You are on page 1of 73

1

P_Jax

สรุป สังคม ม.ปลาย


อ่านสอบTCASทุกสนามสอบ
by ติวเตอร์แจ็ค
2

สาระที่ 1 ศาสนา
เรื่องที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา
1. ศาสนา
เป็นลัทธิความเชื่ออย่างหนึ่งของมนุษย์ เป็นคำสอนด้านศีลธรรม เกี่ยวกับบาป-บุญ ความดี-ความชั่ว เป็นเครื่องยึด
เหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ เป็นหลักให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
2. ที่มาของศาสนา
1. ความไม่รู้ ในปรากฏการณ์ธรรมชาติว่าคืออะไร เกิดจากอะไร
2. ความกลัว กลัวเพราะไม่รู้
3. ความศรัทธา เคารพต่อธรรมชาติ เช่น การกราบไหว้พระอาทิตย์
4. ความมีปัญญา เมื่อธรรมชาติถูกให้คำตอบด้วยวิทยาศาสตร์ ศาสนาจึงดำรงอยู่ด้วยสถานะ
เป็นเครื่องมือยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ไม่ได้อธิบายธรรมชาติโลกอย่างแต่ก่อน
3. ประเภทของศาสนา
(แบ่งตามความเชื่อเรื่องพระเจ้า)
1. เทวนิยม : ศาสนาที่เชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลกและสรรพสิ่ง
- หากเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวจัดเป็นศาสนาประเภท เอกเทวนิยม (เช่น คริสต์ และ อิสลาม)
- แต่ถ้าเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ จัดเป็นประเภท พหุเทวนิยม (เช่น พรามหณ์-ฮินดู)
2. อเทวนิยม : ศาสนาที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลกหรือสรรพสิ่ง ทุกสิ่งเกิดจากธรรมชาติ
แต่อาจเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง เช่น พุทธศาสนา
(แบ่งตามแหล่งผู้นับถือ)
1. ศาสนาสากล : ศาสนาที่มีผู้นับถือในหลายประเทศ เช่น คริสต์ อิสลาม พุทธ
2. ศาสนาท้องถิ่น : ศาสนาที่มีผู้นับถือเฉพาะพื้นที่ เช่น ฮินดู(อินเดีย) ยูดาห์(อิสราเอล) ชินโต(ญี่ปุ่น)
4. องค์ประกอบของศาสนา
1. ศาสดา : ผู้ก่อตั้ง หรือประกาศศาสนา
2. หลักคำสอน หรือ คัมภีร์ มีการจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในทุก
ศาสนาคือ “สั่งสอนให้คนเป็นคนดี” จุดมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่ “ความดีงาม”
3. ศาสนพิธี : การประกอบพิธีต่างๆ เพื่อให้มีบรรยากาศของความศักดิ์สิทธิ์ เรียกความศรัทธา
4. นักบวช : ในบางศาสนาอาจไม่มีนักบวช เช่น อิสลาม และศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์
5. ศาสนสถาน : วัด โบสถ์ มัสยิด
6. ศาสนิกชน : ผู้นับถือ
5. สัญลักษณ์ : เอกลักษณ์เฉพาะของศาสนา
> พุทธ สัญลักษณ์ คือ ธรรมจักร
> คริสต์ สัญลักษณ์ คือ ไม้กางเขน
> อิสลาม สัญลักษณ์ คือ พระจันทร์เสี้ยว และดาวหนึ่งดวง
> พราหมณ์-ฮินดู สัญลักษณ์ คือ โอม
3

เรื่องที่ 2 พระพุทธศาสนา
# ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
1. เป็นศาสนาประเภท : อเทวนิยม
2. ศาสดา : พระสมณโคดมพุทธเจ้า หรือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า
3. คัมภีร์ : พระไตรปิฎก
1) พระวินัยปิฎก : ระเบียบวินัย ศีล สิกขาบท ของพระภิกษุสามเณร > พระภิกษุ พระภิกษุณี แม่ชี
2) พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) : เรื่องราวประกอบธรรมะ > ทุกคนควรได้อ่านได้ศึกษา
3) พระอภิธรรมปิฎก : หลักธรรมล้วน ๆ ไม่พูดถึงคน สถานที่ และเวลา > ทุกคนควรได้อ่านได้ศึกษา
4. นิกาย : มี 2 นิกายสำคัญ
1) นิกายเถรวาท (หินยาน) : แพร่หลายใน ไทย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา
- เคร่งครัดในพระวินัยและสิกขาบทต่าง ๆ ไม่แก้ไขพระวินัยข้อใดเลย
- นับถือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์แต่เพียงแค่องค์เดียว (คือ พระสมณโคดมพุทธเจ้า)
- เน้นปฏิบัติธรรมช่วยเหลือตนเองให้พ้นทุกข์ ก่อนช่วยเหลือคนอื่น
2) นิกายอาจาริยวาท (มหายาน) : แพร่หลายใน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม มองโกเลีย ภูฏาน ธิเบต
- แก้ไขพระวินัยและสิกขาบท บางข้อ เช่น ฉันอาหารเย็นได้ , ใส่จีวรหลากหลายรูปแบบและสี
- นับถือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์ เน้นสวดมนต์อ้อนวอนขอพรจากพระพุทธเจ้า
- เน้นปฏิบัติธรรมช่วยเหลือคนอื่นให้พ้นทุกข์ก่อนตนเอง (เน้นบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์)
5. กระบวนการแสวงหาความจริงสูงสุด
เพื่อนำไปสู่การหลุดพ้น ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังจากออกผนวชด้วยพระองค์เอง ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
พระพุทธเจ้าได้ทรงทำสิ่งต่างๆเรียงตามลำดับดังนี้
1) ศึกษากับอาจารย์(ฝึกปฏิบัติโยคะ)
2) บำเพ็ญตบะ คือ การทรมานตนเองให้ลำบาก
3) ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ
4) ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต (เดินทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา)
6. ปฐมเทศนา(วันอาสาฬหบูชา)
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ในหัวข้อธรรมชื่อ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ
1) ทางสุดโต่ง 2 ทางที่ทำให้ไม่บรรลุธรรม ได้แก่ "กามสุขัลลิกานุโยค" หมายถึงการหมกมุ่นอยู่ในกาม
และ "อัตตกิลมถานุโยค" หมายถึงการทรมานตนให้ลำบากโดยไร้ประโยชน์
2) ทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา) ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ อันได้แก่ มรรค 8
3) อริยสัจ 4
4) ทรงสรุป และ อัญญาโกณฑัญญะบรรลุโสดาบัน ทูลขอบวชเป็นพระสงฆ์รูปแรกของศาสนาพุทธ
7. วันสำคัญทางพุทธศาสนา
1. วันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จึงเรียกว่า “วันพระพุทธ”
2. วันอาสาฬหบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) แสดงปฐมเทศนา “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” / เกิดพระสงฆ์องค์แรก
3. วันมาฆบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) เป็นวันจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าแสดง “โอวาทปาติโมกข์” /โอวาท3
4. อัฏฐมีบูชา (แรม 8 ค่ำ เดือน 6) เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
5. วันเข้าพรรษา (แรม 1 ค่ำ เดือน 8) พระสงฆ์จำพรรษาที่วัด 3 เดือน มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน
6. วันออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) วันมหาปวารณา / พระสงฆ์ตักเตือนกัน /ภายหลังมีการทอดกฐิน
7. วันเทโวโรหณะ (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) หลังออกพรรษา 1 วัน / ตักบาตรเทโว / วันเปิดโลกทั้ง 3
4

# หลักธรรม
1. อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ธรรมที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ใช้แก้ไขปัญหาในชีวิต
1. ทุกข์ ผล สภาวะทนได้ยาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
(ธรรมที่ควรรู้) ได้แก่ ขันธ์ 5 (นามรูป จิต เจตสิก), โลกธรรม 8
2. สมุทัย เหตุ เหตุแห่งทุกข์ อันได้แก่ ตัณหา
(ธรรมที่ควรละ) ได้แก่ หลักกรรม (นิยาม 5), วิตก 3, กรรมนิยาม (กรรม 12), มิจฉาวณิชชา 5, ธรรมนิยาม
(ปฏิจจสมุปบาท), นิวรณ์ 5, อุปาทาน 4
3. นิโรธ ผล สภาวะดับทุกข์ หรือ นิพพาน (นิพพานในชาตินี้ คือ การที่จิตละจากกิเลสตัณหา)
(ธรรมที่ควรบรรลุ) ได้แก่ ภาวิต 4, วิมุตติ 5, นิพพาน
4. มรรค เหตุ เหตุแห่งดับทุกข์ หรือ วิธีดับทุกข์
(ธรรมทีค่ วรปฏิบตั )ิ ได้แก่ พระสัทธรรม 3, ปัญญาวุฒธิ รรม 4, พละ 5, อุบาสกธรรม5,
อปริหานิยธรรม7, ปาปณิกธรรม3, ทิฏฐธัมมิกตั ถ-สังวัตตนิกธรรม4, โภคอาทิยะ5,
อริยวัฑฒิ5, อธิปไตย3, สาราณียธรรม6, ทศพิธราชธรรม10, วิปัสสนาญาณ9, มงคล38
2. ไตรสิกขา หรือ อริยมรรค 8 ประการ : การฝึกฝนอบรมตนเอง 3 ขั้น
1) ศีลสิกขา การอบรมกาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย เป็นปรกติ ได้แก่
สัมมากัมมันตะ : กระทำชอบ ทำแต่ความดี ทำแต่สิ่งที่สุจริต
สัมมาวาจา : วาจาชอบ พูดชอบ พูดแต่สิ่งดี ๆ
สัมมาอาชีวะ : เลี้ยงชีพชอบ ประกอบอาชีพสุจริต
2) สมาธิสิกขา จิตสิกขา : การอบรมจิต ให้สงบเรียบร้อย เป็นปกติ ได้แก่
สัมมาสมาธิ : จิตตั้งมั่นชอบ จิตสงบไม่ฟุ้งซ่าน
สัมมาสติ : ระลึกรู้ตัวชอบ ไม่หลงใหล
สัมมาวายามะ : เพียรระวังตนชอบ ไม่ให้ทำความชั่วและหมั่นรักษาความดีให้ดียิ่งขึ้น
3) ปัญญาสิกขา การอบรมปัญญา ให้เกิดความรู้แจ้ง ได้แก่
สัมมาสังกัปปะ : คิดชอบ คิดแต่สิ่งดีสุจริต
สัมมาทิฏฐิ : มีความเห็นชอบ มีความคิดเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรมของหลักศาสนาพุทธ เช่น เชื่อใน
อริยสัจ 4 เชื่อในกฎแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อในสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
3. ขันธ์ 5 : องค์ประกอบแห่งชีวิตมนุษย์ 5 ประการ (1 รูป 4 นาม) การเกิดขึ้นของขันธ์ 5 เป็นการเริ่มต้นของทุกข์ในชีวิต
1) รูป (รูปธรรม) : รูปร่าง ร่างกายของมนุษย์อันประกอบไปด้วยธาตุ 4 คือ
ดิน (เนื้อหนังมังสา กระดูกของร่างกายเรา) น้ำ (เลือด น้ำหนอง น้ำลาย ในร่างกาย)
ลม (แก๊สในร่างกาย ในกระเพาะอาหาร) ไฟ (อุณหภูมิความร้อนของร่างกาย)
2) เวทนา (นามธรรม) : ความรู้สึก มี 3 ประเภท คือ สุข ทุกข์ เฉยๆ
3) สัญญา (นามธรรม) : ความจำได้หมายรู้ กำหนดรู้สิ่งต่าง ๆ ได้โดยไม่หลงลืม
4) สังขาร (นามธรรม) : ความคิด ที่จะปรุงแต่งจิตให้กระทำสิ่งต่าง ๆ
5) วิญญาณ (นามธรรม) : ความรับรู้ที่ผ่านทางสัมผัสต่างๆ ทั้ง 6 (อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
4. โลกธรรม 8 : ธรรมที่มีประจำโลก มี 8 ประการ แบ่งเป็น 2 ฝ่าย
ฝ่ายน่าปราถนา = ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ……….. ฝ่ายไม่น่าปราถนา = เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
5. นิยาม 5 : กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมทุกสิ่ง ได้แก่
1. อุตุนิยาม : กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับความเป็นไปของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด
เช่น ปรากฏการณ์ของลมฟ้าอากาศ (เทียบได้กับวิชาฟิสิกส์)
2. พีชนิยาม กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ (ชีวะ)
3. จิตนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการทำงานของจิต
4. กรรมนิยาม กฎแห่งเหตุผล การให้ผลของกรรม
5. ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสรรพสิ่ง ครอบคลุมกฎข้ออื่นทั้งหมดที่กล่าวมา
6. ไตรลักษณ์ / สามัญญลักษณ์ : ลักษณะสามัญของสรรพสิ่งบนโลกทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตจะเป็นไปตามกฎ 3 ประการ
1. อนิจจัง : สรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยงแท้ไม่แน่นอน ล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลง
2. ทุกขัง : สรรพสิ่งล้วนทนได้ยาก คงทนอยู่ไม่ได้
3. อนัตตา : สรรพสิ่งล้วนไม่มีตัวตน เราควบคุมมันไม่ได้ ไม่เป็นตัวตนของเรา
5
7. ปฏิจจสมุปบาท : การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม มี 12 ข้อ ได้แก่
อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ(ประสาท6) ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา
8. ภาวิต 4 : ภาวะที่พัฒนาแล้ว เป็นผลของภาวนา 4 ประกอบด้วย
1. ภาวิตกาย : พัฒนาการด้านร่างกาย มีความเข้มแข็ง ปราศจากโรคภัย
2. ภาวิตศีล : พัฒนาการด้านความประพฤติ อยู่ในเบญจศีล และระเบียบวินัยของสังคม
3. ภาวิตจิต : พัฒนาการด้านจิต จิตสงบ มีสมาธิ จิตเข้มแข็ง เบิกบาน เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม
4. ภาวิตปัญญา : พัฒนาการด้านปัญญา รู้ เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง สามารถใช้ความรู้แก้ปัญหา
9. วิมุตติ 5 : หลุดพ้นจากกิเลสสาเหตุแห่งทุกข์ ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้วิมุตติ จะมีความสุขที่เรียกว่า “วิมุตติสุข”
1. วิกขัมภนวิมุตติ : หลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือข่มกิเลสและอกุศลกรรมต่างๆได้ชั่วคราวด้วยสติสัมปชัญญะ
2. ตทังควิมุตติ : หลุดพ้นด้วยองค์นั้นๆ คือ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือตรงกันข้าม
เช่น ละการฆ่าสัตว์ด้วยเมตตา
3. สมุจเฉทวิมุตติ : หลุดพ้นด้วยตัดขาด คือ หลุดพ้นจากกิเลสโดยใช้มรรคญาณ 4 คือ โสตาปัตติ
มรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค เป็นเครื่องตัด
4. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ : หลุดพ้นด้วยสบงระงับ เป็นความหลุดพ้นที่ยั่งยืน เกิดจากสมุจเฉทวิมุตติ หมดซึ่งกิเลส
5. นิสสรณวิมุตติ : หลุดพ้นด้วยสลัดออกได้ เป็นสภาวะที่จิตหลุดพ้นออกไปจากกิเลสทั้งปวง จิตเป็นสุข
10. อริยวัฑฒิ 5 : หลักความเจริญของอารยชน ใช้เป็นเกณฑ์ ประเมินผลทางการศึกษา ได้แก่
1. ศรัทธา : เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย หลักความจริง ความดีงามอันมีเหตุผล
2. ศีล : ประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต
3. สุตะ : การเล่าเรียน มีความรู้ดี รู้มาก คงแก่เรียน
4. จาคะ : เผื่อแผ่ เสียสละ
5. ปัญญา : ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้โลกและชีวิตตามความเป็นจริง
11. พละ 5 : ธรรมที่เป็นกำลังสนับสนุนมรรคมีองค์ 8 ให้เกิดการพัฒนาตนเป็นคนดีมีปัญญาสูง
1. สัทธา : ความเชื่อ หมายถึง ความเชื่อที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา : สัทธาพละ
2. วิริยะ : ความเพียร หมายถึง ความเป็นคนกล้า อาจหาญในสิ่งที่ถูกต้อง ขยันหมั่นเพียร : วิริยพละ
3. สติ : ความระลึกได้ ไม่เผลอ ไม่ประมาท หมายถึงการคุมใจไว้กับกิจ ไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง
4. สมาธิ : ความตั้งใจมั่น ความตั้งมั่นแห่งจิต แน่วแน่กับสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน : สมาธิพละ
5. ปัญญา : ความรู้ชัด รอบรู้ รู้ทั่วถึงความจริง : ปัญญาพละ
12. อธิปไตย ทางพุทธศาสนา อธิปไตย หมายถึง อำนาจของจิตหรือความคิดที่ถือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นใหญ่
1. อัตตาธิปไตย : ถือตนเป็นใหญ่ = ยกตนเป็นเหตุ เพื่อละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์
2. โลกาธิปไตย : ถือโลกเป็นใหญ่ = การยกเอาความนิยมของชาวโลกเป็นเหตุเพื่อละชั่ว ทำดี ทำใจบริสุทธิ์
3. ธัมมาธิปไตย : (ธรรมาธิปไตย) มีธรรมเป็นใหญ่ = การยกความถูกต้อง ความเป็นจริงเพื่อเป็นเหตุละชั่ว..
13. สติปัฏฐาน 4 : ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ใช้สติพิจารณาสิ่งทั้งหลาย เป็นทางสายเอกที่นำไปสู่การหลุดพ้น ได้แก่
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน : การใช้สติจับที่กาย พิจารณาอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง ใช้สติจับลมหายใจ(อานาปานสติ)
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน : ใช้สติพิจารณาความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ความรู้สึกล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน : การพิจารณาจิตดูว่าจิตมีราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน หรือเป็นสมาธิ
4. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน : การใช้สติพิจารณาธรรม เช่น ขันธ์ 5 นิวรณ์ 5 อายตนะ อริยสัจ 4
14. กรรม 2 การกระทำโดยเจตนา
1. อกุศลกรรมิ : กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต 2. กุศลกรรม : กายสุจริต วจีสุจริต มโนทุจริต
15. สติ สัมปชัญญะ ธรรมมีอุปการะมาก ประกอบด้วย
1. สติ : ความระลึกได้ 2. สัมปชัญญะ : ความรู้ตัว
16. หิริ โอตตัปปะ ธรรมคุ้มครองโลก ธรรมที่เป็นหัวใจของศาสนาพุทธ ประกอบด้วย
1. หิริ : ความละลายบาป 2. โอตตัปปะ : ความกลัวต่อผลของบาป
17. โกศล3 ธรรมพาเจริญ
1. อปายโกศล : รู้จักความเสื่อม 2. อายโกศล : รู้จักความเจริญ 3. อุปายโกศล : ละเสื่อมสร้างเจริญ
18. ปปัญจธรรม3 เครื่องขัดขวางไม่ให้จิตเข้าถึงอริยสัจ 4
1. ตัณหา : อยากได้ อยากมี อยากเป็น
2. มานะ : ถือว่าตนอยู่เหนือคนอื่น
3. ทิฐิ : ยึดมั่นความคิดของตนเอง
6
19. อัตถะ 3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติธรรม
1. ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 : ประโยชน์ในปัจจุบัน (หัวใจเศรษฐี) ได้แก่
อุฏฐานสัมปทา (ขยัน) / อารักขสัมปทา (ประหยัด) / กัลป์ยาณมิตตา (คบมิตรที่ดี) / สมชีวิตา (ดำเนินชีวิตถูกต้อง)
2. สัมปรายิกัตถะ : ประโยชน์ที่จะได้รับในภพภูมิหน้า
3. ปรมัตถะ : ประโยชน์ชั้นสูงสุด คือ บรรลุนิพพาน
20. กุศลมูล3 พื้นฐานแห่งจริยธรรมฝ่ายดี ประกอบด้วย
1. อโลภะ : ไม่อยากได้ 2. อโทสะ : ข่มอารมณ์ 3. อโมหะ : มีปัญญา
21. อกุศลมูล 3 มูลเหตุสำคัญแห่งความชั่ว ประกอบด้วย
1. อโลภะ : อยากได้ 2. โทสะ : คิดประทุษร้าย 3. โมหะ : หลงผิด
22. ปัญญา 3 ความรอบรู้
1. สุตมยปัญญา : ฟัง 2. จินตามยปัญญา : คิด 3. ภาวนามยปัญญา : ลงมือทำ
24. คิหิสุข ความสุขของผู้ครองเรือน อันเกิดจากกรรมฝ่ายกุศล
1. อัตถิสุข : สุขเกิดจากการมีทรัพย์ 2. โภคสุข : สุขเกิดจากการใช้ทรัพย์
3. อนณสุข : สุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ 4. อนวัชชสุข : สุขเกิดจากการประพฤติดี
25. พรหมวิหาร 4 หลักธรรมที่ใช้ในการปกครอง
1. เมตตา : คิดจะช่วย 2. กรุณา : ลงมือช่วย 3. มุทิตา : พลอยยินดี 4. อุเบกขา : วางตัวเป็นกลาง
26. อิทธิบาท 4 หลักธรรมแห่งความสำเร็จ
1. ฉันทะ : รักในงานที่ทำ 2. วิริยะ : ขยัน 3. จิตตะ : เอาใจใส่ 4. วิมังสา : ปรับปรุง
27. สังคหวัตถุ 4 หลักธรรมที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจคน
1. ทาน : การให้ 2. ปิยวาจา : พูดจาไพเราะอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา : ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 4. สมานัตตตา : วางตนเหมาะสม
28. ฆราวาสธรรม4 หลักธรรมของผู้ครองเรือน
1. สัจจะ : ความซื่อสัตย์ 2. ทมะ : การฝึกตน ข่มใจ 3. ขันติ : อดทน 4. จาคะ : เสียสละ
28. โภคอาทิยะ 5 แบ่งทรัพย์เพื่อเลี้ยงชีพ
1. ญาติพลี : สงเคราะห์ญาติ 2. อติถิพลี : ต้อนรับแขก
3. ปุพพเปตพลี : ทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ 4. ราชพลี : บำรุงราชการ เช่น เสียภาษี
5. เทวดาพลี : สักการะบำรุงหรือทำบุญอุทิศสิ่งที่เคารพบูชาความเชื่อถือ
29. ทศพิธราชธรรม ธรรมของนักปกครอง (ไม่ใช่แค่กษัตริย์เท่านั้น)
1. ทาน : การให้ 6. ตบะ : ละกิเลสตัณหา
2. ศีล : ความประพฤติดีงาม 7. อักโกธะ : ไม่โกรธ
3. บริจาค : การเสียสละ 8. อวิหิงสา : ไม่เบียดเบียน
4. อาชวะ : ซื่อตรง 9. ขันติ : อดกลั้น
5. มัทวะ : อ่อนโยน 10. อวิโรธนะ : ความไม่คลาดธรรม (ตั้งมั่นอยู่ในธรรม)
30. อปริยหานิยธรรม7 ธรรมที่ป้องกันความเสื่อม (เน้นเกี่ยวกับการประชุม)
1. หมั่นประชุมกันเสมอ
2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจกรรมส่วนรวม
3. ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนเดิม ตามที่บัญญัติไว้ ไม่ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว
4. เคารพผู้อาวุโส ให้ความเคารพนับถือแก่นักปกครองผู้ใหญ่ และฟังคำของท่าน
5. ไม่บังคับกดขี่เพศแม่ ไม่เอากุลสตรีมาเป็นนางบำเรอ
6. สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ปูชนียสถานทั่วรัฐ
7. ให้การคุ้มครองแก่นักบวช ผู้ทรงมั่นในศีล
31. สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของคนดี
1. ธัมมัญญุตา : รู้จักหลักของเหตุผล 5. กาลัญญุตา : รู้จักกาลเทศะ
2. อัตถัญญุตา : รู้จักผลที่เกิดจากเหตุ 6. ปริสัญญุตา : รู้จักสถานที่
3. อัตตัญญุตา : รู้จักตนเอง 7. ปุคคลัญญุตา : รู้จักบุคคล
4. มัตตัญญุตา : รู้จักความพอๆ
7

# การบริหารจิตและการเจริญปัญญา
1. การบริหารจิต
หลักสติปักฐาน 4 : การตั้งสติเพื่อพิจารณาสิ่งต่างๆ ให้รู้และเข้าใจตามความเป็นจริงของมัน
1. กายานุปัสสนา : การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย
2. เวทนานุปัสสนา : การตั้งสติกำหนดพิจารณาความรู้สึก
3. จิตตานุปัสสนา : การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต
4. ธัมมานุปัสสนา : การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม
2. การเจริญปัญญา
หลักโยนิโสมนสิการ : เป็นกระบวนการคิดอย่างละเอียดลึกซึ้ง การคิดอย่างแยบคาย การคิดอย่างถูกวิธีและ
มีหลักเหตุและผล มีวิธีคิด 10 แบบ ดังนี้
1. สืบสาวหาเหตุปัจจัย
2. แยกแยะส่วนประกอบ (กระจายเนื้อหา)
3. สามัญลักษณะ (รู้เท่าทันธรรมดา คิดแบบไตรลักษณ์)
4. แก้ปัญหา (คิดแบบอริยสัจสี่)
# พุทธศาสนสุภาษิต
> จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ : จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้
> น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ : บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นๆลงๆ
> นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต : คนที่ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
> โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ : ฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข
> ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ : คนขยันเอาการเอางาน กระทำเหมาะสม ย่อมหาทรัพย์ได้
> วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา : เกิดเป็นคนควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าผลที่หมายจะสำเร็จ
> สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ : ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
> อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก : การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก
> ราชา มุขํ มนุสฺสานํ : พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
> สติ โลกสฺมิ ชาคโร : สติเป็นเครื่องตื่นในโลก
> นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ : สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
> นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ : นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
# ศาสนพิธี

# พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง


> พระอัสสชิ : อ่อนน้อมถ่อมตน กิริยาน่าเลื่อมใส ท่านเป็นพระอาจารย์ของพระสารีบุตร
> พระสารีบุตร : อัครสาวกเบื้องขวาผู้มีปัญญาล้ำเลิศ
> พระโมคคัลลานะ : อัครสาวกเบื้องซ้ายผู้มีกำลังมาก
> พระอานนท์ : เป็นพหูสูตร รู้ข้อธรรมทุกเรื่อง
> พระมหากัสสปะ : เป็นพระธุดงค์ เป็นประธานการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก
> พระกีสาโคตมีเถรี : เอตทัคคะด้านทรงจีวรเศร้าหมอง เป็นผู้ถือธุดงควัตรเคร่งครัด มีความเป็นอยู่เรียบง่าย
> หมอชีวกโกมารภัจจ์ : เสียสละ กตัญญู เป็นที่รักของปวงชน ครูการแพทย์แผนโบราณ เป็นผู้นำในการถวายจีวรพระ
> นางวิสาขา มหาอุบาสิกา : ผู้นำในการถวายผ้าอาบน้ำฝน
> ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ : (ชาวศรีลังกา) ผู้ทวงสิทธิพุทธคยา จากผู้ครอบครองชาวฮินดู
> ดร.เอ็มเบ็ดการ์ : ต่อสู้กับระบบวรรณะ จนกลายเป็นชาวพุทธตัวอย่าง
8

เรื่องที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู


1. เป็นศาสนาประเภท : พหุเทวนิยม นับถือพระเจ้าหลายองค์ เช่น พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม
2. พระเจ้า : มีสูงสุด 3 พระองค์ (ตรีมูรติ) คือ พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม
3. ศาสดา : ไม่มี
4. คัมภีร์ : คัมภีร์พระเวท แบ่งเป็น 4 เล่ม คือ (ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท = ไตรเพท) อาถรรพเวท
5. นิกาย : มี 3 นิกายสำคัญ คือ
5.1 นิกายไศวะ : นับถือพระศิวะ(พระอิศวร) เป็นพระเจ้าสูงสุดในตรีมูรติ และนิยมบูชาศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์
แทนองค์พระศิวะ
5.2 นิกายไวษณพ : นับถือพระวิษณุ(พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุดในตรีมูรติ และนิยมบูชาองค์อวตารปางต่าง ๆ
ของพระวิษณุที่อวตารลงมาปราบอสูร เช่น พระรามจันทร์ พระกฤษณะ พระกัลกี
5.3 นิกายศักติ : นับถือพระชายาของพระเจ้าองค์ต่าง ๆ ว่าทรงไว้ซึ่งศักติ(พลังหรืออำนาจ) แห่งพระสวามี
และมนุษย์สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า ขอพรได้ง่ายกว่า ศักติหรือพระชายาพระเจ้าที่เป็นที่นับถือ
> พระอุมา ชายาของพระศิวะ ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ สามารถอวตารเป็น พระนางทุรคา พระนางกาลี เพื่อไปปราบอสูร
> พระลักษมี ชายาของพระวิษณุ (ได้รับยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ)
> พระสุรัสวดี ชายาของพระพรหม (ได้รับยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งอักษรศาสตร์และศิลปวิทยาการ ต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรเทวนาครี)
* ปัจจุบันในประเทศอินเดีย ไม่นิยมบูชาพระพรหม จึงไม่มีนิกายพรหม *

6. หลักธรรมสำคัญ :
6.1 หลักปรมาตมัน - อาตมัน และ โมกษะ : ถือเป็นหลักธรรมชั้นสูงของศาสนาพราหมณ์ฮินดู
1. ปรมาตมัน คือ วิญญาณสูงสุดหรือพระเจ้าสูงสุด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของชีวิตทั้งหลาย
2. อาตมัน คือ วิญญาณย่อย อันเป็นอมตะไม่มีวันแตกดับ มนุษย์จะตายแต่เพียงร่างกาย แต่อาตมัน
จะเป็นอมตะไม่มีวันแตกดับ ซึ่งอาตมัน จะเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุโมกษะ
3. โมกษะ คือ สภาวะแห่งการหลุดพ้น อาตมันของมนุษย์แต่ละคน จะได้กลับไปรวมกับปรมาตมัน
และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกเลย
6.2 หลักตรีมูรติ : พระเจ้าสูงสุดมี 3 พระองค์ และต่างทำหน้าที่ต่อโลกต่างกันไป คือ
1. พระพรหม หน้าที่สร้างโลกสร้างมนุษย์ ชาวฮินดูเชื่อว่าเมื่อพระพรหมสร้างโลกแล้ว จะนอนหลับพักผ่อนชั่ว
กัปชั่วกัลป์ ชั่วอายุขัยของโลก และจะตื่นขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างโลกสร้างมนุษย์ เมื่อโลกและมนุษย์ หมดอายุขัยถูกทำลายล้างแล้ว
(ทำให้ชาวฮินดูในประเทศอินเดียไม่นิยมบูชาพระพรหม แต่จะนิยมบูชาพระศิวะและพระวิษณุมากกว่า)
2. พระศิวะ (พระอิศวร) หน้าที่ทำลายโลก ด้วย “ตรีเนตร” ดวงตาที่สามของพระศิวะ ซึ่งสถิตอยู่กลางหน้า
ผากของพระศิวะ
3. พระวิษณุ (พระนารายณ์) หน้าที่คุ้มครองโลก ด้วยการอวตารลงมาปราบยักษ์ปราบมาร
6.3 หลักอาศรม 4 : วัยแห่งชีวิต 4 วัย ซึ่งแต่ละวัยจะมีหน้าที่เฉพาะของวัยตนเอง
1. พรหมจารี : วัยเด็ก = เรียนหนังสือ
2. คฤหัสถ์ : วัยผู้ใหญ่ = ครองเรือน แต่งงานมีครอบครัวสืบทอดวงศ์ตระกูล และทำงาน
3. วานปรัสถ์ : วัยกลางคน = ทำงานช่วยเหลือสังคมช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม และหมั่นปฏิบัติธรรม
4. สันยาสี : วัยชรา = ออกบวชสละชีวิตทางโลก ไปอยู่ตามป่าตามเขา เพื่อแสวงหาโมกษะ
6.4 หลักวรรณะ 4 : มนุษย์มี 4 ชนชั้นเพราะเกิดจากพระพรหมสร้างขึ้นมาจากอวัยวะของพระพรหม
1. วรรณะพราหมณ์ เกิดจาก ปากพระพรหม / อาชีพคือ เป็นนักบวชท่องบ่นสวดมนต์คัมภีร์
2. วรรณะกษัตริย์ เกิดจาก มือพระพรหม / อาชีพคือ เป็นนักรบนักปกครอง คุ้มคนดี ปราบคนชั่ว
3. วรรณะไวศยะ(แพศย์) เกิดจาก หน้าท้องพระพรหม / อาชีพคือ เป็นพ่อค้าวานิชและเกษตรกร
4. วรรณะศูทร เกิดจาก เท้าพระพรหม / อาชีพคือ เป็นกรรมกรผู้ใช้แรงงาน คอยทำงานรับใช้ 3 วรรณะ
* จัณฑาล คือ คนที่ไม่มีวรรณะ ต่ำต้อยและเป็นที่รังเกียจที่สุดในสังคมฮินดู เกิดจากพ่อแม่ที่แต่งงานข้าม
วรรณะ โดยเฉพาะแม่เป็นวรรณะพราหมณ์ พ่อเป็นวรรณะศูทร *
7. เป้าหมายชีวิตของศาสนาฮินดู : โมกษะ
9

เรื่องที่ 4 ศาสนาคริสต์
1. เป็นศาสนาประเภท : เอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว
2. พระเจ้า : พระยะโฮวา (และนับถือรวมไปถึงพระเยซูคริสต์ว่าเป็นภาคหนึ่งของพระเจ้าด้วย)
3. ศาสดา : พระเยซูคริสต์ * เป็นทั้งศาสดาและภาคหนึ่งของพระเจ้า *
4. คัมภีร์ : คัมภีร์ไบเบิล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ
1) ภาคพันธสัญญาเดิม เป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนายูดาย(หรือศาสนายิว)ด้วย ว่าด้วยเรื่องพระเจ้า
สร้างโลกและสร้างมนุษย์คู่แรก(อาดัมและเอวา) เรื่องโนอาต่อเรือหนีน้ำท่วมโลก เรื่องโมเสสนำชาวยิวอพยพออกจากอียิปต์
2) ภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นคำสอนของพระเยซู โดยเฉพาะ ว่าด้วยเรื่องความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์ และ
สอนให้มนุษย์รักซึ่งกันและกัน ให้อภัยต่อกันและกัน
5. นิกาย : มี 3 นิกายสำคัญ
5.1 นิกายโรมันคาธอลิค (คนไทยเรียก "คริสตัง")
1. นับถือพระสันตะปาปา(Pope) เป็นประมุขของคริสตจักร และมีนักบวช (เช่น บาทหลวง บราเดอร์)
2. เน้นบูชาสวดมนต์ต่อแม่พระมารีอา และต่อบรรดานักบุญ(Saint) ทั้งหลาย
3. มีพิธีกรรมหรูหราหลายขั้นตอน โบสถ์ตกแต่งสวยงามหรูหรา และยอมรับปฏิบัติตามศีล 7 ประเภท
# (คือ 1.ศีลล้างบาป 2.ศีลมหาสนิท 3.ศีลแก้บาป 4.ศีลกำลัง 5.ศีลเจิมคนป่วย 6.ศีลสมรส และ 7.ศีลบวช)
4. ไม้กางเขนมีองค์พระเยซูตรึงอยู่กลางไม้กางเขน
5. แพร่หลายในยุโรปใต้ เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส และในทวีปอเมริกาใต้
5.2 นิกายโปรแตสแตนท์ (คนไทยเรียก "คริสเตียน")
1. ไม่มีนักบวช (มีแต่ ศาสนจารย์) และไม่นับถือพระสันตะปาปา(Pope) เป็นประมุข
2. ไม่บูชานับถือแม่พระมารีอา ไม่นับถือนักบุญ(Saint) * บูชานับถือเฉพาะแต่พระเยซูคริสต์เท่านั้น *
3. เน้นพิธีกรรมที่เรียบง่าย โบสถ์ตกแต่งเรียบง่าย และยอมรับปฏิบัติตามศีลเพียงแค่ 2 ประเภท
เท่านั้นคือ 1. ศีลล้างบาป(หรือศีลจุ่ม) และ 2. ศีลมหาสนิท(พิธีกินขนมปังและดื่มไวน์)
4. ไม้กางเขนไม่มีองค์พระเยซูตรึงอยู่กลางไม้กางเขน เป็นไม้กางเขนเปล่า ๆ
5. แพร่หลายในยุโรปตะวันตกและยุโรปเหนือ เช่น อังกฤษ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และ
สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
5.3 นิกายออร์โธดอกซ์
1. มีนักบวช แต่ไม่นับถือพระสันตะปาปา(Pope) เป็นประมุข (ในแต่ละประเทศจะมีพระสังฆราช
ที่เรียกว่า “Pratriach” เป็นประมุขประเทศใครประเทศมัน)
2. เน้นบูชานับถือแม่พระมารีอาและนักบุญทั้งหลาย
3. มีพิธีกรรมหรูหรา หลายขั้นตอน
4. แพร่หลายในยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย กรีก โรมาเนีย (ไม่แพร่หลายในไทย)
6. หลักธรรมสำคัญ :
6.1 หลักความรัก * หัวใจแห่งศาสนาคริสต์ * มี 2 ระดับ คือ
1.ระดับสูง : ความรักระหว่างพระเจ้าต่อมนุษย์ (พระเจ้าทรงรักมนุษย์มาก)
2.ระดับล่าง : ความรักระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันเอง มนุษย์ต้องรักกันเพราะเป็นพี่น้องกันทั้งโลก
6.2 หลักตรีเอกานุภาพ(Trinity) เชื่อว่าพระเจ้าสูงสุดมีเพียงองค์เดียว แต่ได้ทรงแบ่งภาคออกเป็น 3 ภาค คือ
1. พระบิดา คือ พระยะโฮวา ซึ่งเป็นพระผู้สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์ เป็นผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์ขึ้นมา
2. พระบุตร คือ พระเยซูคริสต์ ซึ่งเสด็จลงมาเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อไถ่บาปให้กับมนุษย์
3. พระจิต(พระวิญญาณบริสุทธิ์) คือ ภาคของพระเจ้าซึ่งสถิตอยู่ในทุกที่ ทรงล่วงรู้ความเป็นไปของมนุษย์
6.3 หลักบาปกำเนิด
1. มนุษย์มีบาปกำเนิดติดตัว บาปนี้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษคู่แรกของมนุษย์คือ อาดัมและเอวา
ที่ได้ทำบาปครั้งแรกเอาไว้ คือขโมยผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้ามากิน
2. ชาวคริสต์ทุกคนทุกนิกาย จึงต้องรับศีลล้างบาป(ศีลจุ่ม) เพื่อล้างบาปกำเนิด เป็นศีลแรกของชีวิต
7. เป้าหมายชีวิตของศาสนาคริสต์ : อาณาจักรพระเจ้า , การได้มีชีวิตนิรันดรอยู่ในอาณาจักรพระเจ้า
* ศาสนาคริสต์ไม่เชื่อเรื่องการเวียนตายเกิด ไม่มีชาติที่แล้ว ไม่มีชาติหน้ามนุษย์เกิดหนเดียวตายหนเดียว *
10

