIC : ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
3. 5-CARD : ข้อมูลประวัติการมีหลักประกันสุขภาพของประชาชนทุกคนในเขตรับผิดชอบและผู้ป่วยที่มารับบริการ
4. 6-HOME : ข้อมูลครัวเรือนของประชาชนในเขตรับผิดชอบ
5. 7-VILLAGE : ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของชุมชน
6. 8-DISABILITY : ข้อมูลผู้พิการทุกคนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ
7. 9-PROVIDER : ข้อมูลผู้ให้บริการของสถานพยาบาล
8. 10-WOMEN : ข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุ์
9. 11-DRUGALLERGY : ข้อมูลประวัติการแพ้ขาของผู้ป่วยที่มารับบริการ
10. 33-PRENATAL : ข้อมูลประวัติการตั้งครรภ์

❖ แฟ้มบริการ
1. 12-FUNCTIONAL : ข้อมูลการตรวจประเมินความบกพร่องทางทางสุขภาพของผู้พิการและผู้สูงอายุ
2. 13-ICF : ข้อมูลการประเมินสภาวะสุขภาพ ความสามารถ กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการในโรงพยาบาล ของผู้พิการ
3. 14-SERVICE : ข้อมูลการมารับบริการฯและการให้บริการนอกสถานพยาบาล
4. 15-DIAGNOSIS_OPD : ข้อมูลการวินิจฉัยโรคของผู้ปว่ ยนอกและผู้มารับบริการ
5. 16-DRUG_OPD : ข้อมูลการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยนอกและผู้มารับบริการ
6. 17-PROCEDURE_OPD : ข้อมูลการให้บริการหัตถการและผ่าตัดของผู้ป่วยนอกและผู้มารับบริการ
7. 18-CHARGE_OPD : ข้อมูลค่าใช้จ่ายของบริการแต่ละรายการสำหรับผู้ป่วยนอกและผู้มารับบริการ
8. 19-SURVEILLANCE : ข้อมูลรายงานทางระบาดวิทยา
9. 20-ACCIDENT: ข้อมูลผู้มารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน (ER) ของ รพ. และแผนกทั่วไปของ รพ.สต.
10. 23-ADDMISSION : ข้อมูลประวัติการรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
11. 24-DIAGNOSIS_IPD : ข้อมูลการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยใน
12. 25-DRUG_IPD : ข้อมูลการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยใน
13. 26-PROCEDURE _IPD : ข้อมูลการให้บริการหัตถการและผ่าตัดของผู้ป่วยใน
14. 27-CHARGE_IPD : ข้อมูลค่าใช้จ่ายของบริการแต่ละรายการสำหรับผู้ป่วยใน
15. 28-APPOINTMENT : ข้อมูลการนัดมารับบริการครั้งต่อไปของผู้มารับบริการ
16. 29-DENTAL : ข้อมูลการตรวจสภาวะทันตสุขภาพของฟันทุกซี่ และข้อมูลการวางแผนการส่งเสริม ป้องกัน รักษา
(หญิงตั้งครรภ์,เด็กในโรงเรียน,ผู้รับบริการ)
17. 42-COMMUNITY_ACTIVITY : ข้อมูลกิจกรรมในชุมชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ
18. 43-COMMUNITY_SERVICE : ข้อมูลการให้บริการในชุมชนสำหรับกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบและผู้ป่วยนอกเขตรับผิดชอบ
19. 44-CARE_REFER : ข้อมูลประวัติการได้รับยาของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ส่งกลับ หรือตอบกลับ
20. 45-CLINICAL_REFER : ข้อมูลการประเมินทางคลินิกของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ส่งกลับ หรือตอบกลับ
21. 46-DRUG_REFER : ข้อมูลรหัสยา 24 หลัก หรือรหัสยา TMT
22. 47-INVESTIGATION_REFER : ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจวินิจฉัยอื่นๆของผู้ป่วยที่ได้รับการส่ง
ต่อ ส่งกลับ หรือตอบกลับ
23. 48-PROCEDURE_REFER : ข้อมูลประวัติการได้รับการทำหัตถการและผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ส่งกลับ
หรือตอบกลับ
24. 49-REFER_HISTORY : ข้อมูลประวัติการส่งส่งต่อผู้ป่วย
25. 50-REFER_RESULT : ข้อมูลการตอบรับการส่งต่อ/ส่งกลับผู้ป่วย

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 19


--- ระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ---
❖ แฟ้มบริการกึ่งสำรวจ
1. 2-ADDRESS : ข้อมูลที่อยู่ของผู้มารับบริการทีอ่ าศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบหรือในเขตรับผิดชอบแต่ทะเบียนบ้านอยู่นอกเขต
2. 3-DEATH : ข้อมูลประวัติการเสียชีวิตของประชาชนทุกคนในเขตรับผิดชอบและผู้ป่วยที่มารับบริการ
3. 21-LABFU : ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยเบาหวาน/ความดัน
4. 22-CHRONICFU : ข้อมูลการติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ความดัน
5. 30-REHABILITATION : ข้อมูลการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้พิการหรือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
6. 31-NCDSCREEN : ข้อมูลการคัดกรองประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปี ขึ้นไป
7. 32-FP : ข้อมูลบริการวางแผนครอบครัว
8. 34-ANC : ข้อมูลบริการฝากครรภ์
9. 35-LABOR : ข้อมูลประวัติการคลอดของหญิงคลอด
10. 36-POSTNATAL : ข้อมูลบริการดูแลหลังคลอด
11. 37-NEWBORN : ข้อมูลประวัติการคลอดของทารก
12. 38-NEW BORNCARE : ข้อมูลการดูแลหลังคลอดทารก
13. 39-EPI : ข้อมูลการให้บริการวัคซีนกับผู้มารับบริการ และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
14. 40-NUTRTION : ข้อมูลการวัดระดับโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีและนักเรียน
15. 41-SPECIALPP : ข้อมูลการให้บริการส่งเสริมป้องกันโรคเฉพาะผู้ที่มารับบริการ
หมายเหตุ : อัพเดตข้อมูล 43 แฟ้ม Ver.2.4 ปี 2564 คำตอบอาจมีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน ๆ ให้ยึดคำตอบปีล่าสุด
JUM!! โจทย์จะถามว่าแฟ้มต่างๆ อยู่ในแฟ้มหมายเลขใดของประเภทแฟ้มนั้นๆ เช่น แฟ้ม EPI อยู่ในแฟ้มใดของ 21 แฟ้ม (ปี 59)
ปั จ จุ บั น ตอบ แฟ้ ม ที่ 13 แฟ้ ม ระบบสุ ข ภาพประชาชน อยู ่ ในแฟ้ ม ใดในโครงสร้ า ง 43 แฟ้ ม (สป.ปี 59 รอบ 2) ตอบ แฟ้ ม ที่ 5
จำหมายเลขแต่ละแฟ้มให้แม่น เพราะออกข้อสอบทุกปี ย้า !! ดูให้ดีโจทย์ถามหมายเลขแฟ้มตามประเภท

แบบรายงานเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค


- **แบบ รง. 506 คือ บัตรรายงานผู้ป่วย
- แบบ รง.506/1 คือ บัตรรายงานผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
- แบบ รง.507 คือ บัตรเปลี่ยนแปลงรายงานผู้ป่วย
- แบบ รง.507/1 คือ บัตรเปลี่ยนแปลงรายงานผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
- แบบ รง.506/2 คือบัตรรายงานผู้ป่วยโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
- แบบ รง.APR-AEFI คือบัตรรายงานอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
- แบบ รง IS คือ แบบรายงานข้อมูลการเฝ้าระวังการบาดเจ็บ
- แบบ Monthly Report Form (MRI) คือแบบรายงานเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่พักพิงชั่วคราว
- **แบบ รง. 506ds แบบประเมินโรคซึมเศร้าและภาวะเสี่ยงต่อการร้ายตัวเอง
- **แบบรายงานเบิกวัคซีน ว.3/1
- ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน เรียกว่า แบบ บก.111
JUM !! ออกข้อสอบทุกรอบ จำให้แม่น!!
เบอร์โทรฉุกเฉิน การแพทย์และสาธารณสุข

• 1111 – เบอร์ สายด่วนร้องเรียนและศูนย์ข้อมูลโรคโควิด-19


• 1166 – เบอร์ สายด่วนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ส.ค.บ.)
• 1165 – เบอร์ สายด่วนยาเสพติด
• 1330 - เบอร์ สายด่วนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.)
• 1323,1667 – เบอร์ สายด่วนกรมสุขภาพจิต
• 1413 – เบอร์ สายด่วนเลิกเหล้า

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 20


--- ระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ---

เบอร์โทรฉุกเฉิน การแพทย์และสาธารณสุข เบอร์โทรฉุกเฉิน แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย


1422 – เบอร์ สายด่วนกรมควบคุมโรค
191 – เบอร์ แจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
1426 – เบอร์ สายด่วนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
192 – เบอร์ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
1478 – เบอร์ สายด่วนกรมอนามัย
195 – เบอร์ กองปราบเหตุฉุกเฉินและอาชญากรรม
1506 – เบอร์ สำนักงานประกันสังคม ,แรงงาน
197 – เบอร์ ศูนย์ควบคุมการจราจร
1554 – เบอร์ หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล
198 – เบอร์ เพื่อสื่อสารกรณีเกิดสาธารณภัย
1556 – เบอร์ สายด่วนผู้บริโภค และ อย.
199 – เบอร์ แจ้งเหตุไฟไหม้/ดับเพลิง
1600 – เบอร์ สายด่วนเลิกบุหรี่
1134 – เบอร์ ศูนย์รับแจ้งเบาะแสและให้ความช่วยเหลือเด็ก
1646 – เบอร์ สายด่วนสุขภาพสำนักงานแพทย์
1135 - เบอร์ สายด่วนการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
1648 - เบอร์ สายด่วนองค์การเภสัชกรรม
1136 - เบอร์ สายด่วนการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1663 – เบอร์ สายด่วนปรึกษเอดส์และท้องไม่พร้อม
1138 – เบอร์ ศูนย์รับแจ้งข่าวปราบปรามยาเสพติด
1668 กด 1 - เบอร์ สายด่วนหัวใจ
1192 – เบอร์ ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถ (แจ้งรถหาย)
1668 กด 2 - เบอร์ สายด่วนมะเร็ง
1195 – เบอร์ กองปราบ (สายด่วนแจ้งเหตุอาชญากรรม คดีร้ายแรง)
1669 – เบอร์ เจ็บป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน
1196 – เบอร์ แจ้งอุบัติเหตุทางน้า
(สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)
1300 – เบอร์ แจ้งคนหาย
1675 – เบอร์ สายด่วน กินดี สุขภาพดี
1564 – ศูนย์ข้อมูลระงับอุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย
1691 – เบอร์ โรงพยาบาลตำรวจ
1860 – ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
1717 - เบอร์ สายด่วนเมาไม่ขับ
1784 – เบอร์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

แอปพลิเคชัน (Application) ของกระทรวงสาธารณสุข


แอปพลิเคชัน แนวทางการใช้งาน
เน้นในเรื่องของการคืนข้อมูลสุขภาพของประชาชนผู้ใช้งานในรูปแบบของสมุดสุขภาพประชาชน
บนมือถือ สามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติการรักษาในโรงพยาบาลได้ รวมถึงสามารถแสดงข้อมูลสุขภาพที่
เกี่ยวข้องกับการได้รับวัคซีนป้องกัน Covid-19 และข้อมูลประวัติการตรวจเชื้อซึ่งมีการทำงานทำงาน
ร่วมกันกับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข
แอปพลิเคชัน สำหรับเจ้าหน้าทีห ่ รือบุคลากรทางการแพทย์ ใช้สำหรับดู ข้อมูลประกอบการรักษา
ให้ ค ำปรึ ก ษาในการรั ก ษาผู ้ ป ่ ว ยที่ นั ด หมายจะรั บ การรั ก ษาทางออนไลน์ รวมถึ ง การส่ ง ต่ อ ผู ้ ป่ วย
ที่จะทำได้ อย่ างง่ ายและพร้อมให้ แพทย์ ได้รั กษาผู้ ป่ วยอย่า งต่อเนื่อง และลดความเสี่ ยงที่จะเกิดกับ
ข้อผิดพลาด ถ้าไม่รู้ข้อมูลเดิมของผู้ป่วยนั้น
เป็นระบบการรับข้อมูลผลการตรวจคัดกรองโรค COVID-19 ด้วย Antigen TestKit (ATK) ทั้งแบบ
Professional use โดยบุคลากรทางการแพทย์ และแบบ Home use สำหรับ การตรวจคัดกรองด้วย
ตนเอง (Self-test kit) ในร้านขายยา/คลินิก/หน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชน แสดงข้อมูลผลการ
ตรวจบนแพลตฟอร์มหมอพร้อม ใช้ในการออกเอกสารรับรองรูปแบบดิจิทัล (Digital Health Pass)
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการแสดงเอกสารผลตรวจหาเชื้อโควิด 19 ก่อนการเดินทางเข้า
สถานที่ต่าง ๆ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการตรวจสอบเอกสารรูปแบบดิจิทัล ในการ
ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายโรค COVID-19 ในกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งอำนวยความสะดวกแก่
บุคลากร/เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานทีเ่ กี่ยวข้องในการรายงานผลการตรวจคัดกรองโควิด19

โปรแกรมระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตน สำหรับเจ้าหน้าที่ของหน่วยบริการใช้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
ของผู้มารับบริ การ เพื่อเข้าถึงข้อมูลประวัติการเข้ารับการรักษาของผู้รับบริก ารในหน่วยบริการด้าน
การแพทย์ แ ละสาธารณสุ ข ที่ ส ่ ง ข้ อ มู ล เข้ า มายั ง ระบบระเบี ย นสุ ข ภาพอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ส ่ ว นบุ ค คล
(Personal Health Record : PHR) บนแอปพลิเคชันหมอพร้อม

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 21


--- ระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ---

JUM !! ออกปี 56 จำขนาดเครือข่าย ระยะทาง ตัวอย่างแต่ละประเภท


ลักษณะของเครือข่ายระบบ Network

1. เครือข่า ยส่วนบุคคล (PAN : Personal Area Network) ➔ เครือ ข่ายขนาดเล็ก ที่มีช อบเขตระยะสั้น
ประมาณไม่เกิน 10 เมตร มีจุดเด่นที่สะดวก คล่องตัว สามารถใช้งานได้แทบทุกที่ แต่จะมีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง
ความเร็วในการเชื่อมต่อ และการรองรับอุปกรณ์ที่จำกัด
ตัวอย่าง คุณใช้โทรศัพท์มือถือในการปล่อย Hotspot ให้ laptop หรือ iPad ใช้งานภายในห้องนอนของคุณ
การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า PAN
2. เครือข่ายท้องถิ่น (LAN : Local Area Network) ➔ เครือข่ายขนาดกลางที่ครอบคลุมในระดับองค์กรหรือ
ระยะทางประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร จุดเด่นที่มีความเร็วสูงมาก รองรับการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ได้หลาย
ชนิ ด เหมาะสำหรั บ การใช้ ง านภายในบริ ษัท องค์ ก ร หรื อ สำนั ก งานขนาดเล็ ก ถึ ง ขนาดกลาง ส่ ว นข้ อ จำกั ด คื อ
Software ที่พัฒนาไว้ใช้สำหรับระบบ LAN ส่วนใหญ่เป็น Software เฉพาะทาง ซึง่ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับ
ระบบเครือข่ายชนิดอื่น
ตั ว อย่ า ง เพื่ อ นในบริษัท สั่ง ปริ้น จากโต๊ะ ทำงานของเขา ไปยั ง Printer บนโต๊ ะ ทำงานของคุ ณในออฟฟิศ
เดียวกัน การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า LAN
3. เครือข่ายระดับเมือง (MAN : Metropolitan Area Network) ➔ เครือข่ายขนาดใหญ่ มีระยะครอบคลุมใน
ระดับเมือ งหรือ ประมาณไม่เกิ น 100 กิ โ ลเมตร เป็นการเชื่อ มต่อ LAN หลายๆ LAN เข้าด้ว ยกั น เพื่อ เพิ่ม
ระยะทาง โดยจะมีจุดเด่นที่ ระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า LAN ทำให้สามารถแชร์ทรัพยากรได้กว้างขึ้น ช่วยลด
ค่าใช้จ่ายที่ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ซ้าซ้อนลงได้ เหมาะสำหรับการใช้งานภายในบริษัท องค์กร หรือสำนักงานขนาดใหญ่
ที่มีสาขาหรือตึกกระจายอยู่ภายในระยะที่กำหนด แต่เนื่องจากมีระยะที่ไกลขึ้น ทำให้ต้องเพิ่มอุปกรณ์ส ำหรับ
เชื่อมต่อเข้าไป จึงมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูงขึ้น
ตัวอย่าง บริษัทของคุณกำลังจะเปิดสาขาใหม่ในจังหวัดใกล้เคียง และต้องการใช้ทรัพยากรหรือบริการจาก
บริษัทแม่ การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า MAN
4. เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN : Wide Area Network) ➔ เครือข่ายขนาดใหญ่มากที่มีระยะครอบคลุมทั่ว
โลก โดยภายในจะประกอบไปด้วย LAN และ MAN จำนวนมหาศาล มีจุด เด่น ที่สามารถเข้าถึ งข่าวสารได้สะดวก
รวดเร็ว และข้อจำกัดคือ ต้องใช้อุปกรณ์หลายชิ้น ทำให้มีราคาสูงกว่าเครือข่ายแบบอื่น
ตัวอย่าง คุณใช้ Video Call โทรหาเพื่อนที่อยู่ต่างประเทศ เรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า WAN

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 22


--- การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ---

ชุดวิชาที่ 4 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข

ความหมายของการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข JUM !! จำความหมายผู้บริโภค

ผู้บริโภค ➔ ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้โดยชอบ
แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

การคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection) ➔ การปกป้องดูแลผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรมและ


ประหยัดจากการบริโภคสินค้าและบริการ ปกป้อง ระวัง ดูแลพิทักษ์รักษาให้อารักขา กันไว้ให้ผู้รับบริการ ผู้ที่ซื้อของมา
ใช้ ผู้กิน ผู้เสพ ผู้ใช้สอย นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เกิดไม่เกิดอันตราย บาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหายในด้านสุขภาพ
อนามัย ร่างกายและจิตใจ

จุดมุ่งหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค
1. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้เสียเปรียบผู้ผลิต
2. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา
3. เพื่อควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
4. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย

สิทธิของผู้บริโภค JUM !! ออกสอบปี 56, 59 ทั้ง 2 รอบ จำแต่ละข้อใด้ดี โจทย์ชอบมีคำตอบหลอก

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 หมวด 3 สิทธิ และเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 57 บัญญัติว่า


“สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง” ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 มาตรา 4 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะ
ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้
1.) สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
 ราคา ป้ายโภชนาการ รายละเอียดอายุการใช้งาน ความจริงเกี่ยวกับสินค้าที่ช่วยสนับสนุน และรายละเอียด
ของสินค้า
2.) สิทธิที่จะได้อิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
3.) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
4.) สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
5.) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย จำคุก ≤ 6เดือน / ปรับ ≤50,000 บาท

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
➔ การปกป้ อ งดูแ ล และการดำเนินการเพื่ อ ให้ ป ระชาชนได้ บ ริ โ ภคผลิ ต ภั ณ ฑ์สุข ภาพที่มี คุ ณ ภาพและมาตรฐาน
ปลอดภัย และสมประโยชน์ เป็นภารกิจที่สำคัญของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรรมการอาหารและยา (อย.)
สามารถจำแนกออกเป็น 2 ด้านหลัก คือ
1. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสาธารณสุข ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ บริการในด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ
2. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบไว้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สำคัญ มี
8 ประเภท ได้แก่ อาหาร ยา ยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุ
อันตราย และสารระเหย
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 23
--- การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ---

หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค JUM !! ออกสอบปี 59 ทั้ง 2 รอบ ข้อใดไม่ใช่หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ??

1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สบค.) สังกัดอยู่ในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี **ออกสอบปี 65


➔ มี อ ำนาจหน้ า ที่ รั บ เรื่ อ งของผู ้ บ ริ โ ภคที่ ไ ด้ รั บ ความเสี ย หายจากผู ้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ สอดส่ อ งพฤติ ก ารณ์
และดำเนินคดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภค
2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
➔ ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
➔ มีหน้าที่กำกับดูแลการผลิต การจำหน่ายและโฆษณาของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ อาหาร /ยา/เครื่องสำอาง/ วัตถุ
อันตราย/ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท/ ยาเสพติดให้โทษ/ เครื่องมือแพทย์/ ป้องกันการใช้สารระเหย ให้เป็นตามกฎหมาย
3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
➔ มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค กำหนดและติดตามตรวจสอบมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตลอดจนสร้าง
ความเป็นธรรมในการซื้อขาย ขจัดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่เกิดจากด้านมาตรฐาน
4. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยกองโภชนาการ
➔ มีหน้าที่จัดทำเกณฑ์มาตรฐานด้านโภชนาการและให้คำปรึกษา แนะนำวิชาการด้านโภชนาการ
5. กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
➔ มีหน้าที่ควบคุมสินค้าให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดและไม่ให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ
6. กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ควบคุมปริมาณ การชั่ง ตวง และวัดสินค้า
7. กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน
8. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ควบคุมวัตถุมีพิษทางการเกษตร
9. มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ในนามคณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน (คปอส.)
➔ ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามสิทธิ รวมถึงเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงเพื่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
หรือบริการที่มีคุณภาพ โดยการใช้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ ปราศจากอคติ และอิทธิพลจากผู้ประกอบการ สนับสนุนส่งเสริมให้
กลุ่มหรือองค์กรต่างๆ มีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยการร่วมเผยแพร่ผ่านนิตยสารฉลาดซื้อ ไปสู่การคุ้มครอง
ผู้บริโภคที่ดีขึ้น
**สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) คือ หน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่อง “การคุ้มครองผู้บริโภค”
ในภาพรวมทั้งหมด และในส่วนภูมิภาค 77 จังหวัด ในแต่ละจังหวัดจะมี
- คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และในทุกอำเภอจะมี
- คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอ มีนายอำเภอเป็นประธานการดำเนินงานคุ้มครองภาพรวมของประเทศที่มี
กฎหมายที่ใช้บังคับ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 โดยดำเนินการคุ้มครองประชาชนในด้านต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 24


--- การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ---
1. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา การโฆษณาณาสินค้าและบริการ ต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อ
ผู้บริโภค หรือก่อให้เกิดความว่าเสียหายต่อสังคมเป็นส่วนรวม
2. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัย สินค้าที่เป็นอันตราย และบริการที่เป็นอันตราย **ออกสอบปี 64
3. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก โดยกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้ข้อเท็จจริงของสินค้าด้วยการกำหนด
รายละเอียดลงในฉลากเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค
4. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา โดยกำหนดให้เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาหรือควบคุมหลักฐานการรับเงิน
โดยการออกประกาศควบคุม ซึง่ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องใช้ข้อสัญญาตามที่กฎหมายกำหนด
5. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ควบคุมดูแลให้
การประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องตามมาตรฐาน
โทร.สายด่วน 1166 สำหรับผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนในการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ต้องจำ อาจออกสอบ!!


1. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 6. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
2. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 7. พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ.2559
3. พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 8. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
4. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 9. พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533
5. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 10.พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 กำหนดนิยาม ดังนี้ JUM !! จำประเภทอาหารให้ดี มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

อาหาร หมายความถึง ของกิน หรือเครื่องค้าจุนชีวิต ได้แก่


(1) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยาวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและ
ประสาทหรือยาเสพติดให้โทษ
(2) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุง
แต่งกลิ่นรส แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
1. อาหารควบคุมเฉพาะ ➔ อาหารที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นอาหารที่อยู่ในความควบคุม
คุณภาพหรือมาตรฐาน มี 7 ประเภท ได้แก่ ไซคลาเมต (Cyclamate), นมดัดแปลงสำหรับทารก และนมดัดแปลง
สูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก , วัตถุเจือปนอาหาร, อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและ
เด็กเล็ก อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้าหนัก, อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก และสตีวิออลไกลโคไซด์
2. อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน ➔ อาหารที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นอาหารที่อยู่
ในความควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐาน มี 33 ชนิด ได้แก่ กาแฟ, เกลือ บริโภค, ข้าวเติมวิ ตามิน , ไข่เยี่ยวม้า , ครีม,
ช็อ กโกแลต, ชา,ชาสมุนไพร, ซอสบางชนิด , น้าแข็ง, น้านมถั่ วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ ปิด สนิท , น้าบริโภคใน
ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท , น้าปลา, น้าผึ้ง, น้ามันถั่วลิสง, น้ามันเนย, น้ามันปาล์ม, น้ามันมะพร้าว, น้ามันและไขมัน ,
น้าแร่ธรรมชาติ, น้าส้มสายชู, เนย, เนยแข็ง, เนยเทียม, เนยใสหรือกี, ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่ว
เหลือง, แยม เยลลี่ มาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท , อาหารกึ่งสำเร็จรูป, น้าเกลือปรุงรสอาหาร, นมโค, นมปรุง
แต่ง, นมเปรี้ยว, ผลิตภัณฑ์ ของนม, ไอศกรีม, เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
, เครื่องดื่มเกลือแร่, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, รอยัลเยลลี่และผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี่
3. อาหารที่ต้องมีฉลาก ➔ มี 11 ชนิด ได้แก่ ขนมปัง, ซอสในภาชนะบรรจุที่ปด ิ สนิท, แป้งข้าวกล้อง, ผลิตภัณฑ์
จากเนื้อสัตว์, วัตถุแต่งกลิ่นรส, วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี่, หมากฝรั่งและลูกอม, อาหารพร้อมปรุง และอาหารสำเร็จรูป
ที่พร้อมบริโภคทันที, อาหารฉายรังสี และอาหารทั่วไปที่เป็นอาหารดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม
4. อาหารทั่วไป ➔ มี 9 ประเภท ได้แก่ อาหารนอกเหนือจากอาหารควบคุมเฉพาะ อาหารกำหนดคุณภาพหรือ
มาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก เช่น พืชและผลิตภัณฑ์, สัตว์และผลิตภัณฑ์, สารอาหาร, สารสกัด/สารสังเคราะห์
แป้งและผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์สำหรับทำอาหารที่ยังไม่พร้อมบริโภค, เครื่องปรุงรส, น้าตาล, เครื่องเทศ เป็นต้น

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 25


--- การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ---

**อาหารที่จำเป็นต้องขออนุญาตเลขผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ อาหารกำหนดคุณภาพ


และมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก ส่วนอาหารประเภททั่วไป จะขอหรือไม่ขอเลขผลิ ตภั ณฑ์อาหารก็ ได้
แต่ถ้าหากสถานประกอบการเข้าข่ายโรงงานก็จะต้องขออนุญาตด้วย

ความหมายการจดทะเบียนอาหาร การแจ้งรายละเอียดอาหารและเลขสารบบอาหาร
การจดทะเบียนอาหาร ➔การขอรับเลขสารบบอาหาร ของอาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน
การแจ้งรายละเอียดอาหาร ➔การขอรับเลขสารบบอาหารของอาหารที่ต้องมีฉลากและอาหารทั่วไป
เลขสารบบอาหาร ➔ ตัวเลข 13 หลักที่ได้รับอนุญาตในส่วนของสถานที่และผลิตภัณฑ์อาหารประกอบไปด้วย เลขสถานที่
ประกอบการ 8 หลักแรก XX-X-XXXXX และ เลขผลิตภัณฑ์อาหาร 5 หลักหลัง Y-YYYY
การขอเลขสถานที่ประกอบการ 8 หลัก ➔ ประกอบไปด้วย เลขจังหวัดที่ตั้งของสถานที่ผลิต, สถานะของหน่วยงานที่ขอ
อนุญาต, เลขประจำสถานที่ผลิต, เลขท้ายของปีพ.ศ.ที่อนุญาต

JUM !! ออกสอบปี 60 เลขสารบบอาหาร มีกี่หลักประกอบด้วยเลขอะไรบ้าง

อาหารต้องห้าม มาตรา 25 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตนำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายอาหารดังต่อไปนี้


(1) อาหารไม่บริสุทธิ์ ➔ อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วยอาหารที่มีสารหรือวัตถุ เคมี
เจือ ปนอยู่ในอัตราที่อ าจเป็นเหตุให้คุณภาพของอาหารนั้นลดลง เว้น แต่ก ารเจือ ปนเป็นการจำเป็นต่อกรรมวิธีผลิต
การผลิต และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว อาหารที่ได้ผลิต บรรจุ หรือเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ
อาหารที่ผลิตจากสัตว์ที่เป็นโรคอันอาจติดต่อถึงคนได้ และอาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบด้วยวัตถุที่น่าจะเป็นอันตราย
แก่สุขภาพ
>> ไม่ได้ตั้งใจใส่ลงไปแต่อาจเจือปนด้วยอาหารที่มีสารหรือวัตถุเคมีจากการที่ไม่ได้ตรวจสอบในกระบวนการผลิต
(2) อาหารปลอม ➔ อาหารที่ได้สับเปลี่ยนใช้วัตถุอื่นแทนบางส่วน หรือคัดแยกวัตถุที่มีคุณค่าออกเสียทั้งหมดหรือ
บางส่วน และจำหน่ายเป็นอาหารแท้ วั ตถุ หรืออาหารที่ผลิตขึ้นเทียมอาหารอย่างหนึ่งอย่างใด และจำหน่ายเป็นอาหารแท้
อาหารที่ได้ผสมหรือปรุงแต่งด้วยวิธีใด ๆ โดยประสงค์จะปกปิดซ่อนเร้นความชำรุดบกพร่องหรือความด้อยคุณภาพของอาหาร
อาหารที่มีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะพิเศษอย่างอื่น หรือ
ในเรื่องสถานที่และประเทศที่ผลิตอาหารที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
>> จงใจทำเลียนแบบ สวมโลโก้ สวมเลข อย. ใส่สารอาหารที่ไม่ตรงตามฉลาก
(3) อาหารผิดมาตรฐาน ➔ อาหารที่ไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ถ้าฝ่าฝืน
ต้องระวางโทษ ปรับ ≤ 50,000 บาท
>> จงใจใส่สารต่างๆลงในอาหารในปริมาณที่เกินมาตรฐานกำหนด เพื่อหวังผลโดยอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
(4) อาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด ➔ อาหารที่ไม่ปลอดภัยในการบริโภค หรือมีสรรพคุณไม่เป็นที่เชื่อถือ หรือ
มีคุณค่าหรือคุณประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่ไม่เหมาะสม ถ้าฝ่าฝืนต้องระวางโทษ จำคุก ≤5 ปี ปรับ ≤5 50,000 บาท

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 26


--- การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ---
** วัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) เรื่องวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร)
1. น้ามันพืชที่ผ่านกรรมวิธีเติมโบรมีน (brominated vegetable oil)
2. กรดซาลิไซลิก(salicylic acid)
3. กรดบอริก(boric Acid) JUM !! ออกสอบปี 59,60 ข้อใดคือวัตถุห้ามใช้ในอาหาร
4. บอแรกซ์ (borax)
5. แคลเซียมไอโอเดต (calcium iodate) หรือ โพแทสเซียมไอโอเดต (potassium iodate) ยกเว้นการใช้เพื่อปรับ
สภาวะโภชนาการเกี่ยวกับการขาดสารไอโอดีน ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
6. ไนโตรฟูราโซน (nitrofurazone)
7. โพแทสเซียมคลอเรต (potassium chlorate)
8. ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde solution) และพาราฟอร์มาลดีไฮด์
(paraformaldehyde)
9. คูมาริน (coumarin) หรือ 1,2-เบนโซไพโรน (1,2-benzopyrone) หรือ 5,6-เบนโซ-แอลฟา-ไพโรน (5-6-benzo -
alpha - pyrone) หรือ ซิส-ออร์โธ-คูมาริค แอซิด แอนไฮไดร์ด (cis-o-coumaric acid, anhydride) หรือ ออร์โธ-ไฮดรอก
ซีซินนามิค แอซิด แล็กโทน (O-hydroxycinnamic acid, lactone)
10. ไดไฮโดรคูมาริน (dihydrocoumarin) หรือ เบนโซไดไฮโดรไพโรน (benzodihydropyrone) หรือ 3-4-ไดไฮโดร
คูมาริน (3,4-dihydrocoumarin) หรือ ไฮโดรคูมาริน (hydrocoumarin)
11. เมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) หรือ เมทานอล (methanol)
12. ไดเอทิลีนไกลคอล (diethylene Glycol)

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564


(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 30มีนาคม 2564) **ออกสอบปี 64
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 40 มาตรา 41 และมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.อาหารพ.ศ. 2522
“การโฆษณาอาหาร” ➔ การกระทำด้ ว ยวิ ธี ก ารใดๆให้ ป ระชาชนเห็ น หรื อ ทราบข้ อ ความเกี่ ย วกั บ อาหาร
ส่วนประกอบของอาหาร เพื่อประโยชน์ในทางการค้า
“ข้อความ” ➔ หมายความรวมถึง ข้อความ ข้อความเสียง เสียง ภาพ รูปภาพ รอยประดิษฐ์
การโฆษณาอาหารต้องไม่ใช้ข้อความในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อ
สังคมเป็นส่วนรวม ดังต่อไปนี้
1) ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่ามีวัตถุใดในอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งความจริงไม่มีหรือมีแต่ไม่เท่าที่
ทำให้เข้าใจตามที่โฆษณา
2) ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือไม่เข้าใจลักษณะหรือวิธีการบริโภคอาหาร
3) ข้อความที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
4) ข้ อ ความที่ เป็ นการสนั บ สนุน โดยตรงหรื อ โดยอ้ อ มให้ มี ก ารกระทำผิด กฎหมายหรือ ศี ล ธรรมหรื อ นำไปสู่
ความเสื่อมเสียในประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของชาติ
5) ข้อความที่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบที่จะนำมาซึ่งอันตรายหรือความรุนแรง
6) ข้อความที่เป็นการแนะนำรับรองหรือยกย่องคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารโดยบุคลากรทาง
การแพทย์และสาธารณสุขหรือผู้ที่อ้างตนหรือแสดงตนหรือทำให้เข้าใจว่าเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
7) ข้อความที่เป็นการเปรียบเทียบหรือทับถมผลิตภัณฑ์ของผู้อื่น

พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 องค์ประกอบฉลากยา : มาตรา 25(3)


1. ชื่อยา 3.ปริมาณของยาที่บรรจุ
2. เลขที่/รหัสใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา 4. ชื่อ/ปริมาณ/ความรุนแรงของสารออกฤทธิ์
**ต้องมีคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยา
บทลงโทษ : ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 27
--- การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ---

พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510
องค์ประกอบฉลากยา : มาตรา 25(3)
1. ชื่อยา 3.ปริมาณของยาที่บรรจุ
2. เลขที่/รหัสใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา 4. ชื่อ/ปริมาณ/ความรุนแรงของสารออกฤทธิ์
**ต้องมีคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยา
บทลงโทษ : ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558
สาระสำคัญ : ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิดเป็นเครื่องสำอางควบคุม
การจดแจ้ง
มาตรา 14 ผู้ใดประสงค์จะผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอางต้องจดแจ้งรายละเอียดของ
เครื่องสำอางต่อผู้รับจดแจ้ง และเมื่อผู้รับจดแจ้งออกใบรับจดแจ้งให้แล้วจึงจะผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางนั้นได้
การควบคุมเครื่องสำอาง
มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย รับจ้างผลิตหรือขายเครื่องสำอางดังต่อไปนี้
(1) เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ (3) เครื่องสำอางผิดมาตรฐาน
(2) เครื่องสำอางปลอม (4) เครื่องสำอางที่รัฐมนตรีประกาศห้ามตามมาตรา 6 (1)
(5) เครื่องสำอางที่ถูกสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งตามมาตรา 36 หรือมาตรา 37
พ.ร.บ.เครื่องสำอาง ฉบับ 2 พ.ศ.2559
สาระสำคัญ : มาตรา 3 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “กระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง” ➔ การพิจารณาคำขอการ
ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานที่ผลิตนำเข้า
ขาย หรื อ เก็ บ รั ก ษาเครื่ อ งสำอาง หรื อ การตรวจสอบเพื่ อ ออกใบรับ จดแจ้ ง ตลอดจนการพิ จ ารณาใด ๆ เกี่ ย วกั บ
เครื่องสำอาง
ประกาศ เรื่องการใช้ส่วนของกัญชง/กัญชาในเครื่องสำอาง พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2564
“สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล ” (Tetrahydrocannabinol หรือ THC ) ➔ผลรวมของสารในกลุ่ม THC
“ส่วนของกัญชง” หมายความว่า (1) เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก (2) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
(3) เมล็ดกัญชง/กัญชา (4) กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชง/กัญชา
** ต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้าหนัก
ประกาศ ชื่อวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง พ.ศ. 2566 วันที่ 22 มิถุนายน 2566 ➔ 1,610 ชนิด
**สารห้ามใช้ทส
ี่ ำคัญ : สารประกอบชองปรอท ไฮโรควิโนน กรดเรทิโนอิก (กรดวิตามินเอ) กรกอะเซลาอิก

กองควบคุมวัตถุเสพติดกัญชา ประกาศ ปลดล็อคกัญชาอะไรทำได้ หรือ ไม่ได้


สามารถทำได้  ต้องขออนุญาต  ไม่สามารถทำได้ 
- ปลูกได้แต่ต้องแจ้ง - ขายเมล็ดพันธุ์ กิ่ง และต้นกล้า - ห้ามสูบกัญาชาในที่สาธารณะ
- ครอบครองกัญชาได้ทั้งช่อ ดอก ใบ - การซื้อขายสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% - ห้ามใช้และจำหน่ายกับสตรีมีครรภ์
กิ่งก้าน ราก ลำต้น ต้องมีใบอนุญาตทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย หรือสตรีให้นมบุตร
- ครอบครองสารสกัดที่มี สาร THC ≤ 0.2% - การผลิตและจำหน่วยผลิตภัณฑ์ต้อง - ห้ามจำหน่ายให้ผู้ทอ
ี่ ายุต่ากว่า 20 ปี
- ขายส่วนของพืชกัญชาได้ เช่น ใบ ดอก ลำต้น ปฏิบัตติ ามกฎหมายทีเ่ กี่ยวข้อง - ห้ามครอบครองสารสกัดที่มี THC เกิน
- ขายสารสกัดที่มี THC ≤ 0.2% ได้ 0.2% โดยไม่มีใบอนุญาต

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 28


--- ประชากรศาสตร์ ---

ชุดวิชาที่ 5 ประชากรศาสตร์

ประชากรศาสตร์
➔ การศึกษาเกี่ยวกับขนาดหรือจำนวนคนที่มีอยู่ในแต่ละสังคม ภูมิภาคและระดับโลก
➔ ศึกษาการเปลี่ยนแปลง การกระจายตัว และองค์ประกอบต่าง ๆ ของประชากร ได้แก่ การตาย การเจริญพันธุ์
และการย้ายถิ่น
ขอบข่ายของประชากรศาสตร์
- ประชากรศาสตร์เชิงแบบ การศึ ก ษาเกี่ ยวกั บการใช้ ร ะเบีย บวิ ธีทางสถิ ติในการวั ด และวิ เคราะห์ ปรากฏการณ์ทาง
(Formal demography) ประชากร โดยอาศัยตัวแปรทางประชากรเป็นหลัก
- ประชากรศาสตร์สังคม การศึ ก ษาปรากฏการณ์ ต ่ า งๆทางประชากรที่ สั ม พั น ธ์ กั บ ศาสตร์ ส ่ ว นอื่ น ๆ เช่ น
(Social demography) เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ กฎหมาย ประวัติศาสตร์ และศาสตร์ในแขนงสังคมศาสตร์
- ประชากรศาสตร์ทางการแพทย์ การประยุกต์หลักการแบบจำลองและเทคนิคของ ประชากรศาสตร์เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับ
(Medical demography) ปรากฏการณ์ของภาวการณ์ เจ็บป่วย ภาวะทุพพลภาพ และภาวะการตาย

สรุปประเด็นหลักในการศึกษาประชากรศาสตร์
1. เพื่อหาขนาดหรือจำนวนประชากร (Population size) ในแต่ละพื้นที่ และรูปแบบการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากร
การเปลี่ยนแปลงขนาดประชากร (Population Dynamics) ➔ภาวะประชากรทุกด้านเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากร = การเกิด การตาย และการย้ายถิ่น **ออกสอบ ปี59,64

2. การกระจายของประชากร (Population distribution) โดยต้อ งการศึก ษาถึงความหนาแน่น (Density) ของ


ประชากรในแต่ละพื้นที่
3. องค์ประกอบทางประชากร (Population composition) การศึกษาประชากรภายใต้องค์ประกอบต่าง ๆ เช่น
อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา สภาพ เศรษฐกิจ เป็นต้น
แหล่งข้อมูลทางประชากร
1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ ข้อมลูสำมะโนประชากรและเคหะ
สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม สถานภาพแรงงาน จำนวนผู้มีงานทำ อัตราว่างงาน รายได้และรายจ่ายของครอบครัว
➔ การจัดทำสำมะโนประชากร จะทำทกุ 5 ปี หรือ 10 ปี
➔ ครั้งล่าสุด เป็นครั้งที่ 12 ของประเทศไทย = สำมะโนประชากร ปี พ.ศ.2563
➔ ครั้งต่อไป ทำเป็นครั้งที่ 13 คือ สำมะโนประชากร ปี พ.ศ.2573 **ออกสอบปี 64
2. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้แก่ ข้อมูลคนเกิด คนตาย ข้อมูลการย้ายที่อยู่ ข้อมูลการสมรส
3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
>> สถิติประชากร สถิติชีพ สถิติทรัพยากรสาธารณสุข
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรโลก ปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น มีสาเหตุมาจาก
1) การค้นคว้าทางการแพทย์ ที่พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การผลิตวัคซีนป้องกันและรักษาโรค
2) ความรู้เรื่องสุขอนามัยของประชากร มีความรู้เรื่องของการแพร่เชื้อโรคสุขอนามัยมากขึ้นรวมทั้งมีการจัดการ
ระบบ การวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ
3) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่ประชาชนสามารถรับรู้ขา่ วสารทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง
(4) ระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ห ญิงเริ่มมีบ ทบาททางสังคมมากขึ้น ทำให้ที่มีทัศนคติต่อการแต่งงานเป็น
ด้านลบ ส่งผลให้จำนวนประชากรวัยเด็กลดน้อยลง
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 29
--- ประชากรศาสตร์ ---

ทฤษฎีประชากร ➔ ทฤษฎีที่สร้างขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์และพฤติกรรมทางประชากรในลักษณะต่างๆ
สรุปแนวคิดทางทฤษฎีประชากรได้ดังนี้
1. ทฤษฎีทางประชากรของมัลธัส ประชากรขึ้นอยู่กับเครื่องยังชีพ ประชากรจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเครื่อ ง
**ออกสอบ ปี 56,59 ยังชีพเพิ่มมากขึ้น ยกเว้นจะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาควบคุม ได้แก่ ข้อห้าม
ทางศีลธรรม ความเสื่อมและความยากแค้น
จุดอ่อน ข้อมูลที่นำมาเป็นพื้นฐานของอเมริกา จึงไม่อาจจะนำมาเป็น
รูปแบบของประเทศต่าง ๆ ได้ทุกประเทศ
2. ทฤษฎีทางด้านวัฒนธรรม การจำกั ด อั ต ราการเกิ ด ขึ้ น อยู ่ กั บ ความคิ ด ทางด้ า นจิ ต ใจมากกว่ า
ทางด้านเศรษฐศาสตร์ บุคคลชั้นสูงมีบุตรน้อยกว่าพวกกรรมกร
เพราะต้องการสร้างความเจริญมั่งคั่งให้กับครอบครัวและสังคม
จุดอ่อน คำว่า “วัฒนธรรม” มีความหมายกว้างขวางมาก ยากที่จะหา
ขอบเขตแน่นอน
3. ทฤษฎีทางด้านชีววิทยา Sadler ได้ตั้งกฎเกี่ยวกับประชากรไว้ 2 ข้อ ในหนังสือ The Lawof
Population คือ
(1) ภาวะเจริญพันธุ์ผกผันกับความหนาแน่นของประชากร
(2) อัตราตาย และอัตราเกิดจะผันแปรตามกัน กล่าวคือถ้าพื้นที่ใดมี
อัตราตายสูงก็จะมีอัตราเกิดสูง และถ้าที่ใดมีอัตราเกิดก็จะมีอัตราตาย
4. ทฤษฎีประชากรทางด้านคณิตศาสตร์ เมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น อัตราเพิม
่ ประชากรจะสูงขึ้น ต่อมาอัตราเพิม

นี้จะลดลง จนในที่สุดก็เข้าสู่สภาพคงที่จนกว่าจะระบบเศรษฐกิจใหม่
5. ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงประชากร การเปลี่ยนแปลงประชากรตามธรรมชาติเท่าที่เป็นไปตามธรรมชาติ
**อาจออกสอบ JUM!! เท่าที่เป็นไปได้ มีอยู่ 4 ลักษณะ คือ
(1) อัตราเกิดสูง อัตราตายสูง (เรียกว่า High Potential Growth)
(2) อัตราเกิดสูง อัตราตายต่า (เรียกว่า Transitional Growth)
(3) อัตราเกิด อัตราตาย (เรียกว่า Incipient Decline)
(4) อัตราเกิด อัตราตายสูง (อัตราเพิม ่ ประชากรจะติดลบ)

องค์การสหประชาชาติ (UNFPA) ประกาศให้วันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันประชากรโลกได้


(ประชากรโลกทีม
่ ีจำนวนครบ 5,000 ล้าน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2530)

พีระมิดประชากร สามารถเขียนแสดงในรูปแบบต่างๆ ได้ 4 รูปแบบ ได้แก่


รูปแบบพีระมิด คำอธิบาย
1. พี ร ะมิ ด แบบขยายตั ว (expansive pyramid) เป็ น พี ร ะมิ ด ประชากรที่มี
รูปแบบฐานกว้างและยอดแหลม ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตรา
การตายของประชากรที่สูง มีอัตราการเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว
2. พี ร ะมิ ด แบบคงที่ (stationary pyramid) เป็ น พี ร ะมิ ด ประชากรที่มี
รูปแบบคล้ายทรงกรวยปากแคบ หรือมีโครงสร้างประชากรในแต่ละช่วงอายุ
ที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตาย
ของประชากรที่ต่า
3. พีระมิดแบบเสถียร (stable pyramid) เป็นพีระมิดประชากรที่มีรูปแบบ
คล้ายกับระฆังคว่า หรือมีโครงสร้างประชากรที่คงที่ ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของ
อัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่ไม่เปลี่ยนแปลง

4. พีระมิดแบบหดตัว (constrictive pyramid or decliningpyramid) เป็น


พีระมิดประชากรที่มีรูปแบบของฐานพีระมิดแคบตรงกลางพองออกและยอด
ค่อยๆ แคบเข้าคล้ายรูปดอกบัวตูม ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของอัตราการเกิ ด
และอัตราการตายที่ตา่ หรือมีโครงสร้างประชากรลดลง
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 30
--- ประชากรศาสตร์ ---

โครงสร้างประชากรไทย ปี 2565-2573

ปี 2565
ปี 2573

แผนภูมิดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างอายุและเพศของประชากร ปี 2565-2573 มีลัก ษณะเป็นแบบพีระมิด


แบบหดตัว (Constrictive Pyramid or Declining Pyramid) มีรูปแบบของฐานพีระมิดแคบ แสดงถึงรูปแบบของอัตรา
การเกิดและอัตราการตายที่ตา่ หรือมีโครงสร้างประชากรลดลง **ออกข้อสอบปี 59,64 ข้อใดคือพีระมิดประชากรไทยในอนาคต

ปี 2566 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
➔ ประชากรรวมทั้งหมด 66,060,036 คน จำนวนประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป รวม 12,533,117 คน คิดเป็น 18.97%

ปี 2567 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Age Society) ✓✓ **ออกสอบปี 64-66


➔ มีประชากรกลุ่มสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% หรือมีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 14% ของประชากรทั้งประเทศ
➔ คาดการณ์ว่าในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” (Super-aged society)

นิยามคำว่า “ผู้สูงอายุ” (Older person) ขององค์การสหประชาชาติ หมายถึง ประชากรทั้งเพศชายและหญิ งที่ มี


อายุ 60 ปีขึ้นไป ซึง่ ตรงกับนิยามผู้สูงอายุของประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
องค์การสหประชาชาติ แบ่งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) ➔ มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีคนอายุ 65 ปีขึ้นไป
มากกว่า 7% ของประชากรทั้งประเทศ
2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) ➔ มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% หรือมีคนอายุ 65 ปีขึ้นไป
มากกว่า 14% ของประชากรทั้งประเทศ
3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) ➔ มีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ

แนวคิดมูลฐานทางประชากรศาสตร์
ประชากรกลางปี (Mid-year population)
➔ เนื่ อ งจากปรากฏการณ์ ท างประชากรเกิ ด ขึ้ น ตลอดเวลา
จึงต้องการ “กลุ่มประชากรในข่ายที่จะมีเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้นเฉลี่ย
ตลอดปี ” มาเป็ นฐานในการคำนวณ ได้ แก่ จำนวนคน-ปีที่มีชีวิตอยู่
ใน 1 ปีปฏิทินของประชากร และ ประชากรกลางปี

การวิเคราะห์ข้อมูลทางประชากร
• สถิติชีพ (vital statistics)
➔ ข้อ มูล ข่าวสารที่เกี่ ยวกั บ การดำรงชีวิ ตของประชาชน เพื่อ ให้ท ราบถึ งสภาพการณ์ของสุขภาพอนามัยของ
ประชาชน และการเปลี่ยนแปลงของประชากรที่อาจจะเกิ ด ขึ้น และสามารถนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกั น ได้ ได้แก่
ประชากรการเกิด การตาย การย้ายถิ่นฐาน และการหย่าร้าง
➔ เป็นแขนงทีส ่ ำคัญแขนงหนึ่งของสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics)เพื่อเป็นหลักสำคัญในการอธิบาย
สภาวะสุขภาพ และอนามัยของประชากร โดยมีการอธิบายรูปแบบของตัวเลข หรืออัตราต่างๆ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 31


--- ประชากรศาสตร์ ---

• ดัชนีอนามัย (health indices)


➔ เป็นการวั ด ด้านปริมาณเพื่อ แสดงถึ งสุ ขภาพของประชาชนในชุ มชนที่เกี่ ยวข้อ งกั บ สุ ขภาพอนามัย โดยมี
การอธิบายในรูปแบบอัตรา อัตราส่วน และสัดส่วน
➔ เป็นเครื่องบ่งชี้ความถี่ของการเกิดโรค การเจ็บป่วย การตาย และภาวะสุขภาพอนามัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีอนามัยที่สำคัญ
1. อัตราตายอย่างหยาบ (Crude death Rate) ***ออกสอบปี 56 ให้ ปชก.กลางปีมา ถามอัตราตายอย่างหยาบ
➔ จำนวนคนตายด้วยสาเหตุต่างๆ ทั้งหมดต่อจำนวนประชากน 1,000 คนต่อปี

จำนวนคนตายทั้งหมดในระหว่างปี
อัตราตายอย่างหยาบ = x 1,000
จำนวนประชากรกลางปีในปีเดียวกัน

2. อัตราตายปริกำเนิด: (Perinatal death rate) ***ออกสอบปี 64 ให้ นิยามสูตร


➔ จำนวนของทารกตายคลอด และการตายของทารกภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด ต่อจำนวน 1,000 การเกิดมีชีพ"
➔ เป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพของการให้การดูแลทารกแรกเกิดในโรงพยาบาล

จำนวนการตายของทารกที่มีอายุต่ากว่า 7 วัน ในช่วงเวลาที่กำหนด


อัตราตายปริกำเนิด = x 1,000
จำนวนทารกเกิดมีชีพทั้งหมดที่คลอดในช่วงเวลาเดียวกัน

3. อัตราตายมารดา (Maternal death rate) **ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข 2567


>> อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน ต้องไม่เกิน 17 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน
➔ มารดาไทยที่ตายตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอด ภายใน 2 วัน ไม่ว่าอายุครรภ์จะเป็นเท่าใดหรือ
การตั้งครรภ์ที่ตำแหน่งใด จากสาเหตุที่เกี่ยวข้องหรือก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นจากการตั้งครรภ์และหรือการดูแลรักษา
ขณะตั้งครรภ์ และคลอดแต่ไม่ใช่จากอุบัติเหตุ

จำนวนมารดาตายจากตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอด
อัตราตายมารดา = x 100,000
จำนวนทารกเกิดมีชีพปีเดียวกัน

4. อัตราตายทารกแรกเกิด (Neonatal mortality rate) **ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข 2567


>> ทารกออกมามีน้าหนัก ≥ 500 กรัม ที่เกิดมามีชีวิตในโรงพยาบาลสังกัด สป.สธ. อายุ ≤ 28 วัน ต้อง <3.60 ต่อ 1,000

จำนวนทารกที่เสียชีวิต ≤28วัน
อัตราตายทารกแรกเกิด = x 1,000
จำนวนทารกแรกเกิดมีชีพ

5. อัตราส่วนทารกแรกเกิดไร้ชีพ (Stillbirth rate)


➔ ทารกทีค่ ลอดและมีอายุครรภ์ ≥ 28 สัปดาห์หรือ น้าหนัก ≥ 1,000 กรัม +ไม่มีสัญญานชีพในช่วงเวลาที่กำหนด
>> ทารกเมื่อคลอดแล้วไม่มีอาการแสดงของการมีชีวิต ได้แก่ ไม่มีการหายใจเอง ไม่มีการเต้นของหัวใจ และไม่มีการ
เคลื่อนไหว รวมทารกทีค่ ลอดออกมาแล้วตายทันที

