You are on page 1of 97

1

ส่วนที่ 1
บทนำ

1. ข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษาและชุมชน
ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์
โรงเรียนบ้านยางใหญ่ เป็นโรงเรียนประถมศึกษา ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับปฐมวัย (อนุบาล 1 –
3) และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 (ช่วงชั้นที่ 1, 2) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม
เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สถานทีต่ ั้งอยู่ถนนสายโกสุมพิสัย–
เชียงยืน โรงเรียนบ้านยางใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจาก
อำเภอโกสุมพิสัย 5 กิโลเมตร และห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษา มหาสารคามเขต 3
5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านยางน้อย ตำบลยางน้อย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านป่าเป้า ตำบลยางน้อย
ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่บ้านพงษ์พัฒน์ ตำบลหัวขวาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านแก่งโกสุม ตำบลหัวขวาง

แผนผังบริเวณโรงเรียน
2

หมู่บ้านในเขตบริการ
โรงเรียนบ้านยางใหญ่ มีหมู่บ้านในเขตบริการ 3 หมู่บ้าน คือบ้านยางใหญ่ หมู่ที่ 3 บ้านยางใหญ่ หมู่ที่ 4
และบ้านยางใหญ่ หมู่ที่ 5 โดยแต่ละหมู่บ้านมีจำนวนครัวเรือน และประชากร ดังนี้

ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครอบครัว/ จำนวน


ผู้นำชุมชน
หลังคา ประชากร/คน
1 บ้านยางใหญ่ หมู่ที่ 3 90 413 นายบุญจันทร์ สีพิมพ์สอ
2 บ้านยางใหญ่ หมู่ที่ 4 159 668 นายจำนง สมบูรณ์
3 บ้านยางใหญ่ หมู่ที่ 5 191 682 นายวรจักร สารฤทธิ์

รวม 430 1,763


ข้อมูลการสำรวจ จปฐ. ปี 2559

ข้อมูลด้านภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำชี ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ เป็นพื้นที่ทำนาและมีคลองชลประทาน
ตัดผ่าน มีแหล่งน้ำธรรมชาติคือห้วยกุดใหญ่และห้วยกุดกอก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำเพื่อการเกษตรตลอดปี
จึงเหมาะแก่การทำนา ดังนั้นชาวบ้านจึงได้มีโอกาสทำนาปีละ 2 ครั้ง คือการทำนาปี และการทำนาปรัง
ข้อมูลด้านภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล คือหน้าร้อนอากาศก็จะร้อนจัด แต่ก็ยังดีที่
บริเวณโดยทั่วไปจะมีต้นไม้ และมีคลองน้ำชลประทานไหลผ่าน ยังพอบรรเทาความร้อนลงได้บ้าง ในฤดูหนาว จะมี
อากาศหนาวเย็นในช่วงระยะสั้นๆ ส่วนในฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำฝนพอประมาณ แต่ก็ไม่เป็นปัญหาเรื่องน้ำเพื่อ
การเกษตร เพราะอาศัยน้ำจากคลองชลประทาน
ข้อมูลด้านประชากร
ประชากรอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเครือญาติ เป็นญาติพี่น้อง
มีการพึ่งพาอาศัยกันและกันไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาชีพหรืองานประเพณีวัฒนาธรรมท้องถิ่นจะมีการช่วยเหลือ
กันเป็นอย่างดี ประชากรส่วนใหญ่มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด นับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาภาคบังคับ คือส่วน
ใหญ่จบชั้น ป.4 และ ป.6
ข้อมูลด้านสังคมและเศรษฐกิจ
ประชากรมีอาชีพทำนาและรับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อ
ครอบคัวต่อปีค่อนข้างต่ำ ร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนมีฐานะยากจน ประชากรในวัยแรงงานต้องไปใช้แรงงาน
ต่างจังหวัดหรือในกรุงเทพฯ แล้วมีครอบครัวหรือแต่งงานกันขณะที่ไม่พร้อมลูกเกิดมา จึงมีปัญหาส่งมาให้พ่อแม่
ปู่ ย่า ตา ยาย เลี้ยงดูที่บ้าน ทำให้ขาดการเอาใจใส่ และขาดการเลี้ยงดูที่ดี เด็กมีปมด้อย ประกอบกับครอบครัว
มีฐานะยากจน คุณภาพชีวิตต่ำ มีปัญหาด้านสาธารณสุขและปัญหาสังคมตามมามากมาย นับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่
ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

ประวัติของสถานศึกษา
3

โรงเรียนบ้านยางใหญ่ ตั้งอยู่บ้านยางใหญ่ หมู่ที่ 5 ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด


มหาสารคาม ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2481 เดิมอาศัยศาลาการเปรียญวัดบ้านยางใหญ่เป็นที่เรียน โดยมีชื่อว่า
“ โรงเรียนประชาบาลตำบลเขื่อน 14 (วัดบ้านยางใหญ่) มีนายกัน สิงหบุตร เป็นครูใหญ่คนแรก เปิดทำการสอน
ตั้งแต่ชั้นเตรียมประถมถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2484 ได้ย้ายมาสร้างในสถานที่แห่งใหม่(ที่อยู่ปัจจุบัน)
ซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน เนื้อที่ประมาณ 17 ไร่เศษ โดยได้จัดสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ ป.1 ฉ.
ขนาด 3 ห้องเรียน และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “ โรงเรียนบ้านยางใหญ่” เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 – 4
พ.ศ. 2520 ในสมัยของนายถวิล สีหาราช ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้รับงบประมาณมาสร้าง
อาคารเรียนแบบ ป.1ฉ.ใต้ถุนสูง ขนาด 5 ห้องเรียนขึ้น 1 หลัง และใน
พ.ศ. 2527 ในสมัยนายวิชาญ วิชัย เป็นครูใหญ่ ได้รับงบประมาณมาจัดสร้างอาคารเรียน
แบบ สปช.104/26 ขนาด 3 ห้องเรียน 1 หลัง โรงเรียนมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร และมีการพัฒนา
ในด้านต่างๆ เรื่อยมา
ปัจจุบัน นายบวร ผองขำ เป็นผู้บริหารโรงเรียนบ้านบ้านยางใหญ่ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่ เมื่อวันที่ 21 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 โรงเรียนบ้านยางใหญ่
มีข้าราชการครู 5 คน ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งช่างไฟฟ้า 4 จำนวน 1 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน ครูธุรการ 1 คน
มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน(ประมาณ 96 คน)

2. ข้อมูลนักเรียนและบุคลากร
ข้อมูลนักเรียน ปีการศึกษา 2565
จำนวน เพศ หมาย
ระดับชั้นเรียน รวม
ห้อง ชาย หญิง เหตุ
อนุบาล 1 1 6 8 14
อนุบาล 2 1 2 6 8
อนุบาล 3 1 7 3 10
รวม 3 15 17 32
ป.1 1 6 13 19
ป.2 1 3 7 10
ป.3 1 7 6 13
ป.4 1 5 4 9
ป.5 1 2 2 4
ป.6 1 6 3 9
รวมประถมศึกษา 6 29 35 64
รวมทั้งหมด 9 44 53 96

ข้อมูลครูและบุคลากร
4

จำนวนครูและบุคลากร ประจำปีการศึกษา 2565


เลขที่ ตำแหน่ง/ หมาย
ที่ ชื่อ – ชื่อสกุล วุฒิ วิชาเอก สอนวิชา/ชั้น
ตำแหน่ง วิทยฐานะ เหตุ
1 นายบวร ผองขำ 2072 ผู้อำนวยการ ศษ.ม. บริหารการศึกษา ทุกสาระฯป.3
นางสาวปราณปรียา ทิพย์ การศึกษาพิเศษ
2 ๒๒๒๕ ครูผู้ช่วย คบ. ทุกสาระฯ ป.๒
พิชัย และภาษาไทย
3 นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย 1953 ครู คศ.3 คบ. ประถม ทุกสาระฯ ป.6
4 นายประสิทธ์ หาจันทร์ศรี 2297 ครู คศ.3 คบ สุขศึกษาพละศึกษา ทุกสาระฯ ป.5
5 ว่าที่ ร.ท.ดุสิต ดรพลก้อม 2768 ครู คศ.3 คบ. วิทยาศาสตร์ทั่วไป ทุกสาระฯ ป.4
6 นางสาวศรัญญา เรืองวิเศษ - ครูอัตราจ้าง อนุบาล 1-2
7 นางสาวพัชรา สิมหาบุตร - ครูอัตราจ้าง วท.บ. วิทยาศาสตร์บัณฑิต ทุกสาระฯ ป.2
วิทยาการ
8 นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์ - ครูอัตราจ้าง
คอมพิวเตอร์
ทุกสาระฯ ป.1
9 นายอุทิศ ประทุมมา 20849 ช่างไฟฟ้า4 ม.3 - -
10 นางสาวสุรินทรา พรกุณา - ธุรการ บศ.บ. สารสนเทศ ทุกสาระฯป.3

3. ข้อมูลทรัพยากรและงบประมาณ
1) พื้นที่ของโรงเรียน เนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา
2) จำนวนอาคารเรียนถาวร รวม 2 หลัง
3) จำนวนห้องทั้งหมด 8 ห้อง
4) จำนวนห้องประกอบ
- ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง - ใช้การไม่ได้
- ห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง
- ห้องดนตรี – นาฎศิลป์ - ห้อง
- ห้องปฏิบัติการทางภาษา 1 ห้อง - ใช้การไม่ได้
- ห้องพยาบาล 1 ห้อง
- ห้องสมุด 1 ห้อง
- ห้องธุรการ 1 ห้อง
5) จำนวนสื่อ อุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวก
- เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 13 เครื่อง
(ใช้เพื่อการเรียนการสอน 10 เครื่อง ใช้ในงานบริหาร 3 เครื่อง)
- เครื่องปรับอากาศ จำนวน 10 เครื่อง
- เครื่องปริ๊นเตอร์ จำนวน 3 เครื่อง
- เครื่องถ่ายเอกสาร จำนวน 1 เครื่อง
- เครื่องโทรสาร จำนวน - เครื่อง
- โทรทัศน์ จำนวน - เครื่อง
- หนังสือในห้องสมุด จำนวน 1,660 เล่ม
6) ข้อมูลงบประมาณ (ที่ใช้จ่ายในปีการศึกษา 2562)
5

รายการ จำนวนเงิน (บาท) หมายเหตุ


1. เงินอุดหนุนรายหัว
1.1 ระดับอนุบาล 33 คน คนละ 1,700 บาท 56,100
1.2 ระดับประถมศึกษา 53 คน คนละ 1,900 บาท 100,700
1.3 โรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มอีกคนละ 500 บาท 43,000
รวมเงินอุดหนุนรายหัว ปีการศึกษา 2562 199,800
2. เงินอุดหนุนอื่นๆ
2.1 โครงการเรียนฟรี 15 ปี
- ค่าเครื่องแบบนักเรียน 29,520
- ค่าอุปกรณ์การเรียน 15,240
- ค่าหนังสือเรียน 51418
- ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 18,843
รวมเงินโครงการเรียนฟรี 15 ปี ปีการศึกษา 2562 145,175
2.2 โครงการอาหารกลางวัน คนละ 20บาท/วัน 340,000 200 วัน
เงินบริจาคอื่นๆ -
รวม (หกแสนแปดหมื่นสามเจ็ดร้อยเจ็ดสิบห้าบาท) 684,975

4.หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนบ้านยางใหญ่ ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง
พุทธศักราช2560) โดยได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียน ในปีการศึกษา 2565 ดังนี้
โครงสร้างเวลาเรียน
หลักสูตรโรงเรียนบ้านยางใหญ่ พุทธศักราช 2553 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
6

ระดับชั้นประถมศึกษา
เวลาเรียน (ชั่วโมง)
กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม ระดับประถมศึกษา
ป. ๑ ป. ๒ ป. ๓ ป. ๔ ป. ๕ ป. ๖
• กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐
คณิตศาสตร์ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐
วิทยาศาสตร์ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
ประวัติศาสตร์ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐
สุขศึกษา และพลศึกษา ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
ศิลปะ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
ภาษาต่างประเทศ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐
รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน) ๘๔๐ ๘๔๐ ๘๔๐ ๘๔๐ ๘๔๐ ๘๔๐
• รายวิชาเพิ่มเติม(ไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง)
หน้าที่พลเมือง ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐
รวมเวลาเรียน (เพิ่มเติม) ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐
• กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมแนะแนว ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐
กิจกรรมนักเรียน
- ลูกเสือ/เนตรนารี ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐
- ชุมนุม ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐
กิจกรรมเพื่อสังคมและสารธารณประโยชน์ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐
รวมเวลากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐
รวมเวลาเรียนทั้งหมด ๑,๐๐๐ ชั่วโมง ๑,๐๐๐ ชั่วโมง
โดยเวลาเรียนแต่ละวันจะแบ่งเป็น 6 ชั่วโมง ชัว่ โมงละ 60 นาที มีรายละเอียดเวลาเรียนในแต่ละวัน ดังนี้
08.00-08.30น. เคารพธงชาติ/แจ้งข่าวสาร/อบรมคุณธรรม จริยธรรม
08.30-09.30น. ชั่วโมงที่ 1 (DLTV)
09.30-10.30น. ชั่วโมงที่ 2 (DLTV)
10.30-11.30น. ชั่วโมงที่ 3 (DLTV)
11.30-12.30น. พักกลางวัน
12.30-13.30น. ชั่วโมงที่ 4 (DLTV)
13.30-14.30น. ชั่วโมงที่ 5 (DLTV)
14.30-15.30น. ชั่วโมงที่ 6 ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้/กิจกรรมกีฬา

5. แหล่งเรียนรู้และภูมิปญ
ั ญาท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา
7

แหล่งเรียนรู้ภายใน แหล่งเรียนรู้ภายนอก
1. ห้องเรียน 1.วัดบ้านยางใหญ่
2. ห้องปฏิบัติการต่างๆ 2. สถานีอนามัยบ้านยางใหญ่
3. ห้องสมุด 3. โรงงานทำเตาเศรษฐกิจ
4. อาคารประกอบ 4. แปลงเกษตรปลอดสารพิษ
5. โรงอาหาร 5. ลำห้วยกุดใหญ่
6. ห้องพยาบาล 6. สหกรณ์การเกษตรอำเภอโกสุมพิสัย
7. สวนป่า 7. คลองชลประทาน
8. สวนหย่อม 8. ที่ทำการกลุ่มสตรีแม่บ้าน
9. ต้นยางใหญ่ 9. สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลยางน้อย
10. สนามกีฬา 10. ฟาร์มปลา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อ - สกุล ที่อยู่ ความสำคัญ / ความเชี่ยวชาญ
1. นายดำรัส สีพลไกร หมู่ที่ 3 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย ปราชญ์ชาวบ้าน/พิธีกรรมต่างๆ
2. นายสมบูรณ์ เหมือนมาลา หมู่ที่ 3 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย เครื่องจักรสาน/เครื่องประกอบ
พิธีกรรมทางศาสนา/ตัดกระดาษ
3. นายบุญจันทร์ สีพิมพ์สอ หมู่ที่ 3 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย การวางแผนเศรษฐกิจครัวเรือน
4. นายสมพงษ์ แสงโยจารย์ หมู่ที่ 3 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย เลี้ยงปลาขาย/เลี้ยงหมู/โรงสีข้าว
5. นายจำนง สมบูรณ์ หมู่ที่ 4 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย หมอยาสมุนไพร
6. นายวรจักร สารฤทธิ์ หมู่ที่ 5 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย ปลูกไม้ดอก/วางแผนการเกษตร
7. นางฉวีวรรณ สีสมร หมู่ที่ 5 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย การเลี้ยงกบ
8. นางบังอร ผองขำ หมู่ที่ 5 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย การทำเกษตรแบบพอเพียง
9. นายวาสนา ศาลฤทธิ์ หมู่ที่ 5 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย การประมงน้ำจืด
10. นายสุพจน์ กวดนอก หมู่ที่ 5 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย การกีฬา
8

6. โครงสร้างการบริหารและวิธีการบริหารจัดการ

โครงสร้างการบริหารโรงเรียนบ้านยางใหญ่ ปีการศึกษา 2565


คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน

ผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะกรรมอนุกรรมการฝ่าย
(นายบวร ผองขำ) ต่างๆ

งานวิชาการ งานบริหารบุคลากร งานงบประมาณ งานบริหารทั่วไป


ว่าที่ รท.ดุสิต ดรพลก้อม นายบวร ผองขา นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย นายประสิทธิ์ หาจันทร์ศรี
น.ส.นภาภรณ์ สีลานนท์ นางสาวปราณปรียา ทิย์พิชัย นางสาวปราณปรียา ทิย์พิชัย น.ส.นภาภรณ์ สีลานนท์
น.ส.พัชรา สิมหาบุตร ว่าที่ร.ท.ดุสิต ดรพลก้อม นายอุทิศ ประทุมมา
น.ส.ศรัญญา ถูหลงเพีย -การวางแผนอัตรากำลัง น.ส.สุรินทรา พรกุณา
-การสรรหา บรรจุและ
-พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แต่งตั้ง -การจัดสรรงบประมาณ
-พัฒนาการเรียนรู้ -การเสริมสร้าง -การตรวจสอบคดีความ -งานธุรการ
-การวัดผลประเมินผล ประสิทธิภาพการปฏิบัติ -การประเมินผลและ -เลขานุการคณะกรรมการ
-การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ ราชการ รายงานผลการวิจยั และผล สถานศึกษา
การศึกษา -วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินงาน -ข้อมูลสารสนเทศ
-การพัฒนาสื่อนวัตกรรม -การออกจากราชการ -การบริหารการบัญชี -การส่งเสริมสนับสนุนด้าน
-การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ -การพัฒนาบุคลากร -การบริหารพัสดุและ วิชาการ
-การนิเทศการศึกษา สินทรัพย์ -งานอาคารสถานที่
-งานแนะแนวการศึกษา -การระดมทรัพยากรและ -การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
9

นัก(ปี
7. ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา เรียกนารศึเก่กงษา
ดี มี2565)
สุข

1.จำนวนนักเรียนที่รับเข้าใหม่ในปีการศึกษา 2565
จำนวน เป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ
ระดับ / ชั้น หมายเหตุ
(คน) (คน) (ที่เข้าเรียน)
1. ปฐมวัย (อนุบาล 1-3) 6 10 60 ใช้ข้อมูล ณ วันที่
2. ประถมศึกษาปีที่ 1 10 12 83.33 มิถนุ ายน 2565
รวม 16 22 72.73

2.จำนวนนักเรียนที่จบหลักสูตร
จำนวนนักเรียน จำนวนนักเรียน
ระดับ / ชั้น หมายเหตุ
ทั้งหมด ที่จบหลักสูตร
1. ปฐมวัย (อนุบาล 3) 9 9 ใช้ข้อมูลของนักเรียน
2. ประถมศึกษาปีที่ 3 3 3 ณ วันสิ้นปีการศึกษา 2565
3. ประถมศึกษาปีที่ 6 7 7
รวม 19 19

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.1 ผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2565
จำนวน/ร้อยละของเด็กตามระดับคุณภาพ
พัฒนาการ จำนวนเด็กที่ประเมิน
ดี พอใช้ ปรับปรุง
1. ด้านร่างกาย 33 33 - -
2. ด้านอารมณ์-จิตใจ 33 33 - -
3. ด้านสังคม 33 33 - -
4. ด้านสติปัญญา 33 33 - -
10

3.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2565

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน ร้อยละ


จำนวน จำนวนนักเรียนที่มผี ลการเรียนรู้ นร.ที่ได้ นร.ที่ได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับ 3 ระดับ 3
ที่เข้า
0 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 ขึ้นไป ขึ้นไป
สอบ
ภาษาไทย 8 - - 1 - - 3 1 3 7 87.50
คณิตศาสตร์ 8 - 1 - - 1 3 1 2 6 75.00
วิทยาศาสตร์ 8 - - 1 - - 1 1 5 7 87.50
สังคมศึกษา ฯ 8 - - - - 1 2 2 3 7 87.50
ประวัติศาสตร์ 8 - - - 1 - 3 2 2 7 87.50
สุขศึกษาและพลศึกษา 8 - - - - - 1 4 3 8 100
ศิลปะ 8 - - - 1 - 3 2 2 7 87.50
การงานอาชีพฯ 8 - - - - - 2 3 3 8 100
ภาษาต่างประเทศ 8 - 1 - 1 1 3 2 - 5 62.50
หน้าที่พลเมือง 8 - - - 1 2 - 2 3 5 62.50

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน ร้อยละ


จำนวน จำนวนนักเรียนที่มผี ลการเรียนรู้ นร.ที่ได้ นร.ที่ได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับ 3 ระดับ 3
ที่เข้า
0 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 ขึ้นไป ขึ้นไป
สอบ
ภาษาไทย 3 - 1 - - - - 2 - 2 66.67
คณิตศาสตร์ 3 - 1 - - - 1 1 2 66.67
วิทยาศาสตร์ 3 - - 1 - - - 2 2 66.67
สังคมศึกษา ฯ 3 - - - 2 - 1 - - 1 33.33
ประวัติศาสตร์ 3 - - - 1 - - 2 - 2 66.67
สุขศึกษาและพลศึกษา 3 - - - - - 1 1 1 3 100
ศิลปะ 3 - - - - - 1 2 - 3 100
การงานอาชีพฯ 3 - - - - 1 - 2 - 2 66.67
ภาษาต่างประเทศ 3 - 1 1 1 - - - - - 00
หน้าที่พลเมือง 3 - 1 - - 1 1 2 - 3 100
11

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน ร้อยละ


จำนวน จำนวนนักเรียนที่มผี ลการเรียนรู้ นร.ที่ได้ นร.ที่ได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับ 3 ระดับ 3
ที่เข้า
0 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 ขึ้นไป ขึ้นไป
สอบ
ภาษาไทย 8 - - - - - 3 1 4 8 100
คณิตศาสตร์ 8 - - - - 1 1 4 2 7 87.50
วิทยาศาสตร์ 8 - - - - 1 - 5 2 7 87.50
สังคมศึกษา ฯ 8 - - - - - 2 4 3 8 100
ประวัติศาสตร์ 8 - - - - - - 5 3 8 100
สุขศึกษาและพลศึกษา 8 - - - - - - 1 7 8 100
ศิลปะ 8 - - - - - 1 4 3 8 100
การงานอาชีพฯ 8 - - - - - 2 3 3 8 100
ภาษาต่างประเทศ 8 - 1 3 1 - 3 - - 3 37.50
หน้าที่พลเมือง 8 - - - - 1 - 5 2 7 87.50

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน ร้อยละ


จำนวน จำนวนนักเรียนที่มผี ลการเรียนรู้ นร.ที่ได้ นร.ที่ได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับ 3 ระดับ 3
ที่เข้า
0 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 ขึ้นไป ขึ้นไป
สอบ
ภาษาไทย 19 - - 1 4 5 4 3 2 9 47.37
คณิตศาสตร์ 19 - 3 1 4 2 4 2 3 9 47.37
วิทยาศาสตร์ 19 - 3 3 5 3 2 2 1 5 26.32
สังคมศึกษา ฯ 19 - - 2 3 4 1 6 3 10 52.63
ประวัติศาสตร์ 19 - - - 4 4 1 3 7 11 57.89
สุขศึกษาและพลศึกษา 19 - - 2 - 5 2 6 4 12 63.16
ศิลปะ 19 - - - 4 5 2 5 3 10 52.63
การงานอาชีพฯ 19 - - - 1 2 5 5 6 16 84.21
ภาษาต่างประเทศ 19 - 6 1 6 2 3 1 - 4 21.05
หน้าที่พลเมือง 19 - - 3 1 2 4 2 7 13 68.42

