You are on page 1of 5

1.

จงบอกความหมายของมนุษยสัมพันธ์
ตอบ โดยความหมายของมนุษยสัมพันธ์มีความหมายที่หลากหลายจากอดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งจะยกตัวอย่างมา 5
ความหมาย
มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relationships ) เป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นหมู่เป็นคณะ หรือกลุ่มโดยมี
การติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม เพื่อให้ทราบความต้องการของแต่ละบุคคล หรือกลุ่มรวมไป
ถึง วิธีการจูงใจ และประสานความต้องการ ของบุคคล และกลุ่มให้ผสมผสานกลมกลืนกันตามระบบที่สังคม
ต้องการ
อ้างอิงจาก : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2538 : 628 )
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจของบุคคลอย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ โดยมีความพอใจ
ในทางเศรษฐกิจ และสังคม มนุษย์สัมพันธ์ จึงเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ เพื่อใช้ใน การเสริมสร้างความสัมพันธ์
อันดี กับบุคคล การยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ และการให้ความจงรักภักดี ในการติดต่อสัมพันธ์กัน
ระหว่างบุคคล ต่อบุคคล ตลอดจนองค์กรต่อองค์กร
อ้างอิงจาก : David, Keith.1977
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการของศาสตร์ที่ใช้ศิลปะสร้างความพอใจ รักใคร่ ศรัทธา เคารพนับถือ โดย
แสดงพฤติกรรม ให้เหมาะสมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อโน้มนาให้มีความรู้สึกใกล้ชิดเป็นกันเอง จูงใจให้
ร่วมมือร่วมใจ ในอันที่จะบรรลุสิ่งซึ่ง พึงประสงค์อย่างราบรื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจ ให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ ที่เป็นอยู่ให้เกิดความพึงพอใจใน
งาน และความสามารถ ทางาน ให้ประสบผลสาเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ศาสตร์ และศิลป์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคคล เพื่อต้องการให้
ได้มาซึ่ง ความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน ความรักใคร่นับถือ และความจงรักภักดี
2.จงอธิบายความหมายของพฤติกรรม
ตอบ พฤติกรรม หมายถึง กิริยาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หรือที่มนุษย์ได้แสดง หรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับ
มนุษย์เมื่อได้เผชิญกับสิ่งเร้า พฤติกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว อาจจะจาแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. พฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้เรียกว่า เป็นปฏิกิริยาสะท้อน เช่น การสะดุ้งเมื่อถูกเข็มแทง การกระพริบ
ตา เมื่อมีสิ่งมากระทบกับสายตา ฯลฯ
2. พฤติกรรมที่สามารถควบคุมและจัดระเบียบได้ เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญา และอารมณ์ (EMOTION) เมื่อ
มีสิ่งเร้ามากระทบ สติปัญญาหรือารมณ์ จะเป็นตัวตัดสินว่า ควรจะปล่อยกิริยาใดออกไป
3.จงอธิบายลักษณะบุคลิกภาพของ U N และ O personality
ตอบ 1.U personality บุคลิกภาพเงียบขรึม = Under expression แสดงออกน้อยกว่าบุคคลทั่วไป เช่น พูด
น้อย ชอบเงียบไม่ถนัดด้านการแสดงออก
2.N personality บุคลิกภาพของบุคคลทั่วไปที่พบเห็น = Normal expression แสดงออกเหมือนบุคคล
ทั่วไป
3.O personality บุคลิกภาพที่ชอบแสดงออกมากกว่าอยู่นิ่ง = Over expression ชอบแสดงออกมากกว่า
บุคคลธรรมดาทั้งกิริยา ท่าทางและคาพูด เช่น พูดเก่งคล่องแคล่ว ชอบการแสดงออก อยู่ไม่นิ่งตรงข้ามกับ U
personality
4. จงอธิบายถึงการพัฒนาตนเอง
ตอบ การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยได้มีการกาหนดแนวทางการพัฒนาไว้แล้ว ซึ่งการพัฒนานั้นมิได้
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านปริมาณที่สามารถจับต้อง วัดได้ เท่านั้น แต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในด้าน
คุณภาพด้วยโดยการพัฒนานั้นขึ้นอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งอาจจะปฏิบัติอย่างสม่าเสมอหรือทาบาง
ช่วงเวลาขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นๆด้วยซึ่งต้องปราศจากการถูกโดนบังคับโดยต้องเกิดจากการกระทาที่สมัครใจและ
เต็มใจหลังจากการปฏิบัติแล้วการพัฒนาจึงจะเกิดการเปลื่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นและมีคุณภาพอย่างมี
ประสิทธิผล
หลักและแนวทางการในการพัฒนาตนเอง

1.พัฒนาทางด้านจิตใจ เป็นการพัฒนาสภาพของจิตใจให้มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองสิ่งแวดล้อม มองโลกในแง่ดี


