You are on page 1of 154

ผลของโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผาน

จากโรงพยาบาลสูบานตอความพรอมในการดูแล ความเครียด
การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล

นันทกาญจน ปกษี

วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผูใหญ)
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2558

ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธฉบับนี้สําเร็จสมบูรณไดดวยความกรุณาและความชวยเหลือเปนอยางดียิ่ง
จาก รศ.ดร.ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม อาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธหลัก ผศ.ดร.สุปรีดา มั่นคง และ ผศ.ดร.
สิ ริ รั ต น ลี ล าจรั ส อาจารย ที่ ปรึ ก ษาวิ ท ยานิ พ นธร ว ม ที่ ก รุ ณ าอุ ทิ ศ เวลาให คํ า ปรึ ก ษา คํ า แนะนํ า
ตรวจสอบความถูกตอง แกไขขอบกพรองตางๆ รวมทั้งดูแลเอาใจใส และใหกําลังใจอยางดีเสมอมา
ผู วิ จั ย รู สึ ก ภาคภู มิ ใ จที่ มี อ าจารย เ ป น แบบอย า งที่ ดี ด า นการศึ ก ษา ผู วิ จั ย เกิ ด ความรู สึ ก ที่ ดี แ ละ
ประทับใจในความกรุณาเปนอยางยิ่ง จึงขอกราบขอบพระคุณเปนอยางสูงไว ณ โอกาสนี้
ขอกราบขอบพระคุณ รศ.ดร.พรรณวดี พุธวัฒนะ ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ
และ รศ.ดร.จิ ราพร เกศพิช ญวัฒ นา ผู ใ ห ข อเสนอแนะอัน เปน ประโยชนใ นการปรั บ ปรุ ง แก ไ ข
วิทยานิพนธฉบับนี้ใหมีความสมบูรณย่งิ ขึ้น ขอกราบขอบพระคุณ นายแพทยวชิระ รุจิโมระ และคุณ
ศรั ณ ยา แสงมณี ผู ท รงคุ ณ วุ ฒิ ใ นการตรวจสอบ และแก ไ ขปรั บ ปรุ ง เครื่ อ งมื อ วิ จั ย ขอกราบ
ขอบพระคุณผูอํานวยการ หัวหนาฝายการพยาบาล หัวหนาหอผูปวย และพยาบาลประจําการ หอ
ผูปวยอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกลา ที่กรุณาใหขอมูลตางๆที่เปนประโยชน และเอื้อเฟอใน
การเก็บขอมูลในการวิจัยในครั้งนี้ ขอกราบขอบพระคุณผูอํานวยการ รองผูอํานวยการ คณาจารย
เจาหนาที่ และนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรีทุกทานที่เกี่ยวของ ที่ให
โอกาสผูวิจัยไดพัฒนาศักยภาพของตนเองในการศึกษา ตลอดจนใหการสนับสนุน ชวยเหลือ และให
กําลังใจผูวิจัยในการศึกษาเสมอมา
ท า ยสุ ด นี้ ข อกราบขอบพระคุ ณ คุ ณ ยายสมเสน ห อ่ํ า เจริ ญ คุ ณ แม นุ ส รา งอกลาภ
ครอบครัว และคุณสุธน ปกษี สามี ที่ใหความรัก ความหวงใย ใหความชวยเหลือในทุกๆดานตลอด
การศึกษา อยูดูแลเคียงขางกันตลอดเวลา และเขาใจในทุกสถานการณ โดยเฉพาะเรือโทหญิงวาสนา
มู ล ฐี ที่ ร ว มทุ ก ข ร ว มสุ ข เกื้ อ กู ล ในการทํ า วิ จั ย ตลอดมา รวมทั้ ง กั ล ยาณมิ ต รพยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต รหัส 54 สาขาการพยาบาลผูใหญทุกทานที่คอยชวยเหลือ และเปนกําลังใจเสมอมา
ขอขอบคุณความดีและประโยชนทั้งหลายที่เกิดจากการทําวิจัยครั้งนี้ แดครอบครัวอันเปนที่รักยิ่ง ครู
บาอาจารย ที่ ไ ด ป ระสิ ท ธิ ป ระสาทวิ ช าความรู แ ก ข า พเจ า และทุ ก ท า นที่ มี ส ว นช ว ยเหลื อ ทํ า ให
วิทยานิพนธฉบับนี้สําเร็จลุลวงไปดวยดี

นันทกาญจน ปกษี
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ / ง

ผลของโปรแกรมการดูแลผูปว ยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานตอความ


พรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล
EFFECT OF TRANSITIONAL CARE PROGRAM FOR STROKE PATIENTS AND FAMILY CAREGIVERS ON
CAREGIVER’S PREPAREDNESS, STRESS, ADAPTATION AND SATISFACTION

นันทกาญจน ปกษี 5437862 RAAN/M

พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ)

คณะกรรมการทีป่ รึกษาวิทยานิพนธ : ยุพาพิน ศิรโพธิง์ าม, D.S.N. (ADULT HEALTH NURSING) ,สุปรีดา มั่นคง, Ph.D.
(GERONTOLOGICAL NURSING) ,สิริรัตน ลีลาจรัส, Ph.D. (NURSING)

บทคัดยอ
การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และ
ญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานตอความพรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจ
ตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล โดยใชกรอบแนวคิดของรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผานของเนเลอร (Naylor, 2004)
และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ คัดเลือกกลุมตัวอยางตามเกณฑที่กําหนดจัดเขาเปนผูปวยและญาติผูดูแลกลุม
ควบคุม 30 คู และกลุมทดลอง 30 คู กลุมควบคุมไดรับการดูแลตามปกติ สวนกลุมทดลองไดรับการดูแลตามปกติรวมกับ
โปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน เครื่องมือที่ใชใน
การวิจัยประกอบดวย 1.เครื่องมือที่ใชในการคัดกรองกลุมตัวอยาง ไดแก แบบประเมินสมรรถภาพทางสมอง (The Set Test)
และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวย (Barthel Index of Activities of Daily Living) 2.
เครื่องมือที่ใชดําเนินการวิจัยไดแก โปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจาก
โรงพยาบาลสูบาน คูมือการดูแลผูปวย และการดูแลตนเองของญาติผูดูแล และแผนการสอน 3.เครื่องมือที่ใชในการ
รวบรวมขอมูล ไดแก แบบสอบถามขอมูลทั่วไปของญาติผูดูแลและผูปวย แบบประเมินความพรอม ความเครียด การ
ปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล และแบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบาน และทางโทรศัพท เก็บ
ขอมูลระหวางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 วิเคราะหขอมูล โดยการหารอยละคาเฉลี่ย สวน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแคว และสถิติที
ผลการศึกษาพบวา คาเฉลี่ยคะแนน ความพรอมในการดูแล ความเครียด และความพึงพอใจของญาติผูดูแล
ในบริการที่ไดรับในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลในกลุมทดลองสูงกวากลุมควบคุม คะแนนการปรับตัว
ของญาติผูดูแลในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล ระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลองไมแตกตางกัน
ขอเสนอแนะ ควรมีการนําโปรแกรมการดูแลมาปรับใชในการติดตามผลการศึกษาในระยะยาว เชน 2-3
เดือน หลังจําหนาย เพื่อติดตามการปรับตัวของญาติผูดูแลหลังจากรับบทบาทเมื่อกลับไปบานตอไป

คําสําคัญ: การดูแลระยะเปลี่ยนผาน/ญาติผูดูแลของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง/ความพรอมในการดูแล
ความเครียด/การปรับตัว

143 หนา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ / จ

EFFECT OF TRANSITIONAL CARE PROGRAM FOR STROKE PATIENTS AND


FAMILY CAREGIVERS ON CAREGIVER’S PREPAREDNESS, STRESS,
ADAPTATION AND SATISFACTION

NUNTAKARN PAKSEE 5437862 RAAN/M

M.N.S. (ADULT NURSING)

THESIS ADVISORY COMMITTEE: YUPAPIN SIRAPO-NGAM, D.S.N. (ADULT


HEALTH NURSING), SUPREEDA MONKONG, Ph.D. (GERONTOLOGICAL
NURSING), SIRIRAT LEELACHARAS, Ph.D. (NURSING)

ABSTRACT
This study was a quasi-experimental research aiming to explore the effect
of the transitional care program for stroke patients and family caregivers during the
transitional period from hospital to home looking at caregivers’ preparedness, stress,
adaptation, and satisfaction. This program was developed based on the conceptual
framework of Transitional Care Model by Naylor combined with reviewing the
literature. Samples were purposively selected. The participants comprised of 60 pairs
of patients and their family caregivers that were equally divided into control and
experimental groups. The control group received usual nursing care provided by
nurses in a hospital and the experimental group received the usual nursing care
provided by nurses in a hospital plus the transitional care program. The research
instrument consisted of: 1) screening instruments which were composed of the Set
Test and the Barthel Index of Activities of Daily Living; 2) the experimental
instruments, which were composed of the transitional care program for stroke patients
and family caregivers during the transitional period from hospital to home, and a care-
givers’ handbook and a lesson plan for caring for patients and for self-care; and 3) the
instruments for collecting data comprised of a questionnaire on demographic data, the
assessment tools of family caregivers’ preparedness, stress, adaptation, satisfaction
and a record form for home visits and telephone contact. The study was conducted
from December B.E. 2556 to April B.E. 2558. Data were analyzed by using
descriptive statistics (frequency, percentage, mean and standard deviation). The
hypotheses were tested by using chi-square and t-test.
The results showed that the mean scores of family care-givers’
preparedness, stress and satisfaction in the experimental group, one month after
discharge, was higher than those in the control group. The scores of adaptation of
family caregivers in the experimental and control groups after intervention was not
statistically significantly different.
A long-term program should be conducted to follow the adaptation of
family caregivers..

KEY WORDS: TRANSIONAL CARE / FAMILY CAREGIVER FOR STROKE


PATIENT / PREPAREDNESS / STRESS / ADAPTATION

143 pages

สารบัญ

หนา
กิตติกรรมประกาศ ค
บทคัดยอภาษาไทย ง
บทคัดยอภาษาอังกฤษ จ
สารบัญตาราง ซ
สารบัญแผนภาพ ญ
บทที่ 1 บทนํา 1
ความเปนมาและความสําคัญของปญหา 1
คําถามการวิจัย 4
วัตถุประสงคของการวิจัย 4
สมมติฐานการวิจัย 5
กรอบแนวคิดของการศึกษา 5
ขอบเขตการวิจัย 7
ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 7
นิยามศัพท 8
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม 10
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับญาติผูดูแล 10
2.2 โรคหลอดเลือดสมอง และความตองการการดูแลชวยเหลือ 15
จากญาติผูดูแล
2.3 แนวคิดของรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผาน 21
2.4 ความเครียด และการปรับตัวของญาติผูดูแล 23
2.5 การเตรียมความพรอมสําหรับญาติผูดูแล และความพึงพอใจ 25
ในบริการที่ไดรับ

สารบัญ (ตอ)

หนา
บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย 29
ประชากรและกลุมตัวอยาง 29
ขนาดของกลุมตัวอยาง 29
สถานที่ในการเก็บขอมูล 31
เครื่องมือที่ใชในการวิจัย 32
การดําเนินการวิจัย 43
การพิทักษสิทธิ์กลุมตัวอยาง 49
การเก็บรวบรวมขอมูล 49
การวิเคราะหขอมูล 51
บทที่ 4 ผลการวิจัย 52
สวนที่ 1 ขอมูลทั่วไปของกลุมตัวอยาง 53
สวนที่ 2 การทดสอบสมมติฐาน 61
บทที่ 5 อภิปรายผล 66
บทที่ 6 สรุปผลการวิจยั 73
บทสรุปแบบสมบูรณภาษาไทย 78
บทสรุปแบบสมบูรณภาษาอังกฤษ 96
รายการอางอิง 114
ภาคผนวก 119
ประวัติผูวิจัย 143

สารบัญตาราง

ตาราง หนา
3.1 คาสัมประสิทธิ์อัลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) ของเครื่องมือที่ใชใน 42
การเก็บรวบรวมขอมูล ที่ทดลองใชกับญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือด
สมองที่มีคุณสมบัติคลายคลึงกับกลุมตัวอยางจํานวน 10 ราย (Pilot study)
และนําไปใชจริงกับญาติผูดูแลจริงจํานวน 60 ราย (Main study)
4.1 จํานวน และรอยละขอมูลสวนบุคคลของกลุมตัวอยางญาติผูดูแลในกลุม 54
ควบคุมและกลุมทดลอง จําแนกตามเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา
การประกอบอาชีพ รายไดเฉลี่ย ความสัมพันธกับผูปวย ภาวะสุขภาพ และ
ผูชวยเหลือญาติผูดูแล
4.2 จํานวน และรอยละของผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือในกลุมควบคุม 57
และกลุมทดลอง จําแนกตาม เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การ
ประกอบอาชีพ รายได บทบาทหัวหนาครอบครัว และสิทธิในการ
รักษาพยาบาล
4.3 เปรียบเทียบความแตกตางคุณลักษณะของญาติผูดูแล ระหวางกลุมควบคุม 59
และกลุมทดลอง
4.4 เปรียบเทียบความแตกตางคุณลักษณะของญาติผูดูแล และผูปวยที่ญาติ 59
ผูดูแลใหการชวยเหลือ ระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง
4.5 คาเฉลี่ย และสวนเบีย่ งเบนมาตรฐานของคะแนนความพรอมในการดูแล 60
ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติ
ผูดูแล ของกลุมควบคุม และกลุมทดลอง
4.6 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผดู ูแลระหวาง 62
กลุมควบคุมและกลุมทดลองกอนออกจากโรงพยาบาล และในระยะ 1
เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
4.7 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลระหวาง 62
กอนออกจากโรงพยาบาล และ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
ของกลุมควบคุม และกลุมทดลอง

สารบัญตาราง (ตอ)

ตาราง หนา
4.8 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความเครียดของญาติผูดูแลกลุมควบคุม และ 63
กลุมทดลอง ในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
4.9 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทํา ระหวางกลุม 63
ควบคุม และกลุมทดลอง
4.10 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทํารายดาน ระหวาง 64
กลุมควบคุม และกลุมทดลอง
4.11 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวของญาติผูดูแลกลุมควบคุม และ 65
กลุมทดลอง ในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
4.12 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของญาติผูดูแลกลุมควบคุม และ 65
กลุมทดลอง ในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล

สารบัญแผนภาพ

แผนภาพ หนา
1.1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย 6
3.1 ขั้นตอนการดําเนินการวิจยั ในระยะที่ผูปวยพักรักษาตัวอยูในโรงพยาบาล 45
3.2 ขั้นตอนการดําเนินการวิจยั ในระยะหลังจากผูปวยจําหนายออกจาก 46
โรงพยาบาล
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 1

บทที่ 1
บทนํา

ความเปนมา และความสําคัญของปญหา
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สงผลกระทบตอสมองหรือระบบประสาท เกิดขึ้นได
ทุกคน ทุกเวลา มีผลตอการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือดในสมองทําใหเซลลสมองขาด
ออกซิเจน และเริ่มตายลง เมื่อเซลลสมองมีการตายเกิดขึ้นสงผลใหสมองสูญเสียความสามารถใน
การควบคุมการทํางานของอวัยวะตางๆในรางกาย เชน สูญเสียความทรงจํา และกําลังของกลามเนื้อ
ลดลง (National Stroke Association, 2015)โรคหลอดเลือดสมองนับเปนปญหาสุขภาพที่สําคัญของ
ประชากรทั่วโลกจากการรายงานขององคการอนามัยโลก (World Health Organization )ไดรายงาน
ถึงสถานการณโรคหลอดเลือดสมองวาในป 2548 มีผูเสียชีวิตดวยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกแต
ละป 5.7 ลานคน สําหรับในประเทศไทยนั้นในป 2552 พบคนไทยเสียชีวิตดวยโรคหลอดเลือด
สมองจํานวน 13,353 คนเฉลี่ยวันละ 36 คนหรือประมาณ 3 คนในทุกๆ 2 ชั่วโมง และในรอบ 10 ปที่
ผานมา (พ.ศ. 2542 – 2552 ) พบผูปวยเขารับรักษาตัวในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่ว
ประเทศ (ไมรวมกรุงเทพฯ) ดวยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 2.45 เทาและมีแนวโนมเพิ่มขึ้นอยาง
ตอเนื่อง(สถิติสาธารณสุขสํานักนโยบายและยุทธศาสตรสํานักปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552)
โรคหลอดเลือดสมองเปนปญหาสุขภาพที่สําคัญ มิใชเพียงเพราะเปนสาเหตุของการ
เสียชีวิตลําดับตนๆของประชากรทั่วโลก และประชากรในประเทศไทยเทานั้น แตยังเปนสาเหตุที่
สงผลใหผูที่รอดชีวิตตองประสบกับความทุกขทรมาน จากความพิการ ทุพพลภาพ เปนอัมพฤกษ
อัมพาต กอใหเกิดการพึ่งพาผูอื่น และเปนปญหาสาธารณสุขระดับชาติ จากรายงานการสํารวจความ
ชุกผูพิการของสํานักงานสถิติแหงชาติป พ.ศ. 2545 พบวามีผูพิการประมาณ 1.1 ลานคน คิดเปนรอย
ละ 1.7 ของประชากรทั้งหมด และในจํานวนนี้มีผูเปนอัมพาตคิดเปนรอยละ 10.2 ของผูพิการ
ทั้งหมด (กฤษณา พิรเวช, 2552)โรคหลอดเลือดสมองจึงนับไดวาเปนภาวะเจ็บปวยเรื้อรังทางระบบ
ประสาทที่มีการดําเนินของโรคยาวนานตลอดเวลา และอาจมีการกําเริบของโรคเปนระยะๆ ทําให
ผูปวยตองเขารับการรักษาในโรงพยาบาลบอยครั้ง (วิมลรัตน ภูวราวุฒิพานิช, 2552)
จากปญหาความพิการทุพพลภาพจากพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสมอง จึงมีความ
จําเปนที่ผูปวยตองไดรับการดูแลชวยเหลือจากผูอื่นหรือตองพึ่งพาผูอื่นในการทํากิจวัตรประจําวัน
นันทกาญจน ปกษี บทนํา / 2

และการดูแลชวยเหลือสนับสนุนดานอารมณ และจิตใจ ดังนั้นครอบครัวหรือญาติผูดูแลจึงเขามามี


ส ว นสํ า คั ญ ในการดู แ ลผู ป ว ยเพื่ อ ให เ กิ ด การดู แ ลและฟ น ฟู อ ย า งต อ เนื่ อ งตั้ ง แต ร ะยะที่ อ ยู ใ น
โรงพยาบาลจนกระทั่งจําหนายกลับบานอยางมีประสิทธิภาพ
ปญหาความตองการการดูแลของผูปวย หรือภาระงานที่ญาติผูดูแลตองทําใหกับผูปวย
ดังกลาวขางตน ประกอบกับงานและชีวิตสวนตัวของญาติผูดูแลที่มีอยูเดิมมีผลทําใหญาติผูดูแลเกิด
ความเครียดในการดูแลได และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชีวิตของญาติผูดูแลที่บานก็เปนปจจัยที่มี
ความสัมพันธกับภาวะสุขภาพ และภาวะทางจิตใจของญาติผูดูแล จึงมีคนเรียกญาติผูดูแลที่บานวา
เปนผูปวยแฝง (Hidden patient) และยังสงผลใหญาติผูดูแลมีแนวโนมที่จะทําใหเกิดปญหาสุขภาพ
ทั้งทางรางกาย และจิตใจตามมา รวมถึงความพึงพอใจในชีวิต และคุณภาพชีวิตของญาติผูดูแลอาจ
ลดลงได (ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, 2539) จากการศึกษาความเครียดและการเผชิญความเครียดของญาติ
ผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองของ จิตรา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (2549) พบวา ญาติผูดูแลที่มีภาระงาน
ในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองมาก มีความเครียดมากกวาญาติผูดูแลที่มีภาระงานในการ
ดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองนอย และยังพบอีกวาความตองการในการดูแลผูปวยมีความสัมพันธ
ทางบวกกับความเครียดของญาติผูดูแล การศึกษาปจจัยที่มีอิทธิพลตอความเครียดในบทบาทญาติ
ผูดูแลของภรรยาที่ดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองของ วิไลพร ศรีธเรศ (2546) พบวาความวิตก
กังวลมีความสัมพันธกับความเครียดในบทบาทของญาติผูดูแล และการรับรูระดับการพึ่งพาของ
ผูปวยมีความสัมพันธกับความเครียดในบทบาทของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
วิธีการหนึ่งที่จะชวยเหลือผูปวยและญาติผูดูแลใหไดรับการตอบสนองในการดูแล คือ
การสงเสริมใหผูปวยโรคหลอดเลือดสมองไดรับการฟนฟูสมรรถภาพ เพื่อชวยกระตุนการฟนตัว
ของสมอง ลดความพิการซ้ําซอน ทําใหผูปวยสามารถชวยเหลือตนเองได พึ่งพาผูอื่นนอยลง ลด
ภาระการดูแลของญาติผูดูแล ลดความเครียดวิตกกังวล และชวยสงเสริมใหญาติผูดูแลมีการปรับตัวที่
ดีขึ้น รวมทั้งชวยใหผูปวยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี (กฤษณา พิรเวช, 2552) จากการศึกษาผล
การเตรียมญาติผูดูแลตอการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาล
ลําปางของ จรรยา ทับทิมประดิษฐ (2547) พบวาการเตรียมญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
ชวยเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง การที่ญาติ
ผูดูแลยังไมมีประสบการณในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองมากอนยอมทําใหญาติผูดูแลเกิด
ภาวะเครียดไมสามารถแกไขปญหาที่เกิดกับผูปวยไดเมื่อกลับไปอยูที่บาน สอดคลองกับการศึกษา
ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและใหความรูแกญาติผูดูแลตอความรู การรับรูความสามารถและ
ความเครียดจากความวิตกกังวลในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองของ บุศรินทร รัตนาสิทธิ์
(2546) พบวา ภายหลังใหการสนับสนุนและใหความรู สนับสนุนญาติผูดูแลในการปรับบทบาทการ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 3

เป น ผู ดู แ ล การให ค วามรู เ กี่ ย วกั บ การดู แ ลผู ป ว ยด า นฟ น ฟู ส ภาพ และป อ งกั น ภาวะแทรกซ อ น
โภชนาการและการใหยา และมีการผอนคลายความเครียดดวยการฝกหายใจกอนการใหความรู
พบวา ผลของโปรแกรมสงผลใหญาติผูดูแลมีความรูในการดูแลผูปวยและการรับรูความสามารถ
ตนเองสู ง ขึ้ น และยั ง พบอี ก ว า ความเครี ย ดของญาติ ผู ดู แ ลลดลงด ว ยเช น กั น ซึ่ ง สอดคล อ งกั บ
การศึกษาของ นิชธิมา ศรีจํานง (2553) ที่ศึกษาผลของโปรแกรมการสงเสริมการรับรูความสามารถ
ตนเองของญาติผูดู แลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บานต อการรับรูความสามารถตนเอง ความ
คาดหวังผลลัพธจากการดูแล ความพึงพอใจของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และอัตรา
การกลับเปนซ้ําในโรงพยาบาลของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง โดยกลุมตัวอยางเปนญาติผูดูแล
ผูปวยที่ไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกจํานวน 30 คน โดยเลือกกลุมตัวอยาง
แบบเฉพาะเจาะจง โปรแกรมดังกลาวพัฒนาขึ้นโดยใชกรอบแนวคิดการรับรูความสามารถตนเอง
ของแบนดูราซึ่งประกอบดวยการสอนกอนจําหนายออกจากโรงพยาบาล การเยี่ยมบาน การให
คําแนะนํ า และคําปรึกษาทางโทรศัพท ผลการศึกษาพบวา คะแนนการรับรูความสามารถ และ
คะแนนความคาดหวังผลลัพธจากการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองในสัปดาหที่ 6 และระยะการ
ติดตามผลในสัปดาหที่ 8 ของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองสูงกวากอนการทดลองอยางมี
นัยสําคัญทางสถิติ ญาติผูดูแลสวนใหญมีความพึงพอใจในโปรแกรมในระดับสูง และผูปวยโรค
หลอดเลือดสมองทุกรายที่ไดรับการดูแลจากญาติผูดูแลที่ไดรับการเตรียมจากโปรแกรมดังกลาวไม
เกิดการกลับเขารักษาซ้ําในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน
จากประสบการณในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และการชวยเหลือญาติผูดูแล
ใน โรงพยาบาลทั่วไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สําหรับโรงพยาบาลพระนั่งเกลาผูปวยที่
ไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรคหลอดเลือดสมองมีจํานวนมากจากขอมูลสถิติของโรงพยาบาลพระนั่ง
เกลาพบวาจํานวนผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่เขารับการรักษาระหวางเดือนตุลาคม 2554 ถึง เดือน
มีนาคม 2555 มีจํานวนทั้งสิ้น 221 ราย เฉลี่ยประมาณเดือนละ 37 ราย ในผูปวยเหลานี้มีจํานวนหนึ่ง
ที่ไมไดเขารับการรักษาในหอผูปวยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง (stroke corner) เขาพักรักษาตัวที่หอ
ผูปวยอายุรกรรมทั่วไป และเมื่อผานพนระยะวิกฤตจะถูกจําหนายออกจากโรงพยาบาลเนื่องจาก
ความจําเปนในการใชเตียงในโรงพยาบาล ทําใหผูปวยและญาติผูดูแลขาดโอกาสในการฟนฟูสภาพ
อยางตอเนื่องภายใตการชวยเหลือของบุคลากร ทําใหผูปวยและญาติผูดูแลขาดความรูเกี่ยวกับวิธีการ
ดูแลหรืออาจไดรับความรูแตไมสามารถนําไปปฏิบัติไดครบถวน
จากการทบทวนงานวิ จั ย ที่ ผ า นมาพบว า โปรแกรมที่ ใ ช ส อนญาติ ผู ดู แ ลส ว นใหญ
มุง เนนการพัฒนาความรู และทัก ษะในการดูแ ลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อใหญาติ ผูดูแ ล
สามารถดูแลผูปว ยได เ ป น เบื้อ งต น แตมองข ามความสําคัญในสุขภาพของญาติผูดู แ ล ดังนั้น ใน
นันทกาญจน ปกษี บทนํา / 4

งานวิจัยนี้นอกเหนือจากพัฒนาความรูในการดูแลผูปวยแลวยังมุงเนนความรูในการดูแลตนเองของ
ญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวย การปรับตัวเมื่อรับบทบาทญาติผูดูแล และการจัดการความเครียด
จากการดูแลผูปวยดวย เนนการมีสวนรวมระหวางญาติผูดูแลกับพยาบาลอยางตอเนื่อง เพื่อสงเสริม
ใหญาติผูดูแลเกิดความพึงพอใจในบริการที่ไดรับตามมาดวย
ผูวิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการใหญาติเขามามีสวนรวมในการฟนฟูสภาพผูปวย
โรคหลอดเลือดสมองอยางตอเนื่องที่บาน โดยในการศึกษาในครั้งนี้เปนการสอนญาติดวยโปรแกรม
การดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานตอ
ความพรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัวและความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับโปรแกรมที่
พัฒนาขึ้นนี้ใชแนวคิดการดูแลระยะเปลี่ยนผาน (Transitional Care Model) ของเนเลอร (Naylor,
2004) ซึ่งเปนกระบวนการในการดูแลเพื่อชวยใหผูปวยและญาติผูดูแลมีการเปลี่ยนผานจาก
โรงพยาบาลไปยังบาน โดยมีเปาหมายที่สําคัญ คือ การชวยใหผูปวยและญาติผูดูแลพัฒนาความรู
ทักษะและนําทรัพยากรที่มีอยูมาใชในโรงพยาบาลและที่บาน (Naylor, 2004) สงผลใหญาติผูดูแล
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมองมีการปรับตัวในบทบาทของญาติผูดูแลที่ดีขึ้นและมีความเครียดลดลง

คําถามการวิจัย
1.ญาติผูดูแลในกลุมควบคุม และกลุมทดลองมีความพรอมในการดูแลกอนจําหนาย
ออกจากโรงพยาบาล และในระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลแตกตางกันหรือไม
2.ญาติผูดูแลในกลุมควบคุม และกลุมทดลองมีความเครียด และการปรับตัวเขากับ
บทบาทของญาติผูดูแลในระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลแตกตางกันหรือไม
3.ญาติ ผู ดู แ ลในกลุ ม ควบคุ ม และกลุ ม ทดลองมี ค วามพึ ง พอใจต อ บริ ก ารที่ ไ ด รั บ
แตกตางกันหรือไม

วัตถุประสงคของการวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลกอนจําหนายออกจากโรงพยาบาล
และในระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุม และกลุมทดลอง
2.เพื่อเปรียบเทียบความเครียด และการปรับตัวเขากับบทบาทของญาติผูดูแล ในระยะ
1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุม และกลุมทดลอง
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 5

3.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแลในระยะ 1 เดือนหลัง
จําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง

สมมติฐานการวิจัย
1. คะแนนเฉลี่ยความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลในกลุมทดลองสูงกวากลุม
ควบคุม กอนจําหนายออกจากโรงพยาบาล และในระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
2. คะแนนเฉลี่ยการปรับตัวของญาติผูดูแลในกลุมทดลองสูงกวากลุมควบคุมในระยะ
1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
3. คะแนนเฉลี่ยความเครียดของญาติผูดูแลในกลุมทดลองนอยกวากลุมควบคุมใน
ระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
4. คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแลในกลุมทดลองสูงกวา
กลุมควบคุมในระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล

กรอบแนวคิดของการศึกษา
การศึกษาในครั้งนี้เปนการศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน มุงเนนการเตรียมความพรอม การปรับตัว
ในบทบาท การจัดการความเครียดของญาติผูดูแลระหวางที่ใหการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
รวมทั้งความพึงพอใจของญาติผูดูแลตอการบริการที่ไดรับ โปรแกรมดังกลาวใชแนวคิดของรูปแบบ
การดูแลในระยะเปลี่ยนผาน (Transitional Care Model) ของเนเลอร (Naylor, 2004) รวมกับการ
ทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวของซึ่งในการดูแลระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลไปสู
บานในการดําเนินโปรแกรมประกอบไปดวย 2 ระยะ ไดแก ระยะที่ผูปวยพักรักษาตัวอยูใน
โรงพยาบาลและระยะที่ผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาลซึ่งจะมีการดําเนินการ และติดตามผล
1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลโดยแสดงดังกรอบแนวคิดการวิจัย ดังแผนภาพที่ 1.1
นันทกาญจน ปกษี บทนํา / 6

ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม

ความพรอมในการ
ดูแลของญาติผูดูแล

โปรแกรมการดูแลผูป วยโรค
หลอดเลือดสมองและญาติผูดูแล
ในระยะเปลี่ยนผานจาก
ความเครียดของญาติ
โรงพยาบาลสูบ าน ประกอบดวย
2 ระยะ ไดแก ผูดูแล 
 
1)ระยะที่ผูปวยอยูใน
โรงพยาบาล
- หาญาติผูดูแลหลัก
- การใหความรู และฝกทักษะ
- การใหขอมูลแหลง การปรับตัวของญาติ
ประโยชน ผูดูแล 
 
2)ระยะที่ผูปวยจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล
-การติดตามเยี่ยมบาน
-ก า ร ติ ด ต า ม เ ยี่ ย ม ท า ง
ความพึงพอใจตอ
โทรศัพท
บริการที่ไดรับของ
ญาติผูดูแล 

แผนภาพที่ 1.1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย


บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 7

ขอบเขตการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เปนงานวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการสอนญาติดวยโปรแกรมการ
ดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานตอความ
พรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัวและความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับตามแนวคิดของ
รูปแบบการดูแลในระยะเปลี่ยนผาน (Transitional Care Model) ของเนเลอร (Naylor, 2004)โดยเปน
ญาติผูดูแลหลักของผูปวยที่ไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรคหลอดเลือดสมอง และเขารับการรักษาใน
โรงพยาบาลพระนั่งเกลา จํานวน 64 ราย แบงเปน กลุมควบคุม 32 ราย และกลุมทดลอง 32 ราย

ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ
1. ดานการปฏิบัติการพยาบาล เกิดความรูความเขาใจเกี่ยวกับการจัดระบบการดูแล
ผูปวย และญาติผูดูแลอยางตอเนื่องจากโรงพยาบาลสูบาน เพื่อนําไปเปนแนวทางในการพัฒนา
คุณภาพการวางแผนการพยาบาลผูปวย และญาติผูดูแล สงผลใหญาติผูดูแลมีความพรอมในการดูแล
ผูปวย การปรับตัวในบทบาท สามารถจัดการความเครียดในระหวางที่ตองใหการดูแลผูปวยโรค
หลอดเลือดสมอง มีความพึงพอใจตอการบริการที่ไดรับ และผลที่เกิดขึ้นกับญาติผูดูแลจะสงผลตอ
คุณภาพการดูแลผูปวย
2. ดานการวิจัย เปนขอมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาการชวยเหลือญาติ
ผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน การเตรียมความพรอม การปรับตัวในบทบาท การ
จัดการความเครียดของญาติผูดูแลระหวางที่ตองใหการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งความ
พึงพอใจของญาติผูดูแลตอการบริการที่ไดรับเพื่อพัฒนาความรูทางการพยาบาล นําไปสูการพัฒนา
รูปแบบการพยาบาล เพื่อชวยใหคุณภาพชีวิตของญาติผูดูแลดีขึ้น
3. ดานการศึกษา เปนแนวทางในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลเฉพาะทาง
โรคหลอดเลื อ ดสมอง และบุ ค ลากรทางด า นสาธารณสุ ข ให มี ค วามรู ค วามเข า ใจเกี่ ย วกั บ การ
ชวยเหลือญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน การเตรียมความพรอม การปรับตัว
ในบทบาท การจัดการความเครียดของญาติผูดูแลระหวางที่ตองใหการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือด
สมอง รวมทั้งความพึงพอใจของญาติผูดูแลตอการบริการที่ไดรับ
นันทกาญจน ปกษี บทนํา / 8

นิยามศัพท
โปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจาก
โรงพยาบาลสูบาน หมายถึง กิจกรรมการดูแลและฟนฟูผูปวยโรคหลอดเลือดสมองระยะเปลี่ยนผาน
โดยใหญาติเขามามีสวนรวมในการดูแล ประกอบดวย 2 ระยะไดแก 1)ระยะที่ผูปวยพักรักษาตัวอยู
ในโรงพยาบาล และ2)ระยะที่ผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งจะมีการดําเนินการโดยในระยะ
ที่ผูปวยพักรักษาตัวอยูในโรงพยาบาล ประกอบดวยกิจกรรม ไดแก การเตรียมความพรอมสูการรับ
บทบาทของญาติผูดูแลเบื้องตนการเตรียมความพรอมในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองและ
การเตรียมความพรอมในการดูแลตนเองของญาติผูดูแ ล สํ าหรับระยะที่ผูปวยจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล ประกอบดวยกิจกรรม ไดแก การติดตามเยี่ยมบาน และการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง หมายถึง ผูปวยอายุตั้งแต 18 ปขึ้นไปที่ญาติผูดูแลใหการ
ชวยเหลือไดรับการวินิจฉัยจากแพทยวาเปนโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน และเปนผูปวยโรค
หลอดเลือดสมองรายใหมที่เขารับการรักษาในโรงพยาบาล
ญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง หมายถึง ญาติของผูปวยที่ไดรับการวินิจฉัยจาก
แพทยวาเปนโรคหลอดเลือดสมอง รับผิดชอบปฏิบัติการดูแลชวยเหลือผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
เปนหลักอยางสม่ําเสมอ และตอเนื่องมากกวาผูอื่น ตลอดระยะเวลาที่เขารับการรักษาในโรงพยาบาล
โดยไมไดรับคาจาง และจะทําหนาที่ญาติดูแลตอเนื่องเมื่อผูปวยกลับบาน มีอายุตั้งแต 18 ปขึ้นไป
ความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแล หมายถึง ความรูสึกของญาติผูดูแลวามีความรู
ทักษะในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแลตนเองของญาติผูดูแล ซึ่งผูวิจัยใชแบบ
ประเมินความพรอมของญาติผูดูแล (Preparedness Caregiver Scale) ที่พัฒนาขึ้นโดย อารชโบล
และสจวต (Archbold & Stewart, 1986) คะแนนรวมยิ่งสูง แสดงวา ญาติผูดูแลมีความพรอมในการ
ดูแลผูปวยดี
ความเครียดของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง หมายถึง การที่ญาติผูดูแ ล
ผู ป ว ยโรคหลอดเลื อ ดสมองเกิ ด ปฏิ กิ ริ ย าตอบโต ท างสรี ร วิ ท ยาและจิ ต วิ ท ยา ทํ า ให เ กิ ด การ
เปลี่ยนแปลงที่สังเกตไดอยางชัดเจนเชน หงุดหงิดสับสน คิดอะไรไมออก เบื่อหนาย โมโหงาย
ซึมเศราเปนตนซึ่งผูวิจัยใชแบบวัดความเครียดของญาติผูดูแลของ ศิริลักษณ แกวศรีวงศ (2549)
คะแนนรวมมาก หมายถึงญาติผูดูแลมีความเครียดจากการดูแลผูปวยมาก คะแนนรวมนอย หมายถึง
ญาติผูดูแลมีความเครียดจากการดูแลผูปวยนอย
การปรับตัวของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง หมายถึง การที่ญาติผูดูแลผูปวย
โรคหลอดเลือดสมองมีความสามารถในการปรับตัว 4 ดาน ไดแก ดานรางกาย ดานอัตมโนทัศน
ดานบทบาท และดานการพึ่งพาระหวางบุคคล เพื่อใหเหมาะกับสถานการณที่ตองดูแลชวยเหลือ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 9

ผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งผูวิจัยใชแบบวัดการปรับตัวของญาติผูดูแลของ ชูชื่น ชีวพูนผล ตาม


กรอบแนวคิดของรอย (Roy Adaptation Model) คะแนนยิ่งสูง แสดงวา ญาติผูดูแลมีการปรับตัวยิ่งดี
ความพึงพอใจของญาติผูดูแลตอบริการที่ไดรับ หมายถึง ความรูสึกที่ดีหรือทัศนคติที่ดี
ของญาติผูดูแลตอการพยาบาลที่ไดรับจากโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองและญาติ
ผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานซึ่งผูวิจัยใชแบบประเมินความพึงพอใจของญาติ
ผูดูแลตอบริการที่ไดรับที่ไดพัฒนาขึ้นโดยมันโร และคณะ (Monro, 1994) คะแนนรวมมาก หมายถึง
ความพึงพอใจมาก
นันทกาญจน ปกษี ทบทวนวรรณกรรม / 10

บทที่ 2
ทบทวนวรรณกรรม

การวิจัยครั้งนี้ เปนการศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานตอความพรอมในการดูแล ความเครียด
การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแลในหอผูปวยอายุรกรรม โรงพยาบาล
พระนั่งเกลา จังหวัดนนทบุรีผูวิจัยไดศึกษาคนควาจากตํารา เอกสาร บทความวิจัย วารสาร และ
งานวิจัยที่เกี่ยวของ สรุปสาระสําคัญที่เปนประโยชนตองานวิจัยตามลําดับ ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับญาติผูดูแล
2. โรคหลอดเลือดสมอง และความตองการการดูแลชวยเหลือจากญาติผูดูแล
3. แนวคิดของรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผาน
4. ความเครียด และการปรับตัวของญาติผูดูแล
5. การเตรียมความพรอมสําหรับญาติผูดูแล และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับ

2.1 แนวคิดเกี่ยวกับญาติผูดูแล

2.1.1 ความหมายของญาติผูดูแล
ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม (2539) ไดใหความหมายของคําวาญาติผูดูแลที่บาน (Family
caregiver หรือ Informal caregiver) วาหมายถึง ญาติหรือบุคคลที่ใหความชวยเหลือดูแลแกผูปวยที่
บาน ซึ่งอาจเปนบิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร ญาติพี่นอง เพื่อน หรือแมแตบุคคลสําคัญในชีวิตให
การดูแลชวยเหลือผูปวยโดยไมรับคาตอบแทนที่เปนคาจางหรือรางวัล ความหมายของญาติผูดูแลที่
บานยังแบงตามความความรับผิดชอบในการดูแลชวยเหลือผูปวยเปน 2 ประเภท ไดแก ผูดูแลหลัก
(Primary caregiver) ซึ่งหมายถึง บุคคลที่เปนหลักในการรับผิดชอบดูแลผูปวยโดยตรงอยาง
สม่ําเสมอตอเนื่องมากกวาผูอื่น และผูดูแลรอง (Secondary caregiver) หมายถึง บุคคลอื่นที่อยูใน
เครือขายของการดูแล อาจมีสวนรวมในการดูแลชวยเหลือผูปวยในการปฏิบัติกิจกรรมบางอยาง
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 11

แตไมไดทําอยางสม่ําเสมอ และตอเนื่อง เชน ใหการดูแลผูปวยแทน ผูดูแลหลักเปนครั้งคราวเมื่อ


จําเปน หรือเปนผูชวยของผูดูแลหลักในการดูแลผูปวยเทานั้น
ศิริพันธ สาสัตย (2552) ไดใหความหมายของคําวาญาติผูดูแล วาหมายถึง บุคคลผูให
ความชวยเหลือบุคคลอื่นหรือกลุมบุคคลเพื่อความจําเปนในการดํารงไวซึ่งความเปนมนุษย การอยู
รอดของชีวิต หรือเพื่อจุดประสงคใดจุดประสงคหนึ่งที่บาน ผูดูแลนั้นมีทั้งเปนบุคคลในครอบครัวที่
ไมมีคาตอบแทนหรือญาติ (Family caregiver) และผูที่ไมใชบุคคลในครอบครัว เชน พยาบาล แพทย
(Professional caregiver) หรือผูที่รับจางมาดูแล (Paid caregiver) นอกจากนี้ยังแบงผูดูแลออกเปน 2
ประเภทใหญ ไดแก ผูดูแลที่เปนทางการ (Formal caregiver) หมายถึง กลุมที่เปนวิชาชีพ จากสถาน
บริการพยาบาล หรือกลุมองคกร ที่ผานการฝกอบรม และไดรับคาตอบแทนที่เปนคาจางหรือรางวัล
เชน พยาบาล ทีมสุขภาพ ผูรับจางดูแล องคกรตางๆ หรือผูดูแลที่มีความสัมพันธสวนตัวกับผูปวยแต
รับคาตอบแทนเปนคาจาง เชน เพื่อนบานรับจางดูแลผูปวย สําหรับผูดูแลที่ไมเปนทางการ (Informal
caregiver) หมายถึง ผูดูแลที่มีความสัมพันธสวนตัวกับผูปวย เชน สมาชิกในครอบครัว ญาติ เพื่อน
ซึ่งมุงเนนเฉพาะการใหการดูแลผูปวยดวยความรัก ความเอื้ออาทร โดยไมไดรับคาตอบแทนที่เปน
คาจางหรือรางวัล
ศศิธร ชางสุวรรณ (2548) ไดใหความหมายของคําวาญาติผูดูแล วาหมายถึง ผูใหการ
ชวยเหลือบุคคลที่ตองการพึ่งพาบุคคลที่ไมสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจําวันหรือตอบสนองความ
ตองการขั้นพื้นฐานสวนของตนเองได ตองการการดูแลเปนพิเศษเพื่อชวยใหสามารถฟนสภาพ และ
กลับมาดํารงชีวิตปกติได ภายใตขอจํากัดของความเจ็บปวยที่เกิดขึ้น โดยที่การดูแลชวยเหลือนั้นเกิด
จากความเต็มใจซึ่งเปนบทบาทหนาที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัวที่พึงกระทําตอกัน
เมื่ อ บุ ค คลในครอบครั ว เกิ ด การเจ็ บ ป ว ย ไม ไ ด ค า ตอบแทนเป น เงิ น รางวั ล ใดๆ แต เ ป น หน า ที่
รับผิดชอบภารกิจตางๆที่เกี่ยวของกับการดูแลผูปวยทั้งหมดทั้งการดูแลดานรางกาย จิตใจ อารมณ
สังคมและเศรษฐกิจ ตางจากการดูแลโดยบุคลากรทีมสุขภาพที่มุงเฉพาะกิจกรรมการดูแลที่เกี่ยวกับ
การรักษาพยาบาล เพื่อชวยใหผูปวยหายและหรือทุเลาจากอาการที่เปนอยูเทานั้น
โดยสรุปความหมายของคําวาญาติผูดูแล ไดวา “ญาติผูดูแล” เปนบุคคลหรือกลุมบุคคล
ที่มีความสัมพันธสวนตัวกับผูรับการดูแล เชน สมาชิกในครอบครัว ญาติ เพื่อน บุคคลสําคัญในชีวิต
เปนตน ที่ใหการดูแลผูปวย หรือบุคคลที่มีภาวะสุขภาพเปลี่ยนแปลงเนื่องจากโรค ความพิการ หรือ
ความเสื่อมถอยของสมรรถภาพรางกาย จิตใจ อารมณ สงผลใหมีขอจํากัดในการปฏิบัติกิจวัตร
ประจําวัน หรือกอใหเกิดความตองการในการดูแลรักษาตามแผนการรักษา ซึ่งจําเปนที่จะไดรับการ
ดู แ ลช ว ยเหลื อ อย า งต อ เนื่ อ งที่ บ า น หรื อ แหล ง ชุ ม ชนโดยไม ไ ด รั บ ค า จ า งหรื อ รางวั ล ตอบแทน
นันทกาญจน ปกษี ทบทวนวรรณกรรม / 12

(Aneshensel, Pearlin, Mullan and Zarit,1995; Kabana, Biegel and Wykle,1994; อางในรัชนี
สรรเสริญ, 2551)

