You are on page 1of 116

บทที่ ๑

บทนำ ข้อมูลสถานศึกษา

๑. บทนำ
ปัจจุบันยาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่าง
จริงจัง ทั้งนี้เพราะเพราะปัญหายาเสพติด ที่มีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ได้ทวีความรุนแรง
มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ งทางด้านการเมือง
และความมั่น คงของประเทศพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มเยาวชน ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน
การพนัน การทะเลาะวิวาท ติดเกม สื่อลามกอนาจาร ฟุ่มเฟือย และวัตถุนิยมเกินฐานะ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิด
ขึ้นกับนักเรียน นักศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่สังคมไม่ยอมรับ การป้องกันและแก้ไขปัญหาเป็นสิ่ง
สำคัญประการหนึ่ง ของการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ทางโรงเรียนได้บูรณาการจัดทำ
แผนปฏิบัติการการร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดทำโครงการห้องเรียนสีขาว/แผนกสีขาว ในสถานศึกษา
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ครูที่ปรึกษา และนักเรียน ที่เป็นแกนนำเป็นผู้ให้ความรู้ ความเข้าใจในการให้คำปรึกษา
ตักเตือนเพื่อน กระตุ้นเพื่อน ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้เยาวชนของประเทศ
ไทยเป็นเยาวชนที่มีความรู้ ควบคู่ด้วยคุณธรรม ไม่ฝักใฝ่อบายมุข และสร้างปัญหาให้กับสังคม สามารถดำรงตน
อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพพัฒนาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
๒. ข้อมูลสถานศึกษา
๒.๑ ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านตำแย
ที่อยู่ 39 หมู่ 3 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
โทรศัพท์ 091-0195989
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
เปิดสอนตั้งแต่ ระดับปฐมวัยถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เขตบริการของโรงเรียน

ชื่อหมู่บ้าน หมูที่ ตำบล


บ้านตำแย 3 หนองค่าย
บ้านหนองแวง 4 หนองค่าย
บ้านดอนตะหนิน 5 หนองค่าย
บ้านโคกสว่าง 7 หนองค่าย

ปรัชญา รู้เวลา รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม


คำขวัญ “รู้เวลา รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม”
สีประจำโรงเรียน เขียว - ขาว
สีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์
สีขาว หมายถึง ความใสสะอาดบริสุทธิ์
อัตลักษณ์ของโรงเรียน ซื่อสัตย์ สามัคคี วิถีพอเพียง
เอกลักษณ์ของโรงเรียน สืบสานวัฒนธรรมน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๒.3 ข้อมูลครูและบุคลากร
พนักงาน ครูอัตรา เจ้าหน้าที่
ปีการศึกษา ผู้บริหาร ครูผู้สอน ราซการ รวม
จ้าง อื่นๆ

25๖6 2 13 - - ๒ ๑7

๒.3 ข้อมูลนักเรียน
จำนวนนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านตำแย ทั้งสิ้น 164 คน จำแนกตามระดับชั้น
จำนวน จำนวนนักเรียน
ระดับชั้น รวม หมายเหตุ
ห้อง ชาย หญิง
อนุบาล 2 1 12 6 18
อนุบาล 3 1 7 5 12
ประถมศึกษาปีที่ 1 1 8 9 17
ประถมศึกษาปีที่ 2 1 12 5 17
ประถมศึกษาปีที่ 3 1 9 3 12
ประถมศึกษาปีที่ 4 1 11 8 19
ประถมศึกษาปีที่ 5 1 12 10 22
ประถมศึกษาปีที่ 6 1 8 6 14
มัธยมศึกษาปีที่ 1 1 4 3 7
มัธยมศึกษาปีที่ 2 1 6 6 12
มัธยมศึกษาปีที่ 3 1 12 2 14
รวมนักเรียนทั้งหมด 11 101 63 164

บทที่ ๒
สถานการณ์ยาเสพติด
สถานการณ์ด้านตัวยาเสพติด (Supply)
โรงเรียนวัดบ้านตำแย เป็นโรงเรียนขนาดกลาง อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครราชสีมา เขต ๗ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภารกิจหลักในการจัดการศึกษาขั้น
พื้นฐาน ๓ ระดับตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
๑. จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี (อนุบาล
๒-๓ ) ในเขตพื้นที่บริการ ๔ หมู่บ้าน คือบ้านตำแย บ้านดอนตะหนิน บ้านโคกสว่าง และบ้านหนองแวง ให้
มีความพร้อมทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาในการที่จะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาต่อไป
๒. จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ตั้ งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ให้เด็กทุกคนที่มีอายุตาม
เกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ได้เข้าเรียน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๑๓
๓. จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ ให้เด็กทุกคนที่มีอายุตาม
เกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ได้เข้าเรียน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๑๓
ปัญหาและความต้องการ
ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ ภายใต้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน
เอาชนะยาเสพติด โดยกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้รับผิดชอบหลักตามแผนงานที่ ๓ การสร้างภูมิคุ้มกัน
และป้องกันยาเสพติด ซึ่งโรงเรียนทุกโรงต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การ
ดำเนินงานบรรลุเป้าหมายปี ๒๕๖๖ นั้น
สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในโรงเรียนปราสาทหินนางรำปัจจุบัน ภาวะความเสี่ยงลด
น้อยลง เพราะทางโรงเรียนได้จัดตั้งคลินิกเสมารักษ์ขึ้น เพื่อรั บเรื่องร้องทุกข์นักเรียนในโรงเรียน มีการจัด
กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ส่ง ผลให้ทั้งในและนอกสถานศึกษา เห็นความสำคัญของปัญหา
ยาเสพติด ได้รับความร่วมมือกับผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านนางรำในการป้องกันและ
แก้ไขปัญหายาเสพติด และได้ดำเนินการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติ พลั ง
แผ่นดินเสพติด ปีการศึกษา ๒๕๖๖ อย่างเคร่งครัด
๓. วัตถุประสงค์
๓.๑ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเด็กนักเรียนกับสารเสพติด
๓.๒ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีกิจกรรมในเรื่องการแสดงออกในทางสร้างสรรค์
๓.๓ เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดแก่เด็กและเยาวชน
๓.๔ เพื่อให้โรงเรียนปลอดสารเสพติด การทะเลาะวิวาท ชู้สาว สื่อลามกอนาจาร
๓.๕ นักเรียนมีความประพฤติทีดี มีคุณธรรม จริยธรรมและห่ างไกลจากสิ่งเสพติด ส่งผลให้
โรงเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม
สถานการณ์ปัญหายาเสพติด
๑. ปัญหาด้านการผลิต การค้า การลำเลียงยาเสพติดในพื้นที่ ไม่มีแหล่งผลิต แต่ในด้านการค้าและ
การลำเลียง ยังมีปัญหาอยู่บ้างแต่ไม่รุนแรงมากนัก และ เนื่องจากเขตพื้นที่เป็นเส้นทางผ่านในการสัญจรไปมา
จึงทำให้โอกาสในการนำยาเสพติดเข้ามาในพื้นที่ค่อนข้างสูงหรือ อาจเป็นทางผ่านของการขนส่งยาเสพติดมี
มากขึ้น

๒. ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ จะมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มประชากร
ผู้ใช้แรงงาน กลุ่มเยาวชนนอกสถานศึกษา แต่มีจำนวนน้อย และยังไม่มีผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการรุนแรง
๓. ปัญหาของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะเป็นกลุ่มเสี่ยงจะเป็นเยาวชนนอก
สถานศึกษา เป็นส่วนมาก เนื่องจากกลุ่มนี้มีโอกาสในการเข้าไปสัมผัสกับยาเสพติดทุกชนิดได้มากกว่าเยาวชน
ในสถานศึกษา และ ในสถานศึกษายังไม่พบการแพร่ระบาดของยาเสพติดแต่อย่างใด
ทั้งนี้ การจัดทำแผนปฏิบ ัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ศูนย์
ปฏิบ ัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดโรงเรียนวัดบ้านตำแยในฐานะเป็น หน่ว ยงานหลักในพื้นที่ ที่จะ
ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นให้ สามารถนำแผน ฯ มาใช้
ปฏิบัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลการดำเนินงานชัดเจน สามารถตรวจสอบและประเมินผล ได้ ก่อให้เกิด
ประโยชน์ส ูงสุดต่อประชาชนในท้องถิ่น ภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยยึดหลักแนวคิดการ
ดำเนินงานของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยา
เสพติดกล่าว ไว้ว่า “แก้ไขปัญหาที่คงเหลือ สถาปนาความมั่นคง และสร้างความยั่งยืน” โดยมุ่งเน้นการพัฒนา
งานเชิงคุณภาพ ต่อ เป้าหมายและพื้นที่ที่มีปัญหาเป็นอันดับแรก ภายใต้หลักการสร้างความสมานฉันท์ ยึด
หลักสันติวิธี และแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งยึดหลักยุทธศาสตร์ ๕ รั้ว
ป้องกันของรัฐบาล เพื่อสร้างความ เชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดให้ได้ผลอย่างยั่งยืน

บทที่ 3
ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 5 ด้าน
โรงเรียนวัดบ้านตำแย ได้ดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดย
ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข 5 มาตรการ 16 ตัวบ่งชี้
ประกอบด้วย
1. มาตรการด้านการป้องกัน ( 3 ตัวบ่งชี้ )
2. มาตรการด้านค้นหา ( 4 ตัวบ่งชี้ )
3. มาตรการด้านรักษา ( 2 ตัวบ่งชี้ )
4. มาตรการด้านเฝ้าระวัง ( 2 ตัวบ่งชี้ )
5. มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ ( 5 ตัวบ่งชี้ )
ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
5 มาตรการ 16 ตัวบ่งชี้ มีรายละเอียดดังนี้
๑. มาตรการด้านการป้องกัน
โรงเรี ย นวั ด บ้ า นตำแย เห็ น ถึ ง ความสำคั ญ ด้ า นการป้ อ งกั น ความเสี ย งจากอบายมุ ข โดยได้
ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1.1 สถานศึกษาดำเนินการกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
โรงเรี ย นดำเนิ น การตามโครงการสถานศึ ก ษาสี ข าว กิ จ กรรมห้ อ งเรี ย นสี ข าว มี
วัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนปลอดยาเสพติดทุกชนิด คณะกรรมการดำเนินงานแต่ละห้องจะแบงออกเป็น
ฝ่ายต่าง ๆ 4 ฝ่ายงาน ดังนี้
1) ฝ่ายการเรียน มีภาระหน้าที่ในการช่วยเหลือด้านวิชาการ เกี่ยวกับการเรียน การบ้าน
การทำโครงงาน หรือปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเรียนในห้องเรียน คอยให้การช่วยเหลือ แก้ไข ให้คำแนะนำ ให้
คำอธิบาย ชี้แนะแหล่งเรียนรู้และนำเสนอให้ครูที่ปรึกษารับทราบเพื่อดำเนินการต่อไป

2) ฝ่ายการงาน มีหน้าที่ ดูแลความสะอาดเรียบร้อยในห้องเรียน รักษาของมีค่าและทรัพย์


สมบัติของห้องเรียน คอยดูแลป้องกันอุบัติเหตุในห้องเรียน เก็บของให้เป็นที่เป็นทางเพื่อสะดวกต่อ การ
นำมาใช้ จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้สวยงาม น่าเรียน และคอยป้องกันไม่ให้เพื่อนในห้องกระทำ
พฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์เกิดขึ้นในห้องเรียน

3) ฝ่า ยกิจ กรรม มีหน้า ที่ จัดกิจกรรมที่ส ร้างสรรค์ทั้งในห้องเรียนและกิจ กรรมในทุ ก


ระดับชั้น เช่น การเล่นกีฬา ดนตรี การแสดงเนื่องในกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ตลอดจนการจัดกิจกรรมในกลุ่ม
สนใจของเพื่อน เพื่อให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยไม่ไปมั่วสุม หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

4) ฝ่ายสารวัตรนักเรียน สอดส่องดูแลความเรียบร้อยทั่วไปในห้องเรียนและมุมอับ เช่น


ห้องน้ำ ข้างอาคารเรียน ริมสนามฟุตบอลหรือบริเวณแหล่งที่ไปมั่วสุ่มสูบบุหรี่ คอยดูแลเพื่อน หากมีพฤติกรรม
ที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การเข้าห้องเรียนช้า การไม่เข้าเรียนในรายวิชาต่างๆอยู่
บ่อยๆ รวมทั้งปัญหาส่วนตัวในด้านต่าง ๆ ให้คณะกรรมการห้องเรียนแก้ไข ซึ่งถ้าหากแก้ไขไม่ได้ ก็นำเสนอครู
ที่ปรึกษาดำเนินการแก้ไขต่อไป

แบบสรุปดำเนินงานห้องเรียนสีขาว

กิจกรรมห้องเรียนสีขาว/แผนกสีขาว

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการห้องเรียนสีขาว
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔

1. แผนผังคณะกรรมการห้องเรียนสีขาว

แผนผังคณะกรรมการห้องเรียขาวชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

คติพจน์ห้องเรียนสีขาว
“เด็กไทยยุคใหม่ ห่างไกลยาเสพ
ติด”

สีขาวชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

คติพจน์ห้องเรียนสีขาว
“ห้องเรียนสดใส ใฝ่เรียนการงาน ไร้
สารเสพติด”
๑๕

สีขาวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓

คติพจน์ห้องเรียนสีขาว
“เติมพลังชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์
รู้ทันยาเสพติด”
๑๖

โครงงานห้องเรียนสีขาว

ป้ายนิทรรศการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในห้องเรียน
๑๗

1.2 สถานศึกษาจัดประกาศผลงานห้องเรียนสีขาวดีเด่น
โรงเรียนมีการประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาวทุกห้อง และมีการประกาศผลงานห้องเรียน
สีขาวดีเด่น และมีการมอบรางวัลแก้ห้องเรียนสีขาวดีเด่น เดือนละ ๑ ครั้ง

ครั้งที่ 1 ประจำเดือน มิถุนายน

ครั้งที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม

ครั้งที่ 3 ประจำเดือน สิงหาคม


๑๘

ครั้งที่ 4 ประจำเดือน กันยายน

ครั้งที่ 5 ประจำเดือน พฤศจิกายน

ครั้งที่ 6 ประจำเดือน ธันวาคม


๑๙

1.3 สถานศึกษามีการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดบุหรี่
โรงเรียนมีการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดบุหรี่ โดยดำเนินงานภายใต้ 7 มาตรการ
เพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ ดังนี้
มาตรการที่ 1 นโยบาย “โรงเรียนปลอดบุหรี่”ของโรงเรียน
มาตรการที่ 2 การบริหารจัดการในโรงเรียน
มาตรการที่ 3 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อ “โรงเรียนปลอดบุหรี่”
มาตรการที่ 4 การสอดแทรกในการเรียนการสอนและกิจกรรมนอกหลักสูตร
มาตรการที่ 5 การมีส่วนร่วมของนักเรียน
มาตรการที่ 6 การดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่ให้สูบบุหรี่
มาตรการที่ 7 กิจกรรมร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
๒๐
๒๑
๒๒
๒๓

โครงการ โรงเรียนปลอดบุหรี่
๒๔
๒๕

ภาพกิจกรรม

๑.๔ สถานศึกษาจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อป้องกันยาเสพติด
โรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อป้องกันยาเสพติด โดยการส่งเสริมด้าน
คุณธรรมจริยธรรม เห็นโทษของยาเสพติด และใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
1) กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี จัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกสัปดาห์และมีการบูรณาการ
เรื่องโทษและพิษภัยจากยาเสพติด
2) มีการบูรณาการการเรียนการสอน เรื่อง ยาเสพติดทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนได้
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการ เรื่องยาเสพติดในทุกกลุ่ม สาระวิชา เช่น การจัดป้ายนิเทศ การเขียน
เรียงความ วาดภาพระบายสี การเขียนคำขวัญ
3) โรงเรี ย นได้ ด ำเนิ น กิ จ กรรมต่ อ ต้ า นยาเสพติ ด โดยผ่ า นกิ จ กรรมสภานั ก เรี ย นให้
คณะกรรมการสภานักเรียนดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่สภานักเรียน ได้แก่ การจัดป้ายนิเทศวันงดสูบบุหรี่
โลก การเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด การแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด
4) โรงเรียนได้ดำเนินการเสริมสร้างทักษะชีวิตสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน กิจกรรมวันสำคัญ เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันไหว้ครู วันพ่อ
แห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ วันภาษาไทยและวันสุนทรภู่ โครงการค่ายคุณธรรม กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมสภา
นักเรียน กิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒๖

5) กิจกรรมเยียมบ้านนักเรียน ดำเนินการออกการเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคน
6) กิจกรรมสอนซ่อมเสริม กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมแนะแนว
7) กิจกรรมภาษาไทย ได้จัดกิจกรรม การแข่งขัน ประกวดคำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด
วันงดสูบบุหรี่โลก
8) กิ จ กรรมด้ า นกี ฬ า เพื ่ อ ให้ น ั ก เรี ย นเกิ ด ความสามั ค คี พั ฒ นาร่ า งกายและจิ ต ใจ
และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
9) กิจกรรมค่ายคุณธรรม โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนทุก เพื่อให้
นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด โรคเอดส์ การป้องกันอุบัติภัยต่างๆ และพระคุณของพ่อแม่
10) กิจ กรรมจิตอาสา การทำความสะอาดวั ด โรงเรียน หมู่บ้าน ปลูกต้นไม้ใ นชุ ม ชน
ช่วยงานในชุมชน เช่น งานศพ งานบวช งานบุญประเพณีในท้องถิ่น

ภาพการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อป้องกันยาเสพติด

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนลูกเสือ-เนตรนารี

การบูรณาการจัดการเรียนการสอน เรื่อง ยาเสพติด กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้


๒๗

สภานักเรียนดำเนินการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด

กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา

กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคน
๒๘

กิจกรรมการแข่งขันแต่งคำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด และวันงดสูบบุหรี่โลก

กิจกรรมด้านกีฬา

กิจกรรมค่ายคุณธรรม

กิจกรรมจิตอาสาเก็บขยะบริเวณชุมชน
๒๙

2. มาตรการด้านการค้นหา
โรงเรียนวัดบ้านตำแย ได้ดำเนินการตามมาตรการด้านการค้นหาเพื่อทำการคัดกรองนักเรียน เป็น
รายบุคคล ตามระบบการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือ เพื่อคัดกรองนักเรียน และแยกกลุ่มนักเรียนเพื่อให้สะดวก
ในการดูแล ป้องกัน ช่วยเหลือ แก้ไข เข้าถึงนักเรียนทุกคนและดำเนินการผ่านโครงการ กิจกรรมต่างๆ ใน
โรงเรียน
2.1 สถานศึกษามีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
งานระบบดูแลช่ว ยเหลือนักเรีย นโรงเรียนวัดบ้านตำแย ได้มีการจัดระบบการบริห ารงานให้
สอดคล้องและสนองตอบต่อ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.
2553 (มาตรา 6) กำหนดให้การจัด การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทาง
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และจัดการศึกษาที่ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนทุกคนโดยยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถ
เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตาม ธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (มาตรา 22) ทั้งนี้การจัดกระบวนการเรียนการ
สอน ยังคำนึงถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคล มีการบูรณาการในด้านความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ
ให้ผู้เรียนรู้จักการประยุกต์ ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
1) ในการบริหารงานโรงเรียนได้กำหนดบุคลากรและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. คณะกรรมการอำนวยการ (ทีมนำ) ประกอบด้วยผู้อำนวยการ และหัวหน้าบริหารงาน ทั้ง 4
ฝ่ายซึ่งจะให้คำปรึกษา และสนับสนุนด้านงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน นิเทศติดตามผลงานหรือร่วม
กิจกรรมตาม ความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
2. คณะกรรมการประสานงาน (ทีมประสาน) ประกอบด้วย หัวหน้างานระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน หัวหน้างานแนะแนว และหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ช่วยประสานงานให้คำแน ะนำ ชี้แนะ
แนวทางการปฏิบัติงานและ ช่วยเหลือแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับครูที่ปรึกษาทุกท่าน
3. คณะกรรมการปฏิบัติงาน (ทีมทำ) ซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญมากที่สุดเพราะผลงานจะดีได้ต้อง
อาศัย ความร่วมมือร่วมใจของคณะครูที่ปรึกษาทุกท่านที่ทุ่มเท กำลังกาย กำลังใจด้วยความรักและเมต ตา
นักเรียนซึ่ง ครูที่ปรึกษาจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างศรัทธาเพื่อให้เกิดความไว้วางใจพร้อมที่จะ
ดูแลช่วยเหลือ และให้คำปรึกษากับนักเรียนทุกคน จะเห็นได้จากขั้นตอนการทำงาน คือ
3.1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ทำให้มีการดูแลได้อย่างทั่วถึงโดยที่ครูที่ปรึ กษาจะรู้จัก
นักเรียนจากการสัมภาษณ์ในคาบกิจกรรม โฮมรูมหรือเวลาพักตามความเหมาะสม
3.2 การคัดกรองนักเรียนจะได้ข้อมูลจากการประเมินตนเอง (SDQ) ของนักเรียนหากครูที่
ปรึกษามีข้อสงสัยจากการประเมิน ตนเองของนักเรียน ครูที่ปรึกษาก็จะทำแบบประเมินร่วมด้วยหรื อ ให้
ผู้ปกครอง ทำแบบประเมินนักเรียนในสมุดระเบียนสะสม บางครั้งอาจจะใช้วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์
นักเรียน การสอบถามเพื่อนในกลุ่มด้วยก็ได้
3.3 การจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความสามารถและทักษะด้านต่าง ๆ หลังจากการคัด
กรองนักเรียน แล้วงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ร่วมกับหัวหน้างานแนะแนว หัวหน้างานกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน สร้างกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้กับนักเรียนทั้งหมดตาม
ความสามารถ เช่น กิจกรรมวิชาการของทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน ด้านดนตรี ด้านกีฬา กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมค่ายคุณธรรม-จริยธรรม
๓๐

3.4 การจัดกิจกรรมจิตอาสา ทางโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย


และเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถจัดกลุ่มกิจกรรมที่นักเรียนสนใจ เช่น เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง ทั้งนี้เพื่อ
ลดปัญหาการมั่วสุมและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะมีครูที่ปรึกษากิจกรรมและครูแนะแนวคอยดูแลให้
คำแนะนำในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
3.5 การส่งต่อจากผลการดำเนิ นงานการจั ด กิจ กรรมค่า ยคุณธรรม-จริยธรรม การจั ด
กิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดมีการอบรมกลุ่มแกนนำ การแสดงดนตรี ต้านยาเสพติด กิจกรรม
กีฬา กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยและ สร้างภาวะผู้นำ ฯลฯ เหล่านี้ช่วยให้นักเรียนทุกคน
สามารถปรับตัวและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้น ส่วนใหญ่การส่งต่อจึงเป็นการส่งต่อภายใน เนื่องจาก
ไม่มีกรณีร้ายแรงโดยจะมีครูที่ปรึกษา และหัวหน้าระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกับหัวหน้างานแนะแนว
ตลอดจนคณะกรรมการฝ่ายบริหาร ของโรงเรียนร่วมกันแก้ปัญหาตามความเหมาะสม
2) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้มีการจัด ประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง ครูกับ
ผู้ปกครอง ผู้ปกครองกับผู้ปกครอง และมีการจัดตั้งคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน ระดับ
ห้องเรียน ห้องเรียนละ 5 คน เพื่อช่วยประสานงานดูแลนักเรียนและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนที่จัด
ให้กับนักเรียน การประสานความร่วมมือในการดูแลนักเรียนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหาร
ส่ ว นตำบลหนองค่ า ย อำเภอประทาย สถานี ต ำรวจภู ธ รประทาย และหน่ ว ยงานเอกชนในท้ อ งถิ่ น
เพื่อช่วยเหลือดูแลนักเรียนในด้านต่าง ๆ ทั้งทุนการศึกษา การอบรมให้ความรู้ด้านต่าง ๆ การสนับสนุนวัสดุ
อุปกรณ์ด้านการศึกษา
2.2 สถานศึกษามีการสุ่มตรวจปัสสาวะหายาเสพติด
โรงเรียนวัดบ้านตำแย มีการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดภาคเรียนละ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ โดย
ได้รับความอนุเคราะห์ และความร่วมมือของเจ้าหน้าที่จากสถานีตำรวจภูธรประทาย เพื่อหาสารเสพติดในตัว
นักเรียน ซึ่งจากผลการตรวจพบว่า ยังไม่มีนักเรียนที่มีความเสี่ยง และเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และได้รับการ
สนั บ สนุ น จากสถานี ต ำรวจภู ธ ร ประทาย และโรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพตำบล หนองค่ า ย
ส่งคณะมาตรวจปัสสาวะนักเรียนทุกคน
2.3 สถานศึกษามีการคัดกรองสำรวจสภาพการใช้ยาเสพติด จำแนกกลุ่มปลอด/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเสพ/
กลุ่มติด/กลุ่มค้า
โรงเรี ย นวั ด บ้ า นตำแย มี ก ารจั ด ระบบงาน และกิ จ กรรมที ่ ส ่ ง เสริ ม ความประพฤติ
ให้เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยให้กับนักเรียน นำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมา
พัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน โดยการนำกระบวนการของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน ได้แก่
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปั ญหา
และการส่งต่อ เพื่อนำไปใช้ในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสมและนักเรียนได้รับการคุ้มครองและดูแล โดยมีผู้บริหาร
สถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษาเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต
2.4 สถานศึกษามีระบบการค้นหา
ดำเนินการสำรวจโดยนักเรียนแกนนำ คณะกรรมการสภานักเรียน (โครงการห้องเรียนสีขาว) เพื่อหา
ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดในตัวนักเรียน ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันตลอดเวลา โดยดำเนินการคัดกรอง
สำรวจสภาพการใช้ยาเสพติด ภาคเรียนละ 1 ครั้ง และรายงานผู้บังคับบัญชา/หน่วยงานต้นสังกัดตามลำดับ
ตรวจสุขภาพนักเรียนโดย ครูประจำชั้นตรวจสุขภาพโดยการสังเกตสุขภาพนักเรียนเป็นประจำทุกวัน หากพบ
สภาพร่างกายหรือพฤติกรรมที่ส่อไปในทางเสี่ยงต่อยาเสพติด ให้มีการรายงานต่อผู้บริหารทันทีสถานศึกษา
๓๑

ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำโรง ในการตรวจสุขภาพ
ของนักเรียนโดยการประสานงานขอความร่วมมือในการตรวจสุขภาพนักเรียนทุกคน เป็นประจำทุกภาคเรียน
เมื่อพบความผิดปกติของร่างกายที่ส่งผลมาจากยาเสพติด จะแจ้งข้อมูลไปยังโรงเรียนซึ่งจากการตรวจสุขภาพ
นักเรียนโดยครูประจำชั้น และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ยังไม่มีการรายงานข้อมูลนักเรียนที่มีความเสี่ยง และ
เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

โรงเรียนได้ดำเนินร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น โรงเรียนต้นแบบ สถานีตำรวจภูธรประทาย


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำโรง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองค่าย
คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน และผู้ปกครอง ในการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด
๓๒

3. มาตรการด้านการรักษา
โรงเรียนวัดบ้านตำแย ได้ดำเนินงานตามมาตรการด้านการรักษา โดยมีการกำหนดนโยบาย แต่งตั้ง
คณะกรรมการดำเนิ น งาน สร้ า งเครื อ ข่ า ยในการบำบั ด และรั ก ษา และจั ด ตั ้ ง คลิ น ิ ก เสมารั ก ษ์
ซึ่งทางสถานศึกษาได้ดำเนินการคัดกรองนักเรียนรายบุคคล พบว่า มีการรายงานข้อมูลนักเรียนที่มีความเสี่ยง
และเกี่ย วข้องกับ ยาเสพติด แต่ได้เตรียมการรองรับเพื่อให้เกิดความพร้อมในการให้คำแนะนำ และการ
ช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ซึ่งสถานศึกษาได้มีการวางแผนงานตามมาตรการรักษา เพื่อรองรับสถานการณ์ที่
อาจจะเกิดขึ้นดังนี้
3.1 สถานศึกษามีนโยบายในการบำบัดรักษาและส่งต่อหน่วยงานสังกัดสาธารณสุข หรือ
หน่วยงานอื่น สถานศึกษามีการกำหนดนโยบายของสถานศึกษา เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการบำบัดรักษา
ช่วยเหลือเหลือนักเรียน อีกทั้งสถานศึกษาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบำบัดรักษา มาช่วยในการ
ตรวจสอบ ให้คำแนะนำเพื่อให้การดำเนินงานบำบัดรักษาออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ และยังส่งผลให้มีการ
กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานบำบัดรักษาอย่างเป็นระบบ สะดวกต่อการปฏิบัติการในการบำบัด จากนั้น
สถานศึกษาจัดให้เกิดการจัดระบบการส่งต่อกลุ่มเสพ กลุ่มติดเพื่อการเข้าสู่การบำบัดรักษาตามระบบด้วยความ
สมัครใจในหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นๆ โดยจัดทำสารสนเทศหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พร้อมที่จะส่งต่อนักเรียนไปยังหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานบำบัดผู้ติดยา
เสพติดสำหรับนักเรียนที่ตรวจพบว่าปัสสาวะมีสารเสพติด ถือเป็นกลุ่มเป้าหมาย นำเข้าสู่กระบวนการบำบัด
ฟื้นฟู เพื่อปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม และมีการติดตามพฤติกรรมตรวจปัสสาวะอีกเป็นระยะ ๆ ซึ่งทางโรงเรียนได้
ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้ความรู้และแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีพฤติกรรมที่ไม่
เสียงในเรื่องยาเสพติด ความปลอดภัยในการใช้ถนน ด้านเพศศึกษา ได้แก่ การจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียนและ
ป้ายนิเทศนอกห้องเรียน จัดกิจกรรมเสียงตามสาย อบรมนักเรียนหน้าเสาธง บูรณาการทั้งในหลักสูตรและ
นอกหลักสูตร มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในวันต่อต้านยาเสพติดสากล ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและโทษ
ของยาเสพติดผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Facebook, line, Website ประจำโรงเรียน ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
และนักเรียนในวันปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียนก่อนเปิดภาคเรียนอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด
แก่นักเรียนชั้น ป.1 – ม.3 ทุกคน ตลอดจนดำเนินการตามโครงการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับ
นักเรียน ในกิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรม ชมรมดนตรี ชมรมศิลปะ ชมรมกีฬา การรวมกลุ่มของนักเรียนในการ
ดำเนินการตามกิจกรรมสภานักเรียน เพื่อให้เห็นความสำคัญของวิถีประชาธิปไตย และทำให้นักเรียนมีการใช้
เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังเป็น การช่ว ยสอดส่ อ งดู แลความประพฤติ ข องนัก เรีย นได้ มากยิ ่ ง ขึ้ น
๓๓

3.2 สถานศึกษามี “คลินิกเสมารักษ์” (จิตสังคมบำบัดในสถานศึกษา) โดยสถานศึกษามี


ขั้นตอนการดำเนินงาน คือ การจัดตั้ง “คลินิกเสมารักษ์” เป็นสถานที่หนึ่งที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาเป็นการย่อ
ขนาดสถานที่ให้ง่าย และสะดวกต่อนักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่จะสามารถเข้ามารับการให้คำปรึกษาอย่างเต็มใจ และ
เพื่อให้การประสานงานและการขับเคลื่อนการทำงานส่งเสริมความประพฤตินักเรียน มีประสิทธิภาพ และ
สนองเจตนารมณ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ จึงจัดตั้งคลินิกเสมารักษ์ เป็นหน่ว ยงานภายใน
งานอนามัยโรงเรียนและกิจการนักเรียน เพื่อเป็นศูนย์กลางดูแลแก้ไขปัญหาความประพฤตินักเรียนโดยให้มี
อำนาจหน้าที่ดังนี้ เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาความประพฤตินักเรียน โดยรับแจ้งเหตุ และดำเนินการแก้ไข
ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานสถานศึกษา ในการป้องกันแก้ไขปัญหาความประพฤติ และคุ้มครองสิทธิ
ของนักเรียน ร่วมกับองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ เครือข่ายองค์กรภาครัฐและเอกชน และหน่วยงาน
อื่นที่เกี่ยวข้อง ประสาน ติดตาม จัดทำกรณีศึกษาและบริการให้คำปรึกษาแก่นักเรียนและนักศึกษา ประสาน
ตรวจสอบ ดูแลช่วยเหลือ นักเรียน สถานศึกษา ที่ประสบเหตุภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน
รวมทั้งกำหนดให้มีศูนย์วิทยุสื่อสารเสมารักษ์ กระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงจัดระบบและบริหารจัดการให้เป็น
ศูนย์กลางเชื่อมโยงเครือข่ายการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยแต่งตั้ง
คณะกรรมการดำเนินงาน “คลินิกเสมารักษ์” และกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน “คลินิกเสมารักษ์” เพื่อการ
ทำงานที่เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินงานบำบัดในสถานศึกษานั้นต้องมีการ
รายงานผลการดำเนินงานอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งการดำเนินการด้านจิตสังคมบำบัดในสถานศึกษา
เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่ าง ๆ ทั้งร่างกาย อารมณ์และสังคมให้แก่ผู้เรียนโดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการ
ปรับสภาพจิต ไม่ให้มีพฤติกรรมไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดและอบายมุข
3.2.1. ด้านสุขภาพอนามัย โรงเรียนได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัย
ได้แก่ จัดการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน จัดให้มีล านกีฬา ห้องซ้อมดนตรีส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิด
ประโยชน์โดยการเล่นกีฬา ดนตรี ตรวจสุขภาพนักเรียนโดยคณะกรรมการสภานักเรียนฝ่ายอนามัย และครู
ร่วมดูแลทุกวันดำเนินการตามโครงการบริการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียน โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ประจำตำบลนิคมสร้างตนเองพิมาย ๑
3.2.2 ด้านจริยธรรม โรงเรียนได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม
สำหรับนักเรียน ได้แก่ กิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรม การสวดมนต์ทุกวันพุธ กิจกรรมนั่งสมาธิก่อนเข้าเรียน
รวมถึงสอดแทรกจริยธรรมในการเรียนทุกกลุ่มสาระวิชา
3.2.3 ด้านสังคม โรงเรียนได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่
กิจกรรมสภานักเรียน เพื่อให้เห็นความสำคัญของวิถีประชาธิปไตย กิจกรรมผู้ใหญ่บ้าน เป็นการฝึกให้นักเรียน
รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองในการอยู่ร่วมกัน กิจกรรมจิตอาสา เพื่อให้รู้จักการเสียสละและช่วยเหลือสังคม
3.2.4 ฝึ ก อาชี พ โรงเรี ย นได้ จ ั ด กิ จ กรรมที ่ ส ่ ง เสริ ม อาชี พ ได้ แ ก่ การทำสบู่
สมุนไพร การเลี้ยงไก่บ้าน การทำไม้กวาด การทำปลาส้ม การปลูกพืช การปลูกกล้วย ผักสวนครัว การทอผ้า
การสานตะกร้า การไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการประกอบอาชีพต่าง ๆ การทำดอกไม้ เป็นต้น
สถานศึกษาได้จัดกิจกรรมโดยจัดให้นักเรียนทุกคนได้มีที่ปรึกษา ผ่านโครงการ
ผู้ใหญ่บ้านของกิจกรรมสภานักเรียน เป็นลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อนพี่ช่วยน้อง ร่วมสนับสนุนโครงการ To Be
Number One โครงการโรงเรียนปลอดบุหรี่ เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเห็นถึงพิษภัยของสารเสพติด การ
ปฏิบัติตัวไม่ให้เสี่ยงในเรื่องของสารเสพติด ตลอดจนข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด จัดบริการแนะ
แนว กิจกรรมโฮมรูมกิจกรรม
๓๔

