You are on page 1of 47

รายงานฝึ กประสบการณ์

วิชาชีพครู 1
โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร

จัดทำโดย

นางสาว ธีรดา ชัยบุตร รหัสนิสิต


65010511090

เสนอ

ผศ.ดร.สินธะวา คามดิษฐ์
รายวิชาประสบการณ์วิชาชีพครู 1
(5600101)

ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำนำ
การออกสังเกตการณ์ในรายวิชาประสบการณ์วิชาชีพ
ครู 1 (Practicum 1) เป็ นวิชา ที่มีจุดประสงค์มุ่งเน้นการ
สังเกตการสอนโดยการศึกษาสังเกตนักเรียน ผู้บริหาร ครู สื่อการ
สอน สภาพเเวดล้อมภายนอกเเละภายในโรงเรียนบุคลากรเเละ
อาคารสถานที่ในโรงเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการ
ทำงานของครูในสถานศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ สถานการณ์
จริง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงไปกับเเนวคิด ทฤษฎี เพื่อให้นิสิตได้
เกิดการพัฒนาศักยภาพ การปรับตัว เเละเพื่อเป็ นประโยชน์ใน
การเป็ นผู้ช่วยทดลองการสอนเเละฝึ กประสบการณ์สอนในชั้นปี
ต่อๆไป

ทั้งนี้ในการสังเกตการณ์สอนในรายวิชาประสบการณ์
วิชาชีพครู 1 (Practicum 1) ประกอบไปด้วย การสังเกตการณ์
สอนจำนวนทั้งหมด 3 วัน เป็ นเวลา 24 ชั่วโมง ตั้งเเต่ วัน
ที่ 19-21 ธันวาคม พ.ศ.2565 โดยมีการจดบันทึกข้อมูลที่ได้จาก
การสังเกตการสอนตาม ความเป็ นจริงทุกอย่างสม่ำเสมอเเล้
วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เเละทำการสรุปผลที่ได้จากการสังเกตการ
สอน หากรายงานเล่มนี้มีข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดประการใด
ทางผู้จัดทำ ขออภัยมา ณ โอกาสนี้

ธีรดา ชัย
บุตร
ผู้จัดทำ

สารบัญ
หัวข้อ
หน้า

คำนำ

สารบัญ

บทที่ 1 สภาพบริบททั่วไปของโรงเรียน 1

1.ประวัติโรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร 1

2.สภาพชุมชน 1

3.วิสัยทัศน์ (Vision) 2

4.พันธกิจ (Mission) 2

5.ปรัชญา 2

6.อัตลักษ์ 2

7.เอกลักษณ์ 2

8.คำขวัญประจำโรงเรียน 2

9.สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน 3

10.สีประจำโรงเรียน 3

11.หลักสูตรที่เปิ ดสอน 4

12.ผู้อำนวยการโรงเรียน 4

13.ทำเนียบผู้บริหาร 5

14.อาคารสถานที่ 5
หัวข้อ
หน้า

15.บุคลากร 6

16.การสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน 6

บทที่ 2 การวิเคราะห์และผลการสังเกตการสอน 8

1.สังเกตการณ์สอนครั้งที่ 1 8

2.สังเกตการณ์สอนครั้งที่ 2 11

3.สังเกตการณ์สอนครั้งที่ 3 14

4.พฤติกรรมของนักเรียนโดยรวม 17

5.สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน 18

บทที่ 3 สรุปและข้อเสนอแนะ 19

สรุปผลที่ได้จากการ PLC 20

ภาคผนวก 22
1

บทที่ 1

สภาพบริบททั่วไปของโรงเรียน
1.ประวัติโรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร

ภาพที่ 1 โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร

โรงเรียนมหาชัยพิทยาคารตั้งเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2528


ในระยะ 2 ปี การศึกษาแรกรับความอนุเคราะห์จากวิทยาลัยครู
มหาสารคาม (ปั จจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม) ให้ใช้อาคาร
บานบุรีเป็ นอาคารเรียน ตมได้รับบริจาคที่ดินจาก นายจิรศักดิ์ คณาสวัสดิ์
ผู้อำนวยการวิทยาลัยคณาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยคณาสวัสดิ์ จำนวน
30 ไร่ อยู่ตรงข้ามสถานีวิทยุกระจายเสียง กรมการรักษาดินแดน
เอฟ.เอ็ม.รด.มหาสารคาม แต่เนื่องจาก มีปั ญหาเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์
ที่ดิน จึงต้องหาที่ดินแปลงใหม่ จังหวัดมหาสารคามได้จัดหาที่ดินแปลง
ใหม่มีเนื้อที่ประมาณ 61 ไร่ 3 งาน อยู่ตรงข้ามสถานีทดลองพืชไร่จังหวัด
มหาสารคาม (ปั จจุบันคือศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม)
และวัดป่ าสันติวันพันชาติ ติดกับสำนักพัฒนาและเผยแพร่พลังงานส่วน
2

