You are on page 1of 46

แผนการสอนรายหัวข้ อ (Topic Module)

• หัวข้ อ Theory of personality and psychopathology


• รายวิชา PC 301 ใช้ในการสอนอบรมบรรยายเป็ นเวลา 2 ชัว่ โมง
• ผู้สอน อาจารย์ แพทย์หญิงศันสนีย ์ นิซู
• วัตถุประสงค์ หัวข้ อ เมื่อนิสิตจบการศึกษาหัวข้อนี้แล้วสามารถ ทราบทฤษฎีพ้ืนฐานทางจิตเวชและปัญหาที่เกิดจากพัฒนาการทางจิตใจ
• เกณฑ์ แพทยสภา หัวข้อ B1.6.1 Progression through the life cycle, including birth through senescence

• เนือ้ หาหัวข้ อ 1.Topographic model of the mind


2.Ego psychology
3.Defense mechanism
4.Psychosexual development
5.Psychosocial development

• สื่อการสอน 1.Power point


2.เอกสารประกอบคําสอน

• แผนการสอน 1.อธิบายวัตถุประสงค์
2.บรรยาย
3.สรุ ปและซักถาม

• เอกสารประกอบ 1. เอกสารประกอบคําสอนเรื่ องTheory of personality and psychopathology


• การวัดและการประเมินผล 1. การวัดผลโดยการใช้ขอ้ สอบปรนัยแบบ 5 ตัวเลือก
1
Theories of Personality and
Psychopathology

อ.พญ.ศันสนีย์ นิซู
Outline
• Topographic theory of the mind
• Structural Theory of mind
• Defense mechanism
• Psychosexual development
• Psychosocial development
Sigmund Freud(1856-1939)
Topographic theory of the mind

Freud แบ่ งการทํางานของจิตเป็ น 3 ระดับ คือ


1. จิตสํานึก ( Conscious Mind )
2. จิตก่ อนสํานึก ( Preconscious Mind )
3. จิตไร้ สาํ นึก ( Unconscious Mind )
จิตสํานึก ( Conscious Mind )
• คือ ส่วนของจิตใจที่ร้ ูอยูใ่ นปั จจุบนั ซึง่ เป็ นสภาวะที่บคุ คลรับรู้ตาม
ประสาทสัมผัส ที่บคุ คลจะมีการรู้ตวั ตลอดเวลาว่ากําลังทําอะไรอยู่ คิด
อะไรอยู่ คิดอย่างไรเป็ นการรับรู้โดยทัว่ ไปของมนุษย์ ที่ควบคุมการ
กระทําส่วนใหญ่ให้ อยูใ่ นระดับรู้ตวั (Awareness) และเป็ น
พฤติกรรมที่แสดงออกมาโดยมีเจตนาและมีจดุ มุง่ หมาย
จิตก่อนสํานึก ( Preconscious Mind )
• เป็ นส่วนของประสบการณ์ที่สะสมไว้ แต่มีลกั ษณะเลือนราง ไม่อยูใ่ น
ความรู้สกึ แต่เมื่อถูกสภาวะหรื อสิง่ กระตุ้นที่เหมาะสม หรื อเมื่อบุคคล
ต้ องการนํากลับมาใช้ ใหม่ก็สามารถระลึกได้ และสามารถนํากลับมาใช้
ในระดับจิตสํานึกได้ และเป็ นส่วนที่อยูใ่ กล้ ชิดกับจิตรู้สํานึกมากกว่าจิต
ไร้ สํานึก
จิตไร้สาํ นึก ( Unconscious Mind )
• เป็ นส่วนของจิตใจที่ไม่อยูใ่ นความรู้สกึ ไม่สามารถระลึกได้ ดงั ใจ เช่น
เหตุการณ์บางอย่างในอดีตที่เราพยายามนึกแต่ก็นกึ ไม่ออก มีบทบาท
สําคัญในการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะพฤติกรรมบางอย่าง
ที่บคุ คลแสดงออกไปโดยไม่ร้ ูตวั เกิดจากพลังของจิตไร้ สํานึกซึง่ ทํา
หน้ าที่กระตุ้นให้ บคุ คลแสดงออกไป เช่น การพูดพลังปาก ้ ความ
ฝั น เป็ นต้ น จิตไร้ สํานึกเปรี ยบเสมือนก้ อนนํ ้าแข็ง ส่วนใหญ่ที่อยูใ่ ต้ ผิว
นํ ้า โดยมีจิตสํานึก (Conscious Mind) เป็ นส่วนของนํ ้าแข็งที่อยู่
เหนือนํ ้าที่มีอยูเ่ พียงเล็กน้ อย
Structural Theory of mind
Freud ได้ แบ่งโครงสร้ างของจิตใจออกเป็ น 3 ส่วน ดังนี ้ คือ
1.Id
2.Ego
3.Superego
Id
• เป็ นแรงผลักดันของจิตใจหรื อแรงขับทางสัญชาตญาณ(Instinct drive) ที่
ติดตัวมาแต่กําเนิด กระตุ้นให้ มนุษย์ตอบสนองความต้ องการ ความสุข ความ
พอใจ ในขณะเดียวกันก็จะทําหน้ าที่ลดความเครี ยดที่เกิดขึ ้น จึงเป็ นไปตามหลัก
ความพอใจ (pleasure seeking principles) และเป็ นไปเพื่อตอบสนอง
ความต้ องการโดยไม่คํานึงถึงเหตุผล ความถูกต้ องและความเหมาะสมตามความ
เป็ นจริ ง จะเป็ นไปในลักษณะของการใช้ ความคิดในขันปฐม