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน ร้อยละ


จำนวนนักเรียนที่มผี ลการเรียนรู้ นร.ที่ได้ นร.ที่ได้
12

กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน ระดับ 3 ระดับ 3


ที่เข้า 0 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 ขึ้นไป ขึ้นไป
สอบ
ภาษาไทย 8 - 1 - 2 - - 3 2 5 62.50
คณิตศาสตร์ 8 - - - - 1 1 - 6 7 87.50
วิทยาศาสตร์ 8 - - 1 1 1 2 1 2 5 62.50
สังคมศึกษา ฯ 8 - 1 - 2 - 2 1 2 5 62.50
ประวัติศาสตร์ 8 - - - - 1 - 5 2 7 87.50
สุขศึกษาและพลศึกษา 8 - - 1 1 - 3 2 1 6 75.00
ศิลปะ 8 - - - 2 - 2 - 4 6 75.00
การงานอาชีพฯ 8 - - - - 3 2 - 3 5 62.50
ภาษาต่างประเทศ 8 - 3 2 - - 2 - - 2 25.00
หน้าที่พลเมือง 8 - - - 2 1 1 3 1 5 62.50

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน ร้อยละ


จำนวน จำนวนนักเรียนที่มผี ลการเรียนรู้ นร.ที่ได้ นร.ที่ได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับ 3 ระดับ 3
ที่เข้า
0 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 ขึ้นไป ขึ้นไป
สอบ
ภาษาไทย 7 - - - 2 1 1 1 2 4 57.14
คณิตศาสตร์ 7 - - - 1 1 2 2 1 5 71.43
วิทยาศาสตร์ 7 - 1 - 1 1 2 2 - 4 57.14
สังคมศึกษา ฯ 7 - - - 1 2 1 1 2 4 57.14
ประวัติศาสตร์ 7 - - - 1 2 2 1 1 4 57.14
สุขศึกษาและพลศึกษา 7 - - - - - 2 3 2 7 100
ศิลปะ 7 - - - - 1 - 3 3 6 85.71
การงานอาชีพฯ 7 - - - - 1 2 2 2 6 85.71
ภาษาต่างประเทศ 7 - 2 1 3 1 - - - 0 00
หน้าที่พลเมือง 7 - - - - - 1 3 3 7 100

3.3 ผลการประเมินคุณภาพระดับชาติ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (NT) ปีการศึกษา 2563- 2564

ความสามารถ จำนวนคน ปีการศึกษา ปีการศึกษา ร้อยละของผลต่าง


2563 2564 ระว่างปีการศึกษา
ด้านภาษา 13 36.66 69.83 33.17
ด้านคำนวณ 13 21.33 64.00 42.67
13

รวมความสามารถเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน 13 29.00 66.92 37.92

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-Net) ปีการศึกษา 2563- 2564


คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ย
สาระวิชา จำนวนคน
ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564
การพัฒนา

คณิตศาสตร์ 9 57.04 43.56 -13.48


ภาษาไทย 9 32.08 29.04 -3.04
วิทยาศาสตร์ 9 20.00 36.42 16.42
ภาษาต่างประเทศ 9 33.97 33.71 -0.26
35.77 35.68 -0.09

*หมายเหตุ 1. ให้ลงผลการประเมินคุณภาพระดับชาติ NT(ป.3) และONET(ป.6) การประเมินในทุกระดับชั้น


ที่สถานศึกษาได้รับการประเมิน
2. ช่วงคะแนนเฉลี่ยให้นำผลรวมของคะแนนเฉลี่ยรวมของนักเรียนทุกคนในแต่ละรายวิชาและ
ระดับชัน้ มาลง

3.4 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปีการศึกษา 2564


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
จำนวน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ / ระดับคุณภาพ
นักเรียน จำนวน ( คน ) ร้อยละ
ต้อง ต้อง
ระดับชั้น ทั้งหมด
ดีเยี่ยม ดี พอใช้ ปรับปรุง ดีเยี่ยม ดี พอใช้ ปรับปรุง
ป.1 19 17 2 - - 75.00 25.00 - -
ป.2 10 9 1 - - 66.67 33.33 - -
ป.3 13 8 5 - - 37.50 62.50 - -
ป.4 9 4 5 - - 73.68 26.32 - -
ป.5 4 2 2 - - 75.00 25.00 - -
14

ป.6 9 7 2 - - 71.43 28.57 - -


3.5 ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ปีการศึกษา 2564
จำนวน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน / ระดับคุณภาพ
ระดับชั้น นักเรียน จำนวน ( คน ) ร้อยละ
ต้อง ต้อง
ทั้งหมด ดีเยี่ยม ดี พอใช้ ปรับปรุง ดีเยี่ยม ดี พอใช้ ปรับปรุง
ป.1 19 13 4 1 1 25.00 50.00 12.50 12.50
ป.2 10 - 9 - 1 - 66.67 - 33.33
ป.3 13 9 2 1 1 50.00 25.00 12.50 12.50
ป.4 9 2 5 1 1 42.11 26.33 15.79 15.79
ป.5 4 2 2 - - 25.00 50.00 12.50 12.50
ป.6 9 3 3 3 - 28.57 28.57 28.57 14.29
3.6 ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปีการศึกษา 2564
จำนวนนักเรียน
ชั้น ทั้งหมด ผ่าน (คน/%) ไม่ผ่าน
ป.1 19 19/100 -
ป.2 10 10/100 -
ป.3 13 13/100 -
ป.4 9 9/100 -
ป.5 4 4/100 -
ป.6 9 9/100 -
รวม 64 64/100 -

ผลงานดีเด่น
ประเภท ระดับรางวัล/ชื่อรางวัลที่ได้รับ หน่วยงานที่มอบรางวัล
สถานศึกษา ดีเด่น/โรงเรียนสีขาว ,โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง สพป.มค. 3
-โรงเรียนส่งเริมสุขภาพระดับทอง -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
-โรงเรียนคุณภาพตำบล (ตำบลยางน้อย) ยางน้อย
ผู้บริหาร
นายบวร ผองขำ -ผู้บริหารที่มีคุณธรรม -สพป.มค.3
(ระบุชื่อ)
ครู(ระบุชื่อ) 1. ว่าที่ รท.ดุสิต ดรพลก้อม - คุรุสภา
- หนึ่งแสนครูดี
2.นางแพงตา ศรีจันทร์ - สพป.มค.3
- ครูผู้สอนปฐมวัยดีเด่น
15

การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม
ระดับการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาขั้นพื้นฐาน น้ำหนัก คะแนน ระดับ
(ระดับปฐมวัย) คะแนน ที่ได้ คุณภาพ
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ตัวบ่งชี้ที่ 1 เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย 5.00 5.00 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 2 เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจสมวัย 5.00 5.00 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 3เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมสมวัย 5.00 4.50 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 4 เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย 10.00 8.50 ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 5 เด็กมีความพร้อมศึกษาต่อในขั้นต่อไป 10.00 9.00 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประสิทธิผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็ก ดีมาก
เป็นสำคัญ 35.00 33.00
ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนา ดีมาก
สถานศึกษา 15.00 13.50
ตัวบ่งชี้ที่ 8 ประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพภายใน 5.00 4.75 ดีมาก
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์
2.50 2.50 ดีมาก
พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน
2.50 2.50 ดีมาก
เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาท
2.50 2.00 ดี
ของสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับ
มาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้อง 2.50 2.00 ดี
กับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
คะแนนรวม 100.00 92.25 ดีมาก
สรุปผลการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในภาพรวม
 สมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา  ไม่สมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา
16

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน น้ำหนัก คะแนน ระดับ
(ประถมศึกษา) คะแนน ที่ได้ คุณภาพ
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี 10.00 9.76 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ 10.00 9.68 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 10.00 8.57 ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 4 ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น 10.00 7.42 พอใช้
ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 20.00 10.05 พอใช้
ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน ดีมาก
เป็นสำคัญ 10.00 9.00
ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนา ดี
สถานศึกษา 5.00 4.40
ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดย
5.00 4.74 ดีมาก
สถานศึกษาและต้นสังกัด
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์
5.00 5.00 ดีมาก
พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน
5.00 5.00 ดีมาก
เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาท
5.00 4.00 ดี
ของสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับ
มาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้อง 5.00 4.00 ดี
กับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
คะแนนรวม 100.00 81.52 ดี
สรุปผลการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในภาพรวม
17

การศึกษาขั้นพื้นฐาน น้ำหนัก คะแนน ระดับ


(ประถมศึกษา) คะแนน ที่ได้ คุณภาพ
 สมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา  ไม่สมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา

ส่วนที่ 2
นโยบายและทิศทางการดำเนินงาน

***********************************
นโยบายรัฐบาล

นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 โดยมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้

ข้อ 1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของการปกครองในระบบประชาธิปไตย ตาม
ประเพณีการปกครองของไทย รัฐบาลจึงถือเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งในอันที่จะเชิดชูสถาบันนี้ไว้ด้วยความจงรักภักดีและ
ปกป้องรักษาพระบรมเดชานุภาพ โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางสังคม จิตวิทยาและมาตรการทาง
ระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการกับผู้คะนองปาก ย่ามใจ หรือประสงค์ร้าย มุ่งสั่นคลอน
สถาบันหลักของชาติโดยไม่คำนึงถึงความรู้สำนึกและความผูกพันจงรักภักดีของคนอีกเป็นจำนวนมาก ตลอดจน
เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชน ทั้ง
จะสนับสนุนโครงการทั้งหลายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่งเสริมเจ้าหน้าที่สถานบันศึกษา ตลอดจนหน่วยงาน
ทั้งหลายของรัฐ เรียนรู้เข้าใจหลักการทรงงาน สามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ปฏิบัติราชการและการพัฒนา ตลอดจนเร่งขยายผลตามโครงการและแบบอย่างที่ทรงวางรากฐานไว้ให้แพร่หลาย
เป็นที่ประจักษ์และเกิดประโยชน์ในวงกว้างอันจะช่วยสร้างความสมบูรณ์แก่ประชาชนในที่สุด
ข้อ 3 การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ
3.1 เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลายเนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
โดยสร้างความเข้มแข็งและความพร้อมแก่แรงงานไทยและร่วมพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคมของแรงงาน
อาเซียน
3.2 จัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่เจ้าหน้าที่
ของรัฐและประชาชนทั่วไป โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ได้
ประกาศไว้แล้ว
ข้อ 4 การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
รัฐบาลจะนำการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และความเป็น
ไทยมาใช้สร้างสังคมให้เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและคุณธรรมควบคู่กันดังนี้
18

4.1 จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและ


การศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ
ประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้โดยมีความใฝ่รู้และทักษะที่เหมาะสม เป็นคนดีมีคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพการ
เรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการ
เหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ
4.2 ในระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ให้สอดคล้อง
กับความจำเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา และปรับปรุงและบูรณาการระบบการกู้ยืมเงินเพื่อ
การศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสแก่ผู้ยากจนหรือด้อยโอกาส จัดระบบการสนับสนุนให้เยาวชนทั่วไปมี
สิทธิเลือกรับบริการการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน โดยพิจารณาจัดให้มีคูปองการศึกษาเป็น
แนวทางหนึ่ง
4.3 ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปมี
โอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ กระจายอำนาจการ
บริหารจัดการศึกษาสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามศักยภาพและความ
พร้อม โดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิติบุคคลและบริหารจัดการได้อย่างอิสระและคล่องตัวขึ้น
4.4 พัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถมีความรู้และทักษะใหม่
ที่สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายตามแนวโน้มการจ้างงานในอนาคต ปรับกระบวนการเรียนรู้และหลักสูตร
ให้เชื่อมโยงกับภูมิสังคม โดยบูรณาการความรู้และคุณธรรมเข้าด้วยกันเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้าน
ความรู้ ทักษะ การใฝ่เรียนรู้ การแก้ปัญหาการรับฟังความเห็นผู้อื่น การมีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็น
พลเมืองดี โดยเน้นความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้องในและนอกโรงเรียน
4.5 ส่งเสริมอาชีวศึกษาและการศึกษาระดับวิทยาลัยชุมชน เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะโดยเฉพาะ
ในท้องถิ่นที่มีความต้องการแรงงาน และพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน การศึกษาให้เชื่อมโยงกับมาตรฐานวิชาชีพ
4.6 พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เน้น
ครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอน
เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนทางไกล การเรียนโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์
เป็นต้น รวมทั้งปรับระบบการประเมินสมรรถนะที่สะท้อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนสอนและพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียนเป็นสำคัญ
4.7 ทะนุบำรุงและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ สนับสนุนให้องค์กรทางศาสนามี
บทบาทสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างสันติสุขและความปรองดอง
สมานฉันท์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมตามความพร้อม
4.8 อนุรักษ์ฟื้นฟู และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม ภาษาไทยและภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น
รวมทั้งความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อการเรียนรู้สร้างความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และความ
เป็นไทย นำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดีในระดับประชาชน ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดังนานาชาติ
ตลอดจนเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ
4.9 สนับสนุนการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านและวัฒนธรรม
สากล และการสร้างสรรค์งานศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นสากล เพื่อเตรียมเข้าสู่เสาหลักวัฒนธรรมของประชาคม
อาเซียนและเพื่อการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก
4.10 ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อคุณภาพเพื่อเปิดพื้นที่
สาธารณะให้เยาวชนและประชาชนได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
ข้อ 5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพประชาชน
19

ส่งเสริมการกีฬาเพื่อสุขภาพ ใช้กีฬาเป็นสื่อในการพัฒนาลักษณะนิสัยเยาวชนให้มีน้ำใจนักกีฬา
มีวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกามารยาท และมีความสามัคคี อีกทั้งพัฒนานักกีฬาให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันในระดับ
นานาชาติจนสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศชาติ
ข้อ 6 การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
6.1 ในระยะเร่งด่วน เร่งจ่ายงบลงทุนของปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ที่ยังค้างอยู่ก่อนที่ จะพ้น
กำหนดภายในสิ้นปีนี้ และสานต่อนโยบายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้
จัดทำไว้ โดยติดตามให้มีการเบิกจ่ายอย่างคล่องตัวตั้งแต่ระดับกระทรวงจนถึงระดับท้องถิ่น รวมทั้งจะดูแลไม่ให้มี
การใช้จ่ายที่สูญเปล่า เพื่อช่วยสร้างงานและกระตุ้นการบริโภค
6.2 สานต่อนโยบายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้จัดทำไว้
โดยนำหลักการสำคัญของการจัดทำงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ที่ให้
ความสำคัญในการบูรณาการการงบประมาณและความพร้อมในการดำเนินงานรวมทั้งนำแหล่งเงินอื่นประกอบการ
พิจารณาด้วย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ประหยัด ไม่ซ้ำซ้อน และมีประสิทธิภาพ ทบทวน
ภารกิจที่มีลักษณะไม่ยั่งยืนหรือสร้างภาวะหนี้สินสาธารณะของประเทศเกินความจำเป็น และแสดงรายการลงทุน
ในระดับจังหวัดเพื่อแสดงหนี้สาธารณะของประเทศเกินความจำเป็น และแสดงรายการลงทุนในระดับจังหวัดเพื่อ
แสดงความโปร่งใสเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณ ตั้งแต่
ระดับกระทรวงจนถึงระดับท้องถิ่น เพื่อช่วยสร้างงานและกระตุ้นการบริโภค โดยจะจัดให้มีระบบและกลไกในการ
ติดตามตรวจสอบไม่ให้มีการใช้จ่ายที่สูญเปล่า
ข้อ 7 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบในภาครัฐ
7.1 ปรับปรุงระบบราชการในด้านองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคและ
ท้องถิ่น ทบทวนการจัดโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ซ้ำซ้อนหรือลักลั่นกันหรือมีเส้นทางการ
ปฏิบัติงานที่ยืดยาว ปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้ทันสมัย โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ แก้ไขกฎระเบียบให้โปร่งใส
ชัดเจน สามารถบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนจัดระบบอัตรากำลังและปรับปรุงค่าตอบแทน
บุคลากรภาครัฐให้เหมาะสมและเป็นธรรม ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารจัดการภาครัฐแบบ
ใหม่การตอบสนองความต้องการของประชาชนในฐานะที่เป็นศูนย์กลาง และการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นวางใจในระบบราชการ ลดต้นทุนดำเนินการของภาคธุรกิจเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับ
นานาประเทศ และการรักษาบุคลากรภาครัฐที่มีประสิทธิภาพไว้ในระบบราชการ โดยจะดำเนินการตั้งแต่ระยะ
เฉพาะหน้าไปตามลำดับความจำเป็น และตามที่กฎหมายเอื้อให้สามารถดำเนินการได้
7.2 ยกระดับสมรรถนะของหน่วยงานของรัฐให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการเชิงรุกทั้งใน
รูปแบบการเพิ่มศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนในต่างจังหวัดโดยไม่ต้องเดินทางเข้ามายังส่วนกลาง
ศูนย์บริการสาธารณะแบบครบวงจรที่ครอบคลุมการให้บริการหลากหลายซึ่งจะจัดตั้งตามที่ชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้
ประชาชนสามารถเดินทางไปติดต่อขอรับบริการได้โดยสะดวกการให้บริการถึงตัวบุคคลผ่านระบบศูนย์บริการร่วม
ณ จุดเดียว (One Stop Service) และระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ พัฒนาหน่วยงานของรัฐให้เป็น
องค์กรแห่งการเรียนรู้มีการสร้างนวัตกรรมในการทำงานอย่างประหยัด มีสิทธิภาพ และมีระบบบูรณาการ
7.3 เสริมสร้างระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายบุคลากรภาครัฐวางมาตรการป้องกันการ
แทรกแซงจากนักการเมือง และส่งเสริมให้มีการนำระบบพิทักษ์คุณธรรมมาใช้ในการบริหารงานบุคคลของ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ
7.4 ใช้มาตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกในการรักษา
ศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริตควบคู่กับการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเพื่อ
20

ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างเคร่งครัด ยกเลิกหรือ
แก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น สร้างภาระแก่ประชาชนเกินควร หรือเปิดช่องโอกาสทุจริต
เช่น ระเบียบการจัดซื้อ จัดจ้าง การอนุญาต อนุมัติ และการขอรับบริการจากรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนยืดยาว ใช้เวลานาน
ซ้ำซ้อน และเสียค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและประชาชน

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี
โดยแต่งตั้งให้ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดย
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช และนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหาร
ระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารส่วนภูมิภาค และข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทั่วประเทศ
เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและของกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติให้เกิด
ประสิทธิผลต่อเด็ก เยาวชน ประชาชน และการพัฒนาประเทศโดยรวม

ทัศนคติในการทำงาน
เหตุผลและความจาเป็นที่เกิดขึ้นกับประเทศจนมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลปัจจุบัน
ได้เข้ามาบริหารประเทศ เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในสภาวการณ์ไม่ปกติ ต้องช่วยกัน ยุติความขัดแย้งและ
ปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งในส่วนของการศึกษานั้น ถือว่าเป็นพื้นฐานของการปฏิรูปทุกเรื่อง เริ่มจากการปฏิรูป 11
ด้านของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพราะการศึกษาเป็นพื้นฐานของความมั่นคง ยั่งยืนในการปฏิรูปประเทศ
ต้องใช้เวลานานและต้องมีแผนปฏิรูปทั้งระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และ ระยะยาว กระทรวงศึกษาธิการต้อง
ดำเนินการปฏิรูปการศึกษาโดยคำนึงถึงอนาคตของนักเรียน ซึ่งก็คือ ลูกหลานของเรา ให้มีชีวิตที่สดใสและสามารถ
แข่งขันกับนานาประเทศได้ ต่อจากนี้ ต้องขอทุกคนสละเวลา มากขึ้นเพราะมีงานเร่งด่วนที่ต้องทา ต้องการผลลัพธ์
มากขึ้น เร็วขึ้น และต้องสื่อสารกันเพื่อลดความรู้สึก ขัดแย้งทั้งหมดในกระทรวงศึกษาธิการ โดยจะขอดูที่ผลงาน

แนวคิดในการทำงานของส่วนราชการ
ส่วนราชการตั้งแต่ระดับพื้นที่จะต้องดำเนินการแปลงนโยบายทั้งของรัฐบาลและของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามภารกิจงานในขอบเขตความรับผิดชอบของหน่วยงานเพื่อนาไปสู่การปฏิบัติ มีการศึกษาวิเคราะห์และปรับ
กลยุทธ์การทางานปัจจุบันให้สอดคล้องกับแนวนโยบายให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เพื่อให้ทราบถึงผลการดาเนินงาน
และความคิดเห็นของผู้บริหารระดับพื้นที่ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงเนื่องจากมีช่วงเวลาจำกัด จึงต้องการความ
คิดเห็นเพื่อการหลอมรวมวิธีการทำงานให้รวดเร็วและทำงาน ร่วมกันได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยมีแผนการ
ดำเนินการแบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้
1. งานที่ดำเนินการอยู่แล้วและตรงตามนโยบาย
2. งานที่ดำเนินการอยู่แล้วสามารถปรับให้เป็นไปตามนโยบาย
3. งานที่ดำเนินการและเพิ่มตามนโยบายใหม่ แบ่งเป็น
3.1 งานที่เพิ่มโดยไม่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการ
3.2. งานที่เพิ่มโดยต้องใช้เวลาและงบประมาณดำเนินการ
แนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
น้อมนำกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา
21

มาเป็นแนวทางปฏิบัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาดังนี้
1. " ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู "
2. " ให้ครูสอนเด็กให้มีน้ำใจกับเพื่อน ไม่ให้แข่งขันกัน แต่ให้แข่งกับตัวเอง ให้เด็กที่เรียนเก่งกว่า
ช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า"
3. " ให้ครูจัดกิจกรรมให้เด็กทำร่วมกัน เพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี"
กระทรวงศึกษาธิการโดยหน่วยงานทางการศึกษาทุกสังกัดและผู้เกี่ยวข้อง น้อมนำกระแสพระราชดำรัสมาเป็น
กรอบแนวทางในการปฏิบัติงานการสอนของครู และจัดกิจกรรมโดยการถ่ายทอดพระราช ดำรัสทั้ง 3 ประการให้
บังเกิดผลเป็นรูปธรรม และเป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จการปฏิรูปการศึกษาของประเทศต่อไป

แนวนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา)


การขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กรหลัก และหน่วยงานทางการศึกษาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการที่
ต้องสอดคล้องและขยายผลตามแนวนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับการศึกษา ดังนี้
1. ทำให้เร็ว มีผลสัมฤทธิ์ให้มากที่สุด ส่วนที่เหลือส่งต่อให้รัฐบาลต่อไป
2. ประชาชน สังคมพึงพอใจ ประเทศได้คนมีคุณภาพ
3. ปรับลดภาระงานที่ไม่จำเป็นของกระทรวงศึกษาธิการลง
4. เร่งปรับหลักสูตร/ตำรา แต่ละกลุ่มให้เหมาะสม การพิมพ์ตำราต้องคุ้มราคา
5. ผลิตคนให้ทันกับความต้องการของประเทศ จบแล้วต้องมีงานทำ สามารถเข้าทำงานใน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( Asean Economic Community : AEC ) เพื่อช่วยแก้ปัญหาว่างงานและปัญหา
สังคมได้
6. ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทำให้เด็ก ครู ผู้ปกครองมีความสุข
7. ใช้สื่อการเรียนการสอน กระตุ้นผู้เรียนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้กับเด็ก
8. ลดความเหลื่อมล้า จัดการศึกษาให้ทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ
9. นำระบบ ICT เข้ามาใช้จัดการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมและกว้างขวาง
10.การเรียนไม่ใช่เพื่อการสอบ แต่เรียนให้ได้ทักษะชีวิต สามารถอยู่ในยุคโลกไร้พรมแดน