เรื่องที่ 5 ศาสนาอิสลาม
1. เป็นศาสนาประเภท : เอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว
* ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ไม่มีนักบวช และไม่มีรูปเคารพ ไม่มีเครื่องรางของขลังใดๆ *
2. พระเจ้า : พระอัลลอฮ
3. ศาสดา : นบีมูฮัมหมัด
4. คัมภีร์ : คัมภีร์อัลกุรอาน
5. นิกาย : มี 3 นิกายสำคัญ
5.1 นิกายซุนนี
1. ยึดมั่นและปฏิบัติตามจารีตการดำเนินชีวิต (ซุนนะ) ของนบีมูฮัมหมัดอย่างเคร่งครัด
2. ยอมรับผู้นำศาสดาว่ามีแค่ 4 คน หลังจากนบีมูฮัมหมัดสิ้นพระชนม์
(คือ 1. ท่านอบูบักร 2. ท่านอุมัร 3. ท่านอุสมาน และ 4. ท่านอาลี)
3. แพร่หลายมากที่สุด มุสลิมส่วนใหญ่ทั่วโลกนับถือนิกายนี้ (รวมถึงมุสลิมในไทยส่วนใหญ่)
5.2 นิกายชีอะห์
1. นับถือท่านอาลีและลูกหลานของท่านอาลี ว่าเป็นผู้นำศาสนาที่ถูกต้อง
(เพราะท่านอาลีเป็นทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรเขยของนบีมูฮัมหมัด)
2. แพร่หลายใน อิหร่าน อิรัก เยเมน
5.3 นิกายวาฮาบีย์
1. เป็นนิกายใหม่ล่าสุดในศาสนาอิสลาม
2. เน้นความสำคัญและความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์อัลกุรอานมากๆ ห้ามตีความและห้ามแก้ไข
3. แพร่หลายใน ซาอุดีอาระเบีย คูเวต เป็นต้น
6. หลักธรรมสำคัญ :
6.1 หลักศรัทธา 6 ประการ มุสลิมต้องศรัทธาใน 6 สิ่งนี้ว่ามีจริง
1. ศรัทธาในพระอัลลอฮ ว่ามีจริง และทรงเป็นพระเจ้าสูงสุดแต่เพียงองค์เดียว
2. ศรัทธาในศาสดา(นบีหรือรอซูล) ทั้งหลาย เช่น นบีอาดัม นบีอิบรอฮีม(อับบราฮัม)
นบีมูซา(โมเสส) นบีอีซา(พระเยซู) และนบีมูฮัมหมัด ซึ่งเป็นนบีคนสุดท้าย
3. ศรัทธาในคัมภีร์ทั้งหลาย ซึ่งมีหลายเล่ม เช่น พระคัมภีร์เดิมของศาสนายูดาย พระคัมภีร์ไบเบิล
ของศาสนาคริสต์ และพระคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้ายที่พระอัลลอฮ ประทานให้มนุษย์
4. ศรัทธาในเทวฑูต(มลาอีกะห์) ซึ่งเป็นเทพบริวารของพระอัลลอฮ
5. ศรัทธาในวันพิพากษาโลก(วันกียามะห์) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของโลกและมนุษย์ ที่พระอัลลอฮจะทรง
พิพากษาการกระทำของมนุษย์ทั้งหลาย
6. ศรัทธาในกฎสภาวะแห่งพระอัลลอฮ ซึ่งได้ทรงกำหนดไว้ให้มนุษย์ยอมรับกฎเหล่านี้ เช่น กฎธรรมชาติ
ที่โลกจะต้องมีฤดูกาลต่าง ๆ หรือกฎแห่งกรรม ถ้าทำดี พระอัลลอฮ จะทรงอวยพรให้แต่ถ้าทำชั่ว พระอัลลอฮ
จะทรงลงโทษ
6.2 หลักปฏิบัติ 5 ประการ มุสลิมต้องปฏิบัติใน 5 สิ่งนี้ อย่างเคร่งครัด คือ
1. การปฏิญาณตน : มุสลิมจะต้องปฏิญาณตนว่ามีพระอัลลอฮ เป็นพระเจ้าสูงสุดแต่เพียงองค์เดียว
2. การละหมาด : การนมัสการและแสดงความนอบน้อมต่อพระอัลลอฮ ซึ่งมุสลิมที่เคร่งครัดและมีเวลาจะ
ละหมาดวันละ 5 ครั้ง
3. การถือศีลอด : ในเดือนศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมทั่วโลก คือเดือนรอมฎอน โดยมุสลิมจะอดอาหารและน้ำ
ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นยันพระอาทิตย์ตกดิน เพื่อฝึกให้รู้จักรสชาดความอดอยากหิวโหยและจะได้ช่วยเหลือ
คนยากจน
4. การบริจาคซะกาต : เพื่อให้คนรวยได้ช่วยเหลือคนยากจน
5. การประกอบพิธีฮัจญ์ : ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบีย หลักปฏิบัตินี้เป็นหลักปฏิบัติที่เคร่งครัดน้อย
ที่สุด เพราะไม่ต้องทำทุกคน ให้ทำได้เฉพาะมุสลิมที่มีความพร้อมเท่านั้น
7. เป้าหมายชีวิตของศาสนาอิสลาม : การเข้าถึงพระอัลลอฮ
* ศาสนาอิสลามไม่เชื่อเรื่องการเวียนตายเกิด ไม่มีชาติที่แล้ว ไม่มีชาติหน้า มนุษย์เกิดหนเดียวตายหนเดียว *
11

สาระที่ 2 หน้าที่พลเมืองฯ
เรื่องที่ 1 สังคมวิทยา
ส่วนที่ 1 สังคมมนุษย์
1. สังคม : กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่อยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีภูมิ
ลำเนาเป็นหลักแหล่ง มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีการสืบทอดวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
2. ลักษณะของสังคม
> มีดินแดนหรืออาณาเขตแน่นอน > อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มถาวร
> มีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของตนเอง > มีความสัมพันธ์และการกระทำต่อกันทางสังคม
3. หน้าที่ของสังคม
> ผลิตสมาชิกใหม่ >สมาชิกของสังคมได้พึ่งพาอาศัยกัน > อบรมสั่งสอนสมาชิกผ่านกระบวนการขัดเกลา
4. โครงสร้างทางสังคม
1. กลุ่มคน > ปฐมภูมิ
> ทุติยภูมิ
2. สถาบันทางสังคม > ครอบครัว = เดี่ยว / ขยาย
> การศึกษา
> การเมืองการปกครอง
> เศรษฐกิจ
> ศาสนา
> นันทนาการ
> สื่อสารมวลชน
3. การจัดระเบียบทางสังคม > สถานภาพ = ติดตัวมา / ได้มาภายหลัง
> บทบาท
> ค่านิยม
> การขัดเกลา = ทางตรง / ทางอ้อม
> การควบคุมทางสังคม = เชิงบวก / เชิงลบ
> บรรทัดฐาน >> วิถีประชา
>> จารีต
>> กฎหมาย
ส่วนที่ 2 วัฒนธรรม
1. วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ อุดมคติ ค่านิยมของคนในสังคมที่กำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิต สร้าง
สม เปลี่ยนแปลง แก้ไข และพัฒนา เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีการสืบทอดจนถึงปัจจุบัน
2. ลักษณะของวัฒนธรรม
> เกิดจากการเรียนรู้ > เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
> เป็นมรดกทางสังคม > เปลี่ยนแปลงได้ ไม่คงที่
# วัฒนธรรมมีทั้งวัฒนธรรมหลัก และวัฒนธรรมย่อย
3. ประเภทของวัฒนธรรม
- วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ ประดิษฐกรรมที่เป้นวัตถุ เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้
- วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (นามธรรม) เช่น ความเชื่อ ความรู้ อุดมคติ บรรทัดฐาน ประเพณี จารีต คุณธรรม
4. เนื้อหาสาระของวัฒนธรรม แบ่งได้ 4 ด้าน (ตาม พรบ. วัฒนธรรม 2522)
- คติธรรม คือ สาระทางความคิด ความเชื่อค่านิยม อุดมคติ
- เนติธรรม คือ สาระทางกฎระเบียบของสังคม เช่น กฎหมาย ประเพณี
- สหธรรม คือ สาระทางการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น มารยาทการปฏิบัติตน
- วัตถุธรรม คือ สาระทางประดิษฐกรรม เครื่องใช้ บ้านเรือน อาหาร ยารักษาโรค
12

เรื่องที่ 2 รัฐศาสตร์
1. รัฐ : กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชนทางการเมืองเดียวกัน ประกอบด้วยดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอน
มีรัฐบาลปกครอง มีอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ดำเนินกิจการของรัฐทั้งภายใน
และภายนอกประเทศ
2. องค์ประกอบของรัฐ
1) ประชากร
2) อาณาเขต (ดินแดน)
3) รัฐบาล
4) อำนาจอธิปไตย (เอกราช) *สำคัญที่สุด หากไม่มีจะเป็นแค่ประเทศ ไม่ใช่รัฐ
3. ประเภทของรัฐ (ดูจากจำนวนรัฐบาล)
1) รัฐเดี่ยว มีรัฐบาลชุดเดียวบริหารประเทศ เช่น ไทย ญี่ปุ่น เวียดนาม อังกฤษ
2) รัฐรวม มีรัฐบาล 2 ระดับ มีรัฐอย่างน้อย 2 รัฐมารวมกัน แบ่งอำนาจหน้าที่กันโดยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
> รัฐบาลกลาง ดำเนินกิจการที่สำคัญต่อความมั่นคงของรัฐ เช่น การป้องกันประเทศ การต่างประเทศ การคลัง
> รัฐบาลท้องถิ่น จัดการสาธารณูปโภค การศึกษา จราจร สวนสาธารณะ ดูแลความสะอาด
ตัวอย่างรัฐรวม : อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย อิรัก รัสเซีย มาเลเซีย พม่า เยอรมัน อินเดีย สวิสเซอร์แลนด์ บราซิล
เม็กซิโก สหรัฐอาหรับเอมีเรต ปากีสถาน ไนจีเรีย
(ประเทศที่ขึ้นต้นด้วย สหรัฐ สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ) # สหราชอาณาจักร ไม่ใช่นะ
4. ระบอบการปกครอง มี 2 ระบอบหลักคือ ประชาธิปไตย กับ เผด็จการ
******* 1. ประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจปกครองประเทศ เป็นการ
ปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย
1) หลักอำนาจอธิปไตย : อำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
2) หลักสิทธิเสรีภาพ : สิทธิเสรีภาพที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง เช่น การนับถือศาสนา
3) หลักความเสมอภาค : ประชาชนทุกคนต้องมีความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ทางการเมือง
4) หลักเสียงข้างมาก : ใช้เพื่อแก้ปัญหา หาข้อยุติ ตลอดจนการตัดสินใจในกิจการสาธารณะ
5) หลักนิติธรรม : ทุกคนยึดกฎหมายเป็นหลัก เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
6) หลักการใช้เหตุผล : ประชาธิปไตยเน้นการประนีประนอม ไม่ใช้ความรุนแรง
รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
1) ประชาธิปไตยทางตรง(ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม) เช่น การลงประชามติ
2) ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน เช่น การเลือก สส. สว.
ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน มี 3 รูปแบบ คือ
1) ระบบรัฐสภา (แม่แบบอังกฤษ)ถือว่ารัฐสภาเป็นองค์กรสูงสุด เป็นที่รวมเจตจำนงของประชาชน
ทั้งประเทศเป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมือง อาจมีสภาเดียว(เฉพาะ สส.) หรือสองสภาก็ได้(สส. และ สว.)
> อาจมีกษัตริย์เป็นประมุข (เช่น อังกฤษ ไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย กัมพูชา นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก
เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สเปน แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์)
> หรืออาจมีประธานาธิบดีเป็นประมุข (เช่น อินเดีย สิงคโปร์ เยอรมัน อิตาลี) ก็ได้
> อำนาจการบริหารอยู่ที่นายกรัฐมนตรี
> รัฐสภาทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ (ออกกฎหมาย) และควบคุมอำนาจบริหาร
> คณะบริหารมาจากพรรคการเมืองที่ได้เสียงสูงสุด จัดตั้งโดยมีสภาผู้แทนราษฎรรับรองหาก
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภา จะต้องพ้นจากตำแหน่ง
> นายกรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร (การยุบสภาในประเทศไทยจะตราเป็น
พระราชกฤษฎีกา มีนายกฯเป็นผู้สนองบรมราชโองการ)
2) ระบบประธานาธิบดี มีสหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบ อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ แยกกันชัดเจน
กำหนดเป็นกฎหมายในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและใช้อำนาจอย่างถูกต้อง
> รัฐสภาออกกฎหมายได้เพียงองค์กรเดียว
> ประธานาธิบดีมีอำนาจยับยั้งกฎหมายได้
13
> ศาลสูงมีอำนาจตีความกฎหมายที่มาจากสภา และอนุมัติโดยประธานาธิบดี ว่าขัดกับ รธน.?
> ประธานาธิบดีแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูง โดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
> ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบสภา
> ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง
> ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร จึงไม่มีนายกรัฐมนตรี
> ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ : อเมริกา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เม็กซิโก
3) ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา มีฝรั่งเศสเป็นต้นแบบ
> ประชาชนเลือกประธานาธิบดีโดยตรง
> ประธานาธิบดีเป้นทั้งประมุขและผู้นำทางการเมือง
> ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี(จากคำแนะนำของนายกฯ)
> สส. มีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจนายกฯ แต่ลงมติกับประธานาธิบดีไม่ได้
> ประธานาธิบดียุบสภาได้
> ประเทศที่ใช้ระบบนี้ : ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ รัสเซีย ไต้หวัน
ข้อดี ของประชาธิปไตย
> ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ
> ประชาชนปกครองตนเอง คนดีคนเก่งมีโอกาสบริหารประเทศ
> ประเทศมีความเจริญมั่นคง
ข้อเสีย ของประชาธิปไตย
> ดำเนินการยาก เพราะการดำเนินการตามความต้องการของประชาชนทุกคนเป็นไปไม่ได้
> เสียค่าใช้จ่ายสูงในการเลือกตั้ง
> มีความล่าช้าในการตัดสินใจ เพราะต้องให้เสียงส่วนใหญ่ยอมรับ
******* 2. การปกครองระบอบเผด็จการ : การปกครองที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งยึดอำนาจทางการเมืองโดยไม่
เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น การแสดงความเห็น การรวมกลุ่ม
> ผู้นำคนเดียวหรือคณะเดียวมีอำนาจสุงสุดในการปกครอง
> การรักษาความมั่นคงของผู้นำสำคัญกว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชน
> รัฐธรรมนูญเป็นเพียงกฎหมายรับรองอำนาจของผู้นำ สส.ไม่ใช่ตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง
รูปแบบการปกครองระบอบเผด็จการ
1. อำนาจนิยม
> เผด็จการทหาร ส่งเสริมการใช้อำนาจของผู้ปกครอง ประชาชนไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองการ
ปกครอง แต่มีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจสังคมตราบเท่าที่ไม่กระทบต่ออำนาจผู้ปกครอง ระบบนี้มีการ
ลงโทษอย่างรุนแรง เพื่อให้ประชาชนเชื่อฟัง
2. เบ็ดเสร็จ ควบคุมประชาชนในทุกเรื่อง มีพรรคการเมืองพรรคเดียว ต้องเชื่อฟังผู้นำ เน้าลัทธิ
> ฟาสซิสต์ : อิตาลี ชาตินิยมอย่างรุนแรง สนับสนุนกิจกรรมทางทหารอย่างเต็มที่ มีนโยบายขยาย
> นาซี : เยอรมัน อาณาเขตและอิทธิพลไปยังประเทศต่างๆ ปัจจุบันไม่มีแล้ว เคยมีใน อิตาลี เยอ
รมัน(นาซี) และญี่ปุ่น เป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2

> คอมมิวนิสต์ : จีน คิวบา เกาหลีเหนือ ลาว เวียดนาม


ข้อดี ของเผด็จการ
- ทำงานได้รวดเร็ว เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีสหภาพโซเวียตเป็น
- แก้ไขปัญหาบางอย่างได้ เพราะมีอำนาจเด็ดขาด ผู้นำ มีหลักความเชื่อแบบมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์
เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ กำจัดนายทุน แล้ว
เช่น ปัญหาอาชญากรรม การก่อการร้าย รัฐจะเข้ามาดูแลกิจการแทนโดยคำนึงถึงความ
- รัฐบาลมีเสถียรภาพ มีความเป็นเอกภาพ ทำงานได้ต่อเนื่อง เสมอภาคเป็นสำคัญ ปัจจุบันมีการปรับตัว ทำให้
ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง เกิดการประสาน
ข้อเสีย ของเผด็จการ ผลประโยชน์ ประเทศคิมมิวนิสต์ที่เหลือ
- มีข้อผิดพลาดได้ง่าย เพราะตัดสินใจคนเดียวหรือกลุ่มเดียว
- ไม่ให้โอกาสคนดีคนเก่งเข้ามามีส่วนร่วม
- ทำให้ประเทศชาติพัฒนาล่าช้า
14

เรื่องที่ 3 นิติศาสตร์
1. กฎหมาย : กฎหรือข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ
2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย
1) ใช้ได้ทั่วไป กับทุกคนภายในประเทศ รวมถึงชาวต่างชาติ
2) ใช้ได้ตลอดไป ตลอดเวลาจนกว่าจะยกเลิก
3) ตราโดยผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (รัฏฐาธิปัตย์)
4) ควบคุมการกระทำของมนุษย์
5) มีสภาพบังคับทางกฎหมาย
6) มีผลย้อนหลังต่อจำเลย (กรณีเป็นคุณประโยชน์)
3. ระบบกฎหมาย
1) กฎหมายจารีตประเพณี : Common Laws
> ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
> ใช้จารีตประเพณี หรือค่านิยมความเชือ่ ของแต่ละท้องถิน่ ร่วมกับใช้คำพิพากษาของศาลในอดีตเป็นกฎหมาย
> ใช้ในประเทศ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
2) ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร : Civil Laws หรือ ระบบประมวลกฎหมาย
> บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และมักมีการจัดทำ “ประมวลกฎหมาย” ขึ้นมาใช้ภายในประเทศ
> ไม่ใช้จารีตประเพณี เป็นกฎหมาย
> ใช้ในประเทศ จักรวรรดิโรมันโบราณ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไทย
4. ประเภทของกฎหมายไทย
# แบ่งตามที่มาของกฎหมาย
1) กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบด้วยการลงประชามติ คือ รัฐธรรมนูญ
2) กฎหมายที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย กฎมณเฑียรบาล
3) กฎหมายที่ตราโดยฝ่ายบริหาร ได้แก่ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
4) กฎหมายที่ตราโดยสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติ กทม. - อบจ. - พัทยา / เทศบัญญัติ
# แบ่งตามความสัมพันธ์ของคู่กรณี
1) กฎหมายมหาชน : ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน
เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์
2) กฎหมายเอกชน : ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน
เช่น กฎหมายครอบครัว กฎหมายมรดก กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3) กฎหมายระหว่างประเทศ : รัฐต่อรัฐ เช่น สนธิสัญญาทางการฑูต สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
# แบ่งตามหน้าที่ (วิธีการใช้)
1) กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหาของสิทธิ หน้าที่ ข้อห้าม ควบคุมความประพฤติของ
คนในสังคมโดยตรง เช่น กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2) กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการในการยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย
สารบัญญัติ (กระบวนการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติ)
เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
5. ลำดับชั้นของกฎหมายไทย (เรียงจากสูงสุดลงไปต่ำสุด)
1) รัฐธรรมนูญ
2) พระราชบัญญัติ = ประมวลกฎหมาย
3) พระราชกำหนด
4) พระราชกฤษฎีกา
5) กฎกระทรวง > ประกาศกระทรวง
6) กฎหมายที่ออกโดยสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ข้อบัญญัติ กทม. เทศบัญญัติ
# กฎหมายเล็กจะขัดกับกฎหมายใหญ่ไม่ได้
15
5. ประเภทของศาลไทย
1. ศาลรัฐธรรมนูญ พิพากษาคดีที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญกำหนดไว้
2. ศาลปกครอง พิจารณาคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตาม
รัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครอง
แบ่งเป็นศาลปกครองชั้นต้น (ได้แก่ ศาลปกครองกลาง และ ศาลปกครองในภูมิภาค) กับ ศาลปกครองสูงสุด
3. ศาลทหาร พิพากษาคดีอาญาที่ผู้กระทำผิดอยู่ในอำนาจศาลทหาร
4. ศาลยุติธรรม พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลอื่น
แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
1) ศาลชั้นต้น
> ศาลแพ่ง : ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี
> ศาลอาญา : ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี
> ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลชำนัญพิเศษอื่นๆที่ พรบ.จัดตั้งกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น
เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
2) ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และ ศาลอุทธรณ์ภาค
3) ศาลฎีกา สูงสุด มีศาลเดียว

กฎหมายอาญา
1. กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคม ซึ่งรัฐกำหนดให้เป็นความผิดและต้องรับโทษ
2. โทษทางอาญา เรียงจากหนักไปหาเบา
1) ประหารชีวิต : ด้วยการฉีดยาพิษ
2) จำคุก : ฝากขังไว้ที่เรือนจำ คดียังไม่สิ้นสุดแต่ประกันตัวไม่ได้
3) กักขัง : ขังไว้ในสถานที่อื่น ไม่ใช่เรือนจำ
4) ปรับ : ปรับเงินจริงๆ ของผู้กระทำความผิด
5) ริบทรัพย์สิน : ยึดทรัพย์ที่ประเมินว่าเกิดจากการทำผิด
3. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
1) ลักทรัพย์ : การเอาของคนอื่นไปโดยไม่มีการทำร้าย
2) วิ่งราวทรัพย์ : กระชากสร้อยโดยไม่มีการทำร้าย
3) ชิงทรัพย์ : การวิ่งเข้าไปชกแล้วกระชากสร้อย
4) ปล้นทรัพย์ : การชิงทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
5) ยักยอกทรัพย์ : การเบียดบังเอาทรัพย์ของคนอื่นหรือทรัพย์ที่ตัวเองถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยมา เป็นของตนโดยทุจริต
6) รีดเอาทรัพย์ : การขู่ว่าจะเปิดเผยความลับแลกกับทรัพย์สิน (ไม่ใช้กำลังประทุษร้าย) blackmail
7) กรรโชกทรัพย์ : การข่มขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายร่างกาย ทรัพย์สิน เพื่อให้ผู้อื่นมอบทรัพย์แก่ตน
4. กระบวนการยุติธรรมคดีอาญา ประกอบด้วย
1) คู่กรณี 2 ฝ่าย : โจทก์ - จำเลย
2) พนักงานปกครอง : ปราบปราม จับผู้กระทำความผิด ได้แก่ ตำรวจ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
3) พนักงานสอบสวน : สอบสวนหาพยานหลักฐาน ได้แก่ ตำรวจ
4) พนักงานอัยการ : เป็นทนายความของฝ่ายผู้เสียหายหรือโจทก์(ฝ่ายรัฐ) (อัยการ คือทนายความของแผ่นดิน)
5) ทนายความจำเลย
6) ศาลสถิตยุติธรรม มี 3 ระดับ คือ 1. ศาลชั้นต้น 2. ศาลอุทธรณ์ 3. ศาลฎีกา
7) พนักงานราชทัณฑ์
8) พนักงานคุมประพฤติ (กรณีรอลงอาญา)
16
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1. บุคคล : แบ่งได้ 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
1. บุคคลธรรมดา
> สภาพบุคคล : เริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดเมื่อตาย หรือศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ
> การตาย / สาบสูญ
1. การตายโดยธรรมชาติ เช่น ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว มะเร็ง ปอดทะลุ
2. การตายโดยผลของกฎหมาย คือ บุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญมีใน 2กรณี คือ - ถ้าจากภูมิลำเนา
หรือถิ่นที่อยู่ไปโดยไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้น ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา 5 ปี
# ถ้ามีสาเหตุได้รับอันตรายจากการรบหรือสงคราม ยานพาหนะอับปาง ถูกทำลาย สูญหาย
เช่น เครื่องบินตก เรือล่ม ระยะเวลาจะลดเหลือ 2 ปี
>บรรลุนิติภาวะ
1. บรรลุนิติภาวะโดยธรรมชาติ คือ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
2. บรรลุนิติภาวะโดยสมรส ตอนอายุ 17 ปีบริบูรณ์แต่ต้องได้รับการยินยอมจากพ่อแม่
> บุคคลถูกจำกัดความสามารถ
1. ผู้เยาว์ : อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ผู้ดูแล คือ ผู้แทนโดยชอบธรรม
เมื่อผู้เยาว์อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ สามารถทำพินัยกรรมได้ และรับมรดกได้
* ผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่ ผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ พ่อแม่ และผู้ปกครองคือ
ผู้ที่นอกเหนือจากพ่อแม่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อปกครองผู้เยาว์
2. คนไร้ความสามารถ : บุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ผู้ดูแล คือ ผู้อนุบาล
ห้ามทำนิติกรรมเองโดยเด็ดขาด ต้องให้ผู้อนุบาลทำแทน
3. คนเสมือนไร้ความสามารถ : บุคคลที่มีความพิการเชิงกายภาพ จิตไม่สมประกอบ ติดสุรายาเสพติด ซึ่ง
ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ผู้ดูแลคือ ผู้พิทักษ์
*บุคคลวิกลจริต ยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดา จนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ การเป็นผู้ไร้ความ
สามารถและผู้เสมือนไร้ความสามารถ ต้องให้ศาลสั่งเท่านั้น
2. นิติบุคคล : บุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น มีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา เริ่มต้นสภาพเมื่อจดทะเบียน สิ้นสุด
เมื่อปิดกิจการหรือโดนฟ้องล้มละลาย
1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน : ห้างหุ้นส่วนสามัญ/จำกัด บริษัท
2. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน : เช่น วัด กระทรวง หน่วยราชการ
2 นิติกรรม : การกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย และสมัครใจทำ เพื่อที่จะผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1. นิติกรรมฝ่ายเดียว : เช่น การทำพินัยกรรม การบอกเลิกสัญญา การปลดหนี้
2. นิติกรรมหลายฝ่าย : เช่น สัญญากู้ยืม สัญญาขายฝาก สัญญาจำนำ การทำหนังสือจัดตั้งบริษัท
# ความบกพร่องของนิติกรรม
1. โมฆะ (โมฆกรรม) คือ นิติกรรมที่ไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มทำ
เช่น การทำสัญญากู้ยืมเงินที่เก็บดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การจดทะเบียนสมรสซ้อน
2. โมฆียะ (โมฆียกรรม) คือ นิติกรรมที่มีผลทางกฎหมาย จนกว่าจะถูกบอกล้าง และให้ถือเป็นโมฆกรรมแต่แรก
เช่น อาจเกิดจากผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ทำลงไปอาจจะโดยไม่เจตนาหรือโดยขมขู่
# ข้อมูลเพิ่มเติม
1. นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม จะตกเป็นโมฆียะ
(มีผลสมบูรณ์เมื่อมีการให้สัตยาบันหรือถูกยกเลิกเมื่อบอกล้างเพิกถอน)
2. กรณีที่มีการทำพินัยกรรมซ้อนกันหลายฉบับ ให้ยึดเอาฉบับล่าสุดก่อนผู้ทำเสียชีวิต 3.
ทรัพย์ : สิ่งที่มีมูลค่า มีรูปร่างจับต้องได้ มีราคาที่ชัดเจน
1. สังหาริมทรัพย์ : เคลื่อนที่ได้ ไม่ยึดติดอยู่กับที่
เช่น ทองคำ รถยนต์ โทรทัศน์ ดินที่ขุดมาขาย
2. อสังหาริมทรัพย์ : เคลื่อนที่ไม่ได้ ติดอยู่กับที่ถาวร ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น
เช่น บ้าน ตึก อาคาร ไม้ยืนต้น
3. สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ : ทรัพย์เคลื่อนที่ได้ แต่การโอนกรรมสิทธิ์มีความจำเป็นต้องทำอย่างอสังหาริมทรัพย์
เช่น สัตว์ พาหนะ แพอยู่อาศัย เรือ 5 ตัน+
17
4. เอกเทศสัญญา : เป็นรูปแบบของสัญญาที่กฎหมายกำหนดชื่อสัญญา และกฎเกณฑ์ทั่วไปของสัญญาเอาไว้
ชัดเจน ปัจจุบันนี้เอกเทศสัญญามีทั้งหมด 22 แบบสัญญา นอกเหนือจากนี้จะเรียกว่า “สัญญาไม่มีชื่อ” เอกเทศสัญญาที่สำคัญๆ
ที่ออกข้อสอบมีดังนี้
ซื้อขาย
สัญญาที่ ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินให้แก่ ผู้ซื้อ โดยใช้เงินตามราคาทรัพย์สินนั้น การซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือ และจด
ทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ทำการซื้อขาย มี 3 สัญญา ได้แก่
1. สัญญาจะซื้อจะขาย : สัญญาซื้อขายที่จะต้องไปทำให้สมบูรณ์ในภายหลัง เช่น ขายที่ดิน ต้องมีการไปจดทะเบียนโอน
กันจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
2. สัญญาซื้อขายเงินผ่อน : สัญญาซื้อขาย ที่มีการแบ่งชำระราคาเป็นงวดๆ โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์โอนไปยังผู้ซื้อทันที
ก่อนที่การชำระราคาจะครบถ้วน
3. สัญญาขายฝาก : สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นตกไปยังผู้ซื้อโดยมีข้อตกลงในขณะทำสัญญา
ว่า ผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนได้
เช่าทรัพย์
สัญญาที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้อีกบุคคลหนึ่งคือ ผู้เช่า ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นๆ ในช่วงระยะเวลาที่
กำหนด โดยมีเงินเป็นค่าตอบแทน เช่น เช่าบ้านพัก
- การเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือ และลงลายชื่อจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน
- การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ห้ามเช่ากันนานเกินกว่า 30 ปี
- การเช่าสามารถตกลงให้เช่านานตลอดอายุผู้เช่า หรือผู้ให้เช่าได้
เช่าซื้อ
สัญญาที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้เช่าซื้อ นำทรัพย์สินของตนออกให้เช่า โดยจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อเมื่อ
ชำระเงินจนครบงวดตาที่ตกลง
- ต้องทำเป็นหนังสือ มิเช่นนั้นจะเป็น โมฆะ
- หากไม่ชำระเงิน 2 งวดติดต่อกน ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
- แตกต่างจากซื้อขายเงินผ่อน เพราะการเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นต่อเมื่อได้ชะระเงินครบทุกงวด
แล้ว แต่ซื้อขายผ่อนผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นแม้จะยังชำระเงินไม่ครบถ้วนก็ตาม
- แตกต่างจากการเช่าทรัพย์ เพราะการเช่าซื้อ เป็นสัญญาเช่าทรัพย์ที่มีคำมั่นว่าจะขายรวมอยู่ด้วย
กู้ยืมเงิน
เป็นสัญญาที่ ผู้กู้ ขอยืมเงินจำนวนหนึ่งตามที่ได้กำหนดจาก ผู้ให้กู้ ตกลงว่าจะคืนเงินดังกล่าวตามกำหนดเวลา โดยผู้กู้เสียดอก
เบี้ยให้แก่เจ้าของเงิน ผู้ให้กู้ ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
- ดอกเบี้ยต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หากเกินนี้ส่วนของดอกเบี้ยจะถือเป็นโมฆะ และต้องได้
รับโทษทางอาญาด้วย
- การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป (ตั้งแต่ 2,001 บาท) จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
ค้ำประกันสัญญา
ซึ่งบุคคลภายนอก คือผู้ค้ำประกัน ผูกพันต่อสัญญาเพื่อชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้
- เจ้าหนี้จะต้องเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ จึงมีสิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกัน
- เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้แล้ว สามารถไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ได้
จำนอง
สัญญาที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาอสังหาริมทรัพย์ไปจำนองโดยจดทะเบียนไว้กับ ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันในการ
ชำระหนี้ ทั้งนี้ผู้จำนองต้องส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง เช่น ที่ดิน บ้าน
- ไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สิน แต่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
- หลังจากหลุดจำนองแล้วจะขายทอดตลาดและได้เงินไม่ครบตามมูลหนี้ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาด เช่น
จำนอง 7 ล้าน แต่ไปขายทอดตลอดได้ 5 ล้าน
จำนำ
สัญญาที่บุคคลหนึ่งคือ ผู้จำนำ นำสังหาริมทรัพย์ของตนมาประกันการชำระหนี้ต่อ ผู้รับจำนำ
- ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำ
- หลังจากหลุดจำนำแล้วจะขายทอดตลาดและได้เงินไม่ครบตามมูลหนี้ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาด
18
5. กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
1. การหมั้น : การทำสัญญากันของผู้ใหญ่สองครอบครัวว่าจะให้ลูกสมรสกันในอนาคต
> จะกระทำได้เมื่อฝ่ายชาย-ฝ่ายหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
> มีการมอบของหมั้นของฝ่ายชายให้แก่ฝ่ายหญิง สินสอดฝ่ายชายจะมอบให้กับพ่อแม่ของฝ่ายหญิง
> ของหมั้นจะมอบให้ก่อนการสมรส ส่วนสินสอดจะมอบให้ก่อนหรือเมื่อมีการสมรสก็ได้
> หากฝ่ายชายไม่ได้เจตนาทำผิดสัญญาหมั้น แต่มีเหตุให้ต้องเสียชีวิตถูกจำคุกตลอดชีวิตให้ถือว่าของหมั้นตกเป็นของ
ฝ่ายหญิงเช่นกัน
> เมื่อคู่หมั้นตายก่อนการสมรส อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทน ไม่ต้องคืนของหมั้น
2. สมรส : การแต่งงานกันโดยต้องมีการจดทะเบียนสมรสจะถือเป็นสมบูรณ์
> ฝ่ายหญิงและชายต้องอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายยินยอม
> แต่การสมรสอาจทำได้ก่อนชายหญิงจะมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หากศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้สมรสได้ เช่น ฝ่าย
หญิงตั้งครรภ์
> สมรสไม่ได้ถ้า ชายหรือหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิต หรือเป็นบุคคลวิกลจริต
> การสมรสกันระหว่างชายหญิงที่เป็นบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรม การสมรสนั้นสมบูรณ์ได้ แต่ความสัมพันธ์
แบบผู้ปกครองกับลูกจะจบลงทันทีที่จดทะเบียนสมรส
ประเภทของทรัพย์สินคู่สมรส
1. สินส่วนตัว : ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนการสมรส
เช่น ของหมั้นที่ฝ่ายหญิงได้รับ ของใช้ส่วนตัว เครื่องมือประกอบอาชีพ ทรัพย์สินที่ได้มาโดยมรดกหรือเสน่หา
2. สินสมรส : ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส ดอกผลของสินส่วนตัว มรดกตามพินัยกรรม
การสมรสจะสิ้นสุดลงเมื่อคู่สมรสตาย เมื่อจะทะเบียนหย่า เมื่อศาลพิพากษาให้หย่า
# หลังการสมรสสิ้นสุดลง จะมีการสมรสใหม่ได้เมื่อเวลาผ่านไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน
เว้นแต่จะเป็นการสมรสกับคู่สมรสเดิม หรือคลอดบุตรในระหว่างนั้น หรือศาลอนุญาตให้สมรสได้
3. การหย่า : การสิ้นสุดความเป็นสามีภรรยากัน ทำได้ 2 วิธี คือ จดทะเบียนหย่าที่อำเภอ เมื่อคู่สมรสต่างยินยอม
พร้อมใจกัน แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมก็ฟ้องศาลสั่งหย่า เมื่อคู่สมรสไม่ยินยอม
4. บุตร > บุตรชอบด้วยกฎหมาย : บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่จดทะเบียนสมรสกัน
> บุตรนอกกฎหมาย : บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
> บุตรบุญธรรม : กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
และต้องมีอายุมากกว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม 15 ปีขึ้นไป จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
5. มรดก : ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่กฎหมายหรือโดย
สภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ซึ่งมรดกจะตกเป็นของทายาท
# ทายาทไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่ตน เช่น รับมรดกจากเจ้ามรดกมา 1,000,000 บาท เจ้าของมรดกตายและ
มีหนี้อยู่ 1,200,000 บาท ทายาทก็ชำระหนี้ไม่เกิน 1,000,000 บาท แต่ถ้าเป็นหนี้นอกระบบในทางปฏิบัติชีวิตจริง ก็ต้องรับผิดชอบใช้ให้หมดอยู่ดีเพราะ
เจ้าหนี้ก็ต้องมาตาม
6. พินัยกรรม : กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน หรือการต่างๆ เมื่อได้ตายลง บุคคลจะทำพินัยกรรมได้
เมื่อมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสารถ มิฉะนั้นพินัยกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ
7. ทายาท
1. ทายาทโดยธรรม มี 6 ลำดับชั้น
1. ผู้สืบสันดาน (สายเลือด) = ลูกของเจ้ามรดก : กรณีลูกเสียชีวิตก่อนเจ้าของมรดก หลานจะเข้ารับมรดกแทน
2. บิดา มารดา : จะได้รับมรดกเสมอ และไม่ถูกตัดโดยทายาทลำดับก่อนหน้า
3. พี่น้องร่วมบิดามารดา
4. พี่น้องร่วมเฉพาะบิดาหรือมารดา หากมีทายาทลำดับก่อนหน้ารับมรดกไป ก็จะไม่มีสิทธิ์ได้รับ
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
2. ทายาทโดยพินัยกรรม : ทายาทที่จะได้รับมรดกตามที่ได้แบ่งสันปันส่วนในพินัยกรรม
6. กฎหมายเกี่ยวกับตัวบุคคล
> การแจ้งเกิด ต้องแจ้งภายใน 15 วัน ถ้าไม่ทราบวัน เดือน ปีเกิด ให้ถือเอาวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้นเป็นปีเกิด
> การแจ้งตาย ต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง
19

สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
1. บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ Adam Smith เจ้าของผลงาน “The Wealth of Nations” เจ้าของแนวคิด ตลาดเสรี
กลไกราคา ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ (Absolute Advantage) การแบ่งงานกันทำ
2. เศรษฐศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด
3. ปัญหาหลักของวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ ความขาดแคลน อันเกิดจากการที่ทรัพยากรมีจำกัด แต่ความต้องการของ
มนุษย์มีไม่สิ้นสุด
4. ความขาดแคลน ก่อให้เกิดเป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 3 ปัญหา
1. ผลิตอะไร (what to produce)
2. ผลิตอย่างไร (how to produce)
3. ผลิตเพื่อใคร (produce for whom)
5. ต้นทุนค่าเสียโอกาส : มูลค่าสูงสุดของงานที่ไม่ได้เลือกทำ
6. สาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์ มี 2 สาขา
1. จุลภาค (micro economics) : ทฤษฎีราคา เช่น รายได้ของบริษัทซีพี
2. มหภาค (macro economics) : ทฤษฎีรายได้ เช่น รายได้ประชาชาติ เงินเฟ้อ เงินฝืด อัตราการว่างงาน

2. กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. การผลิต คือ การบวนการในการแปลงสภาพปัจจัยการผลิตต่างๆ ให้เป็นสินค้าและบริการที่มนุษย์ต้องการ
# ขั้นตอนการผลิต > ปฐมภูมิ ปลูกที่ไร่ ออกไปหาปลา
> ทุติยภูมิ แปรรูปที่โรงงาน
> ตติยภูมิ บริการหลังการขาย ขนส่ง ขายปลีก การบริการขนส่ง บริการทางการแพทย์
# ปัจจัยการผลิต > ที่ดิน (ไม่รวมสิ่งที่อยู่เหนือน่านฟ้า) (ไม่รวมสิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ที่ติดกับที่ดิน)
> แรงงาน
> ทุน
> ผู้ประกอบการ *สำคัญที่สุด เพราะต้องแบกรับความเสี่ยงและปัจจัยการผลิตสู่กระบวนการผลิต
2. การบริโภค คือ การที่มนุษย์ใช้สินค้าและบริการบำบัดความต้องการของตนเองหรือครัวเรือน
มี 3 ด้าน คือ การบริโภคเพื่อร่างกายโดยตรง = บริโภค
การบริโภคเพื่อใช้สอย = อุปโภค
การบริโภคเพื่อความสุขทางจิตใจ = เสพ
3. การแลกเปลี่ยน > ยุคแรก : Barter System (ของแลกของ)
> ยุคปัจจุบัน : Money and Credit System
4. การกระจาย > การกระจายผลผลิต คือ การแจกจ่ายสินค้าและบริการให้ถึงมือผู้บริโภค
> การกระจายรายได้ คือ การปันรายได้ให้เจ้าของปัจจัยการผลิต

