You are on page 1of 82

ช่องทรูปลูกปัญญา

โทรทัศน์ความรูด้ สู นุก ทางทรูวชิ นั่ ส์ 6 ทุกรายการสาระความรู้


สาระบันเทิง และการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตลอด 24 ชั่วโมง
พบกับเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ
• รายการสอนศาสตร์ รายการสอนเสริมแนวใหม่ครบ 8 วิชา
ม.3 ม.6 ติวสดทุกวันโดยติวเตอร์ชื่อดัง
• รายการ I AM แนะน�ำอาชีพน่าสนใจโดยรุ่นพี่ในวงการ
• รายการสารสังเคราะห์ น�ำข่าวสารมาสังเคราะห์อัพเดทกัน
ทรูปลูกปัญญา แบบไม่ตกเทรนด์
หน่ ว ยงานเพื่ อ การศึ ก ษา ภายใต้ ก ลุ ่ ม บริ ษั ท ทรู
คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) ที่บูรณาการเทคโนโลยีและความ
นิตยสารปลูก plook
เชี่ยวชาญด้านคอนเทนต์ พัฒนาเป็นสื่อไลฟ์สไตล์เพื่อส่งเสริม
นิตยสารส่งเสริมความรู้คู่คุณธรรมส�ำหรับเยาวชนฉบับแรก
การศึกษาและคุณธรรม สามารถเชื่อมโยงทุกมิติการเรียนรู้ได้
ในประเทศไทย วางแผงทุกสัปดาห์แรกของเดือน หยิบฟรีได้ที่
อย่างครบวงจร
True Coffee TrueMove Shop สถานศึกษา แหล่งการเรียนรู้ ห้อง
สมุด และโรงพยาบาล ทั่วประเทศ หรืออ่านออนไลน์ใน
www.trueplookpanya.com www.trueplookpanya.com
ทรูปลูกปัญญาดอทคอม คลังความรู้คู่คุณธรรมที่ใหญ่
ที่ สุ ด ในประเทศไทย อั ด แน่ น ด้ ว ยสาระความรู ้ ใ นรู ป แบบ
แอพพลิเคชั่น Trueplookpanya.com
มัลติมีเดีย สนุกกับการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทั้งยังเปิดโอกาสให้ทุก
ตอบโจทย์ ไ ลฟ์ สไตล์ ก ารเรี ย นรู ้ ข องคนรุ่น ใหม่ ด้วยฟรี
คนสร้างเนื้อหา แบ่งปันความรู้ร่วมกัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
แอพพลิเคชั่น “Trueplookpanya.com” ให้คุณพร้อมส�ำหรับ
การเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลา รองรับการใช้งานบน iOS (iPhone,
พบกับความเป็นที่สุดทั้ง 4 ด้านแห่งการเรียนรู้ iPod, iPad) และ Android
• คลังความรู้ รวบรวมเนื้อหาการเรียนทุกระดับชั้นครบ 8
กลุ่มสาระการเรียน
• คลังข้อสอบ ข้อสอบออนไลน์พร้อมเฉลยที่ใหญ่ที่สุดใน : www.trueplookpanya.com
ประเทศไทย พร้อมการประเมินผลสอบทางสถิติ : TruePlookpanya
• แนะแนว ข้อมูลการศึกษาต่อ พร้อมเจาะลึกประสบการณ์
การเรียนและการท�ำงาน
• ศูนย์ข่าวสอบตรง/Admissions ข่าวการสอบทุกสนาม
ทุกสถาบัน พร้อมระบบแจ้งเตือนเรียลไทม์
หนังสือชุด “ติวเข้ม O-NET Get 100”

สร้างสรรค์โดย
ทรูปลูกปัญญา มีเดีย
โครงการเพื่อสังคมของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน)
เลขที่ 46/8 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ตึก B ชั้น 9 ถนนรัชดาภิเษก
แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

โทร : 02-647-4511, 02-647- 4555


โทรสาร : 02-647-4501
อีเมล : admin@trueplookpanya.com

: www.trueplookpanya.com
: TruePlookpanya

หนังสือชุด “ติวเข้ม O-NET Get 100” ใช้สัญลักษณ์อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์


แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
คำนำ
การสอบ O-NET หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า การจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(Ordinary National Educational Test) โดย สทศ. ถือเป็นอีกสนามสอบที่ส�ำคัญส�ำหรับน้องๆ ในระดับ ป.6, ม.3,
ม.6 เพื่อเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของน้องๆ ในระดับชาติเลยทีเดียว และยังเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการเรียน
การสอนของแต่ละโรงเรียนอีกด้วย คะแนน O-NET ก็ยังเป็นส่วนส�ำคัญในการคิดคะแนนในระบบ Admissions
เพื่อสมัครเข้าคณะที่ใจปรารถนา ได้คะแนนดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง

และเพื่อเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการเตรียมความพร้อมให้น้องๆ ก่อนการลงสนามสอบ O-NET ทางทรู


ปลูกปัญญาจึงได้จัดท�ำหนังสือชุด “ติวเข้ม O-NET Get 100” สุดยอดคู่มือเตรียมตัวสอบ O-NET ส�ำหรับน้องๆ
ในระดับ ม.3 และ ม.6 ที่เจาะลึกเนื้อหาที่มักออกสอบบ่อยๆ โดยเหล่ารุ่นพี่เซียนสนามในวงการติว รวบรวมแนว
ข้อสอบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมเฉลยอย่างละเอียด และค�ำอธิบายที่เข้าใจง่าย จ�ำได้แม่นย�ำ น�ำน้องๆ Get
100 ท�ำคะแนนสู่เป้าหมายในอนาคต
หนังสือชุด “ติวเข้ม O-NET Get 100” โดยทรูปลูกปัญญา ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย
สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ที่รวบรวมเนื้อหาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย และวิชาฟิสิกส์
เคมี ชีววิทยา ของระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งหมด 11 เล่ม โดยสามารถศึกษาเนื้อหาหรือท�ำข้อสอบ
ออนไลน์เพิ่มเติมได้จาก www.trueplookpanya.com ที่มี link ให้ในท้ายบท

สามารถดาวน์โหลดหนังสือได้ฟรี ผ่านเว็บไซต์ทรูปลูกปัญญา ที่ www.trueplookpanya.com/onet

ทีมงานทรูปลูกปัญญา
สารบัญ
เรื่อง หน้า

บทที่ 1 : ชีววิทยา คืออะไร ? 9



บทที่ 2 : กล้องจุลทรรศน์ 12

บทที่ 3 : สารชีวโมเลกุล 16

บทที่ 4 : องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต 24

บทที่ 5 : พันธุศาสตร์ 29

บทที่ 6 : ระบบร่างกายมนุษย์ 48

บทที่ 7 : อนุกรมวิธาน 60

บทที่ 8 : พืช (Plant) 63

บทที่ 9 : วิวัฒนาการ 76
คุยกอนอาน
ก่อนที่เราจะเข้าถึงบทเรียนชีววิทยากัน พี่อยากจะให้แนวคิดอะไรบางอย่างกับน้องๆ ที่ก�ำลังจะเตรียมสอบกันว่า เรา
ควรจะเตรียมตัวยังไง ในวิชาวิทยาศาสตร์ที่สอบทั้งสายศิลป์และสายวิทย์ ส�ำหรับสายวิทย์ พี่ไม่ค่อยเป็นห่วงสักเท่าไร
เพราะพี่เองก็เรียนสายวิทย์มา ยังไง O-NET ถือว่าจิ๊บๆ มากส�ำหรับเด็กสายวิทย์ แต่ส�ำหรับเด็กสายศิลป์ อาจจะเป็น
ปัญหาซะหน่อย แต่ไม่ต้องกลัวนะ เพราะเราใช้ข้อสอบฉบับเดียวกันทั้งประเทศ ถ้าท�ำไม่ได้ก็ยังมีคนท�ำไม่ได้อีกเยอะเช่น
กันแน่ๆ เอาเป็นว่า อบอุ่นแน่นอนเพราะมีเพื่อนเยอะที่ไม่ได้ แต่มันอาจจะเป็นเพียงค�ำปลอบใจที่บอกตัวเองว่า “ไม่เป็นไร
หรอก คนอื่นเขาก็ท�ำกันไม่ได้” แต่พี่อยากจะบอกว่าถ้าน้องอยากจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชื่อดังที่น้องอยากเรียน สาขา
วิชาที่อยากเรียน ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยชื่อดังแถวสามย่าน ที่เวลาเลิกเรียนแล้วก็ไป shopping ได้ ดูหนังได้ ขึ้น
รถไฟฟ้าสะดวกสบายทั้งบนดินและใต้ดิน พี่ขอแนะน�ำว่า “น้องต้อง Fight เพื่อความฝัน” เพราะสมัยนี้คนสอบมันเยอะ ใคร
ใครก็อยากที่จะเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดังกันทั้งนั้น เพราะหมายถึง น้องจะมีเพื่อนที่ดี สังคมที่ดี การช่วยเหลือเกื้อหนุนกันจาก
รุ่นสู่รุ่น ค่าเทอมที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับเอกชน ร่วมทั้งความสะดวกสบายในการเดินทาง และความภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นในใจ
ของเราเองจากสถาบัน
เทคนิคเรียนชีววิทยาให้มีความสุข
แนวข้อสอบ ชีววิทยา ใน O-NET มักจะออกตามแบบเรียนแน่นอนถ้าโรงเรียนน้องเรียนตามแบบเรียนของกระทรวงฯ
ก็คงไม่มีปัญหาอะไรที่จะต้องไปกังวล เพราะน่าจะผ่านหูผ่านตามาแน่ๆ แต่จะจ�ำได้หรือเปล่า ก็ต้องขึ้นอยู่กับทักษะส่วนตัว
ของแต่ละคนแล้วแหละว่า จ�ำเก่งแค่ไหน
ส�ำหรับเทคนิคการจ�ำ พี่ขอบอกว่าง่ายมาก คือ “ใส่หัวใจเข้าไป เติมความรักให้มัน แล้วอ่านมันซ�้ำๆ” เหมือนดังเช่น
น้องบางคนสามารถร้องเพลงภาษาเกาหลี หรือ ญี่ปุ่น ได้โดยที่ไม่รู้ด้วยซ�้ำว่ามันหมายความว่าอะไรแต่เพราะว่าเราฟังจน
ชิน เปิดมันบนรถทุกเช้า ได้ยินเพื่อนร้องตอนเข้าห้องน�้ำ หรือเอามาเต้น Cover dance ซึ่งมันก็แค่นี้เอง การที่น้องๆ ใส่ใจก็
เท่ากับว่าให้ความสนใจ เคยไหมเวลาสนใจใคร เรามักจะมองหาคนคนนั้นบ่อยๆ ว่าเขาท�ำอะไรอยู่ แล้วเราก็เดินตามหา หรือ
ถามเพื่อน ไปแอบมองดูเขาเล่นกีฬา ดูเขาซ้อมหลีด เช่นเดียวกับบทเรียนเวลาเราให้ความสนใจเราก็จะถามตัวเองว่า เฮ้ย!
ท�ำไมถึงเป็นแบบนี้ ท�ำไมอันนั้นรวมกันแล้วได้อันนี้ แล้วถ้าน้องเป็นคนที่เกลียดชีววิทยา เกลียดการท�ำอะไรซ�้ำซาก ท่อง
ท่อง ท่อง! พี่ก็ขอแนะน�ำให้เติมความรักเข้าไปอีกสักหน่อย แล้วบวกกับเทคนิคการจ�ำสักนิด เคยไหมเอ่ยเวลาที่มีผู้ชายมา
ชอบเรา แรกแรกก็ไม่ได้ชอบหรอกนะ เพราะหน้าตาไม่หล่อ แต่นานๆ เข้า เขาซื้อน�้ำมาให้ทุกวัน เอาขนมมาฝาก จากที่
ไม่ชอบก็เริ่มสนใจ วันไหนเขาไม่มาหา ก็เริ่มมองหา บางคนก็แอบงอนนิดๆ นั้นแสดงว่าเริ่มชอบแล้วแหละ คนที่เกลียด
ชีววิทยาหลายคนเกิดจากการที่รู้สึกเบื่ออาจจะเป็นเพราะคุณครูที่สอนไม่ใช่ครูแนวที่เราชอบกลับเป็นป้าแก่ๆ พูดช้าๆ น่า
เบื่อ...
แต่น้องเชื่อเถอะนะ ถ้าได้เจอครูดีๆ สักคนที่สอนชีววิทยาเก่งๆ น้องจะต้องตกหลุมรักชีววิทยาอย่างแน่นอน แล้วเมื่อ
คุยกอนอาน
หลงรักชีววิทยาแล้ว คะแนนการสอบออกมาในเกณฑ์ทดี่ ี น้องก็จะเริม่ มีกำ� ลังใจว่า จริงๆ แล้วไม่ได้ยากอย่างทีก่ ลัวนีน่ า กท็ ำ� ได้นะ
อะไรแบบนี้ และแล้วการอ่านชีววิทยา จากที่แรกๆ เป็นยาขมก็เริ่มชมชอบจนในที่สุดก็เคยชิน วันไหนไม่ได้อ่านเหมือนจะขาดใจ
และสุดท้ายต้องอ่านบ่อยๆ (เพราะถึงแม้พี่จะบอกว่ามีเทคนิคการจ�ำมากมาย แต่เทคนิคเหล่านี้ ถ้าน้องๆ จ�ำไม่ได้ ก็เท่ากับ
เทคนิคที่ไร้ค่า) จะเริ่มจ�ำได้เองอัตโนมัติ (ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ ถ้าอ่านไม่ออกก็ให้ไปถามครูว่าอ่านยังไง แล้วเวลาอ่านรอบ
ที่สอง ที่สามก็พยายามอ่านออกเสียงดังๆ เผื่อว่าเวลาที่เราเจอในข้อสอบจะได้คุ้นตาบ้าง) มันเหมือนไม่ต้องท่องเลยจริงๆ
ขอแค่ให้เวลาก็พอ มันจะซึมเข้าไปเองในสมองอันยิ่งใหญ่ของเรา
อีกประเด็นหนึ่งที่พี่เจอคือ เนื้อหาเยอะมาก ท่องยังไงก็จ�ำไม่ได้ ถ้าเจอแบบนี้แล้วเป็นคนที่ขยันเพียรพยายามมาแล้วขั้น
หนึ่ง ให้น้องลองเอาข้อสอบเก่ามาท�ำดูแล้วเช็คว่าได้คะแนนเท่าไหร่ เพราะพี่เชื่อว่าถ้าหนูเป็นคนขยันอยู่แล้ว การท�ำข้อสอบ
จริงไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร สิ่งที่พบเจอคือเมื่อนับคะแนนเสร็จจะพบว่าคะแนนเยอะแต่หนูเองยังจ�ำไม่ได้อยู่ นั่นก็เพราะว่า
ตรงส่วนทีห่ นูยงั จ�ำไม่ได้นนั้ มันไม่ออก มนั ไม่สำ� คัญไงจ้ะเด็กๆ ดงั นัน้ เพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพมากทีส่ ดุ พแี่ นะน�ำให้อา่ นทวนบทเรียน
สักสามรอบแล้วก็เริ่มท�ำแบบฝึกหัดหรือข้อสอบ (ถ้าบางคนที่มีสมาธิดี ก็อาจจะอ่านรอบแรกแล้วเอาข้อสอบมาท�ำเลย แต่ถ้า
ใครยังไม่เทพจริง พี่แนะน�ำให้อ่านบทเรียนหลายรอบก่อน เพราะอะไรหรอก็เพราะว่าถ้าไม่เทพจริงแล้วอ่านแค่รอบเดียวแล้ว
ไปท�ำข้อสอบหนูจะตกตะลึงกับข้อสอบ แล้วก็ตาค้างสุดท้ายก็กลัวท้อใจ แล้วก็ฝังใจว่าข้อสอบท�ำไมยากจัง ท�ำไม่ได้กลัวไปหมด
จนกลายเป็นเกลียด แล้วไม่แตะชีววิทยา อีกเลย) เพื่อ หนึ่ง กันลืมบทที่อ่านมาก่อนหน้านี้ และ สอง จะได้รู้ว่าตอนอ่านครั้งต่อไป
ควรเน้นจุดไหนเป็นพิเศษ แบบที่ต้องท่องให้ได้มีตรงจุดไหนบ้าง สู้สู้นะครับ พี่หวังว่าน้องๆ จะเข้ามามหาวิทยาลัยดังที่น้องๆ
ต้องการได้ ถ้าเมื่อไหร่ที่ท้อ พี่ก็อยากให้ไปเปิด youtube ดู MV เพลงประจ�ำมหาวิทยาลัยนั้นๆ ที่น้องอยากจะเข้า ฟังมันทุกวัน
น้องก็จะสู้เองครับ
แล้วถ้าเป็นคนทีส่ นใจชีววิทยา ไม่ได้เกลียดหรอกแต่ ท�ำไมคะแนนไม่สงู สักที แนะน�ำให้เอาโจทย์หลายๆ แบบมาท�ำก่อนโดยที่
เลือกโจทย์ง่ายๆ เช่น ท้ายบทมาท�ำก่อน แล้วค่อยเอาข้อสอบเก่าๆ มาท�ำแล้วค่อยเอา PAT, GAT และ เจ็ดวิชาสามัญมาท�ำ
ถ้ายังเหลือเวลาเยอะอยู่ กว่าจะสอบเพราะเตรียมตัวมาเต็ม จัดเต็ม โดยการลองออกข้อสอบชีววิทยามาให้เพื่อนท�ำดู แล้วเช็ค
ค�ำตอบ อธิบายให้เพื่อนเข้าใจได้ ถ้าถึงขั้นที่ออกข้อสอบแล้วหลอกเพื่อนได้ น้องก็เทพมากแล้วล่ะ อย่าได้ไปกลัวข้อสอบเลย
ชีววิทยาเป็นวิชาทีต่ อ้ งจ�ำเยอะ ดังนัน้ อยากให้มสี มุดจดเล็กๆ จดเฉพาะส่วนทีย่ งั จ�ำไม่ได้แยกออกมาแล้วเวลาพักเทีย่ งหรือ
ไม่มีอะไรท�ำบนรถเมล์ ก็เอามันออกมาเปิดดูเล่น ท่องไปพลางๆ ระหว่างทางกลับบ้าน หรืออาจจะท�ำเป็น voice record แล้ว
เปิดฟังเสียงที่ตัวเองบันทึกไว้
ถ้าเปรียบเทียบ O-NET กับ PAT แล้ว บอกตรงๆ เลยว่าง่ายกว่าเยอะ ภาษาเด็กแนวสายวิทย์ อาจจะบอกว่า “แตะแค่ผิวๆ”
แต่ระวังนะ เพื่อนพี่ที่ว่าเซียนเทพตัวจริง ก็เคยพลาดเพราะประมาทไปรู้แต่เรื่องยากๆ เรื่องง่ายๆ ลืมเก็บรายละเอียด ก็เลย
เห็นได้จากคะแนนที่ออกมา แล้ว O-NET ดันสอบครั้งเดียวในชีวิตด้วย ยังไงก็รักษาสุขภาพให้ดีๆ อย่าได้ป่วยในวันสอบ เพราะ
คุยกอนอาน
ถ้าพลาดอาจจะพลาดเลย
ข้อดีของข้อสอบชีววิทยาที่ต่างจากวิชาอื่นนั้นก็คือ เป็นตัวเลือกทั้งหมด ซึ่งถ้าคุ้นๆ ก็พอจะตอบเดาได้แต่ข้อเสียคือเยอะ
และโจทย์ยาว อาจจะท�ำไม่ทันส�ำหรับคนที่อ่านช้าและลังเลใจไม่ยอมตอบสักที
สิ่งที่ต้องท�ำก่อนที่จะเรียนทุกครั้ง ส�ำหรับน้องม.4 ที่ก�ำลังขึ้นมาเรียน ม.ปลายหลายคนปรับตัวไม่ทัน พี่ก็อยากจะแนะน�ำ
ว่า ควรอ่านหนังสือแบบเรียนของกระทรวงฯ ก่อน เพราะเราจะได้รู้เนื้อหา โครงสร้างก่อนว่า เราก�ำลังจะเรียนอะไร พอเมื่อ
เราเข้าห้องเรียน วิชาชีววิทยาเป็นวิชาที่ต้องจด ต้องวาด ต้องลงสีเยอะมาก พี่มีปากกาสีเยอะมากตอนนั้น และพอกลับบ้าน
จะลงสีใหม่ให้สวยสวยน่าอ่าน แต่มีอยู่วันหนึ่ง ฝนตก สิ่งที่ไม่คาดฝันนั้นก็คือ สมุดจดชีววิทยาพี่ที่แสนสดใสงดงามกลายเป็น
กระดาษสีไปซะแล้ว พี่แทบร้องไห้ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ใช้สีไม้ไม่ละลายน�้ำหรือปากกาสีลูกลื่นเน้นจะดีกว่า ต่อด้วยพี่ก็ขอแนะน�ำ
ให้ตั้งใจฟังในห้องไปก่อน แล้วจดว่าตรงที่เราไม่เข้าใจคือตรงไหน ค่อยไปถามครู เพราะบางทีการท�ำคัดลอก เลคเชอร์ ทุกวัน
ที่เรียนมันเหนื่อย แรกๆ จะยังขยันอยู่ แต่ตอนช่วงที่ใกล้สอบ มันจะเยอะมากพี่ไม่อยากให้เสียเวลาไปกับการวาดรูป เพราะ
เรื่องรูปนั้น หนังสือกระทรวงฯ เล่มใหม่ๆ ก็มีรูปเยอะอยู่พอสมควร และเป็นสีสันด้วยพี่เลยคิดว่า รูปหลักๆ มีแน่นอน ให้วาด
รูปแบบไดอะแกรม และเขียนลูกศรชี้ให้ถูกต้อง แล้วไปหารูปที่น้องเองอยากจะรู้เพิ่มได้ในเว็บ หรือ ถามอากู๋ google ช่วยคุณ
ได้ เทคโนโลยีมือถือ มีสามจีแล้วต้องใช้ให้คุ้มค่า
ชีววิทยาเป็นวิชาที่ท่องเยอะมากๆ ก็จริง ถามว่าจ�ำเป็นไหมที่จะต้องไปเรียนพิเศษ พี่คิดว่าถ้ามีเงินพอก็ไปเรียนเถอะ แต่
ถ้าคิดว่าอ่านเองได้ พี่ก็ขอแนะน�ำให้อ่านเยอะๆ ที่สุดเท่าที่จะหาอ่านได้ อาจจะอ่านเกินเนื้อหา ม.ปลายไปเลยก็ดี เพราะจริงๆ
แล้ว เนื้อหาชีววิทยา มหาวิทยาลัย ก็ไม่ได้ต่างจากม.ปลายมากสักเท่าไหร่หรอก เพียงแต่ลงลึกมากขึ้น ซึ่งถ้าสอบแค่ O-NET
เฉยๆ พี่ว่าจ�ำได้ก็ตอบได้ ผิวผิวจริงๆนะ อย่าได้แคร์ว่าไม่ได้ไปซื้อหนังสือชีววิทยามาเพิ่ม เพราะการซื้อหนังสือชีววิทยามา
เยอะๆ ไม่ได้แปลว่าจะเก่งขึ้น เพราะทุกเล่มก็เนื้อหาเหมือนกันหมด แต่ถ้าอยากซื้อจริงๆ ก็ขอแนะน�ำให้ซื้อเล่มที่เราอ่านแล้ว
ชอบ พกพาง่าย หยิบมาเปิดได้บ่อยๆ และที่ส�ำคัญ เนื้อหาต้องครบ และถูกต้องแม่นย�ำ มิฉะนั้นถ้าเราเลือกเล่มที่เขียนผิดๆ
ถูกๆ มาอ่าน เราจ�ำผิดไป คะแนนก็เน่าเลย (เล่มที่ดีๆ เขียนเลิศ มักจะขายดี พิมพ์ซ�้ำหลายรอบ)
ดังนั้น หนังสือที่เป็นเฉพาะเนื้อหาของชีววิทยามีแค่เล่มเดียวก็ถือว่าพอแล้ว ส่วนแบบฝึกหัดข้อสอบให้หามาฝึกท�ำเยอะๆ
ลองเริ่มจากง่ายๆ ก่อน เพราะเมื่อเราท�ำง่ายๆ ได้ก็เกิดก�ำลังใจ นี่ไม่ใช่หลอกตัวเองนะ แต่เป็นการเดินขึ้นไปทีละขั้น แล้วเวลา
เตรียมสอบก็ควรอ่านหลายๆ วิชาไปพร้อมกัน เพราะพี่เคยอ่านชีววิทยาจบแล้วค่อยไปดูวิชาอื่น ปรากฏว่าอ่านสังคมจบปุ๊บกลับ
มาท�ำโจทย์ชีววิทยา ก็ลืมไปบ้าง ดังนั้นต้องเอาเวลาไปอ่านอย่างอื่นด้วยก็ดี แล้วตอนอ่านวิชาอื่นด้วยก็อย่าลืมที่จะเอาโจทย์
ชีววิทยามาท�ำบ้างสักวันละ 10 -20 ข้อ กันลืมย้อนกลับมาที่ถามว่าท�ำไมพี่จึงแนะน�ำให้ไปเรียนพิเศษ ถ้ามีเงินเพียงพอและมี
เวลาพอ เพราะว่าชีววิทยาเป็นวิชาที่ต้องอาศัยการเชื่อมโยงของเนื้อหาที่จะใช้เรียนในบทเรียน และการมีรูปภาพประกอบจะ
ช่วยท�ำให้จ�ำได้แม่นมากขึ้น แล้วถ้าได้เจอของจริงยิ่งติดตาตรึงใจเข้าไปใหญ่ ดังเช่นตอนผ่ากบตอนเรียนแล้วถ้าถามว่าแค่ไหน
คุยกอนอาน
หรือจึงจะเพียงพอ ก็จงตั้งเป้าหมายไว้สูงๆ นั้นก็คือเมื่อท�ำข้อสอบส่วนของชีววิทยาได้ทุกข้อแล้ว เมื่อถึงตอนนั้นน้องก็พร้อม
แล้วแหละนะ
พูดกันตรงๆ แล้ว ชีววิทยามันเป็นวิชาท่องจ�ำ เดินไปโรงเรียนก็ท่อง เดินเข้าห้องหลังเคารพธงชาติก็ท่อง เข้าห้องน�้ำก็
ท่อง เอาเป็นว่า หยิบขึ้นมาดูบ่อยๆ จะช่วยเยอะมากเลยถ้าหนังสือที่มีอยู่มันเล่มใหญ่ก็กรีดมันเป็นชีท แล้วม้วนในกระเป๋าเถอะ
พี่รับประกัน อย่างตัวพี่เองตอนสอบอ่านไปเรื่อยเรื่อยเกือบ 10 รอบ ถามว่าอ่านรอบแรกก็เหมือนน้องแหละ จ�ำอะไรไม่ค่อยได้
เพราะเป็นเรื่องปกติ เราไม่ใช่หุ่นยนต์ฝังชิปไง พออ่านไปรอบที่สามเราก็จะเข้าใจมากขึ้น ตอนนี้จะเริ่มเก็ทไอเดีย แล้วจับเชื่อม
โยงในสมองเราเองได้ ให้ลองไปท�ำแบบทดสอบหรือข้อสอบดู ส่วนรอบหลังหลังก็คือรอบท่องเพื่อให้แม่นย�ำแล้วล่ะ เพราะ
ตอนสอบเนี่ย เราสอบแบบมีเวลาจ�ำกัดดังนั้น เราต้องแม่น จะคิดช้าไม่ได้โดยเฉพาะชีววิทยา โจทย์จะยาวมากแล้ว สิ่งที่ยาว
กว่าคือตัวเลือก แถมบางทีอ่านไปอ่านมารู้สึกว่า เอ๊ะ อันนี้ก็ถูกอันนั้นก็ถูก ตกลงตอบอันไหนดีหละเนี่ย พี่เลยอยากให้น้องๆ
แม่น อ่านไปเยอะๆ การท�ำอะไรอะไรซ�้ำๆ ไปเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมาคือชิน พอชินตาปุ๊บข้อสอบมาเราก็กาได้ปั๊บ พี่ไม่ได้โม้นะ แต่
จริงๆ มันก็มีเนื้อหาอยู่แค่นั้นแหละ

ทีมงานทรูปลูกปัญญา
บทที่ 1
ชีววิทยา คืออะไร

ชีววิทยา คืออะไร

ชีววิทยา (Biology) มีที่มาจาก รากศัพท์ภาษากรีก 2 ค�ำ คือ bios ซึ่งแปลว่าชีวิต และ logos ที่แปลว่าความรู้ ดังนั้น ชีววิทยา
จึงเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งมีชีวิต มีหลายสาขา โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ พฤกษศาสตร์ (botany) ซึ่ง
ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพืช สัตววิทยา (zoology) ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ และการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตา
เปล่าคือจุลินทรีย์ ซึ่งเรียกว่า จุลชีววิทยา (microbiology) ในแต่ละกลุ่มยังแยกออกเป็นวิชาย่อยๆ อีกเช่น อนุกรมวิธาน (taxonomy)
สรีรวิทยา (physiology) นิเวศวิทยา (ecology) กีฏวิทยา (entomology) พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นต้น
ค�ำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าสิ่งที่เราสงสัยนั้นใช่สิ่งมีชีวิตหรือไม่ ?
การจะแยกสิ่งมีชีวิตออกจากสิ่งไม่มีชีวิตนั้นน้องๆ จะต้องรู้จักคุณสมบัติที่ส�ำคัญของสิ่งมีชีวิต ดังต่อไปนี้
1. การสืบพันธุ์ (Reproduction) คือการเพิ่มจ�ำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เพื่อไม่ให้สูญพันธ์ุไปแบ่งออก
เป็น 2 แบบ คือ
- การสืบพันธ์ุแบบไม่อาศัยเพศ
- การสืบพันธ์ุแบบอาศัยเพศ

ประเภท ข้อดี ข้อเสีย ตัวอย่าง

การสืบพันธุ์ - เพิ่มประชากรได้เป็น - ไม่เกิดการแปรผัน - การแตกหน่อ (budding)


แบบไม่อาศัยเพศ จ�ำนวนมากและรวดเร็ว ทางพันธุกรรม - การสร้างสปอร์ (sporulation)
(asexual - มีลักษณะเหมือนพ่อแม่ - ไม่ก่อให้เกิดความ - การงอกใหม่ (regeneration)
reproduction) หลากหลายของ
สิ่งมีชีวิต

การสืบพันธ์ุ - เกิดความแปรผันทาง - อาจเกิดลักษณะ - การปฏิสนธิ (fertilization)


แบบอาศัยเพศ พันธุกรรม ที่ไม่เหมาะสม
(sexual - เกิดลักษณะที่เหมาะสม ผิดปกติ หรือเป็น
reproduction) กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โรคได้

2. ต้องการสารอาหารและพลังงาน (Energy) เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์ ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดภายในเซลล์


ของสิ่งมีชีวิตเรียกว่า กระบวนการเมทาบอลิซึม (metabolism) ซึ่งแบ่งเป็น 2 กระบวนการย่อยคือ
2.1 กระบวนการแคทาบอลิซึม (catabolism) คือการสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง เช่น การหายใจระดับเซลล์
(cellular respiration)
2.2 กระบวนการแอนาบอลิซมึ (anabolism) คือการสังเคราะห์สารโมเลกุลเล็กให้มขี นาดใหญ่ขนึ้ เช่น การสังเคราะห์แสง
(photosynthesis) และการสร้างโปรตีน เป็นต้น

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 9


3. มีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Growth and Development) มีอายุขัยจ�ำกัด (life span) และมีขนาดจ�ำกัด
4. สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทั้งสิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอกร่างกายเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสม
5. การรักษาดุลยภาพของร่างกาย (Homeostasis) ให้อยูใ่ นสภาพทีส่ มดุลต่อการด�ำรงชีวติ ไม่วา่ จะเป็นระดับน�ำ้ ตาลในเลือด
อุณหภูมิภายในร่างกาย ความเป็นกรด-เบส สมดุลน�้ำและเกลือแร่ ซึ่งจะถูกควบคุมโดยระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น
ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบหมุนเวียนเลือด เป็นต้น
6. มีลักษณะเฉพาะตัว ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น ท�ำให้เราสามารถจัดจ�ำแนกสิ่งมีชีวิตนั้นได้
7. มีการจัดระบบ (Organization) โดยเริ่มตั้งแต่หน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตคือ เซลล์ (cell) และเซลล์หลายๆ เซลล์
รวมกันกลายเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) เนื้อเยื่อต่างๆ ที่ท�ำงานร่วมกันจะเรียกว่าอวัยวะ (organ) ซึ่งจะท�ำงานร่วมกับอวัยวะ
อื่นๆ ประกอบกันเป็นร่างกายของสิ่งมีชีวิต (organism)

การศึกษาชีววิทยา

• เนื่องจากความรู้ทางชีววิทยานั้นมีมากมายเราจึงต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
ความรู้ทางชีววิทยา (Knowledge) แบ่งออกเป็น
- ข้อเท็จจริง (fact) หรือข้อมูล (data) ที่ไม่ใส่ข้อคิดเห็นใดๆ อาจได้มาจากการทดลอง หรือการสังเกต
- ทฤษฎี (theory) คือ ความรู้ที่ได้จากการตรวจสอบสมมติฐานหลายๆ ครั้ง และถูกน�ำไปประยุกต์ใช้ อ้างอิง หรืออธิบาย
เรื่องต่างๆ ได้ เช่น ทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติ ทฤษฎียีน
- กฎ (law) คือ ความรู้ที่เป็นความจริงแน่นอน สามารถพิสูจน์ได้ ไม่มีข้อโต้แย้ง เช่น กฎของเมนเดล กฎ 10 เปอร์เซ็นต์

• แล้วน้องสงสัยไหมว่าความรู้ทางชีววิทยาที่เราร�่ำเรียนกันอยู่ทุกวันนี้มาจากไหน ?
ความรู้ทางชีววิทยา (Knowledge) ได้มาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) ซึ่งแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ก�ำหนดปัญหา (problem)
การก�ำหนดปัญหาที่ดีจะต้องชัดเจน มีความเป็นไปได้ และมีแนวทางในการหาค�ำตอบ การสังเกต (Observation)
เป็นทักษะที่ส�ำคัญที่จะน�ำไปสู่การตั้งปัญหา ตัวอย่างเช่น ปัญหา : “อุณหภูมิมีผลต่อการงอกของเมล็ดหรือไม่”
2. การตั้งสมมติฐาน (Hypothesis)
ก่อนอืน่ น้องๆ ต้องเข้าใจว่าสมมติฐานไม่ใช่คำ� ตอบของปัญหาและในปัญหาเดียวกันอาจมีสมมติฐานได้หลายข้อ การตัง้
สมมติฐานมักใช้คำ� ว่าถ้า...........ดังนัน้ .......... สมมติฐานทีด่ จี ะต้องสัมพันธ์กบั ปัญหาและช่วยแนะแนวทางในการตรวจสอบด้วย!!
ตัวอย่างเช่น “ถ้าอุณหภูมมิ ผี ลต่อการงอกของเมล็ด ดังนัน้ เมล็ดทีเ่ พาะทีอ่ ณ ุ หภูมติ า่ งกันจะมีอตั ราการงอกทีต่ า่ งกันด้วย”
3. การตรวจสอบสมมติฐาน
เราสามารถท�ำได้หลายวิธี เช่น ส�ำรวจ (survey) ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากความรู้เดิม เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่มักใช้
วิธีการทดลอง (experiment) การทดลองที่ท�ำให้ได้ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือจะต้องเป็นการทดลองที่มีการควบคุม (controlled
experiment) เพราะสามารถควบคุมตัวแปร (variable) ต่างๆ ที่มีผลต่อการทดลองได้ ตัวแปรมี 3 ชนิด คือ
- ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (independent variable) คือ ตัวแปรที่เราต้องการจะศึกษา
ตัวอย่างเช่น ถ้าปัญหาคือ “อุณหภูมิมีผลต่อการงอกของเมล็ดหรือไม่” ในที่นี้ตัวแปรต้นคือ อุณหภูมิ
- ตัวแปรตาม (dependent variable) คือ ผลที่เปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรต้น
ตัวอย่างเช่น ถ้าปัญหาคือ “อุณหภูมิมีผลต่อการงอกของเมล็ดหรือไม่” ในที่นี้ตัวแปรตามคืออัตราการงอก
ของเมล็ด (เพราะเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป อัตราการงอกของเมล็ดถั่วเขียวก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย)

