You are on page 1of 12

รายงาน

วิชา SO1002 สมรรถนะในการประกอบอาชีพ

จัดทำโดย
นางสาว สาวิตรี โพธิ์ศิริ
รหัสนิสิต 6605010044

เสนอ
ผศ.ดาวรุ่งรตา วงศ์ไกร
ดร.เกียรติก้อง มูลเมือง

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขต วัชรพล


คำนำ

รายงานเล่นนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ วิชา SO1002 สมรรถนะในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้


ศึกษาหาความรู้ในเรื่องสมรรถนะในการประกอบอาชีพและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อ คณะครู นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่
สนใจต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ รายงานนี้ได้เป็นอย่างดี หากรายงานฉบับนี้มีข้อบกพร่องหรือผิดพลาด
ประการใด ผู้จัดทำขออภัยมา ณ ที่นี้ และน้อมรับข้อเสนอแนะด้วยความยินดียิ่ง

ผู้จัดทำ
นางสาว สาวิตรี โพธิ์ศิริ

สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
1.การเจริญเติบโตและการพัฒนาการทางอารมณ์ 1
1.1 การเจริญเติบโต 1
1.2 พัฒนาการ 1
1.3 พัฒนาการทางอารมณ์ 3
1.4 อารมณ์ 3
2.การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร 5
3. การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพในสาขาของตนเอง 6
4. สังคมที่น่าอยู่ควรยึดหลักปฏิบัติในเรื่องใดบ้าง 7
4.1 หลักการอยู่ร่วมกันอย่างมีขันติธรรมขันติธรรม 7
4.2 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 8
4.3 การเห็นคุณค่าในตนเอง 8
4.4 การมองโลกในแง่ดี 8
4.5 การสร้างทักษะทางอารมณ์ ทักษะทางอารมณ์ 8
บรรณานุกรม 9
1

1.การเจริญเติบโตและการพัฒนาการทางอารมณ์
1.1 การเจริญเติบโต
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาด รูปร่าง ปริมาณ เช่น เราตัวสูงขึ้น ตัวโตขึ้น อวัยวะต่างๆ ใน
ร่างกายรวมถึงสมองจะเจริญขึ้นด้วย ร่างกายส่วนต่างๆ จะมีการเจริญเติบโตในเกือบทุกๆระบบทั้งหญิงและ
ชาย เช่น ความสูงและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็ว แขนขายาวขึ้น ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อกระตุ้นการเติบโต
ของอวัยวะระบบสืบพันธุ์ทั้งภายในและภายนอกมีการเจริญ ของร่างกายในส่วนที่เป็นลักษณะประจำเพศ
(secondary sex characteristics) เช่น เด็กชายมีเสียงห้าวขึ้น มีหนวดขึ้น ในเด็กหญิงมีการเจริญเติบโตของ
เต้านมเกิดขึ้น ในเด็กหญิงก็จะมีประจำเดือนเกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงสองอย่างหลังนี้จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า
ตนเองเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง (gender identity) การเปลี่ยนแปลงมากๆ แบบนี้อาจเป็นสาเหตุของความกังวล
หรือความลำบากใจในการปรับตัวของวัยรุ่นได้
1.2 พัฒนาการ
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านหน้าที่การทำงาน (Function)และวุฒิภาวะ (Maturation) ของอวัยวะ
ระบบต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่ง ที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้ น
ตลอดจนการเพิ่มทักษะใหม่ๆ และความสามารถในการปรับตัวต่อสภาวะแวดล้อมหรือภาวะใหม่ในบริบทของ
ครอบครัวและสังคมพัฒนาการของมนุษย์ จำแนกเป็น 5 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย , อารมณ์ , จิตใจ , สังคม จิต
วิ ญ ญาณพั ฒ นาการ ในภาษาอั ง กฤษมี ค ำที ่ ห มายถึ ง การพั ฒ นาการอยู ่ 2 คำคื อ “growth” กั บ
“development” ที่จริงแล้วความหมายของคำภาษาอัง กฤษ 2 คำนั้น น่าจะมีความหมายต่างกันอยู่บ้าง
คำว่า “growth” น่าจะแปลว่า งอกงามหรือเติบโต หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณที่วัดได้ เช่น
เปลี่ยนแปลงทางด้านขนาดและรูปร่างคือโตขึ้น สูงขึ้น ใหญ่ขึ้น ยาวออก มากขึ้น และยังหมายรวมถึงการเพิ่ม
ขนาดและรูปร่างของอวัยวะภายในและขนาดของสมอง ฯลฯ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงปริมาณและสัดส่วน
ของความสามรถทางสมองเช่น จำได้มากขึ้น เรียนรู้ไ ด้มากขึ้น ความคิดหาเหตุ ผลมีม ากขึ้น ดัง นั้นการ
เจริ ญ เติ บ โตจึ ง เกิ ด ขึ ้ นได้ ท ั ้ง ทางร่ า งกายและทางสมองส่ ว นคำว่า “development” นั ้ น หมายถึ ง ความ
เปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ และเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นกระบวนการค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับ
นำไปสู่การบรรลุจุดเจริญบริบูรณ์ของพัฒนาการที่เรียกว่า วุฒิภาวะ วุฒิภาวะ หมายความว่าก่อนที่การ
เปลี่ยนแปลงทางร่างกายและทางสมองจะบรรลุขีดสูงสุด จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนปลีกย่อยมากมาย
ติดต่อกันมาไม่ขาดตอน และแต่ละขั้นตอนต้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในลักษณะที่การเปลี่ยนแปลงขั้นต้นเป็น
ฐานรองรับการเปลี่ยนแปลงขั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ตรงกับภาษาไทยว่า “การเจริญ
ขึ ้ น หรื อ การเติ บ โต”ซึ ่ ง หมายถึ ง การเพิ ่ ม ขึ ้ น ทางด้ า นคุ ณ ภาพโดยตรง โดยส่ ว นมากจะใช้ ค ำ
ว่า “development” คำเดียวว่าหมายถึงพัฒนาการอย่างไรก็ตาม การงอกงามหรือเติบโตทางด้านปริมาณกับ
2