3. หน่วยเศรษฐกิจ
1. หน่วยครัวเรือน ทำหน้าที่บริโภค และเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเป้าหมายสูงสุดคือ ความพึงพอใจสูงสุด
2. หน่วยธุรกิจ ทำหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการ มีเป้าหมายสูงสุดคือ กำไรสูงสุด
3. หน่วยรัฐบาล ทำหน้าทีค่ วบคุมดูแลระบบเศรษฐกิจ มีเป้าหมายสูงสุดคือ เศรษฐกิจดี GDPเพิ่ม
20

4. ระบบเศรษฐกิจ
1. ทุนนิยม (capitalism) ซึ่งอาจเรียกว่า ระบบเสรีนิยม หรือระบบตลาด
ลักษณะเด่น > เอกชนมีสิทธิในทรัพย์สินที่หามาได้ตามกฎหมาย
> เอกชนมีเสรีในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
> เน้นกลไกราคา
> รัฐไม่แทรกแซงตลาดปัจจัยการผลิต แต่จะมีบทบาทจำกัดเฉพาะด้านบริการสังคม
ข้อดี > เอกชนมีเสรีภาพในการตัดสินใจ
> มีกำไรและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจ จึงมีการคิดค้นสิ่งใหม่ มีการพัฒนาตลอดเวลา
ข้อเสีย > ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
> ไม่เหมาะกับสินค้าและบริการสาธารณะที่ต้องลงทุนมาก เอกชนไม่กล้าเสี่ยง รัฐต้องลงทุนเอง
> มีการใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างสิ้นเปลือง
2. สังคมนิยม (socialism)
ลักษณะเด่น > รัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
> มีการวางแผนจากส่วนกลาง
> เน้นการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
ข้อดี > ลดความเหลื่อมล้ำ
> มีความง่ายและคล่องตัวเพราะรัฐวางแผนจากส่วนกลาง
ข้อเสีย > คนขาดแรงจูงใจในการทำงาน
> การพัฒนาการผลิตเกิดขึ้นยากเพราะขาดการแข่งขัน
> การใช้ทรัพยากรการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ
3. แบบผสม (mixed economy)
ลักษณะเด่น > มีทั้งบทบาทของรัฐและเอกชน
> เอกชนมีสิทธิ์ในทรัพย์สิน
> รัฐดำเนินกิจการที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนรวม
เช่น สาธารณูปโภค และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องลงทุนมาก
> ใช้ทั้งกลไกราคา และการชี้นำจากภาครัฐ
> บทบาทของรัฐและเอกชนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
ข้อดี > ระบบเศรษฐกิจมีความคล่องตัว
> ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
ข้อเสีย > อาจก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำเหมือนทุนนิยม
> รัฐสามารถแทรกแซงกลไกตลาดได้ อาจทำให้เกิดการทุจริต
> เอกชนไม่กล้าลงทุนเพราะนโยบายรัฐบาลมีความผันผวน

5. กลไกราคา / กลไกลตลาด / มือที่มองไม่เห็น Invisible Hands


กลไกราคา กลไกตลาด มือที่มองไม่เห็น ก็คือ อุปสงค์ อุปทาน ที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการปรับตัวขึ้นลง
1. อุปสงค์ (demand) : ปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ และมีอำนาจซื้อ ณ ราคา
ต่างๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
> องค์ประกอบของอุปสงค์ 3 ปัจจัย ได้แก่ ความต้องการ ความเต็มใจ และความสามารถที่จะซื้อ
> กฎของอุปสงค์ : ของราคาสูง อุปสงค์ลดลง / ของราคาถูก อุปสงค์เพิ่มขึ้น
> ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ที่สำคัญ
1. ราคาสินค้า
2. รายได้ของผู้บริโภค
3. ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง / ราคาสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน , ราคาสินค้าที่ใช้ประกอบกัน
4. รสนิยมของผู้บริโภค คือ ความชอบส่วนบุคคล
5. สมัยนิยม เช่น การนิยมโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ
6. เทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ตรุษจีน
21
7. ฤดูกาล เช่น เสื้อกันหนาวขายดีในหน้าหนาว ร่มขายดีในหน้าฝน
8. โครงสร้างกลุ่มประชากร เช่น ถ้ามีเด็กแรกเกิดเพิ่มขึ้น อุปสงค์ต่อสินค้าเด็กก็จะเพิ่มขึ้น
9. การโฆษณา
10. การคาดคะเนราคา เช่น หากคาดว่าราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้น คนจะรีบตุนสินค้า อุปสงค์จึงเพิ่มขึ้น
2. อุปทาน (supply) : ปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ขายหรือผู้ผลิตต้องการขาย ณ ราคาต่างๆ ใน
ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
> กฎของอุปทาน : ของแพง อุปทานเพิ่ม / ของถูก อุปทานลดลง
> ปัจจัยกำหนดอุปทาน
1. ราคาสินค้า
2. ราคาปัจจัยการผลิต
3. เทคโนโลยีการผลิต
# อุปสงค์ส่วนเกิน : ความต้องการในการซื้อ มากกว่าความต้องการในการขาย ส่งผลให้สินค้าขาดตลาด
ราคาสินค้าแพงขึ้น เมื่อสินค้าแพงขึ้น ผู้ผลิตอยากได้กำไรจากการขาย จึงผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น
# อุปทานส่วนเกิน : ความต้องการในการขาย เกินความต้องการในการซื้อ ส่งผลให้สินค้าล้นตลาด ราคาสินค้า
ลดลง เมื่อเป็นดังนั้น ผู้ผลิตจึงลดการผลิต เพราะผลิตแล้วไม่ได้กำไร
อุปสงค์ส่วนเกิน และ อุปทานส่วนเกิน = 0 จะเกิดสภาวะดุลยภาพ(ราคาและปริมาณ)

6. เศรษฐกิจพอเพียง (sufficiency economy)

7. เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
22

8. ตัวชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
มูลค่าในราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตภายในประเทศ ในเวลา 1 ปี
2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP)
มูลค่าในราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตด้วยทรัพยากรของประเทศ ในเวลา 1 ปี
3) รายได้ต่อคน
โดยนำ GDP หรือ GNP มาหารด้วยจำนวนประชากร
เพื่อใช้เปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจหรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
9. การเงิน
1. เงิน : สิ่งที่สังคมให้การยอมรับว่ามีค่า ตกลงร่วมกันเพื่อใช้วัดมูลค่าและชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
2. หน้าที่ของเงิน : > เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
> เป็นมาตรฐานในการเทียบค่า
> เป็นหน่วยรักษามูลค่า
> เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในภายภาคหน้า
> เป็นหน่วยในการลงบัญชี
3. เงินเฟ้อ (inflation) : ภาวะที่ระดับราคาสินค้าทั่วไปสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
ประเภท > เงินเฟ้ออย่างอ่อน (ตีต่อระบบเศรษฐกิจ) คือ ไม่เกิน 5% ต่อปี
> เงินเฟ้อปานกลาง 5-10% ต่อปี
> เงินเฟ้ออย่างรุนแรง มากกว่า 20% ต่อปี
สาเหตุของเงินเฟ้อ
ด้านอุปสงค์ : ความต้องการต่อสินค้าและบริการมวลรวมเพิ่มสูงขึ้น จนเกินกว่าอุปทานมวลรวมจะ
สนองได้ทัน ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น การที่ประชาชนมีอุปสงค์เยอะอาจเกิดจาก
ประเทศมีดุลการชำระเงินเกินดุล ประชาชนได้เงินมาง่าย เศรษฐกิจเติบโตมากเกินไป
ด้านอุปทาน : ของแพงเพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่นราคาน้ำมัน ค่าจ้งแรงงานที่สูงขึ้น
ผลของเงินเฟ้อต่อระบบเศรษฐกิจ
1) ผลต่อความต้องการถือเงิน
2) ผลต่อการกระจายรายได้
3) ผลกระทบต่อรัฐบาล
4) ผลต่อเศรษฐกิจและสังคม
5) ผลต่อดุลการค้าของประเทศ
การแก้ไขเงินเฟ้อ
1) ด้านอุปสงค์ : ใช้นโยบายการคลังและนโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน (แบบเข้มงวด) ทำอย่างไรก็ได้ให้คนออมมากขึ้น
- เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก
- เพิ่มเงินสำรองตามกฎหมาย
- ลดการปล่อยสินเชื่อ
- ขายตราสารหนี้
นโยบายการคลัง (แบบหดตัว)
- พยายามลดการใช้จ่ายภาครัฐ
- เพิ่มอัตราภาษี
- ใช้งบประมาณแบบเกินดุล (รับ มากกว่า จ่าย)
- ขายพันธบัตรรัฐบาล
2) ด้านอุปทาน : ใช้นโยบายแก้ไขให้ตรงสาเหตุ เช่น หากเกิดวิกฤตพลังงาน ก็ใช้นโยบายประหยัด
หากเกิดจากการกักตุนสินค้าก็ออกนโยบายห้าม หรืออาจจะออกนโยบายควบคุมราคาสินค้าโดยตรง
4. เงินฝืด (deflation) : ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงเรื่อยๆ จากการที่ประชาชนและรัฐบาลมีอำนาจการซื้อ
น้อยกว่าจำนวนสินค้าและบริการที่ถูกผลิตขึ้นในนณะนั้น (อุปทานมวลรวม > อุปสงค์มวลรวม) ทำให้หน่วยธุรกิจลดการผลิต
ลดการลงทุน เกิดการว่างงาน
#สาเหตุและผลทุกอย่างตรงข้ามกับเงินเฟ้อ
23
5. ค่าเงินบาท
1. ค่าเงินบาทอ่อนตัว
= 1 $ แลกเงินบาทได้มากขึ้น
2. ค่าเงินบาทแข็งตัว
= 1 $ แลกเงินบาทได้น้อยลง
10. การคลังสาธารณะ
การคลังสาธารณะมีขอบเขต 4 เรื่อง ได้แก่
1. รายรับของรัฐบาล
2. รายจ่ายของรัฐบาล
3. การก่อหนี้สาธารณะ
4. งบประมาณแผ่นดิน
รายรับของรัฐบาล มาจาก
1. ภาษี > ทางตรง = นิติบุคคล บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
> ทางอ้อม = VAT สรรพสามิต ศุลกากร
2. รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ
3. รัฐพาณิชย์
3. อื่นๆ
11. ธนาคารและสถาบันการเงิน
1. ธนาคาร
> ธนาคารกลาง = ผลิตธนบัตร เป็นนายธนาคารของทุกธนาคาร จัดทำนโยบายการเงิน
> ธนาคารพาณิชย์ทั่วไป = SCB KBANK KTB etc.
> ธนาคารวัตถุประสงค์พิเศษ
2. สถาบันการเงิน
> ตลาดหลักทรัพย์
> บริษัทเงินทุน
> บริษเครดิตฟองซิเอร์
> บริษัทประกันภัย

12. นโยบายการค้า
1. เสรี
= ไม่ดำเนินการแบบคุ้มกัน
2. คุ้มกัน
= ตั้งกำแพงภาษี / ให้โควตาพิเศษแก่ประเทศใดประเทศหนึ่ง / ให้เงินสนับสนุนผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่สำคัญ

13. ดุลการชำระเงิน
ประกอบด้วย รายการที่แสดงถึงการรับและการจ่ายเงินตราต่างประเทศ ประกอบด้วย 3 บัญชี
1) บัญชีเดินสะพัด มี 4 รายการ คือ
> ดุลการค้า
> ดุลบริการ
> ดุลเงินโอน / ดุลบริจาค
> ดุลรายได้จากการลงทุน
2) บัญชีทุนเคลื่อนย้าย
> ทางตรง = เอาเงินมาเปิดบริษัท หรือซื้อบริษัท
> ทางอ้อม = เอาเงินมาซื้อหุ้น ซื้อพันธบัตร ซื้อตราสารหนี้
3) ทุนสำรองระหว่างประเทศ
เป็นรายการสรุปจากบัญชีทั้งสองข้างต้น ว่าขาดดุลหรือเกินดุล รวมกันแล้วเป็นอย่างไร
24

สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
> ประวัติศาสตร์เป็นการสืบค้นเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต โดยอาศัยหลักฐาน
และมีวิธีการสืบค้นที่เรียกว่าวิธีการทางประวัติศาสตร์
> การศึกษาประวัติศาสตร์มิได้จำกัดแค่เรื่องราวในอดีต
แต่เป็นการศึกษาอดีตที่เชื่อมโยงมาถึงปัจจุบัน และที่จะนำไปสู่อนาคต
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
# จำแนกตามความสำคัญของหลักฐาน
1. หลักฐานชั้นต้น
> จัดทำขึ้นโดยผู้เกี่ยวข้อง เห็นเหตุการณ์โดยตรง
เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง จดหมายเหตุวันวลิต พงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา
2. หลักฐานชั้นรอง
> เป็นหลักฐานที่ผู้บันทึกรับรู้มาต่ออีกทอดหนึ่ง หรือศึกษาจากหลักฐานชั้นต้น
เช่น หนังสือเรียนทางประวัติศาสตร์
# จำแนกหลักฐานตามลักษณะของหลักฐาน
1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ศิลาจารึก ใบลาน
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เครื่องปั้นดินเผา กระดูก
# เครื่องมือการหาอายุของวัตถุ
1. เรดิโอคาร์บอน = หาอายุของซากไม้ กระดูกสัตว์ ฟัน และกระดูกมนุษย์
2. เทอร์โมลูมิเนเซนซ์ = หาอายุของหินในโบราณสถานหรือโบราณวัตถุ อายุของเครื่องปั้นดินเผา

วิธีการทางประวัติศาสตร์
1. กำหนดประเด็นปัญหาที่จะศึกษา
2. รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
3. ประเมินคุณค่าหลักฐาน (วิพากษ์หลักฐาน)
4. ตีความ และวิเคราะห์
5. สังเคราะห์ข้อมูล สรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่

เทียบศักราช
ค.ศ. + 543 = พ.ศ.
ฮ.ศ. + 1122 = พ.ศ.
ม.ศ. + 621 = พ.ศ.
จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ.
ศักราชที่พบในประวัติศาสตร์ไทย
พุทธศักราช : ใช้เทียบกับศักราชอื่นๆ เริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานครบ 1 ปี
# ยกเว้นพม่าและศรีลังกา นับ 1 ตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
มหาศักราช : ใช้ในสมัยสุโขทัย ได้รับอิทธิพลมาจากขอม
จุลศักราช : ใช้ในสมัยอยุธยา จนถึงรัชกาลที่ 5 ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า
รัตนโกสินทร์ศก : เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 5 โดยเริ่มนับ ร.ศ. 1 เมื่อสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี
ศักราชที่พบในประวัติศาสตร์สากล
คริสต์ศักราช : หรือ A.D. เริ่มนับ ค.ศ. 1 ตั้งแต่พระเยซูประสูติ และถ้าก่อนคริสตศักราชใช้ B.C.
ฮิจเราะห์ศักราช : เริ่มนับ ฮ.ศ. 1 ตั้งแต่นบีมูฮัมหมัดอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา
25

2. ประวัติศาสตร์ไทย
#ด้านสังคมวัฒนธรรม
1. สังคมไทยเป็นสังคมในระบบศักดินา คือมีการแบ่งชนชั้น โดยใช้ศักดินาเป็นตัวบอกชนชั้น แบ่งเป็น 2 ชนชั้นสำคัญ
1. ชนชั้นปกครอง หรือ ชนชั้นเจ้าขุนมูลนาย ประกอบด้วย
1. กษัตริย์ : เป็น “เจ้าแผ่นดิน“ มีศักดินาสูงสุด ไม่จำกัดจำนวนไร่
2. เจ้านาย หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ : ถือศักดินา 500 - 100,000 ไร่
3. ขุนนาง : ถือศักดินา 400 - 10,000 ไร่
4. พระสงฆ์ : เสมอนา 100 - 2,400 ไร่
2. ชนชั้นใต้ปกครอง ประกอบด้วย
1. ไพร่ : ถือศักดินา 10 - 25 ไร่
2. ทาส : ถือศักดินา 5 ไร่
2. ระบบมูลนาย - ไพร่ : เป็นการจัดระเบียบสังคมในสมัยโบราณ
1. มูลนาย : ชนชั้นปกครอง (ที่สำคัญคือกลุ่มเจ้านายและกลุ่มขุนนาง)
> มูลนายมีหน้าที่ควบคุมดูแลไพร่ในสังกัดและใช้ประโยชน์จากแรงงานไพร่ในสังกัดได้
> มูลนายและลูกหลานมีอภิสิทธิ์ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
2. ไพร่ : ราษฎรทั่วไปทั้งชายหญิง เป็นชนชั้นที่มีความสำคัญที่สุด มีปริมาณที่สุดในบรรดาชนชั้นทั้งหลาย
> ไพร่ต้องมีมูลนายสังกัด
> ไพร่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน(หรือเข้าเวรรับราชการ) เพื่อคอยทำงานรับใช้มูลนาย
> ไพร่ที่ไม่มีมูลนายสังกัดจะไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย
* ระบบมูลนาย-ไพร่ ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์ตามมา *
3. สังคมไทยสมัยใหม่
# หลัง ร.4 ทำสัญญาบาวริง มีการเปลี่ยนทางสังคมวัฒนธรรม
1. ให้ราษฎรเข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนินและถวายฎีกาได้
2. ให้ชาวต่างประเทศยืนเข้าเฝ้าได้และให้ขุนนางไทยสวมเสื้อเข้าเฝ้า
3. ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา
4. ให้สิทธิสตรีในการเลือกคู่ครอง
5. ให้สิทธิสตรีและเด็กในการขายตนเองเป็นทาส
# การปฏิรูปสังคมวัฒนธรรมสมัย ร.5
1. ร.5 ทรงยกเลิกระบบมูลนาย-ไพร่ ยกเลิกการเกณฑ์แรงงานจากไพร่ เปลี่ยนไพร่ให้กลายเป็นเสรี
ชน(ชาวนา ชาวไร่ กรรมกร) ทำให้เกิดเสรีภาพในการประกอบอาชีพและในการเคลื่อนย้ายที่อยู่ ของไพร่
ขึ้นเป็นครั้งแรก * นับเป็นพระราชกรณีกิจที่สำคัญที่สุดของ ร.๕ *
2. เลิกทาส เปลี่ยนทาสให้กลายเป็นไพร่
3. ปฏิรูปการศึกษา โดยตั้งโรงเรียนในแบบตะวันตกขึ้นมา
เช่น โรงเรียนหลวงสอนภาษาไทย , โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ , โรงเรียนแผนที่ ,
โรงเรียนนายร้อยทหารบก , โรงเรียนกฎหมาย ,โรงเรียนมหาดเล็ก , โรงเรียนวัดมหรรณพาราม (โรงเรียนหลวง
สำหรับราษฎรแห่งแรก) ฯลฯ
4. เปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณี
เช่น ยกเลิกประเพณีหมอบคลานให้ยืนเข้าเฝ้าแทน , ปรับปรุงการแต่งกายตามแบบตะวันตก
# หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
1. ราษฎรเกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
2. เกิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
3. การศึกษาขยายตัวอย่างกว้างขวาง กำเนิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ มหิดล
ศิลปากร เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลานครินทร์
4. เกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
26
# ด้านการเมืองการปกครอง
1. รูปแบบการเมืองการปกครองของไทยแต่โบราณเป็นระบอบราชาธิปไตย
2. อาณาจักรสุโขทัย : ราชาธิปไตย ฐานะกษัตริย์ระยะแรกเป็นพ่อปกครองลูก ระยะหลังเป็นธรรมราชา
3. อาณาจักรอยุธยา : ราชาธิปไตย ฐานะกษัตริย์เป็นเทวราชา+ธรรมราชา(แต่เป็นเทวราชามากกว่า)
4. การปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่สมัยพระบรมไตรโลกนาถ
4.1 ส่วนกลาง
1.ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหมเป็นอัครมหาเสนาบดี
2.ฝ่ายพลเรือน (+จตุสดมภ์) มีสมุหนายกเป็นอัครมหาเสนาบดี
4.2 ส่วนภูมิภาค
1.ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง เปลี่ยนเป็นหัวเมืองชั้นใน มี “ผู้รั้ง” เป็นเจ้าเมือง
2.หัวเมืองพระยามหานคร มีเจ้านายหรือขุนนางเป็นเจ้าเมือง
3.หัวเมืองประเทศราช มีกษัตริย์ท้องถิ่นปกครองกันเอง
* ผล : เกิดการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง *
5. สมัยพระเพทราชา ปรับปรุงใหม่
1. ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
2. ให้สมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ
6. อาณาจักรรัตนโกสินทร์ : ราชาธิปไตย ฐานะกษัตริย์เป็นธรรมราชา + เทวราชา (เป็นธรรมราชามากกว่า)
6.1 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.1 – ร.4) มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 3 ตำแหน่ง
1. สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
2. สมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ
3. เสนาบดีกรมคลัง (หรือกรมท่า)ดูแลหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก
6.2 การปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่สมัย ร.5
1. ส่วนกลาง
> ยกเลิกการบริหารราชการแบบกรม
(ยกเลิกตำแหน่ง สมุหกลาโหม สมุหนายก และเสนาบดีจตุสดมภ์)
> ตั้ง “ระบบกระทรวง”
2. ส่วนภูมิภาค
> ยกเลิกหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองพระยามหานคร หัวเมืองประเทศราช
> ตั้ง “ระบบเทศาภิบาล”
3. ส่วนท้องถิ่น
> ริเริ่มการปกครองส่วนท้องถิ่น
> ตั้ง “สุขาภิบาล”
* ข้อสอบออกบ่อย : > ผลการปฏิรูป เกิดการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
> และเกิดเอกภาพในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง *

ยุคประชาธิปไตย
24 มิถุนายน พ.ศ.2475 คณะราษฎรทำการอภิวัฒน์แผ่นดิน
เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น ประชาธิปไตย
1. สิ้นสุดยุคศักดินาในสังคมไทย เริ่มต้นยุคประชาธิปไตย
2. เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
3. หัวหน้าคณะราษฎร : พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
แกนนำคนสำคัญ : พ.อ.พระยาทรงสุรเดช , พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ , พ.ท.พระประศาส์นพิทยายุทธ์ ,หลวงประดิษฐมนู
ธรรม (ปรีดี พนมยงค์) , หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) , หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์) , หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
(ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) , นายทวี บุณยเกตุ ,ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี และ ฯลฯ
27

3. ประวัติศาสตร์ยุโรป (อารยธรรมตะวันตก)
1. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1. เก่าแก่ที่สุด ได้รับยกย่องว่าเป็นอารยธรรมแรกของโลก
2. พบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส – ยูเฟรติส (อิรักในปัจจุบัน)
3. มนุษย์ในอารยธรรมนี้ มีลักษณะเด่นคือ มองโลกในแง่ร้าย เพราะสภาพภูมิศาสตร์ไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิต
(เพราะภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย แห้งแล้ง มีพายุรุนแรง)
4. ทำให้มนุษย์ในอารยธรรมนี้เกรงกลัวเทพเจ้า คิดว่าตนเองเป็นทาสรับใช้เทพเจ้า
5. จึงสร้างเทวสถานให้ใหญ่โตน่าเกรงขาม เพื่อแสดงถึงพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของเทพเจ้า
6. ผลงานโดดเด่นของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย แบ่งตามชนเผ่าจากเริ่มต้น
ชนเผ่าสุเมเรียน
> การปกครองในรูปแบบนครรัฐ > คิดค้นระบบชลประทาน
> ประดิษฐ์คันไถด้วยโลหะ > ใช้แรงงานสัตว์ในการเพาะปลูก
> เกวียนขนส่งสินค้า > อักษรคูนิฟอร์ม (อักษรลิ่ม)
> เชื่อในเทพเจ้าหลายองค์
> สร้าง “ซิกกูแรต” ด้วยอิฐที่ทำมาจากดินเหนียวตากแห้ง เพื่อบูชาเทพเจ้า
> มหากาพย์กิลกาเมซ เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของโลก
> ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ การบวก ลบ คูณ เศษส่วน เลขฐาน 60 (60 120 180)
> ปฏิทินระบบจันทรคติ
> มาตราชั่ง ตวง วัด
ชนเผ่าอะมอไรต์ (อาณาจักรบาบิโลเนีย)
> ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี : ประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโลก
ชนเผ่าอัสซีเรียน
> ใช้เหล็กทำดาบ ธนู หอกยาว โล่ เกราะ
> ห้องสมุดของพระเจ้าอัสซูร์นิปาล
> ภาพปฏิมากรรมนูนต่ำ
ชนเผ่าคาลเดียน (นิวบาบิโลเนียน)
> สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน
> ความรู้ด้านดาราศาสตร์ พยากรณ์สุริยุปราคา คำนวณเวลาการโคจรของดวงอาทิตย์
> มีการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน
> นำความรู้ทางดาราศาสตร์มาทำนายโชคชะตา
2. อารยธรรมอียิปต์
1. พบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์
2. มีความมั่นคงและเข้มแข็งกว่าเมโสโปเตเมีย
3. ชาวอียิปต์มองโลกในแง่ดี เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์กว่า
4. ไม่คิดว่าตนเองเป็นทาสของเทพเจ้า แต่กลับยกย่องเทพเจ้าว่ามีความเมตตา
5. เชื่อในชีวิตหลังความตาย และการฟื้นคืนชีพ
6. ผลงานโดดเด่น
> อักษรเฮียโรกลิฟิก เพื่อบันทึกความดีของผู้ตาย นำไปแสดงต่อเทพโอซิริส
เรียกว่า “บันทึกผู้วายชนม์” “คัมภีร์แห่งความตาย” หรือ “คัมภีร์มรณะ” (Book of the Dead)
> จารึกโรเซตตา เพื่อสรรเสริญพระเจ้าโตเลมีที่ 5
> ด้านวิศวกรรม มีการสร้างพีระมิด โดยใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น ล้อเลื่อน ลูกรอก
> ด้านหน้าพีระมิดมี “สฟิงซ์” ทำจากหิน ตัวเป็นสิงโต หน้าเป็นคน
> ความเจริญด้านคณิตศาสตร์ บวก ลบ หาร และ หาปริมาตรของพีระมิด
> ด้านการแพทย์ มีการทำมัมมี่ ผ่าตัด มีแพทย์เฉพาะทาง มีการรวบรวมบัญชียา
> ทำปฏิทินสุริยคติ แบ่งปีออกเป็น 365 วัน
> ทำนาฬิกาแดด
> ทำกระดาษจากต้นปาปิรุส
28
3. อารยธรรมกรีก
1. รับอิทธิพลจาก เมโสโปเตเมีย อียิปต์ และอารยธรรมไมนวน บนเกาะครีต
2. ผลงานโดดเด่น
2.1 แนวคิดมนุษยนิยม
2.2 แนวคิดประชาธิปไตย
2.4 แนวคิดธรรมชาตินิยม
3. ชาวกรีกได้รับยกย่องว่าเป็น นักคิด นักทฤษฏี
4. ผลงานอื่นๆ เช่น
> การปกครองแบบนครรัฐ
> ให้กำเนิดวิชาประวัติศาสตร์ โดย เฮโรโดตัส (Herodotus)
> เกิดกีฬาโอลิมปิก เพื่อฉลองเทพเจ้าซูส (Zeus) เจ้าแห่งเทพทั้งปวง
> กำเนิดการละคร เล่นถวายเทพไดโอนิซัส (Dionysus) เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น และความอุดมสมบูรณ์
> มีนักปราชญ์ที่สำคัญ เช่น โซเครติส เพลโต อริสโตเติล
> ปิทาโกรัส คิดทฤษฎีบทปิทาโกรัส
> อาร์คิมีดิส ตั้งกฎคานดีดคานงัด หาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ำ
> ยูคลิด : บิดาวิชาเรขาคณิต
> ฮิปโปกราเตส : บิดาแห่งวิชาแพทยศาสตร์
> สถาปัตยกรรมสำคัญ ได้แก่ วิหารหินอ่อน เช่น วิหารพาร์เธนอน
> นิยมสร้างวิหารบนภูเขาเล็กๆ เรียกว่า “อะครอโพลิส” (Acropolis)
> ศิลปะเน้นความอ่อนช้อยสวยงาม
> ประติมากรรมเป็นแบบธรรมชาตินิยม
> คิดค้นเทคนิคการวาดภาพแบบ “โมเสก” คือ ใช้หินหรือกระเบื้องสีมาประดับภาพฝาผนัง
4. อารยธรรมโรมัน
1. รับถ่ายทอดอารยธรรมมาจากกรีก
2. ชาวกรีกเป็นนักคิด ชาวโรมันเป็นนักปฎิบัติ
3. ชาวกรีกเน้นปัจเจกบุคคล บูชาเหตุผล รักเสรีภาพ
แต่ชาวโรมันเน้นให้มนุษย์รับผิดชอบต่อรัฐ และเน้นระเบียบวินัยกฎหมายเข้มงวด
4. ศิลปะกรีกเน้นความสวยงามอ่อนช้อย มีจินตนาการสูง แต่ศิลปะโรมันเน้นประโยชน์ใช้สอย
5. กรีกสร้างวิหารถวายเทพเจ้า แต่โรมันสร้างวิหารให้มนุษย์ใช้สอย
6. อาณาจักรโรมันระยะแรกปกครองแบบสาธารณรัฐ
7. ต่อมาจักรพรรดิออตตาเวียน สถาปนาจักรวรรดิโรมัน
8. ยุคนี้โรมันเจริญที่สุด แพร่ขยายดินแดนได้ทั่วยุโรป สร้างถนนทั่วทั้งจักรวรรดิ
จนได้สมญานาม “ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม”
9. สุดท้ายจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย เพราะถูกชาวอารยันบุกทำลาย เมื่อ ค.ศ. 476
ทำให้ยุโรปเข้าสู่ประวัติศาสตร์สมัยกลาง
10. มรดกที่สำคัญของโรมัน ได้แก่
> ประมวลกฎหมาย 12 โต๊ะ
> กฎหมายของจักรพรรดิจัสติเนียน (พัฒนามาจาก กม. 12 โต๊ะ กลายเป็นรากฐานของ กม. ในยุโรป)
> รูปแบบการปกครองแบบมณฑล จังหวัด อำเภอ
> ภาษาลาติน เป็นพื้นฐานของภาษาอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส
> การสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมของโรมันจะเน้นประโยชน์ใช้สอย
> มีท่อส่งน้ำ > ท่อระบายน้ำเสีย
> ที่อาบน้ำสาธารณะ > มีการผสมคอนกรีตใช้แทนไม้และหิน
> สร้างถนนคอนกรีต มีหลักบอกระยะทาง > สร้างสะพานขนาดใหญ่
> อัฒจันทร์ดูกีฬา (โคลอสเซียม)
> การแพทย์ มีการใช้ยาสลบ ผ่าทารกออกจากครรภ์มารดา
29
5. ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยกลาง (ยุคมืด : Dark Age)
1. จักรวรรดิโรมันตะวันตกแตกแยกออกเป็นอาณาจักรใหญ่น้อย ถูกปกครองโดยชาวอารยัน
2. เกิดสงครามรบพุ่งกันวุ่นวาย ทำให้ชาวยุโรปต้องหาที่พึ่งทางใจ ซึ่งก็คือศาสนาคริสต์
3. เป็นยุคที่ชาวยุโรปตกอยู่ใต้อิทธิพลของ 2 สิ่ง คือ
3.1 ศาสนาคริสต์
- พระสันตปาปา Pope และคริสตจักร มีอิทธิพลครอบงำชาวยุโรปทุกด้านตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งทาง
ด้านเศรษฐกิจ (ชาวยุโรปต้องเสียภาษีให้วัด) ด้านการเมือง (พระสันตปาปาแต่งตั้งกษัตริย์) และด้านสังคม
วัฒนธรรม (วัดเป็นศูนย์กลางชุมชน การประกอบพิธีกรรมและศิลปะ)
- ศาสนจักรในยุคนี้มีรูปแบบเหมือนอาณาจักรทางโลก
3.2 ลัทธิศักดินาสวามิภักดิ์ Feudalism มีการแบ่งชนชั้นคนในสังคมออกเป็น
1. ชนชั้นปกครอง (ชนชั้นเจ้าที่ดิน Landlord) : กษัตริย์ ขุนนาง อัศวิน พระสงฆ์ : ชนชั้นนี้จะ
มีที่ดินเป็นของตนเอง มีอาณาจักรเป็นของตนเอง
2. ชนชั้นใต้ปกครอง : ราษฎร ชาวไร่ชาวนา ทาสติดที่ดิน : ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ต้องคอยรับแบ่ง
ที่ดินมาจากชนชั้นปกครองอีกที ต้องเสียภาษีให้ชนชั้นปกครอง และต้องจงรักภักดีสวามิภักดิ์ต่อ
ชนชั้นปกครอง
4. การเกษตรกรรมในยุคนี้ ขุนนางจะแบ่งที่ดินให้ราษฎร ชาวไร่ชาวนา แต่ต้องส่งคืนในรูปของผลผลิตหรือภาษี
5. ศิลปะในยุคนี้ จะได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาคริสต์ทั้งสิ้น เช่น
5.1 ศิลปะไบแซนไทน์ : วิหารมียอดโดม ซึ่งสามารถรักษาศิลปะแบบกรีกไว้ได้
5.2 ศิลปะโรมาเนสก์ : เน้นความเรียบง่ายกว่าไบแซนไทน์ เป็นศิลปะที่รับใช้ศาสนาคริสต์ มีการ
ออกแบบให้ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นรูปโค้ง Arch โบสถ์วิหารจะมีผนังหนาทึบเหมือนป้อมค่ายสงคราม
เช่น หอเอนเมืองปิซา
5.3 ศิลปะโกธิค : รับใช้ศาสนาคริสต์ มักจะสร้างวิหารมียอดแหลม และเน้นงานประดับกระจกสี เช่น
วิหารโนตรดาม กรุงปารีส

6. ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
1. เริ่มต้นที่แหลมอิตาลี เป็นแห่งแรก
2. เป็นยุคที่ชาวยุโรปหันกลับไปฟื้นฟูความเจริญของอารยธรรมกรีกโรมัน
3. สาเหตุของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
3.1 เจ้าเมืองต่าง ๆ ในอิตาลีร่ำรวยจากการค้า ทำให้สนับสนุนงานด้านศิลปวิทยาการมาก
3.2 ความเสื่อมโทรมของศาสนจักร ทำให้ชาวยุโรปเริ่มเบื่อหน่าย
3.3 สงครามครูเสด เป็นการเปิดหูเปิดตาชาวยุโรปให้เห็นศิลปวิทยาการใหม่ ๆ
3.4 การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในยุโรปตะวันออก ทำให้ศิลปวิทยาการต่างๆ ไหลเข้าสู่
ยุโรปตะวันตก
4. ทฤษฎีสำคัญที่ชาวยุโรปหันไปกลับไปฟื้นฟู เช่น
4.1 ทฤษฎีมนุษยนิยม
4.2 ทฤษฎีประชาธิปไตย
4.3 ทฤษฎีธรรมชาตินิยม
5. ศิลปวิทยาการในยุคนี้ยิ่งแพร่ขยายมากยิ่งขึ้น เมื่อโยฮันเนส กูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมันประดิษฐ์แท่นพิมพ์
เพราะทำให้พิมพ์ตำราต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
6. ศิลปินเด่น ๆ ในยุคนี้เช่น 1.ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี 2. ไมเคิลแอนเจโล 3. ราฟาเอล
7. นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญ เช่น
1.โยฮัน กูเตนเบิร์ก : ประดิษฐ์แท่นพิมพ์
2.ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี : เป็นทั้งศิลปินและนักวิทยาศาสตร์
3.นิโคลัส โคเปอร์นิคัส : เสนอทฤษฎีสุริยจักรวาล *ผู้ริเริ่มปฏิว้ติทางวิทยาศาสตร์
30
7. ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ (สมัยแห่งการค้นพบ : Age of Discovery)
1. นับจากเหตุการณ์ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบโลกใหม่
2. เหตุการณ์สำคัญในยุคนี้ เช่น
2.1 การเดินเรือทางทะเลแพร่หลายมาก ทำให้การค้าทางทะเลเฟื่องฟูตามมา
2.2 เกิดลัทธิพาณิชยนิยม คือ รัฐบาลของประเทศในยุโรป จะลงทุนตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า
2.3 เกิดชนชั้นกลางขึ้นมา คือบรรดาพ่อค้า นายทุน นักเดินเรือ ขึ้นมาถ่วงดุลกับชนชั้นเจ้าที่ดิน
2.4 การปฏิรูปศาสนาคริสต์โดยมาร์ติน ลูเธอร์ ทำให้เกิดนิกายโปรเตสแตนท์
2.5 ยุคปฎิวัติวิทยาศาสตร์
1. เป็นยุคที่เปลี่ยนวิธีพิสูจน์ความจริงทางวิทยาศาสตร์
- จากเดิมเน้นใช้การคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาและหลักตรรกศาสตร์
- มาเป็นของใหม่ เน้นใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (คือเน้นทดลอง)
2. นักวิทยาศาสตร์สำคัญ เช่น
1. ฟรานซิส เบคอน
เสนอแนวคิดว่าการค้นหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ต้องเน้นที่การทดลองหรือทดสอบแนว
คิดนีต้ อ่ มาเป็นรากฐานของการก่อตัง้ “ราชสมาคมแห่งลอนดอน Royal Society of London”
ซึ่งเป็นองค์กรทางวิทยาศาสตร์แบบใหม่และแนวคิดของฟรานซิส เบคอน นี้ ได้พัฒนาเป็น
“ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ Scientific Method”
2. กาลิเลโอ กาลิเลอิ
1. บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
2. ริเริ่มการทดลองเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของทฤษฎี
3. เสนอว่าคณิตศาสตร์ใช้พิสูจน์ความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้
4. สนับสนุนทฤษฎีสุริยจักรวาลของโคเปอร์นิคัส
5. ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์
3. ไอแซค นิวตัน
1. ค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลก
2. ค้นพบหลักการแคลคูลัส

8. การปฏิวัติอุตสาหกรรม
คือช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1760 ถึง ค.ศ. 1850 เมื่อการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรกรรม, การผลิต, การทำเหมืองแร่,
การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อสภาพสังคม, เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในขณะนั้น การปฏิวัติเริ่ม
ต้นในสหราชอาณาจักร จากนั้นจึงแพร่ขยายไปยังยุโรปตะวันตก, อเมริกาเหนือ, ญี่ปุ่น จนขยายไปทั่วทั้งโลกในเวลาต่อมา
ยุคแรก = ไอน้ำ ถ่านหิน
ยุคสอง = น้ำมัน เหล็กกล้า
1. เป็นยุคที่เปลี่ยนวิธีการผลิตสินค้าจากใช้แรงงานคนและสัตว์มาใช้เครื่องจักรในการผลิต
2. นักประดิษฐ์สำคัญ เช่น
1.โธมัส นิวโคแมน : พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำโดยใช้ลูกสูบ
2.จอห์น เคย์ : ประดิษฐ์กี่กระตุก
3.เจมส์ ฮาร์กรีฟ : ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายชนิดสปินนิงเจนนี
4.ริชาร์ด อาร์คไรท์ : ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายพลังน้ำวอเตอร์เฟรม
5.เจมส์ วัตต์ :พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำให้ดียิ่งขึ้น
31

สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์
เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะแวดล้อมทางกายภาพหรือทางธรรมชาติ และกระบวนการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชา
ติที่ปรากฏอยู่บนพื้นโลก อันมีผลต่อมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่นั้นๆ โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กัน 3 ประการ คือ สถานที่ สิ่งแวดล้อม
ทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

วิขาภูมิศาสตร์ ม.ปลาย จะพูดถึง 3 ส่วน ดังต่อไปนี้


1. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ : แผนที่ เข็มทิศ ฯลฯ
2. ภูมิศาสตร์กายภาพ : การศึกษาปัจจัยที่ทำให้สิ่งแวดล้อมกายภาพเกิดความเปลี่ยนแปลงในลักษณะแตกต่างและสัมพันธ์กัน
3. การจัดการสิ่งแวดล้อม : วิธีการและกระบวนการในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

