You are on page 1of 7

lls

สังคมศึกษา ป.6

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนามีหลักใหญ่ที่สำคัญ คือ เว้นทำความชั่ว หมั่นทำความดี และมีจิตใจที่


บริสุทธิ์ ดีงาม ซึ่งคนไทยมีสถาบันหลักที่ถือว่าสูงสุดเหนือสถาบันอื่นใด คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่ง
บรรพบุรุษของเราได้รวบรวมและสร้างขึ้นมาจนมีความเป็นปึกแผ่ นมั่นคงมาช้านานแล้ว เราจึงต้องมีความกตัญญูกร
เวทีต่อสถาบันหลักทั้งสาม
ในปัจจุบัน โลกมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็มีปัญหาต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก
มากมาย บางปัญหามีความรุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายมาก ทั้งในส่วนตน และส่วนรวม ปัญหาอบายมุขและสิ่ง
เสพติดเป็นปัญหาใหญ่ที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากผู้ใดหลงผิดไปสู่อบายมุข และสิ่งเสพติดแล้วจะเกิดโทษที่
เป้นอันตรายต่อตนเอง ครอบครัว ประเทศชาติ ดังนั้นการเรียนรู้หลักธรรมนำไปปฏิบัติจริง จะช่วยให้มีสติรู้ผิดชอบชั่วดี
และรู้แนวทางในการปฏิบัติตนให้เว้นจากความชั่ว ตั้งใจทำความดี และฝึกจิตใจให้เข้มแข็งในทางที่ดีงาม ซึ่งหลักธรรม
ต่าง ๆ ที่เสนอไว้เป็นแนวทางนี้จะบังเกิดผลเราต้องรู้คิด รู้ทำ และนำไปปฏิบัติจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้และมีการ
กระทำที่ถูกต้อง ดีงาม มีผลดีต่อประเทศชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

7.1 ความกตัญญูกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์
การปกครองของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป้นพระประมุข เป็นมิ่งขวัญของประชาชน และประเทศชาติ ทรงใช้
อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทย โดยบทบัญญัติแห่งธรัฐรรมนูญ
สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นหลักชัยของบ้านเมือง เป็นศูนย์รวมพลังของคนไทยทั้งชาติ พระบารมีขององค์
พระมหากษัตริย์สูงส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
ทรงใกล้ชิด ดูแลทุกข์สุข และช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนมาโดยตลอด นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ
อย่างล้นพ้น ต่อพสกนิกร พระองค์ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นหลักการปกครองของพระมหากษัตริย์ที่ทรงครอง
แผ่นดินโดยธรรม และเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนให้มีความชื่นชมยินดีอย่างหาที่สุดมิได้
ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน 10 ประการ คือ
1) ทาน การให้ทรัพย์สิน สิ่งของ คือ ช่วยเหลือประชาราษฎร์ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
2) ศีล ความประพฤติดีงาม คือ สำรมกาย และวาจาให้ควรเป็นตั วอย่ าง และเป็นที่เคารพนับถื อ ของ
ประชาราษฎร์
3) บริจาคะ การบริจาค คือ เสียสละความสุขสำราญตลอดจนชีวิตของตน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
4) อาชวะ ความซื่อตรง คือความซื่อตรงทรงสัตย์ ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจ
5) มัทวะ ความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัยสุภาพนุ่มนวลละมุนละไม มีความสง่างามเกิดแต่ในท่วงที
6) ตบะ ความทรงเดช คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครอบงำจิตใจ ไม่หลงใหลหมกมุ่นในความสุข
สำราญ มุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรทำกิจให้สมบูรณ์
lls
สังคมศึกษา ป.6

7 อักโกธะ ความไม่โกรธ คือ ไม่ลุอำนาจความโกรธ มีเ มตตาประจำใจ ระงับความขุ่นเคือง วินิจฉยความ


