You are on page 1of 111

บทที่ 1

ประวัติและข้อมูลทั่วไป โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
ข้อมูลทั่วไป
โรงเรีย นเบญจมราชูทิศ (Benjamarachutit School) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดจังหวัด
นครศรีธรรมราช ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสหวิทยาเขตเบญจมราชูทิศ
วันสถาปนาวันที่ 10 กรกฎาคมของทุกปี ตั้งอยู่เลขที่ 159 หมู่ที่ 3 ถนนนาพรุ-ท่าแพ ตำบลโพธิ์เสด็จ
อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80000 โทรศัพท์ 0-7544-7004-5 มีเนื้อที่
89 ไร่ 3 งาน 83.90 ตารางวา เว็บไซต์ http://www.benjama.ac.th
ก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงแต่งตั้งให้
พระศิริธรรมมุนี (ม่วง รัตนธโช) เป็นผู้อำนวยการศึกษาเป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชถึงปัตตานี
ด้วยได้จัดตั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2442 โดยมีพระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม)
ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็น ผู้อุป ถัมภ์ ปัจจุบันมีเขตพื้นที่บริการจังหวัดนครศรีธ รรมราช และ สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ปี พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ า
ทรงแต่งตั้งให้พระศิริธรรมมุนี เป็นผู้อำนวยการศึกษาเป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชถึงปัตตานี ด้วยได้
จัดตั้งคณะสงฆ์ การศึกษา ศาสนา และได้จัดตั้งโรงเรียน ทั้งหมด 21 แห่ง โรงเรียนหลวงหลังแรกตั้งอยู่ที่วัด
ท่าโพธิ์ อำเภอเมื อง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีช ื่อว่า “สุขุม าภิ บาลวิ ทยา” มีพระยาสุ ขุ มนั ยวิ นิ ต
(ปั้น สุขุม) ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้อุปถัมภ์
ปี พ.ศ. 2447 พระศิริธรรมมุนี (ม่วง รัตนธโช) สร้างอาคารเพิ่มอีก 1 หลัง เปลี่ยนชื่อโรงเรียน
เป็น “โรงเรียนศรีธรรมราช”
ปี พ.ศ. 2456 พระธรรมโกษาจารย์ (ม่วง รัตนธโช) ให้สร้างตึกชั้นเดียวเป็นสถานที่เรียนซึ่งตั้งอยู่
นอกกำแพงวัดท่าโพธิ์ ทางด้านทิศใต้ และ พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น“โรงเรียนเบญจมราชูทิศ”
อันเป็นมงคลนามที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เพื่อ
ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ปี พ.ศ. 2479 ย้ายโรงเรียนจากวัดท่าโพธิ์มาอยู่ในบริเวณสนามหน้าเมือง ในเขต วัดพระสูง
ปี พ.ศ. 2490 เปิดสอนระดับอุดมศึกษา มีทั้งแผนกวิทยาศาสตร์ แผนกอักษรศาสตร์
ปี พ.ศ. 2504 ได้ย้ายแผนกอักษรศาสตร์ไปเรียนที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
ปี พ.ศ. 2507 โรงเรียนเปิดรับนักเรียนชั้น ม.ศ.1 แทนการรับนักเรียนเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 อย่างเดิม
ปี พ.ศ. 2514 โรงเรียนได้เข้าร่วมในโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบประสม กรมสามัญศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
2

ปี พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้ย้ายจากสนามหน้าเมืองในเขตวัดพระสูงมาเรียนสถานที่ปัจจุบัน


ปี พ.ศ. 2522 โรงเรียนได้รับรางวัล โรงเรียนพระราชทาน
22 กันยายน พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ
พระบรมโอรสาธิ ร าชสยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร เสด็ จ แทนพระองค์ ทรงเปิ ด พระบรมราชานุ ส าวรี ย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปิดหอสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ
20 สิงหาคม พ.ศ.2548 พิธีเปิดหอเกียรติยศ
1-3 กันยายน พ.ศ.2546 โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยคณะกรรมการจาก
สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ผลการประเมินอยู่ในระดับดี
6-8 กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.2549 โรงเรี ยนผ่ านการประเมิ นคุ ณ ภาพการศึ ก ษารอบ ที ่ 2 โดย
คณะกรรมการจากสำนักงานรับ รองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ผลการ
ประเมินอยู่ในระดับดี
20 ตุลาคม พ.ศ.2550 – 18 กรกฎาคม พ.ศ.2551 คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่า และครู
ผู้ปกครองนักเรียน ระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาโรงเรียนจัดสร้างหอประชุม ใหญ่เรียกว่าหอประชุม
ธัชมุนี
23 กรกฎาคม พ.ศ.2552 โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพด้านการบริหารจัดการ ผ่านการ
รับรองคุณภาพ เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2
11-13 กรกฎาคม พ.ศ.2554 โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพการศึก ษา โดยคณะกรรมการ
จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษาครั้งที่ 3 (สมศ.) ผลการประเมินอยู่ใน
ระดับดีมาก ด้วยคะแนนเฉลี่ย 91.67
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 โรงเรียนผ่านการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนการ
สอนและบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พ.ศ.2559 โรงเรียนผ่านการประเมิน สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา
ขนาดใหญ่
พ.ศ.2560 เข้ารับการประเมินโรงเรียนเกณฑ์รางวัลคุณภาพ แห่งสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ปี 2559
ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ โรงเรียนได้รับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา
ขนาดใหญ่ ระดับยอดเยี่ยม
ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็น
โรงเรียนมัธยมศึกษาต้นแบบ OBEC Online สพฐ. วิถีใหม่ เพื่อเด็กไทยเท่าเทียมกัน
ปี พ.ศ. ๒๕๖5 ได้รับการคัดเลือกจาก คณะกรรมการจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เป็นโรงเรียน”สถานศึกษาปลอดภัย” ผ่านการประเมินได้รับรางวัลระดับดีเด่น
ปี พ.ศ. ๒๕๖5 ผ่านการประกันคุณภาพภายนอก (พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๖๙) จากสำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่
๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕
3

สัญลักษณ์โรงเรียน
ตราประจำโรงเรียน (SCHOOL EMBLEM)
มงกุฎ มีหมายเลข 5 อยู่ภายใต้มงกุฎ
มงกุฎ หมายถึง สิ่งสูงสุด มงคลสูงสุด
เลข 5 หมายถึง โรงเรียนตั้งขึ้นตามพระราช
ประสงค์ของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

บริเวณโรงเรียน เนื้อที่ 89 ไร่ 3 งาน 83.90 ตารางวา


วันก่อตั้งโรงเรียน วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2441
วันเปิดทำการสอนครั้งแรก วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2442
สีประจำโรงเรียน (SCHOOL COLOURS)
ขาว-แดง
ขาว หมายถึง คุณธรรม ความรับผิดชอบ
แดง หมายถึง ความมุ่งมั่น ความกล้าหาญ

คติพจน์ของโรงเรียน (SCHOOL MOTTO)


ขนฺติ หิต สุขาวหา
ความอดทนนำมาซึ่งความผาสุก

อักษรย่อของโรงเรียน (SCHOOL ABBREVIATION)


บ.ม.

ปรัชญาของโรงเรียน (SCHOOL PHILOSOPHY)


การเรียนดี ฝีมือเก่ง กีฬาเยี่ยม มารยาทยอด

เอกลักษณ์ (Uniqueness) : การเรียนดี สร้างคนดี เป็นที่ยอมรับของสังคม


อัตลักษณ์ (Identity) : คนเก่ง คนดี มีจิตอาสา
เพลงประจำโรงเรียน (SCHOOL SONG)
มาร์ช ขาว-แดง
ต้นไม้ประจำโรงเรียน (SCHOOL SYMBOLIC TREE)
ต้นประดู่แดง
ต้นประดู่ หมายถึง สัญลักษณ์ของความพร้อมเพรียง
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)
Trusted B.M. “ สร้างความเชื่อมั่นสู่ ความไว้วางใจ ”
ค่านิยมหลักขององค์กร (Core Values Organization)
BENJAMA “ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความสำเร็จร่วมกัน”
4

แผนภูมิโครงสร้างการบริหารงาน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
5

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
๑. นายอยู่ (ไม่มีนามสกุล) ครูใหญ่ ๒๔๔๒,๒๔๕๔-๒๔๕๕
๒. นายนาก สังขนิยม ครูใหญ่ ๒๔๔๒ - ๒๔๔๖
๓. นายทอง คุปตาสา ครูใหญ่ ๒๔๔๗ - ๒๔๕๔
๔. ขุนบูรณาวาท (พร้อย ณ นคร) ครูใหญ่ ๒๔๕5 - 2461
๕. นายมี จันทร์เมือง ครูใหญ่ 2462 - 2473
๖. นายคลิ้ง ขุทรานนท์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 2473 - 2474
๗. นายโอบ ปักปิ่นเพชร ครูใหญ่ 2475 - 2500
อาจารย์ใหญ่ 2501 - 2503
๘. นายสังข์ ทองรมย์ รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ 2503 - 2504
๙. นายบุญเนิน หนูบรรจง รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ 2505
๑๐. นายเพิ่มศักดิ์ นนทภักดิ์ รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ๒๕o๖
๑๑. นายสวัสดี ณ พัทลุง อาจารย์ใหญ่ ๒๕๐๗ - ๒๕๑๗
๑๒. นายเพิ่มศักดิ์ นนทภักดิ์ อาจารย์ใหญ่ ๒๕๑๗ - ๒๕๒๑
ผู้อำนวยการ ๒๕๒๑ - ๒๕๓๐
๑๓. นายธรรมนูญ ธุระเจน รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑
๑๔. นายศุภมน เสาหฤทวงศ์ ผู้อำนวยการ ๒๕๓๑ - ๒๕๓๖
๑๕. นางอรุณ นนทแก้ว ผู้อำนวยการ ๒๕๓๖ - ๒๕๔๓
๑๖. นายสัมฤทธิ์ รอดประดิษฐ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ๑ ต.ค.๔๓ - ๖ พ.ย. ๔๓
๑๗. นายวิญญู ใจอารีย์ ผู้อำนวยการ ๗ พ.ย. ๔๓ - ๒๗ มี.ค.๔๙
๑๘. ว่าที่ รต.ภักดี ชูหวาน ผู้อำนวยการ ๒๘ มี.ค. ๔9 - ๓๐ ก.ย. ๕๑
๑๙. นายประทีป ศิริสมบัติ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ๑ ต.ค. ๕๑ - ๒๘ ธ.ค.๕๑
๒๐. นายณรงค์ ทองขาว ผู้อำนวยการ ๒๙ ธ.ค. ๕๑ - ๓๐ ก.ย. ๕๕
๒๑. นายภักดี เหมทานนท์ ผู้อำนวยการ ๑ ต.ค. ๕๕ - ๓๐ ก.ย. ๖๔
๒๒. นายภูตินันท์ เฮ้งศิริ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ๑ ต.ค. ๖๔ - 6 ธ.ค.๖๔
๒๓. นายณัฐวุฒิ รัตนอรุณ ผู้อำนวยการ 7 ธ.ค. ๖๔ - ปัจจุบัน

ผู้บริหารโรงเรียน
ผู้อำนวยการโรงเรียน
นายณัฐวุฒิ รัตนอรุณ

รองผู้อำนวยการโรงเรียน
นายดุสิต คงจันทร์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานอำนวยการ
ว่าที่ร้อยเอกคุณาวุฒิ ศรีสุวรรณ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ
นายสุทิน อยู่สบาย รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานพัฒนานักเรียน
นางภารดี สุขอนันต์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบริหารทั่วไป
6

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนนักเรียนตามระดับช่วงชั้นที่ 3 และระดับช่วงชั้นที่ 4

ชั้น/เพศ ชาย หญิง รวม ห้องเรียน


ม.1 222 259 481 14
ม.2 221 259 480 14
ม.3 228 250 478 14
รวมมัธยมต้น 671 768 1,439 42
ม.4 205 277 482 14
ม.5 199 254 453 14
ม.6 209 252 461 14
รวมมัธยมปลาย 613 783 1,396 42
รวมทั้งหมด 1,284 1,551 2,835 84
ข้อมูล 10 มิถุนายน 2565

ข้อมูลครูและบุคลากร
ประเภท ตำแหน่ง จำนวน
1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา ชำนาญการพิเศษ 1
2.รองผู้อำนวยการ
ชำนาญการพิเศษ 4
สถานศึกษา
3. ครู ชำนาญการพิเศษ 62
ชำนาญการ 35
ไม่มีวิทยฐานะ 33
ครูอัตราจ้าง (ไทย) 20
ครูอัตราจ้างชาวต่างชาติ 29
4. บุคลากรทางการศึกษา 1
5. เจ้าหน้าที่สำนักงาน 40
6. ลูกจ้างชั่วคราว/คนขับรถ/รปภ. 36
รวมทั้งสิ้น 261
7

แผนที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ

แผนผังบริเวณโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
8

อาคารเรียน

อาคารเรียน จำนวนห้องเรียน จำนวน(หลัง)


แบบพ 310 10 1
แบบ พ 315 15 1
แบบ พ315 15 1
แบบ พ318 18 1
แบบ พ323 23 1
แบบ 318 ล 18 1
แบบ 324 ล 24 1
รวม 123 7

อาคารประกอบ
อาคารโรงฝึกงาน อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อาคารห้องประชุม หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ
อาคารหอเกียรติยศ อาคารกีฬา สนามฟุตบอล โรงยิม สระว่ายน้ำ ศูนย์กีฬา อาคารห้องน้ำ-ห้องส้วม
10 ที่นั่ง 7 หลัง ศาลาที่พักผ่อน 6 หลัง อาคารที่จอดรถยนต์ 4 หลัง อาคารที่จอดจักรยนต์ 1 หลัง
และห้องเรียนประกอบ จำนวน 19 ห้อง

สภาพชุมชนโดยรวม
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองที่มีประชากรไม่หนาแน่น มีหอพักรอบ
บริเวณโรงเรียน มีปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนบริเวณหน้าโรงเรียน หน่วยงานและ
สถานที่ราชการ ที่อยู่ใกล้โรงเรียน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
แขวงการทางนครศรีธรรมราช ศูนย์ราชการ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อาชีพหลักของชุมชนคือ
ค้าขายและรับจ้าง ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี / ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จัก
โดยทั่วไป คือ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีชักพระ ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ หนังตะลุง เครื่อง
จักสานย่านลิเภา
ผู้ป กครองส่ว นใหญ่เป็น ชาวนครศรีธรรมราช จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพหลัก คือ
รับราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 97 ฐานะทางเศรษฐกิจ / รายได้โดยเฉลี่ยต่อคน/
ต่อปี คือ 74,578.18 บาท
โอกาสของโรงเรียน โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากชุมชน เบญจองค์กรเป็นอย่างดีในการพัฒนา
โรงเรียน การระดมทรัพยากรทางการศึกษา ทำให้โรงเรียนได้รับการพัฒนาและสนับสนุนในเรื่องการจัด
การศึกษาเป็นอย่างดี และมีแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ จึงสะดวกต่อการพานักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา
และศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ โรงเรียนได้จัดกิจกรรมทำนุบำรุงศาสนาและกิจกรรมเสริมหลักสูตร
อื่น ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดปี
9

หลักสูตรโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มี 3 โครงสร้าง คือ
โครงสร้างที่ 1 ห้องเรียนปกติ ห้อง 1 - 6
โครงสร้างที่ 2 โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ
English Program (EP) ห้อง 7 -10
โครงสร้างที่ 3 โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
(SMTP) ห้อง 11- 14
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 10 โครงสร้าง คือ
โครงสร้างที่ 1 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
(SMTE) ห้อง 1
โครงสร้างที่ 2 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ สุขภาพ (HSIP) ห้อง 2
โครงสร้างที่ 3 ห้องเรียนปกติ กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์ –คณิตศาสตร์ห้อง 4 – 6
โครงสร้างที่ 4 โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ
English Program (EP) วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ห้อง 3
โครงสร้างที่ 5 โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ
English Program (EP) ศิลป์-คำนวณ ห้อง 7
โครงสร้างที่ 6 ห้องเรียนปกติ กลุ่มการเรียนศิลป์-คำนวณ ห้อง 8 - 10
โครงสร้างที่ 7 โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาต่างประเทศที่ 2 (ภาษาญี่ปุ่น) ห้อง 11
โครงสร้างที่ 8 โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาต่างประเทศที่ 2 (ภาษาฝรั่งเศส) ห้อง 14
โครงสร้างที่ 9 โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาต่างประเทศที่ 2 (ภาษาจีน) ห้อง 12
โครงสร้างที่ 10 โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี พสวท. (DPST) และโครงการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี ห้อง 13

การจบหลักสูตรภายใน 3 ปี
- นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ตาราง แสดงจำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา และศึกษาต่อ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2563-2566
จำนวนนักเรียนที่ จำนวนนักเรียนที่
จำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ศึกษาต่อ ไม่จบหลักสูตร
ปีการศึกษา (คน) (คน) (คน)
2563 476 476 0
2564 477 477 0
2566 477 477 0
10

- นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ตาราง แสดงจำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา และศึกษาต่อ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2563-2566
จำนวนนักเรียนที่ จำนวนนักเรียนที่
จำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ศึกษาต่อ ไม่จบหลักสูตร
ปีการศึกษา (คน) (คน) (คน)
2563 430 430 0
2564 455 455 0
2566 455 455 0

เปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET)


ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2562-2566

คะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2566 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระดับโรงเรียนสูงกว่าระดับชาติในทุก


รายวิชา และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2564 ทุกรายวิชา ปีการศึกษา 2566 ในการสอบ
(O-NET) นักเรียนชั้นม.3 ได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน วิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 12 คน และได้
คะแนนเต็ม 100 คะแนน วิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 5 คน
11

คะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2566 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับโรงเรียนสูงกว่าระดับชาติในทุก


รายวิชา ในปีการศึกษา 2566 ในการสอบ (O-NET) นักเรียนชั้นม.6 ได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน
วิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 1 คน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2566

นักเรียนที่มีผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 85.25


12

นโยบายการศึกษา
*ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 กำหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์
ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำ
แผนต่าง ๆให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่า ว โดย
ให้ เ ป็ น ไปตามที ่ ก ำหนดในกฎหมายว่ า ด้ ว ยการจั ด ทำยุ ท ธศาสตร์ ช าติ และต่ อ มาได้ ม ี ก ารตรา
พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 โดย
กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อรับผิดชอบในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ
กำหนดวิธีการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ ในการติดตาม การตรวจสอบ
และการประเมิน ผล รวมทั้งกำหนดมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ทุกภาคส่ว น
ดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการจัดทำ
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ด้านต่าง ๆ รวม 6 คณะ อัน ประกอบด้ว ย คณะกรรมการจั ดทำยุ ทธศาสตร์ช าติด้ านความมั ่ น คง
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน คณะกรรมการจัดทำ
ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ด ้ า นการพั ฒ นาและเสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ คณะกรรมการจั ด ทำ
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์
ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการ
จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ตลอดจนได้จัดให้มีการ
รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางเพื่อประกอบการ
พิจารณาจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติตามที่กฎหมายกำหนดแล้วยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-
2580) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้อง
นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็น
ประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภายในช่วงเวลาดังกล่าว
เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน
➢ วิสัยทัศน์ประเทศไทย
“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อ
สนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืน
ของสถาบันหลักของชาติและประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุข
เป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงทางสังคมท่ามกลางพหุสังคมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
13

ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีส ุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐาน


ทรัพยากรธรรมชาติส ิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ความสามารถในการรั ก ษา
ผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ และการอยู่ร่วมกัน
อย่างสันติประสานสอดคล้องกันด้านความมั่นคงในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างมีเกียรติ
และศักดิ์ศรี

ความมั่นคง หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้ง


ภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจก
บุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง เช่น
ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยว
จิตใจของประชาชน มีระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและ
โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล สังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนา
ประเทศ ชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้
ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีการออมสำหรับวัยเกษียณ ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ
มีที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
ความมั่งคั่ง หมายถึง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความ
ยั่งยืนจนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมีสุข
ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น และมีการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วนมี
คุณภาพชีว ิตตามมาตรฐานขององค์ก ารสหประชาชาติ ไม่มีประชาชนที่อยู่ในภาวะความยากจน
เศรษฐกิจในประเทศมีความเข้มแข็ง ขณะเดียวกันต้องมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ
ทั้งในตลาดโลกและตลาดภายในประเทศเพื่อให้สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ
ตลอดจนมี ก ารสร้ า งฐานเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง อนาคตเพื ่ อ ให้ ส อดรั บ กั บ บริ บ ทการพั ฒ นาที่
เปลี่ยนแปลงไป และประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีโลก และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ
การค้าอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาค ทั้งการ
คมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ เพื่อให้เป็นพลังในการพัฒนา นอกจากนี้
ยังมีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่องไปได้ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุน
ทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการใช้ การรักษา
และการฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะ
14

ต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศ การผลิตและการบริโภค
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดม
สมบูรณ์มากขึ้นและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละ
เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืนและให้ความสำคัญกับการ
มีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และยั่งยืนโดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ
“ประเทศชาติ ม ั ่ น คง ประชาชนมี ค วามสุ ข เศรษฐกิ จ พั ฒ นา อย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง สั ง คมเป็ น ธรรม
ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุก
มิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการ
เติบ โตบนคุณภาพชีว ิตที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อ ม และมีภ าครัฐ ของประชาชนเพื่อประชาชนและ
ประโยชน์ส่วนรวม โดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย
1) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
2) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้
3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
4) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
5) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของ
ทรัพยากรธรรมชาติ
6) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ
➢ ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ
เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมี
ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง”และเป้าหมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ระยะยาวที่จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
จากปั จ จั ย ภายในและภายนอกประเทศในทุ ก มิ ต ิ ท ุ ก รู ป แบบและทุ ก ระดั บ ภาคเกษตรกรรม
ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประเทศได้รับการพัฒนายกระดับ ไปสู่การใช้เทคโนโลยีและ
นวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนากลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่จะสร้างและ
เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เพื่อยกระดับฐานรายได้ของประชาชนในภาพรวมและกระจาย
ผลประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม คนไทยได้รับการพัฒ นาให้เป็นคนดี เก่ง มีวินัย
คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและมีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์ สามารถ “รู้ รับ ปรับใช้” เทคโนโลยี
ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐาน ระบบสวัสดิการ และกระบวนการยุติธรรมได้อย่าง
เท่าเทียมกัน โดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ จะ
มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วน
15

ร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ“ประชารัฐ” โดยประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ


ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการ
พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอ
ภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุล และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยแต่ละยุทธศาสตร์มี
เป้าหมายและประเด็นการพัฒนา ดังนี้
1.ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เน้นการ
บริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย เอกราชอธิปไตย และมีความสงบ
เรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคนเครื่องมือ เทคโนโลยี และ
ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบ และ
ทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่
อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการทั้งกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชา
สังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศทั่วโลกบนพื้นฐานของหลักธรร
มาภิบ าล เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการดำเนินการของยุ ทธศาสตร์ช าติด้านอื่น ๆ ให้ส ามารถ
ขับเคลื่อนไปได้ตามทิศทางและเป้าหมายที่กำหนด
2.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ
บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ (1) “ต่อยอดอดีต ” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ
อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความ
ได้เปรีย บเชิงเปรีย บเทีย บของประเทศในด้านอื่น ๆ นำมาประยุกต์ผ สมผสานกับเทคโนโลยี แ ละ
นวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (2) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทาง
สู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและ
ขนส่งโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการ
พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคตและ (3) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของ
ผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด
ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้ง
การส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยาย
โอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึง
การเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางและลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน
16

3.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี
เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุข
ภาวะที่ดีในทุกช่วงวัยมีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย
รักษาศีลธรรมและเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะ
สื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนา
ตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกรรม นักคิด ผู้ประกอบการ
เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง
4.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
มีเป้าหมายการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้ง
ภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชน
ในการร่วมคิดร่วมทำ เพื่อส่วนรวม การกระจายอำนาจและความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการ
แผ่นดินในระดับท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียม
ความพร้อมของประชากรไทยทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรที่มี
คุณภาพ สามารถพึ่งตนเองและทำประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้
หลักประกันการเข้าถึงบริการและสวัสดิการที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
5.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม
มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำ ไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน
ทุกมิติทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกัน
ทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน
และการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป็น
การดำเนินการบนพื้นฐานการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง 3 ด้าน อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง
6.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
มีเป้าหมายการพัฒ นาที ่ส ำคัญ เพื ่ อ ปรั บเปลี่ ยนภาครั ฐ ที่ ยึ ดหลั ก “ภาครั ฐ ของ
ประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ
แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับหรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการ
17

แข่งขันมีสมรรถนะสูง ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์


ส่ว นรวมมีความทัน สมัย และพร้อมที่จะปรับตัว ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลเข้ามา
ประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่าและปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยง
ถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่าง
สะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต
ความมั ธ ยั ส ถ์ และสร้ า งจิ ต สำนึ ก ในการปฏิ เสธไม่ ยอมรับ การทุจ ริ ต ประพฤติม ิ ช อบอย่ า งสิ้นเชิง
นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่ จำเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มี
ประสิทธิภาพ และนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการ
บริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ และการอำนวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม
*แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579
ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาในฐานะกลไกหลักในการพัฒนาประเทศมาโดย
ตลอด และเนื่องจากแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับเดิมได้สิ้นสุดลง กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษาจึงได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ฉบับนี้ขึ้น เพื่อวาง
กรอบเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ โดยมุ่งจัดการศึกษา ให้คนไทยทุกคนสามารถ
เข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มี
ประสิทธิภาพ พัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน
และการพัฒนาประเทศ

● วิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย ตัวชี้วัด และยุทธศาสตร์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ


จากแนวคิดการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้จึงได้กำหนด
วิสัยทัศน์(Vision) ไว้ดังนี้
“คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่า งเป็นสุข
สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21”
โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา 4 ประการ คือ
1) เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
2) เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ
3) เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือ
ผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4) เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ
ลดลง
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษา
แห่งชาติได้วางเป้าหมายไว้2 ด้าน คือ
18