การดำเนินงานคลินิกเสมารักษ์

การดำเนินการคลินิกเสมารักษ์
๓๕

4. มาตรการด้านการเฝ้าระวัง
โรงเรียนวัดบ้านตำแย ดำเนินการตามมาตรการด้านการเฝ้าระวัง โดยมีการรับเรื่องราวร้องทุกข์
เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดและอบายมุข โดยมีตู้เสมารักษ์ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน มีเครือข่ายในการ
เฝ้าระวังทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อดำเนินการรับเรื่องราวปัญหายาเสพติดและอบายมุข ผ่านตู้
เสมารักษ์ และรับให้คำปรึกษา ตลอดจนรายงานผลการดำเนินงาน
4.1 สถานศึกษามีตู้เสมารักษ์รับเรื่องปัญหายาเสพติดและอบายมุข อบายมุขนับว่าเป็นปัญหา
สังคมอย่างหนึ่งที่กัดกร่อนสังคมไทยมาโดยตลอด และยิ่งถ้าอบายมุขแพร่เข้าไปในโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานอบรม
บ่มนิสัยอันดีงามแก่เยาวชนด้วยแล้ว นักเรียนซึ่งเป็นกำลังสำคัญระดับมันสมองของชาติในอนาคต ถ้าตกเป็น
เหยื่อของอบายมุขก็ไม่อาจเป็นความหวังของชาติในอนาคตได้ ตรงกันข้ามกลับเป็นการเพิ่มภาระให้แก่สังคม
อีกด้วย ดังนั้น โรงเรียนในฐานะที่เป็นสถาบันพัฒนาบุคคลของชาติจึงมีหน้าที่โดยตรงต่อการพิจารณาและ
สกัดกั้นปัญหาอบายมุขมิให้เข้ามากล้ำกรายนักเรียนและในสถานศึกษาได้
สถานศึกษาจึงจัดให้มีตู้เสมารักษ์เพื่อรับ ร้องทุกข์เกี่ยวปัญหาเรื่องยาเสพติดและอบายมุข โดยแต่งตั้ง
คณะกรรมการดำเนินงาน มีเครือข่ายในการเฝ้าระวังทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อสร้างเครือข่าย
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดและอบายมุขให้กับนักเรียน จึงดำเนินการรับเรื่องราวปัญหายาเสพติดและ
อบายมุข และรับให้ คำปรึกษา ดำเนินการแก้ไข ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานสถานศึกษา ศึกษา
วิเคราะห์ เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ ตรวจสอบ ให้ความช่วยเหลือ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาความประพฤติ
นักเรียน และคุ้มครองสิทธิของนักเรียน ร่วมกับองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ เครือข่ายองค์กรภาครัฐ
และเอกชน และหน่ว ยงานอื่น ที่เกี่ย วข้อง ประสาน ติดตาม จัดทำกรณีศึกษาและบริการให้คำปรึ ก ษา
แก่นักเรียน ดังนั้นการจัดตั้งตู้เสมารักษ์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนนั้น ดี เก่ง และมีสุข เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง
ร่างกายและจิตใจให้ประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยที่ดีของสังคม
4.2 สถานศึกษาดำเนินการจัดตั้งชมรม /ชุมนุม เสมารักษ์ป้องกันยาเสพติด โดยดำเนินการดั งนี้
4.2.1 ดำเนินการจัดตั้งชุมนุม
4.2.2 รับสมัครนักเรียน
4.2.3 ดำเนินกิจกรรมของชุมนุม
4.2.4 สรุปการจัดกิจกรรม
๓๖

5. มาตรการด้านการบริหารจัดการ
โรงเรียนวัดบ้านตำแย ได้ดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ปลอดยาเสพติดอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
โดยดำเนินงานด้วยระบบบริหารจัดการ ดังนี้
5.1 สถานศึกษามีนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด
และอบายมุข โดยกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเอาชนะยาเสพติด
ตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด โดยมุ่งการดำเนินยุทธศาสตร์ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายใน
โรงเรีย น โดยไม่เกิดผลกระทบในทางลบ เพื่อเป็นรากฐานการนำไปสู่ ความยั่ งยืน ของการแก้ ไ ขปั ญ หา

5.๒ สถานศึกษามีคณะกรรมการดำเนินงาน และมีห้องปฏิบัติงานโครงการสถานศึกษาสีขาว


ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงาน จัดทำโครงการ/
กิจกรรม เพื่อเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดไม่ให้เข้าสู่โรงเรียน มีห้องปฏิบัติกิจกรรมที่ ดำเนินการโดยสภานักเรียน
ครูและนักเรียนแกนนำเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นในหมู่นักเรียน สร้างเครือข่าย สร้างความเข้มแข็งให้
โรงเรียน และผู้ปกครอง มีการขับเคลื่อน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยดำเนินการ
ตามแผนปฏิบ ัติการประจำปีในทุกปีและมีโครงการกิจกรรมที่ส ่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนห่างไกล
ยาเสพติ ด ได้ แ ก่ โครงการสถานศึ ก ษาสี ข าว โครงการห้ อ งเรี ย นสี ข าว โครงการส่ ง เสริ ม คุ ณ ลั ก ษณะ
อันพึงประสงค์ โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยให้คณะครูที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่มงานดำเนินการ
ให้สอดคล้องนโยบายของรัฐ และแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่ส อดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ
และเป้าประสงค์
๓๗

๕.๓ สถานศึกษามีการจัดทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับภาคีเครือข่าย


โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพิมาย 2 ได้ดำเนินการจัดทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับภาคีเครือข่าย
ดังนี้ แกนนำเครือข่ายสถานีตำรวจภูธรพิมาย แกนนำเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสร้างตนเอง
แกนนำเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมสร้างตนเองพิมาย ๑ แกนนำเครือข่ายผู้นำชุมชน
ผู้ปกครองและชุมชนในสถานศึกษา และเครือข่ายสถานศึกษาอื่นๆ เพื่อเป็นสัญญาว่าทุกส่วนจะร่วมกันป้องกัน
และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
๓๘
๓๙
๔๐
๔๑
๔๒
๔๓
๔๔

5.4 สถานศึกษามี การดำเนินกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ทำ MOU ความร่วมมือระหว่าง


โรงเรียนกับชุมชน เป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงพัฒนาชุมชาน และสังคมโรงเรียนจะต้องมีส่วนสำคัญ
ในการพัฒนา ชุมชนในทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นในก้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองและการปกครอง
ที่สำคัญที่สุดก็คือ โรงเรียนจึงเป็นรากฐานของการพัฒนาชุมชน โรงเรียนต้องมีความรู้เรื่องชุมชน เข้าใจปัญหา
อุปสรรคต่าง ๆ ของชุมชน ให้สัมพันธ์สอดคล้ องกับชีวิตของชุมชนที่โรงเรียนจะต้องยกระดับมาตรฐานการ
ดำรงชีวิตในด้านต่าง ๆ ให้สูงขึ้น ชีวิตในโรงเรียน จะต้องเป็นแบบอย่างชุมชนได้ครูนำปัญหาต่าง ๆ มาให้
นักเรียนได้เรียนตามความรู้ความสามารถและวัยของนักเรียน ตั้งแต่ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นให้นักเรียนศึกษา
พิจารณาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้น ฝึกนักเรียนให้เรียนรู้จักทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค
ต่าง ๆ โรงเรียนมีบทบาทอย่างสำคัญและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนต้องนำทรัพยากรของชุมชน มาใช้ให้
เป็นประโยชน์และต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม โรงเรียนจึงมีความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องบูรณาการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน อาทิเช่น การร่วมมือกับโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพการให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหายาเสพติด สถานีตำรวจ และโรงเรียนเครือข่าย ฯลฯ เพื่อกำกับ
ติดตาม และประเมินผล และรายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด ส่งเสริมความร่วมมือกันของชุมชน ท้ องถิ่น และ
ทุกภาคส่วนเพื่อให้มีส่วนร่วมในการกับกับติดตามดูแลความประพฤติของนักเรียนอย่างใกล้ชิดเพื่อส่งเสริมให้
นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โรงเรียนเน้นการบริหารแบบ
มีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับองค์การบริหารส่วนตำบลหนอง
ค่าย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำโรง สถานีตำรวจภูธรประทาย และเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน มี
การประสานงานกับตำรวจในท้องที่ มาให้ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับยาเสพติด

5.5 สถานศึกษามีการกำกับ ติดตามประเมินผล และรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสถานศึกษา


มีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ สถานศึกษามีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตาม ดูแล อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้
การบำบัดรักษามีการดำเนิน การอยู่เรื่อยไป อีกทั้งยังช่วยให้ปริมาณของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงลดจำนวนลง
สถานศึกษามีการกำหนดปฏิทินการกำกับติดตาม ประเมินผล อย่างชัดเจนเพื่อสะดวกในการนัดวัน เวลา
ในการจัดกิจกรรมให้คำปรึกษา จากนั้นคณะกรรมการดำเนินงานหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีการจัดทำบันทึก
การกำกับติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบ
ในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี จะมีการกำกับติดตามประเมินผลทุกระยะโดยรายงาน
ผลตอนประชุมคณะครูทุกเดือน และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินงานตามแผนก็ให้จัดทำสรุปรายงานผล
๔๕

เพื่อเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปรายงานผลโครงการสถานศึกษาสีขาว ภาคเรียนละ 1 ครั้ง สรุปประเมินผล


โครงการห้องเรียนสีขาว ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
จากการดำเนินการในปีการศึกษาที่ผ่านมา โรงเรียนดำเนินงานโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของ ทุกฝ่าย
ไม่ว่าจะเป็นคณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้โรงเรียนนิคมสร้าง
ตนเองพิมาย 2 เป็นโรงเรียนสีขาว ปลอดสารเสพติด และมีความปลอดภัยในชีวิต

กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่


กลยุทธ์ 4 ต้อง
1. สถานศึกษาต้องมียุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สอดคล้องกับสภาพของ
ปัญหาและสถานการณ์ในพื้นที่ โรงเรียนได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไว้ใน
แผน ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
2. สถานศึกษาต้องมีแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษาตลอดปีการศึกษา
ในการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
เป็นการบูรณาการทำงานระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อ
ร่วมกันป้องกันเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดภายในโรงเรียน และชุมชน
3. สถานศึกษาต้องมีระบบข้อมูลการดำเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่ ระบบด้านการป้องกัน ระบบด้าน
การเฝ้าระวัง ระบบด้านการดูแลช่วยเหลือ และระบบด้านการบริหารจัดการ
3.1 ระบบด้านการป้องกัน โรงเรียนได้จัดกิจกรรม ดังนี้
3.1.1 โครงการห้องเรียนสีขาว
3.1.2 โครงการค่ายพุทธธรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
3.1.3 กิจกรรม To Be Number One
3.1.4 กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ต้านยาเสพติด
3.1.5 กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ต้านยาเสพติด
3.2 ระบบด้านการเฝ้าระวัง โรงเรียนได้จัดกิจกรรม ดังนี้
3.2.1 การป้องปราม
3.2.2 มีนักเรียนแกนนำหรือจิตอาสาในการดำเนินงานต้านยาเสพติด
3.2.3 มีครูแกนนำ
3.3 ระบบด้านการดูแลช่ว ยเหลือนักเรียน โรงเรียนได้จัดกิจกรรม จัดให้นักเรียนแกนนำดูแล
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตอบสนองปัญหา พฤติกรรมนักเรียน ช่วยเหลือด้านการเรียนและให้คำปรึกษา แนะนำ
ช่วยเหลือ หากไม่สามารถแก้ไขได้ให้รายงานครูที่ปรึกษา
3.4 ระบบด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนได้จัดกิจกรรม ดังนี้
3.4.1 วางแผนพัฒนาการศึกษาขั้ นพื้นฐานของสถานศึกษาที่ส อดคล้องกับแผนพัฒ นา
การศึกษาแห่งชาติ
3.4.2 โรงเรียนดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีและมีโครงการกิจกรรมที่ส่งเสริม
และสนับสนุนให้นักเรียนห่างไกลยาเสพติด
3.4.3 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านยาเสพติด
3.4.4 เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับภาคเครือข่ายทุกภาคส่วน
3.4.5 มีการกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานทุกระยะ
๔๖

4. สถานศึกษาต้องมีเครือข่ายการทำงานระว่างนักเรียนครู ผู้ปกครองและชุมชน โรงเรียนได้จัด


กิจกรรมสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน
4.1 กิจกรรมห้องเรียนสีขาว
4.2 กิจกรรมผู้ใหญ่บ้าน
4.3 คณะกรรมการผู้ปกครองเครือข่ายประจำห้องเรียน
4.4 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริม
สุ ข ภาพตำบลสำโรง องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลหนองค่ า ย สถานี ต ำรวจภู ธ รประทาย ผู ้ น ำชุ ม ชน วั ด
และผู้ปกครอง
4.5 ข้อตกลงความร่วมมือในการลด ละ เลิกอบายมุขทุกชนิดระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
กลยุทธ์ 2 ไม่
1. สถานศึกษาไม่ปกปิดข้อมูล กลุ่มเสพ กลุ่มติดยา กลุ่มค้ายา โดยโรงเรียนได้ทำบันทึกข้อตกลง
ความร่วมมือ (MOU) กับทุกฝ่ายในการที่จะไม่ปกปิดข้อมูล กลุ่มเสพ กลุ่มติดยาและกลุ่มค้ายา
2. สถานศึกษาไม่ผลักปัญหา ไม่ไล่นักเรียนออกจากสถานศึกษาแต่ต้องนำนักเรียนไปบำบัดรักษาและ
ให้กลับมาเรียนใหม่ โดยโรงเรียนมีแนวทางนำนักเรียนไปรักษาและบำบัดตามนโยบายมาตรการด้านการรักษา
เพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ปัญหาอุปสรรคด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านยาเสพติดในสถานศึกษา
จากการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง พบว่า
1. ในบางพื้นที่หรือบริเวณพื้นที่เสี่ยงรอบสถานศึกษา เมื่อดำเนินการอย่างจริงจังในสถานศึกษา
ประสบปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างผู้ปกครองนักเรียน และเกิดความกลัวผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิต
ของตนเองและครอบครัว
2. การรณรงค์ป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ควรมีการขยายผลไปทุกสถานศึกษา ซึ่งปัจจุบันใน
บางสถานศึกษา ทำได้ตามบทบาทหน้าที่การเรียนการสอนเท่านั้น ในการเชื่อมโยงสู่ชุมชน จะต้องอาศัย
บุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ผู้มีหน้าที่ด้านบำบัด โดยตรงซึ่งต้องใช้งบประมาณในการ
ดำเนินการในสถานศึกษา เพราะการดำเนินการด้านการป้องกันยาเสพติดเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่าง
ต่อเนื่อง ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดได้ ภายใต้ความหลากหลายในการแพร่ระบาด โดยเฉพาะเยาวชน
ในสถานศึกษายังเป็นเป้าหมายหลักของผู้ค้ายาเสพติดในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
3. สถานศึกษาค่อนข้างจะสับสน เกี่ยวกับแบบการรายงานต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายมีการระบุข้อมูลมาก
เกินความจำเป็น
4. บุคลากรในสถานศึกษามีภารกิจหลักในการจัดการเรียนการสอน และรับผิดชอบรับภาระงาน
หลายอย่าง ทำให้การรายงานข้อมูลล่าช้า หรือไม่รายงานลักษณะการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดของสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัดเป็นจำนวนมาก การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ซึ่งมีความ ซับซ้อน
ยุ่งยากต่อการขับเคลื่อนและแก้ปัญหา
5. นโยบายบางอย่าง เช่น การขจัดพื้นที่เสี่ยงรอบสถานศึกษา ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างจริงจัง
เนื ่ อ งจากปั จ จั ย เสี ่ ย งหรื อ พื ้ น ที ่ เ สี ่ ย งรอบสถานศึ ก ษา ได้ แ ก่ ร้ า นจำหน่ า ย บุ ห รี ่ สุ ร า หรื อ ร้ า นเกม
ร้านอินเตอร์เน็ต สถานศึกษาหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตาม
กฎหมายกับร้านค้า ร้านเกมที่ไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ ตามกฎหมายแต่อย่างใด จึงทำได้เพียงป้องกัน
เฝ้าระวัง หรือติดตามเด็กเท่านั้น
๔๗