ภูมิ (Primary Process of Thinking) เช่น เด็กหิวก็จะร้ องไห้
ทันที เพื่อตอบสนองความต้ องการของเขา เมื่อบุคคลเติบโตขึ ้น Id จะถูกเก็บลงสู่
จิตใต้ สํานึก
Id
• สัญชาตญาณ(Instinctual drive)
สัญชาติญาณดังกล่าว ได้ แก่
– สัญชาติญาณแห่งการมีชีวิต (Eros or Life) เป็ นสัญชาตญาณที่แสดง
ออกมาในรูปแบบของสัญชาตญาณทางเพศ (Sexual Instinct) แต่
ฟรอยด์ไม่ได้ หมายถึงความต้ องการทางเพศตามความเรี ยกร้ องทางด้ านสรี ระ
เท่านัน้ แต่ยงั รวมถึงความปรารถนาและความต้ องการที่จะได้ รับความพึง
พอใจในรูปแบบต่างๆ
– สัญชาตญาณแห่งความตาย (Thanatos or Death instinct) ที่
แสดงออกมาในรูปของสัญชาตญาณในการทําลายหรื อความก้ าวร้ าว (
Destructive instinct or aggressive instinct )
Sexual Instinct
Death Instinct
Ego
• เริ่ มปรากฏหน้ าที่เมื่อเด็กอายุ 6-8 เดือน จะเป็ นส่วนของบุคลิกภาพที่ทําหน้ าที่
ประสาน อิด และ ซูเปอร์ อีโก้ ให้ แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้ เหมาะสมกับ
ความเป็ นจริง และขอบเขตที่สงั คมกําหนด ทําให้ จิตใจอยูใ่ นภาวะสมดุล โดยทํา
หน้ าที่เกี่ยวกับความจํา ความคิด เชาว์ปัญญา การรับรู้ การตัดสินใจ ควบคุมการ
ทํางานของร่างกาย เป็ นส่วนที่ทารกเริ่ มรู้จกั ตนเองว่า ฉันเป็ นใคร Egoขึ ้นอยูก่ บั
หลักแห่งความเป็ นจริ ง(Reality Principle)ที่มีลกั ษณะของการใช้ ความคิด
ในขันทุ้ ติยภูมิ (Secondary Process of Thinking) ซึง่ มีการใช้
เหตุผล มีการใช้ สติปัญญา และการรับรู้ที่เหมาะสม และอีโก้ (Ego) เป็ นส่วนที่
อยูใ่ นระดับจิตสํานึกเป็ นส่วนใหญ่
Superego
• ทําหน้ าที่เกี่ยวข้ องกับศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของ
สังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีตา่ งๆ ซึง่ ทําหน้ าที่ผลักดัน
ให้ บคุ คลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้ องกับมโนธรรม จริยธรรม
ประเมินว่าสิง่ ใดถูกสิง่ ใดผิด
กลไกทางจิต ( Defense mechanism)
• เป็ นการหาทางออกให้ กบั จิตใจ เมื่อมนุษย์เผชิญสถานการณ์หนึง่ ที่ทํา
ให้ เกิดข้ อขัดแย้ งในใจ ซึง่ การที่ ego ทําหน้ าที่เป็ นตัวกลางระหว่าง Id
และSuperego เมื่อเกิดวามขัดแย้ งจะก่อให้ เกิดความวิตก
(Anxiety) และจะก่อให้ เกิดผลกระทบต่อสมดุลทางจิตใจ ดังนัน้
ego จึงเข้ ามามีบทบาทในการทําให้ เกิดสมดุลมากที่สดุ โดยใช้ กลไก
ทางจิตนี ้ ( Defense mechanism )
Mature Defense

