You are on page 1of 18

1

แผนการจัดการเรียนรู้ที่

วิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัสวิชา ค 21202 กลุ่ม


ส า ร ะ ก า ร เ รี ย น รู้ ค ณิ ต ศ า ส ต ร์ .
โรงเรียนมัธยมเทศบาล ๖ นครอุดรธานี ชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 1
ภ า ค เ รี ย น ที่ 2 ปี ก า ร ศึ ก ษ า 2565 .
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการให้
เหตุผล เวลา 11 . ชั่วโมง
แผนการสอน เรื่ อง ข้อความคาดการณ์ .. เวลา
2 . ชั่ ว โ ม ง
ครูผู้สอน นางสาวชนิกานต์ นวลตา วันที่สอน :วัน ที่
เดือน พ.ศ ..

1 มาตรฐานการเรียนรู้

2 ตัวชี้วัดชั้นปี

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
2

3 สาระสำคัญ

1. กระบวนการที่ใช้การสังเกตหรือการทดลองหลาย ๆ ครั้ง แล้วรวบรวมข้อมูล


เพื่อหาแบบรูปที่จะนำไปสู่
ข้อสรุปที่มีความเป็ นไปได้มากที่สุด แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็ นจริง เรียกข้อสรุปนั้นว่า
ข้อความคาดการณ์
2. ถ้าต้องการทราบว่าข้อความคาดการณ์นั้นเป็ นจริง ก็ต้องสืบเสาะค้นหาข้อมูล
มาสนับสนุนหรือแสดง
เหตุผลที่ทำให้ยอมรับได้ว่าข้อความคาดการณ์นั้นเป็ นจริง

4 จุดประสงค์การเรียนรู้

1. มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับลักษณะของข้อความคาดการณ์ (K)
2. วิเคราะห์และสรุปข้อความคาดการณ์ (P)
3. สร้างแบบรูปและข้อความคาดการณ์ (P)
4. มีความกระตือรือร้นสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ (A)
.

สาระการเรียนรู้/เนื้อหา (ระบุ
5
เรื่องที่เรียน)
The School Of Lifelong Learning Happily Towards
The Future
3

การเขียนข้อความคาดการณ์

6 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
- การให้เหตุผล การสรุปความรู้ การปฏิบัติ
3. ความสามารถในการแก้ปั ญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
7
ของผู้เรียน

1) ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
2) มีความละเอียดรอบคอบและรับผิดชอบในการทำงาน

ชิ้นงาน / ร่องรอยหลัก
8
ฐาน/ชิ้นงาน

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
4

1) บัตรกิจกรรม
2) กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 1

9 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาทบทวนเกี่ยวกับลักษณะของข้อความคาด
การณ์ จากนั้นตั้งคำถามกระตุ้น
ความคิดของนักเรียน ดังนี้
ถ้านักเรียนสังเกตเหตุการณ์หรือสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ซ้ำ ๆ กัน
หลาย ๆ ครั้ง แล้วนักเรียนสามารถสรุปเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อไป
หรือผลของสถานการณ์นั้น ๆ ได้หรือไม่ อย่างไร
(ตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน)
2. ครูติดแถบตัวอย่างสถานการณ์หรือเหตุการณ์ให้นักเรียนพิจารณาเกี่ยวกับ
ข้อความคาดการณ์ จากนั้นตั้ง
คำถามกระตุ้นความคิดของนักเรียน ดังนี้

ให้นักเรียนพิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้
สถานการณ์ที่ 1 ทุกวันหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว แก้วตาจะรีบกลับบ้านมา
ช่วยคุณแม่ทำงานบ้าน เช่น

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
5

กวาดบ้าน ล้างจาน ทำกับข้าว ความที่แก้วตาเป็ นเด็กช่างสังเกต แก้วตาได้พบว่าทุก


เย็นวันศุกร์ คุณแม่จะทำขนมเค้กให้รับประทาน แก้วตาสังเกตมาประมาณ 1 เดือน
แล้วแก้วตาจึงสรุปว่า ทุกเย็นวันศุกร์เธอจะได้รับประทานขนมเค้ก