ภูมิภาคจังหวัดมหาสารคาม เป็ นสถานที่จัดตั้งโรงเรียน และได้ย้ายออกมา


จัดการเรียนการสอนในสถานที่ดังกล่าว เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2530
จนถึงปั จจุบัน

2.สภาพชุมชน
สภาพชุมชนโดยรอบโรงเรียนมหาชัยพิทยาคารเป็ นชุมชนชนบท
บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่ วัดป่ าสันติวันพันชาติ สวน
รุกขชาติท่าสองคอน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม วัดบ้าน
อุปราช ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้คือภาษากลาง
และภาษาอีสาน โรงเรียนมหาชัยพิทยาคารได้รับความร่วมมือจากชุมชน
และผู้ปกครองเป็ นอย่างดี

3.วิสัยทัศน์ (Vision)
จัดการศึกษาให้ผู้มีความรู้คู่คุณธรรมมีคุณภาพตามเกณฑ์
มาตรฐาน นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาโดยเน้นใช้ไตรสิกขา
คือ ศีล สมาธิ ภรรยา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็ นแนวการ
ดำเนินกิจกรรมการเรียน หลากหลายแหล่งเรียนรู้ ใช้สื่อ นวัตกรรม
เทคโนโลยีที่เหมาะสม ประสานงานกับชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ
บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
3

4.พันธกิจ (Mission)
4.1 พัฒนาการศึกษาการเรียนรู้ตามแนวโรงเรียนวิถีพุทธเพื่อให้
ผู้เรียนมีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วย
กิจกรรมที่หลากหลาย

4.2 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีศักยภาพในการ
ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพนำสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เหมาะสมมา
ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน

4.3 พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็ นฐานที่มี


ข้อมูลเพียงพอถูกต้อง

4.4 ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

5.ปรัชญา
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ‘‘ปั ญญาเป็ นแสงสว่างแห่งโลก’’

6.อัตลักษณ์
ศีล สมาธิ ปั ญญา

7.เอกลักษณ์
โรงเรียนวิถีพุทธ

8.คำขวัญประจำโรงเรียน
ลูกมหาชัยเป็ นคนดี มีวินัย
4

9.สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

ภาพที่ 2 ตราประจำโรงเรียน

ตราสัญลักษณ์ ตราสัญลักษณ์โรงเรียน รูปดาบวางอยู่บน


หนังสือ หมายถึง การใฝ่ หาความรู้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เพื่อความ
เฉลียวฉลาดหลักแหลมแห่งปั ญญา ดาบที่วางอยู่บนหนังสือเป็ นดาบของ
ท่ า น ท้ า ว ม ห า ชั ย ห รื อ พ ร ะ เ จ ริ ญ ร า ช เ ด ช (ก ว ด ภ ว ภู ต า น น ท์ ณ
มหาสารคาม) อดีตเจ้าเมืองมหาสารคามและโรงเรียนได้รับเกียรติใช้ชื่อ “
มหาชัย” เป็ นชื่อของโรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร)

10.สีประจำโรงเรียน

ภาพที่ 3 สีประจำโรงเรียน

สีประจำโรงเรียน ขาว - แดง

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์และมีจรรยามารยาทงาม


5

สีแดง หมายถึง ความเข้มแข็ง อดทนและกล้าหาญ

11.หลักสูตรที่เปิ ดสอน
หลักสูตร โรงเรียนมหาชัยพิทยาคารเปิ ดให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระดับมัธยมศึกษาปี ที่ 1-6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการ
ศึกษาแห่งชาติ ปั จจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียน
รู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ รวมแปดกลุ่ม คือ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
6

12.ผู้อำนวยการโรงเรียน

ภาพที่ 4 ผู้อำนวยการโรงเรียน

นายอธิการ สุขศรี ผู้อำนวยการโรงเรียน ชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร

13.ทำเนียบผู้บริหาร
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายอธิการ สุขศรี