จำนวนทารกที่คลอด อายุครรภ์≥ 28wk/นน.≥1,000 กรัม + ไม่มีสัญญาณชีพ


อัตราส่วนทารกแรกเกิดไร้ชีพ = x 1,000
จำนวนทารกเกิดทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน (ทั้งเกิดมีชีพ และ ไร้ชีพรวมกัน)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 32


--- เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ---

ชุดวิชาที่ 6 เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข

เศรษฐศาสตร์ Economics) “ ศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ “


➔ การศึกษาถึงพฤติกรรมของบุคคลและสังคมในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาผลิตสินค้า
และบริการต่างๆ อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด และหาทางกระจายสินค้านั้นออกไปเพื่อสนองความต้องการ
ของมนุษย์ที่มีไม่จำกัดให้ได้รับความพอใจสูงสุด
เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข หรือ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ(Health Economics)
➔ เป็นการประยุกต์เศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบาย การวางแผน และการจัดบริการสุขภาพ เพื่อให้ทรัพยากร
ที่ใช้ในการจัดบริการสุขภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพาอนามัยของประชาชน
➔ ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ประกอบการตัดสินใจใช้งบประมาณและจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้ผลต่อสุขภาพของ
ประชาชนและต่อการแพทย์และสาธารณสุขมากที่สุด
➔ มิได้ ลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนในรูปของกำไรสูงสุด เป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์รวมสูงสุดแก่ผบ
ู้ ริโภค
แก่นของวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งจะคำนึงถึงเรื่องประสิทธิภาพและทางเลือก
1.ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ ต้องมีการจัดสรร – กระจายทรัพยากรไปใช้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ประโยชน์
หรือผลผลิตสูงสุดและคุ้มค่าต่อสังคม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 ประสิทธิภาพทางเทคนิคด้านสุขภาพ หมายถึง การผลิต ผลผลิตหรือบริการทางสุขภาพอนามัยที่มี
คุณภาพตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย และมีลักษณะตามที่ต้องการโดยใช้ต้นทุนในการผลิตที่ต่าหรือใช้ต้นทุนน้อย
กว่าวิธีอน
ื่ ๆทีน่ ำมาเปรียบเทียบในการผลิตหรือบริการทางสุขภาพ
1.2 ประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพ หมายถึง การผลิตผลผลิตหรือบริการทางสุขภาพอนามัย
ตามความต้องการของสังคมและชุมชน โดยมีปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสม สัดส่วนถูกต้องเหมาะสม
2. ประสิทธิผล (Effectiveness) ผลที่ได้คือ ผลผลิต (Output) หรือผลลัพธ์ (Outcome) สัดส่วนหรือร้อยละของ
ผลที่ทำได้หรือเกิดขึ้นโดยเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ประสิทธิผลทางสุขภาพ จึงหมายถึง ผลผลิตหรือบริการทางสุขภาพ
อนามัยการแพทย์และการสาธารณสุข สามารถนำไปใช้ได้ดีหรือทำให้เกิดผลดี โดยได้ผลตามความต้องการของชุมชน
หรือสังคม
3. ทางเลือก (Choice) การเลือกหาวิธีการที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็น
เรื่องของการเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ ภายใต้ข้อ จำกัดต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวั ตถุประสงค์ที่ตั้ ง ไว้
ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้บริโภคก็ตาม
การประยุกต์หลักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ จำเป็นต้องประยุกต์หลักเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญต่อไปนี้ คือ
1. พฤติกรรมของผู้ใช้บริการสาธารณสุข (Consumer behavior) และพฤติกรรมการจัดบริการสุขภาพ (Provider
behavior) การศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการและผู้จัดบริการสาธารณสุข เพื่อการนำไปกำหนดนโยบาย ที่ช่วยลด
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจลงได้
2. ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของประเทศ (Health care expenditure) รัฐต้องใช้งบประมาณด้านสาธารณสุขที่
สูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ต้นทุนความเจ็บป่วยและต้นทุนบริการสุขภาพสูงขึ้น
3. ระบบการคลังสาธารณสุข (Health care financing) ศึก ษาภาพรวมของรายจ่ า ยด้ านสาธารณสุ ขที่นำมา
ใช้ในด้านสุขภาพว่ามาจากแหล่งใดบ้าง และนำรายได้เหล่านั้นมาใช้ในงานบริการสุขภาพอย่างไร
4. ระบบประกันสุขภาพ (Health Insurance) ศึกษาความจำเป็นและรูปแบบในการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน
5. เศรษฐศาสตร์กับการวิเคราะห์และประเมินผลเพื่อพัฒนางานบริการสาธารณสุข (Economic Evaluation)
เปรียบเทียบระหว่างผลที่ได้รับ กับ ปัจจัยที่ใช้ไปในงานบริการสาธารณสุข เพื่อเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจว่าจะทำหรือ
ไม่ทำ โดยดูที่ความคุ้มค่า

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 33


--- เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ---

การประเมินทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (Health Economic Evaluation) ➔เป็นการใช้ความรู้เกี่ยวกับการจัดสรร


ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางสาธารณสุขที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1. การบริการทางสุขภาพอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับความจำเป็นและความต้องการของผู้รับบริการ
2. บริการทางสุขภาพอย่างไร จึงจะให้ประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้รับบริการ
3. การกระจายบริการสุขภาพอย่างไร จึงจะทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน และเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการ

การประเมินบริการทางสุขภาพ **ออกสอบปี65,66 จำคำนิยามแต่ละข้อ


1. การประเมิ น ผลสั ม ฤทธิ์ (Efficacy) ➔ เพื่ ต อบคำถามว่ า ดี จ ริ ง หรื อ ไม่ ? ยาหรื อ การรั ก ษานั้ น ให้
ผลการรักษาที่ดีจริงหรือไม่ในสถานการณ์ที่ถูกควบคุมไว้
2. การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness) ➔ เพื่อตอบคำถามว่า ยาหรือการรักษานั้น ใช้ได้ทางปฏิบัติหรือไม่?
3. การประเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพ (Efficiency) ➔ เพื่ อ ตอบคำถามว่ า ยาหรื อ การรั ก ษานั้ น คุ ้ ม หรื อ ไม่ ?
เป็ นการศึก ษาว่ า หากยานั้ น สามารถใช้ ไ ด้ ดีทั้ง ในสถานการณ์ ที่ถู ก ควบคุ ม และในสถานการณ์จ ริง ยานั้ น จะมี
ประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ เมื่อเทียบกับผลลัพธ์การรักษาที่ได้ กับ ค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณที่ต้องสูญเสียไป
4. การประเมินความเสมอภาค (Equity) ➔ เพื่อตอบคำถามว่า ยาหรือการรักษานั้น มีความเสมอภาคใน
การเข้ า ถึ ง บริ ก ารของประชาชนหรื อ ไม่ ? เป็ น การศึ ก ษาว่ า ยานั้ น สามารถให้ บ ริ ก ารครอบคลุ ม ประชากร
กลุ่มเป้าหมายทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ใช้สิทธิ์การรักษาใด ก็สามารถใช้ยาหรือบริการนั้นได้

การวิเคราะห์ต้นทุน ตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพ
การประเมินทางเศรษฐศาสตร์บริการสุขภาพ ใช้การประเมิน 4 รูปแบบ คือ
1. การวิเคราะห์ต้นทุนต่า (Cost Minimization Analysis : CMA)
2. การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล (Cost Effectiveness Analysis: CEA)
3. การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ (Cost Benefit Analysis: CBA)
4. การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost Utility Analysis: CUA)

การเปรียบเทียบประเมินทางเศรษฐศาสตร์บริการสุขภาพ 4 รูปแบบ ดังนี้


รูปแบบ วิธีการ
1. การวิเคราะห์ เป็ นการวิ เ คราะห์ เปรี ยบเทีย บระหว่ า งทางเลื อ กหลายๆ ทางที่ มี ผ ลเหมื อ นกั น ทุ ก ประการเพื่ อ เลื อ กดูว่ า
ต้นทุนต่า(CMA) ทางเลือกใดจะเสียต้นทุนต่าที่สุด วิธีนี้เหมาะสำหรับการวิเคราะห์โครงการที่ให้ผลประโยชน์เหมือนกันและ
เท่ากันทุกประการ
2. การวิเคราะห์ เป็นการประเมินสำหรับโครงการที่มีผลได้อยู่ในรูปของหน่วยนับทางธรรมชาติ เช่น จำนวนคนตายทีเ่ ลี่ยงได้
ต้นทุน จากการรั ก ษาพยาบาล จำนวนวั น ป่ ว ยที่ ล ดลงได้ เป็ น ต้ น หรื อ อี ก นั ย หนึ่ ง คื อ โครงการที่ มี ผ ลได้ ห รื อ
ประสิทธิผล ประสิทธิผลต่างกัน (แต่นับหน่วยเหมือนกัน) สามารถปรับให้อยู่ในรูปของผลได้ ค่าต้นทุนได้ แล้วจึงนำมา
(CEA) เปรียบเทียบกัน โครงการที่บรรลุประสิทธิผลหรือผลได้ที่ใช้ต้นทุนต่าก็จะได้รับเลือก การวิเคราะห์ต้นทุน
ประสิทธิผลถือได้ว่าเป็นการประเมินประสิทธิภาพแบบเทคนิคของโครงการ
3. การวิเคราะห์ เป็นการประเมินโครงการที่มีผลได้ในรูปตัวเงิน โครงการที่มีผลได้สุทธิ (ผลได้หักต้นทุน) สูงสุดก็จะได้รับ
ต้นทุนผลได้ เลือก การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้จัดเป็นการประเมินประสิทธิภาพแบบการจัดสรร นั่นคือ ผลการประเมินระบุ
(CBA) ได้ว่าโครงการใดมีความคุ้มค่า สูงสุด
4. การวิเคราะห์ เป็นการประเมินสำหรับโครงการที่มีผลได้ อยู่ในรูป ของอรรถประโยชน์ ซึ่งทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพนั้น
ต้นทุน หมายถึง ระดับของความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) ทีอ
่ ยู่ในรูปธรรม หน่วยของผลได้ทน
ี่ ิยมใช้กันคือ จำนวนปีที่
อรรถประโยชน์ มีการปรับคุณภาพชีวิต (Quality-adjusted Life Year : QALY) โครงการที่มี QALY ต่อต้นทุนสูงสุดก็จะได้รับ
(CUA) เลือกและถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดโดยเปรียบเทียบ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 34


--- เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ---

อุปสงค์/ความจำเป็นและพฤติกรรมการบริโภคบริการสุขภาพ
 อุปสงค์ (Demand) คือ ความต้องการ (Want) ในสินค้าหรือบริการ โดยผู้ซื้อจะต้องมีอำนาจซื้อ
 อุปทาน (Supply) คือ ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตยินดีจะทำออกเสนอขายในตลาด ณ ระดับราคาแตกต่างกันของ
สินค้าเช่น หน่วยบริการสุขภาพ บุคลากรสุขภาพ ยา วัคซีน **ออกข้อสอบ 65
บุคลากรทางสาธารณสุข เป็นอุปทาน (supply)
ผู้รับบริการ (ประชาชน) เป็นอุปสงค์ (demand) **ออกข้อสอบ
ลักษณะของอุปสงค์ที่มีต่อบริการสุขภาพ
➔ เป็นอุปสงค์ต่อเนื่อง (Derived Demand)
➔ เป็นอุปสงค์อันเนื่องมาจากการชักนำโดยอุปทาน (Supply Induced Demand)
➔ เป็นอุปสงค์ที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอน (Certainly)
ความสำคัญของการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค
1. การกำหนดนโยบายการคลัง (Financing Policy) มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ
2. การบริโภคหรือไม่บริโภคบริการสุขภาพมีผลกระทบต่อผู้อื่นด้วย (มีผลกระทบภายนอก)
3. พฤติกรรมสุขภาพของประชาชน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการยกระดับสถานะสุขภาพ
พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เป็นปัญหาต่อการยกระดับสถานะสุขภาพ
➔ พฤติกรรมเกี่ยวกับอนามัยครอบครัว และโภชนาการ.
➔ พฤติกรรมการบริโภคบริการสุขภาพไม่ถูกต้อง เช่น การซื้อยากินเอง
➔ พฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคทางสังคม เช่น การติดแอลกอฮอล์ และสารเสพติด โรคประสาท และความพิการจากอุบัติเหตุ
พฤติกรรมของผู้ผลิตที่เป็นปัญหาต่อการยกระดับสถานะสุขภาพ
การแสวงหากำไรเกินควรของสถานพยาบาล และร้านขายยา และนำมาซึ่ง
➔ การใช้ยาเกินจำเป็น
➔ การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องเพื่อผลระยะสั้น
➔ การตรวจรักษาที่เกินกว่าเหตุ
➔ การตรวจรักษาด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่แพงโดยไม่จำเป็น
ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อบริการสุขภาพ
ประเด็นที่ 1 อุปสงค์ภายนอก และ อุปสงค์ของสังคมต่อบริการสุขภาพ
- เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการ จะมีคนอื่นๆที่ยินดีจ่ายบางอย่างเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการ เรียกว่า อุปสงค์ภายนอก
ประเด็นที่ 2 คุณภาพบริการมีผลต่ออุปสงค์ เช่น คุณภาพสูง อุปสงค์เพิ่ม คุณภาพต่า อุปสงค์ลดลง
ประเด็นที่ 3 ความไม่ใส่ใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลการรักษาที่มีต่อสุขภาพ
ประเด็นที่ 5 ต้นทุน ประกอบด้วย ค่ารักษา ต้นทุนค่าเสียเวลา ความต้องการรับบริการสุขภาพของประชาชน
หน่วยงานประกัน (insurance) เป็นผู้ซื้อบริการโดยทำหน้าที่บริหารงบประมาณใช้มาตรการทางการเงินแก่ผู้ให้
บริการควบคุมให้มีมาตรฐานสาธารณสุข
ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพหลัก 3 กลุ่มตามสิทธิ ได้แก่ (1) ระบบประกันสังคม (2)ระบบสวัสดิการ
รักษาพยาบาลข้าราชการ และ (3) ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.) และแบบประชาชนจ่ายเองหรือ
ซื้อประกันสุขภาพจากเอกชน

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 35


--- ชีวิสถิติ ---

ชุดวิชาที่ 7 ชีวิสถิติ

กระบวนการทางสถิติ

1. การวางแผนการ 2. การเก็บ 3. การนำเสนอ 4. การวิเคราะห์ 5. การ


ทดลอง/สำรวจ รวบรวมข้อมูล ข้อมูล ข้อมูล ตีความหมาย

สถิติมี 2 ประเภท

1. สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) 2. สถิตอ


ิ ้างอิงหรือสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)
ใช้บรรยายลักษณะต่างๆของสิ่งต้องการศึกษา ใช้อธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ตอ้ งการศึกษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ให้อยู่ในรูปของการนำเสนอ หรือหลายกลุ่ม แล้วสามารถอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรหรือ
แบบต่างๆเพื่อให้เข้าใจถึงข้อมูลที่รวบรวมมาได้ กลุ่มอื่นๆทีม
่ ีลักษณะใกล้เคียงกัน

ประเภทข้อมูล
➔ ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เก็บรวบรวมได้จากตัวอย่างหรือประชากร
• แบ่งตามลักษณะข้อมูล ได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) ➔ เป็นข้อมูลที่แสดงข้อเท็จริงสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น รายได้
อายุ ความสูง อุณหภูมิ น้าหนัก ซึ่งแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1.1 ข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) : ข้อมูลเป็นจำนวนจริง เช่น 0-1 ซึ่งมีค่ามากมายนับไม่ถ้วน และเป็น
เส้นจำนวนแบบไม่ขาดตอน
1.2 ข้ อ มู ล แบบไม่ต ่อ เนื่ อง (Discrete Data) : ข้ อ มู ล ที่ มี ค ่ า เป็ น จำนวนเต็ ม หรื อ จำนวนนั บ เช่ น 0,1,2,….หรือ
0.1,0.2,0.3,... ซึ่งไม่มีค่าอื่นใดมาแทรก
2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) ➔ เป็นข้อมูลที่ไม่ วัดออกมาเป็น ตัว เลขก็ได้ เช่น เพศ ระดับการศึกษา
อาชีพ ทัศนคติ เป็นต้น
• แบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล ได้ 2 ประเภท ดังนี้ **ออกสอบทุกปี ถามว่าเป็นข้อมูลแบบไหน ประเภทไหน
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ➔ เป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลโดยตรงที่ผู้ใช้ไปเก็บรวบรวมข้อมูลเอง เช่น
แบบสอบถาม สัมภาษณ์ การทดลองในห้องปฏิบัติการ
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ➔ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้ว เช่น สำมะโนประชากร
ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง

ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) ค่าสถิติ (Statistic)


ค่าที่คำนวณมาจากข้อมูลของประชากร เป็นตัวทีบ
่ ง่ ชี้ถึง ค่าที่คำนวณได้จากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง เป็นตัวทีบ
่ ่งชี้ ถึง
คุณลักษณะของประชากร คุณลักษณะของตัวอย่าง
ค่าสถิติจะเป็นตัวประมาณการค่าพารามิเตอร์

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 36


--- ชีวิสถิติ ---

ระดับของการวัด 4 ระดับ **ออกข้อสอบทุกปี จำระดับและลักษณะให้แม่น


ระดับการวัด ลักษณะการวัด ตัวย่าง
1. นาม เป็นเพียงการเรียกชื่อหรือจัดประเภท แบ่งกลุ่มชนิดของ - เพศ = หญิง/ ชาย - กลุ่มเลือด = A B AB และ 0
บัญญัติ สิ่งต่าง ๆ เท่านั้นเอง จะแสดงให้เห็นเพียงความแตกต่าง สถานภาพสมรส = โสด คู่ หม้าย หย่า และ แยก
(Nominal ไม่สามารถจัดลำดับก่อนหลัง หรือบอกระยะห่างได้ - บ้านเลขที่ เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ
scale)
2.เรียง สามารถจัดลำดับของข้อมูลได้ว่ามาก น้อย สูงหรือต่าง - ระดับความเจ็บปวด = ปวดมาก ปานกลาง น้อย
อันดับ อย่างไร แต่ไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างลำดับ ความคิดเห็น = เห็นด้วย เฉย ๆ ไม่เห็นด้วย
(Ordinal ได้ว่าต่างกันปริมาณเท่าใด ความพึงพอใจ = พอใจมาก พอใจน้อย ไม่พอใจ
scale)
3.อัตรา - อุณหภูมิ
กำหนดค่ า ของตั ว แปรเป็ น ตั ว เลขในลั ก ษณะต่ อ เนื่ อ ง - I.Q.
ภาค/ช่วง แต่ไม่มีศูนย์แท้(คือที่จุดยังมีค่าอยู่) บอกความแตกต่าง - คะแนนความรู้ - คะแนนทัศนคติ
(Interval ระหว่างช่วงของตัวแปรได้ โดยแต่ละหน่วยการวัดจะมี - คะแนนการปฏิบัติ ฯลฯ
scale) ระยะห่างเท่า ๆ กัน **ออกสอบปี 59,66
4.อัตรา กำหนดค่ า ของตั วแปรเป็ น ตั ว เลขในลั ก ษณะต่ อ เนื่ อ ง -น้าหนัก -ส่วนสูง
ส่วน มี จุ ด ศูน ย์ แท้ คื อ ค่ า 0 มี ความหมายชั ด เจนว่ า ไม่ มี ค ่ า - ความดันโลหิต -จำนวนผู้มารับบริการ ฯลฯ
(Ratio ความแตกต่ า งระหว่ า งช่ ว งของตั ว แปรมี ข นาดเท่ า กั น
scale) สามารถบวก ลบ คูณ หาร กันได้ **ออกสอบปี 65

การนำเสนอข้อมูล **ออกข้อสอบปี 59 ให้ข้อมูล ถามรูปแบบการนำเสนอ


เป็ นการจั ด ทำข้ อ มู ล ที่ ร วบรวมได้ ให้ อ ยู ่ ในรู ป แบบที่ ก ะทั ด รั ด เช่ น ตาราง กราฟ แผนภู มิ ข้ อ ความ เป็ น ต้ น
เพื่อความสะดวกในการอ่านข้อมูล ให้เข้าใจง่าย และเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ต่อไป
ตาราง

>> ข้อมูลมีการกระจายไม่ปกติ ให้นำเสนอด้วยตางแสดง ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 37


--- ชีวิสถิติ ---

แผนภูมิ

1. แผนภูมิเส้น ➔ ใช้แสดงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตามช่วงเวลา (วัน/เดือน/ปี) โดยการลากเส้นเชื่อมต่อ


ปริมาณข้อมูลของแต่ละช่วงเวลา **ออกสอบปี 59

2. แผนภูมิแท่ง ➔ ใช้แจกแจงข้อมูลกลุ่ม (Nominal or Ordinal scale) โดยใช้ความสูงของแท่งแทนค่าข้อมูล เช่น


จำนวนร้อยละ สัดส่วน ของแต่ละกลุ่มเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง

3. แผนภูมิวงกลม ➔ ใช้แ จกแจงข้อมูล กลุ่ม (Nominal or Ordinal scale) ใช้พื้น ที่ในแต่ละสัด ส่ว นของวงกลม
บอกสัดส่วนของแต่ละลักษณะ (ต้องไม่เกิน 100%) เหมาะกับข้อมูลไม่หลากหลายมากเกินไป เช่น เพศ อาชีพ การศึกษา

4. แผนภูมิฮิสโทแกรม ➔ ใช้เพื่อแสดงลักษณะการกระจายของข้อมูลต่อเนื่อง (Interval or Ratio scale) โดยการ


นำข้อมูลต่อเนื่องมาแบ่งเป็นชั้นๆ เพื่อแจกแจงความถี่และเปรียบเทียบข้อมูล โดยให้ความสูงของแท่งเป็นสัดส่วน
กับจำนวนความถี่ของข้อมูลในแต่ละชั้น

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 38


--- ชีวิสถิติ ---

5. แผนภูมิกระจาย ➔ ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่อเนื่อง 2 ตัวแปร

การวิเคราะห์ข้อมูล
➔ เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลซึ่งในการวิเคราะห์จำเป็นต้องใช้สูตรทางสถิติต่างๆหรือใช้การอ้างอิงทางสถิติ
ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของงานนั้นๆ เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย เป็นต้น
หาค่ากลาง หาตำแหน่งข้อมูล การกระจายข้อมูล ความสัมพันธ์ข้อมูล เปรียบเทียบ
ความแตกต่าง
1. ค่าเฉลี่ย (Mean) 1. ควอไทล์ (Quartiles) 1. พิสัย (Range) 1.การทดสอบไคสแควร์ 1. Independent T-
2. ฐานนิยม (Mode) 2. เดไซล์ (Deciles) 2. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Chi-Square Test) Test
3. มัธยฐาน(Median) 3. เปอร์เซ็นไทล์ (Standard Deviation) 2.การทดสอบแบบเอฟ 2. Paired Samples
4.ค่ามากสุด (Max) (Percentiles) 3. ค่าความแปรปรวน (F-Test)
T-Test
ค่าน้อยสุด (Min) (Variance) 3.สหสัมพันธเชิงอันดับ
3. Analysis of
**ออกสอบทุกปี 4.สัมประสิทธิก์ ารกระจาย ของสเปียรแมน
Variance (ANOVA)
(Coefficient of Variation) (Spearman Rank
4. Z-test
5.การวัดความเบ้ Correlation)

วัดการแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

**อาจออกสอบปี 66

**แต่ถ้าทุกจำนวนมีความถี่เท่ากัน
ข้อมูลชุดนั้นไม่มีฐานนิยม

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 39


--- ชีวิสถิติ ---

การวัดหาตำแหน่งข้อมูล วัดการแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

การแจกแจงข้อมูล

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 40


--- สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข ---

ทักษะ สมรรถนะ การประยุกต์ความรูท


้ างด้านสาธารณสุข

ชุดวิชาที่ 8 สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข
ความหมายของการวิจัย
การวิจัย ➔ การค้นหาคำตอบว่าความจริงแต่ละเรื่องเป็นอย่างไร ด้วยวิธีการที่มีระบบระเบียบแบบแผนที่แน่นอน
มีความเชื่อถือได้ตามความวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน (จิตราภา กุณฑลบุตร, 2550)
การวิจัยทางด้านสาธารณสุข ➔ การศึกษาค้นคว้า หาความรู้ หาวิธีการใหม่ๆ คิดค้นหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมี
ประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาโรค รวมทั้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข เพื่อให้
ประชาชนมีสุขอนามัยที่ดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข (ธวัชชัย วรพงศธร, 2543)
ประโยชน์ของการวิจัย
1. สร้างองค์ความรูใ้ หม่
2. อธิบายสภาพปัญหา สถานการณ์ ปรากฏการณ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
3. พัฒนาวิธีการ แนวทาง เทคโนโลยีใหม่ๆในการแก้ปัญหา หรือ พัฒนางาน
4. กำหนดนโยบาย วางแผน ประเมินผล สรุป และตัดสินใจ
กระบวนการวิจัย **ออกสอบปี 66 ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนการวิจัย

1. ชื่อเรื่องและกำหนดปัญหาการวิจัย 7. เครื่องในการวิจัย
2. ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 9. การเก็บรวบรวมข้อมูล
3. ตั้งคำถามและวัตถุประสงค์การวิจัย 10. การวิเคราะห์ข้อมูล
4. สมมติฐานการวิจัย 11. สรุปและแปรผล
5. กำหนดตัวแปร 12. การเขียนรายงานการวิจัย
6. การออกแบบการวิจัย 12. นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย
1. การกำหนดปัญหาในการวิจัยทางด้านสาธารณสุข ข้อมูลที่มีความตรง(Validity) และความเที่ยง(Reliability)

1. ความสำคัญของประเด็นปัญหาการวิจัย ✓ 2. ความรุนแรงของปัญหา
✓ ขนาดของปัญหา ✓ ผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชน
✓ อยู่ในแผน/ นโยบายเร่งด่วนของประเทศ ✓ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ
✓ ให้ความรู้ใหม่ทน
ี่ ่าสนใจ ✓ แนวโน้มทีเ่ พิ่มขึ้นในอนาคต

3. ความเป็นไปได้ในการทำวิจัย 4. ไม่ซ้าซ้อนงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
✓ ระดับของปัญหา(ไม่กว้าง ไม่ซับซ้อนเกินไป) ✓ ปัญหาการวิจัย
✓ ความสามารถและทักษะของผู้วิจัย ✓ สถานที่
✓ ทรัพยากรบุคคล งบประมาณ ระยะเวลา ✓ ระยะเวลา
✓ วิธีการวิจัย อุปกรณ์ เครื่องมือวิจัย ✓ ระเบียบวิธีวิจัย

การเขียนชื่อเรื่องวิจัย ➔ ใช้ภาษาที่ง่าย กะทัดรัดชัดเจนบอกได้ว่าศึกษาอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ขึ้นต้นด้วย


คำนาม ระบุตัวแปรหลักของการวิจัย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (หัวข้อวิจัย+ตัวแปร+ประชากร)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 41


--- สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข ---
2. การทบทวนวรรณกรรม และการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แหล่งข้อมูลสำหรับทบทวนวรรณกรรม การจัดลำดับคุณภาพของหลักฐานเชิงประจักษ์
1) จากประสบการณ์ น้อย
2) จากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
3) จากการเรียนรู้หรือตำราต่างๆ
4) จากการทดลอง
5) จากการศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพ มาก

การเขียนวรรณกรรม มี 3 แบบ
1) เขียนแบบตัดต่อ ➔ นำแนวคิด ทฤษฎี แต่ละคนมาต่อๆกันภายในเรื่อง/หัวข้อเดียวกัน ไม่มีการสรุปแต่ละข้อ
2) เขียนแบบตัดต่อเหมือนกับแบบแรก แต่มีการสรุป/สังเคราะห์ข้อความเข้าด้วยกัน นิยมเขียน
3) เขียนในรูปแบบสรุปความหรือแบบสังเคราะห์ข้อความ เป็นวิธีการเขียนที่ดีที่สุด แต่มีน้อยมาก

3. ตั้งคำถามและวัตถุประสงค์การวิจัย
➔ คำถามที่นักวิจัยกำหนดขึ้นเพื่อหาคำตอบ ซึง่ จะนำไปสู่วิธีการแก้ไขปัญหาการวิจัย
➔ นิยมตั้งคำถามวิจัยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป มีลักษณะอย่างไร
ตั้งคำถามการวิจัยด้วยหลัก PICO
Population (P) เราสนใจบุคคลหรือปัญหาในการศึกษา?
Intervention (I) สิ่งที่จะใส่ในการศึกษา
Comparison (C) การเปรียบเทียบ (ตัวแปร)
Outcome (O) เราคาดหวังอะไรจากผลลัพธ์การศึกษานี้?
กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย **ออกสอบ 56,59
1. เขียนในรูป “เป้าหมาย”  การวิจัยไม่ใช่ วิธีการ 
2. ต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่องวิจัย
3. สั้น กะทัดรัด ชัดเจนว่าศึกษาอะไร ในแง่มุมใด

วัตถุประสงค์ของการวิจัยที่สอดคล้องกับประเภทงานวิจัย JUM!!
ประเภทของงานวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย
งานวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาสภาพเหตุการณ์ทั่วๆ ไป ของ
งานวิจัยเชิงบรรยายเพื่อทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มี/ส่งผล/ผลกระทบ/อิทธิพลต่อ.........
งานวิจัยเชิงอธิบาย เพื่อศึกษา/หาสาเหตุของ...........
งานวิจัยเชิงบรรยายเพื่อหาความแตกต่าง เพื่อเปรียบเทียบ......................
งานวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาอิทธิพลของ................. โดยควบคุม)
งานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อบรรยายเหตุการณ์........ที่เกิดขึ้นในอดีต
งานวิจัยประเมินผล เพื่อตรวจสอบตามเกณฑ์ที่สร้างขึ้น
งานวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาขึ้น
4. ขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน (มีหรือไม่ก็ได้)
สมมติฐาน ➔ ข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่คาดหวังระหว่างตัวแปร (Variables) หรือข้อความคิด
(concept) ตั้งขึ้นเพื่อให้พิสูจน์ว่า “ยอมรับ” หรือ “ไม่ยอมรับ
1) เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาการวิจัย
2) เขียนในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป คำตอบที่ได้อาจถูกต้อง/ไม่ถูกต้องก้ได้
3) สมมติฐานที่ตั้งขึ้น ต้องพิสูจน์หรือทดสอบได้ด้วยข้อมูลและหลักฐาน
4) การวิจัยเชิงคุณภาพ ตั้งหรือไม่ตั้งสมมติฐานการวิจัยไว้ก่อนก็ได้
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 42
--- สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข ---
ประเภทของสมมติฐาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis) ข้อความที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา โดยใช้ข้อมูลเชิง
ประจักษ์จากการสังเกตและสัมภาษณ์ ใช้ในการเขียนรายงานการวิจัย เช่น
>> ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในเหตุผลของการตั้งสมมติฐาน ➔ มีความเชื่อมั่นค่อนข้างสูง
2. สมมติ ฐ านทางสถิ ติ ข้ อ ความที่ เขี ย นเพื่ อ ใช้ ในการทดสอบสมมติ ฐ านการวิ จั ย เขี ย นในรู ป สั ญ ลั ก ษณ์ ท าง
คณิตศาสตร์เกี่ยวกับค่าพารามิเตอร์ของประชากร เช่น 𝜇 (มิว) : ค่าเฉลี่ย
2.1 สมมุติฐานว่าง หรือ สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis) เขียนให้ไม่มีความแตกต่างหรือไม่มีความสัม พัน ธ์
ระหว่างตัวแปรทั้ง 2 ตัว มีลักษณะเงือ
่ นไขที่เท่ากันหรือเป็นกลาง สมมติฐานศูนย์ สัญลักษณ์ H0
2.2 สมมุติฐานทางเลือก หรือ สมมุติฐานรอง (Alternative Hypothesis : H1) โดยระบุถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร
ว่าไม่ความสัมพันธ์กันทางใด แตกต่างกันหรือไม่เท่ากัน มากกว่า น้อยกว่า สัญลักษณ์ H1 , Ha
1) สมมติฐานแบบมีทิศทาง ➔ สมมติฐานที่เขียนแสดงถึงความสัมพันธ์หรือความแตกต่างของตัวแปรไปใน
ทิศทางใดทิศทางหนึ่ง มีคำว่า มากกว่า หรือ น้อยกว่า **ออกสอบปี 59,65 ข้อใดเป็นการตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง

ผู้ที่สูบบุหรี่ เป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (ทดสอบทางเดียว)


H1 : 𝜇1 > 𝜇2 หรือ H1 : 𝜇1 - 𝜇2 > 0
ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ เป็นโรคมะเร็งปอดน้อยกว่าผู้ที่สูบบุหรี่
H1 : 𝜇1 < 𝜇2

2) สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง ➔ มีคำว่า แตกต่างกัน หรือ ไม่เท่ากัน (≠) เช่น


**ออกสอบปี 66 ข้อใดเป็นการตั้งสมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง

ผู้ที่สูบบุหรี่ เป็นโรคมะเร็งปอดแตกต่างกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (ทดสอบ 2 ทาง)


H1 : 𝜇1 ≠ 𝜇2 หรือ H1 : 𝜇1 - 𝜇2 ≠ 0

การทดสอบสมมติฐาน

ปฏิเสธ H0 ไม่ปฏิเสธ H0
H0 เป็นจริง Type I error (𝜶) ถูกต้อง
ข้อผิดพลาดแบบที่ 1
H0 ไม่เป็นจริง ถูกต้อง Type II error (𝜷)
ข้อผิดพลาดแบบที่ 2

ข้อผิดพลาดแบบที่ 1 ข้อผิดพลาดแบบที่ 2

- H0 เป็นความจริง แต่ตัดสินใจปฏิเสธ H1 ข้อผิดพลาดแบบที่ 2 (Type II error)


- ใช้ 𝛼 แทนความน่าจะเป็นทีจ่ ะเกิดข้อผิดพลาดแบบที่ 1 - ใช้อักษร 𝛽 แทนข้อผิดพลาดแบบที่ 2
- เรียกค่า 𝛼 ว่า ระดับนัยสำคัญ (significance level) - เกิดขึ้นเมื่อมีการไม่ปฏิเสธ H0 ทั้ง ๆที่ H0 ไม่เป็นความจริง
𝛼 = P (ปฏิเสธ H0 | H0 เป็นจริง)
1- 𝛼 = 1-P (ไม่ปฏิเสธ | H0 H0 เป็นจริง)
เรียก 1- 𝛼 ว่า ระดับความเชื่อมั่น (confidence level)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 43


--- สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข ---
5. การกำหนดตัวแปร
ตัวแปร (Variable) หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษา เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา จัดกระทำ สังเกต หรือควบคุม
ในการวิจัยหาสาเหตุและผล ตัวแปรที่เป็นสาเหตุ = ตัวแปรต้น ตัวแปรที่เป็นผล = ตัวแปรตาม

ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
ส่งผล (ผล)
(เหตุ)

ตัวแปรเกิน
ตัวแปรแทรกซ้อน

ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น (Independent variable) ➔ เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผล


ตัวแปรตาม (Dependent variable) ➔ เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น
ตัวแปรแทรกซ้อน สังเกตยาก วัดโดยตรงไม่ได้ แบ่งออกเป็น
1. ตัวแปรส่งผ่าน (Moderator Variable)เป็นตัวแปรที่ส่งผลร่วมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษา
2. ตัวแปรกวน (Confounded Variable) เป็นตัวแปรที่ส่งผลร่วมกับตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษาต่อตัวแปรตาม
ตัวแปรเกิน/ตัวแปรภายนอก ➔ ผู้วิจัยไม่ได้มุ่งศึกษาผลของตัวแปรนั้น แต่ไม่ได้ควบคุม อาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม
ทำให้ข้อสรุปขาดความเที่ยงตรง
ประเภทของตัวแปร แบ่งตามระดับการวัด ต้อง JUM!!
1) ตัวแปรจำแนกประเภท (Categorical variable) ได้แก่ Nominal scale และ Ordinal Scale (ตัวแปรเชิงคุณภาพ)
2) ตัวแปรตัวเลข (Numerical Variable) ได้แก่ Interval scale และ Ratio scale (ตัวแปรเชิงปริมาณ)
ตัวอย่างตัวแปรเชิงปริมาณและตัวแปรเชิงคุณภาพ
ประเภทตัวแปร ตัวอย่าง
1. ตัวแปรเชิงปริมาณทั้ง 2 ตัว • คะแนนคุณภาพชีวิต กับ คะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
• จำนวนชั่วโมง กับ พฤติกรรมก้าวร้าว
• น้าหนัก กับ ส่วนสูง
• จำนวนไข่พยาธิ กับ ปริมาณน้าฝน
2. ตั ว แปรคุ ณ ภ าพและตั ว แปรเชิ ง • วิธีการให้สุขศึกษา กับ สัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้
ปริมาณ • วิธีการให้คำปรึกษา กับ ระดับของความวิตกกังวล
• เพศ กับ จำนวนอาจารย์
3. ตัวแปรเชิงคุณภาพทั้ง 2 ตัว • อาชีพ กับ ศาสนา
• ประเภทครอบครัว กับ สถานภาพสมรส
• เพศ กับ เชื้อชาติ
• ความเชื่อ กับ เหตุเดือดร้อนรำคาญ

ขอบเขตของการวิจัย การเขียนมีขอบเขตดังนี้
1. ขอบเขตของสถานที่ทำการวิจัย (Place) 3. ขอบเขตของเนื้อหาสาระที่ศึกษา (Variable)
2. ขอบเขตของประชากรที่ศึกษา (People) 4. ขอบเขตของเวลา (Time) ระยะเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย กี่ปี
6. การออกแบบงานวิจัย
การออกแบบการวิจัย (Research Design) ➔ การวางแผนและการจัดการโครงการวิจัย ตั้งแต่การกำหนดปัญหา
การวิ จัยจนกระทั่งการเขียนรายงานและการเผยแพร่ โดยเกี่ ยวข้อ งกั บ แนวคิ ด 4 ประการได้แก่ 1) กลยุท ธ์ก ารวิจัย
2) กรอบแนวคิด 3) ข้อมูล และ 4) เครื่องมือวิธีการเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล (Punch, 1998 : 66)
วัตถุประสงค์ของการออกแบบการวิจัย ➔ ควบคุมตัว/ขจัดตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษาให้หมดไป เพื่อได้ทราบว่า
ตัวแปรตามเป็นผลมาจากตัวแปรอิสระอย่างแท้จริง ได้คำตอบปัญหาการวิจัยที่ต้องถูกต้องแม่นยำ
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 44
--- สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข ---
การออกแบบการวิจัยโดยยึดหลัก “MAX-MIN-CON Principle”*** อาจออกสอบปี 66
1. เพิ่มความแปรปรวนที่เป็นระบบให้มากที่สุด (Max : Maximized systematic variance)
➔ เป็นการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เพิ่มความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม หรือความแปรปรวนเนื่องมาจากการทดลองให้สูงสุด
➔ กำหนดวิธีการทดลองให้กับกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมให้แตกต่างและเป็นอิสระซึ่งกันและกัน
➔ ควบคุมเวลาและสภาวะของการทดลองให้เหมาะสม ให้สามารถจัดกระทำกับตัวแปรอิสระให้ส่งผลต่อตัวแปรตามมากที่สุด
2. ลดความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อน (Min : Minimized error variance)
➔ ทำให้ค่าความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนมีค่าน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ ซึ่งความคลาดเคลื่อน (Error) แบ่งได้
เป็น 2 ชนิดได้แก่ ความคลาดเคลื่อนอย่างมีระบบ และ ความคลาดเคลื่อนอย่างสุ่ม
3. ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนที่ส่งผลอย่างมีระบบ (Con : Control extraneous systematic variance)
➔ ควบคุมหรือขจัดให้ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องออกให้หมด ให้ตัวแปรตามที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากตัวแปรอิสระเท่านั้น
1) การสุ่ม (Randomization) วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด
2) การเพิ่มตัวแปร (Add to the design) เพิ่มตัวแปรเข้าไปโดยถือว่าเป็นตัวแปรอิสระที่จะต้องศึกษาด้วย
3) การจับคู่ (Matching) เป็นการใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน
4) การใช้สถิติ (Statistical control) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of covariance)
5) การตัดทิ้ง (Elimination) เป็นการขจัดตัวแปรที่คิดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทดลองออกไป
รูปแบบการศึกษาวิจัย -ออกสอบปี 64 จำนิยาม

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)


เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลง ไปศึกษาสังเกต และ เป็ น การวิ จั ย ที่ มุ ่ ง หาข้ อ เท็ จ จริ ง และข้ อ สรุ ป เชิ ง
กลุ ่ ม บุ ค คลที่ ต ้ อ งการศึ ก ษาโดยละเอี ย ดทุ ก ด้ า นใน ปริ ม าณ เน้ น การใช้ ข ้ อ มู ล ที่ เป็ น ตั วเลขเป็ น หลั ก ฐาน
ลั ก ษณะเจาะลึ ก ใช้ วิ ธี ก ารสั ง เกตแบบมี ส ่ ว นร่ ว ม และ ยื น ยั น ความถู ก ต้ อ งของข้ อ ค้ น พบ และสรุ ป ต่ า งๆ
การสั ม ภาษณ์ แบบไม่ เป็ น ทางการเป็ น หลั ก ในการเก็ บ มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวม
รวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิง ข้ อ มู ล เช่ น แบบสอบถาม แบบทดสอบ การสั ง เกต
เหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น
- สัมภาษณ์เดี่ยวแบบเจาะลึก (In-depth interview)
- สนทนากลุ่มแบบเจาะจง (Focus Group Discussion)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 45


--- สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข ---
1. วิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)
➔ เป็นวิธีสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติดูการกระจาย ความถี่ของการเกิดโรค
1.1 แบบรายงานผู้ป่วยเฉพาะราย (Case report) มักจะใช้ในกรณีที่มีโรคที่พบได้น้อย โรคที่เกิดใหม่หรือมีการ
1.2 แบบรายงานผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม (Case Series) รายงานเกี่ยวกับการรักษาที่แตกต่างจากแนวทางที่มีอยู่เดิม
1.3 แบบเปรียบการเกิดโรค (Correlational study) เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อดูว่า
ตัวแปรเหล่านั้นมีการผันแปรคล้อยตามกัน หรือผันแปรตรงกันข้ามกัน
1.4 แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) การศึกษาข้อเท็จจริงหรือสภาพการณ์หรือ ความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปรต่างๆ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเป็นการบรรยายลักษณะของปัจจัยหรือตัวแปร และลักษณะของประชากร
2. วิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical Research)
➔ เป็นการวิจัยที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือปัจจัยต่าง ๆ เปรียบเทียบระหว่าง
กลุ่มศึกษา (study group) และกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มเปรียบเทียบ(control or comparison group) เป็นการวิจัยเพื่อ
ค้นหาสาเหตุของโรค และปัญหาอนามัยต่าง ๆ รูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์ที่สำคัญ ๆ ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่
รูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์
แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) **ออกสอบปี 64
1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลและเหตุหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกัน
2. หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่เวลาใดเวลาตัวแปรต่างๆในประชากรเดียวกันพร้อม ๆ กัน
เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคความโลหิตและการสูบบุหรี่

แบบศึกษาย้อนหลังจากผลไปหาเหตุ (Retrospective or Case-Control study) **ออกสอบปี 59,64


1. เลือกกลุ่มผู้ป่วย (case) แล้วเลือกกลุ่มที่ไม่ป่วย non-case (control) เป็นตัวแทนที่มาจากประชากรเดียวกันกับ
ที่มีผู้ป่วยอยู่ (base population)
2. เพื่อเปรียบเทียบหาปัจจัยเสีย่ งอันก่อให้เกิดโรคนั้นๆ
3. สามารถหา incident rate (อัตราอุบัติการณ์ ) และ prevalent rate (อัตราความชุก)
4. ในกรณีพิสูจน์สมมุติฐานของ Exposure ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ต้องแน่ใจว่า exposure เกิดก่อน outcome
เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ของการสูบบุหรี่กับการเป็นมะเร็งปอด ศึกษาภาวะโพแทสเซียมต่าในผู้ป่วย

แบบศึกษาจากเหตุไปหาผล (Prospective or Cohort study)


1. ศึกษาและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุบองโรค และการเกิดโรค
2. สังเกตกลุ่มคนที่มีปัจจัยและกลุ่มที่ไม่มีปัจจัย ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นโรคที่ต้องการศึกษา
3. ติดตามไปเป็นระยะเวลาหนึง่ เพื่อดูว่า“อัตราการเกิดโรค กลุ่มคนที่มีปัจจัยที่ศึกษานัน ้ จะแตกต่างไปจากกลุ่ม
เปรียบเทียบ หรือไม่ อย่างไร
4. สามารถวัดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้โดยตรง
หลักเกณฑ์ของ Cohort study
1. กลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาต้องได้มาจากประชากรเดียวกัน ทุกคนอาจเป็นโรคได้
2. ระยะเวลาการติดตามผลทั้งสองกลุ่ม (Expose and Non-expose) ต้องยาวพอและสอดคล้องกับธรรมชาติของโรค
3. ทุกๆรายจะต้องถูกติดตามผลเต็มเวลา ถ้ามี Drop out หรือ Loss follow up ต้องนำเข้าร่วมในการวิเคราะห์ผล
เช่น การเฝ้าสังเกตอัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ และไม่สูบบุหรี่

3. วิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlation research) ใช้ศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือเพื่อการพยากรณ์


ตัวแปร หรือศึกษาการมีอท ิ ธิพลของตัวแปรหนึ่งตัวหรือหลายตัวที่มีต่อตัวแปรหนึ่งตัว
เช่น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับการรักาจากโรงพยาบาลชะอำ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 46


--- สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข ---
7. การสร้างเครื่องมือ และการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
เครื่องมือในการวิจัย ➔ อุป กรณ์ห รือ สิ่งที่ใช้เป็น สื่อ สาหรับ นัก วิ จัยใช้ในการรวบรวมข้อ มูลตัว แปรที่ก ำหนดไว้
อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ และ ข้อมูลเชิงคุณภาพ
นำเครื่ อ งมื อ ไปทดลองใช้ (Try out) กั บ กลุ ่ ม ตั ว อย่างอีก
ประเภทเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยด้านสาธารณสุข กลุ่มหนึ่งที่ลักษณะคล้ายคลึงกัน อย่างน้อย 30 หน่วย ก่อน
1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง มักเป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
2) เครื่องมือวัดทางพฤติกรรมหรือจิตวิทยา เช่น
• แบบสอบถาม (Questionnaire) • แบบสัมภาษณ์ (Interview)
• แบบบันทึกการสังเกต (Observation) • แบบตรวจสอบหรือแบบบันทึกรายการ (Check list)
• แบบทดสอบ (Test) หรือ การทดสอบ (Testing)
การตรวจสอบ คุณภาพเครื่องในการวิจัย
1.ความตรง วัดได้ตรงในสิ่งที่ต้องการจะวัดหรือวัดได้ถูกต้อง
(Validity) 1.ความตรงตามเนื้อหา (content Validity) ➔ วัดได้ตรงตามเนื้อหาและครอบคลุมครบถ้วนตามเนื้อหา
ทีต
่ ้องการจะวัด
1.1 ใช้ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาของเรือ่ งนั้น 3, 5 ท่านพิจารณาให้ข้อคิดเห็น
• ข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50-100 มีค่าความเทีย่ งตรง ใช้ได้
• ข้อคำถามที่มีค่า IOC ต่ากว่า 0.50 ต้องปรับปรุง ยังใช้ไม่ได้
1.2 ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity Index : CVI)
จำนวนคำถามที่ผู้เชี่ยวชาญทุกคนให้ความเห็นในระดับ 3และ4
CVI =
จำนวนคำถามทั้งหมด
เกณฑ์ขั้นต่าที่ยอมรับได้ ใช้ 0.90 ส่วนเกณฑ์ทน
ี่ ิยมใช้ 0.80
2.ความเที่ยง แสดงให้ทราบว่า เครื่องมือนั้นให้ผลคงที่เพียงใด
(Reliability) 2.1 หาความสอดคล้องภายใน **ออกสอบปี 65
วิธีของ Kuder-Richardson➔ใช้ในกรณีทเี่ ครื่องมือมีการตรวจให้คะแนนแบบ 0, 1 โดย ตอบถูกให้ 1 คะแนน
ตอบผิดให้ 0 คะแนน วิธีนี้มีสูตรการคำนวณ 2 แบบ คือ การใช้สูตร KR-21 ข้อสอบทุกข้อมีความยากง่ าย
เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ในกรณีทข ี่ ้อสอบมีความยากง่ายแตกต่างกัน ควรใช้สูตร KR-20 นิยมใช้
2.2 วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient: α) ➔ใช้ในกรณีทก ี่ ารให้คะแนน
เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) หรือข้อสอบ อัตนัย และ ยังใช้ได้กับแบบทดสอบทีใ่ ห้คะแนนแบบ
0, 1 ได้ด้วย เกณฑ์ยอมรับอยู่ที่ 0.7 ขึ้นไป ยิ่งมีจำนวนข้อมาก ค่าครอนบาคยิ่งสูง **ออกสอบปี 65
3.ความยากง่าย ค่าสัดส่วนของคนที่ตอบข้อคำถามข้อนั้นได้ถูกต้อง ซึ่งมีค่าระหว่าง 0 - 1.00 ข้อคำถามที่อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้
(Difficulty) ➔มีค่า p ของการตอบถูก อยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80

ถ้าข้อสอบข้อใดมีผู้ตอบถูกหมด แสดงว่า ข้อนั้นง่ายมาก มีค่า P=1.00 แต่ถ้าข้อสอบข้อใดมี ผู้ตอบผิดหมด


แสดงว่า ข้อนั้นยากมาก มีค่า P=0.00
4.อำนาจจำแนก ➔สามารถจำแนกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติต่างกันออกจากกันได้ ค่าอำนาจจำแนก มีค่าระหว่าง -1 ถึง +1
ของข้อคำถาม ข้อสอบทีด่ ีควรมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป
• ข้อคำถามที่มีอำนาจจำแนกเป็น + และเข้าใกล้ 1 แสดงว่า เป็นข้อคำถามที่มีอำนาจจำแนก
• ข้อคำถามที่มีอำนาจจำแนกเป็น 0 แสดงว่าเป็นข้อคำถามที่ไม่มอี ำนาจจำแนก
• ข้อคำถามที่มีอำนาจจำแนกเป็น - แสดงว่าเป็นข้อคำถามที่ไม่ดี ควรตัดออก/ปรับปรุงใหม่
5.ความเป็น เป็นความชัดเจนที่ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกันในเรื่องของข้อคำถาม ค่าของคะแนนหรืออันดับที่ทวี่ ัดได้
ปรนัย ตลอดจนการแปลงค่าคะแนนเป็นผลประเมินในการตัดสินคุณค่าทีส ่ อดคล้องตรงกัน ชัดแจ้งในความหมาย
(Objectivity) ของคำถาม ทุกคนที่อ่านข้อคำถามย่อมจะเข้าใจตรงกันไม่ตีความไปคนละแง่

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 47


--- สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข ---
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร (Population) ➔ หน่วยทั้งหมดที่นำมาเพื่อใช้ในการศึกษา อาจเป็นวัตถุ สิ่งของ หรือบุคคล
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) ➔ บางส่วนของประชากรที่เลือกขึ้นมาเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรในการศึกษา
กำหนดขนาดตัวอย่าง สูตรใช้บ่อย **อาจออกสอบ 66
สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane,1973)

ตัวอย่าง งานวิจยั หนึ่งเป็นนักศึกษาทั้งหมดของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งมี


จำนวนนักศึกษา 4000 คน (ค่าความคลาดเคลือ ่ นที่ 0.05)
4,000
แทนค่า n = ➔ 363.64 คน
1+4,000(0.05)2
n คือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
หมายความว่า ผู้วิจยั จะต้องเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างในมหาวิทยาลัย
N คือ ขนาดประชากร (กรณีทราบจำนวนประชากร)
ดังกล่าวเป็นจำนวน 364 ชุด (แทนที่จะต้องเก็บแบบสอบถามจากทั้ง 4,000 คน)
e คือ ค่าความคลาดเคลือ
่ นที่ของการสุ่มตัวอย่าง

การสุ่มตัวอย่าง
1. การสุ่มแบบไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น
1.1 การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เก็บข้อมูลโดยไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน เจอใครก็เอาเลย
1.2 การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) ผู้วิจัยใช้เหตุผลในการเลือกเพื่อความเหมาะสมในการวิจัย
1.3 การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quata sampling) เป็นการสุ่มกำหนดโควตาหรือจำนวนตัวอย่างให้กับกลุ่มประชากรที่มีหลายลักษณะ
1.4 Volunteer sampling การสุ่มตัวอย่างโดยอาสาสมัคร
1.5 Snowball Sampling การสุ่มแบบลูกโซ่ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโยงกันเป็นทอดๆ คล้ายลุกโซ่
2. การสุ่มแบบใช้หลักการความน่าจะเป็น **ออกข้อสอบ ปี 2564 ข้อใดเป็นการสุ่มที่ใช้ความน่าจะเป็น
1.สุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 2.การสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Sampling)
➔ ทุกหน่วยมีโอกาสถูกสุม
่ เลือกเท่า ๆกัน ➔ สุ่มเป็นช่วงๆโดยมีบัญชีรายชื่อประชากรทุกหน่วย
➔ เหมาะสำหรับประชากรมีความคล้ายคลึงกัน ทำการสุ่มหาตัวสุ่มเริ่มต้น แล้วนับไปตามช่วงการสุม

• จับฉลาก เช่น การเรียงแถวละ 10 คน แล้วคัดเลือกจากคนที่ 10 ของแต่
• ใช้ตารางเลขสุ่ม ละแถว เป็นต้น
• ใช้คอมพิวเตอร์ Random
3. การสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) 4. การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling)

• ใช้กรณีประชากรมีความแตกต่างกันมาก • แบ่งประชากรออกเป็นกลุ่ม (Cluster) แต่ละกลุ่มประกอบไป