10 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


- ตัวแปรควบคุม (controlled variable) คือ สิ่งที่ต้องจัดให้เหมือนกันในทุกๆ การทดลอง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อ
การทดลอง เช่น ปริมาณแสงสว่าง ความชืน้ ชนิดของเมล็ดพืช เป็นต้น (เพือ่ ให้แตกต่างกันเรือ่ งเดียวคือ เรือ่ งอุณหภูม)ิ
ในการทดลองจะแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ
1) ชุดทดลอง ซึง่ มีการเพิม่ หรืลดตัวแปรต้น เพือ่ ดูผลการเปลีย่ นแปลง เช่น เพาะเมล็ดทีอ่ ณ
ุ หภูม ิ 15๐C 20๐C
25๐C 30๐C 35๐C และ 40๐C
2) ชุดควบคุม เอาไว้เปรียบเทียบผลกับชุดทดลอง เช่น เพาะเมล็ดที่อุณหภูมิห้องปกติ
4. การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการทดลองที่ได้คือข้อเท็จจริง ซึ่งต้องน�ำมาแปรผลและวิเคราะห์ต่อไปว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5. การสรุปผลการทดลอง
จากผลการทดลองเราสามารถสรุปผลให้สอดคล้องกับปัญหาเพื่อเป็นค�ำตอบของปัญหาที่เราตั้งไว้
• สิง่ ส�ำคัญทีพ่ อี่ ยากบอกคือข้อสอบมักถามหาตัวแปรต้นหรือตัวแปรตามของการทดลองซึง่ น้องต้องระวังจุดนีด้ ว้ ย
หรือข้อสอบส่วนใหญ่ในหัวข้อนีม้ กั ให้การทดลองมาแล้วถามหาสรุป ซึง่ ต้องอ่านตัวเลือกให้ดๆี นะ ข้อสรุปจะต้อง
สามารถตอบปัญหาของการทดลองนั้นๆ ได้

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 11


บทที่ 2
กล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์ (microscope)

สิง่ มีชวี ติ นัน้ มีขนาดแตกต่างกันไป สิง่ มีชวี ติ ขนาดเล็กมากๆ เช่น แบคทีเรีย น้องๆ จะไม่สามารถมองเห็นได้ดว้ ยตาเปล่า ดังนัน้
น้องๆ จึงต้องมีตวั ช่วยในการขยายภาพให้มขี นาดใหญ่ขนึ้ เพือ่ จะได้ทำ� การศึกษาได้อย่างชัดเจน ซึง่ ในปัจจุบนั มีเครือ่ งมือหลาย
อย่างให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ดังนี้
1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (light microscope) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1.1 แว่นขยาย (magnifying glass) มีเลนส์นนู อันเดียว ใช้ขยายภาพทีส่ อ่ งดูให้มขี นาดใหญ่ขนึ้ เห็นรายละเอียดชัดเจนขึน้ ภาพทีเ่ ห็น
เป็นภาพเสมือน
1.2 กล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อน (compound light microscope) ประกอบด้วยเลนส์นนู 2 ชุด คือ เลนส์ใกล้ตา (eyepiece) ซึง่ ถอด
เปลีย่ นได้ และเลนส์ใกล้วตั ถุ (objective lens) ซึง่ จะติดกับจานหมุน มีกำ� ลังขยาย 4 เท่า 10 เท่า 40 เท่า และ 100 เท่า โดยเริม่
ใช้จากก�ำลังขยายต�ำ่ สุดก่อน ภาพทีเ่ ห็นเป็นภาพเสมือนหัวกลับ

Ocular Lens
(Eyepiece)


Body Tube

Revolving Nosepiece
Arm
Objectives

Stage
Stage Clips
Coarse Adjustment Knob
Diaphragm
Fine Adjustment Knob
Light Source

Base

ทีม่ า : http://infohost.nmt.edu/~klathrop/Microscopes.htm

12 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


ü
เมือ่ เลือ่ นสไลด์เป็นทิศทางใด ภาพทีเ่ ห็นจะเลือ่ นไปฝัง่ ตรงข้าม
ü
ภาพทีไ่ ด้จะกลับจากหัวเป็นท้าย และกลับจากซ้ายเป็นขวา (อันนีส้ ำ� คัญนะ ข้อสอบมักให้รปู มาแล้วถามว่าเมือ่ ส่องด้วยกล้อง
จะเห็นภาพเป็นแบบใด)


ตัวอย่างแนวข้อสอบ
วัตถุทวี่ างบนจาน
ภาพที่เห็นจากเลนส์
เป็นภาพเสมือนหัวกลับ

ภาพของจุลนิ ทรียท์ ศ่ี กึ ษาด้วยกล้องจุลทรรศน์มลี กั ษณะดังข้อใด


ก. ภาพจริงหัวกลับ ปรากฏทีเ่ รตินาของตา
ข. ภาพเสมือนหัวกลับ ปรากฏทีเ่ รตินาของตา
ค. ภาพจริงขนาดใหญ่ ปรากฏทีจ่ อรับภาพของตา
ง. ภาพเสมือนขนาดใหญ่ ปรากฏทีจ่ อรับภาพของตา
เฉลย
ข. เพราะเป็นกล้องประกอบด้วยเลนส์นนู สองอัน ข้อ ก. และ ค. ผิดเพราะเป็นภาพจริง ส่วนข้อ ง. ผิดเพราะภาพปรากฏทีเ่ รตินา
ไม่ใช่จอรับภาพของตา
ตัวอย่างแนวข้อสอบ
เหตุใดจึงต้องใช้นำ�้ มันเป็นตัวกลางระหว่างสไลด์ทวี่ างวัตถุกบั เลนส์ใกล้วตั ถุในการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงส�ำหรับเลนส์ 100X
ก. เพือ่ ช่วยเพิม่ ก�ำลังขยายของกล้องให้มากกว่า 100X
ข. เพือ่ เพิม่ การหักเหแสงจากตัวอย่างเข้าสูเ่ ลนส์
ค. เพือ่ เพิม่ ช่วงความยาวคลืน่ แสงทีเ่ ข้าสูเ่ ลนส์
ง. เพือ่ ลดการสะท้อนแสงจากหน้าเลนส์
เฉลย
ข. ให้นำ�้ มันช่วยหักเหแสงจากตัวอย่างเข้าสูเ่ ลนส์มากขึน้ เนือ่ งจากน�ำ้ มันมีดชั นีหกั เหมากกว่าอากาศ ข้อ ก. ผิด เพราะกล้องก็มี
ก�ำลังขยายของเลนส์เท่าเดิม ข้อ ค. ผิดเพราะแสงมีความยาวคลืน่ ทีค่ งทีอ่ ยูแ่ ล้ว ข้อ ง. ผิด เพราะน�ำ้ มันช่วยเพิม่ การสะท้อน

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 13


1.3 กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ (stereoscopic microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ ใช้ศกึ ษาวัตถุที่
มีขนาดใหญ่ เช่น เกสรดอกไม้ แมลงขนาดเล็ก กล้องชนิดนีแ้ ตกต่างจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงทัว่ ไป คือ

EYEPIECE
DIOPTER

STEREO HEAD FOCUS KNOB


ROTATING OBJECTIVES
LIGHTING CONTROLS
TOP/BOTTON LIGHTING
STAGE PLATE STAGE CLIPS

ทีม่ า : http://www.optimaxonline.com/newsdetails.php?newsId=1

• ภาพทีเ่ ห็นเป็นภาพเสมือน 3 มิติ


• เลนส์ใกล้วตั ถุมกี ำ� ลังขยายต�ำ่ น้อยกว่า 10 เท่า
• ใช้ศกึ ษาได้ทงั้ วัตถุโปร่งแสงและวัตถุทบึ แสง
• ระยะห่างจากเลนส์ใกล้วตั ถุกบั วัตถุทศี่ กึ ษาจะอยูใ่ นช่วง 63 - 225 mm.

ตัวอย่างแนวข้อสอบ
สิง่ ทีก่ ล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอแตกต่างจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดาคือข้อใด
A. ภาพทีเ่ ห็นเป็นภาพจริงและเป็นภาพ 3 มิติ
B. ใช้ศกึ ษาได้ทงั้ วัตถุโปร่งแสงและทึบแสง
C. เลนส์ใกล้วตั ถุมกี ำ� ลังขยายน้อยกว่า 4X

ก. A. ข. A. และ B.
ค. B. และ C. ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย
ข้อ ค. เนือ่ งจาก A. ผิดเพราะต้องเป็นภาพเสมือน 3 มิติ

14 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


2. กล้องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอน (electron microscope) ใช้สอ่ งดูได้เฉพาะสิง่ ไม่มชี วี ติ เท่านัน้ เช่น อะตอมของฮีเลียม ความหนาของ
เยือ่ หุม้ เซลล์ เป็นต้น แสงทีใ่ ช้เป็นล�ำแสงอิเล็กตรอนซึง่ มีขนาดเล็กมากและก�ำลังขยายสูงถึง 500,000 เท่า หรือมากกว่า ระบบเลนส์เป็น
เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้ว ภาพทีไ่ ด้จะปรากฏบนจอภาพทีฉ่ าบด้วยสารเรืองแสง และภาพทีเ่ กิดขึน้ เป็นภาพเสมือน แบ่งเป็น 2
ชนิด ดังนี้
2.1 กล้องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (transmission electron microscope) หรือเรียกย่อๆ ว่า TEM ใช้ศกึ ษาโครงสร้าง
และส่วนประกอบภายในของวัตถุทมี่ ขี นาดเล็กมากๆ วัตถุทตี่ อ้ งการศึกษาต้องตัดให้บางเป็นพิเศษและย้อมด้วยสารประกอบ
โลหะ ภาพทีเ่ ห็นเป็นภาพ 2 มิติ
2.2 กล้องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอนชนิดส่องกราด (scanning electron microscope) หรือเรียกย่อๆ ว่า SEM ใช้ศกึ ษาโครงสร้าง
ภายนอกของวัตถุ เราต้องเคลือบผิววัตถุทตี่ อ้ งการศึกษาด้วยโลหะก่อน เช่น ทองค�ำ ล�ำแสงอิเล็กตรอนจะส่องกราดไปบนผิว
ของวัตถุ ท�ำให้ได้ภาพทีเ่ ป็น 3 มิติ

ทีม่ า : http://cellandtransportation5525740602.blogspot.com/

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 15


บทที่ 3
สารชีวโมเลกุล

สารชีวโมเลกุล

น้องๆ รูไ้ หม สารชีวโมเลกุล คืออะไร ??


สารชีวโมเลกุล คือ กลุม่ ของสารอาหาร (Nutrient) ทีเ่ ป็นสารอินทรียพ์ นื้ ฐานทีจ่ ำ� เป็นต่อร่างกาย เป็นแหล่งเก็บพลังงานเคมีใน
สิง่ มีชวี ติ (สิง่ ไม่มชี วี ติ ไม่มนี ะ!!) ซึง่ ภายในโมเลกุลจะประกอบด้วยธาตุพนื้ ฐาน ดังนี้

สารชีวโมเลกุล องค์ประกอบ
คาร์โบไฮเดรต C H O
ไขมัน C H O
โปรตีน C H O N
กรดนิวคลีอกิ C H O N P

แล้วส�ำคัญต่อสิง่ มีชวี ติ อย่างไร ??


สารชีวโมเลกุลเป็นสารทีม่ คี วามส�ำคัญต่อสิง่ มีชวี ติ ทุกชนิดอย่างยิง่ เนือ่ งจากสารชีวโมเลกุลจะสามารถถูกย่อยให้เป็นโมเลกุล


ทีเ่ ล็กลง และน�ำเข้าสูเ่ ซลล์เพือ่ น�ำไปเผาผลาญเป็นพลังงานในการท�ำกิจกรรมต่างๆ ของชีวติ และสร้างความอบอุน่ ให้แก่รา่ งกาย
มารูจ้ กั กับพวกเขาทัง้ สีก่ นั เลยดีกว่า

ONE : คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

- ความส�ำคัญคือ เป็นแหล่งพลังงาน และเป็นส่วนประกอบของเยือ่ หุม้ เซลล์ดว้ ย


- แบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่
1. มอนอแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) น�ำ้ ตาลโมเลกุลเดีย่ ว
ประกอบด้วย C 3-8 อะตอม สูตรโมเลกุลทั่วไปคือ CnH2nOn ตัวอย่างที่เด่นๆ ได้แก่
น�ำ้ ตาล C5 = ไรโบส เป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรม RNA
= ดีออกซีไรโบส เป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรม DNA
น�ำ้ ตาล C6 มี 3 ตัวทีน่ อ้ งๆ ต้องรูจ้ กั คือ
- กลูโคส (glucose): พบในผักผลไม้ ใช้เลีย้ งทารก หรือให้คนป่วยรับประทานได้ เพราะเป็นน�ำ้ ตาลทีม่ โี มเลกุลเล็ก
ทีไ่ ม่ตอ้ งผ่านการย่อย เมือ่ รับประทานเข้าไปสามารถดูดซึมเข้าเส้นเลือดและน�ำไปใช้เป็นพลังงานได้ทนั ที
- ฟรุกโทส (fructose): เป็นน�ำ้ ตาลทีห่ วานทีส่ ดุ พบในผัก ผลไม้ และน�ำ้ ผึง้
- กาแลกโทส (galactose): ไม่พบในธรรมชาติ
2. ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) น�ำ้ ตาลโมเลกุลคู่
เกิดจากการรวมตัวของมอนอแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุล ด้วยพันธะไกลโคซิดกิ ตัวเด่นทีน่ อ้ งๆ ต้องรูจ้ กั คือ
มอลโทส (ข้าวมอลท์ , ข้าวโพด ) = กลูโคส + กลูโคส
ซูโครส (น�ำ้ ตาลทราย) = กลูโคส + ฟรุกโทส

16 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


แลกโทส (น�ำ้ นม) = กลูโคส + กาแลกโทส
* จ�ำให้ได้นะ ว่าน�ำ้ ตาลโมกุลคูต่ วั ไหน เกิดจากน�ำ้ ตาลโมเลกุลเดีย่ ว
3. พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide)
น�ำ้ ตาลโมเลกุลใหญ่ เกิดจากมอนอแซ็กคาไรด์หลายๆ โมเลกุลเชือ่ มต่อกันเป็นสายยาว ตัวเด่นๆ ก็คอื
แป้ง ประกอบด้วยพอลิแซ็กคาไรด์ 2 ชนิด ดังนี้
1. อะไมโลส (amylose) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ แบบโซ่ตรง


2. อะไมโลเพกติน (amylopectin) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์แบบโซ่กงิ่

ความร้อน
แป้ง เด็กซ์ตริน (หวานเล็กน้อย เหนียวแบบกาว)

เซลลูโลส (cellulose) เป็นโครงสร้างของพืช หน่วยย่อยของเซลลูโลส คือ กลูโคสละลายน�ำ้ ไม่ได้ ร่างกายของคนย่อยไม่ได้ แต่ววั


ควาย ม้า ย่อยได้ (ด้วยการท�ำงานของจุลนิ ทรียท์ อี่ าศัยอยูใ่ นกระเพาะอาหาร)
ไกลโคเจน (glycogen) เป็น คาร์โบไฮเดรตทีส่ ะสมอยูใ่ นเซลล์ของสัตว์ ประกอบด้วยกลูโคส ทีต่ อ่ กันคล้ายอะไมโลเพกตินของแป้ง
แต่มมี วลโมเลกุลและมีโซ่กงิ่ มากกว่า พบมากในตับและกล้ามเนือ้

สรุป Concept กันดีกว่า

ไดแซ็กคาไรด์ + กรด ความร้อน


มอนอแซ็กคาไรด์
(น�ำ้ ตาลทราย, มอลโตส, แลกโทส)

พอลิแซ็กคาไรด์ + กรด ความร้อน


มอนอแซ็กคาไรด์
(แป้ง, เซลลูโลส, ไกลโคเจน)

- แถมๆ มาดูการย่อยแป้งหลังทานข้าว

อะไมเลส มอลเทส
แป้ง มอลโทส กลูโคส

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 17


TWO : ไขมัน (Lipid)

- เป็นสารประกอบประเภทเอสเทอร์ทเ่ี กิดจากปฏิกริ ยิ าเอสเทอริฟเิ คชันระหว่างกลีเซอรอล


1. โมเลกุลจะรวมตัวกับกรดคาร์บอกซิลกิ สายยาว หรือกรดไขมัน 3 โมเลกุล เรียกว่า
ไตรกลีเซอไรด์
- มี 2 สถานะ = ของแข็ง เช่น ไขมัน
= ของเหลว เช่น น�ำ้ มัน
สูตรโมเลกุล คือ
O
=

CH2- O - C - R
O R, R', R'' หมายถึง หมูแ่ อลคิลอาจเหมือนกันหรือ
แตกต่างกันได้ หมูแ่ อลคิลนีม้ าจากกรดไขมัน
=

CH - O - C - R'
O
=

CH2- O - C - R''

- ประโยชน์ คือ ป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกาย ให้ความอบอุน่ แก่รา่ งกาย ป้องกันการกระแทก ป้องกัน
การสูญเสียน�ำ ้ ท�ำให้ผวิ หนังชุม่ ชืน้ ไม่หยาบกร้าน ท�ำให้ผมและเล็บมีสขุ ภาพทีด่ ี ช่วยละลายวิตามินหลายชนิดที่
มีประโยชน์ เช่น A D E K , สลายให้พลังงานแก่รา่ งกาย
มี 2 ประเภท ได้แก่
1. กรดไขมันอิม่ ตัว (Saturated fatty acids) เป็นกรดไขมันทีม่ จี ดุ หลอมเหลวสูง โดยปกติจะมีสถานะเป็นของแข็ง
กรดไขมันที่ในโมเลกุลมีจ�ำนวนไฮโดรเจนอะตอมอยู่เต็มที่หรือพันธะระหว่างคาร์บอนอะตอมเป็นพันธะเดี่ยว
ทัง้ หมด กรดไขมันชนิดนีม้ ี สูตรทัว่ ไปเป็น CnH2n+1COOH (เมือ่ n = เลขจ�ำนวนเต็มบวก และโดยทัว่ ไปมักจะ
มีคา่ ตัง้ แต่ 11 ขึน้ ไป) ตัวอย่างกรดไขมันอิม่ ตัว เช่น กรดลอริก กรดปาลมิตกิ กรดสเตียริก
2. กรดไขมันไม่อมิ่ ตัว (Unsaturated fatty acids) เป็นกรดไขมันทีม่ จี ดุ หลอมเหลวต�ำ
่ โดยอุณหภูมปิ กติจะมีสถานะ
เป็นของเหลว คอื กรดไขมันทีโ่ มเลกุลมีจำ� นวนไฮโดรเจนน้อยกว่าปกติ หรือกรดไขมันทีโ่ มเลกุลส่วนทีเ่ ป็นไฮโดรคาร์บอน
พันธะ ระหว่างอะตอมของคาร์บอนกับคาร์บอนจับกันด้วยพันธะคู่ อย่างน้อย 1 พันธะ นอกนัน้ เป็นพันธะเดีย่ ว
หมด กรดไขมันประเภทนีม้ จี ำ� นวนไฮโดรเจนไม่เป็นไปตามสูตร CnH2n+1COOH ตัวเด่นๆ เช่น กรดโอเลอิก
(C H COOH) มี ไฮโดรเจนน้อยกว่าปกติ 2 อะตอม กรดไลโนเลอิก (C17H31COOH) มีไฮโดรเจนน้อยกว่า
17 33
ปกติ 4 อะตอม กรดปาล์มโิ ตเลอิก (C16H25COOH) มีไฮโดรเจนน้อยกว่าปกติ 8 อะตอม

บันทึกช่วยจ�ำ

18 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


มาดูความแตกต่างระหว่างกรดไขมันอิม่ ตัวและกรดไขมันไม่อมิ่ ตัวทีพ่ วกน้องๆ ควรรูก้ นั

ความแตกต่าง กรดไขมันอิม่ ตัว กรดไขมันไม่อมิ่ ตัวสูง


จุดหลอมเหลว สูงกว่า ต�ำ่ กว่า
จ�ำนวนอะตอมของ
ไฮโดรเจนทีจ่ ำ� นวน มากกว่า น้อยกว่า
คาร์บอนอะตอมเท่ากัน
เกิดได้เนื่องจากมีต�ำแหน่ง
การเหม็นหืน ไม่เกิด พันธะคูท่ สี่ ามารถทีป่ ฏิกริ ยิ า
กับออกซิเจนในอากาศได้
การแข็งตัว ง่าย ยาก
การย่อย ยาก ง่าย

THREE : โปรตีน (Protien)

- ลักษณะทัว่ ไป : โมเลกุลขนาดใหญ่ (polypeptide) , โครงสร้างซับซ้อน


- หน่วยย่อย คือ กรดอะมิโน มากกว่า 50 หน่วย เชือ่ มกันด้วยพันธะเพปไทด์
- ความส�ำคัญ : ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเนือ้ เยือ่ ช่วยในการเจริญเติบโตรักษาสมดุลของน�ำ
้ และกรด-เบสเป็นส่วนประกอบ
ของเอนไซม์ ฮอร์โมน เลือด ภูมคิ มุ้ กัน
- การแปลงสภาพโปรตีน (denaturation of protein) : กระบวนการท�ำให้โปรตีนเปลีย่ นโครงสร้างทางกายภาพไม่สามารถท�ำงาน
ได้เหมือนเดิมโดยการใช้ความร้อน สัมผัสกับสารละลายกรดเบส หรือไอออนของโลหะหนัก (แต่โปรตีนไม่ได้ถกู ย่อยนะ !!)
สูตรโครงสร้าง

R O
=
-

H2N - CH - C - OH

หมูอ่ ะมิโน หมูค่ าร์บอกซิลกิ



ชนิดของกรดอะมิโนขึน้ อยูก่ บั หมู่ R เช่น
R = H คือ ไกลซีน
R = CH2CH(CH3)3 คือ ลิวซีน
R = CH3คือ อะลานิน
R = CH2OH คือ เซอรีน
R = CH(CH3)2 คือ วาลีน

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 19


กรดอะมิโนจ�ำเป็น (essential amino acid) คือ กรดอะมิโน ทีร่ า่ งกายของสิง่ มีชวี ติ ชนิดนัน้ ๆ ไม่สามารถสังเคราะห์ขนึ้ มาเองได้
จึงจ�ำเป็นต้องได้รบั มาจากอาหาร
กรดอะมิโนทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับมนุษย์มดี ว้ ยกัน 8 ชนิด คือ ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน วาลีน เมไทโอนีน ฟีนลิ อะลานีน ทรีโอนีน
ทริปโตเฟน แต่เด็กต้องการกรดอะมิโนอีกสองชนิด คือ อาร์จนี นี และฮีสทิดนี
พันธะเพปไทด์ (peptide bond) เป็นพันธะโควาเลนต์ชนิดหนึง่ ทีเ่ กิดจากกรดอะมิโน 2 ตัวมาเชือ่ มกันโดยการดึงน�ำ้ (H2O) ออก

R O R O
H3N - C - C -= - H3N - C - C -= -
-

-
+ + +
H O H O
amino acid amino acid
H2O

R O R O
H3N - C - C - N - C - C -= -
-
=

-
+
H dipeptide H O

**สังเกตง่ายๆ เลยนะ เจอหมูเ่ อไมด์ (-CONH-) นัน่ แหละคือพันธะเพปไทด์


ถ้าเข้าใจแล้ว มาเล่นเกมส์กนั ดีกว่า>>>จากรูปทีใ่ ห้ มีกรดอะมิโนทัง้ หมดกีช่ นิด และมีกพี่ นั ธะเพปไทด์ ??
(ข้อสอบโอเน็ต ปี 2550)


CH3 O O CH3
-

-
=

H2N - CH - C - NH - CH -C - NH - CH2 - C - NH - CH - CO2H


=

- -

O (CH2)2
CO2H

เฉลย มีกรดอะมิโน 4 ชนิด และมี 3 พันธะเพปไทด์


มาดูภาพเฉลยประกอบความเข้าใจข้างล่างกัน แล้วจะร้อง...อ๋อไม่เห็นยากเลย !!

CH3 O O CH3
-

-
=

H2N - CH - C - NH - CH -C - NH - CH2 - C - NH - CH - CO2H


=

- -

O (CH2)2
CO2H

20 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


โปรตีนทีเ่ ด่นๆ ได้แก่
• เอนไซม์ (enzyme) เป็นตัวเร่งปฏิกริ ยิ าทางชีวภาพ ท�ำให้ปฏิกริ ยิ าต่างๆ ในสิง่ มีชวี ติ เกิดได้เร็วขึน้
• ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) เป็นส่วนประกอบส�ำคัญในเม็ดเลือดแดง ท�ำหน้าทีน่ าํ ออกซิเจนทีเ่ ราหายใจเข้าไป ทางปอด
ไปสูส่ ว่ นต่างๆ ของร่างกาย
• อิมมูโนโกลบูลนิ (immunoglobulin) เป็นไกลโคโปรตีนทีอ่ ยูใ่ นเลือดและสารคัดหลัง่ ต่างๆ ในร่างกาย ท�ำหน้าทีต่ อ่ สู้
หรือป้องกันการติดเชือ้ โรคจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือสิง่ แปลกปลอมอืน่ ๆ ทีเ่ ข้ามาในร่างกาย

FOUR : กรดนิวคลีอกิ (Nucleic acid)

- ความส�ำคัญ : เป็นสารพันธุกรรมของเซลล์ ควบคุมลักษณะการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม การสังเคราะห์โปรตีน และ


กระบวนการต่างๆ ของสิง่ มีชวี ติ จึงถือว่าเป็นสารประกอบทีม่ คี วามส�ำคัญต่อสิง่ มีชวี ติ
- หน่วยโมเลกุลย่อยในกรดนิวคลิอกิ : นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ซึง่ มีองค์ประกอบดังนี้
1. น�ำ้ ตาลเพนโทส(pentose) คือน�ำ้ ตาลทีม่ คี าร์บอน 5 อะตอม ได้แก่ น�ำ้ ตาลไรโบส (Ribose)และน�ำ้ ตาลดีออกซีไรโบส
(Deoxyribose)

5 5
HOCH2 O OH HOCH2 O OH
4 1 4 1
H H H H H H H H
3 2 3 2
OH OH OH H
Ribose Decxyribose

2. ไนโตรจีนสั เบส (nitrogenous base) มี 2 ชนิดคือ


ไพริมดิ นี (pyrimidine) (1วง) = ไซโตซีน (Cytosine; C) ไทมีน(Thymine; T) ยูราซิล (Uracil; U)
พิวรีน (purine) (2วง)= อะดินนี (Adenine; A) กวานีน(Guanine; G)
NH2 O O
H H H CH3 H
N N N
C= C= C=
N O N O N O
H H H
cytosine NH2 uracil O thymine
C N C N
N C HN C
CH CH
HC C C C
N N H2N N N
H H
ADENINE GUANINE
"A" "G"
**Nucleoside= โมเลกุลของเบสยึดเกาะกับน�ำ้ ตาล

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 21


3. หมูฟ ่ อสเฟต
(พวกโครงสร้างทางเคมี พีอ่ ยากให้เห็นคร่าวๆ เฉยๆ ไม่ออกข้อสอบหรอกนะ ไม่ตอ้ งจ�ำ)
2 ชนิด : กรดไรโบนิวคลิอกิ (Ribonucleic acid, RNA) และกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอกิ (Deoxyribonucleic acid,DNA)
**กรดนิวคลีอกิ เป็นสารประกอบโพลีนวิ คลีโอไทด์ (Polynucleotide)

โครงสร้างย่อย คือ นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) ทีเ่ ชือ่ มต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเธอร์ (phosphodiester)

- โครงสร้างของ DNA :เกิดจากสายโพลีนวิ คลีโอไทด์ สองสายทีบ่ ดิ หรือขดคล้ายบันไดเวียนสองสายมาพันกันเป็นเกลียวคู่


(Double helix) เวียนขวามีระยะหนึง่ รอบเกลียว เท่ากับ 3.4 nm. และมีเบสคูส่ มประมาณ 10 คูต่ อ่ รอบ ส่วนทีเ่ ป็นน�ำ้ ตาลและ
ฟอสเฟตจะท�ำหน้าทีเ่ ป็นแกนอยูข่ า้ งนอกและเบสต่างๆ จะยืน่ เข้าไปในเกลียวแล้วจับคูก่ นั ระหว่างเบสคูส่ มทัง้ สองสายด้วย
พันธะไฮโดรเจน

ทีม่ า : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/nano/Picture/DNA_detail.jpg

- โครงสร้างของ RNA : มีโครงสร้างเป็นสายเดีย่ ว (single strand) เป็นสารพันธุกรรมในสิง่ มีชวี ติ บางชนิด เช่น ไวรัสบาง
ชนิด เป็นหน่วยปฏิบตั กิ ารในการสังเคราะห์โปรตีน พบได้ในนิวเคลียส ไซโตพลาสซึม (cytoplasm) นิวคลีโอลัส (nucleolus)
คลอโรพลาสต์ (chloroplast) ไรโบโซม (ribosome) และ ไมโทคอนเดรีย (mitochondria)
**จะไม่พบไทมีน (Thymine; T) ใน RNA จะพบ ยูราซิล(Uracil; U) เท่านัน้
- เบสคูส่ ม (หัวข้อนีอ้ อกข้อสอบบ่อยนะ!) :
A จะคูก่ บั T (ใน DNA) หรือ U (ใน RNA) จับกันด้วยพันธะคู่
C จะคูก่ บั G (ทัง้ ใน DNA และ RNA) จับกันด้วยพันธะสาม
หลักการมีเท่านี้ ถ้าเข้าใจแล้ว มาเล่นเกมส์กนั เลย!!

ถ้าพีใ่ ห้โจทย์วา่ จงหาเบสคูส่ มของ - A T T C G T A C A T C C -


เฉลย - T A A G C A T G T A G G -
วางให้ถกู ต�ำแหน่งนะ ไม่ยากใช่ไหม เก็บคะแนนข้อนีม้ าให้ได้นะ

22 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


มาถึงหัวข้อสุดท้าย เป็นหัวข้อทีฮ่ อตฮิตมากในการออกข้อสอบเรือ่ งนี้ นัน่ ก็คอื การทดสอบสารชีวโมเลกุล ( จ�ำ!!! เป็นตาราง
กันเลยนะ ข้อสอบจะประยุกต์นดิ หน่อย แต่ Concept มีแค่นี้ )

ชีวะโมเลกุล รีเอเจนต์ การเปลีย่ นแปลง


แป้ง I2/Kl สารละลายสีนำ้� เงิน
น�ำ้ ตาลโมเลกุลเดีย่ ว สารละลายเบเนดิกต์ (สีฟา้ ) ตะกอนสีแดงอิฐ
โปรตีนหรือเพ็ปไตด์ CuSO4 ใน NaOH (สีฟา้ ) สารละลายสีมว่ ง

น้องๆ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
Tag : สอนศาสตร์, ชีววิทยา, ชีวเคมี, สารชีวโมเลกุล, ชีวเคมีเบื้องต้น

• 03 : ชีวเคมี
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch1-1

• สอนศาสตร์ ชีววิทยา ม.6 : ชีวเคมีเบื้องต้น


http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch1-2

• สารชีวโมเลกุล ตอนที่ 23
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch1-3

• สารชีวโมเลกุล ตอนที่ 24
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch1-4

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 23


บทที่ 4
องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต

องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต

การสร้างพลังงานในสิง่ มีชวี ติ

1. ATP (Adenosine triphosphate)


เป็นสารทีม่ พี ลังงานสูงท�ำหน้าทีเ่ ก็บพลังงานทีไ่ ด้จากกระบวนการสลายสารอาหารของเซลล์เมือ่ สลายแล้วจะให้พลังงาน
7.3 กิโลแคลอรี/โมล
การสร้าง ATP จาก ADP และหมูฟ่ อสเฟตนีเ้ รียกว่ากระบวนการ ฟอสโฟรีเลชัน (oxidative phosphorylation)
2. การสลายโมเลกุลของสารอาหารระดับเซลล์
คือ กระบวนการสลายโมเลกุลของสารอาหารในเซลล์เพือ่ ให้ได้พลังงาน แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ
- แบบใช้ออกซิเจน (aerobic respiration)
- แบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic respiration)
การสลายกลูโคสแบบใช้ออกซิเจน
ประกอบด้วย 3 ขัน้ ตอนใหญ่ๆ คือ


1) ไกลโคลิซสิ (glycolysis) : เกิดขึน้ บริเวณไซโทซอล (cytosol) เป็นกระบวนการสลาย กลูโคส ซึง่ มีคาร์บอน 6 อะตอม
= (C6) ผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้คอื กรดไพรูวกิ ซึง่ มีคาร์บอน 3 อะตอม จ�ำนวน 2 โมเลกุล = 2 (C3)
2) วัฏจักรเครบส์ (Krebs cycle) : เกิดขึน้ บริเวณเมทริกซ์ (Matrix: ของเหลวในไมโทคอนเดรีย) การสลายสารแอซิทลิ โค
เอนไซม์ เอ จะได้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และเก็บพลังงานทีไ่ ด้ไว้ในรูปของ NADH 6 โมเลกุล, FADH2 2 โมเลกุล
และ ATP 2 โมเลกุล ต่อการสลายกลูโคส 1 โมเลกุล ใน 1 รอบของ วัฏจักรเครบส์
3) กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน (electron transport chain) : เกิดบริเวณเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย เป็น
กระบวนการทีม่ กี ารส่งอิเล็กตรอนระหว่างตัวให้อเิ ล็กตรอนกับตัวรับอิเล็กตรอนตัวอืน่ ๆ และมีการปลดปล่อยพลังงาน
ออกมา (NADH ให้ 3 ATP FADH2 ให้ 2 ATP) โดยมีออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย และได้นำ�้ เป็นผลิตภัณฑ์

** ภาพรวมของกระบวนการสลายกลูโคสโดยใช้ออกซิเจน**
Glucose

Acetyl CoA
ATP ADP Coa

Oxidative
Phosporylation e+ TCA cycle

H2O O2
CO2

24 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน
จะเกิดก็ตอ่ เมือ่ ร่างกายอยูใ่ นภาวะทีไ่ ม่มแี ก๊สออกซิเจนหรือมีแก๊สออกซิเจนไม่เพียงพอ เพือ่ ให้กระบวนการไกลโคลิซสิ
ไม่หยุดชะงัก และสามารถสร้าง ATP ต่อได้ กระบวนการนีเ้ รียกว่า กระบวนการหมัก (fermentation)
- ในยีสต์ : ได้ผลิตภัณฑ์เป็นแอลกอฮอล์และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
- ในเซลล์กล้ามเนือ้ : ได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดแลกติก ทีท่ ำ� ให้เกิดการเมือ่ ยล้า
ขณะออกก�ำลังกาย ATP ลดลงอย่างรวดเร็ว และเลือดล�ำเลียงแก๊สออกซิเจนให้เซลล์ไม่ทนั เซลล์กล้ามเนือ้ จึงเกิด


การสลายอาหารโดยไม่ใช้ออกซิเจน

ภาวะไม่มอี อกซิเจน ภาวะมีออกซิเจน

Anaerobic Anaerobic
In mitochondria
2 ATP

6 Carbon Compound Glucose


4 ADP
Loss of hydrogen-oxidation
4 ATP
+ O2
3 Carbon Compound Pyruvate Acid CO2 + H2O

34 ADP 34 ATP
3 Carbon Compound 2 ATP

Alcohol + CO2 Lactic Acid

Cytosol Mitochondrion
ภาพรวมของการสลายโมเลกุลของสารอาหารระดับเซลล์

พฤติกรรม (Behavior)
• น้องๆ เคยสงสัยไหมว่าท�ำไมแมวจึงต้องเลียขน หรือท�ำไมลูกเจีย๊ บต้องเดินตามแม่ของมัน อะไรเป็นปัจจัยกระตุน้ ให้เกิด
พฤติกรรมแบบนัน้ ขึน้ มา ?
พฤติกรรมเป็นปฏิกริ ยิ าตอบสนองต่อการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ ภายในและภายนอกร่างกายของสิง่ มีชวี ติ นัน้ ๆ เกิดจากการ
ท�ำงานร่วมกันระหว่างพันธุกรรมและสิง่ แวดล้อม สรุปเป็นแผนภาพกลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์ได้ดงั นี้

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 25


สิง่ เร้าภายนอก
เช่น อาหาร แสงสว่าง ใยประสาทรับความรูส้ กึ
หน่วยรับความรูส้ กึ
(Receptor) (Sensoryneuron)
สิง่ เร้าภายใน
เช่น ฮอร์โมน ความหิว


ระบบประสาท หน่วยปฏิบตั งิ าน ใยประสาทสัง่ ส่วนกลาง
พฤติกรรม (Effector) (Motor neuron) (CNS)