ชื่อผู้ช่วยผู้บริหาร 1. นายสัจจพันธ์ เนื่องโนราช

2.ฝ่ ายวิชาการ นางเพ็ญพิศ บุญพิคำ

3.ฝ่ ายปกครอง นางสำเนียง มาพร

4.ฝ่ ายธุรการ นางรตินันท์ รังเสนา

5.ฝ่ ายบริหาร นางเกศรินทร์ วงศ์พิมพ์

14.อาคารสถานที่
ห้องเรียน มีทั้งหมด 10 ห้อง
7

ห้องพักครู มีทั้งหมด 12 ห้อง

ห้องส่งเสริมวิชาการ 18 ห้อง

1.ห้องสมุด 2 ห้อง

2.ห้องซาวด์ 1 ห้อง

3.ห้องแลป 4 ห้อง

4.ห้องภาษาอังกฤษ 1 ห้อง

5.ห้องศิลปะ 1 ห้อง

6.ห้องพละศึกษา 1 ห้อง

7.ห้องสังคมศึกษา 3 ห้อง

8.ห้องคณิตศาสตร์ 3 ห้อง

9.ห้องดนตรี 2 ห้อง

อาคารเรียนถาวร 4 หลัง

อาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง

โรงจอดรถ 1 หลัง

โรงอาหาร 1 หลัง และ ร้านค้าสหกรณ์ 1 ร้าน

15.บุคลากร
ครูมีทั้งหมด 13 คน เป็ นชาย 4 คน

เป็ นหญิง 9 คน

ครูอัตราจ้าง 3 คน

ซึ่งแยกตามวุฒิการศึกษาดังนี้
8

ปริญญาโท จำนวน 3 คน

ปริญญาตรี จำนวน 10 คน

ป.กศ.ชั้นสูงหรือเทียบเท่า จำนวน 3 คน

อื่นๆ จำนวน 0
คน

นักการภารโรง มีทั้งหมด 1 คน เป็ นชาย 1 คน

เป็ นหญิง 0 คน

16.การสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน
เป้ าหมายของโรงเรียนและหลักการในการบริหารสถานศึกษาให้
บรรลุเป้ าหมาย จุดเด่นหรือความสำเร็จที่ภาคภูมิใจของโรงเรียน จุดที่
ควรพัฒนาหรือปั ญหาอุปสรรคและวิธีพัฒนาหรือแก้ไข
พัฒนากลุ่มวิชาการกับกลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพพ่วงกับสารพัดช่าง
มหาสารคามในการจัดการเรียนการสอนควบคู่กันเรียกว่าห้องเรียนอาชีพ
เพราะฉะนั้นม.ปลายก็จะมีสาย วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ แล้วก็มีสาย
ศิลป์ ทั่วไปซึ่งสายศิลป์ ทั่วไปก็จะพ่วงกับอาชีพ เด็ก ๆ พวกนี้เวลาเขาจบ
ไปแล้วเขาสามารถเข้าสู่โรงงานได้ตลาดแรงงานได้เพราะเขาจะได้วุฒิ
ปวช.ควบเรียกว่า หลักสูตรทวิศึกษา พอ สอศ.คืออาชีวะมีนโยบายว่า
ยกเลิกระบบทวิศึกษา ก็มาเปิ ดเป็ นห้องเรียนอาชีพ ต้องเก็บเป็ นหน่วยกิต
ซึ่งเป็ นหลักสูตรระยะสั้นสะสมหน่วยกิต ซึ่งมีนักเรียนที่เรียนสายอาชีพอยู่
ประมาณ 53 คน ทั้งโรงเรียน เด็กจะไปเรียนทุกวันศุกร์และวันเสาร์
แนวทางการพัฒนาเด็กที่เรียนอยู่โรงเรียน - ความสามารถตามศักยภาพ
ของเด็กสอบถามเด็กเขาชอบอะไร มีดนตรีมีกีฬา และก็ควบคู่กับการ
พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเราก็มีพระสอน
9

ศีลธรรม มีการเข้าค่ายธรรมะ มีการสวดมนต์ประจำสัปดาห์ทุกวันศุกร์


เพราะฉะนั้นเด็กก็จะได้วิชาการได้คุณธรรม ได้สายอาชีพไปพร้อม ๆ กัน
10

ภาพที่ 5 สัมภาษณ์ผู้บริหาร
11

ภาพที่ 6 ถ่ายภาพร่วมกับผู้บริหาร

บทที่2

การวิเคราะห์และผลการสังเกตการสอน
ผลการสังเกตการสอนโรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร ตั้งแต่วันที่ 19
- 21 ธันวาคม 2565 เป็ นเวลา 24 ชั่วโมง มีผลการ
สังเกตการณ์ดังนี้

วันที่ 1 : วันที่ 19 ธันวาคม 2565 ห้องสังเกตการณ์ ม.5/1 ม.2/1


ม.1/2

รายละเอียดการสังเกตการสอน คาบที่ 1 เวลา 08:20 น. - 09:15 น.


ม.5/1

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/1 มีนักเรียนทั้งหมด 32 คน ใน


รายวิชาคณิตศาสตร์ สอนโดย อ.ชัยเนตร บุญป้ อง ซึ่งเป็ น
ครูประจำวิชา สอนเรื่องจำนวนเชิงซ้อนทบทวนเนื้อหาก่อนสอบ

สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน

เป็ นการเรียนนอกห้องเรียนกรณีพิเศษ เนื่องจากอาคารเรียนมี


การซ่อมแซมหลังคา คุณครูนัดนักเรียนที่หน้าเสาธง สภาพอากาศหนาว
นักเรียนนั่งหน้าเสาธงรับแดดคลายความหนาว ครูให้นั่งตามอัธยาศัย ครู
นั่งเก้าอี้ข้างหน้า นักเรียนและครูหันหน้าเข้าหากัน
12

บรรยากาศการเรียนการสอนภายในห้องเรียน

หลังจากเริ่มเรียน 10 นาทีแรก : นักเรียนมาเรียนไม่ครบ นักเรียนกับ


คุณครูมีการทักทายกัน พูดคุยทบทวนบทเรียนของสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อ
ดึงความสนใจของนักเรียน

