You are on page 1of 27

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สถิติ เรื่อง แผนภาพจุด


รายวิชา คณิตศาสตร์ 4 (ค22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เวลา 1 คาบ
ผู้สอน อาจารย์ชูฉกาจ ชูเลิศ
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ค 3.1 ม.2/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนาเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด
แผนภาพต้น–ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนาสถิติไปใช้ในชีวิต
จริงโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถอ่านและแปลความหมายของข้อมูลที่นาเสนอด้วยแผนภาพจุดได้
2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและนาเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพจุดได้
สาระสาคัญ
แผนภาพจุด เป็นการนาเสนอข้อมูลโดยใช้จุดแทนจานวนหรือความถี่ของข้อมูลแต่ละกลุ่ม ซึ่ง
ประกอบด้วยเส้นจานวนตามแนวแกนนอน และจุดที่วางเหนือเส้นจานวน โดยจุดแต่ละจุดจะแทนข้อมูล 1
หน่วย
สาระการเรียนรู
ด้านความรู้
แผนภาพจุด
ด้านทักษะ / กระบวนการ
1. การแกปัญหา
2. การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนาเสนอ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ใฝ่เรียนรู
2. มีวินัย
3. มุ่งมั่นในการทางาน
สมรรถนะสาคัญ
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแกปัญหา
กิจกรรมการเรียนรู
กิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียน
1. ครูทบทวนการนาเสนอข้อมูลที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้วด้วยการถามตอบ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. ครูกล่าวถึงแผนภาพจุดว่า เป็นการนาเสนอข้อมูลโดยใช้จุดแทนจานวนหรือความถี่ของ
ข้อมูลแต่ละกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยเส้นจานวนตามแนวแกนนอน และจุดที่วางเหนือเส้นจานวน โดยจุดแต่ละจุด
จะแทนข้อมูล 1 หน่วย
3. ครูแสดงตัวอย่างการเขียนแผนภาพจุดดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 จากการสอบถามเวลา (นาที) ที่ใช้ในการเดินทางจากบ้านมาบริษัทของ
พนักงานบริษัทกลุ่มหนึ่งจานวน 12 คน เป็นดังนี้
20 22 21 21 18 18
28 20 22 23 22 20

1) เขียนแผนภาพจุด
2) ให้อธิบายลักษณะของข้อมูลที่ได้จากแผนภาพ
วิธีทา
1) เขียนแผนภาพจุด มีขั้นตอนดังนี้
(1) พิจารณาข้อมูลพบว่า อยู่ในช่วง 18 นาที ถึง 28 นาที
(2) เขียนเส้นจานวนตามแนวแกนนอนให้มีตัวเลขบนเส้นจานวนครอบคลุม
ตามข้อ (1) โดยให้ตัวเลขบนเส้นจานวนมีระยะห่างเท่ากัน

(3) วาดรูป เหนือเส้นจานวน เพื่อแสดงจานวนหรือความถี่ของข้อมูล


2) จากแผนภาพ จะเห็นว่าระยะเวลาที่พนักงานบริษัทจานวน 12 คน ใข้ในการ
เดินทางจากบ้านมาบริษัทอยู่ในช่วงเวลา 18 นาที ถึง 28 นาที โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลา 20 นาที ถึง
23 นาที และใช้เวลาในการเดินทางมากที่สุด คือ 28 นาที
ตัวอย่างที่ 2 ผลการสารวจน้าหนัก (กิโลกรัม) ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2
จานวน 24 คน เป็นดังนี้

น้าหนักของนักเรียน (กิโลกรัม)