• จึงต้องแบ่งกลุ่มประชากรออกเป็นชั้นย่อย ๆ เสียก่อน ด้วยหน่วยเล็กๆที่มีลักษณะคล้ายประชากร
• ระหว่างชั้นภูมิให้มีความแตกต่างกันให้มากทีส
่ ุด • สุ่มตัวอย่างแบบง่าย/แบบมีระบบ จากแต่ละกลุ่ม
แต่คล้ายคลึงกันภายในชัน
้ ภูมม
ิ ากที่สด
ุ เช่น อาชีพ • เลือกตัวอย่างทุกหน่วยที่อยู่ในกลุ่ม เช่น จังหวัด อำเภอ
5.การสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น (Multi-stage Sampling)
• เป็นการผสมระหว่างการสุ่มหลายแบบ ทีม่ ีหลายขั้นตอน (มากกว่า 2 ขั้นตอน)
• ใช้กรณีประชากรมีจำนวนมากและขอบข่ายกว้างขวางกระจัดกระจาย
• ทำโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ แล้วแบ่งกลุ่มย่อย ๆต่อไปหลายครั้ง
หลังจากนั้นจึงทำการสุ่มเป็นกลุ่มจากกลุ่มใหญ่ไปหากลุ่มย่อยตามลำดับ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 48


--- สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข ---
การเลือกใช้สถิติ
1. ข้อมูลแจกแจงปกติหรือไม่ (ถ้าแจกแจงแบบไม่ปกติให้เลือกใช้สถิติกลุ่ม nonparametric)
2. ตัวแปรต้น และตัวแปรตาม มีระดับการวัดแบบไหน (เชิงปริมาณ/ เชิงคุณภาพ)
3. สมมติฐานต้องการเปรียบเทียบ/ ค่าเฉลี่ย/ ค่าสัดส่วน หรือหาความสัมพันธ์
4. ประชากรที่ศึกษาแบบกลุ่ม (กลุ่มเดียว/ 2กลุ่ม/ มากกว่า 2 กลุ่ม) และ อิสระต่อกันหรือไม่
1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)
ตัวแปรคุณภาพ : เพศ สถานภาพ การศึกษาฯลฯ ➔ ความถี่ ร้อยละ
ตัวแปรเชิงปริมาณ : คะแนน น้าหนัก น้าตาลในเลือดฯลฯ ➔ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. สถิติอนุมาน **ต้องจำ ออกสอบทุกปี
วัตถุประสงค์ สถิติอนุมาน
แจกแจงปกติ แจกแจงไม่ปกติ
1. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (ตัวแปรเชิงปริมาณ)
 เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ย1กลุ่ม กับ ค่ามาตรฐานค่าหนึ่ง One sample T-test -
 อิสระต่อกัน Independent t-test Mann Whitney U Test
 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย Wilcoxon Rank Sum Test
2 กลุ่ม  ไม่อส
ิ ระต่อกัน /สัมพันธ์กัน Paired t-test Wilcoxon (Matched Pairs)
(เปรียบเทียบก่อน-หลังศึกษา) Signed Rank Test
 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 3 กลุ่มขึ้นไป อิสระต่อกัน One Way ANOVA Kruskal Wallis Test
ตัวแปรต้นเชิงคุณภาพ ตัวแปรตามเชิงปริมาณ Post hoc
2. เปรียบเทียบหาความสัมพันธ์
➔ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ - Chi-Square Test
ตัวแปรต้นเชิงคุณภาพ (X)
ตัวแปรตามเชิงคุณภาพ (Y)
➔ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ Pearson Correlation Spearman Rank Correlation
ตัวแปรต้นเชิงปริมาณ (X) Correction Coefficient
ตัวแปรตามเชิงปริมาณ (Y)
➔ วิเคราะห์ปัจจัยทีส
่ ่งผลต่อตัวแปรตาม Regression Analysis -
ตัวแปรต้นเชิงปริมาณ (X)
ตัวแปรตามเชิงปริมาณ (Y)
3. เปรียบเทียบค่าสัดส่วน (ตัวแปรเชิงคุณภาพ)
 เปรียบเทียบความ ➔ ทีเ่ ป็นอิสระต่อกัน Z Test
แตกต่าง ค่าสัดส่วน ➔ ที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน - McNemar Test
(ตัวแปรเชิงคุณภาพ วัดก่อน-หลัง)

ค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติ และค่าช่วงความเชื่อมั่น
1. ระดับนัยสำคัญ (Significance level) ➔ มีความเป็นไปได้ที่สิ่งที่ต้องการพิสูจน์เป็นจริง มีนัยสำคัญทางสถิติ
ค่า p-value ➔ ค่าที่บ่งชี้ที่จะยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน นิยมให้รายงานผลการทดสอบ สมมติฐานเป็นค่า p ที่
ตรงตามตำแหน่งจริงของค่าสถิติเช่น p=0.027 มากกว่าที่จะเขียนว่ามีนัยสำคัญ(p< 0.05) หรือไม่มีนัยสำคัญ (p>0.05)
โดยปกติทั่วไปแล้ววารสารมักจะกำหนดให้ผู้วิจัยนำเสนอค่า p-value เป็นเลข 3 หลัก
**ออกสอบปี 56 ระดับ p value 0.093 สัมพันธ์กับปัจจัยหรือไม่

ยอมรับสมมติฐานทางเลือกซึ่ง สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย (ค่า Significant) P value < 0.05


2. ระดับความเชื่อมั่น (Confidence level) ➔ พื้นฐานของการอ้างอิงผลจากกลุ่มตัวอย่างไปสู่ประชากรนิยมใช้ 95 CI
คือ ถ้าศึกษาซ้าๆ กัน 100 ครั้ง 95 ครั้งจะได้ค่าเฉลี่ยในประชากรที่แท้จริงอยู่ในช่วงร้อยละ 95 **ออกข้อสอบ ปี 64

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 49


--- สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข ---
12. การแปลผลงานวิจัย
1. วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. การนำเสนอ ในรูปแบบของตาราง แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิกง กราฟ เส้นตรง กราฟแท่งฯลฯ โดยทั่วไปแล้ว นิยม
นำเสนอรูปแบบของตาราง รูปแบบที่นาเสนอ จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนหัว(ส่วนที่เป็นชื่อตาราง แผนภูมิ หรือ
กราฟ) ส่วนเนื้อหา (ส่วนทีแ ่ สดงข้อมูล เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฯลฯ) และส่วนที่เป็นการ
แปลผลหรืออธิบายผลของเนือ้ หา
การเขียนการอภิปรายผล
การอภิปรายผล ควรอ้างถึงงานวรรณกรรมที่ได้นำเสนอไว้ และเปรียบเทียบกับผลการวิจัยที่ได้อ้างอิงไว้ การอภิปรายผล
เป็นการกล่าวผลวิจัย และแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม มีหลักการเขียน ดังนี้
1. อภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยแยกตามวัตถุประสงค์
2. นำเอาผลการวิเคราะห์ข้อมูลมากล่าวถึง และแสดงความเห็นเพิ่มเติม พร้อมทั้งระบุให้เห็นว่าผลการวิจัยมี
ความสัมพันธ์ หรือสอดคล้อง/ไม่สอดคล้อง กับทฤษฎี หลักการ และงานวิจัยใดบ้างเพราะอะไร แสดงเหตุผลประกอบ
การเขียนบรรณานุกรม
1. ทันสมัย เป็นปัจจุบัน (Up to date) เอกสารทางวิชาการ ควรเป็นผลงานย้อนหลังไม่เกิน 10 ปี
2. ตามระบบสากล : ที่จำเพาะ ที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่
 ระบบ Harvard or American Psychological Association (APA) : ชื่อและปี
 ระบบแวนคูเวอร์ : ระบบตัวเลขเรียงลำดับตัวอย่าง
อ้างอิงวารสาร :
ลำดับที่อ้างอิง. ชือ่ ผู้แต่ง. ชือ่ บทความ. ชื่อวารสาร. ปีพิมพ์. เล่มที่ของวารสาร (Volume):
หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. เอกสารอ้างอิงทุกรายการจะใช้เครื่องหมายวรรคตอนเป็นแบบมาตรฐานเดียวกัน
อ้างอิงหนังสือ :
ลำดับที่อ้างอิง. ชือ่ ผู้แต่ง. ชือ่ หนังสือ. ครั้งที่พิมพ์ (edition). เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.
ลำดับที่อ้างอิง. ชือ่ ผู้เขียน. ชือ่ บท. ใน หรือ In: ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ/editor(s), ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์.
เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์; ปีพิมพ์. หน้า/P. หน้าแรก-หน้าสุดท้าย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ➔ ระบุกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รบ ั ประโยชน์และผลกระทบจากผลงานวิจัยที่คาดว่าจะเกิดกับ
กลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

โดยเขียน 4 ด้าน ทั้งเชิงผลลัพธ์และผลกระทบ


1. ด้านวิชาการ: ตีพิมพ์ ประชุม/สัมมนา ฯลฯ
2. ด้านเศรษฐกิจ: เชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรม เพิ่มผลผลิต มูลค่าการส่งออก/นาเข้า ฯลฯ
3. ด้านสังคม: ช่วยปรับปรุงวิธีการ แนวทางรูปแบบมาตรฐานให้ดีขึ้นกว่าเดิม สุขภาพกายและใจดีขึ้นฯลฯ
4. ด้านนโยบาย: ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ

หลักจริยธรรมการทำวิจัยในคนทั่วไป หรือ Belmont Report ประกอบด้วย หลัก 3 ประการ ได้แก่


**ออกสอบปี 65 หลักในการเคารพในบุคคล ภาษาอังกฤษคือข้อใด
1. หลักความเคารพในบุคคล (Respect for person) การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Respect for human dignity)
ความเป็นส่วนตัว การเก็บรักษาความลับ ความเป็นผู้อ่อนด้อย เปราะบาง
2. หลักคุณประโยชน์ไม่ก่ออันตราย (Beneficence) อันตรายต่อร่างกาย อันตรายต่อจิตใจอันตรายต่อสถานะทาง
สังคม และฐานะทางการเงินและอันตรายทางกฎหมาย เช่น ถูกจับกุม
3. หลักความยุติธรรม (Justice) มีเกณฑ์การคัดเข้า และคัดออกชัดเจน ไม่มีอคติ (selection bias) ไม่เลือกกลุ่ม
ตัวอย่างที่หาง่าย สั่งง่าย คนจน ผู้ด้อยการศึกษา มีการสุ่มเข้ากลุ่มศึกษา

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 50


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---

ชุดวิชาที่ 9 ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค


ความหมายของระบาดวิทยา **John snow บิดดาแห่งการศึกษาระบาดวิทยา
➔ การศึกษาเกี่ยวกับการเกิด การกระจาย และปัจจัยที่มีอท
ิ ธิพล (ตัวกำหนด) การเกิดโรคและภัยสุขภาพ
1. การเกิดโรค (Occurrence) ทราบได้จาก นิยาม ขนาด ความรุนแรง
2. การกระจายโรค (Distribution) วิเคราะห์ตาม บุคคล เวลา สถานที่
3. สิ่งกำหนด (Determinants) องค์ประกอบ Host Agent Environment
วัตถุประสงค์ของการศึกษาระบาดวิทยา
1. เพื่อศึกษาขนาด การกระจายของโรคในชุมชน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อหาสาเหตุของโรคและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคและการระบาด
3. เพื่ออธิบายธรรมชาติ ปัจจัยทำให้เกิด วิธีถ่ายทอด และทำนายการเกิดโรค
4. เพื่อหาแนวทางในการวางแผนการควบคุมป้องกันโรค
5. เพื่อประเมินโครงการหรือโปรแกรมการควบคุมป้องกันโรค
ขั้นตอนการดำเนินงานระบาดวิทยา ประโยชน์ของระบาดวิทยา
1. วิเคราะห์สถานการณ์ 1. บอกธรรมชาติของโรค
2. กำหนดปัญหาสุขภาพ 2. หาสาเหตุของโรค
3. ตั้งสมมติฐาน และทดสอบสมมติฐาน 3. วัดสถานะสุขภาพและการเปลี่ยนแปลง
4. กำหนดวิธีการควบคุม หรือป้องกันปัญหา 4. ประเมินมาตรการ
5. ดำเนินการ

หลักคิดที่สำคัญของระบาดวิทยา ➔ การอธิบายธรรมชาติของการเกิดโรคสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะอาการ กลุ่มเสี่ยง การเกิดโรค การกระจายของโรคสถานที่ และเวลา ซึง่ เรียกว่า 3 D ทางระบาดวิทยา
1. องค์ประกอบของการเกิดโรค (Determinants)  Host Agents Environment
2. ธรรมชาติของโรค (Disease nature)  การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ
3. การกระจายของโรค (Distribution)  บุคคล (Person) เวลา (Time) สถานที่ (Place)

1. เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคภัยสุขภาพ (Determinants) - อธิบายด้วย องค์ประกอบ 3 ของการเกิดโรค


(Host Agent Environment) หรือ ปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (Epidemiologic Triad) **ออกข้อสอบบ่อย

เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ


คน (Host) พฤติกรรม ภูมิคุ้มกัน
1.เชื้อโรคต่างๆ ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ
2.สารเคมี/สารเสพติด
ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ
3.กัมมันภาพรังสี
สังคม เศรษฐกิจ การเมือง
4.พลังงาน ยานพาหนะ ภัยพิบัติ Epidemiologic
Triad

ตัวก่อโรค (Agent) สิ่งแวดล้อม (Environment)

ต้องเสริมสร้าง Host โดยให้ประชาชนมีภูมิต้านทาน มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ลด Agent ทีเ่ ป็นภัยคุกคามสุขภาพ


จัด/ปรับ Environment ให้เข้าข้าง Host อย่าให้เอียงไปฝักใฝ่ตัวก่อโรค Agent

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 51


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
ปฏิสัมพันธ์ปัจจัย 3 ทางระบาดวิทยา (ทฤษฎีคานของ ดร. John Gordon)

1. สภาวะที่สมดุล : ไม่ทำให้เกิดโรค
➔ จุดสังเกตว่าการเสียสมดุลของ Epidemiologic Triad เป็น กรณีใด คือ
• กรณี A หรือ H เสียสมดุล จุดกึ่งกลางของคานอยู่ที่เดิม เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
• กรณี E เสียสมดุล จุดกึ่งกลางของคานเลื่อนไปทางทีส ่ นับสนุน เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง

2. สิ่งก่อโรคมีมากขึ้น เชื้อชนิดใหม่ การผ่าเหล่า


➔ เมื่อAgentเพิ่มชนิดหรือจำนวนมากขึ้นในสิ่งแวดล้อมเดิม ทำให้คนเกิดโรคเนื่องจาก
Agent แพร่กระจายเพิ่มขึ้น เช่น มีผู้ติดเชื้อ Covid-19 เข้ามาในประเทศ ทำให้โรคนั้น
ระบาดในประเทศไทย การผ่าเหล่า(Mutation) ทำให้เชื้อมีความรุนแรงมากขึ้นและเกิดการ
กลายพันธ์

3. เมื่อ Host มีภมู ิคุ้มกันโรคลดลง/มีพฤติกรรมเสี่ยงเพิ่มขึ้นทำให้คนเกิดโรค เช่น


• ความหนาแน่นของประชากร คน/สัตว์
• สัดส่วนของคนที่มีความไวต่อโรคเพิ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มเด็ก วัยสุงอายุเพิ่มจำนวน
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้สัดส่วนประชากรทีม ่ ีความไวต่อโรคเพิ่มมากขึ้น
• ภูมิคุ้มกันลดลง การไม่ได้รับวัคซีน หรือยังไม่มีวัคซีนในโรคนั้น ๆ
• การไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เป็นโรคอ้วน พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
**ออกสอบปี 66 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้คายใดเสียสมดุล ตอบ Host

4. สิ่งแวดล้อมสนับสนุนให้เกิดโรค
ก. Environment เปลีย่ นแปลงสนับสนุนให้มี Agent เพิ่มขึน้ ทำให้คนป่วย เช่น
• ฤดูฝนทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยงุ มากขึ้น ไข้เลือดออกระบาดมากขึ้น
• อากาศร้อนทำให้เชื้ออาหารเป็นพิษเจริญเติบโตได้ดี
• สภาพอากาศปิด ทำให้ฝน ุ่ PM 2.5 ฟุ้งกระจายเกินมาตรฐาน มีโอกาสเกิดโรคระบบ
ทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น
ก.
**ออกสอบปี 65 Climate change ทำให้คานใดเสียสมดุล ตอบ Agent

ข.Environment เปลี่ยนแปลงสนับสนุนให้การติดเชื้อของ Host เพิ่มขึ้น เช่น


• การเกิดอุทกภัย ทำให้คนและสัตว์มีโอกาสสัมผัสเชื้อโรคทีม่ ากับน้า
• ภัยธรรมชาติสงคราม ทำให้คนขาดอาหาร ขาดปัจจัยจำเป็นในการดำรงชีพ และรวมตัว
ในสถานทีห่ ลบภัยจำนวนมากมีโอกาสเกิดโรคเพิ่มขึ้น
• ความเป็นอยู่ที่แออัดของชุมชน แหล่งมั่วสุม ดื่มสุรา ยาเสพติด ทำให้มีโอกาสเกิดโรค
ข. มากขึ้น

2. ธรรมชาติของโรค (Disease nature)  การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ


➔ การดำเนินโรคที่เกิดขึ้นในคนเริ่มจากการสัมผัสปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรค โดยที่ไม่มีการรักษาหรือการแทรกแซงใดๆ
โรคอาจจะจบลงด้วยการหาย พิการ หรือ ตาย จุดบอดของการควบคุมโรค คือ
ระยะที่ยังแพร่เชือ้ อยู่แต่ไม่แสดงอาการ
(แพร่เชือ้ โดยไม่รู้ตัว) ได้แก่ ระยะแฝง
(Latent period), ระยะฟักตัวของโรค
(Incubation period) และระยะป่วย
สิ้นสุดอาการ (หายแล้ว) แต่ยังมีเชื้อที่
1 2 3 4
ธรรมชาติการเกิดโรค ยังแพร่ได้อยู่ระยะเวลาของการการติด
เชื้อและการเกิดโรค
4 ระยะ
ระยะฟักตัว ระยะพาหะ

ระดับการป้องกันโรคตามธรรมชาติการเกิดโรค

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 52


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
ธรรมชาติของการเกิดโรคกับการป้องกนควบคุมโรค

ออกสอบ JUM!!

กระบวนการเกิดโรค ประกอบด้วย 4 ระยะสำคัญ ได้แก่ **ออกสอบบ่อย จำนิยามและลำดับระยะให้แม่น


ระยะที่ 1 ระยะมีความไวต่อการเกิดโรค (Stage of susceptibility) ➔ เป็นระยะที่โรคยังไม่เกิดแต่มีปัจจัยที่
ส่งเสริมต่อการเกิดโรคหรือเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรค โดยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคหรือสัมผัส
กับปัจจัยเสี่ยง เช่น การเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคติด เชื้อไวรัส โคโรนา 2019 โดยไม่มีการป้องกั น
ตนเองย่อม เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นต้น
ระยะที่ 2 ระยะก่อนมีอาการของโรค (Stage of preclinical disease) ➔ เป็นระยะที่เชื้อก่อโรคเริ่มมีการฟั กตัว
โดยเริ่มมีพยาธิสภาพแต่ยังไม่มีอาการปรากฏ
ระยะฟักตัว (Incubation period) ➔ ระยะเวลานับจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งถึงเริ่มมีอาการป่วย (Onset)
หากในกรณีในโรคไม่ติดต่อ ซึ่งส่วนใหญ่มีระยะไม่ปรากฏอาการยาวนาน เราเรียกระยะเวลานับจากการได้รับปัจจัยจน
เกิดอาการว่า induction period ในระยะก่อนมีอาการของโรค
ระยะที่ 3 ระยะมีอาการของโรค (Stage of clinical disease) ➔ เป็นระยะที่พยาธิส ภาพของโรคมีมากจนเกิ ด
การเปลี่ยนแปลงลักษณะและหน้าที่ของส่ว นต่างๆ ของร่างกายปรากฏชัดเจน เช่น มีอาการไข้ ไอ ฯลฯ ตามแต่
ประเภทของโรคที่มีการสัมผัสกับติดเชื้อก่อโรคนั้น ๆ
ระยะที่ 4 ระยะหาย พิการ ตาย (Stage of recovery, disability, death) ➔ เป็นระยะหลังจากที่มีอาการของโรค
เกิดขึ้ นแล้ว ทำให้ เสีย สมรรถภาพการทำงานของอวัย วะนั้นไปได้ ผลที่ตามมาหลังจากเป็น โรคอาจแยกออกเป็น
3 ประเภทคือ 1)ป่วยเป็นโรคแล้วหายสนิท 2)ป่วยเป็นโรคแล้วหายไม่สนิท มีความพิการเกิดขึ้นในระยะสั้น หรือระยะ
ยาว 3)ป่วยเป็นโรคแล้วมีอาการมากขั้นรุนแรงจนถึงเสียชีวิต
ห่วงโซ่ของการติดเชื้อ (Chain of infection) 5 องค์ประกอบดังนี้**ออกข้อสอบ 63
1. แหล่งรังโรค (Reservoir) ➔ ที่ซึ่งเชื้อก่อโรคอาศัย เติบโต และเพิ่มจำนวน อาจเป็นที่ ๆ เชื้อเข้าสู่ผู้รับหรือไม่ใช่ก็ได้ ได้แก่
มนุษย์ (human reservoirs) สัตว์ (animal reservoirs) สิ่งแวดล้อม
(environmental reservoirs)
ถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งสู่บุคคลหนึ่ง 1. Zoonosis  โรคติ ด เชื้ อ จากสั ต ว์ มี พื ช ดิ น และน้ า ในสิ่ ง แวดล้ อ ม เช่ น
โดยไม่มีตัวกลาง เช่นโรคติดเชื้อทางเดิน กระดู ก สั น หลั ง มาสู ่ ค น โดยธรรมชาติ โรคอาหารและน้าเป็นสื่อ
หายใจ โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ จะติดต่อกันระหว่างสัตว์, คนเป็นเพียง • Histoplasmosis (เชื้อรา) อาศัยและเพิ่ม
แหล่งรังโรคในคน มี 2 ชนิด คือ incidenta l host เช่ น Trichinosis, จำนวนในดิน
1.พาหะ ผู้ที่สามารถถ่ายทอดเชื้อโดย Anthrax, Rabies, Plague, Leptospirosis • Legionnaires disease อาศัยและเพิ่ม
ไม่มีอาการเสี่ยงต่อการถ่ายทอดเชื้อมาก 2. Vector-borne disease  แมลง จำนวนอยู่ในน้าหล่ อเย็นของระบบปรั บ
2.ผู ้ ป ่ ว ย มี อ าการและได้ รั บ การ หลายชนิดเป็นแหล่งรังโรคของเชื้อไวรัส อากาศ
วินิจฉัย และให้การรักษา หรือปรสิต เช่น JE virus, Dengue virus, • Vibrio parahaemolyticus อาศัยตาม
Zika virus, Malaria, ธรรมชาติในน้าทะเลและน้ากร่อย พบได้
Chikungunya ในกุ้ง หอย ปลาและปูหลายชนิด
➔ อาหารเป็นพิษ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 53


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
2. ทางออกของเชื้อจากแหล่งรังโรค (Portal of exit)
➔ ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับแหล่งที่เชื้อก่อโรคอาศัยอยู่ เช่น TB และ influenza ออกมาทาง ระบบทางเดินหายใจ Vibrio
cholerae ออกมากับอุจจาระ Sarcoptes scabiei (หิด) ออกมาทางรอยโรคที่ผิวหนัง
**เชื้อก่อโรคที่อยู่ในกระแสเลือด อาจมีทางออกต่างกัน เช่น ไวรัสเอดส์ (บาดแผลที่ผิวหนัง, อวัยวะสืบพันธุ์) หรือ
มาลาเรีย (ยุงกินเลือดผ่านทางผิวหนัง)
3. วิธีการถ่ายทอดเชื้อ (Mode of transmission)
3.1 Direct transmission การแพร่ของโรคโดยการสัมผัสกับเชื้อของผูป
้ ่วยโดยตรง
1. Direct contact 2. Droplet spread
การสัมผัสโดยตรงระหว่าง reservoir กับ host เช่น ฝอยละอองที่ เกิ ด จากการจาม ไอหรื อ พู ด คุ ย
1.1 คน : มีการสัมผัสทางผิวหนัง เพศสัมพันธ์ ซึ่งกระจายไปในระยะสั้นๆ ก่อนที่จะตกลงสู่พื้นดิน
1.2 สิ่งแวดล้อม : สัมผัสกับดินที่มีเชื้อก่อโรค เช่น พยาธิปากขอ
3.2 Indirect transmission การแพร่ของโรคเกิดจากการสัมผัสทางอ้อม
1) Airborne transmission กระจายไปกับฝอยละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอนแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 Droplet nuclei  เกิ ด จาก droplet ที่ของของเหลวระเหยออกไปจนมีขนาดเล็ก ลง (< 5 micron) หรือ
จากตัวอย่างติดเชื้อในห้องปฏิบัติการแขวนลอยในอากาศได้นาน ตัวอย่างเช่น TB, Legionnaires's disease
1.2 Dust  อนุภาคขนาดเล็กที่มีเชื้อก่อโรคปนเปื้อนซึ่งถูกพัดพามาจากดิน, เสื้อผ้า, ฟูกนอน
2) Vector-borne  เชื้อก่อโรคถูกนำโดยสิ่งมีชีวิต เช่น แมลง
2.1 Mechanical transmission  เชื้ออาจถูกนำไปโดยขาของแมลง เช่น แมลงวันกับเชื้อที่ก่อโรคอุจจาระร่วง
หรือผ่านเข้าไปในทางเดินอาหารของแมลงแล้วออกมาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น หมัดกับ plague
2.2 Biological transmission  เชื้อก่อโรคมีการเปลี่ยนแปลงในวงจรชีวิต จนกระทั่งพร้อมที่จะติดเชื้อต่อไปในตัวของ
vector ในกรณีนี้ vector จะเป็นทั้ง intermediate host และ mode of transmission เช่น ยุงก้นปล่องกับไข้มาลาเรีย
3) Vehicle-borne  เชื้อก่อโรคถูกนำโดยสิ่งไม่มีชีวิตได้แก่ อาหาร น้า วัตถุชีวภาพ เช่น เลือด เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
➔อาจนำเชื้อก่อโรคโดยเชื้อไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น อาหารหรือน้านำเชื้อไวรัสตับอักเสบ A
➔หรือมีการเปลี่ยนแปลง เช่น อาหารบรรจุกระป๋องไม่ได้มาตรฐานทำให้มีสภาวะแวดล้อมเหมาะสมให้ C. botulinum สร้าง toxin
4) ทางเข้าของเชื้อสู่ผู้รับ (Portal of entry)  เชื้อก่อโรคเข้าสู่ร่างกายของ host โดยทางผ่านนั้นต้องเป็น
ทางที่เชื้อนั้นๆ จะมุ่งไปสู่อวัยวะเป้าหมายได้
5) ผู้รับเชื้อที่ไวต่อโรค (Susceptible host)
➔ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการไวต่อโรค ได้แก่ พันธุกรรม ภูมิคุ้มกัน เฉพาะโรค และปัจจัยทั่วไปของแต่ละ
บุคคล ได้แก่ การลดความไว และเพิ่มความไวต่อการติดเชื้อ
กลไกลดความไวต่อการติดเชื้อ เพิ่มความต้านทานต่อเชื้อ
➔ ผิวหนัง เยื่อบุ ความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร Cilia ในระบบทางเดินหายใจ เม็ดเลือดขาว
เพิ่มความไวต่อการติดเชื้อ
➔ ภาวะทุพโภชนาการ การติดสุรา การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
การควบคุมป้องกันโรค

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 54


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
3. การกระจายของโรค (Distribution)  บุคคล (Person) สถานที่ (Place) เวลา (Time)
ตัวอย่าง โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อ Japanese Encephalitis มักจะเกิดในช่วงฤดูฝนเพราะต้องอาศัยยุงรำคาญ
ที่อยู่ในท้องนาเป็นตัวนำเชื้อจากสุกรมาปล่อยเข้าสู่คนโดยการกัด โรคนี้เกิดในชนบทไม่เกิดในเมือง ผู้ป่วยมักเป็นเด็กใน
วัยเรียน เพราะยังไม่มีภูมิต้านทานและเป็นวัยที่วิ่งเล่นรอบบ้านโดนยุงกัดง่าย เป็นได้ทั้งชายและหญิงไม่แตกต่างกัน
สิ่งที่บ่งบอกหรือระบุการกระจายของโรค ได้แก่
1. ข้อมูลคุณลักษณะของบุคคล (Person) ➔ ผู้ป่วย หรือกลุ่มเสี่ยงที่เราดำเนินกิจกรรมทางระบาดวิทยา เช่น อายุ
เพศ อาชีพ ฯลฯ
2.ข้อมูลเวลา (Time) ➔ เพื่อระบุช่วงเวลาที่เกิดโรคหรือภัยสุขภาพ โดยหน่วยของเวลา อาจเป็นวินาที นาที ชั่วโมง
หรือวัน ขึ้นอยู่กับระยะฟักตัวของโรค ช่วยในการค้นหาระยะเวลาที่สัมผัสปัจจัย เสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคและ
บ่งบอกชนิดของการระบาด
3. ข้อมูลสถานที่ (Place) ➔ เพื่อระบุจุดหรือตำแหน่งที่เกิดโรคหรือภัยสุขภาพ เช่น ประเทศ ภาค จังหวัดที่อยู่อาศัย
ที่ทำงาน ฯลฯ

การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ มี 4 ระดับ คือ **ออกสอบปี 65-66


1. Endemic (โรคประจำถิ่ น ) ➔ โรคที่ เกิ ด ขึ้ น ประจำในพื้ น ที่ นั้ น
กล่าวคื อ มี อัต ราป่วยคงที่และสามารถคาดการณ์ได้ โดยขอบเขตของ
พื้นที่อาจเป็นเมือง ประเทศ หรือทวีป เช่น ไข้เลือดออกในประเทศไทย โรค
มาลาเรียในทวีปแอฟริกา
2. Outbreak (การระบาด) ➔ การระบาดที่เป็นโรคประจำถิ่นอยู่แล้ว
แต่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือในกรณีโรคอุบัติใหม่ ถึงแม้จะมี
ผู้ป่วยเพียงรายเดียว เช่น การระบาดของไข้เลือดออกในปี 2562 การระบาด
ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น
3. Epidemic (โรคระบาด) ➔ การระบาดที่ แพร่กระจายเป็นวงกว้า ง มีผู้ติ ดเชื้อจำนวนเกินคาดการณ์ได้ เช่น
โรคอีโบลาที่ระบาดในทวีปแอฟริกาตะวันตกในปี 2557-2559, การระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน และระบาดต่อมายัง
ประเทศอื่นในทวีปเอเชีย **ออกสอบปี 66
4. Pandemic (การระบาดใหญ่/ทั่วโลก) ➔ การระบาดที่เกิดขึ้นครั้งใหญ่ ลุกลามไปทั่วโลก เช่น ไข้หวัดสเปน พ.ศ.2461
และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ พ.ศ.2553 รวมถึงเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ที่มก
ี ารระบาดของอย่างน้อย 122 ประเทศทั่วโลก
การศึกษาทางระบาดวิทยา

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 55


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
รูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยา **ออกสอบทุกปี
1. การศึกษาเชิงพรรณนา 2. การศึกษาเชิงวิเคราะห์ 3. การศึกษาเชิงทดลอง
(Descriptive study) (Analytical Study) (Experimental Study)
• เพื่อศึกษาขนาดความถีแ ่ ละลักษณะ • เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัย • เพื่อทดสอบมาตรการป้องกันและ
1.การกระจายของโรคว่ า เกิ ด ขึ้ น ใน เสี่ยงและสาเหตุของการเกิดโรค ควบคุมโรค ประสิทธิภาพของยาและ
สถานที่(place) กลุ่มประชากร(person) มีกลุ่มเปรียบเทียบ โดยการจัดกลุม ่ วัคซีนมีการกำหนดปัจจัยให้แตกต่างกัน
และเวลาใด(time) ประชากรเพื่อเปรียบเทียบการเกิดโรค ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
2.ขนาด (magnitude) หรือภาระ ในกลุ่มที่มป ี ัจจัย กับการเกิดโรคในกลุ่ม
(burden) ที่ไม่มป
ี ัจจัย
1.1 กรณีศึกษา (Case study) ได้แก่ 2.1 Case-control study 3.1 Clinical trial ศึกษากับ “ผูป
้ ่วย” ใน
รานงานผู้ป่วยรายเดียว (Case report) “ผล” ไปหา “เหตุ ข้อมูลที่มีอยู่ในอดีต โรงพยาบาลหรือคลินิก Exposure คือ
และรายงานชุดผู้ป่วย (Case series) หาปัจจัยที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของโรค ปัจจัยการรักษา กับ ไม่ได้รกั ษา
ไม่มีการใช้สถิตใิ นการแปรผล 2.2 Cross-sectional study 3.2 Field trial ศึกษากับ“กลุ่มคนปกติ”
1.2 สำรวจ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เปรียบเทียบว่าความชุกของโรคในกลุ่มที่ ในประชากรทัว่ ไป Exposure มักเป็นวิธี
Cross-sectional Survey) สำรวจหา มีปัจจัยว่าแตกต่างจากกลุ่มทีไ่ ม่มีปจั จัย ป้องกันโรค เช่น วัคซีน
ความชุกของโรค ณ จุดเวลา เช่น การ 23. Cohort study “เหตุ” ไปหา “ผล” 3.3 Community trialศึกษากับ
สำรวจสุขภาวะชุมชน คัดกรองโรค ทดสอความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เป็น ชุมชน”Exposure มักเป็นวิธีป้องกันโรค
13. การศึกษาระยะยาว ได้แก่ สาเหตุของโรค และการเกิดโรค เช่นการให้สุขศึกษา
ศึกษาไปข้าง และศึกษาย้อนหลัง
สถิติทใี่ ช้ในการศึกษาแบบต่างๆ 1. Prevalence Rate และ OR การวัดขนาดของโรค • อุบต ั ิการณ์ของ
1. ความชุก (Prevalence) 2. Incidence Rate และ relative โรค(incidence) : ความเสี่ยงต่อการเกิด
2. อุบต
ั ิการณ์ (Incidence) risk (RR) โรค (risk), • อัตราการเกิดโรค (rate)
การวัดความสัมพันธ์
มาตรวัดอัตราส่วน :RR IR
มาตรวัดความแตกต่าง
(difference scale) :RD (risk difference),
ID (rate difference)

ตัวอย่างการศึกษาเชิงพรรณนา
● กรณีศึกษา (Case study) : รายงานสอบสวนเฉพาะรายผู้ป่วยเข้าข่ายโรคคอตีบ
วันที่ 30 เม.ย. 55 พบผู้ป่วยสงสัยเป็นโรคคอตีบสัญชาติลาว 1 ราย ทีม SRRTจังหวัดA ร่วมกับทีม สปป.ลาว ได้ออก
สอบสวนและควบคุมโรค เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และเพื่อหา
แนวทาง มาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคร่วมกัน โดยทบทวนแฟ้มประวัติผู้ป่วย ค้นหาผู้ป่วยที่สงสัยและผู้สัมผัส
ใกล้ชิด ในชุมชน ศึกษาข้อมูลการเฝ้าระวังโรคคอตีบและรายงานความครอบคลุมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคคอตีบใน
จังหวัดA และสปป.ลาวโซนนั้น
● สำรวจ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึง่ Cross-sectional Survey) : ศึกษาความชุกของโรคจิตเวชในประเทศไทย
การสำรวจระดับชาติ ปี 2546 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและการกระจายตามเพศและกลุ่มอายุ
ของโรคจิตเวชที่สำคั ญใน ประชากรไทย เป็นการสำรวจแบบภาคตัดขวาง 2 ขั้น ตอน 1.คั ด กรองด้ว ยแบบคั ดกรอง
สุขภาพจิตในชุมชน 2.ประเมินด้วย MiniInternational Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I.) ตัวอย่างทั้งชายและหญิง
อายุระหว่าง 15 -59 ปี 11,700 คน ซึ่งได้จากการสุ่ม จากประชากรทั้ง 4 ภาค
● การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา : การทบทวนการใช้ยา Olanzapine รักษาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลXหลังจากมีรายงานการเกิด
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาolanzapine ในการรักษาโรคทางจิตเวช ผู้รายงานจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดอาการ
ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยโรคทางจิตเวชวิธีการศึกษา ทบทวนการใช้ยา olanzapine จากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลX
ที่ได้รับการรักษาด้วยยาolanzapine ในช่วง ธ.ค. 61

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 56


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
2. การศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Study) **ออกสอบบ่อย จำวัตถุประสงค์
➔ เป็นการวิ เคราะห์ เพื่อ หาความสัมพั นธ์ ระหว่า งการเกิด โรคกับ ปั จ จัย ที่ส งสัย ว่า จะเป็น สาเหตุ ข องโรคนั้ น ๆ
เพื่อที่จะตอบปัญหาว่า โรคนั้นๆ เกิดจากสาเหตุอะไร โดยมีกลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 2 กลุ่ม
➔ เพื่อ เปรีย บเทียบว่า ความสัมพันธ์ระหว่า งปัจจัยและโรคในแต่ล ะกลุ่มแตกต่างกัน อย่างไร ข้อ แตกต่างจาก
การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาคือการศึกษาชนิดนี้ ต้องมี “กลุ่มเปรียบเทียบ
Case-control study Cross-sectional Study Cohort Study
ย้อนหลัง ผล ไปหา เหตุ ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง ไปข้างหน้า เหตุ ไปหา ผล
●กลุ ่ ม คนที่ เป็ น โรคที่ ต ้ อ งการศึ ก ษา ● ทำการสุ่มเลือกขนาดตัวอย่าง ●ศึกษาและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย
เรียกว่า “Case” และกลุ่มคนที่ไม่ป่วยมา ● วัดปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพล ทีค
่ าดว่าจะเป็นสาเหตุของโรค และการเกิดโรค
เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ เรียกว่า “Control” ต่ อ การเกิ ด โรคและวั ด การเกิ ด ●สังเกตกลุ่มคนที่มีปัจจัยและกลุ่มที่ไม่มีปัจจัย
●รวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ในอดีตมีหรือไม่ โรคทีม่ ีอยู่ไปพร้อมกัน ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นโรคทีต ่ ้องการศึกษา
มีปัจจัยที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของโรค ● เปรียบเทียบ ความชุกของโรค ●ติดตามไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อดู “อัตราการ
●เปรียบเทียบ “อัตราส่วนการมีปัจจัย ใน ก ลุ ่ ม ที่ มี ป ั จ จั ย ที่ ศึ ก ษ า ว ่ า เกิดโรค” กลุ่มคนที่มีปัจจัยแตกต่างไปจากกลุ ่ ม
ต่ อ การไม่ มี ป ั จ จั ย ” ระหว่ า ง “Cases” แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่มีปัจจัยนั้น เปรียบเทียบซึ่งไม่มีปัจจัยที่ศึกษาหรือไม่
และ“Controls” แตกต่างกันหรือไม่ หรือไม่ ●วัดความเสี่ยงการเกิดโรคได้โดยตรง ติดตาม
●Controls ต้องเป็นกลุ่มทีถ ่ ูก sampling ● ใช้เป็นเครื่องมือขั้นต้ นในการ นานพอที่ จ ะวั ด ผลได้ อ ย่ า งน้ อ ยต้ อ งเท่ า กั บ
มาจากประชากรเดียวกันกับ Case ห า ค ว า ม สั ม พั น ธ ์ ร ะ ห ว ่ า ง ระยะเวลาก่อโรค (induction period) หรือระยะ
Exposure กับ Outcome ทีส ่ นใจ ฟักตัวของโรค (incubation period)

ข้อดี/ข้อจำกัด ข้อดี/ข้อจำกัด ข้อดี/ข้อจำกัด


• ไม่สามารถวัด risk ได้โดยตรง ● สามารถหาค่า Prevalent ratio ● คำนวณอุบัติการณ์ (incidence) และ Relative
หาค่า Odds ratio (OR) ได้ หรือ Odds ratio (OR) ได้ Risk (RR) ได้โดยตรง
• ไม่เหมาะกับการศึกษา Exposure ที่ ● ประเมินสถานการณ์เบื้องต้น ● มั่นใจได้ว่าปัจจัยเกิดขึ้นก่อนผลที่สนใจศึกษา
พบได้น้อย - ติดตามแนวโน้มของโรค ● ศึ ก ษาโรคที่ เกิ ด จากปั จ จั ย ที่ พ บได้ น ้ อ ยหรื อ
• เกิดข้อผิดพลาดในการเลือกกลุ่ม - ค้นหาปัญหาสุขภาพและความ ปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาได้
เปรียบเทียบได้งา่ ยกว่า ต้องการของประชากรได้ ● ศึกษา outcome หลายๆอย่างที่เกิดจากปัจจัย
• ข้อมูลExposure อาจผิดพลาดได้งา่ ย ● ต้องการศึกษาโรคหรือปัจจัย อย่างเดียว
เสี่ยงหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ● มีข้อผิดพลาด (bias) น้อยกว่าการศึกษาอื่นๆ
เช่น ศึกษาการดื่มแอลกอฮอล์ กับ เช่น การศึกษาความชุกของโคลิ เช่น ศึกษาโรคมะเร็งปอดกับการสูบบุหรี่
ความเครียด เพื่อหาความสัมพันธ์ ฟอร์มในน้าดื่มและสุขอนามัยของ
ระหว่างระดับการดื่มแอลกอฮอล์กับ แม่บ้านทีม
่ ีความสัมพันธ์กับการ
ระดับความเครียดของสมาชิกใน ปกเปื้อน
ครอบครัวทีด่ ื่มแอลกอฮอล์

การวัดความสัมพันธ์ระหว่าง “ปัจจัยที่ศึกษา” และ “โรค” **ออกสอบปี 65


วัดในลักษณะของการหาร (ratio scale)
1. Risk ratio, Rate ratio : ใช้ใน Cohort Study
2. Odds Ratio : ใช้ใน Case-control Study หรือ
3. Prevalent Ratio : ใช้ใน Cross-sectional Study

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 57


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
การหาความเสี่ยง **ออกสอบปี 64 แปลผล RR,OR และนิยาม
• Risk Ratio (RR) หรือ Relative Risk ใช้ในการศึกษา
➔1. Experimental Study อัตราส่วนของโอกาสในการเกิดผลลัพธ์ระหว่าง กลุ่มทดลองต่อกลุ่มควบคุม
➔2. Cohort Study อัตราส่วนของความเสี่ยงในการเกิดโรคระหว่างกลุ่มสัมผัสปัจจัยต่อกลุ่มไม่สัมผัสปัจจัย
• Odds Ratio (OR) ใช้ในการศึกษา ➔ Case-control Study และ Cross-sectional Study
Odds คือ อัตราส่วนระหว่างโอกาสของการเกิดเหตุการณ์ต่อโอกาสของการไม่ เกิดเหตุการณ์ หรืออัตราส่วนของ
Odds ในกลุ่ม Case ต่อ กลุ่ม Controls
Case-control Study Cross-sectional Study Cohort Study
หาค่าความเสี่ยง Odds Ratio หาค่าความเสี่ยง Risk Ratio หาค่าความเสี่ยง Relative Risk

การแปลผล การแปลผล การแปลผล


• OR = 1 : ไม่มีความสัมพันธ์หรือไม่มีผล • PR = 1 : ไม่มีความสัมพันธ์หรือไม่มีผล • RR = 1 : ไม่มีความสัมพันธ์หรือไม่มีผล
• OR > 1 : ความสัมพันธ์เป็นปัจจัยเสี่ยง • PR > 1 : ปัจจัยและโรคพบร่วมกัน • RR > 1 : ความสัมพันธ์เป็นปัจจัยเสี่ยง
• OR < 1 : ความสัมพันธ์เป็นปัจจัยป้องกัน • RR < 1 : ความสัมพันธ์เป็นปัจจัยป้องกัน
• PR < 1 : ปัจจัยและโรคไม่พบร่วมกัน
ผู้ป่วยมีอัตราส่วนการมีปัจจัยต่อการไม่มี Risk Ratio
ผู้ที่มีปัจจัยมีความชุกของโรคเป็น … เท่า
ปัจจัยเป็น …. เท่าเทียบกับผู้ไม่ปว่ ย
เทียบกับผู้ที่ไม่มีปัจจัย ผู้ทมี่ ีปัจจัยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
เป็น … เท่าเทียบกับผู้ที่ไม่มีปัจจัย
Risk difference
ผู้ที่มีปัจจัยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
มากกว่าผู้ทไี่ ม่มีปัจจัย………(หน่วย)

การวัดทางระบาดวิทยา
ชนิดของการวัดทางระบาดวิทยา
• การวัดการเกิดโรคในชุมชน (Measures of Disease Frequency) ได้แก่ อัตราอุบัติการณ์ ความชุก เป็นต้น
• การวัดเพื่อหาความสัมพันธ์ (Measures of Association) ได้แก่ Odd Ratios, Relative Risk เป็นต้น
• การวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน (Measures of Potential Impact) ได้แก่ Population attributable risk (PAR)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 58


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
การวัดการเกิดโรคในชุมชนที่สำคัญ (ดัชนีอนามัย)

อัตราการป่วย (Morbidity Rates) **ออกสอบบ่อย


1. อัตราอุบัติการณ์ (Incidence rate) ประเมินผลการป้องกันโรค

2. อัตราความชุกของโรค (Prevalence rate)


แสดงถึงบริการด้านการรักษาพยาบาล

3.อัตราป่วย (Attack Rate) **ออกสอบปี 65

อัตราการตาย (Mortality Rates) **ออกสอบบ่อย


1. อัตราการตายอย่างหยาบ (Crude Mortality Rate)

2. อัตราการตายเฉพาะ (Specific Mortality Rate)

3. อัตราป่วยตาย (Case Fatality Rate)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 59


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (Epidemiology Surveillance)
➔ เป็นกระบวนการติดตามสังเกต และพิจารณาอย่างมีระบบและต่ อเนื่อง ในลักษณะการเกิดและการกระจายของ
โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการเกิดและการกระจายของโรคภัยไข้เจ็บเหล่านั้น
ด้ ว ยโดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ส ำคั ญ เพื่ อ ให้ ท ราบถึ ง การเปลี่ ย นแปลงแนวโน้ ม และการกระจายของปั ญ หาสาธารณสุข
ซึง่ จะนำไปสู่การดำเนินการควบคุมป้องกันทีม ่ ีประสิทธิภาพ

การเฝ้าระวังทางสาธารณสุข(Public Health Surveillance)


➔ กระบวนการจัดเก็ บ วิ เคราะห์ และแปลผลข้อมูล ทางสาธารณสุขที่เป็น ไปอย่ างต่ อเนื่ องและมี ระบบรวมถึ งการ
นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ไปเผยแพร่และใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการวางแผน การจัดทำมาตรการป้องกัน และควบคุม
ปัญหาสาธารณสุข รวมถึงการประเมินผลมาตรการอย่างทันท่วงที

ประโยชน์ของการเฝ้าระวัง ขั้นตอนการเฝ้าระวัง
• ตรวจจับการระบาดของโรค • ติดตามแนวโน้มของโรคต่างๆ
• พยากรณ์การเกิดโรค • วางแผน กำนโยบายการปฏิบัติงาน
• ประเมินมาตรการการป้องกันควบคุมโรค
ประเภทของระบบเฝ้าระวังระบาดวิทยา
1. การเฝ้าระวังเชิงรับ (Passive Surveillance)
➔ เป็นระบบเฝ้าระวังที่มีการรายงานเป็นปกติประจำ (ต่อเนื่อง) ตามเวลาที่กำหนด ใช้แบบฟอร์มรวบรวมข้อมูล คือ รง.506
รง.507 รง.506/1 **ออกสอบปี 64
2. การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance)
➔ การค้นหาการเกิดโรคเชิงรุก มุ่งเน้นให้ระบบสามารถตรวจจับโรคได้อย่างครบถ้วน ใช้เมื่อมีการเฝ้าระวังโรคเกิดใหม่หรื อ
มีนโยบายที่จะกำจัดหรือกวาดล้าง เช่น โรคติดเชื้อไวรัสซิกา, AFP
3. การเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มพื้นที่ (Sentinel Surveillance)
➔ คล้ายการเฝ้าระวังพิเศษ ในเฉพาะบางพื้นที่ หรือบางบางกลุ่มประชากรหรือบางระดับความรุนแรงของโรคเท่านั้น
➔ เลือกกลุ่มตัวอย่างจำเพาะพื้นที่ เช่น การเฝ้าระวังเอชไอวีเฉพาะพื้นที่ การเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง
4. การเฝ้าระวังพิเศษ (Special Surveillance)
➔ เพื่อค้นหาการเกิดโรคใหม่ๆ หรือที่อยู่ภาวะความเสี่ยงของการเกิดโรค เพื่อทราบสถานการณ์ทแ ี่ ท้จริงอย่างทันเวลา มักทำ
การเฝ้าระวังตามเหตุการณ์หรือเวลาสั้นๆ
➔ รูปแบบคล้ายการเฝ้าระวังเชิงรับ แต่เข้มข้นกว่า เช่น การเฝ้าระวังพิเศษในภัยพิบัติ โดยตั้งระบบเฝ้าระวังโรคหลังจากเกิดน้าท่วม

การเฝ้าระวังกลุ่มอาการ (Syndromic Surveillance) ➔ มีการกำหนดนิยามผู้ที่ต้องเฝ้าระวังตามกลุ่มอาการไม่ใช่ตามชนิดของโรค


เช่น กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ **ออกสอบบ่อย
• รายงานผู้ป่วยเป็นรายๆ (Case-base reporting) โดยทีไ่ ม่ต้องรอให้แพทย์วินิจฉัยทีช
่ ัดเจนก็ได้
• การเฝ้าระวังอุจจาระร่วง กลุ่มอาการไข้และผลกลุ่มอาการไข้และมีอาการทางสมอง กลุ่มอาการปอดอักเสบ กลุ่มโรคระบบ
ทางเดินหายใจ จากผู้ได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5
การเฝ้าระวังเหตุการณ์ (Event-based Surveillance : EBS)➔การตรวจหาและจัดระบบข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ทอ ี่ าจก่อให้เกิด
ความเสี่ยงต่อสาธารณสุขซึ่งอาจจะเป็นข่าวลือ การรายงานข่าวตามปกติ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือรายงานจากเจ้าหน้าที่
• เพื่อตรวจจับการระบาดของโรค เพื่อให้หน่วยงานที่รบ ั ผิดชอบ สามารถตอบสนอง และรับมือกับเหตุการณ์ทอ ี่ าจก่อให้เกิดปัญหา
สุขภาพได้ รวดเร็ว
• พบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น เป็นกลุ่มก้อน เสียชีวิตไม่ทราบสาเหต
• การเกิดโรคระบาดในสัตว์ น้าดืม ่ อาหารมีการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมี กัมมันตรังสี หรือการเกิดวะหมอกควัน
การเฝ้าระวังในชุมชน (Community Surveillance) ➔เป็นการเฝ้าระวังที่บุคคลในชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ เช่น อสม. อาจเป็น
แบบเชิงรับ (รายงานผู้ป่วย) หรือแบบเชิงรุก (ค้นหาผู้ป่วย) ในชุมชน ซึ่งจะมีประโยชน์มากในกรณีของการเกิดระบาด (Outbreak)
และนิยามผู้ป่วยตามกลุ่มอาการ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 60


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งกรณีเกิดโรคติดต่ออันตราย หรือ โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
หรือโรคระบาดเกิดขึ้น พ.ศ.2560 JUM!! ออกสอบบ่อยมาก

การเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมโรค สำหรับ รพ.สต.