ระหว่างชั่วโมง : คุณครูสอนเรื่องจำนวนเชิงซ้อนและมีการทบทวนเพื่อ
ให้เด็กเตรียมสอบ นักเรียนมีตั้งใจฟั งเป็ นบางกลุ่ม บางกลุ่มเล่นโทรศัพท์
มีการสนทนากับครู ตอบคำถามครูอยู่ตลอดเป็ นบางคนที่ให้ความสนใจ

10 นาทีก่อนเลิกเรียน : ทบทวนเนื้อหาที่เรียน มีการโยนคำถามจาก


เนื้อหาที่เรียนและให้นักเรียนตอบ จากที่เรียนไปได้อะไรบ้าง ใครไม่เข้าใจ
ตรงไหนให้ยกมือถาม รายละเอียดการสังเกตการสอน

รายละเอียดการสังเกตการสอน คาบที่ 2 เวลา 09:15 น. – 10:10 น.


ม.2/1

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2/1 มีนักเรียนทั้งหมด 40 คน ใน


รายวิชาคณิตศาสตร์ สอนโดยนางสาวศุภสุตา
กลิ่นหวาน ซึ่งเป็ นครูฝึ กสอน สอนเรื่องความเท่ากันทุกประการของรูป
สามเหลี่ยม

สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน

ห้องเรียนมีโต๊ะให้นักเรียนนั่งเป็ นกลุ่ม 3 คน มีโต๊ะครูอยู่ด้าน


หน้า มีกระดานสะอาดพร้อมใช้งาน มีอุปกรณ์ทำความสะอาด
13

ห้องเรียน มีถังขยะ ห้องเรียนสะอาด มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์


ติดรอบห้อง ห้องอากาศถ่ายเทสะดวก ห้องกว้าง

บรรยากาศการเรียนการสอนภายในห้องเรียน

หลังจากเริ่มเรียน 10 นาทีแรก : นักเรียนเข้าเรียนไม่ครบ และมาสายกัน


เยอะ

ระหว่างชั่วโมง : ครูมีการทบทวนเนื้อหาที่สอนในคาบที่แล้ว พร้อมทั้งนำ


นักเรียนเข้าสู่เนื้อหา เป็ นการสอนเรื่องความเท่ากันทุกประการของรูป
สามเหลี่ยม ทั้งแบบ ด้าน-มุม-ด้าน , มุม-ด้าน-มุม , มุม-มุม-ด้าน,
ด้าน-ด้าน-ด้าน และ ฉาก-ด้าน-ด้าน

10 นาทีก่อนเลิกเรียน : ครูพานักเรียนทำแบบฝึ กหัด ท้ายคาบมีการ


เฉลยแบบฝึ กหัด มีการให้ส่งงานย้อนหลังและให้คะแนนนักเรียนที่ส่งงาน

รายละเอียดการสังเกตการสอนคาบที่ 3 เวลา 10:10 น. - 11:05 น.


ม.1/2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/2 มีนักเรียนทั้งหมด 36 คน ใน
รายวิชาคณิตศาสตร์ สอนโดย อ.ชัยเนตร บุญป้ อง (นักเรียนไม่เข้าเรียน)

สรุปผลการสังเกตการณ์วันที่1

เห็นบรรยากาศโรงเรียน สภาพแวดล้อม บรรยากาศการสอน


คุณครูมีการเอาใจใส่นักเรียน คอยตอบคำถามที่เกิดจากความสงสัยของ
นักเรียน เห็นนักเรียนหลายๆรูปแบบทั้งให้ความสนใจ เอาใจใส่ และไม่ให้
ความสนใจ เล่นโทรศัพท์ขณะเรียนหรือแม้แต่ไม่เข้าเรียนเลย สภาพ
แวดล้อมในห้องเรียนแต่ละห้องจะมีความแตกต่างกันรวมถึงพฤติกรรม
ของนักเรียน
14

ภาพที่ 7 บรรยากาศเรียนการสอนและบรรยากาศนอก
ห้องเรียน ม.5/1
15

ภาพที่ 8 บรรยากาศการเรียนในห้องเรียน ม.2/1

วันที่ 2 : วันที่ 20 ธันวาคม 2565 ห้องเรียนที่สังเกตการณ์ ม.2/1


ม.3/2 ม.4/1

รายละเอียดการสังเกตการสอน คาบที่1 เวลา 08:20 น. – 09:15 น.


