You are on page 1of 640

แปดสิบพรรษามหาราช

แปดทศวรรษมิ่งมงคลสมัย
เสมอภูมิแผ่นไผทพิชัยเฉลิม
ฉลองราชชาติประชาปรีดาประเดิม
ประดับพรขจรเจิมพระจริยา
จริยวัตรฉัตรธรรมธำรงราษฎร์
ธำรงรัฐฉัตรชาติพระศาสนา
พระศาสนูปถัมภกยกบูชา
บูชิตฝ่าบาทบงสุ์ทรงพระเจริญ

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ : ร้อยกรอง


บทขับร้องประกวดงานประลองเพลงประเลงมโหรี
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๐
พระพุทธปฏิมา

อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พิริยะ ไกรฤกษ์
คณะผู้จัดทำ

เจ้าของโครงการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)


ผู้ริเริ่ม บุญชู โรจนเสถียร
ดำรงค์ กฤษณามระ
ชาตรี โสภณพนิช
บรรณาธิการ พันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ผู้ช่วยบรรณาธิการ ศิรินันท์ บุญศิริ
ผู้เขียน รองศาสตราจารย์ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์
ภาพถ่าย รองศาสตราจารย์ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์
พิชญา สุ่มจินดา
เผ่าทอง ทองเจือ
รองศาสตราจารย์ ม.ล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์
สุชาดา ภิรมย์ภักดี
วิพัฒน์ ชัยประเสริฐวิทย์
สำนักพระราชวัง
สำนักราชเลขาธิการ
ภาพลายเส้น สุทธิชัย หวายสันเทียะ
จัดทำโดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ออกแบบรูปเล่ม บริษัท เดอะ คีย์ พับลิชเชอร์ จำกัด
พิมพ์ที่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
ISBN 978-974-8106-35-9
พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑

(๔)
พระพุทธนวราชบพิตร

“พระพุทธองค์นี้ข้าพเจ้าสร้างขึ้นมอบไว้ เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด ที่ฐานบัวหงาย ข้าพเจ้าได้บรรจุพระพิมพ์องค์หนึ่ง

ซึ่งได้ทำขึ้นด้วยผงศักดิ์สิทธิ์อันได้มาจากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร มีผงดินทรายและเกสรดอกไม้ที่บูชาหลวงพ่อนาค



วัดมัชฌิมมาวาส ผงดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้จากศาลหลักเมือง กับผงดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากที่บูชา

ศาลเทพารักษ์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานีนี้รวมอยู่ด้วย
พระพุทธนวราชบพิตรนี้ นอกจากจะถือเป็นนิมิตรหมายแห่งคุณพระรัตนตรัยอันเป็นที่เคารพสูงสุดแล้ว ข้าพเจ้ายังถือเสมือนเป็น
เครื่องหมายแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชาติไทย และความสามัคคีกลมเกลียวกันของประชาชนชาวไทยอีกด้วย
ข้าพเจ้าจึงได้บรรจุพระพิมพ์ ซึ่งทำด้วยผงศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัดดังกล่าวแล้ว และนำมามอบให้แก่ท่านด้วยตนเอง”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร
ให้กับจังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. 1967)
วัตถุประสงค์

สืบเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา
ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ นับเป็นมหามิ่งมงคลสมัยอันประเสริฐ บรรดาพสกนิกรชาวไทย
ต่ า งสำนึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ ไ ด้ ท รงบำเพ็ ญ พระราชกรณี ย กิ จ อั น เป็ น หิ ต านุ หิ ต -
ประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์อย่างกว้างขวาง

ดังจะเห็นได้จากการพัฒนาชีวิตที่ดีจนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกที่ต่างกล่าวขานถึงพระองค์ว่า
ทรงเป็น “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” ทรงมีพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นไปด้วยพระเมตตาต่อประชาชนผู้ยากไร้
ผู้ด้อยโอกาส โดยไม่ทรงแบ่งแยกสถานะ ศาสนา ชาติพันธ์ุหรือหมู่เหล่า ทรงสดับตรับฟังปัญหาความทุกข์
ยากของราษฎรและพระราชทานแนวทางดำรงชีวิต เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง
และยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในห้วงที่ผ่านมา เป็นเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้าง
ไกลมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของชาติไทย
ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ สำหรับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับพระราชทานตราตั้งให้เป็น
ธนาคารพาณิชย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ นับเป็นศิริมงคล
อย่างยิ่ง ยังผลให้การประกอบธุรกิจของธนาคารเจริญรุ่งเรืองรอดพ้นจากวิบัตินานาจนเป็นธนาคารชั้นนำ
และดำรงอยู่ในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ และด้วยเดชะพระบารมีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง
เป็นผู้นำในการพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตผู้ยากไร้ในชนบทดังกล่าว ตลอดจนเป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดทุกด้าน
ด้วยเหตุนี้ พสกนิกรไทยจึงจงรักภักดีและเทิดทูนพระองค์ไว้เหนือเกล้าฯ ในฐานะที่ทรงเป็นศูนย์รวมแห่ง
ความรัก ความภักดีและทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยทั้งมวลมาช้านาน และนี่คือมูลเหตุที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดำริจัดพิมพ์หนังสือชุด ลักษณะไทย อันเป็นผลงานที่ศาสตราจารย์ พลตรี
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และศิลปินแห่งชาติ ร่วมกับนักวิชาการชั้นนำของเมืองไทย
ร่วมกันคิดและเขียนขึ้นไว้ทั้งชุด (๔ เล่ม) เพื่อให้เป็นบรรณานุสรณ์ของบรรพชนไทยเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวาย
ในโอกาสอันเป็นมหามิ่งมงคลในครั้งนี้

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ธันวาคม ๒๕๕๑

(๗)
คำนำของหนังสือชุด ลักษณะไทย
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

หนังสือชุดนี้จัดทำขึ้น ด้วยเจตนาที่จะให้ผู้อ่านได้รู้ถึงลักษณะไทย ด้วยการมอง


เมืองไทยและคนไทยโดยผ่านทางวัฒนธรรม

คำว่าวัฒนธรรมนั้นเป็นศัพท์ที่แสดงความหมายด้วยคำพูดอันเป็นนามธรรมได้ยาก อย่างดีที่สุดก็
พอจะอธิบายได้ว่าวัฒนธรรมเป็นธรรมที่มนุษย์ได้ปลูกฝังลงไว้ แล้วได้เจริญงอกงามเติบโตขึ้นมากับ
อารยธรรมหรือความเจริญของมนุษย์ แต่เมื่อได้อธิบายอย่างนี้ปัญหาก็เกิดขึ้นมาอีกว่าอารยธรรมนั้นคือ
อะไร แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อเราได้แลเห็นวัฒนธรรม เราก็รู้ได้ว่าสิ่งนั้นเป็นวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นอารยธรรม
และศิลปะของคนแต่ละสมัย
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช คนที่เข้าไปนั่งอยู่ในโบสถ์พระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลก จะได้เห็นด้วยตาของตนเองว่า

ภาพวาดสีน้ำมันโดย พิริยะ ไกรฤกษ์ อารยธรรมของสุโขทัยตอนปลายคืออะไร การสร้างโบสถ์วิหารและเทคโนโลยีในการหล่อพระพุทธรูป

พ.ศ. ๒๕๐๖ / ค.ศ. 1963
สำริดขนาดใหญ่ถึงเพียงนั้นได้ทั้งองค์เป็นอารยธรรม ความประณีตงดงามในการปั้นองค์พระพุทธรูปนั้น

เป็นศิลปะและความเชื่อถือ ความดลบันดาลใจ และระเบียบแบบแผนทั้งหมดที่ทำให้สร้างพระพุทธรูปอัน



งดงามขึ้นนั้นเป็นวัฒนธรรมของสุโขทัย
องค์พระพุทธชินราชและโบสถ์ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชนั้นจึงเป็นลักษณะไทยอย่างหนึ่งที่ยัง

เห็นได้อยู่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นจากวัฒนธรรมไทยประกอบกับอารยธรรมในสมัยหนึ่ง และศิลปกรรรม



ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไทยโดยสมบูรณ์ ไม่มีอย่างอื่นเข้ามาเจือปน เป็นลักษณะไทยซึ่งเราอาจมองดูได้โดย
ผ่านวัฒนธรรมเช่นเดียวกับลักษณะไทยอื่นๆ ในหนังสือชุดนี้
วัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องของการปลูกฝังในขั้นแรก และเป็นเรื่องของความเจริญเติบโตในขั้น

ต่อมา ในขั้นแรกธรรมที่ปลูกฝังลงในผืนแผ่นดินไทยนี้อาจมิใช่ของไทยแท้ แต่เป็นธรรมของชนชาติอื่นที่



เคยอยู่อาศัยในแผ่นดินนี้มาก่อน หรือเป็นธรรมของชนชาติอื่นที่เคยผ่านแผ่นดินนี้ไปสู่ที่อื่น แต่ธรรมที ่

ชนชาติอื่นได้ปลูกฝังลงไว้ในแผ่นดินนี้ก็ได้เจริญงอกเงยต่อมา และได้รับการอุปถัมภ์บำรุงจากคนไทย
จนคงเหลือยั่งยืนสืบมาจนทุกวันนี้
วัฒนธรรมของชนชาติอื่นที่คนไทยรับมาอุปถัมภ์นั้น น่าจะได้ผ่านการเลือกเฟ้นของคนไทยมาแล้ว

ในอดีต สิ่งใดที่เห็นว่าดีงามหรือเห็นชอบหรือตรงกับความเชื่อถือที่เป็นพื้นฐานดั้งเดิมก็รับเอาไว้แล้วทำให้

งอกเงยต่อมา สิ่งใดที่ได้ปลูกลงไว้ด้วยมือของคนอื่น เมื่อคนไทยได้รับเอามาแล้วก็จะฟักฟูมให้เจริญ


งอกเงยด้วยน้ำมือและด้วยน้ำใจของคนไทย ทำให้สิ่งนั้นมีลักษณะเป็นไทยขึ้นมาเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ได้
กลายเป็นวัฒนธรรมไทยโดยสมบูรณ์คงอยู่เป็นลักษณะไทยต่างๆ ซึ่งจะได้นำมาแสดงให้เห็นในหนังสือชุดนี้
การปลูกฝังวัฒนธรรมนั้นจะต้องกระทำด้วยความเชื่อถือ และด้วยความเห็นว่าสิ่งที่กระทำนั้น

ถูกต้อง มิฉะนั้นก็จะไม่กระทำ ศาสนาทั้งปวงเป็นเรื่องของความเชื่อและความเห็นถูกเห็นผิด วัฒนธรรม



จึงมีความผูกพันอยู่กับศาสนาเป็นใหญ่ ศาสนาใหญ่ๆ ในโลกนี้ เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาคริสต์
และศาสนาอิสลาม ต่างก็มีวัฒนธรรมของตนเอง แม้แต่วัฒนธรรมของชนชาติกรีกและโรมันในสมัยโบราณ
นั้นก็มีความผูกพันอยู่กับศาสนาที่ชนชาติทั้งสองนั้นนับถืออยู่และกับปรัชญาที่ชนชาติทั้งสองนั้นเชื่อถืออยู่
ในทวีปเอเชียนั้นพอจะแบ่งวัฒนธรรมออกได้เป็นสองภาค คือวัฒนธรรมที่ขึ้นอยู่กับศาสนาที่นับ

ถือเทพยดาฟ้าดิน และลัทธิขงจื๊อ ซึ่งกลมกลืนกันได้เป็นวัฒนธรรมของจีนอันเดียวกัน ส่วนอีกภาคหนึ่ง



คืออินเดียนั้นมีวัฒนธรรมของศาสนาพุทธและวัฒนธรรมของศาสนาฮินดู ซึ่งถึงจะมีความแตกต่างกันอยู่

มากก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ในที่เดียวกันโดยปราศจากความขัดแย้ง
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่กลางวัฒนธรรมของจีน ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออก และวัฒนธรรม

ของอินเดียซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตก จะเป็นด้วยเหตุผลกลใดก็หาทราบไม่ที่คนไทยยอมรับเอาวัฒนธรรม

พระพุทธนฤมลธรรโมภาส (รูปที่ ๓.๔)
จากตะวันตก คือวัฒนธรรมของศาสนาพุทธและวัฒนธรรมของศาสนาฮินดูมากกว่าวัฒนธรรมจาก

พระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ตะวันออกคือวัฒนธรรมของจีน
อำเภอบางปะอิน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

(๙)
ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของจีนและวัฒนธรรมของอินเดียขั้นพื้นฐานนั้นเห็นได้ชัดจาก

วิธีการรับประทานอาหาร คนที่ตกอยู่ใต้วัฒนธรรมของจีนนั้นกินด้วยตะเกียบ ส่วนคนที่ตกอยู่ใต้วัฒนธรรม
ของอินเดียนั้นเปิบข้าวด้วยมือเป็นพื้น จากความแตกต่างขั้นพื้นฐานนี้ก็บังเกิดความแตกต่างในขั้นอื่นๆ ขึ้นไป
โดยตลอด และยังฝังอยู่ในจิตใจของคนมาจนทุกวันนี้ คนจีน คนญี่ปุ่น ตลอดจนเกาหลีและเวียดนามนั้น
หากไม่ได้กินข้าวด้วยตะเกียบก็คงกินไม่อร่อย ส่วนทางประเทศอินเดียนั้นเคยมีคนถามท่านศรี ยาวหราล
เนห์รู รัฐบุรุษคนสำคัญของอินเดียว่า เหตุใดท่านจึงชอบเปิบข้าวด้วยมือมากกว่ารับประทานด้วยช้อนส้อม
ท่านก็ตอบว่า “การกินข้าวด้วยช้อนส้อมนั้นเปรียบเสมือนการเกี้ยวผู้หญิงโดยต้องใช้ล่าม ที่ไหนจะมีรสชาติ
เหมือนกับการเกี้ยวผู้หญิงด้วยวาจาของตนเอง ซึ่งเหมือนกับการเปิบข้าวด้วยมือ ?”
คนไทยนั้นเปิบข้าวด้วยมือมาแต่โบราณกาล เพิ่งจะมากินข้าวด้วยช้อนส้อมในรัชกาลที่ ๕ แห่ง

กรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นเวลาที่วัฒนธรรมจากตะวันตกที่ไกลออกไปอีก คือ ยุโรปเริ่มจะไหลบ่าเข้ามาสู่

เมืองไทย ความจำเป็นในทางการเมืองทำให้เราต้องรับวัฒนธรรมจากยุโรปหลายอย่าง ตลอดลงมาจน

ถึงชีวิตส่วนตัว เช่น การอยู่กิน การแต่งกาย และการไว้เผ้าผมการใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร

นั้นเป็นตัวอย่างอันดีในการเลือกเฟ้นวัฒนธรรมของเมืองไทย เพราะเครื่องโต๊ะฝรั่งสำหรับแต่ละคนต่อ

อาหารหนึ่งมื้อนั้นประกอบด้วยเครื่องมือมากชิ้น เช่น มีดขนาดต่างๆ หลายเล่ม ช้อนส้อมหลายคัน



สำหรับรับประทานอาหารแต่ละอย่างที่ต่างกัน แต่คนไทยนั้นยังรับประทานอาหารไทย คือข้าวและกับ

“พระภูมิเจ้าที่เป็นวัฒนธรรมของไทยอย่างหนึ่งที่ไม่มีใคร จึงเลือกไว้ใช้แต่เพียงส้อมและช้อนที่มีขนาดเหมาะสำหรับกินข้าวไทยอย่างละคันก็พอแก่ความประสงค์

ปฏิ เ สธได้ และเป็ น ตั ว อย่ า งอั น ดี ที่ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า เครื่องมืออย่างอื่นๆ ก็ปล่อยไปไม่ยอมรับไว้ให้เกินกว่าเหตุ มีข้อสังเกตว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
วั ฒ นธรรมของไทยหลายอย่ า งนั้ น มี ค วามเป็ น มาใน เจ้าอยู่หัวนั้น แม้จะประทับโต๊ะเสวยแบบฝรั่งก็ตามที แต่ในที่รโหฐานและเป็นโอกาสส่วนพระองค์แล้ว
ลักษณะใด มีการผสมผสานระหว่างสิ่งใดบ้าง และผ่าน
การเลือกเฟ้นของคนไทยมาอย่างไร” ก็โปรดเสวยพระกระยาหารด้วยพระราชหัตถ์มากกว่าช้อนส้อมมาจนตลอดรัชกาล
ได้กล่าวมาแล้วว่าวัฒนธรรมอินเดียนั้น แบ่งออกได้เป็นวัฒนธรรมพุทธและวัฒนธรรมฮินดู คนไทย

ได้รับวัฒนธรรมนั้นมาเป็นของตนทั้งสองอย่าง และวัฒนธรรมทั้งสองอย่างนั้นก็อยู่ร่วมกันมาได้ในคนไทย
และในเมืองไทยมาจนถึงทุกวันนี้ ในบางกรณีก็ปะปนกันจนสับสนอย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
ยกตัวอย่างเช่น การตั้งศาลพระภูมิและการสังเวยพระภูมิเจ้าที่ ซึ่งออกจะเห็นกันทั่วไปว่าเป็น

เรื่องที่สำคัญอยู่ในปัจจุบันนี้ สังเกตได้จากศาลพระภูมิที่สร้างกันอย่างวิจิตรและมีราคาแพงมาก ซึ่งมี



คนทำขายทั่วไปเป็นจำนวนมาก เพราะเห็นกันว่าเป็นนิมิตที่แสดงฐานะของเจ้าของบ้าน ยิ่งเจ้าของบ้านมี

ฐานะดีเท่าไร ศาลพระภูมิก็จะต้องใหญ่โตหรูหราขึ้นไปตามนั้น
แต่ถ้าจะถามคนทั่วไปว่าศาลพระภูมินั้นเป็นเรื่องของศาสนาใด ก็จะได้รับคำตอบว่าเป็นเรื่องของ

พราหมณ์ ซึ่งหมายถึงศาสนาฮินดูไม่ใช่ของพระพุทธศาสนา หรือเป็นไสยศาสตร์ ไม่ใช่พุทธศาสตร์
คติเ ช่น นี้ผิดพลาดอย่างยิ่งเพราะในศาสนาฮิน ดูหรือ ลัทธิ พราหมณ์ ที่แท้ จริงไม่มีพ ระภู มิเจ้ าที่

ไม่มีแม้แต่เทวดาอย่างใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระภูมิเจ้าที่ ศาสนาพุทธต่างหากที่ยอมรับว่ามีภุมมเทวดา

แต่ศาสนาพุทธนั้นเมื่อรับว่าอะไรมีแล้วก็หยุดเพียงแค่นั้น ไม่เก็บเอามานับถือ เพราะพระพุทธศาสนามีแต่

พระรัตนตรัยเป็นที่เคารพบูชาแต่อย่างเดียว นอกจากนั้นในความเชื่อถือของคนจีนก็มีพระภูมิเจ้าที ่

เรียกว่า “ตี่ซิ้ง” ในภาษาแต้จิ๋ว เป็นเจ้าที่อยู่ติดกับที่ดิน และหากจะสร้างศาลให้อยู่ก็สร้างศาลติดกับ



พื้นดิน มิได้ปักเสายกให้สูงอย่างศาลพระภูมิไทย เครื่องสังเวยพระภูมิที่ใช้กันอยู่นั้นก็เป็นแบบจีนไหว้เจ้า

คือประกอบด้วยหัวหมู เป็ดต้ม ไก่ต้ม ปลาแป๊ะซะ จะมียกเว้นอยู่ก็แต่บายศรี กล้วยหอมจันทร์ มะพร้าว



อ่อนและขนมหวาน เช่น ขนมต้มแดงต้มขาวเท่านั้นที่กระเดียดไปข้างฮินดู แต่ถ้าเป็นพิธีกรรมของฮินดู

แท้แล้ว เครื่องสังเวยจะต้องมีแต่เครื่องกระยาบวชหรือมังสวิรัติเท่านั้น จะมีของอื่นไม่ได้ ส่วนรูปแบบ

ของศาลพระภูมินั้นเป็นไทยมาตลอด เริ่มจากเป็นแบบเรือนไม้ของไทย มีหลังคาสูงติดปั้นลม จนกลายมา

เป็นปราสาทจตุรมุขหรือปรางค์อย่างที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามเรื่องพระภูมิเจ้าที่เป็นวัฒนธรรมของไทยอย่างหนึ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ และเป็นตัวอย่าง

อันดีที่แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมของไทยหลายอย่างนั้นมีความเป็นมาในลักษณะใด มีการผสมผสาน

ระหว่างสิ่งใดบ้าง และผ่านการเลือกเฟ้นของคนไทยมาอย่างไร แต่เหตุที่ทำให้คนไทยยกเอาเรื่องนี้ไปให้แก่

พราหมณ์ ทั้งที่คติเรื่องพระภูมิเจ้าที่มิใช่ของพราหมณ์ ก็เพราะศาสนาพุทธซึ่งยอมรับในภุมมเทวดานั้น



ไม่เอื้ออำนวยในเรื่องพิธีกรรม เช่น ในเรื่องการตั้งศาลและตั้งเครื่องสังเวยแก่เจว็ด ส่วนพิธีการไหว้เจ้า

ของจีนก็ดูออกจะโกร่งกร่างโด่งดังไม่เข้ากับใจคนไทย เหลือแต่ศาสนาฮินดู หรือพราหมณ์เท่านั้นที่มี
พิธีกรรมเอาไว้แจกได้ในทุกกรณี
วัฒนธรรมของศาสนาพุทธและวัฒนธรรของศาสนาฮินดูแตกต่างกันอยู่ที่ตรงนี้ ศาสนาพุทธเป็น

ศาสนาที่สอนอย่างเดียวแต่ขาดพิธีกรรม ส่วนศาสนาฮินดูนั้นหนักไปในทางพิธีกรรมมากกว่าคำสั่งสอน แต่


(๑๐)
วัฒนธรรมของทั้งสองศาสนานี้ก็เข้ามาปลูกฝังลงในเมืองไทยได้ เพราะพระพุทธศาสนาให้สิ่งที่ศาสนาฮินดูยังหย่อน

อยู่แก่คนที่นับถือได้ และศาสนาฮินดูนั้นก็ให้คนที่นับถือศาสนาพุทธ สิ่งที่ศาสนาพุทธขาดอยู่ได้คือพิธีกรรมต่างๆ

เมื่อมารวมกันเข้าเป็นวัฒนธรรมไทยแล้ววัฒนธรรมนั้นก็เต็มบริบูรณ์ดีไม่ขาดไม่เกิน
วัฒนธรรมไทยที่ได้มาจากศาสนาพุทธก็คือวัฒนธรรมในการครองชีพ ได้แก่ ชีวิตความเป็นอยู่ การทำมาหากิน

ความสัมพันธ์กับคนอื่นในสังคมเดียวกัน ความเคารพต่อบิดามารดา การอุปการะญาติและบุคคลในครอบครัวเดียวกัน
ตลอดไปจนถึงการแต่งกายที่สำรวมและมารยาทในการปฏิบัติตน ไปจนถึงมารยาทในการเสพอาหาร มารยาท

เหล่านี้ศาสนาพุทธได้กำหนดไว้ให้พระภิกษุปฏิบัติค่อนข้างจะละเอียดลออมากในพระวินัยหมวดเสขียวัตร์ และคนไทย

ซึ่งได้บวชเรียนแล้วได้จดจำออกมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันของตนและสอนคนอื่นๆ ให้ปฏิบัติต่อๆ มาจนเกิดเป็น

ธรรมเนียมประเพณีอันแน่นอนอันเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมไทย ชีวิตของคนไทยทั่วไปตามปกติสามัญจึงอยู่ใต้

วัฒนธรรมที่ได้มาจากศาสนาพุทธเป็นพื้น คนไทยไม่ยอมรับวัฒนธรรมของฮินดูเข้ามาใช้ในทางด้านสังคมทั่วไป
ดังจะเห็นได้อย่างประจักษ์ชัดว่าสังคมไทยมิได้มีวรรณาศรมธรรมของฮินดู กล่าวคือไม่มีวรรณะเป็นประการแรก
และในประการที่สอง ชีวิตคนไทยมิได้ถูกแบ่งออกเป็นอาศรมต่างๆ ตามวัย ได้แก่อาศรมพรหมจรรย์ คือวัยเล่าเรียน
ไม่มีครอบครัวในวัยเด็ก และวัยรุ่นอาศรมคฤหัศ คือวัยครองเรือน มีครอบครัวทำมาหากินเป็นหลักฐานในยามที่
เป็นผู้ใหญ่ และอาศรมวนปรัสถ์ คือการสละละทิ้งครอบครัว และทรัพย์สินทั้งปวงออกป่า ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการขอ
เพื่อแสวงหาโมกขธรรมในบั้นท้ายของชีวิต
แต่วัฒนธรรมของฮินดูก็ยังมีความสำคัญในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์

พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดในสังคมไทยมาแต่โบราณกาล ศาสนาพุทธนั้นยอมรับว่าพระมหากษัตริย์


เป็นสมมติเทพก็จริงอยู่ แต่ศาสนาพุทธก็ไม่มีวิธีการหรือพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะทำให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็น
สมมติเทพขึ้นมาได้
ศาสนาฮินดูนั้นมีคติในเรื่องสมมติเทพเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ แต่ศาสนาฮินดูมีวิธีการและมีพิธีกรรมอัน

ศักดิ์สิทธิ์น่าเชื่อถือในอันที่จะทำให้องค์พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพหรือเป็นองค์เทวราชขึ้นมาได้ พราหมณ์ใน

ศาสนาฮินดูได้เข้ามาทำให้องค์พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นองค์เทวราชขึ้นมา หลังจากที่ไทยได้ชัยชนะเหนือเขมร

และได้เขมรมาเป็นเมืองขึ้น ในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา วัฒนธรรมฮินดูจึงมีความสำคัญมากเท่าที่เกี่ยวกับองค์พระ

มหากษัตริย์และขนบธรรมเนียมประเพณีในราชสำนัก ทั้งที่ชีวิตของคนไทยทั่วไปในพื้นบ้านยังอยู่ใต้วัฒนธรรมของ

ศาสนาพุทธ ถึงจะมีวัฒนธรรมของฮินดูแทรกเข้าไปบ้างก็เป็นบางเรื่อง มิได้ครอบคลุมชีวิตของคนไทยไปทั้งหมด

สรุปได้ว่าวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์นั้น เป็นวัฒนธรรมฮินดูแต่ในชีวิตทั่วไปของคนไทยนั้นเป็น
วัฒนธรรมพุทธ แต่ทั้งหมดนี้ก็ได้มารวมเป็นวัฒนธรรมไทยด้วยกัน ปรากฏผลเป็นลักษณะไทยอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
หนังสือชุดนี้เป็นผลงานของนักวิชาการไทยจากต่างสาขาวิชาชีพ ซึ่งได้ค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรม

ไทยแขนงต่างๆ กัน และนำมาศึกษาเชิงวิเคราะห์เพื่อแสวงหาลักษณะไทย ดังที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว
ผู้เขียนส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและได้ลงทุนลงแรงค้นคว้าเรื่องต่างๆ ที่ได้เขียนขึ้นด้วยตนเองเป็น

เวลาหลายปีเมื่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด มีความประสงค์ที่จะจัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ขึ้นเนื่องในงานเปิดสำนักงานใหม่

และเพื่อให้หนังสือชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งในการฉลองพระนครครบ ๒๐๐ ปี ทางด้านธุรกิจเอกชน ธนาคารจึงได้เชิญ



นักวิชาการเหล่านี้ ซึ่งทางผู้จัดทำหนังสือเห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถพอที่จะยึดถือเป็นหลักฐานได้ ให้เขียน

บทความทางด้านวัฒนธรรมแต่ละแขนงซึ่งแต่ละท่านได้สนใจค้นคว้าอยู่แล้ว ในการนี้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ได้ให้

เงินอุดหนุน ทำให้นักวิชาการแต่ละท่านสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและจัดทำภาพแผนผังประกอบแนวความคิด

ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าผู้เขียนส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยและในการศึกษาค้นคว้าเพื่อหนังสือ

เล่มนี้ อาจารย์เหล่านี้ได้รวบรวมอาจารย์ผู้เยาว์และนักศึกษาเข้ามาช่วยในงานวิจัยนั้นด้วย ดังนั้นนอกเหนือไปจาก

การนำข้อมูลการวิจัยมารวบรวมจัดพิมพ์เป็นหนังสือชุดนี้แล้ว งานชิ้นนี้ยังได้มีส่วนช่วยอบรมและสร้างนักวิจัยรุ่นเยาว์

ขึ้นเป็นจำนวนมากในหลายสถาบันการศึกษา ซึ่งจะมีผลในระยะยาวในการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมไทยต่อไปในอนาคต
บรรณาธิการขอขอบคุณ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ในฐานะที่เป็นผู้คิดริเริ่มและเป็นกำลังสำคัญในการจัด

พิมพ์หนังสือชุดนี้ขึ้น และหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะให้ความรู้แก่ผู้อ่านในเรื่องลักษณะไทย ตามที่ได้ตั้งความปรารถนาไว้


ทุกประการ

(คึกฤทธิ์ ปราโมช)
๑๑ กันยายน ๒๕๒๔

(๑๑)
คำชี้แจง

การจัดทำหนังสือชุด “ลักษณะไทย” นี้ นายบุญชู โรจนเสถียร อดีตรองนายกรัฐมนตรี เมื่อยัง


ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ จำกัด ดำริให้จัดทำขึ้นเพื่อแจกเป็นอภินันทนาการ
ในโอกาสที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด จะเปิดสำนักงานใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยเห็นว่าสมควรรวบรวม
องค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยในทุกๆ ด้านไว้ ก่อนที่วัฒนธรรมบางส่วนจะสูญหายไปในช่วงของการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม
จึงได้นำความไปเรียนปรึกษากับศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์ที่
คึกฤทธิ์ ปราโมช และขอความกรุณาให้ท่านเป็นผู้รวบรวมนักวิชาการทั้งจาก จะจัดทำหนังสือลักษณะไทยให้ครบชุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติและทูลเกล้า ฯ ถวาย
สถาบันภาครัฐและเอกชน และนักวิชาการอิสระมาร่วมกันทำงานชิ้นนี้เพื่อจะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสอันเป็นมหามงคลที่พระองค์จะเจริญ
ได้ เนื้ อ หาที่ ห ลากหลาย กั บ ขอให้ ท่ า นกรุ ณารั บ ทำหน้ า ที่ บ รรณาธิ ก ารของ พระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๕๑
หนังสือชุดนี้ด้วย ในการจัดทำหนังสือชุดลักษณะไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติขึ้นใหม่นี้
ในการจัดทำหนังสือลักษณะไทยชุดแรกนั้น ศาสตราจารย์ พลตรี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประสงค์ที่จะจัดทำหนังสือให้ได้มาตรฐาน
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้แบ่งหนังสือชุดนี้เป็น ๔ เรื่องใหญ่ คือ ทางวิชาการกว่าการพิมพ์ครั้งแรก จึงได้จัดงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับ

เล่มที่ ๑ เรื่อง ภูมิหลัง จั ด พิ ม พ์ ต้ นฉบั บ ใหม่ แต่ ก ารเปลี่ ย นแปลงที่ ส ำคั ญ ในการจั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อ

เล่มที่ ๒ เรื่อง ทัศนศิลป์ ชุดลักษณะไทยฉบับเฉลิมพระเกียรติครั้งนี้ คือ มอบหมายให้ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์
เล่มที่ ๓ เรื่อง ศิลปะการแสดง ซึ่ ง แต่ เดิ ม เป็ น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบในการจั ด ทำเรื่ อ งพั ฒ นาการของทั ศ นศิ ล ป์ ใ น
เล่มที่ ๔ เรื่อง วัฒนธรรมพื้นบ้าน ประเทศไทยในด้านต่างๆ ให้มุ่งจัดทำแต่เฉพาะทัศนศิลป์ในพระพุทธศาสนา คือ
หนั ง สื อ เล่ ม ที่ ๑ เรื่ อ ง ภู มิ ห ลั ง จั ด ทำสำเร็ จ ทั นตามเป้ า หมายใน
เรื่อง พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย จึงเป็นการเขียนต้นฉบับหนังสือ
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ส่วนหนึ่งธนาคารกรุงเทพ จำกัด ได้แจกเป็นที่ระลึกในงาน
เล่ ม ใหม่ ซึ่ ง ยั ง ไม่ เคยได้ จั ด พิ ม พ์ ม าก่ อ นเลย และให้ จั ด พิ ม พ์ เป็ น เล่ ม ที่ ๑

เปิดสำนักงานใหญ่ ส่วนหนึ่งมอบให้แก่สถาบันการศึกษาบางแห่ง ทั้งระดับ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เพราะมีความเห็นว่า ไม่ว่าจะมองจากด้านใด
มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา และอีกส่วนหนึ่งสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด พระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะความ
จำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ปรากฏว่าหนังสือเล่มนี้มีผู้สนใจมากพอสมควร ต่อมา ผูกพันระหว่างพระพุทธศาสนากับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ในโอกาสที่
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด จึงได้จัดพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง สำคัญนี้จึงเป็นการสมควรที่จะจัดพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็น
เพื่อจัดจำหน่าย เล่มแรกในหนังสือชุดลักษณะไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ
หลังจากจัดทำหนังสือเล่มที่ ๑ เรียบร้อยแล้ว ทางคณะผู้จัดทำ ดังนั้นหนังสือชุดลักษณะไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรตินี้จึงประกอบ
หนังสือลักษณะไทยหวังว่าจะสามารถจัดทำเล่มอื่น ๆ ให้สำเร็จในระยะใกล้ ๆ กัน ด้วย หนังสือ ๔ เล่ม เรียงลำดับเรื่องใหม่ ดังนี้
แต่มีอุปสรรคหลายประการ เนื่องจากไม่สามารถจัดเตรียมต้นฉบับได้ทันตาม เล่มที่ ๑ เรื่อง พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
เวลาที่กำหนดไว้ เพราะ เนื้อหาของเล่มที่ ๓ เรื่อง ศิลปะการแสดง และเล่มที่ ๔ เล่มที่ ๒ เรื่อง ภูมิหลัง
เรื่อง วัฒนธรรมพื้นบ้าน มีขอบเขตที่กว้างขวาง และมีผู้ร่วมเขียนหลายท่าน เล่มที่ ๓ เรื่อง ศิลปะการแสดง
หรือแม้แต่เล่มที่ ๒ เรือ่ ง ทัศนศิลป์ ซึ่งมีผู้เขียนเพียงคนเดียว ก็มีเนื้อหากว้าง เล่มที่ ๔ เรื่อง วัฒนธรรมพื้นบ้าน
ขวางคลอบคลุมทุกด้าน หนั ง สื อ ชุ ด ลั ก ษณะไทย ฉบั บ เฉลิ ม พระเกี ย รติ นี้ ทางธนาคาร
อุ ป สรรคสำคั ญ ประการหนึ่ ง คื อ การประสานงานที่ ล่ า ช้ า ของ กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จัดพิมพ์ขึ้นจำนวน ๒,๐๐๐ ชุด เพื่อทูลเกล้า ฯ ถวาย
ข้าพเจ้าในฐานะผู้ช่วยบรรณาธิการ ที่กำหนดว่า หนังสือชุดลักษณะไทยเล่มที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นการเฉลิมพระเกียรติและโดยเสด็จพระราช
เรื่อง ศิลปะการแสดง จะตีพิมพ์เป็นลำดับต่อจากเล่มที่ ๑ เรื่อง ภูมิหลัง แต่ กุศลทั้งหมด หนังสือส่วนหนึ่งจะทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจัดพิมพ์มาแล้ว เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เกือบ ๒๐ ปีต่อมา โดยสำนักพิมพ์ และส่วนที่เหลือทั้งหมดจะขอพระราชทาน นำไปแจกจ่ายแก่ห้องสมุดสถาบัน
ไทยวัฒนาพานิช จำกัด เป็นผู้จัดพิมพ์และจัดจำหน่าย อุ ด มศึ ก ษา หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งทั้ ง ภาครั ฐ และภาคเอกชนทั่ ว ประเทศ

หนังสือชุดลักษณะไทยเล่มที่ ๔ เรื่อง วัฒนธรรมพื้นบ้าน นั้น เมื่อ เพื่อเป็นวิทยาทานถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คณะบรรณาธิการประสานรวบรวมต้นฉบับได้สมบูรณ์แล้ว แต่ธนาคารกรุงเทพ ในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ และหนังสือชุดนี้จะไม่มีวางจำหน่ายเลย
จำกัด (มหาชน) ยังไม่พร้อมจะจัดพิมพ์ จึงได้อนุญาตให้สมาคมนิสิตเก่าคณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดพิมพ์จำหน่ายใน พันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
โอกาสครบ ๗๒ ปีของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ
พ.ศ.๒๕๔๙ ส่วนหนังสือชุด ลักษณะไทย เล่มที่ ๒ เรื่อง ทัศนศิลป์ ยังคงไม่ ธันวาคม ๒๕๕๑
สามารถรวบรวมต้นฉบับให้สมบูรณ์ได้
(๑๒)
คำนำ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายก


ราชบัณฑิตยสภา ได้ทรงแสดงปาฐกถาเรื่อง ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ
เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ทัศนคติที่ทรงแสดงเกี่ยวกับวิธีการศึกษาเรื่องโบราณคดีทำให้
ทรงได้รับพระสมัญญานามว่า “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย”
มีความอยู่ข้อหนึ่งซึ่งควรกล่าวเป็นอารัมภกถา คล้ายๆ กับที่พระภิกษุท่านกล่าวคำถวายพระ
พรทูลขออภัย ด้วยปาฐกถาที่ข้าพเจ้าจะแสดงให้ท่านทั้งหลายฟังในวันนี้เป็นเรื่องโบราณคดี
หรือจะว่าอีกนัยหนึ่ง คือเล่าเรื่องก่อนเกิดตั้งหลายร้อยปี ย่อมพ้นวิสัยที่จะรู้ให้ถ้วนถี่ไม่มี
บกพร่องหรือจะไม่พลาดพลั้งบ้างเลยได้ การแถลงเรื่องโบราณคดีแม้ในบทพระบาลีมีชาดก
เป็นต้น เมื่อท่านจะแสดงอดีตนิทานก็มักใช้คำขึ้นต้นว่า “กิร” แปลว่าได้ยินมาอย่างนั้นๆบอกให้
ทราบว่า เรื่องที่จะแสดงเปนแต่ท่านได้สดับมา ข้อสำคัญอันเปนความรับผิดชอบของผู้นำเรื่อง
โบราณคดีมาแสดง อยู่ที่ต้องแถลงความตามที่ตนเชื่อว่าจริง และชี้หลักฐานที่ทำให้ตนเชื่อนั้น
ให้ปรากฏ ข้อใดเปนแต่ความคิดวินิจฉัยของตนก็ควรบอกให้ทราบ ให้ผู้ฟังมีโอกาสเอาเรื่องแล
หลักฐานที่ได้ฟังไปพิจารณาค้นคว้าหาความรู้ที่ถ่องแท้ยิ่งขึ้นในคดีเรื่องที่แสดงนั้น การที่
ข้าพเจ้าแสดงปาฐกถาขอให้ท่านทั้งหลายเข้าใจว่าตั้งใจจะให้เปนอย่างว่ามานี้
ในวงวิชาการไทย ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เป็นผู้ที่นักวิชาการหลายท่านมองว่าเป็น “วัวเขาเกก” เพราะมัก
แสดงความคิดเห็นที่แหวกออกไปจากแนวความคิดซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปมานาน ทำให้บางท่านมองว่าเป็นการ
ลบหลู่ปรมาจารย์ผู้เป็นที่เคารพและไม่เห็นสมควรที่จะนำแนวความคิดใหม่เหล่านั้นออกเผยแพร่หรือโต้แย้งเพราะ
เห็นว่าไม่มีน้ำหนักพอ ข้อนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เลือกให้ ดร. พิริยะเป็นผู้
รับผิดชอบด้านศิลปะเมื่อเริ่มคิดจัดทำหนังสือชุด ลักษณะไทย นี้เมื่อ ๓๔ กว่าปีมาแล้ว เพื่อเปิดเวทีให้ ดร. พิริยะ
ได้แสดงแนวความคิดของตนให้แจ่มแจ้งด้วยความหวังว่าจะมีนักวิชาการท่านอื่นออกมาแสดงความคิดเห็นโต้แย้งอัน
จะทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้จัดทำ
โครงการนี้
หากพิจารณาด้วยความเป็นธรรมแล้ว ข้อคิดใหม่ๆ ที่ ดร. พิริยะแสดงออกมานั้นก็เป็นไปตามแนวของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดังกล่าวมาแล้วทุกประการ กล่าวคือ ต้องแถลงความตามที่
ตนเชื่อว่าจริงและชี้หลักฐานที่ทำให้ตนเชื่อมั่นให้ปรากฏ ข้อใดเป็นแค่ความคิดวินิจฉัยของตนก็ควรบอกให้ทราบ
สาเหตุที่ทำให้ ดร. พิริยะ เป็นนักวิชาการที่สร้างปัญหาก็เพราะได้ก้าวล่วงเข้าไปในเรื่องที่ถือเป็นหัวใจของ
ประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเกือบจะถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะแตะต้องมิได้ ที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องที่ว่า
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงไม่ได้จารขึ้นในรัชสมัยพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น ในหนังสือเล่มนี้ก็เช่นกัน ดร. พิริยะ
คัดค้านวิธีการอธิบายประวัติศาสตร์ศิลปะตามแนวทางของทางตะวันตก ซึ่งถือว่ายุคสมัยทางประวัติศาสตร์มี
ความสอดคล้องกับยุคสมัยทางรูปแบบของศิลปะ โดยเฉพาะในการศึกษาเรื่องพุทธศิลป์ เพราะพระพุทธปฏิมาเป็น
รูปจำลองของพระพุทธรูปองค์ต้นแบบ ซึ่งจำลองสืบต่อกันเรื่อยมา มิได้ขึ้นกับยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แต่อย่างใด
แต่ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นและกระแสความนิยมของแต่ละยุคสมัย ในหนังสือเล่มนี้ในการศึกษาเรื่องสร้างพระพุทธปฏิมา
ในประเทศไทย ดร. พิริยะจึงใช้วิธีการที่เห็นว่าสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีและคตินิยมการสร้างพระ
พุทธปฏิมาในประเทศไทยเป็นสำคัญ วิธีการนี้ก็ทำให้ ดร. พิริยะเสนอข้อคิดเห็นใหม่เกี่ยวกับพระพุทธปฏิมาองค์ที่
สำคัญๆ เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้นักวิชาการและผู้อ่านโดยทั่วไปจะต้องใช้วิจารณญาณ
ว่าเป็นข้อเสนอที่มีหลักฐานและคำอธิบายที่มีน้ำหนักมากน้อยเพียงใด

(๑๓)
ดร. พิริยะ อาศัยพระพุทธปฏิมารูปแบบต่างๆ เป็นเครื่องแสดงความเป็นสากลของพระพุทธศาสนา
ปรัชญาของพระพุทธศาสนาเป็นพลังสากลที่ครอบคลุมดินแดนกว้างใหญ่หลายทวีป อย่างไรก็ดีในแต่ละยุคสมัย
และแต่ละท้องถิ่นก็มีค่านิยมที่แตกต่างกันออกไปที่แสดงให้เห็นจากพระพุทธปฏิมารูปแบบต่างๆ ซึ่งในความคิดเห็น
ของ ดร. พิริยะ มิได้เป็นความแตกต่างภายนอกทางศิลปะเท่านั้น แต่พุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมาแต่ละองค์
เช่น การครองไตรจีวร อิริยาบถ และปางต่างๆ ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาและความเชื่อถือศรัทธาของแต่ละ
ท้องถิ่นในแต่ละยุคสมัย
เนื่องจากพระพุทธศาสนาถือกำเนิดในประเทศอินเดีย การกล่าวถึงพระพุทธปฏิมาก็มักจะต้องโยงไปถึง
ต้นแบบของอินเดีย จึงทำให้หนังสือเล่มนี้มีความซับซ้อนยากแก่การเข้าใจของผู้ที่มิได้ศึกษาในเรื่องนี้มาโดยเฉพาะ
อาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือ ๒ มิติ สำหรับนักวิชาการและผู้ที่สนใจในเรื่องของพระพุทธศาสนาและ
ประเพณีการสร้างพระพุทธรูป หนังสือเล่มนี้อาจถือเป็นหนังสือค้นคว้า (reference) ซึ่งแม้ข้อคิดและเนื้อหาบาง
เรื่องอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับทั่วไป แต่รูปภาพและอภิธานศัพท์ต่างๆ ที่รวบรวมไว้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ
การแสวงหาข้อมูล อีกมิติหนึ่งเป็นหนังสือคนทั่วไปที่นับตนเองเป็นพุทธศาสนิกชน แต่ยังไม่มีความเข้าใจแม้ในเบื้อง
ต้นทั้งที่เกี่ยวกับปรัชญาและหลักธรรมของพระพุทธศาสนาตลอดไปถึงประเพณีเกี่ยวกับพุทธศาสนาในชีวิตประจำ
วันซึ่งได้ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย สำหรับผู้อ่านกลุ่มหลังนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความท้อแท้ขอแนะนำให้อ่าน
หนังสือเล่มนี้จากข้างหลังคือบทสรุป เพื่อให้ทราบแนวความคิดหลักของผู้เขียนแล้วจึงจับเรื่องที่แต่ละคนสนใจเป็น
พิเศษมาศึกษาเป็นเรื่องๆ ไป โดยอาศัยสารบัญที่ได้ลงไว้อย่างละเอียด คำอภิธานศัพท์ท้ายเล่มและแผนผังตาราง
ต่างๆ ที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้มากมายเพื่อจะให้การอ่านหนังสือเล่มนี้ง่ายขึ้น
จุดประสงค์สำคัญอีกข้อหนึ่งในการเลือกนำเสนอหนังสือเล่มนี้โดยอาศัยบารมีของพระพุทธปฏิมาซึ่งเป็น
สมบัติล้ำค่าของคนไทย ก็เพราะพระพุทธปฏิมาที่สำคัญหลายองค์นั้น บุคคลทั่วไปไม่อาจจะได้สักการะเพราะเป็นสมบัติ
ของเอกชนบ้าง อยู่ในที่รโหฐานของพระราชวังต่างๆ บ้าง อยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างชาติบ้าง อยู่ในประเทศอื่นๆ บ้าง
และแม้องค์ที่อยู่ในประเทศไทยเองก็กระจายอยู่ในท้องถิ่นทั่วประเทศยากแก่การที่ผู้มีความสนใจศรัทธาจะไป
คารวะได้ ทั่ ว ถึ ง และการนำพระพุ ท ธปฏิ ม ามารวบรวมไว้ อ ย่ า งงดงามเป็ น เครื่ อ งย้ ำ ถึ ง ความสำคั ญ ของพระ
พุทธศาสนาว่าเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยทุกระดับ ต้องขอขอบคุณ ดร. พิริยะที่มีความวิริยะ
อุตสาหะซอกซอนไปในท้องถิ่นห่างไกลทำให้เห็นว่า วัดบางวัดในชนบทที่มิได้ร่ำรวยหรืออาจกล่าวได้ว่ายากจนด้วยซ้ำ
กลับเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีคุณค่าทั้งด้านที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มั่นอยู่ในพุทธธรรมและในด้านที่
เป็นพุทธศิลป์ชั้นยอดที่สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของชุมชนล้วนๆ และขอบคุณธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มี
สายตายาวไกลจัดสรรงบประมาณจำนวนสูงมากในการผลิตหนังสือเล่มนี้เพื่อเป็นตำราที่สำคัญเล่มหนึ่งในการ
ศึกษาเรื่องพระพุทธศาสนา
แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะมีทั้งข้อดีและปัญหาในวิธีการนำเสนอ แต่ในเรื่องที่เป็นจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุด
นับได้ว่าผู้เขียนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี คือ ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือเล่มนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเป็นมิ่งมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา โดยแสดง
พระราชกรณียกิจด้านพระพุทธศาสนาซึ่งแสดงให้เห็นถึงความผูกพันอันแน่นแฟ้นระหว่างพระพุทธศาสนาและ
สถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านพื้นฐานทางศีลธรรมตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาและในทางการเมือง

การปกครอง ก็เป็นเครื่องเชื่อมโยงสถาบันหลักทั้งสองกับประชาชนเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของชาติไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันมิได้ทรงมีแต่ความยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
เท่านั้น แต่ทรงเป็นศิลปินอีกด้วย ดังนั้นพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านในด้านนี้จึงทรงคุณค่ามหาศาล ในการ
สร้างพระพุทธรูปที่สำคัญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงถือเป็นพระราชภาระไม่เฉพาะในเรื่องพระพุทธคุณ
เท่านั้น แต่ในเรื่องมาตรฐานความงดงามในทางด้านศิลปะอีกด้วย

(๑๔)
ท้ายที่สุดนี้ ขออัญเชิญพระราชดำรัสในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไป
พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรให้กับจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ความว่า
พระพุทธองค์นี้ข้าพเจ้าสร้างขึ้นมอบไว้ เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด ที่ฐานบัวหงาย
ข้าพเจ้าได้บรรจุพระพิมพ์องค์หนึ่งซึ่งได้ทำขึ้นด้วยผงศักดิ์สิทธิ์อันได้มาจากจังหวัดต่างๆ
ทั่วพระราชอาณาจักร มีผงดินทรายและเกสรดอกไม้ที่บูชาหลวงพ่อนาควัดมัชฌิมมาวาส
ผงดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้จากศาลหลักเมือง กับผงดินทราย ผงธูป และเกสร
ดอกไม้ จากที่บูชาศาลเทพารักษ์ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานีนี้รวมอยู่ด้วย
พระพุทธนวราชบพิตรนี้ นอกจากจะถือเป็นนิมิตรหมายแห่งคุณพระรัตนตรัยอันเป็นที่
เคารพสูงสุดแล้ว ข้าพเจ้ายังถือเสมือนเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ของประชาชาติไทย และความสามัคคีกลมเกลียวกันของประชาชนชาวไทยอีกด้วย ข้าพเจ้า
จึงได้บรรจุพระพิมพ์ ซึ่งทำด้วยผงศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัดดังกล่าวแล้ว และนำมามอบให้
แก่ท่านด้วยตนเอง (สมบัติ ๒๕๒๐, ๑๗)

พันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
บรรณาธิการ
ธันวาคม ๒๕๕๑

(๑๕)
พระพุทธนวราชบพิตร (รูปที่ ๓.๑๐๑)
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

(๑๖)
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทาน
พระบรมราชานุญาต และพระราชทานพระราชานุญาต
ให้บันทึกภาพศิลปวัตถุ และโบราณวัตถุในเขต
พระราชฐาน กับพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้ น ำภาพศิ ล ปวั ต ถุ ใ นเขตพระราชฐานที่ มี ผ ู้

บันทึกไว้ พิมพ์ประกอบในหนังสือ ลักษณะไทย


เล่ม ๑ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ซึ่งเป็นหนังสือที่เผยแพร่ความรู้ด้านประวัติศาสตร์
ศิลปะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราช
วโรกาสและขอพระราชทานพระราชวโรกาส

กราบถวายบั ง คมแทบเบื้ อ งพระยุ ค ลบาท

ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า
ล้นกระหม่อมอย่างหาที่สุดมิได้

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
นายพิริยะ ไกรฤกษ์

(๑๗)
กิตติกรรมประกาศ

ผู้เขียนขอขอบพระคุณธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ได้เป็นผู้อุปถัมภ์การจัด


ทำหนังสือ ลักษณะไทย เล่ม ๑ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย

การจัดทำหนังสือที่ใช้เวลานานเกินกว่าเสี้ยวหนึ่งของศตวรรษนั้น ได้อาศัยความร่วมมือร่วมใจของ
เจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมากมายเกินกว่าที่ผู้เขียนจะระบุพระนามและนามของทุกท่านที่ช่วย
ให้หนังสือเล่มนี้เป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ โดยเฉพาะท่านผู้เป็นเจ้าของพระพุทธปฏิมา ทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว
และที่ยังมีชีวิตอยู่
ขอนมัสการท่านเจ้าอาวาสพระอารามน้อยใหญ่ จำนวน ๖๐๐ แห่ง ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพระครู
คณานัมสมณาจารย์ (เป้า) ที่ได้กรุณาอนุญาตให้ผู้เขียนถ่ายภาพพระปฏิมาในความดูแลของท่าน ซึ่งบาง
องค์ผู้เขียนเห็นสมควรที่จะนำมาเผยแพร่ในหนังสือเล่มนี้
ผู้เขียนกราบขอบพระทัย พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภานุพันธุ์ยุคล
ขอกราบขอบพระคุณและขอบพระคุณ
พล.ต.อ. สนอง วัฒนวรางกูร
คุณวิบูลย์ สารกิจปรีชา
คุณบุญครอง อินธุโสภณ
คุณจิรศักดิ์ ตันสถิตย์
คุณมนัส โอภากุล
และทุกท่านที่ไม่ประสงค์จะออกนามที่ได้อนุญาตให้นำเอาพระพุทธรูปที่ท่านเก็บรักษาอยู่มาตีพิมพ์
เผยแพร่ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชน
ผู้เขียนขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยเฉพาะท่าน
อาจารย์จิรา จงกล ผู้ล่วงลับไปแล้ว คุณภุชชงค์ และอาจารย์ณัฏฐภัทร จันทวิช คุณสมชาย ณ
นครพนม ตลอดจนเจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติส่วนภูมิภาคทุกท่าน ที่ได้อำนวยความ
สะดวกแก่ผู้เขียนในการค้นคว้าข้อมูล รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ทั้งในอดีต
และปัจจุบัน โดยเฉพาะคุณอวยพร เกิดช่วย และคุณกนิษฐา กสิณอุบล
นอกจากนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณคณะทำงาน คุณอภิวัฒน์ ธัญญานนท์ คุณนิรมล สายปิ่น คุณ
สุทธิชัย หวายสันเทียะ คุณณัฐพรรษ เตชะบรรณะปัญญา และคุณฑิณฒฐาฎา บ่งเทพ ที่ช่วยในการ
ค้นคว้าหาข้อมูล พิมพ์ต้นฉบับ ตรวจแก้ และอื่นๆ อีกนานัปการเพื่อให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จตามความมุ่ง
หมายด้วยความอุตสาหะ
หนังสือดังกล่าวสำเร็จลงได้ด้วยความเหนื่อยยากของท่านบรรณาธิการ พันเอกหญิง คุณนิออน
สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ที่กรุณาให้ความไว้วางใจแก่ผู้เขียนรับผิดชอบหนังสือ ลักษณะไทย เล่ม ๑ พระ
พุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย และอุตส่าห์ติดตามผลงานด้วยขันติและวิริยะตลอดมา ทั้งยังวิพากษ์
วิจารณ์พร้อมให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อเนื้อหา ตลอดจนตรวจแก้ต้นฉบับอย่างละเอียด ซึ่งช่วย
ให้หนังสือเล่มนี้มีคุณค่ายิ่งขึ้น และ คุณอัจฉรา คำเมือง จากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่กรุณา
เป็นธุระด้านการประสานงาน จนหนังสือเล่มนี้ลุล่วงเสร็จสิ้นลงได้ ตลอดจนคุณชฎานุช วังรุ่งอรุณ
คุณชัชชัย คงเกษม คุณศักดา วิมลจันทร์ คุณจุฑามาศ มโนสิทธิกุล คุณรัชต์ รองหานาม และ คุณสุทิต
วังรุ่งอรุณ แห่งบริษัทเดอะ คีย์ พับลิชเชอร์ จำกัด ที่ร่วมกันออกแบบและจัดทำรูปเล่มหนังสือเล่มนี้ได้
อย่างสวยงาม ผู้เขียนจึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ อนึ่ง ความผิดพลาดใดๆ ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนขอ
น้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

(๑๘)
คำปรารภ

หนังสือ ลักษณะไทย เล่ม ๑ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย เขียนขึ้น


เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา
ด้วยเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น ที่พระองค์ท่านพระราชทานแก่

พสกนิกรเป็นระยะเวลาที่ยาวนานถึง ๖๐ ปี

โดยเฉพาะที่พระองค์ท่านทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องของพระพุทธรูปปางต่างๆ ดังที่ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) และเกษม บุญศรี รวบรวมเรื่องราวเกี่ยว
กับพระพุทธรูปปางต่างๆ ไว้ในหนังสือเรื่อง พระพุทธรูปปางต่างๆ ขึ้น เพื่อพระราชทานในงานพระราช
กุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ (ค.ศ. 1957) โดย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปรารภว่า ปางของพระพุทธเจ้า ซึ่ง
แสดงพระพุทธจริยาวัตรตามพุทธประวัติ และที่มีผู้คิดสร้างขึ้นในภายหลังอยู่
หลายปางด้ ว ยกั น ถ้ า ได้ ร วบรวมขึ้ น เรี ย งตามลำดั บ ในพุ ท ธประวั ติ ให้ มี ค ำ
อธิบายลักษณะของปางนั้นๆ ตลอดจนที่มาและความนิยมในการสร้าง รวมทั้ง
ปางต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ให้มีปางมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็จะเป็นคุณประโยชน์
แก่การศึกษาของพุทธศาสนิกชน และบรรดาผู้ที่สนใจ (บริบาลบุรีภัณฑ์ และ
เกษม ๒๕๐๐, คำนำ)

บัดนี้กาลเวลาได้ล่วงไปแล้ว ๕๐ ปี ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธรูปปางต่างๆ ก็พัฒนาก้าวไกลไปกว่า
เมื่อกึ่งศตวรรษที่แล้วมาก จึงเห็นสมควรที่จะรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางต่างๆ ขึ้นอีกครั้ง
หนึ่งเป็นราชพลี ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นที่เคารพอย่างสูงสุดของประชาชน
ชาวไทย ในโอกาสมหามงคลนี้

พิริยะ ไกรฤกษ์
ธันวาคม ๒๕๕๑

(๑๙)
ประวัติผู้เขียน
ร องศาสตราจารย์ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์
เมธีวิจัยอาวุโสสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ

ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาจิตรกรรมจาก Oskar Kokoschha’s School of
Vision เมืองซาลสเบอร์ก ประเทศออสเตรีย และประกาศนียบัตรวิชาประติมากรรมจาก Royal College
of Art กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร หลังจากนั้นได้หันความสนใจไปในการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์-
ศิลปะ และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ก็สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้รับปริญญา
ดุษฎีบัณฑิตทางประวัติศาสตร์ศิลปะ
ดร. พิริยะ ได้เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะที่คณะโบราณดคี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ต่อมาได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ และ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว จึงทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนั้นยังได้รับเลือกเป็นนายกสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ในช่วง
ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ – ๒๕๓๕ และได้รับเกียรติให้เป็นเมธีวิจัยอาวุโสในสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ของสำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒
ดร. พิริยะ เป็นที่รู้จักกันดีในวงวิชาการทั้งในประเทศและนานาชาติ ในเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ศิลปะของเอเชีย และยังเป็นผู้จัดตั้งแผนกศิลปะแห่งเอเชียที่ National Gallery of Australia ณ
กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ อีกทั้งยังเขียนบทความเป็นประจำเกี่ยวกับ
ศิลปะและโบราณคดีทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ พิมพ์ลงในวารสารนานาชาติหลายฉบับ
เช่น Artibus Asiae, Art of Asia และ Oriental Art เป็นต้น
งานเขียนภาษาอังกฤษชิ้นสำคัญคือหนังสือ The Sacred Image: Sculpture from Thailand จัด
พิมพ์โดย Museum füür Ostasiatische Kunst, Kööln เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษา
ฝรั่ ง เศส เยอรมั น และญี่ ปุ่ น ส่ ว นหนั ง สื อ เรื่ อ ง Art of Peninsular Thailand Prior to the
Fourteenth Century A.D. ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้รับการแปลเป็นภาษาจีน
นอกจากนั้นแล้ว ดร. พิริยะ ยังแต่งตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา (พ.ศ. ๒๕๒๘) ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย
(พ.ศ. ๒๕๓๓) และ อารยธรรมไทย พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ฯลฯ
งานวิจัยค้นคว้าในระยะหลังที่ได้รับการกล่าวอ้างมากที่สุดได้แก่เรื่อง จารึกพ่อขุนรามคำแหง
วรรณคดีประวัติศาสตร์การเมืองแห่งกรุงสยาม (พ.ศ. ๒๕๓๒) และ ศิลปะสุโขทัยและอยุธยา ภาพลักษณ์
ที่ ต้ อ งเปลี่ ย นแปลง (พ.ศ. ๒๕๔๕) ซึ่ ง เป็ น การทบทวนองค์ ค วามรู้ เ ดิ ม ทางด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ แ ละ
ประวัติศาสตร์ศิลปะของไทย
ผลงานวิจัยล่าสุดซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานได้แก่ “ศิลปะแห่งชาติในรอบหกทศวรรษ: พุทธศิลป์
ในสมัยรัชกาลที่ ๙”

(๒๐)
การใช้หนังสือ

เนื่องจากหนังสือ ลักษณะไทย เล่ม ๑ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย มีเนื้อหาที่ลึกซึ้งถึง
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคมไทย ผ่านการศึกษาพระพุทธปฏิมาและรูปเคารพจำนวนมาก
มีข้อมูลและภาพประกอบที่หลากหลายและซับซ้อน แบ่งเป็นหมวดหมู่หลายประเภทด้วยกัน เพื่อให้
สะดวกแก่ผู้ใช้หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนจึงได้มีวางรูปแบบแนวทางการนำเสนอเนื้อหา ๒ วิธีการ คือ
๑. นำเสนอเรื่องราวของเนื้อหาเรียงลำดับเป็นรูปแบบเฉพาะของผู้เขียน โดยกำหนดให้
ใช้สีสำหรับข้อความพิเศษ ซึ่งแต่ละสีจะมีความหมายถึงเนื้อหาดังต่อไปนี้
สีแดง หมายถึง การระบุหมายเลขรูปที่ไปพร้อมกับเนื้อหาปรกติ เช่น (รูปที่ ๓.๒๗)
สีน้ำเงิน หมายถึง การอ้างอิงเอกสารระบบนามปี เช่น (ส. พลายน้อย และภาวาส ๒๕๒๒, ๑๔)
สีส้ม หมายถึง การอ้างอิงรูปที่อยู่ที่อื่นๆ (ถอยหลัง-ไปข้างหน้า) เช่น (ดูรูปที่ ๓.๗๖)
สีเทา หมายถึง การอ้างอิงเนื้อหาที่อยู่ที่อื่นๆ (ถอยหลัง-ไปข้างหน้า) เช่น (ดูบทที่ ๕ หน้า ๑๗๓)

สีแดง (รูปที่)

สีน้ำเงิน (อ้างอิง)

สีส้ม (ดูรูปที่)

สีเทา (ดูบทที่)

๒. ลำดับการเรียงหัวข้อ ไล่เรียงตามนี้

ภาคที่
บทที่
หมวด
ตอนที่ ปาง หรือกลุ่มพระพุทธรูป
สมัย
ช่วง
ยุค

(๒๑)
สารบัญ วัตถุประสงค์
คำนำหนังสือชุด ลักษณะไทย
(๗)
(๙)
คำชี้แจง (๑๒)
คำนำ (๑๓)
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ (๑๗)
กิติกรรมประกาศ (๑๘)
คำปรารภ (๑๙)
ประวัติผู้เขียน (๒๐)
การใช้หนังสือ (๒๑)
บทนำ ๑
พระพุทธรูปและพระพุทธปฏิมา ๑
พระพุทธปฏิมาที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ๔
- ภาคกลาง - หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม ๔

- หลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - พระติ้ว - พระเทียม วัดโอกาส


- ภาคเหนือ - พระเจ้าทองทิพย์ วัดพระเจ้าทองทิพย์ ๖
- หลวงพ่อพุทธรังสี วัดพระยืนพุทธบาทยุคล ๖
- ภาคใต้ - พระผุด วัดพระทอง ๗
การศึกษาพระพุทธปฏิมา ๗

ภาค พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์

บทที่ ๑ กำเนิดพระพุทธรูปและพระพุทธปฏิมา ๑๕
บทที่ ๒ พระพุทธลักษณะ พระอิริยาบถ และปาง ๒๓
๑. พระพุทธลักษณะ ๒๓
- มหาบุรุษลักษณะ ๒๓
๒. พระอิริยาบถ ๒๘
๓. ปาง และที่มาของปาง ๒๙
๔. ปางซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทย ๓๖
๔.๑ พระพุทธปฏิมาประจำวัน ๓๖
๔.๒ พระพุทธปฏิมาปางอื่นๆ ๔๑

บทที่ ๓ สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๔๕
หมวด ก. ความสัมพันธ์ระหว่าง
พระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนา ๔๕
หมวด ข. พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้น
เพื่องานพระราชพิธี ๕๑
ตอนที่ ๑ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ๕๑
๑.๑ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ๕๑
(๒๒)
๑.๒ พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๕๔
๑.๓ พระพุทธรูปประจำรัชกาล ๕๖
๑.๔ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ๖๗
ตอนที่ ๒ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๒
๒.๑ พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษารัชกาลที่ ๑ - ๗ ๗๒
๒.๒ พระพุทธรูปที่ทรงสร้างขึ้นในโอกาสสำคัญต่างๆ ๗๖
(๑) พระพุทธสยามาภิวัฒนบพิตร
ภูมิพลนริศทสสหัสสทิวัสวัชการี
ปัณณาสวรรษศรีอุภัยมหามงคล ๗๖
(๒) พระพุทธสกลสันติกรบพิตร บรมจักริศรสถิตมงคล ๗๘
(๓) พระพุทธรูปปางนาคปรก ๗๘
(๔) พระพุทธรูปปางสมาธิ ๗๙
(๕) พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษามหามงคล ๕ รอบ ๗๙
(๖) พระพุทธรูปปางห้ามสมุทรมหามงคล
เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๙
ตอนที่ ๓ พระราชพิธีฉัตรมงคล และ
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ๘๐
- พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ๘๐
ตอนที่ ๔ พระราชพิธีพืชมงคลและพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ๘๘
๔.๑ พระคันธารราษฎร์ ๘๘
๔.๒ พระเสกรวงข้าว ๙๑
หมวด ค. พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็น
พระเกียรติยศและฉลองพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ๙๒
ตอนที่ ๕ พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นแทนองค์พระมหากษัตริย์
และพระราชวงศ์ ๙๒
- พระพุทธปฏิมาทรงเครื่องฉลองพระองค์ ๙๒
ตอนที่ ๖ พระพุทธปฏิมาที่ทรงสร้างเมื่อครั้งทรงผนวช ๑๐๔
๖.๑ พระพุทธนินนาท ๑๐๔
๖.๒ พระพุทธนาคชินนะ ๑๐๔
๖.๓ พระพุทธธรรมาธิปกบพิตร ๑๐๔
๖.๔ พระพุทธนาราวันตบพิตร ๑๐๔
หมวด ง. พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเพื่อกิจการพิเศษ ๑๐๖
ตอนที่ ๗ พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเพื่อกิจการพิเศษ ๑๐๖
๗.๑ พระสัมพุทธพรรณี ๑๐๖
๗.๒ พระพุทธปริตร ๑๐๙
๗.๓ พระสัมพุทธพรรณโณพาศ ปรมินทรมหาราชนมัสมัย ๑๐๙
หมวด จ. พระพุทธรูปที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์
เพื่อเสริมพระเกียรติยศและสิริมงคล ๑๑๑
ตอนที่ ๘ พระพุทธรูปที่มีบุคคลทูลเกล้าฯ ถวาย ๑๑๑
๘.๑ พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ๑๑๑
๘.๒ พระนากสวาดิเรือนแก้ว ๑๑๒
๘.๓ พระแก้วองค์น้อยนาคปรก ๑๑๒
๘.๔ พระแก้วเชียงแสน ๑๑๒
๘.๕ พระพุทธบุษยรัตนน้อย ๑๑๓
(๒๓)

๘.๖ พระพุทธเพชรญาณ ๑๑๔
๘.๗ พระพุทธรูปหยก ๑๑๔
๘.๘ พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร ๑๑๔
๘.๙ พระไพรีพินาศ ๑๑๕
๘.๑๐ พระนิรันตราย ๑๑๖
๘.๑๑ พระพุทธรูปงาลังกา ๑๑๗
๘.๑๒ พระพุทธรูปของแกรนด์ ดยุก เฮส ๑๑๙
๘.๑๓ พระอมิตาภพุทธะ ทองคำ ๑๑๙
ตอนที่ ๙ พระพุทธรูปที่ประชาชนร่วมใจสร้างเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย ๑๒๐
๙.๑ พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ๑๒๐
๙.๒ พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑีฆายุมงคล ๑๒๓
๙.๓ พระพุทธศรีสงขลานครินทร์ ๑๒๓
๙.๔ พระพุทธนิรโรคันตราย ๑๒๕
๙.๕ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทรมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒๕
หมวด ฉ. พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง
เพื่อชาติและพุทธศาสนา ๑๒๖
ตอนที่ ๑๐ พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเพื่อชาติและพุทธศาสนา ๑๒๖
๑๐.๑ พระนิรันตรายเรือนแก้ว ๑๒๖
๑๐.๒ พระชัยวัฒนมงคลวราภรณ์ ๑๒๖
๑๐.๓ พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกตน้อย) ๑๒๘
๑๐.๔ พระนิรโรคันตราย ๑๒๙
๑๐.๕ พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. ๑๓๑
๑๐.๖ พระพุทธนวราชบพิตร ๑๓๓










(๒๔)
ภาค ๒ พระพุทธปฏิมาในประเทศไทย
ตามพระอิริยาบถ

บทที่ ๔ พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๓๙
ตอนที่ ๑ พระพุทธปฏิมาในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13) ๑๔๑
๑.๑ ลัทธิศราวกยาน ๑๔๑
- นิกายมูลสรรวาสติวาส ๑๔๑
- นิกายมหาสังฆิกะ ๑๔๒
- นิกายสัมมิตียะ ๑๔๔
- นิกายเถรวาท ๑๔๔
๑.๒ ลัทธิมหายาน ๑๔๗
- นิกายสุขาวดี ๑๔๗
๑.๓ ลัทธิวัชรยาน หรือตันตระยาน ๑๔๘
ตอนที่ ๒ ประวัติการเผยแผ่พุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทย
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13) ๑๕๑
๒.๑ ภาคกลาง ๑๕๒
(๑) สมัยอาณาจักรมอญโบราณ (“ทวารวดี”)
พ.ศ. ๙๕๐ – ๑๕๐๐ (ค.ศ. 407 - 957) ๑๕๒
(๒) สมัยอาณาจักรกัมโพช
พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351) ๑๕๓
(๓) สมัยสุโขทัย ๑๕๖
- ช่วงก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๘๔๒ (ค.ศ. 1257 – 1299) ๑๕๖
- ช่วงอาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ. ๑๘๔๒ – ๑๙๒๑ (ค.ศ. 1299 – 1378) ๑๕๖
- ช่วงเมืองประเทศราชของอยุธยา
พ.ศ. ๑๙๒๑ – ๒๐๐๖ (ค.ศ. 1378 – 1463) ๑๕๘
(๔) สมัยอยุธยา ๑๕๙
- ช่วงเมืองพระยามหานคร
พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1351 – 1448) ๑๕๙
- ช่วงเมืองลูกหลวง
พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590) ๑๖๐
- ช่วงวงราชธานี
พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767) ๑๖๑
๒.๒ ภาคเหนือ ๑๖๔
(๑) สมัยอาณาจักรมอญหริภุญไชย
พ.ศ. ๑๗๐๐ – ๑๘๓๕ (ค.ศ. 1157 – 1292) ๑๖๔
(๒) สมัยล้านนา ๑๖๔
- ช่วงก่อตั้งอาณาจักรล้านนา
พ.ศ. ๑๘๓๙ – ๑๘๙๘ (ค.ศ. 1296 – 1355) ๑๖๔

(๒๕)
- ช่วงอาณาจักรล้านนา
พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1355 – 1558) ๑๖๕
(ก) ยุครุ่งเรืองของล้านนา
พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525) ๑๖๕
(ข) ยุคเสื่อม
พ.ศ. ๒๐๖๘ - ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1525 - 1558) ๑๖๗
- ช่วงพม่าปกครอง
พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๑๗ (ค.ศ. 1558 – 1774) ๑๖๗
- ช่วงประเทศราชของสยาม
พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๔๔๒ (ค.ศ. 1774 – 1899) ๑๖๗
๒.๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๖๘
- สมัยล้านช้าง ๑๖๘
- ช่วงก่อตั้งอาณาจักร
พ.ศ. ๑๘๓๔ – ๑๙๓๖ (ค.ศ. 1291 – 1393) ๑๖๘
- ช่วงอาณาจักรล้านช้าง
พ.ศ. ๑๙๓๖ – ๒๒๔๖ (ค.ศ. 1393 – 1703) ๑๖๘
- ช่วง ๓ นครรัฐ
พ.ศ. ๒๒๔๖ – ๒๓๓๒ (ค.ศ. 1703 – 1789) ๑๖๙
- ช่วงประเทศราชอาณาจักรสยาม
พ.ศ. ๒๓๓๒ – ๒๔๓๖ (ค.ศ. 1789 – 1893) ๑๖๙

บทที่ ๕ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๗๓


หมวด ก. ปางสมาธิ ๑๗๓
๑. พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ๑๗๓
๑.๑ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง สมัยล้านนา ๑๗๕
- ช่วงอาณาจักรล้านนา ๑๗๕
- ยุครุ่งเรือง ๑๗๕
๑.๒ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง สมัยอยุธยา ๑๗๗
- ช่วงเมืองลูกหลวง ๑๗๗
๑.๓ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง สมัยรัตนโกสินทร์ ๑๗๗
๒. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ๑๘๑
๒.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
สมัยอาณาจักรกัมโพช ๑๘๑
๒.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ สมัยอยุธยา ๑๘๒
(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร ๑๘๒
(๒) ช่วงเมืองลูกหลวง ๑๘๓
(๓) ช่วงวงราชธานี ๑๘๔
๒.๓ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ สมัยรัตนโกสินทร์ ๑๘๙
๒.๔ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ สมัยล้านนา ๑๙๘
(๑) ช่วงก่อตั้งอาณาจักรล้านนา ๑๙๘
(๒) ช่วงอาณาจักรล้านนา ๑๙๘
- ยุครุ่งเรือง ๑๙๘
๒.๕ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ สมัยล้านช้าง ๑๙๙
(๑) ช่วงอาณาจักรล้านช้าง ๑๙๙
(๒) ช่วงประเทศราชอาณาจักรสยาม ๑๙๙

(๒๖)
หมวด ข. ปางสมาธิ นาคปรก ๒๐๐
๓. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก ๒๐๐
๓.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก สมัยอยุธยา ๒๐๐
- ช่วงวงราชธานี ๒๐๐
๓.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก
สมัยรัตนโกสินทร์ ๒๐๑

หมวด ค. ปางสมาธิ ทรงเครื่อง ๒๐๒
๔. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ทรงเครื่อง ๒๐๔
๔.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ทรงเครื่อง
สมัยอยุธยา ๒๐๔
(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง ๒๐๔
(๒) ช่วงวงราชธานี ๒๐๕
๔.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ทรงเครื่อง
สมัยรัตนโกสินทร์ ๒๐๖

หมวด ง. ปางมารวิชัย ๒๐๘
๕. พระพุทธกัมโพชปฏิมา ๒๐๘
๕.๑ พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง สมัยอาณาจักรกัมโพช ๒๐๙
- หลวงพ่อพนัญเชิง ๒๐๙
๕.๒ พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง สมัยอยุธยา ๒๑๒
(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร ๒๑๒
(๒) ช่วงเมืองลูกหลวง ๒๑๔
(๓) ช่วงวงราชธานี ๒๑๔
๕.๓ พระพุทธกัมโพชปฏิมา สมัยรัตนโกสินทร์ ๒๑๕
๕.๔ พระพุทธกัมโพชปฏิมา สมัยล้านนา ๒๑๗
- ช่วงอาณาจักรล้านนา ๒๑๗
- ยุครุ่งเรือง ๒๑๗
๖. พระพุทธชินราช ๒๑๙
๖.๑ พระพุทธชินราช สมัยอยุธยา ๒๒๓
- ช่วงวงราชธานี ๒๒๓
๖.๒ พระพุทธชินราชจำลอง สมัยรัตนโกสินทร์ ๒๒๔
๗. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ๒๓๓
๗.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย ๒๓๓
(๑) ช่วงอาณาจักรสุโขทัย ๒๓๓
(๒) ช่วงเมืองประเทศราชของอยุธยา ๒๓๔
๗.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยล้านนา ๒๓๖
(๑) ช่วงก่อตั้งอาณาจักรล้านนา ๒๓๖
(๒) ช่วงอาณาจักรล้านนา ๒๓๖
- ยุครุ่งเรือง ๒๓๖
- ยุคเสื่อม ๒๔๒
(๓) ช่วงพม่าปกครอง ๒๔๔
(๔) ช่วงประเทศราชของสยาม ๒๔๕
๗.๓ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยล้านช้าง ๒๔๖
(๑) ช่วงอาณาจักรล้านช้าง ๒๔๖
(๒) ช่วง ๓ นครรัฐ ๒๕๒

(๒๗)
(๓) ช่วงประเทศราชอาณาจักรสยาม ๒๕๓
๗.๔ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
สมัยอาณาจักรกัมโพช ๒๕๔
๗.๕ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยอยุธยา ๒๕๕
(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร ๒๕๕
(๒) ช่วงเมืองลูกหลวง ๒๕๖
- พระมงคลบพิตร ๒๕๘
- แบบสุโขทัย ๒๖๐
- แบบกำแพงเพชร ๒๖๑
(๓) ช่วงวงราชธานี ๒๖๒
- แบบสุโขทัย ๒๖๔
- แบบกำแพงเพชร ๒๖๖
- แบบสวรรคโลก ๒๖๖
- แบบพิษณุโลก ๒๖๘
๗.๖ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยรัตนโกสินทร์ ๒๗๐
- พระศรีศากยมุนี ๒๗๑

หมวด จ. ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร ๒๘๖
๘. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร ๒๘๖
๘.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร
สมัยอาณาจักรกัมโพช ๒๘๖
๘.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร
สมัยอยุธยา ๒๘๗
(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร ๒๘๗
(๒) ช่วงวงราชธานี ๒๘๘
๘.๓ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร
สมัยรัตนโกสินทร์ ๒๘๙

หมวด ฉ. ปางมารวิชัย นาคปรก ๒๙๒
๙. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย นาคปรก ๒๙๒
๙.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย นาคปรก
สมัยอาณาจักรกัมโพช ๒๙๒
๙.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย นาคปรก
สมัยรัตนโกสินทร์ ๒๙๓

หมวด ช. ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง ๒๙๔
๑๐. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง ๒๙๔
๑๐.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง
สมัยอาณาจักรกัมโพช ๒๙๔
๑๐.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง
สมัยล้านนา ๒๙๖
(๑) ช่วงก่อตั้งอาณาจักร ๒๙๖
(๒) ช่วงอาณาจักรล้านนา ๒๙๗
- ยุครุ่งเรือง ๒๙๗
๑๐.๓ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง
สมัยอยุธยา ๒๙๙

(๒๘)
(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง ๒๙๙
(๒) ช่วงวงราชธานี ๓๐๐
๑๐.๔ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง
สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๐๔

หมวด ซ. ปางพระศรีอาริยเมตไตรย ๓๐๖
๑๑. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางพระศรีอาริยเมตไตรย ๓๐๖
- พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางพระศรีอาริยเมตไตรย
สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๐๖

หมวด ฌ. ปางขอฝน ๓๐๘
๑๒. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางขอฝน ๓๐๘
- พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางขอฝน สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๐๘

หมวด ญ. ปางประทานพร ๓๐๙
๑๓. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางประทานพร ๓๐๙
- พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางประทานพร สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๐๙

บทที่ ๖ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๑๕
หมวด ก. ปางมารวิชัย ๓๑๕
๑. พระพุทธสิหิงค์ ๓๑๕
๑.๑ พระพุทธสิหิงค์จำลอง สมัยล้านนา ๓๑๘
(๑) ช่วงอาณาจักรล้านนา ๓๑๘
- ยุครุ่งเรือง ๓๑๘
- พระพุทธนรสีห์ ๓๒๓
(๒) ช่วงพม่าปกครอง ๓๒๔
๑.๒ พระพุทธสิหิงค์จำลอง สมัยล้านช้าง ๓๒๕
- ช่วงอาณาจักรล้านช้าง ๓๒๕
๑.๓ พระพุทธสิหิงค์จำลอง สมัยสุโขทัย ๓๒๖
- ช่วงเมืองประเทศราชของอยุธยา ๓๒๖
๑.๔ พระพุทธสิหิงค์จำลอง สมัยอยุธยา ๓๒๘
(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง ๓๒๘
- แบบนครศรีธรรมราช ๓๒๙
- แบบสุโขทัย ๓๓๐
(๒) ช่วงวงราชธานี ๓๓๑
- แบบนครศรีธรรมราช ๓๓๓
๑.๕ พระพุทธสิหิงค์จำลอง สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๓๔
๒. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ๓๔๐
สมาธิเพชร ปางมารวิชัย สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๔๐

หมวด ข. ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร ๓๔๒
๓. พระชัยวัฒน์ (พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัย ถือตาลปัตร) ๓๔๒
- พระชัยวัฒน์ สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๔๒

(๒๙)
หมวด ค. ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง ๓๔๓
๔. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง ๓๔๓
๔.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง
สมัยอาณาจักรกัมโพช ๓๔๓
๔.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง สมัยล้านนา ๓๔๔
- ช่วงอาณาจักรล้านนา ๓๔๔
- ยุครุ่งเรือง ๓๔๔

หมวด ง. ปางสมาธิ ๓๔๙
๕. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ ๓๔๙
๕.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ สมัยอยุธยา ๓๔๙
- ช่วงเมืองลูกหลวง ๓๔๙
๕.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๕๐

หมวด จ. ปางสมาธิ นาคปรก ๓๕๕
๖. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ นาคปรก ๓๕๕
- พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ นาคปรก
สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๕๕

หมวด ฉ. ปางประทานอภัย ๓๕๖


๗. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางประทานอภัย ๓๕๖
- พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางประทานอภัย สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๕๖