เป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะ


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) ประกอบด้วย ทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้
✥ 3Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) การเขียนได้(Writing) และการคิดเลขเป็น (Arithmetics)
✥ 8Cs ได้แก่ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking
and Problem Solving) ทั ก ษะด้ า นการสร้ า งสรรค์ แ ละนวั ต กรรม (Creativity and Innovation)
ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross – cultural Understanding) ทักษะ
ด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration,Teamwork and Leadership)
ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media
Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT
Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้(Career and Learning Skills) และความมีเมตตา กรุณา
มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion)

เป้าหมายของการจัดการศึกษา (Aspirations) 5 ประการ ซึ่งมีตัวชี้วัดเพื่อการบรรลุ


เป้าหมาย 53 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย เป้าหมายและตัวชี้วัดที่สำคัญ ดังนี้
1) ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง (Access) มีตัวชี้วัด
ที่สำคัญ เช่น ประชากรกลุ่มอายุ 6 - 14 ปีทุกคนได้เข้าเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ตอนต้นหรือเทียบเท่าที่รัฐต้องจัดให้ฟรีโดยไม่เ ก็บค่าใช้จ่าย ผู้เรียนพิการได้รับการพัฒนาสมรรถภาพ
หรือบริการทางการศึกษาที่เหมาะสมทุกคน และประชากรวัยแรงงานมีการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เป็นต้น
2) ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างเท่า
เทียม (Equity) มีตัวชี้วัดที่สำคั ญ เช่น ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนได้รับการสนับสนุน
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา 15 ปีเป็นต้น
3) ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒ นาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถเต็มตาม
ศักยภาพ (Quality) มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น
พื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น และคะแนนเฉลี่ยผลการ
ทดสอบโครงการประเมิน ผลนัก เรีย นร่ว มกับนานาชาติ ( Programme for International Student
Assessment : PISA) ของนักเรียนอายุ15 ปีสูงขึ้น เป็นต้น
4) ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่ มีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าและ
บรรลุเป้าหมาย (Efficiency) มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ร้อยละของสถานศึกษาขนาดเล็กที่ไม่ผ่านเกณฑ์การ
ประเมิน คุณภาพภายนอกลดลง มีร ะบบการบริห ารงานบุคคล ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มี
ประสิทธิภาพและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งมีกลไกส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนสนับสนุนทรัพยากร
เพื่อการจัดการศึกษา เป็นต้น
5) ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและบริบทที่
เปลี่ยนแปลง (Relevancy) มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้าน
การศึ ก ษาดี ข ึ ้ น สั ด ส่ ว นผู ้ เ รี ย นอาชี ว ศึ ก ษาสู ง ขึ ้ น เมื ่ อ เที ย บกั บ ผู ้ เ รี ย นสามั ญ ศึ ก ษา และจำนวน
สถาบันอุดมศึกษาที่ติดอันดับ 200 อันดับแรกของโลกเพิ่มขึ้น เป็นต้น
19

ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด แผนการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์


ในการพัฒนาการศึกษาภายใต้6 ยุทธศาสตร์หลักที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ20 ปีเพื่อให้
แผนการศึกษาแห่งชาติบรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมาย วิสัยทัศน์และแนวคิดการจัดการศึกษา
ดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ มีเป้าหมาย
ดังนี้
1.1 คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น การจัดกิจกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่
ส่งเสริมการเรียนรู้ที่สะท้อนความรักและการธำรงรักษาสถาบันหลักของชาติและการยึดมั่นในการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรม
เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
เป็นต้น
1.2 คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษได้รับการศึกษา
และเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น นักเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน
ภาคใต้และพื้นที่พิเศษมีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชา
ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น สถานศึกษาจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มชนต่างเชื้อชาติศาสนา
ภาษา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบ และแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น และสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษที่จัด
อยู่ในมาตรการจูงใจ มีระบบเงินเดือนค่าตอบแทนที่สูงกว่าระบบปกติเพิ่มขึ้น เป็นต้น
1.3 คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษา การดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ มีตัวชี้วัดที่
สำคัญ เช่น สถานศึกษาที่จ ัดกระบวนการเรียนรู้และปลูกฝังแนวทางการจัดการความขัดแย้งโดย
แนวทางสันติวิธีเพิ่มขึ้น มีการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น มีระบบ กลไก และมาตรการที่เข้มแข็งในการป้องกันและ
แก้ไขปัญหาภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ และผู้เรียนในสถานศึกษาที่มีคดีทะเลาะวิวาทลดลง เป็นต้น
โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของ
สถาบันหลักของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุ ข
ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน
ภาคใต้และพื้นที่พิเศษ ทั้งที่เป็นพื้นที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนและพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล
ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบและแรงงานต่างด้าว พัฒนาการจัด
การศึกษาเพื่อการจัดระบบการดูแลและป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ อาทิอาชญากรรมและความ
รุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น
และมีแผนงานและโครงการสำคัญ เช่น โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะ
กิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษเป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถใน


การแข่งขันของประเทศ มีเป้าหมาย ดังนี้
2.1 กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีฐานข้อมูลความต้องการกำลังคน (Demand)
20

จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างครบถ้วน สัดส่วนผู้ เรียนอาชีวศึกษาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผู้เรียนสามัญ


ศึกษา และสัดส่วนผู้เรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผู้เรียน
สังคมศาสตร์กำลังแรงงานในสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่ได้รับการยกระดับคุณวุฒิวิชาชีพเพิ่มขึ้น เป็นต้น
2.2 สถาบันการศึกษาและหน่ วยงานที่จัดการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะ
ด้าน มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สัดส่วนการผลิตกำลังคนระดับกลางและระดับสูง จำแนกตามระดับ/
ประเภทการศึกษา ในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ
เพิ่มขึ้น ร้อยละของสถาบันการศึ กษาจัดการศึกษารูปแบบทวิภาคี/สหกิจศึกษา/หลักสูตรโรงเรียนใน
โรงงานตามมาตรฐานที่กำหนดเพิ่มขึ้น จำนวนหลักสูตรของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาทวิวุฒิ( Dual
Degree) เพิ่มขึ้น จำนวนสถาบันอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่จัดหลักสูตรสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
เพิ่มขึ้น และมีภาคีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพและ
หน่วยงานที่จัดการศึกษาเพิ่มขึ้น เป็นต้น
2.3 การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สัดส่วนเงินลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนเมื่อเทียบกับภาครัฐเพิ่มขึ้น
สัดส่วนค่าใช้จ่ายการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(GDP) ของประเทศเพิ่มขึ้น โครงการ/งานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้/นวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในการ
พัฒนาประเทศเพิ่มขึ้น บุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาต่อประชากร 10,000 คน เพิ่มขึ้น นวัตกรรม/
สิ่งประดิษฐ์ ที่ได้จดสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มขึ้น และผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับ
นานาชาติเพิ่มขึ้น เป็นต้น
โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในสาขาที่ตรงตาม
ความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่งเสริมการผลิตและพัฒนา
กำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และ
นวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่ มทางเศรษฐกิจ และมีแผนงานและโครงการสำคัญ เช่น โครงการ
จัดทำแผนผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้


มีเป้าหมาย ดังนี้
3.1 ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นใน
ศตวรรษที่ 21 มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ผู้เรียนที่มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
เพิ่มขึ้น ผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความมีวินัย และมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น
สถานศึกษาระดับ มัธ ยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่จัดกิจกรรมสะท้อนการสร้างวินัย จิต
สาธารณะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น เป็นต้น
3.2 คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐาน
วิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่นเด็กแรกเกิด – 5 ปีมีพัฒนาการ
สมวัยเพิ่มขึ้น นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชา
ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น ผู้สูงวัยที่ได้รับบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและ
21

ทักษะชีวิตเพิ่มขึ้น และมีสาขาและวิชาชีพที่เปิดโอกาสให้ผ ู้สูงวัยได้รับการส่งเสริมให้ทำงานและ


ถ่ายทอดความรู้/ประสบการณ์เพิ่มขึ้น เป็นต้น
3.3 สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมี
คุณภาพและมาตรฐาน มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ศูนย์เด็กเล็ก/สถานศึ กษาระดับก่อนประถมศึกษาที่จัด
กิจกรรมการเรียนรู้ได้คุณภาพและมาตรฐานเพิ่มขึ้น สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจัดกิจกรรมที่
สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย และสมรรถนะของเด็กที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานคุณภาพเด็กปฐมวัยของ
อาเซียนเพิ่มขึ้น สถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน
ให้ ม ี ค ุ ณ ลั ก ษณะและทั ก ษะการเรี ย นรู้ ใ นศตวรรษที่ 21เพิ ่ ม ขึ ้ น และสถาบั น การศึ ก ษาในระดับ
อาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 เพิ่มขึ้น เป็นต้น
3.4 แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน และประชาชน
สามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่นแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาให้
สามารถจัดการศึกษา/จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น สื่อสารมวลชนที่เผยแพร่หรือ
จัดรายการเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้น สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพ
จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และได้รับการพัฒนา โดยการมีส่วนร่วมจากภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้น
เป็นต้น
3.5 ระบบและกลไกการวัด การติดตาม และประเมินผลมีประสิทธิภาพ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีระบบ
และกลไกการทดสอบ การวัดและประเมินความรู้ทักษะ และสมรรถนะของผู้เรียนทุกระดับการศึกษา
และทุกกลุ่มเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบติดตามประชากรวัยเรียนที่ขาดโอกาสหรือไม่ได้รับ
การศึกษา และผู้เรียนที่มีแนวโน้มจะออกกลางคัน เป็นต้น
3.6 ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้มาตรฐานระดับสากล มีตัวชี้วัดที่สำคัญ
เช่น มีฐานข้อมูลความต้องการใช้ครูแผนการผลิตครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาในระยะ 10 ปี
(พ.ศ. 2560 – 2569) จำแนกตามสาขาวิชา ขนาดสถานศึกษา และจังหวัด สัดส่ วนของการบรรจุครู
ที่มาจากการผลิตครูในระบบปิดเพิ่มขึ้นมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เอื้อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชา
อื่นและพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อเข้าสู่วิชาชีพครูเป็นต้น
3.7 ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน มีตัวชี้วัดที่สำคัญ
เช่น ครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษาได้รับการพัฒนาตาม
มาตรฐานวิชาชีพ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับ
ความต้องการและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเพิ่มขึ้น และระดับความพึงพอใจของครูอาจารย์ และ
บุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากการพัฒนาเพิ่มขึ้น เป็นต้น
โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สื่อตำราเรียนและสื่อการ
เรียนรู้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและ
สถานที่ สร้ างเสริมและปรับ เปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้มีว ินัย จิตสาธารณะและพฤติกรรมที่ พึ ง
ประสงค์และพัฒนาระบบและกลไกการติดตาม การวัด และประเมินผลผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ และมี
แผนงานและโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น
22

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา


มีเป้าหมาย ดังนี้
4.1 ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ
เช่น ดัชนีความเสมอภาคของอัตราการเข้าเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามฐานะทางเศรษฐกิจและ
พื้นที่ลดลง ความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-
NET) ของนักเรียนระหว่างพื้นที่/ภาคการศึกษาในวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษลดลง เป็นต้น
4.2 การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย มีตัวชี้วัดที่
สำคัญ เช่น มีระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาที่ทันสมัยสนองตอบความต้องการของ
ผู้เรียนและผู้ใช้บริการอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และสถานศึกษาทุกแห่งมีอินเทอร์ เน็ตความเร็วสูง
และมีคุณภาพ เป็นต้น
4.3 ระบบข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้องเป็นปัจจุบัน เพื่อการวาง
แผนการบริห ารจัดการศึกษา การติดตามประเมิน และรายงานผลตัว ชี้ว ัดที่ส ำคัญ เช่น มีระบบ
ฐานข้อมูลรายบุคคลที่อ้างอิงจากเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่สามารถเชื่อมโยง และ
แลกเปลี่ยนฐานข้อมูล รวมทั้งใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่น ด้าน
สาธารณสุข สังคม ภูมิสารสนเทศ แรงงาน และการศึกษา และมีระบบสารสนเทศด้านการศึกษาและ
ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ ครอบคลุม ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน สามารถอ้างอิง
ได้เป็นต้น
โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มี
คุณภาพ พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่ว งวัย พัฒนาฐานข้อมูล ด้ าน
การศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึ งได้และมีแผนงานและโครงการสำคัญเช่น โครงการจัดทำ
ฐานข้อมูลรายบุคคลทุกช่วงวัย ทั้งด้านสาธารณสุข สังคม ภูมิสารสนเทศแรงงาน และการศึกษา เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมาย


ดังนี้
5.1 คนทุกช่วงวั ย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ครู/บุคลากรทางการศึกษา ได้รับการอบรม
พัฒนาในเรื่องการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ผู้เรียนทุกระดับการศึกษามี
พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความตระหนักในความสำคัญของการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความ
มีคุณธรรม จริยธรรม และการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น
และสถาบันอุดมศึกษาที่ติดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของโลกเพิ่มขึ้น เป็นต้น
5.2 หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม
จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น
สถานศึกษา/สถาบันการศึกษาจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเพื่อปลูก ฝังคุณธรรม จริยธรรม และ
การนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติเพิ่มขึ้น และสื่อสารมวลชนที่เผยแพร่
หรือให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น เป็นต้น
5.3 การวิจ ัย เพื่อพัฒ นาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการสร้ างเสริมคุณภาพชีว ิตที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
23

ในสาขาต่างๆ เพิ่มขึ้น เป็นต้นโดยได้กำหนดแนวทางการพัฒ นา คือ ส่งเสริม สนับสนุนการสร้า ง


จิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้แหล่งเรียนรู้และสื่อการ
เรียนรู้ต่าง ๆ และพัฒนาองค์ความรู้งานวิจัย และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อม และมีแผนงานและโครงการสำคัญ เช่น โครงการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนา
และเพิ่มศักยภาพคนทุกช่วงวัย โครงการโรงเรียนคุณธรรม โครงการโรงเรียนสีเขียวเป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา มีเป้าหมายดังนี้
6.1 โครงสร้าง บทบาท และระบบการบริ หารจัดการการศึกษามีความคล่องตัวชัดเจน และสามารถ
ตรวจสอบได้มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีการปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วน
ภูมิภาค และสถานศึกษาให้มีเอกภาพ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และการบริหารจัดการตามหลัก
ธรรมาภิบาล เป็นต้น
6.2 ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐาน
การศึกษา มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สถานศึกษาขนาดเล็ก/สถานศึกษาที่ต้องการความช่วยเหลือและ
พัฒนาเป็นพิเศษอย่างเร่งด่วน ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกลดลง คะแนนเฉลี่ยผลการ
ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของผู้เรียนที่เรียนในกลุ่มสถานศึกษาที่เข้าสู่ระบบการบริหาร
จัดการแนวใหม่สูงขึ้น เป็นต้น
6.3 ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและ
พื้นที่ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น จำนวนองค์กร สมาคม มูลนิธิหรื อหน่วยงานอื่นที่เข้ามาจัดการศึกษาหรือ
ร่วมมือกับสถานศึกษา ทั้งของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น และสัดส่วนการมีส่วน
ร่วมสนับสนุนการศึกษาของภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีเครือข่ายเมื่อเทียบกับรัฐ จำแนกตาม
ระดับการศึกษาสูงขึ้น เป็นต้น
6.4 กฎหมายและรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษารองรับลักษณะที่แตกต่างกันของ
ผู้เรียน สถานศึกษา และความต้องการกำลังแรงงานของประเทศมีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีกฎหมาย
กฎระเบียบ และระบบการจัดสรรเงินเพื่อการศึกษาที่เอื้อและสนองตอบคุณลักษณะที่แตกต่างกันของ
ผู้เรียน ความต้องการกำลังแรงงานและสภาพปัญหาที่แท้จริงของประเทศ มีรูปแบบ/แนวทาง กลไกการ
จัดสรรงบประมาณผ่านด้านอุปสงค์และอุปทานในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นต้น
6.5 ระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นธรรม สร้างขวัญ
กำลังใจ และส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อ ย่างเต็มตามศักยภาพ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สถานศึกษาที่มีครู
เพีย งพอต่อการจัดการเรีย นการสอนเพิ่ มขึ้น ครู/ผู้ทรงคุณวุฒ ิจากภาคเอกชน/ผู้ประกอบการที่
ปฏิบัติงานสนับสนุนการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น และสถานศึกษามีบุคลากรทางการศึกษาทำหน้า ที่
ปฏิบัติงานสนับสนุนการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
โดยกำหนดแนวทางการพั ฒ นา คื อ ปรั บ ปรุ ง โครงสร้ า งการบริ ห ารจั ด การศึ ก ษา เพิ่ ม
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบการเงินเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษา และมีแผนงานและโครงการสำคัญ เช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการ
บริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โครงการพัฒนาระบบจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา และโครงการ
ทดลองนำร่องระบบการจัดสรรเงินผ่านด้านอุปสงค์และอุปทาน เป็นต้น
24

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566


กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดำเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(พ.ศ. 2561 – 2580) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทุกแผนย่อยในประเด็น 12 การ
พัฒนาการเรียนรู้ และแผนย่อยที่ 3 ในประเด็น 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้ง
แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) และนโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้าน
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย และนโยบายเร่งด่วน เรื่อง
การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย
นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ ที่
เกี่ยวข้อง ร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยเฉพาะ
หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 รวมทั้งนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวัง
ให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยจะได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านโอกาส ความเท่าเทียม ความเสมอภาค ความ
ปลอดภัย และมีสมรรถนะที่สำคัญจำเป็นในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนา
ประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
ดังนั้น ในการเร่งรัดการทำงานภาพรวมกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นความ
ไว้วางใจให้กับสังคมและผลักดันให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพในทุกมิติ
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดหลักการสำคัญในการประกาศนโยบายและจุดเน้นของ
กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไว้ดังนี้
1. สร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนและประชาชน โดยให้ทุก
หน่วยงานนำรูปแบบการทำงานโดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส
ความรับผิดชอบ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2. สนับสนุนให้ผู้ปฏิบตั ิงานทุกคนดำเนินการตามภารกิจด้วยความรับผิดชอบ ต่อตนเอง องค์กร
ประชาชนและประเทศชาติ โดยให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผ่านกลไก
การรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา
3. ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ประกาศและแถลงนโยบายไว้แล้ว เมื่อ
วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เพื่อมุ่งเน้นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษาที่จะก่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อผู้เรียนและประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ
นโยบายและจุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
25

นโยบายที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย
นโยบายที่ 2 การยกระดับคุณภาพการศึกษา
นโยบายที่ 3 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย
นโยบายที่ 4 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
นโยบายที่ 5 การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรสังกัด
กระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายที่ 6 การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล
นโยบายที่ 7 การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ
นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566
26

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของสำนักงาน


คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
เพื ่ อ ให้ ก ารจั ด การศึ ก ษาขั ้ น พื ้ น ฐาน สอดคล้ อ งกั บ นโยบายของรั ฐ บาล นโยบายของ
กระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้ นฐานซึ่งถือเป็นหน่วยงานหลักที่จั ด
การศึกษา ขั้นพื้นฐานของประเทศ จึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยใน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 ได้กําหนดแนวทางการพัฒนา “การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่
วิถีคุณภาพ” ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านโอกาส ด้านคุณภาพ และด้านประสิทธิภาพ
และเพื่อเป็นการต่อยอดพัฒนาการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ให้เป็น “วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ” จึงกําหนด
นโยบายและจุดเน้นของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.
2566 ดังนี้
จุดเน้นของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
1. เร่งแก้ปัญหากลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โดย
เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ให้กับ
ผู้เรียนทุกระดับ รวมทั้งลดความเครียดและสุขภาพจิตของผู้เรียน
2. เสริมสร้างระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยนักเรียน ด้วยระบบมาตรฐาน ความปลอดภัย
กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform)
3. ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 – 6 ปี และผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าถึงโอกาสทางการ
ศึกษา และป้องกันการหลุดออกจากระบบ รวมทั้งช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน และเด็ก
พิการที่ค้นพบจากการปักหมุดบ้านเด็กพิการให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา
4. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะและการจัดทํากรอบหลักสูตร รวมทั้ง จัดกระบวนการ
เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน
5. จัดการอบรมครูโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้าง วินัยด้าน
การเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
6. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์
กั บ กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ ผ ่ า นการปฏิ บ ั ต ิ ท ี ่ ห ลากหลายรู ป แบบ (Active Learning) มี ก ารวั ด และ
ประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียน (Assessment for Learning)
ทุกระดับ
27

7. ยกระดับคุณภาพของนักเรียนประจําพักนอน สําหรับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สูง ห่างไกล และถิ่น


ทุรกันดาร
8. มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ทุกระดับ
9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอํานาจและใช้พื้นที่เป็นฐาน เพื่อสร้าง
ความเข้มแข็ง โดยการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ (Block Grant) ตามหลักธรรมาภิบาล ให้กับ
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
28

*ทิศทางการพัฒนาการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครศรีธรรมราช
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

วิสัยทัศน์ (Vision)
เป็นองค์กรมาตรฐาน มุ่งพัฒนาบุคลากรและผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศ มีความรู้คู่คุณภาพ
มีทักษะ และคุณลักษณะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
*** เป็นเลิศ หมายถึง ตามกรอบมาตรฐานการศึกษาของชาติและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พันธกิจ (Mission)
1. เสริมสร้างผู้เรียนให้ยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ด้วย “ศาสตร์พระราชา”
2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นผู้มีความรู้ตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีชีวิตวิถีใหม่อย่างมีคุณภาพ
3. สร้างโอกาสให้ประชากรวัยเรียนระดับมัธยมศึกษาทุกคนได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ
อย่างทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
5. พัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและสร้างความรับผิดชอบต่อ
คุณภาพ การศึกษา
6. พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา
และสถานศึกษาจากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบและจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะ
ที่ดี

เป้าประสงค์ (Goal)
1. ผู ้ เ รี ย นยึ ด มั ่ น ในสถาบั น หลั ก ของชาติ การปกครองในระบอบประชาธิ ป ไตย อั น มี
พระมหากษั ต ริ ย ์ ทรงเป็ น ประมุ ข มี ค ุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม และคุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์
ด้วย “ศาสตร์พระราชา”
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความสามารถ และได้รับการพัฒนาสมรรถนะ
ตามมาตรฐานวิชาชีพ
3. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่มีความเป็นเลิศ
มีธรรมาภิบาล เป็นที่ยอมรับของสังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
4. ผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา มีความปลอดภัยจากภัยพิบัติและภัย
คุกคาม ทุกรูปแบบ สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ํา รองรับชีวิตวิถีใหม่
29

ค่านิยมองค์กร (Values)
“ถือประโยชน์ของนักเรียนและสถานศึกษาเป็นสําคัญ”
(Students and Schools Come First : SSCF)

กลยุทธ์ (Strategies)
1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ
2. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
3. ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
30

บทที่ 2
การวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของสถานศึกษา

การวิเคราะห์ประเมินศักยภาพของโรงเรียน (SWOT Analysis) ประกอบด้วยการประเมิน จุด


แข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคของ การพัฒนาของโรงเรียนเบญจมราชูทิศที่มีต่อการ ดำเนินงานให้
เป้าประสงค์ บรรลุผลสัมฤทธิ์ซึ่งจากการประเมินศักยภาพทางกลยุทธ์ ประกอบด้วย

การประเมินศักยภาพที่เป็นสภาพแวดล้อมภายใน
เป็นการประเมินศักยภาพที่เป็นจุดแข็งของการดำเนินการให้ภารกิจของโรงเรียนบรรลุผล
สัมฤทธิ์และเป็นการประเมินจุดอ่อน ของการดำเนินการให้ภารกิจขององค์กรไมบรรลุผลสัมฤทธิ์ ซึ่งจาก
การวิเคราะห์พบว่ามีดังนี้

ด้านการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและความปลอดภัย
จุดแข็ง(Strength :S) จุดอ่อน(Weakness :W )
S1 นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะ W1 มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน
อังพึงประสงค์ การดำเนินชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากร
สิ่งแวดล้อมและสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามของ
สถานศึกษาและประเทศชาติน้อย
S2 นักเรียนมีภาวะผู้นำ (Change Agent) และ W2 ช่องทางที่นักเรียนขอรับคำปรึกษามีน้อย
เป็นเลิศทางวิชาการและมีศักยภาพตาม
มาตรฐานสากล
S3 โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมอย่าง W3
หลากหลาย บุคลากรมีความสามารถเฉพาะ
ด้านและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
S4 มีความพร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์ W4

ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
จุดแข็ง(Strength :S) จุดอ่อน(Weakness :W )
S1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของ 8 กลุ W1 นักเรียนที่ไดรับรางวัลในการแขงขันทักษะตางๆ
มสาระการเรียนรูตามระดับเป้าหมายของ ในระดับนานาชาติน้อย
โรงเรียน
S2 นักเรียนที่ไดรับรางวัลในการแขงขันทักษะ W2 ไม่มีหลักสูตรบูรณาการแบบองครวม เนนทักษะ
ตางๆ ในระดับชาติ งานและทักษะชีวิต มุงสูสังคมแหงการเรียนรู
และมุงสูสาขาวิชาชีพที่มีงานทำ
31

จุดแข็ง(Strength :S) จุดอ่อน(Weakness :W )


S3 นักเรียนมีทักษะและ ความสามารถใน W3 การสร้างนักเรียนให้เป็นนวัตรกรอย่าง
การศึกษาเรียนรูดวยตนเอง สร้างสรรค์
S4 ค่าเฉลี่ยคะแนน O-NET สูงกวาคะแนนเฉลี่ย W4 ครูสร้างนวัตกรรมเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้
ระดับชาติ
S5 ผู้สอนมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์ และสื่อ
การจัดการเรียนรู้
S6 นักเรียนมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์สำหรับ
การเรียนออนไลน์