ม.2/1

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2/1 มีนักเรียนทั้งหมด 40 คน ใน


รายวิชาคณิตศาสตร์ สอนโดยนางสาวศุภสุตา กลิ่นหวาน
ซึ่งเป็ นครูฝึ กสอน สอนเรื่องความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม

สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน

ห้องเรียนมีโต๊ะให้นักเรียนนั่งเป็ นกลุ่ม 3 คน มีโต๊ะครูอยู่ด้าน


หน้า มีกระดานสะอาดพร้อมใช้งาน มีอุปกรณ์ทำความสะอาด
ห้องเรียน มีถังขยะ ห้องเรียนสะอาด มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ติดรอบห้อง ห้องอากาศถ่ายเทสะดวก ห้องกว้าง

บรรยากาศการเรียนการสอนภายในห้องเรียน
16

หลังจากเริ่มเรียน 10 นาทีแรก : มีนักเรียนบางส่วนเข้าเรียนสาย เข้า


เรียนไม่ตรงเวลา คุณครูมีการถาม ถึงเหตุผลว่าทำไมมาเรียนไม่ตรง
เวลาและตักเตือน นักเรียนบางส่วนมาก่อนเวลานั่งอยู่ในห้องพร้อมเรียน

ระหว่างชั่วโมงเรียน : ครูได้ทำการทบทวนเนื้อหาคาบที่แล้ว เนื้อหาที่จะ


ทบทวนคือเรื่องความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม ทั้งแบบ ด้าน-
มุม-ด้าน , มุม-ด้าน-มุม , มุม-มุม-ด้าน , ด้าน-ด้าน-ด้าน และ ฉาก-
ด้าน-ด้าน หลังจากนั้นคุณครูก็จะพาทำแบบทดสอบเป็ นเกมส์แต่มี
คะแนน โดยการแจกกระดาษเพื่อ ทำแบบทดสอบบนโทรทัศน์ทีละ
ข้อพร้อมกัน แล้วตรวจสอบว่าถูกหรือไม่ ถ้าถูกก็จะได้คะแนนสะสม

10 นาทีก่อนเลิกเรียน : บอกคะแนนและให้นักเรียนเตรียมตัวไปเรียนใน
คาบต่อไป

รายละเอียดการสังเกตการสอน คาบที่ 2 เวลา 09:15 น. – 10:10 น.


ม.3/2

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2/1 ในรายวิชาคณิตศาสตร์ สอน


โดยนางวัลย์นิภา ภูสีคุณ ครูประจำรายวิชา สอนเรื่องมุมใน
วงกลม
17

สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน

ห้องเรียนมีโต๊ะให้นักเรียนนั่งโดยจัดโต๊ะเป็ นรูปตัวยู มีโต๊ะครูอยู่


ด้านหน้า มีกระดานสะอาดพร้อมใช้งาน มีอุปกรณ์ทำความสะอาด
ห้องเรียน มีถังขยะ ห้องเรียนสะอาด มีเกร็ดความรู้ติดรอบห้อง ห้อง
อากาศถ่ายเทสะดวก ห้องกว้าง

บรรยากาศการเรียนการสอนภายในห้องเรียน

หลังจากเริ่มเรียน 10 นาทีแรก : นักเรียนเข้าเรียนไม่ครบ และมาสายกัน


เยอะ

ระหว่างชั่วโมง : ก่อนเริ่มเรียนครูให้นักเรียนทำความสะอาด
ห้องเรียน หลังจากนั้นเริ่มเรียนเรื่องมุมในวงกลมโดยการสอนผ่าน
กระดาน นักเรียนผู้ชายบางคนเล่นเกมส์ ผู้หญิงบางคนทำผม บางคนพูด
คุยกันระหว่างเรียน ครูมีเตรียมอุปกรณ์ในการเรียนให้นักเรียน
ด้วยเป็ นไม้โปรแทรกเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนและทำกิจกรรม ครูสอนโดย
การวาดภาพพร้อมอธิบายหลักการของการเกิดมุมภายในวงกลม มีการซัก
ถามเพื่อเช็คความเข้าใจนักเรียน นักเรียนมีการตอบโต้กับความถามที่ครู
ถาม เมื่อสงสัยนักเรียนมีการยกมือเพื่อสอบถามครูและครูก็มาอธิบายตัว
ต่อตัวให้นักเรียนฟั งจนเข้าใจ

10 นาทีก่อนเลิกเรียน : ท้ายคาบมีการสั่งการบ้านโดยให้นักเรียนไป
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีบทที่เกี่ยวกับวงกลมทั้งหมดพร้อมจดบันทึกลง
สมุดส่งคาบต่อไป
18

สรุปผลการสังเกตการณ์วันที่2

นักเรียนแต่ละห้องมีความแตกต่างกัน แต่มาสายบ่อยจนครูได้ตัก
เตือน ครูสอนละเอียดมีเกมส์เพื่อกระตุ้นนักเรียน ไม่เพียงแต่สอนอย่าง
เดียวอาจจะทำให้นักเรียนเครียดได้ นักเรียนทำกิจกรรม ให้ความร่วมมือ
มีการเล่นเกมส์ ตอบคำถาม ยกมือถาม แต่มีบางคนที่ไม่สนใจ เล่นเกมส์
ทำกิจกรรมอื่นๆนอกจากการเรียนในห้อง แต่ครูคอยตักเตือนอยู่ตลอด มี
การให้การบ้านเพื่อให้เด็กได้กลับไปทบทวนสิ่งที่เรียน บรรยากาศในห้อง
น่าเรียน มีแต่เสียงหัวเราะ นักเรียนและคุณครูเป็ นกันเอง

ภาพที่ 9 บรรยากาศการเรียนการสอน ม.2/1


ภาพที่ 10 บรรยากาศการเรียนการสอน ม.3/2
19

ภาพที่ 11 บรรยากาศการเรียนการสอน ม.4/1

วันที่ 3 : วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ห้องเรียนที่สังเกตการณ์ ม.4/1


ม.3/1

รายละเอียดการสังเกตการสอน คาบที่1 เวลา 08:20 น. – 09:15 น.


