You are on page 1of 6

บทที่ 1

บทนำ

1. ที่มาและความสำคัญ
การฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน บ้านหมูม่นโนนสะอาด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดย
คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือกันในเรื่อง ค่าจัดการศพ และ สงเคราะห์ครอบครัว
โดยใช้ชื่อว่า การช่วยเหลือฌาปนกิจของหมู่บ้าน มีสมาชิกในหมู่บ้านทั้งหมด 285 ครัวเรือน เท่านั้น และ ต่อมา
การฌาปนกิจสงเคราะห์ได้แพร่หลายในชนบทไทย ซึ่งมีปริมาณ และ ขนาดของ กลุ่มขยายตัวเพิ่มในแต่ละ
ชุมชนของหมู่บ้าน และ ส่วนงานราชการ ถือได้ว่าเป็นกลุ่มประกันภัย รายย่อย ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายที่สุด
ในขณะนี้ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการรวบรวมเงินของสมาชิกเข้าเป็น กองทุนกลางเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ
จัดงานศพของสมาชิกเดิมที่นำรูปแบบสมาชิกของสมาคม 1 เป็นไป ในเชิงบังคับทุกคนในหมู่บ้านที่อายุตั้งแต่ 1
ปี ขึ้นไป ต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิก และ ต้องชำระค่าฌาปนกิจสงเคราะห์ตามจำนวนที่กำหนด เมื่อมีสมาชิกรายใด
รายหนึ่งในหมู่บ้านเสียชีวิตลงต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2517 งาน
ฌาปนกิจสงเคราะห์ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในส่วนราชการ องค์การ ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และ กลุ่มประชาชนทั่วไป โดย
มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือค่าจัดการศพ และ สงเคราะห์ ครอบครัวสมาชิกที่ถึงแก่ความตาย สมาคมฌาปนกิจ
สงเคราะห์ เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ แม้จะแยกเป็นคนละส่วนกับ
สหกรณ์ แต่มีความเกี่ยวพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดย สมาชิกสมาคมก็เป็นสมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ การตั้ง
สมาคมมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเมื่อสมาชิก เสียชีวิต คือ การสงเคราะห์เงินช่วยจัดการเรื่องศพ และ มีเงิน
ก้อนอีกจำนวนหนึ่งสำหรับหักลบหนี้สินที่มีส่วน ที่เหลือจะมอบให้ผู้รับผลประโยชน์ตามที่สมาชิกแจ้งความ
จำนงไว้ โดยปกติระบบฌาปนกิจสงเคราะห์จะมีการ เชื่อมโยงกับระบบงานสหกรณ์ออมทรัพย์ มีการใช้ข้อมูล
ร่วมกัน กล่าวคือระบบสมาคมก็ใช้ข้อมูล รายละเอียดสมาชิกจากระบบงานสหกรณ์ ในขณะเดียวกับระบบงาน
สหกรณ์ที่ต้องอาศัยข้อมูลของระบบ สมาคม ในการจัดเก็บเงิน ช่วยสงเคราะห์ศพในแต่ละเดือน เมื่อสมาชิก
ถึงแก่ความตาย บุคคลที่สมาชิกแจ้ง ความจำนงไว้ ผู้นั้นมีสิทธิ์ ได้รับเงินฌาปนกิจศพ และ เงินสงเคราะห์ซึ่ง
สมาคม จะดำเนินการช่วยเงินครั้งแรก นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำขอ และ จ่ายเงินส่วนที่เหลือภายใน 90 วันเมื่อ
สมาชิกสมาคมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความ ตาย สมาชิกทุกคนมีหน้าที่ต้องชำระเงินสงเคราะห์นั้น รายละ 100 บาท
อัตราการเสียชีวิตการพ้นสภาพสูงขึ้นและ ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจึงมุ่งเน้นให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการ
บริหารจัดการสมาคมทั้งระบบให้มีความโปร่งใส และ ทำให้สมาชิกเกิดความเชื่อมั่นยิ่งขึ้น และ มีความยั่งยืน
และ เชื่อใจในการทำงาน
ดังนั้น พวกเราจึงได้แก้ปัญหาโดยการทำใบเสร็จรับเงินให้กับผู้เก็บเงินฌาปนกิจหมู่บ้าน เพื่อให้
สมาชิกในหมู่บ้านมีความมั่นใจในการทำงานของผู้เก็บเงินฌาปนกิจ