แนวนโยบายด้านการศึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายทั่วไป 17 เรื่อง
1. การจัดทำแผนงาน/โครงการริเริ่มใหม่
1.1 ต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของงานที่ปฏิบัติให้ชัดเจน
1.2 ต้องมองภาพงานในอนาคตได้อย่างชัดเจน สามารถกำหนดรายละเอียดของงานหลักงานรอง
และงานที่ต้องดำเนินการก่อน/หลัง เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ
1.3 ต้องมีฐานข้อมูลที่ดี ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ตั้งแต่หน่วยงานย่อยขึ้นมาจนถึงหน่วยงาน หลัก
และทันต่อสถานการณ์ เช่น จะผลิตนักศึกษาอาชีวศึกษาต้องรู้ความต้องการจ้างงานของตลาดแรงงานในแต่ละ
สาขาวิชา
1.4 มีการวิเคราะห์ปัญหาและทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาให้ชัดเจน ซึ่งผลการวิเคราะห์จะช่วย
ให้การแก้ไขปัญหามีความแม่นยำมากขึ้น
2. การปรับปรุงแผนงาน/โครงการเดิมที่ไม่สัมฤทธิ์ผล
ให้ค้นหาสาเหตุปัญหาการดำเนินงานที่ผ่านมา แล้ววิเคราะห์หาทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
22

ที่หลากหลาย เช่น ปัญหาเรื่องอายุของผู้เรียน ปัญหาอยู่ที่ครู ปัญหาอยู่ที่พ่อแม่ ปัญหาอยู่ที่สภาวะแวดล้อมซึ่ง


บางครั้งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีหนึ่งวิธีเดียว
3. แผนงาน/โครงการตามพระราชดำริ
3.1 ให้มีการดำเนินโครงการตามพระราชดำริในส่วนที่กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบ
โดยตรงหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง
3.2 โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้า
พระบรมราชินีนาถฯ หรือพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ หรือให้ การสนับสนุน
ต้องสามารถอธิบายที่มา เหตุผล และความสำคัญของโครงการให้นักเรียนนักศึกษารู้และเข้าใจ หลักการแนวคิด
ของโครงการได้ชัดเจน รวมทั้งถ่ายทอดให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี
3.3 ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานโครงการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในส่วนที่
เกี่ยวข้อง โดยการเรียนรู้ทำความเข้าใจและยึดเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต พร้อมทั้งสามารถเผยแพร่ขยายผล
ต่อไปได้
3.4 ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม เพื่อเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติและ
สถาบันหลักของชาติ
4. งบประมาณ
4.1 งบลงทุน
1) ให้เตรียมการดำเนินโครงการให้พร้อมในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
2) การใช้งบประมาณ เมื่อได้รับแล้วต้องเร่งดำเนินการตามแผนที่กำหนดเพื่อให้เกิด
การกระจายงบประมาณในพื้นที่
4.2 งบกลาง
1) ให้เสนอขอใช้งบกลางอย่างมีเหตุผลและใช้เท่าที่จำเป็น
2) ให้เกลี่ยงบประมาณปกติของส่วนราชการมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.3 การใช้งบประมาณในการดำเนินงาน ต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ซึ่ง รัฐบาลจะ
แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ (คตร.) ทุกกระทรวงและ มีการแต่งตั้ง
คณะกรรมการ คตร. เฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐของ
กระทรวงศึกษาธิการ และช่วยการปฏิบัติงานของผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเพื่อความโปร่งใสและ ถูกต้อง
4.4 งานบางโครงการที่ต้องมีการบูรณาการตามแผนงบประมาณบูรณาการนั้น ให้มี
การบูรณาการกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้การใช้งบประมาณคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
5. เน้นการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร
5.1 จัดให้มีช่องทางการสื่อสารอย่างเป็นระบบ นำเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วย
ปฏิบัติงาน อาทิ การประชุมทางไกล โปรแกรมไลน์ เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) สร้างความเข้าใจภายในองค์กรให้มากขึ้น
2) ให้ผู้บริหารมีช่องทางติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา สามารถถ่ายทอดคำสั่งไปยัง
หน่วยรองและหน่วยปฏิบัติได้ทันที รวดเร็ว และทั่วถึง
3) ให้มีการรายงานที่รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และทดสอบระบบที่มีอยู่เสมอ
5.2 ทุกหน่วยงานต้องจัดให้มีแผนการประชาสัมพันธ์ อาทิ
1) เสมาสนเทศ เป็นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร คือ การสร้างความเข้าใจ
ภายในองค์กร หน่วยงาน
2) ประชาสนเทศ เป็นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อภายนอกองค์กร คือ การสร้าง
23

ความเข้าใจกับประชาชน
6. อำนวยการเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน
กรณีเกิดอุบัติเหตุ ภัยพิบัติ หรือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู นักเรียน นักศึกษา ทั้งที่เกิด
ในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา อาทิ การกล่าวหาพฤติกรรมผู้บริหาร การประท้วงต่อต้านผู้บริหาร นักเรียน
เจ็บป่วยผิดปกติ โรงเรียนถูกขู่วางระเบิด โรงเรียนเกิดวาตภัย ฯลฯ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการ
วิธีการ ขั้นตอนปฏิบัติที่ชัดเจน ในการป้องกันแก้ไขปัญหา ตลอดจนสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้เกี่ยวข้อง
ให้ทบทวนปรับปรุงหรือทาการซักซ้อมความเข้าใจ อยู่เสมอ ซึ่งเบื้องต้นต้องมีรายละเอียดดังนี้
1) มีการจัดระบบและกำหนดผู้ปฏิบัติที่ชัดเจน
2) มีวิธีการ ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ระยะสั้น และระยะยาว
3) สำรวจระบบที่มีอยู่ให้มีความพร้อมปฏิบัติงานอยู่เสมอ
4) ให้มีระบบการรายงานเหตุด่วนตามลำดับขั้นอย่างรวดเร็ว
7. การร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม
การประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดการศึกษา
ให้ครบวงจร เช่น ร่วมกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนให้นักเรียนนักศึกษาเข้าทำงานระหว่างกำลังศึกษาและ
การรับเข้าทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา
8. ให้ความสำคัญกับการบริหารงานส่วนภูมิภาคและเขตพื้นที่ต่าง ๆ ของแต่ละส่วนราชการ
8.1 ให้มีการทบทวนบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานของหน่วยงานระดับพื้นที่ให้ครบถ้วน
8.2 กำหนดบทบาทภารกิจในสิ่งที่ต้องรู้และสิ่งที่ยังไม่รู้ ให้มีการแบ่งภารกิจงานให้ชัดเจน
8.3 กำหนดความต้องการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้พอเพียง
9. โครงการจัดอบรม สัมมนา ต้องบรรลุตามวัตถุประสงค์
9.1 การจัดโครงการประชุมสัมมนา ต้องดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่
กำหนดอย่างมีประสิทธิผล เป็นไปตามนโยบาย และเกิดประโยชน์แก่ประชาชน
9.2 การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย วิทยากร หรือส่งบุคลากรเข้าร่วมประชุมสัมมนากับ
หน่วยงานในทุกระดับต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลการดำเนินงานที่มีคุณภาพ
10. ยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร
ให้เร่งยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในกลุ่มเป้าหมายหลักนักเรียน นักศึกษา ให้มีความรู้
และสามารถใช้ในการสื่อสารเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
11. ให้มีการนำ ICT มาใช้ในการบริหารงานในกระทรวงศึกษาธิการอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ
11.1 ให้มีการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาทางไกล (Distance Learning Thailand) โดย บูรณาการเข้า
กับสถานีวิทยุเพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (ETV) และเครือข่ายของสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา
ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารเพื่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
11.2 จัดให้มี CEO ด้าน ICT เพื่อขับเคลื่อนงานการจัดการศึกษา การใช้สื่อเพื่อสร้าง ความเข้าใจ
สนใจ และการประชาสัมพันธ์ด้าน "เสมาสนเทศ" และ "ประชาสนเทศ"

12. ให้ความสำคัญกับเทคนิคการสอนและการสื่อความหมาย
ส่งเสริมให้ครูผู้สอนพัฒนาหรือต่อยอดนวัตกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อเทคโนโลยี ต่าง ๆ จัดการเรียนการ
สอน การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ดี ทำให้เด็กเกิดความสนใจเรียนรู้และมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึ้น
13. การดูแลรักษาสภาพแวดล้อม
13.1 ให้มีการประดับธงชาติในสถานที่ราชการและสถานศึกษาให้เรียบร้อย เหมาะสม
24

13.2 ดูแลความสวยงามและความสะอาด บริเวณพื้นที่ที่รับผิดชอบของหน่วยงานและ


สถานศึกษาทุกระดับ
13.3 การรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานและสถานศึกษา ต้องจัดให้มีแผนรักษา
ความปลอดภัยให้ชัดเจน อาทิ แผนเผชิญเหตุอัคคีภัย อุทกภัย จัดลำดับความสำคัญและสภาพปัญหา
ภัยคุกคามของแต่ละพื้นที่ และมีการซักซ้อมแผนอย่างสม่ำเสมอ
14. ให้ลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
14.1 ให้น้อมนำกระแสพระราชดำรัส มาเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานการสอนของครู
14.2 ให้ลดเวลาเรียนต่อวันในช่วงเวลาบ่าย เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลานอกห้องเรียนเพื่อการเรียนรู้และเข้า
ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นตามความถนัดและความสนใจ เพื่อให้เกิดการผ่อนคลายและมีความสุข
15. การประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะให้สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ให้จัดระบบการประเมินผลงาน ความก้าวหน้า และการปรับเพิ่มวิทยฐานะและภาระงานของครูผู้สอนให้สามารถ
วัดผลได้จริงสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ทั้งด้านความรู้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และทักษะชีวิต
16. การแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ให้เร่งรัดการดำเนินโครงการขับเคลื่อนตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้และ สนับสนุนการดำเนิน
โครงการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้บังเกิดผลโดยเร็ว อาทิ โครงการสานฝันการกีฬาสู่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
17. ครูควรมีข้อมูลนักเรียนและผู้ปกครอง
ให้จัดระบบการทำระเบียนข้อมูลประวัติผู้เรียนและผู้ปกครองให้เป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นระบบ ดูแล
นักเรียนและช่วยแก้ไขปัญหาที่ตัวผู้เรียนและครอบครัวเป็นรายบุคคลได้ เช่น ครอบครัวที่ประสบเหตุภัยแล้ง
อุทกภัยต่าง ๆ และรวบรวมเป็นข้อมูลในภาพรวมของหน่วยงานระดับพื้นที่ในการให้ความช่วยเหลือ บรรเทา
ปัญหาในรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป

นโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา
1. นโยบายด้านการปราบปรามทุจริต
1.1 ห้ามมิให้มีการซื้อขายตำแหน่งหรือเรียกรับเงินเพื่อการสอบบรรจุ การรับโอน
การโยกย้าย หรือผลตอบแทนอันใด ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติราชการ
1.2 หยุดการทุจริตภายในองค์กรโดยเด็ดขาด หากพบข้อมูล
1) ดำเนินการสอบสวนหาผู้กระทำผิดและดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างจริงจัง
2) ทำการตรวจสอบช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริตตามที่ตรวจพบนั้น ๆ และทำการแก้ไข
3) ปรับปรุงระบบ ระเบียบ รวมถึงมาตรการต่าง ๆ ควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้นอีก
1.3 ดำเนินการสุ่มตรวจสอบ หากพบมีการทุจริตในหน่วยงานใด ผู้บังคับบัญชาหน่วยงาน
ตามลำดับชั้นต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย ฐานปล่อยปละละเลยให้เกิดการกระทำผิดดังกล่าว

2. นโยบายด้านสวัสดิการ
2.1 การสอบบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย ให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม
25

2.2 ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.)
ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการดูแลสวัสดิการและสวัสดิภาพครูให้ครอบคลุมทุกด้าน ไม่เฉพาะ กรณีเสียชีวิต
เท่านั้น เพื่อช่วยให้ครูได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.3 เรื่องหนี้สินของครู ส่งเสริมให้ครูมีจิตสำนึกรู้จักการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักใช้ รู้จักเก็บ สร้างเกียรติภูมิในตนเอง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน

3. นโยบายด้านการจัดการขยะ
3.1 ให้สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขยายผล โครงการ
โรงเรียนขยะให้เพิ่มมากขึ้น
3.2 ให้สถานศึกษา/สถาบันการศึกษาทุกสังกัด ขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะโดยการปลูกจิตสำนึก
แก่ผู้เรียนทุกระดับ ให้ลดการทิ้งขยะ รู้จักการคัดแยกประเภทขยะ และการกำจัดขยะ
ที่ถูกต้อง

4. นโยบายด้านการดูแลรักษาสิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์
ให้มีการจัดระบบการดูแลรักษาสิ่งปลูกสร้างและครุภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้
4.1 ระบบการจัดหาและแจกจ่ายครุภัณฑ์ ให้ใช้หลักตรรกะในการดำเนินการ ตามเหตุผล
และความจำเป็นของหน่วยงาน
4.2 ระบบการซ่อมบำรุง ให้จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจสร้างระบบการดูแลซ่อมบำรุง ตรวจสอบ
วงรอบการใช้งาน กำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน มีการเชื่อมโยงและร่วมมือกับหน่วยงานที่มีทักษะในการซ่อม
บำรุง
4.3 ระบบดูแลอาคารสถานที่ ให้จัดระบบการดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย ตรวจสภาพไม่ให้ทรุดโทรมอย่างต่อเนื่อง

นโยบายเฉพาะ : การศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. การแก้ไขปัญหาเด็กประถมศึกษา อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
1) ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนที่เห็นผลสัมฤทธิ์ชัดเจน เช่น การสอนแบบแจกลูกสะกดคา
โดยใช้แนวการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมอง (Brain Based Learning : BBL)
2) กำหนดเป้าหมายให้นักเรียนชั้น ป.1 ต้องอ่านออกเขียนได้ ชั้น ป.2 ขึ้นไปต้องอ่านคล่อง
เขียนคล่อง

2. การดูแลเด็กออกกลางคันให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ
1) ต้องมีฐานข้อมูลเด็กออกกลางคันที่ชัดเจน
2) เด็กที่ออกกลางคันต้องมีข้อมูลและติดตามดูแลให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับต่อเนื่อง หรือ ออกไปทา
งานต้องส่งเสริมให้ได้รับการศึกษานอกโรงเรียน โดยมีเครือข่ายประสานการติดตามอย่างเป็นระบบ
3. ให้ทบทวนปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา
1) ลดเวลาเรียนต่อวัน ลดการบ้านนักเรียน นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข ไม่มีกิจกรรม
เพิ่มภาระนักเรียนในเวลาที่เหลือ
2) ให้ผู้เรียนได้ใช้เวลานอกห้องเรียนเพื่อการเรียนรู้ และเข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น
26

ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนให้มากขึ้น เพื่อให้ผ่อนคลายและมีความสุข
3) ให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด ปฏิบัติ มากกว่าท่องจำเพื่อการสอบอย่างเดียว เพื่อสร้างภูมิต้านทาน
ให้กับเด็กยุคโลกไร้พรมแดน
4. การแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก
โรงเรียนที่มีครูสอนไม่ครบชั้นเรียน ให้จัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning
Information Technology : DLIT) อย่างจริงจังและเต็มรูปแบบ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียน ไกลกังวลเป็น
โรงเรียนต้นทางที่มีคุณภาพ
5. การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ใช้โครงการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาทางไกล (Distance Learning Television : DLTV) และผ่าน
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Communication Technology : ICT) ด้วยการจัด การศึกษา
ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLIT)
6. การประเมินครู นักเรียน โรงเรียน
ให้หาความสมดุลระหว่างการควบคุมคุณภาพการศึกษากับภาระงานของครูที่ต้องเพิ่มขึ้น
ตลอดจนปรับปรุงการคัดสรรครู ผู้บริหาร การประเมินวิทยฐานะให้เหมาะสม จัดรถโมบายเคลื่อนที่จาก
ส่วนกลางเพื่อช่วยลดภาระครู หรือนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุน

นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการศึกษาเริ่มแรกของคนในชาติ ดังนั้น เพื่อให้การศึกษาของประเทศไทย มี
คุณภาพมาตรฐานระดับสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย ให้นักเรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพสูงสุดในตน มีความรู้
และทักษะที่แข็งแกร่งและเหมาะสม เป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ระดับสูงขึ้นไป และการดำรงชีวิต ในอนาคต
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนด
นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ดังนี้
นโยบายที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
นโยบายที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
นโยบายที่ 3 พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา
นโยบายที่ 4 สร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและลดความเหลื่อมล้ำ
ทางการศึกษา
นโยบายที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ยุคของกสนเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาของประเทศครั้งสำคัญที่จะ
พัฒนาประชากรวัยเรียนทุกคนและทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหมายรวมถึง กลุ่มผู้เรียนที่มีความจำเป็นพิเศษ กลุ่มชาติพันธุ์
กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่อยู่ห่างไกลทุรกันดาร ให้มีความพร้อมที่กาย ใจ สติปัญญา มีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิต
สาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรมอันดีและเป็นพลเมืองที่ดี
ของชาติ และพลเมืองโลก มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเป็น
ภาษาที่ 3 และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่ความเป็นไทยและ
พลเมืองโลกที่มีทักษะการคิดชั้นสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุ คใหม่ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของ
ตนเอง โดยได้กำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ เป้าประสงค์ และแนวทางการดำเนินงานดังนี้

วิสัยทัศน์
สร้างคุณภาพทุนมนุษย์ สู่สังคมมนุษย์ที่ยั่งยืน
27

พันธกิจ
1. จั ด การศึ ก ษาเพื ่ อ เสริ ม สร้ า งความมั ่ น คงของสถาบั น หลั ก ของชาติ แ ละการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. พัฒนาศักยภาพผู้เรียนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ
วิชาการ ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21
3. ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ
4. สร้างโอกาส ความเสมอภาคลดความเหลื่อมล้ำให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่งถึงและ
เท่าเทียม
5. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดปรัชญาของเศรษฐกิ จ
พอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบบูรณาการ และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความรู้ มีทักษะและคุณลักษณะ
ของผู้เรียนในศตวรรษ ที่ 21 มีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และ
การปรับตัวต่อการเป็นพลเมืองและพลโลกที่ดี
2. ผู้เรียนมีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล
กันดารได้รับการศึกษาอย่างทั่งถึง เท่าเทียมและมีคุณภาพ พร้อมก้าวสู่สากล ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
3. ครูเป็นผู้เรียนรู้ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความแม่นยำทางวิชาการ และมีทักษะการจัดการ
ความรู้ที่หลากหลายตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมและทักษะในการใช้
เทคโนโลยี
4. ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นเลิศส่วนบุคคล คิดเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม มีภาวะผู้นำทางวิชาการ มี
สำนึกความรับผิดชอบและการบริหารแบบร่วมมือ
5. สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหารงานและจัดการเรียนรู้ ร่ว มมือกับชุมชน ภาคเอกชน และ
ผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาระดับพื้นที่ จัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในทุกมิติ
เป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการบริหารงานเชิงบูรณาการ เป็นสำนักงานแห่งนวัตกรร มยุคใหม่ ใช้
ข้อมูลสารสนเทศและการวิจัยและพัฒนาในการขับเคลื่อนคุณภาพ กำกับ ติดตาม ประเมินและรายงาน
ผลอย่างเป็นระบบ
7. สำนักงานส่วนกลางปรับเปลี่ยนการทำงาน โดยกระจายอำนาจการบริหารงานและการจัดการศึกษาให้
สถานศึ ก ษา บริ ห ารเชิ ง บู ร ณาการ มี ร ะบบข้ อ มู ล สารสนเทศที ่ ม ี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ กำกั บ ติ ด ต าม
ประเมินผลและการรายงานผลอย่างเป็นระบบ ใช้วิจัยและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนคุณภาพ

กลยุทธ์เชิงนโยบาย
กลยุทธ์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา
28

กลยุทธ์ที่ 4 สร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและลดความเหลื่อมล้ำทางการ


ศึกษา
กลยุทธ์ที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

ผลผลิต
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการดำเนินงาน 6 ผลผลิต คือ
1. ผู้จบการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
2 .ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ
3. ผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
4. เด็กพิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาสมรรถภาพ
5. เด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
6. ผู้ที่มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาศักยภาพ
โดยมีหน่วยกำกับ ประสาน ส่งเสริมการจัดการศึกษา คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
จำนวน 183 เขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 42 เขต และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ซึ่งมีสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหน่วยปฏิบัติการการจัดการศึกษา เพื่อให้ภารกิจดังกล่าวสามารถตอบสนองสภาพ
ปัญหาและรองรับการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดจุดเน้นการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2559
โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 จุดเน้นด้านผู้เรียน
1.1 นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญ สู่มาตรฐานสากล ดังต่อไปนี้
1.1.1 นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญาที่
สมดุลเหมาะสมกับวัยและเรียนรู้อย่างมีความสุข
1.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระหลักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 3
1.1.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถด้านภาษา อ่านออก เขียนได้ ด้านคำนวณและ
ด้านการใช้เหตุผลที่เหมาะสม
1.1.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการส่งเสริมให้มีแรงจูงใจสู่
อาชีพ ด้วยการแนะแนวทั้งโดยครูและผู้ประกอบอาชีพต่างๆ (ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า สถานประกอบการ) และได้รับ
การพัฒนาความรู้ ทักษะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพสุจริตในอนาคต
1.1.5 นักเรียนมีทักษะชีวิต ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และทักษะการสื่อสารอย่าง
สร้างสรรค์อย่างน้อย 2 ภาษา ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เหมาะสมตามช่วง
วัย
1.2 นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด มีคุณลักษณะและทักษะทาง
สังคมที่เหมาะสม
29

1.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษา ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ดี และอยู่รวมกันกับผู้อื่นได้


