You are on page 1of 6

อัตมโนทัศน์และการปรับปรุงตน

ทฤษฎีตัวตน โดยโรเจอร์
คาร์ล โรเจอร์ (Carl Rogers) เสนอทฤษฏีจากการศึกษาปัญหาพฤติกรรมของคนไข้จากคลินิกรักษา
คนไข้ และให้ความสนใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่เกิดจากสุขภาพ เน้นถึงเกียรติของบุคคล ทุกคนสามารถปรับปรุง
ชีวิตของตนเองเมื่อมีโอกาส มิใช่เป็นเหยื่อ จากประสบการณ์ในสมัยที่เป็นเด็ก หรือจากแรงขับของจิตใต้สานึก
แต่ละบุคคลจะรู้จักการสังเกตสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา โดยมีแนวทางเฉพาะของบุคคล

ทฤษฎีตัวตน (Self Theory) ประเด็นหลักที่สาคัญเกี่ยวกับตัวตน


ทฤษฏีของโรเจอร์กล่าวว่า “ตนเอง” (Self) คือการรวมกันของรูปแบบค่านิยม เจตคติการรับรู้และ
ความรู้สึก ซึ่งแต่ละบุคคลมีอยู่และเชื่อว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขาเอง ตนเอง หมายถึงฉันและตัวฉัน เป็น
ศูนย์กลางที่รวมประสบการณ์ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ภาพพจน์นี้เกิดจากการที่แต่ล ะบุคคลมีการเรียนรู้ตั้งแต่
วัยเริ่มแรกชีวิต ภาพพจน์นั่นเองสาหรับบุคคลที่มีการปรับตัวดีก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและมีการ
ปรับตัวตามประสบการณ์ที่แต่ละคนประสบ

มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบได้แก่ ศรีเรือน แก้วกังวาล (2544)


1. ตนที่ตนมองเห็น (Self-Concept)
2. ตนตามที่เป็นจริง (Real self)
3. ตนตามอุดมคติ (Ideal Self)

ตนที่ตนมองเห็น
คือ ภาพที่มองเห็นตนเองว่าเป็นคนอย่างไรมีความรู้ความสามารถเฉพาะตนอย่างไรมีความชอบ
อะไร เช่น เป็นคนเก็บตัว ชอบเที่ยว ไม่มั่นใจในตนเอง โดยทั่วไปคนจะรับรู้มองตนเองหลากหลายแง่มุมและ
อาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือตรงกับภาพที่คนอื่นเห็น เช่น คิดว่าตนเองเป็นคนขี้อายไม่กล้าพูดแต่ในความเป็น
จริงแล้วเป็นคนช่างพูด

ตนตามที่เป็นจริง
คือลักษณะตัวตนที่เป็นไปตามข้อเท็จจริงบ่อยครั้งที่บุคคล มองไม่เห็นข้อเท็จจริงของตนเพราะอาจ
นาไปสู่ความรู้สึกไม่สบายใจ เสียใจเศร้าใจ รู้สึกต่าต้อยไม่ทัดเทียมกับผู้อื่นหรือรู้สึกผิด เป็นต้น