อย่างสร้างสรรค์

2.การพัฒนาด้านสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ เป็นการฝึกทักษะใหม่เพื่อเรียนรู้วิถีทางการ
ดาเนินชีวิต

3.การพัฒนาด้านสังคม เป็นการพัฒนาปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม

4.การพัฒนาความรู้ความสามารถที่มีอยู่ในตนเองให้มีมากยิ่งขึ้น

โดยจะยกตัวอย่างการพัฒนาตนเองในด้านของอาชีพมาหนึ่งตัวอย่าง
คุณสมบัติของการพัฒนาตนเองในด้านของอาชีพ

1. มีความกระตือรือร้น เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติพร้อมต่อความเปลี่ยนแปลง แสวงหาความรู้ใหม่ๆ ถ้ามีข่าวสาร


ใหม่ๆ ต้องรู้ ต้องทาความเข้าใจ ต้องวิเคราะ ต้องวิเคราะข่าวสารนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
2. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
3. ต้องพัฒนาทางร่างกาย
4. เห็นส่วนดีของบุคคลอื่นมากกว่าข้อบกพร่อง
5. ต้องพัฒนาทางสังคม
6.ต้องพัมนาทางเชาวน์ปัญญา
วิธีการพัฒนาตนเองในด้านอาชีพ
1. การฝึกตนเอง หมายถึง การฝึกตนเองให้กระทาความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งถือว่าเป็นผู้พัฒนาตนเอง
ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเอง
2. ฝึกสารวจตนเอง หมายถึง การรับรู้สภาพการดารงชีวิต ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ว่าอยู่ในสภาวะที่กาลังเผชิญ
ปัญหาอยู่หรือไม่ เช่น มีความลาบากกาย ลาบากใจ มีความสับสนวุ่นวายใจ หรือภาวะเครียด หรือความจาเป็น
ด้านใดบ้าง การพิจารณาสภาพปัญหา หรือความต้องการของตน มีประโยชน์ต่อการกาหนดลักษณะปัญหา
หรือพฤติกรรมเป้าหมายในการพัฒนาตนต่อไป การรับรู้สภาวะแห่งตนในด้านต่างๆ จาเป็นต้องมีความถูกต้อง
ชัดเจน ซึ่งได้จากการประเมินตนเองด้านต่างๆ
3. การแสวงหาความรู้ หมายถึง ความปรารถนาที่จะพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของตนให้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้
มนุษย์จึงพยายามเสาะแสวงหาความรู้ความจริงต่าง ๆ อยู่เสมอ เมื่อพบเห็นสิ่งใดหรือเกิดความสงสัยขึ้นมาก็
พยายามศึกษาหาความรู้ความจริงในสิ่งนั้น วิธีหาความรู้ความจริงมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน อาจแบ่งตามยุคสมัย