ประเภทของพฤติกรรมสัตว์
• พฤติกรรมทีเ่ ป็นมาแต่กำ� เนิด (Inheritedbehavior) เป็นพฤติกรรมทีแ่ สดงออกมาอย่างง่ายๆ มีแบบแผนแน่นอนไม่
จ�ำเป็นต้องเรียนรูม้ าก่อนเพราะถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่
1. โอเรียนเทชัน (Orientation) คือพฤติกรรมทีส่ ตั ว์ตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพ เพือ่ ให้เหมาะสมต่อการด�ำรงชีวติ
แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
• ไคนีซิส (kinesis) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์ตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยการเคลื่อนที่ซึ่งมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับสิ่งเร้า
พบในสัตว์ทรี่ ะบบประสาทยังไม่เจริญดีพอ ตัวอย่างเช่น
- พารามีเซียมเคลือ่ นทีแ่ บบเดาสุม่ ไปมาในบริเวณทีเ่ ป็นกรดอ่อนเพือ่ หนีจากสภาพนัน้ ซึง่ เป็นอันตรายต่อการ
ด�ำรงชีวติ
- แมลงสาบจะหยุดนิง่ เมือ่ วิง่ ชนของแข็ง
• แทกซิส (taxis) เป็นพฤติกรรมทีส่ ตั ว์ตอบสนองต่อสิง่ เร้าแบบมีทศิ ทางสัมพันธ์กบั สิง่ เร้ามักเป็นพฤติกรรมทีท่ ำ� ให้
เกิดการรวมกลุม่ ตัวอย่างเช่น
- ผีเสือ้ กลางคืนบินเข้าหาแสงไฟ
- ยูกลีนาเคลือ่ นทีเ่ ข้าหาแสงสว่าง
- แม่ไก่วงิ่ หาลูกเมือ่ ลูกส่งเสียงร้อง
2. รีเฟลกซ์ (Reflex) คือพฤติกรรมทีส่ ตั ว์ตอบสนองต่อสิง่ เร้าทีม่ ากระตุน้ อย่างรวดเร็ว เพือ่ หลีกเลีย่ งอันตรายทีเ่ กิดขึน้
โดยทีไ่ ม่ตอ้ งรอให้สมองสัง่ การ เช่น
- การกระตุกของขาเมือ่ เคาะทีห่ วั เข่าเบาๆ
- การหลับตาอย่างรวดเร็วเมือ่ มีวตั ถุเข้ามาใกล้มากๆ
3. รีเฟลกซ์ตอ่ เนือ่ ง (Chain of Reflexes) หรืออาจเรียกว่าสัญชาตญาณ เป็นพฤติกรรมทีม่ มี าแต่กำ� เนิด ไม่ตอ้ งผ่าน
การเรียนรู้ ส่วนใหญ่มกั เป็นพฤติกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการด�ำรงชีวติ ซึง่ มีลกั ษณะเฉพาะแตกต่างกันในสิง่ มีชวี ติ แต่ละชนิด
ประกอบด้วยพฤติกรรมรีเฟลกซ์ยอ่ ยหลายพฤติกรรม เช่น
- การชักใยของแมงมุม (ไม่มกี ารสอนแต่ใยแมงมุมจะมีลกั ษณะคล้ายๆ กัน)
- การดูดนมของทารก (เมือ่ สิง่ เร้าคือความหิว)
- การก่อหวอดของปลากัดหรือการสร้างรังของนก

26 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


แต่กย็ งั มีพฤติกรรมอีกหลายอย่างทีม่ กี ลไกซับซ้อนกว่า ดังนี้
• พฤติกรรมการเรียนรู้ (Learned behavior) มักพบในสัตว์ทมี่ รี ะบบประสาทเจริญดี สามารถเรียนรูจ้ ากประสบการณ์
ท�ำให้มกี ารตอบสนองได้ซบั ซ้อนมากขึน้ มีหลายแบบ ดังนี้
1. แฮบบิชทูเอชัน (habituation) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์ลดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแม้จะยังถูกกระตุ้นอยู่ เมื่อเห็นว่า
สิ่งเร้านั้นไม่เป็นอันตราย เช่น
- ลูกนกหมอบหลบทุกสิง่ ทีอ่ ยูเ่ หนือหัว ต่อมาเมือ่ เกิดการเรียนรูจ้ งึ หลบเฉพาะศัตรูเท่านัน้
- สุนขั เห่าเมือ่ รถไฟวิง่ ผ่าน แต่เมือ่ เคยชินแล้วจะเลิกเห่าไปเอง
2. การเรียนรูแ้ บบฝังใจ (imprinting) เป็นพฤติกรรมทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงเวลาสัน้ ๆ หรือตอนแรกเกิด เช่น
- ลูกไก่เดินตามสิง่ ทีม่ นั เห็นเป็นครัง้ แรก แต่เมือ่ เวลาผ่านไปซักพักมันจะเลิกเดินตามเอง
- ปลาทะเลกลับมาวางไข่ทเี่ ดิมทีม่ นั เกิด
3. การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (conditioning) เป็นการเรียนรู้ที่ฝึกให้สัตว์ตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข
(conditioned stimulus) โดยใช้สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (unconditioned stimulus) เป็นตัวล่อ ต่อมาเมื่อสัตว์เกิดการเรียนรู้
แล้ว แม้มสี งิ่ เร้าทีม่ เี งือ่ นไขอย่างเดียวก็จะตอบสนองด้วย เช่น ให้อาหารสุนขั พร้อมสัน่ กระดิง่ ต่อมาสัน่ กระดิง่ เพียงอย่างเดียว
สุนัขก็จะน�้ำลายไหล

สิง่ เร้าทีไ่ ม่มเี งือ่ นไข อาหาร


สิง่ เร้าทีม่ เี งือ่ นไข เสียงกระดิง่
พฤติกรรมตอบสนอง การหลัง่ น�ำ้ ลาย

4. การลองผิดลองถูก (trial and error) ต้องอาศัยการเรียนรูห้ ลายครัง้ จนสามารถจดจ�ำว่าพฤติกรรมไหนเป็นผลดี


หรือผลเสีย แล้วเลือกแต่การตอบสนองแต่ผลดี หลีกเลีย่ งพฤติกรรมทีท่ ำ� ให้เกิดผลเสีย เช่น การเคลือ่ นทีข่ องไส้เดือนดิน
ในกล่องรูปตัว T หลังจากทดลองซ�ำ้ ๆ มันจะไม่ไปด้านทีม่ กี ระแสไฟฟ้าอีก คนก็เลือกกินร้านอาหารทีอ่ ร่อย คางคกไม่กนิ สัตว์
ทีม่ ลี กั ษณะคล้ายผึง้ เพราะกลัวโดนต่อย
5. การใช้เหตุผล (reasoning) มักพบในสัตว์ทมี่ สี มองส่วนหน้าเจริญดี จึงเกิดการเรียนรูท้ ดี่ กี ว่าสัตว์อนื่ เป็นพฤติกรรม
การเรียนรูข้ นั้ สูงสุด เกิดจากการประยุกต์ใช้ประสบการณ์หลายๆ แบบเพือ่ แก้ปญ ั หา เช่น ลิงชิมแพนซีเอากล่องมาซ้อนกัน
เพือ่ ปีนขึน้ ไปหยิบกล้วยทีแ่ ขวนไว้

ตัวอย่างแนวข้อสอบ

พฤติกรรมในข้อใดทีส่ งิ่ แวดล้อมมีอทิ ธิพลน้อยทีส่ ดุ


ก. ปลาว่ายน�ำ้ แบบตัง้ ฉากกับแสงอาทิตย์
ข. รีเฟล็กซ์แอกชันทีข่ ากระตุกเมือ่ ถูกเคาะเบาๆ ทีห่ วั เข่า
ค. การเรียนรูแ้ บบฝังใจระหว่างลูกไก่กบั สิง่ ทีม่ นั เห็นเมือ่ แรกเกิด
ง. คางคกไม่กนิ ผึง้ หรือแมลงทีม่ ลี กั ษณะคล้ายผึง้

เฉลย
ข. เป็นพฤติกรรมทีต่ อบสนองโดยทันทีไม่รอให้สมองสัง่ การเพือ่ หลีกหนีอนั ตราย

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 27


• พฤติกรรมทางสังคม (Social behavior) สัตว์ทุกชนิดต้องมีการสื่อสารซึ่งกันและกันเมื่อมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีหลายวิธี
ดังนี้
1) เสียง เช่น จิง้ หรีดเพศผูส้ ง่ เสียงเรียกจิง้ หรีดเพศเมีย ลูกไก่สง่ เสียงเรียกหาแม่ไก่ การใช้คลืน่ เสียงความถีส่ งู ของ
โลมาและค้างคาว
2) ท่าทาง เช่น แมวพองขนเพือ่ ขูศ่ ตั รู การกระดิกหางของสุนขั เมือ่ ดีใจ นกยูงเพศผูร้ ำ� แพนหางเพือ่ เกีย้ วพาราสี
เพศเมีย ผึง้ เต้นร�ำแบบวงกลมเพือ่ บอกว่าอาหารอยูใ่ กล้และเต้นแบบเลข 8 เพือ่ บอกต�ำแหน่งและระยะทางของอาหาร
3) สารเคมี เช่น การใช้ฟโี รโมนเพือ่ เตือนภัยของผึง้ ฟีโรโมนของนางพญาผึง้ กระตุน้ ให้ผงึ้ ตัวผูผ้ สมพันธุด์ ว้ ย สุนขั ฉี่
บอกอาณาเขต สกัง๊ ค์ปล่อยกลิน่ เหม็นมาเพือ่ ป้องกันตัว
4) สัมผัส เช่น ลูกอ่อนชอบกอดแม่ แมลงสาบใช้หนวดสัมผัสสิง่ ของ สุนขั เลียปากให้ตวั ทีเ่ หนือกว่า

น้องๆ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
Tag : สอนศาสตร์, ชีววิทยา, เซลล์, การแบ่งเซลล์, พฤติกรรม

• 09 : พฤติกรรมสัตว์
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch2-1

• ชีววิทยา ม.ปลาย - พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ตอนที่ 1


http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch2-2

• ชีววิทยา ม.ปลาย - พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ตอนที่ 2


http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch2-3

บันทึกช่วยจ�ำ

28 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


บทที่ 5
พันธุศาสตร์

พันธุศาสตร์ (genetic)

ส�ำหรับเนือ้ หาส่วนของพันธุศาสตร์นมี้ คี อ่ นข้างเยอะ (ออกข้อสอบทุกปี เป็นเรือ่ งทีอ่ อกเยอะทีส่ ดุ ในส่วนชีววิทยาด้วย) พีจ่ ะยก
ประเด็นส่วนทีน่ า่ สนุก ข้อสอบออก และน้องๆ ควรรูน้ ะ

1. ความหมาย

- พันธุศาสตร์ คือ วิชาทีศ่ กึ ษาเกีย่ วกับการท�ำงานของยีน (Gene) ซึง่ เป็นหน่วยควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากรุน่ พ่อ
แม่ไปยังรุน่ ลูกรุน่ หลาน และ ความแปรผันของลักษณะต่างๆ ของสิง่ มีชวี ติ
- พันธุกรรม คือ ลักษณะต่างๆ ของสิง่ มีชวี ติ ทีส่ ามารถถ่ายทอดจากรุน่ หนึง่ ไปยังรุน่ ต่อๆ ไปได้ โดยมีกระบวนการสืบพันธุเ์ ป็น
สือ่ กลาง
- ลักษณะทางพันธุกรรม คือ ลักษณะของสิง่ มีชวี ติ ทีถ่ กู ควบคุมโดยกรดนิวคลีอกิ ชนิด DNA หรือ RNA ทีส่ ามารถถ่ายทอด
จากรุน่ หนึง่ ไปยังรุน่ ต่อๆ ไป โดยอาศัยเซลล์สบื พันธุ์
ลักษณะทางพันธุกรรมของสิง่ มีชวี ติ อาจเกิดขึน้ และเปลีย่ นแปลงไปได้โดยปัจจัย 2 ประการ คือ
1) พันธุกรรม 2) สิง่ แวดล้อม
และแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ลักษณะทางพันธุกรรมทีม่ คี วามแปรผันต่อเนือ่ ง
เป็นลักษณะทางพันธุกรรมทีม่ คี วามลดหลัน่ กันทีละน้อย สามารถน�ำมาเรียงล�ำดับกันได้ สิง่ แวดล้อมมีผล เช่น
ความสูง น�ำ้ หนัก สีผวิ เป็นต้น
2. ลักษณะทางพันธุกรรมทีม่ คี วามแปรผันไม่ตอ่ เนือ่ ง
เป็นลักษณะทีแ่ บ่งเป็นกลุม่ ได้อย่างชัดเจน สิง่ แวดล้อมไม่มผี ล เช่น หมูเ่ ลือด ลักษณะผิวเผือก ลักยิม้ ติง่ หู การ
ห่อลิน้ เป็นต้น
(ให้ความหมายและความแตกต่างชัดขนาดนี้ อย่าให้ขอ้ สอบหลอกได้นะ)

2. บิดาแห่งพันธุศาสตร์

เกรเกอร์ เมนเดล (GREGOR MENDEL) บาทหลวงชาวออสเตรีย ได้ทำ� การทดลองผสมถัว่ ลันเตาทีม่ ลี กั ษณะต่างๆ กัน 7 ลักษณะ
ซึง่ กระจายอยูบ่ นโครโมโซมต่างท่อนกัน นานถึง 7 ปี จึงค้นพบกฎเกณฑ์การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ
น้องๆ รูไ้ หม ท�ำไมเมนเดลถึงเลือกศึกษาถัว่ ลันเตา ??
เนือ่ งจาก ลักษณะของสิง่ มีชวี ติ ทีค่ วรเลือกใช้มาศึกษาในทางพันธุศาสตร์ คือ
1. ปลูกง่าย อายุสนั้ ผลดก
2. มีการแปรผันมาก มีความแตกต่างของลักษณะทีต่ อ้ งศึกษาชัดเจนและสามารถหาพันธุแ์ ท้ได้งา่ ย
3. เมือ่ มีการผสมพันธุ์ มีการรวมตัวกันของลักษณะพ่อและแม่ (recombination)
4. ควบคุมการผสมพันธุไ์ ด้ สามารถก�ำหนดลักษณะต่างๆ เข้าผสมกันได้ตามต้องการ

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 29


กฎเกณฑ์การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ
กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยกตัว ( LAW OF SEGREGATION )
กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุม่ อย่างอิสระ ( LAW OF INDEPENDENT ASSORTMENT )

3. ยีน และ โครโมโซม

ยีน (gene) คือ หน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต บรรจุอยู่ในโครโมโซม (chromosome) ต�ำแหน่งของยีน


ในโครโมโซม เรียกว่า โลกัส (logus)
ในสิ่งมีชีวิตทั่วไปจะมีโครโมโซมเหมือนกันเป็นคู่ๆ (homologus chromosome) ดังนั้น โลกัสจึงหมายถึง 2 ยีนที่อยู่ตรงกันบน
โฮโมโลกัสโครโมโซม ซึ่งยีนต่างชนิดกันอยู่บนโลกัสเดียวกัน เรียกว่าเป็น แอลลีล (allele) กัน

4. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมทีถ่ กู ควบคุมโดยยีนด้อยบนออโตโซม (Autosome) และโครโมโซมเพศ (Sex


Chromosome)

- โครโมโซมร่างกาย (somatic chromosome) หรือ ออโตโซม (autosome) เป็นโครโมโซมทีค่ วบคุมลักษณะต่างๆ ของร่างกาย


จะมีเหมือนกันทัง้ เพศชายและเพศหญิง
- โครโมโซมเพศ (sex chromosome) หรืออัลโลโซม (allosome) เป็นโครโมโซมที่มีรูปร่างแตกต่างกันไปในทั้งเพศชายและ
เพศหญิงโดยทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับการก�ำหนดเพศ คือ
ในเพศหญิง จะมีอลั โลโซมเป็น XX
ในเพศชาย จะมีอลั โลโซมเป็น XY
ลักษณะทางพันธุกรรมทีถ่ กู ควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X
1. โรคฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)
2. โรคตาบอดสี (Color Blindness)
3. โรคกล้ามเนือ้ แขนขาลีบ
4. โรค G-6-PD
**โรคทีเ่ หลือมักเกิดจาก Autosome ฉะนัน้ พีข่ อให้นอ้ งๆ จ�ำ 4 โรคนีจ้ าก Allosome ให้ได้นะ !!

สูตรจ�ำก็คอื บอด-ล้าน-ฮี-six = ผิด (ปกติทโี่ ครโมโซม) เพศ**

ลักษณะทางพันธุกรรมทีถ่ กู ควบคุมโดยยีนด้อยบนออโตโซม
เช่น 1. อาการผิวเผือก (Albino)
2. โรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia)
3. โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ (Sickle Cell Anemia)

5. พงศาวลี หรือพันธุประวัติ (Pedigree)

เรือ่ งนีก้ ฮ็ อตฮิตมากเลยนะในข้อสอบ O-NET อาศัยความเข้าใจเป็นหลัก น้องๆ ทุกคนต้องคิดให้เป็นนะ


พงศาวลี คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมทีต่ อ้ งการศึกษาของครอบครัวหรือตระกูลหนึง่ ๆ

30 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


ก่อนอืน่ เรามารูจ้ กั ลักษณะจีโนไทป์และฟีโนไทป์กนั
จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง รูปแบบของยีนทีค่ วบคุมฟีโนไทป์ตา่ งๆ เช่น จีโนไทป์ทคี่ วบคุมความยาวของล�ำต้นถัว่ มีได้ 3 แบบ
ได้แก่ TT, Tt และ tt
ฟีโนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะของสิง่ มีชวี ติ ทีป่ รากฏออกมาให้เห็นได้ดว้ ยตา เช่น สีของดอกถัว่ สีผวิ ของคน ลักษณะ
ของเส้นผม หมูเ่ ลือด เป็นต้น
เข้าใจนิยามกันไหมเอ่ย งัน้ มาดูของจริงกันเลย
ยีนในโครโมโซมร่างกาย
1. ยีนทีค่ วบคุมหมูเ่ ลือด ABO

จีโนไทป์ ฟีโนไทป์ (หมูเ่ ลือด) O


IA IA , I A i A
IBIB , IBi B A B
IA IB AB
AB
ii O
แผนภาพการให้เลือด

2. ยีนทีค่ วบคุมหมูเ่ ลือด Rh

จีโนไทป์ ฟีโนไทป์ (หมูเ่ ลือด)


DD, Dd หมูเ่ ลือด Rh+
dd หมูเ่ ลือด RH-

3. ยีนทีท่ ำ� ให้เกิดโรคทาลัสซีเมีย เกิดจากยีนผิดปกติคอื ยีนด้อยบนโครโมโซมคูท่ ี่ 16 และ 11 บนสายพอลิเปปไทด์ แบบ


อัลฟาและเบต้า ตามล�ำดับ ซึง่ เกิดในฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดง

จีโนไทป์ ฟีโนไทป์ (หมูเ่ ลือด)


TT ปกติ
Tt (พาหะ)
tt เป็นโรคทาลัสซีเมีย

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 31


ยีนในโครโมโซมเพศ
• ยีนทีอ่ ยูใ่ นโครโมโซม x
1. โรคตาบอดสี

จีโนไทป์ ฟีโนไทป์
ชาย หญิง
XCY XCXC ค่าปกติ
XCY XCXC (พาหะ) ตาบอดสี

2. โรคฮีโมฟีเลีย

จีโนไทป์ ฟีโนไทป์
ชาย หญิง
XHY XHXH ปกติ
XHXh (พาหะ)
XhY XhXh โรคโลหิตไหลไม่หยุด

3. โรคภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD

จีโนไทป์ ฟีโนไทป์
ชาย หญิง
XGY XGXG ปกติ
XGXg (พาหะ)
XgY XgXg ภาวะพร่องเอนไซต์ G-6-PD

• ยีนทีอ่ ยูใ่ นโครโมโซม Y


จะถ่ายทอดจากพ่อไปสูล่ กู ชาย และจากลูกชายไปสูห่ ลานเท่านัน้ ยีนทีป่ รากฏในโครโมโซม Y มีอยูน่ อ้ ย เนือ่ งจากเป็น
โครโมโซมขนาดเล็กทีส่ ดุ เช่น ยีนทีค่ วบคุมการมีขนยาวทีห่ ู (hairy ear) พบบ่อยในคนอินเดีย และพบเฉพาะในเพศชายและ
ลูกชายทุกคนหากเกิดการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนี้
ให้นยิ ามอย่างเดียวคงไม่เห็นภาพ ฉะนัน้ มาเล่นเกมส์กนั ดีกว่า

32 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


ข้อที่ 1 ถ้าพ่อมีหมูเ่ ลือด A แม่มหี มูเ่ ลือด B และมีลกู ชายทีม่ หี มูเ่ ลือด O โอกาสทีจ่ ะได้ลกู สาวทีม่ หี มูเ่ ลือด O เป็นเท่าใด
เฉลย พ่อมีหมูเ่ ลือด A = IAi แม่มหี มูเ่ ลือด B = IBi Cross กันได้ ดังนี้
( ii ) Parents AO X BO
Gametes ( A ) ( O ) X ( B ) (O)

F1 generation AB BO AO OO

โอกาสทีล่ กู จะมีหมูเ่ ลือด A = ¼ โอกาสทีล่ กู จะมีหมูเ่ ลือด B = ¼


โอกาสทีล่ กู จะมีหมูเ่ ลือด AB = ¼ โอกาสทีล่ กู จะมีหมูเ่ ลือด O = ¼
โอกาสทีจ่ ะได้ลกู สาว = ½ โอกาสทีจ่ ะได้ลกู ชาย = ½
ฉะนัน้ โอกาสทีจ่ ะได้ลกู สาวทีม่ หี มูเ่ ลือด O = ¼ x ½ = 1/8

ข้อที่ 2 หญิงคนหนึง่ มีลกั ษณะผิวเผือกแต่งงานกับชายทีม่ ผี วิ ปกติ มบี ตุ รสาว 1 คนทีม่ ผี วิ ปกติ และบุตรชาย 1 คนทีม่ ผี วิ เผือก บุตรชาย
แต่งงานกับหญิงทีม่ ผี วิ ปกติ และมีบตุ รสาว 2 คนทีม่ ผี วิ ปกติ เพดดีกรีของครอบครัวนีเ้ ป็นอย่างไร
ก่อนอืน่ มาดูสญั ลักษณ์และหลักการในการเขียนเพดดีกรีกนั ก่อน
แผนผังแสดงสัญลักษณ์ของเพดดีกรี

รูปจาก http://www.maceducation.com/e-knowledge/2432209100/01.htm

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 33


เฉลย ข้อนีจ้ บั หลักง่ายๆ เลย คือ สีเ่ หลีย่ มแทนเพศชาย วงกลมแทนเพศหญิง ผิวปกติสขี าว ผิวเผือกทึบด�ำ ดังนัน้ เราจะเขียนเพด
ดีกรีได้เป็น

การเขียนเพดดีกรี ง่ายนิดเดียว จริงไหม

ข้อที่ 3

หากเพดดีกรีนแี้ ทนโรคตาบอดสี จงเขียนจีโนไทป์ของ

ลืมยังนะว่าโรคตาบอดสีเกิดจากโครโมโซมเพศ
ตามสูตร บอด-ล้าน-ฮี-six = ผิด (ปกติทโี่ ครโมโซม) เพศ**
เฉลย

= XCXC = XCY

= XCY = XCXc

*หมายเหตุ : = XCXcเนือ่ งจากลูกสาวจะได้รบั ยีนด้อย (Xc) จากพ่อ แต่ยงั ได้รบั ยีนเด่น (XC) จากแม่อยู่ ท�ำให้ยงั ไม่เป็นโรค แต่เป็นพาหะ

34 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


ข้อที่ 4 สามีภรรยาคูห่ นึง่ เป็นพาหะทาลัสซีเมียทีเ่ หมือนกัน โอกาสทีล่ กู คนแรกจะไม่เป็นโรคนี้ คิดเป็นร้อยละเท่าไหร่

เฉลย
สิง่ แรกทีด่ กู ค็ อื ...โรคทาลัสซีเมียเกิดจากโครโมโซมร่างกายนะ
ไม่ใช่โครโมโซมเพศ ฉะนัน้ เวลาคิดก็ไม่ตอ้ งก�ำหนดเพศ

Tt x Tt

TT , Tt , Tt , tt

จะเห็นว่ามียนี เด่น (T) ข่มยีนด้อย (t) หรือโอกาสทีล่ กู คนแรกจะไม่เป็นโรคทาลัสซีเมีย คิดเป็น ¾ = 75%

ข้อที่ 5 โรคฮีโมฟีเลียเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เพราะอะไร ??


ถึงข้อนีโ้ จทย์จะสัน้ แต่ตอ้ งใช้ความรูเ้ รือ่ งยีนตอบนะ อธิบายให้ได้ อย่ามัว่ กันล่ะ

เฉลย เนือ่ งจากโรคฮีโมฟีเลียเกิดจากยีนด้อยบนโครโมโซม X_ จีโนไทด์ของเพศหญิงคือ XX หมายความว่าเพศหญิงมีโครโมโซม X ถึง


2 โครโมโซม ในขณะทีจ่ โี นไทด์ของเพศชายคือ XY ฉะนัน้ เพศชายจะมีโครโมโซม X เพียง 1 โครโมโซม ซึง่ ถ้าแม่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย ( XhXh )
และลูกชายทีต่ อ้ งได้รบั โครโมโซม Y จากพ่อและโครโมโซม Xhจากแม่ จึงมีโอกาสเป็นโรค 100% ในขณะทีล่ กู สาวหากได้รบั ยีนด้อย (Xh)
จากแม่ แต่ยงั ได้รบั ยีนเด่น (XH) จากพ่อ ก็จะยังไม่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย แต่เป็นพาหะ

6. ความผิดปกติของโครโมโซมมนุษย์

แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ


1) ความผิดปกติของออโทโซม (โครโมโซมร่างกาย) เกิดจากการเปลีย่ นแปลงของเซลล์รา่ งกาย มีความผิดปกติ 2 ชนิด คือ
- ความผิดปกติทจี่ ำ� นวนออโทโซม เป็นความผิดปกติทจี่ ำ� นวนออโทโซมใน บางคูท่ เี่ กินมา 1 โครโมโซม จึงท�ำให้โครโมโซมใน
เซลล์รา่ งกายทัง้ หมดเป็น 47 โครโมโซม เช่น ออโทโซม 45 แท่ง และโครโมโซมเพศ 2 แท่ง
เพศหญิงจึงมีโครโมโซม 45 + XX และเพศชายจึงมีโครโมโซม 45 + XY
เช่น Down's syndrome = 21 เกิน
Edward's syndrome = 18 เกิน
Patau syndrome = 13 เกิน
- ความผิดปกติของรูปร่างออโตโซม เป็นความผิดปกติทอี่ อโทโซมบางโครโมโซมขาดหายไปบางส่วน แต่มจี ำ� นวนโครโมโซม
46 แท่ง เท่ากับคนปกติ
เช่น Cri-du-chat syndrome or cat syndrome = 5 ขาด
Prader-Willi syndrome = 15 ขาด
2) ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ เป็นความผิดปกติทโ่ี ครโมโซมเพศแท่ง X หรือแท่ง Y
เช่น • Klinefelter’s syndrome = X เกินในชาย เป็นความผิดปกติทเี่ พศชายมีโครโมโซม X เกินมา 1-2 โครโมโซม ท�ำให้
มีโครโมโซมร่างกายเป็น 44 + XXYY หรือ 44 + XXXY

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 35


• Turner’s syndrome = X ขาดในหญิง เป็นความผิดปกติทเี่ พศหญิงมีโครโมโซม X เพียง 1 โครโมโซม ท�ำให้มโี ครโมโซม
ร่างกายเป็น 44 + X

7. สารพันธุกรรม

สารพันธุกรรม คือ สารชีวโมเลกุลประเภทกรดนิวคลิอกิ ท�ำหน้าทีเ่ ก็บข้อมูลรหัสส�ำหรับการท�ำงานของสิง่ มีชวี ติ ต่างๆ เอาไว้ และ


เมือ่ สิง่ มีชวี ติ มีการสืบพันธุ์ เช่น เซลล์มกี ารแบ่งเซลล์ ก็จะมีการแบ่งสารพันธุกรรมนีไ้ ปยังเซลล์ทแี่ บ่งไปแล้วด้วย โดยยังคงมีขอ้ มูลครบ
ถ้วน

กรดนิวคลิอกิ มี 2 ชนิด คือ DNA และ RNA

ส�ำหรับรายละเอียดเรือ่ งกรดนิวคลิอกิ เขียนไว้แล้วในบท สารชีวโมเลกุลนะ


ถ้านึกไม่ออก สงสัยต้องเปิดกลับไปทวนกันแล้วแหละ

สิง่ เปรียบเทียบ DNA RNA


1. ชนิดน�ำ้ ตาล ดีออกซีไรโบส (C2H10O4) ไรโบส (C2H10O5)
2. หมูฟ่ อสเฟต มี มี
3. ชนิดเบส A, G, C, T A, G, C, U
4. โครงสร้างโมเลกุล ส่วนใหญ่เป็นเกลียวคู่ (A+G/T+C=I) ส่วนใหญ่เป็นสายเดียว (A+G/T+C=I)
5. ขนาดโมเลกุล ใหญ่กว่า เล็กกว่า
6. ปริมาณในเซลล์ น้อยกว่า มากกว่า DNA 5-10 เท่า
7. หน้าที่ - เป็นสารพันธุกรรมของสิง่ มีชวี ติ ส่วนใหญ่ - เป็นสายพันธุกรรมในสิง่ มีชวี ติ บ้างชนิด
- เป็นต้นแบบในการสังเคราะห์โปรตีน เช่น ไวรอยด์ และไวรัสทีท่ ำ� ให้เกิดไข้หวัดใหญ่
(influenza), เอดส์ (AIDS), ใบด่างของยาสูบ
(Tobacco mosaic virus) เป็นต้น
- เป็นหน่วยปฏิบตั งิ านในการสังเคราะห์โปรตีน

** น้องๆ รูไ้ หม ออแกเนลล์ใด มี DNA เป็นของตัวเองบ้าง ???


เฉลย ไมโตคอนเดรีย กับ คลอโรพลาสต์ นัน่ เอง
**เอ๊ะ! แล้วอย่างแมลง ช้าง ลิง เนีย่ มีปริมาณ DNA เท่ากันไหมนะ ???
เฉลย ไม่เท่ากันจ้า สิง่ มีชวี ติ คนละสปีชสี ์ ย่อมมีปริมาณโครโมโซมทีไ่ ม่เท่ากัน แล้วอีกอย่างปริมาณ DNA ไม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั ขนาดตัวหรือ
ความซับซ้อนของสิง่ มีชวี ติ นัน้ ๆ นะ

36 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


8. กระบวนการสังเคราะห์โปรตีน

ประกอบด้วยขัน้ ตอน ดังนี้

กระบวนการ บริเวณทีเ่ กิด สารตัง้ ต้น สารทีไ่ ด้


ทรานสคริปชัน (transcription) นิวเคลียส DNA mRNA
ทรานสเลชัน (translation) ไซโทพลาซึม mRNA กรดอะมิโน

• ล�ำดับกรดอะมิโนทีไ่ ด้ตอ่ เป็นสายพอลิเปปไทด์ ถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีน

ล�ำดับเบส 1 ทรานสคริปชัน่ ล�ำดับเบส 2 ทรานสเลชัน่


ใน DNA ใน mRNA

ล�ำดับกรดอะมิโนใน
โปรตีน พอลิเพปไทด์

9. โรคทางพันธุกรรม

หัวข้อนี้ ข้อสอบอาจจะหยิบยกมาถามได้ แต่ไม่ถงึ ขัน้ ลึกมาก เนือ่ งจากโรคทางพันธุกรรมมีมากมาย ฉะนัน้ พีข่ อยกตัวอย่างโรค
เด่นๆ ให้เป็น concept ทีน่ อ้ งๆ ต้องจ�ำกันเลยนะ
- โรคซีสติกไฟโบรซีส (Cystic fibrosis)
เยือ่ เมือกหนามากในปอดและล�ำไส้ ท�ำให้หายใจล�ำบากหรือปอดอาจติดเชือ้ ได้ และย่อยอาหารได้ยาก สาเหตุเกิดจาก
การผ่าเหล่าในอัลลีลลักษณะด้อย
- โรคซิกเกิลเซลล์ (Sickle-cell)
เกิดจากการผ่าเหล่า เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรปู ร่างแบบรูปเคียวท�ำให้ลำ� เลียงออกซิเจนได้นอ้ ยและสร้างฮีโมโกลบินให้มี
รูปร่างผิดปกติ
- โรคฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)
เกิดความผิดปกติของยีนทีค่ วบคุมการสร้างฮีโมโกลบิน เลือดแข็งตัวช้า หรือไม่แข็งตัวเลยคนทีเ่ ป็นโรคนีถ้ า้ มีบาดแผล
เลือดจะไหลไม่หยุดอาจเสียชีวติ ฟกช�ำ้ ง่าย ชายเป็นมากกว่าหญิง

***แต่นอ้ งๆ อย่าลืมนะว่าโรคทีเ่ กิดจากออโตโซมนัน้ ต้องได้รบั แอลลีลทีผ่ ดิ ปกติ จากพ่อและแม่เท่านัน้ จึงจะเกิดโรคได้ ฉะนัน้ หาก
ได้รบั แอลลีลจากพ่อหรือแม่ ผิดปกติ1 แอลลีล แต่อกี 1 แอลลีล ยังปกติอยู่ ก็จะเป็นพาหะ แต่ยงั ไม่ถงึ กับเป็นโรคนะ

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 37


10. การผ่าเหล่า (Mutation)

การเปลีย่ นแปลงของสิง่ มีชวี ติ อย่างรวดเร็ว โดยมักจะเปลีย่ นแปลงในระดับยีน ท�ำให้สงิ่ มีชวี ติ มีลกั ษณะต่างจากปกติ หรือทีเ่ รียก
ว่าเกิดการกลายพันธุ์ สามารถเกิดขึน้ เองตามธรรมชาติได้ ท�ำให้เกิดการเปลีย่ นแปลงซึง่ อาจได้ลกั ษณะตามทีพ่ งึ ประสงค์ หรือไม่พงึ
ประสงค์กไ็ ด้
ฉะนัน้ มิวเทชันจัดเป็นกลไกการเกิดวิวฒ ั นาการที่
- ท�ำให้ดขี นึ้ คือ ท�ำให้สงิ่ มีชวี ติ ทีเ่ กิดมิวเทชันนัน้ สามารถอยูร่ อดในธรรมชาติได้ดกี ว่าเดิม
- ท�ำให้แย่ลง คือ ท�ำให้สงิ่ มีชวี ติ ทีเ่ กิดมิวเทชันนัน้ เกิดโรค หรือเกิดภาวะต่างๆ ที่ ไม่เอือ้ อ�ำนวยต่อการมีชวี ติ อยูไ่ ด้
** ปัจจัยทีท่ ำ� ให้เกิดมิวเทชัน ทีเ่ รียกว่า มิวทาเจน (mutagen) เป็นตัวกระตุน้ หรือตัวชักน�ำท�ำให้เกิดมิวเทชัน ได้แก่ รังสี สารเคมี
จุลนิ ทรีย์
แต่ถา้ เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม อย่าโทษแต่เพราะมิวเทชันนะ เพราะอาจเกิดจากปัจจัยทีน่ อกเหนือจากมิวเทชันได้ เช่น
genetic drift สารมิวทาเจน เป็นต้น
• ระดับการเกิดมิวเทชัน
- มิวเทชันของยีน (gene mutation or point mutation)
เกิดจากการเปลีย่ นแปลงของ”เบส” ( A,T,C,G ) โดยอาจเปลีย่ นทีช่ นิด โครงสร้างหรือล�ำดับของเบสก็ได้ ส่งผลไปยัง
กรดอะมิโน ในสายพอลิเปปไทด์ทเี่ ปลีย่ นไป ท�ำให้โปรตีนทีส่ ร้างขึน้ มามีคณ ุ สมบัตทิ างเคมีตา่ งไปจากเดิม หรือหมดสภาพไป
เช่น โรค sickle cell anemia
- มิวเทชันของโครโมโซม (chromosomal mutation)
เป็นความผิดปกติทเี่ กิดได้ทงั้ ในโครโมโซมร่างกายและโครโมโซมเพศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเปลีย่ นแปลงรูปร่างโครงสร้างภายในของโครโมโซม เกิดจากโครโมโซมขาดหายไป(deletion) หรือเพิม่ ขึน้ มา
(duplication) หรือ สลับที่ (translocation)
2. การเปลีย่ นแปลงจ�ำนวนโครโมโซม
โดยการเพิม่ ขึน้ หรือลดลงของจ�ำนวนโครโมโซม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
- แอนูพลอยดี (aneuploidy) เพิม่ /ลด เป็นท่อน เช่น โรคดาวน์ซนิ โดรม
- ยูพลอยดี (euploidy) เพิม่ /ลด เป็นชุด หรือเป็นความผิดปกติทมี่ กั พบในพืช แต่หากเกิดในสัตว์
จะท�ำให้เป็นหมัน
• เอ..แล้วน้องๆ รูไ้ หมนะ ว่าวิธกี ารขยายพันธุใ์ นพืช วิธใี ดท�ำให้มโี อกาสเกิดการกลายพันธุส์ งู ทีส่ ดุ ??
ตอบ การเพาะเมล็ด เพราะการเพาะเมล็ดเป็นการสืบพันธุแ์ บบอาศัยเพศมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส มีโอกาสเกิดการแลกเปลีย่ นชิน้
ส่วนของยีน (Crossing over)
ลืมเรือ่ งการแบ่งเซลล์กนั ไปหรือยัง ถ้าลืมแล้วกลับไปทวนเร็ว!!!