และกระทำการด้วยจิตอันราบรื่น เป็นตัวของตัวเอง
8) อหิงสา ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่บีบคั้น กดขี่ ไม่หลงระเริงอำนาจ
9) ขันติ ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบากกาย เหนื่อยหน่าย ก็ไม่ท้อถอย มียอมละทิ้ง
กรณียกิจที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม
10) อวิธโรธนะ ความไม่คลาดธรรม คือ วางอง๕เป็นแหลักแน่นในธรรมอย่างคงที่ ไม่มีความเอนเอียง สติต
มั่นในธรรม ทั้งในส่วนยุติธรรม คือความเที่ยงธรรม และนิติธรรม คือระเบียบแบบแผน หลักการปกครองตลอดจน
ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
จากทศพิ ธ ราชธรรมทั้ ง 10 ประการนี ้ พระมหากษั ตริย ์ ทุ กพระองค์ ได้ ทรงปฏิ บัติ ตลอดมา โดยเฉพาะ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ทรงปฏิบัติได้ด้วยดีอย่างสมบูรณ์ จนเป็นที่ประจักษ์ แก่พสกนิกรชาวไทยทั้ง
ปวง ดังนั้น ชาวไทยทุกคนต้องคำนึงถึงหน้าที่ที่จะพึงแสดงความกตัญญู กตเวที ต่อมาพระมหากษัตริย์ ในฐานะที่
พระองค์ทรงเป็นพระประมุขของชาวไทย และทรงเป็นผู้มีพระคุณต่อชาติบ้านเมืองตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกหมู่
เหล่า โดยมีข้อปฏิบัติ ดังนี้
1) ถวายความเคารพนักการะ แด่พระองค์ท่าน หรือสัญลักษณ์แทนพระองค์ โดยยืนตรง และแสดงความ
เคารพ เมื่อได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี และสามารถร้องได้ถูกต้อง
2) เชิดชูพระเกียรติยศ และพระเกียรติคุณ โดยจัดภาพ หรือประดับภาพพระบรมฉายาลักษณ์ไว้ในที่อันควร
เพื่อสักการะ
3) ศึกษาและบอกความสำคัญ พระราชกรณียกิจตลอดจนบทบาทของพระมหากษัตริย์ในทางการเมืองการ
ปกครองทางทหาร และการพัฒนาประเทศไทย
4) โดยเสด็จพระราชกุศลด้วยการบริจาคทรัพย์และสิ่งของ
5) ธรรงไว้ซึ่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้ดำรงอยู่ตลอดไป
6) สอดส่องดูแลและให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการถวายความปลอดภัยแด่พระองค์ท่าน ความสามัคคี
ต่อกัน และไม่เห็นแก่ตัว เพื่อมิให้เกิดปัญหาในสังคม หรือประเทศชาติให้เป็นที่หนักพระทัยของพระองค์ท่าน

7.2 มงคล 38
คำว่า “มงคล” ตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุข ความเจริญแก่ผู้ปฏิบัติ
ที่มาของพุทธมงคล มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ คนในสมัยนั้นชองฟังเรื่องที่เป็นคติสอนใจ หรือปรัชญาชีวิต
มักจะพากันอ้อนวอนขอให้ผู้รู้มาพูดสั่งสอน วันหนึ่งมีผู้ตั้งปัญหาว่าอะไรเป็นมงคล อะไรทำให้มีความเจริญแก่ชีวิต มีผู้
ออกความเห็นมากมาย จนในที่สุดได้เข้าเฝ้ากราบทูลถามพระพุทธเจ้าขอให้โปรดตรัสเรื่อง มงคลสู งสุด ซึ่งพระพุทธ
องค์ได้ตรัสเป็นพระคาถา มี 38 ประการ เราได้เรียนรู้มาบ้างแล้วในระดับชั้นที่ผ่านมา และในระดับชั้นนี้มีข้อมงคลที่
ควรศึกษาเพื่อนำไปสู่แนวทางการป้องกัน และแก้ปัญหาอบายมุข และสิ่งเสพติดได้ มีดังนี้
1) การมีวินัย
วินัย คือ ระเบียบปฏิบัติที่เป็นเครื่องรักษาตน และหมู่คระให้อยู่เป็นปกติสุขทั่วถึงกัน ไม่ทำความเดือดร้อน
เสียหายแก่ตนเอง และสังคม ระเบียบวินัยจึงหมายถึง คำสั่ง ข้อบังคับ กฎหมาย กฎกติกา ระเบียบต่าง ๆ ที่สังคม
กำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติของคนให้อยู่ร่วมกันอย่างสั นติสุข ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของหมู่คณะ
รวมไปถึงประเทศชาติ ซึ่งถ้าฝ่าฝืนระเบียบวินัยก็จะถูกตำหนิ หรือถูกลงโทษได้ และถ้าคนในสังคมไม่มีระเบียบวินัย ก็
จะเกิดความวุ่นวาย และเดือดร้อน เสียหายมาก
lls
สังคมศึกษา ป.6