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 61


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศ “รายชื่อโรคติดต่อที่ต้องรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ตาม
พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558” (ฉบับปรับปรุงวันที่ 1 ก.พ. 2566) โดยจำแนกโรคออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1. โรคติดต่ออันตราย 13 โรค รายงานทันทีที่พบผู้ป่วยแม้เพียงสงสัย โดยแจ้งไปยังคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจั ง หวั ด
โดยไม่ต้องรอการวินิจฉัยสุดท้ายจากแพทย์ และไม่ต้องรอการลงรหัส ICD-10ทั้งนี้ ประกอบด้วย ออกสอบบ่อย

1.กาฬโรค 2.ไข้ทรพิษ 3.ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก 4.ไข้เวสต์ไนล์


5.ไข้เหลือง 6.โรคไข้ลาสซา 7.โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ 8.โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก
9.โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 10.โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา 11.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส
12.โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส 13.วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก
2. โรคที่ต้องเฝ้าระวังและรายงานผูป
้ ่วยสู่ระบบรายงาน 506 57 รหัสโรค แบ่งออกเป็น
• กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารและน้า ได้แก่ อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา โรคบิดมีตัวหรือโรคบิด
จากเชื้ออะมี บา ไข้ ไทฟอยด์ ห รือไข้รากสาดน้อย ไข้ พ าราไทฟอยด์ห รือไข้ รากสาดเทีย ม โรคพยาธิ ใบไม้ ตับ โรคโบทูลิซึม
โรคอาหารเป็นพิษจากเห็ด โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด เอ โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด อี
•กลุ่มโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
•กลุ่มโรคติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ ไข้หัดเยอรมัน-ไข้หัดเยอรมันที่มีโรคแทรกซ้อน โรคสุกใสหรือโรคอีสุกอีใส
โรคโปลิโอ ไข้หัดที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ไข้หัดที่มีโรคแทรกซ้อน โรคคอตีบ โรคไอกรน โรคบาดทะยัก ไข้สมองอักเสบเจแปนนิส
โรคคางทูม บาดทะยักในเด็กแรกเกิด ไข้หัดเยอรมันแต่กำเนิด
•กลุ่มโรคติดเชื้อระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ มิได้ระบุ
รายละเอียด
•กลุ่มโรคติดเชื้อที่นำโดยแมลง ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้เลือดออกช็อก ไข้มาลาเรีย โรคสครับไทฟัส ไข้เด็งกี ไข้ปวดข้อยุงลาย
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
•กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ โรคซิฟิลิส โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคแผลริมอ่อน
กามโรคของต่อมและท่อน้าเหลือง โรคเริมของอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก โรคหูดอวัยวะเพศและทวารหนัก โรคไวรัสตับ
อักเสบเฉียบพลัน ชนิด บี โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด ซี โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด ดี
•กลุ่มโรคติดเชื้อจากการสัมผัส ได้แก่ โรคมือเท้าปาก โรคเมลิออยโดสิส ไข้เอนเทอโรไวรัส ไข้ฝีดาษวานร
•โรคติด ต่ อ จากสั ตว์ สู ่ ค น ได้ แก่ โรคพิ ษ สุ นัข บ้ า หรื อโรคกลั วน้ า โรคเลปโตสไปโรสิ ส โรคแอนแทรกซ์ โรคทริ คิโนสิ ส
โรคติดเชือ้ สเตร็พโตคอคคัสซูอิส โรคบรูเซลโลสิส ไข้หวัดนก

3. การเฝ้ า ระวั ง กลุ ่ ม อาการ (รายงานเป็ น จำนวนผู ้ ป ่ ว ย) ลั ก ษณะข้ อ มู ล เป็ น แบบการรายงานข้ อ มู ล ที่นั บ จำนวนผู้ ป่ วยตาม
กลุ่มอาการที่มารับบริการที่โรงพยาบาล โดยใช้ ICD-10 เป็นตัวแปรในการนับจำนวนจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล ประกอบด้วย
โรคต่าง ๆ ดังนี้ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคตาแดงจากไวรัส โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน เหตุการณ์ไม่พึง
ประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ไข้ไม่ทราบสาเหตุ ไข้ออกผื่นจากการติดเชื้อไวรัส
โรคที่ ตัด ออกจากการรายงาน 506 ได้ แก่ วั ณโรคทุ ก ระบบ และ โรคเรื้ อ น ให้ รายงานเป็ น ทะเบี ยนผู ้ ป ่ วยในฐานข้ อมูลที่
กรมควบคุมโรคกำหนด โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ ไข้ดำแดง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่ไม่ระบุ โรคลิชมาเนีย
และโรคเท้าช้าง ให้สอบสวนผู้ป่วยตามเกณฑ์การสอบสวนการระบาด เช่น พบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นโรคที่พบใหม่ในพื้นที่
และรายงาน เป็นเหตุการณ์ผิดปกติทางระบาดวิทยา

กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ 30 มิ.ย.65 เพิ่มโรคฝีดาษวานรหรือโรคฝีดาษลิง (Monkeypox)


เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (โรคที่ 56)

กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป ยกเลิกโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตราย


และกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (โรคที่ 57)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 62


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---

การสอบสวนการระบาดของโรค (Outbreak Investigation)


เป็นการค้นหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์การระบาด โดยการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อธิบายรายละเอียดของปัญหา
ค้นหาสาเหตุ เพื่อนำไปสู่การควบคุมป้องกันปัญหาการระบาดครั้งนั้น ๆ และครั้งต่อไป
• Descriptive Study → What, Who Where • Analytic Study → Why, How
ทำไมต้องสอบสวนโรค
• เพื่อการควบคุมในขณะนั้นไม่ให้ลุกลาม และป้องกันการเกิดโรคในอนาคต
• เป็นโอกาสในการวิจัย สร้างความรู้ใหม่
• ประเมินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ดำเนินไปแล้ว
• เพื่อพัฒนาบุคลากร
นิยามผู้ป่วย (Case definition) ต้องจำ ข้อสอบออกบ่อย
• ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed) : อาการ อาการแสดงชัดเจน ร่วมกับมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เฉพาะเจาะลง
กับโรคนั้นยืนยัน **ออกสอบปี 65
• ผู้ป่วยเข้าข่าย (Probable) : อาการ/อาการแสดงชัดเจนว่าน่าจะเป็นโรคนั้นๆ หรืออาจมีผลการตรวจที่ไม่จำเพาะสา
หรับโรคนั้นๆให้ผลบวก
• ผู้ป่วยสงสัย (Suspected) : อาการ/อาการแสดงไม่ชัดเจนมากนักชนิดของการสอบสวนทางระบาดวิทยา
ชนิดของการสอบสวนทางระบาดวิทยา

1. การสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย 2. การสอบสวนทางระบาดวิทยา
(Individual case investigation) (Outbreak Investigation)
ผู้ป ่ว ยและผู้สัมผัส ออกสอบสวนเมื่อ พบเพี ย ง การที่มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเดียวกันมากกว่า
1 ราย ซึ่ ง เป็ น โรคติ ด ต่ อ อั น ตราย เป็ น ปั ญ หา ป ก ติ ใน พื้ น ที่ ห นึ่ ง ๆ แ ล ะ ใน ช ่ ว ง เว ล า ห นึ่ ง ๆ
สำคัญที่ต้องการกวาดล้างโรคที่เคยควบคุ มหรือ พบผู้ป่วยตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ในระยะเวลาอันสั้น
กำจัดได้แล้ว รายที่ผิดปกติของโรคที่พบทั่วไปที่มี เห็นเป็นกลุ่มก้อน (cluster) หลังจากร่วมกิจกรรม
ความรุนแรงเสียชีวิต โรคอุบัติใหม่ /โรคอุบัติซ้า ด้วยกันมา เช่น รับประทานอาหารใน งานเลี้ยง
หรือเป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจ การอยู่ร่วมกันในค่ายพัก
➔ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค ➔ เพื่อยืนยันการระบาดและค้นหาผู้เกี่ยวข้อง
➔ ป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรคต่อไป
ความหมายของคำว่า Epidemic and Outbreak เมื่อไร ??? จึงจะเรียกว่ามีการระบาด
• Epidemic
➔ การที่มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน มากกว่าปกติในพื้นที่หนึ่งๆและในช่วงเวลาหนึง่ ๆ
➔ กรณีที่พบมีจำนวนผูป ้ ่วยมากกว่าจำนวนผูป้ ่วยในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนๆ หรือสูงกว่าค่า mean +2SD
• Outbreak
➔ ถ้าพบผูป ้ ่วยมากกว่า 2 รายขึ้นไปในช่วงเวลาสั้นหลังจากมีกจิ กรรมร่วมกัน

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 63


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
การสอบสวนโรคตามกระทรวงสาธารณสุข เรือ่ ง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสอบสวนโรคติดต่ออันตราย
หรือโรคระบาด พ.ศ. 2563 ออกตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
ผู้มีอำนาจออกประกาศ ➔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ
ชนิดของการระบาด (Outbreak patterns)
ชนิดแหล่งโรคร่วม (Common source outbreak) ชนิดแหล่งโรคแพร่กระจาย (Propagated source outbreak)
➔ เป็นการระบาดจากแหล่งโรคเดียว ➔ เป็นการระบาดจากแหล่ง โรคหลายแหล่ง หรือ การ
• Point : มีการแพร่โรคในช่วงเวลาสั้นๆ ระบาด “จากคนสูค
่ น”
• Continuous : มีการแพร่โรคแบบต่อเนื่อง

ประโยชน์ของ Epidemic curve ➔ บอกชนิดของการระบาด ใช้คาดประมาณระยะเวลาที่ได้รับเชื้อ (Exposure period)


เงื่อนไขการออกสอบสวนโรคของทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค ฉบับปรับปรุง 2566
1. เป็นเหตุการณ์ทม ี่ ีความสำคัญสูง มีผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ เป็นวงกว้าง หรือ
2. เป็นเหตุการณ์ทไี่ ม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือ
3. เหตุการณ์ทผี่ บ
ู้ ริหารให้ความสนใจเพื่อศึกษาหรือดำเนินการ สอบสวนเชิงลึก หรือ
4. เหตุการณ์การระบาดทีเ่ ข้าตามเกณฑ์ ต่อไปนี้
ชนิดโรค อำเภอ/ศบส. กำหนดเวลาลงสอบสวน
โรคติดต่ออันตราย
13 โรค ตั้งแต่ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ทุกราย ลงสอบสวนภายใน 12 ชั่วโมงหลังพบ
ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุสงสัยว่าเป็น
โรคที่ตอ
้ งเฝ้าระวังและรายงานผูป
้ ่วยสู่ระบบรายงาน 506 57 รหัสโรค เช่น
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา - ผู้ป่วยตั้งแต่ระดับสงสัย 5 รายขึ้นไป ภายใน 1 สัปดาห์ 1.เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่
2019 (COVID – 19) ในสถานทีเ่ สี่ยง ต่อการแพร่กระจายไปในวงกว้าง 2.หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ
- ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตทีม ่ ีลักษณดังต่อไปนี้ (CDCU)
แต่งตั้งตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558
- ผู้ป่วยอายุต่ากว่า 70 ปี - ไม่มีโรคประจำตัว
ลงสอบสวนภายใน
- มีประวัติฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์
24-48 ชั่วโมงหลังรับแจ้ง
- อาการหนักและเสียชีวิตเร็วภายใน 3 หลังติดเชื้อ
- ได้รับยาต้านไวรัสหลังทราบผลไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- ไม่มีอาการปอดอักเสบ
- ผู้ป่วยที่พบ Variant of Concern
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ผู้ป่วยสงสัยเป็นกลุ่มก้อน ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ลงสอบสวนภายใน
(Zika virus infection) - หญิงตั้งครรภ์สงสัยติดเชื้อไวรัสซิกาทุกราย 24-48 ชั่วโมงหลังรับแจ้ง
ไข้เดงกี่/ไข้เลือดออกเดงกี่/ ผู้ป่วยเข้าข่ายไข้เดงกี่/ สงสัยไข้เลือดออก รายแรก ลงสอบสวนภายใน
ไข้เลือดออกเดงกี่ทม
ี่ ี (Index case) ของชุมชน (เช่น หมู่บ้านหรือพื้นที่ซอย) 24-48 ชั่วโมงหลังรับแจ้ง
ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง นับจากวันเริ่มป่วยของผู้ป่วย รายสุดท้าย 28วัน
(DF/ DHF/ DSS/ EDS) - ผู้ป่วยสงสัยเสียชีวิตทุกราย - มีการระบาดในชุมชน
- ผู้ป่วยสงสัยทุกราย ที่มีอาการรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อ
หัวใจอักเสบ (Myocarditis) สมองอักเสบ (encephalitis)
ฝีดาษวานร - ผู้ป่วยตั้งแต่ระดับสงสัยขึ้นไป ทุกราย ลงสอบสวนภายใน
(Monkeypox, Mpox) 24-48 ชั่วโมงหลังรับแจ้ง
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 64
--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
แนวทางปฏิบัติในการดำเนินการสอบสวนโรค แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงือ
่ นไขในการสอบสวนโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด พ.ศ. 2563
 เมื่อเกิดหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดขึน
้ ในพื้นที่ใด ให้เริ่มดำเนินการสอบสวนโรค ดังนี้
1. ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นทีร่ ่วมกับ เจ้าหน้าทีใ่ นหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ(CDCU) จัดเตรียมเอกสาร
เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือ
ข้อมูลที่ต้องใช้ ในการสอบสวนโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดนั้น ๆ
2. การดำเนินการระหว่างสอบสวนโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด ดังนี้
ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ
1) ทบทวนข้อมูล/สถานการณ์ ทบทวนข้อมูลหรือสถานการณ์การเกิดโรคเบื้องต้น
2) Active case finding เมื่อพบผู้ป่วยรายแรก ให้ค้นหาผู้ที่เป็นหรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย
หรือโรคระบาดเพิ่มเติม
3) ค้นหาผู้ทเี่ ป็นผู้สัมผัสโรค โดยแบ่งผู้สัมผัสโรคตามระดับความเสี่ยงว่าเป็นผู้สัมผัสโรค ทีม
่ ีความเสี่ยงสูง/มีความเสี่ยงต่า
4) ให้ผู้ทเี่ ป็น/ผู้ที่มีเหตุอัน แจ้งข้อมูลที่จำเป็นต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ โดยอย่างน้อย
ควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อ • ต้องแจ้งข้อมูลของตนเอง รวมถึงข้อมูลของคนในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด โรคประจำตัว
อันตราย/โรคระบาด/ผู้ที่เป็น ประวัติการเดินทาง ประวัติการทำงาน
ผู้สัมผัสโรค/เป็นพาหะ • ประวัติการสัมผัสผู้ป่วย ประวัติการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหรือการรับยา
• พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้ติดเชื้อโรคหรือแพร่เชื้อโรค
5) เก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจ • เก็บตัวอย่างจาก ผู้ที่เป็น/ผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย/โรคระบาด
ยืนยันทางห้องปฏิบต ั ิการ • จากผู้สัมผัสโรคหรือเป็นพาหะจากศพ เช่น การชันสูตรศพ (Autopsy) การเก็บชิ้นเนื้อ
บางส่วนจากสารคัดหลั่งหรืออวัยวะจากศพ (Necropsy)
• จากสิ่งแวดล้อม จากสัตว์หรือซากสัตว์ หรือจากสิ่งอื่นใดที่จำเป็นต่อการสอบสวนโรค
6) สำรวจสิ่งแวดล้อม สำรวจสิ่ ง แวดล้ อมที่เกี่ ย วกั บ การติด ต่ อของโรค เช่ น ระบบน้ า ดี น้ า ทิ้ ง ระบบการระบาย
(Environmental study) อากาศภายในอาคาร กระบวนการผลิตอาหาร การสำรวจพาหะนำโรค
7) ศึกษาทางกีฏวิทยา ในกรณีทโี่ รคนั้นเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง
(Entomological study)
8) ทำลายสิ่งของที่ปนเปื้อน อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) หรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการสอบสวนโรค
เชื้อโรคติดต่อ โดยให้ดำเนินการทำลายเชื้อโรคติดต่ออย่างเหมาะสม
9) กรณี จพ.ควบคุมโรคติดต่อหรือ CDCU สัมผัสสิ่งแวดล้อมทีป ่ นเปื้อนเชื้อ โดยไม่ได้สวม PPE หรือ PPE ชำรุด/ฉีกขาด
➔ ให้ ห ยุ ด ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ แ ละแจ้ ง เจ้ า พนั ก งานควบคุ ม โรคติ ด ต่ อ สั ง กั ด สำ นั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด สำนั ก อนามั ย
กรุงเทพมหานคร หรือกรมควบคุมโรค ทันที

3. เมื่อดำเนินการสอบสวนโรคแล้วเสร็จ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อแจ้งและรายงานตามที่กำหนดไว้
➔ จัดทำสรุปรายงานการสอบสวนโรคและแจ้งไปยังคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการ
โรคติดต่อกรุงเทพมหานคร และส่งรายงานสถานการณ์ประจำวัน
➔ ส่ งรายงานให้ แก่ กรมควบคุ มโรค ภายใน 48 ชั่ วโมงนั บแต่ พบผู ้ ที่ เป็ นหรื อมี เหตุ อั นควรสงสั ยว่ าเป็ นโรคติ ดต่อ
อันตรายหรือโรคระบาด และส่งรายงานอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งจนกว่าสภาวการณ์ของโรคจะสงบลง และให้ดำเนินการ ดังนี้
1) ทบทวนและจัดทำสรุปผลการดำเนินการสอบสวนโรคของหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (After Action
Review) อย่างเป็นระบบ
2) เฝ้าระวังอาการของตนเองภายในหนึ่งระยะฟักตัวสูงสุดของโรคนั้น ๆ หากมีอาการป่วยหรือมีเหตุอันควร
สงสัยว่าป่วย ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่มีหน้าที่รับแจ้ง กรณีมีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาด
เกิดขึ้นหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดขึ้น

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 65


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
<< การเขียนรายงานสอบสวนโรค
ประเภทของรายงานการสอบสวน
1. รายงานการสอบสวนเสนอผู้บริหาร
1.1 รายงานการสอบสวนเบื้องต้น (Preliminary Report) ➔ เขียนรายงานทันที ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ
ประกอบด้วย เนื้อหา สถานการณืในปัจจุบัน และแนวโน้ม ผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะ
1.2 รายงานการสอบสวนสรุปเสนอผู้บริหาร (Final Report) ➔ สรุปรายละเอียดของผลการสอบสวนโรค และ ผล
การควบคุมโรคทั้งหมด โดยมีใบปะหน้า
2. รายงานการสอบสวนฉบบสมบูรณ์ (Full Report)
3. รายงานบทความวิชาการ (Scientific Article)
การเขียนรายงานการสอบสวนฉบบสมบูรณ์ (Full Report)
องค์ประกอบ รายละเอียด
1.ชื่อเรือ
่ ง สอบสวนโรคอะไร ทีไ่ หน เมือ
่ ไหร มีประเด็นจำเพาะ ให้ตั้งชือ
่ เร่ืองเป็นลำดับสุดท้าย
2.ผู้รายงานและทีมสอบสวน ชื่อหน่วยงาน ตำแหน่ง ชื่อแรกเป็นผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาทีส
่ ุดเรียงตามลำดับลงไป
3.บทคัดย่อ บทนำและวัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษาทีส
่ ำคัญ ข้อเสนอแนะ
ไม่ควรเกิน 200-250 คำ
4.บทนำ ลักษณะโรคทีส ่ นใจ สถานการณ์ของโรคทั้งโลก ประเทศ จังหวัด อำเภอ
เหตุนำมาซึ่งการสอบสวนโรค
5.วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค • การสอบสวนการระบาดโรค ➔เพื่อวินิจฉัยและยืนยันการระบาดของโรค อธิบาย
ขนาดปัญหาและการกระจาย ค้นหาแหล่งโรค วิธีการถ่ายทอดโรค ปัจจัยเสี่ยงและ
ผู้สัมผัสโรค กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันโรค
• การสอบสวนเฉพาะราย ➔ ยื น ยั น การวิ นิ จ ฉั ย โรค อธิ บ ายลั ก ษณะการเกิ ด โรค
ในผู้ป่วยค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรค
6.วิธีการศึกษา ให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ อธิบายรูปแบบทีใ่ ช้ในการศึกษาวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
> เชิงพรรณนา นิยามผู้ป่วย ศึกษาทางห้องปฏิบต ั ิการ สิ่งแวดล้อม เครื่องมือทีใ่ ช้ในการสอบสวน
> เชิงวิเคราะห์ สถิติทใี่ ช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
7.ผลการสอบสวน เรียบเรียงตามตัวแปรบุคคล เวลา สถานที่ นำเสนอด้วยตารางกราฟ แผนภูมิ
ยืนยันการเกิดโรค ➔ ผลการวินิจฉัยของแพทย์ ผลการตรวจทางห้องปฏิบต ั ิการ
ยืนยันการระบาด ➔ เปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยที่พบกับค่า 5 ปี median หรือ
จำนวนผู้ป่วยในช่วงเดือนเดียวกันในปีทผ
ี่ ่านมา อัตราป่วยรายพื้นที่ (Risk map)
8.มาตรการควบคุมและ ควบคุมการระบาดที่เกิดขึ้นและป้องกันไม่ให้เกิดผูป
้ ่วยรายใหม่
ป้องกันโรค ครอบคลุม Host – Agent - Environment
9.อภิปรายผล สรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์
10.สรุปผล สรุปว่าเกิดอะไรขึ้นกับใครทีไ่ หน เมื่อไหร่ อย่างไร ปัจจัยในการระบาด แนวโน้มการเกิด
โรคและสรุปว่าเป็นโรคอะไร
11.ปัญหาและข้อจำกัด ระบุปัญหาและข้อจำกัด ทีท
่ ำให้สอบสวนไม่ได้เต็มที่ แนวทางการแก้ไขปัญหาใน
ขณะนั้น และสำหรับการสอบสวนครั้งต่อไปด้วย
12.ข้อเสนอแนะ สิ่งที่ตอ
้ งทำหรือควรทำเพิ่มเติมหลังจากที่กำหนดมาตรการควบคุมโรค
13.กิตติกรรมประกาศ แจ้งให้ทราบว่าการช่วยเหลือที่สำคัญมาจากที่ใดบ้าง
14.เอกสารอ้างอิง รูปแบบแวนคูเวอร์ หรืออื่นๆ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 66


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---

การป้องกันโรค (Prevention)
➔ การควบคุมและป้องกันโรค ได้มีการพัฒนามาโดยต่อเนื่องเริ่มด้วยการนำเอาข้อสังเกตและสมมติฐานจากลักษณะ
การเกิดโรค การแพร่กระจายของโรค และอาการสำคัญของผู้ป่วยในชุมชนมาใช้ประกอบการควบคุมและป้องกันโรค ต่อมา
ได้มีการนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการค้นคว้า ศึกษา และวิจัยในส่วนที่เกี่ยวกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค คน สัตว์ และ
ภาวะสิ่งแวดล้อม มาพัฒนาการควบคุมและป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถกำจัดและกวาดล้าง
โรคติดต่อที่ร้ายแรงบางโรคให้หมดไปได้ ซึ่งสามารถแบ่งการควบคุมและป้องกันโรคออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 การป้องกันโรคล่วงหน้า (Primary Prevention)
ระดับที่ 2 การป้องกันในระยะมีโรคเกิด (Secondary Prevention)
ระดับที่ 3 การป้องกันการเกิดความพิการและการไร้สมรรถภาพ (Tertiary Prevention)

การป้องกันโรคล่วงหน้า (ปฐมภูมิ) การป้องกันในระยะมีโรคเกิด การป้องกันการเกิดความพิการและ


(Primary Prevention) (ทุติยภูมิ) (Secondary Prevention) การไร้สมรรถภาพ (ตติยภูมิ)
(Tertiary Prevention)
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและระบาด การรักษาผู้ป่วยให้หายโดยเร็ว
มีประสิทธิภาพมากที่สุด ของโรค ลดอุบัติการณ์ ความชุก ลดพิการ ภาวะแทรกซ้อน
ความรุนแรงของโรค และการตายจากโรค
➔ การส่งเสริมสุขภาพอนามัยของ ➔ ระงับกระบวนการดำเนินของโรค • การรักษาผู้ป่วยที่มีอ าการให้ห าย
ประ ชา ชน ปรั บ ปรุ ง สุ ข าภิ บ า ล การป้อ งกั นการแพร่เชื้อและระบาด โดยเร็ว เพื่อลดผลเสียและโรคแทรก
สิ่ ง แว ด ล ้ อ ม ให ้ ถู ก สุ ข ลั ก ษ ณ ะ ของโรคไปยังบุค คลอื่นใชุมชน และ ซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการ
เพื่อป้องกันมิให้มีพาหะและสื่อนำโรค การลดการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในชุมชน เกิดโรค
ผ่านทางสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน ให้น้อยลงและหายไปให้เร็วที่สุด • ติด ตามสังเกตและให้ก ารป้องกัน
• ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับความรู้ ในการ การค้นหาผู้ป่วยให้ได้ในระยะ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ ป้ อ งกั นการเกิ ด
ป้องกันโรคและการปฏิบัติงานให้ถูก เริ่มแรก มีประสิทธิภาพมากที่สุด โรคซ้า
หลักสุขวิทยาส่วนบุคคลและชุมชน • คัดกรองโรคไม่ติดต่อเรือ้ รัง • การบำบั ด ความพิ ก ารและฟื ้ น ฟู
• จั ดโภชนาการให้ ถู กต้องเหมาะสม • เจาะเลือดหรือ X-ray ยืนยันโรค สมรรถภาพร่างกาย
กั บกลุ ่ มอายุ แ ละความต้ อ งการของ การวินิจฉัยโรคและให้การรักษาได้ • คั ด กรองภาวะแทรกซ้อน ตา เท้า
บุคคล ทันที ในผู้ป่วยเบาหวาน พร้อมสอนวิธีการ
•การให้ภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานและ การป้องกันการแพร่เชื้อ ดูแลตนเองให้ถูกต้อง
ขั้นเสริมในเด็กเล็กและตามช่วงวัย • การควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค • ให้ยาเสริมธาตุเหล็กในเด็กที่มีภาวะ
• บริการตรวจสุขภาพประจำปี • การทำน้าให้ส ะอาดปราศจากเชื้ อ ซีด ป้องกันภาวะโลหิตจางซึ่งส่งผล
• จั ด ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ที่ ถู กสุ ข ลั ก ษณะ โดยเติมสารฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน ต่ อ พั ฒ นาการด้ า นสมองและการ
สถานพักผ่อนหย่อนใจในชุมชน • ตลอดจนการสุขาภิบาลอาหารและ เจริญเติบโต
• จัดสถานที่สันทนาการ สนามกี ฬ า สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม • การดูแลผู้สูงอายุ Long Term Care
สนามเด็กเล่น รวมทั้งสถานที่สำหรับ การเพิ่มความต้านทานหรือป้องกัน ภาวะพึ่งพิง
ป ร ะ ก อ บ อ า ชี พ ที่ ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ โรคให้แก่บุคคลหรือชุมชน • การดูแ ลแบบประคั บ ประคอง ใน
เหมาะสม • การฉี ด วั ค ซี น ป้ อ งกั น โรคคอตี บ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
• บริ ก ารด้ า นให้ ค ำปรึ ก ษา และ บาดทะยัก วัคซีนพิษสุนัขบ้า
แนะนำเกี่ยวกับเพศศึกษา

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 67


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---

มาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ
1. คน คือ บุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีลงมาเป็นส่วนใหญ่
2. เชื้อ คือ ไวรัสเดงกี มี 4 ชนิด คือ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งมีในกระแสเลือดผู้ป่วยก่อนมีไข้ 1 วัน และ ระยะมีไข้ประมาณ 2 – 4 วัน
3. ยุงลาย คือ ยุงลายที่มีเชื้อจากการที่ไปกัดผู้ป่วย จะเป็นยุงพาหะนำเชื้อมาสู่คน
หากชุมชนใดมีอ งค์ป ระกอบทั้ง 3 ประการอยู่ค รบถ้วน โรคไข้เลือ ดออกก็ส ามารถเกิ ด และระบาดในชุมชนได้
ในขณะนี้ วั ค ซีน ป้อ งกั น โรคไข้ เ ลือ ดออกยั งอยู ่ในระหว่ างการพัฒนาสำหรับ เชื้อ ไวรัส ยังไม่มี ยาฆ่ าเชื้อ โดยเฉพาะได้
ดังนั้น กลวิธีควบคุมโรคไข้เลือดออกในปัจจุบัน คือ การควบคุมยุงพาหะนำโรคให้น้อยลง ซึ่งทำได้โดยการ ควบคุม
แหล่งเพาะพันธุ์ และการกำจัดยุงตัวเต็มวัย
➢ หลักการควบคุมโรคไข้เลือดออก แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การป้องกันโรคล่วงหน้า และการควบคุมเมื่อมีการระบาด
**ออกสอบบ่อย ถามว่ามีกี่ระยะ
มาตรการป้องกันโรคล่วงหน้า
การป้องกันโรคล่วงหน้า เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นก่อนที่จะถึงฤดูกาลระบาด
โดยลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ายุงลายและยุงตัวเต็มวัยให้เหลือจำนวนน้อยที่สด ุ การป้องกันโรคล่วงหน้ามีกิจกรรม ดังนี้
1. ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดการป่วย การจัดการบ้า นเรือนของตนไม่ให้มีแหล่งเพาะพั นธุ์
ยุงลาย และวิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาจจะทำได้หลายช่องทางด้วยกัน คือ
• ทางสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เสียงตามสาย และหอกระจ่ายข่าว
• ทางโรงเรียน โดยให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปถ่ายทอด และไปปฏิบัติที่บ้าน
• แจกเอกสาร เช่น แผ่นพับ คู่มือ
• ขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการในท้องที่ ให้เผยแพร่ความรู้เรือ่ งโรคไข้เลือดออก
• ขอความร่วมมือจากผู้น าท้องถิ่น/พระ ในการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชน
2. การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยงุ ลาย (HI≤ 5, CI=0)
2.1 วิธีทางกายภาพ ได้แก่
• ปิดภาชนะเก็บน้า เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่
• เปลี่ยนน้าในภาชนะ ทุกๆ 7 วัน เพื่อไม่ให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
• จัดการสิ่งแวดล้อม เช่น กำจัดแหล่งขยะที่มีภาชนะน้าขังได้
มาตรการ 5 ป 1 ข ป้องกันและลดการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก
ป ที่ 1 ➔ ปิดภาชนะใส่น้ากินน้าใช้ให้มิดชิด หลังการตักน้ามาใช้ทุกครั้ง
ป ที่ 2 ➔ เปลี่ยนน้าในแจกัน ถังเก็บน้า ทุกๆ 7 วัน
ป ที่ 3 ➔ ปล่อยปลากินลูกนา้ ยุงลายในภาชนะที่ใส่น้าถาวร
ป ที่ 4 ➔ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย
ป ที่ 5 ➔ ปฏิบัติเป็นประจำสม่าเสมอจนเป็นนิสัย
1ข ➔ ขัดไข่ยุงลาย บริเวณขอบภาชนะ โดยใช้แปรงขัดชนิดนุ่ม แล้วเทน้าขัดล้างลงบนพืน ้ ดิน ปล่อยให้ไข่แห้งตาย
2.2 วิธีทางชีวภาพ ได้แก่ การปล่อยปลากินลูกน้า
2.3 วิธีทางเคมี ได้แก่
• ใส่ทรายอะเบท (ทรายทีมีฟอส 1%)
• การพ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย เป็นวิธีควบคุมยุงลายที่ได้ผลดี แต่ให้ผลเพียงระยะสัน้ (เพียง 3 - 5 วัน)
นอกจากนี้ยังมีข้อด้อย คือ ราคาแพง จึงใช้วิธีนี้เมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ดังนี้
• สำหรับประชาชนทั่วไป  ซื้อเคมีภัณฑ์กำจัดยุงที่มีขายตามท้องตลาดมาใช้ฉีดฆ่ายุงในบ้านเป็นครั้งคราว
• สำหรับเจ้าหน้าที่  หากพบผู้ป่วยในพื้นที่ให้ดำเนินการพ่นเคมีภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อตัดวงจรการแพร่เชือ้
โดยพ่นในบ้านผู้ป่วยและพื้นทีร่ อบบ้านผู้ป่วยในรัศมีอย่างน้อย 100 เมตร และพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 68


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
มาตรการควบคุมเมื่อมีการระบาด
ให้จำมาตรา 3-3-1 และ 7, 14, 21, 28 **ออกสอบปี 65
รายงานโรคให้ รพ.สต./สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ทราบภายใน 3 ชม.
สอบสวนโรคและกำจัดลูกน้ายุงลาย รอบบ้านผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร ภายใน 3 ชม.
พ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย รัศมี 100 เมตร (≥ 20หลังคาเรือน) ภายใน 1 วัน
ดัชนีวัดความชุกชุมของลูกน้ายุงลาย (HI,CI) มีค่าเป็น 0 ภายใน 7 วัน
ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่หลัง 14 วัน
เฝ้าระวังโรค ➔ นับจากวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายสุดท้ายไป อีก 28 วัน

แนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในช่วงระบาดของโรค
เมื่อ มีผู้ป ่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ ้าน/ชุมชน เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการควบคุ มโรคร่วมกั บภาคีเครือข่ายด้วย
วิ ธี ต ่ า งๆ เพื่ อ ให้ โรคสงบโดยเร็ ว ที่ สุ ด ไม่ ให้ ร ะบาดติ ด ต่ อ ไปยั ง ชุ ม ชนอื่ น หากเริ่ ม ดำเนิ นการควบคุ ม ช้ า โรคอาจ
แพร่กระจายออกไปวงกว้างจนเกินที่จะควบคุม สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการควบคุมการระบาด คือ
1. ประกาศเตือนประชาชนให้ทราบว่ามีโรคไข้เลือดออกระบาดในชุมชนนั้น พร้อมกับให้สุขศึกษาแก่ประชาชน
ให้รู้จัก วิ ธี ก ารป้อ งกั น ตนเองและครอบครัว ไม่ให้ยุงลายกั ด ให้ค วามรู้ป ฏิบั ติเมื่อ เด็ก ป่ว ยหรือ สงสัยว่าป่ว ยเป็น โรค
ไข้เลือดออก และวิธีการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุ งลายในบ้าน และขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์
ยุงลายที่อาจมีหลงเหลืออยู่ในชุมชนให้หมดไป
2. การกำจัดลูกน้ายุงลายในบ้านผู้ป่วย และบริเวณรอบบ้านผู้ป่วยควรดำเนินการในรัศมีอย่างน้อย 100 เมตร
และประเมินค่าดัชนีลูกน้ายุงลายในพื้นที่ที่เกิดโรคหลังการควบคุม ควรมีค่า HI ≤ 5
3. การพ่นเคมีกำจัดยุ งตั วเต็ มวัย วิ ธี ก ารนี้จะลดจำนวนยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือ ดออกในชุมชน หากพ่น เคมีต้อ ง
ครอบคลุมพื้นที่ จะช่วยตัดวงจรการระบาดของโรคลงได้
การสำรวจลูกน้ายุงลาย
วัตถุประสงค์ของการสำรวจลูกน้ายุงลาย
• เพื่อตรวจสอบแหล่งที่อยู่ของลูกน้า และเพื่อพิจารณาว่า ความชุกชุมของลูกน้าเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่หลังจาก
ดำเนินการควบคุมแล้ว
• เป็นวิธีการสำรวจที่ใช้เป็นมาตรฐาน โดยการแนะนำจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) คือวิธีสำรวจแบบ Visual Larval
Survey มีจุดประสงค์เพียงสำรวจและนับจำนวนภาชนะที่มีน้าขัง ว่าพบหรือไม่พบลูกน้า ไม่ว่าจะพบลูกน้ายุงลายระยะ
ใดก็ตาม รวมทั้งตัวโม่ง 1 ตัว ก็ให้ถือว่าภาชนะนั้นมีลูกน้า
ดัชนีวัดความชุกชุมของลูกน้ายุงลาย ที่ใชในการวิเคราะห์และแปลผลจากการสำรวจ
ดัชนี สูตรคำนวณ แปลผล
House Index (HI) HI ≥ 5 จัดเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงต่อโรคไข้เลือดออก
ร้อยละของบ้านที่สำรวจพบลูกน้ายุงลาย HI < 1 จัดเป็นพื้นที่เสี่ยงต่า
สำหรับโรงเรือน(บ้าน/ชุมขน) ➔ ต้องมี HI ≤ 5
สำหรับบ้านพักเจ้าหน้าที่ 6 ร.➔ HI = 0
Container Index (CI) CI = 0 มีความเสี่ยงต่าที่จะเกิดการแพร่โรค
ร้อยละของภาชนะขังน้าที่พบลูกน้ายุงลาย สำหรับโรงเรือน(บ้าน/ชุมขน) ➔ ต้องมี CI ≤ 5
สำหรับรพ./รพ.สต. โรงเรียน โรงงาน โรงธรรม
และโรมแรม ค่า CI = 0
Breteau Index (BI) BI > 50 จัดเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงต่อโรคไข้เลือดออก
จำนวนภาชนะขังน้าที่พบลูกน้ายุงลาย BI < 5 จัดเป็นพื้นที่เสี่ยงต่า
ตอบ้าน 100 หลังคาเรือน
**ออกข้อสอบบ่อย จำนิยาม สูตรคำนวณ และการแปลผลให้แม่น

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 69


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
กำหนดการให้วัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2566
**ออกข้อสอบทุกปี ต้องจำชื่อไทย-อังกฤษ ฉีดอะไร อายุเท่าไหร่
อายุ วัคซีนที่ให้ ข้อแนะนำ
แรกเกิด BCG (วัคซีนป้องกันวัณโรค) ควรให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
HB1 (วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี) ฉีดให้เด็กก่อนออกจากโรงพยาบาล
1 เดือน วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีครั้งที่ 2 (HB2) เฉพาะรายที่คลอดจากมารดาที่เป็นพาหะ ของไวรัสตับ
อักเสบบ
วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยักไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ ครั้งที่ 1 - ห้ามให้วัคซีนโรต้า ครั้งที่ 1 ในเด็กที่อายุ มากกว่า 15
2 เดือน (DTP-HB-Hib1) สัปดาห์
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV1)
วัคซีนโรต้า ครั้งที่ 1 (Rota1)
วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยักไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ ครั้งที่ 2 ห้ามให้วัคซีนโรต้า ครั้งสุดท้าย ในเด็กทีอ่ ายุ มากกว่า 32
4 เดือน (DTP-HB-Hib2) สัปดาห์
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV2)
วัคซีนโรต้า ครั้งที่ 1 (Rota2)
วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยักไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ ครั้งที่ 3 - ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้าย ในเด็กทีอ่ ายุ มากกว่า 32
6 เดือน (DTP-HB-Hib3) สัปดาห์
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน ครั้งที่ 1 (OPV1) - ให้ยกเว้นการได้รับวัคซีนโรต้าครั้งที่ 3 ใน เด็กทีไ่ ด้รับ
วัคซีนโรต้า ครั้งที่ 3 (Rota3) วัคซีน Rotarix มาแล้ว 2 ครั้ง
9 เดือน วัคซีนรวมป้องกันโรค หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน ครั้งที่ 1 (MMR1)
1 ปี วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ครั้งที่ 1 (LAJE1)
วัคซีนรวมป้องกัน โรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ครั้งที่ 4 (DTP4)
1 ปี 6 เดือน วัคซีนป้องกันโรค โปลิโอชนิดรับประทาน ครั้งที่ 2 (OPV2)
วัคซีนรวมป้องกันโรค หัด-คางทูม-หัดเยอรมันครั้งที่ 2 (MMR2)
2 ปี 6 เดือน วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ครั้งที่ 2 (LAJE2)
4 ปี วัคซีนรวมป้องกัน โรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ครั้งที่ 5 (DTP5)
วัคซีนป้องกันโรค โปลิโอชนิดรับประทานครั้งที่ 3 (OPV3)
ประถมศึกษาปี วัคซีนรวมป้องกันโรค หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) เฉพาะรายทีไ่ ด้รับไม่ครบตามเกณฑ์
ที่ 1 วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี (HB) เฉพาะรายทีไ่ ด้รับไม่ครบตามเกณฑ์
วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (LAJE) เฉพาะรายทีไ่ ด้รับไม่ครบตามเกณฑ์
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV) เฉพาะรายทีไ่ ด้รับไม่ครบตามเกณฑ์
วัคซีนรวมป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก (dT) เฉพาะรายทีไ่ ด้รับไม่ครบตามเกณฑ์
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ชนิดรับประทาน (OPV) เฉพาะรายทีไ่ ด้รับไม่ครบตามเกณฑ์
วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) - ให้ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานว่าเคยได้รับ เมื่อแรกเกิดและ
ไม่มีแผลเป็น
- ไม่ให้ในเด็กติดเชื้อเอชไอวีทม
ี่ ีอาการของ โรคเอดส์
ประถมศึกษาปี วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จากเชื้อเอชพีวีครั้งที่ 1 (HPV1) -ระยะห่างระหว่างเข็ม ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน
ที่ 5 (นักเรียน วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จากเชื้อเอชพีวีครั้งที่ 2 (HPV2) -กรณีเด็กหญิงไทยที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา ให้ฉีดที่
หญิง) อายุ 11-12 ปี
ประถมศึกษาปี วัคซีนรวมป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก (dT)
ที่ 6

แนวทางการนำร่องให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ สูตร 2 IPV + 3 OPV  เริ่มใช้ 1 ก.ค.66 เป็นต้นไป **ออกสอบ 66


1. แนะนำให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (Inactivated Poliomyelitis Vaccine : IPV)
➔ จำนวน 2 เข็ม เมือ ่ เด็กอายุ 2 เดือน และ 4 เดือน
2. ให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน (Oral Poliomyelitis Vaccine : OPV)
➔ จำนวน 3 ครัง้ เมื่อเด็กอายุ 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 4 ปี

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 70


--- ระบาดวิทยา การป้องกันและการควบคุมโรค ---
กำหนดการให้วัคซีนแก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนหรือล่าช้า กำหนดการให้วัคซีนในผู้ใหญ่ตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

**ออกสอบปี 63 ➔
**ออกสอบปี 59

**ออกสอบปี 65 ➔

กำหนดการให้วัคซีน (dT) ในผู้ใหญ่ กำหนดการให้วัคซีน (dT) ในหญิงตั้งครรภ์

มาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
➔ ตู้เย็นทีใ่ ช้ในการเก็บวัคซีนควรจัดเก็บวัคซีนเพียงอย่างเดียว ไม่ควรเก็บยาชนิดอืน
่ วางตู้เย็นตัง้ ตรงและห่างจากฝาผนัง
แต่ละด้านไม่ต่ากว่า 6 นิ้ว **ออกสอบปี 65
วัคซีนที่ไวต่อความร้อน
มีป้ายแสดงชื่อวัคซีนแต่ละชนิด และมีช่องว่างให้ความเย็น • OPV เก็บในช่องแช่แข็ง (Freezer)
• MMR/MR, BCG LAJE และ Rota เก็บอุณหภูมิ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส กรณีชั้นเก็บชั้นที่ 1
ไม่เพียงพอ สามารถเก็บชั้นที่ 2 ได้อีก 1 ชั้น (ห้ามเก็บในถาดรองใต้ช่องแช่แข็ง เพื่อป้องกัน
กล่อง วัคซีนเปียกน้าหรือฉลากหลุดลอก) **ออกสอบบ่อย
วัคซีนไวต่อความเย็นจัด
• DTP, DTP-HB-Hib, HB, dT, IPV, HPV, Influenza, JE เชื้อตายและRabies เก็บอุณหภู มิ
+2 ถึง +8 องศาเซลเซียส เท่านั้น (ที่ไม่ใช่ชั้นที่ 1 )
• น้ายาทำละลายวัคซีนให้เก็บในอุณหภูมิ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส (ในระดับคลังวัคซีน
สามารถจัดเก็บนอกตู้เย็นได้ที่อุณหภูมิห้อง (+25 องศาเซลเซียส))
วัคซีนที่ไวต่อแสง
• BCG, MMR/MR, LAJE และ Rota ให้เก็บไว้ในกล่องทึบแสง เช่น กล่องวัคซีน/กล่องกระดาษ
.
หรือ ซองยาสีชาที่ป้องกันแสง

กระติกวัคซีนใบเล็ก จำนวน 1 ใบ ที่มีลักษณะ ดังนี้ การดำเนินงานเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินในระบบลูกโซ่ความเย็น **ออกสอบบ่อย


- มีความหนาของฉนวนไม่ต่ากว่า 3 ซม. ไฟฟ้าดับ ไม่เกิน 3 ชั่วโมง
- ความจุที่เก็บวัคซีน ไม่น้อยกว่า 1.7 ลิตร • ปิดประตูตู้เย็นไว้ ห้ามเปิดเด็ดขาด
- ไม่มีรอยแตกด้านใน-นอก ฝากระติกปิดล็อกได้สนิท • สอบถามการไฟฟ้าว่าจะจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ภายใน 3 ชั่วโมงหรือไม่
- บรรจุซองน้าแข็งได้พอดีครบ 4 ด้าน ไฟฟ้าดับ เกิน 3 ชั่วโมง / ตู้เย็นเก็บวัคซีนเสีย
- รักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง +2 ถึง +8 0C ≥ 24 ชั่วโมง • ย้ายวัคซีนทั้งหมดไปเก็บไว้ในกระติกวัคซีน/กล่องโฟมใบใหญ่ ที่อุณหภูมิ +2 ถึง +8 0C

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 71


--- บริหารสาธารณสุข ---

ชุดวิชาที่ 10 บริหารสาธารณสุข
การบริหารสาธารณสุข (Public Health Administration)

บริหาร ผู้บริหารประสบความสำเร็จในเป้าหมายของพวกเขา โดยการเตรียมการให้กับ


คือศิลปะของการทำงานให้ บุคคลอื่นปฏิบัติงานอะไรก็ได้ที่มีความจำเป็น ผู้บริหารมิได้ปฏิบัติงานดังกล่าวด้วย
สำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่น ตัวของพวกเขาเอง

การจัดการ ผู้บริหารใช้ทรัพยากรทั้งหมดขององค์การ
คือกระบวนการของการวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ เพื่ อ ความสำเร็ จ ในเป้ า หมายขององค์ ก าร
และการควบคุ มสมาชิกขององค์ การ และใช้ ทรั พ ยากรอื่นๆ คนเป็ น ทรั พ ยากรที่ มี ค วามสำคั ญ ที่ สุ ด ของ
เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้ องค์การการบริหาร

การบริหารครอบคลุมสาระสำคัญ ดังนี้
• ต้องมีวัตถุประสงค์ (Objective) • ต้องมีประสิทธิภาพ (Effectiveness)
• ต้องมีทรัพยากร (Resource) • มีการประสมประสานกัน (Integration and Coordination
แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหาร
การบริหารงาน แบบ POSDCORB Model ➔ ลูเธอร์ กลูวล
ิ ค์ ( Luther Gulick ) **ออกสอบปี 56,59 ข้อใดไม่ใช่
P = Planning การจั ด วางโครงการและแผนการปฏิ บั ติ งานขององค์ การไว้ล่ วงหน้า ว่ า จะต้ องทำอะไรบ้างและ
การวางแผน ทำอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
O = Organizing การกำหนดโครงสร้างขององค์การ การแบ่งส่วนงาน การจัดสายงาน การกำหนดตำแหน่งและ
การจัดองค์การ หน้าที่อย่างชัดเจน
S = Staffing การบริหารงานบุคคลในด้านต่างๆ ขององค์การ จัดคนให้เหมาะสมกับงาน (Put the right man on
การจัดตัวบุคคล the right job) **ออกสอบปี 65
D = Directing การวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารองค์การ ในการตัดสินใจ การควบคุมบังคับบัญชาและควบคุ มการ
การอำนวยการ ปฏิบัติงาน
Co = Co-ordinating การติดต่อประสานงานที่เชื่อมโยงงานของทุกคน ทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้งานคำเนิน
การประสานงาน ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
R = Reporting การรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ผู้บริหารและสมาชิกขององค์การได้ทราบความ
การรายงาน เคลื่อนไหวและความเป็นไปของหน่วยงาน
B = Budgeting การจัดทำงบประมาณ การทำบัญชี การใช้จ่ายเงินและการควบคุมตรวจสอบด้า นการเงิ น และ
การงบประมาณ ทรัพย์สินขององค์การ
การบริหารงานตามแนวคิด ของ Henri Fayol
➔มุ่งเน้นที่การจัดการองค์กรในภาพรวมทั้งองค์การ
กำหนดหน้าที่การบริหาร 5 ประการ (POCCC)
•การวางแผน (Planning) •การจัดองค์การ (Organizing) •การสั่งการ (Commanding)
•การประสานงาน (Co-ordinating) •การควบคุม (Controlling)
กำหนดหลักการบริหาร 14 ประการ

ทรัพยากรในการบริหาร 5Ms
1.คน (Man) 2.เงิน (Money) 3.ของ/วัสดุ (Materials) 4.เครื่องจักร (Machin) 5.วิธีการปฏิบัติ (Method)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 72


--- บริหารสาธารณสุข ---
การจัดการเชิงกลยุทธ์
กลยุทธ์➔ แผนงานหรือแนวปฏิบัติที่ระบุเป้าหมายในอนาคต โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือของผู้บริหาร มีเป้าหมายที่
ต้องการให้องค์การบรรลุประสิทธิผลที่ตั้งไว้ วิเคราะห์องค์กร
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ **ออกสอบปี 65,66 ให้เรียงลำดับ
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Analysis) SWOT Analysis

2. การจัดวางทิศทางขององค์กร (Establishing Organizational Direction) KPI OKR


3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
4. การปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ (Strategy Implementation)
5. การควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Control)

แผนยุทธศาสตร์ ➔ ทิศทางหรือแนวทางปฏิบัติตามพันธกิจและภารกิจ (Mission) ให้สัมฤทธิผลตามวิสัยทัศน์ (Vision)


และเป้าประสงค์ของหน่วยงาน (Corporate Goal)
2

ขั้นตอนในการวางแผนยุทธศาสตร์

องค์ประกอบของแผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์(Vision) ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้นำและสมาชิกทุกคนร่วมกันวาดฝันหรือจินตนาการขึ้น
**ออกสอบบ่อย จำนิยาม โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบันเชือ่ มโยง
บอกสิ่งทีห
่ น่วยงาน วิสัยทัศน์ที่ดีจะต้อง AIM AT
ต้องการจะเป็นในอนาคต A = Aspirational บอกถึง ความปรารถนา อยากได้ อยากจะเป็น
บอกเส้นทางเดินของ I = Inspirational ก่อให้เกิด แรงบันดาลใจ
หน่วยงานในอนาคต M = Measurable บอกถึงความสำเร็จในการบรรลุวส ิ ัยทัศน์ทวี่ ด
ั ได้
A = Attainable สามารถบรรลุความสำเร็จที่ต้องการได้
T = Time-Based ใช้ระยะเวลาทีเ่ หมาะสม
พันธกิจ (Mission) บอกขอบเขตการดำเนินงานขององค์กร บทบาทหน้าที่ที่องค์กรจะต้องทำ
เพื่อสนับสนุนให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
เป้าหมาย/เป้าประสงค์ • การระบุหรือบอกให้ทราบเกี่ยวกับสิ่งที่องค์กรจะทำให้ได้ หรือสิ่งที่องค์กรต้องการจะ
(Goal) เป็นสำหรับระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป เช่น อาจจะเป็น 3 ปีถึง 5 ปีก็ได้
• สามารถวัดได้ให้อยู่ในรูปของดัชนีชี้วัดผลงาน ➔ KPI (Key Performance Indicator)
กำหนดค่าเป้าหมายที่ชัดเจนในเชิงปริมาณตามห้วงเวลาเป็นรายปี รายไตรมาส หรือรายเดือน
ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็ น หลั ก ที่ ต้ อ งคำนึ ง ถึ ง ต้ อ งพั ฒ นา ตองมุ ่ ง เน้ น ให้ บ รรลุ ต ามพั น ธกิ จ และ
(Strategic Issues) เป้าประสงค์
กลยุทธ์/แผนงาน กลวิธีที่ได้จากความริเริ่ม ซึง่ เป็นแนวทางพัฒนางานขององค์การให้ได้ผลตาม
(Plan) ค่าเป้าหมายของดัชนีชี้วัดที่ได้กำหนดไว้

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 73


--- บริหารสาธารณสุข ---
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์
การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) ➔ และศักยภาพเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ องค์กร ซึ่งช่วยให้
ผู้บริหารรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก
ตลอดจนผลกระทบทุกประเภท

ตัวอย่าง
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
(1) Strengths (จุดแข็ง) (3) Opportunities (โอกาส)
1. หน่วยงานมีการร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม 1. สถานการณ์โรคโควิด-19 ตามนโยบายของรัฐบาลและ
ขององค์กร และถ่ายทอดสู่การปฏิบัติทำให้เกิดการ กระทรวงสาธารณสุข ทำให้บุคลากรได้รับการบรรจุเข้า
กำหนด แผนการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รับราชการ
2. มีโครงสร้างภายในที่ครอบคลุมระบบบริการทำให้การ 2. สถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้ประชาชนทัว่ ประเทศ
ดำเนินงานชัดเจนและมีประสิทธิภาพ สนใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพจิตของตนเองและ
3. ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถในการกำหนดทิศทาง ครอบครัวมากขึ้น
บทบาท ภารกิจของหน่วยงานตามนโยบาย/โครงการ 3. มีเครือข่ายที่เข้มแข็งทั้งในและนอกหน่วยงาน ทำให้
ขับเคลื่อนฯ ที่สำคัญ เกิดการบูรณาการงานด้านองค์รวม
4. มีบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ สมรรถนะ 4. สถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้มีการนำเทคโนโลยีที่
และมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน ทันสมัย มาใช้ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
(2) Weaknesses (จุดอ่อน) (4) Threats (อุปสรรค)
1. การสื่อสารในองค์กรยังไม่ครอบคลุม 1. ระบบ internet ไม่เสถียรส่งผลต่อการปฏิบัติงานทั้ง
2. มีการบูรณาการงานได้บางส่วน ทำให้งานขาดการ ด้านบริหารจัดการและวิชาการ
เชื่อมโยงและต่อยอด 2. จำนวนอัตรากำลังตามกรอบกับจำนวนทีป ่ ฏิบัติงาน
3. บุคลากรมีภาระงานมาก ทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนา จริงไม่สอดคล้องกัน
ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ 3. มีงบประมาณจำกัดในการสนับสนุนการดำเนินงาน
4. การจัดสรรอัตรากำลังบุคลากร ไม่สอดคล้องกับ 4. สถานการณ์โควิด 19 ส่งผลต่อรูปแบบการปฏิบัติงาน
โครงสร้าง/ภาระกิจของหน่วยงาน ทำให้ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด เกิดความล่าช้า

การกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร
TOWS Matrix ➔ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำหรับการสร้างกลยุทธ์ใหม่จากสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบันของ
องค์กร ที่มีการต่อยอดมาจาก SWOT Analysis ด้วยการจับคู่ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกขององค์กร

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 74


--- บริหารสาธารณสุข ---
การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ
➔ หลังจากที่องค์กรได้วางวิสัยทัศน์ จนถึงกลยุทธ์ในการที่จะบรรลุวิสัยทัศน์นั้น จะต้องนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ โดยปกติ
จะใช้การวางแผนปฏิบัติการ (Action plan) โดยจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ และกิจกรรมหลัก การจัดสรรทรัพยากร
การวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล การกำหนดและการถ่ายทอดตัวชี้วัดประเมินผลการดำเนินโครงการ
ขั้นตอนการนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ
1. ขั้นตอนการวางแผนปฏิบัติการ (Plan or Planning) 3. ขั้นตอนการติดตามประเมินผล (Check or Evaluation)
2. ขั้นตอนการนำแผนไปปฏิบต ั ิ (Do or Implementation) 4. ขั้นตอนปรับปรุงมาตรฐาน (Act or Standardization)