1.2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีทักษะการแก้ปัญหา และอยู่อย่างพอเพียง
1.2.3 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความมุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงานและสามารถ
ปรับตัวเข้ากับพหุวัฒนธรรม บนพื้นฐานวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างไทย
1.3 นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเต็มศักยภาพ เป็นรายบุคคล
ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
1.3.1 เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลายตามหลักวิชา
1.3.2 เด็กด้อยโอกาสและเด็กในพื้นที่พิเศษ ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการ
เรียนรู้ของหลักสูตร และอัตลักษณ์แห่งตน
1.3.3 นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมให้มีเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
พื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา ดนตรีและศิลปะ
1.3.4 นักเรียนที่เรียนภายใต้การจัดการศึกษาโดยครอบครัว สถานประกอบการ บุคคล องค์กร
วิชาชีพ องค์กรเอกชน องค์กรชุมชนและองค์กรสังคมอื่น และการศึกษาทางเลื อก ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
ตามมาตรฐาน
1.3.5 เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือ
เยียวยา ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
1.3.6 เด็กวัยเรียนในถิ่นทุรกันดาร ได้รับการศึกษาและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ส่วนที่ 2 จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.1 ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการสื่อสารมีสมรรถนะในการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
2.1.1 ครูได้รับการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอน การสอนคิดแบบต่าง ๆ และการวัดประเมินผล
ให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนให้มีคุณภาพตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
2.1.2 ครูสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศและการสื่อสารอย่าง
เหมาะสม
2.1.3 ครูได้รับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา
และครูทั้งในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียน หรือภาคส่วนอื่น ๆ ตามความพร้อมของโรงเรียน
2.1.4 ครูสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และทุกภาคส่วนให้เกิด
ชุมชนแห่งการเรียนรู้
2.1.5 ครูจัดการเรียนการสอน ให้สอดรับกับการเป็นประชาคมอาเซียน
2.1.6 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจิตวิญาณของความเป็นครู การเป็นครูมืออาชีพและยึดมั่นใน
จรรยาบรรณของวิชาชีพ
2.2 ผู้บริหารสถานศึกษา มีความสามารถในการบริหารงานทุกด้านให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
2.3 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญกำลังในการทำงาน
2.4 องค์คณะบุคคลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสี่ยที่เกี่ยวข้อง วางแผนและสรรหาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและสังคม

ส่วนที่3 จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ
3.1 สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักบริหารงานศึก ษาพิเศษ บริหารจัดการโดย
มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
30

3.1.1 โรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกและที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำ
กว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ได้รับการแก้ไข ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม และประเมินผล โดยสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน และเป็นผู้ประสานงานหลักให้โรงเรียนทำแผนพัฒนาเป็ นรายโรง ร่วมกับ
ผู้ปกครองชุมชน และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ โดยใช้มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา
3.1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พัฒนาระบบช่วยเหลือนักเรียน กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการ
บริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
3.1.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชิดชูเกียรติโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
อัตราการออกกลางคันลดลง มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลงอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
3.2 หน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมใน
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.2.1 หน่ว ยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับทั้งส่วนกลาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน เข้ ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา
3.2.2 หน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกระดับทั้งส่วนกลาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ส่งเสริมการระดมทรัพยากร ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3
วิสัยทัศน์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 เป็นองค์กรในการส่งเสริมสนับสนุน
การจัดการศึกษาให้สถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บนพื้นฐานความเป็นไทย

พันธกิจ
1. เสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นมืออาชีพ
5. บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ตามหลักธรรมาภิบาล
6. พัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

ค่านิยมองค์กร : FIRST
Fairness : มีความยุติธรรม
Intelligence : นำความรอบรู้
Result : มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์
Service Mind : มีจิตบริการ
Teamwork : ทำงานเป็นทีม
31

เป้าประสงค์
1. นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษามีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย และนักเรียนระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานทุกคน มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยและมีคุณภาพ
2. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และเสมอภาค
3. ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีทักษะที่เหมาะสม และมีวัฒนธรรมการ
ทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีประสิทธิภาพ และเป็นกลไกขับเคลื่อนการศึกษา
ขั้นพื้นฐานสู่คุณภาพระดับมาตรฐานสากล
5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 บูรณาการการทำงานเน้นการบริหาร
แบบมีส่วนร่วม กระจายอำนาจและความรับผิดชอบสู่สถานศึกษา

กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลยุทธ์ที่ 2 การเพิม่ โอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับ
โอกาสในการพัฒนาเด็กตามศักยภาพ และมีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ
จุดเน้น
ส่วนที่ 1 จุดเน้นด้านผู้เรียน
1.1 นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญ สู่มาตรฐานสากล ดังต่อไปนี้
1.1.1 นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และ
สติปัญญา ที่ สมดุลเหมาะสมกับวัยและเรียนรู้อย่างมีความสุข
1.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน จากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระหลักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5
1.1.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถด้านภาษา อ่านออก เขียนได้ ด้าน
คำนวณและด้านการใช้เหตุผลที่เหมาะสม
1.1.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการส่งเสริมให้มี
แรงจูงใจ สู่อาชีพ ด้วยการแนะแนวทั้งโดยครูและผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ (ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า สถานประกอบการ)
และได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพสุจริตในอนาคต
1.1.5 นักเรียนมีทักษะชีวิต ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และทักษะการสื่อสาร
อย่างสร้างสรรค์อย่างน้อย 2 ภาษา ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เหมาะสมตาม
ช่วงวัย
1.2 นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด มีคุณลักษณะและทักษะ
ทางสังคมที่เหมาะสม
1.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษา ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ดี และอยู่รวมกันกับผู้อื่นได้
1.2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีทักษะการแก้ปัญหา และอยู่อย่างพอเพียง
1.3 นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเต็มศักยภาพ เป็น
รายบุคคล ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
32

1.3.1 เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลายตาม
หลักวิชา
1.3.2 เด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้
ของหลักสูตร และอัตลักษณ์แห่งตน
1.3.3 นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมให้มีเป็นเลิศ ด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา ดนตรีและศิลปะ
1..3.4 เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ได้รับการคุ้มครอง
และช่วยเหลือเยียวยา ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

ส่วนที่ 2 จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.1 ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการสื่อสารมีสมรรถนะในการสอนอย่างมี
ประสิทธิภาพ
2.1.1 ครูได้รับการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอน การสอนคิดแบบต่าง ๆ และการวัด
ประเมินผลให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนให้มีคุณภาพตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
2.1.2 ครูสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร
อย่างเหมาะสม
2.1.3 ครูได้รับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา
และครูทั้งในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียน หรือภาคส่วนอื่น ๆ ตามความพร้อมของโรงเรียน
2.1.4 ครูสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และทุกภาคส่วนให้เกิด
ชุมชนแห่งการเรียนรู้
2.1.5 ครูจัดการเรียนการสอน ให้สอดรับกับการเป็นประชาคมอาเซียน
2.1.6 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจิตวิญาณของความเป็นครู การเป็นครูมืออาชีพและยึดมั่น
ในจรรยาบรรณของวิชาชีพ
2.2 ผู้บริหารสถานศึกษา มีความสามารถในการบริหารงานทุกด้านให้มีประสิทธิภาพและเกิด
ประสิทธิผล
2.3 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญกำลังในการทำงาน
2.4 องค์คณะบุคคลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสี่ยที่เกี่ยวข้อง วางแผนและสรรหาครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและสังคม

ส่วนที่ 3 จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ
3.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา บริหารจัดการโดยมุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การ
มีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
3.1.1 โรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกและที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำ
กว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ได้รับการแก้ไข ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม และประเมินผล โดยสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน และเป็นผู้ประสานงานหลักให้โรงเรียนทำแผนพัฒนาเป็นรายโรง ร่วมกับ
ผู้ปกครองชุมชน และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ โดยใช้มาตรฐานสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษา
33

3.1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พัฒนาระบบช่วยเหลือนักเรียน กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ


การบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
3.1.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชิดชูเกียรติโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สูงขึ้น อัตราการออกกลางคันลดลง มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลงอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
3.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา
3.2.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ส่งเสริมทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วม
ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.2.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ส่งเสริมการระดมทรัพยากรในการพัฒนา
คุณภาพการศึกษา

นโยบายสู่การปฏิบัติของโรงเรียนบ้านยางใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2563

เจตนารมณ์
โรงเรียนบ้านยางใหญ่ มีเจตนารมณ์ที่จะจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตอยู่
อย่างพอเพียง สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านยางใหญ่ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์
มาตรฐานการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหาร บูรณาการ
การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์และวัฒนธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
พันธกิจ
1. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
2. ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ อย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดประสิทธิผล
3. นักเรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ใช้เทคโนโลยีและภาษาเพื่อการสื่อสาร
4. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และเตรียมพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
5. พัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินงานภายในโรงเรียน
6. จัดหาสื่อการเรียนการสอน ปรับปรุงห้องสมุด จัดหาคอมพิวเตอร์
7. พัฒนาระบบอินเตอร์เน็ต ให้มีประสิทธิภาพสามารถสืบค้นข้อมูลได้
8. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
9. พัฒนานักเรียนให้มีความสมบูรณ์ทางสติปัญญา อารมณ์ สังคม มีสุขภาพกาย
และสุขภาพจิตที่ดี
10. ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
34

เป้าหมาย
1. โรงเรียนสะอาดอันเกิดจากจิตสำนึกของผู้เรียน ร่มรื่นสวยงามด้วยร่มเงาธรรมชาติ บรรยากาศ
เหมือนบ้านสีสันสดใส มีความปลอดภัย ปลอดสารเสพติด
2. โรงเรียนมีห้องสมุด 3 ดี มีห้องปฏิบัติการทางภาษา วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ พร้อมสื่ออุปกรณ์
ครบถ้วนและใช้งานคุ้มค่า มีศูนย์การเรียนรู้งานอาชีพครบวงจร เป็นศูนย์กลางกีฬาเพื่อชุมชน มีห้องสุขานักเรียนที่
สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ ครูใช้แหล่งเรียนรู้ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้สื่อเทคโนโลยีทันสมัยในการ
สอน
3. จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-net, NT สูงขึ้นเทียบเท่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ
อ่านออก เขียนได้ เขียนสวย นับแต่ชั้น ป.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ยิ้มไหว้ทักทายกัน มีสุขภาพกายและ
สุขภาพจิตดี ใช้ ICT ได้ รักและเห็นคุณค่าของงานอาชีพต่างๆ
4. นักเรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อการดำรงชีวิตที่เพียงพอและมี
ความสุข
5. บุคลากรทางการศึกษาทำงานอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับการบริหารที่มีคุณภาพ
6. นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร ต่อต้านการทุจริต
7. นักเรียนให้มีความสมบูรณ์ทางสติปัญญา อารมณ์ สังคม มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
8. นักเรียนมีจิตสำนึกถึงความเป็นคนไทย จงรักภักดีต่อสถานบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
9. นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะอาชีพอย่างน้อย 1 อาชีพ และไปประกอบอาชีพในอนาคตได้
10. นักเรียนมีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
กลยุทธ์
1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความเสมอภาค
ทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
2. ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

จุดเน้น
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ( O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใน 4 กลุ่มสาระวิชาหลัก เพิ่มขึ้นอย่างน้อย
ร้อยละ 10 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ใน 2 ด้าน เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ป.6 ทุกคนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ลดจำนวนนักเรียนพิการ
ทางการเรียนรู้
3. เด็กปฐมวัย ได้รับการเตรียมความพร้อมตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มีความพร้อมในการเรียนใน
ชั้นที่สูงขึ้น
4. เพิ่มศักยภาพนักเรียนในการเรียนรู้วิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์
วิชาภาษาอังกฤษ และด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
5. นักเรียนทุกคนมีจิตสำนึกในความเป็นคนไทย จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
6. ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ลดอัตราการออกกลางคัน
เพิ่มอัตราศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
7. ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาสู่สถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ
35

8. นักเรียน ครูและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
9. โรงเรียน มีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับของชุมชน
10.โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ ที่ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
11. นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
12. โรงเรียนส่งเสริมการใช้เวลาว่างในการเล่นกีฬาตามความสนใจและส่งเสริมเพิ่มนิสันรักการอ่าน

จุดเน้น มาตรการ และตัวชี้วัดความสำเร็จ


กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริม
ความสามารถเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สนอง
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ นโยบาย
ศธ.
1. นักเรียนปฐมวัยมี - พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการ - ร้อยละ 100 ของนักเรียน ข้อ 1
พัฒนาการด้านร่างกาย จัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความ ปฐมวัยที่ได้รับการเตรียม
อารมณ์-จิตใจ สังคม และ พร้อมให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความพร้อม
สติปัญญา ที่สมดุล เหมาะสม การศึกษาปฐมวัย ตามหลักสูตร
กับวัย และเรียนรู้อย่างมี การจัดการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.
ความสุข 2546
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี - ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน ข้อ 1
ที่ 6 และผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้น วิชาหลัก นักเรียนชั้น
เรียนจากการทดสอบ พื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ประถมศึกษาปีที่ 6 จากการ
ระดับชาติ (O-NET) กลุ่ม โดยเน้น 5 กลุ่มวิชาหลัก ได้แก่ ทดสอบระดับชาติ (O-NET)
สาระหลักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อย
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5
กว่าร้อยละ 5 วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม และ
ภาษาต่างประเทศ
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี - พัฒนาความสามารถด้านภาษา - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ข้อ 1
ที่ 3 มีความสามารถด้าน ด้านการคำนวณ และด้านการใช้ 3 ที่ไม่สามารถอ่านได้ ร้อยละ
ภาษา ด้านคำนวณ และด้าน เหตุผล 1
การใช้ เหตุผลและชั้น - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 อ่านได้ทุกคน
36

ประถมศึกษาปีที่ 6 มี
ความสามารถด้านการอ่าน

สนอง
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ นโยบาย
ศธ.
4. นักเรียนมีทักษะชีวิต - ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษา - ระดับความสำเร็จตาม ข้อ 1, 3
ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิด พัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการ จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนตาม
สร้างสรรค์ และทักษะการ สอนโดยเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะ นโยบายในการปฏิรูป
สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ชีวิต สามารถคิดวิเคราะห์ คิด การศึกษาในทศวรรษที่ 2
อย่างน้อย 2 ภาษา ทักษะ สร้างสรรค์ และทักษะการสื่อสาร (พ.ศ. 2552-2561) ระดับ 5
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยกระตุ้น/เปิดโอกาสให้นักเรียนได้
เพื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ แสดงออกและพัฒนาเต็มตาม - ร้อยละ 100 ของนักเรียน
เหมาะสมตามช่วงวัย ศักยภาพทั้งใน/นอกห้องเรียน ชั้น ป.1
- สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาการ ที่ได้รับสนับสนุนคอมพิวเตอร์
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ พกพา ได้รับการพัฒนา
สื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอน ศักยภาพ
- สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาการ
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอน

กลยุทธ์ 2 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
สนอง
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ นโยบาย
ศธ.
37

1. นักเรียนระดับประถม - ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการ - ร้อยละ 95 ของนักเรียนที่มี ข้อ 1


ศึกษา ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ดี และ เรียนการสอนให้ผู้เรียนมี จิตสำนึกและค่านิยม ซื่อสัตย์
อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใฝ่ สุจริต และถูกต้องชอบธรรม
2. นักเรียนระดับ เรียนรู้ ใฝ่ดี และอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
มัธยมศึกษาตอนต้น มี ได้ มีทักษะการแก้ปัญหาและอยู่
ทักษะการแก้ปัญหาและอยู่ อย่างพอเพียง มีความมุ่งมั่นใน
อย่างพอเพียง การศึกษาและการทำงาน สามารถ
ปรับตัวเข้ากับพหุวัฒนธรรมบน
พื้นฐาน วัฒนธรรมที่ดีงามของไทย

กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ครอบคลุมผู้เรียน ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตาม


ศักยภาพ
สนอง
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ นโยบาย
ศธ.
1. เด็กพิการได้รับการพัฒนา - ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนา - ร้อยละ 90 ของเด็กพิการ ข้อ 7
ศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วย สมรรถภาพเด็กพิการเป็นรายบุคคล ผ่านเกณฑ์การพัฒนา
รูปแบบที่หลากหลาย สมรรถภาพตามแผนการ
ศึกษาเฉพาะบุคคล
2. เด็กด้อยโอกาสได้รับ - เพิ่มและกระจายโอกาสให้ - ร้อยละ 100 ของผู้เรียน ข้อ 7
โอกาสทางการศึกษาที่มี ประชาชนวัยเรียนทุกคนได้รับ ต่อประชากรวัยเรียนที่ได้รับ
คุณภาพตามมาตรฐานการ การศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ การศึกษา
เรียนรู้ตามหลักสูตรและอัต
ลักษณ์แห่งตน - อัตราการออกกลางคัน
3. นักเรียนที่เรียนภายใต้การ ลดลง ร้อยละ 0.2
จัดการศึกษาโดยครอบครัว
สถานประกอบการ องค์กร
เอกชน และสถานศึกษา
ทางเลือก ได้รับการพัฒนา
อย่างมีคุณภาพ
4. นักเรียนที่มีความสามารถ - เสริมสร้างที่มีความสามารถพิเศษ - ระดับความสำเร็จของการ ข้อ 7
พิเศษ ได้รับการส่งเสริมให้มี ให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ พัฒนา ผู้มีความสามารถ
ความเป็นเลิศด้าน พิเศษด้านวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ ระดับ 5
พื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์
คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา
ดนตรี และศิลปะ
38

สนอง
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ นโยบาย
ศธ.
5. เด็กกลุ่มที่ต้องการการ - เสริมสร้างระบบดูแลช่วยเหลือ - ร้อยละ 100 ของนักเรียน ข้อ 7
คุ้มครองและช่วยเหลือเป็น นักเรียนที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้น อายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ตั้งครรภ์
กรณีพิเศษ ได้รับการ เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและ ลดลง
คุ้มครองและช่วยเหลือ ช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ - ร้อยละ 20 ของคดีเด็ก
เยียวยา ด้วยรูปแบบที่ และเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี
หลากหลาย โดยสถานพินิจและคุ้มครอง
เด็กและเยาวชนลดลง
- ร้อยละ 20 ของนักเรียนที่
มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสารเสพ
ติดลดลง

กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดการเรียนการสอน


ได้อย่างมีคุณภาพ
สนอง
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ นโยบาย
ศธ.
1. ครูและบุคลากรทางการ - เร่งรัดให้ครูและบุคลากรทางการ - ร้อยละ 100 ของครูที่ ข้อ 2
ศึกษา สามารถพัฒนาการ ศึกษา ได้รับการพัฒนาให้สามารถ ได้รับการพัฒนา มี
จัดการเรียนการสอนและ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย คุณภาพด้านการจัดการ
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง วิธีการที่หลากหลาย เรียนการสอนตาม
เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน หลักสูตรการศึกษาขั้น
และพร้อมเข้าสู่ประชาคม พื้นฐาน
อาเซียนและประชาคมโลก - ร้อยละ 100 ของ
บุคลากรทางการศึกษาที่
ได้รับการพัฒนา สามารถ
ปฏิบัติงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
2. ครูและบุคลากรทางการ - พัฒนาครูด้านกระบวนการคิดด้วย - ร้อยละ 100 ของครูที่ ข้อ 2
ศึกษา มีความรู้ ความสามารถ วิธีการหลากหลาย ผ่านการพัฒนา
ตามมาตรฐานที่กำหนด และ - พัฒนาครูด้านทักษะการวัดผล กระบวนการคิด
สามารถจัดการเรียนการสอนที่ ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน - ร้อยละ 80 ของครูที่
ส่งผลให้นักเรียนพัฒนาอย่าง ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการพัฒนาการวัด
เต็มศักยภาพ และประเมินผลการ
39

สนอง
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ นโยบาย
ศธ.
จัดการเรียนการสอนตาม
หลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน
3. ครูและบุคลากรทางการ - เร่งรัด พัฒนา ครูและบุคลากร - ร้อยละ 100 ของครูและ ข้อ 1, 2
ศึกษา สามารถใช้ภาอังกฤษ ทางการศึกษา ให้ได้รับการเตรียม บุคลากรทาง
และภาษาของประเทศสมาชิก ความพร้อมด้านภาษา สังคม การศึกษา ได้รับการเตรียม
อาเซียนในการสื่อสาร อย่าง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศ ความพร้อม
น้อย 1 ภาษา อาเซียนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้านภาษา สังคม เศรษฐกิจ
และ
วัฒนธรรมของประเทศ
อาเซียนเพื่อ
เข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4. ครูและบุคลากรทางการ - พัฒนาครูผู้สอนในชั้นที่ได้รับการ - ร้อยละของครูผู้สอนใน ข้อ 3
ศึกษา มีทักษะด้านเทคโนโลยี จัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ให้ ชั้นที่ได้รับการจัดสรร
สารสนเทศ เป็นเครื่องมือใน ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนการ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา
การจัดการเรียนรู้ สอนด้วยคอมพิวเตอร์พกพา ได้รับการพัฒนาการ
- พัฒนาครูผู้สอนและบุคลากรทางการ จัดการเรียนการสอนด้วย
ศึกษาให้สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็น คอมพิวเตอร์พกพา
เครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ - ร้อยละ 80 ของครูผู้สอน
และบุคลากรทางการ
ศึกษาที่ได้รับการ
พัฒนาการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร
เพื่อเป็นเครื่องมือในการ
จัดการเรียนรู้
5. ครูและบุคลากรทางการ - ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการ - ร้อยละ 80 ของครูและ ข้อ 2
ศึกษา มีขวัญกำลังใจในการ ศึกษาได้พัฒนาตนเองตามมาตรฐาน บุคลากรทางการศึกษา ได้
พัฒนาตนเองตามมาตรฐาน วิชาชีพ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย พัฒนาตนเองตาม
คุณวุฒิ มาตรฐานวิชาชีพ
6. ครูและบุคลากรทางการ - ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการ - ร้อยละ 100 ของครูและ ข้อ 2
ศึกษามีขวัญกำลังใจ ได้รับการ ศึกษามี มีขวัญกำลังใจและมุ่งมั่น ตั้งใจ บุคลากรทางการศึกษา
จูงใจในการพัฒนาผู้เรียนเต็ม ในการปฏิบัติงานเต็มศักยภาพ มุ่งมั่น ตั้งใจในการ
ศักยภาพ ปฏิบัติงานเต็มศักยภาพ
7. ครูและบุคลากรทางการ - ส่งเสริมครูและบุคลากรทางการ - ร้อยละ 100 ของครูมี ข้อ 2
ศึกษา มีผลงานการสอนที่ ศึกษาให้เป็นมืออาชีพ ผลงานการสอนที่แสดง
แสดงศักยภาพการสอนอย่าง
40

สนอง
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ นโยบาย
ศธ.
มืออาชีพ เป็นเชิงประจักษ์ ศักยภาพการสอนอย่างมือ
และได้รับการเชิดชูเกียรติ อาชีพ
อย่างเหมาะสม
8. ครูและบุคลากรทางการ - พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ครู - ร้อยละ 100 ของครูและ ข้อ 2
ศึกษา มีวินัย คุณธรรม และบุคลากรทางการศึกษาตาม บุคลากรทางการศึกษามี
จริยธรรม และจรรยาบรรณ มาตรฐานวิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม และ
ตามมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณตาม
มาตรฐานวิชาชีพ
9. ครูและบุคลากรทางการ - ยกระดับจิตวิญญาณ และอุดมการณ์ - ร้อยละ 100 ของครูและ ข้อ 2
ศึกษา มีจิตวิญญาณและ ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ บุคลากรทางการศึกษามี
อุดมการณ์ ที่มุ่งมั่นพัฒนา เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม คุณธรรม จริยธรรม และ
การศึกษาของชาติและเป็น จรรยาบรรณตาม
แบบอย่างที่ดีแก่สังคม มาตรฐานวิชาชีพ
10. ครูและบุคลากรทางการ - พัฒนาและบุคลากรทางการศึกษาให้ - ร้อยละ 100 ของครูและ ข้อ 2
ศึกษา มีทักษะในการเข้าถึง มีทักษะในการเข้าถึงและดูแล บุคลากรทางการศึกษา
และดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วยเหลือนักเรียน สามารถส่งเสริมการ
จัดระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
41