สถานการณ์ที่ 2 เพชรสังเกตเห็นว่าในช่วงโรงเรียนเปิ ดเทอม ครูวันเพ็ญซึ่ง


เป็ นครูประจำชั้นจะถีบรถจักรยานผ่านหน้าบ้านเพชรไปโรงเรียนทุกเช้าประมาณ
7.00 น. แต่วันนี้สายแล้ว เพชรยังไม่เห็นครูวันเพ็ญถีบรถจักรยานผ่านหน้าบ้าน
เพชรจึงสรุปว่า วันนี้เป็ นวันที่โรงเรียนหยุด

สถานการณ์ที่ 3 สมพรได้มีการสังเกตการเรียงลำดับของจำนวน ดังต่อไปนี้


2, 3, 5, 9, 17, 33, … +1 +2 +4 +8 +16
และได้พบว่ามีแบบรูปของความสัมพันธ์ ดังแผนภาพนี้ 2 3 5 9
17 33
ดังนั้น สมพรจึงสรุปว่า จำนวนที่ 9 คือ 257

สถานการณ์ที่ 4 สมใจต้องการที่จะสร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากขนาดต่าง ๆ
โดยให้มีความยาวรอบรูป เท่ากับ 20 เซนติเมตร และมีความยาวของด้านประกอบ
มุมฉากแต่ละด้านเป็ นจำนวนเต็ม เช่น ถ้าด้านกว้างยาว
1 เซนติเมตร จะมีด้านยาวยาว 9 เซนติเมตร
9 ดังรูป

1 1
9

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
6

สมใจคำนวณหาพื้นที่พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลในตารางไว้ดังนี้
ความกว้าง ความยาว พื้นที่ (ตาราง
(เซนติเมตร) (เซนติเมตร) เซนติเมตร)
1 9 9
2 8 16
3 7 21
4 6 24
5 5 25

หลังจากสมใจลองคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ได้ในตาราง สมใจ
สังเกตว่าเมื่อความกว้าง
เพิ่มขึ้น พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจะเพิ่มขึ้นด้วย จึงสรุปว่า พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ที่ได้จะเพิ่มขึ้นเมื่อความกว้างเพิ่มขึ้น
สถานการณ์ทั้ง 4 สถานการณ์ สามารถพิสูจน์ว่าเป็ นจริงทั้ง 4
สถานการณ์หรือไม่ (ยังไม่สามารถพิสูจน์ว่าเป็ นจริงได้)
จากสถานการณ์ที่ 1 แก้วตาสรุปสถานการณ์ได้ถูกต้องหรือไม่ (ไม่ถูกต้อง
อาจจะมีบางครั้งที่ทุกเย็นวันศุกร์ที่สมใจจะไม่ได้รับประทานเค้กก็ได้)

จากสถานการณ์ที่ 2 เพชรสรุปสถานการณ์ได้ถูกต้องหรือไม่ (ไม่ถูกต้อง ครู


วันเพ็ญอาจมีกิจธุระอื่น
จึงอาจจะมาสาย)

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
7

จากสถานการณ์ที่ 3 สมพรสรุปสถานการณ์ได้ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร


(สรุปถูกต้อง โดยพิจารณา
จากแบบรูปที่เขาสังเกตเห็น ซึ่งจะได้ว่า
จำนวนที่ 7 คือ 33 + 32 = 65
จำนวนที่ 8 คือ 65 + 64 = 129
ดังนั้น จำนวนที่ 9 คือ 129 + 128 = 257 ดังที่ได้สรุปไว้)
จากสถานการณ์ที่ 4 สมใจสรุปสถานการณ์ได้ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร (ไม่
ถูกต้อง เพราะถ้าสมใจต้องการตรวจสอบว่าข้อความคาดการณ์ของตนเป็ นจริง
หรือไม่ สมใจจะต้องหาความกว้างและความยาวของ
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากให้ครบทุกขนาด จะพบว่าถ้าเพิ่มความกว้างเป็ น 6
เซนติเมตร จะได้ความยาวลดลงเป็ น
4 เซนติเมตร และพื้นที่ก็ลดลงเป็ น 24 ตารางเซนติเมตร)
จากสถานการณ์ทั้ง 4 สถานการณ์นี้ จะมีวิธีการหาข้อสรุปของสถานการณ์
ได้อย่างไร
(ใช้กระบวนการสังเกตและทดลองหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้เห็นหรือนำไปสู่ข้อสรุป
ที่เป็ นไปได้มากที่สุด)
เรียกข้อสรุปจากสถานการณ์ทั้ง 4 สถานการณ์นี้ว่าอะไร (ข้อความ
คาดการณ์)
ถ้านักเรียนต้องการทราบว่าข้อความคาดการณ์นั้นเป็ นจริงหรือไม่
นักเรียนสามารถตรวจสอบได้อย่างไร (หาข้อมูลมาสนับสนุนหรือแสดงเหตุผลที่
ทำให้ยอมรับได้ว่าข้อความคาดการณ์นั้นเป็ นจริง)
3. ครูแจกใบกิจกรรมที่ 1-4 ให้นักเรียนพิจารณา ให้แต่ละคนตอบคำถาม
ของแต่ละกิจกรรม จากนั้น

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
8

ครูคัดเลือกผู้แทนนักเรียนตอบคำถามของแต่ละกิจกรรม โดยใช้การถาม-ตอบ
หรือให้ผู้แทนนักเรียนออกมาตอบคำถามพร้อมให้เหตุผลประกอบหน้าชั้นเรียน
โดยครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง

ให้นักเรียนทำกิจกรรมต่อไปนี้
กิจกรรมที่ 1
นิดกับน้อยขับรถไปตามถนนกรุงเทพ - เพชรบุรี เขาพบว่า ตลอดเส้นทางมีร้าน
ขายขนมหม้อแกงหลายร้าน แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเข้าไปซื้อร้านไหนดี นิดจึงเสนอว่า
ลองเข้าไปร้านที่มีรถจอดหลายคันดีกว่า คนก็แน่นร้านด้วย ทั้งคู่จึงเลี้ยวรถเข้าไป
ในร้านนั้น อยากทราบว่า นิดกับน้อยมีเหตุผลอย่างไรจึงเลือกซื้อขนมหม้อแกง
ร้านนั้น
จงอธิบาย
แนวคำตอบ

นิดกับน้อยอาจจะเห็นว่าร้านที่มีรถจอดหลายคันน่าจะขายขนมหม้อแกงที่อร่อยกว่าร้านที่มีรถจอดน้อย ๆ
จึงเลือกซื้อขนมหม้อแกงร้านนั้น (หรือตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

กิจกรรมที่ 2
หน่อยทราบว่า “จำนวนคู่ คือ จำนวนเต็มที่หารด้วย 2 ลงตัว” ซึ่งได้แก่ … , –8,
–6, –4, –2, 0, 2, 4, 6, 8, …
เมื่อหน่อยนำจำนวนคู่มาลองเขียนในรูปการคูณของ 2 กับจำนวนเต็ม ได้ผลดังนี้

… –8 –6 –4 –2 0 2 4 6 8 …
… 2×(– 2×( 2×( 2×( 2×0 2×1 2×2 2×3 2×4 …
4) –3) –2) –1)

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
9

1. จำนวนคู่แต่ละจำนวนสามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของ 2 กับจำนวนเต็มจำนวนหนึ่งได้หรือไม่
___________________________________________________________
ได้ เพราะจำนวนคู่ คือ จำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัว
_____________________________
___________________________________________________________
2. ถ้ากำหนดให้ n แทนจำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง จำนวนในรูป 2n เป็นจำนวนคู่หรือไม่
เป็_____________________________
นจำนวนคู่

___________________________________________________________
_____________________________
___________________________________________________________
_____________________________

3. ให้นักเรียนเขียนข้อสรุปที่ได้ในข้อ 1 และข้อ 2
จำนวนคู่ คือ จำนวนที่เขียนได้ในรูป 2n เมื่อ n แทนจำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง
___________________________________________________________
_____________________________