ด้านการพัฒนาการเรียนรู้
จุดแข็ง(Strength :S) จุดอ่อน(Weakness :W )
S1 มีหลักสูตรที่หลากหลาย ตอบสนองความ W1 นักเรียนขาดการคิดวิเคราะห์ แยกแยะในการใช้
ต้องการของผู้เรียน ข้อมูลที่ได้รับจากออนไลน์
S2 ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น W2 การปรับวิธีการสอนให้ทันสมัยตามเทคโนโลยีที่
สำคัญและมีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยีที่ทันสมัย
S3 มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ W3 กระบวนการเรียนการสอนที่ไม่เน้นให้ผู้เรียน
ทันสมัย ปฏิบัติจริง
S4 นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการศึกษาหา W4 ระบบการนิเทศภายในอย่างเข้มแข็งและ
ความรู้ ต่อเนื่อง
S5 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนเป็นไป
ตามเป้าหมาย

ด้านการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
จุดแข็ง(Strength :S) จุดอ่อน(Weakness :W )
S1 ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติตาม W1 ครูเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
มาตรฐานวิชาชีพและมีจรรยาบรรณเป็น
แบบอย่างที่ดี
S2 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ มี W2 ครูสร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-creation) ให้กับ
ทักษะ เชี่ยวชาญตรงตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้เรียน

S3 ครูเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีส่วน W3 ครูจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่
ร่วมในการจัดการเรียนการสอน
32

ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
จุดแข็ง(Strength :S) จุดอ่อน(Weakness :W )
S1 มีการบริหารจัดการด้านการศึกษาตาม W1 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ใน
แนวคิดหลักการบริหารองค์กรเชิงรุก (BENJA การจัดการเรียนรู้ ยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย
MODEL) อย่างยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศ
และนานาชาติ
S2 การนำระบบPDCALIมาบริหารจัดการของ W2 การกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จ
โรงเรียน
S3 โครงสร้างและระบบการบริหารจัดการ
บุคลากร
33

การประเมินศักยภาพที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอก
การประเมินศักยภาพที่เป็นโอกาสที่ส่งเสริมให้การดำเนินการให้ภารกิจของโรงเรียนบรรลุผล
สัมฤทธิ์ และเป็นการประเมินภัยคุกคามหรืออุปสรรค ต่อการดำเนินการให้ภารกิจของโรงเรียนไมบรรลุ
ผลสัมฤทธิ์ ซึ่งจากการวิเคราะห์ พบว่ามีดังนี้

ด้านการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและความปลอดภัย
โอกาส (opportunity :O) อุปสรรค(Threat :T)
O1 มีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ T1 นักเรียนมีปัญหาสภาวะทางอารมณ์และ
จิตใจเพิ่มมากขึ้น
O2 ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากภาคี T2 นักเรียนเลือกใช้สื่อโซเชียลในการระบาย
เครือข่าย ปัญหาและความรู้สึกมากกว่าการพูดคุยกับ
ครู
O3 มีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนทุกคน เป็น T3 ปัญหาด้านสังคม นักเรียนมีภาวะเสี่ยงหลาย
มิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่าง เช่น ปัญหาการพนัน ปัญหาการติด
เกม
O4 ครูดูแลความปลอดภัยของนักเรียนอย่าง
เพียงพอและเข้มแข็ง

ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
โอกาส (opportunity :O) อุปสรรค(Threat :T)
O1 นักเรียนพร้อมได้รับการพัฒนา T1 สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19
O2 มีการสนับสนุนเรื่องภาษาต่างประเทศที่ 2 T2 ทัศนคติของผู้ปกครองที่ส่งผลต่อการ
และ 3 ตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันของนักเรียน
O3 มีบุคลากรที่ตรงสาขาวิชา T3 การจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ
passive learning
O4 มีงบประมาณเพียงพอในการสนับสนุนการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้
O5 ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายภายนอก
(สมาคมผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน)
O6 มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ
กับองค์กรภายนอก (ม.วลัยลักษณ์, มอ, )
34

ด้านการพัฒนาการเรียนรู้
โอกาส (opportunity :O) อุปสรรค(Threat :T)
O1 นวัตถกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย T1 ผู้ปกครองบางส่วนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่
สามารถนำมาใช้ในการจัดกระบวนการ ยากจน ไม่สามารถสนับสนุนสื่ออุปกรณ์
เรียนรู้ ให้แก่นักเรียนได้อย่างเต็มที่
O2 สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทาง T2 การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ทำให้
วิชาการ ผู้ปกครองสนับสนุนให้นักเรียนไปเรียนใน
สถาบันที่ให้ทุนการศึกษา เพื่อลดภาระ
ค่าใช้จ่าย
O3 เบญจองค์กรให้การสนับสนุนการจัด
การศึกษาของโรงเรียน
O4 โรงเรียนที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของสังคม
O5 ครู ผู้บริหารมืออาชีพ

ด้านการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
โอกาส (opportunity :O) อุปสรรค(Threat :T)
O1 เบญจองค์กรและหน่วยงานภาครัฐและ T1 การเปลี่ยนแปลงของจากการระบาดใน
เอกชน ชุมชน สถาบันการศึกษา สถานการณ์โควิด-19
มหาวิทยาลัย สนับสนุนการจัดการศึกษา
เพื่อพัฒนาครู
O2 บุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาผ่าน T2
ระบบการสื่อสาร ในรูปแบบออนไลน์

ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
โอกาส (opportunity :O) อุปสรรค(Threat :T)
O1 การนำสื่อ เทคโนโลยีแพตฟอร์มต่าง ๆ เช่น T1 การบริหารจัดการบริหารศึกษาภายใต้
Google Meet มาใช้ในการจัดการเรียน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
การสอน ไวรัสโคโรนา (COVID - 19)
O2 T2 รัฐเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยทำให้ทาง
โรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนตามการพัฒนา
การศึกษาจึงไม่ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่อง
35

กลยุทธ์การพัฒนาตามศักยภาพ
จากผลการประเมินศักยภาพ SWOT Analysis ของโรงเรียนทั้งสภาพปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
จึงได้ผลการประเมินไปใช้ในการจัดทำกลยุทธ์การพัฒนาโดยใช้เครื่องมือ TOWS Matrix จากการ
วิเคราะห์พบว่ามีดังนี้
ด้านการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและความปลอดภัย
SO1 นักเรียนได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผ่านการสนับสนุนส่งเสริมจากภาคี
เครือข่าย
WO1 นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
และสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามของสถานศึกษาและประเทศชาติโดยจัดกิจกรรมให้มากขึ้น
ST1 ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน
ST2 สร้างองค์ความรู้ให้กับนักเรียนเพื่อให้เกิดความตระหนักในปัญหาการพนันและปัญหาการ
ติดเกม
WT1 สร้างช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาต่าง ๆ
ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
SO1 ส่งเสริมนักเรียนใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
SO2 จัดหาเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศวิชาการระดับสูงขึ้นไป
SO3 จัดอบรมครูเรื่อง metacognition เพื่อให้สามารถไปจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนมีทักษะการ
สืบค้น
SO4 ส่งเสริมนักเรียนมีทักษะและ ความสามารถในการศึกษาเรียนรูดวยตนเอง
WO1 ส่งเสริมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแขงขันทักษะตางๆในระดับนานาชาติ โดยผู้สอนที่มี
ความสามารถตรงสาขาวิชาและครูชาวต่างชาติเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา
WO2 จัดทำหลักสูตรบูรณาการแบบองครวม เนนทักษะงานและทักษะชีวิต มุงสูสาขาวิชาชีพที่มี
งานทำ ร่วมกับองค์กรภายนอก
WO3 การสร้างนักเรียนให้เป็นนวัตรกรอย่างสร้างสรรค์
WO4 ครูสร้างนวัตกรรมเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้
36

ST1 ปรับปรุงเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ active learning ของครู


ST2 ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทั้งด้านทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ
WT1 หลักสูตรบูรณาการแบบองครวม เนนทักษะงานและทักษะชีวิต มุงสูสังคมแหงการเรียนรู
และมุงสูสาขาวิชาชีพที่มีงานทำ

ด้านการพัฒนาการเรียนรู้
SO1 พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนให้สูงขึ้นโดยใช้นวัตถกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
SO2 ส่งเสริมเบญจองค์กรให้สนับสนุนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
WO1 ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนของครูที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง โดยใช้นวัตถกรรมและ
เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย ในการจัดกระบวนการเรียนรู้
WO2 สร้างเจตคติ และสร้างความตระหนักถึงโทษและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้อง
เหมาะสม
ST1 พัฒนาหลักสูตรอย่างหลากหลายทันสมัย ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
ST2 ประสานความร่วมมือกับเบญจองค์กร ผู้ปกครองในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการ
สอนของนักเรียน
ST3 ส่งเสริมพัฒนาให้มีระบบการบริหารจัดการเรียนการสอนในยุคการแพร่ระบาดของเชื้อ
Covid-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
SO1 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและมีจรรยาบรรณเป็น
แบบอย่างที่ดี โดยได้รับความร่วมมือสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัย สนับสนุนการจัด
การศึกษาเพื่อพัฒนาครู
SO2 ส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ มีทักษะ เชี่ยวชาญตรงตามกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ ได้รับการพัฒนาผ่านระบบการสื่อสาร ในรูปแบบออนไลน์
WO1 ปรับปรุงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของครู
37

WO2 เร่งให้ครูสร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-creation) ให้กับผู้เรียน


ST1 ปรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนของครูจากการ
เปลี่ยนแปลงของจากการระบาดในสถานการณ์โควิด-19
WT1 พัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่จากการเปลี่ยนแปลงของจากการระบาดใน
สถานการณ์โควิด-19

ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
SO1 การพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ สร้างเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งใน
ระดับประเทศและนานาชาติ
SO2 ขยายความร่วมมือเครือข่ายด้านการศึกษา ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติเพิ่มขึ้น
ST1 พัฒนาระบบPDCALI มาบริหารจัดการของโรงเรียน
WO1 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้มีข้อมูลครบถ้วนทุกด้าน และเป็นปัจจุบัน
WO2 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
38

บทที่ 3
ทิศทางการพัฒนาการจัดการศึกษา

ทิศทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนเบญจมราชูทิศเป็นการกำหนดจุดมุ่งปลายทาง
ที่โรงเรียนต้องการก้าวไปสู่ความสำเร็จในอนาคต ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ มี
รายละเอียด ดังนี้

วิสัยทัศน์ : โรงเรียนแห่งนวัตกรรม สร้างคุณภาพผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก


“To be an innovative school with high quality of learners ,
having the potentiality of global citizenship”
พันธกิจ
1. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
และสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน
3. ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนด้วยนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
4. พัฒนาหลักสูตร นวัตกรรม วิจัยการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างคุณภาพผู้เรียน
สู่มาตรฐานสากล
5. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
6. พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษา
ด้วยนวัตกรรม
7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้วยวงจรคุณภาพแบบบูรณาการ (PDCALI)

เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำ สมรรถนะตามศักยภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน
ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 จบตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ
และมีศักยภาพเป็นพลโลก
3. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความปลอดภัยจากภัย 4 ด้าน ได้แก่ ภัยจาก
ความรุนแรง ภัยจากอุบัติเหตุ ภัยจากการละเมิดสิทธิ์และภัยที่เกิดจากผลกระทบ
ทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ
4. ครูมีงานวิจัยหรือการปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอน
สร้างคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล
5. สถานศึกษามีหลักสูตรและนวัตกรรมที่สอดคล้องเพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้เรียน
6. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
39

7. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง


ของเทคโนโลยี มีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ
รวมทั้งจิตวิญญาณ ความเป็นครู
8. มีกระบวนการบริหารจัดการศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบบูรณาการ (PDCALI) ที่มีคุณภาพ
มาตรฐาน ผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับระดับประเทศ นานาชาติ

เบญจยุทธศาสตร์
เบญจยุทธศาสตร์ที่ 1 การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เป็นพลเมืองที่ดีและมีความปลอดภัย
เบญจยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ มีขีดความสามารถ
ในการแข่งขันสู่ความเป็นพลโลก
เบญจยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญด้วยนวัตกรรมที่หลากหลาย
เบญจยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีให้มีความเชี่ยวชาญ
ในการจัดการศึกษา
เบญจยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 1 การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์


เป็นพลเมืองที่ดีและมีความปลอดภัย
กลยุทธ์
1. ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผ่านการสนับสนุนส่งเสริมจากภาคี
เครือข่าย
2. มีการสร้างช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาต่าง ๆ
3. มีการส่งเสริมให้นักเรียนใช้ทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน
4. สร้างองค์ความรู้ให้กับนักเรียนเพื่อให้เกิดความตระหนักจากภัยพิบัติและภัยคุกคาม
ทุกรูปแบบ

เบญจยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขัน


สู่ความเป็นพลโลก
กลยุทธ์
1. ยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มีศักยภาพตามมาตรฐานสากล
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ ๒๑
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติโดยมุ่งเน้นการประกวด
แข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่าง ๆ
40

4. พัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษตามพหุปัญญาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและมุ่งสู่
อาชีพในอนาคต (พหุปัญญา 8 ด้าน ได้แก่ ด้านภาษา ด้านตรรกะ-คณิตศาสตร์ ด้านมิติ
สัมพันธ์ด้านการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจตนเอง
ด้านธรรมชาติ)
5. พัฒนาโครงการห้องเรียนพิเศษที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และพัฒนาโครงการห้องเรียนพิเศษตาม
ความพร้อมของโรงเรียนในอนาคต
6. พัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างนวัตกรรมได้

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ด้วยนวัตกรรมที่หลากหลาย
กลยุทธ์
1. นำนวัตกรรมมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัย โดยเน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ เพื่อสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะ
2. จัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
3. สถานศึกษาพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการ
ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
4. สถานศึกษาจัดการเรียนการสอน ที่ยืดหยุ่นตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจ
ของผู้เรียน

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีให้มีความเชี่ยวชาญ
ในการจัดการศึกษา
กลยุทธ์
1.พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและ
มีจรรยาบรรณเป็นแบบอย่างที่ดี โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัย
เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา
2. ส่งเสริมผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ สมรรถนะ ทักษะ
ความเชี่ยวชาญ ได้รับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี
3. สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. ส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม
(Co-creation) ให้กับผู้เรียน
5. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
41

เบญจยุทธศาสตร์ที่ ๕ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมแบบบูรณาการ (PDCALI)
2. เสริมสร้างความเข็มแข็งการบริหารจัดการตามโครงสร้างการบริหารจัดการ
3. สร้างมาตรฐานระบบประกันคุณภาพภายในที่เป็นบริบทของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
4. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย และเอื้อต่อ
การจัดการเรียนรู้
5.พัฒนาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น สวยงาม
ปลอดภัย ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
ที่มีประสิทธิภาพ
7. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
8. พัฒนาระบบภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ในการสนับสนุนการจัดการศึกษา
42

มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
1) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ
2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น และแก้ปัญหา
3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
6) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
1) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
2) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
4) สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา
และทุกกลุ่มเป้าหมาย
2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุง
การจัดการเรียนรู้
43

การเชื่อมโยงจุดเน้นการพัฒนาโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ปี พ.ศ. 2566-2568

จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


จุดเน้นที่ 1 เร่งแก้ปัญหากลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -
19 โดยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery)
ให้กับผู้เรียนทุกระดับ รวมทั้งลดความเครียดและสุขภาพจิตของผู้เรียน
จุดเน้นที่ 2 เสริมสร้างระบบและกลไกในการดูแล ความปลอดภัยนักเรียน ด้วยระบบมาตรฐาน
ความปลอดภัยกระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform)
จุดเน้นที่ 3 ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 - 6 ปี และผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าถึง
โอกาสทางการศึกษา และป้องกันการหลุดออกจากระบบ รวมทั้งช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน
และเด็กพิการ ที่ค้นพบจากการปักหมุดบ้านเด็กพิการ ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา
จุดเน้นที่ 4 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะ และการจัดทำกรอบหลักสูตร รวมทั้ง จัด
กระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน
จุดเน้นที่ 5 จัดการอบรมครูโดยใช้พื้นที่เป็นฐานควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการวางแผนและการ
สร้างวินัย ด้านการเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
จุดเน้นที่ 6 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และ
มีปฏิสัมพันธ์ กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ ที่หลากหลายรู ปแบบ (Active Learning) มีการวัด และ
ประเมินผล เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for learning) เพื่อให้เกิดสมรรถนะกับผู้เรียน
ทุกระดับ
จุดเน้นที่ 7 ยกระดับคุณภาพของนักเรียนประจำพักนอน สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สูงห่างไกล
และถิ่นทุรกันดาร
จุดเน้นที่ 8 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ทุกระดับ
จุดเน้นที่ 9 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใช้พื้นที่เป็นฐาน
เพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ (Block Grant) ตามหลักธรรมาภิบาล ให้กับ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

จุดเน้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช พ.ศ. 2566


1. ด้านการบริหารจัดการ
1.1 กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษามีความทันสมัยและสอดคล้องกับบริบท
ของสถานศึกษา นโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และบริห ารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ รวมทั้ง
ดำเนินการพัฒนาที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย (เป้าหมาย
ความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในสังกัด)
1.2 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรอบรู้ทางวิชาชีพ มุ่งเน้น
การพัฒนาทักษะการคิด การปฏิบัติจริง โดยใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ในการ
จัดการเรียนรู้ (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในสังกัด)
1.3 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
อย่างมีประสิทธิภาพ (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในสังกัด)
44

1.4 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหาร


จัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของโรงเรียน ใน
สังกัด)

2. ด้านครู
2.1 ครูมีการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด ตามหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับ ปรุงพุทธศักราช 2560 (เป้าหมาย
ความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของครู)
2.2 ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้าง
องค์ความรู้ด้วยตนเองและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของครู)
2.3 ครู มี ก ระบวนการตรวจสอบและประเมิ น ผลอย่ า งเป็ น ระบบและนำผลมาพั ฒ นาผู ้ เรียน
(เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของครู)
2.4 ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (เป้าหมายความสำเร็จ :
ร้อยละ 100 ของครู)
2.5 ครูมีวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100
ของครู)

3. ด้านผู้เรียน
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ
3.1.1 ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (เป้าหมายความสำเร็จ : นักเรียน
มีระดับผลการเรียนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้เรียน)
3.1.2 ยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (เป้าหมายความสำเร็จ
: มีค่าเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ)
3.1.3 ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3R8C) (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100
ของผู้เรียน)
3.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
3.2.1 ผู้เรียนมีวินัย สุจริต จิตอาสา อยู่อย่างพอเพียง เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ (เป้าหมาย
ความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของผู้เรียน)
3.2.2 ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น รักความเป็นไทย (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100
ของผู้เรียน)
3.3 สมรรถนะของผู้เรียน
ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ รู้เท่าทันเทคโนโลยี มีความรู้หลายภาษา
(เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 70 ของผู้เรียน)
3.4 ขีดความสามารถในการแข่งขัน
พัฒ นาผู้เรีย นด้านความเป็น เลิศ สู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่ง ขัน (เป้าหมายความสำเร็จ :
มีนักเรียนได้รับรางวัลจากการแข่งขันระดับภาค ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
45

จุดเน้น โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
1. ความเป็นเลิศทางวิชาการและศักยภาพผู้เรียนตามมาตรฐานสากล
1.1) การพัฒนาคุณภาพวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ O-NET PISA TIMSS และการแข่งขัน
ระดับชาติ ระดับนานาชาติ ตลอดถึงให้เป็นไปตามตัวชี้วัดของโรงเรียนมาตรฐานสากล
1.2) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนานักเรียน
1.3) ความปลอดภัยจากภัย 4 ด้าน ได้แก่ ภัยจากความรุนแรง ภัยจากอุบัติเหตุ (อุบัติภัย) ภัยจาก
การละเมิดสิทธิ์ และภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ
1.4 ผู้เรียนมีสมรรถนะ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ รู้เท่าทันเทคโนโลยี
สร้างนวัตกรรม มีความรู้หลายภาษา

2. สร้างคุณธรรม จริยธรรมกับผู้เรียน
2.1) เน้นผู้เรียนมีระเบียบวินัย มีความภูมิใจในท้องถิ่น รักความเป็นไทย
2.2) เน้นผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม/ค่านิยม12ประการ

3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1) การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม
3.2) การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น
3.3) การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

4. การพัฒนาบุคลากร เป็นครูมืออาชีพ
4.1) ผู้บริหารและครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
4.2) ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรอบรู้ทางวิชาชีพ มุ่งเน้น การพัฒนาทักษะการคิด
การปฏิบัติจริง โดยใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ในการจัดการเรียนรู้

5. การบริหารจัดการศึกษาสู่มาตรฐานสากล
4.1) การพัฒนาบริหารจัดการด้วยระบบ PDCALI
4.2) การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3) การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการ
จัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
46

บทที่ 4
แผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีการศึกษา 2566

กรอบกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2566
เพื่อให้ทิศทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแปลงสู การปฏิบัติ จึงไดกำหนดกรอบกลยุทธ์การ
พัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๖5 – ๒๕68 เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาของโรงเรียน
เบญจมราชูทิศ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่มุ่งหวัง ประกอบด้ว ย ประเด็นกลยุทธ์ ( Strategic Objective)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objective) ตัวชี้วัด (Key Performance Indicator: KPI)
ค่าเป้าหมาย (Target) กลยุทธ์ริเริ่ม (Strategy initiatives)

เบญจยุทธศาสตร์ที่ ๑ การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นพลเมือง


ที่ดีและมีความปลอดภัย
กลยุทธ์
๑. ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผ่านการสนับสนุนส่งเสริมจากภาคี
เครือข่าย
๒. มีการสร้างช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาต่าง ๆ
๓. มีการส่งเสริมให้นักเรียนใช้ทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน
4. สร้างองค์ความรู้ให้กับนักเรียนเพื่อให้เกิดความตระหนักจากภัยพิบัติและภัยคุกคาม
ทุกรูปแบบ
เบญจยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สู่
ความเป็นพลโลก
กลยุทธ์
๑. ยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มีศักยภาพตามมาตรฐานสากล
๒. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ ๒๑
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติโดยมุ่งเน้นการประกวด
แข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆ
4. พัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษตามพหุปัญญาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและมุ่งสู่
อาชีพในอนาคต (พหุปัญญา ๘ ด้าน ได้แก่ ด้านภาษา ด้านตรรกะ-คณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์
ด้านการ เคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจตนเอง ด้านธรรมชาติ )
5. พัฒนาโครงการห้องเรียนพิเศษที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และพัฒนาโครงการห้องเรียนพิเศษตามความ
พร้อมของโรงเรียนในอนาคต
6. พัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างนวัตกรรมได้
47

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย
นวัตกรรมที่หลากหลาย
กลยุทธ์
1. นำนวัตกรรมมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัย โดยเน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ เพื่อสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะ
๒. จัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
๓. สถานศึกษาพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
๔. สถานศึกษาจัดการเรียนการสอน ที่ยืดหยุ่นตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจ
ของผู้เรียน
เบญจยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีให้มีความเชี่ยวชาญในการจัด
การศึกษา
กลยุทธ์
1.พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและมี
จรรยาบรรณเป็นแบบอย่างที่ดี โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย
เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา
2. ส่งเสริมผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ สมรรถนะ ทักษะ
ความเชี่ยวชาญ ได้รับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี
๓. สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. ส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม
(Co-creation) ให้กับผู้เรียน
5. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เบญจยุทธศาสตร์ที่ ๕ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมแบบบูรณาการ (PDCALI)
2. เสริมสร้างความเข็มแข็งการบริหารจัดการตามโครงสร้างการบริหารจัดการ
3. สร้างมาตรฐานระบบประกันคุณภาพภายในที่เป็นบริบทของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
4. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย และเอื้อต่อ
การจัดการเรียนรู้
5. พัฒนาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น สวยงาม
ปลอดภัย ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
ที่มีประสิทธิภาพ
7. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
8.พัฒนาระบบภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ในการสนับสนุนการจัดการศึกษา
48

สรุปงบหน้าโครงการ / กิจกรรมและงบประมาณ
ประจำปีการศึกษา 2566

ลำดับที่ โครงการ/กิจกรรม (หลัก) งบประมาณ


1 โครงการพัฒนาระบบบริหารโครงการ/กลุ่มสาระ 28,458,651
2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4,180,367
3 โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศ 4,883,300
4 โครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 17,696,780
5 โครงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน 1,576,064
6 กลุ่มบริหารงานอำนวยการ 830,316
7 กลุ่มบริหารงานพัฒนานักเรียน 830,713
8 กลุ่มบริหารงานบริหารทั่วไป 1,378,579
9 งบกลาง 21,258,100
รวม 26 โครงการ 509 กิจกรรม 81,092,870
49

แสดงวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ตามกิจกรรม/งาน/โครงการ


เบญจยุทธศาสตร์ที่ 1 การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เป็นพลเมืองที่ดีและมีความปลอดภัย
กลยุทธ์ ๑. ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผ่านการสนับสนุนส่งเสริมจากภาคีเครือข่าย
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
๑. โครงการส่งเสริม ๑. ส่งเสริมให้ผู้เรียน 1. ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การ 96
คุณธรรมจริยธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม ประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรมและ
ค่านิยมที่ดีงามและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒) โครงการ มีความรักและภูมิใจใน
กิจกรรมสภา ความเป็นไทย 2. จำนวนความร่วมมือระหวางครู 6
นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนที่มีส่วนร่วมกับ
กิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม
3) โครงการพัฒนา
ระบบเครือข่ายเพื่อ 3. ร้อยละของความร่วมมือของ 90
สร้างความสัมพันธ์ เครือข่าย องค์กรภายนอก และ
ของผู้ปกครอง หนว่ยงานอื่นๆ สนับสนุน การจัด
ชุมชนและองค์กร การศึกษา

4. ร้อยละความสำเร็จการดำเนิน 90
กิจกรรมผู้เรียนมีค่านิยม 12 ประการ

5. ร้อยละของนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 4
สืบสานประเพณีวัฒนธรรมและ
ภูมิปัญญาทองถิ่น

6. ร้อยละของนักเรียนมีทักษะชีวิต 92
บนพื้นฐานของความเป็นไทยตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

7. ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับรางวัล 100
ธนาคารความดี

8.ร้อยละของนักเรียนเป็นบุคคลที่มีจิต 92
สาธารณะ เสียสละ ช่วยเหลือสังคม
ส่วนรวม
50

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 1 การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์