สนอง
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ นโยบาย
ศธ.
1. สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการ - ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา - ร้อยละ 100 ของ ข้อ 1
รับรองคุณภาพภายนอก และที่ สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ คุณภาพภายนอก จัดทำแผนพัฒนา รับรองคุณภาพภายนอก
นักเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ การศึกษาเป็นรายโรงร่วมกับ มีแผนพัฒนาการศึกษา
ประเทศ ได้รับการแก้ไข ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรอื่น ๆ เป็นรายโรงที่ร่วมจัดทำ
แทรกแซง ช่วยเหลือ นิเทศ ที่เกี่ยวข้อง กับผู้ปกครอง ชุมชน
ติดตาม เพื่อยกระดับคุณภาพ - แทรกแซง ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม และองค์กรอื่น ๆ ที่
การจัดการเรียนการสอน สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง เกี่ยวข้อง
คุณภาพภายนอก และที่มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยของประเทศ
2. สถานศึกษาบริหารจัดการ - ส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงาน - ร้อยละ 100 ของ ข้อ 6
โดยมุ่งการมีส่วนร่วม ความ ตามระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษามีระบบ
รับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน โรงเรียนให้มีความเข้มแข็งเพื่อรองรับ ประกันคุณภาพภายในที่
เพื่อประโยชน์สูงสุดของ การประเมินคุณภาพภายนอก เข้มแข็งครบ
นักเรียน สร้างความเชื่อมั่นแก่ องค์ประกอบตาม กฎ
ผู้ใช้บริการและสังคม กระทรวงฯ

3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา - บริหารจัดการ โดยมุ่งการมีส่วน - ร้อยละ 100 ของ ข้อ 6


บริหารจัดการ นิเทศ ติดตาม ร่วมในความรับผิดชอบต่อผลการ สถานศึกษาที่ได้รับการ
ประเมินผล อย่างเข้มแข็ง โดย ดำเนินงาน ติดตามประเมินผลและ
มุ่งการมีส่วนร่วม และความ - นิเทศ ติดตาม กำกับ ดูแล ส่งเสริม นิเทศการศึกษาอย่างมี
รับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน สนับสนุน ช่วยเหลือ และพัฒนา คุณภาพ
เพื่อประโยชน์สูงสุดของ สถานศึกษาให้เกิดความเข้มแข็ง
นักเรียน สร้างความเชื่อมั่นแก่
ผู้ใช้บริการและสังคม
42

สนอง
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ นโยบาย
ศธ.
4. องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง - พัฒนาการบริหารจัดการของ - ทุกองค์คณะบุคคลที่ ข้อ 6
กับการจัดการศึกษา ติดตาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้มี เกี่ยวข้องกับการจัด
และประเมินผลการดำเนินงาน ประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐาน การศึกษา ดำเนินการ
ของหน่วยงานอย่างเข้มแข็ง ติดตาม ประเมินผลการ
เพื่อประโยชน์สูงสุด คือคุณภาพ ดำเนินงานหน่วยงาน
การจัดการเรียนรู้ เพื่อนักเรียน ตามบทบาทหน้าที่อย่าง
ได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มตาม เข้มแข็ง
ศักยภาพ

5. สถานศึกษาจัดการศึกษา - ส่งเสริม พัฒนาสถานศึกษาให้จัด - ร้อยละ 80 ของ ข้อ 6


อย่างมีคุณภาพตามระดับ การศึกษาอย่างมีคุณภาพตามระดับ สถานศึกษา
มาตรฐานที่สูงขึ้น เทียบเคียงกับ มาตรฐานที่สูงขึ้น เทียบเคียง กลุ่มเป้าหมาย
ประเทศผู้นำด้านคุณภาพ วิธีดำเนินการกับประเทศผู้นำด้าน (Education Hub) จัด
การศึกษาในภูมิภาคอาเซียน คุณภาพการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน การศึกษาอย่างมี
คุณภาพตามมาตรฐานที่
สูงขึ้น เทียบเคียงกับ
ประเทศผู้นำด้าน
คุณภาพการศึกษาใน
ภูมิภาคอาเซียน

6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา - ส่งเสริม สนับสนุน การบริหาร - ร้อยละ 100 ของ ข้อ 6


ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัด จัดการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาที่มีคุณภาพตามระดับ สูงขึ้นเทียบเคียงกับประเทศผู้นำด้าน การศึกษาที่ผ่านการ
มาตรฐานที่สูงขึ้นเทียบเคียงกับ คุณภาพการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน ประเมินคุณภาพตาม
ประเทศผู้นำด้านคุณภาพ เกณฑ์มาตรฐานของ
การศึกษาในภูมิภาคอาเซียน สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา

ส่วนที่ 3
43

สรุปแผนงาน / โครงการที่จะดำเนินการในปีการศึกษา 2565


โรงเรียนบ้านยางใหญ่ ได้ดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 โดยมีงาน/โครงการ ที่จะดำเนินการ จำนวน โครงการ ดังนี้

งบ
ที่ แผนงาน/โครงการ ผู้รับผิดชอบ
ประมาณ
1 โครงการจ้างครูอัตราจ้าง(ลูกจ้าวชั่วคราว) 60,000 นายบวร ผองขำ
ว่าที่ ร.ท.ดุสิต ดรพลก้อม
2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 30,000
นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย
นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย
3 โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 1,000
นางสาวศรัญญา เรืองวิเศษ
นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย
4 โครงการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา 1,000
นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์
5 โครงการพัฒนาห้องสมุด 1,000 นางสาวพัชรา สิมหาบุตร
นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์
6 โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น 1,000
นางสาวพัชรา สิมหาบุตร
นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย
7 โครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย 29,500
นางสาวศรัญญา เรืองวิเศษ
นางแพงตา ศรีจันทร์
8 โครงการห้องเรียนน่าเรียน น่าอยู่ 6,000
ครูประจำชั้นทุกชั้น
9 โครงการพัฒนาระบบงานการเงิน พัสดุโรงเรียน 500 นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย
นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์
10 โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1,000
นางสาวสุรินทรา พรกุณา
11 โครงการนิเทศภายในโรงเรียน 500 นายบวร ผองขำ
12 โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 4,000 นายบวร ผองขำ
นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย
13 โครงการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ 2,000
นายอุทิศ ประทุมมา
14 โครงการส่งเสริมค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ 500 ว่าที่ ร.ท.ดุสิต ดรพลก้อม
15 โครงการกีฬาต้านยาเสพติดในสถานศึกษา 1,000 นายประสิทธิ์ หาจันทร์ศรี
16 โครงการ ประชาธิปไตยในโรงเรียน 2,000 นายประสิทธิ์ หาจันทร์ศรี
17 โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน 1,000 นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย
18 โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ 26,000 นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย
นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย
19 โครงการให้บริการนักเรียน 1,000
นางสาวศรัญญา เรืองวิเศษ
รวมงบประมาณ (ปีการศึกษา 2563) 169,000

1. ชื่อโครงการ โครงการจ้างครูอัตราจ้าง (ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน)


44

แผนงาน บริหารงานบุคคล
ผู้รับผิดชอบ นายบวร ผองขำ
ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 –31 มีนาคม 2565
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. หลักการและเหตุผล
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้เกิดประสิทธิผลนั้น นอกเหนือจากการจัดเนื้อหาและหลักสูตร
การเรียนการสอนให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพแล้ว บุคลากรทางการศึกษายังเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของการ
จัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ประเด็นหนึ่งที่สถานศึกษาต้องให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาก็คือ อัตราส่วนของครู
ต่อนักเรียน ควรต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดยคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่ในปัจจุบันโรงเรียนโรงเรียนบ้านยางใหญ่ มีครูเกษียณอายุราชการและครูสมัคร
เข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดเป็นจำนวนมาก แต่มีได้รับการจัดสรรอัตรากำลังครูทดแทนเท่ากับจำนวนครู
ตามเกณฑ์ ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนอัตรากำลังครูเป็นอย่างมาก
ดังนั้นเพื่อให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนบรรลุตามมาตรฐานชาติ และมาตรฐานการศึกษาของ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องตามคุณลักษณะและสมรรถนะของผู้เรียน
โรงเรี ย นจึ ง ต้ อ งสรรหาบุ ค ลากรมาสนั บ สนุ น การเรี ย นการสอนโดยจั ด จ้ า งบุ ค คลที ่ ม ี ค วามรู้
ความสามารถมาทดแทนอัตรากำลังที่ต่ำกว่าเกณฑ์เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้บังเกิด
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจัดทำโครงการจัดหาครูผู้สอนและบุคลากรเสริม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ

2. วัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดจ้างครูผู้สอนและบุคลากรส่งเสริมการจัดการศึกษาให้เพียงพอกับความต้องการ
ของโรงเรียน
2.เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยิ่งขึ้น
3. เพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนให้มีความเหมาะสมเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

3. เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
1.จัดจ้างครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะจำนวน 1 คน
ระหว่างเดือนเมษายน 2564 – มีนาคม 2565
ด้านคุณภาพ
1. สามารถจัดหาครูผู้สอน บุคลากรสนับสนุนการจัดการศึกษาได้เพียงพอต่อการบริหาร
จัดการศึกษาของโรงเรียน
2. ครูและบุคลากรทุกคนของโรงเรียนสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. การดำเนินงาน
ที่ กิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
45

เงิน
เงิน เงิน เงิน
สนับสนุน
อุดหนุน รายได้ อื่นๆ
ค่าใช้จ่าย
1. จัดจ้างครูและบุคลากร ก.ค.2564- 60,000 - - - นายบวร ผองขำ
เม.ย.2565

รวม 60,000 - - -

5. รายละเอียดการใช้งบประมาณ
ที่ รายการ จำนวนเงิน หมายเหตุ
1. จัดจ้างครู 60,000
รวม 60,000

6. การประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ
ผลผลิต
1.มีบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการสอนทุกกลุ่ม - การตรวจสอบ - แบบรวบรวมข้อมูล
สาระระดับชั้นประถมศึกษา - การประเมินผล - แบบประเมิน
- การนิเทศติดตาม - แบบนิเทศ
2.บุคลากรปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรับผิดชอบอย่างดี

ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ


ผลสัมฤทธิ์
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับดี ส่งผลให้ - การทดสอบ - แบบทดสอบ
การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพคุ้มค่า

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.โรงเรียนมีครูและบุคลากรเพียงพอต่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน
2.บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
3.โรงเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น
4.นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา
5.โรงเรียนมีการพัฒนาในทุกๆด้าน เหมาะสมกับเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

(ลงชื่อ)…..........................................ผู้อนุมัติโครงการ
46

( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

(ลงชื่อ)…..........................................ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

2. โครงการ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แผนงาน การบริหารงานวิชาการ
สนองกลยุทธ์ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร
และส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน
กลุ่มที่รับผิดชอบ งานวิชาการ
ผู้รับผิดชอบ ว่าที่ ร.ท.ดุสิต ดรพลก้อม ,นางสาวพัชรา สิมหาบุตร
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
****************************************************************************************
1.หลักการและเหตุผล
จากการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจาก
ภายนอก (สมศ. พ.ศ. 2554) พบว่า สถานศึกษาของรัฐบาล ประมาณร้อยละ 65 ยังไม่ได้มาตรฐาน ทั้งด้านการ
เรียนรู้ของผู้เรียนและคุณภาพการสอนของครู และจากผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนที่จบหลักสูตรแต่และช่วงชั้น
ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ยังมีคุณภาพไม่เป็นไปตาม
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งตรงกับจุดเน้นของสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องการให้พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้เหล่านี้
โรงเรียนบ้านยางใหญ่ ได้ตระหนักในภารกิจดังกล่าวและได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียนให้ได้ตามมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นของ
สถานศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
47

2.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ตามมาตรฐานการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
2.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ
1) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ผลการสอบ NT , O-NET
2) เพื่อจัดกิจกรรมให้นักเรียน ได้แสดงออกซึ่งความสามารถในด้านวิชาการทุกกลุ่มสาระการ
เรียนรู้
3) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
4). เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนไปประกวดและแสดงศักยภาพในระดับเขตภาค ระดับภาค และ
ประเทศ
5). เพื่อส่งเสริมให้ครูได้ส่งผลงานเข้าแข่งขัน
6). เพื่อพัฒนาผู้เรียนในการใช้ ICT ได้ รักและเห็นคุณค่าของงานอาชีพ
7). เพื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้นอกสถานศึกษาให้กับนักเรียน
3. เป้าหมาย
3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
1) โรงเรียนบ้านยางใหญ่ มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด
2) นักเรียนทุกช่วงชั้น มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ร้อยละ 70
3) นักเรียนทุกช่วงชั้น มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ ร้อยละ 70
4) นักเรียนทุกช่วงชั้น มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 60
5) นักเรียนทุกช่วงชั้น มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ร้อยละ 80
6) นักเรียนทุกช่วงชั้น มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา ร้อยละ 80
7) นักเรียนทุกช่วงชั้น มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ร้อยละ 80
8) นักเรียนทุกช่วงชั้น มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ศิลปศึกษา ร้อยละ 80
9) นักเรียนทุกช่วงชั้น มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 60
10) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ภาษาไทย
วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 มีจำนวนนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ลดลง
10) นักเรียนช่วงชั้นที่ 1-2 ได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ ร้อยละ 100
11) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน NT / O-Net ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 10
สาระการเรียนรู้ เป้าหมาย(ร้อยละ) ปีการศึกษา 2563 หมายเหตุ
48

ป.3 ป.6 ม.3 NT O -NET


ภาษาไทย - 19 - - 57.04
คณิตศาสตร์ - 19 - - 32.08
วิทยาศาสตร์ - 19 - - 20.00
ภาษาอังกฤษ - 19 - - 33.97
รวมเฉลี่ย(ร้อยละ) - - - 35.77

สาระการเรียนรู้ เป้าหมาย(ร้อยละ) ปีการศึกษา 2564


หมายเหตุ
ป.3 ป.6 ม.3 NT O -NET
ภาษาไทย - 9 - - 43.56
คณิตศาสตร์ - 9 - - 29.04
วิทยาศาสตร์ - 9 - - 36.42
ภาษาอังกฤษ - 9 - - 33.71
รวมเฉลี่ย(ร้อยละ) - - - 35.68

3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1) นักเรียนที่จบการศึกษาช่วงชั้นที่ 1-2 มีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐานและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน มีความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษาของนักเรียนและมีเจตคติที่
ดีต่อโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3
3) นักเรียนได้รับการพัฒนามุ่งสู่ประสบการณ์การชีวิต
4. กิจกรรม
ดำเนินการจัดกิจกรรมการขั้นตอนดังนี้
4.1 แจ้งนโยบายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระให้คณะครูทราบ
4.2 เร่งรัดให้มีฐานข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รายบุคคล ทุกระดับ
ชั้นในสถานศึกษา และระดับเขตพื้นที่การศึกษา
4.3 พัฒนาครูผู้สอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบของ สสวท. และรูปแบบอื่น
4.4 ฝึกและนำนักเรียนเข้าร่วมประกวดแข่งขันทางวิชาการและศิลปหัตถกรรม
4.5 เพื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้นอกสถานศึกษาให้กับนักเรียน

5. ปฏิทินการปฏิบัติงาน
ระยะเวลา ปีการศึกษา 2564
ที่ ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565
กิจกรรม พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธค. ม.ค ก.พ มี.ค
1 จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
2 จัดประชุมชี้แจงผู้บริหาร
ครูผู้สอน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
49

3 เร่งรัดให้มีฐานข้อมูลผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียน
รายบุคคล ทุกระดับ
4 พัฒนาครูผู้สอนในทุกกลุ่มสาระ
- ฝึกนักเรียนเข้าร่วมแข่งขัน
-นำผู้เรียนมุ่งสู่ประสบการณ์ชีวิต
นอกสถานศึกษา
5 กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผล นิเทศและสรุปผลการ
ดำเนินโครงการ

6.งบประมาณ
งบประมาณ จำนวน 30,000 บาท
มีรายละเอียดการใช้จ่าย ดังนี้
- จัดสรรงบประมาณให้จัดซื้อวัสดุ วัสดุการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
จำนวน 30,000 บาท / ภาคเรียน
- กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล นิเทศและสรุปผลการดำเนินโครงการ
7. การประเมินผล
ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้วัด
1.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ ทดสอบโดยแบบทดสอบ แบบทดสอบ
การเรียนรู้ภาษาไทย ร้อยละ 65 มาตรฐาน มาตรฐาน

2.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ ทดสอบโดยแบบทดสอบ แบบทดสอบ


การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ร้อยละ 65 มาตรฐาน มาตรฐาน

3.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ ทดสอบโดยแบบทดสอบ แบบทดสอบ


การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 60 มาตรฐาน มาตรฐาน

4.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ ตรวจสอบ แบบประเมิน


การเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ร้อยละ 70 ติดตามผล
5.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ ทดสอบโดยแบบทดสอบ แบบทดสอบ
การเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา ร้อยละ 70 มาตรฐาน มาตรฐาน

6.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ ทดสอบโดยแบบทดสอบ แบบทดสอบ


การเรียนรู้ศิลปะ ร้อยละ 80 มาตรฐาน มาตรฐาน

7.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ ทดสอบโดยแบบทดสอบ แบบทดสอบ


การเรียนรู้การงานอาชีพเทคโนโลยี มาตรฐาน มาตรฐาน
50

ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้วัด


ร้อยละ 70
8.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ ทดสอบโดยแบบทดสอบ แบบทดสอบ
การเรียนรู้ต่างประเทศ ร้อยละ 60 มาตรฐาน มาตรฐาน

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เชิงปริมาณ
8.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
8.2 ครูทุกคนได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
8.3 จำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1- 2 มีคุณภาพตามมาตรฐาน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงขึ้น
3.นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมกันแสดงออกซึ่งความสามารถในด้านวิชาการ
ด้านกิจกรรมสร้างสรรค์ และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
4.นักเรียนได้มีเวทีแสดงความรู้ ความสามารถ ทั้งด้านวิชาการและด้านกิจกรรม
5.ครูได้ส่งผลงานเข้าแข่งขันในระดับต่างๆ

(ลงชื่อ)…………...................................... ผู้เสนอโครงการ
(ว่าที่ ร.ท.ดุสิต ดรพลก้อม)
ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านยางใหญ่

(ลงชื่อ)…..........................................ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่
3. งาน / โครงการ ส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
แผนงาน ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา
สนองกลยุทธ์ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสใน
การพัฒนาเด็กตามศักยภาพ
สนองกลยุทธ์ สพป. กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสใน
การพัฒนาเด็กตามศักยภาพ
สนองกลยุทธ์ โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสใน
การพัฒนาเด็กตามศักยภาพ
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ งานบริหารทั่วไป
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแพงตา ศรีจันทร์ , นายประสิทธิ์ หาจันทร์ศรี ,นางสาวศรัญญา เรืองวิเศษ
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
****************************************************************************************
51

1. หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา6
บัญญัติว่า “พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม
และวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” มาตรา 23 (3) กำหนดให้การจัด
การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้นความสำคัญ ทั้งความรู้ คุณธรรม
กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการ
ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดจุดหมาย ข้อ 3 มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
มีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อเป็นการสนองนโยบาย จุดหมายหลักสูตร และระเบียบที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนบ้านยางใหญ่จึงได้
ดำเนินโครงการ ส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อสุขภาพนักเรียน
2. เพื่อส่งเสริมให้มีโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัยในโรงเรียน
3. เพื่อให้นักเรียนการออกกำลังกาย เล่นกีฬาและนันทนาการ
4. เพื่อให้คำปรึกษา แนะแนว และสนับสนุนทางสังคมแก่นักเรียน

3. เป้าหมาย
1. นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่จัดดำเนินการ
2. ชาวบ้านและคณะครูมีส่วนร่วมในโครงการ
3. นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเท่าเทียมกัน
4. นักเรียนมีสุขภาพการ สุขภาพจิตที่ดี สมบูรณ์แข็งแรง
4. กิจกรรม
1. กำหนดนโยบายของโรงเรียน
2. การบริหารจัดการในโรงเรียน
3. โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน
4. การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ
5. บริการอนามัยโรงเรียน
6. สุขศึกษาในโรงเรียน
7. โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย
8. การออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ
9. การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม
10. การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน
5. ปฏิทินการปฏิบัติงาน
ปีการศึกษา 2564
ที่ กิจกรรม ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565
พค. มิย. กค. สค. กย. ตค. พย. ธค. มค. กพ. มีค.
52

1 กำหนดนโยบายของโรงเรียน
2 การบริหารจัดการในโรงเรียน
3 โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและ
ชุมชน
4 การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่
เอื้อต่อสุขภาพ
5 บริการอนามัยโรงเรียน
6 สุขศึกษาในโรงเรียน

7 โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย

8 การออกกำลังกาย กีฬาและ
นันทนาการ
9 การให้คำปรึกษาและสนับสนุน
ทางสังคม
10 การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรใน
โรงเรียน
6. งบประมาณ
งบประมาณ จำนวน 1,000 บาท มีการละเอียดการใช้จ่าย ดังนี้

ที่ รายการ งบประมาณ


1 กำหนดนโยบายของโรงเรียน ถัวจ่ายทุกรายการ
2 การบริหารจัดการในโรงเรียน
3 โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน
4 การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ
5 บริการอนามัยโรงเรียน
6 สุขศึกษาในโรงเรียน
7 โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย
8 การออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ
9 การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม
10 การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน

รวม 1,000

7. การประเมินผล
1. ประเมินก่อนดำเนินการโดยศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา
2. ประเมินระหว่างดำเนินการโดยหัวหน้าสถานศึกษาและหัวหน้าโครงการ
3. ประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการโดยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จัดทำเป็นรูปเล่ม
53

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียน ครู บุคลากร ผู้ปกครองมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
2. เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
3 ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดีปราศจากโรค

(ลงชื่อ) ..........................................ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย)
ครูผู้ช่วย

(ลงชื่อ).......................................ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่
4. งาน/โครงการ บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
แผนงาน ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา
สนองกลยุทธ์ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 2 ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สนองกลยุทธ์ สพท. กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปลูกฝังคุณธรรม สำนึกในความเป็นไทยและวิถี
ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้
สูงขึ้น
สนองกลยุทธ์ โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 1 ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นไทย และวิถีชีวิต ตามหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนทุกคน
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ งานวิชาการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย ,นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
****************************************************************************************
1. หลักการและเหตุผล
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และการบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสาย
กลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน ตลอดจนใช้
ความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจให้สำนึกในคุณธรรม มีสติปัญญาและ
ความรอบคอบ สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ และพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พุทธศักราช 2545 หมวด1 มาตรา6
ว่าด้วยการจัดการศึกษา ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้
และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่สถานศึกษา และสู่กระบวนการเรียนรู้ การปฏิบัติที่เป็น
รูปธรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
54

2.1 เพื่อให้บุคลากรในสังกัดให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนัก เห็นคุณค่าและปฏิบัติตน


ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.2 เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาและน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กระบวนการเรียนรู้
2.3 เพื่อส่งเสริมโรงเรียนมีความเข้มแข็งพัฒนาตนเองเป็นแหล่งเรียนรู้ และได้รับคัดเลือกโรงเรียน
ต้นแบบคุณธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง
3. เป้าหมาย
3.1 เชิงปริมาณ
3.1.1 ครู และนักเรียน ร้อยละ 90 มีความตระหนัก และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง
3.1.2 โรงเรียนปรับหลักสูตรและบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกระบวน
การเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ
3.2 เชิงคุณภาพ
3.2.1 บุคลากรในสังกัด มีความตระหนัก และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.2.2 โรงเรียนปรับหลักสูตรและบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกระบวน
การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. กิจกรรม
4.1 ประชุมคณะทำงาน และจัดทำเอกสารการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้
4.2 โรงเรียนพัฒนาเป็นโรงเรียน คุณธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง
4.3 สนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ
4.4 สนับสนุนให้นักเรียนได้ศึกษาดูงานในแหล่งเรียนรู้
4.5 โรงเรียนจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง 1 ชั้น 1 อย่าง
4.6 โรงเรียน นิเทศ ติดตาม และคัดเลือกผลงานของแต่ละช่วงชั้น
4.7 ประเมินและรายงานผล
5. ปฏิทินการปฏิบัติงาน
ระยะเวลา ปีการศึกษา 2564
ที่ ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565
กิจกรรม พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค ม.ค ก.พ มี.ค
1 ประชุมคณะทำงานจัดทำเอกสาร
2 โรงเรียนพัฒนาเป็นโรงเรียน
คุณธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง
3 บุคลากรเข้ารับการอบรมสัมมนา
ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ
4 นำนักเรียนได้ศึกษาดูงานจาก
แหล่งเรียนรู้
5 โรงเรียนจัดกิจกรรมพัฒนา
คุณธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง 1
ชั้น 1 อย่าง
55

6 โรงเรียน นิเทศ ติดตาม และ


คัดเลือกผลงานของแต่ละช่วงชั้น
7 ประเมินและ รายงานผล

6. งบประมาณ
งบประมาณ จำนวน 1,000 บาท มีรายละเอียดการใช้จ่าย ดังนี้

ที่ รายการ งบประมาณ

1 ประชุมสัมมนาคณะทำงาน และจัดทำเอกสาร ถัวจ่ายทุก


2 บุคลากรเข้ารับการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ รายการ
3 จัดกิจกรรมโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
4 นำนักเรียนไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้
5 ประเมิน และรายงานผล

รวม 1,000
7. การประเมินผล
ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้วัด
1. โรงเรียนปรับหลักสูตร และบูรณาการปรัชญา - ตรวจเอกสารหลักสูตร - แผนจัดการ
เศรษฐกิจพอเพียงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ แผนจัดการเรียนรู้ เรียนเรียนรู้
2. โรงเรียนพัฒนาตนเองให้เป็นแหล่ง เรียนรู้ - สัมภาษณ์ -แบบสัมภาษณ์
3 โรงเรียนมีกิจกรรมโครงงาน 1 ชั้น 1 อย่าง - ตรวจผลงาน -แบบประเมิน

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 เชิงปริมาณ
8.1.1 โรงเรียนมีหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

8.2 เชิงคุณภาพ
56

8.2.1 สถานศึกษา จัดการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


8.2.2 โรงเรียนพัฒนาตนเองเป็นแหล่งเรียนรู้ และพัฒนาเป็นโรงเรียนต้นแบบ

(ลงชื่อ)..........................................ผู้เสนอโครงการ
(นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย)
ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านยางใหญ่

(ลงชื่อ) .....................................ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

5. งาน/โครงการ พัฒนาห้องสมุดสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
แผนงาน ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา
สนองกลยุทธ์ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและ
ส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สนองกลยุทธ์ สพป. กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและ
ส่งเสริมความเสมอภาคทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสในการ
พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
สนองกลยุทธ์ โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและ
ส่งเสริมความเสมอภาคทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสในการ
พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ งานวิชาการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพัชรา สิมหาบุตร
ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
****************************************************************************************
1. หลักการและเหตุผล
การอ่านเป็นความรู้พื้นฐานสำคัญเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้ การติดต่อสื่อสารและใช้ในการดำรงชีวิต
ประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะต้องมุ่งให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านออก
เขียนได้ก่อน จึงจะสามารถเรียนรู้เรื่องอื่นๆต่อไปได้ การอ่านจึงถือเป็นทักษะพื้นฐานที่สถานศึกษาต้องให้
ความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยครูจะต้องเลือกเทคนิควิธีในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาให้นักเรียนสามารถ
อ่านออกเขียนได้ ไม่เฉพาะครูที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเท่านั้น ครูทุกกลุ่มสาระควรมีส่วนร่วมใน
การพัฒนาให้นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ รวมทั้งผู้ปกครองชุมชนควรมีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียนให้มี
นิสัยรักการอ่าน การพัฒนาและการจัดบรรยากาศของห้องสมุดให้เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดจนการบริการที่ดี ซึ่ง
ก่อให้เกิดสังคมแห่งการอ่านและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นที่รวบรวมหนังสือดี
57

และสื่อการเรียนที่หลากหลาย ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนของนักเรียน และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยได้


มาตรฐานตลอดจนมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพื่อเป็นการสนองนโยบายให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นการปลูกฝังผู้เรียนให้มีนิสัยรักการอ่าน สามารถ
นำความรู้จากการอ่านไปพัฒนาตนเองและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น โรงเรียนจึงได้
จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียนและชุมชน
2.2 เพื่อจัดหาสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการของบุคลากร
2.3 เพื่อจัดบรรยากาศของห้องสมุดให้เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้ให้ทันสมัยได้มาตรฐาน

3. เป้าหมาย
3.1 เชิงปริมาณ
3.1.1 นักเรียนร้อยละ 90 มีนิสัยรักการอ่าน
3.1.2 ห้องสมุดมีหนังสือสำหรับศึกษา ค้นคว้า อ้างอิง จำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 เล่ม
3.1.3 นักเรียนเข้าใช้บริการห้องสมุด 60 ครั้ง/คน/ปี
3.2 เชิงคุณภาพ
3.2.1 นักเรียนอ่านคล่องตั้งแต่ชั้น ป.1 – ป.6
3.2.3 โรงเรียนมีหนังสือดี บรรยากาศดี บรรณารักษ์ดี
4. กิจกรรมดำเนินการ
4.1 ประชุมครูผู้รับผิดชอบโครงการและผู้เกี่ยวข้อง
4.2 แต่งตั้งคณะทำงานแต่ละกลุ่มสาระ
4.3 ดำเนินงานตามโครงการ
4.4 สรุปและรายงานผล

5. ปฏิทินการปฏิบัติงาน
ปีการศึกษา 2564
กิจกรรม
ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2564
พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.
ประชุมครูผู้รับผิดชอบ
แต่งตั้งคณะทำงาน
ดำเนินงานตามโครงการ
สรุปรายงานผล
58

6. งบประมาณ
งบประมาณ จำนวน 1,000 บาท โดยจัดตามแผนการจัดกิจกรรมตลอดปีการศึกษา 2564 ดังนี้
ที่ วัน/เดือน/ปี รายการ ผู้รับผิดชอบ/ผู้ร่วมกิจกรรม งบประมาณ
1. 19 พ.ค.64 -รู้รักษ์ภาษาไทย ว่าที่ รท.ดุสิต ดรพลก้อม ถัวจ่าย
- 31 มี.ค.65 -ข่าว นางสาวพัชรา สิมหาบุตร ทุกรายการ
-ภาษาอังกฤษวันละคำ นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์
-บันทึกการอ่าน

ที่ รายการ ผู้รับผิดชอบ/ผู้ร่วมกิจกรรม งบประมาณ


1 คัดเลือกจัดหาสื่อ ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ ว่าที่ รท.ดุสิต ดรพลก้อม ถัวจ่ายทุก
2 ตกแต่งห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่สนองความ นางสาวพัชรา สิมหาบุตร รายการ
ต้องการของผู้ใช้บริการและเอื้อต่อการอ่านและการ นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์
เรียนรู้
3 จัดให้มีบรรณารักษ์เพื่อปฏิบัติงาน ส่งเข้ารับการ
อบรม

7. ประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือวัดและประเมินผล
1.นักเรียนทุกคนได้เข้าร่วม -ประเมินความพึงพอใจ -แบบประเมิน
กิจกรรม รู้จักหาความรู้จากแหล่ง -สังเกต -แบบสังเกต
เรียนรู้ ส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรม -สัมภาษณ์ -แบบสัมภาษณ์
มีนิสัยรักการอ่านและมีผลสัมฤทธิ์ -ผลงานนักเรียน
สูงขึ้น
2. ห้องสมุดมีบรรยากาศที่เอื้อต่อ
การเรียนรู้ มีสื่อเพียงพอต่อความ
ต้องการ ผู้ใช้บริการมีความพึง
พอใจ
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 ห้องสมุดมีหนังสือ สื่อการเรียนรู้ ICT ที่ดี ทันสมัยและหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการ
ของนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครองและชุมชน
8.2 นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้นและรู้จักคิดวิเคราะห์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
8.3 โรงเรียนมีห้องสมุดที่ทันสมัยได้รับการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสถานที่และ
การจัดบรรยากาศ ที่ดีที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้

(ลงชื่อ) ………......................................ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวพัชรา สิมหาบุตร)
ครูอัตราจ้างโรงเรียนบ้านยางใหญ่
59

(ลงชื่อ)…........................................……ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

6. งาน/โครงการ พัฒนาการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น


แผนงาน ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา
สนองกลยุทธ์ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและ
ส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สนองกลยุทธ์ สพป. กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและ
ส่งเสริมความเสมอภาคด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สนองกลยุทธ์โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและ
ส่งเสริมความเสมอภาคด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ งานวิชาการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์ , นางสาวพัชรา สิมหาบุตร
ระยะเวลาดำเนินการ 16 พฤษภาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
****************************************************************************************
1. หลักการและเหตุผล
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการศึกษาที่มีการเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา ส่งเสริมให้ครูผู้สอน
ได้มีการปรับการเรียนเปลี่ยนวิธีสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่
ยั่งยืน แต่ปัจจุบันพบว่าความรู้ความสามารถด้านทักษะภาษาไทยของผู้เรียนในภาพรวมยังค่อนข้างต่ำซึ่ง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับได้เห็นความสำคัญและเร่งพัฒนาเป็นการด่วน เนื่องจากทักษะการใช้ภาษาไทยทั้ง
การฟัง พูด อ่าน และเขียน เป็นทักษะพื้นฐานและเป็นเครื่องมือหลักในการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน และ
ทักษะคณิตศาสตร์ในภาพรวมผู้เรียนยังไม่สามารถคิดเลขได้เร็ว ทำโจทย์ปัญหาไม่ได้ ประกอบกับสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3 มีนโยบายส่งเสริมพัฒนานักเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่เน้น
60

การพัฒนาทักษะการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ โรงเรียนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้จัดทำ


โครงการอ่านคล่อง เขียนได้ คิดเลขเป็น ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อคัดกรองนักเรียนในแต่ละชั้น ในการอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขเป็น โดยใช้ผลการประเมิน
ในปีการศึกษา 2562 เป็นฐานข้อมูล
2. เพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนในแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสมโดยเน้นที่นักเรียน
อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดเลขไม่เป็น
3. เพื่อจัดหาและผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับศักยภาพนักเรียนในแต่ละกลุ่ม
4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารและแสวงหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดเลขได้เร็วขึ้นเหมาะสมกับช่วงชั้น

3. เป้าหมาย
3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
3.1.1 นักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1- ป.6 ได้รับการพัฒนาด้านการอ่าน การเขียน และคิดเลขเป็น
3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
3.2.1 นักเรียนทุกคนอ่านคล่อง เขียนได้ และคิดเลขเป็น

4. กิจกรรม
การดำเนินโครงการนี้ ได้นำกระบวนการบริหารงานคุณภาพที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การ
วางแผน (P: Plan) การปฏิบัติ (D: Do) การตรวจสอบ (C: Check) และการปรับปรุงแก้ไข (A: Action) เป็น
กลยุทธ์ในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
4.1 การวางแผน (P: Plan)
- ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ
- คัดกรองนักเรียนอย่างละเอียด
- จัดทำแผนการสอนในแต่ละกลุ่มตามศักยภาพและความพร้อมของโรงเรียน
- เตรียมสื่อการเรียนการสอน
4.2 การปฏิบัติ (D: Do)
- ลงมือจัดการเรียนการสอนตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด
4.3 การตรวจสอบ (C: Check)
- สร้างเครื่องมือทดสอบ
- นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล ทุกระยะตามปฏิทินที่วางไว้
4.4 การปรับปรุงแก้ไข (A: Action)
- ปรับปรุง แก้ไข
- รายงานผล
5. กิจกรรมพัฒนาตามแผน
5.1 อ่านคล่อง เขียนได้
5.1.1 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
5.1.2 กิจกรรมพบกันเดี่ยว ๆ ครู-นักเรียน
5.1.3 กิจกรรม คุณพ่อ-คุณแม่ พาอ่าน สุขสันต์ทั้งครอบครัว
61

5.1.4 กิจกรรม อ่านนิยายให้คุณตา-คุณยาย ฟัง


5.1.5 กิจกรรม ท่องอาขยาน
5.2 คิดเลขเร็ว
5.2.1 ท่องสูตรคูณ
5.2.2 เกมคิดเลขเร็ว
5.2.3 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
6. สื่อที่ใช้ในกิจกรรม
6.1 ภาษาไทย
6.1.1 หนังสือบัญชีคำพื้นฐาน
6.1.2 หนังสือแบบฝึกซ่อมเสริมการเขียนคำยาก
6.1.3 หนังสือส่งเสริมการอ่านนิทาน
6.1.4 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6.2 คณิตศาสตร์
6.2.1 แบบฝึกการคิดเลขเร็ว
6.2.2 เกมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
6.2.3 สูตรคูณ แม่ 2-12
7. งบประมาณ
เงินอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายหัว) จำนวน 1,000 บาท
ที่ รายการ งบประมาณ
1 กิจกรรม อ่านคล่อง เขียนได้
2 กิจกรรมคิดเลขเร็ว (ถัวจ่ายทุกรายการ)
3 กิจกรรมวัดผลประเมินผล

8. ประเมินผล
เครื่องมือวัดและ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัดและประเมินผล
ประเมินผล
1) จำนวนนักเรียนที่อ่านหนังสือ ทดสอบรายบุคคล แบบทดสอบ
ได้ถูกต้อง
2) จำนวนนักเรียนที่เขียนหนังสือ
ได้ถูกต้อง
3) จำนวนนักเรียนที่มี
ความสามารถในการคิดเลขเร็วและ
มีความสามารถในการคิดคำนวณ

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานด้านภาษาไทยทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยเฉพาะทักษะ
การอ่านและการเขียน สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ สืบค้น และการแสวงหาความรู้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
62

2. ผู้เรียนมีทกั ษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้


สืบค้น และการแสวงหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(ลงชื่อ)………….......................................ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์)
ครูอัตราจ้างโรงเรียนบ้านยางใหญ่

(ลงชื่อ)…...................................…ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

7. โครงการ พัฒนาและส่งเสริมคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย
แผนงาน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม
สนองกลยุทธ์ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริม
ความสามรถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สนองกลยุทธ์ สพป. กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสในการ
พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
สนองกลยุทธ์ ร.ร. กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสในการ
พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านยางใหญ่
ผู้รับผิดชอบ นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย, นางสาวศรัญญา ถูหลงเพีย
ระยะเวลาดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565
****************************************************************************************
1. หลักการและเหตุผล
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พุทธศักราช 2545 หมวด 4 มาตรา 22, 23 (1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม
(3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย มาตรา 24
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งการปลูกฝัง
คุณธรรมค่านิยมที่ดงี ามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา (6) จัดการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
มีการประสานความร่วมมือกับ บิดา-มารดา-ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตาม
ศักยภาพ มาตรา 26
การจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม โดยเริ่มจากการพัฒนาด้านร่างกายให้
แข็งแรงสมบูรณ์ กระตุ้นให้สมองได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ พัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ให้เป็นผู้มีความรู้สึกที่ดี
ต่อตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง ร่าเริง แจ่มใส สามารถควบคุมตนเองได้ พัฒนาด้านสังคมให้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับ
บุคคล และสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รวมทั้งพัฒนา
63

สติปัญญา ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์บนวิถีชีวิต ของเด็กตามสภาพครอบครัว บริบทของชุมชน สังคม และ


วัฒนธรรมไทย และการจัดกิจกรรมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้ผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสม
กับวัย เน้นเรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ และเกิดพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้กับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม
2.2 เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ด้วยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
2.3 เพื่อพัฒนาด้านร่างกายให้เจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี

3. เป้าหมาย
3.1 นักเรียนชั้นอนุบาลมี สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการจัดกิจกรรม
3.2 นักเรียนอนุบาลทุกคนมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่ดี
3.3 นักเรียนอนุบาลทุกคนเรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ คู่คุณธรรมจริยธรรม

4. กิจกรรม
4.1 ประชุมวางแผน 4.2 จัดซื้อวัสดุ-อุปกรณ์
4.3 ดำเนินการตามแผนงาน 4.4 นิเทศติดตามผล
4.5 ประเมินผลการดำเนินงาน
5. ปฏิทินปฏิบัติงาน
ระยะเวลา ปีการศึกษา 2564
ที่ ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565
กิจกรรม พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค ม.ค ก.พ มี.ค
1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
2 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
3 จัดหาวัสดุอุปกรณ์
4 ดำเนินงานตามแผนงาน
5 นิเทศกำกับติดตาม
6 สรุปผล/ รายงานผล

6. งบประมาณ
6.1 งบประมาณ จำนวน 29,500 บาท ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้
จำแนกตามหมวดรายจ่าย
ที่ รายการ งบประมาณ ค่าตอบ ค่า รวม
ค่าใช้สอย
แทน อุปกรณ์
64

1 ค่าวัสดุการศึกษา เพื่อจัดกิจกรรม 29,500 - 29,500 - 29,500


การเรียนการสอน

รวม 29,500 - 29,500 - 29,500

7. การประเมิน
ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือประเมินผล
1.จำนวนนักเรียนที่ได้เรียนรู้ สังเกต ,สัมภาษณ์ แบบบันทึกการ
สังเกต
2.จำนวนสิ่งของและวัสดุสื่อ ตรวจรับวัสดุสื่อ ใบตรวจรับวัสดุ

8 .ผลคาดว่าจะได้รับ
8.1 นักเรียนระดับชั้นอนุบาล มีสื่ออุปกรณ์ที่เพียงพอ แข็งแรงและปลอดภัย
8.2 นักเรียนระดับชั้นอนุบาล มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา
8.3 นักเรียนระดับชั้นอนุบาล ทุกคนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
8.4 ห้องเรียนระดับชั้นอนุบาลน่าอยู่ น่าเรียน บรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้

(ลงชื่อ)………….......................................…………ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย)
ครูผู้ช่วย

(ลงชื่อ)…...................................…………………ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

8 งาน/โครงการ โครงการห้องเรียนน่าเรียน น่าอยู่


แผนงาน บริหารทั่วไป
สนองกลยุทธ์ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 3 กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุม
ผู้เรียนได้รับโอกาสในการ พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
สนองกลยุทธ์ สพป. กลยุทธ์ที่ 3
ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย, ครูประจำชั้นทุกชั้น
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
..........................................................................................................................
65

1.หลักการและเหตุผล
โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้แก่เยาวชน เพื่ออบรมบ่มนิสัยให้ทุกคนเป็นคนมีวิชาความรู้ มี
คุณธรรม จริยธรรม สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นักเรียนทุกคน ทุกระดับชั้นจะต้องเตรียม
ความพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ทีดีมีคุณภาพ ครูผู้สอนจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาเด็กนักเรียนทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนและรอบๆห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งเป็น
ส่วนสำคัญที่ช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่างๆและพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนั้นการจัดสภาพห้องเรียนให้
น่าอยู่ น่าเรียนยังช่วยให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
ดังนั้น โรงเรียนบ้านยางใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการห้องเรียนน่าเรียน น่าอยู่ ขึ้น เพื่อให้ห้องเรียนทุกห้องมี
ความสวยงาม มีบรรยากาศที่ดี น่าอยู่ มีอุปกรณ์การเรียนรู้ นักเรียนพึงพอใจ

2.วัตถุประสงค์
1. ครูผู้สอนและนักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความพึงพอใจ
2. เพื่อให้ครู นักเรียนใช้ประโยชน์ห้องเรียน ห้องต่างๆได้เต็มตามสภาพ มีระเบียบการใช้ห้องอย่างชัดเจน
3. เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้ตามความต้องการและมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
5. เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีทั้งครูผู้สอนและนักเรียน

3. เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1. ห้องเรียนทุกห้องมีความสวยงาม ปลอดภัยเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
และถูกสุขลักษณะ
2. ครู นักเรียน ผู้ใช้บริการทุกคนมีความพึงพอใจ
3. นักเรียนทุกคนชื่นชอบ พึงพอใจในห้องเรียน และตั้งใจเรียน
4. นักเรียนทุกคนมีสุขภาพการ สุขภาพจิตที่ดี มีความปลอดภัย
เชิงคุณภาพ
ห้องเรียนทุกห้อง ทุกชั้นของโรงเรียนบ้านยางใหญ่ มีความสวยงาม สะอาดน่าอยู่ น่าเรียน
เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน นักเรียนปลอดภัย ใจ กายสมบูรณ์และมีความพึงพอใจในห้องเรียนและโรงเรียน

4. ระยะเวลาดำเนินการ
ตลอดปีการศึกษา 2564 (1 ก.ค. 64 - 31 มี.ค. 65)
ปฏิทินการปฏิบัติงาน/โครงการ
ที่ รายการ พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2565
พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.
1 ประชุมครู
2 จัดทำโครงการ/ เสนอ
โครงการ
3 แต่งตั้งคณะทำงาน
4 วางแผนปฏิบัติงาน
5 ดำเนินงานตามแผน
66

6 ประเมินผลโครงการ
7 สรุปและรายงานผล

5.สถานที่ดำเนินการ
โรงเรียนบ้านยางใหญ่ ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

6.งบประมาณ
เงินอุดหนุนของโรงเรียน 6,000 บาท

7.ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.ห้องเรียนทุกห้องและอาคารเรียนทุกหลัง มีความสวยงาม ปลอดภัย เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอน
2.ผู้ใช้บริการ คณะครู นักเรียนทุกคนมีความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ห้องเรียน
3.นักเรียนทุกคนมีความพึงพอใจในห้องเรียนและตั้งใจเรียนมากขึ้น
4. ครู นักเรียนมีสุขภาพการ สุขภาพจิตที่ดี
5. ครู นักเรียนมีความปลอดภัย

8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ครู นักเรียนมีความพึงพอใจในสภาพห้องเรียนและรอบๆห้องเรียน
2.ห้องเรียน อาคารเรียน มีความสวยงาม มีสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนเพียงพอ
3.ครู นักเรียนปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น
4.ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นทั้ง NT, O-NET
9. การประเมินผล
เครื่องมือ
แบบสังเกต แบบสำรวจ แบบสอบถามความพึงพอใจ