หมวด ช. ปางปฐมเทศนา ๓๕๗


๘. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางปฐมเทศนา ๓๕๗
- พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางปฐมเทศนา สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๕๗

หมวด ซ. ปางขอฝน ๓๖๒
๙. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางขอฝน ๓๖๒
- พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางขอฝน สมัยรัตนโกสินทร์ ๒๖๒

บทที่ ๗ พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ๓๖๕


หมวด ก. ปางพิจารณาชราธรรม ๓๖๕
๑. พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางพิจารณาชราธรรม ๓๖๕
๑.๑ พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางพิจารณาชราธรรม
สมัยอาณาจักรมอญโบราณ (“ทวารวดี”) ๓๖๕
๑.๒ พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางพิจารณาชราธรรม
สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๖๖

หมวด ข. ทรงเครื่อง ๓๖๗
๒. พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ทรงเครื่อง ๓๖๗
- พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ทรงเครื่อง สมัยล้านช้าง ๓๖๗
- ช่วง ๓ นครรัฐ ๓๖๗

(๓๐)
หมวด ค. ปางป่าเลไลยก์ ๓๖๘
๓. พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางป่าเลไลยก์ ๓๖๘
๓.๑ พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางป่าเลไลยก์ สมัยอยุธยา ๓๖๘
(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง ๓๖๘
(๒) ช่วงวงราชธานี ๓๗๐
๓.๒ พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางป่าเลไลยก์
สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๗๑

หมวด ง. ปางขอฝน ๓๗๓
๔. พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางขอฝน ๓๗๓
พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางขอฝน สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๗๓

บทที่ ๘ พระพุทธปฏิมายืน ๓๗๕


หมวด ก. พระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างทอดลงข้างพระอูรุ ๓๗๕
๑. พระพุทธปฏิมายืน ๓๗๕
๑.๑ พระพุทธปฏิมายืน สมัยล้านนา ๓๗๕
(๑) ช่วงอาณาจักรล้านนา ๓๗๕
- ยุครุ่งเรือง ๓๗๕
- ยุคเสื่อม ๓๗๗
(๒) ช่วงพม่าปกครอง ๓๗๗
๑.๒ พระพุทธปฏิมายืน สมัยล้านช้าง ๓๗๘
(๑) ช่วง ๓ นครรัฐ ๓๗๘
(๒) ช่วงประเทศราชอาณาจักรสยาม ๓๗๘
๑.๓ พระพุทธปฏิมายืน สมัยอยุธยา ๓๗๙
- ช่วงวงราชธานี ๓๗๙

หมวด ข. ทรงเครื่อง ๓๘๐
๒. พระพุทธปฏิมายืน ทรงเครื่อง ๓๘๐
๒.๑ พระพุทธปฏิมายืน ทรงเครื่อง สมัยล้านนา ๓๘๐
- ช่วงประเทศราชของสยาม ๓๘๐
๒.๒ พระพุทธปฏิมายืน ทรงเครื่อง สมัยอยุธยา ๓๘๑
- ช่วงวงราชธานี ๓๘๑

หมวด ค. ปางประดิษฐานรอยพระบาท ๓๘๒
๓. พระพุทธปฏิมายืน ปางประดิษฐานรอยพระบาท ๓๘๒
- พระพุทธปฏิมายืน ปางประดิษฐานรอยพระบาท สมัยล้านนา ๓๘๒
- ช่วงอาณาจักรล้านนา ๓๘๒
- ยุครุ่งเรือง ๓๘๒

หมวด ง. ปางประทานพร ๓๘๓
๔. พระพุทธปฏิมายืน ปางประทานพร ๓๘๓
๔.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางประทานพร สมัยอาณาจักรกัมโพช ๓๘๓
๔.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางประทานพร สมัยอยุธยา ๓๘๔
- ช่วงเมืองลูกหลวง ๓๘๔

(๓๑)
หมวด จ. ปางห้ามญาติ ๓๘๕
๕. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ ๓๘๕
๕.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ สมัยอาณาจักรกัมโพช ๓๘๕
๕.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ สมัยสุโขทัย ๓๘๗
- ช่วงก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย ๓๘๗
๕.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ สมัยอยุธยา ๓๘๘
(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร ๓๘๘
(๒) ช่วงเมืองลูกหลวง ๓๙๐
- แบบสุโขทัย ๓๙๐
(๓) ช่วงวงราชธานี ๓๙๒
- พระศรีสรรเพชญ์ ๓๙๒
๕.๔ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ สมัยรัตนโกสินทร์ ๓๙๗
- พระร่วงโรจนฤทธิ์ ๓๙๘
๕.๕ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ สมัยล้านนา ๔๐๐
- ช่วงประเทศราชของสยาม ๔๐๐

หมวด ฉ. ปางห้ามญาติ ทรงเครื่อง ๔๐๑
๖. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ ทรงเครื่อง ๔๐๑
- พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ ทรงเครื่อง สมัยอยุธยา ๔๐๑
(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง ๔๐๑
(๒) ช่วงวงราชธานี ๔๐๖

หมวด ช. ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย พระหัตถ์ขวาประทานพร ๔๐๘
๗. พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย พระหัตถ์ขวาประทานพร ๔๐๘
- พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย
พระหัตถ์ขวาประทานพร สมัยอาณาจักรกัมโพช ๔๐๘

หมวด ซ. ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย พระหัตถ์ขวาประทานพร
ทรงเครื่อง ๔๐๙
๘. พระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย พระหัตถ์ขวาประทานพร
ทรงเครื่อง ๔๐๙
- พระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย
พระหัตถ์ขวาประทานพร ทรงเครื่อง สมัยรัตนโกสินทร์ ๔๐๙

หมวด ฌ. ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ๔๑๐
๙. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ๔๑๐
๙.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์
สมัยอาณาจักรกัมโพช ๔๑๐
๙.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ สมัยอยุธยา ๔๑๑
- ช่วงวงราชธานี ๔๑๑
๙.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ สมัยรัตนโกสินทร์ ๔๑๔

หมวด ญ. ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ทรงเครื่อง ๔๑๕
๑๐. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ทรงเครื่อง ๔๑๕
- พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ทรงเครื่อง สมัยอยุธยา ๔๑๕
- ช่วงเมืองพระยามหานคร ๔๑๕

(๓๒)
หมวด ฎ. ปางห้ามสมุทร ๔๑๖
๑๑. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร ๔๑๖
๑๑.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร สมัยอาณาจักรกัมโพช ๔๑๖
๑๑.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร สมัยสุโขทัย ๔๑๘
- ช่วงเมืองประเทศราชของอยุธยา ๔๑๘
๑๑.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร สมัยล้านนา ๔๑๘
- ช่วงอาณาจักรล้านนา ๔๑๘
- ยุครุ่งเรือง ๔๑๘
๑๑.๔ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร สมัยอยุธยา ๔๑๙
(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร ๔๑๙
(๒) ช่วงวงราชธานี ๔๑๙
๑๑.๕ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร สมัยรัตนโกสินทร์ ๔๒๐
๑๒. พระบางเจ้า ๔๒๔
๑๒.๑ พระบางเจ้าจำลอง สมัยล้านช้าง ๔๒๖
- ช่วง ๓ นครรัฐ ๔๒๖
๑๒.๒ พระบางเจ้าจำลอง สมัยรัตนโกสินทร์ ๔๒๗

หมวด ฏ. ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่อง ๔๒๘
๑๓. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่อง ๔๒๘
๑๓.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่อง
สมัยอาณาจักรกัมโพช ๔๒๘
๑๓.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางสมุทรห้าม ทรงเครื่อง สมัยอยุธยา ๔๓๐
(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง ๔๓๐
(๒) ช่วงวงราชธานี ๔๓๒
- แบบกำแพงเพชร ๔๓๓
- แบบนครศรีธรรมราช ๔๓๓
๑๓.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่อง สมัยรัตนโกสินทร์ ๔๓๔

หมวด ฐ. ปางอุ้มบาตร ๔๓๗
๑๔. พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร ๔๓๗
๑๔.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร สมัยล้านนา ๔๓๗
(๑) ช่วงอาณาจักรล้านนา ๔๓๗
- ยุครุ่งเรือง ๔๓๗
(๒) ช่วงประเทศราชของสยาม ๔๓๗
๑๔.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร สมัยอยุธยา ๔๓๘
- ช่วงวงราชธานี ๔๓๘
๑๔.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร สมัยรัตนโกสินทร์ ๔๔๐
- หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม ๔๔๑

หมวด ฑ. ปางรำพึง ๔๔๓
๑๕. พระพุทธปฏิมายืน ปางรำพึง ๔๔๓
- พระพุทธปฏิมายืน ปางรำพึง สมัยรัตนโกสินทร์ ๔๔๓

หมวด ฒ. ปางถวายเนตร ๔๔๖
๑๖. พระพุทธปฏิมายืน ปางถวายเนตร ๔๔๖

(๓๓)
๑๖.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางถวายเนตร สมัยอยุธยา ๔๔๖
- ช่วงวงราชธานี ๔๔๖
๑๖.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางถวายเนตร สมัยล้านนา ๔๔๙
- ช่วงประเทศราชของสยาม ๔๔๙
๑๖.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางถวายเนตร สมัยรัตนโกสินทร์ ๔๕๑

หมวด ด. ปางเปิดโลก ๔๕๔
๑๗. พระพุทธปฏิมายืน ปางเปิดโลก ๔๕๔

หมวด ต. ปางขอฝน ๔๕๕
๑๘. พระพุทธปฏิมายืน ปางขอฝน ๔๕๕

บทที่ ๙ พระพุทธปฏิมาลีลา ๔๕๙


๑. พระพุทธปฏิมาลีลา สมัยสุโขทัย ๔๖๐
- ช่วงเมืองประเทศราชของอยุธยา ๔๖๐
๒. พระพุทธปฏิมาลีลา สมัยล้านนา ๔๖๔
(๑) ช่วงอาณาจักรล้านนา ๔๖๔
- ยุครุ่งเรือง ๔๖๔
(๒) สมัยประเทศราชของสยาม ๔๖๖
๓. พระพุทธปฏิมาลีลา สมัยล้านช้าง ๔๖๗
- ช่วงอาณาจักรล้านช้าง ๔๖๗
๔. พระพุทธปฏิมาลีลา สมัยอยุธยา ๔๖๘
(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร ๔๖๘
(๒) ช่วงเมืองลูกหลวง ๔๗๐
- แบบสุโขทัย ๔๗๐
- แบบกำแพงเพชร ๔๗๒
(๓) สมัยวงราชธานี ๔๗๔
- แบบสวรรคโลก ๔๗๕
- แบบสุโขทัย ๔๗๗
๕. พระพุทธปฏิมาลีลา สมัยรัตนโกสินทร์ ๔๗๘

บทที่ ๑๐ พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ ๔๘๕


๑. พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ สมัยอยุธยา ๔๘๖
(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง ๔๘๖
- แบบสุโขทัย ๔๘๖
(๒) ช่วงวงราชธานี ๔๘๘
๒. พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ สมัยรัตนโกสินทร์ ๔๙๒

บทที่ ๑๑ พระพุทธปฏิมาปางอื่น ๆ ๔๙๙


๑. พระสี่อิริยาบถ สมัยอยุธยา ๔๙๙
- ช่วงวงราชธานี ๔๙๙
๒. พุทธประวัติ ๕๐๒
๒.๑ พุทธประวัติ สมัยอยุธยา ๕๐๒
- ช่วงวงราชธานี ๕๐๒
- แบบสุโขทัย ๕๐๒
๒.๒ พุทธประวัติ สมัยรัตนโกสินทร์ ๕๐๔
(๓๔)
๓. พระพุทธปฏิมาประจำวันชาตา สมัยอยุธยา ๕๑๐
- ช่วงวงราชธานี ๕๑๐
๔. พระพุทธปฏิมาประจำเดือน สมัยรัตนโกสินทร์ ๕๑๒

บทสรุป ๕๑๕
๑. พระพุทธปฏิมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13) ๕๑๙
๑.๑ ลัทธิศราวกยาน ๕๑๙
๑.๒ ลัทธิมหายาน ๕๑๙
๑.๓ ลัทธิวัชรยาน หรือตันตระยาน ๕๑๙
๑.๔ ลัทธิตันตระยานสมัยจักรวรรดิกัมพูชา ๕๒๐
๒. พระพุทธปฏิมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๔
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 - กลาง 19) ๕๒๐
๒.๑ นิกายเถรวาท คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ ๕๒๐
๒.๒ นิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร ฝ่ายคามวาสี ๕๒๑
๒.๓ นิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร ฝ่ายอรัญวาสี ๕๒๒
๒.๔ นิกายเถรวาท คณะสีหฬภิกขุ ๕๒๒
๒.๕ คณะสยามนิกาย ๕๒๔
(๑) คณะสยามนิกาย ฝ่ายคามวาสี ๕๒๔
(๒) คณะสยามนิกาย ฝ่ายอรัญวาสี ๕๒๕
๓. พระพุทธปฏิมาหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19) ๕๒๖
- คณะธรรมยุติกนิกาย ๕๒๖

บรรณานุกรม ๕๓๐

ภาคผนวก ๕๔๖

ก. อภิธานศัพท์ ๕๔๘
ข. ภาพอธิบาย ๕๖๙
๑. ราชาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย ๕๖๙
๒. องค์ประกอบพระพุทธปฏิมา ๕๗๐
๓. เครื่องทรงของพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ ๕๗๑
๔. พระพุทธรูปแบบเชียงแสน ๕๗๒
๕. พระพุทธรูปอู่ทอง ๕๗๓
ค. รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย ๕๗๔
(สุโขทัย - อยุธยา - ธนบุรี - รัตนโกสินทร์ - ล้านนา)
ง. แผนที่ ๕๗๖
๑. แผนที่ประเทศอินเดีย ๕๗๖
๒. แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๕๗๗
๓. แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงเมืองพระยามหานคร ๕๗๘
๔. แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงเมืองลูกหลวง ๕๗๙
๕. แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงวงราชธานี ๕๘๐
จ. ศักราชสำคัญของพุทธศาสนาและพุทธศิลป์ ๕๘๑

ดรรชนี ๕๙๒
(๓๕)
พระพุทธรูปประจำวัน พิพรรธน์ ไกรฤกษ์ (รูปที่ ๘.๙๐)
พิริยะ ไกรฤกษ์ ปั้นหุ่น
บทนำ

หนั ง สื อ ลั ก ษณะไทย เล่ ม ๑ พระพุ ท ธปฏิ ม า อั ต ลั ก ษณ์ พุ ท ธศิ ล ป์ ไ ทย


มีจุดประสงค์ที่จะสนองพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทาน
ไว้เมื่อกึ่งศตวรรษที่แล้วว่า

ปางของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงพระพุทธจริยาวัตรตามพุทธประวัติ และที่มีผู้คิด
สร้างขึ้นในภายหลังอยู่หลายปางด้วยกัน ถ้าได้รวบรวมขึ้นเรียงตามลำดับใน
พุทธประวัติ ให้มีคำอธิบายลักษณะของปางนั้นๆ ตลอดจนที่มาและความนิยม
ในการสร้าง รวมทั้งปางต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ให้มีปางมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ก็จะเป็นคุณประโยชน์แก่การศึกษาของพุทธศาสนิกชน และบรรดาผู้ที่สนใจ
(บริบาลบุรีภัณฑ์ และ เกษม ๒๕๐๐, คำนำ)


และพร้อมกันนั้น หนังสือเล่มนี้ก็ยังมุ่งที่จะตอบสนองเจตนารมณ์ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
“ที่จะให้ผู้อ่านได้รู้ถึงลักษณะไทย ด้วยการมองเมืองไทยและคนไทย โดยผ่านทางวัฒนธรรม” (ธนาคาร
กรุงเทพ ๒๕๒๔, คำนำ)

พระพุทธรูปและพระพุทธปฏิมา

พระพุทธปฏิมา คือ รูปเปรียบ หรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า เป็นปูชนียวัตถุที่พุทธศาสนิกชน
ในประเทศไทยได้สร้างไว้ อันถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งตกทอดกันมาร่วม
๑,๕๐๐ ปี และเนื่องด้วยว่าพระพุทธปฏิมาส่วนใหญ่ที่หลงเหลืออยู่นั้น สร้างขึ้นจากถาวรวัตถุ เช่น ศิลา
สัมฤทธิ์ หรือทองคำ จึงยังดำรงสภาพดังเดิมไว้ได้ ขณะที่ผลงานทางศิลปกรรมอื่นๆ ได้เสื่อมสภาพและ
อันตรธานหายไปตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็น ปราสาท ราชวัง สถูป อุโบสถ วิหารการเปรียญ ก็ชำรุดทรุด
โทรมเหลือเพียงแค่ซากปรักหักพัง มีเพียงพระพุทธปฏิมาเท่านั้นที่ยังคงอยู่เป็นพยานให้กับอดีตของไทย
ดังที่ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวไว้ว่า

ชีวิตสลาย อาณาจักรพินาศ ผลประโยชน์ของบุคคลมลายหายสิ้นไป แต่ศิลป
เท่านั้นที่ยังคงเหลือเป็นพยานแห่งความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์อยู่ตลอดกาล
(ศิลป์ ๒๕๐๖, ๕๑)

ซึ่ ง เป็ นการขยายความสั จ ธรรมที่ ว่ า “ชี วิ ต แสนสั้ น ศิ ล ปะยื นนาน” ของ ฮิ ป โปคราเทส
(Hippocrates) แพทย์ชาวกรีกโบราณ (พ.ศ. ๘๔ - ๑๘๗ / ก่อน ค.ศ. 460 – 357) (Knowles 2001, 377)

บทนำ ๑
ใช่แต่ว่าพระพุทธรูปเป็นงานศิลปะ ซึ่งหมายถึงงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ผู้สร้างจงใจให้เกิด
ความประทับใจ แต่พระพุทธรูปซึ่งได้แก่รูปของพระพุทธเจ้า ยังเป็นปูชนียวัตถุซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะ
มีความสัมพันธ์กับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงสิ่งที่ระลึกในพระพุทธองค์ก็ตาม ดังที่
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจำแนกไว้ในหมวดอุเทสิกเจดีย์ ว่า

อุเทสิกะเจดีย์นั้น เป็นของสร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศต่อพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ
ไม่กำหนดว่าจะต้องเป็นอย่างไร เพราะฉนั้นบันดาพุทธเจดีย์ที่สร้างขึ้น ถ้ามิได้
เป็นธาตุเจดีย์ หรือบริโภคเจดีย์ หรือธรรมเจดีย์แล้ว ก็นับว่าเป็นอุเทสิกะเจดีย์
ทั้งสิ้น (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๙, ๘ – ๙)

เมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา ก็มีความมุ่งหมายที่จะให้มีความเหมือนองค์พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเท่าที่จะทำได้ จึงได้สร้างประวัติให้กับพระพุทธรูปสำคัญว่าเป็นรูปจำลองมาจากองค์พระพุทธเจ้า
เช่นพระพุทธรูปพระเจ้าแก่นจันทน์ (ดูบทที่ ๑ หน้า ๑๘) และพระพุทธสิหิงค์ (ดูบทที่ ๖ หน้า ๓๑๕) และ
เพื่อที่จะธำรงรักษาความเหมือนและความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธองค์ไว้ จึงมีการจำลองสืบต่อกันมา
จนเรียกรูปของพระพุทธองค์ว่า พระ ปฏิมา (บาลี) หรือ ปฺรติมา (สันสกฤต) ซึ่งแปลว่า “รูปเปรียบ”
(จันทบุรีนฤนาถ ๒๕๑๕, ๔๕๓) หรือ “รูปจำลอง” ดังนั้น พระพุทธปฏิมาจึงหมายถึงรูปจำลองของ
พระพุทธเจ้า ซึ่งเลียนแบบสืบต่อกันมาจนมีเอกลักษณ์เฉพาะประจำแต่ละหมวดหมู่ จนเรียกได้ว่าหมวด
พระเจ้าแก่นจันทน์จำลอง หรือหมวดพระพุทธสิหิงค์จำลอง เป็นต้น

ค่านิยมของการจำลองหรือเลียนแบบดังกล่าว นำไปสู่กฎเกณฑ์ทางสุนทรียภาพของพระพุทธ
รูป ที่มีส่วนสัดและขนาดที่ได้รับการกำหนดไว้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความยาวและความกว้างของพระ
พักตร์เป็นเกณฑ์ ดังเช่น ตำราการก่อสร้างพระพุทธรูป ที่เขียนขึ้นที่ล้านนาประมาณกลางพุทธศตวรรษที่
๒๐ – กลาง ๒๑ (คริสต์ศตวรรษที่ 15)

หากจะสร้างพระพุทธปฏิมา ขนาดเท่าพระพุทธองค์ ให้วัดจากพระชานุ (เข่า)
ถึงพระชานุ เมื่อประทับขัดสมาธิแล้วหารด้วย ๔ ๑ ส่วนเท่ากับฐานถึงพระนาภี
(สะดือ) ๑ ส่วนจากพระนาภีถึงพระอุระ (หน้าอก) ๑ ส่วนจากพระอุระถึง
พระหนุ (คาง) ๑ ส่วนจากพระหนุถึงไรพระศก (ตีนผม) พระพาหา (แขนท่อน
บน) ยาวเท่าพระพักตร์ พระกร (แขนท่อนล่าง) ยาวเท่าพระพักตร์ พระกรถึง
ปลายพระองคุลียาวเท่าพระพักตร์ พระองคุลี (นิ้วมือ) ยาวเท่ากับครึ่งหนึ่ง
ของความยาวพระพักตร์ ข้อพระองคุลี (ข้อนิ้ว) แต่ละข้อเท่ากับ ๑/๓ ของครึ่ง
หนึ่งของความกว้างพระพักตร์ ฝ่าพระหัตถ์เท่ากับครึ่งหนึ่งของความกว้าง
พระพักตร์ พระนลาฏ (หน้าผาก) กว้างเท่ากับครึ่งหนึ่งของความยาวพระ
พักตร์ ความยาวของพระเพลา (ต้นขา) และพระชงฆ์ (ขาท่อนล่าง) เท่ากับ
ความยาวของพระพั ก ตร์ ฝ่ า พระบาทเท่ า กั บ ความยาวของพระพั ก ตร์ นิ้ ว
พระบาทยาวเท่ากับ ๑/๓ ของความยาวพระพักตร์ ข้อนิ้วพระบาทยาวเท่ากับ
ครึ่งหนึ่งของนิ้วพระบาท พระอุระถึงพระอังสา (ไหล่) ยาวเท่าพระพักตร์ พระ
อังสากว้างเท่ากับสองเท่าของความยาวพระพักตร์ ยอดพระถัน (หัวนม) ซ้าย
ขวาห่างกันเท่ากับ ๓/๔ ของความยาวพระพักตร์ พระโอษฐ์ (ปาก) กว้าง
เท่ากับ ๑/๓ ของความยาวพระพักตร์ พระเนตรถึงพระนลาฏ (หน้าผากกว้าง)
เท่ากับ ๑/๓ ของความยาวพระพักตร์ ดวงพระเนตรดำกลมเหมือนสีกีบเท้าโค
และมี แ ววคล้ า ยผลกระเที ย ม พระขนง (คิ้ ว ) โก่ ง เหมื อ นคั น ศรพระอิ นทร์
พระกรรณ (หู) ยาวเท่ากับพระพักตร์ ขอบพระกรรณด้านบนเสมอด้วยพระ
ขนง พระพักตร์ของพระพุทธปฏิมาจะสะท้อนให้เห็นความรู้สึกของหน้าทั้ง ๓
ได้แก่ หน้าไทย หน้าขอม และหน้าโจร (หน้ากษัตริย์) หน้าไทยเหมือนกับพระ
พักตร์ของพระจักรพรรดิราช การผสมผสานของ ๓ หน้านี้ เป็นลักษณะเฉพาะ
ของพุทธปฏิมา เรียกว่า “ราชสิงห์” (Swearer 2004, 54 – 55)

๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
เหตุ ที่ เ ปรี ย บโจรกั บ พระมหากษั ต ริ ย์ นั้ น ก็ เ พราะว่ า ถึ ง แม้ พ ระมหากษั ต ริ ย์ จ ะทรงมี
หน้าที่ปกป้องประชากรของพระองค์ แต่ก็ทรงมีพระราชอำนาจที่จะขูดรีดทรัพย์สินเช่นเดียวกับโจร
จึงได้รับการกล่าวในพระไตรปิฎก รวมกับกลุ่มที่นำมาซึ่งความหายนะ อาทิ “พระมหากษัตริย์ โจร
เสนาบดี สงคราม ความหวาดกลัว และการยุทธ” ดังที่ปรากฏอยู่ใน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย และ
อังคุตตรนิกาย (Gombrich 2003, 78 – 81) จึงแสดงให้เห็นว่า ตำราการก่อสร้างพระพุทธรูป นี้ แต่งขึ้น
ในช่วงที่นิกายเถรวาท คณะสีหฬภิกขุ มีอิทธิพลอย่างมากต่อธรรมเนียมการสร้างพระพุทธรูปในล้านนา

พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นจาก ตำราการก่อสร้างพระพุทธรูป นี้ (รูป ก.) มีลักษณะใกล้เคียงกับ
พระพุทธรูปในหมวดพระพุทธสิหิงค์ของล้านนา (ดูรูปที่ ๖.๑)

ส่ ว นพระพุ ท ธปฏิ ม าที่ ส ร้ า งในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว โดยอ้ า งอิ ง
จาก ตำราสร้างพระพุทธรูป ซึ่งเขียนขึ้นในรัชกาลเดียวกัน ได้ให้สูตรการสร้างสัดส่วนพระพุทธรูป
โดยเริ่มต้นจากขนาดความกว้างของหน้าตัก ที่มีผลกับการกำหนดความสูง และขนาดของพระพักตร์จะ
ใช้เป็นตัวตั้งในการกำหนดสัดส่วนอื่นๆ ของพระพุทธรูป (รูป ข.) ซึ่งผลที่ปรากฏเห็นได้ว่าสอดคล้องกับ
พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในรัชกาลนั้นเป็นส่วนใหญ่

ถ้ า จะสร้ า งพระพุ ท ธรู ป น่ า ตั ก แต่ ส ามศอกขึ้ น ไป ให้ เ อาส่ ว นนั้ นตั้ ง ขึ้ น แต่
พระบาทล่าง ถึงพระจุไรเป็นกำหนด ถ้าจะไขขึ้นหน่อยหนึ่งให้เอาจดหว่าง
พระขนง แม้นพระเจ้าองค์ย่อมให้เอาจดปลายพระนาสิก จึงจะเห็นทรงสูง แล้ว
ให้เอาส่วนพระภักตร์ ขวางพระอุระให้จดปลายนมทั้งซ้ายขวาแล้ว ให้เอาส่วน
พระภักตร์สอบแต่บั้นพระองค์ถึงพระสอเปนสามส่วน ไขออกส่วนละนิ้ว แล้วให้
เอาส่วนพระภักตร์สองส่วนกึ่งขวางเปนพระพาหา แล้วให้เอาส่วนพระภักตร์ใส่
โดยหนาเสมอหลังมาจดนมจงได้ แล้วให้ปันส่วนพระหัตถ์พระกรทั้งสามท่อน
เอาส่วนพระภักตร์เข้าสอบส่วนต่อส่วน แล้วให้เอาส่วนพระภักตร์วางแต่สดือ
ออกไปจงได้เสมอพระบาท แล้วให้เอาส่วนพระภักตร์ ตั้งแต่พระบาทขึ้นมาจงได้
เสมอพระหัตถ์ อนึ่งให้สอบเอาแต่พระนาสิกมาเสมอพระหนุ ขวางลงเปนผ้า
รูป ก. พระพุทธปฏิมาสร้างขึ้นตามสัดส่วนจาก สังฆาฏิ แล้วให้ทำพระภักตร์เปนสามส่วน เอาส่วนหนึ่งตั้งขึ้นแต่พระจุไรสูง
ตำราสร้างพระพุทธรูป แต่งขึ้นที่ล้านนา เสมอเส้นพระศก แล้วให้เอาส่วนนั้นหยั่งแต่พระเกษมาลาออกมาตรงพระจุไร
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - กลาง ๒๑
(คริสต์ศตวรรษที่ 15) แล้วให้เอาส่วนนั้นตั้งขึ้นไปเปนวงทรึก [เป็นวงโค้งนูน] แล้วให้เอาดวงพระภักตร์
ไขสน่อย [ปรับเล็กน้อย] เปนพระรัศมี อนึ่งให้ปันคลองพระเนตรเปนสี่ส่วนไว้หัว
ตาส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งเปนตาดำ สองส่วนเปนหางตา ถ้าจะทำพระบาทแต่ส้น
ตลอดปลายนิ้ว ให้เอาส่วนพระภักตร์ พระกรรณก็เอาส่วนพระภักตร์ แต่ลดเสีย
พอสมควร (ตำราสร้างพระพุทธรูป ๒๔๖๓, ๑๒ – ๑๓)

รูป ข. พระพุทธปฏิมาสร้างขึ้นตามสัดส่วนจาก
ตำราสร้างพระพุทธรูป
แต่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔ (ค.ศ. 1824 - 1851)

บทนำ ๓
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีการสร้างพระพุทธรูปตาม ตำราสร้างพระพุทธรูป อีกต่อไป แต่ก็ยัง
มีการสร้าง “พระพุทธปฏิมา” หรือการจำลองพระพุทธรูปสำคัญในอดีตอยู่เรื่อยมา ทว่าส่วนที่ถือได้ว่า
เป็นค่านิยมของยุคปัจจุบันก็คือ การสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาใหม่ตามอุดมคติของประติมากร โดยมิได้
เป็นการจำลองรูปแบบของพระพุทธรูปองค์ใดเลย เช่น พระพุทธรูปยืนปางถวายเนตร ซึ่งอัลฟอนโซ
ทอร์นาเรลลี (Alfanso Tornarelli) ปั้นถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. ๒๔๕๓
(ค.ศ. 1910) (ดูรูปที่ ๘.๑๐๐) และพระประธานพุทธมณฑล ซึ่งศิลป์ พีระศรี ออกแบบในปี พ.ศ. ๒๔๙๘
(ค.ศ. 1955) (ดูรูปที่ ๙.๓๐ ข.) ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่พระพุทธปฏิมา ในความหมายของรูปจำลอง แต่ก็เป็น
พระพุทธรูปแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในหมวดอุเทสิกเจดีย์เช่นกัน หนังสือเล่มนี้จึงจะใช้คำว่า
“พระพุทธรูป” เมื่อหมายถึงองค์แรก หรือองค์ต้นแบบ เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างพระพุทธรูป
องค์ต้นแบบ กับ “พระพุทธปฏิมา” อันเป็นองค์ที่จำลองหรือสร้างเลียนแบบสืบต่อมา อย่างไรก็ดี
คำว่า “พระพุทธรูป” กับ “พระพุทธปฏิมา” นั้นเป็นคำที่อนุโลมใช้แทนกันได้ในภาษาไทยแต่เดิมอยู่
แล้ว เพื่อความเหมาะสม หนังสือเล่มนี้อาจจะเลือกใช้ตามการเรียกขานที่มีแต่เดิมมาหรือตามความ
คุ้นชินของคนไทย ทั้งนี้ หนังสือเล่มนี้จะยังคงยึดประเด็นการจำลองหรือเลียนแบบพระพุทธรูปเป็น
หลัก ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของพุทธศิลป์ในประเทศไทย อันหาที่อื่นใดมาเทียบเคียงได้ยาก

เมื่อความหมายของพระพุทธปฏิมาเปลี่ยนไป ความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ย่อมเปลี่ยนไป
ด้วย เพราะในการจำลองพระพุทธปฏิมาหาใช่แต่ลอกเลียนเพียงความเหมือนของพระพุทธรูปต้นแบบ
เท่านั้น แต่เป็นการธำรงรักษาอำนาจและฤทธานุภาพขององค์ต้นแบบไว้ด้วยพิธีกรรมที่มีความศักดิสิทธิ์
เช่น พิธีพุทธาภิเษกโลหะที่จะนำไปหล่อพระ พิธีสงฆ์สวดมนต์และนั่งภาวนาปลุกเสกตลอดคืน พิธีสังเวย
เทวดา และเมื่อเททองหล่อพระพุทธรูปแล้ว ยังมีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถ พิธีเบิกเนตร และสิ้นสุดลง
ด้วยพิธีสมโภชพระพุทธรูป อนึ่ง ในภาคเหนือยังมีการ “บวชพระเจ้า” อันหมายถึง การทำอุปสมบทให้กับ
พระพุทธรูป สวดมนต์ทั้งคืน และทำพิธีใส่หัวใจพระเจ้า รวมทั้งกวนข้าวมธุปายาสถวายพระพุทธรูปด้วย
(ศิลปากร ๒๕๔๓ ก, ๒๗) เพราะฉะนั้นพระพุทธปฏิมาทุกองค์จึงมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในพระองค์อยู่แล้ว
ส่วนพระพุทธปฏิมาที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ ได้แก่ พระพุทธปฏิมาที่มีประวัติยาวนาน เช่น พระพุทธ-
สิหิงค์ (ดูรูปที่ ๖.๑) พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) (ดูรูปที่ ๓.๖ ก.) และพระบางเจ้า (ดู
รูปที่ ๘.๖๖) เป็นต้น จนมีความพยายามที่จะสร้างประวัติศาสตร์ ให้กับพระพุทธปฏิมาบางองค์ เพื่อให้เกิด
ความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น ดังเช่น พระพุทธชินราช (ดูรูปที่ ๕.๖) และพระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดูรูปที่ ๕.๔๘) เป็นต้น

ดังนั้น พระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้นใหม่โดยมิได้จำลองมาจากพระพุทธปฏิมาสำคัญ ย่อมมี


พุทธานุภาพด้อยกว่าเป็นทุนเดิม แต่ความศักดิ์สิทธิ์ก็สามารถปรากฏขึ้นได้ในภายหลัง หากพระพุทธรูปที่
สร้างขึ้นใหม่นั้นมีอำนาจดลบันดาลให้ผู้มีจิตศรัทธาในพระองค์ประสบความสำเร็จดังความประสงค์

นอกจากพระพุทธปฏิมาที่มีความศักดิ์สิทธิ์และมีประวัติที่ยาวนานเช่นพระพุทธปฏิมาที่กล่าวถึง
ข้างต้น ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นพระพุทธปฏิมาที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในระดับชาติ และประวัติศาสตร์ของ
ชาติไทยแล้ว ยังมีพระพุทธปฏิมาที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่นอีกมากมาย เช่น
พระพุทธปฏิมาที่มีความศักดิ์สิทธิ์
ภาคกลาง
หลวงพ่อโบสถ์น้อย
วั ด อมริ นทราราม เขตบางกอกน้ อ ย กรุ ง เทพมหานคร (รู ป ค.) ซึ่ ง เมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๑
(ค.ศ. 1898) ช่างฝรั่งมาส่องกล้องเพื่อวางรางรถไฟสายบางกอกน้อย – นครปฐม ปรากฏว่า เส้นทางพุ่ง
รูป ค. หลวงพ่อโบสถ์น้อย ตรงไปโดนองค์พระพุทธรูปพอดี แต่หลวงพ่อแสดงปาฏิหาริย์ โดยให้เกิดอาเพศต่างๆ จนช่างฝรั่งต้อง
โต ขำเดช ปั้นพระเศียร
พ.ศ. ๒๕๐๔ (ค.ศ. 1961) สัมฤทธิ์ เปลี่ยนเส้นทางให้อ้อมหลวงพ่อไป (เรื่องเดียวกัน, ๓๗๓) และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ วัดอมรินทราราม
หน้าตักกว้าง ๒.๔๔ เมตร สูง ๓.๙๒ เซนติเมตร โดนระเบิด แรงระเบิดทำให้พระเศียรหลวงพ่อหักลงมา และแตกร้าวจนต้องให้ช่างโต ขำเดช ปั้นพระ
พระอุโบสถน้อย วัดอมรินทราราม เศียรขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ (ค.ศ. 1961) (เรื่องเดียวกัน, ๓๗๔) แต่ถึงกระนั้น หลวงพ่อก็ยังคงไว้ซึ่ง
กรุงเทพมหานคร
ความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดขอสิ่งที่ปรารถนา หลวงพ่อจะบันดาลให้สำเร็จสมความประสงค์ (ทศพล ๒๕๔๕, ๙๗)

๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
หลวงพ่อปู่
วัดโกรกกราก อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร (รูป ง.) ซึ่งเมื่อครั้งลอยแพตามแม่น้ำท่าจีน
จะไปปากอ่าวนั้น เกิดพายุฝนขึ้น ชาวบ้านจึงอัญเชิญขึ้นไปไว้บนฝั่ง พายุฝนจึงหายเป็นปลิดทิ้ง ต่อมาเมื่อ
เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ เพลิงได้โหมลุกไหม้ทั่วทั้งพระอาราม เหลือแต่อุโบสถที่ประดิษฐานหลวงพ่อปู่เพียง
หลังเดียวเท่านั้นที่ไม่เป็นอะไร และเมื่อเกิดโรคตาระบาดขึ้น ชาวบ้านจึงบนบานว่า หากหายเจ็บตาจะ
ถวายแว่นตาหลวงปู่ จึงเป็นประเพณีที่จะบนบานหลวงปู่ด้วยแว่นตาจนทุกวันนี้ (หลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก
[ม.ป.ป.], เอกสารแผ่นพับ)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พระติ้ว – พระเทียม
เป็นพระพุทธปฏิมาคู่บ้านคู่เมือง จังหวัดนครพนม ประดิษฐานอยู่ที่วัดโอกาส อำเภอเมืองฯ
จังหวัดนครพนม (รูป จ.) เล่ากันว่าเมื่อปี พ.ศ. ๑๓๒๘ (ค.ศ. 785) พญาศรีโคตรบูรหลวง โปรดให้ช่างนำ
ไม้ติ้วมาสร้างเป็นพระพุทธปฏิมา ซึ่งก่อนที่จะนำมาสลักเป็นพระพุทธปฏิมานั้น ไม้ท่อนนี้ถูกใช้เป็นหมอน
หนุนรองรับโกลนเรือที่จะลากลงสู่น้ำโขง แต่หมอนไม้ติ้วท่อนนี้ไม่ยอมให้โกลนเรือมาทับ กระเด็นออกมา
รูป ง. หลวงพ่อปู่ ทำให้คนลากเรือบาดเจ็บฟกช้ำไปตามๆ กัน เมื่อสลักเป็นพระพุทธรูปแล้ว จึงนำไปประดิษฐานที่วัด
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ พระธาตุบ้านสำราญ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้หอพระ พระติ้วจึงไหม้ไปพร้อมกับหอพระ ความทราบถึง
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18) ศิลา พระเจ้าขัตติยวงศาฯ ผู้ครองนครศรีโคตรบูร จึงทรงให้สลักพระติ้วขึ้นใหม่ให้เหมือนพระติ้วองค์เดิมทุก
อุโบสถวัดโกรกกราก อำเภอเมืองฯ
จังหวัดสมุทรสาคร ประการ สองสามปีต่อมา ชาวบ้านไปจับปลากลางน้ำโขง เกิดพายุหมุนขึ้น เห็นพระติ้วองค์ที่ถูกไฟไหม้
ลอยขึ้ น มาจากน้ ำ โขง เมื่ อ พายุ ส งบลงจึ ง อั ญ เชิ ญ ขึ้ น มาประดิ ษ ฐานไว้ ที่ พ ระธาตุ บ้ า นสำราญ พระ
เจ้าขัตติยวงศาฯ ทรงทราบจึงพระราชทานพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระติ้ว” และองค์ที่จำลองขึ้น
ใหม่ว่า “พระเทียม” ประดิษฐานคู่กันตั้งแต่นั้นมา และเมื่อได้มีการสร้างวัดโอกาสขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๘๑
(ค.ศ. 1738) จึงอัญเชิญพระติ้ว – พระเทียม มาประดิษฐาน ณ พระอารามแห่งนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๘
(ค.ศ. 1995) จึงได้จำลองพระติ้ว – พระเทียมขึ้นใหม่เพื่อสรงน้ำปิดทองแทนองค์เดิม (ประวัติพระติ้ว –
พระเทียม [ม.ป.ป.], เอกสารแผ่นพับ)

รูป จ. พระติ้ว - พระเทียม


พุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 - กลาง 18)
ไม้ปิดทอง หน้าตักกว้าง ๓๙ เซนติเมตร
สูง ๖๐ เซนติเมตร หอพระติ้ว - พระเทียม
วัดโอกาส อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครพนม

บทนำ ๕
ภาคเหนือ
พระเจ้าทองทิพย์
ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าทองทิพย์ วัดพระเจ้าทองทิพย์ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
(รูป ฉ.) เป็นที่ประจักษ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๘๙ (ค.ศ. 1546) ในรัชกาลพระเจ้าโพธิสาร (พ.ศ. ๒๐๖๓ – ๒๐๙๓ /
ค.ศ. 1520 – 1550) ปกครองอาณาจักรล้านช้าง เมื่อพระองค์ทรงส่งพระเจ้าไชยเชษฐา พระราช-
โอรส ไปครองอาณาจักรล้านนา แทนพญาเกตุ พระสสุระ (พ่อตา) ของพระองค์ที่สิ้นพระชนม์ พร้อม
ด้วยพระพุทธรูปพระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดพระราชโอรส สืบเนื่องมาจากเมื่อ
ครั้งพระองค์ยังไม่มีพระโอรส จึงเสด็จไปทรงขอพรจากพระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งก็ได้ประทานมาสมดังพระ
ราชประสงค์ ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จทวนแม่น้ำโขงขึ้นมาตามลำน้ำกกและน้ำลาวพอมาถึง
หน้าวัดพระเจ้าทองทิพย์ในปัจจุบัน เรือพระที่นั่งก็มาติดไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ได้ พระเจ้าไชยเชษฐา
จึงอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ขึ้นประดิษฐานไว้ที่นั่น และทรงสร้างมณฑปถวาย แล้วจึงเสด็จไปครองนคร
รูป ฉ. พระเจ้าทองทิพย์ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เชียงใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๘ (ค.ศ. 1825) จึงได้สร้างพระวิหารขึ้น และได้บอกเล่าให้ชาวบ้านทราบ
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16) สัมฤทธิ์
หน้าตักกว้าง ๘๐ เซนติเมตร สูง ๑.๒๐ เมตร ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าทองทิพย์ จนเป็นที่เลื่อมใสกันจนทุกวันนี้ (ประยุทธ ๒๕๔๙) และเมื่อมีการ
วิหารวัดพระเจ้าทองทิพย์ สร้างเหรียญพระเจ้าทองทิพย์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ (ค.ศ. 1998) ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าทองทิพย์ยัง
อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย คุ้มครองผู้ที่บูชาเหรียญด้วย ดังที่ปรากฏว่าผู้สวมใส่เหรียญมิได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ
๓ ตลบ แล้วตกลงไปในแม่น้ำลาวที่กำลังแห้งขอดในช่วงนั้น อีกทั้งรถก็ยังสามารถวิ่งต่อไปได้ (โลกลี้ลับ
๒๕๔๙, ๓๗)

หลวงพ่อพุทธรังสี
ปรากฏการณ์มหัศจรรย์เกิดขึ้น เมื่อแม่ชี ๔ ท่าน เดินทางจากนครศรีธรรมราชไปนมัสการ
พระพุทธรูปปูนปั้นองค์หนึ่งในมณฑปวัดพระยืนพุทธบาทยุคล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างที่
แม่ชีสำรวมจิตเจริญภาวนาอยู่นั้น เกิดมีปาฏิหาริย์เป็นแสงรัศมีหกสี หรือฉัพพรรณรังสี พวยพุ่งออกมา
จากพระนลาฏและพระเกตุ ม าลาของพระพุ ท ธรู ป องค์ นั้ น แม่ ชี จึ ง นำความไปเล่ า ให้ เจ้ า อาวาสฟั ง
เจ้าอาวาสจึงไปเคาะที่องค์พระพุทธรูป ปูนที่พอกไว้ก็หลุดออกมา เห็นว่าภายในเป็นทองสัมฤทธิ์ (รูป ช.)
จึงอัญเชิญมาประดิษฐานในพระอุโบสถที่ผู้มีจิตศรัทธาสร้างขึ้นก่อนหน้านี้ (วิบูลย์ [ม.ป.ป.], ไม่มีเลขหน้า)
หลวงพ่อพุทธรังสี จึงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของละแวกนั้น นับจากนั้นก็มีผู้มาบูชามิได้ขาด

รูป ช. หลวงพ่อพุทธรังสี ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐


(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15) สัมฤทธิ์
หน้าตักกว้าง ๑.๑๐ เซนติเมตร สูง ๑.๓๒ เมตร
อุโบสถวัดพระยืนพุทธบาทยุคล
อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ภาคใต้
พระผุด
วัดพระทอง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต (รูป ซ.) เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัด ถูกพบ
เมื่อมีเด็กผู้หนึ่งเอากระบือไปผูกไว้กับพระเกตุมาลาที่มีโคลนตมพอกอยู่ ซึ่งโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน เมื่อเด็ก
กลับไปถึงบ้านก็ล้มตายลง และเมื่อบิดาของเด็กไปเอากระบือ ก็เห็นกระบือตายเช่นกัน ตกกลางคืนฝัน
ว่าที่ลูกตายก็เพราะเอากระบือไปผูกกับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปทองคำที่จมอยู่ในดิน รุ่งเช้าจึงพา
กันไปล้างโคลนตมออกเห็นเป็นพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปทองคำ ความทราบถึงเจ้าเมือง จึงสั่งให้ขุด
พระพุทธรูปขึ้นมาบูชา แต่ปรากฏว่ามีตัวต่อตัวแตนบินขึ้นมาต่อยผู้ที่ขุด จนล้มตายกันไปหลายคน แต่ต่อ
แตนเหล่านั้นไม่ทำร้ายผู้ที่มากราบไหว้บูชา ต่อมามีชีปะขาวมาโบกปูนปิดทับพระพุทธรูปทองคำไว้ ครั้ง
เมื่อศึกถลาง พม่ามากะเทาะปูนออก และเริ่มขุดพระพุทธรูปทองคำ แต่มีมดขึ้นมากัดต่อยพม่าจนล้ม
ตายไปหลายร้อยคน แต่พม่าก็ยังขุดต่อไปจนถึงพระศอ จนกระทั่งได้ยินเสียงคลื่นลมดังสนั่นหวั่นไหว
คล้ายเสียงปืน จึงตกใจกลัวพากันหนีขึ้นเรือกลับไป หลังจากนั้นชาวบ้านจึงก่อพระพุทธรูปขึ้นมาครึ่งองค์
สวมทับพระพุทธรูปทองคำ และสร้างพระอุโบสถครอบพระพุทธรูปไว้ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ค.ศ. 1897)
ช่างจากปีนัง ก่อพระผุดองค์ปัจจุบัน และสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ. 1909)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
รูป ซ. พระผุด สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ค.ศ. 1897)
ก่ออิฐถือปูน สูง ๒.๔๔ เมตร สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระผุด และในโอกาสนี้ได้พระราชทานนามวัดใหม่
อุโบสถวัดพระทอง ว่า “วัดพระทอง” และในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ (ค.ศ. 1959) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมา
อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต นมัสการหลวงพ่อวัดพระทอง และทรงลงพระปรมาภิไธยเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. (รูป ฌ.)
(วัดพระทอง ๒๕๔๗, ๔ – ๑๐)

การศึกษาพระพุทธปฏิมา
พระพุทธปฏิมาจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเหนือสิ่งอื่นใด
แล้ว พระพุทธปฏิมาเป็นที่ยึดมั่นของชาวไทย และเป็นศูนย์รวมของจิตใจตลอดช่วงระยะเวลาอันยาวนาน
ฉะนั้น หากจะทำความรู้จักกับคนไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนิยามว่า ประกอบด้วย
ร่างกายและจิตใจ อันได้แก่ ศิลปวิทยา ธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อถือ ซึ่งรวมเรียกว่า “ความเป็น
ไทย” นั้น (สำนักราชเลขาธิการ ๒๕๓๑, ๙๖) ก็ควรที่จะทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาและลักษณะ
เฉพาะของพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นนับแต่ที่ชาวไทย ซึ่งก็คือกลุ่มชนผู้ที่ใช้ภาษาไทย ได้เข้ามาปกครอง
ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน อันเป็นช่วงเวลาที่นับย้อนไปตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 13) เป็นต้นมา ทั้งนี้ จะย้อนหลังเพื่อให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง
กับพุทธศาสนาในประเทศไทย เพื่อที่จะได้เห็นภาพที่สะท้อนทั้งความสืบเนื่องและความเปลี่ยนแปลงทาง
ด้านศาสนา ความเชื่อ เศรษฐกิจ และสังคมที่ร่วมกันหล่อหลอมผ่านกาลเวลาเรื่อยมาจนมาเป็นอัตลักษณ์
ของความเป็นไทยในปัจจุบัน

หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จึ ง ใช้ ข้ อ มู ล ที่ เป็ น พระพุ ท ธปฏิ ม าที่ มี ค วามศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ มี ค วามสำคั ญ ทาง
ประวัติศาสตร์ มีคุณค่าทางวิชาการ และมีความโดดเด่นทางสุนทรียภาพ ที่สร้างขึ้นในขอบข่ายของวัด
และวัง ทั้งที่เป็นพระประธานในอุโบสถ วิหาร และพระพุทธรูปบูชาของพระมหากษัตริย์แ ละประชาชน
แบ่งได้เป็นขอบเขตทางด้านเวลา คือ ศึกษาพระพุทธปฏิมาในประเทศไทยนับตั้งแต่ชาวไทยหรือกลุ่มชนที่
ใช้ภาษาไทยเริ่มเข้ามามีบทบาทในแผ่นดินนี้ เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13)
จนถึงปัจจุบัน และขอบเขตทางด้านพื้นที่ ได้แก่ บริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน

รูป ฌ. พระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร.


พระราชทาน ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ (ค.ศ. 1959)
ประดิษฐานที่ผนัง ด้านหน้าอุโบสถ
วัดพระทอง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

บทนำ ๗
พระพุทธปฏิมาจึงเป็นหลักฐานทางโบราณวัตถุ และทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสไว้ว่า

เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศของเราที่เป็น
เอกสารมีอยู่โดยจำกัด การศึกษาประวัติศาสตร์จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานทาง
โบราณวัตถุเทียบเคียงสันนิษฐานด้วยอย่างมาก ดังนั้น จึงถือได้ว่าโบราณสถาน
และโบราณวัตถุทุกแห่งทุกชิ้นเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างสำคัญ ซึ่ง
ควรสำรวจและพิจารณาศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน (สำนักราชเลขาธิการ ๒๕๒๗, ๓๑๖)

ด้วยเหตุที่ว่าชาวไทยเพิ่งเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระพุทธปฏิมา หลัง
จากที่ชาวตะวันตกเห็นความสำคัญของพระพุทธปฏิมาในฐานะที่เป็นศิลปะโบราณวัตถุที่มีราคาซื้อขายใน
ท้องตลาด และได้พยายามที่จะจำแนกยุคสมัยให้กับพระพุทธปฏิมา ดังเช่นงานของอัลเฟรด ซัลโมนี
(Alfred Salmony) เรื่อง Sculpture in Siam ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ (ค.ศ. 1925) (Salmony 1972) แต่
ความรู้ที่รับทราบกันในปัจจุบันเริ่มจากพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือเรื่อง
ตำนานพุทธเจดีย์สยาม (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๙) พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมมารดาชุ่ม ใน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมารดาของพระองค์ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ (ค.ศ. 1926) ตามด้วย
งานของยอร์ช เซเดส์ (George Coedèès) เรื่อง โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร (ยอช
เซเดส์ ๒๔๗๑) ในอีกสองปีต่อมา ซึ่งหนังสือทั้งสองเล่มนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชา
ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี เพราะได้จัดจำแนกแยกแยะพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในประเทศไทย
เป็นยุคสมัยต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ (ค.ศ. 1926) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง


พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้น ซึ่งขึ้นตรงต่อราชบัณฑิตยสภา ที่มียอร์ช เซเดส์ เป็นเลขานุการ
ราชบัณฑิตยสภา เซเดส์เป็นชาวฝรั่งเศสที่ได้เล่าเรียนวิชาโบราณคดีและภาษาของทวีปเอเชีย เช่น บาลี
สันสกฤต รวมทั้งภาษาเขมร และได้รับปริญญาสาขาศาสนศาสตร์ จากสถาบัน É cole pratique des
hautes éé tudes (EPHE) กรุงปารีส ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. 1911) และในปีเดียวกัน ยังดำรงตำแหน่ง
ศาสตราจารย์ทางนิรุกติศาสตร์อินโดจีน (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ๒๕๔๒, ๑๑) ดังนั้น จึงนับได้ว่าเป็นผู้
เชี่ยวชาญทางภาษาเอเชีย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ (ค.ศ. 1928) ราชบัณฑิตยสภา จึงมอบหมายให้เซเดส์
เป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เพราะว่า “เมื่อเวลาจัดตั้งของใน
พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร มีความจำเป็นที่จะต้องแยกโบราณวัตถุทั้งหลายออกเปนสมัยต่างๆ”
(ยอช เซเดส์ ๒๔๗๑, ๒๙)

วิธีการแยกโบราณวัตถุออกเป็นสมัยๆ ของเซเดส์ เริ่มขึ้นจากการรวบรวมพระพุทธปฏิมาที่มี
ลักษณะพ้องกัน และนำไปเปรียบเทียบกับพระพุทธปฏิมาที่มีลักษณะใกล้เคียงกันที่มีอายุที่แน่นอน เช่น
กลุ่มพระพุทธปฏิมาที่พบในจังหวัดปราจีนบุรี ลพบุรี นครปฐม และราชบุรี มีลักษณะคล้ายกับพระ
พุทธปฏิมาอินเดียครั้งราชวงศ์คุปตะที่สารนาถและถ้ำอชัญฏา ซึ่งกำหนดอายุเวลาไว้ในช่วง พ.ศ. ๘๖๐ –
๑๑๕๐ (ค.ศ. 317 – 607) จึงตั้งชื่อว่า “สมัยทวารวดี” ดังนั้น คำว่า “สมัย” จึงหมายถึงช่วงระยะเวลาที่มี
การสร้างพระพุทธปฏิมาเหล่านี้เป็นที่แพร่หลาย แต่ความสับสนเกิดขึ้นเมื่อกล่าวว่า พระพุทธปฏิมาใน
กลุ่มดังกล่าวเป็น “แบบสมัยทวารวดี” ซึ่งหมายความว่า พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. ๘๖๐ –
๑๑๕๐ (ค.ศ. 317 – 607) นั้นมีลักษณะเฉพาะสำหรับพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี จึงเรียกว่า
“แบบทวารวดี”

๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
แม้แต่เซเดส์เองก็ยังตระหนักถึงความสับสนที่จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อเขียนถึง “สมัยศรี
วิชัย” เซเดส์จึงเน้นด้วยการขีดเส้นใต้ว่า ชื่อ “ศรีวิชัย ซึ่งพิพิธภัณฑสถานฯ ใช้เป็นเครื่องหมายนั้น หาเป็น
ชื่อแบบอย่างช่างไม่ เปนแต่ชื่อ สมัย อันหนึ่ง คือสมัยเมื่อกรุงศรีวิชัยมีอำนาจเหนือนานาประเทศบน
แหลมมาลายูเท่านั้น” (เรื่องเดียวกัน, ๓๓ – ๓๔, เน้นตามต้นฉบับ) ทั้งนี้เพราะเซเดส์เข้าใจดีว่า “สมัยศรี
วิชัย” นั้นไม่มีแบบเฉพาะของตนเอง เพราะมีทั้งแบบของชวา แบบของอินเดีย แบบทวารวดี และแบบ
จาม รวมอยู่ใน “สมัยศรีวิชัย” เดียวกัน

แต่พอมาถึง “สมัยลพบุรี ซึ่งหมายความว่าเปนของฝีมือขอมที่สร้างขึ้นในสมัยเมื่อพวกขอม
มาปกครองเมืองลพบุรีอยู่ บรรดาโบราณวัตถุที่จัดรวบรวมไว้ในสมัยลพบุรี... จะเป็นของที่พบที่เมือง
ลพบุรีหรือที่เมืองอื่นๆ ก็ตาม ถ้ามีลักษณะเป็นฝีมือขอมอย่างเดียวกันแล้ว จัดเข้าในสมัยลพบุรีทั้งสิ้น”
(เรื่องเดียวกัน, ๓๕, เน้นตามต้นฉบับ) แทนที่จะเรียกว่า “สมัย” เซเดส์กลับเน้นไปที่แบบ “ฝีมือขอม” หรือ
“สกุลช่างลพบุรี” (É cole de Labapurī) (Coedèès 1928, 26) ซึ่งก็คือรูปแบบที่มีลักษณะร่วมกันของฝีมือ
ช่างขอมนั่นเอง เพราะฉะนั้น “แบบ” และ “สมัย” ณ ที่นี้จึงมีความหมายเดียวกัน

เซเดส์ใช้ “แบบ” และ “สมัย” ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับพระพุทธปฏิมาของไทย

“สมัยเชียงแสนรุ่นเก่า... คือแบบช่างเมืองเชียงแสน... มีลักษณะดังนี้...
มักจะเปนพระนั่งขัดสมาธิเพ็ชร์ มีดอกบัวรอง พระองค์อวบอ้วน และพระอุระ
นูน ชายจีวรสั้น พระพักตร์สั้น พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก
พระหนุเป็นปม เส้นพระเกศใหญ่ไม่มีไร พระศกเป็นต่อมกลม พระรัสมีเหมือน
ดอกบัวตูม” (ยอช เซเดส์ ๒๔๗๑, ๓๗)

“สมัยสุโขทัย คือบรรดาพระพุทธรูปซึ่งโดยมากได้มาจากเมืองสุโขทัย เมือง
สวรรคโลก เมืองพิษณุโลก และเมืองกำแพงเพชร... ถ้าเปนพระนั่งก็นั่งขัดสมาธิ
ราบทั้งนั้น ไม่มีขัดสมาธิเพชร์ นอกจากนั้นยังมีลักษณะอื่นๆ ที่ผิดกับพระพุทธ
รูปเชียงแสนรุ่นเก่า อีกเปนต้นว่า ชายจีวรยาว และพระรัสมีเปนรูปเปลว”
(เรื่องเดียวกัน, ๓๘, เน้นตามต้นฉบับ)

จากข้อความข้างต้น เห็นได้ว่า เซเดส์ใช้ “แบบ” กับ “สมัย” ในความหมายเดียวกัน คือ
กลุ่มพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะร่วมกัน (แบบ) สร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน (สมัย)

การศึกษาวิจัยภายใต้กรอบความคิดที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ประทานไว้ และ


ที่เซเดส์ได้ให้ไว้ ได้แก่ งานของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ กับ เอ.บี. กริสโวลด์ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ (บริบาลบุรีภัณฑ์ และ เอ.บี. กริสโวลด์ ๒๔๙๕) ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล “พุทธศิลป์ในประเทศ
ไทย” (สุภัทรดิศ ๒๕๐๐, ๓๗ – ๖๒) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น ศิลปะในประเทศไทย และพิมพ์เป็นครั้งที่ ๑๐
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. 1995) (สุภัทรดิศ ๒๕๓๘) ฌอง บัวเซอลีเย (Jean Boisselier) The Heritage of
Thai Sculpture (Boisselier 1975) ไฮรัม วูดวารด์ จูเนียร์ (Hiram Woodward, Jr.) ศึกษาพระพุทธรูป
ที่ เอ.บี. กริสโวลด์ สะสมไว้ที่สหรัฐอเมริกา ใน The Sacred Sculpture of Thailand: The Alexander
B. Griswold Collection (Woodward 1997) และสันติ เล็กสุขุม ใน ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับ
ย่อ) (สันติ ๒๕๔๔) รวมทั้งการศึกษาแนวเจาะลึกตามยุคสมัยที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรง
จำแนกไว้ เช่น พระพุทธรูปที่มีจารึกของล้านนาใน Dated Buddha Images of Northern Siam
(Griswold 1957) ประวั ติ ศ าสตร์ ศิ ล ปะสมั ย สุ โขทั ย ของกริ ส โวลด์ ใน Towards A History of
Sukhodaya Art (Griswold 1967)

บทนำ ๙
ต่อมามหาวิทยาลัยในประเทศทางแถบตะวันตกได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาพุทธศิลป์ของ
ไทย ถึงกับให้ปริญญาระดับดุษฎีบัณฑิตและระดับมหาบัณฑิต เช่น วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของเรจินัลด์
เลอ เมย์ (Reginald le May) A Concise History of Buddhist Art in Siam (Le May 1962
(1st ed. 1938)) การศึกษาศิลปะในภาคกลางของสยามระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๒๐ (กลางคริสต์
ศตวรรษที่ ๑๐ - กลาง ๑๔) ของไฮรัม วูดวาร์ด (Woodward 1975) ศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัย
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ของฟอร์เรสต์ แมคกิลล์ (McGill 1977) รวมทั้ง ศิลปะและสถาปัตยกรรมสมัย
สมเด็จพระนารายณ์ ของจอห์น ลิสโตแพด (Listopad 1995) ในงานวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต เช่น
เรื่องพระพุทธรูปสกุลช่างล้านนา ของศักดิ์ชัย สายสิงห์ (Saisingha 1999) เป็นต้น

นอกจากการศึกษาเพื่อกำหนดอายุเวลาตามยุคสมัยที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีประมวลภาพ
พระพุทธปฏิมาจำแนกออกเป็นยุคสมัย เช่น ผลงานของสมเกียรติ โล่ห์เพชรรัตน์ เรื่อง พระพุทธรูปศิลปะ
สมัยอยุธยา (สมเกียรติ ๒๕๓๙) พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ (สมเกียรติ ๒๕๔๐) ประวัติศาสตร์การ
สร้างพระพุทธรูปล้านช้าง (สมเกียรติ ๒๕๔๓) และ ศิลปะสุโขทัย (สมเกียรติ ๒๕๔๙) และที่เป็นหนังสือ
ภาพเกี่ยวกับประวัติของพระพุทธรูปสำคัญ เช่น พระพุทธรูปสำคัญ (ศิลปากร ๒๕๔๓ ก) พระพุทธรูป
คู่บ้านคู่เมือง (วรนันทน์ ๒๕๔๓) และ พระพุทธรูปมรดกล้ำค่าของเมืองไทย (ทศพล ๒๕๔๕) เป็นต้น แต่
หนังสือภาพพระพุทธรูปและประวัติพระพุทธรูปสำคัญก็มิได้กล่าวถึงความเป็นมาของพระพุทธรูปอายุ
เวลา หรือสถานภาพของพระพุทธรูปในวัฒนธรรมไทยแต่อย่างใด

หนังสือเล่มนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาพื้นฐานหรือเบื้องหลังของการสร้างพระพุทธปฏิมาใน
ประเทศไทย เพื่อคลี่คลายความสับสนอันเป็นผลที่เกิดจากการวิเคราะห์ในอดีต โดยจะใช้ระบบที่
สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีและคตินิยมของการสร้างพระพุทธปฏิมาในประเทศไทยเป็น
สำคัญ อันแตกต่างจากบริบทการสร้างงานศิลปะในตะวันตก ซึ่งในการอธิบายของประวัติศาสตร์ศิลปะ
ตะวันตกจะใช้ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ให้มีความหมายเดียวกันกับยุคสมัยทางรูปแบบศิลปะ อันไม่
สอดคล้ อ งกั บ บริ บ ทการสร้ า งพระพุ ท ธปฏิ ม า ด้ ว ยเหตุ ที่ ว่ า พระพุ ท ธปฏิ ม านั้ น เป็ น รู ป จำลองของ
พระพุทธรูปองค์ต้นแบบ โดยจะจำลองสืบต่อกันเรื่อยมา ซึ่งมิได้ขึ้นกับยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แต่
อย่างใด แต่หากขึ้นอยู่กับกระแสความนิยมของพุทธศาสนิกชนที่การจำลองหรือสร้างพระพุทธปฏิมา
มากกว่า ทั้งนี้การจำลองดังกล่าวจะมุ่งธำรงพุทธลักษณะของพระพุทธรูปองค์ต้นแบบไว้ให้มากที่สุด
ดังเช่นในกรณีของพระพุทธปฏิมา “แบบสุโขทัย” ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรือง
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 – กลาง 15) จึงจะเรียกว่า “สมัย สุโขทัย”
ได้ แต่เมื่ออาณาจักรอยุธยาเข้าครอบครองสุโขทัย พระพุทธปฏิมา “แบบ สุโขทัย” ก็ยังคงสร้างกันอยู่
จึงควรจะเรียกว่า “สมัย อยุธยา แบบ สุโขทัย” ตลอดจน “สมัย รัตนโกสินทร์ แบบ สุโขทัย” เพื่อความ
ถูกต้องและชัดเจน นอกจากนั้นแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์ที่จะจำแนกแยกแยะว่าพระพุทธปฏิมาปางใด เป็นที่
นิยมในยุคสมัยใด และเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เพื่อที่จะได้เห็นว่าพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในประเทศไทย
นั้นมีทั้งด้านเนื้อหาสาระและพัฒนาการทางรูปแบบควบคู่กันไปตามกาลเวลา

การศึกษาพระพุทธปฏิมา ณ ที่นี้จะไม่ใช้ยุคสมัยเป็นหลัก แต่จะจำแนกพระพุทธปฏิมาออกเป็น
หมวดหมู่ตามพระอิริยาบถและพระกิริยาต่างๆ ของพระหัตถ์ ซึ่งเรียกว่า “ปาง” ไม่ใช้เรียกว่า “ท่า” ทั้งนี้
เพราะสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานพระวินิจฉัยไว้ว่า “คำว่า “ท่า” เป็นคำเลวและ
อาจจะใช้ไปทางข้างหยาบช้า จะเอามาใช้สำหรับพระพุทธปฏิมาว่าท่านั้น ท่านี้ หาควรไม่” (บริบาลบุรีภัณฑ์
๒๕๓๑, ๕๓) การแบ่งแยกหมวดหมู่พระพุทธปฏิมาไทยตามปางต่างๆ ที่สร้างขึ้นนั้น มีจุดประสงค์ที่จะ
แสดงให้เห็นว่า พระพุทธปฏิมาเป็นรูปจำลองของพระพุทธรูปองค์ต้นแบบ และมีการเลียนแบบสืบต่อกันมา
ซึ่งมิใช่แต่เพียงพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของพุทธ-
ศาสนิกชนทุกชาติ ทุกภาษา หากแต่ว่าการศึกษาตามแนวทางนี้เพิ่งนำมาใช้ในหนังสือเล่มนี้เป็นครั้งแรก

๑๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
เมื่อพระพุทธปฏิมาเป็นรูปจำลอง การศึกษาจึงต้องดำเนินตามพุทธลักษณะของแต่ละหมวด
หมู่ เช่น การสืบสาวพัฒนาการของพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ที่สร้างขึ้นในแต่ละ
ภูมิภาค ตามช่วงระยะเวลาต่างๆ กัน โดยใช้พระพุทธปฏิมาที่มีจารึกหรือที่สามารถจะกำหนดอายุเวลาได้
จากเอกสารที่เกี่ยวเนื่องเป็นตัวกำหนด เช่น พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ได้แก่
พระพุทธสิหิงค์จำลอง (ดูบทที่ ๖ หน้า ๓๑๕) ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาสำคัญของนิกายเถรวาท คณะ
สีหฬภิกขุ ซึ่งนำเข้ามาสถาปนาในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ (ค.ศ. 1424) ทั้งที่ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา แต่เป็นที่
นิยมแพร่หลายที่สุดในอาณาจักรล้านนา ช่วงรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงพญาแก้ว (พ.ศ. ๑๙๘๔ – ๒๐๖๘ /
ค.ศ. 1441 - 1525) และในอาณาจักรอยุธยา นับจากรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ถึงการเสีย
กรุงครั้งที่สอง (พ.ศ. ๒๐๓๔ – ๒๓๑๐ / ค.ศ. 1491 - 1767)

แต่พระพุทธรูปบางหมวด เช่น พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางปฐมเทศนา ไม่ปรากฏว่า
มีการสร้างขึ้นในประเทศไทย จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ ให้
สร้างพระพุทธรูปประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๙
(ค.ศ. 1956) หรือพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางประทานพร ซึ่งพระธรรมจินดาภรณ์ (ทองเจือ
จินฺตากโร) เป็นผู้คิดแบบขึ้น เมื่อครั้งศิริราชพยาบาลฉลอง ๗๒ ปีของการก่อตั้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕
(ค.ศ. 1962) ซึ่งเป็นต้นแบบให้กับพระพุทธรูปประทานพร ภ.ป.ร. ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. 1965) เห็นได้ว่าในบริบทของพุทธศาสนาในประเทศไทย
นั้น พระพุทธปฏิมาใช่แต่จะเป็นเพียงสิ่งที่ระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในหมวดของอุเทสิกเจดีย์
เท่านั้น แต่เป็นรูปสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์อีกด้วย

พระพุทธปฏิมาที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง (ดูบทที่ ๓) เช่น พระพุทธรูปประจำรัชกาล พระ


ชัยวัฒน์ประจำรัชกาล พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา และพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระมหา
กษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาพระพุทธปฏิมาของไทย เพราะนอกจากจะเป็นการ
ผนวกเอาพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์มารวมอยู่ในพระพุทธปฏิมาองค์เดียวกันแล้ว ยังแสดงให้เห็น
ถึงแรงบันดาลใจจากพระราชศรัทธาที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงรูปแบบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง
พระราชนิยมของแต่ละรัชกาลตามกาลเวลาได้อย่างชัดเจนที่สุด

ผู้เขียนขอขอบพระคุณธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ได้ให้ความไว้วางใจมอบทุนให้


ทำงานชิ้นนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษา
ครบ ๘๐ พรรษา

ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะตั้งปณิธานให้หนังสือเล่มนี้มีความผิดพลาดน้อยที่สุดเท่าที่ความสามารถจะ
ทำได้ แต่เนื่องด้วยการวินิจฉัยข้อมูลที่มีข้อจำกัดทางปริมาณและเวลา จึงอาจเป็นตัวแปรที่ก่อให้เกิด
ความผิดพลาดขึ้นได้ โดยเฉพาะการตีความหมายที่มาจากมุมมองในยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงอาจมีข้อบกพร่อง ซึ่งต้องปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ ลักษณะไทย เล่ม ๑ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์
ไทย เล่มนี้เป็นความพยายามหนึ่งที่จะศึกษาและรวบรวมทั้งข้อมูลและรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธ-
ปฏิมาที่สำคัญอันถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่สะท้อนและบอกเล่าความเป็น ลักษณะไทย จากแง่มุม
ทางด้านพุทธศิลป์ อันจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้สนใจ ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงสำหรับ
ผู้ที่ประสงค์จะศึกษาค้นคว้าต่อไป ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทาน
ไว้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ว่า

งานด้านการศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรมนั้น คืองานสร้างสรรค์ความเจริญทาง
ปัญญาและจิตใจ ซึ่งเป็นต้นเหตุทั้งองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของความเจริญด้าน
อื่นๆ ทั้งหมด และเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เรารักษาและดำรงความเป็นไทยไว้ได้
สืบไป (สำนักราชเลขาธิการ ๒๕๑๕, ๓๔๔)

บทนำ ๑๑
พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ภาค
พุทธศาสนา

กับพระมหากษัตริย์

หน้า

๑๕ บทที่ ๑ กำเนิดพระพุทธรูปและพระพุทธปฏิมา
๒๓ บทที่ ๒ พระพุทธลักษณะ พระอิริยาบถ และปาง
๔๕ บทที่ ๓ พระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา
กำเนิดพระพุทธรูปและพระพุทธปฏิมา ๑๓
พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทที

่ ๑
กำเนิดพระพุทธรูปและพระพุทธปฏิมา


น่าจะเป็นไปได้ว่าประเทศไทยมีพระพุทธรูปมากกว่าประเทศอื่นๆ
ในโลก มีทั้งขนาดจิ๋วถึงขนาดใหญ่โต และสร้างจากวัสดุต่างๆ เช่น
ศิลา ปูน ดินเผา แก้วผลึกหรือหยก ไม้ งาช้าง สัมฤทธิ์ เป็นต้น
โดยธรรมเนียมการสร้างพระพุทธรูปเริ่มตั้งแต่เมื่อคนไทยเข้ามา
อาศั ย อยู่ ใ นประเทศไทย วั ส ดุ ที่ นิ ย มกั น มากที่ สุ ด คื อ สั ม ฤทธิ์
ซึ่งได้แก่ส่วนผสมของทองแดง ดีบุก และโลหะอื่นๆ ซึ่งบางครั้งก็
มีเงินและทองคำเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย...

มากกว่า ๑,๓๐๐ ปีมาแล้วที่ศิลปินมุ่งสร้างพระพุทธรูป จวบจนทุก
วันนี้ (พ.ศ. ๒๕๐๑) ประเทศไทยมีพระพุทธรูปมากเกินกว่าประชากร
ของประเทศเสียอีก (Boribal Buribhand and Griswold 1969, 3)

พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยเชื่อว่าการสร้างพระพุทธรูปนั้นส่งผลในทางกุศลบุญอย่างมาก ด้วย
อานิสงส์แห่งการสร้างพระพุทธรูปไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ด้วยวัตถุใดก็ตาม ผู้สร้างจะเป็นผู้มีทรงงาม รูปงาม
มีฤทธิ์เดชมาก มียศมีศักดิ์ มีความสุข ไม่มีโรค อายุยืน ไม่มีเวรไม่มีภัย เกิดในตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูล
พราหมณ์ มีทรัพย์มาก มีทาสชายหญิงบริวารห้อมล้อมทุกเมื่อ และจะบรรลุนิพพาน (เชียงใหม่ปัณณาส-
ชาดก ๒๕๔๑, ๕๑๗ – ๕๑๘) นอกจากการสร้างพระพุทธรูปแล้ว การซ่อมพระพุทธรูปให้คงอยู่ในสภาพที่
สมบูรณ์ ก็จะนำมาซึ่งชัยชนะเหนือศัตรู มีทรัพย์มีสินไม่มีวันสิ้นสุด ดังเช่น พระเจ้าวัฎฎังคุลี ผู้รบชนะ
เหล่าพระราชาหนึ่งร้อยเอ็ดพระองค์ผู้มารุกรานด้วย “ทรงยกพระองคุลีของพระองค์ขึ้นนิ้วหนึ่ง ทรงชี้
พระราชาเหล่านั้นไปรอบๆ ขณะนั้นเทียว พระราชาทั้งปวงพร้อมทั้งเสนามีช้างเป็นต้น หนีไป” (เรื่อง
เดียวกัน, ๕๑๐ – ๕๑๕) ทั้งนี้ด้วยอานิสงส์ที่พระเจ้าวัฎฎังคุลีได้ไปซ่อมพระองคุลีของพระพุทธรูปที่ขาดไป
ให้สมบูรณ์

ชาดกเรื่องเดียวกันนี้ยังให้สาเหตุของการสร้างพระพุทธรูปว่า เมื่อครั้งพระเจ้าปเสนทิ กษัตริย์แห่ง
แคว้นโกศล เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แต่พระพุทธองค์มิได้ประทับอยู่ ณ ที่นั้น
พระเจ้าปเสนทิเกิดความสลดพระทัย จึงตรัสว่า “โลกนี้เว้นจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ชื่อว่าว่างเปล่า
ไม่มีที่พำนัก ไม่มีที่พึ่งพิง” ต่อมาในวันรุ่งขึ้นพระเจ้าปเสนทิไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จกลับมาแล้ว และทูลว่า

เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่เสด็จไปที่อื่น ข้าพระองค์เมื่อไม่เห็นพระรูป
พระองค์ย่อมเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง มีทุกข์ ก็เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว... สัตว์โลกนี้
จะพึงมีความสุขแต่ที่ไหนหามิได้... เพราะฉะนั้นขอพระองค์ทรงอนุญาตเพื่อทำ
พระรูปอันประเสริฐของพระองค์ เพื่อประโยชน์แก่การบูชา สักการะของนระ
และเทวดาแก่ข้าพระองค์นั่นเทียว (เรื่องเดียวกัน, ๕๐๗)

กำเนิดพระพุทธรูปและพระพุทธปฏิมา ๑๕
เมื่อได้ทรงสดับพระดำรัสของพระราชาแล้ว พระองค์จึงตรัสว่า

บุคคลใดบุคคลหนึ่งถึงพร้อมด้วยศรัทธา ทำรูปของเราเล็กก็ตาม ใหญ่ก็ตาม
ด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีดินเหนียวเป็นต้น ตามกำลังฯ... ย่อมเสวยสุขอัน
ไพบูลย์ ได้เป็นผู้ชื่อว่ามีเดชานุภาพมาก (เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน)

เมื่อพระเจ้าปเสนทิได้ทรงรับอนุญาตแล้ว จึงโปรดให้ช่างสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้แก่นจันทน์
และประดิ ษ ฐานพระพุ ท ธรู ป นั้ น ไว้ บ นอาสนะภายในมณฑป แล้ ว ทรงนิ ม นต์ พ ระพุ ท ธเจ้ า ให้ ไปทอด
พระเนตรรูปของพระองค์ เมื่อพระพุทธรูปที่ทำด้วยไม้แก่นจันทน์ เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่มณฑป จึง
“ทรงยกพระบาทข้างหนึ่งจากอาสนะที่พระองค์ประทับนั่ง แสดงอาการต้อนรับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้
เสด็จมาที่นั้น” พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งว่า

อาวุโส พระองค์จงทรงหยุดเถิด เราจักนิพพานโดยกาลของเราเทียว และพระองค์
จะพึงดำรงอยู่ในศาสนาของเราโดยกาลนาน ตลอดห้าพันปีในอนาคตกาล...
วันนั้นเทียว เราขอมอบพระศาสนาของเราแก่พระองค์ ขอพระองค์ จงทรง
ดำรงอยู่ในศาสนาของเรา เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลกทั้งปวง (เรื่อง
เดียวกัน, ๕๑๓)

ถึงแม้ว่าต้นฉบับของ เชียงใหม่ปัณณาสชาดก จะมาจากประเทศพม่า (Skilling 2006, 155–
158) แต่หนังสือ ปิฎกมาลา ของล้านนา ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ (ค.ศ. 1824) ปรากฏว่ามีเนื้อหาใกล้
เคียงกัน (เรื่องเดียวกัน, 158) แสดงให้เห็นว่า ความรู้เกี่ยวกับ วัฎฎังคุลิราชชาดก ซึ่งเป็นที่มาของคติที่
เกี่ยวกับอานิสงส์การสร้างพระพุทธรูปอันเป็นที่แพร่หลายในล้านนา ดังเห็นได้จากการที่ชาดกเรื่องนี้ได้
รับการกล่าวถึงใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ว่า มหากัสปเถระได้เทศน์เรื่องพระเจ้าวัฎฎังคุลีต่อนิ้ว
พระพุทธรูปถวายพญาเม็งราย (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ๒๕๓๘, ๒๗) ดังนั้นเรื่องของพระเจ้าวัฎฎังคุลี
และพระเจ้าปเสนทิสร้างพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ รวมทั้งคติที่เกี่ยวกับอานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป
น่าจะอยู่ในการรับรู้ของผู้คนในประเทศไทยมาแล้ว ตั้งแต่พญาสววาธิสิทธิกษัตริย์มอญโบราณที่ปกครอง
นครหริภุญไชย แรกรับพุทธศาสนานิกายเถรวาทมา เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ต้นคริสต์
ศตวรรษที่ 13) (Coedèès 1925, 189) ทั้งนี้เพราะว่า เรื่องพระเจ้าปเสนทิสร้างพระพุทธรูปแก่นจันทน์
ปรากฏในหนั ง สื อ ภาษาบาลี เรื่ อ ง โกสล พิ ม พ์ วั ณ ณนา แต่ ง ขึ้ นที่ ลั ง กาในช่ ว งระยะเวลาเดี ย วกั น
(Swearer 2004, 15)

อย่างไรก็ตาม ตำนานการสร้างพระพุทธรูปแก่นจันทน์นั้นมีมานานก่อนหน้านั้นหลายศตวรรษแล้ว
ดังกรณีพระภิกษุจีนนามว่า ฟาเหียน ผู้ที่เดินทางไปนครสาวัตถี แคว้นโกศล ระหว่างปี พ.ศ. ๙๔๒ – ๙๕๗
(ค.ศ. 399 – 414) เล่าว่า เมื่อพระเจ้าปเสนทิเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปโปรด
พระพุทธมารดาบนสวรรค์เป็นเวลา ๙๐ วัน พระองค์จึงให้สร้างพระพุทธปฏิมาแกะสลักด้วยไม้จันทน์ขึ้น
มาแทนพระพุทธองค์ ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับ พระพุทธรูปก็เสด็จเข้าไปเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสว่า

ให้กลับไปยังที่นั่งเดิม, ภายหลังเมื่อเราบัลลุปรินิพพานแล้ว, จะเป็นตัวอย่างแก่
บริษัท ๔ ซึ่งเป็นศิษย์ของเรา, ดังนั้นแล้ว พระปฏิมาก็เลื่อนกลับไปสู่ที่นั่งเดิม,
พระปฏิมาองค์นั้นเป็นพระพุทธปฏิมาองค์แรกของพระพุทธปฏิมาทั้งหมด และ
ซึ่งบุคคลสืบต่อมาได้ถือเอาเป็นตัวอย่าง. (ฟาเหียน ๒๔๘๗, ๑๐๑ – ๑๐๒)

ในคัมภีร์ชื่อ เอโกตตราคม แปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนเมื่อปี พ.ศ. ๙๒๗ – ๙๒๘
(ค.ศ. 384 – 385) กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
พระเจ้าปเสนทิ พร้อมด้วยพระเจ้าอุเทน แห่งนครโกสัมพีเสด็จไปเฝ้า ในเรื่องนี้เป็นพระเจ้าอุเทนต่างหากที่
ทรงเป็นผู้สลดพระทัยเมื่อไม่ได้เฝ้าพระพุทธองค์ และทรงรับสั่งว่า หากมิได้เฝ้าพระพุทธองค์จะต้อง

๑๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
สิ้นพระชนม์แน่ พระเจ้าอุเทนจึงเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปแก่นจันทน์ อันเป็นเหตุให้พระเจ้าปเสนทิต้องสร้าง
พระพุ ท ธรู ป ทองคำที่ มี ข นาดเดี ย วกั นกั บ พระพุ ท ธรู ป แก่ นจั นทน์ “พระพุ ท ธรู ป ทั้ ง สององค์ นี้ จึ ง เป็ น
พระพุทธรูปของพระตถาคตสององค์แรกที่สร้างขึ้นในชมพูทวีป” เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์
พระองค์ตรัสแก่พระเจ้าอุเทนว่า อานิสงส์แห่งการสร้างพระพุทธรูปนี้จะส่งให้พระองค์มีสุขภาพที่
แข็งแรงและเมื่อประสูติใหม่จะเป็นโลกบาล (Soper 1959, 259)

สำหรับคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวว่าพระเจ้าอุเทนทรงสร้างพระพุทธรูปแก่นจันทน์ น่าจะได้แก่
คัมภีร์จีน เกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (พ.ศ. ๕๖๘ – ๗๖๓ / ค.ศ. 25 – 220) ซึ่งมี
ลักษณะใกล้เคียงกับเรื่อง โกสล พิมพ์ วัณณนา ของลังกา แตกต่างกันตรงที่พระเจ้าอุเทนแห่งนครโกสัมพี
มิใช่พระเจ้าปเสนทิ เป็นผู้เฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปที่โกสัมพี (Swearer 2004, 21 – 22)

รูปที่ ๑.๑ ก. เหรียญพระเจ้าจักรพรรดิกนิษกะที่ ๑
พ.ศ. ๖๖๓ - ๖๘๘ (ค.ศ. 120 - 145) นอกจากนั้น พระภิกษุจีน เสวียนจั้ง (พระถังซำจั๋ง) ผู้ที่เดินทางไปแสวงบุญที่อินเดีย ได้บันทึก
พบที่สถูป อหีน พอช เรื่องจดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๑๑๘๙ (ค.ศ. 646) ท่านได้กล่าวถึง
ใกล้เมืองจลาลาบาท พระพุทธรูปจำหลักด้วยไม้จันทน์ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงประมาณ ๖๐ ฟุตว่าเป็นพระพุทธรูปที่
ประเทศอัฟกานิสถาน ทองคำ
เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เซนติเมตร พระเจ้าอุเทนทรงสร้างไว้ แม้ว่าจะมีพระราชาจากหลายแคว้นประสงค์ที่จะอัญเชิญไปยังแว่นแคว้นของ
บริติช มิวเซียม กรุงลอนดอน พระองค์ แต่ไม่สามารถที่จะขยับเขยื้อนองค์พระพุทธรูปได้ จึงต้องนำรูปจำลองไปสักการะแทน ทั้งนี้ต่าง
ก็เชื่อกันว่า พระพุทธรูปแก่นจันทน์เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเหมือนพระพุทธองค์ทุกประการ และ
เป็นต้นแบบของพระพุทธรูปในลักษณะนี้ (Hiuen Tsiang 1969, 235)

พระพุทธรูปแก่นจันทน์แบบพระเจ้าอุเทนจำลอง จึงเป็นหมวดพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุด โดยมี
หลักฐานยืนยันคือ เหรียญทองคำของพระเจ้าจักรพรรดิกนิษกะที่ ๑ (พ.ศ. ๖๖๓ – ๖๘๘ / ค.ศ. 120 – 145)
ของราชวงศ์กุษาณะ ประเทศอินเดีย ซึ่งด้านหนึ่งเป็นพระบรมรูปของพระเจ้ากนิษกะ (รูปที่ ๑.๑ ก.) อีก
ด้านหนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน ปางประทานอภัย มีจารึกภาษาแบคเตรียน เขียนว่า “BODDO” (พุทโธ)
อยู่ทางด้านขวาข้างประภามณฑล (รูปที่ ๑.๑ ข.) (Zwalf 1985, 92 – 93) ปางประทานอภัยจึงเป็นปาง
ดั้งเดิมของพระพุทธรูป และมีความหมายว่า ภัยอันตรายจะไม่บังเกิดกับผู้ที่มีพุทธะเป็นสรณะ นอก
จากนั้นแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้ยังมีพระเมาลีทรงสูง ซึ่งสอดคล้องกับมหาบุรุษลักษณะประการที่ ๑ จาก
มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ ซึ่งให้ไว้ในคัมภีร์ ลลิตวิสตระ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เรียบเรียงจากคัมภีร์ของ
รูปที่ ๑.๑ ข. เหรียญพระพุทธรูปมีคำจารึก “พุทโธ” นิกายสรรวาสติวาส ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๖ – กลาง ๗ (คริสต์ศตวรรษที่ 1) คือช่วงระยะเวลา
ประดิษฐานอยู่อีกด้านหนึ่ง เดียวกันกับเหรียญทองคำของพระเจ้ากนิษกะ โดยคัมภีร์ ลลิตวิสตระ กล่าวถึงลักษณะประการที่ ๑ ของ
ของเหรียญรูป มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ ว่า
พระเจ้าจักรพรรดิกนิษกะที่ ๑
(รูปที่ ๑.๑ ก.)
๑) อุษฺณีษศีรฺษะ มีพระเศียรเหมือนโพกผ้า หรือเหมือนสวมมกุฎ (เมาลี) คือ
พระเศียรสูง ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธประกอบด้วยมหาบุรุษ
ลักษณะนี้เป็นข้อต้น (ลลิตวิสตระ ๒๕๑๒, ๕๙๘)

พระพุทธรูปองค์นี้ยังครองจีวรห่มคลุม ทรงถือลูกบวบของชายจีวรไว้ในพระหัตถ์ซ้าย ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้
รับอิทธิพลมาจากรูปแบบการห่มผ้าพัลลิอุม (Pallium) ของจักรพรรดิโรมันในประติมากรรมที่สร้างขึ้นใน
รัชสมัยของจักรพรรดิ์ออกัสตุส (Augustus) (พ.ศ. ๕๒๑ – ๕๕๗ / ก่อนคริสต์กาล 23 – ค.ศ. 14)
(Rowland 1970, 127)

กำเนิดพระพุทธรูปและพระพุทธปฏิมา ๑๗
ส่วนพระพุทธรูปที่มีจารึกว่า “พระภิกษุพล” สร้างถวายในปีที่ ๓ ของรัชกาลพระเจ้ากนิษกะ
(พ.ศ. ๖๖๖ / ค.ศ. 123) (Huntington 1985, 150 – 151) พบที่สารนาถ รัฐอุตตรประเทศ (รูปที่ ๑.๒ ก.)
เป็นพระพุทธรูปยืนแบบสกุลช่างมถุรา ซึ่งจากพุทธลักษณะ ปาง และครองจีวรห่มดอง มิได้เป็นพระพุทธ
ปฏิมาไม้แก่นจันทน์จำลอง หากแต่จำลองมาจากพระพุทธรูปต้นแบบองค์อื่น พระหัตถ์ขวาหักหายไป แต่
หากคงอยู่น่าจะแสดงปางประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายกำอยู่ที่พระโสณี ทรงครองจีวรห่มดอง จีวรด้าน
ซ้ายยกพาดที่พระกร จีวรเป็นริ้วบางมองเห็นขอบสบงด้านบนซึ่งคาดด้วยรัดประคด และจีบหน้านางของ
สบงระหว่างพระชงฆ์มีสิงห์นั่ง ซึ่งหมายถึง สิงห์แห่งราชวงศ์ศากยะ หรือพระศากยสิงห์ ซึ่งเป็น
พระนามที่เรียกพระพุทธเจ้าอีกพระนามหนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้ยังมีฉัตรกั้น ซึ่งด้านในของฉัตรสลักเป็น
รูปกลีบบัวที่ประกอบด้วยลายมงคลต่างๆ (รูปที่ ๑.๒ ข.)