Sublimation

Altruism

Humor
Psychosexual Development
ฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็ น 5 ขัน้ ได้ แก่
1. ขัน้ ปาก (Oral Stage)
2. ขัน้ ทวาร (Anal Stage)
3. ขัน้ อวัยวะเพศตอนต้ น (Phallic Stage)
4. ขัน้ แฝง (Latency Stage)
5. ขัน้ อวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage)
ขั้นปาก (Oral Stage)

• (แรกเกิด - 18 เดือน) เป็ นระยะที่เด็กแสวงหาความเพลิดเพลินใจในเชิง erotic


โดยใช้ อวัยวะใน oral zone ดังนันนอกจากการกิ
้ นนมแม่จะตอบสนองต่อ
ความต้ องการทางร่างกายแล้ ว ยังเป็ นการตอบสนองต่อความต้ องการทางจิตใจ
หรื อ infantile sexuality ของเด็กด้ วย และเนื่องจากแม่เป็ นบุคคลที่
สามารถทําให้ เด็กรู้สกึ เพลิดเพลินใจหรื อคับข้ องใจก็ได้ ดังนันการเลี
้ ้ยงดูด้วยความ
รักความอบอุน่ และสามารถตอบสนองความต้ องการทางจิตใจของเด็กได้ อย่าง
สมํ่าเสมอ โดยไม่ทําให้ เด็กเกิดความคิดสองฝั กสองฝ่ ายต่อแม่มากเกินไป จะทําให้
เด็กรู้สกึ ไว้ วางใจต่อแม่และสามารถสลายปมขัดแย้ งภายในจิตใต้ สํานึกที่เกิดขึ ้นใน
ระยะนี ้ได้ เด็กจะพัฒนาความสามารถในการรับและให้ ได้ อย่างเหมาะสม
ขั้นปาก (Oral Stage)
• หากไม่ได้ รับการตอบสนองอย่างเหมาะสมเด็กจะมี “fixation” ของ
พัฒนาการอยูท่ ี่ระยะนี ้ คือ เติบโตขึ ้นเป็ นคนที่มีลกั ษณะพึง่ พาผู้อื่น
ต้ องการความสนใจและคําชมเชยจากคนอื่นตลอดเวลา ยึดตนเองเป็ น
หลัก มักอิจฉาริษยาผู้อื่น และชอบแสวงหาความเพลิดเพลินใจด้ วยการ
ใช้ ปาก เช่น กินจุบจิบ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้ า และการพูดนินทา เป็ นต้ น
Anal Stage
• (อายุ 1-3 ปี ) เป็ นระยะที่เด็กแสวงหาความเพลิดเพลินใจโดยใช้ อวัยวะใน anal
zone กล่าวคือเด็กวัยนี ้มีพฒ ั นาการทางร่างกายจนสามารถควบคุมการขับถ่าย
ได้ ดี และแสวงหาความเพลิดเพลินใจจากการควบคุมการขับถ่ายของตนเอง แต่
เป็ นวัยที่เด็กเริ่ มถูกเรี ยกร้ องให้ ทําตามความต้ องการของพ่อแม่และมีแรงขับด้ าน
ความก้ าวร้ าวมากกว่าระยะที่ผา่ นมา จึงมักเกิดปมขัดแย้ งในจิตใจต่อพ่อแม่ใน