กิจกรรมที่ 3
นักเรียนพิจารณาแบบรูปแล้วเติมจำนวนที่คาดว่าเป็ นไปได้มากที่สุด ลงใน
ช่องว่างที่กำหนดให้
1. 1 · 1 = 1
11 · 11 = 121
111 · 111 = 12321
1111 · 1111 = 1234321
11111 · 11111 = 123454321
111111 · 111111 = 12345654321

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
10

2. 3 · 4 = 12
33 · 34 = 1122
333 · 334 = 111222
3333 · 3334 = 11112222
33333 · 33334 =
1111122222
333333 · 333334 = 111111222222

3. 1 + (9 · 0) = 1
2 + (9 · 1) = 11
3 + (9 · 2) = 21
4 + (9 · 3) = 31
5 + (9 · 4) = 41
6 + (9 · 5) = 51

4. (9 · 0) + 1 = 1
(9 · 1) + 2 = 11
(9 · 12) + 3 = 111
(9 · 123) + 4 = 1111
(9 · 1234) + 5 = 11111
(9 · 12345) + 6 = 111111
นักเรียนมีวิธีการหาจำนวนในแต่ละข้อข้างต้นอย่างไร อธิบาย
สังเกตจากแบบรูปของจำนวนในแต่ละบรรทัด
________________________________________________________
____________________________

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
11

4. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปความรู้ โดยเชื่อมโยงจากตัวอย่าง
กิจกรรม และการตอบคำถามข้างต้น ดังนี้

1)กระบวนการที่ใช้การสังเกตหรือการทดลองหลาย ๆ ครั้ง แล้วรวบรวม


ข้อมูลเพื่อหาแบบรูปที่จะ
นำไปสู่ข้อสรุปที่มีความเป็ นไปได้มากที่สุด แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็ นจริง เรียกข้อสรุป
นั้นว่า ข้อความคาดการณ์
2)ถ้าต้องการทราบว่าข้อความคาดการณ์นั้นเป็ นจริง ก็ต้องสืบเสาะค้นหา
ข้อมูลมาสนับสนุนหรือ
แสดงเหตุผลที่ทำให้ยอมรับได้ว่าข้อความคาดการณ์นั้นเป็ นจริง

5. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูถามคำถาม ดังนี้


นักเรียนจะนำความรู้เรื่อง ข้อความคาดการณ์ ไปใช้ในชีวิตประจำ
วันของตนเองได้อย่างไร

ชั่วโมงที่ 2
1. ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับลักษณะของข้อความคาดการณ์ จาก
นั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิดของ
นักเรียน ดังนี้
นักเรียนสามารถสร้างสถานการณ์และข้อความคาดการณ์ได้หรือไม่
อย่างไร (ตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน)

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
12

2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มสร้างสถานการณ์ กลุ่ม


ละ 5 สถานการณ์ แล้วสรุป
ข้อความคาดการณ์ของสถานการณ์นั้นที่เป็ นจริงลงในกระดาษที่ครูแจก จากนั้น
ให้แต่ละกลุ่มออกมาเขียนสถานการณ์ของแต่ละกลุ่มบนกระดาน แล้วคัดเลือกผู้
แทนกลุ่มอื่น ๆ ออกมาหาข้อความคาดการณ์ของแต่ละสถานการณ์ พร้อมทั้ง
อธิบายเหตุผลประกอบการสรุปข้อความคาดการณ์และทำกิจกรรมจนครบทุก
กลุ่ม โดยครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง
3. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปความรู้ โดยเชื่อมโยงจากกิจกรรมและ
การตอบคำถามข้างต้น ดังนี้

1)กระบวนการที่ใช้การสังเกตหรือการทดลองหลาย ๆ ครั้ง แล้วรวบรวม


ข้อมูลเพื่อหาแบบรูปที่จะ
นำไปสู่ข้อสรุปที่มีความเป็ นไปได้มากที่สุด แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็ นจริง เรียกข้อสรุป
นั้นว่า ข้อความคาดการณ์
2)ถ้าต้องการทราบว่าข้อความคาดการณ์นั้นเป็ นจริง ก็ต้องสืบเสาะ
ค้นหาข้อมูลมาสนับสนุนหรือ
แสดงเหตุผลที่ทำให้ยอมรับได้ว่าข้อความคาดการณ์นั้นเป็ นจริง
4. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นโดยครูถามคำถาม ดังนี้
ถ้านักเรียนไม่มีความรู้เรื่อง ข้อความคาดการณ์ จะส่งผลต่อชีวิต
ประจำวันอย่างไร
5. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1 เรื่อง ข้อความคาดการณ์ เพื่อฝึ กทักษะและ
ตรวจสอบความเข้าใจ

