You are on page 1of 151

1

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

1. จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

ศัพท์เกี่ยวจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

 พฤติกรรม Behavior = กิริยาอาการแสดงออกทุกรูปแบบของสิ่งมีชีวิต


เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอก
• พฤติกรรมภายนอก Overt Behavior
 Molar สามารถมองเห็นได้ เช่น การยิ้ม การเต้น
 Molecular ต้องใช้เครื่องมือตรวจสอบ เช่น ชีพจร ความดัน
• พฤติกรรมภายใน Covert Behavior = สังเกตไม่ได้ ใช้เครื่องมือวัดไม่ได้
เช่น การจํา ทัศนคติ ความชอบ ความฝัน ฯ

 จิตวิทยา Psychology = มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คํา


• จิตวิญญาณ = Psyche
• ศาสตร์ , วิชา , วิทยาการ = Logos

จิตวิทยา Psychology แปลได้ว่า เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณ

ความหมายของจิตวิทยาตามนักการศึกษา
 จอห์น บี วัตสัน John B Watson = วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม
 วิลเลีย่ ม เจมส์ William James = วิชาที่ว่าด้วยกิริยาอาการของมนุษย์
 ฮิลการ์ด Hilgard = ศึกษาในเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์

สรุปได้ว่า = จิตวิทยา คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือกิริยาอาการ
ของมนุษย์และสัตว์โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะทาให้
สามารถคาดคะเนหรือพยากรณ์ได้ ซึ่งจะช่วยลดพฤติกรรมเบี่ยงเบนอันก่อให้เกิด
ปัญหาในอนาคต

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


2
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา

1. การตรวจสอบตนเอง ( Introspection ) = เป็นวิธีการที่ให้บุคคลสํารวจ ตรวจสอบตนเอง


ด้วยการย้อนทบทวนการกระทํา และความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีตที่ผ่านมา
2. การสังเกต ( Observation ) = การเฝ้าดูพฤติกรรมในสถานการณ์ที่เป็นจริงอย่างมีจุดมุ่งหมาย
มี 2 ลักษณะ คือ
2.1 การสังเกตอย่างมีแบบแผน Formal (การเตรียมตัว)
2.2 การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน Informal (ไม่เตรียมตัว)
3. การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี (Case Study ) = การศึกษารายละเอียดต่างๆที่สําคัญของบุคคล
แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา
4. การสัมภาษณ์ ( Interview ) = การสนทนาของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีจุดมุ่งหมาย
5. การทดสอบ ( Testing ) = การใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะของพฤติกรรม
6. การทดลอง ( Experiment ) = การรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ มีขั้นตอนวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์

ขอบข่ายของจิตวิทยา

 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ


• จิตวิทยาทั่วไป General Psychology
• จิตวิทยาวิเคราะห์ Applied Psychology
 ปัจจุบันนักจิตวิทยาสามรถแบ่งได้หลายแขนง ดังนี้
• จิตวิทยาสรีระ = มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางสรีระวิทยากับจิต
• จิตวิทยาพัฒนาการ = ศึกษาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนปิดฉากชีวิต
• จิตวิทยาคลินิก = ศึกษาว่าบุคคลเมื่อประสบปัญหาแล้วจะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
• จิตวิทยาการศึกษาในโรงเรียน = ประยุกต์เพื่อใช้แก้ปัญหาของเด็ก ช่วยให้ ครูผู้สอน
เข้าใจเด็ก
• จิตวิทยาอุตสาหกรรม = ศึกษาการทํางานในระบบ คือ ความสามารถทํางานร่วมกับ
คนอื่นจิตวิทยาการวัดผลและการทดสอบ = ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลและความเชื่อถือ
• จิตวิทยาสังคม = ศึกษาวิธีการวัดลักษณะส่วนใหญ่ของพฤติกรรมมนุษย์

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


3
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

จิตวิทยาการศึกษา

เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียนการสอน
ในชั้นเรียน เพื่อคิดค้นทฤษฎีและหลักการที่จะนามาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา
 เนื้อหาจิตวิทยาการศึกษาประกอบด้วย
1. ความสําคัญของวัตถุประสงค์ ของการศึกษาและบทเรียน
2. ทฤษฎีพัฒนาการและบุคลิกภาพ
3. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
4. ทฤษฎีการเรียนรู้
5. ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา
6. หลักการสอนและวิธีการสอน
7. หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
8. การสร้างบรรยากาศของห้องเรียน

จิตวิทยาการเรียนรู้

 คิมเบิล = การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรมอันเป็นผลมาจาก
การฝึกที่ได้รับการเสริมแรง
 ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ = เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจาก
ประสบการณ์และการฝึก
 คอนบาค = การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง
อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์

สรุปได้ว่า = การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจาก


ประสบการณ์และการฝึกหัด เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวร

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


4
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

จิตวิทยากลุ่มพุทธนิยม 5
1. ทฤษฎีเกสตอลท์
2. ทฤษฎีสนาม
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ทฤษฎีทางจิตวิทยาได้เอามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาคือ
1. ผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( ตาม ทฤษฎี ของ กาเย่)
2. จัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของเลวิน (ทฤษฎีสนาม)
2.1 พฤติกรรมเป็นผลมาจากพลังความสัมพันธ์ของกลุ่ม
2.2 โครงสร้างของกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มที่แตกต่างกัน
2.3 การรวมกลุ่มแต่ละครั้งต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก
2.4 องค์ประกอบต่างๆจะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม
2.5 สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากัน
บิดาแห่งวงการจิตวิทยา

 บิดาแห่งจิตวิทยาโลก = ซิกมัน ฟรอยด์


 บิดาแห่งจิตวิทยาวิเคราะห์ = ซิกมัน ฟรอยด์
 บิดาแห่งจิตวิทยาแผนใหม่ = จอห์น บี วัตสัน
 บิดาแห่งพฤติกรรมนิยม = จอห์น บี วัตสัน
**ข้อสอบออกบ่อย
 บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง = วิลเฮล์ม แมกซ์ วุน้ ท์
 บิดาแห่งสติปัญญา = อัลเฟรด บิเนต์
 บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา = ธอร์นไดด์
 บิดาแห่งการแนะแนว = แฟรงค์ พาร์สัน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


5
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

กลวิธานในการปรับตัว / กลวิธานการป้องกันตัว Defense mechamnism

1. Rationalization ยกเหตุผลเข้าข้างตัวเอง= องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน


2. Projection โยนความผิดให้คนอื่น = ราไม่ดีโทษปีโทษกลอง
3. Repression การเก็บกด = ลืมเรื่องราวลืมความเจ็บปวด
4. Compensation การชดเชย = เรียนไม่เก่งไปเล่นกีฬา
5. Sublimation การทดแทน = ชอบความรุนแรง จึงหันไปออกกําลังกายด้วยการต่อยมวย
6. Decrease การทดถอย = พฤติกรรมกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง

กลุ่มต่างๆทางจิตวิทยา มี 6 กลุ่มดังนี้

1. กลุ่มโครงสร้างทางจิต Structulism
 เชื่อว่า โครงสร้างของจิตสานึกของมนุษย์ โดยมีแนวคิดว่าจิตสานึกของมนุษย์ประกอบด้วย ธาตุ
ทางจิต 3 ชนิดคือ การรู้สึก อารมณ์ และจินตนาการ การได้สัมผัสเป็นสิ่งสําคัญสําหรับการเรียนรู้/
ความรู้สึก(การตีความ,แปลความ)/มโนภาพ (การคิด,วิเคราะห์) **จะใช้วิธีพิจารณาภายใน ซึ่งไม่เป็น
วิทยาศาสตร์เพราะข้อมูลที่ได้จากการรายงานความรู้สึกของผู้ถูก ศึกษามีความเป็นอัตนัยสูง
 นักจิตวิทยา : วิลเฮล์ม แมกซ์ วุ้นท์
 การทดลอง: วุนท์ ใช้วิธีการสํารวจตัวเอง (Introspection) ใช้การทดลองโดยใช้
สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้น เช่นไฟฟ้าสีระดับเสียงสูงและตํ่า กลิ่น อุณหภูมิ ความร้อน เป็นต้น
ผู้ถูกทดลองจะเป็นผู้เล่ารายละเอียด ความรู้สึก ประสาท สัมผัส และมโนภาพ จากประสบการณ์
ที่ตนได้รับจากการทดลองว่าความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้รับสิ่งเร้าต่างๆเป็นตัวกระตุ้นซึ่งต้องอาศัย
ประสบการณ์ ของแต่ละคน ที่มีอยู่เดิม

2. กลุ่มหน้าที่ทางจิต Functionalism
 เกิดจาก การรวมกันระหว่างทฤษฎีของ ชาว ดาวิน (Darwinian Theory) กับลัทธิปรัชญาที่
เน้นความสําคัญของการปฏิบัติจริง (Pragmatic Philosophy ) , มาจากกลุ่มปฏิบัตินิยม แนวคิดกลุ่มนี้
มีอิทธิมากต่อวงการศึกษา เนื่องจากมีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความผาสุก

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


6
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

 มุ่งศึกษาด้านหน้าที่ของจิต = การเรียนรู้/การจูงใจ/การแก้ไขปัญหา/จิตใจกับร่างกาย(จิตควบคุม
กระบวนการในร่างกาย)/หรือ การที่บุคคลต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคม
 เป็นวิธีการทํางานวิทยาศาสตร์ , Learning by doing
ออกสอบบ่อย
 นักจิตวิทยา : จอห์น ดิวอี้ , วิลเลี่ยม เจมส์ , วูดเธอร์ แองเกลล์

3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม Behaviorism
 เชื่อว่า พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีเหตุมากระตุ้น และสาเหตุนั้นมาจากสิ่งเร้าในรูปใดก็ได้
ที่มากระทบ , อาศัยแนวคิดของ พาฟลอฟ
 มีหลักการ 3 ประการ คือ
1. การวางเงื่อนไขเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2. พฤติกรรมของคนที่ปรากฏส่วนมาก เกิดจากการเรียนรู้มากกว่าเป็นไปเองตามธรรมชาติ
3. การเรียนรู้ของคนกับสัตว์ไม่ต่างกันมาก
 การทดลอง : วัตสันได้นําเอาทฤษฎีของพาฟลอฟ มาเป็นหลักสําคัญในการอธิบายเรื่องการเรียน
ผลงานของวัตสันได้รับความนิยมแพร่หลายจนได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม”
ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned-
emotion)
วัตสัน ได้ทําการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว และขณะที่เด็กกําลังจะจับหนูขาว
ก็ทําเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองให้นําหนูขาว
มาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้ จากนั้นเด็กก็จะค่อย ๆ หายกลัวหนูขาว
 นักจิตวิทยา : จอห์น บี วัตสัน
 การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผนการ
ตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จําเป็นต้องคํานึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหา
2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอน
สามารถทําให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียน
3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เราอาจช่วยได้
โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทําโทษเขา

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


7
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง เช่น การอ่านและการสะกดคํา


ผู้เรียนที่สามารถสะกดคําว่า "round" เขาก็ควรจะเรียนคําทุกคําที่ออกเสียง o-u-n-d ไปในขณะเดียวกันได้
เช่นคําว่า found, bound, sound, ground, แต่คําว่า wound (บาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคําที่
ออกเสียง o - u - n - d และควรฝึกให้รู้จักแยกคํานี้ออกจากกลุ่ม

4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ Psychoanalysis **ทฤษฏีของฟรอยด์ ออกสอบเยอะ


 เป็นกลุ่มที่ศึกษาเกี่ยวกับ จิตไร้สานึก(การกระทําที่ไม่ตั้งใจ) ,แรงขับทางเพศ,การพัฒนาบุคลิกภาพ
ซึ่งทางกลุ่ม เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนมากกําหนดขึ้นโดยสัญชาตญาณ ซึ่งมีมาตั้งแต่กําเนิด
สัญชาตญาณเหล่านี้ส่วนมากจะอยู่ในระดับจิตไร้สํานึก เขาเชื่อว่าการทํางานของจิตแบ่งเป็น 3 ระดับ
เปรียบเสมือนก้อนน้ําแข็งลอยอยู่ในทะเล คือ
1. จิตสํานึก (Conscious เป็นส่วนที่โผล่ผิวน้ําขึ้นมาซึ่งมีจํานวนน้อยมาก * ภาวะที่จิตรู้ตัว
อยู่ตลอดเวลา
2. จิตกึ่งสํานึก (Preconscious) เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ๆผิวน้ํา เป็นเรื่องของความจําที่บุคคลเก็บ
สะสมไว้ ซึ่งอาจจะนึกไม่ออกในทันทีแต่ไม่ช้าก็เรียกความจํานั้นออกมาได้ ภาวะที่จิตระลึกได้
3. จิตไร้สํานึก เป็นส่วนใหญ่ของก้อนน้ําแข็งที่อยู่ใต้น้ํา จิตส่วนนี้ ฟรอยด์เชื่อว่ามีอิทธิพลมาก
ต่อพฤติกรรมของมนุษย์ กระบวนการจิตไร้สํานึกนี้หมายถึง, ความคิด, ความกลัวและความปรารถนาของ
มนุษย์ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของเก็บกดไว้โดยไม่รู้ตัว แต่มีอิทธิพลต่อเขา พลังของจิตไร้สํานึกอาจจะปรากฏขึ้นในรูป
ของความฝัน การพลั้งปาก หรือการแสดงออกมาเป็นกิริยาอาการที่บุคคลทําโดยไม่รู้ตัวเป็นต้น * ไม่อยู่ใน
ภาวะที่รู้ตัว
 โครงสร้างทางจิต 3 ส่วนสําคัญ ของฟรอย์ คือ
1. อิด (Id) = หมายถึงตัณหา หรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ขัด
เกลา ซึ่งทําให้ มนุษย์ทําทุก อย่างเพื่อความพึงพอใจของตนเองหรือทําตามหลักของความพอใจ (Pleasure
principle) เปรียบเหมือนสันดานดิบของ มนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น
สัญชาติญาณ แห่งการมีชีวิต (Life instinct) เช่น ความต้องการอาหาร ความต้องการทาง
เพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย
สัญชาติญาณแห่ง ความตาย (Death instinct) เช่น ความก้าวร้าว หรือการทําอันตรายต่อ
ตนเองและผู้อื่น เป็นต้น บุคคล จะแสดงพฤติกรรมตามความพอใจ ของเขาเป็นใหญ่ ไม่คํานึงถึงค่านิยมของ
สังคม และ ความพอใจของ บุคคลอื่นจึงมักเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามครรลองของมาตรฐานในสังคม
บุคคลที่มีบุคลิกภาพเช่นนี้ มักได้รับการประณามว่ามีบุคลิกภาพไม่ดี หรือไม่เหมาะสม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


8
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

2. อีโก้ (Ego) = ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ Id โดยอาศัย


กฎเกณฑ์ ทางสังคม และหลักแห่งความจริง (Reality principle) มาช่วยในการตัดสินใจ ไม่ใช่แสดงออก
ตามความ พอใจของตนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องคิดแสดงออกอย่างมีเหตุผลด้วยนั่นคือ บุคคลจะแสดง
พฤติกรรม โดยมีเหตุและผล ที่เหมาะสมกับกาลเทศะใน สังคม จึงเป็นบุคลิกภาพที่ได้รับการยอมรับมาก
ในสังคม ในคนปรกติที่สามารถปรับตัวอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข ฟรอยด์ เชื่อว่าเป็นเพราะมี
โครงสร้าง ส่วนนี้แข็งแรง
3. Super Ego = หมายถึงมโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนาจากประสบการณ์ การ
อบรมสั่งสอน โดยอาศัยหลักของศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่าง ๆ ใน สังคม
นั้น Superego จะเป็นตัวบังคับ และควบคุมความคิดให้แสดงออกในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม โดย
ยึดหลักค่านิยมของสังคม (Value principle) ที่ตัดสินว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีในสังคมกล่าวคือบุคคล จะแสดง
พฤติกรรมตาม ขอบเขตที่สังคมวางไว้ แต่บางครั้งอาจไม่เหมาะ สม เช่น เมื่อถูกยุงกัดเต็มแขน - ขา ก็ไม่ยอม
ตบยุง เพราะกลัวบาป หรือสงสารคนขอทานให้เงินเขาไปจนหมด ในขณะที่ ตนเองหิวข้าวไม่มีเงินจะซื้อ
อาหารกินก็ยอมทนหิว เป็นต้น

 พัฒนาการบุคลิกภาพของ ฟรอยด์ 5 ขั้น


1. ขั้นปาก Oral Stage แรกเกิด 1 – 2 ขวบ = เด็กจะมีความสุขความพอใจ จะอยู่
ที่ได้รับการตอบสนองทางปาก เช่น การดูดนม การสัมผัสด้วยปาก หากเด็กไม่ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้อง
ในขั้นนี้ จะทําให้เด็กมีพฤติกรรมลบทางปาก เช่น ชอบกินจุบกินจิบ ชอบนินทา ชอบสูบบุหรี่
2. ขั้นทวารหนัก Anal Stage 2 – 3 ขวบ = ความพอใจจะอยู่ที่การขับถ่าย ดังนั้น
ในช่วงวัยนี้ หากพ่อแม่เข้มงวดกวดขันในเรื่องการขับถ่ายของลูกมากเกินไป เมื่อโตขึ้นอาจส่งผลให้เด็ก
เป็นคนเจ้าระเบียบ ย้ําคิดย้ําทํา แต่หากไม่ดูแลในเรื่องการขับถ่ายเลย เช่น ไม่ฝึกให้เด็กขับถ่ายเป็นที่ เป็น
เวลา เมื่อโตขึ้น อาจส่งผลให้เป็นคนไม่มีระเบียบวินัย
3. ขั้นอวัยวะเพศ Phallic Stage 3 – 5 ขวบ = ความสนใจของเด็กจะอยู่ที่อวัยวะ
เพศ ในวัยนี้เด็กชายจะมีอาการหวงแม่ อิจฉาพ่อ พยายามเลียนแบบพ่อ (Odepus) เด็กหญิง
จะมีอาการหวงพ่อ อิจฉาแม่ พยายามเลียนแบบแม่ (Penis)
4. ขั้นแฝง Latency Stage 6 - 12 ขวบ = ระยะก่อนเข้าวัยรุ่นจะสนใจในเพศ
เดียวกัน
5. ขั้นวัยรุ่น Genital Stage 13 – 18 ขวบ = เด็กผู้หญิงเริ่มสนใจเด็กผู้ชาย
เด็กผู้ชายเริ่มสนใจเด็กผู้หญิง ช่วงนี้จะเป็นระยะที่จะมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศอย่างแท้จริง
 นักจิตวิทยา : ซิกมันด์ ฟรอยด์

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


9
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

5. กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล Gestalt Psychology


 Gestal มาจากภาษาเยอรมัน แปลว่า โครงรูปแห่งการรวมหน่วย
 แนวคิด การพิจารณาพฤติกรรมหรือประสบการณ์ของคน เป็นส่วนรวม
ซึ่งส่วนรวมนั้นมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อยๆต่างๆรวมกัน
 หลักสําคัญ การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ
การรับรู้ (Perception) การรับรู้ หมายถึง การแปลความหมายหรือการตีความ
ต่อสิ่งเร้าของ อวัยวะรับสัมผัสส่วน ใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง
และการตีความนี้ มักอาศัย ประสบการณ์เดิมดังนั้น แต่ละคน อาจรับรู้ในสิ่งเร้าเดียวกันแตกต่างกัน
ได้ แล้วแต่ประสบการณ์ เช่น นางสาว ก. เห็นสีแดง แล้วนึกถึงเลือดแต่นางสาว ข. เห็นสีแดงอาจนึก
ถึงดอกกุหลาบสีแดงก็ได้
การหยั่งเห็น (Insight) เป็นรูปแบบของการแก้ไขปัญหาของคนและสัตว์ชั้นสูง
ซึ่งได้จากการสะสมประสบการณ์จากการเรียนรู้ โดยถือว่าเมื่อเกิดการหยั่งเห็นเมื่อใดบุคคลจะเกิด
การเรียนรู้ขึ้นเมื่อนั้น ดังนั้น การเรียนรู้ของคนและสัตว์จึงมิได้เกิดจากการแยกส่วนแต่เป็นการแปล
ความหมายของสถานการณ์ทั้งหมดเป็นส่วนรวมจนเกิดการหยั่งเห็นขึ้น
 การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ ที่เน้น "การรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย" นั้น ได้
สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของ ทั้งกลุ่ม ออกเป็น 4 กฎ เรียกว่ากฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน
(The Laws of Organization) ดังนี้
• กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz)
• กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
• กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)
• กฎแห่งการสิ้นสุด(Law of Closure)
• กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนว
เดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
• กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถ
รับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


10
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

1. กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz)


ซึ่งกล่าวว่าเมื่อต้องการให้มนุษย์เกิดการรับรู้ ในสิ่งเดียวกัน ต้องกําหนดองค์ประกอบขึ้น 2 ส่วน คือ
ภาพหรือข้อมูลที่ต้องการให้สนใจ เพื่อเกิดการเรียนรู้ในขณะนั้น (Figure) ส่วนประกอบหรือพื้นฐานของการ
รับรู้ (Background or Ground) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ประกอบอยู่ในการเรียนรู้ นั้น ๆ แต่ผู้สอนยังมิต้องการให้
ผู้เรียนสนใจในขณะนั้น ปรากฏว่า วิธีการแก้ปัญหา โดยกําหนด Figure และ Background ของเกสตัลท์
ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะสามารถทํา ให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ด้วยการรับรู้อย่างเดียวกันได้

จะเห็นได้ว่า ภาพเดียวกัน คนบางคนยังเห็นไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมของแต่ละ


คน อิทธิพลของประสบการณ์ที่มีต่อการรับรู้ภาพและพื้น การมองเห็นรูป เป็นภาพ (Figure) และพื้น
(Ground) สลับกันนั้นตามทฤษฎี ของกลุ่ม เกสตัลท์ เชื่อว่า การรับรู้ในลักษณะเช่นนี้ ขึ้นยู่กับประสบการณ์
ของบุคคลเป็นสําคัญ หรือ ประสบการณ์เดิมของบุคคล มีผลต่อการรับรู้ ภาพและพื้น หรือภาพสองนัย

2. กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)


กฎนี้เป็นกฎที่ Max Wertheimer ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1923 โดยใช้เป็นหลักการในการวางรูปกลุ่มของ
การรับรู้ เช่น กลุ่มของ เส้น หรือสี ที่คล้ายคลึงกัน หมายถึงสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตาม ที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี ที่
คล้ายกัน คนเราจะรับรู้ว่า เป็นสิ่งเดียวกัน หรือพวกเดียวกัน เช่น จากภาพข้างบนนี้ เราจะเห็นว่า รูป
สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แต่ละรูป ที่มีสีเข้ม เป็นพวกเดียวกัน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


11
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

3. กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)


สาระสําคัญของกฎนี้ มีอยู่ว่า ถ้าสิ่งใด หรือสถานการณ์ใดที่เกิดขึ้นในเวลาต่อเนื่องกัน
หรือในเวลาเดียวกัน อินทรีย์จะเรียนรู้ ว่า เป็นเหตุและผลกัน หรือ สิ่งเร้าใดๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน
มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้ สิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกันเป็นพวกเดียวกัน หมวดหมู่เดียวกัน

จากภาพข้างบนนี้ เราจะเห็นว่ามีทหารเป็น 5 Columns (Proximity : These forty soldiers are


seen as five columns because of spacing)

4. กฎแห่งการสิ้นสุด (Law of Closure)


สาระสําคัญของกฎนี้มีอยู่ว่า "แม้ว่าสถานการณ์หรือปัญหายังไม่สมบูรณ์ อินทรีย์ก็จะเกิด
การเรียนรู้ ได้จากประสบการณ์เดิมต่อสถานการณ์นั้น"

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


12
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ลองดูภาพต่อไปนี้ แล้วลองพิจารณาดูว่า ถึงแม้เส้นต่าง ๆ ไม่จําเป็นต้องลากไปจนสุด หรือ


บรรจบกัน แต่เมื่อสายตามองก็พอจะเดาได้ว่า น่าจะเป็นรูปอะไร
5. กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity)
สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
6. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer)
สิ่งเร้าที่ขาดหายไป ผู้เรียนสามารถรับรู้ ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้ โดยอาศัยประสบการณ์เดิม

ถึงแม้เส้นต่าง ๆ ไม่จําเป็นต้องลากไปจนสุด หรือบรรจบกัน ก็พอจะเดาได้ว่า เป็นรูปอะไร


 นักจิตวิทยา : แมกซ์ เวิทโฮเมอร์ ผู้ร่วมงาน คือ เคิทคอฟก้า วล์อฟแกงเคอเลอร์

6. กลุ่มมนุษยนิยม Humanism
 มนุษย์พยายามปรับปรุงตัวให้มีความสมบูรณ์ที่สุด มี ดังนี้
1. เชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์โลกประเภทหนึ่งที่มีจิตใจ มีความต้องการความรัก
2. เชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็พยายามจะรู้จักและเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
3. มีความเชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็เข้าใจผู้อื่น และยอมรับตนเองอยู่แล้ว

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


13
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

4. ให้คนมีสิทธิ์อิสระที่จะเลือกกระทํา
5. มีความเห็นว่า วิธีการค้นคว้าแสวงหา ความรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ เป็นสิ่งที่จําเป็น
 สกินเนอร์ (Skinner) เป็นผู้คิดทฤษฎีการ วางเงื่อนไขแบบการกระทําหรือแบบ
ปฏิบัติการ โดยจําแนกทฤษฎีทางพฤติกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type S (Response Behavior)
ซึ่งมีสิ่งเร้า (Stimulus) เป็นตัวกําหนดหรือดึงออกมา เช่น น้ําลายไหลเนื่องจาก
ใส่อาหารเข้าไปในปาก สะดุ้งเพราะถูกเคาะที่สะบ้าข้างเข่า หรือการหรี่ตาเมื่อถูกแสงไฟ พฤติกรรมดังกล่าว
เป็นการตอบสนองแบบอัตโนมัติ
2. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type R (Operant Behavior)
พฤติกรรมหรือกาตอบสนองขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) การตอบสนอง
แบบนี้จะต่างกับแบบแรก เพราะอินทรีย์เป็นตัวกําหนดหรือเป็นผู้สั่งให้กระทําต่อสิ่งเร้า ไม่ใช้ให้สิ่งเร้าเป็น
ตัวกําหนดพฤติกรรมของอินทรีย์ เช่น การถางหญ้า การเขียนหนังสือ การรีดผ้า พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนใน
ชีวิตประจําวันเป็นพฤติกรรมแบบOperant Conditioning)
หลักการเรียนรู้ที่สําคัญ หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทํา เน้น
การกระทําของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าที่กําหนดให้ กล่าวคือ เมื่อต้องการให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้จากสิ่ง
เร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง เราจะให้ผู้เรียนรู้เลือกแสดงพฤติกรรมเองโดยไม่บังคับหรือบอกแนวทางในการเรียนรู้
เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้แล้วจึง "เสริมแรง" พฤติกรรมนั้นทันที เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าพฤติกรรมที่
แสดงออกนั้นเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา
นั้น พฤติกรรมการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement)

ตัวเสริมแรงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ


1. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement ) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่
บุคคลพึงพอใจ มีผลทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
2.การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนําเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึง
พอใจออกไป มีผลทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
 การลงโทษ (Punishment) คือ การทําให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของ
การแสดงพฤติกรรมลดลง การลงโทษมี 2 ทาง ได้แก่
1. การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่
บุคคลที่ไม่พึงพอใจ มีผลทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
2. การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) เป็นการนําสิ่งเร้าที่
บุคคลพึงพอใจ หรือสิ่งเสริมแรงออก

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


14
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

 นักจิตวิทยา : อับราฮัม มาสโลว์ , คาร์ล อาร์โรเจอร์


 คาร์ล อาร์โรเจอร์ การยอมรับและให้เกียรติผู้อื่น
 ทฤษฎีความต้องการพื้นฐาน 5 ขั้นของ มาสโลว์
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการ
ปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs)
คือความต้องการที่จะมีชีวิตที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and
Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs)
เป็นความต้องการในลําดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization
Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้
**มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลําดับขั้น และ
จะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลําดับขั้นที่ 2-5 ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้

การเรียนรู้

 ความหมายของการเรียนรู้
1. พฤติกรรมเดิมสู่พฤติกรรมใหม่ที่ถาวร
2. ผลมาจากการฝึกฝน
3. มิใช่มาจากการตอบสนองตามธรรมชาติ
 การเรียนรู้ขึ้นกับตัวแปร 3 ประการ
1. สิ่งเร้า Stimulus – S
2. อินทรีย์ Oganism – O
3. การตอบสนอง Response – R

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


15
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

 ดอลลาร์ด และ มิลเลอร์ Dollard and Miller มี 4 ประการ คือ


1. แรงขับ
2. สิ่งเร้า
3. การตอบสนอง
5. การเสริมแรง
 องค์ประกอบสําคัญในการเรียนรู้
• วุฒิภาวะ Maturity = เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็น
ลาดับขั้นความเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ
• ความพร้อม Readiness=สภาวะของบุคคลที่จะเรียนรู้สิ่งหนึ่งอย่างบังเกิดผล
• แรงจูงใจ Motivation = พลังงานที่กระตุ้นให้มีพฤติกรรมนาไปสู่จุดมุ่งหมาย
แยกเป็น 2 ประเภท คือ แรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอก
• การเสริมแรง Reinforcement
• การถ่ายโอนความรู้ Tranfer of learning

ทฤษฎีการเรียนรู้

 วิธีการและเงื่อนไขที่จะทําให้เกิดการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สําคัญ แบ่งได้ 2 กลุ่ม


1. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ Cognitive Theories
2. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์เชื่อมโยง Associative Theories ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่า
“พฤติกรรมนิยม” แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้
2.1 การวางเงื่อนไข Conditioning Theories
- แบบคลาสสิค
- แบบการกระทํา
2.2 สัมพันธ์เชื่อมโยง Connectionism Theories
- สัมพันธ์เชื่อมโยง
- สัมพันธ์ต่อเนื่อง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


16
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

 การวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ **ออกสอบบ่อย
พาฟลอฟ = เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่ต้องวางเงื่อนไข
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค Classsical condition มี 4 กฎ ดังนี้
1. Law of extination การลดภาวะ การลบพฤติกรรม
2. Law of spontaneous การฟื้นคืนสภาพหลังจากการลบพฤติกรรม
3. Law of generalization การสรุปเกณฑ์, การตอบสนองคล้ายกับเงื่อนไข
4. Law of discrimination ความแตกต่างที่แยกแยะได้

พาฟลอฟ นักสรีระชาวรัสเซียผู้ทําการทดลอง (สุนัขกับกระดูก) เพื่อศึกษา


การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข Conditionning ซึ่งมีลําดับขั้นตอนดังนี้

1.ก่อนวางเงื่อนไข = UCS (อาหาร)  UCR (น้ําลายไหล)


 สิ่งเร้าที่เป็นกลาง
(เสียงกระดิ่ง)  น้ําลายไม่ไหล
2. ขณะวางเงื่อนไข = CS (เสียงกระดิ่ง) + UCS (อาหาร)  UCR (น้าลายไหล)
3. หลังการวางเงื่อนไข = CS (เสียงกระดิ่ง)  CR (น้าลายไหล)

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


17
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

 แบบคลาสสิคของ วัตสัน
นักจิตวิทยา ชาวอเมริกันทําการทดลอง (เด็กชายอายุ 11 เดือนกับหนู) มีหลักการดังนี้
1. การแผ่ขยายพฤติกรรม = มีการแผ่ขยายการตอบสนองที่วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าคล้ายคลึง
กับสิ่งเร้าที่เป็นเงื่อนไข
2. การลดภาวะ = หรือการดับสูญการตอบสนอง ให้สิ่งเร้าใหม่ ตรงข้ามกับสิ่งเร้าเดิม เรียก
Counter – Conditioning
Watsonได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อ หนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert)
อายุ 11 เดือน ชอบหนูขาวไม่แสดงความกลัว แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็ดังขึ้น ซึ่งทํา
ให้หนูน้อยกลัว ทําคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียง
หนูขาวก็แสดงความกลัวทันที
แผนผังการทดลอง
เสียงดัง (UCS)  กลัว (UCR)
หนูขาว (neutral)  ไม่กลัว

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


18
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

หนู + เสียงดัง  กลัว (CR)


หนูขาว (CS)  กลัว (CR)

การ ประยุกต์ใช้ในด้านการเรียน
การสอน
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์มีการตอบสนองไม่เท่ากัน การจัดการ
เรียนการสอนต้องคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ ผู้สอนสามารถทําให้ผู้เรียนรู้สึก
ชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียนได้
3. การล้างพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขในแง่ลบ เช่น การที่นักเรียนกลัวครู ครูอาจเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่
4. สามารถนําความรู้ไปแก้ไขปัญหาด้านความกลัวของเด็กหรือวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการตอบสนอง
ในเรื่องที่ต้องการให้แสดงพฤติกรรม

 ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดด์
ทําการทดลองแมวกับอาหาร โดยแมวถูกขังอยู่ในกรง การเรียนรู้เกิดจากการลองผิดลอง
ถูก นําไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ประกอบด้วย
การทดลอง
ธอร์นไดค์ ได้นําแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนําปลาไปวางล่อไว้นอกกรงให้ห่าง
พอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อ
จะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทําให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้น
แมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


19
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

จากการทดลองธอร์นไดค์อธิบายว่า
การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมว
สามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการเรียนรู้ด้วยการสร้างพันธ์หรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่าง
คานไม้กับการกดคานไม้
กฎการเรียนรู้ จากการทดลองสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ ดังนี้
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะ
ของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย อวัยวะต่างๆ ในการเรียนรู้และจิตใจ ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมตามองค์ประกอบ
ต่างๆ ดังกล่าว ก็จะทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) หมายถึง การที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทําซ้ําๆ
บ่อยๆ ย่อมจะทําให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการ
ตอบสนองที่ถูกต้องย่อมนํามาซึ่งความสมบูรณ์
3. กฎแห่งความพอใจ (Law of Effect) กฎนี้เป็นผลทําให้เกิดความพอใจ กล่าวคือ
เมื่ออินทรีย์ได้รับความพอใจ จะทําให้หรือสิ่งเชื่อมโยงแข็งมั่นคง ในทางกลับกันหากอินทรีย์ได้รับความไม่
พอใจ จะทําให้พันธะหรือสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอ่อนกําลังลง

นําไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนดังนี้
 ลดการวางเงื่อนไข ศึกษาภูมิหลังของเด็กว่าเด็กชอบอะไร นาสิ่งเร้ามาคู่กัน จากนั้น
ตรวจสอบว่าเด็กชอบหรือเปล่า
 สิ่งใดก็ตามที่กระทําบ่อยๆ ก็จะเกิดทักษะ ความชํานาญ

 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบกํารกระทําของสกินเนอร์
สกินเนอร์มีความคิดว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ Pavlov นั้น จํากัดอยู่กับ
พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจํานวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ
เอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


20
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

สกินเนอร์ได้แบ่ง พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบ คือ


1. Respondent Behavior คือ พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ําลาย
ไหล
2. Operant Behavior คือ พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กําหนด หรือเลือกที่จะ
แสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจําวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน
ทํางาน ขับรถ
การทดลองของสกินเนอร์
เขาได้สร้างกล่องทดลองขึ้น ซึ่งกล่องทดลองของสกินเนอร์ (Skinner Boxes)
จะประกอบด้วยที่ใส่อาหาร คันโยก หลอดไฟ คันโยกและที่ใส่อาหารเชื่อมติดต่อกัน การทดลองเริ่มโดยการ
จับหนูไปใส่กล่องทดลอง เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา ทํา
ให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหาร ครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที
ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทําเอง
หลักการและแนวคิดที่สําคัญของสกินเนอร์
1. การวัดพฤติกรรมตอบสนอง
สกินเนอร์ เห็นว่าการศึกษาจิตวิทยาควรจํากัดอยู่เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่าง
ชัดเจน และพฤติกรรมที่สังเกตได้นั้นสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากความถี่ของการตอบสนองในช่วงเวลาใด
เวลาหนึ่ง หรือพิจารณาจากอัตราการ ตอบสนอง (Response rate) นั่นเอง
2. อัตราการตอบสนองและการเสริมแรง
สกินเนอร์ เชื่อว่าโดยปกติการพิจารณาว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใดนั้นจะสรุปเอาจาก
การเปลี่ยนแปลงการตอบสนอง (หรือพูดกลับกันได้ว่าการที่อัตราการตอบสนองได้เปลี่ยนไปนั้น แสดงว่า
เกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว) และการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเสริมแรง
(Reinforcement) สิ่งเร้านี้สามารถทําให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลง เราเรียกว่าตัวเสริมแรง
(Reinforcer) สิ่งเร้าใดที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนอง เราเรียกว่า ไม่ใช่ตัวเสริมแรง
(Nonreinforcer)

ประเภทของตัวเสริมแรง
ตัวเสริมแรงนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ อาจแบ่งเป็นตัวเสริมแรงบวกกับตัวเสริมแรง
ลบ หรืออาจแบ่งได้เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิกับตัวเสริมแรงทุติยภูมิ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


21
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้รับ


หรือนําเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ และทําให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลง
ไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น อาหาร คําชมเชย ฯลฯ
ตัวเสริมแรงลบ (Negative Reinforcer) สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อตัดออกไปจาก
สถานการณ์นั้นแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น เสียงดัง แสงสว่างจ้า
คําตําหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯ
การลงโทษ (Punishment) คือ การทําให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของพฤติกรรมลดลง
การลงโทษมี 2 ทางได้แก่
1. การลงโทษทางบวก (Positive Punishment)
2. การลงโทษทางลบ (Negative Punishment)

ชนิด ผล ตัวอย่าง
การเสริมแรงทางบวก พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้า ผู้เรียนที่ทําการบ้านส่งตรงเวลาแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ ได้รับคําชม จะทําการบ้านส่งตรงเวลา
บุคคลนั้นต้องการ สม่ําเสมอ

การเสริมแรงทางลบ พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่ไม่เป็น ผู้เรียนที่ทํารายงานส่งตามกําหนด


ที่พึงปรารถนาถูกทําให้ลดน้อยหรือ เวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไป
หมดไป ดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทํา
รายงานให้เสร็จตรงตามเวลา

การลงโทษทางบวก พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้า เมื่อถูกเพื่อน ๆ ว่า "โง่" เพราะตั้ง


โดยเฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนา คําถามถามผู้สอน ผู้เรียนคนนั้น
เกิดขึ้น เลิกตั้งคําถามในชั้นเรียน
การลงโทษทางลบ พฤติกรรมลดน้อยลง เมื่อนําสิ่งเร้าที่ ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบ
เขาพึงปรารถนาออกไป ข้อสอบในลักษณะที่แตกต่างจาก
ครูสอน ในครั้งต่อไปเขาจะไม่
ตอบคําถามในลักษณะนั้นอีก

การลงโทษ (Punishment )การเสริมแรงทางลบ และการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและ


มักจะใช้แทนอยู่เสมอแต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเน้นว่าการ
ลงโทษเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


22
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ข้อเสียของการลงโทษ
1. การลงโทษไม่ได้ทําให้พฤติกรรมเปลี่ยน แค่เก็บกดเอาไว้ แต่พฤติกรรมยังคงอยู่
2. บางครั้งทําให้พฤติกรรมที่ถูกลงโทษ เพิ่มขึ้น เช่น โดนห้ามลางาน ก็เลยมาแกล้งคนอื่นที่
3. บางครั้งไม่รู้ว่าทําไมถูกลงโทษ เพราะเคยทําพฤติกรรมนั้นแล้วไม่ถูกลงโทษ
4. ทําให้เกิดอารมณ์ไม่เหมาะสม และนําไปสู่การหลีกเลี่ยงและหลีกหนี
5. การลงโทษอาจนําไปสู่ความก้าวร้าว
6. การลงโทษไม่ได้ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม
การใช้การลงโทษ
1. Time-out คือ การเอาตัวเสริมแรงทางบวกออกจากบุคคล แต่ถ้าพฤติกรรมเด็กหยุดต้อง
เอากลับเข้ามาและเสริมแรงพฤติกรรมใหม่ทันที
2. Response Cost หรือ การปรับสินไหม คือ การดึงสิทธิ์หรือสิ่งของออกจากตัว เช่น ปรับเงิน
คนที่ขับรถผิดกฎ
3. Verbal Reprimand หรือ การตําหนิหลัก คือ ห้ามตําหนิที่ Personality ต้องตําหนิที่
Behavior ใช้เสียงและหน้าที่เรียบๆ เชือดเฉือนหัวใจ
4. Overcorrection คือ การแก้ไขเกินกว่าที่ทําผิด แบ่งออกเป็น
4.1. Restitutional Overcorrection คือ การทําสิ่งที่ผิดให้ถูก ใช้กับสิ่งที่ทําผิดแล้วยังแก้ไข
ได้ เช่น ทําเลอะแล้วต้องเช็ด
4.2. Positive-Practice Overcorrection คือ การฝึกทําสิ่งที่ถูกต้อง ใช้กับสิ่งที่ทําผิดแล้ว
แก้ไขไม่ได้อีก เช่น ฝึกทิ้งขยะให้ลงถัง
4.3. Negative-Practice คือ การฝึกทําสิ่งที่ผดิ เพื่อให้เลิกทําไปเอง เช่น ถ้าเด็กสูบบุหรี่ก็ให้สูบซิการ์
การใช้การลงโทษอย่างมีประสิทธิภาพ
1. เมื่อลงโทษแล้ว พฤติกรรมต้องลด
2. การลงโทษต้องรุนแรง แต่ต้องไม่เกินกว่าเหตุ
3. ควรเตือน 1 ครั้ง ก่อนการลงโทษ และในการเตือนต้องพูดในสิ่งที่ทําได้จริง
4. พฤติกรรมที่จะถูกลงโทษ ควรถูกบรรยายให้ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง
5. การลงโทษต้องสม่ําเสมอ
6. ถ้าเป็นไปได้ ควรปรับสภาพแวดล้อม เพื่อไม่ให้พฤติกรรมไม่พึงประสงค์กลับมา
7. เมื่อลงโทษแล้ว ต้องมีการเสริมแรงพฤติกรรมใหม่
8. เมื่อเกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ต้องลงโทษทันที และต้องลงโทษในที่รโหฐาน
ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcer)
เป็นสิ่งเร้าที่จะสนองความต้องการทางอินทรีย์โดยตรง ซึ่งเปรียบได้กับ UCS. ในทฤษฎีของ
พาฟลอฟ เช่น เมื่อเกิดความต้องการอาหาร อาหารก็จะเป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิที่จะลดความหิวลง เป็นต้น
ลําดับขั้นของการลดแรงขับของตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ดังนี้

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


23
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

1. ความไม่สมดุลในอินทรีย์ ก่อให้เกิดความต้องการ
2. ความต้องการจะทําให้เกิดพลังหรือแรงขับ (drive) ที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรม
3. มีพฤติกรรมเพื่อจะมุ่งสู่เป้าหมาย เพื่อให้ความต้องการได้รับการตอบสนอง
4. ถึงเป้าหมาย หรือได้รับสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่ได้รับที่เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ตัวเสริมแรง
ที่จะเป็นรางวัลที่จะมีผลให้อยากทําซ้ํา และมีพฤติกรรมที่เข้มข้นในกิจกรรมซ้ํา ๆ นั้น
ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
โดยปกติแล้วตัวเสริมแรงประเภทนี้เป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Natural Stimulus) สิ่งเร้าที่เป็น
กลางนี้ เมื่อนําเข้าคู่กับตัวเสริมแรงปฐมภูมิบ่อย ๆ เข้า สิ่งเร้าซึ่งแต่เดิมเป็นกลางก็กลายเป็นตัวเสริมแรง และ
จะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เราเรียกตัวเสริมแรงชนิดนี้ว่า ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
ตัวอย่างเช่น การทดลองของสกินเนอร์ โดยจะปรากฏว่า เมื่อหนูกดคานจะมีแสงไฟสว่างขึ้น และมีอาหารตก
ลงมา แสงไฟซึ่งแต่เดิมเป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง ต่อมาเมื่อนําเข้าคู่กับอาหาร (ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ) บ่อย ๆ แสง
ไฟก็จะกลายเป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิเช่นเดียวกับอาหาร แสงไฟจึงเป็นตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
ตารางกําหนดการเสริมแรง (SCHEDULES OF REINFARCEMENT) ตัวอย่างการให้การเสริมแรง
ตารางการเสริมแรง ลักษณะ ตัวอย่ าง
การเสริมแรงทุกครัง เป็ นการเสริ มแรงทุกครังที ทุกครังทีเปิ ดโทรทัศน์แล้ว
(Continuous) แสดงพฤติกรรม เห็นภาพ
การเสริมแรงตามจํานวนครัง ให้การเสริ มแรงโดยดูจาก การจ่ายค่าแรงตามจํานวน
ของการตอบสนองที(แน่ นอน จํานวนครังของการตอบสนอง ครังทีขายของได้
(Fixed - Ratio) ทีถูกต้องด้วยอัตราทีแน่นอน
การเสริมแรงตามจํานวนครัง ให้การเสริ มแรงตามจํานวนครัง การได้รับรางวัลจากเครื อง
ของการตอบสนองทีไ( ม่ แน่ นอน ของการตอบสนองแบบไม่ เล่นสล๊อตมาชีน
(Variable - Ratio) แน่นอน

ตารางการเสริมแรง ลักษณะ ตัวอย่าง


การเสริมแรงความช่ วงเวลาที( ให้การเสริ มแรงตามช่วงเวลาที ทุก ๆ สัปดาห์ผสู ้ อนจะทํา
แน่ นอน (Fixed - Interval) กําหนด การทดสอบ

การเสริมแรงตามช่ วงเวลาที( ให้การเสริ มแรงตามระยะเวลา ผูส้ อนสุ่ มทดสอบตามช่วงเวลา


ไม่ แน่ นอน ทีไม่แน่นอน ทีตอ้ งการ
(Variable - Interval)

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


24
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ลักษณะของตัวเสริมแรง
1. Material Reinforcers คือ ตัวเสริมแรงที่เป็นวัตถุสิ่งของ เช่น มือถือ ขนม
2. Social Reinforcers เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม
2.1. Verbal เป็นคําพูด เช่น การชม (ต้องชมพฤติกรรมที่แสดงออก ไม่ใช่บุคลิกภาพ)
2.2. Nonverbal ภาษากาย เช่น กอด (การกอดเป็น The Best Social Reinforcers
ซึ่งต้องใช้กับ Positive Behavior)
** หมายเหตุ: ถ้า Verbal ไม่สัมพันธ์กับ Nonverbal คนเราจะเชื่อ Nonverbal มากกว่า
3. Activity Reinforcers เป็นการใช้กิจกรรมที่ชอบทําที่สุดมาเสริมแรงกิจกรรมที่อยากทํา
น้อยที่สุด โดยต้องทําตาม Premack Principle คือ ให้ทําสิ่งที่อยากทําน้อยที่สุดก่อน แล้วจึงให้ทํากิจกรรม
ที่ชอบที่สุด เช่น เด็กที่ชอบกิน Chocolate แต่ไม่ชอบเล่น Pinball ก็ให้เล่น Pinball ก่อนแล้วจึงให้กิน
Chocolate
** หมายเหตุ: ถ้าสิ่งใดเป็นของตาย คือจะทําหรือไม่ทําก็ได้สิ่งนั้นอยู่แล้ว สิ่งนั้นจะเป็น
ตัวเสริมแรงไม่ได้อีกต่อไป
4. Token Economy จะเป็นตัวเสริมแรงได้เฉพาะเมื่อแลกเป็น Backup Reinforcers ได้
เช่น เงินธนบัตรก็เป็นแค่กระดาษใบหนึ่ง แต่ว่ามันใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย ดังนั้น ถ้ามันใช้ชําระหนี้ไม่ได้ก็
เป็นแค่กระดาษใบหนึ่ง เงินมีอิทธิพลสูงสุด
5. Positive Feedback หรือการให้ข้อมูลป้อนกลับทางบวก จับเฉพาะจุดบวก มองเฉพาะ
ส่วนที่ดี เช่น บอกเด็กว่า หนูทํางานส่วนนี้ได้ดีมาก แต่ส่วนที่เหลือเอากลับไปแก้นะ
6. Intrinsic Reinforcers หรือตัวเสริมแรงภายใน เช่น การชื่นชมตัวเอง ไม่ต้องให้มีใครชม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมแรง
1. Timing การเสริมแรงต้องทําทันที เช่น แฟนตัดผมมาใหม่ต้องชมทันที ถ้าช้าจะถูกตําหนิ
2. Magnitude & Appeal การเสริมแรงต้องตอบสนองความต้องการอย่างพอเหมาะ อย่า
มากไปหรือน้อยไป
3. Consistency การเสริมแรงต้องให้สม่ําเสมอ เพราะจะได้รู้ว่าทําแล้วต้องได้รับการเสริมแรง
อย่างแน่นอน