2.1.2 คุณลักษณะโดยทั่วไปของญาติผูดูแล
จากขอมูลการสํารวจญาติผูดูแลในประเทศสหรัฐอเมริกา (National Family Caregiver
Association Survey, 2000; อางใน รัชนี สรรเสริญ, 2551) พบวาญาติผูดูแลจํานวน 54 ลานคน สวน
ใหญมีอายุตั้งแต 18 ปขึ้นไป อายุเฉลี่ยประมาณ 45-46 ป และรอยละ 10 ของญาติผูดูแลมีอายุมากกวา
75 ป รอยละ 72 เปนเพศหญิง ทําหนาที่ใหการดูแลคูสมรส บุตรสาว บุตรชาย ญาติพี่นอง ปู ยา และ
คนอื่นในครอบครัวที่เปนผูเจ็บปวยเรื้อรังไมสามารถชวยเหลือตนเองไดหรือคนชรา สําหรับใน
ประเทศไทย นิภาวรรณ สามารถกิจ (2554) ศึกษาผลกระทบการบาดเจ็บที่สมองที่มีตอผูปวย และ
ครอบครัว พบวา ญาติผูดูแลของผูปวยที่บาดเจ็บที่สมองสวนใหญเปนเพศหญิง วัยผูใหญ เปนภรรยา
หรือมารดาของผูปวย สอดคลองกับการศึกษาของ ประกอบพร ทิมทอง (2551) ที่ศึกษาปจจัยที่มี
ความสัมพันธกับความสามารถของผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง พบวา ญาติผูดูแลสวนใหญ
เปนเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 47 ป การศึกษาอยูในระดับประถมศึกษา และญาติผูดูแลสวนใหญมีความ
เกี่ยวของกับผูปวย คือ เปนบุตรมากที่สุด รองลงมาเปนสามี ภรรยา
สําหรับคุณลักษณะตางๆที่กลาวมาขางตน ลวนมีสวนในการพิจารณาวาบุคคลใดใน
ครอบครัวที่จะเหมาะสมเปนผูรับผิดชอบหลักในการดูแลชวยเหลือผูปวยที่บาน สรุปได คือ อายุ เพศ
สถานภาพสมรส และงานประจํ าหรือ อาชีพ ที่ทํ าอยู อี ก ทั้ งป จ จั ย เหล านี้ยั งมีผ ลต อ ความพรอ ม
ความสามารถ เวลา และความสะดวกในการใหการดูแลดวย (ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, 2539) นอกจากนี้
รัชนี สรรเสริญ (2551) ยังไดกลาววา คุณลักษณะที่สําคัญในการเขามารับบทบาทของญาติผูดูแลนั้น
ยังเกิดจากแรงจูงใจที่เกิดจากความสงสาร ความรัก ความเขาใจ ความเห็นใจ และตองการตอบแทน
บุญคุณ แตก็อาจพบวาญาติผูดูแลบางคนหลังจากที่ไดทําหนาที่ญาติผูดูแลไดระยะหนึ่ง แรงจูงใจนั้น
เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเปนการตอบสนองความตองการของตนเองที่ทําไปเพื่อปองกันคําครหา หรือ
ความรูสึกผิด ความตองการการยอมรับจากสังคมดวยเชนกัน

2.1.3 ความตองการการดูแลของผูปวย หรือภาระงานที่ญาติผูดูแลตองรับผิดชอบ


ความตองการการดูแลของผูปวย (Caregiving demands) หรือภาระงานที่ญาติผูดูแล
ผูปวยตองรับผิดชอบกระทําใหกับผูปวยมีผลมาจากสาเหตุ 3 ประการ ดังที่ ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม
(2539) ไดกลาวไว ไดแก
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 13

1) ขอจํากัดหรือความพรองทางรางกายหรือการทําหนาที่ของอวัยวะ (Physical or
functional impairment) ซึ่งอาจเกิดจากโรค ความพิการหรือความเสื่อมของอวัยวะตางๆของผูปวย
มีผลตอการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน ไมวาจะเปนกิจกรรมขั้นพื้นฐาน (Activities of daily living)
หรือกิจกรรมขั้นสูง (Instrumental activities of daily living) เชน ในผูปวยโรคหลอดเลือดสมองทํา
ให เ กิ ด ความพร อ งในการใช ง านตามหน า ที่ ข องรา งกายหลายส ว น เชน การรับ สั่ งการ การรั บ
ความรูสึก การพูด การกลืน ซึ่งทําใหเกิดการสูญเสียหรือไรความสามารถ (disability) ในกิจกรรมที่
คนปกติไปทําได เชน การรับประทานอาหาร การอาบน้ํา การเคลื่อนไหวรางกาย การสื่อสาร เปนตน
ทําใหผูปวยกลุมนี้ตองพึ่งพาผูอื่นในการทํากิจวัตรประจําวัน (กมลทิพย หาญผดุงกิจ, 2550)
นอกจากนี้แลว การดูแลรักษาที่เฉพาะเจาะจงของแตละโรค เชน การใหอาหารทางสายยาง การทํา
แผลเปนตน เหลานี้ลวนเปนภาระหรือกิจกรรมที่ผูดูแลที่บานตองรับผิดชอบกระทําใหกับผูรับการ
ดูแล ซึ่งความยากงายของการเตรียมตัวของผูดูแลขึ้นอยูกับความบกพรองทางรางกาย
2) ความบกพรองทางดานความคิดสติปญญา (Cognitive impairment) หรือความ
เบี่ยงเบนของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เชน อาการหลงลืมไมสามารถจดจํา หรือระลึกสิ่งตางๆได ทําให
ผูปวยสูญเสียความสามารถในการดําเนินชีวิต เรียกกลุมอาการนี้วา vascular dementia ซึ่งพบไดใน
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง (วุฒิชัย เพิ่มศิริวาณิชย, 2551) ความตองการในการดูแลเหลานี้ยังมักจะ
เกิดขึ้นโดยที่ญาติผูดูแลไมสามารถคาดคะเนลวงหนาไดอีกดวย ดังนั้นอาจพบวาญาติผูดูแลอาจเกิด
ความรูสึกไมแนนอน เนื่องจากไมสามารถวางแผนในการชวยเหลือผูปวยได
3) การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะทางอารมณ ความรูสึก หรือความตองการสวนบุคคล
ในผูปวยแตละราย อีกทั้งความตองการการดูแลประเภทนี้มักจะเกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา ซึ่งขึ้นอยูกับ
คุณลักษณะสวนบุคคลของผูปวย และผลกระทบจากโรคที่ผูปวยเปนอยู เชน ในผูปวยโรคหลอด
เลือดอาจพบวาผูปวยมักมีความวิตกกังวล ซึมเศรา อารมณเปลี่ยนแปลงงาย เจาอารมณ เปนตน ซึ่ง
อาการเหลานั้นจะมีความรุนแรงขึ้นอยูกับตําแหนงของรอยโรค (กิ่งแกว ปาจรีย, 2550)
จากปญหาความตองการการดูแลของผูปวยขางตน เปนผลไปสูกิจกรรม หรือภาระงาน
ที่ญาติผูดูแลตองกระทําใหกับผูปวย ไดแก การใหการดูแลโดยตรงในกิจวัตรประจําวันตางๆ รวมทั้ง
ปญหาทางพฤติกรรมที่เกิดขึ้น การใหการสนับสนุนทางดานอารมณและจิตใจ การทําหนาที่เปน
ตัว กลางในการติ ด ต อ ประสานงานกั บ บุ ค ลากร หรื อ องค ก รทางสุ ข ภาพ และอาจต อ งให ค วาม
ชวยเหลือผูปวยในดานวัสดุสิ่งของ คาใชจายในการรักษา ฟนฟูสภาพ รวมถึงสนับสนุนดานการ
สงเสริมอาชีพตามความจําเปนดวย (ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, 2539)
นันทกาญจน ปกษี ทบทวนวรรณกรรม / 14

2.1.4 ผลกระทบของการรับบทบาทญาติผูดูแลผูปวยโรคเรื้อรัง
โรคเรื้อรัง หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติหรือเบี่ยงเบนไปจากปกติของรางกายเปน
ภาวะที่เปนอยางถาวร ทําใหเกิดความพิการความเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่ไมสามารถรักษาให
กลั บ คื น เป น ปกติ ไ ด ผู ป ว ยที่ อ ยู ใ นภาวะนี้ ต อ งการการกายภาพบํ า บั ด นอกจากนั้ น ยั ง ต อ งการ
การรักษาติดตามดูแลในระยะยาว และในการรักษานั้นจะติดตอกันนานเกิน 3 เดือน (อัมพรพรรณ ธี
รานุช, 2551) กลุมตัวอยางโรคที่จัดวาเปนโรคเรื้อรัง เชน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรค
หลอดเลือดสมอง เปนตน จากภาวะความเจ็บปวยเรื้อรังของสมาชิกในครอบครัวที่เกิดขึ้น จึงสงผล
กระทบตอสมาชิกคนอื่นอยางหลีกเลี่ยงไมได ทั้งในระยะที่ผูปวยเขารับการรักษาในโรงพยาบาล
และเมื่อตองกลับไปอยูที่บาน สําหรับสังคมไทยมองวาบุคคลที่เหมาะสมที่จะเขามารับบทบาทใน
การดูแลผูปวยเรื้อรังที่บานนั้นควรเปนญาติหรือสมาชิกในครอบครัว (รัชนี สรรเสริญ, 2551)
จากที่กลาวขางตนวาโรคเรื้อรังสงผลใหญาติผูดูแลตองรับบทบาทในการดูแลผูปวย
ยาวนานตอเนื่อง ดังนั้นอาจสงผลตอภาวะสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผูดูแลได (Health–related
quality of life) ดังที่ วงจันทร เพชรพิเชฐเชียร (2554) ไดกลาวไว ดังนี้
1) คุณภาพชีวิตดานรางกาย เมื่อญาติผูดูแลตองปฏิบัติหนาที่อาจทําใหความสมบูรณ
ดานรางกายลดลง โดยอาการที่แสดงออกและพบไดบอย เชน อาการเหนื่อยลา นอนไมหลับ น้ําหนัก
ตัวลด ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหลัง เปนตน ในระยะยาวความไมสมบูรณทางกายอาจนําไปสูปญหา
สุขภาพที่เรื้อรัง หรือรุนแรงตามมาไดงาย
2) คุณภาพชีวิตดานจิตใจ คุณภาพชีวิตดานจิตใจของญาติผูดูแลจะมีการเปลี่ยนแปลง
ไปอยางมากตามแตระยะของการเจ็บปวย ในภาพรวมอาการที่สะทอนถึงคุณภาพชีวิตดานจิตใจที่ไม
ดี เชน ภาวะซึมเศรา วิตกกังวล โกรธงาย และเครียด โดยปจจัยที่มีผลตอคุณภาพชีวิตดานจิตใจ
คือ ความรัก และสัมพันธภาพที่มีตอกันระหวางญาติผูดูแล และผูปวย
3) คุณ ภาพชีวิ ตดา นสั ง คมเป น ภาวะที่บุ คคลรั บรูถึ ง การอยูร ว มกั น ในครอบครัว ที่
อบอุน ทํา หนาที่ ตางๆกั น และมีกิจกรรมรว มกันในครอบครัว ตลอดจนการมีเ พื่ อนบาน เพื่ อน
รวมงาน และระบบสนับสนุนที่ดี รวมไปถึงความมั่นคงในดานเศรษฐกิจการเงินของครอบครัว
4) คุณภาพชีวิตดานจิตวิญญาณ เมื่อตองรับบทบาทหนาที่ในการดูแลผูปวยโรคเรื้อรัง
สงผลใหการดําเนินชีวิตประจําวันของญาติผูดูแลเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากตองนําเวลาสวนหนึ่งใน
ชีวิตทุ มเทกั บการดูแลผูปว ย จึงส งผลต อคุ ณ ภาพชีวิตดา นจิ ตวิ ญญาณของญาติผูดูแลลดลงด ว ย
เชนกัน
จากการศึกษาของบุญรอด ดอนประเพ็ง (2543) ที่ศึกษาความสัมพันธระหวางภาระใน
การดู แ ล แหล ง เผชิ ญ ความเครี ย ด และคุ ณ ภาพชี วิ ต ของญาติ ผู ดู แ ลผู สู ง อายุ ที่ ต อ งพึ่ ง พา พบว า
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 15

ญาติผูดูแลสวนใหญเปนผูหญิงรอยละ 84 เปนบุตรของผูสูงอายุวัยกลางคนรอยละ 56 สถานภาพ


สมรสคูรอยละ 60 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษารอยละ 36 มีรายไดเฉลี่ย 5,974 บาทตอเดือน
ระยะเวลาในการดูแลผูสูงอายุเฉลี่ย 23.55 เดือน ญาติผูดูแลใหเหตุผลที่รับเปนผูดูแลผูสูงอายุ
เนื่องจากเปนหนาที่ที่ตองดูแล และจากการศึกษายังพบอีกวา ภาระในการดูแลมีความสัมพันธทาง
ลบกับคุณภาพชีวิตของผูดูแลดวย

2.2 โรคหลอดเลือดสมอง และความตองการการดูแลชวยเหลือจากญาติผูดูแล


โรคหลอดเลื อ ดสมองจั ด ไดวา เปน ภาวะเจ็ บป ว ยเรื้ อรังที่มีก ารดํา เนิ น ของโรคยาวนาน
ตลอดเวลา และมีการกําเริบของโรคเปนระยะๆ ทําใหตองเขารับการรักษาในโรงพยาบาลบอย ซึ่ง
ภาวะเจ็บปวยดังกลาวเปนภาวะที่ผูปวยตองการการแกไข ตองการความชวยเหลือใหเหมาะสม เพื่อ
ช ว ยให ผู ป ว ยสามารถปรั บ ตั ว และสามารถดํ า รงชี วิ ต อยู ใ นครอบครั ว และสั ง คมได ต ามปกติ
(กฤษณา พิรเวช, 2552)

2.2.1 ความหมายของโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovasculardisease or stroke) เปนโรคที่มีอาการผิดปกติ
ทางระบบประสาทสมองที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยมีสาเหตุจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง
(กนกพร โอฬารรัตนชัย, 2553) โดยองคการอนามัยโรคไดใหคําจํากัดความของ stroke วาเปนภาวะ
ที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง เปนเหตุใหสมองบางสวน หรือทั้งหมดผิดปกติไป กอใหเกิด
อาการ และอาการแสดงซึ่งคงอยูเกิน 24 ชั่วโมง หรือทําใหเสียชีวิต (World Health Organization
Meeting on Community Control of stroke and Hypertension, 1973 อางในกิ่งแกว ปาจรีย, 2550 )

2.2.2 ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง แบงตามสาเหตุเปน 2 กลุม ดังนี้
1)ภาวะสมองขาดเลือด (Ischemic stroke) จากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน มี
อุบัติการณประมาณรอยละ 80 ของ Stroke อาจมีสาเหตุจากหลอดเลือดขนาดใหญตีบตัน (Large
vessel atherosclerosis) ทําใหเนื้อสมองตายเปนบริเวณกวางตามอาณาเขตสมองที่เลี้ยงดวยเสนเลือด
นั้นๆ (Large territorial infarction) หลอดเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือดที่มาจากหัวใจ
(Cardioembolism) หลอดเลือดขนาดเล็กอุดตัน (Small vessel occlusion) ทําใหเนื้อสมองตายเปน
หยอมขนาดเล็ก (Lacunar infarction) เปนตน
นันทกาญจน ปกษี ทบทวนวรรณกรรม / 16

2)ภาวะเลือดออกจากหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) มีอุบัติการณ


ประมาณรอยละ 20 ของ stroke ภาวะเลือดออกในสมอง (Intracerebral hemorrhage) ในผูใหญและ
ผูสูงอายุ มีสาเหตุที่พบบอยที่สุดจาก Arteriovenous malformation (AVM) ภาวะเลือดออกในชอง
เยื่อหุมสมองชั้น Subarachnoid (Subarachnoid hemorrhage, SAH) สาเหตุที่พบบอยที่สุด คือ หลอด
เลือดโปงพองแตก (Ruptured aneurysm) การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองอาศัยการซักประวัติ
ตรวจรางกาย การตรวจทางรังสีวิทยาของสมอง และ การตรวจทางหองปฏิบัติการ เชน ตรวจหา
ไขมันในเลือด น้ําตาลในเลือด การทํางานของไต การแข็งตัวของเลือด การตรวจคลื่นไฟฟาหัวใจ
และการบันทึกภาพหัวใจดวยคลื่นเสียงความถี่สูง เปนตน (กนกพร โอฬารรัตนชัย, 2553)

2.2.3 ปจจัยเสี่ยงที่สงเสริมใหเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่สําคัญ ไดแก


1)โรคประจําตัวตางๆที่สําคัญ เชน โรคความดันโลหิตสูงโดยเพิ่มความเสี่ยงตอการเกิด
โรค 3 เทาทั้งชนิด Ischemic stroke และ Hemorrhagic stroke ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามระดับความ
รุนแรงของความดันโลหิตที่สูง โรคไขมันในเลือดสูงเพิ่มความเสี่ยงตอการเกิดโรค 1.5 เทา
โรคหัวใจ ผูที่เปนโรคหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะในผูปวยที่มีกลามเนื้อหัวใจตาย ความเสี่ยงจะ
สูงขึ้นมากกวา 2 เทาของคนปกติในกลุมอายุเดียวกัน และโรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงตอการเกิดโรค
เปน 2 เทาของผูที่ไมเปนเบาหวานที่มีปจจัยเสี่ยงอื่นใกลเคียงกัน
2)พฤติกรรมสุขภาพที่ไมเหมาะสม เชน การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงตอการเกิดโรคสูง
กวาผูไมสูบ สําหรับผูที่สูบบุหรี่จัดมากกวา 40 มวนตอวัน เพิ่มความเสี่ยงตอการเกิดโรค 2 เทาของผู
ที่ไมสูบ โดยสาเหตุที่ทําใหผูสูบบุหรี่เสี่ยงตอการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากบุหรี่เรงใหเกิด
ภาวะ atherosclerosis, hypercoagulability และการไมออกกําลังกาย
3)ปจจัยที่หลีกเลี่ยงไมได เชน อายุจะพบวาผูสูงอายุมีแนวโนมที่จะเปนโรคหลอดเลือด
สมองไดสูงเนื่องจากพยาธิสภาพของรางกายที่เปลี่ยนแปลงเสื่อมถอยไป ในเรื่องเพศพบวาผูมีอายุ
55-64 ป ในเพศชายมีโอกาสเสี่ยงตอการเกิดโรคมากกวาเพศหญิง 1.25 เทา ผูมีอายุ 65-74 ป ในเพศ
ชายมีโอกาสเสี่ยงตอการเกิดโรคมากวาเพศหญิงประมาณ 1.5 เทา ผูมีอายุ 75-84 ป ในเพศชายมี
โอกาสเสี่ยงตอการเกิดโรคไดมากกวาในเพศหญิงประมาณ 1.07 เทา และในผูมีอายุ 85 ปหรือ
มากกวาในเพศชายมีโอกาสเสี่ยงตอการเกิดโรคมากกวาในเพศหญิงประมาณ 0.76 เทา กลาวโดย
สรุปคือ ในเพศชายวัยสูงอายุมีแนวโนมเสี่ยงมากวากลุมอื่นๆ (American Heart Association, 2007
อางในสิริรัตน ลีลาจรัส และจริยา วิรุฬราช, 2007) และจากกรรมพันธุโดยเฉพาะผูที่มีพอแมพี่นองที่
เปนญาติสายตรงมีประวัติเปนโรคหลอดเลือดสมองมากอน (สํานักงานเผยแพรและประชาสัมพันธ
กรมควบคุมโรค, 2552)
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 17

2.2.4 อาการและอาการเตือนที่สําคัญของโรคหลอดเลือดสมอง
อาการที่พบบอยคือการออนแรงบริเวณใบหนาแขนขาสวนมากเปนขางเดียวอาการ
อื่นๆที่อาจเกิดรวมไดแกชาหรือออนแรงครึ่งซีกที่หนาหรือแขนขา เวียนศีรษะหรือหมดสติปวด
ศีรษะรุนแรงเฉียบพลันพูดไมชัดหรือลิ้นแข็งเดินเซหรือการทรงตัวไมดีเห็นภาพซอนตามัวซึ่งความ
รุนแรงและอาการจะเกี่ยวของกับบริเวณที่สมองขาดเลือดถารุนแรงมากอาจเสียชีวิตได
อาการเตือนที่สําคัญของโรคหลอดเลือดสมอง คือสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA:
Transient Ischemic Attack ) โดยพบผูที่มีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว 1 ใน 5 คนจะเปนโรคหลอด
เลือดสมองภายในระยะเวลา 3 เดือน และพบวาโดยสวนใหญของผูที่เปนโรคหลอดเลือดสมอง
ดังกลาวจะพบใน 2-3 วันแรกหลังจากมีอาการของสมองขาดเลือดชั่วคราว สําหรับอาการของสมอง
ขาดเลือดชั่วคราวอาจพบเพียง 1 อาการหรือมากกวา 1 อาการไดแก อาการออนแรงของหนาแขน
หรือขาซีกเดียวสับสนพูดลําบากพูดไมรูเรื่องมีปญหาการพูดการมองเห็นลดลง 1 หรือทั้ง 2 ขางมี
ปญหาดานการเดินมึนงงสูญเสียการสมดุลการเดินหรือใชตัวยอชวยจํา “F.A.S.T.” มาจาก F = Face
เวลายิ้มพบวามุมปากขางหนึ่งตก A = Arms ยกแขนไมขึ้น 1 ขาง S = Speech มีปญหาดานการพูดแม
ประโยคงายๆพูดแลวคนฟงฟงไมรูเรื่อง T = Time ถามีอาการเหลานี้ใหรีบไปโรงพยาบาลโดยดวน
ภายใน 3 ชั่วโมงจะไดชวยรักษาชีวิตและสามารถฟนฟูกลับมาไดเปนปกติหรือใกลเคียงคนปกติมาก
ที่สุด (วิชัย เอกพลากร, 2550)

2.2.5 แนวทางดูแลการรักษาผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
ในที่นี้จะกลาวถึงแนวทางการดูแลที่แบงออกเปน 2 ระยะ ไดแก การดูแลในระยะ
เฉียบพลัน ซึ่งแบงอีกตามประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแลอยางตอเนื่องที่สําคัญ
(วิชัยเอกพลากร, 2550) ดังนี้
1) การดูแลในระยะเฉียบพลัน ซึ่งแบงอีกตามประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง ไดแก
ประเภทตีบ หรือตันที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด แพทยจะรักษาโดยการใหยาแลวแตกรณี
ไดแก ยาตานเกล็ดเลือด ยาตานการแข็งตัวของเลือด ยาละลายลิ่มเลือด แกไขปญหาสมองบวมน้ํา
และการรักษาแบบประคับประคอง และสําหรับประเภทแตกที่เกิดจากเลือดออกในสมองจะใหการ
รักษาแบบประคับประคอง แกไขปญหาความดันในกะโหลกศีรษะสูง ใหยาลดความดันปองกัน
ภาวะแทรกซอนของโรค เชน ปอดอักเสบ ทางเดินปสสาวะอักเสบ แผลกดทับ บางรายอาจรักษาโดย
การผาตัดเอากอนเลือดในสมองออกภายหลังจากรับการรักษาจากแพทยแลว
2) การดูแลอยางตอเนื่องซึ่งการดูแลที่สําคัญนั้นก็คือ การฟนฟูผูปวยโรคหลอดเลือด
สมอง (Stroke Rehabilitation)โดยเปาหมายของการฟนฟูสมรรถภาพก็เพื่อใหผูปวยสามารถที่จะ
นันทกาญจน ปกษี ทบทวนวรรณกรรม / 18

ชวยเหลือตนเองใหไดมากที่สุด และกลับไปมีชีวิตความเปนอยูในครอบครัว และสังคมไดอยางมี


คุณภาพในสภาพใกลเคียงปกติมากที่สุด ทั้งนี้ผูปวยโรคหลอดเลือดสมองทุกรายที่ยังมีความพิการ
หลงเหลืออยูควรไดรับการฟนฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมงหลังจากอาการทาง
ระบบประสาท และสัญญาณชีพคงที่แลว โดยการฟนฟูที่เหมาะสมจะขึ้นอยูกับระยะเวลาที่เปนโรค
ปญหาที่ผูปวยมี และระดับความสามารถของผูปวยแตละราย (นิจศรี ชาญณรงค, 2552)
นอกจากนี้ การฟนฟูสมรรถภาพผูปวยโรคหลอดเลือดสมองยังครอบคลุมหลายมิติ
ที่สําคัญประกอบดว ย การปองกัน เฝาระวัง รักษาความเจ็บปวย และภาวะแทรกซอนที่เ กิด ขึ้น
การฝกหั ดให ชวยเหลือตนเองใหไดมากที่สุด การกระตุนใหผูปวย และครอบครัวยอมรับ และ
ปรับตัวทางจิตสังคม การสงเสริมใหบุคคลดังกลาวกลับเขารวมในกิจกรรมของครอบครัว และสังคม
รวมทั้งงานอาชีพ และสงเสริมยกระดับคุณภาพชีวิต จะเห็นไดวาการฟนฟูสมรรถภาพเปนการดูแล
รักษาแบบองครวม (holistic approach) ซึ่งผูที่ใหการดูแลรักษาจะตองเขาใจในความเปนบุคคลนั้น
ทั้งดานกาย ใจ และสังคมที่แวดลอม นอกจากนี้ทั้งบุคคลนั้น และสังคมที่แวดลอมตองเปนสวน
หนึ่งของกระบวนการฟนฟูสมรรถภาพ มิใชรอรับบริการเพียงอยางเดียว (กมลทิพย หาญผดุงกิจ,
2550 ) จากการศึกษาของ ณัฐชา ทานะมัย (2550) ที่ศึกษาเปรียบเทียบความรู และทักษะการดูแลของ
ผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองกอน และหลังไดรับโปรแกรมการสอนการดูแลแบบองครวมใน
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน อําเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ผลของการศึกษาพบวา
ความรูเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผูดูแลภายหลังไดรับโปรแกรมการสอนการดูแลแบบองค
รวมดีกวากอนไดรับโปรแกรม เมื่อเปรียบเทียบทักษะการดูแลของผูดูแลทางดานรางกายทุกกิจกรรม
สูงกวากอนไดรับโปรแกรม เมื่อเปรียบเทียบทักษะการดูแลดานจิตใจ ดานสังคม ดานจิตวิญญาณทุก
กิจกรรมยังพบวาสูงกวากอนไดรับโปรแกรมอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ สอดคลองกับการศึกษาของ
ฤทัย แสนสี (2549) ที่ศึกษาความตองการของผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บาน อําเภอบานธิ
จังหวัดลําพูน พบวา ความตองการของผูดูแลผูที่เปนโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมอยูในระดับนอย
แตเมื่อพิจารณารายดานพบวา ความตองการขอมูลในการดูแลอยูในระดับนอย แตพบวาผูดูแลมี
ความตองการดานการประคับประคองจิตใจอยูในระดับมาก โดยมีที่ผูดูแลตองการมากกวา 1 เรื่อง
คือ ตองการไดรับความเปนกันเองจากเจาหนาที่สาธารณสุขมีระดับความตองการที่มากที่สุดรอยละ
60.50 และ 13.60 ตามลําดับ และมีขอที่ผูดูแลตองการคอนไปทางมาก ไดแก ความตองการใหแพทย
และพยาบาลมีเวลารับฟงปญหาในการดูแลผูปวยมีระดับความตองการที่มากถึงมากที่สุด รอยละ
50.70 และใหเวลาในการซักถามไดอยางเต็มที่ มีระดับความตองการตั้งแตปานกลางถึงมากที่สุด
รอยละ 34.60, 33.30 และ 11.10 ตามลําดับ ในเรื่องตองการเวลาในการพักผอนเพื่อคลาย
ความเครียด ความวิตกกังวล และตองการใหอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบาน (อสม.) มาเยี่ยม
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 19

ผูปวย สวนใหญมีความตองการในระดับปานกลางรอยละ 39.50 และ 35.80 ตามลําดับ เรื่องที่ผูดูแล


สวนใหญไมมีความตองการ คือ เรื่องไมตองการใหคนในครอบครัวชวยกันดูแลผูปวย รอยละ 40.70
สํ า หรั บ ป จ จั ย ที่ มี ผ ลต อ การฟ น ฟู ส มรรถภาพผู ป ว ยแบ ง ป จ จั ย ที่ มี ผ ลการฟ น ฟู
สมรรถภาพ ออกเปน 2 ดานไดแก ดานตัวผูปวย และญาติผูดูแล (วิมลรัตน ภูวราวุฒิพานิช, 2552)
ดานตัวผูปวย ไดแก 1) ปจจัยสวนบุคคล ซึ่งไดแก อายุ ระดับการศึกษา 2) ตําแหนงของรอยโรค
ชนิดและระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง 3) ความบกพรองทางกาย เชน การรับรู การ
มองเห็น อาการออนแรง การทรงตัว ความสามารถในการกลั้นอุจจาระและปสสาวะ ความสามารถ
ในการกําหนดรูการสื่อความหมาย และความสามารถในการเรียนรู 4)โรค หรือภาวะที่พบรวม 5)
ความสามารถในการปรับตัว และลักษณะการปรับตัว และ6) ระยะเวลาตั้งแตเปนโรคหลอดเลือด
สมองจนถึงเวลาที่เริ่มมีการฟนฟูสมรรถภาพ สวนดานญาติผูดูแล ไดแก 1)มีสติสัมปชัญญะ การรับรู
การเรียนรู และความจําดี รวมทั้งมีความตองการที่จะชวยเหลือไมทอแท 2)ไดรับการสนับสนุนจาก
ญาติผูดูแลดานทรัพยากรตางๆ เชน คาใชจายตางๆ การชวยเหลือในการทํากิจวัตรประจําวัน และให
กําลังใจในการปฏิบัติ 3)มีความพรอมดานรางกาย ไมมีโรครวมหลายอยางในเวลาเดียวกัน เชน
เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ4)มีการปรับตัวและความสามารถในการเผชิญกับความเครียดไดดี
ไมมีความผิดปกติดานจิตใจ
ปญหาหรือภาวะแทรกซอนที่พบบอยและตองการการฟนฟู ในการศึกษาครั้งนี้จะกลาว
เนนเฉพาะภาวะแทรกซอนที่พบบอย (intermediate complications)ไดแก
1.การสําลัก (Aspiration) ภาวะกลืนลําบากพบไดบอยผูปวยโรคหลอด
เลือดสมอง อาจทําใหเกิดการสําลักและปอดอักเสบ การสําลักสามารถเกิดขึ้นไดในทุกขั้นตอนของ
การกลืน เชน กลามเนื้อที่ควบคุมการเคี้ยว และการกลืนออนกําลังลง หรือรีเฟลกซที่ควบคุมการ
กลืนผิดปกติ เปนตน นอกจากนี้ปญหาทางการกําหนดรู ความจําบกพรอง ทําใหขั้นตอนของการ
เคี้ยวและกลืนไมประสานกันทําใหเกิดการสําลักไดงาย (กฤษณา พิรเวช, 2552)
2. การติดเชื้อในระบบทางเดินปสสาวะ (Urinary tract infection) พบได
บอยประมาณ 30-40% สาเหตุเกิดจาก การมีความผิดปกติในการควบคุมการขับถายปสสาวะ
(neurogenic bladder) ปญหาดานการสื่อสาร ความจําบกพรอง ทําใหตองคาสายสวนปสสาวะไวนาน
หรื อ การถ า ยป ส สาวะในท า นอนหงายทํ า ให ป ส สาวะออกไม ห มด มี ป ส สาวะค า งในกระเพาะ
ปสสาวะหลังการเบงถาย (กฤษณา พิรเวช, 2552)
3.แผลกดทับ (Pressure ulcer) เปนแผลที่เกิดจากผิวหนังถูกแรงกดสูงๆ
เปนเวลานาน ทําใหเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณนั้นไดไมสะดวก จนมีเนื้อตายเกิดขึ้น พบไดรอย
นันทกาญจน ปกษี ทบทวนวรรณกรรม / 20

ละ 14.5 ในผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง ปจจัยที่สงเสริมใหเกิดแผลกดทับไดงาย เชน การนอนทา


เดียวเปนเวลานาน มีปสสาวะเล็ดราดบอยๆ เปนตน (กฤษณา พิรเวช, 2552)
4.ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดดํา (Deep vein thrombosis, DVT )
ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดดําเกิดจากเลือดในหลอดเลือดดําไหลชากวาปกติ และออกซิเจนไป
เลี้ยงผนังหลอดเลือดดําลดลง รวมกับมีการทําลายของเซลลบุผนังหลอดเลือด (endothelial cells)
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่ไมไดรับการปองกันมีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดดําได
มากถึงรอยละ 75 (กฤษณา พิรเวช, 2552)
5. อารมณซึมเศรา (Depression) รอยละ 15-70 ของผูปวยโรคหลอดเลือด
สมองมักมีอารมณซึมเศรา จากการศึกษาในตางประเทศ พบอุบัติการณการเกิดอารมณซึมเศราของ
ผูปวย หลังจากเปนโรคหลอดเลือดสมองนาน 6 เดือนสูงถึงรอยละ 47 ซึ่งอารมณซึมเศรา สงผล
กระทบตอผลการฟนฟูอยางยิ่ง การไดรับความเอาใจใสจากทีม และครอบครัว รวมทั้งการปรับ
สภาพแวดลอมตางๆ จะสามารถชวยไดถาอาการไมรุนแรง สวนในรายที่อาการรุนแรงอาจตองใชยา
ลดอาการซึมเศรา หรือปรึกษาจิตแพทย (Framingham, 1993 อางใน กฤษณา พิรเวช, 2552)
6. กลามเนื้อเกร็งและขอติดแข็ง (Spasticity and joint contracture)
ประมาณรอยละ 65 ของผูปวยโรคหลอดเลือดสมองจะมีอาการเกร็งของกลามเนื้อแขน ขาขางที่เปน
อัมพาตเมื่อเขาสูระยะฟนตัว อาการกลามเนื้อเกร็งนี้ถาเปนไมมากอาจไมจําเปนตองรักษา เพราะชวย
ใหผูปวยสามารถทํากิจกรรมตางๆ ไดดีขึ้น เดินไดดีขึ้น แตถามีอาการเกร็งมากก็จะรบกวนการทํา
กิจวัตรประจําวัน การเดิน เปนแผลจากการเสียดสี หรือมีอาการเจ็บปวด และทําใหขอยึดติดได
(กฤษณา พิรเวช, 2552)
ในการฟ น ฟู ส มรรถภาพผู ป ว ยโรคหลอดเลื อ ดสมอง รวมไปถึ ง การป อ งกั น
ภาวะแทรกซอนตางๆที่อาจเกิดขึ้นกับผูปวยนั้น ผูปวยไมสามารถกระทําไดโดยลําพัง จึงจําเปนอยาง
ยิ่งที่ตองการการดูแลชวยเหลือจากญาติผูดูแล เพื่อลดอัตราการกลับเขามารักรักษาซ้ําในโรงพยาบาล
และลดภาระงานของทีมสุขภาพ อีกทั้งเรื่องของคาใชจาย ตนทุนในการรักษา ลดภาวะแทรกซอน
และปญหาการขาดแคลนบุคลากรทางดานสุขภาพ ดังนั้นครอบครัวของผูปวยจึงมีบทบาทในการ
ดูแลผูปวยตอเนื่อง และระยะยาวจากโรงพยาบาล โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพรวมวางแผน และระบบ
การดูแลตอเนื่องใหผูปวย (ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, 2539)
จากที่กลาวขางตนวาโรคหลอดเลือดสมองเปนโรคเรื้อรังทางระบบประสาทที่เปน
สาเหตุใหเกิดความทุพพลภาพ กอใหเกิดภาวะพึ่งพาผูอื่น ซึ่งนับวาเปนปญหาระยะยาวที่ผูปวย
และญาติผูดูแลตองเผชิญ กฤษณา พิรเวช (2552) ไดสรุปความตองการการดูแลชวยเหลือจากญาติ
ผูดูแลไว ดังนี้
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 21

1) ผูปวยตองพึ่งพาผูอื่นในการทํากิจวัตรประจําวันมากขึ้น เนื่องจากความสามารถใน
การเคลื่อนไหวลดลงจากการรับรู และสั่งการไมได หรือไมมีประสิทธิภาพ ตองพึ่งพาผูอื่นในการ
ทํากิจวัตรประจําวัน ไดแก การรับประทานอาหาร การอาบน้ํา การแตงกาย การออกกําลังกาย การ
พักผอน การขับถาย การเคลื่อนไหว และการเคลื่อนยายไปในที่ตางๆ ทําใหตองการความชวยเหลือ
ดูแลใหคงไวซึ่งความตองการขั้นพื้นฐานของชีวิต
2) ผูปวยบางรายมีความปลอดภัยในชีวิตลดลงจากการสูญเสียหนาที่ของสมองในการ
ควบคุมการเคลื่อนไหว การรับรูตอความสมดุลของรางกาย การรับรูตอเวลา บุคคล การเคลื่อนไหว
การรับรูของลานสายตาผิดไป ทําใหผูปวยสับสน มีการรับรูผิดปกติจากความจริง การกะจังหวะ
ผิดพลาด ผูปวยจึงเสี่ยงตอการเกิดอุบัติเหตุไดงาย ขาดความปลอดภัยในการทํากิจกรรมตางๆทําให
ญาติผูดูแลตองมีภาระการดูแลมากขึ้น
3) ปญหาดานจิตใจ เกิดจากสาเหตุหลายประการ เชน เกิดจากพยาธิสภาพของโรค การ
ที่ตองพึ่งพาผูอื่นมากขึ้นทําใหมีความซึมเศรา การสื่อสารมีความบกพรองไมสามารถบอกใหผูอื่น
เขาใจตนเองได หรือพูดไมชัดทําใหผูปวยมีอัตมโนทัศนตอตนเองในทางลบ

2.3 แนวคิดของรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผาน
ในงานวิจั ย ครั้งนี้เ ป นการศึกษาญาติ ผูดูแ ลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่ไดรับการ
วินิจฉัยจากแพทยวาเปนโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งรูปแบบในการดูแลในการเปลี่ยนผานที่จะนําเสนอ
ตอไปนี้เปนสวนหนึ่งของรูปแบบที่จะนําไปประยุกตใชในโปรแกรมการดูแลผูปวย และใหการ
ชวยเหลือญาติผูดูแลของงานวิจัยครั้งนี้
การดูแลในการเปลี่ยนผาน (Transitional care) เปนการดูแล และการบริการที่สงเสริม
ใหเกิดความปลอดภัย และการดูแลจากระดับหนึ่งไปสูอีกระดับหนึ่ง เชน การดูแลผูปวยวิกฤตไปสู
การดูแลผูปวยกึ่งวิกฤต หรือการดูแลจากระบบหนึ่งไปสูอีกระบบหนึ่ง เชน การดูแลจากโรงพยาบาล
ไปสูการดูแลตอที่บาน (Naylor, 2004)โดยรูปแบบการดูแลแบบ Transitional Care Model (TCM)
พัฒนาโดย Naylor ในป ค.ศ. 2004 ออกแบบมาเพื่อชวยใหผูปวยมีการเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาล
ไปสูที่บาน โดยมีเปาหมายที่สําคัญ คือ การชวยใหผูปวยและผูดูแลพัฒนาความรู ทักษะและนํา
ทรัพยากรที่มีอยูนํามาใช เพื่อชวยลดการกลับเขารักษาซ้ําในโรงพยาบาล
สําหรับรูปแบบการดูแลแบบ TCM ของเนเลอร มี Transitional Care Nurse (TCN)
เปนผูประสานงานหลักที่ชวยทําใหเกิดการดูแลในระยะเปลี่ยนผานบรรลุผลสําเร็จ เปนผูเชี่ยวชาญ
ในการใหการดูแลผูที่เจ็บปวยเรื้อรังอยางครอบคลุม และมีประสบการณในการใหบริการทั้งในระยะ
นันทกาญจน ปกษี ทบทวนวรรณกรรม / 22

เฉียบพลันที่อยูในโรงพยาบาล และในชุมชน TCN มีหนาที่โดยตรงที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการ


ดูแลสุขภาพที่ใหการเปลี่ยนผานทั้งดานการเปลี่ยนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง คือ จากโรงพยาบาลสู
บานหรือชุมชน และดานสภาวะสุขภาพ โดยมีการติดตาม และการจัดการเพื่อปรับปรุงการดูแล
ผูปวยและผลลัพธที่ดี บทบาทหนาที่ความรับผิดชอบของ TCN แตกตางจากพยาบาลวิชาชีพ
ประจําการ โดย TCN ตองไดรับการเตรียมเพื่อที่จะสามารถบูรณาการทักษะทางการพยาบาล การ
จั ด การการดู แ ลผู ป ว ยที่ มี ป ญ หาซั บ ซ อ น โดยใช ห ลั ก ฐานเชิ ง ประจั ก ษ รวมถึ ง การรั ก ษาแบบ
ประคับประคอง และที่สําคัญมีการนําทฤษฎีทางการพยาบาลมาใชในการดูแลผูปวยเปนรายบุคคล
ในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อใหเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดคาใช จายในการ
รักษา (Naylor, 2004)
จากแนวคิดของ TCM (Naylor, 2004) เนเลอร ไดนํารูปแบบนี้ไปใชในงานวิจัยในกลุม
ของผูปวยสูงอายุที่เปนโรคหัวใจหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งผลของการวิจัยพบวา รูปแบบ
การดูแลตามระยะเปลี่ยนผานของเนเลอรสามารถลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของผูปวยได
สําหรับในประเทศไทยไดมีผูนําแนวคิดนี้มาใชในการศึกษากลุมญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือด
สมองดวย เชนกัน สาลี เฉลิมวรรณพงศ (2553) ศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผานตอ
ความสามารถในการทําหนาที่ และคุณภาพชีวิตของผูรอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง พบวา
ภายหลังไดรับโปรแกรมการดูแลระยะการเปลี่ยนผานซึ่งดําเนินการในโรงพยาบาลและที่บาน
จํานวน 4 สัปดาห โดยมีการเยี่ยมบานสัปดาหละครั้ง รวม 2 ครั้ง และเยี่ยมทางโทรศัพท 2 ครั้ง
ความสามารถในการทําหนาที่ของผูปวยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตในสัปดาหที่ 12
ของผูปวยดีขึ้นกวากลุมที่ไมไดรับโปรแกรม และจากการศึกษาของ ปราณี เกสรสันต (2557) ที่
ศึกษารูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผานของผูปวยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลเจาพระยายม
ราช พบวาคาเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวยโรคหลอดเลือด
สมองกลุมทดลองภายหลังไดรับการดูแลตามระยะเปลี่ยนผานสูงกวากลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญ
ทางสถิติ ในดานความรูของผูปวยในกลุมทดลองมีคาเฉลี่ยความรูหลังการใชรูปแบบการดูแลเพิ่มขึ้น
มากกวากลุมทดลองอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ และระดับความพึงพอใจในการดูแลระยะเปลี่ยนผาน
ของผูดูแลผูปวยกลุมทดลองที่ไดรับการดูแลตามระยะเปลี่ยนผาน ในภาพรวมทั้งหมดอยูในระดับ
มากที่สุด และมากกวากลุมควบคุม อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ จะเห็นไดวาการนํารูปแบบการเปลี่ยน
ผานไปใชในการศึกษาที่ผานมามีผลดีทั้งตอตัวผูปวย และญาติผูดูแล
ในการศึกษาครั้งนี้ ผูวิจัยไดนํารูปแบบการดูแลของเนเลอรเปนกรอบแนวคิด ซึ่งเปน
กระบวนการในการดูแลเพื่อชวยใหผูปวย และญาติผูดูแลมีการเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลไปยัง
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 23

บาน โดยผูวิจัยเปนนักศึกษาระดับปริญญาโทเปนผูประสานงานหลัก และทําหนาที่ในการดําเนิน


กิจกรรมตามโปรแกรม และไดนําองคประกอบที่สําคัญในรูปแบบการดูแลของ TCM ของเนเลอร
และจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของมาประยุกตใช อันไดแก 1)การเปนผูประสานงานหลักที่
ทําใหเกิดความสอดคลองตลอดตอเนื่องของการดูแลผูปวยและญาติผูดูแล 2)มีการประเมินความ
พรอมในการดูแลผูปวยของญาติผูดูแล ตั้งแตในโรงพยาบาลจนกระทั่งกลับบาน และพัฒนาแนวทาง
ในการดูแลโดยใชหลักฐานเชิงประจักษ 3)ผูวิจัยมีการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท และติดตามเยี่ยม
บานภายหลังจากจําหนาย 4) ใหการดูแลผูปวยและญาติผูดูแลอยางครอบคลุม โดยมุงใหความสําคัญ
การพยาบาลผู ป ว ยแบบองค ร วมบนความต อ งการของผู ป ว ยและญาติ ผู ดู แ ล ทั้ ง ในภาวะที่ เ กิ ด
ภาวะแทรกซอน และภาวะปกติ 5)ผูปวย ครอบครัวและญาติผูดูแลมีสวนรวมอยางแทจริง มุงเนน
การใหความรูในการดูแลตนเองของญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวย การปรับตัวเมื่อรับบทบาท
ญาติผูดูแล และการจัดการความเครียดจากการดูแลผูปวย และ6) มีการติดตอสื่อสารระหวางผูปวย
และญาติผูดูแล และมีการจัดหาการดูแลสุขภาพใหสอดคลองกับความตองการของผูปวยแตละราย

2.4 ความเครียด และการปรับตัวของญาติผูดูแล


จากความตองการการดูแลของผูปวย หรือภาระงานที่ญาติผูดูแลที่ตองกระทําใหกับ
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมองขางตน ซึ่งนับวาเปนงานที่หนัก และซับซอนตองอาศัยความพยายาม
และแรงงานอยางตอเนื่อง ประกอบกับในผูปวยบางรายอาจตองใชระยะเวลาในการดูแลที่ยาวนาน
งานที่ ทํ า อยู เ ป น ประจํ า วิ ถี ก ารดํ า เนิ น ชี วิ ต ที่ เ ปลี่ ย นแปลงไป ทํ า ให เ วลาพั ก ผ อ นน อ ยลง
ความสัมพันธกับเพื่อนและกิจกรรมทางสังคมนอยลง เนื่องจากไมมีเวลาหรือการมีกิจกรรมเพื่อการ
พักผอนลดนอยลง หรือแมกระทั่งการที่ญาติผูดูแลตองเผชิญอารมณที่เปลี่ยนแปลงไปของผูปวย
ญาติผูดูแลที่ตองรับภาระดูแลผูปวยจึงเกิดความกดดัน เครียด ทอแท หงุดหงิดงาย และหมดกําลังใจ
หรือบางรายอาจพบปญหารายจายที่เพิ่มมากขึ้น เพราะตองใชเงินเพื่อการรักษาหรือเพื่อจัดสภาพ
บานและสิ่งแวดลอมใหเหมาะสมกับสภาพรางกายและมีความปลอดภัยในการเคลื่อนไหว เชน การ
ซื้อเตียงนอนใหเหมาะสมกับสภาพของผูปวย การปรับระดับพื้นใหเรียบเสมอกัน เปนตน เหลานี้
ลวนสงผลทําใหญาติผูดูแลเกิดความเครียดในการดูแลได และสงผลทําใหญาติผูดูแลไมสามารถ
ปรับตัวเขากับบทบาทที่ไดรับ (ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, 2539) จากการศึกษาของ จิตร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
(2549) ที่ศึกษาความเครียด และการเผชิญกับความเครียดของผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
พบว า ความต อ งการในการดู แ ลของผู ป ว ยมี ค วามสั ม พั น ธ ท างบวกกั บ ความเครี ย ดของผู ดู แ ล
กลาวคือ ผูดูแลผูปวยที่มีความตองการในการดูแลมากมีความเครียดมากกวาผูดูแลผูปวยที่มีความ
นันทกาญจน ปกษี ทบทวนวรรณกรรม / 24