แผนที่
สิ่งที่เขียนลงบนพื้นราบ โดยใช้เส้น สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆ เพื่อแสดงลักษณะภูมิประเทศและสิ่งต่างๆ ที่
ปรากฏอยู่บนพื้นโลก ให้เห็นอาณาเขต ที่ตั้ง และความสัมพันธ์ในทางพื้นที่ของสิ่งต่างๆ เหล่านั้น

สีที่ใช้ในแผนที่ ที่แสดงรายละเอียดบนแผนที่ สีที่ใช้เป็นมาตรฐาน มี 6 สี



1. สีดำ ใช้แสดงรายละเอียดที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์ เช่น วัด โรงเรียน หมู่บ้าน

2. สีแดง ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นถนน

3. สีน้ำเงิน ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง บึง ทะเล ฯลฯ

4. สีน้ำตาล ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความสูงและทรวดทรงของพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ

5. สีเขียว ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบ ป่าไม้ บริเวณที่ทำการเพาะปลูก พืชสวน

6. สีเหลือง ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบสูง

# สีอื่นๆ บางโอกาสอาจใช้สีอื่นนอกจากที่กล่าวมาเพื่อแสดงรายละเอียดพิเศษบางอย่าง รายละเอียดเหล่านี้จะ
มีบ่งไว้ในรายละเอียดในแผนที่

การใช้สี การใช้สีแสดงแทนระดับความสูงของภูมิประเทศ (สัญลักษณ์)


พื้นดิน สีเขียว = ที่ราบ พื้นน้ำ สีฟ้าอ่อน = เขตไหล่ทวีป หรือ เขตทะเลตื้น
สีเหลือง = เนินเขา สีฟ้าแก่ = ทะเลลึก
สีน้ำตาล = ภูเขาและเทือกเขา สีน้ำเงิน = ทะเลหรือมหาสมุทรลึก
สีขาว = ภูเขาสูงที่มีหิมะปกคลุม สีน้ำเงินแก่ = มหาสมุทรที่มีความลึกมาก
ละติจูด ใช้ในการแบ่งเขตอากาศ คือ การกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของจุดหนึ่งจุดใดบนผิวโลก ว่าอยู่ห่างจากศูนย์สูตรมาก
น้อยแค่ใด และคิดค่าเป็นองศา โดยมีเส้นสำคัญดังนี้
1. เส้นศูนย์สูตร แบ่งเป็นซีกโลกเหนือ ซีกโลกใต้
2. เส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ แบ่งเขตอากาศร้อนเหนือ-อบอุ่นเหนือ
3. เส้นทรอปิคออฟแคปปริคอร์น แบ่งเขตอากาศร้อนใต้-อบอุ่นใต้
4. เส้นอาร์คติก แบ่งเขตอากาศอบอุ่นเหนือ-หนาวเหนือ
5. เส้นแอนตาร์กติก แบ่งเขตอากาศอบอุ่นใต้-หนาวใต้
ลองจิจูด ใช้ในการแบ่งเขตเวลา คือ การกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของจุดใดบนพื้นผิวโลกว่าอยู่ห่างจากเส้นเมริเดียนแรก
มากน้อยแค่ใด และคิดค่าเป็นองศา โดยมีเส้นสำคัญดังนี้
1. เส้นเมอริเดียนปฐม ใช้เป็นเส้นกำหนดเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT)
2. เส้นเขตวันสากล
3. เส้น Long.105E ใช้เป็นเส้นกำหนดเวลาของประเทศไทย
32
ภาพถ่ายทางอากาศ
คือ การถ่ายภาพจากที่สูงในอากาศเหนือพื้นผิวโลก โดยใช้เครื่องบิน หรือบอลลูน เมื่อบันทึกภาพนั้นไว้แล้ว จึงนำมาเรียง
ต่อกันจะเห็นรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่จริงบนผิวโลก
ภาพถ่ายจากดาวเทียม
คือ การถ่ายภาพและบันทึกข้อมูลจากดาวเทียมที่ติดตั้งอุปกรณ์การบันทึกภาพและส่งข้อมูลเหล่านั้นมายังสถานีรับภาค
พื้นดิน แต่ภาพที่ปรากฏไม่สามารถแปลความหมายได้ง่ายเหมือนภาพถ่ายทางอากาศ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือในการ
ช่วยแปลความหมาย
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
1. GPS ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก คือ การนำคลื่นสัญญาณจากดาวเทียมบอกตำแหน่งมาใช้บอกค่าพิกัด
หรือตำแหน่งของสิ่งต่างๆ บนพื้นโลกและที่เหนือพื้นผิวโลก ระบบนี้จึงมีประโยชน์ต่อการบอกตำแหน่งและทิศทางเดินทางทั้งทาง
บก ทางน้ำ และทางอากาศ
2. RS รีโมทเซนซิง คือการสำรวจระยะไกลด้วยดาวเทียม ได้ข้อมูลเป็นภาพถ่ายด่าวเทียม การบันทึกข้อมูลของวัตถุ
หรือพื้นที่เป้าหมายที่อยู่ห่างไกล โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อ ทำให้เกิดภาพหรือการวิเคราะห์และแปลความหมายของภาพ
โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อแปลความหมายและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
3. GIS ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ เป็นการนำข้อมูล GPS และ RS มาประมวลผล เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่
ช่วยในการจัดเก็บ จัดการ จัดทำ วิเคราะห์ ทำแบบจำลองและการแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงที่ช่วยในการวิเคราะห์และวางแผนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งภาครัฐ
และเอกชน
เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ
1. เทอร์โมมิเตอร์ : ใช้วัดอุณหภูมิของอากาศ
2. บอรอมิเตอร์ : ใช้วัดความดันอากาศ
3. ไซโครมิเตอร์ : ใช้วัดความชื้นสัมพันธ์
4. ไฮโกรมิเตอร์ : ใช้วัดความชื่นในอากาศ
5. แอนนีโมมิเตอร์ : ใช้วัดความเร็ว และทิศทางลม
6. เรนเกจ : ใช้วัดปริมาณน้ำฝน
วิธีการคำนวณหาระยะทางในแผนที่

หลักคิดสำคัญในการคำนวณเวลา
- ในการคำนวณหาเวลาของ 2 ประเทศ ที่มีเวลาแตกต่างกันแม้จะอยู่คนละซีกโลก
- คือ ตะวันตก กับ ตะวันออก เวลาทั่วโลกจะต่างกันสูงสุดไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- เนื่องจากเส้นลองจิจูดทั่วโลกมีทั้งหมด 360 เส้น (0-180 oW) และ (0-180 oE)
- ทุกๆ 1 เส้นลองจิจูดจะมีเวลาต่างกัน คือ 4 นาที
- โลกมีลองจิจูดทั้งหมด 360 เส้น เวลาจึงต่างกัน 360 x 4 = 1,440 นาที หรือ 24 ชั่วโมง
* ประเทศที่อยู่ทางตะวันออก (ทางขวา) เวลาจะเร็วกว่าประเทศที่อยู่ทางตะวันตก (ทางซ้าย)
33
* เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาตะวันออก และ 180 องศาตะวันตกจะบรรจบทับเป็นเส้นเดียวกัน
เนื่องจากโลกเป้นทรงกลม เรียกว่า เส้นแบ่งวันที่สากลหรือ International Dateline
* โจทย์สังคม O-NET ส่วนมากจะให้เปรียบเทียบเวลาของไทยกับอังกฤษ ซึ่งไทยเร็วกว่า 7 ชั่วโมง
ตัวอย่างโจทย์
หากมีการแข่งขันฟุตบอลที่อังกฤษ ในวันที่ 15 มีนาคม เวลา 16.00 น. ผู้ชมในประเทศไทยจะต้องเปิดโทรทัศน์เพื่อรับ
ชมการถ่ายทอดสดดังกล่าวในเวลาใด
วิธีคิด เนื่องจากไทยกับอังกฤษ(กรีนิช) ห่างกัน 7 ชั่วโมง (ในฤดูร้อน) ซึ่งไทยอยู่ซีกโลกตะวันออก เวลาต้องเร็วกว่าอังกฤษที่อยู่ซีก
โลกตะวันตก
ดังนั้น การคำนวณ ก็เพียงแค่ เอา 7 ชั่วโมง ไปบวกกับเวลาที่อังกฤษ นั้นคือ 16.00 + 7 ชั่วโมง
ตอบ 23.00 น.

ลมและมวลอากาศ
1. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้หรือมรสุมฤดูร้อน
- พัดผ่านมหาสมุทรอินเดียในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน
2. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือมรสุมฤดูหนาว
- พัดผ่านตอนกลางของประเทศจีน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
3. ลมว่าวหรือลมข้าวเบา
- เป็นลมหนาว พัดอยู่ในช่วงเปลี่ยนฤดูระหว่างเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
4. ลมตะเภา
- เป็นลมร้อน พัดอยู่ในช่วงเปลี่ยนฤดูระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน
***อากาศร้อน อุณหภูมิสูง ความกดอากาศต่ำ
***อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำ ความกดอากาศสูง
ลมประจำ
1. ลมประจำฤดู (ลมมรสุม)
1. ลมมรสุมฤดูร้อน (มรสุมตะวันตกเฉียงใต้)
- ทำให้มีฝนตกในภูมิภาคต่างๆ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
- ทะเลอันดามันมีคลื่นลมแรงไม่เหมาะแก่การท่องเที่ยว
2. ลมมรสุมฤดูหนาว (มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)
- ทำให้ภูมิภาคต่างๆ มีอากาศแห้งแล้งและหนาวเย็น
- ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกประมาณเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม
2. ลมประจำถิ่น
1. ลมข้าวเบา (ลมว่าว) - พัดในช่วงรอยต่อระหว่างมรสุมฤดูร้อนเปลี่ยนไปเป็นมรสุมฤดูหนาว
(ประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน)
- เป็นลมร้อนที่แห้ง ทำให้ข้าวกล้าในนาสุกเร็วก่อนกำหนด
2. พายุหมุน - เกิดในช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม
- พายุชนิดนี้พัดมาจากทะเลจีนใต้จะนำฝนมาตกหนักในประเทศไทย
- ทำให้ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีมากน้อยต่างกัน
พายุ : เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ /มวลอากาศร้อนปะทะมวลอากาศเย็น
1. พายุฟ้าคะนอง หรือ พายุฤดูร้อน เกิดในวันที่มีอากาศร้อนอบอ้าว ลมกระโชกแรง เป็นบริเวณแคบๆ ต้นไม้
หลังคา ป้ายโฆษราล้ม ก่อนฝนตก มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก
2. พายุหมุน -เกิดจาก 2 บริเวณมีความกดอากาศแตกต่างกันมาก จะเกิดลมพัดด้วยความเร็วสูง เป็น
ลักษณะพัดวนรอบจุดศูนย์กลาง แบ่งประเภทตามความเร็วลมได้ ดังนี้
1. พายุดีเปรสชั่น ความเร็วลมสูงสุดไม่เกิน 62 กม./ชม. ทำให้เกิดฝนตกหนัก
2. พายุโซนร้อน ความเร็วลมสูงสุด 63-118 กม./ชม. เกิดจากพายุไต้ฝุ่นอ่อนกำลังลง
3. พายุไต้ฝุ่น (พายุหุมน) ความเร็วลมสูงสุดมากกว่า 118 กม./ชม. ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคาร
บ้านเรือนพังทลาย
34
พายุหมุนมีหลายชื่อเรียกตามแหล่งกำเนิด ดังนี้
1. เฮอร์ริเคน คือ พายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
เช่น รัฐฟลอริดา ทะเลแคริเบียน และอ่าวเม็กซิโก
2. ไต้ฝุ่น คือ พายุหมุนที่เกิดบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น อ่าวไทย, อ่าวตังเกี๋ย, ทะเลจีนใต้
3. ไซโคลน คือ พายุหมุนที่เกิดบริเวณมหาสมุทรอินเดีย เช่น อ่าวเบงกอล,ทะเลอาหรับ
4. บาเกียว คือ พายุหมุนที่เกิดบริเวณหมู่เกาะฟิลิปปินส์
5. ทอร์นาโด คือ พายุหมุนที่เกิดบนพื้นดิน (พายุอื่นๆ เกิดในมหาสมุทร) มักเกิดในอเมริกา
มีความเร็วลมมากที่สุดถึง 500-600 กม./ชม.
ปรากฏการณ์จากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก
1. น้ำขึ้นน้ำลง เกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ กับแรงเหวี่ยงของโลก ทำให้แต่ละวันมีน้ำขึ้น
2 ครั้ง และน้ำลง 2 ครั้ง เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบดวงโลกไปพร้อมๆ กัน ทำให้น้ำขึ้นวันนี้ช้า
กว่าเมื่อวานนี้ 50 นาที
2. น้ำเกิด คือ น้ำขึ้นและน้ำลงมากกว่าปกติ เพราะดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์อยู่ในแนวเดียวกัน
(ขึ้น/แรม 15 ค่ำ)
3. น้ำตาย คือ น้ำขึ้นและน้ำลงที่น้อยกว่าปกติ เพราะดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์อยู่ในแนวตั้งฉากกัน
(ขึ้น/แรม 7-8 ค่ำ)
4. น้ำมาก น้ำน้อย เนื่องจาก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี ครบรอบใช้เวลา 1 เดือน จึงมีช่วงที่อยู่ใกล้และ
ไกลโลกมากที่สุด ทำให้แรงดึงดูดมากน้อยต่างกัน น้ำจึงขึ้นมากและน้อยต่างกัน เมื่อน้ำเกิด เกิดพร้อมกับน้ำ มาก
จะทำให้ระดับน้ำสูงมากขึ้น และถ้าน้ำตายเกิดพร้อมกับน้ำน้อย ระดับน้ำจะต่ำกว่าปกติ
5. สุริยุปราคา เกิดจากดวงจันทร์โคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์มีโอกาสเกิดเฉพาะในวันแรม 15 ค่ำ เพียงปีละ
ประมาณ 1 ครั้ง และจะเกิดไม่ซ้ำที่กัน มีผู้สังเกตบนโลกบางส่วนเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้เห็นสุริยุปราคาใน แต่ละปี
6. จันทรุปราคา หรือราหูอมจันทร์ เกิดจากโลกอยู่ตรงกลาง ระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
(วันขึ้น 15 ค่ำ) จันทรุปราคาไม่ได้เกิดขึ้นทุกวันขึ้น 15 ค่ำ มีโอกาสเกิดปีละประมาณ 3-4 ครั้ง

อนุสัญญาและเครื่องหมายที่มีบทบาทต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. ฉลากเขียว เป็นเครื่องหมายทางการตลาดที่ใช้ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เริ่มครั้งแรกที่เยอรมัน พ.ศ. 2520 และไทย พ.ศ. 2536
2. อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์
(CITES-อนุสัญญาไซเตส)
3. อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทีออล
1. อนุสัญญาเวียนนา ป้องกัน/คุ้มครองมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากการที่โอโซนในบรรยากาศถูกทำลาย
2. พิธีสารมอนทีออล ว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน
4. อนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความวิตกที่นานาชาติมีต่อปัญหาโลกร้อน
5. อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพความวิตกกังวลของประชาคมโลกต่อการสูญเสียชนิดพันธุ์
และระบบนิเวศน์ของโลก
6. อนุสัญญาบาเซิล การควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน
7. พิธีสารโตเกียว ให้ประเทศอุตสาหกรรม 191 ประเทศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

หลักการ 7R เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1. Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ : ฝากระป๋องน้ำอัดลมนำไปผลิตขาเทียมให้คนพิการได้
2. Reuse ใช้ซ้ำ : ใช้ถุงพลาสติก/กระดาษซ้ำ
3. Reduce ลดการใช้ : ปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่อยู่ในห้อง
4. Repair ซ่อมแซม : ซ่อมรองเท้าใช้เองอีกครั้งเพื่อให้เป็นขยะ
5. Refuse ปฏิเสธ : ไม่ใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
6. Return ตอบแทน : ปลูกต้นไม้ที่บ้าน หรือเข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่า
7. Rethink คิดใหม่ : คิดในแนวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สิ่งของที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
35

ตะลุยโจทย์ ชุดที่ 1
1. องค์ประกอบที่มีปรากฏอยู่ในศาสนาสำคัญในปัจจุบันคือข้อใด
1. ศาสดาและนักบวช 2. รูปเคารพและศาสนสถาน
3. นักบวชและศาสนพิธี 4. พิธีกรรมและหลักคำสอน
2. องค์ประกอบใดจำแนกศาสนาเป็นอเทวนิยม เทวนิยม เอกเทวนิยม หรือพหุเทวนิยม
1. ศาสดา 2. พิธีกรรม 3. ความเชื่อ 4. รูปเคารพ
3. พระพุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์ - ฮินดู มีคำสอนในเรื่องเดียวกัน ยกเว้นข้อใด
1. หลักคำสอนเรื่องพระเจ้า 2. หลักคำสอนเรื่องการเสียสละ
3. หลักจริยธรรมและศีลธรรม 4. หลักคำสอนเรื่องนรกและสวรรค์
4. คำว่า “พุทธ” มีความหมายอย่างไร (2 คำตอบ)
1. ผู้รู้ ผู้ตื่น 2. ผู้หลุดพ้น 3. ผู้เบิกบาน 4. ผู้มีปัญญา
5. พระพุทธศาสนาสอนหลักความจริงที่เป็นสากลในเรื่องใด
1. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน 2. การทำลายชีวิตเป็นบาป
3. ทุกชีวิตต้องเผชิญปัญหาด้วยความไม่ประมาท 4. มนุษย์ใช้ปัญญาหาสาเหตุเพื่อแก้ปัญหาได้
6. การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใดเริ่มจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรภาษาบาลีและทำที่ใด
1. ครั้งที่ 2 อินเดีย 2. ครั้งที่ 3 อินเดีย 3. ครั้งที่ 4 ศรีลังกา 4. ครั้งที่ 5 ศรีลังกา
7. หลักธรรมของพระพุทธศาสนาล้วนๆ โดยไม่มีองค์ประกอบเรื่องบุคคล สถานที่และเวลา อยู่ในคัมภีร์ใด
1. พระสูตร 2. พระวินัย 3. พระมาลัย 4. พระอภิธรรม
8. ข้อใดไม่ถูกต้อง (2 คำตอบ)
1. พระไตรปิฎกพัฒนามาจากพระธรรมวินัย
2. การบันทึกพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกใช้ภาษามคธ
3. พระไตรปิฎกได้รับการเผยแผ่ไปยังประเทศต่างๆ พร้อมกับคณะพระธรรมทูต
4. การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกทำในสมัยพุทธกาลโดยพระอานนท์เป็นหัวหน้า
9. ในการประชุมสัมมนาเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ได้มีการกำหนดแนวทางประชุมโดยให้เริ่มตกลงกันว่า ปัญหาความยากจนคือ
อย่างไร อะไรคือสาเหตุ เป้าหมายที่ต้องการหลังจากแก้ไขแล้วจะเป็นอย่างไร และวิธีการแก้ไขจะทำอย่างไรบ้าง แนวทางนี้ตรง
กับหลักพระพุทธศาสนาเรื่องใด
1. อริยสัจ 4 2. วิภัชชวาท 3. อิทัปปัจจยตา 4. โยนิโสมนสิการ
10. การจัดกลุ่มธรรมในหลักอริยสัจ 4 ในข้อใดไม่ถูกต้อง
1. ทุกข์ - ขันธ์ 5 โลกธรรม 8 2. สมุทัย - นิวรณ์ 5 อุปาทาน 4
3. นิโรธ - ปฏิจจสมุปบาท กรรม 12 4. มรรค - อปริหานิยธรรม 7 มงคล 38
11. วิญญาณในขันธ์ 5 หมายถึงข้อใด
1. ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ 2. ความรู้สึกของมนุษย์ที่ไม่แตกดับ
3. ส่วนที่ไปเกิดใหม่เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว 4. การรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
12. พีชนิยาม ในนิยาม 5 ของสมุทัย หมายถึงกฎธรรมชาติเรื่องใด
1. การสืบพันธ์ 2. สิ่งไม่มีชีวิต 3. สภาพแวดล้อม 4. การทำงานของจิต
13. การฝึกสติปัฏฐานขั้นพิจารณาเวทนา คืออย่างไร
1. รู้เท่าทันความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ 2. กำหนดรู้ว่าอิริยาบถขณะนั้นเป็นอย่างไร
3. กำหนดรู้ว่าขันธ์ 5 คืออะไร เกิดดับได้อย่างไร 4. พิจารณาดูจิตของตนว่ามี ราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่
14. พระพุทธเจ้าทรงสอนอริยสัจ 4 ในวันใด
1. วันมาฆบูชา 2. วันวิสาขบูชา 3. วันอาสาฬหบูชา 4. วันจาตุรงคสันนิบาต
15. เหตุการณ์ใดไม่ได้เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชา
1. พระรัตนตรัยครบองค์สาม 2. โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม
3. พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร 4. พระพุทธเจ้าแสดงอนัตตลักขณสูตร
16. เรื่องใดปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลใหม่ (2 คำตอบ)
1. เรื่องราวชีวิตของพระเยซู 2. การเผยแผ่ศาสนาของโมเสส
3. การเทศนาสั่งสอนธรรมของพระเยซู 4. ประวัติศาสตร์ชนชาติยิวในสมัยอับราฮัม
17. ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนายูดายและคริสต์คือข้อใด
1. ไคโร 2. เมกกะ 3. แบกแดด 4. ปาเลสไตน์
36
18. ข้อใดไม่ใช่ความเชื่อในคริสตศาสนาเกี่ยวกับพระเยซู
1. เป็นสภาวะหนึ่งของพระเจ้า 2. เป็นศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์
3. เป็นผู้สละชีวิตเพื่อไถ่บาปให้มนุษยชาติ 4. เป็นผู้รับมอบบัญญัติ 10 ประการจากพระเจ้า
19. วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (Good Friday) ของคริสตศาสนิกชน หมายถึงวันใด
1. วันที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ 2. วันที่พระเยซูคืนพระชนม์
3. วันที่พระเยซูประกาศศาสนา 4. วันที่พระเยซูเสด็จกลับสูสวรรค์
20. การที่พระเยซูทรงถูกตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ แสดงถึงสิ่งใด (2 คำตอบ)
1. การไถ่มนุษย์ออกจากบาป
2. ความเสียสละของพระเจ้า
3. มนุษย์ได้รับการปลดปล่อยให้มีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระเจ้า
4. พระเจ้าทรงประทานพระบุตรมาชั่วคราวเพื่อสอนศีลธรรมให้มนุษย์
21. พระเยซูทรงสอนว่า “จงรักเพื่อนบ้าน เหมือนรักตนเอง” เพื่อนบ้านในที่นี้หมายถึงใคร
1. มนุษย์ทุกคน 2. ผู้นับถือศาสนาอื่น 3. สาวกของพระเยซู 4. คริสต์ศาสนิกชน
22. พิธีที่ชาวคริสต์นิกายโรมันคาธอลิคกินขนมปังและดื่มไวน์ที่บาทหลวงส่งให้เรียกว่าพิธีอะไร
1. ศีลกำลัง 2. ศีลแก้บาป 3. ศีลล้างบาป 4. ศีลมหาสนิท
23. จุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาคริสต์คือเรื่องใด
1. การล้างบาปกำเนิด 2. การไปรวมกับพระเจ้า
3. การสร้างศรัทธาต่อพระเจ้า 4. การรอดพ้นจากคำพิพากษา
24. ความหมายของคำว่า มุสลิม ในข้อใดถูกต้องที่สุด
1. ผู้รักความสงบ 2. ผู้มีศรัทธาต่อพระเจ้า
3. ผู้นอบน้อมยอมมอบตนต่อพระเจ้า 4. ผู้ปฏิบัติตามโองการของพระเจ้า
25. พระเยซูตามความเข้าใจของศาสนาอิสลามคือใคร
1. บุตรพระเจ้า 2. นบีท่านหนึ่ง 3. ผู้ไถ่บาปมนุษย์ 4. ฑูตสวรรค์องค์หนึ่ง
26. เทวฑูตที่นำโองการของพระเจ้ามาประทานแก่นบีมูฮัมมัด จนเป็นพระคัมภีร์อัลกุรอาน มีชื่อว่าอะไร
1. อาลี 2. มาลิก 3. ญิบรออีล 4. อิซรออีล
27. ชาวมุสลิมไม่เชื่อในเรื่องใด
1. โลกมีวันสิ้นสุด 2. เทวทูตมีจำนวนมาก
3. ศาสนทูตมีหลายท่าน 4. การตายแล้วเกิดใหม่บนโลกมนุษย์
28. ข้อใดไม่ใช่ข้อห้ามในศาสนาอิสลาม
1. ห้ามฆ่าตนเองและผู้อื่น 2. ห้ามการคุมกำเนิดและทำแท้ง
3. ห้ามการเสี่ยงโชคและการพนัน 4. ห้ามกราบบุคคลอื่นยกเว้นบิดามารดา
29. พิธีซะกาตของศาสนาอิสลาม มีความมุ่งหมายให้ชาวมุสลิมรู้จักสิ่งใด
1. การให้อภัย 2. การแบ่งปัน 3. ความยุติธรรม 4. ความอดทน
30. ชาวมุสลิมในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่นับถือนิกายใด
1. ซูฟี 2. ชีอะฮ์ 3. วาฮาบี 4. ซุนนี
31. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของรัฐ (2 คำตอบ)
1. ดินแดน 2. ประชากร 3. ความมั่นคง 4. สิทธิของประชาชน
32. ประเทศในข้อใดมีประมุขของรัฐแบบเดียวกัน
1. ญี่ปุ่น เกาหลี 2. อังกฤษ ฝรั่งเศส 3. เวียดนาม กัมพูชา 4. อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
33. ข้อใดเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าประเทศมีลักษณะเป็นสาธารณรัฐหรือไม่
1. ประชากรในรัฐ 2. ระบบเศรษฐกิจ 3. ประมุขของประเทศ 4. ระบอบการปกครอง
34. การปกครองตนเองของประชาชนแบบประชาธิปไตยเริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่เมื่อใด
1. สมัยกลาง 2. สมัยโรมัน 3. สมัยกรีกโบราณ 4. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
35. หลักการใดสอดคล้องกับการปกครองแบบประชาธิปไตย (2 คำตอบ)
1. หลักเอกภาพ 2. หลักนิติธรรม 3. หลักเหตุผลแห่งรัฐ 4. หลักการกระจายอำนาจ
36. ความในข้อใดสอดคล้องกับการปกครองประเทศโดยใช้หลักนิติธรรม (2 คำตอบ)
1. รัฐบาลไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย 2. ประชาชนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
3. ต้องยึดคำสั่งของรัฐและผู้นำเป็นหลัก 4. ต้องใช้กฎหมายเป็นหลักในการปกครอง
37. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1. ทรงดำรงฐานะองค์อธิปัตย์แห่งรัฐ 2. ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดของกองทัพ
3. ทรงดำรงฐานะประมุขแห่งพระศาสนา 4. ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหาร
37
38. วิธีการได้มาซึ่งบุคคลในตำแหน่งใด มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภากับระบบประธานาธิบดี
1. สมาชิกวุฒิสภา 2. หัวหน้าฝ่ายบริหาร 3. หัวหน้าฝ่ายตุลากา 4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
39. ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกันในเรื่องใด (2 คำตอบ)
1. รูปแบบของรัฐ 2. ที่มาของรัฐบาล 3. ระบอบการปกครอง 4. เจ้าของอำนาจอธิปไตย
40. ข้อใดไม่ใช่ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
1. เผด็จการทหาร 2. เผด็จการฟาสซิสต์ 3. เผด็จการนาซี 4. เผด็จการคอมมิวนิสต์
41. จุดอ่อนในการบริหารประเทศตามระบอบเผด็จการตรงกับข้อใด
1. มีค่าใช้จ่ายสูง 2. ดำเนินการยาก 3. ขาดความเป็นเอกภาพ 4. เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
42. ข้อใดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยในปัจจุบัน (2 คำตอบ)
1. เทศบาล 2. สุขาภิบาล 3. สภาตำบล 4. กรุงเทพมหานคร
43. ประเทศใดเป็นทั้งสมาชิกกลุ่ม ASEAN และ APEC
1. ลาว 2. พม่า 3. กัมพูชา 4. เวียดนาม
44. การจัดตั้งเอเปก (APEC) ทำให้ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศใดมากขึ้น (2 คำตอบ)
1. อินเดีย 2. กัมพูชา 3. เกาหลีใต้ 4. ออสเตรเลีย
45. กฎหมายใดมีที่มาแตกต่างจากกฎหมายอื่น
1. พระราชบัญญัติ 2. พระราชกำหนด 3. พระราชกฤษฎีกา 4. กฎกระทรวง
46. ข้อใดเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2 คำตอบ)
1. เทศบัญญัติ 2. พระราชกำหนด 3. พระราชบัญญัติเทศบาล 4. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
47. ประเภทของกฎหมายในข้อใดเกิดจากการแบ่งประเภทตามลักษณะความสัมพันธ์ของคู่กรณี
1. กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง
2. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3. กฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายจารีตประเพณี
4. กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชน และกฎหมายระหว่างประเทศ
48. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายมหาชน
1. รัฐธรรมนูญ 2. กฎหมายแพ่ง 3. กฎหมายอาญา 4. กฎหมายปกครอง
49. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายสารบัญญัติ ( 2 คำตอบ)
1. กฎหมายอาญา 2. กฎหมายลักษณะพยาน
3. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 4. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
50. ข้อใดจัดลำดับความสำคัญของกฎหมายลายลักษณ์อักษรของไทยได้ถูกต้อง
1. รัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ
2. รัฐธรรมนูญ พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ
3. รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
4. รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด เทศบัญญัติ
51. นายแดงขู่ว่าจะเผาบ้านนายดำ ทำให้นายดำต้องเอาเงินทองมามอบให้ นายแดงกระทำความผิดตามข้อใด
1. ชิงทรัพย์ 2. ปล้นทรัพย์ 3. รีดเอาทรัพย์ 4. กรรโชกทรัพย์
52. ใครคือ “ทนายแผ่นดิน”
1. ผู้พิพากษา 2. พนักงานอัยการ 3. ประธานศาลฎีกา 4. คณะกรรมการตุลาการ
53. สภาพบังคับตามข้อใดเป็นการลงโทษทางอาญา (2 คำตอบ)
1. การปรับ 2. การยึดทรัพย์ 3. การริบทรัพย์สิน 4. การชดใช้ค่าเสียหาย
54. การกระทำใดที่กฎหมายอนุญาตให้นิภาซึ่งเป็นนักเรียนชั้น ม. 5 อายุ 16 ปี สามารถกระทำได้ด้วยตนเอง (2 คำตอบ)
1. การหมั้น 2. การสมรส 3. การรับมรดก 4. การทำพินัยกรรม
55. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสัญลักษณ์
1. เป็นตัวแทนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 2. เป็นได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
3. เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 4. เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรม
56. ข้อใดเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ที่แตกต่างจากสัตว์อื่น
1. การใช้สัญลักษณ์ 2. การใช้สัญชาตญาณ
3. การตอบสนองสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติ 4. การตอบสนองสิ่งเร้าตามพันธุกรรม
57. ข้อใดมีความหมายสอดคล้องกับคำว่า “บรรทัดฐาน” มากที่สุด
1. ค่านิยม 2. บทบาท 3. ประเพณี 4. สัญลักษณ์
38
58. เหตุใดสังคมจึงต้องมีบรรทัดฐาน
1. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสังคม 2. เพื่อรักษามรดกของสังคมให้ดำรงอยู่
3. เพื่อกำหนดรูปแบบวัฒนธรรมทางสังคม 4. เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม
59. ข้อใดไม่ใช่ค่านิยมดั้งเดิมของไทย
1. ความกตัญญู 2. ความเสมอภาค 3. ความเป็นอิสระ 4. ความเมตตากรุณา
60. ครอบครัวใดอยู่ในประเภทที่แตกต่างจากข้ออื่น
1. ตุ๋มอยู่กับแม่และป้า 2. ติ๋มอยู่กับพ่อและแม่
3. ต๋อมอยู่กับแม่และพี่ชาย 4. แต๋มอยู่กับพ่อ แม่ และน้องสาว
61. ปัญหาข้อใดเป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของทุกประเทศ
1. การเลือกผลิตสินค้าและบริการ ต้นทุนการผลิต และการขาดแคลนเงินทุน
2. คุณภาพของผลผลิต การกระจายสินค้าและบริการ และต้นทุนการผลิต
3. การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ การขาดแคลนเงินทุน และการเลือกวิธีการผลิต
4. การเลือกผลิตสินค้าและบริการ การเลือกวิธีการผลิต และการกระจายสินค้าและบริการ
62. ผู้สูงอายุถอนเงินฝากประจำจากธนาคารจำนวน 1 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี
การนำเงินมาซื้อพันธบัตรดังกล่าวมีต้นทุนหรือไม่เพราะเหตุใด
1. ไม่มี เพราะไม่มีการกู้เงินมาซื้อพันธบัตร 2. ไม่มี เพราะเป็นเงินที่ถอนจากบัญชีของตนเอง
3. มี เพราะทำให้ขาดสภาพคล่องในการใช้จ่าย 4. มี เพราะไม่ได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝากธนาคาร
63. ข้อความใดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค
1. ปีนี้โรงสีนายกุ่ยรับซื้อข้าวเปลือกในราคาตันละ 9,500 บาท ต่ำกว่าราคาที่รัฐบาลรับจำนำ
2. ร้านค้าทองขายทองคำแท่งในราคาที่สูงกว่าเมื่อเดือนที่แล้วร้อยละ 5
3. สินค้าออกของไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 10
4. ผลผลิตเงาะปีนี้เพิ่มขึ้นมาก ทำให้ราคาตกเหลือเพียงกิโลกรัมละ 5 บาท
64. ข้อใดกล่าวถึงการหมุนเวียนของสินค้าและบริการระหว่างหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจได้ถูกต้อง
1. หมุนเวียนจากเจ้าของปัจจัยการผลิตไปสู่ครัวเรือน 2. หมุนเวียนจากครัวเรือนไปสู่หน่วยธุรกิจ
3. หมุนเวียนจากหน่วยธุรกิจไปสู่ครัวเรือน 4. หมุนเวียนจากครัวเรือนไปสู่เจ้าของปัจจัยการผลิต
65. ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมมีลักษณะเด่นประการใด (2 คำตอบ)
1. เอกชนและรัฐบาลสามารถแข่งขันกันผลิตสินค้า 2. เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกผลิตและบริโภค
3. รัฐบาลไม่เข้าแทรกแซงตลาดปัจจัยการผลิต 4. รัฐบาลไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สินและทรัพยากร
66. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม
1. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 2. ทำให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
3. ลดการทุจริตคอร์รัปชันในการบริหารจัดการ 4. สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนทำงานเพื่อผลประโยชน์ของชาติ
67. ข้อใดเป็นความได้เปรียบของระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่มีเหนือระบบเศรษฐกิจแบบอื่น
1. บทบาทของรัฐบาลและเอกชนในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
2. รัฐบาลและเอกชนต่างมีบทบาทในทางการค้าและการลงทุนได้ทัดเทียมกัน
3. รัฐบาลและเอกชนต่างร่วมกันจัดสวัสดิการตามความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น
4. รัฐบาลและเอกชนสามารถใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจประกอบธุรกิจ
68. การผลิตในข้อใดเป็นการผลิตขั้นทุติยภูมิ (2 คำตอบ)
1. การทอผ้าไหม 2. การทำเหมืองแร่ 3. การขนส่งทางน้ำ 4. การทำผลไม้กระป๋อง
69. ปัจจัยการผลิตใดเป็นปัจจัยคงที่ของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า
1. ผ้าตัดเสื้อ 2. ช่างตัดผ้า 3. จักรเย็บผ้า 4. วัสดุตกแต่งเสื้อ
70. การเปลี่ยนแปลงของสินค้าในข้อใดเป็นไปตามกฎของอุปทาน
1. ผลิตผลผักลดลงมาก เพราะอุทกภัยทำให้สวนผักเสียหาย ราคาผักจึงสูงขึ้น
2. ราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้น พ่อค้าจึงสั่งน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศเข้ามาขายมากขึ้น
3. ยอดจำหน่ายน้ำส้มคั้นสูงขึ้น เพราะมีผู้นิยมบริโภคเพิ่มขึ้น
4. บ้านจัดสรรปรับราคาสูงขึ้น เพราะต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
71. ข้อใดเป็นไปตามกฎอุปสงค์
1. แดงซื้อหนังสือ เพราะต้องใช้เรียน 2. ดำซื้อเสื้อ 3 ตัว เพราะชอบสีสดใส
3. เขียวซื้อกระเป๋า 2 ใบ เพราะร้านขายลดราคา 4. เหลืองซื้อโทรศัพท์ใหม่ เพราะทันสมัยกว่าของเดิม
72. ปัจจัยข้อใดกำหนดอุปสงค์ของผู้บริโภคที่มีต่อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (2 คำตอบ)
1. จำนวนผู้ขาย 2. ต้นทุนการผลิต 3. รายได้ของผู้ซื้อ 4. การคาดคะเนราคา
39