การนําทฤษฎีไปประยุกต์ใช้
 1. ใช้ในการปลูกฝังพฤติกรรม (Shaping Behavior) หลักสําคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไข
แบบการกระทําของสกินเนอร์ คือ เราสามารถควบคุมการตอบสนองได้ด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


25
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ให้การเสริมแรงเฉพาะเมื่อมีการตอบสนองที่ต้องการ เพื่อให้กลายเป็นนิสัยติดตัวต่อไป อาจนําไปใช้ในการ


ปลูกฝังบุคลิกภาพของบุคคลให้มีพฤติกรรมตามแบบที่ต้องการได้
การแสดงพฤติกรรมสาธารณะ
1. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) เมื่อมีการแสดงออก ซึ่งพฤติกรรม
จิตสาธารณะ ซึ่งอาจใช้ตัวเสริมแรงได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.1 ตัวเสริมแรงที่เป็นสิ่งของ ( material reinforce ) เป็นตัวเสริมแรงที่ประกอบได้ด้วย
อาหาร ของที่เล่นได้ และสิ่งของต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ของเล่น รถยนต์
1.2 ตัวเสริมแรงทางสังคม ( social reinforce ) ตัวเสริมแรงทางสังคมเป็นตัวเสริมแรงที่ไม่
ต้องลงทุนซื้อหามีอยู่กับตัวเราและค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพสูงในการปรับพฤติกรรม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
คือ คําพูด ได้แก่ คําชมเชย เช่น ดีมาก น่าสนใจมาก และการแสดงออกทางท่าทาง เช่น ยิ้ม
1.3 ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรม ( activity reinforce) เป็นการใช้กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่
ชอบไปเสริมแรงกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ไม่ชอบ
1.4 ตัวเสริมแรงที่เป็นเบี้ยอรรถกร (token reinforce) โดยการนําเบี้ยอรรถกรไปแลกเป็น
ตัวเสริมแรงอื่นๆได้ เช่น ดาว คูปอง โบนัส เงิน คะแนน

2. การเสริมแรงทางลบ ( negative reinforcement ) เป็นการทําให้ความถี่ของ


พฤติกรรมคงที่หรือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเสริมแรงทางลบของผู้สอนควรปฏิบัติ คือ ทําทันทีหรือเร็วที่สุด เมื่อ
พฤติกรรมที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น ควรให้มีความรุนแรงพอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ควรให้ผู้ถูกลงโทษรู้
ว่าพฤติกรรมใดที่ถูกลงโทษและเพราะเหตุใด ควรใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์ ควรใช้การลงโทษควบคู่กับการ
เสริมแรงบวก ผู้ลงโทษต้องเป็นตัวแบบที่ดีในทุกๆด้าน และการลงโทษควรเป็นวิธีสุดท้าย ถ้าไม่จําเป็นก็ไม่ควร
ใช้การลงโทษ
 2. การกําจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
1. ไม่สนใจ แต่ระวัง การเรียกร้องความสนใจ
2. เสริมแรงทุกพฤติกรรมที่ไม่ใช่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
3. เสริมแรงพฤติกรรมอื่นแทน
4. เสริมแรงพฤติกรรมที่ไม่ทําให้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิด เช่น เสริมแรงพฤติกรรม
นั่ง เพื่อที่พฤติกรรมลุกจะได้ไม่เกิด (Incompatible Behavior)

 3. การเรียนการสอน
1. Observable & Measurement คือ สังเกตและวัดได้ เช่น หลังเรียนคอร์สนี้จบแล้วจะ
สามารถอธิบายทฤษฎีได้

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


26
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

2. Conditions คือ เงื่อนไข เช่น เมื่อกําหนดแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบให้ สามารถอ่านข้อมูล


และอภิปรายประเด็นต่างๆได้
3. Criterion คือ เกณฑ์ เช่น หลังเรียนคอร์สนี้จบแล้วจะสามารถทําข้อสอบ O-NET
ได้ 80%
4. Programmed Instruction and Computer-Assisted Instruction เช่น
ใช้โปรแกรมช่วยสอนสําเร็จรูป
5. Mastery learning คือ เรียนให้ประสบความสําเร็จไปทีละขั้น เช่น ต้องสอบบทที่ 1
ให้ผ่าน จึงจะสอนบทต่อไป

 ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ
• กลุ่มเกสตัลท์ มีผู้นํากลุ่มคือ เวอร์ไทเมอร์ , โคลเลอร์ , คอฟกา , เลวิน
การเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายมารวมกัน หรือการรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน
• กลุ่มเกสตัลท์ เชื่อว่าการเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิด จาก
ประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ
1. การรับรู้ (Perception)
การรับรู้หมายถึงการแปลความหมายหรือการตีความต่อสิ่งเร้าของ อวัยวะ
รับสัมผัสส่วน ใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง และการตีความนี้ มักอาศัย
ประสบการณ์เดิมดังนั้น แต่ละคน อาจรับรู้ในสิ่งเร้าเดียวกันแตกต่างกันได้ แล้วแต่ประสบการณ์ เช่น
นางสาว ก. เห็นสีแดง แล้วนึกถึงเลือดแต่นางสาว ข. เห็นสีแดงอาจนึกถึงดอกกุหลาบสีแดงก็ได้
การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ ที่เน้น “การรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย” นั้นได้สรุปเป็นกฎ
การเรียนรู้ของ ทั้งกลุ่ม ออกเป็น 4 กฎ เรียกว่ากฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน (The Laws of Organization)
ดังนี้
1. กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pregnant)
2. กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
3. กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)
4. กฎแห่งการสิ้นสุด(Law of Closure)ทฤษฎีสนามของเลวิน

2. การหยั่งเห็น
วอล์ฟแกง โคห์เลอร์ เขาได้นําลิงตัวหนึ่ง ชื่อ สุลต่าน มาอดอาหารจนหิวจัด แล้ว
นําไปขังไว้ ในกรง แขวนกล้วยหวีหนึ่งไว้ในที่สูงในกรง ในระดับที่ลิง ไม่สามารถเอื้อมถึง แล้ว นํากล่องไม้ 3
กล่อง ไว้ในกรงด้วย กะว่าเมื่อนํากล่องไม้ 3 กล่อง มาตั้ง ต่อๆ กัน ลิงก็สามารถหยิบกล้วยได้

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


27
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ผลการทดลองปรากฏว่า
เมื่อลิงหิวจัด ก็หาวิธีที่จะหยิบกล้วยให้ได้ ในที่สุด ลิงก็มองเห็นกล่องไม้ ได้กล่าวไว้
ตอนต้นแล้วว่า โคห์เลอร์ ได้เน้นว่า “ การเรียนรู้เกิดจากการหยั่งเห็น (Insight) โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
ที่คล้ายคลึงกันมาแก้ปัญหาใหม่ที่ประสบ ”
การนําหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ ไปประยุกต์ใช้
1. ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง
2. เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน
3. การกําหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
4. คํานึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน
5. บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด

จิตวิทยาพัฒนาการ
เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุกวัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต
 ความหมายของ พัฒนาการ Development
สุชา จันทร์เอม = ลําดับของการเปลี่ยนแปลงหรือกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ทิพถ์พา เชษฐเชาวลิต = การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน
ศรีเรือน แก้วสังวาน = การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่อง

สรุปได้ว่า = พัฒนาการ เป็นกระบวนการพัฒนาของมนุษย์ในทุกๆด้านตั้งแต่


จุดเริ่มต้อง ของชีวิตจนกระทั่งวาระสุดท้าย
พัฒนาการ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบ คาดคะเนได้
การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงเห็นถึงการเพิ่มขึ้นด้านปริมาณ

 องค์ประกอบของการพัฒนา
1. วุฒิภาวะ Maturity
2. การเรียนรู้ Learning
 จุดมุ่งหมายของการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์
- เพื่อให้เกิดแรงจูงใจ เข้าใจลักษณะของพัฒนาการ
- มีส่วนช่วยในการแก้ไขและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น
- เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับความยากลําบากของพัฒนาการ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


28
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

 ความหมายของจิตวิทยาพัฒนาการ
คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความคิดและพฤติกรรมมนุษย์
 จิตวิทยาพัฒนาการมี 4 ด้าน
1. ด้านร่างกาย
2. ด้านสติปัญญา
3. ด้านอารมณ์
4. ด้านสังคม
 การแบ่งวัยระยะพัฒนาการ แบ่งตามอํายุได้ 8 ช่วงดังนี้
1. ระยะก่อนคลอด = เริ่มปฏิสนธิจนถึงคลอด
2. ระยะหลังคลอด
2.1 แรกเกิด , ทารก = คลอดถึง 2 ขวบ
2.2 เด็กตอนต้น = 2 - 6 ขวบ
2.3 เด็กตอนกลาง = ช (7-12) , ญ (6-10)
2.4 ย่างสู่วัยรุ่น = ช(13-15), ญ(12-13) 2.5 วัยรุ่น = ตอนต้น(14-17),
ตอนปลาย(17-20)
2.6 วัยผู้ใหญ่ตอนต้น = 18 – 40 ปี
2.7 วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง = 40 – 60 ปี
2.8 วัยชรา = มากกว่า 60 ปี

 ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการของ อิริคสัน
อธิบายถึงลักษณะการศึกษาไปข้างหน้า โดยเน้นถึงสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการ
พัฒนาบุคลิกภาพของคน เป็นการพัฒนาของ Ego มี 8 ขั้น ดังนี้
1. ระยะทารก 0 – 2 ขวบ = ขั้นไว้วางใจและไม่ไว้วางใจผู้อื่น
2. วัยเริ่มต้น 2 – 3 ขวบ = ขั้นมีอิสระกับความละอาย ความสงสัย เป็นตัวของตัวเอง หรือเรียก
ขั้นพลังจิต
3. ระยะก่อนไปโรงเรียน 3 – 6 ปี = ขั้นมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด, ขั้นมีความมุ่งประสงค์ (วัย
เด็กซุกซน)
4. ระยะเข้าโรงเรียน 6 – 12 ปี = ขั้นเอาการเอางาน ขั้นสมรรถภาพ กับความมีปมด้อย
5. ระยะวัยรุ่น 12 – 20 ปี = ขั้นเข้าใจอัตลักษณ์ของตนเอง และ ไม่เข้าใจตนเอง
6. ระยะต้นของวัยผู้ใหญ่ 20–40 ปี =ขั้นใกล้ชิดสนิทสนมกับความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว ขั้นความรัก
7. ระยะผู้ใหญ่ 40 – 60 ปี = การอนุเคราะห์เกื้อกูลกับการพะว้าพะวงตัวเอง ขั้นเอาใจใส่

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


29
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

8. ระยะสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป = มีความมั่นคงทางจิตใจกับความสิ้นหวัง, ขั้นบูรณาการ, วัยชรา

 ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจท์ ** ออกสอบบ่อย
เป็นการใช้ความสามารถในการใช้เหตุผลและตรรกวิทยา มีอยู่ 4 ขั้น
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว Sensorimotor แรกเกิด – 2 ขวบ = การรับรู้ด้วย
การเคลื่อนไหวและใช้ประสาทสัมผัส, พัฒนาการทางความคิดก่อนพูดได้
2. ขั้นก่อนปฏิบตั ิการคิด Preoperational วัย 2 – 7 ปี = ขั้นก่อนการคิดแบบมีเหตุผล,
ริเริ่มความเข้าใจ เป็นวัยก่อนเข้าโรงเรียนยังไม่สามารถใช้ปัญญาได้เต็มที่
3. ขั้นปฏิบัตกิ ารคิดด้านรูปธรรม Concrete วัย 7 – 11 ปี = ขั้นการคิดแบบมีเหตุผลเชิง
รูปธรรม มีการจัดหมวดหมู่
4. ขั้นปฏิบัตกิ ารคิดด้วยนามธรรม Formal วัย 11 – 15 ปี = ขั้นการคิดแบบมีเหตุผลเชิง
นามธรรม
 ทฤษฎีการจัดประเภททางปัญญาของบรูเนอร์ มี 3 แบบ
1. แบบใช้การปฏิบัติ Enactive = รับรู้ประสบการณ์ด้วยการกระทํา
2. แบบใช้ภาพความคิด Ikonic = เด็กจะเริ่มรับสิ่งแวดล้อมเข้ามาด้วยจินตภาพ
3. แบบสัญลักษณ์ Symbotic = อธิบายลักษณะของวัตถุด้วยภาษา
 ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดของโคล์เบิร์ก
เป็นการสร้างทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่ง เบิร์กศึกษาจากเพียเจท์แล้วพบว่ามนุษย์มี
พัฒนาการทางจริยธรรมหลายขั้นตอน เบิร์กเองได้แบ่งเป็น 3 ขั้น 6 ข้อย่อยดังนี้
1. ระดับก่อนกฎเกณฑ์ Pre – Conventional (2-10ปี) เด็กจะสนองตามเกณฑ์ภายนอก
มักเกี่ยวข้องกับร่างกาย
1.1 หลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ เพราะกลัวความเจ็บปวด
1.2 ยินยอมทาเพื่อให้ได้รางวัล ตลอดจนแลกเปลี่ยนผลประโยชน์
2. ระดับตามเกณฑ์ Conventional (10-16ปี) ยอมรับความมุ่งหวังของครอบครัว
พยายามปฏิบัติให้เหมาะสม
2.1 เกณฑ์เด็กดี คล้อยตามการชักจูง ทาตามความคาดหวังของสังคม
2.2 ยึดถือกฎระเบียบข้อบังคับของสังคม
3. ระดับเหนือเกณฑ์ Post – Conventional (16 ปี ขึ้นไป) ระดับการตัดสินขัดแย้ง
ด้านจริยธรรม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


30
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

3.1 การกระทําตามคามั่นสัญญา
3.2 ยินยอมทาตามเพื่อหลีกเลี่ยงการติเตียนตนเอง มีหลักการทางจริยธรรมสากล

***************************************************

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


31
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ข้อสอบจิตวิทยาการศึกษา
1. Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษาใด
ก. ภาษากรีก (Psyche + Logos) ข. ภาษาสเปน (Psycho + Logy)
ค. ภาษารัสเซีย (Psyche + Logos) ง. ภาษาบาลี (Psycho + Logy)
2. ในปัจจุบันความหมายของ จิตวิทยา หมายถึงข้อใด
ก. การศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องวิญญาณ
ข. วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ และสัตว์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ค. การศึกษาที่เกี่ยวความคิดของคนยุคโบราณ
ง. วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ต่างดาว
3. พฤติกรรม (Behavior) หมายถึงข้อใด
ก. การกระทําหรือกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์
ข. การกระทําหรือกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ โดยรู้ตัว
ค. การกระทําหรือกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ โดยไม่รู้ตัว
ง. การกระทําหรือกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
4. พฤติกรรม (Behavior) แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
ก. 1.พฤติกรรมภายใน (Behavior Overt), 2.พฤติกรรมภายนอก (Behavior Covert)
ข. 1.พฤติกรรมภายนอกจิตใจ (Behavior Overt), 2.พฤติกรรมภายในจิตใจ
(Behavior Covert)
ค. 1.พฤติกรรมภายในจิตใจ (Overt Behavior), 2.พฤติกรรมภายนอกจิตใจ
(Covert Behavior)
ง. 1.พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior), 2.พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior)
5. พฤติกรรมที่สังเกตได้วัดได้อย่างชัดเจน ตรงกับพฤติกรรมใด
ก. พฤติกรรมภายใน (Behavior Overt)
ข. พฤติกรรมภายนอกจิตใจ (Behavior Overt)
ค. พฤติกรรมภายในจิตใจ (Overt Behavior)
ง. พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior)

6. พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นหรือวัดได้โดยตรง ถ้าไม่แสดงออกไม่มีใครรู้ตรงกับพฤติกรรมใด
ก. พฤติกรรมภายใน (Behavior Overt)
ข. พฤติกรรมภายนอกจิตใจ (Behavior Overt)
ค. พฤติกรรมภายในจิตใจ (Overt Behavior)
ง. พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior)

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


32
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

7. ผู้ใดได้รับยกย่องให้เป็น บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง ในกลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism)


ก. วิลเฮล์ม วุ้นต์ ข. จอห์น ดิวอี้
ค. โฮเวิรด์ การ์ดเนอร์ ง. ซิกมันด์ ฟรอยด์
8. นักจิตวิทยากลุ่มหน้าที่ทางจิต (Functionalism) ผู้ที่ริเริ่มแนวคิดที่ว่า “วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็น
วิธีการ เรียนรู้” มีใครบ้าง
ก. วิลเลี่ยม เจมส์, จอห์น ดิวอี้ ข. วิลเฮล์ม วุ้นต์, โฮเวิรด์ การ์ดเนอร์
ค. โฮเวิรด์ การ์ดเนอร์, ซิกมันด์ ฟรอยด์ ง. วิลเฮล์ม วุ้นต์, ซิกมันด์ ฟรอยด์
9. ครูสมหมายจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้กับนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเอง เป็นการเรียนรู้ในแบบใด
ก. การเรียนรู้แบบร่วมมือ ข. การเรียนรู้แบบศูนย์กลาง
ค. การเรียนรู้แบบ Learning by doing ง. การเรียนรู้แบบ E-learning
10. ผู้นําคนสําคัญของนักจิตวิทยา กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) คือใคร
ก. วิลเลี่ยม เจมส์ ข. ซิกมันด์ ฟรอยด์
ค. โฮเวิรด์ การ์ดเนอร์ ง. วิลเฮล์ม วุ้นต์
11. อีโก้ (Ego) หมายถึงข้อใด
ก. เป็นมโนธรรมที่คอยเตือน Ego ว่าสิ่งนั้นผิดจงอย่าทํา
ข. เป็นส่วนประกอบ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
ค. เป็นส่วนที่ทําหน้าที่ควบคุมพฤติกรรม อันเกิดจากความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
ให้แสดงออกในทางที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับของสังคม
ง. เป็นตัวที่มีหน้าที่สร้างอุดมคติที่พึงปรารถนาของสังคมเป็นมโนธรรมที่คอยเตือน Ego
ว่าสิ่ง นั้นผิดจง อย่าทํา
12. ซุปเปอร์อีโก้ (SuperEgo) หมายถึงข้อใด
ก. ซุปเปอร์อีโก้ (SuperEgo) เป็นมโนธรรม ที่บอกถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
ข. ซุปเปอร์อีโก้ (SuperEgo) เป็นส่วนประกอบ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
ค. ซุปเปอร์อีโก้ (SuperEgo) เป็นส่วนที่ทําหน้าที่ควบคุมพฤติกรรม อันเกิดจากความต้องการ
พื้นฐานของมนุษย์ ให้แสดงออกในทางที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับของสังคม
ง. ซุปเปอร์อีโก้ (SuperEgo) เป็นตัวที่มีหน้าที่สร้างอุดมคติที่พึงปรารถนาของสังคมเป็นมโน
ธรรมที่คอยเตือน Ego ว่าสิ่งนั้นผิดจงอย่าทํา
13. แนวคิดที่ว่า “พฤติกรรมจะต้องมีสาเหตุมากระตุ้น” เป็นแนวคิดของกลุ่มนักจิตวิทยากลุ่มใด
ก. กลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism) ข. กลุ่มหน้าที่ทางจิต (Functionalism)
ค. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ง. กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


33
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

14. นักจิตวิทยากลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) เชื่อว่า


ก. มนุษย์ทุกคนวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการเรียนรู้
ข. มนุษย์ทุกคนพยายามปรับปรุงตัวเองให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทําได้ สิ่งที่เป็น
ประโยชน์ต่ออนาคตของผู้เรียนมากที่สุดก็คือ กรรมวิธีแสวงหาความรู้
ค. มนุษย์มีส่วนที่จะทําการควบคุมพฤติกรรม ของตนเองอันเกิดจากความต้องการพื้นฐาน
ให้แสดงออกในทางที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับของสังคม
ง. มนุษย์มีส่วนที่จะทําการควบคุมพฤติกรรม ที่สร้างอุดมคติที่พึงปรารถนาของสังคมเป็น
มโนธรรมที่คอยเตือน ว่าสิ่งนั้นผิดจงอย่าทํา
15. ผู้นําในกลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) คือนักจิตวิทยาคนใด
ก. จอห์น บี วัตสัน, วิลเฮล์ม วุ้นต์ ข. โรเจอร์ส, มาสโลว์
ค. มาสโลว์, วิลเฮล์ม วุ้นต์ ง. วิลเฮล์ม วุ้นต์, โรเจอร์ส
16. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory) เน้นในเรื่องใด
ก. เน้นกระบวนการทางปัญญา
ข. เน้นกระบวนการทางความคิด
ค. เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด
ง. เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดและวิทยาศาสตร์
17. การเรียนรู้ (Learning) มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
ก. การเปลี่ยนแปลงจิตใจ อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์
ข. การเปลี่ยนแปลงความคิด อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์
ค. การเปลี่ยนแปลงความรู้สึก อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์และการฝึกหัด
ง. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์และการฝึกหัด เป็นการ
เปลี่ยนที่ ถาวรหรือค่อนข้างถาวร
18. ข้อใดไม่ใช่กฎการเรียนรู้ที่สําคัญ 3 กฎ ของธอร์นไดค์ (Thorndike)
ก. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
ข. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
ค. กฎแห่งผล หรือกฎแห่งผลตอบสนอง (Law of Effect)
ง. กฎแห่งการเรียนรู้ (Law of learning )
19. ทฤษฎีเสริมแรงเป็นของนักจิตวิทยาผู้ใด
ก. ธอร์นไดค์ ข. สกินเนอร์
ค. โรเจอร์ส ง. โคลเลอร์
20. กฎการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ (Gestalt psychology) ตรงกับข้อใด
ก. การเรียนรู้ที่เน้นส่วนรวมไปหาส่วนย่อย
ข. การเรียนรู้ที่เน้นส่วนย่อยไปหาส่วนรวม
ค. การเรียนรู้ด้วยการเสริมแรง
ง. การเรียนรู้แบบโปรแกรม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


34
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

21. องค์ประกอบของพัฒนาการที่ว่า “ความเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะทํางาน


ตามหน้าที่” หมายถึงข้อใด
ก. ความเข้าใจ ข. การเรียนรู้
ค. วุฒิภาวะ ง. อารมณ์
22. ความแตกต่างของบุคคลเกิดจาก 2 สิ่ง คือ
ก. 1.การเรียนรู้, 2.วุฒิภาวะ ข. 1.พันธุกรรม, 2.สิ่งแวดล้อม
ค. 1.อารมณ์, 2.สติปัญญา ง. 1.หัวใจ, 2.สมอง
23. Sigmund Freud อยู่ในกลุ่มนักจิตวิทยาใด
ก. โครงสร้างจิต ข. หน้าที่จิต
ค จิตวิเคราะห์ ง. พฤติกรรมนิยม
24. การพัฒนาการ คือการเปลี่ยนแปลงที่มีผลมาจากข้อใด
ก. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ข. พันธุกรรมและวุฒิภาวะ
ค. พันธุกรรมและประสบการณ์ ง. วุฒิภาวะและประสบการณ์
25. จิตวิทยา คามความหมายใหม่ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องใด
ก. พฤติกรรม ข. วิญญาณ
ค. การเรียนรู้ ง. ถูกทุกข้อ
26. Law of effect เป็นหลักการของนักจิตวิทยาผู้ใด
ก. รุสโซ ข. ฟรอยด์
ค. ธอร์นไดค์ ง. สกินเนอร์
27. มนุษย์ทุกคนเกิดมาเปรียบเสมือนผ้าขาวเป็นแนวคิดของผู้ใด
ก. รุสโซ ข. เพียเจท์
ค. สกินเนอร์ ง. พาฟลอฟ
28. การเรียนรู้จากการทดลองของ พาฟลอฟ ใช้สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ทดลอง
ก. ลิง ข. หนูขาว
ค. สุนัข ง. แมว
29. การสอนแบบ Playway ผู้คิดค้นคือผู้ใด
ก. Proebel ข. Plato
ค. Rousseau ง. Ericson
30. ข้อใดเป็นพฤติกรรมแบบโมลาร์ (Molar Behavior)
ก. การนอน ข. การเต้นของหัวใจ
ค. การตัดสินใจ ง. การเปลี่ยนปลงของร่างกาย

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


35
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

31. ข้อใดกล่าวความหมายของพฤติกรรมได้ถูกต้อง
ก. การกระทําทุกอย่างของมนุษย์ที่กระทําไปโดยรู้ตัว
ข. การกระทําทุกอย่างของมนุษย์ที่กระทําไปโดยที่ไม่รู้ตัว
ค. การกระทําทุกอย่างของมนุษย์ที่กระทําไปโดยที่ผู้อื่นสังเกตได้
ง. การกระทําทุกอย่างของมนุษย์ที่กระทําไปโดยที่ผู้อื่นสังเกตได้ หรือไม่ก็ตาม
32. พฤติกรรมก้าวร้าวแสดงออกมา โดยไม่มีเหตุผลใด ๆ คือข้อใด
ก. id ข. Eqo
ค. Super eqo ง. ถูกทุกข้อ

33. ข้อใดเป็นความต้องการพื้นฐาน ขั้นต้นของมนุษย์ตามทฤษฏีของมาสโลว์


ก. ด้านความมั่นคงปลอยภัย ข. ด้านร่างกาย
ค. ด้านความรัก ง. ถูกทุกข้อ
34. การแบ่งการพัฒนาทางสติปัญญาของ เพียเจท์ (Piajet)ขั้นปฏิบัติโดยใช้นามธรรมได้อายุช่วงใด
ก. 4 - 7 ปี ข. 5 - 9 ปี
ค. 7 - 11 ปี ง. 11 - 17 ปี
35. ขั้นการพัฒนาบุคลิกภาพของคนมีความสุขอยู่ที่ทวารหนักคือข้อใด
ก. Oral staqe ข. Anal staqe
ค. Plalic staqe ง. Lantency staqe
36. ความต้องการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (Exteecn need)เป็นความต้องการของมนุษย์ขั้นที่เท่าใด
ก. ขั้นที่ 2 ข. ขั้นที่ 3
ค. ขั้นที่ 4 ง. ขั้นที่ 5
37. พฤติกรรมมนุษย์เกิดจากแรงขับ ทางเพศ เป็นแนวคิดกลุ่มใด
ก. โครงสร้างจิต ข. หน้าที่จิต
ค. จิตวิเคราะห์ ง. พฤติกรรมนิยม
38. "ยิ่งฝึกหัดทํามากๆ ยิ่งเกิดการเรียนรู้" ตรงกับทฤษฏีของใคร
ก. พาฟลอฟ ข. ฟรอยด์
ค. สกินเนอร์ ง. ธอร์นไดค์
39. เสียงกระดิ่ง จากการทุดลองของ พาฟลอฟ คือข้อใด
ก. UCS ข. CS
ค. UCR ง. CR
40. บิดาแห่งสติปัญญาคือผู้ใด
ก. บิเนต์ (Binet) ข. สเติร์น (Stern)
ค. จอห์น ดิวอี้ (Dewey) ง. เพียร์เจท์ (Piajet)

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


36
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

41. ผู้เรียนในวัยใด ครูควรสอนเรื่องเพศศึกษา


ก. ประถมศึกษาตอนต้น ข. ประถมศึกษาตอนปลาย
ค. มัธยมศึกษาตอนต้น ง. มัธยมศึกษาตอนปลาย
42. การเรียนรู้โดยวิธีการหยั่งเห็น เป็นแนวคิดของผู้ใด
ก. เกสตอลต์ ข. โคห์เลอร์
ค. พาฟลอฟ ง. สกินเนอร์
43. วัยรุ่นอายุช่วงใด
ก. 12 - 18 ปี ข. 12 - 20 ปี
ค. 13 - 18 ปี ง. 3 - 20 ปี
44. การสอนแบบนิรนัย (Deductive) คือข้อใด
ก. การสอนจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย
ข. การสอนจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม
ค. การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
ง. การสอนโดยวิธีการเรียนปนเล่น
45. การเรียนรู้จากการทดลองของ ธอร์นไดค์ ใช้สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ทดลอง
ก. ลิง ข. หนูขาว
ค. สุนัข ง. แมว
46. การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เป็นแนวคิดนักจิตวิทยาผู้ใด
ก. รุสโซ ข. ฟรอยด์
ค. ธอร์นไดค์ ง. สกินเนอร์
47. น้ําลายหลั่งจากเสียงกระดิ่ง จากการทุดลองของ พาฟลอฟ คือข้อใด
ก. UCS ข. CS
ค. UCR ง. CR
48. จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) อยู่ในกลุ่มนักจิตวิทยาใด
ก. โครงสร้างจิต ข. หน้าที่จิต
ข. จิตวิเคราะห์ ง. พฤติกรรมนิยม
49. Learning by doing เป็นแนวคิดนักจิตวิทยาใด
ก. Rogers ข. Maslow
ค. John Dewey ง. Freud
50. บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลองคือใคร
ก. สกินเนอร์ ข. วิลเลี่ยม วุ้นท์
ค. ฟาฟลอฟ ง. ธอร์นไดท์
51. ข้อใดกล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับกลุ่มเกสตัลท
ก. เรียนรู้จากส่วนรวมไปส่วนย่อย ข. เรียนรู้จากส่วนย่อยไปส่วนรวม
ค. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามใจตนเอง ง. กําหนดเนื้อหาและคํานึงถึงแรงจูงใ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


37
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

52. การแบ่งวัยการพัฒนาการวัยทารกอายุเท่าใด
ก. แรกเกิด - 7 เดือน ข. แรกเกิด - 1 ปี
ค. แรกเกิด - 2 ปี ง. แรกเกิด - 3 ปี
53. เด็กจะมีอารมณ์อ่อนไหวง่ายต่อการติเตียนและการเยาะเย้ยถากถาง ชอบการชมเชยและการยอมรับ
เป็น พฤติกรรมของผู้เรียนในวัยใด
ก. ประถมศึกษาตอนต้น ข. ประถมศึกษาตอนปลาย
ค. มัธยมศึกษาตอนต้น ง. มัธยมศึกษาตอนปลาย
54. จิตวิทยา คามความหมายเดิม เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องใด
ก. พฤติกรรม ข. วิญญาณ
ค. การเรียนรู้ ง. ถูกทุกข้อ
55. การเรียนรู้จากการทดลองของ วัตสัน ใช้สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ทดลอง
ก. ลิง ข. หนูขาว
ค. สุนัข ง. แมว
56. บทเรียนแบบโปรแกรม เป็นแนวคิดของนักจิตวิทยาผู้ใด
ก. รุสโซ ข. ฟรอยด์
ค. ธอร์นไดค์ ง. สกินเนอร์
57. ข้อใดเป็นการแสดงพฤติกรรมภายใน
ก. การนอน ข. การไหลเวียนของโลหิต
ค. การจินตนาการ ง. ถูกทั้งข้อ ข และ ค
58. วุฒิภาวะ หมายถึงอะไร
ก. กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ข. กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
ค. กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความเคร่งครัดระหว่างบุคคลจากสิ่งแวดล้อม
ง. กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความเคร่งครัดระหว่างบุคคลจากพฤติกรรม
59. เด็กจะรับรู้ส่วนรวมก่อนจึงรับรู้ส่วนน้อยอยู่ในการพัฒนาด้านสติปัญญาชั้นใด
ก. Sensorl motor staqe ข. Perperational staqe
ค. Concrete operations ง. Formal operating
60. ขั้นการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กหญิงหวงพ่อ หรือเด็กชายหวงแม่ อยู่ที่ข้อใด
ก. Oral staqe ข. Anal staqe
ค. Plalic staqe ง. Lantency staqe
61. น้ําลายหลั่งจากผงเนื้อ จากการทดลองของ พาฟลอฟ คือข้อใด
ก. UCS ข. CS
ค. UCR ง. CR

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


38
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

62. วัยอนุบาลอายุช่วงใด
ก. 2 - 3 ปี ข. 2 - 5 ปี
ค. 3 - 5 ปี ง. 3 - 6 ปี
63. ผงเนื้อ จากการทดลองของ พาฟลอฟ คือข้อใด
ก. UCS ข. CS
ค. UCR ง. CR
64. มนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุดเป็นแนวคิดผู้ใด
ก. Maslow ข. Skinner
ค. Pavlov ง. Watson
65. นักจิตวิทยาผู้ใดไม่อยู่ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ก. Watson ข. Pavlov
ค. Maslow ง. Skinner
66. ความรู้สึกพึงพอใจของวัยรุ่น จัดอยู่ในขั้นใดของขั้นพัฒนาบุคลิกภาพของฟรอยด์
ก. ขั้นทวาร ข. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น
ค. ขั้นแฝง ง. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย
67. เด็กที่ชอบเอาแต่ใจตัวเอง จัดอยู่ในกลไกในการป้องกันตัว ข้อใด
ก. การเก็บกด ข. การถดถอย
ค. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง ง. การแยกตัว
68. เด็กที่ถูกพ่อแม่บีบบังคับมากจนเกินไป จะทําให้เด็กเกิดกลไกในการป้องกันตัว ข้อใด
ก. การเก็บกด ข. การถดถอย
ค. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง ง. การแยกตัว
69. ถ้าแม่รักลูกอีกคนมากกว่า จะแสดงอาการที่แตกต่างกัน จัดอยู่ในกลไกการป้องกันตัว ข้อใด
ก. การเก็บกด ข. การถดถอย
ค. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง ง. การแยกตัว
70. ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวที่ทําให้เกิดพฤติกรรมแสดงออกมาให้เห็น
ก. อิด(id) ข. อีโก้(Ego)
ค. ซูเปอร์อีโก้(superego) ง. ถูกทุกข้อ
71. ขั้นแฝง ของขั้นพัฒนาบุคลิกภาพของฟรอยด์จัดอยู่ในช่วงวัยใดต่อไปนี้
ก. แรกเกิด ข. อนุบาล
ค. ประถมศึกษา ง. มัธยมตอนต้น

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


39
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

72. ในระหว่างที่ครูกําลังสอนอยู่นั้น ก็มีเสียงกริ่งดังขึ้นมานั้นก็หมายความว่าได้เวลาพักเที่ยงแล้ว


พฤติกรรมใด ต่อไปนี้ แสดงถึงการตอบสนองที่วางเงื่อนไข
ก. มานะ อยากให้ครูสอนต่อเนื่องจากยังไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียน
ข. แก้ว รู้สึกหิวในทันทีเมื่อได้ยินเสียงกริ่ง
ค. เมษา จะรอให้ครูสอนเสร็จก่อนแล้วค่อยออกไปกินข้าว
ง. มาลี ไม่รอช้าเมื่อครูออกไปแล้วรีบนอนทันทีเนื่องจากเมื่อคืนนอนดึก
73. เมื่อถึงเวลาที่ต้องไปเรียนหนังสือทุกคนต่างต้องตื่นเช้าไปโรงเรียน พฤติกรรมใด แสดงถึงการ
ตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข
ก. พลอย ลุกขึ้นไปอาบน้ําในทันทีเมื่อได้ยินเสียงนาฬิกาปลุก
ข. บอย ต้องให้แม่ปลุกทุกครั้งแล้วก็ไปอาบน้ําแต่งตัวด้วยตนเอง
ค. เจนนี่ ตื่นดูนาฬิกาแล้วลุกขึ้นไปอาบน้ําแต่งตัว
ง. อ้อย ตื่นเองทุกครั้งแล้วไปอาบน้ําโดยไม่ต้องมีใครมาปลุก
74. ในวันหยุดสุดสัปดาห์ แม่จะทําอาหารที่พิเศษให้รับประทานเป็นประจํา ทําให้ครอบครัวอยู่อย่าง
อบอุ่น เมื่อวันหนึ่งแม่ไม่ได้ทําอาหารอย่างเช่นสัปดาห์ที่ผ่านมา พฤติกรรมที่แสดงออกมาต่อไปนี้ จะมีการ
ตอบสนองอย่างไร
ก.พ่อ รีบมานั่งรอรับประทานอาหารฝีมือแม่
ข.มีมี่ ชวนแม่ไปซื้ออาหารที่ตนเองอยากทาน
ค.บอล นั่งเล่นเกมรอให้แม่ชวนไปทานอาหาร
ง.แม่ ไปซื้ออาหารที่ตลาดให้ทุกคนทานอย่างอร่อย
75. สุนัขจะน้ําลายไหลทุกครั้งเมื่อสั่นกระดิ่งและนําผงเนื้อมา ต่อมาเมื่อสั่นกระดิ่งอย่างเดียวน้ําลายจะ
ไหล สุนัขเกิดการเรียนรู้แบบใด
ก.เกิดการเรียนรู้ซ้ําๆ และความเคยชิน
ข.เกิดการวางเงื่อนไขที่ตอบสนอง
ค.เกิดจากการสัมผัสลิ้นกับผงเนื้อ
ง.เกิดการเรียนรู้ลองผิดลองถูก
76. อัมมี่เป็นเด็กชอบงอเเงอยู่ตลอดเวลาและมีเเม่มาให้ขนมทุกๆครั้ง อัมมี่ทําแบบนี้เป็นประจําต่อมาแม่
จับได้ว่าอัมมี่แกล้งทําเป็นงอเเงเพราะอยากได้ขนมแม่เลยหยุดการให้ขนม จากข้อความข้างต้นจัดอยู่ใน
กฎการเรียนรู้เเบบใด
ก. กฎแห่งการลดภาวะ ข. กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ
ค. กฎแห่งสรุปกฎเกณฑ์โดยทั่วไป ง. กฎแห่งความแตกต่าง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


40
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

77. สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขใหม่ (UCS) ที่ตรงข้ามกับสิ่งเร้าเก่า (UCS) เพื่อให้เกิดการตอบสนองที่ตรงข้าม


กับการตอบสนองเดิม เป็นการวางเงื่อนไขแบบใด
ก. การวางเงื่อนไขให้กลัว
ข. การวางเงื่อนไขกลับ
ค. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
ง. การวางเงื่อนไขแบบการตอบสนอง
78. ข้อใดคือแผนผังแสดงการวางเงื่อนไขกลับ
ก. กระต่าย (CS) (กลัว) ----> ขนม (UCS) ชอบ (CR)
ข. กระต่าย (CS) (เฉยๆ) ----> เสียงดัง (UCS) กลัว (CR)
ค. กระต่าย (CS) (กลัว) ----> เสียงดัง (UCS) (เฉยๆ)
ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูกต้อง
79. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการนําทฤษฎีของวัตสันมาประยุกต์ใช้
ก. การนําหลักการเพิ่มพฤติกรรมมาใช้
ข. การนําหลักการลดพฤติกรรมมาใช้
ค. การนํากฎความคล้ายคลึงกันไปใช้
ง. การนํากฎการจําแนกมาใช้
80. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสันที่ว่า พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถ
ควบคุมให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. เกิดขึ้นได้ เพราะโดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
ข. เกิดขึ้นได้ เพราะการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไป
อย่างสม่ําเสมอ
ค. เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากเด็กจะเอาอารมณ์
ของตนเป็นที่ตั้ง
ง. ก และ ข ถูกต้อง
81. การทดลองของสกินเนอร์โดยใช้หนูเป็นตัวทดลอง สถานการณ์ใดต่อไปนี้เป็นเงื่อนไขการกระทําที่
ถูกต้องที่สุด
ก คาน ข ได้ยินเสียงแกร็ก
ค อาหาร ง หิว
82. การทดลองของสกินเนอร์โดยใช้หนูเป็นตัวทดลอง ข้อใดต่อไปนี้เป็นการแสดงพฤติกรรมของหนู
หลังจากที่สกินเนอร์หยุดให้อาหารเมื่อมีการกดคาน
ก หนูจะกดคานเรื่อยๆจนกว่าจะได้อาหาร
ข หนูจะกดคานซ้ําหนึ่งครั้ง แล้ววิ่งวนอยู่ในบล๊อก
ค หนูจะกดคานซ้ํา 2-3 ครั้ง แล้วก็เลิกกด
ง หนูจะกดคานซ้ํา 4-5 ครั้ง แล้วก็เลิกกด

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


41
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

83. วีนาชอบช่วยแม่ทํางานบ้าน ทุกครั้งที่วีนาช่วยแม่ทํางานบ้าน วีนาจะถูกชมว่าเป็นเด็กขยันหมั่นเพียร


พฤติกรรมข้างต้นตรงกับข้อใดต่อไปนี้
ก การเสริมแรง ข การเสริมแรงทางลบ
ค การเสริมแรงทางบวก ง การเสริมแรงทุกครั้ง
84. ในขณะที่มายอกําลังเรียนอยู่ในชั้นเรียน มายอก็ได้ยินเสียงเครื่องจักรกําลังทํางานอยู่ พฤติกรรม
ข้างต้นตรงกับข้อใดต่อไปนี้
ก การเสริมแรงบางช่วงเวลาที่แน่นอน ข การเสริมแรงบวก
ค การเสริมแรงลบ ง การสเริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
85. ข้อใดต่อไปนี้คือการเสริมแรงบางช่วงเวลาที่แน่นอน
ก ครูมะลิจะมีการสอบเก็บคะแนนทุกๆสัปดาห์
ข ทุกๆครั้งที่นนท์เปิดคอมพิวเตอร์แล้วจะเห็นภาพ
ค หลังจากสอนเสร็จ ครูมานพทําการสุ่มถามนักเรียนตามช่วงเวลาที่ต้องการ
ง ทุกๆครั้งที่บอลเปิดฝ่าชี บอลจะรู้สึกหิวเมื่อได้เห็นกับข้าวที่แม่ทํา
86. ข้อใดต่างจากข้ออื่น
ก พ่อจะให้รางวัลแก่น้องเมย์ เมื่อน้องเมย์ตั้งใจเรียน
ข ทุกครั้งที่ฝนตก เจ้าของแพะจะไล่แพะให้ไปหลบฝนใต้หลังคา
ค เมื่อใดก็ตามที่แมวเลียขามินนี่ มินนี่จะรู้สึกเอ็นดูและอุ้มแมวมาโอบกอด
ง เจ้าของลิงจะให้อาหารลิงทุกครั้งเมื่อลิงทําตามคําสั่ง

87. น้องตุ๊กได้คะแนนวิชาภาษาไทยสูงเพราะน้องตุ๊กชอบคุณครูวิชาภาษาไทย น้องตุ๊กจัดอยู่ในกฎข้อใด


ของธอร์นไดค์
ก.กฎการฝึกหัด ข.กฎความพอใจ
ค.กฎความพร้อม ง.กฎการได้ใช้
88. น้องสาได้ประดิษฐ์แจกันจากขวดน้ําที่เหลือใช้ น้องสาทําซ้ําๆกันจนเกิดความชํานาญ น้องสาจัดอยู่
ในกฎข้อใดของธอร์นไดค์
ก.กฎการฝึกหัด ข.กฎความพอใจ
ค.กฎความพร้อม ง.กฎการได้ใช้
89.ซาร่าทบทวนบทเรียนในแต่ละวันที่ครูสอนและอ่านล่วงหน้าในเรื่องที่ครูยังไม่ได้สอน เธอจึงสอบได้ที่
1 ของห้องมาตลอด ซาร่าอยู่ในกฎข้อใดของธอร์นไดค์
ก.กฎแห่งความพร้อม ข.กฎของการฝึกหัด
ค.กฎแห่งความเป็นผล ง.กฎแห่งการไม่ใช่

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


42
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

90. บุคคลใดต่อไปนี้ปฏิบัติตนตรงตามกฎของธอร์นไดค์ถูกต้องที่สุด
ก. นัดจดทุกคําพูดของอาจารย์เพราะคิดว่าสิ่งที่อาจารย์พูดถูกต้องที่สุด
ข. จี๊ดนั่งสมาธิก่อนนําเสนองานในทุกๆครั้ง ทําให้เธอมีความมั่นใจและทําออกมาได้ดี
ค. นานาชอบไปโรงเรียนเพราะครูที่โรงเรียนใจดี
ง. ฟลุ๊คจะได้รับรางวัลจากพ่อทุกครั้งที่เขาสอบได้ที่ 1
91.ข้อใดเป็นแนวคิดของกลุ่มเกสตัลท์
ก. หนูปิ๋งอยากรู้ว่าถ้านําสีแดงไปผสมกับเหลืองจะเกิดเป็นสีอาไร จึงนําสีไปผสมกันจึงได้รู้ว่า
เมื่อผสมกันแล้วเกิดสีส้ม
ข. ครูณเดชสอนเด็กเกี่ยวกับดอกไม้เมื่อเด็กสามารถบอกได้แล้วว่า ดอกไม้ คืออาไร ครูณเดช
ก็สอนเกี่ยวกับชนิดดอกไม้ต่อ
ค. คุณแม่หนูฟ้าเห็น หนูฟ้ากําลังวาดรูป แม่หนูเขาไปชมหนูฟ้าทําให้หนูฟ้า มีความรู้สึกดีใจ
และอยากวาดรูปอีกอย่างมีความสุข
ง. ข้อ ก และ ค ถูก
92. ปิงเห็นสีแดงเขาจะนึกถึงเลือดเสมอ แต่บิวเห็นสีแดงเขาจะนึกถึงดอกชบาจากข้อความข้างต้นอยู่ใน
หลักการเรียนรู้ ในลักษณะใด
ก. การรับรู้ ข. การหยังเห็น
ค. การปรับเปลี่ยน ง. การดูดซัมประสบการณ์
93. ลิงชิมแปนซีถูกขังอยู่ในกรงพอเขาเห็นกล้วยอยู่นอกกรง มัน พยายามจะหยิบกล้วยแต่หยิบไม่ถึง เขา
พยายามอยู่หลายครั้ง มันเห็นไม้ มันเลยเอาไม้เขี่ยๆกล้วยจนกล้วยอยู่หน้าประตูของกรง มันเลยสามารถ
หยิบกล้วยได้ จากข้อความข้างต้นจัดอยู่ในหลักการเรียนรู้ในลักษณะใด
ก. การปรับเปลี่ยน ข. การหยั่งเห็น
ค. การรับรู้ ง. การเปลี่ยนแปลง
94. หนูนิดต้องการหยิบหนังสือการ์ตูนที่ชั้นวางหนังสือ แต่หนังสืออยู่บนชั้นวางที่สูง หนูนิดเอื้อมมือไม่ถึง
หนูนิดเลยแก้ปัญหาโดยการเอาเก้าอี้ เพื่อหยิบหนังสือการ์ตูน แต่หนูนิดก็ยังเอื้อมไม่ถึง หนูนิดเลยเอา
เก้าอี้อีกตัวทับซ้อนกัน หนูนิดสามารถหยิบหนังสือการ์ตูนได้ จากข้อความข้างต้นหนูนิด อยู่ในหลักการ
เรียนรู้ในลักษณะใด
ก. การรับรู้ ข. การหยั่งเห็น
ค. การปรับเปลี่ยน ง. การ ดูดซึมประสบการณ์
95. ครูมาลีสอนเด็กอนุบาลในเรื่องการแปรงฟันอย่างถูกวิธี โดยครูมาลีจะทําหน้าที่เป็นตัวอย่างให้เด็กดู
พร้อมบอกวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธี จากข้อความข้างต้นจัดอยู่ในกฎใด
ก. กฎแห่งความแน่นอนชัดเจน ข. กฎแห่งความคล้ายคลึง
ค. กฎแห่งความใกล้ชิด ง. กฎแห่งการสิ้นสุด

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


43
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

96. หนูพลอยมีกระเป๋าเป้หมีพู เมื่อแม่หนูเพลอยพาหนูพลอยไปเที่ยวสวนสนุก หนูพลอยเห็นคนถือ


กระเป๋าเป้ หมีพู หนูพลอยก็บอกว่าเป็นกระเป๋าเป้ของเขา จากข้อความข้างต้น หนูพลอยจัดอยู่ในกฎใด
ก. กฎแห่งความแน่นอนชัดเจน ข. กฎแห่งความคล้ายคลึง
ค. กฎแห่งความใกล้ชิด ง. กฎแห่งการสิ้นสุด
97. หนูแดงไปเที่ยวสวนสนุกกับทางโรงเรียน โดยทางโรงเรียนกําหนดให้ใส่เสื้อสีแดง หนูแดงเกิดหลงทาง
หนูแดงหันไปเห็นกลุ่มเพื่อนๆที่ใส่เสื้อแดงเหมือนเขา หนูแดงจึงรีบวิ่งไปหาเพื่อนๆ จากข้อความข้างต้น
หนูแดงจัดอยู่ในกฎใด
ก. กฎแห่งความแน่นอน หรือชัดเจน ข. กฎแห่งความคล้ายคลึง
ค. กฎแห่งความใกล้ชิด ง. กฎแห่งการสิ้นสุด
98. ข้อใดไม่ใช่การนําทฤษฎีของแบนดูรามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ก. ครูดาวจัดเวลาให้นักเรียนมีโอกาสแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบเพื่อจะได้รู้ว่านักเรียน
สามารถจะเลียนแบบได้หรือไม่
ข. ครูสมอให้แรงเสริมแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้ถูกต้อง
ค. ครูให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการลองผิดลองถูก
ง. ครูแป้งให้นักเรียนดูการ์ตูน ภาพยนตร์ เพื่อให้ดูตัวอย่างการกระทําที่หลากหลาย
99. อามาเป็นเภสัชกรหญิงที่ทําหน้าที่จ่ายยาให้ผู้ป่วยประจํา นายแพทย์สั่งยาให้ผู้ป่วยรายหนึ่ง
นายแพทย์เขียนชื่อยาเป็นอักษรย่อ แต่เภสัชกรหญิงก็สามารถแปลอักษรได้ว่า เป็นอะไร ยาอะไร เพราะมี
ความคุ้นเคยเป็นประจํา จากข้อความข้างต้นจัดอยู่ในกฎใด
ก. กฎแห่งความแน่นอน หรือชัดเจน ข. กฎแห่งความคล้ายคลึง
ค. กฎแห่งความใกล้ชิด ง. กฎแห่งการสิ้นสุด
100. แม่รู้ว่าฝ้ายกลัวกระต่าย แม่จึงให้ฝ้ายดูการ์ตูนที่ตัวการ์ตูนจับกระต่ายโดยไม่รู้สึกกลัว จากนั้นแม่จึง
เอากระต่ายใส่กรงให้ฝ้ายเล่น แรกๆฝ้ายก็ทําหน้าวิตก จากนั้นก็เริ่มเข้าใกล้กรงจนสุดท้ายฝ้ายจึงให้แม่
เปิดกรงแล้วเอากระต่ายมาอุ้ม จากข้อความข้างต้นนี้เป็นการทดลองของใคร
ก. บันดูราและร็อส ข. บันดูราและเมนลอฟ
ค. บันดูราและพาฟลอฟ ง. บันดูราและเกสตัน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