ตนตามอุดมคติ
คือ ตนที่อยากมีอยากเป็นแต่ยังไม่มีไม่เป็นในภาวะปัจจุบัน เช่น อยากเป็นคนขยันแต่ปัจจุบันยังไม่
อยากทาอะไรผัดวันประกันพรุ่ง
ถ้าตนทีต่ นมองตรงกับความเป็นจริงมีความแตกต่างกันมากบุคคลนั้นจะเกิดความขัดแย้งและมี
แนวโน้มจะเป็นบุคคลที่ก่อปัญหาให้แก่ตัวเองและผู้อื่น ถ้ามีความแตกต่างอย่างรุนแรงมากอาจนาไปสู่อาการ
ทางโรคประสาทหรือโรคจิตได้ บุคคลที่มีความขัดแย้งระหว่างตนที่เป็นจริงกับตนที่มองเห็นอย่างรุนแรงจะ
นาไปสู่กลไกป้องกันทางจิต เกิดปมซึ่งจะทาให้เกิดปัญหาทางอารมณ์จิตใจและบุคลิกภาพ
ดังนั้นการยอมรับตัวตนที่แท้จริงให้สอดคล้องและตรงกับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือมองเห็นความแตกต่าง
ระหว่างตัวตนตามความเป็นจริงกับตัวตนที่ตนมองเห็นหรือตัวตนที่บุคคลอื่นรับรู้ได้น้อยลง บุคคลเกิดการ
ปรับตัวในการมองตนเองให้สอดคล้องกับความเป็นจริง จะส่งผลให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่มั่นคง สามารถสร้าง
มนุษยสัมพันธ์ ทาภารกิจหน้าที่ต่างๆได้ดี ไม่เกิดความวิตกกังวลภายในจิตใจ และไม่ใช้กลไกทางจิตเพื่อป้องกัน
ตนเอง บุคคลที่ปรับตัวได้จะมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่นาไปสู่ความมั่นคง
การมองเห็นตนเองตรงกับความเป็นจริงยังช่วยทาให้การมองตนในอุดมคติค่อนข้างเป็นไปได้ เกิด
ความมุ่งหวังมีเป้าหมายกระตือรือร้นและสามารถสมหวังตามที่ปรารถนาได้ นาไปสู่ความรู้สึกพอใจ ภูมิใจใน
ตนเอง ส่วนบุคคลที่สร้างภาพตัวตนในอุดมคติห่างไกลตนตามที่เป็นจริงมักจะประสบปัญหาผิดหวังในตนเอง
อยู่เรื่อยๆ ส่งผลให้มองตนเองไปในทางลบ มีเพื่อนน้อย คบหาบุคคลอื่นยาก และเกิดความสับสนขัดแย้งภายใน
ตนเองอยู่เสมอ
ทฤษฏีของโรเจอร์กล่าวว่า “ตนเอง” (Self) คือการรวมกันของรูปแบบค่านิยม เจตคติ การรับรู้และ
ความรู้สึก ซึง่ แต่ละบุคคลมีอยูแ่ ละเชือ่ ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขาเอง
ตนเอง หมายถึง ฉันและตัวฉัน เป็นศูนย์กลางที่รวมประสบการณ์ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ภาพพจน์นี้
เกิดจากการที่แต่ละบุคคลมีการเรียนรู้ตั้งแต่วัยเริ่มแรกชีวิต ภาพพจน์นั่นเองสาหรับบุคคลที่มีการปรับตัวดีก็จะ
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและมีการปรับตัวตามประสบการณ์ที่แต่ละคนประสบ