เรื่ องการควบคุมการขับถ่ายและการควบคุมพฤติกรรมอย่างอื่น เด็กจะพยายาม
เป็ นอิสระและหลีกเลี่ยงการควบคุมของพ่อแม่ ในระยะนี ้เด็กจะต้ องเรี ยนรู้การ
แสวงหาความเพลิดเพลินใจที่เหมาะสมต่อทังความต้ ้ องการของตนเองและพ่อแม่
และรู้จกั การรอคอยหรื อการยับยังความต้ ้ องการ (delay gratification)
Anal Stage
• การฝึ กควบคุมการขับถ่ายและการควบคุมพฤติกรรมอย่างเหมาะสม
และความสัมพันธ์ที่ดีกบั พ่อแม่ จะช่วยให้ เด็กสามารถสลายปมขัดแย้ ง
ในจิตใจที่เกิดขึ ้นในระยะนี ้ และมีการพัฒนา autonomy อย่าง
เหมาะสม โดยไม่มีความรู้สกึ สองฝั กสองฝ่ ายต่อพ่อแม่ และเติบโตขึ ้น
เป็ นคนที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ โดย
ไม่คอยขัดขวางหรื อยอมตามผู้อื่นในทุกเรื่ อง
Anal Stage
• การฝึ กขับถ่ายและการควบคุมพฤติกรรมโดยที่เด็กยังไม่พร้ อมหรื อ
เข้ มงวดมากเกินไป และการยอมให้ เด็กแสวงหาความเพลิดเพลินใจโดย
ไม่มีการควบคุม ทําให้ เด็กไม่สามารถแสวงหาความเพลิดเพลินใจได้
อย่างเหมาะสม และมี “fixation” อยูท่ ี่ระยะนี ้ คือเติบโตขึ ้นเป็ นคน
ที่มีลกั ษณะ “anal character” เช่น ต่อต้ านดื ้อดึง ยํ ้าคิดยํ ้าทํา
เจ้ าระเบียบหรื อรักความสะอาดมากเกินไป ชอบสะสมในทางวัตถุ ยึด
มัน่ กฎเกณฑ์โดยไม่ยืดหยุน่ หรื อในทางตรงข้ ามอาจเป็ นคนสองจิตสอง
ใจ ไม่มีระเบียบวินยั และแสดงความก้ าวร้ าวอย่างไม่เหมาะสม เป็ นต้ น
Phallic Stage
• (อายุ 3-5 ปี ) เป็ นระยะที่เด็กแสวงหาความเพลิดเพลินใจโดยใช้
อวัยวะใน genital zone และใช้ บคุ คลอื่น (object) เพื่อแสวงหา
ความเพลิดเพลินใจในเชิง erotic แทนการใช้ อวัยวะในร่างกายของ
ตนเองดังเช่นในระยะที่ผา่ นมา กล่าวคือเด็กจะมีจินตนาการเชิง
erotic ในระดับจิตใต้ สํานึกต่อพ่อหรื อแม่ที่เป็ นเพศตรงข้ ามและเป็ น
ปฎิปักษ์ ตอ่ พ่อหรื อแม่ที่เป็ นเพศเดียวกับตนเอง เด็กจะรู้สกึ อิจฉาและมี
พฤติกรรมแข่งขันกับพ่อหรื อแม่ที่เป็ นเพศเดียวกับตนเอง เพื่อต้ องการ
เอาชนะและแย่งพ่อหรื อแม่ที่เป็ นเพศตรงข้ ามมาครอบครอง
Phallic Stage