จากแผนภาพจุด ให้นักเรียนตอบคาถามในแต่ละข้อต่อไปนี้
1) นักเรียนในห้องส่วนใหญ่มีน้าหนักกี่กิโลกรัม
2) จานวนนักเรียนที่มีน้าหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 42 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละเท่าใด ของ
จานวนนักเรียนทั้งหมด
3) ให้อธิบายลักษณะของข้อมูลที่ได้จากแผนภาพ
ตอบ 1) นักเรียนในห้องส่วนใหญ่มีน้าหนัก 42 กิโลกรัม
2) จานวนนักเรียนที่มีน้าหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 42 กิโลกรัม
15
คิดเป็นร้อยละ × 100 = 62.5
24
3) จากแผนภาพ จะเห็นว่า นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จานวน 24 คน มี
น้าหนักอยู่ในช่วง 25 กิโลกรัม ถึง 40 กิโลกรัม โดยนักเรียนส่วนใหญ่มีน้าหนักเท่ากับ 32
กิโลกรัม และน้าหนักของนักเรียนที่มากที่สุดและน้อยที่สุดเท่ากับ 40 กิโลกรัม และ 25
กิโลกรัม ตามลาดับ
กิจกรรมรวบยอด
4. ครูให้นักเรียนทาแบบฝึกหัดที่ 1
5. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกหัดที่ 1
สื่อการเรียนรู/แหล่งเรียนรู้
1. PowerPoint เรือง แผนภาพจุด
2. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2
การวัดและการประเมิน
เป้าหมาย หลักฐาน เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน
สาระสาคัญ - แบบฝึกหัดที่ 1 - แบบฝึกหัดที่ 1 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- แผนภาพจุด และความเข้าใจ
ตัวชี้วัด - แบบฝึกหัดที่ 1 - แบบฝึกหัดที่ 1 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- ค 3.1 ม.2/1 และความเข้าใจ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ - การเข้าเรียน - เข้าเรียน - เข้าเรียนตรงเวลา
- ใฝ่เรียนรู - การทางานในชั้น - มีส่วนร่วมในกิจกรรม - เมื่อครูถามนักเรียนมี
- วินัย เรียน การเรียน ความกระตือรือร้นและ
- มุ่งมั่นในการทางาน - การบ้านที่ไดรับ ความสนใจในการตอบ
มอบหมาย - รับผิดชอบงานที่ไดรับ
มอบหมาย
สมรรถนะสาคัญ - แบบฝึกหัดที่ 1 - แบบฝึกหัดที่ 1 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- ความสามารถในการ และความเข้าใจ
สื่อสาร
- ความสามารถในการคิด
- ความสามารถในการแก
ปัญหา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สถิติ เรื่อง แผนภาพต้น-ใบ
รายวิชา คณิตศาสตร์ 4 (ค22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เวลา 1 คาบ
ผู้สอน อาจารย์ชูฉกาจ ชูเลิศ
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ค 3.1 ม.2/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนาเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด
แผนภาพต้น–ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนาสถิติไปใช้ในชีวิต
จริงโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถอ่านและแปลความหมายของข้อมูลที่นาเสนอด้วยแผนภาพต้น-ใบได้
2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและนาเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพต้น-ใบได้
สาระสาคัญ
แผนภาพต้น-ใบ เป็นการนาเสนอข้อมูลเชิงปริมาณออกเป็นสองส่วนที่เรียกว่า ส่วนลาต้น และส่วนใบ
โดยส่วนใบจะเป็นตัวเลขที่อยู่ขวาสุด ส่วนตัวเลขที่เหลือจะเป็นส่วนลาต้น
สาระการเรียนรู
ด้านความรู้
แผนภาพต้น-ใบ
ด้านทักษะ / กระบวนการ
1. การแกปัญหา
2. การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนาเสนอ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ใฝ่เรียนรู
2. มีวินัย
3. มุ่งมั่นในการทางาน
สมรรถนะสาคัญ
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแกปัญหา
กิจกรรมการเรียนรู
กิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียน
1. ครูทบทวนการนาเสนอข้อมูลที่ด้วยแผนภาพจุด โดยการถามตอบ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. ครูกล่าวถึงแผนภาพจุดว่า เป็นการนาเสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่มีการเรียนลาดับข้อมูลและ
ช่วยให้เห็นภาพรวมของข้อมูลได้รวมเร็วยิ่งขึ้น หลักการง่าย ๆ ในการนาเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพต้น – ใบ คือ
การแบ่งตัวเลขที่แสดงข้อมูลเชิงปริมาณออกเป็นสองส่วนที่เรียกว่า ส่วนลาต้น และส่วนใบ โดยในที่นี้ส่วนใบจะ
เป็นตัวเลขที่อยู่ขวาสุด ส่วนตัวเลขที่เหลือจะเป็นส่วนลาต้น เช่น 159 จะมี 9 เป็นส่วนใบ และมี 15 เป็นส่วน
ลาต้น
3. ครูให้นักเรียนพิจารณาข้อมูลน้าหนักเป็นกิโลกรัมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
จานวน 20 คน ดังต่อไปนี้
51 41 41 52 39
49 57 41 48 46
59 57 43 52 41
44 60 45 46 72

จากข้อมูลข้าง จะเห็นว่า ข้อมูลทั้งหมดเป็นจานวนที่มีสองหลัก โดยมี 3, 4, 5, 6 และ 7 เป็น


เลขโดดในหลักสิบ ซึ่งนาเสนอข้อมูลมาจัดเป็นลาต้นและใบ โดยใช้เลขโดดในหลักหน่วยเป็นใบ และใช้
เลขโดดในหลักสิบเป็นลาต้น ซึ่งนาข้อมูลมาสร้างแผนภาพต้น-ใบได้ ดังนี้

ต้น ใบ
3 9
ข้อมูลส่วนที่เป็นต้น
4 1 1 1 1 3 4 5 6 6 8 9
จะเรียงเลขโดดในหลัก
5 1 2 2 7 7 9
สิบจากน้อยไปมาก
6 0
7 2

ข้อมูลส่วนที่เป็นใบจะเรียงเลขโดดในหลักหน่วยจากน้อยไปมาก
4. ครูยกตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างที่ 3 ปริมาณเกลือ (กรัม) จานวน 10 ถ้วย เป็นดังนี้

56 58 67 72 61 63 76 50 64 79
จงสร้างแผนภาพต้น-ใบ
วิธีทา จากข้อมูลข้างต้น นาเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภาพต้น-ใบได้ ดังนี้
ต้น ใบ
5 0 6 8
6 1 3 4 7
7 2 6 9
ตัวอย่างที่ 4 พิจารณาข้อมูลที่ได้จากการสอบถามจานวนหนังสือ (เล่ม) ที่นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้องหนึ่งอ่านได้ในระยะเวลา 1 ปี แล้วตอบคาถาม
0 0 1 1 2 2 4 4 5 6 8 7 7 8 8
1 0 1 3 3 4 6 7 7 9 9 9
2 3 3 4 4 5
1) กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งหมดกี่คน
2) นักเรียนอ่านหนังสือได้น้อยที่สุดกี่เล่ม และมากที่สุดกี่เล่ม
3) จานวนหนังสือที่นักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้อยู่ในช่วงใด
ตอบ 1) กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งหมด 30 คน
2) นักเรียนอ่านหนังสือได้น้อยที่สุด 0 เล่ม และมากที่สุด 25 เล่ม
3) จานวนหนังสือที่นักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้อยู่ในช่วง 0-9 เล่ม
5. ครูกล่าวว่า นอกจากแผนภาพต้น-ใบ จะใช้ในการนาเสนอข้อมูล 1 ชุด ดังที่ได้กล่าว
มาแล้ว แผนนภาพต้น-ใบ ยังสามารถนาเสนอข้อมูล 2 ชุดพร้อมกัน เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลทั้งสองชุดได้ ดัง
ตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 5 เต่าชนิดหนึ่งมีแหล่งที่อยู่อาศัย 2 แห่ง ถ้าวัดความยาวของลาตัวเต่า
(มิลลิเมตร) แล้วบันทึกข้อมูลลงตารางได้ เป็นดังนี้
55 60 71 50 70 69 53
แหล่งที่อยู่อาศัย A
50 55 62 58 64 65
60 68 63 59 77 73 69
แหล่งที่อยู่อาศัย B
64 69 75 72 70 55
1) สร้างแผนภาพต้น-ใบ โดยมีลาต้นร่วมกัน
2) แหล่งที่อยู่อาศัยใดที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเต่ามากกว่ากัน
วิธีทา
1) จากข้อมูลข้างต้น นาเสนอข้อมูลโดยใช่แผนภาพต้น-ใบได้ ดังนี้
(1) สร้างแผนภาพต้น-ใบ ของข้อมูลแหล่งที่อยู่อาศัย A
(2) นาข้อมูลแหล่งที่อยู่อาศัย Bมาสร้างแผนภาพต้น-ใบ โดยใช้ลาต้น
ร่วมกัน โดยให้ข้อมูลอยู่ทางด้านซ้ายของลาต้น
ใบ (แหล่งท่อยู่อาศัย B) ต้น ใบ (แหล่งท่อยู่อาศัย A)
9 5 5 0 0 3 5 5 8
9 9 8 4 3 0 6 0 2 4 5 9
7 5 3 2 0 7 0 1