73. กรณีใดทำให้ราคาข้าวสารในตลาดปรับตัวสูงขึ้น
1. อุปสงค์ต่อข้าวสารน้อยกว่าอุปทานของข้าวสาร
2. อุปสงค์ต่อข้าวสารมากกว่าอุปทานของข้าวสาร
3. อุปทานส่วนเกินของข้าวสารมากกว่าอุปสงค์ส่วนเกินต่อข้าวสาร
4. อุปทานส่วนเกินของข้าวสารเพิ่มขึ้นมากกว่าอุปสงค์ส่วนเกินต่อข้าวสาร
74. ข้อใดทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกินขึ้น
1. ปริมาณการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น 2. ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น
3. จำนวนผู้ผลิตสินค้าลดลง 4. ราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
75. ภาวะดุลยภาพของตลาดจะเกิดขึ้นเมื่อใด
1. จำนวนผู้ซื้อเท่ากับจำนวนผู้ขาย 2. ปริมาณเสนอซื้อสมดุลกับราคาเสนอขาย
3. อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกินมีค่าเท่ากับศูนย์ 4. ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าได้ตามจำนวนที่ต้องการ
76. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการเข้าแทรกแซงกลไกราคา (2 คำตอบ)
1. เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต 2. เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
3. เพื่อให้ราคาดุลยภาพต่ำลง 4. เพื่อให้ตลาดสินค้าอยู่ในภาวะสมดุล
77. ณ ระดับราคาดุลยภาพ ปรากฏว่าชาวไร่อ้อยเดือดร้อน จึงทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือโดยกำหนดราคาประกัน ข้อ
ใดกล่าวถูกต้อง
1. โรงงานน้ำตาลจะซื้ออ้อยได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
2. รัฐบาลจะต้องรับซื้ออ้อยส่วนเกินจากชาวไร่อ้อย
3. โรงงานน้ำตาลจะรวมตัวกันต่อรองราคารับซื้ออ้อยในราคาตลาด
4. ชาวไร่อ้อยจะต้องจัดสรรโควตาขายให้โรงงานน้ำตาล
78. เพราะเหตุใดรัฐบาลจึงกำหนดราคาขั้นสูงของน้ำมันถั่วเหลืองในตลาด
1. เพราะไม่ต้องการให้มีการใช้ถั่วเหลืองผลิตน้ำมันมากเกินไป จนทำให้ถั่วเหลืองมีราคาสูงกว่าราคาที่สมดุล
2. เพราะไม่ต้องการให้ผู้ผลิตเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันถั่วเหลืองมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค
3. เพราะต้องการให้ผู้ผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแทนการหากำไร โดยตั้งราคาขายสูง
4. เพราะต้องการให้ผู้บริโภคซื้อน้ำมันถั่วเหลืองในราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
79. ถ้าคาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นต่อไปอีก ธนาคารกลางจะดำเนินมาตรการใด เพื่อชะลอเงินเฟ้อ
1. ขึ้นอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากธนาคารพาณิชย์ 2. ขึ้นอัตราภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์
3. ลดอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง 4. ลดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
80. ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลควรมีมาตรการทางการคลังอย่างไร
1. เก็บภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มเงินคงคลัง 2. ชะลอการปล่อยสินเชื่อ เพื่อลดหนี้ของประชาชน
3. ใช้จ่ายให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการผลิต 4. กู้ยืมน้อยลง เพื่อลดภาระงบประมาณ
81. ข้อใดไม่ใช่วิธีการหาเงินมาใช้จ่ายในกรณีที่รัฐบาลมีงบประมาณแบบขาดดุล
1. การนำเงินคงคลังออกมาใช้ 2. การกู้ยืมจากต่างประเทศ
3. การออกพันธบัตรขายประชาชน 4. การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
82. มาตรการของนโยบายการคลังข้อใดเป็นการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ (2 คำตอบ)
1. เพิ่มเงินคงคลัง 2. เพิ่มรายจ่ายเงินโอน
3. ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. ลดการลงทุนแข่งกับเอกชน
83. ข้อใดเป็นรายการที่แสดงอยู่ในบัญชีเดินสะพัด
1. ดุลการค้า ดุลบริจาค ดุลการชำระเงิน
2. ดุลบริจาค ดุลบริการ ดุลการค้า
3. ดุลการชำระเงิน ดุลบริการ ดุลเงินทุน
4. ดุลการค้า ดุลเงินทุน ดุลบริจาค
84. พ่อค้าไทยส่งน้ำตาลทรายออกไปขายต่างประเทศมูลค่า 500 ล้านบาท รายการดังกล่าวรวมอยู่ในดุลข้อใด
1. ดุลการค้า 2. ดุลบัญชีรายได้
3. ดุลบัญชีเดินสะพัด 4. ดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ
85. ข้อใดแสดงว่าดุลการชำระเงินเกินดุล
1. ดุลบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศมีค่าสุทธิเป็นบวก
2. ดุลบัญชีเดินสะพัดมีค่าต่ำกว่าดุลบัญชีทุน
3. ดุลบัญชีเดินสะพัดรวมดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้ายได้ผลสุทธิเป็นบวก
4. ดุลบัญชีเดินสะพัดลบดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้าย มีค่าสูงกว่าดุลบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ
40
86. ปัจจุบันประเทศต่างๆ นิยมใช้มาตรการใดในการจำกัดการค้าเสรีระหว่างประเทศ
1. การตั้งกำแพงภาษีขาเข้า 2. ให้เงินอุดหนุนผู้นำเข้า
3. กำหนดโควตาการส่งออก 4. กำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้าเข้า
87. ข้อใดเป็นการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ
1. ชาวฝรั่งเศสซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย 2. ชาวญี่ปุ่นซื้อบริษัทธุรกิจของคนไทย
3. ชาวอเมริกันซื้อรถยนต์ที่ผลิตในไทย 4. ชาวสิงคโปร์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทย
88. หลักการสหกรณ์กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกันในเรื่องใด
1. การบริการจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. การทำกิจกรรมเศรษฐกิจเฉพาะกับสมาชิกหรือคนในชุมชนเดียวกัน
3. การร่วมมือร่วมใจกันในสังคมระดับท้องถิ่น 4. การยึดแนวทางการพึ่งพาตนเอง
89. นายเกษตรมีที่ดิน 30 ไร่ ต้องการจัดสรรการใช้ที่ดินตามทฤษฎีใหม่ เขาจะต้องจัดสรรที่ดินเพื่อการขุดสระและการทำนา
อย่างละกี่ไร่
1. ขุดสระ 6 ไร่ ทำนา 9 ไร่ 2. ขุดสระ 9 ไร่ ทำนา 9 ไร่
3. ขุดสระ 10 ไร่ ทำนา 12 ไร่ 4. ขุดสระ 12 ไร่ ทำนา 12 ไร่
90. การปฏิบัติตาม “ทฤษฎีใหม่” ทำให้เกิดประโยชน์อย่างไร (2 คำตอบ)
1. พึ่งตนเองได้ 2. มีที่ดินเป็นของตนเอง
3. มีฐานะเศรษฐกิจมั่งคั่ง 4. เกิดความสามัคคีในชุมชน
91. ถ้าต้องการวิจัยเรื่อง เรือกับวิถีชีวิตชาวเล จะต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนใดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์
1. การตั้งประเด็นคำถามเรื่องราวที่อยากรู้ 2. การค้นหาและรวบรวมหลักฐาน
3. การวิพากษ์และตีความหลักฐาน 4. การสรุปข้อเท็จจริง
92. วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์หมายถึงวิธีการใด
1. การตีความ 2. การประเมิน 3. การวิเคราะห์ 4. การสังเคราะห์
93. ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของจดหมายเหตุ
1. เป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา 2. เป็นบันทึกจากการบอกเล่าต่อๆ กันมา
3. เป็นข้อมูลที่ปราศจากความคิดเห็นของผู้บันทึก 4. เป็นบันทึกที่มีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง
94. พัฒนาการของมนุษยชาติในการคิด สร้าง และทำ เพื่อความอยู่รอดในการดำรงชีวิต เกิดขึ้นครั้งแรกในยุคใด
1. ยุคหินเก่า 2. ยุคสำริด
3. ยุคเหล็ก 4. ยุคโลหะ
95. กิจกรรมใดที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติทางเศรษฐกิจครั้งแรกของมนุษย์
1. การประดิษฐ์คันไถ 2. การตั้งถิ่นฐานและเพาะปลูก
3. การใช้เครื่องจักรในระบบการผลิต 4. การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ด้วยโลหะ
96.ข้อใดเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมนุษย์ยุคหินใหม่
ได้ชัดเจนที่สุด
1. ขวานหินขัด 2. เครื่องดนตรีสำริด
3. ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา 4. การใช้กระดูกสัตว์ เขาสัตว์เป็นอาวุธ
97. ข้อใดเป็นจุดเริ่มต้นของยุคโลหะ
1. การหลอมดีบุก 2. การหลอมทองแดง 3. การหลอมเหล็ก 4. การหลอมสำริด
98. ถ้าในปัจจุบันประเทศไทยยังใช้ระบบศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ปีพุทธศักราช 2562 จะตรงกับรัตนโกสินทร์ศกใด
1. ร.ศ. 235 2. ร.ศ. 236 3. ร.ศ. 237 4. ร.ศ. 238
99. พระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดใดเป็นหลัก
1. พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ 2. พระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน
3. พระพุทธศาสนาลัทธิสยามวงศ์ 4. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
100. “สรีดภงส์” จัดเป็นภูมิปัญญาในสมัยใด
1. ทวารวดี 2. สุโขทัย 3. เชียงแสน 4. อยุธยา
101. พระราชพงศาวดารสมัยอยุธยาฉบับใดที่นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่ามีข้อมูลถูกต้องที่สุด
1. ฉบับบริติชมิวเซียม 2. ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
3. ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ 4. ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
102. “ไพร่” ในสังคมอยุธยามีฐานะใกล้เคียงกับบุคคลกลุ่มใดในปัจจุบัน
1. แรงงานรับจ้าง 2. สามัญชน 3. ทหารเกณฑ์ 4. กระฎุมพี
103. ระบบศักดินาส่งผลต่อสังคมไทยสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างไร
1. เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน 2. เกิดระบบชนชั้นในสังคมไทย
3. เกิดการแบ่งอำนาจการปกครอง 4. เกิดระบบการควบคุมการใช้แรงงาน
41
104. การที่อัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง แบ่งเขตดูแลรับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือและใต้ ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร เกิดขึ้นในสมัยใด
1. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 2. สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
3. สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 4. สมัยสมเด็จพระเพทราชา
105. พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงริเริ่มธรรมเนียมการดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางและข้าราชการ
1. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
3. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 4. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
106. เรื่องใดเป็นผลสืบเนื่องจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง (2 คำตอบ)
1. เกิดการค้าแบบเสรี 2. เกิดการขยายตัวของสินค้าหัตถกรรม
3. เกิดการผลิตข้าวเพื่อการค้าและส่งออก 4. เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมทอผ้า
107. สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง นอกจากข้าวแล้วยังประกอบด้วยสินค้าชนิดใด (2 คำตอบ)
1. ดีบุก 2. ไม้สัก 3. ของป่า 4. น้ำตาลทราย
108. หมอบรัดเลย์มีผลงานเผยแพร่วิทยาการตะวันตกในด้านใด (2 คำตอบ)
1. การช่าง 2. การพิมพ์ 3. การแพทย์ 4. การทำแผนที่
109. ข้อใดปรากฏอยู่ในการปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2 คำตอบ)
1. รัฐสภา 2. เสนาบดีสภา 3. รัฐธรรมนูญ 4. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
110. ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองการปกครองที่มีแนวคิดที่จะให้
ประชาชนชาวไทยรู้จักการปกครองตนเองมากที่สุดได้แก่เรื่องใด
1. การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน 2. การจัดตั้งเสนาบดีสภา กระทรวง กรม แบบชาติตะวันตก
3. การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล 4. การจัดตั้งสุขาภิบาล
111. ชนชาติใดที่เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตกเป็นกลุ่มแรก
1. ชาวอียิปต์ 2. ชาวสุเมเรียน 3. ชาวเปอร์เซียน 4. ชาวบาบิโลเนียน
112. ข้อใดแสดงถึงอารยธรรมของเมโสโปเตเมีย (2 คำตอบ)
1. อักษรลิ่ม 2. ซิกกูแรต 3. กฎหมายสิบสองโต๊ะ 4. การสร้างวิหารยอดโดม
113. พีระมิดในอารยธรรมอียิปต์สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด (2 คำตอบ)
1. ใช้เป็นศาสนสถาน 2. ใช้เป็นสถานที่เก็บพระศพฟาโรห์
3. แสดงถึงความเชื่อในเรื่องการฟื้นคืนชีพ 4. แสดงถึงอำนาจและความมั่นคงของอาณาจักร
114. สถาปัตยกรรมกรีกที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดเป็นสถาปัตยกรรมประเภทใด
1. วิหารหินอ่อน 2 .โรงมหรสพขนาดใหญ่
3. โบสถ์รูปแปดเหลี่ยม 4. พระราชวังที่มีขนาดใหญ่
115. การสร้างงานศิลปกรรมของโรมันมีจุดมุ่งหมายใดเป็นหลัก
1. เพื่อประโยชน์ใช้สอย 2. เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม
3. เพื่อแสดงความศรัทธาต่อศาสนา 4. เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิ
116. นักมนุษยนิยมเป็นผลผลิตของโลกตะวันตกในยุคใด
1. Romantic 2. Realistic 3. Reformation 4. Renaissance
117. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูศิลปวิทยา
1. การยกย่องความสามารถของมนุษย์ 2. การเน้นความเป็นปัจเจกชน
3. การรื้อฟื้นความเชื่อทางศาสนา 4. การคืนกลับมาของอารยธรรมกรีก
118. ลีโอนาร์โด ดา วินชี เป็นผู้สร้างผลงานใด (2 คำตอบ)
1. ภาพวาดโมนา ลิซา 2. ภาพบนเพดานวิหารซิสทีน
3. ประติมากรรมหินอ่อนเดวิด 4. ภาพวาดพระกระยาหารมื้อสุดท้าย
119. ข้อใดเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
1. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ 2. การขยายตัวทางการค้า
3. ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรม 4. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
120. การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 1 เกี่ยวข้องกับพลังงานใด (2 คำตอบ)
1. ไอน้ำ 2. น้ำมัน 3. ถ่านหิน 4. แรงงานคนและสัตว์
121. การวางแผนการเพาะปลูกในพื้นที่ 1,000 ไร่ ควรใช้ประโยชน์จากเครื่องมือใด
1. ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) 2. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)
3. ภาพถ่ายจากดาวเทียม 4. ภาพถ่ายทางอากาศ
122. ข้อใดไม่ควรใช้ Remote Sensing ในการสำรวจ
1. นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน 2. อุบัติเหตุทางรถยนต์จังหวัดนครราชสีมา
3. แหล่งแร่ทองคำจังหวัดพิจิตร 4. แผ่นดินถล่มที่จังหวัดอุตรดิตถ์
42
123. ถ้าต้องการศึกษาว่าประเทศไทยมีเมืองโบราณจำนวนเท่าใดและกระจายอยู่ในภาคใดบ้าง ท่านควรเลือกเครื่องมือประเภท
ใดจึงจะเหมาะสมที่สุด มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
1. ภาพถ่ายทางอากาศ 2. ภาพถ่ายจากดาวเทียม
3. แผนที่ภูมิประเทศและการสำรวจภาคสนาม 4. แผนที่ประวัติศาสตร์และฐานข้อมูลทางโบราณคดี
124. เครื่องมือในข้อใดสามารถใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ.2520 กับ พ.ศ.2550
ได้ดีที่สุด
1. แผนที่ภูมิประเทศ 2. แผนที่ทรัพยากรธรรมชาติ
3. ภาพถ่ายทางอากาศ 4. ภาพถ่ายจากดาวเทียม
125. ข้อใดไม่ใช่แผนที่เฉพาะเรื่อง
1. แผนที่การใช้ที่ดิน 2. แผนที่แสดงความลาดชัน
3. แผนที่แสดงชั้นบรรยากาศ 4. แผนที่ภูมิประเทศ
126. ในแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1 : 500,000 วัดความยาวของแม่น้ำปิงได้ 4 cm และแม่น้ำเจ้าพระยาได้ 2 cm ความยาว
ของแม่น้ำทั้งสองรวมกันเป็นเท่าใดในพื้นที่จริง
1. 30 กิโลเมตร 2. 40 กิโลเมตร 3. 50 กิโลเมตร 4. 60 กิโลเมตร
127. ในแผนทีม่ าตราส่วน 1: 50,000 วัดสวนสาธารณะแห่งหนึง่ ได้ 6 ตารางเซนติเมตร สวนสาธารณะแห่งนีม้ เี นือ้ ทีจ่ ริงเท่าใด
1. 1.5 ตารางกิโลเมตร 2. 3.0 ตารางกิโลเมตร
3. 4.5 ตารางกิโลเมตร 4. 6.0 ตารางกิโลเมตร
128. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความหลากหลายของพืชพรรณธรรมชาติทั่วโลก
1. ละติจูด 2. ลองจิจูด
3. ปริมาณน้ำฝน 4. ระดับความสูงต่ำของพื้นที่
129. ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบอันเกิดจากที่ตั้งของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ละติจูด 5 องศา 37 ลิปดา ถึง 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ
1. ทำให้มีอากาศร้อน 2. ทำให้ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม
3. ทำให้ทุกจังหวัดมีเวลามาตรฐานเดียวกัน 4. ทำให้อุณหภูมิในเวลากลางวันและกลางคืนไม่ต่างกันมากนัก
130. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเส้นเมริเดียน (2 คำตอบ)
1. ยาวเท่ากันทุกเส้น 2. สอบเข้าหากันที่ขั้วโลก
3. ยาวที่สุดบริเวณศูนย์สูตร 4. แบ่งโลกออกเป็น 2 ซีกเท่าๆกัน
131. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเส้นวันที่
1. เวลาของเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเส้นวันที่จะช้ากว่าที่กรีนิช
2. เวลาของเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเส้นวันที่จะเร็วกว่าที่กรีนิช
3. เวลาของเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเส้นวันที่จะช้ากว่าที่กรีนิช
4. เวลาของเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเส้นวันที่จะเร็วกว่าที่กรีนิช
132. หากมีการแข่งขันเทนนิสที่สหราชอาณาจักรในวันที่ 15 มีนาคม เวลา 16.00 น. ผู้ชมในประเทศไทยจะต้องเปิดโทรทัศน์เพื่อ
รับชมการถ่ายทอดสดดังกล่าวในเวลาใด
1. 9.00 น. 2. 10.00 น. 3. 22.00 น. 4. 23.00 น.
133. ข้อใดเป็นระบบพิกัดภูมิศาสตร์ที่ถูกต้องของกรุงเทพฯ
1. 13◦ 45' S 100◦ 30' W 2. 13◦ 45' S 100◦ 30' E
3. 13◦ 45' N 100◦ 30' W 4. 13◦ 45' N 100◦ 30' E
134. ในแผนที่อากาศสมัยใหม่ บริเวณที่มีสัญลักษณ์ L ปรากฏอยู่ จะมีลักษณะอากาศอย่างไร (2 คำตอบ)
1. เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ 2. เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
3. เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ 4. เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูง
135. ข้อใดคือประโยชน์ของการเรียกพายุหมุนเขตร้อนให้แตกต่างกันเป็น พายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน หรือพายุไต้ฝุ่น
1. เพื่อให้ทราบแหล่งกำเนิดของพายุ 2. เพื่อใช้ในการตั้งชื่อพายุอย่างเหมาะสม
3. เพื่อให้ทราบทิศทางและการเคลื่อนที่ของพายุ 4. เพื่อให้ทราบกำลังความแรงและการป้องกัน
136. อิทธิพลของลักษณะภูมิอากาศที่แห้งแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อให้เกิดพิธีกรรมใด
1. บุญข้าวจี่ 2. บุญบั้งไฟ
3. บุญกุ้มข้าวใหญ่ 4. บุญแห่ปราสาทผึ้ง
137. ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนตอนล่างมีน้ำเน่าเสียอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
1. การปนเปื้อนในน้ำของสารเคมีจากพื้นที่เกษตรกรรมและอาคารบ้านเรือน
2. การปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำจากอาคารบ้านเรือนและโรงงาน
3. การปล่อยน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือนและฟาร์มเลี้ยงสุกร
4. การปล่อยน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรและโรงงาน
43
138. เขตภูมิลักษณ์ที่เป็นภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาหมายถึงภาคใดของประเทศไทย
1. ภาคใต้ 2. ภาคเหนือ 3. ภาคตะวันตก 4. ภาคตะวันออก
139. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุหลักของวิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อม
1. การลดลงของระดับน้ำทะเล 2. ความแออัดของประชากร
3. การขยายตัวทางเศรษฐกิจ 4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
140. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของการเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศของโลก
1. การทับถมของขยะมูลฝอย 2. การถางป่าเป็นบริเวณกว้าง
3. การสลายตัวของปุ๋ยเคมีประเภทไนเตรต 4. การย่อยสลายของมูลสัตว์
141. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากการลดระดับลงของน้ำใต้ดิน
1. แผ่นดินทรุด 2. ขาดแคลนน้ำบาดาล
3. น้ำเค็มจากทะเลจะไหลซึมเข้ามาแทนที่ 4. ดินเปลี่ยนสภาพเป็นเลน
142. ข้อใดเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
1. การสะสมของแก๊สมีเทนในไร่นา
2. การแพร่กระจายของแมลงและเชื้อโรค
3. การดูดซับแสงอินฟาเรดโดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
4. การปล่อยสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนจากเครื่องทำความเย็น
143. ข้อใดเป็นเทคโนโลยีสะอาด
1. การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด 2. การเจือจางมลพิษที่แหล่งกำเนิด
3. การบำบัดมลพิษที่แหล่งกำเนิด 4. การกำจัดมลพิษที่แหล่งกำเนิด
144. Polluter Pay Principle เป็นหลักการเชิงเศรษฐศาสตร์ที่นำมาใช้เพื่ออะไร
1. การจัดการสิ่งแวดล้อม 2. การป้องกันสาธารณภัย
3. การกำหนดอัตราค่าน้ำ 4. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
145. การบำบัดน้ำเสียเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตรงกับหลักการใด
1. reuse 2. refill 3. reduce 4. recycle
146. องค์กรใดในสหประชาชาติทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานให้มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์กรต่างๆ
1. WFP 2. UNEP 3. UNDP 4. UNEPA
147. Agenda 21 เป็นแผนแม่บทของโลกสำหรับการดำเนินงานด้านใด
1. การพัฒนาที่ยั่งยืน 2. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3. การประหยัดพลังงาน 4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
148. องค์การเอกชนใหญ่ที่สุดที่เฝ้าระวังและดูแลทรัพยากรธรรมชาติทั่วโลกคือองค์การใด
1. Greenpeace International 2. World Wide Fund for Nature
3. Global Environmental Facility 4. United Nations Environment Programme
149. ปรากฏการณ์ใดเกี่ยวข้องกับพิธีสารเกียวโต ซึ่งเป็นข้อตกลงและผูกมัดตามกฎหมายในระดับโลก
1. ปรากฏการณ์เอลนีโญ 2. ปรากฏการณ์ลานีญา
3. ปรากฏการณ์เรือนกระจก 4. ปรากฏการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ
150. The Vienna Convention เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
1. การป้องกันชั้นโอโซน 2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4. การค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
44

ตะลุยโจทย์ ชุดที่ 2

สาระที่ 1 : ศาสนา
1. การกระทำใดถือว่าเป็นการปฏิบัติตามอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา
1. มีความอดทนบากบั่นทำงานอย่างไม่ย่อท้อ
2. ฝึกสมาธิก่อนนอนทุกวันเพื่อชำระใจให้บริสุทธิ์
3. รับประทานอาหารทุกมื้อแต่พอประมาณไม่มากไม่น้อยเกินไป
4. ตัดสินใจลดละเลิกการดื่มสุรา สูบบุหรี่ และยาเสพติดทุกชนิด
5. ตั้งใจไม่พูดจาหยาบคายและไม่กล่าวร้ายต่อบุคคลอื่น
2. นายแดงไปโรงเรียนสายทุกวัน ไม่เคยทำการบ้าน และมักจะก่อเรื่องทะเลาะวิวาทในโรงเรียนเป็นปรำจำ
แสดงว่า นายแดงบกพร่องกระบวนการศึกษาด้านใด
1. อธิสีลสิกขา 2. อธิจิตตสิกขา 3. อธิปัญญาสิกขา 4. สีลสามัญญตา 5. สัมมาอาชีวะ
3. หลังจากส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรก พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
ที่เมืองราชคฤห์ เหตุการณ์นี้จัดเป็นพุทธจริยาข้อใด
1. พุทธัตถจริยา 2. ญาตัตถจริยา 3. โลกัตถจริยา 4. ปรมัตถจริยา 5. ธัมมัตถจริยา
4. ประเสริฐเป็นคนขยันหมั่นเพียร อดออม พอเพียง และคบหาแต่เพื่อนที่ดี แสดงว่าประเสริฐปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใด
1. อิทธิบาท 4 2. ฆราวาสธรรม 4
3. ภาวนา 4 4. ปัญญาวุฑฒิธรรม 4 5. ทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์ 4
5. พระราชดำรัสถึงแนวปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงตอนหนึ่งว่า “…ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น
หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำที่ไม่ใช่
ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งบังมาจากผู้อื่น...”
(พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9)
จากพระราชดำรัสข้างต้นตรงกับหลักธรรมข้อใดมากที่สุด
1. อัตตัญญุตา การรู้จักตนเอง 2. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
3. สมชีวิตา มีความเป็นอยู่เหมาะสม 4. ปัญญา ความมีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล
5. มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ
6. ศีล 5 ของพุทธศาสนาและบัญญัติ 10 ประการของคริสต์ศาสนา ข้อใดต่อไปนี้ที่มีลักษณะร่วมกันมากที่สุด
1. อย่าร้องเพลง อย่าพูดปด อย่าเสพของมึนเมา อย่าโลภ
2. อย่าฆ่า อย่าลักขโมย อย่าโกหก อย่าประพฤติผิดทางเพศ
3. อย่าเป็นพยานเท็จ อย่าลักทรัพย์ อย่าอกตัญญูต่อพ่อแม่ อย่าฆ่าคน
4. อย่าประพฤติผิดทางเพศ อย่าลักทรัพย์ อย่าเสพของมึนเมา อย่าพูดเท็จ
5. อย่าลักทรัพย์ อย่าโกรธ อย่าโลภ อย่าเป็นพยานเท็จ
7. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกันระหว่าง “การให้ทาน” ตามคำสอนของพุทธศาสนาและ “การทำซะกาต” ของศาสนาอิสลาม
1. สร้างความเท่าเทียมกันในสังคม 2. ชำระความโลภในใจ
3. ทำความดีเพื่อส่งผลให้เกิดในภพภูมิที่ดี 4. ให้เรารู้จักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
5. ให้ตนได้ทำความดีและช่วยเหลือคนที่ขาดแคลน
8. สถานการณ์ :
ครูแดงเป็นครูประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเปิดภาคการศึกษา ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนแสดง
ความเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนของตนเองที่ผ่านมา เพื่อนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงการเรียนการสอนใน
ภาคการศึกษาต่อไป
พฤติกรรมของครูแดงสอดคล้องกับคติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใด
1. วันมาฆบูชา 2. วันวิสาขบูชา 3. วันอาสาฬหบูชา 4. วันเข้าพรรษา 5. วันออกพรรษา
9. ข้อใดแสดงพุทธคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า) ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับเหตุการณ์ในพุทธประวัติได้ถูกต้อง
1. เหตุการณ์ประสูติ = พระวิสทุ ธิคณ
ุ , เหตุการณ์ตรัสรู้ = พระปัญญาคุณ , เหตุการณ์ปรินพิ พาน = พระกรุณาคุณ
2. เหตุการณ์ประสูติ = พระปัญญาคุณ , เหตุการณ์ตรัสรู้ = พระวิสทุ ธิคณ
ุ , เหตุการณ์แสดงธรรมจักร = พระกรุณาคุณ
3. เหตุการณ์ตรัสรู้ = พระวิสุทธิคุณและ พระกรุณาคุณ , เหตุการณ์ปรินิพพาน = พระปัญญาคุณ
4. เหตุการณ์ตรัสรู้ = พระปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณ , เหตุการณ์แสดงธรรมจักร = พระกรุณาคุณ
5. เหตุการณ์ปรินิพพาน = พระกรุณาคุณ , เหตุการณ์ประสูติ = พระปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณ
45
10. กวีนิพนธ์ไทยว่า
พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
กวีนิพนธ์บทนี้สะท้อนคติธรรมจากวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใดมากที่สุด
1. วันมาฆบูชา 2. วันเข้าพรรษา 3. วันอาสาฬหบูชา 4. วันอัฏฐมีบูชา 5. วันออกพรรษา

สาระที่ 2 : หน้าที่พลเมือง
11. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการยืมเงิน
1. การยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้
2. การยืมเงินต้องมีบุคคลลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นพยานอย่างน้อยหนึ่งคน
3. การยืมเงินต้องทำเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรอย่างน้อยสองฉบับ
4. บุคคลทั่วไปผู้ให้ยืมเงินต้องไม่เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละยี่สิบต่อปี
5. หนังสือสัญญายืมต้องพิมพ์หรือเขียนจำนวนเงินที่ให้กู้เป็นตัวหนังสือ
12. ข้อใดเป็นความผิดฐานยักยอกตามกฎหมายอาญา
1. นายดำยืมรถยนต์จากนายแดงต่อมานายดำนำรถยนต์นั้นไปขายให้นายขาว
2. นายดำหลอกให้นายแดงเผลอแล้วแอบหยิบโทรศัพท์ของนายแดงไป
3. นายดำหลอกนายแดงว่านายขาวให้มารับสินค้าแล้วนายแดงก็ยอมส่งมอบสินค้าให้
4. นายดำเจตนาทำให้คอมพิวเตอร์ที่นายแดงฝากไว้ไม่สามารถใช้การได้
5. นายดำเผาเอกสารสัญญากู้ยืมเงินที่นายดำเป็นลูกหนี้ต่อนายแดง
13. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูยปัจจุบัน
1. เสนอแนะให้หน่วยงานของรัฐปรับปรุงกฎหมายได้
2. รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ได้รับความเสียหายจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3. เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตรวจสอบพระราชบัญญัติ
4. เสนอเรื่องต่อศาลปกครองให้ตรวจสอบคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5. ติดตามตรวจสอบและกำกับวินัยการเงินการคลังของรัฐ
14. ข้อใดคือปัจจัยที่ส่งผลให้สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม
1. สัดส่วนประชากรในวัยผู้สูงอายุที่มีมากขึ้น
2. สัดส่วนประชากรชายและหญิงที่ใกล้เคียงกัน
3. สัดส่วนแรงงานต่างด้าวที่มีจำนวนแน่นอนมากขึ้น
4. สัดส่วนผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองที่เริ่มเบาบางมากขึ้น
5. สัดส่วนรายได้ระหว่างผู้มีรายได้สูงและผู้มีรายได้ปานกลางใกล้เคียงกัน
15. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของสังคมไทยที่สะท้อนผ่านประเพณีและวัฒนธรรมไทย
1. เป็นสังคมที่ให้คุณค่ากับระบบอาวุโส
2. เป็นสังคมเกษตรกรรมพึ่งพาธรรมชาติ
3. เป็นสังคมที่มีความผูกพันกับสถาบันกษัตริย์
4. เป็นสังคมที่เน้นความเป็นปัจเจกและการพึ่งพาตนเอง
5. เป็นสังคมที่ศาสนามีบทบาทสำคัญต่อค่านิยมและคุณธรรม
16. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งผลให้วัฒนธรรมไทยมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียน
1. การพึ่งพาธรรมชาติและความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ
2. การรับอิทธิพลจากแหล่งอารยธรรมอินเดียและจีน
3. การมีภูมิประเทศและภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน
4. การปรับตัวรับมือลัทธิล่าอาณานิคม
5. การมีตระกูลภาษาร่วมกัน
17. ประเทศใดที่ประมุขแห่งรัฐไม่ใช่กษัตริย์
1. โอมาน บรูไน 2. ซาอุดิอาระเบีย ญี่ปุ่น
3. อิหร่าน อินโดนีเซีย 4. จอร์แดน ภูฏาน
5. กาตาร์ มาเลเซีย
46
18. ข้อใดคือหลักการในข้อห้ามมิให้สมาชิกรัฐสภาดำรงตำแหน่งในส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. หลักการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน 2. หลักการไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ
3. หลักการรักษาความสงบเรียบร้อย 4. หลักการคุ้มครองผู้สุจริต
5. หลักการกระจายอำนาจทางปกครอง
19. หลักการหรือกลไกใดต่อไปนี้ที่มีอยู่เฉพาะในระบบรัฐสภา แต่ไม่มีในระบบประธานาธิบดี
1. หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาจากอำนาจบริหาร
2. ระบบคณะกรรมาธิการยกร่างกฎหมาย
3. การยึดถือรัฐสภาเป็นองค์กรสูงสุดทางการเมือง
4. การแบ่งแยกงานนโยบายออกจากงานประจำ
5. ระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ
20. ข้อใดไม่ใช่พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1. การตรากฎกระทรวง 2. การเรียกประชุมรัฐสภา
3. การแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง 4. การทำหนังสือสัญญาสันติภาพ 5. การให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง

สาระที่ 3 : เศรษฐศาสตร์
21. สมมติให้มีสินค้า 2 ชนิดคือ สินค้า X และสินค้า Y ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน ถ้ากำหนดให้อุปทานของ
สินค้าทั้งสองไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากราคาสินค้า Y ลดลง ในขณะที่ราคาสินค้า X คงที่ ราคาและปริมาณ
ดุลยภาพในตลาดสินค้า X จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
1. ราคาดุลยภาพคงที่ ปริมาณดุลยภาพคงที่
2. ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้น ปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น
3. ราคาดุลยภาพลดลง ปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น
4. ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้น ปริมาณดุลยภาพลดลง
5. ราคาดุลยภาพลดลง ปริมาณดุลยภาพลดลง
22. ข้อใดต่อไปนี้ครอบคลุมปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างครบถ้วน
1. ผลิตอะไร ควรตั้งราคาเท่าไหร่ ผลิตเพื่อขายใคร
2. ผลิตอะไร ควรใช้เทคโนโลยีใดในการผลิต ผลิตเพื่อขายใคร
3. ผลิตที่ไหน ควรใช้เทคโนโลยีใดในการผลิต ผลิตเพื่อขายใคร
4. ควรใช้เทคโนโลยีใดในการผลิต ควรตั้งราคาเท่าไหร่ ผลิตเพื่อขายใคร
5. ผลิตอะไร ผลิตสินค้าที่ไหน ควรใช้เทคโนโลยีใดในการผลิต
23. ข้อใดสอดคล้องกับความหมายของอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) ในตลาดสินค้าชนิดหนึ่งๆ
1. ปริมาณความต้องการซื้อมากกว่าปริมาณความต้องการขาย เนื่องจากระดับราคาต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
2. ปริมาณความต้องการขายมากกว่าปริมาณความต้องการซื้อ เนื่องจากระดับราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพ
3. ผู้บริโภคได้รับความพอใจมากกว่าราคาที่จ่าย เนื่องจากระดับราคาต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
4. ผู้บริโภคได้รับความพอใจต่ำกว่าราคาที่จ่าย เนื่องจากระดับราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพ
5. ผู้บริโภคได้รับสินค้ามากกว่าปริมาณที่ต้องการ เนื่องจากระดับราคาต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
24. บรัษทั ก. เป็นบริษทั หนึง่ ในตลาดทีใ่ ห้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลือ่ นทีใ่ นประเทศไทย บริษทั ก. ต้อง เผชิญกับสถานการณ์ใด
1. สามารถให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ด้วยต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่ง
2. เผชิญกับการแข่งขันที่สูง เนื่องจากมีผู้ผลิตเป็นจำนนวนมากในตลาด
3. เผชิญกับการแข่งขันที่สูง เนื่องจากคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาดได้อย่างเสรี
4. สามารถกำหนดราคาค่าบริการเครือข่ายโทรศัพท์ที่ผลิตได้ เนื่องจากมีอำนาจผูกขาดแบบสมบูรณ์
5. ต้องใส่ใจกับการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ให้มีความแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่นๆ เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาด
25. ข้อใดไม่ใช่แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. เสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยสร้างคนให้เป็นคนดี มุ่งเน้นพัฒนาคน ครอบครัว และชุมชน
2. ส่งเสริมให้มีกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมขน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
3. มุ่งสร้างและหาโอกาสในการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
4. ส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพาจากภายนอก โดยใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาภายในท้องถิ่น
5. สร้างความสมดุลและความพอประมาณอย่างมีเหตุผล เพือ่ นำสังคมไปสูส่ งั คมคุณภาพ มีเสถียรภาพและเป็นธรรม
47
26. หากประเทศ ก. ประสบภาวะเงินเฟ้ออันเนื่องจากสาเหตุด้านอุปสงค์ ข้อใดเป็นมาตรการทางการเงินที่
ประเทศ ก. ไม่ควรนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ
1. ขยายฐานภาษีทรัพย์สิน
2. เพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน
3. เพิ่มการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4. ควบคุมธนาคารพาณิชย์ให้ลดปริมาณการให้สินเชื่อ
5. ลดอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์
27. ข้อใดคือมาตรการของนโยบายการคลังที่ไม่มีผลในการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ
1. การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
2. การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและการยกเลิกการจ่ายเงินอุดหนุนแก่เกษตรกร
3. การลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
4. การอนุญาตให้นำค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวไปลดหย่อนในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
5. การอนุญาตให้นำค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ไปลดหย่อนในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
28. ข้อใดมีลักษณะเป็นการสร้างหนี้สาธารณะที่ยอมรับได้ จากการพิจารณาอัตราการเพิ่มหนี้สาธารณะและ
อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่เกิดจากการเพิ่มหนี้สาธารณะ
1. มูลค่าการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และ GDP ขยายตัวร้อยละ 5
2. มูลค่าการกู้ยืมโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และ GDP ขยายตัวร้อยละ 10
3. มูลค่าการกู้ยืมโดยตรงจากรัฐบาลต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และ GDP ขยายตัวมากกว่าร้อยะล 2
4. มูลค่าการกูย้ มื โดยตรงและการค้ำประกันเงินกูข้ องรัฐบาลเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 4 และ GDP ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 4
5. มูลค่าการกูย้ มื จากประชาชนและสถาบันการเงินในประเทศเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 8 และ GDP ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 8
29. กำหนดให้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย และอัตราแลก
เปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ระหว่างประเทศจีนกับประเทศไทยในเดือนมกราคม 2561 และเดือน
พฤษภาคม 2561 เป็นดังนี้

ณ มกราคม 2561 ณ พฤษภาคม 2561

อัตราแลกเปลี่ยนญี่ปุ่นกับไทย (เยน : บาท) 100 : 35 100 : 38

อัตราแลกเปลี่ยนจีนกับไทย (หยวน : บาท) 100 : 498 100 : 480

หากกำหนดให้ราคาสินค้าระหว่างประเทศของสินค้าไทย สินค้าญี่ปุ่นและสินค้าจีนยังคงเดิม การสรุป


สถานการณ์ในเดือนพฤษภาคม 2561 ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. เงินเยนมีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท
2. เงินบาทมีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินหยวน
3. จ่ายเงินหยวนลดลงเพื่อซื้อสินค้าจำนวนเท่าเดิมจากประเทศไทย
4. จ่ายเงินเยนลดลงเพื่อซื้อสินค้าจำนวนเท่าเดิมจากประเทศไทย
5. สินค้าจากประเทศจีนมีราคาถูกลงในสายตาของคนไทยและคนที่มีเงินบาทในมือ
30. ประเทศกินีควรขอกู้เงินจากหน่วยงานใด เมื่อประเทศอยู่ในสถานการณ์ที่ประสงค์จะกู้เงินจากต่างประเทศ
เพื่อบูรณะซ่อมแซมและลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ
เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ตลอดจน
ต้องการความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนและการบริหารการเงิน
1. IBRD
2. WTO
3. ADB
4. IMF
5. EU
48

สาระที่ 4 : ประวัติศาสตร์
31. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับยุคสมัยและวิธีการทางประวัติศาสตร์
1. มนุษย์เริ่มรู้จักการเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ในยุคหินเก่า
2. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหนับเป็นหนึ่งในแหล่งอารยธรรมสำคัญของยุคหินใหม่
3. ความหมายของประวัติศาสตร์มีหลากหลายและแตกต่างไปตามความรู้และความเข้าใจของแต่ละคน
4. ประวัติศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมีการตีความข้อมูลแนวคิดด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์กว่าในภายหลัง
5. การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องใช้ความรู้และการศึกษาค้นคว้าวิชาการหลายแขนงประกอบ
กัน ไม่ใช่จากวิชาประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว
32. ข้อใดไม่สอดคล้องกับยุคก่อนประวัติศาสตร์
1. ศิลาจารึกที่เก่าแก่ที่สุด
2. ภาพเขียนสี อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
3. หลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้สำริด ที่บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี
4. เครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
5. การถลุงแร่เหล็ก
33. ข้อใดเป็นหลักฐานชั้นต้นที่เกิดขึ้นใน “สมัยใหม่” ตามการแบ่งยุคประวัติศาสตร์สากล
1. แมกนา คาร์ตา หรือกฎบัตรฉบับใหม่ 2. ผลงาน “ประวัติศาสตร์ของพวกแฟรงก์”
3. เอกสารคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา 4. ผลงาน “ประวัติศาสตร์สงครามเปอร์เซีย”
5. มหากาพย์อีเลียด
34. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
1. อิตาลีรวมเป็นประเทศได้สำเร็จในช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19
2. ราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซียถูกโค่นล้มในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
3. ประเทศในยุโรปได้พัฒนาตนเองจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19
4. อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันของมหาอำนาจในยุโรปในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
5. การแข่งขันอำนาจกันระหว่างรัสเซียและออสเตรเลีย-ฮังการีในคาบสมุทรบอลข่าน ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์
ศตวรรษที่ 20
35. ข้อใดไม่ใช่ผลที่เกิดจากการปกครองแบบฟิวดัลในสมัยกลางของยุโรป
1. กษัตริย์อ่อนแอ และไม่มีอำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง 2. การค้าโดยภาพรวมชะงักงันจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11
3. คริสตจักรเข้มแข็งและมีอำนาจมาก 4. ผลผลิตทางการเกษตรอยู่ในระดับสูง
5. เกิดยศฐาบรรดาศักดิ์ เช่น อาร์ชดุ๊ก ดุ๊ก เคานต์ เป็นต้น
36. โรงเรียนประชาบาล ซึ่งเกิดจากเงินบริจาคและเงินที่ทางราชการได้เรียกเก็บเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาภาคบังคับจากผู้ชา
ยอายุ 18 - 60 ปี คนละ 1 - 3 บาทต่อปี ที่เรียกว่า “เงินศึกษาพลี” เกิดขึ้นในรัชกาลใด
1. รัชกาลที่ 4 2. รัชกาลที่ 5 3. รัชกาลที่ 6 4. รัชกาลที่ 7 5. รัชกาลที่ 8
37. สงครามอานามสยามยุทธกับญวนเกิดขึ้นในรัชกาลใด
1. รัชกาลที่ 1 2. รัชกาลที่ 2 3. รัชกาลที่ 3 4. รัชกาลที่ 4 5. รัชกาลที่ 5
38. ข้อใดเป็นภูมิปัญญาไทยที่เป็นนามธรรม
1. การทำปลาร้าของคนอีสาน 2. พระพุทธรูปสมัยอยุธยา
3. การหาฤกษ์ยามแต่งงาน 4. หุ่นฟางแทนแม่โพสพ 5. เครื่องทองสุโขทัย
39. การจัดตั้งหอรัษฎากรณ์พิพัฒน์ ส่งผลต่อการปฏิรูปสยามในด้านใดมากที่สุด
1. ด้านภาษีอากร 2. ด้านการศึกษา
3. ด้านพระพุทธศาสนา 4. ด้านการปกครองส่วนภูมิภาค 5. ด้านการศาลและกฎหมาย
40. “ค่าผูกปี้” ตรงกับข้อใดมากที่สุด
1. ภาษีการขนสินค้าผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำ
2. สิ่งของหรือสินค้าที่ไพร่นำมามอบให้แทนการถูกเกณฑ์แรงงาน
3. ภาษีที่เก็บจากราษฎรที่ทำสวน
4. ภาษีปากเรือ
5. ภาษีที่เก็บจากชาวจีนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่ไม่ต้องการถูกเกณฑ์แรงงาน
49