ความเจริญเติบโต หรือพัฒนาการซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงคุณภาพให้ดีขึ้นนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน
ไม่อาจแยกจากกันโดยเด็ดขาดได้ หากไม่มีอย่างหนึ่งอีกอย่างหนึ่งก็จะเกิดขึ้นมิได้เลย
1.2.1 การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์อาจจำแนกออกได้ เป็น 4 กรณีคือ
• การเปลี่ยนแปลงทางขนาด
• การเปลี่ยนแปลงทางด้านสัดส่วน
• ลักษณะเดิมหายไป
• มีลักษณะใหม่ๆเกิดขึ้น
1.2.2 หลักของพัฒนาการ (Principle of development)
• พัฒนาการและเป็นไปตามแบบฉบับของมันเอง
• พัฒนาการไม่ว่าด้านใดจะเริ่มจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนน้อย
• พัฒนาการเป็นสิ่งที่ดำเนินต่อเนื่องกันไปตลอดเวลาจนมีลำดับขั้นตอน
• อัตราการพัฒนาการในแต่ละส่วนของร่างกายนั้นจะแตกต่างกัน
• อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน
• พัฒนาการของคุณสมบัติต่างๆจะสัมพันธ์กัน
• พัฒนาการเป็นสิ่งที่เราอาจทำนายหรือคาดคะเนได้
• พัฒนาการทุกด้านเกี่ยวข้องกันแยกกันไม่ได้
• พัฒนาการดำเนินควบคู่ไปกับการเสื่อม (Growth and Decline)
• ความสมดุลพฤติกรรมต้องการเวลา
จากหลักของพัฒนาการสามารถ สรุปได้ว่า พัฒนาการคือการเจริญเติบโตที่ให้คุณลักษณะใหม่หรือความสามรถ
ใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างมีทิศทางและดำเนินไปตามเวลาสืบเนื่องกันไปตลอดเวลา ซึ่งอาจกล่าว
ได้ว่าการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการของมนุษย์ดำเนินการไปโดยอาศัยกระบวนการเปลี่ยนแปลง 2 ชนิด
ด้วยกันคือ การวิวัฒนาการ (Evolution) ซึ่งหมายถึงการสร้างลักษณะใหม่ กับอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าการเสื่อม
สลายหรือปลาสนาการ (Involution) ซึ่งหมายถึงการที่ลักษณะที่มีอยู่เดิมเสื่อมสลายหรือหายไปองค์ประกอบ
ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการพัฒนาการของมนุษย์ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ คือ วุฒิภาวะ(Maturation)
วุฒิภาวะหมายถึง การบรรลุถึงขั้นการเจริญเติบโตเต็มที่ในระยะใดระยะหนึ่งและพร้อมที่จะประกอบกิจกรรม
อย่างใดอย่างหนึ่งได้พอเหมาะกับวัย เข่น จะเดินและพูดได้เมื่อร่างกายมีความพร้อม วุฒิภาวะของมนุษย์จะ
เจริญเติบโตเป็นขั้นๆ ตามลำดับวัยของธรรมชาติ และมีกำหนดเวลาเป็นของตนเอง ตัวอย่างเช่น อวัยวะในการ
เปล่งเสียงของเด็กจะต้องเจริญเติบโตก่อนเด็กจึงจะพูดได้เป็นต้นการเรียนรู้หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของ
พฤติกรรมต้องมีการเรียนการสอน มีแบบแผนและประสบการณ์ การเรียนรู้จะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใดมีผลมา
3