2) แหล่งที่อยู่อาศัย B ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเต่ามากกว่าแหล่งที่อยู่
อาศัย A เพราะเต่าจากแหล่งที่อยู่อาศัย B มีความยาวของลาตัวมากกว่า ซึ่งอยู่ระหว่าง 70
และ 77 มิลลิเมตร
กิจกรรมรวบยอด
6. ครูให้นักเรียนทาแบบฝึกหัดที่ 2
7. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกหัดที่ 2
สื่อการเรียนรู/แหล่งเรียนรู้
1. PowerPoint เรือง แผนภาพต้น-ใบ
2. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2
การวัดและการประเมิน
เป้าหมาย หลักฐาน เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน
สาระสาคัญ - แบบฝึกหัดที่ 2 - แบบฝึกหัดที่ 2 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- แผนภาพต้น-ใบ และความเข้าใจ
ตัวชี้วัด - แบบฝึกหัดที่ 2 - แบบฝึกหัดที่ 2 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- ค 3.1 ม.2/1 และความเข้าใจ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ - การเข้าเรียน - เข้าเรียน - เข้าเรียนตรงเวลา
- ใฝ่เรียนรู - การทางานในชั้น - มีส่วนร่วมในกิจกรรม - เมื่อครูถามนักเรียนมี
- วินัย เรียน การเรียน ความกระตือรือร้นและ
- มุ่งมั่นในการทางาน ความสนใจในการตอบ
เป้าหมาย หลักฐาน เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน
- การบ้านที่ไดรับ - รับผิดชอบงานที่ไดรับ
มอบหมาย มอบหมาย
สมรรถนะสาคัญ - แบบฝึกหัดที่ 2 - แบบฝึกหัดที่ 2 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- ความสามารถในการ และความเข้าใจ
สื่อสาร
- ความสามารถในการคิด
- ความสามารถในการแก
ปัญหา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สถิติ เรื่อง ฮิสโทแกรม
รายวิชา คณิตศาสตร์ 4 (ค22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เวลา 2 คาบ
ผู้สอน อาจารย์ชูฉกาจ ชูเลิศ
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ค 3.1 ม.2/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนาเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด
แผนภาพต้น–ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนาสถิติไปใช้ในชีวิต
จริงโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถอ่านและแปลความหมายของข้อมูลที่นาเสนอด้วยฮิสโทแกรมได้
2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและนาเสนอข้อมูลด้วยฮิสโทแกรมได้
สาระสาคัญ
ฮิสโทแกรม มีลักษณะคล้ายแผนภูมิแท่ง แต่ใช้แท่งสี่เหลี่ยทมุมฉากแสดงความถี่หรือความสัมพัทธ์ของ
ข้อมูลเชิงปริมาณในแต่ละช่วง ในขณะที่แผนภูมิแท่งใช้สาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพและใช้แท่งสี่เหลี่ยมมุมฉาก
แสดงปริมาณของข้อมูลซึ่งมีเพียงค่าเดียว
สาระการเรียนรู
ด้านความรู้
ฮิสโทแกรม
ด้านทักษะ / กระบวนการ
1. การแกปัญหา
2. การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนาเสนอ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ใฝ่เรียนรู
2. มีวินัย
3. มุ่งมั่นในการทางาน
สมรรถนะสาคัญ
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแกปัญหา
กิจกรรมการเรียนรู
ชั่วโมงที่ 1
กิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียน
1. ครูทบทวนการนาเสนอข้อมูลที่ด้วยแผนภาพจุด และแผนภาพต้น-ใบ โดยการถามตอบ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. ครูกล่าวว่า การนาเสนข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแผนภาพจุดและแผนภาพต้น-ใบ จะทาให้
เห็นข้อมูลทุกตัวที่เก็บรวมรวมได้และลักษณะการกระจายของข้อมูล แต่ในกรณีที่ข้อมูลมีจานวนมาก ๆ การ
นาเสนอข้อมูลด้วยรูปแบบดังกล่าวนี้ ไม่สะดวกและไม่เป็นที่นิยม การนาเสนอข้อมูลด้วยฮิสโทแกรม จึงเป็นอีก
รูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้ และช่วยให้เห็นลักษณะการกระจายของข้อมูลเช่นกัน
3. ครูกล่าวถึง ฮิสโทแกรม มีลักษณะคล้ายแผนภูมิแท่ง แต่ใช้แท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากแสดง
ความถี่หรือความสัมพัทธ์ของข้อมูลเชิงปริมาณในแต่ละช่วง ในขณะที่แผนภูมิแท่งใช้สาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
และใช้แท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากแสดงปริมาณของข้อมูลซึ่งมีเพียงค่าเดียว โดยฮิสโทแกรมมี 2 แบบคือ 1. ฮิสโทแก
รมของข้อมูลแบบไม่จัดกลุ่ม และ 2. ฮิสโทแกรมของข้อมูลแบบจัดกลุ่ม
4. ครูกล่าวถึงฮิสโทแกรมของข้อมูลแบบไม่จัดกลุ่ม ดังนี้
ข้อมูลต่อไปนี้ แสดงคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จานวน 40
คน โดยมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งนักเรียนแต่ละคนได้คะแนน ดังนี้