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อพัฒนารูปแบบใบเสร็จรับเงินฌาปนกิจหมู่บ้าน บ้านหมูม่นโนนสะอาดให้มีความแม่นยำความ
ทันสมัย
2.2 เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มมีความเชื่อ และ สะดวกต่อการตรวจสอบ
2.3 เพื่อให้ข้อมูลในการเก็บเงินฌาปนกิจไม่มีการคลาดเคลื่อน ทำให้สมาชิกในหมู่บ้านมีความมั่นใจ
มากขึ้น และ เป็นหลักประกันที่แน่นอน
3. เป้ าหมายและขอบเขต
3.1 กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน
บ้านหมูม่นโนนสะอาด หมู่ที่ 16 ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์41150
เชิงปริมาณ
จำนวนสมาชิกในกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน บ้านหมูม่นโนนสะอาด จำนวน 285 ครัว
เรือน
เชิงคุณภาพ
ฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน บ้านหมูม่นโนนสะอาดได้มีใบเสร็จรับเงินให้กับสมาชิก และ
สร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกได้ดีมากขึ้น

4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4.1 ใบเสร็จรับเงินฌาปนกิจบ้านหมูม่นโนนสะอาดมีความมั่นคง และ เป็นมาตรฐาน
4.2 การทำงานของเจ้าหน้าที่เก็บเงินฌาปนกิจมีความเชื่อมั่นต่อสมาชิกมากขึ้น
4.3 การจ่ายเงินฌาปนกิจของหมู่บ้าน บ้านหมูม่นโนนสะอาดมีความโปร่งใส และ ตรวจสอบได้
นิยามศัพท์

การจัดทำโครงการในครั้งนี้ ผู้จัดทำได้กำหนดนิยามศัพท์ ดังนี้

ฌาปนกิจ เป็นคำนาม หมายถึง การเผาศพ ก่อนฌาปนกิจจะมีการทอดผ้าบังสุกุล ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าที่


พระภิกษุชักจากศพ หรือ เป็นผ้าที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์หรือทอดบนผ้าภูษาโยง ที่ต่อจากศพด้วยการปลง
กรรมฐาน การที่มีพิธีชักผ้าบังสุกุลนั้นเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาลผู้ที่ออกบวชเป็นพระภิกษุ คือ ผู้ที่ละซึ่งกิเลส
ทั้งปวง และ ออกไปบำเพ็ญศีลอยู่ในป่ า ดังนั้นจึงไม่คำนึงว่าทั้งอาหาร และ เครื่องนุ่งห่มต้องเป็นแบบไหน มา
จากที่ใด จึงบิณฑบาตเพื่อขอรับอาหาร แต่การจะหาผ้ามาทำเป็นสบงจีวรนุ่งห่มนั้นค่อนข้างยาก ดังนั้น เมื่อมี
คนตายญาติจะนำศพห่อผ้าขาวแล้วนำไปทิ้งไว้ในป่ า พระภิกษุจะไปชักผ้าขาวที่ใช้ห่อศพมาซักและ ย้อมสีจาก
เปลือกไม้เพื่อใช้ห่มใช้ครอง ก่อนการชักผ้าจากศพจึงต้องปลงกรรมฐานก่อน แต่ปัจจุบันข้าวของเครื่องใช้
สำหรับพระภิกษุหาง่ายในพิธีต่าง ๆ รวมทั้งพิธีศพเจ้าภาพจึงจัดเตรียมผ้าบังสุกุลไว้เพื่อทอดผ้าบังสุกุลให้แก่พระ
ภิกษุที่มาทำพิธี กิริยาที่พระภิกษุชักผ้าบังสุกุลเรียกว่า ชักบังสุกุล มิใช่ ชักผ้าบังสุกุล คำ บังกุล นี้ มีผู้ใช้เป็น
ภาษาปากว่า บังสุกุล ซึ่งก็ไม่ผิด