จากการฝึกหักอบรมตลอดจนจะต้องมีความมุ่งหมายในการเรียนสิ่งนั้นๆ ด้วยวุฒิภาวะมีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้อง
กับการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์มาก อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้จะไม่เกิดขึ้นถ้าเด็กยัง
ไม่พัฒนาถึง
วุฒิภาวะนั้นนักจิตวิทยาได้แบ่งช่วงวัยเด็กออกเป็น 3 ตอน คือ
• วัยเด็กตอนต้น (Early child hood)
• วัยเด็กตอนกลาง (middle child hood)
• วัยเด็กตอนที่ปลาย (Late child hood) ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะหัวข้อวัยเด็กตอนปลายเท่านั้น
กระบวนการเจริญเติบโตในด้านต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ต่อเนื่องกันตลอดชีวิต ซึ่งท้าให้เรารู้อย่าง
คร่าวๆ ว่าเมื่อถึงอายุช่วงใด จะมีพัฒนาการ อย่างไรบ้าง เช่น เด็กอายุ 10 - 12 เดือน จะเริ่มยืนได้เอง เด็กอายุ
1 ปีครึ่งถึง 2 ปี เริ่มพูด ได้ เหล่านี้เรียกว่า พัฒนาการ พัฒนาการของร่างกาย คือการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ
ของร่างกาย ซึ่งบ่งบอก ให้ทราบถึงการเจริญเติบโต ซึ่งแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจอารมณ์
ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

1.3พัฒนาการทางอารมณ์
เป็นสภาวะทางด้านจิตใจที่เกิดขึ้น เนื่องจากได้รับ การกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายในร่างกาย เช่น แรงขับ
หรือสิ่ง เร้าภายนอก เช่น ความร้อนหนาว ฯลฯ เมื่อได้รับสิ่งเร้าทั้ง ภายในและภายนอกจะทําให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงทางด้าน ร่างกายและจิตใจ อารมณ์ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากกระบวนการทางด้าน จิตใจ ทํา
ให้มนุษย์มีการรับรู้ตามสภาพแวดล้อมที่ปรากฏขึ้นจริง อารมณ์มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์
โดยเฉพาะเกี่ยวกับการปรับตัว ทำให้การดำเนินชีวิตมีความหมายแตกต่างไปจากเครื่องจักร เราใช้อารมณ์เป็น
เครื่องบ่งชี้ความรู้สึกนึกคิด ช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะรู้จักตนเองและผู้อื่น เป็นแรงผลักดันหรือแรงจูงใจทำให้เกิด
ความกระตือรือร้นมีชีวิตชีวา ทำให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ให้การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นสัญญาณเตือนภัยให้รู้จักการ
ต่อสู้ การเอาตัวรอด และการแสดงออกทางอารมณ์ยังสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพจิตของบุคคลได้อีกด้วย

1.4 อารมณ์
อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิต
สรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
กับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมน
และสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลัง
ขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ สรีรวิทยาของอารมณ์มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับภาวะ
กระตุ้นของระบบประสาท ด้วยสถานะและความแรงของการกระตุ้นที่หลากหลายซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอารมณ์
เฉพาะอย่างโดยชัดเจน ถึงแม้ว่าการแสดงออกด้ วยอารมณ์อาจดูเหมือนว่าเป็นการกระทำโดยไม่ต้อ งใช้
4

ความคิด แต่มุมมองที่สำคัญของอารมณ์ก็คือการรับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตีความหมายของสิ่ง ที่เ กิ ด


ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดการข่มขู่คุกคาม ประสบการณ์แห่งความกลัวจะบังเกิดโดยปกติ การรับรู้ถึงภัยอันตราย
และภาวะกระตุ้นของระบบประสาทที่ตามมา (เช่นชีพจรเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก กล้ามเนื้อหดเกร็ง) คือ
องค์ประกอบโดยรวมที่นำไปสู่การตีความหมายและการระบุว่าภาวะกระตุ้นเป็นสถานะอารมณ์ อารมณ์ก็มี
ความเชื่อมโยงกับแนวโน้มของพฤติกรรม การวิจัยเกี่ยวกับอารมณ์เพิ่มขึ้นอย่างมากภายในสองทศวรรษที่ผ่าน
มาในหลายสาขาที่ศึกษาอย่างเช่น จิตวิทยา ประสาทวิทยา แพทยศาสตร์ สังคมวิทยา และแม้แต่วิทยาการ
คอมพิวเตอร์ ทฤษฎีจำนวนมากที่พยายามอธิบายแหล่งกำเนิด ประสาทชีววิทยา ประสบการณ์ และการ
ทำงานของอารมณ์ ได้แต่เพียงประคับประคองการวิจัยที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ อารมณ์ในลักษณะ
ต่าง ๆ คือความรู้สึกที่โดยทั่วไปมีองค์ประกอบทั้งสรีรวิทยาและการรับรู้ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
บทความข้างต้นมีการเชื่อมโยงเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์และ
การพัฒนาการทางอารมณ์เพื่อเพิ่มมาตรฐานสมรรถนะของคนทำงานให้เพิ่ม มากขึ้น จำเป็นจะต้องมีความ
เข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดและหลักการดำเนินงานขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับฐานสมรรถนะด้วย
5

2. การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร
ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก สังคมโลก ปัจจุบันมี
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากการปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การ แพร่กระจายของ
ความรู้และวิทยาการต่างๆแบบก้าวกระโดด วิทยาศาสตร์จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการสร้างองค์ความรู้
พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของ มนุษย์ รวมถึงการพัฒนาทรัพยากร
บุคคลทั้ง ในด้านความรู้ กระบวนการคิด และทักษะในการทำงาน ที่จะช่วยให้มนุษย์ไ ด้พัฒนาวิธีคิด ทั้ง
ความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดอย่างมี วิจารณญาณ ล้วนแล้วแต่เป็นทักษะการคิดขั้น
สูง มีทักษะที่สำคัญทั้งทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้าง
องค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบ เสาะหาความรู้ ความคิดที่ใช้ในการพิสูจน์และสำรวจ ตรวจสอบข้อเท็จจริง
โดยมีการใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และกระบวนการวิทยาศาสตร์มาช่วยในการ วางแผน ตรวจสอบ จนกระทั่ง
สามารถอธิบายด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (สถาบันส่ง เสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ,
2551) ซึ่งตรงกับ บดินทร์ ปัดถาวโร (2560) กล่าวว่า การคิด เชิงวิทยาศาสตร์ คือ ความสามารถในการทำ
ความเข้าใจเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆที่มีอยู่ใน ชีวิตประจำวัน โดยอาศัยความรู้และวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ การคิดเชิงวิทยาศาสตร์เป็นทักษะการคิด ที่ควรฝึกฝนในตัวบุคคลตั้งแต่ในวัยเด็ก บุคคลที่ มี
ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ จะสามารถคิดแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้นทั้งในชีวิตประจำวัน หรือในการทำงานได้อย่างมี
เหตุผล ดังนั้น การคิดเชิงวิทยาศาสตร์ คือ 2 กระบวนการคิดหรือสืบค้นหาคำตอบที่ยึดหลักการและเหตุผล
ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีหลักฐานเชิง ประจักษ์มาประกอบเหตุผล ที่เกิดจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เพื่อนำไปสู่คำตอบของ ปัญหา ดังที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(2553) ได้ระบุไว้ว่า ถ้าทุกคน
มีการคิดเชิง วิทยาศาสตร์และมีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์จะช่วยให้สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจ
ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้เรียนได้พัฒนาความคิด ทั้งการคิดวิเคราะห์การคิดสร้างสรรค์ การ คิดเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียน
เกิดทักษะในด้านต่างๆ วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วย ตนเองมากที่สุด ส่งเสริมให้ผู้เรียน
พัฒนาความคิดทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ คิดเชิงวิทยาศาสตร์ มีทักษะที่
สำคัญทั้งทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
ด้ ว ยกระบวนการสืบ เสาะหาความรู้ สามารถแก้ป ั ญ หาอย่ างเป็น ระบบ สามารถตั ด สิ นใจ โดยใช้ ข ้ อมูล
หลากหลายและ ประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันจะ
นำไปสู่ คุณลักษณะของผู้ มี ความคิ ด เชิงวิ ท ยาศาสตร์ ที่จะช่วยส่ง เสริ ม ให้ผ ู้ เรี ยนมี การคิด วิเ คราะห์ เ ชิ ง
วิทยาศาสตร์ได้ จึงมีความสำคัญเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการแสวงหาความคิดวิเคราะห์ที่เน้นกระบวนการคิด เชิง
วิทยาศาสตร์มานำเสนอและฝึกผู้เรียนให้มีการคิดเชิงวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งมีทักษะด้านต่างๆ
6

3. การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพในสาขาของตนเอง
การพยาบาลเป็นการปฏิบัติโดยตรงต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม นับได้ว่าเป็นบริการในระดับ
สถาบันของสังคม ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ มี
ความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติ มีจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นแนวทางในการประพฤติ แ ละ
ปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสังคมโดยส่วนรวม
1. พยาบาลพึงให้บริการพยาบาลด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัดใน
เรื่อง สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ คุณสมบัติเฉพาะกิจหรือสภาพปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย
2. พยาบาลพึงเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้ป่วย โดยรักษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยไว้เป็นความลับ
3. พยาบาลพึงให้การปกป้องคุ้มครองแก่ผู้ป่วย สัง คม ในกรณีที่มีการให้บริการสุขภาพอนามัยและความ
ปลอดภัย ถูกกระทำที่อาจเกิดจากความไม่รู้ ขาดศีลธรรม จริยธรรม หรือการกระทำที่ผิดกฎหมายจากบุคคล
หนึ่งบุคคลใด
4. พยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยแต่ละราย
5. พยาบาลพึงดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล
6. พยาบาลพึงตัดสินใจด้วยความรอบคอบถี่ถ้วนใช้ข้อมูลสมรรถนะและคุณสมบัติอื่น ๆ เป็นหลักในการขอคำ
ปรึกษาหารือ ยอมรับในหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงการมอบหมายกิจกรรมการปฏิบัติการพยาบาลให้ผู้อื่น
ปฏิบัติ
7. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนใจกิจกรรมการพัฒนาความรู้เชิงวิชาชีพ
8. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล
9. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดและดำรงไว้ซึ่งสถานะภาพของการทำงานที่จะนำไปสู่การปฏิบตั ิ
พยาบาลที่มีคุณภาพสูง
10. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการปกป้อง คุ้มครอง สังคม จากการเสนอข้อมูลที่ผิด และดำรงไว้ซึ่งความสามัคคี
ในวิชาชีพ
7

4. สังคมที่น่าอยู่ควรยึดหลักปฏิบัติในเรื่องใดบ้าง
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขการที่บุคคลจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทักษะ
การอยู่ร่วมกัน ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการอยู่ร่ว มกันในสัง คม ได้แก่ การควบคุมตนเอง การมีความ
รับผิดชอบ การมีวินัยในตนเอง การช่วยเหลือผู้อื่น การเสียสละต่อสังคม และการมุ่งมั่นพัฒนาสังคม การอยู่
ร่วมกันอย่างสันติสุขมีหลักปฏิบัติดังนี้
4.1 หลักการอยู่ร่วมกันอย่างมีขันติธรรมขันติธรรม
หมายถึง การอดทนอดกลั้น ความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่างในสังคมการเมืองจะมี 2 ระดับ คือ ระดับ
บุคคล ความอดทนในระดับนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า สมาชิกในสังคมทุกคนมีความเท่าเทียมกันในสิทธิ
และเสรีภาพในการดำเนินชีวิตที่ตนเห็นว่าดีที่สุดภายใต้กฎกติกาของสัง คม และระดับรัฐบาล ผู้ใช้อำนาจ
ปกครองรัฐจะต้องมีความเป็นกลาง มีความอดทนต่อความแตกต่างของกลุ่มคนภายใต้การปกครอง เพื่อจัดสรร
ผลประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างเสมอภาค หลักการอยู่ร่วมกันอย่างมีขันติธรรมประกอบด้วยหลักการอยู่ร่วมกันใน
สังคม มีดังนี้
1. มี ก ารรู ้ จ ั ก ตั ว เองและยอมรั บ ตั ว เอง คื อ มี ส ุ ข ภาพจิ ต ดี ทำให้ ส ามารถอยู ่ ร ่ ว มกั บ ผู ้ อ ื ่ น ได้ ดี
2. มี ก ารยอมรั บ และเข้า ใจตนเองและผู ้ อ ื่ น ควรทำความเข้ า ใจว่ า ไม่ มี บ ุ ค คลใดที ่ ส มบู รณ์ แ บบ
3. มีความจริงใจ จะช่วยให้สัมพันธภาพดำเนินไปได้ด้วยดี
4. มีความซื่อตรง คือ มีลักษณะตรงไปตรงมา
5. มีความร่วมมือ เป็นสิ่งที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
6. มีความรับผิดชอบ คือ มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน รวมทั้งแบ่งเบาความทุกข์ของผู้อื่น
7. มีความยืดหยุ่น คือ ยอมที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถในการประสานความสัมพันธ์กัน ดังนี้
1. มีเมตตากายกรรม ได้แก่ ให้เกียรติและเคารพกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
2. มีเมตตาวจีกรรม ได้แก่ การพูดจาติดต่อกันด้วยความเมตตา แจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน
3. มีสาธารณโภคี ได้แก่ การแบ่งปันผลประโยชน์โดยชอบธรรมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
4. มีศีลสามัญญตา ได้แก่ การประพฤติดีตามกฎเกณฑ์ และมีวินัยในตนเอง
5. มีทิฏฐิสามัญญตา ได้แก่ การปรับความเห็นให้เข้ากัน และมีสัมมาคารวะ
8