5.แนวคิดหลักของการวิเคราะห์การติดต่อสื่อสารประกอบด้วยอะไรบ้าง
โครงสร้างของบุคลิกภาพโดยในตัวบุคลิกหนึ่งจะมี 3 ส่วนคือ
1.ส่วนที่มีลักษณะคล้ายพ่อแม่ : เป็นส่วนพฤติกรรมที่ไม่ใช้เหตุผลแต่จะเป็นพฤติกรรมต่างๆที่พ่อแม่สั่งสอนใน
อดีตและจะปรากฏในพฤติกรรมของเรา
1.1 ลักษณะแบบพ่อแม่ดุ : โดยจะแสดงลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ ชอบตาหนิ ขี้จุกจิก วางอานาจโดย
ลักษณะแบบนี้เป็นบุคลิกที่ไม่ดี-ไร้คา่
1.2 ลักษณะแบบพ่อแม่ใจดีเอื้อเฟื้อ : โดยจะแสดงลักษณะที่คอยดูแล ปกป้อง ช่วยเหลือซึ่งทาให้
เกิดความสบายทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
2.ส่วนที่เป็นผู้ใหญ่ : เป็นบุคลิกภาพของบุคคลที่ทางานโดยใช้หลักแห่งเหตุผลโดยไม่คานึงถึงความรู้สึกและ
อารมณ์มาเกี่ยวข้อง
3.ส่วนที่เป็นเด็ก : เป็นลักษณะที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงที่ตนมีอยู่ไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ
3.1 ลักษณะที่เป็นเด็กตามธรรมชาติ : เป็นบุคลิกที่ไม่ได้ขัดเกลาเป็นส่วนที่แสดงออกถึงอารมณ์และ
ความต้องการที่แท้จริงของตนเองมาอย่างโจ่งแจ้ง
3.2 ลักษณะที่เป็นเด็กได้รับการขัดเกลา : เป็นบุคลิกที่พัฒนาขึ้น เพราะเด็กมีสัมพันธภาพกับพ่อแม่
หรือผู้เลี้ยงดู ได้รับการสั่งสอนและเลี้ยงดูซึ่งทาให้มีบุคลิกภาพของการเชื่อฟัง ยอมทาตามพึ่งพาผู้อื่น
3.3 ลักษณะที่เป็นเด็กมีความคิด : แสดงออกถึงบางส่วนที่เป็นผู้ใหญ่ รู้จักใช้ความคิด เหตุผล ในการ
พิจารณาสิ่งต่างๆ ซึ่งแสดงออกถึงความฉลาดและเป็นส่วนในการริเริ่มคิดสร้างสรรค์
รูปแบบการสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยมีอยู่ 3 รูปแบบ
1.การสื่อสารที่ไม่ขัดแย้งกัน / พูดตามกัน : เป็นการสื่อสารสัมพันธ์ที่มีลักษณะถ้อยทีอาศัยกันโดยผู้สื่อสาร
คาดหวังรับการตอบสนองบุคคลที่สื่อสารอย่างไรก็จะได้รับการตอบสนองตามความคาดหมายที่ไม่ขัดแย้งกัน
2.การสื่อสารสัมพันธ์ที่ขัดแย้งกัน / พูดขัดกัน : ลักษณะนี้จะเกิดความสัมพันธ์ด้านลบซึ่งเกิดความขัดแย้งกัน
มักทาให้การสื่อสารหยุดชงักไม่สามารถดาเนินต่อไปได้
3.การสื่อสารสัมพันธ์ที่มีนัยเคลือบแฝง / ไม่จริงใจ : เป็นการสื่อสารที่ผู้สื่อสารใช้วางจาหรือพฤติกรรมที่
สังเกตเห็นได้อย่างหนึ่งแต่ความต้องการที่แท้จริงแอบแฝงไว้เนื่องจากผู้สื่อสารที่แสดงออกเป็นสิ่งที่สังคม
ยอมรับเปิดเผยได้ส่วนที่ต้องการที่แท้จริงเปิดเผยโดยตรงไม่ได้แต่เป็นความต้องการที่เขาต้องการอยู่ในใจ
6.องค์ประกอบของการสื่อสารประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ องค์ประกอบของการสื่อสาร สาหรับองค์ประกอบของการสื่อสารโดยทั่วไปมี 4 ประการ คือ
1. ผู้ส่งสาร(Sender) คือ ผู้เริ่มต้นการสื่อสาร (เริ่มต้นสร้างและส่งสารไปยังผู้อื่น) ในการสื่อสารครั้งหนึ่ง ๆ
นั้น ผู้ส่งสารจะทาหน้าที่เข้ารหัส (Encoding) อันเป็นการแปรสารให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์คิดสร้าง
ขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษา (ภาษาพูด,ภาษาเขียนหรือวัจนภาษา) และอากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ (อวัจ
นภาษา)
2. สาร (Message) คือ เรื่องราวอันมีความหมายและแสดงออกมาโดยอาศัยภาษา หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ก็
ตามที่สามารถทาให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ สาร จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารเกิดความคิดขึ้น และต้องการจะ
ส่งหรือถ่ายทอดความคิดนั้นไปสู่การรับรู้ของผู้อื่น (ผู้รับสาร) การส่งสารนั้น ก็โดยการที่ผู้ส่งสารแสดง
พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเพื่อแทนความคิดที่เกิดขึ้น พฤติกรรมที่ว่านี้ก็เช่น การพูด การ
เขียน การวาดการแสดงอาการหรือกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ และพฤติกรรมในการแสดงออกซึ่งความคิดนี้ไม่
ว่าจะด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับทักษะของผู้กระทาทั้งสิ้น
3. ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ (Channel) ช่องทางการสื่อสาร หรือ สื่อ ในการสื่อสารใด ๆ ก็ตาม ผู้ส่งสาร
ย่อมต้องอาศัยช่องทางหรือสื่อให้ทาหน้าที่นาสารไปยังผู้รับสาร โดยทั่วไปแล้วสารที่ถูกผู้ส่งสารถ่ายทอดไปยัง
ผู้รับสารจะเข้าไปสู่ระบบการรับรู้ของมนุษย์โดยผ่านประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่ง หรือหลายทาง ได้แก่
ทางการเห็น โดยประสาทตา ทางการได้ยิน โดยประสาทหูทางการได้กลิ่น โดยประสาทจมูก ทางการสัมผัส
โดยประสาทกาย และทางการลิ้มรสโดยประสาทลิ้น
4. ผู้รับสาร (Receiver) การรู้ความหมายตามเรื่องราวที่ผู้ส่งสาร ส่งผ่านสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงตนซึ่งจะ
เป็นผู้ตีความหมายจองสื่อที่ผู้ส่งสารได้ส่งสารมาให้แก่ผู้รับสารโดยความรู้ไม่รู้ขึ้นกับความตีความของผู้รับสารที่
ผู้ส่งสารได้ส่งต่อมาทางสื่อ

You might also like