รูปภาพ: การฌาปนกิจ

ดอกไม้จันทน์ คือ การวางดอกไม้จันทน์ในงานศพ นับเป็นการแสดงความอาลัยครั้งสุดท้ายต่อผู้วาย


ชนม์เชื่อกันว่า เป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ให้ไปสู่พบภูมิที่ดี ทั้งยังเป็นสิ่งสุดท้าย ซึ่งผู้มีชีวิตจะทำเพื่อ
บุคคลที่ตนรักซึ่งล่วงรับไปแล้วได้ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ประวัติความเป็นมา วันนี้เราจึงนำที่มาของการใช้ดอกไม้
จันทน์มานำเสนอให้ทุกท่านทราบกันในอดีต การใช้ไม้จันทน์ในงานศพ จะไม่ใช้เพียงส่วนของดอกอย่างเช่น
ทุกวันนี้ แต่เป็นการนำไม้จันทร์มาทำหีบศพ ใช้เป็นฝืนในการฌาปนกิจศพเพื่อกลบเกลื่อน และ ยังมีการนำไม้
จันทน์มาสร้างเป็นโกศสำหรับบรรจุศพของเจ้านายชั้นสูงอีกด้วย ซึ่งจากไม้จันทน์เป็นไม้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว
มีน้ำมันซึ่งมีกลิ่นหอม สอดคล้องกับความเชื่อของคนไทยที่เชื่อเรื่องการเผาเครื่องหอม กำยาน ถวายต่อสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงการไหว้พระพุทธรูป ก็ใช้ธูปหอมที่ทำจากไม้จันทน์ ยิ่งไปกว่านั้น การประดิษฐ์เครื่องใช้ เช่น
พัดไม้จันทน์ หีบใส่เสื้อผ้า ก็ใช้ไม้จันทน์เป็นวัสดุด้วยเช่นกัน

รูปภาพ: ดอกไม้จันทน์

หีบศพ หรือ โลง หรือ โลงศพ คือ ที่สำหรับบรรจุศพ หรือ ร่างผู้เสียชีวิตโดยให้ศพนอนราบอยู่ภายใน


และ มีฝาครอบมิดชิด ก่อนที่จะนำไปบำเพ็ญพิธีกรรมทางศาสนาต่อไปโดยทั่วไปแล้ว โลงศพมักจะทำด้วยไม้
เป็นรูปคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม มีส่วนยาวมากกว่าส่วนกว้าง ลักษณะของโลงศพแตกต่างกันไปตามความนิยม หรือ
ธรรมเนียมการทำศพในแต่ละศาสนา
รูปภาพ: หีบศพ

สัปเหร่อ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศพตั้งแต่ทำพิธีมัดตราสังจนกระทั่งนำศพไปฝัง หรือ เผา

รูปภาพ: สัปเหร่อ
พวงหรีด หรือ ที่คำศัพท์ทางราชการเรียกว่า พวงมาลา หมายถึง การจัดดอกไม้ประเภทหนึ่งให้เป็นพวง
ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งลักษณะวงกลม วงรี วงสี่เหลี่ยม หรือ สามเหลี่ยมก็ได้ โดยนำดอกไม้แห้ง หรือดอกไม้สดมา
ใช้ประดับตกแต่งนำมาใช้สำหรับพิธีศพ
รูปภาพ: พวงหรีด

ผ้าห่อศพ คือ ผ้าตราสัง สิ่งที่ใช้ปกคลุม สิ่งที่ใช้ห่อหุ้ม

You might also like