You are on page 1of 2

ศาสนพิธี

ศาสนพิธี คือ พิธีท างศาสนาหรือ แบบแผนแนวทางการปฏิบัติกิจ กรรมต่า งๆ ทางศาสนา


ในทางพระพุทธศาสนา พิธีกรรมเป็นสิ่งที่ช่วยหล่อเลี้ยงศาสนธรรมอันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาไว้
ดังนั้นการกระทาศาสนพิธีหรือพิธีกรรมต่างๆ ในทางพระพุทธศาสนา ควรที่จะต้องมีการแนะนาและให้ผู้ร่วมพิธี
ได้ศึกษาทาความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีต่างๆ ให้ถ่องแท้ตามหลักการทางพิธีกรรมของพระพุทธศาสนาเพื่อผู้ปฏิบัติ
จะได้ น าไปปฏิบั ติ ไ ด้ อย่ า งถูก ต้ อ งตามจุ ด มุ่ง หมายในศาสนพิ ธี นั้น ๆ เนื่ อ งจากศาสนพิ ธี จั ดเป็ น วั ฒ นธรรม
และจารีตประเพณีของชาติที่มีการสืบสานกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน การปฏิบัติศาสนพิธีจะต้องทาให้
มี ค วามเป็ น ระเบี ย บเรี ย บร้ อ ย สวยงามเป็ น ไปในแนวทางเดี ย วกั น เพื่ อ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเลื่ อ มใสศรั ท ธา
ในการดาเนิ นกิจกรรมด้านพิธีกรรมของศาสนพิธี ซึ่งถือเป็นสิ่ งส าคัญของพุทธศาสนิ กชนและเป็นก้าวแรก
ที่มีความเป็นรูปธรรมของการก้าวเข้าสู่หลักการของพระพุทธศาสนาที่เป็นการเสริมสร้างคุณค่าทางด้านจิตใจ
รวมทั้งการธ ารงรั กษาเอกลั กษณ์ของชาติและพุทธศาสนา ผู้ ทาหน้าที่เป็นผู้ นาในการปฏิบัติงานศาสนพิธี
จะต้องมีความรู้ความสามารถและความเข้าใจอย่างถูกต้ อง เนื่องจากศาสนพิธีเป็นการสร้างระเบียบแบบแผน
แบบอย่างที่พึงปฏิบัติในศาสนานั้นๆ ตามหลักการความเชื่อในศาสนาที่ตนนับถือ เมื่อนามาใช้ในทางพระพุทธศาสนา
ย่อมหมายถึง ระเบียบ แบบแผน และแบบอย่างที่พึงปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ซึ่งบางท่านเรียกว่า “พุทธศาสนพิธี”
ประโยชน์ของศาสนพิธี
ศาสนพิธีที่ถูกต้องทาให้พิธีมีความเรียบร้อย งดงาม ย่อมเพิ่มพูนความศรัทธาของผู้ที่ได้พบเห็น
เป็นเครื่องแสดงเกีย รติยศของเจ้าภาพและผู้เข้าร่ว มพิธี อีกทั้งยังเป็นการรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม
ของชาติไว้
ประเภทของศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนา
ศาสนพิธีในทางพระพุทธศาสนาเป็นการสร้างความดี การทาบุญ การถวายทานต่างๆ ได้มีการรวมไว้
และแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๑. กุ ศลพิ ธี คื อ พิ ธี กรรมที่ เนื่ องด้ วยการอบรมความดี งามทางพระพุ ทธศาสนาเฉพาะตั วบุ คคล
เช่น การรักษาศีล การฟังธรรม การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การเวียนเทียนในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา
๒. บุ ญพิธี คือ พิธีทาบุญ เป็นประเพณีในครอบครัว ในสังคม เกี่ยวเนื่องกับการดาเนินชีวิต
ได้แบ่งพิธีทาบุญเป็น ๒ ประเภท คือ
ประเภทที่ ๑ พิ ธี ท าบุ ญงานมงคล เป็ นพิ ธี ท าบุ ญเพื่ อความเป็ นสิ ริ มงคลแก่ ตนเอง แก่ ผู้ อื่ น
แก่ ส ถานที่ เช่ น งานฉลองยศ งานทาบุ ญ ขึ้ น บ้ า นใหม่ งานมงคลสมรส งานทาบุ ญ ประเทศ