ม.4/1

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2/1 มีนักเรียนทั้งหมด 29 คน ใน


รายวิชาคณิตศาสตร์ สอนโดยนางสาววิยะดา กุลธัชจิร
โชติ สอนเรื่องแฟกทอเรียล

สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน

ห้องเรียนมีโต๊ะให้นักเรียนนั่งเป็ นคู่ มีโต๊ะครูอยู่ด้านหน้า มี


กระดานสะอาดพร้อมใช้งาน มีอุปกรณ์ทำความสะอาดห้องเรียน มีถังขยะ
20

ห้องเรียนสะอาด มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ติดรอบห้อง ห้อง


อากาศถ่ายเทสะดวก ห้องกว้าง ห้องกว้าง บางจุดมีขยะ

บรรยากาศการเรียนการสอนภายในห้องเรียน

หลังจากเริ่มเรียน 10 นาทีแรก : มีเด็กบางส่วนเข้าเรียนสาย เข้าเรียนไม่


ตรงเวลา คุณครูมีการถามถึงเหตุผลว่าทำไมมาเรียนไม่ตรงเวลาและตัก
เตือน เด็กบางส่วนมาก่อนเวลานั่งอยู่ในห้องพร้อมเรียน

ระหว่างชั่วโมงเรียน : คุณครูสอนเรื่อง แฟกทอเรียลเมื่อคุณครูเริ่มสอน


เด็กก็ตั้งใจเรียนมีการตอบสนองและให้ความร่วมมือกับคุณครูผู้สอนเป็ น
อย่างดี คุณครูผู้สอนใช้กระดานไวท์บอร์ดเป็ นสื่อในการสอนนักเรียน มี
การทำแบบฝึ กหัดไปพร้อมกับทฤษฎีเพื่อให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียนง่าย
ยิ่งขึ้น มีการเฉลยแบบฝึ กหัดที่เป็ นการบ้านของนักเรียนและเพิ่มโจทย์ให้
นักเรียนออกมาแสดงวิธีทำเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน มีการ
แสดงการเปรียบเทียบของโจทย์เพื่อให้ผู้เรียนเห็นถึงความแตกต่าง

10 นาทีก่อนเลิกเรียน : พวกเราช่วยสอนน้อง น้องมีการถามเกี่ยวกับ


เรื่องที่เรียน พวกเราจึงช่วยสอนวิธีทำแบบฝึ กหัด

รายละเอียดการสังเกตการสอน คาบที่2 เวลา 09:15 น. - 10:10 น.


ม.3/1

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3/2 ในรายวิชาคณิตศาสตร์ สอน


โดยคุณครูเพ็ญพิศ บุญพิคำ ซึ่งเป็ นครูประจำวิชา สอนเรื่องจุด
ตัดบนแกน
21

สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน

มีการจัดโต๊ะให้นักเรียนเป็ นกลุ่ม มีโต๊ะครูหน้าห้อง กระดาน


สะอาดพร้อมเรียน มีหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท มีเศษขยะนิดหน่อย
ห้องเรียนกว้าง มีเกล็ดความรู้เล็กๆน้อยๆติดตามห้อง มีจอทีวีไว้ใช้ในการ
เรียน

บรรยากาศการเรียนการสอนภายในห้องเรียน

หลังเริ่มเรียน 10 นาที : มีเด็กบางคนเข้าเรียนสายจนครูได้ตามและตัก


เตือน คุณครูถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ

ระหว่างชั่วโมงเรียน : ครูสอนเรื่องจุดตัดบนแกน มีอุปกรณ์การเรียนให้


คือวงเวียน ให้ทุกคนหยิบวงเวียนคนละชิ้นเพื่อใช้ในการเรียน ครูพาทำ
โจทย์ตามหนังสือและมีการยิงคำถามให้นักเรียนตอบ นักเรียนให้ความ
ร่วมมือได้ดี ตอบคำถามครู มีการให้ลองทำแบบฝึ กหัดด้วยตนเองและสุ่ม
ถาม มีการสร้างเส้นและหาจุดตัดบนแกนอย่างละเอียด นักเรียนทำตาม
โดยจดใส่สมุดบันทึก

10 นาทีก่อนเลิกเรียน : คุณครูสั่งการบ้านและปล่อยก่อนเวลาเพื่อให้
นักเรียนเตรียมตัวไปเรียนในคาบต่อไป

