You are on page 1of 64

1

บทที่ 1

บทนำ

1.1 ที่มาและความสาคัญของปัญหา

นับแต่โบราณกาล ในสังคมโลกของชาวจีนแผ่นดินใหญ่สืบมายังชาวจีนโพ้นทะเล *
ที่ได้มาตั้งรกรากลงยังแผ่นดินอุษาคเนย์ ** รวมทั้งชาวไทยเชื้อสายจีน *** มีความเชื่อในเรื่องของจิต
วิญญาณและได้ให้ความสาคัญต่อธรรมชาติเป็นอย่างมาก แต่ดั้งเดิมก่อนยุคประวัติศาสตร์นั้น มนุษย์
ได้ค้นหาและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เมื่อมีความใกล้ชิดกันมากเช่นนี้ จึงก่อให้เกิดความเชื่อที่มีต่อ
ธรรมชาติ เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์จนเกิดสิ่งที่เรียกกันด้วยความเคารพว่า “เทพเจ้า” ที่สถิตในธรรมชาติ
ปรากฏการณ์และฤดูกาลต่างๆ ตลอดจนมีการพัฒนาทางด้านอารยธรรมของมนุษย์เรื่อยมานั้น ก็มี
การสถาปนาบุ คคลผู้ส ร้างคุณ งามความดีให้ กั บ มวลมนุษย์ ห รือบุค คลสร้า งสรรค์ ผ ลงานอันเป็ น
คุณประโยชน์แก่มวลมนุษย์ขึ้นเป็นเทพเจ้า เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีและคุ้มครองชนรุ่นหลังสืบมา
เมื่อปรากฏเทพเจ้าที่เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้ให้ความเคารพในธรรมชาติและบุคคลอัน
สมควรแก่การบูชา การบูชาย่อมต้องมีการสรรหาสิ่งที่จะสมควรถวายหรือบวงสรวงขึ้น เพื่อสร้างความ
พอใจให้แก่เทพเจ้าที่ตนเคารพบูชา ชาวจีนไม่ว่าจะเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่หรือชาวจีนโพ้นทะเล จะ
ให้ความสาคัญและมีความพิถีพิถันมาก ซึ่งการบูชานั้นก็จะมีทั้งการบูชาด้วยเครื่องอามิสบูชาและการ
บูชาด้วยการทาปฏิบัติบูชา**** โดยส่วนใหญ่นั้น การบูชาด้วยเครื่องอามิสบูชาถือว่าเป็นที่นิยมกันมาก
และมีความเป็นระเบียบแบบแผนที่น่าดูชม ด้วยถือกันว่า การบูชาเทพเจ้าสมควรที่จะมีการสรรหาสิ่ง

*
ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ นอกจากจะมีการพื้นที่เดิมของตนเองแล้ว ก็มีการเดินทางข้ามน้าข้ามทะเล
มาเพื่อการสร้างฐานะให้กับครอบครัวของตนเอง กลุ่มคนเหล่านี้จะถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่า ชาวจีนโพ้นทะเล
**
ชาวจีนโพ้นทะเลที่ได้เข้ามาอาศัยในพื้นที่ของอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อมาจาก
แผ่นดินมาตุภูมิก็มักจะนาอารยธรรมของตนเองมาด้วย สิ่งที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดคือเรื่องของธรรมเนียม
ประเพณี ความเชื่อต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อต่างๆในพื้นที่ ที่ได้เข้าไปอาศัยและผสมกลมกลืนกันอย่างลง
ตัว
***
กลุ่มคนไทยที่มีเชื้อสายจากชาวจีนโพ้นทะเล ที่ได้เข้ามาและแต่งงานกันกับคนไทย
****
การบูชาด้วยเครื่องอามิสบูชา คือ การบูชาด้วยข้าวของเครื่องใช้ อาหาร หรือ สิ่งอื่นๆอันเป็น
สิริมงคล มีความหมายทีด่ ี เช่น เครื่องหอม ผลไม้มงคลต่างๆ รวมไปถึงการบูชาด้วยสิ่งของที่หาได้ยากในฤดูกาลหรือ
ในสถานที่ เพื่อสร้างความพอใจให้แก่เทพเจ้า ส่วนการบูชาด้วยการทาปฏิบัติบูชา คือ การบูชาด้วยการใช้แรงกาย
ถวายการปฏิบัติตามแบบที่ท่านทา ปฏิบัติตามคาทีท่ ่านสอน ได้แก่ทา่ นปฏิบัติมาอย่างไรก็ปฏิบัติตาม ท่านสอน
อย่างไร แนะนาอย่างไร ก็ทาตามด้วยความเต็มใจ ด้วยการประพฤติดีปฏิ บัติชอบ กระทาแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์
เช่นปฏิบัติตามคาสั่งสอน คาเตือน คาแนะนาของพระพุทธเจ้า ของบิดามารดา ของครูอาจารย์ เป็นต้น
2

ที่ดีที่สุดและมีความหมายอันเป็นมงคล เพื่อเป็นที่พอใจแก่เทพเจ้า เพื่อที่ท่านจะเมตตาบันดาลความ


เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
เหล่าบรรดาเทพเจ้าอันเป็นที่ เ คารพสัก การะของมวลมนุษย์ถือก าเนิดขึ้นจากความ
พยายามทาความเข้าใจในปรากฏการณ์ธรรมชาติของบรรพชน บ้างก็ถือกาเนิดขึ้นจากบุคคลที่มีตัวตน
จริง ในหน้าประวัติศาสตร์ที่มีม ายาวนาน บ้างก็ อาจจะเป็นบุคคลที่ มีชื่อเสียงหรือมีคุณงามความดี
เพียบพร้อมด้วยจริยาวัตรอันงดงาม อันสมควรค่าแก่การเทิดทูนบูชาในด้านหนึ่งด้านใด เมื่อได้วาย
ชนม์แล้วก็จะกลายเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านและบุคคลต่างๆ1 และได้มีการสร้างศาสนสถาน
ขึ้นกราบไหว้ติดต่อสื่อสารกับเทพเจ้าต่างๆที่ตนเองศรัทธา จะปรากฏอยู่ในโพรงกาแพงหรือแท่นบูชา
เล็ก ๆที่ ป ระดับ ประดาตกแต่ง มั ก จะพบอยู่ใน 4 มุ ม และตรงกลางห้อง ซึ่ง บรรทั ดฐานของการ
ตกแต่งศาสนสถานของชาวจีนไม่ว่าจะเป็นจีนแผ่นดินใหญ่หรือจีนโพ้นทะเล สามารถแบ่งได้ 5 ลาดับ
ชั้นหลักๆ คือ สัตว์ที่มีความสาคัญ , พืชที่มีความสาคัญ , ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ , ที่เกี่ยวกับวิชา
เรขาคณิตและตานาน การออกแบบจะเป็นไปอย่างหรูห รา อาทิ หลั งคาที่จ ะออกแบบให้มีความ
หรูหราประณีตที่สุดในศาสนสถาน เป็นต้น 2 สิ่งนี้แสดงออกให้เห็นถึงความศรัท ธาในการบูชาเทพ
เจ้าของชาวจีน แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง
ตามศาสนสถานจีนหรือตามศาลเจ้าจีนอย่างที่เราเรียกกันนี้ หากมีการจัดงานที่มีความ
เกี่ยวข้องกันกับเทพเจ้า อาทิ งานวันคล้ายงานประสูติเทพเจ้า งานวันคล้ายวันบรรลุธรรมของเทพเจ้า
งานวันคล้ายวันฉลองศาลเจ้า เป็นต้น ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีการจัดงานและมีการจัดขั้นตอนพิธีกรรมพิธี
การที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ความเชื่อของท้องถิ่น แต่ในพื้นที่อาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี จะมีการ
จัดพิธีกรรมหนึ่งที่มีความสาคัญมาก ซึ่งจะเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อเทพเจ้าและแสดงออก
ถึงความศรัทธาในเทพเจ้าที่เคารพ นั่นคือ พิธีกรรมเค้งจก หรือ พิธีถวายพระพรเทพเจ้า
พิธีกรรมเค้งจก( ) หรือ พิธีเ ฉลิมฉลองและถวายพระพรเทพเจ้า คือ การถวาย
เครื่องบรรณาการแด่เทพเจ้า อาทิ ผลไม้ เครื่องคาวหวานแบบจีน เหล้ายาน้าชาน้าเปล่า ขนมแบบจีน
และเครื่องกระดาษต่างๆ ทั้งหมดนี้จะจัดไว้อย่างยิ่งใหญ่ให้สมกับงาน โดยจุดประสงค์หลักนั้นมีขึ้นเพือ่
แสดงออกถึงความกตัญญูที่เทพเจ้าได้คุ้มครองตนเอง ซึ่งความกตัญญูเป็นสิ่งสาคัญของคนจีนที่มีอยู่ใน
สายเลือดอยู่เ ดิมแล้ว พิธีดังกล่าวจะกระทาขึ้นให้วันส าคัญ ของเทพเจ้าองค์นั้นๆ เช่น วันคล้ายวัน
ประสูติหรือในโอกาสสาคัญของศาลเจ้า โดยเมื่อถึงวันกระทาพิธี จะมีการนาเครื่องบวงสรวงขึ้นตั้งให้ดู
สวยงามเรียบร้อยและที่จะขาดไปเสียมิได้คือ การอัญเชิญองค์เทพเจ้านั้นเสด็จประทับยัง ประราพิธี
การเสด็จมาประทับในพิธีของพิธีกรรมเค้งจกนี้จะใช้คนเป็นร่างทรงเพื่อสื่อสารกับองค์เทพ ซึ่งจะเป็น

1
อู่ลี่ว์ซิง,100เทพและเซียนจีน,(กรุงเทพมหานคร:สานักพิมพ์อมรินทร์,2554),น.2
2
เอวีลีน ลิป, ตานานวัดและเทพเจ้าจีน,(กรุงเทพมหานคร:สานักพิมพ์สร้อยทอง,2537),น.37-41
3

ส่วนที่สาคัญมาก เพราะแสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดต่อเทพเจ้าผ่านทางร่างทรง โดยจะมี การสวด


อัญเชิญเทพเจ้าประจาศาลนั้นเสด็จลงประทับทรงเพื่อรับเครื่องสักการะบูชาต่ างๆจากผู้เข้าร่วมพิธี
โดยผู้กระทาพิธีดังกล่าวนี้จะเป็นประธานศาลเจ้าและคณะกรรมการศาล ตลอดจนผู้เข้าร่วมพิธีทุกคน
ซึ่งจะเข้าไปถวายเครื่องสักการะต่อร่างทรงที่มีองค์เทพกาลังประทับ และในบางปีบางโอกาสนั้นจะมี
การถวายอุ ป รากรจีนหรือ การเชิดสิงโตเป็นการถวายด้วย ดังนั้ นจึง เป็นที่ น่าสังเกตว่า ร่างทรงใน
พิธีกรรมเค้งจกนี้จะมีส่วนสาคัญต่อพิธีกรรมเป็นอย่างมาก เพราะนอกเสียจากจะเป็นการถวายเครื่อง
บูชาต่อเทพเจ้าผ่านการประทับทรงแล้ว ยังแสดงออกให้เห็นว่า เทพเจ้าและมนุษย์มีความสัมพันธ์ที่
เชื่อมโยงกันได้ หนึ่งในนั้นคือ การสื่อสานผ่านการประทับทรง ซึ่งการประทับทรงนี้เมื่อก่อนจะเริ่มงาน
ประมาณ 1 – 2 อาทิ ตย์จะเป็นการประทับ ทรงเทพเจ้านั้นๆหรือเทวดารับใช้ก่อน เพื่อเป็นการ
สอบถามเทพเจ้าถึงลาดับของงาน เครื่องสักการะต่างๆในพิธี เป็นต้น เพื่อให้ได้ในสิ่งที่เทพเจ้าต้องการ
มากที่สุด เมื่อถึงวันดาเนินงาน จะได้เนื้องานที่เป็นที่พอใจของเทพเจ้า ซึ่งในจุดนี้จะเห็นได้ว่าร่างทรง
ในพิธีก รรมเค้ง จก จะไม่ต่างจากแม่ งานเลยทีเ ดียว อีก ทั้ง ร่างทรงยังแสดงปฏิสัม พันธ์เชิง บุคคล
กล่าวคือ มีการสร้างเครือข่ายกันระหว่าร่างทรงกับร่างทรง(เปรียบได้กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างศาลเจ้า
ด้วยกันด้วย) และร่างทรงกับผู้ศรัทธา
ดังนั้นถ้าเรามองบทบาทของ “ร่างทรง” ในพิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีน ใน
เขตอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี แบบคร่าวๆจะแสดงบทบาทสาคัญอันเป็นอิทธิพลออกไปได้ 3 ด้าน
คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองและด้านสังคมวัฒนธรรม
โดยด้านสังคมวัฒนธรรมนั้น พิธีกรรมเค้งจกที่ได้อธิบายในข้างต้นนี้จะมีอิทธิพลต่อความ
เชื่อด้านอื่นๆอีก เช่น การไหว้เจ้าในเทศกาลต่างๆ ในกรณีสมมติว่า ในงานพิธีเค้งจกและอีก 3 วันจะ
เป็นวันสาทรจีน เทพเจ้าที่มาประทับในร่างทรงอาจจะให้เคล็ดลับการไหว้เจ้าต่างๆเพื่อใช้ไปไหว้ในวั น
สาทรจีนไว้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ศรัทธานาไปปฏิบัติ เป็นต้น ซึ่งในจุดนี้แสดงออกถึงวัฒนธรรมความ
เชื่อของคนในเขตอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี ในส่วนสังคมนั้น ผู้ที่เป็นร่างทรงเองจะได้รับความนับ
ถือในระดับหนึ่ง ส่วนหนึ่งนั้นมาจากเขาได้รับการเลือกจากเทพเจ้าให้มาเป็นสื่อผ่านของท่าน ประกอบ
กับมีคุณงามความดีในระดับที่คนในพื้นที่ยอมรับด้วย ทาให้เขาได้รับการนับหน้าถือตาในสังคมเขต
อาเภอ บ้านบึง
ทางด้านเศรษฐกิจนั้น ร่างทรงก็ถือว่ามีส่วนสาคัญมากนี้จุดนี้ เราจะสังเกตได้ว่าเมื่อมี
ศาลเจ้าอยู่ ณ ที่แห่งใด ที่นั่นมักจะปรากฏธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าหรือธรรมเนียมความเชื่อต่างๆที่
เกี่ยวข้องกับศาลเจ้านั้นๆ เช่น ปรากฏร้านที่ขายธูปเทียนกระดาษไหว้เจ้า ร้านขายพวงมาลัยดอกไม้
ร้านซาลาเปาหรือแม้กระทั่งร้านขนมสาหรับใช้ในงานเทศกาลต่างๆรอบบริเวณศาลเจ้า อย่างกรณี
สมมติ ดังที่กล่าวไปในข้างต้นนี้ ก่อนจะถึงงานพิธีกรรมเค้งจก หากเทพเจ้ามีคาสั่งบางอย่างที่เกี่ยวข้อง
กับธุรกิจดังกล่าว เช่น ครั้งนี้จะต้องใช้ธูปจานวนเท่านี้ดอก ใช้ซาลาเปาจานวนเท่านี้ลูก ประธานศาล
4

เจ้าจะเป็นผู้ดาเนินงานติดต่อกั บร้านค้าหรืออาจจะเป็นร้านค้าจ ามาให้เ อง จุดนี้เองแสดงออกถึ ง


ความสัมพันธ์บางอย่างในเชิงที่ผูกขาดกับธุรกิจไหว้เจ้าและตัวศาลเจ้าเอง หรือบางกรณีที่เทพเจ้ามี
คาสั่งผ่านการประทับร่างทรงให้มีการจัดอุปรากรจีนหรือจัดเชิดสิงโต ก็จะมีการติดต่อเรื่องดังกล่าวนี้
กับผู้ที่เกี่ ยวข้องกั บอาชีพเหล่านี้ห รืออาจจะมีลูกศิษย์เองที่มี อาชีพ นี้ จุดนี้เองก็แสดงแสดงออกถึง
ความสัมพันธ์บางอย่างในเชิงที่ผูกขาดแบบนั้นด้วยเช่นกัน
ส่วนทางด้านการเมืองนี้ เขตอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี จะมีอยู่พอสมควรที่ผู้มีส่วนที่
เกี่ยวข้องกับทางการเมืองจะให้ความสาคัญกับร่างทรงด้วยเช่นกัน เช่น บางศาลเจ้า ตัวร่างทรงเองที่
ไม่ใช่เทพเจ้า อาจจะมีการเชิญผู้ว่าจังหวัด องค์การบริหารส่วนตาบล(อบต.) มาเข้าร่วมงานพิธีกรรม
เค้งจกนี้เพื่อเป็นเกียรติให้กับทางศาลเจ้าและร่างทรง ในบางศาลเจ้าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางการ
เมืองเองอาจจะมีความสนิทสนมกับตัวร่างทรงและศรัทธากับเทพเจ้าของศาลเจ้ า ก็จะมาร่วมงาน
ดังกล่าวด้วยเช่นกัน แสดงออกให้เห็นถึงว่าการเมืองก็ให้ความสาคัญกับร่างทรงและร่างทรงเองก็มี
ความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่งต่อด้านการเมือง
ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ทาให้ผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าสนและน่าศึกษาต่อ
การทางานวิจัยในประเด็นศึกษาบทบาทของ “ร่างทรง” ในพิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีน ใน
เขตอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี

1.2 คาถามการวิจัย

บทบาทของ “ร่างทรง” ในพิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีน มีความสาคัญอย่างไร


และพิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีน ในอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี มีกระบวนการขั้นตอน
ของพิธีกรรมเป็นอย่างไร

1.3 วัตถุประสงค์การศึกษา

เพื่อศึกษาบทบาท “ร่างทรง” ในพิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตอาเภอ


บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี
5

1.4 สมมติฐานในการศึกษา

พิ ธีก รรมเค้ง จกหรื อ พิธีถ วายพระพรเทพเจ้าของอาเภอ บ้ านบึง จัง หวัด ชลบุรี มี


ปรากฏการณ์หนึ่งที่มีความพิเศษ ซึ่งแตกต่างไปจากพื้นที่อื่นๆที่มีการประกอบพิธีกรรมเค้งจก นั่นคือ
มีปรากฏการณ์ของร่างทรงในพิธีกรรมเค้งจก ซึ่งสิ่งนี้เองที่เป็นคุณลักษณะความเชื่อประจาท้องถิ่ นที่
ผสมผสานเข้ากับพิธีกรรมจีน เราสามารถพบได้กับความเป็นจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย สิ่งเหล่านี้จะ
ถูกสะท้อนออกมาจากร่างทรง เช่น ในงานเทศกาลกินเจ หรือ ในพิธีกรรมเค้งจกของประเทศเองก็
สะท้อนสิ่งเหล่านี้ออกมา สาเหตุหนึ่งมาจากการแปรเปลี่ยนความเป็น “นามธรรม” ของเทพเจ้า ให้
เกิดมีความเป็น “รูปธรรม” เกิดขึ้น สามารถสื่อสารกับผู้ที่มาประกอบพิธีกรรมได้ ในขณะเดียวกัน
ร่างทรงในศาลเจ้าก็มีบทบาททางสังคม ทั้งที่เป็นตัวแทนของเทพเจ้าที่เป็นประธานศาลเจ้านั้น รวมถึง
เป็นตัวแทนของศาลเจ้าในการสร้างเครือข่ายในหมู่ ศาลเจ้า ทั้ งในพื้นที่จัง หวัด ชลบุรีและในพื้นที่
ใกล้เคียง ดังนั้นร่างทรงจึงถึงว่ามีบทบาทและหน้าที่ที่สาคัญ

1.5 ขอบเขตในการศึกษา

ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาบทบาท “ร่างทรง” ในพิธีกรรมเค้งจก


ของชาวไทยเชื้ อ สายจี น ในเขตอ าเภอ บ้ านบึ ง จั ง หวั ด ชลบุ รี สาเหตุ ข องการศึ ก ษาใน พื้ น ที่ นี้
เนื่องมาจากพื้นที่ ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันออกที่มีชาวจีนโพ้นทะเลอาศัยอยู่และมีการ
ประกอบพิธีกรรมเค้งจกโดยมีร่างทรง ซึ่งไม่ปรากฏในที่อื่น ถือเป็นพื้นที่มีความพิเศษ โดยขอบเขต
ด้านระยะเวลาที่ทาการศึกษาจะอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2526-2556 หรือในช่วงระยะเวลา 20-30 ปี

1.6 นิยามคาศัพท์

1.ร่างทรง หมายถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากเทพเจ้าประจาศาลนั้นๆ เพื่อเป็นสื่อ


ผ่านของเทพเจ้ากับมนุษย์
2.พิธีเค้งจก หมายถึง พิธีกรรมเฉลิมฉลองและการบูชาเทพเจ้าด้วยเครื่องบรรณาการ
ต่างๆอันเป็นมงคล ประกอบกับการขับกล่อมทางดนตรี ด้วยเครื่องดนตรีจีน
6

1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อทราบถึงบทบาทของ “ร่างทรง” ในพิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขต


อาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี เพื่อเป็นข้อมูลอันสาคัญในการเข้าใจพิธีกรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนได้
อย่างลึกซึ้ง
2.เพื่อทราบถึงกระบวนการขั้นตอนของพิธีกรรมเค้งจก ของชาวไทยเชื้อสายจีนได้อย่าง
ลึกซึ้ง
3.เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกันต่อ
บุคคลที่มีความสนใจในโอกาสต่อไป

1.8 ระเบียบวิธีการวิจัย

การศึกษาเรื่อง “บทบาทของ ร่างทรง ในพิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขต


อาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี ” วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา บทบาทของร่างทรงในพิธีกรรมเค้งจก
กระบวนการขั้นตอนของพิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี
สาหรับวิธีการในการศึกษา (methodology) ครั้งนี้เป็นการค้นคว้าข้อมูล โดยวิธีการ
ศึกษาเอกสาร ประกอบการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์บุคคลผู้ให้ข้อมูลสาคัญ จากกลุ่ม
บุคคลที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบทบาท “ร่างทรง” ในพิธีกรรมเค้งจกในเขตอาเภอ
บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี โดยมีกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องของความเชื่อและพิธีกรรม
1. วิธีดาเนินการศึกษา
การศึ ก ษาครั้ ง นี้ เ ป็ น การศึ ก ษาโดยวิ ธี วิ ท ยาการวิ จั ย ในเชิ ง คุ ณ ภาพ (qualitative
research) เพื่อความครอบคลุมถึงเนื้อหาในการศึกษา ซึ่งในการดาเนินการศึกษาได้ใช้วิธีการศึกษา
จากแหล่งข้อมูลอันประกอบด้วย
1.1 การศึ ก ษาวิ จั ยเอกสาร (documentary research) อัน ได้แ ก่ การทบทวน
วรรณกรรมในเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในหลายประเด็น ได้แก่ ตานานเทพเจ้า จีน
ธรรมเนียมประเพณีจีน การบูชาเทพเจ้าจีน สังคมของชาวจีนในเมืองไทย
1.2 การศึก ษาวิจัยภาคสนาม (field study research) ได้แก่ การสัม ภาษณ์ก ลุ่ม
ตัวอย่าง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ (interview schedule) ประกอบกับการสัมภาษณ์โดยใช้แนวทางการ
สัมภาษณ์เชิงลึก (interview guideline) โดยที่ผู้ศึกษาใช้เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (key
informant)ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางศาลเจ้าและผู้ประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า
7

2. การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
2.1 การศึกษาวิจัยเอกสาร (documentary research) โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล
จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับตานานเทพเจ้าจีน ธรรมเนียมประเพณีจีน การบูชาเทพเจ้าจีน สังคมของ
ชาวจีนในเมืองไทย
ด้วยแหล่งข้อมูลในระดับปฐมภูมิ และข้อมูลในระดับทุติยภูมิ ดังนี้
1) เอกสารระดับปฐมภูมิ (primary sources) ได้แก่ เรื่องเล่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความ
เชื่อและพิธีกรรมเค้งจก
2) เอกสารระดับทุติยภูมิ (secondary sources) ได้แก่ หนังสือ วิทยานิพนธ์ รายงาน
วิจัยที่เกี่ยวข้อง วารสาร บทความต่างๆ
2.2 การศึกษาวิจัยภาคสนาม (field study research) โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล
จากแนวการสัมภาษณ์ (interview schedule) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนของประวัติความเป็นมา
ของความเชื่อและพิธีกรรม อัตลักษณ์และการสืบทอดธรรมเนียม พิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสาย
จีนในเขตอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี จากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) ข้อมูลในระดับพื้นที่ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
โดยแบบสัมภาษณ์ (interview schedule)กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมเค้งจกในพื้นที่อาเภอ บ้าน
บึงและบริเวณใกล้เคียงในจังหวัด ชลบุรี
2) ข้อมูลในส่วนกลาง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-
depth interview guideline) กับกลุ่มตัวอย่างในฐานะของผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (key information) ซึ่ง
เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมเค้งจกในพื้นที่อาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี
จากองค์ประกอบของขั้นตอนการดาเนินการศึกษา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาและ
การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการศึกษาดังที่ได้ก ล่าวมานั้นจะได้ข้อมูลเพื่อนามาวิเคราะห์ และอภิปราย
ผลถึง ความเป็นมาของความเชื่อและพิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตอาเภอ บ้านบึง
จังหวัด ชลบุรี รวมถึงอัตลักษณ์และการสืบทอดธรรมเนียมปฏิบัติโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีเนื้ อหาความบรรยาย (content analysis) โดยการจัดประเภทของ
ข้อมูล (categories) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล อธิบายประเด็นต่างๆ อันนาไปสู่ความเข้าใจปรากฏการณ์ที่
ศึกษา และวิเคราะห์ข้อ มูลตามแนวคิดที่เกี่ ยวข้อง แล้วนาเสนอในรูปของการอธิบายเชิงพรรณนา
(descriptive method) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นตามวัตถุประสงค์ได้
ดังต่อไปนี้
8

การวิเคราะห์เพื่ออธิบายถึงความเป็นมาของความเชื่อและพิธีกรรมเค้งจกของชาวไทย
เชื้อสายจีนในเขตอ าเภอ บ้านบึง จัง หวัด ชลบุรี ภายใต้บ ริบ ทของอัตลัก ษณ์ข องความเชื่อและ
พิธีก รรมเค้งจกที่ มีความส าคั ญต่อ การบูชาเทพเจ้าของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตอาเภอ บ้านบึง
จังหวัด ชลบุรี อีกทั้งอธิบายถึงการสืบทอดธรรมเนียมปฏิบัติของการบูชาเทพเจ้าชาวไทยเชื้อสายจีน
ในเขตอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรีผ่านพิธีกรรมเค้งจก
9

ผลงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง

จากการศึกษาเอกสารและสารวจงานวิจัยในเบื้องต้น พบว่าการศึกษาเกี่ยวกับพิธีกรรม
เค้งจกและบทบาทของร่างทรงในพิธีกรรมดังกล่าว ในส่วนพิธีกรรมเค้งจกยังไม่มีผู้ศึกษาแต่อย่างใด
เอกสารและงานที่ป รากฏมัก จะกล่าวถึง วัฒ นธรรมจีนในภาพรวม เช่น วัฒนธรรม 8 เทศกาลจีน
วัฒนธรรมประเพณีทิ้งกระจาดของชาวจีน เป็นต้น ส่วนเรื่องของของร่างทรงนั้นมีการศึกษาในกรณี
ของบุคคลกลุ่มอื่นๆ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาได้หรือใช้ในกรณีเพื่อการเปรียบเทียบได้
เช่น วัฒนธรรมการฟ้อนผีของชาวล้านนา เป็นต้น โดยผู้วิจัยนาเสนอตามลาดับ ดังนี้

ความเชื่อเรื่องร่างทรงและศาลเจ้า

1.ต้วน ลี่ เซิง ได้เขียนหนังสือเรื่อง วัดจีนและศาลเจ้าจีนในประเทศไทย แปลโดย บุญ


ยิ่ง ไร่สุขสิริ โดยสรุปไว้ว่า กระแสของการอพยพของคนจีนโพ้นทะเลมีมากในสมัยอดีตและเกิดการ
ก่อตั้งชุมชนของชาวจีนขึ้นในประเทศไทย ซึ่งต่อมามีการสร้างวัดจีนและศาลเจ้าจีนเพิ่มมากขึ้นเพื่อไว้
เป็นศูนย์รวมของชุมชนชาวจีน จะเห็นได้ว่าวัดจีนและศาลเจ้าจีนจะถือเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนชาว
จีนที่สืบทอดศิลปวัฒนธรรมสัมพันธ์กับชาวไทยมาจนถึงปัจจุบัน
2.เธียรชาย อักษรดิษฐ์ ได้เขียนหนังสือเรื่อง พิธีกรรมฟ้อนผี ภาพสะท้อนปรากฏการณ์
ต่อรองอานาจทางสังคม โดยสรุปไว้ว่า พิธีกรรมฟ้อนผีประกอบด้วยความเชื่อพื้นฐาน ประวัติศาสตร์
ของชุมชน ความสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนศิลปะแขนงต่างๆ เพื่อใช้
ในการปรับมุมมองเชิงสัญลักษณ์ที่นอกเหนือไปจากทางด้านสุนทรียศาสตร์ เนื่องจากสิ่งใดๆที่ถูกสร้าง
และประกอบกันขึ้นมาในพิธีกรรมนั้น ย่อมมีบทบาทหน้าที่และความหมายทั้งสิ้น จุดนี้เองที่มีความ
ใกล้เคียงกับการประทับทรงของพิธีกรรมเค้งจก
3.วิรัช และ นิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ ได้เขียนหนังสือเรื่อง การเข้าทรงและร่างทรง
ความเชื่อพิธีกรรมและบทบาทที่มีต่อสังคม โดยสรุปไว้ว่า การเข้าทรงและร่างทรงเป็นส่วนหนึ่งของ
ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดาและไสยศาสตร์ซึ่งเกิดมานานแล้วและยังมีการสืบทอดต่อมายังปัจจุบัน
ยิ่งกว่านั้นการเข้าทรงและร่างทรงยังมีให้เห็นโดยทั่วไปในสังคม และแม้ว่าจะมีการวิพากษ์วิจารณ์จาก
ประชาชนทั่วไปว่าเป็นเรื่องที่งมงาย ไม่มีสาระ แต่ในขณะเดียวกันก็มีประชาชนไปขอความช่วยเหลือ
และไปเข้าร่วมพิธีกรรมอยู่ไม่น้อย อันทาให้บทบาทการเข้าทรงและร่างทรงยังคงมีอยู่เสมอมา
10

บทที่ 2

ควำมเป็นมำของควำมเชื่อและควำมสำคัญของพิธีกรรมเค้งจก

ทุกวันนี้เราไม่อาจจะปฏิเสธอิทธิพลความเชื่อเรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ ด้ว ยกระแสของ


โลกโลกาภิวัตน์ วิทยาศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้าและมีความสาคัญกับมนุษย์เป็นอันมาก แต่ความ
เชื่อในเรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ยังคงมีให้เห็นกันอยู่ในทุกสังคมของมนุษย์ อาทิ ในสังคมอินเดียความเชื่อ
เรื่องพระนารายณ์ผู้คุ้มครองและประทานความผาสุกแก่ราษฎร ในสั งคมยุโรปความเชื่อในเรื่องของ
พระผู้เป็นเจ้าของชาวคริสตจักรผู้ทรงมอบความรักให้กับมนุษย์หรือในสังคมจีนที่มีความเชือ่ ในเทพเจ้า
แห่งโชคลาภ ผู้บันดาลโภคทรัพย์ให้แก่ผู้คนที่แสวงหาความร่ารวย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ย่อมแสดงให้เห็น
ถึงความเชื่อในเรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์และนามาสู่การบูชา
ในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราสามารถเห็นได้ถึงความเชื่ออันหลากหลายที่มีความ
สลับซับซ้อนกันอยู่มาก เนื่องด้วยเป็นสังคมที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมกันทั่วไป ทั้งยังมี
การเลือกรับและปรับใช้จากที่อื่นๆเข้ามาด้วย สิ่งหนึ่งที่ถูกกระบวนการดังกล่าวนาเข้ามาด้วยคือ ความ
เชื่อในเรื่องของเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้เรารับสิ่งเหล่านี้เข้ามามาก
และได้หลอมรวมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิมของตน ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดเจนในเรื่องที่มีการรับวัฒนธรรม
การบูชาเทพเจ้า เช่น รับวัฒนธรรมการบูชาเทพเจ้าฮินดูของอินเดียและทุกวันนี้ก็ยังมีการปฏิบัติให้
เห็นกันอยู่อย่างชัดเจน อาทิ การบูชาเทพเจ้าในประจาวัน การถือศีลอด เป็นต้น อีกวัฒนธรรมหนึ่ง
อันเป็นประเด็นที่น่าสนใจและนามาเป็นประเด็นศึกษา นั่นคือ วัฒนธรรมการบูชาเทพเจ้าของจีนซึ่ง
วัฒนธรรม ธรรมเนียมและประเพณีในการบูชาเทพเจ้าของชาวจีนถือว่ามีความสาคัญมากในสังคมของ
คนเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ เนื่ อ งด้ ว ยมี ก ารรั บ วั ฒ นธรรมแบบจี น เข้ า มามี บ ทบาทส าคั ญ ใน
ชีวิตประจาวันมากขึ้น ทั้งโดยที่รับรู้ก็ดีและมิได้ทั นรับรู้ก็ดี ความเชื่อต่างๆที่ได้รับมาจากจีนก็เริ่ม มี
บทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของธรรมเนียมและการบูชาเทพเจ้า อันเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของชาว
จีนที่มีให้เห็นกันได้ทั่วไปในประเทศกลุ่มอาเซียนที่มีชาวจีนพานักอาศัย มีการสร้างวัดและศาลเจ้าของ
เทพเจ้าต่างๆในประเทศนั้นเพื่ อการสัก การบูชาตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวจีน อาทิ เวียดนาม
มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์และไทย เมื่อจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบราชวงศ์มาเป็น
สาธารณรัฐประชาชนจีน คนจีนอพยพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ ตัดขาดการผูก มั ดกั นกั บ จี น
แผ่นดินใหญ่ การสร้างวัดและศาลเจ้าต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้
มีจิตศรัทธาในเทพเจ้าของชนพื้นเมืองเดิมและมีการผสมผสานวัฒนธรรมจากชนพื้นเมืองเดิมเข้าไป
11

ด้วย ศาลเจ้าจึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่ทากิจกรรมทางศาสนาของสาธารณชน ในเอเชียตะวันออกเฉียง


ใต้นี้ก็ปรากฏสิ่งเหล่านี้โดยทั่วไปที่มีชาวจีนโพ้นทะเลเข้าไปอาศัยรวมถึงประเทศไทยนี้ด้วย1

ภาพที่ 2.1 การสักการะเทพเจ้าเนื่องในวันเทวสมภพ

ที่มา: บันทึกภาพโดย คุณโสภณ พฤฒานุภาพ สถานที่ กวนอิมธรรมสถาน (หนองแขม) จ.กรุงเทพมหานคร วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2554

ในประเทศไทยนี้มีศาลเจ้าอยู่มากมายและในหลายจังหวัดของประเทศก็มีศาลเจ้าที่เป็น
ที่เคารพบูชากันในหมู่คนไทยเชื้อสายจีนและชาวไทย เช่น ศาลเจ้าปู่ย่าของจังหวัดอุดรธานี ศาลเจ้า
พ่อเจ้าแม่ปากน้าโพจังหวัดนครสวรรค์ ศาลเจ้าแม่เบิกไพร อาเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นต้น มี
อีกจังหวัดหนึ่งเป็นจังหวัดที่มีศาลเจ้าเป็นจานวนมาก นั่นคือ จังหวัดชลบุรี ซึ่งจังหวัดนี้มีพิธีกรรมหนึ่ง
ที่มีความสาคัญมากสาหรับศาลเจ้าและผู้คนผู้มีจิตศรัทธาจากที่ต่างๆทั้งในเมืองชลบุรีก็ดีและจากต่าง
ถิ่นก็ดีจะมาพร้อมเพรียงกันเมื่อมีพิธีกรรมนี้เกิดขึ้นและพิธีกรรมนี้จะดาเนินการได้โดยผ่าน “ร่างทรง”
โดยตรง(ในส่วนของร่างทรงจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) อันเป็นที่มาของหัวข้อวิจัยดังกล่าวนี้ นั่นคือ
พิธีเฉลิมฉลองและถวายพระพรเทพเจ้าหรือพิธีกรรมเค้งจก( )

1
เอวีลีน ลิป, ตานานวัดและเทพเจ้าจีน,(กรุงเทพมหานคร:สานักพิมพ์สร้อยทอง,2537),น.24-29
12

พิ ธี เ ฉลิม ฉลองและถวายพระพรเทพเจ้ าหรือ พิ ธีก รรมเค้ ง จก( )นี้ จั ดว่ าเป็ น


พิธีกรรมที่แสดงออกถึงการเคารพบูชาเทพเจ้า พิธีดังกล่าวนี้จะจัดขึ้นเมื่อถึงวันสาคัญของเทพเจ้าองค์
นั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดให้กับเทพเจ้าที่เป็นองค์ประธานของศาลหรือวันสาคัญของศาลเจ้า เช่น วัน
คล้ายวันครบรอบสมโภชศาลเจ้า วันฉลองศาลเจ้าหลังการบูรณะใหญ่ เป็นต้น พิธีกรรมดังกล่าวนี้มี
รากฐานเดิมมาจากประเทศจีนอันเป็นสถานที่ที่กาเนิดความเชื่อเรื่องเทพเจ้าจีน พิธีกรรมนี้แต่แรกเริ่ม
จะมาจากการนาเครื่องเซ่นสรวงสังเวยตั้งขึ้นถวายเทพเจ้าทั้งในประจาวันและเนื่องในวันสาคัญต่างๆ
ของเทพเจ้าหรือศาลเจ้า เมื่อมีระยะเวลาผ่านไปเนินนาน รูปแบบการจัดพิธีกรรมก็เริ่มมีการปรับ เติม
เสริมแต่งขึ้นตามกาลเวลาและได้มีการแพร่ออกไปตามกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลในที่ต่างๆและก็ยังมีการ
ปรับเติมเสริมแต่งกันไปเรื่อยๆตามพื้นที่ที่ชาวจีนโพ้นทะเลได้เข้าไปอาศัยอยู่ ดังนั้นพิธีกรรมดังกล่าวนี้
จะมีในไต้หวันและประเทศกลุ่มอาเซียน อาทิ ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิ งคโปร์และประเทศไทยอัน
เป็นประเทศกรณีศึกษา ซึ่งในประเทศไทยนี้จะมีความแตกต่างที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน ดังนั้นจึงจะขอ
แยกหัวย่อยออกเป็น 3 หัวข้อย่อยเพื่อเป็นหมวดหมู่ง่ายแก่การเข้าใจ คือ ความเป็นมาของพิธีกรรม
เค้งจก พิธีเค้งจกในต่างประเทศ และ พิธีเค้งจกในประเทศไทย เหตุที่ได้ทาการแยกให้ออกมาอย่าง
ชัดเจน เนื่องจากพิธีเค้งจกในประเทศอื่นๆนี้จะเน้นการถวายเครื่องสักการะต่อเทวรูปบูชา โดยมิได้
เน้นการประทับทรงเป็นเรื่องสาคัญ ต่างกันกับประเทศไทยที่มีการถวายเครื่องสักการบูชาเทพเจ้าผ่าน
การประทับทรงโดยร่างทรงเป็นสาคัญ ซึ่งจะขอแยกอธิบายเป็น 3 หัวข้อ ดังนี้
2.1 ความเป็นมาของพิธีกรรมเค้งจก
แต่ดั้งเดิมนั้นชาวจีนมีความเชื่อในเรื่องของเทพเจ้า โดยมีการนับถือสืบทอดกันมาตั้งต้น
จนถึงเริ่มมีการบันทึกประวัติศาสตร์จีนเลยทีเดียว ประกอบกับชาวจีนค่อนข้างที่จะรับ ความเชื่อต่างๆ
โดยง่าย โดยเฉพาะในเรื่องของความเป็นมงคลและผูกพันกับวิถีชีวิตประจาวันของตนอย่างแนบแน่น
ทาให้เ ราเห็นได้ว่า เทพเจ้าจีนนั้นมี ทั้ ง ที่ เ ป็นของจีนเองและที่ รับ มาจากพระพุท ธศาสนาจ านวน
มากมาย แต่ละพระองค์ล้วนก็มีตานานความเชื่อและประวัติความเป็นมาที่น่าติดตาม ถึงกระนั้นชาว
จีนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ที่รู้และเข้าใจในความเชื่อและเรื่องราวของเทพเจ้าจีนเพียงแค่บางองค์ที่ตนเคารพ
เลื่อมใสศรัท ธาอย่างจริง จัง ก็ ดูจ ะมี น้อยยิ่ง นัก ทั้ ง นี้อาจจะเป็นเพราะสภาพแวดล้อมทางสัง คม
การเมือง เศรษฐกิจ การดารงชีวิตและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ ว
ทาให้เรื่องราวดังกล่าวไม่เป็นที่น่าสนใจมากนัก แต่ด้วยความศรัทธาของชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่ก็ดีหรือ
ชาวจีนโพ้นทะเลก็ดีที่มีต่อเทพเจ้า ก็ยังมีการสืบสานธรรมเนียมประเพณีการบูชาเทพเจ้าของตนเอง
อยู่ ในปัจจุบันเราจะเห็นโดยทั่วไปว่า ชาวจีนจะมีการเคารพบูชาเทพเจ้าของตนเองเนื่องในเทศกาล
ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลตรุษจีน เทศกาลสาทรจีน เทศกาลไหว้บะจ่าง เทศกาลไหว้พระจันทร์หรือ
ในเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย เราก็จะเห็นชาวจีนทาพิธีกรรมเคารพบูชาเทพเจ้าในเทศกาลต่างๆเหล่านี้
13

ด้วยอาจจะมีจุดประสงค์เ พื่อการขอความเป็นมงคลแก่ครอบครัวของตนหรืออาจ จะเพื่อขอความ