• พัฒนาการในระยะนี ้ของเด็กผู้ชายเรี ยกว่า “Oedipus complex”


กล่าวคือเมื่อเด็กผู้ชายมีจินตนาการเป็ นปฏิปักษ์ และมีความคิดต้ องการกําจัดพ่อ
เด็กจะเกิดความกลัวว่าพ่อจะแก้ แค้ นด้ วยการตัดอวัยวะเพศ หรื อมี
“castration anxiety” ขณะเดียวกันก็มีความรู้สกึ ผิดที่มีความคิดดังกล่าว
ต่อพ่อ และในความเป็ นจริงเด็กก็รักพ่อและต้ องการให้ พอ่ ยอมรับด้ วย เด็กผู้ชาย
จึงล้ มเลิกความคิดที่จะครอบครองแม่และใช้ กลไกทางจิตที่เรี ยกว่า
“identification with the aggressor” เพื่อแก้ ไขปมขัดแย้ ง
ดังกล่าว ดังนันเด็
้ กผู้ชายจึงเริ่ มมีพฤติกรรมเลียนแบบพ่อ โดยเฉพาะเรื่ องบทบาท
และอัตลักษณ์ทางเพศและการพัฒนา superego ตามแบบอย่างของพ่อ
Phallic Stage
• ส่วนพัฒนาการของเด็กผู้หญิงเรี ยกว่า “Electra complex” กล่าวคือเมื่อ
เด็กผู้หญิงค้ นพบว่าตนเองไม่มีอวัยวะเพศชายจะเกิดความรู้สกึ “inferiority”
และมี “penis envy” เด็กจะมีความรู้สกึ ต่อแม่ในทางลบเนื่องจากให้ กําเนิด
ตนเองมาอย่างบกพร่อง เด็กผู้หญิงจึงมีจินตนาการในระดับจิตใต้ สํานึกว่าจะได้ รับ
อวัยวะเพศชายจากพ่อและมีพฤติกรรมแข่งขันกับแม่เพื่อแย่งพ่อมาครอบครอง แต่
ขณะเดียวกันก็รักแม่และกลัว “loss of love” จากแม่ด้วย จึงต้ องยอม
ล้ มเลิกการแข่งขันกับแม่และหันกลับมาเลียนแบบพฤติกรรมของแม่
Phallic Stage
• ความสัมพันธ์ที่ดีของพ่อแม่ตอ่ ลูกเป็ นปั จจัยที่ช่วยสลายปมขัดแย้ งใน
จิตใจเหล่านี ้ เด็กที่สามารถสลายปมขัดแย้ งต่อพ่อแม่ภายในจิตใต้ สํานึก
ได้ จะมีความสามารถในการจัดการด้ านความสัมพันธ์กบั ผู้อ่ืน รวมทัง้
สามารถจัดการกับ impulse ในจิตใจของตนเองได้ ดี และเป็ น
พื ้นฐานของความสัมพันธ์ด้านความรักในวัยผู้ใหญ่ บุคคลที่มี
“fixation” อยูท่ ี่ระยะนี ้จะยังคงมีจินตนาการต่อพ่อแม่ในจิตใต้
สํานึกตามลักษณะของพัฒนาการระยะนี ้อันเป็ นสาเหตุของโรคทางจิต
เวชในกลุม่ neurosis ทังหลาย ้ รวมทังขาดการพั
้ ฒนาด้ านคุณธรรม
จริยธรรมหรื อมีการพัฒนา superego ที่ควบคุมอย่างเข้ มงวดมาก
เกินไป
Latency Stage
• (อายุ 6-12 ปี ) เป็ นระยะที่แรงขับทางเพศค่อนข้ างสงบเนื่องจาก
ego พัฒนาความสามารถในการแยกจินตนาการกับความเป็ นจริงและ
จัดการแรงขับภายในจิตใต้ สํานึกได้ ดีแล้ ว เด็กจึงหันไปแสวงหาความ
เพลิดเพลินใจด้ วยการเรี ยนรู้สงิ่ แวดล้ อมและสังคมภายนอก เช่น เพื่อน
โรงเรี ยน เป็ นวัยที่เด็กมีการพัฒนาความสามารถในการควบคุมตนเอง
การแก้ ปัญหา และทักษะด้ านต่างๆมากขึ ้น นอกจากนี ้ยังมีการพัฒนา
บุคลิกภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ และ superego ต่อเนื่องจากระยะที่
ผ่านมา และเริ่มรู้จกั ยึดแบบอย่างจากบุคคลภายนอกครอบครัวด้ วย แต่
เด็กวัยนี ้ยังมี superego ที่ไม่ยืดหยุน่ บางครัง้ จึงอาจยํ ้าคิดยํ ้าทํา
หรื อเคร่งครัดในกฎเกณฑ์บางอย่างมากเกินไปได้
Genital Stage
• (อายุ 12 ปี - วัยผู้ใหญ่) เป็ นระยะที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงเข้ าสูว่ ยั รุ่น
ทังทางร่
้ างกายและสรี รวิทยาที่เกี่ยวข้ องทางเพศ และด้ านจิตสังคม
อย่างมาก แรงขับทางเพศหวนกลับมารุนแรงอีกครัง้ จนอาจทําให้
พัฒนาการถดถอยกลับไปมีความขัดแย้ งในจิตใจเหมือนพัฒนาการใน
ระยะที่ผา่ นมาอีก แต่ก็อาจเป็ นโอกาสให้ บคุ คลสามารถสลายปมขัดแย้ ง
ดังกล่าวได้ อีกครัง้
Genital Stage
• เป็ นระยะที่วยั รุ่นต้ องการเป็ นอิสระและพัฒนาความสามารถในการ
พึง่ พาตนเอง สร้ างความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่ตอ่ ผู้ใหญ่กบั พ่อแม่ สร้ าง
ความสัมพันธ์กบั เพื่อนทังเพศเดี
้ ยวกันและต่างเพศและบุคคลอื่น
พัฒนาอัตลักษณ์ที่สอดคล้ องกับค่านิยมของสังคมและวัฒนธรรม และ
เตรี ยมความพร้ อมสําหรับบทบาทของผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์ บุคคลที่
สามารถสลายปมขัดแย้ งในทุกระยะที่ผา่ นมาได้ จะเติบโตเป็ นผู้ใหญ่ที่มี
วุฒิภาวะสมบูรณ์ มีอตั ลักษณ์มนั่ คง สามารถแสวงหาความพึงพอใจทัง้
ในด้ านความรักและการทํางานอย่างสร้ างสรรค์และมีเป้าหมายได้
Erik Erikson(1902-1994)
Psychosocial development theory
• Erik Erikson อธิบายพัฒนาการทางจิตใจโดยยอมรับพัฒนาการ
ทางจิตใจตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ แต่เน้ นความสําคัญของปั จจัยด้ าน
สังคมวัฒนธรรมและปฏิสมั พันธ์กบั บุคคลอื่นต่อพัฒนาการทางจิตใจ
และอธิบายว่าจิตใจมีพฒ
ั นาการอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยบุคคลจะ
มี “internal crisis” ในแต่ละระยะของพัฒนาการ Erikson
อธิบายพัฒนาการทางจิตใจเป็ นระยะต่างๆ ดังนี ้
• basic trust vs basic mistrust (แรกเกิด – 1 ปี )
• autonomy vs shame and doubt (อายุ 1-3 ปี )
• initiative vs guilt (อายุ 3-5 ปี )
• industry vs inferiority (อายุ 5-13 ปี )
• identity vs role confusion (วัยรุ่น อายุ 13-21 ปี )
• intimacy vs isolation (วัยผู้ใหญ่ตอนต้ นอายุ 21-40)
• generativity vs stagnation (วัยกลางคนอายุ 40-60)
• ego integrity vs despair (อายุมากกว่า 60-65 ปี )
basic trust vs basic mistrust