ความสำคัญของการวางแผน
➔เป็ น เครื่อ งมื อ และแนวทางในการจั ด สรรทรัพ ยากรในองค์ ก ร การวางแผนจะบอกว่ าภารกิ จ ใดที่อ งค์ ก รจะต้อ ง
ดำเนินการเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของแผนได้
➔ เป็นแนวทางในการจัดระบบ การควบคุมตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานขององค์การว่าบรรลุตามเป้าหมาย
ที่วางไว้หรือไม่
ประเภทของแผน แบ่งตามระยะเวลาของแผน
1. แผนระยะสั้น (Short range plan)  แผนที่มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ปี มีการ
กำหนดรายละเอียดของงานหรือกิจ กรรมไว้อย่างละเอียด เกี่ยวกับเวลาที่จะต้องใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ เวลาที่
เริ่มต้นและสิ้นสุด จำนวนคน จำนวนงบประมาณ ตลอดจนกิจ กรรมต่า งๆ ที่จะต้อ งมีก ารจัด ลำดับ ในการดำเนิน
กิจกรรมว่าจะดำเนินกิจกรรมใดก่อน-หลัง เรียกว่า “แผนปฏิบัติการ”
2. แผนระยะกลาง (Intermediate range plan)  แผนที่มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานที่มีระยะเวลาในการ
ดำเนินงานมากกว่า 1 ปี โดยปกติจะมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 3-5 ปี แผนระยะปานกลางจะมีความสอดคล้องกับแผน
ระยะยาวและกลยุทธ์ขององค์กร การจัดทำแผนระยะปานกลางเพื่อที่จะทำให้แผนในการทำงานมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึน ้
ซึ่งแผนระยะปานกลางจะเป็นแผนงานที่ เชื่อมแผนระยะยาวกับแผนระยะสั้นเข้าไว้ด้วยกัน เช่น แผนพัฒนาการศึกษา
แห่งชาติ ฉบับที่ 10 ➔ แผนกลยุทธ์
3. แผนระยะยาว (Long range plan)  แผนที่มีระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่ครอบคลุม
การทำงานที่จะเกิ ด ขึ้น ในอนาคต การจัด ทำแผนระยะยาวจะเกี่ ยวข้อ งกั บ ระยะเวลาที่ยาวนาน เงิน ลงทุน ที่มาก และ
เป็น เรื่อ งที่จะต้อ งมีก ารวิ เคราะห์สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิ จ การเมือ ง สังคม คู ่แข่งขัน และเทคโนโลยีอ ย่าง
ละเอียด เพื่อที่จะให้องค์กรสามารถปรับการดำเนินงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น รายละเอียดในแผนระยะ
ยาวจะระบุถึงการทำงานในลักษณะที่กว้างๆ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นสูงในการปรับการทำงานให้เข้ากับสภาพแวดล้อ ม
ภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 15 ปี เป็นต้น

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 75


--- บริหารสาธารณสุข ---
การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management : HRM)
➔ กระบวนการที่ผู้บริหาร ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานบุคลากร และ/หรือบุคคลที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับบุคลากรของ
องค์กร ร่วมกันใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการสรรหา การคัดเลือก และบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
ให้เข้าปฏิบัติงานในองค์กร พร้อมทั้งดำเนินการธำรงรักษาและพัฒนาให้บุคลากรขององค์กรมีศักยภาพที่เหมาะสม
มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) **ออกสอบปี 65
1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์กร (Recruitment and Selection)
2. เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรให้ก้าวหน้า (Development)
3. เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์กรนานๆ (Maintenance)
4. เพื่อใช้ศักยภาพของพนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization)
HR Alignment ➔ การพัฒนาคนให้ตอบโจทย์องค์กร บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประกอบด้วย

สมรรถนะ (Competency) ➔ ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่


จำเป็นของบุคคลในการทำงานให้ประสบความสำเร็จมีผลงานได้ตามเกณฑ์หรือ
มาตรฐานที่กำหนดหรือสูงกว่า
การกำหนดสมรรถนะ ➔ เริ่มจาก วิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือค่านิยม สู่เป้าหมาย
ขององค์กร มากำหนดเป็นกลยุทธ์ของ องค์กร จากนั้นมาพิจารณาถึงสมรรถนะ
หลักที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์การมีอะไรบ้าง จะใช้ความรู้ ทักษะ และ
คุณลักษณะอะไรที่จะผลักดันให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร
การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (Pay for Performance : P4P)
หลักการเบื้องต้นในการกำหนดค่าตอบแทนแนวใหม่ของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ
3 ส่วน แต่ละส่วนมีจุดมุ่งหมายต่างกัน **ออกสอบปี 65,66

ส่วนที่ 1 เป็นค่าตอบแทนที่เป็น เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (Basic Salary) ซึ่งเป็นค่าตอบแทนพื้นฐานที่การ


จ่ า ยให้ กั บเจ้า หน้ า ที่ต ามคุ ณวุ ฒิ ประสบการณ์แ ละระดั บ ความเชี่ ยวชาญซึ่ ง มี อัตราตามบั ญ ชี เ งิน เดือ น เงิ น ประจำ
ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด
ส่วนที่ 2 ค่าตอบแทนสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ (Hardship Allowance) และวิชาชีพขาด แคลน ซึ่งเป็น
ค่ า ตอบแทนเพื่ อ สร้ า งแรงจู ง ใจ และธำรงกำลัง คนที่ป ฏิ บั ติ ง านในพื้ น ที่พิ เ ศษหรือ ทุ ร กั น ดาร รวมถึ ง ค่ า ตอบแทน
เพื่อดึงดูดกำลังคนสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนให้ปฏิบัติงานในระบบบริการสาธารณสุขภาครัฐ
ส่วนที่ 3 ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (Pay for Performance : P4P) เป็นการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่
ที่ผันแปรตามผลการปฏิบัติงานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของงาน เพื่อเพิ่มผลิตภาพการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพ
คุณภาพ รวมทั้งการสร้างความเป็นธรรมของการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นรูปธรรม

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 76


--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---

ชุดวิชาที่ 11 อนามัยสิ่งแวดล้อม

อนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental health)


➔ องค์การอนามัยโลก (WHO, 1993) **ออกสอบปี 64 นิยาม??
⚫ การดำเนินงานในสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงคุณภาพชีวิต ทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางด้าน
กายภาพ เคมี ชีวภาพ สังคม และจิตวิทยาสังคม
⚫ เพื่อประเมิน ตรวจสอบ ควบคุม และป้องกันปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนใน
รุ่นปัจจุบัน และอนาคต

➔ แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560 – 2564 ได้ให้นิยามโดยอ้างอิงตามนิยามของ


องค์การอนามัยโลก **ออกสอบปี 65-66 แผนฯฉบับ ?? และ พ.ศ.??
การจัดการ : ปัจจัยทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ ที่อยู่ภายนอกตัวคนและปัจจัยเกี่ยวข้องที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม
อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประกอบด้วย : การประเมินและการควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
เป้าหมาย : เพื่อการป้องกันโรคและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ทั้งสำหรับคนรุ่นปัจจุบันและรุ่นลูกหลาน
ในอนาคต (WHO, 2014) **ออกสอบปี 65,66 เป้าหมายคืออะไร
สรุป การประเมินและควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมและคุณภาพของระบบนิเวศหรือสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสภาพสมดุล
ไม่เสื่อมโทรมไม่ก่อให้เกิดสิ่งอันตราย (Hazard) และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเอื้อต่อสุขภาพดี
ทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม และไม่เป็น อันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์จากรุ่นปัจจุบันสู่รุ่นลูกหลานในอนาคต

ขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 22 งาน (WHO, 2003)


1.มลพิษทางอากาศ 12.การวางผังเมือง
2.การจัดหาน้าสะอาด 13.การป้องกันอุบัติภัยต่าง ๆ
3.การสุขาภิบาลอาหาร 14.การสุขาภิบาลสถานทีพ ่ ักผ่อนหย่อนใจ
4.การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค 15.อนามัยสิ่งแวดล้อมทีเ่ กี่ยวข้องกับการคมนาคม
5.การควบคุมมลพิษทางน้า 16.การสุขาภิบาลเมื่อเกิดโรคระบาด/เหตุฉุกเฉิน/ภัยพิบัติ
6.การควบคุมมลพิษทางดิน 17.การอพยพย้ายถิ่นของประชากร
7.การป้องกันอันตรายทางรังสี 18.มลพิษข้ามพรมแดน
8.การควบคุมมลพิษทางเสียง 19. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
9.การจัดการมูลฝอย-ของเสียที่เป็นของแข็ง 20.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
10.อาชีวอนามัย 21.เหตุราคาญ
11.ทีอ
่ ยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม 22.สารเคมีและสารอันตราย

ความสำคัญของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
⚫ เป็นงานที่ค้นหาสาเหตุของการเกิดสิ่งอันตรายต่อสุขภาพตั้งแต่แหล่งกำเนิด (Health hazard identification)

⚫ การเชื่อมโยงจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวกลางมาที่มนุษย์ (Exposure pathway evaluation)

⚫ ประเมินการได้รับสัมผัส (Exposure assessment) ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจของการป้องกัน โรคและส่งเสริมสุขภาพและ

ความปลอดภัยของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 77


--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---
บทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่องานอนามัยสิ่งแวดล้อม
1. การจัดหาน้าสะอาด
JUM!! อาจออกสอบ
น้าสะอาดและน้าปลอดภัย มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ 3. หากมีแร่ธาตุหรือสารบางอย่างปน
อยู่ต้องไม่เกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
1. ไม่มีสารพิษเจือปน 2. ปราศจากเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรค

แหล่งน้า
1) แหล่งน้าจากบรรยากาศ  น้าฝน น้าค้าง หิมะ หมอก ไอน้า
2) แหล่งน้าผิวดิน  แม่น้า ลำคลอง ทะเลสาบ ทะเล และ มหาสมุทร
3) แหล่งน้าใต้ดิน  นำบ่อ น้าบาดาล
คุณภาพของน้าสำหรับอุปโภคบริโภค
ทางกายภาพ ทางเคมี ชีวภาพ
1.ความขุ่น(Turbidity) 1.ค่า DO แบคทีเรียที่ปนอยู่ในน้า
2.สี (Color) 2.ค่า BOD 1.พวกที่ก่อโรคในคน
3.กลิ่น (Odor) 3.ค่า COD 2.พวกทีไ่ ม่เป็นอันตราย
4.รส (Taste) 4.ค่า pH อ ยู ่ ใน ล ำ ไ ส ้ ค น C o l i f o r m
5.อุณหภูมิ (temperature) 5.ความเป็นกรด Bacteria
6.ความเป็นด่าง
7.ความกระด้างของน้า
8.แร่ธาตุอื่นๆ

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้าในแหล่งน้าผิวดิน
“แหล่งน้าผิวดิน”  แม่น้า ลำคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้า และแหล่งน้าสาธารณะอื่นๆ ที่อยู่ภายใน
ผืนแผ่นดิน รวมถึงแหล่งน้าสาธารณะที่อยู่ในผืนแผ่นดินบนเกาะด้วย แต่ไม่รวมถึงน้าบาดาล
เป้าหมายในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพในแหล่งน้าผิวดิน
➔ แบ่งประเภทแหล่งน้าโดยมีมาตรฐานระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ของแหล่งน้า
➔ มีมาตรฐานคุณภาพน้าและวิธีการตรวจสอบที่เป็นหลักสำหรับการวางโครงการต่างๆ คำนึงถึงแหล่งน้าเป็นสำคัญ
➔ รักษาคุณภาพแหล่งน้าตามธรรมชาติ ให้ปราศจากการปนเปื้อนจากกิจกรรมใดๆ ทั้งสิ้น
ประเภทและมาตรฐานคุณภาพน้าในแหล่งน้าผิวดิน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
ประเภท การใช้ประโยชน์
ประเภทที่ 1 แหล่ ง น้ า ที่คุ ณ ภาพน้า ตามธรรมชาติ ปราศจากน้ า ทิ้ ง จากกิ จ กรรมทุ ก ประเภทและ
สามารถเป็นประโยชน์เพื่อ
(1) การอุปโภคและบริโภค ต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติก่อน
(2) การขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตระดับพื้นฐาน
(3) การอนุรก ั ษ์ระบบนิเวศน์ของแหล่งน้า
**ประเภทที่ 2 แหล่งน้าที่ได้รับน้าทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ
นิยมใช้ (1) การอุปโภค-บริโภค ผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ + ผ่านปรับปรุงคุณภาพน้า
(2) การอนุรักษ์สัตว์น้า (3) การประมง (4) การว่ายน้าและกีฬาทางน้า
ประเภทที่ 3 แหล่งน้าประเภทที่ 2 + การเกษตร
ประเภทที่ 4 แหล่งน้าประเภทที่ 2 + การอุตสาหกรรม
ประเภทที่ 5 เพื่อการคมนาคม

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา ---78


--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---
คุณภาพน้าในแหล่งธรรมชาติเพื่อการอุปโภคบริโภค
ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญแหล่งน้าธรรมชาติ **ออกสอบปี 56,65 จำค่ามาตรฐานให้แม่น อย่าสับสนกับน้าทิ้ง
พารามิเตอร์ ค่าบ่งชี้ผลต่อสิ่งแวดล้อม
สี กลิ่น รส ไม่มีวัตถุ/สิ่งของที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ซึ่งจะทำให้ สี กลิ่น และรสของน้าเปลี่ยนไปตามธรรมชาติ
บีโอดี (BOD) ⚫ บ่งบอกถึงปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในแหล่งน้าธรรมชาติ
⚫ แหล่งน้าที่มี BOD  มีความสกปรกมาก และอาจเกิดการเน่าเสียได้
⚫ น้าที่มีคุณภาพดี ควรมีค่า BOD ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
⚫ ค่า BOD  คุณภาพน้า
ออกซิเจนละลาย(DO) ตามปกติน้าบริสุทธิ์ตามธรรมชาติจะมีค่า DO ไม่น้อยกว่า 6.0 มิลลิกรัม/ลิตร

ความเป็นกรด-ด่าง แสดงถึงระดับความเป็นกรดหรือด่างของน้า โดยบอกเป็นค่าความเข้มข้นของไฮโดรเจนในน้าในสเกลลอก


(pH) การิทึม ค่าปกติ 5.0 – 9.0
ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537)

เกณฑ์คุณภาพน้าประปาดื่มได้ กรมอนามัย พ.ศ. 2563


“น้าประปาดื่มได้” ➔ น้าประปาที่มีการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ระบบผลิต จนถึงบ้านผู้ใช้น้าให้มีคุณภาพ
**ต้องจำความหมายน้าประปา ค่ามาตรฐานคุณภาพ ออกสอบทุกปี
น้าประปาเพือ
่ บริโภคควรคำนึงถึงคุณภาพข้อใดเป็นอันดับแรก
พารามิเตอร์ หน่วยวัด ค่ามาตรฐาน
ด้านกายภาพ
ความขุ่น (Turbidity) เอ็นทียู ≤5
สีปรากฏ (Apparent color) แพลตตินัมโคบอลท์ ≤ 15
ความเป็นกรดและด่าง (pH) - 6.5 – 8.5
เคมีทั่วไป
ของแข็งละลายน้าทั้งหมด มิลลิกรัม/ลิตร ≤ 500
(Total dissolved solids)
ความกระด้าง (Hardness as CaCO3) มิลลิกรัม/ลิตร ≤ 300
ซัลเฟต(Sulfate) ,คลอไรด์(Chloride) มิลลิกรัม/ลิตร ≤ 250
ฟลูออไรด์ (Fluoride) เสี่ยงฟันตกกระ มิลลิกรัม/ลิตร ≤ 0.7
ไนไตรท์ (Nitrite as NO2) มิลลิกรัม/ลิตร ≤3
โรค blue babies ในเด็กทารก
ทางโลหะหนักทั่วไป
เหล็ก(Iron), แมงกานีส(Manganese) มิลลิกรัม/ลิตร ≤ 0.3
ทองแดง (Copper) มิลลิกรัม/ลิตร ≤1
สังกะสี (Zinc) มิลลิกรัม/ลิตร ≤3
ทางโลหะหนักที่เป็นพิษ
ตะกั่ว (Lead), สารหนู (Arsenic) มิลลิกรัม/ลิตร ≤ 0.01
แคดเมียม (Cadmium) มิลลิกรัม/ลิตร ≤ 0.003
ปรอท (Mercury) มิลลิกรัม/ลิตร ≤ 0.001
ทางแบคทีเรีย
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Total coliforms bacteria) /100 มิลลิลิตร ไม่พบ
และ อีโคไล (Escherichia coli) M.P.N./100 มิลลิลิตร < 1.1

การเฝ้าระวังคุณภาพน้าประปา ออกข้อสอบทุกสนาม !!
1. ปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้า ณ บ้านผู้ใช้น้า อปท.ตรวจคลอรีนอิสระคงเหลือ ➔ 0.2-0.5 มิลลิกรัม/ลิตร
2. คลอรีนอิสระคงเหลือ (Residual Free Chlorine) กำหนดให้มีที่ปลายเส้นท่อ ➔ 0.2 – 0.5มิลลิกรัม/ลิตร
3. ปริมาณคลอรีนในสถานการณ์โรคระบาด ➔ 0.5-10 มิลลิกรัม/น้า 1 ลิตร (0.5-10 ppm)
4. การจัดการคุณภาพน้าในสระว่ายน้า คลอรีนอิสระ (Free chlorine) ➔ 0.6 – 10 มิลลิกรัม/น้า1 ลิตร (ppm)
5. คลอรีนที่รวมกับสารอื่น (Combined chlorine) ➔ 0.5 -10 มิลลิกรัม/น้า 1 ลิตร (ppm)
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา--- 79
--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---
ระบบการผลิตน้าประปา
1. สูบน้าผิวดินหรือน้าดิบจากแหล่งน้าธรรมชาติ ซึ่งจะมีความขุ่นและ
มีสารละลายต่างๆ รวมถึงโลหะหนักเจือปนอยู่
2. ปรั บ ปรุ ง คุ ณภาพน้ า ดิ บ โดยการใส่ ส ารส้ มหรื อปู น ขาวลงไ ปในน้ า
เพื่อช่วยให้เกิดการตกตะกอนและปรับค่าความเป็น กรด-ด่างของน้าดิบ
3. การตกตะกอนโดยน้ า ที่ ผ สมสารส้ ม หรื อ ปู น ขาวแล้ ว จะไหลเข้ า สู่
ถังตกตะกอน เพื่อให้ตะกอนที่มีขนาดเล็กรวมตัวกันเป็นตะกอนขนาดใหญ่
และตกลงสู่ก้นถังจนได้น้าที่มีความใสสะอาด
4. กรองเพื่ อ กำจั ด ตะกอนหรื อ สิ่ ง ปนเปื ้ อ นที่ มี ข นาดเล็ ก มากอี ก ครั้ ง
โดยการกรองด้ วยทรายกรอง กรวดกรอง เพื่ อให้ ไ ด้น้ า ที่มีความใสสะอาด
อย่างแท้จริง การกรองแบบ Reverse Osmosis (R.O.)
5. ฆ่าเชื้อโดยการใส่คลอรีนในอัตราส่ วนที่พอเหมาะ ให้สัมผัสน้าอย่างน้ อย 30
นาที และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แล้วนำไปเก็บไว้ในถังน้าใสเพื่อรอการสูบจ่าย
**Break point chlorination = ปริมาณคลอรีนที่พอดี กับการทำปฏิกิริยากับสิ่งสกปรก
6. ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้าประปาทีผ ่ ลิตได้
7. ปล่อยน้าจากหอถังสูงหรือสูบอัดน้าเข้าไปในระบบท่อจ่ายน้าเพื่อเพิ่มแรงดันน้า

Aeration ➔ Coagulation ➔Sedimentation ➔Filtration ➔Disinfection ➔Distribution

การกำจัดความกระด้างของน้า **ออกสอบบ่อย
น้ากระด้าง หมายถึง น้าที่มีหินปูนเจือปนอยู่ในน้า เกิดจากแคลเซียมและแมกนีเซียม
1. น้ากระด้างชั่วคราว ➔ น้าที่สามารถกำจัดความกระด้างให้หายไปด้วยการวิธีการดังนี้
นำไปต้ม ซึ่งความร้อนจะทำให้ไบคาร์บอเนตของแคลเซียมและแมกนีเซียมโมเลกุลของน้าระเหยไป และทำให้เกิด
ตะกอน สามารถแก้ไขได้ด้วยการกรอง
2. น้ากระด้างถาวร  โดยวิธีการตกผลึก ทำให้แคลเซียมและแมกนีเซียมละลายอยู่ในน้ากลายเป็นตะกอน
การเติมปูนขาว และ โซดาแอช ➔ กระบวนการกำจัดความกระด้างด้วยปูนโซดา (Lime-soda softening)

โครงการจัดหาน้าสะอาดของการประปาส่วนภูมิภาค
(Water Safety Plan : WSP) 5 ระยะ 11 ขั้นตอน

2. การบำบัดน้าเสีย ประเภทของน้าเสีย
1.น้าเสียขากชุมชน 2.น้าเสียจากอุตสาหกรรม
3.น้าเสียจากการเกษตร 4.น้าเสียจากฝน

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 80


--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---
ระบบบำบัดน้าเสียทางชีวภาพแบบใช้อากาศ (Aerobic Treatment Process)

มาตรฐานน้าทิ้งจากระบบบำบัดน้าเสียรวมของชุมชน
ดัชนีคุณภาพน้า หน่วย ค่ามาตรฐาน
1. ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) - 5.5 – 9.0
2. บีโอดี (BOD) มก./ล. ≤ 20*
3. ของแข็งแขวนลอย (SS) มก./ล. ≤ 30
กรณีหน่วยบำบัดสุดท้ายเป็นบ่อปรับ ≤ 50
เสถียร หรือบ่อผึ่ง
อาคาร ประเภท ก.
4. น้ามันและไขมัน (Oil and Grease) มก./ล. ≤5
≤ 20
5. ไนโตรเจนทั้งหมด (TN) มก./ล. ≤ 20
6. ฟอสฟอรัสทั้งหมด (TP) มก./ล. ≤2

2. การจัดการส้วมตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535

กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2561

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 81


--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---
กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564

เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS) มีองค์ประกอบ 3 ด้าน **ออกสอบทุกปี


HAS ➔ ความสะอาด (Healthy : H), ความเพียงพอ (Accessibility : A), ความปลอดภัย (Safety : S)
เกณฑ์ รายละเอียด
สะอาด  ส้ วมจะต้องได้รั บการดำเนิ นการให้ถูกหลักสุ ขาภิบาล เช่ น ห้ องส้ วมและสุขภัณฑ์
Health : H ทั้ง หมดจะต้ องสะอาด ไม่ มีก ลิ่ น เหม็ น มี น้ า สะอาด สบู ่ ล ้ า งมื อ กระดาษชำระเพี ยงพอ
(9 ข้อ) โดยทำการ Swab หาเชื้อ Fecal Coliform Bacteria เป็นตัวชี้วัด ด้วยชุดตรวจ SI-2

เพียงพอ  ต้องมีจำนวนส้วมให้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้ใช้ รวมถึง ผู้พิการ ผู้สูงวัย หญิง


Accessibility : A (2 ข้อ) มีครรภ์ และส้วมต้องพร้อมใช้งานตลอดเวลาทีเ่ ปิดให้บริการ
ปลอดภัย  ผู้ใช้บริการจะต้องปลอดภัยขณะใช้ส้วม เช่น สถานที่ตั้งส้วมไม่เปลี่ยว ต้องแยกเพศ
Safety : S (5 ข้อ) ชาย-หญิง มีแสงสว่างเพียงพอ เป็นต้น

การประเมินมาตรฐานคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ประเด็นงาน การจัดการส้วมสาธารณะ : EHA 3001

เฝ้าระวังด้านความสะอาดส้วมสาธารณะ
ดำเนินการตรวจหาเชื้อฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Fecal Coliform bacteria) บนจุดสัมผัสร่วมด้วยวิธีการ
ป้ายเชื้อ (Swab) ในห้องส้วม 7 จุด ได้แก่ กลอนประตู/ลูกบิด ทีร่ องนัง่ ส้วม ที่จับสายฉีดน้าชำระ ทีก
่ ดโถส้วม
ทีก
่ ดโถปัสสาวะ ก๊อกน้าและราวจับ โดยทำการสุ่มตัวอย่างทั้งห้องส้วมชาย ห้องส้วมหญิง และห้องส้วมคน
พิ การ อย่ างน้ อยประเภทละ 1 แห่ ง ด้ ว ยวิ ธี การ Swab ในจุ ด ที่ก ำหนด ส่ ง ทางห้ องปฏิบัติการ หรื อใช้
ชุดทดสอบภาคสนามตรวจสุขลักษณะของห้องส้วม (อ 11)

19 พฤศจิกายน "วันส้วมโลก (World Toilet Day)"


กำหนดโดยองค์การส้วมโลก หรือ World Toilet Organization
เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นการรณรงค์กิจกรรมต่างๆทั่วโลก โดยให้ผู้ที่อยู่
ในสภาพแวดล้ อ มที่ ดี มี สุ ข อนามั ย ในการใช้ ห ้ อ งส้ ว มตระหนั ก ถึ ง
ความสำคัญของความสะอาดของห้องน้าห้องส้วมให้มากขึ้น

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 82


--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---

3. สุขาภิบาลอาหาร **ออกสอบทุกปี จำเกณฑ์แต่ละประเภทให้แม่น!!

หลักเกณฑ์และวิธก
ี ารประเมินรับรองมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร (ฉบับปรับปรุงปี 2564)

1) มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย Clean Food Good Taste สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้า กรมอนามัย


มาตรฐานทางกายภาพ มาตรฐานทางชีวภาพ(แบคทีเรีย)
1. สถานที่จำหน่ายอาหาร โดยตรวจด้วยน้ายาตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มขั้นต้น (อ.13) (ชุดทดสอบ SI-2)
• เกณฑ์เก่า 15 ข้อ จำนวน 10 ตัวอย่าง ประกอบด้วย
• เกณฑ์ใหม่ 74 ข้อ • อาหาร จำนวน 5 ตัวอย่าง • ภาชนะ จำนวน 3 ตัวอย่าง
(ตามกฎกระทรวงสุข ลั ก ษณะของสถานที่ จำหน่า ย
• มือผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 2 ตัวอย่าง
อาหาร พ.ศ. 2561)
เกณฑ์ ➔ ผ่าน 90% ของตัวอย่างที่ตรวจ
2. แผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 12 ข้อ
การอ่านผล ตั้งทิ้งไว้ 17-24 ชม. ที่ T ห้อง
3. โรงอาหาร จำนวน 30 ข้อ
หากเปลี่ยนจากสีม่วง ➔ สีม่วงปนเหลือง ขุ่น มีแก๊ส +
4. โรงครัวโรงพยาบาล จำนวน 30 ข้อ
การรับรองมาตรฐาน 2 ระดับ : อายุการรับรอง 1 ปี ไม่เปลี่ยนสี = ไม่ปนเปื้อน ➔ สีเหลือง ขุ่น มีแก๊ส ++ มีการปนเปื้อน

 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับพื้นฐาน Clean Food Good Taste


 ผ่านเกณฑ์การพัฒนา และยกระดับมาตรฐาน “สถานที่จำหน่าย
มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย อาหาร” ระดับก้าวหน้า จำนวน 9 ข้อ
1) ผู้สัมผัสอาหารติดบัตรประจำตัวในขณะปฏิบัติงานทุกคน
(Clean Food Good Taste Plus : GFGT+)
2) จัดบริการช้อนกลางให้แก่ผู้บริโภคทันที
ระดับดีมาก 3) จัดบริการอ่างล้างมือพร้อมสบูส่ ำหรับผูบ
้ ริโภค
4) ใช้ผัก และผลไม้ปลอดภัย (การใช้/การล้าง/การเฝ้าระวัง)
5) จัดบริการเมนูชสู ุขภาพ และผ่านการรับรองเมนูชูสข
ุ ภาพ อย่างน้อย 1 เมนู
6) ใช้เกลือหรือผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนตามมาตรฐาน เช่น เกลือ น้าปลา ซีอวิ๊
ข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับ 7) จัดบริการส้วมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS
8) ใช้ภาชนะปลอดภัยและ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (No Foam)
ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร
9) มีการสือ่ สารความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในสถานที่จำหน่ายอาหาร

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 83


--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---
2) ตลาดสด น่าซื้อ (Healthy Market)
ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม : ด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล : ด้านความปลอดภัยอาหาร : ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค :
จำนวน 41 ข้อ จำนวน 5ข้อ จำนวน 2 ข้อ จำนวน 2 ข้อ
1.สุขลักษณะทั่วไปของตลาด 1.สุ ข วิ ท ยาส่ ว นบุ ค ลของผู ้ ข าย/ 1.มีผลตรวจวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์ 1.ช่องทางแสดงความคิดเห็น
ทางเดินภายในอาคารกว้าง ≥ 2 เมตร ผู้ช่วยขายของ ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 2.จุดเครื่องชั่งกลางทีไ่ ด้มาตรฐาน
แผงจำหน่ายอาหาร สูงจากพื้น ≥ 60 ซม. 2.มาตรการป้องกันโรคด้านบุคคล 2.มีการตรวจสารปนเปื้อน 3 ชนิด อย่างน้อย 1 จุด ติดปายบอกไวชัดเจน
ล้างตลาดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง สวมหนากากอนามัยตลอดเวลา ขึ้ น ไป และไม่ พ บสารปนเปื ้ อนใน
2.การจัดการมูลฝอย มีการอบรมใหความรู ด้านสุขาภิบ าล อ า ห า ร ( บ อ แร ก ซ์ , ฟ อ ร ์ ม า ลี น ,
ที่ เก็ บ รวบรวมมู ล ฝอยห างจากสถานที่ อาหาร โดยเฉพาะอาหารปรุงสำเร็จ สารฟอกขาว, สารกันรา) /พบในเกณฑ์
ประกอบอาหาร/เก็บอาหาร ≥ 4 เมตร เว้ น ระยะห่ า งระหว่ า งผู้ ใชบริก ารใน ที่ปลอดภัย 1 ชนิด (ยาฆ่าแมลง)
จุเกินกวา 3 ลูกบาศกเมตร ≥ 10 เมตร การเลือกซื้อสินคา-ชำระเงิน ≥1 เมตร
3.การจัดหาน้าดื่ม น้าใช้
4.การจัดการน้าเสีย
5.การจัดการสิ่งปฏิกูล
6.การป้องกัน ควบคุมสัตว์/แมลงนำโรค การรับรองมาตรฐาน 3 ระดับ :
7.การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม อายุการรับรอง 1 ปี

4.ระบบการจัดการมูลฝอย
พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 + ฉบับที่ 2 2550 และกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ 2545
ระบบการจัดการมูลฝอยในโรงพยาบาล
➔ มูลฝอยจากกระบวนการการรักษา มูลฝอยจากการประกอบอาหาร มูลฝอย จากระบบบำบัดน้าเสีย ฯลฯ
➔ มูลฝอยที่เกิดจากผู้มารับบริการและญาติ
➔ จำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ มูลฝอยทั่วไป มูลฝอยอันตราย มูลฝอยติดเชื้อ และมูลฝอยรีไซเคิล
มูลฝอยติดเชื้อ
➔ มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ ถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้นแล้ว สามารถทำให้เกิดโรคได้
มูลฝอยทั้งหมด
การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ  นำหลัก 3R (Reduce Reuse and Recycle) มาเป็นหลักการจัดการ
ประเภท การจัดการ
มูลฝอยติดเชื้อประเภท เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะที่ทำด้วยแก้ว สไลด์และแผ่นกระจกปิดสไลด์
วัสดุของมีคม ต้ องทิ้ง ลงกล่ องหรื อถั ง ที่ท ำจากวั สดุ แข็ ง แรง ทนทานต่ อการแทงทะลุ และการกั ด กร่ อนของ
สารเคมีและสามารถป้องกันการรัว่ ไหลของของเหลวภายในได้
บรรจุมูลฝอย ติดเชื้อไม่เกิน 3 ใน 4 ส่วนของความจุภาชนะ แล้วปิดฝาให้แน่นก่อนเคลื่อนย้าย

มูลฝอยติดเชื้ออื่น มิใช่ สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าต่างๆ จานเลี้ยงเชื้อ ภาชนะบรรจุวัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต ได้แก่ วัคซีน


ประเภทวัสดุของมีคม ป้องกันโรควัณโรค โรคโปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม เป็นต้น ท่อยาง ตลอดจนเครื่องมือที่ใช้ใน
การถ่ายเชื้อและกวนเชื้อ
ต้ องทิ้ งลงถุงสีแดง (ควรใช้ถุ งใสสามารถเห็ นวั สดุได้) ทนทานต่ อสารเคมี และการรับน้าหนัก
ไม่ฉีกขาดง่าย กันน้าได้ไม่รั่วซึม
บรรจุมูลฝอยได้ไม่เกิน 2 ใน 3 ส่วนของความจุของภาชนะ
มีข้อความสีดำว่า “มูลฝอยติดเชื้อ” ใต้รูปหัวกะโหลกไขว้ คู่กับตรา หรือสัญลักษณ์ที่ใช้ระหว่ าง
ประเทศ ตามที่ก ระทรวงสาธารณสุ ข กำหนด และต้ องมี ข ้ อความว่ า “ห้ า มนำกลั บ มาใช้ อีก ” และ
“ห้ามเปิด” โดยเด็ดขาด แล้วมัดปากถุงให้แน่นก่อนเคลื่อนย้าย
มูลฝอยติดเชื้อที่เป็น เสมหะ เลือด อาหารเลี้ยงเชื้อ ให้บรรจุใน ขวดหรือถังที่มีฝาเกลียว ปิดสนิทก่อนเคลื่อนย้าย
ของเหลว

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 84


--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---
การจัดการมูลฝอยติดเชื้ออย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ➔ โรงพยาบาลมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้ตามาตรฐาน 7 ด้าน ได้แก่
1) ด้านบุคลากรในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 2) การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ
3) การเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ 4) การเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ
5) ลักษณะของรถเข็นที่ใช้เคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ 6) สถานที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
7) การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
การเคลื่อนย้ายและรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ
• มีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยต้องผ่านการฝึกอบรม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
• สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตลอดเวลาทีป ่ ฏิบัติงาน หากสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อให้ทำความสะอาดส่วนทีส
่ ัมผัสทันที
• ต้องกระทำทุกวัน ตามตารางเวลาที่กำหนด
• ตรวจสอบมูลฝอยก่อนการเคลื่อนย้ายว่ามีรอยรัว่ หรือไม่ คอถุงมีเชือกมัด ไว้แน่น
• ขนย้ายตามเส้นทาง ตาราง เวลา ที่กำหนด ไม่หยุดหรือแวะพักระหว่าง ขนย้าย "From clean to dirty” (จากสะอาดไปสกปรก)
• มีความระมัดระวังขณะขนย้าย ยกและวางถุงอย่างนุม ่ นวล ห้ามโยน
• จับตรงคอถุง ห้ามอุ้มถุง
• เมื่อเสร็จภารกิจ ผู้ปฏิบัติงานต้องถอดเครื่องแต่งกายนำไปฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี และทำความสะอาดร่างกายทันที
• ควรแยกชุดผู้ปฏิบัติงานมูลฝอยติดเชื้อออกจาก ชุดปฏิบัติงานมูลฝอยประเภทอื่น
• กรณีทม ี่ ีมูลฝอยติดเชื้อ หรือภาชนะบรรจุตกหล่นระหว่างทาง ห้ามหยิบด้วยมือเปล่า ต้องใช้คีมหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา
หากเป็นของเหลว ใช้ซับด้วยกระดาษแล้วนำ กระดาษนั้นใส่ในภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่ และทำความสะอาดด้วยน้ายา
ฆ่าเชื้อทีบ
่ ริเวณ พื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ
ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ ต้องมีลักษณะดังนี้
• ตัวถังปิดทึบ ผนังด้านในต้องบุด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดง่าย ไม่รั่วซึม
• กรณีทเี่ ป็นยานพาหนะสำหรับใช้ขนมูลฝอยติดเชื้อ จากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อทีเ่ ก็บไว้นานกว่า
7 วัน ภายในตัวถังของยานพาหนะนั้น ต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่10 0C หรือต่ากว่า
นั้น และติดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์ทส
ี่ ามารถอ่านค่าอุณหภูมิภายในตัวถังไว้ด้วย
• มีข้อความสีแดงทีม่ ีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ปิดไว้ที่ภายนอกตัวถัง ด้านข้างทั้งสองด้านว่า "ใช้เฉพาะขนมูลฝอยติดเชื้อ"
• ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าทีร่ ับผิดชอบในการเก็บ และหรือขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อย 1 คน ต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษา
ไม่ต่ากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ในด้านสาธารณสุข สุขาภิบาล ชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์
อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานขนมูลฝอยติดเชื้อ
• ต้องมีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลทีเ่ หมาะสมสำหรับผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
• เครื่องมืออุปกรณ์จำเป็นสำหรับป้องกันอุบัติเหตุทเี่ กิดจากการตกหล่นรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ
•. อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย
• อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารใช้ติดต่อแจ้งเหตุอยู่ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ ตลอดเวลาที่ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ

การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
1) การทำลายเชื้อโรค เป็นการทำลายเชื้อโรคที่มีอยู่ในมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีมาตรฐาน ตามที่กระทรวงสาธารณสุข
กำหนดไว้ ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 ดังต่อไปนี้
• การเผาในเตาเผา ต้อ งมีห ้อ งเผามูลฝอยติด เชื้อ เผาที่อุณหภูมิ ≥ 760 0C และห้อ งเผาควั น และก๊าซพิษ ที่
อุณหภูมิ ≥1,000 0C
• การทำลายเชื้อด้วยไอน้า เป็นการฆ่าเชื้อโรคที่มีองค์ประกอบดังนี้ ไอน้า ที่ ความดัน ≥15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
อุณหภูมิ ≥ 121 0C ระยะเวลา ≥ 1 ชั่วโมง ซึ่งองค์ประกอบแต่ละตัวจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
2) การกำจัดขั้นสุดท้าย เป็นการนำมูลฝอยติดเชื้อที่ผ่านการทำลายเชื้อจนมั่นใจว่า ปลอดภัย แล้วนำไปกำจัดด้วย
วิธีการที่ถูกหลักสุขาภิบาล เช่น การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาล มี
รูปแบบการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ การดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเอง และส่งต่อให้หน่วยงานอื่นนำไป
กำจัดนอกโรงพยาบาล
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 85
--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---
5. การจัดการสัตว์และแมลงนำโรค
➔ สัตว์และแมลงนำโรคหลายชนิดที่นำเชื้อโรคมาสู ่คน โดยเชื้อโรคจะติดมากับลำตัว ปีก ขน หรือปะปนมากั บ
น้าลายปัสสาวะ อุจจาระของสัตว์และแมลงดังกล่ าว เมื่อสัตว์เหล่านั้นไปไต่อาหารที่ปรุงสุกแล้วและไม่มีก ารปกปิดหรือ
ป้องกันให้มิดชิด ก็จะทำให้ออาหารปนเปื้อนเชื้อโรคและสิ่งสกปรกได้ ถ้านำอาหารนั้นมากินอาจเกิด การเจ็บป่ว ยได้
สัตว์และแมลงนำโรคที่พบบ่อย ได้แก่ หนู แมลงวัน และแมลงสาบ **ออกสอบบ่อย
สัตว์และแมลงนำโรค การควบคุมป้องกัน
หนู ➔ เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคทีส
่ ำคัญ และทำให้เกิดการระบาดของโรคบางชนิดมาสู่คนและสัตว์เลี้ยงได้
4 พันธุ์ ที่พบบ่อย เช่น กาฬโรค โรคไข้หนูกัด โรคเลปโตสไปโรซีส โรคพิษสุนัขบ้า โรคบิดมีตัว โรคพยาธิต่าง ๆ เช่น
หนูนอเวย์ หนูท้องขาว โรคพยาธิตัวตืด โรคพยาธิแส้ม้า เป็นต้น
หนูจี๊ด หนูหริ่ง ➔ สำรวจประชากรหนู โดยวิธีมาร์ค-รีแคพเจอร์ (Mark-recapture method) ใช้กรงจับหนูเป็นๆ
มาทำเครื่องหมายบนตัวก่อนที่จะปล่อยไป
➔ การควบคุมป้องกันมี 2 วิธี คือ
1. การป้องกันไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ แหล่งอาหาร และแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู ได้แก่
โดยอุดช่องทางที่หนูจะเข้าบ้านด้วยวัสดุที่ป้องกันการกัดแทะของหนู เช่น คอนกรีต อิฐ หิน กระเบื้องหนาๆ
รวบรวมและกำจัดขยะมูลฝอย เพือ ่ ทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของหนู
จัดบ้านเรือนและบริเวณบ้านให้สะอาดไม่เป็นที่หลบซ่อนหรือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู
2. การทำลายหนูโดยตรง
การใช้ กั บ ดั ก เช่ น กั บ ดั ก และกรงดั ก ใช้ เหยื่ อ ประเภทปลา เนื้ อ มะพร้ า วอ่ อ น เมื่ อ ใช้ กั บ ดั ก แล้ ว
ควรทำลายกลิ่นหนู ใช้น้าร้อนลวก+ล้างให้สะอาด จมูกหนูไวมากถ้าได้กลิ่นคนจะไม่กินเหยื่อเลย
การใช้สารเคมี ได้แก่ การรมควัน การวางยาเบื่อ ควรเลือกชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยที่สุด
การควบคุมกำจัดหนูในชุมชนใหญ่ๆ คำนึงถึงความร่วมมือของประชาชน โดยมีการกำจัดอย่างสม่าเสมอ
เพือ
่ ป้องกันหนูอพยพจากหมู่บ้านหนึ่งไปหมู่บ้านใกล้เคียง
แมลงวัน ➔ มักพบมากในบริเวณกองขยะเศษอาหาร ซากสัตว์ อุจจาระ ทำให้ เกิดเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น บิด ไทฟอยด์
อหิวาตกโรค รวมทั้งไข่พยาธิต่าง ๆ ติดมากับแมลงวันได้ โดยติดมากับขนตามลำตัว ขนขา หรือเชื้อโรคปนมา
แมลงหวี่
กับของเหลวในกระเพาะอาหารของแมลงวัน
➔ การสำรวจแมวงวันที่นิยมมากที่สุด “การใช้ตะแกรงนับจำนวน”
การควบคุมและกำจัดมีหลักใหญ่ ๆ 3 ประการคือ
1. การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
เก็บเศษอาหาร+ขยะในถังที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่รั่ว/ซึมน้า นำไปกำจัด : เผา ฝัง หมักทำปุ๋ย ถมที่ หรือเลี้ยงสัตว์
จัดให้มีและใช้ส้วมทีถ
่ ูกสุขลักษณะ
ควรมีตู้เก็บอาหารหรือมีภาชนะปกปิดอาหาร เช่น ฝาชี เพือ ่ ป้องกันไม่ให้แมลงวันตอมอาหาร
2. การทำลายตัวอ่อนของแมลงวัน ใช้ความร้อนจากแสงแดดในการทำลายไข่แมลงวัน หรือใช้สารเคมีทำลาย
หนอนแมลงวัน เช่น การใช้ปูนคลอรีนหรือปูนขาวโรยฆ่าตัวหนอน เป็นต้น
3. การทำลายตัวแก่ของแมลงวัน
วิธีกล ได้แก่ ใช้กาวจับแมลงวัน ใช้ไม้ตีแมลงวัน เป็นต้น
วิธีทางเคมี ได้แก่ การใช้วัตถุมีพิษฆ่าแมลงวันในบ้าน ควรเลือกชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยที่สุด
แมลงสาบ ➔ เป็นพาหะนำโรค อหิวาตกโรค แอนแทรกซ์ วัณโรค โรคพยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวตืด
ชอบออกหากินกลางคืน ➔ การควบคุมกำจัดแมลงสาบ แบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ
ชอบกัดทำลายสิ่งของ 1. การทำลายแมลงสาบและไข่แมลงสาบ
เครื่องใช้ภายในบ้าน การใช้กับดัก : วางเหยื่อที่แมลงสาบชอบไว้ภายในกับดัก เช่น อาหารประเภทแป้งและน้าตาล ซึ่งเมื่อจับได้
มีกลิ่นเฉพาะตัว เป็นจำนวนมาก นำไปฆ่าโดยการแช่น้าหรือตากแดด
เชื้อโรคที่ติดมาตามตัว/ การใช้สารเคมี : ใช้วัตถุมีพิษฆ่าแมลงสาบในบ้าน ด้วยการฉีดพ่น หรือใช้เหยื่อพิษ
อยู่ในกระเพาะแมลงสาบ 2. การปรับปรุงสุขาภิบาลที่อยู่อาศัย
หมั่นทำความสะอาดห้องครัว อย่าให้มีเศษอาหารตกค้างซึ่งอาจเป็นอาหารของแมลงสาบ
ต้องมีตู้เก็บอาหารหรือภาชนะปกปิดมิดชิด ป้องกันไม่ให้แมลงสาบมากินอาหารได้
หมั่นทำความสะอาดห้องน้าห้องส้วมอย่างสม่าเสมอ
ควรบรรจุอาหารแห้งต่าง ๆ เช่น แป้ง น้าตาล ในโหลที่มีฝาปิดมิดชิด และเก็บใส่ตู้
ควรมีถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม และนำขยะไปกำจัดอย่างถูกวิธี

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 86


--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---
7. การจัดการที่อยู่อาศัย **ออกสอบปี 65

หลักการและแนวคิด
กรมอนามัยได้มีการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2555-2559)
เป้าหมายหลัก คือ ลดการเจ็บป่วยเนื่องจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับนโยบายยุทธศาสตร์เมืองไทย เมืองสะอาด (Clean Cities)
“ส่งเสริมและร่วมใจ ทำเมืองไทยให้สะอาด” โดยเน้นการจัดการส้วมสาธารณะและสิ่งปฏิกูล อาหารสะอาด คุณภาพน้าดื่มได้มาตรฐาน
และการจัดการมูลฝอยในชุมชน จัดทำโครงการบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์ ใช้แบบประเมิน 34 ข้อ
เกณฑ์ : ระดับหลังคาเรือน ต้องผ่านทุกข้อ ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ต้องผ่าน 60 %ขึ้นไปของหลังคาเรือนทั้งหมด

การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HEALTH IMPACT ASSESSMENT : HIA) ➔ EHA8000


กระบวนการ วิธีการ และเครื่องมือทีห ่ ลากหลาย
เพื่ อคาดการณ์ ถึ ง ผลกระทบที่ อ าจเกิ ดขึ้ น จากนโยบาย แผนงาน โครงการ /กิ จ กรรม ที่ มี ต ่ อ สุ ขภาพอนามั ย ของ
ประชาชน และการกระจายของผลกระทบในกลุ่มประชากร
นำมากำหนดเป็นกิจกรรม มาตรการ หรือแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการผลกระทบเหล่านัน ้
(องค์การอนามัยโลก/IAIA, 2006)

**ออกสอบทุกปี จำลำดับ
ขั้นตอน และนิยาม

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 87


--- อนามัยสิ่งแวดล้อม ---
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA)
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิง่ แวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 มาตรา 3
นิยาม ➔ กระบวนการศึกษาและประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการใดของรัฐหรือ
ทีร่ ัฐจะอนุญาตให้มีการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต
หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน
เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ผลการศึกษา เรียกว่า รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ EIA ➔ การทำนายหรือคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบของการดำเนินโครงการพัฒนา
ที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบ
ในทางลบทีอ ่ าจเกิดขึ้นให้เกิดน้อยที่สุด ฟื้นคืนทรัพยากรธรรมชาติกลับมาได้อย่างมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่าที่สุด

ขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หน่วยงานทีร่ ับผิดชอบในการรับรายงาน EIA **ออกสอบ ปี 66


1. การกลั่นกรองโครงการ
2. การจัดทำรายงาน
3. การพิจารณารายงาน
4. การติดตามตรวจสอบ (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายงานการประเมินผลกระทบสิง่ แวดล้อม แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่


1) รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE)
2) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA)
3) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการ กิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง
(Environmental and Health Impact Assessment : EHIA)

8.การจัดการเหตุรำคาญ
เหตุรำคาญ (มาตรา 25 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535) ➔ เหตุหนึ่งเหตุใดอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนของ
ประชาชนผู้ที่ อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
เจ้ า พนั กงานสาธารณสุ ข ➔ เจ้ าพนั ก งานซึ่ ง ได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง จาก รั ฐมนตรี ว่ า การกระทรวงสาธารณสุ ข ให้ ป ฏิ บั ติ ก ารตาม
พระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. 2535
ระบบการทำงาน ประกอบด้วย 1. ระบบปฏิบัติการ ได้แก่ •ระบบรับเรื่องร้องเรียน • ระบบสอบสวนเหตุรำคาญ • ระบบการตรวจวิเคราะห์

2. ระบบสนับสนุน ได้แก่ • ระบบป้องกันเหตุรำคาญ • ระบบพัฒนากระบวนงาน • ระบบเฝ้าระวังเหตุรำคาญ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 88


--- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ---

ชุดวิชาที่ 12 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational health and Safety)


ความหมาย “อาชีวอนามัย” มาจาก
“อาชีวะ” ➔ การเลี้ยงชีพ การประกอบอาชีพ หรือคนที่ประกอบอาชีพทุกสาขาอาชีพ
“อนามัย/สุขภาพ” ➔ ความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี ไม่ใช่เพียงแต่ความปราศจากโรค
หรือทุพพลภาพเท่านั้น องค์การอนามัยโลก (WHO), 2541
“ความปลอดภัย” (Safety) ➔ สภาพที่ปราศจากภัยคุกคาม (Hazard) ไม่มีอันตราย (Danger) และความเสี่ยงใดๆ (Risk)
งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ➔ การควบคุมดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพการงานให้มีสภาวะสมบูรณ์ดีทั้ง
ทางร่างกาย จิตใจ และสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดี มีความปลอดภัยจากภัยคุกคาม อันตรายและความเสี่ยงต่างๆ
จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย องค์การอนามัยโลก (WHO) **สำคัญ !! อาจออกสอบ
ส่งเสริมและดำรงไว้ (promotion and maintenance) ความสมบูรณ์ที่สุดของสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบอาชีพ
ป้องกัน (prevention) ไม่ให้มีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมหรือผิดปกติ
ป้องกันคุ้มครอง (protection) ไม่ให้ทำงานทีเ่ สี่ยงอันตราย
จัดการงาน (placing) ได้ทำงานในสภาพแวดล้อมทีเ่ หมาะสมกับความสามารถของร่างกายและจิตใจ
ปรับงาน/ปรับคน (adaptation) งานให้เหมาะสมกับคน และการปรับคนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน

คำขวัญขององค์การอนามัยโลกที่กล่าวไว้ว่า “Occupational Health for All” หรือ อาชีวอนามัยเพื่อทุกคน


ขั้นตอนการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย **สำคัญ !! อาจออกสอบ

1. ความตระหนักถึงอันตราย 2. การประเมินสภาพของ 3. การควบคุมอันตราย


(Hazard Recognition) อันตราย (Hazard Evaluation) (Hazard Control)

ค้นหาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของ ประเมินถึงอันตรายอันอาจจะ การศึ ก ษาข้ อมู ล เพื่ อ กำหนด


อันตรายต่างๆในที่ทำงาน เกิ ด จากสภาวะแวดล้ อ มที่ เป็ น เป็ น มาตรการและวิ ธี ก ารในการ
1. ด้านกายภาพ อั น ตรายในการทำงานด้ ว ยการ ควบคุ ม อั น ตรายที่ เหมาะสมกั บ
2.ด้านเคมี ตรวจสอบระดับของอันตรายโดย สภาพแวดล้อมในการทำงานให้อยู่
3.ด้านชีวภาพ เปรี ย บ เที ย บ กั บ ค่ า มาต ร ฐ า น ในสภาพปกติ คำนึ ง ถึ ง ความ
4.ด้านการยศาสตร์ นำผลที่ได้ไปกำหนดข้อปฏิบัติ ร่วมมือจากทุกฝ่าย

อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4 ด้าน
ด้านกายภาพ อุณหภูมิที่ผิดปกติ (temperature)
(PHYSICAL  ความร้อน เกิดจากการถ่ายเทความร้อนจากแหล่งกำเนิด การนำ การพา และการแผ่รังสีความร้อน
HAZARDS)  ผดผื่น (Rash) ตะคริว (Cramp) อ่อนเพลีย (Exhaustion) หน้ามืด/วิงเวียน (Syncope (fainting)
ลมแดด (Heat Stroke) ถึงขั้นเสียชีวิต อาการสำคัญ : ตัวร้อน T ร่างกาย 41 0C การสูญเสียเหงื่อ
เครื่องวัดความร้อน WBGT ➔ คุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน ISO 7243
ระดับความร้อนทางการทำงาน
หลักการป้องกันและควบคุม
1.แหล่งกำเนิดของความร้อน เช่น การใช้ฉนวน ฉากป้องกัน
รังสี ระบบระบายอากาศ ใช้พัดลมเฉพาะจุด
2.ความร้อนจากทางผ่าน เป็นการระบายความร้อนภายในพื้นที่
ทำงาน เช่น ออกแบบพื้นที่ให้ flow อากาศดี
3.การป้องกันที่ตัวคนงาน เช่น การปรับให้เคยชินกับความ
ร้อน จัดเตรียมน้าดื่ม การใส่ PPE

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 89


--- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ---

ด้านกายภาพ อุณหภูมิที่ผิดปกติ (temperature)


(PHYSICAL  ความเย็น สภาพแวดล้อมทีม ่ ีอุณหภูมิต่ากว่า 20 0C สภาพแวดล้อมทีม่ ีความเย็น
HAZARDS)  ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับห้องเย็น สะพานปลา ห้องเก็บเนื้อ ชาวประมง งานเกี่ยวน้าแข็งแห้ง คนทำน้าแข็ง
Systemic Hypothermia : ทีอ ่ ุณหภูมิกายต่ากว่า 35 0C ➔ ความรู้สึกสติเริ่มเสีย ลืม+เห็นภาพหลอน
ถ้าต่ากว่า 30 0C ➔ เริ่มไม่รู้สติ พูดลิ้นรัว กระวนกระวาย
Localized hypothermia เกิดผลึกน้าแข็งในเนื้อเยื่อเฉพาะที่
ส่วนทีเ่ ป็นมาก  แก้ม จมูก ติ่งหู นิ้วมือ นิ้วเท้า มือและเท้า
เริ่มจากระยะ Chilblains (Pernio) : เริ่มด้วยผิวหนังแดง คัน จากการอักเสบเนื่องจากความเย็น
Immersion Foot : มีสามระยะได้แก่ระยะขาดเลือด เลือดกลับมาเลี้ยงและฟื้นตัว
อันตรายที่สุด คือ Frostbite : มีการแข็งของผิวหนังส่วนที่ปกคลุมอาการชา เจ็บแปลบ หรือคัน ผิวหนังจะเป็น
สีเทาขาว และแข็ง ถ้าเป็นระยะเวลานาน เป็นภาวะทีเ่ ป็นเนื้อตาย หรือ gangrene / โรคชิลเบลนส์ คล้ายเข็มตำ
 มาตรการเพื่อความปลอดภัยความเย็น จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ทำงานที่เกี่ยวข้องก่อนทำงาน ดังนี้
1.มีขั้นตอนการทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น และการปฐมพยาบาล 2.การปฏิบัติเกี่ยวกับเสื้อผ้าทีเ่ หมาะสม
3.ความรู้เกี่ยวกับอาการเริ่มแรกก่อนเป็นโรคทีเ่ กิดจากความเย็นจัด 4.คัดเลือกคนงานที่แข็งแรงเข้าทำงาน
**ถ้าคนงานประสบอันตราย ต้องรีบนำออกมาจากบริเวณทำงาน ทำให้ร่างกายอบอุ่นและรีบนำส่ง รพ.