ร่ารวยเป็ น ต้น แต่ ก็ มี พิ ธี ก รรมหนึ่ง ที่ มี ค วามส าคั ญ ไม่ แ พ้กั น แต่เ ราจะไม่ ค่ อยพบเห็ นกั น ทั่ ว ไป
เนื่องมาจากเป็นการประกอบพิธีกรรมในเฉพาะกลุ่มที่ มีความเคร่งครัดหรือมีธรรมเนียมปฏิบัติที่
เข้มงวดกว่าคนจีนสมัยใหม่ทั่วๆไป พิธีกรรมนี้มีชื่อว่า พิธีถวายพระพรเทพเจ้าหรือพิธีกรรมเค้งจก(
) พิธีกรรมเค้งจกนี้เป็นพิธีกรรมที่จะกระทาเนื่องในโอกาสสาคัญของเทพเจ้าหรือศาลเจ้า เช่น วัน
คล้ายวันประสูติเทพเจ้า วันคล้ายวันครบรอบการก่อตั้งศาลเจ้า เป็นต้น แต่ในความหมายโดยแท้จริง
แล้ว นั้น การประกอบพิ ธีก รรมเค้ง จกจะกระท ากั นเนื่ องในวั นคล้ ายวันประสูติเ ทพเจ้า เปรีย บ
เหมือนกับงานเลี้ยงฉลองของเทพเจ้าที่มนุษย์ได้จัดถวายให้ ซึ่งการจัดพิธีกรรมนี้ขึ้นก็มีจุดประสงค์เพื่อ
แสดงออกถึงความกตัญญูที่มนุษย์มีต่อเทพเจ้าที่ได้คุ้มครองตลอดมา เมื่อถึงวันคล้ายวันประสูตเิ ทพเจ้า
ชาวจีนก็จะจัดพิธีกรรมนี้ขึ้น โดยแต่ดั้งเดิมนั้นก็จะเป็นเพียงการเครื่องเซ่นสรวงตามแต่ที่จะสามารถ
จัดหามาถวายได้ ต่อมาก็เริ่มมีการตั้งเป็นแบบแผนมากยิ่งขึ้นจนกลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสบื ทอด
ต่อๆกันมา อาจจะมีก ารเปลี่ยนไปบ้างตามแต่กาละและเทศะที่ พิธีกรรมเค้งได้เข้าไปในพื้นที่ต่างๆ
ดังนั้นถ้าจะให้สรุปโดยง่ายแล้ว พิธีกรรมการไหว้ต่างๆในเทศกาลจีนจะเป็นเรื่องของการขอพรเป็น
จุดประสงค์หลัก แต่พิธีกรรมการไหว้ในพิธีกรรมเค้งจกจะเป็นเรื่องของการแสดงความกตัญญูของ
มนุษย์ต่อเทพเจ้า ซึ่งพิธีกรรมเค้งจกนี้เราจะเห็นได้ทั้งในต่างประเทศและประเทศไทยของเราเอง
2.2 พิธีเค้งจกในต่างประเทศ
พิธีเค้งจกในต่างประเทศนี้ จะเป็นพิธีกรรมเค้งจกของชาวจีนในชุมชนชาวจีนในพื้นที่
ต่างๆ ทั้งในไต้หวันหรือในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น โดยจะเริ่มจากความ
เชื่อในเรื่องเทพเจ้าของชาวจีนโพ้นทะเลเป็นหลักและได้นาขั้นตอนพิธีกรรมดังกล่าวเข้าไปมีบทบาทใน
พื้นที่ ที่ตนเองได้อ าศัยและอาจมี การเพิ่มเติม เสริมแต่ง บ้างตามความเหมาะสมกับ พื้นที่ ซึ่งพื้นที่ ที่
ปรากฏการทาพิธีเค้งจกที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน เช่น ไต้หวั น มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น การทาพิธี
เค้งจกของประเทศเหล่านี้จะเห็นปฏิบัติได้ชัดเจนในเรื่องพิธีกรรมและเป็นที่นิยมกระทากั น ซึ่งจะ
กระทากันเฉพาะภายในศาลเจ้าที่มีงานเป็นหลัก เช่น เมื่อถึงวันคล้ายวันประสูติของเทพเจ้า จะนิยม
จัดพิธีเค้งจกให้กับเทพเจ้าในศาลนั้น ซึ่งจะนิยมจัดให้กับเทพเจ้าองค์ประธานศาล ขึ้นตอนการกระทา
พิธีกรรมเค้งจกนี้จะจัดโดยมีการเตรียมเครื่องเซ่นสรวงบูชาต่างๆที่มีความหมายอันเป็นมงคลหรือเป็น
ของอันเป็นที่นิยมของเทพเจ้า โดยหลักแล้วจะมีเครื่องเซ่นสรวงบูชาดังนี้
14

2.1.1 เครื่องสุคนธ์บูชา ได้แก่ ธูป ผงกายาน ก้านไม้จันทร์หรือไม้การบูร


2.1.2 ประทีปบูชา ได้แก่ เทียน ตะเกียง
2.1.3 บุปผาชาติบูชา ได้แก่ ดอกไม้หอม ดอกไม้ประดับ
2.1.4 เครื่องคาว ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ทั้งที่ปรุงสุกแล้วหรือยังดิบอยู่ ในกรณีของเทพ
เจ้าหรือโพธิสัตว์ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจะไม่ถวายเนื้อสัตว์และเปลี่ยนเป็นอาหารเจ
2.1.5 เครื่องหวานและขนม ได้แก่ ขนมสาคูแดง ขนมบัวลอย ซาลาเปา ขนมเปี๊ยะต่างๆ
ตามเทศกาล
2.1.6 ผลไม้ เน้นผลไม้ที่เป็นมงคล ได้แก่ ส้ม แอ๊ปเปิ้ล สาลี่ องุ่น กล้วย ลูกท้อ สัปปะรด
เป็นต้น
2.1.7 เครื่องไหว้อื่นๆ ที่มีความหมายมงคล ได้แก่ เส้นหมี่เหลือง ไข่ต้มย้อมสีแดง เป็น
ต้น
2.1.8 สุธารสบูชา(น้า) ได้แก่ น้าเปล่า น้าชาและเหล้า(ยกเว้นสายพระพุทธศาสนาจะไม่
ถวายเหล้า)
2.1.9 เครื่องกระดาษ ได้แก่ กระดาษเงินกระดาษทองที่ใช้เฉพาะของเทพเจ้า เทียบเชิญ
เทพเจ้าใช้เผาส่งสารต่อเทพเจ้าเพื่อเชิญเทพเจ้าเข้าสู่ปะราพิธี
15

ภาพที่ 2.2 งานเฉลิมฉลองและถวายพระพรเทพเจ้าหรือพิธีกรรมเค้งจกในไต้หวัน

ที่มา: สถานที่ ศาลเจ้าเทพเจ้าเทียงโหวเซี๊ยะบ้อ ประเทศไต้หวัน


(http://www.tainan.gov.tw/tainan/news.asp?id=%7BA49AB803-187A-4E7C-9B0F-067D2B75983E%7D)

ทั้ง หมดนี้เ ป็นส่วนหนึ่งของเครื่องเซ่นสรวงต่อเทพเจ้าที่ จ ะกระท ากันในแต่ล ะพื้นที่


อาจจะมีความต่างๆกันบ้างแล้วแต่พื้นที่ที่พิธีเค้งจกไปปรากฏ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความคิดความเชื่อใน
เรื่องเครื่องเซ่นสรวงบูชาเทพเจ้าจะสัมพันธ์กับความคิดของคนพื้นถิ่น รวมไปถึงความเป็ นไปได้ที่จะ
นามาถวาย เช่น กรณีของลูกท้อ ชาวจีนถือกันว่าลูกท้อมีความหมายถึงการมีอายุที่ยืนยาว เหมาะกับ
การอวยพรในวันคล้ายวันประสูติของเทพเจ้า แต่ลูกท้อเป็นผลไม้ที่จะขึ้นได้ในที่เย็น ซึ่งจะไม่เหมาะกับ
สภาพอากาศของประเทศในกลุ่มอาเซียน จึงมีการประดิษฐ์คิดค้นการทาซาลาเปารูปลูกท้อขึ้นเพื่อใช้
ในการอวยพรแทนการถวายด้วยของจริงที่ค่อนข้างหาได้ยาก ความคิดชุดนี้จึงปรากฏให้เห็นได้มากใน
กลุ่มประเทศอาเซียน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์และไทย รวมทั้งไต้หวันและจีนเองก็มีการใช้ความคิดชุด
นี้ด้วยในกรณีที่ไม่ใช่ฤดูของลูกท้อก็จะใช้ความคิดชุดนี้แทน นี้จึงเป็นกรณีตัวอย่าง
เมื่อจัดเตรียมเครื่องเซ่นสรวงบูชาอย่างสวยงามและครบครันตามความเชื่อของพืน้ ทีแ่ ล้ว
ต่อไปจะเป็น เรื่องของขั้นตอนการถวายพระพรที่จะมีความละเอียดพิถีพิถันมาก ขั้นตอนต่างๆนี้จะ
เน้น กระท าโดยคณะกรรมการของศาลเจ้า ที่ มี ง านพิธี เ ค้ ง จกและอาจจะมี ก ารเชิ ญ สมาคมหรื อ
หน่วยงานต่างๆเข้าร่วมงานพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นการให้เกียรติแก่ทางศาลเจ้าอีกด้วย ซึ่ง
การจะถวายพระพรได้นั้นจะต้องเริ่มจากประธานคณะกรรมการและคณะกรรมการของศาลเจ้าเป็น
ผู้ดาเนินการก่อนหรือในบางกรณีอาจให้แขกผู้ใหญ่หรือผู้มีเกียรติสูงสุดในงานได้เป็นผู้เริม่ ถวายพระพร
16

ก่อน ตาแหน่งการยืนและการยกเครื่องสักการะบูชาก็จะเน้นบุคคลผู้มีเกียรติก่อนเป็นหลัก การถวาย


พระพรโดยทั่วไปจะเริ่มจะประธานผู้ถวายพระพรก่อนเป็นหลัก โดยจะเริ่มจากการถวายเครือ่ งประทีป
และสุคนธ์บูชา จากนั้นจะเปิดเทียบอ่านเชิญเทพเจ้าประจาศาลเจ้า บอกกล่าวถึงวาระของการจัดงาน
เค้ง จกและจุดประสงค์ของงาน รวมทั้ ง ขอพระพรจากเทพเจ้าให้คุ้มครองผู้เ ข้าร่วมพิธีให้ประสบ
ความสาเร็จ เมื่ออ่านเทียบเชิญเสร็จแล้วก็จะเผาเทียบเชิญส่งขึ้นสู่สรวงสวรรค์รายงานต่อเทพเจ้าและ
เริ่มการยกเครื่องเซ่นสรวงถวายต่อเทพเจ้าตามลาดับ การทาการยกเครื่องสักการบูชาถวายต่อเทพเจ้า
นี้จะกระทากันต่อหน้าเทวรูปบูชาของเทพเจ้าองค์นั้น เพื่อเป็นการถวายพระพรและขอพรเพื่อให้สม
ความปรารถนา อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูที่มีต่อเทพเจ้า
ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างคราวๆของงานเฉลิมฉลองและถวายพระพรเทพเจ้าหรือเค้งจกซึ่ง
จะปรากฏให้เห็นในพื้นที่ที่มีชาวจีนโพ้นทะเลเข้าไปอาศัย เช่น ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศ
ไทย แต่ในประเทศไทยนี้เป็นกรณีพิเศษที่มีความแตกต่างกันจากพื้นที่อื่นๆค่อนข้างชัดเจน นั่นคือ มี
การประทับทรงเข้ามาเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมเค้งจกด้วย ต่างจากพื้นที่อื่นๆที่เน้นการถวายพระพรเทพ
เจ้าโดยที่มิได้มีการประทับทรงหรือมิได้เน้นการประทับทรงเป็นสาคัญ ดังนั้นพื้นที่ประเทศไทยจึงเป็น
พื้นที่กรณีศึกษาที่จะลงรายละเอียดในหัวข้อถัดไป
2.3 พิธีเค้งจกในประเทศไทย
พิธีก รรมเค้ง จกของประเทศไทยจะมี รูป แบบและอารยะแบบธรรมเนียมจีนอยู่ม าก
ผนวกกับเชื้อสายของชาวจีนโพ้นทะเลที่ประกอบพิธีกรรมเค้งจกในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นชาว
จีน โพ้ นทะเลที่ มี เ ชื้ อ สายแต้จิ๋ ว ซึ่ ง ชาวจี นแต้จิ๋ วนี้ จ ะมี ก ารจั ด และประกอบพิธี ก รรมที่ ค่อ นข้ า ง
ละเอียดอ่อน รวมทั้งยังมีความเคร่งครัดในเรื่องของพิธีกรรม จึงทาให้การประกอบพิธีกรรมเค้งจกของ
ประเทศไทยนี้ อ อกมาในรู ป แบบที่ ส วยงามและน่ า สนใจ อี ก ทั้ ง ยั ง มี ค วามคล้ า ยคลึ ง กั น กั บ ใน
ต่างประเทศทั้งในเรื่องของเครื่องสักการะบูชาและรูปแบบขั้นตอนพิธีกรรม
หากแต่มีความต่างกันอย่างชัดเจน นั่นคือ การประทับทรงเทพเจ้าเพื่อเชิญเทพเจ้ารับ
เครื่องสักการบูชา ในจุดนี้เองที่ผู้วิจัยมองเห็นความแตกต่างกันประการหนึ่ง คือ หากเราเปรียบเทียบ
พื้นที่ของพิธีกรรมเค้งจกในประเทศไทย ประเทศไทยมีชาวจีนโพ้นทะเลเชื้อสายแต้จิ๋วอาศัยอยู่ทั่วไป
ในทุกภูมิภาค แต่ในทุกภูมิภาคนั้นกลับไม่มีการจัดงานพิธีกรรมเค้งจกได้เต็มรูปแบบเท่ากับพื้นที่ของ
ชาวจีน โพ้ นทะเลในภูมิ ภาคตะวัน ออกของไทย นั่น คือ จั ง หวั ด ชลบุรี ซึ่ง ในพื้น ที่ นี้ก็ จ ะปรากฏ
ปรากฏการณ์การประทับทรงเทพเจ้าในพิธีกรรมเค้งจกด้วย การที่พิธีกรรมเค้งจกของจังหวัด ชลบุรี
จะต้ อ งมี ก ารประทั บ ทรงเทพเจ้ า ผู้ วิ จั ย มี ค วามเห็ น ว่ า การที่ ต้ อ งมี ก ารประทั บ ทรงเทพเจ้ า
เปรียบเสมือนเป็นการสร้างให้รูปแบบของการประกอบพิธีกรรมนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น อีกทั้งจาก
ที่ผู้วิจัยได้ทาการศึกษาพบว่า การประทับทรงในพิธีกรรมเค้งจกของภูมิภาคตะวันออกจะเริ่มขึ้นจาก
จังหวัด ชลบุรี เป็นที่แรกๆ โดยเริ่มที่อาเภอ บ้านบึง เป็นที่แรกสุด ในปัจจุบันจะพบว่า มีพื้นที่อื่นๆใน
17

ภูมิภาคตะวันออกที่ได้รับอิทธิพลของความเชื่อชุดนี้เข้าไปมีบทบาทเช่นเดียวกัน กรณี เช่น ในจังหวัด


ฉะเชิงเทรา ก็พบว่าเป็นพื้นที่ที่มีปรากฏความเชื่อเรื่องการประทับทรงในพิธีกรรมเค้งจก เป็นต้น

ภาพที่ 2.3 งานพิธีกรรมเค้งจกแด่เทพเจ้าซากัวเอี๊ย

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2556

พิธีก รรมเค้ง จกในประเทศไทยจะก าหนดวาระของการจัดพิธีก รรมเช่นเดียวกั บ ใน


ต่างประเทศ คือ จะนิยมจัดเนื่องในวันคล้ายวันประสูติเทพเจ้าหรือเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสมโภช
ศาลเจ้าหรือเนื่องในงานบูรณะศาลเจ้า เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพิธีกรรมเค้งจกในประเทศไทยนี้จะ
จัดขึ้นตกปีละหนึ่งถึงสองครั้งเท่านั้น ดังนั้นรูปแบบการจัดงานจะเน้นการจัดงานที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่และ
อลังการ เพื่อเป็นเกียรติและถวายพระพรต่อเทพเจ้า เพื่อการนี้ก็จะทาการอัญเชิญเทพเจ้าเข้าประทับ
ทรงเพื่อรับเครื่องสักการบูชาต่างๆที่ผู้คนต่างจัดแจงถวายต่อเทพเจ้า ทั้งนี้พิธีกรรมเค้งจกเป็นพิธีกรรม
ที่มีความสืบเนื่องมาจากประเทศจีน ดังนั้น
ในเรื่อ งของเครื่อ งสักการบูชาเทพเจ้า จะมีความคล้ายคลึง กันกับ พิธีกรรมเค้งจกใน
ต่างประเทศ ซึ่งจะมีเครื่องบูชา ได้แก่ สุคนธ์บูชา ประทีปบูชา บุปผาชาติบูชา เครื่องคาวเครื่องหวาน
ขนมต่างๆ สุธารส ผลไม้มงคลต่างๆและเครื่องกระดาษต่างๆอย่างที่ได้กล่าวมา แต่ก็จะมีที่แตกต่างกัน
กับต่างประเทศ อาทิ การถวายการแสดงต่อเทพเจ้า เช่น ถวายงิ้ว ถวายลิเก เชิดสิงโตถวาย เป็นต้น
หรือการมีดนตรีประโคมขับกล่อมเทพเจ้าตลอดงานถวายพระพร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกที่จะถวายสิ่ง
18

ใดหรือความนิยมสิ่งใดในท้องถิ่นหรือเป็นบัญชาของเทพเจ้าผ่านทางร่างทรง ซึ่งจะลงรายละเอียดใน
บทต่อไป
ส่วนของขั้นตอนการถวายพระพรเทพเจ้านี้จะมีรายละเอียดเช่นเดียวกันกับพิธีเค้งจกใน
ต่างประเทศ คือ เน้นความพิถีพิถันในเรื่องของการถวายพระพร ลาดับตาแหน่งของคณะกรรมการ
และแขกผู้มีเกียรติ แต่ความต่างกันของพิธีเค้งจกในต่างประเทศและในประเทศไทย คือ ในประเทศ
ไทย เมื่อ คณะกรรมการของศาลเจ้าที่ มีก ารจัดงานได้ทาการถวายพระพรเทพเจ้าประจ าศาลของ
ตนเองเสร็จแล้ว แขกของเทพเจ้าหรือก็คือร่างทรงจากศาลเจ้าต่างๆและคณะกรรมการของศาลเจ้า
นั้นๆจะเข้ามาร่วมถวายพระพรเทพเจ้าที่ เ ป็นเจ้าภาพของงาน จุดนี้เ องที่ มี เสน่ห์และเป็นหนึ่ง ใน
ประเด็นศึกษา
การจัดงานพิธีเค้งจกนั้นจะมีระยะเวลาของช่วงงานพิธียาวนานถึง 3 วัน คือ วันก่อนวัน
เริ่มงานพิธีกรรมเค้งจก , วันถวายพระพรเทพเจ้าเนื่องในวันคล้ายวันประสูติ(วันประกอบพิธีกรรมเค้ง
จก) , วันประกอบพิ ธีก รรมเซ่นไหว้วิญ ญาณไร้ญ าติ ( ไป๊ฮอเฮียตี๋ ) และแจกทาน โดยวันก่ อนที่ จ ะ
ประกอบพิธีกรรมเค้งจกหนึ่ง วันหรือก่อนวันงาน จะมีการอัญเชิญเทพเจ้าเสด็จลงประทับทรงเพื่อ
สั่งงาน โดยมีความใจความประมาณว่า พรุ่งนี้จะมีงานจะต้องมีการเตรียมงานและต้อนรับแขกให้ดี ซึ่ง
แขกในที่ นี้ก็คือ ร่างทรงจากศาลเจ้าต่างๆที่ ก่ อนหน้านี้ได้มีก ารส่ง เที ยบเชิญเทพเจ้า ร่า งทรงและ
คณะกรรมการจากศาลเจ้าต่างๆเข้าร่วมงานพิธีเพื่อเป็นเกียรติกับศาลเจ้าเจ้าภาพ อย่างในกรณีสมมุติ
เช่น เมื่อศาลเจ้าแม่กวนอิมใกล้จะมีงานเค้งจกประจาปีเนื่องในวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ ร่าง
ทรงและคณะกรรมการจะเดินทางนาเทียบเชิญไปเชิญเทพเจ้า ร่างทรงและคณะกรรมการจากศาลเจ้า
ใกล้เคียงหรือศาลเจ้าที่เป็นพันธมิตรกันเข้าร่วมงานกัน หากศาลเจ้านั้นเป็นศาลเจ้าที่ใหญ่ โตและมี
เครือ ข่ ายพั นธมิ ตรที่ ก ว้ างขวาง บรรดาศาลเจ้ าที่ จ ะเข้ ามาร่ว มงานก็ จ ะมากั น เป็น จ านวนมาก
แสดงออกให้เห็นถึง สิ่งหนึ่ง นั่นคือหน้าตาและชื่อเสียงของเทพเจ้าและร่างทรงของศาลเจ้านั้นได้
ปรากฏการณ์นี้จะไม่เห็นพบเห็นเลยในต่างประเทศหรือมีอยู่น้อยมากและยังไม่ชัดเจนเท่ ากับประเทศ
ไทย ซึ่งในวันก่อนงานพิธีถวายพระพรเทพเจ้าหรือพิธีกรรมเค้งจกนี้เอง เทพเจ้าที่เข้ามาประทับทรงจะ
ขึ้นบอกล่าวเทพเทวดาโดยมีการต่อโต๊ะขึ้นไป 3 ชั้น เรียกกันว่า ซาเอี่ยงชึ้ง เพื่อบอกกล่าวเทพเทวดา
ว่า ศาลเจ้าแห่งนี้ชื่อว่าอะไร เทพเจ้าองค์ใดเป็นประธานศาลเจ้า ร่างทรงชื่อว่าอะไร จะจัดงานถวาย
พระพรเทพเจ้าเนื่องในโอกาสอะไร ซึ่งในวันแรกคือวันก่อนวันเริ่มงานพิธีกรรมเค้งจกนี้ ถือเป็นโอกาส
ที่เจ้าบ้านคือศาลเจ้าที่จัดงานจะได้เตรียมงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้พร้อมในวันรุ่งขึ้น
19

ภาพที่ 2.4 การตั้งโต๊ะซาเอี่ยงชึ้งเพื่อบอกกล่าวเทพเทวดาก่อนเริ่มงานพิธีกรรมเค้งจก

ที่มา: สถานที่ ศาลเจ้าตัว่ แป๊ะกง เขาซกใน จ.ชลบุรี


(https://www.facebook.com/profile.php?id=100004119884604&sk=photos#!/photo.php?fbid=323059427839182&se
t=a.303083333170125.1073741825.100004053828112&type=3&theater)
20