แนวทางแก้ไข
ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีความจริงจัง และจริงใจในการ แก้ไขปัญหาร่วมกัน
สรุปผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านยาเสพติดในสถานศึกษาโดยภาพรวม
การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ทุกฝ่าย
มีส่วนร่วม โดยการระดมทรัพยากรบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาทุกคน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู
ผู้ปกครอง ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ แพทย์ เจ้าหน้าที่กระทรวง
สาธารณสุข เพื่อให้เยาวชน นักเรียน ได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด เป็นการสร้างผู้นำ
เยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน
การให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการป้อ งกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จะเป็น
แนวทางให้เกิดการยอมรับและยึดถือปฏิบัติตาม อีกทั้งเป็นแนวร่วมในการดำเนินงาน นักเรียนทุกคนสามารถ
เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานได้แก่ การจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันยาเสพติดต่างๆ กิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา
กิจกรรมสภานักเรียน การจัดกิจกรรมชมรมต่อต้านยาเสพติดในโรงเรียน และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ โดย
กิจกรรมเหล่านี้มีครูอาจารย์เป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำต่อนักเรียนด้วยการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี
โอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์เช่นนี้ เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำและทักษะ
ทางสังคมให้แก่นักเรียนที่มีส่วนร่วมอีกด้วย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 และสถานศึกษาในสังกัด ได้ดำเนิน
การจัดกิจกรรมตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด ซึ่งได้
ร่วมกันดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญและเป็นอนาคตของชาติ
ด้วยการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน เข้ามามีบทบาทในการเฝ้าระวังป้องกัน และดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนในรูปแบบที่เหมาะกับบริบทของสถานศึกษา
๔๘

บทที่ ๔
กิจกรรมห้องเรียนสีขาว
คำสั่งคณะทำงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
เพื่อให้การดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว บรรลุเป้าหมายเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ลดปัญหา
ได้ในทุกระดับ โรงเรียนจึงต้องมีกระบวนการในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งต่อเนื่อง
และยั่งยืน โดยบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจในระบบตามกระบวนการ
ดำเนินงานห้องเรียนสีขาว โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพิมาย 2 จึงได้แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
ดังนี้
๔๙
๕๐
๕๑

แผนผังคณะทำงานห้องเรียนสีขาว
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓
๕๒
แผนผังคณะทำงานห้องเรียนสีขาว
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๕
๕๓

แผนผังคณะทำงานห้องเรียนสีขาว
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓
๕๔

สำเนาสมุดบันทึกการปฏิบัติงานแกนนำ ๔ ฝ่าย
บทบาทและหน้าที่นักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย
๑. หัวหน้าห้องเรียนปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
๑.๑ อำนวยการกำกับดูแลสั่งการการดำเนินงานของทุกฝ่าย
๑.๒ ประสานงานรายงานบันทึกและสรุปผลการดำเนินงานของทุกฝ่าย
๑.๓ ช่วยดูแลแก้ไขให้คำปรึกษาข้อปัญหาของเพื่อนๆและน้อง ๆ ที่ถูกต้อง
๑.๔ รายงานปัญหาอุปสรรคความต้องการช่วยเหลือให้ครูที่ปรึกษาเพื่อทราบและแก้ไขปัญหา
๑.๕ ตรวจสอบสมุดบันทึกการปฏิบัติงานและงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. รองหัวหน้าฝ่ายการเรียนปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
๒.๑ รับผิดชอบการดูแลช่วยเหลือการบ้านช่วยสอนและอธิบายโครงงานและงานด้านวิชาการ
๒.๒ รับผิดชอบการดูแลและร่วมมือให้ผลสัมฤทธิ์การเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์
๒.๓ รับผิดชอบงานด้านวิชาการทุกกลุ่มสาระวิชาที่ได้รับมอบหมาย
๒.๔ รับผิดชอบจัดแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน
๒.๕ บันทึกผลการปฏิบัติงานทุกวันและงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๓. รองหัวหน้าฝ่ายการงานปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
๓.๑ รับผิดชอบความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในห้องเรียน
๓.๒ รับผิดชอบของมีค่าวัสดุ-อุปกรณ์ ภายในห้องเรียนและความปลอดภัยภายในห้องเรียน
๓.๓ ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าประตูหน้าต่างหากชำรุดแจ้งงานอาคารสถานที่
๓.๔ ตรวจสอบจุดเสี่ยงและมาตรการป้องกันอัคคีภัยอุบัติเหตุทั้งภายในและนอกอาคารสถานที่
๓.๕ บันทึกผลการปฏิบัติงานทุกวันและงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๓.๖ การดำเนินโครงงานป้องกันยาเสพติด
๔. รองหัวหน้าฝ่ายสารวัตรนักเรียนปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
๔.๑ รับผิดชอบตรวจสอบการนำสารเสพติด ยาเสพติด อาวุธ เข้ามาภายในสถานศึกษา
๔.๒ รับผิดชอบเฝ้าระวังไม่ให้มีการสูบบุหรี่พฤติกรรมไม่พึงประสงค์การแต่งกายในกลุ่มเพื่อน
๔.๓ การให้คำแนะนำคำปรึกษาปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงให้มีทางออกของปัญหาที่ถูกต้อง
๔.๔ การรายงานพฤติกรรมที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ให้ครูที่ปรึกษาเฝ้าระวังและช่วยแก้ไข
ปัญหาพฤติกรรมที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
๔.๕ บันทึกผลการปฏิบัติงานทุกวันและงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๕. รองหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
๕.๑ รับผิดชอบงานกิจกรรมต่าง ๆ เช่นวันสำคัญกีฬาวิชาการประสานงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
๕.๒ รับผิดชอบงานกิจกรรมในห้องเรียนที่ได้รับมอบหมาย
๕.๓ รับผิดชอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในห้องเรียนในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา
๕.๔ ประสานงานระหว่างครูผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนในการจัดกิจกรรม
๕.๕ บันทึกผลการปฏิบัติงานทุกวันและงานอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย
โรงเรียนได้ดำเนินการให้นักเรียนแกนนำทั้ง ๔ ฝ่ายซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายการเรียน ฝ่ายการงาน ฝ่าย
สารวัตรนักเรียนและฝ่ายกิจกรรมของแต่ละห้องเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ประถมศึกษาปีที่ ๖
จัดทำแบบบันทึกการปฏิบัติงานห้องเรียนสีขาว โดยบันทึกเดือนละ ๔ ครั้งซึ่งการบันทึกแต่ละครั้งจะให้บันทึก
สัปดาห์ละ ๑ ครั้งของวันจันทร์ ทั้งภาคเรียนที่ ๑ และของเรียนที่ ๒ ของปีการศึกษานั้นๆ ดังภาพ
๕๕
ตัวอย่างแบบบันทึกการปฏิบัติงานของนักเรียนแกนนำ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ปีการศึกษา ๒๕๖6
๕๖
๕๗
๕๘
๕๙
๖๐
๖๑
๖๒
๖๓

ชื่อโครงงาน ยาเสพติด คิด Say No


๖๔
๖๕
๖๖
๖๗
๖๘

โครงงานห้องเรียนปลอดบุหรี่ แอลกอฮอล์และอบายมุขทุกห้อง
โครงงานห้องเรียนสีขาว
ชื่อโครงงาน หลีกไกลจากยาเสพติด
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ ยาเสพติด ที่เป็นโยบายของรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุก
ภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างบูรณาการ ประเทศไทยเป็นพื้นที่
แพร่ระบาดและเป็นทางผ่านยาเสพติดไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ยาเสพติดที่แพร่ ระบาดในประเทศไทย
ประกอบด้วย ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า สารระเหย โคเคน ยาอี และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทบางชนิด
เช่น จำพวกยานอนหลับ ตัวยาที่แพร่ระบาดมากและมีปัญหาในระดับรุนแรง คือ ยาบ้า ซึ่งแพร่กระจายเป็นวง
กว้างอยู่ในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน นักเรียนนักศึกษา ผู้ค้ามีกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆตั้งแต่ระดับ
รายใหญ่ ระดับกลาง และระดับย่อยในพื้นที่แพร่ระบาด
ภาวะการเสพติด คือ อาการผิดปกติอันเนื่องมาจากการทำงานบกพร่องของเซลล์ในสมองที่ทำให้เกิด
ความรู้สึกพึงพอใจ โดยภาวะการเสพติดสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกคนในทุกช่วงวัยเกือบร้อยละ 60 ของผู้
ประสบภาวะการเสพติดมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ผิดปกติส่วนในรายอื่นๆอาจเกิดจากการที่
สมองในส่วนที่ทำหน้าที่สร้างความรู้สึกพึงพอใจได้รับการกระตุ้นอย่างรุนแรงจากปัจจัยต่างๆ เช่น ยาเสพติด
สารเสพติด หรือการเสพติดพฤติกรรมเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยผู้ตกอยู่ในภาวะการเสพติดจะไม่สามารถมี
ความสุขได้จากการใช้ชีวิตแบบปกติ ซึ่งภาวะนี้คือสาเหตุที่ผู้ติดสารเสพติด หรือผู้ติดสุราไม่สามารถควบคุมการ
เสพหรือการดื่มได้จนมีอาการเสพติดเรื้อรัง
สภาพเช่นนี้ทำให้ยาเสพติดเข้ามามีบทบาทได้ง่ายตั้งแต่ยาเสพติดถูกกฎหมายอย่างเหล้าและบุหรี่ที่ใช้
เพื่อประโลมใจจากความด้อยเปรียบในสังคม ยาเสพติดผิดกฎหมายอย่างยาบ้าที่คนยากคนจนหลายคน
จำเป็นต้องเสพเพื่อเพิ่มเรี่ยวแรงในการทำงาน หรือในที่สุดคือผันตัวไปเป็นผู้ขายเพราะหมดหนทางจะหารายได้
ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ และไม่เพียงแต่คนจน ความเคร่งเครียดจากการต้องปีนป่ายและรักษาไว้ซึ่งระดับชั้น
ทางเศรษฐกิจและสังคมของตนทำให้แม้แต่คนมีเงินก็ยังต้องใช้ยาเสพติดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่กระนั้น
โดยเปรียบเทียบแล้วคนยากจนก็ยังต้องจ่ายแพงกว่า และแรงกดดันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องเผชิญก็ทำให้
คนจนมีโอกาสจะกลายเป็นผู้ที่ใช้ยาเสพติดแบบใดแบบหนึ่งในระดับที่ต้องพึ่งพาอย่างขาดไม่ได้มากกว่าคนรวย
อยู่ดี รวมทั้งส่งผลถึงการเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาได้อยากกว่าอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงโทษของสิ่งเสพติด
2. เพื่อให้นักเรียนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด
3. เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ต่อต้านยาเสพติด
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องหลีกไกลจากยาเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนวัดบ้าน
ตำแย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 มีขอบเขตและการค้นคว้าดังนี้
ขอบเขตด้านประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนวัดบ้านตำแย สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
ขอบเขตด้านระยะเวลาที่ใช้ การทำโครงงานชิ้นนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 256๕
๖๙

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
๑. ความหมายของยาเสพติด
ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้
ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ
นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และ
ประเทศชาติ
๒. ประเภทของยาเสพติด
ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
๑. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑.๑ ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น
กระท่อม กัญชา เป็นต้น
๑.๒ ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น
เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น
๒. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
๒.๑ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยา
อีหรือยาเลิฟ
๒.๒ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทาง
การแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
๒.๓ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติด
ประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมี
บทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิ
ดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
๒.๔ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่
๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมี
บทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีน
เป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒
ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
๗๐

๒.๕ ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติด


ประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
๓. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๓.๑ ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยา
กล่อมประสาท
๓.๒ ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน
๓.๓ ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
๓.๔ ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาท
ได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา
๔. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๙ ประเภท คือ
๔.๑ ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่
ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน
๔.๒ ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์
ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น
๔.๓ ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้
๔.๔ ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน
๔.๕ ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา
๔.๖ ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา
๔.๗ ประเภทใบกระท่อม
๔.๘ ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้น
ลำโพง เห็ดเมาบางชนิด
๔.๙ ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก ๘ ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทิน
เนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่
๓. วิธีการเสพยาเสพติด
กระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
๓.๑ สอดใต้หนังตา
๓.๒ สูบ
๓.๓ ดม
๓.๔ รับประทานเข้าไป
๓.๕ อมไว้ใต้ลิ้น
๓.๖ ฉีดเข้าเหงือก
๓.๗ ฉีดเข้าเส้นเลือด
๓.๘ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
๓.๙ เหน็บทางทวารหนัก
๗๑

๔. ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ได้แก่
๔.๑ ยาบ้า
๔.๒ ยาอี ยาเลิฟ หรือ เอ็กซ์ตาซี
๔.๓ ยาเค
๔.๔ โคเคน
๔.๕ เฮโรอีน
๔.๖ กัญชา
๔.๗ สารระเหย
๔.๘ แอลเอสดี
๔.๙ ฝิ่น
๔.๑๐ มอร์ฟีน
๔.๑๑ กระท่อม
๔.๑๒ เห็ดขีค้ วาย
๕. สาเหตุของการติดยาเสพติด
มีหลายประการ ดังนี้คือ
๕.๑ อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส ซึ่งเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของ
มนุษย์ โดยคิดว่า "ไม่ติด" แต่เมื่อลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด
๕.๒ ถูกเพื่อนชักชวน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน ทำตามเพื่อน เพราะต้องการ การ
ยอมรับจากเพื่อนฝูง หรือถูกชักจูงว่าใช้แล้วทำให้สมองปลอดโปร่ง หรือใช้แล้วทำให้ขยันจึงเหมาะแก่การเรียน
และการทำงาน
๕.๓ ถูกหลอกลวง โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม ทำให้ผู้รับไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตน
ได้รับเป็นยาเสพติด
๕.๔ ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย อันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ จนเกิดการติดยา
เพราะใช้เป็นประจำ
๕.๕ เกิดจากความคะนอง และขาดสติยั้งคิด ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นยาเสพติด แต่อยากแสดง ความ
เก่งกล้า อวดเพื่อน จึงชวนกันเสพจนติด
๕.๖ ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวยที่จะส่งเสริม และผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด
เช่น ครอบครัวแตกแยก สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อ
ความอยู่รอด อยากรวยเร็ว หรือพักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด
๖. โทษ/พิษภัย ของยาเสพติด
การใช้ยาเสพติด มีโทษและพิษภัยรอบตัว นอกจากจะส่งผลกระทบในทางไม่ดีโดยตรงต่อตัวผู้เสพ
แล้ว ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ยังส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังครอบครัวผู้เสพ ตลอดจนเศรษฐกิจ สังคม และ
ประเทศชาติอีกด้วย
๗๒

๗. วิธีสังเกตอาการผู้ติดยาเสพติด
จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย
และจิตใจดังต่อไปนี้
๗.๑ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
๗.๑.๑ สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
๗.๑.๒ ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
๗.๑.๓ ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
๗.๑.๔ ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
๗.๑.๕ มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน หรือ ท้องแขน
๗.๑.๖ ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
๗.๒ การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตได้จาก
๗.๒.๑ เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
๗.๒.๒ ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
๗.๒.๓ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
๗.๒.๔ พูดจาร้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
๗.๒.๕ ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
๗.๒.๖ ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
๗.๒.๔ ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
๗.๒.๕ พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว
๗.๒.๖ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
๗.๒.๗ ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ
๗.๒.๘ ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา
๗.๒.๙ ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย
๗.๒.๑๐ มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ
๗.๓ การสังเกตอาการขาดยา ดังต่อไปนี้
๗.๓.๑ น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย
๗.๓.๒ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่อ
อาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด
๗.๓.๓ ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ
๗.๓.๔ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
๗.๓.๕ ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด
๗.๓.๖ มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง
๗.๓.๗ เป็นตะคริว
๗.๓.๘ นอนไม่หลับ
๗.๓.๙ เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้
๗๓