11. พันธุวศิ วกรรม (genetic engineering)

คือ กระบวนการตัดต่อยีนจากการสังเคราะห์ขนึ้ หรือจากสิง่ มีชวี ติ ต่างๆ ทีม่ ยี นี ทีต่ อ้ งการเข้าด้วยกัน แล้วน�ำไปใส่ในสิง่ มีชวี ติ ชนิด
หนึง่ (host) เพือ่ ผลิตสารโปรตีนตามทีต่ อ้ งการ
จุดเด่น คือ เป็นกระบวนการทีท่ ำ� ให้เกิดการแปรผันของยีนอย่างรวดเร็ว ตรงตามจุดประสงค์ และสามารถผสมข้ามสายพันธุไ์ ด้
เช่น ในเซลล์แบคทีเรียมียนี อินซูลนิ ของคน เป็นต้น

38 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


น้องๆ รูไ้ หม เทคโนโลยีชวี ภาพใดเก่าแก่ทสี่ ดุ >>>>>>>>>
เทคโนโลยีการหมัก เช่น การท�ำปลาร้า ปลาจ่อม การหมักเต้าเจีย้ ว เป็นต้น

• หลักการตัดต่อ DNA ในกระบวนการพันธุวศิ วกรรม มีดงั นี้


1. การสร้าง DNA สายผสม (recombinant DNA )
- การเตรียม DNA ทีต่ อ้ งการจากการสังเคราะห์ หรือจากแหล่งทีต่ อ้ งการโดยใช้เอนไซม์ตดั จ�ำเพาะ (restriction
enzyme )
- การเตรียมพาหะ DNA (DNA vector) เช่น พลาสมิด คอสมิด เฟจ
- น�ำ DNA ทีต่ อ้ งการเชือ่ มต่อกับ DNA vector ด้วยเอนไซม์ DNA ligase
2. การน�ำ DNA สายผสมเข้าสูเ่ ซลล์เจ้าบ้าน (host)
ตัวอย่างของหัวข้อนีท้ เี่ ห็นได้ชดั และออกข้อสอบบ่อย คือ
GMOs
GMOs ย่อมาจาก Genetically Modified Organisms คือ สิง่ มีชวี ติ ทีไ่ ด้จากการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรมให้ได้
ลักษณะตามทีต่ อ้ งการด้วยวิธกี ารทางพันธุวศิ วกรรมเท่านัน้ ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา และยังมีจลุ นิ ทรีย์ GMO ทีม่ ี
คุณสมบัตพิ เิ ศษในการก�ำจัดคราบน�ำ้ มันได้ดี
แต่เรามักได้ยนิ ค�ำว่า พืช GMOs บ่อย น้องๆ รูไ้ หมว่าเพราะอะไร??
เรานิยมท�ำ GMOs ในพืช เช่น ฝ้าย ข้าวโพด มันฝรัง่ มะละกอ เพราะว่าท�ำได้งา่ ยกว่าสัตว์ และสามารถศึกษาพืช
GMOs ได้หลายๆ ชัว่ อายุของพืช (Generation) เพราะว่าพืชมีอายุสนั้ กว่าสัตว์ อาจเรียกพืช GMOs ได้อกี ชือ่ หนึง่ ว่า Transgenic
Plant
• ข้อดีของพืช GMOs
เนือ่ งจากเราสามารถตัดแต่งพันธุกรรมพืชได้ตามต้องการ เมือ่ ปรับปรุงพันธุแ์ ล้วจะท�ำให้พชื ....
1. สามารถต้านทานโรคพืชชนิดรุนแรงได้
2. สามารถต้านทานต่อยาปราบวัชพืช
3. สามารถต้านทานอุณหภูมติ ำ �่ ๆ ได้
4. สามารถขยายอายุการเก็บได้
5. ทนต่อสภาพการขนส่งได้ดขี นึ้
6. มีผลต่อการแปรรูป
7. มีคณ ุ ค่าทางโภชนาการสูงขึน้
• ข้อเสียของพืช GMOs
1. สารอาหารจาก GMOs อาจมีสงิ่ ปนเปือ้ นทีเ่ ป็นอันตราย
2. ความกังวลในเรือ่ งของการเป็นพาหะของสารพิษ เช่น ความกังวลทีว่ า่ DNA จากไวรัสทีใ่ ช้ในการท�ำ
GMOs อาจเป็นอันตราย
3. สารอาหารจาก GMOs อาจมีคณ ุ ค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ
4. ความกังวลต่อการเกิดสารภูมแิ พ้ (allergen) หรือการดือ้ ยา
5. การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ปลอดภัยต่อผูบ้ ริโภคหรือไม่
หัวข้อสุดท้ายทีค่ อ่ นข้างเด่นในเรือ่ งนีแ้ ละข้อสอบชอบออก ก็คอื ..

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 39


• ฝ้าย BT
เกิดจากการถ่ายยีนทีส่ ร้างสารพิษจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis หรือเรียกย่อว่า BT สารพิษนีส้ ามารถ
ท�ำลายตัวอ่อนของแมลงบางประเภทแบบเฉพาะ “เจาะจง” โดยไม่เป็นอันตรายต่อสิง่ มีชวี ติ อืน่
เซลล์และการแบ่งเซลล์
• หากพูดถึงเรือ่ งนี้ ก็มกั จะเป็นบททีเ่ ราเรียนกันแรกๆ เลยเพราะฉะนัน้ หลายคนพอก�ำลังจะเตรียมตัวสอบก็มกั จะลืมบทนีไ้ ปเลย
เพราะว่าอ่านมานานมากแล้ว และเป็นบททีอ่ าศัยความจ�ำค่อนข้างเยอะซะด้วยสินะ แล้วจะท�ำยังไงดีหละ ก็ไม่ใช่เรือ่ งยากอะไร
หรอกนะ ก็แค่ จับประเด็นให้ตรงจุดแล้วเน้นให้แม่นๆ ไปเลย
• ส�ำหรับตรงจุดนี้ พีข่ อบอกเลยว่าเนือ้ หาทีค่ วรจ�ำได้ น้องก็ตอ้ งท่อง แล้วฝึกหัดเขียนแล้วแหละ อย่างเช่นพวก organelle อะไร
ท�ำหน้าทีอ่ ะไร และแต่ละอันต่างกันยังไงอาจจะท�ำเป็นตารางเปรียบเทียบก็ได้ organelle ชนิดไหนทีม่ เี ฉพาะในพืช organelle
ชนิดไหนทีม่ เี ฉพาะในสัตว์ หรือมีเฉพาะในแบคทีเรีย พวกนีน้ อ้ งคงต้องท่อง แล้วฝึกหัดเขียนเปรียบเทียบเป็นตารางแล้วหละ
นะ อย่างทีเ่ คยบอก หยิบมันขึน้ มาดูบอ่ ยๆ แค่นนั้ เองเดียวมันจะซึมซับเข้าไปในสมองเอง เชือ่ พีส่ ิ พีล่ องแล้ว
• หรือจะใช้วธิ เี ปรียบเทียบกับสิง่ แวดล้อมรอบๆ ตัว ว่าพืชส่วนใหญ่มสี เี ขียว (chlorophyll) ซึง่ จะอยูใ่ น คลอโรพลาสต์ (chloroplast)
แต่ในสัตว์ไม่มี ส่วนเซลล์ของพืชแข็งกว่าเซลล์สตั ว์ เพราะมีผนังเซลล์ (cell wall) เป็นต้น

เพือ่ ย�ำ้ อีกครัง้ น้องๆ เอาไปท่องดูนะ

ทีม่ า : http://www.animalcells.net/
✓ Chloroplast---cell wall---central vacuole---tonoplast ไอ้พวกนีไ้ ม่มใี นสัตว์นะจ้ะ
✓ Centriole –lysosome ไอพวกนีไ้ ม่มใี นพืชนะจ้ะ
✓ ไอ organelle ทีม่ เี ยือ่ หุม้ สองชัน้ มีแค่ mitochondria กับ chloroplast เท่านัน้ เพราะเชือ่ ว่า สองอันนีว้ วิ ฒ ั นาการมาจาก
สิง่ มีชวี ติ เซลล์เดียว
เรื่องต่อมาของเซลล์ที่น้องควรจะจ�ำได้แล้ว นั้นก็คือเรื่องของ cell wall ในสิ่งมีชีวิต แต่ละอาณาจักร ที่โดดเด่นเป็นพิเศษเลยก็
คงเป็น
✓ Monera (เป็นพวกแบคทีเรีย ไง จ�ำได้ไหมเอ่ย) พวกนีจ้ ะมีผนังเซลล์เป็น peptidoglycan ยกเว้น mycoplasma ทีเ่ ป็นแบคทีเรีย
ทีม่ ขี นาดเล็กทีส่ ดุ และแถมแปลกกว่าชาวบ้านคือมันเป็น monera ทีไ่ ม่มผี นังเซลล์ แต่กไ็ ม่เคยออกถามตรงๆ แบบนีน้ ะว่าหุม้
ด้วยอะไร เวลาโจทย์ถามมักจะออกแนวแบบ ให้ตวั อย่างสิง่ มีชวี ติ มาหลายๆ ชนิด ประมาน 5 ตัวเลือก แล้วถามว่าอะไรต่าง
จากพวก หรืออาจจะถามว่า พวกไหนอยูพ่ วกเดียวกัน ซึง่ นัน้ หมายถึงน้องก็ตอ้ งรูว้ า่ สิง่ มีชวี ติ ชือ่ ไหน มี cell wall แบบได อันนี้
ก็ตอ้ งจ�ำหละนะ จดใส่กระดาษ ท่องตอนกินข้าวก็ได้ อิอิ

40 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


✓ Fungi (พวกนีค้ อื พวกเห็ดรา ทีเ่ ราคุน้ เคยไงจ้ะ) พวกนีจ้ ะมี cell wall เป็น chitin
✓ Plantae (จริงๆ มันมาจากค�ำว่า plant ทีแ่ ปลว่า พืช ไง) พวกนี้ cell wall เป็น cellulose

1. สิง่ มีชวี ติ ชนิดใดทีม่ ผี นังเซลล์ แตกต่างจากสิง่ มีชวี ติ ชนิดอืน่


ก. สาหร่ายหางกระรอก
ข. เห็ดเข็มทอง
ค. สนฉัตร
ง. ชบา
จ. ว่านหางจระเข้
ค�ำตอบ อย่างทีเ่ ราได้อา่ นมาแล้วข้างหน้าว่า พวกพืชนัน้ เป็นสิง่ มีชวี ติ ทีม่ ผี นังเซลล์เป็นพวก cellulose ดังนัน้ เราก็เริม่ มาเช็คกันเลยว่า
อันไหนต่างจากพวก ปกติเวลาเราได้ยนิ ค�ำว่าสาหร่ายแน่นอนว่ามันต้องมีผนังเซลล์แบบพืชแน่นอนแต่สงิ่ ทีบ่ างคนอาจจะสับสนนัน้ ก็คอื
เรือ่ งของสาหร่ายสีเขียวแกมน�ำ้ เงิน ซึง่ แม้จะมีชอื่ ขึน้ ต้นว่า สาหร่ายแต่มนั เป็นพวก แบคทีเรียนะ ดังนัน้ ข้อนี้ สาหร่ายหางกระรอกเป็น
พืชจ้า ส่วนอันต่อมาคือเห็ด ซึง่ เป็นพวก fungi ซึง่ ผ่านมาสองตัวเลือกแล้วอันหนึง่ เป็นพืชอันหนึง่ เป็นฟังไจ แสดงว่าถ้าอันต่อไปเป็นพืช
แสดงว่าตอบข้อนี้ อันทีแ่ ตกต่างจากพวกก็คงจะเป็น เห็ดเข็มทองแน่นอน แล้วปรากฏว่า สนฉัตรนัน้ เป็นพวกพืช
ดังนัน้ ข้อนีเ้ ลยมีคำ� ตอบคือ เห็ดเข็มทองเพราะว่ามันมีผนังเซลล์ตา่ งจากพวกอืน่ คือเป็น chitin ส่วนตัวเลือกสองอันหลังก็เป็น
พืช ชบาเป็นพืชดอก และ ว่านหางจระเข้กเ็ ป็นพืชดอกถึงแม้วา่ เราจะไม่เคยเห็นดอกของว่านหางจระเข้เลยก็ตาม
• สัตว์ Animalia (น้องลองดูดดี นี ะถ้าหากว่าตัด – ia ออก มันจะเป็น Animal ไง นีแ้ หละวิธกี ารจ�ำ) ไม่มี cell wall นะ
จ้ะน้องจ๋า
• Ribosome เป็น organelle ทีไ่ ม่มเี ยือ่ หุม้ และมีสองส่วน เพราะว่า มันต้องไปใช้ประกบกับ mRNA ในขัน้ การ
translation ดังนัน้ นีเ่ ลยเป็นเหตุทท่ี ำ� ไมมันต้องมีสองส่วนและไม่มเี ยือ่ หุม้ แถมยังเป็นพวกอินดีไ้ ม่มกี รอบ ชอบไป
ไหนมาไหน หลายทีไ่ ม่วา่ จะเป็น nuclear membrane บน RER หรือ แม้แต่ลอยบน cytosol ก็ยงั มี
• ส�ำหรับเรือ่ ง intermediate filament พีม่ วี ธิ จี ำ� ชนิดทีป่ ระกอบด้วย keratin คือ เจ็ดอย่างพอดี และตรงกับการนับ
พยางค์ของค�ำว่า in-ter-me-diate –fi-la-ment
• อีกจุดหนึง่ ทีเ่ รามักจะ งง กันนัน้ ก็ คือ ตับ (liver) กับ ตับอ่อน (pancreas)... ตับเป็นอวัยวะ (organ) ทีส่ ำ� คัญมากเลย
ทีเ่ ดียว แต่ทำ� หน้าทีค่ นละอย่างกับ ตับอ่อน (pancreas) นะจ้ะอย่าเข้าใจผิดหละ ดังนัน้ เมือ่ มันท�ำหน้าทีต่ า่ งกัน มัน
ย่อมมี organelle ทีอ่ ยูข่ า้ งในมัน ต่างกันด้วย นัน้ ก็คอื
ตับอ่อน (pancreas)จะสร้างน�ำ้ ย่อย และ hormone insulin ดังนัน้ ตับอ่อนจึงมี RER มากเป็นพิเศษ(ถามว่าเพราะอะไรก็ตอ้ ง
ตอบว่า เนือ่ งจาก น�ำ้ ย่อยหรือ enzyme นัน้ เป็นสารจ�ำพวกโปรตีน และ hormone insulin ก็เป็นสารจ�ำพวกโปรตีนเช่นกัน RER สร้าง
โปรตีน ดังนัน้ มันเลยต้องมีมาก มากใน ตับอ่อน
ส่วนตับ (liver) เนือ่ งจากมันคือแหล่งทีอ่ าหาร ยา ทุกอย่างจะผ่านตับเสมอ ดังนัน้ มันคือโรงงานก�ำจัดสารพิษขนาดใหญ่ของ
ร่างกาย และ แถมยังสามารถสร้าง steroid ได้ดว้ ย มันเลยจ�ำเป็นต้องมี SER มากเป็นพิเศษ (เชือ่ มโยงง่ายง่ายอีกนิดหนึง่ ก็คอื คนทีช่ อบ
ดืม่ สุรา ก็มกั จะมีปญ ั หาเรือ่ งตับเพราะ สุรามี alcohol ซึง่ ถือเป็นสารพิษต่อร่างกาย ตับเลยอยูน่ ง่ิ ดูดายไม่ได้ตอ้ งออกโรงไปก�ำจัด แต่ถา้
ดืม่ มากไปตับก็ไม่ไหว มันก็เริม่ มีปญ ั หาบาดเจ็บขึน้ มา เราก็ปว่ ยเลย)
ดังนัน้ สองตัวนี้ อยูใ่ กล้กนั แต่อย่าจ�ำผิดนะครับ พีเ่ ลยมีวธิ ที อ่ งจ�ำนัน้ ก็คอื
✓ “หนุม่ หล่อหน้าเซอร์ (SER) ชอบกินเหล้า จนตับพัง”
• อีกเรือ่ งทีน่ อ้ งหลายคนมักจะสับสน สับสน ก็คอื microtubule ซึง่ microtubule มันเหมือนเป็นท่อ ท่อทีเ่ รียงกัน ถ้า
เรียงกันแตกต่างกัน ก็เรียกแตกต่างกัน ดังนี้

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 41


แฟลเจลลา ภาพถ่ายจากกล้อง
จุลทรรศน์อเิ ลกตรอน

ไมโครทูบลู ท่อคูท่ ี่
อยูร่ อบนอก
เยือ่ หุม้ เซลล์

แฟลเจลลา

ไมโครทูบลู ท่อคู่
ทีอ่ ยูต่ รงกลาง

ไมโครทูบลู ท่อคู่
เบซัลบอดี้
เยือ่ หุม้ เซลล์ เบซัลบอดี้ (basal body)
มีโครงคล้ายเซนทรีโอล

ถ้าเรียงแบบ 9+2 จะเรียก ว่า cilia หรือ flagellum (ถ้าถามว่าสองอันนีต้ า่ งกันยังไงก็คงจะตอบว่า microtubule ภายในจัดเรียง
เหมือนกัน คือ 9+2 และท�ำหน้าทีใ่ นการเคลือ่ นทีเ่ ช่นเดียวกัน แต่สง่ิ ทีต่ า่ งกันคือ ขนาดและจ�ำนวนมันต่างกัน ก็คอื ในหนึง่ cell อาจจะมี
cilia หลายเส้นมากมาก แต่หนึง่ cell จะมี flagellum ไม่คอ่ ยเกินสองสามเส้น และความยาวของ flagellum ก็ยาวกว่ามาก
ดังนัน้ อย่าไปดูวา่ ใครยาวกว่ากันให้ดวู า่ โครงสร้างการจัดเรียงภายในเป็นอย่างไร work สุด พูดง่ายๆ คือจ�ำไปเถอะ ไปท�ำความ
เข้าใจในห้องสอบ เดีย๋ วจะท�ำข้อสอบไม่ทนั จะหาว่าพีไ่ ม่เตือน
ถ้าเรียงแบบ 9+0 จะเรียกว่า Basal body หรือ centriole สองอันนีม้ กี ารจัดเรียง microtubule ภายในเหมือนกันแต่ตำ� แหน่งและ
หน้าทีท่ ที่ ำ� ต่างกัน กล่าวคือว่า basal มาจากค�ำว่า base ซึง่ แปลว่า ฐาน ดังนัน้ basal body มันคือฐานของ cilia กับ flagellum เอาไว้ยดึ
ส่วน centriole มีบทบาทในตอนแบ่งเซลล์ไงจ๊ะ
• อีกค�ำถามแนวหนึง่ ทีเ่ จอบ่อยมักเกีย่ วกับการทดลองทีเ่ อาเซลล์ของพืช (ซึง่ มี cell wall ) และ สัตว์ (ซึง่ ไม่มี cell wall)
(แต่อย่าเข้าใจผิดนะว่า พืชมี cell wall แล้วไม่มี cell membrane เพราะทีจ่ ริง พืชมีทง้ั สองอย่างเลยนะ แต่สตั ว์มแี ค่ cell
membrane) การทดลองอาจจะให้มาเป็นรูปภาพแล้วถามเราหรือ อาจจะบอกมาเลยว่า เอา cell ใส่เข้าไปในสารละลายทีม่ ี
ความเข้มข้นแบบใด ถ้าให้เป็นรูปมา ก็ให้สงั เกตว่า cell มันเหีย่ วหรือมันจะระเบิดแล้ว เอาเป็นว่าพีม่ วี ธิ จี ำ� มาฝากอีกแล้ว
• iso แปลว่า same ดังนัน้ isotonic solution จึงหมายถึงเอาเซลล์ใส่ในสารละลายทีม่ คี วามเข้มข้น same กับเซลล์ (เซลล์ไม่
เปลีย่ นแปลงใดๆ)
ถ้าเอาสารละลายของเราเริม่ แรกเป็นตัวตัง้ แล้วเปรียบเทียบกับสารละลายอันใหม่ทเี่ ราโยนเซลล์ลงไป เราจะเปรียบเทียบกัน
ดังนี้ นัน่ ก็คอื ถ้าโยนในลงในสารทีเ่ ข้มข้นกว่า จะเรียก Hypertonic solution (เพราะ Hyper แปลว่ามากกว่า) ซึง่ ถ้าสารละลายภายนอก
เข้มข้นกว่าแสดงว่าสารละลายนัน้ มีนำ�้ ทีน่ อ้ ยกว่าจริงไหมเอ่ย เมือ่ น�ำ้ ระหว่างนอกเซลล์กบั ในเซลล์ไม่สมดุล น�ำ้ เลยพากันออกไปจากเซลล์
เราเรียกว่า plasmolysis หรืออาจจะจ�ำว่า พา (น�ำ้ ) โหมดเลยสิ น�ำ้ โดนพาออกไปหมดเลยก็เลยเหีย่ วเหมือนลูกโป่งแฟบลม แต่ถา้ เทียบกับ
สารละลายก่อนจะโยนลงไปแล้วมันเข้มข้นน้อยกว่า (เข้มข้นน้อยกว่าก็คอื สารละลายนัน้ มีนำ�้ ละลายอยูเ่ ยอะมาก ดังนัน้ เมือ่ เราเทียบสารละลาย
ทีเ่ ซลล์เคยอยูก่ อ่ นหน้ากับสารละลายทีเ่ ซลล์กำ� ลังจะถูกโยนลงไปแล้วพบว่าเจือจางกว่า (เข้มน้อยกว่า) เราจะเรียกว่า Hypotonic solution
ซึง่ ค�ำว่า Hypo มันแปลว่าน้อยกว่า) คราวนีแ้ หละเซลล์จะมีนำ�้ เยอะขึน้ บวมขึน้ จนบวมน�ำ้ เข้าแบบนีเ้ รียก endosmosis หรือ เกิดแรงดัน

42 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


เต่ง (turgor pressure) ถ้าเป็นเซลล์สตั ว์มสี ทิ ธิทจี่ ะแตกระเบิดเลย แต่ถา้ เป็นเซลล์พชื มันจะถูก cell wall ดันไว้ไม่ให้ใหญ่ไปกว่านี้ ดังนัน้
มันเลยรอดจากการไม่ระเบิดตัวเองตาย โชคดีไปเพราะมี cell wall ดังนัน้ เวลาจะจ�ำก็จำ� เฉพาะปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึง่ ก็พอแล้ว
อีกอันมันจะเป็นตรงข้ามหมดเลย

ทีม่ า : https://home.comcast.net/~pegglestoncbsd/cell_b11.jpg
• ส�ำหรับตรงนีส้ งิ่ ทีโ่ จทย์มกั จะถามก็มกั จะเป็นการยกตัวอย่างทีเ่ กีย่ วกับการด�ำเนินชีวติ ของเรา เช่น ขณะทีเ่ ราปลูกต้นไม้
แล้วเราใส่ปุ๋ยที่มีความเข้มข้นสูงมากเกินกว่าเซลล์พชื สิง่ ทีต่ ามมาคือ พืชก็เลยเหีย่ ว แล้วโจทย์ให้เราอธิบายว่าอันไหน
คือตัวเลือกทีเ่ ป็นเหตุผลของเหตุการณ์นี้

1. ถ้าหากน�ำเซลล์เม็ดเลือดแดงไปแช่ในสารละลายทีม่ คี วามเข้มข้นสูง ถามว่าเม็ดเลือดจะเกิดอะไรขึน้ และเรียกสารละลายนัน้ ว่าอะไร


ก. เม็ดเลือดแดงเหีย่ ว เรียก สารละลายนีว้ า่ hypertonic solution
ข. เม็ดเลือดแดงแตก เรียก สารละลายนีว้ า่ hypertonic solution
ค. เม็ดเลือดแดงแตก เรียก สารละลายนีว้ า่ isotonic solution
ง. เม็ดเลือดแดงเหีย่ ว เรียก สารละลายนีว้ า่ hypotonic solution
ค�ำตอบ เมือ่ เราน�ำเม็ดเลือดแดงไปแช่ไว้ในสารละลายทีม่ คี วามเข้มข้นสูงกว่าสารละลายภายในเซลล์เราเรียกสารละลายนัน้ ว่า hypertonic
solution และสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ คือน�ำ้ ภายในเซลล์จะออสโมสิส ออกท�ำให้เซลล์เหีย่ วลงไปเรือ่ ยๆ จึงตอบ ก.
• เซลล์สตั ว์ทมี่ กั จะเอามาทดลองก็มกั จะเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงซะส่วนใหญ่ ส่วนพืชก็มกั จะเป็นพวกเซลล์กาบใบเพราะ
เราเคยเจอในการทดลองทีโ่ รงเรียน แต่ถา้ น้องไม่รจู้ ริงๆ ก็ไม่เป็นประเด็นหรอก ขอแค่นอ้ งๆ แยกออกว่าใครเป็นเซลล์พชื
ใครเป็นเซลล์สตั ว์กจ็ บ แบบสวยสวยได้เลย
✓ เช่น “ไฮเปอ ---พาน�ำ้ ออกเลย ---เหีย่ ว”
• เรือ่ งเซลล์อกี เรือ่ งทีม่ กั จะงง กันคือ ***cytosis
exocytosis เป็น cytosis แบบเดียวทีส่ ง่ สารออกจากเซลล์ เพราะค�ำว่า exo มาจาก exit ทีแ่ ปลว่าออก จะตรงข้ามกับ endo ซึง่
แปลว่า เข้ามา แล้ว endocytosis ก็แบ่งออกมาสามแบบคือแบบทีต่ อ้ งยืน่ ยืน่ ออกไปโอบมันเข้ามา เหมือนกับยืน่ แขนยืน่ ขาออกไปเรียก
ว่า Phago เราเลยเรียกการเอาสารเข้าสูเ่ ซลล์โดยยืน่ แขนยืน่ ขาออกไปว่า Phagocytosis

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 43


ส่วน pinocyctosis กับ receptor-mediated endocytosis มันคือ endocytosis ทัง้ คูเ่ พียงแต่แบบหนึง่ มี receptor อีกแบบไม่มี

1. ข้อใดแตกต่างจากข้ออืน่
ก. การกินอาหารของ slime mold
ข. การกินเชือ้ โรคของเซลล์เม็ดเลือดขาว
ค. การกินอาหารของอะมีบา
ง. การเอาคอเรสเตอรอนไปเก็บเอาไว้ในเซลล์ไข่
ค�ำตอบ ของข้อนีค้ อื การเอาคอเรสเตอรอนไปเก็บเอาไว้ในเซลล์ไข่เนือ่ งจากการเลือกเฉพาะคอเรสเตอรอนแสดงว่าต้องมี receptor เพือ่
เลือกเอาเฉพาะคอเรสเตอรอนเก็บเข้าไป ส่วนข้ออืน่ นัน้ ใช้วธิ ขี องการ phagocytosis ซึง่ ยืน่ ขาเทียมหรือส่วนของเซลล์ออกไปโอบล้อม
แล้วเอามาย่อยในเซลล์
• ส�ำหรับเรื่องเซลล์ ก็คงมีเรื่องที่ต้องเน้นประมาณนี้นะจ๊ะ โจทย์ส่วนใหญ่มักจะต้องการให้เราประยุกต์ใช้ให้ได้กับชีวิต
ประจ�ำวัน ดังนัน้ โจทย์จะพยายามหาตัวอย่างทีน่ อ้ งๆ จะต้องได้พบเจอในชีวติ มาถาม สิง่ ทีน่ อ้ งๆ ต้องท�ำก็คอื หาตัวอย่าง
ให้ได้เยอะๆ หรือถามคุณครูกไ็ ด้ และท่องจ�ำไปเลยจะดีทสี่ ดุ เพราะเวลาสอบจะได้กาเลยไม่ตอ้ งมานึก ว่าเอ๊ะ แบบนีเ้ รียก
ว่าอะไร แบบนัน้ เป็นไงต่อเอ่ย น้องจะท�ำข้อสอบไม่ทนั ข้อสอบมีหลายข้อ บางทีมนั ก็มงี า่ ยยากปนกันไป ใครจะไปรูว้ า่ ข้อ
ง่ายๆ รอน้องๆ อยูข่ า้ งหลังเต็มเลย แต่สว่ นใหญ่ขอ้ ยากถ้าท�ำได้กค็ อื ได้เลยแต่ถา้ ข้อยาก น้องท�ำไม่ได้ ขอบอกเลยว่าให้
ข้ามไปก่อนเหลือเวลาค่อยท�ำ ส่วนข้อง่ายนัน้ ก็ไม่ใช่วา่ จะง่ายจริงเพราะส่วนใหญ่มกั จะเขียนโจทย์ให้ยาว อ่านแล้วงง หรือ
อ่านแล้วต้องเสียเวลาเยอะ ดังนัน้ อะไรทีท่ อ่ งได้เลยให้ทอ่ งไปก่อน เข้าห้องสอบจะได้มเี วลาเหลือไปคิดข้อยากเยอะขึน้
สรุปเอาเป็นว่า ข้อง่ายห้ามพลาด ข้อยากเก็บได้กเ็ ก็บ รับรองว่า คะแนนไม่เน่าแน่ ออกมาแบบสวยๆ

ตัวอย่างเบาๆ น้องๆ ท�ำได้อยูแ่ ล้ว ตัวอย่างพวกนีพ้ จี่ ะเขียนเฉลยให้เลย จะบอกแนวให้วา่ คิดยังไง มีลกู เล่นยังไง

ตัวอย่างเช่น เคยมีขอ้ สอบออกมาว่า ก�ำลังตรวจเซลล์สงิ่ มีชวี ติ ทัง้ หมด สี่ แบบ แล้วมีตารางให้มา ติก๊ ว่าเจออะไรจากการทดลองบ้าง
ก็เจอพวก ผนังเซลล์ นิวเคลียส คลอโรพลาสต์ (โจทย์แบบตารางนีไ้ ม่ยากแต่ยาว ต้องดูดดี แี ล้วรีบตอบไม่ให้เสียเวลา) แล้วถามว่า เซลล์
แบบ A B C หรือ D อันไหนเป็นเซลล์พชื

1.จงพิจารณาตารางต่อไปนี้
Cell wall centriole mitochondria chloroplasts lysosome Cell membrane
สิง่ มีชวี ติ A ✓ ✓ ✓ ✓
สิง่ มีชวี ติ B ✓ ✓ ✓ ✓

ก. สิง่ มีชวี ติ A คือ หมู สิง่ มีชวี ติ B คือ ชบา


ข. สิง่ มีชวี ติ A คือ ดอกรัก สิง่ มีชวี ติ B คือ โลมา
ค. สิง่ มีชวี ติ A คือ ปลาหางนกยูง สิง่ มีชวี ติ B คือ มด
ง. สิง่ มีชวี ติ A คือ กล้วยไม้ สิง่ มีชวี ติ B คือ สาหร่าย

44 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


ค�ำตอบ ของข้อนีก้ ค็ อื สิง่ มีชวี ติ A คือ พืช หรือพวกทีค่ ล้ายๆ พืช ส่วนสิง่ มีชวี ติ B คือ สัตว์ โดยเราสังเกตได้จากองค์ประกอบภายใน
เซลล์นนั้ เอง ดังนัน้ เราก็มาเช็คทีต่ วั เลือกกันว่า ใครเป็นพืชใครเป็นสัตว์แล้วจะได้คำ� ตอบ คือ ข.
• ตัวอย่างต่อมา แนวโอเน็ตมักถามอะไรตอบแบบตรงๆ เอาเป็นว่าถามมาตอบได้ เช่น การเอาเซลล์พชื แช่ในสารละลาย ไฮ
โพโทนิค จะท�ำให้เซลล์เป็นอย่างไร น้องก็ตอ้ งมานึกเองว่า (เอ๊ะ เราเรียนมาว่าถ้าเราใส่เซลล์ใน ไฮเปอ มันจะเหีย่ ว ใส่ใน
ไฮโพ มันจะแตก แสดงว่า เซลล์พชื มันก็นา่ จะแตก แต่เอ๊ะ เราลืมอะไรไปหรือเปล่านะ เซลล์พชื มันมี cell wall ดังนัน้ มัน
จะเต่งสุดสุดแต่ไม่แตกนะจ้ะ)
• Contractile vacuole ท�ำหน้าทีอ่ ะไรในสิง่ มีชวี ติ เซลล์เดียว บางคนเจอโจทย์ขอ้ นีแ้ ล้วถึงกับบอกว่าโจทย์ผดิ แน่นอนเลยค่ะ
เพราะหนูเรียนมาว่า vacuole มันมีเฉพาะในพืช ไม่มใี นสิง่ มีชวี ติ เซลล์เดียวนิ แต่พอไปดูเฉลย ถึงกับเงิบไปเลย เมือ่ พบ
ว่า vacuole ทีน่ อ้ งท่องมามันก็ไม่ผดิ หรอก แต่ลมื ดูไปว่า ค�ำข้างหน้ามันคือ contractile ซึง่ แปลว่าการบีบรัด บีบออก เมือ่
รวมกับ ค�ำว่า vacuole ทีแ่ ปลว่าถุง มันเลยแปลว่า ถุงทีบ่ บี รัด บีบสารออกได้ ซึง่ เจอในเซลล์สงิ่ มีชวี ติ เซลล์เดียวน�ำ้ จืด ท�ำ
หน้าทีบ่ บี เอาน�ำ้ ส่วนเกินและสารทีไ่ ม่ตอ้ งการ ออกไปให้พน้ พ้น ประเด็นคือมีสติดดี ี ว่า vacuole อะไร
• สารชนิดใดทีห่ อ่ หุม้ สารพันธุกรรมของไวรัส? โจทย์แบบนี้ ใครตอบได้กไ็ ด้คะแนนเลย แต่ถา้ ใครจ�ำผิดมาหรือลืม ก็ตายกัน
เห็นๆ เลย ค�ำตอบคือโปรตีน

เรือ่ งการแบ่งเซลล์

ส�ำหรับเรือ่ งนี ้ กค็ งไม่จำ� เป็นต้องเล่าถึงทีม่ าทีไ่ ปว่ายังไง เซลล์ลกู เยอะขนาดไหน เพราะข้อมูลเหล่านีห้ าอ่านจากหนังสืออืน่ ๆ ทัว่ ไป
ได้ไม่ยากเลย แต่สงิ่ ทีอ่ ยากเน้นก็คอื เรือ่ งของตัวอย่างมากกว่าเพราะว่าเรือ่ งนีน้ อ้ งหลายคนคิดว่าท�ำได้แต่พอเจอโจทย์จริงๆ แล้วเงิบหงาย
หลังกันเป็นแถวเลยก็เพราะว่าน้องๆ ยังไม่เข้าใจจริงๆ พีจ่ ะลองเปรียบเทียบให้ดปู ระมาณว่า สมมติปกตินอ้ งเดินทางไปโรงเรียนโดยรถไฟฟ้า
จากสถานีหมอชิตมาลงสยาม ซึง่ มันเป็นทางทีแ่ สนสบาย เดินดูตกึ ไปเรือ่ ยๆ ไม่มอี ะไรต้องคิดมาก แต่ถา้ วันไหนอยูด่ ๆี พีจ่ บั น้องปล่อยที่
สะพานควาย แล้วบอกให้นอ้ งมาเจอพีท่ พี่ ญาไท สิง่ ทีน่ อ้ งต้องท�ำก็คอื คิดว่าแล้วเราจะเดินทางยังไงให้ไปถึงเป้าหมายตรงนัน้ บางที ทีเ่ รา
อ่านๆ กันอยูท่ กุ วันมันก็คอื ทางเดินทีเ่ ราเดินๆ กันทุกวันแต่ถา้ วันไหนเราต้องพลิกแพลงบ้างเราต้องท�ำได้ ถามว่าเราจะท�ำได้ยงั ไงก็เพราะ
ว่าเราท�ำแบบฝึกหัดเยอะๆ แล้วไง เมือ่ เราท�ำแบบฝึกหัดเยอะแล้วสิง่ ทีต่ ามมาก็คอื เราจะมองเห็นภาพรวมและสิง่ ทีค่ นออกข้อสอบมักเอา
มาเป็นลูกเล่นทีเ่ อาไว้หลอกพวกน้องให้หลงทาง พีเ่ องเพียงแต่แนะน�ำได้แต่ตอนสอบนีต้ วั ใครตัวมัน น้องต้องคิดเองเป็น วิเคราะห์เป็น
ประยุกต์เองเป็น