ในวันที่สองของงาน คือ วันถวายพระพรเทพเจ้าเนื่องในวันคล้ายวันประสูติ(วันประกอบ


พิธีกรรมเค้งจก) ถือว่ามีความสาคัญที่สุด เพราะถือว่าเป็นวันคล้ายวันประสูติของเทพเจ้าพระองค์นั้น
ของศาลเจ้า ศาลเจ้า ต่างๆที่ ได้ ไปท าการเรี ยนเชิ ญ มาจะพากั น มาร่ วมงาน รวมทั้ ง ร่า งทรงและ
คณะกรรมการของศาลเจ้านั้นๆจะเข้ามาด้วย โดยศาลเจ้าที่มาร่วมงานจะมีการอัญเชิญเทพเจ้าเข้ามา
ประทับทรงโดยร่างทรงของศาลเจ้านั้นเพื่อนาเทพเจ้าของตนเข้าร่วมงานพิธีเฉลิมฉลองและถวายพระ
พรเทพเจ้าหรือเค้งจกต่อเทพเจ้ารวมทั้งคณะกรรมการของศาลเจ้าที่มาร่วมงานจะนาเครื่องเซ่นสรวง
บูชามาถวายต่อเทพเจ้าของศาลเจ้าที่มีงานพิธีและเทพเจ้าของศาลเจ้าตนเองจะมาร่วมประทับทรง
และนั่งบัลลังก์ร่วมกับเทพเจ้าที่ลงประทับทรงผ่านร่างทรงของศาลเจ้าเจ้าภาพเพือ่ รับการถวายพระพร
จากสาธุชนและเป็นเกียรติให้กับเทพเจ้าของศาลเจ้าเจ้าภาพด้วย จุดนี้เองที่เป็นความต่างอีกประการ
หนึ่งที่จะปรากฏเฉพาะในประเทศไทยและแทบจะหาจากที่อื่นไม่ได้เลย

ภาพที่ 2.5 บรรดาร่างทรงขณะประทับทรงเทพเจ้าในงานวันประกอบพิธีกรรมเค้งจก

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556
21

ในวันที่สาม คือ วันประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้วิญญาณไร้ญาติ(ไป๊ฮอเฮียตี๋)และแจกทาน


จะเป็นวันเซ่นไหว้เหล่าดวงวิญญาณที่ไร้ญาติขาดมิตร โดยงานพิธีกรรมเค้งของชาวชลบุรีมีการถือกัน
ว่า เมื่ อเราได้ท าบุญ กับ เทพเจ้าแล้ว ต้องมี การซื้อข้าวสารอาหารแห้งต่างๆมาเพื่อไหว้เหล่าดวง
วิญญาณไร้ญาติหรือสัมภเวสีเพื่อเป็นการทาทาน หากศาลเจ้าใดที่มีการจัดงานเค้งจกและมีการบริหาร
จัดการที่ดีพอก็จะมีการแจกข้าวสารด้วย เพื่อเป็นการให้โอกาสกับผู้ยากไร้ให้ได้รับบุญตรงจุดนี้ด้วย
โดยหักจากรายรับที่ได้จากการทาบุญของศาลเจ้า หากแต่ปัจจุบันจะเอาพิธีไหว้วิญญาณไร้ญาติมาไว้
รวมกับวันประกอบพิธีก รรมเค้ง จก เนื่องมาจากเกรงว่าบรรดาศิษย์ยานุศิษย์หรือสาธุชนจะมีธุร ะ
หรือไม่ว่าง ผนวกกับว่าเมื่อได้มาทาบุญกับเทพเจ้าแล้วก็ทาทานไปกับสัมภเวสีได้เลย และในตอนท้าย
ของงานถวายพระพรเทพเจ้าหรือพิธีกรรมเค้งจก จะมีการถวายเครื่องทรงของเทพเจ้าหรือเรียกกันว่า
เกาเพ้า จึงจะถึงว่าพิธีเค้งจกนี้สมบูรณ์

ภาพที่ 2.6 พิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณไร้ญาติหรือไป๊ฮอเฮียตี๋ในงานพิธีกรรมเค้งจก

ที่มา: สถานที่ ศาลเจ้ากุมารทองแดง มาบไผ่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี


(https://www.facebook.com/thongdang.chon/media_set?set=a.1390463614513746.1073741830.100006503622423&
type=3#!/photo.php?fbid=1390468024513305&set=a.1390463614513746.1073741830.100006503622423&type=3&t
heater)
22

ภาพที่ 2.7 พิธีเกาเพ้าหลังจากเสร็จสิ้นพิธีกรรมเค้งจกของศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย

ที่มา: สถานที่ ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี


(https://www.facebook.com/thongdang.chon/media_set?set=a.1390463614513746.1073741830.100006503622423&
type=3#!/photo.php?fbid=231717003637718&set=a.231708336971918.1073741826.100003982597447&type=3&the
ater)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า พิธีกรรมเฉลิมฉลองและถวายพระพรเทพเจ้าหรือพิธีกรรมเค้งจกของ
ประเทศไทย จึงแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆที่มีการประกอบพิธีกรรมในเรื่องของการปรากฏการประทับ
ทรงเทพเจ้า จุดนี้เองเป็นการแสดงออกในเชิงของ “สัญลักษณ์” จากนามธรรมสู่รูปธรรม หากให้สรุป
แล้ว เมื่อเรามองพิธีกรรมเค้งจกในต่างประเทศ การเฉลิมฉลองและถวายพระพรเทพเจ้าหรือพิธีกรรม
เค้งจก จะเป็นการถวายเครื่องสักการะต่อหน้าเทวรูปของเทพเจ้า แสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ที่เป็น
ลักษณะ “นามธรรม” แต่ในประเทศไทยนี้ได้เปลี่ยนสัญลักษณ์ของ “นามธรรม” นี้ ให้ออกมามี
ลักษณะของ “รูปธรรม” เกิดขึ้น
23

ภาพที่ 2.8 ร่างทรงขณะประทับทรงเทพเจ้ากิมอ๊วงเอี๊ยะรับเครื่องเซ่นในพิธีกรรมเค้งจก

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้ากิมอ๊วงเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2556

พิธีกรรมเค้งจกเพื่อการบูชาเทพเจ้าในประเทศไทยนี้จะเริ่มมีขั้นตอนและแบบแผนเพิ่ม
มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องของเครื่องเซ่นสรวง ลาดับการบูชาว่าจะต้องบูชาเทพเจ้าองค์ใดก่อน ใครบ้างที่
จะได้เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมหรือร่วมพิธีกรรม ทั้งนี้ในแต่ละพื้นที่และแต่ละศาลเจ้าก็ยังแยกออกไปอีก
ว่าจะต้องมีธรรมเนียมอย่างไร ขั้นตอนอย่างไร ทาให้พิธีกรรมการบูชาเทพเจ้าของชาวจีนโพ้นทะเลใน
ประเทศไทยเริ่มมีความสลับซับซ้อนกันมากขึ้นและเริ่มมีปรากฏให้เป็นเอกลักษณ์ประจาพื้นที่นั้นๆไป
ดังนั้นการประกอบพิธีกรรมการบูชาเทพเจ้าดังเช่นพิธีกรรมเค้งจกนี้ ก็จะมีให้เห็นในพื้นที่ที่มีชาวจีน
อพยพเข้ามาอาศัย ซึ่งก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทาให้เห็นภาพของการประกอบพิธีกรรมอันเป็นประเพณี
จากชาวจีนโพ้นทะเลที่รับอิทธิพลจากความเป็นวัฒนธรรมเดิมของพื้นที่ ซึ่งจะมีการประกอบพิธีกรรม
โดยมี “การประทับทรง”โดยร่างทรงและร่างทรงเองก็มีความสาคัญมากต่อพื้นที่ในหลายบริบท
จากพิธีกรรมเค้งจกนี้เอง ทาให้เราเห็นได้ว่า เทพเจ้าของชาวจีนโพ้นทะเลเป็นสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการเคารพบูชามากในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลและชาวพื้นเมืองที่ชาวจีนได้เข้าไปอาศัย
ด้วยพระประวัติและความศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะเกิดจากการบนบานศาลกล่าวหรือการ “ประทับทรง” ก็
ตาม เทพเจ้าก็ได้รับการเคารพบูชาและเป็นสิ่งยึดเหนียวอย่างเหนียวแน่น เป็นธรรมดาของผู้คนที่มี
ความทุกข์ร้อนต้องการแสวงหาที่พึ่งทางใจ ในสมัยก่อนที่เทคโนโลยีจะก้าวหน้าเหมือนสมัยปัจจุบันนี้
24

เมื่อมีเรื่องทุกข์ร้อนประการใด ผู้คนก็จะเข้าหาวัดเพื่อปรึกษาพระหรือเข้าหาศาลเจ้า เพื่อปรึกษาไหว้


พระขอพรจากเทพเจ้าให้ช่วยเหลือในเรื่องที่ตนทุกข์ร้อน ในบางรายที่มีเรื่องที่เดือดร้อนมากก็จะมีการ
บนบานศาลกล่าวหรือเสี่ยงเซียมซีเพื่อขอคาปรึกษาจากองค์เทพที่ตนนับถือและนาไปให้ผู้รู้ในศาลเจ้า
ด้วยชี้แจงถ้อยคาในเซียมซีให้กระจ่างมากขึ้น แต่ก็มีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถติดต่อได้กับเทพเจ้าประหนึ่ง
ได้สนทนาปรึกษากับเทพเจ้าโดยตรง นั่นคือ การประทับทรงหรือทรงเจ้า เพื่อสอบถามเรื่องทุกข์ร้อน
หรือบอกกล่าวความต้องการของตนเองต่อเทพเจ้าเพื่อให้เทพเจ้าช่วยเหลือ
ในกรณีของการท าการศึก ษาเรื่องของพิธีกรรมเค้งจก ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ ของศาลเจ้า
ซากัวเอี๊ยและศาลเจ้ากิมอ๊วงเอี๊ย เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาของพิธีกรรมเค้งจกนี้ โดยศาลเจ้าซากัวเอี๊ย
นี้ได้เ ริ่มต้นขึ้นในช่วงประมาณปีพ .ศ. 2486 โดยคุณเฮี๊ยบ แซ่หลาย ได้เดินทางมาจากประเทศจีน
พร้อมอาม่า มีความนับถือองค์เทพเจ้าซากัวเอี๊ยเนื่องจากจากมารดาของนายเฮี๊ยบได้เป็นร่างทรงของ
ซากัวเอี๊ยอยู่ที่ประเทศจีน นายเฮี๊ยบจึงได้นาขี้เถ้าธูปห่อใส่กระดาษพกติดตัวเดินทางมาด้วย ด้วยหวัง
ว่าจะเป็นสิ่งคุ้มครองให้ตนเองเดินทางมาประเทศไทยอย่างปลอดภัย ซึ่งในขณะนั้นนายเฮี๊ยบมีอายุ 21
ปี เมื่อมาถึงประเทศไทยนายเฮี๊ยบและอาม่ารับจ้างทางานทั่วไปในเขตอาเภอบ้านบึง เมื่อครั้งที่บา้ นบึง
ยังเป็นป่ารก มีท้องไร่ ท้องนาเป็นส่วนมาก นายเฮี๊ยบเดิมเที่ยวและได้พบบ้านร้างหลังหนึ่ง ซึ่งบ้านร้าง
หลังนี้มีชาวบ้านเล่าลือกันว่าเป็นบ้านผีสิง แต่นายเฮี๊ยบกับอาม่าก็ไม่ได้ใส่ใจ เข้าไปทาความสะอาดเพือ่
พักพิงอาศัยและเลิกทางานรับจ้างหันมาปลูกผักขาย นายเฮี๊ยบนาผงธูปของเทพเจ้าซากัวเอีย๊ ทีอ่ ญ ั เชิญ
จากประเทศจีนใส่ในกระบอกไผ่ตั้งแท่นบูชา ในสมัยนั้นนายเฮี๊ยบได้รู้จักและมีเพื่อนบ้านมากมาย มี
การเล่าสู่กันฟังถึงชีวิตของนายเฮี๊ยบกับครอบครัวว่า ตนและครอบครัวนับถือและศรัทธาองค์เทพเจ้า
ซากัวเอี๊ยมาก เพราะมารดาของตนเป็นร่างทรง ใครมาถามทุกข์สุข รักษาอาการป่วยก็หายไข้หายป่วย
ขอโชคลาภก็สมหวังและมีอีกมากมายที่เป็นการช่วยเหลือ จนทาให้เพื่อนบ้านเกิดความเชื่อและศรัทธา
เพื่อนบ้านจึงขอร้องให้นายเฮี๊ยบทรงองค์เทพเจ้าซากัวเอี๊ยเพื่อขอโชคลาภ จากนั้นมาก็มีชาวบ้านมาให้
นายเฮี๊ยบทรงให้บ่อยครั้ง จนนายเฮี๊ยบได้สร้างศาลเจ้าหลังคามุงใบจาก (เป็นศาลแรก) เสาหลักไม้ซึ่ง
ขนาดไม่ใหญ่มาก ด้วยความศรัท ธาของชาวบ้านที่ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเกิดการรวมตัวกัน ตั้งเป็น
คณะกรรมการขึ้นและได้บูรณะศาลเจ้าหลังคาสังกะสี (เป็นศาลหลังที่ 2) ขึ้นมาแทนหลังแรกในปีพ.ศ.
2505 ซึ่งต่อมาศาลเจ้าซากัวเอี๊ยเป็นที่เลื่องลือและเคารพศรัทธา นับถือของชาวบ้านบึงไปทั่ว ทาให้มีผู้
หลั่งไหลมาสักการบูชาเพิ่มขึ้นเรื่อยมา นายเฮี๊ยบเป็นร่างทรงเทพเจ้าซากัวเอี๊ยมากกว่า 33 ปีและได้ถึง
แก่กรรมเมื่อเดือน มิถุนายน ปีพ.ศ. 2520 ภายหลัง
25

จากนายเฮี๊ยบถึงแก่กรรมต่อมาภายใน 2 สัปดาห์ เทพเจ้าซากัวเอี๊ยได้จับร่างทรงคนที่ 2 ชื่อนายเลี้ยง


แซ่โค้ว ซึ่งไม่มีบทบาทมากเท่าไรนัก นายเลี้ยงเป็นร่างทรงได้ 8 ปีถึงแก่กรรมเมื่อปีพ.ศ. 2528 จากนั้น
เทพเจ้าซากัวเอี๊ยได้จับร่างทรงคนที่ 3 ชื่อนายเช็งปู่ แซ่อึ้งหรือนายกฤษณะ เหลืองแสนสะอาด นาย
เช็งปู่เป็นร่างทรงเทพเจ้าซากัวเอี๊ยจนมาถึงปัจจุบัน2

ภาพที่ 2.9 เทวรูปเทพเจ้าซากัวเอี๊ย

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

2
สัมภาษณ์ , คุณวิทวัส รัตนะ , อายุ 20 ปี , 17 กันยายน 2556
26

ภาพที่ 2.10 เทพเจ้าซากัวเอี๊ยขณะประทับคุณเซ็งปู่ในวันคล้ายวันประสูติเทพเจ้าซากัวเอี๊ย

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556
27

สาหรับศาลเจ้ากิมอ๊วงเซี๊ยะตี่ อาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรีนี้ มีประวัติความเป็นมา


กล่าวคือ สมัยก่อนนั้นมีการอัญเชิญผงธูปของเทพเจ้ากิมอ๊วงเซี๊ยะตี่มาจากประเทศจีนโดยการอพยพ
มาของชาวจีนโพ้นทะเล เมื่อเทพเจ้ามาอยู่ที่ประเทศไทยนี้ ชาวบ้านได้เรียกขานท่านว่า เทพเจ้าเจ้าพ่อ
หน้าทอง เหตุที่เทพเจ้าพระองค์นี้เป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้านในแถบนี้ มีสาเหตุมาจากว่าท่านเป็นเทพ
เจ้าผู้มีอิทธิฤทธิ์มาก มีเหตุการณ์ช่วงหนึ่งที่เป็นที่กล่าวขานกันมาก คือ ช่วงนั้นอาเภอ บ้านบึง มีสภาพ
พื้นที่ค่อนข้างแล้งมาก ไม่สามารถประกอบการเกษตรกรรมได้ จึงมีการอัญเชิญเทพเจ้ากิมอ๊วงเซี๊ยะตี่
เสด็จประทับ ทรงและท่านได้มีบัญชาให้มีการประกอบพิธีกรรมขอฝนขึ้น โดยมีก ารต่อโต๊ะขึ้นไป
ด้วยกัน 16 ตัว 16 ชั้น เพื่อทาการขอฝนและท่านก็ปีนขึ้นไปบนโต๊ะ 16 ตัวนั้นเพื่อประกอบพิธี เมื่อ
ประกอบพิ ธีเสร็จเพี ยงไม่ กี่ชั่วโมงก็ บังเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์นั่นคือมีเ ม็ดฝนตกลงมากจริง ทาให้
ชาวบ้านเชื่อและศรัทธาเทพเจ้าพระองค์นี้ มีการตั้งศาลเพื่อทาการสักการะขึ้นสืบมา3

3
สัมภาษณ์ , คุณพชรกร นุกูลกิจ , อายุ 30 ปี , 22 กันยายน 2556
28

ภาพที่ 2.11 เทวรูปเทพเจ้ากิมอ๊วงเอี๊ย

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้ากิมอ๊วงเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556
29

ภาพที่ 2.12 เทพเจ้ากิมอ๊วง(ชุดน้าเงิน)ขณะประทับคุณจั๊ว ในงานวันประสูติองค์กิมอ๊วงเอี๊ยะ

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้ากิมอ๊วงเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ เราจะเห็นได้ว่าพิธีกรรมเค้งจกในประเทศไทยนี้จะดาเนินการ
มิได้หากขาดการประทับทรงโดยร่างทรง จะเห็นได้ว่าพิธีกรรมเค้งจกในประเทศไทย มีลักษณะเด่น
สาคัญที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดนั่นคือ มีการประทับทรงโดยร่างทรงนั่นเอง ซึ่งต่างจากประเทศอื่นๆ อีกทั้ง
ในกรณีศึก ษาของไทยนี้ ร่างทรงนับ ว่ามี บ ทบาทค่อนข้างมาก ถือเป็นปรากฏการณ์พิเ ศษที่ ไม่
เหมือนกับที่อื่นๆที่มีพิธีกรรมเค้งจก ดังที่ได้กล่าวแล้วในข้อ 2.2 จะเห็นได้ชัดเจนว่า ร่างทรงมิได้เป็น
เพียงผู้อัญเชิญเทพเจ้าลงมากระทาพิธีแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ถือเป็นตัวแทนของเทพเจ้าและศาล
เจ้านั้นๆอีกด้วย รวมทั้งถือเป็นผู้สร้างความน่าศรัทธาให้แก่เทพเจ้าที่ตนเองได้ทาการประทับทรงเพื่อ
เป็นการเผยแพร่ความศัก ดิ์สิทธิ์และเป็นที่ เคารพของผู้ คนในพื้นที่ อีกทั้ งยังเป็นผู้สร้างความเป็น
“นามธรรม” ในพิธีกรรมเค้งจก ให้มีความเป็น “รูปธรรม” มากยิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งในกรณีของร่างทรงนี้
จะกล่าวโดยละเอียดในบทถัดไป
30

ภาพที่ 2.13 เครื่องเซ่นสรวงเทพเจ้าของศาลเจ้ากิมอ๊วงเอี๊ยในงานพิธีกรรมเค้งจกประจาปี

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้ากิมอ๊วงเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556
31

บทที่ 3

ร่ำงทรงในพิธีกรรมเค้งจก

ก่อนที่จะเข้าถึงประเด็นร่างทรงเทพเจ้าจีนในพิธีกรรมเค้งจก จะขอนาเสนอความเป็นมา
โดยรวมของคาว่าร่างทรงก่อน หากเราพิจารณาคาว่า ร่างทรง ทรงเจ้าหรือการประทับทรงตาม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 สามารถสรุปใจความได้ว่า เป็นการเชิญเจ้าเข้ามาสิง
คนซึ่งจะเรียกคนเหล่านี้ว่า คนทรงเจ้า การทรงเจ้าจึงเป็นความเชื่อที่ว่า มีเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์จริง
สามารถเชื้อเชิญให้เข้ามาประทับทรงในร่างที่เป็นคนและสามารถขอคาปรึกษาจากเทพเจ้าผ่านร่าง
ทรงได้ ซึ่งในบทที่ 3 นี้จะนาเสนอใน 2 หัวข้อย่อย ดังนี้

3.1 ความเป็นมาของร่างทรงและการทรงเจ้าในบริบทสากล

การทรงเจ้าในสมัยแรกเริ่มนั้น จะไม่ยึดเอาการทรงเจ้าเป็นอาชีพ เพราะร่างทรงจะมี


อาชีพหลักกันอยู่แล้ว หน้าที่ ทรงเจ้าเป็นหน้าที่ที่เทพเจ้าผู้มาเข้าทรงจะมอบให้กับร่างของท่านให้
ปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือสังคม โดยจะไม่หวังสิ่งใดๆตอบแทนเป็นราคาค่าแรงหรือค่าวิชาแต่ประการใด
นอกเสียจากผู้ม าขอรับ การช่วยเหลือจากร่างทรงจะนาเครื่องเซ่นสรวงบูชาตามแต่ผู้ขอรับ การ
ช่วยเหลือจะศรัทธาจัดหา เรียกได้ว่า เป็นการบริการด้วยน้าใจ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่า “จะต้องนามา
ให้ร่างทรงเท่านั้นเท่านี้ ไม่ให้ไม่ได้” การที่เกิดการตั้งราคาหรือกาหนดเครื่องบูชาเทพเจ้าจึงมาเกิดขึ้น
ทีหลัง เมื่อมีผู้นิยมการเข้าหาร่างทรงมากขึ้น สิ่งนี้เองจึงกลายเป็นอาชีพ4
มูลเหตุที่ทาให้ผู้คนเชื่อเรื่องของการประทับทรงจากร่างทรง โดยทั่วไปแล้วนั้น การที่
ผู้คนมีความเชื่อหรือความสนใจในเรื่องของการทรงเจ้าจะมีด้วยกัน 2 ประการคือ
1.ความกลัวทางกาย เช่น จะต้องเดินทางไกลกลัวจะเป็นอันตราย กลัวภัยพิบัติ กลัว
ความยากจนและกลัวการเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น รวมทั้งก็มีความกลัวทางใจด้วย เช่น กลัวความทุกข์
กลัวความผิดหวัง กลังสิ่งที่ไม่รู้ เป็นต้น
2.ความต้ อ งการทางร่า งกาย เช่ น ต้ องการความร่ารวย โชคลาภ ต้ องการ
ยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น รวมทั้งก็มีความต้องการทางจิตใจด้วย เช่น ต้องการความมั่นคงปลอดภัย
ต้องการการเป็นที่ยอมรับทางสังคม ต้องการความสุขความเจริญ เป็นต้น