44
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

เฉลยข้อสอบจิตวิทยาการศึกษา
1 ตอบ ก. ภาษากรีก (Psyche + Logos)
2. ตอบ ข. วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ และสัตว์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. ตอบ ง. การกระทําหรือกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
4. ตอบ ง. 1.พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior), 2.พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior)
5. ตอบ ง. พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior)
6. ตอบ ง. พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior)
7. ตอบ ก. วิลเฮล์ม วุ้นต์
8. ตอบ ก. วิลเลี่ยม เจมส์, จอห์น ดิวอี้
9. ตอบ ค. การเรียนรู้แบบ Learning by doing
10. ตอบ ข. ซิกมันด์ ฟรอยด์
11. ตอบ ค. เป็นส่วนที่ทําหน้าที่ควบคุมพฤติกรรม อันเกิดจากความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ให้
แสดงออกในทางที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับของสังคม
12. ตอบ ง. ซุปเปอร์อีโก้ (SuperEgo) เป็นตัวที่มีหน้าที่สร้างอุดมคติที่พึงปรารถนาของสังคมเป็น
มโนธรรมที่คอยเตือน Ego ว่าสิ่งนั้นผิดจงอย่าทํา
13. ตอบ ง. กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
14. ตอบ ข. มนุษย์ทุกคนพยายามปรับปรุงตัวเองให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทําได้ สิ่งที่
เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของผู้เรียนมากที่สุดก็คือ กรรมวิธีแสวงหาความรู้
15. ตอบ ข. โรเจอร์ส, มาสโลว์
16 ตอบ ค. เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด
17. ตอบ ง. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์และการฝึกหัด เป็น
การเปลี่ยนที่ถาวรหรือค่อนข้างถาวร
18. ตอบ ง. กฎแห่งการเรียนรู้ (Law of learning )
19. ตอบ ข. สกินเนอร์
20. ตอบ ก. การเรียนรู้ที่เน้นส่วนรวมไปหาส่วนย่อย
21. ตอบ ค. วุฒิภาวะ
22. ตอบ ข. 1.พันธุกรรม, 2.สิ่งแวดล้อม
23 ตอบ ค จิตวิเคราะห์
24 ตอบ ก. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
25 ตอบ ก. พฤติกรรม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


45
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

26 ตอบ ค. ธอร์นไดค์
27 ตอบ ก. รุสโซ
28 ตอบ ค. สุนัข
29. ตอบ ก. Proebel
30. ตอบ ก. การนอน
31. ตอบ ง. การกระทําทุกอย่างของมนุษย์ที่กระทําไปโดยที่ผู้อื่นสังเกตได้ หรือไม่ก็ตาม
32. ตอบ ก. Id
33. ตอบ ข. ด้านร่างกาย
34. ตอบ ง. 11 - 17 ปี
35. ตอบ ก. Oral staqe
36. ตอบ ค. ขั้นที่ 4
37. ตอบ ค. จิตวิเคราะห์
38. ตอบ ง. ธอร์นไดค์
39. ตอบ ข. CS
40. ตอบ ก. บิเนต์ (Binet)
41. ตอบ ค. มัธยมศึกษาตอนต้น
42. ตอบ ข. โคห์เลอร์
43. ตอบ ข. 12 - 20 ปี
44. ตอบ ก. การสอนจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย
45. ตอบ ง. แมว
46. ตอบ ค. ธอร์นไดค์
47. ตอบ ง. CR
48. ตอบ ข. หน้าที่จิต
49. ตอบ ค. John Dewey
50. ตอบ ข. วิลเลี่ยม วุ้นท์
51. ตอบ ก. เรียนรู้จากส่วนรวมไปส่วนย่อย
52. ตอบ ค. แรกเกิด - 2 ปี
53. ตอบ ก. ประถมศึกษาตอนต้น
54. ตอบ ข. วิญญาณ
55. ตอบ ข. หนูขาว

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


46
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

56. ตอบ ง. สกินเนอร์


57. ตอบ ค. การจินตนาการ
58. ตอบ ก. กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
59. ตอบ ค. Concrete operations
60. ตอบ ค. Plalic staqe
61. ตอบ ค. UCR
62. ตอบ ง. 3 - 6 ปี
63. ตอบ ก. UCS
64. ตอบ ก. Maslow
65. ตอบ ค. Maslow
66. ตอบ ง. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย
67. ตอบ ข. การถดถอย
68. ตอบ ก. การเก็บกด
69. ตอบ ง. การแยกตัว
70. ตอบ ข. อีโก้(Ego)
71. ตอบ ค. ประถมศึกษา
72. ตอบ ข.แก้ว รู้สึกหิวในทันทีเมื่อได้ยินเสียงกริ่ง
73. ตอบ ค.เจนนี่ ตื่นดูนาฬิกาแล้วลุกขึ้นไปอาบน้ําแต่งตัว
74. ตอบ ก.พ่อ รีบมานั่งรอรับประทานอาหารฝีมือแม่
75. ตอบ ก.เกิดการเรียนรู้ซ้ําๆ และความเคยชิน
76. ตอบ ก. กฎแห่งการลดภาวะ
77. ตอบ ข. การวางเงื่อนไขกลับ
78. ตอบ ก. กระต่าย (CS) (กลัว) ----> ขนม (UCS) ชอบ (CR)
79. ตอบ ก. การนําหลักการเพิ่มพฤติกรรมมาใช้
80. ตอบ ง. ก และ ข ถูกต้อง
81. ตอบ ข ได้ยินเสียงแกร็ก
82. ตอบ ค หนูจะกดคานซ้ํา 2-3 ครั้ง แล้วก็เลิกกด
83. ตอบ ค การเสริมแรงทางบวก
84. ตอบ ค การเสริมแรงลบ
85. ตอบ ก ครูมะลิจะมีการสอบเก็บคะแนนทุกๆสัปดาห์
86. ตอบ ข ทุกครั้งที่ฝนตก เจ้าของแพะจะไล่แพะให้ไปหลบฝนใต้หลังคา
87. ตอบ ข.กฎความพอใจ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


47
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

88. ตอบ ง.กฎการได้ใช้


89. ตอบ ก.กฎแห่งความพร้อม
90. ตอบ ข. จี๊ดนั่งสมาธิก่อนนําเสนองานในทุกๆครั้ง ทําให้เธอมีความมั่นใจและทําออกมาได้ดี
91 ตอบ ข. ครูณเดชสอนเด็กเกี่ยวกับดอกไม้เมื่อเด็กสามารถบอกได้แล้วว่า ดอกไม้คืออะไร
ครูณเดชก็สอนเกี่ยวกับ ชนิดดอกไม้ต่อ
92. ตอบ ก. การรับรู้
93. ตอบ ค. การรับรู้
94. ตอบ ข. การหยั่งเห็น
95. ตอบ ก. กฎแห่งความแน่นอนชัดเจน
96. ตอบ ข. กฎแห่งความคล้ายคลึง
97. ตอบ ค. กฎแห่งความใกล้ชิด
98. ตอบ ค. ครูให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการลองผิดลองถูก
99. ตอบ ง. กฎแห่งการสิ้นสุด
100. ตอบ ข. บันดูราและเมนลอฟ

******************************************************

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


48
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

2. จิตวิทยาการแนะแนว

 ความหมายการแนะแนว
การแนะแนว Guidance หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จก และเข้าใจ
ตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนําตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ
ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนํา อาจกล่าวได้ว่า การแนะแนวเป็นการช่วยเหลือให้เขาสามารถช่วย
ตนเอง
 เป้าหมายของการแนะแนว
• ป้องกันปัญหา
• แก้ไขปัญหา
• ส่งเสริมและพัฒนา
 ประเภทของการแนะแนว
1. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance)
2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)
3. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance)

 บริการแนะแนว
1.บริการสํารวจนักเรียนเป็นรายบุคคล(Individual Inventory Service)
– บันทึกประวัตินักเรียนทุกคนไว้ในระเบียนสะสม
– บริการข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
– ทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน
– สํารวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน
2.บริการสนเทศ(Information Service)
- การจัดสอนให้ความรู้ต่าง ๆ ในคาบกิจกรรมแนะแนว
– การจัดป้ายนิเทศ
– การจัดทําเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน
– การจัดอภิปราย บรรยาย ให้ความรู้ในด้านการศึกษาอาชีพ และการปรับตัวในสังคม
– การจัดวันอาชีพ
– การจัดสัปดาห์แนะแนวทางศึกษาต่อ
3.บริการให้คําปรึกษา(Counseling Service ) **หัวใจของการแนะแนว
– ให้คําปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านส่วนตัว การเรียน และอาชีพ
– ศึกษาและหาทางช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


49
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

– เสนอแนะแนวทางปฏิบัติตน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ
• จุดมุ่งหมายของการให้คําปรึกษา
– ช่วยให้บุคคลมีความรู้สึกว่าตนเองไม่โดดเดี่ยวเมื่อเกิดปัญหา
– ช่วยทําให้บุคคลสามารถรู้จักและเข้าใจตนเองงได้อย่างถูกต้อง
– ช่วยให้บุคคลรู้จักใช้ความคิดใช้สติปัญญาที่มีทั้งหมดนําไปใช้ในการตัดสินใจ
– ช่วยให้บุคคลเกิดความกระจ่างขึ้นในใจ มองเห็นลู่ทางในการแก้ไขปัญหา
– ช่วยให้บุคคลเห็นถึงความสําคัญ และประโยชน์จากบริการแนะแนว
– ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้
4.บริการจัดวางตัวบุคคล(Placement Service)
• ประโยชน์ของการจัดวางตัวบุคคล มีดังนี้
– ช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนวิชาที่เหมาะสมตามความสามารถ
– ช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม ตามความสามารถของตนเอง
– ช่วยให้นักเรียนใช้เวลาว่างทํางานพิเศษตามทที่ตนถนัด
– ช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนมีโอกาสทํางานพิเศษที่ตนเองชอบนอกเวลาเรียน
– ช่วยให้นักเรียนได้เลือกอาชีพตามความถนัดของตนเอง
– ช่วยให้นักเรียนที่สําเร็จไปแล้วมีโอกาสได้รับผลสําเร็จ
– ช่วยให้นักเรียนได้รับการประคับประคอง ทําให้เด็กเกิดความมั่นใจ
– ช่วยให้นักเรียนดําเนินแผนการต่างๆ ที่วางแผนไว้

• บริการจัดวางตัวบุคคลมี 2 ประเภทคือ
1 การจัดวางภายในโรงเรียน
- ช่วยจัดวางตัวนักเรียนให้เลือกวิชาเรียนตามวามถนัด เช่น หลักสูตรมัธยมศึกษา 4-5-6 ซึ่ง
นักเรียนต้องเป็นผู้พิจารณาว่าตนเองจะสามารถ ศึกษาเล่าเรียนในวิชาที่ตนเองเลือกประสบความสําเร็จ
– ช่วยจัดวางตัวนักเรียนให้เรียนตรงตามหลักสูตร ต้องเลือกวิชาที่เป็นประโยชน์นักเรียนจะ
เป็นคนเลือก
– ช่วยจัดวางตัวนักเรียนให้เลือกกิจกรรมเสริมลักสูตรที่ดีและมีคุณค่า เป็นการเสริม
หลักสูตรทางด้านวิชาการให้มั่นคงยิ่งขึ้น
– ช่วยจัดวางตัวนักเรียนเข้าร่วมโครงการและจัดประสบการณ์ในการทํางาน เป็นการ
ช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ
2 การจัดวางตัวนักเรียนภายนอกโรงเรียน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


50
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

– เป็นการจัดวางตัวนักเรียนที่ออกไปทํางานนอกโรงเรียนในระหว่างวันหยุด โดยจัดส่งไปทํา
กับบริษัทหรือห้างร้านต่างๆ
– ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้แนวทางในการปฏิบัติงานที่แท้จริงและจะได้เป็นแนวทางในการ
เลือกอาชีพ การจัดวางตัวบุคคลทางด้านอาชีพ ควรให้บริการดังต่อไปนี้
– จักข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ
– ให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกอาชีพ
– ให้นักเรียนมีโอกาสฝึกฝน และรู้จักการงานทที่ตนเองคิดว่าจะไปประกอบอาชีพในอนาคต
5.บริการติดตามผล
- การสัมภาษณ์นักเรียนด้วยตนเอง เพื่อจะได้ทราบถึงผลของการช่วยเหลือว่าประสบ
ความสําเร็จหรือไม่เพียงใด
- การสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดนักเรียน เช่น เพื่อนนักเรียน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง บิดา
มารดา เพื่อทราบถึงผลของการบริการ
- การส่งแบบสอบถามไปยังนักเรียนที่จบการศึกษาไปแล้ว หรือนักเรียนในโรงเรียนกรอร
แบบสอบถาม เพื่อจะได้ทราบผลของการให้บริการ

 การแนะแนว
การแนะแนวเป็นวิชาการที่เกิดขึ้นใหม่ แม้จะมีอายเกือบหนึ่งร้อยปีแล้วก็ตาม แต่ถ้าเปรียบเทียบ
กับศาสตร์แขนงอื่นๆ กล่าวได้ว่าการแนะแนวมีอายุน้อยกว่าศาสตร์แขนงอื่นๆ ไม่ว่าวิชาการที่ศาสตร์บริสุทธิ์
เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ หรือ ศาสตร์ทางด้านสังคม เช่น ภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ หรือแม้แต่
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องพฤติกรรม ซึ่งได้แก่ จิตวิยา เป็นต้น
สําหรับในประเทศไทย วิชาการแนะแนว ยิ่งมีอายุน้อยมาก คือมีอายุประมาณ 53 ปี เท่านั้น โดย
เริ่มนําเข้าไปใช้ในโรงเรียนเป็นการทดลองครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2469 ที่โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา
แต่วิชาการแนะแนวก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นแขนงวิชา ที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาบุคคลและ
ประเทศชาติเป็นอย่างมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูง ที่มีปรัชญา จุดมุ่งหมาย กระบวนการ
จรรยาบรรณ และการวิจัยที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ และผู้ที่จะกอบอาชีพเป็นนักแนะแนว จําเป็นจะต้อง
ได้รับการฝึกฝน อบรมมาโดยเฉพาะ เป็นระยะเวลายาวนานพอสมควร จึงสามารถปฏิบัติ หน้าที่นักแนะแนว
ได้

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


51
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

 ที่มาของคําว่าการแนะแนว
การแนะแนว เป็นศัพท์บัญญัติทางการศึกษา ซึ่งบัญญัติมาจากคําว่า Guidance กับคําว่า
Counseling แต่ศัพท์ทั้งสองคํานี้มีความหมายแตกต่างกัน ดังนั้นปัจจุบันคําว่า Guidance จะแปลว่า การ
แนะแนว ส่วนคําว่า Counseling จะแปลว่าการให้คําปรึกษา
ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนวสามารถให้ความหมายได้ 3 นัย ด้วยกันคือ
1. ความหมายตามรูปศัพท์ การแนะแนว หมายถึง การชี้แนะ การชี้ช่องทางให้ การบอกแนวทางให้
เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาตัดสินใจได้ แต่มิใช่การแนะนํา ( Advise ) เพราะว่าการแนะนํานั้น ผู้ให้ความ
ช่วยเหลือจะทําหน้าที่เป็นผู้เลือก หรือทําหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้ ส่วนการแนะแนวนั้น ผู้ให้ความช่วยเหลือ
หรือนักแนะแนว ไม่ได้ทําหน้าที่เป็นผู้เลือกหรือทําหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้ แต่ทําหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูล
ต่างๆ แล้วให้ผู้ที่มปี ัญหาทําหน้าที่เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
2.ความหมายในแง่กระบวนการ(Process) การแนะแนว หมายถึง กระบวนการช่วยเหลือบุคคล ให้
เข้าใจตนเอง และโลกของตนเอง
จากความหมายของการแนะแนวในแง่กระบวนการนี้ มีสิ่งที่จะต้องพิจารณาอยู่ 4 ประเด็น คือ
ประการแรก กระบวนการ(Process) หมายถึง ปรากฏการซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ตลอดเวลา และคําว่ากระบวนการการแสดงให้รู้ว่า การแนะแนวมิใช่เหตุการณ์เดียวกัน แต่ที่เกี่ยวข้องกับชุด
ของการกระทําหรือลําดับขั้น ซึ่งก้าวหน้าไปเรื่อยๆสู่เป้าหมาย
ประการที่สอง การช่วยเหลือ( Helping) หมายถึง การช่วย อนุเคราะห์ การสงเคราะห์ การให้
ประโยชน์อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ ( Helping Occupations ) เป็นจํานวนมาก เช่น จิตแพทย์
นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ต่างมีวัตถุประสงค์สําคัญ อยู่ที่ การป้องกัน ( Prevention ) การซ่อมเสริม(
Remediation ) และการเยียวยาแก้ไข( Amelioration ) ความยุ่งยากและความยากลําบากของมนุษย์
ประการที่สาม บุคคล(Individuals ) หมายถึง นักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษา และยิ่งไปกว่านั้น การ
แนะแนวจัดว่าเป็นการช่วยเหลือที่จัดให้กับนักเรียนปกติ ซึ่งต้องการความช่วยเหลือ สําหรับพัฒนาการที่เป็น
ปกติ
ประการสุดท้าย การเข้าใจตนเองและโลกของตนเอง( Understand themselves and their
world ) หมายถึงการที่บุคคลรู้ว่าตนเองเป็นใคร รู้ถึงเอกลักษณ์ของตน

3. ความหมายในแง่บริการ (Servicc) การแนะแนวเป็นบริการอย่างหนึ่ง ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นมา


เพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เพื่อช่วยให้

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


52
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

นักเรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนได้เต็มที่ สามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด สามารถ


แก้ปัญหาต่างๆของตนได้อย่างเมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และสามารถดํารง
ตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จากความหมายการแนะแนวในแง่การบริการ มีสิ่งที่ต้องพิจารณา คือ ในการจัดโครงการแนะแนวขึ้น
ภายในโรงเรียนนั้น มีบริการต่างๆที่จะต้องจัดเพื่อให้บริการแก่นักเรียนอยู่หลายบริการ แต่พอจําแนกออกได้
เป็น 2 ประเภท คือ บริการหลัก และบริการเสริม
บริการหลัก จัดว่าเป็นบริการที่สําคัญของการจัดโครงการบริการแนะแนวในโรงเรียน ซึ่งเป็นบริการ
ที่จะขาดเสียไม่ได้ มี 5 บริการ คือ

1.บริการสํารวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)


- การเขียนระเบียนสะสม (ปพ.8)
- การเขียนอัตชีวประวัติ
- การสัมภาษณ์
- การทําข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
- การเยี่ยมบ้าน
2.บริการสนเทศ (Information Service)
- การทําสื่อประชาสัมพันธ์
- การจัดป้ายนิเทศ
3.บริการให้คําปรึกษา (Counseling Service ) **หัวใจของการแนะแนว
-การให้คําปรึกษาแบบเดี่ยว
- การให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม
4.บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)
- การจัดหาทุนการศึกษา
- การส่งเสริมศักยภาพนักเรียน
5.บริการติดตามผล
- การทํารายงานผลการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
ในการจัดโครงการบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน ถ้าจะให้บังเกิดผลดี มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
จะต้องจัดให้มีบริการทั้ง 5 บริการนี้อย่างครบถ้วน
บริการเสริม หมายถึง บริการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแนะแนวโดยตรง แต่เป็นบริการที่จะช่วยให้
โครงการแนะแนวของโรงเรียนได้ผลดีมากขึ้น ซึ่งได้แกบริการต่างๆ ต่อไปนี้
1. บริการจัดหาและให้ทุนการศึกษา
2. บริการอาหารกลางวัน ซึ่งในโรงเรียนที่เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จะมีงบสนับสนุน
อาหารกลางวัน แต่หากเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-6 จะไม่มีงบสนับสนุนอาหาร

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


53
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

กลางวันให้นักเรียน จึงอาจเป็นหน้าที่ของครูแนะแนว ในการจัดหางบสนับสนุนอาหารกลางวันให้นักเรียนที่


ขาดแคลน)
3. บริการสอนซ่อมเสริม
4. บริการสุขภาพ
5. บริการที่พัก
จะเห็นได้ว่าบริการต่างๆ ที่จัดเป็นบริการเสริมของโครงการบริการแนะแนวในโรงเรียนนั้น เป็น
บริการที่จะช่วยจัดการปัญหาต่างๆของนักเรียนได้มากสมควรที่โรงเรียนจะได้จัดให้มีขึ้นในโรงเรียนของตน
ควบคู่กับการจัดบริการแนะแนว เพราะจะช่วยให้ความช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเป็นไปอย่างได้ผลดีและ
สัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริง

 ความสําคัญของการแนะแนว
ปัจจุบันการแนะแนวได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษามากขึ้น เนื่องจากการแนะแนวมีจุดมุ่งหมายและ
หลักการที่สอดคล้องหรือเหมือนกันกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ การช่วยให้เยาวชนของชาติเป็นผู้ที่คิด
เป็น ทําเป็นและแก้ปัญหาเป็น โดยเน้นให้ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาในทุกๆ ด้าน มุ่งสนองความต้องการ
และความสนใจของผู้เรียน ดังจะเห็นได้จากหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 และ
หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ได้กําหนดให้มีกิจกรรมแนะแนวอย่างน้อย 1 คาบต่อ
สัปดาห์ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และยังได้กล่าวไว้ในหลักเกณฑ์การใช้
หลักสูตรว่า โรงเรียนต้องจัดให้มีบริการแนะแนวส่วนตัว แนะแนวการเรียนและการศึกษาต่อ เพื่อให้นักเรียน
นักสามารถเล่าเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้หลักสูตรยังได้ระบุอีกว่า กิจกรรมแนะแนวที่จัดขึ้นนี้ จะต้องครอบคลุมทั้ง 3 ด้านของ
การแนะแนว คือ การแนะแนวการศึกษา การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวบุคลิกภาพและการปรับตัว
โดยเฉพาะด้านพฤติกรรม

การที่วิชาการแนะแนวหรือจิตวิทยาการแนะแนว เข้ามามีบทบาทในการศึกษามากขึ้น เยาวชนเป็นผู้


ที่มีความสําคัญต่อประเทศชาติ และจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ซึ่งต้องรับผิดชอบประเทศชาติต่อไป จึง
สมควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและจิตใจ
เพื่อช่วยให้เยาวชนเหล่านั้นสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาได้อย่าง
มีความสุข และเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นที่พึงประสงค์ของประเทศชาติ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


54
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

 ความมุ่งหมายของการแนะแนว
ความมุ่งหมายของการแนะแนว สามารถจําแนกได้เป็น2ประเภทคือ
1.ความมุ่งหมายทั่วไป
2.ความมุ่งหมายเฉพาะ
ความมุ่งหมายทั่วไป หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวโดยส่วนรวม นั่นคือ การแนะแนว
ไม่ว่าจะจัด ณ สถานที่ใดก็ตาม ย่อมมีความมุ่งหมายทั่วไปเหมือนกัน หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน้าที่
ของการแนะแนวก็ได้ ซึ่งมี3ประการด้วยกัน

1.เพื่อป้องกันปัญหา (Prevention) การแนะแนวมุ่งจะป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดปัญหาหรือความ


ยุ่งยากในการดําเนินชีวิตของตนเพราะปัญหาและความยุ่งยากต่างๆ นั้นสามารถป้องกันได้และการปล่อยให้
นักเรียนเกิดปัญหาขึ้นแล้วค่อยตามแก้ไข ช่วยเหลือในภายหลังนั้นทําได้ยากและต้องใช้เวลานาน ในบางกรณี
อาจจะแก้ไขไม่ได้ อีกด้วย

2.เพื่อแก้ไขปัญหา (Curation) การแนะแนวมุ่งจะให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการแก้ไขปัญหา


ต่างๆที่เกิดขึ้นกับตน เพราะถ้าปล่อยให้นักเรียนประสบปัญหาโดยไม่ให้ความช่วยเหลือแล้ว นักเรียนย่อมจะ
ไม่สามารถดํารงตนอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขได้ และในบางครั้งอาจจะมีการปรับตัวที่ผิดๆ ทําให้เกิดปัญหา
เพิ่มมากยิ่งขึ้น

3.เพื่อส่งเสริมพัฒนา (Development) การแนะแนวมุ่งจะให้การส่งเสริมนักเรียนทุกคนให้เกิด


ความเจริญงอกงามมีพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างสมบูรณ์ เพื่อที่นักเรียนแต่ละคนจะได้รับการส่งเสริมและ
แสดงความสามารถในด้านต่างๆ ของตนออกมาอย่างเต็มที่โดยไม่ให้มีสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางความ
เจริญก้าวหน้าและพัฒนาการของนักเรียน

ความมุ่งหมายเฉพาะ หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวที่สถานศึกษาซึ่งจัดให้มีบริการ


แนะแนวเป็นผู้กําหนดขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาเป้าหมายหลักสูตร และสภาพสังคมของ
สถานศึกษานั้นๆ แต่อย่างไรก็ตามความมุ่งหมายเฉพาะของการแนะแนวสําหรับสถานศึกษาแต่ละแห่งก็
ย่อมจะมีความคล้ายคลึงกันไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น

1.เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้รู้จักตนเองอย่างแท้จริง (Self-Understanding) คือ การ


ช่วยให้นักเรียนรู้ถึงความต้องการความคิด ความสามารถ ความถนัด และข้อจํากัดต่างๆ ของตน อันจะเป็น
ประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษา อาชีพ และการดําเนินชีวิตของนักเรียน

2.เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักปรับตัว (Self-Adjustment) ให้เหมาะสมกับตนเองและ


สภาพแวดล้อม คือ การช่วยให้นักเรียนรู้จักวิธีปฏิบัติตนเพื่อจะดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและ
เป็นสุข

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


55
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

3.เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักนําตนเอง (Self-Direction) คือ การช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นใน


ตนเอง รู้จักใช้สติปัญญา ความสามารถของตน แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างฉลาด และเหมาะสม สามารถวาง
แผนการชีวิตในอนาคต และสามารถนาตนเอง ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักใช้วิจารณญาณคาดการณ์ล่วงหน้า สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น และรู้จัก


หลีกเลี่ยงและป้องกันสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นโดยกะทันหัน

5.เพื่อส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน เพราะการมีสัมพันธภาพที่ดี
จะช่วยให้การบริหารงานของโรงเรียนดําเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

6.เพื่อช่วยฝึกในเรื่องประชาธิปไตยให้แก่เยาวชนของชาติ เพราะการฝึกให้นักเรียนได้มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตนและมีการปฏิบัติจริง จะช่วยให้นักเรียนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มี
คุณภาพ

7.เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน อันจะเป็นประโยชน์


ต่อการส่งเสริมพัฒนานักเรียนในที่สุด

 ประเภทของการแนะแนว
การแนะแนวสามารถจําแนกได้หลายประเภทตามลักษณะของปัญหาที่นักเรียนต้องการความช่วยเหลือ
สามารถสรุปออกเป็น 3ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.การแนะแนวการศึกษา
2.การแนะแนวอาชีพ
3.การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม
1.การแนะแนวการศึกษา (Educational Guidance) หมายถึง กระบวนการให้ความ
ช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะ เช่น แนวทางในการศึกษาต่อ การเลือกโปรแกรม
การเรียน การลงทะเบียน หลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลของโรงเรียน การค้นคว้า เขียน
รายงาน การอ่านหนังสือ การเตรียมตัวสอบ การสร้างสมาธิในการเรียน การเข้าร่วมกิจ กรรมเสริมหลักสูตร
ฯลฯ
การให้บริการแนะแนวการศึกษา จะช่วยให้นักเรียนรู้จักเลือกและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมใน
เรื่องการศึกษาเล่าเรียนของตน ทั้งยังช่วยให้นักเรียนสามารถวางแผนการศึกษาต่อของตนได้อย่างถูกต้อง
จุดมุ่งหมายของการแนะแนวการศึกษา
1.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดผล
ประเมินผล ตลอดจนระเบียบ กฎเกณฑ์ต่างๆของโรงเรียนเพื่อที่นักเรียนจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


56
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

2.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รู้จัก และเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจ


เลือกแผนการเรียนได้อย่างถูกต้อง ตรงตามตามความเข้าใจ ความต้องการ ความถนัดและความสามารถ
3.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ข้อสนเทศทางการศึกษาต่อในด้านต่างๆ คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษา
วิธีการเข้าศึกษา จํานวนที่รับ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อ เป็นต้น
4.เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นได้อย่าง
เมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ความสามารถพิเศษของนักเรียนปรากฏเด่นชัดและได้รับการส่งเสริมพัฒนาอย่างเต็มที่
5. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ประสบความสําเร็จในการศึกษาตามแผนการเรียนของตน

2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance) หมายถึง กระบวนการให้ความ


ช่วยเหลือนักเรียนเกี่ยวกับการวางแผนและการตัดสินใจเลือกอาชีพ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบอาชีพที่
เหมาะสมกับความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และสภาพร่างกายของตน ดังนั้น การแนะแนวอาชีพจึง
เป็นการช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้ สภาพและลักษณะของงาน คุณสมบัติ
ที่จําเป็น การฝึกฝนอบรม รายได้ สวัสดิการ ความมั่นคงและความก้าวหน้า สิ่งแวดล้อม ข้อดีและข้อเสีย
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการแสวงหางาน การสมัครงาน การปรับตัวให้เข้ากับงานและการปฏิบัติตนให้มีความ
เจริญก้าวหน้าในการทํางาน
จุดมุ่งหมายของการแนะแนวอาชีพอย่างแท้จริง
1.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มองเห็นความสําคัญของอาชีพ
2.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ตระหนักถึงอิทธิพลของสิ่งต่างๆ เช่น ความถนัด ความสนใจ
บุคลิกภาพ ระดับสติปัญญา สภาพร่างกาย ที่มีความสําคัญต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพ
3.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น
4. เพื่อให้ข้อสนเทศแก่นักเรียนเกี่ยวกับอาชีพที่นักเรียนสนใจ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้มี
ความรู้ความเข้าใจในอาชีพนั้นลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
5.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รู้จักวิธีการแสวงหางาน วิธีการสมัครงาน วิธีการปรับตัวให้เข้ากับ
งาน และวิธีการปฏิบัติตนให้มีความเจริญก้าวหน้าในการทํางาน
6.เพื่อช่วยให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพที่สุจริตทุกอาชีพ
3. การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม (Personal and Social
Guidance) หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องที่นอกเหนือจากด้านการศึกษาและ
อาชีพ เป็นการช่วยให้นักเรียนได้เกิดความเข้าใจตนเองและสภาพแวดล้อม ทําให้สามารถมีชีวิตและปรับตัวได้
อย่างมีความสุข ดังนั้น การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม จึงเป็นการช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพกาย และสุขภาพจิต มารยาทสังคม การคบเพื่อนต่างเพศ และเพื่อนเพศเดียวกัน การ
ใช้เวลาว่าง บุคลิกภาพและการแต่งกายอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ มนุษย์สัมพันธ์ จริยธรรม และค่านิยม
การใช้จ่ายเงินศาสนาและความเชื่อ ฯลฯ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


57
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

จุดมุ่งหมายของการแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม
1.เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะและบุคลิกภาพที่เหมาะสมเป็นที่ชื่นชม
2.เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเอง ยอมรับความจริงเกี่ยวกับตนเอง และรู้จักปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
ของตนให้มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
3.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความเข้าใจผู้อื่น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการ
ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ทําให้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
4.เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองให้ดีอยู่เสมอ เพื่อจะได้
ไม่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการดําเนินชีวิตของตนเอง
5.เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นผู้มีเจตคติ ค่านิยม และจริยธรรมที่ถูกต้อง ไม่ประพฤติปฏิบัติตน
ไปในทางที่เสื่อมเสีย
6.เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์แก่
ตนเองอย่างแท้จริง

ปรัชญาการแนะแนว

ปรัชญา หมายถึง แนวความคิดหรือทัศนะความคิดซึ่งได้รับการพิจารณาไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่มี


คุณค่า มีประโยชน์ สมควรยึดถือเป็นหลักในการดําเนินงาน
ดังนั้นปรัชญาการแนะแนว หมายถึง แนะแนวความคิดหรือทัศนะความคิด ซึ่งได้รับการพิจารณา
ไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ สมควรยึดถือเป็นหลักในการดําเนินงานแนะแนว มี 7
ประการ
1.แนวความคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)** จัดว่าเป็น
แนวความคิดหลักของการแนะแนว เพราะเป้าหมายสูงสุดของการแนะแนว คือการส่งเสริมความแตกต่าง
ระหว่างยุคคล การช่วยให้บุคคลแต่ละคนได้มีความเจริญงอกงามและพัฒนาการอย่างมีบูรณาการสุดขีด
ความสามารถของตน
2.แนวความคิดเรื่องทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) ในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่า
มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงยิ่ง เพราะเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ไม่ว่าจะมีคุณค่ามากเพียงใดก็ตาม ล้วนเกิดจาก
การคิดค้นสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์ทั้งสิ้น ดังนั้น สถาบันต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะเป็น บ้าน โรงเรียน หน่วยงาน
ของรัฐบาล ตลอดจนหน่วยงานของเอกชน ควรจะได้ช่วยส่งเสริมพัฒนาเยาวชนของชาติ ให้มีความเจริญงอก

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


58
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

งามและมีพัฒนาการสูงขึ้นในทุกๆด้าน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสงวนไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์และเพื่อจะได้ใช้ทรัพยากร
มนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.แนวความคิดเรื่องความร่วมมือ(Cooperation) ไม่ใช่การบังคับ (Compulsion) ในทางการแนะแนวมี
ความคิดเห็นว่าการให้ความร่วมมือของการแนะแนว จะต้องเป็นไปในลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างผู้ให้
ความช่วยเหลือและผู้ให้ความร่วมช่วยเหลือและผู้รับความช่วยเหลือ จะไม่ใช้วิธีการบังคับและจะเน้นที่การ
ให้บุคคลผู้มีปัญญาได้ปลดปล่อยแรงจูงใจภายในของตนเองออกมา และการช่วยเหลือนี้จะต้องช่วยให้บุคคลผู้
มีปัญญาเป็นผู้ที่สามารถช่วยตัวเองได้ในที่สุด(Help him to help himself)
4.แนวความคิดเรื่องคุณค่า(Worth) และการให้เกียรติของบุคคล(Dignity) นั่นคือในทางการแนะแนวมี
ความคิดเห็นว่า มนุษย์ทุกคนเป็นผู้ที่มีคุณค่าและมีเกียรติเท่าเทียมกัน ไม่ควรได้รับการดูถูกเหยียดหยาม ไม่
ว่าเขาจะเป็นผู้มีปัญหาหรือไม่ก็ตาม และทุกคนก็มีสิทธิ์และมีอิสรภาพในการเลือกเป้าหมายชีวิตของคน
(Freedom to Choose)
5.แนวความคิดเรื่องพฤติกรรมย่อมมีสาเหตุ (Cause) และจุดมุ่งหมาย (Purpose) ในทางการแนะแนว
มีความคิดเห็นว่าพฤติกรรมทุกพฤติกรรมย่อมมีสาเหตุและมีจุดมุ่งหมาย ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรม
ที่ผิดปกติหรือเบี่ยงเบนไปของนักเรียน จึงมีความจําเป็นที่จะต้องศึกษาถึงสาเหตุแห่งความผิดนั้นเสียก่อน เมื่อ
ค้นพบสาเหตุแล้ว ย่อมจะสามารถให้ความช่วยเหลือได้ถูกจุดและทําได้ง่าย
6. แนวความคิดเรื่องพัฒนาการด้านส่วนตัว (Personal Development) นั่นคือในการแนะแนวมีความ
คิดเห็นว่า งานของการศึกษาเป็นการพัฒนามนุษย์ทางด้านสมองหรือสติปัญญาเท่านั้น แต่การเป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์จําเป็นจะต้องมีการพัฒนาการด้านส่วนตัวด้วย ซึ่งถือเป็นงานของการแนะแนวโดยเฉพาะ เป็นการ
ช่วยให้มนุษย์ได้รู้จักและเข้าใจตนเอง
7. แนวความคิดเรื่องการแนะแนวเป็นกระบวนการทางการศึกษาที่มีลําดับขั้นและต่อเนื่อง
(Continuous) นั่นคือ ในทางการแนะแนว มีความคิดเห็นว่า การแนะแนวมิได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้ง
เดียวหรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่ง แต่เป็นกระบวนการที่มีลําดับขั้นตอนและต่อเนื่อง ตั้งแต่
ระดับประถมศึกษาจนกระทั่งสําเร็จการศึกษาและก้าวเข้าสู่โลกของงาน

หลักการที่สําคัญของการแนะแนว

การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน ถ้าต้องการให้ได้ดีมีประสิทธิภาพ จําเป็นจะต้องปฏิบัติตาม


หลักการที่สําคัญดังต่อไปนี้
1. การจัดบริการแนะแนวโรงเรียนจะต้องมุ่งให้ความช่วยเหลือนักเรียนทุกคน เนื่องจากนักเรียน
ทุกคนย่อมต้องการความช่วยเหลือจากโรงเรียนของตน และเป็นการให้บริการด้วยความเสมอภาคเป็นธรรม
2. การบริการแนะแนว จะต้องกระทําอย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง คือ จัดอย่างเป็นระบบมี
ระเบียบแบบแผน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ทุกขั้นตอน จนกระทั่งบุคคลที่ได้รับความช่วยเหลือส

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


59
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

3. ผู้ทํางานแนะแนวจะต้องยอมรับในความเป็นเอกัตบุคคล(Individual) ของนักเรียน นั่นคือต้องมี


ความเข้าใจและยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individual Differences)
4.การแนะแนวเป็นงานที่วางอยู่บนพื้นฐานกระบวนการพฤติกรรมของบุคคล และเกี่ยวข้องกับ
พัฒนาการของมนุษย์ ดังนั้นการแนะแนวจึงจําเป็นต้องใช้เครื่องมือ และกลวิธีต่างๆ ทั้งๆที่เป็นแบบทดสอบ
และไม่ใช่แบบทดสอบ เพื่อจะได้เข้าใจบุคคลแต่ละคน และเพื่อช่วยให้บุคคลได้เข้าใจตนเองเพื่อจะได้สามารถ
ควบคุมพัฒนาการส่วนตัวของนักเรียนได้
5.ครูทํางานด้านการแนะแนวจะต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคลแต่ละคน นั่นคือจะต้อง
ยอมรับว่านักเรียนแต่ละคนมีอิสรภาพที่จะเลือกแนวทางชีวิตของตนเอง การเลือกและการตัดสินใจ
6.การแนะแนวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการศึกษา ดังนั้นการแนะแนว ควรจะสอดแทรกอยู่ใน
กระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคน ได้มีพัฒนาตนเองทุกด้าน
7. การแนะแนวที่มีประสิทธิภาพ ผู้ที่ทําหน้าที่เป็นนักแนะแนว(Counselor) จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับ
การศึกษาอบรมทางการแนะแนวมาโดยเฉพาะ มีทั้งความรู้ (Knowledge) และทักษะ(Skills)ที่เหมาะสม และ
มีการจัดดําเนินการแนะนําอย่างมีระบบ(Systematical Guidance)
8. ผู้ทํางานด้านการแนะแนว จะต้องเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความเป็นประชาธิปไตย เป็นผู้ที่
ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
9. การจัดบริการแนะแนวจะได้ผลดีมีประสิทธิภาพ จะต้องเกิดจากความร่วมมือ และความสมัคร
ใจ จากบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน และนักเรียนผู้มารับบริการ จะต้องมาด้วยความเต็มใจ ให้ความร่วมมือด้ว
10. ผู้ทํางานด้านการแนะแนวและต้องเป็นผู้ที่สามารถเก็บรักษาความลับได้ เพราะถ้าเป็นผู้ที่ไม่
สามารถเก็บรักษาความลับ ก็จะทําให้นักเรียนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย ทําให้ขาดความไว้วางใจ และยินดีที่
จะมารับความช่วยเหลือ

3. การจัดกิจกรรมแนะแนวในโรงเรียน

ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนดให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นอกเหนือจากการ
เรียนรู้ตามกลุ่มสาระ 8 กลุ่มสาระ ซึ่งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒความสามารถ
ของตนเองตามศักยภาพ การเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขกับกิจกรรม
ที่เลือกด้วยตนเองตามความถนัด และความสนใจอย่างแท้จริง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


60
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

แนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวในสถานศึกษา
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2554) ได้เสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนว
สถานศึกษาในระดับประถมศึกษาใน 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

การจัดบริการแนะแนวในสถานศึกษาทุกสถานศึกษาสามารถจัดบริการแนะแนวอย่างเป็นระบบ โดย
มีบริการ 5 บริการ และครอบคลุมขอบข่ายงานแนะแนวทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและ
สังคม ทั้งนี้จะต้องมีการกําหนดผู้รับผิดชอบอยู่ในโครงสร้างการบริหารของโรงเรียน และต้องมีโครงการ
แผนงาน งบประมาณที่แสดงถึงการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องทั้งปี โดยมีครูแนะแนวเป็นผู้นําในการดําเนินงาน
เช่น การเข้าค่าย โครงการต่าง ๆ นิทรรศการ การปฐมนิเทศ โฮมรูม ป้ายนิเทศ กิจกรรมหน้าเสาธง เป็น
ต้น

การดําเนินงานแนะแนวในสถานศึกษาต้องจัดให้ครอบคลุมขอบข่ายงานแนะแนวทั้ง 3 ด้าน ได้แก่


ด้านการศึกษา ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองในด้านการเรียนอย่างเต็มตามศักยภาพรู้จักแสวงหาและใช้
ข้อมูลประกอบการวางแผนการเรียนหรือการศึกษาต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีวิธีการ
เรียนรู้ และสามารถวางแผนการเรียนหรือการศึกษาต่อได้อย่างเหมาะสม
ด้านอาชีพ ให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองในทุกด้าน รู้และเข้าใจโลกของงานอาชีพอย่างหลากหลายมีเจต
คติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีการเตรียมตัวสู่อาชีพ สามารถวางแผนเพื่อประกอบอาชีพตามที่ตนเองมีความถนัด
และสนใจ
ด้านส่วนตัวและสังคม ให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง รักและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น รักษ์
สิ่งแวดล้อม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีเจตคติที่ดีต่อการมีชีวิตที่ดีมีคุณภาพ มีทักษะชีวิตและสามารถ
ปรับตัว ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
กระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว

ในการจัดกิจกรรมแนะแนว มีกระบวนการดังต่อไปนี้
1. สํารวจสภาพปัญหา ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เพื่อให้ใช้เป็นข้อมูลในการกําหนด
แนวทางและแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว
2. ศึกษาวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียนที่ได้จากการสํารวจ เพื่อทราบ
ปัญหา ความต้องการและความสนใจ นําไปกําหนดสาระและรายละเอียดของกิจกรรมแนะแนว
3. กําหนดสัดส่วนสาระของกิจกรรมในแต่ละด้าน ครอบคลุมด้านการศึกษา การงานและอาชีพ
ชีวิตและสังคม ให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม โดยยึดสภาพปัญหา ความต้องการและความสนใจ ตลอดจน
ธรรมชาติและผู้เรียนเป็นหลัก ทั้งนี้ ครูและผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดสาระของกิจกรรม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


61
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

4. กําหนดแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว เมื่อกําหนดสัดส่วนสาระของกิจกรรมในแต่ละด้านแล้วว่า
แต่ละภาคเรียนจึงต้องจัดกิจกรรมแนะแนวในสาระด้านใด จํานวนกี่ชั่วโมง ต่อมาจะต้องกําหนดรายละเอียด
ของแต่ละด้านไว้ให้ชัดเจนว่าควรมีเรื่องอะไรบ้าสง เพื่อจะได้จัดทําเป็นรายละเอียดในแต่ละกิจกรรมย่อย
ต่อไป
5. การจัดทํารายละเอียดของแต่ละกิจกรรม เริ่มตั้งแต่กําหนดชื่อกิจกรรม จุดประสงค์ เวลา
เนื้อหา/สาระ วิธีดําเนินกิจกรรม สื่อ/อุปกรณ์ และการประเมินผล
6. ปฏิบัติตามแผน วัดประเมินผล สรุปรายงาน

กิจกรรมการเรียนรู้ในคาบแนะแนว

1. เป็นกิจกรรมทีไ่ ม่ได้เน้นเนื้อหาวิชาและกระบวนการวัดผลการเรียนเหมือนการเรียน
การสอนในวิชาทั่วไป
2. เป็นการรวมกลุ่มของนักเรียนเพื่อทํากิจกรรมอันจะช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนาในด้านต่าง
ๆและสามารถแก้ปัญหาได้
3. ไม่มีหน่วยการเรียน
4. เป็นกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ค้นพบความถนัด ความสามารถ ความสนใจของตน
5. เป็นกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการการศึกษา การศึกษาต่อและอาชีพ
เพื่อวางแผนการศึกษาและเลือกอาชีพที่เหมาะสม สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตน
6. เป็นกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนพัฒนาบุคลิกภาพ การปรับตัว รู้จักตนเอง สิ่งแวดล้อมและ
สามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
7. เป็นกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่เป็นพื้นฐานเช่น ขยัน
ประหยัดซื่อสัตย์มีวินัย สะอาด รับผิดชอบ สามัคคี กตัญญู
8. เป็นกิจกรรมเพื่อเสริมให้นักเรียนมีความรู้และทักษะวิชาต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มีเจคติที่ดีต่อสัมมาชีพ มีนิสัยรักการทํางาน

ตัวชี้วัดความสําเร็จในการจัดกิจกรรมแนะแนว
ด้านผลผลิต
1.1 ผู้เรียนมีความรู้ ความสนใจ ความถนัด ความสามารถของตนเอง
1.2 ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่า ภูมิใจตนเอง และผู้อื่น
1.3 ผู้เรียนรู้จักแสวงหาข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองด้านการศึกษา การงานอาชีพ ชีวิต
และส่วนตัว

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


62
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

1.4 ผู้เรียนสามารถใช้ข้อมูลสารในเทศในการพัฒนาตนเองด้านการศึกษา การงานอาชีพ ชีวิต


และส่วนตัว
1.5 ผู้เรียนมีเป้าหมายชีวิต รู้จักวางแผนชีวิตด้านการศึกษา การงานและอาชีพได้อย่าง เหมาะสม
สอดคล้องกับศักยภาพของตนเองได้
1.6 ผู้เรียนสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาของตนเอง
1.7 ผู้เรียนรู้จักหลีกเลี่ยงจากอบายมุขทุกประเภทหรือสิ่งที่เป็นภัยต่อชีวิต
1.8 ผู้เรียนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
1.9 ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
1.10 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
2. ด้านกระบวนการ
2.1 มีการดําเนินการสํารวจข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียนและจัดทําข้อมูลอย่างเป็นระบบทันสมัย
2.2 มีการจัดโปรแกรมชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ
ต้องการ ความสนใจของผู้เรียน เช่น ชุดกิจกรรมรักและเห็นคุณค่าในตนเอง ชุดกิจกรรม สร้าง
ประสิทธิภาพการเรียน ชุดกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพ ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการดําเนิน
ชีวิต ชุดกิจกรรมพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์
2.3 มีการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมและเสนอแนะวิธีการจัดกิจกรรมที่จะ
ช่วยผู้เรียนสนุกสนาน แปลกใหม่และน่าสนใจ นําไปสู่การพัฒนาการด้านต่าง ๆ และสามารถแก้ไข
ปัญหาผู้เรียนได้
2.4 มีการให้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
2.5 มีการประสานสัมพันธ์กับผู้ปกครองอย่างสม่ําเสมอ ต่อเนื่องและหลากหลายรูปแบบ เน้นการ
ร่วมกันพัฒนาผู้เรียน
2.6 มีการจัดโครงการ/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างหลักหลายตามสภาพปัญหาและความต้องการของ
ผู้เรียน
2.7 มีการจัดกิจกรรมที่อาศัยกระบวนการกลุ่มทางจิตวิทยาและการแนะแนวในการพัฒนา
2.8 มีการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกเวลาเรียน ให้ครูและผู้เรียนได้คุ้นเคยใกล้ชิดกัน เช่น กิจกรรมวัน
พบครอบครัว เป็นต้น
3. ด้านปัจจัย
3.1 ผู้บริหารมีภาวะผู้นําและเห็นความสําคัญของการจัดกิจกรรมแนะแนว
3.2 ครูทุกคนตระหนักและเห็นความสําคัญของการจัดกิจกรรมแนะแนว และมีความรู้ความเข้าใจพื้
นฐานจิตวิทยาและการแนะแนว
3.3 ครูทุกคนมีบทบาทในการดําเนินการจัดกิจกรรมแนะแนว
3.4 ผู้ปกครองรับรู้และมีส่วนร่วมในการสนับสนุนในการจัดกิจกรรมแนะแนว
3.5 มีคณะทํางานที่รับผิดชอบการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยตรง
3.6 มีแผนการดําเนินการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