ตองการในการดูแลนอย สอดคลองกับการศึกษาของ อิศรพงษ ยรรยง และปยะภัทร พัชราวิวัฒน


พงษ (2546) ที่ศึกษาความเครียดในผูดูแลผูปวยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง ในผูปวยนอกและ
ผูปวยในที่เขารับการรักษาที่ภาควิชาเวชศาสตรฟนฟู โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล พบวา
ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความเครียด ความวิตกกังวลของผูดูแล และการนอนไมหลับของผูดูแล
ไดแก ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจําวันพื้นฐานของผูปวย และสถานะทางการเงินที่
แยลงที่เวลา 12 สัปดาห
ดังนั้นนอกจากจะประเมินความเครียด หรือปจจัยตางที่ทําใหเกิดความเครียดกับญาติ
ผู ดู แ ลแล ว การจั ด การกั บ ความเครี ย ดที่ เ กิ ด ขึ้ น ก็ นั บ ว า เป น สิ่ ง สํ า คั ญ เช น กั น จากการทบทวน
วรรณกรรมที่ผานมาพบวา มีวิธีการจัดการกับความเครียดในญาติผูดูแลที่หลากหลาย เชน จาก
การศึ ก ษาของ วาสนา ไชยวงศ (2549) ที่ ศึ ก ษาผลของการให คํ า ปรึ ก ษาแบบผสมผสานต อ
ความเครียดของญาติผูดูแล โดยในการใหคําปรึกษานั้น ไดดําเนินการใหคําปรึกษาแกญาติผูดูแล
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมองรวมกับการใหขอมูลเกี่ยวกับอาการ และการดําเนินของโรคในผูปวย ซึ่ง
พบว า ความเครี ย ดของญาติ ผู ดู แ ลผู ป ว ยโรคหลอดเลื อ ดสมองหลั ง จากได รั บ คํ า ปรึ ก ษาแบบ
ผสมผสานลดลงกอนไดรับคําปรึกษา และจากการศึกษาของ บุศรินทร รัตนาสิทธิ์ (2546) ที่ศึกษาผล
ของโปรแกรมการสนับสนุน และใหความรูแกญาติผูดูแลตอความรู การรับรูความสามารถและ
ความเครียดจากความวิตกกังวลในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง พบวา ภายหลังใหการ
สนับสนุนและใหความรู สนับสนุนญาติญาติผูดูแลในการปรับบทบาทการเปนผูดูแล การใหความรู
เกี่ยวกับการดูแลผูปวยดานฟนฟูสภาพ และปองกันภาวะแทรกซอน โภชนาการและการใหยา และมี
การผอนคลายความเครียดดวยการฝกหายใจกอนการใหความรู พบวา ผลของโปรแกรมสงผลให
ญาติ ผูดูแลมีความรูในการดูแลผูปวย และการรับรู ความสามารถตนเองสูงขึ้ น และยังพบอี ก วา
ความเครียดของญาติผูดูแลลดลงดวยเชนกัน
การเขารับบทบาทหนาที่เปนญาติผูดูแลที่บานนั้นเปนประสบการณเฉพาะบุคคล เปน
บทบาทใหมที่ญาติผูดูแลตองเผชิญ ซึ่งบทบาทใหมนี้อาจเกิดขึ้นอยางกะทันหันไมไดเตรียมตัวมา
กอน แตเปนหนาที่รับผิดชอบที่ญาติผูดูแลจะตองกระทํา เพื่อตอบสนองความตองการการดูแลของ
ผูปวย ซึ่งแตละคนจะมีกระบวนการการปรับตัว และตอบสนองที่แตกตางกันไป บุคคลจึงจําเปนตอง
มีการปรับตัวเพื่อตองการใหเกิดความมั่นคงทั้งทางดานรางกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งรอยไดแบงการ
ปรับตัวของบุคคลออกเปน 4 ดาน (Andrews & Roy, 1986) คือ 1)การปรับตัวดานรางกายเปน
ปรับตัวเพื่อการตอบสนองความตองการดานรางกาย 5 ประการ ไดแก ออกซิเจน (oxygenation)
โภชนาการ (Nutrition) การขับถาย (Elimination) กิจกรรมและการพักผอน (Activity and Rest) และ
การปกปองรางกาย (Protection) 2)การปรับตัวดานอัตมโนทัศนไดแก อัตมโนทัศนดานรางกาย เปน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 25

ความรูสึกนึกคิดของบุคคลที่มีตอสภาพรางกายตน และอัตมโนทัศนดานบุคคล เชน ความรูสึกมั่นคง


ภายในบุคคล และหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะมาคุกคามความมั่นคงภายในตนเอง 3)การปรับตัวดานบทบาท
หนาที่เปนการปรับตัวในสังคมเพื่อคงไวซึ่งความสมดุลจากการมีปฏิสัมพันธกับบุคคลในชวงเวลา
หนึ่งของชีวิต ซึ่งมักจะเปนชวงเวลานานหรือเปนแบบถาวร เชน บทบาทบิดามารดา บทบาทอาชีพ
บทบาทของญาติผูดูแล เปนตน และ4) การปรับตัวดานการพึ่งพาระหวางกัน เปนการปรับตัวเพื่อ
ความมั่นคงทางสังคม การชวยเหลือเกื้อกูลกันโดยการใหความรัก ความเคารพยกยอง และใหเกียรติ
ซึ่งกันและกัน จากแนวคิดการปรับตัวของรอย ในญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศ
ไทยมีการศึกษาของ วีณา ลิ้มสกุล (2545) ศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนการปรับตัวของ
ครอบครัวตอการปรับตัวของผูสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง พบวา การใหโปรแกรมการสนับสนุน
การปรับตัวของญาติผูดูแล โดยการใหความรู และฝกทักษะแกญาติผูดูแลของผูปวย ทําใหการ
ปรับตัวทั้ง 4 ดานไดแก ดานรางกาย ดานอัตมโนทัศน ดานบทบาทหนาที่ และดานการพึ่งพา
ระหวางกันของญาติผูดูแลสูงกวากอนไดรับโปรแกรม อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ

2.5 การเตรียมความพรอมสําหรับญาติผูดูแล และความพึงพอใจในบริการที่ไดรับ


การเตรี ย มความพร อ มของญาติ ผู ดู แ ลในป จ จุ บั น กล า วได ว า ระบบการให บ ริ ก าร
สุขภาพเนนที่ผูปวยเรื้อรังเปนหลัก ความตระหนักถึงสวัสดิภาพของญาติผูดูแล และกิจกรรมที่จะ
ชวยเหลือญาติผูดูแลใหสามารถดูแลตนเองได ทั้งดานการจัดการกับความเครียด และการสรางเสริม
สุขภาพในระหวางการดูแลยังไมคอยใหความสําคัญ และยังไมมีรูปแบบที่ชัดเจน นอกจากนี้การ
ติดตามใหคําปรึกษาหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล เพื่อใหสามารถดูแลผูปวยเรื้อรังที่บานได
อยางตอเนื่องยังไมเปนระบบเทาที่ควร จึงยังไมตอบสนองความตองการที่แทจริงของญาติผูดูแลได
(สายพิณ เกษมกิจวัฒนา , 2557)
การเพิ่มประสิทธิภาพในการรับบทบาทของญาติผูดูแลในการดูแลผูปวย และดูแล
ตนเองของญาติผูดูแล จึงนับวาเปนปจจัยสําคัญที่จะตองมีการเตรียมความพรอมในการดูแลผูปวย
และดูแลตนเองของญาติผูดูแลอยางตอเนื่องจากโรงพยาบาลสูบาน เพื่อใหญาติผูดูแลมีความมั่นใจ
ในการดูแลผูปวย โดยในการเตรียมความพรอมของญาติผูดูแลงานวิจัยครั้งนี้ ผูวิจัยไดใชแนวคิดการ
เตรียมความพรอมของญาติผูดูแลของอารชโบลด และสจวต (Archbold & Stewart, 1986) ซึ่งแนวคิด
การเตรียมพรอมนี้ไดมีการประเมินญาติความพรอมของญาติผูดูแล จํานวน 8 ขอ ประกอบดวย 1)
ความพรอมทางดานรางกาย 2)ความพรอมในการดูแลผูปวยทางดานอารมณ 3)ความพรอมในการหา
ขอมู ลเกี่ย วกั บ การบริ ก ารสุ ขภาพและจัด หาบริ ก ารการดูแ ลผู ปว ย 4)ความพรอ มในการจั ด การ
นันทกาญจน ปกษี ทบทวนวรรณกรรม / 26

ความเครียดที่เกิดขึ้นระหวางการดูแลผูปวย 5)ความพรอมในการดูแลผูปวยและตนเองใหเกิดความ
พึงพอใจ 6)ความพรอมในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผูปวย 7)ความพรอมในการดูแล
ผูปวยดานขอความชวยเหลือ และ8)ความพรอมในการดูแลผูปวยในภาพรวม
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับแนวคิดการเตรียมความพรอมของญาติผูดูแล
ความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลเปนการเรียนรู เพื่อตอบสนองความตองการการดูแลของ
ผู ป ว ย รวมถึ ง การจั ด การกั บ ป ญ หา และความเครี ย ดที่ เ กิ ด จากการรั บ บทบาทเป น ผู ดู แ ลด ว ย
(Schumacher, Stewart, & Archbold, 2008; อางใน อรอนงค กูลณรงค, 2555) จากการศึกษางานวิจัย
ที่ผานมา อารชโบลด และคณะยังพบอีกวา เมื่อผูดูแลมีความพรอมในการดูแลจะสงผลใหชวยลด
ความเครียดในบทบาทผูดูแลได (Schumacher, Stewart, & Archbold, 2007; อางใน อรอนงค กูล
ณรงค, 2555) สําหรับในประเทศไทยก็พบวามีผูนําแนวคิดการเตรียมความพรอมของญาติผูดูแลมา
ใช แ พร ห ลาย เช น จากการศึ ก ษาของ สุ ป รี ด า มั่ น คง และคณะ (2550) ที่ ศึ ก ษาการพั ฒ นา
ความสามารถในการทําหนาที่ของผูสูงอายุที่ไดรับการผาตัด และการเตรียมความพรอมญาติในการ
ดูแลผูสูงอายุที่บาน พบวา ภายหลังใหการพยาบาลตามปกติจากโรงพยาบาลรวมกับรูปแบบการ
พยาบาลตามโปรแกรมการดูแลผูสูงอายุและญาติผูดูแล พบวา มีคะแนนเฉลี่ยความพรอมของญาติใน
การดู แ ลผู สู ง อายุ สู ง กว า กลุ ม ที่ ไ ม ไ ด รั บ โปรแกรม และผู ป ว ยผู สู ง อายุ แ ละญาติ ผู ดู แ ลที่ ไ ด รั บ
โปรแกรมมีความพึงพอใจตอรูปแบบการพยาบาลสูงกวากลุมที่ไมไดรับโปรแกรมดวย
สําหรับในกลุมญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองก็พบวามีการศึกษาไวเชนกัน
โดยจากการศึกษาของ อรอนงค กูลณรงค (2555) ที่ศึกษาความพรอมในการดูแล สัมพันธภาพใน
ครอบครัว และความเครีย ดในบทบาทผูดูแ ลผูปวยมุสลิ มโรคหลอดเลื อดสมอง โดยศึ กษากลุม
ตัวอยางซึ่งเปนญาติผูดูแลหลักที่ทําหนาที่ใหการดูแลผูปวยอยางตอเนื่องที่บาน พบวา ความพรอม
ในการดูแลของญาติผูดูแลผูปวยมุสลิมโรคหลอดเลือดสมองมีความพรอมในการดูแลอยูในระดับ
ปานกลาง ซึ่งเมื่อพิจารณารายดาน พบวา ญาติผูดูแลมีความพรอมในการดูแลดานรางกายมากที่สุด
และความพรอมในดานการขอความชวยเหลือ และขอมูลที่จําเปนจากโรงพยาบาลนอยที่สุด สําหรับ
ความเครียดในบทบาทของญาติผูดูแลพบวาอยูในระดับปานกลาง นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบอีก
วาสัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธทางลบในระดับต่ํากับความเครียดของญาติผูดูแล และ
จากการศึกษาของ จรูญลักษณ ปองเจริญ และจันทรฉาย มณีวงษ (2551) ที่ศึกษาผลของโปรแกรม
การเตรียมความพรอมตอความพรอมของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองกอนจําหนายกลับ
บ า นในญาติ ผู ดู แ ลผู ป ว ยโรคหลอดเลื อ ดสมองที่ ม ารั บ บริ ก ารที่ห อผู ป ว ยศั ล กรรมโรงพยาบาล
เจาพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี พบวา ระดับความพรอมรายดาน และโดยรวมของญาติผูดูแล
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 27

ผูปวยโรคหลอดเลือดสมองอยูในระดับพรอมมากทั้งกลุมทดลองและกลุมควบคุม และคาเฉลี่ย
คะแนนความพรอมของกลุมตัวอยางทั้งสองกลุมแตกตางกัน
ในการดําเนินการกิจกรรมที่เกี่ยวของกับญาติผูดูแล ยังพบวามีตัวแปรที่ผูวิจัยนิยมนํามา
ประเมิน คือ ความพึงพอใจ ความหมายของความพึงพอใจ กลาวโดยสรุป คือ ผลที่ไดจากการที่
บุคคลเขาไปมีสวนรวมในสิ่งนั้น มีทัศนคติดานบวกซึ่งแสดงใหเห็นวามีความรูสึกที่ดีหรือทัศนคติที่
ดีตอสิ่ง ความพึงพอใจนับไดวาเปนปจจัยสําคัญประการหนึ่งที่จะชวยบอกความสําเร็จของกิจกรรม
ที่กระทํา เพื่อใหเกิดการพัฒนางานตอไป จากการทบทวนวรรณกรรมจึงพบวา นักวิจัยหลายทานมี
การนําตัวแปรนี้มาประเมินในงานวิจัย จากงานวิจัยของ นภาพร มาศสุข (2553) ที่ศึกษาประสิทธิผล
ของการมีสวนรวมของญาติผูดูแลในโปรแกรมกระตุนประสาทรับความรูสึกตอการฟนฟูสภาพ และ
ภาวะแทรกซอนจากการนอนนานของผูปวยบาดเจ็บที่สมอง และความพึงพอใจของญาติผูดูแล
พบวา การฟนสภาพ การเกิดขอติดแข็ง ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวยสูง
กวากลุมควบคุม และความพึงพอใจจากการพยาบาลที่ไดรับของญาติผูดูแลสูงกวากลุมควบคุม
สอดคลองกับการศึกษาของ สุมนา แสนมาโนช (2541) ที่ศึกษาผลการสงเสริมใหญาติมีสวนรวมใน
การดูแลผูปวยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ไดรับการผาตัดเปลี่ยนขอสะโพกตอการฟนสภาพหลัง
ผาตัด ความวิตกกังวลของญาติ และความพึงพอใจของผูปวยและญาติ พบวา ผูปวยในกลุมทดลองมี
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันสูงกวาในกลุมควบคุม ความวิตกกังวลของญาติผูดูแล
ในกลุมทดลองมีนอยกวากลุมควบคุม และทั้งผูปวยและญาติผูดูแลมีคะแนนความพึงพอใจตอการ
พยาบาลที่ไดรับสูงกวากลุมควบคุม และยังพบในงานวิจัยที่เกี่ยวกับญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือด
สมองดวย เชนกัน จากการศึกษาของ ทิตยา ทิพยสําเหนียก (2543) ที่ศึกษาความตองการในการดูแล
ของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง สัมพันธภาพระหวางผูดูแลกับผูปวย และความพึงพอใจในชีวิตของ
ผูดูแล โดยใชกรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy & Andrews, 1999) ทั้งนี้ผูดูแลคือ
ผูรับผิดชอบหลักในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บาน มีความสัมพันธ ใกลชิดกับผูปวย
และมีระยะเวลาในการดูแลผูปวยตั้งแต 4 สัปดาหขึ้นไป พบวา ผูดูแลรับรูความตองการในการดูแล
ระดับปานกลาง รับรูสัมพันธภาพระหวางผูดูแลและผูปวย และมีความพึงพอใจในชีวิตในระดับสูง

สรุปการทบทวนวรรณกรรม
จากความตองการการดูแลของผูปวย หรือภาระงานที่ญาติผูดูแลตองกระทําใหกั บ
ผูป ว ยโรคหลอดเลื อ ดสมองนั บ ว า เป น งานที่ ห นั ก และต อ งการการดู แ ลที่ ต อ เนื่ อ งยาวนาน ซึ่ ง
ผลกระทบจากการรับบทบาทเปนญาติผูดูแลทําใหญาติผูดูแลเกิดความเครียด ความวิตกกังวล และ
อาจเกิดปญหาสุขภาพ นําไปสูปญหาในการปรับตัว และความพรอมในการดูแลตามมา พยาบาลจึง
นันทกาญจน ปกษี ทบทวนวรรณกรรม / 28

ควรมีบทบาทสําคัญในการชวยสงเสริมใหญาติผูดูแลใหมีความพรอมในการดูแลผูปวย และดูแล
ตนเองของญาติผูดูแลได แตจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับรูปแบบการดูแลสวนใหญมัก
มุงเน น ที่ก ารพัฒนาความรู และทักษะในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลื อดสมอง เพื่อใหญาติดู แ ล
สามารถดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองไดเพียงอยางเดียว แตมองขามความสําคัญในภาวะสุขภาพ
ของญาติผูดูแล
ดังนั้นในงานวิจัยนี้นอกเหนือจากพัฒนาความรูในการดูแลผูปวยแลวยังมุงเนนความรู
ในการดูแลตนเองของญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวย การปรับตัวเมื่อรับบทบาทญาติผูดูแล การ
เตรียมความพรอมในการดูแล และการจัดการความเครียดจากการดูแลผูปวยดวย โดยในการศึกษาใน
ครั้งนี้เปนการสอนญาติดวยโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บานตอความพรอมใน
ดูแ ล ความเครี ย ด การปรั บตัว และความพึง พอใจตอ การพยาบาลที่ ไ ดรับ ของญาติผู ดู แ ล โดยมี
เปาหมายที่สําคัญ คือ การชวยใหผูปวยและญาติผูดูแลพัฒนาความรู ทักษะในการดูแลผูปวย และ
ดูแลตนเอง สงผลใหญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองมีความเครียดลดลง มีการปรับตัวใน
บทบาท และมีความพรอมในการดูแลที่ดีขึ้น
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 29

บทที่ 3
วิธีดําเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) แบบ 2 กลุม


ทดสอบหลังใหการทดลอง (two group posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผูปวย
โรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานตอความพรอมใน
การดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับ

ประชากรและกลุมตัวอยาง
ประชากร คือ ญาติผูดูแลของผูปวยที่ไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรคหลอดเลือดสมอง
ที่เขารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนั่งเกลา จังหวัดนนทบุรี
กลุมตัวอยาง คือ ญาติผูดูแลของผูปวยที่ไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรคหลอดเลือดสมอง
ที่เขารับการรักษาในแผนกอายุรกรรมของโรงพยาบาลพระนั่งเกลา จังหวัดนนทบุรี ที่คัดเลือกตาม
เกณฑที่กําหนด (Purposive sampling) ใหความชวยเหลือดูแลผูปวยตั้งแตพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
จนจําหนายกลับไปอยูที่บาน จํานวนทั้งหมด 64 คู กําหนดขนาดของกลุมตัวอยางโดยวิธีคํานวณได
ดังตอไปนี้

ขนาดของกลุมตัวอยาง
ผูวิจัยไดกําหนดกลุมตัวอยาง ดวยการคํานวณหาขนาดอิทธิพล (effect size) จาก
งานวิจัยที่มีความใกลเคียงกับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ โดยผูวิจัยไดพบวา จากการศึกษาของ นพวรรณ
ผองใส (2552) เรื่องผลของการดูแลตามระยะเปลี่ยนผานตอความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตร
ประจําวันของผูปวยโรคหลอดเลือดสมองมีความใกลเคียงกับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ จึงไดนํามาใช
ในการคํานวณกลุมตัวอยาง โดยคํานวณไดจากสูตรของกลาส (Glass, 1976) ดังตอไปนี้
นันทกาญจน ปกษี วิธีดําเนินการวิจัย / 30

d = , S = SP =
เมื่อ = คาเฉลี่ยตัวแปรตามของกลุมทดลองและ กลุมควบคุม
S E , SC = S.D. ของกลุมทดลองและ กลุมควบคุม
เมื่อแทนคาในสูตรจะได d =
= 1
เมื่อเปดตาราง Power for independent t-test แบบ Two-sided ของโคเฮน (Cohen, 1988) ที่มีระดับ
ความเชื่อมั่นที่ .05 และมีอํานาจในการวิเคราะห .80 จะพบวามี Effect size อยูในระดับ Large effect
size ไดขนาดตัวอยางกลุมละ 26 คู เพื่อปองกันการสูญหายของขอมูลจึงไดบวกจํานวนกลุมตัวอยาง
เพิ่มอีก 20 % จะทําใหไดจํานวนตัวอยางทั้งหมดกลุมละ 32 คู รวมจํานวนกลุมตัวอยางทั้งหมดได
จํานวน 64 คู กลุมควบคุม 32 คู กลุมทดลอง 32 คู
Inclusion criteria ของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
1. เปนญาติของผูปวยที่ไดรับการวินิจฉัยจากแพทยวาเปนโรคหลอดเลือดสมอง
2. เปนบุคคลที่รับผิดชอบปฏิบัติการดูแลชวยเหลือผูปวยโรคหลอดเลือดสมองเปน
หลักอยางสม่ําเสมอ และตอเนื่องมากกวาผูอื่นตลอดระยะเวลาที่เขารับการรักษาในโรงพยาบาล
โดยไมไดรับคาจางและจะทําหนาที่ญาติผูดูแลตอเนื่องเมื่อผูปวยกลับบาน
3. อายุตั้งแต 18 ปขึ้นไป ทั้งเพศชาย และเพศหญิงในกรณีอายุมากกวา 60 ป ตองได
คะแนนอยางนอย 25 คะแนนจากการประเมินสมรรถภาพทางสมองของผูสูงอายุ (The Set Test) ของ
ไอแซค และอัคธาร (Isaacs & Akhtar, 1972)
4. ไมเคยเขารับโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองมากอน
5. อาศัยอยูในครอบครัวเดียวกันกับผูปวย และหางจากโรงพยาบาลพระนั่งเกลาไม
เกิน 50 กิโลเมตร
Exclusion criteria ของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
1. เปลี่ยนญาติผูดูแล
2. ไมสามารถติดตอไดหลังผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาล
3. ญาติ ผู ดู แ ลปฏิ เ สธการเข า ร ว มโครงการด ว ยเหตุ ผ ลใดๆก็ ต ามก อ นสิ้ น สุ ด
โครงการวิจัย
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 31

Inclusion criteria ของผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่ญาติผูดูแลใหความชวยเหลือ


1. อายุตั้งแต 18 ปขึ้นไป เปนผูปวยไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรคหลอดเลือดสมองชนิด
ตีบหรือตันครั้งแรก
2. มีความสามารถในการชวยเหลือตนเองในระดับปานกลาง ผานการประเมินจาก
แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน (Barthel Index of Activities of Daily
Living) ของ มารโฮนี และบารเทล (Mahoney & Barthel, 1965) มีคะแนนระหวาง 9 – 26 คะแนน
3. ไมมีความบกพรองดานการรูคิด และสามารถสื่อสารไดดวยภาษาไทย มีคะแนน
การประเมินสมรรถภาพทางสมอง มากกวาหรือเทากับ 25 คะแนน โดยใชแบบประเมินสมรรถภาพ
ทางสมอง (The set test) ของไอแซค และอัคธาร (Isaacs & Akhtar, 1972)
Exclusion criteria ของผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่ญาติผูดูแลใหความชวยเหลือ
1. ผูปวยเสียชีวิตขณะอยูในระหวางการศึกษาวิจัย
2. ผูปวยยายออกจากหอผูปวยอายุรกรรมไปหอผูปวยหนักขณะเขารับการรักษาใน
โรงพยาบาลดวยภาวะโรคที่รุนแรงมากขึ้น
3. ผูปวยหรือญาติผูดูแลปฏิเสธการเขารวมโครงการดวยเหตุผลใดๆก็ตามกอนสิ้นสุด
โครงการวิจัย

สถานที่ในการเก็บขอมูล
การวิจัยครั้งนี้ผูวิจัยไดเก็บขอมูล ณ หอผูปวยอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกลา
จั ง หวั ด นนทบุ รี และที่ บ า นของญาติ ผู ดู แ ลที่ อ าศั ย อยู ใ นครอบครั ว เดี ย วกั น กั บ ผู ป ว ย ห า งจาก
โรงพยาบาลไมเกิน 50 กิโลเมตรโดยเก็บขอมูลตั้งแตเวลา 11.00 น. - 20.00น.ของทุกวัน ในการดูแล
ตามปกติของโรงพยาบาล ผูปวยโรคหลอดเลือดสมองทุกรายจะเขาพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในหอ
ผูปวยอายุรกรรม ซึ่งในโรงพยาบาลพระนั่งเกลามีหอผูปวยอายุรกรรมทั้งสิ้น 5 หอผูปวย ไดแก หอ
ผูปวยอายุรกรรมหญิง หอผูปวยอายุรกรรมชาย หอผูปวยอายุรกรรม 2 หอผูปวยอายุรกรรม 3 และ
หอผูปวยอายุรกรรม 4 ในกรณีหอผูปวยแผนกอายุรกรรมเต็ม ผูปวยบางสวนจะถูกสงตัวใหเขารับ
การรักษาที่หอผูปวยอื่นตามลําดับ
สําหรับระบบการพยาบาลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง ระหวางที่ผูปวยนอนรักษาตัว
ในโรงพยาบาลจะมีพยาบาลหัวหนาเวร และพยาบาลประจําการนอกเหนือจากใหการพยาบาลผูปวย
แลว ยังเปนผูใหความรูแกญาติผูปวยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแลผูปวยเบื้องตนที่
จําเปน และประสานงานกับสหวิชาชีพ เชน นักกายภาพบําบัด นักโภชนาการ เปนตน เพื่อฝกทักษะ
นันทกาญจน ปกษี วิธีดําเนินการวิจัย / 32

ที่จําเปนในการดูแลผูปวยแตละรายตามสภาพของผูปวยแกญาติผูดูแล และจะมีการติดตามเยี่ยมบาน
เฉพาะรายที่มีความรุนแรงของโรค โดยในการติดตามจะมีพยาบาลหัวหนาเวรประจําวันเปนผู
พิจารณา และประสานกับงานสหวิชาชีพในการติดตามเยี่ยมบานผูปวย ในกรณีผูปวยมีที่อยูอาศัย
นอกเขตพื้นที่ที่โรงพยาบาลรับผิดชอบจะประสานงาน และสงตอโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบล
ใกลเคียงในการติดตามเยี่ยมตอไป

เครื่องมือที่ใชในการวิจัย
ประกอบดวยเครื่องมือที่ใชในการคัดกรองกลุมตัวอยาง เครื่องมือที่ใชดําเนินการวิจัย
และเครื่องมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล

1. เครื่องมือที่ใชในการคัดกรองกลุมตัวอยาง
1.1 แบบประเมินสมรรถภาพทางสมอง (The Set Test) เปนเครื่องมือ
สํ า หรั บ ใช ใ นการทดสอบภาวะสมองเสื่ อ ม (Dementia) ในผู สู ง อายุ ที่ มี อ ายุ ตั้ ง แต 60 ป ขึ้ น ไป
พัฒนาขึ้นโดยไอแซค และอัคธาร (Isaacs & Akhtar, 1972) แบบประเมินประกอบดวย 4 หมวด
ไดแก สี สัตว ผลไม และจังหวัด (4 หมวด หมวดละ 10 ขอ)โดยคะแนนสูงสุดเทากับ 40 คะแนน ไอ
แซค และอัคธาร (Isaacs & Akhtar, 1973) ไดใชศึกษาในผูสูงอายุ อายุ 65 ปขึ้นไป จํานวน 189 ราย
พบว า ผู สู ง อายุ ที่ ไ ด ค ะแนนต่ํ า กว า 15 คะแนนเป น ผู ที่ ไ ด รั บ การวิ นิ จ ฉั ย ว า เป น โรคสมองเสื่ อ ม
(Dementia) ผูที่ไดคะแนน 15 -24 คะแนนเปนผูที่มีภาวะเสี่ยงตอการเกิดสมองเสื่อม และคะแนน
ตั้งแต 25 คะแนนขึ้นไปถือวาอยูในภาวะปกติ นอกจากนี้ในประเทศไทยพบวาสุมนา แสนมาโนช
(2541) และสุทธิดา พงษพันธงาม (Phongphanngam, 2003) ไดนําไปใชเพื่อประเมินสมรรถภาพ
สมองในผู ปว ยสู ง อายุที่ มี อ ายุ ตั้ งแต 60 ปขึ้ น ไปที่ ไ ด รั บ การผ าตั ด กระดู ก ข อ สะโพกสํ า หรั บ ใน
งานวิจัยนี้ผูวิจัยไดนําแบบทดสอบหมวดหมู (The Set Test) มาใช เพื่อประเมินภาวะสมองของผูปวย
โรคหลอดเลือดสมองทุกราย และญาติผูดูแลที่มีอายุตั้งแต 60 ปขึ้นไปเพื่อทําใหทราบวาผูปวย และ
ญาติผูดูแลมีภาวะทางสมองที่เปนปกติ
การแปลผลคะแนน ในการแปลผลคะแนน ถ า คะแนนน อ ยกว า 15
คะแนน ถือวามีภาวะสมองเสื่อม ถามีคะแนนระหวาง 15-24 คะแนน ถือวามีความเสี่ยง ถาคะแนน
25-40 คะแนน ถื อ ว า มี ภ าวการณ นึ ก คิ ด ในระดั บ ปกติ สํ า หรั บ งานวิ จั ย ครั้ ง นี้ ญาติ ผู ดู แ ลต อ งมี
ภาวการณนึกคิด และการจําในระดับปกติ คือ มีคะแนนตั้งแต 25 คะแนนขึ้นไป จาก 40 คะแนน โดย
ระยะเวลาในการทําแบบทดสอบตองนอยกวา 5 นาที และสําหรับในงานวิจัยนี้ผูวิจัยไดใชเครื่องมือ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 33

นี้ในการประเมินญาติผูดูแลที่มีอายุมากกวา 60 ปขึ้นไป เพื่อประเมินวาญาติผูดูแลมีภาวะทางสมองที่


ปกติสามารถดูแลผูปวยไดหรือไม และใชเปนเครื่องมือในการคัดเลือกญาติผูดูแลเขาในกลุมตัวอยาง
โดยในการแปลผลคะแนน หากพบวาไดคะแนนมากกวาหรือเทากับ 25 คะแนนแสดงวา ญาติผูดูแล
มีสมรรถภาพทางสมองดีสามารถใหการดูแลผูปวยได
คุณภาพเครื่องมือ ความตรงของเครื่องมือนั้น ชวลี แยมวงษ ไดมีการ
ปรับปรุงแกไข และผานการตรวจสอบจากผูทรงคุณวุฒิจํานวน 3 ทาน ไดมีการนําไปทดลองใชใน
กลุมผูปวยสูงอายุจํานวน 10 ราย ไดคาสัมประสิทธิ์อัลฟาเทากับ .91 และนําไปใชจริงกับผูปวย
สูงอายุจํานวน 60 ราย พบวา ไดคาสัมประสิทธิ์อัลฟาเทากับ .93 และนอกจากนี้ จุไร เกลี้ยงเกลา
(2541) ไดมีการนําไปใชในกลุมผูปวยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองจํานวน 30 ราย ไดคาสัมประสิทธิ์
อัลฟาเทากับ .87 การตรวจสอบความเที่ยงในการศึกษาครั้งนี้ ผูวิจัยนําไปทดลองใชกับกลุมตัวอยาง
จํานวน 10 ราย ไดคาสัมประสิทธิ์อัลฟาเทากับ .87 หลังจากนั้นนําไปใชกับผูปวยจริงจํานวน 30
รายไดคาสัมประสิทธิ์อัลฟาเทากับ .88
1.2 แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวย
(Barthel Index of Activities of Daily Living) เปนเครื่องมือสําหรับใชในการประเมินความสามารถ
ในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวย พัฒนาขึ้นโดย มารโฮนี และบารเทล (Mahoney & Barthel,
1965) ประกอบไปดวยกิจกรรมทั้งหมดจํานวน 10 กิจกรรม ไดแก การรับประทานอาหาร การ
เคลื่อนยาย การเคลื่อนที่ การแตงตัว การอาบน้ํา การทําความสะอาดสุขวิทยาสวนบุคคล (การลาง
หนา แปรงฟน หวีผม) การใชหองสวมหรือกระโถน การควบคุมการถายอุจจาระ การควบคุมการ
ขับถา ยป ส สาวะ และการขึ้น ลงบัน ได มี เ กณฑ ก ารให ค ะแนนดัง นี้ คื อ 0-20 คะแนน หมายถึ ง
ไม สามารถปฏิ บัติกิ จ วั ตรประจําวั น ไดเลย 25-45 หมายถึ ง สามารถปฏิ บัติกิจ วั ตรประจําวัน ได
เล็กนอย 50-70 คะแนน หมายถึง สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจําวันไดปานกลาง 75-95 คะแนน
หมายถึง ปฏิบัติกิจวัตรประจําวันไดมาก 100 คะแนน หมายถึง สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจําวันได
ดวยตัวเองทั้งหมด ทั้งนี้ ชวลี แยมวงษ (2538) ไดนํามาแปลเปนภาษาไทย ทอนคะแนนลง 2.5 สวน
เหลือคะแนนเต็ม 40 คะแนน และไดมีการตัดกิจกรรมในขอของการขึ้นลงบันไดออก จึงเหลือหัวขอ
ในการประเมินทั้งหมด 9 กิจกรรม ไดแก 1) การรับประทานอาหาร 2) การลางหนาหวีผมแปรงผม
และโกนหนวด 3) การลุกนั่งจากที่นอนหรือจากเตียงไปยังเกาอี้ 4) การใชหองสุขา 5) การเดินและ
การเคลื่อนยาย6)การสวมใสเสื้อผา 7) การอาบน้ํา 8) การควบคุมการขับถายอุจจาระ และ9)การ
ควบคุมการขับถายปสสาวะ และเพื่อใหงายตอการประเมินมากยิ่งขึ้น จึงไดมีการลดคะแนนเหลือ
36 คะแนน มีเกณฑการใหคะแนน ดังนี้ กิจกรรมการเดินและการเคลื่อนยายมี 4 ระดับ คือ
นันทกาญจน ปกษี วิธีดําเนินการวิจัย / 34

ระดับที่ 1 หมายถึง ไมสามารถกระทําได


ระดับที่ 2 หมายถึง ตองพึ่งผูอื่นอยางมาก
ระดับที่ 3 หมายถึง ตองพึ่งพาบุคคลอื่นเล็กนอย
ระดับที่ 4 หมายถึง สามารถกระทําไดดวยตนเอง
สวนกิจกรรมอื่นนอกเหนือจาก 2 กิจกรรมนี้ มีการประเมิน 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 หมายถึง ไมสามารถกระทําได
ระดับที่ 2 หมายถึง ตองพึ่งพาคนอื่นเล็กนอย
ระดับที่ 3 หมายถึง สามารถกระทําไดดวยตนเอง

การแปลผลคะแนน
0–8 คะแนน หมายถึง ไมสามารถปฏิบัติกิจกรรมไดเอง
9 – 17 คะแนน หมายถึง ปฏิบัติกิจกรรมไดนอย
18 – 26 คะแนน หมายถึง ปฏิบัติกิจกรรมไดเองปานกลาง
27 – 35 คะแนน หมายถึง ปฏิบัติกิจกรรมไดเองเปนสวนใหญ
36 คะแนน หมายถึง สามารถปฏิบัติกิจกรรมไดดวยตนเอง

คุณภาพเครื่องมือ ชวลี แยมวงษ ไดมีการปรับปรุงแกไข และผานการตรวจสอบจาก


ผูทรงคุณวุฒิจํานวน 3 ทาน และไดมีการนําไปใชในกลุมผูปวยสูงอายุจํานวน 60 ราย พบวา ไดคา
สัมประสิทธิ์อัลฟา เทากับ .93 จุไร เกลี้ยงเกลา (2541) ไดมีการนําไปใชในกลุมผูปวยสูงอายุโรค
หลอดเลือดสมองจํานวน 30 ราย พบวา ไดคาสัมประสิทธิ์อัลฟาเทากับ .87 การตรวจสอบความเที่ยง
ในการศึกษาครั้งนี้ ผูวิจัยนําไปทดลองใชกับกลุมตัวอยางจํานวน 10 ราย และไดคาสัมประสิทธิ์
อัลฟาเทากับ .80 ขึ้นไป

2.เครื่องมือที่ใชดําเนินการวิจัย
2.1โปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดู แ ลใน
ระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน ผูวิจัยไดพัฒนาขึ้นจากการศึกษาคนควา ทบทวนวรรณกรรม
ที่เกี่ยวของตลอดจนเอกสารตําราต าง ๆใหสอดคลองกับความตองการของผูปวยแตละรายตาม
แนวคิดของรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผาน (Transitional Care Model) ของเนเลอร (Naylor,
2004) ในการสรางรูปแบบการดูแลที่เนนการนําญาติผูดูแลเขามามีสวนรวมในการดูแลผูปวยโรค
หลอดเลือดสมอง เพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง อีกทั้งเนนความสําคัญใน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 35

การดูแลตนเองของญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวย รวมทั้งการจัดการความเครียดของญาติผูดูแล
ตลอดจนสงเสริมใหญาติผูดูแลมีความพรอม และสามารถปรับตัวเขากับบทบาทที่ไดรับในการดูแล
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมองได การดําเนินโปรแกรมประกอบไปดวย 2 ระยะ ไดแก ระยะที่ผูปวยพัก
รักษาตัวอยูในโรงพยาบาล และระยะที่ผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งจะมีการดําเนินการ
และติดตามผลการวิจัยเปนเวลา 4 สัปดาห โดยมีรายละเอียดดังตอไปนี้
ระยะที่ผูปวยพักรักษาตัวอยูในโรงพยาบาล ระยะนี้มีวัตถุประสงค เพื่อ
สงเสริมการปรับตัวเขาสูบทบาทของญาติผูดูแลเบื้องตน สรางทัศนคติที่ดีในการดูแลผูปวยตอญาติ
ผูดูแล และเพื่อใหญาติผูดูแลมีความรู ความเขาใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การปองกันการเกิด
ภาวะแทรกซอน และการดูแลชวยเหลือเพื่อฟนฟูสภาพผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง ตลอดจนการ
แนะนําแหลงประโยชนใหกับผูปวยและญาติผูดูแล โดยการดําเนินการในระยะนี้ประกอบดวย
2 กิจกรรม ไดแก
กิจกรรมที่ 1 ใหความรูแกญาติผูดูแลในการเตรียมความพรอมในการดูแล
ตนเองของญาติผูดูแล ดําเนินการโดยวิธีการบรรยายแกญาติผูดูแลตามแผนการสอนเรื่องการดูแล
ตนเองของญาติผูดูแล ประกอบสื่อการสอน ไดแก สไลดที่ผลิตโดยโปรแกรม Power point เรื่องการ
ดูแลตนเองของญาติผูดูแล และคูมือการดูแลตนเองของญาติผูดูแล สําหรับเนื้อหาสําคัญในการ
บรรยายมี ดังนี้
1) บทบาทและหนาที่ความรับผิดชอบของญาติผูดูแล
2) การปรับตัวเมื่อรับบทบาทญาติผูดูแล
3) การดูแลสุขภาพตนเองระหวางรับบทบาทญาติผูดูแล
4) ความเครียด และการจัดการความเครียดจากการดูแลผูปวย
โดยในการให คํา แนะนํ า และการสนั บ สนุน การดู แ ลตนเองของญาติ
ผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวยนั้น เนนกิจกรรมในการเตรียมความพรอมในการดูแลตนเองของญาติ
ผูดูแล ไดแก เปดโอกาสใหญาติผูดูแลซักถามปญหา สะทอนความคิดและความรูสึก เพื่อใหญาติ
ผูดูแลไดระบายความคับของใจที่เกิดขึ้น ใหคําปรึกษา และสนับสนุนทางดานจิตใจแกญาติผูดูแล
เพื่อใหเกิดความมั่นใจในการดูแลตนเอง และสามารถจัดการ และเผชิญกับความเครียดที่เกิดขึ้นได
อยางเหมาะสม สงเสริมใหญาติผูดูแลมีสวนรวมในการตัดสินใจ การกําหนดเปาหมาย และเลือก
แนวทางในการจัดการกับความเครียดที่เหมาะสมดวยตนเอง ใหความรู และขอมูลที่เปนประโยชน
ตรงตามความตองการ และสภาพปญหา มีการประเมินผลยอนกลับเชิงบวก การสะทอนผลที่นาพึง
พอใจในการดูแลผูปวย เพื่อสงเสริมใหญาติผูดูแลเกิดแรงจูงใจ และกําลังใจในการดูแลผูปวย และ
ตนเอง จัดใหมีการแลกเปลี่ยนประสบการณในกลุมผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง สงเสริมให
นันทกาญจน ปกษี วิธีดําเนินการวิจัย / 36

ญาติผูดูแลเกิดคุณคาในตนเอง สรางบรรยากาศการมีสวนรวมที่อบอุน ไววางใจซึ่งกันและกัน ให


การดูแลสงเสริมใหญาติผูดูแลเอาใจใสดูแลสุขภาพรางกายของตนเอง สนับสนุนใหผูปวยตระหนัก
เขาใจและเห็นคุณคาของญาติผูดูแล เพื่อสงเสริมใหผูปวยและญาติผูดูแลเกิดความรัก ความผูกพัน
ความเห็นอกเห็นใจกัน และใหความรวมมือในการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลจากญาติผูดูแล
กิจกรรมที่ 2 ใหความรู และฝกทักษะแกญาติผูดูแลในเตรียมความพรอม
ในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง ดําเนินการโดยวิธีการบรรยาย และสาธิตยอนกลับแกญาติ
ผูดูแล ตามแผนการสอนเรื่ องการดูแลผู ปวยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบสื่อการสอน ไดแ ก
สไลดที่ผลิตโดยโปรแกรม Power Point เรื่องการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และคูมือการดูแล
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง สําหรับเนื้อหาสําคัญในการบรรยาย มีดังนี้
1) การให ค วามรู เ กี่ ย วกั บ โรคหลอดเลื อ ดสมองแก ญ าติ ผู ดู แ ล ได แ ก
ความหมาย ประเภท สาเหตุห รือปจ จัยเสี่ยง อาการและอาการแสดง อาการเตือนที่สําคัญ แนว
ทางการรักษา ซึ่งเนนการรับประทานยาอยางตอเนื่อง เพื่อปองกันการกลับเปนซ้ํา ผลกระทบจาก
โรคหลอดเลือดสมองตอผูปวยและญาติผูดูแล การมาตรวจตามนัดอยางตอเนื่อง และความสําคัญ
ของการดูแลผูปวยอยางตอเนื่อง
2) ความสํ า คั ญ ของการดู แ ล การฟ น ฟู ส มรรถภาพ การดู แ ลกิ จ วั ต ร
ประจําวัน ได แ ก การรับประทานอาหารและยา การอาบน้ําแตงตัว การพัก ผอนนอนหลับ การ
ควบคุมการขับถายอุจจาระ ปสสาวะ การชวยเหลือในการเคลื่อนยาย การจัดทานอน การพลิกตะแคง
ตัว และการออกกําลังกาย
3) การปองกันภาวะแทรกซอนที่สําคัญ ไดแก การเกิดภาวะปอดอักเสบ
จากการสําลัก การเกิดแผลกดทับ และการติดเชื้อในระบบทางเดินปสสาวะ
4) การปองกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
5) การจัดสิ่งแวดลอมที่เหมาะสมกับผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
6) ความตองการในการดูแลเมื่อจําหนายออกจากโรงพยาบาล
7) การใหคําแนะนําแหลงประโยชน
ใชเวลาในการดําเนินกิจกรรมทั้งหมดประมาณ 45-60 นาที และสําหรับ
การดําเนินการแตละกิจกรรม จะมีการประเมิน และจดบันทึกความพรอมของญาติผูดูแลในการดูแล
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และดูแลตนเองของญาติผูดูแล ขอซักถามของญาติผูดูแลในการดูแล
ผูปวยขณะอยูโรงพยาบาล และเมื่อกลับไปอยูบาน พรอมทั้งมอบคูมือการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือด
สมอง และคูมือการดูแลตนเองของญาติผูดูแลไวเพื่อใหญาติผูดูแลอานประกอบทําความเขาใจ
พรอมทั้งอธิบายทําความเขาใจในคูมือ และนัดหมายญาติผูดูแลในการพบครั้งตอไป
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 37