การปรับปรุงตนเอง
การปรับปรุงตนเองเป็นการปรับปรุงบุคลิกภาพโดยส่วนรวม เพื่อเป็นประโยชน์ในการสร้างมนุษย์
สัมพันธ์ นักจิตวิทยาให้ความสนใจอย่างมาก และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพ ดังนี้ 1) ศึกษา
และประเมิน ตนเอง 2) ยอมรั บ และตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง 3) มีแรงจูงใจในการ
ปรับปรุงตนเอง 4) วางแผนในการปรับปรุงตนเอง ( Newton and Hington, 1963 : 14 - 175) ดังนี้
1. ศึกษาและประเมินตนเอง การศึกษาและประเมินตนเอง ครอบครัว บุคลิกภาพทุกด้านรวมทั้ง
องค์ประกอบทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีส่วนเสริมสร้างบุคลิกภาพการศึกษาและประเมินตนเอง ทาให้รู้จักส่วน
ดีและส่วนบกพร่องของตนเอง ถ้าเป็นส่วนดีเด่นก็จะรักษาเอาไว้และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ส่วนบกพร่องนั้น
ถ้าสามารถแก้ไขได้ก็ควรได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น
การศึกษาและประเมินตนเองครอบคลุมสิ่งเหล่านี้ คือ รูปร่างหน้าตา สุขภาพ สติปัญญา ความรู้
ทั่ว ไป ความสามารถพิเ ศษ การแต่งกาย การพูดจา กิริยาท่าทาง นิสั ยใจคอ และบุคลิ กภาพด้านต่า ง ๆ
ตลอดจนฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
การศึกษาและประเมินตนเองจะทาให้รู้จักและเข้าใจตนเองในฐานะที่เราเป็นบุคคลที่แตกต่าง
จากผู้อื่น ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 เรื่องคือ ลักษณะที่ต้องศึกษาและประเมิน และวิธีการประเมิน
1.1 ลักษณะที่ต้องศึกษาและประเมิน มีดังนี้
1.1.1 รูปร่างหน้าตาและสุขภาพ ควรพิจารณาว่าเราเป็นคนมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร สูงหรือ
ต่า อ้วนหรือผอม เพื่อจะได้หาหนทางแก้ไขต่อไป และต้องหมั่นตรวจสอบสุขภาพทางร่างกายโดยทั่วไปอย่าง
สม่าเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อจะได้รู้ว่าสุขภาพของเราเป็นอย่างไร
1.1.2 สติปัญญา หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้และแก้ปัญหา เราสามารถตรวจสอบ
เพื่อให้รู้ว่าเราฉลาด หรือไม่ฉลาด แค่ไหน
1.1.3 ความรู้ทั่วไป เราควรพยายามสังเกตตัวเองว่าสามารถพูดคุยกับคนอื่นได้ทุกเรื่อง
หรือไม่ เรื่องอะไรที่ไม่รู้เลย เรื่องอะไรที่รู้ดีที่สุด สามารถพูดกับคนอาชีพต่างๆ ได้ดเี พียงใด
1.1.4 ความสามารถพิเศษ เป็นการสังเกตว่าตนเองนั้นมีความสามารถพิเศษด้านใด หรือทา
อะไรได้ดีเป็นพิเศษ
1.1.5 การแต่งกาย ควรสารวจตนเองอยู่เสมอว่าตนเองแต่งกายเป็นอย่างไร เช่น เหมาะกับ
รูปร่างหรือไม่ ทันสมัยหรือล้าสมัย เหมาะกับวัยหรือไม่ เสื้อผ้าเก่าเกินไป มีรอยฉีกขาดเพราะมัธยัสถ์เกินไป
หรือไม่ เป็นต้น
1.1.6 การพูดจา สังเกตการพูดจา ถ้อยคา น้าเสียงว่าสุภาพ เหมาะสม ไพเราะ ชัดถ้อยชัดคา
พูดยกย่องหรือดูถูกคนอื่น เป็นต้น
1.1.7 กิริยาท่าทาง ควรสังเกตและตรวจสอบว่า กิริยาท่าทางเหมาะสม สุภาพ นุ่มนวล หรือ
แข็งกระด้าง เช่น การไหว้แสดงความอ่อนน้อม รู้จักก้มตัวขณะผ่านผู้ใหญ่ นั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่ได้
1.1.8 นิสัยใจคอและบุคลิกภาพ เราควรใช้วิธีการต่าง ๆ ศึกษาให้ทราบว่า เรามีนิสัยใจคอและ
บุคลิกภาพอย่างไร เช่น เป็นคนเห็นแก่ตัวหรือเสียสละ ใจร้อนหรือใจเย็น เป็นคนเก็บตัวหรือแสดงตัว ขยัน
รับผิดชอบ เจ้าอารมณ์ หรือมีเหตุผล ขลาดกลัว เชื่อมั่นในตนเอง ก้าวร้าวหรือสุภาพอ่อนโยน
1.1.9 ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้บุคคลสร้างสัมพันธภาพได้ดี