สรุปผลการสังเกตการณ์วันที่2
22

การมีอุปกรณ์เสริมในการเรียนรู้ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี
รวดเร็ว เห็นภาพได้ง่าย นักเรียนไม่เข้าใจตรงไหนมีการกล้าแสดงออก
กล้ายกมือถามพี่ ถามครู นักเรียนให้ความร่วมมือ ส่วนมากตั้งใจเรียน มี
ส่วนน้อยที่ไม่สนใจ มาสาย ครูต้องแก้ไขสถานการณ์ต่างๆได้ ต้องใจดี มี
เมตตา พูดจาสุภาพเรียบร้อย
23

ภาพที่ 12 บรรยากาศเรียนการสอน ม.4/1

ภาพที่ 13 บรรยากาศการเรียนการสอ
นม.3/2

บรรยากาศภายนอกห้องเรียน
ในช่วงเดือนธันวาคมมีอากาศหนาว นักเรียนใส่เสื้อกันหนาวมา
กันทุกคนเพื่อให้อบอุ่นร่างกาย ช่วงเช้ามีการเข้าแถวเคารพธงชาติในช่วง
เวลา 07:50 – 08:20 น. จัดแถวแบ่งเป็ นระดับชั้น มีการสวดมนตร์ มี
คุณครูมาพูดคุยหน้าเสาธงในช่วงเช้ารวมถึงชี้แจงเรื่องต่างๆทุกวันเป็ น
กิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นเป็ นประจำทุกวันในตอนเช้าก่อนเข้าเรียน มีการ
24

จับกลุ่มกันนั่งพูดคุย ทำงาน ทำการบ้าน ทำสวยกันที่โต๊ะม้าหินอ่อนใน


ระหว่างพัก

ภาพที่ 14 บรรยากาศการเข้าแถวเคารพธงชาติ

ภาพที่ 15 บรรยากาศการจัดกิจกรรมหน้าเสาธง

พฤติกรรมของนักเรียนโดยรวม
พฤติกรรมนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกัน โดยรวมแล้วนักเรียนมี
สัมมาคารวะ ให้ความเคารพผู้ใหญ่ พี่ๆคุณครู อาจารย์เดินผ่าน มีการไหว้
และกล่าวสวัสดีครับสวัสดีค่ะอยู่ตลอด นักเรียนร่าเริง สดใส ชวนคุยเก่ง
พี่ๆถามคุณครูถามมีการให้ความร่วมมือ แต่บางคนอาจจะแต่งตัวไม่
เรียบร้อยผิดระเบียบไปบ้างแต่ก็มีคุณครูคอยตักเตือน เด็กแต่ละชั้นมีการ
เรียนการสอนที่แตกต่างกันไปคุณครูต้องเตรียมเนื้อหาให้พร้อมสำหรับ
การเรียนการสอนของนักเรียน มีเกมส์ให้นักเรียนเล่นบ้างเพื่อกระตุ้น
25

ความสนใจ ไม่ให้การเรียนในห้องเรียนน่าเบื่อ มีการเปลี่ยนบรรยากาศ


การเรียนเพื่อแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้ากับเหตุการณ์ที่เราคาดไม่ถึง

สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน
โรงเรียนค่อนข้างล่มรื่น มีต้นไม้เยอะ มีอาคารเรียนไม่เยอะมาก
มีสถานที่ทำกิจกรรมต่างๆเช่น เสาธง สแตนเชียร์ สนามฟุตบอล สนาม
ตะกร้อ สนามเปตอง โรงอาหารมีร้านขายของน้อยโต๊ะนั่งรับประทาน
อาหารน้อย มีสหกรณ์ มีโรงจอดรถยนต์-มอเตอร์ไซค์ มีโดมไว้ทำกิจกรรม
ในร่ม บางจุดมีขยะ มีถังขยะไม่ทั่วถึง ในช่วงนี้กำลังปรับปรุงหลังคาของ
อาคาร สถานที่ตั้งของโรงเรียนติดกับถนนใหญ่ ใกล้กับสวนรุกขชาติท่า
สองขอน