• พีม่ เี ทคนิค อยูอ่ ย่างหนึง่ เวลาอ่าน คือ “ตัวเลข n =ตัวเลข“


โดยทีต่ วั เลขทีต่ ดิ อยูก่ บั ฝัง่ n จะบ่งบอกว่ามี homologous chromosome ทีเ่ หมือนกันกีต่ วั เน้นว่าเหมือนกันนะ
(homologous) สมมติ เราเห็นว่ามันเหมือนกันสองชุด ก็จะเขียน ว่า 2n ถ้าเห็นว่ามีสามชุด homologous เราก็จะเขียนเป็น
3n ส่วนตัวเลขทีอ่ ยูโ่ ดดเดียวฝัง่ ขวา เอาไว้บอกว่ามี centromere กีต่ วั ถ้าถามว่าท�ำไมนับ centromere ก็เพราะว่าเรา
อยากทีจ่ ะรูว้ า่ มีโครโมโซมกีต่ วั แต่ดว้ ยความทีโ่ ครโมโซมบางทีมแี ขนเป็นคูท่ เ่ี ราเรียกว่า sister chromatid บางคน งง คิด
ว่านับเป็นสอง ดังนัน้ พีเ่ ลยคิดว่าง่ายทีส่ ดุ คือนับ centromere ไปเลยเพราะยังไง centromere ก็มแี ค่อนั เดียวแน่แน่

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 45


ทีม่ า : http://www.grossmont.edu/mikefurlan/1CommonGeneralBioOutlines/Meiosis/mitosisVSmeiosis.htm

• ดูรปู ให้เป็นนะจ้ะน้องๆ แบบว่าดูให้ออกว่าอันไหนตอนไหนเกิดอะไรขึน้ มีการสร้างแขนเพิม่ หรือยัง มีเส้นใยหรือยัง หรือ


ว่า นิวเคลียสแมมเบรน มันฉีกหรือยัง หรือว่า มี cleavage furrow
• เราสามารถพบเจอ 4n ทีเ่ ราเรียกว่า tetraploid number ซึง่ มี homologous ทีละ 4 ชุด พบในระยะ anaphase ของ
mitosis ทัง้ ในพืชและสัตว์
• Crossing over เกิดขึน้ เฉพาะ prophase 1 ของ meiosis เท่านัน้
• Anaphase ของ mitosis และ Anaphase 2 ของ meiosis จะเป็นการดึงแยก sister chromatid ออกจากกัน แต่ anaphase
1 ของ meiosis เป็นการแยก homologouse chromosome
• ส�ำหรับเรือ่ งการแบ่งเซลล์ แนวโจทย์อาจจะถามว่าส่วนใดของพืช หรือส่วนใดของร่างกายเราทีม่ กี ารแบ่งเซลล์แบบ
meiosis ซึง่ อาจจะให้มาเป็นรูปของรากไม้ หรืออาจจะถามแบบยกตัวอย่างก็เป็นไปได้หมด ดังนัน้ น้องต้องหารูปมาดูให้
เป็นว่าส่วนไหนของรากเป็นหมวกราก ส่วนไหนเป็นปลายราก ส่วนไหนเป็นรากส่วนทีย่ ดื ตัวแต่ไม่การเพิม่ จ�ำนวนเซลล์
ข้อสอบจะถามแนวนีเ้ พราะว่ามันเป็นตัวอย่างในแบบเรียน

2. ข้อใดถูกต้อง
ก. ปลายรากหอมเป็นการแบ่งแบบไมโอซีส
ข. ทีป่ ลายรากหอมเมือ่ สิน้ สุดการแบ่งเซลล์จะได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์
ค. เซลล์ใหม่ทเี่ กิดขึน้ ของปลายรากหอมนัน้ เกิดจากการคอดของเยือ่ หุม้ เซลล์
ง. เซลล์ใหม่ทเี่ กิดขึน้ ของรากหอมจะมีโครโมโซมเท่าเดิม

ค�ำตอบ ของข้อนีค้ อื ทีป่ ลายรากหอมนัน้ เปรียบเสมือนเซลล์รา่ งกายดังนัน้ มันจะแบ่งเซลล์โดยการไมโทซีส ไม่ใช่ ไมโอซิส นีเ้ ลยท�ำให้
เซลล์ลกู ทีเ่ กิดขึน้ มาจากการแบ่งเซลล์นนั้ ไม่ใช่สี่ แต่เป็นแค่สองเซลล์เท่านัน้ และ เนือ่ งจากมันเป็นพืช พืชมีผนังเซลล์ ท�ำให้มนั ไม่มกี าร
คอดของเยือ่ หุม้ เซลล์ สรุปเลยเหลือเพียงตัวเลือกเดียวทีจ่ ะตอบได้นนั่ ก็คอื ง. เซลล์รากหอมจึงมีโครโมโซมเท่าเดิมเป็นสิง่ ทีถ่ กู ต้องเพียง
ข้อเดียวเท่านัน้

46 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


อย่างทีเ่ คยบอก O-NET ถามอะไรตรงๆ ไม่วกวน ไม่ตอ้ งคิดมากเท่าข้อสอบแบบอืน่ ขอแค่จำ� มาเป๊ะก็พอ แต่เท่าทีด่ ขู อ้ สอบเก่าๆ
เรือ่ งนีอ้ อกน้อย แต่กอ็ ย่าทิง้ นะ เพราะถ้าออกมาจริงก็ไม่นา่ จะยากเกิน แต่คนทีท่ ำ� คะแนนข้อนีไ้ ม่ได้กค็ งเป็นเพราะว่า “ลืม”
อีกอย่างทีพ่ อี่ ยากเตือนน้องๆ ก็คอื ข้อสอบทีช่ อบถามว่าข้อใดถูกต้อง ข้อใดไม่ถกู ต้อง ข้อใดเป็นจริง ข้อใดเป็นเท็จ ข้อใดไม่ได้เกิด
จาก...... มักเป็นทีน่ ยิ มของผูอ้ อกข้อสอบวิชาชีววิทยา ดังนัน้ น้องๆ ต้องอ่านโจทย์ให้ดี ว่าเขาถามว่าอย่างไร ก่อนตอบค�ำถาม

น้องๆ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
Tag : สอนศาสตร์, ชีววิทยา, เซลล์, การท�ำงานของเซลล์, การแบ่งเซลล์, พันธุศาสตร์, โรคทางพันธุกรรม, ลักษณะ
ทางพันธุกรรม

• 02 : โครงสร้างของเซลล์ • สอนศาสตร์
ชีววิทยา ม.6 :
http://www.trueplookpanya.com/ พันธุศาสตร์ (อ.ตอง)
book/m6/onet-biology/ch3-1 http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch3-6
• 04 : การหายใจระดับเซลล์
http://www.trueplookpanya.com/ • 17 : การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
book/m6/onet-biology/ch3-2 http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch3-7
• สอนศาสตร์ ชีววิทยา ม.6 :
ชีววิทยาของเซลล์ • 18 : โรคทางพันธุกรรม
http://www.trueplookpanya.com/ http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch3-3 book/m6/onet-biology/ch3-8

• ชีววิทยา ม.ปลาย – การแบ่งเซลล์ • อนิเมชั่น การแบ่งเซลล์


http://www.trueplookpanya.com/ http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch3-4 book/m6/onet-biology/ch3-9

• สอนศาสตร์ : ม.ปลาย : ชีววิทยา : • กลไกการท�ำงานของเยื่อหุ้ม ตอนที่ 1


พันธุศาสตร์ (อ.วิเวียน) http://www.trueplookpanya.com/
http://www.trueplookpanya.com/ book/m6/onet-biology/ch3-10
book/m6/onet-biology/ch3-5

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 47


บทที่ 6
ระบบร่างกายมนุษย์และสัตว์

ระบบหายใจ

เราหายใจเข้าและออกตลอดเวลาแม้กระทัง่ ตอนหลับ ถ้าเกิดว่าเราไม่สามารถหายใจได้จะเกิดอะไรขึน้ !!


สิง่ มีชวี ติ ต้องการ O2 เข้าสูเ่ ซลล์เพือ่ ใช้ในกระบวนการแมทาบอลิซมึ และปลดปล่อย CO2 จากกระบวนการสลายสารอาหาร
ระดับเซลล์ ดังนัน้ ร่างกายจึงต้องมีระบบแลกเปลีย่ น gas เพือ่ ให้สามารถด�ำรงชีวติ ได้อย่างเป็นปกติ ถ้าเราขาด O2 เป็นเวลานานอาจ
ท�ำให้เสียชีวติ ได้

การแลกเปลีย่ น gas ของคน ทางเดินหายใจของคนจะเริม่ จาก

ช่องจมูก โพรงจมูก คอหอย กล่องเสียง หลอดลม หลอดลมฝอย ถุงลม หลอดเลือดฝอย

1) หลอดลม (trachea) ประกอบด้วยกระดูกอ่อนเรียงต่อกันเพือ่ ป้องกันการกดทับจากเนือ้ เยือ่ รอบๆ ปลายสุดของหลอดลมจะ


แยกไปสูป่ อด แบ่งออกเป็น 2 ข้าง ซ้าย-ขวา และจะแตกแขนงเล็กลงเรือ่ ยๆ จนถึงทีป่ ลายสุดของหลอดลมฝอย
2) ปอด (lung) ตัง้ อยูภ่ ายในทรวงอก ปอดซ้ายจะเล็กกว่าปอดขวา แต่ปอดขวาจะสัน้ กว่าปอดซ้าย และมีโครงสร้างทีเ่ รียกว่า
กระบังลม ทีป่ อ้ งกันการกดทับจากอวัยวะอืน่ ท�ำให้ปอดสามารถเปลีย่ นแปลงปริมาตรตามการหายใจเข้า-ออกได้อย่างเป็น
ปกติ
✓ คนหายใจเข้าปกติจะได้ปริมาตรอากาศประมาณ 500 cm3 และเมือ่ บังคับหายใจเข้าเต็มทีอ่ าจได้ปริมาตรอากาศได้
มากถึง 6,000 cm3 แต่ถ้าบังคับให้หายใจออกเต็มที่ก็จะยังมีปริมาตรอากาศตกค้างในปอดประมาณ 1,100 cm3
เสมอ
✓ การศึกษาปริมาตรของปอดจะใช้เครือ่ งสไปโรมิเตอร์ (Spirometer)
3) ถุงลม (alveolus) มีผนังบางมาก เป็นเซลล์ชน้ั เดียว เป็นส่วนทีม่ กี ารแลกเปลีย่ น gas แบบการแพร่กบั หลอดเลือดฝอยที่
มาหุม้ อยูร่ อบๆ

• กลไกการหายใจ

การหายใจเข้
า ต้องเพิม่ ปริมาตรของช่องอกและลดความดันอากาศในปอดลง อากาศจึงจะไหลเข้าสูป่ อด ดังนี้

- กล้ามเนือ้ กระบังลมหดตัว ท�ำให้กระบังลมเคลือ่ นต�ำ่ ลง


- กล้ามเนือ้ ยึดซีโ่ ครงด้านนอกหดตัว และกล้ามเนือ้ ยึดซีโ่ ครงด้านในคลายตัว ท�ำให้กระดูกซีโ่ ครงยกตัวสูงขึน้

48 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya



การหายใจออก
ต้องลดปริมาตรในช่องอกและเพิม่ ความดันอากาศในปอด อากาศจึงจะไหลออก ดังนี้

- กล้ามเนือ้ กระบังลมคลายตัว ท�ำให้กระบังลมยกตัวสูงขึน้


- กล้ามเนือ้ ยึดซีโ่ ครงด้านนอกคลายตัว และกล้ามเนือ้ ยึดซีโ่ ครงด้านในหดตัว ท�ำให้กระดูกซีโ่ ครงลดต�ำ่ ลง


• กลไกการแลกเปลีย่ นแก๊ส

การแลกเปลีย่ นแก๊ส O2 การแลกเปลีย่ นแก๊ส CO2


บริเวณถุงลม - ฮีโมโกลบิน (Hb) ในเลือดจับกับ O2 - ไฮโดรเจนไอออน (H+)และไฮโดรเจน
กลายเป็นออกซีฮีโมโกลบิน (HbO2) คาร์บอเนต (HCO3- )รวมตัวกันใหม่
ไหลเข้าหัวใจและถูกสูบฉีดไปเลี้ยง กลายเป็นกรดคาร์บอนิก (H2CO3) ที่
ร่างกาย จะสลายตัวเป็น CO2 และแพร่
Hb + O2 HbO2 จากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม
H+ + HCO3- H2CO3
H2CO3 CO2+ H2O

บริเวณเนื้อเยื่อ - ออกซีฮีโมโกลบิน (HbO2) ในเลือด - CO2 แพร่เข้ามาท�ำปฏิกิริยากับน�ำ้ ใน


เปลี่ยนกลับไปเป็นฮีโมโกลบิน (Hb) เซลล์เม็ดเลือดแดงเกิดกรด
และ O2 แพร่เข้าสู่เซลล์ของเนื้อเยื่อ คาร์บอนิก (H2CO3) ซึ่งแตกตัวได้
HbO2 Hb + O2 ไฮโดรเจนไอออน (H+)และไฮโดรเจน
คาร์บอเนต ( HCO3- ) ซึ่งจะแพร่สู่
พลาสมาในเลือด
CO2+ H2O H2CO3
H2CO3 H+ + HCO3-

ระบบย่อยอาหาร (digestive system)

การทีน่ อ้ งๆ สามารถกินอาหารได้วนั ละหลายมือ้ เนือ่ งจากในร่างกายเรามีระบบการย่อยอาหาร ถ้าอาหารทีก่ นิ ไม่เกิดการย่อย


ก็จะท�ำให้รา่ งกายไม่สามารถดึงเอาพลังงานจากอาหารมาใช้ในการท�ำกิจกรรมต่างๆ ของร่างกายได้
• อาหารและการย่อยอาหาร
อาหารทีน่ อ้ งๆ กินเข้าไปนัน้ จะถูกย่อยให้กลายเป็นโมเลกุลเล็กๆ ส่วนอาหารทีเ่ หลือทีย่ อ่ ยไม่ได้จะถูกขับออกนอกร่างกายเป็น

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 49


กากอาหาร เพือ่ ให้สามารถผ่านเข้าสูเ่ ซลล์และผ่านกระบวนการสลายอาหารระดับเซลล์ จึงจะได้พลังงานออกมาใช้ในกระบวนการต่างๆ
ของร่างกาย การย่อยอาหารแบ่งออกเป็น
1) การย่อยเชิงกล ท�ำให้อาหารมีขนาดเล็กลง
เป็นการเปลีย่ นแปลงทางกายภาพเพือ่ ให้เกิดการย่อยเชิงเคมีได้ดขี นึ้ เช่น การเคีย้ วอาหาร
2) การย่อยเชิงเคมี
เป็นการย่อยให้ได้สารหน่วยเล็กสุดทีจ่ ะสามารถผ่านเข้าสูเ่ ซลล์ได้ โดยใช้นำ�้ ย่อยในระบบทางเดินอาหาร
• การย่อยอาหารของคน
คนมีทางเดินอาหารแบ่งออกเป็นส่วนๆ ประกอบด้วย
• อวัยวะทีเ่ ป็นทางเดินอาหาร คือ ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ล�ำไส้เล็ก ล�ำไส้ใหญ่ ไส้ตรงและทวารหนัก
• อวัยวะช่วยย่อยอาหาร (ไม่ใช่ทางเดินอาหาร) คือ ตับ ต่อมน�ำ้ ลาย ตับอ่อน และถุงน�ำ้ ดี
1 ปาก (mouth) ประกอบด้วยฟัน ซึง่ ท�ำหน้าทีบ่ ดเคีย้ วอาหารให้ละเอียด ฟันคนมี 2 ชุด คือ ฟันน�ำ้ นม (20 ซี)่ และ
ฟันแท้ (32 ซี)่ นอกจากนีย้ งั มีเพดานอ่อน เพดานแข็ง และลิน้ ท�ำหน้าทีร่ บั รสและคลุกเคล้าอาหารกับน�ำ้ ลายซึง่
ผลิตจากต่อมน�ำ้ ลาย 3 คู่ ทีอ่ ยูข่ า้ งกกหู ใต้ลนิ้ และขากรรไกร ในน�ำ้ ลายมีเอนไซม์อะไมเลส (amylase) ท�ำหน้าที่
ย่อยแป้งและไกลโคเจนให้มโี มเลกุลเล็กลง ซึง่ ท�ำงานได้ดที ชี่ ว่ ง pH 6.2-7.4 เนือ่ งจากอาหารอยูใ่ นปากช่วงเวลา
สัน้ ๆ จึงท�ำให้ยอ่ ยได้ไม่สมบูรณ์ อาหารทีถ่ กู เคีย้ วและคลุกเคล้ากับน�ำ้ ลายแล้ว เรียกว่า bolus จะถูกกลืนผ่าน
คอหอยลงสูห่ ลอดอาหารซึง่ มีกลไกการกลืนดังนี้

เพดานอ่อนและลิน้ ไก่ กล่องเสียงยกตัวชน กล้ามเนือ้ ทีผ่ นัง อาหารเคลือ่ นที่


ยกตัวปิดช่องจมูก ฝาปิดกล่องเสียง คอหอยบีบตัว ลงสูห่ ลอดอาหาร

✓ เพดานอ่อนและลิน้ ไก่จะปิดช่องจมูกเพือ่ ไม่ให้เกิดการส�ำลัก (ดังนัน้ ถ้าน้องๆ คุยหรือหัวเราะระหว่างกลืนอาหารก็


จะส�ำลัก อาหารไหลออกมาจากจมูกได้)
2 หลอดอาหาร (esophagus) เป็นทางเดินอาหารจากปากไปสูก่ ระเพาะอาหาร จะมีการหดและคลายตัวของผนัง
กล้ามเนือ้ หลอดอาหารต่อเนือ่ งเป็นคลืน่ เรียกว่า เพอริสตัลซิส (peristalsis) เพือ่ ดันอาหารเข้าสูก่ ระเพาะอาหาร
3 กระเพาะอาหาร (stomach) มีกล้ามเนือ้ หูรดู ปิดกัน้ ไม่ให้อาหารย้อนกลับไปสูห่ ลอดอาหารได้อกี เรียกว่า คาร์ดิ
แอค สฟิงค์เตอร์ (cardiac sphincter) ผนังด้านในของกระเพาะมีลกั ษณะเป็นริว้ ย่นๆ เรียก รูกี (rugae) สามารถ
ขยายความจุได้ถงึ 500-2000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ภายในกระเพาะมีความเป็นกรดสูง จึงต้องมีกลไกในการป้องกัน
ไม่ให้เซลล์ในกระเพาะถูกน�ำ้ ย่อยท�ำลาย คือการสร้างเมือกมาเคลือบผิวผนังกระเพาะและผลิตน�ำ้ ย่อยออกมาใน
รูป proenzyme ซึง่ ยังไม่สามารถท�ำงานได้จนกว่ากรดไฮโดรคลอริกจะช่วยเปลีย่ นให้เป็นเอนไซม์กอ่ น นอกจากนี้
กระเพาะยังสามารถสร้างเยือ่ บุมาทดแทนอยูเ่ สมอ สรุปเขียนเป็นแผนภาพได้ดงั นี้


เพปซิโนเจน โพรเรนนิน
กระเพาะอาหารหลัง่
ฮอร์โมนแกสตริน
สร้าง HCI
(gastrin) เมือก
เพปซิน เรนนิน

50 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


✓ เรนนินพบมากในเด็กทารก ท�ำหน้าทีย่ อ่ ยน�ำ้ นม แต่ในผูใ้ หญ่พบน้อยและไม่คอ่ ยมีความส�ำคัญ (เนือ่ งจากพอเราโต
ขึน้ มาก็กนิ อาหารประเภทอืน่ ได้มากมายและกินนมน้อยลง)
✓ ปัจจัยทีท่ ำ� ให้เกิดการหลัง่ กรด HCl มากผิดปกติ คือ การดืม่ แอลกอฮอล์ คาเฟอีน อาหารรสจัด (รวมทัง้ ความเครียด
ด้วย และถ้ามีกรดมากเกินไปในกระเพาะของเราก็จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย ท�ำให้เป็นโรคกระเพาะได้นะ!!)

(แนวข้อสอบ)
การหลัง่ เพปซิโนเจนออกจากเซลล์ผนังกระเพาะอาหารอาศัยกระบวนการใด
1. การล�ำเลียงแบบฟาซิลเิ ทต
2. กระบวนการเอกโซไซโทซิส
3. กระบวนการแพร่
4. กระบวนการแอคทีฟทรานสปอร์ต

เฉลย 2. หลัง่ น�ำ้ ย่อยโดยกระบวนการเอกโซไซโทซิส (exocytosis) เป็นการล�ำเลียงสารโมเลกุลใหญ่ออกนอกเซลล์ โดยใช้การสร้างถุง


เวสิเคิลภายในเซลล์ซงึ่ บรรจุนำ�้ ย่อยอยู่ จากนัน้ ถุงเวสิเคิลจะเคลือ่ นทีไ่ ปรวมกับเยือ่ หุม้ เซลล์และปล่อยน�ำ้ ย่อยออกไปนอกเซลล์ ข้อ 1. ผิด
เพราะเป็นการล�ำเลียงแบบใช้โปรตีนเข้าสูเ่ ซลล์ ข้อ 3. และ 4. ผิด เพราะสารโมเลกุลใหญ่ไม่สามารถแพร่เข้าออกเซลล์เองได้

(แนวข้อสอบ)
สารในข้อใดไม่มสี ว่ นเกีย่ วข้องกับการย่อยโปรตีนภายในกระเพาะอาหารของคน
1. ทริปซิน 2. เพปซิน
3. กรดไฮโดรคลอริก 4. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต

1. 1 และ 2
2. 2 และ 3
3. 3 และ 4
4. 4 และ 1

เฉลย 4. เพราะโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตไม่อยูใ่ นกระเพาะอาหารแต่อยูใ่ นล�ำไส้เล็ก ข้ออืน่ ๆ ผิดเนือ่ งจากเป็นสารทีม่ อี ยูใ่ นกระเพาะ


อาหารของคนและเกีย่ วข้องกับการย่อยโปรตีน

4 ล�ำไส้เล็ก (small intestine) มีความยาวมากทีส่ ดุ ต่อกับหูรดู ส่วนท้ายของกระเพาะอาหารเพือ่ กัน้ ไม่ให้อาหารไหลย้อนกลับ ที่


เรียกว่า ไพลอริค สฟิงค์เตอร์ (pyloric sphincter) แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
4.1 ล�ำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) มีทอ่ จากตับ ท่อน�ำ้ ดี และท่อตับอ่อนต่ออยูเ่ พือ่ หลัง่ น�ำ้ ย่อยต่างๆ เนือ่ งจากอาหารทีม่ า
จากกระเพาะอาหารมีความเป็นกรดสูงจึงต้องใช้สารโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) จากตับอ่อน ซึง่ มีฤทธิ์
เป็นเบสมาลดความเป็นกรดของอาหาร ล�ำไส้สว่ นดูโอดีนมั นีจ้ ะมีการย่อยอาหารมากทีส่ ดุ ดังนี้

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 51


• การย่อยโปรตีน

ล�ำไส้เล็ก ตับอ่อน

ทริปซิโนเจน - ไคโมทริปซิโนเจน
(trypsinogen) (chymotrpsinogen)
- โพรคาร์บอกซิเพปทิเดส
เอนไซม์เอนเทอโรไคเนส (procarboxypeptidase)
(enterokinase)
ทริปซิน
(trypsin)
- อะมิโนเพปทิเดส - ไคโมเทปซิน (chymotrpsin)
- ไดเพปทิเดส - คาร์บอกซิเพปทิเดส
- ไตรเพปทิเดส (carboxypeptidase)

ทริปซินและไคโมทริปซิน + โปรตีน เพปไทด์


คาร์บอกซิเพปทิเดส + โปรตีนหรือเพปไทด์ กรดอะมิโน
อะมิโนเพปทิเดส,ไดเพปทิเดส,ไตรเพปทิเดส + เพปไทด์ กรดอะมิโน

• การย่อยคาร์โบไฮเดรต
1) ตับอ่อนสร้างเอนไซม์อะไมเลสมาย่อยแป้ง ไกลโคเจน และเดกซ์ทรินในล�ำไส้เล็กให้เป็นมอลโทส
2) ผนังล�ำไส้เล็กสร้างเอนไซม์

มอลเทส + มอลโทส กลูโคส + กลูโคส

ซูเครส + ซูโครส กลูโคส + ฟรุกโทส

แลกเทส + แลกโทส กลูโคส + กาแลกโทส

• การย่อยลิพดิ
ตับสร้างน�ำ้ ดี (bile) แต่ถกู ส่งมาเก็บไว้ทถี่ งุ น�ำ้ ดี (gall bladder) ซึง่ มีทอ่ มาเปิดทีล่ ำ� ไส้เล็ก น�ำ้ ดีมฤี ทธิเ์ ป็นเบส น�ำ้ ดี
ไม่ใช่นำ�้ ย่อยแต่จะมีเกลือน�ำ้ ดี (bile salt) ซึง่ จะช่วยให้ไขมันแตกตัวเป็นก้อนเล็กๆ เป็น emulsifier ให้เอนไซม์ยอ่ ยไขมัน
ได้ดขี นึ้ จากนัน้ ตับอ่อนและล�ำไส้เล็กจะสร้างเอนไซม์ลเิ พส (lipase) มาย่อยไขมันและกรดไขมันให้กลายเป็นกลีเซอรอล
4.2 ล�ำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) เป็นส่วนทีม่ กี ารดูดซึมสารอาหารมากทีส่ ดุ มีผนังด้านในบุดว้ ยเซลล์ทยี่ นื่ ออกมา เรียกว่า
วิลลัส (villus) ช่วยเพิม่ พืน้ ทีใ่ นการดูดซึม และด้านนอกของวิลลัสยังมีไมโครวิลลัส (microvillus) ช่วยเพิม่ พืน้ ทีผ่ วิ ในการ
ดูดซึมมากขึน้
4.3 ล�ำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) มีความยาวมากทีส่ ดุ ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยดูดซึมวิตามิน บี 12 และเกลือน�ำ้ ดี

52 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


5 ล�ำไส้ใหญ่ (large intestine) แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
• ซีคมั (caecum) ท�ำหน้าทีร่ บั อาหารจากล�ำไส้เล็ก มีสว่ นของไส้ตงิ่ (appendix) ยืน่ ออกมา
• โคลอน (colon) มีความยาวมากสุดของล�ำไส้ใหญ่ ท�ำหน้าทีด่ ดู ซึมน�ำ ้ วิตามินบี 12 วิตามินเค (ทีแ่ บคทีเรียสังเคราะห์ขน้ึ จาก
กากอาหาร) และกรดโฟลิก (folate) biotin กากอาหารจะอยูใ่ นนีน้ านสุดประมาณ 12 ชัว่ โมง
• เรกตัม (rectum) หรือไส้ตรงเป็นทางเปิดออกสูท่ วารหนัก
สรุปการดูดซึมสารอาหาร

กระเพาะอาหาร - แอลกอฮอล์
- ยาบางชนิด
- สารทีล่ ะลายได้ดใี นลิพดิ
ล�ำไส้เล็ก - โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต(เข้าสูห่ ลอดเลือดผ่านตับและเข้าสูห่ วั ใจ)
- ไขมัน (เข้าสูห่ ลอดน�ำ้ เหลืองและผ่านเข้าหัวใจเลย)
ล�ำไส้ใหญ่ - น�ำ้ และแร่ธาตุ
- วิตามินต่างๆ
- กรดโฟลิก

✓ เลือดทีอ่ อกจากหัวใจจึงมีสารอาหารมากเพือ่ ไปเลีย้ งส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ระบบประสาท (nervous system)

เรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งทีข่ อ้ สอบ O-NET ไม่คอ่ ยออกเท่าไหร่ แต่ยงั มีในหลักสูตรอยูน่ ะ ! พีจ่ ะสรุปให้นอ้ งๆ ดังนี.้ .
1. ระบบประสาท
ระบบประสาท เป็นระบบศูนย์กลางทีค่ วบคุมการท�ำงานของร่างกาย ท�ำหน้าทีร่ บั ความรูส้ กึ ควบคุมความคิด
2. หน้าทีข่ องระบบประสาท : แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
• ส่วนรับความรูส้ กึ (sensory division) : รับความรูส้ กึ จากภายนอกร่างกาย และตอบสนองความรูส้ กึ นัน้
• ส่วนสัง่ การ (motor division) : การสัง่ การกับหน่วยปฏิบตั งิ านทีบ่ งั คับได้
3. โครงสร้างของระบบประสาท
ระบบประสาทแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนคือ
- ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system; CNS) ได้แก่
• สมอง (brain) : ควบคุมและสัง่ การการเคลือ่ นไหวอารมณ์ ความจ�ำ การเรียนรู้ และ รักษาสมดุลภายในร่างกาย
• ไขสันหลัง (spinal cord) : ถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างสมองและส่วนต่างๆ ของร่างกาย และควบคุมการ
เกิดรีเฟล็กซ์ (reflex)
• ระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system; PNS) : รับและน�ำความรูส้ กึ เข้าสูร่ ะบบประสาทส่วนกลาง
ได้แก่ เส้นประสาทสมอง (cranial nerve; CN) เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve; SN)
- ระบบประสาทอัตโนมัติ : ควบคุมการท�ำงานของประสาททีอ่ ยูน่ อกเหนือการควบคุมของจิตใจให้เป็นไปตามปกติ

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 53


ระบบขับถ่ายกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย (homeostasis)

• เรือ่ งนีพ้ อี่ ยากจะเน้นเรือ่ งของ ปลาน�ำ้ จืด กับ ปลาน�ำ้ เค็มเป็นพิเศษว่ามันสามารถอยูใ่ นสภาพแวดล้อมเช่นนัน้ ได้อย่างไร น้อง
รูไ้ หมว่า ถ้าเราจับปลาน�ำ้ จืดมาไว้ในน�ำ้ เค็มมันจะตาย หรือท�ำในทางกลับกันเอาปลาน�ำ้ เค็มมาไว้ในน�ำ้ จืดมันก็จะตาย เพราะระบบการปรับ
สมดุลของปลาสองแบบนีม้ นั ต่างกัน ซึง่ เป็นเรือ่ งทีเ่ ราควรท�ำความเข้าใจ เรือ่ งนีเ้ ป็นพิเศษ เพราะว่า ปลาเป็นสิง่ ทีเ่ ราพบเจอบ่อยๆ ในชีวติ
ประจ�ำวัน พีจ่ ะเล่าให้เข้าใจก่อนว่าเป็นมายังไง

ปลาน�ำ้ เค็ม ปลาน�ำ้ เค็ม

น�ำ้ ทะเล

แร่ธาตุถกู ขับทางเหงือก ไตขับปัสสาวะทีม่ คี วาม น�ำ้ และแร่ธาตุเข้า ไตขับปัสสาวะทีเ่ จือจาง


เข้มข้นสูง (น�ำ้ น้อย) ทางเหงือก (น�ำ้ มาก)

• ปลาน�ำ้ จืดด้วยความทีว่ า่ มันอาศัยอยูใ่ นน�ำ้ จืดซึง่ เมือ่ เทียบความเข้มข้นของสารละลายในร่างกายของปลาน�ำ้ จืดกับ สภาพน�ำ้


ทีม่ นั อาศัยอยูเ่ ราจะพบว่าน�ำ้ จืดภายนอกนัน้ มีความเจือจางมากกว่า ดังนัน้ สิง่ ทีต่ ามมาก็จะคล้ายกับเรือ่ งเซลล์ทเี่ ราได้เน้นในตอนแรกว่า
สารละลายทีม่ คี วามเข้มข้นมากกว่าแสดงว่ามันมีนำ�้ ในนัน้ น้อย
แล้วเมือ่ เอาเซลล์มาใส่ในสภาพแวดล้อมทีเ่ จือจางกว่าจะท�ำให้นำ�้ ซึมผ่านเข้าไปในตัวปลามากขึน้ จนตัวบวมดังนัน้ ท�ำไมเราไม่เห็นปลา
น�้ำจืดมันตัวบวมก็เพราะว่าปลาน�้ำจืดมีระบบรักษาสมดุลของตัวเองนั้นเอง โดยที่ตัวมันเข้มข้นกว่าน�้ำภายนอกจะทะลักเข้ามามันก็เอา
เกล็ดปลามาปิดผิวหนังอันบอบบางของมันแล้วส่วนเหงือกของมันทีต่ อ้ งสัมผัสน�ำ้ ตลอดเวลาเพือ่ หายใจมันก็มกี ารปรับตัวโดยดึงเอาเกลือ
กลับไม่ให้โดนน�ำ้ ทีผ่ า่ นเหงือกชะเอาเกลือแร่ในร่างกายหายไป รวมทัง้ เพือ่ ขับน�ำ้ ส่วนเกินทีร่ า่ งกายไม่ตอ้ งการออกไปเลยมีการปัสสาวะ
มากเป็นพิเศษ
ส่วนปลาน�ำ้ เค็มก็จะเป็นเรือ่ งตรงข้ามกับปลาน�ำ้ จืดเพราะน�ำ้ ทะเลหรือน�ำ้ เค็มมีความเข้มข้นมากกว่า ดังนัน้ ถ้าปลาน�ำ้ เค็มไม่มรี ะบบ
รักษาสมดุลมันก็จะโดนดูดน�ำ้ ออกจากตัวไปจนเหีย่ วไปหมดทัง้ ตัว การขับปัสสาวะของปลาน�ำ้ เค็มจะน้อยมากเพราะว่าเพือ่ สงวนน�ำ้ เอาไว้
เนือ่ งจากการขับปัสสาวะออกไปทุกครัง้ จะมีนำ�้ ขับออกไปด้วยพร้อมกัน
• ส่วนเรือ่ งการรักษาสมดุลกรดเบสของร่างกายเรานัน้ คงเน้นไปทีเ่ ลือดเป็นหลักเพราะว่า มันเกิดจากการทีร่ า่ งกายเราในขณะ
นัน้ มีคาร์บอนไดออกไซด์เยอะ ซึง่ คาร์บอนไดออกไซด์จะละลายกับน�ำ้ ในเลือดจนท�ำให้กลายเป็นสารเคมีตวั ใหม่ทมี่ สี ภาพความเป็นกรด
ดังนัน้ การจะท�ำให้เลือดของเรากลับมาสูส่ ภาพทีป่ กติกจ็ งหายใจเข้าเยอะๆ แล้วพักผ่อนแป๊บหนึง่ เพือ่ ให้รา่ งกายปรับสภาพกลับมาเช่นดัง
เดิม
ปกติรา่ งกายเราจะมีสภาพเลือดเป็นกลางค่อนไปทางเบสด้วยซ�ำ ้ ยกเว้นว่าเราออกก�ำลังกายอย่างหนักจนร่างกายรับออกซิเจนมา
ไม่พอ ถ้าถามต่อว่าแล้วคาร์บอนมาจากไหน ก็จะตอบว่ามันมาจากการเผาผลาญพลังงานระดับเซลล์ ซึ่งเอากลูโคสมาสลายเพื่อเอา
พลังงานแล้วผลิตภัณฑ์ของการหายใจระดับเซลล์คอื คาร์บอนไดออกไซด์ซงึ่ เวลาเราออกก�ำลังกายหนักๆ ร่างกายต้องใช้พลังงานเยอะ
นัน่ หมายถึงต้องเอากลูโคสมาเผาผลาญเยอะ ดังนัน้ เราเลยเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ละลายผสมกับน�ำ้ ในเลือดมากแล้วแปลสภาพกลาย
เป็นกรด จะท�ำให้กรดหายก็แค่พกั ก็จบ