อย่างไรก็ตาม จากคำบอกเล่าของพระภิกษุเสวียนจั้ง ท่านได้เห็นพระพุทธปฏิมาไม้แก่นจันทน์
สามองค์ ซึ่งเป็นที่นิยมเคารพบูชาอย่างแพร่หลาย องค์หนึ่งในวิหารที่โกสัมพี ซึ่งพระเจ้าอุเทนเป็นผู้สร้าง
จำลองเพื่อเผยแผ่พระศาสนา องค์ที่สองอยู่ในเชตวันมหาวิหารที่สาวัตถี อันเป็นองค์ที่พระเจ้าปเสนทิ
ทรงสร้าง และองค์ที่สามอยู่ที่หันโม แคว้นโคฐาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นองค์ดั้งเดิมที่แท้จริง (Soper 1959,
262) สันนิษฐานว่าพระพุทธปฏิมาเหล่านี้น่าจะมีพุทธลักษณะคล้ายกันหมด คือเป็นพระพุทธปฏิมายืน
พระหัตถ์ขวาหงายออกในท่าประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือชายจีวร ครองจีวรคลุมพระอังสาทั้งสอง
รูปที่ ๑.๒ ก. พระพุทธรูป พระภิกษุพลสร้างในปีที่ ๓ ข้าง สบงจีบเป็นริ้วทั้งซ้ายขวา ดังเช่นพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ที่พบที่ ธเนสร์ เขระ (Dhanesar Khera) ใน
ของรัชกาลพระเจ้าจักรพรรดิกนิษกะที่ ๑ จังหวัดบันทะ (Banda) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. 1895) (Middleton
(พ.ศ. ๖๖๖ / ค.ศ. 123) 2002, 67 – 72) ต่อมาจึงได้มีการขายทอดตลาดประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๓ (ค.ศ. 1920) และปรากฏว่าได้
ศิลาทรายสีแดง สูง ๒.๘๙ เมตร
Archaeological Museum Sa-rna-th ไปเป็นสมบัติส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านได้พระราชทานให้กับ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ (ค.ศ. 1928) (รูปที่ ๑.๓) (ศิลปากร ๒๕๓๖ ก, ๑๐๑)
จึงเป็นหนึ่งในไม่ถึง ๒๐ องค์ของพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์จากสมัยราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. ๘๖๓ – ๑๐๙๓ /
ค.ศ. 320 – 550) ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

พระพุทธปฏิมาจาก ธเนสร์ เขระ องค์นี้มีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มพระพุทธปฏิมาศิลาที่
สลักขึ้นที่มถุรา (รูปที่ ๑.๔) ซึ่งน่าจะเป็นพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์จำลองเช่นกัน นอกจากนั้นแล้ว ความ
สำคัญของพระเจ้าแก่นจันทน์ที่พระเจ้าอุเทนทรงสร้างขึ้นที่โกสัมพีสะท้อนให้เห็นว่า นครโกสัมพีมีบทบาท
สำคัญในการเผยแพร่ความคิดนี้ภายใต้อิทธิพลของมถุรา (Soper 1959, 263) อันเป็นศูนย์กลางของ
นิกายสรรวาสติวาส ต่อมาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – กลาง ๑๒ (คริสต์ศตวรรษที่ 6) นิกายนี้เป็น
ที่รู้จักกันในนามของ “มูลสรรวาสติวาส” และกลุ่มพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ของจีนที่หล่อขึ้นในช่วงปลาย
พุทธศตวรรษที่ ๑๐ ถึงต้น ๑๑ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแบบที่พระเจ้าอุเทนโปรดให้
สร้างขึ้น (รูปที่ ๑.๕) และจำลองมาจากพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์ (Munsterberg 1967, 31) ถึงแม้ว่า
พระพุทธปฏิมาองค์ที่มีจารึกว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๐๒๐ (ค.ศ. 477) จะจารว่าเป็นพระไมเตรยะ
แต่พุทธลักษณะก็ยังเป็นพระศากยมุนีอยู่ดี (Snellgrove 1978, 209)
รูปที่ ๑.๒ ข. ฉัตรของพระพุทธรูปที่พระภิกษุพลสร้าง
ศิลาทรายสีแดง สูง ๓.๕๐ เมตร
Archaeological Museum Sa-rna-th

๑๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๑.๓ พระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์จำลอง
อินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ
พบที่ ธเนสร์ เขระ รัฐอุตตรประเทศ
ประเทศอินเดีย ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๐.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

รูปที่ ๑.๔ พระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์จำลอง อินเดีย


รูปที่ ๑.๕ พระพุทธปฏิมาแบบพระเจ้าอุเทน สมัยราชวงศ์คุปตะ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐
สร้างปี พ.ศ. ๑๐๒๐ (ค.ศ. 477) (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง สูง ๑.๔ เมตร สัมฤทธิ์ สูง ๒.๖๕ เมตร
Metropolitan Museum of Art, New York Indian Museum, Kolkata

กำเนิดพระพุทธรูปและพระพุทธปฏิมา ๑๙
พระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์ซึ่งพระเจ้าอุเทนทรงสร้างนั้น ใช่แต่จะมีความสำคัญในประเทศอินเดีย
และประเทศจีนเท่านั้น หากยังเป็นที่เคารพบูชาแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย และมีประวัติศาสตร์ที่
ยาวนานอีกเช่นกัน (Henderson and Hurvitz 1956, 5 - 55) อนึ่ง องค์ของจีนเคยประดิษฐานอยู่ที่กรุง
ปักกิ่งในวัด จัน ตัน ซู (Chan T’an Ssŭ) ที่จักรพรรดิกังไสสร้างถวาย จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๓
(ค.ศ.1900) จึงได้นำไปซ่อนไว้ที่วัดอีเกตุย (Egetui) ในเมืองอูลาน–อูเด (Ulan–Ude) ในสาธารณรัฐ
ปกครองตนเองบูเรียตียา (Buryatiya) ในประเทศรัสเซียจนถึงทุกวันนี้ (Terentyev 2007, [n.p.n.])

พระพุทธปฏิมาที่อาจจะจำลองมาจากพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์ของพระเจ้าอุเทนที่สร้างขึ้นใน
ประเทศไทยพบน้อยมาก ตัวอย่างได้แก่ พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืน พระหัตถ์ขวาประทานอภัย พระหัตถ์ซ้าย
ถือชายจีวร ครองจีวรคลุมพระอังสาทั้งสองข้าง (รูปที่ ๑.๖) ซึ่งพุทธลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับ
พระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์ของพระเจ้าอุเทนทุกประการ เพียงแต่รูปแบบของพระพุทธปฏิมาองค์นี้ได้
วิวัฒนาการไปตามยุคสมัยและค่านิยมของท้องถิ่น ที่เน้นความสมดุลของจีวรที่แนบตามพระวรกาย และ
พระเมาลีเป็นทรงกรวย เป็นต้น พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ปลาย
คริสต์ศตวรรษที่ 13) เมื่อคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะเป็นที่แพร่หลายในแคว้นกัมโพช และมีศูนย์กลางอยู่ที่
ละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน (พิริยะ, กำลังจัดพิมพ์) เนื่องด้วยว่านิกายกัมโพชสงฆ์ปักขะนี้ ได้รับเอาคติ
ธรรมและความเชื่อจากมหายาน วัชรยาน และเถรวาทมาผสมกับขนบทางบาลี ก็เป็นไปได้ว่าพระ
พุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์ของพระเจ้าอุเทนอันเป็นที่นิยมในลัทธิมหายาน จะนำมาสร้าง
ขึ้นในประเทศไทย

ส่วนพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสร้างที่สาวัตถีนั้น พระรัตนปัญญาเถระ
ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งแต่งขึ้นเป็นภาษาบาลี ที่นครเชียงใหม่ แล้วเสร็จใน
ปี พ.ศ. ๒o๗๑ (ค.ศ. 1528) ความว่า พระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์นั้นสร้างขึ้น ๗ ปีก่อนที่พระพุทธเจ้าจะ
เสด็จปรินิพพาน นอกจากนั้นแล้วยังกล่าวว่า กษัตริย์เมืองสุวรรณภูมิ ซึ่งน่าจะได้แก่ รามัญญเทศ หรือ
พม่าตอนใต้ (Jayawickrama 1968, 3) ได้อัญเชิญพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์มาบูชาในดินแดนของพระองค์
ต่อมาพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์ยังได้ถูกอัญเชิญไปบูชาอีกหลายเมืองในล้านนา เช่น พะเยาและเชียงใหม่
ก่ อ นที่ จ ะนำมาประดิ ษ ฐานในอุ โบสถวั ด เจ็ ด ยอดที่ นครเชี ย งใหม่ ในปี พ.ศ. ๒o๖๘ (ค.ศ. 1525)
(รัตนปัญญาเถระ ๒๕o๑, ๑๔๕ - ๑๔๗)

พระรัตนปัญญาเถระมิได้ให้รายละเอียดว่า พระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์องค์นี้เป็นพระพุทธปฏิมา
ประทับหรือพระพุทธปฏิมายืน แต่ ตำนานพระแก่นจันทน์ กล่าวว่าเป็นพระพุทธปฏิมาที่สลักขึ้นจาก
ไม้แก่นจันทน์แดง โดยให้สัดส่วนของพระพุทธปฏิมาซึ่งคาดคะเนได้ว่าน่าจะเป็นพระพุทธปฏิมาแบบ
ประทับ (สงวน รอดบุญ ๒๕๔๕, ๗๑) เช่น แท่นสูง ๖ องคุลี (๑๒ เซนติเมตร) พระองค์สูง ๒๒ องคุลี
(๔๔ เซนติเมตร) หน้าตักกว้าง ๒๒ องคุลี (๔๔ เซนติเมตร) พระอังสากว้าง ๒๓ องคุลี (๔๗ เซนติเมตร)
(Penth 1994, 169) แต่ พงศาวดารโยนก ของพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) กลับระบุว่า “เป็น
พระพุทธรูปยืน มีแท่นสูง ๖ นิ้ว พระองค์สูง ๒๒ นิ้ว วัดรอบพระองค์ได้ ๒๓ นิ้วกึ่ง” (ประชากิจกรจักร์
๒๔๗๘, ๓๕๑) เป็นไปได้ว่ามีการสับสนระหว่างพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล กับ
พระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์ที่พระเจ้าแสนพู กษัตริย์ล้านนาทรงสร้างขึ้นที่เวียงแสนน้อย ใกล้สบกก ซึ่งเป็น
พระพุทธปฏิมายืน (รัตนปัญญาเถระ ๒๕o๑, ๙๖) อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏว่าพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์ที่
กล่าวถึงข้างต้นทั้งสององค์นี้มีพุทธลักษณะเป็นอย่างไรและปัจจุบันอยู่ที่ใด

ดังนั้น พระพุทธปฏิมา ซึ่งหมายถึงรูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า พระพุทธปฏิมา
จึงเป็นรูปจำลองของพระพุทธรูป และก็เป็นรูปจำลองของพระพุทธปฏิมาที่จำลองสืบต่อๆ กันมา ดัง
เห็นได้จากการที่พระพุทธปฏิมาจำนวนมากมีพุทธลักษณะที่คล้ายกัน โดยมูลเหตุที่ทำให้คล้ายกันนั้น
มิได้มาจากการสร้างพระพุทธรูปในแต่ละยุคสมัย แต่ทว่ามาจากความต้องการของพุทธศาสนิกชนที่จะ
จำลองพุทธลักษณะของพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และมุ่งสืบทอดพุทธลักษณะของพระพุทธรูป
ซึ่งเป็นต้นแบบไว้ให้ได้มากที่สุด ดังเช่นการจำลองพระพุทธรูปแก่นจันทน์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

๒๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๑.๖ พระพุทธปฏิมาแบบพระเจ้าอุเทน
ไม่ทราบที่มา ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สูง ๒๘ เซนติเมตร
สมบัติส่วนบุคคล

กำเนิดพระพุทธรูปและพระพุทธปฏิมา ๒๑
แผ่นศิลาภาพพระพุทธเจ้า ๘ ปาง (รูปที่ ๒.๑๗ ก.)
Archaeological Museum, Sa-rna-th

พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทที่


พระพุทธลักษณะ พระอิริยาบถ และปาง


๑. พระพุทธลักษณะ
มหาบุรุษลักษณะ
คัมภีร์ ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติภาษาสันสกฤตซึ่งเรียบเรียงจากคัมภีร์ของ
นิกายสรรวาสติวาส (Keown 2003, 153) แปลเป็นภาษาจีนเมื่อประมาณกลางพุทธ
ศตวรรษที่ ๖ – กลาง ๗ (คริสต์ศตวรรษที่ 1) ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับมหาปุริสลักษณะ
หรือมหาบุรุษลักษณะ ซึ่งหมายถึงลักษณะของมหาบุรุษ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ
(อวัยวะส่วนปลีกย่อย) อีก ๘๐ ประการ ที่แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้านั้นแตกต่างจาก
บุคคลทั่วไป แม้แต่พระจักรพรรดิราช เช่นใด

มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ ได้แก่
(๑) อุษฺณีษศีรฺษะ พระเศียรรูปเหมือนโพกผ้า หรือเหมือนสวมมกุฎ (เมาลี)
คือพระเศียรสูง
(๒) ภินฺนาญฺชนมยูรกลาปาภินีลวลฺลิตปฺรทกฺษิณาวรฺตเกศะ
พระเกศาแยกเส้นกันสีเขียวเข้มเหมือนสียาป้ายขอบตาหรือสีดอกอัญชัน
หรือสีโคนหางนกยูง ขมวดเวียนขวา
(๓) สมวิปุลลลาฏะ พระนลาฏ (หน้าผาก) กว้างเรียบ
(๔) อูรฺณาภฺรุโวมเธฺยชาตาหิมรชตปฺรกาศา ขนอ่อนเกิดที่หว่างคิ้ว (อุณาโลม)
สีขาวเหมือนน้ำค้างหรือเงินยวง
(๕) โคเปกฺษมเนตระ พระเนตรมีขอบเหมือนขอบตาวัว
(๖) อภินีลเนตฺระ พระเนตรสีเขียวเข้ม
(๗) สมจตฺวารึศทฺทนฺตะ มีพระทนต์ (ฟัน) ๔๐ ซี่ เท่าๆ กัน
(๘) อวิรลทนฺตะ ซี่พระทนต์ชิดกัน
(๙) ศุกฺลทนฺตะ พระทนต์ขาวสะอาด
(๑๐) พฺรหฺมสฺวร มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงแห่งพรหม
(๑๑) รสรสาคฺรวานฺ ปลายพระชิวหารู้รสไว
(๑๒) ปฺรภูตตนุชิหฺวะ พระชิวหาแผ่ออกได้มาก
(๑๓) สีหหนุ พระหนุ (คาง) เหมือนคางราชสีห์
(๑๔) สุสํวฺฤตฺตสฺกนฺธะ มีพระวรกายสำรวมอินทรีย์เป็นอย่างดี
(๑๕) สปฺโตตฺสทะ มีพระมังสา (กล้ามเนื้อ) อูมนูน ๗ แห่ง
(๑๖) จิตานฺตรำสะ พระอังสา (ไหปลาร้า) มีเนื้อเต็ม
(๑๗) สูกฺษม สุวรฺณรฺณจฺฉวิ พระฉวี (ผิว) ละเอียดมีสีเหมือนสีทอง
(๑๘) สฺถิโต’ นวนตปฺรลมฺพพาหุ พระวรกายยืนตรงไม่คดค้อม
พระพาหา (แขน) ยาว
(๑๙) สึหปูรฺวารฺธกายะ พระวรกายท่อนบนเหมือนท่อนบนของราชสีห์
(๒๐) นฺยโครธปริมณฺฑโล มีปริมณฑลเหมือนปริมณฑลของต้นไทร
(๒๑) เอไกกโรมา มีพระโลมา (ขน) ขุมละเส้น

พระพุทธลักษณะ พระอริยาบถ และปาง ๒๓


(๒๒) อุรฺธฺวาคฺราภิปฺรทกฺษิณาวรฺตโรมา พระโลมาเวียนขวา ปลายพระโลมาชี้ขึ้นบน
(๒๓) โกโศปคตพสฺติคุหฺยะ พระคุยหะ (เครื่องเพศ) ซ่อนอยู่ในฝัก
(๒๔) สุวิวรฺติโตรุ ต้นพระชงฆ์ (ขาท่อนบน) กลมงาม
(๒๕) เอเณยมฺฤคราชชงฺฆะ พระชงฆ์ (ขาท่อนล่าง) เหมือนแข้งพระยาเนื้อทราย
(๒๖) ทีรฺฆางฺคุลิ นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาว
(๒๗) อายตปารฺษฺณิปาทะ พระปรัษณี (ส้นเท้า) ยาว
(๒๘) อุตฺสงฺคปาทะ พระบาทลาดขึ้นสูง
(๒๙) มฺฤทุตรุณหสฺตปาทะ พระหัตถ์ พระบาทนุ่มสด
(๓๐) ชาลางฺคุลีหสฺตปาทะ นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาท และพระหัตถ์พระบาทมีรูป
ลายตาข่าย
(๓๑) ทีรฺฆางฺคุลิรธะกฺรมตลโยรฺ จเกฺรชาเต จิเตฺร สหสฺราเร สเนมิเก สนาภิเก
พระบาททั้ง ๒ ลาดต่ำลงโดยลำดับ นิ้วพระบาทยาว เกิดมีลายกงจักร
อันวิจิตร (สีขาวมีประกายเหมือนเปลวไฟ) มีซี่ ๑,๐๐๐ พร้อมด้วยกงและดุม
(๓๒) สุปฺรติษฺฐิตสมปาโท ฝ่าพระบาทแนบสนิทกับพื้นเป็นอย่างดี
(ลลิตวิสตระ ๒๕๑๒, ๕๙๘ -๕๙๙)

อนุพยัญชนะ (อวัยวะส่วนปลีกย่อย) ๘๐ ประการ ได้แก่
(๑) ตุงฺคนขะ เล็บนูน
(๒) ตามฺรนขะ เล็บแดง
(๓) สนิคฺธนขะ เล็บอ่อนเป็นเงางาม
(๔) วฺฤตฺตางฺคุลิ นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทกลม
(๕) อนุปูรฺวจิตฺรางฺคุลิ นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทงามเรียว
(๖) คูฒศิระ พระเศียรราบเรียบ
(๗) คูฒคุลฺผะ พระโคปกะ (ตาตุ่ม) ราบเรียบ
(๘) ฆนสนฺธิ ข้อต่อมั่นคงแข็งแรง
(๙) อวิษมปาทะ ฝ่าพระบาทเสมอกัน
(๑๐) อายตปารฺษฺณิศะ ส้นพระบาทยาว
(๑๑) สนิคฺธปาณิเลขะ ลายพระหัตถ์ละเอียดงาม
(๑๒) ตุลยปาณิเลขะ ลายพระหัตถ์เหมือนกัน (ทั้งสองข้าง)
(๑๓) คัมภีรปาณิเลขะ ลายพระหัตถ์ลึก
(๑๔) อชิหฺมปณิเลขะ ลายพระหัตถ์ไม่หักคด
(๑๕) อนุปูรฺวปาณิเลขะ ลายพระหัตถ์เรียวตามลำดับ
(๑๖) พิมฺโพษฺฐะ ริมพระโอษฐ์แดงดั่งผลตำลึงสุก
(๑๗) โนจฺจาวจศพฺทะ พระสุรเสียงไม่ดัง
(๑๘) มฺฤทุตรุณตามฺรชิหวะ พระชิวหาอ่อนและแดงสด
(๑๙) คชครชิตาภิสฺตนิตเมฆสวฺรมธุรมญฺชุโฆษะ มีพระสุรเสียงก้องเหมือน
ช้างร้อง และเมฆกระหึ่ม แต่หวาน และอ่อนโยนไพเราะ
(๒๐) ปริปูรฺณวฺยญชนะ ตรัสได้ชัดเจนถูกต้องเต็มตามพยัญชนะ
(๒๑) ปฺรลมฺพพาหุ พระพาหา (แขน) ยาว
(๒๒) ศุจิคาตฺรวสฺตุสํปนฺนะ สมบูรณ์ด้วยพระวรกายวัสดุอันสะอาดบริสุทธิ์
(๒๓) มฺฤทุคาตฺระ พระวรกายนิ่ม
(๒๔) วิศาลคาตฺระ พระวรกายกว้าง
(๒๕) อทีนคาตฺร พระวรกายไม่ซูบซีดแลดูเป็นสง่าบ่งว่าเป็นผู้มีบุญ
(๒๖) อนุปูรโวนฺนตคาตฺร พระวรกายสูงเรียวขึ้นเป็นลำดับ
(๒๗) สุสมาหิตคาตฺระ พระวรกายตั้งขึ้นมั่นคงเป็นอย่างดี

๒๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
(๒๘) สุวิภกฺตคาตฺระ พระวรกายได้ส่วนสัดดี
(๒๙) ปฺฤถุวิปุลสุปริปูรฺณชานุมณฺฑละ พระชานุมณฑล (ตัก) หนา กว้าง เต็ม
เป็นอันดี
(๓๐) วฺฤตฺตคาตฺระ พระวรกายกลม
(๓๑) สุปริมฺฤษฺฏคาตฺระ พระวรกายเกลี้ยงเกลาดี
(๓๒) อชิหฺมวฺฤษภคาตฺระ พระวรกายเหมือนโคเพศผู้
(๓๓) อนุปูรฺวคาตฺระ พระวรกายเรียวไปเป็นลำดับ
(๓๔) คมฺภีรนาภิ พระนาภีลึก
(๓๕) อชิหฺมนาภิ พระนาภีไม่บิดเบี้ยว
(๓๖) อนุปูรฺวนาภิ พระนาภีมีกลีบเป็นชั้น ๆ ลึกลงไปโดยลำดับ
(๓๗) ศุจฺยาจาระ พระจริยาวัตรเป็นระเบียบและพระมารยาทงดงาม
(๓๘) ฤษภวตฺสมนฺตปฺราสาทิกะ พระจริยาวัตรงามเหมือนโคเพศผู้
(๓๙) ปรมสุวิศุทฺธวิติมิราโลกสมนฺตปฺรภะ พระวรกายบริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือน
ดวงอาทิตย์ฉายแสงในที่มืด
(๔๐) นาควิลมฺพิตคติ ทรงพระดำเนินแช่มช้อยเหมือนช้างเดิน
(๔๑) สึหวิกฺรานฺตคติ ทรงย่างกรายองอาจเหมือนสิงห์
(๔๒) ฤษภวิกฺรานฺตคติ ทรงย่างกรายองอาจเหมือนโคเพศผู้
(๔๓) หํสวิกฺรานฺตคติ ทรงย่างกรายละมุนละม่อมเหมือนหงส์ย่างก้าว
(๔๔) อภิปฺรทกฺษิณาวรฺตคติ ทรงพระดำเนินมีมรรยาทแสดงท่าเคารพอย่างดียิ่ง
(๔๕) วฺฤตฺตกุกฺษิ พระอุทร (ท้อง) กลม
(๔๖) มฺฤษฺฏกุกฺษิ พระอุทรเกลี้ยงเกลา
(๔๗) อชิหฺมกุกฺษิ พระอุทรไม่คดค้อม
(๔๘) จาโปทระ พระอุทรนูนโค้งเหมือนคันธนู
(๔๙) วฺยปคตฉนฺทโทษะนีลกาลกาทุษฺฏศรีระ พระวรกายปราศจากเครื่อง
ทำให้รัก และเครื่องทำให้ชัง (คือปราศจากเครื่องประทินโฉมเสริมสวย
และสิ่งเปรอะเปื้อน) และปราศจากเครื่องประทุษร้ายผิว คือ ปานและไฝ
(๕๐) วฺฤตฺตทํษฺฏระ พระทาฐะ (เขี้ยว) ซี่กลม
(๕๑) ตีกฺษณทํษฺฏฺระ พระทาฐะคม
(๕๒) อนุปูรฺวทํษฺฏระ พระทาฐะเรียวเป็นลำดับ
(๕๓) ตุงคนาสะ พระนาสิก (จมูก) โด่ง
(๕๔) ศุจินยนะ พระเนตรแจ่มใสสะอาด
(๕๕) วิมลนยนะ พระเนตรไม่ขุ่นมัว
(๕๖) ปฺรหสิตนยนะ พระเนตรยิ้มแย้มร่าเริง
(๕๗) อายตนยนะ พระเนตรยาว
(๕๘) วิศาลยนะ พระเนตรกว้าง
(๕๙) นีลกุวลยทลสทฺฤศนยนะ พระเนตรเหมือนกลีบบัวเขียว
(๖๐) สหิตภฺรู พระขนง (คิ้ว) ดก
(๖๑) จิตฺรภฺรู พระขนงงาม
(๖๒) อสิตภฺรู พระขนงดำ
(๖๓) สํคตภฺรู พระขนงต่อกัน
(๖๔) อนุปูรวภฺรู พระขนงเรียวเป็นลำดับ
(๖๕) ปีนคณฺฑะ พระกโปล (แก้ม) เต็ม
(๖๖) อวิษมคณฺฑะ พระกโปลเท่ากันทั้งสองข้าง
(๖๗) วฺยปคตคณฺฑโทษะ พระกโปลปราศจากโทษ (คือไม่เป็นริ้วรอยสิวฝ้า)
(๖๘) อนุปหตกฺรุษฺฏะ ไม่แสดงพระพักตร์เหี้ยมเกรียม

พระพุทธลักษณะ พระอริยาบถ และปาง ๒๕


(๖๙) สุวิทิเตนฺทฺริยะ ประสาทอินทรีย์รับรู้ไว
(๗๐) สุปริปูรฺเณนฺทฺริยะ อินทรีย์ครบบริบูรณ์ (คือมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย
หรือผิวหนัง ใจ บริบูรณ์ดี)
(๗๑) สํคตมุขลลาฏะ พระนลาฏ (หน้าผาก) รับกับพระพักตร์
(๗๒) ปริปูรฺโณตฺตมางฺค พระเศียรอูมเต็ม
(๗๓) อสิตเกศะ พระเกศาดำ
(๗๔) สหิตเกศะ พระเกศาดก (สุสํคตเกศะ มีพระเกศารวมกันเป็นเกลียว)
(๗๕) สุรภิเกศะ พระเกศาหอม
(๗๖) อปรุษเกศะ พระเกศาไม่หยาบ
(๗๗) อนากุลเกศะ พระเกศาไม่ยุ่ง
(๗๘) อนุปูรฺวเกศ พระเกศาเรียงเส้นเป็นลำดับ
(๗๙) สุกุญฺจิตเกศะ พระเกศางอหงิกเป็นอันดี
(๘๐) ศฺรีวตฺส สฺวสฺติก นนฺทฺยาวรฺต วรฺธมานสํสฺถานเกศะ พระเกศาเจริญงาม
ขมวดเวียนขวาเหมือนรูปสวัสติกะซึ่งเป็นศรีวัตสะ (เครื่องหมายกากบาท
ปลายหักมุมเวียนขวา)
(เรื่องเดียวกัน, ๖๐๐ – ๖๐๒)

ถึงแม้คัมภีร์ ลลิตวิสตระ จะเขียนขึ้นหลังจากได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นแล้วเมื่อช่วงกลางพุทธ
ศตวรรษที่ ๖ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1) อันเห็นได้จากการกล่าวถึง “รูปจำลองตถาคต” (เรื่องเดียวกัน,
๙๖๕, ๙๖๘) แต่พระคัมภีร์นี้ก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างพระพุทธรูปในสมัยต่อมา โดยเฉพาะใน
แวดวงของนิกายมูลสรรวาสติวาส และลัทธิมหายาน

ส่วนพระไตรปิฎกของนิกายเถรวาท ก็ยังมีการกล่าวถึงลักษณะของมหาบุรุษ ๓๒ ประการ เช่นกัน
ใน ลักขณสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ สุตตันตปิฎก แตกต่างกับของมหายานตรงที่ พระจักรพรรดิราชทรง
มีมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ เช่นเดียวกันกับพระพุทธเจ้า ได้แก่

(๑) สุปติฏฐิตปาโท ฝ่าพระบาทเสมอดังพื้นฉลองพระบาททองแห่ง
พระราชามหากษัตริย์ ไม่แหว่งเว้าสูงปลายเท้าหนักส้นกระโย่ง
กลางเท้าดังสามัญมนุษย์
(๒) เหฏฺฐา โข ปนสฺสปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ สหสฺสารานิ สเนมิกานิ
สนาภิกานิ สพฺพาการปริปูรานิ ในฝ่าพระบาทมีจักรทั้งหลายบังเกิดขึ้น
มีซี่กำได้ละพัน มีกงมีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
(๓) อายตปณฺหิ มีพระส้นอันยาว
(๔) ทีฆงฺคุลิ มีพระองคุลีนิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาวงาม นิ้วพระหัตถ์
ทั้ง ๔ และนิ้วพระบาททั้ง ๕ มีประมาณเสมอกัน ไม่เหลื่อมยาว
ไม่เหลื่อมสั้นดังสามัญมนุษย์
(๕) มุทุตลุนหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนเสมออยู่เป็นนิตย์
(๖) ชาลหตฺถปาโท พระหัตถ์และพระบาทมีลายประหนึ่งร่างข่าย
(๗) อุสฺสงฺขปาโท พระบาทมีสังขะ คือข้อพระบาทลอยอยู่ ณ เบื้องบน
ข้อพระบาทไม่เนื่องพัวพันกับหลังพระบาทดังของสามัญชน
(๘) เอณิชงฺโฆ มีพระชงฆ์รีเรียวดังแข้งแห่งเนื้อทราย
(๙) ฐิตโก ว อโนนมนฺโต สถิตประดิษฐานยืนอยู่มิได้น้อมลง ฝ่าพระหัตถ์
ทั้ง ๒ ลูบถึงมณฑลพระชานุทั้ง ๒
(๑๐) โกโสหิตวตฺถคุยฺโห มีอังคาพยพซึ่งจะพึงซ่อนให้ลับด้วยผ้าตั้งลงแล้วในฝัก
(๑๑) สุวณฺณวณฺโณ พระฉวี (ผิว) คล้ายควรเปรียบด้วยทองคำ
(๑๒) สุขุมจฺฉวิ มีพระฉวีอันละเอียด

๒๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
(๑๓) เอเกกโลโม พระโลมชาติขุมละเส้นๆ เสมอไปทุกขุมขน
(๑๔) อุทฺธคฺคโลโม พระโลมชาติล้วนมีปลายขึ้นเบื้องบนทุกเส้น
สีเขียวประหนึ่งสีดอกอัญชัญขดเป็นกุณฑลทักขิณาวัฏเวียนขวา
(๑๕) พฺรหฺมุชุคตฺโต พระวรกายตรงดังกายพรหม
(๑๖) สตฺตุสฺสโท พระมังสะในที่ ๗ สถาน คือหลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ หลังพระบาท
ทั้ง ๒ จะงอยพระอังสาทั้ง ๒ และพระศอฟูบริบูรณ์เต็มด้วยดี
(๑๗) สีหปุพฺพฑฺฒกาโย ส่วนพระวรกายเบื้องหน้าดังกึ่งกายเบื้องหน้าแห่งราชสีห์
(๑๘) ปีตนฺตรํโส ระหว่างแห่งพระปฤษฎางค์ (แผ่นหลัง) อันเต็มไม่เป็นร่อง
ดังทางไถดังมีในกายแห่งสามัญชน
(๑๙) นิโครธปริมณฑโล ปริมณฑล (วงรอบ) ดังไม้นิโครธพฤกษ์
พระวรกาย (ความสูง) กับวา (ช่วงระยะกางแขน) ของพระองค์เท่ากัน
(๒๐) สมวฏฺฎกฺขนฺโธ มีลำพระศอกลมเสมอ
(๒๑) รสคฺคสคฺคี เอ็น ๗๐๐ ที่ สำหรับนำไปซึ่งรสอาหารมาสวมรวมประชุม
ณ พระศอ
(๒๒) สีหหนุ พระหนุ (คาง) ดั่งคางราชสีห์บริบูรณ์ดีประหนึ่งวงพระจันทร์
ในวัน ๑๒ ค่ำ
(๒๓) จตฺตาฬีสทนฺโต พระทนต์ (ฟัน) ครบ ๔๐ ทัศ (ซี่)
(๒๔) สมทนฺโต พระทนต์เสมอ ไม่ลักลั่น ยาวสั้นดังสามัญมนุษย์
(๒๕) อวิรฬทนฺโต พระทนต์ไม่ห่าง ชิดสนิทเป็นอันดี
(๒๖) สุสุกฺกทาโฐ พระทาฐะ คือพระเขี้ยวอันขาวงาม
(๒๗) ปหุตชิวฺโห พระชิวหา (ลิ้น) อันพอ คือ อ่อนและกว้างใหญ่ อาจแผ่ปก
พระนลาฏมิดและจะห่อให้เล็กสอดในช่องพระนาสิกและช่องพระโสตได้
(๒๘) พฺรหฺมสฺสโร กรวิกภาณี พระสุรเสียงก้องกังวานดังเสียงพรหม
เมื่อจะตรัสมีสำเนียงดังนกการวิก
(๒๙) อภินีลเนตฺโต พระเนตรเขียวสนิทในที่ควรจะเขียว
(๓๐) โคปมุโข ดวงพระเนตรดังตาแห่งโค
(๓๑) อุณฺณา ภมุกนฺตเร ชาตา พระอุณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างแห่งพระขนง
(๓๒) อุณหิสสีโส พระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์เจ้ามีพระเศียรได้มีรูปทรงงดงาม
ดุจประดับด้วยอุณหิสกรอบพระพักตร์
(ปฐมสมโพธิ ๒๕๐๘, ๑๘ – ๒๑)

มหาปุริสลักษณะ หรือมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ ที่กล่าวถึงใน ลักขณสูตร นั้นมีความสำคัญ
ต่อพระพุทธปฏิมาไทยเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อชาวไทยรับนิกายเถรวาท คณะมหาวิหารจากลังกาเข้ามา
เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14) ก็ได้ปรับเปลี่ยนมหาบุรุษลักษณะบางประการที่มี
มาแต่อดีต ให้สอดคล้องกับมหาปุริสลักขณะของบาลี จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของพระพุทธปฏิมาไทย

พระพุทธลักษณะ พระอริยาบถ และปาง ๒๗


๒. พระอิริยาบถ

พระอิริยาบถของพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในประเทศไทยก่อนที่จะรับเอานิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร
มาจากลังกานั้น สร้างขึ้นตามแบบพระพุทธปฏิมาของอินเดีย ซึ่งมี ๓ พระอิริยาบถหลัก คือ ประทับ (นั่ง)
ยืน และไสยาสน์ (นอน) และเมื่อรับนิกายเถรวาท คณะมหาวิหารแล้ว จึงเพิ่มพระอิริยาบถลีลา (เดิน)
ขึ้น รวมทั้งสิ้นเป็น ๔ พระอิริยาบถ

เฉพาะพระอิริยาบถประทับนั้น มี ๓ แบบหลัก ได้แก่ ประทับขัดสมาธิราบ ประทับขัดสมาธิเพชร และ
รูปที่ ๒.๑ พระอิริยาบถประทับขัดสมาธิราบ
ประทับห้อยพระบาท

- ประทับขัดสมาธิราบ (วีราสนะ) ได้แก่ประทับบนพื้นไขว้พระชงฆ์ขวาซ้อนเหนือ
พระชงฆ์ซ้าย (รูปที่ ๒.๑) เป็นพระอิริยาบถของพระพุทธปฏิมาอินเดีย
ภาคใต้ ที่สร้างขึ้นในรัฐอานธรประเทศ และพระพุทธปฏิมาลังกา
- ประทั บ ขั ด สมาธิ เพชร (วั ช ราสนะ) ได้ แ ก่ ป ระทั บ บนพื้ น ไขว้ พ ระชงฆ์ ห งายฝ่ า
พระบาทขึ้นทั้งสองข้าง (รูปที่ ๒.๒) เป็นพระอิริยาบถของพระพุทธปฏิมาที่
รูปที่ ๒.๒ พระอิริยาบถประทับขัดสมาธิเพชร สร้างขึ้นทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย
- ประทับห้อยพระบาท (ภัทราสนะ) ได้แก่ประทับบนบัลลังก์ห้อยพระบาท (รูปที่ ๒.๓)
เป็นพระอิริยาบถของพระพุทธปฏิมาในรัฐอานธรประเทศ (ดูรูปที่ ๔.๔ ก.,ข.)
และในถ้ำอชัญฏา รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย

พระอิริยาบทยืนมี ๒ แบบ ได้แก่ ยืนตรง และยืนเอียงพระวรกาย ยืนตรง (สมภังค์) คือ
การยืนที่พระบาททั้งสองข้างรับน้ำหนักของพระวรกายเท่ากัน (รูปที่ ๒.๔) และการยืนเอียงพระวรกาย
(ตริภังค์) คือ การยืนที่พระบาททั้งสองข้างรับน้ำหนักของพระวรกายไม่เท่ากัน โดยทิ้งน้ำหนักลงที่
พระบาทข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้พระเศียร พระอังสา (ไหล่) และพระโสณี (สะโพก) เอียงทำมุมซึ่ง
กันและกันเพื่อให้เกิดความสมดุล (รูปที่ ๒.๕)

รูปที่ ๒.๓ พระอิริยาบถประทับห้อยพระบาท

รูปที่ ๒.๔ พระอิริยาบถยืน รูปที่ ๒.๕ พระอิริยาบถยืนเอียงพระวรกาย (ตริภังค์)

๒๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๒.๗ พระอิริยาบถไสยาสน์

พระอิริยาบถลีลา หรือทรงพระดำเนิน (เดิน) คือ ฝ่าพระบาทข้างหนึ่งเหยียบราบลงบนพื้น อีก


ข้างหนึ่งยกส้นพระบาทขึ้น นิ้วพระบาทจรดพื้น (รูปที่ ๒.๖)

รูปที่ ๒.๖ พระอิริยาบถลีลา พระอิริยาบถไสยาสน์ คือ บรรทมตะแคงขวา พระหัตถ์ขวารองรับพระเศียร พระหัตถ์ซ้ายวาง
ทอดตามพระปรัศว์ (สีข้าง) ด้านซ้าย (รูปที่ ๒.๗)


๓. ปาง และที่มาของปาง

พระอิริยาบถทั้ง ๔ ที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ มีพระกิริยาของพระกรและพระหัตถ์เป็นองค์ประกอบ ซึ่ง
เรียกว่า ปาง หรือ มุทรา ปางแรกที่ปรากฏขึ้นพร้อมกับพระพุทธรูปในประเทศอินเดียได้แก่ ปางประทาน
อภัย ในสมัยราชวงศ์ปารเทียน ในรัฐคันธารราษฎร์ ประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานในปัจจุบัน
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๖ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1) ต่อมาในช่วงที่ราชวงศ์กุษาณ ปกครองรัฐ
คันธารราษฎร์ และรัฐมถุราทางภาคเหนือของอินเดีย ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๗ – กลาง ๘
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 – ปลาย 2) จึงสร้างปางสมาธิ ปางมารวิชัย ปางปฐมเทศนา และปาง
ปรินิพพาน ในช่วงเวลาเดียวกันราชวงศ์สาตวาหน ปกครองรัฐอานธรประเทศทางภาคใต้ นิยมสร้าง
พระพุทธปฏิมา ปางสมาธิ นาคปรก ในช่วงสมัยราชวงศ์คุปตะ ปกครองภาคกลางช่วงกลางพุทธศตวรรษที่
๙ – ปลาย ๑๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 – กลาง 6) จึงเพิ่มปางประทานพร ปางแสดงธรรม และปางอุ้มบาตร
ส่ ว นลั ง กาประดิ ษ ฐ์ ป างรำพึ ง ขึ้ น สมั ย โปโลนนารุ ว ะ ในช่ ว งกลางพุ ท ธศตวรรษที่ ๑๖ – ปลาย ๑๘
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 – กลาง 13)

ปางประทานอภัย (อภัยมุทรา)
คำว่ า อภั ย หมายถึ ง การไม่ มี ภั ย อั นตรายใดๆ ปางประทานอภั ย ได้ แ ก่ ยกพระกรขวา
พระหัตถ์ขวาหงายออกและตั้งขึ้น เป็นพระกิริยาของพระหัตถ์ที่มีความเก่าแก่ที่สุด มีความหมายว่า เมื่อ
มีพระองค์เป็นสรณะแล้ว ภยันตรายใด ๆ จะไม่เกิดขึ้นกับผู้ที่เคารพบูชาพระพุทธปฏิมา มีทั้งที่อยู่ใน
ลักษณะของพระอิริยาบถลีลา และยืน (รูปที่ ๒.๘ ก.) ซึ่งเป็นปางของพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์จำลอง
(ดูรูปที่ ๑.๓ – ๑.๖) แบบประทับขัดสมาธิเพชรที่สร้างขึ้นที่รัฐคันธารราษฎร์ และมถุรา (Huntington
1985, 120, 123) และแบบประทับขัดสมาธิราบที่รัฐอานธรประเทศ (เรื่องเดียวกัน, 181) ในช่วงกลาง
รูปที่ ๒.๘ ก. ปางประทานอภัย คันธารราษฎร์ พุทธศตวรรษที่ ๖ – กลาง ๗ (คริสต์ศตวรรษที่ 1) และปรากฏขึ้นในมณฑลเสฉวน ประเทศจีนใน
ศตวรรษต่อมา (Brinker 2002, 28)

พระพุทธลักษณะ พระอริยาบถ และปาง ๒๙


เมื่อลัทธิวัชรยาน หรือตันตระยานรุ่งเรืองขึ้นที่นาลัณฑา ในสมัยราชวงศ์ปาละ-เสนะ ทางภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – กลาง ๑๗ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 – 11) ได้มีการ
สร้างพระชินพุทธะขึ้น ๕ พระองค์ เพื่อเป็นบุคลาธิษฐานของขันธ์ทั้ง ๕ และเป็นพระตถาคตประจำทิศ
โดยถวายปางให้ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องแต่ ล ะพระองค์ เช่ น พระพุ ท ธปฏิ ม าประทั บ ขั ด สมาธิ เพชร
ปางประทานอภัยนั้น มีความสำคัญและมีความหมายตามความเชื่อของลัทธิว่าเป็นรูปจำลองของพระ
อโมฆสิทธิ (รูปที่ ๒.๘ ข.) พระชินพุทธะประจำทิศเหนือ

ปางมารวิชัย (ภูมิสปรศมุทรา)
พระหัตถ์ขวาคว่ำบนพระชานุข้างขวา นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่ฐาน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบน
พระเพลา (รูปที่ ๒.๙ ก.) เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีชัยชนะเหนือพระยามารแล้ว ทรงชี้อ้างพระธรณีเป็น
พยาน จึงเป็นที่มาของปางอ้างพระธรณีเป็นพยาน ซึ่งเป็นชื่อของปางนี้ในภาษาสันสกฤต แต่ไทยนิยม
เรียกว่า ปางมารวิชัย ปางนี้เป็นที่นิยมในภาคเหนือของอินเดีย โดยสร้างอยู่ในพระอิริยาบถแบบประทับ
ขัดสมาธิเพชร โดยเฉพาะที่พุทธคยาในรัฐพิหาร สถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ และได้กลายเป็นปาง
รูปที่ ๒.๘ ข. ปางประทานอภัย ที่เป็นรูปแบบเฉพาะของพุทธคยา ส่วนที่สร้างขึ้นที่ภาคใต้ของอินเดียและลังกานั้น อยู่ในพระอิริยาบถ
พระชินพุทธอโมฆสิทธิ
บุโรพุทโธ แบบประทับขัดสมาธิราบ ซึ่งมีเพียงไม่กี่องค์ (Aiyappan and Srinivasan 1960, Pl. XXV) ส่วนไทยนั้น
ก็ นิ ย มสร้ า งปางนี้ ในพระอิ ริ ย าบถแบบประทั บ ขั ด สมาธิ ร าบ ยกเว้ น แต่ ส่ ว นที่ ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากพระ
พุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นที่พุทธคยา

ภายใต้ลัทธิวัชรยาน พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัย ถือว่าเป็นรูปจำลอง
ของพระอักโษภยะ (รูปที่ ๒.๙ ข.) พระชินพุทธะประจำทิศตะวันออก

รูปที่ ๒.๙ ข. ปางมารวิชัย


พระชินพุทธอักโษภยะ
รูปที่ ๒.๙ ก. ปางมารวิชัย คันธารราษฎร์ บุโรพุทโธ

๓๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ปางสมาธิ (ธยานมุทรา)
พระหัตถ์ทั้งสองข้างหงายขึ้นวางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาซ้อนบนพระหัตถ์ซ้าย (รูป
ที่ ๒.๑๐ ก.) ประทับขัดสมาธิเพชร ทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย และประทับขัดสมาธิราบทางภาค
ใต้ของอินเดีย ลังกา และไทย เป็นสัญลักษณ์ของการทำสมาธิ เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงทำสมาธิ
ก่อนตรัสรู้ โดยทรงบรรลุญาณ ๓ ประการ ตามลำดับ คือ ระลึกชาติได้ รู้เรื่องเกิดและตายทั้งของ
พระองค์เองและของผู้อื่นได้ และรู้แจ้งในสัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และทรงตรัสรู้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ไขศรี 1996, ๗๖)

ในรัฐอานธรประเทศ ทางตอนใต้ของอินเดียและลังกา นิยมสร้างรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประทับขัดสมาธิราบบนขนดลำตัวของพระยานาคที่กำลังแผ่พังพานอยู่เหนือพระเศียร ซึ่งอาจจะหมายถึง
มุจลินทนาคราช ที่กำลังแผ่พังพานเพื่อป้องกันพายุฝนให้กับพระพุทธองค์ ในระหว่างที่ทรงทำสมาธิเสวย
วิมุตติสุข ในสัปดาห์ที่ ๖ หลังจากทรงตรัสรู้แล้ว

รูปที่ ๒.๑๐ ก. ปางสมาธิ คันธาราษฎร์ ภายใต้ลัทธิวัชรยาน พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ เป็นรูปจำลองของพระ
อมิตาภพุทธะ (รูปที่ ๒.๑๐ ข.) พระชินพุทธะประจำทิศตะวันตก

ปางประทานพร (วรมุทรา)
พระกรขวาทอดลงข้างพระปรัศว์ หงายฝ่าพระหัตถ์ออกไปทางด้านหน้า (รูปที่ ๒.๑๑ ก.) เป็น
ปางที่นิยมในสมัยราชวงศ์คุปตะ และมักจะพบอยู่ภายในศาสนสถานที่สลักเป็นถ้ำ ในรัฐมหาราษฎร์ นิยม
สร้างปางประทานพรทั้งในพระอิริยาบถแบบยืนตรง (สมภังค์) หรือยืนเอียงพระวรกาย (ตริภังค์)

แต่ที่สร้างขึ้นภายใต้ลัทธิวัชรยาน จะปรากฏเป็นพระอิริยาบถแบบประทับขัดสมาธิเพชร เป็น
รูปจำลองของพระรัตนสัมภวะ (รูปที่ ๒.๑๑ ข.) พระชินพุทธะประจำทิศใต้

รูปที่ ๒.๑๐ ข. ปางสมาธิ


พระชินพุทธอมิตาภะ
บุโรพุทโธ

รูปที่ ๒.๑๑ ข. ปางประทานพร


รูปที่ ๒.๑๑ ก. ปางประทานพร คุปตะ พระชินพุทธรัตนสัมภวะ
กานเหริ ถ้ำหมายเลข ๓ บุโรพุทโธ

พระพุทธลักษณะ พระอริยาบถ และปาง ๓๑


ปางปฐมเทศนา (ธรรมจักรมุทรา)
ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างเสมอพระอุระ พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นหงายออก จีบพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ)
กับพระดัชนี (นิ้วชี้) เป็นรูปวงกลม ส่วนพระหัตถ์ซ้าย มีทั้งแบบที่จีบพระอังคุฐกับพระดัชนีแล้วหงายลง
อยู่ใต้พระหัตถ์ขวา หรือแบบที่ตั้งพระหัตถ์ขึ้นจีบพระอังคุฐกับพระดัชนี แล้วคว่ำพระหัตถ์แนบกับพระ
อุระเบื้องซ้าย (รูปที่ ๒.๑๒ ก.) เป็นสัญลักษณ์ของการหมุนพระธรรมจักร เพื่อแสดงปฐมเทศนา
พระพุทธปฏิมาปางนี้เป็นที่นิยมสร้างที่สารนาถใกล้กรุงพาราณสี รัฐพิหาร อันเป็นที่ตั้งของสวนมฤคทายวัน
สถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ดังนั้น ปางปฐมเทศนาจึงปรากฏในพระอิริยาบถแบบ
ประทับขัดสมาธิเพชร หรือประทับห้อยพระบาทบนบัลลังก์ อันเป็นรูปแบบที่นิยมในอินเดียตอนเหนือ

ในลัทธิวัชรยาน พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางปฐมเทศนา เป็นรูปจำลองของ
พระไวโรจนะ (รูปที่ ๒.๑๒ ข.) พระชินพุทธะประจำทิศเบื้องบน

รูปที่ ๒.๑๒ ก. ปางปฐมเทศนา คุปตะ
อชัณฏา ถ้ำหมายเลข ๑๗ ปางอุ้มบาตร
พระหัตถ์ทั้งสองข้างประคองบาตร มีทั้งที่อยู่ในพระอิริยาบถแบบประทับ หรือแบบยืน ซึ่งเป็น
ที่นิยมในราชวงศ์ปาละ – เสนะ (รูปที่ ๒.๑๓)

ปางไสยาสน์ หรือปางปรินิพพาน
บรรทมตะแคงขวา พระหัตถ์ขวารองรับพระเศียร พระหัตถ์ซ้ายทอดตามพระปรัศว์ซ้าย ซึ่งใน
รูปแบบของพุทธศิลป์อินเดียหมายถึงปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน เช่นที่ถ้ำอชัญฏาหมายเลขที่ ๒๖ (รูปที่
๒.๑๔) (ดูรูปที่ ๒.๑๗ ก., ข.) แต่ในสมัยอยุธยา ปางไสยาสน์หมายถึงการบรรทม (ดูบทที่ ๑๐) และต่อมา
ในสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีพระวินิจฉัยว่าเป็นปาง
ปรินิพานตามเรื่องราวในพุทธประวัติ ดังนั้นในปัจจุบัน จึงอาจหมายความได้ว่าเป็นทั้งไสยาสน์และ
ปรินิพพานได้ (บริบาลบุรีภัณฑ์ และ เกษม ๒๕๐๐, ๑๐๓)


รูปที่ ๒.๑๒ ข. ปางปฐมเทศนา
พระชินพุทธไวโรจนะ
บุโรพุทโธ

รูปที่ ๒.๑๓ ปางอุ้มบาตร ปาละ - เสนะ พุทธคยา รูปที่ ๒.๑๔ ปางปรินิพาน คุปตะ อชัญฏา ถ้ำหมายเลข ๒๖

๓๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๒.๑๕ ก. ปางแสดงธรรม ลังกาสมัยอนุราธปุระ รูปที่ ๒.๑๕ ข. ปางแสดงธรรมด้วยสองพระหัตถ์
พระอมิตาภพุทธะ

ปางแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา)
พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ จีบพระอังคุฐกับพระดัชนีเข้าด้วยกัน (รูปที่ ๒.๑๕ ก.) อัน
เป็นสัญลักษณ์ของคาถาอริยสัจ “เย ธมฺมาฯ” ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา ความว่า

เย ธมฺมา เหตุปปฺภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต (อาห)
เตสํ จ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณติ.

แปลได้ความดังต่อไปนี้

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุของธรรมเหล่านั้น
และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้
(ยอร์ช เซเดส์ ๒๕๐๗, ๓๙ – ๔๐)

ปางแสดงธรรมเป็นที่นิยมในรัฐอานธรประเทศ และที่ลังกาสมัยอนุราธปุระ ในช่วงกลางพุทธ
ศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 – กลาง 8)

เมื่อลัทธิมหายานนิกายสุขาวดีเป็นที่แพร่หลายขึ้นในประเทศจีน ซึ่งส่งอิทธิพลมายังประเทศ
ไทย จึงนิยมสร้างพระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างแสดงธรรม (รูปที่ ๒.๑๕ ข.) อันเป็นลักษณะ
เฉพาะของพระอมิตาภพุทธะ

ปางรำพึง
พระกรทั้งสองข้างไขว้กันหน้าพระอุระ พระหัตถ์ขวาแตะพระพาหา (ต้นแขน) ซ้าย พระหัตถ์
ซ้ายแตะพระพาหาขวา อยู่ในพระอิริยาบถยืน ปางนี้เกิดขึ้นที่ลังกา เมื่อครั้งกรุงโปโลนนารุวะเป็นราชธานี
อันมีตัวอย่างคือ พระพุทธรูปปางรำพึงศิลาสลักขนาดใหญ่ (รูปที่ ๒.๑๖) ที่วัดอุตตราราม หรือคัลวิหาร
รูปที่ ๒.๑๖ ปางรำพึง ลังกาสมัยโปโลนนารุวะ ในปัจจุบัน ซึ่งพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ ทรงสร้างขึ้น (พ.ศ. ๑๖๙๖ – ๑๗๒๙ / ค.ศ. 1153 – 1186)
กัลวิหาร โปโลนนารุวะ (ปรีชา ๒๕๔๑, ๑๖๒ – ๑๖๓)

พระพุทธลักษณะ พระอริยาบถ และปาง ๓๓


และจากแผ่นศิลาภาพพระพุทธเจ้า ๘ ปาง พบที่สารนาถ (รูปที่ ๒.๑๗ ก., ข.) สลักขึ้นประมาณ
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พระพุทธรูปปางต่างๆ
ของอินเดียนั้น ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตอนต่างๆ ในพุทธประวัติ (Agrawala 1957, 25) อันได้แก่

ปางประสูติ
พระนางสิริมหามายาทรงยืนใต้ต้นสาละ พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งไม้สาละ พระกุมารสิทธัตถะ
ทรงยืนก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนิน ๗ ก้าว
ปางตรัสรู้
พระพุทธองค์ประทับขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ขวาคว่ำที่พระเพลา ชี้นิ้วพระหัตถ์ลงที่แผ่นดิน
ทรงอ้างพระธรณีเป็นพยาน
ปางปฐมเทศนา
ประทับขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกเสมอพระอุระ จีบพระอังคุฐเข้ากับพระดัชนีเป็น
วงกลม พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในพระกิริยาเดียวกันแต่หงายรองรับพระหัตถ์ขวา ที่ฐานมีภาพธรรมจักรกับ
กวางหมอบ อันเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงปฐมเทศนาที่มฤคทายวัน
ปางป่าเลไลยก์
ประทับขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางบนพระเพลา ทรงประคองบาตร ทรงรับน้ำผึ้ง
จากพระยาวานร ระหว่างที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ในป่าที่ขนานนามตามชื่อช้าง “ปาลิไลยก์”
เนื่องจากเกิดสามัคคีเภทในหมู่ภิกษุแห่งนครโกสัมพี
ปางโปรดช้างนาฬาคิรี
ทรงยืนเอียงพระโสณี มีช้างหมอบอยู่ด้านข้าง อันเป็นตอนที่พระเทวทัตได้สั่งคนให้หาช้าง
ตกมัน ไปปล่อยกลางถนนที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จออกบิณฑบาตเป็นประจำ เพื่อหวังให้ช้างประทุษร้าย
พระพุทธองค์ แต่เมื่อช้างตกมันที่วิ่งอาละวาดไปตามท้องถนน เมื่อวิ่งมาถึงพระพุทธองค์ พระพุทธองค์
ทรงแผ่เมตตาบารมี จนพญาช้างสงบลง ทรุดกายยกงวงขึ้นถวายอภิวาท พระพุทธองค์ทรงยกพระหัตถ์
ขวาขึ้นลูบตระพองศีรษะพญาช้าง นับเป็นความล้มเหลวของพระเทวทัต อีกครั้ง
ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
ทรงพระราชดำเนิน หรือยืนเอียงพระโสณี มีพระอินทร์กางกลดถวาย โดยเสด็จลงจาก
ดาวดึงส์ลงมาในวันออกพรรษา หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ปางมหาปาฏิหาริย์
ประทับขัดสมาธิเพชร ปางปฐมเทศนาบนดอกบัว และแปลงพระองค์เป็นหลายพระองค์
ปางปรินิพพาน
ทรงบรรทมตะแคงขวา พระหัตถ์ขวารองรับพระเศียร พระหัตถ์ซ้ายวางทอดตามพระปรัศว์
(สีข้าง) ด้านซ้าย มีภาพพระสาวกร่ำไห้เป็นองค์ประกอบ

รูปที่ ๒.๑๗ ข. ภาพลายเส้นพระพุทธเจ้า ๘ ปาง


(รุปที่ ๒.๑๗ ก.)

๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๒.๑๗ ก. แผ่นศิลาภาพพระพุทธเจ้า ๘ ปาง
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5)
Archaeological Museum, Sa-rna-th

พระพุทธลักษณะ พระอริยาบถ และปาง ๓๕


๔. ปางซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทย

๔.๑ พระพุทธปฏิมาประจำวัน

การบูชาพระพุทธปฏิมาประจำวันเป็นการผสมผสานพุทธศาสนาเข้ากับโหราศาสตร์ตามคัมภีร์
มหาทักษา ซึ่งเชื่อว่าจำนวนของกำลังพระเคราะห์ของดาวพระเคราะห์ทั้ง ๘ หรืออัฐเคราะห์ เป็นจำนวน
ปีที่พระเคราะห์นั้นๆ จะเข้ามาครองหรือเสวยอายุ ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่พระเคราะห์นั้นจะมีอิทธิพลต่อชีวิต
นั่นเอง ซึ่งจะไล่เรียงลำดับเวียนขวาหรือหมุนตามเข็มนาฬิกาตามผังทักษา โดยเริ่มนับไล่ตั้งแต่วันเกิด
ของเจ้าชะตาไปตามลำดับอายุที่เพิ่มขึ้น อันได้แก่

พระอาทิตย์ (๑) เสวยอายุ ๖ ปี
พระจันทร์ (๒) เสวยอายุ ๑๕ ปี
พระอังคาร (๓) เสวยอายุ ๘ ปี
พระพุธ (๔) เสวยอายุ ๑๗ ปี
พระเสาร์ (๗) เสวยอายุ ๑๐ ปี
พระพฤหัสบดี (๕) เสวยอายุ ๑๙ ปี
พระราหู (๘) เสวยอายุ ๑๒ ปี
พระศุกร์ (๖) เสวยอายุ ๒๑ ปี



๑ ๒ ๓
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร
๖ ปี ๑๕ ปี ๘ ปี

๖ ๔
ศุกร์ ๑๐๘ ปี พุธ (กลางวัน)
๒๑ ปี ๑๗ ปี

๘ ๕ ๗
ราหู 
 พฤหัสบดี เสาร์
(พุธกลางคืน) ๑๙ ปี ๑๐ ปี

๑๒ ปี



ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เกิดวันพุธช่วงกลางวันในช่วงอายุแรกเกิดจนถึง ๑๗ ปี จะเป็นช่วงที่พระพุธ
เข้าเสวยอายุ หรือดาวพุธมีอิทธิพลต่อชีวิตในช่วงนั้น และเชื่อกันว่าควรจะบูชาพระพุทธปฏิมาปางอุ้มบาตร
ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาประจำวันพุธ และอีก ๑๐ ปีต่อมา นั่นคือ ตั้งแต่อายุ ๑๗ ปี กับอีก ๑ วัน จนถึง
อายุครบ ๒๗ ปี จะเป็นช่วงที่พระเสาร์เสวยอายุ และเชื่อกันว่าควรจะบูชาพระพุทธปฏิมาปางนาคปรก
อันเป็นพระพุทธปฏิมาประจำวันเสาร์ และในช่วงอีก ๑๙ ปีถัดมา ก็จะเข้าสู่ช่วงที่พระพฤหัสเข้าเสวยอายุ
ซึ่งต่อจากนั้นก็จะเป็นช่วงของพระราหูเสวยอายุต่ออีก ๑๒ ปี และพระศุกร์อีก ๒๑ ปีไล่เรียงเวียนไป
จนกว่าจะสิ้นอายุขัย

ส่วนพระเกตุนั้นเสวยอยู่ตลอดไป จึงมีพระเคราะห์รวมทั้งสิ้น ๙ องค์ หรือ นพเคราะห์ และ
จำนวนปีที่เสวยอายุของพระเคราะห์ทั้งหมดเมื่อนำมารวมกันแล้วจะได้เท่ากับ ๑๐๘ พอดี ซึ่งถือว่าเป็น
เลขอันเป็นสิริมงคล (เทพย์, บาง และอุระคินทร์, ๒๕๒๑, ๙๗ - ๑๒๘)

๓๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ดังนั้นการบูชาพระเคราะห์ที่เสวยอายุโดยนำเอาพระพุทธรูปปางต่างๆ มาผสม
ผสานกับความเชื่อถือทางโหราศาสตร์จึงเป็นการประยุกต์ขึ้นใหม่ ทำให้ได้มี
โอกาสบูชาพระพุทธรูปไปด้วย เป็นอุบายอันชาญฉลาดที่จะชักนำพุทธศาสนิกชน
ไม่ให้หลงใหลในทางไสยศาสตร์จนเกินไป (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๑, ๙)

พระพุทธปฏิมาปางที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ ปางพระพุทธปฏิมาประจำวันชะตา ซึ่งโหรได้
กำหนดไว้ตามดาวนพเคราะห์ หรือดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ สำหรับบูชาดาวพระเคราะห์ประจำวันเกิด เพื่อ
เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และดลบันดาลในสิ่งที่ตนปรารถนา ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ
ปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ดังนี้
• พระอาทิตย์ พระถวายเนตร์
• พระจันทร์ พระห้ามสมุท
• พระอังคาร พระไสยาศน์
• พระพุทธ พระอุ้มบาตร
• พระพฤหัสบดี พระสมาธิ
• พระสุกร พระรำพึง
• พระเสาร์ พระนาคปรก
• พระราหู พระป่าเลไลย
• พระเกษ พระสมาธิเพชร์
(ตำราพระพุทธรูปปางต่างๆ ๒๕๓๔, ๓๙)

ปางถวายเนตร
เป็นปางพระพุทธปฏิมาประจำวันอาทิตย์ ได้แก่ พระพุทธปฏิมาในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์
รูปที่ ๒.๑๘ ปางถวายเนตร วันอาทิตย์ ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย ประสานพระหัตถ์ที่หน้าพระเพลา (รูปที่ ๒.๑๘) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงบัญญัตินามพระพุทธรูปยืนพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายหน้าพระเพลาว่า
“ปางถวายเนตร” เป็นปางที่ ๖ ใน ๓๒ ปาง ของ ตำนานพระปางต่างๆ (ปรมานุชิตชิโนรส ๒๕๑๐, ๒)
โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนที่กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้บรรลุโพธิญาณ ทรง
เสด็จมายืนอยู่ ณ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์และรัตนบัลลังก์พอสมควร
พระองค์ทรงลืมพระเนตรทั้งสองข้างเพ่งมองอยู่มิได้กะพริบ ทรงพิจารณาสถานที่แห่งนั้น อันเป็นเหตุให้
พระองค์ได้ตรัสรู้

ปางห้ามสมุทร
เป็นปางพระพุทธปฏิมาประจำวันจันทร์ ได้แก่ พระพุทธปฏิมาในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์
ทั้งสองข้างเสมอพระอุระ หงายฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองไปทางด้านหน้า (รูปที่ ๒.๑๙) เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อ
ปี พ.ศ. ๒๓๗๔ (ค.ศ. 1831) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นยังไม่มีข้อยุติว่าปาง
“ที่ยกพระหัตถ์เดียวหรือสองพระหัตถ์เป็นปางห้ามสมุทรกันแน่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
[เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นพระวชิรญาณเถระ] ได้ทรงตัดสินไว้ว่ายกสองพระหัตถ์” (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๔๙๖, ๖๖) “ปางห้ามสมุทร” จึงหมายถึง พระพุทธรูปยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัยตั้งแต่นั้นมา
โดยความในพระพุทธประวัติเล่าว่า เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์เพื่อทำลายทิฐิมานะของ
พวกชฎิล ในคืนที่ฝนตกหนักและน้ำท่วมสูง พระพุทธองค์เสด็จเดินจงกรมในกลางแจ้ง โดยที่น้ำไม่ท่วม
พระวรกาย และไม่ทรงเปียกฝนแต่อย่างใด

รูปที่ ๒.๑๙ ปางห้ามสมุทร วันจันทร์

พระพุทธลักษณะ พระอริยาบถ และปาง ๓๗


รูปที่ ๒.๒๐ ปางไสยาสน์ วันอังคาร

ปางไสยาสน์ หรือปางปรินิพพาน
เป็นปางพระพุทธปฏิมาประจำวันอังคาร (รูปที่ ๒.๒๐) ด้วยเหตุว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จปรินิพพาน “ที่พระแท่นศิลา ระหว่างนางรังทั้งคู่ ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา ในวันอังคาร
ปีมะเส็ง เพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๑ ปี” (อริยกวี ๒๕๐๔, ๑๕ – ๑๖) แต่ไทยไม่ถือว่าปางนี้เป็นปาง
ปรินิพพาน เป็นแค่ทรงบรรทมคอยอสุรินทราหู เมื่อเกิดจันทรุปราคาและสุริยุปราคา ดังโคลงพระ
พุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ปี พ.ศ. ๒๒๗๐
(ค.ศ. 1727) ว่า

ขอพรพุทธภาคย์ให้ ไสยา
อสุรินทรจินตยามา ไฝ่เฝ้า
ขอจงองค์จักรา สุรภาพ
เกษมสานต์บานจิตตเช้า ค่ำคล้อย นิจการ
(Griswold and Nฺa Nagara 1970, 195)

แสดงให้เห็นว่า พระพุทธไสยาสน์นั้นเป็นที่นิยมชมชื่นในสมัยอยุธยาตอนปลาย และรู้จักกันใน
ชื่อ “ปางอสุรินทรราหู” ความว่า เมื่อพระพุทธองค์ประทับในเวฬุวันมหาวิหาร อสุรินทรราหู อุปราชของ
ท้าวเวปฐิตติสุรบดินทร์ ผู้ครองอสุรพิภพ คุกคามพระจันทร์ (จันทรุปราคา) และพระอาทิตย์ (สุริยุปราคา)
พระพุทธองค์จึงต้องตรัสพระคาถาโปรดอสุรินทราหู อสุรินทราหูจึงยอมปล่อยพระอาทิตย์และพระจันทร์
(ไขศรี 1996, ๙๕ – ๙๖)

ปางคันธารราษฎร์ หรือปางขอฝน
อนุโลมให้เป็นปางของพระพุทธปฏิมาประจำวันอังคาร สืบเนื่องจากที่พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกพระพุทธปฏิมาปางคันธารราษฎร์ ให้เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
(พระพุทธรูปประจำวันเกิด) คือ วันอังคาร แทนพระไสยาสน์

ปางคันธารราษฎร์ ได้แก่ พระพุทธปฏิมาในพระอิริยาบถประทับ หรือยืนก็ได้ พระหัตถ์ขวายก
ขึ้นแสดงกิริยาอาการกวัก พระหัตถ์ซ้ายหงายออกประหนึ่งว่ารองรับน้ำฝน (รูปที่ ๒.๒๑)

รูปที่ ๒.๒๑ ปางขอฝน หรือพระคันธารราษฎร์


วันอังคาร

๓๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ปางอุ้มบาตร
เป็นปางพระพุทธปฏิมาประจำวันพุธกลางวัน (รูปที่ ๒.๒๒) ไทยนิยมทำเป็นพระพุทธปฏิมายืน
พระหัตถ์ทั้งสองข้างถือบาตร สืบเนื่องจากเมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ พระประยูรญาติ
มิได้กราบทูลให้ไปรับบิณฑบาต พระพุทธองค์จึงเสด็จบิณฑบาตด้วยพระองค์เอง เป็นปางที่ ๑๘ ใน
ตำนานพระปางต่างๆ ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์ขึ้น (ปรมานุชิตชิโนรส
๒๕๑๐, ๓)

ปางสมาธิ
เป็นปางพระพุทธปฏิมาประจำวันพฤหัสบดี ได้แก่ พระพุทธปฏิมาในพระอิริยาบถประทับ
ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายบนพระเพลา (รูปที่ ๒.๒๓)

ปางรำพึง
เป็นปางพระพุทธปฏิมาประจำวันศุกร์ ได้แก่ พระพุทธปฏิมาในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์
ทั้งสองข้างประสานกันที่หน้าพระอุระ พระหัตถ์ขวาทับบนพระหัตถ์ซ้าย (รูปที่ ๒.๒๔) พระพุทธปฏิมา
ปางรำพึง เป็นปางที่ ๑๓ ใน ๓๒ ปางของ ตำนานพระปางต่างๆ ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ
ปรมานุชิตชิโนรสทรงพระนิพนธ์ไว้ มีใจความว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
ทรงประทับเสวยวิมุตติสุขใต้ต้นไทร ทรงรำพึงปริวิตกว่าพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นละเอียดอ่อนลึกซึ้ง
ยากที่ผู้คนทั่วไปจะเข้าใจได้ จึงทรงท้อแท้พระทัยถึงกับทรงดำริว่าจะไม่แสดงธรรมนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม
และเทพยดาทั้งหลาย จึงรีบไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ และกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดง
ธรรมโปรดสัตว์โลกทั้งหลาย (เรื่องเดียวกัน, ๓)
รูปที่ ๒.๒๒ ปางอุ้มบาตร วันพุธกลางวัน

รูปที่ ๒.๒๓ ปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ วันพฤหัสบดี

รูปที่ ๒.๒๔ ปางรำพึง วันศุกร์

พระพุทธลักษณะ พระอริยาบถ และปาง ๓๙


ปางนาคปรก
เป็นปางพระพุทธปฏิมาประจำวันเสาร์ ได้แก่ พระปฏิมาในพระอิริยาบถประทับขัดสมาธิราบ
พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางบนพระเพลา ประทับเหนือขนดนาคซึ่งชูศีรษะแผ่พังพานปรกพระเศียร (รูปที่ ๒.๒๕ ก.)
เป็นปางที่ ๙ ใน ตำนานพระปางต่างๆ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สืบเนื่องจาก เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ทรงทำสมาธิเสวยวิมุตติสุขใต้ต้นจิก มีพระยานาคชื่อ
มุจลินท์ มาขนดตัว ๗ รอบล้อมพระวรกาย และแผ่พังพานปรกพระเศียร (เรื่องเดียวกัน, ๒) ซึ่งเป็นแรง
บั นดาลใจให้ ช่ า งไทยสร้ า งพระพุ ท ธรู ป นาคปรกในรู ป แบบดั ง กล่ า ว อั น เป็ น ลั ก ษณะเฉพาะของพระ
พุทธปฏิมานาคปรกสมัยรัตนโกสินทร์ (รูปที่ ๒.๒๕ ข.)