ภาพที่ 16 สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน
26

บทที่ 3

สรุปและข้อเสนอแนะ
3.1 จุดเด่น

1.โรงเรียนมหาชัยพิทยาคารเป็ นโรงเรียนที่ร่มรื่น ต้นไม้เยอะ อากาศดีน่า


อยู่

2.โรงเรียนใกล้หมู่บ้าน ติดถนนใหญ่

3.มีสถานที่ทำกิจกรรมต่างๆรองรับนักเรียนค่อนข้างหลากหลาย

3.2 ข้อเสนอแนะ

1.ห้องน้ำไกลจากตัวอาคาร ห้องน้ำไม่ค่อยสะอาด และใช้ได้ไม่กี่ห้อง


27

2.ควรมีถังขยะทั่วถึง

3.โรงอาหารควรมีอาหารที่หลากหลาย มีโต๊ะรองรับนักเรียนหลายโต๊ะ
28

สรุปผลที่ได้จากการ PLC
เทคนิคการสอน

โรงเรียนสตรีศึกษา : มีการพานักเรียนร้องเพลง ชื่อเพลงว่า “เซิ้งพหุ


นาม” ก่อนเริ่มเรียนทุกครั้ง

ภาพที่ 17 ตัวอย่างเนื้อเพลงเซิ้งพหุนาม

ปั ญหาที่พบในระหว่างเรียน วิธีการแก้ปั ญหา และข้อเสนอแนะ

1. โรงเรียนสตรีศึกษา/ วาปี ปทุม/ สำโรงวิทยาคาร

เล่นโทรศัพท์ : ก่อนเข้าห้องเรียน ครูจะดูบริบทในห้องว่า เด็ก


นักเรียนเล่น วิ่งเล่น หรือคุยกันหรือไม่ ถ้ามี คุณครูจะให้นักเรียนนำ
โทรศัพท์ไปเก็บที่ชั้นของตัวเอง โดยจะมีช่องใส่โทรศัพท์ไว้ในที่หน้าชั้น
เรียนตามเลขที่ ถ้าไม่มีจะไม่มีการเก็บโทรศัพท์

2. โรงเรียนมหาชัย
29

เด็กสอบไม่ได้ : คุณครูจะแจกข้อสอบจริง เพื่อให้เด็กนำไป


ท่องจำแล้วมาสอบ

ข้อเสนอแนะ : วิธีนี้อาจจะทำให้เด็กได้คะแนนเยอะ แต่อาจจะ


ไม่ได้ความรู้จริง ๆ ควรให้ทำข้อสอบคู่ขนานที่อาจคล้ายข้อสอบจริง เพื่อ
ให้เด็กได้เกิดการวิเคราะห์

3. โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม

เด็กไม่ตั้งใจเรียน : ในระหว่างเรียนครูสังเกตเห็นว่าเด็กนักเรียน
เริ่มไม่สนใจเรียน เดินไปมา พูดคุยหยอกล้อกันผู้จึงแก้ปั ญหาโดยการให้
นักเรียนตอบคำถาม และถ้าตอบถูกจะแจกขนมให้ เพื่อเป็ นการเสริมแรง
ทางบวก

4. โรงเรียนผดุงนารี

นักเรียนไม่สนใจการเรียนมีอิสระในการเข้าเรียนไปร้านสะดวก
ซื้อ : ครูพยายามสังเกตพฤติกรรมนักเรียนและเดินให้ข้อหานักเรียนมาก
ยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะ : คุณครูกับนักเรียนควรร่วมมือกัน เสนอกฎในชั้น


เรียนและปฏิบัติตามกฎ

5. โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย
30

นักเรียนทะเลาะกันทำร้ายร่างกาย : ครูแก้ปั ญหาโดยการให้


นักเรียนที่ทะเลาะกันมานั่งเรียนด้วยกันทำแบบฝึ กหัดด้วยกันทานข้าว
ด้วยกัน เป็ นเวลา 2 วัน

6. โรงเรียนบ้านค้อ

เด็กไม่มีความพร้อมทางด้านทรัพยากร เช่น ชุดนักเรียน,สมุด :


เนื่องจากโรงเรียนบ้านค้อเป็ นโรงเรียนทางเลือกทำให้มีความขาดแคลน
ทางด้านทรัพยากร คุณครูจึงต้องขอรับบริจาคสิ่งของเพื่อมาแจกให้กับ
เด็กนักเรียนหรือบางทีอาจจะมีการใช้เงินส่วนตัวอยู่บ้าง

7. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามฝ่ ายประถม

เด็กนักเรียนไม่ค่อยตั้งใจเรียน : ครูจึงให้นักเรียนตอบคำถาม
เมื่อตอบไม่ได้ครูจึงอธิบายว่าทำไมถึงตอบไม่ได้

8. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามฝ่ ายมัธยม

นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน คุยกัน : ครูแก้ปั ญหาโดยการให้นักเรียน


ที่พูดคุยกันลุกขึ้นตอบคำถาม
31

ภาคผนวก
32

ภาพที่ 18 ตารางสอนครูพี่เลี้ยง

ภาพที่ 19 ตารางสอนครู
33
34

ภาพที่ 20 บรรยากาศภายในโรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร
35

ภาพที่ 21 บรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียน
36

ภาพที่ 22 แบบ ปช.1 สำหรับครูพี่เลี้ยงของนางสาวธีรดา ชัยบุตร


37

ภาพที่ 23 แบบ ปช.1 สำหรับครูพี่เลี้ยงของนางสาวธีรดา ชัยบุตร


38

ภาพที่ 24 แบบบันทึกการลงเวลาของนางสาวธีรดา ชัยบุตร


39

ภาพที่ 25 ข้อมูลนิสิตของนางสาวธีรดา ชัยบุตร


40

You might also like