เสียง (Noise)
 อันตราย : สมรรถภาพการได้ยินลดลง สาเหตุโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง กระเพาะอาหาร ประสิทธิภาพ
การทำงานลดลง/อุบัติเหตุ
มาตรฐานระดับเสียงในที่ทำงาน 8 ชั่วโมง - ไม่เกิน 85 dBA **ออกสอบบ่อย
WHO  เสียงอันตราย = เสียงดัง ≥ 85 dBA ให้สถานประกอบการจัดโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
เสียงดัง > 90 dBA อันตรายต่อระบบการได้ยิน หูหนวก เครียด โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
*เสียงกระทบ/กระแทก ≤ 140 dBA เช่น เสียงตอกเสาเข็ม เสียงระเบิด
*เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ ≤ 115 dBA เช่น เสียงเครื่องทอผ้า
เครื่องวัดระดับความดังของเสียง หลักการป้องกันและควบคุม
1. แยกคนงานห่างจากบริเวณต้นกำเนิดเสียงให้มากที่สุด
2. ลดการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร นิยม ใช้ง่าย ประสิทธิภาพ

3. ใช้วัสดุดูดซับเสียง
4.หาเครื่องจักรที่มีเสียงดังน้อยเข้ามาทดแทน
6. ลดระยะเวลาในการสัมผัสกับเสียง
วัดเสียงได้ตั้งแต่ 40-140 dB 7. ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ที่อุดหู(ear pug) / ที่ครอบหู(earmuff)

แสงสว่าง (Lighting)  ใช้เครื่องมือวัดแสง (Digital Lux-meter)


แสงสว่างน้อยเกินไป  ม่านตาเปิดกว้าง เมื่อยล้า ปวดตา มึนศีรษะ ตาไม่สแ ู้ สง (Nystagmus)
แสงสว่างมากเกินไป  เมื่อยล้า ปวดตา มึนศีรษะ กล้ามเนือ ้ หนังตากระตุก นอนไม่หลับ การมองเห็นแย่ลง
ต้ องตั้ งค่าเครื่องวั ดจากศูนย์ก่ อนใช้ เช่ น ส่ องสว่ า ง > 1,000 Lux การตั้ งค่ าที่ X1 ค่ า จะไม่ แสดงตัวเลข
ในกรณีนี้ให้ตั้งค่าที่ชว่ ง X10 เพราะค่าจริงจะต้องคูณด้วย 10 ของตัวเลขที่แสดงขึ้นมา
 มาตรฐานความเข้มข้นแสง **ออกสอบบ่อย ถามห้อง/งาน ดูให้ดี
บริเวณพื้นที่ ลักษณะงานทั่วไป
- ห้องสุขา ความเข้มแสง 100 ลักซ์ -ลานจอดรถ ทางเดินบันได 50 ลักซ์
- ห้องสำนักงาน ฝึกอบรม บรรยาย ห้องคอมฯ ประชุม โรงอาหาร ห้องตรวจฯ ความเข้มแสง 300 ลักซ์
บริเวณพื้นที่ ลักษณะงานเฉพาะจุด
- งานละเอียดเล็กน้อย งานสำนักงาน เขียน พิมพ์ บันทึกข้อมูลความเข้มแสง ➔ 400-500 ลักซ์
ความดันบรรยากาศที่ผิดปกติ (pressure)
ความดันบรรยากาศสูง เช่น โรคน้าหนีบ (decompression sickness) ที่มักพบในนักดำน้า เกิดจากเนื้อเยื่อในร่า งกาย
ได้รับก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในกระแสเลือด เกิดการเป็นตะคริวอย่างรุนแรง บางรายเข้าไปอุดเส้นในสมองทำให้เสียชีวิตได้
ความดันบรรยากาศต่า เช่น ผู้ที่ทำงานบนเครื่องบิน บน ภูเขา เกิดอาการเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เนื่องระดับออกซิเจนที่
ไปเลี้ยงสมองลดลง
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 90
--- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ---

ด้านกายภาพ ความสั่นสะเทือน (Vibration) ยึดหลัก พัก 20 นาที ทุกๆ 2 ชม. ไม่ทำงานเกินกว่า 2-4 ชม./วัน
ความสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย (Whole-Body Vibration) เช่น นั่งในเครื่องจักร
ความสั่นสะเทือนเฉพาะส่วน เช่น ที่มือและแขน (Hand-Arm Vibration) เช่น เจาะผนังถ้า การขุดเจาะถนน
 ทำให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อปลายมือขัดข้อง เนื้อเยื่อขาดเลือดไปเลี้ยง เนื้อเยื่อตาย มีอาการชา ปวด
➔ เกิดโรค White finger syndrome / Raynaud’s syndrome
รังสี (Radiation)  การ x-ray ช่องท้อง 1 ครั้ง ได้รับ รังสีเฉลี่ย ประมาณ 15 มิลลิซีเวิร์ต
การได้รับรังสีอาจมีผลต่อร่างกายได้เป็น 2 แบบ คือ
1.เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีอาการป่วยทางรังสี ( Acute หรือ Deterministic Effect) เมื่อได้รับรังสีเป็นปริมาณมาก
( สูงกว่า 10 แรด ในครั้งเดียว ) อวัยวะสำคัญของร่างกายที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับรังสี คือ • ไขกระดูก
• ทางเดินอาหาร • ผิวหนัง แสบร้อน ผิวดำคล้า เหมือนตากแดด ได้รับปริมาณมาก แดงขึ้น พองออกเป็นถุงน้าใส
เมื่อถุงน้าแตกออกจะเห็นเป็นเนื้อแดงเหมือนถูกไฟไหม้ • อวัยวะสืบพันธ์ • ระบบสมองและประสาทส่วนกลาง • ปอด
2.มีผลระยะยาว ( Delayed หรือ Stochastic Effect)  การเป็นโรคมะเร็งและผลกระทบต่อพันธุกรรม
มาตรฐานการสัมผัสรังสี
ประชาชนทั่วไป ควรได้รับไม่เกิน 1 มิลลิซีเวิร์ต/ปี
ผู้ปฏิบัติงาน ควรได้รับไม่เกิน 50 มิลลิซีเวิร์ต/ปี

ด้านเคมี สารเคมี ในสภาวะต่างๆ นั้น สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ


(CHEMICAL ▪ ทางเดินหายใจ ▪ การดูดซึมทางผิวหนัง ▪ ทางบริโภคทางปาก
HAZARDS)

 หลักการป้องกันและควบคุม
**ออกสอบบ่อย อันตรายจากเบนซีน

แหล่งกำเนิด ทางผ่านของสารเคมี ผู้ปฏิบัติงาน


1.ใช้สารที่มีพิษน้อยกว่าแทน 1.การบำรุ ง รั ก ษาสถานที่ ท ำงานให้ 1.ฝึ ก อบรมให้ ท ราบถึ ง อั น ตรายและ
2.เปลี่ยนกระบวนการผลิตใหม่ เช่น ใช้ สะอาดเรียบร้อย การป้องกัน
ระบบเปียกแทนระบบแห้ง เพื่อมิให้เกิด 2.การติดตั้งระบบระบายอากาศทั่วไป 2.การลดชั่ ว โมงการทำงานที่ เกี่ ย วกั บ
ฝุ่นฟุ้งกระจาย 3.เพิ่ ม ระยะทางให้ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ห ่ า งจาก สารเคมีที่เป็นอันตรายให้น้อยลง
3.แยกกระบวนการผลิตที่มีอน
ั ตราย แหล่งสารเคมี 3.การหมุ น เวี ย นหรื อ การสั บ เปลี่ ย น
ออกต่างหาก 4.การตรวจหาปริมาณสารเคมีเทียบกับ หน้าที่การปฏิบัติงาน
4.สร้างทีป
่ กปิดกระบวนการผลิตให้ ค่ า มาตรฐานความปลอดภั ย จะต้ อ ง 4.การให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ในห้องที่
มิดชิด มิให้สารเคมีฟุ้งกระจายออกไป ป รั บ ป รุ ง แก ้ ไ ข ห ากสู ง เกิ นกว ่ า ค่ า ควบคุมเป็นพิเศษ
5.ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่ มาตรฐานความปลอดภัย 5.การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
6.การบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องจักร 6.การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย PPE

ด้านชีวภาพ  เกิดจากการทำงานที่ต้องเสี่ยงต่อการสัมผัสสารทางด้านชีวภาพ ได้แก่


(Biological จุลินทรีย์ ต่างๆ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เป็นต้น
health การถูกทำร้ายจากสัตว์/แมลงมีพิษชนิดต่างๆ
hazard) ฝุ่นจากส่วนของพืชหรือสัตว์  โรคติดเชื้อ หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ
การติดเชื้อจากสัตว์/แมลงทีเ่ ป็นพาหะนำโรค
เช่น โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสบี • วัณโรค • โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส •โควิด19
• โรคแอนแทรกซ์ • ไข้หวัดนก • โรคปอดอักเสบ โรคลีเจียนแนร์ • โรคเลปโตรสไปโรสิส • โรคบรูเซลโลสิส
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 91
--- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ---

ด้านจิตวิทยา  สภาพแวดล้อมในการทำงาน ตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลาในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บทบาท


สังคม ความรับผิดชอบ ความก้าวหน้าในการทำงาน ทีส ่ ามารถก่อให้เกิดสภาวะเครียด เนื่องมาจากจิตใจหรืออารมณ์
(Psychosocial ทีไ่ ด้รับความบีบคั้น ยังมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
health hazard)
ด้าน  เป็นคำที่มาจากภาษากรีก คือ "ergon" ที่หมายถึง งาน(work) และอีกคำหนึ่ง "nomos" ที่แปลว่า กฎตาม
การยศาสตร์ ธรรมชาติ (Natural Laws) เมื่อนำมารวมกันจำกลายเป็นคำว่า "ergonomics" หรือ "laws of work" ทีอ ่ าจแปล
(Ergonomics) ได้ว่ากฎของงาน ซึ่งเป็นศาสตร์ หรือวิชาการที่เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัตงิ าน หรือ
เป็นการปรับปรุงสภาพการทำงานอย่างเป็นระบบ
 เป็นอันตรายที่เกิดจากการใช้ท่าทางทำงานที่ไม่เหมาะสม วิธีการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง การปฏิบัติงานที่
ซ้าซาก และความไม่สัมพันธ์กันระหว่างคนกับงานที่ทำ **ออกสอบปี 64
อันตรายจากลักษณะงาน
งานทีต ่ ้องตรวจสอบรายละเอียดของชิ้นงาน  ควรให้เก้าอี้นั่งอยู่ในระดับต่ากว่างาน
กระบวนกรผลิตทั่วไป
 ควรวางชิ้นงานให้อยู่ในตำแหน่งและระดับทีส ่ ามารถ
ใช้กล้ามเนื้อส่วนทีแข็งแรงทำงานได้
เครื่องมือ/อุปกรณ์ทก ี่ ่อให้เกิดความไม่สะดวก
 ปรับปรุงเครื่องมือให้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
อันตรายจากผู้ปฏิบัติงาน
ไม่ควรปฏิบัติงานด้วยอิริยาบถท่าทางที่ไม่เหมาะสม การบิดตัว เอี้ยวตัว การก้ม
การยกเคลื่อนย้าย ควรเป็นงานทีม ่ ีระยะทางสั้นที่สุด ความถี่ในการยกน้อยที่สุด
ควรให้มีงานที่ต้องยืนทำงานน้อยที่สุด
งานทีต่ ้องซ้าซากจำเจมาก ควรจัดให้มีการหมุนเวียน สับเปลี่ยนการทำงาน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ➔ กฎหมายแรงงานคุ้มครองและควบคุมขนาดนา้ หนักในงานที่ลูกจ้างต้อง ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก


**ออกสอบทุกปี หรือเข็น วัตถุนั้นตามเพศ อายุ ของลูกจ้าง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
 มาตรา 37 ได้วางหลักกฎหมายเอาไว้ว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือ เข็นของหนักเกิน
อัตราน้าหนักตามทีก่ ำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งได้กำหนดให้นายจ้างใช้ลูกจ้างทำงานเหล่านี้ได้ ไม่เกินอัตราน้าหนักโดยเฉลี่ยดังนี้
ลูกจ้างเด็กหญิง อายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ยังไม่ถงึ 18 ปี ➔ ยกของหนักได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม
ลูกจ้างเด็กชาย อายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ยังไม่ถงึ 18 ปี ➔ ยกของหนักได้ไม่เกิน 25 กิโลกรัม
ลูกจ้างเพศหญิง ที่อายุเกิน 18 ปี ➔ ยกของหนักได้ไม่เกิน 25 กิโลกรัม **ออกสอบปี 64
ลูกจ้างชาย อายุเกิน 18 ปีขึ้นไป ➔ สามารถยกของหนักได้ไม่เกิน 55 กิโลกรัม
**ในกรณีของหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
และความปลอดภัยของลูกจ้าง

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)


◆ ความเสี่ยง ➔ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ซึ่งไม่พึงประสงค์ที่ทำ
ให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
◆ การประเมินความเสีย่ ง ➔ เป็นการจัดระดับของความเสี่ยงว่าเป็นการเสี่ยงเล็กน้อย หรือ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ความเสี่ยงสูง
หรือ ความเสี่ยงทีย่ อมรับไม่ได้ เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานควบคุมความเสี่ยง
นิยมใช้ ➔ วิธีระเบียบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ วิธี OHSAS/TIS.18001

◆ องค์ประกอบความเสี่ยง
โอกาสของการเกิด Probability / ความไม่แน่นอน Uncertainly
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ Consequence

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 92


--- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ---

◆ ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง มีดังนี้
1.การระบุสิ่งคุกคาม แหล่งกำเนิดของอันตรายมีหรือไม่ ใครที่ได้รับอันตราย อันตรายจะเกิดขึ้นอย่างไร
(Hazard Identification)
2. การประเมินขนาด การเกิดพิษเฉียบพลัน (acute) เกิดอาการหลังได้รับสารเพียงครั้งเดียว /หลายครั้งภายใน 24 ชม.
สัมผัสกับการ  ก่อให้เกิดอาการ เช่น ตาย อาเจียน มึนงง ชัก มักเกิดจากการได้รับสารในปริมาณมาก
ตอบสนอง (Dose การเกิดพิษเรื้อรัง (chronic) เกิดอาการหลังได้รับสารปริมาณน้อยๆติดต่อกันมากว่า 3 เดือน
response assessment  การเกิดมะเร็ง  การกลายพันธุ์หรือการผ่าเหล่า
Toxicity assessment)  การเกิดลูกวิรป ู  การผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

3.การประเมินการ เป็นการประมาณหรือวัดขนาดของสิ่งคุกคามที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อม
สัมผัส (Exposure) 1. ปริมาณขนาดการสัมผัส 2. ระยะเวลาการสัมผัส 3. ช่องทางการสัมผัส
การกิน (Ingestion) การหายใจ (Inhalation) การดูดซึม (Absorption) การฉีด (Injection)
4. การอธิบายลักษณะ โดยบอกขนาด ปริมาณ หรือลักษณะของสิ่งคุกคามนั้น ว่ามีโอกาสก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ
ของความเสีย่ ง (Risk มากหรือน้อย
Characterization) ใครเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุด ระดับความเสี่ยงอยู่ที่ระดับใด
กิจกรรม/พฤติกรรมทีก ่ ่อให้เกิดความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงเฉลี่ยของทั้งกลุ่มประชากรเป็นอย่างไร
เทคนิค 1. รู้จักความเสี่ยงของตัวเอง 2. เข้าใจผลกระทบของความเสี่ยงนั้น
3. วางแผนในการลดผลกระทบ 4. ตรวจวัด ติดตาม Monitor
5. ดำเนินการตามแผน 6. ดึงผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วม

โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ให้นิยามไว้ดังนี้


โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Diseases) ➔ โรคหรื อการเจ็ บ ป่ วยที่เกิด ขึ้ นกั บคนทำงาน จากการสั มผัส
สิ่ ง คุ ก คามสุ ข ภาพในที่ท ำงาน ซึ่ ง อาการเจ็ บ ป่ วยเกิ ด ขึ้ นกั บ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านในขณะทำงานหรื อหลั ง จากการทำงานเป็ นเวลานาน
บางโรคอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงาน ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกตามสุขภาพ รวมทั้งโอกาสหรือวิธีการ
ทีไ่ ด้รับ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส (โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารตัวทำละลายต่างๆ (Organic solvent toxicity)
โรคเนื่องจากงาน (Work-related Diseases) ➔ โรคหรือความเจ็บป่วยทีเ่ กิดขึ้นกับคนทำงานจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน
และการทำงานในอาชีพเป็นปัจจัยหนึ่ง ของการเกิดโรค เช่น โรคเบาหวานจะมีอาการโรคเส้นเอ็น อักเสบได้ง ่าย ดังนั้นลักษณะ
การทำงานในอาชีพ หากมีการออกแรงช้าๆ หรือมีทา่ ทางการทำงานทีไ่ ม่ถูกต้อง ก็จะแสดงอาการขึ้น เป็นต้น
โรคจากมลพิ ษ สิ่ ง แวดล้ อ ม (Environmental Diseases) ➔ ผลกระทบที่ เกิ ด จากมลพิ ษ ปนเปื ้ อ น ในดิ น น้ า อากาศ
ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้เกิดโรคหรือผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
 ข้อมูลการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ และการตาย แหล่งข้อมูลที่สามารถรวบรวมและจัดเก็บได้ในปัจจุบันมาจาก
1) เวชระเบียนผู้ป่วยของหน่วยบริการสาธารณสุข 43 แฟ้ม เป็นข้อมูลการเจ็บป่วยตามรหัส ICD-10 ตามเงื่อนไขทีก
่ ำหนด
2) รายงานการเฝ้าระวังโรค 506/2 ของสำนักระบาดวิทยา
3) รายงานระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ(Injury Surveillance: IS ) ของสำนักระบาดวิทยา
4) รายงานเหตุการณ์ Event-based surveillance โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 93


--- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ---
โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
◆ ตามประกาศกระทรวงสธ. เรือ
่ ง ชื่อหรืออาการสำคัญของโรคจากการประกอบอาชีพ พ.ศ. 2563 ได้กำหนดไว้ 5 โรค
1. โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว 2. โรคจากฝุ่นซิลิกา
3. โรคจากภาวะอับอากาศ 4. โรคจากแอสเบสตอส (ใยหิน)
5. โรคหรืออาการสำคัญของพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช
◆ ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน พ.ศ. 2566
กำหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือเนื่องจากการทำงาน เป็น 4 กลุ่ม 106 โรคจากการทำงาน
1. โรคจากการสัมผัสสารก่อโรค หรือสภาพแวดล้อมจากการทำงาน
1.1 โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี 41 กลุ่ม ➔ แคดเมียม แมงกานีส สารหนู ปรอท ตะกั่ว เบนซีนหรือสารอนุพันธ์ของเบนซีน และฟอสจีน
1.2 โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพ 7 กลุ่ม ➔โรคหูตึงจากเสียง โรคจากความสั่นสะเทือน โรคจากอุณหภูมิต่าหรือสูงผิดปกติมาก
1.3 โรคจากสารชีวภาพและโรคติดเชื้อ 9 กลุ่ม ➔ โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โรคบาดทะยัก วัณโรค โรคแอนแทรกซ์
2. โรคจากการทำงานที่มีผลต่ออวัยวะ หรือระบบการทำงานของร่างกาย หรือจิตใจ
2.1 โรคระบบหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน 13 กลุ่ม ➔โรคกลุ่มนิวโมโคนิโอลิสที่เกิดพพังผืดในเนื้อปอด (ซิลิโคสิส แอสเบสโทสิส) โรคบิสสิโนสิส
2.2 โรคผิวหนัง 4 กลุ่ม ➔ โรคผิวหนังอักเสบและลมพิษจากสารก่อภูมิแพ้ โรคด่างขาว
2.3 โรคและความผิดปกติในระบบกระดูก กล้ามเนื้อ เอ็นและข้อ 8 กลุ่ม ➔ กลุ่มอาการแผ่นกระดูกอ่อนรองข้อเข่าบาดเจ็บจากการคุกเข่า
และนั่งยองทำงานเป็นเวลานาน
2.4 ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม 2 กลุ่ม
3. โรคมะเร็งจากการทำงาน โดยมีสาเหตุจาก 21 กลุ่ม ➔ แอสเบสตอส ไวนิลคลอไรด์ เบนซีน รังสีแตกตัว ฝุ่นไม้
4. โรคอื่น ๆ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเกิดขึ้นตามลักษณะของงาน หรือ เนื่องจากการทำงาน ให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์
กองทุนเงินทดแทน ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการทำงาน

◆ โรคจากฝุ่นซิลิกาหรือซิลิโคสิส (Silicosis)

สาเหตุ กลุ่มเสี่ยง อันตราย


เป็นโรคปอดจากการทำงานที่มีสาเหตุจาก ผู้ทำงานในอุตสาหกรรมเหมือง ฝุ ่ น ทรายขนาดเล็ ก เข้ า ไปอยู ่ ในถุ ง ลมปอด
การสู ด หายใจเอาฝุ ่ น ซิ ลิ ก อนไดออกไซด์ แร่ งานที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การตัดหิน เกิ ด ปฏิ กิ ริ ย าต่ อ เนื้ อ ปอด เกิ ด พั ง ผื ด ที่ เนื้ อ ปอด
หรื อเรี ยกว่ า ผลึ ก ซิ ลิ ก ้ า ส่ วนมากพบในหิ น สกั ด หิ น โรงงานโม่ บ ดย่ อ ยหิ น ทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
อุตสาหกรรมทำแก้ว เซรามิก ครก • อาการเรื้อรัง อาจมากกว่า 15 ปีขึ้นไป บางราย
ทรายเข้าไป
อุ ต สาหกรรม ทำอิ ฐ กร ะเบื้ อ ง พบอาการไม่ ชั ด เจนหรื อ พบอาการเหนื่ อ ยง่ า ย
ความเข้ ม ข้ น เฉลี่ ย ตลอดระยะเวลาการ
ทนไฟ วั ต ถุ ท นความร้ อ น เครื่ อ ง เวลาออกแรง ไอแห้งๆ แบบเรื้อรัง บางครั้งมีไอ
ทำงานปกติ ไม่เกิน 0.025 มก./ลบ.ม.
สุขภัณฑ์ เป็นเลือด
• อาการเฉี ย บพลั น ซึ่ ง อาจจะเกิ ด ขึ้ น ภายใน
ระยะเวลา 2-3 เดื อ น โดยมี อ าการหอบเหนื่ อ ย
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไข้อ่อนเพลีย น้าหนักลด ภายหลัง
สัมผัสฝุน ่ ที่มีซิลิกอนไดออกไซด์ปริมาณสูง
◆ โรคจากแอสเบสตอส (ใยหิน) (Asbestosis)

สาเหตุ กลุ่มเสี่ยง อันตราย


โรคปอดอักเสบเรื้อรังและเป็นพังผืดที่เนื้อปอด ผู ้ ที่ ท ำงานสั ม ผั ส กั บ ฝุ ่ น ใน สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ หายใจ กิน
จากการรั บ สั ม ผั ส เอาฝุ ่ น แร่ ใยหิ น ไปสะสมอยู ่ ใน งานต่อไปนี้ และทางผิวหนัง
ปอดเป็นระยะเวลานานจนเกิ ดพยาธิสภาพที่ เยื่ อ อุตสาหกรรมผ้าเบรกรถยนต์ เส้นใยแร่ใยหินมีความแหลมคม ทำให้แทงไช
หุ้มปอด โดยมักจะเกิดขึ้นกับ ผู้ ที่ได้รับฝุ ่นแร่ ใย ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง เมื่อสูดหายใจเอา
อุตสาหกรรมผ้าคลัทช์รถยนต์
หินในระยะเวลา ≥ 7- 10 ปี ขึ้นไป ฝุ ่ น แร่ ใยหิ น จะเกิ ด การอั ก เสบ และเกิ ด พั ง ผื ด
อุ ต ส า ห ก ร ร ม ก ร ะ เบื้ อ ง มุ ง
มาตรฐานสากล (AcGiH-TLV) ปีค.ศ.2006 อย่างมากในปอดเกิดเป็นโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
หลั ง คา ท่ อ ซี เ มนต์ การรื้ อ
ตลอดระยะการทำงานปกติ ห้ า มมี ฝุ ่ น แร่ ใยหิ น มี อ าการไอ หายใจหอบเหนื่ อ ย อ่ อ นเพลี ย
(คริสโซไทล์)ในบรรยากาศ > 0.1 เส้นใย/ปริมาตร ถอนอาคาร สิ่งก่อสร้าง เจ็ บ หน้ าอก ช่ ว งการหายใจออกสั้น สั ง เกตเห็น
อากาศ 1 ลบ.ซม. ริมฝีปาก ลิ้น หรือเล็บเป็นสีน้าเงินคล้า เนื่องจาก
ร่างกายขาดออกซิเจน

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 94


--- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ---
◆ โรคบิสสิโนสิส (ฝุ่นฝ้าย) (Byssinosis)

สาเหตุ กลุ่มเสี่ยง อันตราย


เป็ นโรคที่เกิ ดการรั บ สั มผัสฝุ ่ นฝ้ าย ป่ าน  อุตสาหกรรมทอผ้า ปั่นด้าย • อาการแบบเฉียบพลัน ภาวะที่ทางเดินหายใจ
ปอ ลินินเข้าไปในปอดแล้วเกิดปฏิกิริยาทำให้ อุตสาหกรรมทอกระสอบ มีการตอบสนองต่อการได้รับสัมผัสฝุ่นฝ้า ยเป็ น
เกิดอาการอักเสบของปอด การหดเกร็งของ ครั้งแรก โดยพบว่าอาจมี การลดลงของค่า FEV1
หลอดลม และเกิดเป็นหอบหืดในที่สุด ก่อนและหลังการทำงาน
• อาการแบบเรื้ อ รั ง ระยะเวลาของการก่ อ ตั ว
ของโรคอาจใช้เวลา20-25ปีของระยะเวลาการรับ
สัมผัสฝุ่น ลักษณะอาการของโรคในระยะเริ่มแรก
มี อ าการแน่ น หน้ า อก และหายใจลำบากโดย
ผู ้ ป ่ ว ยจะมี อ าการในขณะทำงานตลอดทั้ ง วั น
จนกระทั่ ง เลิ ก งาน ตรวจได้ โ ดยการทดสอบ
สมรรถภาพปอด

◆ โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี (โรคและการป้องกันมลพิษภายใต้พันธะและอนุสัญญาระหว่างประเทศ)

สาเหตุ กลุ่มเสี่ยง อันตราย


แคดเมียม การผลิตเหล็กกล้า ยานยนตร์ อาการไอ แน่ น หน้ า อก หายใจไม่ ส ะดวก ไข้ หนาวสั่ น ปวดเมื่ อ ยตามร่ า งกาย
(Cd) อุ ป กรณ์ ก ารเดิ น เรื อ ชิ้ น ส่ วน หากอาการรุนแรงมากขึ้นอาจพบภาวะปอดอักเสบและปอดบวม เป็นอันตรายต่อไต
เครื่องบินหมึกพิมพ์ สี สิ่งทอ ➔ โรคอิไตอิไต (Itai Itai disease)
สารปรอท การทำเหมืองแร่ การเผาถ่ า น การซึมผ่านทางผิวหนัง ระคายเคืองต่อผิวหนัง
(Hg) หิ น การถลุ ง เหล็ ก การทำ พิ ษ เฉี ย บพลั น ของไอปรอทมี ผ ลต่ อ ปอด ทำให้ ป อดอั ก เสบ หลอดลมอั ก เสบ ไอ
โรคมินามาตะ ปู น ซี เ ม น ต ์ แ ล ะ ก า ร ผ ลิ ต หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก
ออกสอบบ่อย ฟอสเฟต อุ ต สาหกรรมผลิ ต การสัมผัสที่ความเข้มข้น เป็นเวลานานเริ่มด้วยอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้าหนัก
คลอรี น และด่ า ง การทำเยื่ อ ลด ง่วงนอน อาหารไม่ย่อย ท้องเดิน
กระดาษ และอุ ต สาหกรรม อาการแบบเรื้ อ รั ง มั ก พบอาการ สั่ น หลงลื ม อารมณ์ เปลี่ ย นแปลง และระบบ
เครื่องไฟฟ้า การทำงานของไตผิดปกติมีภาวะไตวายเรื้อรัง
โรคจากตะกั่ว อุ ต สาหกรรมผลิ ต แบตเตอรี่ อาการแบบเฉี ย บพลั น ได้ แก่ ค ลื่ น ไส้ อาเจี ย น ปวดท้ อ งอย่ า งรุ น แรงเป็ น พั ก ๆ
หรือ อุ ต ส า ห ก ร ร ม ผ ลิ ต แ ก้ ว ความคิดสับสน ชัก หรือหมดสติ ระดับ 35 ไมโครกรัม/ดล. มีอาการทางจิตประสาท
สารประกอบ อุ ต สาหกรรมอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ อาการแบบเรื้ อ รั ง เบื่ อ อาหาร คลื่ น ไส้ อ าเจี ย น ปวดท้ อ งอย่ า งรุ น แรง น้ า หนั ก ลด
และคอมพิ ว เตอร์ กระเบื้ อ ง ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ อาการชาตามปลายมือปลายเท้า พบภาวะเลือดจาง
ของตะกั่ว
และการทำเซรามิก ภาวะไตวายเรื้อรัง
แมงกานีส ก า ร ผ ลิ ต แ บ ต เ ต อ รี่ แ ห้ ง อาการแบบเฉียบพลัน การสูดหายใจเอาไอแมงกานีส สามารถก่อให้เกิดไข้ ไอโลหะ
(Mn) อัลลอยด์ เหล็กกล้า การกลึ ง ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ การสัมผัสกับแมงกานีส ทำให้เกิดอาการไหม้ ของ
โลหะ การผลิ ต สี ไม้ ขี ด ไฟ ผิวหนัง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเสีย หายใจเหนื่อย เจ็บหน้าอก และปอดอักเสบ
ส า ร เ ค มี ก ำ จั ด ศั ต รู พื ช อาการแบบเรื้ อ รั ง มี อ าการเซื่ อ งซึ ม ง่ ว งนอน ขาอ่ อ นแรง ปวดศี ร ษะเคลื่ อ นไหว
การผลิตหรือการเผาไหม้ ลำบากคล้ายโรคพาร์กินสัน
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อหรืออาการสำคัญของโรคจากสิง่ แวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565
◆ โรคหรืออาการที่เกิดจากการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ➔ โรคหรืออาการผิดปกติทเี่ กิดขึ้นจากหรือเป็นผล
เนื่องมาจากมลพิษทีม ่ ีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกินกว่ามาตรฐานตามที่กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนด ต้องไม่เกิดจากโรคหรือภาวะอื่น ๆ ที่มีลักษณะอาการคล้ายคลึงกัน โดยมีอาการสำคัญ ดังต่อไปนี้
หอบเหนื่อยมากขึ้นกว่าปกติ ไอมากขึ้นกว่าปกติ มีปริมาณเสมหะมากขึ้นกว่าปกติ เสมหะเปลี่ยนสี อันอาจเป็นอาการของโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีการกำเริบ (เฉียบพลัน)
ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด หอบเหนื่อย อันอาจเป็นอาการของโรคหืดเฉียบพลัน (Acute asthma) อาการดังกล่าว
อาจหายได้เองหรืออาจหายได้เมื่อได้รับยาขยายหลอดลม
เจ็บเค้นที่อกอย่างรุนแรงเฉียบพลันหรือขณะพักเป็นระยะเวลานานกว่า 20 นาที อาจเพิ่งมีอาการหรือมีอาการรุนแรงขึ้ น
ใจสั่น เหงื่อออก เหนื่อยมากขึ้นกว่าปกติ ขณะออกแรง วิงเวียนหน้ามืดหรืออาจถึงขั้นหมดสติ หรือเสียชีวิต อันอาจเป็นอาการของ
โรคหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน (Acute ischemic heart diseases) หรือ โรคภาวะหัวใจขาดเลื อดแบบเฉียบพลัน ที่เกิดขึ้น
หลังจากพบภาวะหัวใจขาดเลือด
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 95
--- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ---
ตาแดง แสบตา เคืองตา น้าตาไหลมาก คันตา มีสารคัดหลั่งออกจากตา หรือ มีขี้ตา (Ocular discharge) อาจเป็นอาการของ
โรคเยื่อบุตาขาวอักเสบ (Conjunctivitis)
ผิวหนังมีผื่นแดง คัน ตุ่มแดง ตุ่มน้า หรือมีขุยร่วมด้วย อาจเป็นอาการของโรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) หรือผิวหนังมีผื่น
บวมนูนแดง (Wheal and flare) อันอาจเป็น อาการของโรคผื่นลมพิษ (Urticaria)”

 หากสงสัยว่าลูกจ้างหรือประชาชนเป็น โรคจาการประกอบอาชีพหรือ สิง่ แวดล้อมตาม พรบ. จะต้องแจ้งใคร…?

ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรือ ่ ง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)


ในบรรยากาศทัว่ ไป ทีม
่ ีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป
กำหนดให้ PM 2.5 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.
เกณฑ์ค่าดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย (Air Quality Index : AQI) จะแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้ **ออกสอบปี 65

 ดัชนีคุณภาพอากาศ 100 มีค่าเทียบเท่าค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทัว่ ไป


 หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐาน โดยมีระดับการแจ้ง
เตือนพร้อมข้อควรปฏิบัติของประชาชน
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การสอบสวนโรคและการรายงานการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ
และโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565
ข้อ 3 กรณีที่พบลูกจ้างซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากการประกอบอาชีพ หรือพบประชาชนที่ได้รบ ั หรืออาจได้รบ ั
มลพิษตามมาตรา 28 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัตค ิ วบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็น
หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ใด
 ให้พนักงานเจ้าหน้าทีห ่ รือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นทีน ่ ั้นดำเนินการ
สอบสวนโรค ภายใน 3 นับแต่พบผู้ซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากการประกอบอาชีพหรือโรคจากสิ่งแวดล้อม
 เว้นแต่กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนซึ่งหากปล่อยไว้อาจเกิดหรือก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย
หรือ สุขภาพอนามัยของประชาชน
 ให้ดำเนินการสอบสวนโรคโดยเร็วทีส ่ ุดเท่าที่จะทำได้ ภายใน 1 วัน นับแต่พบผู้ซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากการ
ประกอบอาชีพหรือโรคจากสิ่งแวดล้อม
ข้อ 4 อธิบดีกรมควบคุมโรคหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมควบคุมโรคมอบหมายโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบ
อาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ได้ใช้อำนาจ ตามความในมาตรา 35 แห่ง ประกาศให้เขต
พื้นที่ใดเป็นเขตพื้นที่ที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพหรือโรคจากสิ่งแวดล้อม

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 96


--- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ---

อุบัติเหตุในการประกอบอาชีพ
◆ อุ บั ติ เหตุ (Accident) ➔ เหตุ ก ารณ์ ที่ เกิ ด ขึ้ น โดยมิ ไ ด้ ค าดการณ์ ไว้ ล ่ ว งหน้ า

ซึ่งก่อให้เกิดความบาดเจ็บ พิการ หรือตาย และทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย


◆ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near Miss) ➔ เหตุการณ์ทเี่ กิดขึ้นแล้วโดยลำพังยังไม่

ทำให้เกิดความเสียหายต่อ ชีวิต และ/หรือทรัพย์สิน แต่ถ้าละเลยปล่อยให้สาเหตุดังกล่าว


เกิดขึ้น บ่อยๆ หรือยังมีอยู่อย่างนั้น อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุในที่สุด

◆ สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ **ออกสอบทุกปี จำลักษณะแต่ละประเภทให้ดี อย่าจำสับสน


การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) สภาพงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition)
การกระทำหรือการปฏิบัติงานของคนที่มีผลทำให้เกิดความไม่ สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้ปฏิบัติงาน เป็น
ปลอดภัยกับตนเองและผู้อื่น เช่น ผลทำให้เกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 15 ของอุบัติเหตุ เช่น
• การทำงานไม่ถูกวิธี/ขั้นตอน เช่น ยกของด้วยท่าทางที่ผิด • การออกแบบโรงงาน วางผังโรงงานทีไ่ ม่ถูกต้อง
การมีทัศนคติทไี่ ม่ถูกต้อง เช่น อุบัติภัยเป็นเรื่องของเคราะห์ ส่ ว นที่ เป็ น อั น ตรายของเครื่ อ งจั ก รไม่ มี เ ครื่ อ งกำบั ง หรื อ
กรรมแก้ไขป้องกันไม่ได้ อุปกรณ์ป้องกันอันตราย
• ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย พื้นโรงงานขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ
การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ • เครื่ อ งจั ก รกล เครื่ อ งมื อ หรื อ อุ ป กรณ์ ช ำรุ ด บกพร่ อ ง
การทำงานโดยไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ขาดการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
ถอดเครื่องกำบังส่วนอันตรายของเครื่องจักรออก สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น
• การทำงานโดยทีร่ ่างกายและจิตใจไม่พร้อมหรือผิดปกติเช่น - แสงสว่างไม่เพียงพอ
ไม่สบาย เมาค้าง มีปัญหาครอบครัว - เสียงดังเกินควร
• การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆไม่เหมาะสมกับงาน เช่น - ความร้อนสูง
การใช้ขวดแก้วตอกตะปูแทนการใช้ค้อน ฯลฯ - ฝุ่นละออง ไอระเหยของสารเคมีทเี่ ป็นพิษ.
การหยอกล้กันระหว่างทำงาน ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า ชำรุด/ขัดข้อง
การป้องกันอัคคีภัย **ออกสอบบ่อย
องค์ประกอบของไฟ หลักการดับไฟ 3 วิธี
1. ทำให้อับอากาศ ขาดออกซิเจน
2. ตัดเชื้อเพลิง กำจัดเชื้อเพลิงให้หมดไป
3. ลดความร้อน ทำให้เย็นตัวลง

การใช้ถังดับเพลิง **ออกสอบบ่อย

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 97


--- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ---
มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา
(Occupational Safety and Health Administration : OSHA)

7 เทคนิควิธี การชี้บ่งอันตรายใช้สำหรับการประเมินความเสี่ยง
วิธีการ สภาพการณ์
แบบตรวจสอบ Checklist ตรวจสอบว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎหมายหรือไม่
JSA “Job Safety Analysis” วิ เ คราะห์ อั น ตรายที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ในแต่ ล ะขั้ น ตอนของการทำงาน คนจะสั ม ผั ส กั บ อะไร
จนทำให้บาดเจ็บ/เจ็ปป่วย
FTA “Fault Tree Analysis” วิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรง โดยเริ่มวิเคราะห์จากอุบัติเหตุ
หรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นแล้ว หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อพิจารณาหาสาเหตุ
ETA “Event Tree Analysis” วิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์หรือผลกระทบทีเ่ กิดขึ้นต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบว่าจะมีเหตุการณ์
อะไรเกิดขึ้นต่อเนื่องจากเหตุการณ์แรกบ้าง และจะเกิดได้อย่างไร มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมาก
น้อยเพียงใด รวมทั้งเป็นการตรวจสอบระบบความปลอดภัยทีม ่ ีอยู่ว่ามีปัญหาหรือไม่อย่างไร
FMEA “Failure Mode And Effect วิเคราะห์ในรูปแบบความล้มเหลวและผลที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นการตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องจักร
Analysis” อุปกรณ์ในแต่ละส่วนของระบบ แล้วนำมาวิเคราะห์หาผลที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดความล้มเหลว
ของเครื่องจักรอุปกรณ์
HAZOP “Hazard And วิเคราะห์หาอันตรายและปัญหาของระบบต่างๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการ
Operability Studies” ออกแบบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ด้วยการตั้งคำถามที่สมมติสถานการณ์ของการผลิตใน
ภาวะต่างๆ ความบกพร่องและความผิดปกติในการทำงาน
What If วิเคราะห์ และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายโดยการใช้คำถาม “จะเกิดอะไรขึ้น ....... ถ้า .........”

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 98


--- กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ ---

ชุดวิชาที่ 13 กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพการสาธารณสุข

พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 สภานายกพิเศษ

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันบังคับใช้ ผู้รักษาการ


16 ธันวาคม 2556 17 ธันวาคม 2556 รมต.กระทรวงสาธารณสุข
 นิยามที่สำคัญ

นิยาม ความหมาย
วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน  วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ในชุมชนเกี่ยวกับ (6 เรื่อง)
การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรค
การตรวจประเมินและการบำบัด โรคเบื้องต้น
การดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพ
การอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม
แต่!! ไม่รวมการประกอบโรคศิลปะ หรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ และการสาธารณสุขอื่น
การประกอบวิชาชีพการ การกระทำการสาธารณสุขต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม (4 ด้าน)
สาธารณสุขชุมชน 1) การส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู ้ การแนะนำและให้ ค ำปรึ ก ษาเกี่ ย วกั บ การส่ ง เสริ มสุ ข ภาพ
การป้ อ งกั น โรค การควบคุ ม โรค การบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น และการฟื ้ น ฟู ส ภาพ ต่ อบุ คคล
ครอบครัว และชุมชน โดยการผสมผสานต่อเนื่อง และเชื่อมโยงเป็นองค์รวม
2) การประยุ ก ต์ ห ลั ก วิ ท ยาศาสตร์ โดยการกระทำด้ า นการอาชี ว อนามั ย และอนามั ย
สิ่งแวดล้อม เพื่อการควบคุมป้องกันปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค และลดความเสี่ยง การเจ็บป่วยต่อ
บุคคล ครอบครัว และชุมชน
**3) การตรวจประเมินและการบำบัดโรคเบื้องต้ น การดู แลให้ค วามช่ว ยเหลือผู้ป่วย
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการวางแผนครอบครัว
**4) การตรวจประเมินอาการเจ็บป่วย และการช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อการส่ง
ผู้ประกอบวิชาชีพการ บุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียน + รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
สาธารณสุขชุมชน ➔ จากสภาการสาธารณสุขชุมชน

 อำนาจหน้าทีข
่ องสภาการสาธารณสุขชุมชน
รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
ให้ความเห็นชอบหลักสูตรในระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาที่จะทำการสอน
รับรองวุฒใิ นวิชาชีพฯของสถาบันต่าง ๆ
รับรองหลักสูตรต่างๆ ที่จะทำการสอน และฝึกอบรมวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการสอนและฝึกอบรม
จัดทำแผนการดำเนินงานและรายงานผลเสนอต่อสภานายกพิเศษอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาการสาธารณสุขชุมชน !!!
 รายได้ของสภาการสาธารณสุขชุมชน
(1) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(2) ค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
(3) ผลประโยชน์จากการจัดการเงินและทรัพย์สิน และการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ในมาตรา 6
(4) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้ให้แก่สภาการสาธารณสุขชุมชน
(5) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) และ (4)
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 99
--- กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ ---

มาตรา 10  คุณสมบัติ  ลักษณะต้องห้าม


(ก) มีอายุ ≥ 20 ปีบริบูรณ์ (ก) มีความประพฤติเสียหาย อาจทำให้ความเสื่อมวิชาชีพ

(ข) มีความรู้ในวิชาชีพ มีวุฒิการศึกษาที่สภา (ข) เคยต้องโทษจำคุกในคำพิพากษาถึงที่สุด


(ค) ผู้วิกลจริต จิตฟัน
่ เฟือน หรือเป็นโรคที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
การสาธารณสุขชุมชนรับรอง

มาตรา 12 สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 10

ห้าม !! มิให้ประกอบวิชาชีพ/กระทำการใด ๆ ให้ผอ ู้ ื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มส


ี ิทธิทจี่ ะประกอบวิชาชีพโดยมิได้รับใบอนุญาต เว้นแต่
 การช่วยเหลือประชาชนตามหน้าที่ ตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยาโดยไม่มีผลตอบแทน
 นักเรียน นักศึกษา ทีท ่ ำการฝึกหัดหรือฝึกอบรมในความควบคุมของสถาบันทีไ่ ด้รบ ั อนุญาต
 บุคคลปฏิบัติงานในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ
 บุคคลที่หน่วยงานราชการหรือตามทีม ่ ีกฎหมายกำหนด หรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพ ในความ
ควบคุมของเจ้าหน้าทีซ
่ ึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
 การปฏิบัตงิ านของ อสม.ที่ได้ผา่ นการอบรมและได้รบ ั หนังสือรับรองความรู้ความสามารถจากกระทรวงสาธารณสุข

ใบอนุญาตมีอายุ ≤ 5 ปีนับแต่วน
ั ที่ออกใบอนุญาต ต่ออายุได้เท่ากับอายุใบอนุญาต ไม่เกินครั้งละห้าปี

คณะกรรมการสภาการสาธารณสุขชุมชน

 กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่  กรรมการผู้แทนจากสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข 1 คน


 กรรมการผู้แทนจากแพทยสภา สภาเภสัชกรรม และสภาการพยาบาล
1. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
แห่งละ 1 คน
2. นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข  กรรมการผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เลือกกันเอง 1 คน
 กรรมการผู้แทนจากองค์กรเอกชนที่ดำเนินการโดยมิใช่เป็นการหาผล

 กรรมการซึ่งเป็นคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ กำไรหรื อ รายได้ มาแบ่ ง ปั นกั น ซึ่ ง มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เกี่ ย วกับ การคุ ้ ม ครอง

หรือ หัว หน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐ านะ ผู้บริโภค เลือกกันเอง 1 คน

เที ย บเท่ า คณะ หรื อ หั ว หน้ า ภาควิ ช า หรื อ หั ว หน้า  กรรมการผู ้ ท รงคุ ณวุ ฒิ ซึ่ ง รั ฐ มนตรี แ ต่ ง ตั้ ง จากบุ ค คลที่ มี ค วามรู้

ห น ่ ว ย ง า น ที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น ต า ม ก ฎ ห ม า ย ว ่ า ด ้ ว ย ความสามารถและความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมาย และด้า นสังคมศาสตร์

สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งละหนึ่งคน ด้านละ 1 คน

เลือกกันเองให้เหลือสองคน
 กรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกมีจำนวนเท่ากับกรรมการใน (1) (2)
(3) (4) (5) (6) และ (7) รวมกัน

คณะกรรมการมีอำนาจวินิจฉัยชีข ้ าดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปน้ี


(1) ยกข้อกล่าวหา (2) ว่ากล่าวตักเตือน (3) ภาคทัณฑ์
(4) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี (5) เพิกถอนใบอนุญาต

 หากถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ➔ อาจขอรับใบอนุญาตอีกได้ เมื่อพ้น 2 ปีนับแต่วน


ั ถูกสัง่ เพิกถอนใบอนุญาต
 คณะกรรมการได้พิจารณาคำขอและปฏิเสธการออกใบอนุญาต ➔ ผู้นั้นจะยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้อีก
ต่อเมื่อสิ้นระยะเวลา 1 ปีนบ
ั แต่วน
ั ที่คณะกรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาต

บทลงโทษ
ลักษณะการกระทำผิด กำหนดโทษ
ประกอบวิชาชีพที่โดยไม่ได้รับใบอนุญาต/ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด จำคุกไม่เกิน 3 ปี /ปรับไม่เกิน 60,000 บาท /ทั้งจำทั้งปรับ
ฝ่าฝืนขณะอยู่ในระหว่างพักใช้ใบอนุญาต
ผู้ซงึ่ สมาชิกภาพสิ้นสุดลง แต่ไม่ส่งคืนใบอนุญาตต่อเลขาธิการ ภายใน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
15 วันนับแต่วันที่ทราบการสิ้นสุดสมาชิกภาพ
ผูไ้ ม่มาให้ถ้อยคำ/ไม่ส่งเอกสาร/วัตถุใด ๆ ตามที่เรียกหรือแจ้งให้ส่ง จำคุกไม่เกิน 1 เดือน /ปรับไม่เกิน 1,000 บาท /ทั้งจำทั้งปรับ
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 100
--- กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ ---

ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยข้อจำกัดและเงือ
่ นไขในการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2564

ประกาศสภา 13 มกราคม 2564 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 มกราคม 2564 มีผลบังคับใช้ 21 มกราคม 2564

➔ โดย นายไพศาล บางชวด (นายกสภาการสาธารณสุขชุมชน)


 ข้อ 3 นิยามสำคัญ
 ข้อ 4 การตรวจประเมินและการบำบัดโรคเบื้องต้น ทีผ
่ ู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนกระทำได้
 ข้อ 5 ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการทีผ
่ ู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนต้องดูแลให้ความช่วยเหลือ
 ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ให้กระทำการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตามแนวทางที่กระทรวง
สาธารณสุขประกาศกำหนด
 ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ให้กระทำการวางแผนครอบครัว
1) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว 2) การให้ยาคุมกำเนิดและถุงยางอนามัย ห้ามฉีดยาคุมกำเนิด!!
 ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7
 ต้องประกอบวิชาชีพ โดยใช้กระบวนการตามมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
 ข้อ 9 ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาหรือเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา
 ให้ใช้ได้ตามคู่มือการใช้ยา และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาที่สภาการสาธารณสุขชุมชนกำหนด
 ข้อ 10 ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ต้องบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วย

ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2565

ประกาศสภา 9 พฤษภาคม 2565 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 มีผลบังคับใช้ 18 พฤษภาคม 2564
หมวด 1 หลักทั่วไป
ข้อ 5 ต้องดำรงตนให้สมควรในสังคมโดยธรรม เคารพต่อกฎหมายของบ้านเมือง
ข้อ 6 ต้องประกอบวิชาชีพด้วยเจตนาดี โดยไม่คำนึงถึงฐานะ เพศ อายุ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ลัทธิ สังคม การเมือง
ข้อ 7 ต้องไม่ประพฤติหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
หมวด 2 การประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
ข้อ 8 ต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
ข้อ 9 ต้องไม่จูงใจหรือชักชวนให้ผู้ใดมารับบริการทางวิชาชีพ เพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ 10 ต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือผู้รับบริการโดยสุภาพและปราศจาก การบังคับขู่เข็ญ
ข้อ 11 ต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วยหรือผู้รับบริการให้หลงเข้าใจผิดในการ ประกอบวิชาชีพเพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ 12 ต้องประกอบวิชาชีพโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสิ้นเปลือง ที่เกินความจ าเป็นของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ
ข้อ 13 ต้องไม่รับรองหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ อันเป็นเท็จ
ข้อ 14 ต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการซึ่งตนทราบมา เนื่องจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ได้รับความยินยอมของผู้ป่วย
หรือผู้รับบริการหรือเมื่อต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายหรือตามหน้าที่
ข้อ 15 ต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย เมื่อได้รับคำขอร้องและตนอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้
ข้อ 16 ต้องไม่ประกอบวิชาชีพในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่เหตุฉุกเฉิน หรือเป็นการปฐมพยาบาล หรือการปฏิบัติตามหน้าที่
ข้อ 17 ต้องไม่ใช้หรือสนับสนุนให้มีการประกอบวิชาชีพโดยผิดกฎหมาย
หมวด 3 การปฏิบัติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
ข้อ 18 ต้องไม่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการอนุญาตของราชการส่วนท้องถิ่นในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เป็นเท็จ
ข้อ 19 ต้องประเมินปัจจัยเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเสนอหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขไม่ให้เกิดโรคและภัยสุขภาพ
ข้อ 20 ต้องติดตามและประเมิ นปั จจั ย เสี่ย งด้ า นอนามัย สิ่ งแวดล้ อมที่มี ผลกระทบต่ อสุข ภาพอย่ างต่ อเนื่ อ งและกำหนดแนวทางฟื ้ น ฟู
สภาพแวดล้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยในชุมชน
ข้ อ 21 ต้ อ งตรวจสอบ เสนอแนะและให้ ค วามเห็ นต่ อ หน่ ว ยงานที่ เกี่ ย วข้ อ ง เพื่ อ ดำเนิ นการแก้ ไขปั ญ หาหรื อ ระงั บ เหตุ โ ดยเร่ ง ด่ ว นใน
สถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบ ต่อสุขภาพกับการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างร้ายแรง
ข้อ 22 ต้องประกอบวิชาชี พโดยให้ความสำคัญ ต่อ ความปลอดภั ย สุขอนามัย และสวั สดิภาพของสาธารณชน ตลอดจนทรัพย์สิ น และ
สิ่งแวดล้อมอันเป็นสาธารณะ
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 101
--- กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ ---