ดังนั้น ทุกคนในสังคมต้องมีระเบียบวินัยที่ต้องยึดถือ ปฏิบัติ ในส่วนของตน เป็นระเบียบวินัยในตนเอง โดย


ประพฤติตนตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงสั่งสอนให้กระทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้
สงบ บริสุทธิ์ ในเบื้องต้น คือ รักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด จะนำไปสู่การมีระเบียบวินัยด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ที่มี
ระเบียบวินัยเป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่อย่างไม่เดือดร้อนใจ มีเกียรติคุณ มีชื่อเสียงดี มีสติรอบคอบอยู่เสมอ และทำให้เกิดมงคล
แก่ชีวิต คือ มีความสุข ความเจริญอย่างยิ่ง
2) การงานไม่มีโทษ
คนเราที่ต้องการความสำเร็จของชีวิต ต้องรู้จักทำงานให้เป็นหลักฐาน ต้องเตรียมพร้อมก่อนทำงาน คือ
การศึกษาเรียนรู้ คนเกียจคร้านไม่ทำงานใด ๆ ถือว่าเป็นคนรกโลก ถึงจะเกิดมามีเงินมีทองมากมาย แต่ถ้าไม่
ประกอบการงานอาชีพก็ไม่มีความหมายและไม่มีความสำคัญในสังคม ดังนั้น การงานจึงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับชีวิ ต
เป็นหน้าทีที่พึงปฏิบัติของมนุษย์ทุกคน
การงานที่ไม่มีโทษ หมายถึง การงานที่สุจริต เป็นไปอย่างถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม ไม่เป็นงานที่ทำให้
เกิดความเดือดร้อน แก่ผู้อื่นและสังคม เช่น บางคนทำงานตามหน้าที่ของตนก็จริง แต่เอาหน้าที่นั้นมาเบียดบังเอา
ผลประโยชน์มีกลโกงต่าง ๆ หรือฉ้อราษบังหลวง ก็ถือว่าเป็นการงานที่มีโทษ เพราะได้ทรัพย์สินจากการทุจริต คิดมิ
ชอบ น่ารังเกียจ และไม่มีความสุขความเจริญ
3) การไม่ประมาทในธรรม
ประมาทแปลว่า มัวเมา เผลอสติ เลินเล่อ ดูหมิ่น คนที่มีความประมาทในการเรียน คือ คืนที่ไม่สนใจฟังครู
ไม่สนใจบทเรียน ทำงานเลินเล่อ ไม่ตั้งใจทำ คนที่ประมาทในการทำงาน คือ ทำงานอย่างเกียจคร้าน ทำ ๆ หยุด ๆ
ปล่อยไปเรื่อย ๆ ตามใจชอบ ไม่เอาใจใส่ที่จะทำให้ดีที่สุด เรียบร้อยและเสร็จเร็วที่สุด
พระพุทธองค์สอนว่า คนที่ไม่ประมาท ต้องเป็นคนมีสติ หมายถึง ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอว่ า กำลังทำอะไรอยู่
ก่อนที่จะพูด จะทำ จะคิด ต้องมีสิตคอยกำกับควบคุมอยู่เสมอ มีความยั้งคิด ตริตรอง ทั้งทางกาย วาจา และใจ ไม่
ประมาทในความชั่ว คือ การทำไม่ดีในสิ่งที่เล็กน้อย คิดว่าไม่เป็นไร แต่อาจจะเกิดผลเสียอื่น ๆ ตามมา จึงต้องรู้จัก
สำรวมกาย วาจา ใจ ให้ประพฤติถูกต้องซึ่งเป็นการไม่ประมาทในธรรม และทำให้ชีวิตมีความสุขความเจริญ