8 6 4 3 5 5 2 9 2 7
9 3 3 7 7 5 8 3 7 3
4 8 7 8 2 4 6 2 4 1
7 7 6 2 6 4 4 6 10 6

ในทางสถิติจะเรียกข้อมูลข้างต้นว่า ข้อมูลดิบ คะแนนดิบ หรือค่าจากการสังเกต ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่


มีการซ้ากันหลายตัว เพื่อให้สะดวกต่อการแปลความหมายของข้อมูล จึงควรนาข้อข้อมูลข้างต้นมาจัดเรียงใหม่
เป็นระบบ โดยอาจเรียงจากน้อยไปมากหรือจากมากไปน้อย แล้วจัดข้อมูลนั้นลงในตารางและเขียนบันทึก
ข้อมูลด้วยรอบขีดที่แสดงจานวนครั้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นซ้ากัน โดยจานวนรอยขีดที่นับได้ในแต่ละข้อมูลเรียกว่า
ความถี่ ของข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งตารางที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเรียกว่า ตารางแจกแจงความถี่ และวิธีการจัดข้อมูล
แบบนี้เรียกว่า การแจกแจงความถี่
จากข้อมูลข้างต้นเขียนตารางแจกแจงความถี่ได้ดังนี้

คะแนนสอบ รอยขีด ความถี่


0 0
1 1
2 5
3 5
4 6
5 3
6 6
7 7
8 4
9 2
10 1
รวม 40

นาเสนอข้อมูลในตารางข้างต้นโดยใช้ฮิสโทแกรมได้ ดังนี้
ความถี่

7
6
5
4
3
2
1
คะแนนสอบ
0
(คะแนน)
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

5. ครูยกตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างที่ 6 จากการสารวจเวลาโดยเฉลี่ย (ชั่วโมง) ของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 จานวน 30 คน มีข้อมูล เป็นดังนี้
8 7 6 4 8 9 5 3 10 6
6 5 3 8 7 5 7 4 9 8
8 5 5 5 9 4 10 9 6 5
1) สร้างตารางแจกแจงความถี่
2) สร้างฮิสโทแกรม
วิธีทา
1) จากข้อมูลข้างต้น สามารถแจกแจงความถี่ได้ ดังนี้
เวลานอนโดยเฉลี่ย (ชั่วโมง) ความถี่
3 2
4 3
5 7
6 4
7 3
8 5
9 4
10 2
2) สร้างฮิสโทแกรมได้ ดังนี้
ความถี่

7
6
5
4
3
2
1
เวลานอนโดยเฉลี่ย
0
3 4 5 6 7 8 9 10 (ชั่วโมง)

กิจกรรมรวบยอด
6. ครูให้นักเรียนทาแบบฝึกหัดที่ 3
7. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกหัดที่ 3
ชั่วโมงที่ 2
กิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียน
1. ครูทบทวนการนาเสนอข้อมูลที่ด้วยแผนภาพจุด และแผนภาพต้น-ใบ และฮิสโทแกรม
แบบไม่จัดกลุ่ม โดยการถามตอบ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. ครูกล่าวถึง ฮิสโทแกรมของข้อมูลแบบจัดกลุ่ม ดังนี้
จากการสารวจความยาว (มิลลิเมตร) ของใบไม้ที่มีสายพันธุ์ต่างกัน 40 ใบ มีข้อมูล เป็นดังนี้
40 54 31 50 58 45 47 49 33 32
52 31 52 41 47 44 46 39 41 59
49 38 43 48 43 43 40 51 40 56
31 53 44 37 35 37 33 38 46 36
จากข้อมูลจะเห็นว่า ข้อมูลยังไม่ได้มีการจัดเรียงจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อย และมีความต่าง
ระหว่างค่าสูงสุดและค่าต่าสุดอยู่มาก เมื่อนามาเขียนตารางแจกแจงความถี่แบบหัวข้อก่อนหน้า จะได้ตาราง
แจกแจงความถี่ที่มีความยาวมาก จึงควรนาข้อมูลมาจัดเรียงเป็นช่วงหรือเป็นกลุ่ม แต่ละช่วงมีความกว้างของ
ข้อมูลเท่า ๆ กัน ความกว้างของข้อมูลนี้เรียกว่า ความกว้างของอันตรภาคชั้น แล้วจึงสร้างเป็นตารางแจกแจง
ความถี่และฮิสโทแกรมต่อไป ซึ่งการสร้างตารางแจกแจงความถี่ของข้อมูลแบบจัดกลุ่ม มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 หาพิสัยของข้อมูล ซึ่งคานวณได้จาก
พิสัย = ค่าสูงสุดของข้อมูล – ค่าต่าสุดของข้อมูล
= 59 – 31
= 28
ขั้นที่ 2 กาหนดจานวนชั้นและหาความกว้างของอันตรภาคชั้นที่ต้องการ ซึ่งการกาหนดจานวนชั้นนั้น
ขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลและความต้องการของผู้จัดว่าต้องการจานวนชั้นมากน้อยเพียงใด ถ้าจานวนชั้นมาก
เมื่อทาฮิสโทแกรมก็จะเห็นการกระจายของข้อมูลได้ชัดเจนกว่าการกาหนดจานวนชั้นที่น้อยกว่า ใน
ขณะเดียวกันก็จะใช้เวลาในการสร้างมากกว่าเช่นกัน ส่วนความกว้างของอันตรภาคชั้นได้จาก