63
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

3.7 มีโครงการ/กิจกรรมแนะแนวที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ความสนใจของผู้


เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย และชุมชน
3.8 มีแนวปฏิบัติในการจัดกิจกรรมแนะแนว และมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง
3.9 มีเครื่องมือการรู้จักและเข้าใจผู้เรียนที่หลากหลาย ที่จะนําไปใช้กับผู้เรียน

บทบาทของบุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัตงิ านแนะแนว

 ผู้บริหารสถานศึกษา
ในฐานะผู้บริหารซึ่งเป็นผู้นําที่จะตัดสินใจและสั่งการเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานแนะแนว ผู้บริหารจึงมี
ความสําคัญสูงสุดต่อความสําเร็จของงาน ผู้บริหารจึงควรมีบทบาทความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ริเริ่มหรือสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการจัดบริการแนะแนวในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยการกําหนดนโยบาย แผนงาน โครงการให้ครอบคลุมงานทั้งหมดจัดบุคลากรที่เหมาะสม กําหนดบทบาท
ความรับผิดชอบทุกฝ่ายอย่างชัดเจน จัดหาปัจจัยจัดหาสภาพแวดล้อม สถานที่ อุปกรณ์ งบประมาณ ที่
เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และมีการติดตามกํากับดูแล เพื่อให้การดําเนินงาน แนะแนวเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพเป็นประโยชน์กับผู้เรียนทุกคน
2. เป็นผู้แก้ปัญหาและให้คําปรึกษาแก่บุคลากรในสถานศึกษา รวมทั้งผู้ปกครอง ทั้งนี้ผู้บริหารควร
มีความรู้และทักษะในการให้คําปรึกษาอย่างเพียงพอ
3. เป็นผู้อํานวยความสะดวกและกระตุ้น จูงใจ ให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน โดยมีการพัฒนาบุคลากร
อย่างต่อเนื่อง และมีการสร้างแรงจูงใจ ให้แรงเสริมสร้างขวัญและกําลังใจ ในการปฏิบัติงานแก่ทุกคนอย่าง
ทั่วถึง
4. เป็นแกนกลางในการประสานงานกับทุกฝ่าย

 ครูแนะแนว/ครูที่ได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ครูแนะแนว
1 เป็นผู้วางแผนและจัดทําโครงการแนะแนวให้ครบ 5 บริการและครอบคลุมขอบข่ายงานแนะ
แนวทั้ง 3 ด้าน เพื่อเสนอผู้บริหารตามนโยบายของสถานศึกษา โดยใช้ข้อมูลบริบทของผู้เรียน โรงเรียน และ
ชุมชน เพื่อวางแผนงานและโครงการสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้เรียน
2 เป็นผู้รับผิดชอบประสานการดําเนินงานและการติดตามประเมินผล การจัดบริการแนะแนว
ตามแผนงานและโครงการที่กําหนด
3 เป็นผู้จัดทํากรอบการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรสถานศึกษาและพัฒนาครูประจําชั้น/ครู
ผู้จัดกิจกรรมแนะแนวสามารถจัดกิจกรรมได้บรรลุเป้าหมาย
4 เป็นผู้ให้คําปรึกษาแก่ครู ผู้ปกครอง เพื่อดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหารับการส่งต่อจากครู
ประจําชั้น และส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหากปัญหานั้นเกินความสามารถของตน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


64
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

5 เป็นผู้จัดให้มีการพัฒนาครูและผู้เกี่ยวข้องในเรื่องที่เกี่ยวกับการแนะแนว

 ครูประจําชั้น
1 จัดบรรยากาศของชั้นเรียนทั้งด้านกายภาพและจิตใจให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2 การดูแลผู้เรียนตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3 การให้คําแนะนําปรึกษาและช่วยเหลือผู้เรียนในชั้นเรียน
4 ติดต่อประสานงานและสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง
5 ติดตามพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

 ผู้เรียน
1 ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมบริการแนะแนวต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2 เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรตามที่สถานศึกษากําหนด
3 ปฏิบัติกิจกรรมเพิ่มเติมตามที่ครูผู้จัดกิจกรรมมอบหมายทําให้เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์
4 มีส่วนร่วมในการป้องกัน พัฒนา และแก้ไขปัญหาของสถานศึกษา
5 ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นทั้งด้านการเรียน การแก้ไขปัญหา และการปรับตัว

 ผู้ปกครอง
1 ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ให้ความอบอุ่น และใช้วิธีการเลี้ยงดูบุตรหลานที่ถูกต้องคือ ไม่ปล่อย
ปละละเลย เข้มงวด หรือทะนุถนอมจนเกินไป จนบุตรหลานมีนิสัยไม่ดี ขาดความรับผิดชอบ
2 เป็นแบบอย่างที่ดีและสร้างสภาพแวดล้อม สร้างประสบการณ์ให้บุตรหลานได้สัมผัสกับตัวอย่าง
ที่ดี
3 ร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาบุตรหลาน โดยไม่ปัดความรับผิดชอบไปให้สถานศึกษาฝ่าย
เดียว รวมทั้งเสียสละ ช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาตามกําลังความสามารถ

 ผู้นําชุมชน
1 จัดสภาพแวดล้อมของชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน คือ ไม่มีตัวอย่างแห่งความเลวร้ายที่จะ
เป็นพิษภัยแก่ผู้เรียน โดยมีสถานที่และบรรยากาศที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในทางที่ดี
2 ช่วยสอดส่องดูแลผู้เรียนไม่ให้มั่วสุมทําพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
3 ช่วยพัฒนาสถานศึกษาและเป็นแหล่งเรียนรู้ในทุกด้านแก่สถานศึกษา

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


65
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ประโยชน์ของการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน

ในการจัดบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียนนั้นถ้าโรงเรียนสามารถให้บริการแก่นักเรียนได้อย่างได้ผลดีมี
ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้

1.ช่วยให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ทําให้สามารถปรับตัว อยู่ในสังคมได้เป็น


อย่างดีรู้จักเลือก และตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดและเหมาะสม สามารถแก้ปัญหาต่างๆที่ตนประสบได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ สามารถวางแผนการในชีวิตอนาคตของตนเอง และสามารถนําตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
ทั้งยังช่วยให้นักเรียนได้รับผลการส่งเสริมพัฒนา ให้เกิดความเจริญงอกงามทุกด้านอย่างมีบูรณาการ

2.ช่วยให้คณะครูได้รู้จักนักเรียนของตนแต่ละคนอย่างลึกซึ้ง ทําให้ยอมรับนักเรียนในฐานะเอกัต
บุคคลเข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างในด้านต่างๆ เช่น สติปัญญา สภาพร่างกาย ความถนัด ความ
สนใจค่านิยม ทําให้ทางโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆได้อย่างเหมาะสม และ
สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน และช่วยให้ปัญหาของโรงเรียนที่เกิดจากนักเรียนลดน้อยลงไปด้วย

3.ช่วยให้บิดามารดาและผู้ปกครองของนักเรียน รู้จักและเข้าใจเด็กของตนดีขึ้น ยอมรับสภาพ


ความเป็นจริงเกี่ยวกับบุตรหลานของตน ในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากบุคคลอื่นๆ และให้ความ
ร่วมมือกับทางโรงเรียนในการส่งเสริมพัฒนาบุตรหลานของตน

4. ช่วยให้สังคมและประเทศชาติได้รับประชากรที่มีคุณภาพ ไม่เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมและ
ช่วยเพิ่มพูนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเด็กได้เรียนและได้ประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความสามารถ
ความถนัด และความสนใจของตนเอง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


66
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ปัญหาของนักเรียนที่ควรได้รับการแนะแนว
ปัญหาต่างๆของนักเรียนที่เกิดขึ้นและสมควรได้รับการแนะแนวนั้นมีอยู่มากมายแต่พอจะจําแนก
ออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 8 ประเภทคือ
1. ปัญหาที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกายและสุขภาพ
1.1 ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
1.2 สุขภาพไม่แข็งแรง มีโรคประจําตัว
1.3 ขาดสารอาหาร อ้วนหรือผอมเกินไป
2. ปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนเช่น
2.1 ไม่ชอบครูบางคน เนื่องจากดุเกินไป หรือไม่ให้ความยุติธรรม
2.2 ไม่ชอบเรียนวิชาบางวิชา
2.3 ขาดนิสัยและทักษะในการเรียนที่จําเป็น เช่น การอ่านหนังสือ การค้นคว้า เขียน
รายงานการเตรียมตัวสอบ การทําตารางประจําวัน หรือต้องออกไปพูดหน้าชั้นเรียน
3. ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว
3.1มีความรู้สึกขัดแย้งกับบิดามารดาของตนเนื่องจากถูกบังคับมากเกินไป
3.2 มีความรู้สึกขาดความอบอุ่นเนื่องจากบิดามารดาไม่เอาใจใส่
3.3มีความรู้สึกขาดเพื่อนเนื่องจากเป็นลูกคนเดียว
3.4 มีงานต้องช่วยบิดามารดาทํามากเกินไป
3.5 ขาดความสามัคคีในหมู่พี่น้อง
3.6ไม่ได้รับความยุติธรรมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
4. ปัญหาด้านการเงินเช่น
4.1 ขาดผู้อุปการะส่งเสียให้เรียน
4.2 ต้องทํางานหารายได้ช่วยตนเอง เพื่อใช้เป็นทุนในการซื้ออุปกรณ์ในการศึกษา
4.3 ต้องการหารายได้ช่วยเหลือตนเอง
4.4 ต้องการรู้จักวิธีการใช้จ่ายเงินที่เหมาะสม
4.5 ต้องการให้ผู้ปกครองให้เงินเป็นก้อน เพื่อตนจะได้รับผิดชอบการใช้จ่ายเอง

5.ปัญหาเกี่ยวกับเพื่อนต่างเพศ
5.1 การปรับตัวด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ เช่น ความรัก การเกี้ยวพาราศี
5.2 การมีนัดกับเพื่อนผู้ชายที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่รู้จัก
5.3 บิดามารดาไม่อนุญาตให้ออกไปเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


67
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

6. ปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพและสังคม
6.1 ต้องการให้เป็นที่สนใจของคนทั่วไป
6.2 ต้องการเป็นคนที่มีกิริยามารยาทงาม
6.3 ต้องการให้เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น
6.4 เข้ากับคนอื่นไม่ได้
6.5 อารมณ์อ่อนไหว ใจน้อย โกรธง่าย
7. ปัญหาเกี่ยวกับการใช้เวลาว่าง
7.1 การทําตารางประจําวัน เช่น การวางแผนใช้เวลาในแต่ละวัน
7.2 การเล่นกีฬาและเกมต่างๆ
7.3การทํางานศิลปะและการฝีมือ
7.4 การสมาคมและการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
8. ปัญหาเกี่ยวกับอาชีพ
8.1 ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจเลือกเรียนต่ออะไรดี
8.2 ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจประกอบอาชีพอะไรดี
8.3 อยากเลือกเรียนอาชีพบางอย่างแต่ขาดทุนทรัพย์

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


68
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

การจัดกิจกรรมแนะแนวแต่ละวัย

การจัดกิจกรรมแนะแนว เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ เนื่องจากนักเรียนอยู่ในช่วงวัยรุ่นมี


พัฒนาการตามวัยของตน แต่ละคนมีความแตกต่างกันซึ่งพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของนักเรียนมีดังนี้
 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 (อายุ 12-15)
ลักษณะทางร่างกาย
- เด็กส่วนใหญ่เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะเด็กหญิงเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเด็กชาย ในวัยนี้
จึงมักมีปัญหาเรื่องการปรับตัว
- มีลักษณะเก้งก้าง ทาอะไรดูขัดตาไปหมดทั้งนี้ เพราะเด็กคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลง เรื่องรูปร่าง
หน้าตามากเกินไป
ลักษณะทางอารมณ์
- ค่อนข้างเจ้าอารมณ์และมีอารมณ์ไม่แน่นอน ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
และความสับสนในบทบาทของตนเองว่าเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่กันแน่
- จะขาดความมั่นใจในตนเอง และมักแสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น ทําเสียงดัง
แสดงความเป็นผู้นําหรือยึดความเห็นของตัวเองเป็นสําคัญ
- การแสดงอารมณ์โกรธเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กวัยนี้ ซึ่งจะมาจากความเครียดทางจิต และ
ความไม่สมดุลทางชีวภาพ
ลักษณะทางสังคม
- ต้องการอิสระและยอมปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มมากกว่าพ่อแม่หรือผู้ใหญ่
- เป็นวัยที่กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลอย่างยิ่ง จะไว้วางใจเพื่อนมากกว่าพ่อแม่
- เป็นวัยที่ขาดความมั่นใจ เด็กจึงมักทําอะไร คล้าย ๆ กับกลุ่ม เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ
การแสดงพฤติกรรมต่างๆ
- เด็กหญิงมีพัฒนาการทางสังคมเร็วกว่าเด็กชาย
ลักษณะทางสติปัญญา
- ช่วงความสนใจของเด็กวัยนี้นานขึ้น สามารถทํากิจกรรมที่ยาก ๆ ได้
- สามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องศีลธรรม จรรยาต่างๆ
 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4- 6 (16 – 18 ปี)
ลักษณะทางร่างกาย
- มีความเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่และสนใจในร่างกายของตนเอง จะหมกมุ่นอยู่กับการแต่งตัว

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


69
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

- สุขภาพของเด็กโดยทั่วไปจะสมบูรณ์เต็มที่ เริ่มมีพัฒนาการทางเพศ ต่อมต่างๆ เจริญเติบโต


ลักษณะทางอารมณ์
- ต้องการความอิสระมากขึ้น จึงมีปัญหาขัดแย้งกับพ่อแม่อยู่เสมอ ทําให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย
- จะมีการแสดงออกที่แข็งกร้าว ซึ่งเป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่
- เป็นวัยเพ้อฝัน โดยเฉพาะเรื่องอนาคต
ลักษณะทางสังคม
- มีลักษณะชอบทําตามกลุ่มมีการขัดแย้งกับผู้ใหญ่มากขึ้น มีความนิยมหรือคลั่งไคล้อะไรเหมือนๆ
กัน ซึ่งบางครั้งอาจมากเกินไป
- เด็กผู้หญิงมีความก้าวหน้าในด้านสังคม มากกว่าเด็กผู้ชายในวัยเดียวกัน เริ่มมีความสนใจเพศ
ตรงข้าม มีความคิดเรื่องการมีนัดและการแต่งงาน
ลักษณะทางสติปัญญา
- พัฒนาการทางสมองสูงเกือบเท่าผู้ใหญ่เพียงแต่ขาดประสบการณ์
- เป็นวัยที่คํานึงถึงการมี “ ปรัชญาชีวิต ” โดยมุ่งเกี่ยวกับศีลธรรม จรรยา ศาสนา

แนวทางการประเมินผลการจัดกิจกรรม
แนะแนวการประเมินผลการจัดกิจกรรมแนะแนว ครูผู้จัดกิจกรรม ผู้เรียน และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการ
ประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยครูผู้จัดกิจกรรมวางแผนในการประเมินผลด้วยการกําหนดรายการประเมิน
ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และมีเกณฑ์คุณภาพที่ชัดเจน ครูผู้จัดกิจกรรมตรวจสอบเวลาการ
ร่วมกิจกรรมการปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมแนะแนว 3
ข้อ ตัดสินผลการเรียนเป็น “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน
ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงาน/ชิ้นงาน/
คุณลักษณะตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด
ไม่ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ครบตามเกณฑ์ ไม่ผ่านการปฏิบัติกิจกรรม
หรือมีผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


70
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

4. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ กระบวนการดําเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ


มีขั้นตอนชัดเจน พร้อมทั้งมีวิธีการและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และมีหลักฐานการทํางานที่ตรวจสอบ
ได้โดยมีครูประจําชั้น/ครูที่ปรึกษา เป็นบุคลากรหลักในการดําเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และนอกสถานศึกษา ได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร และ
ครูทุกคน

กระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2. การคัดกรองนักเรียน
3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
4. การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน
5. การส่งต่อ

 1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
ด้วยความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนที่มีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกัน หล่อ
หลอมให้เกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นการรู้จักข้อมูลที่จําเป็นเกี่ยวกับตัว
นักเรียนจึงเป็นสิ่งสําคัญ ที่จะช่วยให้ครูที่ปรึกษามีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น สามารถนําข้อมูลมาวิเคราะห์
เพื่อการคัดกรอง นักเรียน เป็นประโยชน์ในการส่งเสริม การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูก
ทาง ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์

 2. การคัดกรองนักเรียน
การคัดกรองนักเรียน เป็นการพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวนักเรียน เพื่อการจัดกลุ่มนักเรียน อาจ
นิยามกลุ่ม ได้ 4 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มปกติ คือ นักเรียนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ตามเกณฑ์การคัดกรองของ
โรงเรียนแล้ว อยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มปกติซึ่งควรได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและการส่งเสริมพัฒนา

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


71
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

2 กลุ่มเสี่ยง คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มเสี่ยงตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน


ซึ่งโรงเรียนต้องให้การป้องกันหรือแก้ไขปัญหาตามแต่กรณี
3 กลุ่มมีปัญหา คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มมีปัญหาตามเกณฑ์การคัดกรองของ
โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนต้องช่วยเหลือและแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน
4. กลุ่มพิเศษ คือ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ มีความเป็นอัจฉริยะ แสดงออกซึ่ง
ความสามารถอันโดดเด่น ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน อย่างเป็นที่ประจักษ์เมื่อเทียบกับผู้มีอายุในระดับ
เดียวกันภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน ซึ่งโรงเรียนต้องให้การส่งเสริมนักเรียนได้พัฒนาศักยภาพ
ความสามารถพิเศษนั้นจนถึงขั้นสูงสุด
การจัดกลุ่มนักเรียนนี้ มีประโยชน์ต่อครูที่ปรึกษาในการหาวิธีการเพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่าง
ถูกต้อง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับปัญหาของนักเรียนยิ่งขึ้น และมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา
เพราะมีข้อมูลของนักเรียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งหากครูที่ปรึกษาไม่ได้คัดกรองนักเรียนเพื่อการจัดกลุ่มแล้ว ความ
ชัดเจนในเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาของนักเรียนจะมีน้อยลง มีผลต่อความรวดเร็วในการช่วยเหลือ

 3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูควรให้ความเอาใจใส่กับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่สําหรับ
นักเรียน กลุ่มเสี่ยง/มีปัญหานั้น จําเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและหาวิธีการ
ช่วยเหลือทั้งการป้องกันและการแก้ไขปัญหา โดยไม่ปล่อยปละละเลยนักเรียนจนกลายเป็นปัญหาของสังคม
การสร้างภูมิคุ้มกัน การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน จึงเป็นภาระงานที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าอย่างมาก
ในการพัฒนาให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป
การป้องกันและการแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนนั้นมีหลายเทคนิค วิธีการ แต่สิ่งที่ครูประจําชั้น/ครูที่
ปรึกษา จําเป็นต้องดําเนินการมีอย่างน้อย 2 ประการ คือ
1. การให้คําปรึกษาเบื้องต้น
2. การจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
3. การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียน

 4.การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน เป็นการสนับสนุนให้นักเรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็น


นักเรียนกลุ่มปกติหรือกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา กลุ่มความสามารถพิเศษ ให้มีคุณภาพมากขึ้น ได้พัฒนาเต็มศักยภาพ
มีความภาคภูมิใจในตนเองในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติและกลุ่มพิเศษ
กลายเป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา และเป็นการช่วยให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหากลับมาเป็นนักเรียนกลุ่ม
ปกติและมีคุณภาพตามมาตรฐานที่โรงเรียนหรือชุมชนคาดหวังต่อไป

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


72
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

การส่งเสริมพัฒนานักเรียนมีหลายวิธีที่โรงเรียนสามารถพิจารณาดําเนินการได้ แต่มกี ิจกรรมหลัก


สําคัญที่โรงเรียนต้องดําเนินการ คือ
1. การจัดกิจกรรมโฮมรูม
2. การเยี่ยมบ้าน
3. การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting)
4. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดํารงชีวิตและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 5. การส่งต่อ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนโดยครูที่ปรึกษา อาจมีกรณีที่บาง


ปัญหามีความยกต่อการช่วยเหลือ หรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้นก็ควรดําเนินการส่งต่อไปยัง
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป เพื่อให้ปัญหาของนักเรียนได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกทางและรวดเร็วขึ้น ซึ่ง
ครูประจําชั้น/ครูที่ปรึกษา สามารถดําเนินการได้ตั้งแต่กระบวนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล หรือการคัด
กรองนักเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาของนักเรียนในแต่ละกรณี
การส่งต่อแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. การส่งต่อภายใน ครูที่ปรึกษาส่งต่อไปยังครูที่สามารถให้การช่วยเหลือนักเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับลักษณะ ปัญหา เช่น ส่งต่อครูแนะแนว ครูพยาบาล ครูประจําวิชา หรือฝ่ายปกครอง
2. การส่งต่อภายนอก ครูแนะแนวหรือฝ่ายปกครองเป็นผู้ดําเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ
ภายนอก หากพิจารณาเห็นว่าเป็นกรณีปัญหาที่มีความยากเกินกว่าศักยภาพของโรงเรียนจะดูแลช่วยเหลือได้

5.เทคนิคการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการแนะแนว
การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง การที่ครูหรือผู้แนะแนวเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน
ในทุกๆ ด้านได้อย่างละเอียดและเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อครูและผู้แนะแนวจะได้รู้จักและเข้าใจนักเรียน รวมทั้ง
เป็นข้อมูลที่จะสะท้อนให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
รายละเอียดที่ควรศึกษาและเก็บรวบรวม
1. ข้อมูลส่วนตัวและภูมิหลังเกี่ยวกับครอบครัวของนักเรียน
2. ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของเด็กทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติในโรงเรียนหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4. ข้อมูลเกี่ยวกับความถนัด ความสนใจ เจคติ และค่านิยมต่างๆ
5. ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทํางานและกิจการต่างๆ ภายนอกโรงเรียน
สามารถจําแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


73
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

1.เทคนิคและอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ลักษณะแบบทดสอบ (Non-Test Techniques)


1.1 การสังเกต (Observation)
1.2 แบบสอบถาม (Questionnaire)
1.3 อัตชีวประวัติ (Autobiography)
1.4 ระเบียนพฤติการณ์ (Anecdotal Recording)
1.5 ระเบียนสะสม (Cumulative Record)
1.6 สังคมมิติ (Sociometry)
1.8 การเยี่ยมบ้าน (Home Visitation)
1.9 การสัมภาษณ์ (Interview)
1.10 การศึกษารายกรณี (Case Study)
2.เทคนิคและเครื่องมือที่เป็นแบบทดสอบ (Test Techniques
2.1 แบบทดสอบสติปัญญา (Intelligence Test)
2.2 แบบทดสอบความถนัด (Aptitude Test)
2.3 แบบทดสอบความสนใจ หรือแบบสํารวจความสนใจ (Interest Tests

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


74
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

แนวข้อสอบจิตวิทยาการแนะแนว
1. ข้อใดเป็นวิธีการของบริการติดตามและประเมินผล
ก. ระเบียนสะสม ข. ปัจฉิมนิเทศ
ค. ให้คําปรึกษา ง. จดหมายติดต่อ
2. เป้าหมายของการแนะแนวคือข้อใด
ก. เด็กเข้าใจปัญหาของตนทุกด้าน
ข. เด็กสามารถอยู่ในสังคมได้
ค. เด็กสามารถเลือกอาชีพได้
ง. เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างดีทุกด้าน
3. ความสําเร็จของการแนะแนวในสถานศึกษาต้องอาศัยข้อใด
ก. นักเรียน ข. ครูประจําชั้น
ค. ผู้บริหารสถานศึกษา ง. ทุกๆฝ่ายร่วมกัน
4. ข้อใดไม่ใช่ปรัชญาของการแนะแนว
ก. คนย่อมมีปัญหา ข. คนแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ค. คนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ง. คนอยู่ในสังคมได้ตามความพอใจ
5. หัวใจของการแนะแนวคือข้อใด
ก. การบริการให้คําปรึกษา ข. การบริการข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก
ค. การบริการจัดวางตัวบุคคล ง. การบริการสารสนเทศ
6. การจัดหาทุนการศึกษาให้เด็กเป็นการบริการด้านใด
ก. จัดวางตัวบุคคล ข. การให้คําปรึกษา
ค. การให้บริการสารสนเทศ ง. การติดตามและประเมินผล
7. ข้อใดไม่ใช่หลักของการแนะแนว
ก. จัดให้เด็กทุกคน ข. ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
ค. จัดให้เด็กที่มีปัญหา ง. จัดบริการอย่างต่อเนื่อง
8. ข้อใดไม่ใช่บริการสารสนเทศ
ก. จัดปฐมนิเทศ ข. การใช้แบบสํารวจ
ค. การจัดนิทรรศการ ง. การจัดทัศนศึกษา
9. การแนะแนวตามลักษณะของงานควรเน้นงานของฝ่ายใด
ก. ฝ่ายบริหาร ข. ฝ่ายวิชาการ
ค. ฝ่ายกิจการ ง. ฝ่ายกิจกรรม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


75
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

10. ข้อใดเป็นความหมายของการแนะแนว
ก. การช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ดีขึ้น
ข. การช่วยให้นักเรียนรู้จักช่วยตนเอง ปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
ค. การช่วยให้นักเรียนรู้จักผ่อนคลายอารมณ์
ง. การแก้ไขปัญหาทุกอย่างให้นักเรียน
11. ข้อใดคือความหมายของคําว่า “จิตวิทยาแนะแนว”
ก. เป็นการนําจิตวิทยาเข้ามาใช้เพื่อการแนะแนว เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักรักคนรอบข้าง
ข. เป็นการนําจิตวิทยาเข้ามาใช้เพื่อการแนะแนว เป็นเครื่องมือแนะนําวิธีการเรียนในโรงเรียน
ให้ได้เกรดสูงๆ
ค. เป็นการนําจิตวิทยาเข้ามาใช้เพื่อการแนะแนว เป็นเครื่องมือที่สร้างค่านิยมความสําเร็จทาง
สังคมให้กับผู้เรียน
ง. เป็นการนําเอาหลักจิตวิทยาเข้ามาใช้เพื่อการแนะแนว เป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาเข้ามาช่วย
ให้ครูได้ เข้าใจเด็ก และช่วยให้เด็กเข้าใจตนเองเป็นสําคัญ
12. ข้อใดเป็นเป้าหมายหลักของการแนะแนวในสถานศึกษา
ก. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักรักและเห็นคุณค่าในตนเอง
ข. แนะนําวิธีการเรียนในโรงเรียนให้ได้เกรดสูงๆ
ค. สร้างค่านิยมความสําเร็จทางสังคมให้กับผู้เรียน
ง. เพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
13. หลักของการแนะแนวในโรงเรียนจัดตั้งขึ้นเพื่อใคร
ก. เพื่อผู้ปกครอง
ข. เพื่อสถานศึกษา
ค. เพื่อนักเรียนทุกคน
ง. เพื่อครูนําไปพัฒนาผลงานทางวิชาการและวิจัย
14. ป้องกันปัญหา แก้ปัญหา ส่งเสริมและพัฒนา เป็นสิ่งใดของการแนะแนว
ก. ปรัชญาของการแนะแนว ข. หลักของการแนะแนว
ค. เป้าหมายของการแนะแนว ง. ขอบข่ายของการแนะแนว

15. ข้อใดไม่ใช่ขอบข่ายของการแนะแนว
ก. การแนะแนวครูผู้สอน ข. การแนะแนวการศึกษา
ค. การแนะแนวอาชีพ ง. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


76
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

16. ข้อใดคือความหมาย ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ถูกต้องที่สุด


ก. เป็นกระบวนการดําเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน
ข. เป็นกระบวนการดําเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างขั้นตอน มีการประสานความร่วมมือ
อย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้องหรือบุคลากรภายนอก
ค. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดําเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่าง
ขั้นตอนพร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทํางานที่ชัดเจน รวมทั้งการสนับสนุนจากโรงเรียน
ง. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดําเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่าง
ขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการ และเครื่องมือการทํางานที่ชัดเจน โดยมีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากร
หลัก ในการดําเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่
เกี่ยวข้อง หรือบุคลากรภายนอก รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริมจากโรงเรียน
17. ลําดับขั้นตอนกระบวนการดําเนินงาน ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีองค์ประกอบสําคัญ 5
ประการ ดังนี้
ก. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล > การคัดกรองนักเรียน > การส่งเสริมนักเรียน >
การส่งต่อ > การป้องกันและแก้ไขปัญหา
ข. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล > การคัดกรองนักเรียน > การส่งเสริมนักเรียน > การ
ป้องกันและแก้ไขปัญหา > การส่งต่อ
ค. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล > การคัดกรองนักเรียน > การป้องกันและแก้ไขปัญหา >
การส่งต่อ > การส่งเสริมนักเรียน
ง. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล > การป้องกันและแก้ไขปัญหา > การคัดกรองนักเรียน >
การส่งเสริมนักเรียน > การส่งต่อ
18. การคัดกรองนักเรียน ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ต้องแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม
ก. แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ
ข. แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ กลุ่มมีปัญหา
ค. แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ กลุ่มมีปัญหา กลุ่มเสี่ยง
ง. แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ กลุ่มมีปัญหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มยากจน
19.การประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ) ถือว่าเป็นขั้นตอนใด ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ก. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ข. การคัดกรองนักเรียน
ค. การส่งเสริมนักเรียน ง. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
20. การเยี่ยมบ้านนักเรียน ถือว่าเป็นขั้นตอนใด ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ก. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ข. การคัดกรองนักเรียน
ค. การส่งเสริมนักเรียน ง. การป้องกันและแก้ไขปัญหา

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


77
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

21. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการแนะแนว
ก.การแนะนํา
ข. การช่วยเหลือ ให้สามารถช่วยตนเองได้
ค. กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม
ง. แก้ปัญหาได้ด้วยตนเองและพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ
22. การแนะแนวแบ่งเป็นกี่ประเภท
ก. 2 ข. 3
ค. 4 ง. 5
23. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของการแนะแนว
ก. การแนะแนวการศึกษา ข. การแนะแนวอาชีพ
ค. การแนะแนวการปรับตัวและบุคลิกภาพ ง. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
24. ข้อใดคือหน้าที่พื้นฐานของการแนะแนว
ก.การแก้ไขปัญหา
ข. การป้องกันปัญหาอันจะทําให้พัฒนาการต่าง ๆ หยุดชะงัก
ค. การส่งเสริมพัฒนาการส่วนบุคคล
ง. การเข้าใจตนเอง
25. ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งการแนะแนว"
ก. Louis P. Nash ข. Frank Parson
ค. Eli W. Weaver ง. Frank P. Goodwin
26. ผู้ที่ทําหน้าที่แนะแนวต้องคํานึงถึงเรื่องใดเป็นอันดับแรก
ก. การเข้าใจเด็ก ข. การแก้ไข
ค. การป้องกัน ง. การสนับสนุน
27. จุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ ของการแนะแนว คือ
ก. ป้องกัน แก้ไข พัฒนา
ข. การเข้าใจตนเอง การเข้าใจผู้มาของรับการปรึกษา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คําปรึกษา
และผู้มาของรับการปรึกษา
ค. บริการสํารวจนักเรียนเป็นรายบุคคล บริการสนเทศ บริการจัดวางตัวบุคคล
ง. การแนะแนวการศึกษา การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
28. Education guidance หมายถึงข้อใด
ก. แนะแนวทางการศึกษา ข. แนะแนวทางอาชีพ
ค. การแนะแนวทางด้านสังคมส่วนตัว ง. แนะแนวทางอาชีพ
29. Vacational guidance
ก. แนะแนวทางการศึกษา ข. แนะแนวทางอาชีพ
ค. แนะแนวทางด้านสังคมส่วนตัว ง. การแนะแนวทางตามความถนัด

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


78
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

30. Personal social guidance หมายถึง


ก. แนะแนวทางการศึกษา
ข. แนะแนวทางอาชีพ
ค. การแนะแนวทางด้านสังคมส่วนตัว
ง. การแนะแนวทางตามความถนัด
31. แบบ ปพ.ใดเกี่ยวข้องกับกิจกรรมแนะแนวมากที่สุด
ก. ปพ.1 ข. ปพ.3
ข. ปพ.7 ง. ปพ.8
32 ปรัชญาของการแนะแนวข้อใดสําคัญที่สุด
ก. บุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีศักยภาพแฝงอยู่
ข. บุคคลแต่ละคน ย่อมมีความแตกต่างกัน
ค. บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน
ง. ธรรมชาติของคนอยู่รวมกันเป็นสังคม.
33. ข้อใด ไม่ใช่ เป้าหมายของการแนะแนว
ก. ป้องกันปัญหา ข. แก้ปัญหา
ค. ปรับปรุงพฤติกรรม ง. ส่งเสริมและพัฒนา
34. ใครคือบิดาแห่งการแนะแนว
ก. โฟร์เบล ข. ซิกมันด์ ฟรอยด์
ค. แฟรงค์ พาสัน ง. จอห์น ดิวอี้4.
35. Case Study เกี่ยวข้องกับงานใดของการแนะแนว
ก. งานศึกษารวบรวมข้อมูล ข. งานสารสนเทศ
ค. งานให้คําปรึกษา ง. งานจัดวางตัวบุคคล
36. จาก กฎกระทรวงงานแนะแนว พ.ศ.2549 ในข้อ 37 ข้อใด ไม่ใช่ " นักเรียนหรือนักศึกษาที่เสี่ยงต่อ
การกระทําผิด"
ก. ประพฤติตนไม่สมควรกับสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา
ข. ประกอบอาชีพในทางผิดกฎหมายหรือขัดศีลธรรม
ค. คบหาสมาคมกับบุคคลที่จะนําไปสู่การกระทําผิดกฎหมาย
ง. อยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการกระทําผิ
37. ตามกฏกระทรวงว่าด้วยการแนะแนว พ.ศ.2549 หน้าที่ของโรงเรียนและสถานศึกษาข้อใดสําคัญที่สุด
ก. พัฒนาระบบงานแนะแนว
ข. สํารวจ เฝ้าระวัง ติดตาม
ค. แจ้งผู้ปกครอง
ง. สนับสนุนให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


79
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

38. ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขจัดระบบงานแนะแนว ให้คําปรึกษาแก่นักเรียน


นักศึกษา ผู้ปกครอง พ.ศ.2549 ข้อใด ไม่ใช่กิจกรรมที่เกี่ยวกับการแนะแนว
ก. การให้คําปรึกษา ข. การฝึกอบรม
ค. ความรับผิดชอบต่อสังคม ง. การสร้างความสามัคคี
39. ความหมายของกิจกรรมแนะแนวคือข้อใด
ก.เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ครูได้เข้าใจเด็ก และช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองเป็นสําคัญ
ข.เป็นกิจกรรมปลูกฝังให้ผ็เรียนรู้จักกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย และการอยู่ร่วมกันในสังคม
ค. เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความถนัด ความสนใจ ตามความต้องการของผู้เรียนเป็นสําคัญ
ง. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง และสิ่งแวะล้อม สามารถตัดสินใจ วางแผนชีวิต
และด้านการเรียน และปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
40. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายหลักของการแนะแนวในโรงเรียน
ก.แนะนําวิธีการเตรียมตัวสอบให้ได้คะแนนสูงๆ
ข. ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองได้ทุกๆด้าน
ค. ช่วยแนะนําแนวทางการแก้ปัญหาเมื่อผู้เรียนประสบปัญหาต่างๆ
ง. กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจการเรียนและการเตรียมตัวในอาชีพมากขึ้น
41. ข้อใดกล่าวถึงขอบข่ายของการแนะแนวได้ถูกต้อง
ก. แนะแนวการศึกษา แนะแนวอาชีพ แนะแนวชีวิต
ข. แนะแนวการศึกษา แนะแนวอาชีพ แนะแนวบุคลิกภาพ
ค. แนะแนวการศึกษา แนะแนวอาชีพ แนะแนวส่วนตัวและสังคม
ง. แนะแนวการศึกษา แนะแนวเจตคติ แนะแนวส่วนตัวและสังคม
42. บริการแนะแนวควรจัดในสถานศึกษาระดับใด
ก. ประถมศึกษา ข. มัธยมศึกษา
ค. อุดมศึกษา ง. ทุกระดับ
43. ประเทศใดเป็นผู้ริเริ่มการแนะแนว
ก. อังกฤษ ข. ฝรั่งเศส
ค. สหรัฐอเมริกา ง. ออสเตรเลีย
44. ข้อใดให้ความหมายของการแนะแนวได้ถูกต้อง
ก. การช่วยให้นักเรียนมีความรู้ดีขึ้น
ข. การแก้ไขปัญหาให้นักเรียนทุกอย่าง
ค. การช่วยให้นักเรียนเข้าใจคนรอบข้างได้ดี
ง. การช่วยเหลือให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


80
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

45. ในการจัดกิจกรรมแนะแนวในคาบเรียน ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมแนะแนวด้านการศึกษา


ก. กิจกรรมวิเคราะห์ผลการเรียน
ข. กิจกรรมโลกกว้างทางการศึกษา
ค. กิจกรรมการเห็นคุณค่าในตนเอง
ง. กิจกรรมการอ่านเปิดประตูสู่การเรียนรู้

46. ข้อใดไม่ใช่บริการสนเทศ
ก. การจัดวันอาชีพ
ข. การจัดทัศนศึกษา
ค. สํารวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน
ง. การจัดสัปดาห์แนะแนวทางการศึกษาต่อ
47. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์ของบริการแนะแนว
ก. ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจครูผู้สอน
ข. ช่วยให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง
ค. ช่วยครูให้เข้าใจความต้องการของนักเรียน
ง. ช่วยให้ผู้ปกครองรู้จักและเข้าใจเด็กของตน
48. การบริการแนะแนวบริการใดสําคัญที่สุด
ก. บริการสนเทศ ข.บริการติดตามผล
ค. บริการให้คําปรึกษา ง. บริการจัดวางตัวบุคคล
49. ข้อใดไม่ใช่การจัดกิจกรรมแนะแนวในคาบเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนของนักเรียน
ก. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม และจริยธรรมที่ถูกต้อง
ข. นักเรียนวางแผนทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
ค. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น
ง. นักเรียนประสบความสําเร็จตามแผนการเรียนของตน
50. ข้อใดคือประโยชน์ของกระบวนการกลุ่มต่อการแนะแนว
ก.ช่วยให้บุคคลเข้าใจตนเอง ข. ช่วยให้บุคคลเข้าใจคนอื่น
ค. ช่วยให้บุคคลมีภาวะความเป็นผู้นํา ง. ช่วยให้บุคคลมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
51. การแนะแนวผู้เรียนเกี่ยวกับการวางแผนชีวิต จัดเป็นของข่ายของการแนะแนวด้านใด
ก. ด้านอาชีพ ข.ด้านการศึกษา
ค.ด้านส่วนตัวและสังคม ง.ด้านบุคลิกภาพ
52. ประเทศไทยเริ่มจัดระบบการแนะแนวในสถานศึกษาอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกที่ใด
ก. โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จังหวัดอุดรธานี
ข. โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
ค. โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ง. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


81
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

53. ข้อใดให้ความหมายของการแนะแนวอาชีพได้ถูกต้อง
ก. การจัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักอาชีพ และสามารถตัดสินใจเลือกอาชีพได้เหมาะสม
กับตนเอง
ข. การจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนประกอบอาชีพที่มั่นคง และสามารถดําเนินชีวิตอยู่ในสังคม
ได้อย่างมีความสุข
ค. การจัดกิจกรรมโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจผู้อื่น สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างราบรื่น
ง. การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเลือกแนวทางการศึกษาได้เหมาะสมกับความสามารถของตน
ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกประกอบอาชีพในอนาคต
54. บริการแนะแนวในโรงเรียนมีกี่บริการ
ก. 2 บริการ ข. 3 บริการ
ค. 4 บริการ ง. 5 บริการ
55. การรักษาความลับ ถือเป็นจรรยาบรรณในบริการแนะแนวข้อใด
ก. บริการสนเทศ
ข. บริการให้คําปรึกษา
ค. บริการจัดวางตัวบุคคล
ง. บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล
56. การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคมมีความหมายตรงกับข้อใด
ก. กระบวนการช่วยเหลือให้นักเรียนวางแผนเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตน
ข. กระบวนการช่วยเหลือให้นักเรียนเข้าใจตนเองและปรับตัวอยู่ในสังคมมอย่างมีความสุข
ค. กระบวนการช่วยเหลือให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นได้อย่างเมาะสม
ง. กระบวนการช่วยเหลือให้นักเรียนวางแผนการศึกษาต่อได้ตรงตามความสามารถของตนเอง
57 “ผลการวิจัยกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3” ผลการวิจัยนี้สามารถนําไปพัฒนาเครื่องมือการแนะแนวด้านใด
ก. กิจกรรมแนะแนวอาชีพ ข. กิจกรรมแนะแนวนักเรียน
ค. กิจกรรมแนะแนวการศึกษา ง. กิจกรรมแนะแนวส่วนตัวและสังคม
58. บุคคลในข้อใดควรให้คําปรึกษาด้านส่วนตัวและสังคม
ก. เฟื่องฟ้าติดศูนย์หลายวิชา ข. ช้องนางหนีออกจากบ้าน
ค. ชงโคสอบตกวิชาคณิตศาสตร์ ง. กุหลาบไม่รู้จะเรียนอะไร
59. คํากล่าวที่ว่า “ไม่มีใครช่วยท่านได้ดีเหมือนกับท่านช่วยตัวท่านเอง “ เป็นแนวคิดของทฤษฎีการ
ให้คําปรึกษาท่านใด
ก. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาแบบอัตถิภาวนิยม
ข. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาแบบเผชิญความจริง
ค. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
ง.ทฤษฎีการให้คําปรึกษาแบบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


82
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

60. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดพื้นฐานของการให้คําปรึกษาแบบแบบอัตถิภาวนิยม
ก. ผู้รับการปรึกษาเป็นผู้กําหนดชะตาชีวิตของตนเอง
ข. ผู้รับการปรึกษามีเสรีภาพและมีสิทธิ์ที่จะเลือกรับหรือปฎิเสธ
ค. ผู้รับการปรึกษามีต้นทุนแตกต่างกัน ส่งผลให้พัฒนาแตกต่างกัน
ง. ผู้รับการปรึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
61. ข้อใดไม่ใช่ความสําคัญของจิตวิทยาการแนะแนวที่มีต่อการเรียนการสอน
ก. ทําให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
ข. ทําให้ครูวางแผนการจัดการสอนได้อย่างเมาะสม
ค. ทําให้ครูเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพของนักเรียน
ง. ทําให้ครูมีบทบาทมากกว่านักเรียน โดยการเน้นครูเป็นศูนย์กลาง
62. การใช้แบบสอบถามทางจิตวิทยากับประชากรจํานวนมากควรใช้วิธีใด
ก. การสังเกต ข. การสํารวจ
ค. การทดลอง ง. การศึกษารายกรณี
63. วิธีการทางจิตวิทยารูปแบบใดช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลได้ดีขึ้น
ก. การทดสอบ ข. การสังเกต
ค. การสัมภาษณ์ ง. การศึกษารายกรณี
64. ข้อใดอธิบายความหมายของงานแนะแนวได้ถูกต้อง
ก.การช่วยเหลือผู้เรียนให้รู้จักตนเอง
ข. การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้น
ค การแนะนําให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวเข้าหาคนอื่น
ง.การชี้แนะผู้เรียนให้รู้จักแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
65. ข้อใดกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการแนะแนวได้ถูกต้องที่สุด
ก.นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น
ข. นักเรียนสามารถเลือกอาชีพได้
ค. นักเรียนสามารถผ่อนคลายความเครียดได้
ง. นักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองทุกด้านได้
66. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551กําหนดกิจกรรมแนะแนวเป็นกิจกรรมหนึ่งที่อยู่ใน
กิจกรรมใด
ก. กิจกรรมชุมนุม
ข. กิจกรรมนักเรียน
ค. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ง. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
67. ข้อใดเป็นบริการติดตามผล
ก. ปัจฉิมนิเทศ ข.ทุนการศึกษา
ค. อีเมลติดต่อ ง. การให้คําปรึกษา

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


83
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

68. การช่วยให้ตัวเองรู้จักตัวเองทุกด้าน เป็นบริการแนะแนวบริการใด


ก. บริการสนเทศ ข. บริการให้คําปรึกษา
ค. บริการจัดวางตัวบุคคล ง. บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล
69. การให้ข้อมูลข่าวสารความรู้ที่จําเป็นแก่นักเรียนเกี่ยวกับการศึกษา อาชีพ เป็นบริการแนะแนว
บริการใด
ก. บริการสนเทศ ข. บริการให้คําปรึกษา
ค. บริการจัดวางตัวบุคคล ง. บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล
70. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการของกินซ์เบิร์ก (Ginzber’sTheory)
ก. ประสบการณ์การอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็ก มีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ
ข. บุคคลจะเลือกอาชีพที่เหมาะกับบุคลิกภาพและความต้องการของตนเอง
ค. บุคคลตัดสินใจเลือกอาชีพจากการวิเคราะห์ตนเองและวิเคราะห์อาชีพประกอบกัน
ง. การเลือกอาชีพแบ่งเป็น 3ระยะ คือ ระยะเพ้อฝัน ระยะพิจารณาเลือกอาชีพ และระยะ
แห่งความจริง

71. ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่สําคัญที่สุดของครูแนะแนวในการจัดกระบวนการกลุ่ม
ก. ครูปิติสั่งงานให้นักเรียนทํา
ข. ครูวีระช่วยนักเรียนจัดกิจกรรม
ค. ครูมานะกระตุ้นให้นักเรียนหาข้อสรุปจากกิจกรรม
ง. ครูเพชรมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเสมือนเป็นสมาชิกในชั้นเรียน
72. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการของระบบดุแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา
ก. การป้องกันปัญหานักเรียน
ข.การส่งเสริมพัฒนาการนักเรียน
ค.การรู้จักและเข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล
ง. การช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มพิเศษโดยเฉพาะ
73. แนวคิดกลุ่มใดมีทรรศนะว่า ผู้รับคําปรึกษามีความรับผิดชอบในการตัดสินใจ ส่วนผู้ให้คําปรึกษาเป็น
เพียงผู้คอยช่วยเหลือเท่านั้น
ก. กลุ่มเกสตัลท์ ข. กลุ่มเผชิญความจริง
ค. กลุ่มจิตวิเคราะห์ ง. กลุ่มยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
74. สํานวนใดใกล้เคียงกับความหมายของการแนะแนวมากที่สุด
ก.ตนเป็นที่พึงแห่งตน
ข.เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
ค. งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎ์ไม่ให้เสีย
ง. ความในอย่านําออก ความนอกอย่านําเข้า

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


84
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

75. ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ครูแนะแนวได้ถูกต้องที่สุด
ก. พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ข. ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและคัดกรองในโรงเรียน
ค. เน้นพัฒนาศักยภาพของนักเรียนโดยจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มพิเศษเรียนรวมกับเด็กกลุ่มปกติ
ง.จัดบริการแนะแนวให้ครบทั้ง 5 บริการใน 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม
76.การที่ครูช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถวางแผนชีวิตตนเองได้เป็นเป้าหมายของการแนะแนวข้อใด
ก.การป้องกันปัญหา ข.การแก้ปัญหา
ค.การส่งเสริมพัฒนา ง.ถูกทั้ง ก และ ข
77. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของการแนะแนวด้านการศึกษาได้ถูกต้อง
ก. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักตัดสินใจเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง
ข.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถวางแผนชีวิตได้สอดคล้องกับจุดหมายของตนเองได้
ค. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักข้อมูลทางอาชีพอย่างกว้างขวางและมีทัศนคติที่ดีต่อสัมมาชีพ
ง. ช่วยให้ผู้เรียนเลือกเรียนวิชาที่สอดคล้องกับความถนัดและสามารถวางแผนการศึกษาต่อ
ในอนาคตได้
78.ข้อใดเป็นประโยชน์จากแนวทางในการจัดกิจกรรมแนะแนวด้านการศึกษา
ก. ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของผู้เรียน
ข. ผู้เรียนสามารถเลือกแนวทางการเข้ารับการศึกษาได้
ค. ผู้เรียนทราบถึงความถนัดละความสนใจของตนเอง
ง. ถูกทุกข้อ
79. ข้อใดไม่ใช่แนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวด้านการศึกษา
ก. การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
ข. การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเลือกแผนการเรียน
ค. การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
ง. การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
80. ข้อใดไม่ใช่การจัดกิจกรรมแนะแนวส่วนตัวและสังคมของครูแนะแนว
ก. ครูนําฟ้าจัดกิจกรรมให้นักเรียนรู้จักการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น
ข.ครูน้ําฝนจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมตามวัย
ค. ครูน้ําใสจัดกิจกรรมให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
ง. ครูน้ําหวานจัดกิจกรรมให้นักเรียนวางแผนการเรียนได้ตรงตามความสามารถและความถนัด
81. ในการจัดกิจกรรมแนะแนวส่วนตัวและสังคม ครูแนะแนวควรส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการด้านใด
ก.ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจความต้องการและความรู้สึกของตนเอง
ข. ผู้เรียนจัดการกับอารมณ์และแสดงออกได้อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
ค. ผู้เรียนเข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและความคิดเห็นของผู้อื่น
อย่างมีเหตุผล
ง. ถูกทุกข้อ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