7.3 พล 4
พล แปลว่า กำลัง หมายถึง ธรรมอันเป็นกำลังที่ทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัย
อันตรายต่าง ๆ การที่จะมีพล หรือกำลั งที่เข้มแข็งนั้น ต้องหมั่นฝึกปฏิบัติในการทำคุณงามความดีให้แก่ตนเอง และ
สังคม พละมี 4 ประการ ดังนี้
1) ปัญญาพล คือ กำลังปัญญา หมายถึง การรู้จักคิดตริตรอง มีเหตุผล มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ผู้ที่มีปัญญา
ต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้ โดยการฟัง การดู การอ่าน และรู้คิด เลือกนำไปใช้ หรือปฏิบัติให้เหมาะสม
2) วิริยพล คือ กำลังความเพียร หมายถึง การมีความเพียรพยายามที่จะทำในสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดผลสำเร็จตาม
จุดประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเล่าเรียน การทำงาน ผู้ที่มีความเพียรต้องอดทนต่อความยากลำบาก ตลอดจนรู้จัก
หาทางแก้ปัญหา หรือแก้ไขสิ่งที่พบพร่องให้ดีขึ้นได้ ความเพียรที่ถูกต้อง คือ ความเพียรในการทำความดี
3)อนวัชชะพละ คือ กำลังในการกระทำที่ไม่มีโทษ หมายถึง การมีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่โลเล มีวินัยใน
ตนเอง รวมทั้งรักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม รู้จักเลือกปฏิบัติกิจกรรมที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และบุคคลอื่น
4) สังคหพละ คือ กำลังในการสงเคราะห์ หมายถึง การรู้จักช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ให้ความร่วมมือและทำตน
ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักเสียสละ มีความสามัคคี ไม่เห็นแก่ตัว
lls
สังคมศึกษา ป.6

7.4 ศรัทธา 4
ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อถือ ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม อาจเขียนว่า “สัทธา” ก็ได้ ศรัทธาในพระพุทธ
ศาสนา เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ
1) กัมมศัทธา เชื่อว่า กรรมมีอยู่จริง เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งที่รู้ ย่อมเป็นกรรม หมายถึง
เป็นความดี ความชั่วที่มีขึ้นในตนเอง เป็นเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลดี ผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำต่าง ๆ ย่อมไม่
ว่างเปล่า และเชื่อว่า ผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช้การอ้อนวอนขอ หรือการนอนคอยจากโชค
2) วิบากสัทธา เชื่อในผลของกรรมว่ามีจริง คือ เชื่อว่ากรรมหรือการกระทำที่สำเร็จต้องได้รับผล และผลนั้น
ต้องมาจาเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี และผลชั่ว เกิดจากกรรมชั่ว
3) กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่า สัตว์ทั้งหลายต้อ งเป็นไปตามกรรมของตน แต่ละคนจะต้องรับผผิดชอบในการ
เสวยวิบากให้เป็นไปตามกรรมที่ตนได้กระทำไป
4) ตถาคตโพธิสทั ธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคตว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
ได้ตรัสธรรม และบัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ทุกคนถ้าฝึกตนด้วยอี ก็สามารถเข้าถึง
ภูมิธรรมสูงสุดได้

7.5 พรหมวิหาร 4
พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจของผู้มีคุณความดียิ่งใหญ่ดุจเป็นพรหม หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่มี
จิตใจอันประเสริฐ เป็นธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจ และกำกับความประพฤติ ผู้ดำรงในพรหมวิหารย่อมช่วยเหลือมนุษย์
และสัตว์ทั้งหลาย และย่อมรักษาธรรมให้เที่ยงตรงไว้เป็นผู้ที่มีบุคลิกน่านิยมนับถือ น้ำใจประเสริฐ มองโลกในแง่ดี เป็น
ที่พึ่งของสังคม ลักษณะของผู้ที่มีพรหมวิหาร มีดังนี้
1) เมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้ผู้อื่นมีความสุข มีจิตใจที่แผ่ไมตรี และคิดทำประโยชน์ต่อ
บุคลล และสังคม
2) กรุณา คือ ความสงสาร ความต้องการช่วยให้ผู้อื่น พ้นจากความทุกข์ มีจิตใจที่คิดช่วยเหลือบำบัดความ
ทุกข์ยาก เดือดร้อนของบุคคล และสังคม
3) มุทิตา คือ ความยินดี ชื่นชม เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข เป็นผู้มีจิตใจแช่มชื่น เบิกบานอยู่เสมอ มีความจริงใจ
และพลอยยินดีต่อผู้ที่มีความสุขความเจริญ
4) อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง วางใจให้เฉยไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันควร
ได้รับเป็นผลดี หรือชั่ว ตามสมควรแก่เหตุ ความรู้จักวางใจเฉยดูเมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง

7.6 อบายมุข 6
อบายมุข คือ ทางแห่งความเสื่อม เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความฉิบหาย ทรัพย์สินย่อยยับอีกหมวดหนึ่ง มี 6
อย่าง แต่ละอย่างให้โทษ หรือผลของกรรม ดังนี้
1) ติดสุรา และของมึนเมา มีโทษ 6 คือ
1. ทรัพย์สินหมดไป
2. ก่อการทะเลาะวิวาท มีศัตรู
3. เป็นบ่อเกิดของโรค ร่างกายอ่อนแอ
4. เสียเกียรติ เสียชื่อเสียง
5. ทำให้ไม่รู้อาย หน้าด้านบุ่มบ่าม
lls
สังคมศึกษา ป.6

6. ทอนกำลังปัญญา มีจิตเสื่อมทราม
2) ชอบเที่ยวกลางคืน มีโทษ 6 คือ
1. ชื่อว่าไม่รักษาตัว
2. ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย
3. ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
4. เป็นที่ระแวงสงสัย
5. เป็นเป้าให้เขาใส่ความ หรือข่าวลือ
6. เป็นที่มาของเรื่องเดือดร้อน
3) ชอบเที่ยวดูการละเล่น มีโทษ คือ การงานเสื่อมเสีย เพราะใจกังวลคอยคิดจ้อง และเสียเวลาเมื่อไปดูสิ่ง
นั้น ๆ ทั้ง 6 กรณี คือ รำ รอง ดนตรี เสภา เพลง เถิดเทิง ซึ่งไม่ว่าจะมีที่ไหนก็ไปที่นั่น
4) ติดการพนัน มีโทษ 6 คือ
1. เมื่อชนะ ย่อมก่อเวร
2. เมื่อแพ้ ก็เสียดายทรัพย์ที่เสียไป
3. ทรัพย์สินหมดสิ้นไป
4. เข้าที่ประชุม เขาไม่เชื่อถ้อยคำ
5. เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อนฝูง
6. ไม่เป็นที่ต้องการของผู้ที่จะหาคู่ครองให้ลูกเขา
5) คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษ คือ จะทำให้กลายเป็นคนชั่วอย่างคนที่ตนไปคบด้วย มี 6 ประเภท คือ นักการ
พนัน นักเลงหญิง นักเลงเหล้า นักลวงของปลอม นักหลอกลวง นักเลงหัวไม้
6) เกียจคร้านการงาน มีโทษ คือ เป็นข้ออ้างผัดผ่อนเพี้ยนไปไม่ทำการงาน ทรัพย์สินใหม่ก็ไม่เกิด ทรัพย์สินที่
มีอยู่ก็หมดสิ้นไป โดยอ้างเหตุทั้ง 6 กรณีว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นไปแล้ว ยังเช้านัก หิวนัก อิ่มนัก แล้วไม่ทำการงาน
เมื่อเรารู้โทษของอบายมุขแล้ว ต้องรู้จักำหนดใจไม่เกี่ยวข้องให้หลีกหนี หรือละเว้นสิ่งที่เป็นอบายมุขทั้งปวง