ปางป่าเลไลยก์
เป็นปางพระพุทธปฏิมาประจำวันพุธกลางคืน ซึ่งเป็นของพระราหู ได้แก่ พระพุทธปฏิมาใน
พระอิริยาบถประทับห้อยพระบาทบนก้อนศิลา พระหัตถ์ขวาหงายขึ้นวางเหนือพระชานุขวา พระหัตถ์
ซ้ายวางคว่ำเหนือพระชานุซ้าย (รูปที่ ๒.๒๖) ที่เรียกว่า “ปางป่าเลไลยก์” นั้น สืบเนื่องมาจากเรื่องใน
พุทธประวัติที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงค้นคว้ามาว่า เมื่อพระพุทธองค์
ประทับอยู่ในเมืองโกสัมพี พระภิกษุวิวาทกัน พระองค์จึงเสด็จไปประทับอยู่แต่ลำพังในป่า โดยมีช้างนาม
ว่า “ปาลิเลยยกะ” (เรื่องเดียวกัน, ๔) มาถวายตัวเป็นอุปัฏฐาก (ผู้อุปถัมภ์บำรุง) และมีลิงนำรวงผึ้งไป
รูปที่ ๒.๒๕ ก. ปางนาคปรก วันเสาร์ ถวาย ต่อมาจึงเรียกชื่อป่าตามชื่อช้างว่า “ปาลิไลยก์” (พิมลธรรม ๒๕๓๓, ๒๔๙ – ๒๕๗) และในปัจจุบันก็ได้
แผลงมาเป็นปางป่าเลไลยก์

ประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ
เป็นปางพระพุทธปฏิมาประจำพระเกตุ ได้แก่ พระพุทธปฏิมาในพระอิริยาบถประทับ ไขว้
พระชงฆ์ พระบาทขวาไขว้ซ้อนบนพระบาทซ้าย หงายฝ่าพระบาทขึ้น พระหัตถ์ทั้งสองข้างประสานกันบน
พระเพลา โดยที่พระหัตถ์ขวาซ้อนบนพระหัตถ์ซ้าย (รูปที่ ๒.๒๗)


รูปที่ ๒.๒๕ ข. ปางนาคปรก วันเสาร์

รูปที่ ๒.๒๖ ปางป่าเลไลยก์ วันพุทธกลางคืน รูปที่ ๒.๒๗ ปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิเพชร พระเกตุ

๔๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๒.๒๘ ปางพิจารณาชราธรรม รูปที่ ๒.๒๙ ปางประดิษฐานรอยพระบาท

๔.๒ พระพุทธปฏิมาปางอื่นๆ

ปางพิจารณาชราธรรม
เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางอยู่ที่พระชานุทั้งสอง (รูปที่
๒.๒๘) ซึ่งเป็นปางที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นในชื่อ “พระ
สำแดงชราธรรม” (ตำราพระพุทธรูปปางต่างๆ ๒๕๓๔, ๗๒) ซึ่งเป็นปางที่ ๓๐ ในจำนวน ๓๒ ปาง ที่
กล่าวถึงในตำนานพระปางต่างๆ ทรงมีพระวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นตอนที่ พระพุทธองค์ทรงเจริญชันษาล่วง
ได้ ๘๐ บริบูรณ์ ทรงพระประชวรหนัก แต่พยายามขับไล่อาพาธนั้นให้สงบด้วยความเพียรอิทธิบาท ครั้น
ออกจากอาการประชวร แล้ว จึงทรงแสดงชราธรรมแก่พระอานนท์ให้เห็นสัจธรรมแห่งสังขารมนุษย์
(เรื่องเดียวกัน, ๖)

ปางประดิษฐานรอยพระบาท
เป็ น พระพุ ท ธปฏิ ม ายื น พระบาทซ้ า ยเหยี ย บหลั ง พระบาทขวาในท่ า ประทั บ รอยพระบาท
พระกรและพระหัตถ์ทั้งสองข้างทอดขนานกับพระอูรุ (โคนขา) (รูปที่ ๒.๒๙) เรียกว่าปางประดิษฐาน
รอยพระบาท ตาม ตำนานพระปางต่างๆ ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรง
พระนิพนธ์ไว้ใน (ปรมานุชิตชิโนรส ๒๕๑๐, ๕) สืบเนื่องจากที่พระยานาคทูลขอให้เหยียบรอยพระบาทไว้
ริมฝั่งแม่น้ำที่ชื่อ นัมนา จึงทรงเหยียบรอยพระบาทไว้บนแท่นศิลา ประหนึ่งกดลงบนดินเปียก

ปางประทานพร
พระพุทธรูปยืน ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย ห้อยพระหัตถ์ซ้ายแนบข้างพระชงฆ์ หงายฝ่า
พระหัตถ์ออก ได้แก่ ปางประทานพรของไทย (รูปที่ ๒.๓๐) (เรื่องเดียวกัน, ไม่มีเลขหน้า)

รูปที่ ๒.๓๐ ปางประทานพร

พระพุทธลักษณะ พระอริยาบถ และปาง ๔๑


ปางห้ามญาติ หรือห้ามพยาธิ
พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายทอดลงข้างพระชงฆ์ (รูปที่
๒.๓๑) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงเรียกว่า “พระห้ามญาติ” (ตำราพระพุทธรูป
ปางต่างๆ ๒๕๓๔, ๖๑) แต่มิได้รับสั่งถึงความเป็นมาของปางนี้ เมื่อ ๕๕ ปีที่แล้วหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์
จึงได้อ้างเหตุการณ์ในพุทธประวัติว่า “เมื่อพระพุทธเจ้าทรงระงับการวิวาทระหว่างญาติข้างพระมารดา
และพระบิดา ซึ่งมีขึ้นเพราะแย่งน้ำในแม่น้ำ (โรหิณี)” (บริบาลบุรีภัณฑ์ และ เอ.บี. กริสโวลด์ ๒๔๙๕, ๕๕)
แต่ในปัจจุบันกลับเรียกปางเดียวกันนี้ว่า “ปางห้ามพญาธิ” (ไขศรี 1996, ๘๓) หรือ “ห้ามพะยาด” โดยอ้าง
ถึงพุทธประวัติตอนที่นครไพศาลี เกิดฝนแล้ง ผู้คนอดตาย จนเกิดอหิวาตกโรคระบาด ทำให้พวกปีศาจ
เข้ามากินซากศพ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงนครไพศาลีฝนก็ตก ชำระล้างซากศพและสิ่งปฏิกูลออก
ไปหมด พระพุทธองค์จึงให้พระอานนท์สวดรัตนสูตรพร้อมกับพรมน้ำมนต์รอบพระนคร ภัยจากฝนแล้ง
อหิวาตกโรค และปีศาจจึงสงบลง (พิมลธรรม ๒๕๓๓, ๑๑๕ – ๑๒๐)

การเปลี่ยนแปลงจาก “ปางห้ามญาติ” สู่ “ปางห้ามพยาธิ” สะท้อนให้เห็นความพยายามที่จะให้
พุทธศาสนามีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น สอดคล้องกับที่พระไพศาล วิสาโล ได้เขียนไว้ว่า “ไม่ใช่เรื่อง
แปลกที่ว่าเมื่อพุทธศาสนาแบบวิทยาศาสตร์ และเหตุผลนิยมแพร่หลาย... พุทธประวัติก็ถูกทำให้ สมเหตุ
สมผลมากขึ้น” (ไพศาล ๒๕๔๖, ๒๑๔) ดังนั้น เมื่อ “ปางห้ามญาติ” และ “ปางห้ามพยาธิ” ต่างก็อ้างอิง
พุทธประวัติ จึงมีน้ำหนักเท่ากัน ส่วนผู้เขียนเห็นว่าพระพุทธรูปยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย น่าจะ
สอดคล้องกับปางห้ามญาติมากกว่า เพราะเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาจากอดีต ถึงแม้ว่าชื่อนี้จะไม่เก่า
ไปกว่าสมัยรัตนโกสินทร์ก็ตาม

รูปที่ ๒.๓๑ ปางห้ามญาติ ปางห้ามพระแก่นจันทน์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ทรงเรียกปางนี้ว่า “ห้ามพระแก่นจันทน์” (ตำราพระพุทธรูปปางต่างๆ ๒๕๓๔, ๖๓) สืบเนื่องมาจากความ
เชื่อที่ว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระเจ้ากรุงสาวัตถี
โปรดให้ช่างสลักพระพุทธรูปด้วยแก่นไม้จันทน์ เพื่อประดิษฐานไว้บนแท่นซึ่งพระพุทธองค์เคยทรงประทับ
อยู่เป็นนิตย์ และเมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับมา พระพุทธรูปแก่นจันทน์จึงลุกขึ้นให้พระพุทธองค์เสด็จมา
ประทับแทน แต่พระพุทธองค์ทรงยกพระหัตถ์ขึ้นห้าม (รูปที่ ๒.๓๒)

รูปที่ ๒.๓๒ ปางห้ามพระแก่นจันทน์

๔๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
อนึ่ง หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ สันนิษฐานว่าพระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ซ้ายหงายฝ่าพระหัตถ์
ออกด้านหน้า น่าจะเรียกว่า “ปางห้ามญาติ” เช่นเดียวกับพระพุทธรูปยืนยกพระหัตถ์ขวา (บริบาลบุรีภัณฑ์
๒๕๓๑, ๒๕๕) โดยให้เหตุผลว่า จิตรกรรมฝาผนังภาพพุทธประวัติ ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ พระนคร (รูปที่ ๒.๓๓) ซึ่งเขียนขึ้นมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตอนที่
พระองค์ทรงห้ามพระญาติฝ่ายศากยะและฝ่ายโกสิยะ ที่กำลังแย่งน้ำในแม่น้ำโรหินี ในภาพแสดง
พระพุทธองค์ยืนตรงกลางของพระญาติทั้งสองฝ่าย พระหัตถ์ซ้ายแสดงปางประทานอภัย พระหัตถ์ขวา
ทอดข้างพระเพลา อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าปางนี้น่าจะเรียกว่า ปางห้ามพระแก่นจันทน์

ปางเปิดโลก
พระพุทธปฏิมายืนห้อยพระกรลงข้างพระปรัศว์ (สีข้าง) กางพระหัตถ์ทั้งสองออกทางด้านข้าง
(รูปที่ ๒.๓๔) เป็นปางที่ ๒๑ จาก ๓๒ ปางของ ตำนานพระปางต่างๆ ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงอธิบายไว้ว่า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจาก
รูปที่ ๒.๓๓ พระพุทธองค์ทรงห้ามพระญาติฝ่ายศากยะ เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาแล้ว “ทรงยืนกางพระหัตถ์ทั้งสองเปิดโลก” (ปรมานุชิตชิโนรส ๒๕๑๐, ๔)
และฝ่ายโกสิยะ แย่งน้ำในแม่น้ำโรหินี
เขียน พ.ศ. ๒๓๓๘ - ๒๓๔๐
(ค.ศ. 1795 - 1797)
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ส่วนพระพุทธรูป ๓๗ ปาง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส “ทรงตรวจพระอิริยาบถของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีปรากฏมาใน
พระคัมภีร์ต่างๆ จะมีสักกี่อย่างกี่ปาง ในเวลานั้นตรวจกันได้ว่ามี ๓๗ ปาง เป็นเวลาเดียวกับที่พบ
แหล่งแร่ทองแดงที่เมืองจันทึก จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปปางต่างๆ นั้นไว้ทั้ง ๓๗ ปาง”
(จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๒๓๖) ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จ พระพุทธรูปทั้ง ๓๗ ปางจะถูกอัญเชิญไป
ประดิษฐานในงานพระราชพิธีต่างๆ นั้น (ดูรูปที่ ๓.๙ (๑) – (๓๔), ต. ๑๐ - ต. ๑๒) เป็นการสร้างพระ
พุทธรูปางต่างๆ ให้เข้ากับเหตุการณ์ในพุทธประวัติ ซึ่งก็คือการสร้างภาพให้สอดคล้องกับท้องเรื่อง
ซึ่งถือได้ว่าเป็นกรณีพิเศษในประวัติของพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ในประเทศไทย

ถึงแม้ว่าพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น จะไม่ครอบคลุมทุกปางที่สร้างขึ้นใน
ประเทศไทย แต่ก็เป็นปางหลักที่สืบทอดกันลงมาจากอดีตถึงปัจจุบัน และปางที่มิได้กล่าวถึงในบทนี้ส่วน
ใหญ่เป็นปางที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งมีผู้ศึกษาไว้โดยละเอียดแล้ว (ไขศรี 1969) ฉะนั้น
จึงจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้

การศึกษาพระพุทธปฏิมาแต่ละปางจะศึกษาตามพระอิริยาบถหลักทั้ง ๖ อันได้แก่

บทที่ ๕ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ
บทที่ ๖ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร
บทที่ ๗ พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท
บทที่ ๘ พระพุทธปฏิมายืน
บทที่ ๙ พระพุทธปฏิมาลีลา
บทที่ ๑๐ พระพุทธปฏิมาไสยาสน์
บทที่ ๑๑ พระพุทธปฏิมาปางอื่น ๆ

รูปที่ ๒.๓๔ ปางเปิดโลก ซึ่งในแต่ละพระอิริยาบถ ยกเว้นไสยาสน์ ก็มีหลายปาง โดยที่ทุกบทจะเริ่มขึ้นที่พระพุทธรูป
สำคัญ ซึ่งเป็นต้นแบบของแต่ละหมวด เท่าที่จะสามารถระบุได้ในปัจจุบัน ตามด้วยการศึกษาพัฒนาการ
ของพระพุทธปฏิมาแต่ละปาง ในแต่ละหมวด ตามช่วงอายุเวลาทางประวัติศาสตร์ที่ได้มีการแบ่งแยกไว้
อย่างชัดเจนแล้ว เช่น สมัยกัมโพช สมัยล้านนา สมัยล้านช้าง สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัย
รัตนโกสินทร์

พระพุทธลักษณะ พระอริยาบถ และปาง ๔๓


พระพุทธเพชรรัตน์ (รูปที่ ๓.๖๓ ก.)
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทที่


สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา


หมวด ก.
ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนา

ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับการสร้างพระพุทธรูปเป็นสิ่งที่คู่กันมาตั้ง
แต่ครั้งพระเจ้าปเสนทิแห่งแคว้นโกศล และพระเจ้าอุเทนแห่งนครโกสัมพี สร้างพระ
พุทธรูปด้วยแก่นจันทน์และทองคำ ถือเป็นพระพุทธรูปสององค์แรกของพระตถาคตที่
สร้างขึ้นในชมพูทวีป ซึ่งจะเห็นได้ว่าในบริบทของการสร้างพระพุทธรูปนั้น พระมหากษัตริย์
เป็นองค์อุปถัมภ์ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นแว่นแคว้นใด ประเทศใด หรือยุคสมัยใด ตราบที่
พระองค์ทรงนับถือพุทธศาสนา การสร้างพระพุทธรูปถือเป็นพระกรณียกิจที่สำคัญและ
เป็นแบบธรรมเนียมให้ปฏิบัติสืบทอดกันมา ดังจะเห็นได้จากจารึกของอินเดีย วรรณกรรม
ของลังกา บทประพันธ์ของจีน ญี่ปุ่น และไทย

จนอาจกล่าวได้ว่า เมื่อใดที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเอกอัครอุปถัมภกของพุทธศาสนา ก็จะมีการ


สร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น ในช่วงรัชสมัยพญาติโลกราชถึงพญาแก้ว (พ.ศ. ๑๙๘๕ – ๒๐๖๘ /
ค.ศ. 1441 – 1525) ปกครองอาณาจักรล้านนา หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔ / ค.ศ. 1824 – 1851) สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔ –
๒๔๑๑ / ค.ศ. 1851 – 1868) ปกครองกรุงรัตนโกสินทร์ และโดยเฉพาะในรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคสมัย
ที่มีการสร้างพระพุทธรูปมากมายที่สุด และมีความหลากหลายกว่าสมัยอื่นๆ ในอดีตของไทย

เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงพระพุทธรูปที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือมีความเป็นเลิศใน


ด้านสุนทรียภาพ ก็ต้องอ้างถึงพระนามของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงสร้างพระพุทธรูปองค์นั้นขึ้นมา หรือที่
สร้างในรัชกาลของพระองค์ ทั้งนี้เพราะในอดีตพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่มีพระราชอำนาจ และพระ
ราชทรัพย์เพียงพอที่จะสร้างพระพุทธรูปด้วยวัสดุที่หายาก มีค่า และมีขนาดใหญ่ได้ จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่า
ตำนานพระพุทธรูปจะมีสำนวนที่ไม่ต่างไปจากพระราชพงศาวดาร ที่เน้นการสร้างบุญสร้างกุศลด้วยการ
สร้างพระพุทธรูปและพระอาราม รวมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการแย่งชิงพระพุทธรูปสำคัญอีกด้วย

แต่ที่พิเศษกว่าทุกประเทศและวัฒนธรรมอื่นๆ ที่นับถือพุทธศาสนา คือ ประเทศไทยเป็นประเทศ


เดียวที่ยกย่องพระมหากษัตริย์เฉกเช่นพระพุทธเจ้า ดังที่มีพระพุทธพจนภาษิตว่า

เทฺวเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา โลเก อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชนฺติ พหุชนหิตาย พหุชน-
สุขาย พหุโน ชนสฺส อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ ความว่า ภิกษุทั้งหลาย
สองบุคคลนี้เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สุขแห่งชนเป็นอันมาก
เพื่อความต้องการ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสำราญ แห่งชนเป็นอันมาก
ทั้งเทวดาและมนุษย์, สองบุคคลนี้ คือพระตถาคตสัมพุทธเจ้า ๑ พระราชา
จักรพรรดิ์ ๑ ดังนี้ (วชิรญาณวงศ์ ๒๔๙๓, ๔๒ – ๔๓)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๔๕
พระพุทธพจนภาษิตข้างต้นมีที่มาต้นตอจาก เอกปุคคลปาลิ อังคุตตรนิกาย สุตตันตปิฎก ในพระ
ไตรปิฎก (สุชีพ ๒๕๓๕, ๔๙๓) ซึ่งก่อให้เกิดความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น
องค์หนึ่งองค์เดียวกัน แม้แต่พระราชกุมารประสูติด้วยพระอัครมเหสียังมีพระนามว่า สมเด็จหน่อ
พระพุทธเจ้า (เรื่องกฎหมายตราสามดวง ๒๕๒๑, ๓๔) ดังนั้น ความเชื่อดังกล่าวที่สืบเนื่องมาจากสมัย
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๐๓๑ / ค.ศ. 1448 – 1488) จึงเป็นเหตุให้มีการสร้าง
พระพุทธรูปจำนวนหนึ่ง ครองเครื่องทรงและอาภรณ์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่ปรากฏในประเทศใดที่
นับถือพุทธศาสนา ยกเว้นแต่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา และลาว ซึ่งรับคตินี้จากประเทศไทย
เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

พุทธศาสนิกชนชาวไทยเชื่อว่า ผู้ที่เป็นพระราชาทรงสะสมบุญกุศลเทียบเท่ากับพระโพธิสัตว์ อันจะ


ได้เสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้าในชาติภพต่อไป และพระองค์ทรงนำเอาทศพิธราชธรรมมาปฏิบัติเป็น
ราชธรรมของพระมหากษัตริย์ดังที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สกลมหาสังฆปรินายก
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ สุจิตฺโต) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระ
สังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงพระนิพนธ์ “ทศพิธราชธรรม” ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ความว่า

ให้ดำรงในพระราชสันดานเป็นนิตย์ดังนี้ : ทานํ การให้ ๑, สีลํ การตั้งสังวร
รักษากายวาจาให้สะอาดปราสจากโทษ ๑, ปริจฺจาคํ การบริจาคสละ ๑, อาชฺชวํ
ความซื่อตรง ๑, มทฺทวํ ความอ่อนโยน ๑, ตปํ การกำจัดความเกียจคร้านและ
ความชั่ว ๑, อกฺโกธํ การไม่โกรธ ๑, อวิหึสญฺจ การไม่เบียดเบียฬผู้อื่นตลอดถึง
สัตว์ให้ได้ทุกข์ยาก ๑, ขนฺติญจ ความอดทนต่อสิ่งที่ควรอดทนเป็นเบื้องหน้า ๑,
อวิโรธนํ การปฏิบัติไม่ให้ผิดจากการที่ถูกที่ตรง และดำรงอาการคงที่ ไม่ให้วิการ
ด้วยอำนาจยินดียินร้าย ๑, บัญจบเป็นกุศลส่วนชอบ ๑๐ ประการ. (วชิรญาณวงศ์, ๘)


นอกจากพระราชธรรม ๑๐ ประการของพระมหากษัตริยาธิราชแล้ว สมเด็จพระสังฆราชยังได้
ถวาย สังคหวัตถุ หรือพระราชจรรยานุวัตร์ ๕ ประการ อันเป็นที่ยึดหน่วงน้ำใจประชาชน คือ

สสฺสเมธํ บำรุงธัญญาหารผลาหารให้บริบูรณ์
ปุริสเมธํ ยกย่องสงเคราะห์ผู้ประกอบราชกิจให้สมควรต่อตำแหน่งหน้าที่
และความชอบ
สมฺมาปาสํ บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาราษฎร์
วาจาเปยฺยํ ตรัสทักทายปราศรัยแก่บุคคลทุกชั้น
นิรคฺคฬํ ให้รัฐบาลและประชาชนร่วมกันเจริญรอยตามพระราชจรรยานุวัตร
เพื่อความสงบสุข และความปลอดภัยของประเทศชาติ
(เรื่องเดียวกัน, ๓๒ - ๓๕)

พระมหากษั ต ริ ย์ ยั ง ต้ อ งพึ ง ปฏิ บั ติ พ ระจั ก รวรรดิ วั ต ร หรื อ พระราชจรรยานุ วั ติ สำหรั บ พระ
มหาจักรพรรดิราชอีก ๑๒ ประการ คือ

๑. ควรทรงพระราชทานโอวาท
๒. ควรทรงผูกพระราชไมตรีกับนานาประเทศ
๓. ควรทรงสงเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์
๔. ควรทรงเกื้อกูลคฤหบดี
๕. ควรทรงอนุเคราะห์ชาวชนบท
๖. ควรทรงอุปการะสมณพราหมณ์และผู้มีศีล
๗. ควรทรงรักษาพืชพันธุ์ธัญญาหารและสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์

๔๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๘. ควรทรงมิให้ประชาชนทำธุรกิจที่ไม่ชอบธรรม
และทรงชักนำให้เลี้ยงชีพด้วยความสุจริต
๙. ควรทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ผู้ขัดสนได้มีพอเลี้ยงชีพ
๑๐. ควรทรงตรัสถามสมณพราหมณ์ ถึงบุญบาป กุศล อกุศล ให้ประจักษ์ชัด
๑๑. ควรทรงห้ามจิตไม่ให้เกิด อธรรมราคะ
๑๒. ควรทรงห้ามจิตมิให้ปรารถนาลาภที่มิควรจะได้
(เรื่องเดียวกัน, ๓๕ – ๓๘)

นอกจากนั้นแล้วพระมหากษัตริย์ยังต้องรักษาพระพละกำลังอีก ๕ ประการ คือ

๑. กายพลํ กำลังคือพระกายที่แข็งแรง ทรงรักษาพระพลานามัยให้สมบูรณ์
๒. โภคพลํ กำลังคือพระราชสมบัติ ทรงขวนขวายหาทางให้เกิดพระราชทรัพย์
๓. อมจฺจพลํ กำลังคืออมาตย์ ที่จะต้องยกย่องและปราบปรามตามควรแก่เหตุ
๔. อภิชจฺจพลํ กำลังคือพระชาติสูง เป็นผู้ประเสริฐในหมู่ชนเพราะเป็นผลที่ได้
ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมาแต่กาลก่อน
๕. ปญฺญาพลํ กำลังคือปัญญา ที่ต้องทรงมีพระราชปรีชาญาณที่จะแสวงหาปัญญา
เพื่อให้พระราโชบายลุล่วงปราศจากอุปสรรค
(เรื่องเดียวกัน, ๓๘ – ๔๑)

พระโอวาทที่กล่าวถึงข้างต้นแสดงให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ในพุทธศาสนาใช่แต่ว่าเป็นแค่องค์
เอกอัครศาสนูปถัมภก ที่ทรงสละพระราชทรัพย์สร้างปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน พระราชทานให้กับวัดวาอาราม
ก็พอเพียงแล้ว แต่ยังต้องทรงเป็นพุทธมามกะที่จะต้องทรงประพฤติตามทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ
ทรงปฏิบัติตามพระราชจรรยานุวัตร ๕ ประการ พระราชจรรยานุวัตรสำหรับพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๒
ประการ และพระพละกำลังของพระมหากษัตริย์อีก ๕ ประการ ซึ่งทั้งหมดนี้มิใช่เป็นเพียงแค่ทฤษฎี แต่
เป็นสิ่งที่จะต้องปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรของพระองค์ วันเวลาที่ผ่านพ้นไปเป็นสักขีพยานว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจตามที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัชฌายาจารย์ได้ถวายไว้ในวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อ ๖๐ ปี
ที่แล้วอย่างเคร่งครัดทุกข้อ สมกับที่ทรงเป็นพระมหาธรรมราชาอย่างแท้จริง อันเป็นลักษณะส่วน
พระองค์อันโดดเด่น ยากที่จะมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดจะเทียบเคียงได้

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศ-
วิหาร เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระญาณสังวร ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะทรง
บรรยายเกี่ยวกับเรื่องพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ว่า

พระมหากษัตริย์เมื่อเป็นพระมหากษัตริย์ขึ้นแล้ว ก็เหมือนอย่างเป็นพระโพธิสัตว์
องค์หนึ่ง ทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อพระโพธิญาณ... เพราะฉะนั้นจึงได้มีถ้อยคำ
ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น มีคำว่า พุทธ พุทธ ประกอบอยู่ด้วย เช่นคำ
กราบบังคมทูล ที่หมายถึงบุคคลผู้กราบบังคมทูลเองก็ใช้ว่า ข้าพระพุทธเจ้า
คำรับก็เป็นพระพุทธเจ้าข้า... คนไทยเราที่ได้เทิดทูนยกย่ององค์พระมหากษัตริย์
มาตั้งแต่เก่าก่อน และก็เป็นประโยชน์ที่ทำให้องค์พระมหากษัตริย์ได้สำนึก
พระองค์ว่า เมื่อทรงเป็นพระโพธิสัตว์ หรือเป็นเหมือนพระโพธิสัตว์ ก็จะต้อง
ทรงบำเพ็ญพระบารมี มีทานศีลเป็นต้น แก่ประชาชน และโดยเฉพาะก็จะต้อง
ทรงยกย่องรักษาพระพุทธศาสนา อุปถัมภ์บำรุงรักษาพระสงฆ์ ตลอดจนถึง
วั ด วาอารามทั้ ง หลาย ว่ า เมื่ อ ทรงเป็ น พระโพธิ สั ต ว์ แ ล้ ว ก็ จ ะต้ อ งทรงทิ้ ง
พระพุทธศาสนาไม่ได้... จึงปรากฏว่าวัดวาอารามที่เป็นหลักฐาน มีความมั่นคง
งดงามในพุทธศาสนา ย่อมเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง หรือทรงอุปถัมภ์
บำรุงเป็นส่วนใหญ่ (วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๓๑, ๘๐ – ๘๑, เน้นตามต้นฉบับ)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๔๗
นอกจากพระอารามที่เป็นศรีของแผ่นดิน เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดที่มีสถานะเป็น
พระอารามหลวงชั้ น เอก ชนิ ด ราชวรมหาวิ ห าร เช่ น วั ด อรุ ณ ราชวราราม วั ด สุ ทั ศ นเทพวราราม
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดพระปฐมเจดีย์ และพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร
อย่างเช่นวัดสระเกศแล้ว พระมหากษัตริย์ยังโปรดให้สร้างพระพุทธรูปเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
และพระวิหารในพระอารามที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น อันมีตัวอย่างคือ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงปั้นหุ่นพระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก วัดอรุณ-
ราชวราราม (ดูรูปที่ ๕.๑๕๓) และพระพักตร์ พระพุทธจุฬารักษ์ วัดราชสิทธาราม (รูปที่ ๓.๑) ด้วยพระหัตถ์
ของพระองค์เอง

พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว โปรดเกล้ า ฯ ให้ ส ร้ า ง พระพุ ท ธอนั น ตคุ ณ อดุ ล ยบพิ ต ร
วัดราชโอรสาราม (ดูรูปที่ ๕.๒๖) พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดสุทัศนเทพวราราม (ดูรูปที่ ๕.๑๕๕) พระพุทธ
มหาโลกาภินันทปฏิมา วัดเฉลิมพระเกียรติ (รูปที่ ๓.๒) พระเสฏฐตมมุนี วัดราชนัดดาราม (ดูรูปที่
๕.๑๕๖) เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระพุทธวชิรมงกุฎ วัดมกุฏกษัตริ-


ยาราม (รูปที่ ๓.๓) พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม (ดูรูปที่ ๕.๗)

รูปที่ ๓.๑ เศียรพระพุทธจุฬารักษ์


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงปั้น ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗
(ค.ศ. 1809 - 1824)
พระอุโบสถวัดราชสิทธาราม
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๓.๒ พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา


สร้างปี พ.ศ. ๒๓๙๓ (ค.ศ. 1850)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๓ เมตร รูปที่ ๓.๓ พระพุทธวชิรมงกุฎ
สูง ๔.๓๓ เมตร สร้างปี พ.ศ. ๒๔๑๑ (ค.ศ.1868)
วัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองฯ สัมฤทธิ์ สูง ๑.๔๑ เมตร
จังหวัดนนทบุรี พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม
กรุงเทพมหานคร

๔๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระพุทธอังคีรส วัดราชบพิธสถิต-
มหาสีมาราม (ดูรูปที่ ๕.๒๙) พระพุทธนฤมลธรรโมภาส วัดนิเวศธรรมประวัติ (รูปที่ ๓.๔) และ พระ
พุทธชินราชจำลอง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (ดูรูปที่ ๕.๖๗)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ เลือกแบบและพระราชทานพระราชวินิจฉัย
แก้ไขแบบพระพุทธกาญจนธรรมสถิต วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ด้วยพระองค์เอง (รูปที่ ๓.๕)

ในด้านหนึ่งพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและสืบเนื่องมา
อย่างยาวนาน พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยพระมหากษัตริย์จึงมิได้เพียงมุ่งเพื่อการฉลองพระราชศรัทธา
ที่มีต่อพระพุทธศาสนาและเพื่อการบำเพ็ญพระราชกุศลทั้งส่วนพระองค์และพระราชวงศ์เท่านั้น
แต่ทว่าการสร้างพระพุทธรูปโดยพระมหากษัตริย์ก็ยังมีความมุ่งหมายทางการเมืองการปกครอง
ตลอดจนการสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ประเทศชาติเป็นสำคัญอีกด้วย อันไม่ต่างไปจากความผูกพัน
อีกด้านหนึ่งระหว่างพสกนิกรในชาติกับองค์พระมหากษัตริย์ของพวกเขา ที่พระพุทธรูปเป็นเครื่อง
เชื่อมโยงความรักและภักดีได้เป็นอย่างดี

ในบทนี้จะกล่าวถึงพระพุทธรูปที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในด้านต่างๆ อันได้แก่
พระพุทธรูปในส่วนที่ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานในงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ (หมวด ข.) พระพุทธรูปที่
พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระเกียรติยศและฉลองพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา (หมวด ค.)
พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเพื่อกิจการพิเศษ (หมวด ง.) พระพุทธรูปที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย
พระมหากษัตริย์เพื่อเสริมพระเกียรติยศและสิริมงคล (หมวด จ.) โดยมีทั้งกรณีที่มีบุคคลทูลเกล้าฯ ถวาย
(ตอนที่ ๘) และกรณีที่ประชาชนทั้งประเทศร่วมใจสร้างเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย (ตอนที่ ๙) และพระพุทธรูป
รูปที่ ๓.๔ พระพุทธนฤมลธรรโมภาส ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเพื่อชาติและพุทธศาสนา (หมวด ช.)
พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ทรงปั้นหุ่น
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๒๐ (ค.ศ. 1877)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๕๗ เซนติเมตร
สูง ๙๒.๗ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ
อำเภอบางปะอิน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

รูปที่ ๓.๕ พระพุทธกาญจนธรรมสถิต


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานพระราชวินิจฉัยแก้ไขแบบ
นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ปั้น
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐
(ค.ศ. 1996 - 1997)
พระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
กรุงเทพมหานคร


สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๔๙
รูปที่ ๓.๖ ก. พระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร “พระแก้วมรกต”
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15)
หยกสีเขียว สูง ๕๖ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

๕๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
หมวด ข.
พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่องานพระราชพิธี

ในหนังสือเรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖) ได้พระราชทานรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของ
พระราชพิธี รวมทั้งประวัติของพระพุทธรูปที่เกี่ยวเนื่องไว้อย่างถี่ถ้วน ทั้งพระราชพิธีที่เลิกไปแล้ว และที่
ยังกระทำกันในรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งพระราชพิธีส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงในหนังสือ พระราชพิธีสิบสอง
เดือน ก็เลิกลาขาดช่วงไปเกือบหมดแล้ว ฉะนั้นจึงจะกล่าวเฉพาะพระราชพิธีที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาจน
ปัจจุบัน


ตอนที่ ๑ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่
สำคัญที่สุดรองลงมาจาก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เพราะเป็นพระราชพิธีที่ “ระงับยุคเข็ญของบ้าน
เมือง” (เรื่องเดียวกัน, ๒๒๒)

สาระสำคั ญ ของพระราชพิ ธี นี้ คื อ การปลู ก ฝั ง ความรู้ สึ ก จงรั ก ภั ก ดี ต่ อ พระ
มหากษัตริย์ โดยผ่านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดื่มน้ำแช่ศัตราวุธที่
พราหมณ์พิธีและพระสงฆ์ได้เตรียมไว้ พร้อมทั้งคำประกาศสาปแช่งให้ข้าทูล
ละอองฝ่ายในและฝ่ายหน้าผู้เข้าร่วมพิธี ที่คิดคดทรยศต่อพระมหากษัตริย์
ประสบกับความหายนะ และคำอำนวยพรให้ผู้ที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
ประสบความเจริญ (ธัญญ์พิชา ๒๕๕๐, ๑๕๓)

ข้าราชการจะดื่มน้ำที่แทงด้วยพระแสงราชศัสตรา ๑๓ องค์ ประกอบกับการอ่านประกาศโองการ
แช่งน้ำ สาบานตนแสดงความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ กระทำสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งกรุง
ศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบพิธีในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เฉพาะพระพักตร์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

๑.๑ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

พระรัตนปัญญาเถระ กล่าวถึงตำนานของการสร้างพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรไว้ในเรื่องของ
พระรัตนปฎิมา หรือพระแก้วมรกต (รูปที่ ๓.๖ ก.) ในหนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ โดยเกริ่นนำว่า

ศาสนาจักรุ่งเรืองได้ด้วยรูปจำลองของพระพุทธโดยแท้
(รัตนปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๑๑๕)

พระเถระนาคเสนแห่งเมืองปาตลีบุตรในประเทศอินเดีย จึงจำลองพระพุทธรูปขึ้นมาด้วยฤทธิ์และ
มนตร์ โดยมีวิสสุกรรมเทวบุตร แปลงตัวเป็นช่างทำรูป ได้พุทธปฏิมาองค์หนึ่ง สูง ๑ ศอก กับ ๑ นิ้ว
ส่วนพระเถระนาคเสนนั้นได้

อธิฐานอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ๗ องค์เข้าไปในองค์พระรตนปฏิมา องค์ที่ ๑
อยู่ที่พระเมาลี องค์ ๑ อยู่ที่พระนลาต องค์ ๑ อยู่ที่พระอุระ ๒ องค์อยู่ที่
พระหัตถ์ทั้งสอง และอีก ๒ องค์อยู่ที่พระชานุ (เข่า) ทั้งสอง พร้อมกับคำ
อธิษฐาน (เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๕๑
ดังนั้นพระรัตนปฏิมา จึงมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ เพราะเป็นองค์รวมของพระบรมสารีริกธาตุ
ถึงเจ็ดองค์

หลังจากที่เกิดสงครามขึ้นในอินเดีย จึงมีผู้อัญเชิญพระรัตนปฏิมาไปไว้ที่ลังกา และเมื่อพุทธศาสนา
ล่วงไปแล้ว ๑,๒๐๐ ปี พระเจ้าอนุรุทธ แห่งเมืองพุกามจึงอัญเชิญไปที่พุกาม แต่ปรากฏว่าพายุพัดเรือไป
ที่เมืองนครธม จึงประทับอยู่ที่นั่นจนกษัตริย์อยุธยาพระองค์หนึ่งอัญเชิญไปบูชาที่อยุธยา ต่อจากนั้นพระราชา
จากกำแพงเพชรก็มาอัญเชิญไป จนกระทั่งท้าวมหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนากษัตริย์ล้านนา
ยกพลไปกำแพงเพชร และอัญเชิญพระรัตนปฏิมาไปบูชาที่เชียงราย

พระรัตนปฏิมาเสด็จจากตำนานสู่ประวัติศาสตร์ เมื่อพระเจ้าติโลกราชอัญเชิญไปเชียงใหม่โดย
ผ่านทางลำปาง และเมื่อทรงสร้างเจดีย์หลวงที่เชียงใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๐๒๕ (ค.ศ. 1482) จึง
อัญเชิญ “พระรตนปฏิมา ซึ่งมีฤทธิ์เดชหาประมาณมิได้” มาประดิษฐานไว้ ณ ที่นั้น (เรื่องเดียวกัน, ๑๑๔)

พระรั ต นปฏิ ม าประดิ ษ ฐานอยู่ ที่ เ จดี ย์ ห ลวงจนถึ ง ปี พ.ศ. ๒๐๙๐ (ค.ศ. 1547) เมื่ อ พระเจ้ า
ไชยเชษฐา (พ.ศ. ๒๐๙๓ – ๒๑๑๕ / ค.ศ. 1550 – 1572) ซึ่งปกครองล้านนาอยู่ เสด็จกลับไปนครหลวงพระบาง
ไปครองล้านช้าง และนำพระรัตนปฏิมาไปด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1558) ทรงย้ายราชธานีมา
ที่เวียงจันท์ พร้อมกับอัญเชิญพระรัตนปฏิมาลงมาด้วย (เติม ๒๕๓๐, ๓๖ – ๓๙)

พระรัตนปฏิมาประดิษฐานอยู่ในนครเวียงจันท์จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๒๒ (ค.ศ. 1779) เมื่อพระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งทรงบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พร้อมด้วยบุตรชาย
ซึ่งต่อมาเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (จดหมายเหตุการบูรณะ
ปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ๒๕๒๕, ๔) เสด็จไปตีเวียงจันท์ได้ชัยชนะ
จึงอัญเชิญพระรัตนปฏิมาจากเวียงจันท์ มาประดิษฐานในพลับพลาชั่วคราว บริเวณพระราชวังกรุงธนบุรี
เมื่อเสด็จผ่านพิภพแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อประดิษฐานพระรัตนปฏิมา ทรงขนานนามพระราชธานีที่สร้างขึ้นใหม่ในปี
พ.ศ. ๒๓๒๕ (ค.ศ. 1782) ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจาก

ทรงพระราชดำริเห็นว่า พระมหามณีรัตนปฏิมากรองค์นี้เป็นสิริแก่พระองค์และ
พระนคร จึงได้ขนานนามกรุงใหม่ว่ากรุงรัตนโกสินทร์มหินทรายุธยา เพราะเป็น
ที่ประดิษฐาน และเป็นที่เก็บพระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้ (จุลจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๒๓๕)

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจึงเป็นพระแก้วประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-
จุฬาโลก เพราะเป็นพระพุทธปฏิมาคู่บารมีของพระองค์

๕๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๖ ข. พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร รูปที่ ๓.๖ ค. พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร รูปที่ ๓.๖ ง. พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
คิมหันตฤดู วสันตฤดู เหมันตฤดู
เปลี่ยนเครื่องทรง วันแรม ๑ ค่ำ เปลี่ยนเครื่องทรง วันแรม ๑ ค่ำ เปลี่ยนเครื่องทรง วันแรม ๑ ค่ำ
เดือนมีนาคม เดือนกรกฎาคม เดือนพฤศจิกายน
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง) ในพระบรมมหาราชวัง)
ของสำนักราชเลขาธิการ)


สืบเนื่องจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสร้างเครื่องทรงเป็นเครื่องต้น
อย่างพระมหากษัตริย์ ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทำด้วยทองคำลงยาประดับอัญมณี
สำหรับคิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) (รูปที่ ๓.๖ ข.) และเครื่องทรงจีวรอย่างห่มดอง ทองคำจำหลัก
ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระศกและพระรัศมีทองคำลงยา สำหรับวสันตฤดู (ฤดูฝน) (รูปที่ ๓.๖ ค.)
และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรปีละ ๒ ครั้ง

ต่ อ มา พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงสร้ า งเครื่ อ งทรงสำหรั บ เหมั น ตฤดู
(ฤดูหนาว) เป็นผ้าคลุมพระองค์ทองคำลงยาราชาวดี ประดับอัญมณี พระศกและพระรัศมี
ทองคำลงยาฝังเพชร (รูปที่ ๓.๖ ง.) พระมหากษัตริย์จึงเสด็จฯ เพิ่มขึ้นเป็นปีละ ๓ ครั้ง คือทรง
เปลี่ยนเครื่องทรงสำหรับคิมหันตฤดูวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ (ราวเดือนมีนาคม) วสันตฤดู วันแรม
๑ ค่ำ เดือน ๘ (ราวเดือนกรกฎาคม) และเหมันตฤดู วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ (ราวเดือน
พฤศจิกายน) พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระราชพิธีที่พระ
มหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินเอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ไป
ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๕๓
เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว (พระราชพิธีกาญจนาภิเษก) ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๓๙ (ค.ศ. 1995 – 1996) กรมธนารักษ์ได้จัด
ทำเครื่องทรงถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรขึ้นใหม่ทั้ง ๓ ฤดู โดยคงรูปแบบชุดเดิมไว้ทุกประการ
ยกเว้นใช้เทคโนโลยีใหม่ในการสร้าง เช่น เครื่องทรงเดิมใช้เพชรซีก แต่ชุดใหม่เป็นการเจียระไนแบบ
“April Cut” และใช้แสงเลเซอร์ในการเชื่อมต่อส่วนต่างๆ (กรมธนารักษ์ ๒๕๔๐, ๑๖๖) ในการนี้รัฐบาล
ได้สนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งรวมทั้งทองคำหรือวัสดุมีค่าเช่นเพชรพลอยอัญมณีนานา
ชนิดนั้นภาคเอกชนรวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมใจกันบริจาค เครื่องทรงฤดูร้อนใช้งบประมาณราว ๗๐
ล้านบาท เครื่องทรงฤดูหนาว ๓๐ ล้านบาท และเครื่องทรงฤดูฝน ๒๐ ล้านบาท (เรื่องเดียวกัน, ๑๔๖,
๑๖๖) งบประมาณและวัสดุมีค่าส่วนที่เหลือกรมธนารักษ์ได้มอบให้สำนักงานวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เก็บรักษาไว้เพื่อการซ่อมบำรุงครั้งต่อไป ส่วนเครื่องทรงชุดเดิมนั้นถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระ-
ศรีรัตนศาสดาราม


๑.๒ พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เมื่อข้าราชการไปถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาแล้ว
จะไปถวายบังคมพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แทนพระเชษฐบิดร ซึ่งเป็นพระรูป
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทอง ครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ที่
สวรรคตไปแล้ ว เช่ น พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก ต่ อ มาในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปพระราชพิธีนี้โดยพระองค์จะเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วย ซึ่งยึดถือ
เป็นประเพณีสืบต่อกันจนทุกวันนี้ โดยประกอบพระราชพิธีเฉพาะพระพักตร์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก และพระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย ซึ่ ง เป็ น พระพุ ท ธรู ป ทรงเครื่ อ งอย่ า งพระ
จักรพรรดิราชที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างถวายแด่สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช
รัชกาลที่ ๑ และสมเด็จพระบรมชนกนาถ รัชกาลที่ ๒ (รูปที่ ๓.๗ – ๓.๘)

พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ทั้งสององค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๘๖ (ค.ศ. 1843) แล้วเสร็จและสมโภชในปี พ.ศ. ๒๓๙๑ (ค.ศ. 1848) (ราชบัณฑิตยสภา
๒๔๗๒, ๓๖) พระนามของพระพุทธรูปนั้น มีที่มาสืบเนื่องจากการที่ประชาชนเรียกรัชกาลสมเด็จพระบรม
อัยกาธิราช รัชกาลที่ ๑ ว่า “แผ่นดินต้น” และรัชกาลสมเด็จพระบรมชนกนาถ รัชกาลที่ ๒ ว่า “แผ่นดินกลาง”

พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ได้ ท รงทราบไม่ ท รงพระกรุ ณ าโปรด
ดำรัสว่ามีแผ่นดินต้นแผ่นดินกลางแล้วแผ่นดินปัจจุบันก็ต้องเป็นแผ่นดินปลาย
เป็นคำอัปมงคลอยู่ ในขณะนั้นพอทรงพระราชศรัทธา สร้างพระพุทธปฏิมากร
ห้ามสมุทรหุ้มทองคำทรงเครื่องต้นด้วยเนาวรัตน์ สองพระองค์ ตั้งไว้ในวัดพระ
ศรีรัตนศาสดาราม ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นพระฉลองพระองค์ ในสมเด็จ
พระบรมอัยกาธิราชองค์หนึ่ง สมเด็จพระบรมชนกนาถองค์หนึ่ง จารึกพระนาม
ว่าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกองค์หนึ่ง จารึกพระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
องค์หนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศ ฉลองพระเดชพระคุณในพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ จึงโปรดให้ออกพระนามเปลี่ยนคำคนที่
เรียกว่าแผ่นดินต้นแผ่นดินกลางนั้นเสีย ให้เรียกพระนามตามพระนามพระพุทธรูป
ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า-
นภาลัยดังนี้ (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๐๗, ๔๗)

๕๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระนามพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ที่ปรากฏในหน้าพระราชพงศาวดารและประวัติศาสตร์
ไทย จึงมิใช่พระนามที่ทั้งสองพระองค์ทรงใช้หรือทรงคุ้นเคยเมื่อยังมีพระชนม์ชีพ แต่เป็นพระนามของ
พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ที่ประดิษฐานอยู่หน้าชุกชีพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร โดย
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกประดิษฐานอยู่ทางด้านซ้ายของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (รูปที่ ๓.๗) และ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัยอยู่ด้านขวา (รูปที่ ๓.๘)

พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ทั้งสององค์นี้มีความสำคัญต่อพระราชพิธี และแสดงถึง
ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับพุทธศาสนา (ดูตอนที่ ๕ หน้า ๙๒)

รูปที่ ๓.๗ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รูปที่ ๓.๘ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย


สร้างปี พ.ศ. ๒๓๘๖ (ค.ศ. 1843) สร้างปี พ.ศ. ๒๓๘๖ (ค.ศ. 1843)
สัมฤทธิ์ หุ้มทองคำลงยา ประดับเนาวรัตน์ สัมฤทธิ์ หุ้มทองคำลงยา ประดับเนาวรัตน์
สูง ๓ เมตร สูง ๓ เมตร
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง) ในพระบรมมหาราชวัง)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๕๕
๑.๓ พระพุทธรูปประจำรัชกาล

ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธรูปที่อัญเชิญเพิ่มเพื่อร่วมประดิษฐาน
ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้แก่ พระพุทธรูปประจำ
รัชกาล และพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล

พระพุทธรูปประจำรัชกาล ได้แก่ พระพุทธรูปปางต่างๆ ๓๗ ปาง ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจารึกพระนามอุทิศถวายพระราช
กุศลแด่พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๓๔ องค์ (รูปที่ ๓.๙ (๑) – (๓๔))
พระอิริยาบถและปางต่างๆ ของพระพุทธรูปทั้ง ๓๔ องค์นั้น เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในพุทธประวัติ
ส่วนพระพุทธรูปอีก ๓ องค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจารึกพระนามอุทิศเป็นพระราชกุศล
แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระพุทธ-
เลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถ และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระ
บรมเชษฐาธิราช พระพุทธรูปประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระบาท
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย (รูปที่ ๓.๑๐, ๓.๑๑)
ส่วนพระพุทธรูปประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ
ปางสมาธิ (รูปที่ ๓.๑๒)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปประจำรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รูปที่ ๓.๑๓) ทรงเลือกแบบพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงประดิษฐ์คิดขึ้น อันได้แก่พระพุทธรูปประทับ
ขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ ครองจีวรห่มดอง พาดสังฆาฏิแบบพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกาย จีวรเป็น
ริ้วตามธรรมชาติ และไม่มีพระเมาลี

พระพุทธรูปทั้ง ๓๘ องค์นี้ จึงถือเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลโดยปริยาย และพระบาทสมเด็จ


พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถเพื่อประกอบในพระราช
พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทั้ง ๓๘ องค์

๕๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ-
เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสร้างพระพุทธรูปประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้น
(รูปที่ ๓.๑๔) โดยทรงจำลองพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งก็คือพระพุทธรูปปางขอฝน ตามพุทธลักษณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชทรงประดิษฐ์ขึ้น อุทิศถวายแด่พระองค์เพื่อเป็นพระราชกุศล
จนกลายเป็นพระราชประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ที่พระมหากษัตริย์เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว
จะสร้างพระพุทธรูปประจำรัชกาลอุทิศถวายพระมหากษัตริย์องค์ก่อน

พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงสร้ า งพระพุ ท ธรู ป ประจำรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ


พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช (รูปที่ ๓.๑๕) โดยเลือกพระพุทธรูปประจำ
พระชนมพรรษา คือ พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ครองจีวรห่มคลุมตามแบบพระภิกษุใน
คณะธรรมยุติกนิกาย ริ้วจีวรเลียนแบบธรรมชาติ แต่พระเศียรเป็นแบบพระพุทธรูปสุโขทัย คือ มีพระ
เมาลีสูง พระรัศมีเป็นเปลว ซึ่งก็สอดคล้องกับพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในศิลปะแบบสุโขทัย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงสร้างพระพุทธรูปประจำรัชกาลพระบาท
สมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก (รูปที่ ๓.๑๖) ทรงจำลองจากพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิตุลาธิราช คือ พระพุทธรูปประทับห้อยพระบาท
แบบคันธารราษฎร์ ปางขอฝน ครองจีวรห่มดอง และพระพุทธรูปประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ
ปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รูปที่ ๓.๑๗) เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางปฐมเทศนา
ครองจีวรห่มดอง

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาได้ยกเลิกไปหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ (ค.ศ. 1932) ต่อมาพระบาทสมเด็จ
พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ รื้ อ ฟื้ น พระราชพิ ธี ถื อ น้ ำ พระพิ พั ฒ น์ สั ต ยาขึ้ น เมื่ อ ปี
พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. 1969) โปรดเกล้าฯ ให้ทำร่วมกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมี
ศักดิ์รามาธิบดี โดยผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเท่านั้นที่ต้องดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
(ศิลปากร ๒๕๔๓ ข, ๒๔๓ – ๒๔๗)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง
ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ (ค.ศ. 1918) เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการทหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รักษาปกป้อง
แผ่นดินไทย ทั้งในเวลาสงครามและเวลาสงบศึก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
มีพระราชดำริให้พระราชทานแก่ชาวต่างประเทศ และผู้ที่ทำความดีความชอบเป็นพิเศษด้วย โดยเริ่ม
พระราชทานในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ. 1962)

ปัจจุบันพระพุทธรูปที่ทรงอุทิศพระราชกุศลถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี
๓๔ องค์นั้น ประดิษฐานอยู่ในหอพระราชกรมานุสร พระพุทธรูปประจำรัชกาลในพระบรมราชจักรีวงศ์
ทุกองค์ ประดิษฐานในหอพระราชพงศานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่มิได้อัญเชิญเข้าร่วมใน
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๕๗
พระพุทธรูปประจำรัชกาล

พระพุทธรูปปางต่างๆ ๓๗ ปาง รูปที่ ๓.๙ (๑) ปางกวักพระหัตถ์เรียกเอหิภิกขุ


พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง)
และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจารึกพระนาม หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร
สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๒๐ เซนติเมตร
อุทิศถวายพระราชกุศลแด่พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี สูงจากฐานถึงพระรัศมี
เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๓๔ องค์ ๒๒.๕๐ เซนติเมตร
วัสดุ : ทองแดง

รูปที่ ๓.๙ (๒) ปางทรงพิจารณาชราธรรม รูปที่ ๓.๙ (๓) ปางนาคปรก รูปที่ ๓.๙ (๔) ปางพระเกศธาตุ
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เจ้าทองจันทร์ สมเด็จพระราเมศวรที่๑
(ขุนหลวงพะงัว) หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร
หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๐.๙๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๒๐ เซนติเมตร
สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๒๐ เซนติเมตร สูงจากฐานถึงยอดเศียรนาค สูงจากฐานถึงพระรัศมี
สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๒๐ เซนติเมตร ๒๒.๕๐ เซนติเมตร
๒๓.๒๕ เซนติเมตร วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง
วัสดุ : ทองแดง

๕๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๙ (๕) ปางขับพระวักกลิ รูปที่ ๓.๙ (๖) ปางทรงรับผลมะม่วง รูปที่ ๓.๙ (๗) ปางภัตกิจ
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
สมเด็จพระรามราชาธิราช สมเด็จพระมหานครินทราธิราช สมเด็จพระเจ้าสามพระยา
(พระยาราม) (อินทราชาที่ ๑) (พระบรมราชาธิราชที่ ๒)
หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร
สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๕๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๕๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๐.๔๕ เซนติเมตร
สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี
๒๓.๗๐ เซนติเมตร ๒๓.๒๕ เซนติเมตร ๒๓.๕๐ เซนติเมตร
วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง

รูปที่ ๓.๙ (๘) ปางชี้อัครสาวก รูปที่ ๓.๙ (๙) ปางอธิษฐานบาตร รูปที่ ๓.๙ (๑๐) ปางห้ามมาร
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระอินทรราชาธิราช (ที่ ๒) สมเด็จพระรามาธิบดีที่สอง
หน้าตักกว้าง ๒๒.๖๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร
สูงเฉพาะองค์พระ ๑๐.๙๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๒๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๓๕ เซนติเมตร
สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๒๓ เซนติเมตร สูงจากฐานถึงพระรัศมี
๒๒.๖๕ เซนติเมตร วัสดุ : ทองแดง ๒๓ เซนติเมตร
วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง


สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๕๙
รูปที่ ๓.๙ (๑๑) ปางทรงรับอุทกัง รูปที่ ๓.๙ (๑๒) ปางเสวยมธุปายาส รูปที่ ๓.๙ (๑๓) ปางฉันสมอ
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
สมเด็จพระบรมราชามหาพุทธางกูร พระเจษฎาราชกุมาร สมเด็จพระไชยราชาธิราช
หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร (พระรัษฎาธิราชกุมาร) หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร
สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๕๐ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๘.๒๕ เซนติเมตร
สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงเฉพาะองค์พระ ๑๐.๙๐ เซนติเมตร สูงจากฐานถึงพระรัศมี
๒๓ เซนติเมตร สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๒๒.๘๐ เซนติเมตร
วัสดุ : ทองแดง ๒๒.๕๐ เซนติเมตร วัสดุ : ทองแดง
วัสดุ : ทองแดง

รูปที่ ๓.๙ (๑๔) ปางปลงอายุสังขาร รูปที่ ๓.๙ (๑๕) ปางโอฬาริกนิมิต รูปที่ ๓.๙ (๑๖) ปางสนเข็ม
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
พระยอดฟ้า พระมหาจักรพรรดิราชาธิราช สมเด็จพระมหินทราธิราช
หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘.๒๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร
สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๕๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๒๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๐.๕๐ เซนติเมตร
สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี
๒๓.๒๕ เซนติเมตร ๒๒.๕๐ เซนติเมตร ๒๒.๕๐ เซนติเมตร
วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง

๖๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๙ (๑๗) ปางนาคาวโลก รูปที่ ๓.๙ (๑๘) ปางห้ามสมุทร รูปที่ ๓.๙ (๑๙) ปางถวายเนตร
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถมหาราช
(สรรเพชญที่ ๑) (สรรเพชญที่ ๒) สูงเฉพาะองค์พระ (สรรเพชญที่ ๓)
สูงเฉพาะองค์พระ ๒๑.๐๕ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๒๑ เซนติเมตร
๒๑.๕๐ เซนติเมตร สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี
สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๓๒.๘๐ เซนติเมตร ๓๓ เซนติเมตร
๓๓ เซนติเมตร วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง
วัสดุ : ทองแดง (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

รูปที่ ๓.๙ (๒๐) ปางห้ามพระแก่นจันทน์ รูปที่ ๓.๙ (๒๑) ปางประทับเรือ รูปที่ ๓.๙ (๒๒) ปางป่าเลไลยก์
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม พระเชษฐาธิราช (บรมราชาที่ ๒)
(สรรเพชญที่ ๔) (บรมไตรโลกนาถที่ ๒ หรือบรมราชาที่ ๑) สูงเฉพาะองค์พระ ๑๘.๔๐ เซนติเมตร
สูงเฉพาะองค์พระ ๒๑.๘๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๘ เซนติเมตร สูงจากฐานถึงพระรัศมี
สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๒๗.๕๐ เซนติเมตร
๓๓.๗๐ เซนติเมตร ๒๖.๕๐ เซนติเมตร วัสดุ : ทองแดง
วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๖๑
รูปที่ ๓.๙ (๒๓) ปางทรงรับมธุปายาส รูปที่ ๓.๙ (๒๔) ปางลอยถาด รูปที่ ๓.๙ (๒๕) ปางทรงรับหญ้าคา
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
พระอาทิตยวงศ์ สมเด็จพระรามาธิเบศร์ปราสาททอง เจ้าฟ้าไชย (สรรเพชญที่ ๖)
สูงเฉพาะองค์พระ (สรรเพชญที่ ๕) สูงเฉพาะองค์พระ ๒๑.๕๐ เซนติเมตร
๑๗.๑๕ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๓ เซนติเมตร สูงจากฐานถึงพระรัศมี
สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๓๓.๗๐ เซนติเมตร
๒๖.๕๐ เซนติเมตร ๒๔.๓๐ เซนติเมตร วัสดุ : ทองแดง
วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง

รูปที่ ๓.๙ (๒๖) ปางรำพึง รูปที่ ๓.๙ (๒๗) ปางจงกรมแก้ว รูปที่ ๓.๙ (๒๘) ปางปลงกรรมฐาน
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
พระศรีสุธรรมราชา (สรรเพชญที่ ๗) สมเด็จพระนารายณ์ พระธาดาธิเบศร์
สูงเฉพาะองค์พระ มหาเอกาทศรถราช (รามาธิบดีที่ ๓) (พระมหาบุรุษเพทราชา)
๒๑.๓๕ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๒๐.๖๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๒๑ เซนติเมตร
สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี
๓๔ เซนติเมตร ๓๒.๕๐ เซนติเมตร ๓๓ เซนติเมตร
วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง

๖๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๙ (๒๙) ปางสรงน้ำฝน รูปที่ ๓.๙ (๓๐) ปางอุ้มบาตร รูปที่ ๓.๙ (๓๑) ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี สมเด็จพระภูมินทรมหาราชา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓
(สรรเพชญที่ ๘ พระพุทธเจ้าเสือ) (สรรเพชญที่ ๙ พระเจ้าท้ายสระ) (พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
สูงเฉพาะองค์พระ ๒๑.๒๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๒๑.๒๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๒๑ เซนติเมตร
สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๒๖ เซนติเมตร
๓๓ เซนติเมตร ๒๔.๒๐ เซนติเมตร วัสดุ : ทองแดง
วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง

รูปที่ ๓.๙ (๓๒) ปางเปิดโลก รูปที่ ๓.๙ (๓๓) ปางลีลา รูปที่ ๓.๙ (๓๔) ปางทุกรกิริยา
พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย พระพุทธรูปอุทิศพระราชกุศลถวาย
สมเด็จพระอุทุมพรมหาพรพินิตราช พระบรมเอกทัศอนุรักษ์มนตรีราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
(บรมราชาธิราชที่ ๔) (บรมราชาที่ ๓ สุริยามรินทร์) (บรมราชาที่ ๔ ขุนหลวงตาก)
(เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ) สูงเฉพาะองค์พระ หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร
สูงเฉพาะองค์พระ ๒๑.๕๐ เซนติเมตร ๒๒.๕๐ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๘๐ เซนติเมตร
สูงจากฐานถึงพระรัศมี สูงจากฐานถึงพระรัศมี วัสดุ : ทองแดง
๓๓.๗๐ เซนติเมตร ๓๔.๓๐ เซนติเมตร
วัสดุ : ทองแดง วัสดุ : ทองแดง

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๖๓
รูปที่ ๓.๑๐ พระพุทธรูปประจำรัชกาล รูปที่ ๓.๑๑ พระพุทธรูปประจำรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔ สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔
(ค.ศ. 1824 – 1851) (ค.ศ. 1824 – 1851)
หน้าตักกว้าง ๘.๓ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘.๕ เซนติเมตร
สูงเฉพาะองค์พระ ๑๒.๕ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๒ เซนติเมตร
สูงรวม ๔๖.๕ เซนติเมตร สูงรวม ๔๖.๘ เซนติเมตร

รูปที่ ๓.๑๒ พระพุทธรูปประจำรัชกาล รูปที่ ๓.๑๓ พระพุทธรูปประจำรัชกาล


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔ สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓
(ค.ศ. 1824 – 1851) (ค.ศ. 1868 – 1910)
หน้าตักกว้าง ๘.๓ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เซนติเมตร
สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๕ เซนติเมตร
สูงรวม ๔๖.๕ เซนติเมตร สูงรวม ๔๕ เซนติเมตร
๖๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย

รูปที่ ๓.๑๔ พระพุทธรูปประจำรัชกาล รูปที่ ๓.๑๕ พระพุทธรูปประจำรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๘ สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๗๕
(ค.ศ. 1910 – 1925) (ค.ศ. 1925 – 1932)
หน้าตักกว้าง ๗.๒ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เซนติเมตร
สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑.๘ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๒ เซนติเมตร
สูงรวม ๔๗.๓ เซนติเมตร สูงรวม ๓๙ เซนติเมตร

รูปที่ ๓.๑๖ พระพุทธรูปประจำรัชกาล รูปที่ ๓.๑๗ พระพุทธรูปประจำรัชกาล


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. 1956) สร้างปี พ.ศ. ๒๔๙๙
หน้าตักกว้าง ๘.๕ เซนติเมตร (ค.ศ. 1956)
สูงเฉพาะองค์พระ ๑๗.๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘ เซนติเมตร
สูงรวม ๔๑ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๑ เซนติเมตร
สูงรวม ๔๒ เซนติเมตร
สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๖๕
๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๑.๔ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล

พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลเป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงสร้างขึ้น ยกเว้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลเป็น
พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ถือตาลปัตรในพระหัตถ์ซ้าย ประทานพรให้มีชัยชนะแก่
หมู่มารทั้งปวง และทรงคุ้มครองอันตรายได้ทุกประการ จึงเป็นพระพุทธรูปที่เชิญเสด็จไปพร้อมกับ
พระองค์เวลาออกศึกสงคราม เช่นพระชัยหลังช้าง ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้าง
(รูปที่ ๓.๑๘) และอัญเชิญมาประดิษฐานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (ส. พลายน้อย และ ภาวาส ๒๕๒๒,
๓ – ๗)

ต่อมาเมื่อได้มีการสร้างพระชัยประจำรัชกาลขึ้น จึงมีการเพิ่มคำว่า “วัฒน์” ซึ่งมีความหมายว่า
ความเจริญขึ้น โดยมีนัยว่านอกจากจะนำมาซึ่งชัยชนะแด่ผู้ที่เป็นเจ้าของแล้วยังนำซึ่งความเจริญอีกด้วย
จึงกลายเป็น “พระชัยวัฒน์” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฏในหมายรับสั่ง
ของรัชกาลนั้น (เรื่องเดียวกัน, ๓)

เมื่อจะทำพระราชพิธีปราบดาภิเษก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้หล่อ
พระชัยวัฒน์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ (ค.ศ. 1782) (รูปที่ ๓.๑๙) เป็นพระพุทธรูปประทับบนฐานสิงห์
มีผ้าทิพย์ทอดทางด้านหน้า ประดิษฐานอยู่ภายใต้ฉัตร ๕ ชั้น ด้วยเหตุที่ว่า พระเบญจปฎลเศวตฉัตร
หรือ ฉัตรสีขาว ๕ ชั้น เป็นฉัตรสำหรับพระอิสริยยศของเจ้าฟ้า และสกลมหาสังฆปรินายกที่ได้รับ
สมณุตมาภิเษก เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า (ยุพร ๒๕๓๙, ๑๙) จึงเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาเปรียบกับ
พระพุทธองค์ที่ทรงมีพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้า ก่อนที่จะเสด็จออกบรรพชา และเมื่อทรงเป็นพระภิกษุแล้ว
ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า อันเป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปประดิษฐานใต้
ฉัตร ๕ ชั้น ส่วนตาลปัตรที่ทรงถือนั้นมีรูปทรงคล้ายพัดขนนกประดับด้วยอัญมณี

พระชั ย วั ฒ น์ ป ระจำรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย สร้ า งขึ้ น ประมาณปี
พ.ศ. ๒๓๖๗ (ค.ศ. 1824) (รูปที่ ๓.๒๐) ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระชัยวัฒน์ของ
รัชกาลก่อนทุกประการ แตกต่างกันตรงที่รัศมีลงยา เบิ่งพระเนตร และหล่อด้วยทองคำ ตาลปัตรเป็น
พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับอัญมณี

พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รูปที่ ๓.๒๑) ครองจีวรทอง
ลงยา ซึ่งสอดคล้องกับพระราชนิยมพระพุทธรูปครองจีวรลงยา ฐานเป็นหน้ากระดานสลักลวดลาย และ
ปูด้วยผ้าทิพย์ลงยาประดับอัญมณี ตาลปัตรเป็นพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับอัญมณีเช่นกัน

พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างถวายโดย พระองค์เจ้า
ประดิษฐวรการ เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ (ค.ศ. 1851) (รูปที่ ๓.๒๒) พระ
ชัยวัฒน์องค์นี้แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่พระองค์ทรงริเริ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี
เพราะทรงรับคติสัจนิยมแบบตะวันตกที่เน้นความเป็นธรรมชาติ เข้ามาแทนที่ค่านิยมแบบประเพณีที่
สืบทอดกันลงมาจากครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เช่น พระพักตร์และจีวรที่เน้นความเหมือนจริง
พระพุทธรูปในรัชกาลนี้ไม่มีพระเมาลี แต่มีพระอุณาโลม ครองไตรจีวรแบบพระภิกษุในคณะธรรมยุติก-
นิกายที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อทรงบรรพชาอยู่ที่วัดราชาธิวาสวิหาร ประทับเหนือฐานบัวคว่ำบัวหงาย
ที่รองรับด้วยฐานแบบโรมันแปดเหลี่ยม และมีจารึกยันต์อริยสัจจ์ที่ฐานและที่หน้ากระดาน ความว่า

รูปที่ ๓.๑๘ พระชัยหลังช้าง พระสยามินทร์มหาราชพระองค์ใด ทรงบูชาพระพุทธรูปนี้เป็นนิตย์ ขอพระ
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๕ (ค.ศ. 1782)
เงิน หน้าตักกว้าง ๑๕ เซนติเมตร สยามินทร์มหาราชพระองค์นั้น จงชนะซึ่งแผ่นดินทั้งหมด จงชนะซึ่งข้าศึกทั้ง
องค์พระสูง ๒๓.๕ เซนติเมตร หลายทุกเมื่อ (ส. พลายน้อย และ ภาวาส ๒๕๒๒, ๕๖)
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง) ในส่วนของตาลปัตรที่ถือในพระหัตถ์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับอัญมณี

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๖๗
รูปที่ ๓.๑๙ พระชัยวัฒน์รัชกาลพระบาทสมเด็จ รูปที่ ๓.๒๐ พระชัยวัฒน์รัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๕ (ค.ศ. 1782) สร้างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ (ค.ศ. 1824)
เงิน หน้าตักกว้าง ๒๑ เซนติเมตร ทองคำ หน้าตักกว้าง ๒๑.๒๐ เซนติเมตร
องค์พระสูง ๓๑ เซนติเมตร องค์พระสูง ๓๑.๘๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๓.๒๑ พระชัยวัฒน์รัชกาลพระบาทสมเด็จ รูปที่ ๓.๒๒ พระชัยวัฒน์รัชกาลพระบาทสมเด็จ


พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔ สร้างปี พ.ศ. ๒๓๙๔ (ค.ศ. 1851)
(ค.ศ. 1824 - 1851) ทองคำ หน้าตักกว้าง ๑๐.๔๕ เซนติเมตร
ทองคำ หน้าตักกว้าง ๑๒ เซนติเมตร องค์พระสูง ๑๗ เซนติเมตร
องค์พระสูง ๑๘ เซนติเมตร หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
๖๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๒๓ พระชัยวัฒน์รัชกาลพระบาทสมเด็จ รูปที่ ๓.๒๔ พระชัยวัฒน์รัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๑๒ (ค.ศ. 1869) สร้างปี พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. 1911)
ทองคำ หน้าตักกว้าง ๑๖ เซนติเมตร ทองคำ หน้าตักกว้าง ๑๙ เซนติเมตร
องค์พระสูง ๒๘ เซนติเมตร หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๓.๒๕ พระชัยวัฒน์รัชกาลพระบาทสมเด็จ รูปที่ ๓.๒๖ พระชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบัน


พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างปี พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. 1963)
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๖๙ (ค.ศ. 1926) ทองคำ องค์พระสูง ๒๒.๕๐ เซนติเมตร
เงิน หน้าตักกว้าง ๑๗ เซนติเมตร หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๖๙
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๒
(ค.ศ. 1869) (รูปที่ ๓.๒๓) มีพุทธลักษณะคล้ายพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่แล้วทุกประการ รวมทั้งฐาน
แปดเหลี่ยมและจารึกยันต์อริยสัจจ์ที่ฐานหน้ากระดาน แตกต่างกันที่ริ้วจีวรเป็นธรรมชาติมากขึ้นและ
ตาลปัตรรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ทองคำลงยาราชาวดี นอกจากนั้นแล้วภายในฐานหน้ากระดานยังมี
คูหาประดิษฐานพระกริ่ง ซึ่งได้แก่พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ถือหม้อน้ำอมฤต
ในพระหัตถ์ซ้ายที่วางหงายอยู่ในพระเพลา ซึ่งถอดแบบมาจากพระกริ่งของกัมพูชา (ดำรงราชานุภาพ
๒๔๖๘, ๘๕ – ๘๖) สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๕๗? / ค.ศ. 1181 – 1214?)
และเป็นพระบุคลาธิษฐานของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระพุทธะผู้รักษาโรคทั้งมวล

พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหล่อขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๔
(ค.ศ. 1911) (รูปที่ ๓.๒๔) มีวัชระในกรอบรูปข้าวบิณฑ์ที่ผ้าทิพย์เหนือฐานบัวคว่ำบัวหงาย พระเศียรแบบ
พระพุทธรูปสุโขทัย พระวรกาย พระหัตถ์ พระบาทรวมทั้งไตรจีวรปั้นแบบเหมือนจริงดูเป็นธรรมชาติ
มากกว่าพระชัยวัฒน์รัชกาลที่แล้ว ที่ฐานจารึกยันต์อริยสัจจ์ ตาลปัตรรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ลงยา
ตรงกลางมีเลข ๖ อยู่ใต้มงกุฎ

พระชั ย วั ฒ น์ ป ระจำรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว สร้ า งขึ้ น ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙
(ค.ศ. 1926) (รูปที่ ๓.๒๕) มีพระพักตร์แบบพระพุทธรูปไทย พระเกศาแบบพระพุทธรูปอินเดียแบบ
คันธารราษฎร์ ครองจีวรแบบเหมือนจริง ไม่พาดสังฆาฏิประทับเหนือกลีบบัวหงาย รองรับด้วยฐานหน้า
กระดาน และมีศร ๓ เล่มอยู่ในซุ้มหน้าฐาน ศรสามเล่มนี้ มีความหมายว่า “ศักดิเดชน์” ซึ่งเป็นพระนาม
เดิมของสมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปก ศักดิเดชน์ “คำว่า ‘เดช’ หมายถึงลูกศร ที่เป็นสามนั้นมาแต่
พระแสงศรที่สำหรับชุบน้ำวันถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา คือ ศรพระอิศวร ๑ ศรพระนารายณ์ ๑ ศรพระพรหม ๑”
(ศรพรหมาสตร์ ศรปราลัยวาต ศรอัคนิวาต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นไว้
สำหรับใช้ในการพระราชพิธีถือน้ำ) (ส. พลายน้อย ๒๕๒๗, ๒๙) ซึ่งเป็นเครื่องหมายประจำพระองค์
ที่หน้ากระดานทั้งสี่ด้านมีจารึกคาถาธรรมบท คาถาทศบารมี และคาถาอริยสัจจ์ (เรื่องเดียวกัน, ๕๗ – ๖๐)
ตาลปัตรออกแบบแปลกกว่ารัชกาลก่อนๆ ภายในรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นแก้วใสเขียนรูปธรรมจักร
รอบนอกเป็นแฉกรูปแววขนหางนกยูง

พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลปัจจุบันสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. 1963) (รูปที่ ๓.๒๖) โดยมีพิมาน
มูลประมุข เป็นผู้ปั้นหุ่นพระพุทธรูป โดยเป็นพระพุทธรูป “แบบสุโขทัยประยุกต์” คือเลียนแบบจาก
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประทับเหนือฐานสิงห์แบบอยุธยาตอนปลาย - รัตนโกสินทร์ตอนต้น มีผ้าทิพย์
ขนาดใหญ่จำหลักลายลงยาอยู่ด้านหน้า ซึ่งเป็นการประยุกต์พระพุทธรูปแบบประเพณี ซึ่งเป็นพระราชนิยม
ของรัชกาลปัจจุบัน ตาลปัตรรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์คล้ายพัดแฉกงาพัดยศ พระราชาคณะ ตำแหน่ง
เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย (ณัฎฐภัทร ๒๕๓๘, ๕๙)

ที่ฐานพระพุทธรูปด้านหน้า มีจารึกเป็นคาถาที่สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ผูกถวายว่า

ความตั้งใจมุ่งมั่น ความเพียร ความมีขันติ เป็นพลังที่เป็นเหตุให้ประสบความ
สำเร็จโดยแท้ ผู้บรรลุถึงความสำเร็จนั้น เป็นบัณฑิต ได้รับความชนะมาก ย่อม
ให้เกิดความสุขยินดี (เรื่องเดียวกัน, ๖๐)

๗๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
นอกจากพระพุทธรูปที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยังอัญเชิญพระชัยวัฒน์องค์อื่นๆ มาในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา อันได้แก่ พระชัยวัฒน์ประจำ
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ดูรูปที่ ๓.๑๙) พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลพระบาท
สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว (ดู รู ป ที่ ๓.๒๓) และพระชั ย วั ฒ น์ เ นาวโลหะ ที่ พ ระบาทสมเด็ จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น (รูปที่ ๓.๒๗) เมื่อครั้งปฏิสังขรณ์หลักเมืองขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. ๒๓๙๖
(ค.ศ. 1853) และเมื่อทรงเสด็จแปรพระราชฐานนอกพระนครทรงอัญเชิญไปแทนพระชัยวัฒน์ประจำ
รัชกาล ครั้นเมื่อจะเสด็จสวรรคตจึงพระราชทานแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ส. พลายน้อย
และ ภาวาส ๒๕๒๒, ๑๔)

อนึ่ง พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เดิมมีพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้าดิศ ในกรมหมื่นณรงค์-
หริรักษ์ (โชติ ๒๕๒๐, ๑๐๓) ซึ่งเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓๖ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับกรมช่างหล่อ (ราชสกุลวงศ์ ๒๔๖๓, ๑๗)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งหม่อมเจ้าดิศ ให้เป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า
ประดิษฐวรการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ (ค.ศ. 1869) และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บังคับบัญชากรมช่าง ๑๐ หมู่
โดยทรงรับสั่งว่า “หม่อมเจ้าดิศได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณในการช่างมาช้านาน แต่ในรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนบัดนี้” (จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงษานุวงษ์ ๒๔๕๗,
๑๖๕)

ในรัชกาลปัจจุบันพระพุทธปฏิมาที่อัญเชิญมาในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ได้แก่ พระ
ชัยวัฒน์ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ดูรูปที่ ๓.๑๙) และพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว (ดูรูปที่ ๓.๒๖) พระชัยวัฒน์เนาวโลหะของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ดูรูปที่
รูปที่ ๓.๒๗ พระชัยวัฒน์เนาวโลหะ
๓.๒๗) และพระชัยวัฒน์เนาว โลหะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง (รูปที่ ๓.๒๘)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๙๖ (ค.ศ. 1853) พระชั ย วั ฒ น์ ที่ ก ล่ า วถึ ง ข้ า งต้ น ปั จ จุ บั น ประดิ ษ ฐานอยู่ ใ นหอพระสุ ล าลั ย พิ ม าน เดิ ม เรี ย กว่ า
เนาวโลหะ ตาลปัตรทองคำประดับเพชร “หอพระเจ้า” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นทางทิศตะวันออกของ
หน้าตักกว้าง ๗.๕๐ เซนติเมตร
สูงฐานถึงพระรัศมี ๑๓.๗๕ เซนติเมตร พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในเขตพระราชฐานชั้นใน เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธ-
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง รูปสำคัญของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

รูปที่ ๓.๒๘ พระชัยวัฒน์เนาวโลหะ


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. 1893)
เนาวโลหะ ตาลปัตรทองคำประดับอัญมณี
หน้าตักกว้าง ๔.๕๐ เซนติเมตร
สูงฐานถึงพระรัศมี ๑๓.๕๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๗๑
ตอนที่ ๒ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
ริเริ่มขึ้น โดยมีพระราชดำริว่า

การซึ่งมีอายุมาถึงบรรจุครบรอบปีไม่ตายไปเสียก่อนเป็นลาภอันอุดมอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นที่ควรยินดี... และควรที่จะทำให้เป็นที่ตั้งแห่งความไม่ประมาท ด้วยไม่
สามารถที่จะรู้ได้ว่า จะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่ ควรที่จะบำเพ็ญการ
รูปที่ ๓.๒๙ พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กุศล และประพฤติหันหาสุจริตธรรม (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๖๖๖)
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔
(ค.ศ. 1824 - 1851) สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานประวัติของพระราชพิธีนี้ว่า พระบาท
หน้าตักกว้าง ๗.๕๐ เซนติเมตร
สูงฐานถึงพระรัศมี ๑๕ เซนติเมตร สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มการสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาขึ้น และทรงบำเพ็ญ
หอพระธาตุมณเฑียร พระบรมมหาราชวัง พระราชกุศลเป็นการส่วนพระองค์ เป็นการฝ่ายใน และ “เรียกว่าฉลองพระชนมพรรษา เพราะฉลอง
พระพุทธรูปพระชนมพรรษา” (เรื่องเดียวกัน, ๖๘๓) แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถือว่า
เป็นวันนักขัตฤกษ์ และฝรั่ง “ถือกันว่าเป็นวันเกิดเจ้าแผ่นดินเป็นแนชันนัลฮอลิเดย์” (เรื่องเดียวกัน,
๖๗๙) จึงเรียกว่า “วันเฉลิมพระชนมพรรษา”


๒.๑ พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษารัชกาลที่ ๑ – ๗

พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นนั้น สร้าง
ปีละองค์ตามจำนวนปีที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ปีที่ยังมิได้เสด็จเสวยราชสมบัตินั้นไม่มีฉัตรกั้น แต่เมื่อ
ได้เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติแล้ว มีฉัตรสามชั้นกั้น ทรงสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถ
รูปที่ ๓.๓๐ พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา รวมทั้งที่เป็นพระราชกุศลส่วนพระองค์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
(ค.ศ. 1824 - 1851) สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย (รูปที่ ๓.๒๙)
หน้าตักกว้าง ๗.๕๐ เซนติเมตร
สูงฐานถึงพระรัศมี ๑๕ เซนติเมตร จำนวน ๗๖ องค์ ไม่มีฉัตร ๔๕ องค์ มีฉัตร ๒๘ องค์
หอพระธาตุมณเฑียร พระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย (รูปที่ ๓.๓๐)
จำนวน ๕๙ องค์ ไม่มีฉัตร ๔๓ องค์ มีฉัตร ๑๖ องค์
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ (รูปที่ ๓.๓๑)
จำนวน ๖๕ องค์ ไม่มีฉัตร ๓๗ องค์ มีฉัตร ๒๘ องค์

รูปที่ ๓.๓๑ พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔
(ค.ศ. 1824 - 1851) สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
หน้าตักกว้าง ๗.๕๐ เซนติเมตร
สูงฐานถึงพระรัศมี ๑๕ เซนติเมตร
หอพระธาตุมณเฑียร พระบรมมหาราชวัง
(ทั้งสามภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา

๓๔ ในพระบรมมหาราชวั
พระพุทธปฏิมง) า อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์พระองค์ต่อๆ มา ทรงยึดถือเป็นพระราชประเพณีสืบมา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ (รูปที่ ๓.๓๒)
จำนวน ๖๔ องค์ ไม่มีฉัตร ๔๖ องค์ มีฉัตร ๑๘ องค์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางขอฝน (รูปที่ ๓.๓๓ ก., ข.)
จำนวน ๕๘ องค์ ไม่มีฉัตร ๑๕ องค์ มีฉัตร ๔๓ องค์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ (รูปที่ ๓.๓๔)
จำนวน ๔๕ องค์ ไม่มีฉัตร ๓๐ องค์ มีฉัตร ๑๕ องค์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธรูปประทับห้อยพระบาท ปางขอฝน (รูปที่ ๓.๓๕)
จำนวน ๔๒ องค์ ไม่มีฉัตร ๓๒ องค์ มีฉัตร ๑๐ องค์

รูปที่ ๓.๓๒ พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑
(ค.ศ. 1851 - 1868) สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
หน้าตักกว้าง ๖.๘๐ เซนติเมตร
สูงฐานถึงพระรัศมี ๑๕.๑๕ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๗๓
รูปที่ ๓.๓๓ ก. พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา รูปที่ ๓.๓๓ ข. พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๑๓ (ค.ศ. 1870) (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง ในพระบรมมหาราชวัง)
หน้าตักกว้าง ๗.๑๐ เซนติเมตร (รูปที่ ๓.๓๓ ก.)
สูงรวมฐาน ๑๔.๖๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน
พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

๗๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๓๔ พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๘
(ค.ศ. 1910 - 1925) กะไหล่ทอง รูปที่ ๓.๓๕ พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
สูง ฐานถึงพระรัศมี ๑๕.๓๐ เซนติเมตร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๙ – ๒๔๗๗
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา (ค.ศ. 1926 - 1934)
ในพระบรมมหาราชวัง) สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๑๙.๕๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๗๕
๒.๒ พระพุทธรูปที่ทรงสร้างขึ้นในโอกาสสำคัญต่างๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน มิได้ทรงสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาเป็น
ประจำทุกปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นในโอกาสที่สำคัญ

(๑) พระพุทธสยามาภิวัฒนบพิตร ภูมิพลนริศทสสหัสสทิวัสรัชการี
ปัณณาสวรรษศรีอุภัยมหามงคล (รูปที่ ๓.๓๖ ก.)

เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อ
ขึ้นในมหามงคลสมัยที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977)
เป็นพระพุทธรูปปางลีลา สูงเท่าพระองค์ คือ ๑๗๒ เซนติเมตร พระราชทานพระนามว่า “พระพุทธ
สยามาภิวัฒนบพิตร ภูมิพลนริศทสสหัสสทิวัสรัชการี ปัณณาสวรรษศรีอุภัยมหามงคล” ซึ่งมีความหมายว่า

พระ (พุทธเจ้า) บพิตร ผู้ยังสยามรัฐให้เจริญยิ่ง เป็นมหามงคลแห่งศรี คือ
มิ่ ง มงคล ๒ อย่ า งคื อ สมเด็ จ พระภู มิ พ ลผู้ ท รงเป็ น ใหญ่ แ ห่ ง นรชนเสด็ จ
เถลิ ง ถวั ล ยราชสมบั ติ ม าได้ ห มื่ น วั น เศษและเจริ ญ พระชนมพรรษาครบ ๕๐
(เพลินพิศ ๒๕๓๓, ๓๖)

ประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธปฏิมาองค์นี้ แก้ว หนองบัว เป็นผู้ปั้นหุ่น โดยมี
ภาวาส บุนนาค รองราชเลขาธิการเป็นผู้ควบคุมตามพระราชประสงค์ ถึงแม้ว่าพุทธลักษณะโดยรวมจะ
จำลองมาจากพระพุทธปฏิมาลีลาแบบสุโขทัย แต่พระพักตร์แสดงความเป็นคน (รูปที่ ๓.๓๖ ข.) สมกับที่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช มีพระราชปรารภไว้ว่า “อยากเห็น
พระเปนคน อยากให้เห็นหน้าเปนคนฉลาดอดทนมีความคิดมาก” (พระราชหัตถเลขา ๒๕๑๔, ๑๓๔) จึง
อาจจะกล่ า วได้ ว่ า พระพุ ท ธปฏิ ม าตามพระราชนิ ย มรั ช กาลปั จ จุ บั น เป็ น พระพุ ท ธปฏิ ม าแบบสุ โ ขทั ย
ประยุกต์

รูปที่ ๓.๓๖ ก. พระพุทธสยามาภิวัฒนบพิตร


ภูมิพลนริศทสสหัสสทิวัสรัชการี
ปัณณาสวรรษศรีอุภัยมหามงคล
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง สูง ๑.๗๒ เมตร
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๓.๓๖ ข. พระพักตร์พระพุทธสยามาภิวัฒนบพิตร
กรุงเทพมหานคร ภูมิพลนริศทสสหัสสทิวัสรัชการี
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา ปัณณาสวรรษศรีอุภัยมหามงคล
รัชกาลที่ ๙ ทรงสร้าง ของกรมศิลปากร) (รูปที่ ๓.๓๖ ก.)