54 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


• ผิวหนังของเราช่วยในการรักษาสมดุลของอุณหภูมิได้เพราะว่าก่อนอื่นเลยผิวหนังของเราเป็นส่วนที่สัมผัสกับอากาศ หรือ
สภาพแวดล้อมภายนอกก่อนเลย ดังนัน้ แน่นอนว่าเมือ่ สภาพแวดล้อมมันร้อนหรือเย็น ร่างกายเราก็ตอ้ งปรับตัวไปด้วย
• มนุษย์เป็นสัตว์เลือดอุน่ ดังนัน้ เราเลยต้องปรับตัวให้อณุ หภูมขิ องร่างกายเราไม่มากหรือลดเกินจากปกติทเี่ ราเป็นแล้วสิง่ ทีจ่ ะ
มาช่วยให้รา่ งกายเราปรับสภาพได้นนั้ ก็คอื เหงือ่ ไง เพราะน�ำ้ เป็นตัวพาความร้อนทีด่ ี และในร่างกายเราประกอบด้วยน�ำ้ เยอะมาก ถ้าถาม
ต่อว่าเมือ่ ไรทีเ่ ราจะขับเหงือ่ ออกมา ก็จะตอบว่าเมือ่ อุณหภูมภิ ายในร่างกายร้อนกว่าภายนอก เมือ่ นัน้ เหงือ่ จะถูกขับออกมาแล้วเหงือ่ จะ
น�ำพาเอาความร้อนออกมาพร้อมๆ กันด้วยท�ำให้รา่ งกายเย็นลง
✓ แนวข้อสอบก็จะออกประมาณว่า ให้เปรียบเทียบสภาวะปกติกบั ไม่ปกติจะมีอะไรทีแ่ ตกต่างกัน เช่น เรือ่ งของปัสสาวะทีป่ กติ
จะไม่พบโปรตีน เม็ดเลือด โจทย์กอ็ าจจะถามตรงๆ แบบนีเ้ ลย เพราะโปรตีนมันมีโมเลกุลขนาดใหญ่
• เรือ่ งการขับเกลือส่วนเกินหรือสารทีม่ ากเกินพอออกมานัน้ มันจะออกมาทางไหนได้บา้ ง ก็จะเป็นตัวเลือกมาให้ แล้วเราก็แค่ตดั
ตัวเลือกทีไ่ ม่ถกู ต้องออกไป ยกตัวอย่างตัวเลือก เช่น ก.ไต ข.เหงือก ค.ทวารหนัก ง.ผิวหนัง อะไรประมาณนี้ ก็เลือกกันไปให้ถกู นะครับ
• เรือ่ งของเมแทบอลิซมึ ก็อาจจะยกตัวอย่างเหตุการณ์ เช่น สมชายไปวิง่ ในห้องแอร์จะเกิดอะไรขึน้ แล้วก็โจทย์จะให้ตวั เลือกมา
ถามว่า สมชายจะมีสภาวะของร่างกายเป็นเช่นไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเมแทบอลิซึมลดลงหรือไม่ หลอดเลือดขยายหรือหดตัว
ผิวหนังมีเหงือ่ ออกหรือไม่

การเคลือ่ นทีข่ องสิง่ มีชวี ติ (Locomotion)

• ส�ำหรับการเคลือ่ นทีค่ งไม่นา่ จะใช่เรือ่ งทีไ่ กลเกินตัว น่าจะเน้นไปทีเ่ รือ่ งของการเคลือ่ นไหวกล้ามเนือ้ ของร่างกายมนุษย์อย่าง
พวกเรานีแ้ หละ โดยเฉพาะกล้ามเนือ้ แขนทีเ่ วลาเราถือของไปจ่ายตลาดว่าเราใช้อะไรในการท�ำงานของกล้ามเนือ้ ไงจ้ะ เรือ่ งนีถ้ า้ ใครไม่
เข้าใจก็คงต้องจ�ำไปเลยจะง่ายกว่าท�ำความเข้าใจนะ ถ้าสมมติวา่ เราก�ำลังถือไมโครโฟนอยู่ biceps คืออันทีเ่ ป็นกล้ามเนือ้ ทีเ่ ราสามารถ
มองเห็นด้วยตัวเราเองตอนร้องเพลง ส่วน triceps เป็นกล้ามเนือ้ ทีเ่ รามองไม่เห็นตอนร้องเพลง แล้วจะจ�ำว่าอันไหนมันหดตัว คลายตัว
ตอนไหนพีแ่ นะแบบนีน้ ะ คือ จ�ำ biceps กับ triceps ให้ได้กอ่ นว่าใครอยูต่ ำ� แหน่งไหนอะไร แล้วเมือ่ โจทย์ถาม เราก็ลองพับแขน กางแขน
ในห้องสอบตามทีโ่ จทย์บอกเลย แต่อาจจะดูเสียเวลานิดหนึง่ แต่ถา้ ท�ำบ่อยๆ เราจะเข้าใจแล้วชินจนจ�ำได้เอง เวลาเราจะเช็คว่ากล้ามเนือ้
ส่วนไหนหดตัวให้ลองกางแขนให้สดุ หรือพับแขนให้สดุ แล้วเกร็ง ถ้าหากว่าเอามืออีกข้างหนึง่ มาบีบจะพบว่ากล้ามเนือ้ ทีห่ ดตัวจะแข็ง

ทีม่ า : musclemwit2241.blogspot.com
✓ สิง่ ทีต่ อ้ งอ่านเน้นเพิม่ นัน้ ก็คอื การอ่านในเรือ่ งของสัตว์แต่ละชนิดนัน้ เคลือ่ นทีอ่ ย่างไร อย่างเช่นสัตว์บางชนิดนัน้ สามารถใช้

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 55


กล้ามเนือ้ เคลือ่ นทีไ่ ด้ พวกกล้ามเนือ้ ตามวงและกล้ามเนือ้ ตามยาว แล้วถ้าถามต่อว่าสัตว์ทมี่ แี ต่กล้ามเนือ้ ตามยาว เวลามันเคลือ่ นทีม่ นั จะ
เคลือ่ นทีแ่ บบบิดไปบิดมาแต่จะไม่ไปข้างหน้า หรือบางทีก่ ารเคลือ่ นทีข่ องพวกสัตว์ชนั้ ต�ำ่ อาจจะเคลือ่ นทีโ่ ดยอาศัยการดูดน�ำ้ เข้าและการ
พ่นน�ำ้ ออกมานัน้ เช่น พวก หอย ดาวทะเล เป็นต้น

ระบบหมุนเวียนเลือด และระบบน�ำ้ เหลือง

1. หัวใจ

แผนผังแสดงการไหลเวียนของเลือด

เลือดเสียจากทุกส่วนต่างๆ ของร่างกาย
หลอดเลือดพัลโมนารีเ่ วน
(เป็นหลอดเลือดด�ำเส้นเดียว
ทีม่ เี ลือดดีไหลผ่าน )

หัวใจห้องบนซ้าย หัวใจห้องบนขวา

ไบคัสปิด ไตรคัสปิด

หัวใจห้องล่างซ้าย หัวใจห้องล่างขวา

หลอดเลือดพัลโมนารีอาเตอร์รี่
(เป็นหลอดเลือดแดงเส้นเดียวทีม่ เี ลือดเสียไหลผ่าน)
เส้นเลือดเอออร์ตาร์
สูบฉีดไปทัว่ ร่างกาย

ฟอกทีป่ อด

56 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


2. เซลล์เม็ดเลือด แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
- ส่วนน�ำ้ เลือด (พลาสมา) มีมากทีส่ ดุ
- สว่ นเม็ดเลือด แบ่งออกเป็น
o เซลล์เม็ดเลือดแดง (erythrocyte, red blood cell; RBC) (มีอายุ 100–120 วัน ) : ล�ำเลียงออกซิเจนไปเลีย้ ง
ส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีฮโี มโกลบินเป็นองค์ประกอบ
o เซลล์เม็ดเลือดขาว (leucocyte, white blood cell; WBC) ( มีอายุ 7-14 วัน ) : ป้องกันและท�ำลายเชือ้ โรค
- เกล็ดเลือด (platelet) (มีอายุ 3-4 วัน) : เป็นชิน้ ส่วนของเซลล์ทมี่ ขี นาดเล็ก ไม่มนี วิ เคลียส มีหน้าทีห่ ลัง่ สารเคมี
(ไฟบริน) ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมือ่ เกิดบาดแผล
3. หมูเ่ ลือดและการให้เลือด
หมูเ่ ลือดตามระบบ ABO จ�ำแนกได้ 4 หมู่ ตามชนิดของไกลโคโปรตีนหรือแอนติเจนทีเ่ ยือ่ หุม้ เซลล์เม็ดเลือดแดง คือ
หมู่ A B AB และ O ส่วนในพลาสมาพบว่ามีแอนติบอดีทจี่ ำ� เพาะต่อหมูเ่ ลือด 2 ชนิด คือ แอนติบอดี A และแอนติบอดี B ใน
คนทีม่ เี ลือดต่างหมูก่ นั จะมีแอนติเจนและแอนติบอดีแตกต่างกัน เช่น คนทีม่ หี มูเ่ ลือด A คือมีแอนติเจน A และมีแอนติบอดี B
เป็นต้น
การให้เลือด : ยึดหลัก 2 ข้อ คือ
- ผูใ้ ห้และผูร้ บั ควรจะมีเลือดหมูเ่ ดียวกันจึงจะปลอดภัยทีส่ ดุ
- เลือดของผูใ้ ห้ตอ้ งไม่มแี อนติเจนตรงกับแอนติบอดีของผูร้ บั
คนทีม่ หี มูเ่ ลือด O (ไม่มแี อนติเจนเลย) จึงให้เลือดได้กบั คนทุกหมูไ่ ง
4. ระบบน�ำ้ เหลือง : ช่วยในการล�ำเลียงสารต่างๆ ให้กลับเข้าสูเ่ ส้นเลือดโดยเฉพาะสารอาหารพวกกรดไขมันทีด่ ดู ซึมจากล�ำไส้เล็ก
ระบบน�ำ้ เหลืองจะไม่มอี วัยวะส�ำหรับสูบฉีดไปยังส่วนต่างๆ
5. ระบบภูมคิ มุ้ กัน : ระบบทีค่ อยปกป้องร่างกายของเราจากสิง่ แปลกปลอมต่างๆ ทีอ่ าจเข้ามาท�ำอันตรายร่างกายเราได้ เช่น
- เชือ้ โรคต่างๆ
- เซลล์ทกี่ ำ� ลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง
- อวัยวะของผูอ้ นื่ ทีป่ ลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย
- การได้รบั เลือดผิดหมู่
- สารก่อภูมแิ พ้
สิง่ ต่างๆ เหล่านีม้ คี ณ ุ สมบัตเิ ป็นสิง่ แปลกปลอมทีร่ า่ งกายยังไม่รจู้ กั เรียกว่า antigen
o ระบบภูมคิ มุ้ กัน แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ
- ภูมคิ มุ้ กันแบบก่อเอง: เกิดจากการกระตุน้ แอนติเจน ซึง่ จะเกิดได้ชา้ แต่อยูไ่ ด้นาน ได้แก่ วัคซีน : เป็นเชือ้ โรคทีอ่ อ่ น
ฤทธิ์ หรือตายแล้วจนไม่สามารถท�ำให้เกิดโรคได้
- ทอกซอยด์ : เป็นสารพิษทีถ่ กู ท�ำให้หมดฤทธิ์
- ภูมคิ มุ้ กันแบบรับมา: เกิดจากร่างกายได้รบั สารทีม่ คี ณ ุ สมบัตปิ อ้ งกันโรคอยูแ่ ล้ว เช่น แอนติบอดี เป็นภูมคิ มุ้ กันที่
เกิดได้ทนั ที แต่อยูไ่ ด้ไม่นาน ได้แก่ เซรุม่ ของม้าหรือกระต่าย และน�ำ้ นมเหลือง เป็นต้น

ระบบต่อมไร้ทอ่ (endrocrine gland)

✓ เรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งท่องจ�ำเยอะเป็นพิเศษแต่สงิ่ หนึง่ ทีเ่ ราควรให้ความสนใจให้มากก็คอื การน�ำเอาฮอร์โมนทีเ่ รารูจ้ กั เนีย่ มาอธิบาย
สิง่ ต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในชีวติ ของเราให้ได้ หมายถึงว่า เมือ่ พูดถึงการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนือ้ เราควรจะนึกถึง growth hormone
หรือว่าถ้าพูดถึงการเปลีย่ นแปลงสีผวิ ต้องนึกถึง MSH ถามว่าท�ำไมพีถ่ งึ เน้นเรือ่ งแบบนี้ น้องจะเห็นว่าเวลาเราเรียนเรามักจะเรียนจาก

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 57


มุม A ไปหา มุม B แต่เวลาโจทย์หรือข้อสอบถามเขาจะถามจาก มุม B มาหามุม A ซึง่ หมายถึงเราต้องมองทัง้ ไปข้างหน้าและเดินทาง
กลับให้เป็น ส�ำหรับการออกข้อสอบแนวนีน้ นั้ ไม่ใช่แค่ในวิชาชีววิทยาเท่านัน้ แต่ยงั มีอกี หลายวิขาทีใ่ ช้การถามแบบมองย้อนกลับได้
✓ เทคนิคการจ�ำเรือ่ งฮอร์โมนนัน้ ไม่ได้ยากมากเพราะศัพท์สว่ นใหญ่ทเี่ ราเรียนกันมาจากภาษาอังกฤษซึง่ เราควรหาเวลาท่องเป็น
ภาษาอังกฤษจะดีกว่าอ่านแบบทับศัพท์เพราะว่าการที่ Hormone จะตัง้ ชือ่ ว่าอะไรย่อมต้องมีทม่ี าทีไ่ ป ขอเพียงเราใส่ใจสักนิด การท�ำ
ข้อสอบให้ได้คะแนนดีนนั้ ก็คงไม่ไกลเกินเอือ้ มมือของเราไปอย่างแน่นอน ชีววิทยา เป็นวิชาทีห่ ยิบภาษาละตินมาใช้ดว้ ยแต่ไม่ตอ้ งกลัว
เพราะภาษาละตินเป็นภาษาทีใ่ ช้วธิ ผี สมค�ำเพือ่ สร้างค�ำนัน้ หมายถึงถ้าเราจ�ำรากศัพท์มนั ได้เราก็ยอ่ มสามารถทีจ่ ะเอามาประกอบเป็นค�ำ
แล้วสามารถทีจ่ ะแปลค�ำได้อย่างง่ายดาย อีกหนึง่ ลักษณะการจ�ำชือ่ คือบางชือ่ เป็นตัวย่อของฮอร์โมนเนือ่ งจากฮอร์โมนชนิดนัน้ ๆ มันอาจ
จะมีชอื่ เต็มทีย่ าวเกินไป การทีเ่ ราจับมันมาย่อเป็นการเรียกทีง่ า่ ยกว่าแน่นอน เช่น FSH มันมาจากค�ำว่า follicle stimulating hormone
แล้วเราก็เพียงแค่แปลค�ำมันไป อีกหนึง่ ประเด็นทีน่ า่ สนใจคือเรือ่ งของชือ่ ทีฮ่ อร์โมนบางตัวมีชอื่ หลายชือ่ เอาไว้เรียกสิง่ ทีเ่ ราต้องเข้าใจนัน่
ก็คอื เมือ่ ตัวเราเองนีเ่ หละทีม่ ที งั้ ชือ่ จริง นามสกุล แต่เราก็ยงั มีชอื่ เล่น หรือฉายา ไม่วา่ จะเรียกเราว่าอะไรสุดท้ายก็คอื เรียกเรานีแ่ หละ อีก
เทคนิคการจ�ำคือการจ�ำแบบตรงข้ามกัน ดังนัน้ ให้จำ� เป็นคู่ เช่น insulin กับ Glucagon
• พีเ่ องเคยสับสนเรือ่ งค�ำศัพท์คอื melanocyte melanin และ melatonin
• ซึง่ สามค�ำนีม้ นั ต่างกันนะ pineal gland ผลิต melatonin ซึง่ ฮอร์โมนตัวนีท้ ำ� หน้าทีใ่ นการควบคุมนาฬิกาชีวติ และยับยัง้ ไม่ให้
เป็นหนุม่ สาวเร็วกว่าปกติทคี่ วร
• ส่วน MSH หรือ melanocyte stimulating hormone จะท�ำหน้าทีเ่ กีย่ วกับการกระตุน้ การสร้าง melanin ในเซลล์เม็ดสี
melanocyte
✓ เรือ่ งของเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในชีวติ ก็นา่ จะออก เช่น เขาอาจจะยกตัวอย่างว่าถ้าหากมีอาการคอบวม และการท�ำงานของ
ระบบประสาทผิดปกติ สติปญ ั ญามีปญ ั หา น่าจะเกิดจากการขาดฮอร์โมนใด หรืออาจจะถามแนวทีว่ า่ ยกตัวอย่างแล้วให้เราอธิบาย
เหตุการณ์วา่ ใช่ฮอร์โมนอะไรบ้าง เช่น เมือ่ เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ ผูห้ ญิงคนหนึง่ สามารถทีจ่ ะขนตูเ้ ย็นออกมาจากทีพ่ กั ได้ทนั ถามว่าการที่
ผูห้ ญิงคนนีส้ ามารถทีจ่ ะยกของทีห่ นักกว่าตนเองได้โดยทีป่ กติเป็นคนทีไ่ ม่คอ่ ยยกของหนัก เกิดขึน้ ได้เพราะฮอร์โมนอะไรบ้าง ประมาณนี้
✓ หรือถ้ายากหน่อยก็อาจจะเอาไปปนกับเรือ่ งของสมดุลร่างกาย พวกการรักษาสมดุลเกลือแร่ การรักษาสมดุลน�ำ้ มากกว่า ดัง
นัน้ เราต้องเชือ่ มโยงให้เป็น ถ้าอ่านแล้วเข้าใจเชือ่ มโยงเป็นเราก็เท่ากับว่าประยุกต์เป็นเนือ้ หาก็เหมือนจ�ำลดลง เพราะเราจ�ำสองเรือ่ งไป
พร้อมกัน

น้องๆ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
Tag : สอนศาสตร์, ชีววิทยา, ระบบในร่างกาย, ระบบหายใจ, ระบบย่อยอาหาร, ระบบต่อมไร้ท่อ, ระบบหมุนเวียนเลือด,
ระบบขับถ่าย, ระบบประสาท, การรักษาดุลยภาพในร่างกาย

• 06 : ระบบประสาท1
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch4-1

• 08 : ระบบต่อมไร้ท่อ
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch4-2

• 10 : ระบบหายใจ
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch4-3

58 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


• 11 : ระบบหมุนเวียนเลือด 1 • สอนศาสตร์ : ม.ปลาย : ชีววิทยา :
http://www.trueplookpanya.com/ ระบบประสาท (อ.วิเวียน)
book/m6/onet-biology/ch4-4 http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch4-9
• 12 : ระบบหมุนเวียนโลหิต 2
http://www.trueplookpanya.com/ • สอนศาสตร์ : ม.ปลาย : ชีววิทยา :
book/m6/onet-biology/ch4-5 ระบบในร่างกาย
http://www.trueplookpanya.com/
• 13 : ระบบย่อยอาหาร book/m6/onet-biology/ch4-10
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch4-6 • ชีววิทยา ม.4-6 เรื่อง การรักษา
ดุลยภาพในร่างกาย ตอนที่ 3
• 14 : ระบบขับถ่าย http://www.trueplookpanya.com/
http://www.trueplookpanya.com/ book/m6/onet-biology/ch4-11
book/m6/onet-biology/ch4-7

• 15 : ระบบสืบพันธุ์
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch4-8

บันทึกช่วยจ�ำ

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 59


บทที่ 7
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)

อนุกรมวิธาน (Taxonomy)

• ในหัวข้อนีส้ งิ่ ทีต่ อ้ งเน้นเป็นพิเศษคือเรือ่ งของการรูจ้ กั ชือ่ ของสิง่ มีชวี ติ นัน้ ๆ แล้วสามารถเรียงล�ำดับวิวฒ ั นาการของสิง่ มีชวี ติ
จากต�ำ่ ไปสูงได้ แล้ววิธดี วู า่ ใครวิวฒ ั นาการสูงกว่าใครก็ให้ดทู เ่ี รือ่ งของ เซลล์วา่ มีกเี่ ซลล์ แล้วเซลล์มกี ารท�ำงานเป็นเนือ้ เยือ้ หรือไม่ แล้ว
มีเอมบริโอ หรือไม่ เพราะสิง่ มีชวี ติ ขัน้ สูงอย่าง Plantae กับ Animalia จะต้องมีเนือ้ เยือ่ กับเอมบริโอแน่นอน
• เมือ่ กีเ้ ราได้ลองเล่าคร่าวๆ ให้ฟงั แล้วว่าเราควรจะเน้นอ่านในเรือ่ งไหน คราวนีเ้ รามาดูเนือ้ หาของจริงกันเลยดีกว่าว่าทีเ่ รารูน้ นั้
ถูกต้องรึเปล่าความจริงแล้วเรือ่ งการเรียงล�ำดับวิวฒ ั นาการเนีย่ หนังสือของกระทรวงฯ เขาใจดีเรียงให้เราแล้ว โดยถ้าหน้าแรกๆ ก็จะ
เป็นสิง่ มีชวี ติ ชัน้ ต�ำ
่ พวกนีจ้ ะมีเซลล์เดียว หรือ อาจจะมีขนาดเล็ก มีโครงสร้างร่างกายง่ายๆ
ยกตัวอย่างเช่นพวก อาณาจักร Monera ซึง่ อาณาจักนีก้ จ็ ะเป็นพวก Archaea หรือทีเ่ ราเรียกว่า แบคทีเรียโบราณ และ Bacteria
(monera เป็นสิง่ มีชวี ติ ทีเ่ ซลล์เป็นแบบ prokaryotic cell คือไม่มเี ยือ่ หุม้ นิวเคลียส (nuclear membrane)
ต่อมา ก็จะวิวฒ ั นาการสูงขึน้ เป็นพวกทีม่ เี ซลล์แบบ eukaryotic cell ซึง่ พวกยูคารีโอต (eukaryote) นัน้ ยังแบ่งย่อยลงมาได้อกี สี่
กลุม่ คือ Protista fungi plantae และ animalia แล้วจะดูยงั ไงว่าใครวิวฒ ั นาการสูงกว่ากันก็มาดูทค่ี วามซับซ้อนของเซลล์ เริม่ ที่ Protista
พวกนีจ้ ะเป็นพวกทีเ่ รามักจะพบและเจอเป็นประจ�ำในชีวติ คือ โพรโทซัว (เราสามารถหาได้ตามบ่อน�ำ้ ของโรงเรียน หรือเวลาเรียนแล็บ
การทดลอง ) สาหร่ายทีเ่ ราชอบกินกัน ก็เป็น Protista


สุดท้ายคือพวก ราเมือก (ระวังตรงจุดนีน้ ะ เพราะราเมือกไม่ใช่พวกเดียวกับรา เพราะ รา อยูใ่ นกลุม่ เห็ด รา Fungi ซึง่ มีมนั มีความ
ซับซ้อนมากกว่า Protista) วิวฒ ั นาการสูงขึน้ ต่อมาก็คอื พวก fungi พวกนีจ้ ะเป็นทีน่ า่ รังเกียจเวลาเจอ แต่กก็ นิ ได้นะจ้ะ มันก็คอื พวก เห็ด
รา ยีสต์ นัน้ เอง ถามว่าท�ำไมพีถ่ งึ พูดว่าน่ารังเกียจก็เพราะว่า รา ทีเ่ ราเจอบนขนมปังเวลาทีม่ นั หมดอายุแล้วมันก็คอื ราด�ำ รวมทัง้ พืน้ ห้อง
น�ำ้ ด�ำๆ เช่นกันนะ ส่วนเห็ดนัน้ บางชนิดเท่านัน้ ถึงจะเอามากินได้ แต่บางชนิดกินแล้วตายนะ อย่าเผลอเลอหยิบผิดเอาไปท�ำอาหารล่ะ
ยีสต์กเ็ อามาท�ำขนมได้ เอามาหมักอาหารต่างๆ ได้ ต่อมาคือ Plantae ซึง่ สิง่ ทีน่ า่ สนใจก็คอื ตัง้ แต่ plantae จนถึง animalia เป็นต้นไป มันจะ
มีเนือ้ เยือ้ และ เอมบริโอ ซึง่ แสดงว่ามันวิวฒ ั นาการสูงกว่าสิง่ มีชวี ติ ในกลุม่ plantae
คือจุดส�ำคัญทีเ่ ราต้องรูจ้ กั ชือ่ ของพืชในบทเรียนให้ครบแล้วมันจะช่วยเราได้มากมายเลยทีเดียว ถามว่าใน plantae เองมีการวัดว่า
ใครวิวฒ ั นาการสูงกว่าใคร เราสังเกตทีโ่ ครงสร้างท่อล�ำเลียง ลักษณะของใบ และ การสืบพันธุว์ า่ มีดอกหรือไม่มดี อก
• ดังนัน้ เราจะเรียงล�ำดับได้ดงั นี้ “ข้าวตอกฤาษี (sphagnum moss) (มอส) สนหางสิงห์ สร้อยสุกรม สามร้อยยอด ช้องนางคลี่
(เป็นพวก lycopodium สร้าง homospore มีขนาดเท่ากัน) ตีนตุก๊ แก (selaginella) และ กระเทียมน�ำ ้ (isoetes สองพวกนีส้ ร้าง heterospore
มีขนาดไม่เท่ากัน) หวายทะนอย (psilotum; พวกนีแ้ ตกกิง่ ทีล่ ะสอง dichotomous) หญ้าถอดปล้อง (equisetum) เฟินข้าหลวงหลังลาย
กระแตไต่ไม้ ชายผ้าสีดา ผักกูด ย่านลิเภา (พวกนีส้ ร้างสปอร์ขนาดเท่ากัน homospore) ยกเว้นพวกเฟินน�ำ ้ เช่น แหนแดง จอกหูหนู ผัก
แว่น เป็นต้น (พวกนีจ้ ะสร้างสปอร์ขนาดไม่เท่ากัน heterospore)
• ทีส่ ำ� คัญน้องๆ ต้องจ�ำให้แม่นนะครับ ว่าแหนแดง กับแหนทีม่ สี เี ขียวลอยอยูบ่ นผิวน�ำ ้ เป็นคนละชนิดกันนะครับ แล้วจอกหูหนู
กับจอก ก็เป็นคนละกลุม่ กัน กลุม่ ของ จอก แหน และไข่นำ �้ (ผ�ำ) จัดเป็นพวกพืชดอกนะครับ โดยเฉพาะไข่นำ�้ ยังจัดเป็นพืชดอกทีเ่ ล็กทีส่ ดุ
ในโลกอีกด้วยครับ นอกจากนีก้ ย็ งั มีพวกทีม่ ชี อื่ เหมือนสาหร่าย ทีเ่ ราชอบน�ำมาท�ำการทดลองในห้องแล็บ ก็คอื สาหร่ายหางกระรอก และ
สาหร่ายข้าวเหนียว นีก่ จ็ ดั เป็นพืชดอกนะครับน้องๆ)
• ส�ำหรับเรือ่ งพืชนัน้ เราจะต้องเข้าใจเองก่อนว่าพืชแต่ละชนิดทีเ่ ราท่องชือ่ มันเนีย่ มันมีรปู ร่างยังไง แล้วเมือ่ จ�ำได้กม็ าแยกตาม
เกณฑ์ดงั นี้ อันได้แก่ พวกไม่มเี นือ้ เยือ่ ล�ำเลียง (non-vascular tissue) จะเป็นพวกทีต่ ำ�่ สุด ต่อมาคือพวกทีม่ เี นือ้ เยือ่ ล�ำเลียง (vascular
tissue) แต่ยงั ไม่มเี มล็ด ต่อมาก็คอื พวกทีม่ เี นือ้ เยือ่ ล�ำเลียงและมีเมล็ด แต่ยงั ไม่มเี ครือ่ งห่อหุม้ เมล็ดหรือทีเ่ ราเรียกว่า พวกเมล็ดเปลือย

60 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


(gymnosperm) และวิวฒ ั นาการสูงสุดของพวกพืช ก็คอื พืชดอก (angiosperm) ซึง่ มีทงั้ เนือ้ เยือ่ ล�ำเลียง มีเมล็ด และมีเครือ่ งห่อหุม้
เมล็ด แล้วก็สงู สุดๆ ของพืชดอกคือ พืชใบเลีย้ งเดีย่ ว ในบรรดาสิง่ มีชวี ติ animal เป็นสิง่ มีชวี ติ ทีว่ วิ ฒ
ั นาการสูงทีส่ ดุ เราก็ทอ่ งตามเนือ้ หา
แบบเรียนนั้นแหละครับ อย่าได้ไปหาหนังสือมาอ่านเพิ่มเพราะเรื่องอนุกรมวิธานนั้น หลักสูตรของพวกเราตัดมาจากมหาวิทยาลัย
เพียงบางส่วนเท่านัน้
✓ เคยมีคำ� ถามเกีย่ วกับเรือ่ งของสัตว์เลือดเย็นกับสัตว์เลือดอุน่ ซึง่ น้องหลายคนมักจะงงว่าเต่าเป็นสัตว์เลือดเย็นหรือเลือดอุน่
ซึง่ ความจริงคือเต่าเป็นสัตว์เลือดเย็นเพราะเต่าเป็นสัตว์เลือ้ ยคลาน วิธที พี่ จ่ี ำ� คือ พวกนก กับพวกเลีย้ งลูกด้วยน�ำ้ นมเป็นเลือดอุน่ หมด


นอกนัน้ เป็นเลือดเย็นทัง้ สิน้ ยกตัวอย่างเช่น แมวน�ำ้ เป็นสัตว์เลือดอุน่ แม้จะอยูใ่ นน�ำ้ ทีเ่ ย็นมากๆ ก็ตาม หัวข้อนีจ้ ะท่องเยอะเป็นพิเศษ
เพราะมีชอื่ ของสิง่ มีชวี ติ เยอะแยะมากมายทีเ่ ราควรจะรูจ้ กั และจ�ำได้ เทคนิคการช่วยจ�ำคือ ไปหารูปมาดู
✓ แนวข้อสอบบางครัง้ ถามง่ายๆ แค่วา่ ใครเป็นสัตว์เลือดเย็นใครเป็นสัตว์เลือดอุน่ หรืออาจจะออกแนวทีว่ า่ จุดเด่นของสิง่ มีชวี ติ
แต่ละชนิดเป็นอย่างไร เราก็จำ� แค่สงิ่ มีชวี ติ ทีเ่ ด่นๆ ก็พอ
ยกตัวอย่างเช่น อาจจะถามว่า สิ่งมีชีวิตในตัวเลือกข้อใดที่ไม่มีการสังเคราะห์โปรตีนด้วยตัวเอง? ถ้าหากว่าเรา
สามารถจ�ำลักษณะพิเศษของไวรัสได้ ทีว่ า่ มันต้องอาศัย host (เซลล์เจ้าบ้าน) ในการผลิตโปรตีน และองค์ประกอบ
เซลล์ เราก็จะท�ำข้อนีไ้ ด้แน่นอน
หรือบางทีขา่ วก็ควรอ่านบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ช่วงทีม่ เี รือ่ งไข้หวัดสายพันธุใ์ หม่ ไข้หวัดนก H5N1 หรือ H5 N2
อะไรพวกนีก้ อ็ าจจะออกมาให้เห็นได้ในข้อสอบ คนทีอ่ า่ นข่าวก็เท่ากับได้คะแนนฟรีๆ ง่ายๆ เลย แต่ถา้ คนทีไ่ ม่อา่ นข่าว
ก็จบเห่เลย
ตัวอย่างอีกแบบทีเ่ ป็นตารางแล้วถามก็อาจจะเป็นในลักษณะตารางติก๊ ถูก เช่น มอส (อาจจะใช้ชอื่ ภาษาไทย หรือ
ชือ่ inter อย่างเช่น ไบรโอไฟต์ (bryophyte)…) ขอเพียงเราจ�ำได้วา่ มันมีลกั ษณะเด่นอะไรก็พอ เช่น มอส มีเนือ้ เยือ้
หรือเปล่า สร้างอาหารเองได้ไหม มีผนังเซลล์หรือเปล่า มีทอ่ ล�ำเลียงหรือเปล่า มีดอกหรือเปล่า อะไรประมาณนี้
(แนวข้อสอบ)
1.สิง่ มีชวี ติ ใดทีม่ กี ารปรับอุณหภูมไิ ปตามสภาพแวดล้อมทีม่ นั อยู่
ก. นกเพนกวิน โลมา วาฬ
ข. ฮิปโป แมว ปลา
ค. จระเข้ ตัวเงินตัวทอง กิง้ ก่าทะเล
ง. ปลา สุนขั กบ

ค�ำตอบ คือ สิง่ มีชวี ติ ทีส่ ามารถทีจ่ ะปรับเปลีย่ นอุณหภูมใิ ห้เป็นไปตามสภาพแวดล้อมได้นน้ั จะถือเป็นสัตว์เลือดเย็น ซึง่ สัตว์เลือดเย็นก็
เช่น พวกสัตว์เลือ้ ยคลาน ปลา ครึง่ บกครึง่ น�ำ ้ ดังนัน้ เราก็ตอ้ งมาเช็คตัวเลือกกัน โลมากับวาฬ แม้จะอยูใ่ นน�ำ้ แต่มนั นัน้ เป็นสัตว์เลีย้ งลูก
ด้วยน�ำ้ นมดังนัน้ มันต้องเป็นสัตว์เลือดอุน่ เท่านัน้ ดังนัน้ ข้อนีเ้ ลยตอบ ค เป็นค�ำตอบสุดท้าย
2. การเรียงล�ำดับวิวฒ ั นาการของสิง่ มีชวี ติ ในข้อใดถูกต้อง
ก. แบคทีเรีย >>>ราเมือก >>>ชบา
ข. อะมีบา >>>สาหร่ายสีเขียวแกมน�ำ้ เงิน >>>ยุง
ค. ไส้เดือนดิน >>>แมลง>>>หอย
ง. โพรทิสต์>>>ยิสต์>>>สาหร่ายสีเขียวแกมน�ำ้ เงิน

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 61


ค�ำตอบ ทีถ่ กู ต้องของการจัดเรียงข้อนีค้ อื ก. มีวธิ กี ารจ�ำคือตามเรือ่ งทีเ่ ราเรียนในแบบเรียนเลย บทไหนทีเ่ ราเรียนก่อนแสดงว่าบทนัน้
มีการวิวฒ ั นาการต�ำ่ กว่านัน้ หมายถึงว่า แบคทีเรียเป็นพวก มอนเนอร่า มีการวิวฒ
ั นาการต�ำ่ กว่า ราเมือกซึง่ เป็นโปรติสต้าและพวกโพรติ
สต้าก็ววิ ฒั นาการต�ำ่ กว่าพืชดอกเช่นชบาอีก(อย่าเข้าใจผิดเหมา ราเมือกเป็นรานะเพราะมันไม่ใช่รานะ แค่ชอื่ เหมือน ส่วนข้ออืน่ ทีถ่ กู ต้อง
ต้องเป็น
สาหร่ายสีเขียวแกมน�ำ้ เงิน >>>อะมีบา >>>ยุง
หอย>>>ไส้เดือนดิน >>>แมลง
สาหร่ายสีเขียวแกมน�ำ้ เงิน >>>โพรทิสต์ >>>ยีสต์

น้องๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
Tag : สอนศาสตร์, ชีววิทยา, อนุกรมวิธาน

• สอนศาสตร์ : ม.ปลาย : ชีววิทยา : • อนุกรมวิธาน ตอนที่ 4


อนุกรมวิธาน http://www.trueplookpanya.com/
http://www.trueplookpanya.com/ book/m6/onet-biology/ch5-6
book/m6/onet-biology/ch5-1
• อนุกรมวิธาน ตอนที่ 5
• ชีววิทยา ม.ปลาย – อนุกรมวิธาน http://www.trueplookpanya.com/
http://www.trueplookpanya.com/ book/m6/onet-biology/ch5-7
book/m6/onet-biology/ch5-2
• อนุกรมวิธาน ตอนที่ 6
• อนุกรมวิธาน ตอนที่ 1 http://www.trueplookpanya.com/
http://www.trueplookpanya.com/ book/m6/onet-biology/ch5-8
book/m6/onet-biology/ch5-3
• อนุกรมวิธาน ตอนที่ 7
• อนุกรมวิธาน ตอนที่ 2 http://www.trueplookpanya.com/
http://www.trueplookpanya.com/ book/m6/onet-biology/ch5-9
book/m6/onet-biology/ch5-4

• อนุกรมวิธาน ตอนที่ 3
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch5-5

62 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


บทที่ 8
พืช (Plant)

พืช (Plant)