สาระที่ 5 : ภูมิศาสตร์
41. ถ้าภาพถ่ายทางอากาศใน 1 แนวบินมีจำนวนภาพเรียงกันทั้งหมด 6 ภาพ โดยแต่ละภาพมีส่วนเหลื่อมหน้าร้อยละ 60 อยาก
ทราบว่าจะสามารถมองเห็นภาพ 3 มิติที่ภาพทับกันสนิทได้ทั้งหมดกี่ภาพ
1. จำนวน 2 ภาพ 2. จำนวน 3 ภาพ 3. จำนวน 4 ภาพ 4. จำนวน 5 ภาพ 5. จำนวน 6 ภาพ
42. ถ้าวัดมุมแอซิมุทได้เท่ากับ 100 องศา จะคิดเป็นค่ามุมแบริ่งได้เท่าไร
1. N 80 องศา E 2. N 100 องศา W 3. S 80 องศา E 4. S 100 องศา W 5. S 180 องศา E
43. ในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะประสบภัยพิบัติในด้านวาตภัยและอุทกภัย รวมถึงอาจเกิดแผ่นดิน
ถล่มจากอิทธิพลของพายุหมนุเขตร้อนที่มีความถี่ในการเกิดสูง ท่านควรหลีกเลี่ยงในการเดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดใด
1. สกลนคร นครพนม หนองคาย 2. อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ยโสธร
3. ระยอง จันทบุรี ตราด 4. ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
5. ระนอง พังงา ภูเก็ต
44. กรณีการเกิดอุทกภัยที่รุนแรงและรวดเร็วในเขตเทศบาลนครสกลนคร เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2560
มีแนวทางใดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืนและเหมาะสมที่สุด
1. สร้างแหล่งเก็บน้ำและขุดคลองลำน้ำก่ำ เพื่อระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงโดยเร็ว
2. ลดการใช้พลังงานที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกโดยปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3. สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และฝาย รอบตัวเมืองสกลนคร เพื่อกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด
4. ปลูกป่าและดูแลรักษาป่าในเขตที่สูงรอบตัวเมืองโดยเฉพาะเทือกเขาภูพานเพื่อเป็นพื้นที่ดูดซับน้ำ
5. ขุดลอกคูคลอง แหล่งน้ำธรรมชาติ และหนองหาน รวมถึงป้องกันการบุกรุกใช้พื้นที่รอบหนองหาน
45. การศึกษษและสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพซึ่งเกิดจากการะทำจากแรงน้ำไหลของแม่น้ำเจ้าพระยา
ตั้งแต่ปากน้ำจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ ลักษณะภูมิสัณฐานใดมีโอกาสพบน้อยที่สุด
1. ทะเลสาบรูปแอกและลานตะพักลำน้ำ 2. ร่องลำน้ำฝั่งตลิ่งลาดนูนและตลิ่งชันเว้า
3. ที่ราบน้ำท่วมถึงและคันดินธรรมชาติ 4. แม่น้ำโค้งตวัดไหลตัดคอคอดคุ้งน้ำ
5. กุมภลักษณ์และโกรกธารธาราผาชัน
46. ข้อใดไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าของประเทศไทย
1. ในอดีตเคยมีพื้นที่ป่าไม้มากกว่าพื้นที่เกษตรกรรมในปัจจุบัน
2. ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าไม้ เพิ่มมากขึ้นแต่ยังต่ำกว่านโยบายที่กำหนดไว้ร้อยละ 40
3. ปัจจุบันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และการล่าสัตว์ป่ายังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
4. นโยบายการเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์และการส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ ทำให้มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น
5. นโยบายการประกาศปิดป่าหรือการยกเลิกสัมปทานป่าไม้ปี พ.ศ. 2532 ทำให้ไม่มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้
47. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโลกด้วยการกระทำของมนุษย์ตามข้อใดส่งผลต่อการเกิดภูมิสังคมใหม่
ลักษณะต่างๆ อย่างกว้างขวางมากที่สุด
1. การสร้างรีสอร์ทเกาะรูปต้นปาล์มในเอเชียตะวันออก 2. การสร้างโพลเดอร์ทำการเกษตรและตั้งถิ่นฐานในทวีปยุโรป
3. การสร้างเขื่อนสามผาที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเอเชียตะวันออก 4. การสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำแม่น้ำของแต่ละประเทศทั่วโลก
5. การสร้างคลองสุเอซและคลองปานามาเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทร
48. พระราชบัญญัติทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใดมีบทบาทในการเสนอแนะมาตรการด้านการเงิน การคลัง การภาษี
อากรและการส่งเสริมการลงทุนต่อคณะรัฐมนตรี
1. พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535
2. พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535
3. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
4. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
5. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
49. ฝนกรดมีผลเสียต่อแหล่งน้ำ ปลา ป่าไม้ ตลอดจนระบทางเดินหายใจของคน แนวทางแก้ไขให้ลดลงอย่าง
รวดเร็ว และเป็นไปได้จริงในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปคือแนวทางในข้อใด
1. เลิกใช้พลังงานที่ผลิตจากถ่านหินและน้ำมันในทุกกิจกรรมทันที
2. ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาดในทุกกิจกรรมที่ใช้พลังงาน
3. ควบคุมความเร็วของรถยนต์และใช้การขนส่งสินค้าในระบบรางแทนการใช้รถบรรทุก
4. รักษาป่าและเร่งปลูกป่าในเขตเมืองและบริเวณโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อดูดซับมลพิษ
5. ติดตั้งเครื่องกำจัดมลพิษทางอากาศในรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหิน
50. ข้อใดเป็นแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในเชิงภูมิศาสตร์ของเกษตรกรที่จะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน
1. การปลูกผัก ผลไม้ ตามฤดูกาล และการปลูกพืชหมุนเวียน 2. ใช้เทคโนโลยีเตาอบแสงอาทิตย์ที่ผลิตขึ้นเองเพื่ออบผักและผลไม้
3. ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น 4. รวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตและสร้างตลาดผู้บริโภคในลักษณะจำหน่ายตรง
5. ขยายพื้นที่ทำการเกษตรโดยไม่เผ่าป่า หญ้า ฟาง เพื่อกำจัดแมลงวัชพืช
50

O-NET 62
ตอนที่ 1 : แบบปรนัย 5 ตัวเลือก เลือก 1 เลือก 1 คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
จำนวน 80 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวม 80 คะแนน
สาระที่ 1 ศาสนา
1. ข้อใดใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกศาสนาเป็นเทวนิยม อเทวนิยม เอกเทวนิยมหรือพหุเทวนิยม
1. ศาสดา 2. พิธีกรรม 3. รูปเคารพ 4. ศาสนสถาน 5. ความเชื่อ
2. พฤติกรรมของใครถูกต้องที่สุดในการนำวิธีการประกาศอิสรภาพจากกิเลสของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้ในชีวิต
1. แดงตั้งใจดื่มเหล้าในวันแม่ และก็สามารถทำได้สำเร็จ
2. ดำตั้งใจละเลิกทุกอย่างโดยการอุปสมบทเป็นพระภิกษุตลอดพรรษาและก็สามารถทำได้จนสำเร็จ
3. เขียวตั้งใจปฏิบัติธรรมโดยการรักษาศีล 8 ทุกวันพระ และก็สามารถทำได้สำเร็จ
4. ขาวตั้งใจเลี้ยงดูแม่ตลอดชีวิต จึงนำแม่ไปไว้ที่บ้านพักคนชรา
5. ฟ้าตั้งใจไม่พูดโกหกทุกวันตลอดชีวิต และก็สามารถทำได้สำเร็จ
3. พระเจ้าจักรพรรดิราชผู้เป็นนักปกครองที่ยิ่งใหญ่ มีพระบัญชาให้ลั่นกลองรบประกาศสงครามนำทัพเดินหน้าแผ่
ขยายราชอาณาจักรออกไป เปรียบได้กับเหตุการณ์ใดในพุทธประวัติ
1. การประสูติและประกาสอาสภิวาจา ณ ลุมพินีวัน 2. การตรัสรู้ในคืนวันเพ็ญ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
3. การแสดงธรรมจักร ณ อิสิปตนมฤคทายวัน 4. การปรินิพพาน ณ กรุงกุสินารา
5. การถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ กรุงกุสินารา
4. ข้อใดแสดงกระบวนการและผลของการศึกษาได้ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
1. สีลสิกขา นำไปสู่ผลคือปัญญาที่พัฒนาแล้ว
2. จิตตสิกขา นำไปสู่ผลคือกายที่พัฒนาแล้ว
3. ปัญญาสิกขา นำไปสู่ผลคือจิตที่พัฒนาแล้ว
4. สีลสิกขา นำไปสู่ผลคือกายและความประพฤติที่พัฒนาแล้ว
5. ปัญญาสิกขา นำไปสู่ผลคือจิตและปัญญาที่พัฒนาแล้ว
5. อริยสัจ กับ ปฏิจจสมุปบาท เป็นองค์ธรรมที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
1. ต่างกัน เพราะอริยสัจเน้นกระบวนการเกิดทุกข์ ส่วนปฏิจจสมุปบาทเน้นกระบวนการดับของสรรพสิ่ง
2. เหมือนกัน แต่ต่างมุมมอง เพราะอริยสัจเน้นกระบวนการสัมพันธ์ แต่ปฏิจจสมุปบาทเน้นวิธีการแก้ปัญหา
3. ต่างกัน เพราะอริยสัจเน้นแสดงกระบวนการดับทุกข์ แต่ปฏิจจสมุปบาทเน้นแสดงกระบวนการเกิดทุกข์
4. เหมือนกัน แต่ต่างมุมมอง เพราะอริยสัจเน้นวิธีการแก้ปัญหา ส่วนปฏิจจสมุปบาทเน้นกระบวนการแห่งปัจจัยสัมพันธ์
5. เหมือนกัน แต่ต่างมุมมอง เพราะอริยสัจแสดงธรรมชาติที่เป็นแกนกลางของปฏิจจสมุปบาท
6. แดงกับดำเป็นเพื่อนกัน วันหนึ่งดำได้ไปเก็บมะม่วงที่ตนปลูกไว้หลังบ้านมารับประทานร่วมกันอย่างเอร็ดอร่อย
แดง : “มะม่วงลูกนี้หวาน กรอบอร่อยมากเลยนะ”
ดำ : “ไม่อร่อยได้ไง ฉันขอต้นพันธุ์อย่างดีมาจากบ้านป้าของฉันที่จังหวัดจันทบุรีเลยนะ ถ้าไม่ใช่พันธุ์นี้คงไม่
อร่อยอย่างนี้หรอก
แดง : “ฉันก็เคยหามะม่วงพันธุ์ดีๆ มาปลูกเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลและใส่ปุ๋ย จึงทำให้ต้นมันตายไป
ในที่สุด ฉันว่านะ นอกจากจะได้พันธุ์ดีแล้ว นายคงดูแลใส่ปุ๋ย พรวนดิน และเอาใจใส่ต้นไม่นี้อย่างดีนะสิ มันจึงเติบโตสูงใหญ่
จนมีดอกมีผลที่เอร็ดอร่อยอย่างนี้”
จากบทสนทนาในสถานการณ์ข้างต้น ใครเป็นคนแสดง “เหตุ” และ/หรือ “ปัจจัย” ที่ถูกต้องที่สุด
1. แดงแสดงเหตุและปัจจัย 2. แดงแสดงเหตุ
3. ดำแสดงปัจจัย 4. ดำแสดงเหตุ 5. ดำและแดงแสดงทั้งเหตุและปัจจัย
7. รอยเท้าช้างเป็นยอดหรือใหญ่ที่สุดกว่ารอยเท้าของสัตว์ใดๆ รอยเท้าช้างจึงถือว่าเป็นที่รวมของรอยเท้าสัตว์ทุกชนิด
เมื่อเปรียบกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด คำว่า “รอยเท้าช้าง” ในที่นี้เปรียบได้กับหลักธรรมข้อใด
1. โอวาทปาฏิโมกข์ 2. พระนิพพาน 3. อริยสัจ 4. อัปปมาทธรรม 5. เมตตากรุณา
8. การทำละหมาดตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามเป็นการนมัสการต่ออะไร
1. เทวบัญชา 2. พระเจ้า 3. ผู้รู้ทางศาสนา 4. คัมภีร์อัลกุรอาน 5. ศาสนสถานที่เคารพ
9. หลักเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืนมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในข้อใดบ้างเป็นฐานรองรับที่สำคัญ
1. มัชฌิมาปฏิปทา อัปปมาทธรรม พละ และไตรสิกขา
2. มัชฌิมาปฏิปทา นาถกรณธรรม สาราณียธรรม และอริยวัฑฒิ
3. มัชฌิมาปฏิปทา สันโดษ ฆราวาสธรรม และเบญจศีล
4. มัชฌิมาปฏิปทา อัปปมาทธรรม สันโดษ และปัญญา
5. มัชฌิมาปฏิปทา อุปาสกธรรม ปัญญา และเบญจศีล
51
10. ข้อใดกล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง
1. เน้นความสมดุลระหว่างการพัฒนาคนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีและการพัฒนาเศรษฐกิจ
2. เน้นความสมดุลระหว่างการพัฒนาคนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีและการบรรลุพระนิพพาน
3. เน้นความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
4. เน้นความสมดุลระหว่างการพัฒนาศาสนา ชุมชน สังคม และการเมือง
5. เน้นความสมดุลระหว่างการพัฒนาคน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
11. หลักการปกครองตามระบอบเผด็จการและระบอบประชาธิปไตยมีลกั ษณะตรงกับหลักอธิปไตยข้อใดในพระพุทธศาสนา
1. เผด็จการ = โลกาธิปไตย ประชาธิปไตย = ธรรมาธิปไตย
2. เผด็จการ = ธรรมาธิปไตย ประชาธิปไตย = โลกาธิปไตย
3. เผด็จการ = อัตตาธิปไตย ประชาธิปไตย = โลกาธิปไตย
4. เผด็จการ = ธรรมาธิปไตย ประชาธิปไตย = อัตตาธิปไตย
5. เผด็จการ = อัตตาธิปไตย ประชาธิปไตย = ธรรมาธิปไตย
12. ข้อใดแสดงหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่างศาสนาที่สอดคล้องกันมากที่สุด
1. จาคะในพุทธศาสนา และศรัทธาในศาสนาคริสต์
2. การละหมาดในศาสนาอิสลาม และเบญจศีลในศาสนาพุทธ
3. ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในฐานะบุตรของพระเจ้าในศาสนาคริสต์และศาสนาสิกข์
4. พรหมจรรย์ในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู และห้ามประพฤติผิดในกามในศาสนาพุทธ
5. การแบ่งปันในศาสนาคริสต์ และซะกาตในศาสนาอิสลาม
13. ความเชื่อเรื่องคำพิพากษามีปรากฏในศาสนาใด
1. พราหมณ์ฮินดู - อิสลาม 2. คริสต์ - พราหมณ์ฮินดู
3. อิสลาม - คริสต์ 4. พุทธ - อิสลาม 5. พุทธ - คริสต์
14. “ประชาพิจารณ์คือ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนทุกคน” จาก
หลักการประชาพิจารณ์นี้มีลักษณะสอดคล้องกับคติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในข้อใด
1. วันวิสาขบูชา 2. วันอาสาฬหบูชา
3. วันมาฆบูชา 4. วันเข้าพรรษา 5. วันออกพรรษา
15. หากนักเรียนมความประสงค์จะทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนแต่พระสงฆ์ควรถวายผ้าอาบน้ำฝนในวันใดจึงจะเหมาะสมทีส่ ดุ
1. วันวิสาขบูชา 2. วันอาสาฬหบูชา 3. วันมาฆบูชา 4. วันเข้าพรรษา 5. วันออกพรรษา
16. บุคคลในข้อใดเป็นบุคคลที่ถูกห้ามอุปสมบทเป็นพระภิกษุอย่างเด็ดขาด
1. นายแดง เคยบวชเป็นพระภิกษุ แต่ถูกจับสึกเพราะมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง
2. นายขาว เป็นคนยากจน อยากบวชพระ แต่ไม่มีบาตรและจีวร
3. นายเขียว เป็นโรคเอดส์
4. นายดำ มีอวัยวะบกพร่อง
5. นายม่วง หนีคดีฆ่าคนมาขอบวชพระ

สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง
17. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเงื่อนไขการสมรสตามกฎหมาย
1. บุคคลจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วไม่ได้ 2. คนไร้ความสามารถจะทำการสมรสไม่ได้
3. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ 4. บุคคลที่แม้เพียงเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดา ก็จะทำการสมรสกันไม่ได้
5. คนล้มละลายจะทำการสมรสไม่ได้
18. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายอาญา
1. กฎหมายอาญาห้ามไม่ให้มีการบัญญัติความผิดย้อนหลัง
2. ความรับผิดทางอาญา โดยหลักบุคคลจะรับผิดต่อเมื่อกระทำโดยเจตนา
3. ความผิดต่อส่วนตัว คือ ความผิดต่อเนื้อตัวร่างกายหรือต่อความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้เสียหาย
4. การให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ใช่โทษทางกฎหมายอาญา
5. การเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งลงโทษทางอาญาแก่บุคคลจะกระทำมิได้
19. ข้อใดกล่าวถึงสนธิสัญญาไม่ถูกต้อง
1. เป็นความตกตลงระหว่างรัฐกับรัฐ 2. ดำเนินการโดยผู้มีอำนาจทำการแทนรัฐ
3. มุ่งก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายระหว่างประเทศ 4. ตกลงร่วมกันได้ตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป
5. มีผลผูกพันเป็นการทั่วไปในประชาคมโลก
52
20. เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กลไกด้านการเมืองการปกครองใดที่มีการเปลี่ยนแปลง
1. มีการให้เพิ่มเติมรายละเอียดของรัฐธรรมนูญในกฎกระทรวง
2. มีการร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
3. มีการเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินระดับกระทรวง และกรม
4. มีการทบวทนพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินประจำปีที่ผ่านการพิจารณาไปแล้ว
5. มีการแก้ไขแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
21. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
1. เป็นข้อตกลงพหุภาคีระดับสากลที่มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากฎหมาย และมีผลบังคับใช้ผูกพัน
2. เป็นการประกาศเจตนารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศภาคีที่ร่วมลงนาม
3. เป็นเอกสารทีไ่ ด้รบั การยอมรับจากสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ด้วยการลงประชามติโดยปราศจากเสียงคัดค้าน
4. เป็นผลจากการปรึกษาหรือร่วมกันของประเทศภาคี ส่งผลให้เกิดการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมประเทศต่างๆ ทั่วโลก
5. เป็นการให้คำมั่นสัญญาที่จะกำหนดมาตรฐานในการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของการปกป้องสิทธิเสรีภาพโดยเท่าเทียมกันและ
ไม่มีการเลือกปฏิบัติ
22. ข้อใดกล่าวถึงวัฒนธรรมไม่ถูกต้อง
1. เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 2. เป็นสิ่งที่ตกทอดทางสังคม
3. เป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิต 4. เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 5. เป็นเครื่องยึดโยงสมาชิกของสังคม
23. ผลงานทางวัฒนธรรมในข้อใดแสดงถึงลักษณะเด่นของวัฒนธรรมไทยในการปรับตัวเข้าหาความจำกัดของทรัพยากรของ
ทรัพยากรธรรมชาติ
1. การทำประปาภูเขาและระบบเหมืองฝาย 2. การบวชป่า และประเพณีบุญบั้งไฟ
3. การทำขวัญข้าว และประเพณีไหลเรือไฟ 4. การทำเกษตรผสมผสาน และการลงแขกเกี่ยวข้าว
5. การบูชาแม่โพสพ และประเพณีจุดประทีปโคมลอย
24. ค่านิยมใดที่สังคมไทยยังให้ความสำคัญน้อย และจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน
1. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 2. ความสามัคคีมีน้ำใจ
3. ความขยันเหมั่นเพียร 4. ความอดทนอดกลั้น 5. ความเท่าเทียมเสมอภาค
25. เนื้อความในบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้อใด ที่สะท้อนว่าวัฒนธรรมไทยไม่ใช่วัฒนธรรมสากล
1. ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดีในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต
2. เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
3. ผูใ้ ดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมือ่ ผูน้ นั้ หรือญาติสนิทของผูน้ นั้ ร้องขอ อัยการจะยกคดีขนึ้ กล่าวก็ได้
4. บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นไม่จำเป็นต้องคืนให้
แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา
5. ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพย์สิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหาย
ไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึง่ อันจะโทษลูกหนีม้ ไิ ด้ ท่านว่าสูญหรือเสียหายนัน้ ตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้
26. ข้อใดคือสิ่งที่ต้องเร่งส่งเสริมแก่ผู้คนในการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
1. การสร้างสำนึกชาตินิยม เชื้อชาตินิยม และชาติพันธุ์นิยม
2. การรณรงค์ส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประจำชาติ
3. การให้คุณค่าความหลากหลาย และการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
4. การเรียนรู้ทักษะการประกอบอาชีพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
5. การศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อสร้างความรัก ผูกพัน และภาคภูมิใจในความเป็นชาติ
27. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรม ที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cultural Assimilation) ระหว่างประชาชนใน
ภูมิภาคอาเซียน
1. มีความสมบูรณ์เป็นสากล 2. มีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่
3. มีความหลากหลาย แตกต่างกัน 4. มีลักษณะเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางสังคม 5. มีการไหลเวียนแลกเปลี่ยนระหว่างสังคม
28. ข้อใดเป็พระราชอำนาจที่ไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญ
1. การพระราชทานคำปรึกษาแก่รัฐบาล 2. การพระราชทานเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์
3. การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งฐานันดรศักดิ์ 4. การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี 5. การพระราชทานอภัยโทษ
29. ข้อใดจับคู่ระบบการเมืองการปกครองกับข้อด้อยของระบบนั้นไม่ถูกต้อง
1. ประชาธิปไตย กับ ปัญหาเสียงข้างมากไม่รับฟังเสียงข้างน้อย 2. เสรีนิยม กับ ปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมือง
3. อนุรักษ์นิยม กับ ปัญหาการพัฒนาที่ล่าช้า 4. อำนาจนิยม กับ ปัญหาการขาดระเบียบและกติกาในสังคม
5. สังคมนิยม กับ ปัญหาการริดรอนเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
53
30. ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อรัฐในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ ยกเว้นเรื่องใด
1. รัฐมีความสัมพันธ์กับตลาดในระดับโลกมากยิ่งขึ้น
2. ตลาดมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการสร้างสวัสดิการแทนที่รัฐ
3. เส้นแบ่งดินแดนที่แน่นอนของรัฐชาติคลายความสำคัญลง
4. ความเป็นอิสระและอำนาจอธิปไตยของรัฐมีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
5. รัฐลดบทบาทความสำคัญในฐานะตัวกระทำทางการเมืองระหว่างประเทศ
31. ภายใต้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในหมู่ประชาชนในระยะกว่า 10 ปีที่ผ่านมาของไทย ข้อใดไม่ใช่
แนวทางเสริมสร้างประชาธิปไตยไทยให้มั่นคง
1. บ่มเพาะประชาชนใช้หลักเหตุผลเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจทางการเมือง
2. มีกฎหมายที่ยอมรับสิทธิในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของประชาชน
3. ลดความเหลื่อมล้ำทางอำนาจระหว่างชนชั้นปกครองและประชาชน
4. ขจัดความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันในหมู่ประชาชน
5. สร้างความเชื่อมั่นต่อกติกาประชาธิปไตยในหมู่ประชาชน
32. ระบอบเสรีประชาธิปไตยมีลักษณะสำคัญต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
1. กองทัพมีบทบาทสำคัญในการประกันเสถียรภาพของรัฐบาลจากการเลือกตั้ง
2. ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน
3. ตัวกระทำทางการเมืองยอมรับกฎกติกาประชาธิปไตย
4. ให้เสรีภาพพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในระดับสูง
5. ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครอง

สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
33. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นปัจจัยทุน (Capital) หรือสินค้าทุนตามความหมายทางเศรษฐศาสตร์
1. เงินทุน 2. รถบรรทุก 3. อาคารสำนักงาน 4. เครื่องคอมพิวเตอร์ 5. สัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้งาน
34. ข้อใดเป็นข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางหรือสังคมนิยมเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเศรษฐกิจแบบอื่นๆ
1. การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
2. การกระจายรายได้และทรัพย์สินมีความเท่าเทียมกันมากกว่า
3. เอกชนมีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่า
4. ตลาดไม่ล้มเหลว เพราะกลไกราคาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
5. การตัดสินใจจากส่วนกลางหรือรัฐบาลมีความถูกต้องและแม่นยำมากกว่า
35. ถ้าน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์สามารถใช้ทดแทนกันได้ เมื่อราคาน้ำมันเบนซินลดลง ในขณะที่ราคาของแก๊สโซฮอล์ยัง
คงเดิม จะเกิดผลตามข้อใด
1. อุปทานของแก๊สโซฮอล์จะลดลง (เส้นอุปทานของแก๊สโซฮอล์เคลื่อนไปทางซ้าย)
2. อุปทานของน้ำมันเบนซินจะลดลง (เส้นอุปทานของน้ำมันเบนซินเคลื่อนไปทางซ้าย)
3. อุปสงค์สำหรับแก๊สโซฮอล์จะลดลง (เส้นอุปสงค์สำหรับแก๊สโซฮอล์เคลื่อนไปทางซ้าย)
4. อุปสงค์สำหรับแก๊สโซออล์จะเพิ่มขึ้น (เส้นอุปสงค์สำหรับแก๊สโซฮอล์เคลื่อนไปทางขวา)
5. อุปสงค์สำหรับน้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้น (เส้นอุปสงค์สำหรับน้ำมันเบนซินเคลื่อนไปทางขวา)
36. ในกรณที่อุปทานของสินค้าลดลง แต่อุปสงค์สำหรับสินค้ายังคงเดิม จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในราคาและปริมาณ
ดุลยภาพของตลาดสินค้านั้นอย่างไร
1. ราคาดุลยภาพจะลดลง และปริมารดุลยภาพลดลง 2. ราคาดุลยภาพจะเพิ่มขึ้น และปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น
3. ราคาดุลยภาพจะลดลง แต่ปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น 4. ราคาดุลยภาพจะเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณดุลยภาพจะลดลง
5. ราคาดุลยภาพจะคงเดิม แต่ปริมาณดุลยภาพลดลง
37. ถ้าตลาดสินค้าชนิดหนึ่งเป็นไปตามกฎของอุปสงค์และอุปทานแล้ว ปรากฏการณ์ตามข้อใดไม่ใช่ผลที่เกิด
จากการกำหนดราคาขั้นสูงในตลาดสินค้าชนิดนั้นโดยรัฐบาล
1. สินค้าในตลาดจะเกิดภาวะความขาดแคลนขึ้น
2. ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าออกขายในปริมาณที่น้อยลง
3. ผู้ซื้อจะมีความต้องการซื้อสินค้าในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม
4. ราคาสินค้าที่ซื้อขายกันตามกฎมหายจะต่ำกว่าราคาก่อนการกำหนดราคาขั้นสูง
5. ปริมาณการซื้อขายกันจริงๆ จะมากกว่าปริมาณซื้อขายก่อนการกำหนดราคาขั้นสูง
38. ในสถานการณ์ใดทีต่ ลาดผูกขาดอาจส่งผลดีตอ่ ระบบเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวมมากกว่าตลาดประเภทอืน่ ๆ
1. สินค้าที่ผลิตเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ 2. การผลิตสินค้านั้นก่อให้เกิดการประหยัดจากขนาด
3. การผลิตสินค้าชนิดนั้นก่อผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม 4. ผู้บริโภคในตลาดต่างก็มีความต้องการสินค้าในปริมาณมากๆ
54
5. สังคมต้องการให้การผลิตสินค้ามีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงสุด
39. การจัดสรรที่ดินทำกินให้กับสมาชิกที่เป็นเกษตรกรเป็นบทบาทสำคัญของสหกรณ์ประเภทใด
1. สหกรณ์นิคม 2. สหกรณ์บริการ 3. สหกรณ์ประมง 4. สหกรณ์การเกษตร 5. สหกรณ์เครดิตยูเนียน
40. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดของไทย ที่ได้อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็น
แนวทางการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยได้ระบุไว้ในแผนอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก
1. ฉบับที่ 7 2. ฉบับที่ 8 3. ฉบับที่ 9 4. ฉบับที่ 10 5. ฉบับที่ 11
41. กำหนดให้
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 300 ล้านบาท
รายได้สุทธิจากต่างประเทศ 40 ล้านบาท
ค่าเสื่อมราคา 10 ล้านบาท
ภาษีทางอ้อม 30 ล้านบาท
เงินอุดหนุน 10 ล้านบาท
จำนวนประชากร 3 ล้านคน
จากสถานการณ์ข้างต้น จงคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP)
1. 100 ล้านบาท 2. 230 ล้านบาท 3. 250 ล้านบาท 4. 260 ล้านบาท 5. 290 ล้านบาท
42. ข้อใดหมายถึงปริมาณเงินตามความหมายแคบ
1. เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร เงินฝากประจำ หุ้นกู้
2. ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากประจำ
3. เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน
4. ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากประจำ พันธบัตรรัฐบาล
5. ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ
43. “ครอบครัวชาวนามีสมาชิกที่อยู่ในวัยทำงาน 9 คน ช่วยกันปลูกข้าวในที่นาของตนได้ข้าวปีละ 12 เกวียน
ต่อมาสมาชิกในครอบครัว 2 คน แต่งงานและย้ายภูมิลำเนาไปอยู่จังหวัดอื่น ทำให้เหลือสมาชิกใน
ครอบครัวที่คงทำการปลูกข้าวเพียง 7 คน แต่ก็ยังคงได้ข้าวปีละ 12 เกวียนเท่าเดิม”
จากข้อความดังกล่าวเป็นประเภทของการว่างงานในข้อใด
1. การว่างงานแฝง 2. การว่างงานชั่วคราว
3. การว่างงานตามฤดูกาล 4. การว่างงานเนื่องจากวัฏจักรธุรกิจ
5. การว่างงานเนื่องจากโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ
44. รัฐบาลควรใช้นโยบายงบประมาณขาดดุลในกรณีที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะใดมากที่สุด
1. เงินเฟ้อ 2. เศรษฐกิจปกติ
3. เศรษฐกิจตกต่ำ 4. เศรษฐกิจขยายตัว 5. ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
45. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือของนโยบายการเงิน ในกรณีที่ประเทศเกิดปัญหาภาวะเงินฝืด
1. รัฐบาลลดการใช้จ่ายลง 2. รัฐบาลเพิ่มการเก็บภาษี
3. รัฐบาลใช้งบประมาณเกินดุล 4. ธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ของรัฐบาล
5. ธนาคารกลางลดอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย
46. ข้อใดเป็นการลงทุนทางตรงระหว่างประเทศ
1. นางเมตตานำเงินของบริษัทไปฝากในต่างประเทศ
2. คนญี่ปุ่นนำเงินทุนเข้ามาสร้างโรงงานทอผ้าในไทย
3. คนมาเลเซียนำเงินทุนไปซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาลไทย
4. บริษัทของนางสาวกรุณากู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในต่างประเทศ
5. บริษัทของนายมัธยัสถ์ให้สินเชื่อทางการค้ากับบริษัทคู่ค้าในต่างประเทศ
47. กลุ่มประเทศตามข้อใดต่อไปนี้เป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
1. ไทย เวียดนาม ลาว เมียนมา กัมพูชา 2. ไทย เวียดยาม ฟิลิปปินส์ จี สิงคโปร์
3. ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น 4. ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย สิงคโปร์
5. ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม เกาหลีใต้
48. ข้อใดเป็นการรวมกลุ่มทางการค้าที่มีการยกเลิกภาษีศุลกากรและข้อจำกัดทางการค้าระหว่างกันในกลุ่ม มีการใช้ข้อกำหนดอัต
ราภาษีศุลกากรกับประเทศคู่ค้านอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้โดยเสรีระหว่างประเทศสมาชิกด้วย
กัน และประเทศสมาชิกกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ เป็นรูปแบบเดียวกัน
1. ตลาดร่วม 2. เขตการค้าเสรี
3. สหภาพศุลกากร 4. สหภาพเศรษฐกิจ 5. สหภาพการเมือง
55

สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
49. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
1. พวกฮิตไทต์ (Hittites) ในเมโสโปเตเมีย รู้จักการถลุงเหล็กเพื่อทำเป็นอาวุธในยุคโลหะ
2. ศิลปะแบบเมกกาเลเนียน (Magalenian) คือภาพวาดตามผนังถ้ำและภาพแกะสลักบนกระดูก เป็นศิลปะทีม่ ชี อื่ เสียงของยุคหินเก่า
3. มนุษย์ในยุคหินใหม่เริ่มรู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
4. นักโบราณคดีใช้วิธีเทอร์โมลูมิเนเซนซ์ (thermoluminescence) ในการหาอายุของซากไม้ และโครงกระดูกมนุษย์
5. ตัวอักษรลิ่ม หรือตัวอักษรคูนิฟอร์ม เป็นตัวอักษรที่ชาวสุเมเรียนคิดค้นขึ้น
50. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอารยธรรมโบราณ
1. อาณาจักรฮีบรู หลังจากเจริญถึงขีดสุดแล้ว ได้ตกอยูภ่ ายใต้อำนาจของกรีกและโรมัน แต่ไม่เคยถูกพวกเปอร์เซียรุกราน
2. “รอยัลโรด” (Royal Road) เป็นถนนที่จักรพรรดิไซรัสทรงสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมเมืองสำคัญต่างๆ เข้าด้วยกัน
3. พระเจ้าอัสซูร์บานิปาล (Ashurbanipal) กษัตริย์ของชนเผ่าอัสซีเรียน มีรับสั่งให้สร้างห้องสมุดที่รวบรวมผลงานของ
เมโสโปเตเมียเป็นจำนวนมาก
4. “สวนลอยแห่งบาบิโลน” ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ถูกสร้างขึ้นโดยพวกฮิตไทต์
5. สถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุดของชาวอัสซีเรียนคือ “ซิกกูแรต” เป็นเทวสถานที่สร้างบนภูเขาจำลอง มีทางขึ้นเป็นขั้น
บันได สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า
51. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุการปฏิรูปศาสนาในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 16
1. แนวคิดปัจเจกชนนิยม 2. พ่อค้าต้องการหากำไรจากการค้าเพิ่มเติม
3. ความแตกแยกระหว่างศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และ ออร์โธดอกซ์ 4. กษัตริย์ต้องการมีอำนาจมากขึ้น
5. บุคคลในศาสนจักรประพฤติตนไม่ดี สนใจทางโลกมากกว่าทางธรรม
52. เหตุการณ์ในข้อใด เกิดขึ้นในสมัยใหม่ของประวัติศาสตร์สากล
1. การจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรืองค์การนาโต
2. การสร้างมหาวิทหารโนเตรอดาม (Notre-Dame) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
3. “บิดาแห่งประวัติศาสตร์” ในโลกตะวันตกได้เขียนผลงาน “ประวัติศาสตร์สงครามเปอร์เซีย” ขึ้น
4. การกำหนด “กฎหมายสิบสองโต๊ะ” (Law of the Twelve Tables)
5. ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการว่าด้วยการเลือกสรรของธรรมชาติ
53. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดจักรวรรดินิยมในคริสต์ศตวรรษทีี่ 19 - 20
1. ชาติจักรวิรรดินิยมมุ่งเข้าครอบครองอาณานิคมทุกรูปแบบ ทั้งด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
2. การปฏิวัติอุตสาหกรรมนับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แนวคิดจักรวรรดินิยมขยายตัวอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรป
3. ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ใช้แนวคิดจักรวรรดินิยมรุกรานเพื่อนบ้าน และสามารถรบชนะอังกฤษได้ใน ค.ศ.1905
4. เบลเยียมเป็นหนึง่ ในชาติตะวันตกทีแ่ สวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกา และได้ยดึ ครองคองโกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
5. “ภาระหน้าทีข่ องคนขาว” (The White Man’s Burden) เป็นหนึง่ ในสาเหตุทที่ ำให้แนวคิดจักรวรรดินยิ มขยายตัวในทวีปยุโรป
54. องค์การในข้อใดรวมตัวกันโดยมีความมุ่งหมายหลักเพื่อร่วมมือกันต่อต้้านลัทธิคอมมิวนิสต์
1. องค์การสนธิสัญญาแอนซัส 2. สันนิบาตอาหรับ
3. สภารัฐมนตรีนอร์ดิก 4. สหภาพแอฟริกา 5. สหภาพยุโรป
55. ผลงานหรือแนวคิดในข้อใดไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยปฏิวัติวิทยาศาสตร์
1. การพบว่าจุลินทรีย์ในอากาศเป็นต้นเหตุให้อาหารเน่าเสีย
2. การผ่าตัดเอาทารกออกจาครรภ์มารดา
3. การโคจรและการเคลื่อนไหวในระบบสุริยจักรวาลเป็นไปตามกฎแห่งความโน้มถ่วง
4. การส่งเสริมการศึกาาแบบวิทยาศาสตร์โดยวิธีการศึกษาแบบอุปนัย
5. การใช้หลักของเหตุผล ที่อธิบายและตรวจสอบได้เช่นเดียวกับหลักของวิชาคณิตศาสตร์
56. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21
1. องค์การสหประชาชาติมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน
2. การเป็นผู้นำโลกของสหรัฐอเมริกาแต่เพียงผู้เดียวหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การก่อการร้าย
ในตะวันออกลางเพิ่มมากขึ้น
3. องค์การสหประชาชาติมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยผ่านแผนปฏิบัติการ 21
4. องค์การสหประชาชาติกำหนดว่าแรงงานเด็ก ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในเอเชีย คือ แรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี
5. วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกใน ค.ศ. 2008 ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยเจริยเติบโตน้อยลง
57. อักษรกระดองเต่าเป็นอักษรของอารยธรรมใด
1. เมโสโปเตเมีย 2. อินเดีย 3. จีน 4. อียิปต์ 5. กรีก
56
58. ประเทศใดไม่ใช่สมาชิกเริ่มแรกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Treaty
Organization : SEATO)
1. ปากีสถาน 2. สหรัฐอเมริกา 3. ฝรั่งเศส 4. ฟิลิปปินส์ 5. มาเลเซีย
59. ดินแดนที่พ่อค้าชาวโปรตุเกสในสมัยอยุธยาตอนต้นเรียกว่า ลิกอร์ (Ligor) สันนิษฐานว่าตรงกับเมืองใด
1. ปัตตานี 2. นครศรีธรรมราช 3. สุราษฎร์ธานี 4. นครปฐม 5. กาญจนบุรี
60. ถ้าครูอิศราต้องการพานักเรียนไปดูโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะลพบุรี ครูอิศราต้องไปที่แห่งใด
1. พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ จังวหัดลพบุรี 2. วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน 4. พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
5. ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี
61. คำว่า “สวัสดี” ถูกกำหนดให้ใช้อย่างเป็นทางการ ในสมัยของนายกรัฐมนตรีท่านใด
1. จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
3. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา 4. จอมพลถนอม กิตติขจร 5. พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
62. เหตุการณ์ใดไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5
1. การเสด็จประพาสต้น 2. การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์
3. การจัดตั้งเคาน์ซิล ออฟ เสตต (Council of state) 4. การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล
5. การสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
63. “สมุดปกเหลือง” ในสมัยคณะราษฎร มีเนื้อหาหลักในด้านใด
1. ศิลปะ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3. เศรษฐกิจ 4. มานุษยวิทยา 5. วรรณกรรม
64. “ทฤษฎีโดมิโนส์” มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ยุคสมัยใด
1. ยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 2. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
3. ยุคเกษตรกรรม 4. ยุคสงครามเย็น 5. ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
65. การสำรวจการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน ต้องใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมข้อใด จึงจะได้ข้อมูลคล้าย
กับภาพถ่ายทางอากาศ มาตรส่วน 1 : 20,000
1. ดาวเทียม Terra 2. ดาวเทียม Repideye
3. ดาวเทียม Thaichote 4. ดาวเทียม Landsat 5. ดาวเทียม Deimos - 1
66. การใช้อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) กับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยนั้น ใช้แทนได้ด้วยเครื่อง
มือทางภูมิศาสตร์ประเภทใด
1. แผนที่ 2. ภาพถ่ายทางอากาศ 3. ภาพจากดาวเทียม 4. จีพีเอส 5. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
67. ข้อใดเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรอยเลื่อนและภัยพิบัติแผ่นดินไหว
1. บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหว จะสัมพันธืกับรอยเลื่อนที่มีพลัง
2. ที่ผ่านมาการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย ไม่สามารถทำให้เกิดภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิได้
3. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนที่มีพลังอาจส่งผลกระทบถึงกรุงเทพมหานครได้
4. ภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เกิดจากการขยับตัวของรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน
5. แผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดภัยพิบัติคลื่นสึนามิในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2547 ส่งผลต่อรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย
เปลี่ยนแปลงได้
68. การป้องกันภัยพิบัติแผ่นดินไหวในข้อใด เป็นการนำความรู้และแนวคิดทางภูมิศาสตร์มาใช้ในการป้องกัน
1. ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเกี่ยวกับการเกิดความรุนแรง และวิธีการป้องกัน
2. ฝึกซ้อมการอยู่ภายในอาคาร การพาตัวเองออกนอกอาคาร การรวมตัวกันเมื่อเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหว
3. ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการหาพื้นที่หลบภัย หลังจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวสงบลงแล้ว
4. การออกแบบบ้าน อาคาร ให้มีฐานรากและเสาที่แข็งแรงกว่าปกติ รวมถึงไม่ตกแต่งฝาบ้านด้วยกระจก
5. ทำแผนที่แสดงที่ตั้งของหมู่บ้านต่างๆ ที่มีรอยเลื่นอที่มีพลังพาดผ่าน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านนั้นๆ รับรู้และตระหนักถึงการ
เสี่ยงภัยพิบัติ
69. ตัวบ่งชี้ตามข้อใดไม่จำเป็นต้องนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
1. ระดับน้ำทะเลรุกล้ำแผ่นดินและผิวโลกมากขึ้น 2. การเกิดพายุหมุนที่รุนแรงและมีจำนวนมากขึ้น
3. การหลอมเหลวของธารน้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูง 4. พื้นที่ต่างๆ เกิดแผ่นดินถล่มทลายและเกิดไฟป่าเพิ่มมากขึ้น
5. การเกิดรอยเลื่อนรอยแตกแยกและการคดโค้งโก่งงอของเปลือกโลก
70. ข้อใดคือสาเหตุและเป้าหมายทีค่ รอบคลุมทีส่ ดุ ทีท่ ำให้มนุษย์ตอ้ งเปลีย่ นแปลงลักษณะทางกายภาพของพืน้ ผิวโลก
1. เพื่อการสร้างและรักษาสภาวะสมดุลของเปลือกโลก
2. สนองการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายตามความต้องการของมนุษย์
3. ตั้งใจที่จะสร้างสภาวะนิเวศวิทยาใหม่ให้โลกเกิดควายั่งยืนทางนิเวสมากยิ่งขึ้น
57
4. ต้องการเพิ่มพื้นที่ผิวโลกใช้ประโยชน์กระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น
5. ต้องการใช้ประโยชน์จากการเกิดลักษณะเฉพาะทางชีวภาพที่แตกต่างจากส่วนอื่นของโลก
71. การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพโดยมนุษย์ด้วยการสร้างโพลเดอร์ (Polder) ในประเทศเนเธอร์แลนด์
ส่งผลกระทบต่อภูมิสังคมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนใดมากที่สุด
1. ชุมชนชาวประมง 2. ชุมชนเลี้ยงปศุสัตว์
3. ชุมชนเกษตรกรพืชผัก 4. ชุมชนท่าเรือน้ำลึกชายฝั่งทะเลเพื่อการส่งออก
5. ชุมชนผู้ปลูกดอกทิวลิปและไม้ดอกอื่นๆ
72. การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินและที่ดินจากอดีตสู่ปัจจุบันเมื่อพิจารณาจากขนาด
พื้นที่และร้อยละของการใช้ที่ดิน ทำให้ประเมินสรุปได้ว่า ประเทศไทยังมีลักษณะสังคมเด่นชัดตามข้อใด
1. ภูมิสังคมเกษตรกรรม 2. ภูมิสังคมอุตสาหกรรม
3. ภูมิสังคมเทคโนโลยีดิจิตัล 4. ภูมิสังคมอุตสาหกรรมการเกษตร
5. ภูมิสังคมแบบการค้าพาณิชย์และการบริการท่องเที่ยว
73. ถ้าต้องการแก้ไขปัญหาการกัดกร่อนชายฝั่งทะเลของไทยที่มีความรุนแรงของอัตราการกัดกร่อนเฉลี่ยสูงสุด
ควรจะเลือกชายฝั่งทะเลพื้นที่ใด
1. ภาคตะวันออก 2. อ่าวไทยตอนกลาง
3. อ่าวไทยตอนบน 4. อ่าวไทยตอนล่าง 5. ฝั่งทะเลอันดามัน
74. แนวโน้มวิกฤตการณ์ที่ดินและทรัพยากรดินในเชิงปฐพีวิยาที่น่าเป็นห่วงที่สุดในอนาคต คือข้อใด
1. การจำกัดจำนวนและขนาดการเป็นเจ้าของที่ดิน 2. การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินสู่อุตสาหกรรม
3. ปัญหาการขาดกรรมสิทธิ์ครอบครองและถือครองที่ดิน 4. การเกิดแผ่นดินทรุดและภัยพิบัติธรรมชาติต่อที่ดิน
5. ดินเสื่อมสภาพและขาดความอุดมสมบูรณ์
75. ถ้าหากระบบนิเวศของพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำของประเทศใดๆ สูญเสียไป ควรใช้กฎหมายใดจึงจะฟืน้ ฟูระบบนิเวศให้สมดุล
1. อนุสัญญาบาเซิล 2. อนุสัญญาไซเตส
3. อนุสัญญาแรมซาร์ 4. อนุสัญญาพิธีสารโตเกียว 5. อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศ
76. ข้อใดเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ใช้แก้ไขเหตุรำคาญของชุมชนจากปัญหากลิ่นเหม็นจากการเลี้ยงสุกร
1. พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507
2. พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
3. พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
4. พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
5. พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
77. หน่วยงานในประเทศไทยหน่วยงานใดมีบทบาทหน้าทีเ่ กีย่ วกับการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศและผลกระทบทีเ่ กิดขึน้
1. กรมปศุสัตว์ 2. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
3. มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อม 4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
78. ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของมองโกเลียมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้านที่พักอาศัย โดยสร้างนวัตกรรมที่พักอาศัยแบบใดเพราะเหตุใด
1. สร้างบ้านดิน เพราะพื้นที่มีวัสดุโคลนและดินเหนียวเป็นจำนวนมาก
2. สร้างเกอ (Ger) เพราะพื้นที่มีไม้ซุงและหนังสัตว์เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย
3. สร้างอิกลู (Igloo) เพราะพื้นที่มีน้ำแข็งมาก สร้างเพื่อพักอาศัยยามออกล่าสัตว์
4. สร้างบ้าน เพราะพื้นที่มีไม้ซุงเนืิ้อแข็งจำนวนมากและสร้างได้ง่าย
5. สร้างบ้านหิน เพราะพื้นที่มีหินจำนวนมาก ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ
79. แนวทางการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณรอบทะเลทรายสะฮารา เพือ่ ไม่ให้เกิดการขยายเป็นทะเลทราย
ข้อใดควรดำเนินการเป็นลำดับแรก
1. ปลูกพืชยืนต้นชนิดโตเร็วและทนแล้ง
2. ปล่อยพื้นดินทิ้งไว้ หรือพักการใช้โดยปล่อยให้วัชพืชขึ้น 1 - 2 ปี
3. ปลูกพืชพื้นเมืองที่อยู่ตามธรรมชาติของบริเวณขอบทะเลทรายให้มากขึ้น
4. สร้างเขื่อนขนาดเล็กให้กระจายทั่วเขตเกษตรกรรมและขุดลอกแหล่งน้ำดั้งเดิม
5. ห้ามผู้เลี้ยงสัตว์เร่ร่อนเข้ามาเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เสี่ยงต่อการขยายตัวของทะเลทราย
80. ข้อใดเป็นการกระทำทีแ่ สดงถึงการแก้ปญ ั หาแบบมีสว่ นร่วมทางตรงตามแนวทางอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมทีย่ งั่ ยืน
1. โครงการสร้างถนนเลียบสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนกรุงลอนดอน เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนเดินชมวิว หรือขี่จักรยานออกกำลังกาย
2. กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ส่งเสริมและสนับสนุนสหกรณ์นักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ จำนวน 502 โรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้การ
ดำเนินงานในรูปแบบสหกรณ์
3. ศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปู บ้านหัวเขา จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินงานเพาะเลี้ยงลูกปูก่อนปล่อยลงสู่ทะเล และได้กระจายความรู้ให้แก่ชาว
ประมงในเขตอื่นๆ ด้วย
4. ชาวบ้านจังหวัดสมุทรสงครามร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตรวจสอบการปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป พบว่า
คุณภาพน้ำเสียจริงและได้ดำเนินการตามกฎหมายแล้ว
5. เจ้าหน้าที่ป่าไม้เปิดยุทธการทวงคืนผืนป่า หยุดยั้งการปลูกยางพาราในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขากระยาง อำเภอนครไทย จ. พิษณุโลก
58
ตอนที่ 2 : แบบปรนัย 5 ตัวเลือก เลือก 2 คำตอบที่ถูกต้อง
จำนวน 10 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 20 คะแนน
__________________________________________________________________________________________
81. หลักสาราณียธรรมเป็นหลักธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคีและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มี 6 ประการ ข้อใดที่มุ่งให้คนในสังคมอยู่ร่วมกัน
อย่างสันติ ไม่วิวาทกันด้วยเหตุแห่งความแตกแยกทางความคิดเห็นและการปฏิบัติที่แตกต่างกัน
1. สีลสามัญญตา 2. เมตตากายกรรม 3. สาธาณโภคิตา 4. เมตตาวจีกรรม 5. ทิฏฐิสามัญญตา
82. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใดที่แสดงคติธรรมว่าด้วยกฎไตรลักษณ์ คือ สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาได้ชัดเจนที่สุด
1. วันวิสาขบูชา 2. วันอาสาฬหบูชา 3. วันมาฆบูชา 4. วันอัฏฐมีบูชา 5. วันเข้าพรรษาและออกพรรษา
83. สัญญาใดไม่เป็นโมฆะ
1. สัญญาจำนองที่ดินที่ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อระหว่างคู่สัญญา
2. สัญญาซื้อขายเรือที่มีระวาง 7 ตัน โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีหลักฐานเป็นหนังสือ
3. สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อระหว่างคู่สัญญา
4. สัญญาซื้อขายม้าที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายทำขึ้นเป็นหนังสือโดยมีพยานบุคคลรับรอง 2 คน
5. สัญญาซื้อขายตึกแถวที่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน
84. หลักการใดที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 1 ซึ่งบัญญัติว่า
“ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้”
1. หลักการมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 2. หลักการเป็นรัฐเดี่ยว
3. หลักการนิติธรรม 4. หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย 5. หลักการอำนาจอธิปไตย
85. กำหนดให้ตลาดแรงงานในประเทศไทยเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ถ้ารัฐบาลอนุญาตให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานใน
ประเทศไทยได้ จะเกิดผลตามข้อใด
1. อุปทานของแรงงานจะเพิ่มขึ้น 2. อุปสงค์สำหรับแรงงานจะเพิ่มขึ้น
3. ปริมาณการจ้างแรงงานในตลาดจะลดลง 4. อัตราค่าจ้างแรงงานในตลาดแรงงานจะลดลง
5. การว่างวานในตลาดแรงงานจะขยายตัวเพิ่มขึ้น
86. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ
1. ลูกหนี้ได้เปรียบ 2. เจ้าหนี้ได้เปรียบ
3. อำนาจซื้อมากขึ้น 4. พนักงานบริษัทเสียเปรียบ 5. ข้าราชการประจำได้เปรียบ
87. บุคคลในข้อใดเป็นนักปราชญ์คนสำคัญในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
1. อาร์โนลด์ ทอยน์บี 2. ฟรันเซสโก เปตรากา
3. เฟอร์นานด์ โบรเดล 4. มาร์ก บล๊อก 5. นิโคโล มาคีอาเวลลี
88. ข้อใดไม่ใช่นโยบายของรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ. 2481 - 2487
1. ประกาศให้วันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ 2. เปลี่ยนชื่อจากประเทศสยามเป็นประเทศไทย
3. สนับสนุนให้ชาวไทยปฏิบัติตามวัฒนธรรมจีน 4. ต่อต้านแนวทางชาตินิยม
5. ประกาศเปลี่ยนแปลงการเขียนภาษาไทย
89. กรณีน้ำท่วมตัวเมืองสกลนคร เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2560 ข้อใดคือการปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมตามหลัก
ภูมิศาสตร์
1. ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ประกาศขอบริจาคอาหารและของใช้จำเป็น รวบรวมและจัดเป็นถุงยังชีพ
2. หาทีต่ งั้ ทีเ่ ป็นแหล่งกลางหรือศูนย์รวบรวมสิง่ ของทีร่ บั บริจาคทีส่ ามารถส่งถึงผูป้ ระสบภัยได้อย่างทัว่ ถึงและรวดเร็ว
3. ร่วมกับเจ้าหน้าทีท่ งั้ ภาครัฐและเอกชน ออกแจกจ่ายถุงยังชีพและของใช้ทจี่ ำเป็นอย่างเร่งด่วน เพือ่ ให้ทนั ต่อความเดือดร้อนของผูป้ ระสบภัย
4. หาพืน้ ทีท่ เี่ ป็นทีส่ งู และปลอดภัย เพือ่ จัดตัง้ เป็นศูนย์พกั พิงชัว่ คราว กรณีทปี่ ระชาชนบ้านน้ำท่วมไม่สามารถพักอาศัยต่อไปได้อย่างปลอดภัย
5. ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ นำเรือท้องแบนหรือรถบรรทุกช่วยขนย้ายคนและของที่จำเป็นของผู้ประสบภัยไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว
90. กิจกรรมใดเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำของผืนป่าแอมะซอน
ที่ป่าถูกตัดโค่นไปแล้ว
1. การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2. การทำฟาร์มปศุสัตว์โดยเฉพาะเลี้ยงวัว
3. การทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 4. การปลูกป่าในบริเวณที่ป่าถูกตัดไปแล้ว
5. การทำนาข้าวเนื่องจากป่าที่ถูกตัดแล้วเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง
✿พิมพ์ข้อสอบและจัดหัวข้อเรื่อง
✿โดยติวเตอร์แจ็ค
✿แฟนเพจ P_Jax (ติวเตอร์และนักเขียนตำรา)
59

O-NET 63
ตอนที่ 1 แบบปรนัย 5 ตัวเลือก เลือก 1 คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
จำนวน 80 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวม 80 คะแนน
_____________________________________________________________________________________________________________________________________

สาระ ศาสนา
ศาสนาพุทธ : หลักธรรม
1. วิธีการเลือกโหวตคะแนนโดยใช้เสียงข้างมากในปัจจุบัน สอดคล้องกับวิธีการตัดสินปัญหาที่มีความคิดเห็นเป็น
สองฝ่าย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงนำมาใช้ในการบริหารและธำรงรักษาพระพุทธศาสนาวิธีใด
1. ธรรมาธิปไตย 2. เยภุยยสิกา 3. ตัสสปาปิยสิกา 4. สัมมุขาวินัย 5. อัตตาธิปไตย
ศาสนาพุทธ : พุทธประวัติ
2. นายแดงปฏิบัติหน้าที่เป็นจิตอาสาเฉพาะกิจ สำหรับพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 8-9 เมษายน 2562
ณ ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ประจำจังหวัด การปฏิบัติหน้าที่ของนายแดงมีลักษณะสอด
คล้องกับการเผยแผ่พุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาข้อใด
1. พุทธัตถจริยา 2. ญาตัตตถจริยา 3. โลกัตถจริยา 4. สัทธาจริยา 5. พุทธิจริยา
3. นายดำเป็นคนใจดี ชอบทำบุญอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีคนถามเขามักจะตอบว่า “ที่ฉันต้องทำบุญและทำความดีอย่าง
สม่ำเสมอนี้ เพราะฉันไม่รู็ว่าความตายจะมาถึงตัวเมื่อไหร่ จะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลัง” วิธีคิดของนายดำสอดคล้อง
กับเหตุการณ์ใดในพุทธประวัติมากที่สุด
1. การประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ 2. การกล่าวอาสภิวาจาของเจ้าชายสิทธัตถะ
3. การตรัสรู้ของเจ้าชายสิทธัตถะ 4. การแสดงเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า
5. การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ศาสนาพุทธ : หลักธรรม
4. ใครควรได้รับการพัฒนาด้วยกระบวนการศึกษาตามหลักสีลสิกขามากที่สุด
1. แดงเป็นคนเจ้าอารมณ์ มักหงุดหงิดโกรธง่ายจนเพื่อนๆ ไม่อยากอยู่ใกล้
2. ดำคิดว่าการดื่มสุราเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าสังคมกับเพื่อนฝูง
3. ขาวมองว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณ เพราะพ่อแม่ทิ้งตนเองให้ปู่ย่าเลี้ยงดูจนเติบโต
4. เขียวรู้สึกโกรธแค้นนายดำอย่างมากที่ล้อเลียนชื่อพ่อแม่ตนเอง
5. ฟ้ามักพูดกับพ่อแม่ ครู และเพื่อนๆ ด้วยคำไม่สุภาพจนครูต้องตักเตือนบ่อยๆ
5. ข้อใดจัดเป็น “เหตุ” ของน้ำแข็งตามหลักปฏิจจสมุปบาท
1. น้ำ 2. ตู้เย็น 3. ไฟฟ้า 4. ช่องแช่แข็งในตู้เย็น 5. อุณหภูฒิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
6. ศาสนาทุกศาสนาไม่ว่าจะเป็นศาสนาฝ่ายเทวนิยมหรืออเทวนิยม ต่างก็มีจุดเริ่มต้นของการยอมรับนับถือและ
การปฏิบัติตามหลักคำสอนในศาสนาของตนที่เหมือนกัน สิ่งนั้นคืออะไร
1. ความเสมอภาค 2. ความรัก 3. ปัญญา 4. ศรัทธา 5. สมาธิ
7. วันหนึ่ง ดำได้ชวนเพื่อนในกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ ว่า
ดำ “นี่พวกเรารู้ไหม หัวใจสำคัญของพุทธศาสนา คือคำสอนใด”
แดง “ความไม่ประมาท”
ขาว “ใช่ พุทธศาสนาถือว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดสามารถสรุปลงในความไม่ประมาทนี่แหละ” ทุกคนพยัก
หน้าเห็นด้วย
ดำ “แล้วอะไรเป็นหัวใจสำคัญของบทบัญญัติในศาสนาคริสต์ล่ะ”
แดง “บทบัญญัติ 10 ประการไง”
ดำ “บทบัญญัติเยอะไป มีบทบัญญัติที่เป็นบทสรุปของบทบัญญัติ 10 ประการนี้ไหม ข้อที่สำคัญที่สุดข้อเดียวแบบ
พุทธศาสนามีไหม”
ขาว “นั่นสิ น่าจะมีนะ แต่บทบัญญัติข้อนั้นคืออะไรล่ะ
หากนักเรียนอยู่ในสถานการณ์ข้างต้น นักเรียนจะบอกเพื่อนๆ อย่างไร
1. ความศรัทธา 2. ความรัก 3. ความยุติธรม 4. ความเสมอภาค 5. ความสามัคคี
60
ศาสนาพุทธ : ปรัชญาและการประยุกต์
8. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปของการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพุทธ
1. คนสัมพันธ์กับคนอย่างมีความสุข 2. คนสัมพันธ์กับสังคมอย่างมีความสุข
3. คนสัมพันธ์กับธรรมที่แท้จริงอย่างรู้เท่าทัน 4. คนสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างนายผู้ใช้ประโยชน์
5. คนสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีสติ
ศาสนาพุทธ : หลักธรรม
9. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพ ิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทาน
พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตอนหนึ่งว่า
“การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตนเองมีความเป็นอยู่ที่
ก้าวหน้า มีความสุข พอมีพอกิน เป็นชั้นหนึ่งและชั้นต่อไปก็คือ ให้มีเกียรติว่า ยืนได้ด้วยตัวเอง”
จากพระราชดำรัสนีห้ ลักธรรมข้อใดมีความหมายมุง่ เน้นให้คนเราสามารถยืนได้ ด้วยตัวเองและเป็นทีพ ่ งึ่ ของตนเองได้
1. อริยสัจ 4 2. มรรคมีองค์ 8 3. โลกุตรธรรม 9 4. นาถกรณธรรม 10 5. สันโดษ 12
ศาสนาอิสลาม : หลักปฏิบัติ 5 ประการ
10. ข้อใดปฏิบัติไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการละหมาดในวันศุกร์
1. ต้องทำละหมาดให้ครบวันละ 5 เวลา
2. ต่างคนต่างทำละหมาดในสถานที่สะอาดโดยทั่วไป
3. ต้องทำพิธีชำระร่างกาย และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ก่อนเสมอ
4. ทำละหมาดหันหน้าไปทางทิศที่ตั้งของวิหารกาบะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
5. ต้องทำละหมาดพร้อมกันที่มัสยิด
ศาสนาพุทธ : หลักธรรม
11. เมื่อนักเรียนถูกเพื่อนชักชวนให้เล่นการพนัน หรือให้ยกพวกไปตีกับฝ่ายอื่น นักเรียนใช้สติพิจารณาด้วยตนเองว่า
ขณะนี้เรากำลังเรียนหนังสือเพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ถ้าเราปล่อยตัวปล่อยใจไปตามคำชวนเช่นนั้น อนาคต
ของเราจะเป็นเช่นไร ถ้าเราประสบภัยอันตรายใดๆ พ่อแม่ พี่น้อง ญาติๆ ครู อาจารย์ และผู้หวังดีต่อเราจะรู้สึก
อย่างไร เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้วจึงตัดสินใจไม่ไปตามคำชักชวน และตั้งใจศึกษาหาความรู้เพื่อให้บรรลุผลตามที่ตนเอง
และพ่อแม่หวังเอาไว้ โดยไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ยั่วยุใดๆ การปรารภกับตนเองและคำนึงถึงความหวังดีของ
บุคคลใกล้ชิดที่มีต่อตนเช่นนี้ จัดเป็นการปกครองตนตามหลักอธิปไตยข้อใด
1. อัตตาธิปไตย (ความมีคนเป็นใหญ่) 2. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่)
3. ประชาธิปไตย (ความมีประชาชนเป็นใหญ่) 4. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่)
5. อภิชนาธิปไตย (ความีอภิชนเป็นใหญ่)
ศาสนาพุทธ : หลักธรรม
12. นายแดงมุ่งมั่นทำงานขับรถขนส่งสินค้าด้วยความขยัน ไม่ย่อท้อ แม้จะเหนื่อยล้าเพียงใดก็ตาม จนถึงเวลาสิ้นเดือน
เขาได้รับเงินเดือนจากทางบริาัทมาจำนวน 20,000 บาท ใจหนึ่งก็อยากนำไปใช้จ่ายในครอบครัว อีกใจหนึ่งก็อยาก
นำไปลงทุนทำการค้าในหมู่บ้าน และใจหนึ่งอยากเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น เขารู้สึกลังเล ไม่รู้ว่าจะต้องใช้ทรัพย์
เหล่านี้อย่างไร หากนักเรียนเป็นนายแดงจะตัดสินใจแบ่งทรัพย์นี้อย่างไรตามหลักโภควิภาค
1. 10,000 บาท สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว / 5,000 บาท ลงทุนทำการค้า / 5,000 บาท เก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น
2. 5,000 บาท สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว / 5,000 บาท ลงทุนทำการค้า / 10,000 บาท เก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น
3. 5,000 บาท สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว / 10,000 บาท ลงทุนทำการค้า / 5,000 บาท เก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น
4. 10,000 บาท สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว / 7,000 บาท ลงทุนทำการค้า / 3,000 บาท เก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น
5. 7,000 บาท สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว / 10,000 บาท ลงทุนทำการค้า / 3,000 บาท เก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น
ศาสนาพุทธ : วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
13. “ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกือบทุกฉบับจะมีบทบัญญัติให้สมาชิกรัฐสภาต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับ
ตำแหน่ง โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาได้แสดงปณิธานและความตั้งใจที่
จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน โดยรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ
และไม่กระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งการปฏิญาณตนชองสมาชิกรัฐสภาในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นอาจมี
ถ้อยคำและบทบัญญัติที่แตกต่างกันไปบ้างตามยุคสมัย”
เจตนารมณ์ของการปฏิญาณตนนี้สอดคล้องกับคติธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใด
1. วันออกพรรษา 2. วันเข้าพรรษา 3. วันอัฏฐมีบูชา 4. วันอาสาฬหบูชา 5. วันมาฆบูชา
61
ศาสนาพุทธ : พิธีกรรม
14. นางสาวฟ้าต้องการทำบุญตักบาตร จึงสอบถามเพื่อนๆ ว่าเธอควรทำอย่างไร นักเรียนคนใดแนะนำนางสาวฟ้า
ได้ถูกต้องที่สุด
1. แดง “ต้องไปทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้นเท่านั้น วันอื่นๆ เขาไม่นิยม
ทำกันหรอก เวลาฉันไปทำบุญที่วัดจึงเห็นชาวบ้านตักบาตรเยอะมาก”
2. ดำ “ต้องไปทำในวันธัมมัสสวนะหรือวันพระสิ เพราะการทำบุญตักบาตรเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่จัดขึ้นเฉพาะในวัน
พระเท่านั้น เพื่อพุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสทำบุญ คำว่า วันพระ ก็คือ ทำบุญตักบาตรพระนั่นเอง”
3. ขาว “ไปวันที่เราสะดวกสิ เธอสะดวกตอนไหน เวลาไหน วันไหน ก็ไปตอนนั้น เวลานั้น การทำบุญตักบาตรชาวพุทธ
สามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เชื่อฉัน”
4. เขียว “เดือนหน้าก็วันเกิดเธอแล้ว จะรีบไปทำบุญตักบาตรทำไม ถ้าไม่ใช่วันสำคัญสำหรับเราเอง เช่น วันเกิด ชาวพุทธ
จะไม่นิยมทำบุญตักบาตรหรอกนะ เชื่อฉัน รออีกสักเดือนก็ได้ทำแล้ว”
5. เหลือง “เดี๋ยวเช้าพรุ่งนี้เราพาไปทำบุญตักบาตรที่วัด หน้าวัด หรือหน้าบ้านเราก็ได้ ถ้าพระไม่เดินบิณฑบาตผ่านหน้า
บ้านเธอ เราสามารถทำบุญตักบาตรได้ทุกๆ เช้า ของทุกวัน ก่อนพระฉันเช้า หรือฉันเพล”
15. วันหนึ่ง แดงได้กล่าวปรารภกับเพื่อนๆ ว่า
แดง “อาทิตย์หน้าจะครบรอบวันตายของคุณย่าฉันแล้ว ทางบ้านกำลังเตรียมงานทำบุญอัฐิกันจนวุ่นเลยแหละ
ตอนนี้นะ”
ขาว “แล้วเธอรับหน้าที่ทำอะไรล่ะ”
แดง “ฉันรับหน้าที่ไปนิมนต์พระ นี่ยังหนักใจอยู่เลยว่าจะบอกนิมนต์ว่าอย่างไรดีระหว่างใช้คำว่า เจริญพระพุทธมนต์
กับ สวดพระพุทธมนต์”
เขียว “ฉันคุ้นๆ นะ ดูเหมือนว่าเขาจะใช้ต่างกัน แต่จำไม่ได้แล้วว่า งานมงคลกับงานอวมงคล เขานิยมใช้คำไหน
เพราะคำใกล้เคียงกันมาก สับสนนะ”
ฟ้า “จะทำให้ยุ่งยากทำไม ก็บอกว่า สวดมนต์ ก็พอ”
หากนักเรียนเป็นเพื่อนกับแดง นักเรียนจะแนะนำแดงอย่างไร
1. ใช้คำว่า “เจริญพระพุทธมนต์” เพราะการทำบุญอัฐิเป็นมงคล เนื่องจากคนตายไปนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งตายหรือมีศพอยู่
ที่บ้าน
2. ใช้คำว่า “เจริญพระพุทธมนต์” เพราะการทำบุญอัฐิเป็นอวมงคล เนื่องจากเป็นการทำบุญที่ปรารภถึงการตายของคน
3. ใช้คำว่า “สวดมนต์” เพราะเป็นคำกลางๆ ที่นิยมใช้ทั้งในงานที่เป็นมงคลและงานอวมงคล ตลอดจนงานที่ไม่สามารถ
ระบุได้ว่าจะเป็นมงคลหรืออวมงคลเช่นเดียวกับการทำบุญอัฐิ
4. ใช้คำว่า “สวดพระพุทธมนต์” เพราะการทำบุญอัฐิเป็นงานบุญอวมงคล เนื่องจากเป็นการทำบุญที่ปรารภถึงการตาย
ของคน
5. ใช้คำว่า “สวดพระพุทธมนต์” เพราะการทำบุญอัฐิเป็นงานบุญมงคล เนื่องจากคนตายไปนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งตายหรือ
มีศพอยู่ที่บ้าน
ศาสนาพุทธ / ศาสนาอิสลาม : พรหมวิหาร4 / หลักปฏิบัติ 5 ประการ
16. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ทาน” ในพุทธศาสนากับ “ซะกาต” ในศาสนาอิสลาม
1. ซะกาตให้กับใครก็ได้ ส่วนทานให้กับคนที่มีสิทธิ์รับเท่านั้น
2. ซะกาตให้เวลาใดก็ได้ ส่วนทานให้เมื่อครบรอบปี
3. ทานเป็นการให้โดยสมัครใจ ส่วนซะกาตเป็นการให้ภาคบังคับตามหลักศาสนา
4. ทานกำหนดอัตราการจ่ายตามจำนวนทรัพย์สินของผู้จ่าย ส่วนซะกาตไม่มีกำหนดอัตราการจ่ายใดๆ
5. ผู้ให้ทานจะต้องเป็นคฤหัสถ์ ส่วนผู้ให้ซะกาตจะต้องเป็นอิหม่าม
62
สาระ หน้าที่
กฎหมาย : กฎหมายอาญา : การกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์
17. การกระทำในกรณีตามข้อใดเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
1. นางสาวแข วางโทรศัพท์มือถือไว้บนโต๊ะระหว่างรับประทานอาหาร นายหนึ่งจึงโกหกนางสาวแขว่า บ้านนางสาวแข
ไฟไหม้ให้รีบไปดู เป็นเหตุให้นางสาวแขลืมโทรศัพท์ไว้ แล้วจากนั้นนายหนึ่งก็หยิบนำไปเป็นของตน
2. นายเอแกล้งทำตัวเป็นคนพิการทั้งที่มีร่างกายสมบูรณ์แล้วไปทำการขอทาน ซึ่งส่งผลให้ผู้คนที่ผ่านมานำเงินให้แก่นาย
เอด้วยความสงสาร
3. นายไก่ฝากเงินของตนให้นายไข่ไปจ่ายค่าไฟฟ้าให้ ต่อมานายไข่ได้พบว่านายไก่จ่ายไปเรียบเรียบร้อยแล้ว แต่นายไข่
ไม่อยากคืนเงินแก่นายไก่ จึงบอกแก่นายไก่ว่า จ่ายค่าไฟฟ้าให้แล้ว และเก็บเงินนั้นไว้ใช้ส่วนตัว
4. นางสวยตกลงซื้อผลไม้จากนายรวย แต่พอถึงเวลาจ่ายเงินหลังได้รับสินค้า พบว่า ตนมีเงินไม่พอจึงอาศัยช่วงเวลาที่
นายรวยเผลอ เดินออกจากร้านไปโดยไม่จ่ายเงิน
5. นายมั่งยืมหนังสือของนายมีมาอ่าน 2 วัน พอถึงกำหนดวันคืน นายมีก็มาทวงถามนายมั่ง แต่นายมั่งกลับโกหกนายมี
ว่าตนส่งคืนทางไปรษณีย์แล้ว ทั้งที่ไม่เป็นความจริง
18. ข้อใดเป็นการทำสัญญาเช่าทรัพย์ที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
1. นางเอกตกลงให้นายโทนำหนังสือของตนไปอ่านเพื่อเตรียมตัวสอบ เมื่อสอบเสร็จแล้วนายโทก็ได้นำหนังสือมาคืนตาม
ที่ตกลง พร้อมกับเลี้ยงอาหารนางเอกเป็นการตอบแทน
2. นายหนึ่งตกลงให้นายสองใช้ที่ดินของตนในการทำไร่เป็นเวลา 2 ปี เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วก็ต้องย้ายออกไป เว้นแต่
จะตกลงกันให้มีการใช้ต่อไปได้
3. เด็กชายไก่ได้เข้าไปใช้บริการคอมพิวเตอร์ในร้านอินเทอร์เน็ตของนายไข่ทคี่ ดิ ค่าบริการชัว่ โมงละ 20 บาท เป็นเวลา 1 ชม.
4. เด็กหญิงกุ๊กยืมหนังสือจากห้องสมุดของโรงเรียน โดยใช้สิทธิจากการชำระค่าบำรุงห้องสมุดแก่ทางโรงเรียน
5. นางสาวแดงยืมรถนายดำไปขับ 1 วัน พร้อมกับตกลงว่าจะรับผิดชอบเรื่องค่าน้ำมันขณะที่นำรถไปใช้
กฎหมาย : กฎหมายแพ่ง : การหมั้น
19. การหมั้นในข้อใดสมบูรณ์ตามกฎหมาย
1. นายดำจัดพิธีหมั้นระหว่างตนเองและนางสาวแดงโดยการเชิญญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาเป็นสักขีพยานร่วมกัน
2. นางสาวแดงได้ให้แหวนเพชรแก่นายดำเพื่อให้นายดำวางใจว่าจะได้มีการสมรสกันในอนาคตอันใกล้
3. นายขาวบิดาของนายเขียวให้รถยนต์แก่นางสาวขำเพือ่ ให้เป็นทีเ่ ข้าใจกันว่านายเขียวและนางสาวขำจะสมรสกันในอนาคต
4. นายเหลืองได้ให้สร้อยทองแก่นางฟ้าซึ่งเป็นมารดาของนางสาวส้มเพื่อให้เป็นที่เข้าใจกันว่านายเหลืองและนางสาวส้ม
จะสมรสกันในอนาคต
5. นายม่วงบิดาของนายน้ำเงินให้แหวนเพชรแก่นางจันทร์มารดาของนางสาวอังคารเพื่อเป็นหลักฐานว่า นายน้ำเงินและ
นางสาวอังคารจะสมรสกันในอนาคต
กฎหมาย : กฎหมายอาญา
20. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรก บัญญัติว่า บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอัน
กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้อง
เป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
จากบทกฎหมายข้างต้น ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักกฎหมายอาญา
1. การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายใหม่ไม่อาจมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
2. รัฐอาจบัญญัติกฎหมายอาญาให้สามารถตีความอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้ลงโทษอาชญากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้พิพากษาใช้หลักจารีตประเพณีในการเอาผิดและลงโทษทางอาญาแก่บุคคลได้ แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรง
4. การแอบจดจำรหัสผ่านเข้าระบบคอมพิวเตอร์ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เนื่องจากสามารถเทียบเคียงได้ว่าเป็นการ
เอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต
5. การเป็นชู้หรือมีชู้นั้นแม้จะเป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมก็ตาม แต่เมื่อกฎหมาย มิได้บัญญัติให้เป็นความผิด รัฐก็ไม่
อาจลงโทษบุคคลที่กระทำการดังกล่าวนี้ได้เลย
กฎหมาย : กฎหมายแพ่งพาณิชย์ : หนี้
21. ข้อใดไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ระงับ
1. การชำระหนี้
2. การหักกลบลบหนี้
3. การเสียชีวิตของลูกหนี้
4. หนี้เกลื่อนกลืนกัน
5. การแปลงหนี้
63
กฎหมาย : ประเภทของกฎหมาย
22. กฎหมายใดตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร และจะสิ้นผลใช้บังคับเมื่อสภาไม่ให้ความเห็นชอบ
1. รัฐธรรมนูญ 2. พระราชบัญญัติ 3. พระราชกำหนด
4. ประมวลกฎหมาย 5. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
สังคมวิทยา : วัฒนธรรม
23. ข้อใดไม่ใช่สัญลักษณ์แสดงถึงความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
1. ถนน เป็นวิถีทางที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติ
2. กระจก เป็นสิ่งสะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะของสังคม
3. เบ้าหลอม เป็นเครื่องมือสำหรับอบรมขัดเกลาสมาชิกของสังคม
4. กำแพง เป็นเขตเขตที่ช่วยในการจำแนกความแตกต่างของกลุ่ม
5. สะพาน เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการส่งต่อและเชื่อมโยงแนวปฏิบัติระหว่างรุ่น
24. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอัตลักษณ์และการอยู่ร่วมกันในสังคมแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม
1. การหลอมรวมทางวัฒนธรรมสามารถทำให้เกิดได้ทั้งความขัดแย้งและการมีสมานฉันท์ทางสังคม
2. การปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมในสังคมที่มีความหลากหลายจำเป็นต้องยอมละทิ้งอัตลักษณ์เดิมของตนเอง
3. การมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลายเป็นทุนทางสังคมที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรม
4. การทำความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมจะช่วยเกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
5. การเชิดชูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งแสดงถึงการเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรม
25. ประเพณีในวัฒนธรรมไทยข้อใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของศาสนาหรือความเชื่อ
1. ประเพณีวิ่งควาย 2. ประเพณีแห่ผีตาโขน
3. ประเพณีบูชาผีขุนน้ำ 4. ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ
5. ประเพณีสารทเดือนสิบ
26. การเลือกรับวัฒนธรรมสากลมาปรับประยุกต์ให้เข้ากับสังคมไทยต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการยกเว้นข้อใด
1. วิถีปฏิบัติที่มีอยู่เดิม 2. สถาบันทางสังคมที่มีอยู่เดิม
3. โครงสร้างทางสังคมที่มีอยู่เดิม 4. พื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิม
5. ค่านิยมและความเชื่อที่มีอยู่เดิม
สังคมวิทยา : การจัดระเบียบทางสังคม : ค่านิยม
27. ค่านิยมทางสังคมที่สะท้อนผ่านสำนวนสุภาษิตหรือคำพังเพยในข้อใดที่แสดงถึงการเตือนใจให้รับมือการเปลี่ยน
แปลงทางวัฒนธรรมโดยไม่ละทิ้งรากเหง้าที่มีมาแต่เดิม
1. เข้าเมืองตาหลิ่ว หลิ่วตาตาม 2. อยู่บ้า่นท่านอย่านิ่งดูดาย
3. หัวมังกุท้ายมังกร 4. จับแพะชนแกะ
5. วัวลืมตีน
รัฐศาสตร์ : ระบอบการเมืองการปกครอง : ประชาธิปไตย
28. ในการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย การกระทำทางการเมืองใดที่สะท้อนถึงหลักการประชาธิปไตยโดย
ประชาชน
1. ประชาชนสองหมื่นคนร่วมเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย
2. ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
3. ข้าราชการประจำเสนอนโยบายเพิ่มรายได้ประชาชนต่อคณะรัฐมนตรี
4. ศาลปกครองวินิจฉัยให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าเสียหายแก่ประชาชน
5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเสนอรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิของประชาชน
รัฐศาสตร์ : ระบอบการเมืองการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
29. ฐานะทางประเพณีของพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การที่พระองค์ไม่ทรงกระทำผิด (The King can do no wrong) เนื่องด้วยเหตุผลใด
1. ทรงเป็นพุทธมามกะ
2. ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก
3. ทรงมีผู้รับสนองพระบรมราชโองคการ
4. ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
5. ทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะองคมนตรี
64
รัฐศาสตร์ : รูปแบบรัฐ
30. รัฐ ก มีรูปแบบและโครงสร้างของรัฐ ดังนี้
- มีรัฐบาลเดียวที่มีอำนาจบริหารกิจการภายในและภายนอกประเทศในภาพรวมโดยเด็ดขาด
- แบ่งการบริหารราชการออกเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
- การบริหารส่วนภูมิภาคอยู่ในกำกับของส่วนกลาง มีผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรัฐ ก
1. เป็นรัฐเดี่ยวที่เน้นหลักการแบ่งอำนาจ 2. เป็นรัฐเดี่ยวที่เน้นหลักการกระจายอำนาจ
3. เป็นรัฐเดี่ยวที่เน้นหลักการรวมศูนย์อำนาจ 4. เป็นรัฐรวมที่เน้นหลักการแบ่งอำนาจ
5. เป็นรัฐรวมที่เน้นหลักการกระจายอำนาจ
รัฐศาสตร์ : ระบอบการเมืองการปกครอง
31. ระบอบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการและแบบประชาธิปไตยมีผลต่อการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันของ
ประชาชนในเรื่องใดมากที่สุด
1. ระดับการศึกษาของประชาชน 2. ฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชน
3. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4. การมีกฎหมายรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม
5. ขอบเขตของสิทธิเสรีภาพและการกำหนดชีวิตตนเองของประชาชน
รัฐศาสตร์ : ระบอบการเมืองการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
32. การแสดงออกในสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) การไล่ล่า และขุดคุ้ย
ประวัติของบุคคลที่เห็นต่างทางการเมืองแล้วนำมาประจาน การกระทำดังกล่าวบั่นทอนหลักการหรือคุณค่าพื้นฐาน
ของประชาธิปไตยข้อใดมากที่สุด
1. เจตจำนงของเสียงข้างมาก 2. การมีส่วนร่วมทางการเมือง
3. คุณค่าความเป็นมนุษย์ 4. คุณธรรมทางศาสนา
5. การแบ่งแยกอำนาจ