๘. การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย
การตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย แบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน
๘.๑ การตรวจขั้นต้น : ราคาถูก ได้ผลเร็ว มีชุดตรวจสำเร็จรูป ความแม่นยำในการตรวจ
ปานกลาง สะดวกในการนำไปตรวจนอกสถานที่
๘.๒ การตรวจขั้นยืนยัน : เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ แต่ใช้เวลาตรวจนาน ค่าใช้จ่ายสูง
๙. การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติด
ยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ การบำบัดรักษาผู้ติดยา
เสพติด แบ่งออกเป็น ๓ ระบบคือ
๙.๑ ระบบสมัครใจ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาใน
สถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
๙.๒ ระบบต้องโทษ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดที่กระทำความผิดและถูกคุมขัง จะได้รับการ
บำบัดรักษา ในสถานพยาบาลที่กำหนดได้ตามกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ กรมราชทัณฑ์
กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมหรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก
กลาง กระทรวงยุติธรรม
๙.๓ ระบบบังคับบำบัด หมายถึง ผู้ที่ทางราชการตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกายจะต้อง
ถูกบังคับบำบัดตาม พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๓๔ ในสถานพยาบาลที่จัดขึ้น
ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นระยะเวลา ๖ เดือน และขยายได้จนถึงไม่เกิน ๓ ปี ระบบนี้ยังไม่เปิดใช้ในขณะนี้
การบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มี ๔ ขั้นตอน คือ
๙.๑ ขั้นเตรียมการก่อนบำบัดรักษา (Pre - admission) เพื่อศึกษาประวัติภูมิหลังของผู้
ติดยาเสพติดทั้งจากผู้ขอรับการรักษา และครอบครัว
๙.๒ ขั้นถอนพิษยา (Detoxification) เป็นการบำบัดรักษาอาการทางกายที่เกิดจากการใช้
ยาเสพติด โดยผู้ขอรับการรักษา สามารถเลือกใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน ก็ได้ตามสะดวก
๙.๓ ขั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) เป็นการบำบัดรักษาเพื่อ
ปรับเปลี่ยน ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ พฤติกรรม เพื่อให้รู้จักตนเอง และมีความเข้มแข็งในจิตใจ เพื่อให้ผู้รับ
การบำบัดมีความเชื่อมั่นในการกลับไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยไม่หวนกลับไปเสพซ้ำอีก
๙.๔ ขั้นติดตามดูแล (After - case) เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติดที่ได้ผ่านการ
บำบัดครบทั้ง ๓ ขั้นตอนข้างต้นแล้ว เพื่อให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาและให้กำลังใจผู้เลิกยาเสพติด ให้ดำเนิน
ชีวิตอย่างปกติสุขในสังคมได้ยิ่งขึ้น
๗๔

บทที่ 3
วิธีดำเนินงาน

วิธีการดำเนินงาน
1. ศึกษาสิ่งเสพติดต่อละชนิด
2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำสื่อรณรงค์
3. จัดทำป้ายรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน
๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 รู้ถึงสิ่งเสพติดแต่ละชนิด
2. นักเรียนได้จัดทำป้ายรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
3. รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
บทที่ 5
สรุปผล และข้อเสนอแนะ

5.1 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
1. นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น เกิดความสามัคคีกัน
2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับสิ่งเสพติด
3. รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
5.2 ข้อเสนอแนะ
ควรขยายผลไปส่งห้องเรียนอื่น ๆ

ภาพ : การดำเนินกิจกรรมโครงงานห้องเรียนสีขาว ต้านยาเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3


๗๕

โครงงานห้องเรียนสีขาว
ชื่อโครงงาน ห้องเรียนร่วมใจต่อต้านยาเสพติด
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย เป็นปัญหาสำคัญที่นโยบายของรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวาระ
แห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างบูรณาการ ประเทศ
ไทยเป็นพื้นที่แพร่ระบาดและเป็นทางผ่านยาเสพติดไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ยาเสพติดที่ แพร่ระบาดใน
ประเทศไทย ประกอบด้วย ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า สารระเหย โคเคน ยาอี และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต
ประสาทบางชนิด เช่น จำพวกยานอนหลับ ตัวยาที่แพร่ระบาดมากและมีปัญหาในระดับรุนแรง คือ ยาบ้า ซึ่ง
แพร่กระจายเป็นวงกว้างอยู่ในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน นักเรียนนักศึกษา ผู้ค้ามีกระจายอยู่ใน
พื้นที่ต่างๆตั้งแต่ระดับรายใหญ่ ระดับกลาง และระดับย่อยในพื้นที่แพร่ระบาด
ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพ
อนามัยกรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ ตัวยาบางตัว เช่น
แอมเฟตามีน หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลางและ
ทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึง
พฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ ผู้ที่ติดยาเสพติด อาจเกิดปัญหาทางสุขภาพอนามัย หรือโรคต่างๆ ได้หลายอย่าง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนในห้องเรียนได้เข้าใจถึงโทษของสิ่งเสพติด
2. เพื่อให้นักเรียนในห้องเรียนได้ร่วมกันต่อต้านยาเสพติด
3. เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ต่อต้านยาเสพติดในโรงเรียน

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องห้องเรียนร่วมใจต่อต้านยาเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
โรงเรียนวัดบ้านตำแย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 มีขอบเขตและการ
ค้นคว้าดังนี้
ขอบเขตด้านประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดบ้านตำแย สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
ขอบเขตด้านระยะเวลาที่ใช้ การทำโครงงานชิ้นนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 256๕
๗๖

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. ประเภทของสารเสพติด
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้จัดประเภทของยาเสพติดให้โทษ
ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เป็นยาที่ไม่มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์ และทำให้เกิด
การเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับรุนแรง เช่น เฮโรอีน ยาบ้า ยาอี เป็นต้น
ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เป็นยาที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคในระดับน้อยจนถึงมาก และ
ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับที่ต้องพึงระวัง เช่น มอร์ฟีน โคเคน โคเดอีน เป็นต้น
ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ตามที่ได้ขึ้น
ทะเบียนตำรับไว้ เป็นยาที่ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรน้อย แต่ยังคงมีอันตราย และมี
ประโยชน์ มากในการรักษาโรคเช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน เป็นต้น
ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือประเภท2 เช่น อาเซติค
แอนไฮไดรด์ (Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chloride)
ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภทที่1 ถึงประเภทที่4เช่น กัญชา พืชกระท่อม เห็ด
ขี้ควาย เป็นต้น
ฝิ่น (OPIUM)
ลักษณะทั่วไป ต้นฝิ่นเป็นพืชล้มลุก นิยมปลูกกันทางภาคเหนือของประเทศไทย (จัดเป็นยาเสพติด
ให้โทษประเภท ๒ ตราพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) เนื้อฝิ่นได้มาจากยางที่กรีดจากผล
(กระเปาะ) ฝิ่นมีสีน้ำตาล กลิ่นเหม็นเขียว รสขม เรียกว่าฝิ่นดิบ และหากนำฝิ่นดิบมาต้ม เคี่ยวหรือหมัก จะได้
ฝิ่นที่มีสีน้ำตาลไหม้ปนดำ มีรสขมเฉพาะตัว เรียกวาฝิ่นสุก ทั้งฝิ่นดิบและฝิ่นสุก มีฤทธิ์ในการ กดระบบประสาท
อาการผู้เสพติดฝิ่น มีอาการจิตใจเลื่อนลอย ซึม ง่วง พูดจาวกไปวนมา อารมณ์ดี และการตัดสินใจเชื่องช้าผู้ที่
เสพฝิ่นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สุขภาพร่างกายจะทรุดโทรม ตัวซีดเหลือง ซูบผอม ดวงตาเหม่อลอย ริม
ฝีปากเขียวคล้ำ อ่อนเพลียง่าย ซึมเศร้า ง่วงเหลาหาวนอน เกียจคร้าน อารมณ์แปรปรวนง่าย พูดจาไม่อยู่กับ
ร่องกับรอย ความจำเสื่อม ชีพจรเต้นช้า ไม่รู้สึกตัว และหากไม่ได้เสพฝิ่นเมื่อถึงเวลาจะมีอาการหงุดหงิด
ฉุนเฉียวง่าย บางรายมีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง ดิ้นทุรนทุราย น้ำมูกน้ำตาไหล ม่านตาขยายผิดปกติ ปวดตาม
กล้ามเนื้อตามกระดูก ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรง อาเจียน หายใจลำบาก อาจชักและหมดสติได้

มอร์ฟีน (MORPHINE)
ลักษณะทั่วไป เป็นสารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากฝิ่น มีลักษณะเป็นผงสีขาวนวล สีครีม สีเทา ไม่มีกลิ่น
รสขม ละลายน้ำง่าย (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) มี
ฤทธิ์ในการกดประสาทและสมองรุนแรงกว่าฝิ่น ประมาณ ๘-๑๐ เท่า เสพติดได้ง่าย มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น
อัดเป็นเม็ด เป็นผง เป็นแท่งสี่เหลี่ยมมีเครื่องหมาย 999 หรือ OK เป็นสัญลักษณ์ และชนิดน้ำบรรจุหลอด
อาการผู้เสพติดมอร์ฟีน ผู้ที่เสพมอร์ฟีน ระยะแรกฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะช่วยลดความวิตกกังวล คลายความ
เจ็บปวดต่าง ๆ ตามร่างกาย ทำให้มีอาการง่วงนอนและหลับง่าย และหากเสพจนเกิดอาการติด ฤทธิ์ของ
มอร์ฟีนจะทำให้ผู้เสพมีอาการเหม่อลอย เซื่องซึม จิตใจเลื่อนลอย เกียจคร้านไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบกาย
สุขภาพร่างกายผ่ายผอม ทรุดโทรม และเมื่อไม่ได้เสพจะเกิดอาการกระวนกระวาย ความคิดสับสนพฤติกรรม
๗๗

ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง หูอื้อ นอนไม่หลับ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน บางคนอาจชักและ
หมดสติในที่สุด
เฮโรอีน หรือ ผงขาว (HEROIN)
ลักษณะทั่วไป เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ประเภท ๑ (ตามพระราชบัญญัติยาเสพ
ติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) เฮโรอีนได้จากการสังเคราะห์ตามกรรมวิธีทางเคมี ฤทธิ์ของเฮโรอีนมีความรุนแรงกว่า
มอร์ฟีน ประมาณ ๔-๘ เท่าและรุนแรงกว่าฝิ่นประมาณ ๓๐-๘๐ เท่า
อาการผู้เสพติดเฮโรอีน
เฮโรอีน เป็นยาเสพติดที่ร้ายแรง เสพติดได้ง่ายเมื่อใช้เพียง ๑ หรือ ๒ ครั้ง อาจทำให้เกิดอาการมึนงง
เซื่องซึม ง่วง เคลิ้มหลับได้เป็นเวลานาน ไม่สนใจต่อสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง บางรายเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ตาลาย สำหรับผู้ที่เสพจนติด เสพเป็นประจำร่างกายจะทรุดโทรม ผอมตัวซีดเหลือง ขอบตาคล้ำ ดวงตาเหม่อ
ลอย น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว สมองและประสาทเสื่อม ความคิดสับสน ความจำเสื่อม อ่อนเพลียไม่มีแรง
และหากใช้ยาเกิดขนาด ฤทธิ์ของเฮโรอีนจะทำให้หัวใจหยุดทำงาน เกิดอาการ "ช็อค" ถึงแก่ความตายได้ทันที
สำหรับอาการขาดยาหรือไม่ได้เสพยาเมื่อถึงเวลาเสพ ผู้เสพติดเฮโรอีนจะเกิดอาการทุรนทุราย ทุกข์ทรมาน
น้ำมูก น้ำตาไหล ความคิดฟุ้งซ่าน สับสน หงุดหงิด กระวนกระวาย ปวดเจ็บตามกล้ามเนื้อตามกระดูก ปวด
ท้องอย่างรุนแรง หูอื้อ ตาพร่ามัว อาเจียนอย่างรุนแรง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด นอนไม่หลับ บางรายมีอาการ
เพ้อคลั่ง ชักและหมดสติอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
โคเคน (COCAINE)
ลักษณะทั่วไป โคเคนหรือโคคาอีน เป็นสารเสพติดธรรมชาติที่ได้จากการสังเคราะห์ส่วนใบของต้น
โคคา (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) นิยมปลูกกันมาก
ในประเทศแถบอเมริกาใต้ และอเมริกากลาง เช่น ประเทศโบลิเวีย เปรู โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เป็นต้น มีฤทธิ์ใน
การ กระตุ้นประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับ แอมเฟตามีน (ยาม้า) แต่ทำให้เกิดอาการติดยาได้ง่ายกว่า โคเคน
หรือโคคาอีนนิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า COKE , SNOW , SPEED BALL , CRACK ฯลฯ มีลักษณะเป็นผง
ละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น มักนิยมเสพโดยใช้วิธีสูบ ฉีด หรือสูดพ่นเข้าไปในจมูก ฯลฯน
อาการผู้เสพติดโคเคน ผู้เสพติดโคเคนเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกฤทธิ์ของโคเคนจะกระตุ้นประสาททำให้เกิด
อาการไร้ความรู้สึก ดูเหมือนคล้ายมีกำลังมากขึ้น มีความกระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกเหนื่อย แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา
ร่างกายและความรู้สึกจะอ่อนเพลียเมื่อยล้าขึ้นมาทันที มีอาการเซื่องซึมและหากว่าเสพจนถึงขั้นติดยาจะ
เกิดผลต่อร่างกายอย่างมาก เช่น หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง ตัวร้อน มีไข้ตลอดเวลา นอนไม่หลับ ฯลฯ
และหากเสพโคเคนเข้าสู่ร่างกายเกิดขนาดจะเกิดพิษเฉียบพลัน ฤทธิ์ของยาจะไปกดการทำงานของหัวใจ ทำให้
หายใจไม่ออกอาจชัก และเสียชีวิตได้
กัญชา (CANNABIS)
ลักษณะทั่วไป กัญชาเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่นTHAISTICKS,MARY
- JANE หรือที่นิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า เนื้อ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ ตามพระราชบัญญัติยา
เสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะใบกัญชา จะเรียวยาวแตกเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่งหรือมันสำปะหลัง ส่วนที่
นำมาใช้เสพก็คือ ใบและยอดช่อดอกตัวเมีย โดยการนำมาตากหรืออบแห้งแล้วบดหรือหั่นเป็นผงหยาบ ๆ
นำมามวนบุหรี่สูบ หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บางรายใช้เคี้ยว หรือเจือปนกับอาหารรับประทาน ใน
กรณีที่เสพติดด้วยวิธีการสูบ กลิ่นกัญชาจะเหมือนกับเชือกหรือหญ้าแห้งไหม้ไฟ กัญชาจะออกฤทธิ์หลายอย่าง
ผสมผสานกัน เริ่มตั้งแต่ กระตุ้น กด และหลอนประสาททั้งนี้เนื่องจากในช่อดอกและใบกัญชามีสารพิษที่
๗๘

ร้ายแรงชนิดหนึ่งเรียกว่า TETRAHYDROCANNABINOL (THC) เป็นสารพิษที่ทำลายสุขภาพร่างกายและ