น้องๆ คงคุน้ เคยกับสิง่ มีชวี ติ ทีเ่ รียกว่าพืชหรือต้นไม้กนั เป็นอย่างดีเพราะในสิง่ แวดล้อมรอบๆ ตัวเรามีพชื ให้เห็นทุกหนทุกแห่ง
พืชก็จดั เป็นสิง่ มีชวี ติ ชนิดหนึง่ ซึง่ มีคณุ อนันต์แก่โลกของเรา เรียกได้วา่ ถ้าไม่มพี ชื มนุษย์กอ็ ยูไ่ ม่ได้เลยทีเดียว

โครงสร้างของพืชดอก

ราก (Root) คือส่วนทีง่ อกออกมาจากเมล็ดเป็นส่วนแรกและเจริญลงสูใ้ ต้ดนิ ปกติรากมีหน้าทีด่ ดู น�ำ้ และแร่ธาตุตา่ งๆ ในดิน แต่
ในรากพืชบางชนิดก็จะมีหน้าทีพ่ เิ ศษเช่น
• ท�ำหน้าทีเ่ ก็บสะสมอาหาร: กระชาย แครอท มันเทศ มันแกว
• ท�ำหน้าทีช่ ว่ ยหายใจ : แสม ล�ำพู
• ท�ำหน้าทีค่ ำ�้ จุน: โกงกาง ข้าวโพด เตย ข้าวฟ่าง
• ท�ำหน้าทีส่ งั เคราะห์แสง: กล้วยไม้
ระบบรากของพืช แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) ระบบรากแก้ว (tap root) พบในพืชใบเลีย้ งคู่ เจริญมาจากรากแรกเกิด (radical) มีขนาดใหญ่ และสามารถแตกแขนงรากได้มาก
ชอนไชลงไปในดินได้ลกึ
2) ระบบรากฝอย (fibrous root) พบในพืชใบเลีย้ งเดีย่ ว งอกจากโคนต้น ไม่ได้เจริญมาจากรากแรกเกิด มีขนาดเท่าๆ กัน
โครงสร้างภายในของราก แบ่งเป็นออกเป็น 4 บริเวณ คือ

  1) บริเวณหมวกราก (root –cap) ประกอบด้วย เซลล์พาเรงคิมา


(parenchyma) สามารถผลิตเมือก เพือ่ ให้ดนิ บริเวณหมวก
รากอ่อนตัว ง่ายต่อการชอนไชของราก
2) บริเวณเซลล์ก�ำลังแบ่งตัว (meristematic region) หรือ
เนือ้ เยือ่ เจริญปลายราก (apical meristem) เป็นบริเวณทีอ่ ยู่
ถัดจากบริเวณหมวกรากขึน้ มายาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
แบ่งแบบ ไมโทซิส (mitosis) เพือ่ เพิม่ จ�ำนวนเซลล์
3) บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว (region of cell elongation) –
ท�ำให้รากยาวขึน้
4) บริเวณทีเ่ ซลล์เปลีย่ นแปลงไปท�ำหน้าทีเ่ ฉพาะและเจริญ
เติบโตเต็มที่ root-hair region (maturation) – จะพบเซลล์
ขนราก (root hair cell) อยู่ที่ผิวช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวใน
การดูดซึมน�ำ้ และแร่ธาตุและจะมีเซลล์หลายชนิดทีเ่ ปลีย่ นแปลงรูปร่างเพือ่ ให้เหมาะสมกับหน้าทีเ่ มือ่ เราตัดตามขวางและน�ำเนือ้ เยือ่ บริเวณนี้
มาศึกษาจะพบเนื้อเยื่อในขั้นการเจริญเติมโตขั้นแรก (primary growth) แบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 63


1. เอพิเดอร์มสิ (epidermis) อยูน่ อกสุดเป็นเซลล์เรียงตัวชิดกันแถวเดียว มีบางเซลล์เจริญเป็นขนราก
2. คอร์เทกซ์ (cortex) ส่วนใหญ่เป็นเซลล์พาเรงคิมา(parenchyma) ท�ำหน้าทีส่ ะสมน�ำ้ และอาหาร ด้านในสุดเป็นเอนโด
เดอร์มสิ (endodermis) ซึง่ มีความพิเศษคือ สะสมสารซูเบอริน และลิกนิน ทีผ่ นังเซลล์ทำ� ให้ผนังเซลล์หนาเป็นแถบ
เรียกว่า แคสพาเรียนสตริพ (casparion strip) ทีไ่ ม่ยอมให้นำ�้ ผ่าน
3. สตีล (stele) อยูถ่ ดั จากชัน้ เอนโดเดอร์มสิ เข้ามาประกอบด้วย
- เพอริไซเคิล (pericycle) ท�ำหน้าทีส่ ร้างรากแขนง (พบในรากเท่านัน้ )
- กลุม่ ท่อล�ำเลียง (vascular bundle) ประกอบด้วย โฟลเอ็ม (phloem) และไซเลม (xylem) ซึง่ ประกอบด้วย
เซลล์หลายชนิดดังนี้

ทีม่ า: http://cnx.org/contents/a4f293cf-f2c6-453e-930a-9668078a8eca@1/2.1.1_-_Anatomy_of_dicotyleden
• โฟลเอ็ม (Phloem)
- ซีฟทิวบ์ (sieve tube) เป็นเซลล์ผนังบางมีรทู ะลุตอ่ กันเป็นท่อยาวให้อาหารผ่านได้ เมือ่ โตเต็มทีไ่ ม่มนี วิ เคลียส
- เซลล์คอมพาเนียน (companion cell) อยูต่ ดิ กับซีฟทิวบ์เสมอ ช่วยล�ำเลียงอาหาร
- พาเรงคิมา (parenchyma) สะสมอาหาร
- ไฟเบอร์ (fiber) เพิม่ ความแข็งแรง
• ไซเลม (Xylem)
- เทรคีด (tracheid) เซลล์ยาวเรียวมีรพู รุน ให้นำ�้ และแร่ธาตุผา่ น
- เวสเซล (vessel) เซลล์เป็นท่อกลวงเรียงกันตามยาวหัวท้ายมีรทู ะลุ ท�ำหน้าทีล่ ำ� เลียงน�ำ้ และอาหาร
- พาเรงคิมา (parenchyma)
- ไฟเบอร์ (fiber)

64 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


ทีม่ า : http://cnx.org
✓ Phloem อยูร่ ะหว่างแฉกของ xylem จ�ำนวนแฉกของไซเลมจะต่างกันคือ พืชใบเลีย้ งคูจ่ ำ� นวนแฉกน้อย ส่วนใหญ่มี 4 แฉก
ส่วนพืชใบเลีย้ งเดีย่ วมีจำ� นวนแฉกมากกว่า
ล�ำต้น (stem) คือส่วนทีเ่ จริญถัดขึน้ มาจากราก ประกอบด้วย ข้อ ปล้อง(ซึง่ ในรากไม่ม)ี และตา ปกติทที่ ำ� หน้าทีล่ ำ� เลียงน�ำ
้ แร่ธาตุ
และอาหาร แต่อาจมีหน้าทีอ่ นื่ ในพืชบางชนิด เช่น
- สังเคราะห์แสง เช่น กระบองเพชร พญาไร้ใบ
- สะสมอาหาร เช่น เผือก แห้ว ขิง มันฝรัง่
- ลดรูปเป็นหนาม เช่น มะนาว เฟือ่ งฟ้า โป๊ยเซียน
โครงสร้างภายในล�ำต้น ถ้าเราตัดล�ำต้นตามขวาง จะพบลักษณะการเรียงตัวของเนือ้ เยือ่ ขัน้ แรก (primary growth) คล้ายในราก
แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. เอพิเดอร์มสิ (epidermis) อยูช่ นั้ นอกสุดเซลล์เรียงตัวชัน้ เดียว มีควิ ทินเคลือบอยูป่ อ้ งกันการระเหยของน�ำ้
2. คอร์เทกซ์ (cortex) ถัดจากเอพิเดอร์มสิ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย พาเรงคิมา คอลเลงคิมา (collenchyma) และสเกอเรงคิมา
(sclerenchyma) ช่วยเพิม่ ความแข็งแรงให้ลำ� ต้น นอกจากนีย้ งั มีเซลล์ทแี่ บ่งตัวสร้างกิง่ ของพืชอยูด่ ว้ ย
3. สตีล (stele) แยกจากชัน้ คอร์เทกซ์ไม่ชดั เจน ประกอบด้วย
- มัดท่อล�ำเลียง (vascular bundles) ในพืชใบเลีย้ งเดีย่ ว มัดท่อล�ำเลียงจะกระจายทัว่ ไปในล�ำต้นและไม่มวี าสคิว
ลาร์แคมเบียมคัน่ ระหว่าง โฟลเอ็มกับไซเลม ไม่มกี ารเจริญขัน้ 2 (secondary growth) ในพืชบางชนิดส่วนของ
พิธ (pith; แก่น) จะสลายไปกลายเป็นช่องกลวง ในพืชใบเลีย้ งคูม่ ดั ท่อล�ำเลียงจะเรียงเป็นวงในแนวรัศมีเดียวกัน
มีวาสคิวลาแคมเบียมคัน่ กลาง ด้านในเป็นไซเลม ด้านนอกเป็นโฟลเอ็ม ซึง่ จะมีการเจริญเติบโตขัน้ ทีส่ องเพือ่
ขยายขนาดด้านข้าง โดยวาสคิวลาร์แคมเบียม จะสร้างไซเลมขัน้ ทีส่ องเพิม่ ทางด้านในและสร้างโฟลเอ็มขัน้ ที่
สองเพิม่ ทางด้านนอก ซึง่ โฟลเอ็มขัน้ ทีส่ องจะเบียดโฟลเอ็มขัน้ แรกจนสลายไปแล้วแบ่งเซลล์สร้าง คอร์กเพิม่
ขึน้ และไซเล็มขัน้ ทีส่ องจะดันเข้าไปเบียดพิธทีอ่ ยูต่ รงกลางให้สลายไป ดังนัน้ ไซเลมส่วนในสุดจึงมีอายุมากสุด
เพราะถูกสร้างมาก่อน
ในรอบ 1 ปี แต่ละฤดู วาสคิวลาร์แคมเบียมของพืชจะแบ่งเซลล์สร้างโฟลเอ็มและไซเลมขัน้ ที่ 2 ได้ไม่เท่ากัน ในฤดูฝนไซเล็มขัน้
ทีส่ องจะกว้างและมีสจี าง (spring wood) แต่ในฤดูรอ้ นพืชขาดน�ำ ้ ไซเลมจะเจริญช้าและเบียดกันเป็นแถบสีเข้ม (summer wood หรือ
autumn wood) ท�ำให้เรามองเห็นเนือ้ ไม้เป็นสีจางและสีเข้มสลับกันเห็นเป็นวงเรียกว่า วงปี (annual ring)

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 65


• กระพีไ้ ม้ (sap wood) คือไซเลมทีย่ งั ท�ำหน้าทีล่ ำ� เลียงน�ำ้
และแร่ธาตุอยูม่ สี จี างๆ
• แก่นไม้ (heart wood) คือไซเลมชัน้ ในทีไ่ ม่ทำ� หน้าทีล่ ำ� เลียง
น�ำ้ และแร่ธาตุแล้ว จะมีสารอินทรียต์ า่ งๆ มาสะสม เช่น
เทนนิน ลิกนิน ท�ำให้เห็นเป็นสีเข้ม
• เนือ้ ไม้ (wood) คือส่วนของกระพีไ้ ม้และแก่นไม้รวมกัน
• เปลือกไม้ (bark) ในพืชอายุมากเอพิเดอร์มสิ และคอร์เทกซ์
จะสลายไปและมีคอร์กกับคอร์กแคมเบียมทีส่ ร้างจากโฟส
เอ็มขึน้ มาแทน ท�ำหน้าทีล่ ำ� เลียง
- วาสคิวลาร์เรย์ (vascular ray) อยูร่ ะหว่างมัดท่อล�ำเลียง
ทีม่ า : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology1/ ประกอบด้วยพาเรงคิมา
Chapter5/Picture_Chapter5/5.21.jpg - พิธ (pith) อยูช่ นั้ ในสุดของล�ำต้น ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิ
มา ท�ำหน้าทีส่ ะสมอาหาร

ใบ (Leaf) คือส่วนทีง่ อกออกมาจากล�ำต้นท�ำหน้าทีส่ งั เคราะห์ แลกเปลีย่ นก๊าซ คายน�ำ


้ มักมีสเี ขียว เพราะมีคลอโรฟิลล์ ในพืช
บางชนิดใบอาจท�ำหน้าทีอ่ นื่ ๆ ได้ เช่น เก็บสะสมอาหาร เช่น ว่างหางจระเข้ หอมใหญ่ ล�ำต้นกระบองเพชรลดรูปเป็นหนามเพือ่ ลดการคาย
น�ำ
้ ท�ำหน้าทีพ่ ยุงล�ำต้น เช่น ถัว่ ลันเตา ใบพืชบางชนิดเปลีย่ นเป็นถุงดักแมลง เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง กาบหอยแครง แพร่พนั ธุ์ เช่น
เศรษฐีพนั ล้าน คว�ำ่ ตายหงายเป็น
• ใบของพืช


   
พืชใบเลีย้ งคู่ พืชใบเลีย้ งเดีย่ ว
เส้นใบจะแตกแขนงออกจากเส้นกลางใบ เส้นใบจะมีขนาดใหญ่เรียงขนานกัน จากโคน
สานกันเป็นร่างแห (netted venation) เช่น ถึงปลายใบและเส้นใบย่อยจะแตกแขนงขนานกันไป
ใบฝรัง่ ใบขนุน เป็นต้น (parallel venation) เช่น ใบข้าวโพด ใบอ้อย เป็นต้น

ทีม่ า : http://cnx.org/contents/539bbdf7-42d3-4b33-99e6-33aeb33b0c42@6/Root_and_Leaf_Structur

66 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


• โครงสร้างภายนอกของใบ

แผ่นใบ (Blade)

ก้านใบ (Petiole)

หูใบ (Stipules)

เส้นแขนงใบ ( Small netted veins )


เส้นกลางใบ เส้นใบ
( Midrib ) ( Vein )

ทีม่ า : http://cnx.org/contents/539bbdf7-42d3-4b33-99e6-33aeb33b0c42@6/Root_and_Leaf_Structure

• โครงสร้างภายในของใบ ประกอบด้วย

1. เอพิเดอร์มสิ (epidermis) อยูช่ นั้ นอกสุดเป็นเซลล์เรียงตัวกันบางๆ แถวเดียว ทัง้ ด้านบน (upper epidermis) และด้านล่าง (lower
epidermis) ของใบ ไม่มคี ลอโรฟิลล์ มีควิ ทินเคลือบอยูท่ ผี่ นังเซลล์ดา้ นนอก เพือ่ ป้องกันการระเหยของน�ำ้ ออกจากใบ บางเซลล์ในชัน้ นี้
เปลีย่ นไปเป็นเซลล์คมุ (guard cell) มีลกั ษณะคล้ายเมล็ดถัว่ แดง 2 เมล็ดมาประกบกัน ท�ำให้เกิดรูตรงกลางขึน้ เรียกว่า ปากใบ (stomata)

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 67


พบทีผ่ วิ ด้านล่างมากกว่า เซลล์คมุ มีคลอโรฟิลล์อยู่ ท�ำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ นอกจากนีย้ งั ควบคุมการปิดเปิดช่องปากใบเพือ่ รักษา
สมดุล พืชในทีแ่ ห้งแล้งจะมีปากใบอยูต่ ำ่� กว่าระดับ epidermis (sunken stomata) เพือ่ ลดการสูญเสียน�ำ ้ ส่วนพืชปริม่ น�ำ
้ เช่นบัว ปากใบจะ
อยูด่ า้ นบนมากกว่า
2. มีโซฟิลล์ (mesophyll) อยูร่ ะหว่างชัน้ เอพิเดอร์มสิ ทัง้ 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเซลล์ chlorenchyma แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- แพลิเซดมีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) มีลกั ษณะเรียวยาว เรียงตัวอยูใ่ ต้ชนั้ เอพิเดอร์มสิ ด้านบน ท�ำให้เห็นใบด้านบนมีสี
เข้มกว่าด้านล่าง มีคลอโรฟิลล์หนาแน่น
- สปองจิมโี ซฟิลล์ (spongy mesophyll) ตัวเซลล์รปู ร่างไม่แน่นอน เรียงตัวกันหลวมๆ อยูถ่ ดั จากชัน้ เซลล์แพลิเซดลงมาจนถึง
ชัน้ เอพิเดอร์มสิ ด้านล่าง มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นน้อยกว่าในเซลล์ชนั้ แพลิเซดมีโซฟิลล์
3. มัดท่อล�ำเลียง (vascular bundle) คือ ส่วนของเส้นกลางใบและเส้นใบ ประกอบด้วยไซเลม (ด้านบน) และโฟลเอ็ม (ด้านล่าง) มี
บันเดิลชีท (bundle sheath) มาล้อมรอบมัดท่อล�ำเลียงไว้ พืชบางชนิด (พืช C4 plants) ทีบ่ นั เดิลชีทจะมีคลอโรฟิลล์ดว้ ย

การคายน�ำ้ (Transpiration)
น้องๆ เคยสังเกตหรือเปล่าว่า เวลาทีห่ อ่ ดอกไม้หรือต้นไม้เล็กด้วยถุงพลาสติกแล้วทิง้ ไว้จะมีหยดละอองน�ำ้ เล็กๆ เกาะอยู่
ภายในถุง แล้วหยดละอองน�ำ้ เหล่านัน้ มาจากไหน ?
พืชคายน�ำ้ ผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่ ความเข้มข้นของสารละลายในเซลล์คมุ จะเป็นตัวก�ำหนด การปิดเปิดของปากใบ โดยแสง
จะกระตุน้ ให้ K+ แพร่เข้าไปในเซลล์คมุ ซึง่ ท�ำให้สารละลายภายในเซลล์คมุ มีความเข้มข้นมากขึน้ น�ำ้ จึงแพร่เข้าสูเ่ ซลล์ทำ� ให้ปากใบเปิด
และถ้าลดปริมาณ K+ ในเซลล์คมุ ท�ำให้ปากใบปิด นอกจากนีเ้ มือ่ อยูใ่ นสภาวะทีพ่ ชื ขาดน�ำ ้ พืชจะสังเคราะห์กรดแอบไซซิก (abscisic acid)
มาควบคุมท�ำให้ปากใบปิด แม้จะยังมีแรงกระตุน้ อยูก่ ต็ าม
การล�ำเลียงน�ำ้ และแร่ธาตุ
1. น�ำ้ จากดินจะแพร่ผา่ นเยือ่ หุม้ เซลล์บริเวณรากเข้าสูท่ อ่ ล�ำเลียงของพืช โดยมีรปู แบบการเคลือ่ นที่ 2 แบบ คือ
- อโพพลาส (apoplast) น�ำ้ เคลือ่ นทีผ่ า่ นผนังเซลล์หรือช่องว่างระหว่างเซลล์
- ซิมพลาส (symplast) น�ำ้ เคลือ่ นทีผ่ า่ นทางไซโทพลาสซึม เยือ่ หุม้ เซลล์และช่องพลาสโมเดสมาตา

(Casparian strip)

(Apoplastic route)

(Symplastic route) (Xylem vessels)

(Root hair) (Endodermis)


(Cortex)
(Endidermis)

68 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


✓ เมือ่ น�ำ้ เคลือ่ นทีม่ าถึงผนังเอนโดเดอร์มสิ ซึง่ มีแถบแคสพาเรียนสตริพ (ทีม่ ซี เู บอรินสะสมอยู)่ กัน้ ไม่ให้นำ�้ ไหลผ่านผนัง cell
เข้าไปสูท่ อ่ ล�ำเลียง น�ำ้ จึงต้องเคลือ่ นทีแ่ บบซิมพลาสเท่านัน้ จึงจะเข้าไปในไซเลมได้
การทีพ่ ชื สามารถล�ำเลียงน�ำ้ จากรากไปสูย่ อดได้ ต้องอาศัยแรงช่วยต่างๆ ดังนี้
• แรงดันราก (root pressure) เกิดในขณะทีพ่ ชื ได้รบั น�ำ้ เพียงพอแล้ว แต่รากยังดูดน�ำ้ เข้ามาในไซเลมอย่างต่อเนือ่ ง ถ้ามีแรงดัน
มากๆ จะท�ำให้เกิดปรากฏการณ์กตั เตชัน (guttation) คือ พบหยดน�ำ้ ทีใ่ บ หรือขอบใบ เช่น น�ำ้ ค้างบนยอดหญ้า
• แรงดึงจากการคายน�ำ ้ (transpiration pull) เมือ่ พืชคายน�ำ้ จะเกิดแรงดึงให้นำ�้ ไหลขึน้ มาตามไซเลมได้ เนือ่ งจากโมเลกุลน�ำ้ มี
แรงยึดเหนีย่ วกันเอง เรียกว่า โคฮีชนั (cohesion)
• แรงดึงในท่อไซเลม เกิดจากแรงยึดเหนีย่ วระหว่างโมเลกุลของน�ำ้ กับผนังท่อไซเลม เรียกว่า แอดฮีชนั (adhesion)

(แนวข้อสอบ)
ข้อใดต่อไปนีเ้ กีย่ วข้องน้อยทีส่ ดุ ในการปรับตัวเพือ่ ลดการคายน�ำ้ ของพืช
ก. การมีปากใบอยูด่ า้ นหลังใบของพืช
ข. ผลัดใบบางส่วน
ค. การมีใบเป็นหนามของต้นกระบองเพชร
ง. การมีเปลือกแข็งหุม้ ล�ำต้น

เฉลย ก. ปากใบของพืชส่วนใหญ่จะอยูบ่ ริเวณด้านหลังใบ เนือ่ งจากพืชจะมีปากใบอยูด่ า้ นหลังใบอยูแ่ ล้วแต่แตกต่างกันทีป่ ริมาณ


เท่านัน้ ส่วนข้อ ข. ค. และ ง.ผิด เนือ่ งจากเป็นการปรับตัวทีเ่ ห็นได้ชดั เจนว่าพืชต้องการลดการคายน�ำ้

2. การล�ำเลียงแร่ธาตุ มี 2 วิธี คือ


1. การล�ำเลียงแบบไม่ใช้พลังงาน (passive transport)
2. การล�ำเลียงแบบใช้พลังงาน (active transport)
✓ ธาตุอาหารจะเข้าไปในไซเลมโดยการเคลือ่ นทีแ่ บบอโพพลาส และซิมพลาส ธาตุอาหารแบ่งเป็น 2 กลุม่
1. ธาตุทพี่ ชื ต้องการเป็นปริมาณมาก (macro nutrients) มี 9 ธาตุ ได้แก่ C H O N P K Ca Mg และ S
2. ธาตุทพี่ ชื ต้องการปริมาณเล็กน้อย (micro nutrients) มี 9 ธาตุ ได้แก่ B Fe Cu Zn Mn Mo Cl และ Ni
✓ ธาตุอาหารทัง้ สองกลุม่ นีม้ คี วามจ�ำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเท่ากัน แต่พชื ต้องการในปริมาณทีแ่ ตกต่างกัน

การล�ำเลียงอาหารของพืช


แหล่งสร้างกลูโคส Active โฟลเอม แรงดันจากน�ำ้ ที่ โฟลเอม เนือ้ เยือ่ ต่างๆ
(ความเข้มข้นสูง) transport (ต้นทาง) ออสโมซิสเข้ามา (ปลายทาง) (ความเข้มข้นต�ำ่ )

✓ การล�ำเลียงอาหารจึงเกิดได้โดยมีแรงดันจากความต่างของความเข้มข้นกลูโคสระหว่างโฟลเอ็ม (ต้นทาง) กับโฟลเอ็ม (ปลายทาง)

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 69


(แนวข้อสอบ)
ข้อใดไม่ถกู ต้องเกีย่ วกับการล�ำเลียงในพืช
ก. การล�ำเลียงน�ำ้ และแร่ธาตุเข้าสูเ่ อนโดเดอร์มสิ เป็นแบบซิมพลาสเท่านัน้
ข. การแพร่ของน�ำ้ ในไซเลมเข้าสูโ่ ฟลเอม ท�ำให้เกิดแรงดันทีใ่ ช้ในการล�ำเลียงสารอาหารในซีฟทิวบ์
ค. การล�ำเลียงน�ำ้ จากรากไปสูย่ อดของต้นไม้ขนาดใหญ่ เกีย่ วข้องกับแรงดึงจากการคายน�ำ้ ทีใ่ บ และแรงดันรากมากทีส่ ดุ
ง. การล�ำเลียงธาตุอาหารแบบใช้พลังงาน ท�ำให้พชื สะสมธาตุอาหารส�ำคัญบางชนิดได้
เฉลย ค. ส่วนใหญ่เป็นแรงดึงจาการคายน�ำ้ มากกว่า แรงดันรากมีสว่ นช่วยน้อยส่วนข้ออืน่ ๆ ถูกต้องแล้ว

การสืบพันธุข์ องพืชดอก

ลักษณะของดอกสามารถแบ่งแยกโดยใช้หลักเกณฑ์หลายหลัก ดังนี้
1. พิจารณาโครงสร้างหลัก
โครงสร้างหลักของดอกมี 4 ส่วน คือ กลีบเลีย้ ง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย
- ดอกสมบูรณ์ (complete flower) = มีโครงสร้างหลักข้างต้นครบ 4 ส่วน
- ดอกไม่สมบูรณ์ (incomplete flower) = มีโครงสร้างหลักไม่ครบ 4 ส่วน
- ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) = มีทงั้ เกสรตัวผูแ้ ละเกสรตัวเมีย ในดอกเดียวกัน
- ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) = ขาดเกสรเพศใดเพศหนึง่ ไป (ในหนึง่ ดอก มีเกสรตัวผู้ หรือเกสรตัวเมีย
เพียงอย่างเดียว)
2. พิจารณาจากต�ำแหน่งของรังไข่
ดอกทีม่ สี รี งั ไข่เหนือฐานรองดอก (superior ovary) เช่น มะเขือ จ�ำปี
ดอกทีม่ รี งั ไข่ใต้ฐานรองดอก (inferior ovary) เช่น ฟักทอง ทับทิม
3. พิจารณาจากจ�ำนวนดอกบนก้านดอก
- ดอกเดีย่ ว หมายถึง บนก้านมีแค่ดอกเดียว เช่น ดอกบัว ดอกจ�ำปี
- ช่อดอก หมายถึง บนก้านมีหลายๆ ดอก เช่น ดอกเข็ม ดอกมะลิ
✓ ดอกไม้บางชนิดมีลกั ษณะคล้ายดอกเดีย่ ว เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง แต่แท้จริงแล้วเป็นดอกช่อทีด่ อกย่อยเกิดตรงปลายก้าน
ดอกช่อดอกเดียวกัน ดอกย่อยเรียงกันอยูบ่ นฐานรองดอก ไม่มกี า้ นดอกย่อย จึงอาจท�ำให้เข้าใจผิดได้

(แนวข้อสอบ)
วิธกี ารขยายพันธุพ์ ชื แบบใดทีม่ โี อกาสเกิดการกลายพันธุส์ งู ทีส่ ดุ
ก. ติดตา
ข. ตอนกิง่
ค. เพาะเลีย้ งเนือ้ เยือ่
ง. เพาะเมล็ด
เฉลย ง. เพราะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ส่วนข้ออืน่ ๆ เป็นการขยายพันธุจ์ ากต้นเดิมไม่มกี ารปฏิสนธิจงึ ไม่เกิดการเปลีย่ นแปลง
ของสารพันธุกรรม

70 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


การสร้างเซลล์สบื พันธุข์ องพืชดอก

การสร้างเซลล์สบื พันธุเ์ พศผู้ การสร้างเซลล์สบื พันธุเ์ พศเมีย


ไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (2n) เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ (2n)
(microspore mother cell) (magacrospore mother cell )

ไมโอซิส (meiosis)
ไมโครสปอร์ (n) เมกะสปอร์ (n)
จ�ำนวน 4 cell 1 นิวเคลียส จ�ำนวน 4 cell แต่ 3 cell สลายไป

ไมโอซิส (meiosis) (3 ครัง้ )

ละอองเรณู (แกมีโทไฟต์เพศผู)้ ถุงเอ็มบริโอ (แกมีโทไฟต์เพศเมีย)


- 2 นิวเคลียส จ�ำนวน 4 cell มี 7 cell 8 นิวเคลียส
- เจเนอร์เรทิฟนิวเคลียส - แอติโพเดล
- ทิวบ์นวิ เคลียส - เซลล์โพลาร์นวิ คลีไอ 1cell 2
• เกิดในอับเรณู (anther) นิวเคลียส
- เซลล์ไข่
- ซินเนอร์จดิ ส์
• เกิดในรังไข่

การปฏิสนธิซอ้ น (Double Fertilization)

ในพืชดอกจะมีการผสม 2 ครัง้ ของสเปิรม์ นิวเคลียส โดยเมือ่ ละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย ทิวบ์นวิ เคลียสของละอองเรณู


จะงอกหลอดไปตามก้านเกสรตัวเมียผ่านเข้ารูไมโครไพล์ของออวุล จากนัน้ เจเนอเรทิฟนิวเคลียสจะแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส ได้ 2 สเปิรม์
นิวเคลียส ซึง่ อันหนึง่ จะเข้าผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกต ส่วนอีกตัวจะเข้าผสมกับเซลล์โพลาร์นวิ คลีไอได้ เอนโดสเปิรม์ (Endosperm) หลัง
จากปฏิสนธิแล้ว
ออวุล เมล็ด
รังไข่ ผล
ไซโกต เอ็มบริโอ

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 71


การเกิดผล (fruit)

แบ่งผลตามลักษณะของดอกและการเกิดผลออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
1. ผลเดีย่ ว (simple fruit) เกิดจากดอกเดีย่ วหรือช่อดอกก็ได้ แต่ดอกนัน้ ต้องมีรงั ไข่เพียงอันเดียว เช่น เงาะ ล�ำไย องุน่ ทุเรียน
2. ผลกลุม่ (aggregate fruit) เกิดจากดอกหนึง่ ดอกทีม่ หี ลายรังไข่บนฐานดอกเดียวกัน เช่น สตรอเบอร์รี่ น้อยหน่า กระดังงา
3. ผลรวม (multiple fruit) เกิดจากรังไข่ของดอกย่อยบนช่อดอกหลอมรวมกันเป็นผล เช่น ขนุน สัปปะรด ลูกยอ
ส่วนประกอบของเมล็ด (seed)
1. เปลือกหุม้ เมล็ด (seed coat) อยูช่ นั้ นอกสุด ท�ำหน้าทีป่ อ้ งกันอันตรายแก่เอ็มบริโอทีอ่ ยูภ่ ายใน และลดการสูญเสียน�ำ้ เพราะมี
สารพวกไขเคลือบอยู่
2. เอ็มบริโอ (embryo) คือส่วนทีเ่ จริญมาจาก zygote และจะเจริญไปเป็นต้นอ่อน ประกอบด้วย
- ใบเลีย้ ง (Cotyledon) พืชใบเลีย้ งเดีย่ วมีใบเลีย้ งเพียงใบเดียว พืชใบเลีย้ งคูม่ ใี บเลีย้ ง 2 ใบ ท�ำหน้าทีส่ ะสมอาหาร
- เอพิคอททิล (Epicotyl) เป็นส่วนทีอ่ ยูเ่ หนือต�ำแหน่งใบเลีย้ ง ส่วนนีจ้ ะเจริญไปเป็นล�ำต้น ใบ และดอกของพืช
- ไฮโพคอททิล (Hypocotyl) เป็นส่วนทีอ่ ยูใ่ ต้ตำ� แหน่งใบเลีย้ ง ในพืชหลายชนิดส่วนนีจ้ ะท�ำหน้าทีด่ งึ ใบเลีย้ งให้โผล่
เหนือดิน
- แรดิเคิล (Radicle) เป็นส่วนล่างสุด ซึง่ จะเจริญเป็นรากต่อไป (เจริญไปเป็นรากแก้วในพืชใบเลีย้ งคู)่
3. เอนโดสเปิรม์ (Endosperm) เกิดจากการปฏิสนธิ (มีโครโมโซม = 3n) เป็นแหล่งอาหารในการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ

การตอบสนองของพืช

น้องๆ รูห้ รือไม่วา่ พืชก็เคลือ่ นไหวได้นะ!! แต่อาจไม่ชดั เจนเหมือนการเคลือ่ นไหวของคนหรือสัตว์


1 ) การเคลือ่ นไหวและตอบสนองต่อสิง่ แวดล้อมชองพืช มี 2 แบบ คือ
1.1 ทรอปิกมูฟเมนต์ (tropic movement) เป็นการตอบสนองทีม่ ที ศิ ทางสัมพันธ์กบั สิง่ เร้า เช่น ตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วง
(gravitropism) ตอบสนองต่อแสง (phototropism) ตอบสนองต่อการสัมผัส (thigmotropism)
1.2 แนสติกมูฟเมนต์ (nastic movement ) เป็นการตอบสนองไม่ถกู ก�ำหนดโดยทิศทางของสิง่ เร้า เช่น การหุบและบานของ
ดอกไม้ การหุบใบของต้นไมยราพ
2 ) การตอบสนองต่อฮอร์โมนพืช
ฮอร์โมน หน้าทีแ่ ละการตอบสนองของพืช

ออกซิน - ยับยัง้ การเจริญเติบโตของตาข้าง


(auxin; IAA) - กระตุน้ การงอกของราก
(สร้างจากยอดอ่อน) - ควบคุมการเคลือ่ นไหว ในยอดอ่อนออกซินเคลือ่ นทีห่ นีแสงและท�ำให้
เซลล์ดา้ นนีย้ ดื ออก ยอดพืชจึงเอนเข้าหาแสง ส่วนในรากมีการล�ำเลียง
2 ทิศทาง ขึน้ และลง
- ควบคุมการเจริญเติบโตของผล
- ควบคุมการหลุดร่วงของใบ พืชแก่ๆ จะมีการสร้างออกซินน้อย ท�ำให้
ใบร่วงง่าย
- ควบคุมการออกดอก ของพืช

72 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


ฮอร์โมน หน้าทีแ่ ละการตอบสนองของพืช

จิบเบอเรลลิน - กระตุน้ ให้ตน้ สูงขึน้


(gibberellin; GA) - กระตุน้ การออกดอกของพืช
- กระตุน้ การงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นอ่อน
- ส่งผลให้ผลมีขนาดใหญ่ขนึ้ เช่น องุน่

ไซโทไคนิน - ช่วยให้แบ่งเซลล์มากขึน้
cytokinin - กระตุน้ การเจริญของกิง่ แขนง การแตกกิง่
- ช่วยชะลอการแก่ของใบ
- ช่วยในการปิดเปิดของปากใบ ช่วยให้ปากใบเปิดในทีม่ ดื

เอทิลนี - กระตุน้ การร่วงของใบไม้


ethylene - กระตุน้ การสุกของผลไม้
- กระตุน้ ให้เกิดรากฝอยและรากแขนง
- ยับยัง้ การเคลือ่ นย้ายออกซิเจนจากยอดสูด่ า้ นล่าง

กรดแอบไซซิก - กระตุน้ การหลุดของใบและผลทีแ่ ก่จดั


(abscisic acid; ABA) - ยับยัง้ การเจริญของตาและยอดพืช
- ยับยัง้ การงอกของเมล็ด
- กระตุน้ การปิดของปากใบ เมือ่ พืชขาดน�ำ้

กระบวนการสังเคราะห์ดว้ ยแสง (photosynthesis)

น้องๆ บางคนอาจเคยสงสัยว่า พืชกินอาหารยังไงในเมือ่ มันไม่มปี าก ค�ำตอบคือ พืชสามารถสร้างอาหารด้วยตัวเองได้ !!