หมวด 4 การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ หมวด 5 การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน


ข้อ 23 ต้องยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน ข้อ 27 ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องยกย่องให้เกียรติและเคารพ
ข้อ 24 ต้องไม่เอาผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพอื่นมาเป็นของตน ในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน
ข้อ 25 ต้องไม่ให้ร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้ร่วมวิชาชีพด้วยกัน ข้ อ 28 ผู ้ ประกอบวิ ช าชี พ ต้ อ งไม่ ให้ ร ้ า ยหรื อ กลั่ น แกล้ง
ข้อ 26 ต้องไม่ชักจูงผู้ป่วยหรือผู้รับบริการของผู้อื่นมาเป็นของตน ผู้ร่วมงาน

หมวด 6 การปฏิบัติเกี่ยวกับสถานพยาบาล
ข้อ 29 ต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วย สถานพยาบาล
หมวด 7 การศึกษาวิจัย
ส่วนที่ 1 การศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์
ข้อ 30 ผู้ที่จะทำการวิจัยหรือการทดลองในมนุษย์และการอาชีวอนามัยหรืออนามัยสิ่งแวดล้อม ต้องปฏิบัติตามหมวดนี้
ข้อ 31 ต้องได้รับความเห็นชอบอนุมัติหรือรับรองจากคณะกรรมการด้านจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วเท่านั้น
ข้อ 32 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกทดลองเป็นลายลักษณ์อักษรและ ต้องพร้อมที่จะป้องกันผู้ถูกทดลองจากอันตรายที่อาจ
เกิดขึ้นจากการทดลองนั้น
ข้อ 33 ต้องปฏิบัติต่อผู้ถูกทดลองเช่นเดียวกับการปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ
ข้อ 34 ต้องรับผิดชอบต่ออันตรายหรือผลเสียหายเนื่องจากการทดลองที่เกิดขึ้นต่อผู้ถูกทดลองอันมิใช่ความผิดของผู้ถูกทดลอง
ข้อ 35 ต้องให้ผู้ถูกทดลองบอกเลิกหรือถอนตัวจากการร่วมเป็นผู้ถูกทดลองเมื่อใดก็ได้
ข้อ 36 ต้องปฏิบัติตามแนวทางจริยธรรมของการศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์และจรรยาบรรณของนักวิจัย
ส่วนที่ 2 การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลหรือเอกสาร
ข้อ 37 ผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลหรือเอกสาร ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือเจ้าของเอกสารเป็นลายลักษณ์
อักษรด้วย และต้องรักษาความลับของข้อมูลดังกล่าว
ส่วนที่ 3 การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการอาชีวอนามัยหรืออนามัยสิ่งแวดล้อม
ข้อ 38 ผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการอาชีวอนามัยหรืออนามัยสิ่งแวดล้อม ในสถานที่ใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากหน่วยงาน
หรือผู้รับผิดชอบสถานที่นั้นเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ 39 ผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการอาชีวอนามัยหรืออนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในสถานที่ใด ๆ ต้องได้รับความ
ยินยอมจากหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบสถานที่นั้น และบุคคลที่ได้รับผลกระทบเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ 40 ผู้ประกอบวิชาชีพที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการอาชีวอนามัยหรืออนามัยสิง่ แวดล้อม ตามข้อ 38 และข้อ 39 ต้องรับผิดชอบ
ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมหรือบุคคลที่ได้รับ ผลกระทบที่เป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยนั้น
หมวด 8 การโฆษณา
ข้อ 41 ต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้าง หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพ ความรู้และความชำนาญในการประกอบวิชาชีพของตน
เว้นแต่ ในกรณีต่อไปนี้
41.1 การแสดงผลงานในวารสารทางวิชาการ หรือในการประชุมวิชาการด้านการแพทย์ และสาธารณสุข
41.2 การแสดงผลงานในหน้าที่หรือการแสดงเพื่อให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
41.3 การแสดงผลงานหรือความก้าวหน้าทางวิชาการด้านการสาธารณสุขเพื่อ การศึกษาของมวลชน
41.4 การประกาศเกียรติคุณโดยสถาบัน สมาคมหรือมูลนิธิ
ข้อ 42 สามารถแสดงข้อความเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของตน ณ สถานที่ทำการประกอบวิชาชีพได้ เฉพาะข้อความดังต่อไปนี้
42.1 ชื่อ นามสกุล ตำแหน่งทางวิชาการ ฐานันดรศักดิ์
42.2 ชื่อปริญญาซึ่งตนได้รับ
42.3 ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของตน
42.4 ชื่อหน่วยบริการหรือสถานพยาบาล ที่อยู่หรือที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ หรือสื่ออื่น ๆ
42.5 เวลาทำการ
ข้อ 43 ผู้ที่ให้ข้อมูลทางวิชาการหรือตอบปัญหาเกี่ยวกับวิชาชีพทางสื่อมวลชน ให้แสดงตนว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพและแจ้งสถานที่
ทำการประกอบวิชาชีพได้

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 102


--- กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ ---

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (ล่าสุด พ.ศ. 2560)

แก้ไข 14 ธันวาคม 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 เมษายน 2535 มีผลบังคับใช้ 6 เมษายน 2535

**ออกสอบบ่อย เป็นอำนาจของหน่วยงานใด

หลักการ
1.คุ้มครอง 2.กระจาย 3.ให้มีคณะกรรมการ 4.ให้มีเจ้าพนักงานด้านวิชาการ 5.ให้ประชาชนมีสิทธิ
ประชาชน อำนาจสู่ ให้การสนับสนุนและ เป็นทีป
่ รึกษาช่วยเหลือตรวจตรา โต้แย้งการใช้อำนาจของ
ท้องถิน
่ ติดตามกำกับดูแล แนะนำแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานได้

มีทั้งหมด 16 หมวด ที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขมี 8 หมวดดังนี้

**ออกสอบปี 59 เหตุรำราญอยูห
่ มวดใด

ขั้นตอนการขอใบอนุญาต (มาตรา 56)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 103


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

ชุดวิชาที่ 14 การตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพ และส่งต่อ

นิ ย ามสำคั ญ  ข้อ บังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยข้อ จำกัด และเงื่อ นไขในการประกอบวิชาชี พ การ


สาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2564 ได้ให้นิยามไว้ดังนี้
การตรวจประเมินอาการเจ็บป่วย **อาจออกสอบปี 66 องค์ความรู้ที่ต้องทบทวนตามมาตรฐานวิชาชีพ

การประเมินสภาพผู้ป่วยเบื้องต้น  การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
การตรวจร่างกายเพื่อค้นหาสาเหตุภาวะคุกคาม
 การวางแผนครอบครัว
การประเมินสภาพทั่วไปและการบาดเจ็บของผู้ป่วย
 การฟื้นฟูสภาพบุคคล ครอบครัวและชุมชน
การประเมินระดับความรู้สึกตัว
การประเมินการหายใจเมื่อปรากฏว่าผู้ป่วยมีอาการไม่ปกติ
การบำบัดโรคเบื้องต้น ➔ การตรวจประเมินอาการเจ็บป่วยและการบำบัดเบื้องต้น เพื่อ แก้ป ัญ หาการเจ็บป่วย
การบาดเจ็บ การบรรเทาความรุนแรงหรืออาการของโรค ให้ผู้ป่วยพ้นจากภาวะการเจ็บป่วยหรือภาวะวิกฤต
ภาวะวิกฤต ➔ การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ปว่ ยถึงแก่ชวี ิต หรือพิการได้
การส่งต่อผู้ป่วย ➔ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากหน่วยบริการหนึ่งเพื่อไปรับการรักษาต่อยังอีกหน่วยบริการหนึ่ง

◆ ตรวจประเมินและการบำบัดโรคเบื้องต้น ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน กระทำได้ดังนี้

(1) ไข้ตัวร้อน (12) การชะล้างบาดแผล JUM!! อาจออกสอบปี 66


(2) ไข้และมีผน
ื่ หรือจุด (13) การให้น้าเกลือผูป
้ ่วยอาเจียนจากการสูญเสียสมดุลของสารน้าในร่างกาย
(3) ปวดท้อง (14) ภาวะช็อกจากการสูญเสียสมดุลของสารน้าในร่างกาย
(4) ท้องผูก (15) การทำคลอดปกติในภาวะฉุกเฉิน
(5) ท้องเดิน (16) กระดูกหัก  ต้ อ งบั น ทึ ก รายงานเกี่ ย วกั บ ประวั ติ ข องผู ้ ป ่ ว ยหรื อ
(6) คลื่นไส้อาเจียน (17) ข้อเคล็ด ผู ้ รั บ บริ ก าร อาการและการเจ็ บ ป่ ว ยโรค การบำบั ด โรค
(7) โรคขาดสารอาหาร (18) ข้อเคลื่อน เบื้องต้นหรือการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหรือการวางแผน

(8) อาหารเป็นพิษ ครอบครั ว หรื อ การดู แ ลให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ่ ว ยตาม


(19) ไฟไหม้
ความเป็นจริงและต้องเก็บบันทึกรายงานไว้เป็นหลักฐาน
(9) โรคหวัด (20) น้าร้อนลวก
(10) โรคผิวหนัง (21) การช่วยฟื้นคืนชีพ
(11) แผลในช่องปาก (22) เย็บบาดแผลที่ไม่สาหัส และในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตราย

◆ การดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน กระทำได้ดังนี้


➔ ให้คำแนะนำผู้ป่วยหรือญาติในการดูแลตนเองในกรณีที่มีอาการไม่ร้ายแรงสามารถให้การดูแลตนเองได้
➔ ให้การดูแลผู้ปว่ ยในกรณีทม
ี่ ีอาการที่ต้องได้รับการบำบัดโรคเบื้องต้น
ให้คำแนะนำการปฏิบัติตน การใช้ยาซึ่งต้องมีการติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
➔ ให้การดูแลผู้ป่วยในกรณีที่ได้รับการประเมินอาการและบำบัดโรคเบื้องต้น เพื่อให้ได้รับการบำบัดโรคหรืออาการ
ทุเลาจนเป็นปกติ

 กรณีผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงเกินศักยภาพ ทำการช่วยเหลือผู้ป่วยใน
 ให้การบำบัดโรคเบื้องต้นในภาวะปกติแล้ว เบื้องต้นก่อน แล้วให้ประสาน
 ผู้ป่วยมีอาการไม่ทุเลาหรือมีความรุนแรงจากการเจ็บป่วยมากขึ้น เพื่อการส่งต่อไปยังหน่วยบริการ
 อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายต่อร่างกายและชีวิต อื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า

(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 20 ม.ค.64 บังคับใช้ 21 ม.ค.64)


--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 104
--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---
การซักประวัตแ
ิ ละการตรวจร่างกาย
◆ ข้อมูลที่ต้องการจากการซักประวัติ
รายละเอียดทั่วไป อาการสำคัญ การเจ็บป่วยปัจจุบน
ั ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ประวัตส
ิ ่วนตัว ชื่อ อายุ เพศ  อาการ 1-2 อาการที่เด่นชัดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมา  เคยเข้ารับการรักษาอะไรมาบ้าง
ว/ด/ป เกิด ที่อยู่ เชื้อชาติ ศาสนา โรงพยาบาล/รพ.สต. และระยะเวลาที่เจ็บป่วย เช่น มีไข้ ประวัติการผ่าตัด
การศึกษา อาชีพ น้าหนัก ส่วนสูง ไอ มา 2 วัน การได้รับวัคซีนครบหรือไม่
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว  ยึดหลักการ LODCRAFP ดังนี้ ประวัติแพ้ การติดเชื้อ
- การเจ็บป่วยของพ่อแม่ พีน่ ้องสายตรง LOCATION ตำแหน่งที่มีอาการ ประวัติโรคจำตัว
- เพือ
่ ดูการเจ็บป่วย/โรคทางพันธุกรรม ONSET เวลาที่เริ่มเป็น เช่น ทันทีทันใด, ค่อยๆเป็น ประวัติการแท้ง
การแพ้ยา DURATION ระยะเวลาที่เกิดอาการ
กรณีเป็นเด็กซักเพิ่มเติม CHARACTERISTICS ลักษณะของอาการ
ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด -คุณภาพ : ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้าไม่มีมูกปนเลือด
น้าหนักแรกเกิด การกินนมแม่ -ปริมาณ : ถ่ายครั้งละครึ่งกระโถนมา 5 ครั้ง
การได้รับวัคซีน ภาวะการเจริญเติบโต RADIATION ร้าวไปไหน,กระจายไปไหน
พัฒนาการ อาหาร/อาหารเสริม เช่น ปวดท้อง ทะลุไปหลัง ปวดเอวร้าวลงขา
นิสัย บุคลิก สัมพันธภาพในครอบครัว ASSOCIATED SYMPTOMS อาการอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่
ถ้ามี ก็ต้องถามอาการปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
- ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการ
- ปัจจัยที่ทำให้อาการเป็นมากขึ้น
- ปัจจัยที่ทำให้อาการเป็นน้อยลง
PROGRESSION การดำเนินโรค เช่น มีไข้ตลอดทุกวัน
มีไข้วันเว้นวัน เป็นต้น

การสำรวจสภาพทั่วไป ภาวะสุขภาพทั่วไปที่ปรากฏ
(General Survey) ส่วนสูงและรูปร่างสัดส่วน โครงสร้างร่างกาย
ลักษณะท่าทาง การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
ลักษณะใบหน้า สังเกตการแสดงออกทางสีหน้า ลักษณะของรูปหน้า

◆ การตรวจร่างกาย จะอาศัยหลัก 4 ประการ คือ


การดู (Inspection) ➔ การตรวจโดยใช้สายตาดูผู้ป่วยทั้งตัว เช่น ลักษณะการเดิน นั่ง ยืน เคลื่อนไหว สีของใบหน้า
เล็บ ผิวหนัง เป็นต้น เป็นตัวช่วยบอกโรค
การคลำ (palpation) ➔ เป็ นการตรวจ
ร่ า งกายโดยการสั ม ผั ส ด้ ว ยมื อ ฝ่ า มื อ หรื อ
ห ลั ง มื อ ลั ก ษ ณะก าร ค ลำอ าจใช้ วิ ธี ก าร
คลำเบาๆ(light or superficial palpation) หรือ
การคลำลึกๆ (deep or bimanual palpation)
การคลำที่ถูกต้องจะแยกได้ถึงความหยาบ-
ละเอียด ขนาด ความแข็งอ่อน อุณหภูมิ
การเคาะ (Percussion) ➔ วางมือหนึ่งบน
ตำแหน่งที่ต้องการตรวจ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้าง
เคาะบนหลังมือข้างที่วางอยู่บนอวัยวะผู้ป่วย เพื่อตรวจรับการสะท้อนของเสียง ดูลักษณะหรือขนาดของอวัยวะ เช่น การ
เคาะปอดดูปริมาณเสมหะ การเคาะช่องท้องดูปริมาณแก๊สในลำไส้ เป็นต้น
การฟัง (Auscultation) ➔ โดยการได้ยินเสียง เช่น เสียงพูดของผู้ป่วยแหบผิดปกติ หรือ เหมือนอมอะไรอยู่ และ
โดยการใช้หูฟัง (Stethoscope)กรณีไม่สามารถได้ยินจากหูโดยตรง เช่น ใช้หูฟัง ฟังเสียงการหายใจของปอด หรือฟังที่
ช่องท้องดูการเคลื่อนไหวของลำไส้ ตัวอย่างเสียงหายใจผิดปกติ เช่น Crepitation , crackle เกิดเสียงกรอบแกรบคล้าย
เสียงเหมือนขยี้ผมใกล้ๆหู พบในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หัวใจล้มเหลว Rhonchi และ Wheezeได้ยินดัง
วี้ดๆ หรือฮื้อๆ พบในผู้ที่มีอาการหอบหืด หลอดลมอักเสบ
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 105
**ออกสอบปี 59 เป็นสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อมา รพ. ตอบ วัด Vital sign --- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

เมืสั่อญญาณชีพ (Vital sign)  อาการสำคัญที่สดุ ของสิ่งมีชีวิตที่ช่วยบอกถึงความปกติหรือความผิดปกติของร่างกาย
V/S ค่าปกติ ค่าที่มีความผิดปกติ
อุณหภูมริ ่างกาย 36.5-37.5 0C • ไข้ต่า (Low fever) 37.6 - 38.4 0C
(Body Temperature : T) • ไข้ปานกลาง (Moderate fever) 38.5 - 39.4 0C
**ออกสอบปี 66
• ไข้สงู (High fever) 39.5 - 40.5 0C
จำองค์ประกอบและค่าปกติให้แม่น
• ไข้สงู มาก (Hyperpyrexia) > 40.5 0C
ชีพจร • 0-1 เดือน 120-160 ครั้ง/นาที ภาวะอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
(Pulse: P, • 2-6 ปี 75- 120 ครั้ง/นาที • Tachycardia มากกว่า 100 ครัง้ /นาที
Heart Rate: HR) • 6-12 ปี 75-110 ครั้ง/นาที • Bradycardia น้อยกว่า 60 ครัง้ /นาที
• ผู้ใหญ่ 60- 100 ครั้ง/นาที ● Cardiac arrest หัวใจหยุดเต้น
การหายใจ • แรกเกิด 35-40 ครัง้ /นาที ภาวะอัตราการหายใจผิดปกติ
(Respiration • ทารก (6 เดือน) 30-50 ครัง้ /นาที • Tachypnea มากกว่า 24 ครัง้ /นาที
Rate: RR) • เด็ก(6ขวบ) 20-30 ครั้ง/นาที • Bradypnea น้อยกว่า 10 ครัง้ /นาที
• ผู้ใหญ่ 16-20 ครั้ง/นาที ● Apnea การไม่หายใจ - หยุดหายใจ
ความดันโลหิต • เสียงที่ได้ยน
ิ korotkoff sounds ระดับความดันโลหิต (อ้างอิง ตัวชี้วัดกระทรวง ปี 67)
(Blood Pressure :BP ) • sbp มีคา่ 51-129 (<130) mmHg เสี่ยง sbp ≥ 130-139 mmHg dbp ≥ 85-89 mmHg
• dbp มีคา่ 51-84 (<85) mmHg สงสัยป่วย sbp ≥ 140-179 mmHg dbp ≥ 90-109 mmHg
ป่วย(ส่งพบแพทย์) sbp ≥ 180 mmHg dbp ≥ 110 mmHg

การแปลผตรวจทางห้องปฏิบัติการ JUM!!
◆ ระดับน้าตาลในเลือด (อ้างอิง ตัวชี้วัดกระทรวง ปี 67)

ตรวจน้าตาลโดยอดอาหาร (FBS) ตรวจน้าตาลโดยไม่อดอาหาร(FPG)


- ปกติ หมายถึง ระดับน้าตาล ≥70 – 99 mg% - ปกติ หมายถึง ระดับน้าตาล ≥ 70 - 109 mg%
- เสี่ยง หมายถึง ระดับน้าตาล ≥ 100 - 125 mg% - เสี่ยง หมายถึง ระดับน้าตาล ≥ 110 mg%
- สงสัยป่วย หมายถึง ระดับนา้ ตาล ≥ 126 mg%
◆ ระดับไขมันในเลือด ◆ ความเข้มข้นของเลือด(Hematocrit)

โคเลสเตอรอลรวม(Cholesterol) < 200 มก./ดล. ผู้ชาย 40-54 mg/dL


Triglycerides < 150 มก./ดล. ผู้หญิง37-47 mg/dL
ไขมันชนิดไม่ดี LDL-C < 130 มก./ดล. ค่าสูง : มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดข้น (polycythemia)
ไขมันชนิดดี HDL-C > 40 มก./ดล. ในผู้ชาย ค่าต่า : มีความเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง (anemia)
> 50 มก./ดล. ในผู้หญิง
(ภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)

การคัดกรองเฝ้าระวังสุขภาพ
◆ การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก : สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30 - 60 ปี

ตรวจคัดกรองด้วยวิธี HPV DNA test


➔ เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ความเสี่ยงสูง 14 สายพันธุ์ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก
➔ เก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกช่องคลอดด้านใน ส่งตรวจด้วยวิธีก ารตรวจด้ว ยน้ายาเมื่อคัดกรองแล้วมีผลปกติ/
ผลลบ (Negative) จากตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ครั้งต่อไปในอีก 5 ปี
ผู้ที่มีผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ ด้วยวิธี HPV DNA test เป็นบวก (Positive)
➔ ตรวจพบไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และหรือ 18 หลังจากนั้น ส่งตรวจวินิจฉัยโรคด้วยการส่องกล้อง (Colposcopy)
➔ การส่องกล้อง Colposcopy  การวินิจฉัยความผิดปกติภายในปากมดลูกช่องคลอดปากมดลูกด้วยการส่อง
กล้องขยาย เพื่อการค้นหารอยโรคก่อนการเกิดมะเร็งและมะเร็งปากมดลูกในระยะต้น เพื่อได้รักษาอย่างรวดเร็วที่สุด

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 106


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---
◆ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ประชากรชาย-หญิงอายุ50-70ปี ได้รับการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ
➔ ด้วยวิธี Fecal Immunochemical Test (FIT) ซึ่งเป็นวิธีที่อาศัยปฏิกิริยาทางอิมมูโนที่จำเพาะต่อฮีโมโกลบิ น ใน
เม็ด เลือ ดแดงที่มีค วามจำเพาะของคนเท่านั้น โดยตรวจผ่านชุด ตรวจที่มีค ่า cut-off 100ng/ml ผู้รับ การตรวจ
ไม่จำเป็นต้องควบคุมอาหารก่อนการตรวจกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองแล้วมีผลปกติ/ผลลบ (Negative) จะทำการตรวจ
คัดกรอง 1 ครั้งในรอบ2 ปีงบประมาณ **ออกสอบปี 59 การตรวจอุจจาระ บ่งบอกอะไร
➔ ผู้ที่มีผลการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงผิดปกติ เป็นบวก (Positive) คือตรวจพบเม็ดเลือดแดงใน
ตัวอย่างอุจจาระต้องไปตรวจวินิจฉัยโดยการส่องกล้อง Colonoscopy เพื่อการค้นหารอยโรคก่อนการเกิดมะเร็งและ
มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในระยะต้น

◆ การคัดกรองผู้สูงอายุ 10 ด้าน : ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ อายุ60ปีขึ้นไป


- คัดกรองโรคเบาหวาน - คัดกรองซึมเศร้า 2Q
- คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง - คัดกรองข้อเข่า
- คัดกรอง CVD - คัดกรองภาวะหกล้ม **ตัวชี้วัดกระทรวงปี 67
- คัดกรองสุขภาพช่องปาก - คัดกรอง BMI
- คัดกรองสมองเสื่อม AMT **ตัวชี้วัดกระทรวงปี 67 - คัดกรอง ADL

**ออกสอบปี 59 ให้ค่า FBS/BP ถามสี ปิงปอง 7 ปี โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง


**ออกสอบปี 56,59 ใช้บอกอะไร
เขียว

ขาว เขียวอ่อน

เขียวเข้ม เหลือง ส้ม แดง ดำ

โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี

อายุน้อยกว่า 35 ปี อายุ 35 ปีขึ้นไป


ตรวจคัดกรองโรคความดัน/เบาหวาน ตรวจคัดกรองโรคความดัน/เบาหวาน การทำงานของไต/ตับ
ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/ปากมดลูก ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/ปากมดลูก ตรวจระดับกรดยูริก
ตรวจ HCT ตรวจไขมัน lipid คัดกรองซึมเศร้า
ตรวจปัสสาวะ อุจจาระ ตรวจปัสสาวะ อุจจาระ
X-ray ปอด คัดกรองซึมเศร้า X-ray ปอด

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 107


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---
โรคที่พบบ่อยใน รพ./รพ.สต. ➔ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคติดต่อตามฤดูกาล
โรคหรืออาการพบได้บ่อย
 1.ปวดศีรษะ (Headache)

โครงสร้างที่ทำให้ปวดศีรษะ การซักประวัติ
• หนังศีรษะ กล้ามเนื้อ • อายุ • การเริม
่ ต้นปวด (onset)
• ตา หู จมูก ไซนัส ฟัน กระดูก • เพศ • ระยะเวลา (duration)
• เยื่อหุ้มสมอง – เส้นประสาท • อาชีพ • ตำแหน่งที่ปวด การร้าว
• เส้นเลือดแดง • ประวิติครอบครัว • การดำเนินของอาการปวด
• โพรงหลอดเลือดดำ • ยาที กินประจำ • ปัจจัยที่กระตุ้นให้ปวดมากขึ้น
• อาการที พบร่วม • ปัจจัยที่ทำให้ทุเลาลง
• ประวัติอุบัติเหตุสมอง • ความรุนแรง

โรค ลักษณะ อาการร่วม


กลุ่มปวดศีรษะเฉียบพลัน
1.Acute sinusitis เป็นหวัดนำมาก่อน ปวดฟัน น้ามูกข้นเป็นหนอง
ตรวจโดย Film sinus, CT ปวดบริเวณใบหน้า เวลาก้มไปด้านหน้า ไข้ กดเจ็บบริเวณไซนัส
2.Acute narrow angle ปวดบริเวณหน้าผาก มักปวดทันที ปวดตาข้างใดข้างหนึง่
glaucoma (ต้อหิน) เห็นเป็นวงสี (colored halos)รอบดวงไฟ มักตามัวร่วมด้วย
Fixed mid dilated pupil
3.ภาวะเลือดออกในสมอง ปวดศีรษะรุนแรงขึ้นทันที ทั่วศีรษะ แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึง่
ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึม คอแข็ง BP สูงร่วมด้วย
กลุ่มปวดศีรษะมาประมาณ 1-6 เดือน
1.เยื่อหุ้มสมองอักเสบเรือ
้ รัง ปวดทั่วศีรษะ  อาทิตย์ - เดือน ไข้ซึม คอแข็ง
2.เนื้องอกในสมอง ปวดศีรษะมาประมาณ 1-6 เดือน
ปวดทั่วศีรษะ/เป็นข้าง แล้วแต่บริเวณ
เนื้องอกอยู่
ปวดตื้อๆลึกๆ ปวดมากขึ้นเรือ่ ยๆ
กลุ่มปวดศีรษะเรื้อรัง หรือเป็นๆหายๆ
1.ไมเกรน (Migraine) ปวดเป็นๆหายๆ อาจมี aura นำมาก่อน เช่น เห็นแสงแวบๆ
ระหว่างไม่ปวดจะเหมือนคนปกติ
ระยะเวลาปวด มักอยูเป็นชม. ถึง 1-2 วัน
มักปวดศีรษะเป็นข้าง
2. Tension headache เป็นโรคปวดศีรษะเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด
ปวดบริเวณขมับ 2 ข้าง หน้าผากและ
ท้ายทอย
ปวดติดต่อกันเป็นเดือนเป็นปี
ปวดมากตอนบ่าย/ตอนเครียด

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 108


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

 2. ไข้ (Fever)
 การที่อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ (37.6 0C ขึ้นไป)
 มักจะมีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยหรือโรคภัยต่าง ๆ ที่พบบ่อยจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
 เป็นสัญญาณบ่งบอกความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย

Local infections (การติดเชื้อเฉพาะที่) Systemic infections (การติดแบบเป็นระบบ)


➔ สังเกตอาการเฉพาะที่ ไล่ตั้งแต่หัวจรดเท้า ➔ ไม่มีอากาติดเชื้อเฉพาะที่
ตุ่มหนอง คอแดง แผลติดเชื้อ ปอดบวม เยื่อหุ้มสมอง ไข้สูงเป็น ลัก ษณะเด่น ปวดเมื่ อ ยตามตัว มีผื่ น ปวด
อักเสบ ไซนัสอักเสบ cellulitis เป็นต้น ท้อง ท้องเสีย เยือ่ บุตาแดง ต่อมน้าเหลืองโต ตับ ม้ามโต

ไข้ จำแนกตามระดับอุณหภูมไิ ด้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ **ออกสอบบ่อย JUM!!

ลักษณะอาการ อาการร่วม โรค


ไข้ปานกลาง-สูง ผื่นขึ้นประมาณวันที่ 4 ของไข้ มีน้ามูกใส ไอ โรคหัด (Measles)
ส่งต่อวินิจฉัยเพิ่ม พบ Koplic’s sport **ออกสอบ ปี 64 **virus
ผื่นขึ้น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ต่อมนำเหลืองโต โรคหัดเยอรมัน (Rubella)
**virus
ต่อมน้าลายอักเสบ คางบวม กลืนลำบากอัณฑะ/รังไข่อักเสบ โรคคางทูม (Mump)
**virus
ไข้พร้อมตุ่มแดงในวันแรกของไข้และตุ่มใส โรคอีสุกอีใส (chickenpox)
กลายเป็นหนองใน 4 วัน **virus
ไข้สูง ปวดศีรษะ ออกผื่น หน้าแดง TT+ ไข้เลือดออก (DF/DHF)
ให้สารน้าตาม ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปัสสาวะสีโค้ก มาลาเรีย (Malaria)
ความจำเป็น
ปวดศีรษะ อาเจียน ปวดข้อ ชิคุนกุนยา Chikungunya
ส่งต่อภายใน 24ชม
ปวดศีรษะ ต่อมน้าเหลืองโต มีแผล คล้ายบุหรี่จี้ Escher Scrub typhus
ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดน่อง หลังหน้าท้อง ฉี่หนู (Leptospirosis)
ไข้สูงฉุกเฉิน ปวดศีรษะ เกร็งซึม กลัวน้า พิษสุนัขบ้า (Rebie)
ส่งต่อทันที คอ ขากรรไกรแข็งเกร็ง กระตุก บาดทะยัก (Tetanus)

สาเหตุของไข้
 การติดเชื้อที่มีการอักเสบเฉพาะที่ เช่น คออักเสบ ลำไส้อักเสบ ข้ออักเสบ การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตซัว
เช่น ไข้หวัด ไข้มาลาเรีย ไข้จากแผล ฝีหนอง
 การติดเชื้อซึ่งไม่มีอาการเฉพาะที่ เช่น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ไข้ไทฟอยด์ โรคติดเชื้อจาก แบคทีเรีย รา ไวรัส
ยีสต์ โปรโตซัว เป็นต้น
 การกระตุ้นจากเหตุผิดปกติบางอย่างในร่างกายที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น มะเร็งต่อมน้าเหลือง ซึ่งจะมีไข้ร่วมกับ
อาการอื่น เช่น ต่อมน้าเหลืองโต เกิดจากการอักเสบ เนื้องอกหรือมะเร็ง

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 109


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

 3. อาการไอ (Cough)
ไอเฉียบพลัน (Acute Cough)  ไอไม่ถึง 1 สัปดาห์
ไอเรื้อรัง (Chronic Cough)  ไอติดต่อกันนานเกิน 3 สัปดาห์ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบ วัณโรค
อาการ/อาการแสดง ตรวจร่างกาย โรค
ไข้ เจ็บคอ คอแดง คออักเสบ Acute pharyngitis
ไข้ แสบจมูก น้ามูกใส tender sinus area Ac. Sinusitis ไซนัส
ไข้ไอ เสมหะเขียวหรือไอแห้ง ๆ ไม่หอบ rhonchi หรือ coarse crepitation Acute bronchitis
ไข้ไอ หอบ เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ crepitation Pneumonia โรคปอดอักเสบ
ไอช่วงกลางคืน หายใจหอบ มีเสียงวีด
้ wheeze Asthma โรคหอบหืด
นอนราบไม่ได้ หัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว Lt. side HF

 4. ปวดท้องเฉียบพลัน

อาการปวดท้อง + อาการร่วม โรค


จุกใต้ลิ้นปี่ คลืน
่ ใส้ อาเจียน ปวดสัมพันธ์กับมื้ออาหาร โรคกระเพาะอาหาร
ปวดรุนแรงทีช
่ ายโครงขวา ร้าวไปไหล่ขวา คลื่นใส้อาเจียน ปวดหลัง ถุงน้าดีอักเสบ และนิว่ ในถุงน้าดี
รับประทานอาหารมัน อาจมีดีซ่าน
ปวดท้องรอบสะดือ เหนือสะดือ หรือปวดท้องน้อย ด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน มี ใส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)
ไข้ต่า หน้าท้องแข็งตึงอืด เบื่ออาหาร **ออกสอบปี 65
ปวดท้องรุนแรงตลอดเวลา คลื่นใส้อาเจียน ท้องอืด มีไข้กระสับกระส่าย ช็อค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
ปวดท้องรุนแรงใต้ลน
ิ้ ปีร่ ้าวไปที่หลัง คลื่นไส้อาเจียน ช็อค โรคตับอ่อนอักเสบ

 5. อาการท้องเดิน
ท้องเดิน  อาการทีถ
่ ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้า ท้องร่วง  อาการทีท
่ ้องเดินอย่างแรง
ท้องเสีย  อาการทีเ่ กิดจากระบบการย่อยอาหารไม่ดี

อาการปวดท้อง + อาการร่วม โรค


คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน มีอาการทางประสาท อาหารเป็นพิษจากเชื้อ Clostridium
ไข้ หนาวสั่น ปวดบิด ถ่ายมีมก
ู เลือดปน อาหารเป็นพิษจากเชื้อ Salmonella
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดบิด ไม่มีไข้ อาหารเป็นพิษจากเชื้อ Staphylococcus
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดบิด ไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อย อาหารเป็นพิษจาก streptococcus
ปวดท้อง อาเจียน ไข้สูง อาจมีอาการคล้ายหวัด ท้องเดินจากการติดเชือ
้ ไวรัส
อุจจาระเหลว มีเนื้อปน กลิ่นเหม็นคล้ายหัวกุ้งเน่า ปวดเบ่ง ไม่มีไข้ โรคบิดชนิดมีตัว (Amoebic Dysentery หรือ
ถ่ายกะปริบกะปรอย Amoebiasis
ปวดบิด ถ่ายเหลวเป็นน้า ปวดเบ่ง ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด โรคบิดชนิดไม่มีตัว (Bacillary Dysentery หรือ
Shigellosis)
อุจจาระเป็นน้าอย่างมาก ไม่ปวดท้อง บางรายอุจจาระขาวขุ่นเหมือนน้า อหิวาตกโรค (Cholera)
ซาวข้าว บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน
บางครั้งถ่ายปกติ บางครั้งถ่ายเหลว เครียดกังวล ลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 110


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

 6. ผื่น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
➔ การให้การช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อพบอุบัติเหตุแก่ผู้บาดเจ็บ ก่อนนำส่งโรงพยาบาล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ
บาดเจ็บเพิ่มขึ้น พิการ หรือเสียชีวิต (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2560)
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน คืออะไร ?
➔ การได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหันที่มีผลต่อชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับ
การตรวจและรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรืออาการเจ็บป่วยบาดเจ็บรุนแรงขึ้น
 ลักษณะอาการฉุกเฉินที่ควรแจ้งโทร 1669 คือ ขั้นตอนการแจ้งเหตุ 1669

การคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วนและการส่งตรวจสามารถจำแนกได้ 5 ระดับตามสีดังนี้
1. สีแดง คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ต้องได้รับการตรวจ
รักษาทันทีเพื่อช่วยชีวิต
2. สีชมพู คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินหนัก ตรวจหลังสีแดงหรือ
ภายใน 10 นาที
3. สีเหลือง คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ตรวจหลังสีชมพู
หรือภายใน 30 นาที
4. สีเขียว คือ ผู้ป่วยไม่รุนแรง ตรวจหลังสีเหลืองหรือ
ภายใน 60 นาที
5. สีขาว คือ ผู้ป่วยทั่วไป เข้ารับการตรวจ OPD ในเวลา
ราชการ
1. หมดสติ  ไม่มีการตอบสนองเมือ่ ถูกปลุกเหรอเรียก
2. หยุดการหายใจ ไม่มีการเคลือ
่ นไหวของทรวงอก/หน้าท้อง
3. หัวใจหยุดเต้น  ไม่มีสัญญาณการไหลเวียนโลหิต คือ
ไม่มีการหายใจ ไม่มีการไอ และไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 111


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

การช่วยเหลือโดยการฟื้นคืนชีพเบื้องต้น (CPR) : ใช้หลัก RCAB **ออกสอบบ่อยมาก


➔ การช่ว ยเหลือ ผู้ที่ห ยุด หายใจหรือ หัว ใจหยุด เต้น ให้มีก ารหายใจและการไหลเวี ยนกลับ คื น สู่ส ภาพเดิม ซึ่งหาก
จะได้ผลดี จะต้องใช้ควบคู่กับเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED

ขั้นตอน รายละเอียด
R : response  1.เมื่อพบคนหมดสติ ให้ตรวจดูความปลอดภัยก่อนเช้าไปช่วยเหลือ เช่น
การตอบสนอง ระวังอุบัติเหตุ ไฟช็อตหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดซ้า
 2.ปลุกเรียกผู้ป่วยด้วยเสียงที่ดังและตบไหล่ทั้งสองข้าง หากผู้ปว่ ยรู้สก
ึ ตัว
หายใจเองได้ ให้จัดท่านอนตะแคง แต่หากยังไม่หายใจ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไป
 3.โทรขอความช่วยเหลือทีส ่ ายด่วน 1669
 4.ประเมินผู้ป่วยหากไม่รู้สกึ ตัว ไม่หายใจ ให้ทำการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพทันที
มองหน้าอก/หน้าท้อง ว่ามีการขยับขึ้นลงหรือไม่ ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 วินาที ≥ 10 วินาที
C : Chest compression CPR ในผู้ใหญ่ (อายุ >8ปี)
การกดหน้าอก 5.จั ด ท่ า ให้ ผู ้ ป ่ ว ยนอนหงาย ให้ ใช้ ส ้ น มื อ ข้ า งหนึ่ ง วางลงบนกึ่ ง กลางหน้ า อก
(กึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง) แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งวางทับด้านบน แขนทั้ง
สองข้างเหยียดตรง ไหล่ของผู้ช่วยเหลือตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ป่วย ใช้ข้อสะโพก
เป็นจุดหมุน เวลาในการกดและปล่อยมือขึ้นต้องเท่ากัน
1. กดให้ลึก  กดหน้าอกจากหน้าอกโดยปกติให้ลึกลงไป 5-6 ซม.
2. กดให้รอ้ ย  อัตราความเร็ว 100 ถึง 120 ครั้งต่อ 1 นาที
3. ปล่อยให้สุด  เมื่อกดหน้าอกยุบลงไป 5-6 ซม.แล้วให้ปล่อยให้อกกลับมาฟู
เหมือนปกติทุกครั้งก่อนกดใหม่
4. อย่าหยุดกด  อย่าทำการหยุดการกดหน้าอก จนกว่าเครื่อง AED มาถึง และ
พร้อมใช้งาน หรือมีบุคลากรทางการแพทย์เข้ามาดูแลผู้ป่วย
กดหน้าอกสลับการช่วยหายใจครบ 5 รอบ (30:2) แล้วประเมินซ้า
CPR ในเด็ก (อายุ 1-8ปี)
กดหน้าอกโดยใช้สน ั มือวางลงตรงกึ่งกลางหน้าอก ใช้มือเพียงมือเดียวหรือสองมือ
ก็ได้ขึ้นอยู่กับขนาดตัวเด็ก กดลึกลงไปประมาณ ⅓ ของความลึกทรวงอก (หรือ
ประมาณ 5 ซม.หรือ 2 นิ้ว)
CPR ในเด็ก (อายุ < 1 ปี)
ให้กดหน้าอกลึกลงไปประมาณ ⅓ ของความลึกทรวงอก (หรือ 4 ซม.หรือ 1.5 นิ้ว)
โดยการใช้2 นิ้วมือ หรือ 2 นิ้วโป้ง อัตราเร็ว 100 - 120 ครั้ง
A : Airway การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง เพราะผู้บาดเจ็บที่หมดสติจะมีภาวะโคนลิ้นและ
กล่องเสียงตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบน
- หากผู้ป่วยไม่มีการบาดเจ็บทีศ
่ ีรษะหรือคอ จะใช้วธิ ีการแหงนหน้าและเชยคาง
(Head tilt - Chin lift)
ช่วยหายใจ (เป่าปาก) มากกว่า 1 วินาทีในแต่ละครั้ง
B : Breathing ใช้อัตราการกดหน้าอก 30 ครั้งต่อการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (30:2)
ผู้ช่วยเหลือมีความเสี่ยงต่อการติดโรคจากการช่วยหายใจ เช่น โรคโควิด-19
ไวรัสตับอักเสบเอ ผู้ช่วยเหลือจึงสามารถเลือกการช่วยฟืน
้ คืนโดยการกดหน้าอก
อย่างเดียวต่อเนื่อง 200 ครั้ง หรือประมาณ 2 นาที แล้วประเมินซ้า
(สถาบันฉุกเฉินทางการแพทย์,2563)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 112


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดย สถาบันฉุกเฉินทางการแพทย์ **ออกข้อสอบทุกปี JUM!!

ผู้ป่วยชัก

ภาวะช็อก

กรณีเกิดอุบัติรุนแรง หรือตกจากที่สูง

แผลกระดูกหัก

แผลฉีกขาด

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 113


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

แผลอวัยวะถูกตัดขาด

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 114


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

ยาพื้นฐานที่ใช้ใน รพ.สต.

ยา วิธีใช้
Paracetamol สำหรับผู้ใหญ่ และเด็กที่สามารถทานยาเม็ดได้และมีน้าหนักตัว 40 กก. ขึ้นไป
325,500 mg./Tab ➔ 10-15 มิลลิกรัม/น้าหนักตัว 1 กิโลกรัม
บรรเทาอาการปวด รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมง หรือเมือ่ มีอาการ
ไม่ควรกินเกิน 8 เม็ด/วัน หรือ 4,000 มก./วัน ในผู้ใหญ่
ลดไข้
**ออกสอบปี 66 สามารถกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
ให้ทานทันทีที่นึกได้ เม็ดต่อไปหลังจากนั้น 4–6 ชั่วโมง โดยไม่ต้องทานทีเดียว 2 เท่า
Paracetamol syr. ยาน้าสำหรับเด็ก
แบบหยด มีตัวยา 60มก./0.6 มล. หรือ 80 มก./0.8 มล. เด็กอ่อนน้าหนักตัวไม่ถึง 10กก.(อายุ <1ปี)
แบบยาน้าเชื่อม มีตัวยา 120, 125มก./ช้อนชา เด็กน้าหนักตัว 12 – 15 กก. (อายุ <2ปี)
แบบยาน้าเชื่อม มีตัวยา 160 มก./ช้อนชา เด็กน้าหนักตัว 16 – 24 กก. (อายุประมาณ 3-7ปี)
แบบยาน้าเชื่อม มีตัวยา 250 มก./ช้อนชา เด็กน้าหนักตัว 25-40 กก. (อายุประมาณ 8-10ปี)

Ibuprofen รักษาอาการปวด ลดไข้ และแก้อักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ปวดหัว ปวดฟัน ปวดหลัง ข้อต่อ


200,400 mg. อักเสบ ปวดประจำเดือน โรคข้ออักเสบ ปวดประจำเดือน และอาการบาดเจ็บเล็กน้อย
NSAIDs ระมัดระวัง การใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคกระเพาะอาการ/ไข้เลือดออก เพราะยานี้อาจก่อให้เกิดเลือดออก
ในกระเพาะอาหารหรือลำไส้จนอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ
Diclofenac การบรรเทาอาการปวดบวมจาก การอักเสบ ปวดตามข้อ ไขข้อกระดูก กินหลังอาหารทันที
25 mg. ผู้ทจี่ ะผ่าตัดหัวใจหรือทำบายพาส
NSAIDs เด็กอายุต่ากว่า 18 ปี ผูท
้ ี่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยานี้
ผูค
้ นที่มีการทำงานของตับหรือไตผิดปกติอย่างรุนแรง
Domperidone 10 mg. บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการอาหารไม่ย่อย และกรดไหลย้อน **ออกสอบปี 59
Glyceryl บรรเทาอาการไอจากโรคหวัด ขับเสมหะ
Guaiacolate รับประทานครั้งละ 1 เม็ด/แคปซูล (1 ช้อนชา) วันละ 3 - 4 ครั้ง ขนาดสูงสุดของ
100 mg. codeine phosphate ที่ได้รับใน 1 วันไม่เกิน 120 มิลลิกรัมในผู้ใหญ่
Chlorpheniramine ใช้บรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น น้ามูกไหล ผื่นคัน ลมพิษ น้าตาไหล ตาแดง คันตา คัน
2,4 mg. จมูก คันคอ จาม ลดน้ามูกในโรคหวัด
ห้ามใช้
เด็กอายุต่ากว่า 1 ปี เนื่องจาก อาจกระตุ้นระบบประสาททำให้ชักได้
ผู้มีอาการหอบหืด จะทำให้เสมหะเหนียวข้นขึน ้ และอาจอุดตันทางเดินหายใจ
Dimenhydrinate รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน
50 mg. • แก้เมารถ เมาเรือ
Amoxicillin 500 mg เป็นยาต้านแบคทีเรีย นิยมใช้รักษาทอนซิลอักเสบ/ลำคออักเสบ ต่อมน้าเหลืองอักเสบทีเ่ กิดจากการ
ชนิดแคปซูล ติดเชื้อกลุ่ม streptococci ไม่สามารถรักษาโรคติดเชื้อจากไวรัส
ผงน้าตาลเกลือแร่ ใช้ทดแทนการเสียน้าและเกลือแร่ในผูท้ ม
ี่ ีอาการท้องเสีย หรืออาเจียนมากๆ
(Oral Rehydration เทผงยาทั้งซองละลายในน้าสะอาด 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร)
Salt: ORS) ถ้าไม่มี น้าตาลทราย 6 ช้อนชา (2 ช้อนโต๊ะ) และเกลือครึ่งช้อนชาในน้าดื่มสะอาด 1 ลิตร 1,000 ซีซี)
**ออกสอบ ปี 66

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 115


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

ยาสมุนไพร ใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบัน

การวางแผนครอบครัว

การให้บริการวางแผนครอบครัวมี 3 แบบ คือ


 การวางแผนครอบครัวแบบชั่วคราว ได้แก่ บริการยาฉีดคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย
 การวางแผนครอบครัวแบบกึ่งถาวร ได้แก่ การใส่ห่วงอนามัย และบริการฝังคุมกำเนิด
 การวางแผนครอบครัวแบบถาวร คือบริการทำหมันชาย ทำหมันหญิง

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 116


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

วิธีคุมกำเนิด รายละเอียด
การวางแผนครอบครัวแบบชั่วคราว
 ยาเม็ด ยาคุมฉุกเฉิน 1 กล่อง จะมีตัวยา 2 เม็ด ประกอบด้วยตัวยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง คือ ลีโวนอร์เจสเตรล
คุมกำเนิด (levonorgestrel) เม็ดละ 750 ไมโครกรัม
ฉุกเฉิน กินเม็ดแรกให้เร็วทีส
่ ุดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ทไี่ ม่ได้ป้องกันทันที โดยไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง และจะต้องกิน
ยาเม็ดที่ 2หลังจากกินเม็ดแรกไม่เกิน 12 ชั่วโมง
ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75% หากเริ่มยาภายใน 24ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ จะให้ประสิทธิภาพในการ
ป้องกันการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเป็น 85%
 ยาเม็ด • เป็นชนิดฮอร์โมนรวม(เอสโตรเจนและโปรเจสติน) ระงับการตกไข่ และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่
คุมกำเนิด เหมาะกับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว และทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้นอสุจผ
ิ ่านเข้าผสมไข่ยาก
ประสิทธิภาพ • สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนที่มีความรุนแรงได้
97% • ควรเริ่มกินเม็ดแรกภายใน 5 วันแรกของรอบเดือน และควรกินหลังอาหารในเวลาเดียวกันทุกวัน
(ยาคุมชนิด 28 เม็ด ให้กินเรียงตามลูกศรติดต่อกันทุกวัน)
 ชนิด 28 เม็ด มีฮอร์โมน 21 เม็ด และ 7 เม็ดเป็นวิตามิน เพื่อป้องกันการลืมกินยา
 ชนิด 21 เม็ด เป็นฮอร์โมนทั้ง 21 เม็ด เมื่อกินหมดแผงแล้ว รอ7วันจึงเริ่มยาแผงใหม่
ลืมกิน 1 เม็ด ให้กินเม็ดนั้นทันทีที่นึกได้
ลืมกิน 2 เม็ดให้กินวันละ 2 เม็ด 2 วัน โดยกินเพิ่ม1 เม็ดหลังอาหารเช้า 2วัน และมื้อเย็น หรือ
ก่อนนอน กินเหมือนเดิม
ลืมใน 1-7 เม็ดแรก ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดชนิดอืน ่ ร่วมด้วย เช่น การใช้ถุงยางอนามัย
ลืมกิน 3 เม็ด ให้หยุดยาเพื่อรอให้ประจำเดือนมา และให้ใช้วิธีคุมกำเนิดอืน่ รอเช่น ถุงยางอนามัย
เมื่อประจำเดือนมาแล้วให้เริ่มกินแผงใหม่ภายใน 5 วันแรกของประจำเดือน
ถ้ายาเม็ดที่ลืมกิน เป็นเม็ดที่ 15-21 ของแผงซึ่งเป็นฮอร์โมน เมื่อกินยาจนหมดไม่ต้องเว้นระยะ 7
วันและควรใช้วธิ ีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยเช่น การใช้ถุงยางอนามัย
 ยาฉีด  ที่นิยม Depot MedroxyProgesterone Acetate (DMPA) ออกฤทธิ์นาน 3 เดือน
คุมกำเนิด ควรเริ่มฉีดภายในวันที่ 1-5 ของรอบเดือน
กรณีหลังคลอดบุตร ให้ฉีดภายหลังคลอด 4-6 สัปดาห์ หรืออาจฉีดทันทีหลังคลอด โดยพบว่า
ยาฉีด DMPA ไม่ทำให้ปริมาณน้านมลดลง และไม่มีผลต่อการพัฒนาการของทารก
ภายหลังจากการฉีดเข็มแรกควรฉีดเข็มต่อไปทุก 12 สัปดาห์ หรือ 84 วัน
อาการข้างเคียง ทำให้เลือดออกกระปริดกระปรอย ซึ่งมักพบใน 3 เดือนแรกหลังฉีดยา หลังจาก
นั้นเลือดทีอ่ อกจะน้อยลง เมื่อฉีดเข็มต่อๆ ไป
มีประสิทธิภาพสูง ป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน และอาการค้างเคียงต่า
 ถุงยาง  ช่วยป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธุ์ (STI)รวมทังเอชไอวี เป็นวิธคี ุมกำเนิดแบบเดียวที่ป้องกัน
อนามัย ได้ทั้ง 2 อย่างคือการตั้งครรภ์และการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ • ต้องใช้ถุงยางอนามัยชายอย่าง
(condom) ถูกต้องทุกครั้งทีมีเพศสัมพันธ์
• ไม่ทำให้ผู้ชายเป็นหมัน หมดสมรรถภาพทางเพศ หรือร่างกายอ่อนแอ
การวางแผนครอบครัวแบบกึ่งถาวร
 การใส่ห่วง • สตรีที่ต้องการคุมกำเนิดนานๆ อาจใส่หลังคลอดหรือช่วงประจำเดือนมา คุมได้นานประมาณ 3 ปี
อนามัย (IUD) • การใส่ห่วงอนามัยต้องอาศัยบุคลากรทีผ ่ ่านการอบรม เพราะห่วงจะต้องใส่เข้าไปอยู่ในโพรงมดลูก
• ไม่เหมาะกับคนที่มีโอกาสติดเชื้อง่าย เช่น เป็นโรคเบาหวาน มะเร็ง หรือกินยากดภูมิอยู่

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 117


--- ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ---

วิธีคุมกำเนิด รายละเอียด
การวางแผนครอบครัวแบบชั่วคราว
 ยาฝัง วิธีคุมกำเนิดแบบชัว่ คราวที่มีประสิทธิภาพสูง 99.05%
คุมกำเนิด  โดยใช้หลอดยาขนาดเล็กฝังเข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขนของแขนท่อนบน
(Implant) คุมกำเนิดนานประมาณ 3-5 ปี
เหมาะสำหรับผู้มีบุตรเพียงพอแล้ว หรือต้องการเว้นระยะห่างของการมีบุตรนานๆ
สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในทันที หากฝังในช่วง 5 วันแรกของการมีประจำเดือน
แต่หากฝังยาในวันถัดไปหรือวันอื่น ๆ ของรอบประจำเดือน จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้
หลังฝังยา 7 วันขึ้นไป ต้องคุมวิธีอื่นร่วมด้วย
หลังจากที่คลอด/แท้งบุตร หรือให้นมบุตร สามารถฝังยาคุมกำเนิดได้ทน ั ทีและไม่เป็นอันตราย
ข้อเสีย ส่งผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งเป็นอาการปกติของปีแรกที่ฝังยา
การวางแผนครอบครัวแบบถาวร
 ทำหมัน ผู้หญิง ทำหลังจากคลอดขณะอยู่โรงพยาบาลภายใน 1 สัปดาห์แรก ➔ หมันเปียก
ประสิทธิภาพ สะดวกสำหรับผู้ที่มีบุตรพอเพียง การผ่าตัดใช้เวลาไม่นาน โดยทำการผูก และตัดท่อนำไข่
95% การทำวิธีนอี้ าจทำร่วมกับผ่าตัดช่องท้องอย่างอื่น หรือทำช่วงไหนก็ได้ ➔ หมันแห้ง
ผู้ชาย  โดยการตัดท่อนำอสุจิ
ทำเวลาไหนก็ได้ทรี่ ่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง แผลเล็ก ใช้เวลาสั้น
หลังจากทำแล้วต้องชี้แจงให้ทราบว่า ยังคงมีเชื้ออสุจิค้างอยู่ในท่อนำน้าเชื้อ จึงต้องใช้วธิ ีคุมกำเนิด
อย่างอื่น โดยรอจนนานกว่า 3 เดือน
การให้น้าเกลือผู้ป่วยอาเจียนจากการสูญเสียสมดุลของสารน้าในร่างกาย
น้าเกลือ ➔ สารละลายที่มีองค์ประกอบเกลือแร่ต่างๆ โซเดียมคลอไรด์ ไบคาร์บอนเนต ฟอสเฟต หรือบางชนิดก็
มีโพแทสเซียม มีน้าตาล ในปริมาณสัดส่วนต่างๆกัน ขึ้นกับชนิดของน้าเกลือ
ทำไมต้องให้น้าเกลือ
ช่วยผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะขาดน้าอย่างรุนแรง สามารถทดแทนน้าทีร่ ่างกายเสียไปได้อย่างรวดเร็ว
ช่วยชดเชยพลังงานเวลาที่ผู้ป่วยอ่อนเพลียได้ เพราะน้าเกลือมีระดับความเข้มข้นเท่ากับที่ร่างกายต้องการ
ผู้ป่วยที่ต้องให้น้าเกลือหรือสารน้าทางหลอดเลือดดำ
ผู้ป่วยทีไ่ ม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ หรือกินข้าวและน้าไม่ได้นาน ๆ
ผู้ป่วยทีส่ ูญเสียน้าและเกลือแร่ปริมาณมากๆ รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte)
ผู้ป่วยที่ขาดน้า ท้องเดิน อาเจียนรุนแรง
ภาวะช็อกจากการสูญเสียสมดุลของสารน้าในร่างกาย
 ความดันโลหิตต่า หายใจเร็วตื้น ชีพจรเบาเร็ว  ผิวหนังซีด เย็น เหงือ
่ ออก เขียว
 กล้ามเนื้ออ่อนแรง  มึนงง วิงเวียน สับสน กระสับกระส่าย หมดสติ
 ปัสสาวะน้อยหรือไม่มี  เจ็บแน่นหน้าอก
ภาวะ hypovolemic shock
➔ เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ควรได้รับการรักษาทันที เนื่องจากการที่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมีปริมาณ
เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้อวัยวะของผู้ป่วยหยุดทำงานจนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
➔ จะเกิ ด ขึ้น เมื่อ ปริมาณเลือ ดในร่างกายลดลงอย่างมาก หรือ มากกว่าประมาณ 15% โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย
เช่น การได้รับบาดเจ็บจากอุบั ติเหตุอ ย่างรุนแรง การเกิดแผลไหม้ เลือดออกภายในร่างกาย การใช้ยาขับปัสสาวะ
รวมไปถึงภาวะผิดปกติต่าง ๆ เช่น การอาเจียนเป็นปริมาณมาก ท้องเสียอย่างรุนแรง ไข้สูง มีเหงื่อออกมากผิดปกติ
ลำไส้อุดตัน ภาวะขาดน้าขั้นรุนแรง ภาวะท้องนอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) โรคไต
➔ ควรให้สารน้าปริมาณสูงในช่วงแรกของการรักษาโดยอาจให้ได้เร็วถึง 3 ลิตรใน 1/2 ชั่วโมง
--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 118
--- ส่งเสริมสุขภาพ ---

ชุดวิชาที่ 15 ส่งเสริมสุขภาพ

การส่งเสริมสุขภาพ กระบวนการที่ประชาชนสามารถเพิ่มความสามารถในการควบคุมและปรับปรุงสุขภาพให้
บรรลุถึงความสมบูรณ์จิตใจ สังคม กลุ่มชุมชน และบุคคลต้องเข้าใจรู้ปัญหาความอยากได้
องค์การนามัยโลก (WHO),1986 ความต้องการ และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคมและธรรมชาติ

สุขภาพ(Health) ➔ ภาวะของมนุษย์ทสี่ มบูรณทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม


อย่างสมดุล (พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550)

(WHO,2541) ➔ สุขภาวะอันสมบูรณ์และมีความเป็นพลวัตทั้งทางกาย จิต สังคม และจิต วิญญาณ และไม่ใช่เพียงการปราศจากโรค


และการเจ็บป่วยเท่านั้น แต่พิจารณาจากความสัมพันธ์ของทั้ง 4 ด้าน ให้มีภาวะสมดุล คงไว้ซึ่งความมีสุขภาวะทีด
่ ี ดังนี้
1. ด้านร่างกาย (Physical)  การดูแลทีเ่ น้นให้ร่างกายมีความแข็งแรง มีพละกำลังที่สมบูรณ์
2. ด้านจิตใจ (Mental)  การมีสุขภาพจิตทีด
่ ี มีความสุข ปราศจากความเครียด สามารถปรับตัวต่อทุกสภาวะของร่างกายได้ดี
มีความคิดความอ่านได้เหมาะสมตามวัย
3. ด้านสังคม (Social)  ความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม การอยู่ร่วมกับบุคคล
อื่นได้อย่างมีความสุข และมีระบบบริการที่ดี มีแหล่งช่วยเหลือทีเ่ หมาะสม
4. ด้านจิตวิญญาณ (Spiritual)  การมีความสุขที่เกิดจากความเข้าใจความเป็นจริงของ
ชีวิต ความเชื่อต่าง ๆ ทีส
่ ่งผลต่อสุขภาพกายและใจ

 การสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter, 1986) **ออกสอบปี 64 นิยาม


➔ กระบวนการเพิ่มสมรรถนะในการควบคุ ม ปัจจัยกำหนดสุขภาพและปรับ ปรุง สุขภาพของตนเอง ในการบรรลุ
สุขภาพภาวะอันสมบูรณ์ทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญา
➔ บุคคลและกลุ่มบุคคลจะต้องสามารถบ่งบอกและตระหนักถึงความปรารถนาของตนเอง ตอบสนองต่อปัญหาของ
ตนเอง และสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม หรือปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
 แนวคิด “การส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion) เกิดขึ้นเริ่มแรกทีป
่ ระเทศสวิตเซอร์แลนด์
 กฎบั ตรออตตาวา เกิ ดขึ้ นจากการประชุ มนานาชาติ ครั้ ง ที่ ๑ เรื่ อง “การสร้ า งเสริ มสุ ข ภาพ : การเคลื่ อนสู ่ การ
สาธารณสุขแนวใหม่” เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2529 (ค.ศ.1986) ทีก
่ รุงออตตาวา ประเทศแคนาดา **ออกสอบปี 65 ครั้งแรกเกิดที่ไหน
 เป็นก้าวแรกของประกาศเจตนารมณร่วมกันในการปฏิบัติภารกิจเพื่อใหบรรลุเป้าหมายของคำวา “สุขภาพดีถวนหนา” ใหสำเร็จ
ภายในปค.ศ. 2000 **ออกสอบปี 66 ข้อใดไม่ใช่ 5 chapter
กลวิธีการดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพ (Ottawa Charter : 5 principles) มี 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Healthy public policy)  กำหนดภาษีเครื่องดื่มที่มี
น้าตาล กำหนดให้มีฉลากระบุข้อมูลโภชนาการ กำหนดตัวชี้วัดร้อยละของเด็กอ้วนในโรงเรียน
2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (Supportive environment)  จัดพื้นทีอ
่ อกกำลังกายในโรงเรียนและชุมชน ไม่ให้มี
การขายขนมหวาน เครื่ อ งดื่ ม หวานในโรงเรี ย นและรอบโรงเรี ย น จั ด ให้ มี ค าบวิ ช าพละศึ ก ษาส่ ง เสริ ม การออกกำลั ง กาย
มีกิจกรรมเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการรณรงค์ในโรงเรียน
3. การส่งเสริมกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง (Strengthen community action)  การสอนทักษะผู้ปกครองและเด็กเรื่องการ
เตรียมอาหาร การอ่านฉลากอาหาร และการออกกำลังกาย
4. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal skills)  มีโครงการรณรงค์ในชุมชน มีการคัดกรองภาวะอ้วนในชุมชน
การมีชมรมในชุมชนเพื่อส่งเสริมโภชนาการและการออกกำลังกาย
5. การปรับเปลี่ยนการบริการสุขภาพ (Reorient health service system)  มีคลินิกไร้พุงให้บริการปรึกษาและรักษาภาวะ
อ้วนในเด็ก มีระบบการส่งต่อเด็กที่ต้องได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 119


--- ส่งเสริมสุขภาพ ---

กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา : บทบาทบุคลากร ด้านสุขภาพ JUM!!