เป็นพลเมืองที่ดีและมีความปลอดภัย
กลยุทธ์ 2.มีการสร้างช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาต่าง ๆ
กลยุทธ์ ๓. มีการส่งเสริมให้นักเรียนใช้ทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
4) โครงการพัฒนา ๒. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมี 1.ร้อยละของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม 100
ระบบการดูแล ความรักในสถาบันหลัก สะท้อนความรักในสถาบันหลักของชาติ
ช่วยเหลือผู้เรียน ของชาติและยึดมั่นในการ และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมี
ปกครอง ระบอบ พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2) โครงการ ประชาธิปไตยอันมี
กิจกรรมสภา พระมหากษัตริย์ทรงเป็น 2. ร้อยละของนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม/ 92
นักเรียน ประมุขเพิ่มขึ้น โครงการที่ส่งเสริมความเป็น
ประชาธิปไตย

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 1 การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์


เป็นพลเมืองที่ดีและมีความปลอดภัย
กลยุทธ์ 4. สร้างองค์ความรู้ให้กับนักเรียนเพื่อให้เกิดความตระหนักจากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุก
รูปแบบ
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
4) โครงการพัฒนา ๓. ผู้เรียนได้รับการดูแล 1. ร้อยละความร่วมมือระหว่างครู 96
ระบบการดูแล ความปลอดภัยจากภัย ผู้ปกครองและชุมชนที่มีส่วนร่วมกับ
ช่วยเหลือผู้เรียน พิบตั ิและภัยคุกคามทุก กิจกรรมการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
รูปแบบ รวมถึงการจัด
2) โครงการ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ 2.ร้อยละของนักเรียนมีบุคลิกภาพที่ดี 92
กิจกรรมสภา การมีสุขภาวะที่ดีเพิ่มขึ้น และมีภูมิคุ้มกันและมีความปลอดภัยใน
นักเรียน ชีวิตและทรัพย์สิน
3. ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับการส่งเสริม 96
และพัฒนาด้านสวัสดิภาพและ
สุขภาวะ
4. ร้อยละของผู้เรียนที่ติดยาเสพติด 0.2
โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
51

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 1 การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์


เป็นพลเมืองที่ดีและมีความปลอดภัย
กลยุทธ์ 4. สร้างองค์ความรู้ให้กับนักเรียนเพื่อให้เกิดความตระหนักจากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุก
รูปแบบ
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
-งานรักษาความ 5. ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการ 94
ปลอดภัย ปลูกฝังทักษะกระบวนการทาง
และจราจร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีจิตอาสา
และเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์
-งานป้องกันและ สิ่งแวดล้อม
แก้ไขปัญหาสาร
เสพติด

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 2 เบญจยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ มีขีด


ความสามารถในการแข่งขัน สู่ความเป็นพลโลก
กลยุทธ์ ๑. ยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มีศักยภาพตามมาตรฐานสากล
กลยุทธ์ ๒. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ ๒๑
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
๑) โครงการ ๑.ผู้เรียนมีศักยภาพตาม 1.จำนวนการพัฒนาหลักสูตร 1
ส่งเสริมความเป็น มาตรฐานสากล เทียบเคียงมาตรฐานสากล
เลิศทางวิชาการ 2.ผลการเรียนเฉลี่ย ของ 8 กลุ่ม 87
สาระการเรียนรู้ ระดับ 3 ขึ้นไป
2) โครงการ
3. . ค่าเฉลี่ยคะแนน O-NET 24
ห้องเรียนพิเศษ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่า
ระดับมัธยมศึกษา คะแนนเฉลี่ยระดับชาติ
ตอนต้นและตอน 4. . ค่าเฉลี่ยคะแนน O-NET 20
ปลาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่า
คะแนนเฉลี่ยระดับชาติ
3) โครงการพัฒนา 5.ร้อยละของนักเรียนเข้าสอบวัด 52
ผู้เรียนสู่ ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ
มาตรฐานสากล จากแบบทดสอบมาตรฐาน CEFR
52

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 2 เบญจยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ มีขีด


ความสามารถในการแข่งขัน สู่ความเป็นพลโลก
กลยุทธ์ ๑. ยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มีศักยภาพตามมาตรฐานสากล
กลยุทธ์ ๒. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ ๒๑
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
ผ่าน เกณฑ์ 50 (นักเรียนที่เข้า
4) โครงการเตรียม สอบฯ)
ความพร้อมเข้าสู่
6.ร้อยละของนักเรียนที่สอบวัด 52
รั้วมหาลัย
ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ
5) โครงการพัฒนา จากแบบทดสอบมาตรฐาน เช่น
นักเรียนสู่ความเป็น TOEFL WUTEP , TOEIC หรือ
อื่น ๆ ที่มีคะแนนผลการทดสอบ
เลิศทางภาษา
เทียบคะแนน TOELF
7. ร้อยละของผู้เรียนมีทักษะและ 82
ความสามารถในการสื่อสารอย่างมี
ประสิทธิภาพทั้งภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ และส่งเสริมให้
นักเรียน สนใจเรียน
ภาษาต่างประเทศที่สอง

8. ร้อยละของนักเรียนที่มีทักษะ 75
การสื่อสารด้านภาษาไทย ได้ตาม
เกณฑ์มาตรฐาน

9. ร้อยละของนักเรียนที่มีทักษะ 72
การสื่อสารภาษาต่างประเทศ ได้
ตามเกณฑ์มาตรฐาน
53

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขัน


สู่ความเป็นพลโลก
กลยุทธ์ 3. พัฒนาผู้เรียนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติโดยมุ่งเน้นการประกวด
แข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่าง ๆ
กลยุทธ์ 4. พัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษตามพหุปัญญาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและ
มุ่งสู่อาชีพในอนาคต
กลยุทธ์ 5. พัฒนาโครงการห้องเรียนพิเศษที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และพัฒนาโครงการห้องเรียนพิเศษตามความ
พร้อมของโรงเรียนในอนาคต
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
5) โครงการพัฒนา ๒.ผู้เรียนมีขีด 1.จำนวนนักเรียนได้เข้าร่วมแข่งขัน 3
ทักษะกระบวนการ ความสามารถในการ ระดับนานาชาติ
คิดเชิงสร้างสรรค์ แข่งขันระดับนานาชาติ
2.จำนวนผลงานของนักเรียนด้าน 10
วิชาการ ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ใน
6) โครงการทักษะ เอกสารหรือสื่อดิจิตอลในระดับเขตพื้นที่
ชีวิต การศึกษาหรือหน่วยงานต่าง ๆ
ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
7) โครงการ
ส่งเสริมอัจฉริยภาพ 3.คะแนนการสอบ ด้านการอ่าน ผ่าน
ด้านวิชาการ ด้านคณิตศาสตร์และด้าน เกณฑ์
วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย ไม่ต่ำ
8) โครงการพัฒนา กว่าคะแนนเฉลี่ย ของนักเรียน
ศักยภาพผู้เรียนที่มี ระดับประเทศที่เข้ารวมโครงการ
ความสามารถพิเศษ PISA ในปีเดียวกัน
ตามพหุปัญญา
4. ร้อยละของนักเรียนสามารถตัดสินใจ 100
เลือกแนวทางการศึกษาต่อและมีเจตคติ
ที่ดีต่องาน/อาชีพ ที่เลือก
54

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขัน


สู่ความเป็นพลโลก
กลยุทธ์ 3. พัฒนาผู้เรียนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติโดยมุ่งเน้นการประกวด
แข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่าง ๆ
กลยุทธ์ 4. พัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษตามพหุปัญญาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและ
มุ่งสู่อาชีพในอนาคต
กลยุทธ์ 5. พัฒนาโครงการห้องเรียนพิเศษที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และพัฒนาโครงการห้องเรียนพิเศษตามความ
พร้อมของโรงเรียนในอนาคต
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
5.ร้อยละของนักเรียน ที่มีผลงาน 100
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง IS
ด้าน ICT, IOT, M2M (เกมส์/หุ่นยนต์/
9) โครงการ โปรแกรมประยุกต์/หนังสือ/แอฟพลิ
เคชั่น) ได้ ร่วมหรือแสดง/ประกวด/
ห้องเรียนพิเศษ
แข่งขัน
ระดับมัธยมศึกษา
ตอนต้นและตอน 6.ร้อยละของผู้เรียนมีจิตสาธารณะ 100
ปลาย และมีจิตสํานึก รับผิดชอบต่อสังคม
อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

7.ร้อยละของนักเรียนมีทักษะการใช้ 100
เทคโนโลยี สารสนเทศและสามารถ
การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

8.ร้อยละของผู้เรียนได้รับการพัฒนา 100
ศักยภาพ ทักษะ ตรงตามวัตถุประสงค์
ของโครงการห้องเรียนพิเศษ
55

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขัน


สู่ความเป็นพลโลก
กลยุทธ์ 6. พัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างนวัตกรรมได้
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
๑0) โครงการสร้าง 3. ผู้เรียนได้รับการพัฒนา 1.ร้อยละของผลงานจากการศึกษา 100
นวัตกรรมเพื่อการ โดยใช้นวัตกรรม ค้นคว้าด้วยตนเอง IS กิจกรรมชุมนุม
เรียนการสอน ด้านภาษาไทย คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและ
วัฒนธรรม ศิลปะ สุขศึกษาและพล
ศึกษา การงานอาชีพและ
ภาษาต่างประเทศ ได้รับ
การประเมินในระดับดี
จากการแสดงผลงานประจําปี

2. ร้อยละของผลงานนักเรียนที่เป็น 100
ผลงาน/นวัตกรรมทางวิชาการหรือ
วิชาชีพ ได้จากการออกแบบ การ
ประดิษฐ์และสรางสรรค์

3. จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์หรือ 7
องค์ความรู้ด้านการศึกษาที่ได้รับรางวัล
ระดับภาคขึ้นไป
56

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย
นวัตกรรมที่หลากหลาย
กลยุทธ์ 1. นำนวัตกรรมมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เพื่อสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะ
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
๑) โครงการ 1 . เพื่อให้ครูสามารถ 1. หลักสูตรที่ตอบสนองต่อความ 12
ส่งเสริมครูและ จัดการเรียนรู้ผ่าน ต้องการของชุมชน
บุคลากรทางการ กระบวนการคิดและปฏิบัติ
ศึกษา 2. ร้อยละของครูจัดการเรียนรู้เน้น 100
จริง และสามารถนำไป
กระบวนการคิด และ ให้ผู้เรียน
ประยุกต์ ใช้ในชีวิตได้ ฝึกปฏิบัติจริง
2) โครงการ
โรงเรียนอัจฉริยะ 3. ร้อยละของครูที่มีนวัตกรรมในการ 100
จัดการเรียนเรียนรู้แบบ Active
Learning

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย
นวัตกรรมที่หลากหลาย
กลยุทธ์ ๒. จัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
3) โครงการ 2 เพื่อให้ครูสามารถใช้สื่อ 1.ร้อยละของครูการเลือกใช้หรือผลิตสื่อ 100
ส่งเสริมการสร้าง เทคโนโลยีสารสนเทศและ ในการจัดการเรียนการสอนที่มี
และใช้นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อ คุณภาพ
ของครู 2. ร้อยละของครูใช้เทคโนโลยี 100
การเรียนรู้
สารสนเทศในการจัดการเรียนรู้มีการใช้
Application เพื่อการเรียนรู้
3. ร้อยละของครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้ง 100
ภายในและภายนอกโรงเรียน ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นบูรณาการในการจัดการเรียนการ
สอน เอื้อต่อการเรียนรู้ ให้ผู้เรียน ฝึก
ปฏิบัติจริง
57

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย
นวัตกรรมที่หลากหลาย
กลยุทธ์ ๒. จัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
4) โครงการสร้าง 3. เพื่อให้ครูสามารถมี 1.ร้อยละของครูมีการบริหารจัดการชั้น 100
ขวัญและกําลังใจให้ การบริหารจัดการชั้นเรียน เรียนอย่างเป็นระบบ
ครูและบุคลากร เชิงบวก 2.ร้อยละของ ครูและบุคลากรมี 100
ทางการศึกษา จิตสํานึกในการใช้ทรัพยากรอย่าง
ถูกต้อง คุ้มค่าและถูกวิธี ตลอดจน
5) โครงการหลัก อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
ปรัชญาของ สิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจพอเพียง

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย
นวัตกรรมที่หลากหลาย
๓. สถานศึกษาพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการที่
หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
6) โครงการ 4. เพื่อให้ครูสามารถ 1. ร้อยละของครูใช้เครื่องมือและวิธีการ 100
ส่งเสริมครูและ ตรวจสอบและประเมิน วัดและประเมินผลอย่างหลากหลายเป็น
บุคลากรทางการ ผู้เรียนอย่างเป็นระบบและ ระบบ
ศึกษา นำผลมาพัฒนาผู้เรียน
2. ร้อยละของครูให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ 100
ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้
58

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย
นวัตกรรมที่หลากหลาย
กลยุทธ์ ๓. สถานศึกษาพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการที่
หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
8) โครงการพัฒนา 5. เพื่อให้กลุ่มสาระฯ มี 1.ร้อยละของครูที่เข้าร่วมชุมชนแห่งการ 100
กระบวนการจัดการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ เรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูและ
เรียนรู้และวัดผล ให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อ ผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการ
พัฒนาและปรับปรุงการ
ประเมินผลและ จัดการเรียนรู้ (Professional Learning
จัดการเรียนรู้
จัดทำสารสนเทศ Community)

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย
นวัตกรรมที่หลากหลาย
กลยุทธ์ ๔. สถานศึกษาจัดการเรียนการสอน ที่ยืดหยุ่นตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
9) โครงการนิเทศ 6. นำสารสนเทศ ที่เกิด 1.ร้อยละของครูที่เข้าร่วมชุมชนแห่งการ 100
ภายใน จากกระบวนการจัดการ เรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูได้รับการ
เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน นิเทศเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการ
เป็นสำคัญมาปรับปรุงและ
เรียนรู้
พัฒนา
59

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีให้มีความเชี่ยวชาญในการจัด
การศึกษา
กลยุทธ์ 1.พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและมี
จรรยาบรรณเป็นแบบอย่างที่ดี โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุน
การจัดการศึกษา
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
1. ผู้บริหาร ครูและ 1.ร้อยละของครูที่มีสมรรถนะในการ 100
บุคลากรทางการศึกษามี จัดการเรียนการสอนที่มี
ศักยภาพ สมรรถนะ ตาม ประสิทธิภาพฯ
มาตรฐานตำแหน่ง 2.ร้อยละของครูและผู้บริหารผ่านเกณฑ์ 100
การพัฒนาตนเองตามกฏ กคศ.
มาตรฐานวิชาชีพ
3.ร้อยละของผู้บริหาร ครูและ บุคลากร 100
จรรยาบรรณ และจิต ทางการศึกษาที่ได้รับ การพัฒนาให้มี
วิญญาณความเป็นครู ความเชี่ยวชาญ และเป็นเลิศเฉพาะด้าน
เพื่อจัดการ เรียนรู้พหุปัญญารายบุคคล

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีให้มีความเชี่ยวชาญในการจัด
การศึกษา
กลยุทธ์ 2. ส่งเสริมผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ สมรรถนะ ทักษะ ความ
เชี่ยวชาญ ได้รับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
2. ครูสามารถจัดการ 1.ร้อยละของผลการนิเทศการจัดการ 100
เรียนรู้เชิงรุก (Active เรียนรู้ของครูที่ใช้ Active Learning
Learning) และเป็นผู้ ในระดับดีขึ้นไป
สร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-
2.ร้อยละของครูที่ได้รับการพัฒนา 100
creation) ให้กับผู้เรียน ด้านเทคโนโลยี ดิจิทัลเพื่อใช้ในการ
พัฒนาการเรียนการสอน
60

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีให้มีความเชี่ยวชาญในการจัด
การศึกษา
กลยุทธ์ ๓. สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ 4. ส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม
(Co-creation) ให้กับผู้เรียน
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
3. ครูมีการวัดและ 1.ร้อยละของครูที่ทําวิจัยในชั้นเรียน 100
ประเมินผลเพื่อพัฒนาการ วิจัยพัฒนาและเผยแพรผลงานทุก
เรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้
(Assessment For
2.ร้อยละของผู้บริหาร ครูและ บุคลากร 85
Learning) ด้วยวิธีการที่ ทางการศึกษาที่ได้รับ การพัฒนาเพื่อ
หลากหลาย เพื่อส่งเสริม สร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่สร้าง
การเรียนรู้ เป็นรายบุคคล ผลผลิต และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
(Personal Learning)

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีให้มีความเชี่ยวชาญในการจัด
การศึกษา
5. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
4. พัฒนาครูในการจัดการ 1.จำนวนครั้งของครูในกลุ่มสาระมีการ 13
เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ
พัฒนาการ ทํางานร่วมกัน

2.จำนวนการเผยแพร่ผลงานทาง 10
วิชาการของผู้บริหาร ครูและบุคลากร
ทางการศึกษา
61

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ 1.พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมแบบบูรณาการ (PDCALI)
กลยุทธ์ 2 เสริมสร้างความเข็มแข็งการบริหารจัดการตามโครงสร้างการบริหารจัดการ
กลยุทธ์ 3 สร้างมาตรฐานระบบประกันคุณภาพภายในที่เป็นบริบทของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
1.โรงเรียนมีระบบการ 1.ร้อยละของการนํา ระบบบริหาร 85
บริหารจัดการที่ทันสมัย จัดการด้วยนวัตกรรมแบบบูรณาการ
ด้วนนวัตกรรมการบริหาร (PDCALI) ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง มาบริหารจัดการทุกกลุ่มงาน
ที่มีประสิทธิภาพ มีผลงาน
เป็นที่ประจักษ์ และเป็นที่ 2.จํานวนครั้งของความร่วมมือในการ 1
ยอมรับของสังคม สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในการจัดการศึกษา

3. มีแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี -
(พ.ศ.2566-2568) เป็นปัจจุบัน
4. มีแผนปฏิบัติการประจําปี 1
เป็นปัจจุบัน
5. มีแผนการกํากับ ติดตามภายใน มี
สถานศึกษา/ต้นสังกัด/ภายนอก

6.มีผลรายงานการประเมินผลตนเอง 5
SAR ระดับยอดเยี่ยม (5)
62

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ 4. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย และเอื้อต่อการ
จัดการเรียนรู้
กลยุทธ์ 5 พัฒนาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น สวยงาม
ปลอดภัย ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
2. โรงเรียนมีโครงสร้าง 1. .จำนวนของการพัฒนา ปรับปรุง 1
พื้นฐาน สภาพแวดล้อมที่ ดูแลรักษาอาคารเรียน อาคารประกอบ
ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย ห้องปฏิบัติการใหพร้อมใช้งานและมี
ความปลอดภัยเอื้อต่อการจัด
ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
บรรยากาศเรียนรู้ Active learning
ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

2. จำนวนการพัฒนาปรับปรุง แหล่ง 2
เรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้
ที่มีคุณภาพ

3.ร้อยละของนักเรียนเข้าใช้สื่อแหล่ง 100
เรียนรู้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

4.ร้อยละของความพึงพอใจในการใช้ 85
อาคารเรียน อาคารประกอบ
ห้องปฏิบัติการ

5. กลุ่มงานมีสารสนเทศ 92
อย่างเป็นระบบและเป็นปัจจุบัน
63

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ 6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ 7. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
3. โรงเรียนมีเทคโนโลยีที่ 1.มีระบบเครือข่ายเทคโนโลยี ดิจิทัล 90
ทันสมัย เพื่อใช้ในการ เพื่อการศึกษาที่ทันสมัย สนองตอบ
บริหารจัดการและการ ความต้องการของ ผู้ใช้บริการ อย่างมี
จัดการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ
ประสิทธิภาพ 2.ร้อยละของผู้บริหาร ครู นักเรียน ใช้ 100
เทคโนโลยีในการพัฒนาระบบการ
บริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

เบญจยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
8.พัฒนาระบบภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ในการสนับสนุนการจัดการศึกษา
ค่า
โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2566
4. โรงเรียนได้รับความ 1.จำนวนภาคีเครือข่าย ความร่วมมือ 6
ร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ระหว่างรัฐ เอกชน สถานประกอบการ
จากภาคส่วนต่าง ๆ ใน สมาคมวิชาชีพ และหน่วยงานที่จัด
การพัฒนาคุณภาพ การศึกษา เพิ่มขึ้น
การศึกษา
64

แสดงงบประมาณจัดสรรตาม/งาน/โครงการ/กิจกรรม ปีการศึกษา 2566

โครงการพัฒนาระบบบริหารโครงการ/กลุ่ม
1 งบประมาณ ประเภทงบ
สาระ
บำรุง
1 SMTE011 ค่าจ้างบุคลากร 456,000 การศึกษา
พัฒนางานสารบรรณสารสนเทศและ บำรุง
2 SMTE012 ประชาสัมพันธ์ 10,000 การศึกษา
บำรุง
3 SMTE013 พัฒนางานสำนักงาน 20,064 การศึกษา
บำรุง
4 SMTE014 งานแผนงานโครงการ 2,500 การศึกษา
บำรุง
5 SMTE015 พัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่ 25,000 การศึกษา
บำรุง
6 SMTE016 งบกลาง 21,000 การศึกษา
บำรุง
7 HSIP011 ค่าจ้างบุคลากร 456,000 การศึกษา
พัฒนางานสารบรรณสารสนเทศและ บำรุง
8 HSIP012 ประชาสัมพันธ์ 10,000 การศึกษา
บำรุง
9 HSIP013 พัฒนางานสำนักงาน 20,035 การศึกษา
บำรุง
10 HSIP014 งานแผนงานโครงการ 2,500 การศึกษา
บำรุง
11 HSIP015 พัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่ 25,000 การศึกษา
บำรุง
12 HSIP016 งบกลาง 21,000 การศึกษา
กิจกรรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการ บำรุง
13 DPST011 ศึกษา 20,000 การศึกษา
บำรุง
14 DPST012 งานสำนักงาน 83,571 การศึกษา
บำรุง
15 DPST013 ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ 189,360 การศึกษา
65

โครงการพัฒนาระบบบริหารโครงการ/กลุ่ม
1 งบประมาณ ประเภทงบ
สาระ
บำรุง
16 DPST014 ค่าจ้างอาจารย์ต่างชาติ 167,000 การศึกษา
บำรุง
17 DPST015 งบกลาง 50,000 การศึกษา
งานพัสดุ-ครุภัณฑ์ (สื่อ-อุปกรณ์การเรียน บำรุง
18 UEP011 การสอน) 730,000 การศึกษา
บำรุง
19 UEP012 งานอาคารสานที่ 60,000 การศึกษา
บำรุง
20 UEP013 จัดจ้างบุคลากร 4,752,336 การศึกษา
สรุปงานและจัดทำแผนปฏิบัติงานนอก บำรุง
21 UEP014 สถานที่ 90,000 การศึกษา
บำรุง
22 UEP015 อบรมพัฒนาตนเอง 10,000 การศึกษา
บำรุง
23 UEP016 ปฐมนิเทศครูและบุคลากร 50,000 การศึกษา
บำรุง
24 UEP017 นิเทศติดตามผลครูผู้สอน 35,000 การศึกษา
กิจกรรมพัฒนาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์การเรียน บำรุง
25 EP011 การสอน 577,286 การศึกษา
บำรุง
26 EP012 กิจกรรมจัดจ้างครูและบุคลากร 10,384,494 การศึกษา
กิจกรรมอบรม/สัมมนา เพื่อพัฒนาครูและ
บุคลากรทางการศึกษา บำรุง
27 EP013 ในศตวรรษ ที่ 21 117,450 การศึกษา
บำรุง
28 EP014 กิจกรรมปฐมนิเทศครูชาวต่างชาติ 24,100 การศึกษา
บำรุง
29 EP015 กิจกรรมสัมมนาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ 130,750 การศึกษา
บำรุง
30 EP016 นิเทศครูไทย/ครูชาวต่างชาติ 53,000 การศึกษา
บำรุง
31 EP017 งานวัสดุ-ครุภัณฑ์ 260,000 การศึกษา
กิจกรรรมพัฒนาสื่อไอที เพื่อจัดการเรียน บำรุง
32 EP018 การสอน 250,000 การศึกษา
66

โครงการพัฒนาระบบบริหารโครงการ/กลุ่ม
1 งบประมาณ ประเภทงบ
สาระ
กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการฯ ปี บำรุง
33 EP019 2566 107,000 การศึกษา
บำรุง
34 EP0110 งบกลาง 50,000 การศึกษา
บำรุง
35 SI_MA011 ค่าจ้างบุคลากร 3,859,980 การศึกษา
บำรุง
36 SI_MA012 พัฒนาบุคลากร 120,000 การศึกษา
บำรุง
37 SI_MA013 การเปิดบ้าน SMTP 200,000 การศึกษา
บำรุง
38 SI_MA014 งานรับนักเรียน 120,000 การศึกษา
สื่อวัสดุอุปกรณ์ (สื่อการสอนและหนังสือ บำรุง
39 SI_MA015 เรียน) 400,000 การศึกษา
บำรุง
40 SI_MA016 สื่อเทคโนโลยี 385,000 การศึกษา
บำรุง
41 SI_MA017 งานสารสนเทศ 28,000 การศึกษา
บำรุง
42 SI_MA018 งานวัสดุ - ครุภัณฑ์ 310,800 การศึกษา
บำรุง
43 SI_MA019 งานอาคาร งานสถานที่ - ภูมิทัศน์ 150,000 การศึกษา
บำรุง
44 SI_MA0110 งานสาธารณูปโภค 18,000 การศึกษา
บำรุง
45 SI_MA0111 งานยานพาหนะ 180,000 การศึกษา
บำรุง
46 SI_MA0112 งบกลาง 91,200 การศึกษา
กิจรรมจัดซื้อ จัดจ้างวัสดุ อุปกรณ์
47 KOR011 ห้องเรียน/สำนักงาน 3,500 อุดหนุน
กิจกรรมจัดจ้างบุคลากร และครูเจ้าของ
48 JAP011 ภาษา 316,000 อุดหนุน
กิจรรมจัดซื้อ จั้ดจ้างวัสดุ อุปกรณ์
49 JAP012 ห้องเรียน/สำนักงาน 36,110 อุดหนุน
67