๗๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๓๗
(๒) พระพุทธสกลสันติกรบพิตร บรมจักริศรสถิตมงคล (รูปที่ ๓.๓๗)

พระนามของพระพุ ท ธรู ป องค์ นี้ มี ค วามหมายว่ า “พระพุ ท ธเจ้ า บพิ ต รทรงทำสั น ติ ทั่ ว สกลทิ ศ
เป็นใหญ่ในจักร คือธรรมอำนวยมงคลให้สถิตมั่น หรืออำนวยมงคลแด่พระอิศวรแห่งพระราชจักรีวงศ์ให้
ดำรงมั่นโดยธรรม” (เพลินพิศ ๒๕๓๓, ๓๖)

พระพุทธสกลสันติกรบพิตรฯ เป็นพระพุทธรูปยืน ปางห้ามสมุทร ครองจีวรห่มคลุม เป็นพระพุทธ
รูปประจำวันจันทร์ วันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แก้ว หนองบัว เป็นผู้ปั้นหุ่น
และหล่อ โดยมี ภาวาส บุนนาค รองราชเลขาธิการ เป็นผู้ควบคุมตามพระราชประสงค์ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ส ร้ า งขึ้ น เนื่ อ งในมหามงคลสมั ย ที่ พ ระองค์ ท รงเจริ ญ
พระชนมพรรษาครบ ๕๐ พรรษาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977) พร้อมกับพระพุทธรูปปางลีลาในพระ
อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (ดูรูปที่ ๓.๓๖ ก., ข.) แต่โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐาน
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

(๓) พระพุทธรูปปางนาคปรก (รูปที่ ๓.๓๘)

ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ประติมากรกองหัตถศิลป กรมศิลปากร เป็นผู้ปั้น เป็นพระพุทธรูปประทับ
ขัดสมาธิราบปางสมาธิครองจีวรห่มดอง ประทับเหนือขนดนาคสามชั้น และมีนาคเจ็ดเศียรปกป้องพระ
เศียร พระพักตร์เลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตร พระพุทธรูปสำคัญซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงสร้างขึ้นและพระราชทานไปประดิษฐานที่ศาลากลางของทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร (ดูรูปที่
๓.๑๐๑) (เรื่องเดียวกัน, ๓๕) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธ
รูปปางนาคปรกองค์นี้ขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕๐ พรรษา ใน
ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977)

พระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้มีความหมายว่า พระเสาร์ ซึ่งเป็นองค์อภิบาลพระชนมพรรษามาแล้ว
๑๐ ปี ได้พ้นจากเป็นองค์อภิบาล ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

รูปที่ ๓.๓๗ พระพุทธสกลสันติกรบพิตร รูปที่ ๓.๓๘ พระพุทธรูปนาคปรก รูปที่ ๓.๓๙ พระพุทธรูปปางสมาธิพระพุทธรูป


บรมจักริศรสถิตมงคล พระพุทธรูป ประจำพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษา
พระพุทธรูป ประจำพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษา ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ปัน้
ประจำพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษา ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ปั้น พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977)
แก้ว หนองบัว ปั้นหล่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977) สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒๒.๕ เซนติเมตร
พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977) สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒๒.๕ เซนติเมตร พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
สัมฤทธิ์ สูง ๖๙ เซนติเมตร พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชวังดุสิต รัชกาลที่ ๙ ทรงสร้าง)
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
รัชกาลที่ ๙ ทรงสร้าง) รัชกาลที่ ๙ ทรงสร้าง)

๗๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๔๐
พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
มหามงคล ๕ รอบ
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๐ (ค.ศ.1987)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
หน้าตักกว้าง ๓๖ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

รูปที่ ๓.๔๑
พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร
มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. 1999)
ทองเหลือง กะไหล่ทอง สูง ๑.๗๒ เมตร
หอพระมณเฑียรธรรม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

รูปที่ ๓.๔๐ รูปที่ ๓.๔๑

(๔) พระพุทธรูปปางสมาธิ (รูปที่ ๓.๓๙)



เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบปางสมาธิ ครองจีวรห่มดอง พาดสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี
ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ได้ปั้นถวาย เช่นเดียวกันกับพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งพระพักตร์เลียนแบบพระ
พุทธนวราชบพิตร อันเป็นพระพุทธปฏิมาสำคัญที่สุดองค์หนึ่ง (ดูหัวข้อ ๑๐.๖ หน้า ๑๓๓) และ ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในวาระเดียวกัน โดยมีความหมายว่า พระพฤหัสบดีจะเข้ามาเป็นองค์
อภิบาลต่อจากพระเสาร์ไปอีก ๑๙ ปี ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

(๕) พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษามหามงคล ๕ รอบ (รูปที่ ๓.๔๐)

เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา องค์แรกที่โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นในรัชกาลปัจจุบันเนื่อง
ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๕ รอบ พ.ศ. ๒๕๓๐ (ค.ศ. 1987) เป็นพระพุทธรูป
ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ซึ่งหมายถึงพระพฤหัสบดี อันเป็นองค์อภิบาลในช่วงระยะเวลานั้น
พระพุ ท ธรู ป องค์ นี้ จ ำลองมาจากพระพุ ท ธนวราชบพิ ต ร (ดู หั ว ข้ อ ๑๐.๖ หน้ า ๑๓๓) เช่ น กั น
โดยมี แก้ ว หนองบั ว เป็ น ผู้ ปั้ น หล่ อ โดยที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ได้ ท รงแก้ ไ ขหุ่ น ตามพระ
ราชประสงค์ และได้ทรงบรรจุพระพิมพ์ผงจิตรลดาไว้ที่กลีบบัวหงายด้านหน้าของพระพุทธรูป เมื่อ
สมโภชแล้วโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้เคียงคู่กับพระสัมพุทธพรรณี บนฐานชุกชี พระ
พุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

(๖) พระพุทธรูปปางห้ามสมุทรมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ (รูปที่ ๓.๔๑)

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. 1999) รัฐบาล
โดยนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ทรงเครื่อง ซึ่งโสฬิศ
พุทธรักษ์ สถาบันศิลปกรรม กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ พระพุทธรูปยืนขนาดเท่าองค์พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว มีความสูง ๑๗๒ เซนติเมตร (ศิลปากร ๒๕๔๓ ข, ๙๑) ทรงพระมหามงกุฎ แต่ไม่มีกรรเจียกจร
หรือเครื่องทรงของพระจักรพรรดิราช เฉกเช่นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่ทรงครอง
จีวรห่มคลุม ประดับอาภรณ์แบบพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาแต่ประยุกต์ให้สอดคล้องกับค่านิยม
ปัจจุบัน เช่น เหลือชายแครงเพียงชั้นเดียว

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๗๙
ตอนที่ ๓ พระราชพิธีฉัตรมงคล และพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล
ทักษิณานุประทาน

พระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มขึ้นจาก
“พระราชดำริว่าวันบรมราชาภิเษกนั้น เป็นมหามงคลสมัย ซึ่งประเทศทั้งปวงที่มีพระเจ้าแผ่นดินปกครอง
ย่อมนับถือวันนั้นว่าเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล แต่ในกรุงสยามนี้เฉยๆ อยู่มิได้มีการนักขัตฤกษ์อันได”
(จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๕๖) จึงทรงนำเอาพิธีสมโภชเครื่องราชูปโภค ซึ่งมีมาแต่เดิม มาผสมกับ
การสมโภชพระมหาเศวตฉัตร จัดขึ้นในวันบรมราชาภิเษก ซึ่งถือว่าเป็นวันนักขัตฤกษ์ เป็นสิริมงคลแก่
ราชสมบัติ

ในรัชกาลปัจจุบัน พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานจัดขึ้นร่วมกับพระราชพิธี
ฉัตรมงคล โดยวันแรกเป็นพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน วันที่สองเป็นพระราชพิธี
เฉลิมฉลองพระมหาเศวตฉัตร เครื่องราชกกุธภัณฑ์ และพระแสงสำคัญประจำรัชกาล วันที่สามซึ่งตรง
กับวันที่ ๕ พฤษภาคม เป็นพระราชพิธีคล้ายวันที่ทรงรับนพปฎลมหาเศวตฉัตร เครื่องราชกกุธภัณฑ์ และ
พระมหามงกุฎในการบรมราชาภิเษก ซึ่งพระราชพิธีในสองวันหลังนั้นจัดขึ้นในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
(ศิลปากร ๒๕๔๖, ๗๒)

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ซึ่งปัจจุบัน
พระราชพิธีนี้จัดขึ้นที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย โดยอัญเชิญพระบรมอัฐิของสมเด็จพระมหากษัตริย์และ
พระอัฐิของพระอัครมเหสีทุกพระองค์ประดิษฐานบนพระแท่นราชบัลลังก์ใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร รวมทั้ง
พระพุทธรูปประจำพระชนมวารมาประดิษฐานในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเหนือพระที่นั่งบุษบกมาลา

พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร

พระพุทธรูปประจำพระชนมวารเริ่มสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยที่พระองค์ทรงสร้างพระพุทธรูปตามวันพระราชสมภพ เพื่อทรงถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี สมเด็จ
พระบรมมไหยิกาเธอ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถ และสมเด็จ
พระศรีสุริเยนทราบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง อันได้แก่

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก วันพุธ พระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร (รูปที่ ๓.๔๒)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี วันอาทิตย์ พระพุทธรูปยืน ปางถวายเนตร (รูปที่ ๓.๔๓)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วันพุธ พระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร (รูปที่ ๓.๔๔)
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี วันอาทิตย์ พระพุทธรูปยืน ปางถวายเนตร (รูปที่ ๓.๔๕)

๘๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๔๒ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๐ – ๒๔๑๑
(ค.ศ. 1867 – 1868)
ทองคำ บาตรลงยา
องค์พระสูง ๒๙.๕๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

รูปที่ ๓.๔๓ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๐ - ๒๔๑๑
(ค.ศ. 1867 - 1868)
ทองคำ ฐานเงินกะไหล่ทอง
องค์พระสูง ๒๒.๓๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

รูปที่ ๓.๔๒ รูปที่ ๓.๔๓

รูปที่ ๓.๔๔ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร


พระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๐ - ๒๔๑๑
(ค.ศ. 1867 - 1868)
ทองคำ บาตรลงยา
องค์พระสูง ๑๕ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

รูปที่ ๓.๔๕ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๐ - ๒๔๑๑
(ค.ศ. 1867 - 1868)
ทองคำ ฐานเงินกะไหล่ทอง
องค์พระสูง ๒๒.๑๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)


รูปที่ ๓.๔๔ รูปที่ ๓.๔๕

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๘๑
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ถวายเป็น
พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิตุลาธิราช สมเด็จพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี สมเด็จพระบรมราช-
ชนนีพันปีหลวง ได้แก่

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันจันทร์ พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร (รูปที่ ๓.๔๖)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันพฤหัสบดี พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ
ปางสมาธิ (รูปที่ ๓.๔๗)
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี วันพฤหัสบดี พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ

อนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า “พระพุทธรูปสมาธิทรง
หล่อด้วยทองคำในรัชกาลปัจจุบันนี้ ทรงพระราชอุทิศถวายกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์” (จุลจอม-
เกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๔๗) ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานในหนังสือ ราชสกุลวงศ์ (ศิลปากร ๒๕๓๖ ข,
๑๕๕) ว่าพระองค์ประสูติในวันพฤหัสบดี แต่ปรากฏว่าพระพุทธรูปที่พิมพ์ในหนังสือเรื่อง พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๓๔๓ – ๓๔๕)

รูปที่ ๓.๔๖ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงอุทิศถวายพระราชกุศล
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓
(ค.ศ. 1868 – 1910)
ทองคำ องค์พระสูง ๒๕ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

รูปที่ ๓.๔๗ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. ๒๔๐๓ (ค.ศ. 1860)
ทองคำ องค์พระสูง ๑๕.๙๐ เซนติเมตร
หอพระบรมอัฐิ พระทีน่ ั่งจักรีมหาปราสาท
พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)


๘๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
นอกจากพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ๓ องค์ที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสำหรับพระองค์เอง และโปรด
เกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานแด่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และ
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เป็นพระพุทธรูปดังต่อไปนี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันอังคาร พระพุทธรูปยืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์
(รูปที่ ๓.๔๘) แทนพระพุทธไสยาสน์
สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า วันพุธ พระพุทธรูปยืน
ปางอุ้มบาตร (รูปที่ ๓.๔๙)
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ วันศุกร์ พระพุทธรูปยืน ปางรำพึง (รูปที่ ๓.๕๐)

รูปที่ ๓.๔๘
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓ (ค.ศ. 1868 - 1910)
ทองคำ สูงรวมฐาน ๓๔.๖๐ เซนติเมตร
หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

รูปที่ ๓.๔๙
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๒๔ (ค.ศ. 1881)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง บาตรหยก
องค์พระสูง ๒๑.๒๐ เซนติเมตร
หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

รูปที่ ๓.๕๐
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๓๘? (ค.ศ. 1875?)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
องค์พระสูง ๒๑.๓๕ เซนติเมตร
หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๘๓
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสำหรับ
พระองค์เอง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วันเสาร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก (รูปที่ ๓.๕๑)

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสำหรับพระองค์
เอง และพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันพุธ พระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร (รูปที่ ๓.๕๒)
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี วันอังคาร พระพุทธรูปยืนปางห้ามพระแก่นจันทน์
(รูปที่ ๓.๕๓) แทนพระพุทธไสยาสน์

รูปที่ ๓.๕๑ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร รูปที่ ๓.๕๒ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร รูปที่ ๓.๕๓ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๕๓ (ค.ศ. 1910) สร้างปี พ.ศ. ๒๔๖๙ – ๒๔๗๐ พระบรมราชินี
ทองคำลงยาประดับอัญมณี (ค.ศ. 1926 – 1927) หล่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ (ค.ศ. 1926)
สูงถึงยอดต้นจิก ๒๐.๘๐ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง บาตรหยก สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท องค์พระสูง ๒๔.๗๕ เซนติเมตร องค์พระสูง ๒๕.๑๕ เซนติเมตร
พระบรมมหาราชวัง หอพระบรมอัฐิ หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
ในพระบรมมหาราชวัง) พระบรมมหาราชวัง (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา ในพระบรมมหาราชวัง)



ในพระบรมมหาราชวัง)

๘๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวารถวาย
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และทรงอุทิศพระพุทธรูป
ถวายสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช-
ชนนี รวมทั้งทรงสร้างสำหรับพระองค์เอง เมื่อทรงฉลองพระชนมพรรษามหามงคล ๕ รอบ ในปี พ.ศ.
๒๕๓๐ (ค.ศ. 1987)

สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล วันอาทิตย์ พระพุทธรูปยืน ปางถวายเนตร (รูปที่ ๓.๕๔)
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม วันศุกร์ พระพุทธรูปยืน ปางรำพึง (รูปที่ ๓.๕๕)
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วันอาทิตย์ พระพุทธรูปยืน ปางถวายเนตร (รูปที่ ๓.๕๖)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันจันทร์ พระพุทธรูปยืน ปางห้ามญาติ (รูปที่ ๓.๕๗)

รูปที่ ๓.๕๔ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร-
มหาอนันทมหิดล
พิมาน มูลประมุข ปั้นหุ่น
พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. 1956)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
องค์พระสูง ๒๒.๘๐ เซนติเมตร
หอพระบรมอัฐิ
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

รูปที่ ๓.๕๕ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร รูปที่ ๓.๕๖ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร


สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระบรมราชชนก สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๓ (ค.ศ. 1970)
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๓ (ค.ศ. 1970) ทองคำ
ทองคำ (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา ในพระบรมมหาราชวัง)
ในพระบรมมหาราชวัง)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๘๕
รูปที่ ๓.๕๗
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปั้นและหล่อ โดย แก้ว หนองบัว
พ.ศ. ๒๕๓๐ (ค.ศ. 1987)
เงิน กะไหล่ทอง
สูงรวมฐาน ๓๑.๙๕ เซนติเมตรเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

๘๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
นอกจากนั้น ยังมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานวันปิยมหาราช พระราช
พิธีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
จัดขึ้นในวันที่ ๒๓ ตุลาคมของทุกๆ ปี โดยอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม-
เกล้าเจ้าอยู่หัว ออกประดิษฐานบนพระแท่นราชบัลลังก์ใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตรในพระที่นั่งอมรินทรา-
วินิจฉัย เคียงข้างด้วยพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีสวรินทิรา
บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระบรมอัฐิและพระอัฐิ
ประดิษฐานเหนือพระที่นั่งบุษบกมาลา

ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีทรง
บำเพ็ญพระราชกุศลวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามา-
ธิบดินทร์ และพระราชกุศลทักษิณานุประทาน พระบรมอัฐิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยเริ่มจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราช
กุศลคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็น
ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. 1953) ต่อมาจึงรวมเป็นวันเดียวกันกับพระราชพิธีทรง
บำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก และเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต จึงจัดพระราชพิธีดัง
กล่าวขึ้นในคราวเดียวกันเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ (ค.ศ. 1997) พร้อมกับอัญเชิญพระพุทธรูปประจำ
พระชนมวารมาตั้งเป็นองค์ประธานอีกด้วย

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๘๗
ตอนที่ ๔ พระราชพิธีพืชมงคลและพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม ในอดีตจึงมีพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
กรรมมากมาย เพื่อสวัสดิภาพ และความอุดมสมบูรณ์ เช่น เดือนธันวาคม พระราชพิธีไล่เรือ หรือไล่น้ำ
เพื่อให้น้ำลดลงเร็วๆ เมล็ดข้าวในนาจะได้ไม่เสียหาย เดือนมกราคม พระราชพิธีตรียัมปวาย หรือ
โล้ชิงช้า ซึ่งแต่เดิมเป็นพิธีที่จะให้พระสูรยะหรือพระอาทิตย์โคจรโดยปกติ (Quaritch Wales 1931, 244)
เดือนกุมภาพันธ์ พิธีธานยเทาะห์ หรือเผาข้าว หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว เดือนพฤษภาคม พระราชพิธี
พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เดือนสิงหาคม พระราชพิธีพรุณศาสตร์ หรือพิธีขอฝน เดือน
กันยายน พระราชพิธีสารท กวนข้าวทิพย์

ปัจจุบันพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรคงเหลือแต่ พระราชพิธีพืชมงคลและพระราชพิธี
จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมเพื่อประกาศว่าถึงช่วงเวลาเริ่มต้นฤดูเพาะปลูก
ทำนา และเพื่อความเป็นสิริมงคล

แต่เดิมมีแต่พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่ง
ตั้งพระยาแรกนา ทำการไถนาและหว่านธัญพืช มีเทพี ๔ นางหาบกระบุงพันธุ์พืชเดินตามพระยาแรกนา
ขณะไถและหว่าน มีการเสี่ยงทายผ้านุ่งที่พระยาแรกนาเลือก และพืชพันธุ์ที่พระโคเลือกกิน ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเพิ่มพระราชพิธีพืชมงคล ซึ่งเป็นพิธีทางพุทธศาสนา ๑ วัน
ก่อนหน้า เพื่อเป็นสิริมงคลหรือทำขวัญแก่พืชพันธุ์ธัญญาหารที่จะนำไปหว่านในวันรุ่งขึ้น

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีพืชมงคล จัดขึ้นที่ท้องสนามหลวง
โดยการสร้างหอพระเพื่อประดิษฐานพระคันธารราษฎร์องค์ใหญ่ เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ
ปางขอฝน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น (ดูรูปที่ ๓.๕๘) พร้อมกับ
พระพุทธคันธารราษฎร์จีน (ดูรูปที่ ๓.๕๙) พระคันธารราษฎร์ยืนซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัวทรงสร้าง (ดูรูปที่ ๓.๖๐) อันมีลักษณะเดียวกันกับพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาของ
พระองค์ (ดูรูปที่ ๓.๓๓) และพระเสกรวงข้าว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง (ดูรูปที่
๓.๖๑) รวมทั้งพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล และพระชัยวัฒน์เนาวโลหะ (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๔๑๒)

๔.๑ พระคันธารราษฎร์

พระคันธารราษฎร์เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ครองจีวรห่มดอง พระหัตถ์ขวายกขึ้นใน
ท่ากวัก พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นที่พระเพลา (รูปที่ ๓.๕๘) สร้างขึ้นพร้อมกับกรุงรัตนโกสินทร์ ดังที่พระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชนิพนธ์ไว้ว่า

พระพุทธคันธารราษฎร์พระองค์ใหญ่ซึ่งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น เป็น
ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างขึ้น ตามในประกาศที่
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไว้ ว่าสำเร็จ ณ ปีเถาะเบญจศก
รูปที่ ๓.๕๘ พระคันธารราษฎร์
จุลศักราช ๑๑๔๕ [พ.ศ. ๒๓๒๖ / ค.ศ. 1783 – 1784] เดิมลงรักปิดทอง แต่
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๖ (ค.ศ. 1783) ภายหลังมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงก้าไหล่ทองขึ้นใหม่
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง และติดเพชรเม็ดใหญ่เป็นพระอุณาโลม พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระนั่งผ้าทรง
หน้าตักกว้าง ๕๗.๔๐ เซนติเมตร เป็นอย่างที่พาดสังฆาฏิตามธรรมเนียม ดวงพระพักตร์และทรวดทรงสัณฐาน
สูงรวมฐาน ๘๗.๕๐ เซนติเมตร
หอพระคันธารราษฎร์ เป็นอย่างพระโบราณ พระรัศมีกลมเป็นรูปดอกบัวตูมเกลี้ยงๆ ด้วยพระบาท
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทอดพระเนตรเห็นพระโบราณ จึงให้ช่างถ่าย
ในพระบรมมหาราชวัง อย่างหล่อให้เหมือนพระพุทธรูปตัวอย่าง (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๕๕๗)
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)


๘๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระคั น ธารราษฎร์ อ งค์ ใ หญ่ ยั ง อั ญ เชิ ญ ไปประดิ ษ ฐานในพระราชพิ ธี ไ ล่ น้ ำ และพระราชพิ ธี
พรุณศาสตร์ (เรื่องเดียวกัน, ๖๖, ๕๖๙)

นอกจากพระคันธารราษฎร์องค์ใหญ่นี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกยังได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระคันธารราษฎร์แบบจีนขึ้นมาอีกองค์หนึ่ง (รูปที่ ๓.๕๙) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัวได้พระราชทานความรู้เกี่ยวกับพระคันธารราษฎร์จีนว่า

ดวงพระพักตร์เป็นอย่างจีน มีแต่พระเมาฬีไม่มีพระรัศมี ผ้าที่ทรงจะว่าเป็นจีวร
ก็ใช่ เป็นผ้าอุทกสาฎกก็ใช่ ใช้คลุมสองพระพาหา แหวกที่พระอุระกว้าง ทำนอง
เป็นเสื้อหลวงญวน อย่างเช่นพระจีนทั้งปวง พระหัตถ์ที่ยกนั้นน่าสงสัยว่าบางที
จะเป็นใช้บทอย่างทำกงเต๊ก แต่ไม่ถึงกรีดนิ้วออกท่า เป็นกวักตรงๆ แต่รูปร่าง
หมดจดงดงามดี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนับถือโปรดปราน
มาก โปรดให้ทำจอกน้ำมนต์วางในพระหัตถ์ซ้าย ช้อนสำหรับตักน้ำมนต์ลงยันต์
สอดในหว่างนิ้วพระหัตถ์ขวา มีจงกลติดเทียนทองอยู่ที่ฐานตรงพระพักตร์ แล้ว
โปรดให้ก้าไหล่ทองทั้งพระองค์และเครื่องประดับสำหรับตั้งพระราชพิธีพืชมงคล
และพรุณศาสตร์ (เรื่องเดียวกัน, ๕๕๘)

รูปที่ ๓.๕๙ พระคันธารราษฎร์จีน พระคันธารราษฎร์จีนองค์นี้ อัญเชิญไปตั้งในพระราชพิธีพรุณศาสตร์อีกด้วย (เรื่องเดียวกัน, ๕๖๘)
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๖? (ค.ศ. 1783?) การสร้างพระคันธารราษฎร์จีนขึ้นใหม่นี้ แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทองคำ มีพระราชดำริที่มุ่งรื้อฟื้นและสืบทอดพระราชประเพณีที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้วเพื่อใช้ในพระราช
หน้าตักกว้าง ๒๙.๓๐ เซนติเมตร
สูงรวมฐาน ๔๘.๑๐ เซนติเมตร พิธีพืชมงคลและพรุณศาสตร์ พระคันธารราษฎร์จึงเป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อ
หอพระคันธารราษฎร์ ประโยชน์สุขของประชาชน และเป็นการแสดงออกของหน้าที่ความรับผิดชอบที่พระมหากษัตริย์ทรงมีต่อ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พสกนิกรของพระองค์ คือทรงนำความชุ่มชื้นมาสู่แผ่นดิน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักหน้าที่หนึ่งของพระมหากษัตริย์
ในพระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา มาแต่ดึกดำบรรพ์
ในพระบรมมหาราชวัง)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๘๙
พระคันธารราษฎร์ยืน พระหัตถ์ขวายกในกิริยากวัก พระหัตถ์ซ้ายหงายรองรับน้ำฝนที่บั้นพระองค์
(รูปที่ ๓.๖๐) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของพระปางคันธารราษฎร์ หรือปางขอฝน ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นตามเนื้อหาในพุทธประวัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
พระราชนิพนธ์ว่า

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริตามเรื่องพระคันธารราษฎร์
ในท้องเรื่องนั้น เวลาที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงสรงในสระโบกขรณีนั้น ว่าเสด็จ
ยืนอยู่ที่ปากสระ จึงโปรดให้หล่อองค์ย่อมอีกองค์หนึ่ง ทรงผ้าอุทกสาฎก ตวัด
ชายคลุมพระพาหาข้างหนึ่ง เสด็จยืนอยู่บนบัวกลุ่ม ที่ฐานมีคั่นอัฒจันทร์ลงไป
สามคั่น ให้เป็นที่หมายว่าเป็นคั่นอัฒจันทร์ลงในสระ (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๔๙๖, ๕๕๗ – ๕๕๘)

ดังนั้นพระพุทธรูปยืนปางขอฝน จึงเป็นภาพที่ช่างปั้นจินตนาการขึ้นให้รับกับเหตุการณ์ฝนแล้ง
ที่เกิดขึ้นเมื่อพระพุทธองค์ประทับที่กรุงสาวัตถี จนสระบัวที่พระองค์ทรงใช้ก็แห้งด้วย จึงเสด็จไปยืนที่
ขอบสระ และทรงกวักเรียกฝน ด้วยพุทธานุภาพฝนจึงตกลงมา

รูปที่ ๓.๖๐ พระสมณโคดมยืน ขอฝน


พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑
(ค.ศ. 1851 - 1868)
สัมฤทธิ์ องค์พระสูง ๔๑.๘๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
กรุงเทพมหานคร

๙๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๔.๒ พระเสกรวงข้าว

พระเสกรวงข้าว (รูปที่ ๓.๖๑) หรือ “พระทรมานข้าว” คำว่าทรมานคือการให้ข้าวลดทิฐิมานะ
ออกดอกผลเป็นเมล็ดพันธุ์อันอุดมสมบูรณ์ตามฤดูกาล พระเสกรวงข้าวเป็นพระพุทธรูปสลักจากศิลา
สีแดงประทับขัดสมาธิราบบนฐานสิงห์ที่มีผ้าทิพย์ ใต้ฉัตรสามชั้น แสดงปางมารวิชัย ด้านหลังมีต้นไม้
สองต้นเต็มไปด้วยพืชผล ด้านหน้าฐานพระพุทธรูปมีคนยืนใส่หมวกสองคน คนหนึ่งน่าจะเป็นเจ้านาย
กำลังเจรจากับบ่าวซึ่งนั่งพนมมืออยู่ด้านหน้าของแปลงข้าว ภายในแปลงข้าวมีคนกำลังไล่นก กังหันลม
และกระบือคู่หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ว่า

ยังมีที่เป็นคู่กัน (กับพระทรมานมิจฉาทิฐิ) คือทรมานข้าว พระพุทธเจ้านั่งอยู่บน
ฐานในครอบแก้ว ตรงหน้าออกมาเป็นท้องนามีข้าวกำลังเป็นรวง ตามครอบแก้ว
ก็เขียนเป็นรูปห้างคนขับนก และฝูงนกที่บิน พระพุทธรูปครอบแก้วที่เรียกว่า
ทรมานข้าวนี้ ก็ใช้ตั้งในพระราชพิธีแรกนา (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖,
๕๕๖ – ๕๕๗)

หากพิจารณาจากการใช้วัสดุที่มีค่าและหายาก เช่น ศิลาสีแดง ทองคำ พลอย และการลงยาราชาวดี
รูปที่ ๓.๖๑ พระเสกรวงข้าว
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า- แล้ว ยังสามารถสะท้อนให้เห็นค่านิยมร่วมสมัยจากจีน ซึ่งนิยมสร้างประติมากรรมขนาดเล็กด้วยอัญมณี
เจ้าอยู่หัว เช่น ทิวทัศน์เกาะเพ็งไหล ซึ่งเป็นดินแดนอมตะของเหล่าเซียน (Evelyn et al. 2005, 360)
พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔
(ค.ศ. 1824 – 1851) พระเสกรวงข้าวเป็นตัวอย่างหนึ่งของงานประติมากรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า-
ศิลาแดง
องค์พระสูง ๘.๗๐ เซนติเมตร เจ้าอยู่หัวที่แสดงให้เห็นค่านิยมในงานศิลปะของยุคนั้นที่เน้นความเหมือนจริงในงานสร้างสรรค์ เฉกเช่น
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง งานวรรณกรรมร่วมสมัย ที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า

อาจจะกล่าวได้ว่า ความสนใจต่อสัจจนิยมในวรรณกรรมและการกล่าวถึงความ
จริงเชิงประสบการณ์เป็นลักษณะสำคัญของวรรณกรรมในต้นรัตนโกสินทร์
(นิธิ ๒๕๒๗, ๒๐๓)

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีที่กระทำสืบทอดกันมาจนถึง
พ.ศ. ๒๔๗๗ (ค.ศ. 1934) เมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎรก็ยกเลิก
พระราชพิธีนี้ไป จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. 1940) รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงได้รื้อฟื้น
พระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีก แต่เป็นการรื้อฟื้นเพียงพระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓
(ค.ศ. 1960) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นพระราชพิธีจรด-
พระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมา เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
และเพื่อให้บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่พืชพันธ์ธัญญาหาร

ในรัชกาลปัจจุบัน พระราชพิธีพืชมงคลจัดในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และอัญเชิญ
พระคันธารราษฎร์ไปประดิษฐานร่วมในพิธีด้วย

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๙๑
หมวด ค.
พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระเกียรติยศและ

ฉลองพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นพระเกียรติยศของพระองค์
ที่สำคัญได้แก่ พระพุทธปฏิมาทรงเครื่องฉลองพระองค์

ตอนที่ ๕ พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นแทนองค์พระมหากษัตริย์
และพระราชวงศ์

พระพุทธปฏิมาทรงเครื่องฉลองพระองค์

อาจจะกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ที่พระมหากษัตริย์สามพระองค์แรกของ
กรุงรัตนโกสินทร์ทรงสร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาในพระบวรศาสนานั้น เป็นพระพุทธรูปที่สะท้อนให้เห็น
ค่านิยมของคณะสยามนิกายซึ่งเป็นนิกายที่สืบทอดมาจากคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะที่ในปัจจุบันเรียกว่าคณะ
มหานิกายได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด เพราะพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ได้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน โดยไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ อันเห็นได้จากที่พระพุทธรูปคือพระมหากษัตริย์ และ
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระพุทธเจ้า และจากการที่คณะสยามนิกายนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลอง
พระองค์ของพระจักรพรรดิราช ตามที่กล่าวถึงใน มหาชมพูปติสูตร จาก พระสุตตันตปิฎก ลักขณสูตร-
ทีฆนิกาย (สุชีพ ๒๕๓๕, ๓๖๑) และใน เอกปุคคลปาสิ อังคุตตรนิกาย ในพระไตรปิฎกที่กล่าวว่า
ทั้งพระพุทธเจ้า และพระจักรพรรดิราช ต่างก็เป็นอัจฉริยมนุษย์ ประสูติขึ้นมาเพื่อประโยชน์สุขของ
มวลมนุษย์ชาติเช่นกัน (เรื่องเดียวกัน, ๔๙๓) และตามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระ
ราชดำรัสให้ พระศรีสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ เรียบเรียงประวัติของพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิ-
พิมลมณีมัยในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ (ค.ศ. 1861) และทรงแทรกเรื่องราวของการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง
ฉลองพระองค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช พระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถ และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จ
พระบรมเชษฐาธิราช ทรงสร้างขึ้นว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช
ทรงดำเนินตามประเพณีในราชตระกูลว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและกรมพระราชวังบวร ต้อง
สร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์เป็นพระพุทธรูปยืนห้ามสมุทรสูงเสมอพระองค์ ทรงเครื่องต้น คือ พระ
มหามงกุฎ กรรเจียกจร ฉลองพระศอ ทับพระทรวง พระสังวาล ตาบหน้าตาบหลัง เฟื่องข้าง ผ้าทิพย์
พระสุพรรณกระถอบชายไหวสามชั้น พระสุพรรณภูษา พระเกยูร พระพาหุรัด พระสุพรรณมาลัยกนกเหน็บ
พระธำมรงค์ทั้งสิบนิ้ว ยอดรังแตนใจกลางพระหัตถ์ ฉลองพระบาทเชิงงอน พระพุทธรูปฉลองพระองค์
เช่นนี้ พระเจ้าอยู่หัวและกรมพระราชวังบวรเมื่อเวลาเสวยราชสมบัติ “รีบร้อนเร่งซงส้างขึ้นไว้เพื่อจะให้
เป็นพระเกียรติยส สืบไปพายหน้าทุกพระองค์” (จอมเกล้าเจ้าหยู่หัว ๒๔๘๕, ๙๘ – ๙๘, อักขรวิธีสมัย
จอมพล ป. พิบูลสงคราม)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลอง
พระองค์ขึ้นสามองค์ ได้แก่ พระพุทธจักรพรรดิ พระพุทธเพชรัตน์ และพระพุทธเนาวรัตน์ พระพุทธ-
จักรพรรดินั้น เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระบรมราชชนกใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)

๙๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๙๓
แล้วซงส้างพระฉลองพระองค์อีกคู่หนึ่งโดยหย่างไหม่ ไม่มีปีกแลครีบพระกร
หย่างโบราณ ยักหย่างไห้มีอาการพระพุทธรูปซงจีวรแต่พระอังสาเดียว มีผ้า
พาดสังเขป เพื่อจะซงเครื่องต้นให้แนบเนียนสนิธเรียบร้อยเต็มตามที่พระฉลอง
พระองค์ทั้งสองนั้น ก็ซงเครื่องต้นลงยาราชาวดีเต็มบริบูรน์แลมีถานมีฉัตร
โดยหย่างดังว่ามาแล้วเหมือนกัน พระพุทธรูปสองพระองค์นั้นพระองค์หนึ่ง
เครื่องประดับนั้นมีพลอยแต่ล้วนเพชร จึงได้ถวายพระนามว่า พระพุทธเพชรรัตน
อีกพระองค์ ซงเครื่องประบัตฝังพลอยต่าง ๆ ทั้ง 9 หย่าง จึงได้ถวายพระนาม
ว่ า พระพุ ท ธเนาวรั ต น... (เรื่ อ งเดี ย วกั น , ๙๙, อั ก ขรวิ ธี ส มั ย จอมพล ป.
พิบูลสงคราม)

พระพุทธจักรพรรดินั้น “มีปีกแลครีบพระกรอย่างโบราณ” คือเป็นพระพุทธรูปห่มคลุม (รูปที่
๓.๖๒ ก.) ตามประเพณีที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา ทับทรวงประดับด้วยทับทิมล้วน ๆ เช่นเดียวกันกับ
ทับทรวงเครื่องทรงฤดูร้อนของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงสร้างถวาย และชายแครงทำเป็นกนกสามตัวนกคาบ (รูปที่ ๓.๖๒ ข.) ซึ่งเป็นลายที่นิยมสมัยอยุธยา
ตอนปลาย (พิชญา ๒๕๕๐, ๙๒)

รูปที่ ๓.๖๒ ข. ลายกนกชายไหวชายแครง


พระพุทธจักรพรรดิ์
(รูปที่ ๓.๖๒ ก.)

รูปที่ ๓.๖๒ ก.พระพุทธจักรพรรดิ์


(ฐานชุกชีชั้นบนสุด แถวหน้าด้านซ้าย)
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๒๖ (ค.ศ. 1782 - 1783)
สัมฤทธิ์ หุ้มทองคำลงยาราชาวดี ประดับอัญมณี
สูง ๒.๑๕ เมตร
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

๙๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงริเริ่มสร้างขึ้นเป็นพระพุทธรูป “อย่าง
ใหม่” คือห่มดอง มีสังฆาฏิพาดพระอังสา ได้แก่ พระพุทธเพชรรัตน์ ซึ่งตกแต่งด้วยเพชรที่ทับทรวง
สังวาล และพระธำมรงค์ทุกนิ้วพระหัตถ์ (รูปที่ ๓.๖๓ ก.) และพระพุทธเนาวรัตน์ ซึ่งประดับด้วยพลอย
ทั้ง ๙ ชนิด (รูปที่ ๓.๖๔ ก.) แต่ทั้งสององค์มีลักษณะร่วมกันคือ กรรเจียกจร (รูปที่ ๓.๖๓ ข.) และ
ชายไหวชายแครง (รูปที่ ๓.๖๔ ข.) ประดิษฐ์เป็นช่อกนกหางโตใบเทศ

รูปที่ ๓.๖๔ ก. พระพุทธเนาวรัตน์


(องค์หลังด้านทิศตะวันออก)
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๒๖
(ค.ศ. 1782 - 1783)
สัมฤทธิ์
หุ้มทองคำลงยาราชาวดี
ประดับอัญมณี
สูง ๒.๑๗ เมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน
พระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๓.๖๓ ข. กรรเจียกจร พระพุทธเพชรรัตน์


(รูปที่ ๓.๖๓ ก.)

รูปที่ ๓.๖๔ ข. ชายไหวชายแครง


พระพุทธเนาวรัตน์
(รูปที่ ๓.๖๔ ก.)

รูปที่ ๓.๖๓ ก. พระพุทธเพชรรัตน์


(องค์หลังด้านทิศตะวันตก)
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๒๖
(ค.ศ. 1782 - 1783)
สัมฤทธิ์
หุ้มทองคำลงยาราชวดี
ประดับอัญมณี
สูง ๒.๑๗ เมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน
พระบรมมหาราชวัง

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๙๕
ส่วนพระพุทธรูปฉลองพระองค์ที่สมเด็จพระอนุชาธิราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
(พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๔๖ / ค.ศ. 1782 – 1803) ทรงสร้างขึ้นนั้นเป็นแบบที่ “มีปีกแลครีบพระกรอย่าง
โบราณ” มงกุฎมีครอบหลังพระเศียร (รูปที่ ๓.๖๕ ก.) กุณฑลเป็นลูกตุ้ม ชายไหวชายแครงเป็นช่อหางโต
ใบเทศ และลงยาราชาวดี (ลงยาสีฟ้า) (รูปที่ ๓.๖๕ ข.) (เรื่องเดียวกัน, ๑๐๘ – ๑๐๙)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธรูปฉลองพระองค์ที่
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างขึ้นว่า

ซงพระอุสาหะสเด็ดพระราชดำเนินไปยังโรงการ ซงติเตียนแก้ไขพระพักตร์แล
ส่วนพระองค ด้วยพระราชประสงค์จะไห้ดีไห้งาม ไห้วิเสสกว่าพระฉลองพระองค์
ของพระเจ้าหยู่หัวไนพระบรมมหาราชวัง ไนพระบวรราชวัง แลเจ้านายอื่นๆ
ไม่มีที่สู้ได้ ซงพระราชดำหริตริตรองไห้ช่างเขียนลายตัวหย่าง ยัก ๆ เยื้อง ๆ ไป
แล้วไห้จัดซื้อหาเพชรแลพลอยดีๆ สีต่างกัน ล้วนพลอยสีลามาไห้ช่างเจียระไน
ได้ที่ไนหลุมพลอยเครื่องประดับ ไห้เปนเครื่องกุดั่นล้วนทั้งพระองค์ ไม่มีลาย
ลงยาข้างด้านหน้า มีลายลงยาแต่หลังตัวกนกแลพื้นผ้าทิพ แล้วประดับประดา
เพิ่มเติมด้วยเครื่องเพชรเรือนนอกต่างๆ มากมายยิ่งนัก เพลิดเพลินพระหรึทัย
ไปแต่ไนที่จะประดับฉลองพระองค์ เพราะเปนของไหย่จะคิดประดับประดาเพิ่ม
เติมไห้ดีไห้งามไปตามพระราชประสงค์ การไนฉลองพระองค์นั้นเปนอันเส็ดลงไน
ปลายปีมะเมียนักสัตรจัตวาสก (แผ่นดินพระบาทสมเด็ดพระพุทธเลิสหล้านภาลัย)
สักราช 1184 ตรงกับปีมีคริสตสักราช 1822… (เรื่องเดียวกัน, ๙๙ – ๑๐๐,
อักขรวิธีสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม)

รูปที่ ๓.๖๕ ข. ชายไหวชายแครง


พระพุทธรูปฉลองพระองค์
สมเด็จพระบวรราชเจ้า
มหาสุรสิงหนาท
(รูปที่ ๓.๖๓ ก.)
รูปที่ ๓.๖๕ ก. พระพุทธรูปฉลองพระองค์
สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท
(ฐานชุกชีชั้นบนสุด แถวหน้าด้านขวา)
พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๔๖ (ค.ศ. 1782 - 1803)
สัมฤทธิ์ หุ้มทองคำลงยาราชาวดี ประดับอัญมณี
สูง ๑.๙๓ เมตร
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง

๙๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย

เครื่องประดับพระพุทธนฤมิตร (รูปที่ ๓.๖๖ ก.) นี้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำ
หลุมฝังอัญมณีแทนวิธีการเขียนลายลงยา ส่วนชายไหวชายแครงทำเป็นกนกใบเทศโปร่ง (รูปที่ ๓.๖๖ ข.)
ทรงพระราชทานพระนามพระพุทธรูปว่า

พระพุทธนิมิต เพราะเหตุที่ซงพระราชดำหริว่าพระพุทธเจ้าที่จะซงเครื่องประดับ
หย่างนี้ไม่มี เปนแต่เวลาที่พระองค์จะซงทรมานผู้หนึ่งผู้ใด แล้วจะซงนิรมิตโดย
พระพุทธริทธิ์วิสัยไห้เป็นดังนี้เท่านั้น (เรื่องเดียวกัน, ๑๐๓, อักขรวิธีสมัย
จอมพล ป. พิบูลสงคราม)

พระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ “พระพุทธรังสรรค์”
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงให้เปลี่ยนเป็น “พระพุทธรังสฤษดิ์” เพื่อให้สัมผัสคล้องจองกับ
พระนามของ “พระพุทธนฤมิตร” (ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ๒๕๔๑, ๒๐) สร้างขึ้นและสมโภชในปี
พ.ศ. ๒๓๗๔ (ค.ศ. 1831) พระพุทธรังสฤษดิ์ (รูปที่ ๓.๖๗ ก.) มีชายไหวชายแครงเป็นกนกสามตัว
ใบเทศ และไม่มีการลงยาราชาวดี หรือลงยาด้วยสีฟ้า (รูปที่ ๓.๖๗ ข.)

รูปที่ ๓.๖๖ ก. พระพุทธนฤมิตร


(องค์หน้า ด้านทิศตะวันออก)
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๖๕ (ค.ศ. 1822)
สัมฤทธิ์ หุ้มทองคำลงยา
ประดับอัญมณี
สูง ๒.๑๐ เมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน
พระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๓.๖๖ ข. ชายไหวชายแครง พระพุทธนฤมิตร รูปที่ ๓.๖๗ ก. พระพุทธรังสฤษดิ์ รูปที่ ๓.๖๗ ข. ชายไหวชายแครง
(รูปที่ ๓.๖๖ ก.) (องค์หน้า ด้านทิศตะวันตก) พระพุทธรังสฤษดิ ์
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๗๔ (ค.ศ. 1831) (รูปที่ ๓.๖๗ ก.)



สัมฤทธิ์ หุ้มทองคำลงยา ประดับอัญมณี
สูง ๒.๑๐ เมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๙๗
๙๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย

ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ เห็นได้ชัดเจนที่สุดเมื่อครั้ง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ขึ้นอีก ๒ องค์ในปี
พ.ศ. ๒๓๘๖ (ค.ศ. 1843) ประดิษฐานหน้าฐานชุกชีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถวาย
พระนามองค์ด้านซ้ายของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ดูรูปที่ ๓.๗) และ
องค์ด้านขวาว่าพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย (ดูรูปที่ ๓.๘) ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตร
อลังการด้วยเนาวรัตน์สุดเท่าที่จะเนรมิตรประดิษฐ์คิดขึ้นมาได้ (ดูหัวข้อที่ ๑.๒ หน้า ๕๔)

นอกจากพระพุทธรูป ๒ องค์นี้แล้ว บนชุกชีของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรยังประดิษฐาน
พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์อีก ๑๐ องค์ ซึ่ง ๔ องค์สร้างขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ๑ องค์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ ๕ องค์สร้างขึ้น
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พิชญา ๒๕๕๐, ๔๑ – ๑๔๒) ทั้ง ๑๐ องค์ มีความวิจิตร
ตระการตาไม่แพ้กัน สอดคล้องกับพระราโชบายที่จะเสริมสร้างพระเกียรติยศด้วยพระราชศรัทธา

แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชดำริที่จะสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลอง
พระองค์ของพระองค์เอง และพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะประดิษฐานไว้ภายในบุษบกยอดปรางค์ที่ผนังด้านหลังพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม
แต่ก็มิได้ทรงสร้าง (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๔, ๗๐) เพราะตอนหลังอาจจะเปลี่ยนพระทัยไปสร้าง
พระบรมรูปแทนก็เป็นได้ ส่วนบุษบกด้านหน้านั้นพระองค์ทรงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รูปที่ ๓.๖๘) ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้จำลองจากพระพุทธนฤมิตร พระพุทธรูป
ทรงเครื่องฉลองพระองค์ในหอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง (ศิลปากร ๒๕๒๑ ข, ๖๔) (ดูรูปที่
๓.๖๖ ก.) แต่งานยังคงค้างอยู่เมื่อเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้
หล่อพระพุทธรูปให้แล้วเสร็จ และนำขึ้นประดิษฐานในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ (ค.ศ. 1883) (ศิลปากร ๒๕๔๓ ก, ๑๖๕)


รูปที่ ๓.๖๘ พระพุทธนฤมิตรจำลอง
หล่อปี พ.ศ. ๒๔๒๖ (ค.ศ. 1883)
สัมฤทธิ์ สูง ๒.๔๙ เมตร
พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม
กรุงเทพมหานคร

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๙๙
๑๐๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้
สร้างขึ้นได้แก่ พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จ
พระบรมชนกนาถ (รูปที่ ๓.๖๙) ประดิษฐานในวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๐๔, ๗๗)
ซึ่งเลียนแบบพระพุทธนฤมิตรจำลอง วัดอรุณราชวราราม และพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (รูปที่ ๓.๗๐) ประดิษฐานในพระอุโบสถ
วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ครองจีวรห่มดอง เฉกเช่นพระพุทธรูปทรงเครื่อง
ฉลองพระองค์ที่พระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีทรงสร้าง ทรงพระมหามงกุฎยอดสูง ชายแครงมี
ขนาดลดหลั่นกัน ตอนบนมีขนาดของตัวกนกเล็กกว่าตอนล่าง ซึ่งเป็นแบบที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่

รูปที่ ๓.๖๙ พระพุทธวชิรญาณ รูปที่ ๓.๗๐ พระพุทธรูปฉลองพระองค์


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. 1885) สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง สร้างปี พ.ศ. ๒๔๓๘ – ๒๔๔๓ (ค.ศ. 1895 - 1900)
พระวิหารเก๋ง สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง สูง ๑.๗๓ เมตร
วัดบวรนิเวศวิหาร พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส
กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๐๑
รูปที่ ๓.๗๑ ก.
พระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ
ทรงปั้นหล่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ (ค.ศ.1871)
ปราสาทพระเทพบิดร
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๓.๗๑ ข.
พระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ
ทรงปั้นหล่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ (ค.ศ.1871)
ปราสาทพระเทพบิดร
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๓.๗๑ ค.
พระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ
ทรงปั้นหล่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ (ค.ศ. 1871)
ปราสาทพระเทพบิดร
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๓.๗๑ ง.
พระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ
ทรงปั้นหล่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ (ค.ศ. 1871)
ปราสาทพระเทพบิดร
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง

๑๐๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลิกพระราชประเพณีการสร้างพระพุทธรูป
ทรงเครื่องฉลองพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมรูปสมเด็จบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าขึ้นแทน
(รูปที่ ๓.๗๑ ก. – รูปที่ ๓.๗๑ ง.) พระบรมรูป ๔ รัชกาลเมื่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ (ค.ศ. 1873)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานในมุขด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในปีต่อ
มาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปไว้ในพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ และเมื่อทรงสร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทเสร็จ
จึงย้ายไปประดิษฐานไว้ที่นั้น

ส่วนปราสาทพระเทพบิดร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานในปัจจุบันนั้นเดิมคือ “พุทธปรางค์ปราสาท”
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
แต่เสด็จสวรรคตก่อนที่จะแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงดำเนินการสร้างต่อ
จนแล้วเสร็จ แต่มีพระราชดำริว่า เล็กเกินไปสำหรับพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา จึงโปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญพระเจดีย์กะไหล่ทองของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปตั้งเป็นองค์ประธาน ปลาย
รัชกาลนั้นเองเกิดเหตุเพลิงไหม้พุทธปรางค์ปราสาท พระเจดีย์ละลายสูญไป และเมื่อโปรดเกล้าฯ ให้
บู ร ณะซ่ อ มแซมแล้ ว จึ ง ทิ้ ง ให้ ว่ า งอยู่ ต่ อ มาในรั ช กาลของพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตกแต่งขึ้นใหม่ และอัญเชิญพระบรมรูป ๔ รัชกาลจากพระที่นั่งศิวาลัย-
มหาปราสาทมาประดิษฐานพร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น “ปราสาทพระเทพบิดร” เพราะมุขหลังเป็นที่ประดิษฐาน
พระเทพบิดร ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงหล่อขึ้นใหม่ (ศิลปากร ๒๕๑๒, ๔๑)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า-
อยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูปสัมฤทธิ์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่ง เซซาเร ฟันตาคิโอติ
(Cesare Fantacchiotti) ได้หล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (ค.ศ. 1901) จากพระบรมรูปสลักหินอ่อนใน
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งตนเองเป็นผู้สลักขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ค.ศ. 1897) ครั้งเมื่อเสด็จประพาส
เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี (อภินันท์ เล่ม ๑ ๒๕๓๕, ๑๔๑) พระบรมรูปสัมฤทธิ์องค์นี้ เมื่อครั้ง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนม์ชีพอยู่นั้นได้ประดิษฐานในท้องพระโรงพระที่นั่ง
วิมานเมฆ พระราชวังดุสิต และเมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว จึงอัญเชิญไปประดิษฐานร่วมกับพระบรมรูป ๔
รัชกาลในพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คอราโด เฟโรจี (Corrado Feroci) ซึ่ง
เมี่อเปลี่ยนสัญชาติเป็นไทยแล้วมีนามว่า ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ปั้นหล่อในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ (ค.ศ. 1926) โดยที่
พระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวนั้น พระเศียรปั้นจากพระองค์จริงก่อนจะเสด็จ
สวรรคต (เรื่องเดียวกัน, ๒๓๕)

ส่วนพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา-
อานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้ปั้นหล่อ
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๔๙๕
(ค.ศ. 1946 – 1952) ส่วนพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลนั้นมี ไพฑูรย์
เมืองสมบูรณ์ เป็นผู้ช่วย และเมื่อปั้นรูปร่างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ (ค.ศ. 1957) ได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย (เรื่องเดียวกัน, ๒๘๕) ก่อนที่จะหล่อพระบรมรูปเท่า
พระองค์จริง เพื่อจะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม


สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๐๓
ตอนที่ ๖ พระพุทธปฏิมาที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเมื่อครั้งทรงผนวช

พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างซึ่งแสดงถึงพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง
ได้แก่ พระพุทธรูปที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อเมื่อครั้งทรงผนวช แล้วโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ
มาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ ด้วยเพราะพระมหากษัตริย์ทุก
พระองค์ นับจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช ล้วนทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้

๖.๑ พระพุทธนินนาท (รูปที่ ๓.๗๒)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ (ค.ศ. 1873) และเสด็จมาประทับที่พระตำหนักปั้นหยา ซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ-
สมมุติเทววงศ์ เมื่อครั้งดำรงพระสมณศักดิ์เป็น พระวชิรญาณมหาเถร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
(เพลินพิศ ๒๕๓๓, ๕) ครั้นทรงลาผนวชแล้วจึงทรงสร้างพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร ทรงครองจีวร
ห่มคลุม ทำเป็นริ้วตามธรรมชาติ และไม่มีพระเมาลี อันเป็นพระราชนิยมที่สืบเนื่องมาจากสมัยพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ

๖.๒ พระพุทธนาคชินะ (รูปที่ ๓.๗๓)

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ (ค.ศ. 1904) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมกุฎราชกุมาร
ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับพระตำหนักปั้นหยา วัดบวร-
นิ เ วศวิ ห าร พร้ อ มกั น นั้ น สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอ เจ้ า ฟ้ ามหิ ด ลอดุ ล ยเดช กรมขุ น สงขลานคริ น ทร์
ทรงผนวชเป็นสามเณร (วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๐๔, ๑๐๒ – ๑๐๓) ในคราวนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระพุทธนาคชินะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปนาคปรก ประจำวันเสาร์ วันพระบรมราชสมภพ เป็นพระ
บรมราชานุสรณ์

๖.๓ พระพุทธธรรมาธิปกบพิตร (รูปที่ ๓.๗๔)

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. 1917) สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมขุน
ศุโขไทยธรรมราชา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับที่พระ
ตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร (เรื่องเดียวกัน, ๑๓๓ – ๑๓๔) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ (ค.ศ. 1973)
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระพุทธธรรมาธิปกบพิตร เป็นพระบรมราชานุสรณ์ (สำนักราชเลขาธิการ ๒๕๒๘ ข, ๑๔๓)
พระพุทธธรรมาธิปกบพิตร เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำวันพุธ วันพระ
บรมราชสมภพ

๖.๔ พระพุทธนาราวันตบพิตร (รูปที่ ๓.๗๕)

เป็นพระพุทธรูปซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
สร้างขึ้นเป็นพระบรมราชานุสรณ์ เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. 1956) เป็น
พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร จำลองพุทธลักษณะจากพระพุทธนินนาท (ดูรูปที่ ๓.๗๒) ซึ่งพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชทรงสร้างขึ้นเมื่อครั้งทรงผนวช ซึ่งเป็น
พระพุทธรูปประจำวันจันทร์ วันพระบรมราชสมภพ

๑๐๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๓.๗๒
พระพุทธนินนาท
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๐๙ (ค.ศ. 1866)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
สูง ๔๙ เซนติเมตร
วัดบวรนิเวศวิหาร
กรุงเทพมหานคร
(ภาพจากสำนักราชเลขาธิการ)

รูปที่ ๓.๗๓
พระพุทธนาคชินะ
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๔๗ (ค.ศ. 1904)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๒.๗ เซนติเมตร
วัดบวรนิเวศวิหาร
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๓.๗๔
พระพุทธธรรมาธิปกบพิตร
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๖ (ค.ศ. 1973)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
สูง ๕๐ เซนติเมตร
วัดบวรนิเวศวิหาร
กรุงเทพมหานคร
(ภาพจากสำนักราชเลขาธิการ)

รูปที่ ๓.๗๕
พระพุทธนาราวันตบพิตร
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. 1956)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
สูง ๓๖.๕ เซนติเมตร
วัดบวรนิเวศวิหาร
กรุงเทพมหานคร
(ภาพจากสำนักราชเลขาธิการ)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๐๕
หมวด ง.
พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเพื่อกิจการพิเศษ

ตอนที่ ๗ พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเพื่อกิจการพิเศษ

เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ถึง ๒๗ พรรษาก่อนที่จะเสด็จขึ้น
ครองราชย์ จึงทรงมีความผูกพันกับพุทธศาสนามากเป็นพิเศษ พระพุทธรูปที่ทรงสร้างขึ้นเพื่อกิจการ
พิเศษนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับการสถาปนาคณะธรรมยุติกนิกาย โดยพระสัมพุทธพรรณีเป็นพระพุทธรูปองค์
แรกที่สร้างขึ้นในคณะธรรมยุติกนิกาย และพระพุทธปริตร ที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์ของส่วนสัดตามขนาด
ของเมล็ดข้าวเปลือก ที่ทรงเชื่อว่าเป็นเกณฑ์ที่ใช้ครั้งสมัยพุทธกาล และเป็นเกณฑ์ที่ทรงใช้กับพระพุทธรูป
ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์


๗.๑ พระสัมพุทธพรรณี (รูปที่ ๓.๗๖)

พระพุทธรูปองค์แรกของธรรมยุติกนิกาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น
ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ (ค.ศ. 1830) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์
และประทับอยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาสวิหาร) มีพระฉายาว่า พระวชิรญาณเถระ ได้ทรงสถาปนาคณะ
ธรรมยุติกนิกายขึ้น พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบปางสมาธิ ถวายพระนาม
ว่า “พระสัมพุทธพรรณี” ซึ่งบรรจุดวงพระชนมพรรษาและพระสุพรรณบัฏเดิม แต่ที่เป็นพิเศษคือ
พระพุทธรูปองค์นี้ไม่มีพระเมาลี หรือพระเกตุมาลา ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ
ช่างเอกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าประทานสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า

ทูลกระหม่อม (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ไม่โปรดจะให้มีพระ
เกตุมาลา ด้วยพระอรรถกถาจารย์หรืออะไรอธิบายไว้ว่า พระเกตุมาลานั้นเกิด
ขึ้นด้วยอำนาจทรงสมาธิ อาจจะกลั้นหายใจลมจึงดันขึ้นเบื้องบนทำให้มีพระ
เกตุมาลา ทูลกระหม่อมตรัสว่าหัวเป็นปุ่มก็ไปเข้าลักษณะบุรุษโทษ ไม่ควรแก่จะ
เป็ น พุ ท ธลั ก ษณะเลย ... จนถึ ง ทรงอธิ ษ ฐาน ให้ ท รงพระสุ บิ น เห็ น พระรู ป
พระพุทธเจ้าอันแท้จริง ก็ได้ทรงพระสุบินเห็นจริงๆ แต่ก็เห็นพระเศียรมีปุ่มดุจ
พระพุทธรูปที่ทำกันอยู่นั้นเอง ทั้งนี้ไปเข้ารูปอย่างที่ฝ่าพระบาทตรัสประทาน
วินิจฉัยไว้ด้วยความเคยเห็นนั้นเอง ที่สุดทูลกระหม่อมก็ทรงหักหัวหักหางเอาว่า
พระเศียรมีปุ่มไม่ได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธรูปซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๔ จึงไม่มี
พระเกตุมาลา (สาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๗ ๒๕๑๕, ๒๗๗ – ๒๗๘)

ภายหลังได้ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุภายในองค์พระด้วย พระสัมพุทธพรรณีประดิษฐานที่วัด
สมอรายเรื่ อ ยมาจนกระทั่ ง เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงประกอบพระราชพิ ธี
บรมราชาภิเษก ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสัมพุทธพรรณีไปประดิษฐานในพระราชพิธีด้วย หลังจาก
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงได้อัญเชิญพระสัมพุทธพรรณีไปประดิษฐานที่ฐานชุกชีในพระอุโบสถ
วั ด พระศรี รั ต นศาสดารามแทนที่ พ ระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ ที่ ไ ด้ อั ญ เชิ ญ ไปไว้ ที่ พ ระที่ นั่ ง พุ ท ไธสวรรย์ ใ นพระ
บวรราชวัง อันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๓๒๖)

นอกจากนั้นแล้ว พระสัมพุทธพรรณียังครองจีวรตามแบบพระภิกษุในธรรมยุติกนิกาย พาดสังฆาฏิ
จีวรทำเป็นริ้วตามธรรมชาติอีกด้วย เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าประดิษฐวรการทำพระรัศมีขึ้น ๔ องค์ ด้วยทอง นาก แก้วสีขาว และแก้วสีน้ำเงิน ทอง
สำหรับฤดูร้อน นากหรือแก้วสีขาวสำหรับฤดูหนาว และแก้วสีน้ำเงินสำหรับฤดูฝน ซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์จะเสด็จฯ ไปทรงเปลี่ยนพระรัศมีของพระสัมพุทธพรรณี ในคราวเดียว
กับการเปลี่ยนเครื่องทรงของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน)

๑๐๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๗๖ พระสัมพุทธพรรณี
ขุนอินทรพินิจ ปั้นหล่อ ปี พ.ศ. ๒๓๗๓ (ค.ศ. 1830)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๔๙ เซนติเมตร สูง ๖๗.๕๐ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา ในพระบรมมหาราชวัง)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๐๗
รูปที่ ๓.๗๗
พระพุทธปริตร
สร้าง พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑
(ค.ศ. 1851 – 1868)
ไม้ไผ่สาน ปูนน้ำมัน
หน้าตักกว้าง ๑.๓๓ เมตร
สูง ๑.๙๐ เมตร
หอศาสตราคม
พระบรมมหาราชวัง


๑๐๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย

๗.๒ พระพุทธปริตร (รูปที่ ๓.๗๗)

พระพุทธปริตรเป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามสัดส่วนที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ทรงค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และพบว่าเกณฑ์ของส่วนสัดในสมัยพุทธกาลที่ใช้ขนาดของเมล็ดข้าวเปลือก
เป็นหลัก ที่เรียกว่าคืบพระสุคต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาใช้กับพระพุทธรูปที่
พระองค์ทรงสร้าง เป็นพระประธานในพระอารามต่างๆ เช่น วัดมกุฏกษัตริยาราม (ดูรูปที่ ๓.๓) วัด
โสมนัสวิหาร (ดูรูปที่ ๕.๒๘) วัดเทพศิรินทราวาส (ดูรูปที่ ๖.๔๑) ซึ่งทรงสร้างค้างไว้ รวมทั้งพระอังคีรส
พระประธานวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (ดูรูปที่ ๕.๒๙) ซึ่งสร้างต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัว สำหรับพระพุทธปริตรนั้นสร้างขึ้นด้วยไม้ไผ่สาน พอกด้วยปูนน้ำมันทาสี ขนาดเท่ากับองค์
พระพุทธเจ้าตามเกณฑ์ใหม่ เพราะว่าเกณฑ์เดิมเชื่อกันว่าพระพุทธเจ้านั้น สูง ๑๘ ศอก อันได้แก่ พระ
อัฏฐารส (สาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๙ ๒๕๐๕, ๑๘ – ๑๙)

พระพุทธปริตรทรงเป็นพระประธานในหอศาสตราคม พระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นสถานที่ที่
พระสงฆ์รามัญนิกายมาสวดพระปริตรทุกวัน ในเวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา และทำน้ำพระพุทธมนต์ สำหรับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้สรงพระพักตร์ และใช้ประพรมพระราชฐานอีกด้วย (เทวาธิราช ป.
มาลากุล ๒๔๙๕, ๒๙)

การสวดพระปริตรหรือ “รักษาสูตร” มีจุดประสงค์ที่จะปกป้องคุ้มครองให้พ้นจากโรคันตรายและ
ภัยพิบัติ รวมทั้งให้เกิดความเจริญทางกายและใจ โดยเป็นประเพณีพุทธศาสนาที่ไม่เฉพาะเจาะจงแต่
นิกายเถรวาทเท่านั้น เพราะนิกายอื่นๆ ในลัทธิศราวกยานและมหายานก็มีการสวดพระปริตรเช่นกัน
(Skilling 1992, 168 – 169) สำหรับพระปริตรที่สวดในประเทศไทยนั้น รวบรวมขึ้นจากพระไตรปิฎก
โดยคณะมหาวิหารในศรีลังกา และนำมาเผยแพร่ในเอเชียอาคเนย์ พร้อมกับพระธรรมคำสั่งสอนของ
คณะมหาวิหาร ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12) (Swearer 2004, 116) พระ
ปริตรส่วนใหญ่จะมีบทสวด มงคลสูตร รัตนสูตร และ กรณียเมตตสูตร จาก ขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย
สุตตันตปิฎก มีความหมายเช่น รัตนสูตร เพื่อขับไล่ภูติผีปิศาจที่นำเอาความเจ็บไข้ให้พ้นไปเป็นต้น (เรื่อง
เดียวกัน, หน้าเดียวกัน) การสวดพระปริตรในปัจจุบันมี สัตตปริต เจ็ดตำนาน ซึ่งใช้สวดในงานบุญทั่วไป
และ ทวาทสปริต หรือ มหาราชปริต สิบสองตำนาน ซึ่งใช้ในราชสำนักและสวดในพระอุโบสถวัด
พระศรีรัตนศาสดาราม (Ishii 1986, 21) การสวดพระปริตรมักจะนิยมทำน้ำพระพุทธมนต์ประกอบแล้ว
นำมาประพรมเพื่อปกป้องจากภัยพิบัติและความเป็นสิริมงคล

๗.๓ พระสัมพุทธพรรณโณพาศ ปรมินทรมหาราชนมัสมัย (รูปที่ ๓.๗๘)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร
ปางสมาธิขึ้น เพื่อเป็นพระประธานในหอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
(จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๓๘๓) เป็นพระพุทธปฏิมาที่มีพระพุทธลักษณะคล้ายกับที่พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงสร้างทุกประการ
รูปที่ ๓.๗๘ พระสัมพุทธพรรณโณพาศ
ปรมินทรมหาราชนมัสมัย
พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ (ค.ศ. 1868 - 1910)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเตร
องค์พระสูง ๘๕ เซนติเมตร
หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ในพระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๐๙
๑๑๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
หมวด จ.
พระพุทธรูปที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์

เพื่อเสริมพระเกียรติยศและสิริมงคล

นอกจากพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้น เพื่อใช้ในพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบัน
พระมหากษัตริย์แล้ว ยังมีพระพุทธปฏิมาที่ถือว่าเป็นสิริมงคลของพระมหากษัตริย์และเสริมพระเกียรติยศ
มีทั้งที่เป็นพระพุทธปฏิมาที่มีผู้นำมาถวาย และพระพุทธรูปที่ทรงสร้างขึ้นใหม่

พระพุทธปฏิมาที่มีผู้นำมาถวาย สร้างด้วยวัสดุมีค่าหายาก เช่น แก้วผลึก ซึ่งนอกเหนือจาก
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกตแล้ว ก็ยังมีพระพุทธรูปที่สำคัญอีกได้แก่พระพุทธปฏิมา
ที่พระมหากษัตริย์ทรงยกย่องให้เป็นพระแก้วประจำรัชกาล เช่น พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย
พระนากสวาดิเรือนแก้ว พระแก้วเชียงแสน และพระพุทธบุษยรัตนน้อย เป็นต้น (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๔๙๖, ๑๖๙)

ตอนที่ ๘ พระพุทธรูปที่มีบุคคลทูลเกล้าฯ ถวาย

๘.๑ พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย (รูปที่ ๓.๗๙)

พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัยนั้น มีนายพรานไปพบในถ้ำเขาส้มป่อย นายอน เมือง
จำปาศั ก ดิ์ เจ้ า เมื อ งจำปาศั ก ดิ์ น ำมาถวายพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย พระองค์ จึ ง
พระราชทานพระราชดำริแบบให้ช่างทำฐาน

แล้วซงพระราชดำหริพระราชทานหย่างไห้ช่างปั้นถานมีหน้ากะดาน ชั้นสิงห์
บัวหงายแลหน้ากะดานบนลวดทับหลัง ย่อเก๊ดเปนหลั่น แลมีหน้ากะดานท้องไม้
ชั้นรองรับบัวกลุ่มหุ้มรับทับกเสตรแก้วต่อองค์พระพุทธปติมา โดยซวดซงสันถาน
ที่พึงพอพระราชหรึไทย แล้วก็ไห้หล่อด้วยทองสำริดแต่งไห้เกลี้ยงเกลาสนิธแล้ว
หุ้มด้วยทองคำ ทำให้เกลี้ยงกวดขึ้นเงางามด้วยชอบพระราชหรึทัย ว่าเนื้อแก้ว
เกลี้ยงไสสอาดต่อติดกับเครื่องทองอันเกลี้ยงนั้นงามยิ่งนัก... (จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๔๘๕, ๙๓, 
อักขรวิธีสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม)

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย
ในหอพระสุลาลัยพิมาน และทรงสักการบูชาวันละ ๒ เวลา เช้าค่ำมิได้ขาด แล้วถวายพระนามว่า
พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย เป็นพระแก้วประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า-
นภาลัย ถือว่ามีความสำคัญรองลงมาจากพระแก้วมรกต เพราะหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า-
เจ้าอยู่หัวทรงยกฐานชุกชีของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรให้สูงขึ้นแล้ว ก็มิได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไป
เป็นประธานในพระราชพิธีนอกพระอุโบสถอีกต่อไป “จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธบุษยรัตน ออกมาตั้งเป็น
ประธานในการพระราชพิธีแทนพระแก้วมรกต” (เรื่องเดียวกัน, ๑๖๘ - ๑๖๙)

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙๖ (ค.ศ. 1853) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสร้างพระวิหาร
พระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวังถวาย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลง
พระวิหารเป็นพระอุโบสถเพื่อทรงพระผนวชในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ (ค.ศ. 1873) เมื่อพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๙
รูปที่ ๓.๗๙ พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย (ค.ศ. 1906) จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธบุษยรัตน์ฯ ไปประดิษฐานไว้บนชั้นที่ ๓ ของพระที่นั่ง
พบที่ถ้ำเขาส้มป่อย แคว้นจำปาศักดิ์ ประเทศลาว จวบจนทุกวันนี้ (เรื่องเดียวกัน, ๑๗)
พุทธศตวรรษที่ ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 - กลาง16)
แก้วผลึก สูง ๒๔ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๑๑

พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย นอกจากจะมีเนื้อแก้วผลึกสีขาวใสบริสุทธิ์แล้ว ยังมี
พระกฤษฎาภินิหารดลบันดาลให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ช้างเผือกมาเพิ่มขึ้นอีกเป็น
๓ ช้าง นอกจากนั้นแล้วยังมีชาวเมืองเมาะตะมะเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกมากกว่าสามหมื่นคน
รวมทั้งพ่อค้าวานิชต่างประเทศที่ไม่เคยเข้ามาค้าขายก็มีเครื่องบรรณาการมาทูลเกล้าฯ ถวาย “ตั้งแต่
พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกพระองค์นี้มาอยู่ในพระนคร” (ศิลปากร ๒๕๔๘ ก, ๒๖ – ๒๗)

๘.๒ พระนากสวาดิเรือนแก้ว (รูปที่ ๓.๘๐)

พระนากสวาดิเรือนแก้วเป็นพระรัตนปฏิมาจำลอง สลักจากหยกสีเขียว เจ้าพระยาบดินทรเดชา
(สิงห์) อัญเชิญลงมาจากเวียงจันท์ เมื่อครั้งไปปราบเจ้าอนุวงศ์ (ส. พลายน้อย และภาวาส ๒๕๒๒,
๗๘ – ๗๙) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเรือนแก้วทองคำลงยาราชาวดีถวาย ถือว่า
เป็นพระแก้วประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

๘.๓ พระแก้วองค์น้อยนาคปรก (รูปที่ ๓.๘๑)

นอกจากพระนากสวาดิเรือนแก้ว ที่ถือว่าเป็นพระแก้วประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า-
เจ้าอยู่หัวแล้ว ยังมีพระรัตนปฏิมาจำลองแก้วผลึกที่สำคัญอีก อาทิ พระพุทธรูปแก้วองค์น้อยนาคปรก
รูปที่ ๓.๘๐ พระนากสวาดิเรือนแก้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเศียรและขนดนาคเป็นฐาน ตั้งอยู่เหนือ
พุทธศตวรรษที่ ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 – กลาง 16) ภูเขาจำลอง ตกแต่งด้วยอัญมณี ประดิษฐานในหอพระสุลาลัย พระบรมมหาราชวัง
แก้วผลึก องค์พระสูง ๑๑.๘๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง ๘.๔ พระแก้วเชียงแสน (รูปที่ ๓.๘๒)

เป็นพระแก้วประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เรื่องเดียวกัน, ๗๙) และ
เป็นพระรัตนปฏิมาจำลองที่สร้างขึ้นในอาณาจักรล้านนา

รูปที่ ๓.๘๑ พระพุทธรูปแก้วองค์น้อย นาคปรก


พระพุทธรูปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 – กลาง 16)
แก้วผลึก องค์พระสูง ๒.๘๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
รูปที่ ๓.๘๒
พระแก้วเชียงแสน
พุทธศตวรรษที่ ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 – กลาง 16)
แก้วผลึก องค์พระสูง ๖ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

๑๑๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๘.๕ พระพุทธบุษยรัตนน้อย (รูปที่ ๓.๘๓)

นายเพิ่ม ไพร่หลวงรักษาพระองค์ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ (ค.ศ. 1880) โดยได้มาจากพระนครศรีอยุธยา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ กับพระรจนารังสรรค์ แก้พระพักตร์ให้งามขึ้นกว่าเดิม และทำ
ฉัตรกับฐาน (สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๓๙๕) โดยมีพระราชดำริว่า “เนื้อแก้วบริสุทธิ์ดี ลักษณะและส่วนสัดงามกว่า
พระแก้วขนาดเดียวกันบรรดามี” (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๒๒) และทรงถือว่าเป็นพระแก้วประจำรัชกาล

พระพุทธรูปแก้วผลึกที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อัญเชิญมาประดิษฐานบนพระแท่นมณฑล ในพระราชพิธีตรุษในเดือนมีนาคม พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ว่า

ในการพระราชพิธีใหญ่ๆ จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธบุษยรัตนออกมา ตั้งเป็น
ประธานในพระราชพิธี แทนพระแก้วมรกต ส่วนพระสำหรับแผ่นดินพระบาท
สมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ใช้ พ ระนากสวาดิ เ รื อ นแก้ ว ซึ่ ง ได้ ม าแต่ เ มื อ ง
เวียงจันท์ พระในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้พระแก้ว
เชียงแสนเป็นพระของเดิม พระในแผ่นดินปัจจุบันนี้ใช้พระพุทธบุษยรัตนน้อย
(จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๑๖๘ – ๑๖๙)

รูปที่ ๓.๘๓
พระพุทธบุษยรัตน์น้อย
แก้พระพักตร์ พ.ศ. ๒๔๒๓ (ค.ศ. 1880)
แก้วผลึก หน้าตักกว้าง ๑๐ เซนติเมตร
องค์พระสูง ๑๐.๔๕ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๑๓
๘.๖ พระพุทธเพชรญาณ (รูปที่ ๓.๘๔)

เป็นพระพุทธปฏิมาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชอุปัชฌายา
จารย์ ได้ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างฉัตรและฐาน
ถวายพระพุทธปฏิมา

๘.๗ พระพุทธรูปหยก (รูปที่ ๓.๘๕)

เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสร้างเรือนแก้ว ฉัตร และฐานเลียนแบบพระที่นั่งบุษบกมาลา

๘.๘ พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร (รูปที่ ๓.๘๖)

เป็นพระพุทธรูปแก้วผลึกประจำวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ
วันพุธ ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นในอาณาจักรล้านนาในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (ครึ่งหลังคริสต์
ศตวรรษที่ 16)

รูปที่ ๓.๘๔ พระพุทธเพชรญาณ นอกจากพระพุทธปฏิมาที่สลักจากแก้วผลึกแล้ว ยังมีพระพุทธปฏิมาที่ประชาชนนำมาถวายที่หล่อ
พุทธศตวรรษที่ ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 – กลาง 16) ด้วยสัมฤทธิ์หรือทองคำ ที่สำคัญได้แก่
แก้วผลึก องค์พระสูง ๗.๕ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๓.๘๕ พระพุทธรูปหยก


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 - ต้น 16) รูปที่ ๓.๘๖
ศิลา สูง ๓๙ เซนติเมตร พระสมณโคดมยืน อุ้มบาตร
พระราชทรัพย์ใน ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๒
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16)
พระบรมราชินีใน แก้วผลึก
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สูงจากฐานถึงยอดฉัตร ๓๖.๕ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน


๑๑๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๘.๙ พระไพรีพินาศ (รูปที่ ๓.๘๗)

เป็นพระพุทธปฏิมาศิลาที่มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช
เป็นเจ้าอาวาสที่วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า

เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖ (ปีที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสมภพ) ความใน
ประกาศ (พระราชพิธีจรบำเพ็ญพระราชกุศล “ผ่องพ้นไพรี”) นั้น กับ พระนาม
พระพุทธรูป บ่งชัดว่าบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยพ้นภัยจากหม่อมไกรสร พระพุทธรูป
องค์นี้ทูลกระหม่อม (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เห็นจะทรงได้ไว้
แต่ ยั ง ทรงผนวช ใกล้ ๆ กั บ เวลากำจั ด หม่ อ มไกรสร จึ ง ทรงถื อ เป็ น นิ มิ ต ร
(สาส์นสมเด็จ เล่ม ๕ ๒๕๑๓, ๗๔)

หม่อมไกรสร ตามความข้างต้นนั้น ถูกถอดจากกรมหลวงรักษรณเรศรด้วยโทษฐานความผิดที่เป็น
ผู้ “มักใหญ่ใฝ่สูงคิดจะเป็นวังหน้าบ้าง เป็นเจ้าแผ่นดินบ้าง” จึงโดนลงพระราชอาญาให้สำเร็จโทษด้วย
ท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๑ (ค.ศ. 1848) (ทิพากรวงศ์ เล่ม ๒ ๒๕๐๔, ๑๓๒ – ๑๓๖)

พระไพรีพินาศองค์นี้เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชรปางประทานพรมีพุทธลักษณะคล้าย
กับพระรัตนสัมภวะ พระชินพุทธะประจำทิศใต้ที่สร้างขึ้นที่จันทิเสวุ (Candi Sewu) ในชวาภาคกลาง
ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อประมาณครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 9) ดังนั้นเมื่อ
แรกสร้างจึงเป็นพระรัตนสัมภวพุทธะจำลอง ๑ ใน ๕ พระชินพุทธะ หรือพระปาญจสุคตในลัทธิวัชรยาน

รูปที่ ๓.๘๗
พระไพรีพินาศ
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๔
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 9)
ศิลา วัดบวรนิเวศวิหาร
กรุงเทพมหานคร
(ภาพจากสำนักราชเลขาธิการ)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๑๕
๘.๑๐ พระนิรันตราย (รูปที่ ๓.๘๘ ก.)

เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ หล่อด้วยทองคำ พบที่อำเภอดงศรีมหาโพธิ์
จังหวัดปราจีนบุรี พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า-
อยู่หัว “ทรงพระราชดำริว่าเป็นพระมีอภินิหาร เพราะผู้ขุดได้ไม่เอาไปทำลายขายเนื้อทองคำเอาเป็น
ประโยชน์ จึงทรงขนานนามว่า พระนิรันตราย” ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ “ให้หล่อพระพุทธรูป
ตามแบบรัชกาลที่ ๔ ครอบไว้อีกองค์ ๑ แต่ไม่มีเรือนแก้ว คงเอาชื่อองค์ในมาเรียกรวมกับองค์นอก
จึงเรียกว่าพระนิรันตราย” (รูปที่ ๓.๘๘ ข.) (สาส์นสมเด็จ เล่ม ๔ ๒๕๑๕, ๗๓ – ๗๔)

รูปที่ ๓.๘๘ ก. พระนิรันตราย


พบที่ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๕
(ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 9)
ทองคำ สูง ๙ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน
พระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๓.๘๘ ข.
พระนิรันตรายทองคำ (องค์ครอบ)
พ.ศ. ๒๓๖๔ - ๒๔๑๑ (ค.ศ. 1851 - 1868)
ทองคำ หน้าตักกว้าง ๑๑.๖๕ เซนติเมตร
องค์พระสูง ๒๐.๓๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)
(รูปที่ ๓.๘๘ ก.)

๑๑๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๘.๑๑ พระพุทธรูปงาลังกา (รูปที่ ๓.๘๙ ก.)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิจาก
ลังกา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างครอบถวายโดยจำลองจากพระนิรันตราย (องค์ครอบ) ขึ้น
ใหม่ด้วยเงิน จึงเรียกว่าพระนิรันตรายเงิน (รูปที่ ๓.๘๙ ข.)