ประเภทที่ ๒ พิธีทาบุ ญงานอวมงคล เป็นพิธีทาบุญเพื่ออุทิศให้ แก่บุคคลที่ล่ ว งลั บไปแล้ ว
เช่น งานสวดพระอภิธรรม ทาบุญ ๗ วัน ทาบุญ ๕๐ วัน ทาบุญ ๑๐๐ วัน เป็นต้น
๓. ทานพิ ธี คื อพิ ธี ถวายทานต่ างๆ เป็ นการถวายปั จจั ยสี่ คื อ อาหาร เครื่ องนุ่ งห่ ม ที่ อยู่ อาศั ย
ยารักษาโรค และสิ่งของอื่นอันควรแก่สมณบริโภคแด่พระสงฆ์ จะเป็นการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์
รูป ใดรูป หนึ่ ง ที่เรีย กว่า “ปาฏิปุคคลิ กทาน” หรือการถวายทานแก่ห มู่พระสงฆ์ไม่ เฉพาะเจาะจงที่เรียกว่า
“สังฆทาน” หรือการถวายผ้ากฐิน ผ้าป่า ผ้าอาบน้าฝนและอื่น ๆ
-๒-
๔. ปกิ ณ กพิ ธี คื อ พิ ธี เ บ็ ด เตล็ ด เป็ น มารยาทและวิ ธี ป ฏิ บั ติ ศ าสนพิ ธี เช่ น วิ ธี ตั้ ง โต๊ ะ หมู่ บู ช า
และจัดอาสนะสงฆ์ วิธีวงด้ายสายสิญจน์ วิธีจุดธูปเทียน วิธีแสดงความเคารพพระสงฆ์ วิธีประเคนของพระสงฆ์
วิธีทอดผ้าบังสุกุล วิธีทาหนังสืออาราธนาและใบปวารณา วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม
วิธีกรวดน้ าฯลฯ ซึ่งเป็ น พิธีเล็กน้ อยที่ป ฏิบัติในกุศลพิธี บุญพิธี และทานพิธี รวมทั้งพิธีอื่น ๆ ที่จัดลงในพิธี
ทั้ง ๓ ประเภทดังกล่าวไม่ได้
รูปแบบของงานศาสนพิธี
ศาสนพิ ธี มี รู ป แบบการจั ด หรื อ รู ป แบบการปฏิ บั ติ ศ าสนพิ ธี ที่ แ ตกต่ า งกั น ออกไปจ าแนกได้
เป็น ๔ รูปแบบ คือ
๑. งานพระราชพิธี เป็นงานที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นเป็นประจาปี
เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา หรืองานที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้น
เป็นกรณีพิเศษ เช่น พระราชพิธีอภิเษกสมรส พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่
๒. งานพระราชกุศล เป็นงานที่พระมหากษัตริย์ทรงบาเพ็ญพระราชกุศล งานพระราชกุศลบางงาน
ต่ อ เนื่ อ งกั บ งานพระราชพิ ธี เช่ น พระราชกุ ศ ลมาฆบู ช า พระราชกุ ศ ลทั ก ษิ ณ านุ ป ระทานพระบรมอั ฐิ
สมเด็จพระบรมราชบุพการี พระราชกุศลทรงบาตร
๓. งานรั ฐ พิ ธี เป็ น งานพิ ธี ที่ รั ฐ บาลหรื อทางราชการจั ด ขึ้ นเป็ น ประจ าปี โดยกราบทู ล เชิ ญ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงเป็นประธานประกอบพิธี เช่น รัฐพิธีที่ระลึกวันจักรี รัฐพิธีฉลองวันพระราชทาน
รัฐธรรมนูญ ซึ่งปัจจุบันทรงรับเข้าเป็นงานพระราชพิธี
๔. งานราษฎร์ พิ ธี เป็ น งานท าบุ ญ ตามประเพณี นิ ย มที่ ร าษฎรจั ด ขึ้ น เพื่ อ ความเป็ น สิ ริ ม งคล
แก่ตนเองและชุมชน หรื อเป็ น การทาบุ ญเพื่ออุทิ ศผลให้ แก่ ผู้ ล่ ว งลั บ ไปแล้ ว ในโอกาสต่ างๆ ซึ่งเป็นการจั ด
ตามความศรัทธาและความเชื่อที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตามท้องถิ่นหรือชุมชนนั้นๆ

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. ศาสนพิธีและมารยาทไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุม


สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด. พิมพ์ครั้งที่ ๓, ๒๕๖๑.

You might also like