โครงการพัฒนาระบบบริหารโครงการ/กลุ่ม
1 งบประมาณ ประเภทงบ
สาระ
กิจกรรมจัดจ้างบุคลากร และครูเจ้าของ
50 CHIN011 ภาษา 390,000 อุดหนุน
กิจกรรมจัดซื้อ จัดจ้างวัสดุ อุปกรณ์
51 CHIN012 ห้องเรียน/สำนักงาน 88,185 อุดหนุน
กิจกรรมการประกวดผลงานครู Best ไม่ใช้
52 CHIN013 Practice สพม. งบประมาณ -
กิจกรรมจัดจ้างบุคลากร และครูเจ้าของ
53 FRA011 ภาษา 538,185 อุดหนุน
กิจรรมจัดซื้อ จัดจ้างวัสดุ อุปกรณ์
54 FRA012 ห้องเรียน/สำนักงาน 5,370 อุดหนุน
กิจกรรมจัดซื้อ จัดจ้างวัสดุ อุปกรณ์
THA011
55 สำนักงาน 21,800 อุดหนุน
กิจกรรมพัฒนาบุคลากรครูและบุคลากร ไม่ใช้
THA012
56 ทางการศึกษา งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA013 จัดทำสารสนเทศ
57 งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA014 กิจกรรมกระบวนการ PLC
58 งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA015 ประชุมสัมมนาสรุปงาน
59 งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA016 ศึกษาดูงานและทัศนศึกษา
60 งบประมาณ -
ไม่ใช้
ENG011 กิจกรรมสรรหาครูผู้สอนชาวต่างชาติ
61 งบประมาณ -
กิจกรรมจัดซื้อจัดจ้าง สื่อ อุปกรณ์
ENG012
62 ประกอบการเรียนการสอน 20,000 อุดหนุน
กิจกรรมนิเทศการสอนของครูชาวต่างชาติ- ไม่ใช้
ENG013
63 ครูไทย งบประมาณ -
ENG014 กิจกรรมปรับปรุงสำนักงาน
64 50,000 อุดหนุน
กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ไม่ใช้
ENG015
65 ประจำปี งบประมาณ -
ไม่ใช้
ENG016 กิจกรรมพัฒนาบุคลากร
66 งบประมาณ -
68

โครงการพัฒนาระบบบริหารโครงการ/กลุ่ม
1 งบประมาณ ประเภทงบ
สาระ
จัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน สื่อ
67 MAT011 เทคโนโลยี 71,000 อุดหนุน
ไม่ใช้
68 MAT012 พัฒนาครูสู่มืออาชีพ งบประมาณ -
ไม่ใช้
69 SCI011 กิจกรรมงานสารบรรณและบุคลากร งบประมาณ -

70 SCI012 กิจกรรมการจัดซื้อ จัดจ้าง สำนักงาน 30,273 อุดหนุน


กิจกรรมงานแผนงาน/โครงการและประกัน
71 SCI013 คุณภาพการศึกษา 1,200 อุดหนุน
ไม่ใช้
72 SCI014 กิจกรรมงานพัฒนาครูและบุคลากร งบประมาณ -
กิจกรรมงานปรับปรุงสื่อห้องปฏิบัติการ
73 SCI015 วิทยาศาสตร์ 20,000 อุดหนุน
ไม่ใช้
74 SCI016 กิจกรรมพัฒนาระบบสารสนเทศ งบประมาณ -
ไม่ใช้
75 SCI017 กิจกรรมงานสวัสดิการการเงินและบัญชี งบประมาณ -
กิจกรรมงานประชาสัมพันธ์และสร้างเว็บไป ไม่ใช้
76 SCI018 ซต์กลุ่มสาระ งบประมาณ -
ไม่ใช้
77 SCI019 กิจกรรมงานนิเทศบุคลากร งบประมาณ -
กิจกรรมงานรายงานผลและประเมินผลการ ไม่ใช้
78 SCI0110 ปฏิบัติงาน งบประมาณ -

79 SOC011 งานการจัดการเรียนรู้และผลิตสื่อ 8,000 อุดหนุน

80 SOC012 งานระบบพัสดุและสินทรัพย์ 25,000 อุดหนุน


ไม่ใช้
81 SOC013 งานพัฒนาบุคลากรกลุ่มสาระ งบประมาณ -

82 SOC014 งานปรับปรุงภูมิทัศน์ห้องกลุ่มสาระฯสังคม 4,000 อุดหนุน


พัฒนาระบบการบริหารกลุ่มสาระการ
83 PE011 เรียนรู้สุขศึกษา 5,000 อุดหนุน
69

โครงการพัฒนาระบบบริหารโครงการ/กลุ่ม
1 งบประมาณ ประเภทงบ
สาระ
พัฒนาระบบการบริหารกลุ่มสาระการ
84 PE012 เรียนรู้พลศึกษา 50,000 อุดหนุน

85 ARTA011 จัดซื้อ จัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน 15,000 อุดหนุน

86 ARTA012 จัดซื้อ จัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ 8,000 อุดหนุน


AGR011 จัดซื้อจัดหาวัดุอุปกรณ์สำนักงาน
87 1,500 อุดหนุน
AGR012 ซ่อมบำรุงห้องเรียน ไม่ใช้
88 งบประมาณ -
AGR013 จัดทำสารสนเทศ ไม่ใช้
89 งบประมาณ -
กิจกรรมยกระดับกระบวนการจัดการเรียนรู้
90 FOOD011 กลุ่มวิชาคหกรรม 10,000 อุดหนุน
ไม่ใช้
91 FOOD012 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา งบประมาณ -
จัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน สื่อ
92 BUS011 เทคโนโลยี 5,000 อุดหนุน
93 RES011 จัดซื้อหนังสือ วารสาร และสื่อ E-Book 65,000 อุดหนุน
จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ห้องสมุด/อุปกรณ์
94 RES012 คอมพิวเตอร์ 70,000 อุดหนุน

95 CON011 งานจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน 15,000 อุดหนุน

96 CON012 การจัดกิจกรรมแนะแนวในชั้นเรียน 3,000 อุดหนุน


ไม่ใช้
97 CON013 การจัดระบบสารสนเทศเพื่องานแนะแนว งบประมาณ -
ไม่ใช้
98 CON014 การจัดกิจกรรมชุมนุม งบประมาณ -
ไม่ใช้
99 CON015 PLC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ งบประมาณ -
พัฒนาระบบการบริหารกลุ่มสาระการ
100 ARTB01 เรียนรู้ศิลปะ(ดนตรี-นาฏศิลป์) 50,000 อุดหนุน
จัดซื้อจัดจ้างวัสดุ อุปกรณ์สำนักงาน สื่อ
101 COM011 เทคโนโลยี 65,000 อุดหนุน
70

โครงการพัฒนาระบบบริหารโครงการ/กลุ่ม
1 งบประมาณ ประเภทงบ
สาระ

102 IND01 พัฒนาระบบบริหารกลุ่มวิชาอุตสาหกรรม 75,000 อุดหนุน

103 VICH011 จัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์สำนักงานวิชาการ 51,602 อุดหนุน

104 VICH012 ผลิตสื่อ/เอกสารประกอบการสอน/การสอบ 800,000 อุดหนุน


จัดซื้อจัดจ้างวัสอุปกรณ์สำนักงานทะเบียน
105 VICH013 วัดผล 50,000 อุดหนุน

106 VICH014 จัดซื้อเอกสารหลักฐานทางการศึกษา (ปพ.) 10,000 อุดหนุน


ประชุมผู้ปกครอง ครู นักเรียนที่มีผลการ ไม่ใช้
107 VICH015 เรียน 0 ร มผ มส งบประมาณ -

108 VICH016 พัฒนาบุคลากร 380,000 อุดหนุน


สัมมนาคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและ
109 VICH017 งานวิชาการ 70,000 อุดหนุน
ส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพ
110 VICH018 การศึกษา 7,500 อุดหนุน

111 VICH019 จัดทำคลังข้อสอบ 50,000 อุดหนุน

112 VICH0110 ชดเชยโครงการต่างๆ(สำรองจ่ายวิชาการ) 40,000 อุดหนุน

2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน งบประมาณ ประเภทเงิน

บำรุง
113 SMTE021 จัดการเรียนการสอนเสริมนักเรียนชั้นม.4 36,000 การศึกษา
ไม่ใช้
114 SMTE022 สอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ Toefl งบประมาณ -
71

2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน งบประมาณ ประเภทเงิน

บำรุง
115 SMTE023 โครงการติวเมเข้ามหาวิทยาลัย 61,500 การศึกษา
จัดซื้อหนังสือ วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ บำรุง
116 SMTE024 โสตทัศนูปกรณ์และอุปกรณ์ทางการศึกษา 50,000 การศึกษา
บำรุง
117 HSIP021 จัดการเรียนการสอนเสริมนักเรียนชั้นม.4 36,000 การศึกษา
บำรุง
118 HSIP022 สอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ Toefl 60,000 การศึกษา
บำรุง
119 HSIP023 โครงการติวเมเข้ามหาวิทยาลัย 61,500 การศึกษา
จัดซื้อหนังสือ วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ บำรุง
120 HSIP024 โสตทัศนูปกรณ์และอุปกรณ์ทางการศึกษา 50,000 การศึกษา
การเข้าร่วมประชุมทางวิชาการและการเข้าร่วม บำรุง
121 DPST021 แข่งขันของนักเรียน 24,000 การศึกษา
บำรุง
122 DPST022 กิจกรรมฝึกงานกับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ 139,880 การศึกษา
บำรุง
123 DPST023 กิจกรรมการสอนเสริมความรู้ 24,000 การศึกษา
จัดซื้อหนังสือ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ บำรุง
124 DPST024 โสตทัศนูปกรณ์และอุปกรณ์ทางการศึกษา 20,000 การศึกษา
บำรุง
125 UEP021 ติวเข้มนักเรียนชั้น ม.4-ม.6 90,000 การศึกษา
สอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังฤกษ บำรุง
126 UEP022 ระดับ ม.ปลาย 350,000 การศึกษา
บำรุง
127 UEP023 ประชาสัมพันธ์โครงการ EP ม.ปลาย 30,000 การศึกษา
ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศ EP ม. บำรุง
128 UEP024 ปลาย 72,000 การศึกษา
บำรุง
129 EP021 กิจกรรม Pre-Study Course 440,000 การศึกษา
กิจกรรมสอนซ่อมเสริมทางวิชาการ (Remedial บำรุง
130 EP022 Classes) 354,000 การศึกษา
ค่ายติวเข้มวิชาการ บำรุง
131 EP023 (Tutorial Classes) 401,520 การศึกษา
72

2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน งบประมาณ ประเภทเงิน

กิจกรรมทดสอบวัดความรู้ ทางภาษาอังกฤษ
(WU-TEP) บำรุง
132 EP024 นักเรียนชั้น ม.1 - 3 273,600 การศึกษา
กิจกรรมนักวิทย์ฯ ของนักเรียน ม.3 (One Day บำรุง
133 EP025 of Laboratory) 96,480 การศึกษา
กิจกรรมค่ายเตรียมความพร้อมทักษะ
กระบวนการทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บำรุง
134 SI_MA021 และเทคโนโลยี 210,000 การศึกษา
บำรุง
135 SI_MA022 กิจกรรมสอนเสริมทักษะทางวิชาการ 192,000 การศึกษา
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ บำรุง
136 SI_MA023 ทางการเรียน 90,000 การศึกษา
บำรุง
137 SI_MA024 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้านวิชาการ 30,000 การศึกษา
กิจกรรมวัดความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ บำรุง
138 SI_MA025 คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ 60,000 การศึกษา
บำรุง
139 KOR021 สอบวัดระดับภาษาเกาหลี 1,500 การศึกษา
กิจกรรมติวความรู้สู่การสอบวัดความรู้ บำรุง
140 JAP021 ภาษาญี่ปุ่น (JLPT) 50,000 การศึกษา
บำรุง
141 JAP022 กิจกรรมสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) 100,000 การศึกษา
บำรุง
142 JAP023 กิจกรรมเรียนวัฒนธรรมกับเจ้าของภาษา 10,000 การศึกษา
กิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนภาษาญี่ปุ่น ม. บำรุง
143 JAP024 4 15,000 การศึกษา
กิจกรรมติวความรู้สู่การสอบวัดความรู้ภาษาจีน บำรุง
144 CHIN021 (HSK/HSKK) 50,000 การศึกษา
บำรุง
145 CHIN022 กิจกรรมสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK/HSKK) 100,000 การศึกษา
บำรุง
146 CHIN023 กิจกรรมสนุกด้วยวัฒนธรรมจีน 10,000 การศึกษา
บำรุง
147 CHIN024 กิจกรรมคลีนิกภาษาจีน 10,000 การศึกษา
73

2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน งบประมาณ ประเภทเงิน

บำรุง
148 CHIN025 กิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนภาษาจีน ม.4 25,000 การศึกษา
กิจกรรมติวความรู้สู่การสอบวัดความรู้ภาษา ไม่ใช้
149 FRA021 ฝรั่งเศส (Delf A1,A2) งบประมาณ -
กิจกรรมสอบวัดระดับภาษาฝรั่งเศส (Delf บำรุง
150 FRA022 A1,A2) 8,000 การศึกษา
กิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนภาษาฝรั่งเศส บำรุง
151 FRA023 ม.4 12,000 การศึกษา
ไม่ใช้
THA021 พัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระภาษาไทย
152 งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA022 กิจกรรมจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
153 งบประมาณ -
THA023 กิจกรรมติว ม.3
154 2,000 อุดหนุน
THA024 กิจกรรม ติว ม.6
155 2,000 อุดหนุน
ไม่ใช้
THA025 กิจกรรมสอนซ่อมเสริม
156 งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA026 กิจกรรมชุมนุม
157 งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA027 จัดเก็บข้อมูลวัดผลประเมินผล
158 งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA028 การนิเทศการสอน
159 งบประมาณ -
กิจกรรมสอนซ่อมเสริมภาษาอังกฤษตาม ไม่ใช้
ENG021
160 กระบวนการ PLC งบประมาณ -
กิจกรรมยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน "โครงการพี่
ENG022
161 สอนน้อง" 3,000
กิจกรรมสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ ไม่ใช้
ENG023
162 เทียบเคียงมาตรฐานสากล ม.3 และ ม.6 งบประมาณ -
ENG024 กิจกรรมพัฒนาภาษาอังกฤษ CEFR
163 3,000 อุดหนุน
ไม่ใช้
164 MAT021 สอนซ่อมเสริม งบประมาณ -
74

2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน งบประมาณ ประเภทเงิน

ไม่ใช้
165 MAT022 ชุมนุมทางคณิตศาสตร์ งบประมาณ -

166 SCI021 กิจกรรมพัฒนาหลักสูตร 5,000 อุดหนุน


กิจกรรมจัดการเรียนการสอน ตารางสอน ห้อง ไม่ใช้
167 SCI022 วิชา งบประมาณ -

168 SCI023 กิจกรรมจัดหาสื่ออุปกรณ์ทางการศึกษา 69,527 อุดหนุน


ไม่ใช้
169 SCI024 กิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ งบประมาณ -
ไม่ใช้
170 SCI025 กิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ งบประมาณ -
ไม่ใช้
171 SCI026 กิจกรรมการวัดผลประเมินผลการเรียน งบประมาณ -

172 SOC021 กิจกรรมติว เติม เต็ม 12,000 อุดหนุน


ไม่ใช้
173 SOC022 กิจกรรมสอน ซ่อม เสริม งบประมาณ -
ไม่ใช้
174 PE021 พัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬา งบประมาณ -
กีฬาจตุรมิตรเบญจมราชูทิศแห่งประเทศไทย ไม่ใช้
175 PE022 ครั้งที่ 11 งบประมาณ -
ไม่ใช้
176 PE023 กีฬาฟุตบอลจจตุรมิตร ครั้งที่ 4 งบประมาณ -

177 ARTA021 ศิลปกรรมสู่โรงเรียน 6,000 อุดหนุน

178 ARTA022 สอนซ่อมเสริม 1,000 อุดหนุน


AGR021 จัดการเรียนการสอนวิชางานเกษตร ม.3, ม.6
179 10,000 อุดหนุน
AGR022 แปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์พอเพียง
180 9,000 อุดหนุน
AGR023 จัดการเรียนการสอนวิชาการแปรรูปสมุนไพร
181 7,500 อุดหนุน
75

2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน งบประมาณ ประเภทเงิน

AGR024 เรียนรู้สู่อาชีพ ไม่ใช้


182 งบประมาณ -
กิจกรรมจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับการจัดการ
183 FOOD021 เรียนการสอน 44,000 อุดหนุน
กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่ม ไม่ใช้
184 FOOD022 วิชาคหกรรม งบประมาณ -
ไม่ใช้
185 BUS021 แข่งขันทักษะทางวิชาการ งบประมาณ -
186 BUS022 เชิญวิทยากรให้ความรู้ 5,000 อุดหนุน
ไม่ใช้
187 RES021 ปฐมนิทเศการใช้ห้องสมุด งบประมาณ -
วิชา l21201,121202 วิชา l31201, ไม่ใช้
188 RES022 131202 งบประมาณ -
ไม่ใช้
189 RES023 นำเสนอเวทีศักยภาพผู้เรียน งบประมาณ -

190 CON021 กิจกรรมทุนการศึกษาประจำปี 13,000 อุดหนุน


ไม่ใช้
191 CON022 กิจกรรมทุนปัจจัยพื้นฐาน งบประมาณ -
ไม่ใช้
192 CON023 กิจกรรมกองทุนกู้ยืมเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา งบประมาณ -
กิจกรรม
พัฒนา
193 VICH021 ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชั้น ม.3 50,000 ผู้เรียน
กิจกรรม
พัฒนา
194 VICH022 เติมความรู้มุ่งสู่การศึกษาต่อ 58,800 ผู้เรียน
ไม่ใช้
195 VICH023 เตรียมความพร้อมสู่รั้วขาวแดง (งบกลาง ผอ.) งบประมาณ -
กิจกรรม
พัฒนา
196 VICH024 กิจกรรมชุมนุม 114,360 ผู้เรียน
76

2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน งบประมาณ ประเภทเงิน

กิจกรรม
พัฒนา
197 VICH025 กิจกรรม บ.ม. 30,000 ผู้เรียน
กิจกรรม
กิจกรรมสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษเทียบเคียง พัฒนา
198 VICH026 มาตรฐานสากล ม.3 และ ม.6 91,200 ผู้เรียน

3 โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศ งบประมาณ ประเภทเงิน

วันวิชาการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ เครือข่าย บำรุง


199 SMTE031 ภาคใต้ตอนบน 100,000 การศึกษา
บำรุง
200 SMTE032 อบรมฟิสิกส์สัปยุทธ์และเข้าร่วมการแข่งขัน 70,000 การศึกษา
บำรุง
201 SMTE033 โครงการสอนเสริม สอวน. 64,000 การศึกษา
บำรุง
202 SMTE034 ประกวดโครงงานเครือข่ายภาคใต้ตอนบน ม.5 20,000 การศึกษา
บำรุง
203 SMTE035 ค่ายคณิตศาสตร์ 110,000 การศึกษา
บำรุง
204 SMTE036 อบรมโปรแกรม Tracker 20,000 การศึกษา
บำรุง
205 SMTE037 ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ 77,300 การศึกษา
ฝึกงานกับนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนา
ศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ระดับชั้น บำรุง
206 HSIP031 มัธยมศึกษาปีที่ 5 132,800 การศึกษา
บำรุง
207 HSIP032 โครงการสอนเสริม สอวน. 64,000 การศึกษา
นำเสนองานวิจัยในงานประชุมวิชาการ ระดับ บำรุง
208 HSIP033 นานาชาติ 418,800 การศึกษา
77

3 โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศ งบประมาณ ประเภทเงิน

บำรุง
209 HSIP034 ค่ายคณิตศาสตร์ 110,000 การศึกษา
บำรุง
210 HSIP035 ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ 50,000 การศึกษา
บำรุง
211 DPST031 กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์บูรณาการเชิง STEM 171,500 การศึกษา
บำรุง
212 DPST032 กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ 30,000 การศึกษา
บำรุง
213 DPST033 กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ 108,000 การศึกษา
บำรุง
214 DPST034 กิจกรรม Robotic Camp 33,000 การศึกษา
บำรุง
215 DPST035 กิจกรรม Al Camp 50,000 การศึกษา
บำรุง
216 DPST036 กิจกรรม Innobation Camp 50,000 การศึกษา
บำรุง
217 DPST037 กิจกรรมการสอบ สอวน. 3,000 การศึกษา
บำรุง
218 DPST038 กิจกรรมการสอบ สอวน. 45,000 การศึกษา
บำรุง
219 DPST039 คลีนิควิชาการ(ส่งเสริมความเป็นเลิศ) 33,000 การศึกษา
บำรุง
220 UEP031 แข่งขันทักษะทางวิชาการ 50,000 การศึกษา
บำรุง
221 UEP032 Southern EP/MEP Open House 180,000 การศึกษา
กิจกรรมแข่งขันทักษะภาษา อังกฤษ Southern บำรุง
222 EP031 EP/MEP Open House 2022 131,200 การศึกษา
บำรุง
223 EP032 กิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ 100,000 การศึกษา
กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต ด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ บำรุง
224 EP033 (Skills of Life) 786,300 การศึกษา
กิจกรรมค่ายไมโครคอนโทรลเลอร์และนวัตกรรม บำรุง
225 SI_MA031 อัจฉริยะ 55,000 การศึกษา
78

3 โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศ งบประมาณ ประเภทเงิน

บำรุง
226 SI_MA032 กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ 472,000 การศึกษา
บำรุง
227 SI_MA033 กิจกรรมค่ายคอมพิวเตอร์ 132,300 การศึกษา
บำรุง
228 SI_MA034 กิจกรรมปฏิบัติการฟิสิกส์ขั้นสูงและพลังงานทดแทน 68,400 การศึกษา
กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ บำรุง
229 SI_MA035 วัฒนธรรม ณ ประเทศเกาหลี 40,000 การศึกษา
บำรุง
230 KOR031 มหกรรมภาษาเกาหลี 5,000 การศึกษา
ไม่ใช้
231 KOR032 แข่งขันทักษะภาษาเกาหลี (ภายนอก) งบประมาณ -
บำรุง
232 JAP031 กิจกรรมมหกรรมภาษาญี่ปุ่น 15,000 การศึกษา
บำรุง
233 JAP032 กิจกรรมแข่งขันทักษาะภาษาญี่ปุ่น (ภายนอก) 20,000 การศึกษา
บำรุง
234 CHIN031 กิจกรรมมหกรรมภาษาจีน 30,000 การศึกษา
บำรุง
235 CHIN032 กิจกรรมแข่งขันทักษะภาษาจีน (ภายนอก) 50,000 การศึกษา
กิจกรรมการแข่งขันทักษะภาษาจีนโรงเรียนเครือข่ายฯ ไม่ใช้
236 CHIN033 สพม. งบประมาณ -
บำรุง
237 FRA031 กิจกรรมมหกรรมภาษาฝรั่งเศส 10,000 การศึกษา
บำรุง
238 FRA032 กิจกรรมแข่งขันทักษาะภาษาฝรั่งเศส (ภายนอก) 10,000 การศึกษา
ไม่ใช้
THA031 กิจกรรมแข่งขันทักษะภาษาไทยกับหน่วยงานภายนอก
239 งบประมาณ -
THA032 วันสุนทรภู่
240 3,200 อุดหนุน
THA033 วันภาษาไทย/เฟ้นช้างเผือกเลือกต้นกล้าภาษาไทย
241 13,000 อุดหนุน
THA034 วันแม่
242 2,400 อุดหนุน
79

3 โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศ งบประมาณ ประเภทเงิน

THA035 โต้วาทีวิดิชั่น
243 3,900 อุดหนุน
THA036 การพูดเชิงสร้างสรรค์
244 2,400 อุดหนุน
THA037 กิจกรรมกลุ่มสาระภาษาไทย
245 2,400 อุดหนุน
ไม่ใช้
ENG031 กิจกรรมสอบคัดเลือกนักเรียนแลกเปลี่ยน
246 งบประมาณ -
ENG032 กิจกรรมแข่งขันทักษะ B.M. CROSSWORD GAMES
247 3,000 อุดหนุน
ENG033 กิจกรรมแข่งขันทักษะ B.M. SPELLING BEE 2022
248 3,000 อุดหนุน
ENG034 กิจกรรม "โครงการประกวด Content Creator"
249 2,000 อุดหนุน
ไม่ใช้
ENG035 กิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการ
250 งบประมาณ -
ไม่ใช้
ENG036 กิจกรรมคัดเลือกและฝึกซ้อมนักเรียนก่อนการแข่งขัน
251 งบประมาณ -
ไม่ใช้
252 MAT031 แข่งขันทักษะทางวิชาการ งบประมาณ -
ไม่ใช้
253 MAT032 แข่งขันการสร้างชิ้นงานโดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ งบประมาณ -
ไม่ใช้
254 MAT033 โอลิมปิกวิชาการ งบประมาณ -
ไม่ใช้
255 SCI031 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ งบประมาณ -
ไม่ใช้
256 SCI032 กิจกรรมการประกวด/แข่งขันทางวิทยาศาสตร์ งบประมาณ -

257 SCI033 กิจกรรมสัปดาห์ทางวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน 5,000 อุดหนุน


ไม่ใช้
258 SCI034 กิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศโอลิมปิกวิชาการ งบประมาณ

259 SOC031 กิจกรรมติวเข้ม ภูมิศาสตร์โอลิมปิก 4,000 อุดหนุน


80

3 โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศ งบประมาณ ประเภทเงิน

260 SOC032 กิจกรรมแข่งขันทักษะวิชาการ 3,000 อุดหนุน

261 SOC033 กิจกรรมแข่งขันความรู้ทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ 3,400 อุดหนุน


ไม่ใช้
262 ARTA031 แข่งขันทักษะทางวิชาการ งบประมาณ -
ไม่ใช้
263 ARTA032 แข่งขันศิลปะสัญจร งบประมาณ -
AGR031 แข่งขันทักษะงานมัธยมศึกษา ไม่ใช้
264 งบประมาณ -
AGR032 แข่งขันทักษะภายในกลุ่มสาระฯ ไม่ใช้
265 งบประมาณ -
ไม่ใช้
266 FOOD031 กิจกรรมแข่งขันทักษะวิชาชีพคหกรรม งบประมาณ -
ไม่ใช้
267 RES031 ยุวบรรณารักษ์ส่งเสริมการอ่าน งบประมาณ -
268 RES032 สัปดาห์ห้องสมุด 9,000 อุดหนุน