4.2 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพื่อแนะแนวทางการปฏิบัติตนใน
ทุกระดับ ความพอเพียง หมายถึง ความพอเพียง ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน
ตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน โดยต้องอาศัยความรู้ ความ
รอบคอบ และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
ขณะเดียวกันก็ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีคุณธรรม ความรอบรู้ และความพร้อมต่อการ
เปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณา 5 ส่วน คือ
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติตน โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของ
สังคมไทย มุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ เน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และพัฒนา
อย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม ความพอเพียงต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผ ล
และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
4. เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม
5. แนวทางปฏิ บั ต ิ/ ผลที่ ค าดว่ า จะได้ร ับ ได้ แ ก่ การพั ฒนาที่ ส มดุ ล และยั่ ง ยื น พร้ อ มรั บต่ อการ
เปลี่ยนแปลงในทุกด้าน
4.3 การเห็นคุณค่าในตนเอง
การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเราเป็นอย่างมาก การสร้างคุณค่า ใน
ตนเองสามารถทำได้โดยการตั้งเป้าหมายและพยายามทำให้สำเร็จ
4.4 การมองโลกในแง่ดี
หมายถึง การมองโลกในแง่ดีบนพื้นฐานของความเป็นจริง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าเสี่ยง
กล้าตัดสินใจ และมีความสุขมากกว่าคนที่มองคนในแง่ร้าย
4.5 การสร้างทักษะทางอารมณ์ ทักษะทางอารมณ์
หมายถึง ความสามารถลักษณะหนึ่งของบุคคลที่จะตระหนักถึงความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของตนและ
ผู้อื่น สามารถควบคุมอารมณ์และแรงกระตุ้นภายในได้อย่างเหมาะสมทักษะทางอารมณ์มีองค์ประกอบที่สำคัญ
5 ประการ ได้แก่ การตระหนักรู้ตนเอง การบริหารจัดการกับอารมณ์ตนเอง การจูงใจตนเอง การหยั่งรู้อารมณ์
ของผู้อื่น และการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
9

บรรณานุกรรม

การเจริญเติบโตและการพัฒนาการทางอารมณ์ (ออนไลน์).สืบค้นได้จาก :
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/child/
(วันสืบค้นข้อมูล : 12 กันยายน พ.ศ. 2566 )
การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ (ออนไลน์).สืบค้นได้จาก :
http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789/1616/1/63010281102.pdf
(วันสืบค้นข้อมูล : 12 กันยายน พ.ศ. 2566 )
สังคมที่น่าอยู่ควรยึดหลักปฏิบัติในเรื่องใด (ออนไลน์).สืบค้นได้จาก :
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31670
(วันสืบค้นข้อมูล : 12 กันยายน พ.ศ. 2566 )
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ออนไลน์).สืบค้นได้จาก :
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31670
(วันสืบค้นข้อมูล : 12 กันยายน พ.ศ. 2566 )

You might also like