85
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

82. การจัดกิจกรรมแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคมในคาบเรียน ควรจัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนคือกิจกรรม


รูปแบบใด
ก.กิจกรรมโลกกว้างทางการศึกษา
ข. กิจกรรมอาชีพในฝันของฉัน
ค. กิจกรรมMind Map อาชีพที่สนใจ
ง. กิจกรรมพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
83. การจัดกิจกรรมแนะแนวด้านการศึกษาในคาบเรียน ควรจัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนคือกิจกรรมใด
ก. กิจกรรมเสริมบุคลิกภาพที่ดี
ข. กิจกรรมรณรงค์ให้นักเรียนศึกษาต่อ
ค. กิจกรรมแนะนําวิธีการปรับตัวในสังคม
ง. กิจกรรมแนะแนวโลกของการงานอาชีพ
84. บุคลากรใดเหมาะสมที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียน
ก. ผู้บริหาร ข. ครูแนะแนว
ค. ครูที่ปรึกษา ง. ศึกษานิเทศก์
85. ข้อใดคือบทบาทของครูแนะแนวในการวางแผนการศึกษาของนักเรียน
ก. การปฐมนิเทศ ข. การจัดป้ายนิเทศ
ค. การจัดนิทรรศการ ง.ถูกทุกข้อ
86. ข้อใดไม่เหมาะสมกับการจัดทําแผนกิจกรรมแนะแนวสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ก. อาชีพที่ใฝ่ฝัน ข. การเห็นคุณค่าในตนเอง
ค. การวิเคราะห์ผลการเรียน ง. การวางแผนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
87. บทบาทของครูแนะแนวในการส่งเสริมประชาธิปไตย ข้อใดเหมาะสมที่สุด
ก. ครูน้ําตาลจัดบรรยากาศการเรียนรู้แบบกลุ่ม
ข. ครูฟ้าใสส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะชีวิตแก่นักเรียน
ค. ครูนารีสอนเทคนิคเรียนดีแก่นักเรียนเพื่อสอบแข่งขัน
ง. ครูปรีชากระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นและรับฟังอย่างมีเหตุผล
88. ข้อใดไม่ใช่ปรัชญาของการแนะแนว
ก. บุคคลทุกคนมีศักดิ์ศรีและต้องการการยอมรับ
ข. พฤติกรรมของบุคคลย่อมมีการเปลี่ยนแปลง
ค. บุคคลทุกคนมีความต้องการไม่แตกต่างกัน
ง. บุคลแต่ละคนย่อมต้องการการพึ่งพาอาศัยกัน
89. ข้อใดไม่ใช่บริการแนะแนว
ก. บริการสนเทศ ข.บริการสอนเสริม
ค.บริการให้คําปรึกษา ง.บริการจัดวางตัวบุคคล

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


86
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

90. การช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง คือบริการแนะแนวบริการใด


ก.บริการสนเทศ ข. บริการให้คําปรึกษา
ค. บริการจัดวางตัวบุคคล ง. บริการติดตามประเมินผล
91. กลุ่มที่ต้องดูแลช่วยเหลือ พัฒนา ส่งเสริมอย่างใกล้ชิดจากครูแนะแนว เรียกว่าอะไร
ก. กลุ่มปกติ ข. กลุ่มไม่ปกติ
ค. กลุ่มพิเศษ ง. กลุ่มเฝ้าระวัง
92. ประเทศไทยเริ่มมีการแนะแนวอย่างเป็นระบบเมื่อปี พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ. 2484 ข. พ.ศ. 2496
ค. พ.ศ. 2505 ง. พ.ศ. 2517
93. บริการในข้อใดต่อไปนี้เป็นบริการสุดท้ายในบริการแนะแนว
ก.บริการสนเทศ ข.บริการให้คําปรึกษา
ค. บริการจัดวางตัวบุคคล ง. บริการติดตามประเมินผล
94. สิ่งที่ช่วยให้ครูเข้าใจผู้เรียนได้ดีคือวิธีใด
ก. การเยี่ยมบ้าน ข. กิจกรรมโฮมรูม
ค. สังคมมิติ ง. ระเบียนสะสม
95. ขั้นตอนสุดท้ายในการดําเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือข้อใด
ก. การคัดกรองนักเรียน ข. การส่งเสริมพัฒนานักเรียน
ค. การป้องกันและแก้ไขปัญหา ง. การส่งต่อภายในและภายนอก
96. ครูแนะแนวสามารถนําแนวคิดพหุปัญญา(Multiple Intelligences)ของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ มาใช้
ในการจัดกิจกรรมแนะแนวในคาบเรียนด้านใด
ก. ด้านอาชีพ ข. ด้านการศึกษา
ค. ด้านส่วนตัวและสังคม ง. ด้านบุคลิกภาพ
97. ขั้นตอนแรกในในการดําเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือข้อใด
ก. การคัดกรองนักเรียน ข. การส่งเสริมพัฒนาการนักเรียน
ค. การส่งต่อภายในและภายนอก ง. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
98. เทคนิคใดที่ครูไม่สามารถที่จะกระทําการได้ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเป็นผู้กระทํา
ก. สังคมมิติ ข. แบบทดสอบ
ค. แบบสอบถาม ง. แบบสัมภาษณ์
99. ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การวัดประเมินผลกิจกรรมแนะแนว
ก. ประเมินจากการผ่านผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ข. ประเมินจากผลการ อ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ในระดับผ่าน
ค. ประเมินจากการมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมด
ง. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมและประเมินคุณลักษณะด้านคุณธรรม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


87
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

100. ระเบียนพฤติการณ์ (Anecdotal Records) หมายถึงข้อใด


ก. การศึกษาพฤติกรรมโดยเน้นเจตคติและค่านิยม
ข. การบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็น
ค. การศึกษา รวบรวมข้อมูลต่างๆจากประวัติส่วนตัวของนักเรียน
ง. การบันทึกพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไป

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


88
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

เฉลยข้อสอบจิตวิทยาการแนะแนว
1. ตอบ ง. จดหมายติดต่อ
2. ตอบ ง. เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างดีทุกด้าน
3. ตอบ ง. ทุกๆฝ่ายร่วมกัน
4. ตอบ ง. คนอยู่ในสังคมได้ตามความพอใจ
5. ตอบ ก. การบริการให้คําปรึกษา
6. ตอบ ก. จัดวางตัวบุคคล
7. ตอบ ค. จัดให้เด็กที่มีปัญหา
8. ตอบ ข. การใช้แบบสํารวจ
9. ตอบ ค. ฝ่ายกิจการ
10. ตอบ ข. การช่วยให้นักเรียนรู้จักช่วยตนเอง ปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
11. ตอบ ง. เป็นการนําเอาหลักจิตวิทยาเข้ามาใช้เพื่อการแนะแนว เป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาเข้ามา
ช่วยให้ครูได้เข้าใจเด็ก และช่วยให้เด็กเข้าใจตนเองเป็นสําคัญ
12. ตอบ ก. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักรักและเห็นคุณค่าในตนเอง
13. ตอบ ค. เพื่อนักเรียนทุกคน
14 ตอบ ค. เป้าหมายของการแนะแนว
15. ตอบ ก. การแนะแนวครูผู้สอน
16. ตอบ ง. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดําเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน
อย่างขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการ และเครื่องมือการทํางานที่ชัดเจน โดยมีครูที่ปรึกษาเป็น
บุคลากร หลัก ในการดําเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่
เกี่ยวข้องหรือบุคลากร ภายนอก รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริมจากโรงเรียน
17. ตอบ ข. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล > การคัดกรองนักเรียน > การส่งเสริมนักเรียน >
การป้องกันและ แก้ไขปัญหา > การส่งต่อ
18. ตอบ ค. แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ กลุ่มมีปัญหา กลุ่มเสี่ยง
19. ตอบ ก. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
20. ตอบ ก. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
21. ตอบ ก.การแนะนํา
22. ตอบ ข. 3
23. ตอบ ค. การแนะแนวการปรับตัวและบุคลิกภาพ
24. ตอบ ง. การเข้าใจตนเอง
25. ตอบ ข. Frank Parson
26. ตอบ ก. การเข้าใจเด็ก
27 ตอบ ก. ป้องกัน แก้ไข พัฒนา
28. ตอบ ก. แนะแนวทางการศึกษา

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


89
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

29. ตอบ ข. แนะแนวทางอาชีพ


30. ตอบ ค. การแนะแนวทางด้านสังคมส่วนตัว
31. ตอบ ง. ปพ.8
32. ตอบ ก. บุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีศักยภาพแฝงอยู่
33. ตอบ ค. ปรับปรุงพฤติกรรม
34 ตอบ ค. แฟรงค์ พาสัน
35. ตอบ ค. งานให้คําปรึกษา
36. ตอบ ง. อยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการกระทําผิด
37. ตอบ ก. พัฒนาระบบงานแนะแนว
38. ตอบ ง. การสร้างความสามัคคี
39. ตอบ ง. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง และสิ่งแวะล้อม สามารถตัดสินใจ วางแผน
ชีวิตและด้านการเรียน และปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
40. ตอบ ข. ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองได้ทุกๆด้าน
41. ตอบ ค. แนะแนวการศึกษา แนะแนวอาชีพ แนะแนวส่วนตัวและสังคม
42. ตอบ ง. ทุกระดับ
43. ตอบ ค. สหรัฐอเมริกา
44. ตอบ ง. การช่วยเหลือให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง
45. ตอบ ค. กิจกรรมการเห็นคุณค่าในตนเอง
46. ตอบ ค. สํารวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน
47. ตอบ ก. ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจครูผู้สอน
48. ตอบ ค. บริการให้คําปรึกษา
49. ตอบ ก. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม และจริยธรรมที่ถูกต้อง
50 ตอบ ข. ช่วยให้บุคคลเข้าใจคนอื่น
51. ตอบ ค.ด้านส่วนตัวและสังคม
52. ตอบ ค. โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
53. ตอบ ก. การจัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักอาชีพ และสามารถตัดสินใจเลือกอาชีพได้ เหมาะสม
กับตนเอง
54. ตอบ ง. 5 บริการ
55. ตอบ ข. บริการให้คําปรึกษา
56. ตอบ ข. กระบวนการช่วยเหลือให้นักเรียนเข้าใจตนเองและปรับตัวอยู่ในสังคมมอย่างมีความสุข
57 ตอบ ง. กิจกรรมแนะแนวส่วนตัวและสังคม.
59. ตอบ ก. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาแบบอัตถิภาวนิยม
60. ตอบ ค. ผู้รับการปรึกษามีต้นทุนแตกต่างกัน ส่งผลให้พัฒนาแตกต่างกัน
61. ตอบ ง. ทําให้ครูมีบทบาทมากกว่านักเรียน โดยการเน้นครูเป็นศูนย์กลาง
62. ตอบ ข. การสํารวจ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


90
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

63. ตอบ ง. การศึกษารายกรณี


64. ตอบ ก.การช่วยเหลือผู้เรียนให้รู้จักตนเอง
65. ตอบ ง. นักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองทุกด้านได้
66. ตอบ ค. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
67. ตอบ ค. อีเมลติดต่อ
68. ตอบ ง. บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล
69. ตอบ ก. บริการสนเทศ
70. ตอบ ง. การเลือกอาชีพแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเพ้อฝัน ระยะพิจารณาเลือกอาชีพ
และระยะแห่งความจริง
71. ตอบ ง. ครูเพชรมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเสมือนเป็นสมาชิกในชั้นเรียน
72. ตอบ ง. ครูเพชรมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเสมือนเป็นสมาชิกในชั้นเรียน
73. ตอบ ง. กลุ่มยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
74. ตอบ ก.ตนเป็นที่พึงแห่งตน
75. ตอบ ง.จัดบริการแนะแนวให้ครบทั้ง 5 บริการใน 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและ
สังคม
76. ตอบ ค.การส่งเสริมพัฒนา
77. ตอบ ง. ช่วยให้ผู้เรียนเลือกเรียนวิชาที่สอดคล้องกับความถนัดและสามารถวางแผนการศึกษาต่อใน
อนาคตได้
78. ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
79. ตอบ ก. การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
80. ตอบ ง. ครูน้ําหวานจัดกิจกรรมให้นักเรียนวางแผนการเรียนได้ตรงตามความสามารถและความ
ถนัด
81. ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
82. ตอบ ง. กิจกรรมพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
83. ตอบ ข. กิจกรรมรณรงค์ให้นักเรียนศึกษาต่อ
84. ตอบ ข. ครูแนะแนว
85. ตอบ ง.ถูกทุกข้อ
86. ตอบ ง. การวางแผนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
87. ตอบ ง. ครูปรีชากระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นและรับฟังอย่างมีเหตุผล
88. ตอบ ค. บุคคลทุกคนมีความต้องการไม่แตกต่างกัน
89. ตอบ ข.บริการสอนเสริม
90. ตอบ ข. บริการให้คําปรึกษา
91. ตอบ ค. กลุ่มพิเศษ
92. ตอบ ข. พ.ศ. 2496
93. ตอบ ง. บริการติดตามประเมินผล

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


91
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

94. ตอบ ก. การเยี่ยมบ้าน


95. ตอบ ง. การส่งต่อภายในและภายนอก
96. ตอบ ก. ด้านอาชีพ
97. ตอบ ง. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
98. ตอบ ข. แบบทดสอบ
99. ตอบ ค. ประเมินจากการมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลา
ทั้งหมด
100. ตอบ ข. การบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็น

*******************************************************

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


92
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

6. การให้คําปรึกษา(Counseling )

บริการให้คําปรึกษานับว่าเป็น “หัวใจของบริการแนะแนว” ซึ่งถือว่าเป็นบริการที่สําคัญ


ที่สุดในบริการแนะแนว การบริการแนะแนวที่จัดขึ้นในสถานศึกษา จะขาดบริการให้คําปรึกษาเสียมิได้
บริการให้คําปรึกษา จึงเป็นบริการที่ทุกคนรู้จักดี บางครั้งมีผู้สับสนว่าบริการแนะแนวก็คือ บริการให้
คําปรึกษานั่นเอง ทั้งนี้เพราะบริการแนะแนวจะจัดบริการให้คําปรึกษาอย่างเป็นทางการ ซึ่งสามารถมองเห็น
ได้ชัดเจนกว่าบริการอื่น ๆ ความจริงแล้วการบริการให้คําปรึกษานั้นเป็นบริการหนึ่งของบริการแนะแนว

กระบวนการให้คําปรึกษาจะเกี่ยวข้องกับสิ่งสําคัญ 3
ประการ
 1.ผู้ให้คําปรึกษา (Counselor) หรือ Co
 2.ผูม้ าขอรับคําปรึกษา (Counselee) หรือ Cl
 3.ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Counselor และ Counselee

หลักการที่สําคัญในการให้คําปรึกษา

เนื่องจากการให้คําปรึกษาเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นทั้งผู้ให้คําปรึกษาและผู้รับ
คําปรึกษา ต้องมีระบบระเบียบ มีเทคนิควิธีในการเข้าใจ การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ การช่วยเหลือ การวางแผน
การตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลงในหลายด้านในตัวผู้รับคําปรึกษา ดังนั้นในการให้คําปรึกษาจึงจําเป็นต้องมี
หลักการที่สําคัญ (สวัสดิ์ บรรเทิงสุข .2542) ดังนี้
1.การให้คําปรึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้รับคําปรึกษาต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน
2. การให้คําปรึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้ให้คําปรึกษาต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อความชํานาญ
3. การให้คําปรึกษาเป็นการช่วยให้ผู้รับคําปรึกษาสามารถพิจารณาตนเองได้ดี เช่นเดียวกับ
ความสามารถในการพิจารณาสิ่งแวดล้อมของตน จนเกิดการตัดสินใจได้ในที่สุด
4. การให้คําปรึกษา ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. การให้คําปรึกษาเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลปะ (Art) เป็นทั้งงานวิชาการ และวิชาชีพที่ต้อง
อาศัยการฝึกฝนจนชํานาญมากกว่าการใช้สามัญสํานึก
6. การให้คําปรึกษา เป็นความร่วมมืออันดีสําหรับผู้ให้คําปรึกษา และผู้รับคําปรึกษา

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


93
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ในอันที่จะช่วยกันค้นหาปัญหาหรือทางออกที่เหมาะสมแท้จริง ทั้งนี้โดยที่ต่างฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจมาก่อนว่า
“แท้ที่จริงแล้วความยากลําบากหรือปัญหาของสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งแตกต่างไปจากการสอนซึ่งผู้สอนรู้ข้อเท็จจริง
มาก่อนหน้านี้แล้ว”
7. การให้คําปรึกษาเน้นถึงจรรยาบรรณ และบรรยากาศที่ปกปิดหรือความเป็นส่วนตัว เพื่อ
สนับสนุนการได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสําหรับช่วยเหลือ และรักษาผลประโยชน์ของผู้รับคําปรึกษาเป็นสําคัญ
8. การให้คําปรึกษาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้คําปรึกษา และผู้รับคําปรึกษามีระดับสูง
มากพอที่ผู้รับคําปรึกษาเต็มใจที่จะเปิดเผย ความรู้สึกที่แท้จริงของตน โดยไม่ปกปิดหรือซ่อน

วัตถุประสงค์ของการให้คําปรึกษา

การให้คําปรึกษาแก่นกั เรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยนักเรียนในเรื่องต่อไปนี้
1. สํารวจตนเอง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเข้าใจ
2. ลดระดับความเครียด และความไม่สบายใจที่เกิดการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
3. พัฒนาทักษะทางด้านสังคม ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการจัดการกับปัญหาให้มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางที่พึงประสงค์ เช่น มีความรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆ มากขึ้น
มีพฤติกรรมการเรียนที่ดี และสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ดี

ข้อควรคํานึงในการให้คําปรึกษา

การให้คําปรึกษาแก่นักเรียน ครูควรปฏิบัติดังนี้ (Meier & Davis, 1993 ; Faiver, Eisengart


and Colonna, 1995)
1. ตรงต่อเวลานัดหมายทั้งเริ่มต้น และสิ้นสุดการให้คําปรึกษา โดยทั่วไปแล้วการให้คําปรึกษา
แต่ละครั้ง ควรใช้เวลา 45-50 นาที สําหรับการให้คําปรึกษารายบุคคล และ 60-90 นาที สําหรับการให้
คําปรึกษากลุ่ม และควรอยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ต่อราย หรือต่อกลุ่ม รวมทั้งหลีกเลี่ยงการ
นัดหมายอื่นๆ
2. ให้ความสําคัญกับภาษาท่าทางของนักเรียนให้มาก หากพบว่าคําพูดกับท่าทางของนักเรียน
ขัดแย้งกัน ให้เชื่อภาษาท่าทางและสะท้อนกลับให้นักเรียนรับรู้ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจตัวเองมากขึ้น เช่น “
เธอบอกว่าเธอเสียใจกับเรื่องนี้มาก แต่ขณะที่เธอพูดว่าเสียใจ ครูเห็นเธอยิ้ม จริงๆ แล้วเธอรู้สึกอย่างไร”

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


94
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

3. หลีกเลี่ยงการถามข้อมูลที่ละเอียดอ่อน หรือเจาะจงเกินไป เพราะอาจทําให้นักเรียนอึดอัดใจ


และไม่ให้ความร่วมมือในการปรึกษาได้
4. หลีกเลี่ยงการแนะนําให้นักเรียนปฏิบัติตามความเห็นของครู เพราะนักเรียนอาจเคยปฏิบัติในสิ่ง
ที่ครูแนะนํามาแล้วแต่ไม่ประสบความสําเร็จ หรืออาจเป็นคําแนะนําที่นักเรียนไม่ต้องการ ซึ่งจะทําให้นักเรียน
หลีกเลี่ยงที่จะมารับคําปรึกษาต่อไป
5. หลีกเลี่ยงการเกิดอารมณ์ร่วมและการเห็นชอบกับพฤติกรรมของนักเรียนที่จะเป็นการเสริมแรง
ให้นักเรียนคิดและทําพฤติกรรมเหมือนเดิมทําให้นักเรียนไม่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
6. ไม่ควรรีบด่วนที่จะสรุปและแก้ปัญหา โดยที่นักเรียนไม่มีโอกาสได้สํารวจปัญหา และสาเหตุมาก
7. หลังจากการให้คําปรึกษาแต่ละครั้งแล้ว ครูควรบันทึกผลการให้คําปรึกษาไว้เพื่อเป็นข้อมูลใน
การให้คําปรึกษาต่อไป
**8. ต้องรักษาความลับ และประโยชน์ของนักเรียน โดยต้องระมัดระวังที่จะไม่นําเรื่องราวของ
นักเรียนไปพูดในที่ต่างๆ แม้จะไม่เอ่ยชื่อก็ตาม เพราะคนฟังอาจปะติดปะต่อเรื่องราวเอง หรือสอบถามกันจน
รู้ว่าเป็นเรื่องราวของนักเรียนคนใด ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อนักเรียนดังกล่าว และกระทบถึงความน่าเชื่อถือ
ไว้วางใจของระบบการให้คําปรึกษาได้

คุณลักษณะของครูผู้ให้คําปรึกษา
ครูผู้ที่จะทําหน้าที่ให้คําปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพควรมีลักษณะส่วนตัว ดังต่อไปนี้
• รู้จักและยอมรับตนเอง
• อดทน ใจเย็น
• จริงใจ และตั้งใจช่วยเหลือผู้อื่น
• มีท่าทีที่เป็นมิตร และมองโลกในแง่ดี
• ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น และช่างสังเกต
• ใช้คําพูดได้เหมาะสม
• เป็นผู้รับฟังที่ดี
• นอกจากนี้ยังควรมีคุณลักษะที่สําคัญ คือ มีบุคลิกภาพที่ดี และการรักษาความลับ

ประเภทของการให้คําปรึกษา

การให้คําปรึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


95
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

1. การให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Counseling)


การให้คําปรึกษาประเภทนี้ เป็นแบบที่ได้รับความนิยม และถูกนํามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ การให้
คําปรึกษาจะเป็นการพบกัน ระหว่างผู้ให้คําปรึกษา 1 คน กับผู้ขอคําปรึกษา 1 คน โดยร่วมมือกัน การให้
คําปรึกษาแบบนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้ขอรับคําปรึกษาให้สามารถเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา และสามารถ
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง หรือเพื่อให้สมาชิกในองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น
ทําให้คนในองค์กรได้ตระหนักถึง ความรู้สึกเกี่ยวกับปฏิกิริยาและการแสดงออกของอารมณ์ของตนและผู้อื่น
เข้าใจความสําคัญของทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ พฤติกรรมต่าง ๆของบุคคล เข้าใจความสําคัญ
ของการเสริมแรงและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คนสามารถกําหนดเป้าหมายและการประพฤติปฏิบัติ
ของตนเองได้เป็นกระบวนการช่วยเหลือโดยมีการพบปะเป็น การส่วนตัว ระหว่างผู้ให้คําปรึกษากับ
ผู้รับบริการ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้รับบริการ ได้เข้าใจตนเอง และสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น สามารถวางโครงการใน
อนาคตได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งมิใช่เฉพาะจะสามารถแก้ปัญหาที่กําลังเผชิญอยู่เท่านั้น แต่ จะช่วยให้มี
ทักษะในการแก้ปัญหาอื่น ๆ ได้ด้วยตนเอง
 กระบวนการให้คําปรึกษา
กระบวนการให้คําปรึกษา อาจสรุปได้ 5 ขั้นตอนดังนี้คือ
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างสัมพันธภาพ ผู้ให้คําปรึกษาต้องทําให้ผู้รับคําปรึกษาเกิด
ความอบอุ่น สบายใจ และไว้วางใจ
***ขั้นการสร้างสัมพันธภาพนี้ ถือเป็นขั้นตอนที่สําคัญมาก หรือได้ว่า “ประตูสู่การให้คําปรึกษา” เพราะ
หาก ผู้ให้คําปรึกษา สามารถใช้ขั้นตอนนี้ได้ดี จะทําให้ผู้มาขอรับคําปรึกษา กล้าเล่าเรื่องราว ปัญหา ทั้งหมด
ให้ฟัง ทําให้การให้คําปรึกษาดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 2 สํารวจปัญหา ผู้ให้คําปรึกษาช่วยให้ผู้รับคําปรึกษาได้สํารวจปัญหา
และปัจจัยต่าง ๆ ที่ทําให้เกิดปัญหาด้วยตัวของเขาเอง
ขั้นตอนที่ 3 เข้าใจปัญหา สาเหตุ ความต้องการ ผู้ให้คําปรึกษาช่วยให้ผู้รับ
คําปรึกษาเข้าใจปัญหา สาเหตุ และความต้องการของตนเอง
ขั้นตอนที่ 4 วางแผน แก้ปัญหา ผู้ให้คําปรึกษาช่วยให้ผู้รับคําปรึกษาพิจารณาวิธี
แก้ปัญหาและตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 5 ยุติการให้คําปรึกษา ผู้ให้คําปรึกษาย้ําความเข้าใจที่เกิดขึ้นระหว่าง
ที่ให้คําปรึกษา และช่วยให้ผู้รับคําปรึกษา มีแรงจูงใจและกําลังใจ ที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง
2. การให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม (Group Counseling)
 หลักพื้นฐานของการให้คําปรึกษากลุ่ม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


96
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

1. สมาชิกกลุ่มทุกคนมีสิทธิในความรู้สึกของตน คือรู้สึกอย่างที่ตนรู้สึก ไม่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ผู้ให้


คําปรึกษาจะสนับสนุนให้สมาชิกแสดงความรู้สึกของตนออกมา และให้เคารพในอารมณ์และความรู้สึกของ
ผู้อื่นด้วย
2.สมาชิกกลุ่มแต่ละคนต้องตัดสินใจว่า ตนต้องการจะพัฒนาอะไรเกี่ยวกับตนเองด้วยตนเอง
3. สมาชิกกลุ่มแต่ละคน ต้องมุ่งแก้ปัญหาให้ตนเองไม่ใช่มุ่งแก้ปัญหาให้คนอื่น เพราะการที่สมาชิกเข้า
กลุ่มก็เพราะต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นให้กับตนเอง
4.ในการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม ความรู้สึกของสมาชิกกลุ่มที่มีต่อสถานการณ์ เป็นจุดที่สําคัญยิ่งกว่า
สถานการณ์ เพราะความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดปัญหาได้
5.การเปิดเผยตนเองของสมาชิกช่วยให้การให้คําปรึกษามีประสิทธิภาพ ถ้าสมาชิกกลุ่มไม่มีการ
ป้องกันตนเองก็ย่อมพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ในบรรยากาศที่มีความไว้เนื้อ
เชื่อใจ มีความหวังดี มีการยอมรับและมีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ
6.สมาชิกกลุ่มต้องมีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตน นั่นคือ ยอมรับผลที่ตามมาจากพฤติกรรมที่
ตนได้กระทําไป ซึ่งทําให้สมาชิกพึ่งพิงคนอื่นน้อยลง
7.การลงมือกระทําเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ซึ่งจะมีได้ในบรรยากาศของ
การยอมรับและความเข้าใจ ดังนั้นผู้ให้คําปรึกษาจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศของการยอมรับและความ
เข้าใจ ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม และรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ตลอดไป
8. ในการเผชิญปัญหา แก้ปัญหา มีวิธีการหรือทางเลือกหลายวิธี ผู้ให้คําปรึกษาจะต้องช่วยให้สมาชิก
สามารถเลือกแนวทางแก้ปัญหาจากทางเลือกต่าง ๆ ที่ได้มีการนําเสนอในกลุ่มด้วยตนเอง
9. สมาชิกกลุ่มจะต้องมีคํามั่นสัญญาให้กับตนเองในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือเปลี่ยนแปลงสิ่ง
ต่างๆดังนั้นการให้การเสริมแรงจึงถือว่าเป็นสิ่งจําเป็นที่ผู้ให้คําปรึกษาจะต้องคํานึงถึง
10.ผู้ให้คําปรึกษาจะต้องกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มได้นําประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ไปปฏิบัติใน
ชีวิตประจําวัน ดังนั้นประสบการณ์ในกลุ่มจึงเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับสมาชิก
11.การที่สมาชิกรู้จักตนเองอย่างลึกซึ้ง และยอมรับตนเอง ทําให้มีการป้องกันตนเองน้อยลง และทน
ต่อคําวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวกับตน
12.สมาชิกกลุ่มจะเกิดความเข้าใจตนเอง มีความรับผิดชอบ และสามารถควบคุมตนเองได้มากขึ้น
หลังจากได้เข้าร่วมการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม

 ลําดับขั้นของการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม
ขั้นที่ 1 ขั้นก่อตั้งกลุ่ม ในขั้นนี้สมาชิกที่เข้ากลุ่มยังไม่กล้าเปิดเผยตนเอง เพราะยังไม่ไว้วางใจในกลุ่ม
ผู้ให้คําปรึกษาจะต้องชี้แจงวัตถุประสงค์ของการให้คําปรึกษา และสร้างสัมพันธภาพที่ดี ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม
และต้องให้เวลาแก่สมาชิกกลุ่มพอสมควรอย่ารีบเร่ง
ขั้นที่ 2 ขั้นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสมาชิก เป็นขั้นตอนต่อจากขั้นแรกกลุ่มเริ่มมีการ
เปลี่ยนแปลงและพัฒนาการขึ้นบ้าง สมาชิกเริ่มรู้จักไว้วางใจกันแต่ก็ยังมีความวิตกกังวล มีความตึงเครียดอยู่
บ้าง ผู้ให้คําปรึกษาจะต้องพยายามชี้แจงให้สมาชิกกล้า อภิปรายปัญหาตัวเอง อย่างเปิดเผย

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


97
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ขั้นที่ 3 ขั้นดําเนินการ ขั้นนี้สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในกลุ่มจะดีขึ้นมาก กล้าเปิดเผยตนเอง


อภิปรายปัญหาตามความเป็นจริง ร่วมกันแก้ปัญหาของสมาชิก ทุกคนได้สํารวจตัวเอง เข้าใจปัญหาและพร้อม
จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน
ขั้นที่ 4 ขั้นยุติการให้คําปรึกษา เมื่อสมาชิกเข้าใจปัญหาอย่างกระจ่างแจ้ง รู้จักแก้และเลือกวิธีที่
เหมาะสมกับตน นําไปปฏิบัติด้วยความพอใจ ไม่มีข้อข้องใจตกค้าง ก็ให้ยุติการให้คําปรึกษาแบบกลุ่มได้
 ขนาดของกลุ่ม
ในการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม ขนาดของกลุ่มที่ดีที่สุดจะอยู่ระหว่าง 4-10 คน เพราะถ้ากลุ่มมีขนาด
ใหญ่เกินจํานวน 10 คน การถ่ายโยงจะค่อยๆอ่อนลงจนกระทั่งสมาชิกแทบจะไม่มีความหมาย และแทบจะ
ไม่มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน กลุ่มทําหน้าที่เสมือนการรวมกลุ่มย่อยหลายๆกลุ่ม และผู้ให้คําปรึกษาจะมี
ความยากลําบากในการชักจูงให้สมาชิกแต่ละคน สนใจกลุ่ม แต่ถ้ากลุ่มเป็นกลุ่มขนาดเล็ก สมาชิกจะมี
โอกาสสื่อความหมายซึ่งกันและกันได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าขนาดของกลุ่มใหญ่ขึ้น สมาชิกจะได้รับประสบการณ์
ตรงและมีส่วนร่วมในกลุ่มน้อยมาก สมาชิกจะพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับผู้นํา ผู้พูด และผู้แสดง
เท่านั้น และสมาชิกจะปฏิบัติหน้าที่เหมือนกับอยู่ในชั้นเรียน และคอยพึ่งพิงผู้นํามากขึ้น
 เวลาและจํานวนครั้งในการให้คําปรึกษากลุ่ม
ในการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม ผู้ให้คําปรึกษาควรจัดให้มีการให้คําปรึกษาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
แต่ถ้ามีเวลาอันจํากัด อาจจัดให้มีการให้คําปรึกษา สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งได้ ส่วนจํานวนในการให้คําปรึกษา
แบบกลุ่มทั้งหมดควรประมาณ 6-10 ครั้ง ส่วนเวลาที่ใช้ในการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม จะเป็นเวลานานเท่าใด
นั้น จะแตกต่างกันไปตามวัยผู้มาขอรับคําปรึกษา ถ้าเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา ควรใช้เวลาครั้งละ 1
ชั่วโมง ส่วนนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ควรใช้เวลาประมาณ 1-1 ½ ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นนักศึกษา
ระดับอุดมศึกษาหรือผู้ใหญ่ควรใช้เวลาประมาณ 1 ½ - 2 ชั่วโมง ทั้งนี้หมายความว่าในการให้คําปรึกษา
แบบกลุ่มนั้น เวลาที่ใช้ในการให้คําปรึกษาแต่ละครั้ง อย่างมากที่สุดไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง

 ลักษณะของกลุ่มในการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม
ในการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม ลักษณะของกลุ่มควรเป็นกลุ่มแบบปิด ( Closed Groups) หมายถึง
เป็นกลุ่มที่ประกอบด้วย สมาชิกที่เป็นคนเดิมตั้งแต่เริ่มต้น การให้คําปรึกษา จนกระทั่งถึงขั้นยุติการให้
คําปรึกษา ไม่ควรเป็นกลุ่มแบบเปิด ( Opened Groups ) เพราะกลุ่มลักษณะนี้จะมีการเข้าออกของ
สมาชิกกลุ่มอยู่ตลอดเวลา คือสมาชิกเก่าออกไปสมาชิกใหม่เข้ามาแทนที่ ทําให้การให้คําปรึกษาขาดความ
ต่อเนื่อง การที่กลุ่มจะมีพัฒนาการไปถึงขั้นการวางแผนแก้ปัญหา จะทําได้ยากและความรู้สึกปลอดภัยจะ
ลดลง เพราะสมาชิกกลุ่มจะต้องคอยปรับตัวต่อสถานการณ์ ที่มีสมาชิกใหม่เข้ามาอยู่ตลอดเวลา ทําให้เป็น
อุปสรรคต่อการเจริญงอกงามของกลุ่มได้

 สถานที่และอุปกรณ์ในการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


98
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

การให้คําปรึกษาแบบกลุ่มที่มีประสิทธิภาพอาจจัดได้โดยใช้สถานที่และอุปกรณ์น้อยที่สุดเพียงให้มีที่
กว้างพอสําหรับเก้าอี้ 11 ตัว จัดเป็นวงกลมในห้อง ซึ่งผู้มาขอรับคําปรึกษาสามารถพูดได้อย่างอิสระ โดย
ไม่มีใครนอกห้องได้ยิน ห้องที่ใช้ในการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม ที่ดึงดูดความสนใจของสมาชิก ควรเป็นห้องที่มี
ขนาดกว้างพอสมควร จะช่วยให้ผู้มาขอรับคําปรึกษาแสดง บทบาทหรือสาธิตพฤติกรรมต่าง ๆได้อย่างสะดวก
อนึ่งพื้นห้องถ้าปูพรม หรือสะอาดพอ สมาชิกก็อาจจะเปลี่ยนจากการนั่งเก้าอี้เป็นการนั่งกับพื้นแทน เมื่อเกิด
ความรู้สึกว่าเหมาะสมที่จะทําเช่นนั้น นอกจากนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกภาพและเสียงจัดว่าเป็นเครื่องมือ
สําคัญในการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม เพราะการบันทึกภาพและเสียง ทําให้ผู้ให้คําปรึกษาสามารถนําเหตุการณ์
มาทบทวนพิจารณาถึงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม ช่วยให้สามารถวิจารณ์บทบาทที่แสดงออก
และที่เล่นบทบาทสมมุติของสมาชิก ทั้งยังช่วยให้ผู้มาขอรับคําปรึกษาได้รู้จักพฤติกรรมที่ไม่ส่งผลดีของตน
และรู้จักความต้องการที่ไม่ได้กล่าวออก มาทางวาจา และช่วยให้สมาชิกกลุ่ม ได้ประเมินอิทธิพลของกันและ
กันในด้านที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในกลุ่ม

เทคนิคการให้คําปรึกษา Techniques of Counseling

นอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การให้คําปรึกษาบรรลุถึงเป้าหมายแล้ว ยังจะช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดี
ต่อกันระหว่างผู้ให้คําปรึกษากับผู้รับคําปรึกษา ซึ่งมีผลสะท้อนให้กระบวนการของการให้คําปรึกษาเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการทําความเข้าใจและฝึกฝนกลวิธีดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจําเป็นในการให้คําปรึกษา
1. เทคนิคการเริ่มต้นการให้คําปรึกษา (Opening the Interview)
เป็นเทคนิคที่ผู้ให้คําปรึกษาต้องการที่จะเริ่มต้นพูดคุยกับผู้รับคําปรึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้
ผู้รับคําปรึกษารู้สึกสบายใจ รู้สึกอบอุ่น พร้อมที่จะร่วมมือในกระบวนการการให้คําปรึกษาอย่างเต็มใจ
ถ้าผู้ให้คําปรึกษาประสบความสําเร็จในการใช้เทคนิคนี้จะทําให้สามารถดําเนินการให้คําปรึกษาได้
อย่างรวดเร็วขึ้น
ตัวอย่าง
ผู้ให้คําปรึกษา : เชิญนั่งค่ะดวงใจ หนูมีอะไรจะเล่าให้ครูฟังคะ
ผู้ให้คําปรึกษา : สมจิต มีอะไรจะให้อาจารย์ช่วยเหลือคะ
นอกจากนี้ยังอาจใช้เทคนิคในการนําเข้าสู่การสนทนาดังนี้

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


99
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

1.1 การนําเข้าสู่การสนทนาโดยตรง เป็นการกระตุ้นให้การสนทนาดําเนินต่อไปอีก ทั้งยัง


เป็นการช่วยให้ผู้รับคําปรึกษา ได้ขยายความถึงเรื่องราวที่กําลังสนทนาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถ
ช่วยให้ผู้รับคําปรึกษา ได้เข้าใจถึงเรื่องราวที่ตนกําลังพูดให้แจ่มชัดยิ่งขึ้นเช่น
ผู้ให้คําปรึกษา : คุณลองเล่าเพิ่มเติมอีกหน่อยสิเกี่ยวกับเพื่อนสนิทคนนี้ของคุณ
ผู้ให้คําปรึกษา : ตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ชัดเจนอีกหน่อยสิครับ
ผู้ให้คําปรึกษา : นักเรียนลองเล่าถึงความขัดแย้งระหว่างนักเรียนกับเพื่อนในกลุ่มเพิ่มเติมให้ครูฟังอีกหน่อยสิ
1.2 การนําสนทนาให้เข้าประเด็น บางครั้งผู้รับคําปรึกษาอาจเกิดความสับสนในเรื่องที่
กําลังสนทนากันโดยเฉพาะในตอนต้นของการสนทนาเกี่ยวกับปัญหาของผู้รับคําปรึกษาเทคนิคนี้จะช่วยให้
ผู้รับคําปรึกษาได้ทราบถึงประเด็นที่กําลังคุยกันได้แน่ชัดอันเป็นการช่วยให้ได้มองถึงปัญหานั้นอย่างตรงไปอีก
ด้วยเช่น
ผู้ให้คําปรึกษา : คุณรู้สึกอย่างไรกับเรื่องที่คุยกันอยู่นี้
ผู้ให้คําปรึกษา : เราได้คุยกันมาหลายเรื่องแล้วมีเรื่องไหนที่นักเรียนอยากคุยกับครูมากที่สุด
ผู้ให้คําปรึกษา : นักเรียนโรงเรียนบอกถึงความรู้สึกของนักเรียนให้ชัดเจนอีกครั้งสิว่านักเรียนมีความรู้สึก
อย่างไรกับอาจารย์ประจําชั้นของนักเรียน
2. เทคนิคการตั้งคําถาม (Questioning) ผู้ให้คําปรึกษา สามารถใช้คําถามเพื่อให้ได้ข้อมูลในด้าน
ต่างๆเพิ่มเติม เช่น ภูมิหลัง ความสนใจ จุดอ่อนของผู้รับคําปรึกษา เพื่อที่จะช่วยผู้รับคําปรึกษา ได้มีโอกาส
เข้าใจถึงปัญหาและตัวผู้รับคําปรึกษาได้ดียิ่งขึ้น คําถามที่ดีจะเป็นคําถามที่ช่วยให้ผู้รับคําปรึกษา ได้
เข้าใจถึงปัญหาตลอดถึงอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง คําถามที่จะนําไปสู่คําตอบว่า “ใช่-ไม่ใช่”
“จริง-ไม่จริง” เป็นคําถามที่ จะตัดการสนทนาหรือการบอกเล่าอย่างละเอียดจากปากของผู้รับคําปรึกษา เช่น
“เธอไม่เห็นด้วยกับเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ใช่ไหม” แต่ควรจะเปลี่ยนเป็น “ลองเล่าถึงสาเหตุของเรื่องนี้ให้ฟังหน่อยสิ”
หรือ “เธอมีความรู้สึกอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้นนี้” หรือ “อะไรเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดเรื่องนี้” หรือ “อะไรเป็น
สาเหตุที่ทําให้นักเรียนรู้สึกเช่นนี้”
2.1กําหนดวัตถุประสงค์การถามว่าต้องการข้อมูลแบบใด
- ปลายเปิด เพื่อให้ผู้มาขอรับคําปรึกษาได้เล่าข้อมูล
- ปลายปิด เมื่อต้องการคําตอบสั้น เจาะจง ย้ําความมั่นใจ
2.2 สรุป/ทวนซ้ําก่อน แล้วจึงตั้งคําถามต่อไป
2.3 เมื่อถามแล้วให้รอฟังคําตอบอย่างใส่ใจ
2.4 ไม่ควรถามบ่อยเกินไป
2.5 หลีกเลี่ยงการถาม “ทําไม”
3.การสอบซัก (Probing) เป็นการป้อนคําถามตรงๆ หลายๆคําถามติดต่อกัน เพื่อดึงเอาคําตอบจาก
ผู้รับคําปรึกษาออกมา วิธีการสอบซักนี้ ผู้ให้คําปรึกษาไม่ควรใช้บ่อยนัก เพราะเป็นการรีบเร่งกระบวนการ
ในการให้คําปรึกษาโดยใช้การสอบซักให้ได้คําตอบมาเร็วเกินกว่าที่ผู้รับคําปรึกษาจะมีความพร้อมที่จะพูดถึง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


100
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ปัญหาของเขา วิธีการสอบซักใช้ได้ผลเมื่อผู้รับคําปรึกษาพยายามหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงจุดสําคัญของปัญหา
อยู่ตลอดเวลา ควรสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกของผู้รับคําปรึกษาไปพร้อมกันด้วย และถ้าหาก
เกิดการต่อต้าน ก็ควรหยุดใช้ทันที เช่น
ผู้รับคําปรึกษา : เราเคยมีความสัมพันธ์กันครับ
ผู้ให้คําปรึกษา : มีความสัมพันธ์กันลึกซึ้งขนาดไหน
หรือ ผู้ให้คําปรึกษา : ลองเล่าถึงเพื่อนสนิทให้ฟังหน่อยสิ
ผู้รับคําปรึกษา : เพื่อนสนิทของผมมีน้อยมากครับ
ผู้ให้คําปรึกษา : มีกี่คน

4.การเงียบ (Silence) การเงียบเป็นกลวิธีหนึ่ง ใช้ภายหลังจากที่ผู้ให้คําปรึกษาป้อนคําถาม


ให้แก่ผู้รับคําปรึกษา และผู้รับคําปรึกษากําลังคิดว่าจะตอบปัญหานั้นหรือไม่ หรือจะตอบปัญหานั้น
อย่างไรดี การใช้กลวิธีการเงียบ เพื่อคอยฟังคําตอบจากผู้รับคําปรึกษานั้น อาจสร้างความอึดอัดใจแก่ผู้ให้
คําปรึกษา ที่เริ่มฝึกหัดเพราะขาดประสบการณ์ เมื่อผู้รับคําปรึกษาไม่พูด จึงมักจะรีบพูดเสียงเอง ทําให้
ความคิดของผู้รับคําปรึกษาหยุดชะงักลง เมื่อผู้รับคําปรึกษานิ่งเงียบ ผู้ให้คําปรึกษาจะแสดงก็เพียงแต่ท่าที
ของความใส่ใจ และให้ผู้รับคําปรึกษาทราบว่า เราตั้งใจรอฟังเรื่องราวอยู่ ซึ่งการเงียบอาจกินเวลานาน 2-3
นาที แต่ถ้าเห็นว่าผู้รับคําปรึกษานิ่งเงียบนานเกินไป ก็อาจพูดขึ้นว่า “บางครั้งเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับเรานั้นมัน
ยากที่จะบรรยายออกมาเป็นคําพูด”หรือ “คุณรู้สึกอย่างไรก็พูดออกมาอย่างนั้นก็ได้” หรือ “คุณคงกําลังคิด
อยู่ว่าจะพูดออกมาอย่างไรคุณค่อยๆคิดก็ได้ เมื่อคิดได้แล้วค่อยพูดออกมา ฉันจะคอยฟังคุณพูด”
ตัวอย่างที่ 1 การเงียบเพื่อใช้ความคิด
ผู้ให้คําปรึกษา: เธอลองคิดดูซิ การที่เธอไม่ชอบครูแล้วไม่เข้าเรียนผลเสียจะตกอยู่กับใครกันแน่
ผู้รับคําปรึกษา: เงียบ
ตัวอย่างที่ 2 การเงียบเพื่อขัดยั้งความคิด
ผู้รับคําปรึกษา: ผมเกลียดพี่สาว ผมเลยเอาจิ้งหรีดไปใส่ไว้ในเสื้อแก ดีสมน้ําหน้าพ่ออยากรักพี่มากกว่าผ
ผู้ให้คําปรึกษา: เงียบ.... แล้วมองผู้รับคําปรึกษาอย่างเดียว

**การเงียบ แบ่งเป็น2ลักษณะ คือ


1. การเงียบทางบวก 2. การเงียบทางลบ
 ให้ Cl ใช้ความคิดในการค้นหาประเด็น  Co ไม่รู้จะพูดอะไร นึกไม่ออก
ปัญหา  Cl เงียบเนื่องจากไม่สบายใจ
 เมื่อ Cl แสดงอารมณ์หรือความรู้สึกออกมา  Cl เงียบเนื่องจากไม่อยากพูดเรื่องตน
เป็นการให้กําลังใจและเข้าใจ  Cl เงียบเนื่องจากไม่พอใจ ต่อต้าน ปฏิเสธ
 เมื่อ Cl จบประเด็นปัญหา หรืออาจ สับสน
 เพื่อให้ Coพูด เช่น ให้กําลังใจ,ข้อมูล

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


101
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

5.การทบทวนประโยค หรือ การทวนซ้ํา (Paraphrasing) หมายถึง การพูดซ้ําประโยคที่ผู้รับ


คําปรึกษาพูดมา แต่ใช้ถ้อยคําน้อยลง ขณะเดียวกันก็ยังคงความหมายเดิมอยู่ จุดประสงค์ของการทบทวน
ประโยค ก็เพื่อจะบอกให้ผู้รับคําปรึกษาทราบว่า ผู้ให้คําปรึกษาเข้าใจเรื่องราวที่ผู้รับคําปรึกษาพูดมา และ
ยังคงติดตามฟังเรื่องราวของผู้รับคําปรึกษาอยู่ เช่น
ผู้รับคําปรึกษา: ผมไม่เข้าใจคุณพ่อผมจริงๆ บางทีตอนเช้าบอกให้ทําอย่างหนึ่ง แต่พอตอนเย็นกลับ
บอกให้ทําอีกหลังหนึ่ง
ผู้ให้คําปรึกษา : คุณไม่เข้าใจคุณพ่อของคุณ
ผู้รับคําปรึกษา : ครับมากที่สุดเลยครับ
ในระหว่างการให้คําปรึกษา บางครั้งผู้รับคําปรึกษาอาจไม่ปรารถนาที่จะพูดถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น
ออกมาตรงๆ จะพูดออกมาในประโยคที่กํากวม ผู้ให้คําปรึกษาอาจหยิบยกเอาความหมายที่แฝงอยู่ออกมา
แสดงให้ชัดเจน ด้วยการทบทวนประโยคดังกล่าวใหม่ ทําให้เกิดความชัดเจน เช่น
ผู้รับคําปรึกษา : ผมรักและนับถือคุณอาของผมคนนี้ ที่ผมมาอาศัยอยู่ด้วย ท่านให้ความช่วยเหลือผม
อย่างสม่ําเสมอ แม้แต่กระทั่งเรื่องเงิน เขาก็ให้ผมไว้ใช้จ่าย ขณะเดียวกันท่านก็คอยเข้มงวดกวดขันการเรียน
ของผมอยู่เสมอ แต่ท่านก็บอกว่าท่านปรารถนาดีต่อผม ผมเลยไม่รู้จะทําอย่างไร
ผู้ให้คําปรึกษา : คุณชื่นชมในความช่วยเหลือของท่าน แต่ผมพอจะจับความรู้สึกของคุณได้ว่า คุณ
รู้สึกรําคาญในความเอาใจใส่ที่มากเกินไปของท่าน
ผู้รับคําปรึกษา : คงจะเป็นอย่างนั้นครับเพราะผมรู้สึกสับสนในตัวท่านจริงๆ