ก่อให้เกิดอาการติดยา
อาการของผู้เสพติดกัญชา
ผู้ที่เสพกัญชาในระยะแรกของการเสพ ฤทธิ์ของกัญชาจะกระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพมีอาการร่าเริง ช่าง
พูด หัวเราะง่าย หัวใจเต้นเร็ว ตื่นเต้นง่าย ต่อมาจะมีอาการคล้ายคนเมาเหล้าอย่างอ่อนเนื่องจากกัญชา ออก
ฤทธิ์กดประสาทผู้เสพจะมีอาการง่วงนอน ซึม หายใจถี่เห็นภาพลวงตา ภาพหลอนต่าง ๆ เกิดอาการ หูแว่ว
ตกใจง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง บางรายคลื่นไส้อาเจียนความจำเสื่อมความคิดสับสนเพ้อคลั่ง ไม่สามารถ
ควบคุมตนเองได้มีอาการทางจิต นอกจากนี้สารพิษในกัญชายังทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้
ร่างกายอ่อนแอ ติดโรคอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งปอด
ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงเกิดความผิดปกติของฮอร์โมนเพศและพันธุกรรม
กระท่อม (KRATOM)
ลักษณะทั่วไป กระท่อมเป็นพืชยืนต้นขนาดกลางชนิดหนึ่ง พบมากในแถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศ
อินเดีย ไทย ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดประเภท ๕ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะใบ
คล้ายใบกระดังงาหรือใบฝรั่ง มีดอกกลมโตเท่าผลพุทรา มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น กระทุ่มโคก กระทุ่มพาย
การเสพจะใช้ส่วนที่เป็นใบเคี้ยวสด หรือตากแห้งแล้วบดหรือหั่นเป็นผงหยาบนำไปผสมกับน้ำร้อนดื่มแทนใบชา
จีน
อาการผู้เสพติดกระท่อม
ผู้เสพใบกระท่อม จะพบว่าร่างกายทรุดโทรมมาก เนื่องจากสุขภาพร่างกายทำงานเกินกำลังลักษณะที่
เห็นชัด คือ ผิวหนังตามร่างกายแห้งเกรียมดำ ปากแห้ง แก้มเป็นจุดดำ ๆ และมีอาการนอนไม่หลับ ท้องผูก
อุจจาระเป็นสีเขียวคล้ายมูลแพะ และหากเสพเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้สภาพจิตใจ
สับสนอาจมีอาการทางประสาทและเมื่อไม่ได้เสพจะมีอาการขาดยา ร่างกายจะอ่อนเพลียปวดเมื่อยตามข้อ
ตามกล้ามเนื้อ อารมณ์หงุดหงิด กระวนกระวาย เบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ
เห็ดขี้ควาย (PSILOCYBE CUBENSIS MUSHROOM)
ลักษณะทั่วไป เป็นเห็ดพิษที่มักขึ้นอยู่ตามมูลควายแห้ง และมีขึ้นอยู่ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศ
ไทย มีชื่อเรียกกันในบรรดานักท่องเที่ยวว่า MAGIC MUSHROOM (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ ตาม
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะของเห็ดขี้ควายมีสีเหลืองซีดคล้ายสีฟางแห้ง บริเวณ
ส่วนบนของหัวเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายร่ม จะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำบริเวณก้านตอนบนใกล้ตัวร่ม มีแผ่นเนื้อเยื่อ
บาง ๆ สีขาวคล้ายวงแหวนแผ่อยู่รอบก้าน เห็ดขี้ควายพบได้ทั้งในสภาพที่เป็นเห็ดสดและเห็ดตากแห้ง ผู้ที่เสพ
หรือบริโภคเห็ดชนิดนี้เข้าไปร่างกายจะได้รับสารพิษ เช่นไซโลลีน และไซโลไซลีน ซึ่งเป็นสารพิษที่มีฤทธิ์ในการ
หลอนประสาท ทำลายระบบประสาทอย่างรุนแรง ผู้เสพติดจะมีอาการมึนเมา จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต
อาการผู้เสพติดเห็ดขี้ควาย
ผู้ที่เสพหรือบริโภคเห็ดพิษจะรู้สึกร้อนวูบวาบ ตามเนื้อตัว แน่นหน้าอก ตาพร่า อึดอัดรู้สึกไม่สบาย
คลื่นไส้อาเจียน อาการดังกล่าวจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปริมาณของการเสพ และสภาพร่างกายของผู้เสพ
เป็นสำคัญ ในกรณีที่เสพหรือบริโภคเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก หรือร่างกายมีภูมิต้านทานน้อยฤทธิ์ของ
สารพิษอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ และบางรายก็อาจจะมีอาการมึนเมา เคลิ้ม ประสาทหลอน ตาพร่า ความคิด
สับสน มีอาการแปรปรวนทางจิต อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เพ้ออาจบ้าคลั่งได้
๗๙

แอมเฟตามีน (AMPHETAMINE)
ลักษณะทั่วไป แอมเฟตามีน มีลักษณะเป็นผงผลึกมีขาว ไม่มีกลิ่น รสขม มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบ
ประสาทส่วนกลาง (จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อ
จิตประสาท พ.ศ.๒๕๑๘) มีชื่อเรียกทางการค้าต่าง ๆ กัน เช่น เบนซีดรีน ฟีนามีน ฯลฯ แต่ในกลุ่มผู้ใช้หรือเสพ
นิยมเรียกกันว่า ยาม้า ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป ยาเพิ่มพลัง ฯลฯ ผงแอมเฟตามีน ๑ กรัม ละลายได้ในน้ำ ๙
ซี.ซี.(มิลลิลิตร) และละลายได้ในแอลกอฮอล์ ๕๐๐ ซี.ซี.(มิลลิลิตร) แต่จะไม่ละลายในอีเทอร์ ผงแอมเฟตามีน
(ยาม้า) เมื่อนำมาผลิต-อัดเป็นเม็ดยาแล้วจะมีลักษณะเม็ดยา เช่น เม็ดกลมแบน รูปเหลี่ยม รูปหัวใจ หรืออาจ
เป็นแคปซูล มีสีต่างกัน เช่นสีขาว สีน้ำตาล สีเหลือง แต่ที่พบส่วนมากจะเป็นสีขาว เม็ดกลมแบน มีสัญลักษณ์
บนเม็ดยา เช่น รูปหัวม้า, LONDON, 99, รูปดาว
อาการของผู้เสพติดแอมเฟตามีน (ยาม้า)
ฤทธิ์ของแอมเฟตามีน (ยาม้า) จะส่งผลกระทบต่อผู้เสพ ก่อให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ดังต่อไปนี้ คือ อาการทางกาย ผู้เสพแอมเฟตามีน (ยาม้า) ประมาณ ๒๐ - ๓๐ กรัมต่อวัน จะมีอาการเบื่อ
อาหาร พูดมาก ตื่นเต้นง่าย มือสั่น คลื่นไส้ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง ไม่รู้สึกง่วง เหงื่อออกมาก
กลิ่นตัวแรง ปากและจมูกแห้ง หน้ามัน ทำงานได้นานเกินกว่าปกติ รูม่านตาเบิกกว้าง สูบบุหรี่จัด ท้องเสีย มี
อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย
อีเฟดรีน (EPHEDINE) หรือ ยาอี (Extacy)
ลักษณะทั่วไป เป็นผงละเอียดสีขาว เมื่อนำมาผลิตเป็นเม็ดยาจะมีหลายลักษณะ เช่น เป็นเม็ดกลม
แบน ชนิดน้ำบรรจุหลอด และชนิดแคปซูล มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เช่นเดียวกับแอมเฟ
ตามีน (ยาม้า) จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและ
ประสาท พ.ศ.๒๕๑๘ ซึ่งจากเดิม อีเฟดรีน จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๓ แต่เนื่องจาก
ได้มีการนำอีเฟดรีนมาใช้ในทางที่ผิด มีการนำมาเสพแทนแอมเฟตามีน (ยาม้า) ก่อให้เกิดปัญหาต่อชีวิตและ
ทรัพย์สินส่วนรวมอย่างมากมาย จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
และจัดให้อีเฟดรีนทั้งชนิดน้ำและทุกตำรับยาที่มีส่วนผสมของอีเฟดรีนเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ประเภท ๒
อาการของผู้เสพติดอีเฟดรีน ผู้เสพยาอีเฟดรีน จะมีอาการคล้ายคลึงเช่นเดียวกับผู้เสพแอมเฟตามีน (ยาม้า)
กล่าวคือฤทธิ์ของอีเฟดรีน จะกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ผู้เสพสามารถทำงานได้นานมีอาการตื่นเต้นง่าย ใจ
สั่น ไม่รู้สึกง่วงนอน เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตสูง ฯลฯ หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานานจะเกิดอาการ
ประสาทหลอน เป็นโรคจิต บางรายที่เสพยาเข้าสู่ร่างกายเกินขนาดจะเกิดอาการประสาทหลอน เป็นโรคจิต
บางรายที่เสพยาเข้าสู่ร่างกายเกินขนาดจะเกิดอาการใจสั่น มือเท้าเกร็งและชา ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว
ผิดปกติ หายใจลำบาก
๘๐

บทที่ 3
วิธีดำเนินงาน
วิธีการดำเนินงาน
1. ศึกษาปัญหาของสิ่งเสพติดแต่ละชนิด
2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำสื่อรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
3. จัดทำป้ายรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
4. ทำป้ายที่ได้ไปประชาสัมพันธ์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียน
5. ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดแก่เพื่อนนักเรียน
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดบ้านตำแย ได้เข้าใจถึงโทษของยาเสพติดและ
ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทั้งโรงเรียนได้เข้าใจ
2. นักเรียนทั้งโรงเรียนได้ร่วมกันจัดทำป้ายยาเสพติดและรณรงค์ให้ต่อต้านยาเสพติด
3. ได้ ประชาสัมพันธ์ ต่อต้านยาเสพติดในโรงเรียน
บทที่ 5
สรุปผล และข้อเสนอแนะ

5.1 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
1. ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน
2. เข้าใจโทษของบุหรี่
3. รณรงค์ต่อต่อบุหรี่และสิ่งเสพติด
5.2 ข้อเสนอแนะ
ในการแก้ปัญหายาเสพติดควรมีส่วนร่วมของทุกคนและต้องช่วยกัน

ภาพ : การดำเนินกิจกรรมโครงงานห้องเรียนสีขาว ต้านยาเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6


๘๑

โครงงานห้องเรียนสีขาว
ชื่อโครงงาน วัยรุ่นยุคใหม่ ห่างไกลยาเสพติด
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓

บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย เป็นปัญหาสำคัญที่นโยบายของรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวาระ
แห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างบูรณาการ ประเทศ
ไทยเป็นพื้นที่แพร่ระบาดและเป็นทางผ่านยาเสพติดไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ยาเสพติดที่ แพร่ระบาดใน
ประเทศไทย ประกอบด้วย ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า สารระเหย โคเคน ยาอี และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต
ประสาทบางชนิด เช่น จำพวกยานอนหลับ ตัวยาที่แพร่ระบาดมากและมีปัญหาในระดับรุนแรง คือ ยาบ้า ซึ่ง
แพร่กระจายเป็นวงกว้างอยู่ในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน นักเรียนนักศึกษา ผู้ค้ามีกระจายอยู่ใน
พื้นที่ต่างๆตั้งแต่ระดับรายใหญ่ ระดับกลาง และระดับย่อยในพื้นที่แพร่ระบาด
ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพ
อนามัยกรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ ตัวยาบางตัว เช่น
แอมเฟตามีน หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลางและ
ทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึง
พฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ ผู้ที่ติดยาเสพติด อาจเกิดปัญหาทางสุขภาพอนามัย หรือโรคต่างๆ ได้หลายอย่าง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนในห้องเรียนได้เข้าใจถึงโทษของสิ่งเสพติด
2. เพื่อให้นักเรียนในห้องเรียนได้ร่วมกันต่อต้านยาเสพติด
3. เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ต่อต้านยาเสพติดในโรงเรียน

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องห้องเรียนร่วมใจต่อต้านยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓
โรงเรียนวัดบ้านตำแย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 มีขอบเขตและการ
ค้นคว้าดังนี้
ขอบเขตด้านประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนวัดบ้านตำแย สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
ขอบเขตด้านระยะเวลาที่ใช้ การทำโครงงานชิ้นนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 256๕
๘๒

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. ประเภทของสารเสพติด
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้จัดประเภทของยาเสพติดให้โทษ
ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เป็นยาที่ไม่มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์ และทำให้เกิด
การเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับรุนแรง เช่น เฮโรอีน ยาบ้า ยาอี เป็นต้น
ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เป็นยาที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคในระดับน้อยจนถึงมาก และ
ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับที่ต้องพึงระวัง เช่น มอร์ฟีน โคเคน โคเดอีน เป็นต้น
ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ตามที่ได้ขึ้น
ทะเบียนตำรับไว้ เป็นยาที่ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรน้อย แต่ยังคงมีอันตราย และมี
ประโยชน์ มากในการรักษาโรคเช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน เป็นต้น
ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือประเภท2 เช่น อาเซติค
แอนไฮไดรด์ (Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chloride)
ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภทที่1 ถึงประเภทที่4เช่น กัญชา พืชกระท่อม เห็ด
ขี้ควาย เป็นต้น
ฝิ่น (OPIUM)
ลักษณะทั่วไป ต้นฝิ่นเป็นพืชล้มลุก นิยมปลูกกันทางภาคเหนือของประเทศไทย (จัดเป็นยาเสพติด
ให้โทษประเภท ๒ ตราพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) เนื้อฝิ่นได้มาจากยางที่กรีดจากผล
(กระเปาะ) ฝิ่นมีสีน้ำตาล กลิ่นเหม็นเขียว รสขม เรียกว่าฝิ่นดิบ และหากนำฝิ่นดิบมาต้ม เคี่ยวหรือหมัก จะได้
ฝิ่นที่มีสีน้ำตาลไหม้ปนดำ มีรสขมเฉพาะตัว เรียกวาฝิ่นสุก ทั้งฝิ่นดิบและฝิ่นสุก มีฤทธิ์ในการ กดระบบประสาท
อาการผู้เสพติดฝิ่น มีอาการจิตใจเลื่อนลอย ซึม ง่วง พูดจาวกไปวนมา อารมณ์ดี และการตัดสินใจเชื่องช้าผู้ที่
เสพฝิ่นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สุขภาพร่างกายจะทรุดโทรม ตัวซีดเหลือง ซูบผอม ดวงตาเหม่อลอย ริม
ฝีปากเขียวคล้ำ อ่อนเพลียง่าย ซึมเศร้า ง่วงเหลาหาวนอน เกียจคร้าน อารมณ์แปรปรวนง่าย พูดจาไม่อยู่กับ
ร่องกับรอย ความจำเสื่อม ชีพจรเต้นช้า ไม่รู้สึกตัว และหากไม่ได้เสพฝิ่นเมื่อถึงเวลาจะมีอาการหงุดหงิด
ฉุนเฉียวง่าย บางรายมีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง ดิ้นทุรนทุราย น้ำมูกน้ำตาไหล ม่านตาขยายผิดปกติ ปวดตาม
กล้ามเนื้อตามกระดูก ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรง อาเจียน หายใจลำบาก อาจชักและหมดสติได้

มอร์ฟีน (MORPHINE)
ลักษณะทั่วไป เป็นสารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากฝิ่น มีลักษณะเป็นผงสีขาวนวล สีครีม สีเทา ไม่มีกลิ่น
รสขม ละลายน้ำง่าย (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) มี
ฤทธิ์ในการกดประสาทและสมองรุนแรงกว่าฝิ่น ประมาณ ๘-๑๐ เท่า เสพติดได้ง่าย มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น
อัดเป็นเม็ด เป็นผง เป็นแท่งสี่เหลี่ยมมีเครื่องหมาย 999 หรือ OK เป็นสัญลักษณ์ และชนิดน้ำบรรจุหลอด
อาการผู้เสพติดมอร์ฟีน ผู้ที่เสพมอร์ฟีน ระยะแรกฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะช่วยลดความวิตกกังวล คลายความ
เจ็บปวดต่าง ๆ ตามร่างกาย ทำให้มีอาการง่วงนอนและหลับง่าย และหากเสพจนเกิดอาการติด ฤทธิ์ของ
มอร์ฟีนจะทำให้ผู้เสพมีอาการเหม่อลอย เซื่องซึม จิตใจเลื่อนลอย เกียจคร้านไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบกาย
สุขภาพร่างกายผ่ายผอม ทรุดโทรม และเมื่อไม่ได้เสพจะเกิดอาการกระวนกระวาย ความคิดสับสนพฤติกรรม
๘๓

ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง หูอื้อ นอนไม่หลับ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน บางคนอาจชักและ
หมดสติในที่สุด
เฮโรอีน หรือ ผงขาว (HEROIN)
ลักษณะทั่วไป เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ประเภท ๑ (ตามพระราชบัญญัติยาเสพ
ติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) เฮโรอีนได้จากการสังเคราะห์ตามกรรมวิธีทางเคมี ฤทธิ์ของเฮโรอีนมีความรุนแรงกว่า
มอร์ฟีน ประมาณ ๔-๘ เท่าและรุนแรงกว่าฝิ่นประมาณ ๓๐-๘๐ เท่า
อาการผู้เสพติดเฮโรอีน
เฮโรอีน เป็นยาเสพติดที่ร้ายแรง เสพติดได้ง่ายเมื่อใช้เพียง ๑ หรือ ๒ ครั้ง อาจทำให้เกิดอาการมึนงง
เซื่องซึม ง่วง เคลิ้มหลับได้เป็นเวลานาน ไม่สนใจต่อสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง บางรายเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ตาลาย สำหรับผู้ที่เสพจนติด เสพเป็นประจำร่างกายจะทรุดโทรม ผอมตัวซีดเหลือง ขอบตาคล้ำ ดวงตาเหม่อ
ลอย น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว สมองและประสาทเสื่อม ความคิดสับสน ความจำเสื่อม อ่อนเพลียไม่มีแรง
และหากใช้ยาเกิดขนาด ฤทธิ์ของเฮโรอีนจะทำให้หัวใจหยุดทำงาน เกิดอาการ "ช็อค" ถึงแก่ความตายได้ทันที
สำหรับอาการขาดยาหรือไม่ได้เสพยาเมื่อถึงเวลาเสพ ผู้เสพติดเฮโรอีนจะเกิดอาการทุรนทุราย ทุกข์ทรมาน
น้ำมูก น้ำตาไหล ความคิดฟุ้งซ่าน สับสน หงุดหงิด กระวนกระวาย ปวดเจ็บตามกล้ามเนื้อตามกระดูก ปวด
ท้องอย่างรุนแรง หูอื้อ ตาพร่ามัว อาเจียนอย่างรุนแรง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด นอนไม่หลับ บางรายมีอาการ
เพ้อคลั่ง ชักและหมดสติอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
โคเคน (COCAINE)
ลักษณะทั่วไป โคเคนหรือโคคาอีน เป็นสารเสพติดธรรมชาติที่ได้จากการสังเคราะห์ส่วนใบของต้น
โคคา (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) นิยมปลูกกันมาก
ในประเทศแถบอเมริกาใต้ และอเมริกากลาง เช่น ประเทศโบลิเวีย เปรู โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เป็นต้น มีฤทธิ์ใน
การ กระตุน้ ประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับ แอมเฟตามีน (ยาม้า) แต่ทำให้เกิดอาการติดยาได้ง่ายกว่า โคเคน
หรือโคคาอีนนิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า COKE , SNOW , SPEED BALL , CRACK ฯลฯ มีลักษณะเป็นผง
ละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น มักนิยมเสพโดยใช้วิธีสูบ ฉีด หรือสูดพ่นเข้าไปในจมูก ฯลฯน
อาการผู้เสพติดโคเคน ผู้เสพติดโคเคนเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกฤทธิ์ของโคเคนจะกระตุ้นประสาททำให้เกิด
อาการไร้ความรู้สึก ดูเหมือนคล้ายมีกำลังมากขึ้น มีความกระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกเหนื่อย แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา
ร่างกายและความรู้สึกจะอ่อนเพลียเมื่อยล้าขึ้นมาทันที มีอาการเซื่องซึมและหากว่าเสพจนถึงขั้นติดยาจะ
เกิดผลต่อร่างกายอย่างมาก เช่น หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง ตัวร้อน มีไข้ตลอดเวลา นอนไม่หลับ ฯลฯ
และหากเสพโคเคนเข้าสู่ร่างกายเกิดขนาดจะเกิดพิษเฉียบพลัน ฤทธิ์ของยาจะไปกดการทำงานของหัวใจ ทำให้
หายใจไม่ออกอาจชัก และเสียชีวิตได้
กัญชา (CANNABIS)
ลักษณะทั่วไป กัญชาเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่นTHAISTICKS,MARY
- JANE หรือที่นิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า เนื้อ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ ตามพระราชบัญญัติยา
เสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะใบกัญชา จะเรียวยาวแตกเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่งหรือมันสำปะหลัง ส่วนที่
นำมาใช้เสพก็คือ ใบและยอดช่อดอกตัวเมีย โดยการนำมาตากหรืออบแห้งแล้วบดหรือหั่นเป็นผงหยาบ ๆ
นำมามวนบุหรี่สูบ หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บางรายใช้เคี้ยว หรือเจือปนกับอาหารรับประทาน ใน
กรณีที่เสพติดด้วยวิธีการสูบ กลิ่นกัญชาจะเหมือนกับเชือกหรือหญ้าแห้งไหม้ไฟ กัญชาจะออกฤทธิ์หลายอย่าง
ผสมผสานกัน เริ่มตั้งแต่ กระตุ้น กด และหลอนประสาททั้งนี้เนื่องจากในช่อดอกและใบกัญชามีสารพิษที่
๘๔

ร้ายแรงชนิดหนึ่งเรียกว่า TETRAHYDROCANNABINOL (THC) เป็นสารพิษที่ทำลายสุขภาพร่างกายและ


ก่อให้เกิดอาการติดยา
อาการของผู้เสพติดกัญชา
ผู้ที่เสพกัญชาในระยะแรกของการเสพ ฤทธิ์ของกัญชาจะกระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพมีอาการร่าเริง ช่าง
พูด หัวเราะง่าย หัวใจเต้นเร็ว ตื่นเต้นง่าย ต่อมาจะมีอาการคล้ายคนเมาเหล้าอย่างอ่อนเนื่องจากกัญชา ออก
ฤทธิ์กดประสาทผู้เสพจะมีอาการง่วงนอน ซึม หายใจถี่เห็นภาพลวงตา ภาพหลอนต่าง ๆ เกิดอาการ หูแว่ว
ตกใจง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง บางรายคลื่นไส้อาเจียนความจำเสื่อมความคิดสับสนเพ้อคลั่ง ไม่สามารถ
ควบคุมตนเองได้มีอาการทางจิต นอกจากนี้สารพิษในกัญชายังทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้
ร่างกายอ่อนแอ ติดโรคอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งปอด
ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงเกิดความผิดปกติของฮอร์โมนเพศและพันธุกรรม
กระท่อม (KRATOM)
ลักษณะทั่วไป กระท่อมเป็นพืชยืนต้นขนาดกลางชนิดหนึ่ง พบมากในแถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศ
อินเดีย ไทย ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดประเภท ๕ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะใบ
คล้ายใบกระดังงาหรือใบฝรั่ง มีดอกกลมโตเท่าผลพุทรา มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น กระทุ่มโคก กระทุ่มพาย
การเสพจะใช้ส่วนที่เป็นใบเคี้ยวสด หรือตากแห้งแล้วบดหรือหั่นเป็นผงหยาบนำไปผสมกับน้ำร้อนดื่มแทนใบชา
จีน
อาการผู้เสพติดกระท่อม
ผู้เสพใบกระท่อม จะพบว่าร่างกายทรุดโทรมมาก เนื่องจากสุขภาพร่างกายทำงานเกินกำลังลักษณะที่
เห็นชัด คือ ผิวหนังตามร่างกายแห้งเกรียมดำ ปากแห้ง แก้มเป็นจุดดำ ๆ และมีอาการนอนไม่หลับ ท้องผูก
อุจจาระเป็นสีเขียวคล้ายมูลแพะ และหากเสพเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้สภาพจิตใจ
สับสนอาจมีอาการทางประสาทและเมื่อไม่ได้เสพจะมีอาการขาดยา ร่างกายจะอ่อนเพลียปวดเมื่อยตามข้อ
ตามกล้ามเนื้อ อารมณ์หงุดหงิด กระวนกระวาย เบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ
เห็ดขี้ควาย (PSILOCYBE CUBENSIS MUSHROOM)
ลักษณะทั่วไป เป็นเห็ดพิษที่มักขึ้นอยู่ตามมูลควายแห้ง และมีขึ้นอยู่ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศ
ไทย มีชื่อเรียกกันในบรรดานักท่องเที่ยวว่า MAGIC MUSHROOM (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ ตาม
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะของเห็ดขี้ควายมีสีเหลืองซีดคล้ายสีฟางแห้ง บริเวณ
ส่วนบนของหัวเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายร่ม จะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำบริเวณก้านตอนบนใกล้ตัวร่ม มีแผ่นเนื้อเยื่อ
บาง ๆ สีขาวคล้ายวงแหวนแผ่อยู่รอบก้าน เห็ดขี้ควายพบได้ทั้งในสภาพที่เป็นเห็ดสดและเห็ดตากแห้ง ผู้ที่เสพ
หรือบริโภคเห็ดชนิดนี้เข้าไปร่างกายจะได้รับสารพิษ เช่นไซโลลีน และไซโลไซลีน ซึ่งเป็นสารพิษที่มีฤทธิ์ในการ
หลอนประสาท ทำลายระบบประสาทอย่างรุนแรง ผู้เสพติดจะมีอาการมึนเมา จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต
อาการผู้เสพติดเห็ดขี้ควาย
ผู้ที่เสพหรือบริโภคเห็ดพิษจะรู้สึกร้อนวูบวาบ ตามเนื้อตัว แน่นหน้าอก ตาพร่า อึดอัดรู้สึกไม่สบาย
คลื่นไส้อาเจียน อาการดังกล่าวจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปริมาณของการเสพ และสภาพร่างกายของผู้เสพ
เป็นสำคัญ ในกรณีที่เสพหรือบริโภคเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก หรือร่างกายมีภูมิต้านทานน้อยฤทธิ์ของ
สารพิษอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ และบางรายก็อาจจะมีอาการมึนเมา เคลิ้ม ประสาทหลอน ตาพร่า ความคิด
สับสน มีอาการแปรปรวนทางจิต อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เพ้ออาจบ้าคลั่งได้
๘๕

แอมเฟตามีน (AMPHETAMINE)
ลักษณะทั่วไป แอมเฟตามีน มีลักษณะเป็นผงผลึกมีขาว ไม่มีกลิ่น รสขม มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบ
ประสาทส่วนกลาง (จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อ
จิตประสาท พ.ศ.๒๕๑๘) มีชื่อเรียกทางการค้าต่าง ๆ กัน เช่น เบนซีดรีน ฟีนามีน ฯลฯ แต่ในกลุ่มผู้ใช้หรือเสพ
นิยมเรียกกันว่า ยาม้า ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป ยาเพิ่มพลัง ฯลฯ ผงแอมเฟตามีน ๑ กรัม ละลายได้ในน้ำ ๙
ซี.ซี.(มิลลิลิตร) และละลายได้ในแอลกอฮอล์ ๕๐๐ ซี.ซี.(มิลลิลิตร) แต่จะไม่ละลายในอีเทอร์ ผงแอมเฟตามีน
(ยาม้า) เมื่อนำมาผลิต-อัดเป็นเม็ดยาแล้วจะมีลักษณะเม็ดยา เช่น เม็ดกลมแบน รูปเหลี่ยม รูปหัวใจ หรืออาจ
เป็นแคปซูล มีสีต่างกัน เช่นสีขาว สีน้ำตาล สีเหลือง แต่ที่พบส่วนมากจะเป็นสีขาว เม็ดกลมแบน มีสัญลักษณ์
บนเม็ดยา เช่น รูปหัวม้า, LONDON, 99, รูปดาว
อาการของผู้เสพติดแอมเฟตามีน (ยาม้า)
ฤทธิ์ของแอมเฟตามีน (ยาม้า) จะส่งผลกระทบต่อผู้เสพ ก่อให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ดังต่อไปนี้ คือ อาการทางกาย ผู้เสพแอมเฟตามีน (ยาม้า) ประมาณ ๒๐ - ๓๐ กรัมต่อวัน จะมีอาการเบื่อ
อาหาร พูดมาก ตื่นเต้นง่าย มือสั่น คลื่นไส้ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง ไม่รู้สึกง่วง เหงื่อออกมาก
กลิ่นตัวแรง ปากและจมูกแห้ง หน้ามัน ทำงานได้นานเกินกว่าปกติ รูม่านตาเบิกกว้าง สูบบุหรี่จัด ท้องเสีย มี
อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย
อีเฟดรีน (EPHEDINE) หรือ ยาอี (Extacy)
ลักษณะทั่วไป เป็นผงละเอียดสีขาว เมื่อนำมาผลิตเป็นเม็ดยาจะมีหลายลักษณะ เช่น เป็นเม็ดกลม
แบน ชนิดน้ำบรรจุหลอด และชนิดแคปซูล มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เช่นเดียวกับแอมเฟ
ตามีน (ยาม้า) จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและ
ประสาท พ.ศ.๒๕๑๘ ซึ่งจากเดิม อีเฟดรีน จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๓ แต่เนื่องจาก
ได้มีการนำอีเฟดรีนมาใช้ในทางที่ผิด มีการนำมาเสพแทนแอมเฟตามีน (ยาม้า) ก่อให้เกิดปัญหาต่อชีวิตและ
ทรัพย์สินส่วนรวมอย่างมากมาย จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
และจัดให้อีเฟดรีนทั้งชนิดน้ำและทุกตำรับยาที่มีส่วนผสมของอีเฟดรีนเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ประเภท ๒
อาการของผู้เสพติดอีเฟดรีน ผู้เสพยาอีเฟดรีน จะมีอาการคล้ายคลึงเช่นเดียวกับผู้เสพแอมเฟตามีน (ยาม้า)
กล่าวคือฤทธิ์ของอีเฟดรีน จะกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ผู้เสพสามารถทำงานได้นานมีอาการตื่นเต้นง่าย ใจ
สั่น ไม่รู้สึกง่วงนอน เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตสูง ฯลฯ หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานานจะเกิดอาการ
ประสาทหลอน เป็นโรคจิต บางรายที่เสพยาเข้าสู่ร่างกายเกินขนาดจะเกิดอาการประสาทหลอน เป็นโรคจิต
บางรายที่เสพยาเข้าสู่ร่างกายเกินขนาดจะเกิดอาการใจสั่น มือเท้าเกร็งและชา ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว
ผิดปกติ หายใจลำบาก
๘๖

บทที่ 3
วิธีดำเนินงาน
วิธีการดำเนินงาน
1. ศึกษาปัญหาของสิ่งเสพติดแต่ละชนิด
2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำสื่อรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
3. จัดทำป้ายรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
4. ทำป้ายที่ได้ไปประชาสัมพันธ์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียน
5. ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดแก่เพื่อนนักเรียน
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนวัดบ้านตำแย ได้เข้าใจถึงโทษของยาเสพติดและ
ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทั้งโรงเรียนได้เข้าใจ
2. นักเรียนทั้งโรงเรียนได้ร่วมกันจัดทำป้ายยาเสพติดและรณรงค์ให้ต่อต้านยาเสพติด
3. ได้ ประชาสัมพันธ์ ต่อต้านยาเสพติดในโรงเรียน
บทที่ 5
สรุปผล และข้อเสนอแนะ

5.1 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
1. ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน
2. เข้าใจโทษของบุหรี่
3. รณรงค์ต่อต่อบุหรี่และสิ่งเสพติด
5.2 ข้อเสนอแนะ
ในการแก้ปัญหายาเสพติดควรมีส่วนร่วมของทุกคนและต้องช่วยกัน

ภาพ : การดำเนินกิจกรรมโครงงานห้องเรียนสีขาว ต้านยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓


๘๗
ห้องเรียนสีขาว ๑

แบบประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ ข้อมูลสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านตำแย
สถานที่ตั้ง 39 หมู่ 3 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ๓๐180
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๗
โทรศัพท์ ๐91 – 0195989
จำนวนนักเรียนทั้งหมด 164 คน จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 11 ห้อง
๑.๒ ข้อมูลห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนระดับประถมศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
จำนวนนักเรียน ในห้องเรียนทั้งหมด 17 คน จำนวนนักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย 8 คน
ชื่อ – นามสกุล ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น นางสาวอารยา สมัครค้า
ชื่อ – นามสกุล หัวหน้าห้องเรียน เด็กชายปริวัฒน์ เยี่ยมจันทึก
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการเรียน เด็กหญิงจินตนา แว่นศิลา
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการงาน เด็กหญิงอริสรา แสนหอม
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายสารวัตรนักเรียน เด็กชายปิยวัฒน์ ขันนุ้ย
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายกิจกรรม เด็กหญิงญานิดา อ่อนจันทึก
๑.๓ คำชี้แจงการประเมิน
๑.๓.๑ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการห้องเรียนสีขาวทุกห้อง
๑.๓.๒ ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย X ในช่องคะแนนการประเมินผลที่ปฏิบัติและสรุปรวมคะแนน
ในแต่ละมาตรฐาน
๑.๓.๓ ให้ผู้ประเมินสรุปผลคะแนนการประเมินทุกมาตรฐานรวมกันแล้วคิดเป็นระดับคุณภาพ
โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
คะแนน ระดับคุณภาพ
ต่ำกว่า ๖๐ ปรับปรุง
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดีมาก
๙๐ - ๑๐๐ ดีเด่น
๘๘
ห้องเรียนสีขาว ๑
๘๙

แบบประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ ข้อมูลสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านตำแย
สถานที่ตั้ง 39 หมู่ 3 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ๓๐180
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๗
โทรศัพท์ ๐91 – 0195989
จำนวนนักเรียนทั้งหมด 164 คน จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 11 ห้อง
๑.๒ ข้อมูลห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนระดับประถมศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
จำนวนนักเรียน ในห้องเรียนทั้งหมด 17 คน จำนวนนักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย 8 คน
ชื่อ – นามสกุล ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น นางสาวศิรินภา สาจันทึก
ชื่อ – นามสกุล หัวหน้าห้องเรียน เด็กหญิงธิดารัตน์ งอนสวรรค์
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการเรียน เด็กชายไชยศ โคตรสมบัติ
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการงาน เด็กชายจิรเมธ แวดไธสง
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายสารวัตรนักเรียน เด็กชายภัทรพงษ์ สีเทา
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายกิจกรรม เด็กชายวรัญญู กลางสวัสดิ์
๑.๓ คำชี้แจงการประเมิน
๑.๓.๑ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการห้องเรียนสีขาวทุกห้อง
๑.๓.๒ ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย X ในช่องคะแนนการประเมินผลที่ปฏิบัติและสรุปรวมคะแนน
ในแต่ละมาตรฐาน
๑.๓.๓ ให้ผู้ประเมินสรุปผลคะแนนการประเมินทุกมาตรฐานรวมกันแล้วคิดเป็นระดับคุณภาพ
โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
คะแนน ระดับคุณภาพ
ต่ำกว่า ๖๐ ปรับปรุง
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดีมาก
๙๐ - ๑๐๐ ดีเด่น
๙๐
ห้องเรียนสีขาว ๑
๙๑

แบบประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ ข้อมูลสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านตำแย
สถานที่ตั้ง 39 หมู่ 3 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ๓๐180
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๗
โทรศัพท์ ๐91 – 0195989
จำนวนนักเรียนทั้งหมด 164 คน จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 11 ห้อง
๑.๒ ข้อมูลห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนระดับประถมศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
จำนวนนักเรียน ในห้องเรียนทั้งหมด 13 คน จำนวนนักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย 8 คน
ชื่อ – นามสกุล ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น นางสาวกรรณิการ์ ทับวิเศษ
ชื่อ – นามสกุล หัวหน้าห้องเรียน เด็กชายกฤตพัฒน์ ตับสันเทียะ
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการเรียน เด็กชายนิติพล ด้วยนางรัมย์
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการงาน เด็กหญิงวรวรรณ ทะเนจร
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายสารวัตรนักเรียน เด็กชายเมธาสิทธิ์ อินทร์นอก
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายกิจกรรม เด็กหญิงวรกัญญา นาคโนนไทย
๑.๓ คำชี้แจงการประเมิน
๑.๓.๑ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการห้องเรียนสีขาวทุกห้อง
๑.๓.๒ ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย X ในช่องคะแนนการประเมินผลที่ปฏิบัติและสรุปรวมคะแนน
ในแต่ละมาตรฐาน
๑.๓.๓ ให้ผู้ประเมินสรุปผลคะแนนการประเมินทุกมาตรฐานรวมกันแล้วคิดเป็นระดับคุณภาพ
โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
คะแนน ระดับคุณภาพ
ต่ำกว่า ๖๐ ปรับปรุง
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดีมาก
๙๐ - ๑๐๐ ดีเด่น
๙๒
ห้องเรียนสีขาว ๑
๙๓

แบบประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ ข้อมูลสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านตำแย
สถานที่ตั้ง 39 หมู่ 3 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ๓๐180
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๗
โทรศัพท์ ๐91 – 0195989
จำนวนนักเรียนทั้งหมด 164 คน จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 11 ห้อง
๑.๒ ข้อมูลห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนระดับประถมศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
จำนวนนักเรียน ในห้องเรียนทั้งหมด 19 คน จำนวนนักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย 8 คน
ชื่อ – นามสกุล ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น นางนภัส โตทองหลาง
ชื่อ – นามสกุล หัวหน้าห้องเรียน เด็กชายวรสรณ์ วังหนองหว้า
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการเรียน เด็กหญิงศศิวรรณ แว่นศิลา
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการงาน เด็กหญิงศิรินภา สุขประเสริฐ
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายสารวัตรนักเรียน เด็กหญิงเปรมสุดา ด้วงตะกั่ว
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายกิจกรรม เด็กหญิงหญิงสุภาพร กาบิน
๑.๓ คำชี้แจงการประเมิน
๑.๓.๑ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการห้องเรียนสีขาวทุกห้อง
๑.๓.๒ ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย X ในช่องคะแนนการประเมินผลที่ปฏิบัติและสรุปรวมคะแนน
ในแต่ละมาตรฐาน
๑.๓.๓ ให้ผู้ประเมินสรุปผลคะแนนการประเมินทุกมาตรฐานรวมกันแล้วคิดเป็นระดับคุณภาพ
โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
คะแนน ระดับคุณภาพ
ต่ำกว่า ๖๐ ปรับปรุง
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดีมาก
๙๐ - ๑๐๐ ดีเด่น
๙๔
ห้องเรียนสีขาว ๑
๙๕

แบบประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ ข้อมูลสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านตำแย
สถานที่ตั้ง 39 หมู่ 3 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ๓๐180
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๗
โทรศัพท์ ๐91 – 0195989
จำนวนนักเรียนทั้งหมด 164 คน จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 11 ห้อง
๑.๒ ข้อมูลห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนระดับประถมศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
จำนวนนักเรียน ในห้องเรียนทั้งหมด 22 คน จำนวนนักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย 8 คน
ชื่อ – นามสกุล ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น นายธีรวัฒน์ อ่างทอง
ชื่อ – นามสกุล หัวหน้าห้องเรียน เด็กชายเจษฎากร หาญกล้า
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการเรียน เด็กหญิงสุพัตรา แข็งขัน
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการงาน เด็กหญิงอภิรดา มวลสุข
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายสารวัตรนักเรียน เด็กชายภคิน มาลีหวล
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายกิจกรรม เด็กหญิงณัฐธยาน์ ทำนานอก
๑.๓ คำชี้แจงการประเมิน
๑.๓.๑ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการห้องเรียนสีขาวทุกห้อง
๑.๓.๒ ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย X ในช่องคะแนนการประเมินผลที่ปฏิบัติและสรุปรวมคะแนน
ในแต่ละมาตรฐาน
๑.๓.๓ ให้ผู้ประเมินสรุปผลคะแนนการประเมินทุกมาตรฐานรวมกันแล้วคิดเป็นระดับคุณภาพ
โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
คะแนน ระดับคุณภาพ
ต่ำกว่า ๖๐ ปรับปรุง
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดีมาก
๙๐ - ๑๐๐ ดีเด่น
๙๖
ห้องเรียนสีขาว ๑
๙๗

แบบประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ ข้อมูลสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านตำแย
สถานที่ตั้ง 39 หมู่ 3 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ๓๐180
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๗
โทรศัพท์ ๐91 – 0195989
จำนวนนักเรียนทั้งหมด 164 คน จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 11 ห้อง
๑.๒ ข้อมูลห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนระดับประถมศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
จำนวนนักเรียน ในห้องเรียนทั้งหมด 14 คน จำนวนนักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย 8 คน
ชื่อ – นามสกุล ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น นางสาวเสาวณีย์ ล้อมไธสง
ชื่อ – นามสกุล หัวหน้าห้องเรียน เด็กหญิงจรินพร บรรดาศักดิ์
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการเรียน เด็กหญิงเกวรินทร์ อินนอก
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการงาน เด็กชายธีรวัฒน์ สาธะ
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายสารวัตรนักเรียน เด็กชายธนาณัติ สิงห์วิสุทธิ์
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายกิจกรรม เด็กชายอภิชัย แก้วก่า
๑.๓ คำชี้แจงการประเมิน
๑.๓.๑ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการห้องเรียนสีขาวทุกห้อง
๑.๓.๒ ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย X ในช่องคะแนนการประเมินผลที่ปฏิบัติและสรุปรวมคะแนน
ในแต่ละมาตรฐาน
๑.๓.๓ ให้ผู้ประเมินสรุปผลคะแนนการประเมินทุกมาตรฐานรวมกันแล้วคิดเป็นระดับคุณภาพ
โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
คะแนน ระดับคุณภาพ
ต่ำกว่า ๖๐ ปรับปรุง
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดีมาก
๙๐ - ๑๐๐ ดีเด่น
๙๘
ห้องเรียนสีขาว ๑
๙๙

แบบประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ ข้อมูลสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านตำแย
สถานที่ตั้ง 39 หมู่ 3 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ๓๐180
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๗
โทรศัพท์ ๐91 – 0195989
จำนวนนักเรียนทั้งหมด 164 คน จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 11 ห้อง
๑.๒ ข้อมูลห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนระดับประถมศึกษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
จำนวนนักเรียน ในห้องเรียนทั้งหมด 6 คน จำนวนนักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย 6 คน
ชื่อ – นามสกุล ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น นางสมมาตย์ ศรีจันทร์
ชื่อ – นามสกุล หัวหน้าห้องเรียน เด็กชายวสุพล พงษ์สุระ
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการเรียน เด็กหญิงกันตินันท์ เวินเสียง
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการงาน เด็กหญิงพรชนก ใจแน่น
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายสารวัตรนักเรียน เด็กชายพิพัฒน์พงษ์ พลโพธิ์
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายกิจกรรม เด็กหญิงสุชานันท์ สุขเจริญ
๑.๓ คำชี้แจงการประเมิน
๑.๓.๑ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการห้องเรียนสีขาวทุกห้อง
๑.๓.๒ ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย X ในช่องคะแนนการประเมินผลที่ปฏิบัติและสรุปรวมคะแนน
ในแต่ละมาตรฐาน
๑.๓.๓ ให้ผู้ประเมินสรุปผลคะแนนการประเมินทุกมาตรฐานรวมกันแล้วคิดเป็นระดับคุณภาพ
โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
คะแนน ระดับคุณภาพ
ต่ำกว่า ๖๐ ปรับปรุง
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดีมาก
๙๐ - ๑๐๐ ดีเด่น
๑๐๐
ห้องเรียนสีขาว ๑
๑๐๑

แบบประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ ข้อมูลสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านตำแย
สถานที่ตั้ง 39 หมู่ 3 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ๓๐180
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๗
โทรศัพท์ ๐91 – 0195989
จำนวนนักเรียนทั้งหมด 164 คน จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 11 ห้อง
๑.๒ ข้อมูลห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนระดับประถมศึกษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
จำนวนนักเรียน ในห้องเรียนทั้งหมด 12 คน จำนวนนักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย 8 คน
ชื่อ – นามสกุล ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น นายนิรุตติ์ ศรีอุดม
ชื่อ – นามสกุล หัวหน้าห้องเรียน เด็กหญิงภริดา เพชรตะกั่ว
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการเรียน เด็กหญิงณัฐณิชา หาญกล้า
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการงาน เด็กหญิงเบญญาภรณ์ วัดไธสง
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายสารวัตรนักเรียน เด็กหญิงจุฬาลักษณ์ บุดดาพันธ์
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายกิจกรรม เด็กชายธนกร สีมาตรา
๑.๓ คำชี้แจงการประเมิน
๑.๓.๑ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการห้องเรียนสีขาวทุกห้อง
๑.๓.๒ ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย X ในช่องคะแนนการประเมินผลที่ปฏิบัติและสรุปรวมคะแนน
ในแต่ละมาตรฐาน
๑.๓.๓ ให้ผู้ประเมินสรุปผลคะแนนการประเมินทุกมาตรฐานรวมกันแล้วคิดเป็นระดับคุณภาพ
โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
คะแนน ระดับคุณภาพ
ต่ำกว่า ๖๐ ปรับปรุง
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดีมาก
๙๐ - ๑๐๐ ดีเด่น
๑๐๒
ห้องเรียนสีขาว ๑
๑๐๓

แบบประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ ข้อมูลสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านตำแย
สถานที่ตั้ง 39 หมู่ 3 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ๓๐180
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๗
โทรศัพท์ ๐91 – 0195989
จำนวนนักเรียนทั้งหมด 164 คน จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 11 ห้อง
๑.๒ ข้อมูลห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนระดับประถมศึกษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
จำนวนนักเรียน ในห้องเรียนทั้งหมด 14 คน จำนวนนักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย 8 คน
ชื่อ – นามสกุล ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น นางรัตนา ซื่อสัตย์
ชื่อ – นามสกุล หัวหน้าห้องเรียน เด็กหญิงสุทินา กลางนอก
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการเรียน เด็กชายพชรดนัย จอดนอก
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายการงาน เด็กหญิงเกตุวดี นาคโนนไทย
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายสารวัตรนักเรียน เด็กชายนันทภพ แก้วโป๋ย
ชื่อ – นามสกุล รองหัวหน้าห้องฝ่ายกิจกรรม เด็กชายกรกฤต แก้ววันทา
๑.๓ คำชี้แจงการประเมิน
๑.๓.๑ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการห้องเรียนสีขาวทุกห้อง
๑.๓.๒ ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย X ในช่องคะแนนการประเมินผลที่ปฏิบัติและสรุปรวมคะแนน
ในแต่ละมาตรฐาน
๑.๓.๓ ให้ผู้ประเมินสรุปผลคะแนนการประเมินทุกมาตรฐานรวมกันแล้วคิดเป็นระดับคุณภาพ
โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
คะแนน ระดับคุณภาพ
ต่ำกว่า ๖๐ ปรับปรุง
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดีมาก
๙๐ - ๑๐๐ ดีเด่น
๑๐๔

บทที่ ๕
ภาพรางวัล/ผลงานดีเด่น
๑๐๕

ผลการดำเนินงานที่ได้รับการยอมรับระดับอำเภอ/จังหวัด/ภาค/ประเทศ และผลการดำเนินงานเป็น
ที่ประจักษ์ ยอมรับของชุมชนและสังคม

- แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
๑. โรงเรียนวัดบ้านตำแย ได้รับการสนับสนุน และความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ เป็นอย่างดี
นอกจากได้รับสนับสนุนโดยผู้มีจิตศรัทธาในชุมชน ภาครัฐและหน่วยงานองค์กรต่างๆยังให้ความร่วมมือ
สนับสนุนด้วยดีเสมอมา ทั้งการสนับสนุนด้านทุนทรัพย์และทรัพยากรด้านอื่นๆดังจะยกตัวอย่างเฉพาะที่
เกี่ยวข้องเช่น
- องค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมกีฬาสำหรับนักเรียนเป็น
ประจำทุกปี
- องค์การบริหารส่วนตำบล ได้บริจาคทรัพย์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการจัดกิจกรรมหลายอย่าง
ที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่น กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมการแข่งกีฬาสีภายในโรงเรียน
ฯลฯ
- ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ให้การสนับสนุนเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้
ด้านยาเสพติด การป้องกัน การรักษาให้แก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง
- วัด ส่งเสริมสนับสนุนการบรรยายธรรม
- วัดส่งเสริมสนับสนุนการสอบธรรมศึกษาทุกปี
- โรงพยาบาล ส่งบุคลากรที่มีความรู้มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ด้านป้องกันแก้ไขปัญหา
ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ จิตวิทยา และงานอนามัยโรงเรียน
- วัด อำนวยความสะดวกให้บริการสถานที่ และพระวิทยากรแก่โรงเรียนเพื่อใช้ในการจัดค่าย
พุทธบุตร กิจกรรมทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเป็นประจำ
- ชาวบ้านในชุมชน ให้ความร่วมมือในการแก้ไขและป้องกันปัญหาต่างๆกับทางโรงเรียนด้วยดี
เสมอมา มีการเข้าร่วมประชุมระดมสมองเพื่อช่วยเหลือนักเรียน ทั้งยังช่วยบริจาคทรัพย์ในการก่อสร้าง
อาคารเรียนและรั้ว พร้อมทั้งช่วยปรับปรุงภูมิทัศน์โรงเรียน การจัดกิจกรรมกีฬาภายในและกิจกรรมเพื่อ
สังคมอื่นๆอย่างต่อเนื่อง
๒. โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษารอบ ๓ จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
๓.โรงเรียนเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ ตามนโยบายเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต ๗
๔. ครูในโรงเรียนเป็นผู้มีความประพฤติดี ที่สมควรเป็นแบบอย่าง จนได้รับรางวัลต่าง ๆ
๕. นักเรียนได้รับรางวัลในการแข่งขันวิชาการงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
๑๐๖

ภาพแห่งความสำเร็จ

ภาพ : กิจกรรมกีฬาภายในต้านภัยยาเสพติด

ภาพ : กิจกรรมเดินรณรงค์ต่อต้านภัยยาเสพติด
๑๐๗

ภาพ : กิจกรรมมอบเกียรติบัตรห้องเรียนสีขาว

ภาพ : กิจกรรมบันทึกความร่วมมือในการต่อต้านยาเสพติด
๑๐๘

ภาพ : ความเป็นระเบียบในการเดินเข้าห้อง

ภาพ : ร่วมมือกันทำความสะอาด
๑๐๙

ภาพ : โรงเรียนต้นแบบห้องสมุดส่งเสริมการอ่าน ระดับดีเยี่ยม

ภาพ : ได้รับรางวัลชนะเลิศ กิจกรรมการแข่งขันขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ประเภทหญิง ม.1-3


๑๑๐

ภาพ : เข้าร่วมมีส่วนร่วมกับชุมชน

ภาพ : รับการประเมินสถานศึกษาปลอดภัย
๑๑๑

ภาพ : ได้รับรับรางวัลสถานศึกษาพอเพียง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ภาพ : นักเรียนมีความเป็นระเบียบและตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น
๑๑๒

ภาพ : ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดผลงานนักเรียน ประเภทคลิปวีดิโอ

ภาพ : ได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัย ระดับดีเด่น


๑๑๓

ภาพ : บุคลากรในสถานศึกษาได้รับรางวัลครูดีเด่น ประจำปีการศึกษา ๒๕๖6

ภาพ : ได้รับรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเงิน


๑๑๔

ภาพ : ครูผู้สอนนักเรียน การแข่งขันเสนาะสารอ่านทำนองเสนาะ ป.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน

ภาพ : รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันเสนาะสารอ่านทำนองเสนาะ ป.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน


๑๑๕

ภาพ : ครูผู้สอนนักเรียน การแข่งการประกวดเพลงคุณธรรม ป.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน

ภาพ : รางวัลเหรียญทอง การแข่งการประกวดเพลงคุณธรรม ป.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน


๑๑๖

ลงชื่อ.......................................................
(นางสาวสุนิสา ทิพย์บำราบ)
ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย

- ความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา/ผู้นำท้องถิ่น

......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................

ลงชื่อ.......................................................
( นายบรรเลง หาญชนะ )
ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนวัดบ้านตำแย

ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อความข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ

ลงชื่อ.......................................................ผู้เสนอ
(นายชอุ่ม ไพศาล)
ตำแหน่ง ผูอ้ ำนวยการโรงเรียนวัดบ้านตำแย

You might also like