พิสัย
ความกว้างของอันตรภาคชั้น =
จานวนชั้นของอันตรภาคชั้น

โดยถ้าความกว้างของอันตรภาคชั้นที่คานวณได้เป็นทศนิยม จะต้องปัดขึ้นเป็นจานวนเต็มเสมอ
เช่น กาหนดจานวนอันตรภาคชั้นเท่ากับ 6
28
ความกว้างของอันตรภาคชั้น =
6
≈ 4.67 ≈ 5
ขั้นที่ 3 สร้างตารางแจกแจงความถี่ ซึ่งจะมี 3 คอลัมน์ ประกอบด้วย
คอลัมน์ที่ 1 แสดงจานวนและความกว้างของอันตรภาคชั้นที่กาหนด โดยเริ่มจากชั้นข้อมูลที่
มีค่าต่าสุดไปชั้นข้อมูลที่มีค่าสูงสุด หรือจากชั้นข้อมูลที่มีค่าสูงสุดไปชั้นข้อมูลที่มีค่าต่าสุด
คอลัมน์ที่ 2 แสดงรอบขีดซึ่งเป็นความถี่ของข้อมูลในแต่ละอันตรภาคชั้น ได่จากการพิจารณา
ข้อมูลแต่ละตัวว่ามีค่าอยู่ในช่วงของอันตรภาคชั้นใด โดยข้อมูล 1 ข้อมูลเท่ากับ 1 รอยขีด
คอลัมน์ที่ 3 แสดงความถี่ทนี่ ับได้จากจานวนรอยขีด
เช่น กาหนด จานวนอันตรภาคชั้น = 6
จะได้ ความกว้างของอันตรภาคชั้น = 5
โดยเริ่มจากชั้นข้อมูลที่มีค่าต่าสุดไปชั้นข้อมูลที่มีค่าสูงสุด
ความยาวของใบไม้
รอยขีด ความถี่
(มิลลิเมตร)
31 - 35 7
36 – 40 9
41 – 45 8
46 – 50 8
51 – 55 5
56 - 60 3
รวม 40

เมื่อนาการแบ่งช่วงอันตรภาคชั้นในตารางแจกแจงความถี่มาเขียนลงบนเส้นจานวน จะได้ว่า
31-35 36-40 41-45 46-50 51-55 56-60

31 35 36 40 41 45 46 50 51 55 56 60

จะเห็นว่า อันตรภาคชั้นที่อยู่ติดกันจะไม่ต่อเนื่องกัน เช่น อันตรภาคชั้น 31-35 อันตรภาคชั้น


36-40 จะไม่ต่อเนื่องกันช่วง 35-36 จึงได้มีการกาหนดขอบเขตและขอบล่างเพื่อทาให้ข้อมูลของแต่ละอันตร
ภาคชั้นในตารางแจกแจงความถี่มีความต่อเนื่องกัน ซึ่งขอบเขตบนและขอบเขตล่างหาได้จาก

ค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นนั้น + ค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นถัดไป
ขอบบน =
2

ค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นนั้น + ค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นก่อนหน้า
ขอบล่าง =
2
สามารถเขียนตารางแจกแจงความถี่แสดงขอบล่าง-ขอบบนได้ ดังนี้
ความยาวของใบไม้
ขอบล่าง ขอบบน รอยขีด ความถี่
(มิลลิเมตร)
31 - 35 30.5 35.5 7
36 – 40 35.5 40.5 9
41 – 45 40.5 45.5 8
46 – 50 45.5 50.5 8
51 – 55 50.5 55.5 5
56 - 60 55.55 60.5 3
รวม 40

เมื่อนาขอบล่างและขอบบนของแต่ละอันตรภาคชั้นมาเขียนลงบนเส้นจานวน จะได้ว่า
30.5-35.5 35.5-40.5 40.5-45.5 45.5-50.5 50.5-55.5 55.5-60.5

31 35 36 40 41 45 46 50 51 55 56 60
จะเห็นว่า อันตรภาคชั้นที่อยู่ติดกันจะมีความต่อเนื่องกัน และจากตารางนี้ นักเรียนสามารถ
นาข้อมูลมาสร้างเป็นฮิสโทแกรมได้ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 กาหนดพิกัดฉากให้แกนตั้งแทนความถี่ของข้อมูล และแกนนอนแทนความยาวของ
ใบไม้
ขั้นที่ 2 กาหนดจุดบนแกนนอนแสดงขอบล่างและขอบบนของแต่ละอันตรภาคชั้น โดย
ระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่ติดกันจะเท่ากันเสมอ
ขั้นที่ 3 สร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความกว้างเท่ากับระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่ติดกันที่
กาหนดในขั้นที่ 2 และมีความสูงเท่ากับความถี่ของอันตรภาคชั้นนั้น ๆ

ความถี่

10

ความยาวของใบไม้
0
45.5 50.5 55.5 (มิลลิ เมตร)
30.5 35.5 40.5 60.5
3. ครูยกตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างที่ 7 จากการสารวจความยาว (มิลลิเมตร) ของใบต้นยางที่มีสายพันธุ์ต่างกัน
30 ใบ มีข้อมูล เป็นดังนี้
137 152 147 134 147 141 157 132 153 166
147 136 146 142 162 169 149 135 166 148
157 141 146 147 163 133 148 150 136 127

1) สร้างตารางแจกแจงความถี่ โดยกาหนดให้อันตรภาคชั้นแรก คือ 120-129


2) สร้างฮิสโทแกรม
วิธีทา
1)
ความยาวของใบไม้
ขอบล่าง ขอบบน รอยขีด ความถี่
(มิลลิเมตร)
120-129 119.5 129.5 1
130-139 129.5 139.5 7
140-149 139.5 149.5 12
150-159 149.5 159.5 5
160-169 159.5 169.5 5
รวม 30