สาระ เศรษฐศาสตร์
ระบบเศรษฐกิจ
33. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1. เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินอย่างเสรีบางเรื่อง
2. สหภาพแรงงานมีผลทำให้กลไกราคามีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรได้น้อยลง
3. สมาคมการค้าต่างๆ มีผลทำให้กลไกราคามีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรได้น้อยลง
4. เศรษฐกิจเจริญเติบโตสูงกว่าระบบเศรษฐกิจแบบอื่น เพราะมีเสรีภาพในการแข่งขันเป็นแรงจูงใจ
5. มีการกำจัดสิทธิเสรภาพในการดำเนินกิจกรรมการป้องกันประเทศและการรักษาความปลอดภัย
กลไกตลาด
34. ข้อใดเป็นอุปสงค์ในทางเศรษฐศาสตร์
1. นายปิติอยากไปเที่ยวต่างประเทศกับครอบครัว ตั้งใจว่าจะไปเที่ยวยุโรปในช่วงวันสงกรานต์
2. นายวีระชอบรับประทานผลไม้มาก หลังอาหารกลางวันเขาซื้อผลไม้มารับประทานวันละถุงเสมอ
3. เด็กหญิงมานีอยากได้ตุ๊กตาบาร์บี้มากในวันเกิดของเธอ คุณแม่สัญญาว่าวันเกิดปีหน้าจะซื้อตุ๊กตาให้เธอ
4. นางชูใจมีฐานะร่ำรวย เพื่อนของนางชูใจมาขายบ้านพักที่เขาใหญ่ แต่นางชูใจไม่ซื้อเพราะเธอชอบทะเล
5. นายมานะมีอาชีพส่งหนังสือพิมพ์ตามบ้าน พยายามเก็บเงินในแต่ละเดือนเพื่อซื้อรถมอเตอร์ไซค์สักคันในปลายปี
35. ถ้าราคาอาหารเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ คงที่ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุปทานของ
กุ้งกุลาดำในข้อใด
1. ปริมาณอุปทานลดลงบนเส้นอุปทานเดิม
2. เส้นอุปทานเคลื่อนย้ายไปทั้งเส้นไปทางซ้ายมือ ปริมาณอุปทานลดลง
3. เส้นอุปทานเคลื่อนย้ายไปทั้งเส้นไปทางขวามือ ปริมาณอุปทานลดลง
4. เส้นอุปทานเคลื่อนย้ายไปทั้งเส้นไปทางซ้ายมือ ปริมาณอุปทานเพิ่มขึ้น
5. เส้นอุปทานเคลื่อนย้ายไปทั้งเส้นไปทางขวามือ ปริมาณอุปทานเพิ่มขึ้น
65
36. หากประเทศไทยต้องการลดอุปทานแรงงานส่วนเกินในตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ รัฐบาลจะเลือก
ใช้มาตรการใดจึงเหมาะสม
1. ลดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ
2. เพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ
3. กำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นสูงในอัตราสูงกว่าค่าจ้างตลาด
4. เพิ่มสวัสดิการให้แก่แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทย
5. ส่งเสร้มการนำเข้าแรงงานต่างด้าวจากประเทศกลุ่มอาเซียน
เกษตรทฤษฎีใหม่
37. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. กลุ่มแม่บ้านร่วมมือกันจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
2. เกษตรกรในชุมชนรวมกลุ่มกันจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร
3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้ราน (อสม.) ร่วมมือกันปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาสุขภาพ
4. ผู้ใหญ่บ้านแนะนำเกษตรกรให้จัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินออกเป็น 4 ส่วนในอัตรา 30:30:30:10
5. สมาคมผู้ปกครองในชุมชนร่วมมือกับธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ยากจน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
38. ข้อใดได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535 - 2539) เป็นครั้งแรก
1. การกำหนดนโยบายด้านประชากร
2. การเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. การวางแผนลักษณะจากบนไปล่างและมีการกระจายสู่ระดับภูมิภาคและพื้นที่
4. การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต
5. การเพิ่มบทบาทองค์กรประชาชนในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สหกรณ์
39. ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสหกรณ์
1. สหกรณ์โคนมมีส่วนในการช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ
2. ระบบสหกรณ์เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมของประเทศ
3. สหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียนมีส่วนช่วยสร้างการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของนักเรียน
4. หลักการของระบบสหกรณ์คือการควบคุมการดำเนินงานโดยผู้จัดการสหกรณ์ตามหลักประชาธิปไตย
5. การดำเนินงานโดยคำนึงถึงประโยชน์ของสังคมและของสหกรณ์คือหลักการความเอื้ออาทรต่อชุมชน
40. สหกรณ์ในข้อใดไม่มีลักษณะเป็นสหกรณ์อเนกประสงค์
1. สหกรณ์นิคม 2. สหกรณ์ประมง 3. สหกรณ์ร้านค้า 4. สหกรณ์การเกษตร 5. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
เงิน : หน้าที่ของเงิน
41. หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของเงินในระบบเศรษฐกิจคือข้อใด
1. เป็นเครื่องรักษามูลค่า 2. เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน
3. เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่า 4. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้
5. เป็นเครื่องแสดงฐานะทางเศรษฐกิจ
ตัวชี้วัดการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ : GDP
42. ข้อใดถูกต้องในการคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
1. GDP = GNP - รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
2. GDP = GNP + รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
3. GDP = GNP + มูลค่าสินค้าขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ
4. GDP = มูลค่าสินค้าขั้นสุทด้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ + รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
5. GDP = มูลค่าสินค้าขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ - รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
นโยบายการเงิน / นโยบายการคลัง
43. รัฐบาลไทยประกาศใช้นโยบาย “ช้อปช่วยชาติ” โดยการให้นำใบเสร็จมาหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เป็นการดำเนินนโบบายประเภทใดเพื่อวัตถุประสงค์ใด
1. นโยบายการเงิน เพื่อกระตุ้นรายจ่ายการบริโภคและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
2. นโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นรายจ่ายการบริโภคและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
3. นโยบายการเงิน เพื่อกระตุ้นรายได้ของรัฐและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
66
4. นโบายการคลัง เพื่อกระตุ้นรายจ่ายของรัฐและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
5. นโยบายการเงิน เพื่อกระตุ้นรายจ่ายของรัฐและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
44. ประเทศ ก กำลังประสบปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรง อันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากแรงดึงของอุปสงค์มวลรวม ในขณะที่
อุปทานมวลรวมของประเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจาก
ระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวการณ์จ้างงานเต็มที่ในขณะเดียวกัน สัดส่วนของหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับสูงเมื่อ
เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน
จากสถานการณ์ข้างต้น ถ้าต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศ ก ด้วยเครื่องมือของนโยบายการคลัง เครื่องมือดัง
กล่าวควรเป็นมาตรการตามข้อใด
1. ลดการใช้จ่ายของรัฐบาลและลดปริมาณเงิน
2. นำพันธบัตรรัฐบาลออกขายและเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
3. เพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีและลดการใช้จ่ายของรัฐบาล
4. ลดการใช้จ่ายของรัฐบาลลงและเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
5. นำพันธบัตรรัฐบาลออกขายและลดการก่อหนี้สาธารณะ
การเงินระหว่างประเทศ
45. ข้อใดถือเป็นการลงทุนทางตรงระหว่างประเทศ
1. คนไทยซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย
2. คนมาเลเซียซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทในประเทศไทย
3. คนอินโดนีเซียตั้งโรงงานผลิตน้ำดื่มในประเทศเมียนมา
4. คนสิงคโปร์ปล่อยสินเชื่อให้คนไทยเพื่อลงทุนในประเทศสิงคโปร์
5. คนเวียดนามกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในต่างประเทศเพื่อนำกลับไปลงุทนในเวียดนาม
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
46. สหภาพยุโรป (European Union) เป็นการรวมกลุ่มในลักษณะใด
1. เขตการค้าเสรี 2. สหภาพศุลกากร
3. สหภาพการเมือง 4. สหภาพเศรษฐกิจ 5. เขตเศรษฐกิจอนุภาค
ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
47. ถ้าบริษัทเอกชนในประเทศหนึ่งซื้อทองคำแท่งจากต่างประเทศ และชำระด้วยเงินสำรองจ่ายของบริษัทโดยการโอน
เงินผ่านธนคารในต่างประเทศ หากต้องการแสดงฐานะของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ การรับและการจ่ายของ
กิจกรรมนี้ควรบันทึกไว้ในบัญชีใด
1. บัญชีเดินสะพัด 2. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย
3. บัญชีเงินโอนและบริจาค 4. บัญชีรับจ่ายของบริษัทนั้นๆ 5. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ
องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
48. ประเทศ ข ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศหนึ่ง กำลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินอย่าง
รุนแรงโดยมีปรากฏการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาหลายประการ เช่น
- อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มีค่าติดลบ
- อัตราการว่างงานในประเทศสูงถึงร้อยละ 20
- เงินทุนไหลออกนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง
- การขยายตัวทางการค้าหยุดชะงัก
- ดุลการชำระเงินขาดดุล
- เงินตราสกุลของประเทศมีค่าผันผวน
- รายรับจากภาษีของรัฐบาลลดลงกว่าร้อยละ 30
จากสถานการณ์ที่ประเทศ ข กำลังประสบอยู่ หากรัฐบาลของประเทศ ข มีความจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
จึงต้องการคำปรึกษาเพื่อหาลู่ทางและมาตรการในการแก้ปัญหา ในขณะเดียวกัน ก็ต้องการความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อนำ
มาแก้วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น รัฐบาลของประเทศ ข ควรขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือองค์กรใดมากที่สุด
1. ธนาคารโลก
2. องค์การการค้าโลก
3. องค์การสหประชาชาติ
4. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
5. องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
67
สาระ ประวัติศาสตร์
กรุงศรีอยุธยา
49. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยสำคัญอันเป็นรากฐานของการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในปลายพุทธศตวรรษที่ 19
1. วัฒนธรรมตะวันตก 2. การติดต่อค้าขายกับจีน
3. วัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร 4. สภาพภูมิประเทศของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
5. สายสัมพันธ์ทางเครือญาติของชนชั้นปกครอง
กรุงรัตนโกสินทร์
50. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษทรงครองราชสมบัติอยู่ในระยะเวลาที่ตรงกับรัชสมัยของพระมหากษัตริย์
ไทยในราชวงศ์จักรี พระองค์ใดบ้าง
1. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
3. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัว
5. พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั
และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
กรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 3
51. ข้อใดคือเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
1. การสร้างจารึกวัดพระเชตุพน / การสงครามอนัมสยามยุทธ / การเปิดโรงพิมพ์หนังสือไทยของหมอบรัดเลย์
2. การเกิดวีรกรรมของท้าวสุรนารี / การสร้างสวนขวาใานพระบรมมหาราชวัง / การสร้า้งสมุดภาพไตรภูมิฉบับหลวง
3. การจัดทำกฎหมายตราสามดวง / การสร้างพระเจดีย์เรือสำเภาที่วัดยานนาวา / การทำสัญญาเบอร์นีย์กับอังกฤษ
4. การค้าสำเภากับจีนทำรายได้สงู สุด / การสร้างพระปรางค์วดั อรุณราชวราราม / การสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าครัง้ ที่ 2
5. การสร้างโลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม / การทรงพระราชนิพนธ์บทละครในเรือ่ งอิเหนา / การเปิดโรงเรียนทีว่ ดั มหรรณพาราม
กรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 5 : การเปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนกลางในสมัยรัชกาลที่ 5
52. กระทรวงใดในสมัยรัชกาลที่ 5 ทีม่ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบงานส่วนหนึง่ ทีอ่ ยูใ่ นความรับผิดชอบกระทรวงคมนาคมในปัจจุบนั
1. กระทรวงยุติธรรม 2. กระทรวงธรรมการ
3. กระทรวงโยธาธิการ 4. กระทรวงยุทธนาธิการ 5. กระทรวงต่างประเทศ
นายกรัฐมนตรีของไทย
53. นายทหารท่านใดที่ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยกระบวนการลงสมัครรับเลือกตั้งตามกติกาทางการเมือง
1. พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 2. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
3. พลเอก สุจินดา คราประยูร 4. พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ 5. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
กรุงรัตนโกสินทร์ : พระราชพิธีที่สำคัญ
54. ขั้นตอนใดของพระราชพิธีบรมราชภิเษกพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ที่จัดขึ้นเพื่อประสงค์ให้ประชาชนได้เข้า
มาร่วมในพระราชพิธีได้โดยใกล้ชิด
1. การสรงพระมูรธาภิเษก
2. การจารึกพระสุพรรณบัฏ
3. การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร
4. การเสด็จออกมหาสมาคมในท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
5. การรับเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ พระแสงอัษฎาวุธ และเครื่องบรมราชูปโภค
ประวัติศาสตร์สากล : ยุคก่อนประวัติศาสตร์ : ยุคหินใหม่
55. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสังคมในยุคหินใหม่
1. การดำรงชีวิตอยู่ในสภาพวิถีชีวิตแบบชุมชนเมือง
2. มนุษย์ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง ไม่อพยพเคลื่อนย้าย
3. มนุษย์รู้จักการเกษตรกรรมคือการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
4. ประดิษฐ์ลวดลายลงบนเครื่องปั้นดินเผา ไม่นิยมวาดภาพตามผนังถ้ำ
5. เครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นหินมีความแหลมคม เพิ่มประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
68
ประวัติศาสตร์ตะวันออก : อารยธรรมอินเดีย
56. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอารยธรรมอินเดีย
1. คัมภีร์พระเวทถือเป็นวรรณกรรมสำคัญของอินเดีย
2. อินเดียมีความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์น้อยกว่าจีน
3. ศิลปะแบบคันธารราฐคือการปั้นพระพุทธรูปในสมัยราชวงศ์คุปตะ
4. สมัยราชวงศ์เมารยะถือเป็นยุคทองของอินเดียด้านศิลปวัฒนธรรม
5. การแต่งงานข้ามวรรณะของอินเดียถือเป็นเรื่องที่ได้รับการยอมรับ
ประวัติศาสตร์สากล : ยุคโบราณ
57. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
1. ชนเผ่าต่างๆ ในอารยธรรมเมโสโปเตเมียมักมีการปกครองในรูปแบบของนครรัฐ
2. ชาวอียิปต์โบราณมีความเชื่อเรื่องอมตะภาวะของผู้วายชนม์ทั้งที่เป็นฟาโรห์ลงมาถึงสามัญชน
3. พระจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงประกาศให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาทางการแห่งจักรวรรดิโรมัน
4. จุดประสงค์ของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของกรีกยุคโบราณคล้ายคลึงกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปัจจุบัน
5. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชมีบทบาทสำคัญในการทำให้อารยธรรมกรีกแพร่กระจายทั่วไปในแถบทะเลเมดิเตอร์-
เรเนียนเป็นครั้งแรก
ประวัติศาสตร์สากล : สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
58. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดมนุษยนิยม (Humanism) ในสมัยการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป
1. ความสนใจศึกษาและลอกเลียนแบบองค์ความรู้และสุนทรียะทางภาษาจากอารยธรรมคลาสสิค
2. ศิลปินแนวมนุษยนิยมมักผลิตผลงานที่สะท้อนความจริงของสังคมเป็นสำคัญมากกว่ามิติทางศาสนา
3. นักมนุษยนิยมคริสเตียนให้ความสำคัญต่องานเขียนที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาและงานเขียนของกวีโรมัน
4. การศึกษาปรัชญายุคคลาสสิคเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาสังคมและการเมืองในสมัยดังกล่าว
5. การใช้เหตุผลเพื่อแสดงทัศนะทางสังคมและการเมืองและเชื่อว่าเหตุผลสามารถเปลี่ยนชีวิตและสังคมให้ดีขึ้นได้
ประวัติศาสตร์สากล : สมัยใหม่ (ช่วงการปฏิรูปศาสนา)
59. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ผลของการปฏิรูปคริสต์ศาสนาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 17
1. เกิดความขัดแย้งทั้งทางการเมืองและศาสนาทั่วทั้งทวีุปยุโรปในรูปแบบของสงคราม
2. เกิดกระแสแนวคิดชาตินิยมแบบคลั่งชาติทั่วไปในดินแดนที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์
3. เกิดการประชุมสภาสงฆ์ ณ เมืองเทรนต์ และมีการกำหนดรายชื่อหนังสือต้องห้ามสำหรับฝ่ายคาทอลิก
4. การสถาปนาคณะสงฆ์เยซูอิตของฝ่ายคาทอลิกเพื่อการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนาในดินแดนโพ้นทะเล
5. การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของจำนวนประชากรผู้สามารถอ่านออกเขียนได้ในดินแดนโปรเตสแตนต์
ประวัติศาสตร์สากล : สมัยใหม่ (ช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม)
60. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้อังกฤษประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นชาติแรก
1. เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมในระยะแรกมีศรัทธาในเรื่องชะตากรรมของมนุษย์ว่าถูกกำหนดไว้แล้วโดยพระเป็นเจ้า
2. อังกฤษมีแหล่งทรัพยากรอันจำเป็นแก่การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะถ่านหินที่อยู่ภายในประเทศเป็นจำนวนมาก
3. การเพิ่มขึ้นของประชากรทั้งในส่วนของตลาดแรงงานราคาถูกและในส่วนของตลาดผู้บริโภคสินค้าที่มีอัตรากำลังซื้อสูง
4. ความสามารถของนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษในการคิดค้นนวัตกรรเครือ่ งจักรไอน้ำและนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า
5. รัฐสภาและรัฐบาลอังกฤษไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการการค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศปล่อยให้เอกชนดำเนินกิจการ
กันไปเองตามหลักการเสรีนิยม
ประวัติศาสตร์สากล
61. ข้อใดต่อไปนี้ไม่สัมพันธ์กัน
1. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในอิตาลี กับ การปฏิรูปคริสต์ศาสนาของมาร์ติน ลูเธอร์
2. การค้นพบทวีปอเมริกาของโคลัมบัส กับ การลงนามสนธิสัญญาทอร์เดซิลาส
3. แนวคิด “ลัทธิสากลนิยม” กับ การสถาปนาองค์การสันนิบาตชาติ
4. แนวคิด “ภาระหน้าที่ของคนผิวขาว” กับ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของนาซีเยอรมนี
5. การผ่อนคลายความตึงเครียดช่วงสงครามเย็น กับ การประชุม ณ กรุงเฮลซิงกิ ค.ศ. 1975
ประวัติศาสตร์สากล : สมัยใหม่ (ยุคล่าอาณานิคม)
62. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลของระบอบอาณานิคมที่มีต่อเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1. เกิดการปลูกพืชชนิดใหม่ๆ มากขึ้น
2. เกิดการพัฒนาที่ดินขยายการเพาะปลูก
69
3. เกิดการพัฒนาระบบการเงินการธนาคาร
4. ชาวจีนเข้ามาประกอบอาชีพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้อยลง
5. ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนเป็นระบบเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งเศรษฐกิจโลก
ประวัติศาสตร์ตะวันออก : การเมืองการปกครองของจีน
63. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิวัติจีน ค.ศ. 1911
1. ผู้นำในการปฏิวัติคือ ดร. ซุนยัดเซ็น
2. สาเหตุมาจากความเสื่อมของราชวงศ์ชิง
3. จีนปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแนวคิดลัทธิไตรราษฎร์
4. การปฏิวัติสิ้นสุดลงด้วยการสละราชสมบัติของจักรพรรดิจีน
5. ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
EU : สหภาพยุโรป
64. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสหภาพยุโรป
1. ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกต้องใช้เงินสกุลยูโร
2. มุ่งให้เกิดการเคลื่อนย้ายคน สินค้า บริการและทุนอย่างเสรี
3. การเป็นยุโปรตลาดเดียวส่งเสริมความได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตและขนส่ง
4. มีการประชุมสุดยอดของประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
5. ประเทศสหราชอาณาจักร คือ ประเทศล่าสุดที่ออกจากการเป็นสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป

สาระ ภูมิศาสตร์
แผนที่
65. แผนที่ชุด L7018 จัดเป็นแผนที่ประเภทใด
1. แผนที่เล่ม 2. แผนที่อ้างอิง 3. แผนที่ลายเส้้น 4. แผนที่รูปถ่าย 5. แผนที่เฉพาะเรื่อง
GPS
66. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์ของระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน
1. ติดตามตรวจสอบข้อมูลการเดินทางของยานพาหนะในเวลาจริง (real time)
2. คำนวณเส้นทาง นำทาง หาเส้นทางในระหว่างการขับขี่ยานพาหนะ
3. หาค่าพิกัดในการรังวัดพื้นที่ได้ละเอียดถึงระดับเซนติเมตร
4. ติดตามการเปลี่ยนแปลงของอากาศจากทิศทางของเมฆ
5. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ : แผ่นดินถล่ม
67. ข้อใดไม่ใช่การป้องกันการสูญเสียหรือเฝ้าระวังภัยจากแผ่นดินถล่มที่ถูกต้อง
1. นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงการไปเที่ยวบริเวณภูเขาในช่วงฤดูฝน
2. กรมป่าไม้ร่วมมือกับชุมชนจัดโครงการรณรงค์ปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูป่าให้อุดมสมบูรณ์
3. สถานที่พักตากอากาศเตรียมการก่อสร้างอาคารบนภูเขาด้วยการบดอัดดินบริเวณเนินเขาชันให้แน่น
4. ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณภูเขาตั้งกลุ่มอาสาสมัครช่วยกันสังเกตระดับน้ำในแหล่งน้ำในช่งงที่ฝนตกหนัก
5. เจ้าหน้าที่อุทยานสังเกตเห็นน้ำตกมีน้ำสีแดงขุ่นจึงประกาศให้นักท่องเที่ยวรีบออกห่างจากพื้นที่ให้มากที่สุด
ลักษณะภูมิประเทศ
68. ภูมิประเทศในข้อใดที่มีกระบวนการเกิดเหมือนกับหุบเขาทรุด (rift valley)
1. แกรนด์แคนยอนในสหรัฐอเมริกา 2. ทะเลสาบทางตอนเหนือของแคนาดา
3. ทะเลสาบแทนแกนยิกาในประเทศคองโก 4. เนินทรายหรือสันทรายในเขตทะเลทรายซาฮารา
5. ทะเลสาบรูปแอกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน
69. หากนักเรียนต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวเมืองชายฝั่งที่อยู่ระหว่างอ่าวเบงกอลกับเมียนมา ควรหลีกเลี่ยงการเดิน
ทางในช่วงเวลาใดเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเจอกับภัยจากพายุหมุนเขตร้อน
1. มกราคม 2. กุมภาพันธ์ 3. มีนาคม 4. พฤษภาคม 5. ธันวาคม
ปัญหาสิ่งแวดล้อม : ปรากฏการณ์การเกิดช่องโหว่ของชั้นโอโซน
70. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปรากฏการณ์การเกิดช่องโหว่ของชั้นโอโซน
70
1. การสลายตัวของก๊าซโอโซน (O3) กลายเป็นก๊าซออกซิเจน (O2)
2. ระบบนิเวศทางทะเลเสียหายเนื่องจากสาหร่ายที่เป็นผู้ผลิตขั้นต้นตายมากขึ้น
3. การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดช่องโหว่ของชั้นโอโซน
4. การขยายตัวของช่องโหว่ทำให้ประชากรโลกมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนังมากขึ้น
5. ต้นไม้ได้รับสีอัลตราไวโอเลตมากจนเกินไปส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ช้าลง หรือทำให้พืชแคระแกร็นมากขึ้น
ปัญหาสิ่งแวดล้อม : สภาพ(ภูมิอากาศ)เปลี่ยนแปลง
71. ข้อใดเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก
1. การขาดแคลนน้ำ และน้ำเสีย
2. การเพิ่มขึ้นของประชากร และปะการังฟอกสี
3. การขยายตัวของทะเลทราย และมลพิษทางอากาศ
4. การกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลรุนแรงขึ้น และการบุกรุกพื้นที่ป่า
5. การสูญเสียปะกางรังตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ปัญหาสิ่งแวดล้อม : สาเหตุ
72. จากการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ได้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมากจนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเริ่มเสื่อมโทรม
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดสถานการณ์การเสื่อมโทรมดังกล่าว
1. การเพิ่มขึ้นของทรัพยากรหมุนเวียน 2. การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว
3. การเพิ่มขึ้นของความขัดแย้งระหว่างประเทศ 4. การบริโภคสินค้าและบริการอย่างฟุ่มเฟือย
5. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
73. วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรเกิดจากการกระทำของมนุษย์ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ รวมถึงการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากวิกฤตการณ์นี้ส่งผลเสียต่อมนุษย์ เหตุใดมนุษย์จึงยังคงกระทำให้
เกิดวิกฤตกาณณ์ดังกล่าว
1. มนุษย์ไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังกระทำ ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ดังกล่าว
2. มนุษย์เชื่อว่าธรรมชาติจะปรับสภาพแวดล้อมเข้าสู่สมดุลในที่สุด
3. มนุษย์คิดว่าทรัพยากรบนโลกนี้มีอยู่มากมาย เพียงพอที่จะสนับสนุนชีวิต
4. มนุษย์มีความหลงใหลในวัตถุมากกว่าคุณธรรมและจริยธรรม มีความต้องการที่ฟุ้งเฟ้อในสิ่งที่ไม่จำเป็น
5. มนุษย์เชื่อว่าการกระทำของมนุษย์ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อม : ข่าวสาร
74. เมื่อ 14 มีนาคม 2562 จังหวัดเลยพบกับสถานการณ์และคุณภาพอากาศที่มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5
ไมครอน ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึง 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลยจำเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันภัยประเภทใด เพื่อช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่
เกิน 2.5 ไมครอน
1. ไฟป่า 2. ภัยแล้ง 3. วาตภัย 4. แผ่นดินไหว 5. ดินโคลนถล่ม
กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
75. ข้อใดเป็นกฎหมายป้องกันและอนุรักษ์หอยมือเสือของประเทศไทย
1. พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484
2. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
3. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507
4. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 2)
5. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
76. ลูกพะยูน “มาเรียม” ตายลงจากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งรวมถึงขยะถุงพลาสติก องค์กรภาคเอกชนใดควรมีบทบาท
โดยตรงในการดำเนินการร่วมกับองค์กรภาครัฐ
1. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน 2. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
3. มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร 4. สมาคมสร้างสรรค์ไทย 5. สมาคมหยาดฝน
กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
77. สุนทรฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะที่ก่อให้เกิดมลพิษ มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และสมุทรฝ่าฝืนไม่ยินยอม
หยุดพาหนะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ มีโทษจำคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
71
จากสถานการณ์ดังกล่าว เป็นบทกำหนดโทษของกฎหมายใด
1. พรบ. พัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551
2. กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะของประเทศไทย
3. พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
4. พรบ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
5. พรบ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม : ดิน
78. ลักษณะทางภูมิศาสตร์แบบใดที่ควรปลูกพืชจำพวกหญ้าแฝก
1. พื้นที่พัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์และย่อยสลายเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
2. พื้นที่พรุที่มีน้ำขังตลอดปีเพื่อช่วยลดความเป็นกรดในดิน
3. พื้นที่ดินร่วนที่มีความลาดชันและมีน้ำไหลผ่าน
4. พื้นที่แห้งแล้งโดยปลูกเพื่อเป็นแนวกันไฟป่า
5. พื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็มเพื่อลดความเค็มของดิน
โครงการในพระราชดำริ ของ ร. 9
79. ข้อใดหมายถึงการแกล้งดินในโครงการตามแนวพระราชดำริ
1. การแก้ปัญหาดินแห้ง โดยการขังน้ำไว้ในดินให้ลึกถึงระดับน้ำใต้ดิน เพื่อดึงน้ำขึ้นสู่ผิวดิน
2. การแก้ปัญหาดินเค็ม โดยขังน้ำไว้เล็กน้อยให้ระเหย เหลือแต่เกลือที่หน้าดินแล้วจึงตักเกลือออก
3. การแก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยการขังน้ำและระบายน้ำสลับกันไปจนดินเปรี้ยวจัดแล้วปรับสภาพด้วยปูนขาว
4. การแก้ปัญหาดินขาดธาตุอาหาร โดยการไม่ใส่ปุ๋ย จนกระทั้งพืชทิ้งใบ ใบจะสะสมและย่อยสลายเป็นธาตุอาหาร
5. การแก้ปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน โดยเซาะหน้าดินเป็นขั้นบันไดและปลูกพืชยึดหน้าดินไว้
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
80. การกระทำในข้อใดสอดคล้องกับแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า
1. ปิดไฟเมื่อไม่ใช้ 2. ปลูกป่าชายเลน
3. รับประทานอาหารให้หมด 4. ขยายพันธุ์พืชผักพื้นถิ่น 5. ใช้จุลินทรีย์ชีวภาพกำจัดศัตรูพืช
ตอนที่ 2 แบบปรนัย 5 ตัวเลือก เลือก 2 คำตอบที่ถูกต้องจำนวน 10 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 20 คะแนน
ในแต่ละข้อคำถาม ตอบถูก 1 คำตอบได้ 1 คะแนน
ตอบถูก 2 คำตอบได้ 2 คะแนน
ศาสนาพุทธ : หลักธรรม
81. นายดำตั้งใจเรียน หมั่นอ่านหนังสือ และทบทวนเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมตัวที่จะสอบเข้าเรียนแพทย์ใน
ระดับมหาวิทยาลัย จนเข้าเรียนแพทย์ได้ตามเป้าหมาย จากสถานการณ์นี้ การกระทำของดำสอดคล้องกับอริยสัจ
ตามข้อใดบ้าง
1. ทุกข์ (ปัญหา) 2. สมุทัย (สาเหตุของปัญหา)
3. นิโรธ (ภาวะที่ปลอดปัญหา) 4. มรรค (วิธีการ) 5. วิริยะ (ความเพียร)
ศาสนาพุทธ : วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
82. คำกลอนสอนใจว่า “ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ มีเพียงแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้ปวงชน แม้ร่างตนเขาก็เอาไปเผาไฟ”
คำกลอนข้างต้นแสดงถึงคติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใด
1. วันวิสาขบูชา 2. วันอาสาฬหบูชา 3. วันมาฆบูชา 4. วันอัฏฐมีบูชา 5. วันเข้าพรรษา
ระบอบประชาธิปไตย : ประเด็นปัญหาในประเทศไทย
83. นับแต่การรัฐประหาร พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญในช่วงเวลาดังกล่าว 4 ฉบับ ในระหว่างที่
รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับประกาศใช้ มักมีปัยหาการยอมรับในรัฐธรรมนูญ และปัญหาการตีความบทบัญญัติของรัฐ
ธรรมนูญที่แตกต่างกันของกลุ่มการเมืองต่างๆ
ข้อใดต่อไปนี้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการเมืองดังกล่าวในวิถีประชาธิปไตย
1. ดื้อแพ่งและไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
2. สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวิถีทางรัฐสภา
3. ให้การศึกษาและสร้างค่านิยมประชาธิปไตยแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง
4. เพิ่มอำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการติดตามตรวจสอบกลุ่มคนที่วิจารณ์รัฐธรรมนูญ
5. เนรเทศผู้ที่ล้มล้างรัฐธรรมนูญและการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
72
สังคมวิทยา : วัฒนธรรม
84. การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมจำเป็นต้องส่งเสริมแนวทางปฏิบัติใดเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
1. การมีอุดมการณ์ชาตินิยม 2. การยอมละทิ้งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม
3. การมีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง 4. การมีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์
5. การยึดติดในหลักคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด
ตลาดทางเศรษฐศาสตร์
85. ข้อใดเป็นลักษณะของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดที่มีความเหมือนกับตลาดผู้ขายน้อยราย
1. มีผู้ผลิตจำนวนน้อย 2. นิยมแข่งขันด้านโฆษณา
3. การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตเป็นไปอย่างเสรี 4. การเข้าและออกจากตลาดเป็นไปอย่างเสรี
5. สินค้ามีความแตกต่างกัน แต่ทดแทนกันได้
ค่าเงินอ่อนตัว / ค่าเงินแข็งตัว
86. หากกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเป็นดังนี้
อัตราแลกเปลี่ยน วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 เท่ากับ 35.40 บาท ต่อ 1 ยูโร
อัตราแลกเปลี่ยน วันที่ 30 กรกฎาคม 2562 เท่ากับ 34.30 บาท ต่อ 1 ยูโร
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2562
1. เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาท
2. คนยุโรปมีแนวโน้มจะเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น
3. ประเทศไทยจ่ายเงินบาทเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจากยุโรป
4. ประเทศไทยมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าจากประเทศในทวีปยุโรปมากขึ้น
5. ประเทศในทวีปยุโรปจ่ายเงินยูโรน้อยลงเพื่อซื้อสิินค้าจากประเทศไทย
ประวัติศาสตร์สากล : สมัยกลาง หรือ ยุคมืด
87. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยกลาง
1. มหาวิทยาลัยในระยะแรกมีลักษณะเป็นสมาคมอาชีพของอาจารย์และนักศึกษา
2. วัฒนธรรมการศึกษาในมหาวิทยาลัยในยุคกลางมีลักษณะที่เรียกว่า scholasticism
3. ชนเผ่าเยอรมันตั้งถิ่นฐานในดินแดนจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นครั้งแรกหลัง ค.ศ. 476
4. สันตะปาปาแต่งตั้งให้ชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรโรมันตะวันตกและตะวันออก
5. มหาวิทหารโกธิคเป็นผลมาจากการแข่งขันความมั่งคั่งทางการค้าและพลังศรัทธาทางศาสนาระหว่างเมืองต่างๆ
ประวัติศาสตร์ไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย
88. ข้อใดคือผลที่เกิดขึ้นตามมาจากเหตุการณ์ “กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476”
1. การสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. การตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่
3. การปฏิรูปกองทัพบกเพื่อมิให้ทหารเข้าไปมีบทบาทแทรกแซงการเมือง
4. ฐานะของรัฐบาลที่มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีมีความมั่นคงมากขึ้น
5. ความตื่นตัวของผู้นำคณะราษฎรที่จะทำให้การเมืองของประเทศสยามมีความเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง
ปัญหาสิ่งแวดล้อม : ปรากฏการณ์เอลนีโญ
89. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญในพื้นที่ต่างๆ ของโลก
1. ปริมาณปลาบริเวณชายฝั่งของประเทศเปรูมีจำนวนลดลงมาก
2. บริเวณชายฝั่งของประเทศเอกวาดอร์มีอุณหภูมิผิวน้ำเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปกติ
3. ประเทศอินโดนีเซียเกิดความแห้งแล้งมาก จนเกิดไฟป่าและภาวะมลพิษทางอากาศ
4. ประเทศไทยประสบกับปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน
5. ลมค้าตะวันออกบริเวณศูนย์สูตรมีกำลังแรงขึ้นทำให้อุณหภูมิพื้นผิวน้ำบริเวณชายฝั่งออสเตรเลียมีอุณหภูมิลดลง
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
90. ข้อใดเป็นการดำรงชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
1. ส่งเสริมการเที่ยวป่า และถางป่าเป็นทางเดินธรรมชาติสำหรับนักท่องเที่ยว
2. ลดจำนวนประชากรโลก ด้วยการไม่แต่งงาน หรือแต่งงานแต่ไม่ต้องการมีบุตร
3. ปลูกต้นไม้ที่บ้าน ร่วมกิจกรรมปลูกป่าชุมชน ร่วมรณรงค์การใช้พลังงานอย่างประหยัด
4. สร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และใช้ในช่วงเวลาที่พื้นที่ของตนขาดแคลนน้ำ
5. แสวงหาความสุข ความพอใจในการดำเนินชีวิตตามสมควรแก่สถานะของตนไม่ใช่สิ่งของเกินความจำเป็น
สั่งซื้อในเพจ
P_Jax

You might also like