7.7 คารวะ 6
คารวะ แปลว่า ความเคารพ หมายถึง ความเอาใจใส่มองเห็นความสำคัญที่จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ๆ ด้วย
ความเอื้อเฟื้อให้ถูกต้องเหมาะสมอย่างหนักแน่น และจริงจัง การรู้จักเคารพ และแสดงความเคารพได้ถูกวิธี มีความ
เหมาะสม ย่อมเป็นผู้เจริญ และดีพร้อมทั้งกาย วาจา และใจ
สิ่งที่พุทธศาสนิกชน แสดงคารวะ หรือรู้จักแสดงความเคารพมี 6 อย่าง คือ
1) พุทธคารวตา คือ ความเคารพในพระพุทธเจ้า เชื่อถือ และศรัทธาในคุณของพระพุทธองค์ผู้ทรงมีพระ
ปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ
2) ธมฺมคารวตา คือ ความเคารพในพระธรรม ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด
สำหรับผู้นำหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติจึงทำให้เกิดความสุขความเจริญแก่ตนเอง และเกิดสันติสุขในสังคมด้วย
3) สงฺฆคารวตา คือ ความเคารพในพระสงฆ์ ซึ่งเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย การเคารพและการปฏิบัติต่อพระสงฆ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นการสืบทอด
พระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนตลอดไปด้วย
4) สิกขาคารวตา คือ ความเคารพในการศึกษา เมื่อคนเราเกิดมาต้องเรียนรู้ โดยมีผู้สอนสั่งและอบรม เพื่อให้
ดำรงชีวิตอยู่ได้ในเบื้อต้น และต้องศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองในลำดับต่อมาตลอดชีวิต จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนได้พัฒนา
lls
สังคมศึกษา ป.6

ตนเอง ทั้งสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เป็นความทุกข์ได้อย่างฉลาด และรู้เท่าทัน คนที่ไม่ใส่ใจต่อการเรียนรู้ และไม่


เห็นความสำคัญของการศึกษา ย่อมขาดประสบการณ์ในการคิดไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล ซึ่งการศึกษาที่สำคัญ คือ
การศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตของตน
5) อุปฺปมาทคารวตา คือ ความเคาพระในความไม่ประมาท หมายถึง ให้มีสติรอบคอบอยู่เสมอ ไม่เลินเล่อ
เผลอสติ ระมัดระวังที่จะไม่ทำให้เกิดเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหาย และไม่ละเลยในโอกาสที่จะทำในสิ่งที่เป็นความดี
งาม และความเจริญ ความไม่ประมาท ควรกระทำใน 4 เรื่อง คือ
- การประพฤติกายสุจริต ละเว้นการทุจริต
- การประพฤติวจีสุจริต ละเว้นวจีทุจริต
- การประพฤติมโนสุจริต ละเว้นมโนทุจริต
- การมีความคิดเห็นในทางที่ถูกต้อง ละเว้นความเห็นผิด
6) ปฏิสนฺถารคารวตา คือ ความเคารพในปฏิสันถาร หมายถึง การทักทายปราศรัย และการต้อนรับผู้ที่มา
เยือน ซึ่งเป็นการแสดงกิริยาวาจาต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพเรียบร้อย ให้เหมาะสมตามฐานะของแขกที่มาหา เป็นการ
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เกิดความรู้สึกที่เป็นมิตรและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

7.8 อริยสัจ 4
อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบความจริงนี้ด้วยพระปัญญา ขระที่
ทรงรู้ได้คลายกิเลสออกจากจิต ทำจิตใจให้สะอาดจนบริสุทธิ์ผุดผ่อง พ้นจากสภาพปุถุชนกลายเป็นอริยชนรู้แจ้งเห็นจริง
ในธรรมดาของโลก อริยสัจ 4 ประกอบด้วย
1) ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก มีความบีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสาร ไม่ให้ความพึงพอใจที่แท้จริง
พลัดพรากจากสิ่งที่รัก ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง
2) สมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ
- กามตัณหา คือ ความอยากได้อย่างโน้นอย่างนี้
- ภวตัณหา คือ ความอยากจะเป็นนั้นเป็นนี่
- วิภวตัณหา คือ ความอยากที่จะไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่
3) นิโรธ คือ ความดับทุกช์ โดยกำจัดตัณหาให้สิ้นไป ทำให้จิตสงบว่างจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิตใจ
และนิวรณ์สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม นิโรธเป็นภาวะปลอดทุกข์ เพราะไม่มีทุกข์เกิดขึ้น หมายถึง พระ
นิพพาน
4) มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์ เรียกอย่างสามัญว่า มรรคมีองค์ 8 คือ
- สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
- สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
- สัมมาวาจา เจรจาชอบ
- สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ
- สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
- สัมมาวายามะ เพียรชอบ
- สัมมาสติ ระลึกชอบ
- สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
lls
สังคมศึกษา ป.6