2)
ความถี่

15

10

ความยาวของใบไม้
0
139.5 149.5 159.5 169.5 (มิลลิ เมตร)
119.5 129.5

สื่อการเรียนรู/แหล่งเรียนรู้
1. PowerPoint เรือง ฮิสโทแกรม
2. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2
การวัดและการประเมิน
เป้าหมาย หลักฐาน เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน
สาระสาคัญ - แบบฝึกหัดที่ 2 - แบบฝึกหัดที่ 2 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- แผนภาพต้น-ใบ - แบบฝึกหัดที่ 3 - แบบฝึกหัดที่ 3 และความเข้าใจ
ตัวชี้วัด - แบบฝึกหัดที่ 2 - แบบฝึกหัดที่ 2 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- ค 3.1 ม.2/1 - แบบฝึกหัดที่ 3 - แบบฝึกหัดที่ 3 และความเข้าใจ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ - การเข้าเรียน - เข้าเรียน - เข้าเรียนตรงเวลา
- ใฝ่เรียนรู - การทางานในชั้น - มีส่วนร่วมในกิจกรรม - เมื่อครูถามนักเรียนมี
- วินัย เรียน การเรียน ความกระตือรือร้นและ
- มุ่งมั่นในการทางาน - การบ้านที่ไดรับ ความสนใจในการตอบ
มอบหมาย - รับผิดชอบงานที่ไดรับ
มอบหมาย
สมรรถนะสาคัญ - แบบฝึกหัดที่ 2 - แบบฝึกหัดที่ 2 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- ความสามารถในการ - แบบฝึกหัดที่ 3 - แบบฝึกหัดที่ 3 และความเข้าใจ
สื่อสาร
- ความสามารถในการคิด
- ความสามารถในการแก
ปัญหา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สถิติ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล
รายวิชา คณิตศาสตร์ 4 (ค22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เวลา 3 คาบ
ผู้สอน อาจารย์ชูฉกาจ ชูเลิศ
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ค 3.1 ม.2/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนาเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด
แผนภาพต้น–ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนาสถิติไปใช้ในชีวิต
จริงโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยมของข้อมูลได้
2. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม และเลือกใช้ได้อย่าง
เหมาะสม
สาระสาคัญ
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ จานวนที่ได้จากการหารผลบวกของข้อมูลทั้งหมดด้วยจานวนข้อมูล
มัธยฐาน คือ ค่าค่าหนึ่งซึ่งเมื่อเรียงข้อมูลจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อยแล้วจานวนของข้อมูลที่น้อย
กว่าหรือเท่ากับค่านั้น จะเท่ากับ จานวนของข้อมูลที่มากกว่าหรือเท่ากับค่านั้น
ฐานนิยม คือ ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดในข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ
สาระการเรียนรู
ด้านความรู้
ค่ากลางของข้อมูล
ด้านทักษะ / กระบวนการ
1. การแกปัญหา
2. การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนาเสนอ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ใฝ่เรียนรู
2. มีวินัย
3. มุ่งมั่นในการทางาน

สมรรถนะสาคัญ
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแกปัญหา
กิจกรรมการเรียนรู
ชั่วโมงที่ 1
กิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียน
1. ครูทบทวนการนาเสนอข้อมูลที่ด้วยแผนภาพจุด แผนภาพต้น-ใบ และฮิสโทแกรม โดยการ
ถามตอบ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. ครูยกตัวอย่างสถานการณ์ดังนี้
นักเรียน 3 คน สั่งอาหารจาก Get มาโดยให้แต่ละคนจ่ายค่าอาหารแต่ละเมนูที่สั่ง
ไปก่อน โดยนักเรียนคนที่ 1 จ่ายค่า KFC 300 บาท นักเรียนคนที่ 2 จ่ายค่าชาไข่มุก 200 บาท และนักเรียน
คนที่ 3 จ่ายโดนัท 100 บาท เมื่อนาค่าใช้จ่ายแต่คนมารวมกันจะเป็น 300 + 200 + 100 เท่ากับ 600 แล้ว
600
เฉลี่ยเป็นเงินที่แต่ละคนจะต้องจ่ายเท่ากับ = 200 บาท
3
3. ครูกล่าวถึง จากสถานการณ์ดังกล่าว การหาค่าเฉลี่ยของราคาอาหารที่ต้องจ่ายนั้น ทาได้
โดยนาผลรวมของราคาอาหารทั้งหมดหารด้วยจานวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งในทางสถิติจะเรียกค่าเฉลี่ยนี้ว่า
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ผลรวมของข้อมูล
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต =
จานวนข้อมูลทั้งหมด

4. ครูยกตัวอย่าง ดังนี้
ตัวอย่างที่ 8 ส่วนสูง (เซนติเมตร) ของนักเรียน 6 คน เป็นดังนี้
156, 167, 149, 155, 171 และ 168
ให้หาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของส่วนสูงของนักเรียนกลุ่มนี้
วิธีทา
ผลรวมของข้อมูล
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต =
จานวนข้อมูลทั้งหมด
156 + 167 + 149 + 155 + 171 + 168
=
6
= 161
ดังนั้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของส่วนสูงของนักเรียนกลุ่มนี้เท่ากับ 161 เซนติเมตร
ตัวอย่างที่ 9 พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งมีรายได้ต่อเดือน เป็นดังนี้

รายได้ต่อเดือน (บาท) 15,000 16,000 19,000 21,000 25,000


จานวนพนักงาน (คน) 20 8 10 7 5

1) บริษัทแห่งนี้มีจานวนพนักงานทั้งหมดกี่คน
2) ในเวลา 1 เดือน บริษัทต้องจ่ายเงินให้พนักงานเป็นเงินทั้งหมดกี่บาท
3) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของพนักงานบริษัทแห่งนี้เป็นเท่าใด
วิธีทา
1) จานวนพนักงานทั้งหมด = 20 + 8 + 10 + 7 +5
= 50
ดังนั้น บริษัทแห่งนี้มีพนักงานทั้งหมด 50 คน
2) ในเวลา 1 เดือน บริษัทต้องจ่ายเงินให้พนักงานเป็นเงินทั้งหมดเท่ากับ
(20×15,000) + (8×16,000) + (10+19,000) + (7×21,000) + (5×25,000)
= 890,000
890,000
3) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของพนักงานในบริษัทนี้ =
50
= 17,800
ดังนั้น รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของพนักงานบริษัทแห่งนี้เท่ากับ 17,800 บาท
5. ครูกล่าวว่า ในกรณีที่มีข้อมูลแต่ละชุดเป็น X1 , X2 , X3 , …, Xn ซึ่งมีความถี่ของข้อมูลเป็น
f1 , f2 , f3 , …, fn ตามลาดับ อาจจะนาเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ดังนี้