(ลงชื่อ)………….......................................…………ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย)
ครูผู้ช่วย

(ลงชื่อ)…...................................…………………ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่
67

9. ชื่อโครงการ พัฒนาระบบงานการเงิน พัสดุโรงเรียน


แผนงาน งานงบประมาณ
สนองกลยุทธ์ สพป.มค. 3 ข้อที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมจาก
ทุกภาคส่วน
ข้อที่ 6 สร้างขวัญ กำลังใจ ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา
อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
จุดเน้น สพป.มค. 3 ข้อที่ 7. ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการ
ขยายผลสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจักรพงษ์ พันธ์ยางน้อย นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย

ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
............................................................................................................................. ........
1. หลักการและเหตุผล
งานงบประมาณเป็นงานที่ช่วยสนับสนุนงานอื่นๆ ของโรงเรียนให้สามารถดำเนินการไปด้วย
ความเรียบร้อย ซึ่งประกอบด้วย งานเกี่ยวกับการเงินโรงเรียนและงานที่เกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ เป็นปัจจัยที่มี
ความสำคัญอย่างยิ่ง หากมีการบริหารผิดพลาดงานอื่นๆ ก็ยากที่จะสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบงานการเงิน
ของโรงเรียนบ้านห้วยม่วง มีบุคลากรที่รับผิดชอบไม่มาก จำเป็นต้องศึกษา หาวิธีการที่ดีที่สุดมาบริหารจัดการให้
การเงินโรงเรียนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องตามหลักการบริหารการเงิน เกิดความโปร่งใส ไม่สับสน ระบบ
บัญชีถูกต้อง ระบบการเงินทั้งหมดมีประสิทธิภาพ โรงเรียนจึงจัดทำโครงการนี้

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาวิธีการที่ดีที่สุดมาใช้ในโรงเรียน
2. เพื่อพัฒนาระบบงานการเงินโรงเรียนให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ
3. เพื่อจัดระบบงานการเงินให้เป็นระเบียบอยู่เสมอสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
4. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสทุกกรณี
68

3. เป้าหมาย
1. ระบบการเงินโรงเรียนถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย
2. ให้เกิดความคล่องตัว โปร่งใส
3. สามารถรายงานการเงินและรับการตรวจสอบได้ตลอดเวลา

4. วิธีดำเนินงาน
1. ประชุมคณะครู
2. จัดทำโครงการ/ เสนอโครงการ
3. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการ
4. วางแผนปฏิบัติงาน
5. ดำเนินการตามแผน
6. นิเทศติดตามผล
7. สรุปผล/รายงาน

ปฏิทินการปฏิบัติงาน/โครงการ
ที่ รายการ พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2565
พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.
1 ประชุมครู
2 จัดทำโครงการ/ เสนอ
โครงการ
3 แต่งตั้งคณะทำงาน
4 วางแผนปฏิบัติงาน
5 ดำเนินงานตามแผน
6 ประเมินผลโครงการ
7 สรุปและรายงานผล

5. งบประมาณ
เงินอุดหนุนของโรงเรียน 500 บาท
ระดับความสำเร็จ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ
1.ร้อยละของงานการเงินเป็นระบบ 1. สอบถาม 1. แบบสอบถาม
เป็นปัจจุบัน 2. สัมภาษณ์ 2. แบบสัมภาษณ์
2.ร้อยละของงบประมาณใช้จ่าย 1. สอบถาม 1. แบบสอบถาม
อย่างประหยัด ทันกำหนด 2. สัมภาษณ์ 2. แบบสัมภาษณ์
69

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ระบบงานการเงินโรงเรียนถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย เป็นระบบมากยิ่งขึ้น
2. ระบบงานการเงินเกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

7. ประเมินผลและรายงาน 31 มีนาคม 2565

(ลงชื่อ)………….......................................…………ผู้เสนอโครงการ
(นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย)
ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านยางใหญ่

(ลงชื่อ)…...............................…………………ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

10. งาน/โครงการ การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน


แผนงาน ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา
สนองกลยุทธ์ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาส
70

ในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และลดอัตราการออกกลางคันให้เป็นศูนย์ โดยระบบ


ดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง
สนองกลยุทธ์ สพป. กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาส
ในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
สนองกลยุทธ์ โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาส
ในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ งานบริหารทั่วไป
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย,นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์,นางสาวสุรินทรา พรกุณา
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
****************************************************************************************
1. หลักการและเหตุผล
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นนโยบายสำคัญที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กำหนดให้สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งนำไปดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจังก่อให้เกิดประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล เนื่องจากระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นการดำเนินการที่ตรวจสอบได้ และได้กำหนดให้
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามคำ
รับรองการปฏิบัติราชการ สำหรับปีพ.ศ. 2558 เป็นปีเยาวชนไทยห่างไกลยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำแนวทางการประเมินสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาประเมินตนเอง และสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา ส่งเสริมสนับสนุน นิเทศ กำกับ ติดตามให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการระบบการดูแล
ช่วยเหลือนักเรียนตาม มาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านยางใหญ่ จึงได้ดำเนินโครงการและ
พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล
2. เพื่อทราบเกี่ยวกับสภาพปัญหาของตัวนักเรียน
3. เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และหาแนวทางช่วยเหลือ หรือแก้ปัญหา

3. เป้าหมาย
1. คัดกรองนักเรียน 100 %
2. จำนวนนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีปัญหาลดลง 100 %

4. กิจกรรม
4.1 การเยี่ยมบ้านนักเรียน
4.2 การคัดกรองนักเรียน
4.3 การส่งเสริมนักเรียน
4.4 การป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน
4.5 การส่งต่อนักเรียน
5. ปฏิทินการปฏิบัติงาน
ระยะเวลา ปีการศึกษา 2564
71

ที่ ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565


กิจกรรม พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค ม.ค ก.พ มี.ค
1 การเยี่ยมบ้านนักเรียน
2 การคัดกรองนักเรียน

3 การส่งเสริมนักเรียน
4 การป้องกันและ
แก้ปัญหานักเรียน
5 การส่งต่อนักเรียน

6. งบประมาณ
งบประมาณ จำนวน 1,000 บาท มีรายละเอียดการใช้จ่าย ดังนี้
ที่ รายการ งบประมาณ
1 การเยี่ยมบ้านนักเรียน ถัวจ่ายทุกรายการ
2 การคัดกรองนักเรียน
3 การส่งเสริมนักเรียน
4 การป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน
5 การส่งต่อนักเรียน

รวม 1,000

7. การประเมินผล
ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้วัด
1. ประเมิน 14 ตัวชี้วัด ตามเกณฑ์มาตรฐานระบบการดูแล - สอบถาม - เครือ่ งมือ
ช่วยเหลือนักเรียน ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น - ดูสภาพจริง ประเมินผลการ
พื้นฐานกำหนด ดำเนินงาน
2. ผลการประเมินได้ระดับ 3 หรือ 4 ไม่น้อยกว่า 12 ตัวชี้วัด โรงเรียน
3. ไม่มีตัวชี้วัดใดได้ผลรับการประเมิน ระดับ 1
4. ค่าเฉลี่ยผลการประเมินทั้ง 14 ตัวชี้วัด ไม่ต่ำกว่า 2.85
72

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 ครู ผู้ปกครองร่วมกันแก้ปัญหา และหาวิธีป้องกันปัญหา
8.2 ลดช่องว่างระหว่างผู้ปกครองและครู ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
8.3 นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลเอาใจใส่จากทางโรงเรียนอย่างเท่าเทียมกัน

(ลงชื่อ)………….......................................…………ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย)
ครูผู้ช่วย

(ลงชื่อ)…...................................…………………ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

11. งาน / โครงการ โครงการนิเทศภายในโรงเรียน


แผนงาน ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา
สนองกลยุทธ์ สพฐ. ข้อที่ 1-5
สนองมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบวร ผองขำ , นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565
****************************************************************************************
1. หลักการและเหตุผล
การนิเทศการศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดอย่างมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน
โดยอาศัยความสัมพันธ์เกื้อกูล ร้อยรัดของ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ กระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการ
สอน และกระบวนการนิเทศติดตามและประเมินผล เพื่อเป็นการกระตุ้นครู บุคลากรในโรงเรียนให้ร่วมคิดร่วมทำ
สนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียน และแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
รอบสอง โรงเรียนบ้านยางใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้การดำเนินการตามภาระงานสถานศึกษา บรรลุวัตถุประสงค์
73

อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบ มีทีมงานที่เข้มแข็ง


3.2 เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค จุดเด่น จุดควรพัฒนาของการดำเนินงานต่าง ๆ ของโรงเรียน
2.3เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะบุคลากรมีความตระหนักในภาระหน้าที่เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา และพัฒนาผู้เรียน

3. เป้าหมาย
3.1 ครูทุกคนในโรงเรียนได้รับการนิเทศอย่างต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา
3.2 ทุกโครงการ/กิจกรรม ได้รับการนิเทศติดตามผล
3.3 โรงเรียนมีเครื่องมือนิเทศที่มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทุกโครงการ/กิจกรรม
4. การดำเนินโครงการ
4.1 สำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของโรงเรียน
4.2 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
4.3 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
4.4 ประชุมคณะกรรมการกำหนดกิจกรรมและชี้แจงคณะครู
4.5 ดำเนินการตามกิจกรรม

5. กิจกรรม
ที่ กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ
1 ประชุมก่อนการนิเทศ 1 ครั้ง/ภาคเรียน ผู้อำนวยการ
2 ปฐมนิเทศ 1 ครั้ง/ปีการศึกษา ผู้อำนวยการ
3 ให้คำปรึกษา ตลอดปีการศึกษา ผู้อำนวยการ
4 อบรม สัมมนาทางวิชาการ ตลอดปีการศึกษา ครูทุกคน
5 ประชุมปฏิบัติการ 1 ครั้ง/ภาคเรียน ครูทุกคน
6 ระดมความคิด 1 ครั้ง/เดือน ครูทุกคน
7 สาธิตการสอน 1 ครั้ง/ภาคเรียน ครูวิชาการ
8 ศึกษาเอกสารวิชาการ ตลอดปีการศึกษา ครูทุกคน
9 เยี่ยมนิเทศชั้นเรียน 1 ครั้ง/เดือน/ห้อง คณะกรรมการนิเทศ
10 สังเกตการสอน 1 ครั้ง/ภาคเรียน/ห้อง คณะกรรมการนิเทศ
11 วิจัยชั้นเรียน 1 เรื่อง/ภาคเรียน/ห้อง ครูทุกคน
12 จัดนิทรรศการ 1 ครั้ง/ปีการศึกษา ครูทุกคน

6. ทรัพยากรที่ต้องการ
6.1 บุคลากร
- คณะกรรมการนิเทศภายใน
- หัวหน้าสายชั้นทุกสายชั้น
- หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
6.2 งบประมาณ
งบประมาณ จำนวน 500 บาท มีรายละเอียดการใช้จ่าย ดังนี้
74

ที่ รายการ งบประมาณ

1 ประชุมสัมมนาคณะทำงาน และจัดทำเอกสาร เครื่องมือ ถัวจ่าย


2 ประชุม อบรม สัมมนาครู บุคลากร
3 จัดนิทรรศการ
รวม 500

7. การประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือประเมิน
ด้านผลผลิต
1.ครูมีทักษะการสอนที่หลากหลาย สังเกต ตรวจแผนการสอน แบบสังเกต แบบประเมิน
2.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการ เอกสารการวัด ประเมินผล
สูงขึ้น เรียน
3.ระบบงานในโรงเรียนมี สังเกต แบบสังเกต แบบประเมิน
ประสิทธิภาพ ตรวจสอบผลสำเร็จของงาน
4.ครู บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม สังเกต สอบถาม แบบสังเกต แบบสอบถาม
5.งานสารสนเทศถูกต้อง ชัดเจน ตรวจเอกสาร แบบประเมิน
เป็นปัจจุบัน
ด้านผลลัพธ์
1.ครู บุคลากรมีศักยภาพในการ ประเมินความสำเร็จของงาน แบบประเมินความสำเร็จ
ปฏิบัติงาน ของงาน
2.นักเรียนมีทักษะ และคุณภาพการ สังเกต สอบถาม แบบสังเกต แบบสอบถาม
เรียนรู้สูง

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 ครู บุคลากรทุกคนมีความมุ่งมั่น ศรัทธา และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีความสุข
8.2นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
8.3 การดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม ต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา

(ลงชื่อ)………….......................................…………ผู้เสนอโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

(ลงชื่อ)….................................…………………ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
75

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

12. โครงการ พัฒนาครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน


แผนงาน งานบุคคล
สนองกลยุทธ์ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทั้งระบบระบบ ให้สามารถจัดการเรียน
การสอนได้อย่างมีคุณภาพ
สนองกลยุทธ์ สพป กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดการเรียน
การสอนได้อย่างมีคุณภาพ
สนองกลยุทธ์โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดการเรียน
การสอนได้อย่างมีคุณภาพ
สนองมาตรฐานสพฐ. มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
กลุ่มรับผิดชอบ บริหารงานบุคคล
ผู้รับผิดชอบ นายบวร ผองขำ
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565
****************************************************************************************
1. หลักการและเหตุผล
ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กำหนดให้รัฐ
ต้องส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพศึกษาโดยให้มีระบบพัฒนาครู -คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความพร้อม
และเข้มแข็ง พร้อมรองรับการกระจายอำนาจและตาม พ.ร.บ. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.
2547 ให้มีการพัฒนาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึ กษาทั้งก่อนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ตลอดทั้งให้
ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาโดยให้การศึกษา อบรม ดูงาน สนับสนุนส่งเสริม
และพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพ
เพื่อให้การดำเนินงานลุล่วงไปด้วยดี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2554 โดยมีเป้าหมายชัดเจนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติ และส่งผลให้ครูและ
บุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะคุณภาพ ความก้าวหน้าตามมาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานตำแหน่ง วิทยฐานะ
ความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ที่เหมาะสมและส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
ในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ และคุณภาพของนักเรียน
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและทักษะให้แก่บุคลากรในโรงเรียน
1.3 เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
1.4 เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความถนัดของตนเองได้เต็มที่ตามศักยภาพ
76

2. เป้าหมาย
3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านยางใหญ่ จำนวน 10 คน
3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
ครูและบุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีวิทยฐานะทุกคน

4. กิจกรรม
4.1 ประชุมเชิงวิชาการ
4.2 อบรม สัมมนาครูรายกลุ่มสาระการเรียนรู้
4.3 อบรม สัมมนาครู และบุคลากรทางการศึกษารายกลุ่มงานที่รับผิดชอบ
4.4 อบรมเชิงปฏิบัติการด้านการผลิต การใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
4.5 ศึกษาดูงานสถานศึกษาต้นแบบ
5. ปฏิทินการปฏิบัติงาน
ปีการศึกษา 2564
ที่ ระยะเวลา ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565
กิจกรรม พ.ค มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.
1. ประชุมเชิงวิชาการ
2. อบรม สัมมนาครูรายกลุ่ม
สาระการเรียนรู้
3. อบรม สัมมนาครู และ
บุคลากรทางการศึกษาราย
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ
4. อบรมเชิงปฏิบัติการด้านการ
ผลิต การใช้สื่อและ
เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการ
สอน
5. ศึกษาดูงานสถานศึกษา
ต้นแบบ

6. งบประมาณ
เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 4,000 บาท มีรายละเอียดการใช้จ่าย
แยกตามกิจกรรมดังนี้
ที่ รายการ งบประมาณ
1 ประชุมเชิงวิชาการ -
2 อบรม สัมมนาครูรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ถัวจ่ายทุก
3 อบรม สัมมนาครู และบุคลากรทางการศึกษารายกลุ่มงานที่รับผิดชอบ รายการ
4 อบรมเชิงปฏิบัติการด้านการผลิต การใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
77

5 ศึกษาดูงานสถานศึกษาต้นแบบ
รวม 4,000

7. ประเมินผล
7.1 สรุปรายงานผลการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน
7.2 ประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 บุคลากรมีขวัญกำลังใจ มีคุณภาพในการทำงานและมีความก้าวหน้าทางอาชีพ
8.2 นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ขั้นพืน้ ฐาน

(ลงชื่อ)…………..................…………ผู้เสนอโครงการ
(นายบวร ผองขำ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

(ลงชื่อ)…..................................……ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

13. งาน/โครงการ ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ภายในสถานศึกษา


แผนงาน ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา
สนองกลยุทธ์ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา ตามแนวทางการกระจาย
อำนาจหลักธรรมาภิบาลเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือจาก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
สนองกลยุทธ์ สพป. กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาเน้นการมีส่วนร่วม
ทุกภาคส่วน
สนองกลยุทธ์โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาเน้นการมีส่วนร่วม
78

ทุกภาคส่วน
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ งานบริหารทั่วไป
ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย,นายอุทิศ ประทุมมา
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
****************************************************************************************
1. หลักการและเหตุผล
โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่ให้การศึกษาแก่เด็กในวัยเรียนแล้วยังเป็นสถานที่ที่เด็กนักเรียน
ต้องอยู่ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมต่างๆที่ทางโรงเรียนกำหนดซึ่งโรงเรียนเปรียบได้เสมือนเป็นบ้านหลังที่ 2 ของเด็ก
เพราะว่าเด็กในวัยเรียนจะต้องใช้ชีวิตทำกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่ในโรงเรียน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการ
จัดการปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้น่าดู น่าอยู่และปลอดภัยอยู่เสมอ นักเรียนจะได้มีความ
ภาคภูมิใจมีความรักและหวงแหนโรงเรียนของตน ดังนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งในการกำหนดโครงการนี้ขึ้นมาและ
ดำเนินการให้ต่อเนื่องทุกปี

1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน และปลอดภัยสำหรับนักเรียน
1.2 เพื่อให้นักเรียนมีความรัก และภาคภูมิใจในโรงเรียนของตน
1.3 เพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่ให้บริการแก่ชุมชน
1.4 เพื่อให้ชุมชนมีความภาคภูมิใจ และเห็นความสำคัญของโรงเรียน
2. เป้าหมาย
2.1 โรงเรียนมีรั้วรอบขอบชิดที่มั่นคงแข็งแรงและสวยงาม
2.2 โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน การจัดกิจกรรมและปลอดภัย
2.3 โรงเรียนสามารถให้บริการแก่ชุมชนในการจัดกิจกรรมต่างๆได้ตามความเหมาะสมและ
โอกาส
3. กิจกรรม
3.1 วางแผน ทำโครงการเพื่อนำเสนอที่ประชุม
3.2 เสนอโครงการขออนุมัติ
3.3 แต่งตั้งบุคลากรผู้รับผิดชอบดำเนินงานตามโครงการ
3.4 ติดตามผล สรุปรายงานผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
4. ปฏิทินการปฏิบัติงาน
ระยะเวลา ปีการศึกษา 2564
ที่ ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565
กิจกรรม พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธค ม.ค ก.พ มี.ค
1 วางแผน ทำโครงการ
เพื่อนำเสนอที่ประชุม
2 เสนอโครงการขออนุมัติ
79

3 แต่งตั้งบุคลากร
ผู้รับผิดชอบดำเนินงาน
ตามโครงการ
4 ประเมินผล รายงานผล
สรุปผลโครงการ

5. งบประมาณ
งบประมาณจากหมวดเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563-2564
จำนวน 2,000 บาท ดังรายละเอียด ดังนี้
5.1 ซ่อมแซม ปรับปรุง ระบบสาธารณูปโภค งบประมาณ 500 บาท
5.2 ปรับปรุงสภาพทั่วไปห้องน้ำห้องส้วม งบประมาณ 1,000 บาท
5.3 ปรับปรุงสวนหย่อมและไม้ดอกไม้ประดับภายในโรงเรียน งบประมาณ 500 บาท

6. ประเมินผล
6.1 สังเกต สอบถาม ความพึงพอใจของครูและนักเรียน
6.2 รายงานผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ครู นักเรียน และชุมชนมีความพึงพอใจ สถานศึกษามีสภาพที่น่าดู น่าอยู่ น่าเรียนและปลอดภัย

(ลงชื่อ)…………...................................…………ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย)
ครูผู้ช่วย

(ลงชื่อ)…......................................………………ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่
80

14. งาน/โครงการ โครงการส่งเสริมค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ


แผนงาน ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา
สนองกลยุทธ์ สพฐ. ข้อที่ 1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สนองกลยุทธ์ สพป. ข้อที่ 1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สนองกลยุทธ์ โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 1 ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นไทย และวิถีชีวิต
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนทุกคน
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ งานบริหารทั่วไป
ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประสิทธิ์ หาจันทร์ศรี ,ว่าที่ ร.ท.ดุสิต ดรพลก้อม
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
**************************************************************************************************
1. หลักการและเหตุผล
ส่งเสริมให้เยาวชนมีความสำนึกและตระหนักในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมและการใฝ่เรียนรู้ให้เป็นไป
ตามนโยบาย การส่งเสริมสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้ มแข็งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยสร้างคน
ในชาติให้มีค่านิยมหลัก ของคนไทย 12 ประการ ขึ้น เพื่อให้เด็กๆและเยาวชนนั้นมีค่านิยมที่ดี โดยมุ่งเน้นพัฒนา
ผู้เรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรมตามค่านิยมหลัก 12 ประการ อย่างต่อเนื่องมี พฤติกรรมที่แสดงออกที่ดโี ดยชัดเจน
เป็นรูปธรรมและหมั่นปฏิบัติอยู่เสมอ
ดังนั้น โรงเรียนบ้านยางใหญ่ มีความตระหนักในเรื่องดังกล่าวโครงการส่งเสริมค่านิยมพื้นฐาน 12
ประการ เพื่อเป็นการปลูกฝัง ค่านิยมหลัก 12 ประการและทักษะชีวิต เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ต่อไป
2. วัตถุประสงค์
81

2.1 เพื่อพัฒนานักเรียนทุกคน ให้มีทักษะชีวิตที่ดี มีค่านิยมหลัก 12 ประการ มีความตระหนักรู้


และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น รู้จักคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รู้จักการจัดการกับ
อารมณ์และความเครียด และมีทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
2.2 ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนและค่านิยมหลัก 12 ประการ ได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ
3. เป้าหมาย
3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
3.1.1 นักเรียนทุกคนในสถานศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะชีวิต และค่านิยมหลัก 12 ประการ
3.1.2 ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนทุกคนได้รับการส่งเสริมและพัฒนา การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียน ค่านิยมหลัก 12 ประการ
3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
3.2.1 นักเรียนทุกคนในสถานศึกษามีทักษะชีวิตที่ดี ค่านิยมหลัก 12 ประการ และมีความตระหนัก
รู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น รู้จักคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รู้จักการจัดการกับ
อารมณ์และความเครียด และมีทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
3.2.2 ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิต
ผู้เรียน ค่านิยมหลัก 12 ประการ ได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ

4. กิจกรรม
4.1 จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารและขออนุมัติ
4.2 ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน
4.3 จัดกิจกรรมส่งเสริมค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ
4.4 สรุป/รายงานโครงการ

5. ปฏิทินการปฏิบัติงาน

ระยะเวลา ปีการศึกษา 2564


ที่ ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565
กิจกรรม พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค ม.ค ก.พ มี.ค
1 จัดทำโครงการเสนอ
ผู้บริหารและขออนุมัติ
2 ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน
3 จัดกิจกรรมส่งเสริมค่านิยม
พื้นฐาน 12 ประการ