หรือไม่ หากรู้จักฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของเรา ทาให้เราสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
การศึกษาตนเองดังกล่าวทาให้เรามองเห็นความดีงาม และความบกพร่องของตัวเรา ทาให้
ยอมรับและแก้ไขปรับปรุงตนเองได้
1.2 วิธีการที่ใช้ในการศึกษาและประเมินตนเองมีดังนี้
1.2.1 สังเกตตนเอง โดยการส่องกระจกดูรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย กิริยาท่าทาง ตลอดจน
การแสดงสีหน้าและแววตา
1.2.2 ให้ผู้อื่นวิจารณ์หรือบอกจุดบอดที่เรามองไม่เห็น เช่น เวลาพูดยักคิ้วไปด้วย ฯ
1.2.3 ใช้แบบประเมินตนเอง หรือ แบบประเมินอื่นๆ เช่น แบบสอบถาม แบบวัดทางจิตวิทยา
(แบบสารวจร่างกายและสุขภาพ ความเชื่อมั่นในตนเอง บุคลิกภาพเก็บตัว-แสดงตัว แบบวัดอัตมโนทัศน์ แบบ
วัดใช้อานาจเหนือผู้อื่น-ยอมตาม มนุษยสัมพันธ์ การแต่งกายกิริยาท่าทาง การพูดจา ความรับผิดชอบ)
2. ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง ผลการประเมินตนเองจากแบบประเมิน
ทั้งหมดจะบ่งชี้ได้ว่าเรามีจุดบกพร่องด้านใดบ้าง เมื่อมีข้อมูลระบุชัดเจนนั้นเราจะต้องยอมรับว่าเราบกพร่อง
จริงๆ นอกจากนี้ต้องตระหนักถึงความสาคัญของบุคลิกภาพว่า “บุคลิกภาพเป็นเครื่องมือที่นาไปสู่การยอมรับ
นับถือ และศรัทธาอันนาไปสู่ความสัมพันธ์อันดี และความสาเร็จ” พร้อมกันนี้ก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า
ที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงตนเอง โดยการศึกษาหาวิธีการที่ดีที่สุด เช่น ปรึกษาแพทย์ ผู้รู้ อ่านหนังสือ บทความ
หรือเข้ารับการอบรมพัฒนาการบุคลิกภาพตามความเหมาะสม
3. มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง การพัฒนาตนเองไม่ใช่สิ่งที่ง่ายเพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ
อุดมคติ เกี่ยวข้องกับการทาลายนิสัยเดิมที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน และสร้างนิสัยใหม่ บุคคลจึงต้องมีแรงจูงใจใน
การปรับปรุงตนเองเป็นอย่างยิ่ง แรงจูงใจในการปรับปรุงตนเองเป็นความต้องการส่วนบุคคล ซึ่งมีดังนี้
3.1 ความต้องการที่จะให้บุคลิกภาพเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงกันข้าม แรงจูงใจเช่นนี้เป็น
แรงจูงใจที่ทาให้เราต้องการปรับปรุงตนเองในระดับสูง
3.2 ความต้องการเป็นที่ชื่นชมของสังคม คือ ต้องการให้เป็นที่รักชื่นชมและเป็นที่ยอมรับของ
คนในสังคม
3.3 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพและสังคม เพราะความต้องการความมั่นคง
ปลอดภัยในอาชีพและสังคม บุคคลจึงต้องปรับปรุงตนเองในเรื่องของ การแต่งกาย กิริยามารยาท ความขยัน
ความรับผิดชอบในการทางาน การปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงาน เพื่อป้องกันมิให้ถูกไล่ออกจากงาน
3.4 ความต้องการอานาจ การพัฒนาบุคลิกภาพก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้ตนเองมีอานาจขึ้นได้
นั่นคือทาให้มีสง่าราศี น่าเชื่อถือ และน่ายาเกรง
4. วางแผนในการปรับปรุงตนเอง การวางแผนในการปรับปรุงตนเอง คือการตั้งเป้าหมายก่อนว่า
จะปรับปรุงอะไร อย่างไร โดยมีหลักสาคัญในการปรับปรุงบุคลิกภาพ ดังนี้ 1) ปรับปรุงลักษณะที่บกพร่องที
ละลักษณะ 2) ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ 3) วางแผนในการปรับปรุงตนเอง
การปรับปรุงบุคลิกภาพแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงบุคลิกภาพภายนอก และการ
ปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน

การปรับปรุงบุคลิกภาพภายนอก
บุคลิกภาพภายนอกที่ควรปรับปรุง ได้แก่ รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย กิริยาท่าทาง การแสดงสี
หน้าและแววตา การพูดจา ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. การปรับปรุงรูปร่างหน้าตา มิได้หมายถึงความสวยงาม ความหล่อ แต่หมายถึงการปรับปรุง
รูปร่างหน้าตาให้ดูสะอาด ประณีต ดูดี คือ รักษาหน้าตาให้สะอาด รักษาช่องปาก ฟัน จมูก ตา หู เล็บมือ เล็บ
เท้าให้สะอาด ปราศจากกลิ่นอันน่ารังเกียจหรือความสกปรกต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์ทาความสะอาด เครื่องสาอาง
รวมถึงการปรับปรุงรูปร่างที่ยังไม่เหมาะสม เช่น อ้วน เตี้ย เกินไป ซึ่งอาจใช้ศิลปะของการแต่งกายที่เหมาะสม
2. การรักษาสุขภาพ บุคคลต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ เพราะสุขภาพที่ไม่ดีหรือเจ็บป่วย
บ่อย ๆ จะทาให้มีอารมณ์หงุดหงิด เป็นผลให้การติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ราบรื่น การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
สมบูรณ์ สามารถทาได้โดยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่า สะอาด ถูกอนามัย ออกกาลังกายสม่าเสมอ
พักผ่อนพอเพียง หลีกเลี่ยงมลพิษในสิ่งแวดล้อม และอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
3. การปรับปรุงการแต่งกาย การปรับปรุงการแต่งกายในที่นี้มิได้หมายถึงการใช้เสื้อผ้าที่มีราคา
แพง แต่หมายถึงการแต่งกายสะอาด เรียบร้อย เหมาะสม และสวยงามสดใส เสื้อผ้าที่สะอาด เรียบร้อย
เหมาะสมและสวยงามย่อมเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์
4. การปรับปรุงกิริยาท่าทาง การแสดงออกทางสีหน้าและแววตา การปรับปรุงกริยาท่าทาง สี
หน้าและแววตาโดยส่องกระจก ในสังคมไทยการแสดงกิริยาท่าทางเป็นสิ่งสาคัญ เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะ
ยกย่องผู้มีอาวุโส ผู้อาวุโสน้อยควรมีกิริยาที่สุภาพอ่อนน้อมต่อผู้อาวุโส และสุภาพต่อคนทั่ว ๆ ไป ฉะนั้นบุคคล
ควรได้รับปรับปรุงกิริยาท่าทางให้สุภาพอ่อนโยน เหมาะกับกาละเทศะและตัวบุคคล เช่น การทักทายแสดง
ความเคารพด้วยการไหว้ เดินก้มตัวเมื่อผ่านผู้อื่น ไม่นั่งไขว่ห้างต่อหน้าผู้ใหญ่ ไม่มองคนอื่นด้วยหางตา ฯ
5. การปรับปรุงการพูดจา การพูดจาเป็นสิ่งสาคัญที่สุดในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เพราะการ
พูดจาเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติที่มีต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม การพูด
ที่ไม่เหมาะสม หยาบกระด้าง ยอมทาลายมนุษยสัมพันธ์โดยสิ้นเชิง มีสุภาษิตคากลอนมากมายที่แสดงให้เห็นว่า
การพูดจาเป็นสิ่งสาคัญ เช่น “ปากเป็นเอก เลขเป็นโท” หรือ “อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลม
ปากหวานหูมิรู้หาย” เป็นต้น การพูดจาไพเราะอ่อนหวานย่อมเป็นที่รักชื่นชมของผู้อื่น การมีวาจาไพเราะ
อ่อนหวานขึ้นอยู่กับถ้อยคา น้าเสียง แววตา รวมทั้งกิริยาท่าทางด้วย ดังนั้นจึงควรปรับปรุงการพูดจา ดังนี้
5.1 พูดจาด้วยถ้อยคาสุภาพ เหมาะกับกาละเทศะ และบุคคล ใช้คาแทนตนเองและผู้อื่นให้