ข้อมูล X1 X2 X3 … Xn
ความถี่ f1 f2 f3 … fn

จากตารางแจกแจงความถี่ข้างต้น สามารถคานวณหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตได้จาก

f1 X1 + f2 X2 + f3 X3 + ... + fn Xn
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต=
f1 + f2 + f3 + ... + fn

6. ครูยกตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างที่ 9 พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งมีรายได้ต่อเดือน เป็นดังนี้

รายได้ต่อเดือน (บาท) 15,000 16,000 19,000 21,000 25,000


จานวนพนักงาน (คน) 20 8 10 7 5

1) บริษัทแห่งนี้มีจานวนพนักงานทั้งหมดกี่คน
2) ในเวลา 1 เดือน บริษัทต้องจ่ายเงินให้พนักงานเป็นเงินทั้งหมดกี่บาท
3) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของพนักงานบริษัทแห่งนี้เป็นเท่าใด
วิธีทา
1) จานวนพนักงานทั้งหมด = 20 + 8 + 10 + 7 +5
= 50
ดังนั้น บริษัทแห่งนี้มีพนักงานทั้งหมด 50 คน
2) ในเวลา 1 เดือน บริษัทต้องจ่ายเงินให้พนักงานเป็นเงินทั้งหมดเท่ากับ
(20×15,000) + (8×16,000) + (10+19,000) + (7×21,000) + (5×25,000)
= 890,000
890,000
3) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของพนักงานในบริษัทนี้ =
50
= 17,800
ดังนั้น รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของพนักงานบริษัทแห่งนี้เท่ากับ 17,800 บาท
กิจกรรมรวบยอด
6. ครูให้นักเรียนทาแบบฝึกหัดที่ 4
7. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกหัดที่ 4
ชั่วโมงที่ 2
กิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียน
1. ครูทบทวนการหาค่าเฉลี่ยของเลขคณิต โดยการถามตอบ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. ครูให้นักเรียนพิจาณาข้อมูลต่อไปนี้
จากการสอบถามรายได้ต่อเดือน (บาท) ของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง จานวน 5 คน เป็นดังนี้
16,000 20,000 25,000 28,000 120,000

จากข้อมูลข้างต้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของรายได้ต่อเดือนของพนักงานกลุ่มนี้ เท่ากับ


16,000 + 20,000 + 25,000 + 28,000 + 120,000 209,000
= = 41,800 บาท
5 5
ซึ่งมีค่ามากกว่ารายได้ต่อเดือนของพนักงาน 4 คน และพนักงานอีกหนึ่งคนมีรายได้ต่อเดือน
มากที่สุด คือ 120,000 บาท ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความแตกต่างอย่างมากจากข้อมูลทั้ง 4 ข้อมูล ดังนั้น ค่าเฉลี่ย
เลขคณิตจึงเป็นค่าที่ไม่เหมาะสมในการนาเสนอข้อมูลชุดนี้
การหาค่ากลางของข้อมูลในลักษณะข้างต้นที่เหมาะสมและถูกต้อง จะใช้วิธีการหาค่ากลาง
ของข้อมูลที่เรียกว่า มัธยมฐาน ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ตาแหน่งตรงกลางของข้อมูลเมื่อเรียงลาดับข้อมูลจากน้อยไป
มาก ดังนี้
16,000 20,000 25,000 28,000 120,000

ข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง

ดังนั้น มัธยมฐานเท่ากับ 25,000 บาท ซึ่งเป็นข้อมูลที่เหมาะสมและอยู่ระหว่าง 16,000 บาท


และ 120,000 บาท
มัธยฐาน คือ ค่าค่าหนึ่งซึ่งเมื่อเรียงข้อมูลจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อยแล้ว
จานวนของข้อมูลที่น้อยกว่าหรือเท่ากับค่านั้น จะเท่ากับ จานวนของข้อมูลที่
มากกว่าหรือเท่ากับค่านั้น

จานวนข้อมูลทั้งหมด + 1
ตาแหน่งของมัธยมฐาน =
2

3. ครูกล่าวว่า มัธยฐานของข้อมูลชุดหนึ่ง อาจเป็นข้อมูลทีอยู่ตรงกลาง หรือค่าเฉลี่ยของ


ข้อมูลคู่ที่อยู่ตรงกลาง ขึ้นอยู่กับจานวนข้อมูลในชุดนั้น ดังตัวอย่าง
1. ถ้าจานวนข้อมูลทั้งหมดเป็นจานวนคี่ มัธยฐาน คือ ข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง เช่น

ข้อมูล 10, 13, 14, 15, 17, 21, 25, 27, 32

4 จานวน 4 จานวน
ข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง
มัธยฐาน คือ 17

2. ถ้าจานวนข้อมูลทั้งหมดเป็นจานวนคู่ จะใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลคู่ที่อยู่ตรง
กลางเป็นมัธยมฐาน เช่น
ข้อมูล 5, 5, 7, 7, 14, 16, 20, 10,

3 จานวน 3 จานวน
ข้อมูลคู่ที่อยู่ตรงกลาง
7+14
มัธยฐาน เท่ากับ = 10.5
2

4. ครูยกตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างที่ 10 จงหามัธยฐานของข้อมูล 20, 25, 21, 24, 22, 26, 20
วิธีทา จานวนข้อมูลทั้งหมด = 7
7+1
ตาแหน่งของมัธยมฐาน = =4
2
จัดเรียงข้อมูลจากน้อยไปมากได้ ดังนี้
20 20 21 22 24 25 26

ตาแหน่งที่ 4
ดังนั้น มัธยฐานของข้อมูลชุดนี้เท่ากับ 22
ตัวอย่างที่ 11 จงหามัธยฐานของคะแนนสอบของนักเรียน 20 คน ดังตาราง