4 สรุป/รายงานโครงการ

6. งบประมาณ
82

งบประมาณ จำนวน 500 บาท มีรายละเอียดการใช้จ่าย ดังนี้


ที่ รายการ งบประมาณ

1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน -
จัดกิจกรรมส่งเสริมค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ-ค่าตอบแทน
2 500
ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ประกอบการดำเนินงาน
3 สรุป/รายงานโครงการ -
รวม 500

(งบประมาณอาจยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม)
7. การประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
ผลผลิต (Outputs)
- นักเรียนทุกคน ได้รับการพัฒนาทักษะชีวิต ค่านิยม การรายงานผล แบบรายงาน
หลัก 12 ประการ ให้มีความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าใน
ตนเองและผู้อื่น รู้จักคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและ
แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รู้จักการจัดการกับอารมณ์และ
ความเครียด และมีทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับ
ผู้อื่น
- ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนทุกคนได้รับ
การพัฒนาให้เข้าถึงและเข้าใจ ในการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ค่านิยมหลัก 12 ประการ
ของผู้เรียนได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
-นักเรียนทุกคน มีทักษะชีวิตที่ดี มีความตระหนักรู้และ การรายงานผล แบบรายงาน
เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น รู้จักคิดวิเคราะห์
ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รู้จักการจัดการ
กับอารมณ์และความเครียด และมีทักษะการสร้าง
สัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
- ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ ส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิต ค่านิยมหลัก 12
ประการ ของผู้เรียนได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
83

2. ครูผู้สอนมีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะชีวิตและค่านิยมหลักของคนไทย
3. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการของนักเรียน

(ลงชื่อ)………….......................................…………ผู้เสนอโครงการ
(นายประสิทธิ์ หาจันทร์ศรี)
ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านยางใหญ่

ลงชื่อ)…..........................................…………………ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

15. งาน/โครงการ โครงการป้องกันเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษา


แผนงาน ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา
สนองกลยุทธ์ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
84

สนองกลยุทธ์ สพป. กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


กลยุทธ์ที่ 2 การเพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงครอบคลุม
ผู้เรียนให้ได้รับ
โอกาสในการพัฒนาเด็กตามศักยภาพ และมีคุณภาพ
สนองกลยุทธ์ โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 1 ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นไทย และวิถีชีวิต ตามหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนทุกคน
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ งานบริหารทั่วไป
ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประสิทธิ์ หาจันทร์ศรี ,นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
**************************************************************************************************
1. หลักการและเหตุผล
ตามที่นโยบายรัฐบาล ได้มีแผนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน ในแผนการสร้าง
ภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา กำหนดมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนวัยเสี่ยงไม่ให้ไปเกี่ยวข้อง
กับยาเสพติด
ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของบุหรี่และยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัว
เยาวชนเอง เช่นความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน
-ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้
- ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา
- จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อ
แก้ปัญหา ก็ใช้บุหรี่หรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน ใช้บ่อยๆ ทำให้เกิดการเสพ
ติด ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหาบุหรี่และยาเสพติด
ในการนี้โรงเรียนบ้านยางใหญ่ ได้ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะครูเพื่อจัดทำ
โครงการป้องกันเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน เพื่อดำเนินกิจกรรมในการ
เสริมสร้างผู้เรียนให้มีภูมิคุ้มกัน ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้นักเรียนรู้จักนำหลักธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต
2. เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาตนเอง คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น จนนำไปสู่การพัฒนาครอบครัว
สังคม และประเทศชาติ
3. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังนักเรียนไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่และสารเสพติด
4. เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และสารเสพติดแก่นักเรียน
3. เป้าหมาย
3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
นักเรียนโรงเรียนบ้านยางใหญ่ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

3.2 เป้าหมายคุณภาพ
1.นักเรียนป้องกันตนเองได้จากสิ่งยั่วยุและเลือกปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เป็นเยาวชน
ที่ดีของสังคมและประเทศชาติ
85

2. นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามัคคีในหมู่คณะและอยู่
ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
4. กิจกรรม
4.1 วางแผนจัดทำและอนุมัติโครงการ
4.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
4.3 ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
4.4 ติดตามประเมินผลโครงการและรายงานสรุปผลการดำเนินงาน
5. ปฏิทินการปฏิบัติงาน

ระยะเวลา ปีการศึกษา 2564


ที่ ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565
กิจกรรม พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค ม.ค ก.พ มี.ค
1 จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารและ
ขออนุมัติ
2 ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน
3 ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

4 สรุป/รายงานโครงการ
6. งบประมาณ
งบประมาณ จำนวน 1,000 บาท มีรายละเอียดการใช้จ่าย ดังนี้
ที่ รายการ งบประมาณ

1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน -
ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
2 1,000
-ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ประกอบการดำเนินงาน
3 สรุป/รายงานโครงการ -
รวม 1,000

(งบประมาณอาจยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม)

7. การประเมินผล
1. จากการตอบแบบสอบถาม
86

2. จากการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความตระหนักและป้องกันตนเองได้จากสิ่ง
ยั่วยุและเลือกปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เป็นเยาวชนที่ดีของสังคม
2. นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมรู้จักนำหลักธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต
3. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และสารเสพติดและไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่และสารเสพติด

(ลงชื่อ)………….......................................…………ผู้เสนอโครงการ
(นายประสิทธิ์ หาจันทร์ศรี)
ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านยางใหญ่

(ลงชื่อ)…..........................................…………………ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

16. โครงการ ประชาธิปไตยในโรงเรียน


ชื่อโครงการ โครงการ ประชาธิปไตยในโรงเรียน
แผนงาน งานบริหารกิจการนักเรียน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประสิทธิ์ หาจันทร์ศรี , นางสาวพัชรา สิมหาบุตร
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565

.........................................................................................................................................................................
1.หลักการและเหตุผล
เนื่องจากประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เพื่อส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยทางโรงเรียนสตรีแสนแสบวิทยาจึงจัดให้มีการเลือกตั้งประธานนักเรียนและ
คณะกรรมการนักเรียนขึ้นเพื่อฝึกให้นักเรียนมีภาวะการเป็นผู้นำ มีความรักสามัคคี เข้าใจขั้นตอนการเลือกตั้งอัน
เป็นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งเพื่อในอนาคตต่อไปจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเป็นเยาวชนที่ดีของชาติ
บ้านเมือง และเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนและสังคมสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

2.วัตถุประสงค์
87

1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ และมีส่วนร่วมกิจกรรมในการดูแลปกครองภายในโรงเรียน ตามระบอ


ประชาธิปไตย
2. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกตนเองเกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและหน้าที่
ตามระบบประชาธิปไตย
3.เพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการเป็นผู้นำ และผู้ตามในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง
4.เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักและมีประสบการณ์ในการร่วมทำงานเป็นหมู่คณะ โดยยอมรับความ
คิดเห็นของคนอื่น
5.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ทั้งปวงของโรงเรียน

3.เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
- นักเรียนที่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ตั้งแต่อนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- คณะกรรมการโครงการประชาธิปไตยในโรงเรียน จำนวน 15 คน
ด้านคุณภาพ
- เพื่อฝึกฝนให้นักเรียนเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตย
- เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และหน้าที่ของตนเอง

4.วิธีการดำเนินการ
1. ประชุมคณะครูชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. ขอให้ครูทุกคนช่วยสอนเกี่ยวกับประชาธิปไตยโดยสอดแทรกอย่างสม่ำเสมอในห้องเรียน
และนอกห้องเรียนโดยสัมพันธ์กับวิชาที่สอน
3. แต่งตั้งกรรมการดำเนินงานรับผิดชอบ
4. รับสมัครประธานนักเรียน
5. ผู้สมัครประธานนักเรียนหาเสียงและนำเสนอนโยบาย โดยจัด 1 วันให้นำเสนอนโยบายหน้าเสาธง
6. ลงคะแนนเลือกตั้งประธานนักเรียน
7. แต่งตั้งประธานนักเรียน พร้อมทั้งให้ประธานนักเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนในแต่ละฝ่าย
เพื่อกำหนดนโยบายให้นักเรียนได้ปฏิบัติโดยมีครูเป็นผู้ให้การศึกษา
8. ประชุมกรรมการนักเรียนเดือนละ 2 ครั้งและดำเนินนโยบายของคณะกรรมการนักเรียน
9. สรุปผลงานในรอบปีการศึกษา และเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไข

5. ปฏิทินการปฏิบัติงาน
ระยะเวลา ปีการศึกษา 2564
ที่ ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565
กิจกรรม พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค ม.ค ก.พ มี.ค
1 จัดทำโครงการเสนอ
ผู้บริหารและขออนุมัติ
2 ประชุมชี้แจงการ
ดำเนินงาน
88

3 ดำเนินกิจกรรมตาม
โครงการ
4 สรุป/รายงานโครงการ

6.งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้
- 2,000 บาท

7.การติดตามประเมินผล
1.สังเกตจากพฤติกรรมนักเรียนที่แสดงออก
2.สังเกตจากความสนใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3.จากการสัมภาษณ์ครู-นักเรียน-ผู้ปกครอง
4.สังเกตการให้ความร่วมมือของนักเรียนในการเลือกตั้ง

8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.นักเรียนเข้าใจในหลักประชาธิปไตย รู้จักปกครองตนเอง
2. นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3.นักเรียนมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
4.นักเรียนได้ปฏิบัติจริงสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
5.นักเรียนรู้และเข้าใจการทำงานเป็นหมู่คณะ

(ลงชื่อ)………….......................................…………ผู้เสนอโครงการ
(นายประสิทธิ์ หาจันทร์ศรี)
ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านยางใหญ่

ลงชื่อ)…......................................…………………ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่
89

17. ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน


แผนงาน บริหารทั่วไป
สนองกลยุทธ์ สพป.มค. 3 ข้อที่ 2 ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตาม
หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง
จุดเน้น สพป.มค. 3 ข้อที่ 5. นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความรักชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจักรพงษ์ พันธ์ยางน้อย , นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
...................................................................................................................................................................
1. หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545
หมวด 1 มาตรา 6 ว่าด้วยการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง ร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี
ความสุข สังคมไทยปัจจุบัน มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยี และการสื่อสาร เข้ามามีบทบาทใน
การดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก สังคมมีค่านิยมในการบริโภควัตถุมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงผลประโยชน์
และเห็นแก่ตัว ทำสังคมเสื่อมทรามลง การปลูกฝังให้เยาวชนได้มีจิตสำนึก ตระหนักและเห็นความสำคัญของการ
นำเอาคุณธรรม วัฒนธรรม และค่านิยมที่ดีงามมาใช้ในการดำรงชีวิตนั้น จึงมีความจำเป็นที่สถานศึกษาทุกแห่ง
รวมทั้งผู้ปกครอง ชุมชน ต้องร่วมมือกันส่งเสริม และปลูกฝังให้เยาวชนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม
มีวัฒนธรรม และค่านิยมที่ถูกต้อง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริมให้ครูในโรงเรียนตระหนักให้ความสำคัญร่วมกันจัดกิจกรรมการปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรมนักเรียนตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ
2.2 เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

3. เป้าหมาย
3.1 โรงเรียนดำเนินการปลูกฝังคุณธรรมตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ
3.2 โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝัง คุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

4. วิธีดำเนินงาน
90

1. ประชุมคณะครู
2. จัดทำโครงการ/ เสนอโครงการ
3. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการ
4. วางแผนปฏิบัติงาน
5. ดำเนินการตามแผน
6. นิเทศติดตามผล
7. สรุปผล/รายงาน

ปฏิทินการปฏิบัติงาน/โครงการ
พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2565
ที่ รายการ
พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.
1 ประชุมครู
2 จัดทำโครงการ/ เสนอ
โครงการ
3 แต่งตั้งคณะทำงาน
4 วางแผนปฏิบัติงาน
5 ดำเนินงานตามแผน
6 ประเมินผลโครงการ
7 สรุปและรายงานผล

5. งบประมาณ
เงินอุดหนุนของโรงเรียน 1,000 บาท
ระดับความสำเร็จ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ
1.โรงเรียนจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมตาม 1. สอบถาม 1. แบบสอบถาม
แนวทางวิถีพุทธ 2. สัมภาษณ์ 2. แบบสัมภาษณ์
2.ร้อยละของนักเรียน ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและ 1.สังเกต 1.แบบสังเกต
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2.สัมภาษณ์ 2.แบบสัมภาษณ์
3.สอบถาม 3.แบบสอบถาม
3.ร้อยละของนักเรียนที่ทำผิดกฎระเบียบของโรงเรียน 1.สังเกต 1.แบบสังเกต
2.สัมภาษณ์ 2.แบบสัมภาษณ์

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 โรงเรียน จัดกิจกรรมการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ
6.2 นักเรียนทุกคนในโรงเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นำมาประยุกต์ใช้
ในชีวิตประจำวัน อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
7. ประเมินผลและรายงาน
สิ้นสุดโครงการ วันที่ 31 มีนาคม 2565
91

(ลงชื่อ)..............................................ผู้เสนอโครงการ
( นายจักรพงษ์ พันธ์ยางน้อย)
ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านยางใหญ่

(ลงชื่อ).............................................ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

18. ชื่อโครงการ โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้


แผนงาน โครงการบริหารทั่วไป
สนองกลยุทธ์ สพฐ. ข้อที่ 4. พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
สนองกลยุทธ์ สพท. ข้อที่ 2. พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
หน่อยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านยางใหญ่
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย ,นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย
ระยะเวลาดำเนินการ 1-31 มีนาคม 2565
92

............................................................................................................................. ................
1.หลักการและเหตุผล
ในการพัฒนาการเรียนรู้ในปัจจุบัน มุ่งเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
ได้ลงมือปฏิบัติ ได้พบเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวแล้วสร้างองค์ความรู้ จำเป็นที่ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะ
เกิดประสบการณ์ และเป็นการส่งเสริมด้านสติปัญญา เจตคติให้กับผู้เรียน การศึกษานอกสถานที่เป็นกิจกรรม
ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ของนักเรียน ได้รับประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นแนวทางพัฒนาการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
รัฐบาลก็ส่งเสริมสนับสนุนจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนจะต้องดำเนินการ
จัดให้มีการไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้เป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โรงเรียนจึงจัดทำโครงการนี้

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณลักษณะที่ดี มีประสบการณ์ เพิ่มพูนความรู้ทันต่อเห๖การณ์
2.2 เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหาต่างๆได้เหมาะสม
2.3 เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการไปทัศนศึกษาและการอนุรักษ์ธรรมชาติ
2.3 เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนบรรยากาศของการเรียนรู้
3. เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
-คณะครู-นักเรียน จำนวน 103 คน ร่วมเดินทางไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ตามที่คณะครู
พิจารณาเห็นว่าเหมาะสม
เชิงคุณภาพ
- ผู้ร่วมเดินทางทุกคนเห็นความสำคัญของการไปทัศนศึกษาและรู้จักการอนุรักษ์ธรรมชาติ
- เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีความสุขกับการเรียนรู้

3. ขั้นตอน/กิจกรรม
กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ
1 บัน 1.บันทึกเสนอโครงการต่อผู้บริหารโรงเรียนเพื่อ
หารือในที่ประชุมคณะครู พฤษภาคม 2565 นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย
2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน มีนาคม 2565 นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย
3. ประชุมวางแผน มีนาคม 2565
4. ดำเนินงานตามแผน มีนาคม 2565
5. ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ มีนาคม 2565
6. สรุปและประเมินผล/รายงาน 30-31 มีนาคม 2565

5. ระยะเวลา/สถานที่ดำเนินการ
วันที่ 1 -31 มีนาคม 2565

6.งบประมาณ
เงินจากงบประมาณกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนบ้านยางใหญ่ จำนวน 26,000 บาท
93

7. การประเมินผล
ตัวบ่งชี้สภาพความสําเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือทีใช้วัด
ความสนใจ การใฝ่หาความรู้ รายงาน แบบรายงาน
ของนักเรียน สังเกต แบบสังเกต

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- คณะครู - นักเรียน ที่ร่วมเดินทางเห็นความสำคัญของการไปทัศนศึกษา ได้เรียนรู้
สภาพแวดล้อมตลอดเส้นทาง
- เกิดแนวคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พืช สัตว์
- รู้จักการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-ได้ความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น

ลงชื่อ...........................................ผู้เสนอโครงการ
(นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย)
ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านยางใหญ่

ลงชื่อ........................................... ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่
19. ชื่อโครงการ โครงการให้บริการนักเรียน
แผนงาน งานบริหารทั่วไป
สนอลกลยุทธ์ สพป.มค. 3 ข้อที่ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและ
ส่งเสริมความเสมอภาคทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือ
ในการเรียนรู้
ข้อที่ 2 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถี
ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จุดเน้น สพป.มค. 3 ข้อที่ 6. ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลด
อัตราการออกกลางคัน ศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย,นางสาวศรัญญา ถูหลงเพีย
ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
...................................................................................................................................................................
1. หลักการและเหตุผล
การให้บริการนักเรียนเป็นโครงการที่ทุกโรงเรียนต้องดำเนินการ ทั้งในเรื่องของการเรียนรู้
และการดำรงชีวิตในสังคมเป็นสิ่งจำเป็นที่โรงเรียนต้องจัดให้มีขึ้น เพื่อให้บริการแก่คณะครู นักเรียน
94

ในโรงเรียนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน เป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับทุกๆคน รวมทั้งเป็นการประกัน


คุณภาพของโรงเรียนด้วยว่าเมื่อผู้ปกครองส่งบุตรหลานมาเรียนหนังสือในโรงเรียนนี้แล้วจะได้รับการดูแลเอาใจใส่
ช่วยเหลือ ดุจบุตรหลานของตนเอง รวมทั้งดูแลด้านอาหารการกิน ด้านสุขภาพของนักเรียน ด้านความประพฤติ
ของนักเรียน นอกจากนั้นโรงเรียนยังต้องหากิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้เข้ามาร่วมกิจกรรมทุกคน โดยมีเป้าหมาย
ให้นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดี และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการให้บริการแก่ครู นักการภารโรงและนักเรียนในโรงเรียน
2. เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น
3. เพื่อนักเรียนมีอาหารกลางวันรับประทานครบ 100 %
4. เพื่อให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 มีอาหารเสริม(นม) ดื่มทุกวัน
5. เพื่อเป็นการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยนักเรียนทุกคน
6. เป็นการประกันโอกาส ประกันคุณภาพ และประกันด้านสุขภาพนักเรียน
7. เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความสบายใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน
3. เป้าหมาย
1. นักเรียนทุกคนได้รับบริการอาหารกลางวัน
2. นักเรียนทุกคนได้รับอาหารเสริม(นม)
3. นักเรียนทุกคนได้รับบริการด้านสุขภาพ
4. นักเรียนทุกคนได้ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น
4. วิธีดำเนินการ
1. ประชุมชี้แจง
2. จัดทำนำเสนอโครงการ
3. แต่งตั้งคณะกรรมการ
4. วางแผนการปฏิบัติงาน
5. ปฏิบัติตามแผน
6. ประเมินผล
7. สรุปผล/เสนอแนะวิธีดำเนินงานต่อไป

ปฏิทินการปฏิบัติงาน/โครงการ
ที่ รายการ พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2565
พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.
1 ประชุมครู
2 จัดทำโครงการ/ เสนอ
โครงการ
3 แต่งตั้งคณะทำงาน
4 วางแผน/กำหนด
กิจกรรม
5 ปฏิบัติตามแผน
6 ประเมินผล
7 สรุปและรายงานผล
95

5. งบประมาณที่ต้องการ
งบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากทางราชการ จำนวน 1,000 บาท
ระดับความสำเร็จ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธกี ารประเมิน เครื่องมือ
1.ร้อยละของนักเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่ 1. สำรวจ 1. แบบสำรวจ
ให้บริการอย่างทั่วถึง 2. สัมภาษณ์ 2. แบบสัมภาษณ์
3. สังเกต 3. แบบสังเกต
2.ร้อยละของนักเรียนมีความพึงพอใจใน 1. สำรวจ 1. แบบสำรวจ
บริการของโรงเรียน 2. สัมภาษณ์ 2. แบบสัมภาษณ์
3. สังเกต 3. แบบสังเกต
3.ร้อยละของนักเรียนมีความพร้อมในการ 1. สำรวจ 1. แบบสำรวจ
เรียน การร่วมกิจกรรมของโรงเรียน 2. สัมภาษณ์ 2. แบบสัมภาษณ์
3. สังเกต 3. แบบสังเกต

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
โรงเรียนให้บริการนักเรียนอย่างทั่วถึงทุกคน สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปกครองและนักเรียน
7. การประเมินผล เมื่อสิ้นสุดโครงการ 31 มีนาคม 2565

8. สรุปหาข้อเสนอแนะ เมื่อสิ้นสุดโครงการ 31 มีนาคม 2565

(ลงชื่อ)...................................................ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวศรัญญา ถูหลงเพีย)
ครูอัตราจ้างโรงเรียนบ้านยางใหญ่

(ลงชื่อ).................................................ผู้อนุมัติโครงการ
( นายบวร ผองขำ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่
96

คำสั่งโรงเรียนบ้านยางใหญ่
ที่ 11 / 2564
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำคู่มือและแผนปฏิบัติการ ปีการศึกษา 2565
.............................................................................................................
อาศัยอำนาจตามหนังสือสั่งการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3
ให้โรงเรียนในสังกัดจัดทำแผนปฏิบัติการของโรงเรียนให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ ของหน่วยงานต้น
สังกัด และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ไม่ไปเรียนร่วมกับโรงเรียนอื่น เพื่อให้เกิดความ
ชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง โรงเรียนบ้านยางใหญ่ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปี
การศึกษา 2565 ดังนี้
1. นายบวร ผองขำ ผู้อำนวยการโรงเรียน ประธานกรรมการ
2. นายจักรพงษ์ พันธุ์ยางน้อย ครูชำนาญการพิเศษ กรรมการ
3. นางสาวปราณปรียา ทิพย์พิชัย ครูผู้ช่วย กรรมการ
4. ว่าที่ ร.ท.ดุสิต ดรพลก้อม ครูชำนาญการพิเศษ กรรมการ
5. นายประสิทธิ์ หาจันทร์ศรี ครูชำนาญการพิเศษ กรรมการ
6. นางสาวพัชรา สิมหาบุตร ครูอัตราจ้าง กรรมการ/เลขานุการ
7. นางสาวนภาภรณ์ สีลานนท์ ครูอัตราจ้าง กรรมการ/ผู้ช่วยเลขาฯ
8. นางสาวศรัญญา ถูหลงเพีย ครูอัตราจ้าง กรรมการ/ผู้ช่วยเลขาฯ
10. นางสาวสุรินทรา พรกุณา ธุรการโรงเรียน ผู้ช่วยเลขาฯ
11. นายอุทิศ ประทุมมา ช่างไฟฟ้า 4 ฝ่ายบริการ
ให้ข้าราชการครู บุคลากร ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้อย่างเคร่งครัด เอาใจใส่ต่อหน้าที่ ศึกษาเอกสาร
แผนปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ศึกษาข้อมูลของโรงเรียนที่ได้
ปฏิบัติในปีการศึกษา 2564 แล้วร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการ ปีการศึกษา 2565 ให้เสร็จทันกำหนดเวลา
สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 1 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565

(ลงชื่อ)
(นายบวร ผองขำ)
97

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางใหญ่

You might also like