4
อดิศักดิ์ ทองบุญ,การทรงเจ้าเข้าผี,(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
,2547),น.2
32

ด้วยความเชื่อในเรื่องการประทับทรงโดยร่างทรงนี้ ทาให้ร่างทรงสามารถสร้างสรรค์
หรือท าลายประชาชนผู้ม ารับ การช่วยเหลือได้ ทั้ ง นี้ก็ ขึ้นอยู่กั บ ตัวร่างทรงแต่ล ะราย ในทางที่
สร้างสรรค์นั้น ร่างทรงสามารถบาบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ทานายทายทักและให้ คาปรึกษาแนะนา
ทิศทางเรื่องสาคัญต่างๆที่เป็นผลดีให้กับผู้คนที่มาขอรับการช่วยเหลือได้ ช่วยให้เขาเหล่านั้นเกิดความ
มั่นคงและเป็นสุขทั้งทางกายและใจ ซึ่งก็ตรงข้ามกับร่างทรงที่สามารถทาลายประชาชนที่มาขอรับการ
ช่วยเหลือได้ กรณีเช่น ร่างทรงอาจใช้การเข้าทรงทาการสร้างอานาจแฝงบางอย่างเพื่อการกอบโกย
ผลประโยชน์จากผู้คนที่มาขอรับการช่วยเหลือหรือทาการทานายทายทักไปในทางที่ไม่ดีหรือแทนที่จะ
บาบัดโรคภัยไข้เจ็บให้หายขาดหรือบรรเทาเบาบาง กลับสร้างความเจ็บป่วยให้ทวีมากขึ้นไปอีก ทาให้
ประชาชนเกิดความทุกข์ยากขึ้นมากมาย5
หากเราพิจารณาในเรื่องนี้ไปอีกก็จะพบได้อีกว่า กระบวนการของการกลายมาเป็นร่าง
ทรงนั้นจะแบ่งของได้เป็น 2 แบบ คือ แบบความเชื่อที่ร่างทรงมีต่อการประทับทรง กล่าวคือ นอกจาก
ที่ร่างทรงจะเชื่อในเรื่องบาปบุญ คุณโทษแล้ว ก็มี ความเชื่อด้วยว่า การประทับ ทรงนั้นมีอยู่จ ริง
กล่าวคือ เทพเจ้าสามารถเข้ามาประทับในร่างของมนุษย์ได้ แต่ร่างทรงเองนั้นก็มิได้เชื่อทั้งหมดว่า ผู้ที่
เป็นร่างทรงนั้นจะมีเทพเจ้ามาประทับทรงจริง โดยที่ร่างทรงส่วนใหญ่เชื่อว่า มีร่างทรงบางร่างที่
หลอกลวงผู้มาขอรับบริการโดยอาศัยการประทับทรงหลอกลวงทาเป็นเครื่องมือหากินไปกับความเชื่อ
สิ่งที่ร่างทรงจะรู้สึกเหมือนกันหรือในทานองเดียวกัน คือ ความรู้สึกที่ไม่ต้องการเป็นร่างทรง แต่ก็ไม่
สามารถฝืนต่อลิขิตของเทพเจ้าที่จะเข้ามาประทับ ดังนั้นร่างทรงโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในฐานะจายอมต่อ
การเข้าประทับทรงของเทพเจ้า ทั้งนี้ร่างทรงโดยส่วนใหญ่ก็มีความเชื่อที่ว่าการที่ตนเองมีเทพเจ้าเข้า
มาประทับทรงนั้นเป็นเรื่องของเวรกรรมและความสัมพันธ์บางอย่างของตนกับเทพเจ้า ซึ่งก็ไม่สามารถ
หลีกเลี่ยงเวรกรรมและความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ไปได้ ในเรื่องของความเชื่อการประทับทรงนั้น อาจจะ
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นร่างทรงที่มีความเลื่อมใสและสนับสนุนการเข้าทรงอย่างมาก
กล่าวคือ เป็นร่างทรงที่เชื่อ เลื่อมใสศรัทธาและสนับสนุนการเข้าทรงอย่างมากโดยไม่มีข้องแม้หรือข้อ
กังขาใดๆ ร่างทรงกลุ่มนี้จะมีการเคารพบูชาเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นประจาและมีความเชื่อที่ว่า
การเข้าทรงสามารถช่วยให้เกิดประโยชน์แก่ปัจเจกชนและสังคมอย่างมาก จึงปรารถนาที่จะให้มีการ
ประทับทรงและสนับสนุนความเชื่อนี้ต่อไป ส่วนกลุ่มที่ 2 จะเป็นกลุ่มที่มีความเลื่อมใสศรัทธาและ
สนับสนุนการเข้าทรงในระดับกลางๆ กล่าวคือ การที่ร่างทรงเชื่อและเลื่อมใสศรัทธาการเข้าทรงใน
แบบพอประมาณและแม้ว่าตนเองจะเป็นร่างทรงซึ่งมีเทพเจ้าอยู่กับตัวและต้องปฏิบัติพิธีกรรมต่างๆที่
เกี่ยวข้องกับการเข้าทรงหลายอย่างก็ตาม แต่สิ่งเหล่านั้นก็มิได้ทาให้ร่างทรงกลุ่มนี้ยอมรับหรือเชื่อการ

5
วิรัชและนิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ,การเข้าทรงและร่างทรง ความเชื่อพิธีกรรมและบทบาทที่มีต่อ
สังคม,(กรุงเทพมหานคร:สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์,2533),น.26-27
33

เข้าทรงอย่างเต็มที่ คือ บางครั้งก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างและเมื่อใดที่เชื่อก็จะสนับสนุนพอประมาณ แต่ถ้า


หากไม่เชื่อก็จะวางเฉยไม่กระทาการต่อต้านหรือคัดค้านแต่อย่างใด6

ภาพที่ 3.1 พระแม่อุมาเทวีขณะประทับทรงคุณโอ๋ ในงานไหว้ครูประจาปีของตาหนัก

ที่มา: สถานที่ ตาหนักพระแม่อุมา ประชาชาอุทิศ90 กรุงเทพมหานคร (https://www.facebook.com/#!/photo.php?fbid=


380838788700034&set=a.380838728700040.1073741830.100003217486503&type=3&theater)

ส่วนแบบที่สองนั่นคือ แบบความเชื่อของประชาชนที่มีต่อการประทับทรง กล่าวคือ


ความเชื่อของประชาชนที่มีต่อการประทับทรงจะมีอยู่ 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก เป็นประชาชนที่เลื่อมใส
ศรัทธาและสนับสนุนการเข้าทรงเป็นอย่างมาก กลุ่มที่ 2 เป็นประชาชนที่เลื่อมใสและสนับสนุนการ
ประทับทรงในระดับกลางๆและกลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยและต่อต้านการประทับทรง ประชาชน
กลุ่มที่เลื่อมใสและสนับสนุนการประทับทรงนั้น จะมีความเชื่อ เลื่อมใสศรัทธาและสนับสนุนการ
เข้าทรงอย่างไม่มีข้อกังขาใดๆทั้งสิ้น ประชาชนในกลุ่มนี้จะนับถือบูชาเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็น
อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทพเจ้าที่ตนเองไปขอให้ช่วยเหลืออยู่บ่อยครั้ง ฉะนั้นหากเกิดปัญหาใดๆ
ก็ จ ะไปหาเทพเจ้า อยู่ เ สมอเพื่ อ ขอค าแนะน าปรึ ก ษาและแม้ ก ระทั่ ง ขอให้ มี ก ารรั ก ษาพยาบาล
ประชาชนในกลุ่มนี้บางคนเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมากจนถึงกับช่วยบริจาคเงินหรือวัสดุอุปกรณ์สร้าง

6
วิรัชและนิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ,การเข้าทรงและร่างทรง ความเชื่อพิธีกรรมและบทบาทที่มีต่อ
สังคม,(กรุงเทพมหานคร:สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์,2533),น.28-29
34

สิ่งของต่างๆให้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประชาชนกลุ่มนี้จะไม่กระทาการดูหมิ่นดูแคลนหรือกระทาการใดๆ
ที่เป็นการลบหลู่เทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์แม้แต่น้อย ที่สาคัญคือ ประชาชนกลุ่มนี้มีความเชื่อเป็นอย่าง
มากว่า การประทับทรงนั้นช่วยให้ผลประโยชน์แก่ปัจเจกชนรวมทั้งสังคมเป็นอย่างมากและยินดีที่จะ
ให้ก ารสนับ สนุนตลอดไป ต่อ มาคือกลุ่ม ประชาชนที่ เ ลื่อมใสและสนับ สนุนการประทั บ ทรงใน
ระดับกลางๆ จะเป็นกลุ่มที่บางครั้งก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง สาหรับในกลุ่มนี้จะเชื่อก็ ต่อเมื่อเทพเจ้าที่
ประทับทรงได้ทานายทายทักได้ตรงหรือตอบคาถามได้ละเอียดช่วยได้มาก แต่ในบางครั้งประชาชน
กลุ่มนี้ก็จะคิดในเชิงที่ว่า เป็นเรื่องของความบังเอิญมากกว่า สาเหตุที่ประชาชนกลุ่มนี้มีความเชื่อใน
เรื่องการประทับทรงในระดับ กลางๆ เนื่องมาจากการได้สังเกตการประทับ ทรงของร่างทรงว่า ใน
บางครั้งคาตอบและการกระทาของร่างทรงจะคล้ายคลึงกับ นิสัยของร่างทรงเอง ในจุดนี้เองทาให้
บางครั้งเกิดความข้องใจบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม หากจะให้ยกย่องเคารพบูชาอย่างเต็มที่หรือให้ทาการ
ลบหลู่ดูหมิ่นเทพเจ้า ประชาชนกลุ่มนี้เลือกที่จะไม่กระทาทั้งสองอย่าง แต่จะใช้วิธีการวางเฉยและจะ
ไปร่วมงานในลักษณะของผู้สังเกตการณ์มากกว่าศรัทธาอย่างแท้จริง แต่ประชาชนกลุ่มนี้จะไม่ใช่นัก
จับผิดการประทับทรง ขณะเดียวกัน ประชาชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีความเชื่อว่าการประทับทรงจะเป็น
ประโยชน์ต่อส่วนรวมจึงไม่น่ารังเกียจอย่างไร ส่วนกลุ่มสุดท้ายจะเป็นกลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วยและ
ต่อต้านการประทับทรง คนกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การประทับทรงถือเป็นสิ่งหลอกลวงหรือเป็นคนโรค
จิต คนมีปัญหาหรือคนที่เก็บกดและมีการแสดงออกด้วยการเป็นร่างทรง ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนกลุ่ม
นี้จะมีข้อสังเกตว่า บรรดาร่างทรงมักจะใช้อานาจแฝงในการหาทางออกให้กับตัวเองด้วย อาทิ เมื่อ
โกรธเกลียดใครก็มักจะด่าว่าผู้นั้นในขณะประทับทรงโดยการอ้างเทพเจ้ามาบังหน้าหรือเมื่อตนเอง
ต้องการสิ่งใดก็จะอ้างว่าเทพเจ้าต้องการ ดังนั้นประชาชนกลุ่มนี้จึงมีความรู้สึกขัดแย้งและต่อต้านการ
ประทับทรง มีบางส่วนที่แสดงออกด้วยการพูดจาดูถูกดูหมิ่นเทพเจ้าและร่างทรงเสมอ
35

ภาพที่ 3.2 ม้าทรงหญิงประทับทรงเจ้าแม่กวนอิมในงานเทศกาลถือศีลกินเจ

ที่มา: สถานที่ งานเทศกาลถือศีลกินเจ จ.ตรัง (http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E9834763/E9834763.html)

จาก 3 กลุ่มประชาชนที่มีความเชื่อดังกล่าวในระดับที่ต่างระดับกัน พบว่าประชาชนส่วน


ใหญ่มีความเชื่อที่เลื่อมใสและสนับสนุนการประทับทรงอย่างมาก โดยเพศหญิงจะเลื่อมใสมากกว่าเพศ
ชายและประชาชนโดยส่วนใหญ่ที่เลื่อมใสและสนับสนุนการประทับทรงนี้จะมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ
46 ปีขึ้นไป ส่วนประชาชนที่ไม่ เห็นด้วยต่อการประทับทรงซึ่งมีจานวนน้อยที่สุดนั้นจะมีอายุเฉลี่ย
ประมาณ 20-35 ปี ส่วนในระดับการศึกษาของประชาชนโดยส่ วนใหญ่ที่เลื่อมใสและสนับสนุนการ
ประทับทรง คือ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ส่วนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยต่อการประทับทรงโดยส่วน
ใหญ่จะอยู่ในระดับมัธยมศึกษาถึงระดับปริญญา ดังนั้นจะเห็นได้ว่า นอกจากบทบาทร่างทรงที่ทาให้
อยู่ได้ในสังคมแล้ว ความเชื่อที่มีต่อการประทับทรงก็มีส่วนสาคัญที่ส่งเสริมบทบาทของร่างทรงด้วย
เช่นกัน อย่างไรก็ตามยังคงมีประชาชนบางส่วนที่ไม่ส่งเสริมหรือเชื่อถือการประทับทรงรวมทั้งร่างทรง
ด้วย แนวคิดที่แตกต่างออกไปนี้มีพื้นฐานมาจากอายุ เพศและระดับการศึกษาของแต่ละบุคคลหรือแต่
ละกลุ่มเป็นสาคัญ ในเวลาเดียวกันการที่ประชาชนในสังคมสนใจการประทับทรงและร่างทรงโดยที่
บางส่วนได้เข้ามาร่วมในการประทับทรง เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนและไม่มั่นคงที่
36

เกิดขึ้นในสังคมบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความไม่มั่นคงทางจิตใจหรือการขาดที่พึ่งทางจิตใจ


ของประชาชน7
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ร่างทรงและการประทับทรงนั้นเกิดขึ้นได้จากความเชื่อ ความเลื่อมใส
ศรัทธา บุญกรรมและความสัมพันธ์เ หนือธรรมชาติบางอย่างที่เ ป็นมูลเหตุให้เกิดร่างทรงและการ
ประทับทรงขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นร่างทรงที่มีความเลื่อมใสและ
สนับสนุนการเข้าทรงอย่างมาก กล่าวคือ เป็นร่างทรงที่เชื่อ เลื่อมใสศรัทธาและสนับสนุนการเข้าทรง
อย่างมากโดยไม่มี ข้องแม้ หรือ ข้อ กังขาใดๆ มีความเชื่อที่ ว่า การประทั บทรงสามารถช่วยให้เกิ ด
ประโยชน์แก่ ปัจเจกชนและสังคมอย่างมาก ส่วนอีก กลุ่มจะเป็นกลุ่มที่มี ความเลื่อมใสศรัท ธาและ
สนับสนุนการเข้าทรงในระดับกลางๆ กล่าวคือ เชื่อและเลื่อมใสศรัทธาการเข้าทรงในแบบพอประมาณ
และแม้ว่าตนเองจะเป็นร่างทรงซึ่งมีเทพเจ้าอยู่กับตัวและต้องปฏิบัติพิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการ
เข้าทรงหลายอย่างก็ตาม แต่สิ่งเหล่านั้นก็มิได้ทาให้ร่างทรงกลุ่มนี้ยอมรับหรือเชื่อการเข้าทรงอย่าง
เต็มที่ คือ บางครั้งก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างและเมื่อใดที่เชื่อก็จะสนับสนุนพอประมาณ แต่ถ้าหากไม่เชื่อก็
จะวางเฉยไม่กระทาการต่อต้านหรือคัดค้านแต่อย่างใด ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้เองที่เราจะพบได้กับร่างทรงใน
พิธีกรรมเค้งจก จึงอาจจะกล่าวได้ว่า พิธีกรรมเค้งจกเป็นพิธีกรรมที่มีการประทับทรงเทพเจ้าเพื่อเชิญ
เทพเจ้าเสด็จมารับเครื่องเซ่นสรวงบูชาจากเหล่ามนุษย์ผ่านการประทับทรง จะเห็นได้ในอาเภอ บ้าน
บึง จังหวัด ชลบุรี ซึ่งก็มีผู้คนที่หลั่งไหลเข้ามากราบสักการะเทพเจ้าที่เป็นองค์ประธานศาลและกราบ
ไหว้เทพเจ้าที่เข้ามาประทับร่างทรงโดยทั้ง 2 กลุ่มนี้เองที่เป็นผู้กระทา ส่วนด้านของประชาชนโดยมาก
นั้นจะพบกับกลุ่มประชานที่เลื่อมใสและสนับสนุนการประทับทรง เลื่อมใสศรัทธาและสนับสนุนการ
เข้าทรงอย่างไม่มีข้อกังขาใดๆกับกลุ่มที่เลื่อมใสและสนับสนุนการประทับทรงในระดับกลางๆ คือ กลุม่
ที่บางครั้งก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากพิธีกรรมเค้งจกเป็นงานที่ค่อนข้างเปิดให้สาธุชน
ได้เข้ามาร่วมงานมาก จึงเป็นงานที่เราสามารถพบผู้คนจากทั้งในอาเภอ บ้านบึงและในต่างถิ่นเข้ามามี
ส่วนร่วมในงานดังกล่าวมากและด้วยจากที่ผู้คนได้เข้ามาร่วมงานพิธีดังกล่าวนี้เองที่ทาให้เราเห็นภาพ
บทบาทของร่างทรงในสายชลบุรีมากขึ้นผ่านพิธีกรรมเค้งจก
เราจึงเห็นได้ว่า การประทับทรงเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสังคมไทย ถือว่าเป็นเรื่องที่
ปกติมาก ดังที่เราจะเห็นได้จากงานบวงสรวงไหว้ครูของสานักทรงต่างๆไม่ว่าจะเป็นสายไทยหรือสาย
ฮินดู หรือ ในสายจีน กระบวนการการประทับทรงของยังมีให้เห็นได้ในสายนี้ เช่น งานถือศีลกินเจของ
ภูมิภาคทางใต้ หรือ เมื่อเรามองในมุมมองของความเชื่อขนบพื้นเมืองเดิมของประเทศไทย สิ่งนี้เองที่
เราสามารถมองได้ชัดเจนที่สุด คือ วัฒนธรรมการฟ้อนผีของภูมิภาคทางเหนือ เป็นต้น

7
วิรัชและนิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ,การเข้าทรงและร่างทรง ความเชื่อพิธีกรรมและบทบาทที่มีต่อ
สังคม,(กรุงเทพมหานคร:สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์,2533),น.29-31
37

3.2 ร่างทรงในพิธีกรรมเค้งจก

ในสังคมไทยนี้จะมีความพิเศษประการหนึ่ง นั่นคือ การที่พิธีกรรมเฉลิมฉลองและถวาย


พระพรเทพเจ้าหรือพิธีกรรมเค้งจกจะต้องมีร่างทรง แต่ในจุดนี้เองก็มีสิ่งหนึ่งที่แตกต่างออกไป คือ
พิธีกรรมเค้งจกนี้ ไม่ได้มีในความเป็นจีนทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มฮกเกี้ยนและกลุ่มไหหลา แต่พิธีกรรมเค้งจก
ที่มีกระบวนการของการประทับทรงนี้จะมีในความเป็นจีนแต้จิ๋ว โดยเฉพาะแต้จิ๋วในภูมิภาคตะวันออก
เมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นจีนในภูมิภาคต่างๆ กรณีตัวอย่างเช่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีชาวจีนโพ้น
ทะเลที่เป็นแต้จิ๋วอยู่มาก แม้ว่าจะมีพิธีกรรมเค้งจกถวายพระพรเทพเจ้าเนื่องในวันประสูติเช่นกัน แต่
กลับไม่มีแนวคิดเรื่องการประทับทรงในพิธีกรรมเค้งจกอยู่เลย แต่ก็ยังมีการประทับทรงในตาหนักหรือ
ตามศาลเจ้าเหมือนปกติ ต่างกันกับการประทับทรงเทพเจ้าในพิธีกรรมเค้งจกในภูมิภาคตะวันออก
โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัด ชลบุรี
ดังนั้นจุดนี้สามารถชี้วัดได้ประการหนึ่งว่า ในบริบทสากล การที่มีการประทับทรงเทพ
เจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นเรื่องที่ปกติ ในขณะที่สังคมความเป็นจีนในพื้นที่อื่นๆ การประทับทรงเทพ
เจ้าเพื่อประกอบพิธีกรรมกลับไม่มีแนวคิดนี้หรือในกรณีที่มีก็ยังไม่ชัดเจนเท่ากับสังคมความเป็นจีนใน
ประเทศไทยมี ความคิดชุดนี้อยู่ ในจุดนี้เองที่ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ มีความพิเศษมาก ดังกรณี
ตัวอย่างเช่น การประทับทรงเทพเจ้าเพื่อประกอบพิธีกรรมถือศี ลกินเจของภูมิภาคทางใต้ หรือ การ
ประกอบพิธีกรรมเค้งจกของอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี เอง จุดนี้จึงถึงว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลก
ตาหรือแตกต่างออกไปจากประเพณีจีนของพื้นที่อื่นๆซึ่งจะไม่มีปรากฏเรื่องของการประทับทรงหรือ
อาจจะมี เ ป็นบางส่วนแต่มิ ได้ส าคัญ เท่ ากั บ การประทั บ ทรงเทพเจ้าแบบสัง คมไทย ดัง นั้นการที่
สังคมไทยมีการประทับทรงเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการรับ
อิทธิพลความเชื่อของท้องถิ่นไทยและได้นาความเชื่อพื้นถิ่นชุดนี้เข้ามาผนวกกับประเพณีจีน จึงเป็น
สาเหตุให้พิธีกรรมเค้งจกในอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี มีร่างทรงเทพเจ้าปรากฏอยู่ในพิธีกรรมเค้ง
จก
38

ภาพที่ 3.3 เทพเจ้าไต่เสี่ยฮุกโจ้วขณะประทับร่างคุณเม้ง

ที่มา: สถานที่ ศาลเจ้าบ่วงเชี่ยงตั่ง ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว หนองรี จ.ชลบุรี


(https://www.facebook.com/?ref=logo#!/photo.php?fbid=317459555051081&set=a.157267614403610.33748.10000
3611189220&type=1&theater)
39

