You are on page 1of 2

lls

สังคมศึกษา ป.5

2.1 การปลงอายุสังขาร
การปลงอายุสังขาร หมายถึง การกำหนดพระทัยเกี่ยวกับการที่จะปรินิพพานของพระพุทธเจ้าล่วงหน้าเป็น
เวลา 3 เดือน
พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา 45 ปี พุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ได้บรรลุมรรคผลจนถึงเป็นพระอรหันต์มีจำนวนมากมาย พระพุทธศาสนาได้แผ่ไปทั่วดินแดนชมพูทวีป มีความมั่นคง
ดำรงเป็นหลักฐาน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุเกือบจะถึง 80 พรรษา พระองค์อาพาธหนัก ทรงปลงอายุสังขาร
ณ ปาวาลเจดีย์ เมืองไพสาลี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา โดยทรงกำหนดเวลาจะปรินิพพาน นับแต่นี้
ต่อไปอีก 3 เดือน

2.2 ปัจฉิมสาวก
ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ เดิทางไปยังสาลวันอุทยาน หรือสาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์
ใกล้เมืองกุสินารา โดยกำหนดเป็นสถานที่ปรินิพพาน ขณะนั้นมีนักบวชนอกศาสนา ชื่อว่าสุภัททะได้ขอโอกาสเข้าเฝ้า
พระพุทธองค์เพื่อจะทูลถามข้อสงสัย แม้ว่าพระอานนท์จะห้ามปราม ก็วิงวอนขอ 2 – 3 ครั้ง พระพุทธองค์ทรงทราบ
ถึงอนุญาติให้สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้า และทรงแสดงธรรมในเรื่องอริยมรรค ทำให้สุภัททะมีความศรัทธาขออุปสมบท
แล้วหลีกออกไปบำเพ็ญสมณธรรม ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในคืนนั้น นับเป็นปัจฉิมสาวก หรือสาวกคนสุดท้ายที่ทัน
พระชนม์ชีพของพระพุทธองค์

2.3 พุทธปรินิพพาน การถวายพระเพลิง และวันอัฏฐมีบูชา


เมื่อใกล้จะปรินิพพาน พระพุทธเจ้าบรรทมอนุฏฐานไสยา คือ บรรทมโดยตั้งพระทัยว่าจะไม่เสด็จลุกขึ้นอีก
สถานที่บรรทมอยู่ระหว่างใต้ต้นสาละคู่ พระองค์ประทานปัจฉิมโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย ความว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
เราขอเตือนพวกท่านว่า สังขารมีความเสื่อมเป็นธรรมดา ท่านจงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”
พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 1 ปี จะเห็นได้ว่า วันประสูติ
ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระองค์ ตรงกัน คือ เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จึงถือว่า วันนี้เป็นวันสำคัญยิ ่ ง ทาง
พระพุทธศาสนา เรียกว่า วันวิสาขบูชา
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว มหาชนทั้งหลายทราบข่าวต่างก็เดินทางมานมัสการบูชาด้วยดอกไม้
เครื่องหอม โดยมิขาดสายตลอดเวลา 6 วัน ไม่มีหยุด พากันรีบรุดมาทำการสัการบูชาด้วยความเลื่อมใสถวายความ
เคารพอันสูงสุด พอถึงวันที่ 7 มัลลกษัตริย์พร้อมใจกันอัญเชิญพระสรีระของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานถวายพระเพลิง
ณ มกุฎพันธเจดีย์ ด้านทิศตะวันออกของเมืองกุสินารา เมื่อมาถึงจิตกาธาน (เชิงตะกอนที่เผาศพ) ซึ่งจัดทำด้วยไม้
lls
สังคมศึกษา ป.5

จันทน์หอมอันงามวิจิตร ได้จัดการห่อพระพุทธสรีระศพด้วยทุกุลพัสตร์ภูษา 500 ชั้น แล้วอัญเชิญประดิษฐานในหีบทอง


ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำมันหอมตามคำของพระอานนท์แจ้งไว้ทุกประการ
กษัตริย์มัลลราชทั้ง 8 พระองค์ ให้ผู้ที่เป็นประธานกษัตริย์ทั้งปวงนำเอาเพลิงจุด เพื่อถวายพระเพลิงพระพุทธ
สรีระศพ แต่เพลิงไม่ติด แม้จะพยายามจุดหลายครั้ง มัลลกษัตริย์สงสัยจึงเรียนถามพระอนุรุทธเถระ ซึ่งพระเถระตอบ
ว่าคอยพระมหากัสสเถระมาถึงก่อน ไฟจึงจะติด
พระมหากัสสปเถระเจ้านำภิกษุ 500 รูป รีบเร่งเดินทางจากเมืองปาวา เมื่อมาถึงชายแดน เมืองกุสินารา
ทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าว่า ได้ผ่านมา 7 วันแล้ว แต่ยังไม่ถวายพระเพลิง ในขณะนั้น มีภิกษุรูปหนึ่ง
บวชเมื่อแก่ ชื่อ สุภัททะ มีจิตใจดื้อด้าน และย่อหย่อยในพระธรรมวินัย ได้กล่าววาจาจ้วงจาบลบหลู่พระพุทธเจ้าทำให้
พระมหากัสสปเถระสลดใจมาก คิว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานไปเพียง 7 วัน เท่ านั้น ยังเกิดมีอลัชชีจิตใจสกปรก
กล่าวร้ายได้ถึงเพียงนี้ ต่อไปเมื่อหน้าจะหาผู้คารวะในพระธรรมวินัยไม่ได้ หากไม่คิดหาวิธีแก้ไขป้องกันให้ทันท่วงที
โดยจะต้องทำสังคายนา (การประชุมชำระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน) ยกเว้นพระธรรมวินัยขึ้นไว้เป็นที่เคารพ
แทนพระองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าให้จงได้
เมื่อพระมหากัสสปเถระมาถึงยังพระจิตกาธานกระทำพระทักษิรเวียนสามรอบเข้าสู่ทางทิศเบื้องพระยุคคล
บาท น้อมถวายอภิวาทตั้งจิตอธิษฐานคำสักการะแล้ว พระเพลิงจึงติดไฟลุกไหม้ขึ้น
วันที่ระลึกถึงการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังจากปรินิพพานแล้ว เรียกว่า วัน
อัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 นับถัดจากวันวิสาขบูชาไป 7 วัน

2.4 การแจกพระบรมสารีริกธาตุ และสังเวชนียสถาน 4


เมื่อถวายพระเพลิงแล้ว พวกมัลลกษัตริยืได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุแห่เข้าสู่พระนครไปประดิษฐานบน
รัตนบัลลังก์ ภายใต้เศวตฉัตร จัดสมโภชบูชาอย่างมโหฬารถึง 7 วัน พร้อมทั้งจัดทหารป้องกันรักษาพระบรมสารีริกธาตุ
อย่างมั่นคง
ในขณะนั้น กษัตริย์ทั้งหลายรวม 7 นคร ผู้ทรงเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ส่งราชทูตไปขอแบ่งพระ
บรมสารีริกธาตุเพื่อจะได้สร้างพระสถูปบรรจุไว้สัการบูชาต่อไป ครั้งแรกเกือบจะทำสงครามแย่งชิงกัน แต่มีอาจารย์
ผู้สอนไตรเพทแก่กษัตริย์ทั้งหลายชื่อโทณพราหมณ์ ได้ออกมากล่าวของร้องให้สามัคคีกัน และจัดการแบ่งพร ะบรม
สารีริกธาตุเป็น 8 ส่วนให้ทุกเมืองได้นำไปสร้างพระธาตุเจดีย์ที่เมืองของตนทุกฝ่ายก็พอใจ
สถานที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติเรียกว่า สังเวชนียสถาน มีการสร้างเจดีย์ไว้ เพื่อเป็นที่เคารพ
สักการะบูชาของพุทธบริษัททั้งหลาย มีอยู่ 4 แห่ง ดังนี้
1) สถานที่ประสูติ อยู่ที่ลุมพินีวัน ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเป็นวิหารมายาเทวี
ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศเนปาล
2) สถานที่ตรัสรู้ อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเรรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ปัจจุบันสร้างเป็นเจดีย์พุทธค
ยาคู่กับต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ประทับนั่งใต้ต้นไม้นี้ในคืนที่ตรัสรู้
3) สถานที่แสดงปฐมเทศนา อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันสร้างเป็นธัมมเนกข
สถูปที่เมืองพาราณสี
4) สถานที่ปรินิพพาน อยู่ที่สาลวโนทยาน (สวนสาละ) เมืองกุสินารา ปัจจุบันสร้างเป็น วิหารประดิษฐาน
พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน และมีมงกุฎพันธนเจดีย์ ตรงสถานที่ถวาพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธองค์

You might also like