ระยะที่ผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาล ระยะนี้มีวัตถุประสงคเพื่อให
ติดตามดูแล และประเมินผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลเมื่อกลับไปอยูที่บานอยาง
ตอเนื่อง โดยการดําเนินการตามระยะเวลา ไดแก
1-3 วันหลังจากผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาล มีการติดตามเยี่ยม
บาน 1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 60-90 นาที เพื่อทบทวน และประเมินความรูเกี่ยวกับโรคหลอดเลือด
สมอง ทักษะในการดูแลผูปวย การฟนฟูสมรรถภาพ การดูแลกิจวัตรประจําวัน โดยใหญาติผูดูแล
แสดงย อ นกลั บทั ก ษะในการดู แ ลผูป ว ย การฟ น ฟู ส มรรถภาพ การดู แ ลกิ จ วัต รประจํา วั น กรณี
กิจกรรมที่ญาติผูดูแลปฏิบัติไมถูกตองจะแนะนํา แกไข และฝกทักษะดังกลาวซ้ําจนเกิดความมั่นใจ
และปฏิบัติไดอยางถูกตอง พรอมทั้งใหการสนับสนุน และใหกําลังใจแกญาติผูดูแล เปดโอกาสให
ซั ก ถามป ญ หา พร อ มทั้ ง จดบั น ทึ ก และร ว มหาแนวทางในการแก ไ ขป ญ หาอย า งถู ก ต อ ง และ
เหมาะสมรวมกับญาติผูดูแล
สัปดาหที่ 1-4 หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล มีการติดตามเยี่ยมทาง
โทรศัพท 1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 10-15 นาทีเพื่อติดตามสภาพผูปวย สอบถามปญหาอุปสรรคใน
การดูแลผูปวย ภาวะสุขภาพทางกาย และจิตใจของญาติผูดูแล พรอมทั้งใหคําแนะนํา และสนับสนุน
การปรับตัวสูบทบาทญาติผูดูแล การจัดการความเครียดจากการดูแล ตลอดจนใหกําลังใจแกผูปวย
และญาติผูดูแลอยางตอเนื่อง
สัปดาหที่ 4 หลังจากผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาล มีการติดตาม
และผูชวยวิจัยประเมินผลของโปรแกรมสําหรับญาติผูดูแล ไดแก ความเครียดของญาติผูดูแล การ
ปรับตัวสูบทบาทการเปนญาติผูดูแล ความพรอมของญาติผูดูแล และความพึงพอใจของญาติผูดูแล
ตอบริการที่ไดรับ และจากที่กลาวไวขางตนภายในโปรแกรมยังประกอบดวยเครื่องมือไดแก
2.1.1 คูมือการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองและการดูแล
ตนเองของญาติผูดูแล สําหรับญาติผูดูแลผูวิจัย สรางขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ
ประกอบดวย 2 ฉบับ คือ1) คูมือการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองสําหรับญาติผูดูแลซึ่งมีเนื้อหา
สําคัญหลัก ไดแกความรูทั่วไปเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองความสําคัญของการดูแล การฟนฟู
สมรรถภาพ ประกอบดวย การดูแ ลกิจวัตรประจําวัน การปองกันภาวะแทรกซอนที่สําคัญ การ
ปองกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง การจัดสิ่งแวดลอมที่เหมาะสมกับ
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง ความตองการในการดูแลเมื่อจําหนายออกจากโรงพยาบาล การให
คําแนะนําแหลงประโยชน และ2)คูมือการดูแลตนเองของญาติผูดูแลซึ่งมีเนื้อหาสําคัญหลัก ไดแก
บทบาทของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง การปรับตัวเมื่อรับบทบาทญาติผูดูแล การดูแล
นันทกาญจน ปกษี วิธีดําเนินการวิจัย / 38

สุขภาพตนเองระหวางรับบทบาทญาติผูดูแล และความเครียดและการจัดการความเครียดจากการ
ดูแลผูปวย
2.1.2 แผนการสอนเรื่ อ งการดู แ ลผู ป ว ยโรคหลอดเลื อ ด
สมอง และการดู แ ลตนเองของญาติ ผู ดู แ ล สํ า หรั บ ญาติ ผู ดู แ ล ผู วิ จั ย สร า งขึ้ น จากการทบทวน
วรรณกรรมที่เกี่ยวของโดยมีรายละเอียดสอดคลองกับคูมือ ไดแก 1) แผนการสอนเรื่องการดูแล
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง สําหรับญาติผูดูแลซึ่งมีเนื้อหาสําคัญหลัก ไดแกความรูทั่วไปเกี่ยวกับ
โรคหลอดเลือดสมองความสําคัญของการดูแล การฟนฟูสมรรถภาพ ประกอบดวย การดูแลกิจวัตร
ประจําวัน การปองกันภาวะแทรกซอนที่สําคัญ การปองกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับผูปวยโรค
หลอดเลือดสมอง การจัดสิ่งแวดลอมที่เหมาะสมกับผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง ความตองการใน
การดูแลเมื่อจําหนายออกจากโรงพยาบาล การใหคําแนะนําแหลงประโยชนและ2) แผนการสอน
เรื่องการดูแลตนเองของญาติผูดูแลซึ่งมีเนื้อหาสําคัญหลัก ไดแกบทบาทของญาติผูดูแลผูปวยโรค
หลอดเลือดสมอง การปรับตัวเมื่อรับบทบาทญาติผูดูแล การดูแลสุขภาพตนเองระหวางรับบทบาท
ญาติผูดูแล และ ความเครียด และการจัดการความเครียดจากการดูแลผูปวย
คุณภาพของเครื่องมือ คุณภาพของเครื่องมือการดําเนินการวิจัยนั้น ผาน
การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผูทรงคุณวุฒิจํานวน 3 ทาน ประกอบดวย แพทยผูเชี่ยวชาญ
ทางดานโรคหลอดเลือดสมอง 1 ทาน พยาบาลผูเชี่ยวชาญทางดานการปฏิบัติการพยาบาลผูปวยโรค
หลอดเลือดสมอง 1 ทาน และอาจารยพยาบาลผูเชี่ยวชาญการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง 1 ทาน
ผูวิจัยนํามาปรับปรุงแกไขตามคําแนะนําของผูทรงคุณวุฒิกอนนําไปใช

3. เครื่องมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล
3.1 แบบสอบถามขอมูลทั่วไปของผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่ญาติ
ผูดูแลใหการชวยเหลือ ผูวิจัยสรางขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ ประกอบดวย ขอมูล
พื้นฐานตาง ๆ รวมทั้งหมด 10 ขอไดแก เพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ ศาสนา การศึกษา รายได
การเปนหัวหนาครอบครัว โรคประจําตัว และที่อยูปจจุบัน
3.2 แบบสอบถามขอมูลทั่วไปของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
ผูวิจัยสรางขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ ประกอบไปดวย ขอมูลพื้นฐานทั้งหมด 13 ขอ
ไดแก เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ รายได ความสัมพันธกับผูปวย โรคประจําตัว
ผูชวยเหลือในการดูแลผูปวย ที่อยู แผนที่ และเบอรโทรศัพทที่สามารถติดตอได
คุณภาพของเครื่องมือ คุณภาพของเครื่องมือแบบสอบถามขอมูลทั่วไป
ของผูปวย และญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองนั้น ผานการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจาก
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 39

ผูทรงคุณวุฒิจํานวน 3 ทาน ประกอบดวย แพทยผูเชี่ยวชาญทางดานโรคหลอดเลือดสมอง 1 ทาน


พยาบาลผูเชี่ยวชาญทางดานการปฏิบัติการพยาบาลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง 1 ทาน และอาจารย
พยาบาลผูเชี่ยวชาญการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง 1 ทาน ผูวิจัยนํามาปรับปรุงแกไขตาม
คําแนะนําของผูทรงคุณวุฒิกอนนําไปใช
3.3 แบบประเมินความเครียดของญาติผูดูแล เปนเครื่องมือวัดความเครียด
ที่ พั ฒ นาขึ้ น โดย ศิ ริ ลั ก ษณ แก ว ศรี ว งศ (2549) เป น แบบประเมิ น ที่ พั ฒ นามาจากการทบทวน
วรรณกรรมที่เกี่ยวของกับผลกระทบของการบาดเจ็บสมองตอผูปวยบาดเจ็บที่สมอง และญาติผูดูแล
ตากรอบแนวคิดทฤษฎีความเครียด และการเผชิญความเครียดของ ลาซารัส และโฟลคแมน (Lazarus
& Folkman, 1984) ในการศึกษาวิจัย เรื่องความสัมพันธของความเครียด การเผชิญกับความเครียด
และแรงสนับสนุนทางสังคมของญาติผูดูแลผูปวยบาดเจ็บสมอง (Traumatic brain injury) แบบ
ประเมินประกอบดวย สถานการณหรือเหตุการณการใหการชวยเหลือดูแลผูปวยที่บานในดานตางๆ
ที่อาจทําใหญาติผูดูแลเกิดความเครียดจากการดูแลผูปวย ภายหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
จํานวน 34 ขอ แบงออกเปน 5 ดาน ไดแก ดานรางกาย 7 ขอ ดานพฤติกรรมอารมณ 8 ขอ ดาน
ความคิดความจํา 5 ขอ ดานการปองกันภาวะแทรกซอน 9 ขอ และการจัดหาและจัดการคาใชจายใน
การดูแล 5 ขอ ลักษณะขอคําถามเปนมาตราสวนประมาณคา (Likerts Scale) มี 5 ระดับ ดังนี้ ไมเลย
หมายถึง ไมมีสถานการณการใหความชวยเหลือดูแลนั้นหรือการใหการชวยเหลือดูแลนั้นไมทําให
เกิดความเครียดเลย (1 คะแนน) เล็กนอย หมายถึง การใหความชวยเหลือดูแลนั้นทําใหเกิด
ความเครียดระดับเล็กนอย (2 คะแนน) ปานกลาง หมายถึง การใหความชวยเหลือดูแลนั้นทําใหเกิด
ความเครียดระดับปานกลาง (3 คะแนน) มาก หมายถึง การใหความชวยเหลือดูแลนั้นทําใหเกิด
ความเครียดระดับมาก (4 คะแนน) และมากที่สุด หมายถึง การใหความชวยเหลือดูแลนั้นทําใหเกิด
ความเครียดระดับ มากที่สุด (5 คะแนน)
การแปลผลคะแนน คะแนนรวมของแบบวัดความเครียดของญาติผูดูแลมี
คะแนนตั้งแต 34-170 คะแนน โดย 34-80 คะแนน หมายถึง ญาติผูดูแลมีความเครียดจากการดูแล
ผูปวยในระดับเล็กนอย 81-125 คะแนน หมายถึง ญาติผูดูแลมีความเครียดในระดับปานกลาง
และ 126-170 คะแนน หมายถึง ญาติผูดูแลมีความเครียดในระดับมาก
3.4 แบบประเมินการปรับตัวของญาติผูดูแล ผูวิจัยใชแบบประเมินการ
ปรับตัวของญาติผูดูแลของ สุทธิดา พงษพันธงาม (Pongphanngam, 2003) ซึ่งพัฒนาขึ้นจากแบบ
ประเมินการปรับตัวของญาติผูดูแลของ ชูชื่น ชีวพูนผล ซึ่งสรางขึ้นเพื่อใชประเมินการปรับตัวของ
ญาติผูดูแลในผูปวยโรคมะเร็งในป พ.ศ. 2541 โดยอาศัยกรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย
(Roy Adaptation Model) แบงออกเปน การปรับตัวทางดานรางกาย ดานอัตมโนทัศน ดานบทบาท
นันทกาญจน ปกษี วิธีดําเนินการวิจัย / 40

หนาที่ และดานการพึ่งพาระหวางกัน ประกอบดวยขอคําถามดานละ 10 ขอรวมทั้งหมด 40 ขอ


ลักษณะขอคําถามเปนมาตราสวนประมาณคา (Likerts Scale) 5 ระดับ ดังนี้ 1 คะแนน หมายถึง
ปรับตั วไมไ ด 2 คะแนน หมายถึง ปรับตัวไดเล็กนอย 3 คะแนน หมายถึง ปรับตัวไดปานกลาง
4 คะแนน หมายถึง ปรับตัวไดคอนขางดี และ 5 คะแนน หมายถึง ปรับตัวไดดี
ตอมาในป 2546 สุทธิดา พงษพันธงาม ไดนําแบบประเมินมาปรับปรุงให
เหมาะสมกับการศึกษาเรื่องการปรับตัวของญาติผูดูแลผูปวยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก โดยตัดขอ
คําถามการปรับตัวดานอัตมโนทัศน 1 ขอซึ่งเปนคําถามเกี่ยวกับการยอมรับการจากไปของผูปวย
สงผลใหแบบประเมินการปรับตัวของญาติผูดูแลมีทั้งหมด 39 ขอ ประกอบดวย ขอคําถามเกี่ยวกับ
การปรับตัวทางดานรางกาย 10 ขอ ดานอัตมโนทัศน 9 ขอ ดานบทบาทหนาที่ 10 ขอ และดานการ
พึ่งพาระหวางกัน 10 ขอ
การแปลผลคะแนน คะแนนรวมทั้งหมดของแบบประเมินมีคะแนนตั้งแต
39-195 คะแนน คะแนนยิ่งสูง แสดงวา ญาติผูดูแลมีการปรับตัวดีขึ้น
3.5 แบบประเมินความพรอมของญาติผูดูแล ผูวิจัยใชแบบประเมินความ
พรอม (Preparedness Scale) พัฒนาขึ้นโดย อารชโบลและสจวต (Archbold & Stewart, 1986) โดย
ไดใชในทําการวิจัยในกลุมผูปวยหลาย ๆ กลุม และมีการปรับปรุงแกไขอยางตอเนื่อง จนสามารถ
นํามาใชไดเปนแบบมาตรฐานดานความเที่ยงของเครื่องมือ สําหรับในประเทศไทยพบวา วิราพรรณ
วิ โ รจน รั ต น (2002) ไดแ ปลเครื่ อ งมื อ เป น ภาษาไทย และได ห าความเที่ย งของเครื่อ งมื อ ได ค า
สัมประสิทธิ์อัลฟาเทากับ .86 – .92 โดยแบบประเมินมีจํานวน 8 ขอ ประกอบดวย 1)ความพรอม
ทางดานรางกาย 2)ความพรอมในการดูแลผูปวยทางดานอารมณ 3)ความพรอมในการหาขอมูล
เกี่ยวกับการบริการสุขภาพและจัดหาบริการการดูแลผูปวย 4)ความพรอมในการจัดการความเครียดที่
เกิดขึ้นระหวางการดูแลผูปวย 5)ความพรอมในการดูแลผูปวยและตนเองใหเกิดความพึงพอใจ
6)ความพรอมในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผูปวย 7)ความพรอมในการดูแลผูปวยดาน
ขอความชวยเหลือ และ8)ความพรอมในการดูแลผูปวยในภาพรวมลักษณะขอคําถามเปนมาตรา
สวนประมาณคา (Likerts Scale) 5 ระดับ ดังนี้ ตอบ 0 หมายถึง ไมมีความพรอมเลย (0 คะแนน)
ตอบ 1 หมายถึง มีความพรอมเล็กนอย ( 1 คะแนน) ตอบ 2 หมายถึง มีความพรอมเล็กปานกลาง (2
คะแนน) ตอบ 3 หมายถึง มีความพรอมเล็กมาก (3 คะแนน) ตอบ 4 หมายถึง มีความพรอมมากที่สุด
(4 คะแนน)
การแปลผลคะแนน คะแนนรวมทั้ง หมดของแบบประเมิน มี ค ะแนน
ตั้งแต 0-32 คะแนน และคะแนนยิ่งสูง แสดงวา ญาติผูดูแลมีความพรอมในการดูแลผูปวยมาก
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 41

3.6 แบบประเมินความพึงพอใจของญาติผูดูแลตอบริการที่ไดรับผูวิจัย
ใชแบบประเมิ นความพึงพอใจของญาติผูดูแ ลตอบริการที่ไ ดรับ พัฒนาขึ้ น โดยมันโรและคณะ
(Monro,1994) โดย รัมภรดา อินทร ไดแปลเปนภาษาไทยไว และ ชวลี แยมวงษ (2538)ไดนํามา
ปรับใหม ประกอบดวยขอคําถามทั้งหมด 28 ขอ เปนขอคําถามเชิงบวก 14 ขอ เชิงลบ 14 ขอ
ลักษณะคําถาม เปนมาตราสวนประมาณคา 5 ระดับ ดังนี้
ตอบ 5 หมายถึง เห็นดวยอยางยิ่งหรือพอใจมากที่สุด
ตอบ 4 หมายถึง เห็นดวยหรือพอใจ
ตอบ 3 หมายถึง เฉย ๆ
ตอบ 2 หมายถึง ไมเห็นดวยหรือไมพอใจ
ตอบ 1 หมายถึง ไมเห็นดวยอยางยิ่งหรือไมพอใจมากที่สุด
การแปลผลคะแนน คะแนนรวมทั้งหมดของแบบประเมินมีคะแนนรวม
ทั้งหมด 140 คะแนน และคะแนนมาก หมายถึง มีความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับมาก
3.7 แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบาน และทางโทรศัพทของผูปวยและ
ญาติผูดูแล ผูวิจัยประยุกตจากแบบประเมินการติดตามเยี่ยมบานของหนวยเยี่ยมบานโรงพยาบาล
พระนั่งเกลา ประกอบดวย 2 ดาน คือ1)ดานผูปวย ไดแก สภาพผูปวย ความตองการของผูปวยดาน
รางกาย จิตใจ สังคม 2)ดานญาติผูดูแล ไดแก ปญหาที่พบของญาติผูดูแลในการดูแลผูปวย และดูแล
ตนเองของญาติผูดูแล แนวทางในการแกปญหาเบื้องตน ขอเสนอแนะที่ผูปวยและญาติผูดูแลไดรับ
จากผูวิจัย และการนัดหมายครั้งตอไป
คุณภาพของเครื่องมือ คุณภาพของเครื่องมือแบบสอบถามขอมูลทั่วไป
ของผูปวย และญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง นั้น ผานการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
จากผูทรงคุณวุฒิจํานวน 3 ทาน ประกอบดวย แพทยผูเชี่ยวชาญทางดานโรคหลอดเลือดสมอง 1
ทาน พยาบาลผูเชี่ยวชาญทางดานการปฏิบัติการพยาบาลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง 1 ทาน และ
อาจารยพยาบาลผูเชี่ยวชาญการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง 1 ทาน ผูวิจัยนํามาปรับปรุงแกไข
ตามคําแนะนําของผูทรงคุณวุฒิกอนนําไปใช

การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
การวิจัยครั้งนี้ผูวิจัยไดมีการหาความตรงตามเนื้อหา (content validity) และความ
เชื่อมั่น(reliability) ของเครื่องมือที่ใชในการวิจัยดังนี้
1. การหาความตรงตามเนื้อหา (content validity)
นันทกาญจน ปกษี วิธีดําเนินการวิจัย / 42

1.1 โปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผูดูแลใน
ระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน และคูมือการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแล
ตนเองของญาติผูดูแล ผูวิจัยนําไปตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผูทรงคุณวุฒิจํานวน 3 ทาน
ไดแก แพทยผูเชี่ยวชาญดานเวชศาสตรฟนฟู พยาบาลผูเชี่ยวชาญมีประสบการณในการดูแลผูปวย
โรคระบบประสาท และอาจารยพยาบาลผูเชี่ยวชาญดานโรคระบบประสาท เพื่อตรวจสอบความ
สอดคลองและความชัดเจนของเนื้อหา จากนั้นนําเครื่องมือที่ไดรับการตรวจสอบเนื้อหาแลวมา
ปรับปรุงแกไขตามขอเสนอแนะของผูทรงคุณวุฒิ
2. การหาความเชื่อมั่น (reliability)
2.1 แบบประเมินความเครียด การปรับตัวของญาติผูดูแล การเตรีย ม
ความพรอม และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล ผูวิจัยนําเครื่องมือไปทดลองใชกับ
ญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่มีคุณสมบัติคลายคลึงกับกลุมตัวอยางจํานวน 10 ราย และ
หลังจากนั้นผูวิจัยไดมีการนําไปใชจริงกับญาติผูดูแลจริงจํานวน 60 ราย โดยนําคะแนนมาหาความ
เชื่อมั่น โดยใชสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ไดคาสัมประสิทธิ์
อัลฟาของเครื่องมือ รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 3.1

ตารางที่ 3.1 คาสัมประสิทธิ์อัลฟา(Cronbach’s alpha coefficient) ของเครื่องมือที่ใชในการเก็บ


รวบรวมขอมูล ที่ทดลองใชกับญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่มีคุณสมบัติคลายคลึงกับกลุม
ตัวอยางจํานวน 10 ราย (Pilot study) และนําไปใชจริงกับญาติผูดูแลจริงจํานวน 60 ราย (Main study)
คาสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค
ชนิดของเครื่องมือ (Cronbach’s alpha coefficient)
Pilot study Main study
1.แบบประเมินความพรอมของญาติผูดูแล .91 .92
2.แบบประเมินความเครียดของญาติผูดูแล .79 .85
3.แบบประเมินการปรับตัวของญาติผูดูแล .86 .91
4.แบบประเมิ น ความพึ ง พอใจของญาติ .91 .92
ผูดูแลตอบริการที่ไดรับ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 43

การดําเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผูวิจัยทําหนาที่เปนผูดําเนินกิจกรรมตามโปรแกรมในการเตรียมญาติ
ผูดูแล สวนผูชวยวิจัยทําหนาที่ในการเก็บรวบรวมขอมูล โดยใชแบบสัมภาษณประเมินตามเครื่องมือ
ที่กําหนดไว ในการดําเนินการวิจัยแบงออกเปน 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการวิจัย ระยะดําเนินการวิจัย
และระยะประเมินผลการวิจัย เพื่อใหสามารถดําเนินการวิจัยไดอยางถูกตอง และไดผลการวิจัยที่มี
ความนาเชื่อถือ ผูวิจัยจึงไดดําเนินการวิจัยโดยมีขั้นตอน ดังตอไปนี้

ระยะเตรียมการวิจัย
1.ผูวิจัยไดมีการเตรียมความรูในเรื่องรูปแบบการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดตามระยะ
เปลี่ยนผาน (Transitional Care Model) ของเนเลอร (Naylor, 2004)ไดมีการศึกษาตํารา เอกสาร และ
งานวิจัยที่เกี่ยวของกับแนวคิด ทฤษฎี การนําญาติผูดูแลเขามามีสวนรวมในการดูแลผูปวยโรคหลอด
เลือดสมอง เพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง อีกทั้งยังเนนความสําคัญในการ
ดูแลตนเองของญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปว ย เพื่อลดความเครียดของญาติผูดูแล ตลอดจน
สงเสริมใหญาติผูดูแลมีความพรอม และสามารถปรับตัวเขากับบทบาทที่ไดรับ ในการดูแลผูปวย
โรคหลอดเลื อ ดสมองได ร ว มกั บ คํ า แนะนํ า จากอาจารย ที่ ป รึ ก ษา เพื่ อ ให ก ารศึ ก ษาวิ จั ย ครั้ ง นี้
ดําเนินการอยางถูกตอง และนําไปพัฒนาเปนโปรแกรมที่ใชไดจริงกับผูปวย และญาติผูดูแล สําหรับ
ผู ช ว ยวิ จั ย ในการศึ ก ษาครั้ ง นี้ เป น นั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาโทที่ มี ค วามรู ความเข า ใจในการใช
แบบสอบถาม และการเก็บรวบรวมขอมูลทั้งในผูปวยและญาติผูดูแลเปนอยางดี
2.เตรียมเครื่องมือ และปรับปรุงแกไขเครื่องมือที่ใชในการวิจัย
3.จัดทําแผนการทดลอง เตรียมสถานที่ในการวิจัย โดยประสานงานหัวหนาพยาบาล
และพยาบาลประจําการหอผูปวยอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกลา เพื่อชี้แจงวัตถุประสงคของ
การวิจัยและขออนุญาตเก็บรวบรวมขอมูล เมื่อไดรับอนุญาตแลว ผูวิจัยเขาพบเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค
ของการวิจัยขั้นตอนการรวบรวมขอมูลอยางละเอียด และขอความรวมมือในการดําเนินการวิจัย
4.ผูวิจัยคัดเลือกกลุมตัวอยางที่มีคุณสมบัติตามเกณฑที่กําหนดจํานวน 64 คู แบงเปน
กลุมทดลอง และกลุมควบคุม กลุมละ 32 คู ตามขั้นตอนการคัดเลือกกลุมตัวอยาง และเขาพบผูปวย
และญาติผูดูแลโดยมีการทักทาย แนะนําตัว ชื่อ-สกุล สถานภาพ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต คณะแพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลของผูวิจัย จากนั้นผูวิจัย
ชี้แจงวัตถุประสงคของการวิจัย วิธีการดําเนินการวิจัย ระยะเวลาในการเขารวมการวิจัย ขั้นตอนใน
การดําเนินการวิจัย และการพิทักษสิทธิ์จากนั้นสอบถามความสมัครใจในการเขารวมการวิจัยเมื่อ
นันทกาญจน ปกษี วิธีดําเนินการวิจัย / 44

กลุมตัวอยางยินยอมเขารวมการวิจัยผูวิจัยจึงใหญาติผูดูแลเซ็นใบยินยอมเขารวมการวิจัยการเก็บ
ขอมูลจะดําเนินการในกลุมควบคุมใหเสร็จกอน 32 คู แลวจึงเริ่มเก็บขอมูลในกลุมทดลอง

ระยะดําเนินการวิจัย
ภายหลังดําเนินการคัดเลือกกลุมตัวอยางตามเกณฑคุณสมบัติที่กําหนดไว ผูวิจัยเริ่ม
ดําเนินการเก็บรวบรวมขอมูลในกลุมควบคุมกอน เพื่อปองกันการปนเปอนของกลุมตัวอยาง และ
ดําเนินการเก็บรวบรวมขอมูลในกลุมทดลอง หลังจากกลุมควบคุมรายสุดทายจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล โดยในการดําเนินการวิจัย กับกลุมควบคุม และกลุมทดลอง มีลําดับขั้นตอนดังแสดงใน
แผนภาพที่ 3.1 และ 3.2
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

แผนภาพที่ 3.1 ขั้นตอนการดําเนินการวิจัยในระยะที่ผูปวยพักรักษาตัวอยูในโรงพยาบาล


พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 45
นันทกาญจน ปกษี

แผนภาพที่ 3.2 ขั้นตอนการดําเนินการวิจัยในระยะหลังจากผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาล


วิธีดําเนินการวิจัย / 46
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 47

จากแผนภาพดังกลาวขางตน ผูวิจัยและผูชวยวิจัยดําเนินการวิจัย ดังมีรายละเอียด ดังนี้


กลุมควบคุม ผูวิจัยและผูชวยวิจัยดําเนินการวิจัย ดังนี้
1.สรางสัมพันธภาพกับผูปวย และญาติผูดูแลโดยการทักทาย แนะนําตัว แนะนําตัว
ชื่อ-สกุล สถานภาพ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะแพทยศาสตรโรงพยาบาล
รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใหผูปวยและญาติผูดูแลเกิดความคุนเคย และความไววางใจ
พรอมทั้งอธิบายใหทราบวาขอมูลที่ใหสัมภาษณจะไดรับการรักษาเปนความลับ
2.ผู ช ว ยวิ จั ย เก็ บ รวบรวมข อ มู ล ส ว นบุ ค คลของผู ป ว ย และญาติ ผู ดู แ ล โดยวิ ธี ก าร
สัมภาษณผูปวย และญาติผูดูแล พรอมทั้งจดบันทึกลงในแบบบันทึกขอมูลสวนบุคคล
3.ใหการพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาล ประกอบดวยการใหความรู ฝกทักษะใน
การดูแลผูปวยแตละรายตามสภาพของผูปวยแกญาติผูดูแล และติดตามเยี่ยมบานในรายที่มีความ
รุนแรงของโรคหลังแพทยสั่งจําหนายกลับบาน โดยในการติดตามจะมีพยาบาลหัวหนาเวรประจําวัน
เปนผูพิจารณา และประสานงานสหวิชาชีพในการติดตามเยี่ยมบานผูปวย ในกรณีผูปวยมีที่อยูอาศัย
นอกเขตพื้นที่ที่โรงพยาบาลรับผิดชอบจะประสานงานและสงตอโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบล
ใกลเคียงในการติดตามเยี่ยมตอไป
4.ผูชวยวิจัยประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวย และประเมินความพรอม
ของญาติผูดูแลกอนผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาล
5.นัดพบกลุมตัวอยางอีกครั้งในสัปดาหที่ 4 หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลโดยให
การพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาล และขอความรวมมือในการประเมินผล ประกอบดวย ความ
พรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล ใน
การเก็บรวบรวมขอมูล ผูชวยวิจัยสัมภาษณแบบมีโครงสราง ซึ่งผูชวยวิจัยสัมภาษณญาติผูดูแลดวย
การอานแบบสอบถามใหแกญาติผูดูแลฟง โดยไมมีการแปลความคําถามในแบบสอบถามทุกราย
และใหญาติผูดูแลตอบคําถามตามที่แบบสอบถามกําหนด
6.มอบคูมือการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแลตนเองสําหรับญาติผูดูแล
7.ตรวจสอบความสมบูรณความครบถวนของขอมูล

กลุมทดลอง ผูวิจัยและผูชวยวิจัยดําเนินการวิจัย ดังนี้


1.สรางสัมพัน ธภาพกับผูปว ย และญาติผูดูแ ลโดยการทั กทาย แนะนํ าตัว ชื่อ-สกุ ล
สถานภาพ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะแพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใหผูปวย และญาติผูดูแลเกิดความคุนเคย และความไววางใจ พรอมทั้ง
อธิบายใหทราบวาขอมูลที่ใหสัมภาษณจะไดรับการรักษาเปนความลับ
นันทกาญจน ปกษี วิธีดําเนินการวิจัย / 48

2. ผู ช ว ยวิ จั ย เก็ บ รวบรวมข อ มู ล ส ว นบุ ค คลของผู ป ว ย และญาติ ผู ดู แ ล โดยวิ ธี ก าร


สัมภาษณผูปวย และญาติผูดูแล พรอมทั้งในระหวางการสัมภาษณจะมีการจดบันทึกลงในแบบ
บันทึกขอมูลสวนบุคคล
3.ผูวิจัยดําเนินการตามโปรแกรมการดูแล ณ หอผูปวยอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่ง
เกลา กอนจําหนายผูปวยออกจากโรงพยาบาล ผูชวยวิจัยมีการประเมินความสามารถในการปฏิบัติ
กิจ วัตรประจําวั นของผูปว ย และประเมิ นความพรอมของญาติผูดูแล และภายหลังจากที่ผูปว ย
จําหนายออกจากโรงพยาบาลมีการติดตามการเยี่ยมที่บาน 1 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที และติดตาม
เยี่ยมทางโทรศัพท 4ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที
4.ภายหลังจากสิ้นสุดโปรแกรมการดูแล ในสัปดาหที่ 4 ติดตามเยี่ยมผูปวย และญาติ
ผู ดู แ ลอี ก ครั้ ง และขอความร ว มมื อ ในการประเมิ น ผล ประกอบด ว ย ความพร อ มในการดู แ ล
ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล ในการเก็บรวบรวม
ขอมูล ผูชวยวิจัยสัมภาษณแบบมีโครงสราง ซึ่งผูวิจัยสัมภาษณญาติผูดูแลดวยการอานแบบสอบถาม
ใหแกญาติผูดูแลฟง โดยไมมีการแปลความคําถามในแบบสอบถามทุกราย และใหญาติผูดูแลตอบ
คําถามตามที่แบบสอบถามกําหนด
5.มอบคูมือการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแลตนเองสําหรับญาติ
6.ตรวจสอบความสมบูรณความครบถวนของขอมูล

ระยะประเมินผลการวิจัย
ผูชวยวิจัยประเมินความพรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจ
ตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแลในกลุมควบคุม และกลุมทดลอง ภายหลังสิ้นสุดการใชโปรแกรม
การดู แลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน
ในสัปดาหที่ 4 ในการเก็บรวบรวมขอมูล ผูชวยวิจัยสัมภาษณแบบมีโครงสราง ซึ่งจะสัมภาษณญาติ
ผูดูแลดวยการอานแบบสอบถามใหแกญาติผูดูแลฟง และตอบคําถามตามที่แบบสอบถามกําหนด
โดยไม มีก ารแปลความคํ า ถามในแบบสอบถามทุ ก ราย จากนั้ น ตรวจสอบความสมบูรณ ความ
ครบถวนของขอมูลอีกครั้งกอนนําไปวิเคราะหทางสถิติ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 49

การพิทักษสิทธิ์กลุมตัวอยาง
การศึกษาครั้งนี้ไดผานการพิจารณาเห็นชอบโดยสอดคลองกับแนวปฏิญญาเฮลซิงกิ
จากคณะกรรมการจริ ย ธรรมการวิ จั ย ในมนุ ษ ย คณะแพทยศาสตร โ รงพยาบาลรามาธิ บ ดี
มหาวิทยาลัยมหิดล และจากคระกรรมการพิจารณา และรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษยจาก
โรงพยาบาลพระนั่งเกลาเรียบรอยกอนดําเนินการเก็บขอมูล ผูวิจัยพิทักษสิทธิ์ขอมูลของกลุมตัวอยาง
โดยแนะนําตนเอง ชี้แจงวัตถุประสงคของการวิจัย ขั้นตอนการเก็บรวบรวมขอมูล การพิทักษสิทธิ์
สอบถามความสมัครใจในการเขารวมการวิจัย รวมทั้งเปดโอกาสใหกลุมตัวอยางซักถามปญหาหรือ
ขอสงสัยตางๆกอนตัดสินใจเขารวมการวิจัย เมื่อกลุมตัวอยางใหความยินยอมเขารวมการวิจัย ผูวิจัย
จึงใหญาติผูดูแลเซ็นลงนามในใบยินยอมเขารวมการวิจัย เมื่อเขารวมวิจัยแลวผูปวย และญาติผูดูแล
สามารถถอนตัวจากการวิจัยไดทุกเวลา โดยไมมีผลกับการรักษาพยาบาล ขอมูลตางๆที่ไดรับจากการ
ผู ป ว ยและญาติ ผู ดู แ ลจํ า นํ า เสนอในภาพรวมของกลุ ม ไม ส ามารถสื บ ค น ถึ ง เจ า ของข อ มู ล เป น
รายบุคคลได

การเก็บรวบรวมขอมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ ผูวิจัยทําหนาที่เปนผูดําเนินการทดลอง และใชโปรแกรมสอนในการ
เตรี ย มญาติ ผู ดู แ ล ส ว นผู ช ว ยวิ จั ย ทํ า หน า ที่ เ ป น ผู เ ก็ บ ข อ มู ล โดยใช แ บบสั ม ภาษณ ป ระเมิ น ตาม
เครื่องมือที่กําหนดไว สําหรับขั้นตอนการเก็บรวบรวมขอมูล มีดังนี้
1. ภายหลังไดรับการอนุมัติคํารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะ
แพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และจากโรงพยาบาลพระนั่งเกลาแลว ผูวิจัย
ไดชี้แจงวัตถุประสงค รายละเอียดในการดําเนินการเก็บขอมูลแกหัวหนาฝายการพยาบาล หัวหนา
หอผูปวย พยาบาลประจําการ และบุคคลที่เกี่ยวของ
2. สรางสัมพันธภาพกับผูปวย และญาติผูดูแลโดยการทักทายและแนะนําตัวเพื่อให
ผูปวย และญาติผูดูแลเกิดความคุนเคย และความไววางใจ และเก็บรวบรวมขอมูลสวนบุคคลของ
ผูปวย และญาติผูดูแล โดยวิธีการสัมภาษณผูปวย และญาติผูดูแล พรอมทั้งจดบันทึกลงในแบบ
บันทึกขอมูลสวนบุคคล
3. คัดเลือกกลุมตัวอยางที่มีคุณสมบัติตามเกณฑที่กําหนดจํานวน 60 คู แบงเปนกลุม
ทดลอง 30 คู และกลุมควบคุม 30 คู ผูวิจัยดําเนินการเก็บรวบรวมขอมูลในกลุมควบคุมกอน เพื่อลด
ปจจัยแทรกซอนที่อาจเกิดขึ้น และสงผลตอตัวแปรที่ใชในการศึกษา ในระหวางการเก็บรวบรวม
ขอมูลในกลุมควบคุมในชวงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม 2556 พบวามีการแพรกระจายของเชื้อ
นันทกาญจน ปกษี วิธีดําเนินการวิจัย / 50

ดื้อยาในโรงพยาบาล Vancomycin-Resistant Enterococci หรือ VRE สงผลใหโรงพยาบาลมี


มาตรการในการงดรั บผูปว ยใหม หอผูปว ยในทุก หอผูปวยในโรงพยาบาลชั่ วคราว เพื่ อลดการ
แพร ก ระจายของเชื้ อ ในการดํ า เนิ น การเก็ บ รวบรวมข อ มู ล ในกลุ ม ควบคุ ม นั้ น ผู วิ จั ย ประเมิ น
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวย และประเมินความพรอมของญาติผูดูแล
กอนจําหนายผูปวยออกจากโรงพยาบาล และนัดพบกลุมตัวอยางอีกครั้งในสัปดาหที่ 4 หลังจําหนาย
ออกจากโรงพยาบาล โดยใหการพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาล และขอความรวมมือในการ
ประเมินผล ประกอบดวย ความพรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจตอ
บริการที่ไดรับของญาติผูดูแล ในการเก็บรวบรวมขอมูลใชวิธีการสัมภาษณแบบมีโครงสราง โดย
ผูชวยวิจัยสัมภาษณญาติผูดูแลดวยการอานแบบสอบถามใหแกญาติผูดูแลฟงทุกราย และใหญาติ
ผูดูแลตอบคําถามตามตัวเลือกที่แบบสอบถามกําหนดไว
เมื่อเสร็จสิ้นการเก็บรวบรวมขอมูลในกลุมควบคุม ผูวิจัยไดดําเนินการตามโปรแกรม
การดูแลในกลุมทดลองตอไป ทั้งนี้กลุมทดลองยังไดรับการพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาลควบคู
ไปกับโปรแกรมการดูแล โดยกอนจําหนายผูปวยออกจากโรงพยาบาลผูวิจัยมีการใหความรูแกญาติ
ผูดูแลในการดูแลผูปวย และดูแลตนเองแกญาติผูดูแล เพื่อสงเสริมการปรับตัวเขาสูบทบาทของญาติ
ผูดูแลเบื้องตน สรางทัศนคติที่ดีในการดูแลผูปวยตอญาติผูดูแล และเพื่อใหญาติผูดูแลมีความรู ความ
เขาใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การปองกันการเกิดภาวะแทรกซอน และการดูแลชวยเหลือเพื่อ
ฟนฟูสภาพผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง ตลอดจนการแนะนําแหลงประโยชนใหกับผูปวยและญาติ
ผูดูแ ล และผูวิจัย ได มีการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจ วั ตรประจําวันของผู ปว ย และ
ประเมินความพรอมของญาติผูดูแลกอนจําหนายผูปวยออกจากโรงพยาบาล ในระหวางการเก็บ
รวบรวมขอมูลในกลุมทดลอง พบวาโรงพยาบาลมีการปรับแผนการจัดหอผูปวยอายุรกรรมใหม จาก
เดิมมีหอผูปวยอายุรกรรม จํานวน 5 หอผูปวย ลดลงเปน 3 หอผูปวย สงผลใหผูวิจัยปรับแผนในการ
ดําเนินการเก็บรวบรวมขอมูลใหม และภายหลังจากที่ผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาลมีการ
ติดตามการเยี่ยมที่บาน 1 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที เพื่อทบทวน และประเมินความรูเกี่ยวกับโรคหลอด
เลือดสมอง ทักษะในการดูแลผูปวย การฟนฟูสมรรถภาพ การดูแลกิจวัตรประจําวัน พรอมทั้งใหการ
สนับสนุน สงเสริมใหญาติผูดูแลมีสวนรวมในการดูแลผูปวย ตัดสินใจ และเลือกแนวทางในการ
จัดการกับความเครียดที่เหมาะสมดวยตนเอง และขอมูลที่เปนประโยชนตรงตามความตองการ และ
สภาพปญหา ตลอดจนใหกําลังใจแกญาติผูดูแล เปดโอกาสใหซักถามปญหา และมีการติดตามเยี่ยม
ทางโทรศัพท 4 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที เพื่อติดตามสภาพผูปวย และญาติผูดูแล ผูวิจัยสอบถาม
ปญหาอุปสรรคในการดูแลผูปวย ภาวะสุขภาพทางกาย และจิตใจของญาติผูดูแลตัวอยางคําถามใน
การสัมภาษณ เชน “ภายหลังจากผูปวยมาอยูที่บานญาติมีปญหาหรืออุปสรรคในการดูแลผูปวย
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 51

หรือไม อยางไร” พรอมทั้งใหคําแนะนํา และสนับสนุนการปรับตัวสูบทบาทญาติผูดูแล การจัดการ


ความเครียดจากการดูแล ตลอดจนใหกําลังใจแกผูปวย และญาติผูดูแลอยางตอเนื่อง
ภายหลังจากสิ้นสุดโปรแกรมการดูแล ในสัปดาหที่ 4 ติดตามเยี่ยมผูปวย และญาติ
ผูดูแลอีกครั้ง เพื่อประเมินผลของโปรแกรม ประกอบไปดวย ความพรอมในการดูแล การปรับตัว
ความเครียด และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล พรอมทั้งมอบคูมือการดูแลผูปวย
โรคหลอดเลือดสมอง และการดูแลตนเองสําหรับญาติ และตรวจสอบความสมบูรณความครบถวน
ของขอมูล

การวิเคราะหขอมูล
ผูวิจัยนําขอมูลที่ไดมาวิเคราะหโดยใชโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS/PC (Statistical
Package for the Social Science/ Personal Computer plus)มีรายละเอียดดังนี้
1. วิเคราะหขอมูลสวนบุคคลของกลุมตัวอยางโดยใชสถิติเชิงบรรยาย รอยละ คาเฉลี่ย
สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแคว (chi-square) และสถิติที แบบ 2 กลุมเปนอิสระจากกัน
(independent t-test)
2. เปรียบเทียบความแตกตางของคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมในการดูแลกอนออกจาก
โรงพยาบาล และในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลภายในกลุมควบคุมและกลุม
ทดลองและระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลองโดยใชสถิติที แบบ 2 กลุมเปนอิสระจากกัน
(independent t-test)
3. เปรียบเทียบความแตกตางของคาเฉลี่ยคะแนนความเครียด และคาเฉลี่ยคะแนนการ
ปรับตัวของญาติผูดูแลในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุมและ
กลุมทดลองโดยใชสถิติที แบบ 2 กลุมเปนอิสระจากกัน (independent t-test)
4. เปรียบเทียบความแตกตางของคาเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของญาติผูดูแลตอ
บริการที่ไดรับในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุมและกลุม
ทดลองโดยใชสถิติที แบบ 2 กลุมเปนอิสระจากกัน (independent t-test)
นันทกาญจน ปกษี ผลการวิจัย / 52

บทที่ 4
ผลการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เปนการศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และ
ญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานตอความพรอมในการดูแล ความเครียด การ
ปรับตัวและความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล ที่เขารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนั่ง
เกลา จังหวัดนนทบุรี ตั้งแตเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือน เมษายน พ.ศ. 2558 จํานวนทั้งหมด
60 ราย ผลการศึกษาไดนําเสนอในรูปตารางประกอบคําบรรยาย โดยแบงเปน 2 สวนตามลําดับดังนี้
สวนที่ 1 ขอมูลทั่วไปของกลุมตัวอยาง
สวนที่ 2 การทดสอบสมมติฐาน ไดแก
2.1 คะแนนเฉลี่ยความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลในกลุมทดลอง
สูงกวากลุมควบคุม กอนจําหนายออกจากโรงพยาบาล และในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล
2.2 คะแนนเฉลี่ยการปรับตัวของญาติผูดูแลในกลุมทดลองสูงกวากลุม
ควบคุมในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
2.3 คะแนนเฉลี่ยความเครียดของญาติผูดูแลในกลุมทดลองนอยกวา
กลุมควบคุมในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
2.4 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของญาติผูดูแลในบริการที่ไดรับในกลุม
ทดลองสูงกวากลุมควบคุมในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 53

สวนที่ 1 ขอมูลทั่วไปของกลุมตัวอยาง

กลุมตัวอยางญาติผูดูแล
กลุมตัวอยางในการศึกษาครั้งนี้เปนญาติผูดูแลของผูปวยที่ไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรค
หลอดเลือดสมองที่เขารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนั่งเกลา จังหวัดนนทบุรีที่ใหความชวยเหลือ
ดูแลผูปวยตั้งแตพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนจําหนายกลับไปอยูที่บานจํานวนทั้งหมด 64 ราย ใน
ระยะติดตามผลมีญาติผูดูแลที่ไมสามารถติดตอได จํานวน 4 ราย จึงมีญาติผูดูแลคงเหลือใน
การศึกษาจํานวนทั้งสิ้น 60 ราย แบงเปนกลุมควบคุม 30 ราย และกลุมทดลอง 30 ราย
กลุมควบคุม ญาติผูดูแลสวนใหญเปนเพศหญิงจํานวน 21 ราย มีอายุเฉลี่ย 44.4 ป
(SD =14.01) สถานภาพสมรสคู จํานวน 22 ราย ระดับการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาจํานวน 13 ราย
การประกอบอาชีพพบวา ญาติผูดูแลไมไดประกอบอาชีพ และประกอบอาชีพเทากัน จํานวน 15 ราย
ความเพียงพอรายไดเฉลี่ยสวนใหญพอเพียง จํานวน 26 ราย ความสัมพันธระหวางญาติผูดูแลกับ
ผูปวยสวนใหญเปนบุตรสาว จํานวน 9 ราย ดานภาวะสุขภาพพบวาไมมีโรคประจําตัว จํานวน 18
ราย และในการดูแลผูปวยพบวาญาติผูดูแล จํานวน 20 ราย ไมมีผูชวยเหลือ
กลุมทดลอง ญาติผูดูแลสวนใหญเปน เพศหญิงจํานวน 24 ราย มีอายุเฉลี่ย 41.53 ป
(SD =12.82) สถานภาพสมรสคู จํานวน 22 ราย ระดับการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาจํานวน 15 ราย
การประกอบอาชีพพบวา สวนใหญประกอบอาชีพ จํานวน 16 ราย ความเพียงพอรายไดเฉลี่ยสวน
ใหญพอเพียง จํานวน 23 ราย ความสัมพันธระหวางญาติผูดูแลกับผูปวยสวนใหญเปนบุตรสาว
จํานวน 12 ราย ดานภาวะสุขภาพพบวา ไมมีโรคประจําตัว จํานวน 21 ราย และในการดูแลผูปวย
พบวาญาติผูดูแล จํานวน 16 ราย ไมมีผูชวยเหลือ รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 4.1
นันทกาญจน ปกษี ผลการวิจัย / 54

ตารางที่ 4.1 จํานวน และรอยละขอมูลสวนบุคคลของกลุมตัวอยางญาติผูดูแลในกลุมควบคุม (n=30)