จากที่ได้นาเสนอเรื่องราวของพิธีกรรมเค้งจกในบทที่แล้วว่า ในประเทศไทยนี้มีการ
ประกอบพิธีกรรมเค้งจกเหมือนกันกับพื้นที่อื่นๆในต่างประเทศโดยมีจุดประสงค์เพื่อการแสดงความ
กตัญญูต่อเทพเจ้าที่ตนเองศรัทธา ซึ่งเห็นได้จากศาลเจ้าต่างๆในอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี เมื่อถึง
วันคล้ายวันประสูติของเทพเจ้าเวียนมาบรรจบก็จะมีการจัดเตรียมงานเพื่อการถวายพระพรเทพเจ้า
แต่มีสิ่งหนึ่งที่มีความพิเศษในพิธีกรรมเค้งจกเทพเจ้าของชาวบ้านบึง นั่นคือ มีปรากฏการณ์ของการ
ประทับทรงเทพเจ้าประจาศาลเจ้าโดยร่างทรงของศาล ซึ่งจะมีความแตกต่างกันกับพื้นที่อื่นๆที่จะไม่
ปรากฏปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นพื้นที่ที่พิเศษที่หนึ่งเลยทีเดียว
จากการลงพื้ นที่ ภาคสนามเพื่อทาการสังเกตการณ์และทาการสัมภาษณ์ร่างทรงที่ มี
ความเกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมเค้งจก พื้นฐานของการเป็นร่างทรงเทพเจ้าหรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิใ์ น
กลุ่มบุคคลที่ได้ทาการสัมภาษณ์นั้น โดยส่วนมากจะมีทั้งเพศหญิงและเพศชาย รวมไปถึงในกลุ่มของ
รักร่วมเพศ (Homosextual)ด้วย ในกลุ่มบุคคลเหล่านี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน
แต้จิ๋ว แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นชาวไทยแท้ ซึ่งมีความสามารถในการพูดและรู้ธรรมเนียมปฏิบัติของจีนแต่
มีจานวนน้อยมาก
บุคคลท่านหนึ่งที่ ผู้วิจัยได้ทาการลงพื้นที่ภาคสนามและทาการสัม ภาษณ์ด้วย นั่นคือ
ท่านอาจารย์ พชรกร นุกูลกิจ ร่างทรงเทพเจ้าหน่าไฮ้เซี๊ยะบ้อ แห่งศาลเจ้าหน่าไฮ้เซี๊ยะบ้อ มาบยาง
อาเภอ หนองใหญ่ จังหวัด ชลบุรี ผู้เคยได้รับเที ยบเชิญจากศาลเจ้าต่างๆให้เข้าร่วมงานประจาปีวัน
คล้ายวันประสูติของเทพเจ้าประจาศาลเจ้าซึ่งมีการประทับทรงเทพเจ้าเพื่อประกอบพิธีกรรมเค้งจก
โดยประวัติความเป็นมาของอาจารย์ พชรกร นุกูลกิจ แต่เดิมนั้นเป็นคนจังหวัด ปราจีนบุรี มีอาชีพ คือ
ประกอบธุรกิจส่วนตัวอยู่ที่จังหวัด ปราจีนบุรี แต่การที่อาจารย์พชรกรได้มาประจาอยู่ที่อาเภอ หนอง
ใหญ่ จังหวัด ชลบุรี เนื่องมาจากอาจารย์ได้ทาการประทับทรงเทพเจ้าหน่าไฮ้เซี๊ยะบ้อและมีสานุศิษย์
จานวนหนึ่งที่บังเกิดความเคารพศรัทธาและได้ทาการถวายที่ดินให้กับเทพเจ้าที่เข้าประทับทรงร่าง
ทรงเพื่อ ใช้ในการสร้างศาลเจ้า เป็นเหตุให้อาจารย์ได้ย้ายมาประจาอยู่ที่จัง หวัด ชลบุรี เป็นการ
ชั่วคราวเพื่อทาการสร้างศาลเจ้าถวายเทพเจ้าให้แล้วเสร็จ
40

ภาพที่ 3.4 อ.พชรกร นุกูลกิจ ร่างทรงเทพเจ้าหน่าไฮ้เซี๊ยะบ้อ

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้ากิมอ๊วงเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556
41

ในส่วนของขั้นตอนการประทับทรงเทพเจ้าเพื่อประกอบพิธีกรรมเค้งจก การทีต่ อ้ งใช้รา่ ง


ทรงเพื่อประกอบพิธีกรรมนั้นมีเหตุผล ซึ่งอาจารย์พชรกรได้ให้ข้อมูลด้วยว่า การจะประกอบพิธีกรรม
เค้งจก ร่างทรงจะต้องแสดงบทบาทที่สาคัญ คือ เชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และเทพเจ้าให้มีความเป็น
รูปธรรม เป็นสื่อกลางที่มีความสาคัญมากและต้องถือว่าเป็นหน้าที่ อีกทั้งการประกอบพิธีกรรมเค้งจก
ยังถือว่าเป็นการสานสัมพันธ์กันระหว่ างศาลเจ้าอีกด้วย โดยขั้นตอนของการประทับทรงนั้นจะแบ่ง
ออกได้ 2 ช่วง คือ
ช่วงแรกจะเป็นขั้นตอนของการเตรียมตัวก่อนการประทับทรง จะต้องดูกันที่คุณลักษณะ
เป็นสาคัญ เช่น ร่างทรงควรที่จะดารงตนให้อยู่ในศีล อาจจะมีการถือศีล 8 หรือ ศีล 5 ในบางร่างทรง
ก็จะมีการกินเจก่อนอย่างน้อย 3 วันหรือบางร่างทรงก็กินเจตลอดชีวิตอยู่แล้วก็มี ทั้งนี้ขั้นตอนของการ
เตรียมตัวก่อนการประทับทรงนั้นจะขึ้นอยู่กับความเชื่อของร่างทรงเอง ดังนั้นจะพบได้ว่า แต่ละร่าง
ทรงจะมีขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการประทับทรงที่ไม่เหมือนกัน อยู่ที่ร่างทรงนั้นจะมีความเชื่ อในจุด
นี้เป็นแบบไหน
ช่วงที่ 2 คือ กรรมวิธีของการประทับทรง การที่ร่างทรงได้ทาการประทับทรงเทพเจ้านี้
ก็เปรียบได้กับการเลื่อนสถานะของตนเองจากการเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาให้มีภาวะของความเป็น
เทพเจ้า ดังนั้นเมื่อร่างทรงได้ทาการสวดมนต์อัญเชิญเทพเจ้าเข้าประทับทรงแล้ว เทพเจ้าในร่างทรงก็
จะทาพิธีกรรมต่างๆตามแต่วัตถุประสงค์ของการอัญเชิญเทพเจ้าเข้ามาประทับทรง เช่น เมื่ออัญเชิญ
เทพเจ้าลงมาประทับทรงเนื่องในงานพิธีกรรมเค้งจก เทพเจ้านั้นก็จะแสดงออกถึงบทบาทต่างๆที่เข้า
กับบรรยากาศของพิธีกรรม เช่น แสดงออกถึงความยินดี เป็นต้น ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า หน้าที่ของร่าง
ทรงที่ได้แสดงออกมาให้เราเห็นขณะประทับทรงนั้น สามารถแบ่งได้ออกมาในภาพรวมได้ 6 ประการ
คือ
1.การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เป็นการอัญเชิญเทพเจ้าเพื่อบาบัดรักษาสาธุชนผู้เจ็บป่วยจาก
โรคภัยต่างๆ ไม่ว่าจะทั้งทางกายและจิตใจ สาหรับการบาบัดรักษาอาการโรคภัยไข้เจ็บโดยเทพเจ้าที่
เข้ามาประทับทรงร่างทรง จะมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่เทพเจ้าแต่ละองค์ และร่างทรงแต่ละคน
เช่น การรดน้ามนตร์และการดื่มกินน้ามนตร์จากเทพเจ้าเพื่อบาบัดโรค การบอกรายการยาที่จะให้
สาธุชนผู้ป่วยไข้ไปซื้อกิน การให้ไปจุดธูปเทียนขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สาธุชนผู้ป่วยไข้ได้ไปล่วงเกินไป
หรือการให้ไปบนบานศาลกล่าวกับเทพเจ้าองค์อื่นๆ เป็นต้น
42

ภาพที่ 3.5 เทพเจ้าเซี่ยงไซ้เจียงกุงขณะแจกน้าสมุนไพรรักษาโรคให้กับสาธุชน

ที่มา: สถานที่ ศาลเจ้าหน่าไฮ้เซี๊ยะบ้อ มาบยาง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี


(https://www.facebook.com/narut.sillapapiboon/posts/632831686756777?ref=notif&notif_t=like#!/photo.php?fbid=
351044645030849&set=pb.100003759487323.-2207520000.1380563137.&type=3&theater)
43

2.การพยากรณ์ดวงชะตา สาธุชนที่มากราบไหว้เทพเจ้าขณะประทับทรงร่างทรงอาจจะ
ทาการขอให้เทพเจ้าช่วยทาการตรวจทานายดวงชะตาของตนเองและครอบครัว บุคคลผู้เกี่ยวข้องหรือ
ตรวจดวงชะตาของบ้านเมือง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เรื่องที่มาขอให้เทพเจ้าขณะประทับทรงในร่างทรงทา
การพยากรณ์ให้จ ะมี ตั้ง แต่เรื่องระดับ เล็กจนถึง ระดับ ใหญ่ ตั้ง แต่ระดับ ครอบครัวจนถึงระดับชาติ
สาหรับการพยากรณ์ของเทพเจ้าที่เข้ามาประทับทรงนั้น โดยส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยการถามวันเดือนปี
เกิ ด เวลาเกิ ดหรือเวลาตกฟากของเหล่าสาธุชน เทพเจ้าในร่างทรงบางองค์อาจจะมี การถามถึง
บ้านเลขที่และทิศทางของบ้าน ทั้งนี้เพื่อใช้ในเป็นแนวทางในการทานาย นอกจากนี้เทพเจ้าบางองค์
อาจจะทาการทานายด้วยวิธีการนั่งทางในโดยไม่จาเป็นต้องถามวันเดือนปีเกิดก็ได้
3.การสะเดาะเคราะห์ เทพเจ้าบางองค์อาจรับสะเดาะเคราะห์ให้แก่เหล่าสาธุชน ซึง่ ส่วน
ใหญ่เ ทพเจ้าที่จ ะรับ สะเดาเคราะห์จ ะรับท าการพยากรณ์ดวงชะตาด้วยควบคู่กั นไป การสะเดาะ
เคราะห์ที่เทพเจ้าในร่างทรงจะแนะนากับเหล่าสาธุชนนั้น ส่วนใหญ่จะแนะนาให้ไปปล่อยนก ปล่อย
ปลา ปล่อยเต่าหรือหากสาธุชนคนใดที่เทพเจ้าในร่างทรงทาการตรวจดวงชะตาแล้วพบว่า อาจมี
อันตรายถึงชีวิต เทพเจ้าในร่างทรงอาจจะแนะนาให้ไปทาบุญซื้อโลงศพ คือ การซื้อโลงศพให้กับศพคน
ยากจนที่ไม่มีโลงใส่ หรือเทพเจ้าในร่างทรงอาจจะแนะนาให้ไปซื้อสัตว์ใหญ่ เช่น วัวควายที่กาลังจะถูก
นาไปฆ่า ให้ไปซื้อวัวควายเหล่านั้นไปบริจาคให้กับวัด ถือเป็นการช่วยชีวิตสัตว์ใหญ่เพื่ อให้ตนเองพ้น
เคราะห์กรรม หรือทาให้เคราะห์กรรมนั้นบรรเทาเบาบางลงได้ นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าในร่างทรงบาง
องค์ที่แนะนาให้สาธุชนไปหาวัตถุมงคลหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น เทวรูปหรือรูปภาพ หรือธงที่ใช้ใน
พิธีกรรมประทับทรงของเทพเจ้าจีนมาเก็บรักษาและกราบไหว้บูชาที่ บ้าน การที่เทพเจ้าในร่างทรง
แนะนาให้สาธุชนไปเสาะหาวัตถุมงคลหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆมากราบไหว้บูชานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่
เทพเจ้าในร่างทรงนั้นเลื่อมใสอยู่ก่อนแล้ว เช่น ถ้าเทพเจ้าในร่างทรงองค์นั้นเลื่อมใสในพระแม่กวนอิม
ก็จะแนะนาให้สาธุชนบูชากราบไหว้พระแม่กวนอิม
44

ภาพที่ 3.6 เทพเจ้าซากัวเอี๊ยขณะประทับทรง กาลังประกอบพิธีส่งรายชื่อผู้สะเดาะเคราะห์

ที่มา: ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี


(https://www.facebook.com/saguaaier/media_set?set=a.231708336971918.1073741826.100003982597447&type=3
#!/photo.php?fbid=231710716971680&set=a.231708336971918.1073741826.100003982597447&type=3&theater)

4.การตั้งชื่อและหาฤกษ์ยาม มีสาธุชนจานวนไม่น้อยที่ไปหาเทพเจ้าในร่างทรงเพื่อขอให้
ตั้งชื่อหรือเปลี่ยนชื่อที่ไม่เป็นสิริมงคลออกให้กลายเป็นชื่อที่มีความเป็นสิริมงคลกับตนเองหรือคนใน
ครอบครัว รวมทั้งให้เทพเจ้าในร่างทรงช่วยหาฤกษ์หายามในการประกอบธุรกิจ รวมไปถึงการให้เทพ
เจ้าในร่างทรงหาฤกษ์หายามเพื่อประกอบงานมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานบรรพชาอุปสมบท
หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
5.การให้ศีลให้พรให้บารมี มีสาธุชนบางส่วนที่ชื่นชอบไปขอศีลขอพรหรือขอบารมีจาก
เทพเจ้าในร่างทรงเพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งเทพเจ้าในร่างทรงอาจจะให้ศีลให้พรให้บารมีแก่สาธุชน
โดยอาจจะให้ด้วยวิธีการเป้ากระหม่อม เจิมหน้าผาก ประพรมน้ามนตร์ เป็นต้น นอกเหนือจากนี้การ
ให้ศีลให้พรให้บารมีของเทพเจ้าในร่างทรงยังรวมไปถึงการเจิมสิ่งของต่างๆเพื่อความเป็นสิริมงคลหรือ
ช่วยให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายต่างๆด้วย เช่น เจิมรถยนต์ เจิมเครื่องมือทามาหากินต่างๆของ
เหล่าสาธุชนหรือเจิมบ้านเรือนร้านค้า เป็นต้น
45

ภาพที่ 3.7 เทพเจ้าหน่าไฮ้เซี๊ยะบ้อกาลังทาน้ามนตร์เพื่อประพรมผู้ที่มาร่วมพิธีกรรมเค้งจก

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556
46

ภาพที่ 3.8 เทพเจ้าซากัวเล่าเอี๊ยขณะประทับทรงเจิมรถยนต์

ที่มา: สถานที่ ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี


(https://www.facebook.com/namhaiguanyin/photos?ref=ts#!/photo.php?fbid=161287470673562&set=a.161094897
359486.35373.100003769297166&type=3&theater)

6.การให้คาแนะนาปรึกษา มีสาธุชนจานวนมากที่มีความทุกข์ร้อน เนื่องมาจากขาดผู้ให้


คาแนะนาปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาของตนเองหรืออาจมีผู้ ให้คาแนะนาปรึกษาแต่สาธุชนเหล่านั้นไม่ได้
ศรัทธาเท่ากับเทพเจ้าที่มาประทับในร่างทรง จึงมาขอให้เทพเจ้าในร่างทรงช่วยให้คาแนะนาปรึกษาใน
เรื่องต่างๆ เช่น ปัญหาเรื่องครอบครัว ปัญหาเรื่องคู่ครอง ตลอดจนเรื่องที่เกี่ยวกับเคราะห์ภัยอันตราย
ต่างๆที่เกิดจากเวทมนตร์หรือไสยศาสตร์ที่ตนเองหรือครอบครัวได้รับมา 8

8
วิรัชและนิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ,การเข้าทรงและร่างทรง ความเชื่อพิธีกรรมและบทบาทที่มีตอ่
สังคม,(กรุงเทพมหานคร:สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์,2533),น.58-60
47

ภาพที่ 3.9 เทพเจ้าน่าไช้ฮั้ว ประทับทรงและให้คาแนะนากับผู้ที่เดือดร้อนต่างๆ

ที่มา: สถานที่ ศาลเจ้าน่าไช้ฮั้ว หนองเสือช้าง จ.ชลบุรี


(https://www.facebook.com/narut.sillapapiboon/posts/632831686756777?ref=notif)
48

ดังนั้นการที่บุคคลธรรมดาที่ได้ชื่อว่าเป็นร่างทรงเทพเจ้าได้เข้าไปสู่สภาวะของความเป็น
เทพเจ้าผ่านการประทับทรง ก็จะเป็นลักษณะของการควบ 2 บุคลิก กล่าวคือ มีบุคลิกเดิมเป็นพื้นฐาน
ก็คือความเป็นตัวของตัวเอง และ การมีบุคลิกใหม่ของความเป็นเทพเจ้าเมื่อประทับทรง เมื่อร่ างทรง
ได้ทาการประทับทรงแล้ว บทบาทของบุคคลเหล่านี้จึงต้องแสดงความเป็นเทพเจ้าออกให้มากที่สุด
รวมทั้งทาหน้าที่ช่วยเหลือผู้คนที่ทุกข์ร้อนตามความสามารถที่ร่างทรงแต่ละร่างจะสามารถทาได้ สิ่งที่
น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ร่างทรงเมื่อทาการประทับทรงแล้วจะมีลักษณะของการลอกรูปแบบประติ
มานวิทยา(Lconography )ของเทวรูปเทพเจ้าองค์ประธานของศาลเจ้าออกมา ซึ่งในกรณีของการมี
รูปเคารพของเทพเจ้าอยู่ก่อนที่จะมีการประทับทรงนั้น การประทับทรงจะมีการแสดงออกถึงประติ
มานวิทยา 2 ลักษณะ คือ
1.เป็นการประทับทรงโดยลอกรูปแบบจากเทวลักษณะของเทพเจ้าที่เป็นเทวรูปประจา
ศาลเจ้า ทั้งในส่วนของชุดประทับทรงและอาวุธของเทพเจ้า
2.เมื่ อมี การประทั บ ทรง ร่างทรงจะแสดงอากั ปกิ ริยาที่เ ป็นเทวลัก ษณะของเทพเจ้า
ออกมา เช่น หากประทับทรงพระแม่กวนอิม ร่างทรงก็จะแสดงออกถึงความเมตตาออกมา
ส่วนกรณีของศาลเจ้าที่ยังไม่มีเทวรูปหรือรูป เคารพของเทพเจ้า ร่างทรงที่ประทับเทพ
เจ้าจะมีคาสั่งให้จัดสร้างรูปเคารพของท่านขึ้นมาใหม่ โดยจะสร้างตามเทวลักษณะของเทพเจ้าที่ผ่าน
การประทับทรงได้ทาการบอกกล่าวไว้ ดังนั้นความคิดชุดนี้ก็จะมีส่วนที่ไปเกี่ยวข้องกับชุดประทับทรง
หรือเทวลักษณะของเทพเจ้าด้วย
ทั้งนี้ประติมานวิทยาทั้ง 2 กรณีก็มิได้มีผลให้เทวลักษณะของเทพเจ้ามีความผิดเพี้ยนไป
เพราะทั้ง 2 เหตุผลต่างก็สร้างเทวลักษณะได้มีความใกล้เคียงกันกับตานานของเทพเจ้าพระองค์นั้นๆ
หากแต่ป ระติมานวิทยาในสังคมร่างทรงสายชลบุรีนั้นเราจะเห็นได้ว่า มี ความแตกต่างกันค่อนข้าง
ชัดเจน ซึ่งในจุดนี้เองที่เราจะเห็นความแตกต่างได้ เช่น ความแตกต่างด้านชุดประทับทรงของเทพเจ้า
ยกตัวอย่างในกรณีของศาลพระแม่เมตตาหรือฉื่อปุยเนี่ยวเนี๊ยว หนองยาง จังหวัด ชลบุรี โดยพื้นฐาน
นั้นพระแม่เมตตาองค์นี้จะเป็นองค์เดียวกันกับพระแม่กวนอิม หรือพระโพธิสัตว์กวนอิม แต่ จังหวัด
ชลบุรี จะมีความเชื่อกันว่า การที่จะประทับทรงพระแม่เมตตานั้นจะแยกออกจากกันกับการประทับ
ทรงพระแม่กวนอิมหรือพระโพธิสัตว์กวนอิม โดยจะถือกันว่าท่านเป็นคนละภาคกัน ดังนั้นการจะแยก
องค์ให้เห็นได้ชัดเจนในขณะประทับทรงนั้นจึงจาเป็นต้องอาศัยชุดประทับทรงในการแบ่ง แยกเทพเจ้า
ขณะประทับทรง จุดนี้เองก็ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในเรื่องของประติมานวิทยากับร่างทรง
49

ภาพที่ 3.10 ร่างทรงสวมชุดประทับทรงสีขาว คือ ร่างทรงของพระโพธิสัตว์กวนอิม

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556
50

ภาพที่ 3.11 ร่างทรงสวมชุดประทับทรงสีฟ้า คือ ร่างทรงของพระแม่เมตตา

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556
51

สิ่งหนึ่งผู้วิจัยได้เห็นอีกประการหนึ่ง คือ การวางตัวในฐานะที่เป็นร่างทรง เมื่อมนุษย์ที่


ได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น ร่ า งทรงได้ ส วมใส่ ชุ ด ประทั บ ทรงของเทพเจ้ า หากใส่ ชุ ด ประทั บ ทรงได้ ถู ก ต้ อ งก็
เปรียบเสมือนว่าเป็นตัวแทนของเทพเจ้าพระองค์นั้นๆจริง เมื่อเทพเจ้าถอยจากการประทับทรงก็จะ
วางตัวและมีวัตรปฏิบัติของตนเองเพื่อให้สมควรกับที่เทพเจ้าได้เลือกให้ตัวเองมาเป็นร่างทรง