รูปที่ ๓.๘๙ ก. พระพุทธรูปลังกา ภายในพระนิรันตรายจำลอง รูปที่ ๓.๘๙ ข. พระนิรันตราย (องค์ครอบ) เงิน


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19) (ค.ศ. 1851 – 1868 )
งาช้าง หน้าตักกว้าง ๗.๕ เซนติเมตร เงิน หน้าตักกว้าง ๑๑.๖๕ เซนติเมตร
สูงจากฐาน ๑๖.๕ เซนติเมตร องค์พระสูง ๒๐.๓๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(รูปที่ ๓.๘๙ ก.)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๑๗
๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๘.๑๒ พระพุทธรูปของแกรนด์ ดยุก เฮส (รูปที่ ๓.๙๐)

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ ไม่ครองจีวร แต่มีพระเวฐนะ (ผ้าโพก)
พันพระเศียร แกรนด์ ดยุก เอิรนสท์ ลุดวิก (Ernst Ludwig) ผู้ครองรัฐเฮส (Hess) ประเทศเยอรมนี
ส่งมาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมต-
อมรพันธ์ุ ทรงเปรียบเทียบพระพุทธรูปองค์นี้กับ “รูปตุ๊กตา” แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทั้งสองพระองค์ ทรงรับว่าเป็นพระพุทธรูป
(ดูบทที่ ๖ หน้า ๓๕๒)

๘.๑๓ พระอมิตาภพุทธะ ทองคำ (รูปที่ ๓.๙๑)

พระพุทธปฏิมาองค์นี้ราษฎรได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
เมื่อคราวพระองค์เสด็จประพาสภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ทั้งสอง
ข้างขึ้นในปางประทานอภัย ซึ่งเป็นปางประจำพระอมิตาภพุทธะ พระพุทธเจ้าที่สร้างขึ้นในลัทธิมหายาน
นิกายสุขาวดี อันเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – กลาง ๑๔ (คริสต์
ศตวรรษที่ 7 – 9) (พิริยะ ๒๕๔๔ ข, ๗๑ – ๗๒) จากพุทธลักษณะของพระอมิตาพุทธะองค์นี้ เห็นได้ว่า
สร้างขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พระพุทธรูปที่กล่าวถึงข้างต้นทุกองค์ประดิษฐานในหอพระสุลาลัยพิมานในพระบรมมหาราชวัง
ยกเว้ น แต่ พ ระพุ ท ธบุ ษ ยรั ต นจั ก รพรรดิ พิ ม ลมณี มั ย และพระพุ ท ธรู ป ของ แกรนด์ ดยุ ก เฮส ซึ่ ง
ประดิษฐานในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ส่วนพระอมิตาภพุทธะทองคำ ประดิษฐานในพระ
ตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

รูปที่ ๓.๙๑
พระอมิตาภพุทธะ
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 8)
ทองคำ องค์พระสูง ๑๑.๕ เซนติเมตร
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๓.๙๐ พระพุทธรูปของแกรนด์ ดยุก เฮส


สร้างโดย กุส. บราดซเท็ตเทอร์ (Guss. Bradstetter)
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ค.ศ. 1907)
สัมฤทธิ์ สูง ๔๑ เซนติเมตร
พระที่นั่งราชกรัณยสภา พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ จิตรกรรมและประติมากรรม
แบบตะวันตกในราชสำนัก)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๑๙
ตอนที่ ๙ พระพุทธรูปที่ประชาชนร่วมใจสร้างทูลเกล้าฯ ถวาย

ในระบอบประชาธิปไตย มิใช่พระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ทรงสร้างพระพุทธรูปเพื่อความเป็นสิริมงคล
ขององค์พระมหากษัตริย์ และความผาสุกของแผ่นดิน แต่ประชาชนก็มีส่วนร่วมในการสร้างพระพุทธรูป
ด้ ว ย เช่ น พระนิ ร โรคั น ตรายชั ย วั ฒ น์ จ ตุ ร ทิ ศ ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ได้ พ ระราชทานไป
ประดิษฐานในสี่มุมเมืองของพระราชอาณาจักร

๙.๑ พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ (รูปที่ ๓.๙๒ ก. – ง.)

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. 1968) กรมการรักษาดินแดน กระทรวงกลาโหม จัดสร้างพระพุทธรูปขึ้น
๔ องค์ เพื่อที่จะนำไปประดิษฐานไว้ ณ สี่มุมเมืองของราชอาณาจักร เพื่อให้คุ้มครองรักษาบ้านเมืองให้
รอดพ้นจากภยันตรายทั้งมวล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อ
พระพุทธรูป ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์โดยเสด็จในการ
นี้ ด้ ว ย และพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระราชทานนามพระพุ ท ธรู ป ทั้ ง ๔ องค์ ว่ า “พระพุ ท ธ-
นิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ” (อรวรรณ ๒๕๓๙, ๗๘ – ๗๙) ประดิษฐานไว้

ทิศตะวันตก บนยอดเขาแก่นจันทร์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดราชบุรี (รูปที่ ๓.๙๒ ก.)
ทิศเหนือ ข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดลำปาง (รูปที่ ๓.๙๒ ข.)
ทิศตะวันออก วัดศาลาแดง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสระบุรี (รูปที่ ๓.๙๒ ค.)
ทิศใต้ หน้าศาลากลางจังหวัด อำเภอเมืองฯ จังหวัดพัทลุง (รูปที่ ๓.๙๒ ง.)

พระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์นี้ เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ พุทธลักษณะคล้าย
พระพุทธรูปสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีพระเมาลีทรงโอคว่ำ และพระรัศมีเป็นเปลวสูง

๑๒๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๓.๙๒ ก. พระนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ รูปที่ ๓.๙๒ ค. พระนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. 1968) สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. 1968)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๙๘ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๙๘ เซนติเมตร
วิหารพระนิรโรคันตรายชัยวัฒน์ วิหารพระนิรโรคันตรายชัยวัฒน์
เขาแก่นจันทร์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดราชบุรี อำเภอเมืองฯ จังหวัดสระบุรี

รูปที่ ๓.๙๒ ข. พระนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ รูปที่ ๓.๙๒ ง. พระนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. 1968) สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. 1968)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๙๘ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๙๘ เซนติเมตร
วิหารพระนิรโรคันตรายชัยวัฒน์ วิหารพระนิรโรคันตรายชัยวัฒน์
อำเภอเมืองฯ จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองฯ จังหวัดพัทลุง

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๒๑
๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๙๓ พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติทีฆายุมงคล ๙.๒ พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑีฆายุมงคล (รูปที่ ๓.๙๓)
ปั้นโดย วิชัย สิทธิรัตน์
พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. 1991) สืบเนื่องมาจากกองบัญชาการทหารสูงสุด โดยพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
สัมฤทธิ์
สูงจากพระบาทถึงพระเกตุ ๑.๖๓ เมตร ในขณะนั้น ได้กราบทูลสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆ-
พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา ปรินายก ให้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขอพระราชทานให้ทรงสร้าง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระพุทธปฏิมายืนทรงเครื่อง พระหัตถ์ขวาประทานพร พระหัตถ์ซ้ายปางห้ามพระแก่นจันทน์ เพื่อการ
บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายแด่สมเด็จพระสุริโยทัย ผู้ที่ทรงสละพระชนม์ชีพ เพื่อปกป้องผืนแผ่นดิน
และอาณาประชาราษฎร์ เนื่องในโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔
(ค.ศ. 1991) เป็นพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์สมเด็จพระสุริโยทัย ขนาดสูงเท่าพระองค์สมเด็จ
พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระนามาภิไธยย่อ “สก” ที่ด้านหลังของกรองศอ และได้พระราชทาน
พระนามว่า “พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑีฆายุมงคล” มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าเป็นมงคลแห่งสมเด็จ
พระสุริโยทัย และทรงเจริญพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ”

ในการดำเนินการสร้างพระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑีฆายุมงคลนี้ ได้มีพิธีสำคัญหลายครั้ง เช่น พิธี
บวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระสุริโยทัย เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างพระ
พุทธปฏิมา พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่ดวงพระวิญญาณสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชทุก
พระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน
ไปทรงประกอบพระราชพิธีมังคลาภิเษก เสกดิน เสกน้ำพระพุทธมนต์ปั้นหุ่นองค์พระพุทธปฏิมา และ
พระราชพิธีมังคลาภิเษกองค์พระพุทธปฏิมา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งในโอกาสนี้
กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ทูลขอให้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก
ทรงมีพระบัญชาให้กรมศาสนา สั่งให้พระสงฆ์ในพระอารามทั่วพระราชอาณาจักรเจริญพระพุทธมนต์
ถวายพระพรในโอกาสมหามงคลสมัยพระราชพิธีมังคลาภิเษกนี้ ในวันและเวลาเดียวกันด้วย (กอง
บัญชาการทหารสูงสุด ๒๕๓๕, ๘๔)

พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑีฆายุมงคล ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย พระนครศรีอยุธยา
ซึ่งถือได้ว่าเป็นพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นตัวอย่าง
ของ “พุทธศาสนาแบบชาตินิยม” ซึ่งเป็นพุทธศาสนากระแสหลักในรัชกาลปัจจุบัน

๙.๓ พระพุทธศรีสงขลานครินทร์ (รูปที่ ๓.๙๔)

เนื่องด้วยว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็น
ที่รักและห่วงใยของประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเมื่อทรงพระประชวร พสกนิกรจึงรวมใจกัน
สร้างพระพุทธรูป เพื่อให้คุ้มครองพระองค์ ให้มีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง และให้ทรงเจริญ
พระชนมายุยิ่งยืนนาน

เมื่ อ สมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี ท รงพระประชวรในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. 1995)
พระภิ ก ษุ ข้ า ราชการ พ่ อ ค้ า ประชาชนในจั ง หวั ด สงขลา ร่ ว มใจสร้ า งพระพุ ท ธรู ป ให้ ทั น การต่ อ
พระชนมายุถวายพระองค์ท่าน ในปีต่อมาเป็นปีกาญจนภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิง
ถวัลยราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธศรี-
สงขลานครินทร์” (ทศพล ๒๕๔๕, ๓๗๗) นอกจากจะเป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระ
ศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี แ ล้ ว พระพุ ท ธรู ป องค์ นี้ ซึ่ ง มี พุ ท ธลั ก ษณะของพระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ จ ำลอง
มีพระนามาภิไธย “สว” อยู่ที่ผ้าทิพย์ ยังเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดสงขลาอีกด้วย โดยปัจจุบัน
ประดิษฐานอยู่ที่วิหารพระพุทธศรีสงขลานครินทร์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสงขลา
รูปที่ ๓.๙๔ พระพุทธศรีสงขลานครินทร์
พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. 1995)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๗๘ เซนติเมตร
วิหารพระพุทธศรีสงขลานครินทร์
อำเภอเมืองฯ จังหวัดสงขลา

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๒๓
๑๒๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๙.๔ พระพุทธนิรโรคันตราย (รูปที่ ๓.๙๕)

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. 1995) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร ซึ่งสร้างความวิตก
กังวลให้กับพสกนิกร และเมื่อพระอาการดีขึ้น จึงนำมาซึ่งความปิติยินดีเป็นล้นพ้น สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก จึงมีพระดำริให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นเพื่อถวายความจงรัก
ภักดีของเหล่าพสกนิกรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้พระองค์ทรงพ้นจากโรคภัยทั้งปวง และ
มีพระพลานามัยแข็งแรง โดยมีกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ประสานงานรวบรวมเงินทองที่ประชาชน
บริจาคในการสร้างพระพุทธรูป และให้ เศวต เทศน์ธรรม เป็นผู้ปั้นโดย “จำลองรูปแบบและแนวความ
คิดมาจากการสร้าง พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ” (อรวรรณ ๒๕๓๙, ๗๗ – ๘๒) พระพุทธรูป
องค์นี้ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ภายในองค์
พระบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๙ องค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน และสมเด็จ
พระญาณสังวรประทานพระพุทธรูปทองคำน้ำหนัก ๙๐๐ กรัม เพื่อบรรจุในองค์พระพุทธรูป พระ
พุทธนิรโรคันตรายองค์นี้ หล่อด้วยทองคำ ๑๐๙ กิโลกรัม นับเป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดที่หล่อขึ้น
ในกรุงรัตนโกสินทร์ พร้อมด้วยฉัตรทองคำ ๙ ชั้น ฝังเพชรและพลอยนพเก้าจำนวน ๓,๔๒๗ เม็ด ทั้งนี้
เพราะเชื่อกันว่าเลข ๙ เป็นเลขมงคล และเป็นการบูชาโลกุตรธรรม ๙ อีกด้วย พระพุทธรูปองค์นี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานบนฐานชุกชี พระ
พุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๙.๕ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทรมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ (ดูรูปที่ ๓.๔๑)

รายละเอียดของพระพุทธรูปองค์นี้ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
(ดูหัวข้อ ๒.๒ หน้า ๗๙) พระพุทธรูปปางห้ามสมุทรมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ถือเป็น
พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ องค์เดียวที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน มีความแตกต่างจาก
พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ที่สร้างขึ้นเมื่อครั้งปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตรงที่
พระมหากษั ต ริ ย์ มิ ไ ด้ เ ป็ น ผู้ ส ร้ า งพระพุ ท ธรู ป องค์ นี้ เ องแต่ ส ร้ า งขึ้ นโดยรั ฐ บาล ซึ่ ง เป็ น ตั ว แทนของ
ประชาชนชาวไทย ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงนับได้ว่าเป็นพระพุทธรูป
ทรงเครื่องฉลองพระองค์องค์แรกในระบอบประชาธิปไตย เป็นสัญลักษณ์ของความรักและเทิดทูนที่
พสกนิกรถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รูปที่ ๓.๙๕ พระพุทธนิรโรคันตราย รูปที่ ๓.๔๑ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. 1995) มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
ทองคำ หน้าตักกว้าง ๓๘ เซนติเมตร สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. 1999)
องค์พระสูง ๕๕ เซนติเมตร ทองเหลือง กะไหล่ทอง สูง ๑.๗๒ เมตร
ฉัตรสูง ๓๘ เซนติเมตร หอพระมณเฑียรธรรม
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระบรมมหาราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง) ในพระบรมมหาราชวัง)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๒๕
หมวด ฉ.
พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อชาติ และพุทธศาสนา

พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อชาติ และศาสนา เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อมาก็ทรงดำเนินรอยตามพระยุคลบาท
จนถึงรัชกาลปัจจุบัน

ตอนที่ ๑๐ พระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อชาติ
และพุทธศาสนา

๑๐.๑ พระนิรันตรายเรือนแก้ว (รูปที่ ๓.๙๖)

ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ (ค.ศ. 1868) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หล่อ
พระพุทธรูปขึ้นจากพิมพ์ของพระนิรันตราย (องค์ครอบ) ๑๘ องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสวยสิริราชสมบัติ
โดยเพิ่มเรือนแก้วเป็นพุ่ม มีจารึกอักษรขอมจำหลักคาถาแสดงพระพุทธคุณ อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ จนถึง
ภควา ภายในบัวหงาย ด้านหน้า ๙ ดอก ด้านหลัง ๙ ดอก ตรงกลางมีตรามงกุฎ มีพระราชดำริว่าจะ
ทรงหล่อขึ้นปีละองค์ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา แต่เสด็จสวรรคตก่อนที่จะกะไหล่ทองพระพุทธรูป
ทั้ง ๑๘ องค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างกะไหล่ทองจนแล้วเสร็จ
และพระราชทานไปยังพระอารามในคณะธรรมยุติกนิกาย เช่น วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดราชประดิษฐ-
สถิตมหาสีมาราม เป็นต้น ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จ
พระบรมชนกนาถ (สุทธาสินีนาฎ ๒๔๗๒, ๓๖ – ๔๑)

๑๐.๒ พระชัยวัฒนมงคลวราภรณ์ (พระชัยศิริวัฒน์)

เป็นพระชัยวัฒน์ขนาดเล็กที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ
ปี พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. 1885) เพื่อพระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอ ๔ พระองค์ เพื่อเป็นเครื่องสักการบูชา
เมื่อเสด็จไปทรงศึกษาในภาคพื้นยุโรป พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปั้นขึ้น
ที่วัดไชโย และหล่อขึ้นที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม รวมทั้งสิ้น ๕๕ องค์ ซึ่งนอกจากพระเจ้าลูกยาเธอ
ทั้ง ๔ พระองค์ที่จะเสด็จไปต่างประเทศแล้ว ยังพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงอีกด้วย
พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ ไม่ถือตาลปัตร เพียงแต่พระหัตถ์อยู่ในกิริยากำ พระราชทานพร้อมด้วยตลับ
รูปอุณาโลม สูงไม่เกิน ๒ เซนติเมตร มีสายสร้อยสำหรับคล้องพระศอได้ ต่อมาจึงพระราชทานแก่ผู้ที่ได้
รั บ ตรามหาจั ก รี ก่ อ นที่ จ ะพระราชทานพระชั ย วั ฒ น์ ม งคลวราภรณ์ แ ก่ ผู้ ใ ด จะพระราชทานพระ

บรมราโชวาท ๓ ข้อ

จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ถาวร
จะต้องบำรุงรักษาพระราชอาณาจักร และราษฎรให้เจริญยิ่งขึ้น
จะต้องมีความซื่อสัตย์กตัญญูต่อพระมหากษัตริย์

ดั ง นั้ น พระชั ย วั ฒ น์ ม งคลวราภรณ์ จึ ง แสดงให้ เ ห็ น ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งพุ ท ธศาสนากั บ พระ
มหากษัตริย์ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของไทย ซึ่งไม่มีชาติใดมี

และในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราโชวาท
ก่อนพระราชทานพระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ ให้ผู้รับยึดมั่นอยู่ในเรื่องชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์นั้น ก็เป็นพระราโชบายเพื่อความอยู่รอดของชาติไทย
นั่นเอง (ส. พลายน้อย และภาวาส ๒๕๒๒, ๕๕)

๑๒๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๓.๙๖ พระนิรันตรายเรือนแก้ว
พ.ศ. ๒๔๑๑ (ค.ศ. 1868 )
ทองเหลือง กะไหล่ทอง
หน้าตักกว้าง ๑๑ เซนติเมตร
วัดบวรนิเวศวิหาร
กรุงเทพมหานคร

อนึ่ง ภาพที่พิมพ์ในหนังสือ ตำนานพระชัยวัฒน์ (เรื่องเดียวกัน, ภาพตรงข้ามหน้า ๔๘) มิใช่พระ


ชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ เพราะว่าพระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์จำลองมาจากพระไพรีพินาศ แต่พระหัตถ์
ซ้ายอยู่ในพระกิริยาถือตาลปัตร (ภุชชงค์ สัมภาษณ์, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๒๗
๑๐.๓ พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกตน้อย)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า

พระราชวังสวนดุสิตเป็นพระราชวังอันสำคัญ เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวอีกแห่งหนึ่ง สมควรจะมีเจดียฐานอันประเสริฐ ไว้เป็นที่ทรง
กระทำสักการบูชา เช่นพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งประดิษฐานอยู่ใน
พระบรมมหาราชวัง จะเป็นเครื่องเชิดชูพระเกียรติคุณซึ่งพระองค์เป็นพระ
พุทธศาสนูปถัมภกอันยิ่ง (ส. พลายน้อย และภาวาส ๒๕๒๒, ๘๓)

นอกจากนั้นแล้ว ยังทรงสร้างขึ้น “เพื่อเป็นราชสิริได้ทรงสักการบูชาแลเป็นศรีพระนคร อีกทั้งประชาชน
ในพระราชอาณาจักรทั่วไป” (เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า
จักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ไปว่าจ้างห้างคาร์ล ฟาแบร์เช่ (Carl Fabergéé) ที่กรุง
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย สลักพระพุทธรูปด้วยหยกสีเขียว แต่เมื่อเจียระไนแล้วเกิดการชำรุด
ขึ้น จึงต้องหาหยกก้อนใหม่ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้ในเวลานั้น มาสลักเป็นพระพุทธรูปตาม
ตัวอย่างที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งไปเป็นต้นแบบ เมื่อสลักแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. 1914)
ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้นในยุโรป แต่ด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธรูป จึงดลบันดาลให้เรือเดินทาง
รูปที่ ๓.๙๗ ก. พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร
(พระแก้วมรกตน้อย) มาถึงกรุงเทพมหานครได้โดยสวัสดิภาพ ในปีเดียวกันพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
สลักปี พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. 1914) ให้สมโภชพระพุทธรูปและถวายพระราชพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับ
หยกสีเขียว ถวายพระนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกตน้อย)” พระแก้วมรกตน้อย
หน้าตักกว้าง ๒๕ เซนติเมตร
สูง ๓๗ เซนติเมตร (รูปที่ ๓.๙๗ ก.) มีพระเศียรคล้ายกับพระพุทธรูปในหมวดพระพุทธสิหิงค์ คือมีพระศกเป็นขมวดใหญ่ มี
หอพระสุลาลัยพิมาน พระเมาลีทรงสูง และรัศมีเป็นดอกบัวตูม แต่พระวรกายและจีวรห่มดองแบบพระภิกษุมหานิกาย สลักให้
พระบรมมหาราชวัง ดูเป็นธรรมชาติ ประทับเหนือเกสรบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย และที่เป็นพิเศษของพระพุทธรูปองค์นี้ก็คือ
กรุงเทพมหานคร
ปรากฏยี่ห้อของห้างฟาแบร์เช่สลักไว้ที่ใต้ฐาน (รูปที่ ๓.๙๗ ข.) พระแก้วมรกตน้อยจึงเป็นพระพุทธรูป
องค์แรกของไทยที่มีชื่อผู้สร้างและปีที่สร้างตามธรรมเนียมของงานศิลปะตะวันตก ซึ่งแสดงให้เห็น
ค่านิยมของชาวตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานกับขนบประเพณี และจารีตของไทยได้อย่างชัดเจนที่สุด

รูปที่ ๓.๙๗ ข. ใต้ฐานพระแก้วมรกตองค์น้อย


จารึกของห้างคาร์ล ฟาแบร์เช่ และปีที่สลักใต้ฐานพระพุทธรูป
(รูปที่ ๓.๙๗ ก.)

๑๒๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๓.๙๘ พระนิรโรคันตราย
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๖๗ (ค.ศ. 1924)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๕ เซนติเมตร
สูง ๓๔ เซนติเมตร
วัดสุทัศนเทพวราราม
กรุงเทพมหานคร
๑๐.๔ พระนิรโรคันตราย (รูปที่ ๓.๙๘)

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหายจากการประชวรในปี พ.ศ. ๒๔๖๗
(ค.ศ. 1924) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเทพรจนา (สิน ปฏิมาประกร) หล่อพระพุทธ
นิรโรคันตรายขึ้น โดยมีพระราชดำริที่จะให้มีการฉลองสิริราชสมบัติครบ ๑๕ ปี เสมอด้วยพระบาท
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พร้อมกับทรงหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๑๖ องค์ ขนานนามว่า “พระ
นิรโรคันตราย” เพื่อพระราชทานไว้ยังพระอารามหลวงฝ่ายมหานิกาย (ทศพล ๒๕๔๕, ๕๑) แต่หลังจากที่
พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองได้ ๑๗ วัน ก็เสด็จสวรรคต ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๖๘ (ค.ศ. 1925) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระนิรโรคันตรายไปยังพระ
อารามฝ่ายมหานิกาย ๑๕ องค์ ส่วนอีกองค์หนึ่ง ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระนิรโรคันตรายมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธชินราช แตกต่างกันตรงที่เป็นปางสมาธิแทนปางมารวิชัย
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีนาคสองตนแปลงเป็นมนุษย์ซึ่งขาด้านหน้าเป็นขามนุษย์ ขาด้านหลังเป็นหางนาค
เชิญฉัตร และเชิญพัดโบก ด้านละตน พระพุทธนิรโรคันตรายนี้ถือได้ว่า เป็นตัวอย่างของงานช่างแบบ
ไทยประเพณีประยุกต์ ซึ่งเริ่มขึ้นในรัชกาลนี้

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๒๙
๑๓๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๙๙ ก. พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ๑๐.๕ พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. (รูปที่ ๓.๙๙ ก.)
ปางประทานพร ภ.ป.ร.
พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. 1963) ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. 1963) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๔๐.๙ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดเทวสังฆาราม (เจริญ สุวฑฺฒโน) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระสาสนโสภณ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี อัญเชิญพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ไปประดิษฐานเหนือผ้าทิพย์ของพระพุทธรูปแบบสุโขทัยปางประทานพร
ที่ทางวัดจัดสร้างขึ้นในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดพระกฐินต้น ณ วัดเทวสังฆาราม อำเภอ
เมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว สำหรับประดิษฐานในพระอุโบสถวัดเทวสังฆาราม
๑ องค์ และขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว จำนวน ๙,๙๙๙ องค์เพื่อให้ประชาชนบูชา (สรพล 2006,
ออนไลน์)โดยใช้แบบของพระพุทธรูปที่สร้างในโอกาส ๗๒ ปีศิริราช ซึ่งพระธรรมจินดาภรณ์ (ทองเจือ
จินฺตากโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นผู้คิดประดิษฐ์แบบขึ้น แต่ได้เพิ่มผ้าทิพย์ประดับพระ
ปรมาภิไธย ภ.ป.ร. และแก้ไขให้นิ้วพระหัตถ์ขวาที่ทอดลงให้กระดกมากขึ้น (รูปที่ ๓.๙๙ ข.) พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุแผ่น
ทอง นาก เงิน ลงในเบ้าหล่อพระพุทธรูปที่วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี พระพุทธรูปที่หล่อที่
วัดเทวสังฆารามนี้ จึงเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประดับที่
ผ้าทิพย์ขึ้นเป็นครั้งแรก (จาตุรงคมงคล ๒๕๐๘, ๑๖๘ – ๑๖๙)

พระพุทธรูปประทานพร ภ.ป.ร. รุ่นวัดเทวสังฆาราม เป็นที่แพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ เนื่อง
ด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงนำไปพระราชทานแด่เหล่าทหาร ตำรวจ และหน่วย
ราชการที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม และทรงนำไปถวายแด่ปูชนียสถานสำคัญ เป็นที่
ซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริที่จะ
หล่อพระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. ขึ้นเป็นครั้งที่สองที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทางวัดจึงขอพระราชทาน
พระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประดิษฐานที่ผ้าทิพย์ โดยมีเหตุผลว่า

พระมหากษัตริย์ แห่งประเทศไทย และพระพุทธศาสนาได้มีความสัมพันธ์กันอยู่
อย่างยิ่ง ทั้ง ๒ ได้เป็นที่เคารพอย่างสูงสุดของประชาชนคนไทยทั้งปวง และ
ความดำรงอยู่ได้แห่งประเทศชาติประชาชนชาวไทย กล่าวได้ว่าอาศัยพระพุทธา-
นุภาพ และพระราชานุภาพ ประกอบกันอยู่อย่างแยกจากกันมิได้จึงได้ดำริ
สร้างปูชนียวัตถุสำหรับประชาชนคนไทยทั้งปวงให้มีสิ่งที่เคารพทั้งสองอย่าง
รวมกันอยู่ (ประวัติพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ๒๕๐๘, ไม่มีเลขหน้า)

รูปที่ ๓.๙๙ ข. พระหัตถ์พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ


ปางประทานพร ภ.ป.ร.
(๓.๙๙ ก.)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๓๑
พระพุทธรูปประทานพร ภ.ป.ร. รุ่นวัดบวรนิเวศวิหารนี้ (รูปที่ ๓.๑๐๐) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำริพระพุทธลักษณะ ให้ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์
ปั้นหุ่นพระพุทธรูปขึ้นใหม่ และพระราชทานพระราชดำริแก้ไข เช่น พระหัตถ์ขวาหงายออก โดยที่พระ
อังคุฐและพระดรรชนีมิได้มาบรรจบกันเช่นองค์รุ่น “พระกฐินต้นวัดเทวสังฆาราม” (ดูรูปที่ ๓.๙๙ ข.)
จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย

จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธรูป ภ.ป.ร. วัดบวรนิเวศวิหารนี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะ
กรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลปัจจุบัน (เพราะเป็นไปตามพระราชนิยม ในรัชกาล
ปัจจุบันดังกล่าว มิได้ลอกแบบแห่งพระพุทธรูปตามศิลปะยุคก่อนๆ โดยตรง)
(เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน)

นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานภาษิตสำหรับจารึกที่ฐานขององค์พระ
เป็นสัญลักษณ์ของชาติว่า

ทยฺยชาติยา สามคฺคิยํ สติสญฺชานเนน โภชิสิยํ รกฺขนฺติ
คนชาติไทยจะรักษาความเป็นไทอยู่ได้ด้วยมีสติสำนึกอยู่ในความสามัคคี
(เพลินพิศ ๒๕๓๓, ๑๓)

และเสด็จพระราชดำเนินในพิธีหล่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. 1965)

ฉะนั้ น พระพุ ท ธรู ป ปางประทานพรนี้ จึ ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ห่ ง ชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ ครบไตรรงค์ กล่าวคือ องค์พระพุทธรูป ซึ่งเป็นอุทเทสิกเจดีย์
แห่งพระพุทธเจ้า ย่อมหมายถึงพระพุทธศาสนารวมอยู่ด้วย พระปรมาภิไธย
ภ.ป.ร. เหนื อ ผ้ า ทิ พ ย์ ย่ อ มหมายถึ ง องค์ พ ระมหากษั ต ริ ย์ อ งค์ พ ระประมุ ข
แห่งชาติ และองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก พระราชภาษิตซึ่งจารึกอยู่ที่ฐานภายใต้
ผ้าทิพย์ ย่อมหมายถึงชาติไทยพร้อมทั้งธรรมะ ที่รักษาความเป็นไทยให้คงอยู่
พระพุทธรูปนี้จึงมีคุณค่าทางศิลปะ ปฏิมากรรม ประวัติศาสตร์ และทางคุณธรรม
แห่งจิตใจ (สำนักราชเลขาธิการ ๒๕๒๘ ก, ๑๒๔ – ๑๒๕)

รูปที่ ๓.๑๐๐ พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางประทานพร ภ.ป.ร.


พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. 1965)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒๒.๙ เซนติเมตร
ตึกวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
กรุงเทพมหานคร

๑๓๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๑๐.๖ พระพุทธนวราชบพิตร (รูปที่ ๓.๑๐๑)

พระพุทธนวราชบพิตรซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทาน
แก่ทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร ที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตร ได้ทรงบรรจุพระพิมพ์
(รูปที่ ๓.๑๐๒) ซึ่งพระองค์ทรงปั้น ทรงเทหยอดพิมพ์ และถอดออกจากพิมพ์เป็นองค์พระ ทรงฝนและ
เจียรแต่งขอบด้วยพระหัตถ์ทุกองค์ (ชายเดียว และไชยา ๒๕๔๑, ๑๑๙) เนื้อพระพิมพ์ประกอบด้วย
ผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นส่วนพระองค์ และส่วนที่ได้มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร
ในส่วนพระองค์ ได้แก่ ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัยที่พสกนิกรทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนิน
ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตร
และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี เส้นพระเจ้า (ผม) จากทรงพระเครื่องใหญ่ สีจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพ
ฝีพระหัตถ์ ชันและสีทรงขูดจากเรือใบขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง ส่วนที่ได้มาจากต่างจังหวัดได้แก่
ผงที่ได้มาจากปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชน จากทุกภาคของประเทศไทย
เช่น ผงจากพระธาตุเจดีย์จอมกิติ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จนถึงเกสรดอกไม้จากวัดพระพุทธ
อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น (เพลินพิศ ๒๕๓๓, ๑๔ – ๓๓)

พระพุทธนวราชบพิตรองค์นี้ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป กรมศิลปากร เป็น
ผู้ปั้นถวาย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เป็นแบบสุโขทัยประยุกต์ และได้รับพระ
ราชวินิจฉัยจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘
เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ (ค.ศ. 1966) อันเป็นวันคล้ายวันครบรอบพระราชพิธีอภิเษกสมรส พระพุทธนว-
ราชบพิตรองค์นี้ นอกจากเป็นพระพุทธรูปที่เป็นสัญลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุขแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ร่วมกับพสกนิกรของ
พระองค์ และทรงเป็นหนึ่งเดียวกันอีกด้วย

เนื่องด้วยว่าพระพุทธนวราชบพิตรเป็นนิมิตหมายของความผูกพันระหว่างพระมหากษัตริย์กับ
พสกนิกรของพระองค์ ในทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร สำนักพระราชวังจึงออกกฎปฏิบัติ สำหรับ
จังหวัดที่ได้รับพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร คือเมื่อได้รับพระราชทานแล้วให้ประดิษฐานไว้ที่ศาลากลาง
จังหวัด ให้อัญเชิญไปเป็นพระประธานในพิธีที่ต้องตั้งพระพุทธรูป เว้นแต่ในกรณีที่มีพระประธานอยู่แล้ว
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในพระราชพิธีที่ทางจังหวัดจัดขึ้น หรือ
เสด็จฯ ไปทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ก็ให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรไปเป็นพระประธาน
ทุกครั้ง และจัดที่บูชาเพื่อทรงนมัสการพระพุทธนวราชบพิตร เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ
ประทับแรม ก็ให้อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรไปประดิษฐาน ณ ที่ประทับ จนเสด็จพระราชดำเนินกลับ
จึงอัญเชิญกลับไปยังศาลากลาง นอกจากนั้นแล้ว หากประชาชนต้องการจะปิดทองให้ปิดทองที่ฐานได้
แต่ไม่สมควรที่จะปิดทองที่องค์พระพุทธรูป (เรื่องเดียวกัน, ๓๒ – ๓๓)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๓๓
รูปที่ ๓.๑๐๑ พระพุทธนวราชบพิตร
ปั้นโดย ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์
พ.ศ. ๒๕๐๙ (ค.ศ. 1966)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร
สูง ๔๐ เซนติเมตร
วัดบวรนิเวศวิหาร
กรุงเทพมหานคร

๑๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย



รูปที่ ๓.๑๐๒ พระกำลังแผ่นดิน หรือพระสมเด็จจิตรลดา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปั้น
และพิมพ์ด้วยพระหัตถ์
พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. 1965)
ผงมงคลต่างๆ
กว้าง ๒.๒ เซนติเมตร
สูง ๓.๒ เซนติเมตร
สมบัติเอกชน

ด้านหน้า ด้านหลัง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร ให้กับ
จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. 1967) และพระราชทานพระราชดำรัสว่า


พระพุ ท ธองค์ นี้ ข้ า พเจ้ า สร้ า งขึ้ น มอบไว้ เป็ น พระพุ ท ธรู ป ประจำ
จังหวัด ที่ฐานบัวหงาย ข้าพเจ้าได้บรรจุพระพิมพ์องค์หนึ่งซึ่งได้ทำ
ขึ้นด้วยผงศักดิ์สิทธิ์อันได้มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร
มีผงดินทรายและเกสรดอกไม้ที่บูชาหลวงพ่อนาควัดมัชฌิมมาวาส
ผงดิ น ทราย ผงธู ป และเกสรดอกไม้ จ ากศาลหลั ก เมื อ ง กั บ ผง
ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากที่บูชาศาลเทพารักษ์ กรมหลวง
ประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานีนี้รวมอยู่ด้วย

พระพุทธนวราชบพิตรนี้ นอกจากจะถือเป็นนิมิตรหมายแห่งคุณพระ
รั ต นตรั ย อั น เป็ น ที่ เ คารพสู ง สุ ด แล้ ว ข้ า พเจ้ า ยั ง ถื อ เสมื อ นเป็ น
เครื่องหมายแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชาติไทย
และความสามัคคีกลมเกลียวกันของประชาชนชาวไทยอีกด้วย ข้าพเจ้า
จึงได้บรรจุพระพิมพ์ ซึ่งทำด้วยผงศักดิ์สิทธิ์จาก ทุกจังหวัดดังกล่าว
แล้ว และนำมามอบให้แก่ท่านด้วยตนเอง (สมบัติ ๒๕๒๐, ๑๗)

สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธปฏิมา ๑๓๕
พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย

ภาค
พุทธศาสนา
กับพระพุทธปฏิมา
ในประเทศไทย
ตามพระอิริยาบถ

หน้า

๑๓๙ บทที่ ๔ พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย


๑๗๓ บทที่ ๕ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ
๓๑๕ บทที่ ๖ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร
๓๖๕ บทที่ ๗ พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท
๓๗๕ บทที่ ๘ พระพุทธปฏิมายืน
๔๕๙ บทที่ ๙ พระพุทธปฏิมาลีลา
๔๘๕ บทที่ ๑๐ พระพุทธปฏิมาไสยาสน์
๔๙๙ บทที่ ๑๑ พระพุทธปฏิมาปางอื่นๆ
๕๑๕ บทสรุป

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย
พระพุทธปฏิมาแปดปาง (รูปที่ ๔.๑๔ ก.)
พบในกรุปรางค์วัดราชบูรณะ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทที่


พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย
พุทธศาสนามีพัฒนาการที่ต่อเนื่องและยาวนานมาก จากประวัติศาสตร์พุทธศาสนา
ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่นั้น ได้จำแนกพุทธศาสนาออกเป็น “ลัทธิ” ซึ่งประกอบด้วย ๓
ลัทธิหลัก ได้แก่
๑. ลัทธิศราวกยาน
๒. ลัทธิมหายาน
๓. ลัทธิวัชรยาน หรือลัทธิตันตระยาน

โดยในแต่ละลัทธิก็แบ่งออกเป็น “นิกาย” ย่อยลงมาอีกหลายนิกาย และในแต่ละนิกายก็จะมี
“คณะ” เป็นกลุ่มย่อยลงมาอีกหลายคณะ และภายในคณะเอง ก็จะแบ่งออกเป็น “ฝ่าย” อย่างน้อยที่สุด
อีก ๒ ฝ่าย
อาจสรุปภาพรวมการจัดจำแนกกลุ่มสงฆ์โดยไล่เรียงลำดับจากกลุ่มใหญ่ไปเป็นกลุ่มย่อย ได้แก่

(ก) พุทธศาสนา
(ข) ลัทธิ
(ค) นิกาย
(ง) คณะ
(จ) ฝ่าย

การจัดจำแนกดังกล่าว เป็นไปตามความแตกต่างในด้านการตีความพุทธธรรม แบบธรรมเนียม
วัตรปฏิบัติและวินัยสงฆ์ ตลอดจนกระบวนการบรรลุอุตรธรรม ซึ่งล้วนส่งผลให้เกิดการแยกแยะ
ความแตกต่างออกเป็นลัทธิ นิกาย คณะ และฝ่าย ของกลุ่มสงฆ์ต่างๆ มากมายด้วยกัน ซึ่งความ
หลากหลายบนความซับซ้อนดังกล่าวก็ปรากฏให้เห็นในประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนที่เป็น
ประเทศไทยในปัจจุบัน อันสะท้อนได้จากพระพุทธปฏิมาที่พุทธศาสนิกชนได้สร้างและจำลองสืบต่อกันมา
โดยบทนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน ดังต่อไปนี้

ตอนที่ ๑ พระพุทธปฏิมาในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13)
ซึ่งประกอบด้วยพระพุทธปฏิมาที่สร้างและจำลองขึ้นในคติลัทธิศราวกยาน ลัทธิมหายาน และลัทธิวัชร
ยานหรือตันตระยาน

ตอนที่ ๒ ประวัติการเผยแผ่พุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 13) อันได้แก่ อาณาจักรมอญโบราณ (“ทวารวดี”) อาณาจักรกัมโพช อาณาจักรสุโขทัย
อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรมอญหริภุญไชย อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๓๙
ลำดับเวลาการเผยแผพุทธศาสนาลัทธิและนิกายตางๆ ในดินแดนประเทศไทยปจจุบัน
พ.ศ. ค.ศ. ลัทธิศวราวกยาน ลัทธิมหายาน ลัทธิวัชรยาน / ตันตระยาน พ.ศ. ค.ศ.
๑๐๐๐ มูลสรรวาสติวาส มหาสังฆิกะ สัมมิตียะ ๑๐๐๐
นิกายเถรวาท
500 คณะอริยารหันตปกขะ ลัทธิมหายาน 500

๑๑๐๐ ๑๑๐๐

600 นิกายสุขาวดี 600


(รูปที่ ๑.๓) (รูปที่ ๔.๑) (รูปที่ ๔.๖)
๑๒๐๐ ๑๒๐๐

700 700

๑๓๐๐ ลัทธิตันตระยาน ๑๓๐๐

800 800

๑๔๐๐ (รูปที่ ๔.๗) (รูปที่ ๔.๑๑) (รูปที่ ๓.๙๑) ๑๔๐๐

900 900
ลัทธิตันตระยาน
๑๕๐๐ ในกัมพูชา ๑๕๐๐

1000 1000

๑๖๐๐ ๑๖๐๐

1100 1100

๑๗๐๐ (รูปที่ ๔.๑๕) ๑๗๐๐

1200 1200

๑๘๐๐ คณะกัมโพชสงฆปกขะ (รูปที่ ๔.๑๘) ๑๘๐๐


คณะมหาวิหาร
1300 ฝายคามวาสี 1300
คณะมหาวิหาร
๑๙๐๐ ฝายอรัญวาสี ๑๙๐๐

1400 1400
(รูปที่ ๕.๔๙) คณะสีหฬภิกขุ
๒๐๐๐ (รูปที่ ๘.๒๐) ๒๐๐๐
คณะสยามนิกาย
1500 1500
(รูปที่ ๕.๘๒)
(รูปที่ ๓.๖ ก.)
๒๑๐๐ ๒๑๐๐

1600 1600

๒๒๐๐ ๒๒๐๐

1700 (รูปที่ ๘.๗๕) 1700

๒๓๐๐ ๒๓๐๐

1800 1800
คณะมหานิกาย คณะธรรมยุติกนิกาย
๒๔๐๐ ๒๔๐๐

1900 1900
(รูปที่ ๓.๖๒ ก.)
๒๕๐๐ ๒๕๐๐

2000 2000

(รูปที่ ๘.๑๐๐)

๑๔๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ตอนที่ ๑
พระพุทธปฏิมาในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13)

เฉกเช่ น เดี ย วกั บ นานาประเทศที่ นั บ ถื อ พุ ท ธศาสนา ประเทศไทยสร้ า งพระพุ ท ธปฏิ ม าตาม
พุทธลักษณะที่ถือกันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยมีต้นแบบจากอินเดีย และวิวัฒนาการขึ้นให้
สอดคล้องกับค่านิยมของพุทธศาสนิกชนผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันนี้
อันได้แก่กลุ่มชนที่ใช้ภาษามอญโบราณและภาษาเขมร ภายใต้อิทธิพลคติความเชื่อทางพุทธศาสนาของ
ลัทธิและนิกายต่างๆ ทำให้เกิดรูปแบบของพระพุทธปฏิมาที่มีความหลากหลายบนผืนแผ่นดินนี้

ความเปลี่ยนแปลงทางด้านปรัชญาและความเชื่อในพุทธศาสนาในแต่ละท้องถิ่นและในแต่ละช่วง
ระยะเวลา ถือเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมา แต่มิได้หมายความ
ว่ารูปแบบใหม่จะเข้ามาแทนที่รูปแบบเดิมเสียทีเดียว ตามความจริงแล้ว รูปแบบใหม่นั้นจะเข้ามาเป็นทาง
เลือกสำหรับผู้ที่จะนับถือนิกายใหม่ ในหมู่ผู้นับถือนิกายเดิมก็จะจำลองพระพุทธปฏิมาตามรูปแบบที่ตน
ศรัทธา หรืออาจจะเลือกสร้างแบบใหม่เพื่อความแปลกใหม่ ดังนั้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ในแต่ละ
ท้ อ งถิ่ น ก็ อ าจจะมี ก ารสร้ า งพระพุ ท ธปฏิ ม าขึ้ น หลายแบบ เพี ย งแต่ ว่ า ในการกำหนดอายุ เ วลาความ
เปลี่ยนแปลงของรูปแบบเพื่อแบ่งยุคสมัยในวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะนั้น จะใช้การปรากฏขึ้นของรูปแบบ
ใหม่เป็นตัวกำหนด ซึ่งรูปแบบใหม่ของพระพุทธรูปนั้นอยู่บนฐานของการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของ
ลัทธินิกายในพระพุทธศาสนาตามแต่ละช่วงระยะเวลา (พิริยะ ๒๕๔๒, ๑๐ – ๔๓) เช่นเดียวกับการ
กำหนดยุคสมัยและอายุเวลาจากเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์โบราณที่ใช้ในวิชาโบราณคดี ที่ได้ใช้การ
ปรากฏของเครื่ อ งมื อ แบบใหม่ ๆ แต่ ล ะชนิ ด เป็ น ตั ว บ่ ง บอกถึ ง การเปลี่ ย นแปลงในแต่ ล ะยุ ค สมั ย
(Charoenwongsa and Bronson 1988, 10 – 11)

ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13) ความเปลี่ยนแปลงทางลัทธิและ
นิกายในพุทธศาสนา เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการสร้างพระพุทธปฏิมาแบบต่างๆ ขึ้น ในประเทศไทย
ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

๑.๑ ลัทธิศราวกยาน

ในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๑ (ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 5) ได้ปรากฏพระ
พุทธปฏิมาขึ้นเป็นครั้งแรกในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน ถูกสร้างขึ้นภายใต้นิกายต่างๆ ซึ่งผู้ที่
นับถือลัทธิมหายานเรียกนิกายเหล่านี้ว่า “ศราวกยาน” อันหมายถึง วิถีของผู้สดับฟัง ซึ่งเป็นคำที่นักวิชาการ
ทางพุทธศาสนาใช้เรียกแทนคำว่า “หีนยาน” ซึ่งมีความหมายในทางลบหลู่ ศราวกยานมีจุดมุ่งหมายที่
จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ ซึ่งจากการศึกษาลักษณะการครองไตรจีวรของพระพุทธปฏิมาเหล่านี้ อาจจะ
จำแนกออกเป็นนิกายต่าง ๆ คือ

นิกายมูลสรรวาสติวาส

รูปที่ ๑.๓ พระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์จำลอง พระพุทธปฏิมายืน ครองจีวรคลุมพระอังสา พระหัตถ์ขวาประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายถือ
อินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ ชายจีวร สบงจีบเป็นริ้วทั้งสองด้าน ซึ่งก็คือพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์จำลองของพระเจ้าอุเทน (ดูรูปที่
พบที่ ธเนสร์ เขระ รัฐอุตตรประเทศ ๑.๓) อันเป็นพระพุทธปฏิมาที่น่าจะสร้างขึ้นในนิกายมูลสรรวาสติวาส ที่แพร่หลายอยู่แถบภาคตะวันตก
ประเทศอินเดีย ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5) เฉียงเหนือของอินเดีย นิกายนี้มีพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถาเป็นภาษาสันสกฤต และเป็นนิกายแรก
สัมฤทธิ์ สูง ๑๐.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๔๑
ที่เสนอปรัชญาบารมีของพระโพธิสัตว์ ๖ ประการ อันได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน และปัญญา
(Thomas 1971, 169 – 171) และใช้นิทานชาดกและอวทาน ซึ่งได้แก่ชีวประวัติของพระพุทธเจ้าและ
พระสาวกในชาติก่อนๆ อันเป็นพุทธศาสนนิทานของนิกายมูลสรรวาสติวาส (พิริยะ ๒๕๑๗) ในการ
เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอน (Dutt 1978, 248)

นิกายมหาสังฆิกะ

นอกจากพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในภาคเหนือของประเทศอินเดียแล้ว ยังมีพระพุทธปฏิมาที่
สร้างขึ้นในภาคใต้ของอินเดีย เช่น พระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ขวาแสดงธรรม พระหัตถ์ซ้ายถือชายจีวร
ครองจีวรห่มดอง ชายสบงพับทบมาทางด้านซ้ายเป็นริ้ว พระเมาลีเตี้ยกลมกลืนไปกับเม็ดพระศก พบที่
อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส (รูปที่ ๔.๑) มีลักษณะใกล้เคียงกับที่พบที่อมราวดี (รูปที่ ๔.๒) จึง
น่าจะสร้างขึ้นในนิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งแพร่หลายที่อมราวดี (Sarkar and Nainar 1972, 17 – 19)
กำหนดอายุอยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5) เช่นเดียวกันกับพระพุทธปฏิมา
ประทับห้อยพระบาท พระหัตถ์ขวาแสดงธรรม พระหัตถ์ซ้ายถือชายจีวร (รูปที่ ๔.๓) โดยมีต้นแบบที่
นาคารชุนโกณฑะ (รูปที่ ๔.๔) ซึ่งอยู่ในเครือของมหาสังฆิกะเช่นกัน (Stone 1994, 14) พระพุทธปฏิมาทั้ง
สองแบบนี้จำลองมาจากพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในรัฐอานธรประเทศ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของ
อินเดีย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในปัจจุบันนี้ยังไม่มีหลักฐานใดที่จะระบุได้ว่า พระพุทธปฏิมาในกลุ่มนี้เป็น
พระปฏิมาจำลองของพระพุทธรูปองค์ใด ทั้งนี้นิกายมหาสังฆิกะเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นเพียงการสร้าง
ปาฏิหาริย์ของพระพุทธองค์ที่สถิตอยู่เหนือโลกอันเป็นอนันตกาล และสภาวะที่แท้จริงคือ “ศูนฺยตา” หรือ
ความว่างเปล่า

รูปที่ ๔.๑ พระพุทธปฏิมายืนแสดงธรรม
อินเดียตอนใต้
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5)
สัมฤทธิ์ สูง ๔๓.๕ เซนติเมตร (ไม่รวมฐาน)
พบที่อำเภอสุไหงโก-ลก
จังหวัดนราธิวาส
สมบัติของเอกชน

รูปที่ ๔.๒ พระพุทธปฏิมายืนแสดงธรรม


ขุดได้จากมหาสถูปที่อมารวดี
รัฐอานธรประเทศ
พุทธศตวรรษที่ ๑๐
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 – กลาง 5)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๙ เซนติเมตร
Government Museum, Chennai

๑๔๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๔.๓ ก. พระศากยมุนีแสดงธรรม รูปที่ ๔.๓ ข. ลายเส้นพระศากยมุนีแสดงธรรม
โปรดพระศิวะและพระวิษณุ โปรดพระศิวะและพระวิษณุ
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ถ้ำพระโพธิสัตว์ จังหวัดสระบุรี
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 6) (รูปที่ ๔.๓ ก.)
ถ้ำพระโพธิสัตว์ จังหวัดสระบุรี

รูปที่ ๔.๔ ก. พระอินทร์และปาญจสิขะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ รูปที่ ๔.๔ ข. ลายเส้นพระอินทร์และปาญจสิขะ


พบที่นาคารชุนโกณฑะ รัฐอานธรประเทศ เข้าเฝ้าพระพุทธองค์
กลางพุทธศตวรรษที่ ๙ พบที่นาคารชุนโกณฑะ รัฐอานธรประเทศ
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3) (รูปที่ ๔.๔ ก.)
Nagārjunakonฺdฺa Museum, Āndhrapradesh

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๔๓
นิกายสัมมิตียะ

พระพุทธปฏิมายืนครองจีวรบางแนบพระวรกาย ห่มคลุมพระอังสาทั้งสองข้าง พระหัตถ์ขวา
ประทานพร พระหัตถ์ซ้ายถือชายจีวร (รูปที่ ๔.๕) เช่นเดียวกับพระพุทธปฏิมาที่น่าจะสร้างขึ้นที่สารนาถ
(รูปที่ ๔.๖) ในนิกายสัมมิตียะ ที่เจริญรุ่งเรืองที่สารนาถ (Mitra 1971, 67 – 68) ทางภาคตะวันออก-
เฉียงเหนือของอินเดีย นิกายนี้เชื่อว่าทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน

นิกายเถรวาท

จารึกบทย่อจากพระไตรปิฎก และพระสูตรภาษาบาลีบนธรรมจักร และเสาธรรมจักร อีกทั้ง
พระพิมพ์ดินเผา เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ลัทธิศราวกยาน นิกายเถรวาทเป็นที่แพร่หลายใน
ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – กลาง ๑๓ (คริสต์ศตวรรษที่ 6 – 7) (Skilling
1997, 94) นิกายนี้อ้างว่าเป็นนิกายเดียวกันกับนิกายสถวีรวาท และเป็นนิกายดั้งเดิมซึ่งพระพุทธเจ้า
สถาปนาขึ้น โดยมีแนวความคิดว่าพระพุทธเจ้าเป็นแค่มนุษย์คนหนึ่งผู้สถาปนาพุทธศาสนา และดำเนิน
ตามอริยสัจ ๔ และมรรค ๘ เพื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่
7 – กลาง 8) นิกายเถรวาทเป็นที่แพร่หลายที่นครปฐม ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปแบบของพระพุทธปฏิมาใน
นิกายนี้แล้วแสดงให้เห็นว่า นิกายนี้มิได้รับอิทธิพลรูปแบบจากพระพุทธปฏิมาลังกาดังที่เคยเชื่อกันมา
รูปที่ ๔.๕ พระพุทธปฏิมายืนประทานพร (พิริยะ ๒๕๔๕, ๒๐๗) แต่รูปแบบพระพุทธปฏิมาดังกล่าวของนิกายนี้ได้พัฒนาการขึ้นเองในประเทศ โดย
พบที่วัดรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาสายตรงจากประเทศอินเดีย อย่างเช่นการปรับเปลี่ยนพระพุทธปฏิมาประทับ
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ห้อยพระบาท พระหัตถ์ขวาแสดงธรรม พระหัตถ์ซ้ายถือชายจีวร ตามแบบฉบับของนิกายมหาสังฆิกะ
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 7)
ศิลา สูง ๑.๔๗ เมตร (ดูรูปที่ ๔.๓) ให้กลายเป็นพระหัตถ์ขวาแสดงธรรม แต่พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่ที่พระชานุ เช่น พระพุทธปฏิมา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ของพระอดีตพุทธะ (รูปที่ ๔.๗)
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๔.๖ พระพุทธปฏิมายืนประทานพร


พบที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๑
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 6)
ศิลา สูง ๑๔ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

รูปที่ ๔.๗ หนึ่งในพระอดีตพุทธะสี่พระองค์


เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระเมรุ
จังหวัดนครปฐม
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 8)
ศิลาขาว สูง ๓.๗๐ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๑๔๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๔๕
อนึ่ง นิกายเถรวาทที่เป็นรู้จักกันในประเทศไทยนั้น ปรากฏขึ้นเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่
๑๑ (คริสต์ศตวรรษที่ 6) โดยมีหลักฐานคือจารึกภาษาบาลีที่พบในบริเวณภาคกลาง (Bauer 1991, 34)
ที่ ช าวมอญโบราณรั บ เข้ า มาจากภาคต่ า งๆ ของประเทศอิ น เดี ย ในจารึ ก มอญนั้ น เรี ย กนิ ก ายนี้ ว่ า
“อริยารหันตปักขะ” ซึ่งมิใช่นิกายเถรวาทที่เกิดขึ้นในคณะมหาวิหาร กรุงอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา
เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (คริสต์ศตวรรษที่ 7) เป็นต้นมา (Bareau 1955, 205) ซึ่งคณะ
มหาวิ ห ารนี้ มิ ไ ด้ ส่ ง อิ ท ธิ พ ลให้ ดิ น แดนในประเทศไทยในปั จ จุ บั น จนกระทั่ ง กลางพุ ท ธศตวรรษที่ ๑๙
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12)

นิกายเถรวาทยังเป็นที่แพร่หลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสร้างรูปพระพุทธปฏิมา
ประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ เช่นองค์ที่พบที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (รูปที่ ๔.๘) ที่มีจารึก
คาถา “เย ธมฺมา” เป็นภาษาบาลี (Skilling 2003 – 2004, 276 – 277)

ส่วนพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย (รูปที่ ๔.๙) ซึ่งเป็นปางเดียวกับที่พบที่กรุ
คินบา เมืองศรีเกษตร ประเทศพม่า (รูปที่ ๔.๑๐) และมีจารึกภาษาบาลีประกอบ (Moore 2007, 175 –
180) แสดงให้เห็นว่าสร้างขึ้นใน นิกายเถรวาท และเนื่องด้วยว่าเถรวาทยังคงเป็นพุทธศาสนานิกายหลัก
สืบทอดลงมาจนทุกวันนี้ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย จึงเป็นหมวดที่มีการจำลอง
มากที่สุดในประเทศไทย

รูปที่ ๔.๘ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ


พบที่ด่านขุนทด อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – กลาง ๑๕
(คริสต์ศตวรรษที่ 9)
ศิลาทราย สูง ๑.๑๐ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
จังหวัดนครราชสีมา

รูปที่ ๔.๙ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย รูปที่ ๔.๑๐ พระอดีตพุทธะบนฐานต้นศรีมหาโพธิ์


ไม่ทราบที่มา พบที่กรุคินบา ศรีเกษตร ประเทศพม่า
ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๕ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – กลาง ๑๓
(ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 9) (คริสต์ศตวรรษที่ 7)
ทองคำ สูง ๔.๗ เซนติเมตร เงิน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร National Museum, Yangon, Myanmar

๑๔๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย



๑.๒ ลัทธิมหายาน

ลัทธิศราวกยานนิกายต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ เจริญรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยใน
ปัจจุบัน จนกระทั่งลัทธิมหายานได้เข้ามาแทนที่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6)
ศาสนิกผู้ที่นับถือลัทธิมหายานจะบูชาพระโพธิสัตว์ และศึกษาพระสูตรมหายาน รวมทั้งบำเพ็ญบารมี ๑๐
ประการของพระโพธิสัตว์ เพื่อที่จะเห็นว่าสภาวะอันแท้จริง คือ “ศูนฺยตา”

พระพุทธปฏิมาในลัทธิมหายาน นิยมสร้างพระอมิตาภพุทธะประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ เช่น
พระพุทธรูปพบที่วัดนางกุย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีศิรจักรรอบพระเศียร และประภามณฑลรอบ
พระวรกาย (รูปที่ ๔.๑๑)

นิกายสุขาวดี

ต่อมาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7) นิกายสุขาวดีซึ่งมีถิ่นกำเนิดใน
ประเทศจีน และเป็นนิกายย่อยนิกายหนึ่งของลัทธิมหายาน จึงถูกนำเข้ามาเผยแผ่ นิกายสุขาวดีเน้นการ
รูปที่ ๔.๑๑ พระอมิตาภพุทธะ ถวายภักดี การกล่าวพระนาม และการทำสมาธิต่อพระอมิตาภพุทธะ แทนการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ
ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
พบที่วัดนางกุย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเมื่อสละชีพแล้วก็จะได้ไปเกิดใหม่ในสวรรค์สุขาวดีของพระองค์ โดยมีรูปพระอมิตาภพุทธะที่สร้างขึ้น
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – กลาง ๑๔ ในราชวงศ์สุย (พ.ศ. ๑๑๓๒ – ๑๑๖๑ / ค.ศ. 589 – 618) เช่นที่พบในจังหวัดสุพรรณบุรี (รูปที่ ๔.๑๒) นำ
(คริสต์ศตวรรษที่ 8) มาเป็นต้นแบบให้กับพระอมิตาภพุทธะที่สร้างขึ้นในประเทศไทยในช่วงที่อารยธรรมมอญโบราณเจริญ
ศิลา สูง ๑.๔๐ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา รุ่งเรืองอยู่ในบริเวณตอนบนของอ่าวไทยในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – กลาง ๑๔ (คริสต์ศตวรรษที่
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 7 – 8) พระอมิตาภพุทธะที่สร้างขึ้นในช่วงระยะเวลานี้ได้แก่ พระพุทธปฏิมายืน ครองจีวรคลุมพระอังสา
พระหัตถ์ทั้งสองข้างแสดงธรรม (รูปที่ ๔.๑๓)

รูปที่ ๔.๑๓ พระอมิตาภพุทธะ


เสด็จลงจากสวรรค์สุขาวดี
รูปที่ ๔.๑๒ พระอมิตาภพุทธะ เสด็จจากสวรรค์สุขาวดี ไม่ทราบที่มา
พบที่จังหวัดสุพรรณบุรี ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๓
จีนสมัยราชวงศ์สุย (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 8)
(พ.ศ. ๑๑๓๒ – ๑๑๖๑ / ค.ศ. 589 – 618) สัมฤทธิ์ สูงเฉพาะองค์ ๒๖ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๔๗
๑.๓ ลัทธิวัชรยาน หรือตันตระยาน

ลัทธิวัชรยาน หรือตันตระยานเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นจากหลักปรัชญามนตรยานของลัทธิมหายาน
ที่ใช้มนตร์เป็นเครื่องมือของการหลุดพ้น แต่ลัทธิวัชรยานใช้คัมภีร์ ตันตระ ร่วมกับเวทมนตร์คาถาและการ
บำเพ็ญโยคะ ในการแสวงหาโพธิจิตและความสำเร็จในทางโลก ซึ่งอยู่ในจิตของมนุษย์ แต่ถูกปิดบังด้วย
อวิชชาและโมหะ โดยการไขไตรรหัส คือ กาย วาจา และใจ ด้วยการแสดงมุทราหรือปาง การร่ายมนตร์
และการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ลัทธิวัชรยานหรือตันตระยานมีถิ่นกำเนิดที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่นาลัณฑาในรัฐพิหาร ประเทศ
อินเดีย ถูกนำเข้ามาเผยแผ่และเป็นที่นิยมอย่างมาก ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ถึง ๑๖ (กลางคริสต์
ศตวรรษที่ 8 – กลาง 11) จึงมีการนำเอาพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นที่นาลัณฑามาเป็นแม่แบบให้กับ
พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น พระพุทธปฏิมาที่นำเข้ามาได้แก่ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร
ปางมารวิชัย ครองจีวรห่มดอง ชายสังฆาฏิอยู่เหนือพระถัน พระเมาลีทรงกรวย เม็ดพระศกเป็นก้นหอย
ขนาดใหญ่ รัศมีเป็นลูกแก้ว (รูปที่ ๔.๑๔) แต่ในบริบทของลัทธิวัชรยาน เช่นที่พระมหาสถูปบุโรพุทโธ
ประเทศอินโดนีเซีย

ปางมารวิชัย ได้แก่ พระอักโษภยะ พระชินพุทธะประจำทิศตะวันออก (ดูรูปที่ ๒.๙ ข.)
ปางประทานอภัย ได้แก่ พระอโมฆสิทธิ พระชินพุทธะประจำทิศเหนือ (ดูรูปที่ ๒.๘ ข.)
ปางสมาธิ ได้แก่ พระอมิตาภะ พระชินพุทธะประจำทิศตะวันตก (ดูรูปที่ ๒.๑๐ ข.)
ปางประทานพร ได้แก่ พระรัตนสัมภวะ พระชินพุทธะประจำทิศใต้ (ดูรูปที่ ๒.๑๑ ข.)
ปางปฐมเทศนา ได้แก่ พระไวโรจนะ พระชินพุทธะประจำทิศเบื้องบน (ดูรูปที่ ๒.๑๒ ข.)
รูปที่ ๔.๑๔ ก. พระพุทธปฏิมาแปดปาง
พบในกรุปรางค์วัดราชบูรณะ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งรวมแล้วเรียกว่า “พระปาญจสุคต” อันเป็นพระชินพุทธะห้าพระองค์ของลัทธิวัชรยาน
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – กลาง ๑๖
(คริสต์ศตวรรษที่ 10)
ศิลา สูง ๑๕.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

รูปที่ ๔.๑๔ ข. ลายเส้นพระพุทธปฏิมาแปดปาง


พบในกรุปรางค์วัดราชบูรณะ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(รูปที่ ๔.๑๖ก.)

๑๔๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาที่น่าจะสร้างขึ้นในท้องถิ่น แต่เลียนแบบของอินเดีย ได้แก่ พระไวโรจนะ พบที่
อำเภอกุสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (รูปที่ ๔.๑๕) ส่วนพระศากยมุนีนั้นนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูป
ประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย เช่นที่พบในจังหวัดบุรีรัมย์ (รูปที่ ๔.๑๖) ซึ่งจำลองมาจากแบบอัน
เป็นที่แพร่หลายในรัฐพิหารทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย (รูปที่ ๔.๑๗) และยังเป็นต้นแบบให้กับ
พระพุทธปฏิมาไทยในหมวด “พระพุทธสิหิงค์” ในสมัยต่อมาอีกด้วย

รูปที่ ๔.๑๕ พระชินพุทธไวโรจนะ


พบที่อำเภอโกสุมพิสัย
จังหวัดมหาสารคาม
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11)
สัมฤทธิ์ สูง ๓๓.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

รูปที่ ๔.๑๖ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร รูปที่ ๔.๑๗ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย


ปางมารวิชัย พบที่กุรกิหาร์ ใกล้คยา รัฐพิหาร
พบที่จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศอินเดีย
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๔
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10) (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 9)
ศิลา สูง ๗๓ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ สูง ๓๓ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร Patna Museum, Patna

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๔๙
เมื่อลัทธิตันตระยานเป็นที่แพร่หลายในอาณาจักรกัมพูชา ในระหว่างต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ –
ปลาย ๑๘ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 – กลาง 13) จึงสร้างพระพุทธปฏิมาที่สอดคล้องกับค่านิยมและ
ลัทธิความเชื่อของท้องถิ่น เช่น การสร้างพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ทรงเครื่อง
นาคปรก (รูปที่ ๔.๑๘) ที่ศิลาจารึกกัมพูชาเรียกว่า พระวัชรสัตว์พุทธะ ซึ่งก็คือองค์เดียวกับ พระมหาไวโรจนะ
หรือพระอาทิพุทธะ (พระปฐมพุทธเจ้า) อันได้แก่พระพุทธะที่ประทานกำเนิดแก่พระปาญจสุคตอีกต่อ
หนึ่ง และเมื่อลัทธิตันตระยานในกัมพูชาสิ้นสลายไปในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (กลางคริสต์
ศตวรรษที่ 13) ความนิยมในการสร้างพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องนาคปรกจึงสิ้นสุดลงไปพร้อมๆ กัน

รูปที่ ๔.๑๘ พระวัชรสัตว์พุทธะ


พบที่วัดหน้าพระเมรุราชิการาม
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๗
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 12 )
ศิลา สูง ๑.๑๒ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๑๕๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ตอนที่ ๒
ประวัติการเผยแผ่พุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทย
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13)
ก่อนที่ขอบเขตของราชอาณาจักรไทยจะกำหนดลงในแผนที่ปัจจุบัน ซึ่งลงตัวในปี พ.ศ. ๒๔๕๒
(ค.ศ. 1909) ราชอาณาจักรมิได้มีเขตแดนที่ชัดเจนแน่นอน ทั้งนี้เพราะการครอบครองหมายถึง การธำรง
พระราชอำนาจเหนืออาณาบริเวณที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเมืองประเทศราชแต่ละเมือง (Winichakul
1994, 79) ซึ่งแต่ละเมืองประเทศราชก็อาจจะไปสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรที่เป็นปรปักษ์ หรือตั้งตัวเป็น
อิสระเมื่อโอกาสอำนวย ดังนั้นขอบขัณฑสีมาจึงมิได้มีความแน่นอน แต่เป็นความยืดหยุ่นอยู่ตลอดเวลา
ด้ ว ยเหตุ นี้ ก ารศึ ก ษาพระพุ ท ธปฏิ ม าของไทยซึ่ ง เป็ น มรดกตกทอดกั น ลงมาจากอดี ต จึ ง ครอบคลุ ม
อาณาจักรซึ่งล่มสลายไปแล้ว เช่น ในภาคเหนือ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัด
ตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ (ค.ศ. 1899) อาณาจักรล้านนาเป็นประเทศราชของ
อาณาจักรสยาม และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามายึดอาณาจักรล้านช้างในปี พ.ศ.
๒๔๓๖ (ค.ศ. 1893) ล้านช้างก็เป็นประเทศราชของสยามเช่นกัน ดังนั้น พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในช่วง
ระยะเวลาที่อาณาจักรเหล่านี้มิได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน จึงจำแนกออกเป็นสมัยทาง
ประวั ติ ศ าสตร์ เช่ น สมั ย ล้ า นนา สมั ย ล้ า นช้ า ง และก่ อ นการก่ อ ตั้ ง อาณาจั ก รล้ า นนาก็ ยั ง มี ส มั ย
มอญหริภุญไชย เช่นเดียวกันกับภาคกลางของประเทศไทย ก่อนที่จะมาเป็นอาณาจักรสยาม อันมีกรุง
รัตนโกสินทร์เป็นราชธานี โดยอาจกล่าวได้ว่า พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์สืบ
เชื้อสายมาจากอาณาจักรอยุธยา ซึ่งอาณาจักรอยุธยาก็ได้ผนวกอาณาจักรสุโขทัยไว้เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๑
(ค.ศ. 1378) และอาณาจักรอยุธยาเองก็สืบทอดมาจากอาณาจักรกัมโพช ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ลพบุรี ที่เคย
เป็นเมืองลวปุระเมื่อครั้งสมัยอาณาจักรมอญโบราณ (“ทวารวดี”) ปกครองภาคกลางอีกต่อหนึ่ง ดังนั้น
ภาคกลางจึงสามารถจำแนกออกเป็นสมัยอาณาจักรมอญโบราณ (“ทวารวดี”) สมัยกัมโพช สมัยสุโขทัย
และสมัยอยุธยา อย่างไรก็ดี สมัยทางประวัติศาสตร์ที่นำมาใช้ในที่นี้มิได้นำมาใช้เป็นชื่อรูปแบบที่บ่งบอก
ความแตกต่างทางรูปแบบหรือพุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมา แต่ใช้เป็นจุดกำหนดอายุเวลาที่ได้
สร้างพระพุทธปฏิมาเหล่านั้น

อาณาจักรไทยที่กล่าวถึงข้างต้น ต่างก็มีศรัทธาในพุทธศาสนาลัทธินิกายเถรวาท ที่มีต้นกำเนิดใน
มหาวิหาร กรุงอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา และรับเข้ามาในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ครึ่งแรก
คริสต์ศตวรรษที่ 14) โดยเข้ามาผสมผสานกับพุทธศาสนานิกายเถรวาทของท้องถิ่นที่ชาวมอญโบราณนำ
เข้ามาเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6) ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนา
ในสมัยต่าง ๆ ของอาณาจักรไทย จะนำมากล่าวถึงโดยย่อ ณ ที่นี้

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๕๑
๒.๑ ภาคกลาง

(๑) สมัยอาณาจักรมอญโบราณ (“ทวารวดี”)
พ.ศ. ๙๕๐ – ๑๕๐๐ (ค.ศ. 407 – 957)

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และยอร์ช เซเดส์ เป็นผู้นำเอาชื่ออาณาจักรทวารวดี
(ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๙, ๘๘ – ๙๑; ยอช เซเดส์ ๒๔๗๑, ๒๙ – ๓๓) เพื่อกำหนดอายุเวลาให้กับรูปแบบของ
กลุ่มพระพุทธปฏิมาศิลาที่พบในบริเวณตอนบนของอ่าวไทยโดยมีพุทธลักษณะพ้องกัน คือ พระพุทธปฏิมายืน
จี ว รห่ ม คลุ ม พระหั ต ถ์ ทั้ ง สองข้ า งยกขึ้ น แสดงธรรมในระดั บ พระอุ ร ะ และพระพุ ท ธปฏิ ม าประทั บ
ห้อยพระบาทบนบัลลังก์ พระหัตถ์ขวาแสดงธรรม (ดูรูปที่ ๔.๗) โดยเทียบเคียงกับพระพุทธรูปอินเดีย
สมัยราชวงศ์คุปตะ และกำหนดอายุอยู่ในช่วง พ.ศ. ๑๑๐๐ – ๑๒๐๐ (ค.ศ. 557 – 657) ส่วนหนึ่งของชื่อ
อาณาจักรนั้น เซเดส์ได้มาจากเอกสารของพระภิกษุจีน ฮ่วน จั๋ง ซึ่งเดินทางไปแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย
ในช่วงปี พ.ศ. ๑๑๗๒ – ๑๑๘๘ (ค.ศ. 629 – 645) (Hiuen Tsiang 1969, 200) และพระภิกษุอี้จิง ในปี
พ.ศ. ๑๒๑๔ – ๑๒๓๘ (ค.ศ. 671 – 695) (I - Tsing 1966, 9 – 10) ซึ่งกล่าวถึงอาณาจักรที่มีชื่อว่า “โต โล
รูปที่ ๔.๗ หนึ่งในพระอดีตพุทธะสี่พระองค์ โป ติ” และ “ตู โห โล โป ติ” ซึ่งถอดเป็นภาษาสันสกฤตว่า “ทวารวดี” ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักร
เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระเมรุ ศรีเกษตรในประเทศพม่า และอีสานปุระในประเทศกัมพูชา นอกจากนั้นแล้ว ชาวกรุงทวารวดี ยังเป็นผู้ที่
จังหวัดนครปฐม ใช้ภาษามอญ ดังปรากฏบนจารึกภาษามอญที่พบที่จังหวัดลพบุรีและราชบุรี (ยอช เซเดส์ ๒๔๗๒, ๕)
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 8)
ศิลาขาว สูง ๓.๗๐ เมตร ต่อมามีการค้นพบเหรียญเงินที่มีจารึกภาษาสันสกฤตว่า “ศรี ทวารวตี ศฺวรปุญ” ซึ่งแปลว่า “บุญ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ของผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี” ที่ จังหวัดนครปฐม (Boeles 1964, 99 – 102) อำเภออู่ทอง จังหวัด

สุพรรณบุรี (Boisselier 1972, 52) และจังหวัดสิงห์บุรี (ศิลปากร ๒๕๒๔, ๔๘ – ๕๐) ซึ่งสนับสนุนข้อ
สันนิษฐานเบื้องต้นของยอร์ช เซเดส์ ว่า อาณาจักรทวารวดีนั้น เคยตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย
นอกจากนั้นแล้ว ยังพบเหรียญเงินที่จารึกภาษาสันสกฤตว่า “ลวปุร” (ละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน) (Boeles
1967, 113 – 114) ซึ่งเซเดส์ เคยสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรทวารวดี

ส่วนประชากรของทวารวดีนั้นเป็นชาวมอญที่ใช้ภาษา “มอญโบราณ” อันได้แก่ภาษามอญที่พบใน
ภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งกำหนดอายุเวลาได้จากวิวัฒนาการของตัวอักษรว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. ๑๐๔๓ –
๑๔๔๓ (ค.ศ. 500 – 900) และมีความแตกต่างจากภาษา “มอญกลาง” ซึ่งพบที่เมืองพุกามตอนบนของ
ประเทศพม่า (พ.ศ. ๑๕๔๓ – ๑๘๔๓ / ค.ศ. 1000 – 1300) และภาษา “มอญปัจจุบัน” ที่ใช้ในหงสาวดีใน
รามัญญเทศ ตอนกลางของประเทศพม่า (พ.ศ. ๑๘๔๓ – ๒๑๔๓ / ค.ศ. 1300 – 1600) (Bauer 1991,
34) อนึ่ง ภาษา “มอญโบราณ” ยังปรากฏในลุ่มแม่น้ำชีของภาคอีสานในช่วง พ.ศ. ๑๒๙๓ – ๑๕๔๓ (ค.ศ.
750 – 1000) อีกด้วย (เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน)

นอกจากภาษา “มอญโบราณ” แล้ว ยังพบจารึกภาษาสันสกฤตและภาษาบาลีควบคู่ไปกับภาษา
“มอญโบราณ” ในภาคกลาง (เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาที่ชาวมอญโบราณ
นับถือนั้น ได้แก่ ลัทธิศราวกยานที่ใช้ภาษาสันสกฤต เช่น นิกายมหาสังฆิกะ และนิกายมูลสรรวาสติวาส
รวมทั้งลัทธิมหายาน และลัทธิตันตระยาน ส่วนภาษาบาลีนั้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของนิกายเถรวาท
ส่วนในภาคอีสานนั้น พบจารึกภาษาสันสกฤตเท่านั้นในช่วงระยะเวลานี้

๑๕๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ในเอกสารจีนเช่นหนังสือเรื่อง ถงเทียน (T’ung–tien) ของ ทู้ หยู้ (Tu Yu) ที่เขียนขึ้นในช่วงต้น
พุทธศตวรรษที่ ๑๔ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8) พรรณนาถึงประเทศต่างๆ นอกประเทศจีน กล่าวว่า
“โทว โห” (T’ou–ho) หรือทวารวดี ส่งบรรณาการไปยังจีนในช่วงปี พ.ศ. ๑๑๗๐ – ๑๑๙๒ (ค.ศ. 627 –
649) ส่วนหนังสือ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังใหม่ (Hsin T’ang Shu) กล่าวว่า “โท โห โล” (ทวารวดี) มี
เมืองขึ้น ๒ เมืองได้แก่ “ถัน ลิง” (T’an-ling) และ “โท หัน” (To-huan) ซึ่งเมืองแรกน่าจะได้แก่
นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน ส่วนเมืองหลังอาจจะอยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันในประเทศพม่า
(Yamamoto 1977, 1140, 1145 – 1147)

อย่ า งไรก็ ต าม ไม่ ป รากฏว่ า มี ก ารกล่ า วถึ ง ทวารวดี อี ก เลย จนกระทั่ ง สมเด็ จ พระเจ้ า อู่ ท อง
สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จึงปรากฏชื่อ “ทวารวดี” ควบคู่ไปกับ “ศรีอยุธยา” ดังในกฎหมายที่
พระองค์ทรงเขียนขึ้น เช่น พระไอยการลักษณภญาน (พ.ศ. ๑๘๙๔ / ค.ศ. 1351) พระไอยการอาชญา
หลวง (พ.ศ. ๑๘๙๔ / ค.ศ. 1351) และ พีสูท ดำน้ำ ลุยเพลิง (พ.ศ. ๑๘๙๙ / ค.ศ. 1356) เป็นต้น ซึ่งให้
ชื่อเต็มของราชธานีว่า “กรุงเทพมหานครบวรทวาราวะดีศรีอยุธยามหาดิหลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย”
(Dhani Nivat 1969, 52) และอีกสี่ร้อยกว่าปีต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๒๙๙ (ค.ศ. 1756) จดหมายจาก
อัครมหาเสนาบดีของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ถูกส่งไปยังพระเจ้ากรุงศิริวัฒนบุรี (แคนดี้) ประเทศ
ศรีลังกา ก็ยังใช้ชื่อ “ทวาราวาดี ศรีอยุธยา” อยู่ตามเดิม (เรื่องเดียวกัน, 53)

จึงอาจจะสรุปได้ว่า สมัยอาณาจักรมอญโบราณ เป็นช่วงระยะเวลาที่อารยธรรมของกลุ่มชนที่ใช้
ภาษา “มอญโบราณ” เจริญรุ่งเรืองอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยระหว่างกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ –
กลาง ๑๕ (คริสต์ศตวรรษที่ 6 – 9) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ทวารวดี ซึ่งน่าจะตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
และลวปุระ ซึ่งได้แก่ลพบุรีบนลุ่มแม่น้ำป่าสัก ต่อมาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – กลาง ๑๖ (กลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 8 – ต้น 11) จึงไปรุ่งเรืองขึ้นในลุ่มแม่น้ำชี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทยนับถือพุทธศาสนาลัทธิศราวกยานนิกายต่างๆ ที่ใช้ภาษา
สันสกฤต ลัทธิมหายาน และลัทธิตันตระยาน ส่วนลัทธิศราวกยาน นิกายเถรวาทนั้นเจริญรุ่งเรืองอยู่แต่
เฉพาะในภาคกลาง

(๒) สมัยอาณาจักรกัมโพช พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

“กัมโพช” ใน ชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งแต่งโดยพระรัตนปัญญาเถระ หมายถึง ละโว้ หรือลพบุรี
(รัตนปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๘๘ (๒)) มีศูนย์กลางอยู่ที่ละโว้ หรือลพบุรี (Vickery 1977 A, 372 – 376)
เดิมมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรกัมพูชา ต่อมาในช่วง พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๔๓ (ค.ศ. 1282 –
1300) จึงเป็นอิสระจากกัมพูชา อันเห็นได้จากการที่ลพบุรีได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระจักรพรรดิ
จีนถึง ๕ ครั้งในปี พ.ศ. ๑๘๔๐ (ค.ศ. 1297) และในปี พ.ศ. ๑๘๔๒ (ค.ศ. 1299) คณะทูตจากลพบุรีไป
เมืองจีนพร้อมกับคณะทูตจากสยาม (Pelliot 1904, 241 – 243) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าลพบุรี หรือที่จีนเรียกว่า
“หลัวหู” เป็นรัฐอิสระ ยังมิได้รวมเข้ากับสยาม หรือ “เสียน” (Vickery 1979, 176 – 177) ซึ่งสยามในที่นี้
หมายถึง ชาวขอม อันเป็นชาวมอญ หรือชาวมอญ – เขมร ที่รับอารยธรรมเขมรจากกัมพูชา โดยอาศัย
อยู่ในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ต่อมากัมโพชย้ายเมืองหลวง
จากลพบุรีมาที่อยุธยา คือเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในปี พ.ศ.
๑๘๙๔ (ค.ศ. 1351) (ขจร ๒๕๒๓, ๑ – ๒, ๑๔) ดังนั้น สมัยอาณาจักรกัมโพชจึงหมายถึง ช่วงระยะเวลา
ที่ลพบุรีเป็นอาณาจักรอิสระจากกัมพูชา อันเป็นระยะก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๕๓
นิกายเถรวาทซึ่งคงอยู่ควบคู่ไปกับลัทธิตันตระยานของกัมพูชา ในช่วงที่ตันตระยานรุ่งเรือง
กลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าขนบธรรมเนียมของการใช้พระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาบาลี
จะเป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นเถรวาท แต่ทว่านิกายเถรวาทของกัมโพชก็ได้รับคติธรรมและความเชื่อมา
จากลัทธิมหายานและตันตระยานของกัมพูชาเข้ามาผสมผสานกันอีกด้วย และเมื่อเป็นนิกายซึ่งเป็นที่
นิยมแพร่หลายในแคว้นกัมโพช จึงเป็นนิกายเดียวกับที่ศิลาจารึกกัลยาณี ที่พระเจ้าธรรมเจดีย์ กษัตริย์
มอญที่ปกครองหงสาวดี (พ.ศ. ๒๐๑๕ – ๒๐๓๕ / ค.ศ. 1472 – 1492) จารขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๑๘ (ค.ศ.
1475) เรียกว่า “กัมโพชสงฆ์ปักขะ” หรือคณะสงฆ์กัมโพช