(แรกเกิด – 1 ปี )
• การเลี ้ยงดูที่แม่สามารถตอบสนองความต้ องการทางร่างกาย เช่น การให้ นมและ
อาหารในเวลาที่เด็กรู้สกึ หิว เป็ นต้ น และสามารถตอบสนองความต้ องการทาง
จิตใจด้ วยความรักความอบอุน่ อย่างสมํ่าเสมอ ทําให้ เด็กเกิดความไว้ วางใจและ
สามารถแก้ ไข internal crisis ในระยะแรกนี ้ได้ และเด็กจะมีการพัฒนา
basic trust คือ ความรู้สกึ ไว้ วางใจผู้อื่น ความรู้สกึ ไว้ วางใจและเชื่อมัน่ ใน
ตนเอง ความสามารถในการรับและพึง่ พาผู้อื่นอย่างเหมาะสม อันเป็ นพื ้นฐานของ
พัฒนาการทางจิตใจและบุคลิกภาพในระยะต่อไป
autonomy vs shame and doubt
(อายุ 1-3 ปี )
• เป็ นระยะที่เด็กสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆรวมทังการขั
้ บถ่ายได้ ดีและเริ่ม
ต้ องการความเป็ นตัวของตัวเอง (autonomy) แต่ในขณะเดียวกันพ่อแม่จะ
เริ่ มต้ องการฝึ กหรื อควบคุมพฤติกรรมบางอย่าง การควบคุมอย่างเข้ มงวดหรื อเร็ว
เกินไปจนเกิดผลเสียต่อการพัฒนา internal control ของเด็กเอง หรื อการที่
พ่อแม่ไม่สามารถช่วยควบคุมให้ เด็กควบคุมตนเองได้ เลย ต่างมีผลเสียต่อการ
พัฒนาความเป็ นตัวของตัวเองของเด็ก การควบคุมอย่างเหมาะสมช่วยให้ เด็ก
พัฒนาความเป็ นตัวของตัวเองได้ โดยไม่เกิดความละอายหรื อไม่แน่ใจในตนเอง
(shame and doubt)
initiative vs guilt (อายุ 3-5 ปี )
• เป็ นระยะที่เด็กมีพฒ ั นาการด้ านกล้ ามเนื ้อ ภาษา ความคิดและปั ญญามีความ
อยากรู้อยากเห็นและมีความคิดริ เริ่มในเรื่ องต่างๆหากพ่อแม่สนับสนุนโดยควบคุม
ให้ อยูใ่ นระดับเหมาะสม เด็กจะสามารถแก้ ไข internal crisis นี ้ได้ และมี
ความคิดริเริ่ มสร้ างสรรค์ในทางที่เหมาะสม (initiative) มีความรับผิดชอบ
สามารถควบคุมตนเองและมีมโนธรรม ส่วนเด็กที่พอ่ แม่คอยปกป้อง ห้ ามปราม
หรื อควบคุมมากเกินไปจะมีมโนธรรมที่เข้ มงวดมากจนเกิดความรู้สกึ ผิด (guilt)
ในเรื่ องต่างๆได้ ง่าย
industry vs inferiority (อายุ 5-13 ปี )
• เป็ นวัยที่เด็กเข้ าสูส่ งั คมนอกครอบครัวทังกั
้ บเพื่อนและครูที่โรงเรี ยนและบุคคลอื่น
ในสังคมมากขึ ้น มีความสนใจและความสุขในการเรี ยนรู้และฝึ กทักษะด้ านต่างๆ
หากพ่อแม่และครูสนับสนุนกระตุ้นให้ เด็กรู้จกั ทํากิจกรรมต่างๆได้ ด้วยตนเอง โดย
ยอมรับและให้ อภัยเมื่อเด็กผิดพลาด เด็กจะมีการพัฒนาความวิริยะอุตสาหะ
(industry) รู้สกึ ว่าตนเองมีความสามารถและนับถือตนเอง (self-
esteem) ดี เด็กที่ได้ รับการดูแลในทางตรงข้ ามจะมีความรู้สกึ มีปมด้ อย
(inferiority) รู้สกึ ว่าตนเองไม่มีความสามารถและไม่มีคณ ุ ค่า