269 CON031 กิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา YC 1,000 อุดหนุน

270 CON032 กิจกรรมเปิดโลกทัศน์การศึกษาต่อและอาชีพ 1,000 อุดหนุน

271 CON033 กิจกรรมพี่พบน้องร่วมสานฝันอนาคต 1,000 อุดหนุน


ไม่ใช้
272 CON034 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ งบประมาณ -
กิจกรรม
พัฒนา
273 VICH031 การแข่งขันทักษะทางวิชาการ 700,000 ผู้เรียน
กิจกรรม
พัฒนา
274 VICH032 การแข่งขันทักษะด้านกีฬา 110,000 ผู้เรียน
กิจกรรม
พัฒนา
275 VICH033 การแข่งขันทักษะด้านดนตรี 95,000 ผู้เรียน
81

4 โครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ งบประมาณ ประเภทเงิน

บำรุง
276 SMTE041 สานสัมพันธ์น้อง -พี่ ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ 15,000 การศึกษา
บำรุง
277 SMTE042 ศึกษาดูงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 14,000 การศึกษา
บำรุง
278 SMTE043 ค่ายวิทยาศาสตร์รวมเครือข่ายภาคใต้ตอนบน 100,000 การศึกษา
บำรุง
279 SMTE044 สานสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง (Prom night) 50,000 การศึกษา
บำรุง
280 SMTE045 กิจกรรมจิตอาสา 12,000 การศึกษา
ไม่ใช้
281 SMTE046 ค่ายวิทยาศาสตร์/ดาราศาสตร์ งบประมาณ -
ไม่ใช้
282 SMTE047 ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างประเทศ งบประมาณ -
ไม่ใช้
283 SMTE048 ค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเล งบประมาณ -
บำรุง
284 HSIP041 สานสัมพันธ์น้อง -พี่ ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ 15,000 การศึกษา
บำรุง
285 HSIP042 ศึกษาดูงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 14,000 การศึกษา
แนะแนวการศึกษาต่อจากรุ่นพี่ ห้องเรียนพิเศษ บำรุง
286 HSIP043 วิทยาศาสตร์สุขภาพ 26,000 การศึกษา
บำรุง
287 HSIP044 สานสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง 50,000 การศึกษา
บำรุง
288 HSIP045 ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างประเทศ 726,000 การศึกษา
ฝึกงานในโรงพยาบาล ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ บำรุง
289 HSIP046 สุขภาพ 86,000 การศึกษา
บำรุง
290 HSIP047 กิจกรรมจิตอาสา 25,000 การศึกษา
บำรุง
291 HSIP048 ต้นกล้าคุณธรรม 75,000 การศึกษา
82

4 โครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ งบประมาณ ประเภทเงิน

บำรุง
292 HSIP049 อบรมเชิงปฏิบัติการ Kid bright สู่นวัตกรรม 46,000 การศึกษา
บำรุง
293 HSIP0410 ค่าย Soft skills ทักษะแห่งอนาคต 142,500 การศึกษา
กิจกรรมปฐมนิเทศแนะแนวการศึกษาต่อและเส้นทาง บำรุง
294 DPST041 อาชีพ 14,000 การศึกษา
บำรุง
295 DPST042 กิจกรรมบริการวิชาการ/จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ 23,000 การศึกษา
บำรุง
296 DPST043 กิจกรรมอบรมและฝึกซ้อมฟิสิกส์สัประยุทธ์ 55,000 การศึกษา
บำรุง
297 DPST044 กิจกรรมการประชุมวิชาการ พสวท. 55,800 การศึกษา
บำรุง
298 DPST045 กิจกรรมสานสัมพันธ์ฉันน้องพี่ 90,000 การศึกษา
บำรุง
299 UEP041 สานสัมพันธ์น้องพี่ EP/MER ม.ปลาย 40,000 การศึกษา
บำรุง
300 UEP042 ค่ายวิชาการ "แบ่งปันความรู้สู่น้อง" 10,000 การศึกษา
บำรุง
301 UEP043 อำลาสถาบัน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 120,000 การศึกษา
บำรุง
302 UEP044 เรียนรู้วัฒนธรรมเทศกาลและวันสำคัญ 40,000 การศึกษา
บำรุง
303 UEP045 ค่ายภาษาอังกฤษศึกษาแหล่งเรียนรู้ ม.4 800,000 การศึกษา
บำรุง
304 UEP046 ค่ายภาษาอังกฤษศึกษาแหล่งเรียนรู้ ม.5 1,200,000 การศึกษา
บำรุง
305 UEP047 เสริมสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียน ม.4-ม.6 100,000 การศึกษา
บำรุง
306 UEP048 ค่ายคุณธรรม จริยธรรมและสุขภาพจิต 50,000 การศึกษา
บำรุง
307 UEP049 UEP คลินิกสุขภาพ (UEP Health Clinic) 10,000 การศึกษา
บำรุง
308 EP041 กิจกรรมกำแพงใจ "Sharing Wall" 18,800 การศึกษา
83

4 โครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ งบประมาณ ประเภทเงิน

กิจกรรมค่ายธรรมะ เด็กเบญฯ วัยใส ใจสะอาด บำรุง


309 EP042 (Dhama Camp) 111,000 การศึกษา
บำรุง
310 EP043 กิจกรรม EP Spirit Cub 57,900 การศึกษา
บำรุง
311 EP044 กิจกรรมเชื่อมสายใย น้อง-พี่ EP ม.1 - ม.3 59,800 การศึกษา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
หูดี – หูหนวก (Charity for the Deaf School) ม.2 บำรุง
312 EP045 ภาคเรียนที่ 2 34,980 การศึกษา
กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน (One day of บำรุง
313 EP046 mangrove Deforestation) ม.2 ภาคเรียนที่ 1 38,980 การศึกษา
กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน(One day of Local บำรุง
314 EP047 Wisdom) ม.3 ภาคเรียนที่ 1 70,620 การศึกษา
กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน(Botanical Garden บำรุง
315 EP048 & Dining Etiquette) ม.1 ภาคเรียนที่ 2 82,520 การศึกษา
กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน(Beach Bonfire) ม. บำรุง
316 EP049 3 ภาคเรียนที่ 2 196,560 การศึกษา
กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ วิทย์ฯ และคณิตฯ บำรุง
317 EP0410 (English Science & Maths Camp) ม.1 1,019,040 การศึกษา
กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้
นอกห้องเรียน ณ ประเทศมาเลเซีย-สิงคโปร์ บำรุง
318 EP0411 (Malaysia-Singapore Tour) ม.2 2,164,800 การศึกษา
กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ณ ภาค บำรุง
319 EP0412 กลาง – ภาคเหนือ (Historical Tour) ม.3 1,518,000 การศึกษา
กิจกรรมเรียนรู้วันสำคัญ เทศกาล และวัฒนธรรม
สากล บำรุง
320 EP0413 (Cross Cultural International) 50,000 การศึกษา
บำรุง
321 EP0414 กิจกรรมนวัตกรรุ่นเยาว์ (Innovator) ม.1 126,400 การศึกษา
กิจกรรมเรียนรู้ต่างแดน (EP Oversea Camp บำรุง
322 EP0415 2022) 22,000 การศึกษา
กิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโครงการ EP
(ห้องเรียนภาษาอังกฤษ/ คณิต/สังคมฯ/ภาษาจีน/ห้อง บำรุง
323 EP0416 ดนตรี/ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์) 400,000 การศึกษา
84

4 โครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ งบประมาณ ประเภทเงิน

บำรุง
324 EP0417 งานบำรุงรักษาอาคาร ภูมิทัศน์และยานพาหนะ 500,000 การศึกษา
บำรุง
325 SI_MA041 กิจกรรมค่ายส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 52,000 การศึกษา
บำรุง
326 SI_MA042 กิจกรรมสร้างบ้านปูบ้านปลาพื้นฟูป่าชายเลน 45,000 การศึกษา
บำรุง
327 SI_MA043 กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม 450,000 การศึกษา
บำรุง
328 SI_MA044 กิจกรรมค่ายบูรณาการ 1,365,000 การศึกษา
กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ บำรุง
329 SI_MA045 คณิตศาสตร์ในต่างประเทศ 1,950,000 การศึกษา
บำรุง
330 SI_MA046 กิจกรรมจิตอาสา 5,000 การศึกษา
บำรุง
331 SI_MA047 กิจกรรมปัจฉิมนิเทศโครงการ SMTP 78,000 การศึกษา
บำรุง
332 SI_MA048 กิจกรรมสานสัมพันธ์น้อง - พี่ SMTP 60,800 การศึกษา
บำรุง
333 SI_MA049 กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต 786,300 การศึกษา
บำรุง
334 SI_MA0410 กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ห้องสมุดโครงการ SMTP 36,000 การศึกษา
บำรุง
335 KOR041 ค่ายภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี 5,000 การศึกษา
บำรุง
336 JAP041 กิจกรรมค่ายนักเรียนภาษาญี่ปุ่น 80,000 การศึกษา
กิจกรรมสัมผัสแดนซากุระ เรียนรู้สื่อสารอย่างชาว บำรุง
337 JAP042 ญี่ปุ่น 500,000 การศึกษา
บำรุง
338 JAP043 กิจกรรมค่ายภาคใต้ตอนบน/ค่ายซากุระภาคใต้ 15,000 การศึกษา
บำรุง
339 JAP044 กิจกรรมสานสัมพันธ์น้องพี่ภาษาญี่ปุ่น 10,000 การศึกษา
บำรุง
340 JAP045 กิจกรรมภาษาญี่ปุ่นสู่ชุมชน 5,000 การศึกษา
85

4 โครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ งบประมาณ ประเภทเงิน

กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการห้องเรียนพิเศษ บำรุง
341 JAP046 ภาษาญี่ปุ่น 10,000 การศึกษา
บำรุง
342 CHIN041 กิจกรรมยุวมัคคุเทศน์น้อยภาษาจีน 180,000 การศึกษา
บำรุง
343 CHIN042 กิจกรรมสัมผัสแดนมังกร เรียนรู้สื่อสารอย่างชาวจีน 767,480 การศึกษา
บำรุง
344 CHIN043 กิจกรรม ม.ครูกว่างซี ตามข้อตกลง MOU 10,000 การศึกษา
บำรุง
345 CHIN044 กิจกรรมสานสัมพันธ์พี่น้อง ภาษาจีน 20,000 การศึกษา
บำรุง
346 CHIN045 กิจกรรมภาษาจีนสู่ชุมชน ม.5 10,000 การศึกษา
กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการห้องเรียนพิเศษ บำรุง
347 CHIN046 ภาษาจีน 20,000 การศึกษา
ไม่ใช้
348 FRA041 กิจกรรมค่ายนักเรียนห้องเรียนพิเศษภาษาฝรั่งเศส งบประมาณ -
บำรุง
349 FRA042 กิจกรรมสานสัมพันธ์พี่น้องภาษาฝรั่งเศส 5,000 การศึกษา
กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการห้องเรียนพิเศษภาษา บำรุง
350 FRA043 ฝรั่งเศส 5,000 การศึกษา
THA041 กิจกรรมห้องสมุด กลุ่มสาระฯ
351 5,000 อุดหนุน
THA042 คัดเลือกยอดนักอ่าน
352 5,400 อุดหนุน
THA043 ป้ายนิเทศ
353 500 อุดหนุน
ไม่ใช้
THA044 เพจ Fac book กลุ่มสาระฯภาษาไทย
354 งบประมาณ -
THA045 ค่ายภาษาไทย ม.ต้น
355 2,000 อุดหนุน
THA046 ค่ายภาษาไทย ม.ปลาย
356 2,000 อุดหนุน
ไม่ใช้
THA047 ค่ายนักเรียนชุมนุมภาษาไทย
357 งบประมาณ -
86

4 โครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ งบประมาณ ประเภทเงิน

ไม่ใช้
THA048 ปรับปรุงห้องเรียนอาคาร 1 ห้อง
358 งบประมาณ -
ปรับปรุงเทคโนโลยี/สื่อการเรียนการสอนภายใน ไม่ใช้
THA049
359 ห้องเรียน งบประมาณ -
ENG041 กิจกรรมจัดป้ายนิเทศทางภาษา
360 1,000 อุดหนุน
กิจกรรมทดสอบวัดความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษและ ไม่ใช้
ENG042
361 รับเยรติบัตรออนไลน์ งบประมาณ -
ไม่ใช้
ENG043 กิจกรรมค่ายวิชาการภาษาอังกฤษ ม.ต้น
362 งบประมาณ -
ไม่ใช้
ENG044 กิจกรรมค่ายศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่างประเทศ
363 งบประมาณ -
ไม่ใช้
ENG045 กิจกรรมค่ายศึกษาแหล่งเรียนรู้ในประเทศ
364 งบประมาณ -
ไม่ใช้
ENG046 กิจกรรม "Enlish B.M. Saring"
365 งบประมาณ -

366 MAT041 ค่ายคณิตศาสตร์ ม.1 3,000 อุดหนุน

367 MAT042 ค่ายศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียนกับคณิตศาสตร์ 3,000 อุดหนุน


ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
368 MAT043 และเทคโนโลยีของนักเรียน ม.ปลาย 3,000 อุดหนุน
ค่ายคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์(ห้องเรียนพิเศษและ ไม่ใช้
369 MAT044 ห้องเรียนคู่ขนาน) งบประมาณ -
ไม่ใช้
370 SCI041 กิจกรรมจัดบอร์ด ข่าวสาร ความรู้ งบประมาณ -
ไม่ใช้
371 SCI042 กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ม.ต้น และม.ปลาย งบประมาณ -

372 SCI043 กิจกรรมศึกษาดูงาน/ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ 6,000 อุดหนุน

373 SCI044 กิจกรรมการสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ 3,000 อุดหนุน


ไม่ใช้
374 SOC041 กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้และวัฒนธรรม งบประมาณ -
87

4 โครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ งบประมาณ ประเภทเงิน

375 SOC042 กิจกรรมทำบุญตักบาตร 3,000 อุดหนุน

376 SOC043 กิจกรรมสืบสานประเพณีให้ทานไฟ 4,800 อุดหนุน

377 SOC044 กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา 3,000 อุดหนุน


ไม่ใช้
378 SOC045 กิจกรรมธนาคารโรงเรียน งบประมาณ -
กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้อาหารและวัฒนธรรม
379 SOC046 เกี่ยวกับอาหารตะวันตก 4,800 อุดหนุน

380 SOC047 กิจกรรมวันอาเซียน(Asean Day) 3,000 อุดหนุน


ไม่ใช้
381 PE041 ผู้นำความเป็นเลิศด้านกีฬา งบประมาณ -

382 ARTA041 ค่ายศิลปะ 5,000 อุดหนุน

383 ARTA042 ประวัติศาสตร์ศิลปะเมืองนครศรีฯ 10,000 อุดหนุน


AGR041 จัดนิทรรศการความรู้ ไม่ใช้
384 งบประมาณ -
AGR042 จัดมุมความรู้
385 2,000 อุดหนุน
AGR043 ชุมนุมการเกษตร ไม่ใช้
386 งบประมาณ -
AGR044 ศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ใช้
387 งบประมาณ -

388 FOOD041 กิจกรรมจัดมุมความสู่กลุ่มวิชาคหกรรม 1,000 อุดหนุน


ไม่ใช้
389 FOOD042 กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น งบประมาณ -
ไม่ใช้
390 BUS031 กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น งบประมาณ -
391 RES041 กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน 3,000 อุดหนุน
392 RES042 จัดบรรยากาศภายในห้องสมุด 3,000 อุดหนุน
88

4 โครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ งบประมาณ ประเภทเงิน

ไม่ใช้
393 RES043 ค่ายห้องสมุดสัญจร งบประมาณ -

394 CON041 กิจกรรมทัวร์มหาวิทยาลัย 1,000 อุดหนุน

395 CON042 กิจกรรมฝึกประสบการณ์เพื่อการศึกกษาและอาชีพ 1,000 อุดหนุน

396 CON043 กิจกรรมพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต 1,000 อุดหนุน


กิจกรรม
พัฒนา
397 VICH041 ค่ายวิชาการ 450,000 ผู้เรียน

398 VICH042 สวนพฤกษาศาสตร์ 5,000 อุดหนุน


กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาดชาด และผู้บำเพ็ญ
399 VICH043 ประโยชน์ 216,000 อุดหนุน

5 โครงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน งบประมาณ ประเภทเงิน

บำรุง
400 SMTE051 ฝึกงานกับนักวิจย/นักวิทยาศาสตร์ ม.4 105,000 การศึกษา
บำรุง
401 SMTE052 อบรมพัฒนาทักษะการทำวิจัย ม.4 32,700 การศึกษา
ไม่ใช้
402 SMTE053 จัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ ม.4 งบประมาณ -
ไม่ใช้
403 SMTE054 จัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ ม.5 งบประมาณ -
อบรมพัฒนาทักษะการทำวิจัยนักเรียนห้องเรียน บำรุง
404 HSIP051 วิทยาศ่สตร์สุขภาพ 104,500 การศึกษา
89

5 โครงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน งบประมาณ ประเภทเงิน

จัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ ห้องเรียน บำรุง


405 HSIP052 พิเศษวิทยาศาสตร์สุขภาพ 285,000 การศึกษา
ฝึกงานกับนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนา บำรุง
406 HSIP053 ศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ 105,000 การศึกษา
บำรุง
407 HSIP054 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการวิทยาศาสตร์ 103,400 การศึกษา
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะเพื่อเตรียมความ บำรุง
408 DPST051 พร้อมในการทำวิจัย 31,650 การศึกษา
บำรุง
409 DPST052 อบรมการใช้โปรแกรม Tracker 4,550 การศึกษา
บำรุง
410 DPST053 การนำเสนอและการเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ 22,000 การศึกษา
โครงการการสร้างสื่อนวัตกรรมเพื่อใช้ในการจัดการ บำรุง
411 UEP51 เรียนรู้ แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Active learning) 8,064 การศึกษา
กิจกรรมพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน ใน บำรุง
412 EP051 ศตวรรษที่ 21 100,000 การศึกษา
กิจกรรมพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ บำรุง
413 EP052 (Process of Science) 100,000 การศึกษา
กิจกรรมละครพื้นบ้านไทย (Thai Historical Plays) บำรุง
414 EP053 ม.2 47,200 การศึกษา
กิจกรรมการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ บำรุง
415 SI_MA051 คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 15,000 การศึกษา
บำรุง
416 SI_MA052 กิจกรรมพัฒนาครูสู่นวัตกรรม 20,000 การศึกษา
บำรุง
417 JAP051 การเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย 5,000 การศึกษา
บำรุง
418 CHIN051 กิจกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการเรียนภาษาจีน 20,000 การศึกษา
ไม่ใช้
419 FRA051 กิจกรรมเรียนภาษาฝรั่งเศสด้วยนวัตกรรม งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA051 กิจกรรมพัฒนาครูสู่นวัตกรรม
420 งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA052 ครู 1 คน 1 นวัตกรรม
421 งบประมาณ -
90

5 โครงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน งบประมาณ ประเภทเงิน

ไม่ใช้
THA053 นักเรียน 1 คน 1 นวัตกรรม
422 งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA054 การประกวดสื่อ/นวัตกรรม
423 งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA055 การทำวิจัยชั้นเรียน
424 งบประมาณ -
ไม่ใช้
THA056 กิจกรรมห้องเรียนออนไลน์
425 งบประมาณ -
ไม่ใช้
ENG051 กิจกรรมห้องเรียนออนไลน์วิชาภาษาอังกฤษ
426 งบประมาณ -
ไม่ใช้
ENG052 กิจกรรมพี่ครู1 คน 1 นวัตกรรมนำสู่ชั้นเรียน
427 งบประมาณ -
พัฒนาครูสู่นวัตกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อยกระดับ ไม่ใช้
428 MAT051 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน งบประมาณ -
เพิ่มพูนศักยภาพของครูด้านการสร้างนวัตกรรมและ
429 SCI051 การวิจัยเพื่อใช้เป็นประเด็นท้าท้าย 5,000 อุดหนุน
กิจกรรมการประดิษฐ์นวัตกรรมของนักเรียนจากวัสดุ
430 SCI052 เหลือใช้ในท้องถิ่น 5,000 อุดหนุน
ไม่ใช้
431 SOC051 กิจกรรมห้องเรียนออนไลน์ งบประมาณ -
ไม่ใช้
432 SOC052 กิจกรรมหนึ่งครูหนึ่งนวัตกรรม งบประมาณ -
การดำน้ำเบื้องต้น หลักสูตรพื้นฐาน OPEN WATER ไม่ใช้
433 PE051 DRIVE งบประมาณ -

434 ARTA051 ประติมากรรม 3 มิติ 7,000 อุดหนุน


AGR051 กิจกรรม PLC ไม่ใช้
435 งบประมาณ -
AGR052 ห้องเรียนออนไลน์ ไม่ใช้
436 งบประมาณ -
AGR053 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ไม่ใช้
437 งบประมาณ -
AGR054 จัดทำสื่อการสอน ไม่ใช้
438 งบประมาณ -
91

5 โครงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน งบประมาณ ประเภทเงิน

กิจกรรมพัฒนาครูสู่นวัตกรรมการสอนด้วย
439 FOOD051 อิเล็กทรอนิกส์ 2,000 อุดหนุน

440 FOOD052 กิจกรรมห้องเรียนออนไลน์กลุ่มวิชาคหกรรม 3,000 อุดหนุน


กิจกรรมพัฒนาครูสู่นวัตกรรมการสอนด้วย
441 BUS041 อิเล็กทรอนิกส์ 5,000 อุดหนุน
ไม่ใช้
442 RES051 ห้องเรียนออนไลน์ งบประมาณ -
ไม่ใช้
443 RES052 หนึ่งครูหนึ่งนวัตกรรม งบประมาณ -
ไม่ใช้
444 CON051 กิจกรรมศึกษาดูงาน/นิเทศสัญจร งบประมาณ -
ไม่ใช้
445 CON052 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพครูแนะแนว งบประมาณ -
ไม่ใช้
446 CON053 กิจกรรมพัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนรู้ งบประมาณ -

447 VICH051 พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา 200,000 อุดหนุน

448 VICH052 สนับสนุนสื่อเทคโนโลยี 230,000 อุดหนุน


ไม่ใช้
449 VICH061 การสอบแข่งขันวัดความรู้ ป.6 และ ม.3 งบประมาณ -
กิจกรรม
พัฒนา
450 VICH062 ต้นกล้า บ.ม. 10,000 ผู้เรียน
ไม่ใช้
451 VICH063 จัดสอบองค์กรภายนอก งบประมาณ -
ไม่ใช้
452 VICH064 จัดสอบองค์ในองค์กรและภายนอกองค์กร งบประมาณ -
92

ไม่ใช้
6 โครงการส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากร งบประมาณ -
ไม่ใช้
7 โครงการส่งเสริมศักยภาพฝ่ายบริการ ครู และบุคลากรด้านวิจัย งบประมาณ -
บำรุง
8 โครงการงานจัดซื้อวัสดุสำนักงาน 330,316 การศึกษา
บำรุง
9 โครงการบริหารงานนโยบายและแผน 50,000 การศึกษา
บำรุง
10 โครงการรับนักรียน 300,000 การศึกษา
บำรุง
11 โครงการจัดซื้อจัดซ่อมวัสดุสำนักงานประชาสัมพันธ์ 25,000 การศึกษา
บำรุง
12 โครงการจัดทำหนังสือบ้านกับโรงเรียน 5,000 การศึกษา
บำรุง
13 โครงการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เชิดชูเกียรติบุคลากรและโรงเรียน 120,000 การศึกษา

14 โครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ประเภทงบ
ไม่ใช้
453 SCH011 ค่ายคุณธรรม จริยธรรม งบประมาณ -
ไม่ใช้
454 SCH012 กิจกรรมจิตอาสา ปลูกป่า รักษาสิ่งแวดล้อม ม.3 งบประมาณ -
ไม่ใช้
455 SCH013 กิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม งบประมาณ -
456 SCH014 กิจกรรมเชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 61,400.00 อุดหนุน
ไม่ใช้
457 SCH015 กิจกรรมของหายได้คืน งบประมาณ -
ไม่ใช้
458 SCH016 กิจกรรมธนาคารความดี งบประมาณ -
15 โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประเภทงบ
459 SCH021 เยี่ยมบ้านประสานผู้ปกครอง 42,000.00 อุดหนุน
460 SCH022 งานที่ปรึกษา 12,100.00 อุดหนุน
461 SCH023 งานปัจฉิมนิเทศนักเรียน ม.3 และ ม.6 64,000.00 อุดหนุน
93

462 SCH024 งานประชุมผู้ปกครอง 71,400.00 อุดหนุน


463 SCH025 งานรักษาความปลอดภัยและจราจร 13,800.00 อุดหนุน
464 SCH026 ค่ายพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 13,800.00 อุดหนุน
465 SCH027 งานป้องกันและแก้ไขสารเสพติดฯ 4,600.00 อุดหนุน
16 โครงการกิจกรรมเสริมหลักสูตร ประเภทงบ
466 SCH031 ประชุมเชิงปฏิบัติการ 55,615.00 อุดหนุน
467 SCH032 กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียน ม.1 ม.4 13,600.00 อุดหนุน
468 SCH033 กิจกรรมไหว้ครู 9,100.00 อุดหนุน
ไม่ใช้
469 SCH034 กิจกรรมสู่ขวัญน้อง งบประมาณ -
470 SCH035 กิจกรรมกีฬาพรรค 188,740.00 อุดหนุน
471 SCH036 กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา 13,400.00 อุดหนุน
472 SCH037 กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 16,790.00 อุดหนุน
473 SCH038 กิจกรรม B.M. Music Awards 51,200.00 อุดหนุน
474 SCH039 กิจกรรมกีฬา Division 24,370.00 อุดหนุน
ไม่ใช้
475 SCH0310 กิจกรรมตลาดนัด B.M. งบประมาณ -
476 SCH0311 กิจกรรมเลือกตั้งสภานักเรียนปี 2567 390.00 อุดหนุน
ไม่ใช้
477 SCH0312 กิจกรรม Open House งบประมาณ -
478 SCH0313 กิจกรรมสานสัมพันธ์พี่น้องสภานักเรียน 2567 40,025.00 อุดหนุน
479 SCH0314 ปัจฉิมนิเทศ 4,800.00 อุดหนุน
ไม่ใช้
480 SCH0315 ศึกษาดูงานบุคลากร งบประมาณ -
481 SCH0316 กิจกรรมแนะแนวสานฝันส่งน้องสู่รั้วมหาวิทยาลัย 3,000.00 อุดหนุน
ไม่ใช้
482 SCH0317 กิจกรรมแจกห่อกระดาษผ้าอนามัย งบประมาณ -
ไม่ใช้
483 SCH0318 กิจกรรมติว ฟิต ติด มอปลาย งบประมาณ -