ภาพที่ 3.12 การวางตัวของร่างทรงขณะประทับทรงเทพเจ้า

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้ากิมอ๊วงเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จากทั้งหมดนี้เราจึงสามารถสรุปได้ว่า การที่บุคคลธรรมดานั้นเปลี่ยนสถานะของตนเอง
ขึ้นมามีบทบาทการแสดงในฐานะของร่างทรงเทพเจ้า ในจุดนี้ถือว่ามีหน้าที่ที่สาคัญมาก ซึ่งหน้าที่ของ
ร่างทรงขณะประทับทรงนี้ จะต้องทาหน้าที่ของการเป็นผู้บรรเทาความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ
ให้กั บ สาธุชนที่ เ ข้ามาพึ่ ง พาเทพเจ้าหรือสิ่ง ศัก ดิ์สิท ธิ์ผ่านกระบวนการของการประทั บ ทรง ทั้ ง นี้
กระบวนการของการกลายมาเป็นร่างทรงนั้นก็จะมีความเชื่อที่ร่างทรงส่วนใหญ่คิดเหมือนกันเมื่อพูด
ถึงการประทับทรง กล่าวคือ นอกจากที่ร่างทรงจะเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษแล้ว ก็มีค วามเชื่อด้วย
ว่า การประทับทรงนั้นมีอยู่จริง กล่าวคือ เทพเจ้าสามารถเข้ามาประทับในร่างของมนุษย์ได้ แต่ร่าง
ทรงเองนั้นก็มิได้เชื่อทั้งหมดว่า ผู้ที่เป็นร่างทรงนั้นจะมีเทพเจ้ามาประทับทรงจริง โดยที่ร่างทรงส่วน
ใหญ่เชื่อว่า มีร่างทรงบางร่างที่หลอกลวงผู้มาขอรับบริการโดยอาศัยการประทับทรงหลอกลวงทาเป็น
52

เครื่องมือหากินไปกับความเชื่อ สิ่งที่ร่างทรงจะรู้สึกเหมือนกันหรือในทานองเดียวกัน คือ ความรู้สึกที่


ไม่ต้องการเป็นร่างทรง แต่ก็ไม่สามารถฝืนต่อลิขิตของเทพเจ้าที่จะเข้ามาประทับ ดังนั้นร่างทรงโดย
ส่วนใหญ่จะอยู่ในฐานะจายอมต่อการเข้าประทับทรงของเทพเจ้า ทั้งนี้ร่างทรงโดยส่วนใหญ่ก็มีความ
เชื่อที่ว่าการที่ตนเองมีเทพเจ้าเข้ามาประทับทรงนั้นเป็นเรื่องของเวรกรรมและความสัมพันธ์บางอย่าง
ของตนกับเทพเจ้า ซึ่งก็ไม่ส ามารถหลีกเลี่ยงเวรกรรมและความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ไปได้ ดัง นั้นเมื่ อ
บุคคลธรรมเหล่านี้มีสถานะของการเป็นร่างทรงเทพเจ้า สถานะดังกล่าวนี้ก็จะมีผลทาให้วัตรปฏิบัติ
ของตัวร่างทรงเดิมมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น อาจจะมีการถือศีล 8 หรือ ศีล 5 ในบางร่างทรงก็จะมี
การกินเจก่อนอย่างน้อย 3 วันหรือบางร่างทรงก็กินเจตลอดชีวิตอยู่แล้วก็มี ทั้งนี้ความคิดของร่างทรง
สาหรับการปฏิบัติตัวนั้น จะขึ้นอยู่กับความเชื่อของร่างทรงเอง ดั งนั้นจะพบได้ว่า แต่ละร่างทรงจะมี
วัตรปฏิบัติประจาตัวที่ไม่เหมือนกัน อยู่ที่ร่างทรงนั้นจะมีความเชื่อในจุดนี้เป็นแบบไหน
53

บทที่4

บทวิเครำะห์ร่ำงทรงในพิธีเฉลิมฉลองและถวำยพระพรเทพเจ้ำหรือพิธีกรรมเค้งจกในสังคมไทย

จากที่เราได้เห็นภาพโดยรวมทั้งหมดของพิธีเฉลิมฉลองและถวายพระพรเทพเจ้าหรือ
พิธีก รรมเค้ง จกในสังคมไทยที่มี ปรากฏการณ์ของการประทับ ทรงเทพเจ้ามาเป็นเวลานาน ทั้ งนี้ก็
เนื่องมาจากการที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นกับประเพณีจีนเข้าด้วยกันและทาการสืบทอดกัน
มาเป็นเวลานาน จึงทาให้พื้นที่ในประเทศไทยมีความพิเศษที่แตกต่างจากที่อื่นๆที่มีประเพณีพิธีกรรม
ดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันพิ ธีกรรมเค้งจกในสังคมไทยเองก็มีการประกอบพิธีก รรมเค้งจกในหลาย
ภูมิภาคและมีปรากฏในจีนทุกกลุ่ม แต่ในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออกมีลักษณะที่พิเศษความภูมิภาคอื่นๆ
คือ มีการประทับทรงเทพเจ้าเพื่อประกอบพิธีกรรมเค้งจก ต่างที่ภูมิภาคอื่นๆที่ไม่มีการประทับทรง
ดังนั้นพิธีกรรมเค้งจกที่มีการประทับทรงก็จะมีปรากฏเพียงเฉพาะในประเทศไทย แต่ในประเทศไทย
เองก็ปรากฏเฉพาะพื้นที่ด้วยเช่นกัน เนื่องมาจากพื้นที่จังหวัด ชลบุรี ที่ผู้วิจัยได้ทาการศึกษา เป็นส่วน
หนึ่งของภาคตะวันออกที่มีชาวจีนโพ้นทะเลอาศัยอยู่และมีการประกอบพิธีกรรมเค้งจกโดยมีร่างทรง
ซึ่งไม่ปรากฏในที่อื่น จึงถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความพิเศษดังที่ได้กล่าวมา ซึ่งร่างทรงในพิธีกรรมเค้งจกของ
สายชลบุรีนี้ ผู้วิจัยจะขอนาเสนอเป็น 2 หัวข้อย่อย ดังนี้

4.1 หน้าที่ของร่างทรงในพิธีกรรมเค้งจกที่มีต่อบริบทของพิธีกรรมจีน

เมื่อความเป็นจีนในแบบสังคมไทยได้นาความเชื่อในพิธีกรรมเค้ง จกมาผนวกรวมกั บ
ความเชื่อท้องถิ่นเดิมที่มีการประทับทรงอยู่ก่อนแล้ว ร่างทรงในพิธีกรรมเค้งจกจึงต่อถือหน้าที่สาคัญ
ประการหนึ่งในพิธีกรรม นั่นคือ การถ่ายทอดบทบาทของความเป็นเทพเจ้าขณะประทับทรงให้ออกมา
เป็นรูปธรรมมากที่สุด ในเรื่องของการแสดงบทบาทดังกล่าวนี้ จะแสดงออกมาให้เห็นในรูปแบบต่างๆ
กรณีตัวอย่างเช่น
การมีบทบาทในการเป็นผู้ดูแลจิตใจของสาธุชนที่มีความทุกข์และต้องการเข้าหาเทพเจ้า
ร่างทรงก็จะต้องทาการประทับทรงเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับผู้ที่ทุกข์ร้อน ในบทบาทของการ
เป็น ผู้ดูแ ลจิ ตใจนี้จ ะมี ค วามคล้ ายคลึง กั บ ประเพณีพื้น ถิ่น เดิม ของภูมิ ภาคทางเหนือ นั่ นคือ พิ ธี
กรรมการฟ้อนผี การที่บรรดาผีปู่ย่าและผีเจ้านายองค์ต่างๆเข้ามาประทับยังม้าขี่หรือร่าทรง ส่วนหนึ่ง
เพื่อช่วยบาบัดทุกข์บารุงสุขให้กับลูกหลานหรือผู้ที่ทุกข์ร้อนต่างๆ จุดนี้เองที่แสดงออกถึงบทบาทที่มี
ความคล้ายกั นของการประทั บ ทรงในเรื่องของการเป็นผู้ดูแลจิตใจ อีก สิ่ง หนึ่ งที่ ร่างทรงมี ห น้าที่
ถ่ายทอดสิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นเทพเจ้า” ให้ออกมาในลักษณะของความเป็นรูปธรรมได้ โดยที่ผู้คนที่
54

ได้เข้าหาร่างทรงก็จะซึมซับสิ่งเหล่านี้ที่ถูกถ่ายทอดออกมาโดยร่างทรง ดังจะเห็นได้จากการที่ร่างทรง
ได้แสดงอากัปกิริยาต่างๆออกมา เช่น หากทาการประทั บทรงพระแม่กวนอิมก็จะแสดงอากัปกิริยา
ของความเมตตาออกมา หรือ หากทาการประทับทรงเทพเจ้ากวนอูก็จะแสดงอากัปกิริยาของความ
ดุดันน่าเกรงขามออกมา สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงความเป็นเทพเจ้าที่ได้ลงมาประทับทรง ซึ่ง
ที่มาของอากัปกิริยาของการประทับทรงโดยเทพเจ้าเหล่านี้ก็จะมาจากการทาความเข้าใจของร่างทรง
เอง โดยจุดประสงค์ของสิ่ง เหล่านี้ คือ การเสริม สร้างภาวะความศัก ดิ์สิทธิ์ให้กับ การประทับ ทรง
เพื่อให้สาธุชนได้ซึมซับและเข้าใจตรงกันว่า เทพเจ้าที่ตนเองนับถือได้เข้ามาทาการประทับทรงเพื่อ
ช่วยเหลือผู้ที่เดือนร้อนต่างๆ สิ่งนี้ก็จะมีความคล้ายกันกับการที่ม้าขี่หรือร่างทรงในงานพิธีกรรมฟ้อนผี
ของภูมิภาคทางเหนือ ที่บรรดาม้าขี่จะแสดงอากัปกิริยาต่างๆออกมาเพื่อแสดงออกถึงความเป็นผีปู่ย่า
หรือผีเจ้านาย ตามความเชื่อของม้าขี่หรือร่างทรงเอง ทั้งนี้ก็เพื่อดูแลจิตใจให้กับผู้ที่เดือดร้อนต่างๆ

ภาพที่ 4.1 พระแม่กวนอิมขณะประทับทรงให้พรแก่สาธุชน

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556
55

ภาพที่ 4.2 พิธีกรรมฟ้อนผีในสังคมร่างทรงภูมิภาคทางเหนือ

ที่มา: สถานที่ ภูมิภาคเหนือ (http://khim145.blogspot.com/2013/02/blog-post_22.html)

แต่ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากร่างทรงที่ประทับทรงเทพเจ้าจีนจะต้องทาหน้าที่ประดุจการเป็น
ตัวแทนของศาลเจ้า เพราะเทพเจ้าที่ ประจ าในศาลเจ้า คือ สิ่ง ที่เ ป็นที่พึ่ง ทางใจ การที่ ร่างทรงมี
ความสามารถในการอั ญ เชิญ เทพเจ้าที่ เ ป็นสิ่ง ที่ เ ป็นที่ พึ่ง ทางใจของชาวบ้านมาประทั บ ทรงและ
ช่วยเหลือชาวบ้านได้นั้น ก็เปรียบเสมือนกับการเป็นตัวแทนและมีบทบาทเหมือนเป็นศาลเจ้า เมื่อเรา
มองร่างทรงในฐานนะที่ประกอบพิธีกรรม ตัวอย่าง พิธีกรรมเค้งจก ร่างทรงก็ได้แสดงออกถึงหน้าที่
สาคัญประการหนึ่ง นั่นคือ การประทับทรงเพื่อร่วมแสดงความยินดีให้กับเทพเจ้าที่เป็นเจ้าภาพของ
งาน ดังนั้นจะพบว่า พิธีเฉลิมฉลองและถวายพระพรเทพเจ้าหรือพิธีกรรมเค้งจก เป็นพิธีกรรมที่ถูก
สร้างขึ้นเพื่อถวายพระพรเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เนื่องในวาระของวันคล้ายวันประสูติเทพเจ้าหรือสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นการที่บรรดาร่างทรงจากศาลเจ้าต่างๆที่ศาลเจ้าเจ้าภาพได้ทาการเรียนเชิญมาประทับ
ทรงเทพเจ้าเพื่ อร่วมแสดงความยินดีกั บเทพเจ้าของตน ก็สามารถแสดงออกให้เห็นว่า ร่างทรงนี้มี
หน้าที่ถ่ายทอดความรู้สึกของเทพเจ้าให้ออกมาเป็นรูปธรรมด้วย ดังนั้นเมื่องานพิธีกรรมเค้งจก คือ
การร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวันคล้ายวันประสูติของเทพเจ้า บรรดาร่างทรงที่ม าร่วมงานและ
ประทับทรงเทพเจ้า เทพเจ้าในร่างทรงนั้นก็ย่อมแสดงออกถึงความยินดีออกมา เราจึงเห็นจุดสาคัญ
ของเรื่องนี้ได้ว่า นอกจากบทบาทของร่างทรงที่จะต้องเป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์แล้ว
56

ร่างทรงก็ยังต้องทาหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของเทพเจ้าให้ออกมาในรูปธรรมอีก
ด้วย จุดนี้จึงถือว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่เราจะพบได้ในงานพิธีกรรมเค้งจกโดยเฉพาะในจังหวัด ชลบุรี
อีกทั้งการที่ร่างทรงต่างๆของเทพเจ้าเข้าร่วมงานพิธีกรรมเค้งจก ถือเป็นเรื่องของ “ความสัมพันธ์” กัน
ในหมู่ แวดวงสังคมร่างทรงสายชลบุรี ทั้ง นี้การที่ต้องมี การเรียนเชิญ เทพเจ้าของแต่ล ะศาลเจ้าเข้า
ร่วมงานพิธีกรรมเค้งจก ทางร่างทรงสายชลบุรีมีความเชื่อกัน ว่า เป็นธรรมเนียมที่สืบทอดกันมา ซึ่ง
ธรรมเนียมนี้แสดงออกให้เห็นถึงการให้เกียรติกันในหมู่ร่างทรงสายชลบุรีและเป็นการแสดงออกถึง
ความเคารพนับถือ รวมถึงเป็นการให้เกียรติเทพเจ้าของแต่ละศาลเจ้า จุดนี้เองที่แสดงออกถึงการสาน
สัมพันธ์กันระหว่างศาลเจ้าโดยถือเอาร่างทรงเทพเจ้าเป็นตัวดาเนินการ อีกทั้งยังถือว่าเป็นการถือแรง
กันทาบุญ ช่วยงานกันระหว่างศาลเจ้า เช่น เมื่อมีการเชิญศาลเจ้าต่างๆมาร่วมงานกับศาลเจ้าเจ้าภาพ
เมื่อศาลเจ้าเหล่านี้มีงาน ศาลเจ้าที่เคยเป็นเจ้าภาพก็ต้องไปช่วยงานด้วย โดยถือกันว่าศาลเจ้าต่างๆ
เหล่านี้เคยมาช่วยถือแรงทาบุญกัน ดังนั้นการที่ต้องมีการเชิญเทพเจ้าและร่างทรงต่างๆมาร่วมงาน
พิธีกรรมเค้งจกก็แสดงให้เห็นว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสานสัมพันธ์ระหว่างศาลเจ้าโดยมีร่างทรง
เป็นผู้ดาเนินงานนี้ด้วย
57

ภาพที่ 4.3 เทพเจ้าศาลเจ้าน่ากวงฮั่งตี่ กาลังร่วมยินดีในวันประสูติเทพเจ้าไต่เสี่ยฮุกโจ้ว

ที่มา: สถานที่ ศาลเจ้าบ่วงเชี่ยงตั่ง ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว หนองรี จ.ชลบุรี


(https://www.facebook.com/saguaaier/media_set?set=a.231708336971918.1073741826.100003982597447&type=3
#!/photo.php?fbid=221330677997303&set=a.221262171337487.55368.10000361118920&type=3&theater)
58

อีกทั้งยัง ต้องแสดงบทบาทในการเรียกศรัทธาด้วย เพราะร่างทรงเทพเจ้าต้องปฏิบัติ


หน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของเทพเจ้า ดังนั้นแรงศรัทธาต่างๆของเหล่าสาธุชนก็จะหลั่งไหลเข้ามายัง
ศาลเจ้า เพื่อเรามองร่างทรงเทพเจ้าผ่านพิธีกรรมเค้งจกก็จะพบว่า การเรียกศรัทธาของแต่ละร่างทรง
จะมี ไม่เ หมือ นกัน ฉะนั้นการที่ร่างทรงจะเป็นผู้เ รียกศรัทธาได้ จะต้องมาจากการที่เทพเจ้าเข้ามา
ประทับ ทรงในร่างทรง มี ความแม่ นยาในเรื่องของการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้คนที่ ทุ กข์ร้อน อีก ทั้ ง มี
ความสามารถที่จะแสดงออกในสิ่งที่อยู่เหนือความเป็นธรรมชาติหรือที่เรียกกันว่า อิทธิปาฏิหาริย์ ได้
ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแสดงออกให้เห็นว่า เทพเจ้าได้มาประทับในร่างทรงนี้จริง มิได้เป็นสิ่งหลอกลวง จุด
นี้เองที่สาธุชนจะต้องมีวิจารณญาณในการแยกแยะความจริงเท็จและเลือกที่จะเชื่อหรือไม่เชือ่ เอง ส่วน
อีกสาเหตุหนึ่งที่การประทับทรงโดยร่างทรงสามารถเรียกศรัทธาและสามารถดารงอยู่ในสังคมปัจจุบนั
ได้ เนื่องมาจากการประทับทรงเทพเจ้าและร่างทรงมีความเชื่อและมีพิธีกรรมที่ เป็นเอกลักษณ์เป็นของ
ตนเอง มีวัตรปฏิบัติที่เก่าแก่ มีการสั่งสมและสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน สิ่งนี้เองที่เป็นเหตุให้ผู้ที่
เกี่ยวข้องและผู้พบเห็นเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ดังจะเห็นได้จากกรณีของศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ยของ
อาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี ที่ศาลเจ้านี้จะมีความเก่าแก่ มีการประกอบพิธีกรรมเค้งจกมายาวนาน
และเป็นแบบแผนจนศาลเจ้าอื่นถือให้พิธีกรรมเค้งจกของศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ยมีความเป็นมาตรฐาน
กลางในการประกอบพิธีกรรมเค้งจก ผนวกกับศาลเจ้าเองก็มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ดังนั้นบทบาทร่างทรงใน
การเรียกศรัทธาจึงมีส่วนในการดึงผู้ คนเข้ามา ดังนั้นการที่ผู้คนที่ศรัทธาเลือกที่จะเข้าศาลเจ้าแห่งนี้
เพราะมาจากความเก่าแก่ของศาลเจ้า ความเป็นสากลของศาลเจ้า การที่ศาลเจ้าเองก็มีชื่อเสียงเป็น
ทุนเดิม ผนวกกับการมีร่างทรงเป็นผู้ชูความโดดเด่นเหล่านี้ออกมา ดังนั้นการที่ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย
ของอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี มีความเป็นมาตรฐานในจุดนี้ ศาลเจ้าดังกล่าวจึงมีแรงขับเคลื่อน
บางอย่างในสังคมร่างทรงสายชลบุรีด้วย
59

ภำพที่ 4.4 เทพเจ้าซากัวเอี๊ยขณะประทับทรงในงานพิธีเค้งของศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย

ที่มา: บันทึกภาพโดย นรุตม์ ศิลปพิบูลย์ สถานที่ ศาลเจ้าซากัวเล่าเอี๊ย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

4.2 ร่างทรงในพิธีกรรมเค้งจกที่มีต่อบริบทความเชื่อความเป็นจีนท้องถิ่นไทย
เนื่องมาจากการที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นกับประเพณีจีนเข้าด้วยกันและทา
การสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน จึงทาให้พื้นที่ศึกษาในประเทศไทยมีความพิเศษที่แตกต่างจากที่อื่นๆ
ดังนั้นการประทับทรงเทพเจ้าเพื่อประกอบพิธีกรรมเค้งจกขอสายชลบุรี จึงต่างกับภูมิภาคอื่นๆที่ไม่มี
การประทับทรง ดังนั้นพิธีกรรมเค้งจกที่มีการประทับทรงก็จะมีปรากฏเพียงเฉพาะในประเทศไทยและ
เป็นประเทศไทยที่มีปรากฏเฉพาะพื้นที่ด้วย นั่นคือ พื้นที่จังหวัด ชลบุรี ที่ผู้วิจัยได้ทาการศึกษา ซึ่งเป็น
ส่วนหนึ่งของภาคตะวันออกที่มีชาวจีนโพ้นทะเลอาศัยอยู่และมีการประกอบพิธีกรรมเค้งจกโดยมีร่าง
ทรงและไม่ปรากฏในพื้นที่อื่นๆ จึงถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความพิเศษ เนื่องมาจากการประทับ ทรงเทพเจ้า
และร่างทรงสายชลบุรี มีความเชื่อและมีพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีวัตรปฏิบัติที่เก่าแก่
มีการสั่งสมและสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน สิ่งนี้เองที่เป็นเหตุให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้พบเห็นเกิ ด
ความเลื่อมใสศรัทธา จึงเป็นเหตุให้พื้นที่จังหวัด ชลบุรี ครองความเป็นเอกลักษณ์ของพิธีกรรมเค้งจก
ไว้ได้ ในขณะเดียวกันก็มีพื้นที่บางพื้นที่ในบริเวณภูมิภาคตะวันออกที่รับพิธีกรรมเค้งจกแบบสายชลบุรี
ไปเช่นกัน อาทิ จังหวัดฉะเชิงเทรา ก็มีการประกอบพิธีกรรมเค้งจกเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้มีขั้นตอนที่เต็ม
60

รูปแบบเท่าที่จังหวัด ชลบุรี เนื่องมาจากการประทับทรงของจังหวัดฉะเชิงเทรา มิได้มีการเชิญร่างทรง