6.การสรุป (Summarizing) ในระหว่างการให้คําปรึกษา ผู้ให้คําปรึกษากับผู้รับคําปรึกษาสนทนา


กันหลายเรื่องพร้อมๆกัน และอาจเกิดความสับสน ดังนั้น การใช้ทักษะในการสรุป ก็คือการพยายาม
รวบรวม สิ่งที่พูดกันไปแล้วนั้นให้เป็นประโยคเดียว โดยครอบคลุมเนื้อหาและเนื้อเรื่องต่างๆที่ได้
สนทนามาแต่ละตอนของการสนทนา ในการสรุปจําเป็นต้องอาศัยความจําในเรื่องราวต่างๆที่พูดคุยกันมา
เป็นอย่างดี สิ่งที่พึงระวังในการสรุปก็คือ อย่านําเอาความคิดใหม่เพิ่มเติมเข้ามาในการสรุปแต่ควร
เป็นการรวบรวมสิ่งต่างๆที่ได้พูดคุยกันมาแล้ว เช่น
1) ผู้ให้คําปรึกษา : จากเรื่องที่คุณพูดมาเกี่ยวกับครอบครัวของคุณ ความสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้น
และการเรียนของคุณนั้น ดูเหมือนคุณจะประสบความล้มเหลวในเรื่องเหล่านี้
2) ผู้ให้คําปรึกษา: จากที่หนูเล่ามาทั้งหมด หนูไม่ชอบคุณพ่อ เพราะคุณพ่อทิ้งหนูไป และหนูก็อยาก
ที่จะแก้ไขตรงจุดนี้ โดยต้องการมีครอบครัวที่อบอุ่น เพื่อไม่ให้เหมือนอดีตของหนู
3) ผู้ให้คําปรึกษา : หนูอยากให้เพื่อนๆ ให้ความสําคัญกับหนู และหนูจะรู้สึกไม่ดีถ้าเพื่อนหันไปสนใจ
เพื่อนกลุ่มอื่น หนูจึงทําทุกอย่างให้เพื่อนสนใจหนูมากกว่านี้

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


102
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

**การสรุปจะช่วยให้คู่สนทนาเข้าใจเรื่องราวที่กําลังสนทนากันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการ
ช่วยให้ผู้รับคําปรึกษา ได้สํารวจความคิดหรือความรู้สึกของตนเอง หรืออาจนําไปสู่การสนทนาในเรื่อง
อื่นต่อไป

7.การสะท้อนความรู้สึก (Reflection of feeling) การนําเอาข้อความและคําพูดของผู้รับ


คําปรึกษามาตีความหมาย และพูดออกมาในเชิงของความรู้สึก ที่แฝงอยู่ในเนื้อหานั้น โดยผู้ให้คําปรึกษา
อาจถอดข้อความและคําพูดนั้นใหม่ โดยพยายามเน้นถึงความรู้สึกของผู้รับคําปรึกษา มากกว่าทางด้านคําพูด
ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับคําปรึกษา ได้รับรู้และเข้าใจถึงความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง เมื่อผู้รับคําปรึกษาเข้าใจถึง
ความรู้สึกของตนเองแล้ว จะช่วยให้การให้คําปรึกษาดําเนินไปอย่างราบรื่นและตรงเป้าหมาย การสะท้อน
ความรู้สึกเป็นกลวิธีที่ผู้ให้คําปรึกษาที่ยึดแนวทางของ Person Centered Theory ใช้เพื่อช่วยให้ผู้รับ
คําปรึกษาเผชิญกับความรู้สึกของตนเอง และสามารถแสดงความรู้สึกของตนออกมาด้วยวาจา โดยปราศจาก
ความวิตกกังวล เช่น
ผู้รับคําปรึกษา : วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ผมรักและสนใจมากและเคยทําคะแนนได้สูงกว่าวิชาอื่น
ผมก็อดรวมไม่ได้เมื่อถึงเวลาสอบ
ผู้ให้คําปรึกษา : เธอรู้สึกขาดความมั่นใจในเวลาสอบ แม้ว่าจะเป็นวิชาที่เธอถนัดก็ตาม
8.การตีความ(Interpretation) ในระหว่างการให้คําปรึกษา ผู้รับคําปรึกษาอาจกล่าวถึงเรื่องราว
บางสิ่ง ที่มีความหมายสืบเนื่องมาจากเรื่องราวที่เคยกล่าวมาแล้ว และในขณะนั้นผู้ให้คําปรึกษาอาจมองเห็น
ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเดิม จึงใช้วิธีการตีความ เพื่อให้ผู้รับคําปรึกษาเห็นความเกี่ยวข้องของปัญหา
และยอมรับในปัญหานั้น หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า การตีความเป็นกระบวนการที่ผู้ให้คําปรึกษาอธิบาย
ความหมายของเหตุการณ์ ให้ผู้รับคําปรึกษาได้เข้าใจปัญหาของตนเองในด้านอื่นที่อาจยังไม่ได้
มองมาก่อน ซึ่งต่างจากการทบทวนประโยค(Paraphrasing) ในแง่ที่ว่า การตีความนั้นผู้ให้
คําปรึกษาได้เสนอกรอบแนวความคิดใหม่ ให้ผู้รับคําปรึกษาได้พิจารณาปัญหาของตนเอง การตีความ
จะช่วยให้ผู้รับคําปรึกษาเข้าใจถึงปัญหาของตนเองได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างที่ 1
ผู้รับคําปรึกษา : เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แฟนผมไปหาผมที่บ้าน แล้วแฟนผมก็ไม่ค่อยคุยกับครอบครัว
ผมเลย ผมรู้สึกลําบากใจในการที่แฟนมาที่บ้านผม
ผู้ให้คําปรึกษา : คุณรู้สึกกลัวว่าแฟนจะเข้ากับครอบครัวคุณไม่ได้
ตัวอย่างที่ 2
ผู้รับคําปรึกษา : หนูรู้สึกกลัวที่ต้องออกไปรายงานหน้าห้องเรียน
ผู้ให้คําปรึกษา : หนูรู้สึกไม่มั่นใจกับงานที่นํามาเสนอใช่ไหม
**ตัวอย่างเปรียบเทียบกลวิธีแบบการทบทวนประโยค (Paraphrasing) การสะท้อนความรู้สึก
(Reflection of feeling) การตีความ (Interpretation)

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


103
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ผู้รับคําปรึกษา : เมื่อคืนผมไปงานวันเกิดของเพื่อนร่วมงานที่บริษัท ผมดื่มจัด แล้วผมก็ร้องไห้


ออกมาครวญครางเหมือนเด็ก ผมรู้สึกละอายแก่ใจตนเองเหลือเกิน
ทบทวนประโยค(Paraphrasing)
ผู้ให้คําปรึกษา : คุณดื่มมากจนกระทั่งร้องไห้และคุณรู้สึกละอายใจเมื่อได้พูดถึงมัน
การสะท้อนความรู้สึก(Reflection of feeling)
ผู้ให้คําปรึกษา : คุณรู้สึกเสียใจเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อคืนนี้
การตีความ(Interpretation)
ผู้ให้คําปรึกษา : คุณรู้สึกละอายใจที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ในคืนนั้น

9.การชี้แนะ (Suggesting) เป็นวิธีในการเสนอความคิด หรือวิธีการแก้ไขปัญหาแบบอ้อมๆ เพื่อจูง


ใจให้ผู้รับคําปรึกษา คิดแก้ไขปัญหา หรือรับเอาวิธีนั้นไว้ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป เช่น
ผู้รับคําปรึกษา : ผมเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ค่อยเข้าใจเลยไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไรดี
ผู้ให้คําปรึกษา : เธอคงเคยคิดจะจัดกลุ่มติววิชานี้กันแล้วสินะ

10.การพูดให้กําลังใจหรือเห็นด้วยเล็กๆน้อยๆ (Minimal encouragement) เป็นวิธีในการ


เสนอความคิดหรือวิธีการแก้ไขปัญหาแบบอ้อมๆเพื่อจูงใจให้ผู้รับคําปรึกษาคิดแก้ไขปัญหาหรือรับเอาวิธีนั้นไว้
ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 1
ผู้รับคําปรึกษา : ผมอยากจะแบ่งเบาภาระที่บ้าน ผมคิดว่าจะหางานพิเศษทํา จะได้ไม่เดือดร้อน
ผู้ให้คําปรึกษา : ดีแล้ว แล้วเธอได้งานหรือยังหละ
ตัวอย่างที่ 2
ผู้รับคําปรึกษา : คราวที่แล้วผมว่ายน้ําแข่งได้เรียนเงิน แต่คราวนี้ผมจะพยายามฝึกซ้อมให้มากขึ้น
จะได้ ได้เหรียญทอง
ผู้ให้คําปรึกษา : ครูขอเป็นกําลังใจให้เธอด้วยนะ
ตัวอย่างที่ 3
ผู้รับคําปรึกษา : ผมจะเที่ยวให้น้อยลง เพื่อทําให้แม่สบายใจ
ผู้ให้คําปรึกษา : ครูเชื่อว่าเธอต้องทําได้อย่างแน่นอน
ตัวอย่างที่ 4
ผู้รับคําปรึกษา : ผมเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ค่อยเข้าใจเลยไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไรดี
ผู้ให้คําปรึกษา : เธอคงเคยคิดจะจัดกลุ่มติววิชานี้กันแล้วสินะ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


104
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ในกรณีที่เมื่อผู้รับคําปรึกษาแสดงทรรศนะ หรือโครงการต่อผู้ให้คําปรึกษาและผู้ให้คําปรึกษามั่นใจว่า ทัศนะ


หรือโครงการนั้นถูกต้องและได้ผลดีจริง ผู้ให้คําปรึกษาจะแสดงออก เพื่อเป็นการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับ เช่น
ผู้รับคําปรึกษา : ผมรู้สึกกังวลกับคะแนนเฉลี่ยมากจนเกินไปทั้งๆที่ผมได้คะแนนเฉลี่ย 3.5 7
ผู้ให้คําปรึกษา : นั่นสิโดยทั่วไปแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรน่าวิตกมากนัก
11.การเผชิญหน้า(Confrontation) การเผชิญหน้าเป็นกลวิธีหนึ่งที่ผู้ให้คําปรึกษาจะบอกถึง
ความรู้สึกและความคิดเห็นของตนเองต่อผู้รับคําปรึกษาอย่างตรงไปตรงมา เพื่อช่วยให้ผู้รับคําปรึกษาได้
เข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนพฤติกรรมของตนเองได้ถูกต้อง ตรงตามความจริงมากขึ้น เช่น
ผู้รับคําปรึกษา : ผมพยายามทําดีกับเพื่อนในชั้นทุกคนแต่ก็ยังมีบางคนที่ไม่ชอบหน้าผมทําให้ผมรู้สึก
ผิดหวังมาก
ผู้ให้คําปรึกษา : มีใครบ้างไหมในโลกนี้ ที่สามารถทําให้คนรอบข้างเราทุกคนรักเราด้วยความจริงใจ
12. การท้าทาย(challenge) เป็นกลวิธีอีกชนิดหนึ่งที่จะกระตุ้นให้ผู้รับคําปรึกษาต้องใช้ความ
ตั้งใจมากขึ้นในการแก้ปัญหา แต่ในเวลาเดียวกัน กลวิธีดังกล่าวก็อาจสร้างความกังวลใจแก่ผู้รับคําปรึกษา
มากขึ้นได้เช่น
ผู้รับคําปรึกษา : เทอมนี้ผมจะต้องพยายามทําให้ได้ A สัก 4 วิชา
ผู้ให้คําปรึกษา : เธอแน่ใจว่าจะทําได้หรือ
13.การฟัง (Listening) นับว่าเป็นสิ่งที่จําเป็นสําหรับผู้ให้คําปรึกษาทุกคน การฟังเป็นศิลปะที่ต้อง
อาศัยความอดทน และต้องใช้สมาธิเป็นอย่างมาก เพราะในระหว่างการให้คําปรึกษานั้น ผู้ให้คําปรึกษามิใช่จะ
รับฟังแต่เพียงเรื่องราวที่ผู้รับคําปรึกษาเราอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องทําความเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้รับ
คําปรึกษาในขณะนั้น พร้อมทั้งร่วมรับอารมณ์ของผู้รับคําปรึกษาไปด้วย
ในขณะที่ผู้ให้คําปรึกษารับฟังผู้รับคําปรึกษาอยู่นั้น ผู้ให้คําปรึกษาจําเป็นต้องแสดงความเอาใจใส่ต่อ
ผู้รับคําปรึกษา ซึ่งอาจแสดงออกได้โดยการสบตา หรือพยักหน้าเล็กน้อยในขณะที่รับฟัง หรือพูดเสริมขึ้น
ภายหลังจากที่ผู้รับฟังปรึกษาพูดจบ เช่น
ผู้ให้คําปรึกษา : อืม..(พยักหน้าเล็กน้อย) ผมเข้าใจว่าคุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้
**ลักษณะท่าทางในการนั่งทีโ่ น้มตัวไปข้างหน้าพอสมควรของผู้รับคําปรึกษาก็เป็นสิ่งสําคัญประการ
หนึ่งที่จะแสดงออกถึงความเอาใจใส่ต่อผู้รับคําปรึกษาในขณะนั้นอีกด้วย
 เทคนิคการฟังที่ดี ได้แก่
- ตั้งใจฟัง มีสมาธิ จดจ่อและมองผู้มารับคําปรึกษา
- ติดตามเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง
- ถ้าไม่เข้าใจ ควรถามให้ชัดเจน หรือเพื่อทบทวน และควรรอให้เพื่อนพูดจบ
- ไม่พูดแทรกหรือก่อความรําคาญ เช่น รับโทรศัพท์ เล่นโทรศัพท์
- การตีความหมายไม่ควรนําความคิดหรือประสบการณ์ตนเองไปตีความหมายเอง
- จับประเด็นหรือใจความสําคัญให้ได้
14.การสรุป (Summary) การใช้ทักษะในการสรุปก็คือ การพยายามรวบรวมสิ่งที่พูดกันไปแล้ว
นั้นให้เป็นประโยคเดียว โดยครอบคลุมเนื้อเรื่องต่างๆ ที่ได้สนทนามาในแต่ละตอนของการสนทนา ใน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


105
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

การสรุปจําเป็นต้องอาศัยความจําในเรื่องราวต่างๆที่พูดคุยกันมาเป็นอย่างดี สิ่งที่พึงในการระลึกถึงก็คือ อย่า


นําเอาความคิดใหม่เพิ่มเติมเข้ามาในการสรุป แต่ควรเป็นการรวบรวมสิ่งต่างๆที่ได้พูดคุยกันมาแล้ว

7. ทฤษฎีการให้คําปรึกษา

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์

เป้าหมายที่สําคัญของการใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ไปให้คําปรึกษาแก่ Client มีดังต่อไปนี้


1.ดึงแรงจูงใจในระดับจิตไร้สํานึกมาสู่ระดับจิตสํานึก เป็นการทําให้ ego เข้มแข็งขึ้นทําให้ Client
เข้าใจสาเหตุของพฤติกรรม นําไปสู่การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ เช่นคนไข้ระบายความโกรธมาสู่เราซึ่งเป็น
Counselor โดยมีสาเหตุจากจิตใต้สํานึกเกลียดพ่อ และบังเอิญตัวเรามีอะไรบางอย่างเหมือนพ่อของเขา ถ้า
เรารู้ความจริงเช่นนี้ ต้องดึงสิ่งที่อยู่ในจิตไร้สํานึกของคนไข้ออกมาให้เขารับรู้และเข้าใจ
2.ลดความวิตกกังวลของ Client เพื่อใช้ระบบเหตุผลในการพิจารณาสิ่งต่างๆตามข้อเท็จจริง
ลดการใช้กลไกป้องกันตัวเอง เช่นทุกครั้งที่พูดถึงแม่ Client จะมีท่าทางอึดอัด พูดตะกุกตะกักและไม่ยอม
ตอบคําถามใดๆเกี่ยวกับเรื่องแม่ แสดงว่าคนไข้ต้องมีความขัดแย้งกับแม่
และใช้กลไกป้องกันตัวเอง เราต้องพูดให้คนไข้เข้าใจและยอมรับถึงปัญหาดังกล่าว แล้วมาพิจารณาตาม
ข้อเท็จจริงว่า ทําไม Client จึงไม่อยากพูดถึงแม่ เมื่อรู้ความจริงแล้ว เราจึงจะช่วยเหลือเขาได้
3. ช่วยให้ Client สามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น รับผิดชอบและแก้ไขปัญหาได้ด้วย
ตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น เมื่อเราสามรถชี้ให้ Client เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงของเขา จนเขายอมรับแล้ว
ต่อไปเขาจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง เพราะเข้าใจปัญหาดีแล้ว
4.หลังจากที่ Client เข้าใจตัวเอง เข้าใจปัญหา ยอมรับและสามารถพึ่งพาตัวเองได้แล้ว
Client จะมีสุขภาพจิตที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความสุข

ทฤษฎีทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ของ Alfred Adler

ประวัติ Alfred Adler เกิดประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1870 ครอบครัวของเขา


มีฐานะปานกลาง Adler เป็นบุตรคนที่ 3 ในจํานวนพี่น้อง 7 คน การศึกษาหลังจากเรียนจบการศึกษา
เบื้องต้นแล้วเขาได้เข้าการศึกษาแพทย์ที่ Vienna Medical School จาก การศึกษาที่นี่เขาได้รับการเน้นว่า
แพทย์ต้องทําการรักษาคนไข้ทุกเรื่อที่ เกี่ยวข้องกับตัวเขาทั้งหมดไม่เฉพาะแต่เรื่องความเจ็บป่วยเท่านั้น

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


106
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

Adler ชอบคําสอนที่ว่า “ถ้าคุณต้องการเป็นหมอที่ดี คุณก็ต้องเป็นคนที่มีความเมตตากรุณา”


( If you want to be a good doctor, you have to be a kind person) คํากล่าวนี้เป็นสิ่งที่เขาสนใจ
มากและจดจําไม่ลืม ลูกคนสุดท้อง มักมีบุคลิกภาพเป็นคนที่เอาแต่ใจตนเอง ช่างประจบ ชอบให้คนอื่น
ช่วยเหลือ ได้รับความรักจากพ่อแม่พี่ๆ ค่อนข้างมาก ถ้าเลี้ยงดีก็จะดีมากแต่ถ้าเลี้ยงตามใจมากเด็กอาจเสียใน
ที่สุดลูกโทน มักจะมีบุคลิกภาพที่มักจะเอาแต่ใจตนเอง มักถูกตามใจจนเคยตัว แต่ถ้าครอบครัวสอนให้รู้เหตุ
รู้ผล ลูกโทนจะมีความเชื่อมั่นในตนเอง องอาจ นับถือตนเอง แต่ความรับผิดชอบอาจน้อยเพราะต้องการ
อะไรก็มักจะได้โดยง่ายจึงไม่รู้ค่าของสิ่งที่มี
แนวคิดของ Adler ยังเน้นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และเขาบอกว่าการดูคนต้องดูทั้งหมด
ดูทุกแง่ทุกมุมและนําความรู้จากการดูนั้นมาทําความเข้าใจบุคคลนั้นทั้งหมด ( Person as a whole ) และ
เด็กจะรู้ถึง”ตน” เมื่ออายุ 2 ขวบ และเด็กก็จะรู้ถึงความ”เด่น” และความ”ด้อย” ด้วยเช่นกัน

ทฤษฎีการเรียนรู้ของเกสตัลท์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์กลุ่มนี้เกิดจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 ได้
ชื่อว่า “กลุ่มจิตวิทยาส่วนร่วม” คําว่า “Gestalt” หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดหรือโครงสร้างทั้งหมด
(totality หรือ configuration) กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดสมัยเดียวกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิด
ในเยอรมัน กลุ่มพฤติกรรมนิยม เกิดในอเมริกา กลุ่มนี้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ปัญญานิยม”(cognitivism)
ผู้นํากลุ่มที่สําคัญ คือ เวอร์ธไฮเมอร์ (Max Wertheimer, 1880 – 1943) คอฟฟ์กา (Koffka) และเลวิน
(Lewin)และโคเลอร์ (Wolfgang Kohler, 1886 – 1941)ทั้งกลุ่มมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกิดจาก
การจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกัน เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป
กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt) เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์ไม่ได้มีลักษณะของการสมยอมและเป็น
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่ง เร้าโดยอัตโนมัติ ตรงกันข้ามเมื่อมนุษย์พบสิ่งเร้า มนุษย์จะตีความแล้วจัดเสียใหม่
ให้เป็นระบบและมีความหมาย ดังนั้นพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมาจึงมิใช่การตอบสนองตามเงื่อนไขแต่
เพียง อย่างเดียว แต่พฤติกรรมที่แสดงออกได้สะท้อนให้เห็นถึงความคิด อารมณ์ และความรู้สึกภายในของ
มนุษย์ด้วย
แนวคิดของกลุ่มเกสตัลท์มีอิทธิพลอย่างมากต่อนักจิตวิทยาสังคมกลุ่มหนึ่งซึ่ง เมื่อนําเอาแนวคิดนี้
มาศึกษาพฤติกรรมมนุษย์แล้ว เสนอว่า มนุษย์มีธรรมชาติดังนี้ คือ
1.1 เอาใจใส่ต่อสิ่งเร้าซึ่งมีลักษณะแปลกใหม่และซับซ้อน
1.2 ต้องการความสอดคล้องกันระหว่างความรู้ความเข้าใจ
1.3 ต้องการความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


107
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

1.4 ต้องการแสวงหาความจริง
1.5 ต้องการควบคุมสิ่งแวดล้อม
นักจิตวิทยาสังคมกลุ่มนี้ได้ชี้ให้เห็นถึง แนวโน้มที่มนุษย์ชอบและแสวงหา ความสอดคล้องกันระหว่าง
ความรู้และความเข้าใจ จากจุดนี้แสดงให้เห็นว่าความต้องการที่จะคิดอย่างมีประสิทธิภาพนั้นสามารถ จูงใจ
คนให้แสดงพฤติกรรมได้

การให้คําปรึกษาแบบทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง

แนวคิด
• มนุษย์มีความสามารถที่จะแก้ปัญหา หรือตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ความทุกข์ ทําให้เกิดความสับสน บดบังความสามารถในการใช้เหตุผล
• มนุษย์มีแนวโน้มที่จะพัฒนาตนเองได้ เมื่ออยู่ในสภาพการณ์ที่เหมาะสม ดังนั้น ผู้ให้บริการ
ปรึกษาจึงควรเน้นจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ผู้รับบริการการ ปรึกษา
• โดยพื้นฐานมนุษย์เป็นคนดีและน่าเชื่อถือ เพราะเกิดกลไกการป้องกันจิตใจตนเอง มนุษย์จึง
แสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
• มนุษย์รับรู้เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ผู้ให้คําปรึกษา
จะต้องเข้าใจกรอบการรับรู้ของผู้รับบริการปรึกษา
จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษาแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
1. ค้นพบ เข้าใจ และยอมรับตนเอง
2. หาทางที่จะพัฒนาปรับปรุงตนเองให้เข้ากับความเป็นจริง
3. เข้าใจตนเองว่าอะไรคืออุปสรรคของความเจริญงอกงามของตน
4. รับรู้ถึงสิ่งที่ทําให้รับ รู้ตนเองผิดไปจากความเป็นจริง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


108
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ทฤษฎีวิเคราะห์ติดต่อสัมพันธ์ (TA)

ทฤษฎีนี้เชื่อว่าสภาวะทั้ง 3 ส่วนนี้ จะมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน แต่สภาวะใดจะเด่นชัดมากน้อยกว่ากัน


ย่อมขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่า พลังทางจิต (Psychic Energy) ของบุคคลนั้นจะไหลไปสู่สภาวะใดมากกว่ากัน

1. สภาวะความเป็นเด็ก (Child Ego State) เมื่อเราอยู่สภาวะตัวตนแบบเด็ก เราจะแสดงออก


เหมือนเด็ก. ไม่ใช่แค่แสดงออกเท่านั้น เราจะคิด รู้สึก มอง ได้ยิน และตอบสนองราวกับเด็กอายุสามขวบ ห้า
ขวบ หรือแปดขวบ.
2. สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ (Adult Ego State) เมื่ออยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ (Adult ego
state) บุคคลจะแสดงออกเหมือนคอมพิวเตอร์. คอมพิวเตอร์จะทํางานตามข้อมูลที่รวบรวมได้และเก็บ
ข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อ ตัดสินใจตามโปรแกรมที่อิงตามหลักตรรกะ.เมื่ออยู่ในในภาวะตัวตนแบบ
3. สภาวะความเป็นบิดามารดา (Parent Ego state) ภาวะตัวแบบพ่อแม่มีลักษณะตรงกับข้าม
กับภาวะตัวตนแบบเด็ก. ภาวะตัวตนแบบพ่อมีจะมีลักษณะเก็บจําล่วงหน้า ด่วนตัดสิน มีอคติล่วงหน้าใน
การดํารงชีวิต. เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ เขาจะคิด รู้สึก และแสดงออกเหมือนพ่อแม่หรือคนที่
เขาถือเป็นแบบอย่าง.

จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษาแบบ TA
1. เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเลือกใช้ Ego Stage แต่ละสภาวะให้เหมาะสม
2. เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเปลี่ยน Ego Stage จากสภาวะหนึ่งไปสู่ Ego Stage อีกสภาวะหนึ่งได้
อย่างเหมาะสม
3. เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาใช้ Adult Ego Stage เพื่อช่วยให้เข้าใจตนเองได้ตรงตามสภาพที่เป็น
จริง และมีเหตุผล ตลอดจนสามารถเป็นตัวของตัวเองอย่างเป็นธรรม
4. เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาอยู่ในตําแหน่งชีวิตแบบ “ I’m OK – you’re OK

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


109
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalytic Theory ) ถูกก่อตั้งโดย Sigmund Freud


หลักการของทฤษฎี
1.ทฤษฎีบุคลิกภาพ ฟรอยด์กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์มีสาระสําคัญดังนี้
• บุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากแรงกระตุ้นของสัญชาตญาณทางด้านชีววิทยาเช่น
ความหิว ความกลัวตาย
• แรงกระตุ้นต่างๆจะนําไปสู่การลดความเครียดทางด้านร่างกาย บางครั้งจะขัดแย้งกับ
สภาพแวดล้อมและขอบเขตของศีลธรรม เช่นความต้องการทางเพศ
• ความเจริญเติบโตทางด้านจิตใจเกิดจากการที่บุคคลสามารถจัดการกับแรงกระตุ้น
ต่างๆได้เหมาะสมหรือไม่
• ความเจริญเติบโตทางด้านจิตใจต้องผ่านไปตามลําดับขั้นของพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็ก
• พฤติกรรมของมนุษย์ถูกกําหนดขึ้นมาจากจิตไร้สํานึกและจิตสํานึก ทุกพฤติกรรมเกิด
เพราะมีสาเหตุทั้งสิ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นอย่างอิสระเสรี
• ระหว่างจิตไร้สํานึกและจิตสํานึกนั้น จิตไร้สํานึกจะมีอิทธิพลต่อความคิดและ
พฤติกรรมมากกว่าจิตสํานึก”
2.โครงสร้างบุคลิกภาพ ฟรอยด์ได้แบ่งจิตใจมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือจิตไร้สํานึก
( Unconscious ) จิตกึ่งรู้สํานึก ( Preconscious ) และจิตรู้สํานึก ( Conscious )

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


110
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

8. การให้คําปรึกษาวัยรุ่น(Counseling for Teenager)


การให้คําปรึกษา คือการช่วยเหลือให้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ด้วยการใช้เทคนิค
ต่าง ของการสร้างความสัมพันธ์ การสื่อสาร ความเข้าใจและมีความรู้สึกอยากช่วยเหลือ ขั้นตอนของการให้
คําปรึกษา ประกอบด้วย การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การสํารวจปัญหา และเลือกเรื่องที่จะทํางานร่วมกัน
การประคับประคองจิตใจให้อารมณ์สงบ การแก้ปัญหากระตุ้นให้มองหาทางเลือก ข้อดีข้อเสีย ชี้แนะ
ช่องทาง ข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ และการให้ตัดสินใจ การทดลองปฏิบัติ และติดตามผลด้วยตนเอง
ก่อนจะยุติการช่วยเหลือ
การให้คําปรึกษาวัยรุ่น นอกจากจะมีความรู้และทักษะการให้คําปรึกษาแล้ว ควรมีความรู้ความ
เข้าใจวัยรุ่น ได้แก่พัฒนาการตามปกติของวัยรุ่น ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในวัยรุ่น

พัฒนาการปกติของวัยรุ่น
วัยรุ่น จะเริ่มต้นตอนอายุประมาณ 12-13 ปี แม้ว่าบางคนจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็ว เช่น บางคนอายุ
9-10 ปีอาจเริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว ก็ไม่ถือว่าผิดปกติ สมัยนี้มีแนวโน้มจะเป็นวัยรุ่นเร็วกว่าสมัยก่อน
เนื่องจากความสมบูรณ์ทางร่างกายที่ดีขึ้น เพศหญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเพศชายประมาณ 2 ปี ในชั้น
ประถมปลาย ป.5-6 จะเห็นผู้หญิงจะเป็นสาวมากกว่าผู้ชาย เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว พัฒนาการของวัยรุ่นจะ
เกิดต่อเนื่องไปจนถึงอายุประมาณ 18 ปี จึงจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ในช่วงวัยรุ่นนี้จะสังเกตตัวเองได้ว่ามีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างมาก ในพัฒนาการด้านต่างๆ ดังนี้
1.พัฒนาการทางร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั่วไป และการเปลี่ยนแปลงทางเพศ
เนื่องจากวัยนี้ มีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนของการเจริญเติบโตอย่างมาก
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ร่างกายจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แขนขาจะยาวขึ้นก่อนจะเห็นการ
เปลี่ยนแปลงอื่นประมาณ 2 ปี เพศหญิงจะไขมันมากกว่าชาย ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากกว่า ทําให้เพศชาย
แข็งแรงกว่า
การเปลี่ยนแปลงทางเพศ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือวัยรุ่นชายจะเป็นหนุ่มขึ้น นมขึ้นพาน(หัวนมโตขึ้น
เล็กน้อย กดเจ็บ) เสียงแตก หนวดเคราขึ้น และเริ่มมีฝันเปียก (การหลั่งน้ําอสุจิในขณะหลับและฝัน
เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ) การเกิดฝันเปียกครั้งแรกเป็นสัญญานของการเข้าสู่วัยรุ่นของเพศชาย ส่วนวัยรุ่นหญิง
จะเป็นสาวขึ้น คือ เต้านมมีขนาดโตขึ้น ไขมันที่เพิ่มขึ้นจะทําให้รูปร่างมีทรวดทรง สะโพกผายออก และ
เริ่มมีประจําเดือนครั้งแรก การมีประจําเดือนครั้งแรก เป็นสัญญานบอกการเข้าสู่วัยรุ่นในหญิง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


111
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ทั้งสองเพศจะมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ ซึ่งจะมีขนาดโตขึ้น และเปลี่ยนเป็นแบบผู้ใหญ่ มี


ขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ มีกลิ่นตัว มีสิวขึ้น
2. พัฒนาการทางจิตใจ
สติปัญญา วัยนี้สติปัญญาจะพัฒนาสูงขึ้น อย่างมาก และรวดเร็ว จนมีความคิดเป็นแบบรูปธรรม
นั่นคือมีความสามารถเรียนรู้ เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆได้ลึกซึ้งขึ้น มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และ
สังเคราะห์สิ่งต่างๆได้มากขึ้นตามลําดับ จนเมื่อพ้นวัยรุ่นแล้ว จะมีความสามารถทางสติปัญญาได้เหมือนผู้ใหญ่
แต่ในช่วงระหว่างวัยรุ่นนี้ ความคิดยังอาจขาดความรอบคอบ ขาดการยั้งคิดหรือไตร่ตรองให้รอบคอบ
มีความคิดที่รวดเร็วแบบหุนหันพลันแล่นมากกว่า เมื่อโตขึ้นกว่านี้จะมีความคิดที่สมบูรณ์ขึ้น คิดรอบด้าน
ได้มากขึ้น โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆในชีวิตนั่นเอง
ความคิดเกี่ยวกับตนเอง วัยนี้จะเริ่มมีความสามารถในการรับรู้ตนเอง ด้านต่างๆ ดังนี้
 เอกลักษณ์ จะเริ่มแสดงออกถึงสิ่งตนเองชอบ สิ่งที่ตนเองถนัด ซึ่งจะแสดงถึงความเป็นตัวตน
ของเขาที่โดดเด่น ได้แก่ วิชาที่ชอบเรียน กีฬาที่ชอบเล่น งานอดิเรก การใช้เวลาว่างให้เกิดความ
เพลิดเพลิน กลุ่มเพื่อนที่ชอบและสนิทสนมด้วย โดยจะเลือกคบคนที่มีส่วนคล้ายคลึงกัน หรือเข้ากันได้
และจะเกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดแบบอย่างจากกลุ่มเพื่อนนี้เอง ทั้งแนวคิด ค่านิยม ระบบจริยธรรม
การแสดงออกและการแก้ปัญหาในชีวิต จนสิ่งเหล่านี้กลายเป็นเอกลักษณ์ของตน และกลายเป็นบุคลิกภาพ
นั่นเอง สิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ตนเองยังมีอีกหลายด้าน ได้แก่ เอกลักษณ์ทางเพศ แฟชั่น ดารา นักร้อง
การแต่งกาย ทางความเชื่อในศาสนา อาชีพ คติประจําใจ เป้าหมายในการดําเนินชีวิต วัยรุ่นที่ไม่เกิด
เอกลักษณ์ของตน จะมีความสับสนในตนเอง ขาดแนวทางหรือเป้าหมายในชีวิตตน และขาดความสุขในการ
การดําเนินชีวิตต่อไป

 การได้รับการยอมรับจากผู้อื่น วัยนี้ต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนอย่างมาก การได้รับการ


ยอมรับจะช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย เห็นคุณค่าของตนเอง มั่นใจตนเอง วัยนี้จึงมักอยาก
เด่นอยากดัง อยากให้มีคนรู้จักมากๆ อาจทําอะไรเพื่อให้คนอื่นสนใจ ถ้ามีจุดดีจุดเด่นให้เพื่อนๆยอมรับ
ได้ จะเป็นที่รักของเพื่อนๆ การมีจุดเด่นนี้ ไม่จําเป็นต้องดีเด่นชนะคนอื่น ไม่ควรจะเด่นจากการแข่งขัน
ให้เหนือกว่าใครๆ แต่สามารถดีเด่นในเรื่องการเป็นคนดี มีประโยชน์ โอบอ้อมอารี เต็มใจช่วยเหลือเพื่อน
มองเพื่อนในแง่ดี มีการสื่อสารที่ดีต่อกัน
 ความภาคภูมิใจตนเอง วัยรุ่นจะพอใจและภูมิใจ ที่ตนเองเป็นที่ยอมรับของเพื่อนและคนอื่นๆได้
รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เป็นคนดีและมีประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ ทําอะไรได้สําเร็จ การทําประโยชน์แก่เพื่อนๆ
เป็นทักษะสําคัญที่ควรมี การมีเพื่อนดีจะช่วยกันสร้างความภาคภูมิใจให้แก่กันได้ การเลือกคบเพื่อนที่ดี
เพื่อนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะช่วยให้มีความภูมิใจตนเองได้

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


112
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

 ความเป็นตัวของตัวเอง วัยนี้จะรักอิสระ เสรีภาพ ไม่ค่อยชอบอยู่ในกฎเกณฑ์กติกาใดๆ ชอบคิด


เอง ทําเอง พึ่งตัวเอง เชื่อความคิดตนเอง มีปฏิกิริยาตอบโต้ผู้ใหญ่(เช่นพ่อแม่ หรือครูอาจารย์) ที่บีบ
บังคับสูง ความอยากรู้อยากเห็นอยากลอง จะมีสูงสุดในวัยนี้ ทําให้อาจเกิดพฤติกรรมเสี่ยงได้ง่าย บางคน
จะขาดการยั้งคิดที่ดี เมื่อตัวเองคิดอย่างไรแล้วก็อยากจะทําตามความคิด โดยขาดการไตร่ตรองให้
รอบคอบ จึงต้องระมัดระวังตัว สร้างและแสดงความเป็นตัวของตัวเอง โดยมีการควบคุมตนเองให้อยู่ใน
กฎเกณฑ์กติกาของส่วนรวมด้วย
 การควบคุมตนเอง วัยนี้จะเรียนรู้ที่จะควบคุมความคิด ควบคุมอารมณ์ ควบคุมการกระทํา ให้
อยู่ในกรอบกติกา ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน การรู้จักยั้งคิด การคิดให้เป็นระบบ จะเป็นประโยชน์ที่ทําให้
สามารถใช้ความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
 อารมณ์ หลายคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจะมีอารมณ์ปั่นป่วน เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดง่าย
เครียดง่าย โกรธง่าย อาจเกิดอารมณ์ซึมเศร้าโดยไม่มีสาเหตุได้ง่าย อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านี้อาจทําให้เกิด
พฤติกรรมเกเร ก้าวร้าว มีผลต่อการเรียนและการดําเนินชีวิตได้ ในวัยรุ่นตอนต้น การควบคุมอารมณ์
ยังไม่ค่อยดีนัก บางครั้งยังทําอะไรตามอารมณ์ตัวเองอยู่บ้าง แต่จะค่อยๆดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนี้
จะมีความรู้สึกหรือมีอารมณ์ทางเพศ ทําให้มีความสนใจใฝ่รู้เรื่องทางเพศ หรือมีพฤติกรรมทางเพศ
เช่น การสําเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เป็นการระบายความรู้สึกทางเพศ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติในวัยนี้
 จริยธรรม วัยนี้จะมีความคิดเชิงอุดมคติสูง เพราะสามารถแยกแยะความผิดชอบชั่วดีได้ มีระบบ
มโนธรรมของตนเอง ต้องการให้เกิดความถูกต้อง ความชอบธรรมในสังคม ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ต้องการ
เป็นคนดี เป็นที่ชื่นชอบของคนอื่น และจะรู้สึกอึดอัดคับข้องใจกับความไม่ถูกต้องในสังคม หรือในบ้าน
แม้แต่พ่อแม่ของตนเองก็เริ่มรู้สึกว่าไม่ได้ดีสมบูรณ์แบบเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไปแล้ว บางครั้งอาจจะ
แสดงออก วิพากษ์วิจารณ์พ่อแม่หรือ ครูอาจารย์ตรงๆอย่างรุนแรง การต่อต้าน ประท้วงจึงเกิดได้บ่อยใน
วัยนี้เมื่อวัยรุ่นเห็นการกระทําที่ไม่ถูกต้อง หรือมีการเอาเปรียบ เบียดเบียน ความไม่เสมอภาคกัน ในวัยรุ่น
ตอนต้นการควบคุมตนเองอาจยังไม่ดีนัก แต่เมื่อพ้นวัยรุ่นนี้ไป การควบคุมตนเองจะดีขึ้น จนเป็นระบบ
จริยธรรมที่สมบูรณ์เหมือนผู้ใหญ่
3. พัฒนาการทางสังคม วัยนี้จะเริ่มห่างจากทางบ้าน ไม่ค่อยสนิทสนมคลุกคลีกับพ่อแม่พี่น้อง
เหมือนเดิม แต่จะสนใจเพื่อนมากกว่า จะใช้เวลากับเพื่อนนานๆ มีกิจกรรมนอกบ้านมาก ไม่อยากไปไหน
กับทางบ้าน เริ่มมีความสนใจเพศตรงข้าม สนใจสังคมสิ่งแวดล้อม ปรับตัวเองให้เข้ากับกฎเกณฑ์กติกา
ของกลุ่ม ของสังคมได้ดีขึ้น มีความสามารถในทักษะสังคม การสื่อสารเจรจา การแก้ปัญหา ประนีประนอม
การยืดหยุ่นโอนอ่อนผ่อนตามกัน และการทํางานร่วมกับผู้อื่น พัฒนาการทางสังคมที่ดีจะเป็นพื้นฐาน
มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และบุคลิกภาพที่ดี การเรียนรู้สังคมจะช่วยให้ตนเองหาแนวทางการดําเนินชีวิตที่
เหมาะกับตนเอง เลือกวิชาชีพที่เหมาะกับตน และมีครอบครัวที่ดี ช่วยกันดูแลสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อ
ตนเองและส่วนรวมในอนาคตต่อไป

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


113
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

 เป้าหมายของการพัฒนาวัยรุ่น
เป้าหมายของพัฒนาการวัยรุ่น ควรประกอบด้วย
1. ร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากความบกพร่องทางกาย มีความสมบูรณ์ มีภูมิต้านทานโรคและ
ปราศจาภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางกายต่างๆ ควรเอาใจใส่กับร่างกาย ไม่ปล่อยให้อ้วนไป ผอมไป หรือขาด
อาหารบางอย่าง ควรมีการออกกําลังกายสม่ําเสมอ ให้ร่างกายสดชื่น แข็งแรง มีภูมิต้านทาน
2. เอกลักษณ์แห่งตนเองดี มีทักษะส่วนตัว และทักษะสังคมดี มีบุคลิกภาพดี มีเอกลักษณ์ส่วนตัว
และเอกลักษณ์ทางเพศเหมาะสม มีการเรียนและอาชีพ ได้ตามศักยภาพของตน ตามความชอบ
ความถนัด และความเป็นไปได้ ทําให้มีความพอใจต่อตนเอง การดําเนินชีวิต สอดคล้องกับความชอบ
ความถนัด มีการผ่อนคลาย กีฬา งานอดิเรก มีความสุขได้โดยไม่เบียดเบียนคนอื่น มีการช่วยเหลือคนอื่น
และสิ่งแวดล้อม มีมโนธรรมดี เป็นคนดี
3.มีการบริหารตนเองได้ดี สามารถบริหารจัดการตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น
4.มีความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อประเทศชาติ และต่อสิ่งแวดล้อมได้
5.มีมนุษย์สัมพันธ์กับคนอื่นได้ดี เลือกคบเพื่อนที่ดี รักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้ได้ยืนยา

ความหมายของการให้คําปรึกษาวัยรุ่น
กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหา โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คําปรึกษาและ
ผู้รับการปรึกษา ใช้เทคนิคการสื่อสาร ทําให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ถึงสาเหตุของปัญหา ใช้ศักยภาพของ
ตนเองในการคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

 ประเภทของการให้คําปรึกษา
1. Informative counseling คือ การปรึกษาโดยการให้ความรู้ รวมถึงวิธีปฏิบัติ
2. Directive counseling คือ การปรึกษาโดยการชี้แนะแนวทาง
3. Advocacy counseling คือ การปรึกษาโดยการให้ข้อมูลเพียงพอที่จะเลือกทางแก้ปัญหา
4. Supportive counseling คือ การประคับประคองทางจิตใจ จนสงบเพียงพอจะแก้ไขปัญหา

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


114
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

หลักการให้คําปรึกษา
การให้คําปรึกษา เป็นการช่วยเหลือรูปแบบหนึ่ง ที่อาศัยความสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างผู้ให้
คําปรึกษาและผู้รับการปรึกษา เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา ได้ความรู้และ
ทางเลือกในการแก้ปัญหานั้นอย่างเพียงพอมีสภาพอารมณ์และจิตใจที่พร้อมจะคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง
 วัตถุประสงค์ของการให้คําปรึกษา จึงประกอบด้วยการช่วยให้วัยรุ่น
1.เกิดแรงจูงใจที่จะให้ข้อมูล
2.เข้าใจและเห็นปัญหาของตนเอง
3.อยากแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาตนเอง
4.ดําเนินการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาตนเอง

 เทคนิคการให้คําปรึกษาวัยรุ่น
เทคนิคการให้คําปรึกษา สามารถนํามาใช้ตั้งแต่เริ่มการสัมภาษณ์วัยรุ่น ขั้นตอน ดังนี้
1.การเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
2. การสํารวจลงไปในปัญหา หรือสาเหตุที่ทําให้ต้องมาพบกัน
3.สรุปและเลือกประเด็นที่สําคัญร่วมกัน ที่จะทํางานร่วมกัน
4.ตั้งเป้าหมายในการทํางานต่อไปด้วยกัน คือการแก้ไขปัญหา
5.การดําเนินการช่วยเหลือ การฝึกฝนทักษะต่างๆ
6. การสรุปและยุติการให้คําปรึกษา
 เทคนิคที่ใช้
เทคนิคการให้คําปรึกษา ตามลําดับขั้นมีดังนี้
1.การเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
การจัดสิ่งแวดล้อม ห้องให้คําปรึกษาควรความมิดชิด เป็นสัดส่วน ไม่มีเสียงรบกวน ไม่มีคนเดิน
ผ่านบรรยากาศมีความสงบและเป็นกันเอง สีที่ใช้ในห้อง ควรเป็นโทนสีสบายตา ให้ความรู้สึกปลอดภัย
สามารถตกแต่งห้องด้วยดอกไม้ ภาพถ่ายที่ทําให้รู้สึกผ่อนคลาย ปลอดภัย สงบ
ท่านั่ง ควรเป็นลักษณะตั้งฉากกัน ไม่ควรเผชิญหน้ากันตรงๆ เยื้องกันเล็กน้อย ใกล้กันพอที่จะ
แตะไหล่ได้ สามารถสังเกตสีหน้า แววตา ของผู้มาขอรับคําปรึกษาได้อย่างไม่อึดอัดใจ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


115
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

รูปแบบการนั่งให้คําปรึกษา

การนั่งที่ไม่ถูกต้อง จะทําให้ผู้มา
การนั่งที่ถูกต้อง เป็นการนั่งลักษณะตั้ง
ขอรับคําปรึกษารู้สึกอึดอัด เนื่องจากเป็นการ
นหน้า่มกัต้นนสัมภาษณ์ ควรจัดลําดับการสัมภาษณ์ฉาก
ก่อนการเริ
นั่งประจั ให้ดเยื ้องกันเล็กยน้รุอ่นยพร้พอที
ี (ควรพบวั อมพ่่จอะสัแม่มผัสสั้นกัๆนเพื
ได้่อทํา
ความเข้าใจปัญหาเบื้องต้นก่อน หลังจากนั้นจึงขอสัมภาษณ์วัยรุ่นตามลําพัง) เปิดการสนทนานําให้เกิดความ
ผ่อนคลาย เป็นกันเอง(small talk) เช่น
“วันนี้มากันกี่คนครับ มาอย่างไร รถติดหรือไม่ นั่งรอนานหรือไม่ อากาศเป็นอย่างไร...ฯลฯ”
แนะนําตัวเอง สถานที่ วัตถุประสงค์ของการคุยกัน เวลาที่จะคุยกัน เช่น
“ครูชื่อ................ เป็นคุณครูแนะแนวที่นี่นะครับ”
“ห้องนี้เป็นห้องให้คําปรึกษา มีคุณครู........เท่านั้น ห้องนี้มีกล้องโทรทัศน์วงจรปิด แต่ขณะนี้ครูจะ
ไม่ใช้ ถ้ามีการใช้เมื่อใดจะขออนุญาตทุกคนก่อนทุกครั้ง”
“ช่วงแรกนี้ คุณครูขอคุยด้วยกับทุกคนทั้งหมดสั้นๆก่อน หลังจากนั้นจะขอคุยส่วนตัวกับ........ (ชื่อ
วัยรุ่น)ตอนหลัง ไม่ทราบว่านักเรียนสะดวกไหมครับ”
“วันนี้มีใครมากันบ้าง ครูอยากรู้จักทุกคน ขอให้ช่วยแนะนําตัวกันก่อน ดีไหมครับ”

 การให้คําปรึกษาวัยรุ่น ครูควรแนะนําครอบครัวว่า จะขอสัมภาษณ์วัยรุ่นตามลําพัง


ด้วย ถ้ามีสิ่งที่วัยรุ่นไม่กล้าเล่ากับพ่อแม่ เขาจะได้มีโอกาสพูดได้อย่างสบายใจ และเป็นเรื่องปกติที่ครูจะ
ขอคุยกับวัยรุ่นตามลําพัง