เหมาะสมกับตาแหน่งและฐานะของบุคคล การพูดจาเหมาะกับบุคคลย่อมเป็นเสน่ห์แก่ตนเองเป็นอย่างยิ่ง
5.2 น้าเสียงนุ่มนวล การใช้คาพูดที่สุภาพอย่างเดียวไม่เพียงพอ ควรมีน้าเสียงที่นุ่มนวล อ่อนโยน
ไม่มีน้าเสียงประชดประชัน หรือเยาะเย้ยถากถาง และไม่ควรตอบด้วยการย้อนถาม
5.3 ฝึกการใช้คาถามให้เหมาะสม การถามเป็นการสื่อความหมายว่ายังไม่เข้าใจ สงสัย ต้องการ
คาตอบที่ชัดเจน การถามที่เหมาะสมย่อมทาให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี
5.4 พูดความจริงและพูดในสิ่งที่มีประโยชน์ ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลเพราะจะก่อให้เกิดความขุ่น
ข้องหมองใจกันในภายหลัง
5.5 พูดในสิ่งที่ผู้อื่นชอบ พอใจและสนใจ ไม่ควรพูดในสิ่งที่ตัวเราสนใจ การพูดในสิ่งที่ผู้อื่นชอบ
นั้นเราจะต้องศึกษาและสังเกตว่าคู่สนทนาของเราชอบและสนใจเรื่องอะไร เช่น ต้องรู้ว่าคนฟังเป็นใคร ควร
พูดคุยกับคนที่เป็นครู คุยกับพ่อค้าแม่ค้าด้วยเรื่องอะไร คุยกับเพื่อน รุ่นพี่ น้องๆ เด็กๆ ด้วยเรื่องอะไร
5.6 เลือกส่วนดีเด่นของคู่สนทนามาพูด เพื่อให้เขาเกิดความภาคภูมิใจแต่ละเลยในสิ่งที่เป็นปม
ด้อยของเขา เช่น เพื่อนหญิงของเราเป็นคนผิวดา จมูกแบน ปากหนา ยกเว้นนัยน์ตาที่กลมโตสดใส เราต้องชม
นัยน์ตาของเขา
5.7 พูดจาชัดเจน ใช้ภาษาถูกต้อง สื่อความหมายให้ตรงกับที่ต้องการ เช่น ต้องการให้พนักงาน
หยิบแฟ้มเอกสาร ควรบอกให้ชัดเจนว่า แฟ้มสีอะไร ปกแฟ้มเขียนว่าอย่างไร วางอยู่ตรงไหน วางในลักษณะใด
อยู่ในลิ้นชักที่เท่าใดซ้ายหรือขวาของตู้ใด
5.8 ไม่พูดดูถูกผู้อื่น แต่รู้จักพูดจายกย่องชมเชย และให้เกียรติผู้อื่นรู้จักกล่าวคาสวัสดี ขอบคุณ
ขอโทษให้เหมาะสมกับโอกาส
5.9 ไม่ควรหัวเราะเยาะเมื่อผู้อื่นทาผิดพลาด
5.10 พูดอย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ในการพูด
5.11 รู้จักวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ คือ การชมก่อน และอธิบายพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ไม่มีการ
ประเมินการกระทาว่าดีหรือเลว ในชีวิตจริงไม่มีใครที่จะไม่ทาผิด แต่บุคคลที่ทาผิดก็ไม่ชอบให้ใครมาตาหนิหรือ
วิจารณ์ ดังนั้นเพื่อมิให้เสียสัมพันธภาพ จึงควรรู้จักวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์
5.12 ศิลปะในการพูด การพูดจาเพื่อให้เกิดสัมพันธภาพนั้นเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง แม้ว่าบุคคลนั้นจะมี
ความรู้ดี มีความฉลาดก็ตาม บางครั้งการพูดจาซึ่งรวมถึงการสนทนามีจุดอ่อน ( วิจิตร อาวะกุล, 2527 : 78)
ดังนี้ 1) ไม่สะดวกใจในการเริ่มต้นพูดก่อน 2) ชอบพูดในสิ่งที่คนไม่พอใจ 3) พูดมากเกินไป 4) พูดเรื่อง
ตนเองมากเกินไป 5) คุยโม้โอ้อวด 6) ชอบพูดขัดแย้ง 7) ปฏิเสธไปเสียทุกเรื่อง 8) พูดเพื่อผลประโยชน์
ของตน 9) พูดจาไม่สุภาพ ก้าวร้าว 10) พูดนินทา
5.13 ฝึกการฟัง โดยปกติคนมักจะรู้สึกว่ามีปัญหาในการพูด แต่ไม่รู้สึกว่ามีปัญหาในการฟัง
พยายามพูด เพราะทุกคนมองข้ามความสาคัญของการฟัง อันที่จริงการฟังมีความสาคัญในการสร้าง
มนุษยสัมพันธ์เป็นอย่างยิ่งเพราะการฟังผู้อื่นจะทาให้ผู้อื่นรู้สึกว่ามีคนสนใจ รู้สึกว่าตนเป็นคนสาคัญ มีค่า
และมีความหมายเกิดความสบายใจ และสามารถทาตนตามที่ต้องการได้

การปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน
การปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน ได้แก่ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และนิสัยใจคอที่สังเกตเห็นได้ยาก
การแก้ไขปรับปรุงจึงต้องทาทีละขั้นตอน ทีละเรื่อง การปรับปรุงพฤติกรรมภายในนั้นจะต้องปรับปรุง
พฤติกรรมภายนอกที่อนุมานพฤติกรรมภายในได้ การปรับปรุงบุคลิกภาพภายในมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. ฝึกให้รักตนเองตามสภาพที่เป็นอยู่
2. ฝึกเอาชนะตนเอง
3. ฝึกความอดทนอดกลั้น และเข้าใจผู้อื่น
4. ฝึกการจัดการกับความโกรธ และความเกลียด
5. ฝึกให้เป็นคนอารมณ์ดีและเบิกบาน
6. ฝึกให้เป็นผู้มีใจสงบ
7. ฝึกการเปลี่ยนแปลงตนเองดีกว่าเปลี่ยนแปลงผู้อื่น
8. ฝึกการตั้งเป้าหมายในชีวิต
9. ฝึกการคิดอย่างมีเหตุผล
10. ฝึกเป็นคนตรงต่อเวลา
11. ฝึกให้เป็นคนคล่องแคล่วว่องไว
12. ฝึกให้มีความมั่นใจในตนเอง
13. ฝึกมิให้เป็นคนแสดงตัวมากเกินไป
14. ฝึกมิให้เป็นคนเก็บตัวมากเกินไป
15. ฝึกเป็นคนที่ใช้อานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง
16. ฝึกการให้ในสิ่งที่ผู้อื่นต้องการ
17. ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
18. ฝึกการให้อภัยผู้อื่น
19. ฝึกการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น

………………………………………………………………………………………………………………………..

You might also like