identity vs role confusion
(วัยรุ่ น อายุ 13-21 ปี )
• เป็ นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงทังด้้ านร่างกาย จิตใจ และสังคมอย่างมาก ประเด็น
สําคัญของพัฒนาการระยะวัยรุ่นคือการพัฒนาอัตลักษณ์ (identity) ที่
สอดคล้ องกับค่านิยมของสังคม ประสบการณ์จากพัฒนาการ ประสบการณ์กบั
กลุม่ เพื่อน ครูอาจารย์ พ่อแม่ และบุคคลทัว่ ไป และการมีบคุ คลที่ยดึ เป็ น
แบบอย่าง จะช่วยให้ วยั รุ่นแก้ ไข “identity crisis” และมีการพัฒนาอัต
ลักษณ์ (identity) ที่มนั่ คงได้ หากพัฒนาการในระยะนี ้ล้ มเหลวจะเกิดความ
สับสนในบทบาทและความสําคัญของตนเองในสังคม (role confusion)
ขาดความเป็ นตัวของตัวเอง ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และอาจมี
พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศหรื อเกเรอันธพาล
intimacy vs isolation
(วัยผูใ้ หญ่ตอนต้นอายุ 21-40)
• เป็ นระยะที่บคุ คลมีการพัฒนาอัตลักษณ์ที่มนั่ คงและพร้ อมสําหรับการทํางานและ
การมีความรักอย่างมีความสุข มีความต้ องการความสัมพันธ์ที่สนิทสนมกับบุคคล
อื่น (intimacy) โดยรู้จกั การประนีประนอม เสียสละความสุขส่วนตัวบางอย่าง
และการไว้ วางใจซึง่ กันและกัน และสามารถมีความสุขทางเพศกับคูค่ รองได้ หาก
พัฒนาการในระยะนี ้ล้ มเหลวบุคคลจะแยกตัวจากสังคม (isolation) ไม่
สามารถยอมรับความแตกต่างและสร้ างสัมพันธ์กบั บุคคลอื่นได้ และสนใจหมกมุน่
แต่เรื่ องของตนเอง
generativity vs stagnation
(วัยกลางคนอายุ 40-60)
• เป็ นระยะที่บคุ คลต้ องการทําประโยชน์ตอ่ สังคมและคนรุ่นต่อไป ด้ วย
การชี ้แนะ สัง่ สอน และถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์อย่างมีความ
เอื ้ออาทร หากพัฒนาการในระยะนี ้ล้ มเหลวบุคคลจะเกิดความรู้สกึ
เหนื่อยล้ า (stagnation) กลายเป็ นคนที่ทําอะไรตามใจตัวเอง และ
ยึดความพอใจของตนเองเป็ นหลัก
ego integrity vs despair
(อายุมากกว่า 60-65 ปี )
• บุคคลที่สามารถแก้ ไข internal crisis ในพัฒนาการทุกระยะที่ผา่ นมาได้
อย่างสมบูรณ์ จะเข้ าใจความหมายและคุณค่าของตนเอง ยอมรับและรู้สกึ พึง
พอใจชีวิตทุกด้ านของตนเอง (integrity) สามารถละวางความยึดมัน่ ถือมัน่ ใน
เรื่ องต่างๆ และสามารถเผชิญสิง่ คุกคามต่างๆรวมทังความตายได้
้ อย่างมัน่ คง
บุคคลที่ไม่สามารถพัฒนา ego integrity ได้ จะรู้สกึ สิ ้นหวัง (despair)
เนื่องจากผิดหวังกับชีวิตที่ผา่ นมาโดยไม่มีโอกาสแก้ ไขแล้ วและมีชีวิตอยูต่ อ่ ไป
อย่างไร้ คณุ ค่า

You might also like