และกลุมทดลอง (n=30) จําแนกตามเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ
รายไดเฉลี่ย ความสัมพันธกับผูปวย ภาวะสุขภาพ และผูชวยเหลือญาติผูดูแล
กลุมควบคุม กลุมทดลอง
ตัวแปร จํานวน รอยละ จํานวน รอยละ
(คน) (คน)
เพศ
หญิง 21 70.0 24 80.0
ชาย 9 30.0 6 20.0
สถานภาพสมรส
คู 22 73.3 22 73.3
โสด 7 23.3 7 23.3
หมาย/หยา/แยก 1 3.3 1 3.3
ระดับการศึกษา
ไมไดเรียน อานออก เขียนได 1 3.3 2 6.7
ประถมศึกษา 13 43.3 15 50.0
มัธยมศึกษา 11 36.7 7 23.3
อนุปริญญา 1 3.30 - -
ปริญญาตรีหรือสูงกวา 4 13.3 6 20.0
การประกอบอาชีพ
ไมไดประกอบอาชีพ 15 50.0 14 46.7
ประกอบอาชีพ 15 50.0 16 53.3
รายไดเฉลี่ย
พอเพียง 26 86.7 23 76.7
ไมพอเพียง 4 13.3 7 23.3
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 55

ตารางที่ 4.1 จํานวน และรอยละขอมูลสวนบุคคลของกลุมตัวอยางญาติผูดูแลในกลุมควบคุม (n=30)


และกลุมทดลอง (n=30) จําแนกตามเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ
รายไดเฉลี่ย ความสัมพันธกับผูปวย ภาวะสุขภาพ และผูชวยเหลือญาติผูดูแล (ตอ)

กลุมควบคุม กลุมทดลอง
ตัวแปร
จํานวน รอยละ จํานวน รอยละ
(คน) (คน)
ความสัมพันธกับผูปวย
สามี/ภรรยา 8 26.7 10 33.4
บุตร 15 50.0 15 50.0
อื่นๆ 7 23.3 4 13.3
ภาวะสุขภาพ
ไมมีโรคประจําตัว 18 60.0 21 70.0
มีโรคประจําตัว 12 40.0 9 30.0
ผูชวยเหลือญาติผูดูแล
ไมมี 20 66.7 16 53.3
มี 10 33.3 14 46.7
นันทกาญจน ปกษี ผลการวิจัย / 56

คุณลักษณะของผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือ
ในการศึกษาครั้งนี้เปนผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือจํานวนทั้งหมด 60 ราย แบงเปน
กลุมควบคุม 30 ราย และกลุมทดลอง 30 ราย
ผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือในกลุมควบคุมสวนใหญเปน เพศชาย จํานวน 16
ราย มีอายุเฉลี่ย 63.73 ป (SD =14.40) สถานภาพสมรสคู จํานวน 17 ราย ดานการศึกษาพบวา อยูใน
ระดับประถมศึกษาขึ้นไปจํานวน 27 ราย ดานการประกอบอาชีพพบวาสวนใหญประกอบอาชีพ
จํานวน 16 ราย ไมไดรับบทบาทเปนหัวหนาครอบครัว จํานวน 20 ราย มีรายไดเฉลี่ยตอเดือน
เพียงพอ จํานวน 27 ราย สิทธิในการรักษาพยาบาลสวนใหญเปนสิทธิประกันสุขภาพถวนหนา
จํานวน 27 ราย และมีคาเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวยที่ญาติ
ผูดูแลใหการชวยเหลือภายใน 48 ชม.แรกหลังเขารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เทากับ 17.3
คะแนน (SD = 3.91)
ผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือในกลุมทดลองสวนใหญเปน เพศหญิง และเพศชาย
เทากัน คือ จํานวน 15 ราย มีอายุเฉลี่ย 65.5 ป (SD =10.30) สถานภาพสมรสคู จํานวน 21 ราย ดาน
การศึกษาพบวา อยูในระดับประถมศึกษาขึ้นไปจํานวน 28 รายดานการประกอบอาชีพพบวาไมได
ประกอบอาชีพ จํานวน 24 ราย ไมไดรับบทบาทเปนหัวหนาครอบครัว จํานวน 25 ราย มีรายไดเฉลี่ย
ตอเดือนเพียงพอ จํานวน 30 ราย สิทธิในการรักษาพยาบาลสวนใหญเปนสิทธิประกันสุขภาพถวน
หนา จํานวน 26 ราย และมีคาเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวยที่
ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือภายใน 48 ชม.แรกหลังเขารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เทากับ 15.87
คะแนน (SD = 3.16) รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 4.2
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 57

ตารางที่ 4.2 จํานวน และรอยละของผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือในกลุมควบคุม (n=30) และ


กลุมทดลอง (n=30) จําแนกตาม เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ รายได
บทบาทหัวหนาครอบครัว และสิทธิในการรักษาพยาบาล
กลุมควบคุม กลุมทดลอง
ลักษณะกลุมตัวอยาง จํานวน รอยละ จํานวน รอยละ
(คน) (คน)
เพศ
หญิง 14 46.7 15 50.0
ชาย 16 53.3 15 50.0
สถานภาพสมรส
คู 17 56.7 21 70.0
โสด 4 13.3 9 30.0
หมาย/หยา/แยก 9 30.0 - -
ระดับการศึกษา
ต่ํากวาประถมศึกษา 3 10.0 2 6.70
ประถมศึกษาขึ้นไป 27 90.0 28 93.3
การประกอบอาชีพ
ไมไดประกอบอาชีพ 15 50.0 24 80.0
ประกอบอาชีพ 15 50.0 6 20.0
รายได
ไมเพียงพอ 3 10.0 - -
เพียงพอ 27 90.0 30 100
นันทกาญจน ปกษี ผลการวิจัย / 58

ตารางที่ 4.2 จํานวน และรอยละของผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือในกลุมควบคุม(n=30) และ


กลุมทดลอง (n=30) จําแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ
รายได บทบาทหัวหนาครอบครัว และสิทธิในการรักษาพยาบาล (ตอ)
กลุมควบคุม กลุมทดลอง
ลักษณะกลุมตัวอยาง จํานวน รอยละ จํานวน รอยละ
(คน) (คน)
หัวหนาครอบครัว
ไมใช 20 66.7 25 83.3
ใช 10 33.3 5 16.7
สิทธิในการรักษาพยาบาล
ตนสังกัด 3 10.0 2 6.70
ประกันสุขภาพ 27 90.0 26 86.7
อื่นๆ - - 2 6.6

ในการศึกษาครั้งนี้ไดมีการทดสอบความแตกตางของตัวแปรของกลุมตัวอยางทั้งญาติ
ผูดูแล และผูปวย ระหวางกลุมควบคุม และกลุมทดลอง ตัวแปรดานญาติผูดูแล 4 ตัวแปร ไดแก เพศ
อายุ ภาวะสุขภาพ การมีผูชวยเหลือของญาติผูดูแล สวนตัวแปรดานผูปวย 2 ตัวแปร ไดแก อายุ และ
คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันภายใน 48 ชม.แรกหลัง Admit ซึ่งผูวิจัยได
คัดเลือกตัวแปรดังกลาวจากการทบทวนวรรณกรรม เพื่อตรวจสอบในเรื่องความแตกตางหรือความ
เทาเทียมกันของตัวแปรของกลุมตัวอยางทั้งสองกลุม
เมื่อเปรียบเทียบขอมูลสวนบุคคลของญาติผูดูแลในดานเพศ ภาวะสุขภาพ และการมี
ผูชวยเหลือ ระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง ดวยสถิติไคสแควร พบวา ตัวแปรดังกลาวในกลุม
ตัวอยางทั้งสองกลุมไมแตกตางกัน (p > .05) รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 4.3 และในการ
เปรี ย บเทีย บอายุข องญาติผูดูแ ล อายุของผู ปว ยที่ ญาติ ผูดูแ ลใหการชว ยเหลือ และคะแนนเฉลี่ ย
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวยภายใน 48 ชม.แรกหลังเขารับการรักษาตัวใน
โรงพยาบาล ระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง ใชสถิติ Independent t-test พบวา ตัวแปรดังกลาว
ในกลุมตัวอยางทั้งสองกลุมไมแตกตางกัน (p > .05) รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 4.4
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 59

ตารางที่ 4.3 เปรียบเทียบความแตกตางคุณลักษณะของญาติผูดูแล ระหวางกลุมควบคุม (n=30) และ


กลุมทดลอง (n=30)
กลุมควบคุม กลุมทดลอง
คุณลักษณะ จํานวน รอยละ จํานวน รอยละ χ2 p-value
(คน) (คน)
เพศ .800 .371
หญิง 21 70.0 24 80.0
ชาย 9 30.0 6 20.0
ภาวะสุขภาพ 659 .417
ไมมีโรคประจําตัว 18 60.0 21 70.0
มีโรคประจําตัว 12 40.0 9 30.0
ผูชวยเหลือญาติผูดูแล 1.111 .292
ไมมี 20 66.7 16 53.3
มี 10 33.3 14 46.7

ตารางที่ 4.4 เปรียบเทียบความแตกตางคุณลักษณะของญาติผูดูแล และผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการ


ชวยเหลือ ระหวางกลุมควบคุม (n=30) และกลุมทดลอง (n=30)
กลุมควบคุม กลุมทดลอง
ลักษณะกลุมตัวอยาง t p-value
Mean SD Mean SD
ญาติผูดูแล
อายุ(ป) 44.40 14.006 41.53 12.822 .827 .412
ผู ปวยที่ ญาติ ผู ดู แ ลให
การชวยเหลือ
 อายุ(ป) 63.73 14.43 65.50 10.30 .132 .587
 ความสามารถใน
การปฏิบัติกิจวัตร
ประจําวันภายใน
48 ชม.แรก 17.03 3.91 15.87 3.16 1.272 .219
หลังเขารับการ
รักษาตัวใน
โรงพยาบาล
นันทกาญจน ปกษี ผลการวิจัย / 60

คาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพรอมในการดูแล ความเครียด การ


ปรับตัว และความพึงพอใจในบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล 1 เดือนหลังจําหนายออกจาก
โรงพยาบาลของกลุมตัวอยาง ของกลุมควบคุม และกลุมทดลอง ดังแสดงในตารางที่ 4.5

ตารางที่ 4.5 คาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความพรอมในการดูแล ความเครียด


การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล ของกลุมควบคุม (n=30) และกลุม
ทดลอง (n=30)
กลุมควบคุม (n = 30) กลุมทดลอง (n = 30)
ตัวแปร
Mean SD Mean SD
ความพรอมในการดูแล
กอนจําหนายออกจาก 20.53 5.70 21.97 5.52
โรงพยาบาล
1 เดือนหลังจําหนายออกจาก 24.30 4.96 27.33 3.95
โรงพยาบาล
ความเครียด 39.03 5.12 44.50 7.19
การปรับตัว 167.07 15.13 161.93 1.34
ความพึงพอใจ 110 13.34 118.33 11.68
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 61

สวนที่ 2 การทดสอบสมมติฐาน
การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) แบบ 2 กลุม
ทดสอบหลังการทดลอง (two group post test design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผูปวยโรค
หลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานตอความพรอมในการ
ดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล
ผูวิจัยทดสอบขอตกลงเบื้องตนกอนใชสถิติทดสอบสมมติฐาน ดวยการตรวจสอบการ
แจกแจงของขอมูลทุกตัวแปรที่ใชในการศึกษาระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง ดวยสถิติ
Kolmogorov-Smirnov Test พบวา ขอมูลทั้งสองกลุมมีการแจกแจงปกติ

สมมติฐานการวิจัยที่ 1
คะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลในกลุมทดลองสูงกวากลุมควบคุม กอน
หนายออกจากโรงพยาบาล และในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
เมื่อเปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมของญาติผูดูแลกอนออกจากโรงพยาบาล
ระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง ใชสถิติ Independent t-test ในการเปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนน
ความพรอมของญาติผูดูแลกอนออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลองพบวาไม
แตกตางกัน แตคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลในระยะ 1 เดือนหลังจําหนาย
ออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลองแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ
(p< .05) โดยกลุมทดลองมีคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลในระยะ 1 เดือน
หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลสูงกวากลุมควบคุม ดังแสดงในตารางที่ 4.6
ผูวิจัยไดวิเคราะหเพิ่มเติม (Additional analysis) หลังพบวา ในการเปรียบเทียบคาเฉลี่ย
คะแนนความพรอมของญาติผูดูแลกอนออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลองไม
เปนไปตามสมมติฐาน ผูวิจัยวิเคราะหเปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมในการดูแลของญาติ
ผูดูแลภายในกลุมทดลอง และกลุมควบคุมระหวางกอนออกจากโรงพยาบาล และในระยะ 1 เดือน
หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล โดยใชสถิติ paired t-test พบวา แตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทาง
สถิติ (p < .05) โดยมีคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลทั้งกลุมทดลองและกลุม
ควบคุมในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล สูงกวากอนออกจากโรงพยาบาล ดัง
แสดงในตารางที่ 4.7
นันทกาญจน ปกษี ผลการวิจัย / 62

ตารางที่ 4.6 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลระหวางกลุมควบคุม


(n=30) และกลุมทดลอง (n=30) กอนออกจากโรงพยาบาล และในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออก
จากโรงพยาบาล
กลุมตัวอยาง
คะแนนความพรอมใน
กลุมควบคุม กลุมทดลอง t p-value
การดูแลของญาติผดู ูแล
Mean SD Mean SD
1) กอนจําหนายออกจาก 20.53 5.70 21.97 5.52 -.989 .327
โรงพยาบาล
2) 1 เดือนหลังจําหนาย 24.30 4.96 27.33 3.95 -2.621 .011
ออกจากโรงพยาบาล

ตารางที่ 4.7 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลระหวางกอนออกจาก


โรงพยาบาล และ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล ของกลุมควบคุม และกลุมทดลอง
คะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผดู ูแล
กอนจําหนายออกจาก 1 เดือนหลังจําหนาย
กลุมตัวอยาง t p-value
โรงพยาบาล ออกจากโรงพยาบาล
Mean SD Mean SD
กลุมควบคุม 20.53 5.70 24.30 4.96 -3.511 .001
กลุมทดลอง 21.97 5.52 27.33 3.95 -5.291 .001

สมมติฐานการวิจัยที่ 2
คะแนนความเครี ย ดของญาติ ผู ดู แ ลในกลุ ม ทดลองน อ ยกว า กลุ ม ควบคุ ม ในระยะ
1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล เมื่อวิเคราะหโดยเปรียบเทียบคะแนนความเครียดของญาติ
ผูดูแลในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล ระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง ใช
สถิติ Independent t-test พบวา แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) โดยกลุมทดลองมี
คาเฉลี่ยคะแนนความเครียดของญาติผูดูแลในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลสูงกวา
กลุมควบคุม ดังแสดงในตารางที่ 4.8
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 63

ตารางที่ 4.8 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความเครียดของญาติผูดูแลกลุมควบคุม (n=30) และกลุม


ทดลอง (n=30) ในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
คะแนนความเครียดของญาติผดู ูแล
กลุมตัวอยาง 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล t p-value
Mean SD
กลุมควบคุม 39.03 5.12 -3.393 .001
กลุมทดลอง 44.50 7.19

ผูวิจัยไดวิเคราะหเพิ่มเติม (Additional analysis) หลังพบวา ผลการวิจัยไมเปนไปตาม


สมมติฐาน ผูวิจัยวิเคราะหเกี่ยวกับจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทําในกลุมควบคุม และกลุม
ทดลองในชวง 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งประกอบดวยการดูแล 5 ดาน รวม
34 กิจกรรม ไดแก ดานรางกาย 7 กิจกรรม ดานพฤติกรรมอารมณ 8 กิจกรรม ดานความคิดความจํา
5 กิจกรรม ดานการปองกันภาวะแทรกซอน 9 กิจกรรม และการจัดหาและจัดการคาใชจายในการ
ดูแล 5 กิจกรรม พบวา คาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทํา ในชวง 1 เดือนหลังจําหนายออก
จากโรงพยาบาลในกลุมควบคุม มีคาเฉลี่ยเทากับ 10.23 กิจกรรม (SD = 4.75) สวนในกลุมทดลอง
เทากับ 13.53 กิจกรรม (SD = 4.39)
เมื่อวิเคราะหโดยเปรียบเทียบคาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมระหวางกลุมควบคุมและกลุม
ทดลอง ใชสถิติ Independent t-test พบวาคาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมการในกลุมทดลองสูงกวาคาเฉลี่ย
จํานวนกิจกรรมในกลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (p <.05) ดังแสดงในตารางที่ 4.9

ตารางที่ 4.9 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทํา ระหวางกลุมควบคุม (n=30)


และกลุมทดลอง (n=30)
จํานวนกิจกรรมการใหการชวยเหลือดูแลผูปวย
กลุมตัวอยาง ของญาติผูดูแล t p-value
Mean SD
กลุมควบคุม 10.23 4.754 .-2.793 .007
กลุมทดลอง 13.53 4.392
นันทกาญจน ปกษี ผลการวิจัย / 64

เมื่อวิเคราะหโดยเปรียบเทียบคาเฉลี่ยของจํานวนกิจกรรมการใหการชวยเหลือดูแล
ผูปวยที่บานที่ญาติผูดูแลตองทํารายดานระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง ใชสถิติ Independent
t-test พบวา คาเฉลี่ยกิจกรรมดานพฤติกรรม อารมณ และดานความคิดความจําของกิจกรรมการให
การชวยเหลือดูแลผูปวยที่บานที่ญาติผูดูแลตองทําในกลุมทดลองสูงกวาในกลุมควบคุมอยางมี
นัยสําคัญทางสถิติ (p <.05) ดังแสดงในตารางที่ 4.10

ตารางที่ 4.10 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทํารายดาน ระหวางกลุมควบคุม


(n=30) และกลุมทดลอง (n=30)
กิจกรรมที่ญาติผดู ูแล กลุมควบคุม กลุมทดลอง
t p-value
ตองทํารายดาน Mean SD Mean SD
1)ดานรางกาย 2.80 2.06 3.60 1.92 -1.556 .125
2)ดานพฤติกรรมและอารมณ 0.80 1.10 1.77 1.30 -3.108 .003
3)ดานความคิดความจํา 0.57 1.07 1.63 1.50 -3.173 .003
4)ดานการเฝาระวังและปองกัน 2.23 1.61 2.70 1.34 -1.218 .228
ภาวะแทรกซอน
5)ด า นการจั ด หาและจั ด การ 3.87 1.28 3.83 1.21 .104 .918
คาใชจายในการดูแล

สมมติฐานการวิจัยที่ 3
คะแนนการปรับตัวของญาติผูดูแลในกลุมทดลองสูงกวากลุมควบคุมในระยะ 1 เดือน
หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
เมื่ อวิ เ คราะห โ ดยเปรี ย บเที ย บค า เฉลี่ย คะแนนการปรั บตั ว ของญาติ ผูดู แ ลในระยะ
1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล ระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง ใชสถิติ Independent
t-test พบวา ไมแตกตางกัน (p > .05) ดังแสดงในตารางที่ 4.11
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 65

ตารางที่ 4.11 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวของญาติผูดูแลกลุมควบคุม (n=30) และกลุม


ทดลอง (n=30) ในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
คะแนนการปรับตัวของญาติผดู ูแล
กลุมตัวอยาง 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล t p-value
Mean SD
กลุมควบคุม 167.07 15.13 1.337 .186
กลุมทดลอง 161.93 14.60

สมมติฐานการวิจัยที่ 4
คะแนนความพึงพอใจของญาติผูดูแลในบริการที่ไดรับในกลุมทดลองสูงกวากลุม
ควบคุมในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
เมื่อวิเคราะหโดยเปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของญาติผูดูแลในบริการที่
ไดรับในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล ระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง
ใชสถิติ Independent t-test พบวาแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) โดยกลุมทดลองมี
คาเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของญาติผูดูแลในบริการที่ไดรับในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจาก
โรงพยาบาลสูงกวากลุมควบคุม ดังแสดงในตารางที่ 4.12

ตารางที่ 4.12 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของญาติผูดูแลกลุมควบคุม (n=30) และ


กลุมทดลอง (n=30) ในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
คะแนนความพึงพอใจของญาติผดู ูแล
กลุมตัวอยาง 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล t p-value
Mean SD
กลุมควบคุม 110 13.34 -2.230 .03
กลุมทดลอง 118.33 11.68
นันทกาญจน ปกษี อภิปรายผล / 66

บทที่ 5
อภิปรายผล

การศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลใน
ระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานตอความพรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และ
ความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล เปรียบเทียบระหวางกลุมตัวอยางที่ไดรับการดูแล
ตามปกติ และกลุมที่ไดรับโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะ
เปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน ในบทนี้นําเสนอการอภิปรายผลการศึกษา ดังนี้ 1. ขอมูลทั่วไป
ของกลุมตัวอยาง และ 2. การอภิปรายผลขอคนพบจากการวิจัย

1. ขอมูลทั่วไปของกลุมตัวอยาง
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พ บว า ญาติผูดูแ ลสว นใหญเ ปน เพศหญิ ง คุณ ลั ก ษณะดั ง กลา ว
สอดคล อ งกั บ งานวิ จั ย ที่ ผ า นมาในต า งประเทศ เช น จากการสํ า รวจญาติ ผู ดู แ ลในประเทศ
สหรัฐอเมริกา (National Family Caregiver Association Survey, 2000; อางใน รัชนี สรรเสริญ,
2551) และในประเทศไทย นิภาภัทร ภัทรพงศบัณฑิต (2540) และการศึกษาของ จรูญลักษณ ปอง
เจริญ และจันทรฉาย มณีวงษ (2551) พบคุณลักษณะเชนเดียวกัน ความสัมพันธกับผูปวยพบวาสวน
ใหญเปนบุตร สอดคลองกับการศึกษาในประเทศไทยของ ประกอบพร ทิมทอง (2551) และนิภา
ภัทร ภัทรพงศบัณฑิต (2540) แตกตางจากการศึกษาในตางประเทศที่พบญาติผูดูแลสวนใหญเปนคู
สมรส (National Family Caregiver Association Survey, 2000; อางใน รัชนี สรรเสริญ, 2551) สวน
คุณลักษณะของผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือในการศึกษานี้สวนใหญเปนชาย เชนเดียวกับ
การศึกษาของอุมา จันทวิเศษ และคณะ (2552) ที่พบวา ผูปวยสวนใหญเปนเพศชาย

2. ขอคนพบจากการวิจัย
ความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแล
จากผลการศึกษาที่ผูวิจัยไดจัดใหมีโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และ
ญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานนั้น พบวา คะแนนความพรอมในการดูแลของ
ญาติผูดูแลกอนจําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมทดลองและกลุมควบคุมไมแตกตางกัน

 
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 67

ทั้งนี้อาจเนื่องจาก ในชวงแรกของการเขารับบทบาทในการเปนญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือด
สมองซึ่งผลจากโรคทําใหผูปวยเกิดความทุพพลภาพ กอใหเกิดภาวะพึ่งพาผูอื่น ซึ่งนับวาเปนปญหา
ที่ญาติผูดูแลตองเผชิญ และเกิดขึ้นอยางกะทันหันไมไดเตรียมตัวมากอน ซึ่งญาติผูดูแลในการศึกษา
ครั้งนี้เปนญาติผูดูแลใหม แตเปนหนาที่รับผิดชอบที่ญาติผูดูแลจะตองกระทํา เพื่อตอบสนองความ
ตองการการดูแลของผูปวย รวมถึงการจัดการกับปญหา และความเครียดที่เกิดจากการรับบทบาท
เปนผูดูแลดวย ดังนั้นอาจพบวาในชวงแรกของการเขารับบทบาท ญาติผูดูแลของกลุมตัวอยางทั้ง
สองกลุมใชเวลาในการปรับตัว อาจเกิดความรูสึกไมแนนอน ยังขาดความพรอมในการดูแล เพื่อ
ตอบสนองความตองการการดูแลของผูปวย รวมถึงการจัดการกับปญหาที่เกิดขึ้นได เนนเรื่องการ
ดูแลตนเองของญาติผูดูแล
โดยเมื่อผูวิจัยจัดใหมีโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลใน
ระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานนั้น ติดตาม ในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล ผลการศึกษาพบวา คะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแล 1 เดือนหลังจําหนาย
ออกจากโรงพยาบาลในกลุมทดลอง สูงกวากลุมควบคุม อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ สอดคลองกับ
สมมติฐานที่ตั้งไว และในการเปรียบเทียบคะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลภายในกลุม
ทดลอง และกลุมควบคุมกอนออกจากโรงพยาบาล และในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล ยั งพบวา คะแนนความพร อมในการดูแ ลของญาติ ผูดู แลทั้ง กลุมทดลอง และกลุ ม
ควบคุมในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลสูงกวากอนออกจากโรงพยาบาลอยางมี
นัยสําคัญทางสถิติ
การที่ญาติผูดูแลทั้งสองกลุมมีคะแนนความพรอมในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออก
จากโรงพยาบาลเพิ่ มขึ้น และกลุ มทดลองยั งมีคะแนนความพรอมสู งกวา กลุมควบคุม ทั้งนี้อาจ
เนื่องจาก ในกลุมทดลองนอกจากจะไดรับการพยาบาลตามปกติแลว ยังไดรับการพยาบาลจาก
โปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสู
บานใหสอดคลองกับความตองการของผูปวยแตละรายตามแนวคิดของรูปแบบการดูแลตามระยะ
เปลี่ยนผาน (Transitional Care Model) ของเนเลอร (Naylor, 2004) จากการทบทวนงานวิจัยที่ผานมา
จํานวน 6 เรื่อง (จรรยา ทับทิมประดิษฐ, 2547; จุไร เกลี้ยงเกลา, 2550; จรูญลักษณ ปองเจริญ และ
จันทรฉาย มณีวงษ, 2551; ณัฐชา ทานะมัย, 2550; นิภาภัทร ภัทรพงศบัณฑิต, 2540; อุมา และ
คณะ, 2552) พบวา โปรแกรมที่ใชสอนญาติผูดูแลสวนใหญมุงเนนการพัฒนาความรู และทักษะใน
การดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อใหญาติผูดูแลสามารถดูแลผูปวยไดเปนเบื้องตนแตมองขาม
ความสําคัญในสุขภาพของญาติผูดูแล ดังนั้นในงานวิจัยนี้นอกเหนือจากพัฒนาความรูในการดูแล
ผูปวยแลวยังมุงเนนความรูในการดูแลตนเองของญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวย รวมทั้งการ
นันทกาญจน ปกษี อภิปรายผล / 68

จัดการความเครียดของญาติผูดูแล ตลอดจนสงเสริมใหญาติผูดูแลมีความพรอม และสามารถปรับตัว


เขากับบทบาทที่ไดรับในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองได
โดยในการศึกษาครั้งนี้ ผูวิจัยมีการใหความรูแกญาติผูดูแลในเรื่องการดูแลตนเองของ
ญาติผูดูแลในการเตรียมความพรอมในการดูแลตนเองของญาติผูดูแลตั้งแตในโรงพยาบาล มีเนื้อหา
สําคัญ ไดแก บทบาทและหนาที่ความรับผิดชอบ การปรับตัวเมื่อรับบทบาทญาติผูดูแล การดูแล
สุขภาพตนเองระหวางรับบทบาทญาติผูดูแล ความเครียด และการจัดการความเครียดจากการดูแล
ผูปวย ตลอดจนสงเสริมใหญาติผูดูแลมีสวนรวมในการตัดสินใจ กําหนดเปาหมาย เลือกแนวทางใน
การจัดการกับความเครียดที่เหมาะสมดวยตนเอง มีการใหกําลังใจ สะทอนผลที่นาพึงพอใจในการ
ดู แ ลผู ป ว ย เพื่ อ ส ง เสริ ม ให ญ าติ ผู ดู แ ลเกิ ด แรงจู ง ใจ และกํ า ลั ง ใจในการดู แ ลผู ป ว ย และตนเอง
ตลอดจนเปดโอกาสใหญาติผูดูแลซักถามปญหา สะทอนความคิดความรูสึก และสนับสนุนทางดาน
จิตใจแกญาติผูดูแล เพื่อใหญาติผูดูแลไดระบายความคับของใจที่เกิดขึ้น เกิดความมั่นใจในการดูแล
ตนเอง สามารถจัดการ และเผชิญกับความเครียดที่เกิดขึ้นไดอยางเหมาะสม
สําหรับในระยะที่ผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาล ผูวิจัยมีการติดตามดูแล ประเมิน
ผูปวย และญาติผูดูแลเมื่อกลับไปอยูที่บานอยางตอเนื่อง โดย 1-3 วันหลังจากผูปวยจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล มีการติดตามอยางตอเนื่องโดยการเยี่ยมบาน เพื่อทบทวน และประเมินความรูเกี่ยวกับ
การดูแลผูปวย กรณีกิจกรรมที่ญาติผูดูแลปฏิบัติไมถูกตองจะแนะนํา แกไข และฝกทักษะดังกลาวซ้ํา
จนปฏิบัติไดอยางถูกตอง เกิดความมั่นใจ และมีความพรอมในการดูแลผูปวย และตนเอง พรอมทั้ง
ใหการสนับสนุน และใหกําลังใจแกญาติผูดูแล และในสัปดาหที่ 1-4 หลังจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล ผูวิจัยไดมีการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท เพื่อติดตามสภาพผูปวย สอบถามปญหา
อุปสรรคในการดูแลผูปวย ภาวะสุขภาพทางกาย และจิตใจของญาติผูดูแล พรอมทั้งใหคําแนะนํา
และสนับสนุนการปรับตัวสูบทบาทญาติผูดูแล การจัดการความเครียดจากการดูแล ตลอดจนให
กําลังใจแกผูปวย และญาติผูดูแลอยางตอเนื่อง นอกจากนี้ผูวิจัยไดมอบคูมือแกญาติผูดูแลไวอาน
ประกอบ ภายในคูมือมีรูปภาพแสดงประกอบชัดเจน เพื่อใหเขาใจงายขึ้นทําใหผูปวย และญาติผูดูแล
สามารถหยิบอานทบทวนไดตลอดเวลา และเมื่อมีขอสงสัยหรือตองการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม
ญาติผูดูแลสามารถโทรสอบถามขอมูลจากแหลงขอมูลที่สําคัญ หรือจากผูวิจัยไดตามวัน เวลา และ
เบอรโทรศัพทที่ไดระบุไวภายในคูมือ
จะเห็นไดวาการนําโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลใน
ระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานมาใชในการศึกษามีผลดีทั้งตอตัวผูปวย และญาติผูดูแล ชวย
เพิ่มประสิทธิภาพในการรับบทบาทของญาติผูดูแลในการดูแลผูปวย และดูแลตนเองของญาติผูดูแล
ซึ่งนับวาเปนปจจัยสําคัญในการเตรียมความพรอมในการดูแลผูปวยของญาติผูดูแล สอดคลองกับ

 
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 69

การศึกษาของ สุปรีดา มั่นคง และคณะ(2550) ที่ศึกษาการพัฒนาความสามารถในการทําหนาที่ของ


ผูสูงอายุที่ไดรับการผาตัด และการเตรียมความพรอมญาติในการดูแลผูสูงอายุที่บาน พบวา ภายหลัง
ใหการพยาบาลตามปกติจากโรงพยาบาลรวมกับรูปแบบการพยาบาลตามโปรแกรมการดูแลผูสูงอายุ
และญาติผูดูแลพบวา คะแนนเฉลี่ยความพรอมของญาติในการดูแลผูสูงอายุสูงกวากลุมที่ไมไดรับ
โปรแกรม และผูปวยผู สูงอายุและญาติผูดูแลที่ไ ด รับโปรแกรมมีความพึงพอใจตอรูปแบบการ
พยาบาลสูงกวากลุมที่ไมไดรับโปรแกรมดวย เชนกันกับการศึกษาของ จรูญลักษณ ปองเจริญ และ
จันทรฉาย มณีวงษ (2551) ที่ศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมความพรอมตอความพรอมของญาติ
ผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองกอนจําหนายกลับบานในญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
ที่มารับบริการที่หอผูปวยศัลกรรมโรงพยาบาลเจาพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี ดวยการให
ความรูแกญาติผูดูแลเกี่ยวกับความรูทั่วไปของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง แนวทางการดูแลผูปวยที่
บาน แหลงประโยชน การขอความชวยเหลือ และแหลงสนับสนุนทางสังคมตามแผนแสดงกิจกรรม
ในแตละวัน ตั้งแตวันแรกรับจนกระทั่งผูปวยจําหนาย พบวา ระดับความพรอมรายดาน และโดยรวม
ของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองอยูในระดับพรอมมากทั้งกลุมทดลองและกลุมควบคุม
และเมื่อพิจารณาคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมของของญาติผูดูแลพบวากลุมทดลองมีคะแนนความ
พรอมสูงกวากลุมควบคุม

ความเครียดของญาติผูดูแล
ผลการศึกษาครั้งนี้พบวา คะแนนความเครียดของญาติผูดูแลในกลุมทดลอง1 เดือน
หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลสูงกวากลุมควบคุม ซึ่งไมเปนไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว ทั้งนี้อาจ
เนื่องจาก เมื่อพิจารณาจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทําในชวง 1 เดือนหลังจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล ประกอบดวย ดานรางกาย 7 กิจกรรม ดานพฤติกรรมอารมณ 8 กิจกรรม ดานความคิด
ความจํา 5 กิจกรรม ดานการปองกันภาวะแทรกซอน 9 กิจกรรม และการจัดหาและจัดการคาใชจาย
ในการดูแล 5 กิจกรรม พบวา คาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแลในกลุมทดลองที่ตองทําใหผูปวย
สูงกวากลุมควบคุม อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ
จากความตองการการดูแลของผูปวย หรือภาระงานที่ญาติผูดูแลในกลุมทดลองที่ตอง
กระทําใหกับผูปวยมีมากกวาในญาติผูดูแลกลุมควบคุม ทําใหญาติผูดูแลตองอาศัยความรูที่ไดรับ
และทักษะในการดูแลผูปวย อยางตอเนื่อง ประกอบกับในการดูแลผูปวยตองใชระยะเวลาในการ
ดูแลที่ยาวนาน ซึ่งกิจกรรมการดูแลที่แตกตางกัน เชน ดานพฤติกรรม และการรูคิด ประกอบกับ
งานที่ทําอยูเปนประจํา วิถีการดําเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป จากการเขารับบทบาทเปนญาติผูดูแล
อาจทําใหญาติผูดูแลมีเวลาพักผอนนอยลง ความสัมพันธกับเพื่อน และกิจกรรมทางสังคมนอยลง
นันทกาญจน ปกษี อภิปรายผล / 70

เนื่องจากไมมีเวลา หรือการมีกิจกรรมเพื่อการพักผอนลดนอยลง เหลานี้จึงสงผลทําใหญาติผูดูแลเกิด


ความเครียดในการดูแลได (ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, 2539) สอดคลองกันกับการศึกษาของ จิตรา รัตน
ดิลก ณ ภูเก็ต (2549) ที่ศึกษาความเครียด และการเผชิญความเครียดของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอด
เลือดสมอง พบวา ญาติผูดูแลที่มีภาระงานในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองมากมีความเครียด
มากกวาญาติผูดูแลที่มีภาระงานในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองนอย และยังพบอีกวาความ
ตองการในการดูแลของผูปวยมีความสัมพันธทางบวกกับความเครียดของญาติผูดูแล เชนกันกับ
อรุณี ชุนหบดี (2557) ที่ศึกษาความเครียดและความตองการของผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่
บาน พบวาผูดูแลมีความเครียดอยูในระดับสูง โดยมีความเครียดเรื่องการดูแลผูปวยทําใหคนใน
ครอบครัวตองปรับตัว ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงเวลาการทํางาน หรือกิจวัตรประจําวัน หรือทําให
ไมมีเวลาเปนสวนตัว
ในการศึกษาครั้งนี้ เมื่อวิเคราะหโดยเปรียบเทียบคาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแล
ตองทํารายดานระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง ยังพบวา คาเฉลี่ยกิจกรรมดานพฤติกรรม
อารมณ และดานความคิดความจําของกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทําในกลุมทดลองสูงกวาในกลุม
ควบคุม อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ อาจแสดงใหเห็นวา ญาติผูดูแลในกลุมทดลองตอบสนองและให
การดูแลผูปวยในสองดานนี้อยางชัดเจนมากกวากลุมควบคุม ซึ่งกิจกรรมทั้งสองดานดังกลาว มักจะ
เกิดขึ้นโดยที่ญาติผูดูแลไมสามารถคาดคะเนลวงหนาได อีกทั้งความตองการการดูแลประเภทนี้
มักจะเกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา ซึ่งขึ้นอยูกับคุณลักษณะสวนบุคคลของผูปวย และผลกระทบจากโรค
ที่ผูปวยเปนอยู ลวนสงผลใหญาติผูดูแลเกิดความรูสึกไมแนนอน เนื่องจากไมสามารถวางแผนใน
การชวยเหลือผูปวยได สงผลใหเกิดความกดดัน และเครียด ไดมากกวากิจกรรมการดูแลผูปวยดาน
อื่นๆ (ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, 2539)

การปรับตัวของญาติผูดูแล
ผลการศึกษาครั้งนี้ พบวา คาเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวของญาติผูดูแลในระยะ 1 เดือน
หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมทดลองและกลุมควบคุมไมแตกตางกัน ซึ่งไมเปนไป
ตามสมมติฐานที่ตั้งไว ทั้งนี้อาจเนื่องจาก ตามธรรมชาติของญาติผูดูแลผูปวยเรื้อรังในชวง 1 เดือน
แรกของการรับบทบาทญาติผูดูแล ยังคงตองเรียนรู และแกไขปญหาหรือุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นอยาง
ไมหยุดนิ่งในการดูแลผูปวยเมื่อกลับไปอยูบานประกอบกับตองทําชีวิตใหลงตัวระหวางงานที่ทํากับ
บทบาทญาติผูดูแลผูปวย มุงหวังใหผูปวยหายจากโรคหรือสามารถชวยเหลือตัวเองใหไดมากที่สุด
จากการทบทวนวรรณกรรมพบวา ชวงเวลา 1 เดือนแรกหลังเขารับบทบาทเปนชวงเวลาขลุกขลัก แม
จะมั่นใจเมื่ออกจากโรงพยาบาลแตรูสึกวาไปไมรอด (ประคอง อินทรสมบัติ และคณะ, 2556) จึงอาจ

 
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 71

เปนไปไดที่ถึงแมกลุมทดลองจะไดรับการดูแลภายใตโปรแกรมจากงานวิจัยนี้ก็ยังอยูในระหวางการ
ปรับตัวดังกลาว นอกจากนี้อาจเปนไปไดที่รอยละ 50 ของญาติผูดูแลในงานวิจัยนี้ยังตองทํางานหา
เลี้ยงชีพ จึงทําใหตองปรับสมดุลของการปรับตัวตอบทบาทใหมในการดูแลผูปวยที่บาน ดังนั้น
นาจะมีการติดตามการปรับตัวของญาติผูดูแลหลังจากรับบทบาทดังกลาวแลว ในระยะยาวเพิ่มขึ้น
เชน 2-3 เดือนหลังจําหนาย

ความพึงพอใจของญาติผูดูแล
ผลการศึกษาครั้ งนี้พบวา คะแนนความพึงพอใจของญาติ ผูดู แ ลในกลุ มทดลองใน
บริการที่ไดรับในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลสูงกวากลุมควบคุม ซึ่งเปนไปตาม
สมมติฐานที่ตั้งไว ทั้งนี้อาจเนื่องจากการศึกษาในครั้งนี้ผูวิจัยไดเขาไปมีสวนรวมในการดูแลผูปวย
โรคหลอดเลือดสมองรวมกับญาติผูดูแลตั้งแตผูปวยนอนรักษาอยูในโรงพยาบาล มีการติดตามเยี่ยม
ทางโทรศัพท และมีการติดตามเยี่ยมที่บานอยางตอเนื่อง และสม่ําเสมอ มีการวางแผนรวมกันในการ
ดูแลผูปวยรวมกับญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานตั้งแตผูปวยอยูในโรงพยาบาล และเมื่อจําหนายกลับ
บานอยางตอเนื่อง มีการตั้งเปาหมายรวมกัน คนหา และวางแนวทางการแกปญหารวมกันกับญาติ
ผูดูแล เพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลผูปวย และดูแลตนเองของญาติผูดูแล ในการแกไขปญหาตาม
ความเหมาะสมกับสถานการณ ดังนั้นจึงอาจกลาวไดวาโปรแกรมการดูแลที่เนนการมีสวนรวม
ระหวางญาติผูดูแลกับพยาบาลอยางตอเนื่องนอกจากจะชวยใหบรรลุวัตถุประสงคที่ตั้งไวแลวนั้น ยัง
ชวยใหญาติผูดูแลมีเกิดความพึงพอใจในบริการที่ไดรับตามมาดวย สอดคลองกับแนวคิดทฤษฎี
กระบวนการปฏิสัมพันธ และความสําเร็จตามจุดมุงหมาย (Goal Attainment Theory) (King, 1981
อางใน นริสา วงศพนารักษ , 2557 ) ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้พบวา ญาติผูดูแลมีความพึงพอใจในบริการ
ที่ไดรับมากขึ้น สอดคลองกับสมมติฐานที่ตั้งไว สอดคลองกับการศึกษาของ สุมนา แสนมาโนช
(2541) ที่ศึกษาผลการสงเสริมใหญาติมีสวนรวมในการดูแลผูปวยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ไดรับ
การผาตัดเปลี่ยนขอสะโพกตอการฟนสภาพหลังผาตัด ความวิตกกังวลของญาติ และความพึงพอใจ
ของผูปวยและญาติ พบวา ผูปวยและญาติผูดูแลในกลุมทดลองมีคะแนนความพึงพอใจตอการ
พยาบาลที่ ไ ด รั บสู ง กวา กลุ ม ควบคุ ม และจากการศึ ก ษาของนภาพร มาศสุข , ศุ ภ ร วงศว ทั ญ ู
และขนิต ฐา หาญประสิ ทธิ์ คํา (2553)ที่ศึก ษาประสิทธิ ผลของการมีสว นรวมของญาติผูดู แ ลใน
โปรแกรมกระตุนประสาทรับความรูสึกตอการฟนสภาพและภาวะแทรกซอนจากการนอนนานของ
ผูปวยบาดเจ็บที่สมอง และความพึงพอใจของญาติผูดูแล พบวา ญาติผูดูแลในกลุมที่ไดรับโปรแกรม
มีความพึงพอใจตอการพยาบาลที่ไดรับสูงกวากลุมที่ไมไดรับโปรแกรม อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ
เชนกันกับการศึกษาของนิชธิมา ศรีจํานงค, ทัศนีย รวิวรกุล, สุนีย ละกําปน และพรทิพย มาลาธรรม
นันทกาญจน ปกษี อภิปรายผล / 72

(2553) ที่ศึกษาผลของโปรแกรมการสงเสริมการรับรูความสามารถตนเองของญาติผูดูแลผูปวยโรค
หลอดเลือดสมองที่บาน โดยศึกษากลุมตัวอยางที่เปนญาติผูดูแลที่ผูปวยไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรค
หลอดเลือดสมองครั้งแรก โปรแกรมประกอบไปดวยการสอนกอนจําหนายออกจากโรงพยาบาล
การเยี่ยมบาน การใหคําแนะนํา และคําปรึกษาทางโทรศัพท พบวา ญาติผูดูแลสวนใหญมีความพึง
พอใจโปรแกรมในระดับสูง
ผลการศึกษาครั้งนี้จะเห็นไดวา การเตรียมความพรอมของญาติผูดูแลในการดูแลผูปวย
โรคหลอดเลื อ ดสมอง และดู แ ลตนเองของญาติ ผู ดู แ ลอย า งต อ เนื่ อ งในระยะเปลี่ ย นผ า นจาก
โรงพยาบาลสูบาน ซึ่งโปรแกรมการดูแลนี้แตกตางจากการศึกษาที่ผานมา ที่ไมใชเพียงการนําญาติ
ผูดูแลเขามามีสวนรวมในการดูแลผูปวย เพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
แตเพิ่มการเนนเรื่องความสําคัญในการดูแลตนเองของญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวย รวมทั้งการ
จัดการความเครียดของญาติผูดูแล ตลอดจนสงเสริมใหญาติผูดูแลมีความพรอม และสามารถปรับตัว
เขากับบทบาทที่ไดรับในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองได ซึ่งผลจากการศึกษาจะพบวา ญาติ
ผูดูแลที่ไดรับโปรแกรมมีความพรอมในการดูแลผูปวย และตนเองมากขึ้น สามารถปรับตัวเขากับ
บทบาทที่ไดรับไดดีเมื่อมีปริมาณงานที่ใหการดูแลมากกวากลุมควบคุมโดยเฉพาะการดูแลทางดาน
พฤติกรรมและการรูคิด ซึ่งญาติ ผูดูแ ลมี ความเครียดในระดับเล็ก นอย เมื่อเปรียบเทีย บกับกลุ ม
ควบคุมแลวสูงกวา ซึ่งตองมีการติดตามประเมินความเครียดอยางเปนระบบและตอเนื่อง แมอาจมี
ความเครียดสูงกวาในกลุมที่ไมไดรับโปรแกรมทั้งนี้เนื่องจากกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทํา และตอง
ใชความพยายามในการดูแลในกลุมทดลองมีมากกวา อยางไรก็ตาม ผลของการจัดโปรแกรมยัง
สงผลใหญาติผูดูแลมีความพึงพอใจในบริการที่ไดรับตามมาอีกดวย

 
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 73

บทที่ 6
สรุปผลการวิจัย

สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบ 2 กลุม เพื่อ
ศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจาก
โรงพยาบาลสูบานตอความพรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการ
ที่ไดรับของญาติผูดูแล กลุมตัวอยาง ในการศึกษาครั้งนี้ ไดแก ญาติผูดูแลของผูปวยที่ไดรับการ
วินิจฉัยวาเปนโรคหลอดเลือดสมองที่เขารับการรักษาในแผนกอายุรกรรม ณ โรงพยาบาลพระนั่ง
เกลา จังหวัดนนทบุรีที่ใหความชวยเหลือดูแลผูปวยตั้งแตพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนจําหนาย
กลับไปอยูที่บาน คัดเลือกกลุมตัวอยางแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งมีคุณสมบัติตาม
เกณฑที่กําหนด (Inclusion criteria) จํานวนทั้งหมด 64 คู เริ่มเก็บขอมูลจากกลุมควบคุมตามการเขา
รับการรักษาที่โรงพยาบาล ครบจํานวน 32 ราย เริ่มเก็บขอมูลกลุมทดลองครบจํานวน 32 ราย ตอมา
มีญาติผูดูแลที่ไมสามารถติดตอได จํานวน 4 ราย จึงมีญาติผูดูแลคงเหลือในการศึกษาจํานวนทั้งสิ้น
60 ราย แบงเปนกลุมควบคุม 30 ราย และกลุมทดลอง 30 ราย ทั้งสองกลุมเปนอิสระจากกัน โดยกลุม
ควบคุมไดรับการดูแลใหการพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาล และกลุมทดลองไดรับโปรแกรม
การดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน
ระยะเวลาในการเก็บขอมูลระหวางเดือน ธันวาคม 2556 ถึง เดือน เมษายน 2558
เครื่องมือที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบดวย

1. เครื่องมือที่ใชในการคัดกรองกลุมตัวอยาง
1.1 แบบประเมินสมรรถภาพทางสมอง (The set test) พัฒนาขึ้นโดย
Isaacs และ Akhtar (1972) ผูวิจัยใชสําหรับคัดกรองญาติผูดูแลที่มีอายุตั้งแต 60 ปขึ้นไป
1.2 แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวย
(Barthel Index of Activities of Daily Living) พัฒนาขึ้นโดย Mahoney และ Barthel (1965, อางใน
อธิฐาน สุมาลยเจริญ, 2003) ผูวิจัยใชสําหรับคัดกรองผูปวย
นันทกาญจน ปกษี สรุปผลการวิจัย / 74

2. เครื่องมือที่ใชดําเนินการวิจัย
โปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะ
เปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานที่ผูวิจัยไดพัฒนาขึ้นจากการศึกษาคนควา ทบทวนวรรณกรรมที่
เกี่ยวของตลอดจนเอกสารตําราตาง ๆใหสอดคลองกับความตองการของผูปวยแตละรายตามแนวคิด
ของรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผาน (Transitional Care Model) ของเนเลอร (Naylor, 2004)
ภายในโปรแกรมยังประกอบดวยเครื่องมือ ไดแก
2.1 คูมือการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแล
ตนเองของญาติ ผูดูแ ลสํ าหรั บญาติ ผูดูแ ลผูวิ จั ย สร างขึ้ น จากการทบทวนวรรณกรรมที่เ กี่ ย วขอ ง
ประกอบดวย 2 ฉบับ คือ 1)คูมือการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองสําหรับญาติผูดูแล และ2)คูมือ
การดูแลตนเองของญาติผูดูแล
2.2 แผนการสอนเรื่องการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
และการดูแลตนเองของญาติผูดูแลสําหรับญาติผูดูแล ผูวิจัยสรางขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่
เกี่ยวของโดยมีรายละเอียดสอดคลองกับคูมือ

3. เครื่องมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล
3.1 แบบสอบถามข อมู ลทั่ว ไปของผู ปว ย ประกอบด ว ยเพศ อายุ
สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ การเปนหัวหนาครอบครัว ความเพียงพอของ
รายได สิทธิในการรักษาพยาบาล
3.2 แบบสอบถามขอมูลทั่วไปของญาติผูดูแล ประกอบดวย เพศ อายุ
สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ ความเพียงพอของรายได ความสัมพันธกับ
ผูปวย โรคประจําตัว ผูชวยเหลือในการดูแลผูปวย จํานวนผูชวยเหลือ ที่อยูปจจุบัน แผนที่บาน และ
เบอรโทรศัพทที่สามารถติดตอได
3.3 แบบประเมินความเครียดของญาติผูดูแล พัฒนาขึ้นโดยศิริลักษณ
แกวศรีวงศ (2549) จํานวน 34 ขอแบงเปน 5 ดาน ไดแก ดานรางกาย 7 ขอ ดานพฤติกรรมอารมณ 8
ขอ ดานความคิดความจํา 5 ขอ ดานการปองกันภาวะแทรกซอน 9 ขอ และการจัดหาและจัดการ
คาใชจายในการดูแล 5 ขอ
3.4 แบบประเมินการปรับตัวของญาติผูดูแล พัฒนาขึ้นโดยสุทธิดา พงษ
พันธงาม (Pongphanngam, 2003) จํานวน 39 ขอ ประกอบดวย ขอคําถามเกี่ยวกับการปรับตัว
ทางดานรางกาย 10 ขอ ดานอัตมโนทัศน 9 ขอ ดานบทบาทหนาที่ 10 ขอ และดานการพึ่งพาระหวาง
กัน 10 ขอ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 75

3.5 แบบประเมินความพรอมของญาติผูดูแล พัฒนาขึ้นโดยอารชโบล


และสจวต(Archbold& Stewart, 1986) จํานวน 8 ขอ ประกอบไปดวย 1)ความเตรียมพรอมทางดาน
รางกาย 2)ความพรอมในการดูแลผูปวยทางดานอารมณ 3)ความพรอมในการหาขอมูลเกี่ยวกับการ
บริการสุขภาพและจัดหาบริการการดูแลผูปวย 4)ความพรอมในการจัดการความเครียดที่เกิดขึ้น
ระหวางการดูแลผูปวย 5)ความพรอมในการดูแลผูปวยและตนเองใหเกิดความพึงพอใจ 6)ความ
พรอมในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผูปวย 7)ความพรอมในการดูแลผูปวยดานขอความ
ชวยเหลือ และ8)ความพรอมในการดูแลผูปวยในภาพรวม
3.6 แบบประเมินความพึงพอใจของญาติผูดูแลตอการพยาบาลที่ไดรับ
พัฒนาขึ้นโดยมันโรและคณะ (Monro,1994) จํานวน 28 ขอ ประกอบไปดวย คําถามเชิงบวก 14 ขอ
และคําถามเชิงลบ 14 ขอ
3.7 แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบาน และทางโทรศัพทของผูปวยและ
ญาติผูดูแลผูวิจัยประยุกตจากแบบประเมินการติดตามเยี่ยมบานของหนวยเยี่ยมบานโรงพยาบาลพระ
นั่งเกลา ประกอบดวย 2 ดาน คือ 1)ดานผูปวย ไดแก สภาพผูปวย ความตองการของผูปวยดาน
รางกาย จิตใจ สังคม และ2)ดานญาติผูดูแล ไดแก ปญหาที่พบของญาติผูดูแลในการดูแลผูปวย และ
ดูแลตนเองของญาติผูดูแล แนวทางในการแกปญหาเบื้องตน ขอเสนอแนะที่ผูปวยและญาติผูดูแล
ไดรับจากผูวิจัย และการนัดหมายครั้งตอไป
การวิเคราะหขอมูล วิเคราะหขอมูลโดยใชโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS/PC (Statistical
Package for the Social Science/ Personal Computer plus) มีรายละเอียดดังนี้
1) ขอมูลสวนบุคคลของกลุมตัวอยาง วิเคราะหขอมูลโดยใชสถิติเชิงบรรยาย รอยละ
คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกตางดวยสถิติไคสแคว (chi-square)
2) คะแนนความพรอมในการดูแลกอนออกจากโรงพยาบาล และในระยะ 1 เดือนหลัง
จําหนายออกจากโรงพยาบาลภายในกลุมควบคุมและกลุมทดลองและระหวางกลุมควบคุมและกลุม
ทดลอง วิ เ คราะห ข อ มู ล โดยใช ส ถิ ติ บ รรยาย ร อ ยละ ค า เฉลี่ ย ส ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน และ
เปรี ย บเที ย บความแตกต า งของคะแนนความพร อ มในการดู แ ลของญาติ ผู ดู แ ลโดยใช ส ถิ ติ ที
แบบ 2 กลุมเปนอิสระจากกัน (independent t-test)
3) คะแนนความเครียด และการปรับตัวของญาติผูดูแลในระยะ 1 เดือนหลังจําหนาย
ออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง วิเคราะหขอมูลโดยใชสถิติบรรยาย รอย
ละ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกตางของคะแนนความเครียด และการ
ปรับตัวของญาติผูดูแลโดยใชสถิติที แบบ 2 กลุมเปนอิสระจากกัน (independent t-test)
นันทกาญจน ปกษี สรุปผลการวิจัย / 76

4) คะแนนความพึงพอใจของญาติผูดูแลตอบริการที่ไดรับในระยะ 1 เดือนหลัง
จําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง วิเคราะหขอมูลโดยใชสถิติ
บรรยาย รอยละ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกตางของคะแนนความพึง
พอใจของญาติผูดูแลตอบริการที่ไดรับ โดยใชสถิติที แบบ 2 กลุมเปนอิสระจากกัน (independent t-
test)

ผลการวิจัยสรุปไดดังนี้
1. ญาติผูดูแลในกลุมทดลองที่ไดรับการดูแลตามโปรแกรมมีคาเฉลี่ยคะแนนความ
พรอมในการดูแล กอนจําหนายออกจากโรงพยาบาลไมแตกตางกันกับกลุมควบคุม แตมีคาเฉลี่ย
คะแนนความพรอมในการดูแลในระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลสูงกวากลุม
ควบคุม
2. ญาติ ผู ดู แ ลในกลุ ม ทดลองที่ ไ ด รั บ การดู แ ลตามโปรแกรมมี ค า เฉลี่ ย คะแนน
ความเครียดในระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล สูงกวากลุมควบคุม แตมีคะแนน
เฉลี่ยการปรับตัวในระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลไมแตกตางกันกับกลุมควบคุม
3. ญาติผูดูแลในกลุมทดลองที่ไดรับการดูแลตามโปรแกรมมีคาเฉลี่ยคะแนนความพึง
พอใจตอบริการที่ไดรับในระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลในกลุมทดลองสูงกวา
กลุมควบคุม

ขอดีและขอจํากัดในการวิจัย
ขอดี
การศึกษาในครั้งนี้แตกตางจากการศึกษาที่ผานมาที่สวนใหญมุงเนนการพัฒนาความรู
และทักษะในการดูแ ลผูปวยโรคหลอดเลื อดสมอง เพื่อใหญาติผูดูแ ลสามารถดูแ ลผูปวยไดเปน
เบื้องตน แตโปรแกรมในการศึกษานี้ นอกเหนือจากการพัฒนาความรู/ทักษะในการดูแลผูปวยแลว
ยั ง มุ ง เน น ความรู ใ นการดู แ ลตนเองของญาติ ผู ดู แ ลในระหว า งที่ ดู แ ลผู ป ว ย รวมทั้ ง การจั ด การ
ความเครียดของญาติผูดูแล ตลอดจนสงเสริมใหญาติผูดูแลมีความพรอม และสามารถปรับตัวเขากับ
บทบาทที่ไดรับในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองได
ขอจํากัด
ในระยะการเก็บรวบรวมขอมูล พบวา มีการแพรระบาดของเชื้อดื้อยา VRE และ
ปรับเปลี่ยนการจัดหอผูปวยอายุรกรรมของโรงพยาบาลพระนั่งเกลา ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในงานวิจัยครั้งนี้
ไมไดมีการวางแผนการดําเนินงานเพื่อจัดการสิ่งที่เกิดขึ้นในการศึกษาไวลวงหนา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 77

ขอเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช
จากผลการศึกษาชี้ใหเห็นวา แมญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองจะมีความพรอม
อยูในระดับสูง ก็อาจสงผลตอการปรับตัวเมื่อตองกลับไปดูแลผูปวยเองที่บาน เนื่องจากในชวง
1 เดือนแรกของการรับบทบาทญาติผูดูแล ยังคงตองเรียนรู และแกไขปญหาหรืออุปสรรคที่อาจ
เกิดขึ้นอยางไมหยุดนิ่งในการดูแลผูปวยเมื่อกลับไปอยูบาน ประกอบกับตองทําชีวิตใหลงตัวระหวาง
งานที่ ทํ ากั บ บทบาทญาติ ผู ดูแ ลผู ปว ย ดั งนั้ น บุ ค ลากรในที มสุ ข ภาพจึ ง มีค วามจํา เปน ที่จ ะต อ งมี
แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการวางแผนการพยาบาล การติดตามประเมินผลผูปวย และญาติผูดูแล
อยางตอเนื่องในระยะยาวมากกวา 1 เดือน เพื่อใหญาติผูดูแลมีความพรอม มีการปรับตัว ตลอดจน
การจัดการกับความเครียดไดอยางมั่นใจ
นอกจากนี้ในการศึกษาครั้งนี้ไดมีการจัดรูปแบบของโปรแกรมที่มีกิจกรรมในการ
ติดตามดูแลญาติผูดูแลที่ใหการดูแล ชวยเหลือผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่มีความสามารถในการ
ทํ า กิ จ วั ต รประจํ า วั น ระดั บ ปานกลาง ดั ง นั้ น ในการนํ า โปรแกรมการดู แ ลนี้ ไ ปใช กั บ ผู ป ว ยที่ มี
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันในระดับรุนแรง จึงควรปรับกิจกรรมในโปรแกรมให
เหมาะสมกับระดับความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวันของผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือ
ดวย
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาไทย / 78

ผลของโปรแกรมการดู แลผู ปว ยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติ ผูดู แ ลในระยะเปลี่ย นผา นจาก


โรงพยาบาลสูบานตอความพรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการ
ที่ไดรับของญาติผูดูแล
EFFECT OF TRANSITIONAL CARE PROGRAM FOR STROKE PATIENTS AND FAMILY
CAREGIVERS ON CAREGIVER’S PREPAREDNESS, STRESS, ADAPTATION AND
SATISFACTION

นันทกาญจน ปกษี 5437862 RAAN/M

พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ)

คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ : ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, D.S.N. (ADULT HEALTH NURSING) ,


สุปรีดา มั่นคง, Ph.D. (GERONTOLOGICAL NURSING) ,สิริรัตน ลีลาจรัส, Ph.D. (NURSING)

บทสรุปแบบสมบูรณ

ความเปนมาและความสําคัญของปญหา
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สงผลกระทบตอสมองหรือระบบประสาท เกิดขึ้นได
ทุกคน ทุกเวลา มีผลตอการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือดในสมองทําใหเซลลสมองขาด
ออกซิเจน และเริ่มตายลง เมื่อเซลลสมองมีการตายเกิดขึ้นสงผลใหสมองสูญเสียความสามารถใน
การควบคุมการทํางานของอวัยวะตางๆในรางกาย เชน สูญเสียความทรงจํา และกําลังของกลามเนื้อ
ลดลง (National Stroke Association, 2015) โรคหลอดเลือดสมองนับเปนปญหาสุขภาพที่สําคัญของ
ประชากรทั่วโลก องคการอนามัยโลก (World Health Organization ) ไดรายงานถึงสถานการณโรค
หลอดเลือดสมองวาในป 2548 มีผูเสียชีวิตดวยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกแตละป 5.7 ลานคน
สําหรับในประเทศไทยนั้นในป 2552 พบคนไทยเสียชีวิตดวยโรคหลอดเลือดสมองจํานวน 13,353
คนเฉลี่ยวันละ 36 คนหรือประมาณ 3 คนในทุกๆ 2 ชั่วโมง และในป พ.ศ. 2542 – 2552 พบผูปวยเขา
รับรักษาตัวในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ (ไมรวมกรุงเทพฯ) ดวยโรค
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 79

หลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 2.45 เทาและมีแนวโนมเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง (สถิติสาธารณสุขสํานัก


นโยบายและยุทธศาสตรสํานักปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552)
โรคหลอดเลือดสมองเปนปญหาสุขภาพที่สําคัญ มิใชเพียงเพราะเปนสาเหตุของการ
เสียชีวิตลําดับตนๆของประชากรทั่วโลก และประชากรในประเทศไทยเทานั้น แตยังเปนสาเหตุที่
สงผลใหผูที่รอดชีวิตตองประสบกับความทุกขทรมาน จากความพิการ ทุพพลภาพ เปนอัมพฤกษ
อัมพาต กอใหเกิดการพึ่งพาผูอื่น และเปนปญหาสาธารณสุขระดับชาติ จากรายงานการสํารวจความ
ชุกผูพิการของสํานักงานสถิติแหงชาติป พ.ศ. 2545 พบวา มีผูพิการประมาณ 1.1 ลานคน คิดเปน
รอยละ 1.7 ของประชากรทั้งหมด และในจํานวนนี้มีผูเปนอัมพาตคิดเปนรอยละ 10.2 ของผูพิการ
ทั้งหมด (กฤษณา พิรเวช,2552) โรคหลอดเลือดสมองจึงนับไดวาเปนภาวะเจ็บปวยเรื้อรังทางระบบ
ประสาทที่มีการดําเนินของโรคยาวนานตลอดเวลา และอาจมีการกําเริบของโรคเปนระยะๆ ทําให
ผูปวยตองเขารับการรักษาในโรงพยาบาลบอยครั้ง (วิมลรัตน ภูวราวุฒิพานิช, 2552)
จากปญหาความพิการทุพพลภาพจากพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสมอง จึงมีความ
จําเปนที่ผูปวยตองไดรับการดูแลชวยเหลือจากผูอื่น หรือตองพึ่งพาผูอื่นในการทํากิจวัตรประจําวัน
และการดูแลชวยเหลือสนับสนุนดานอารมณ และจิตใจ ดังนั้นครอบครัวหรือญาติผูดูแลจึงเขามามี
ส ว นสํ า คั ญ ในการดู แ ลผู ป ว ย เพื่ อ ให เ กิ ด การดู แ ลและฟ น ฟู อ ย า งต อ เนื่ อ งตั้ ง แต ร ะยะที่ อ ยู ใ น
โรงพยาบาลจนกระทั่งจําหนายกลับบานอยางมีประสิทธิภาพ
ปญหาความตองการการดูแลของผูปวย หรือภาระงานที่ญาติผูดูแลตองทําใหกับผูปวย
ดังกลาวขางตน ประกอบกับงานและชีวิตสวนตัวของญาติผูดูแลที่มีอยูเดิมมีผลทําใหญาติผูดูแลเกิด
ความเครียดในการดูแลได และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชีวิตของญาติผูดูแลที่บานก็เปนปจจัยที่มี
ความสัมพันธกับภาวะสุขภาพ และภาวะทางจิตใจของญาติผูดูแล จึงมีคนเรียกญาติผูดูแลที่บานวา
เปนผูปวยแฝง (Hidden patient) และยังสงผลใหญาติผูดูแลมีแนวโนมที่จะทําใหเกิดปญหาสุขภาพ
ทั้งทางรางกาย และจิตใจตามมา รวมถึงความพึงพอใจในชีวิต และคุณภาพชีวิตของญาติผูดูแลอาจ
ลดลงได (ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, 2539) จากการศึกษาความเครียดและการเผชิญความเครียดของญาติ
ผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองของ จิตรา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (2549) พบวา ญาติผูดูแลที่มีภาระงาน
มาก ในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง มีความเครียดมากกวาญาติผูดูแลที่มีภาระงานนอย และ
ยังพบอีกวาความตองการในการดูแลของผูปวยมีความสัมพันธทางบวกกับความเครียดของญาติ
ผูดูแล การศึกษาปจจัยที่มีอิทธิพลตอความเครียดในบทบาทญาติผูดูแลของภรรยาที่ดูแลผูปวยโรค
หลอดเลือดสมองของ วิไลพร ศรีธเรศ (2546) พบวา ความวิตกกังวลมีความสัมพันธกับความเครียด
ในบทบาทของญาติผูดูแล และการรับรูระดับการพึ่งพาของผูปวยมีความสัมพันธกับความเครียดใน
บทบาทของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาไทย / 80

วิธีการหนึ่งที่จะชวยเหลือผูปวยและญาติผูดูแลใหไดรับการตอบสนองในการดูแล คือ
การสงเสริมใหผูปวยโรคหลอดเลือดสมองไดรับการฟนฟูสมรรถภาพ เพื่อชวยกระตุนการฟนตัว
ของสมอง ลดความพิการซ้ําซอน ทําใหผูปวยสามารถชวยเหลือตนเองได พึ่งพาผูอื่นนอยลง ลด
ภาระการดูแลของญาติผูดูแล ลดความเครียดวิตกกังวล และชวยสงเสริมใหญาติผูดูแลมีการปรับตัวที่
ดีขึ้น รวมทั้งชวยใหผูปวยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี (กฤษณา พิรเวช, 2552) จากการศึกษาผล
การเตรียมญาติผูดูแลตอการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาล
ลําปางของ จรรยา ทับทิมประดิษฐ (2547) พบวา การเตรียมญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
ชวยเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง การที่ญาติ
ผูดูแลยังไมมีประสบการณในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองมากอนยอมทําใหญาติผูดูแลเกิด
ภาวะเครียดไมสามารถแกไขปญหาที่เกิดกับผูปวยไดเมื่อกลับไปอยูที่บาน สอดคลองกับการศึกษา
ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและใหความรูแกญาติผูดูแลตอความรู การรับรูความสามารถและ
ความเครียดจากความวิตกกังวลในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองของ บุศรินทร รัตนาสิทธิ์
(2546) พบวา ภายหลังใหการสนับสนุนและใหความรู สนับสนุนญาติผูดูแลในการปรับบทบาทการ
เป น ผู ดู แ ล การให ค วามรู เ กี่ ย วกั บ การดู แ ลผู ป ว ยด า นฟ น ฟู ส ภาพ และป อ งกั น ภาวะแทรกซ อ น
โภชนาการและการใหยา และมีการผอนคลายความเครียดดวยการฝกหายใจกอนการใหความรู
พบวา ผลของโปรแกรมสงผลใหญาติผูดูแลมีความรูในการดูแลผูปวยและการรับรูความสามารถ
ตนเองสู ง ขึ้ น และยั ง พบอี ก ว า ความเครี ย ดของญาติ ผู ดู แ ลลดลงด ว ยเช น กั น ซึ่ ง สอดคล อ งกั บ
การศึกษาของ นิชธิมา ศรีจํานง (2553) ที่ศึกษาผลของโปรแกรมการสงเสริมการรับรูความสามารถ
ตนเองของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บานต อการรับรูความสามารถตนเอง ความ
คาดหวังผลลัพธจากการดูแล ความพึงพอใจของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และอัตรา
การกลับเปนซ้ําในโรงพยาบาลของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง พบวา คะแนนการรับรูความสามารถ
และคะแนนความคาดหวังผลลัพธจากการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองในสัปดาหที่ 6 และระยะ
การติดตามผลในสัปดาหที่ 8 ของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองสูงกวากอนการทดลองอยาง
มีนัยสําคัญทางสถิติ ญาติผูดูแลสวนใหญมีความพึงพอใจในโปรแกรมในระดับสูง และผูปวยโรค
หลอดเลือดสมองทุกรายที่ไดรับการดูแลจากญาติผูดูแลที่ไดรับการเตรียมจากโปรแกรมดังกลาวไม
เกิดการกลับเขารักษาซ้ําในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน
จากประสบการณในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และการชวยเหลือญาติผูดูแล
ในโรงพยาบาลทั่วไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สําหรับโรงพยาบาลพระนั่งเกลา ผูปวยที่
ไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรคหลอดเลือดสมองมีจํานวนมาก จากขอมูลสถิติของโรงพยาบาลพระนั่ง
เกลาพบวาจํานวนผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่เขารับการรักษาระหวางเดือนตุลาคม 2554 ถึง เดือน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 81

มีนาคม 2555 มีจํานวนทั้งสิ้น 221 ราย เฉลี่ยประมาณเดือนละ 37 ราย ในผูปวยเหลานี้มีจํานวนหนึ่ง


ที่ไมไดเขารับการรักษาในหอผูปวยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง (stroke corner) เขาพักรักษาตัวที่หอ
ผูปวยอายุรกรรมทั่วไป และเมื่อผานพนระยะวิกฤตจะถูกจําหนายออกจากโรงพยาบาลเนื่องจาก
ความจําเปนในการใชเตียงในโรงพยาบาล ทําใหผูปวยและญาติผูดูแลขาดโอกาสในการเรียนรูเพื่อ
ฟนฟูสภาพอยางตอเนื่องภายใตการชวยเหลือของบุคลากร ทําใหผูปวยและญาติผูดูแลขาดความรู
เกี่ยวกับวิธีการดูแลหรืออาจไดรับความรูแตไมสามารถนําไปปฏิบัติไดครบถวน
จากการทบทวนงานวิ จั ย ที่ ผ า นมาพบว า โปรแกรมที่ ใ ช ส อนญาติ ผู ดู แ ลส ว นใหญ
มุง เน นการพัฒนาความรู และทั ก ษะในการดูแ ลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่ อใหญาติ ผูดู แ ล
สามารถดูแลผูปวยไดเปนเบื้องตน แตมองขามความสําคัญในสุขภาพของญาติผูดู แล ดั งนั้นใน
งานวิจัยนี้นอกเหนือจากพัฒนาความรูในการดูแลผูปวยแลว ยังมุงเนนความรูในการดูแลตนเองของ
ญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวย การปรับตัวเมื่อรับบทบาทญาติผูดูแล และการจัดการความเครียด
จากการดูแลผูปวยดวย เนนการมีสวนรวมระหวางญาติผูดูแลกับพยาบาลอยางตอเนื่อง เพื่อสงเสริม
ใหญาติผูดูแลเกิดความพึงพอใจในบริการที่ไดรับตามมาดวย
ผูวิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการใหญาติเขามามีสวนรวมในการฟนฟูสภาพผูปวย
โรคหลอดเลือดสมองอยางตอเนื่องที่บาน โดยในการศึกษาในครั้งนี้เปนการสอนญาติดวยโปรแกรม
การดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานตอ
ความพรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัวและความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับ โปรแกรมที่
พัฒนาขึ้นนี้ใชแนวคิดการดูแลระยะเปลี่ยนผาน (Transitional Care Model) ของเนเลอร (Naylor,
2004) ซึ่งเปนกระบวนการในการดูแลเพื่อชวยใหผูปวยและญาติผูดูแลมีการเปลี่ยนผานจาก
โรงพยาบาลไปยังบาน โดยมีเปาหมายที่สําคัญ คือ การชวยใหผูปวยและญาติผูดูแลพัฒนาความรู
ทักษะและนําทรัพยากรที่มีอยูมาใชในโรงพยาบาลและที่บาน (Naylor, 2004) มุงเนนความรูในการ
ดูแลตนเองของญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวย การปรับตัวเมื่อรับบทบาทญาติผูดูแล และการ
จัดการความเครียดจากการดูแลผูปวยดวย สงผลใหญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองมีการ
ปรับตัวในบทบาทของญาติผูดูแลที่ดีขึ้น และมีความเครียดลดลง

วัตถุประสงคของการวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบความพรอมในการดูแลผูปวยของญาติผูดูแลกอนจําหนายออกจาก
โรงพยาบาลและในระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุม และกลุม
ทดลอง
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาไทย / 82

2.เพื่อเปรียบเทียบความเครียด และการปรับตัวเขากับบทบาทของญาติผูดูแลในระยะ
1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุม และกลุมทดลอง
3.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแลในระยะ 1 เดือน หลัง
จําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง

คําถามการวิจัย
1.ญาติผูดูแลในกลุมควบคุม และกลุมทดลองมีความพรอมในการดูแลกอนจําหนาย
ออกจากโรงพยาบาล และในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลแตกตางกันหรือไม
2.ญาติผูดูแลในกลุมควบคุม และกลุมทดลองมีความเครียด และการปรับตัวเขากับ
บทบาทของญาติผูดูแลในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลแตกตางกันหรือไม
3.ญาติ ผู ดู แ ลในกลุ ม ควบคุ ม และกลุ ม ทดลองมี ค วามพึ ง พอใจต อ บริ ก ารที่ ไ ด รั บ
แตกตางกันหรือไม

สมมติฐานการวิจัย
1. คะแนนเฉลี่ยความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลในกลุมทดลองสูงกวากลุม
ควบคุมกอนจําหนายออกจากโรงพยาบาล และในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
2. คะแนนเฉลี่ยการปรับตัวของญาติผูดูแลในกลุมทดลองสูงกวากลุมควบคุมในระยะ
1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
3. คะแนนเฉลี่ยความเครียดของญาติผูดูแลในกลุมทดลองนอยกวากลุมควบคุมใน
ระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
4. คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแลในกลุมทดลองสูงกวา
กลุมควบคุมในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล

กรอบแนวคิดของการศึกษา
การศึกษาในครั้งนี้เปนการศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน มุงเนนการเตรียมความพรอม การปรับตัว
ในบทบาท การจัดการความเครียดของญาติผูดูแลระหวางที่ใหการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 83

รวมทั้งความพึงพอใจของญาติผูดูแลตอการบริการที่ไดรับ โปรแกรมดังกลาวใชแนวคิดของรูปแบบ
การดูแลในระยะเปลี่ยนผาน (Transitional Care Model) ของเนเลอร (Naylor, 2004) รวมกับการ
ทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวของซึ่งในการดูแลระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลไปสู
บานในการดําเนินโปรแกรมประกอบไปดวย 2 ระยะ ไดแก ระยะที่ผูปวยพักรักษาตัวอยูใน
โรงพยาบาลและระยะที่ผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาลซึ่งจะมีการดําเนินการ และติดตามผล
1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล

วิธีดําเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) ทดสอบหลังให
การทดลอง (two group posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือด
สมอง และญาติ ผู ดู แ ลในระยะเปลี่ ย นผ า นจากโรงพยาบาลสู บ า นต อ ความพร อ มในการดู แ ล
ความเครียด การปรับตัวและความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับ

ประชากรและกลุมตัวอยาง
ประชากร ญาติผูดูแลของผูปวยที่ไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรคหลอดเลือดสมองที่เขารับ
การรักษา ณ หอผูปวยอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกลา จังหวัดนนทบุรี ตั้งแตเดือน ธันวาคม
พ.ศ. 2556 ถึง เดือน เมษายน พ.ศ. 2558
กลุมตัวอยาง ผูวิจัยเลือกกลุมตัวอยางแบบเจาะจง โดยเลือกกลุมตัวอยางที่มีคุณสมบัติ
ตามเกณฑ
Inclusion criteria ของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
1. เปนญาติของผูปวยที่ไดรับการวินิจฉัยจากแพทยวาเปนโรคหลอดเลือดสมอง
2. เปนบุคคลที่รับผิดชอบปฏิบัติการดูแลชวยเหลือผูปวยโรคหลอดเลือดสมองเปน
หลักอยางสม่ําเสมอ และตอเนื่องมากกวาผูอื่นตลอดระยะเวลาที่เขารับการรักษาในโรงพยาบาลโดย
ไมไดรับคาจาง และทําหนาที่ญาติผูดูแลตอเนื่องเมื่อผูปวยกลับบาน
3. อายุตั้งแต 18 ปขึ้นไปทั้งเพศชาย และเพศหญิงในกรณีอายุมากกวา 60 ป ตองได
คะแนนมากกวาหรือเทากับ 25 คะแนนจากการประเมินสมรรถภาพทางสมองของผูสูงอายุ (The Set
Test) ของไอแซค และอัคธาร (Isaacs & Akhtar, 1972)
4. ไมเคยเขารับโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองมากอน
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาไทย / 84

5. อาศัยอยูในครอบครัวเดียวกันกับผูปวย และหางจากโรงพยาบาลพระนั่งเกลาไม
เกิน 50 กิโลเมตร
Exclusion criteria ของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
1. เปลี่ยนญาติผูดูแล
2. ไมสามารถติดตอไดหลังผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาล
3. ญาติ ผู ดู แ ลปฏิ เ สธการเข า ร ว มโครงการด ว ยเหตุ ผ ลใดๆก็ ต ามก อ นสิ้ น สุ ด
โครงการวิจัย
Inclusion criteria ของผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่ญาติผูดูแลใหความชวยเหลือ
1. อายุตั้งแต 18 ปขึ้นไป เปนผูปวยไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรคหลอดเลือดสมองชนิด
ตีบหรือตันครั้งแรก
2. มีความสามารถในการชวยเหลือตนเองในระดับปานกลาง ผานการประเมินจาก
แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน (Barthel Index of Activities of Daily
Living) ของ มารโฮนี และบารเทล (Mahoney & Barthel, 1965) มีคะแนนระหวาง 9 – 26 คะแนน
3. ไมมีความบกพรองดานการรูคิด และสามารถสื่อสารไดดวยภาษาไทย มีคะแนน
การประเมินสมรรถภาพทางสมอง มากกวาหรือเทากับ 25 คะแนน โดยใชแบบประเมินสมรรถภาพ
ทางสมอง (The Set Test) ของไอแซค และอัคธาร (Isaacs & Akhtar, 1972)
Exclusion criteria ของผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่ญาติผูดูแลใหความชวยเหลือ
1. ผูปวยเสียชีวิตขณะอยูในระหวางการศึกษาวิจัย
2. ผูปวยยายออกจากหอผูปวยอายุรกรรมไปหอผูปวยหนักขณะเขารับการรักษาใน
โรงพยาบาลดวยภาวะโรคที่รุนแรงมากขึ้น
3. ผูปวยปฏิเสธการเขารวมโครงการดวยเหตุผลใดๆก็ตามกอนสิ้นสุดโครงการวิจัย

เครื่องมือที่ใชในการวิจัย
1. เครื่องมือที่ใชในการคัดกรองกลุมตัวอยาง
1.1 แบบประเมินสมรรถภาพทางสมอง (The Set Test) เปนเครื่องมือ
สํา หรับ ใชในการทดสอบภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ในญาติผูดูแลที่ มีอายุตั้ง แต 60 ปขึ้น ไป
พัฒนาขึ้นโดยไอแซค และอัคธาร (Isaacs & Akhtar, 1972)
1.2 แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวย
(Barthel Index of Activities of Daily Living) เปนเครื่องมือสําหรับใชในการประเมินความสามารถ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 85

ในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวย พัฒนาขึ้นโดย มารโฮนี และบารเทล (Mahoney & Barthel,


1965)
2. เครื่องมือที่ใชดําเนินการวิจัย
2.1 โปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลใน
ระยะเปลี่ ย นผ า นจากโรงพยาบาลสู บ า นที่ ผู วิ จั ย ได พั ฒ นาขึ้ น จากการศึ ก ษาค น คว า ทบทวน
วรรณกรรมที่เกี่ยวของตลอดจนเอกสารตําราตาง ๆใหสอดคลองกับความตองการของผูปวยโรค
หลอดเลือดสมองแตละรายตามแนวคิดของรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผาน (Transitional Care
Model) ของเนเลอร (Naylor, 2004) ภายในโปรแกรมยังประกอบดวยเครื่องมือ ไดแก คูมือการดูแล
ผู ป ว ย และการดู แ ลตนเองของญาติ ผู ดู แ ลสํ า หรั บ ญาติ ผู ดู แ ลผู วิ จั ย สร า งขึ้ น จากการทบทวน
วรรณกรรมที่เกี่ยวของ และ แผนการสอนเรื่องการดูแลผูปวย และการดูแลตนเองของญาติผูดูแล
สําหรับญาติผูดูแลที่ผูวิจัยสรางขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ
3. เครื่องมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล
3.1 แบบสอบถามขอมูลทั่วไปของผู ปว ย ประกอบด ว ย เพศ อายุ
สถานภาพสมรส ระดั บ การศึ ก ษา การประกอบอาชี พ การเปน หั ว หน า ครอบครั ว สิ ท ธิ ใ นการ
รักษาพยาบาล
3.2 แบบสอบถามขอมูลทั่วไปของญาติผูดูแล ประกอบดวย เพศ อายุ
สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ ความเพียงพอของรายได ความสัมพันธกับ
ผูปวย โรคประจําตัว ผูชวยเหลือในการดูแลผูปวย จํานวนผูชวยเหลือ ที่อยูปจจุบัน แผนที่บาน และ
เบอรโทรศัพทที่สามารถติดตอได
3.3 แบบประเมินความเครียดของญาติผูดูแล ใชประเมินสถานการณ
หรื อ เหตุ ก ารณ ก ารให ก ารช ว ยเหลื อ ดู แ ลผู ป ว ยที่ บ า นในด า นต า งๆ ที่ อ าจทํ า ให ญ าติ ผู ดู แ ลเกิ ด
ความเครียดจากการดูแลผูปวย ภายหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล พัฒนาขึ้นโดย ศิริลักษณ แกว
ศรีวงศ (2549) จํานวน 34 ขอแบงเปน 5 ดาน ไดแก ดานรางกาย 7 ขอ ดานพฤติกรรมอารมณ 8 ขอ
ดานความคิดความจํา 5 ขอ ดานการปองกันภาวะแทรกซอน 9 ขอ และการจัดหาและจัดการคาใชจาย
ในการดูแล 5 ขอ
3.4 แบบประเมินการปรับตัวของญาติผูดูแล ใชประเมินการปรับตัวใน
การดูแลของญาติผูดูแล พัฒนาขึ้นโดย สุทธิดา พงษพันธงาม (Pongphanngam, 2003) จํานวน 39 ขอ
ประกอบดวย ขอคําถามเกี่ยวกับการปรับตัวทางดานรางกาย 10 ขอ ดานอัตมโนทัศน 9 ขอ ดาน
บทบาทหนาที่ 10 ขอและดานการพึ่งพาระหวางกัน 10 ขอ
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาไทย / 86

3.5 แบบประเมินความพรอมของญาติผูดูแล ใชประเมินความพรอมใน


การดูแลผูปวยของญาติผูดูแล พัฒนาขึ้นโดย อารชโบล และสจวต (Archbold & Stewart, 1986)
จํานวน 8 ขอ ประกอบดวย 1)ความพรอมทางดานรางกาย 2)ความพรอมในการดูแลผูปวยทางดาน
อารมณ 3)ความพรอมในการหาขอมูลเกี่ยวกับการบริการสุขภาพและจัดหาบริการการดูแลผูปวย
4)ความพรอมในการจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นระหวางการดูแลผูปวย 5)ความพรอมในการดูแล
ผูปวยและตนเองใหเกิดความพึงพอใจ 6)ความพรอมในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผูปวย
7)ความพรอมในการดู แลผูปวยด านขอความชวยเหลือ และ8)ความพรอมในการดูแ ลผูปวยใน
ภาพรวม
3.5 แบบประเมินความพึงพอใจของญาติผูดูแลตอบริการการที่ไดรับ ใช
ประเมินความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับ พัฒนาขึ้นโดย มันโรและคณะ (Monro, 1994) จํานวน 28
ขอ ประกอบไปดวย คําถามเชิงบวก 14 ขอ และคําถามเชิงลบ 14 ขอ
3.7 แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบาน และทางโทรศัพทของผูปวยและ
ญาติผูดูแลผูวิจัยประยุกตจากแบบประเมินการติดตามเยี่ยมบานของหนวยเยี่ยมบานโรงพยาบาลพระ
นั่งเกลา

ขั้นตอนการเก็บรวบรวมขอมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ ผูวิจัยทําหนาที่เปนผูดําเนินการทดลอง และใชโปรแกรมสอนในการ
เตรี ย มญาติ ผู ดู แ ล ส ว นผู ช ว ยวิ จั ย ทํ า หน า ที่ เ ป น ผู เ ก็ บ ข อ มู ล โดยใช แ บบสั ม ภาษณ ป ระเมิ น ตาม
เครื่องมือที่กําหนดไว สําหรับขั้นตอนการเก็บรวบรวมขอมูล มีดังนี้
1. ภายหลังไดรับการอนุมัติคํารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะ
แพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และจากโรงพยาบาลพระนั่งเกลาแลว ผูวิจัย
ไดชี้แจงวัตถุประสงค รายละเอียดในการดําเนินการเก็บขอมูลแกหัวหนาฝายการพยาบาล หัวหนา
หอผูปวย พยาบาลประจําการ และบุคคลที่เกี่ยวของ
2. สรางสัมพันธภาพกับผูปวย และญาติผูดูแลโดยการทักทายและแนะนําตัวเพื่อให
ผูปวย และญาติผูดูแลเกิดความคุนเคย และความไววางใจ และเก็บรวบรวมขอมูลสวนบุคคลของ
ผูปวย และญาติผูดูแล โดยวิธีการสัมภาษณผูปวย และญาติผูดูแล พรอมทั้งจดบันทึกลงในแบบ
บันทึกขอมูลสวนบุคคล
3. คัดเลือกกลุมตัวอยางที่มีคุณสมบัติตามเกณฑที่กําหนดจํานวน 60 คู แบงเปนกลุม
ควบคุม 30 คู และกลุมทดลอง 30 คู ผูวิจัยดําเนินการเก็บรวบรวมขอมูลในกลุมควบคุมกอน โดยใน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 87

การดําเนินการเก็บรวบรวมขอมูลในกลุมควบคุมนั้น ผูชวยวิจัยมีการประเมินความสามารถในการ
ปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวย และประเมินความพรอมของญาติผูดูแล กอนจําหนายผูปวยออก
จากโรงพยาบาล และนัดพบกลุมตัวอยางอีกครั้งในสัปดาหที่ 4 หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาล
โดยใหการพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาล และขอความรวมมือในการประเมินผล ประกอบดวย
ความพรอมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล
ในการเก็บรวบรวมขอมูล ผูชวยวิจัยใชวิธีการสัมภาษณแบบมีโครงสราง โดยผูชวยวิจัยสัมภาษณ
ญาติผูดูแลดวยการอานแบบสอบถามใหแกญาติผูดูแลฟงทุกราย และใหญาติผูดูแลตอบคําถามตาม
ตัวเลือกที่แบบสอบถามกําหนดไว
เมื่อเสร็จสิ้นการเก็บรวบรวมขอมูลในกลุมควบคุม ผูวิจัยไดดําเนินการตามโปรแกรม
การดูแลในกลุมทดลองตอไป ทั้งนี้กลุมทดลองยังไดรับการพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาลควบคู
ไปกับโปรแกรมการดูแล โดยกอนจําหนายผูปวยออกจากโรงพยาบาลผูวิจัยมีการใหความรูแกญาติ
ผูดูแลในการดูแลผูปวย และดูแลตนเองแกญาติผูดูแล เพื่อสงเสริมการปรับตัวเขาสูบทบาทของญาติ
ผูดูแลเบื้องตน สรางทัศนคติที่ดีในการดูแลผูปวยตอญาติผูดูแล และเพื่อใหญาติผูดูแลมีความรู ความ
เขาใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การปองกันการเกิดภาวะแทรกซอน และการดูแลชวยเหลือเพื่อ
ฟนฟูสภาพผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง ตลอดจนการแนะนําแหลงประโยชนใหกับผูปวยและญาติ
ผูดู แ ล และผูวิจัย ไดมีการประเมิ นความสามารถในการปฏิ บัติกิจ วัตรประจําวั นของผู ปว ย และ
ประเมินความพรอมของญาติผูดูแลกอนจําหนายผูปวยออกจากโรงพยาบาล และภายหลังจากที่
ผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาลมีการติดตามการเยี่ยมที่บาน 1 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที เพื่อ
ทบทวน และประเมิ น ความรู เ กี่ย วกับ โรคหลอดเลือ ดสมอง ทั ก ษะในการดูแ ลผู ปว ย การฟ น ฟู
สมรรถภาพ การดูแลกิจวัตรประจําวัน พรอมทั้งใหการสนับสนุน สงเสริมใหญาติผูดูแลมีสวนรวม
ในการดูแลผูปวย ตัดสินใจ และเลือกแนวทางในการจัดการกับความเครียดที่เหมาะสมดวยตนเอง
และขอมูลที่เปนประโยชนตรงตามความตองการ และสภาพปญหา ตลอดจนใหกําลังใจแกญาติ
ผูดูแล เปดโอกาสใหซักถามปญหา และมีการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท 4 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที
เพื่อติ ดตามสภาพผูปวย และญาติผูดูแล ผูวิจัยสอบถามปญหาอุปสรรคในการดูแ ลผูปว ย ภาวะ
สุขภาพทางกาย และจิตใจของญาติผูดูแลตัวอยางคําถามในการสัมภาษณ เชน “ภายหลังจากผูปวยมา
อยูที่บานญาติมีปญหาหรืออุปสรรคในการดูแลผูปวยหรือไม อยางไร” พรอมทั้งใหคําแนะนํา และ
สนับสนุนการปรับตัวสูบทบาทญาติผูดูแล การจัดการความเครียดจากการดูแล ตลอดจนใหกําลังใจ
แกผูปวย และญาติผูดูแลอยางตอเนื่อง ภายหลังจากสิ้นสุดโปรแกรมการดูแล ในสัปดาหที่ 4 ติดตาม
เยี่ยมผูปวย และญาติผูดูแลอีกครั้ง เพื่อประเมินผลของโปรแกรม ประกอบไปดวย ความพรอมใน
การดูแล การปรับตัว ความเครียด และความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล พรอมทั้งมอบ
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาไทย / 88

คูมือการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแลตนเองสําหรับญาติ และตรวจสอบความ


สมบูรณความครบถวนของขอมูล

การพิทักษสิทธิ์กลุมตัวอยาง
การศึกษาครั้งนี้ไดผานการพิจารณาเห็นชอบโดยสอดคลองกับแนวปฏิญญาเฮลซิงกิ
จากคณะกรรมการจริ ย ธรรมการวิ จั ย ในคน คณะแพทยศาสตร โ รงพยาบาลรามาธิ บ ดี
มหาวิทยาลัยมหิดล และจากคระกรรมการพิจารณา และรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษยจาก
โรงพยาบาลพระนั่งเกลาเรียบรอยกอนดําเนินการเก็บขอมูล ผูวิจัยพิทักษสิทธิ์ขอมูลของกลุมตัวอยาง
โดยแนะนําตนเอง ชี้แจงวัตถุประสงคของการวิจัย ขั้นตอนการเก็บรวบรวมขอมูล การพิทักษสิทธิ์
สอบถามความสมัครใจในการเขารวมการวิจัย รวมทั้งเปดโอกาสใหกลุมตัวอยางซักถามปญหาหรือ
ขอสงสัยตางๆกอนตัดสินใจเขารวมการวิจัย เมื่อกลุมตัวอยางใหความยินยอมเขารวมการวิจัย ผูวิจัย
จึง ใหญาติผูดูแลลงชื่ อในใบยิ นยอมเขารวมการวิจัย เมื่อเขารว มวิ จั ยแลว ผูปว ย และญาติผูดูแ ล
สามารถถอนตัวจากการวิจัยไดทุกเวลา โดยไมมีผลกับการรักษาพยาบาล ขอมูลตางๆที่ไดรับจาก
ผูป ว ย และญาติ ผูดู แ ลจะนํ า เสนอในภาพรวมของกลุ ม ไม ส ามารถสื บค น ถึง เจ า ของข อ มู ลเป น
รายบุคคลได