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
13

สื่อ /นวัตกรรม แหล่งการ


10
เรียนรู้

1. กระดาษ A4
2. ใบงานที่ 1 เรื่อง ข้อความคาดการณ์

11 การวัดผล และประเมินผล

1.วิธีการวัดและประเมินผล
1.1 สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
1.2 สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
1.3 ตรวจใบงานที่ 1
2.เครื่องมือ
2.1 แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
2.2 แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
3.เกณฑ์การประเมิน
3.1 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน
ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน
3.2 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
คะแนน 9-10 ระดับ ดีมาก
คะแนน 7-8 ระดับ ดี
คะแนน 5-6 ระดับ พอใช้

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
14

คะแนน 0-4 ระดับ ควรปรับปรุง

การประเมินใบงานที่ 1 ให้ผู้สอนพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินผลตาม
สภาพจริง (Rubrics)
เรื่อง ข้อความคาดการณ์
ระดับคะแนน
เกณฑ์การ 4 3 2 1

ประเมิน
เขียนแสดง เ ขี ย น แ ส ด ง เขียนแสดง เ ขี ย น แ ส ด ง เขียนแสดง
ข้อความคาด ข้อความคาด ข้อความคาด ข้ อ ค ว า ม ค า ด ข้อความคาด
การณ์ได้ ก า ร ณ์ จ า ก การณ์จาก การณ์จากความ การณ์จาก
ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ สัมพันธ์ ความสัมพันธ์
ได้ถูกต้อง ได้ถูกต้อง ได้ถูกต้อง โดยดู ได้ถูกต้อง โดย
แม่นยำ แม่นยำ ตัวอย่างจาก ครูต้องแนะนำ
ครบทุกข้อด้วย ครบทุกข้อด้วย หนังสือและให้ และดู
ตนเองพร้อม ตนเอง เพื่อนอธิบาย ตัวอย่างจาก
ทั้งสามารถ บางข้อ หนังสือ
อธิบายให้ ประกอบทุกข้อ
เพื่อน
เข้าใจได้

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
15

12 บันทึกผลหลังการสอน

12.1 สรุปผลการเรียนการสอน
1. นักเรียนจำนวน........................คน
ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้...............คน คิดเป็ นร้อย
ละ.................................
ไม่ผ่านจุดประสงค์............................คน คิดเป็ นร้อย
ละ.................................
ได้แก่
1)...........................................................................................
2).........................................................................................
นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้แก่
1). ..........................................................................................
2). ..........................................................................................
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ( K)
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………
3. นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ (P)

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
16

………………………………………………………………………………………………………
…………………………………..
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………..….………
4. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม (A)
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………
12.2 ปั ญหา/อุปสรรค /แนวทางแก้ไข
....................................................................................................................
....................................................................................................................
...................................................................................................................
12.3 ข้อเสนอแนะ
....................................................................................................................
....................................................................................................................
.............................................................................................................

ลงชื่อ................................................................
(นางสาวชนิกานต์ นวลตา)
ตำแหน่ง ครู

ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา /ฝ่ ายวิชาการ


......................................................................................................................
......................................................................................................................
..............................................................................

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
17

......................................................................................................................
.......................................
......................................................................................................................
.......................................
......................................................................................................................
.......................................

ลงชื่อ ……….......................................
(..........................................................)
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ฝ่ ายวิชาการ
โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี

ความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา
......................................................................................................................
.......................................
......................................................................................................................
......................................................................................................................
..............................................................................
......................................................................................................................
......................................................................................................................
..............................................................................

ลงชื่อ .............................................

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future
18

(นายกฤษดา โสภา)
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี

The School Of Lifelong Learning Happily Towards


The Future

You might also like