เรียกว่ากระบวนการสังเคราะห์ดว้ ยแสงนัน่ เอง

โครงสร้างทีเ่ กีย่ วข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ดว้ ยแสง


กระบวนการสังเคราะห์ดว้ ยแสงแบ่งออกเป็น 2 ขัน้ ตอนใหญ่ๆ คือ ปฏิกริ ยิ าแสง (Light Reaction) และปฏิกริ ยิ าการตรึง
คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide Fixation)
คลอโรพลาสต์ (chloroplast) ประกอบด้วยเยือ่ หุม้ สองชัน้ ภายในของเหลวเรียกว่า สโตรมา (Stroma) ซึง่ มีเอนไซม์ ทีเ่ กีย่ วข้องกับ
การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ ด้านในมีเยือ่ ไทลาคอยด์ (Thylakoid) ซ้อนทับไปมาเป็นตัง้ ๆ เรียกว่า กรานุม (Granum) สารสีทงั้ หมดจะอยูบ่ น
เยือ่ ไทลาคอยด์ซงึ่ เป็นบริเวณทีเ่ กิดปฏิกริ ยิ าแสง ในคลอโรพลาสต์มี DNA RNA และไรโบโซมเป็นของตัวเอง ท�ำให้สามารถสังเคราะห์สาร
ขึน้ มาใช้เองได้
สารสีในปฏิกริ ยิ าแสง
• คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) มี 2 ชนิดคือ คลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์บี โดยคลอโรฟิลล์เอ เป็นศูนย์กลางในการรับส่ง
พลังงานแสง (Reaction Center)

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 73


• แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) เป็นสารสีทมี่ อี ยูใ่ นสิง่ มีชวี ติ ทุกชนิดทีส่ งั เคราะห์ดว้ ยแสงได้ มี 2 ชนิดคือ แคโรทีน (Carotene) มีสี
แดงหรือส้ม และ แซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) มีสเี หลืองหรือสีนำ�้ ตาล
• ไฟโคบิลนิ (Phycobilin) มีในสาหร่ายสีแดงและไซยาโนแบคทีเรีย
✓ สารสีทรี่ บั พลังงานแสงแล้วส่งต่อให้คลอโรฟิลล์เอ ทีเ่ ป็นศูนย์กลางของปฏิกริ ยิ า เรียกว่า แอนเทนนา (Antenna)
✓ ถ้าพืชไม่มคี ลอโรฟิลล์เอ พืชจะไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
ปฏิกริ ยิ าแสง (Light Reaction)
ระบบแสง (Photo system : PS) ประกอบด้วยโปรตีนตัวรับอิเล็กตรอน ตัวถ่ายทอดอิเล็กตรอน และแอนเทนนา
• ระบบแสง I (PS I) มีคลอโรฟิลล์ เอ เป็นศูนย์กลางปฏิกริ ยิ ารับพลังงานแสงได้ดที สี่ ดุ ทีค่ วามยาวคลืน่ 700 นาโนเมตร
จึงเรียกว่า P700
• ระบบแสง II (PSII) รับพลังงานแสงได้ดที สี่ ดุ ทีค่ วามยาวคลืน่ 680 นาโนเมตร เรียกระบบแสงนีว้ า่ P680
การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร
พลังงานแสงทีถ่ กู สารสีรบั ไว้จะถูกส่งต่อไปเรือ่ ยๆ จนถึงโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ เอ ที่ PSI และPSII คลอโรฟิลล์ เอ ทีถ่ กู กระตุน้ นี้
จะถ่ายทอดอิเล็กตรอนให้กบั ตัวรับต่อไป ดังนี้
PS I มี NADP+มารับอิเล็กตรอนกลายเป็น NADPH
PS II จะส่งอิเล็กตรอนผ่านตัวรับหลายชนิด รวมทัง้ พลาสโทควิโนน (Plastoquinone) และไซโทโครมคอมเพลกซ์ (Cytochrome
Complex) ไปยัง PS I เพือ่ ทดแทนอิเล็กตรอนทีถ่ กู ถ่ายทอดไป PS II ก็จะเสียอิเล็กตรอนจึงไปดึงอิเล็กตรอนของน�ำ้ มาแทนที่ ท�ำให้
โมเลกุลของน�ำ้ แยกสลายกลายเป็นออกซิเจนและโปรตอน และความแตกต่างของระดับโปรตอนระหว่างสโตรมากับลูเมนนีเ้ อง ทีจ่ ะท�ำให้
เกิดการสังเคราะห์ ATP ขึน้ ในสโตรมา
การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักร
ระบบแสง I ไม่ถา่ ยทอดอิเล็กตรอนให้ NADP+แต่กลับถ่ายทอดอิเล็กตรอนกลับไปทีร่ ะบบไซโทโครมคอมเพล็กซ์แทน ท�ำให้ไม่เกิด
NADPH และ O2 แต่สามารถสังเคราะห์ ATP ได้จากความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของโปรตอนระหว่างลูเมนกับสโตรมา
• ปฏิกริ ยิ าตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide Fixation)
เป็นปฏิกิริยาที่สร้างน�้ำตาลเพื่อน�ำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของพืช มีขั้นตอนต่อเนื่องเป็นวัฏจักรเรียกว่า วัฏจักรคัลวิน
(Calvin cycle) ประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นใหญ่ๆ ดังนี้
ขัน้ ที่ 1 คาร์บอกซิเลชัน (Carboxylation)

6CO2 + 6 RuBP + เอนไซม์รบู สิ โก (rubisco) 6 (2 PGA)

RuBP หรือชือ่ เต็มคือ ไรบูโลสบิสฟอสเฟต (ribulose-1,5-bisphosphate) เป็นสารประกอบจ�ำพวกน�ำ้ ตาลทีม่ คี าร์บอน


5 อะตอม มาตรึง CO2
- เอนไซม์รบู สิ โก (rubisco) เป็นคะตะลิสต์ของปฏิกริ ยิ า
- PGA เป็นสารประกอบตัวแรกทีค่ งตัวของวัฏจักร ประกอบด้วยคาร์บอน 3 อะตอม
ขัน้ ที่ 2 รีดกั ชัน (Reduction)

6 (2 PGA) + 12 ATP 6 (2 1,3 บิสฟอสโฟกลีเซอเรต) + 12ADP


6 (2 1,3 บิสฟอสโฟกลีเซอเรต) + 12NADPH 6 (2 G3P) + 12NADP+ + 12Pi

74 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


- ATP มาเติมหมูฟ่ อสเฟตให้กบั PGA
- NADPH ให้อเิ ล็กตรอนกับ 1,3 บิสฟอสโฟกลีเซอเรต
- G3P (glyceraldehyde-3-phosphate) หรือ PGAL (phosphoglyceraldehyde) เป็นน�ำ้ ตาลทีม่ คี าร์บอน 3 อะตอม ทีจ่ ะถูกน�ำ
ไปสร้างเป็นสารอาหารของพืชต่อไป
ขัน้ ที่ 3 รีเจเนอเรชัน (Regeneration)

5(2 G3P) + 6ATP 6RuBP


- เป็นขัน้ ทีส่ ร้าง RuBP ขึน้ มาใหม่เพือ่ น�ำกลับไปรับ CO2ในขัน้ ที่ 1 ต่อไป วนเป็นวัฏจักร

(แนวข้อสอบ)
ข้อใดไม่ถกู ต้องเกีย่ วกับปฏิกริ ยิ าคาร์บอกซิเลชัน
ก. ผลลัพธ์ทเี่ สถียรเป็นสารทีม่ คี าร์บอน 6 อะตอม
ข. ถูกเร่งปฏิกริ ยิ าโดยเอนไซม์รบู สิ โก
ค. ได้ผลลัพธ์คอื 3-phosphoglycerate (3PGA)
ง. สารตัง้ ต้นของปฏิกริ ยิ ามีคาร์บอน 5 อะตอม

เฉลย ก. เพราะได้ผลลัพธ์ทเี่ สถียรเป็นสารทีม่ คี าร์บอน 3 อะตอมคือ PGA ส่วนข้ออืน่ ๆ นัน้ เกีย่ วข้องกับปฏิกริ ยิ าคาร์บอกซิเลชันหมด

น้องๆ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
Tag : สอนศาสตร์, ชีววิทยา, พืช, อาณาจักรพืช, การสังเคราะห์แสง

• 05 : การสังเคราะห์แสง
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch6-1

• สอนศาสตร์ : ม.ปลาย : ชีววิทยา : พืช (PAT2)


http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch6-2

• อาณาจักรสิ่งมีชีวิต ตอน อาณาจักรพืช


(Kingdom Plantae)
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch6-3

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 75


บทที่ 9
วิวัฒนาการ (evolution)

วิวัฒนาการ (evolution)

✓ บทนีก้ อ็ อกแบบตรงไปตรงมา อ่านเยอะ จ�ำให้ได้กต็ อบได้แต่เนือ้ หาเยอะมาก เรือ่ งนีพ้ เี่ ลยแนะน�ำให้ทอ่ งตัวอย่างของสิง่ มี
ชีวติ ไปเลยว่ามีใครอะไรยังไงเพราะมันง่ายกว่า แม้หวั ข้อนีจ้ ะไม่ได้ยากมาก เนือ้ หาเยอะแต่ มันเยอะเพราะนิยามเพือ่ จะอธิบายให้เราได้
เข้าใจแต่ความจริงแล้วการจะตัง้ ค�ำถามเพือ่ ถามนิยามนัน้ มันก็มกั จะตัง้ ในลักษณะของการยกตัวอย่างนัน้ เอง หรือบางครัง้ ก็ถงึ ขัน้ ถาม
นิยามดือ้ ๆ เลยว่าข้อไหนถูกหรือผิด ดังนัน้ ถ้าหากเราสามารถทีจ่ ะหาตัวอย่างได้ยงิ่ เยอะเราก็เท่ากับว่า ตอนอยูใ่ นห้องสอบก็ไม่ตอ้ งไปเสีย
เวลาเอาตัวเลือกตัวอย่างสิง่ มีชวี ติ มาเปรียบเทียบกับนิยามความหมายทีเ่ ราจ�ำมาก่อนหน้านีเ้ พราะว่านัน้ อาจจะท�ำให้นอ้ งเสียเวลา
✓ เรือ่ งนีอ้ าจจะเอาไปออกปนกับเรือ่ งของ DNA สารพันธุกรรมด้วย หรือพวก GMO อะไรพวกนัน้
• สมัยนี้ข้อสอบตัวเลือกมีตัวเลือกที่มากขึ้นโอกาสเดาผิดเลยมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นถ้าจะเดาค�ำตอบก็คงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดาย
ซะแล้ว เพราะถ้าไม่แม่นจริงเข้าใจจริงก็คงเดีย้ งแน่ๆ แต่อย่าพึง่ เสียใจไปหรือเครียดไปเมือ่ ถึงเวลาทีเ่ ราต้องลองเดาดูนนั้ ก็ให้ดดู ๆี ก่อน
คือว่าถ้าเป็นข้อทีเ่ ราคิดว่าไม่มที างถูกแน่นอนก็ตดั ออกไปแล้วมาคิดข้อต่อๆ ไปว่าอันไหนน่าจะไม่นา่ จะใช่ ตัดไปตัดมาอาจจะเหลือประมาณ
สองสามตัวเลือกแบบนีก้ เ็ ท่ากับว่าความเป็นไปได้ทจี่ ะตอบถูกจากสองหรือสามตัวเลือกนีน้ า่ จะถูก ถ้าเดาถูกก็ดใี จด้วยแต่ถา้ ผิดก็อย่าเสียใจ
ไปเพราะเราเองก็จำ� ไม่ได้ตงั้ แต่แรกอยูแ่ ล้ว บางครัง้ ชีววิทยาเป็นวิชาทีท่ ำ� ไม่คอ่ ยทัน ถึงกับต้องเดาบ้างก็คงเป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ผดิ อะไรหรอกนะ
• สิง่ ทีข่ อ้ สอบมักถาม เช่น กฎแห่งการใช้และไม่ใช้ (law of use and disuse) ของลามาร์ก หรือทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ


ของชาลล์ ดาร์วนิ ทีจ่ ะช่วยตอบข้อสงสัยว่าท�ำไม ยีราฟ ถึงมีคอยาว?...
• เรือ่ งนีม้ นั ต้องอ่านและจ�ำให้ได้ สิง่ ทีต่ อ้ งท�ำคืออ่านซ�ำ
้ เพราะบททีเ่ นือ้ หาเยอะมักจะออกแบบตรงไปตรงมาแค่จำ� ได้กโ็ อเค
✓ ส�ำหรับเรือ่ งนีพ้ วี่ า่ เขาน่าจะเน้นเรือ่ งของการสืบพันธุเ์ สียมากกว่า โดยเฉพาะการสืบพันธุแ์ บบไม่อาศัยเพศ โดยเขาจะถาม
ว่าการสืบพันธุแ์ บบไหนทีไ่ ม่มผี ลต่อพันธุกรรม เราก็ตอบไปเลยว่าการขยายพันธุพ์ ชื ทุกแบบทีไ่ ม่ใช้การใช้เมล็ด เพราะการเกิดเมล็ดได้ตอ้ ง
อาศัยเพศ ไง
✓ ถ้าเป็นไปได้ควรอ่าน เทคโนโลยีการสือ่ พันธุด์ ว้ ยก็ดี ข้อสอบจะออกไม่ลกึ และมักจะเอาตัวอย่างในบทเรียนมาออก คงไม่ได้
ยากถึงขัน้ เอางานวิจยั ของมหาวิทยาลัยมาออกหรอก หรือถ้าไม่ได้ถามตัวอย่างก็นา่ จะถามอะไรทีเ่ ป็นนิยามเช่นถามว่านิยามไหนใช้ไม่ได้
กลับสถานการณ์ใดใน choice หรือว่าถามถูกผิดไปเลย ดังนัน้ เราต้องเอานิยามของค�ำศัพท์มาวิเคราะห์คดิ ให้เป็น
ถ้าถามว่ายากไหมในบทนีก้ ค็ งต้องตอบว่า ยากส�ำหรับคนไม่อา่ น แต่งา่ ยส�ำหรับคนอ่านเพราะว่าบทนีเ้ นือ้ หาเยอะส่วนใหญ่จำ �
แม้แต่พวกตัวอย่างมันก็ยงั ดันออกแต่ตวั อย่างเดิมๆ ไม่เชือ่ ลองดูขอ้ สอบเก่าๆ มันจะซ�ำ้ ๆ กัน

ระบบนิเวศ (Ecosystem)

• ส�ำหรับเรือ่ งนี้ ตัง้ แต่ทกุ คนหันมาสนใจโลกของเรามากขึน้ เรารักโลกมากขึน้ ถุงพลาสติกเห็นกันน้อยลง และเจอในข้อสอบ


มากขึน้ เอ๊ะ อะไรนะ เจอในข้อสอบมากขึน้ เลย สิง่ ทีน่ า่ จะออกคือปรากฏการณทีเ่ กิดขึน้ กับโลกของเราในปัจจุบนั ทีม่ เี ขียนในหนังสือ
กระทรวงฯ เช่น เรือ่ งของโลกร้อนขึน้ อากาศเปลีย่ นแปลงบ่อย เรือ่ งของพายุ ฝนกรด ซึง่ สิง่ ทีเ่ ราจะต้องพบเจอในชีวติ ประจ�ำวันนัน้ เราควร
จะอธิบายได้วา่ เป็นมายังไงและเกิดขึน้ ได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เราก็รอู้ ยูแ่ ล้วว่าปัจจุบนั ประชาชนให้ความส�ำคัญเรือ่ งของภาวะโลกร้อน
อย่างมาก เรือ่ งของแก๊ซเรือนกระจกมีอะไรบ้าง สาเหตุคอื อะไรแล้วท�ำอย่างไร จึงจะท�ำให้ธรรมชาติกลับมาสมดุลเช่นดังเดิม สิง่ ทีเ่ รา
จะพบในข้อสอบคืออาจจะพูดถึงเรือ่ งโลกร้อน ในข้อสอบหลายหลายปีแต่จะไม่ถามเรือ่ งเดิม เช่นถ้าปีนถี้ ามชือ่ สารเคมีแก๊ซเรือนกระจก
ไปแล้ว ปีตอ่ ไปก็จะถามเรือ่ งของผลกระทบจากอุณหภูมิ เป็นต้น แต่พเี่ องคิดว่าเรือ่ งนีค้ งจะออกน้อยลงแล้วเพราะมีอยูช่ ว่ งหนึง่ ออก

76 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


แทบทุกปีจนค�ำถามน่าจะไม่มอี ะไรจะถามได้เยอะแล้วนอกจากซ�ำ้ กับค�ำถามเดิมทีเ่ คยถามไปแล้ว ดังนัน้ สิง่ ทีน่ อ้ งๆ ควรท�ำก็คอื อ่านเรือ่ ง
ปรากฏการณ์ในปัจจุบนั แล้วกลับไปดูในแบบเรียนว่ามีปรากฏการณ์ใดทีเ่ ราเคยอ่านเจอในข่าวหรือดูทวี ี
• เรือ่ งความสัมพันธ์ของสิง่ มีชวี ติ นัน้ บทนีต้ อ้ งท่องตัวอย่างให้เยอะทีส่ ดุ เท่าทีน่ อ้ งจะท่องได้ และควรจ�ำทัง้ ชือ่ ภาษาไทยและ
อังกฤษไปพร้อมๆ กันด้วยจะดีทสี่ ดุ
กรณีทนี่ อ้ งมักจะสับสนคือ (+,+) อันได้แก่ ภาวะพึง่ พา หรือ mutualism กับ ภาวะ ได้ประโยชน์รว่ มกัน หรือ protocooperation ซึง่
สองอันนีต้ า่ งกันทีถ่ า้ เราลองจับแยกกัน แบบ mutualism จะกลายเป็น (-,-) ซึง่ นัน้ อาจหมายถึงตายได้ แต่ถา้ pritocooperation แบบนีเ้ มือ่


แยกกันมันจะเป็น (0,0) ซึง่ ไม่มอี ะไรล�ำบาก มันก็แค่เฉยๆ ไม่มใี ครได้ใครเสียอะไร
เรือ่ งนีเ้ น้นย�ำ้ อีกครัง้ คือท่องตัวอย่างไปเลย ไม่ตอ้ งท�ำความเข้าใจอะไรมากเพราะยิง่ ท�ำความเข้าใจมากเดียวน้องจะสับสน ดัง
นัน้ ท่องตัวอย่างในแบบเรียนไปเลยง่ายทีส่ ดุ
• ส�ำหรับเรือ่ งวัฏจักรสารนัน้ ในข้อสอบ O-NET ก็ออกง่ายๆ พวกออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และน�ำ้ เป็นส่วนมาก เพราะเจอ
ในชีวติ บ่อยและส�ำคัญสุด แต่ขอ้ สอบจะออกมาแบบไหนนัน้ หรอ ก็มกั จะเป็นในลักษณะทีเ่ ป็นแผนรูปภาพวงจรวัฏจักรมาให้แล้วเว้นช่อง
ว่างให้เติมให้เต็ม หรือไม่กอ็ าจจะเอาไปปนเรือ่ งอืน่ ด้วย เช่น การหายใจ เข้าออก เกิดแก๊ซอะไรแล้ว แก๊ซทีอ่ อกมาหลังจากนัน้ แล้วไปไหน
ต่อ พืชเอาไปสังเคราะห์แสงต่อหรือเปล่า ประมาณนัน้
• เรือ่ งของสารอาหารพลังงานและสารพิษสะสมในสิง่ มีชวี ติ อันนีก้ อ็ อกบ่อยโดยเฉพาะเรือ่ งสารพิษสะสมในสิง่ มีชวี ติ มีเทคนิค
คือว่า สารพิษนัน้ จะไม่ออกไปนอกร่างกาย จะสะสมไปเรือ่ ยๆ เหมือนเทน�ำ้ ใส่ขวดแล้วปิดฝาไว้ไม่ให้นำ้� ระเหยออกมา ดังนัน้ ถ้ารับเข้าไปยิง่
เยอะ มันก็สะสมยิง่ เยอะไม่มลี ดลงเลยและจะเยอะมากขึน้ เมือ่ เป็นสิง่ มีชวี ติ ทีอ่ ยูส่ งู สุดของห่วงโซ่อาหาร เช่น มนุษย์ สิงโต เสือ นก
อินทรีย์ เป็นต้น

(แนวข้อสอบ)
1.สมชายเดินป่าเข้าไปในพืน้ ทีแ่ ห่งหนึง่ ด้วยความสงสัยเลยได้เก็บเอาสิง่ มีชวี ติ ทีอ่ ยูบ่ ริเวณนัน้ มาทดสอบ สิง่ มีชวี ติ นัน้ คือปลาสายรุง้ ผลที่
ตามมาคือ สมชายพบว่า สิง่ มีชวี ติ ทีเ่ ขาจับมาทดสอบนัน้ มีปริมาณสารก�ำจัดแมลงปนเปือ้ นอยูท่ กุ ตัวและในปริมาณทีม่ ากด้วย ถามว่าข้อ
สรุปต่อไปนีข้ อ้ ไดถูกเกีย่ วกับปลาสายรุง้
ก. เป็นผูบ้ ริโภคพืชล�ำดับแรกของห่วงโซ่อาหาร
ข. เป็นผูบ้ ริโภคทัง้ สัตว์และพืช
ค. เป็นผูบ้ ริโภคสัตว์ลำ� ดับแรกของห่วงโซ่อาหาร
ง. เป็นผูบ้ ริโภคสัตว์ลำ� ดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหาร

ค�ำตอบ ทีถ่ กู ต้องก็คอื ปลาสายรุง้ เป็นผูบ้ ริโภคสัตว์ลำ� ดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารในบริเวณทีส่ มชายไปติดตามผลเพราะถ้าเป็นเรือ่ งของ


สารพิษนัน้ จะไม่มกี ารขับออกมาและไม่มกี ารสุญเสียออกไป ดังนัน้ มีแต่ยงิ่ กินเข้ามากๆ มันก็จะยิง่ มีสารพิษเยอะเข้าไปในร่างกาย keyword
ของข้อนีค้ อื “พบสารพิษในปลาสายรุง้ ทุกตัว” อย่าสับสนนะเพราะสารอาหารนัน้ ใช้กฏ 10% law แต่เรือ่ งของสารพิษมันมีแต่ยงิ่ สะสมยิง่
มากนะ

• เรือ่ งการเปลีย่ นแปลงแทนทีก่ อ็ อกบ้าง สิง่ ทีเ่ ป็นประเด็นส�ำคัญมันคือ ความแตกต่างระหว่างการเปลีย่ นแปลงแบบ ปฐมภูมิ
กับทุตยิ ภูมิ คือ ปฐมภูมจิ ะเกิดขึน้ บนพืน้ ทีท่ ไี่ ม่เคยมีสงิ่ มีชวี ติ อยูเ่ ลยมาก่อน เช่น พวกเกาะทีเ่ กิดจากภูเขาไฟใต้ทะเล แล้วสิง่ มีชวี ติ บุกเบิก

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 77


จะเป็นมอส กับ ไลเคนส์ ส่วนทุตภิ มู ิ มักจะเกิดขึน้ หลังจากเกิดภัยธรรมชาติ หรือภัยทีม่ ผี ลท�ำให้พน้ื ทีน่ นั้ ๆ เปลีย่ นแปลงไปจากเคย เช่น
ไฟป่า ถูกมนุษย์รกุ ราน สร้างเขือ่ น พวกนีจ้ ะมีหญ้าเป็นสิง่ มีชวี ติ บุกเบิก
• อีกจุดทีน่ อ้ งมักจะสับสนคือเรือ่ ง ประชากร ค�ำว่าประชากร หรือ population จะต้องเป็น species เดียวกัน แหล่งอาศัย
เดียวกัน และในเวลาเดียวกัน ถ้าอยูท่ เี่ ดียวกันแต่คนละ species แบบนีไ้ ม่นบั นะ ส่วนระบบนิเวศ หรือ ecosystem จะเกิดเรียกได้จะต้อง
มี ประชากร ของสิง่ มีชวี ติ หลายๆ species ทีม่ คี วามสัมพันธ์กนั ก่อน มาอยูใ่ นสภาพแวดล้อมเดียวกัน จึงจะสามารถเรียก ecosystem ได้
ถ้าโจทย์จะถามก็มกั จะเป็นเรือ่ งของการ check choice มากกว่า เช่นถามว่า ตัวเลือกข้อไหนคือประชากร แล้วแต่ละข้อก็จะให้ขอ้ ความมา
โดยให้เลือกตอบตัวเลือกทีม่ นั ตรงกับนิยามของประชากรทีเ่ ราเรียนไป
✓ ในเรือ่ งบทบาทของสิง่ มีชวี ติ บางทีเรามักจะใช้ภาษาอังกฤษเยอะหน่อยดังนัน้ พีม่ วี ธิ กี ารจ�ำมาเสนอ
Herbivore มันคือผูบ้ ริโภคพืช (พีจ่ ำ� ว่า herb คือสมุนไพร แล้วสมุนไพรคือพืช)
Carnivore มันคือพวกบริโภคสัตว์ (พีก่ จ็ ำ� ว่า car คา เขีย้ ว มีเขีย้ วไว้กนิ เนือ้ )
ส่วน omni (โอม นิ พีก่ จ็ ำ� ว่า om หรือ โอม คือการเอามารวมกัน) ดังนัน้ มันจึงเป็นผูบ้ ริโภคทัง้ พืชและสัตว์
ส่วน detritivore (พีก่ จ็ ำ� ว่า de คือการลด มันเลยน่าจะเป็นพวกกินซาก อาจจะดูแถไปหน่อยแต่กท็ ำ� ให้จำ� ได้)
• หลายคนสับสนอีกตรงที่ decomposer กับ detritivore ต่างกันยังไง ค�ำตอบคือ decomposer หรือ ผูย้ อ่ ยสลายอินทรียส์ าร
เท่านัน้ จึงจะสามารถทีจ่ ะย่อยอาหารทีม่ นั กินเข้าไปกลายเป็นสารอนินทรีย์ แต่ detritivore ท�ำไม่ได้
• Auto แปลว่าด้วยตัวเองดังนัน้ autotroph จึงหมายถึง producer ผูผ้ ลิตทีส่ ร้างอาหารเองได้จาก สารอนินทรียเ์ ป็นสารอินทรีย์
โดยวิธกี ารสังเคราะห์ดว้ ยแสงนัน้ เอง ก็เช่น พืช สาหร่าย แบคทีเรียบางชนิด
• เรือ่ งพีระมิด เรือ่ งนีจ้ งจ�ำไว้เสมอว่าไม่ยากแต่สงิ่ ทีท่ ำ� ให้พลาดคือลืมดูให้ดๆี และชือ่ ของสิง่ มีชวี ติ ในแต่ละชัน้ ของพีระมิด
เรือ่ งนีถ้ า้ หากอยากจะล่าคะแนนให้อยูห่ มัดก็คงไม่ใช่เรือ่ งทีย่ ากมากแต่สงิ่ ส�ำคัญคือเพราะมันง่ายหลายคนเลยสะเพร่าผิดแบบ
น่าเสียดายไป ดังนัน้ จงตัง้ สติกอ่ นแล้วค่อยฝนค�ำตอบจะดีทสี่ ดุ
โจทย์อกี แนวของบทนีท้ ชี่ อบออกคือ ให้หว่ งโซ่อาหารมาแล้วบางจุดเป็นช่องว่างแล้วให้เราแทน สิง่ มีชวี ติ ในตัวเลือกเข้าไปใน
กล่องนัน้ ๆ แล้วต้องถูกต้อง ทางทีด่ คี อื ลองแทนทุกตัวเลือกเลย ถ้าไม่ได้แค่ตวั เดียวก็คอื ให้ตดั ทัง้ ตัวเลือกนัน้ ออกไปเลย ไม่ยากเกินความ
สามารถแน่นอน ทีต่ อ้ งรูค้ อื ถ้ามีแสงเมือ่ ไหร่ ตัวแรกของสิง่ มีชวี ติ มักจะเป็น autotroph แน่นอน

1. หญ้า ตัก๊ แตน ______ อินทรีย์


ก. กระต่าย
ข. นก
ค. แมว
ง. หมู

ค�ำตอบ ของข้อนีก้ ค็ งจะต้องลองใส่คำ� ตอบเข้าไปดูนะ อย่าง กระต่ายนัน้ กินพืช ไม่นา่ จะกินตัก๊ แตน ถึงแม้อนิ ทรียจ์ ะกินกระต่ายแต่ยงั
ไงมันก็ผดิ แหละ ต่อมา แมวไม่นา่ จะกินตัก๊ แตน และ หมูกไ็ ม่นา่ จะกินตัก๊ แตน สรุป นกมันเป็นไปได้ทจี่ ะกินตัก๊ แตน และ นกก็อาจจะถูก
อินทรียจ์ บั กินได้ ข้อนีเ้ ลยน่าจะตอบ ข. เป็นค�ำตอบทีถ่ กู ทีส่ ดุ

ประชากร

• เรื่องนี้จะเน้นที่กราฟรูปภาพทางสถิติเป็นส่วนใหญ่เลย ดังนั้น ดูข้อมูลทางสถิติให้เป็นก็ตอบได้แล้วไม่ยาก ขอเพียงเข้าใจ


concept ของมันว่าอยูย่ งั ไง กินอะไร สิง่ มีชวี ติ นัน้ ๆ ควรอยูท่ ไี่ หนกินใคร และถูกใครกิน
เน้นย�ำ้ อีกทีวา่ ไม่ยาก แต่ตอ้ งดูกราฟเป็น ไปหาดูจากแบบเรียน เช่น กราฟพีระมิดเอย กราฟเส้นโค้ง (เวลาดูกราฟเส้นโค้งนัน้ ดู

78 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya


ดีดวี า่ มันมีแกนตัง้ เป็นอะไร มีแกนนอนเป็นอะไร หน่วยของแกนตัง้ แกนนอนดูให้ดๆี อย่าให้พลาด) หัวลูกศรชีไ้ ปทางไหนดูให้ดี ถ้าหากว่า
วันสอบเป็นตอนบ่ายก็ควรทีจ่ ะพักนอนหลับใต้ตน้ ไม้ซกั พักหรือพยายามอย่ากินจนอิม่ เกินไปเพราะเดีย๋ วจะง่วงนอนตอนสอบ
ก่อนจบนี้ พีข่ อแนะน�ำอีกสิง่ คือเวลาทีเ่ ราสอบนัน้ พีข่ อให้นอ้ งๆ อ่านโจทย์ให้ดี ดูวา่ มันถามว่า แตกต่างจากพวก ถามถูกหรือ
ถามผิด เพราะเพือ่ นพีเ่ องบางคนประมาทมากและลนลานเวลาเข้าห้องสอบประมาณว่าอ่านมาเยอะแหละ แต่เวลาเจอข้อสอบก็ยงั ตืน่
เต้นอยู่ แบบนีพ้ อเข้าไปสอบ มักจะกลัวท�ำข้อสอบไม่ทนั เวลาเจอข้อทีถ่ ามเรือ่ งของนิยามนัน้ มันอ่านโจทย์ปบุ เจออันทีเ่ หมือนเคยอ่านเจอ
มาแล้วก็กาเลย โดยพลาดไปว่าโจทย์ถามว่าข้อใดผิด แบบนีค้ อื ประมาทนะ มีสติดๆี ล่ะเวลาท�ำข้อสอบ การตีโจทย์ให้ถกู ต้องนัน้ ก็สำ� คัญ
นะครับเพราะว่าตัวเลือกเรามันเยอะดังนัน้ เราจึงควรทีจ่ ะดูดๆี แต่ถา้ ไม่ได้จริงๆ จ�ำไม่ได้เลย ก็ใช้วธิ ตี ดั ตัวเลือกแบบชาญฉลาดนัน้ ก็คอื
ตัดอันทีไ่ ม่มที างใช่แน่นอนออกก่อนแบบทีเ่ รามัน่ ใจ แล้วข้อทีไ่ ม่มนั่ ใจก็จะเหลือตัวเลือกจ�ำนวนน้อยลงเรือ่ ยๆ ก็เท่ากับว่าเราอาจจะเดา
ถูกก็ได้ ตามกฎความน่าจะเป็น เวลาท�ำข้อสอบส่วนใหญ่วชิ านีเ้ ป็นตัวเลือกหมดจะฝนฝนฝน...จนมือเปียกเลยล่ะ เข้ามาเรียนมหาลัยก็ยงั
ไม่พน้ การฝนในวิชาชีววิทยาเพราะว่ามันไม่คอ่ ยมีเรือ่ งของการค�ำนวณสักเท่าไหร่ หรือต่อให้มบี างทีก่ ค็ ำ� นวณไม่ทนั ก็มกั จะข้ามไปท�ำข้อ
อืน่ แทน ต้องเน้นย�ำ้ ว่าอย่าลืมเผือ่ เวลาไว้สำ� หรับการฝนเพราะว่าหลายคนท�ำโจทย์แบบข้ามข้อไปข้ามมาซึง่ ก็ดนี ะ แต่ประเด็นคือบางที
ตาลายกาผิดข้อ แบบนีต้ อ่ ให้รวู้ า่ ตอบอะไรแต่ฝนผิดหรือฝนไม่ทนั ก่อนหมดเวลาก็ไม่มเี หตุผลนะ ดังนัน้ ต้องมีสติ สติสำ� คัญมากในวันสอบ
ไม่วา่ จะเก่งขนาดไหนถ้าขาดสติวนั สอบ ก็อาจจะเปิดดูคะแนนพร้อมน�ำ้ ตาก็ได้ วันสอบชีววิทยา ถ้าเป็นการสอบในเวลาบ่ายพีแ่ นะน�ำให้กนิ
ข้าวเทีย่ งน้อยหน่อยแต่ไม่ใช่ไม่กนิ เลยนะเพราะวันสอบนัน้ เครียดไปเดีย๋ วเป็นโรคกระเพาะ แต่ถา้ กินมากไปก็งว่ งและตือ้ ได้ ดังนัน้ พีว่ า่ กิน
พอควรก็พออย่าให้มนั อิม่ มาก เอาเป็นว่าวันสอบกินหลายๆ มือ้ แทนการกินทีเดียวเยอะๆ แล้วถ้าหากว่าสอบตอนเช้าวิชาแรกๆ เลยล่ะท�ำ
ยังไง พีก่ แ็ นะน�ำว่าก่อนสอบหนึง่ อาทิตย์นอ้ งควรจะต้องอ่านหนังสือให้เหมือนเวลาทีจ่ ะเข้าห้องสอบจริง ก็คอื ตืน่ ให้เหมือนเวลาวันสอบ
จะไปสนามสอบ และนอนให้ครบแปดถึงสิบชัว่ โมง ดังนัน้ ถ้าหากว่าจะไปสนามสอบแปดโมงก็ตอ้ งตืน่ ประมาณหกโมง น้องก็ควรนอนเวลา
ประมานสามทุม่ ห้ามเกินห้าทุม่ นะเพราะเดีย๋ วตอนเช้าตืน่ มาสมองเบลอ ก็อาจจะคิดไม่ทนั ก็ได้ ข้อสอบชีววิทยาแนวการท�ำการทดลอง
โจทย์มกั จะยาวแต่งา่ ย ดังนัน้ อ่านไวๆ ส่วนข้อสอบแบบค�ำนวณ ก็มอี ยูไ่ ม่กบ่ี ทแหละทีม่ ี สูตรก็เดิมๆ มีแค่นนั้ โจทย์กเ็ ดิมๆ ซ�ำ้ เพราะออก
เยอะกว่านัน้ ไม่ได้ดงั นัน้ ก็คดิ ไวๆ อย่ารน ข้อสอบชีววิทยาไม่ใช่เลขดังนัน้ ไม่คอ่ ยหลอกเรือ่ งของตัวเลขสักเท่าไร มักจะเป็น 10 15 25 50
75 100 อะไรพวกนีท้ ลี่ งตัวคิดได้ แล้วถ้ามีการถอดรูทก็คงเป็นตัวทีเ่ ราเจอบ่อยๆ เช่น รูทเก้า อะไรแบบนัน้

น้องๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
Tag : สอนศาสตร์ ชีววิทยา, วิวฒ
ั นาการ, ระบบนิเวศ, สิง่ มีชวี ติ กับสิง่ แวดล้อม, ประชากร, ระบบนิเวศและประชากร

• 01 : ระบบนิเวศ
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch7-1

• สอนศาสตร์ : ม.ปลาย : ชีววิทยา : ระบบนิเวศ


http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch7-2

• สอนศาสตร์ ชีววิทยา ม.6 : สิ่งมีชีวิตกับ


สภาวะแวดล้อม
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch7-3

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 79


• วิวัฒนาการ ตอนที่ 1 • ระบบนิเวศและประชากรศาสตร์
http://www.trueplookpanya.com/ ตอนที่ 3
book/m6/onet-biology/ch7-4 http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch7-9
• วิวัฒนาการ ตอนที่ 2
http://www.trueplookpanya.com/ • ระบบนิเวศและประชากรศาสตร์
book/m6/onet-biology/ch7-5 ตอนที่ 4
http://www.trueplookpanya.com/
• วิวัฒนาการ ตอนที่ 3 book/m6/onet-biology/ch7-10
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch7-6 • ระบบนิเวศและประชากรศาสตร์
ตอนที่ 5
• ระบบนิเวศและประชากรศาสตร์ http://www.trueplookpanya.com/
ตอนที่ 1 book/m6/onet-biology/ch7-11
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch7-7

• ระบบนิเวศและประชากรศาสตร์
ตอนที่ 2
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch7-8

บันทึกช่วยจ�ำ

80 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

You might also like