ผลการศึกษา

สวนที่ 1 ขอมูลทั่วไปของกลุมตัวอยาง
กลุมควบคุม ญาติผูดูแลสวนใหญเปนเพศหญิงจํานวน 21 ราย มีอายุเฉลี่ย 44.4 ป
(SD =14.01) สถานภาพสมรสคู จํานวน 22 ราย ระดับการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาจํานวน 13 ราย
การประกอบอาชีพพบวาญาติผูดูแลไมไดประกอบอาชีพและประกอบอาชีพเทากัน จํานวน 15 ราย
ความเพียงพอรายไดเฉลี่ยสวนใหญพอเพียง จํานวน 26 ราย ความสัมพันธระหวางญาติผูดูแลกับ
ผูปวยสวนใหญเปนบุตรสาว จํานวน 9 ราย ดานภาวะสุขภาพพบวาไมมีโรคประจําตัว จํานวน 18
ราย และในการดูแลผูปวยพบวาญาติผูดูแล จํานวน 20 ราย ไมมีผูชวยเหลือ สวนในกลุมทดลอง ญาติ
ผูดูแลสวนใหญเปน เพศหญิงจํานวน 24 ราย มีอายุเฉลี่ย 41.53 ป (SD =12.82) สถานภาพสมรสคู
จํานวน 22 ราย ระดับการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาจํานวน 15 ราย การประกอบอาชีพพบวาสวน
ใหญประกอบอาชีพ จํานวน 16 ราย ความเพียงพอรายไดเฉลี่ยสวนใหญพอเพียง จํานวน 23 ราย
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 89

ความสัมพันธระหวางญาติผูดูแลกับผูปวยสวนใหญเปนบุตรสาว จํานวน 12 ราย ดานภาวะสุขภาพ


พบวาไมมีโรคประจําตัว จํานวน 21 ราย และในการดูแลผูปวยพบวาญาติผูดูแล จํานวน 16 ราย ไมมี
ผูชวยเหลือ
ผูปวยที่ญาติ ผูดู แลให การช วยเหลือในกลุ มควบคุมสวนใหญเปน เพศชาย จํานวน
16 ราย มีอายุเฉลี่ย 63.73 ป (SD =14.40) สถานภาพสมรสคู จํานวน 17 ราย ดานการศึกษาพบวา อยู
ในระดับประถมศึกษาขึ้นไปจํานวน 27 ราย ดานการประกอบอาชีพพบวาสวนใหญประกอบอาชีพ
จํานวน 16 ราย ไมไดรับบทบาทเปนหัวหนาครอบครัว จํานวน 20 ราย มีรายไดเฉลี่ยตอเดือน
เพียงพอ จํานวน 27 ราย สิทธิในการรักษาพยาบาลสวนใหญเปนสิทธิประกันสุขภาพถวนหนา
จํานวน 27 ราย และในผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือในกลุมทดลองสวนใหญเปน เพศหญิง
และเพศชายเทากัน คือ จํานวน 15 ราย มีอายุเฉลี่ย 65.5 ป (SD =10.30) สถานภาพสมรสคู จํานวน
21 ราย ดานการศึกษาพบวา อยูในระดับประถมศึกษาขึ้นไปจํานวน 28 รายดานการประกอบอาชีพ
พบวาไมไดประกอบอาชีพ จํานวน 24 ราย ไมไดรับบทบาทเปนหัวหนาครอบครัว จํานวน 25 ราย มี
รายไดเฉลี่ยตอเดือนเพียงพอ จํานวน 30 ราย สิทธิในการรักษาพยาบาลสวนใหญเปนสิทธิประกัน
สุขภาพถวนหนา จํานวน 26 ราย

สวนที่ 2 การทดสอบสมมติฐาน
ผลของการใช โ ปรแกรมดูแลผูป วยโรคหลอดเลื อดสมอง และญาติผูดูแ ลในระยะ
เปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน พบวา คาเฉลี่ยคะแนนความพรอมของญาติผูดูแลกอนออกจาก
โรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง พบวาไมแตกตางกัน แตคาเฉลี่ยคะแนนความ
พรอมในการดูแลของญาติผูดูแล 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลในกลุมทดลอง
(  = 27.33, SD = 3.95) สูงกวากลุมควบคุม (  = 24.30, SD = 4.96) ผูวิจัยไดวิเคราะหเพิ่มเติม พบวา
ในการเปรียบเทียบคาเฉลี่ยคะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลทั้งกลุมทดลองและกลุม
ควบคุมในระยะ 1 เดือน หลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลสูงกวากอนออกจากโรงพยาบาล คาเฉลี่ย
คะแนนความเครียดของญาติผูดูแล 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลในกลุมทดลอง
(  = 44.50, SD = 7.19) สูงกวากลุมควบคุม (  = 39.03, SD = 5.12) ผูวิจัยไดวิเคราะหเพิ่มเติม
พบวาในการเปรียบเทียบคาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง พบวา
คาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมการในกลุมทดลอง (  = 13.53, SD = 4.39) สูงกวาในกลุมควบคุม
(  = 10.23, SD = 4.75) อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ และเมื่อวิเคราะหโดยเปรียบเทียบคาเฉลี่ยของ
จํานวนกิจ กรรมการใหการช วยเหลือดูแลผูปวยที่บานที่ญาติผูดูแลตองทํารายดานระหวางกลุม
ควบคุมและกลุมทดลอง พบวา คาเฉลี่ยกิจกรรมดานพฤติกรรม อารมณและดานความคิดความจํา
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาไทย / 90

ของกิจกรรมการใหการชวยเหลือดูแลผูปวยที่บานที่ญาติผูดูแลตองทําในกลุมทดลองสูงกวาในกลุม
ควบคุม อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ คาเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวของญาติผูดูแล 1 เดือนหลังจําหนาย
ออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลองไมแตกตางกัน และคาเฉลี่ยคะแนนความ
พึงพอใจในบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลในกลุมทดลอง
(  = 118.33, SD = 11.68) สูงกวาในกลุมควบคุม (  = 110, SD = 13.34)

การอภิปรายผล

ขอมูลทั่วไปของกลุมตัวอยาง
จากการศึก ษาครั้งนี้พ บวา ญาติผูดู แ ลสว นใหญ เ ป น เพศหญิ ง คุณ ลั ก ษณะดั ง กลา ว
สอดคล อ งกั บ งานวิ จั ย ที่ ผ า นมาในต า งประเทศ เช น จากการสํ า รวจญาติ ผู ดู แ ลในประเทศ
สหรัฐอเมริกา (National Family Caregiver Association Survey, 2000; อางใน รัชนี สรรเสริญ,
2551) และในประเทศไทย นิภาภัทร ภัทรพงศบัณฑิต (2540) และการศึกษาของ จรูญลักษณ ปอง
เจริญ และจันทรฉาย มณีวงษ (2551) พบคุณลักษณะเชนเดียวกัน ความสัมพันธกับผูปวยพบวาสวน
ใหญเปนบุตร สอดคลองกับการศึกษาในประเทศไทยของ ประกอบพร ทิมทอง (2551) และนิภา
ภัทร ภัทรพงศบัณฑิต (2540) แตกตางจากการศึกษาในตางประเทศที่พบญาติผูดูแลสวนใหญเปนคู
สมรส (National Family Caregiver Association Survey, 2000; อางใน รัชนี สรรเสริญ, 2551) สวน
คุณลักษณะของผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือในการศึกษานี้สวนใหญเปนชาย เชนเดียวกับ
การศึกษาของ อุมา จันทวิเศษ และคณะ (2552) ที่พบวา ผูปวยสวนใหญเปนเพศชาย

ความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแล
จากผลการศึกษา พบวา คะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแล 1 เดือนหลัง
จํ า หน า ยออกจากโรงพยาบาลในกลุ ม ทดลองสู ง กว า กลุ ม ควบคุ ม อย า งมี นั ย สํ า คั ญ ทางสถิ ติ
สอดคลองกับสมมติฐานที่ตั้งไว และในการเปรียบเทียบคะแนนความพรอมในการดูแลของญาติ
ผูดูแลภายในกลุมทดลอง และกลุมควบคุมกอนออกจากโรงพยาบาล และ 1 เดือนหลังจําหนายออก
จากโรงพยาบาล ยังพบวา คะแนนความพรอมในการดูแลของญาติผูดูแลทั้งกลุมทดลอง และกลุม
ควบคุม 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลสูงกวากอนออกจากโรงพยาบาลอยางมีนัยสําคัญ
ทางสถิติ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 91

การที่ญาติผูดูแลทั้งสองกลุมมีคะแนนความพรอม 1 เดือนหลังจําหนายออกจาก
โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น และกลุมทดลองยังมีคะแนนความพรอมสูงกวากลุมควบคุม ทั้งนี้อาจเนื่องจาก
ในกลุมทดลอง นอกจากจะไดรับการพยาบาลตามปกติแลว ยังไดรับการพยาบาลจากโปรแกรมการ
ดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแ ลในระยะเปลี่ ย นผานจากโรงพยาบาลสูบา นให
สอดคลองกับความตองการของผูปวยแตละรายตามแนวคิดของรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยน
ผาน (Transitional Care Model) ของเนเลอร (Naylor, 2004) จากการทบทวนงานวิจัยที่ผานมา
จํานวน 6 เรื่อง (จรรยา ทับทิมประดิษฐ, 2547; จุไร เกลี้ยงเกลา, 2550; จรูญลักษณ ปองเจริญ และ
จันทรฉาย มณีวงษ, 2551; ณัฐชา ทานะมัย, 2550; นิภาภัทร ภัทรพงศบัณฑิต, 2540; อุมา และคณะ
,2552) พบวา โปรแกรมที่ใชสอนญาติผูดูแลสวนใหญมุงเนนการพัฒนาความรู และทักษะในการ
ดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อใหญาติผูดูแลสามารถดูแลผูปวยไดเปนเบื้องตนแตมองขาม
ความสําคัญในสุขภาพของญาติผูดูแล ดังนั้นในงานวิจัยนี้นอกเหนือจากพัฒนาความรูในการดูแล
ผูปวยแลวยังมุงเนนความรูในการดูแลตนเองของญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวย รวมทั้งการ
จัดการความเครียดของญาติผูดูแล ตลอดจนสงเสริมใหญาติผูดูแลมีความพรอม และสามารถปรับตัว
เขากับบทบาทที่ไดรับในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองได
สําหรับในระยะที่ผูปวยจําหนายออกจากโรงพยาบาล ผูวิจัยมีการติดตามดูแล ประเมิน
ผูปวย และญาติผูดูแลเมื่อกลับไปอยูที่บานอยางตอเนื่อง โดย 1-3 วันหลังจากผูปวยจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล มีการติดตามอยางตอเนื่องโดยการเยี่ยมบาน เพื่อทบทวน และประเมินความรูเกี่ยวกับ
การดูแลผูปวย กรณีกิจกรรมที่ญาติผูดูแลปฏิบัติไมถูกตองจะแนะนํา แกไข และฝกทักษะดังกลาวซ้ํา
จนปฏิบัติไดอยางถูกตอง เกิดความมั่นใจ และมีความพรอมในการดูแลผูปวย และตนเอง พรอมทั้ง
ใหการสนับสนุน และใหกําลังใจแกญาติผูดูแล และในสัปดาหที่ 1-4 หลังจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล ผูวิจัยไดมีการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท เพื่อติดตามสภาพทั่วไปของผูปวย สอบถาม
ปญหาอุ ปสรรคในการดู แลผู ปว ย ภาวะสุข ภาพทางกาย และจิ ต ใจของญาติผูดูแ ล พร อมทั้งให
คําแนะนํ า และสนั บสนุนการปรับตั ว สู บทบาทญาติผูดูแ ล การจัดการความเครียดจากการดู แ ล
ตลอดจนใหกําลังใจแกผูปวย และญาติผูดูแลอยางตอเนื่อง นอกจากนี้ผูวิจัยไดมอบคูมือแกญาติ
ผูดูแล เพื่ออานทบทวนเมื่อมีปญหาในการดูแลผูปวย หรือปญหาในการดูแลตนเองของญาติผูดูแล
ภายในคูมือมีรูปภาพแสดงประกอบชัดเจน เพื่อใหเขาใจงายขึ้นทําใหผูปวย และญาติผูดูแลสามารถ
หยิบอานทบทวนไดตลอดเวลา จะเห็นไดวาการนําโปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
และญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบานมาใชในการศึกษามีผลดีทั้งตอตัวผูปวย
และญาติผูดูแล ชวยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับบทบาทของญาติผูดูแลในการดูแลผูปวย และดูแล
ตนเองของญาติผูดูแล ซึ่งนับวาเปนปจจัยสําคัญในการเตรียมความพรอมในการดูแลผูปวยของญาติ
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาไทย / 92

ผูดูแล สอดคลองกับการศึกษาของ จรูญลักษณ ปองเจริญ และจันทรฉาย มณีวงษ (2551) ที่ศึกษาผล


ของโปรแกรมการเตรียมความพรอมตอความพรอมของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองกอน
จํา หน า ยกลั บบ า นในญาติ ผูดู แ ลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่มารั บบริ การที่ห อผูปว ยศัลกรรม
โรงพยาบาลเจาพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี ดวยการใหความรูแกญาติผูดูแลเกี่ยวกับความรู
ทั่วไปของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง แนวทางการดูแลผูปวยที่บาน แหลงประโยชน การขอความ
ชวยเหลื อ และแหลงสนั บสนุนทางสังคมตามแผนแสดงกิจกรรมในแตละวั น ตั้ งแตวั นแรกรั บ
จนกระทั่งผูปวยจําหนาย พบวา ระดับความพรอมรายดาน และโดยรวมของญาติผูดูแลผูปวยโรค
หลอดเลือดสมองอยูในระดับพรอมมากทั้งกลุมทดลองและกลุมควบคุม และเมื่อพิจารณาคาเฉลี่ย
คะแนนความพรอมของของญาติผูดูแลพบวากลุมทดลองมีคะแนนความพรอมสูงกวากลุมควบคุม

ความเครียดของญาติผูดูแล
ผลการศึกษาพบวา คะแนนความเครียดของญาติผูดูแลในกลุมทดลอง 1 เดือนหลัง
จําหนายออกจากโรงพยาบาลสูงกวากลุมควบคุม ซึ่งไมเปนไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว ทั้งนี้อาจ
เนื่องจาก เมื่อพิจารณาจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทําในชวง 1 เดือนหลังจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล พบวา คาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแลในกลุมทดลองที่ตองทําใหผูปวยสูงกวากลุม
ควบคุม อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ จากความตองการการดูแลของผูปวย หรือภาระงานที่ญาติผูดูแลใน
กลุมทดลองที่ตองกระทําใหกับผูปวยมีมากกวาในญาติผูดูแลกลุมควบคุม ทําใหญาติผูดูแลตองอาศัย
ความรูที่ไดรับและทั กษะในการดูแลผูปวยอย างต อเนื่อง ประกอบกั บในการดู แลผู ปว ยตอ งใช
ระยะเวลาในการดูแลที่ยาวนาน ซึ่งกิจกรรมการดูแลที่แตกตางกัน เชน ดานพฤติกรรม และการรูคิด
ประกอบกับ งานที่ทําอยูเปนประจํา วิถีการดําเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป จากการเขารับบทบาทเปน
ญาติผูดูแล อาจทําใหญาติผูดูแลมีเวลาพักผอนนอยลง ความสัมพันธกับเพื่อน และกิจกรรมทาง
สังคมนอยลงเนื่องจากไมมีเวลา หรือการมีกิจกรรมเพื่อการพักผอนลดนอยลง เหลานี้จึงสงผลทําให
ญาติผูดูแลเกิดความเครียดในการดูแลได (ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, 2539)
เมื่อวิเคราะหเพิ่มเติมโดยเปรียบเทียบคาเฉลี่ยจํานวนกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทําราย
ดานระหวางกลุมควบคุมและกลุมทดลอง ยังพบวา คาเฉลี่ยกิจกรรมดานพฤติกรรม อารมณ และดาน
ความคิดความจําของกิ จกรรมที่ญาติผูดูแลตองทําในกลุมทดลองสูงกวาในกลุมควบคุม อยางมี
นัยสําคัญทางสถิติ แสดงใหเห็นวา ญาติผูดูแลในกลุมทดลองตองตอบสนองและใหการดูแลผูปวย
ในสองดานนี้อยางชัดเจนมากกวากลุมควบคุม จึงเครียดมากกวา เนื่องจากกิจกรรมทั้งสองดาน
ดังกลาว มักจะเกิดขึ้นโดยที่ญาติผูดูแลไมสามารถคาดคะเนลวงหนาได อีกทั้งความตองการการดูแล
ประเภทนี้ มั ก จะเกิ ด ขึ้ น เกื อ บตลอดเวลา ซึ่ ง ขึ้ น อยู กั บ คุ ณ ลั ก ษณะส ว นบุ ค คลของผู ป ว ย และ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 93

ผลกระทบจากโรคที่ผูปวยเปนอยู ลวนสงผลใหญาติผูดูแลเกิดความรูสึกไมแนนอน เนื่องจากไม


สามารถวางแผนในการชวยเหลือผูปวยได สงผลใหเกิดเครียดไดมากกวา (ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม,
2539)

การปรับตัวของญาติผูดูแล
ผลการศึกษาครั้งนี้ พบวา คาเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวของญาติผูดูแล 1 เดือนหลัง
จําหนายออกจากโรงพยาบาลระหวางกลุมทดลองและกลุมควบคุมไมแตกตางกัน ซึ่งไมเปนไปตาม
สมมติฐานที่ตั้งไว ทั้งนี้อาจเนื่องจาก ตามธรรมชาติของญาติผูดูแลผูปวยเรื้อรังในชวง 1 เดือนแรก
ของการรับบทบาทญาติผูดูแล ยังคงตองเรียนรู และแกไขปญหาหรือุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นอยางไม
หยุดนิ่งในการดูแลผูปวยเมื่อกลับไปอยูบานประกอบกับตองทําชีวิตใหลงตัวระหวางงานที่ทํากับ
บทบาทญาติผูดูแลผูปวย มุงหวังใหผูปวยหายจากโรคหรือสามารถชวยเหลือตัวเองใหไดมากที่สุด
จากการทบทวนวรรณกรรมพบวา ชวงเวลา 1 เดือนแรกหลังเขารับบทบาทเปนชวงเวลาขลุกขลัก แม
จะมั่นใจเมื่ออกจากโรงพยาบาลแตรูสึกวาไปไมรอด (ประคอง อินทรสมบัติ และคณะ, 2556) จึงอาจ
เปนไปไดที่ถึงแมกลุมทดลองจะไดรับโปรแกรมจากงานวิจัยนี้ก็ยังอยูในระหวางการปรับตัวดังกลาว
นอกจากนี้อาจเปนไปไดที่ 50 เปอรเซ็นตของญาติผูดูแลในงานวิจัยนี้ยังตองทํางานหาเลี้ยงชีพ จึงทํา
ใหตองปรับสมดุลของการปรับตัวตอบทบาทใหมในการดูแลผูปวยที่บาน ดังนั้น นาจะมีการติดตาม
การปรับตัวของญาติผูดูแลหลังจากรับบทบาทดังกลาวแลว ในระยะเพิ่มขึ้น เชน 2-3 เดือนหลัง
จําหนาย

ความพึงพอใจของญาติผูดูแล
ผลการศึกษาครั้งนี้ พบวา คะแนนความพึ งพอใจของญาติผูดูแ ลในกลุมทดลองใน
บริการที่ไดรับในระยะ 1 เดือนหลังจําหนายออกจากโรงพยาบาลสูงกวากลุมควบคุม ซึ่งเปนไปตาม
สมมติฐานที่ตั้งไว ทั้งนี้อาจเนื่องจาก การศึกษาในครั้งนี้ผูวิจัยยังไดเขาไปมีสวนรวมในการดูแล
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมองรวมกับญาติผูดูแลตั้งแตผูปวยนอนรักษาอยูในโรงพยาบาล มีการติดตาม
เยี่ยมทางโทรศัพท และมีการติดตามเยี่ยมที่บานอยางตอเนื่อง และสม่ําเสมอ มีการวางแผนรวมกัน
ในการดูแลผูปวยรวมกับญาติผูดูแลในระยะเปลี่ยนผานตั้งแตผูปวยอยูในโรงพยาบาล และเมื่ อ
จําหนายกลับบานอยางตอเนื่อง มีการตั้งเปาหมายรวมกัน คนหา และวางแนวทางการแกปญหา
รวมกันกับญาติผูดูแล เพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลผูปวย และดูแลตนเองของญาติผูดูแล ในการ
แกไขปญหาตามความเหมาะสมกับสถานการณ ดังนั้นจึงอาจกลาวไดวาโปรแกรมการดูแลที่เนนการ
มีสวนรวมระหวางผูดูแลกับพยาบาลอยางตอเนื่องนอกจากจะชวยใหบรรลุวัตถุประสงคท่ีตั้งไวแลว
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาไทย / 94

นั้น ยังชวยใหญาติผูดูแลมีเกิดความพึงพอใจในบริการที่ไดรับตามมาดวย สอดคลองกับแนวคิด


ทฤษฎีกระบวนการปฏิสัมพันธ และความสําเร็จตามจุดมุงหมาย (Goal Attainment Theory) (King,
1981 อางใน นริสา วงศพนารักษ, 2557) สอดคลองกับการศึกษาของ นิชธิมา ศรีจํานงค, ทัศนีย
รวิวรกุล, สุนีย ละกําปน และพรทิพย มาลาธรรม (2553) ที่ศึกษาผลของโปรแกรมการสงเสริมการ
รับรูความสามารถตนเองของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บาน โดยศึกษากลุมตัวอยางที่
เปนญาติผูดูแลที่ผูปวยไดรับการวินิจฉัยวาเปนโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก โปรแกรมประกอบไป
ดวยการสอนกอนจําหนายออกจากโรงพยาบาล การเยี่ยมบาน การใหคําแนะนํา และคําปรึกษาทาง
โทรศัพท พบวา ญาติผูดูแลสวนใหญมีความพึงพอใจโปรแกรมในระดับสูง
ผลการศึกษาครั้งนี้จะเห็นไดวา การเตรียมความพรอมของญาติผูดูแลในการดูแลผูปวย
โรคหลอดเลื อ ดสมอง และดู แ ลตนเองของญาติ ผู ดู แ ลอย า งต อ เนื่ อ งในระยะเปลี่ ย นผ า นจาก
โรงพยาบาลสูบาน ซึ่งโปรแกรมการดูแลนี้แตกตางจากการศึกษาที่ผานมา ที่ไมใชเพียงการนําญาติ
ผูดูแลเขามามีสวนรวมในการดูแลผูปวย เพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง แต
เพิ่มการเนนเรื่องความสําคัญในการดูแลตนเองของญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวย รวมทั้งการ
จัดการความเครียดของญาติผูดูแล ตลอดจนสงเสริมใหญาติผูดูแลมีความพรอม และสามารถปรับตัว
เขากับบทบาทที่ไดรับในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองได ซึ่งผลจากการศึกษาพบวา ญาติ
ผูดูแลที่ไดรับโปรแกรมมีความพรอมในการดูแลผูปวย และตนเองมากขึ้น สามารถปรับตัวเขากับ
บทบาทที่ไดรับไดดีเมื่อมีปริมาณงานที่ใหการดูแลมากกวากลุมควยคุมโดยเฉพาะการดูแลทางดาน
พฤติกรรมและการรูคิด ซึ่งญาติ ผูดูแ ลมีความเครียดในระดับเล็ก นอย เมื่อเปรียบเทีย บกับกลุม
ควบคุมแลวสูงกวา ซึ่งตองมีการติดตามประเมินความเครียดอยางเปนระบบและตอเนื่อง แมอาจมี
ความเครียดสูงกวาในกลุมที่ไมไดรับโปรแกรมทั้งนี้เนื่องจากกิจกรรมที่ญาติผูดูแลตองทํา และตอง
ใชความพยายามในการดูแลในกลุมทดลองมีมากกวา อยางไรก็ตาม ผลของการจัดโปรแกรมยัง
สงผลใหญาติผูดูแลมีความพึงพอใจในบริการที่ไดรับตามมาอีกดวย

ขอเสนอแนะ
เนื่ องด วยในการศึ ก ษาครั้ งนี้ ไ ด มีการจัดรู ปแบบของโปรแกรมที่มีกิ จ กรรมในการ
ติดตามดูแลญาติผูดูแลที่ใหการดูแล ชวยเหลือผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่มีความสามารถในการ
ทํากิจวัตรประจําวันระดับปานกลาง ดังนั้นในการนําโปรแกรมการดูแลนี้ไปใช จึงควรปรับกิจกรรม
ในโปรแกรมใหเหมาะสมกับระดับความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวันของผูปวยที่ญาติผูดูแล
ใหการชวยเหลือดวย
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 95

ขอดีและขอจํากัดในการวิจัย

ขอดี
การศึกษาในครั้งนี้แตกตางจากการศึกษาที่ผานมาที่สวนใหญมุงเนนการพัฒนาความรู
และทักษะในการดูแ ลผูปวยโรคหลอดเลื อดสมอง เพื่อใหญาติผูดูแ ลสามารถดูแ ลผูปวยไดเป น
เบื้องตนโปรแกรมในการศึกษานี้ นอกเหนือจากการพัฒนาความรู/ทักษะในการดูแลผูปวยแลว ยัง
มุ ง เน น ความรู ใ นการดู แ ลตนเองของญาติ ผู ดู แ ลในระหว า งที่ ดู แ ลผู ป ว ย รวมทั้ ง การจั ด การ
ความเครียดของญาติผูดูแล ตลอดจนสงเสริมใหญาติผูดูแลมีความพรอม และสามารถปรับตัวเขากับ
บทบาทที่ไดรับในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองได

ขอจํากัด
ในระยะการเก็บรวบรวมขอมูล พบวา มีการแพรระบาดของเชื้อดื้อยา VRE และ
ปรับเปลี่ยนการจัดหอผูปวยอายุรกรรมของโรงพยาบาลพระนั่งเกลา ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในงานวิจัยครั้งนี้
ไมไดมีการวางแผนการดําเนินงานเพื่อจัดการสิ่งที่เกิดขึ้นในการศึกษาไวลวงหนา

ขอเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช
จากผลการศึกษาชี้ใหเห็นวา แมญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองจะมีความพรอม
อยูในระดับสูง ก็อาจสงผลตอการปรับตัวเมื่อตองกลับไปดูแลผูปวยเองที่บาน เนื่องจากในชวง
1 เดือนแรกของการรับบทบาทญาติผูดูแล ยังคงตองเรียนรู และแกไขปญหาหรือุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น
อยางไมหยุดนิ่งในการดูแลผูปวยเมื่อกลับไปอยูบาน ประกอบกับตองทําชีวิตใหลงตัวระหวางงานที่
ทํากับบทบาทญาติผูดูแลผูปวย ดังนั้นบุคลากรในทีมสุขภาพจึงมีความจําเปนที่จะตองมีแนวทางใน
การพั ฒนาคุณภาพการวางแผนการพยาบาล การติ ดตามประเมิ นผลผูปว ย และญาติผูดูแลอยาง
ตอเนื่องในระยะยาวมากกวา 1 เดือน เพื่อใหญาติผูดูแลมีความพรอม มีการปรับตัว ตลอดจนการ
จัดการกับความเครียดไดอยางมั่นใจ
นอกจากนี้ในการศึกษาครั้งนี้ไดมีการจัดรูปแบบของโปรแกรมที่มีกิจกรรมในการติดตาม
ดูแลญาติผูดูแลที่ใหการดูแลชวยเหลือผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่มีความสามารถในการทํากิจวัตร
ประจําวันระดับปานกลาง ดังนั้นในการนําโปรแกรมการดูแลนี้ไปใชกับผูปวยที่มีความสามารถในการ
ปฏิ บั ติ กิ จวั ตรประจํ าวั นในระดั บรุ นแรง จึ งควรปรั บกิ จกรรมในโปรแกรมใหเหมาะสมกับระดั บ
ความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวันของผูปวยที่ญาติผูดูแลใหการชวยเหลือดวย
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาอังกฤษ / 96

EFFECT OF TRANSITIONAL CARE PROGRAM FOR STROKE PATIENTS AND


FAMILY CAREGIVERS ON CAREGIVER’S PREPAREDNESS, STRESS,
ADAPTATION AND SATISFACTION

NUNTAKARN PAKSEE 5437862 RAAN/M

M.N.S. (ADULT NURSING)

THESIS ADVISORY COMMITTEE: YUPAPIN SIRAPO-NGAM, D.S.N. (ADULT


HEALTH NURSING), SUPREEDA MONKONG, Ph.D. (GERONTOLOGICAL
NURSING), SIRIRAT LEELACHARAS, Ph.D. (NURSING) )

EXTENDED SUMMARY

Background and Rationale


Stroke is a condition affecting brain or nervous system which can occur
with people at any time. It impacts changes in cerebral circulation, resulting in oxygen
deprivation in brain cells and dying brain cells. Brain cell death causes brain to lose its
ability to control organ functions, such as memory loss and reduced muscular strength
(National Stroke Association, 2015). Stroke is a significant problem among population
worldwide. The World Health Organization reported that there were 5.7 million
people worldwide dying from stroke in B.E. 2548. As for Thailand in B.E. 2552, there
were 13,353 Thai people dying from stroke, or 36 persons per day by the average, or
approximately 3 persons in every 2 hours. During B.E. 2542-2552, the number of
patients with stroke who were admitted to hospitals according to the Ministry of
Public Health (excluding in Bangkok) had increased by 2.45 times and tended to
increase (Public Health Statistics, Bureau of Policy and Strategy, the Office of the
Permanent Secretary, Ministry of Public Health, B.E. 2552).
Stroke is an important health problem. It is not only one of main causes of
death among global and Thai populations, but also it causes patients to suffer from
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 97

disability, deformity, and paralysis, and thereby relying on other people. It is a public
health problem at a national level. According to the survey on prevalence of disabled
people by National Statistical Office of Thailand in B.E. 2545, there were
approximately 1.1 million people with disabilities, or representing 1.7% of the all
population and 10.2% of these disabled people suffered with paralysis (Krisna Piravej,
B.E. 2552). Therefore, stroke is considered as a chronic disease involving the nervous
system which prolongs and probably shows periodic recurrent problems, so patients
require medical treatment in the hospital (Wimolrat Puwarawuttipanit, B.E. 2552).
Regards to disabilities caused by the pathology of stroke, patients need
assistance from caregivers or depend on other people when performing daily routines,
and receive emotional and psychological supports. Therefore, family members or
relatives take significant roles in caring patients so as to ensure continuing care and
rehabilitation from the hospital to home effectively.
The problem of patients’ needs or family care-givers’ burdens along with
work and personal lives, can cause stress and impact on family care-givers’ physical
and mental health including life’s satisfaction and family care-givers’ quality of life
decreased. Some called family care-givers as “hidden patients.” (Yupapin Sirapo-
ngam, B.E. 2539).
According to the study regards to stress and stress coping in care-givers of
patients with stroke (Jittra Rattanadilok Na Phuket, B.E. 2549), it was found that
family caregivers with more burdens and activities in caring stroke patients had more
stress than those with less burdens and activities and the patient’s demand for care was
positively related with family caregivers’ stress. The study on factors influencing
stress towards the role of family caregivers among wives’ stroke patients (Wilaiporn
Srithares, B.E. 2546) revealed that anxiety was associated with stress in family
caregivers, and patients’ perceived dependency was associated with stress towards the
role of family caregivers’ stroke patients.
An approach to assist patients and family caregivers in achieving
effectiveness of caring is to encourage stroke patients to receive rehabilitation for
reviving brain and minimizing multiple disabilities so that stroke patients become self-
reliance, have less dependency, alleviate caregivers’ burdens, reduce anxiety, improve
caregivers’ adaptation, and ensure good quality of life of patients and family members
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาอังกฤษ / 98

(Krisna Piravej, B.E. 2552). According to the study on effect of family caregiver
preparation on activities of daily living for stroke patients at Lampang Hospital (Janya
Tubtimpradit, B.E. 2547), it was found that the preparation for family caregivers’
stroke patients could help improve performance of activities of daily living among
these patients. Lack of experience in taking care of stroke patients should certainly
make family caregivers feel stressful and fail to solve problems. Additionally, the
study on effect of supporting and knowledge sharing program for family caregivers on
knowledge, perceived self-efficacy, and stress from caring for stroke patients
(Bussarin Rattanasit, B.E. 2546) found that after providing supports and knowledge,
encouraging family caregivers to adapt their role, educating on patient care in terms of
rehabilitation and complications prevention, nutrition and medication, as well as
relieving stress by breathing practice before providing knowledge, all could increase
knowledge on patient care and perceived self-efficacy of caregivers, as well as reduce
stress of these caregivers. Likewise, the study of Nitchatima Srijumnong (B.E. 2553)
on effect of the program for promotion of perceived self-efficacy among family
caregivers of stroke patients at home on perceived self-efficacy, expected outcomes of
caring, satisfaction of family caregivers of stroke patients, and recurrence rate of
stroke patients at hospitals revealed that scores of perceived self-efficacy and expected
outcomes of caring for stroke patients during the 6th week and a follow-up stage
during 8th week among family caregivers of stroke patients were significantly higher
than those before the experiment. Most family caregivers were highly satisfied with
the program, and all stroke patients receiving care from family caregivers prepared by
the program had not been readmitted to the hospital within 28 days.
According to the statistics of Pranangklao Hospital, there were 221 cases
or about 37 cases per month for stroke patients admitted to the Hospital during
October B.E. 2554 – March B.E. 2555. Among these patients, certain patients were
not treated at the stroke unit, but they stayed at the general medical ward. After safety
from crisis, stroke patients were discharged from the hospital due to the need of the
use of hospital beds. This caused patients and family caregivers lack opportunity to
learn about continuing rehabilitation from health care providers. Then, patients and
family caregivers had no sufficient knowledge to care themselves.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 99

Based on the literature review, educational programs for caregivers mostly


focuses on knowledge development and skills in caring for stroke patients so that
family caregivers can provide primary care for patients, but they lack of caring their
health. Therefore, addition to develop knowledge of patient care, this research study
emphasize on family caregivers’ self-care knowledge while taking care of patients,
adaptation, and stress management. The involvement of family caregivers and nurses
was also emphasized continuously so as to encourage family caregivers’ satisfaction.
Thus, in this study, the researcher aimed to examine care givers’
participation in rehabilitating patients with stroke continuously at home. This study
taught caregivers with the program, using the program of caring patients with stroke
and care givers in the transitional phase from hospital to home. This program also
included care givers’ preparedness in taking care of patients with stroke, stress
management, adaptation, and satisfaction of services received. This program was
developed, using the Transitional Care Model developed by Naylor (2004). This
program was the process in taking care of patients with stroke and care-givers in the
transitional phase from hospital to home. The important aim was to help patients with
stroke and care-givers develop knowledge and skills and brought existing resources
available to use hospital and home (Naylor, 2004). This study emphasize on
knowledge in care-givers self-caring during the period of caring patients, their
adaptation as care-givers’ role, and stress management when caring patients with
stroke.

Research Objectives
1. To compare family caregivers’ preparedness in caring patients before
hospital discharge and during 1 month after hospital discharge between the control and
the experimental groups.
2. To compare family caregivers’ stress and adaptation during 1 month
after hospital discharge between the control and the experimental groups.
3. To compare family caregivers’ satisfaction during 1 month after the
hospital discharge between the control and the experimental groups.
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาอังกฤษ / 100

Research Questions
1. Are there any differences in family caregivers’ preparedness before
hospital discharge and during 1 month after discharge between the control and the
experimental groups?
2. Are there any differences in family caregivers’ stress and adaptation
during 1 month after hospital discharge between the control and the experimental
groups?
3. Are there any differences in caregivers’ satisfaction between the control
and the experimental groups?

Research Hypotheses
1. Mean score of family caregivers’ preparedness in caring patients in the
experimental group were higher than those in the control group before hospital
discharge and during 1 month after discharge.
2. Mean score of family caregivers’ adaptation in the experimental group
was higher than those in the control group during 1 month after hospital discharge.
3. Mean score of caregivers’ stress in the experimental group was lower
than that in the control group after discharge from hospital for a month.
4. Mean score of caregivers’ satisfaction in the experimental group was
higher than that in the control group during 1 month after hospital discharge.

Conceptual Framework
This study was conducted to explore effect of the transitional care program
in stroke patients and family caregivers during the transitional period from hospital to
home, and it emphasized on caregivers’ preparedness, adaptation, stress management,
and satisfaction. This program was developed, using the Transitional Care Model of
Naylor (2004) and was combined with reviewing the literature. Caring stroke patients
in the transitional phase from hospital to home was divided into 2 phases: 1) being
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 101

admitted to the hospital for treatment; and 2) being discharged from the hospital. This
study was managed and followed-up after one month discharge.

Research Methodology
This study was a quasi-experimental research study with a two-group
posttest design, aiming to explore the effect of the transitional care program for stroke
patients and family caregivers during the transitional period from hospital to home on
caregivers’ preparedness, stress, adaptation, and satisfaction.

Population and Samples


The population was the family caregivers of patients diagnosed with
stroke and had been admitted to the medical ward, Pranangklao Hospital, Nonthaburi
province from December B.E. 2556 to April B.E. 2558.
The sample was the purposive sampling. Participants were approached
with the eligibility of the inclusion criteria.
Inclusion criteria: Family caregivers were described as the followings:
1. They were relatives’ patients diagnosed with stroke by physicians.
2. He or she was the main person to pay responsibility in caring patients
with stroke regularly and continuously more than any others during the admission with
no payment and paying a role as care-givers continuously after returning home.
3. They were the age of 18 years and over; male or female; if the age was
60 and over, care-givers needed to have the score of the Set Test developed by Isaacs
& Alchtar (1972) equal or higher than 25.
4. They had never attended the program of caring patients with stroke
before.
5. They lived in the same family as the patient with stroke and their
communities were not far away from Pranangklao Hospital (no more than 50
kilometers).
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาอังกฤษ / 102

Exclusion criteria: family caregivers’ stroke patients were described as


the followings:
1. Family caregivers were replaced.
2. They were unable to be in touch after patients discharged from the
hospital.
3. Family caregivers refused to participate in the research study for any
reason before the end of the study.
Inclusion criteria: stroke patients were described as the followings:
1. Patients with the age of 18 and over who were first diagnosed with
ischemic stroke.
2. They were able to perform self-care at a moderate level assessed by
Barthel Index of Activities of Daily Living (Mahoney & Barthel, 1965), with scores
ranging from 9 to 26 points.
3. They had no cognitive function deficit and are able to communicate in
Thai, with brain test scores equal or higher than 25 points of the Set Test (Isaacs &
Akhtar, 1972).
Exclusion criteria: stroke patients were described as the followings.
1. Patients died during the study period.
2. Patients were moved out of the medical ward to the intensive care unit
while being hospitalized while the disease became more serious.
3. Patients or family caregivers refused to participate in the research study
for any reason before the end of the study.

Research Instruments
1. The instruments for screening samples.
1.1 The Set Test was an instrument for testing dementia in
family caregivers at the age of 60 and over, being developed by Isaacs & Akhtar
(Isaacs & Akhtar, 1972).
1.2 The Barthel Index of Activities of Daily Living was an
instrument for assessing patients’ performance of activities of daily living, being
developed by Mahoney & Barthel (Mahoney & Barthel, 1965).
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 103

2. The instruments for conducting the study.


2.1 The transitional care program for stroke patients and family
caregivers during the transitional period from hospital to home was developed by the
primary investigator, using the literature review so as to be consistent with demands of
each stroke patient based on the Transitional Care Model of Naylor (Naylor, 2004).
The program was composed of the manual for caring patients and self-caring for care-
givers.
3. The instruments for collecting data.
3.1 The questionnaire on patients’ demographic data, i.e.,
gender, age, marital status, educational level, occupation, family leader, and medical
healthcare coverage.
3.2 The questionnaire on family caregivers’ demographic
data, i.e., gender, age, marital status, educational level, occupation, sufficiency of
income, relationship with patients, underlying disease, care help assistant, number of
assistant, current address, home map, and contact number.
3.3 The assessment tool of family caregivers’ stress was
used to assess care givers’ situations or circumstances in caring patients at home in
various aspects after the patient was discharged from the hospital. The tool was
developed by Siriluck Kaewsriwong (B.E. 2549), consisted of 34 items and covered 5
aspects: 1) 7 items of physical aspect, 2) 8 items of behavioral and emotional aspect,
3) 5 items of cognition, 6) 9 items of preventing complications, and 7) 5 items of
managing and administering caring expenses.
3.4 The assessment tool of family caregivers’ adaptation
was used to assess caregivers’ adaptation developed by Sutthida Phongphanngam
(Pongphanngam, 2003), consisted of 39: 1) 10 items of physical adaptation, 2) 9 items
of self-concept, 3) 10 items of role and responsibility, and 4) 10 items of dependency
aspect.
3.5 The assessment tool of family caregivers’ preparedness
was used to assess family caregivers’ preparedness in caring patient developed by
Archbold & Stewart (Archbold & Stewart, 1986), consisted of 8 items: 1) physical
preparedness; 2) emotional preparedness; 3) preparedness in searching for information
of healthcare services and patient care services; 4) preparedness for stress
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาอังกฤษ / 104

management; 5) preparedness for patient care and care givers’ self-caring for
satisfaction; 6) emergency preparedness; 7) preparedness for patient requesting for
assistance; and 8) preparedness in caring patient overall.
3.5 The assessment tool of family caregivers’ satisfaction
was used to assess their satisfaction with nursing services developed by Monro (1994).
There were 28 items, with 14 positive and 14 negative item questions.
3.7 The record form for home visits and telephone contacts
to follow up patients and family caregivers. The primary investigator applied the
assessment tool of home visits of Pranangklao Hospital.

Data Collection
In this study, the primary investigator (PI) was the data collector and used
the program to prepare care givers. Research assistants would help collect data, using
questionnaire prepared for the interview. Steps of data collection were as the
followings:
1. After the Human Research Ethics Committee approval by
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University and Pranangklao
Hospital, the PI informed the objectives and details of data collection to head nurses,
head ward nurses, staff nurses, and related persons.
2. Making the relationship with patients and family care-givers
by greeting and introducing themselves. This would help patients and family care-
givers feel familiar and trust. After that, the process of data collection began with
interviewing patients and family care-givers. Then, record demographic data to the
recorded form.
3. Sixty pairs of samples which met with the inclusion criteria
were recruited, comprising 30 pairs of the control group and 30 pairs of the
experimental group. The PI first collected data from the control group. During this
process, the PI assessed patients’ performance to do activities of daily living and
family care-givers’ preparedness before hospital discharge and the appointment was
made with participants again on week 4 after hospital discharge with the usual nursing
care. The PI asked for cooperation for the final evaluation composed of preparedness
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 105

of caring, stress, adaptation, and family care-givers’ satisfaction of the provided


service. In the control group, the PI used the self-reported questionnaire constructed
and read questions for family care-givers and let them respond.
After completing data collection in the control group, the PI continued
collected data in the experimental group. This group received usual nursing care
provided from hospital with the transitional care program. Before hospital discharge,
the PI educated family care-givers regards to caring patients and self-caring in order to
promote the initial adaptation to the role of caregivers, to create their good attitudes
towards caring patients, and ensure their knowledge and understanding about stroke,
preventing complications, and stroke rehabilitation, as well as recommendation helpful
resources to patients and family care-givers. The PI assessed patients’ ability to
perform activities of daily living and family care-givers’ preparedness before
discharging patients from the hospital. After the hospital discharge, followed-up home
visits were conducted for 60-90 minutes per time in order to review and assess
knowledge for stroke, skills of caring patients, rehabilitation, daily routines, as well as
support and to encourage family caregivers to involve in caring patients, making
decision, and choosing how to cope with stress properly, provide helpful information
relevant to demands and problems. The PI also gave encouragement to family
caregivers and allowed them to ask questions. Followed-up telephone calls were made
for 4 times and 10-15 minutes per time in order to follow-up patients’ conditions and
family care-givers. The PI asked about barrier in caring patient and family care-givers’
physical and mental health. An example of questions for interviewing was “After the
patient returns home, do you face with problems or barrier in caring patient and how?”
Suggestion was also given and family care-givers were provided with support for
adaptation, stress management, including encouragement for patients and family care-
givers. At the end of the transitional care program on Week 4, the followed-up visit
was made again in order to assess the effectiveness of the program, comprising family
care-givers’ preparedness, adaptation, stress, and satisfaction. In addition, the manuals
for caring stroke patients and self-caring were given to family care-givers, and data
collection was checked for completeness.
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาอังกฤษ / 106

Participants’ Advocacy
This study was approved with the compliance of the Declaration of
Helsinki by the Proof of Ethical Clearnace Committee on Human Right Related to
Research Involving Human Subjects, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital,
Mahidol University and Pranangklao Hospital prior to data collection. Prior to data
collection, the primary investigator had self-introduction, informed the objectives of
the research study, the process of data collection, and participants’ advocacy. The
participants were asked for their willingness to participate in the study. The
participants had the right to ask questions or concerns before making decision to join
the study. If they were willing to join the study, they would sign an informed consent.
They were able to withdraw from the study at any time without negative impacts from
their treatment. All data collected from participants (patients and care givers) were
kept as anonymity and confidentiality. All data were presented as a group data.

Results

Part 1: Demographic data of the samples


In the control group, most family caregivers (21 persons) were females
with the average age of 44.4 years (SD = 14.01). Twenty-two persons were married.
Thirteen persons had the education of the primary level. Regards to the family care-
givers’ career, there were both employed (15 persons) and unemployed status (15
persons). Most care-givers had sufficient income (26 persons). Most care-givers were
daughters (9 persons). Most care-givers had no underlying diseases (18 persons).
Most care-givers had no helpers (20 persons). In the experimental group, most care-
givers were females (24 persons) with the average age of 41.53 years (SD = 12.82).
They were married (22 persons). They had the education of the primary level (15
persons). Most had career (16 persons) and most had sufficient income (23 persons).
Most care-givers were daughters (12 persons). They were no underlying diseases (21
persons) and most of them had no helper (16 persons).
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 107

Most care-givers in the control group were males (16 persons) with the
average age of 63.73 years (SD = 14.40). They were married (17 persons) with the
education of the primary level (27 persons). Most had career (16 persons). They were
not the family leaders (20 persons) with sufficient income (27 persons). They were
covered with the basic universal health care coverage (27 persons). Most care-givers
in the experimental were males (15 persons) and females (15 persons) with average
age of 65.5 years (SD = 10.30). They were married (21 persons) with the education of
the primary level (28 persons). Most had no career (24 persons) and had no role of the
family leaders (25 persons). They had sufficient income (30 persons). Most of them
were covered with the basic universal health care coverage (26 persons).