การใช้ภาษาพูด น้ําเสียง การเน้นคํา การใช้ สรรพนาม การทําความเข้าใจภาษาของวัยรุ่น


ควรใช้ภาษาที่เข้าใจกันง่าย เป็นกันเอง พยายามเข้าใจและยอมรับภาษาวัยรุ่น แต่ไม่จําเป็นต้องใช้ภาษาวัยรุ่น
เรื่องที่วัยรุ่นไม่อยากเล่าในช่วงแรก ครูควรข้ามไปก่อน แต่ทิ้งท้ายไว้ว่ามีความสําคัญที่น่าจะ
กลับมาคุยกันอีกในโอกาสต่อไป เช่น “เรื่องนี้น่าสนใจมาก อาจมีส่วนสําคัญทีเดียว แต่....ยังไม่อยากเล่า
ในตอนนี้ ก็ไม่เป็นไร เอาไว้เมื่อพร้อมที่จะเล่าแล้วค่อยเล่าก็ได้ ครูจะขอคุยเรื่องอื่นก่อน แล้วจะขอย้อนกลับมา
คุยเรื่องนี้ตอนหลัง ดีไหม”

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


116
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

การใช้ภาษากาย การสัมผัส สีหน้า แววตา ท่าทาง ให้เกิดความเป็นกันเอง อยากเข้าใจ


อยากช่วยเหลือ ไม่ตัดสินความผิด หรือแสดงการไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมหรือสิ่งที่วัยรุ่นเปิดเผย
2. การสํารวจลงไปในปัญหา หรือสาเหตุที่ทําให้ต้องมาพบ

การรักษาความลับ(confidentiality) ก่อนการสํารวจลงลึกในประเด็นปัญหา ควรสังเกตท่าที


ความร่วมมือ การเปิดเผยข้อมูล ว่าวัยรุ่นมีความไว้วางใจมากน้อยเพียงไร มีเรื่องใดที่วัยรุ่นยังกังวล เช่น
เรื่องการเก็บรักษาข้อมูลของวัยรุ่น ควรให้ความมั่นใจเรื่องนี้ เช่น “เรื่องที่คุยกันนี้ ครูจะไม่นําไปบอกพ่อแม่
หรือคนอื่นๆฟัง ถ้ามีเรื่องที่ครูจะบอกพ่อแม่ ครูจะขอบอก....ก่อน และเรื่องที่จะบอกคงเป็นเรื่องที่.....
ยินยอมแล้ว”
เทคนิคการถาม ในตอนต้นควรสอบถามถึงความเข้าใจถึงการมาพบครูแนะแนว มาได้อย่างไร
พ่อแม่บอกว่าอย่างไร คิดอย่างไรในตอนแรก
“เมื่อสักครู่พ่อแม่เล่ามา คิดอย่างไรบ้าง มีตอนไหนที่ไม่เห็นด้วย ไม่เป็นความจริงบ้างหรือไม่ มีอะไร
ที่จะเล่าเพิ่มเติมตรงไหนอีกบ้าง”
“ช่วยเล่าให้ครูฟังว่าเกิดอะไรขึ้น”
“เป็นอย่างไร ถึงมาพบครูที่นี่”
“ลองเดาดูว่า เหตุใดพ่อแม่ถึงพามาพบครู”
“คิดว่าพ่อแม่เป็นห่วงเรื่องอะไร”
“ครูทราบจากพ่อแม่ว่า..................... ..........คิดอย่างไรบ้าง”
“แล้วปัญหาในความคิดของ........... คืออะไร”
“อยากให้พ่อแม่เข้าใจอย่างไร อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นในบ้าน”

 ประเภทของคําถาม
 คําถามปลายเปิด (open-ended question) เป็นคําถามที่มีคําตอบได้หลากหลาย มักใช้
ในการสอบถามเบื้องต้น ในระยะแรกๆของการสัมภาษณ์ ที่ยังไม่แน่ใจว่าวัยรุ่นจะตอบอย่างไร ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้ “อยากให้ครูช่วยเรื่องอะไร” หรือ “เรื่องอะไรที่ทําให้ไม่สบายใจ”
คําถามปลายเปิด มักจะได้คําตอบที่ตรงกับสิ่งที่วัยรุ่นคิด กังวล เป็นห่วง หรือรู้สึกว่าเป็นปัญหาอยู่
ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสําคัญมาก เนื่องจากปัญหาที่วัยรุ่นคิด อาจไม่ตรงกับปัญหาที่พ่อแม่เป็นห่วงอยู่
 คําถามปลายปิด (close-ended question)เป็นคําถามที่คาดหวังคําตอบว่า ใช่ หรือ
ไม่ใช่ เท่านั้น ใช้ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบว่า มีหรือไม่มีสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์สงสัยอยู่ ไม่ควรใช้ในช่วงแรกๆของ
การสัมภาษณ์ เพราะอาจปิดกั้นการระบายปัญหาที่แท้จริงของวัยรุ่น ตัวอย่างเช่น “นอนหลับดีไหม
“เบื่ออาหารหรือไม่” “ท้อแท้ไหม”

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


117
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

คําถามปลายปิดมักใช้ในการสํารวจปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อตรวจสอบว่าวัยรุ่นมีหรือไม่มีอาการ
หรือปัญหาที่สงสัย มักใช้ในตอนท้ายของการสัมภาษณ์
 คําถามนํา (leading question)เป็นคําถามที่ส่งเสริมให้ตอบไปในทิศทางนั้น มักใช้ใน
กรณีที่วัยรุ่นลังเลที่จะตอบ เช่น “เพื่อนเคยชวนให้ลองใช้ยาเสพติดเหมือนกันใช่ไหม” “ยาบ้านี่รสชาติเป็น
อย่างไร ชอบไหม”
 การกระตุ้นให้เล่าเรื่อง(facilitation)
“ครูทราบเบื้องต้นมาว่า.................. คุณพ่อคุณแม่รู้สึกเป็นห่วงที่..................”
“ที่จริงคุณพ่อคุณแม่เล่าให้ครูฟังบ้างแล้ว แต่ครูอยากฟังจาก....... (ชื่อ)เอง ลองเล่าให้ครูฟังว่า
เกิดอะไรขึ้น”
“พ่อแม่กังวลว่า................................”
“พ่อแม่อยากจะทําความเข้าใจปัญหามากขึ้น จึงชวน......มาคุยกับครู”
“คิดอย่างไรบ้าง รู้สึกอย่างไร ยังโกรธพ่อแม่หรือไม่เมื่อรู้เหตุผลอย่างนี้แล้ว”
 การยอมรับ (unconditioned positive regard)
“เรื่องใดที่พูดลําบาก หรืออธิบายไม่ได้ ขอให้บอกครูด้วย”
“ใครๆที่อยู่ในสภาพเดียวกับ...... คงจะทําใจยอมรับได้ลําบากเหมือนกัน”
“บางทีมันก็ยากที่จะเล่า เรื่องที่ค่อนข้างส่วนตัวอย่างนี้ เอาไว้พร้อมแล้วค่อยเล่าก็ได้”
“เรื่องไหนที่ยังไม่พร้อมจะคุย ขอให้บอกครู”
 การสํารวจลงลึก (exploration)
“มีอะไรที่ทําให้รู้สึกหนักใจ กังวลใจ หงุดหงิดใจ”
“ถ้าเป็นไปได้ อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรในบ้าน”
“อยากให้พ่อแม่เป็นอย่างไร”
“ปัญหาอื่นๆในบ้านละ มีอะไรหนักใจหรือไม่” (ลองสํารวจในเรื่องอื่นๆ ในตอนท้าย เช่นเรื่อง
ความสัมพันธ์ของพ่อแม่ ความสัมพันธ์กับน้อง หรือญาติคนอื่นๆ)
“วางแผนไว้อย่างไรบ้าง ระยะสั้น ระยะยาว”

 การสะท้อนความรู้สึก (reflection of feeling)


“......รู้สึกไม่พอใจที่คุณแม่ยึดโทรศัพท์มือถือไป”
“......โกรธที่ถูกทําโทษ”
“........อึดอัดใจที่ครูถามถึงเรื่องนี้”

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


118
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

“............กังวลใจจนนอนไม่หลับ”
การสะท้อนความรู้สึกจะช่วยให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกว่าครูเข้าใจความรู้สึก เกิดความสัมพันธ์ที่ดี
ต่อกัน การสะท้อนความรู้สึกช่วยในการตอบคําถาม หรือตอบสนองบางสถานการณ์ได้ เช่น
วัยรุ่น(พูดอย่างโกรธๆว่า) “ครูไม่เข้าใจผมหรอก”
ครู (ใช้เทคนิคการสะท้อนความรู้สึก ) “.......คงรู้สึกหมดหวัง ที่จะมีใครเข้าใจปัญหานี้”
 การสะท้อนความคิด ความเห็น ความเชื่อ (reflection of thinking, attitudes,
believes)บางครั้งการสะท้อนความคิดวัยรุ่น จะช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันกับครู และช่วยให้วัยรุ่นหยุด
คิดถึงสิ่งที่ตนเองคิด และในหลายโอกาสช่วยให้วัยรุ่นเห็นความสัมพันธ์ของความคิด ความรู้สึก และ
พฤติกรรมของตนเองได้ ตัวอย่างเช่น
“...........คิดว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจ”
“...........คิดว่าถ้าขออนุญาตก่อน พ่อคงปฏิเสธ”
บางจังหวะ การสะท้อนความคิดก็ช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้ เช่น
วัยรุ่น(พูดอย่างโกรธๆว่า) “ครูไม่เข้าใจผมหรอก”
ครู (ใช้เทคนิคการสะท้อนความคิด ) “..........คิดว่าปัญหานี้ยาก จนคนอื่นคงไม่เข้าใจ
 การถามความคิดและความรู้สึก (exploring the feeling and thinking) นอกจาก
เทคนิคการสะท้อนความคิดความรู้สึกข้างต้นแล้ว บางครั้งการสอบถามความคิด ความรู้สึก จะช่วยให้ครู
เข้าใจวัยรุ่นมากขึ้น และสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกันได้มาก เช่น
“คุณแม่ทําแบบนั้น ..............คิดอย่างไรบ้าง”
“โดนเหตุการณ์แบบนั้น ............รู้สึกอย่างไร”
 แสดงทัศนคติที่ดีต่อวัยรุ่น (rapport, nonjudgmental attitude) ครูควรมีความเข้าใจ
(understanding) ยอมรับ, (unconditional positive regard) มองในแง่ดีเป็นกลาง (neutral) อยาก
ช่วยเหลือ (empathy) เห็นใจ (sympathy)
“ความสนใจเรื่องเพศในวัยรุ่น ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ......มีความสนใจเรื่องนี้บ้างไหม”
“เพื่อนบางคนอาจมียาเสพติดมาชักชวนกัน .......เคยเห็นบ้างไหม เคยลองบ้างไหม”
แสดงสิ่งที่ทีมแพทย์จะช่วยเหลือได้ (hope)เช่น สร้างความเข้าใจกัน วิธีการบางอย่างพ่อแม่ก็ไม่เข้าใจ ทําไม่
ถูก มีการจัดการไม่ดี เรื่องบางอย่างที่หมอช่วยได้ทันที เช่นการให้ความรู้พ่อแม่ การฝึกทักษะต่างๆ เมื่อ
ช่วยแล้วจะเกิดผลดีอย่างไร ถ้าไม่ช่วยจะเกิดผล(เสีย)ตามมาอย่างไร
 การให้วัยรุ่นได้ระบายความรู้สึก(ventilation)
“บางทีการร้องไห้ หรือได้ระบายความทุกข์ใจไม่สบายใจก็ช่วยให้ใจสบายขึ้น”

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


119
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

“ครูอยากให้.....เล่าเรื่องที่อาจไม่สบายใจ แต่อาจทําให้เราเข้าใจเหตุการณ์ดีขึ้น”
 สรุปความ(summarization)
“ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่ง คือคุณแม่ไม่ค่อยเข้าใจความต้องการของ.....”
“หลายครั้งที่........ก็ทําอะไรด้วยอารมณ์ แต่ก็มาคิดเสียใจทีหลัง”
 แปลความหมาย(interpretation)
“เวลาโกรธพ่อแม่ ก็แกล้งให้พ่อแม่หงุดหงิด”
 การชมเชย(positive reinforcing)
“ครูคิดว่าเป็นการดีมาก ที่...อยากจะเข้าใจตัวเอง .......อยากแก้ไขเปลี่ยนแปลง”
“ดีนะที่.....มีความสนใจในเรื่องการเรียน”

 การสํารวจปัญหาอย่างเป็นระบบ(system review)
รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากอาการต่างๆ และปัญหาที่ได้จากวัยรุ่นและครอบครัว ข้อมูลของ
ครอบครัว การเลี้ยงดูตั้งแต่เกิด พัฒนาการ การเรียน ความสัมพันธ์กับครอบครัวและกับโรงเรียน ปัจจัย
สาเหตุ ปัจจัยกระตุ้นและส่งเสริมให้เป็นปัญหา หรือปัจจัยป้องกัน ข้อดีและจุดเด่นจุดแข็งของวัยรุ่น

3.สรุปและเลือกประเด็นที่สําคัญร่วมกัน ที่จะทํางานต่อไป
การเลือกประเด็นที่สําคัญ และวัยรุ่นยอมรับเพื่อทํางานร่วมกัน ควรเป็นเรื่องต่อไปนี้
1. เรื่องที่วัยรุ่นรู้สึกว่าเดือดร้อน ต้องการความช่วยเหลือ เช่น อาการทางร่างกายจาก
ความเครียด อาการย้ําคิดย้ําทํา อารมณ์ซึมเศร้า ความไม่เข้าใจของพ่อแม่ การถูกจํากัดสิทธิต่างๆ
2. เรื่องที่วัยรุ่นอยากให้เปลี่ยนแปลง เช่นความสัมพันธ์ภายในบ้านที่ไม่ค่อยดี การยินยอม
ให้ในสิ่งที่วัยรุ่นต้องการ เช่น เวลาไปกับเพื่อน เงิน โทรศัพท์
การเลือกเรื่องมีความสําคัญมาก เพราะจะช่วยให้เข้าถึงปัญหาที่แท้จริง การเลือกควรให้วัยรุ่นมีส่วนร่วม เช่น
“เราจะตั้งเป้าหมายเรื่องใดก่อนดี”
“เรื่องเวลาเครียด แล้วอาการปวดหัว น่าสนใจเหมือนกัน ไม่ทราบว่า....คิดอย่าง”
“เรื่องความไม่เข้าใจกันในบ้าน สําคัญต่อ......จนอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงไหม”
“.....คงอยากให้ผลการเรียนดีขึ้นกว่านี้”
“ปัญหาการเรียนน่าจะเป็นผลของอารมณ์ คิดอยากจะแก้ไขอย่างไร”
“ลองช่วยกันเลือกเรื่องที่น่าจะแก้ไขกันได้ก่อน”
“เคยคิดจะแก้ไขอย่างไรแล้วบ้าง”

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


120
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

“สรุปแล้วคิดว่าเราน่าจะมุ่งประเด็นนี้..... ก่อนจะดีไหม”
4.ตั้งเป้าหมายในการทํางานต่อไปด้วยกัน
เมื่อผู้สัมภาษณ์ได้ข้อมูลเพียงพอแล้ว ต่อไปคือการแก้ไขปัญหา โดยวิธีการ เป้าหมายร่วมกับ
วัยรุ่น ควรช่วยกันคิดและให้ออกมาเป็นความต้องการของวัยรุ่นจริงๆ และควรจะครอบคลุมประเด็นหลักๆ
ของปัญหา
การแก้ไขต่อไปจะเกิดในด้านต่างๆ คือ
· 1. การเปลี่ยนแปลงของตนเอง เช่น การสังเกตอารมณ์ตนเองให้มากขึ้น มีการจัดการกับอารมณ์ได้
ดี ควบคุมตัวเองได้ ยั้งใจตัวเองได้มากขึ้น จัดระเบียบวินัยของตัวเอง เอาใจใส่เรื่องส่วนตัวมากขึ้น
รับผิดชอบส่วนรวมมากขึ้น
· 2. สร้างแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
“ครูคิดว่า ถ้า....แสดงความรับผิดชอบโดย....... คุณพ่อคุณแม่ คงจะไว้วางใจมากขึ้น การจะขอ
อนุญาตไปกับเพื่อนน่าจะง่ายขึ้นด้วย”

· 3. ให้ความหวังและโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
“ครูจะช่วยอธิบายให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจความต้องการของวัยรุ่นมากขึ้น แต่...ก็ต้องช่วยครูทํา
ให้พ่อแม่ไว้ใจ เช่น การรักษาคําพูด ถ้าเราพยายามแล้วพ่อแม่ยังไม่เปลี่ยนแปลง ขอให้กลับมาเล่าให้ครูฟัง
ด้วย”
· 4. อธิบายสิ่งที่จะวางแผนร่วมกับพ่อแม่(clarification)
“หลังจากนี้ครูจะคุยกับพ่อแม่ สิ่งที่ครูจะพูดคือ อธิบายให้ท่านเข้าใจว่า.................... และจะ
ช่วยให้ท่านยืดหยุ่นกับ......บ้างเช่น อาจจะอนุญาตให้ไปกับเพื่อนได้ในวันหยุด แต่จะขออนุญาต ต้องบอกกัน
ก่อนในเรื่องรายละเอียด เช่น ไปที่ไหน กับใคร เวลาใด จะกลับเมื่อไร อย่างนี้จะดีไหม ฯลฯ”
“ครูยังไม่แน่ใจว่าจะพูดให้พ่อแม่เปลี่ยนแปลงได้มากน้อยแค่ไหน แต่เท่าที่คุยกับเขาแล้ว ก็เห็น
ว่าน่าจะรับฟังครูบ้าง แต่นิสัยใจคอคนตามปกตินั้น จะเปลี่ยนแปลงทันทีคงยาก แต่ก็น่าทดลองดู ให้โอกาส
ท่านเปลี่ยนแปลงก่อน ถ้าไม่สําเร็จเราจะกลับมาคุยกันใหม่”

5.การช่วยกันในทางปฏิบัติ (Working through)


เป็นกระบวนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง คิด ตัดสินใจ ฝึกฝนตนเอง เพื่อให้แก้ไขปัญหา สร้างสิ่งใหม่
มักจะเกิดขึ้นในระยะเวลาต่อมา ที่เริ่มมีความสัมพันธ์ดีต่อกันแล้ว ผู้ให้คําปรึกษาจะใช้เทคนิคต่างๆที่ทําให้
เกิดการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาว ขั้นตอนนี้มักใช้เวลานานพอสมควร กว่าจะบรรลุตาม
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ในการสัมภาษณ์นั้น เมื่อแพทย์จะรวบรวมข้อมูลมากพอ จนสามารถวางแผนการ
ช่วยเหลือต่อไปได้แล้ว ต่อไปก็จะพยายามโน้มน้าว ให้วัยรุ่นมีแรงจูงใจที่จะแก้ไขในขั้นตอนแรกนี้ และในการ
พบกันครั้งต่อไป การเริ่มการช่วยเหลือจะทําได้ง่าย

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


121
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ในการสัมภาษณ์วัยรุ่นครั้งแรก ไม่ควรพยายามแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ได้ทันที การให้


คําแนะนําที่เร็วเกินไป นอกจากจะไม่ได้ผล วัยรุ่นมักไม่เชื่อแล้ว อาจรบกวนความสัมพันธ์ที่เป็นเป้าหมาย
หลักของการสัมภาษณ์ในระยะแรก เนื่องจากวัยรุ่นอาจจะรู้สึกว่า ครูทําตัวเหมือนพ่อแม่ หรือครูของเขา ครู
ควรอธิบายให้วัยรุ่นเข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการช่วยเหลือต่อไป
“จากข้อมูลที่เล่ามาทั้งหมด ครูคิดว่า อาการต่างๆเกิดจากอารมณ์ซึมเศร้า อาการนี้พบได้บ่อย และเป็น
สาเหตุของปัญหาต่างๆ แต่สามารถรักษาได้ การช่วยเหลือต่อไปคือ.....................”
“ความคิดที่วนเวียนเช่นนี้ คืออาการของโรคย้ําคิดย้ําทํา ครูคิดว่าน่าจะมีการตรวจเพิ่มเติม คือ.......”
“ความไม่เข้าใจกันภายในบ้านมีมาก จนทําให้ทุกคนเกิดความเครียด ปัญหานี้น่าจะแก้ไขโดย..........”

6. การสรุปและยุติการสัมภาษณ์หรือการให้คําปรึกษา (Termination)
ในการสัมภาษณ์ทุกครั้ง การยุติการสนทนาในตอนท้ายการสัมภาษณ์ มีความสําคัญมากเช่นกัน
ในการสรุปสิ่งที่ได้คุยกัน การวางแผนต่อไปว่าจะทําอะไร ตอบคําถามที่วัยรุ่นอาจจะมี กําหนดการนัด
หมายครั้งต่อไป การยุติการสัมภาษณ์ได้ดีจะช่วยให้วัยรุ่นร่วมมือมาติดตามการให้คําปรึกษา และให้ร่วมมือ
ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือ ร่วมมือในการรักษาต่อไป
การสัมภาษณ์ครั้งแรกไม่จําเป็นต้องให้ได้ข้อมูลทุกอย่างครบ บางเรื่องที่วัยรุ่นยังไม่พร้อม จะ
เปิดเผย อาจต้องรอให้วัยรุ่นเกิดความไว้วางใจ และเปิดเผยในครั้งที่สองหรือครั้งที่สามก็ได้
“คุยกันมานานแล้ว ไม่ทราบว่า ......อยากจะถามอะไรหมอบ้าง”
“ครูดีใจที่....ให้ความร่วมมือดีมาก ครูอยากจะพบเพื่อคุยกันอีกหลังจากนี้”
“หลังจากนี้แล้ว ครูจะพบกับพ่อแม่สั้นๆ อธิบายให้ท่านเข้าใจ หลังจากนั้นจะนัดพบกันครั้ง
ต่อไปในสัปดาห์หน้า”
ในกระบวนการให้คําปรึกษาระยะยาว การสิ้นสุดการให้คําปรึกษาควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า
เพื่อให้วัยรุ่นเตรียมใจยุติการพบปะกัน ซึ่งอาจเกิดความวิตกกังวลต่อการพลัดพราก และอาจเกิดอาการของ
ความวิตกกังวลได้มาก ทําให้ยุติการให้คําปรึกษาได้ยาก เกิดภาวะติดผู้ให้คําปรึกษา

เทคนิคการสื่อสารที่ดี

1.หลีกเลี่ยงการใช้คําถามที่ขึ้นต้นว่า “ทําไม” การใช้คําถามที่ขึ้นต้นว่า “ทําไม.....” เช่น


“ทําไมเธอมาโรงเรียนสาย” จะสื่อสารให้นักเรียนเข้าใจได้ 2 แบบ คือ เธอทําไม่ดีเลย
ทําไมจึงทําเช่นนั้น และถ้ามีเหตุผลดีๆ การกระทําเช่นนั้นก็อาจเป็นที่ยอมรับได้ ผลที่ตามมาคือ เด็กจะ
พยายามหาเหตุผลเข้าข้างตนเองมากขึ้น เพื่อพยายามยืนยันว่า ความคิดและการกระทําของเขาถูกต้อง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


122
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

เป็นการสอนให้เด็กเถียงแบบข้างๆคูๆ แล้วครูก็จะโมโหเด็กเสียเอง ทั้งๆที่เป็นคนเริ่มต้นให้เด็กหาเหตุผล


แต่เมื่อเด็กแสดงเหตุผล ก็ไม่ยอมรับเหตุผลของเขา
**ถ้าต้องการทราบเหตุผลจริงๆของพฤติกรรมเด็ก ควรถามดังนี้
“ครูอยากรู้จริงๆว่าอะไรทําให้เธอทําอย่างนั้น”
“พอจะบอกครูได้ไหมว่า เธอคิดอย่างไรก่อนที่จะทําอย่างนั้น”
“เกิดอะไรขึ้น ทําให้เธอมาโรงเรียนสายในวันนี้”
“มันเกิดอะไรขึ้น ไหนลองเล่าให้ครูเข้าใจหน่อย”
2.ตําหนิที่พฤติกรรม มากกว่า ตัวเด็ก ถ้าครูจะตําหนิเด็ก ต้องระวังการต่อต้านไม่ยอมรับ วิธีการที่
ทําให้เด็กยอมรับ และไม่เสียความรู้สึกด้านดีของตนเอง สามารถทําได้ด้วยการตําหนิที่พฤติกรรมนั้น ดีกว่า
ตําหนิที่ตัวเด็ก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
“การมาโรงเรียนสาย เป็นสิ่งที่ไม่ดี” ดีกว่า “เธอนี่แย่มาก ขี้เกียจจังเลยถึงมาสาย”
“การทําเช่นนั้น ไม่ฉลาดเลย” ดีกว่า “เธอนี่โง่มากนะ ที่ทําเช่นนั้น”
“ครูไม่ชอบที่เธอไม่ได้ช่วยงานกลุ่ม งานนี้ทุกคนต้องช่วยกัน” ดีกว่า
“เธอนี่เป็นคนเอาเปรียบเพื่อนนะ”
** ไม่ควรใช้คําพูดทํานองว่า เป็นนิสัยไม่ดี หรือสันดานไม่ดี เพราะจะทําให้เด็กต่อต้าน
หรือแกล้งเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือลามไปถึงพ่อแม่ เช่น “อย่างนี้พ่อแม่ไม่เคยสอน ใช่ไหม”

3.ฝึกใช้คําพูดที่ขึ้นต้น “ฉัน......” มากกว่า “เธอ.............” ( I-YOU Message) ได้แก่


“ครูไม่ชอบการที่นักเรียนมาสาย” ดีกว่า “เธอนี่แย่มากที่มาสาย”
“ครูอยากให้นักเรียนมาเช้า”
“ครูเสียใจที่เธอทําเช่นนั้น”
4.บอกความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ฝึกให้เด็กมีทักษะในการสื่อสาร ความกล้าพูด กล้า
บอกสิ่งที่ตัวเองคิด รู้สึก และต้องการอย่างสุภาพ เข้าใจกัน ทั้งต่อครู และต่อเพื่อนๆด้วยกันเอง ไม่ควร
อาย หรือกลัวเพื่อนโกรธ บางคนกลัวเพื่อนไม่ยอมรับ เลยยอมตามเพื่อน ถูกเพื่อนเอาเปรียบ ครูช่วยกระตุ้น
เรื่องนี้ได้ ด้วยการฝึกรายบุคคล
“เธอคิดอย่างไร เรื่องนี้............”
“เธอรู้สึกอย่างไร ลองบอกครู...........”
“เธอต้องการให้เป็นอย่างไร...........”
ครูควรรับฟังเด็กมากๆ ให้เขารู้สึกว่า การพูดบอกเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ และสามารถบอกกับ
เพื่อนๆได้ด้วย

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


123
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

5.ชมบนหลังคา ด่าที่ใต้ถุน ครูควรมีเทคนิคในการชม ให้เกิดความภาคภูมิใจตนเอง ควรชม


ให้ผู้อื่นทราบด้วย หรือร่วมชื่นชมด้วย และเมื่อชมแล้ว อาจเสริมให้เด็กรู้สึกต่อไปว่า เขาคงจะพอใจที่
ตัวเองเป็นคนดีด้วย ต่อไปเด็กจะชื่นชมตัวเองเป็น ไม่ต้องรอให้คนอื่นเห็นความดีของตน หรือรอให้คนอื่นชม
เสมอไป เช่น
“ครูดีใจมากที่เธอช่วยเหลือเพื่อน เธอคงรู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ทําเช่นนั้น ใช่ไหม”
“พวกเราภูมิใจที่เธอได้รางวัลครั้งนี้ ช่วยกันตบเมือให้หน่อย เธอคงภูมิใจในตัวเองเหมือนกันใช่
ไหมจ๊ะ”
**แต่เวลาเตือน อย่าให้เกิดความอับอาย ให้ค่อยๆคิด และยอมรับด้วยตัวเอง อย่าให้เสีย
ความรู้สึก ควรเตือนเป็นการส่วนตัว ก่อนจะเตือนควรหาข้อดีของเขาบางอย่างชมตรงจุดนั้นก่อน แล้ว
ค่อยเตือนตรงพฤติกรรมนั้น เช่น
“ครูรู้ว่าเธอเป็นคนฉลาด แต่การที่เธอเอาของเพื่อนไปโดยไม่บอกนี่ไม่ถูกต้อง”
6.ถามความรู้สึก สะท้อนความรู้สึก เช่น
“หนูคงเสียใจ ที่คุณครูทําโทษ” (สะท้อนความรู้สึก)
“หนูรู้สึกอย่างไรบ้าง ที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน” (ถามความรู้สึก)
“เธอรู้สึกอย่างไรบ้าง เมื่อถูกเพื่อนแกล้ง” (ถามความรู้สึก)
7. ถามความคิดและสะท้อนความคิด เช่น
“เมื่อเธอโกรธ เธอคิดจะทําอย่างไรต่อไป” (ถามความคิด)
เมื่อเด็กตอบว่า “ผมอยากกลับไปชกหน้ามัน” ควรพูดต่อไปว่า
“เธอโกรธมากจนคิดว่าน่าจะกลับไปชกหน้าเขา” (สะท้อนความคิด)
การถามและสะท้อนความรู้สึกและความคิด จะได้ประโยชน์มาก เพราะจะทําให้เด็กรู้สึกว่าเรา
เข้าใจ(ความคิด และความรู้สึก)ของเขา ทําให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี เป็นพวกเดียวกัน และจะเปิดเผยข้อมูล
มากขึ้น ชักจูงได้ง่ายขึ้น
8.การกระตุ้นให้คิดด้วยตนเอง ในการฝึกให้เด็กคิดและแก้ปัญหานั้น ควรฝึกให้เด็กคิดเองก่อน
เสมอ เมื่อเด็กคิดไม่ออก ไม่รอบคอบ ไม่กว้าง ครูอาจช่วยชี้แนะให้ในตอนท้าย เช่น
“เธอคิดว่าปัญหาอยู่ที่ไหน” (ให้คิดสรุปหาสาเหตุของปัญหา)
“แล้วเธอจะทําอย่างไรต่อไปดี” (ให้คิดหาทางออก)
“ทางออกแบบอื่นละ มีวิธีการอื่นหรือไม่” (ให้หาทางเลือกอื่นๆ ความเป็นไปได้อื่นๆ)

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


124
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

การให้คําปรึกษาครอบครัว (Family Counseling)

ขั้นตอนการให้คําปรึกษาครอบครัว
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว
- แสวงหาข้อมูลจากครอบครัว
- วิเคราะห์ครอบครัว ปัญหาของครอบครัว จุดอ่อน จุดแข็ง หน้าที่ของครอบครัว บทบาท
การสื่อสาร การเข้าใจความรู้สึก
- ชักจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในโครงสร้าง และหน้าที่ของสมาชิกครอบครัว
- ชี้แนะช่องทางของการเปลี่ยนแปลง
- ฝึกทักษะที่เป็นปัญหา
- ใช้หลักพฤติกรรมบําบัด ร่วมด้วยเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การให้คําปรึกษาเพื่อน(Peer Counseling)

ขั้นตอนการให้คําปรึกษาเพื่อน
- สร้างบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันแบบกลุ่ม ไม่โดดเดี่ยว ไม่เอาตัวรอดคนเดียว
เพื่อนมีหน้าที่ช่วยเหลือกัน
- สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นห่วงเป็นใยกัน เมื่อมีใครหายไปเพื่อนควรสนใจ
เป็นห่วงเป็นใย ติดตามข่าวสาร พยายามดึงเพื่อนเข้ากลุ่ม มีการแบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน
- เมื่อมีเพื่อนทําผิด เพื่อนที่ดีควรช่วยเตือน และชักจูงให้เปลี่ยนแปลง เลิกทําผิด กลับมาทําดี
โดยไม่โกรธกัน มองกันในทางที่ดี
- ฝึกทักษะการสื่อสารที่ดี บอกความคิด ความต้องการ ความรู้สึก เมื่อไม่พอใจมีวิธีบอกให้
เพื่อนเข้าใจ และสนองความต้องการกันได้ตรงจุด
- ฝึกทักษะสังคมทางบวก การให้ การรับ การขอโทษ การขอบคุณ การเข้าคิว รอคอย
การทําดีต่อกัน การพูดดีๆ สุภาพ อ่อนโยน ทําตัวให้เป็นประโยชน์ต่อกัน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


125
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

แนวข้อสอบการให้คําปรึกษาและการให้คําปรึกษาวัยรุ่น

1. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการให้คําปรึกษารายบุคคล
ก. การจัดประสบการณ์ใหม่ให้ผู้รับบริการ
ข. การสร้างสัมพันธภาพในการให้บริการปรึกษา
ค. กระบวนการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกัน
ง. กระบวนการและเทคนิคการให้บริการปรึกษาขั้นเริ่มต้น
2. กระบวนการช่วยเหลือโดยมีการพบปะเป็นการส่วนตัว เป็นการให้คําปรึกษาลักษณะใด
ก. การให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคล
ข. การให้คําปรึกษาเป็นรายกลุ่ม
ค. การให้คําปรึกษาหลายๆบุคคล
ง. การให้คําปรึกษาแบบเพื่อน
3. การสร้างสัมพันธภาพ ผู้ให้คําปรึกษาต้องทําให้ผู้รับคําปรึกษาเกิด ความอบอุ่น สบายใจ และไว้วางใจ
เป็น ขั้นตอนการให้คําปรึกษาแบบใด
ก. การให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม
ข. การให้คําปรึกษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
ค. การให้คําปรึกษารายบุคคล
ง. การให้คําปรึกษาแบบครอบครัว
4. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ขั้นตอนกระบวนการให้คําปรึกษารายบุคคล
ก. ผู้ให้คําปรึกษาต้องทําให้ผู้รับคําปรึกษาเกิด ความอบอุ่น สบายใจ และไว้วางใจ
ข. ผู้ให้คําปรึกษาช่วยให้ผู้รับคําปรึกษาได้สํารวจปัญหา และปัจจัยต่าง ๆ ด้วยตัวของเขาเอง
ค. ผู้ให้คําปรึกษาช่วยให้ผู้รับ คําปรึกษาเข้าใจปัญหา สาเหตุ และความต้องการของตนเอง
ง. ผู้ให้คําปรึกษาจะต้องพยายามชี้แจงให้สมาชิกกล้า อภิปรายปัญหาตัวเอง อย่างเปิดเผย
5. การช่วยให้ผู้รับบริการ ได้เข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น เป็นการให้คําปรึกษาแบบใด
ก. การให้คําปรึกษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
ข. การให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม
ค. การให้คําปรึกษาแบบครอบครัว
ง. การให้คําปรึกษารายบุคคล
6. " พยายามที่จะช่วยให้สมาชิกคํานึงถึงหน้าที่และความรู้สึกที่ดี มองชีวิตในแง่ดี” เป็นการให้คําปรึกษา
แบบใด
ก. การให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม ข. การให้คําปรึกษาแบบครอบครัว
ค. การให้คําปรึกษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ง. การให้คําปรึกษารายบุคคล

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


126
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

7. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาแบบครอบครัวได้รับอิทธิพลความเชื่อจากทฤษฎีใด
ก. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาแบบเกสตัลท์ (Gestalt therapy)
ข. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาแบบตัลท์เกส (therapy Tesgalt)
ค. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาของเจอร์โร (gerianro thert)
ง. ทฤษฎีของโบเวน (Bowenian thert)
8. การพัฒนาความไวในการรับรู้และการแสดงความรู้สึก เป็นเอกลักษณ์เด่นของทฤษฏีใด
ก. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาแบบเกสตัลท์ (Gestalt therapy)
ข. ทฤษฎีการสื่อสาร (communication theory)
ค. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาครอบครัวของซะเทียร์
ง. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาของโรเจอร์ (Rogerian therapy)
9. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาครอบครัว มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
ก. เพื่อสร้างคุณภาพสมาชิกในครอบครัว
ข. เพื่อสร้างความลับในแต่ครอบครัว
ค. เพื่อสร้างความตรงต่อเวลาในครอบครัว
ง. เพื่อสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
10. "เด่นจันมีปัญหากับสามีไม่คุยกัน 2 เดือนแล้ว" ปัญหาใดนี้ควรได้รับการให้คําปรึกษาแบบใด
ก. การให้คําปรึกษารายบุคคล ข. การให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม
ค. การให้คําปรึกษาแบบครอบครัว ง. การให้คําปรึกษาแบบพี่ช่วยน้อง
11. ข้อใดหมายถึงความหมายการคําปรึกษาเป็นกลุ่ม
ก. เป็นการให้คําปรึกษาโดยการสุ่มเลือกสมาชิกที่มีปัญหาเข้ากลุ่มเดียวกัน
ข. เป็นการให้คําปรึกษาแก่ผู้รับบริการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในเวลาเดียวกัน
ค. เป็นการให้คําปรึกษาบุคคลที่ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกตัวเองได้
ง. การจัดประสบการณ์ใหม่ให้ผู้รับบริการ

12. การให้คําปรึกษาที่มีผู้รับการปรึกษามากกว่า 1 แต่ไม่เกิน 10 คนเป็นการให้คําปรึกษาแบบใด


ก. การให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคล ข. การให้คําปรึกษาตามความถนัด
ค. การให้คําปรึกษาเป็นครอบครัว ง. การให้คําปรึกษาเป็นกลุ่ม
13. การให้คําปรึกษาแบบกลุ่มควรมีจํานวนสมาชิกในกลุ่มกี่คน
ก. น้อยกว่า 10 คน ข. มากกว่า 10 คน แต่ไม่เกิน 12
ค. มากกว่า 12 คน แต่ไม่เกิน 15 ง. มากกว่า 15 คน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


127
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

14. ข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมของผู้ให้คําปรึกษาที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม
ก. ผู้ให้คําปรึกษาพูดความรู้สึกของตนให้ผู้รับคําปรึกษาฟัง
ข. ผู้ให้คําปรึกษาสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม
ค. ผู้ให้คําปรึกษารักษาสัมพันธภาพในกลุ่ม
ง. ผู้ให้คําปรึกษาอธิบายจุดประสงค์ของการมาขอรับคําปรึกษา
15. ข้อใดกล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับทฤษฏีการให้คําปรึกษา
ก. การให้คําปรึกษาเป็นกระบวนการช่วยเหลือ (Helping Process)
ข. การให้คําปรึกษาเป็นกระบวนการช่วยเหลือแบบเฉพาะบุคคล (Helping Process)
ค. การให้คําปรึกษาได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดทางตะวันออกเฉียงใต้
ง. จอเพียร์เป็นผู้นําทฤษฎีการให้คําปรึกษามาใช้เป็นคนแรก
16. ข้อใดไม่ใช้ทฤษฎีการให้บริการคําปรึกษา
ก. ทฤษฎีการให้บริการแบบจิตวิเคราะห์
ข. ทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์
ค. ทฤษฎีการใช้บริการปรึกษาแบบภวนิยม
ง. ทฤษฎีการรวบรวมปัญหาเพื่อวิเคราะห์
17. ข้อดีของการให้คําปรึกษาเป็นกลุ่ม ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.ทําให้บุคคลลดความเครียดอันเกิดจากความวิตกกังวล
ข. ทําให้บุคคลเกิดกําลังใจ เพราะมีคนอื่นที่มีปัญหาคล้ายกับตนเอง
ค. ทําให้บุคคลได้แลกเปลี่ยนปัญหาและประสบการณ์ซึ่งกันและกันในกลุ่ม
ง. ทําให้บุคคลกล้าที่จะเล่าปัญหาของตนเองหลังจากรับฟังปัญหาของบุคคลอื่นในกลุ่ม
18. โสรยาไม่อยากร่วมงานวันคริสมาสกับเพื่อนๆที่โรงเรียน แต่ทนการรบเร้าของเพื่อนไม่ได้ จึง
ตัดสินใจมาร่วมงาน ข้อใดอธิบายพฤติกรรมของโสรยาได้เหมาะสมที่สุด
ก. กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของโสรยา
ข. โสรยาจําเป็นต้องปฏับัติตามบรรทัดฐานของสังคม
ค. โสรยากลัวครูทําโทษ หากไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น
ง. โสรยาเป็นคนที่คล้อยตามคนอื่นง่าย เพราะขาดความมั่นใจในตนเอง
19. ข้อใดคือทฤษฎีสําคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการให้การปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ พฤติกรรม
ก. ทฤษฎีมนุษยนิยม ข. ทฤษฎีหน้าที่จิต
ค. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ง. ทฤษฎีบุคลิกภาพ ABC

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


128
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

20. แนวคิดกลุ่มใดมีทรรศนะว่า ผู้รับคําปรึกษามีความรับผิดชอบในการตัดสินใจ ส่วนผู้ให้คําปรึกษาเป็น


เพียงผู้คอยช่วยเหลือเท่านั้น
ก. กลุ่มเกสตัลท์
ข. กลุ่มเผชิญความจริง
ค. กลุ่มจิตวิเคราะห์
ง. กลุ่มยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
21. ข้อใดเป็นพื้นฐานสําคัญในการปรึกษา ตามทฤษฎีคุณลักษณะบุคคลและองค์ประกอบ
ก. จิตวิทยาสังคม ข. จิตวิทยาการเรียนรู้
ค. จิตวิทยาความแตกต่าง ง.จิตวิทยาพัฒนาการ
22. ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขการกระทํา เป็นพื้นฐานการให้คําปรึกษาแบบใด
ก. แบบเกสตัลท์ ข. แบบพฤติกรรมนิยม
ค. แบบจิตวิเคราะห์ ง. แบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
23. นักจิตวิทยาคนใดเป็นผู้นําการให้คําปรึกษาแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์
ก. อีริค เบิร์น ข.คาร์ล โรเจอร์
ค. อัลเบิร์ด แบนดุร่า ง. ซกมันด์ ฟรอยด์
24. หลักการของภาพและพื้น เป็นแนวคิดการให้คําปรึกษารูปแบบใด
ก. แบบเกสตัลท์ ข. แบบหน้าที่จิต
ค. แบบจิตวิเคราะห์ ง. แบบพฤติกรรมนิยม

25. การช่วยให้ผู้รับบริการรู้จักและเข้าใจตนเอง เป็นแนวคิดของการให้คําปรึกษารูปแบบใด


ก.แบบกลุ่มเผชิญความจริง
ข.แบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์
ค. แบบวิเคราะห์ลักษณะบุคคลและองค์ประกอบ
ง. แบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม
26. การกล่าวต้อนรับทักทาย สร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน อยู่ในขั้นใดของกระบวนการให้คําปรึกษา
ก.การยุติบริการ ข.การสร้างสัมพันธภาพ
ค. การวางแผนแก้ไขปัญหา ง.การสํารวจและทําความเข้าใจปัญหา
27. บุคคลใดต่อไปนี้เป็นผู้ให้คําปรึกษาที่ดี
ก. อาทิตย์นําเรื่องที่ดวงจันทร์มาปรึกษา ไปเล่าให้เพื่อนสนิทฟัง
ข. ดวงดาวเป็นคนไม่ค่อยพูดจากับใครและมีโลกส่วนตัวสูง
ค. ตะวันรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้น อย่างไม่มีอคติ
ง. สายรุ้งคิดว่าเมฆาเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายจึงพยายามออกห่าง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


129
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

28. การให้คําปรึกษาโดยใช้เทคนิคการเงียบ ข้อใดกล่าวถูกต้อง


ก. เมื่อใกล้ยุติบริการให้คําปรึกษา
ข. เพื่อให้ผู้รับคําปรึกษารู้สึกผ่อนคลาย
ค. เมื่อผู้ให้คําปรึกษาไม่ทราบจะพูดอะไร
ง. เป็นการให้ผู้รับคําปรึกษาได้ทบทวนตัวเอง
29. เทคนิคใดที่ช่วยให้ผู้รับคําปรึกษาเข้าใจความคิดและความรู้สึกของตนเองมากที่สุด
ก.เทคนิคการถาม ข. เทคนิคการให้กําลังใจ
ค. เทคนิคการสะท้อนคําพูด ง. เทคนิคการเผชิญหน้ากับความจริง
30. ข้อใดเป็นข้อดีของการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม
ก. เป็นการฝึกทักษะสังคมได้ดี ข. แบ่งปันวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน
ค. เกิดความเข้าใจ เห็นใจ อยากช่วยเหลือกัน ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
31. ปัญหาข้อใดเหมาะสมกับการให้คําปรึกษาแบบกลุ่มที่สุด
ก. การอกหัก ข. การหนีเรียน
ค. การก้าวร้าว ง. เทคนิคการเรียนดี
32. ระยะเวลาที่เหมาะสมสําหรับการให้คําปรึกษารายบุคคล คือข้อใด
ก. 45-50 นาที ข. 1-1.5 ชั่วโมง
ค. 1.5-2 ชั่วโมง ง. 2-2.5 ชั่วโมง
33. ข้อใดคือจรรยาบรรณที่สําคัญของผู้ให้บริการให้คําปรึกษา
ก. การรักษาความลับของผู้มารับบริการ
ข.การให้ข้อมูลผู้มารับบริการแก่ผู้ปกครองเพื่อช่วยกันป้องกันแก้ไขปัญหา
ค. การให้ข้อมูลผู้รับบริการแก่ผู้ให้คําปรึกษารายอื่นเพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไข
ง.ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
34. ขั้นตอนใดในการให้คําปรึกษาถือเป็น “ประตูสู่การให้คําปรึกษา”
ก.การสร้างสัมพันธภาพ ข. การสํารวจปัญหา
ค. การเข้าใจปัญหา ง. การวางแผน
35. ขั้นตอนใดในการให้คําปรึกษา จะทําให้ผู้ขอรับคําปรึกษาเข้าใจความต้องการของตนเอง
ก.การสร้างสัมพันธภาพ ข. การสํารวจปัญหา
ค. การเข้าใจปัญหา ง. การวางแผน
36. ขั้นตอนใดในการให้คําปรึกษาที่ทําให้ผู้ขอรับคําปรึกษาต้องตัดสินใจเลือกแนวทางที่จะปฏิบัติ
ก.การสร้างสัมพันธภาพ ข. การสํารวจปัญหา
ค. การเข้าใจปัญหา ง. การวางแผน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


130
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

37. ข้อใดเป็นรูปแบบการนั่งของการให้คําปรึกษาแบบกลุ่มที่ถูกต้อง
ก.นั่งเรียงหน้ากระดาน ข. นั่งเป็นวงกลม
ค. นั่งเป็นรูปตัวU ง. นั่งเป็นรูปตัวL
38 “ ผู้ให้คําปรึกษา : เราได้คุยกันมาหลายเรื่องแล้วมีเรื่องไหนที่นักเรียนอยากคุยกับครูมากที่สุด” จาก
ประโยคข้างต้นเทคนิคอะไร
ก. การนําเข้าสู่การสนทนาโดยตรง ข. การนําเข้าสู่การสนทนาทางอ้อม
ค. การนําสนทนาให้เข้าประเด็น ง. การเชื่อมโยงสนทนากับปัญหาอื่น
39. ประโยคใดเป็นคําถามปลายปิด
ก. เล่าให้ครูฟังได้ไหม ข. เรื่องมันเป็นอย่างไร
ค. รู้สึกอย่างไร ง. ไม่เห็นด้วยใช่ไหม
40. เทคนิค Probing คือเทคนิคอะไร
ก.การเงียบ ข. การสรุป
ค.การทวนประโยค ง. การสอบซัก
41. เทคนิค Paraphrasing คือเทคนิคอะไร
ก.การเงียบ ข. การสรุป
ค.การทวนประโยค ง. การสอบซัก
42. เทคนิค Silence คือเทคนิคอะไร
ก.การเงียบ ข. การสรุป
ค.การทวนประโยค ง. การสอบซัก
43. ลักษณะแบบใดเป็น “ การเงียบบวก”
ก. Cl เงียบเนื่องจากไม่อยากพูดเรื่องตน
ข. Cl เงียบเนื่องจากไม่สบายใจ
ค. Cl เงียบเพื่อใช้ความคิดในการค้นหาประเด็นปัญหา
ง. Cl เงียบเนื่องจากไม่พอใจ ต่อต้าน ปฏิเสธ
44. เทคนิคการพูดซ้ําประโยค แต่ใช้ถ้อยคําน้อยลง ขณะเดียวกันก็ยังคงความหมายเดิมอยู่คือเทคนิคใด
ก. การทบทวนประโยค ข. การสรุป
ค. การสะท้อนความรู้สึก ง. การตีความ
45. เทคนิคการรวบรวม สิ่งที่พูดกันไปแล้วนั้นให้เป็นประโยคเดียว คือเทคนิคอะไร
ก. การทบทวนประโยค ข. การสรุป
ค. การสะท้อนความรู้สึก ง. การตีความ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


131
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ผู้รับคําปรึกษา : หนูรู้สึกกลัวที่ต้องออกไปรายงานหน้าห้องเรียน
ผู้ให้คําปรึกษา : หนูรู้สึกไม่มั่นใจกับงานที่นํามาเสนอใช่ไหม
46. จากบทสนทนาข้างต้น ผู้ให้คําปรึกษากําลังใช้เทคนิคอะไร
ก. การชี้แนะ ข. การสรุป
ค. การสะท้อนความรู้สึก ง. การตีความ

