You are on page 1of 1

วันเข้าพรรษา 2565 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2565 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พระสงฆ์นิกาย

เถรวาทจะจำพรรษาที่วัดใดวัดหนึ่งเป็นเวลา 3 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 และสิ้นสุดในวันขึ้น


15 ค่ำ เดือน 11
ประวัติวันเข้าพรรษา มีความเป็นมาอย่างไร?
ในอดีตสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดการจำพรรษาในวันเข้าพรรษาไว้ พระสงฆ์ผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่
ต่างๆ ได้เหยียบย่ำพืชผลชาวบ้านที่ปลูกไว้ในฤดูฝน สัตว์น้อยใหญ่ที่ออกหากินบนผิวดินถูกเหยียบย่ำ ชาวบ้านได้รับ
ความเสียหาย เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงเกิดการบัญญัติเรื่องวันเข้าพรรษาไว้ให้ภิกษุจำพรรษาอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
เป็นเวลา 3 เดือน

ตามประวัติบันทึกไว้ ประเพณีวันเข้าพรรษามีระบุไว้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เกี่ยวกับการทำบุญวันเข้าพรรษาของพระมหา
กษัตริย์ และประชาชน เกี่ยวกับการถวายผ้าอาบน้ำฝนและถวายเทียนพรรษา
การเข้าพรรษาตามพระวินัย มี 2 แบบ ได้แก่
• เข้าพรรษาตามปกติ เรียกว่า “ปุริมพรรษา” - เริ่ม แรม 1 ค่ำ เดือน 8 หากมีเดือน 8 สองหน
ก็จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาครบ
3 เดือน ก็จะมีสิทธิ์รับกฐิน
• เข้าพรรษาหลัง เรียกว่า ปัจฉิมพรรษา - เริ่ม แรม 1 ค่ำ เดือน 9 และออกพรรษาในวันขึ้น 15
ค่ำ เดือน 12 ในกรณีที่พระภิกษุติดกิจต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัยให้ไม่สามารถเข้าพรรษาในรอบแรม 1 ค่ำ
เดือน 8 ได้

กรณีพระภิกษุต้องออกไปจำพรรษาที่อื่น สามารถขออนุญาตทำได้ เรียกว่า “สัตตาหกรณียะ” และต้องกลับมาภายใน


7 วัน เพื่อไม่ให้พรรษาขาด ไม่ถือว่าอาบัติ ได้แก่
• พระภิกษุต้องดูแลบิดามารดาที่เจ็บป่วย
• ทำสังฆกรรม อาทิ จัดหาอุปกรณ์ซ่อมกุฏิที่ชำรุด
• ทายกนิมนต์ให้ไปทำบุญค้างคืน
ความสำคัญวันเข้าพรรษา 2565
ในวันเข้าพรรษาที่มักตรงกับฤดูการเกษตรนี้ชาวบ้านจะปลูกพืชผล และภิกษุสงฆ์จะจำวัดเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยตาม
คำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนพุทธศาสนิกชนก็ร่วมบำเพ็ญกุศล ตักบาตร ถวายเทียนพรรษา รักษาศีล โดยความสำคัญ
ของวันเข้าพรรษามี 5 ข้อ ดังนี้
• พืชผลที่ชาวบ้านปลูกเป็นต้นกล้า จะได้เติบโตแข็งแรงไม่ถูกทำลายจากกรณีกิจของพระสงฆ์ที่ต้องเดิน
ทางรับกิจนิมนต์
• ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อนจากการเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนา
• พระภิกษุสงฆ์จะได้ฝึกปฏิบัติธรรมสำหรับตนเองเพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรม
• บวชเรียนบุตรหลานที่ถึงวัยบวช หรือบรรพชา เพื่อเป็นกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
• เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้บำเพ็ญกุศล ถือศีล เจริญภาวนา ฟังเทศน์ ถวายเทียนพรรษา และ
ถวายผ้าอาบน้ำฝน
พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาจนครบ จะได้สิทธิ์ยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ ดังนี้
1. เที่ยวเดินทางออกจากวัดโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นได้2. เที่ยวเดินทางได้โดยไม่ต้องถือจีวร
ครบ 3 ผืน3. ฉันล้อมวงแบบคณะโภชน์ได้4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา5. เก็บจีวรเมื่อมีผู้มาถวายได้
หากเกินกว่าไตรครอง โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง

You might also like