Part 2: Hypothesis testing


Considering the effect of the transitional care program for stroke patients
and family caregivers during the transitional period from the hospital to home, it was
found that mean scores of family caregivers’ preparedness before hospital discharge
between the control group and the experimental group were not different. However,
the mean score of family caregivers’ preparedness during 1 month after hospital
discharge in the experimental group (  = 27.33, SD = 3.95) were higher than that in
the control group (  = 24.30, SD = 4.96). The mean score of family caregivers’
preparedness in both experimental and control groups during 1 month after the
hospital discharge was higher than that before the hospital discharge. The mean score
of family caregivers’ stress in the experimental group during 1 month after the hospital
discharge (  = 44.50, SD = 7.19) was higher than that in the control group (  = 39.03,
SD = 5.12). The mean score of activities in the experimental group (  = 13.53, SD =
4.39) was significantly higher than that in the control group (  = 10.23, SD = 4.75).
The mean score of patient care activities at home regarding behavioral, emotional, and
intellectual aspect in the experimental group was significantly higher than that in the
control group. The mean score of family caregivers’ adaptation during 1 month after
the hospital discharge between the control and the experimental groups was not
different. The mean score of family caregivers’ satisfaction during 1 month after the
hospital discharge in the experimental group (  = 118.33, SD = 11.68) was
significantly higher than that in the control group ( = 110, SD = 13.34).
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาอังกฤษ / 108

Discussion

Demographic data of the samples


In this study, most family caregivers were females. This is consistent with
previous foreign research, like a survey on family caregivers in USA (National Family
Caregiver Association Survey, 2000; as cited in Rachanee Sunsern, B.E. 2551), the
studies of Nipapat Patarapongbundit (B.E. 2540), and Charoonlux Pongcharoen, and
Chanchai Maneewong (B.E. 2551) which reported the same results. Regarding to the
patient’s relationship, most of them were patients’ daughters. This is consistent with
Thai studies of Prakobporn Timthong (B.E. 2551) and Nipapat Patarapongbundit (B.E.
2540). However, a foreign research study revealed that most family caregivers were
patients’ spouses (National Family Caregiver Association Survey, 2000; as cited in
Rachanee Sunsern, B.E. 2551). Family caregivers’ patients in this study were mostly
males similar to the study of Juntawises et al. (B.E. 2552).

Preparedness of family caregivers


The finding of this study found the score of family caregivers’
preparedness during 1 month after the hospital discharge in the experimental group
was significantly higher than that in the control group which is relevant with the
hypothesis set. When comparing scores of family caregivers’ preparedness in the
experimental and the control groups before the hospital discharge and during 1 month
after the hospital discharge, scores of family caregivers’ preparedness in both
experimental and control groups during 1 month after the hospital discharge were
significantly higher than those before the hospital discharge.
The reasons regards to the increased score of preparedness after a one
month of hospital discharge and the higher score of preparedness in the experimental
group compared with the control group is because, in addition to receive the usual
care, receiving the program developed to take care of patients with stroke and
caregivers in the transitional period from hospital to home which is relevant and met
needs of individual patients according to Naylor’s Transitional Care Model (Naylor,
2004). According to previous literature (Janya Tubtimpradit, B.E. 2547; Jurai
Kleangklao, B.E. 2550; Charoonlux Pongcharoen and Chanchai Maneewong, B.E.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 109

2551; Natcha Thanamai, B.E. 2550; Nipapat Patarapongbundit, B.E. 2540; Uma et al.,
B.E. 2552), most educational programs used to advise family caregivers emphasized
on knowledge developments and skills in taking care of stroke patients so that family
caregivers could provide basic care to these patients, however, they did not include the
essence of family caregivers’ health conditions. Therefore, in this study, in addition to
develop knowledge for caring patients, emphasizing knowledge for family caregivers’
self-caring, stress management, preparedness, and adaptation was included.
During the hospital discharge, the researcher followed up and assessed
stroke patients and caregivers continuously at home. That is, after hospital discharge
1- 3 days, researcher had home visit in order to help review and follow knowledge that
caregivers received regarding taking care stroke patients. If family caregivers could
not perform any activity properly, they would be advised and recommended to repeat
the lacked skills until they could perform the activity correctly, gain confidence, and
be ready to take care of patients and themselves. Supports and encouragement would
be also given to family caregivers. During the 1st – 4th week after hospital discharge, a
phone call follow-up was performed in order to follow patients’ conditions and
support, barrier in caring patients, and family caregivers’ physical and mental health
including advice and support for caregivers to adapt themselves and deal with stress
management continuously. Caregivers also received a manual or reviewing when
having troubles of caring patients or themselves. This manual provided vivid pictures
which helped stroke patients and caregivers to understand easily and be convenient to
use it at all time. This program is good for both patients and caregivers because it
helped increase caregivers’ capability to take care of stroke patients and to care
themselves and this is necessary for preparing the promptness for caregivers.
This study is relevant with Charoonlux Pongcharoen and Chanchai
Maneewong’s study (B.E. 2551) reporting that the each subscale of preparedness and
the total scale of caregivers in stroke patients had high level of preparedness in both
experimental and control groups. When looking at mean scores of preparedness of
family caregivers, the mean score of preparedness in the experimental group was
higher than that in the control group.
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาอังกฤษ / 110

Family caregivers’ stress


The finding of this study reported that the score of caregivers’ stress in the
experimental group after a one month hospital discharge was higher than that in the
control group. This is not relevant with the hypothesis, that is, when counting the
number of activity that caregivers have to do in a month after hospital discharge, the
caregivers’ average activity in the experimental group was significantly higher than
that in the control group. This causes caregivers in the experimental group have to use
knowledge and skills in caring patients continuously. Furthermore, caring patients is
work that spends time for a long period with variety of activities such as behavior and
cognition including other routine work with lifestyle change. This might lead
caregivers have less rest, less social activity or less recreation, resulting in caregivers’
stress (Yupapin Sirapo-ngam, B.E. 2539).
With additional analysis with comparing the mean score of the number of
activity that caregivers had to do in each subscale in both experimental and control
groups, the mean scores of activities regards to behavior and emotion and cognition of
caregivers in the experimental group were significantly higher than those in the control
group. This could be interpreted that caregivers in the experimental group needed to
respond to these activities more than those in the control group, causing more stress.
In addition, these caring patients’ activities could occur without prediction and
patients’ need could happen at any time. This could make caregivers feel uncertainty
because they could not set up plans to help stroke patients, resulting in more stress
(Yupapin Sirapo-ngam, B.E. 2539).

Family caregivers’ adaptation


This study finding found that there was no difference in the mean score of
family caregivers’ adaptation during a 1- month after the hospital discharge between
the experimental and the control groups. This is not consistent with the previous
research. Probably, family caregivers in patients with chronic diseases during the first
month after hospital discharge needed to learn and solve possible problems or barriers
continuously. Moreover, they had to make a balance of their life between their existing
jobs and roles of family caregiver, with the aim of helping patients recover from the
disease or become independent as much as possible. According to the previous
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 111

literature review, the first month after taking the role was quite tough. Despite feeling
confidence after hospital discharge, they might feel they could not make it through
(Intarasombat et al., B.E. 2556). Therefore, even though the experimental group in this
study received the program, it was still in the process of adaptation. Moreover, it was
possible that 50% of family caregivers in this study had to continue their career, so
they had to adapt themselves to a new role of family caregiver at home. Therefore, a
follow-up to monitor family caregivers’ adaptation after taking the new role should be
extended to 2-3 months after the hospital discharge.

Family caregivers’ satisfaction


The finding of this study revealed that the score of family caregivers’
satisfaction in the experimental group during 1 month after hospital discharge was
significantly higher than that in the control group. This is consistent with hypothesis
set. Researcher involved in taking care of stroke patients with family caregivers since
patients had been admitted to the hospital. Additionally, they were followed-up with
telephone calls and home visits continuously. The plan to take care of the patient had
been set with family caregivers from the hospital to home during the transitional
period continuously. Goal settings were established in order to solve problems which
were explored together with family caregivers in order to develop skills for caring
patients and family caregivers’ self-caring appropriately. This study showed the
participation between care-givers and nurses working together continuously in order to
achieve the goals set. Furthermore, caregivers felt satisfied with services provided.
This is relevant with the Goal Attainment Theory (King, 1981 as cited in Narisa
Wongpanarak, B.E. 2557) and the study of Nitchatima Srijumnong, Tassanee
Rawiworrakul, Sunee Lagampan, and Porntip Malathum (B.E. 2553) the Effect of the
Program of Promoting Perceived Self-Efficacy among Family Caregivers’ stroke
patients at home, using first diagnosis of stroke patients’ family caregivers. The
program consisted of teaching stroke patients before hospital discharge, home visits,
advice, and consultation via phone. This study reported that most family care-givers
were highly satisfied with the program.
The finding in this study indicated that family care-givers’ preparedness
caring stroke patients and family caregivers’ self-caring continuously in the
นันทกาญจน ปกษี บทสรุปแบบสมบูรณภาษาอังกฤษ / 112

transitional phase from hospital to home was different from other previous studies. In
this study, not only family care-givers participated in developing skills to care stroke
patients but also adding the essence of family care-givers self-caring during taking
care of stroke patients, including family caregivers’ stress management, promotion of
care-givers’ preparedness, and capability to adapt themselves to care stroke patients.
From this research finding, care-givers who received the program (the experimental
group) had promptness in caring stroke patients, caring themselves, and adapt
themselves to care givers’ roles better than those in the control group, especially in
caring their behavior and cognition. Compared care givers’ stress in the control group,
although those in the experimental group had a somewhat higher level of stress due to
more activities and efforts paid in caring patients, those in the experimental group
were satisfied in services received.

Suggestions
This study had provided the program containing activities to help follow-
up family caregivers in taking care of stroke patients who were able to perform their
activities of daily living at the moderate level. Thus, applying the Transitional Care
Program should be complied with appropriateness of activities of which stroke
patients can perform their activities of daily living as well.

Advantage and Limitation of the Study

Advantage
This study was different from previous studies which mostly focused on
developing knowledge and skills for stroke patient care only so that family caregivers
could provide basic care to patients. The program in this study emphasized knowledge
on family caregivers’ self-caring while taking care of patients, including stress
management, preparedness, and adaptation.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 113

Limitation
During the data collection process, there was a report of the VRE outbreak
so that the collection site, the medical ward, Pranangklao Hospital had been rearranged
for caring patients. This circumstance happened inadvertently.

Suggestions for Research Utilization


The findings of the study indicated that although family caregivers’
preparedness for stroke patients were at a high level, their adaptation could be affected
when they needed to take care of patients at home since they had to learn and solve
ongoing problems or barrier at home during the first month, as well as to balance their
lifestyle with existing job and a new role of family caregiver. Therefore, it is necessary
for health team members to develop guidelines on quality development, nursing plan,
and a continuously follow-up for patients and family caregivers so as to ensure family
caregivers’ preparedness, adaptation, and stress management with confidence.
In addition this study had provided the program containing activities to
help follow-up family caregivers in taking care of stroke patients who were able to
perform their activities of daily living at the moderate level. Thus, applying the
Transitional Care Program in stroke patients who were able to perform their activities
of daily living at the severe level should be complied with appropriateness of activities
of which stroke patients can perform their activity of daily living as well.
นันทกาญจน ปกษี รายการอางอิง / 114

รายการอางอิง

กฤษณา พิรเวช. (2552). Basic and Clinical Neuroscience. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพแหง


จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
กิ่งแกว ปาจรีย. (2550). การฟนฟูสมรรถภาพผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: หางหุนสวน
จํากัด เอ็น.พี.เอส.
เกรียงศักดิ์ ลิ้มพัสถาน. (2553). โรคหลอดเลือดสมอง. เชียงใหม: บริษัททรีโอ แอลเวอรไทซิ่ง แอนด
มีเดีย จํากัด.
จรรยา ทับทิมประดิษฐ. (2547). ผลการเตรียมผูดูแลตอการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูปวยโรค
หลอดเลือดสมองโรงพยาบาลลําปาง. วิทยานิพนธปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการพยาบาลผูใหญ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม. เชียงใหม.
จุไร เกลี้ยงเกลา. (2550). ผลของการเตรียมผูดูแลตอการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูสูงอายุโรค
หลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาล
ผูสูงอายุ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม. เชียงใหม.
จรูญลักษณ ปองเจริญ และจันทรฉาย มณีวงษ. (2551). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพรอมตอ
ความพรอมของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองกอนจําหนายกลับบานในญาติ
ผู ดู แ ลผูป ว ยโรคหลอดเลื อ ดสมองที่ ม ารับ บริก ารที่ ห อผูปว ยศั ล กรรมโรงพยาบาล
เจาพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2(1), 58-
70.
จิตรา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2549). การศึกษาความเครียดและการเผชิญความเครียดของญาติผูดูแล
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง. สารนิพนธปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
จิตวิทยาการพัฒนาการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ดุจใจ ชัยวานิชศิริ. (2552). ตําราเวชศาสตรฟนฟู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
มรรยาท รุจิวิทย. (2548). การจัดการความเครียดเพื่อสรางเสริมสุขภาพจิต.ปทุมธานี:
โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรศูนยรังสิต.
ณัฐชา ทานะมัย. (2550) ผลของโปรแกรมการสอนการดูแลแบบองครวมตอความสามารถในการ
ดูแลของผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธปริญญาพยาบาลศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 115

ทิตยา ทิพยสําเหนียก. (2543) ความตองการในการดูแลของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง สัมพันธภาพ


ระหวางผูดูแลกับผูปวย และความพึงพอใจในชีวิตของผูดูแล. วิทยานิพนธปริญญา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผูใหญ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.
นริสา วงศพนารักษ. (2557). ทฤษฎีการพยาบาลของคิง: แนวคิดและการประยุกตใชในการพยาบาล.
วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4),16-25.
นภาพร มาศสุข ,ศุภร วงศวทัญู และขนิตฐา หาญประสิทธิ์คํา. (2553). ประสิทธิผลของการมีสวน
รวมของญาติผูดูแลในโปรแกรมกระตุนประสาทรับความรูสึกตอการฟนสภาพและ
ภาวะแทรกซอนจากการนอนนานของผูปวยบาดเจ็บที่สมอง และความพึงพอใจของ
ญาติผูดูแล. วิทยานิพนธปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผูใหญ
มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.
นิจศรี ชาญณรงค. (2552). การดูแลรักษาภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ: โรง
พิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
นิชธิมา ศรีจํานง, ทัศนีย รวิวรกุล, สุนีย ละกําปน และพรทิพย มาลาธรรม. (2553) ผลของโปรแกรม
การสงเสริมการรับรูความสามารถตนเองของญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่
บาน. วิทยานิพนธปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลสาธารณสุข.
มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.
นิภาภัทร ภัทรพงศบัณฑิต. (2540) ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุน และใหความรูตอ
ความสามารถในการดูแลของผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธปริญญา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลผูใหญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม. เชียงใหม
นิภาวรรณ สามารถกิจ. (2544). ผลกระทบของการบาดเจ็บที่สมองที่มีตอผูปวยและครอบครัว.
วารสารคณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(1), 11-31.
บุญรอด ดอนประเพ็ง. (2543). ความสัมพันธระหวางภาวะในการดูแล แหลงเผชิญความเครียดและ
คุณภาพชีวิตของญาติผูดูแลผูสูงอายุที่ตองพึ่งพา. วิทยานิพนธปริญญาพยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผูใหญ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.
บุศรินทร รัตนาสิทธิ์. (2546). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและใหความรูแกญาติผูดูแลตอความรู
การรับรูความสามารถ และความเครียดจากความวิตกกังวลในการดูแลผูปวยโรคหลอด
เลื อ ดสมอง. วิ ท ยานิ พ นธ ป ริ ญ ญาพยาบาลศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต . สาขาการพยาบาล
สาธารณสุข.มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.
นันทกาญจน ปกษี รายการอางอิง / 116

ประกอบพร ทิมทอง. (2551). ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความสามารถของผูดูแลผูปวยโรคหลอด


เลือดสมอง. วิทยานิพนธปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผูใหญ
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประคอง อินทรสมบัติ และคณะ. (2556). การดูแลผูปวยสูงอายุที่รับไวในโรงพยาบาลอยางครบวงจร
และตอเนื่อง:การดูแลระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร,
19(2), 194-205.
ปราณี เกสรสันต. (2557) . รูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผานของผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
โรงพยาบาลเจาพระยายมราช. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข (Nursing Journal
of The Ministry of Public Health ), 25(1), 83-96.
ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. (2539). ญาติผูดูแลที่บานแนวคิดและปญหาในการวิจัย. รามาธิบดีพยาบาลสาร
, 2(1), 84-93.
ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. (2546). การสํารวจงานวิจัยเกี่ยวกับญาติผูดูแลผูปวยเรื้อรังในประเทศไทย
รามาธิบดีพยาบาลสาร, 9(2), 156-166.
รัชนี สรรเสริญ. (2551). ญาติผูดูแล:ขุมพลังทวีคูณการดูแลสุขภาพที่บาน. วารสารคณะพยาบาล
ศาสตร มหาวิทยาลัยบูรพา, 16(3), 1-11.
รุงนภา เขียวชอ่ํา ,ศรีสุดา งามขํา และมาฆะ กิติธรกุล. (2554). ผลของการใชแนวปฏิบัติการเตรียม
ความพร อ มสํ า หรั บ ญาติ ผู ดู แ ลผู ป ว ยบาดเจ็ บ ที่ ศี ร ษะระดั บ ปานกลางถึ ง รุ น แรง
โรงพยาบาลพระปกเกลา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 15-29
วราภรณ ตระกู ลสฤษดิ์ . (2545). จิตวิทยาการปรับตั ว . กรุ งเทพฯ: ศู น ย หนังสือจุฬ าลงกรณ
มหาวิทยาลัยศูนยสงเสริมวิชาการ.
วงจันทร เพชรพิเชฐเชียร (2554). การพยาบาลที่เปนเลิศในการดูแลผูปวยโรคมะเร็ง.ภาควิชาการ
พยาบาลศัลยศาสตร คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.
วิมลรัตน ภูวราวุฒิพานิช. (2552). การดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองครบวงจร. กรุงเทพฯ: N P
Press Limited Partnership การพิมพ.
วิชัย เอกพลากร. (2550) สะกดรอยปจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ
สาธารณสุขแหงชาติ .
วิไลพร ศรีธเรศ. (2546). ปจจัยที่มีอิทธิพลตอความเครียดในบทบาทญาติผูดูแลของภรรยาที่ดูแล
ผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
การพยาบาลผูใหญมหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 117

วีณา ลิ้มสกุล. (2545). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนของครอบครัวตอการปรับตัวของผูสูงอายุโรค


หลอดเลื อ ดสมอง. วิ ท ยานิ พ นธ ป ริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต . สาขาการพยาบาลผู ใ หญ .
มหาวิทยาลัยเชียงใหม. เชียงใหม.
วุฒิชัย เพิ่มศิริวาณิชย. (2551). กาวทันการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง. สงขลา: ชานการพิมพ.
สาลี เฉลิมวรรณพงศ. (2553). ผลของโปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผานตอความสามารถในการทํา
หนาที่และคุณภาพชีวิตของผูรอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธปริญญา
ดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม. เชียงใหม.
สายพิณ เกษมกิจวัฒนา . (2557). ญาติผูดูแลผูปวยเรื้อรัง:กลุมเสี่ยงที่ไมควรมองขาม. วารสารสภา
การพยาบาล. 29(4), 22-31.
สิริรัตน ลีลาจรัส และจริยา วิรุฬราช. (2550). โรคหลอดเลือด: การใหการพยาบาลและคําแนะนําแก
ผูปวย. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 21(3), 80-93.
สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ. (2537). ทฤษฎีการปรับตัวของรอย : แนวคิดและการนําไปใช. ภาควิชาการ
พยาบาล อายุรศาสตรและศัลยศาสตร คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน.
สุปรีดา มั่นคง. (2550). การพัฒนาความสามารถในการทําหนาที่ของผูสูงอายุที่ไดรับการผาตัดและ
ความพรอมญาติในการดูแลผูสูงอายุที่บาน รามาธิบดีพยาบาลสาร, 13(3), 369-387.
สถิติสาธารณสุข สํานักนโยบายและยุทธศาสตร สํานักปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552
ศิริพันธ สาสัตย. (2554). การพยาบาลผูสูงอายุ ปญหาที่พบบอยและแนวทางในการดูแล. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
อุมา จันทวิเศษ และคณะ. (2552). ผลลัพธการใชแผนการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุด
ตันในโรงพยาบาลสงขลานครินทร. สงขลานครินทรวารสาร, 27(2), 117-129.
อัมพรพรรณ ธีรนุตรและคณะ. (2540). การศึกษาความสัมพันธของปจจัยพื้นฐานบางประการกับ
พฤติกรรมการดูแลตนเองของผูสูงอายุในเขตเทศบาล เทศบาลขอนแกน. สนับสนุน
โดยทุนการวิจัยประเภททั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแกน .
อิศรพงษ ยรรยง. (2546). ความเครียดในผูดูแลผูปวยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตรฟนฟู
สาร, 13(2), 63-7093.
ฤทัย แสนสี. (2549). ความตองการของผูดูแลที่เปนโรคหลอดเลือดสมองที่บาน อําเภอบานธิ
จัง หวั ด ลําพู น .วิ ท ยานิพ นธ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบั ณ ฑิต สาขาการพยาบาล
ชุมชน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม. เชียงใหม.
Andrew, H.A. & Roy, S.C. (1986). Essential of the Roy Adaptive Model. Norwalk, CT : Appleton
Century- Crofts.
นันทกาญจน ปกษี รายการอางอิง / 118

National Stroke Association. (2015). What is stroke? Retrieved October 11, 2016. From
http://www.stroke.org/understand-stroke/what-stroke
Naylor, M. D. (2004). Transitional care model. Retrieved November 11, 2012. From
http://ftp.ipro.org/index/cms-filesystemaction/care/learning1/transitional_care_
model.pdf.
Naylor, M.D., Brooten, D. A., Campbell, R. L., Maislin, G., McCauley, K. M., & Schwartz, J. S.
(2004). Transitional Care of Older Adults Hospitalized with Heart Failure: A
Randomized, Controlled Trial. Journal of the American Geriatrics Socity. 52(5),
675-684.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 119

ภาคผนวก
นันทกาญจน ปกษี ภาคผนวก / 120

ภาคผนวก ก
เครื่องมือที่ใชในการวิจัย

เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ประกอบดวย 3 ชนิด ดังนี้


1. เครื่องมือที่ใชในการคัดกรองกลุมตัวอยาง ไดแก
1.1 แบบประเมินสมรรถภาพทางสมอง (The Set Test)
1.2 แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูป ว ย
(Barthel Index of Activities of Daily Living)
2. เครื่องมือที่ใชดําเนินการวิจยั ไดแก
2.1 โปรแกรมการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผูดูแลใน
ระยะเปลี่ยนผานจากโรงพยาบาลสูบาน
2.2 คูมือการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลตนเองของ
ญาติผูดูแล
2.3 แผนการสอนเรื่องการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแล
ตนเองของญาติผูดูแล สําหรับญาติผูดูแล
3. เครื่องมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล ไดแก
3.1 แบบสอบถามขอมูลทั่วไปของผูปวย
3.2 แบบสอบถามขอมูลทั่วไปของญาติผูดูแล
3.3 แบบประเมินความพรอมของญาติผูดูแล
3.4 แบบประเมินความเครียดของญาติผูดูแล
3.5 แบบประเมินการปรับตัวของญาติผูดูแล
3.6 แบบประเมินความพึงพอใจตอการพยาบาลที่ไดรับของญาติผูดูแล
3.7 แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบาน และทางโทรศัพทของผูปวยและ
ญาติผูดูแล
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 121

แบบทดสอบหมวดหมู ( The Set Test )


สําหรับผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง

วัน/ เดือน/ พ.ศ. □□□□ □□


กรุณาเติมคําในชองวางตามหมวดหมูที่กําหนด ภายในเวลา 5 นาที
สี 1........... สัตว 1...........
2............. 2.............
3. ........... 3. ...........
4. ........... 4. ..........
5. ........... 5. .........
6. .......... 6. ...........
7. ........... 7. ...........
8. ........... 8. ...........
9. ........... 9. ...........
10. ........... 10. ...........
คะแนน.................. คะแนน.................
ผลไม 1........... จังหวัด 1...........
2............. 2.............
3. ........... 3. ...........
4. ........... 4. ..........
5. ........... 5. .........
6. .......... 6. ...........
7. ........... 7. ...........
8. ........... 8. ...........
9. ........... 9. ...........
10. ........... 10. ...........
คะแนน.................. คะแนน.................

คะแนนรวม.......................คะแนน
นันทกาญจน ปกษี ภาคผนวก / 122

แบบทดสอบหมวดหมู ( The Set Test )


สําหรับญาติผดู ูแล

วัน/ เดือน/ พ.ศ. □□□□ □□


กรุณาเติมคําในชองวางตามหมวดหมูที่กําหนด ภายในเวลา 5 นาที
สี 1........... สัตว 1...........
2............. 2.............
3. ........... 3. ...........
4. ........... 4. ..........
5. ........... 5. .........
6. .......... 6. ...........
7. ........... 7. ...........
8. ........... 8. ...........
9. ........... 9. ...........
10. ........... 10. ...........
คะแนน.................. คะแนน.................
ผลไม 1........... จังหวัด 1...........
2............. 2.............
3. ........... 3. ...........
4. ........... 4. ..........
5. ........... 5. .........
6. .......... 6. ...........
7. ........... 7. ...........
8. ........... 8. ...........
9. ........... 9. ...........
10. ........... 10. ...........
คะแนน.................. คะแนน.................

คะแนนรวม.......................คะแนน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 123

แบบสอบถาม
แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันดัชนีบารเทล
(The Modified Barthel Activities of Daily Index (MBAI)
กรุณาเลือกขอคําตอบที่ตรงกับลักษณะของผูปวยมากที่สดุ
ที่บาน
2 wks กอน
กิจกรรม กอน D/C หลัง
เขา ร.พ.
จําหนาย
1. Feeding (รับประทานอาหารเมื่อเตรียมสํารับไวใหเรียบรอยตอ
หนา)
0. ไมสามารถตักอาหารเขาปากได
1. ตักอาหารเองได แตตองมีคนชวย เชน ชวยใชชอนตัก
เตรียมไวใหหรือตัดเปนชิ้นเล็กๆ ไวลวงหนา
2. ตักอาหารและชวยตัวเองไดเปนปกติ
2. Grooming (ลางหนา หวีผม แปรงฟน โกนหนวด )
0. ตองการความชวยเหลือ
1. ทําเองได (รวมทั้งที่ทําเองได ถาเตรียมอุปกรณไวให)
3. Transfer (ลุกจากที่นอน หรือจากเตียงไปเกาอี้)
0. ไมสามารถนั่งได (นั่งแลวจะลมเสมอ) หรือตองใชคน 2
คนชวยกันยกขึ้น
1. ตองการความชวยเหลืออยางมากจึงจะนั่งได เชนตอง
ใชคนที่แข็งแรงหรือมีทักษะ 1 คน หรือใชคนทั่วไป 2
คนพยุงหรือดันขึ้นมา จึงจะนั่งอยูได
2. ตองการความชวยเหลือบาง เชนบอกใหทําตาม หรือ
ชวยพยุงเล็กนอย หรือตองมีคนดูแลเพื่อความ
ปลอดภัย
3. ทําไดเอง
4. Toilet use (ใชหองสุขา)
0. ชวยตัวเองไมได
1. ทําเองไดบาง (อยางนอยทําความสะอาดตัวเองได
หลังจากเสร็จธุระ) แตตองการความชวยเหลือในบาง
สิ่ง
2. ชวยตัวเองไดดี (ขึ้นนั่งและลงจากโถสวมไดเอง ทํา
ความสะอาดไดเรียบรอยหลังเสร็จธุระ ถอดใสเสื้อผา
ไดเรียบรอย)
นันทกาญจน ปกษี ภาคผนวก / 124

คูมือการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแลตนเองของญาติผูดูแล

สื่อประกอบการสอนเรื่องการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
และการดูแลตนเองของญาติผูดูแล
แผนการสอนเรื่อง ความสําคัญของญาติผูดูแลตอผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
วันที่ วัน…….เดือน.……….พ.ศ. 2557 เวลา……….……น. สถานที่ โรงพยาบาลพระนั่งเกลา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารยที่ปรึกษา 1. รองศาสตราจารย ดร.ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม 2. ผูชวยศาสตราจารย ดร.สุปรีดา มั่นคง 3. ผูชวยศาสตราจารย ดร.สิริรัตน ลีลาจรัส
ผูสอน 1. นางสาวนันทกาญจน ปกษี 2. เรือตรีหญิงวาสนา มูลฐี
ผูเรียน ญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
แนวคิดสําคัญ
โรคหลอดเลือดสมองเปนปญหาสุขภาพที่สําคัญ และสงผลใหผูที่รอดชีวิตตองประสบกับความทุกขทรมานจากความพิการทุพพลภาพเปนอัมพฤกษ อัมพาต กอใหเกิดการ
พึ่งพาผูอื่น ครอบครัวหรือญาติผูดูแลจึงเขามามีสวนสําคัญในการดูแลผูปวย ญาติผูดูแลจึงตองมีความรูและสามารถในการดูแลผูปวยไดอยางถูกตอง และจากปญหาความตองการการ
ดูแลของผูปวย หรือภาระงานที่ญาติผูดูแลตองทําใหกับผูปวยดังกลาวขางตนประกอบกับงานและชีวิตสวนตัวของญาติผูดูแลที่มีอยูเดิม จึงมีผลทําใหญาติผูดูแลเกิดความเครียดในการ
ดูแลได จึงมีแนวโนมที่จะทําใหเกิดปญหาสุขภาพทั้งทางรางกาย และจิตใจตามมา ดังนั้นผูวิจัยจึงตระหนักถึงความสําคัญของญาติผูดูแล เพื่อใหญาติผูดูแลเห็นความสําคัญของตนเอง
ที่ตองดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง และทราบบทบาทของญาติผูดูแลที่ตองดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองอยางถูกตองเหมาะสม
วัตถุประสงค หลังการสอนญาติผูดูแลสามารถ
1.ตระหนักถึงความสําคัญของตนเองในการชวยเหลือผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
2.อธิบายบทบาทและหนาที่ความรับผิดชอบของตนเองในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองไดถูกตอง
3.อธิบายองคประกอบพื้นฐานสําคัญในการดูแลผูปวยไดถูกตอง
4.ตระหนักถึงความสําคัญในผลดีของการเปนผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
5.อธิบายปจจัยทีม่ ีผลตอความสําเร็จในการแกไขปญหาใหแกผูปวยไดถูกตอง
พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) /125
นันทกาญจน ปกษี

แผนการสอนเรื่อง การดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองสําหรับญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
วันที่ วัน…….เดือน.……….พ.ศ. 2557เวลา………น. สถานที่โรงพยาบาลพระนั่งเกลา
อาจารยที่ปรึกษา 1. รองศาสตราจารย ดร.ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม 2. ผูชวยศาสตราจารย ดร.สุปรีดา มั่นคง 3. ผูชวยศาสตราจารย ดร.สิริรัตน ลีลาจรัส
ผูสอน 1. เรือตรีหญิงวาสนา มูลฐี 2. นางสาวนันทกาญจน ปกษี
ผูเรียน ผูปวย และญาติผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
แนวคิดสําคัญ
โรคหลอดเลือดสมองเปนปญหาสุขภาพที่สําคัญ และสงผลใหผูที่รอดชีวิตตองประสบกับความทุกขทรมานจากความพิการทุพพลภาพเปนอัมพฤกษอัมพาต กอใหเกิดการ
พึ่งพาผูอื่น ครอบครัวหรือญาติผูดูแลจึงเขามามีสวนสําคัญในการดูแลผูปวย ญาติผูดูแลจึงตองมีความรูและสามารถในการดูแลผูปวยไดอยางถูกตอง และจากปญหาความตองการการ
ดูแลของผูปวย หรือภาระงานที่ญาติผูดูแลตองทําใหกับผูปวยดังกลาวขางตนประกอบกับงานและชีวิตสวนตัวของญาติผูดูแลที่มีอยูเดิม จึงมีผลทําใหญาติผูดูแลเกิดความเครียดในการ
ดูแลไดจึงมีแนวโนมที่จะทําใหเกิดปญหาสุขภาพทั้งทางรางกาย และจิตใจตามมา ดังนั้นผูวิจัยจึงควรตระหนักถึงการดูแลตนเองของญาติผูดูแลในระหวางที่ดูแลผูปวย เพื่อใหญาติ
ผูดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองมีความเครียดลดลงและมีการปรับตัวในบทบาทของญาติผูดูแลที่ดีขึ้น สามารถดูแลตนเองในขณะที่ดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองไดอยางถูกตอง
เหมาะสม
วัตถุประสงคหลังการสอนผูปวยและญาติผูดูแลสามารถ
1.ตระหนักถึงความสําคัญในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
2.มีความรูความเขาใจเกี่ยวกับการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง
3.สามารถฝกปฏิบัติทักษะในการดูแลผูปวยไดอยางถูกตอง
ภาคผนวก / 126
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 127

แบบบันทึกขอมูลทั่วไปของผูปวย
สวนที่1. ขอมูลสวนบุคคลของผูป วย
1. เพศ   0. ชาย   1. หญิง
2. อายุ..........ป
3. สถานภาพการสมรส   0. โสด   1. คู   2. หมาย/หยา/แยก
4. ระดับการศึกษา
  0. ไมไดเรียน อานไมออก เขียนไมได   1. ไมไดเรียน อานออก เขียนได
  2. ประถมศึกษา   3. มัธยมศึกษา
  4. อนุปริญญา   5. ปริญญาตรีหรือสูงกวา
5. อาชีพ.....................................................................................................................................
6. หัวหนาครอบครัว
  0. ไมใช   1. ใช
6. รายได
  0. ไมพอเพียง   1. พอเพียง
6. สิทธิในการรักษาพยาบาล
  0. ตนสังกัด   1. ประกันสุขภาพ   2. ประกันชีวิต
  3. ประกันสังคม   4. จายเงินเอง   5. อื่นๆ…………………………
ขอมูลทางดานสุขภาพ
1. การวินิจฉัยโรค…………………………………………………………………………………….
2. โรคประจําตัว
  0. ไมมี   1. มี ระบุ.....................................
3. การรักษาทีไ่ ดรับ
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
3. ภาวะแทรกซอน
ภาวะปอดอักเสบ [ ] 0. ไมเกิด [ ] 1. เกิด
การติดเชื้อทางเดินปสสาวะ [ ] 0. ไมเกิด [ ] 1. เกิด
เกิดแผลกดทับ [ ] 0. ไมเกิด [ ] 1. เกิด
อื่น ๆ ระบุ.............................................................................................
นันทกาญจน ปกษี ภาคผนวก / 128

แบบสอบถามขอมูลสวนบุคคลสําหรับญาติผดู ูแล

กรุณากรอกขอมูลสวนบุคคลของญาติผูดแู ล
1. เพศ  0. ชาย  1. หญิง
2. อายุ..........ป
3. สถานภาพการสมรส  0. โสด  1. คู  2. หมาย/หยา/แยก
5. ระดับการศึกษา
 0. ไมไดเรียน อานไมออก เขียนไมได  1. ไมไดเรียน อานออก เขียนได
 2. ประถมศึกษา  3. มัธยมศึกษา
 4. อนุปริญญา  5. ปริญญาตรีหรือสูงกวา
5. ทํางาน
 0. ไมไดทํางาน 1. ทํางาน
6. รายได
 0. ไมพอเพียง  1. พอเพียง
6. ความสัมพันธกับผูสูงอายุ............................................................................................
7. ภาวะสุขภาพ
 0. ไมมีโรคประจําตัว  1. มีโรคประจําตัว ระบุ....................
8. มีผูชวยผูดูแล
 0. ไมมี  1. มี.................................คน
9. ที่อยู.........................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
10. เบอรโทรศัพท.........................................................................................................................
บันทึกเพิ่มเติม
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 129

แบบประเมินความพรอมของญาติผูดูแล
ผูวิจัยทราบวา ผูดูแลบางคนอาจมีความพรอมในการดูแลดานใดดานหนึ่ง ผูวิจยั ตองการ
ทราบวาทานมีความพรอมในขอคําถามตอไปนี้เพียงใด
0 ไมมีความพรอมเลย
1 มีความพรอมเล็กนอย
2 มีความพรอมปานกลาง
3 มีความพรอมมาก
4 มีความพรอมมากที่สุด

ขอคําถาม 0 1 2 3 4
1. ทานคิดวามีความพรอมในการดูแลความตองการดาน
รางกาย...........................................
2. ทานคิดวามีความพรอมในการดูแลความตองการดาน
อารมณ...........................................
3. ทานคิดวามีความพรอมทีจ่ ะหาขอมูลเกีย่ วกับการ
บริการ...............................................
4. ทานคิดวามีความพรอมในการจัดการกับความเครียด
..................................................
5. ทานคิดวามีความพรอมในการดูแลผูปว ยที่เปนญาติ
ของทาน......................................
6. ทานคิดวามีความพรอมในการจัดการกับภาวะฉุกเฉิน
....................................................
7. ทานคิดวามีความพรอมในการขอความชวยเหลือ
.....................................................
8. ในภาพรวม ทานคิดวามีความพรอมในการดูแลผูปวย
......................................................
นันทกาญจน ปกษี ภาคผนวก / 130

แบบวัดความเครียดของญาติผดู ูแล

คําชี้แจง ขอความตอไปนีเ้ ปนสถานการณหรือเหตุการณการใหการชวยเหลือดูแลผูปวยที่บานใน


ดานตางๆ ที่อาจทําใหญาติผดู ูแลเกิดความเครียดจากการดูแลผูปวย ภายหลังจําหนายออกจาก
โรงพยาบาล ใหทานทําเครื่องหมาย / ในชองที่ตรงกับความคิดเห็นของทานมากที่สุด

ไมเลย หมายถึง ไมมสี ถานการณการใหการชวยเหลือดูแลนั้นหรือการใหการ


ชวยเหลือดูแลนั้นไมทําใหทา นเกิดความเครียดเลย
เล็กนอย หมายถึง การใหการชวยเหลือดูแลนั้น ทําใหทานเกิดความเครียดระดับ
เล็กนอย
ปานกลาง หมายถึง การใหการชวยเหลือดูแลนั้น ทําใหทานเกิดความเครียดระดับ
ปานกลาง
มาก หมายถึง การใหการชวยเหลือดูแลนัน้ ทําใหทานเกิดความเครียดระดับมาก
มากที่สุด หมายถึง การใหการชวยเหลือดูแลนัน้ ทําใหทานเกิดความเครียดระดับ
มากที่สุด

ขอ สถานการณการใหการชวยเหลือดูแล ไมได ทํา ระดับความเครียด


ทํา ไม เล็กนอย ปาน มาก มาก
เลย กลาง ที่สุด
ดานรางกาย
1 การทํากิจวัตรประจําวัน
…………………………………..
2 การเตรียมอาหารสําหรับผูปวย
…………………………..............
3 การปอนอาหาร………………….
4 การใหอาหารทางสายยาง
…………………………………..
5 การขับถายปสสาวะ………………
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 131

แบบวัดการปรับตัวในการดูแลของญาติผูดแู ล
(The Family caregiver’s adaptation Questionnaire)
คําชี้แจงวัตถุประสงค
แบบวัดนี้มีจดุ มุงหมายเพื่อใหผูที่ใหการพยาบาลเขาใจถึงสภาพอารมณ ความรูสึก ตลอดจน
ภาวะสุขภาพและความสามารถในการใหการดูแลผูปวยของทาน เพื่อนํามาปรับปรุงคุณภาพ การให
การบริการพยาบาลตอไป ขอมูลที่ไดจากคําตอบของทานจะถูกนํามารวมกับของผูปวยคนอื่นๆ และ
ถือเปนความลับ

การตอบแบบวัด
ขอความทั้งหมดมี 39 ขอ แตละขอไมมีคําตอบที่ถูกหรือผิด คําตอบที่ดีที่สุด คือ คําตอบที่
ตรงกับความรูส ึกของทานมากที่สุด การตอบคําถามขอใหทานตอบทุกขอ โปรดแสดงความคิดเห็น
โดยขีดเครื่องหมาย / ลงในชอง ที่ตรงกับความคิดเห็นของทานมากที่สุด

ตัวอยาง
1. ทานนอนหลับไดดีเพียงใด

นอนไมหลับเลย หลับไดเพียงเล็กนอย หลับไดพอควร หลับไดคอนขางดี หลับไดดี


..............................................................................................................................................................
ขอคําถาม
1. ทานรับประทานอาหารไดดีเพียงใด

ไมไดเลย ไดเล็กนอย ไดพอควร ไดคอนขางดี ไดดีเปนปกติ


………………………………………………………………………………………………………
2. ทานมีอาการทองผูกหรือทองเสียบอยเพียงใด

เปนประจํา บอยมาก บอย นานๆ ครั้ง ขับถายไดตามปกติ


..............................................................................................................................................................
นันทกาญจน ปกษี ภาคผนวก / 132

แบบวัดความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับของญาติผูดูแล
คําชี้แจง
ขอความทั้งหมดมี 28 ขอ แตละขอเปนขอความที่กลาวถึงการกระทําของทีมสุขภาพที่กระทําตอ
ทานและผูปวย ขอใหทานตอบคําถามทุกขอโดยกาเครื่องหมาย √ ลงในชองคําตอบดานขวาที่ตรงกับ
ความรูสึกของทานมากที่สุดเพียงชองเดียว คําถามทุกขอไมมีคําตอบถูกหรือผิด มีเพียงคําตอบที่ดีที่สุด
คือ คําตอบที่ตรงกับความรูสึกของทานมากที่สุด ซึ่งมีเพียงขอละ 1 คําตอบเทานั้น
กาเครื่องหมาย √ ที่ชอง 1 เมื่อทานรูสึกไมเห็นดวยอยางยิ่งกับขอความ
กาเครื่องหมาย √ ที่ชอง 2 เมื่อทานรูสึกไมเห็นดวยกับขอความ
กาเครื่องหมาย √ ที่ชอง 3 เมื่อทานรูสึกเฉยๆกับขอความ
กาเครื่องหมาย √ ที่ชอง 4 เมื่อทานรูสึกเห็นดวยกับขอความ
กาเครื่องหมาย √ ที่ชอง 5 เมื่อทานรูสึกเห็นดวยอยางยิ่งกับขอความ
ขอความ ไมเห็นดวย ไม เฉยๆ เห็น เห็นดวย
อยางยิ่ง เห็น ดวย อยางยิ่ง
1 ดวย 3 4 5
2
1. ทีมสุขภาพไมสนใจเอาใจใสผูปวยเทาทีค่ วร
2.ทีมสุขภาพไมทําอะไรเลยกับสิ่งที่ผูปวยหรือ
ทานบอก
3. ทีมสุขภาพไมมีความเปนกันเองกับผูปวยและทาน
4. ทีมสุขภาพไมมีความอดทน
5. ทีมสุขภาพสนใจที่จะทํางานใหเสร็จมากกวา
ที่จะรับฟงปญหาของทาน
6. ทีมสุขภาพคอยสอดสองดูแลใหผูปว ยไดรับ
ความชวยเหลือดานรางกายตามที่ผูปวยตองการ
7. ทีมสุขภาพทําใหทานรูสกึ วาผูปวยเปนเพียง
คนไขที่นาศึกษาเทานั้น ไมใชบุคคลที่มี
ความรูสึกนึกคิด
8. ทีมสุขภาพควรมีความละเอียดรอบคอบ
มากกวานี้
แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท
ผูปวยรายที่.........................................................
ครั้ง สภาพทั่วไปของผูป วย สภาพทั่วไปของญาติ ปญหาที่พบ คําแนะนําที่ไดรับจาก หมายเหตุ
ผูดูแล ผูวิจัย
ครั้งที่ 1
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

(สัปดาหที่..................)
วันที่...........................
ครั้งที่ 2
(สัปดาหที่..................)
วันที่...........................
ครั้งที่ 3
(สัปดาหที่..................)
วันที่...........................
ครั้งที่ 4
(สัปดาหที่..................)
วันที่...........................
พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 133
แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบาน
ผูปวยรายที่.........................................................
นันทกาญจน ปกษี

ว/ด/ป สภาพทั่วไปของ สภาพทั่วไปของ สิ่งแวดลอมทัว่ ไปที่ ปญหาที่พบ คําแนะนําที่ไดรับ หมายเหตุ


ผูปวย ญาติผดู ูแล บาน จากผูวิจัย
ครั้งที่ 1

วันที่...........................
ครั้งที่ 2

วันที่...........................
ครั้งที่ 3

วันที่...........................
ครั้งที่ 4

วันที่...........................
ภาคผนวก / 134
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 135

ภาคผนวก ข
เอกสารชี้แจงพิทักษสิทธิ์ของกลุมตัวอยาง

เอกสารแสดงการพิทักษสิทธิ์องผูเขารวมวิจัย และการรับรองจากคณะกรรมการ
จริยธรรมการวิจัยในคนประกอบดวย
1. เอกสารรับรองโครงการวิจัย โดยคณะกรรมการจริยธรรมและวิจัยในมนุษยของ
โรงพยาบาลพระนั่งเกลา
2. เอกสารเอกสารอนุมัติใหเขาเก็บขอมูลจากโรงพยาบาลพระนั่งเกลา
3. เอกสารรับรองโครงการวิจัยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
คณะแพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
4. เอกสารเชิญผูทรงตรวจสอบเครื่องมือวิจยั
5. เอกสารเปลี่ยนแปลงหัวขอวิทยานิพนธ
นันทกาญจน ปกษี ภาคผนวก / 136
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 137
นันทกาญจน ปกษี ภาคผนวก / 138
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 139
นันทกาญจน ปกษี ภาคผนวก / 140
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 141
นันทกาญจน ปกษี ภาคผนวก / 142
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พย.ม. (การพยาบาลผูใหญ) / 143

ประวัติผูวิจัย

ชื่อ – สกุล นันทกาญจน ปกษี


วัน เดือน ปเกิด 20 ธันวาคม 2528
สถานที่เกิด จังหวัดปทุมธานี
วุฒิการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2547 – 2551 พยาบาลศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2554-2558
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
(สาขาการพยาบาลผูใหญ)
ตําแหนงหนาที่ปจจุบันและสถานที่ทํางาน พยาบาลวิชาชีพปฏิบตั ิการ อาจารยประจําภาควิชา
การพยาบาลพืน้ ฐาน ผูใหญ และผูสูงอายุ
หัวหนางานกิจกรรมนักศึกษาและทํานุบํารุง
ศิลปวัฒนธรรม กลุมงานพัฒนานักศึกษา
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
47/99 ถ.ติวานนท ตําบลตลาดขวัญ อําเภอเมือง
จังหวัดนนทบุรี 11000
พ.ศ. 2550 – ปจจุบัน โทรศัพท 0-2525-3136
ที่อยูปจจุบัน 14/219 ถ.รังสิต-นครนายก ตําบลลําผักกูด
อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110
โทรศัพท 08-7744-3494
E-mail :p_nuntakarn@yahoo.com 

You might also like