ผู้รับคําปรึกษา : เมื่อคืนผมไปงานวันเกิดของเพื่อนร่วมงานที่บริษัท ผมดื่มจัด


แล้วผมก็ร้องไห้ออกมาครวญครางเหมือนเด็ก ผมรู้สึกละอายแก่ใจตนเองเหลือเกิน
ผู้ให้คําปรึกษา : คุณรู้สึกเสียใจเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อคืนนี้

47. จากบทสนทนาข้างต้น ผู้ให้คําปรึกษากําลังใช้เทคนิคอะไร


ก. การตีความ ข. การสะท้อนความรู้สึก
ค. การสะท้อนความรู้สึก ง. การตีความ
48. ลักษณะใดของผู้ให้คําปรึกษา ที่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ต่อผู้มาขอรับคําปรึกษา
ก. กอดอก ข. สบตา
ค. พยักหน้า ง.โน้มตัวเล็กน้อย
49. ข้อใดเป็นการใช้เทคนิคการฟังที่ไม่ถูกต้อง
ก. มีสมาธิจดจ่อและมองมาที่ผู้มารับคําปรึกษา
ข. ถ้าไม่เข้าใจ ให้ถามผู้มาขอรับคําปรึกษาทันที ไม่ต้องรอให้พูดจบ
ค. ติดตามเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง
ง. จับประเด็นหรือใจความสําคัญให้ได้
50. ข้อใดคือหลักการในตั้งเป้าหมายการวางแผนการแก้ปัญหา สําหรับการให้คําปรึกษาวัยรุ่น
ก. การเปลี่ยนแปลงตนเอง
ข. สร้างแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ค. ให้ความหวังและโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง
ง. ถูกทุกข้อ
51. ข้อใดเป็นคําถามปลายเปิด
ก. “นอนหลับดีไหม” ข. “เบืออาหารหรื อไม่”
ค. “ท้ อแท้ ไหม” ง. “คุณรู้สึกอย่างไร”

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


132
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

“ครูดีใจที่ดุจดาวให้ความร่วมมือดีมาก ครูอยากจะพบเพื่อคุยกันอีก ดุจดาวจะสะดวกมาพบครูวันไหนดี”


52. จากข้อความข้างต้น เป็นการใช้เทคนิคใด ในการให้คําปรึกษาวัยรุ่น
ก. การสรุปความ ข.การสร้างสัมพันธภาพ
ค. การยุติการให้คําปรึกษา ง. การวางแผนการแก้ปัญหา
53. ประโยคใดที่จะทําให้ไม่ได้ความจริงจากการถามวัยรุ่น
ก. มันเกิดอะไรขึ้น ไหนลองเล่าให้ครูเข้าใจหน่อย
ข. ทําไมวันนี้ถึงมาโรงเรียนสาย
ค. อะไรทําให้เธอทําอย่างนั้น
ง. ลองเล่าให้ครูฟังหน่อย เธอคิดอย่างไรก่อนที่จะทําอย่างนั้น
54. ข้อใดไม่ใช่เทคนิคการสื่อสารที่ดี
ก. ตําหนิที่ตัวเด็ก มากกว่าตําหนิพฤติกรรม
ข. ฝึกให้เด็กกล้าบอกความคิด ความรู้สึก ความต้องการ
ค. กระตุ้นให้เด็กคิดได้ด้วยตนเอง
ง. ใช้คําพูดที่ขึ้นต้น “ฉัน...” มากกว่า “เธอ...”
55. บุคลิกภาพของผู้ให้คําปรึกษาที่มีต่อการสร้างสัมพันธภาพ ยกเว้นข้อใด
ก. สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ข. แววตามีความจริง
ค. พูดด้วยน้ําเสียงที่ดัง ฟังชัด ง. กิริยาท่าทางที่อบอุ่นเป็นกันเอง
56. ข้อใดคือการแสดงความใส่ใจด้วยภาษากายของผู้ให้คําปรึกษา
ก. การตั้งใจฟังโดยใช้สายตาจับจ้องผู้รับบริการ
ข. ใบหน้ามีความยิ้มแย้ม แสดงความเป็นมิตร
ค. เบนสายตาไปทางอื่นเพื่อไม่ให้ผู้รับคําปรึกษาอึกชดอัด
ง. ใช้เสียงพูดที่ดัง ฟังชัด และคล่องแคล่วในการพูด
57. ในการให้คําปรึกษา ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการเงียบ
ก. ผู้ให้บริการไม่มีอะไรจะพูด
ข. ให้จังหวะในการถาม
ค.กระตุ้นให้ผู้รับบริการแสดงความคิดเห็น
ง. ให้อิสระผู้รับบริการไตร่ตรองสิ่งที่เกิดขึ้น

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


133
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

58. ข้อใดคือการใช้ทักษะการทวนความ
ก. การแสดงความสนใจในสิ่งที่ผู้รับคําปรึกษาพูด
ข. การให้ผู้รับคําปรึกษาได้เล่าเรื่องราวที่ต้องการ
ค. ความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือผู้รับคําปรึกษา
ง. การทําให้ประเด็นที่ผู้รับคําปรึกษาพูด มีความกระจ่าง
59. ข้อควรคํานึงในการให้คําปรึกษาของผู้ให้บริการ ยกเว้นข้อใด
ก. ผู้ให้บริการควรจดบันทึกไว้หลังจากให้คําปรึกษาแล้ว
ข. ผู้ให้บริการต้องรักษาความลับและประโยชน์ของผู้รับบริการ
ค. ผู้ให้บริการควรให้ความสําคัญกับภาษาท่าทางของผู้รับบริการ
ง. ผู้ให้บริการควรถามข้อมูลที่ละเอียดอ่อนเพื่อเป็นประโยชน์ในการให้บริการ
60. การให้ผู้รับคําปรึกษาได้เล่าเรื่องราวที่ต้องการปรึกษาและความรู้สึกนึกคิดของผู้รับคําปรึกษา คือ
ทักษะในข้อใดของการให้คําปรึกษา
ก. ทักษะการถาม ข. ทักษะการใส่ใจ
ค. ทักษะการสะท้อนกลับ ง. ทักษะการชี้ผลที่ตามมา
61. การที่ผู้ให้คําปรึกษารวบรวมใจความสําคัญทั้งหมดของความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ของผู้รับ
คําปรึกษาที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลายในระหว่างให้คําปรึกษา คือทักษะใด
ก. ทักษะการสะท้อนกลับ ค. ทักษะการทวนความ
ค. ทักษะการสรุปความ ง. ทักษะการชี้ผลที่ตามมา
62. พฤติกรรมของครูในการปฏิบัติหน้าที่การให้คําปรึกษา ข้อใดไม่เหมาะสม
ก. ครูเมษาแสดงความห่วงใย ให้กําลังใจนักเรียน
ข. ครุตุลาขออนุญาตบันทึกการสนทนาระหว่างการให้คําปรึกษา
ค. ครูกันยาใส่ใจ สนใจ ยอมรับนักเรียนโดยไม่มีเงื่อนไข
ง. ครูมีนาแสดงสีหน้าและอารมณ์ร่วมขณะนักเรียนเล่าเหตุการณ์
จงตอบคําถามโดยใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ (ข้อ63-66)
ก.การท้าทาย ข. การเผชิญหน้า
ค. การให้ความมั่นใจ ง. การสนับสนุนให้กําลังใจ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


134
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

63. สถานการณ์ที่1
ผู้รับคําปรึกษา : หนูพยายามทําดีกับเพื่อนในชั้น แต่ก็ยังมีคนไม่ชอบหนู หนูรู้สึกเสียใจมาก
ผู้ให้คําปรึกษา : มีใครบ้างในโลกนี้ที่สามารถทําให้คนรอบข้าง รักเราด้วยความจริงใจ
64. สถานการณ์ที่ 2
ผู้รับคําปรึกษา : ผมจะนําเรื่องนี้ไปปรึกษากับครูประจําชั้นอีกครั้ง
ผู้ให้คําปรึกษา : เป็นความคิดที่ดีมาก
65. สถานการณ์ที่ 3
ผู้รับคําปรึกษา : เทอมนี้หนูจะต้องพยายามทําเกรดให้ได้ 4.00
ผู้ให้คําปรึกษา : เธอแน่ใจเหรอว่าทําได้
ผู้รับคําปรึกษา : หนูคิดว่าได้ค่ะ
66. สถานการณ์ที่ 4
ผู้รับคําปรึกษา : หนูรู้สึกกังวลกับผลงานชิ้นนี้มากเกินไป ทั้งๆที่อาจารย์ก็ไม่ได้ตําหนิอะไร
ผู้ให้คําปรึกษา : นั่นน่ะซิ โดยทั่วไปแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรน่ากังวล
จงตอบคําถามโดยใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ (ข้อ67-70)
ก. การทวนประโยค ข.การสอบซัก
ค.การทําความกระจ่างชัด ง. การสะท้อนความรู้สึก
67. สถานการณ์ที่ 1
ผู้รับคําปรึกษา : งานที่ฉันทําอยู่มันก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จนฉันรู้สึกว่าชีวิต
มันดูจืดชืด
ผู้ให้คําปรึกษา: หรืออีกนัยหนึ่งคุณรู้สึกเบื่อหน่ายต่อความซ้ําซากจําเจในชีวิต
68. สถานการณ์ที่ 2
ผู้ให้คําปรึกษา: ลองเล่าถึงเพื่อนสนิทให้ฟังหน่อยสิ
ผู้รับคําปรึกษา: เพื่อนสนิทของหนูมีน้อยมาก
ผู้ให้คําปรึกษา: มีกี่คน

69. สถานการณ์ที่ 3
ผู้รับคําปรึกษา: วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่หนูรักละสนใจมากและเคยทําคะแนนสูงกว่า
วิชาอื่น แต่ก็อดกลัวไม่ได้เมื่อถึงเวลาสอบ
ผู้ให้คําปรึกษา: หนูรู้สึกขาดความมั่นใจในเวลาสอบแม้ว่าจะเป็นวิชาที่หนูถนัด

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


135
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

70. สถานการณ์ที่ 4
ผู้รับคําปรึกษา: หนูไม่เข้าใจแม่หนูจริงๆ บางครั้งตอนเช้าบอกให้ทําอย่างหนึ่ง
แต่พอตอนเย็นกลับบอกให้ทําอีกอย่าง
ผู้ให้คําปรึกษา: แม่ทําให้หนูสับสนสินะ เพราะตอนเช้าบอกอย่าง ตอนเย็นบอกอีกอย่าง
ผู้รับคําปรึกษา: ใช่ค่ะ
71. ข้อใดคือหัวใจของกระบวนการให้คําปรึกษา
ก. การสํารวจปัญหา ข. การเข้าใจปัญหา
ค. การสร้างสัมพันธภาพ ง. การวางแผนการแก้ปัญหา
72. ข้อใดไม่ใช่เทคนิคการให้คําปรึกษา
ก. การเงียบ ข. การร่วมแก้ปัญหา
ค. การสร้างความคุ้นเคย ง. การสะท้อนความรู้สึก
73. วัตถุประสงค์ของทักษะการให้กําลังใจคือข้อใด
ก. เพื่อให้ผู้รับคําปรึกษาเปิดเผยตัวเองมากที่สุด
ข. เพื่อแสดงความใส่ใจและเข้าใจในอารมณ์
ค. เพื่อให้ผู้รับคําปรึกษาเข้าใจปัญหา เกิดความเข้าใจ ความรู้สึกของตนเองมากขึ้น
ง. เพื่อกระตุ้นให้ผู้รับคําปรึกษา กล้าที่จะคิดและทําในสิ่งที่ไม่เคยคิดหรือเคยทํามาก่อน
74. จากสถานการณ์ต่อไปนี้ เป็นการให้คําปรึกษาในขั้นตอนใด
ผู้ให้คําปรึกษา: หนูคิดถูกแล้ว รอไปก็ไม่มีประโยชน์ ได้ผลเป็นยังไงก็มาเล่าให้ครูฟังนะจ๊ะ
ผู้รับคําปรึกษา: ค่ะคุณครู ขอบคุณมากค่ะ
ผู้ให้คําปรึกษา: ไม่เป็นไรจ๊ะ ครูยินดี
ก. การสร้างสัมพันธภาพ ข. การยุติการให้คําปรึกษา
ค. การหาแนวทางแก้ปัญหา ง. การสํารวจและทําความเข้าใจปัญหา

75. รูปแบบการนั่งให้คําปรึกษารายบุคคล ข้อใดไม่ถูกต้อง


ก. นั่งลักษณะตั้งฉากกัน
ข. นั่งเยื้องกันเล็กน้อย
ค. นั่งใกล้พอที่จะแตะมือ หรือแตะไหล่กันได้ แต่ไม่ชิดจนทําให้ผู้มาขอรับคําปรึกษาอึดอัด
ง. นั่งประจันหน้ากัน เพื่อให้ผู้ให้คําปรึกษาสามารถมองตาผู้มาขอรับคําปรึกษาได้
76. “วันนี้มากันกี่คนครับ มาอย่างไร รถติดหรือไม่ นั่งรอนานหรือไม่” จากประโยคข้างต้นอยู่ในขั้นตอน
ใดของการให้คําปรึกษา
ก. การสร้างสัมพันธภาพ ข. การสํารวจปัญหา
ค. การยุติการให้คําปรึกษา ง. การหาแนวทางแก้ปัญหา

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


136
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

77. การให้คําปรึกษาวัยรุ่นมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
ก. สํารวจตนเองและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจ
ข. ลดระดับความเครียดและความไม่สบายใจ
ค. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางที่เหมาะสม
ง. ถูกทุกข้อ
78. การให้คําปรึกษา ไม่ควรเกินกี่เดือนต่อหนึ่งรายบุคคล
ก. 3 เดือน ข. 4เดือน
ค. 5 เดือน ง. 6 เดือน
79. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของผู้ให้คําปรึกษาที่ดี
ก. ตัดสินใจได้เร็ว ข.จริงใจ ตั้งใจช่วยเหลือ
ค. ใช้คําพูดได้เหมาะสม ง. เป็นผู้ฟังที่ดี
80. ผู้รับคําปรึกษาในข้อใด แสดงให้เห็นถึงความสําเร็จของการสร้างสัมพันธภาพต่อการให้คําปรึกษา
มากที่สุด
ก. นิชาถูกพ่อแม่ขอร้องให้มารับบริการให้คําปรึกษา
ข. ปาลิตาถูกครูประจําชั้นส่งมารับบริการให้คําปรึกษา
ค. สุวรรณาถูกส่งมารับคําปรึกษาจากครูฝ่ายปกครอง
ง. วาสนามาพบผู้ให้คําปรึกษาด้วยตนเองอย่างสมัครใจ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


137
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

เฉลยข้อสอบการให้คําปรึกษาและการให้คําปรึกษาวัยรุ่น
1. ตอบ ค. กระบวนการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกัน
2. ตอบ ก. การให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคล
3. ตอบ ค. การให้คําปรึกษารายบุคคล
4. ตอบ ง. ผู้ให้คําปรึกษาจะต้องพยายามชี้แจงให้สมาชิกกล้า อภิปรายปัญหาตัวเอง อย่างเปิดเผย
5. ตอบ ง. การให้คําปรึกษารายบุคคล
6. ตอบ ก. การให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม
7. ตอบ ก. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาแบบเกสตัลท์ (Gestalt therapy)
8. ตอบ ก. ทฤษฎีการให้คําปรึกษาแบบเกสตัลท์ (Gestalt therapy)
9. ตอบ ง. เพื่อสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
10. ตอบ ค. การให้คําปรึกษาแบบครอบครัว
11. ตอบ ข. เป็นการให้คําปรึกษาแก่ผู้รับบริการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในเวลาเดียวกัน
12. ตอบ ง. การให้คําปรึกษาเป็นกลุ่ม
13. ตอบ ก. น้อยกว่า 10 คน
14. ตอบ ก. ผู้ให้คําปรึกษาพูดความรู้สึกของตนให้ผู้รับคําปรึกษาฟัง
15. ตอบ ก. การให้คําปรึกษาเป็นกระบวนการช่วยเหลือ (Helping Process)
16. ตอบ ง. ทฤษฎีการรวบรวมปัญหาเพื่อวิเคราะห์
17 ตอบ ค. ทําให้บุคคลได้แลกเปลี่ยนปัญหาและประสบการณ์ซึ่งกันและกันในกลุ่ม
18 ตอบ ก. กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของโสรยา
19. ตอบ ง. ทฤษฎีบุคลิกภาพ ABC
20. ตอบ ง. กลุ่มยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
21. ตอบ ค. จิตวิทยาความแตกต่าง
22. ตอบ ข. แบบพฤติกรรมนิยม
23. ตอบ ก. อีริค เบิร์น
24. ตอบ ก. แบบเกสตัลท์
25. ตอบ ค. แบบวิเคราะห์ลักษณะบุคคลและองค์ประกอบ
26 ตอบ ข.การสร้างสัมพันธภาพ
27. ตอบ ค. ตะวันรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้น อย่างไม่มีอคติ
28. ตอบ ง. เป็นการให้ผู้รับคําปรึกษาได้ทบทวนตัวเอง
29. ตอบ ค. เทคนิคการสะท้อนคําพูด
30. ตอบ ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
31. ตอบ ง. เทคนิคการเรียนดี

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


138
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

32. ตอบ ก. 45-50 นาที


33. ตอบ ก. การรักษาความลับของผู้มารับบริการ
34. ตอบ ก.การสร้างสัมพันธภาพ
35. ตอบ ค. การเข้าใจปัญหา
36 ตอบ ง. การวางแผน
37. ตอบ ข. นั่งเป็นวงกลม
38. ตอบ ค. การนําสนทนาให้เข้าประเด็น
39. ตอบ ง. ไม่เห็นด้วยใช่ไหม
40. ตอบ ง. การสอบซัก
41. ตอบ ค.การทวนประโยค
42. ตอบ ก.การเงียบ
43. ตอบ ค. Cl เงียบเพื่อใช้ความคิดในการค้นหาประเด็นปัญหา
44. ตอบ ก. การทบทวนประโยค
45. ตอบ ข. การสรุป
46. ตอบ ง. การตีความ
47. ตอบ ค. การสะท้อนความรู้สึก
48. ตอบ ก. กอดอก
49. ตอบ ข. ถ้าไม่เข้าใจ ให้ถามผู้มาขอรับคําปรึกษาทันที ไม่ต้องรอให้พูดจบ
50. ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
51. ตอบ ง. “คุณรู้สึกอย่างไร”
52. ตอบ ค. การยุติการให้คําปรึกษา
53. ตอบ ข. ทําไมวันนี้ถึงมาโรงเรียนสาย
54. ตอบ ก. ตําหนิที่ตัวเด็ก มากกว่าตําหนิพฤติกรรม
55. ตอบ ค. พูดด้วยน้ําเสียงที่ดัง ฟังชัด
56. ตอบ ข. ใบหน้ามีความยิ้มแย้ม แสดงความเป็นมิตร
57. ตอบ ก. ผู้ให้บริการไม่มีอะไรจะพูด
58. ตอบ ง. การทําให้ประเด็นที่ผู้รับคําปรึกษาพูด มีความกระจ่าง
59. ตอบ ง. ผู้ให้บริการควรถามข้อมูลที่ละเอียดอ่อนเพื่อเป็นประโยชน์ในการให้บริการ
60. ตอบ ก. ทักษะการถาม
61 ตอบ ค. ทักษะการสรุปความ
62. ตอบ ง. ครูมีนาแสดงสีหน้าและอารมณ์ร่วมขณะนักเรียนเล่าเหตุการณ์
63. ตอบ ข. การเผชิญหน้า

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


139
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

64. ตอบ ง. การสนับสนุนให้กําลังใจ


65. ตอบ ก.การท้าทาย
66. ตอบ ค. การให้ความมั่นใจ
67. ตอบ ค.การทําความกระจ่างชัด
68. ตอบ ข.การสอบซัก
69. ตอบ ง. การสะท้อนความรู้สึก
70. ตอบ ก. การทวนประโยค
71. ตอบ ข. การเข้าใจปัญหา
72. ตอบ ข. การร่วมแก้ปัญหา
73. ตอบ ง. เพื่อกระตุ้นให้ผู้รับคําปรึกษา กล้าที่จะคิดและทําในสิ่งที่ไม่เคยคิดหรือเคยทํามาก่อน
74. ตอบ ข. การยุติการให้คําปรึกษา
75. ตอบ ง. นั่งประจันหน้ากัน เพื่อให้ผู้ให้คําปรึกษาสามารถมองตาผู้มาขอรับคําปรึกษาได้
76. ตอบ ก. การสร้างสัมพันธภาพ
77. ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
78. ตอบ ก. 3 เดือน
79. ตอบ ก. ตัดสินใจได้เร็ว
80. ตอบ ง. วาสนามาพบผู้ให้คําปรึกษาด้วยตนเองอย่างสมัครใจ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


140
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ข้อสอบจริง ปี 2560-2561
1. “ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทํา” เป็นทฤษฎีของใคร
ก. เลวิน ข. สกินเนอร์
ค. ธอร์นไดค์ ง. วัตสัน
2. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ไม่คํานึงถึงอะไร
ก. เวลาเข้าร่วมกิจกรรม ข.คุณลักษณะผู้เรียน
ค. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ง. การมีส่วนร่วม
3. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เครื่องมือใดสอดคล้องน้อยที่สุด
ก. การสังเกต ข. สัมภาษณ์
ค. การเยี่ยมบ้าน ง. การทดสอบ
4. ข้อใดเป็นงานบริการของกิจกรรมแนะแนว
ก.การคัดกรอง ข. การสํารวจนักเรียนรายบุคคล
ค. การสอนเสริม ง. การแก้ปัญหา
5. “ต้องการสังเกตข้อมูลในสถานศึกษาจริง แต่ไม่อยากให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว” หมายถึงข้อใด
ก. สังเกตแบบตรง ข.แบบทางอ้อม
ค. แบบมีส่วนร่วม ง. แบบไม่มีส่วนร่วม
6.ข้อใดเป็นบรรยากาศจิตวิทยาในชั้นเรียน
ก.ห้องเรียนสะอาดมีแสงสว่าง
ข. มีมุมรักการอ่านในชั้นเรียน
ค. ครูกระตุ้นให้นักเรียนกระตือรือร้น ตั้งใจเรียน
ง. โรงเรียนมีห้องเรียนคุณภาพ
7. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค เกี่ยวข้องกับนักจิตวิทยาท่านใด
ก. เอ็ดเวิร์ด ธอร์นไดค์ ข. แม็กซ์ วุ้นท์
ค. จอร์น บี วัตสัน ง. อีวาน เปโตรวิช พาฟลอฟ

8. คําพุดของครูในข้อใด เหมาะสมที่จะส่งเสริมให้กําลังใจให้เด็กประสบความสําเร็จมากที่สุด
ก. เธอช่วยตัวเองหน่อยนะ ครูจะให้กําลังใจห่างๆนะ
ข. ถ้าเธอชนะครั้งนี้ เธอจะได้ชื่อเสียงมากมาย ใครๆก็อิจฉาเธอแน่นอน
ค. พ่อกับแม่เธอและครูทุกคน ตั้งความหวังกับเธอไว้เยอะนะ ห้ามพลาดโดยเด็ดขาด

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


141
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ง. งานนี้เป็นก้าวแรก และจะเป็นก้าวต่อๆไป ที่เธอจะได้พิสูจน์ความสามารถของเธอนะ


9. ข้อใดเป็นการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมทางจิตใจ
ก.ครูสมานจัดโต๊ะครูไว้กลางห้องเรียนเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่นักเรียนทุกคน
ข. ครูนิดหน่อยใช้หลักประชาธิปไตยในการปกครองชั้นเรียน
ค. ครูสมใจจัดมุมรักการอ่านในห้องเรียน
ง. ครูดอกรักจัดสภาพห้องเรียนมีแสงสว่างเพียงพอ
10. Law of effect เป็นหลักการของนักจิตวิทยาผู้ใด
ก. รุสโซ ข. ฟรอยด์
ค. ธอร์นไดค์ ง. สกินเนอร์
11. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กมากที่สุดคือข้อใด
ก.การให้รางวัล ข. การลงโทษ
ค. การเสริมแรง ง. ความคับข้องใจ
12. ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีของธอร์นไดค์(Thorndike)
ก. กฎแห่งความพร้อม ข. กฎแห่งการฝึกหัด
ค. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ ง. กฎแห่งการกระทํา
13. มนุษย์มีจํานวนโครโมโซมกี่คู่
ก. 22 คู่ ข. 23 คู่
ค. 24 คู่ ง. 25 คู่
14. การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ําตาลในโลหิต ซึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า
เป็นพฤติกรรมประเภทใด
ก.พฤติกรรมภายใน ข. พฤติกรรมโมลาร์
ค. พฤติกรรมโมเลกุล ง.พฤติกรรมที่เป็นการคิด
15. ข้อใดเป็นแนวคิดของกลุ่มเกสตัลท์
ก. พรีมอยากรู้ว่าถ้านําสีแดงไปผสมกับสีเหลืองจะเกิดสีอะไร จึงนําสีไปผสมกัน
ทําให้รู้ว่าเกิดสีส้ม
ข. ครูณเดชสอนนักเรียนเกี่ยวกับดอกไม้ เมื่อนักเรียนสามารถบอกได้ว่า ดอกไม้คืออะไร
ครูณเดชก็สอนเกี่ยวกับชนิดดอกไม้ต่อ
ค. คุณแม่เห็นญาญ่ากําลังวาดรูป จึงชมญาญ่า ทําให้ญาญ่ามีความรู้สึกดีใจและอยากวาดรูปอีก
ง. ข้อ ก และ ค ถูก
16. แนวคิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง Learning by doing เป็นแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มใด

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


142
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ก. กลุ่มหน้าที่จิต ข.กลุ่มจิตวิเคราะห์
ค. กลุ่มพฤติกรรมนิยม ง. กลุ่มทฤษฎีสติปัญญา
17. กันยาต้องการเป็นผู้นํากลุ่ม และต้องการอํานาจเหนือบุคคลอื่น แสดงว่ากันยามีแรงจูงใจแบบใด
ก. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ข. แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
ค. แรงจูงใจใฝ่อํานาจ ง. แรงจูงใจใฝ่สังคม
18. ครูผู้สอนต้องหาวิธีเข้าไปอยู่ใน Life Space ของผู้เรียนให้ได้ คือแนวคิดของบุคคลใด
ก. เคิร์ท เลวิน ข. อีริค อีริคสัน
ค. ลอเรนส์ โคลเบิร์ก ง. เอ็ดเวิร์ด ธอร์นไดค์
19. นักจิตวิทยาคนใดได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งพฤติกรรมบําบัด(Behavioral Therapy)”
ก. โจเซฟ โวลเป ข. เคิร์ท คอฟฟ์กา
ค. วูล์ฟแกง โคห์เลอร์ ง. วิลเฮล์ม แม็กซ์ วุนต์
20. Oedipus Complex หมายถึงข้อใด
ก. ความรู้สึกของเด็กผู้ชายที่รักแม่และติดแม่
ข. ความรู้สึกของเด็กผู้หญิงที่รักพ่อและติดพ่อ
ค. เด็กได้รับความพึงพอใจทางทวารหนัก
ง. เด็กเริ่มสนใจความแตกต่างระหว่างเพศ

21. บุคคลที่เก็บซ่อนความต้องการที่จะแสดงพฤติกรรมลดภาวะเครียดนั้นๆ เอาไว้ในจิตไร้สํานึก เพื่อ


นํามาแสดงออกภายหลัง เรียกว่าอะไร
ก. Libido ข.Tension
ค. Fixation ง. Oral Stage
22. การแบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาของ ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) ขั้นปฏิบัติโดยการคิดหาเหตุผล
และมีความคิดสร้างสรรค์ คือช่วงอายุใด
ก. อายุ 2-4 ปี ข. อายุ 4-7 ปี
ค. อายุ 7-10 ปี ง. อายุ11-15 ปี
23. อิทธิพลลําดับการเกิดส่งผลต่อพฤติกรรม ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ลูกคนสุดท้องมีความทะเยอทะยานสูง
ข. ลูกคนโตเป็นคนเอาแต่ใจตนเอง ชอบขอความช่วยเหลือคนอื่น
ค. ลูกคนกลางมีความเชื่อมั่นในตนเองมีความรับผิดชอบสูง
ง. ลูกคนเดียวมักเฉลียวฉลาด เป็นเพราะได้อยู่ท่ามกลางผุ้ใหญ่เป็นส่วนมาก

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


143
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

24. ข้อใดไม่ใช่การจัดกลุ่มการรับรู้ของเกสตัลท์
ก. กฎความคล้ายคลึง ข. กฎแห่งความใกล้ชิด
ค. กฎแห่งความต่อเนื่อง ง. กฎแห่งความเชื่อมโยง
25. “เมื่อใกล้ถึงช่วงกําหนดส่งงาน นักเรียนจะมีความขยันทํางานส่งกันมาก แต่เมื่อส่งงานไปแล้ว ความ
ขยันก็จะลดลง และจะไปเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อใกล้เวลาถึงช่วงส่งงานชิ้นต่อๆไป” การกระทําดังกล่าวตรง
กับข้อใด
ก. การเสริมแรงตามอัตราที่แน่นอน
ข. การเสริมแรงตามอัตราที่ไม่แน่นอน
ค. การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน
ง. การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
26. การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกเป็นทฤษฎีของใคร
ก. ธอร์นไดค์ ข. อัลเบิร์ต แบนดูรา
ค. สตานิสลาฟ กรอฟ ง. คาร์ล โรเจอร์ส
27. หัวใจของการแนะแนวคือข้อใด
ก. การศึกษา ข.การบริการ
ค. การแก้ปัญหา ง. การให้คําปรึกษา
28. กิจกรรมแนะแนวมีประโยชน์ต่อครูอย่างไร
ก. ช่วยให้รู้จักผู้เรียน ข. ทําให้ผู้เรียนมีอาชีพ
ค. ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง ง. ใช้ประเมินผู้เรียน
29. พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนมากกําหนดขึ้นโดยสัญชาตญาณ ซึ่งมีมาตั้งแต่กําเนิดเป็นคํากล่าวของใคร
ก. Skinner ข. Carl R. Rogers
ค. John B. Watson ง. Sigmund Freud
30. สิ่งใดเป็นตัวบังคับและควบคุมความคิดให้แสดงออกในทางที่เหมาะสมต่อสังคม
ก.อิด ข. อีโก้
ค. ซูปเปอร์อีโก้ ง. อารมณ์และความรู้สึก
31. การออกเยี่ยมบ้านนักเรียน เป็นวิธีการศึกษาข้อมูลของนักเรียนที่มีข้อดีอย่างไร
ก.ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ข. ได้รับทราบสภาพที่เป็นจริง
ค. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ง. สะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาน้อย
32. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ให้คําปรึกษา
ก. การชี้นํา ข. การยอมรับ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


144
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

ค. การดุแลเอาใจใส่ ง. การเก็บรักษาความลับ
33. คําพูดของครูในข้อใด อยู่ในขั้นการหาแนวทางแก้ปัญหา
ก. “ได้จ๊ะ นั่งก่อนสิ” (ยิ้มพร้อมชี้ไปที่เก้าอี้)
ข. “ดีแล้วค่ะ ได้ผลเป็นอย่างไร ก็มาเล่าให้ครูฟังนะ”
ค. “ครูอยากคุยด้วย เป็นยังไงบ้าง สบายดีไหม”
ง. “ครูคิดว่า ถ้าหนูทําตามที่คิด ทุกอย่างน่าจะดีขึ้น แล้วจะพูดคุยกับแม่วันไหนดี”
34. การทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน เป็นบริการใดของการแนะแนว
ก. บริการสนเทศ ข. บริการให้คําปรึกษา
ค. บริการจัดวางตัวบุคคล ง. บริการรวบรวมข้อมูลรายบุคคล
35.ข้อใดคือบริการจัดวางตัวบุคคล
ก. โฮมรูม ข. ทัศนศึกษา
ค. อัตชีวประวัติ ง. จัดบริการฝึกงาน
36. น้ําลายหลั่งจากเสียงกระดิ่ง จากการทุดลองของ พาฟลอฟ คือข้อใด
ก. UCS ข. CS
ค. UCR ง. CR
37. บุคคลใดต่อไปนี้ปฏิบัติตนตรงตามกฎของธอร์นไดค์ถูกต้องที่สุด
ก. นัดจดทุกคําพูดของอาจารย์เพราะคิดว่าสิ่งที่อาจารย์พูดถูกต้องที่สุด
ข. จี๊ดนั่งสมาธิก่อนนําเสนองานในทุกๆครั้ง ทําให้เธอมีความมั่นใจและทําออกมาได้ดี
ค. นานาชอบไปโรงเรียนเพราะครูที่โรงเรียนใจดี
ง. ฟลุ๊คจะได้รับรางวัลจากพ่อทุกครั้งที่เขาสอบได้ที่ 1
38. ข้อใดคือแผนผังแสดงการวางเงื่อนไขกลับ
ก. กระต่าย (CS) (กลัว) ----> ขนม (UCS) ชอบ (CR)
ข. กระต่าย (CS) (เฉยๆ) ----> เสียงดัง (UCS) กลัว (CR)
ค. กระต่าย (CS) (กลัว) ----> เสียงดัง (UCS) (เฉยๆ)
ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูกต้อง
39. ข้อใดไม่ใช่ขอบข่ายของการแนะแนว
ก. การแนะแนวครูผู้สอน ข. การแนะแนวการศึกษา
ค. การแนะแนวอาชีพ ง. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
40. การคัดกรองนักเรียน ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ต้องแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม
ก. แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ
ข. แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ กลุ่มมีปัญหา
ค. แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ กลุ่มมีปัญหา กลุ่มเสี่ยง
ง. แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ กลุ่มมีปัญหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มยากจน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


145
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

41.การประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ) ถือว่าเป็นขั้นตอนใด ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน


ก. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ข. การคัดกรองนักเรียน
ค. การส่งเสริมนักเรียน ง. การป้องกันและแก้ไขปัญหา

42. ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งการแนะแนว"


ก. Louis P. Nash ข. Frank Parson
ค. Eli W. Weaver ง. Frank P. Goodwin
43. Personal social guidance หมายถึง
ก. แนะแนวทางการศึกษา
ข. แนะแนวทางอาชีพ
ค. การแนะแนวทางด้านสังคมส่วนตัว
ง. การแนะแนวทางตามความถนัด
44.ระยะเวลาที่เหมาะสมสําหรับการให้คําปรึกษารายบุคคล คือข้อใด
ก. 45-50 นาที ข. 1-1.5 ชั่วโมง
ค. 1.5-2 ชั่วโมง ง. 2-2.5 ชั่วโมง
45. ประเทศไทยเริ่มจัดระบบการแนะแนวในสถานศึกษาอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกที่ใด
ก. โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จังหวัดอุดรธานี
ข. โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
ค. โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ง. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
46. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551กําหนดกิจกรรมแนะแนวเป็นกิจกรรมหนึ่งที่อยู่ใน
กิจกรรมใด
ก. กิจกรรมชุมนุม
ข. กิจกรรมนักเรียน
ค. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ง. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
47. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการของกินซ์เบิร์ก (Ginzber’sTheory)
ก. ประสบการณ์การอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็ก มีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ
ข. บุคคลจะเลือกอาชีพที่เหมาะกับบุคลิกภาพและความต้องการของตนเอง
ค. บุคคลตัดสินใจเลือกอาชีพจากการวิเคราะห์ตนเองและวิเคราะห์อาชีพประกอบกัน
ง. การเลือกอาชีพแบ่งเป็น 3ระยะ คือ ระยะเพ้อฝัน ระยะพิจารณาเลือกอาชีพ และระยะแห่ง
ความจริง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


146
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

48. จากสถานการณ์ต่อไปนี้ เป็นการให้คําปรึกษาในขั้นตอนใด


ผู้ให้คําปรึกษา: หนูคิดถูกแล้ว รอไปก็ไม่มีประโยชน์ ได้ผลเป็นยังไงก็มาเล่าให้ครูฟังนะจ๊ะ
ผู้รับคําปรึกษา: ค่ะคุณครู ขอบคุณมากค่ะ
ผู้ให้คําปรึกษา: ไม่เป็นไรจ๊ะ ครูยินดี
ก. การสร้างสัมพันธภาพ ข. การยุติการให้คําปรึกษา
ค. การหาแนวทางแก้ปัญหา ง. การสํารวจและทําความเข้าใจปัญหา
49.ลักษณะแบบใดเป็น “ การเงียบบวก”
ก. Cl เงียบเนื่องจากไม่อยากพูดเรื่องตน
ข. Cl เงียบเนื่องจากไม่สบายใจ
ค. Cl เงียบเพื่อใช้ความคิดในการค้นหาประเด็นปัญหา
ง. Cl เงียบเนื่องจากไม่พอใจ ต่อต้าน ปฏิเสธ
50. ผู้รับคําปรึกษา: หนูพยายามทําดีกับเพื่อนในชั้น แต่ก็ยังมีบางคนไม่ชอบหนู หนูรู้สึกเสียใจมาก
ผู้ให้คําปรึกษา : มีใครบ้างในโลกนี้ที่สามารถทําให้คนรอบข้างเราทุกคนรักเราด้วยความจริงใจ
ก.การท้าทาย ข. การเผชิญหน้า
ค. การให้ความมั่นใจ ง. การสนับสนุนให้กําลังใจ
51. กลุ่มที่ต้องดูแลช่วยเหลือ พัฒนา ส่งเสริมอย่างใกล้ชิดจากครูแนะแนว เรียกว่าอะไร
ก. กลุ่มปกติ ข. กลุ่มไม่ปกติ
ค. กลุ่มพิเศษ ง. กลุ่มเฝ้าระวัง
52. แบบ ปพ.ใดเกี่ยวข้องกับกิจกรรมแนะแนวมากที่สุด
ก. ปพ.1 ข. ปพ.3
ข. ปพ.7 ง. ปพ.8
53.ข้อใดไม่ใช่ขอบข่ายของการแนะแนว
ก. การแนะแนวครูผู้สอน ข. การแนะแนวการศึกษา
ค. การแนะแนวอาชีพ ง. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
54. จาก กฎกระทรวงงานแนะแนว พ.ศ.2549 ในข้อ 37 ข้อใด ไม่ใช่ " นักเรียนหรือนักศึกษาที่เสี่ยงต่อ
การกระทําผิด"
ก. ประพฤติตนไม่สมควรกับสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา
ข. ประกอบอาชีพในทางผิดกฎหมายหรือขัดศีลธรรม
ค. คบหาสมาคมกับบุคคลที่จะนําไปสู่การกระทําผิดกฎหมาย
ง. อยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการกระทําผิด
55. ข้อใดไม่ใช่การจัดกิจกรรมแนะแนวในคาบเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนของนักเรียน
ก. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม และจริยธรรมที่ถูกต้อง
ข. นักเรียนวางแผนทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
ค. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น
ง. นักเรียนประสบความสําเร็จตามแผนการเรียนของตน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


147
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

56. ข้อควรคํานึงในการให้คําปรึกษาของผู้ให้บริการ ยกเว้นข้อใด


ก. ผู้ให้บริการควรจดบันทึกไว้หลังจากให้คําปรึกษาแล้ว
ข. ผู้ให้บริการต้องรักษาความลับและประโยชน์ของผู้รับบริการ
ค. ผู้ให้บริการควรให้ความสําคัญกับภาษาท่าทางของผู้รับบริการ
ง. ผู้ให้บริการควรถามข้อมูลที่ละเอียดอ่อนเพื่อเป็นประโยชน์ในการให้บริการ
57. การให้คําปรึกษา ไม่ควรเกินกี่เดือนต่อหนึ่งรายบุคคล
ก. 3 เดือน ข. 4เดือน
ค. 5 เดือน ง. 6 เดือน
58 . “ครูดีใจที่ดุจดาวให้ความร่วมมือดีมาก ครูอยากจะพบเพื่อคุยกันอีก
ดุจดาวจะสะดวกมาพบครูวันไหนดี” จากข้อความข้างต้น เป็นการใช้เทคนิคใด
ก. การสรุปความ ข.การสร้างสัมพันธภาพ
ค. การยุติการให้คําปรึกษา ง. การวางแผนการแก้ปัญหา.
59. ผู้รับคําปรึกษา: หนูรู้สึกกลัวที่ต้องออกไปรายงานหน้าห้องเรียน
ผู้ให้คําปรึกษา : หนูรู้สึกไม่มั่นใจกับงานที่นํามาเสนอใช่ไหม
จากบทสนทนาข้างต้น ผู้ให้คําปรึกษากําลังใช้เทคนิคอะไร
ก. การชี้แนะ ข. การสรุป
ค. การสะท้อนความรู้สึก ง. การตีความ
60. “ ผู้ให้คําปรึกษา : เราได้คุยกันมาหลายเรื่องแล้วมีเรื่องไหนที่นักเรียนอยากคุยกับครูมากที่สุด”
จากประโยคข้างต้นเทคนิคอะไร
ก. การนําเข้าสู่การสนทนาโดยตรง
ข. การนําเข้าสู่การสนทนาทางอ้อม
ค. การนําสนทนาให้เข้าประเด็น
ง. การเชื่อมโยงสนทนากับปัญหาอื่น

61. การช่วยให้ผู้รับบริการรู้จักและเข้าใจตนเอง เป็นแนวคิดของการให้คําปรึกษารูปแบบใด


ก.แบบกลุ่มเผชิญความจริง
ข.แบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์
ค. แบบวิเคราะห์ลักษณะบุคคลและองค์ประกอบ
ง. แบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม
62. ครูแนะแนวสามารถนําแนวคิดพหุปัญญา(Multiple Intelligences)ของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ มาใช้
ในการจัดกิจกรรมแนะแนวในคาบเรียนด้านใด
ก. ด้านอาชีพ ข. ด้านการศึกษา
ค. ด้านส่วนตัวและสังคม ง. ด้านบุคลิกภาพ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


148
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

63.การสอนแบบ Playway ผู้คิดค้นคือผู้ใด


ก. Proebel ข. Plato
ค. Rousseau ง. Ericson
64. สุนัขจะน้ําลายไหลทุกครั้งเมื่อสั่นกระดิ่งและนําผงเนื้อมา ต่อมาเมื่อสั่นกระดิ่งอย่างเดียวน้ําลายจะ
ไหล สุนัขเกิดการเรียนรู้แบบใด
ก.เกิดการเรียนรู้ซ้ําๆ และความเคยชิน ข.เกิดการวางเงื่อนไขที่ตอบสนอง
ค.เกิดจากการสัมผัสลิ้นกับผงเนื้อ ง.เกิดการเรียนรู้ลองผิดลองถูก
65. ขั้นการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กหญิงหวงพ่อ หรือเด็กชายหวงแม่ อยู่ที่ข้อใด
ก. Oral staqe ข. Anal staqe
ค. Plalic staqe ง. Lantency staqe
66.เด็กจะรับรู้ส่วนรวมก่อนจึงรับรู้ส่วนน้อยอยู่ในการพัฒนาด้านสติปัญญาชั้นใด
ก. Sensorl motor staqe ข. Perperational staqe
ค. Concrete operations ง. Formal operating
67. IQ ปกติของคนมีสติปัญญาปานกลางมีค่าเท่าไร
ก. 80-89 ข.90-109
ค. 110-119 ง. 120-129

68. จากการทดสอบทดสอบ IQ ถ้าบุคคลมีค่าอายุสมองเท่ากับอายุจริง แสดงว่าบุคคลนั้นมีสติปัญญา


อยู่ในระดับใด
ก. ปกติ ข. ปัญญาทึบ
ค. โง่คาบเส้น ง. ค่อนข้างฉลาด
69. ปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex Action) ทํางานภายใต้การสั่งการจากอะไร
ก. สมอง ข. หัวใจ
ค. ไขสันหลัง ง. ต่อมไร้ท่อ
70. ต่อมใดผลิตโกรทฮอร์โมน(Growth Hormone) และควบคุมการทํางานของต่อมอื่นๆ
ก. ต่อมเพศ ข. ต่อมไทรอยด์
ค. ต่อมหมวกไต ง. ต่อมใต้สมอง

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


149
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

เฉลยข้อสอบ
1. ตอบ ข. สกินเนอร์
2 ตอบ ค. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3 ตอบ ก. การสังเกต
4 ตอบ ข. การสํารวจนักเรียนรายบุคคล
5 ตอบ ข.แบบทางอ้อม
6 ตอบ ค. ครูกระตุ้นให้นักเรียนกระตือรือร้น ตั้งใจเรียน
7 ตอบ ง. อีวาน เปโตรวิช พาฟลอฟ
8 ตอบ ง. งานนี้เป็นก้าวแรก และจะเป็นก้าวต่อๆไป ที่เธอจะได้พิสูจน์ความสามารถของเธอนะ
9 ตอบ ข. ครูนิดหน่อยใช้หลักประชาธิปไตยในการปกครองชั้นเรียน
10 ตอบ ค. ธอร์นไดค์
11 ตอบ ค. การเสริมแรง
12 ตอบ ง. กฎแห่งการกระทํา13. ข. 23 คู่
14 ตอบ ค. พฤติกรรมโมเลกุล
15. ตอบ ข. ครูณเดชสอนนักเรียนเกี่ยวกับดอกไม้ เมื่อนักเรียนสามารถบอกได้ว่า ดอกไม้คืออะไร
ครูณเดชก็สอนเกี่ยวกับชนิดดอกไม้ต่อ
16. ตอบ ก. กลุ่มหน้าที่จิต
17 ตอบ ค. แรงจูงใจใฝ่อํานาจ

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


150
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

18 ตอบ ก. เคิร์ท เลวิน


19 ตอบ ก. โจเซฟ โวลเป
20. ตอบ ก. ความรู้สึกของเด็กผู้ชายที่รักแม่และติดแม่
21 ตอบ ค. Fixation
22. ตอบ ง. อายุ11-15 ปี
23. ตอบ ง. ลูกคนเดียวมักเฉลียวฉลาด เป็นเพราะได้อยู่ท่ามกลางผุ้ใหญ่เป็นส่วนมาก
24 ตอบ ง. กฎแห่งความเชื่อมโยง
25 ตอบ ค. การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน
26. ตอบ ก. ธอร์นไดค์
27 ตอบ.ง. การให้คําปรึกษา
28. ตอบ ก. ช่วยให้รู้จักผู้เรียน
29. ตอบ ง. Sigmund Freud
30. ตอบ ค. ซูปเปอร์อีโก้
31. ตอบ ข. ได้รับทราบสภาพที่เป็นจริง
32. ตอบ ก. การชี้นํา
33. ตอบ ง. “ครูคิดว่า ถ้าหนูทําตามที่คิด ทุกอย่างน่าจะดีขึ้น แล้วจะพูดคุยกับแม่วันไหนดี”
34. ตอบ ง. บริการรวบรวมข้อมูลรายบุคคล
35. ตอบ ง. จัดบริการฝึกงาน
36. ตอบ ง. CR
37. ตอบ ข. จี๊ดนั่งสมาธิก่อนนําเสนองานในทุกๆครั้ง ทําให้เธอมีความมั่นใจและทําออกมาได้ดี
38. ตอบ ก. กระต่าย (CS) (กลัว) ----> ขนม (UCS) ชอบ (CR)
39. ตอบ ก. การแนะแนวครูผู้สอน
40. ตอบ ค. แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ กลุ่มมีปัญหา กลุ่มเสี่ยง
41. ตอบ ก. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
42. ตอบ ข. Frank Parson
43. ตอบ ค. การแนะแนวทางด้านสังคมส่วนตัว
44. ตอบ ก. 45-50 นาที
45. ตอบ ค. โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
46. ตอบ ค. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว


151
วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย https://www.facebook.com/kruoffza

47. ตอบ ง. การเลือกอาชีพแบ่งเป็น 3ระยะ คือ ระยะเพ้อฝัน ระยะพิจารณาเลือกอาชีพ


และระยะแห่งความจริง
48. ตอบ ข. การยุติการให้คําปรึกษา
49. ตอบ ค. Cl เงียบเพื่อใช้ความคิดในการค้นหาประเด็นปัญหา
50. ตอบ ข. การเผชิญหน้า
51. ตอบ ค. กลุ่มพิเศษ
52. ตอบ ง. ปพ.8
53. ตอบ ก. การแนะแนวครูผู้สอน
54. ตอบ ง. อยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการกระทําผิด
55. ตอบ ก. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม และจริยธรรมที่ถูกต้อง
56. ตอบ ง. ผู้ให้บริการควรถามข้อมูลที่ละเอียดอ่อนเพื่อเป็นประโยชน์ในการให้บริการ
57. ตอบ ก. 3 เดือน
58. ตอบ ค. การยุติการให้คําปรึกษา
59. ตอบ ง. การตีความ
60. ตอบ ค. การนําสนทนาให้เข้าประเด็น
61. ตอบ ค. แบบวิเคราะห์ลักษณะบุคคลและองค์ประกอบ
62. ตอบ ก. ด้านอาชีพ
63. ตอบ ก. Proebel
64. ตอบ ก.เกิดการเรียนรู้ซ้ําๆ และความเคยชิน
65. ตอบ ค. Plalic staqe
66. ตอบ ค. Concrete operations
67. ตอบ ข.90-109
68. ตอบ ก. ปกติ
69. ตอบ ค. ไขสันหลัง
70. ตอบ ง. ต่อมใต้สมอง

************************************************

วิทยากร บัวแสงใส รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว

You might also like