484 SCH0319 จัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน 2,270.00 อุดหนุน


94

17 โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากร ประเภทงบ
บำรุง
485 SCH041 ประชุมสัมมนาบุคลากร 27,600.00 การศึกษา
บำรุง
486 SCH042 ศึกษาดูงานบุคลากร 23,000.00 การศึกษา
18 โครงการพัฒนาการนิเทศติดตามและประเมินผล ประเภทงบ
ไม่ใช้
487 SCH051 งานประกันภายใน งบประมาณ -
ไม่ใช้
488 SCH052 งานสารสนเทศ งบประมาณ -
บำรุง
489 SCH053 งานจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์ 72,413.00 การศึกษา
โครงการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อสร้าง
19 ความสัมพันธ์ของผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กร ประเภทงบ
ไม่ใช้
490 SCH061 งานสมาคมผู้ปกครองและครู งบประมาณ -
บำรุง
491 SCH062 งานเครือข่ายผู้ปกครอง 1,300.00 การศึกษา
โครงการสนับสนุน ส่งเสริม ระบบการดูแล
20 ช่วยเหลือนักเรียน
ไม่ใช้
492 SCH071 บัตรนักเรียน (57,960) ระดม งบประมาณ -
ไม่ใช้
493 SCH072 คู่มือนักเรียน (67,620) ระดม งบประมาณ -
ไม่ใช้
494 SCH073 ปฐมนิเทศ (144,900) ระดม งบประมาณ -

โครงการพัฒนาระบบบริหารการจัดการกลุ่ม
21 บริหารทั่วไป ประเภทงบ
บำรุง
495 SER011 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน 40,000.00 การศึกษา

บำรุง
496 SER012 ประชุมเชิงปฏิบัติการ วางแผนงานและสรุปงาน 50,000.00 การศึกษา
95

22 งานอาคาร ประเภทงบ
บำรุง
497 SER021 งานซ่อมอาคารเรียนและอาคารประกอบการ 373,579.00 การศึกษา
งานทำความสะอาดอาคารเรียนและอาคาร บำรุง
498 SER022 ประกอบการ 200,000.00 การศึกษา
23 งานสถานที่และภูมิทัศน์
บำรุง
499 SER031 สวนสวยในโรงเรียน 170,000.00 การศึกษา
บำรุง
500 SER032 เบญจมฯสะอาด 10,000.00 การศึกษา
บำรุง
501 SER033 งานปรับซ่อมเครื่องตัดหญ้า 50,000.00 การศึกษา
24 งานสุขภาพอนามัย
502 SER041 งานสุขภาพอนามัย 80,000.00 อุดหนุน
503 SER042 กิจกรรมงานบริการโภชนาการและคุ้มครองผู้บริโภค 5,000.00 อุดหนุน
25 งานสัมพันธ์ชุมชน
26 งานดูแลระบบสาธารณูปโภค
บำรุง
504 SER061 งานปรับปรุงระบบโสตทัศนูปกรณ์ 20,000.00 การศึกษา
บำรุง
505 SER062 ปรับซ่อมไฟฟ้าและแสงสว่าง 140,000.00 การศึกษา
บำรุง
506 SER063 งานบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ 126,000.00 การศึกษา
บำรุง
507 SER064 งานบำรุงรักษาระบบประปาในโรงเรียน 70,000.00 การศึกษา
บำรุง
508 SER065 งานซ่อมบำรุงเครื่องกรองน้ำและตู้น้ำเย็น 24,000.00 การศึกษา
บำรุง
509 SER066 จัดซื้ออุปกรณ์ดับเพลิง 20,000.00 การศึกษา
96

บำรุง
CEN01 สำรองจ่าย 872,788.00 การศึกษา
บำรุง
CEN02 ค่าสาธารณูปโภค 7,200,000.00 การศึกษา
บำรุง
CEN03 ค่าจ้างบุคลากร 10,316,020.00 การศึกษา
บำรุง
CEN04 ค่าน้ำมัน ยานพาหนะ 1,000,000.00 การศึกษา
กิจกรรมวิชาการ กีฬาจตุรมิตรเบญจมราชูทิศแห่ง
CEN05 ประเทศไทย 700,000.00 อุดหนุน
CEN06 กิจกรรมวันเบญจม 10 กรกฎาคม 150,000.00 อุดหนุน
บำรุง
CEN07 ค่าประกันอุบัติเหตุนักเรียน 465,600.00 การศึกษา
บำรุง
CEN08 ค่าบำรุงรักษาสระว่ายน้ำ 156,000.00 การศึกษา
บำรุง
CEN09 กิจกรรมปฐมนิเทศ บัตรนักเรียน คู่มือนักเรียน 270,480.00 การศึกษา

รวม 26 โครงการ 509 กิจกรรม


97

บทที 5
การบริหารแผนไปสู่การปฏิบัติ

แผนพัฒ นาคุณภาพการศึ กษา ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566- 2568) ของโรงเรียนเบญจมราชู ทิ ศ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช เป็นแผนที่มุ่งใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนา
การศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ในการบริหารแผนสู่การปฏิบัติได้กำหนดหลักการ แนวทางการดำเนินงาน
ดังนี้
1. หลักการบริหารสู่การปฏิบัติ
การนำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566- 2568) สู่การปฏิบัติโดยยึด
หลักความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ พันธกิจ เป้าประสงค์ เบญจยุทธศาสตร์ ดังนี้

วิสัยทัศน์ : โรงเรียนแห่งนวัตกรรม สร้างคุณภาพผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก

พันธกิจ
1. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และ
สร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน
3. ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนด้วยนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
4. พัฒนาหลักสูตร นวัตกรรม วิจัยการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างคุณภาพผู้เรียนสู่
มาตรฐานสากล
5. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง
6. พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาด้วย
นวัตกรรม
7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้วยวงจรคุณภาพแบบบูรณาการ (PDCALI)

เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำ สมรรถนะตามศักยภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน ทักษะที่จำเป็นใน
ศตวรรษที่ 21
จบตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ และมีศักยภาพเป็นพลโลก
3. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความปลอดภัยจากภัย 4 ด้าน ได้แก่ ภัยจากความ
รุนแรง ภัยจากอุบัติเหตุ ภัยจากการละเมิดสิทธิ์และภัย
ที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ
4. ครูมีงานวิจัยหรือการปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอน สร้างคุณภาพ
ผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล
5. สถานศึกษามีหลักสูตรและนวัตกรรมที่สอดคล้องเพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้เรียน
98

6. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
7. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ของเทคโนโลยี มีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ
รวมทั้งจิตวิญญาณ ความเป็นครู
8. มีกระบวนการบริหารจัดการศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบบูรณาการ (PDCALI) ที่มีคุณภาพ
มาตรฐาน ผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับระดับประเทศ นานาชาติ

เบญจยุทธศาสตร์
เบญจยุทธศาสตร์ที่ 1 การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็น
พลเมืองที่ดีและมีความปลอดภัย
เบญจยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ มีขีดความสามารถในการ
แข่งขัน สู่ความเป็นพลโลก
เบญจยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ด้วยนวัตกรรมที่หลากหลาย
เบญจยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีให้มีความเชี่ยวชาญในการ
จัดการศึกษา
เบญจยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

2. การนำแผนสู่การปฏิบัติ
การนำแผนสู่การปฏิบัติเป็นขั้นตอนที่แสดงถึงวิธีในการตัดสินใจเลือกโครงการ/กิจกรรม ไป
ดำ เนินงานให้เกิดผลสำเร็จ ซึ่งต้องอาศัยกลยุทธ์หลายอย่างทั้งภายในและนอกโรงเรียน นอกจากนี้การ
นำแผนสู่การปฏิบัตินั้นจะต้องสัมพันธ์กับกระบวนการบริหารจัดการในแง่ของการมอบมายอำนาจหน้าที่
การประสานงาน การอำนวยการ การควบคุม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ ในแต่ละขั้นตอนของ
แผนด้วย การนำแผนสู่การปฏิบัติต้องมีการเตรียมการอย่างรัดกุม รอบคอบ และต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ของ
แผน เพื่อจะให้งานนั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงกำหนดหลักการนำแผนสู่การปฏิบัติ
ดังนี้
2.1 การสื่อสารกลยุทธ์ เมื่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นฐานเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พ.ศ. 2566- 2568 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ มีบทบาทที่สำคัญก็คือจะต้องดำเนินการสื่อสารเพื่อ
สร้างความเข้าใจในเรื่อง วิส ัย ทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ และระบบวัดผลประเมินผล ให้ แก่
ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาในโรงเรียนได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน สมบูรณ์
และทั่วถึง
2.2 กำหนดคณะทำงานในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ กำหนดคณะทำงานในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ ซึ่ง
ประกอบด้วยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถ สอดคล้องกับกับภารกิจของ
แต่ละกลยุทธ์ ดำเนินการขับเคลื่อนกลยุทธ์
2.3 การจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ/ปีการศึกษา โรงเรียนจัดทำแผนปฏิบัติการ
ประจำปีการศึกษา โดยวิเคราะห์จากแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566- 2568 โดยการ
กำหนด คัดเลือก โครงการกิจกรรมที่เหมาะในแต่ละปี เพื่อบรรจุลงไปในแผนปฏิบัติการ
99

3. การจัดระบบติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงาน


3.1 ติดตามความก้าวหน้าประจำปีเป็นการติดตามความก้าวหน้าในแต่ละกลยุทธ์ โครงการ/
กิจกรรม เพื่อตรวจสอบถึงผลงานที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดอันจะนำไปสู่การทบทวนและ
การปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสม
3.2 การประเมินเมื่อสิ้นสุดแผน
3.3 การจัดทำรายงานประจำปี โดยรายงานผลการดำเนินงานตามค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ และรายงานการใช้งบประมาณ

แนวทางการติดตามและควบคุมภายใน
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของระบบการควบคุมภายใน มีดังนี้
1. เพื่อให้การปฏิบัติงานในโรงเรียนเบญจมราชูทิศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำ
ให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัดและคุ้มค่า โดยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนหรือไม่จำเป็น ลด
ความเสี่ยงหรือผลเสียหายด้านการเงินหรือด้านอื่น ๆ ที่อาจมีขึ้นในหน่วยงาน ซึ่ งจะช่วยลดต้นทุนการ
ดำเนินงานแก่หน่วยงานในที่สุด
2. เพื่อให้มีข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้องครบถ้วนและเชื่อถือได้สร้างความมั่นใจแก่
ผู้บริหารในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงานและบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อให้บุคลากรมีการปฏิบัติตามนโยบาย กฎหมาย เงื่อนไขสัญญา ข้อตกลง ระเบียบข้อบังคับ
ต่าง ๆ ของหน่วยงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน

องค์ประกอบการควบคุมภายใน
การควบคุมภายใน มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมการควบคุม ( Control Environment )
2. การประเมินความเสี่ยง ( Risk Assessment )
3. กิจกรรมการควบคุม ( Control Activities )
4. สารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and Communication )
5. การติดตามและประเมินผล ( Monitoring and Evaluation )

1. สภาพแวดล้อมการควบคุม
สภาพแวดล้อมการควบคุม หมายถึง สภาวการณ์หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดระบบการควบคุม
ในหน่วยงาน ในการดำเนินงานจะมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดมาตรการการควบคุมภายในขึ้นในหน่วยงาน ซึ่ง
ฝ่ายบริหารจะมีอิทธิพลสำคัญต่อการสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมการควบคุมภายในในหน่วยงาน เช่น
จริยธรรมของการทำงาน ความซื่อสัตย์ ความไว้ใจได้ ความโปร่งใส และการมีภาวะผู้นำที่ดี ซึ่งรวมทั้งการ
กำหนดนโยบาย โครงสร้าง และระเบียบวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม สำหรับตัวอย่างสภาพแวดล้อมการควบคุมใน
หน่วยงาน เช่น
100

1) ปรัชญาและลักษณะการทำงานของผู้บริหาร
ปรัชญาและลักษณะการทำงานของผู้บริหารแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกัน และจะเป็นปัจจัย ที่ส่งผล
ถึงการกำหนดระบบการควบคุมภายในของหน่ว ยงาน เพราะผู้บริห ารมีห น้าที่ในการกำหนดนโยบาย
มาตรการ และระบบการควบคุมภายใน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารต้องรับผิดชอบในการเลือกปรัชญาและ
วิธีการทำงานที่เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น ผู้บริหารสาม ารถส่งเสริมและ
สนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ดี โดยดำเนินการ ดังนี้
(1) กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การดำเนินงาน มาตรฐาน และแนวทางการปฏิบัติงานเป็นลาย
ลักษณ์อักษรให้ชัดเจน และแจ้งให้บุคลากรทุกคนในหน่วยงานทราบ
(2) กำหนดโครงสร้างการจัดหน่วยงานให้เหมาะสม มีสายการ บังคับบัญชา และความสัมพันธ์
ระหว่างหน่วยงานภายในที่ชัดเจน รวมทั้งมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่บุคลากรในแต่
ละตำแหน่งอย่างเหมาะสม
(3) กำหนดคุณลักษณะงานเฉพาะตำแหน่ง ( Job Description ) ของบุคลากรทุกตำแหน่ง
หน้าที่ และระดับของความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละงานอย่างชัดเจน
(4) กำหนดให้มีนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารบุคลากร ตลอดจนการ
ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างชัดเจน และเป็นธรรม รวมทั้งกำหนดบทลงโทษทางวินัยให้
ชัดเจน
(5) กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ ( Audit Committee ) และ
หน่วยตรวจสอบภายใน

2) ความซื่อสัตย์และจริยธรรมในการบริหารและการปฏิบัติงาน
การบริหารและการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์และมีจริยธรรม เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้ง
สองประการนี้ เป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์ฝึกอบรม หรือกำหนดสิ่งจูงใจ
และผู้บริหารต้องเป็นตัวอย่างของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ทั้งนี้ ผู้บริหารต้องมีการสื่อสารให้เจ้าหน้าที่ทุกคน
ในหน่วยงานรับทราบ และตระหนักถึงคุณค่าในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และมีจริยธรรม จนเป็น
บรรทัดฐานหรือข้อตกลงร่วมกันที่ให้หน่วยงานถือปฏิบัติ เพราะความซื่อสัตย์และจริยธรรมเป็นปัจจัยพื้นฐาน
สำคัญของสภาพแวดล้อมการควบคุม โดยผู้บริหารควรดำเนินการ ดังนี้
(1) กำหนดนโยบาย มาตรฐานการปฏิบัติงานให้ชัดเจน และ ทำตัวให้เป็นตัวอย่างอย่าง
สม่ำเสมอ ทั้งโดยคำพูดและการกระทำ
(2) สื่อสารและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทุกคนได้รับทราบ ตลอดจนเข้าใจในหลักการของจริยธรรม
ดังกล่าว
(3) จัดทำข้อกำหนดจริยธรรมหรือแนวทางที่พึงปฏิบัติของหน่วยงานไว้ให้ชัดเจน โดยรวมถึง
กรณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วย
(4) ลดวิธีการหรือโอกาสที่จะจูงใจให้เกิดการกระทำผิดความซื่อสัตย์ และจริยธรรมเป็นปัจจัย
เบื้องต้นที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลถึงการจัดโครงสร้างของหน่วยงาน การจัดการและการติดตามประเมินผล
องค์ประกอบของระบบการควบคุมภายในอื่น ๆ ด้วย
101

3) โครงสร้างของหน่วยงาน
โครงสร้างของหน่วยงานที่ได้รับการจัดไว้เป็นอย่างดี จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารสามารถ
วางแผนงาน สั่งการ และควบคุมการปฏิบัติงานได้ถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยการจัดโครงสร้าง
ของหน่วยงานให้เหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรมของหน่วยงานนั้น ๆ เช่น
(1) การรวมศูนย์อำนาจหรือกระจายศูนย์อำนาจการตัดสินใจในระดับต่าง ๆ หากกิจการ
เลือกใช้การรวมศูนย์อำนาจในการตัดสินใจ คุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้ได้รับอำนาจย่อมมีความสำคัญ กรณีวิธี
กระจายศูนย์อำนาจการตัดสินใจ ระบบและขั้นตอนการทำงาน รวมถึงกระบวนการในการติดตามผล ก็จะมี
ความสำคัญมากกว่าคุณสมบัติของตัวบุคคล
(2) การจัดโครงสร้างของหน่วยงานที่มีการผลิตโดยเครื่องจักร อาจใช้โครงสร้างและการ
ควบคุมที่เป็นระเบียบแบบแผนแน่นอน แต่โครงสร้างที่มีรูปแบบแน่นอน อาจไม่เหมาะสมกับกิจกรรมการ
บริการหรืองานที่เกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ เป็นต้น
(3) การมอบอำนาจต้องให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน และต้อง
ชัดเจน

4) นโยบายการบริหารและการพัฒนาด้านบุคลากร
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิภาพ คือบุคลากรในหน่วยงานนั่นเองที่เป็น
ตัวจักรสำคัญ ดังนั้น การมีนโยบายและระบบการบริหารบุคลากรที่ชัดเจนและเหมาะสม จะช่วยให้ระบบการ
ควบคุมภายในมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น เช่น
(1) กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการว่าจ้าง การพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง รวมทั้งการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น
(2) กำหนดคุณสมบัติและลักษณะงาน ( Job Description ) ของเจ้าหน้าที่ในแต่ละตำแหน่ง
ให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงาน
(3) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการประกันความซื่อสัตย์ของพนักงาน
(4) มีระบบการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง และติดตามผลการปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบและ
สม่ำเสมอ
(5) กำหนดแนวปฏิบัติกรณีที่มีการขัดแย้งของผลประโยชน์ ( Conflict of Interest ) ต่อ
หน่วยงาน

5) การกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ
การกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพของการควบคุมภายใน ดังนั้น ผู้บริหารควรกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากร
แต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน ดังนี้
(1) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจ
และระบบการสอบยันความถูกต้องระหว่างกัน
(2) กำหนดคู่มือปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
(3) กำหนดระบบการติดตามประเมินผล ซึ่งรวมถึงการจัดทำแผนงานและระบบการรายงาน
ผลงานอย่างสม่ำเสมอ
102

6) คณะกรรมการตรวจสอบและการตรวจสอบภายใน
คณะกรรมการตรวจสอบและการตรวจสอบภายในเป็นกลไกและเครื่องมือชนิดหนึ่งในการช่วย
ตรวจสอบและสอบทานงานให้เป็นไปตามแผนงานที่ฝ่ ายบริหารวางไว้ คณะกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้
ความสามารถและมีความเป็นอิสระในการทำงาน จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนสภาพแวดล้อมการควบคุม
ภายในหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้นสภาพแวดล้อมการควบคุม เป็นองค์ประกอบเกี่ยวกับการสร้างบรรยากาศใน
หน่วยงาน เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานเกิดจิ ตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่จะไปเสริมองค์ประกอบการควบคุมอื่น ๆ ต่อไป

2. การประเมินความเสี่ยง
ความเสี่ยง หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์หรือการกระทำใด ๆ อันจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ในด้าน
ลบหรือเป็นผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดความเสี่ยงอาจเกิด
จากลักษณะงานหรือกิจกรรมของหน่วยงาน การควบคุมภายใน การที่หน่วยงานตรวจไม่พบข้อผิดพลาด ฯลฯ
1) ความเสี่ยงจากลักษณะงานหรือกิจกรรมของหน่วยงาน
ความเสี่ยงลักษณะนี้ เป็นความเสี่ยงที่ มีอยู่โดยธรรมชาติในงานนั้น ๆ เองเมื่อใด ก็ตามที่ตัดสินใจที่
จะทำงานหรือกิจกรรม ก็ย่อมจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้น เช่น การทำธุรกิจการค้าขายกับต่างประเทศหรือการ
สั่งซื้อของจากต่างประเทศของทางราชการ ความเสี่ยงก็คืออัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ
2) ความเสี่ยงจากการควบคุมภายใน
ความเสี่ย งจากการควบคุมภายใน เป็นความเสี่ยงที่ระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานไม่
ครอบคลุม และไม่สามารถป้องกันข้อผิดพลาดจากการดำเนินงานของหน่วยงานได้อาจเป็นเพราะหน่วยงาน
ไม่มีระบบการควบคุมภายในที่ครอบคลุมเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน หรือหน่วยงานนั้นไม่มี
การปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่ได้จัดไว้ เป็นต้น
3) ความเสี่ยงจากการตรวจไม่พบข้อผิดพลาด
ความเสี่ยงลักษณะนี้ เป็นความเสี่ยงที่การตรวจสอบไม่สามารถค้นพบความผิดพลาดของรายการที่มี
อยู่ เนื่องจากผู้ตรวจสอบไม่สามารถตรวจสอบทุกกิจกรรมใน หน่วยงานนี้ได้ และจำเป็นต้องใช้ระบบการ
ตรวจสอบโดยเลือกสุ่มตัวอย่างหรืออาจเนื่องจากผู้ตรวจสอบไม่มีความอิสระเพียงพอหรือไม่อยู่ในวิสัยที่จะ
เข้าไปตรวจสอบได้

สาเหตุของความเสี่ยงอาจเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกหน่วยงาน
- ปัจจัยภายใน เช่น นโยบายของผู้บริหาร ความซื่อสัตย์ จริยธรรม คุณภาพของบุคลากร การ
เปลี่ยนแปลงระบบงาน ความเชื่อถือได้ของระบบสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่
บ่อยครั้ง การควบคุมกำกับดูแลไม่ทั่วถึง และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของ
หน่วยงาน เป็นต้น
- ปัจจัยภายนอก เช่น กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
หรือสภาพการแข่งขัน สภาวะแวดล้อมทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง เป็นต้น

การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการระบุความเสี่ยงการวิเคราะห์ความเสี่ยง


และการกำหนดแนวทางการควบคุม เพื่อป้องกั นหรือลดความเสี่ยงการประเมินความเสี่ยงในหน่วยงาน จะ
103

เป็นการประเมินการปฏิบัติงานในภาพรวมของหน่วยงาน เพื่อให้ทราบเหตุการณ์ของความเสี่ยงและหาทาง
แก้ไขและควบคุมให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

กระบวนการในการประเมินความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่หน่วยงานยอมรับได้ สามารถ
ดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
(1) ศึกษาวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหน่วยงาน
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของหน่วยงาน จะต้องสอดคล้องกับภารกิจ ( Mission ) ของหน่วยงาน
นั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปวัตถุประสงค์ของหน่วยงานจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1.วัตถุป ระสงค์ ในระดั บ หน่ว ยงาน ( Entity – Level objectives ) เป็นวัตถุป ระสงค์ ข องการ
ดำเนินงานในภาพรวมของหน่วยงาน โดยทั่วไปจะระบุไว้ในแผนกลยุทธ์ และแผนการปฏิบัติงานประจำปีของ
หน่วยงาน เช่นเดียวกับภารกิจ ( Mission ) และกลยุทธ์ในภาพรวมของหน่วยงาน เช่น ภารกิจหลักของ
หน่วยงาน โครงสร้างของหน่วยงาน แนวโน้มการดำเนินงานของหน่วยงานในอนาคต นโยบายการบริหารงาน
หรือนโยบายการเงินการคลัง เป็นต้น
2.วัตถุป ระสงค์ ในระดั บ กิจ กรรม ( Activity – Level objectives ) เป็นวัตถุประสงค์ ข องการ
ดำเนินงานที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละกิจกรรมที่หน่วยงานกำหนด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
ซึ่งวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรมจะต้องสนับสนุน และสอดคล้องกั บวัตถุประสงค์ในระดับหน่วยงาน เช่น
ระบบการประมวลข้อมูลทางการเงินและบัญชี เป็นต้น
(2) ระบุปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของหน่วยงานสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้
จะส่งผลกระทบถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย หรือผลการดำเนินงานในหน่วยงาน เช่นการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร
และผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่สำคัญ ๆ บ่อยครั้ง การเปลี่ยนแปลงกฎหมายใหม่ ๆ ของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับ
การปฏิบัติงานของหน่วยงาน เป็นต้นเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงแต่ละชนิดมีผลกระทบต่อการดำเนินงานและ การ
บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานไม่เท่ากัน บางชนิดมีผลกระทบทันที บางชนิดมีผลกระทบในระยะยาว
ดังนั้นผู้บริหารต้องติดตามพิจารณา และระบุปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นให้ครอบคลุมทุกประเด็นปัญหาที่คาด
ว่าจะเกิด ซึ่งควรครอบคลุมถึง
1. ผลกระทบจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมต่อการ
ดำเนินงานของหน่วยงาน
2. ปัจจัยความเสี่ยงที่ได้ระบุไว้ในการวางแผน และการประมาณการของหน่วยงาน
3. ข้อตรวจพบที่ได้รับจากการตรวจสอบ การสอบทาน การติดตาม และประเมินผล
4. ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน เช่น ปัจจัยที่ทำให้การ
ดำเนินงานในอดีตที่ผ่านมาไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ คุณภาพของบุคลากร การเปลี่ยนแปลงบุคลากรที่
รับผิดชอบในการบริหารหรือปฏิบัติงาน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเงื่อนไขตามกฎหมาย ระเบียบ และ
ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน ฯลฯ
(3) การวิเคราะห์และจัดระดับความเสี่ยง
การวิเคราะห์ถึงผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อหน่วยงาน ซึ่งโดยปกติปัจจัยเสี่ยงแต่ละปัจจัยมี
ผลกระทบต่อหน่วยงานมากน้อยไม่เท่ากัน การวิเคราะห์ปัจจั ยเสี่ยงมีหลายวิธีแตกต่างกันผู้บริหารควรให้
ความสำคัญกับความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ และมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงควรพิจารณาเลือกใช้วิธีการหรือเทคนิค
104

ที่ใช้วิเคราะห์ให้เหมาะสมกับขนาด ลักษณะการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถประเมินระดับความสำคัญของ


ความเสี่ยงได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งผลเสียหายที่อาจเกิดจากความเสี่ยงนั้น โดยทั่วไปขั้นตอน
การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง จะเป็นดังนี้
1. ประเมินระดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง คือ การนำปัจจัยเสี่ยงแต่ละปัจจัยมาพิจารณาถึง
ความสำคัญว่า หากเกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบต่อหน่วยงานมากน้อยแค่ไหน โดยอาจวัดเป็นระดับน้อย
ปานกลาง สูง
2. ประเมินความถี่ที่ปัจจัยเสี่ยงจะเกิดขึ้น คือ การพิจารณาว่าปัจจัยเสี่ยงที่ได้เรียงลำดับ
ความสำคัญไว้แล้ว มีโอกาสที่จะเกิดปัจจัยเสี่ยงนั้น ในระดับน้อยมาก น้อย ปานกลาง สูง การวิเคราะห์โดย
การประเมินความสำคัญและการประเมินความถี่ที่ปัจจัยเสี่ยงจะเกิดขึ้น อาจใช้ผสมผสานกัน เช่น ปัจจัยเสี่ยง
บางอย่างมีอัตราความถี่สูง เมื่อเกิดขึ้นแต่ละครั้งสูญเสียเงินน้อย แต่ถ้าเกิดบ่อย ๆ เข้า โดยรวมอาจมีจำนวน
เงินสูงก็จะทำให้เกิดความสำคัญได้
3. เลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยบางครั้งอาจไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ใน
รูปตัวเลข แต่อาจวิเคราะห์ออกมาเป็นระดับต่าง ๆ เช่น สำคัญมาก ปานกลาง หรือน้อย เป็นต้น
(4) กำหนดวิธีการควบคุมความเสี่ยง
เมื่อหน่วยงานสามารถวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงแล้ว ฝ่ายบริหารควรพิจารณาหาวิธี เพื่อ
ป้องกันความเสี่ยงนั้น ๆ โดยต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ว่าคุ้มกับประโยชน์ที่จะได้รับหรือไม่ ซึ่งในการ
กำหนดแนวทางในการป้องกันหรือลดความเสี่ยง ผู้บริหารควรพิจารณาว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความ
เสี่ยงในลักษณะใด เช่น
1. กรณีที่เป็นความเสี่ยงเกี่ยวกับหน่วยงานโดยรวม ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่
มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บริหาร การป้องกันหรือลดความเสี่ยงกระทำได้โดยการบริหารความเสี่ยง
ซึ่งมีกลยุทธ์ ดังนี้
1) กำหนดโครงสร้างพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยง กำหนดผู้รับผิดชอบกระบวนการบริหาร
ความเสี่ยง และกำหนดวามสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การบริหารความเสี่ยงกับหน้าที่การประเมินความเสี่ยง การ
บริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพจะเริ่มต้นด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ ซึ่งสัมพันธ์กับกลยุทธ์และโอกาสที่
จะเกิดความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ เราจะประเมินความเสี่ยงด้วยการระบุผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น การจัดลำดับ
ความสำคัญ และการวัดผลกระทบของความเสี่ยงเหล่านั้นที่อาจเกิดขึ้นต่อหน่วยงาน
2) ประเมินความเสี่ยงของหน่วยงาน กำหนดกรอบแนวคิด ซึ่งจะใช้ระบุความเสี่ยงทั้งหมดที่
เป็นไปได้ เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการประเมินความเสี่ยง มองภาพรวมของความเสี่ยงที่มีความสำคัญที่สุด
ก่อน และจัดสรรทรัพยากรให้อย่างเหมาะสม
3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่จะประสบความสำเร็จ
ต้องมีความเกี่ยวเนื่องหรือสอดคล้องกับกลยุทธ์ของหน่วยงานโดยตรง กลยุทธ์การบริ หารความเสี่ยง ต้อง
ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับความเสี่ยงแต่ละประเภท เช่น กลยุทธการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง การลดความ
เสี่ยง การกระจายความเสี่ยง และการถ่ายโอนความเสี่ยงเป็นต้น
4) พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยง หน่วยงานต้องพัฒนาเทคนิคการ
บริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติของหน่ายงาน โดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยงใน
กิจกรรมที่มีความเสี่ยงเฉพาะเรื่อง
5) การติดตามประเมินผลกระบวนการบริหารความเสี่ยง เป็นขั้นตอนของหน่วยงาน ต้องอาศัย
งานด้านตรวจสอบภายใน โดยในขั้นตอนนี้รวมถึงการติดตามการปฏิบัติงานในหน้าที่อื่น ๆ เช่น การปฏิบัติ
105

ตามกฎหรือระเบียบ และการให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมและความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม การบริหาร


ความเสี่ยงที่สัมฤทธิ์ผล หมายรวมถึง การเสาะแสวงหาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การเชื่อมโยงการประเมิน
ผลตอบแทนที่เพิ่มค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น ( สำหรับธุรกิจ ) และหน่วยงาน หน้าที่การติดตามประเมินผลจะมี
ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานใน ข้อ (2)ดังกล่าว
6) การพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการบริหารความเสี่ยง การปรับปรุง และพัฒนาการบริหาร
ความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประสบความสำเร็จของหน่วยงานในที่สุด แหล่งข้อมูล
ที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงนั้น รวมถึงข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้องเชื่อถือได้และ
ข้อมูลที่เกิดจากการสะท้อนความเสี่ยงของหน่วยงาน การปรับปรุงต้องรวมถึงระบบการวัดเป็นจำนวนหน่วย
ที่ใช้ได้ในระยะยาว เช่น จำนวน และผลกระทบจากความเสี่ยงที่ได้รับการจัดการภายในกระบวนการ ฯลฯ ใน
การปรับปรุงพัฒนาการบริหารความเสี่ยงนั้น ระบบการวัดผลที่เชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งจำเป็น และจะทำให้
หน่วยงานสามารถทราบขนาดความเสี่ยง และผลกระทบ ที่หน่วยงานจะสามารถรับได้หรือไม่เพียงใด

2. กรณีที่เป็นความเสี่ยงเกี่ยวกับการควบคุมภายใน ซี่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายในและ
อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บริหาร การป้องกันหรือลดความเสี่ยงกระทำได้โดยจัดให้มีกิจกรรมการควบคุม
อย่างเพียงพอและเหมาะสมการกำหนดวิธีการควบคุมเพื่อจัดการให้ความเสี่ยงอยู่ในสภาพที่เป็นผลดีกับ
หน่วยงานนั้น จะมีลักษณะการจัดการได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การจัดการในลักษณะที่ยอมรับในความเสี่ยงนั้น
2. การจัดการในลักษณะที่ทำให้ลดความเสี่ยงจากระดับความเสี่ยงสูงไปสู่ระดับความเสี่ยงต่ำ
3. การจัดการในลักษณะที่เป็นการกระจายความเสี่ยง
4. การจัดการในลักษณะที่เป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงหรือโยกย้ายความเสี่ยง
5. การจัดการในลักษณะที่เป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
การจะใช้วิธีการใดในการจัดการความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและความ
เหมาะสมของการดำเนินงานในหน่วยงานนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ การจัดการความเสี่ยงจะต้องคำนึงถึงเรื่อง
ดังต่อไปนี้
1. ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าจะทำอะไร ณ จุดใด
2. ต้องปรับเปลี่ยนระบบการบริหารและระบบปฏิบัติงานในหน่วยงานหรือไม่ อย่างไร ณ จุดใด
3. กระบวนการจัดการความเสี่ยงเป็นอย่างไร ต้องดำเนินการให้เกิดความชัดเจน และต้องสื่อสารให้
ผู้ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานทราบด้วย
4. ต้องมีการรายงานผล เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วโรงเรียนจึงต้องจัดให้มีการประเมินความเสี่ยง
อยู่เสมอ และสร้างกลไกช่วยบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ หรือกำหนดมาตรการการ
ควบคุมที่เหมาะสมต่อไป
(5) กิจกรรมการควบคุม
กิจกรรมการควบคุม เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบการควบคุมภายในที่หน่วยงานต้องจัดให้มขี ึ้น
เพื่อลดความเสี่ยงและทำให้เกิดความคุ้มค่า ตลอดจนให้ฝ่ายบริหารเกิดความมั่นใจในประสิทธิผลของระบบ
การควบคุมภายในที่มีอยู่
ประเภทการควบคุม กิจกรรมการควบคุมอาจแยกตามความจำเป็นและลักษณะของการควบคุม
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น ๆ เช่น
106

1. การควบคุม ในลั ก ษณะการป้ อ งกัน การผิด พลาดที่ อ าจเกิด ขึ้ นในทางปฏิ บั ติ ( Preventive
Control ) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสี่ยงและข้อผิดพลาดตั้งแต่แรก โดย
เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงยังไม่เกิดขึ้น เช่น การแบ่งแยกหน้าที่ผู้รับเงิน ผู้จ่ายเงิน และผู้บันทึกบัญชี
การกำหนดวงเงินสำหรับผู้มีอำนาจอนุมัติเงินในแต่ละระดับชั้น เป็นต้น
2. การควบคุมในลักษณะของการค้นพบข้อผิดพลาด ( Detective Control ) เป็นการควบคุมที่
กำหนดขึ้น เพื่อค้นพบข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน เช่น การทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร
การตรวจนับพัสดุประจำปี การทบทวนการปฏิบัติงานของหน่วยงานในภาพรวม เป็นต้น
3. การควบคุมในลักษณะการเสนอแนะ ( Suggestive Control ) เป็นการควบคุมที่กำหนดขึ้น เพื่อ
เสนอแนะ ปรับปรุง และพัฒนาระบบการดำเนินงานและระบบการควบคุมภายในให้เหมาะสมกับสถานการณ์
4. อื่น ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมในการดำเนินงานของหน่วยงาน
กิจกรรมการควบคุม ต้องทำอย่างสม่ำเสมอตลอดไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสอดคล้องกับนโยบาย
และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการควบคุม ภายในของหน่วยงานเป็นไปอย่างเหมาะสม
และเพียงพอ การจะใช้การควบคุมลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะรวมกัน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจในการ
พิจารณาความเหมาะสมและความซับซ้อนของงานในแต่ละหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งรายละเอียดของกิจกรรมการ
ควบคุมจะปรากฎในตัวอย่างกิจกรรมการควบคุมในส่วนที่ 2 ต่อไป

(6) สารสนเทศและการสื่อสาร
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการบริหาร ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเงินและไม่ใช่
การเงินรวมทั้งข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ ทั้งจากแหล่งภายในและภายนอก
การสื่อสาร หมายถึง การรับและส่งข่าวสารระหว่างกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลที่
มีหน้าที่ความรับผิดชอบในงานที่สัมพันธ์กัน การสื่อสารจะเกิดได้ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
ระบบการสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภ าพ ควรเป็นการสื่อสารแบบสองทาง และติดต่อระหว่ าง
หน่วยงานอย่างทั่วถึงครบถ้วนหน่วยงานควรจัดให้มีระบบสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของ ผู้ใช้
ข้อมูลอย่างเพียงพอ และเหมาะสมทันต่อการปฏิบัติงาน ตลอดจนการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ข่าวสาร
ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันเหตุการณ์ และสะดวกในการเข้าถึง และปลอดภัย รวมทั้งมีการจัดลำดับความสำคัญ
และมีระบบการสื่อสารที่ดีจะส่งผลถึงการบริหารงานของผู้บริหาร โดยเฉพาะข่าวสารที่เป็นสัญญาณบอกเหตุ
อันจะทำให้ผู้บริหารสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันกาล และบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานการ
สื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารต้องจัดให้มีขึ้นและควรเป็นระบบการสื่ อสารสองทาง การสื่อสารภายใน
หน่วยงานที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นทางการหรือไม่ก็ตาม จะเป็นผลดีต่อการปฏิบัติงานให้สามารถบรรลุเป้าหมาย
ที่วางไว้ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ
1) เจ้าหน้าที่ทุกคน ต้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตนอย่างชัดเจนและทัน
กาล ทั้งจากภายในหรือภายนอกหน่วยงาน รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดกับหน่วยงาน
เช่น นโยบายของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายใหม่ ๆ ฯลฯ
2) การกำหนดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่งงานต้องชัดเจน เจ้าหน้าที่ทุกคน
ต้องเข้าใจถึงบทบาทที่เกี่ยวข้องกับงานของตนและของผู้อื่น รวมทั้งให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามระบบ
การควบคุมที่กำหนดไว้
107

3) การจัดให้มีช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่ดีระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ทำให้สามารถทำความ
เข้าใจ และประสานงานกันได้เป็นอย่างดีในทำนองเดียวกัน ควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารภายนอก
หน่วยงาน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการบริหารงานของหน่วยงานด้วย ดังนั้นประเด็นสำคัญที่ควรดำเนินการ คือ
1) กำหนดช่องทางการสื่อสารกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องให้ง่ายขึ้น
2) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภายนอก ต้องเรียนรูว้ ัฒนธรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
3) ผู้บริหารควรให้ความสนใจในข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายนอก
4) การติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก ต้องมีข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ และสัมพันธ์กัน ในอันที่
จะทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน และเข้าใจถึงสภาพความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
สำหรับการควบคุมภายในของระบบสารสนเทศ โดยทั่วไปมักจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมการนำ
ข้อมูลเข้าสู่ระบบ การแบ่งแยกงาน การสอบทานความถูกต้องใน การประมวลผลการควบคุมการรับส่งข้อมูล
ระหว่างระบบงาน และการควบคุมทางด้านผลผลิต เป็นต้น

(7) การติดตามและประเมินผล
การติดตามผล หมายถึง การสอดส่องดูแลกิจกรรมที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความ
มั่นใจว่า การดำเนินงานเป็นไปตามระบบการควบคุมภายในที่กำหนด
การประเมินผล หมายถึง การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับระบบการควบคุมภายในที่กำหนดไว้
ว่ามีความสอดคล้องหรือไม่ เพียงใด และประเมินระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่ว่ายังมีความเหมาะสมกับ
สภาพแวดล้อมในปัจจุบันหรือไม่ รวมทั้งการวิเคราะห์ การหาสาเหตุของความแตกต่างระหว่ างแผนงานกับ
ผลการดำเนินงาน สรุปผลและเสนอ ข้อแนะนำ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
การติดตามและประเมินผล เป็นกระบวนการประเมินความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ
ระบบงานต่าง ๆ ของหน่วยงาน ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ และการปฏิบัติงาน
ตามภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ในหน่วยงาน ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรการต่าง ๆ และ
ระบบการควบคุมภายในมีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องพัฒนาตลอดเวลาผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีการติดตาม
และประเมินผล เพื่อให้ทราบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในว่าอยู่ในระดับที่
เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพียงใดสำหรับความถี่ในการติดตามประเมินผลจะมีมากน้อย
เพียงใด ขึ้นกับผลการประเมินความเสี่ยงในเบื้องต้นและผลที่ได้จากการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
ของหน่วยงานนั้นเอง

การติดตามประเมินผล โรงเรียนดำเนินการ ดังนี้


1) มีการสอบทานและรายงานผลเกี่ยวกับประสิทธิผลของแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
ในทุกๆ ด้านอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการรายงานจากภายในและจากบุคคลภายนอก เช่นผู้ตรวจสอบ ผู้ตรวจ
ราชการ ผู้มาติดต่อ โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ปฏิบัติงานจริง
2) จำแนกเรื่ องที่จ ะประเมินผล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมภายในเฉพาะจุด เช่น การ
ประเมินประสิทธิภาพภายในหน่วยงาน การประเมินระบบงาน การประเมินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ การ
ประเมินบุคคล เป็นต้น ซึ่งการประเมินควรพิจารณาขอบเขตและความถี่ของการประเมินด้วย เพื่อให้มั่นใจถึง
ประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในในเรื่องนั้น ๆ ว่า สามารถป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ โดย
เครื ่ อ งมื อ การประเมิ น ผล รวมถึ ง การตรวจเช็ ค การตอบแบบสอบถาม และการวิ เ คราะห์ เชิง ปริมาณ
108

นอกจากนี้ ตัวชี้วัดและการเปรียบเทียบกับผลงานของหน่วยงานอื่น หรือมาตรฐานที่ยอมรับ กันโดยทั่วไป ก็


เป็นเครื่องมือช่วยในการประเมินผลได้เช่นกัน
3) รายงานผลตามข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระ ไม่ปิดบังสิ่งผิดปกติ
4) สั่งการให้มีการแก้ไขและติดตามผลอยู่เสมอ
สำหรับการกำหนดรูปแบบการติดตามประเมินผล มีอยู่ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน และทำ
อย่างต่อเนื่ อง ทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกำหนด กฎหมาย ระเบียบ การบริหารงาน และที่
ปรึกษาต่าง ๆ โดยมีวิธีการ เช่น การเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน การตรวจสอบ การกระทบยอด ฯลฯ
สำหรับบางโครงการอาจกำหนดรูปแบบการติดตามประเมินผลโดยเฉพาะ แยกต่างหากจากที่ได้กำหนดการ
ติดตาม ประเมินผลโดยปกติ การติดตามประเมินผลโครงการที่เป็นกรณีเฉพาะ อาจใช้แบบประเมินตนเอง
การออกแบบควบคุ มโดยเฉพาะ การทดสอบ หรืออาจจ้างผู้เชี่ย วชาญ หรือ ผู้ตรวจสอบภายนอกมา
ดำเนินการได้
การติดตามประเมินผล เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงมีการสื่อสารกับบุคลากรที่รั บผิดชอบงาน
นั้น ๆ ในหน่วยงาน และกรณีมีเรื่องที่สำคัญควรรายงานต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงด้วย นอกจากนี้การติดตาม
ประเมินผลในระบบการควบคุมภายใน หมายรวมถึงการประเมินผลนโยบายกฎระเบียบ ระบบงานต่าง ๆ
ของหน่วยงานด้วย เพื่อให้มั่นใจว่า
1. ได้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและถูกต้อง และเป็นผลดีต่อการ
บริหารงานของหน่วยงาน
2. ได้มีการตรวจสอบและติดตามผล รวมทั้งรายงานของผู้ตรวจสอบที่ได้สอบทานงาน และตั้ง
ข้อสังเกตไว้ต่อผู้บริหารของหน่วยงาน ข้อสังเกตเหล่านั้น ได้มีการแก้ไขปฏิบัติตามในระยะเวลาที่เหมาะสม
3. การดำเนินงานต่าง ๆ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่หน่วยงานตั้งไว้
4. การจัดทำรายงานทางการเงินเป็นไปอย่างถูกต้องเชื่อถือได้เมื่อได้ติดตามและประเมินผลแล้ว ผู้
ประเมินผลจะต้องจัดทำรายงานเสนอผู้บริหารที่รับผิดชอบ โดยการจัดทำรายงานแสดงผลความคลาดเคลื่อน
ของการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ โดยควรจัดทำคำชี้แจงหรืออธิบายให้ทราบว่าความแตกต่างระหว่างผลการ
ดำเนินงานจริง กับตัวเลขตามประมาณการเกิดขึ้นเพราะเหตุใด และผู้ใดจะต้องรับผิดหรือชอบกับการที่
เกิดผลต่างนั้น และหาวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป
การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ และมีการสั่งการให้แก้ไขข้อผิดพลาดอยู่
เสมอ เป็นหัวใจสำคัญของการควบคุมทางการบริหารการติดตามและประเมินผล ไม่ควรจัดทำเฉพาะกับ
ระบบ หรือมาตรการ ควบคุมภายในเท่านั้น แต่ควรจัดให้การติดตามและประเมินผลกับการปฏิบัติงานด้าน
อื่น ๆ ทุกด้าน จากผู้ร ับ ผิดชอบโดยตรงและอย่ างอิสระ หรือโดยผู้ที่ไม่มีส ่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนด
มาตรการหรือออกแบบระบบการควบคุมภายใน เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ เช่น
จากการตรวจสอบภายใน อันเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการประเมินผลและติดตามผลการปฏิบัติงาน
เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานประสบความสำเร็จ
ระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานจะสำเร็จได้ ต้องมีปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยผลักดัน ดังนี้
1. ปัจจัยเกื้อหนุน
1.1 ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้ริเริ่ม ในการจัดให้มีระบบการควบคุมภายในขึ้นในหน่วยงาน
และระบบการควบคุมภายในนั้นต้องได้รับการยอมรับในระดับปฏิบัติ
1.2 มีการประเมินความเสี่ยงและบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ
109

1.3 มีการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบและเหมาะสม
1.4 ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับมีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบในหน้าที่การงาน
2. ปัจจัยผลักดัน
ปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้ระบบการควบคุมภายในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่
2.1 วัตถุประสงค์ ( Purpose ) หน่วยงานจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่ากำลังจะทำอะไร
เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทางการทำงานและความก้าวหน้าของหน่วยงานได้
2.2 ข้อตกลงร่ว มกัน ( Commitment ) เจ้าหน้าที่ทุกระดับควรมีก ารตกลงร่ว มกันที ่ จ ะ
ปฏิบัติงานตามระบบที่วางไว้ เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์และเพิ่มคุณค่าแก่หน่วยงาน
2.3 ความสามารถในการบริห ารงาน ( Capability ) เพื่อให้หน่วยงานมีระบบการควบคุม
ภายในที่มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ ผู้บริหารของหน่วยงานควรเพิ่มขีดความสามารถในด้าน
ต่าง ๆ เช่น การบริหารงบประมาณ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีการ
นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
2.4 ปฏิบัติการ ( Action ) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ
2.5 การเรียนรู้ต่อเนื่อง ( Learning ) หน่วยงานต้องเสริมสร้างหรือสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุก
ระดับให้มีการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อให้มีการเรียนรู้ที่จะพัฒนางานให้ดีขึ้น หรือพัฒนาระบบการควบคุมใหม่ ๆ
ให้กับ หน่ว ยงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ห น่ว ยงานมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและ
ปรับเปลี่ยนได้ทันเหตุการณ์

ประโยชน์ที่ได้รับ
ประโยชน์ที่หน่วยงานจะได้รับ จากการมีระบบการควบคุมภายในที่ดี
1. การดำเนินงานของหน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด และคุ้มค่า
3. มีข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ
4.การปฏิบัติในหน่วยงานเป็นไปอย่างมีระบบและอยู่ในกรอบของกฎหมายระเบียบข้อบังคับที่วางไว้
5. เป็นเครื่องมือช่วยผู้บริหารในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานได้อย่างดียิ่ง
ข้อจำกัดของระบบการควบคุมภายใน
1. การตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ในบางครั้งแม้ว่ามีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม แต่หากฝ่าย
บริหารตัดสินใจโดยใช้ดุลยพินิจที่ไม่ถูกต้อง อันเนื่องจากระบบข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนั้น หรือเหตุจำเป็นที่ไม่
สามารถหลีกเลี่ยงได้ ระบบการควบคุมภายในก็ไม่สามารถเป็นเครื่องมือที่จะช่วยได้ในสถานการณ์เช่นนั้น
2. การปฏิบัติงานของบุคลากร การที่บุคลากรละเว้นไม่ปฏิบัติตามวิธีการควบคุมภายในที่วางไว้
ระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่ดังกล่าวก็ไม่สามารถเป็นกลไกและเครื่องมือช่วยในการปฏิบัติงานได้
3. เหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่ อาจไม่สามารถรองรับ
เหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม โดยผลสืบเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกหรือบางกรณีเกิดเหตุการณ์พิเศษ
ที่มิได้คาดคิดมาก่อน
4. การทุจริตในหน่วยงาน ในบางกรณีบุคลากรในหน่วยงานร่วมมือทุจริตเพื่อหาประโยชน์ร่วมกัน
ซึ่งจะเป็นการทำลายระบบการควบคุมที่กำหนดไว้ได้
5. ต้นทุนค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ได้ บางครั้งผู้บริหารต้องยอมรับในอัตราความเสี่ยงที่
อาจเกิดขึ้นเมื่อพิจารณาเห็นว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการป้องกันความเสี่ยงมากกว่าผลตอบแทนที่จะ
110

ได้รับนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอีกมากมายที่เป็นข้อจำกัดของระบบการควบคุมภายใน อย่างไรก็ดี ระบบการ


ควบคุมภายใน เป็นเพียงกลไกที่สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริหารในการบริหารงานให้บรรลุตามเป้าหมายได้ใน
ระดับหนึ่งเท่านั้น
คำรับรอง
แผนปฎิบัติราชการประจำปี การศึกษา 2566
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช กระทรวงศึกษาธิการ
1. รับรองระหว่าง
นายณัฐวุฒิ รัตนอรุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ผู้ทำคำรับรอง
และ
ดร.พะโยม ชิณวงศ์ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้รับคำรับรอง
2. คำรับรองนี้เป็นคำรับรองฝ่ายเดียว มิใช่สัญญาและใช้สำหรับระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567
3. รายละเอีย ดของคำรั บ รอง ได้แก่ แผนปฏิบัติราชการประจำปี การศึ ก ษา 2566 ของโรงเรียนเบญจมราชูทิ ศ ดังรายละเอียดที่ป รากฏอยู่ใ นเอกสาร
แผนปฏิบัติราชการประจำปีการศึกษา 2566 ฉบับนี้
4. ข้าพเจ้า ดร.พะโยม ชิณวงศ์ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้ นฐาน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ได้พิจารณาและเห็นชอบกับ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ตามที่กำหนดในเอกสารแผนปฏิบัติราชการประจำปีการศึกษา 2566 ฉบับนี้ และ
ข้าพเจ้ายินดีให้คำแนะนำ กำกับ และตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของ นายณัฐวุฒิ รัตนอรุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ให้เป็นไปตามคำรับรองที่จัดทำนี้
5. ข้าพเจ้า นายณัฐวุฒิ รัตนอรุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ได้ทำความเข้าใจคำรับรองตามข้อ 2,3,4 แล้ว ขอให้คำรับรองกับประธานคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ว่าจะมุ่งมั่นปฏิบัติงานให้เกิดผลงานที่ดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนตามที่ให้คำรับรองไว้
6. ผู้รับคำรับรองและผู้ทำคำรับรอง ได้เข้าใจคำรับรองการปฏิบัติงานและเห็นพ้องกันแล้ว จึงได้ลงลายมือไว้เป็นสำคัญ

(นายณัฐวุฒิ รัตนอรุณ) ดร.พะโยม ชิณวงศ์


ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 วันที่ 16 พฤษภาคม 2566

You might also like