7.9 พุทธกิจ 5
พุทธกิจ หมายถึง กิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ หรืองานที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำเป็นประจำ ในแต่ละวันมี
5 อย่าง คือ
1) ตอนเช้า เสด็จบิณฑบาตไปตามหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ใกล้ที่ประทับ ทรงรับอาหารตามแต่ผู้มีใจบุญจะถวายสิ่งใด
ทรงมีพระกิริยาอาการที่สงบ บางคราวมีคนอาราธนาพระองค์ให้ฉันอาหารที่บิณฑบาตในบ้านของเขา เมื่อเสร็จจากการ
ฉันแล้ว ทรงสนทนาธรรม หรือแสดงหลักธรรมชี้แจงให้เข้าใจสิ่งที่ดีและชั่ว
2) ตอนเย็น ทรงแสดงธรรมแก่ประชาชนที่มาเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยพระกริยา วาจาที่น่าเลื่อมใส โดยวิธีที่จะให้
คนทุกคนในที่นั้นได้ความรู้ความเข้าใจในธรรม
3) ตอนค่ำ ประทานพุทธโอวาทแก่พระภิกษุทั้งหลายที่มาเข้าเฝ้า ทรงตอบปัญหาและอธิบายข้อยุ่งยากให้
แจ่มชัดสำหรับผู้ทีมาถามข้อธรรมต่าง ๆ
4) ตอนดึก ทรงตอบปัญหาแก่พวกเทวดา หรือบุคคลชั้นสูง มีพระราชาแห่งเมืองนั้นที่มาเฝ้าเพื่อสนทนา และ
ไต่ถามปัญหาที่อยากทราบ พระองค์จะตรัสตอบแก้ปัญหาจนเป็นที่พอใจ
5) ตอนเช้ามืดจวนสว่าง ทรงกระทำสมาธิเพื่อตรวจพิจารณาสัตว์โลกว่า ผู้ใดมีอุปนิสัยสมควรได้รับพระธรรม
เทศนาในวันนี้

7.10 พุทธศาสนสุภาษิต
1) สจฺเจน กิตตึ ปปฺโปติ อ่านว่า สัจ - เจ - นะ – กิต - ตึ -ปัป - โป - ติ (คนจะได้เกียรติด้วยสัจจะ)
สัจจะ แปลว่า ความจริง ซึ่งหมายถึง การพูดจริง ทำจริง ประกอบไปด้วยประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น มี
ความจริงใจ ไม่โลเล หรือหลอกลวง ผู้ที่ประพฤติตนมีสัจจะ เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ พูดแนะนำในสิ่งที่ดีงาม มี
ประโยชน์ ย่อมเป็นที่รัก ชื่นชม และไว้วางใจของผู้อื่น จึงทำให้ตนเองมีชื่อเสียง และเกียรติยศปรากฏเป็นที่นับถือ ผู้ที่
มีสัจจะจะต้องรักษาสัจจะไว้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่แปรผัน จะทำให้ประสบแต่ความสุข ความเจริญตลอดไป
ส่วนคนที่ไม่มีสัจจะ คือ คนโลเล พูดกลับกลอก พูดหลอกลวงแบบขอไปที ไม่รักษาคำพูด เพราะไม่มีความ
จริงใจต่อผู้อื่น เป็นคนที่หาความดีในตัวแทบไม่ได้ เป็นเหตุพาให้สังคมต้องวุ่นวาย หรือเดือดร้อน เพราะคำพูด และ
การกระทำของคนที่ไม่มีสัจจะ
2) ยถาวาที ตถาการี อ่านว่า ยะ - ถา - วา – ที - ตะ - ถา - กา - รี (พูดเช่นไร ทำเช่นนั้น)
ผู้ที่พูดอย่างใด และทำตามที่พูด หมายถึง คนตรง ซึ่งคนตรงนั้น เมื่อจะพูดอะไรต้องรู้จักคิดใคร่ครวญให้
รอบคอบก่อนว่า ควรหรือไม่ควร มีโทษหรือไม่ ถ้าเห็นว่าดี และมีประโยชน์จึงพูด และทำตามที่พูดออกมา จึงจะเกิด
ประโยชน์ และความสุขต่อตนเอง และผู้อื่น ผู้ที่มีลักษระเช่นนี้จะเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ มีลักษณะของผู้นำ คือเป็นคน
พูดจริง ทำจริง

You might also like