1. Advocacy (สร้างสรรค์ ชักชวน จูงใจ) สร้างสรรค์ สนับสนุนสภาวการณ์ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
2. Enabling (สนับสนุนอย่างเชื่อมั่นเอื้อให้เป็นไปได้)  สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงศักยภาพ การสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง
3. Mediating (เชื่อมประสาน ไกล่เกลี่ย)  ประสานเชื่อมโยงกลุ่มต่างๆ ในสังคมเพื่อร่วมสร้างเสริมสุขภาพ

กฎบัตรกรุงเทพ (Bangkok Charter,2548) การประชุมครั้งที่ 6 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย


➔ เกิดการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ (health literacy) **ออกสอบ ปี 66
หัวข้อนโยบายและเครือข่ายพันธมิตรเพื่อปฏิบัติการ ประกอบด้วย 5 แนวทางดังต่อไปนี้
**ออกสอบปี 65,66

กฎบัตรกรุงเทพ (Bangkok charter, 2548) HER

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ2566-2570) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 1 พ.ย.65

การส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 120


--- ส่งเสริมสุขภาพ ---
กลุ่มวัย การส่งเสริมสุขภาพ
1. กลุ่มสตรีและ  ส่งเสริมการเกิดและเติบโตคุณภาพ ตั้งครรภ์คุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย
เด็กปฐมวัย  ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์
(0-5 ปี)  ได้รับยาเม็ดที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน ≤ 150-200 มค.ก./เม็ด กินวันละ 1 เม็ดทุกวันตลอดการตั้งครรภ์จนคลอด
 ได้รับบริการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์  ได้รับบริการฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์

หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์

 เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ➔ ตรวจคัดกรองโดยใช้คู่มือDSPM ผ่านครบ 5 ด้าน ในครั้งแรก


 เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน

พัฒนาการ 5 ด้าน ได้แก่


- Gross motor (GM) หมายถึง พัฒนาการด้านการ
เคลื่อนไหว
- Fine Motor (FM) หมายถึง พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ
มัดเล็กและสติปัญญา
- Receptive Language (RL) หมายถึง พัฒนาการด้าน
การเข้าใจภาษา
- Expressive Language (EL) หมายถึง พัฒนาการด้าน
การใช้ภาษา
- Personal and Social (PS) หมายถึง พัฒนาการด้าน
การช่วยเหลือตนเองและสังคม

2. กลุ่มเด็กวัย  การส่งเสริมโภชนาการและการเฝ้าระวงัการเจริญเติบโตในนักเรียน
เรียน (5-14ปี)  สุขบัญญัติแห่งชาติพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของคนไทย
 การเสริมสร้างสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนและเยาวชน
 การส่งเสริมและป้องกัน สุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียน
 การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย
JUM!! ออกสอบบ่อย
 การส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน
 ส่งเสริมเด็กวัยเรียนให้แข็งแรงและฉลาด

3. กลุ่มเด็ก  ส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น
วัยรุน
่ (15-21ปี)

4. กลุ่มวัย  ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงานที่พึงประสงค์
ทำงาน
(15-59ปี)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 121


--- ส่งเสริมสุขภาพ ---

กลุ่มวัย การส่งเสริมสุขภาพ
5.กลุ่มวัย  ส่งเสริมผู้สูงอายุไทยเพือ
่ เป็นหลักชัยของสังคม
สูงอายุ
(60 ปีขึ้นไป)

การบริการดูแลสุขภาพที่บา้ น (Home Health Care)


 กระเป๋าเยี่ยมบ้าน **ออกสอบปี 65
 เครื่องมือทีค
่ วรเตรียมติดตัวไปเยี่ยมบ้าน ได้แก่ แฟ้มประวัติผู้ป่วย ใบสั่งยา แผนที่บ้านและเบอร์โทรศัพท์ผู้ป่วย

Immobility

Nutrition

Other people ขั้นตอนการเยี่ยมบ้าน

Medications
ออกสอบปี 56 วัตถุประสงค์การเยีย่ มบ้าน
Examinations JUM!! หลักเยี่ยมบ้าน IN-HOME-SSS

Service
s
Safety

Spiritual health

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 122


--- ส่งเสริมสุขภาพ ---
ทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ

 ทฤษฎีแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพ Health Promotion Model ฉบับปรับปรุง 2006


HPM ได้อธิบายถึงปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพบุคคลทั้งทางตรงและอ้อม
Pender เสนอแนวทางการวางแผนส่งเสริมสุขภาพไว้ 9 ขั้นตอน

 ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (Social Support Theory)


 แรงสนับสนุนทางด้านสังคม ➔ สิ่งที่ผู้รับได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในด้านความช่วยเหลือทางด้านข้อมูลข่าวสาร
วัตถุสิ่งของ หรือการสนับสนุนทางด้านจิตใจจากผู้ให้การสนับสนุนซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มคน และเป็นผลให้ผู้รับได้ปฏิบัติหรือ
แสดงออกทางพฤติกรรมไปในทางที่ผู้รับต้องการ ในที่นี้หมายถึงการมีสุขภาพดี
 แรงสนับสนุนทางสังคมอาจมาจากบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนบ้าน ผู้นำชุมชน เพื่อนร่วมงาน เพื่อน
นักเรียน ครู เจ้าหน้าทีส
่ าธารณสุข หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

 การสร้างเสริมพลังอำนาจด้านสุขภาพ (Empowerment)
 การสร้างเสริมพลังอำนาจ ➔ กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาให้บุคคล องค์กรและชุมชนมีการเสริมสร้างความสามารถ
ของตนเอง โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้ งแต่การระบุปัญหาของ ตนเองวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและเกิดพลงัรู้สึกว่า
ตนเองมีพลงัอำนาจสามารถควบคุมความเป็นอยู่ หรือชีวิตของตนเองได้ **ออกสอบปี 59 ข้อใดคือ Empowerment จำนิยาม

ระดับของการสร้างพลังอำนาจ (จันทิมา วิชกูล, 2551)


1) การสร้างพลังอำนาจระดับบุคคล (Individual Empowerment)  การสร้างพลังระดับจิตวิทยา (Psychological Empowerment)
➔ การที่บุคคลมีความสามารถที่จะตั ดสิ นใจและสามารถควบคุมชีวิตตนเองได้ ซึ่ง คล้า ยกับความเชื่อในความสามารถแห่ ง ตน
(Self-Efficacy) และการนับถือตนเอง (Self-Esteem) ที่เน้นประเด็นการพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับตนเองในทางบวก (Positive Self-Concept)
หรือความสามารถของบุคคล (Personal Competency)
2) การสร้างพลังอำนาจระดับองค์กร (Organization Empowerment) ➔ เป็นการบริหารจัดการแบบประชาธิปไตยที่ สมาชิกใน
องค์กรมีการแบ่งปันข้ อมูลข่าวสารและอำนาจโดยกระบวนการเรียนรู ้แบบมีส่วนร่วมในขั้ นตอนของการตั ดสิ นใจการออกแบบ
การดำเนินงานรวมถึงการควบคุมให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดร่วมกัน
3) การสร้ า งพลั ง อำนาจระดั บ ชุ ม ชน (Community Empowerment) ➔ ชุ มชนเป็ น จุ ด ที่บุ คคลและองค์ ก รได้ ใช้ ทั ก ษะและ
ทรัพยากรที่มีอยู่มาทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน โดยการที่ทุกคนทุกองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการพั ฒนา
หรือแก้ไขปัญหาของชุมชนซึ่งจะก่อให้เกิดการสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยใช้ศักยภาพทีม
่ ีอยูใ่ นชุมชนเป็นหลัก

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 123


--- สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ ---

ชุดวิชาที่ 16 สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์

สุขศึกษา Health Education


 กระบวนการจัดโอกาส การเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านสุขภาพ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวกับสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อมที่มผ
ี ลกระทบต่อสุขภาพ อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
 ผลรวมของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทไี่ ด้มีการออกแบบอย่างเหมาะสมเพื่อสนับสนุนให้บุคคลกลุ่ม หรือชุมชนมีการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยความสมัครใจเพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาสุขภาพ
 ความสำคัญของสุขศึกษา
ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
ช่วยเสริมพลังให้บุคคลและชุมชนมีความสามารถในการจัดการและควบคุมสุขภาพตนเอง
ช่วยให้ประชาชนมีพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพอย่างเหมาะสม
ช่วยให้บุคคลและสังคมตระหนักในความสำคัญของสุขภาพ และร่วมมือสนับสนุนผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายและ
สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ
 ประเภทของสุขศึกษา

การสุขศึกษารายบุคคล การสุขศึกษารายกลุ่ม การสุขศึกษามวลชน **ออกสอบปี 66


1. ให้ความรู้ ความเข้าใจอย่างละเอียด 1. แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ 1.นำข่ า วสาร ความรู ้ และข้ อ เท็ จ จริ ง ไปถึ ง
2.ช่วยแก้ปัญหาส่วนตัว ให้คำปรึกษาเฉพาะ 2. กลุ่มกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประชาชนในระยะเวลาอันสั้น
3. มีโอกาสซักถามได้ 3. เกิดความร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหา 2. ให้ข่าวสารเฉพาะเรื่องหรือแนวคิดได้ตาม
4. สามารถชักชวนให้ทำตามสิ่งที่ต้องการได้ 4. ทำให้ เกิ ด ทั ก ษะในการใช้ ค วามคิ ด การ ต้องการและรวดเร็ว
5. ช่วยสอนทักษะพิเศษเฉพาะราย อภิปราย 3. กระตุ้นให้ประชาชนสนใจปัญหาสุขภาพ
6. กระตุ ้ น ให้ บุ ค คลเกิ ด การเปลี่ ย นแปลง 5. สร้างทัศนคติเกี่ยวกับการยอมรับความคิด และคิดแก้ไขด้วยตนเอง
พฤติกรรม ของผู้อื่น 4. ชุกชวนประชาชนให้ส นับสนุ น โครงการ
6. สร้ า งบรรยากาศของการทำงานร่ ว มกั น หรือกิจกรรมทีต ่ ้องการได้
แบบเป็นกลุ่ม 5. ทำให้ความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติที่เกิ ด ขึ้น
นั้นคงทน
6. ใช้รว่ มกับวิธีการอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 ประเภทของสื่อสุขศึกษา
ประเภท คุณลักษณะ จุดเด่น จุดด้อย
สื่อบุคคล สื่อสารสองทางเป็นทั้งเชิงรุกและเชิงรับ มีอิทธิพลต่อการโน้มน้าวใจมีปฏิสัมพันธ์ ความรู้ความเข้าใจเนื้อหาอาจไม่เท่ากัน
สื่อมวลชน สื่อสารทางเดียว สื่อสารกับมวลชนช่วยจุดประกาย สร้าง ถูกแทรกแซงด้วยอิทธิพลธุรกิจ
วิทยุกระจายเสียงออกข้อสอบ กระแส
สื่อใหม่ สื่อดิจิทัลสื่อสารสองทาง ช่วยจุดประกาย สร้างกระแสรวดเร็ว เข้าไม่ถึงคนทุกกลุม
่ เนื้อหามาก
ปรับแต่งเนื้อหาได้งา่ ย
สื่อเฉพาะกิจ มีความเจาะจงในประเด็น ตรงประเด็น เมื่อเปลีย่ นพื้นที่ เวลาอาจไม่ได้ผล
เนื้อหา/ พื้นที่ เวลา
สื่อพื้นบ้าน ให้ค วามรู้สึก ใกล้ชิดมีค วามเป็นศิลปะและ มีปราชญ์ เป็นภูมิปัญญาชุมชน เริม
่ สูญหาย
วัฒนธรรม
สื่อชุมชน ให้ความรู้สึกใกล้ชิด มีอยู่ในชุมชน หอกระจายข่าววิทยุ สื่อสารได้เฉพาะในชุมชน

สื่อกิจกรรม/ สื่อสารสองทางเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม เปลีย่ นทัศนคติและพฤติกรรมได้ ต้องใช้เวลา ทรัพยากรและงบประมาณมาก


เหตุการณ์
พิเศษ

พฤติกรรมสุขภาพ (Health behavior) ➔ การกระทำที่มีผลต่อบุคคล ครอบครัว หรือชุมชน ไม่ว่าจะในลักษณะที่ทำให้เกิดผล


เสียต่อสุขภาพ เช่น ทำให้ตนเอง บุคคลอื่นๆในครอบครัว หรือบุคคลอื่นในชุมชนเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือในลักษณะ
ที่เป็นผลดีต่อสุขภาพ เช่น ทำให้ตนเอง บุคคลอื่นๆในครอบครัว หรือบุคคลอื่นในชุมชนมีสุขภาวะดี ไม่เจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือ
เสียชีวิตด้วยโรคทีเ่ กิดจากพฤติกรรมสุขภาพ (กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ,2561)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 124


--- สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ ---

 ลักษณะของพฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ


1. พฤติกรรมที่ พึงประสงค์ หรือพฤติกรรมเชิงบวก (Positive Behavior) ➔ พฤติกรรมที่บุคคลปฏิบัติแล้วส่งผลดีต่อ
สุ ข ภาพของบุ ค คล เป็ น พฤติ ก รรมที่ ค วรส่ ง เสริ ม ให้ บุ ค คลปฏิ บั ติ ต ่ อ ไปและควรปฏิ บั ติ ให้ ดี ขึ้ น เช่ น การออกกำลั ง กาย
การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เป็นต้น
2. พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือพฤติกรรมเชิงลบหรือพฤติกรรมเสี่ยง (Negative Behavior) ➔ พฤติกรรมที่บุคคล
ปฏิ บั ติ แ ล้ ว จะส่ ง ผลเสี ยต่ อ สุ ข ภาพ ทำให้ เกิ ด ปั ญ หาสุ ข ภาพหรื อ โรค เป็ น พฤติ ก รรมที่ ไ ม่ พึ ง ประสงค์ เช่ น การสู บ บุ หรี่
การดื่มสุรา การรับประทานอาหาร จำพวกแป้งหรือไขมันมากเกินความจำเป็น การรับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก เป็นต้น
จะต้องหาสาเหตุทท
ี่ ำให้เกิดพฤติกรรมและพยายามปรับเปลี่ยนให้บุคคลเปลี่ยนไปแสดงพฤติกรรมทีพ
่ ึงประสงค์

 ปัจจัยทีม
่ ีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งทีอ
่ ยู่ภายในและ ภายนอกตัวบุคคล แบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1. ปัจจัยนำ (Predisposing Factors)  เป็นปัจจัยพื้นฐานทีเ่ ป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมและเป็นความ
พอใจส่วนบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้และอาจนำไปสู่การส่งเสริมหรือยับยั้งการแสดงออกทางพฤติกรรมสุขภาพ
นั้นๆ ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม และการรับรู้รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น สถานภาพทางเศรษฐกิจและ สังคม อายุ
เพศ การศึกษา และขนาดของครอบครัว **ออกสอบปี 65 อะไรคือปัจจัยนำ
2. ปัจจัยเอื้อ (Enabling Factors)  ปัจจัยสนับสนุนซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่จำเป็นต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพต่างๆ
เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย เวลา ระยะทาง การเดินทาง ชั่วโมง การให้บริการ และอื่นๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้การแสดง
พฤติกรรมสุขภาพนั้นๆ เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
3. ปัจจัยเสริม (Reinforcing Factors)  เป็นปัจจัยที่แสดงถึงการสนับสนุนให้บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
หรืออาจช่วยยับยั้งพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม โดยการให้รางวัล ให้การยอมรับ หรือการลงโทษ ซึ่งปัจจัยเสริมเหล่านี้
ได้แก่ บุคลากรทางสาธารณสุข ครอบครัว คู่สมรส เพื่อน หรือบุคคลแวดล้อมอื่นๆ ทีอ
่ าจจะมีอิทธิพลให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ

ความรอบรูด
้ ้านสุขภาพ (Health Literacy : HL) **ออกสอบหลายข้อ จำนิยาม ระดับ องค์ประกอบ

องค์การอนามัยโลก, 1998 ➔ ทักษะต่างๆ ทางการรับรู้และทางสังคม ซึ่งเป็นตัวกำหนดแรงจูงใจ และความสามารถของปัจเจก


บุคคลในการเข้าถึง เข้าใจ และใช้ข้อมูลในวิธีการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและบำรุงรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ”
กรมอนามัย, 2561 ➔ ระดับความสมรรถนะของบุคคล ในการเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และปรับใช้ข้อมูลความรู้และบริการสุขภาพ
ได้อย่างเหมาะสม V-Shape หรือ HLP ➔ กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในตัวบุคคลเพื่อให้เกิดความรอบรู้

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 125


--- สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ ---

Health Literate Thailand


2579

 เราจะทำงานให้เข้าถึงผู้ป่วยและครอบครัวอย่างไร

ทฤษฎีแบบแผนความเชือ
่ ทางสุขภาพ (health belief model)
 แนวคิดของทฤษฎีนี้เริ่มแรกสร้างขึ้นจากทฤษฎีเกี่ยวกับ “อวกาศของชีวิต” (Life Space) ซึ่งได้คิดขึ้นครั้งแรกโดยนักจิตวิทยา Kurt Lewin

องค์ประกอบของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
1. การรับรู้ตอ่ โอกาสเสีย่ งของการเป็นโรค (Perceived Susceptibility)
2. การรับรู้ความรุนแรงของโรค (Perceived Severity)
3. การรับรู้ถึงประโยชน์ของการรักษา ป้องกันโรค
( Perceived Benefits ) และการรับรู้ต่ออุปสรรค ( Perceived
Barriers )
4. ปัจจัยร่วม (Modifying Factors)
(อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ ,2554)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 126


--- นโยบายของรัฐด้านสาธารณสุข ---
นโยบายของรัฐด้านสาธารณสุข

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข


นาย สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นโยบายกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2567 **ออกสอบหลายข้อ นโยบายมุ่งเน้น ต้องจำ


โดยนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ภายใต้แนวคิด “ พี่เล่าให้น้องฟัง รวมพลัง แล้วไปกันต่อ ”

ยกระดับ 30 บาท พลัส เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน 13 ประเด็นสำคัญ


 โครงการพระราชดำริฯ ตลอดจนโครงการเฉลิมพระเกียรติที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงค์
 นโยบายกระทรวงสาธารณสุขอีก 12 เรื่อง ดังนี้

 10 นโยบายเน้นหนัก ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค Quick Win 100 วัน (จาก 13 ประเด็น)

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 127


--- นโยบายของรัฐด้านสาธารณสุข ---

 นโยบายและทิศทางการดำเนินงาน กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2568


นายแพทย์โอกาสการ กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สุขภาพคนไทยเพื่อสุขภาพประเทศไทย **ออกสอบปี 66
หลักปฏิบัติในการทำงาน ➔ ทำทันที ทำต่อเนื่อง ทำและพัฒนา
1. เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารยกระดับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในทุกมิติประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล
ข่าวสาร ได้อย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สะดวกรวดเร็ว เพื่อพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยให้สามารถดูแลสุขภาพกายใจ
ของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้แข็งแรง
2. ยกระดับระบบริการรองรับสังคมสูงวัย และลดอัตราตายโรคสำคัญ เสริมความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพ
ปฐมภู มิ เพิ่ ม ศั ก ยภาพสามหมอ ปรั บ โฉมโรงพยาบาลทุ ก แห่ ง ให้ เป็ น “โรงพยาบาลของประชาชน และเพิ่ ม ขี ด
ความสามารถระบบบริการและเครือข่ายโดย “ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง”
3. ผลั ก ดั น การบริ ก ารทางการแพทย์ แ ละสาธารณสุ ข สู ่ ยุ ค ดิ จิ ทั ล โรงพยาบาลทุ ก แห่ ง ใช้ ก ารแพทย์ ท างไกล
(Telemedicine) พั ฒ นาระบบข้ อ มู ล สุ ข ภาพให้ เ อื้ อ ต่ อ การบริ ก ารอย่ า งไร้ ร อยต่ อ และพั ฒ นาระบบสาธารณสุ ข
ให้มีประสิทธิภาพยิง่ ขึ้น และเร่งพัฒนานวัตกรรมการแพทย์
4. ยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพ เตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศในอนาคต
5. ส่งเสริมให้ป ระเทศไทยเป็น ศูนย์ก ลางทางการแพทย์แ ละสุขภาพนานาชาติ สนับ สนุนการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
6. พัฒนาสู่องค์กรสมรรถนะสูง และบุคลากรมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น เสริมสร้างสมรรถนะองค์กรด้วย
แนวทาง AT Trust Teamwork & Talent Technology Target บุคลากรมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น

 บัตรประชาชนใบเดียว นำร่อง 4 จังหวัดรักษาข้ามสังกัดสาธารณสุข

“บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่” ใช้บริการได้ในหน่วยบริการ รพ.ทุกสังกัดข้ามเครือข่ายได้ 4 จังหวัดนำร่อง


“แพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด นราธิวาส”

 ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 24 ต.ค.66 ได้เห็นชอบการดำเนินการ


ประเด็ น ที่ก ระทรวงสาธารณสุข เสนอยกระดับ 30 บาทรั ก ษาทุก โรคทำให้ ไ ด้ ต ามนโยบาย Quick Win 100 วั น คื อ
บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่
 เป้าหมายการพัฒนาระบบบัตรประชาชนใบเดียว รักษาได้ทุกที่ ดังนี้
1. เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพหน่วยบริการทุกระดับ
2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการรับบริการ และ
3. เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการ
 หากประชาชนบางส่วนไม่ถนัดการใช้มือถือแบบสมาร์ทโฟน สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการรับบริการ
สามารถเชื่อมโยงข้อมูลในการรักษาพยาบาลได้ทุกแห่งเช่นเดียวกัน
 สำหรับการพัฒนาระบบแบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. พัฒนาระบบบันทึกข้อมูล ทั้งจาก รพ.รัฐ สังกัด (สธ.) นอกสังกัด สธ. รพ.เอกชน รพ.สต. คลินิก ร้านยา
2. พัฒนาระบบยืนยันตัวตน ➔ ยืนยันตัวตนผู้รับบริการ เช่น ดิจิทัลไอดี ยืนยันตัวตนผู้ให้บริการ การตรวจสอบ
สิทธิ การยืนยันเข้ารับบริการ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การยืนยันตัวตนคนต่างด้าว
3. พัฒนาระบบการทำงาน เช่น ประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ สมุดสุขภาพประชาชน ใบรับรองแพทย์ดิจิทัล การนัด
หมายออนไลน์ การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เป็นต้น
4.การพัฒนาระบบเชื่อมต่อประชาชน ทั้งการผ่าน LINE OA และ Application เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงประชาชนทั้งประเทศ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 128


--- นโยบายของรัฐด้านสาธารณสุข ---

ไทม์ไลน์จัดบริการ “ประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่” แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้


 ระยะที่ 1 มกราคม 2567
ประชาชนจะมีประวัติสุขภาพแสดงบนโทรศัพท์ สามารถดึงประวัติของตนเองมาเก็บไว้ในสมุดสุขภาพ หรือ
Health wallet บนโทรศัพท์ของตนเองได้
หญิงตั้งครรภ์ จะมีสมุดฝากครรภ์สีชมพูบนโทรศัพท์ ซึ่งถ้าหากต้องการใบรับรองแพทย์ จะเป็นใบรับรองระบบ
ดิจิทัลที่มีลายเซ็นของแพทย์ โดยไม่ต้องใช้กระดาษ ป้องกันการปลอมแปลง และสะดวกต่อการใช้งาน
เมื่อประสงค์จะไปรับยาที่ร้านยา หรือไปเจาะเลือดก็จะมีใบสั่งยา หรือแล็บแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่เชื่อมโยงไปยัง
ร้านยา และแล็บแบบอัตโนมัติ
ขณะที่โรงพยาบาล ร้านยา คลินิก รพ.สต. ใน 4 จังหวัด จะมีระบบการแพทย์ทางไกลที่เชื่อมต่อประวัติสุขภาพ
ผ่านโทรศัพท์ของประชาชน มีระบบนัดหมายออนไลน์ แจ้งเตือนการมารับบริการ การส่งยาทางไปรษณีย์ หรืออื่นๆ
พร้ อ มการเบิ ก จ่ า ยผ่ า นระบบกลาง ที่ เ ตรี ย มพั ฒ นาไปสู ่ ร ะบบข้ อ มู ล ขนาดใหญ่ ( Big Data) และต่ อ ยอดด้ ว ย
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพของการเงินในอนาคต โดยหน่วยบริการจะได้รับเงินภายใน
72 ชั่วโมงหลังจากการส่งเบิก เป็นต้น

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 129


--- สถานการณ์ปัจจุบันของระบบสาธารณสุขและสุขภาพ ---
 ระยะที่ 2 เมษายน 2567
เพิ่มระบบจ่ายเงิน ทางออนไลน์ ไม่ต้อ งไปรอที่เคาท์เตอร์จ่ายค่าบริก าร สามารถกดจ่ายผ่านโทรศัพท์ได้เลย
รวมถึงที่ตู้คีย์ออส ในกรณีที่ไม่มีสมาร์ทโฟน
การส่งผู้ป่วยโดยำไม่ใช้ใบส่งตัว
ข้อมูลสุขภาพที่เตรียมการจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ หากข้อมูลที่เป็นประวัติส่วนตัวในการรักษาจะมีระบบป้องกัน
ขั้นสูง ต้องมีรหัส OTP ของผู้ป่วยก่อนที่แพทย์จะส่งข้อมูลไปได้ เพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล
ระบบสามารถเชื่อมโยงไปถึง การเจาะเลือดใกล้บ้าน และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือ
ผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
 ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ และกฎหมายความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA เป็นสิ่งที่เราคำนึงสูงสุดต่อ
การพัฒนาระบบนี้ ซึ่งโครงการนี้จะนำร่องใน 4 จังหวัด กระจายทุกภูมิภาค ทั้งภาคเหนือ กลาง อีสาน และใต้ ได้แก่
แพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด และนราธิวาส โดยมีรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม กระทรวงอุดมศึกษาฯ
รพ.เอกชน คลินิก ร้านขายยา รพ.สต.ที่เข้าร่วมโครงการ โดยจะนำร่องและนำบทเรียนในพื้นที่ดังกล่าวมาปรับปรุงแก้ไข
ก่อนขยายผลต่อไป”

ระบบบริการสาธารณสุข
 โครงสร้างของระบบบริการสาธารณสุขประกอบด้วย ระบบต่างๆ 6 ด้าน คือ
1) ระบบบริการ ได้แก่ การบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิทุติยภูมิและตติยภูมิ
2) กำลังคนด้านสุขภาพ
3) ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
4) เทคโนโลยีด้านการแพทย์ ได้แก่ ยา และเวชภัณฑ์ เครื่องมือตรวจวินิจฉัยโรค และเครื่องมือในการรักษา
5) งบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
6) ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลของระบบ
 มีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ อยู่ 4 ประการ คือ
1. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ ในการได้รับบริการ และการมีสุขภาวะที่ดี
2. เพื่อทำให้มั่นใจว่าการบริการสุขภาพนั้นได้ตอบสนองความต้องการของประชาชนในระดับที่น่าพอใจ
3. เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบป้องกันความเสี่ยงด้านสังคมและการเงินจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
4. เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการในด้าน การจัดสรรทรัพยากรและเทคโนโลยี
 การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ต้องคำนึงถึง การเข้าถึงบริการ และความครอบคลุมของบริการสาธารณสุข และ
บริการต่างๆ ที่มีคุณภาพได้ มาตรฐานและมีความปลอดภัย

การถ่ายโอน รพ.สต. สู่ ท้องถิ่น


 เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2564 ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60
พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
>> ลงนามโดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการการกระจาย
อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ ณ วันที่ 5 ต.ค.2564
 มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความ
ต้องการทางด้านสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอน ดังต่อไปนี้

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 130


--- สถานการณ์ปัจจุบันของระบบสาธารณสุขและสุขภาพ ---

ข้อ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น : เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา และองค์กรปกครอง


ส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
ข้อ 2 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ได้รับการถ่ายโอน มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการป้องกันและบำบัดโรค
ส่งเสริมสุขภาพอนามัย รักษาพยาบาลอย่างง่าย ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ และคุ้มครองผู้บริโภค
ข้อ 3 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ได้รับการถ่ายโอน ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐอย่างเหมาะสม และ
ไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลัง แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งนั้น โดยอย่างน้อยต้องได้รับการจัดสรร
งบประมาณตามแนวทางการดำเนินการที่คณะกรรมการการฯกำหนด แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 4 ให้โครงสร้างและอัตรากำลัง เป็นไปตามโครงสร้างและอัตรากำลัง ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60
พรรษา นวมิน ทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกั ด กระทรวงสาธารณสุข ตามแนวทางการ
ดำเนินการที่คณะกรรมการการฯกำหนด แนบท้ายประกาศนี้ อาจพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังตาม
ความจำเป็นและเหมาะสมกับปริมาณงานให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
ข้อ 5 ให้การถ่ายโอนบุคลากรเป็นไปตามความสมัครใจ หากบุคลากรไม่สมัครใจโอนย้าย ให้องค์การบริหารส่วน
จังหวัดและส่วนราชการต้นสังกัดเดิมปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินการที่คณะกรรมการการฯกำหนดแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 6 ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นมีความพร้อมและประสงค์ขอรับการถ่ายโอนภารกิจ ให้ดำเนินการ
ถ่ า ยโอนให้ แก่ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น อื่ น ที่ ข อรั บ การถ่ า ยโอนภารกิ จ ตามหลั ก เกณฑ์ แ ละขั้ น ตอนที่
คณะกรรมการกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
ข้อ 7 ให้ทุกส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ย วข้อง และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฏิบั ติตามหลักเกณฑ์แ ละ
ขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจ ตามแนวทางการดำเนินการที่คณะกรรมการการฯกำหนด แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 8 ให้คณะกรรมการกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรักษาการตามประกาศนี้
และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้

 สรุปการถ่ายโอนภารกิจปีงบประมาณ 2566
➔ การถ่ายโอนโรงพยาบาลสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมา สรุปล่าสุด มี อบจ. ทั่วประเทศส่งหนังสือ
มาขอรับการถ่ายโอน ทั้งหมด 49 อบจ. โดยผ่านการประเมินระดับดีเลิศ 45 อบจ. และอยู่ในระดับดีมาก 4 อบจ. และ
มี รพ.สต. ถ่ายโอนไป อบจ. ในรอบแรก 1 ต.ค. 2565 (ปีงบประมาณ 2566) รวม 3,384 แห่ง มีจำนวนข้าราชการที่ประสงค์
ขอถ่ายโอน 12,037 คน จำนวนพนักงานกระทรวงสาธารณสุขและลูกจ้างขอถ่ายโอน 9,862 คน รวมบุคลากรประสงค์
ถ่ายโอน 21,899 คน

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 131


--- ความรู้เกี่ยวกับสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ---

ความรู้เกี่ยวกับสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข

วิสัยทัศน์ (Vision)
 เป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดทิศทาง กำกับดูแล ขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
สู่การปฏิบัติ บริหารจัดการทรัพยากร และจัดบริการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและเป็นธรรม เพื่อประชาชนสุขภาพดี

พันธกิจ (Mission)

1. กำหนดนโยบาย ยุ ทธศาสตร์ เป้า หมาย และผลลัพธ์ด้านสุขภาพ พัฒนากฎหมาย กำหนดมาตรฐาน


ประสานและบูรณาการประเด็นสุขภาพที่สำคัญ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
2. แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ ติดตามกำกับ ประเมินผล ตลอดจนกำกับดูแลการดำเนินงานตามกฎหมาย
และมาตรฐานด้านสุขภาพ
3. จัดบริการและพัฒนาระบบบริการสุขภาพในด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ
และคุ้มครองผู้บริโภคที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและภาคประชาชน
4. สนับ สนุนและพัฒ นาระบบบริหารจัดการทรัพยากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข องค์ค วามรู้ระบบ
ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาคีเครือข่ายตามหลักธรรมาภิบาล

ค่านิยมองค์กร
**ออกสอบปี 65
นิยามไทย-อังกฤษ

อำนาจหน้าที่

 มี ภารกิ จเกี่ ยวกั บการพั ฒนายุ ทธศาสตร์ และแปลงนโยบายของกระทรวงเป็ นแผนการปฏิ บั ติ ราชการ ตลอดจน
จัดสรรทรัพยากรและบริหารราชการประจำทั่วไปของกระทรวง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง

1. กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง เพื่อให้สอดคล้องตามแนวทางพระราชดำริ นโยบายรัฐบาล


สภาพปัญหาของพื้นที่ สถานการณ์ของประเทศ และขับเคลื่อนนโยบายตามแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ
2. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวงและการบู รณาการด้านสุขภาพระหว่างองค์กรที่เกี่ ยวข้อง เพื่อให้เกิดความ
ชัดเจนในการจัดการสาธารณสุขในภาวะปกติ ฉุกเฉิน วิกฤติ การคุ้มครองผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคเอกชน
3. จัดสรรและพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรของกระทรวง เพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่า และสมประโยชน์
4. กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผล รวมทั้งประสานการปฏิบัติราชการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
5. ดำเนินการและให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
6. พัฒนาระบบการเงินการคลัง และระบบบริการด้านสุขภาพให้เหมาะสมและได้มาตรฐาน
7. พัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สารนิเทศและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อใช้ในการบริหารงาน
และการบริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
8. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
9. ดำเนินงานและพัฒนาความร่วมมือด้านสุขภาพระหว่างประเทศ
10. ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุขให้ทันสมัยและเหมาะสมยิ่งขึ้น
11. ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
ด้านระบบบริการสุขภาพและด้านการพยาบาลแก่องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
12. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวงหรือตามที่รัฐมนตรีหรือ
คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 132


--- ความรู้เกี่ยวกับสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ---

 แผนผังรูปภาพโครงสร้าง ปี พ.ศ. 2563 **ออกสอบบ่อย อดีตปลัดกระทรวงฯ


คนที่ 31 คือ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต

➔ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ (คนที่ 32)

JUM!! อาจจอกสอบ

 นโยบายและยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) : ประกาศในราชกิจจานุเบกขา วันที่ 13 ต.ค. 2561

 เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทย แผนระดับ 1 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้อง


นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุ วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว
ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน
เป้ า หมายการพั ฒ นาประเทศ  “ประเทศชาติ มั่ น คง ประชาชนมี ค วามสุ ข เศรษฐกิ จ พั ฒ นาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง
สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน”
 มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์
ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์
ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอ
ภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ยุทธศาสตร์
ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ยุทธศาสตร์หลักที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุข คือ 3 และ 4
3 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
เป้าหมาย ➔ เพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ
การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ➔ มุ่งเน้นการพัฒนาคนเชิงคุณภาพในทุกช่วงวัย ประกอบด้วย (1) ช่วงการ
ตั้งครรภ์/ปฐมวัย เน้นการเตรียมความพร้อม ให้แก่พ่อแม่ก่อนการตั้งครรภ์ (2) ช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น ปลูกฝังความเป็นคน
ดี มีวินัย พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สอดรับกับศตวรรษที่ 21 (3) ช่วงวัยแรงงาน ยกระดับ ศักยภาพ ทักษะและสมรรถนะ
แรงงานสอดคล้องกับความต้องการของตลาด (4) ช่วงวัยผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 133


--- ความรู้เกี่ยวกับสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ---

4 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
เป้าหมาย ➔ ให้ความสำคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น มาร่วม
ขับเคลื่อน
การลดความเหลื่อมล้า สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ
 สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะสำหรับผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการพึ่งตนเองและการจัดการตนเอง
 สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างประชาธิปไตยชุมชน

แผนระดับที่ 2
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580 ประกาศในราชกิจจานุเบกขา วันที่ 18 เม.ย. 2562
 เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติให้บรรลุตาม เป้าหมายที่วางไว้ในปี 2580 มีทั้งสิ้น 23 ฉบับ
 มี 14 ประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุข ประเด็นหลัก 2 ประเด็นคือ 13 และ 17
13 ประเด็นการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี 17 ประเด็นความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม
เป้าหมาย  คนไทยมีสุขภาวะทีด ่ ีขึ้น และมีความเป็นอยู่ดี เป้าหมาย  คนไทยทุกคนได้รบ ั การคุ้มครองและ
ตัวชี้วัด  อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีหลักประกันทางสังคมเพิ่มขึ้น
ปี 61-65 ปี 66-70 ปี 71-75 ปี 76-80 ตัวชี้วดั  สัดส่วนประชากรไทยทั้งหมดทีไ่ ด้รับความ
≥ 68 ปี ≥ 70 ปี ≥ 72 ปี ≥ 75 ปี คุ้มครองตามมาตรการคุ้มครองทางสังคม
ประกอบด้วย 5 แผนย่อย ดังนี้ เจ็บป่วย คลอดบุตร ตาย ทุพพลภาพ/พิการ
1. การสร้างความรอบรูด ้ ้านสุขภาวะและการป้องกันและ เงินช่วยเหลือ ครอบครัว/บุตร ชราภาพ ว่างงาน
ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสุขภาวะ ผู้อยู่ในอุปการะ การบาดเจ็บจากการทำงาน

ปี 61-65 ปี 66-70 ปี 71-75 ปี 76-80


70% 80% 90% 100%

ประกอบด้วย 2 แผนย่อย ดังนี้


2. การใช้ชม
ุ ชนเป็นฐานในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ 1. การคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและหลักประกันทาง
การมีสุขภาวะทีด
่ ี เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ

3. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัยสนับสนุนการ
สร้างสุขภาวะที่ดี 2. มาตรการแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกลุม

4. การกระจายบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

5. การพัฒนาและสร้างระบบรับมือปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่
และอุบัติซา้ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 134


--- ความรู้เกี่ยวกับสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ---

แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง ประกาศในราชกิจจานุเบกขา วันที่ 25 ก.พ. 2564 **ออกสอบปี 66


 แผนการปฏิรูปประเทศมีทั้งหมด 13 ด้าน ➔ แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขด้านที่ 7
 แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เป้าประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วย ผู้เสี่ยงโรคและผู้สูงอายุได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และทันสมัย มีความรอบรู้
ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น สามารถป้องกันและลดโรคที่สามารถป้องกันได้ พร้ อมทั้งผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองและ
ได้รับการบริบาลและรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพที่บ้านและในชุมชน
ประกอบด้วย
1) การปฏิรูปการจัดการภาวะฉุกเฉิน ด้านสาธารณสุขรวมถึง โรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ เพื่อความมั่นคง
แห่งชาติด้านสุขภาพ
2) การปฏิรูปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสร้างเสริมสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การป้องกัน
และดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อสำหรับประชาชนและผู้ป่วย
3) การปฏิรูป ระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุด้านการบริบาลการรักษาพยาบาลที่บ้าน/ชุมชน และการดูแลสุขภาพ
ตนเองในระบบสุขภาพปฐมภูมิเชิงนวัตกรรม
4) การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพและกองทุนที่เกี่ยวข้องให้มีความเป็นเอกภาพ บูรณาการ เป็นธรรม
ทั่วถึง เพียงพอและยั่งยืนด้านการเงินการคลัง
5) การปฏิรูป เขตสุขภาพให้มีร ะบบบริหารจัดการแบบบูรณาการ คล่อ งตัว และการร่วมรับผิดชอบด้านสุขภาพ
ระหว่างหน่วยงานและท้องถิ่นดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่าง
ทั่วถึงบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย + ตัวชี้วัด

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) **ออกสอบปี 66

 ประกาศในราชกิจจานุเบกขา วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565


 มีสถานะเป็นแผนระดับที่ 2 ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ และใช้เป็นกรอบ
สำหรับการจัดทำแผนระดับที่ 3 เพื่อให้การดำเนินงานของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องสามารถสนับสนุนการบรรลุ
เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ตามกรอบระยะเวลาที่คาดหวังไว้ได้
 เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขหลักๆ คือ หมุดหมายที่ 1, 4, 6, 8, 12 และ 13
วัตถุประสงค์เพื่อ ➔ พลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่า อย่างยั่งยืน”

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 135


--- ความรู้เกี่ยวกับสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ---

แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ป (ด้านสาธารณสุข) พ.ศ. 2560 – 2579 **ออกสอบบ่อย

เป้าหมาย ➔ ประชาสุขภาพดี เจ้าหน้ามีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน


วิสัยทัศน ➔ เป็นองคกรหลักดานสุขภาพ ที่รวมพลังสังคม เพื่อประชาชนสุขภาพดี **ออกสอบปี 64,66
พันธกิจ ➔ พัฒนาและอภิบาลระบบสุขภาพ อย่างมีสวนร่วมและยั่งยืน
ตัวชี้วัด ➔ อายุคาดเฉลี่ย 2 ตัว คือ HALE และ LE

 โดยกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน เป็น 4 ระยะ ระยะละ 5 ป


ปัจจุบัน  อยู่ระยะที่ 2 สร้างความเข้มแข็ง

 มียุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ 4 ด้าน เรียกว่า 4 Excellence


1) สงเสริมสุขภาพ ปองกันโรค และคุมครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion, Prevention & Protection Excellence)
2) บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) ➔ Thailand 4.0 **ออกสอบปี 66 ถามว่าอยู่ใน Excellent ใด
3) บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)
4) บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence)
◆ แผนงาน/โครงการ และตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
 มี 14 แผนงาน 35 โครงการ 54 ตัวชี้วัด **ออกสอบปี 66
1. Promotion Prevention & Protection Excellence ➔ 4 แผนงาน 7 โครงการ 15 ตัวชี้วัด
2. Service Excellence ➔ 5 แผนงาน 20 โครงการ 27ตัวชี้วัด
3. People Excellence ➔ 1 แผนงาน 2 โครงการ 2ตัวชี้วัด
4. Governance Excellence ➔ 4 แผนงาน 6 โครงการ 10 ตัวชี้วัด

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 136


--- ความรู้เกี่ยวกับสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ---

การพัฒนาระบบปฐมภูมิ
 ระบบสุขภาพปฐมภูมิ ประกอบด้วย
➢ ระบบบริการปฐมภูมิ ที่บูรณาการกับการสาธารณสุข (การจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ
ป้ อ งกั น โรค และเหตุ ฉุ ก เฉิ น ทางสุ ข ภาพ) โดยมี ก ารทำงาน(บริ ก าร) แบบที่ เรี ย กว่ า “ประชาชนเป็ น ศู น ย์ ก ลาง”
(PCU/NPCU)
➢ การมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ผ่านกลไกนโยบาย และมาตรการต่างๆ เพื่อจัดการปัจจัยกำ หนดสุขภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยทางสังคม และเศรษฐกิจ (พชอ.)
➢ การเสริมพลังอำนาจประชาชนและชุมชน ให้สามารถดูแลตนเองได้ (health literacy) โดยผ่านกลไก เช่น
การขับเคลื่อนนโยบาย การเป็นผู้ร่วมในการออกแบบและให้บริการการดูแลตนเอง และการเป็นนักบริบาล
 เป้าหมายการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ
1. มุ่งพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ 2562 (PCU/NPCU)
 มีหน่วยบริการปฐมภูมิ 2,500 ทีม ดูแลประชากร 25 ล้านคน 40%ของประชากรเขตชนบท 50%ของประชากรเขตเมือง
(ลดความแออัด) 100 หน่วยบริการปฐมภูมิในกทม. (รพ.สต.ผ่านเกณฑ์มาตรฐานรพ.สต.ติดดาว 75%) เน้น การดูแล
ผู้ป่วยติดเตียงระยะกึ่งเฉียบพลัน (imc) ระยะท้าย palliative) ได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวม
2. นโยบาย 3 หมอ **ออกสอบปี 66
 คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน  หมอครอบครัว หมอสาธารณสุข หมอประจำบ้าน(อสม.)
 25 ล้านคน มี 3 หมอ 40 ล้านคนมี 2 หมอ ให้คำปรึกษาและประสานการ
ส่งต่อ อย่างสะดวกและรวดเร็ว
3. พัฒนาระบบบริการทุติยภูมิให้เป็นจุดเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ
 1 จังหวัด รพช.1 อำเภอต้นแบบ (60% ในแต่ละเขต) มีหน่วยบริการปฐมภูมิ
หรือทีมหมอครอบครัวเต็มพื้นที่เชื่อมโยงการให้บริการการส่งต่อที่มีคุณภาพ
สู่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและระดับทุติยภูมิทั้งส่งไปและส่งกลับ
4. ดูแลสุขภาพองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจ สังคม พชอ. บูรณาการการ
ใช้ทรัพยากรร่วมกันในดูแลประชาชนตามบริบทของพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมตาม
ปั ญ หาของแต่ ล ะอำเภอ อย่ า งน้ อ ย 2 ประเด็ น เช่ น ผู ้ สู ง อายุ คนพิ ก าร
อุบัติเหตุ ขยะสิ่งแวดล้อม และกลุ่มเปราะบาง 10 ล้านคน (พชอ.ผ่านเกณฑ์
คุณภาพ 75%)
ระบบบริการสุขภาพ มี 3 ระดับดังนี้

คลินิกหมอครอบครัว
(primary care cluster. PCC)

วันสำคัญทางด้านสาธารณสุข **ออกสอบบ่อย
20 มีนาคม วันอาสาสมัครสาธารณสุข 26 มิถุนายน วันต่อต้านยาเสพติด 12 พฤศจิกายน วันคนพิการแห่งชาติ
7 เมษายน วันอนามัยโลก 14 กรกฎาคม วันงดดื่มสุราแห่งชาติ 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก
30 เมษายน วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย 14 กันยายน วันหมออนามัยแห่งชาติ 27 พฤศจิกายน วันสถาปนาการสาธารณสุข
28 พฤษภาคม วันสุขบัญญัติแห่งชาติ 24 กันยายน วันมหิดล/วันหัวใจโลก 1 ธันวาคม วันเอดส์โลก
31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก 28 กันยายนวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก 4 ธันวาคม วันสิ่งแวดล้อมไทย
5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก 15 ตุลาคม วันล้างมือโลก 10 ธันวาคม วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ

--- คู่มือเตรียมสอบนักวิชาการสาธารณสุข โดย แก้ว ญาณิศา --- 137

You might also like