คะแนน 10 15 20 30
ความถี่ (คน) 4 6 5 5

วิธีทา จานวนข้อมูลทั้งหมด = 20
20 + 1
ตาแหน่งของมัธยมฐาน = = 10.5
2

คะแนน 10 15 20 30
ความถี่ (คน) 4 6 5 5

ตาแหน่งของมัธยมฐาน

15 + 20
ดังนั้น มัธยมฐานของคะแนนสอบ เท่ากับ = 17.5 คะแนน
2
กิจกรรมรวบยอด
5. ครูให้นักเรียนทาแบบฝึกหัดที่ 5
6. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกหัดที่ 5
ชั่วโมงที่ 3
กิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียน
1. ครูทบทวนการหาค่าเฉลี่ยของเลขคณิต และมัธยฐาน โดยการถามตอบ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. ครูให้นักเรียนพิจาณาข้อมูลต่อไปนี้
นักเรียนกลุ่มหนึ่งต้องการทราบว่าเพื่อน ๆ ทุกคนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชอบกีฬา
ชนิดใดมากที่สุก จากกีฬาฟุตบอล บาสเกตบอล และเทนนิส นักเรียนกลุ่มนี้จึงเก็บรวบรวมข้อมูล โดนการ
สอบถามนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทุกคน จานวน 250 คน เมื่อได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้ว จึงนามาจาแนก
ตามความชอบมากที่สุด ได้ผลดังนี้
ชอบฟุตบอล 120 คน
ชอบบาสเกตบอล 90 คน
ชอบเทนนิส 40 คน
นักเรียนกลุ่มนี้จึงได้ข้อสรุปว่า เพื่อน ๆ ของเขาชอบฟุตบอลมากที่สุด
3. ครูกล่าวว่า ในทางสถิติ ข้อมูลที่มีคนชอบมากที่สุดนี้เรียกว่า ฐานนิยม (mode)

ฐานนิยม คือ ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดในข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ

ฐานนิยามของข้อมูลชุดหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความถี่ของข้อมูลที่ปรากฏในข้อมูลชุดนั้น ดังตัวอย่าง


1. ถ้าข้อมูลชุดหนึ่งมีข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดเพียงข้อมูลเดียว ฐานนิยม คือ ข้อมูลที่มี
ความถี่สูงสุดนั้น เช่น คะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มหนึ่งเป็น 4, 3, 3, 7, 5, 8, 7, 9, 7, 3, 2, 2, 7 และ 5
เมื่อนาข้อมูลมาจาแนกจะได้ดังตาราง
คะแนน 2 3 4 5 7 8 9
จานวนนักเรียน 2 3 1 2 4 1 1
คะแนนที่นักเรียนส่วนใหญ่ทาได้ คือ 7 คะแนน
ดังนั้น ฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้ คือ 7 คะแนน
2. ถ้าข้อมูลชุดหนึ่ง มีข้อมูลแต่ละตัวมีความถี่เท่ากันหมด จะถือว่าข้อมูลชุดนั้นไม่มี
ฐานนิยม
3. ถ้าข้อมูลชุดหนึ่ง มีข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดเท่ากันมากกว่าหนึ่งข้อมูล ในที่นี้จะไม่
พิจารณาหาฐานนิยมของข้อมูลชุดนั้น
4.ครูยกตัวอย่าง ดังนี้
ตัวอย่างที่ 12 คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนจานวน 10 คน เป็นดังนี้
8 9 10 10 3 5 6 10 6 1
1) ให้หาฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้
2) ถ้ามีนักเรียนเพิ่มมา 2 คน ซึ่งได้คะแนนสอบเป็น 6 และ 8 คะแนน ฐานนิยมของ
ข้อมูลชุดนี้จะเป็นเท่าใด
วิธีทา 1) ฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้ คือ 10 คะแนน
2) ถ้ามีนักเรียนเพิ่มมา 2 คน ซึ่งได้คะแนนสอบเป็น 6 และ 8 คะแนน จะมีข้อมูลที่
ซึ่งกันมากที่สุด 2 ข้อมูล คือ 6 คะแนน และ 10 คะแนน
กิจกรรมรวบยอด
5. ครูให้นักเรียนทาแบบฝึกหัดที่ 6
6. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกหัดที่ 6
สื่อการเรียนรู/แหล่งเรียนรู้
1. PowerPoint เรือง ค่ากลางของข้อูล
2. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2
การวัดและการประเมิน
เป้าหมาย หลักฐาน เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน
สาระสาคัญ - แบบฝึกหัดที่ 4 - แบบฝึกหัดที่ 4 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- แผนภาพต้น-ใบ - แบบฝึกหัดที่ 5 - แบบฝึกหัดที่ 5 และความเข้าใจ
- แบบฝึกหัดที่ 6 - แบบฝึกหัดที่ 6
ตัวชี้วัด - แบบฝึกหัดที่ 4 - แบบฝึกหัดที่ 4 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- ค 3.1 ม.2/1 - แบบฝึกหัดที่ 5 - แบบฝึกหัดที่ 5 และความเข้าใจ
- แบบฝึกหัดที่ 6 - แบบฝึกหัดที่ 6
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ - การเข้าเรียน - เข้าเรียน - เข้าเรียนตรงเวลา
- ใฝ่เรียนรู - การทางานในชั้น - มีส่วนร่วมในกิจกรรม - เมื่อครูถามนักเรียนมี
- วินัย เรียน การเรียน ความกระตือรือร้นและ
- มุ่งมั่นในการทางาน - การบ้านที่ไดรับ ความสนใจในการตอบ
มอบหมาย - รับผิดชอบงานที่ไดรับ
มอบหมาย
เป้าหมาย หลักฐาน เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน
สมรรถนะสาคัญ - แบบฝึกหัดที่ 4 - แบบฝึกหัดที่ 4 - ตรวจสอบความถูกต้อง
- ความสามารถในการ - แบบฝึกหัดที่ 5 - แบบฝึกหัดที่ 5 และความเข้าใจ
สื่อสาร - แบบฝึกหัดที่ 6 - แบบฝึกหัดที่ 6
- ความสามารถในการคิด
- ความสามารถในการแก
ปัญหา

You might also like