จากที่อื่นให้มาร่วมงานพิธีกรรมเค้งจกแบบสายชลบุรี
ดังนั้นร่างทรงในพิธีกรรมเค้งจกจึงเป็นภาพสะท้อนถึงความผสมผสานความเชื่อจาก
ประเพณีจีนให้ผนวกรวมเข้ากันกับความเชื่อในสังคมท้องถิ่นของประเทศไทย ดังที่จะเห็นได้จากในบท
ที่ 2 ร่างทรงในพิธีกรรมเค้งจกถือว่ามีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ ซึ่งในลักษณะ
ดังกล่าวนี้ไม่มีปรากฏให้เห็นในประเทศอื่นๆ สิ่งนี้เราสามารถเปรียบเทียบได้ เช่น ในเทศกาลถือศีลกิน
เจที่ม้าทรงจะมีการประทับทรงเทพเจ้าออกโปรดในงานแห่เทพเจ้าช่วงเทศกาลกินเจ หรือ กรณีการ
เลือกองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิมของจังหวัด นครสวรรค์ซึ่งมีเรื่องของระบบตัวแทนเกิดขึ้น ความคิดชุดนี้
จะไม่มีปรากฏในพื้นที่อื่นๆในต่างประเทศเลยหรือถึงมีความคิดชุดนี้ก็จะไม่ได้ถูกนามาชูให้เด่นเท่ากับ
ในสังคมไทย
ดังนั้นการที่มีการเกิดขึ้นของพิธีกรรมที่จะต้องมีการประทับทรงเทพเจ้า สะท้อนให้เห็น
ว่า พิธีกรรมของจีนที่อยู่ในประเทศไทยมีการผสมผสานความเชื่อของท้องถิ่นเดิมกับความเชื่อของ
พิธีกรรมจีนซึ่งเข้ามาในประเทศไทย ให้ออกมาในรูปลักษณ์แบบใหม่ที่แทบจะไม่มีปรากฏในพื้นที่อื่น
ในต่างประเทศเลยและในขณะเดียวกัน ประเทศไทยเองก็มีการแยกย่อยลงไปด้วยว่า การที่พิธีกรรม
เค้งจกซึ่งเป็นพิธีกรรมจีนและไม่จาเป็นว่าจะต้องมีร่างทรง กลับมีปรากฏการประทับทรง ถึงเป็นเรื่อง
ที่มีการผสมผสานกับความเชื่อเดิมของท้องถิ่นในเรื่องของการประทับทรง ผนวกกับมีความเชื่อพื้นถิ่น
ที่สนองรับกับความเชื่อพิธีกรรมจีนดังกล่าวนี้ด้วย จึงทาให้ร่างทรงมีบทบาทสาคัญมากในงานพิธีกรรม
เค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีน ในอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี ซึ่งจุดนี้ก็สะท้อนให้เห็นซึ่งความเชื่อที่
มีการผสมผสานกันระหว่างพิธีกรรมจีนและความเชื่อดั้งเดิมของการประทับ ทรงในภูมิภาคของไทย
ในจุดนี้จึงสรุปได้ว่า ร่างทรงเทพเจ้าของสายชลบุรีนี้มีความสาคัญ มาก เพราะระบบ
ความเชื่อของร่างทรงสายชลบุรีจากที่ผู้วิจัยได้ทาการศึกษา ทาให้เห็นผู้วิจัยได้เห็นภาพว่า ร่างทรงใน
สายชลบุรี นี้ ได้ส ะท้ อ นภาพของการสร้ างความเป็ น “นามธรรม” ของเทพเจ้า ให้ บั ง เกิ ด เป็ น
“รูปธรรม” ได้ ซึ่งแท้จริงแล้วพิธีเฉลิมฉลองและถวายพระพรเทพเจ้าหรือพิธีกรรมเค้งจกของอาเภอ
บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี นี้ ไม่ จาเป็นว่าจะต้องมี ร่างทรงมาประทั บทรงในงานพิธีก รรม แต่ก ารที่ มี
ปรากฏการณ์ของร่างทรงเกิดขึ้นในพิธีกรรมเค้งจกจนกลายเป็นเอกลักษณ์สาคัญที่แตกต่างจากพื้นที่
อื่นๆนั้น มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเป็นรูปธรรมให้แก่เทพเจ้าอันเป็นที่เคารพบูชา การที่ต้องมีเทพ
เจ้าเข้ามาประทับทรงในงานพิธีกรรมเค้งจก เพื่อแสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์และความรูส้ กึ ของเทพเจ้า
ที่ถ่ายทอดโดยผ่านร่างทรง โดยจะแสดงอากัปกิริยาต่ างๆออกมา ไม่ว่าจะเป็นทั้งในพิธีกรรมเค้งจก
หรือการประทับทรงเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ ถือเป็นประการที่หนึ่ง
ประการต่อมา สืบเนื่องมาจากการที่ร่างทรงประทับทรงเทพเจ้าจีนจะต้องทาหน้าที่
ประดุจการเป็นตัวแทนของศาลเจ้า เพราะเทพเจ้าที่ประจาในศาลเจ้า คือ สิ่งที่เป็นที่พึ่ง ทางใจ การที่
61

ร่างทรงมีความสามารถในการอัญเชิญเทพเจ้าที่เป็นสิ่งที่เป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านมาประทับทรง
และช่วยเหลือชาวบ้านได้นั้น ดังนั้นจุดนี้จึงเป็นภาพสะท้อนประประการต่อมากับการที่ร่างทรงได้เป็น
ตัวแทนและมีบทบาทเหมือนเป็นศาลเจ้า อีกทั้งการที่ร่างทรงต่างๆของเทพเจ้าเข้าร่วมงานพิธีกรรม
เค้งจก ถือเป็นการสะท้อนเรื่องของ “ความสัมพันธ์” กันในหมู่แวดวงสังคมร่างทรงสายชลบุรี อันเป็น
ธรรมเนียมที่สืบทอดกันมา แสดงออกให้เห็นถึงการให้เกียรติกันในหมู่ร่างทรงสายชลบุรีและเป็นการ
แสดงออกถึง ความเคารพนับ ถือ รวมถึง เป็นการให้เ กี ยรติเ ทพเจ้าของแต่ล ะศาลเจ้า จุ ดนี้เ องที่
แสดงออกถึงการสานสัมพันธ์กันระหว่างศาลเจ้าโดยถือเอาร่างทรงเทพเจ้าเป็นตัวดาเนินการ
ประการสุดท้าย ร่างทรงยังต้องแสดงบทบาทในการเรียกศรัทธาด้วย เพราะร่างทรงเทพ
เจ้าต้อ งปฏิบัติห น้าที่เ สมื อนเป็นตัวแทนของเทพเจ้า ดังนั้นแรงศรัท ธาต่ างๆของเหล่าสาธุชนก็จ ะ
หลั่งไหลเข้ามายังศาลเจ้า เพื่อเรามองร่างทรงเทพเจ้าผ่านพิธีกรรมเค้งจก การเรียกศรัทธาของแต่ละ
ร่างทรงจะมีไม่ เหมือนกัน ฉะนั้นจึงเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่า การที่ ร่างทรงจะเป็นผู้เ รียกศรัทธา
จะต้องมาจากการที่เทพเจ้าเข้ามาประทับทรงในร่างทรง มีความแม่นยาในเรื่องของการแก้ไขปัญหา
ให้แก่ผู้คนที่ทุกข์ร้อนและมีประสบการณ์การประทับทรงมาเป็นเวลายาวนาน ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่
เป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่า การประทับทรงโดยร่างทรงสามารถเรียกศรัทธาและสามารถดารงอยู่ใน
สังคมปัจจุบันได้ เนื่องมาจากการประทั บทรงเทพเจ้าและร่างทรงมี ความเชื่อและมีพิธีก รรมที่เป็น
เอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีวัตรปฏิบัติที่เก่าแก่ มีการสั่งสมและสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน สิ่งนี้
เองที่เป็นเหตุให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้พบเห็นเกิดความเลื่อมใสศรัทธา
62

บทที่ 5

สรุปและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อศึกษาบทบาท “ร่างทรง” ใน


พิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี

ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ในข้างต้นสามารถทาให้เกิดความเข้าใจได้ 2 ประเด็น คือ

1.ผลการศึกษาพบว่า พิธีเฉลิมฉลองและถวายพระพรเทพเจ้าหรือพิธีกรรมเค้งจก(
)เป็นพิธีกรรมจีนที่มีวตั รปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาในหมู่ของชาวจีนทั่วไปซึ่งมีความสาคัญ
มาก จะจัดขึ้นเนื่องในวันคล้ายวันประสูติของเทพเจ้า โดยเทพเจ้าจีนนั้นมีทั้งที่เป็นของจีนเองและที่
รับมาจากพระพุทธศาสนาจานวนมาก ซึ่งพิธีดังกล่าวนี้จะจัดเพื่อถวายพระพรให้กับเทพเจ้าที่เป็นองค์
ประธานของศาลเจ้า โดยพิธีกรรมนี้มีรากฐานดั้งเดิมมาจากประเทศจีนซึ่งเป็นสถานที่กาเนิดความเชื่อ
เรื่องของเทพเจ้า พิธีกรรมนี้จะเป็นการถวายเครื่องเซ่นสรวงแด่เทพเจ้า เปรียบเหมือนกับงานเลี้ยง
ฉลองของเทพเจ้าที่มนุษย์ได้จัดถวายให้ จุดประสงค์เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูที่มนุษย์มีต่อเทพเจ้า
ที่ได้คุ้มครองตลอดมา ซึ่งจะแตกต่างไปจากการไหว้เทพเจ้าเนื่องในเทศกาลต่างๆของจีน เช่น เทศกาล
ตรุษจีน เทศกาลสาทรจีน เทศกาลไหว้บะจ่าง เทศกาลไหว้พระจันทร์หรือในเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย
เป็นต้น โดยการประกอบพิ ธีกรรมเค้ง จกนั้นจะแตกต่างกั นไปตามแต่แต่ล ะพื้นที่ที่ มีความเชื่อของ
พิธีกรรมนี้ไปปรากฏในสังคมชาวจีนพื้นที่อื่นๆ อาทิ ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซียหรือในประเทศไทยเอง
ก็ปรากฏพิธีกรรมดังกล่าวนี้ แต่ในสังคมไทยบริเวณภูมิภาคตะวันออกของประเทศ มีปรากฏการณ์ที่
พิเศษประการหนึ่ง คือ มีปรากฏการณ์ของการประทับทรงเทพเจ้ าในพิธีกรรมเค้ งจก การประทับ
ทรงดังกล่าวนี ้สะท้ อนให้ เห็นถึงความเชื่อและวัฒนธรรมพืน้ ถิ่นหรื อท้ องถิ่น ซึ่งไม่ใช่ลกั ษณะของ
พิธีก รรมจี นในแบบที่เ ป็ นสากล กล่าวคือ ในพื้นที่อื่นๆที่เ ป็นสัง คมจีนที่มี พิธีก รรมเค้งจกนี้ จะไม่
ปรากฏการประทับทรง ความเชื่อท้ องถิ่นนีไ้ ด้ สะท้ อนให้ เห็นในพิธีกรรมจีนอื่นๆในประเทศไทยดัง
กรณีตวั อย่าง เช่น การคัดเลือกองค์สมมุติเจ้ าแม่กวนอิมในช่วงวันตรุษจีนที่จังหวัด นครสวรรค์
หรือ การประทับทรงโดยม้ าทรงในงานเทศกาลถือศีลกินเจของภูมิภาคทางใต้ จุดนี้เองที่ยังแสดงให้
เห็นว่ายังติดในขนบประเพณีพื ้นเมืองดังเดิ้ ม คือ การมีการประทับทรง ดังนันการที้ ่ทาให้ เทพเจ้ ามา
63

ประทับทรงได้ และแสดงอากัปกิริยาต่างๆในงานพิธีกรรมจีน โดยเฉพาะการประทับทรงโดยร่างทรง


ในงานพิธีกรรมเค้ งของอาเภอ บ้ านบึง จังหวัด ชลบุรี ซึ่งพืน้ ที่ ดงั กล่าวนีม้ ีชาวไทยที่มีเชือ้ สายจีน
แต้ จิ๋ วอยู่เ ป็ นจ านวนมาก ดังนัน้ ความเป็ นไทยพื น้ ถิ่ น ที่ เ ข้ าไปในพิ ธีก รรมจี น นอกจากจะมี
ขนบประเพณีพื ้นเมืองในเรื่องของการประทับทรงเทพเจ้ าในท้ องถิ่นแล้ ว เมื่อมีประเพณีจากต่างถิ่น
เข้ ามา เช่น ประเพณีจีน ก็ย่อมที่จะถูกนามารวมกัน กับขนบประเพณีพืน้ เมืองในเรื่ องของการ
ประทับทรงด้ วย
2.ผลการศึก ษาพบว่า บทบาทของร่างทรงในพิธีก รรมเค้ง จกนั้นมี ความส าคัญ มาก
เพราะร่างทรงเป็นกลุ่ มคนที่ แทรกตัวอยู่ในสังคมและมีจ านวนเพิ่ม มากขึ้นเรื่อยๆ ผู้วิจัยได้ทาการ
นาเสนอบทบาทของร่างทรงผ่าน พิธีกรรมเค้ ง จกหรือพิธีถวายพระพรเทพเจ้าของอาเภอ บ้านบึง
จังหวัด ชลบุรี ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนี้ แตกต่างไปจากพื้นที่อื่นๆที่มีการประกอบพิธีกรรมเค้งจก นั่นคือ มี
ปรากฏการณ์ของร่างทรงในพิธีกรรม อันมีสาเหตุมาจากการแปรเปลี่ยนความเป็น “นามธรรม” ให้
เกิดมีความเป็น “รูปธรรม” กล่าวคือ ผู้คนต้องการความสบายใจ เพราะการประกอบพิธีกรรมเค้งจก
คือ การถวายเครื่องเซ่นต่อเทพเจ้า ดังนั้นส่วนหนึ่งที่จะต้องมีการประทับทรงก็เพื่อแสดงให้เห็นถึง
ความใกล้ชิดระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงความสบายใจของผู้ที่ได้ถวายเครื่องเซ่น
ประดุจได้ถวายกับเทพเจ้าโดยตรง ดังนั้นร่างทรงจึงถึงว่ามีบทบาทและหน้าที่ที่สาคัญมากในจุดนี้ คือ
หน้าที่ของร่างทรงทั้งที่ขณะประกอบพิธีกรรมเค้งจกและประทับทรงในศาลเจ้าตามปกติ จะมีหน้าที่
โดยหลักๆ 6 ประการ คือ 1.การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ 2.การพยากรณ์ตรวจดวงชะตา 3.การสะเดาะ
เคราะห์ 4.การตั้งชื่อและหาฤกษ์ยาม 5.การให้ศีลให้พรให้บารมี 6.การให้คาแนะนาปรึกษา อีกทั้ง ร่าง
ทรงเทพเจ้าที่ได้เข้าไปสู่สภาวะของความเป็นเทพเจ้าผ่านการประทับทรง ก็จะเป็นลักษณะของการ
ควบ 2 บุคลิก กล่าวคือ มีบุคลิกเดิมเป็นพื้นฐานก็คือความเป็นตัวของตัวเองและการมีบุคลิกใหม่ของ
ความเป็นเทพเจ้าเมื่อประทับทรง เมื่อร่างทรงได้ทาการประทับทรงแล้ว บทบาทของบุคคลเหล่านี้จึง
ต้ อ งแสดงความเป็ น เทพเจ้ า ออกให้ ม ากที่ สุ ด รวมทั้ ง ท าหน้ า ที่ ช่ ว ยเหลื อ ผู้ ค นที่ ทุ ก ข์ ร้ อ นตาม
ความสามารถที่ร่างทรงแต่ละร่างจะสามารถทาได้ สิ่งที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ร่างทรงเมื่อทาการ
ประทั บทรงแล้วจะมี ลัก ษณะของการลอกรูป แบบประติม านวิท ยา(Lconography )ของเทพเจ้า
ออกมา คือ การลอกรูปแบบเทวลักษณะหรือรูปเคารพที่เป็นเทวรูปของเทพเจ้าประจาศาลเจ้าออกมา
ทั้งชุดที่ประทับทรงและอากัปกิริยาลักษณะต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้การประทับทรงเพื่อช่วยแก้ ไขปั ญหา
ต่างๆให้ กับ ผู้ที่ ทุก ข์ร้อนของร่างทรงเทพเจ้าจีน ในบทบาทของการเป็นผู้ดูแลจิตใจนี้จ ะมี ความ
คล้ายคลึงกับประเพณีพื้นถิ่นเดิมของภูมิภาคทางเหนือ นั่นคือ พิธีกรรมการฟ้อนผี ซึ่งการที่บรรดาผี
ปู่ย่าและผีเจ้านายองค์ต่างๆเข้ามาประทับยังม้าขี่ หรือร่าทรง ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยบาบัดทุกข์บารุงสุข
ให้กับลูกหลานหรือผู้ที่ ทุกข์ร้อนต่างๆ ซึ่งคล้ายคลึงกับการประทับ ทรงเทพเจ้าจีนโดยร่างทรงสาย
ชลบุรี ร่างทรงที่ประทับทรงเทพเจ้าจีนจะต้องทาหน้าที่ประดุจการเป็นตัวแทนของศาลเจ้า ควบคู่ไป
64

กับการดูแลจิตใจผู้ทุกข์ร้อนด้วย เพราะเทพเจ้าที่ประจาในศาลเจ้า คือ สิ่งที่เป็นที่พึ่งทางใจ การที่ร่าง


ทรงมีความสามารถในการอัญเชิญเทพเจ้าที่เป็นสิ่งที่เป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านมาประทับทรงและ
ช่วยเหลือชาวบ้านได้นั้น ก็เปรียบเสมือนกับการเป็นตัวแทนและมีบทบาทเหมือนเป็นศาลเจ้า รวมทั้ง
ร่างทรงยังต้องมีบทบาทในการเรียกศรัทธาด้วย เพราะร่างทรงเทพเจ้าต้องปฏิบัติหน้าที่เสมือนเป็น
ตัวแทนของเทพเจ้า ดังนั้นแรงศรัทธาต่างๆของเหล่าสาธุชนก็จะหลั่งไหลเข้ามายังศาลเจ้า ซึ่งการเรียก
ศรัทธาของแต่ละร่างทรงจะมีไม่เหมือนกัน ฉะนั้นการที่ร่างทรงจะเป็นผู้เรียกศรัทธาได้ จะต้องมาจาก
การที่เทพเจ้าเข้ามาประทับทรงในร่างทรง มีความแม่นยาในเรื่องของการแก้ไขปัญหาให้แก่ผคู้ นทีท่ กุ ข์
ร้อน อี ก ทั้ ง มี ความสามารถที่ จ ะแสดงออกในสิ่ง ที่ อยู่เ หนือความเป็นธรรมชาติห รือที่ เ รียกกั นว่ า
อิทธิปาฏิหาริย์ ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแสดงออกให้เห็นว่า เทพเจ้าได้มาประทับในร่างทรงนี้จริง มิได้
เป็นสิ่งหลอกลวง ซึ่งการที่ผู้คนที่ศรัทธาเลือกที่จะเข้าศาลเจ้านั้น เพราะอาจจะมาจากความเก่าแก่ของ
ศาลเจ้า ความเป็นสากลของศาลเจ้า คือ ความเป็นแบบแผนที่ศาลเจ้าอื่นๆนาไปปฏิบัติ การที่ศาลเจ้า
เองก็มีชื่อเสียงเป็นทุนเดิม ผนวกกับการมีร่างทรงเป็น ผู้ชูความโดดเด่นเหล่านี้ออกมาด้วย จากที่ได้
กล่าวมานี้จึง สะท้ อนให้เห็นว่า พิธีกรรมของจีนที่อยู่ในประเทศไทยมีการผสมผสานความเชื่อของ
ท้องถิ่นเดิมกับความเชื่อของพิธีกรรมจีนซึ่งเข้ามาในประเทศไทย ให้ออกมาในรูปลักษณ์แบบใหม่ที่
แทบจะไม่มีปรากฏในพื้นที่อื่นในต่างประเทศเลยและในขณะเดียวกัน ประเทศไทยเองก็มีการแยกย่อย
ลงไปด้วยว่า การที่พิธีกรรมเค้งจกซึ่งเป็นพิธีกรรมจีนและไม่จาเป็นว่าจะต้องมีร่างทรง กลับมีปรากฏ
การประทับทรง ถึงเป็นเรื่องที่มีการผสมผสานกับความเชื่อเดิมของท้องถิ่นในเรื่องของการประทับทรง
ผนวกกั บ มีความเชื่อพื้ นถิ่ นที่ สนองรับ กั บความเชื่อพิธีก รรมจีนดัง กล่าวนี้ด้วย จึง ทาให้ร่างทรงมี
บทบาทสาคัญมากในงานพิธีกรรมเค้งจกของชาวไทยเชื้อสายจีน ในอาเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี ซึ่ง
จุดนี้ก็สะท้อนให้เห็นซึ่งความเชื่อที่มีการผสมผสานกันระหว่างพิธีกรรมจีนและความเชื่อดั้งเดิมของ
การประทับทรงในภูมิภาคของไทย

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสาหรับการศึกษาเกี่ยวกับร่างทรงดังต่อไปนี้

1.จากการเก็ บข้อ มู ลรวบรวมภาคสนาม ผู้วิจัยพบว่า มี ผู้ที่เ ป็นร่างทรงส่วนหนึ่ง ที่ มี


ลักษณะส่วนบุคคลเป็นพวกรักร่วมเพศ(Homosextual) ร่างทรงกลุ่มนี้มักจะประทับทรงเทพเจ้าที่
เป็นฝ่ายหญิง ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่า ร่างทรงกลุ่มนี้น่าจะมีการทาการศึกษาต่อไปในอนาคต เพื่อสร้าง
คาอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับร่างทรงให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
2.จากการเก็บข้อมูลรวบรวมภาคสนาม ผู้วิจัยพบว่า มีกลุ่มร่างทรงที่ประทับทรงเทพเจ้า
ในสายอื่ นๆที่ ไม่ใช่สายเทพเจ้าจีน ปรากฏในพิธีก รรมเค้งจกด้วย ดัง นั้นจุดนี้จึง เป็นประเด็นที่ น่า
ทาการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น

You might also like