ศิ ล าจารึ ก กั ล ยาณี ให้ ร ายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ กั ม โพชสงฆ์ ปั ก ขะนี้ ว่ า เป็ น นิ ก ายดั้ ง เดิ ม ที่ พ ระ
มหาเถระสององค์ คือ พระโสณะ และพระอุตตระ นำมาจากอินเดีย มาประดิษฐานในรามัญญเทศ หรือ
รัฐมอญในปัจจุบัน และมีชื่อว่า “อริยารหันตปักขภิกขุสงฆ์” ต่อมาจึงเรียกว่า “กัมโพชสงฆ์ปักขะ” เพราะ
ว่าพระอารามของนิกายนี้ ตั้งอยู่ใกล้กับค่ายของเชลยศึกชาวกัมโพช (Taw Sein Ko 1892, 57)

กัมโพชสงฆ์ปักขะ ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า อริยารหันตปักขภิกขุสงฆ์ หรือเรียกโดยย่อว่า “อริยะ”
จึงน่าจะเป็นนิกายดั้งเดิมของชาวมอญ และมีหลักฐานปรากฏในจารึกภาษาบาลีสนับสนุนว่า ได้เข้ามาใน
ลุ่มแม่น้ำอิระวดีและเจ้าพระยา เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6) เป็นต้นมา
และพัฒนาการขึ้นโดยมิได้รับอิทธิพลจากลังกาแต่อย่างใด (Skilling 1997, 101)

เนื่องด้วยว่าคณะสงฆ์กัมโพชที่ได้ขึ้นไปแพร่หลายที่นครหริภุญไชย เป็นคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี
หรือฝ่ายคันถธุระ จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่า คณะสงฆ์กัมโพชที่ละโว้หรือลพบุรีก็น่าจะเป็นคณะสงฆ์
ฝ่ายคามวาสี เช่นกัน

พุทธศิลป์ที่สร้างขึ้นตามคติของคณะสงฆ์กัมโพชมีรูปแบบที่จำกัด คือ นิยมสร้างพระพุทธปฏิมา
ซึ่งได้แก่ พระสมณโคดมในแบบประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ซึ่งมีทั้งนาคปรก ทรงเครื่อง และ
แบบยืน พระหัตถ์ขวาประทานอภัย แนบหน้าพระอุระ พระกรซ้ายทอดลงมาที่พระปรัศว์ หรือแบบยืน
ครองจี ว รห่ ม คลุ ม พระหั ต ถ์ ทั้ ง สองข้ า งประทานอภั ย ดั ง ที่ ขุ ด พบรวมกั น ในหม้ อ ดิ น เผาที่ จั ง หวั ด
สมุทรสาคร (รูปที่ ๔.๑๙) ซึ่งในหม้อดินใบนี้ ยังพบด้ามจับของกระดิ่งที่พระภิกษุในลัทธิวัชรยานหรือ
ตันตระยานจะถือในมือซ้าย และวัชระในมือขวา เมื่อเวลาทำวัตรอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว ยังนิยมสร้าง
พระพุทธปฏิมายืน ทรงเครื่อง สองพระหัตถ์ประทานอภัย อันได้แก่ พระสมณโคดมในแบบของพระ
จักรพรรดิราช (รูปที่ ๔.๒๐) รวมทั้งรูปพระสมณโคดมสัมฤทธิ์ยืน พระหัตถ์ขวาประทานอภัย พระหัตถ์
ซ้ายประทานพร สวมอุณหิสห้ายอด (รูปที่ ๔.๒๑) พบที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งดัดแปลงมา
จากรูปพระศากยมุนี ยืนประทานพร สวมอุณหิสห้ายอดที่สร้างขึ้นในราชวงศ์ปาละ - เสนะของอินเดีย
ในรัชสมัยของพระเจ้าวิครหปาละที่ ๓ (พ.ศ. ๑๕๘๔ - ๑๖๑๐ / ค.ศ. 1041 - 1067) (Ray et al. 1986,
61 - 62) โดยดัดแปลงพระหัตถ์ซ้ายที่ถือชายจีวรมาเป็นปางประทานพร และปรับเปลี่ยนรายละเอียด
ของอาภรณ์ให้เข้ากับค่านิยมของท้องถิ่น พร้อมกับจารึกภาษาบาลีไว้ที่ด้านหลังของพระพุทธรูปอีกด้วย
และในที่สุดแล้ว พระพุทธปฏิมาที่คณะสงฆ์กัมโพชได้สร้างขึ้นนี้ ได้กลายเป็นแม่แบบให้กับพระพุทธปฏิมา
ที่สร้างขึ้นในราชอาณาจักรอยุธยา และสืบทอดลงมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ภายใต้นิกายสยามวงศ์ หรือที่
เรียกว่าคณะมหานิกายในปัจจุบัน

๑๕๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๔.๑๙ พระพุทธปฏิมาแบบต่างๆ
ที่สร้างขึ้นในคณะสงฆ์กัมโพช
พบในหม้อดินที่จังหวัดสมุทรสาคร
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ องค์กลางสูง ๒๓.๒ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน

รูปที่ ๔.๒๐ พระสมณโคดม


ทรงเครื่องพระจักรพรรดิราช
พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๗ รูปที่ ๔.๒๑ พระสมณโคดม ทรงอุณหิสห้ายอด
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 12) พบที่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
สัมฤทธิ์ สูง ๔๐.๔ เซนติเมตร ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13)
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สัมฤทธิ์
สมบัติของเอกชน

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๕๕
(๓) สมัยสุโขทัย

สมัยสุโขทัยอาจจะแยกได้เป็น ๓ ช่วง โดยใช้เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการ
แบ่ง ได้แก่

- ช่วงก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๘๔๒ (ค.ศ. 1257 – 1299)
- ช่วงอาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. ๑๘๔๒ – ๑๙๒๑ (ค.ศ. 1299 – 1378)
- ช่วงเมืองประเทศราชของอยุธยา พ.ศ. ๑๙๒๑ – ๒๐๐๖ (ค.ศ. 1378 – 1463)

ช่วงก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๘๔๒ (ค.ศ. 1257 – 1299)

สุโขทัยเป็นอาณาจักรของชาวไทย ซึ่งชาวไทยในที่นี้หมายถึง กลุ่มชนที่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
เมื่อแรกเริ่มก่อตั้งขึ้นนั้น ชาวไทยที่สุโขทัยอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์เขมรแห่งอาณาจักรกัมพูชา
ที่มีราชธานีอยู่ที่เมืองพระนคร หรือยโศธรปุระ โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถม ปฐมกษัตริย์สุโขทัยครองราชย์
ในกรุงสุโขทัยและศรีสัชนาลัย เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๐ (ค.ศ. 1257) ตรงกับรัชสมัยพระเจ้า
ชัยวรมันที่ ๘ แห่งอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. ๑๗๘๖ – ๑๘๓๘ / ค.ศ. 1243 – 1295) (Jacques 1990, 160)
ต่อมา ขอมสบาดโขลญลำพงได้เข้าโจมตีสุโขทัย ทางด้านชาวไทยโดยการนำของพระโอรสของ
พรญา (พญา) ศรีนาวนำถมองค์หนึ่งพระนามว่า พ่อขุนผาเมือง พร้อมด้วยพระสหาย พ่อขุนบางกลางหาว
ร่วมกันขับไล่ชาวขอม ซึ่งได้แก่กลุ่มชนชาวมอญ หรือมอญ – เขมร ที่อาศัยอยู่ในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี
และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สยาม) และจังหวัดลพบุรี (กัมโพช) (วินัย ๒๕๕๐, ๘ – ๑๐) เมื่อได้รับ
ชัยชนะแล้วพ่อขุนผาเมืองจึงยกเมืองสุโขทัยให้กับพ่อขุนบางกลางหาว พร้อมกับถวายพระนามที่ได้รับ
พระราชทานมาจากกษัตริย์เมืองยโศธรปุระ

... พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวให้เมืองสุโขทัย ให้ทั้งชื่อตนแก่
พระสหายเรี ย กชื่ อ ศรี อิ น ทรบดิ น ทราทิ ต ย์ นามเดิ ม กมรแดงอั ญ ผาเมื อ ง
เมื่อก่อนผีฟ้า เจ้าเมืองศรีโสธรปุระ ให้ลูกสาวชื่อนางสุขรมหาเทวีกับขรรค์ชัยศรี
ให้นามเกียรติ์แก่พ่อขุนผาเมือง เหียม พ่อขุนบางหลางหาวได้ชื่อศรีอินทรา-
บดินทราทิตย์...
(ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๒ ๒๕๒๗, ๑๔)

ชาวไทยซึ่งอาศัยอยู่บริเวณสุโขทัย มีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์เขมรแห่งอาณาจักรกัมพูชา จึง
ช่วยกันต่อสู้กับศัตรูชาวขอม (Vickery 1977 A, 373 (20)) อันประกอบด้วยชาวสยาม (สุพรรณบุรี) และ
ชาวกัมโพช (ลพบุรี) ซึ่งราชทูตจีนชื่อ โจว ต๋า กวาน ที่เดินทางไปเมืองพระนครระหว่างปี พ.ศ. ๑๘๓๙ –
๑๘๔๐ (ค.ศ. 1296 – 1297) ในรัชสมัยของพระเจ้าศรีอินทรวรมัน เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง บันทึก
ภูมิประเทศและจารีตประเพณีของเจินล่า ว่า “เดินทาง [จากกัมพูชา] ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ สิบห้า
วั น ก็ ใ กล้ ถึ ง สยาม” (Chou Ta - Kuan 1992, XVIII) ในบริ เ วณจั ง หวั ด สุ พ รรณบุ รี แ ละจั ง หวั ด
พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน (เรื่องเดียวกัน, 372) ซึ่งสามารถสันนิษฐานได้ว่า การศึกครั้งนี้ ชาวขอม
อันได้แก่ ชาวกัมโพชหรือชาวสยามน่าจะขึ้นมารุกรานสุโขทัยเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ดี ศิลาจารึกหลักที่ ๒ มิได้
กล่าวว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีใด แต่น่าจะเป็นช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13)

ช่วงอาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. ๑๘๔๒ – ๑๙๒๑ (ค.ศ. 1299 – 1378)

ช่วงอาณาจักรสุโขทัยเป็นยุคที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองโดย “สู้กู่ไถ่” ส่งเครื่องราชบรรณาการ
ไปจีนในปี พ.ศ. ๑๘๔๒ (ค.ศ. 1299) (Flood 1969, 226) ในรัชสมัยของพระเจ้าเลอไทย (พ.ศ. ๑๘๔๑ /
ค.ศ. 1298 – ปีใดไม่ปรากฏ) (ประเสริฐ ๒๕๓๔, ๓๓) แต่อาณาจักรสยามที่อยู่บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี
และพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ยังไม่เลิกราความต้องการที่จะผนวกเอาสุโขทัย จนกระทั่งประสบ

๑๕๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ความสำเร็จในปี พ.ศ. ๑๘๔๗ (ค.ศ. 1304) ดังที่หนังสือ บันทึกทะเลใต้ในรัชกาลต้าเต๋อ เขียนโดย
เฉินต้าเจิ้น เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าเมืองกวางโจว บันทึกไว้ว่า “อาณาจักรเสียนปกครองซั่งสุ่ยสูกูตี่”
(ต้วน ลี่ เซิง และ ประพฤทธิ์ ๒๕๒๙, ๑๐) ซึ่ง “ซั่งสุ่ยสูกูตี่” เป็นสำเนียงจีนเมื่อกล่าวถึง “ศรีเสชนาไล
สุโขทัย ขอมสบาด โขลญลำพงรบกัน” ดังที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๒ (ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๒
๒๕๒๗, ๑๓) เสียนในที่นี้จึงหมายถึงสยาม ซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวขอม หรือชาวมอญ หรือชาวมอญ –
เขมร ที่รับอารยธรรมเขมรจากกัมพูชา อันมีศูนย์กลางบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรีและพระนครศรีอยุธยา
ในปัจจุบัน

ศรีสัชนาลัยสุโขทัย ถูกสยามยึดครองจนถึงปี พ.ศ. ๑๘๙๐ (ค.ศ. 1347) เมื่อพระเจ้าลิไท หรือ
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๘๘๓ (ค.ศ. 1340) ยึดเมืองสุโขทัยกลับคืน
มาได้ จากนั้นจึงทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทกัมรเดงอัญศรีสุริยพงศราม มหาธรรมราชาธิราช
(จารึกสมัยสุโขทัย ๒๕๒๖, ๒๓๐) อาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยของพระองค์ ครอบคลุมอาณาบริเวณภาค
กลางตอนเหนือ ตั้งแต่นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก พิจิตร พิษณุโลก ถึงอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน (ประเสริฐ
๒๕๓๔, ๓๒ – ๓๓)

ในรัชสมัยพระเจ้าลิไท พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์ของสุโขทัย โดยพระ
มหากษัตริย์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกของนิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร ฝ่ายอรัญวาสีจากลังกา
สืบเนื่องมาจากคณะสงฆ์มอญจากรามัญญเทศหรือรัฐมอญ ได้เดินทางไปศึกษาพระธรรมที่อุทุมพรคีรี
มหาวิหาร กรุงโปลนนารุวะ ซึ่งเป็นฝ่ายอรัญวาสีของคณะมหาวิหาร อันมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงอนุราธปุระ
ในช่วงปี พ.ศ. ๑๘๖๓ – ๑๘๗๓ (ค.ศ. 1320 – 1330) ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๘๗๔ (ค.ศ. 1331) คณะสงฆ์
มอญกลุ่มนี้เดินทางกลับมาตุภูมิ โดยมีพระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามี พระเถระชาวลังกา เป็นผู้ก่อตั้ง
สำนักอรัญวาสี ที่เมืองพัน (ปัจจุบันคือเมาะลำแยงในรัฐมอญ) ต่อมาพระภิกษุชาวสุโขทัย ๒ รูป คือ
พระสุมนเถระและพระอโนมทัสสี ซึ่งศึกษาพระไตรปิฎกอยู่ที่อยุธยา ได้ไปอุปสมบทใหม่ในฝ่ายอรัญวาสี
ของพระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามีที่เมืองพัน โดยในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้น เจ้าศรีศรัทธาผู้
จารศิลาจารึกหลักที่ ๒ ก็เสด็จออกเดินทางจากสุโขทัย ไปอินเดียและลังกา และได้รับการอุปสมบทที่
คณะมหาวิหาร โดยได้รับสมณศักดิ์เป็นพระมหาสามี ทางด้านพระสุมนเถระและพระอโนมทัสสี ซึ่ง
จำพรรษาอยู่ที่สำนักพระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามีที่เมืองพัน ๔ พรรษา จึงได้เดินทางกลับมา
เผยแผ่คำสอนของสำนักอุทุมพรบุปผามหาสามีที่สุโขทัย ในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยกับที่พระมหาเถระ
ศรีศรัทธามหาสามีก็เดินทางกลับสุโขทัยเช่นกัน

พระสุมนเถระและพระอโนมทัสสีอยู่ที่สุโขทัยได้ ๕ พรรษา จึงเดินทางกลับไปเมืองพัน พร้อม
ด้วยพระภิกษุอีก ๘ รูปที่ได้รับการอุปสมบทใหม่ หลังจากพระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามีแห่งเมือง
พันได้แต่งตั้งพระอโนมทัสสีและพระสุมนเถระให้เป็นพระมหาเถระแล้ว จึงส่งพระเถระทั้ง ๑๐ รูปนั้น
กลับสุโขทัย โดยกล่าวว่า “ศาสนาอันกูนำมาแต่ลังกาทวีปนั้นไม่มั่นคงในเมืองเมงนี้นา จักไปตั้งมั่นอยู่ที่
เมืองสู (สุโขทัย) โพ้นต่อเท่า ๕,๐๐๐ ปีแล” (ตำนานมูลศาสนา ๒๕๑๘, ๑๙๓) พระอโนมทัสสีจึงกลับมา
จำพรรษา ณ วัดป่าแดง ที่ศรีสัชนาลัย ซึ่งพระเจ้าลิไทสร้างถวายพระมหากัลยาณเถระ ในปี พ.ศ. ๑๙๐๓
(ค.ศ. 1360) (จารึกสมัยสุโขทัย ๒๕๒๖, ๒๕๔) ส่วนพระสุมนเถระนั้นได้ไปจำพรรษาที่วัดป่ามะม่วง
สุโขทัย ซึ่งพระเจ้าลิไททรงให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๐๕ (ค.ศ. 1362) ส่วนพระภิกษุอีก ๘ รูปนั้น นำเอาคำสอน
ของสำนักอุทุมพรบุปผามหาสามี ฝ่ายอรัญวาสี คณะมหาวิหาร ไปเผยแผ่ที่อยุธยา หลวงพระบาง น่าน
และพิษณุโลก

พระเจ้าลิไทมีพระราชศรัทธาในนิกายเถรวาทจากลังกามาก ในปี พ.ศ. ๑๙๐๐ (ค.ศ. 1357) ได้
ทรงสถาปนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่เมืองนครชุม เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่ง “ใช่ธาตุอัน
สามานย์ คือพระธาตุแท้จริงแล เอาลุกแต่ [มาจาก] ลังกาทวีปพู้น” พร้อมทั้งปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ทรง
ได้มาจากลังกา นอกจากนั้นแล้วยังให้จำลองพระพุทธบาทจากเขาสุมนกูฏที่ลังกา มาประดิษฐานไว้บน
เขาที่ศรีสัชนาลัย สุโขทัย บางพาน และนครสวรรค์ (เรื่องเดียวกัน ๒๕๒๖, ๒๙, ๓๙) ต่อมาในปี พ.ศ.

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๕๗
๑๙๐๕ (ค.ศ. 1361) จึงโปรดให้ไปอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชจากเมืองพัน มาเป็นพระราชอุปัชฌยาจารย์
เสด็จออกผนวช “ทรงอธิษฐานอย่างนี้ว่า ผลบุญที่อาตมาบวชในศาสนาของพระพุทธ พระผู้เป็นเจ้าครั้ง
นี้ อาตมาไม่อยากได้จักรพรรดิ์สมบัติ อินทรสมบัติ พรหมสมบัติ อาตมาอยากขอมอบอาตมา ปรารถนา
เป็นพระพุทธเจ้า เพื่อนำสัตว์ทั้งปวงข้ามไตรภพนี้” (เรื่องเดียวกัน, ๒๓๗) แล้วจึงเสด็จไปจำพรรษาที่วัด
ป่ามะม่วง ซึ่งเดิมเป็นสวนมะม่วงที่พระอัยกาธิราช พระเจ้ารามราชได้ทรงปลูกไว้ (เรื่องเดียวกัน, ๔๓)
ในปีเดียวกันพระมหากัลยณเถระ เจ้าอาวาสวัดป่าแดงที่ศรีสัชนาลัยมรณภาพ พระเจ้าลิไทจึงเสด็จ
มาสักการะพระศพ และทรงแต่งตั้งพระบรมครูติโลกดิลกะติรัตนศีลคันธวันวาสีธรรมกิตติ สังฆราช-
มหาสามีเจ้า เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแดง และเป็นเจ้าคณะฝ่ายอรัญวาสีด้วย (เรื่องเดียวกัน, ๒๕๕) ซึ่ง
แสดงให้เห็นว่า กษัตริย์สุโขทัยมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสมณศักดิ์และการปกครองคณะสงฆ์

ช่วงเมืองประเทศราชอยุธยา พ.ศ. ๑๙๒๑ – ๒๐๐๖ (ค.ศ. 1378 – 1463)

หลังจากพระเจ้าลิไทสิ้นพระชนม์ ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๑๑ – ๑๙๑๗ (ค.ศ. 1368 – 1374)
(Vickery 1978, 241) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ กษัตริย์อยุธยา ทรงยกทัพไปตีเมืองกำแพงเพชร
ซึ่งขึ้นกับสุโขทัย พระมหาธรรมราชาที่ ๒ หรือพระเจ้าลือไทแห่งสุโขทัยได้เสด็จป้องกันเมืองด้วย
พระองค์เอง แต่เมื่อทรงเห็นว่าจะป้องกันไว้ไม่ได้ จึงเสด็จ “ออกถวายบังคม” ยอมอ่อนน้อมต่อ
อาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. ๑๙๒๑ (ค.ศ. 1378) (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖, ๑๓๒)

เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ ๒ สิ้นพระชนม์ราวปี พ.ศ. ๑๙๒๖ – ๑๙๒๗ (ค.ศ. 1383 – 1384)
(Vickery 1978, 241) พระเจ้าไสลือไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๓) จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ และในปี พ.ศ.
๑๙๖๐ (ค.ศ. 1417) นายอินทรสรศักดิ์ ซึ่งน่าจะเป็นขุนนางระดับสูงของสุโขทัย ได้ทูลขอประทานที่ดิน
สร้างพระอารามถวายแด่ “พ่ออยู่หัวเจ้า ธ ออกญาธรรมราชา” (จารึกสมัยสุโขทัย ๒๕๒๖, ๑๓๐) อัน
แสดงให้เห็นว่า หัวเมืองเหนือภายใต้การปกครองของอยุธยา ที่พระมหาธรรมราชา กษัตริย์สุโขทัยถูกลด
ฐานะลงมาเป็น “ออกญาธรรมราชา” นั่นหมายความได้ว่าเป็นการลดสถานะจาก “พระราชา” มาเป็น
“ขุนนาง” ซึ่งปกครองหัวเมืองอันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา (มานพ ๒๕๓๖, ๗๑, ๘๑) ศิลาจารึก
หลักนี้ยังกล่าวถึงนายสังฆการี ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างพระเจ้าไสลือไทกับนายอินทรสรศักดิ์
(จารึกสมัยสุโขทัย ๒๕๒๖, ๑๓๐ – ๑๓๑) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีการจัดตั้งเจ้าหน้าที่ดูแลกิจการสงฆ์แทน
พระองค์พระมหากษัตริย์อีกด้วย

แม้ว่าจะถูกลดฐานะลงเป็น “ออกญาธรรมราชา” แต่ทว่า พระเจ้าไสลือไทก็ยังได้รับการยกย่อง
จากนายอินทรสรศักดิ์ว่าทรงเป็น “พระบรมราชาธิบดี ศรีมหาจักรพรรดิราช” อยู่ดี (จารึกสมัยสุโขทัย
๒๕๒๖, ๑๓๒) ในปี พ.ศ. ๑๙๔๓ (ค.ศ. 1400) สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ อัครราชมเหสีของ
พระองค์ (Vickery 1978, 235 – 239) ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมธาตุซึ่งทรงได้มาจากลังกาขึ้น
๒ องค์ พร้อมด้วยวิหาร มณฑป เจดีย์ และปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ในพระอารามด้วย โดยพระราชทาน
นามว่า “อโสการาม” (จารึกสมัยสุโขทัย ๒๕๒๖, ๓๓๒ – ๓๓๓) นอกจากนั้นแล้ว พระองค์ยังทรงสร้างวัด
ทักษิณารามอีกด้วย (เรื่องเดียวกัน, ๓๒๓) พระเจ้าไสลือไททรงทำนุบำรุงพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี โดยแต่ง
ตั้งพระบรมครูติโลกดิลกฯ เป็นสังฆปรินายก มีอำนาจสิทธิขาดในการปกครองสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี โดยที่
พระมหากษัตริย์จะละเมิดมิได้เลย ในปี พ.ศ. ๑๙๕๐ (ค.ศ. 1407) (เรื่องเดียวกัน, ๒๖๓)

๑๕๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระเจ้าไสลือไทสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๑๙๖๒ (ค.ศ. 1419) ซึ่งเป็นเหตุให้ “เมืองเหนือทั้งปวงเป็น
จลาจล” เมืองเหนือในที่นี้ได้แก่ สุโขทัย เชลียง พิษณุโลก และกำแพงเพชร ซึ่งเป็นประเทศราชของ
อยุธยา (มานพ ๒๕๓๖, ๖๖) สืบเนื่องจากพระโอรสทั้งสองพระองค์ คือ พระยาบาลและพระยารามแย่งชิง
ราชสมบัติกัน สมเด็จพระนครินทราธิราช กษัตริย์อยุธยา จึงเสด็จขึ้นไปที่นครสวรรค์ “ครั้นพญาบาลเมือง
และพญารามออกถวายบังคม” (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖, ๑๓๓) สมเด็จพระนครินทราธิราช
ทรงแต่งตั้ง พระยาบาล ซึ่งทรงจารพระนามของพระองค์เองว่า “ศรีสุริยวงศ์บรมบาล มหาธรรม-
ราชาธิราช” (ศิลปากร ๒๕๒๖, ๒๖๗) ให้ไปครองเมืองพิษณุโลก ส่วนพระยารามไปครองเมืองสุโขทัย
ด้านพระยาเชลียงครองเมืองสวรรคโลก และพระยาแสนสอยดาวครองเมืองกำแพงเพชร (Vickery
1977 B, 44 - 46)

เมื่อครั้งพระภิกษุจากเชียงใหม่ ๒๕ รูป และจากกัมโพช (ลพบุรี) อีก ๘ รูป เดินทางกลับจาก
ลังกา และได้ฝึกฝนร่ำเรียน “การสวดออกเสียงตามตัวอักษรที่ใช้อยู่ในลังกาทวีป” มาแล้ว ได้เดินทางมา
ถึงสุโขทัยในปี พ.ศ. ๑๙๗๒ (ค.ศ. 1429) (รัตนปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๑๐๘) ทางพระยาราม เจ้าเมือง
สุโขทัยจึงอนุญาตให้พระภิกษุจากลังกาอุปสมบทพระภิกษุในคณะสีหฬภิกขุ อันเป็นฝ่ายอรัญวาสีทั้ง
๒๐๔ รูป เช่นเดียวกันกับพระยาบาล (พระมหาธรรมราชาที่ ๔) ที่พิษณุโลก ซึ่งเลื่อมใสพระมหา-
ธัมมคัมภีร์เถระ

เมื่อพระยาบาล หรือพระมหาธรรมราชาที่ ๔ สิ้นพระชนม์ พระยายุทธิษเธียรซึ่งเป็นพระโอรส
จึงขึ้นครองเมืองพิษณุโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๙๘๑ – ๑๙๙๔ (ค.ศ. 1438 – 1451) แต่เมื่อไม่ได้รับการแต่ง
ตั้งให้เป็นพระมหาธรรมราชาองค์ต่อไป จึงคิดเป็นกบฏไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราช โดยยกเมืองพิษณุโลก
ให้เป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรล้านนา แต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็ทรงยึดกลับคืนมาได้ และ
เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ. ๒๐๐๖ (ค.ศ. 1463) ดังนั้น อาณาจักรสุโขทัยจึงเป็นส่วนหนึ่ง
ของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่นั้นมา (เรื่องเดียวกัน, ๓๔ – ๓๕)

(๔) สมัยอยุธยา

การจำแนกยุคสมัยของอาณาจักรอยุธยาเพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษาพระพุทธปฏิมาในสมัย
อยุธยานั้น จะแยกออกเป็น ๓ ช่วง โดยใช้ลักษณะการปกครองเป็นเกณฑ์ในการแบ่งระยะเวลา (มานพ
๒๕๓๖, ๕๗) ดังต่อไปนี้

- ช่วงเมืองพระยามหานคร พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1351 – 1448)
- ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)
- ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

ช่วงเมืองพระยามหานคร พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1351 – 1448)

อาณาจักรอยุธยาเป็นความสืบเนื่องที่ต่อมาจากอาณาจักรกัมโพช (ลพบุรี) และอาณาจักรสยาม
(สุพรรณบุรีและพระนครศรีอยุธยา) โดยอาณาจักรอยุธยาเกิดจากการรวมตัวของรัฐกัมโพชกับรัฐสยาม
มีพระเจ้าอู่ทองหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๑๒ / ค.ศ. 1351 – 1369) เป็น
ปฐมกษัตริย์ และทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในปี พ.ศ. ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1351) อาณาจักร
อยุธยามีระบบการปกครองที่เหมาะสมกับลักษณะของสังคม ภายใต้แผนภูมิรูปสามเหลี่ยมของระบบ
ศักดินา มีไพร่เป็นพื้นฐาน ขุนนางอยู่ช่วงกลาง และมียอดที่พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ประทับอยู่
ที่กรุงศรีอยุธยาและทรงควบคุมหัวเมืองต่างๆ ที่ขึ้นกับอยุธยาโดยการส่งเชื้อพระวงศ์ไปปกครอง จึง
เรียกเมืองเหล่านั้นว่า เมืองพระยามหานคร ซึ่งเจ้าเมืองจะต้องเข้ามาทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
สาบานตนแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์อยุธยาทุกๆ ๓ ปี กฎมณเฑียรบาล ซึ่งสันนิษฐานว่า

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๕๙
เขียนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๑๑ (ค.ศ. 1468) (Wyatt 1967, 281) ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.
๑๙๙๑ – ๒๐๓๑ / ค.ศ. 1448 – 1488) ระบุว่ามีเมืองพระยามหานคร ๘ เมือง ได้แก่ พิษณุโลก
ศรีสัชนาลัย สุโขทัย กำแพงเพชร นครศรีธรรมราช นครราชสีมา ตะนาวศรี และทวาย (เรื่องกฎหมาย
ตราสามดวง ๒๕๒๑, ๓๔) ซึ่ง ๔ เมืองแรกน่าจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๑ (ค.ศ.
1378) เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ ๒ แห่งสุโขทัย ยอมอ่อนน้อมต่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่ง
กรุงศรีอยุธยา

นอกจากเมืองพระยามหานครแล้ว อาณาจักรอยุธยายังมีเมืองประเทศราชที่ “ได้ถวายดอกไม้
ทองเงิน” เป็นเครื่องบรรณาการอีก ๒๐ เมือง (เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน) ประกอบด้วยหัวเมืองทาง
เหนือ ๑๖ เมือง ซึ่งแยกเป็นเมืองในภาคเหนือ ๑๒ เมือง และเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๔ เมือง
หัวเมืองทางภาคใต้ ๔ เมือง (ดูภาคผนวก: แผนที่ ๓ แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงเมืองพระยามหานคร)
เมืองในภาคเหนือนั้นน่าจะได้มาเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๑๔ (ค.ศ. 1371) เมื่อ “สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า
เสด็จไปเมืองเหนือ และได้เมืองเหนือทั้งปวง” (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖, ๑๓๑) และปี พ.ศ.
๑๙๒๙ (ค.ศ. 1386) เมื่อ “เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่” (เรื่องเดียวกัน, ๑๓๒) ส่วนเมืองในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ เช่น เมืองนครหลวง หรือนครธม ราชธานีของกัมพูชา ได้มาเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๗๔ (ค.ศ. 1431)
เมื่อ “สมเด็จพระบรมราชาเจ้าเสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้” (เรื่องเดียวกัน, ๑๓๔) ส่วนเมืองใต้ เช่น
เมืองมะละกา คงจะได้มาในปี พ.ศ. ๑๙๙๘ (ค.ศ. 1455) เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรง “แต่งทัพ
ให้ไปเอาเมืองมะละกา” (เรื่องเดียวกัน, ๑๓๕)

ทางด้านศาสนานั้น คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ ซึ่งเป็นฝ่ายคามวาสีน่าจะเป็นที่แพร่หลายที่อยุธยาใน
ช่วงก่อตั้งราชอาณาจักร อันเห็นได้จากที่พระสุมนเถระและพระอโนมทัสสีชาวสุโขทัย ได้ไปเล่าเรียน
ธรรมะในหลายสำนักที่อยุธยา (ตำนานมูลศาสนา ๒๕๑๘, ๑๙๒) ก่อนที่จะไปอุปสมบทใหม่ในสำนัก
อุทุมพรบุปผามหาสามีที่เมืองพัน ซึ่งเป็นฝ่ายอรัญวาสี

ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๙๖๙ (ค.ศ. 1426) รัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)
(พ.ศ. ๑๙๖๗ – ๑๙๙๑ / ค.ศ. 1424 – 1448) พระภิกษุจากเชียงใหม่และลพบุรีรวม ๓๓ รูป ซึ่งเดินทาง
ไปอุปสมบทใหม่ในฝ่ายอรัญวาสี คณะมหาวิหารของลังกา เมื่อเดินทางกลับมาถึงอยุธยา จึงมาอุปสมบท
ให้กับพระมหาเถระสีลวิสุทธิ ผู้เป็นพระอาจารย์ของพระมเหสีของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (รัตน-
ปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๑๐๘) และจาก ตำนานมูลศาสนา ฝ่ายวัดป่าแดง เชียงตุง ได้เพิ่มเติมรายละเอียด
ในปีเดียวกันนั้นว่า พระมหาธัมมสารท พระเถระผู้ใหญ่แต่งตั้งพระญาณคัมภีร์ ซึ่งเป็นพระรูปเดียวกันกับ
ที่ ชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงว่า พระธัมมคัมภีร์ ให้เป็นประมุขของสงฆ์ และให้พระภิกษุหนุ่มลาสิกขา
บทจากคณะเดิม ซึ่งน่าจะได้แก่คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะฝ่ายคามวาสี ซึ่งแพร่หลายในแถบอยุธยาอยู่ใน
ช่วงเวลานั้น แล้วให้พระที่สึกเหล่านั้นเข้าอุปสมบทใหม่ในคณะสีหฬภิกขุ ฝ่ายอรัญวาสีของพระญาณ-
คัมภีร์นั่นเอง ส่งผลให้พระอารามจำนวนกว่า ๓๐๐ แห่งที่อยุธยา สังกัดอยู่ภายใต้คณะสีหฬภิกขุด้วย
(Mangra- i 1981, 111)

ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

ช่วงเมืองลูกหลวงเป็นระยะเวลาที่นับตั้งแต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสถาปนาระบบการ
ปกครองแบบระบบเมืองลูกหลวงขึ้นเพื่อปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ (Tambiah 1977, 134 – 135)
จนถึงสมเด็จพระนเรศวรทรงยกเลิกระบบนี้โดยทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครองแทนเชื้อพระวงศ์ ใน กฎ-
มณเฑียรบาล ระบุไว้ว่า เมืองพิษณุโลก สวรรคโลก กำแพงเพชร ลพบุรี และสิงห์บุรี มีฐานะเป็นเมือง
ลูกหลวง เมืองอินทร์บุรี และพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง ซึ่งปกครองโดยพระราชโอรสและพระราช-
นัดดา เช่น “ฝ่ายพระราชกุมารเกิดด้วยพระอัครมเหษีคือสมเดจ์หน่อพระพุทธเจ้า อันเกิดด้วยแม่หยัว
เมืองเป็นพระมหาอุปราช เกิดด้วยลูกหลวง กินเมืองเอก เกิดด้วยหลานหลวง กินเมืองโท” (เรื่อง
กฎหมายตราสามดวง ๒๕๒๑, ๓๔ – ๓๕) (ดูภาคผนวก: แผนที่ ๔ แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงเมืองลูกหลวง)

๑๖๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกของพุทธศาสนา ทรงฉลอง
๒ สหัสวรรษพุทธศาสนาด้วยการให้หล่อรูปพระโพธิสัตว์ ๕๐๐ ชาติ (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖,
๑๓๖) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๐๐๖ (ค.ศ. 1463) จึงเสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. ๒๐๐๗ (ค.ศ.
1464) ทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี ที่พิษณุโลก ในปีต่อมาเสด็จออกผนวช ณ พระอารามแห่งนั้น ซึ่ง
สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดในคณะสีหฬภิกขุ ฝ่ายอรัญวาสี (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๖, ๑๓) ในปี พ.ศ.
๒๐๒๕ (ค.ศ. 1482) ทรงฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งน่าจะขึ้นกับคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ ฝ่ายคามวาสี
“แล้วจึงพระราชนิพนธ์มหาชาติคำหลวงจบบริบูรณ์” ในปี พ.ศ. ๒๐๓๑ (ค.ศ. 1488) ดังความที่ระบุไว้ว่า
“สมเด็จพระบรมไตรโลกเสด็จนฤพาน ณ เมืองพิษณุโลก” (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖, ๑๓๗ – ๑๓๙)

เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔ – ๒๐๗๒ / ค.ศ. 1491 – 1529) เสด็จขึ้นเสวยราชย์
พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมืองราชธานี และทรงแต่งตั้งสมเด็จหน่อพุทธางกูร ซึ่งประสูติจาก
พระอัครมเหสี เป็นพระมหาอุปราช ให้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก

ในรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชา (พ.ศ. ๒๐๗๗ – ๒๐๙๐ / ค.ศ. 1534 – 1547) ทรงให้สร้าง
วัดชีเชียงใส “แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าและพระเจดีย์” ในพระอารามนั้น (เรื่องเดียวกัน, ๑๔๒)

ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้น ๒๒ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ปลาย 16) อาณาจักร
อยุ ธ ยาได้ ก ลายเป็ น ศู น ย์ ก ลางทางการค้ า ที่ ส ำคั ญ มี ก ารติ ด ต่ อ ค้ า ขายกั บ หลายประเทศ เพราะ
ครอบครองเมืองท่าชายฝั่งทะเลด้านอ่าวเบงกอล เช่น ตะนาวศรี ตรัง ไทรบุรี (รัฐเกดะห์ ประเทศ
มาเลเซีย) ซึ่งทำการค้ากับพ่อค้าชาวอินเดียจากคุชราต และเบงกอล ส่วนด้านอ่าวไทย ได้แก่ เพชรบุรี
นครศรีธรรมราช ปัตตานี สายบุรี กลันตัน และตรังกานู นั้น ทำการค้ากับพวกพ่อค้าชาวจีน โดยที่
อยุธยาเป็นศูนย์รวมสินค้าจำพวกของป่า และเป็นคนกลางในการนำสินค้าจากมหาสมุทรอินเดียไปจีน
และสินค้าจากจีนไปยังภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้นแล้ว อยุธยายังหล่อปืนใหญ่ขนาด
เล็กโดยรับเอาเทคโนโลยีจากจีน (อาคม และ นิธิ ๒๕๔๕, ๑๘๕) เช่นเดียวกับเครื่องถ้วยสังคโลกที่ผลิต
จากเตาสวรรคโลกออกไปขายในช่วงระยะเวลานี้อีกด้วย (พิริยะ ๒๕๒๘, ๒๐๔ – ๒๐๕)

สงครามกับพม่าในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พ.ศ. ๒๐๙๑ – ๒๑๑๑ / ค.ศ. 1548 –
1569) น่าจะเกิดขึ้นจากการที่อยุธยามีความประสงค์ที่จะขยายเมืองท่าด้านอ่าวเบงกอลไปที่เมืองทวาย
ของพม่า โดยที่พระองค์ทรงแต่งทัพไปตีเมืองทวาย ซึ่งเป็นผลให้พระเจ้าตะเบงชเวตี้กษัตริย์พม่าต้องส่ง
กองทัพมายึดกลับคืนไป (สุเนตร ๒๕๓๙, ๑๔๙ – ๑๕๐) และเป็นข้ออ้างที่พม่าจะเข้ามาโจมตีกรุง
ศรีอยุธยา ต่อมาหลังจากที่พระเจ้าตะเบงชเวตี้ถูกลอบปลงพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๐๙๓ (ค.ศ. 1550)
อาณาจักรพม่าแตกแยก จนกระทั่งพระเจ้าบุเรงนองทรงกอบกู้อาณาจักรพม่าขึ้นใหม่ แล้วจึงโจมตีกรุง
ศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ยอมจำนนในปี พ.ศ. ๒๑๐๖ (ค.ศ. 1563) ต่อมา พระมหาจักรพรรดิ์
คิดแยกตัวเป็นอิสระ พระเจ้าบุเรงนองจึงยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา และใช้ออกญาจักรีเป็นไส้ศึกลอบ
เปิดประตูพระนคร พม่าจึงบุกเข้าตีและยึดพระนครได้ในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ (ค.ศ. 1569) (อูซานเยง ๒๕๔๒,
๓๕ – ๖๘)

ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

สมัยวงราชธานีเริ่มขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร (พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๑๔๘ / ค.ศ. 1590 –
1605) (Tambiah 1977, 136 – 137) เมื่อพระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นศูนย์กลางของ
วงราชธานี และทรงแต่งตั้งขุนนางให้ไปปกครองหัวเมืองแทนเชื้อพระวงศ์ โดยแบ่งชั้นหัวเมืองออกเป็น
เอก โท ตรี และจัตวา ดังที่ปรากฏใน พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง (เรื่องกฎหมายตราสาม
ดวง ๒๕๒๑, ๑๗๓ – ๑๗๘) แม้ว่ากฎหมายนี้อาจจะตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็ตาม
(โยนิโอะ ๒๕๒๒, ๑๕๐) และเมื่อสมเด็จพระนเรศวร ทรงยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง จึงทรงนำเอา
ระบบการแบ่งชั้นหัวเมืองมาใช้อย่างจริงจัง (Tambiah 1977, 136 – 137)

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๖๑
หั ว เมื อ งชั้ น เอก มี ๒ เมื อ ง ได้ แ ก่ พิ ษ ณุ โ ลก ควบคุ ม หั ว เมื อ งด้ า นทิ ศ เหนื อ
นครศรีธรรมราช ดูแลหัวเมืองด้านทิศใต้
หั ว เมื อ งชั้ น โท มี ๖ เมื อ ง ได้ แ ก่ สวรรคโลก สุ โ ขทั ย กำแพงเพชร เพชรบู ร ณ์
นครราชสีมา และตะนาวศรีในทิศตะวันตก
หัวเมืองชั้นตรี มี ๗ เมือง ได้แก่ พิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูรณ์ ไชยา พัทลุง
ชุมพร
หัวเมืองชั้นจัตวา มี ๓๓ เมือง ได้แก่ เมืองซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายสำคัญในภาคกลาง
และเขตชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยตอนบน
ลุ่มแม่น้ำป่าสัก ได้แก่ สระบุรี กำพราน ชัยบาดาล บัวชุม ท่าโรง
ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ อ่างทอง พรหมบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี มโนรมย์
อ่างทอง สรรคบุรี นนทบุรี ปากน้ำ
ลุ่มแม่น้ำลพบุรี ได้แก่ ลพบุรี
ลุ่มแม่น้ำท่าจีน ได้แก่ ท่าจีน นครชัยศรี สุพรรณบุรี
ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ได้แก่ แม่กลอง ราชบุรี กาญจนบุรี ศรีสวัสดิ์ ไทรโยค
ลุ่มแม่น้ำปางปะกง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก
เขตชายทะเลอ่าวไทย ได้แก่ ปากน้ำชลบุรี บางละมุง ระยอง เพชรบุรี ปราณบุรี กุย
เมืองชั้นจัตวาทั้ง ๓๓ เมือง อยู่ในความดูแลของหน่วยราชการ ๓ หน่วย คือ มหาดไทย ดูแลหัวเมือง
ฝ่ายเหนือ กลาโหม ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ และกรมท่า ดูแลเมืองชายทะเล

โดยสรุป เขตวงราชธานี คืออาณาบริเวณรอบกรุงศรีอยุธยาอันเป็นศูนย์กลาง มีอาณาเขต
กว้างขวาง (โยนิโอะ ๒๕๒๒, ๑๕๑ – ๑๕๓) ดังนั้น อยุธยาจึงเป็นศูนย์กลางของพระราชอาณาจักรทั้งใน
ด้านการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ซึ่งขยายไปยังหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ในเขต
วงราชธานี (ดูภาคผนวก: แผนที่ ๕ แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงวงราชธานี)

ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๓ – ๒๑๙๙ / ค.ศ. 1630 – 1656) และ
สมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ / ค.ศ. 1656 – 1688) ชาวต่างประเทศบันทึกไว้ว่า
“สมุหนายกควบคุมหัวเมืองและกิจการพลเรือนทั่วราชอาณาจักร สมุหกลาโหมควบคุมกิจการเกี่ยวกับ
กองทัพ มิได้กล่าวว่าควบคุมหัวเมือง” (มานพ ๒๕๓๖, ๑๐๑) หลังจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์แล้ว
สมุหนายกควบคุมหัวเมืองฝ่ายเหนือ สมุหกลาโหมควบคุมกิจการทั้งทหารและพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายใต้

อาณาจักรอยุธยายังวางระบบปกครองคณะสงฆ์ ใน พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ให้เป็น
๑ ใน ๖ กรม ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงควบคุม มีหลวงธรรมรักษา เป็นเจ้ากรมสังกะรี หรือ สังฆการี
(เรื่องกฎหมายตราสามดวง ๒๕๒๑, ๑๒๒) ซึ่งน่าจะทำหน้าที่แทนกรมการศาสนาในปัจจุบัน นอกจากนั้นแล้ว
ยังมีการแบ่งแยกคณะสงฆ์ออกเป็น ๓ คณะ ได้แก่ คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย ซึ่งน่าจะได้แก่คณะกัมโพชสงฆ์-
ปักขะเดิม คณะอรัญวาสี ซึ่งอาจจะได้แก่คณะสีหฬภิกขุ และคณะคามวาสีฝ่ายขวา ซึ่งสมเด็จฯ กรม
พระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าคงจะเป็นคณะที่ตั้งขึ้นทีหลัง (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๖, ๑๕)
โดยเจ้าคณะองค์ไหนมีอายุพรรษามาก องค์นั้นก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช (เรื่องเดียวกัน, ๒๑)

๑๖๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หนังสือ ทำเนียบสมณศักดิ์ และคณะสงฆ์ครั้งกรุงเก่า ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
กล่าวว่า

สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี อยู่วัดมหาธาตุ เป็นเจ้าคณะคาม-
วาสีฝ่ายซ้าย และปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พระพุทธาจารย์ อยู่วัดโบสถ์ราชเดชะ เป็นเจ้าคณะกลางฝ่ายอรัญวาสี
ปกครองพระสงฆ์ฝ่ายสมถะวิปัสนา ทั่วพระราชอาณาจักร รวมทั้งคณะรามัญ
และคณะลาว
พระวันรัตน์ อยู่วัดป่าแก้ว เป็นเจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา ปกครอง
คณะหัวเมืองฝ่ายใต้
(เรื่องเดียวกัน, ๒๔ – ๓๒)

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า พระนาม สมเด็จพระอริยวงศ์ น่าจะตั้ง
ขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าสุริยามรินทร์หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (พ.ศ. ๒๓๐๑ – ๒๓๑๐ / ค.ศ. 1758 –
1767) เมื่อพระองค์ทรงแต่งตั้งพระอริยมุนี เป็นสมเด็จพระสังฆราช หลังจากที่พระอริยมุนีได้เดินทาง
กลับจากการไปประดิษฐานพระสงฆ์สยามนิกายในลังกา ในปี พ.ศ. ๒๓๐๓ (ค.ศ. 1760) สืบเนื่องมาจาก
เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศส่งคณะสงฆ์ไปทำการอุปสมบทให้กับชาวลังกา ในปี พ.ศ. ๒๒๙๖ (ค.ศ.
1753) จึงส่งพระอุบาฬีกับพระอริยมุนีพร้อมกับพระสงฆ์อีก ๑๒ รูป ทั้งนี้พระอุบาฬีได้มรณภาพที่ลังกา
ส่วนพระอริยมุนีจำพรรษาอยู่ที่ลังกาถึง ๗ พรรษา จึงได้เดินทางกลับ (เรื่องเดียวกัน, ๒๒ – ๒๓)

ระบบการปกครองที่ แ บ่ ง ชั้ น หั ว เมื อ งออกเป็ น ๔ ชั้ น โดยมี ว งราชธานี เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางนั้ น
สอดคล้ อ งกั บ ระบบสั ง คมของอยุ ธ ยา จึ ง สร้ า งความมั่ น คงให้ กั บ ราชอาณาจั ก ร และส่ ง ผลให้
พระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์รวมทางกายภาพและจิตวิญญาณของอาณาจักรอยุธยา จวบจนเสียกรุงในปี
พ.ศ. ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1767) และแม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะล่มสลายลง แต่ระบบการปกครองดังกล่าวก็ยังถูก
นำมาใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกเลิกไปในปี พ.ศ.
๒๔๓๕ (ค.ศ. 1892) ที่มีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเสียใหม่ (Bunnag 1977, 39)

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๖๓
๒.๒ ภาคเหนือ

(๑) สมัยอาณาจักรมอญหริภุญไชย พ.ศ. ๑๗๐๐ – ๑๘๓๕ (ค.ศ. 1157 – 1292)

ถึงแม้ว่าตำนานเมืองลำพูนจะกล่าวว่า ฤษีวาสุเทพได้ทูลเชิญพระนางจามเทวีให้เสด็จจาก ลวรัฐ
หรือละโว้ไปครองเมืองหริภุญไชย (Notton 1930, 17) ในปี พ.ศ. ๑๓๑๐ – ๑๓๑๑ (ค.ศ. 767 – 1768)
แต่ศิลาจารึกภาษามอญที่เก่าที่สุดพบในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กำหนดอายุเวลาได้แค่ประมาณ
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12) (Griswold and Nฺa Nagara 1971, 154) ซึ่งเป็น
หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าอารยธรรมมอญโบราณได้เจริญขึ้นในภาคเหนือในช่วงระยะเวลานั้น นอกจาก
นั้นแล้วหลักฐานทางเอกสารและโบราณคดีล้านนาแสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาที่ได้ขึ้นไปแพร่หลายใน
ภาคเหนือ ในช่วงที่ราชวงศ์มอญปกครองนครหริภุญชัย (ลำพูน) เป็นคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี หรือสงฆ์
ฝ่ายคันถธุระ ซึ่งเป็นฝ่ายที่ทำการศึกษาพระธรรมวินัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติวิปัสสนาที่อยู่ในเขตชุมชน
(Swearer and Premchit 1978, 22)

หริภุญไชยเจริญรุ่งเรืองสูงสุดระหว่างปี พ.ศ. ๑๗๐๐ – ๑๘๑๘ (ค.ศ. 1157 – 1275) ซึ่งตรงกับ
รัชสมัยของพระเจ้าอาทิตตราช ผู้สร้างพระมหาธาตุหริภุญไชยขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๖๙๓ (ค.ศ.
1150) และรัชสมัยของพระเจ้าสววาธิสิทธิ (สรรพสิทธิ์) ผู้ทรงจารึกไว้ว่า ทรงสร้างวัดเชตวัน และเมื่อ
ทรงมีพระชันษาได้ ๓๒ ปี จึงเสด็จออกผนวชพร้อมด้วยพระโอรสอีก ๒ พระองค์ ในพระอารามแห่งนี้
(ศิลปากร ๒๕๒๒, ๑๐ – ๑๒) นอกจากนั้นแล้ว พระองค์ยังได้ปฏิสังขรณ์พระรัตนเจดีย์ที่พังทลายจาก
เหตุแผ่นดินไหวขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. ๑๗๖๑ (ค.ศ. 1218) (เรื่องเดียวกัน, ๑๔ – ๑๕)

อาณาจักรหริภุญไชยสิ้นสลายลงในปี พ.ศ. ๑๘๓๕ (ค.ศ. 1292) เมื่อพระเจ้ายี่บา กษัตริย์มอญ
องค์สุดท้ายพ่ายแพ้แก่พระเจ้ามังราย ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านนา

(๒) สมัยล้านนา

สมัยล้านนาอาจจะแยกออกเป็น ๔ ช่วง โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นเกณฑ์
ในการแบ่ง

- ช่วงก่อตั้งอาณาจักรล้านนา พ.ศ. ๑๘๓๙ – ๑๘๙๘ (ค.ศ. 1296 – 1355)
- ช่วงอาณาจักรล้านนา พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1355 – 1558)
- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)
- ยุคเสื่อม พ.ศ. ๒๐๖๘ - ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1525 - 1558)
- ช่วงพม่าปกครอง พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๑๗ (ค.ศ. 1558 – 1774)
- ช่วงประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๔๔๒ (ค.ศ. 1774 – 1899)

ช่วงก่อตั้งอาณาจักรล้านนา พ.ศ. ๑๘๓๙ – ๑๘๙๘ (ค.ศ. 1296 – 1355)

สมัยสร้างอาณาจักรล้านนา นับเวลาตั้งแต่เมื่อพระเจ้ามังรายทรงสถาปนานครเชียงใหม่ขึ้น
เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ (ค.ศ. 1296) และในปี พ.ศ. ๑๘๗๐ (ค.ศ. 1327)
พระเจ้าแสนพูทรงสร้างเมืองเชียงแสน และต่อมาพระเจ้าผายูทรงสร้างวัดลีเชียงพระ และเมื่อพระองค์
ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ ที่นั้น จึงทรงขนานนามวัดนั้นว่าวัดพระสิงห์เป็นต้นมา
(ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ๒๕๓๘, ๕๐) ในช่วงระยะเวลานี้นครหริภุญไชยยังคงเป็นศูนย์กลางทางศิลปะ
และวัฒนธรรมของล้านนา โดยรับพุทธศาสนาคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะแบบคามวาสีสืบต่อจากสมัยที่มอญ
ปกครองหริภุญไชย

๑๖๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ช่วงอาณาจักรล้านนา พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1355 – 1558)

เริ่มจากรัชสมัยของพระเจ้ากือนา (พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๑๙๒๘ / ค.ศ. 1355 – 1385) พระนามของ
พระองค์แปลว่า “ร้อยล้านนา” (สรัสวดี ๒๕๓๙, ๒๒) ถึงช่วงเสียเอกราชให้กับพม่าโดยการนำของ
พระเจ้าบุเรงนองในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1558) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ช่วง คือ
(ก) ยุครุ่งเรือง นับจากพระเจ้ากือนาขึ้นครองราชย์ พ.ศ. ๑๘๙๘ (ค.ศ. 1355) ถึงพญาแก้ว
สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1525)
(ข) ยุคเสื่อม พ.ศ. ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1525) ถึงเสียเมืองแก่พม่า พ.ศ. ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1558)

(ก) ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)

ความเจริญของอาณาจักรล้านนาดำเนินควบคู่ไปกับการขยายอาณาจักร และความรุ่งเรืองทาง
พุทธศาสนา ซึ่งส่งผลให้ช่วงระยะเวลานี้เรียกได้ว่า “ยุคทองของล้านนา” (Penth 2000, 43) ในยุคนี้
อาณาจักรล้านนาแผ่อิทธิพลไปถึงเชียงตุง เมืองยองในประเทศพม่า เชียงรุ้งในประเทศจีน หลวงพระบาง
ในประเทศลาว รวมทั้งได้เมืองแพร่ในปี พ.ศ. ๑๙๘๗ (ค.ศ. 1444) และเมืองน่านในอีก ๕ ปีต่อมา

ยุคทองของล้านนาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ (ค.ศ. 1369) เมื่อพระเจ้ากือนาแห่งอาณาจักรล้านนา
นิมนต์พระสุมนเถระพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี สายสำนักพระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามีแห่งเมืองพัน
จากสุโขทัยให้ไปจำพรรษาที่วัดพระยืน ลำพูน และในปีต่อมาได้สร้างพระพุทธปฏิมายืน ๔ องค์ที่
วัดพระยืน หลังจากนั้นจึงนิมนต์พระสุมนเถระให้ไปจำพรรษาที่วัดสวนดอก นครเชียงใหม่ พระอาราม
แห่งนี้จึงกลายเป็นศูนย์กลางของคณะวัดสวนดอก หรือคณะ “บุปผาวาสี” หรือ “อรัญวาสีฝ่ายพระสุมนเถระ”
ในล้านนา ตามความที่พระพุทธพุกามและพระพุทธญาณเจ้า ซึ่งเป็นพระภิกษุในกลุ่ม “บุปผาวาสี” นี้ได้
บันทึกประวัติคณะของตนใน ตำนานมูลศาสนา ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
(ตำนานมูลศาสนา ๒๕๑๘)

ในช่วงปี พ.ศ. ๑๙๒๘ – ๑๙๔๔ (ค.ศ. 1385 – 1401) พระเจ้าแสนเมืองมาอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์
มาประดิษฐานไว้ในปราสาท (คูหา) ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระมหาสถูปที่วัดพระสิงห์ ซึ่งพญากือนา
พระราชบิดาได้ทรงสร้างไว้ก่อนหน้านั้น (รัตนปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๑๐๖)

ในปี พ.ศ. ๑๙๖๖ (ค.ศ. 1423) พระมหาเถระ ๒๕ รูป ฝ่ายอรัญวาสีจากวัดป่าแดง เชียงใหม่
และ ๘ รูปจากกัมโพช เดินทางไปศึกษาที่คณะมหาวิหารที่ลังกา ในปีต่อมาไปทำอุปสมบทใหม่ในคณะ
มหาวิหารบนแพที่ผูกไว้ในแม่น้ำกัลยาณี (หน้าวัดกัลยาณี กรุงโคลัมโบปัจจุบัน) และเดินทางกลับในปี
เดียวกัน อันถือว่าเป็นช่วงเวลาที่คณะสีหฬภิกขุ ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ (ค.ศ. 1424) และ
ได้นำคำสอนไปเผยแผ่ที่อยุธยา สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๙๗๓ (ค.ศ. 1430) เมื่อ
กลับไปถึงเชียงใหม่ พระภิกษุฝ่ายอรัญวาสีของวัดป่าแดง เรียกคณะของตนเองว่าคณะ “สีหฬภิกขุ”
เพราะว่าได้ประกอบพิธีอุปสมบทจากลังกา

อนึ่ง ๕๒ ปีต่อมา พระภิกษุมอญ ๒๒ รูป เดินทางจากเมืองหงสาวดี ราชธานีของรามัญญเทศ
(รัฐมอญ) ไปอุปสมบทใหม่บนแพในแม่น้ำกัลยาณี ในปี พ.ศ. ๒๐๑๙ (ค.ศ. 1476) และเดินทางกลับในปี
เดียวกัน เมื่อถึงหงสาวดีแล้ว พระเจ้าธรรมเจดีย์จึงได้สถาปนาวัดกัลยาณีสีมา พร้อมกับปฏิรูปพุทธศาสนา
ในรามัญญเทศภายใต้คติของคณะมหาวิหารจากลังกา ในโอกาสเดียวกันนี้ ทรงให้จารศิลาจารึกกัลยาณี
ขึ้น เพื่อเล่าประวัติพุทธศาสนาในรามัญญเทศ ซึ่งทำให้เราได้ทราบเรื่องราวของคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ

เมื่อคณะสีหฬภิกขุเดินทางกลับมาถึงเชียงใหม่ ก็กล่าวหาว่าพระสงฆ์คณะวัดสวนดอกหรือคณะ
บุปผาวาสี ประพฤติตนไม่สมกับที่เป็นพระภิกษุ เพราะว่าถือไม้เท้าไปบิณฑบาต เหมือนอย่างถือกะลา
ขอทาน รับเงินรับทอง มีไร่มีนา แบ่งเมี่ยงแบ่งหมากให้คฤหัสถ์ ออกเสียงสวดไม่ถูกต้อง ใช้อักขระแบบ

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๖๕
สันสกฤต และประธานแห่งสำนักคือพระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามีแห่งเมืองพัน ได้อุปสมบทโดย
ไม่ครบองค์ประชุม จึงถือว่าไม่เป็นพระภิกษุที่สมบูรณ์ และลูกศิษย์ที่บวชจากพระมหาเถระอุทุมพร-
บุปผามหาสามีจึงไม่ถือเป็นพระภิกษุที่ถูกต้องสักรูปเดียว ข้างฝ่ายคณะวัดสวนดอกก็กล่าวหากลับไปว่า
พระมหาธัมมคัมภีร์เถระ ประธานของคณะสีหฬภิกขุทะเลาะกับพระอุปัชฌาย์ ไปเรียนเวทมนตร์จาก
พ่อค้าและชีเปลือยที่ลังกา ซ้ำกล่าวหาว่าในล้านนาไม่มีพระภิกษุสักรูปเดียว เพราะสวดสำเนียงไม่ถูกต้อง
จึงเกิดการวิวาททุบตีกัน พระเจ้าสามฝั่งแกนจึงขับไล่คณะสีหฬภิกขุออกจากเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๑๙๗๗
(ค.ศ. 1434) ในข้อที่ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน ซึ่งส่งผลให้คณะสีหฬภิกขุไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ที่เชียงราย
เชียงแสน พะเยา ลำปาง และเชียงตุง (ประเสริฐ และปวงคำ ๒๕๓๗, ๔ – ๗)

แต่ครั้นเมื่อพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔ – ๒๐๓๐ / ค.ศ. 1441 – 1487) เสด็จขึ้นครองราชย์
พระองค์ก็ทรงเป็นพระราชูปถัมภกของคณะสีหฬภิกขุ ส่งผลให้สงฆ์คณะสีหฬภิกขุกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง
ที่เชียงใหม่ และเนื่องด้วยว่าคณะสีหฬภิกขุมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดป่าแดง เชียงใหม่ คณะนี้จึงมีชื่อเรียกอีก
อย่างว่า “คณะวัดป่าแดง” พระภิกษุรัตนปัญญาเถระ ผู้แต่งหนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ ในช่วงปี พ.ศ.
๒๐๕๙ – ๒๐๖๐ (ค.ศ. 1516 – 1517) ซึ่งเล่าประวัติการสถาปนาคณะ “สีหฬภิกขุ” ในล้านนา ก็เป็นพระ
ภิกษุในคณะวัดป่าแดง พระเจ้าติโลกราชทรงสร้างพระอารามขึ้นใหม่พระราชทานให้กับคณะวัดป่าแดง
ถึง ๕๐๐ แห่ง (Mangrai 1981, 112) และในปี พ.ศ. ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1448) จึงทรงผนวช ณ วัดป่าแดง
โดยมีพระเมธังกรเป็นพระอุปัชฌายาจารย์ นอกจากนั้นแล้ว พระองค์ยังสถาปนาตำแหน่งพระสังฆราชขึ้น
ให้เป็นผู้ที่ปกครองคณะสีหฬภิกขุ ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกของพุทธศาสนา
ชินกาลมาลีปกรณ์ จึงยกย่องและถวายพระนามพระเจ้าติโลกราชว่า “พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิพิลก-
ราชาธิราช”

ในปี พ.ศ. ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1448) พระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้างพระมหาธาตุหริภุญไชยขึ้นใหม่
และปี พ.ศ. ๒๐๒๐ (ค.ศ. 1477) สร้างวัดมหาโพธาราม (ปัจจุบันคือวัดเจ็ดยอด) โดยเลียนแบบพระเจดีย์
ศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย ทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ทรงได้มาจากอนุราธปุระ ประเทศ
ศรีลังกา และสร้างสัตตมหาสถาน อันได้แก่ปูชนียสถาน ๗ แห่ง รอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ซึ่ง
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับแห่งละ ๑ สัปดาห์ หลังจากทรงตรัสรู้ ตามความเชื่อใน
พุทธประวัติ และในปีเดียวกันนั้น ยังทรงให้ชำระพระไตรปิฎกขึ้น ณ พระอารามแห่งนี้ (Jayawickrama
1968, 164 (5)) และสองปีต่อมา จึงโปรดให้ก่อเสริมเจดีย์หลวง “เป็นจุดเด่นแห่งราชธานีเชียงใหม่ ให้
งามเพียงดั่งพระธาตุจุฬามณีเจดีย์ในสวรรค์” (รัตนปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๑๑๑ – ๑๑๔) และในปี พ.ศ.
๒๐๒๕ (ค.ศ. 1482) จึงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากนครลำปาง มาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์หลวง

พระรัตนปัญญาเถระยกย่องรัชสมัยของพญาแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘ – ๒๐๖๙ / ค.ศ. 1495 – 1526)
ว่าเป็น “กาลแห่งพุทธศาสนาสิงหลรุ่งเรือง” (เรื่องเดียวกัน, ๑๓๐ – ๑๔๐) ทั้งนี้เพราะพระองค์ท่านทรง
อุ้มชูคณะสีหฬภิกขุ แต่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันก็ยังทรงทำนุบำรุงฝ่ายคามวาสีดั้งเดิม ทั้งฝ่ายอรัญวาสี
คณะวัดสวนดอก และคณะวัดป่าแดง (สีหฬภิกขุ) เท่าเทียมกัน พระองค์และพระราชชนนีสิริยสวดี
ทรงช่วยกันบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างวัดขึ้นใหม่ทั่วพระราชอาณาจักร
นอกจากนั้นแล้ว ในรัชกาลนี้ยังถือว่าเป็นยุคทองของการแต่งวรรณกรรมพุทธศาสนาภาษาบาลี และ
ภาษาพื้นเมือง ที่สำคัญได้แก่

- พระโพธิรังสี แต่ง จามเทวีวงศ์ และ สิหิงคนิทาน
- พระรัตนปัญญาเถระ แต่ง ชินกาลมาลีปกรณ์
- พระสิริมงคลาจารย์ แต่ง เวสสันตรทิปนี จักรวาลทิปนี และ มังคลัตถทิปนี อธิบายความใน
มงคลสูตร และเป็นวรรณกรรมภาษาบาลีที่แต่งขึ้นในประเทศไทยที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด
- พระพุทธพุกามและพระพุทธญาณเจ้า แต่ง ตำนานมูลศาสนา เป็นภาษาคำเมือง รวมทั้ง
ปัญญาสชาดก หรือ ปัณณาสชาดก ก็เชื่อกันว่าแต่งขึ้นในรัชกาลนี้เช่นกัน

๑๖๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


(ข) ยุคเสื่อม พ.ศ. ๒๐๖๘ – ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1525 – 1558)

หลังจากพญาแก้วสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1525) อาณาจักรล้านนาก็เสื่อมสลายลง
โดยมีความขัดแย้งกันระหว่างขุนนางซึ่งมีอำนาจเพียงพอที่จะปลดพระมหากษัตริย์ได้ โดยเฉพาะในช่วง
ระยะเวลา ๒๕ ปี หลังจากพญาแก้วสิ้นพระชนม์ มีพระมหากษัตริย์ถึง ๖ องค์ ซึ่งหากไม่ถูกปลง
พระชนม์ก็ถูกปลดหรือไม่ก็สละราชสมบัติเอง รวมทั้งยังมีช่วงที่ราชบัลลังก์ว่างถึง ๔ ปี ที่ไม่มีพระ
มหากษัตริย์ปกครอง เพราะขุนนางตกลงกันไม่ได้ว่าจะเลือกใคร (Penth 2000, 60)

ในปี พ.ศ. ๒๐๘๙ (ค.ศ. 1546) พระเจ้าอุปเยาว์ หรือพระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่ง
เป็นพระราชนัดดาของพญาเกศ ได้รับการทูลเชิญให้มาครองล้านนา แต่อีก ๒ ปีต่อมา พระเจ้าโพธิสาล
พระราชบิดาสิ้นพระชนม์ จึงเสด็จกลับไปครองล้านช้างพร้อมกับอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ไปด้วย

ช่วงพม่าปกครอง พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๑๗ (ค.ศ. 1558 – 1774)

หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองเข้ายึดครองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1558) แล้ว ล้านนาจึง
เป็นมณฑลหนึ่งในอาณาจักรพม่า พระเจ้าบุเรงนองมีพระราโชบายที่จะปกครองล้านนาตามจารีต
ประเพณีของท้องถิ่นที่มีมาแต่เดิม ให้เจ้าเมืองเดิมปกครอง โดยดำรงสถานะเป็นอุปราชมณฑล และ
ต้องส่งส่วยให้พม่าเป็นประจำทุกๆ ปี แต่ ๒ ปีหลังจากสมเด็จพระนารายณ์ตีเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๒๐๕
(ค.ศ. 1662) พม่าจึงแต่งตั้งขุนนางพม่ามีตำแหน่งเมียวหวุ่น เป็นผู้ว่าราชการประจำอยู่ที่เชียงใหม่และ
ที่เชียงแสน และมีผู้ช่วยฝ่ายทหาร เรียกว่า เชคกาย หรือจักกาย (สรัสวดี ๒๕๓๙, ๒๔๖) ต่อมาในปี
พ.ศ. ๒๒๔๔ (ค.ศ. 1701) พม่าจึงแบ่งเขตปกครองล้านนาออกเป็นเชียงใหม่กับเชียงแสน ซึ่งต่างก็ขึ้นกับ
กษัตริย์ที่กรุงอังวะโดยตรง

ช่วงประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๔๔๒ (ค.ศ. 1774 – 1899)

อาณาจักรล้านนาเป็นประเทศราชของสยาม เมื่อพระเจ้ากาวิละได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จ
พระเจ้ากรุงธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ (ค.ศ. 1774) ในช่วง ๒ ทศวรรษจาก พ.ศ.
๒๓๑๙ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๙ (ค.ศ. 1776 – 1796) เชียงใหม่ถูกปล่อยให้เป็นเมืองร้าง จนกระทั่งพระเจ้ากาวิละ
(พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๙ / ค.ศ. 1782 – 1816) รวบรวมไพล่พลตั้งเมืองเชียงใหม่ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งสร้าง
กำแพงรอบเมืองดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน และย้ายเสาอินทขีลจากวัดสะดือเมืองไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง

เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงดำเนิ น การปฏิ รู ป การปกครองเป็ น รั ฐ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีกษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมของอำนาจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๗ (ค.ศ. 1874)
เป็นต้นมา อาณาจักรล้านนาจึงค่อยๆ ถูกผนวกมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยาม โดยส่วนกลางได้ส่ง
ข้าหลวงไปปกครอง ต่อมาจึงมีการปฏิรูปการปกครองเป็นหัวเมืองลาวเฉียง จนต่อมาก็ยกระดับเป็น
มณฑลลาวเฉี ย ง และกลายมาเป็ น มณฑลพายั พ ภายใต้ ร ะบบมณฑลเทศาภิ บ าลในปี พ.ศ. ๒๔๔๒
(ค.ศ. 1899) ล้านนาจึงเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามโดยสมบูรณ์ และในทางคู่ขนานไปกับระบบ
การปกครองแบบเทศาภิบาลของฝ่ายอาณาจักร ทางด้านฝ่ายศาสนจักรก็ได้จัดการปกครองคณะสงฆ์
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕ / ค.ศ. 1902) โดยแบ่งเขตการ
ปกครองคณะสงฆ์ให้ขึ้นต่อเจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะแขวง (อำเภอ) ลงมาถึงเจ้าอาวาส ตามอย่างการ
ปกครองบ้านเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วทั้งพระราชอาณาจักร รวมไปถึงการยกเลิกจารีตเดิมของ
ท้องถิ่น รวมทั้งการใช้ภาษาไทยกลาง ปลูกฝังความเป็นไทย และสร้างการสำนึกว่าเป็นพลเมืองไทยที่มี
พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของจิตใจ (สรัสวดี ๒๕๓๙, ๓๕๕ – ๔๑๕)

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๖๗

๒.๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(๑) สมัยล้านช้าง

ล้านช้าง ซึ่งมีชื่อเต็มว่า “ศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว” แยกออกได้เป็น ๔ ช่วง โดยใช้
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ได้แก่

- ช่วงก่อตั้งอาณาจักร พ.ศ. ๑๘๓๔ – ๑๙๓๖ (ค.ศ. 1291 – 1393)
- ช่วงอาณาจักรล้านช้าง พ.ศ. ๑๙๓๖ – ๒๒๔๖ (ค.ศ. 1393 – 1703)
- ช่วง ๓ นครรัฐ พ.ศ. ๒๒๔๖ – ๒๓๓๒ (ค.ศ. 1703 – 1789)
- ช่วงประเทศราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๓๓๒ – ๒๔๓๖ (ค.ศ. 1789 – 1893)

ช่วงก่อตั้งอาณาจักร พ.ศ. ๑๘๓๔ – ๑๙๓๖ (ค.ศ. 1291 – 1393)

ถึงแม้ว่าตำนานพื้นเมืองจะกล่าวถึงพระนามกษัตริย์ที่ก่อตั้งอาณาจักรถึง ๒๐ พระองค์ ก่อนถึง
ท้าวลัง หรือพระยาลังอธิราช (พ.ศ. ๑๘๓๔ – ๑๘๕๙ / ค.ศ. 1291 – 1316) และพระยาสุวรรณคำผง
(พ.ศ. ๑๘๕๙ – ๑๘๙๖ / ค.ศ. 1316 – 1353) (สุรศักดิ์ ๒๕๔๖, ๔๐) แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดียืนยันจนถึงรัชสมัยของพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าธรณี (พ.ศ. ๑๘๙๖ –
๑๙๓๖ / ค.ศ. 1353 – 1393) (เรื่องเดียวกัน, ๔๒) ซึ่งรวบรวมดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงไว้ด้วยกันโดยมี
ราชธานีอยู่ที่เมืองเชียงดง – เชียงทอง (หลวงพระบาง)

พระเจ้าฟ้างุ่มทรงเติบโตขึ้นมาในราชสำนักของพระเจ้ากรุงอินฐะปัต (นครธม) ของกัมพูชา และ
ได้พระราชธิดาของพระเจ้ากรุงอินฐะปัตเป็นพระมเหสี และเมื่อเสด็จกลับไปครองล้านช้างจึงทรงนำ
พุ ท ธศาสนานิ ก ายเถรวาทจากกั ม พู ช าขึ้ น ไปประดิ ษ ฐานในล้ า นช้ า ง พร้ อ มทั้ ง อั ญ เชิ ญ พระพุ ท ธรู ป
“พระบางเจ้า” ไปด้วย ต่อมาพระเจ้าฟ้างุ่มถูกพวกขุนนางปลดออกจากราชบังลังก์ จึงเสด็จไปประทับที่
เมืองน่าน และสิ้นพระชนม์ ณ ที่นั้น

สมัยอาณาจักรล้านช้าง พ.ศ. ๑๙๓๖ – ๒๒๔๖ (ค.ศ. 1393 – 1703)

เมื่อพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าธรณีสิ้นพระชนม์แล้ว เหล่าขุนนางจึงแต่งตั้งท้าวอุ่นเฮือน โอรสของ
พระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ หลังจากครองราชย์ได้ ๓ ปี จึงโปรดให้มีการสำรวจครัวเรือนในพระราช-
อาณาจักร ซึ่งมีจำนวนถึงสามแสนครัวเรือน พระองค์จึงได้พระนามว่า “พระเจ้าสามแสนไทไตรภูวนาถ”
(เติม ๒๕๔๐, ๒๗) พระองค์ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาโดยการสร้างวัดในเมืองห้วยหลวง (ปัจจุบันอยู่
ในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย) (สุรศักดิ์ ๒๕๔๖, ๔๓) และทรงสร้างพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ขนาด
ใหญ่ เป็นพระประธานของวัดมโนรม นครหลวงพระบาง

กษัตริย์อาณาจักรล้านช้างที่ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองได้แก่

พระเจ้าวิชุลราช (พ.ศ. ๒๐๔๔ – ๒๐๖๓ / ค.ศ. 1501 – 1520) ทรงสร้างวัดวิชุลราช และ
พระธาตุหมากโม ที่นครเชียงทอง (หลวงพระบาง)

พระเจ้าโพธิสารธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๐๖๓ – ๒๐๙๐ / ค.ศ. 1520 – 1547) ในปี พ.ศ. ๒๐๖๖
(ค.ศ. 1523) ทรงขอคณะสงฆ์และพระไตรปิฎกจากพญาแก้วแห่งอาณาจักรล้านนา เพื่อไปเผยแผ่
พุทธศาสนาในล้านช้าง และในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1525) ทรงเสด็จออกผนวช ณ วัดวิชุลราช
๑ พรรษา และอีก ๒ ปีต่อมาจึงมีพระราชอาชญาให้ประชาชนเลิกนับถือผี ให้นับถือแต่พุทธศาสนา

๑๖๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ต่อมาศิลาจารึกพบที่วัดแดนเมือง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จารขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๗๘
(ค.ศ. 1535) กล่าวถึง “จันทบุรีราชธานี” ซึ่งน่าจะหมายความว่า พระเจ้าโพธิสารธรรมิกราช ได้สถาปนา
นครเวียงจันท์ขึ้นเป็นราชธานีก่อนหน้านั้น (ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔ ๒๕๑๓, ๒๓) และในปี พ.ศ.
๒๐๘๒ (ค.ศ. 1539) เสด็จไปสักการะพระธาตุพนม ซึ่งบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธองค์ และทรง
ปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์ จึงถือเป็นพระราชประเพณีของกษัตริย์ลาวที่จะต้องเสด็จมานมัสการพระธาตุพนม
สืบต่อมา จนถึงเจ้าอนุวงศ์เป็นองค์สุดท้าย (สงวน รอดบุญ ๒๕๔๕, ๗๘) นอกจากนั้นแล้ว ยังทรง
กัลปนาที่ดินและข้าวัดแก่พระอารามต่างๆ ในจังหวัดหนองคาย เลย และสกลนคร อีกด้วย (สุรศักดิ์
๒๕๔๖, ๔๗ – ๔๘)

เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐา ทรงเจริญพระชนมพรรษาได้ ๑๒ พรรษา พระเจ้าโพธิสาร พระราชบิดา
ส่งพระองค์มาครองนครเชียงใหม่ ราชธานีของพญาเกศ พระอัยกาธิราชฝ่ายพระมารดา อีก ๒ ปีต่อมา
พระองค์จึงเสด็จกลับนครเชียงทอง และทรงสร้างวัดเชียงทองขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๐๒ (ค.ศ. 1559) ต่อมา
ในปี พ.ศ. ๒๑๐๓ (ค.ศ. 1560) ทรงย้ายราชธานีจากนครเชียงทอง ซึ่งพระราชทานนามใหม่ว่า “เมือง
หลวงพระบางราชธานีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว” (เรื่องเดียวกัน, ๕๔) ไปยังเมืองเวียงจันท์ซึ่งทรง
ขนานนามว่า “กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวเวียงจันท์” ในปีเดียวกัน ทรงสร้างพระธาตุศรีสองรัก
อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย (สงวน รอดบุญ ๒๕๔๕, ๘๘) ในปี พ.ศ. ๒๑๐๙ (ค.ศ. 1566) ทรงสร้าง
“พระธาตุเจดียโลกจุลามนี” หรือ “พระธาตุหลวง” เพื่อเป็นศรีของนคร นอกจากนั้นยังทรงสร้าง
พระธาตุเชิงชุม สกลนคร พระธาตุสีโคตบูน ท่าแขก และพระธาตุบังพวน หนองคาย เป็นต้น (เรื่อง
เดียวกัน, ๘๖ – ๘๗)

ช่วงปลายรัชกาลของพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาโจมตีกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง-
ร่มขาวเวียงจันท์ ในปี พ.ศ. ๒๑๑๓ (ค.ศ. 1570) หลังจากตีกรุงศรีอยุธยาได้ในปีก่อนหน้านั้น แต่ทางพม่า
ต้องพ่ายแพ้กลับไป ส่วนพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงหายสาบสูญไปในปีต่อมา

กษัตริย์ลาวอีกพระองค์หนึ่งที่ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก คือ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
(พ.ศ. ๒๑๗๖ – ๒๒๓๓ / ค.ศ. 1633 – 1690) ทรงครองราชสมบัติยาวนานถึง ๕๗ ปี ในรัชสมัยของ
พระองค์ พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากจนพ่อค้าชาวดัชท์ชื่อ ฟาน วูสทอฟ (van Wuysthoff) ผู้เข้ามา
เยือนในปี พ.ศ. ๒๑๘๔ (ค.ศ. 1641) และบันทึกไว้ว่า “ทุกๆ ปี จะมีพระสงฆ์จากประเทศเขมร และ
ประเทศสยามเดินทางมาศึกษาประมาณ ๑๐ ปี หรือ ๑๒ ปี กว่าจะสำเร็จในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง...
การศึกษาในด้านพระพุทธศาสนาที่นครเวียงจันท์ เป็นไปอย่างเสรีสะดวกสบาย และความสำคัญของ
พระพุทธศาสนามีมากกว่าแห่งอื่นๆ” (เรื่องเดียวกัน, ๙๓)

ช่วง ๓ นครรัฐ พ.ศ. ๒๒๔๖ – ๒๓๒๑ (ค.ศ. 1703 – 1778)

หลังจากพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชสิ้นพระชนม์แล้ว เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ ซึ่งเป็น
เหตุให้นครหลวงพระบางในภาคเหนือของประเทศ แยกตัวออกจากการปกครองของเวียงจันท์ในภาค
กลาง ในปี พ.ศ. ๒๒๔๖ (ค.ศ. 1703) และนครจำปาสักในภาคใต้ของลาวแยกตัวเป็นอิสระจากเวียงจันท์
ในปี พ.ศ. ๒๒๕๗ (ค.ศ. 1714) พุทธศาสนาจึงทรุดโทรมลงในช่วงระยะเวลานี้

ช่วงประเทศราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๓๒๑ – ๒๔๓๖ (ค.ศ. 1778 – 1893)

การแตกแยกของอาณาจักรล้านช้าง ส่งผลให้เวียดนาม พม่า และสยามหรือไทย ถือโอกาส
เข้าไปโจมตี โดยในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ – ๒๓๒๒ (ค.ศ. 1778 – 1779) สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้
เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งต่อมาจะปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
กับน้องชายคือ เจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งต่อมาก็คือสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกทัพขึ้นไปตี

พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๖๙
เมืองเวียงจันท์ ครั้งนั้นนครจำปาสักขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เข้าเป็นประเทศราชของสยาม นครหลวง
พระบางเห็นว่าสยามต่อต้านพม่าได้ จึงเข้าช่วยกองทัพไทยโจมตีนครเวียงจันท์ และเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อ
พระเจ้ากรุงธนบุรี หลังจากตีได้นครเวียงจันท์ในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ (ค.ศ. 1778) เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
ก็ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) และพระบางเจ้ามาประดิษฐานในกรุงธนบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๒๓ (ค.ศ. 1780) นครเวียงจันท์จึงขอเป็นประเทศราชขึ้นกับกรุงสยาม (เติม ๒๕๔๐,
๑๐๒ – ๑๐๓)

ในช่วงที่เป็นประเทศราชของสยามนั้น ทั้ง ๓ นครรัฐ ต่างก็ทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้เจริญ
รุ่งเรือง เช่น ที่นครหลวงพระบาง พระเจ้าอนุรุท (พ.ศ. ๒๓๓๔ – ๒๓๖๐ / ค.ศ. 1791 – 1871) ทรง
สร้างพระธาตุพูสี และในปี พ.ศ. ๒๓๓๗ (ค.ศ. 1794) ทรงสร้างวัดสุวันนะพุมมาราม (วัดใหม่) ส่วนที่นคร
เวียงจันท์ สมเด็จพระราชเชษฐา (พระเจ้าอนุวงศ์) (พ.ศ. ๒๓๔๕ – ๒๓๗๒ / ค.ศ. 1802 – 1829) ทรง
สร้าง “วัดสีบุนเฮือง” ที่เมืองหนองคาย ในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ (ค.ศ. 1808) และวัด “สีสะเกด” ที่นครเวียงจันท์
ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ (ค.ศ. 1824)

ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ (ค.ศ. 1824) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชบรมโองการให้
ทำการ “สักเลก” ประชากรลาวทั้งหมด ทั้งล้านนา ล้านช้าง และบนที่ราบสูงโคราช “เพื่อขึ้นทะเบียน
เป็น “คนสยาม” ให้หมด” (สุรสวัสดิ์ ๒๕๓๕, ๑๒๕) สมเด็จพระราชเชษฐาแห่งล้านช้างจึงมีพระราชสาส์น
กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับปัญหาในเรื่องสักเลกดังกล่าว ในปี พ.ศ.
๒๓๗๐ (ค.ศ. 1827) และเมื่อไม่ได้รับคำตอบ จึงโปรดให้ “ดับสูญ” เจ้าหน้าที่สยามที่ไปทำการสักเลก
และยกทั พ มาตี เ มื อ งนครราชสี ม า ซึ่ ง ส่ ง ผลให้ พ ระองค์ ถู ก จั บ ขั ง กรงเหล็ ก และสิ้ น พระชนม์ ก ลาง
ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร (Farrington 2001, 40 – 41)

นั บ ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. ๒๓๒๑ (ค.ศ. 1778) ในรั ช สมั ย ของสมเด็ จ พระเจ้ า กรุ ง ธนบุ รี เ ป็ น ต้ น มา
อาณาจักรล้านช้างตกเป็นประเทศราชของสยาม และในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. 1893) ดินแดนด้านทิศ
ตะวันออกของแม่น้ำโขงจึงเปลี่ยนไปเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศส และ ๑๐ ปีต่อมาจึงตามด้วย
ดินแดนด้านทิศตะวันตก ฝั่งตรงข้ามกับนครหลวงพระบางทางทิศเหนือ และแคว้นจำปาสักทางทิศใต้

พระพุทธปฏิมายืนแสดงธรรม
(รูปที่ ๔.๑) อินเดียตอนใต้
พบที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

๑๗๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พุทธศาสนากับพระพุทธปฏิมาในประเทศไทย ๑๗๑
พระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร “พระแก้วมรกต” (รูปที่ ๓.๖ ก.)
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง


พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทที่


พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ
หมวด ก.
ปางสมาธิ


คณะสงฆ์กัมโพชสงฆ์ปักขะ นิกายเถรวาทเป็นฝ่ายคามวาสี ซึ่งเป็นนิกายหลักของไทยที่นับถือ
สืบเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้ ได้เข้ามามีบทบาทในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันในช่วงครึ่งหลัง
ของพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 13) แม้ว่าคนไทยจะรับนิกายเถรวาท คณะ
มหาวิหารจากลังกา หรือที่เรียกขานกันว่า คณะสีหฬภิกขุ แต่กระนั้น อิทธิพลของคณะมหาวิหารจาก
ลังกาก็หาได้เข้ามาแทนที่คติความเชื่อดั้งเดิมทั้งหมดไม่ หากว่าเข้ามาเสริมความเชื่อเดิมของคณะ
กัมโพชสงฆ์ปักขะ และต่อมาคติความเชื่อทั้งของคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะและของคณะสีหฬภิกขุก็ผสม
ผสานกลมกลืนกันดังที่ในแวลาต่อมา ครั้งที่ลังการับเอาพุทธศาสนาจากอยุธยาในสมัยอยุธยาตอน
ปลายไป เรียกว่า “คณะสยามนิกาย” หรือที่เรียกขานกันในปัจจุบันว่า “คณะมหานิกาย”

อย่างไรก็ดี ในความเชื่อถือพระพุทธศาสนาในประเทศไทย คติของคณะมหาวิหารจากลังกา
ซึ่งเป็นฝ่ายอรัญวาสี ก็มีอิทธิพลน้อยกว่าความเชื่อของคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ ซึ่งเป็นฝ่ายคามวาสี
ดังปรากฏได้จากการจำลองพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ที่จัดสร้างขึ้นตามคติฝ่าย
อรัญวาสีที่มีน้อยกว่าพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ของทางฝ่ายคามวาสี อันเป็นการ
สืบทอดพุทธลักษณะจากพระพุทธปฏิมาที่ตกทอดมาจากสมัยอาณาจักรมอญโบราณ

๑. พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

แม้ว่าพระพุทธปฏิมาจำลองประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ของฝ่ายอรัญวาสี คณะมหาวิหารจาก
ลังกามีจำนวนน้อยกว่าพระพุทธปฏิมาปางเดียวกันของทางฝ่ายคามวาสี คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ ทว่าใน
ความเชื่อของพุทธศาสนิกชนของไทยแล้ว พระพุทธปฏิมาปางนี้ในกลุ่มหนึ่งของฝ่ายมหาวิหารจากลังกา
กลับถือว่าพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ “มีฤทธิ์เดชหาประมาณมิได้” พระพุทธปฏิมาที่ว่านี้คือ พระพุทธมหามณี
รัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต เป็นพระพุทธปฏิมาที่สำคัญที่สุดในหมวด
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ มีพุทธลักษณะที่แตกต่างจากหมวดอื่นๆ เพราะว่า เป็น
พระพุทธปฏิมาที่จำลองมาจากพระพุทธปฏิมาลังกา ซึ่งปรากฏขึ้นพร้อมกับการสถาปนาฝ่ายอรัญวาสี
คณะมหาวิ ห ารจากลั ง กา หรื อ คณะสี ห ฬภิ ก ขุ ขึ้ น ในประเทศไทย คื อ ที่ อ ยุ ธ ยาในปี พ.ศ. ๑๙๖๙
(ค.ศ. 1426) และที่เชียงใหม่ ๔ ปีต่อมา

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมีพุทธลักษณะคือ พระพักตร์สั้น พระหนุเป็นปม พระเมาลีทรง
โอคว่ำ รัศมีเป็นลูกแก้ว พระอังสากว้าง พระอุระนูน บั้นพระองค์คอด พระวรกายยืดตรง ชายจีวรยาว
จรดพระนาภี ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ประทับบนฐานเขียง สลักจากหยกสีเขียวแท่งเดียวตลอด
องค์รวมทั้งฐาน (ดูรูปที่ ๓.๖ ก.)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๗๓
พระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากรมี ต้ น แบบมาจากพระพุ ท ธปฏิ ม าของลั ง กา เช่ น ที่ พ บในกรุ วั ด
ราชบูรณะพระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๕.๑) ซึ่งเมื่อเป็นพระปฏิมาขนาดเล็กก็สามารถที่จะนำมาโดยง่าย
และน่าจะสร้างขึ้นในสมัยโปโลนนารุวะตอนปลาย ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – กลาง ๑๘
(คริสต์ศตวรรษที่ 12) (von Schroeder 1990, 386 – 387) หรือที่สร้างขึ้นในประเทศไทยโดยจำลองแบบ
มาจากลังกา เช่นพระพุทธปฏิมาที่พบในพระเจดีย์องค์ใหญ่ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา
(รูปที่ ๕.๒) ซึ่งก็เลียนแบบมาจากพระพุทธปฏิมาสมัยโปโลนนารุวะ เช่นกัน (เรื่องเดียวกัน, 374 – 375)

ตามตำนานประวัติของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรนั้น สร้างขึ้นโดยพระเถระนาคเสนแห่งเมือง
ปาตลีบุตรในประเทศอินเดีย ซึ่งจำลองพระพุทธรูปขึ้นมาด้วยฤทธิ์และมนตร์ เมื่อพระเจ้าติโลกราช
อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๐๒๕ (ค.ศ. 1482) และในสมัยพระเจ้า
ไชยเชษฐา ก็ได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่นครหลวงพระบาง และนครเวียงจันท์ตามลำดับ จนเมื่อ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้าง
รูปที่ ๕.๑ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ
ปางสมาธิพบในกรุวัดราชบูรณะ ขึ้นใหม่ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อประดิษฐานพระรัตนปฏิมาโดยเฉพาะ และทรงขนานนามพระราชธานี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่สร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ อันหมายถึงเมืองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณี-
ลังกาสมัยโปโลนนารุวะ รัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกตนั่นเอง (ดู บทที่ ๓, หน้า ๕๑)
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – กลาง ๑๘
(คริสต์ศตวรรษที่ 12) สัมฤทธิ์
สูง ๓.๗ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

รูปที่ ๕.๒ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางสมาธิ พบในเจดีย์ใหญ่
วัดพระศรีสรรเพชญ์
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ลังกาสมัยโปโลนนารุวะ
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – กลาง ๑๘
(คริสต์ศตวรรษที่ 12)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๒ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๑๗๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๑.๑ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง สมัยล้านนา

ช่วงอาณาจักรล้านนา
- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)

เนื่องด้วยว่าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรเป็นพระพุทธรูปที่ “มีฤทธิ์เดชหาประมาณมิได้” ซึ่ง
สร้างขึ้นจากวัสดุหายาก กล่าวคือ สลักจากหยกสีเขียวแท่งเดียวตลอดองค์รวมทั้งฐาน จึงมีการจำลอง
ด้วยวัสดุที่หายากเช่นกัน คือ แก้วผลึก เช่น พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิ์พิมลมณีมัย (รูปที่ ๓.๗๙)
ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระนากสวาดิเรือนแก้ว (ดูรูปที่ ๓.๘๐) พระแก้วเชียงแสน
(ดูรูปที่ ๓.๘๒) และพระพุทธเพชรญาณ (ดูรูปที่ ๓.๘๔) ในหอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
เป็นต้น

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลองด้วยแก้วผลึกที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ (ดูบทที่ ๓, หน้า ๑๑๑)
น่าจะสลักขึ้นที่ล้านนา ต่อมาจึงอัญเชิญไปเก็บรักษาไว้ที่ล้านช้าง และเมื่อล้านช้างตกเป็นประเทศราชของ
กรุงรัตนโกสินทร์ จึงอัญเชิญมาสักการบูชาในพระบรมมหาราชวัง และถือว่าเป็นพระแก้วประจำรัชกาล
ของพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรี

ส่วนพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลองที่สร้างด้วยสัมฤทธิ์น่าจะได้แก่ พระพุทธมหามณีรัตน-
ปฏิมากรจำลอง ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๓) พระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นพระ
พุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ที่จำลองพุทธลักษณะของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรได้อย่างใกล้เคียงที่สุด และ
จากลักษณะของฐานกล่าวได้ว่า น่าจะหล่อขึ้นที่เชียงใหม่ ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔ –
๒๐๓๐ / ค.ศ. 1441 – 1487)

ส่วนพระพุทธปฏิมาที่ประทับบนฐานบัวหงายรองรับด้วยฐานแปดเหลี่ยม ลูกฟัก จำหลักลาย
(รูปที่ ๕.๔) น่าจะสร้างขึ้นในสมัยพญาแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘ – ๒๐๖๙ / ค.ศ. 1495 – 1526) เพราะว่าฐานใน
ลักษณะดังกล่าวเป็นที่นิยมอย่างมากในรัชกาลนั้น (ดูรูปที่ ๖.๗)

รูปที่ ๕.๓ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง


ได้จากจังหวัดเชียงราย รูปที่ ๕.๔ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้น ๒๑ ปางสมาธิ
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15) กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒๐.๒ เซนติเมตร (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สูง ๒๘.๕ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ สูง ๔๗.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๗๕
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลองสัมฤทธิ์ องค์สำคัญมากองค์หนึ่ง ได้แก่ พระพุทธปฏิมาซึ่ง
ปัจจุบันรู้จักกันในนาม “พระพุทธสิหิงค์” ประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่ง
ชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๕ ก. - ข.) พระพุทธปฏิมาองค์นี้ มิได้มีพุทธลักษณะของพระพุทธ
สิหิงค์ ที่เป็นต้นแบบพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ซึ่งมีพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม
ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม แย้มพระโอษฐ์ พระหนุ (คาง) เป็นปม พระวรกายอวบอ้วน พระ
อุระนูน ชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายสั้น ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ (ดูบทที่ ๖, หน้า ๓๑๕ - ๓๓๘ ดูรูปที่
๖.๑ – ๖.๓๑) แต่ปรากฏว่า “พระพุทธสิหิงค์” ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กลับเป็นพระพุทธปฏิมาประทับ
ขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ตามแบบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (ดูรูปที่ ๓.๖ ก.) ซึ่งจำลองมาจาก
พระพุทธปฏิมาของลังกาอีกต่อหนึ่ง (ดูรูปที่ ๕.๑ – ๕.๒) ยกเว้นได้มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับค่านิยมของ
ยุคสมัย เช่น มีพระอุระแบน ชายจีวรยาวจรดพระนาภีแบบ “พระพุทธรูปเชียงแสน” (พระมหาสมณ-
วินิจฉัย ๒๕๑๔, ๑๐๓) พระเมาลีเตี้ยกลมกลืนกับขมวดพระเกศา และรัศมีเป็นเปลวเพลิง อีกทั้งพระหัตถ์
ก็อยู่ในแบบปางสมาธิด้วย ซึ่ง พุทธลักษณะทั่วไปใกล้เคียงกับพระพุทธรูปในหมวด “เชียงแสนชั้นหลัง”
ตามการจัดจำแนกของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๙, ๑๐๐) ดังนั้น
เมื่อพุทธลักษณะมีความแตกต่างกันมาก จนสามารถที่แยกเป็นคนละหมวดกับพระพุทธรูปในหมวด
“เชียงแสนชั้นแรก” ได้ จึงอาจจะกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มิได้เป็นพระพุทธสิหิงค์จำลองตามที่
รูปที่ ๕.๕ ก. พระพุทธสิหิงค์จำลอง เข้าใจกันโดยทั่วไป แต่พุทธลักษณะแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการจำลองพุทธลักษณะของพระพุทธ-
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มหามณีรัตนปฏิมากร และหล่อขึ้นในสมัยอาณาจักรล้านนา ยุครุ่งเรือง
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๙๑ เซนติเมตร
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง หรือ “พระพุทธสิหิงค์ ” องค์ที่ประดิษฐานที่พระที่นั่ง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พุทไธสวรรย์นี้ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์กล่าวถึงใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ว่า
เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ถวายแด่สมเด็จกรมพระราชวังบวร เมื่อขึ้นไปช่วยรบกับพม่าในปี พ.ศ. ๒๓๓๘
(ค.ศ. 1795 – 1796) ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่เชียงใหม่ถูกปล่อยให้เป็นเมืองร้าง และเมื่อเสด็จกลับ
จึงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (ทิพากรวงศ์ ๒๕๓๙, ๑๕๕) นับจากนั้น พระพุทธรูป
องค์นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ “พระพุทธสิหิงค์” จวบจนทุกวันนี้

รูปที่ ๕.๕ ข. พระพุทธสิหิงค์จำลอง


พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
(รูปที่ ๕.๕ ก.)

๑๗๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๑.๒ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง อยุธยา

ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นที่อยุธยา เท่าที่พบแล้วมีแค่องค์เดียว
อันได้แก่พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ศิลา ได้มาจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
พระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๕.๖) ซึ่งจากพุทธลักษณะเห็นได้ว่าเป็นการจำลองพระพุทธมหามณีรัตน-
ปฏิมากร ที่อาจจะสลักขึ้นในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 15)

๑.๓ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง สมัยรัตนโกสินทร์

การจำลองพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรในสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
รูปที่ ๕.๖ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันสืบเนื่องมาจากที่พระองค์มีพระราชศรัทธาใน “พระพุทธสิหิงค์” ที่สมเด็จ
พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้มาจากเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ดูรูปที่ ๕.๕) ทรงเลื่อมใสพระพุทธปฏิมาองค์นี้มาก จึงโปรดเกล้าฯ
ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15 ) ให้จำลองโดยหล่อขึ้นใหม่ กะไหล่ทอง ขนาดเท่าพระองค์ แล้วถวายพระนามว่า “พระพุทธสิหังค-
ศิลา สูง ๑๓.๕ เซนติเมตร ปฏิมากร” (รูปที่ ๕.๗) และอัญเชิญไปเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นใหม่ (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๔๖) นอกจากนั้นแล้ว ยังโปรดเกล้าฯ ให้หล่อ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น เพื่อประดิษฐานในซุ้มจระนำ ที่พระปฐมเจดีย์อีกด้วย (เรื่องเดียวกัน, ๕๕)

ในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ (ค.ศ. 1860) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระพุทธรูป
ประจำพระชนมวาร คือพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ อันเป็นพระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี
ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ พระพุทธรูปประจำพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ดูรูปที่ ๓.๔๗) จำลองจาก “พระพุทธสิหิงค์” ในพระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พระนคร (ดูรูปที่ ๕.๕) แต่แตกต่างกันตรงที่พระเมาลีขององค์จำลองราบกว่าของ “พระพุทธสิหิงค์”
ในพระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ และทรงจารึกไว้ที่ฐานพระพุทธปฏิมาว่า

รูปที่ ๕.๗ พระพุทธสิหังคปฏิมากร


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๐๑ (ค.ศ. 1858)
สัมฤทธิ์ สูง ๖๖ เซนติเมตร
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๗๗
รูปที่ ๕.๘ พระพุทธสิหิงค์มิ่งมงคลสิรินาถ
หล่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ.๑๙๖๐)
เงิน สูง ๙๑ เซนติเมตร
หอพระพุทธสิหิงค์ อำเภอเมืองฯ
จังหวัดชลบุรี

สมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎพระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม มีพระบรมราช-
โองการให้จำลองพระพุทธสิหิงค์ใหญ่ ทรงสถาปนาการไว้ในพระพุทธศาสนา
หล่อวันศุกร์ แรม ๑๑ เดือน ๑๒ ปีวอกนักษัตรโทศก พุทธศาสนกาล ๒๔๐๓
พรรษา (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๐๗, ๑๐๒)

อนึ่ง นอกจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพระราชสมภพในวันพฤหัสบดีแล้ว ยัง
ทรงบรมราชาภิเษก และเสด็จสวรรคตในวันพฤหัสบดีอีกด้วย (สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๓๓๙)

ในรัชกาลปัจจุบันได้มีการจำลอง “พระพุทธสิหิงค์” จากต้นแบบองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่ง
พุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขึ้นหลายครั้ง เช่น ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. 1960) ได้
จำลองด้วยโลหะเงิน ขนาดเท่าพระองค์จริง เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดชลบุรี ถวายพระนามว่า
“พระพุทธสิหิงค์มิ่งมงคลสิรินาถ” (รูปที่ ๕.๘) ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. 1965) จังหวัดระยองได้จำลองขึ้น
เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด ถวายพระนามว่า “พระพุทธอังคีรส ธรรมราชา สิหิงคปฏิมาบรมโลกนาถ”
รูปที่ ๕.๙ พระพุทธธรรมฐิติศาสดา
สร้างในโอกาสที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ทศพล ๒๕๔๕, ๒๖๒ – ๒๖๓) และในวาระที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการสถาปนาครบ ๕o ปี เมื่อ
ได้รับการสถาปนาครบ ๕๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ (ค.ศ.1984) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อ
พ.ศ. ๒๕๒๗ (ค.ศ. 1984) พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถวายนามว่า “พระพุทธธรรมฐิติศาสดา” (รูปที่ ๕.๙) ซึ่ง
สัมฤทธิ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จำลองมาจาก “พระพุทธสิหิงค์” หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลองในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
กรุงเทพมหานคร นั่นเอง

๑๗๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลองที่สำคัญองค์หนึ่งในรัชกาลปัจจุบันได้แก่ พระพุทธรูปเซรามิค
เคลือบสีเขียว ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงปั้น (รูปที่ ๕.๑๐) โดยมีแบบเป็นพระพุทธรูป
แก้วสีเขียว ที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (กัลยาณิวัฒนา ๒๕๒๗,
๙๑) ซึ่งพระพุทธลักษณะขององค์ต้นแบบน่าจะเป็นพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง พระพุทธรูป
๒๐ องค์แรกนั้น ทรงปั้นด้วยพระหัตถ์จึงมีขนาดไม่เท่ากัน ต่อมามาทรงใช้แม่พิมพ์ จึงทำให้มีขนาดเท่ากัน
มีหน้าตักกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร ยกเว้นองค์ที่มีขนาดหน้าตัก ๙ เซนติเมตรนั้น ทรงปั้นถวาย
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งยังพระราชทานแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง
นราธิวาสราชนครินทร์ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม และพลตรี ชาติชาย ชุณหะวัน สำหรับของ
ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยนั้นเป็นพระพุทธรูปสีขาว ซึ่งมีเพียงองค์เดียว (เรื่องเดียวกัน, ๘๙ – ๑๐๐) พระ
พุทธรูปฝีพระหัตถ์เหล่านี้ ทรงปั้นระหว่างช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๑๗ (ค.ศ. 1960 – 1974) ทุกองค์มี
พระนามและหมายเลขกำกับ

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลองฝีพระหัตถ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีความ
เรียบง่ายและสงบนิ่ง ที่สะท้อนให้เห็นพระราชศรัทธาที่ทรงมีในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง โดยที่
พระองค์เองทรงศึกษาและปฏิบัติธรรม และมีพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนนำเอาธรรมะไปปฏิบัติ
ในชีวิตประจำวันอีกด้วย เช่นทรงโปรดให้จัดรายการ “บริหารทางจิต” ของสถานีวิทยุ อ.ส. (ย่อมาจาก
พระที่นั่งอัมพรสถาน) พระราชวังดุสิต ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. 1968) เป็นต้นมา โดย
อาราธนาสมเด็จพระญาณสังวร เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์พระสาสนโสภณ เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยที่
พระองค์ทรงตรวจต้นฉบับและพระราชทานพระวินิจฉัยทุกครั้ง

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์เรื่อง “อปัสเสนธรรม ธรรมเหมือนพนักอิง”
ของพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวโร เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส ที่พระองค์ทรงเห็นว่ามีประโยชน์ใน
ทางฝึกอบรมจิต เพราะเป็นธรรมะที่ควรศึกษาและปฏิบัติ ๔ ประการ เพื่อดำเนินชีวิตให้ดีขึ้น ในปี
พ.ศ. ๒๕๑๓ (ค.ศ. 1970) ทรงให้พระสาสนโสภณเรียบเรียงเรื่อง อวิชชา และเรื่องสันโดษ และในปี
พ.ศ. ๒๕๑๙ (ค.ศ. 1976) ทรงให้จัดพิมพ์เผยแพร่ เรื่อง “พรหมวิหาร ๔” ของสมเด็จพระญาณสังวรมี
พระดำริว่า “พรหมวิหาร ๔” อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เป็นคุณธรรมประจำในการ
ดำเนินชีวิตของทุกคน (สุเชาวน์ ๒๕๓๓, ๑๙ – ๓๔) ดังนั้นพระพุทธรูปฝีพระหัตถ์จึง “เป็นประดิษฐกรรม
ที่แสดงออกถึงความใฝ่พระราชหฤทัยในธรรมและพระราชศรัทธาอันมั่นคงยิ่งในบวรพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง”
(เรื่องเดียวกัน, ๔๓)

รูปที่ ๕.๑๐ ก. พระพุทธรูปฝีพระหัตถ์


สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พ.ศ. ๒๕๑๓ (ค.ศ. 1970)
หมายเลข ๑๐
เซรามิค หน้าตักกว้าง ๖ เซนติเมตร
สูง ๘.๕ เซนติเมตร
สมบัติของ ม.ร.ว. สุนิดา กิติยากร รูปที่ ๕.๑๐ ข. ใต้ฐานพระพุทธรูปฝีพระหัตถ์
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (รูปที่ ๕.๑๐ ก.)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๗๙
นอกจากพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลองฝีพระหัตถ์แล้ว ในรัชกาลปัจจุบัน ยังมีการจำลอง
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรในเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงมีพระราชศรัทธาถวาย และเพื่อที่จะให้เป็นที่แพร่หลายจึงจำลองด้วยแก้วสีเขียว (รูปที่ ๕.๑๑) และ
สร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีหลายขนาดให้ผู้มีจิตศรัทธาเลือกเช่าไปบูชาหรือถวายวัด เช่น คุณภักดิพร
สุจริตกุล และ ด.ช. สุรบถ หลีกภัย อุทิศถวายแด่พระธาตุดอยสุเทพ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่

ส่วนพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง วัดพระแก้ว อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงราย (รูปที่ ๕.๑๒)
สร้างขึ้นโดย สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ร่วมกับคณะสงฆ์ใน
๑๖ จังหวัดภาคเหนือ ในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเจริญพระชนมายุครบ
๙๐ พรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. 1991) พระพุทธรูปองค์นี้สลักจากหยกสีเขียวที่นำมาจากประเทศ
แคนาดา สลักโดยนายเหยน หวนหุ้ย ช่างจากประเทศจีน และได้ทำพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดพระ
ศรีรัตนศาสดาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายพระนามว่า “พุทธรัตนากร นวุติวัสสานุสรณ์
มงคล” แปลว่า “พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นอากรแห่งรัตนะ เป็นอนุสรณ์ ๙๐ พรรษา” และยังถวายพระนาม
ย่อว่า “พระหยกเชียงราย” (ทศพล ๒๕๔๕, ๑๔๑)

เครื่องทรงของพระหยกเชียงรายแตกต่างไปจากเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อนของพระพุทธมหามณี-
รัตนปฏิมากร ตรงที่ดัดแปลงให้ดูคล้ายเครื่องทรงของกษัตริย์พม่าและล้านนา เช่นมงกุฎทรงล้านนา
กนกข้างฉลองพระศอตวัดขึ้นเหนือพระอังสา พาหุรัด และทองพระกร ทองพระบาททรงกระจังขนาด
ใหญ่ รวมถึงเชิงสนับเพลาสองชั้นปลายงอน ซึ่งสอดคล้องกับค่านิยมปัจจุบันที่สร้างอัตลักษณ์เชิง
วัฒนธรรมให้กับล้านนาให้มีลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้นมาใหม่

รูปที่ ๕.๑๑ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง รูปที่ ๕.๑๒ พระพุทธรัตนกรนวุติวัสสานุสรณ์มงคล (พระหยกเชียงราย)


แก้วสีเขียว พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. 1991)
วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร หยกสีเขียว หน้าตักกว้าง ๔๗.๙ เซนติเมตร
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ สูง ๖๕.๙ เซนติเมตร
วัดพระแก้ว อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงราย

๑๘๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๒. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ

๒.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ สมัยอาณาจักรกัมโพช
พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ที่สร้างขึ้นที่กัมโพช ในคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ
ในช่ ว งระยะดั ง กล่ า ว มี พุ ท ธลั ก ษณะที่ ร่ ว มกั น คื อ มี พ ระรั ศ มี เ ป็ น กรวยเรี ย บ พระพั ก ตร์ เ หลี่ ย ม
พระวรกายล่ำสัน ครองจีวรห่มดอง ชายจีวรเป็นเหลี่ยมยาวจรดพระนาภี (รูปที่ ๕.๑๓)

พระพุทธปฏิมาที่มีลักษณะดังกล่าว มักจะได้รับการขนานนามว่า พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง หมวดที่ ๑
ตามที่หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ เอ.บี. กริสโวลด์ได้จำแนกพระพุทธรูปสมัยอู่ทองออกเป็น ๓ หมวดใหญ่
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ (ค.ศ. 1952) อันได้แก่

หมวดที่ ๑ พระเกตุมาลา [พระรัศมี] ทำเป็นรูปฝาชี หรือบางคราวก็เป็น
ต่อมกลม พระพักตร์เหมือนกับสมัยทวารวดี...
หมวดที่ ๒ อิทธิพลขอมเป็นที่ประจักษ์ อยู่ที่พระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยม...
มีไรพระศกระหว่างเส้น พระเกศ และพระนลาต รัศมีเป็นรูปเปลว
หมวดที่ ๓ พระพักตร์เป็นรูปไข่ หรือยาวกว่า [หมวดที่ ๑ และหมวดที่ ๒]
เหมือนกับพระพักตร์พระพุทธรูปสุโขทัย มีไรพระศกระหว่างเส้นพระเกศ และ
พระนลาตเหมือนกัน รัศมีเป็นเปลว
(บริบาลบุรีภัณฑ์ และ เอ.บี. กริสโวลด์ ๒๔๙๕, ๔๐)

พระพุทธปฏิมาในลักษณะนี้ พบในบริเวณภาคกลางตอนล่าง แม้เมื่อได้รับเอาคติของคณะมหา
วิหาร จากลังกา หรือคณะสีหฬภิกขุ ราวปี พ.ศ. ๑๙๖๗ (ค.ศ. 1424) และฝ่ายอรัญวาสี ได้สร้าง
พระพุทธปฏิมาตามแบบพระพุทธปฏิมาจากลังกา อย่างพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้ว
มรกต แต่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ก็ยังมีการสร้างพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิซึ่ง
มิได้มีพุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมาลังการ แต่สืบทอดพุทธลักษณะจากพระพุทธปฏิมาที่ตกทอดมา
จากสมัยมอญโบราณ (ดูรูปที่ ๔.๑๓) โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคเหนือ และสืบทอดกันมาจนถึงสมัย
รัตนโกสินทร์

จากกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16) จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (กลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 19) ได้มีการสร้างพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ที่มิใช่พระพุทธมหา-
มณีรัตนปฏิมากรจำลองเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วิหาร และพระบูชาขนาดเล็ก
จวบจนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ และสถาปนาคณะธรรมยุติกนิกาย
ขึ้นมา สยามนิกายจึงกลายเป็นคณะมหานิกาย ทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์อัครศาสนูปถัมภกของคณะธรรมยุติกนิกาย จึงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระพุทธรูปสำคัญขึ้นในรูปแบบของพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ สืบต่อมา

รูปที่ ๕.๑๓ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
พบในเจดีย์วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบูรณ์
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14)
ศิลา หน้าตัก ๕.๕ เซนติเมตร
สูง ๑๐.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดน่าน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๘๑
๒.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ สมัยอยุธยา

(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1351 – 1448)

ในปี พ.ศ. ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1351) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนาอาณาจักรอยุธยา โดยรวมรัฐ
กัมโพช (ลพบุรี) เข้ากับรัฐสยาม (อยุธยา) พระพุทธรูปซึ่งแต่เดิมเป็นแบบกัมโพช จึงนำมาสร้างขึ้นที่
อยุธยาสืบต่อมา จนพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบของอยุธยาเอง

พระพุทธปฏิมาศิลาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ที่วัดประดู่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัด
สุราษฎร์ธานี (รูปที่ ๕.๑๔) แสดงให้เห็นการแต่งกายของชาวสยาม คือ สวมเสื้อทรงแบบผ่าหน้าคอกลม
อย่างที่ชาวสยามสวมใส่ ดังภาพที่สลักไว้บนระเบียงคดของปราสาทนครวัด (รูปที่ ๕.๑๕) แตกต่างกัน
ตรงที่เสื้อทรงของพระพุทธรูปนั้นแขนยาว ส่วนของชาวสยามและชาวเขมรนั้นแขนสั้น พระพุทธปฏิมา
สวมเสื้อทรงปัจจุบันพบเพียงสององค์ อีกองค์หนึ่งเป็นสัมฤทธิ์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กรุงเทพมหานคร (ทะเบียน LB352) ลักษณะของพระเศียรใกล้เคียงกับพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง หมวดที่ ๓
คือพระพักตร์รูปไข่ มีไรพระศก ระหว่างเส้นพระเกศและพระนลาฏ รัศมีเป็นเปลว (บริบาลบุรีภัณฑ์
และ กริสโวลด์ ๒๔๙๕, ๔๐)

รูปที่ ๕.๑๔ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
พบที่วัดประดู่ อำเภอกาญจนดิษฐ์
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)
ศิลา หน้าตัก ๑.๒๓ เมตร สูง ๑.๙๖ เมตร
วัดประดู่ อำเภอกาญจนดิษฐ์
จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รูปที่ ๕.๑๕ กองทัพสยามเดินสวนสนาม


ระเบียงคดด้านทิศใต้ปราสาทนครวัด
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 12)
ปราสาทหินนครวัด ประเทศกัมพูชา

๑๘๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๕.๑๖ ก. พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ
ปางสมาธิ
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ หน้าตัก ๓๒ เซนติเมตร
สูง ๕๙ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

รูปที่ ๕.๑๖ ข. รูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม


(ด้านหลังรูปที่ ๕.๑๖ ก.)
สัมฤทธิ์ หน้าตัก ๓๒ เซนติเมตร
สูง ๕๙ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

(๒) ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)



พระพุทธปฏิมาอยุธยาอีกพระองค์หนึ่ง ประทับบนฐานหน้ากระดานทรงรูปไข่ (รูปที่ ๕.๑๖ ก.)
มีรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่ทางด้านหลังของฐาน (รูปที่ ๕.๑๖ ข.) ซึ่งจากลักษณะของการครอง
พระภูษา และการชักชายผ้า ซึ่งเปรียบเทียบได้กับพระภูษาของเทวนารีสัมฤทธิ์ จากศาลพระอิศวรที่
กำแพงเพชร (พิริยะ ๒๕๒๐, ๑๗๘ – ๑๗๙) นอกจากนั้นแล้วพระพักตร์ยังสอบเข้าที่พระหนุอันเป็นที่นิยม
ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16)
รูปที่ ๕.๑๗ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ
ปางสมาธิเรือนแก้ว
ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิเรือนแก้ว (รูปที่ ๕.๑๗) อาจจะสร้างขึ้นในช่วง
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16) ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16) พระหัตถ์ทรงรูปไข่ พระขนงโค้ง บรรจบกัน
สัมฤทธิ์ หน้าตัก ๑๒ เซนติเมตร
สูง ๒๕ เซนติเมตร กลางสันพระนาสิก พระเนตรเหลือบลงและชี้ขึ้นตรงปลาย เรือนแก้วแบ่งเป็นสองตอน ตอนบนมีห้าหยัก
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ปลายเป็นตัวเหงา ตอนล่างเป็นเศียรนาค ฐานหน้ากระดานหกเหลี่ยม

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๘๓
(๓) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18) ราชอาณาจักรอยุธยานิยม
สร้างพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ เช่น พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม อำเภอเมืองฯ
จังหวัดฉะเชิงเทรา (รูปที่ ๕.๑๘) เชื่อกันว่าพระพุทธโสธร หรือหลวงพ่อโสธรองค์นี้ แสดงอภินิหารลอย
ตามน้ำมา เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๑๓ (ค.ศ. 1773) พร้อมกับพระพุทธปฏิมาอีก ๒ องค์ ได้แก่หลวงพ่อ
บ้านแหลม วัดเพชรสมุทร อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสงคราม (ดูรูปที่ ๘.๘๗) และหลวงพ่อโต
วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม (ดูรูปที่ ๕.๑๔๔) พอถึงหน้าวัดโสธรวราราม จึงอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐาน
ในพระอารามแห่ ง นี้ (ศิ ล ปากร ๒๕๔๓ ก, ๒๖๓) พระพุ ท ธโสธรมี พุ ท ธลั ก ษณะเที ย บเคี ย งได้ กั บ
พระประธานในพระอุโบสถวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี (รูปที่ ๕.๑๙)

รูปที่ ๕.๑๘
“พระพุทธโสธร”
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๗๕ เมตร
สูง ๑.๙๖ เมตร
วัดโสธรวราราม อำเภอเมืองฯ
จังหวัดฉะเชิงเทรา

รูปที่ ๕.๑๙ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางสมาธิ
พระประธานวัดไลย์
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๓.๙๐ เมตร
สูง ๔.๘๐ เมตร
วัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

๑๘๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๘๕
ในพระระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
๒๒ องค์ ประทั บ ขั ด สมาธิ ร าบ ปางมารวิ ชั ย ๑ องค์ และพระพุ ท ธปฏิ ม าประทั บ ขั ด สมาธิ ร าบ
ปางสมาธิ ทรงเครื่องอีก ๑ องค์ ซึ่งทั้ง ๒๔ องค์นี้สันนิษฐานว่าได้มาจากพระวิหารราย ๒๖ หลัง
ที่เรียงสลับกับพระสถูปรอบกำแพง วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา (ศิลปากร ๒๕๑๑, ๓๐)
พระพุทธปฏิมาเหล่านี้มีพุทธลักษณะที่แปลก คือที่ข้อพระกรทำคล้ายกับมีผ้าคาดเหนือข้อพระกรทั้งสอง
ข้าง และทางเบื้องหลังด้านขวา ยังทำเป็นแผ่นทึบคล้ายกับครองจีวรห่มคลุม ทั้ง ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนว่า
เป็นพระพุทธปฏิมาห่มดอง จึงเป็นไปได้ว่าแต่เดิมอาจจะมีเครื่องทรงปั้นด้วยปูนและลงรักปิดทองประดับ
กระจก นอกจากนั้นก็เป็นไปได้ว่า พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิเหล่านี้คือพระอดีตพุทธะ
(รูปที่ ๕.๒๐) ส่วนพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ก็น่าจะเป็นพระสมณโคดม ส่วน
พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิทรงเครื่อง (ดูรูปที่ ๕.๔๖) นั้น ได้แก่ พระศรีอาริยเมตไตรย
หรือพระศรีอาริย์ พระอนาคตพุทธะ (Woodward 1997, 228) พระพุทธปฏิมาเหล่านี้น่าจะสร้างขึ้น
พร้อมกันกับพระวิหารราย ในช่วงปี พ.ศ. ๒๒๘๔ – ๒๒๘๗ (ค.ศ. 1741 – 1744) (พิริยะ ๒๕๔๕, ๑๕๓)

รูปที่ ๕.๒๐ พระอดีตพุทธะ


ได้จากวัดพระศรีสรรเพชญ์
พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ๒๒๘๔ – ๒๒๘๗ (ค.ศ. 1741 - 1744)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๖๕ เมตร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร

๑๘๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑ / ค.ศ. 1732 – 1758) นิยม
สร้างพระประธานของพระอุโบสถ เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ เช่น พระประธาน
ของอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี (รูปที่ ๕.๒๑) ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นพร้อม
กับการเขียนจิตรกรรมฝาผนังในปี พ.ศ. ๒๒๗๗ (ค.ศ. 1734) อันได้แก่ปีที่สองในรัชกาลของสมเด็จ
พระเจ้าบรมโกศ (น. ณ ปากน้ำ ๒๕๒๙, ๗) พระประธานวัดสระบัว ซึ่งประทับเหนือชุกชีที่ตกแต่งด้วย
ผ้าทิพย์ กระจังใหญ่น้อย และประดับประดาด้วยกระจกหลากสี (รูปที่ ๕.๒๒) พระประธานในพระ
อุโบสถของวัดโพธาราม ซึ่งต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้บูรณ-
ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม และถวายนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และทรงอัญเชิญ
พระประธานองค์ดังกล่าวไปประดิษฐานไว้ในศาลาการเปรียญ (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน เล่ม ๑,
๒๔๗๒, ๔) และพระสัมพุทธวัฒโนภาส พระประธานองค์เดิมของพระอุโบสถวัดสมอราย ที่ปัจจุบันคือ
วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๒๓) (ศิลปกรรมวัดราชาธิวาส ๒๕๔๖, ๑๐๕) เป็นต้น

รูปที่ ๕.๒๑ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ รูปที่ ๕.๒๒ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ รูปที่ ๕.๒๓ พระสัมพุทธวัฒโนภาส


ปางสมาธิ ปางสมาธิ พระประธานวัดราชาธิวาสวิหาร (สมอราย)
พระประธานวัดเกาะแก้วสุทธาราม พระประธานวัดสระบัว พุทธศตวรรษที่ ๒๓
สร้างปี พ.ศ. ๒๒๗๗ (ค.ศ. 1373) จังหวัดเพชรบุรี (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18)
สัมฤทธิ์ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ สัมฤทธิ์
วัดเกาะแก้วสุทธาราม อำเภอเมืองฯ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18) วัดราชาธิวาสวิหาร
จังหวัดเพชรบุรี สัมฤทธิ์ กรุงเทพมหานคร
วัดสระบัว อำเภอเมืองฯ
จังหวัดเพชรบุรี

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๘๗
๑๘๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๒.๓ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ สมัยรัตนโกสินทร์

ค่านิยมของการนำเอาพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ มาเป็นพระประธานของ
พระอุโบสถ สืบทอดลงมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ
(พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒ / ค.ศ. 1782 – 1809) ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และทรงอัญเชิญ
พระประธานของวัดศาลาสี่หน้า ธนบุรี (ปัจจุบันคือวัดคูหาสวรรค์) มาเป็นพระประธานของพระอุโบสถ
(รูปที่ ๕.๒๔) ถวายพระนามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร” (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน เล่ม ๑, ๒๔๗๒, ๓)
นอกจากนั้นแล้วพระประธานของพระอุโบสถในพระอารามที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ เช่นวัดสระเกศ
ก็โปรดเกล้าฯ ให้ปั้นขึ้นใหม่หุ้มองค์เดิม (รูปที่ ๕.๒๕) (พุฒาจารย์ ๒๕๔๙, ๒๒)

รูปที่ ๕.๒๔ พระพุทธเทวปฏิมากร


พุทธศตวรรษที่ ๒๓ รูปที่ ๕.๒๕ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18) พระประธานวัดสระเกศ
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๘๓ เมตร สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๕ (ค.ศ. 1782)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สัมฤทธิ์
กรุงเทพมหานคร วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๘๙
รูปที่ ๕.๒๖
พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๖๔ (ค.ศ. 1821)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๓.๑๐ เมตร
สูง ๔.๕๐ เมตร
วัดราชโอรสาราม
กรุงเทพมหานคร

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. ๒๓๕๒ – ๒๓๖๗ / ค.ศ. 1809 – 1824)


พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงให้สร้างพระประธาน พระอุโบสถวัดจอมทอง (รูปที่ ๕.๒๖)
ทีพ่ ระองค์ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ และพระบรมชนกนาถพระราชทานพระนามว่า “วัดราชโอรส” พระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร พร้อม
กับประดิษฐานพระราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ตรงกลางผ้าทิพย์ของฐานชุกชี
(วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ๒๕๔๙, ๒๖)

๑๙๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔ / ค.ศ. 1824 – 1851) เสด็จขึ้น
ครองสิริราชสมบัติแล้วจึงทรงพระราชดำริสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาขึ้น เป็นพระพุทธรูป
ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ (ดูรูปที่ ๓.๓๑) “ทรงสร้างมีจำนวนเท่าพระชนม์พรรษาในขณะนั้น” โดยที่
ทรงเททองหล่อพระพุทธรูปประจำพระชนม์พรรษาทุกๆ “ขึ้นค่ำหนึ่งเดือนห้า... ไม่เลื่อนขึ้นเลื่อนลง ไม่มี
กำหนดฤกษ์ดีฤกษ์ชั่ว” (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๐๗, ๗๘ – ๗๙) เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว จึงมีพระพุทธรูป
ประจำพระชนมพรรษา ๖๕ องค์ ในจำนวนนี้ ๒๘ องค์มีฉัตรกั้น คือเท่ากับจำนวนปีที่เถลิงถวัลยราชสมบัติ
(สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๑๗๐ – ๑๗๒)

พระพุทธรูปแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แก่ พระพุทธรูป
ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ครองจีวรห่มดอง จีวรลงยาเป็นลายดอก (รูปที่ ๕.๒๗) ซึ่งการ
ครองจีวรแบบห่มดองและเขียนสีลงยาเป็นลายดอกนั้น สะท้อนให้เห็นค่านิยมของคณะสงฆ์
สยามนิกายที่สืบทอดจากสมัยอยุธยาได้อย่างชัดเจน

ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ (ค.ศ. 1830) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระผนวชเป็นพระวชิรญาณเถระ
อยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาสวิหาร) ได้ทรงสถาปนาคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น
พร้ อ มกั น นั้ น ก็ ไ ด้ ท รงหล่ อ พระสั ม พุ ท ธพรรณี (ดู รู ป ที่ ๓.๗๖) ให้ เ ป็ น
พระประธานในพระวิหารวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งบรรจุดวงพระชาตา
พระสุพรรณบัฏเดิม และพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้เคยแสดงปาฏิหาริย์ไว้ด้วย

รูปที่ ๕.๒๗ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19)
สัมฤทธิ์ ลงยา
สูงเฉพาะองค์ ๒๘.๕ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๙๑
ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว (พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑ /
ค.ศ. 1851 – 1868) พระองค์ได้สถาปนาวัดโสมนัสวิหารขึ้น เพื่ออุทิศพระราชกุศลพระราชทานสมเด็จ
พระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระบรมราชเทวี ในปี พ.ศ. ๒๓๙๖ (ค.ศ. 1853) พระประธานในพระอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปที่พระอริยมุนี (ทับ พุทธสิริ) หล่อขึ้นที่วัดสมอราย ก่อนที่จะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร
ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้จึงมีพระนามว่า “พระพุทธสิริ” (รูปที่ ๕.๒๘) (ทศพล ๒๕๔๕, ๑๐๘ – ๑๐๙) และ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนาวัดมกุฏกษัตริยารามขึ้นในช่วงปลายรัชกาลของ
พระองค์ พระประธานในพระวิหารอันได้แก่ พระพุทธวชิรมงกุฎ (ดูรูปที่ ๓.๓) มีพุทธลักษณะเช่นเดียวกัน
กับพระพุทธสิริ

ในช่วงปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงหล่อพระพุทธอังคีรส (รูปที่
๕.๒๙) ขึ้นเพื่อนำไปประดิษฐานไว้ที่พระปฐมเจดีย์ นครปฐม แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน จนเมื่อพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลของ
พระองค์ในปี พ.ศ. ๒๔๑๒ (ค.ศ. 1869) จึงอัญเชิญพระพุทธอังคีรสมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ
(ศิลปากร ๒๕๓๑, ๑๔)

รูปที่ ๕.๒๘ พระพุทธสิริ


สร้างปีพ.ศ. ๒๓๙๙ (ค.ศ. 1856)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๖๒ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดโสมนัสวิหาร
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๕.๒๙ พระพุทธอังคีรส


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๑๕ (ค.ศ. 1872)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
หน้าตักกว้าง ๑.๑๒ เมตร
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
กรุงเทพมหานคร

๑๙๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระบรมชนกาธิราช ซึ่งเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดราชาธิวาส
วิหาร เมื่อครั้งยังเป็นวัดสมอราย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริว่า

พระสัมพุทธพรรณีเปนพระซึ่งทูลกระหม่อมทรงสร้างขึ้นในวัดราชาธิวาส ประจุ
พระสุพรรณบัตร และดวงพระชันษา เปนพระที่สมควรจะอยู่ในวัดนี้ แต่องค์
เดิมที่จะเชิญกลับออกมาไม่ได้เปนอันขาด จึงเห็นควรจะหล่อจำลองขึ้นใหม่
(พระราชหัตถเลขา ๒๕๑๔, ๑๙๖ - ๑๙๗)

จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการออกแบบปั้น (รูปที่ ๕.๓๐) โดยถ่าย
แบบจากพระสัมพุทธพรรณีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ดูรูปที่ ๓.๗๖) และโปรดเกล้าฯ
ให้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระศกพระสัมพุทธพรรณีจำลอง แต่พระองค์เสด็จสวรรคตก่อนที่จะ
ประดิษฐานพระพุทธรูปในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงอัญเชิญพระสัมพุทธพรรณี
จำลองไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดราชาธิวาสวิหาร ตามพระราชประสงค์ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ (ค.ศ.
1919) พร้อมกับบรรจุพระราชสรีรางคารสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ใต้พุทธ
บัลลังก์อีกด้วย

รูปที่ ๕.๓๐ พระสัมพุทธพรรณีจำลอง


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ. 1909)
สัมฤทธิ์กะไหล่ทอง
หน้าตักกว้าง ๔๐ เซนติเมตร
สูง ๕๔ เซนติเมตร
วัดราชาธิวาสวิหาร
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๙๓
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓ / ค.ศ. 1868 – 1910)
เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) สร้างพระวิหารใหม่ถวายหลวงพ่อโต วัดไชโยวรวิหาร
อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้ทรงสร้าง
ไว้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เมื่อกระทุ้งรากพระวิหาร ความกระเทือนส่งให้
พระพุทธรูปพังลงมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระโตขึ้นใหม่
(รูปที่ ๕.๓๑) โดยครองจีวรและพาดสังฆาฏิตามแบบพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกาย เสร็จสมบูรณ์ในปี
พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. 1895) (ศิลปากร ๒๕๒๕ ก, ๘๘ – ๘๙)

รูปที่ ๕.๓๑ “หลวงพ่อโต”


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. 1895)
ก่ออิฐถือปูน หน้าตัก ๑๖.๑๔ เมตร
วัดไชโยวรวิหาร
อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

๑๙๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ (ค.ศ. 1910) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาขึ้นตามขัตติยราชประเพณี
พระพุทธรูป ๓๐ องค์ ซึ่งไม่มีฉัตรกั้น ถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนเท่ากับปีพระชนมพรรษาเมื่อยังมิได้เสด็จขึ้น
ครองราชย์ และเมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชย์แล้วจึงสร้างเพิ่มขึ้นอีกเป็นประจำทุกๆ ปี โดยมีฉัตรกั้นเป็นองค์
ประกอบเพิ่มเติมขึ้นมา จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในอีก ๑๕ ปีต่อมา พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ (ดูรูปที่
๓.๓๔) ครองจีวรห่มคลุมแบบพระภิกษุในธรรมยุติกนิกายเมื่อออกนอกพระอาราม กล่าวคือการนำผ้า
สังฆาฏิคลี่ออกเป็นผืนแล้ววางซ้อนทับกับอุตราสงค์หรือจีวร จากนั้นจึงครองผ้าขึ้นห่มคลุมพร้อมกันทั้ง
สองผืน ริ้วผ้าทำเป็นริ้วตามธรรมชาติ แต่พระเศียร พระเมาลี เม็ดพระศก และพระรัศมีทำตามแบบ
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประทับเหนือฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ทอดตรงด้านหน้าประดับด้วยวัชระ
ในกรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

กระแสจากวัฒนธรรมตะวันตกที่เน้นความเป็นธรรมชาติ และความเหมือนจริง รวมทั้งฝีมือช่าง
ชาวอิตาเลียน ส่งผลให้พระประธานในพระวิหาร หรือศาลาสมเด็จพระอัยยิกา วัดราชาธิวาสวิหาร (รูปที่
๕.๓๒) ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๘ / ค.ศ. 1910 – 1925) โปรด
เกล้ า ฯ ให้ ส ร้ า งเป็ น อนุ ส รณ์ ถ วายแด่ ส มเด็ จ พระปิ ย มาวดี ศ รี พั ช ริ น ทร์ ม าตา (เจ้ า จอมมารดาเปี่ ย ม
ในรัชกาลที่ ๔) พระราชอัยยิกา มีพุทธลักษณะที่แตกต่างไปจากพระพุทธรูปที่เคยมีมาแต่อดีต ทั้งนี้
เพราะว่าพระพุทธรูปมิได้เป็นพระปฏิมาจำลอง หรือรูปเลียนแบบอีกต่อไป แต่เป็นพระพุทธรูปซึ่งช่าง
จินตนาการขึ้นมาตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง ซึ่งต้องการพระพุทธรูปแบบคันธารราษฎร์ ของอินเดีย
แต่คงไว้ซึ่งความเป็นมนุษย์ ครองจีวรห่มดองทาบชายด้านหลังแบบพระภิกษุคณะมหานิกาย (พระมหา
สมณวินิจฉัย ๒๕๑๔, ๑๐๓)

รูปที่ ๕.๓๒ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ


สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๘
(ค.ศ. 1910 – 1925)
ศาลาสมเด็จพระอัยยิกา
วัดราชาธิวาสวิหาร
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๙๕
แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงมี “พระราชจริยาวัตรแบบผู้ดีอังกฤษ”
(ประยุทธ ๒๕๑๕, ๓๓๗) เพราะได้ทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่ในประเทศนั้นนานถึง ๑๐ ปี แต่ก็ทรงห่วงใยใน
อนาคตของศิลปะและงานช่างของไทย อันเห็นได้จากที่พระองค์ทรงก่อตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้นในปี พ.ศ.
๒๔๕๗ (ค.ศ. 1914) และเสด็จฯ ไปทรงเปิดงานการแสดงนิทรรศการฝีมือของนักเรียนเป็นประจำทุกปี
จนสิ้นรัชกาล (Vella 1978, 232 – 233) นอกจากนั้นแล้วยังทรงพระราชนิพนธ์ยกย่องงานช่างไทย เป็น
กำลังใจให้แก่ช่างว่า

อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
ใคร ๆ เห็นไม่เป็นที่จำเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย...
กรุงไทยศรีวิไลทันเพื่อนบ้าน จึงมีช่างชำนาญวิเลขา
ทั้งช่างปั้นช่างเขียนเพียรวิชา อีกช่างสถาปนาถูกทำนอง...
ควรไทยเราช่วยบำรุงวิชาช่าง เครื่องสำอางแบบไทยสโมสร
ช่วยบำรุงช่างไทยให้ถาวร อย่าให้หย่อนกว่าเขาเราจะอาย
(มหาวชิราวุธ ๒๔๖๘, ๕๖ – ๕๗)

ดังนั้นเมื่อพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธนิรโรคันตราย (ดูรูปที่ ๓.๙๘) จึงมีพุทธลักษณะ
เป็นพระพุทธรูปแบบสุโขทัยประยุกต์ ซึ่งสอดคล้องกับพระราโชบายชาตินิยมของพระองค์

ในรัชกาลปัจจุบันได้มีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก สำหรับพระพุทธรูป
ประทั บ ขั ด สมาธิ ร าบ ปางสมาธิ มี ตั ว อย่ า งคื อ พระพุ ท ธธรรมกายมงคล ปยุ ร เกศานนท์ สุ พ พิ ธ าน
วัดพุทธาธิวาส อำเภอเบตง จังหวัดยะลา (รูปที่ ๕.๓๓) ซึ่งคณะผู้จัดสร้างนำโดย สมเด็จพระมหา
รัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร นิยามปางสมาธิ
ว่า “ปางพระธรรมกาย” พระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์นี้ หล่อขึ้นที่เมืองนานกิง สาธารณรัฐประชาชนจีนโดย
บริษัท ไชน่า แอสโตรนอติค ไซเอินซ์ แอนด์ เทคโนโลยี คอปอเรชั่น (China Astronautic Science
and Technology Corporation) ซึ่งเป็นบริษัทที่เคยสร้างพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ ที่เกาะลันเตา
เมืองฮ่องกงมาแล้ว และยังมีเทคโนโลยีทันสมัย เพราะเป็นบริษัทสร้างจรวดสำหรับส่งดาวเทียม ดังนั้น
พระพุทธรูปองค์นี้จึงมีความแข็งแรงมั่นคงสามารถรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ถึง ๗ ริกเตอร์
(สมโภช ๒๕๔๓, ๒๙ – ๓๐)

รูปที่ ๕.๓๓ พระพุทธธรรมกายมงคล


ปยุรเกศานนท์ สุพพิธาน
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๗
(ค.ศ. 1993 - 1994)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๙.๙ เมตร
สูง ๑๔.๓๙ เมตร
วัดพุทธาธิวาส อำเภอเบตง
จังหวัดยะลา

๑๙๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๙๗
๒.๔ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ สมัยล้านนา

(๑) ช่วงก่อตั้งอาณาจักรล้านนา พ.ศ. ๑๘๓๙ – ๑๘๙๘ (ค.ศ. 1296 – 1355)

ในช่วงระยะเวลานี้ คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะส่งอิทธิพลให้กับอาณาจักรล้านนา สืบต่อเนื่องมาจาก
สมัยมอญหริภุญไชย พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในสมัยนี้มีพุทธลักษณะเดียวกันกับที่สร้างขึ้นในรัฐกัมโพช
และรัฐสยาม เช่นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ครองจีวรห่มคลุม นาคปรก ที่วัด
พระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๕.๓๔) ยกเว้นแต่นาคซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มขึ้น
ทีหลัง นอกจากพระพุทธปฏิมาแล้ว พระพิมพ์ที่พบที่เวียงท่ากาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ยังเป็น
พิมพ์เดียวกันกับที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และราชบุรี อีกด้วย
(Krairiksh 1985, 10)

(๒) ช่วงอาณาจักรล้านนา
- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิที่สร้างขึ้นในล้านนานั้นมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบ
กับจำนวนของพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย และจากรูปแบบแล้วเห็นได้ว่าส่วนใหญ่
สร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔ – ๒๐๓๐ / ค.ศ. 1487 – 1495) ทั้งนี้เพราะใน
รัชสมัยของพระองค์มีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง และเป็นยุคสมัยที่มีการสร้างพระพุทธปฏิมาที่
มีความหลากหลายมากกว่ารัชกาลอื่นๆ

พระพุทธปฏิมาที่อาจจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้แก่พระพุทธปฏิมาในวิหารสมเด็จฯ
รูปที่ ๕.๓๔ พระสมณโคดมนาคปรก
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (รูปที่ ๕.๓๕) ซึ่งทั้งพุทธลักษณะและรูปแบบของฐานบัวหงาย เทียบเคียง
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14) ได้กับพระพุทธปฏิมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดพระธาตุหริภุญไชย ลำพูน (ดูรูปที่ ๕.๕๙) ซึ่งมีจารึก
สัมฤทธิ์ เทียบเท่าปี พ.ศ. ๒๐๓๒ (ค.ศ. 1489) (Griswold 1957, 82, Pl. XV)
วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง
จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนพระพุทธปฏิมาที่มีชายจีวรพับทบกันยาวจรดพระนาภี (รูปที่ ๕.๓๖) ซึ่งน่าจะจำลองแบบมา
จากพระพุทธปฏิมาที่เมืองสวรรคโลกเก่า (อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย) (ดูรูปที่ ๕.๔๐) เช่นกัน

รูปที่ ๕.๓๕ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้น ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูง ๗๘ เซนติเมตร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๕.๓๖ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้น ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูง ๕๑.๕ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

๑๙๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๒.๕ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ สมัยล้านช้าง

(๑) ช่วงอาณาจักรล้านช้าง พ.ศ. ๑๙๓๖ – ๒๒๔๖ (ค.ศ. 1393 – 1703)

เช่นเดียวกันกับกรณีของล้านนา พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ที่สร้างขึ้นใน
ดินแดนด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง ตั้งแต่บริเวณจังหวัดเชียงราย จนถึงจังหวัดอุบลราชธานีใน
ปัจจุบัน ซึ่งก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง มีจำนวนน้อยกว่าพระพุทธ-
ปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยมาก

พระพุทธปฏิมาที่อาจจะสร้างขึ้นในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16)
น่าจะได้แก่ พระแสง วัดศรีเทพประดิษฐาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครพนม (รูปที่ ๕.๓๗) พระพุทธรูป
องค์นี้มีพุทธลักษณะของพระพุทธรูปล้านช้าง เช่น พระรัศมีเป็นเปลวสูง ประดับแก้ว หรืออัญมณี
พระศกเป็นก้นหอยแบบหนามขนุน คล้ายกับพระพุทธรูปอยุธยา พระขนงโก่งยกขอบสูง พระนาสิกโด่ง
ชายจีวรทำเป็นแถบยาวจรดพระนาภี พระพุทธรูปองค์นี้เทียบได้กับพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในรัชกาล
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. ๒๐๙๓ – ๒๑๑๕ / ค.ศ. 1550 – 1572) เช่น พระเจ้าองค์ตื้อ วัดศรีชมภูองค์ตื้อ
อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย (ดูรูปที่ ๕.๑๑๐) ซึ่งมีจารึกเทียบได้กับปี พ.ศ. ๒๑๐๕ (ค.ศ. 1562)
(สงวน รอดบุญ ๒๕๔๕, ๘๕)

(๒) ช่วงประเทศราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๓๓๒ – ๒๔๓๖ (ค.ศ. 1789 – 1893)
รูปที่ ๕.๓๗ พระแสง
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ในสมัยสมเด็จพระราชเชษฐา หรือเจ้าอนุวงศ์ ปกครองรัฐเวียงจันท์ (พ.ศ. ๒๓๔๕ - ๒๓๗๑ / ค.ศ.
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษีที่ 16) 1802 – 1828) ได้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนา ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากจำนวนของวัด และพระพุทธปฏิมาที่สร้าง
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๒๓ เมตร
วัดศรีเทพประดิษฐาราม อำเภอเมืองฯ ขึ้นในรัชกาลของพระองค์ (เรื่องเดียวกัน, ๑๐๒ - ๑๐๔) ที่สำคัญได้แก่ พระพุทธปฏิมาที่พระองค์ให้หล่อ
จังหวัดนครพนม ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ (ค.ศ. 1826) (รูปที่ ๕.๓๘) (ศิลปากร ๒๕๓๒, ๒๑๑) ที่แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของ
ฐานพระพุทธปฏิมาล้านช้าง ที่มุมของลวดบัวงอนขึ้น พระพุทธปฏิมาอีกองค์หนึ่งซึ่งน่าจะสร้างขึ้นใน
รัชกาลเดียวกัน แสดงให้เห็นอิทธิพลจาก พระพุทธรูปรัตนโกสินทร์ร่วมสมัย (รูปที่ ๕.๓๙)
รูปที่ ๕.๓๘ พระพุทธรูปพระราชเชฏฐา
จารึกปี พ.ศ. ๒๓๖๙ (ค.ศ. 1826)
สัมฤทธิ์ สูง ๓๖.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

รูปที่ ๕.๓๙ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ


จากวัดพระเหลาเทพนิมิตร
อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(ต้นคริสต์ศตวรรษีที่ 19)
สัมฤทธิ์ สูง ๔๖.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๑๙๙
หมวด ข.
ปางสมาธิ นาคปรก

เมื่อครั้งลัทธิวัชรยานของกัมพูชาเฟื่องฟูในระหว่างต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ต้น ๑๙ (กลางคริสต์
ศตวรรษที่ 10 - กลาง 13) นั้น พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก เป็นที่นิยมแพร่
หลาย เพราะเป็นบุคลาธิษฐานของพระวัชรสัตว์พุทธะ หรือพระปฐมพุทธเจ้า (ดูรูปที่ ๔.๑๘) โดยเฉพาะใน
รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ - ๑๗๕๗? / ค.ศ. 1181 - 1214?) ซึ่งแสดงภาพเป็น
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรกทรงเครื่อง แต่เมื่อลัทธิวัชรยานของกัมพูชาสิ้น
สลายลง พร้อมกับอานุภาพของราชอาณาจักร การสร้างพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
นาคปรกทรงเครื่อง จึงสิ้นสุดลง

๓. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก

๓.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก สมัยอยุธยา

ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก กลับมาฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่งในอาณาจักร
อยุธยา สมัยวงราชธานี แต่พระพุทธปฏิมาก็มิได้ทรงสวมอุณหิส หรือตกแต่งทรงเครื่องด้วยอาภรณ์ใดๆ
เพราะเป็นพระสมณโคดมประทับบนขนดของพระยานาคมุจลินท์ เช่น พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ
นาคปรก ปูนปั้นในซุ้มคูหาด้านทิศเหนือของวิหารยอดสถูป วัดเจดีย์เจ็ดแถว อุทยานประวัติศาสตร์
ศรีสัชนาลัย (รูปที่ ๕.๔๐) พระพุทธปฏิมาองค์นี้ประทับเหนือขนดนาคเจ็ดชั้น เรียวลดหลั่นกันจากตอน
บนถึงตอนล่าง นาคมีเก้าเศียร เป็นที่น่าเสียดายว่าเศียรพระพุทธปฏิมาเดิมถูกโจรกรรมไป แต่พระเศียร
ใหม่ถอดพิมพ์จากแม่พิมพ์ของเศียรเดิมที่กรมศิลปากรถอดพิมพ์เก็บไว้ จึงเหมือนของเดิมทุกประการ
กำหนดอายุเวลาจากสถาปัตยกรรมของวิหารหลังนี้ว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18) (พิริยะ ๒๕๔๕, ๖๓ – ๗๐)

รูปที่ ๕.๔๐ พระสมณโคดมนาคปรก


พุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18)
ปูนปั้น
วัดเจดีย์เจ็ดแถว
อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย

๒๐๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๓.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก สมัยรัตนโกสินทร์

พระประธานในพระอุโบสถวัดศรีคุณเมือง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (รูปที่ ๕.๔๑) เป็น
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ นาคปรก ซึ่งจากพุทธลักษณะเห็นได้ว่าเป็นการผสมผสานระหว่างรูป
แบบของพระพุทธปฏิมาสมัยรัตนโกสินทร์กับค่านิยมของท้องถิ่น เช่น ปลายนิ้วพระหัตถ์ยกขึ้น เช่นเดียว
กับการสร้างพระพุทธปฏิมานาคปรกที่นำเอาความเชื่อเรื่องพญานาคในลุ่มแม่น้ำโขงเข้ามาเป็นองค์
ประกอบสำคัญของพระพุทธปฏิมา ส่วนพระพุทธปฏิมานาคปรกไม้ (รูปที่ ๕.๔๒) ลงรักปิดทอง ประดับ
กระจก อาจจะสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

รูปที่ ๕.๔๒ พระสมณโคดมนาคปรก


พุทธศตวรรษที่ ๒๔
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19)
ไม้แกะสลักลงรักปิดทอง
สูง ๙ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น

รูปที่ ๕.๔๑ พระสมณโคดมนาคปรก


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19)
ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๑.๒๗ เมตร
วัดศรีคุณเมือง
อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๐๑
หมวด ค.
ปางสมาธิ ทรงเครื่อง

ในช่วงที่ลัทธิวัชรยานของกัมพูชา เป็นศาสนาหลักของราชอาณาจักร คือรัชสมัยของพระเจ้า
ชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ - ๑๗๕๗? / ค.ศ. 1181 - 1214?) ได้มีการสร้าง พระไภษัชยคุรุไวฑูรย
ประภาขึ้นเป็นจำนวนมาก พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา คือ พระพุทธเจ้าที่ลัทธิมหายานสร้างขึ้นเพื่อรักษา
โรคภัยไข้เจ็บ (Birnbaum 1979) ประดิษฐาน เป็นพระประธานในอโรคยศาล ที่พระองค์ได้ทรงสร้างขึ้น
ทั่วพระราชอาณาจักร ซึ่งหลังจากพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ห้าปี ทรงสร้างอโรคยศาลขึ้นถึง ๑๐๒
แห่ง (พิริยะ ๒๕๔๔, ๑๑๗ - ๑๒๐) พระไภษัชยคุรุ มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ
ปางสมาธิ ทรงเครื่อง นาคปรก เหมือนกับพระวัชรสัตว์พุทธะ (ดูรูปที่ ๔.๑๘) ทุกประการ ยกเว้นแต่ทรง
ครองจีวรห่มดอง ชายจีวรพับทบลงเหนือพระอังสาซ้าย และทรงถือหม้อน้ำมนต์ ที่มีฝาหัวเม็ดทรงมัณฑ์
ในพระหัตถ์ขวา ซึ่งพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบูรณ์ (รูปที่ ๕.๔๓) มี
พุทธลักษณะที่สอดคล้องกับพระไภษัชยคุรุ ทุกประการ ยกเว้นแต่ขนดและพังพานของพญานาคที่ได้
สูญหายไป

การสร้างรูปพระไภษัชยคุรุ สิ้นสุดลงพร้อมกับการล่มสลายของลัทธิวัชรยานของกัมพูชาในช่วง
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13) นิกายเถรวาทคณะมหาวิหาร จากลังกา ที่เข้ามา
แพร่หลายในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14) เน้นการสักการบูชา พระสมณโคดม
จึงไม่มีการสร้างพระพุทธะองค์อื่น ๆ อีกต่อไป ยกเว้นพระศรีอาริยเมตไตรย หรือพระศรีอาริย์ ซึ่งเป็น
พระอนาคตพุทธเจ้า ขณะนี้พระองค์คือพระโพธิสัตว์ที่กำลังบำเพ็ญสมาธิประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต
คัมภีร์จุลวงศ์ ของลังกากล่าวถึงพระเจ้าธาตุเสน (พ.ศ. ๑๐๐๐ – ๑๐๑๖ / ค.ศ. 457 – 473) ว่าพระองค์
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องประดับพระพุทธปฏิมา และเครื่องทรงอย่างพระราชาธิบดีถวายแด่องค์พระ
เมตไตรย ดังนั้นพระศรีอาริยเมตไตรย จึงสร้างเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพระจักรพรรดิราช
ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ

รูปที่ ๕.๔๓ พระพุทธมหาธรรมราชา


(พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา)
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 – ต้น 13)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๓๓ เซนติเมตร
สูง ๕๖ เซนติเมตร
วัดไตรภูมิ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบูรณ์

๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๐๓
๔. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ทรงเครื่อง

๔.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ทรงเครื่อง สมัยอยุธยา

(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

พระศรีอารย์ ได้แก่ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ครองจีวรห่มดอง ทรงเครื่อง
ทั้งนี้เพราะปัจจุบันพระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญสมาธิอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต (Listopad
1995, 418) ซึ่งสอดคล้องกับความปรารถนาของผู้ที่สร้าง ดังที่ปรากฏบ่อยครั้งในจารึก ที่ขอไปเกิดใหม่
เมื่อพระศรีอาริยเมตไตรยอุบัติขึ้น ให้ได้สดับธรรมเทศนาของพระองค์ และบรรลุนิพพานพร้อมกับ
พระองค์

พระพุทธปฏิมาสวมอุณหิส พระเมาลีทรงเจดีย์สูง ครองจีวรห่มดอง ทรงกรองศอ ทับทรวง
พาหุรัด และทองพระกร (รูปที่ ๕.๔๔) ประทับบนฐานหน้ากระดานทรงรูปไข่ รองรับด้วยฐานเขียง
กำหนดอายุได้จากการเปรียบเทียบกับอุณหิส และอาภรณ์ของพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางประทานอภัย
พบในพระอุระและพระพาหาเบื้องซ้ายของพระมงคลบพิตร (ณัฏฐภัทร ๒๕๔๙, ๖ – ๓๓) อยู่ในช่วงกลาง
พุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16) เช่นกัน อนึ่งพระพุทธรูปในลักษณะเดียวกันนี้ยัง
พบที่เมืองมโรกอู (Mrauk – U) เมืองหลวงของรัฐยะไข่ (Arakan) (Gutman 2001, 150 – 152)
จึงเป็นไปได้ว่า พวกพม่าคงจะเอาไปเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ (ค.ศ. 1569)
และเมื่อพวกยะไข่ตีกรุงหงสาวดีได้ในปี พ.ศ. ๒๑๓๘ (ค.ศ. 1595) จึงนำไปไว้ที่ราชธานีของตน

รูปที่ ๕.๔๔ พระศรีอาริยเมตไตรย


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๒ เซนติมเตร
สูง ๒๘.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี

๒๐๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


(๒) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

รูปพระศรีอาริยเมตไตรยที่อาจจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – กลาง ๒๓ (คริสต์
ศตวรรษที่ 17) ได้แก่ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ไม่ครองจีวรแต่ฉลองพระองค์
อย่างพระมหากษัตริย์ ทรงสวมศิราภรณ์ กรองศอ ทับทรวง พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท พบที่
เมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย (รูปที่ ๕.๔๕) ถึงแม้ว่ารายละเอียดของศิราภรณ์ จะเทียบเคียงได้กับอุณหิสของ
พระพุทธปฏิมายืน ทรงเครื่องน้อย มีจารึกปี พ.ศ. ๒๐๘๔ (ค.ศ. 1541) (ดูรูปที่ ๘.๗๕) แต่ลวดลายของ
ลูกฟักที่ประดับกรองศอและรัดพระองค์ แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะอิสลาม ซึ่งน่าจะนำเข้ามาในช่วง
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – กลาง ๒๓ (คริสต์ศตวรรษที่ 17) (Listopad 1995, 420)

รูปที่ ๕.๔๕ พระศรีอาริยเมตไตรย พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ สวมอุณหิสได้มาจากพระวิหารราย รอบพระเจดีย์
(พบที่เมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย) ใหญ่สามองค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๕.๔๖) น่าจะได้แก่พระศรีอาริยเมตไตรย
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – กลาง ๒๓ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นหนึ่งในจำนวน ๒๔ องค์ ที่แต่เดิมประดิษฐานในพระวิหารราย มีปางสมาธิ ๒๒ องค์
(คริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑ เมตร เป็นพระอดีตพุทธะ (ดูรูปที่ ๕.๒๐) ส่วนปางมารวิชัยองค์เดียวนั้นเป็นพระสมณโคดม พระพุทธรูปทั้ง ๒๔
สูง ๑.๕๓ เมตร องค์มีพุทธลักษณะคล้ายกัน เช่น พระพักตร์ยาวรี เป็นต้น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
จังหวัดสุโขทัย

รูปที่ ๕.๔๖ พระศรีอาริยเมตไตรย


ได้จากวัดพระศรีสรรเพชญ์
พ.ศ. ๒๒๘๔ – ๒๒๘๗ ( ค.ศ. 1741 – 1744)
สัมฤทธิ์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๐๕
๔.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ทรงเครื่อง สมัยรัตนโกสินทร์

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. 1938) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อ
คณะศิ ษ ยานุ ศิ ษ ย์ ข องพระโพธิ ว งศาจารย์ ซึ่ ง ต่ อ มาได้ รั บ พระราชทานสมณศั ก ดิ์ เ ป็ น สมเด็ จ พระ
พุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดอนงคาราม ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปถวาย โดยเลียนแบบมาจากพระพุทธ-
มหาจักรพรรดิ พระประธานในพระอุโบสถวัดนางนอง กรุงเทพมหานคร (ดูรูปที่ ๕.๑๙๕) โดยปรับ
เปลี่ยนปางจากมารวิชัย มาเป็นปางสมาธิ (รูปที่ ๕.๔๗) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเหล่าศิษยานุศิษย์น่าจะได้รับ
แรงบันดาลใจจากความวิจิตรอลังการของเครื่องทรงพระพุทธมหาจักรพรรดิ์ มากกว่ามีจิตศรัทธาที่จะ
เกิดใหม่ พร้อมกับพระศรีอาริยเมตไตรย และบรรลุนิพพานพร้อมกับพระองค์ ดังเช่นในอดีต

รูปที่ ๕.๑๙๕ พระพุทธมหาจักรพรรดิ์ รูปที่ ๕.๔๗ พระพุทธมังคโล


พ.ศ. ๒๓๗๕ - ๒๓๘๔ สร้าง พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. 1938)
(ค.ศ. 1832 – 1841) สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๑๕ เมตร
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๒๕ เมตร สูง ๑.๒๐ เมตร
พระอุโบสถวัดนางนอง พระวิหารวัดอนงคาราม
กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร

๒๐๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๐๗
หมวด ง.
ปางมารวิชัย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพระพุทธปฏิมาที่
สร้างขึ้นในประเทศไทย และพุทธปฏิมาลักษณะนี้ก็เป็นที่รู้จักกันดี อันจะเห็นได้จากพระพุทธรูปสำคัญที่
พุทธศาสนิกชาวไทยศรัทธา เช่น พระพุทธชินราช พระมงคลบพิตร หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นต้น ซึ่งมี
เพียงบางองค์สามารถที่จะจำแนกเป็นหมวดหมู่ได้ตามพุทธลักษณะที่พ้องกัน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า
ปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะจำแนกเป็นหมวดหมู่ตามพระนามของพระพุทธปฏิมาสำคัญที่เป็นต้นแบบได้
ยกเว้นแต่ในกรณีของพระพุทธกัมโพชปฏิมา ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาที่มีการจำลองแพร่หลาย ตั้งแต่สมัย
กัมโพชจนถึงปัจจุบัน และพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

๕. พระพุทธกัมโพชปฏิมา

พระพุทธกัมโพชปฏิมา เป็นพระพุทธปฏิมาที่จำลองมาจากพระพุทธรูปต้นแบบในรัฐกัมโพช และนำ
ไปเผยแพร่หลังจากกัมโพชย้ายเมืองหลวงจากลพบุรีมาที่อยุธยา เมื่อพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยา
เป็นราชธานีในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ (ค.ศ. 1350) (ขจร ๒๕๒๓, ๑ – ๒, ๑๔) พระพุทธกัมโพชปฏิมาใช่แต่จะเป็น
ที่นิยมในภาคกลางเท่านั้น แต่ยังมีการจำลองแพร่หลายในล้านนา แต่ไม่เป็นที่นิยมในอาณาจักรสุโขทัย
และล้านช้าง โดยจำลองสืบทอดกันมาตลอด ๔๑๗ ปีของอาณาจักรอยุธยา และความนิยมก็สืบเนื่องจน
มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธกัมโพชปฏิมา มีพุทธลักษณะเด่น คือ พระพักตร์เหลี่ยม มีไรพระศก พระเกศาเป็นหนามขนุน
พระเมาลี เ ตี้ ย รั ศ มี เ ป็ น เปลวสู ง พระวรกายค่ อ นข้ า งเหลี่ ย ม ประทั บ ขั ด สมาธิ ร าบ ปางมารวิ ชั ย
พุทธลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับพระพุทธปฏิมาที่เซเดส์จำแนกไว้ในสมัยอู่ทอง กล่าวคือ มีรัศมีเป็น
เปลว มีไรพระศก พระอุระแบน ชายจีวรยาว พระหัตถ์ใหญ่ เป็นพระขัดสมาธิราบหมดทุกองค์ และยัง
แบ่งออกเป็นสองแบบ

ชะนิดที่ ๑ มีพระพักตร์สั้นรูป ๔ เหลี่ยม พระขนงตรง พระหนุป้าน (นักเล่น
พระพุทธรูปเรียกกันว่า “คางคน”) เหมือนรูปขอมสมัยลพบุรี แต่พระรัสมี
เปนเปลว... แบบนี้เคยพบที่เมืองลพบุรี เมืองชัยนาท เมืองสรรค์โดยมาก... ใน
สมัยหลัง ๆ ก็ยังมีช่างชอบแบบนี้เป็นคราว ๆ ยกตัวอย่างที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อ
พ.ศ. ๒๐๒๖ พระเจ้าติโลกราช โปรดให้หล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่เหมือนพระ
ละโว้ เดี๋ยวนี้ยังประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดศิริเกิด เมืองเชียงใหม่ ราษฎรเรียกกันว่า
“พระเจ้าแข้งคม” (ยอช เซเดส์ ๒๔๗๑, ๓๙)

ดังนั้นพระพุทธรูป “สมัยอู่ทอง ชะนิดที่ ๑” ของยอร์ช เซเดส์ จึงได้แก่ พระพุทธรูป “สมัยอู่ทอง
หมวดที่ ๒” ของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์

พระพุทธรูปแบบละโว้ก็คือ “พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง” เพราะ “กัมโพช” ใน ชินกาลมาลีปกรณ์
หมายถึง “ลพบุรี” (รัตนปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๘๘ (๒)) เพราะฉะนั้น พระพุทธรูปที่เซเดส์จำแนกไว้ใน
หมวดอู่ทอง “ชะนิดที่ ๑” และหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์จำแนกไว้ใน “หมวดที่ ๒” จึงได้แก่พระพุทธกัมโพช-
ปฏิมาจำลอง

๒๐๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๕.๑ พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง สมัยกัมโพช
พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

หลวงพ่อพนัญเชิง
พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง เป็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในราชอาณาจักรอยุธยา
ตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ (ค.ศ. 1350) อันเห็นได้จาก
“หลวงพ่อโต” หรือ “หลวงพ่อพนัญเชิง” (รูปที่ ๕.๔๘) ซึ่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ
หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ให้ข้อมูลว่า

จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗ / ค.ศ. 1324) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้า
เจ้าแพนงเชิง (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖, ๑๓๐)

หลวงพ่อพนัญเชิง น่าจะเป็นพระพุทธรูปที่นายฌาคส์ เดอ คูทร์ (Jacques de Coutre) พ่อค้าชาว
เฟลมมิช (Flemmish) หรือเบลเยียมในปัจจุบัน ผู้ได้ไปพำนักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๑๓๙
(ค.ศ. 1956) ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรได้บันทึกไว้ว่า

นอกกำแพงพระนครข้าพเจ้าเห็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิบนฐาน สร้างด้วย
ศิลาและอิฐทั้งองค์ โบกปูน ทาสี ปิดทอง เหนือพระเศียรมีฉัตรขนาดใหญ่ทำ
ด้วยผ้าทอง พระพุทธรูปองค์นั้นสูงและใหญ่มาก จนสามารถเห็นได้จากระยะ
ทางไกล ถึงเกือบ ๒๐ กิโลเมตร ทั้งๆ ที่สร้างบนพื้นที่ราบด้วยความอยากรู้
อยากเห็นข้าพเจ้าไปวัดพระนขา (เล็บ) ของพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) พระหัตถ์ขวา
ได้ความว่ากว้างกว่าห้ามือ และยาวประมาณกัน (de Coutre 1988, [n.p.])

ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิ ปางมารวิชัย และในรัชสมัยสมเด็จ
พระนเรศวรนั้นยังไม่ได้สร้างพระวิหารหลวงครอบองค์พระพุทธรูป

พระพุทธรูปองค์นี้คือ “พระพุทธเจ้าทรงนางเชิง ทรงนั่งสมาธิหน้าตัก ๑๐ ศอก อยู่ในพระวิหารวัด
พระนางเชิง” ซึ่งขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมจัดให้เป็น ๑ ใน “พระมหาพุทธปฏิมากรที่มีพุทธานุภาพเปน
หลักกรุง” ๘ องค์ (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ๒๕๓๔, ๒๕) พุทธานุภาพของ “หลวงพ่อพนัญ
เชิง” ยังเป็นที่ประจักษ์ เมื่อครั้งพระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงขอหลวงพ่อว่า “เดชะบุญญาภิสังขารของเราเรา
จะได้ครองไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ ด้วยกันเสร็จ ขอให้น้ำผึ้งย้อยหยดลงมา” น้ำผึ้งก็ไหลย้อยลงมา
กลั้ ว เรื อ พระที่ นั่ ง (ประชุ ม พงศาวดาร เล่ ม ๑ ๒๕๐๖, ๕๑) จนเมื่ อ ใกล้ จ ะเสี ย กรุ ง ครั้ ง ที่ ส องนั้ น
“เกิดลางร้ายต่างๆ คือ พระพุทธปฏิมากรใหญ่ที่วัดพนัญเชิงมีน้ำพระเนตรไหล” (คำให้การชาวกรุงเก่า
๒๔๕๗, ๑๖๓)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๐๙
๒๑๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๔๘ พระพุทธไตรรัตนนายก “หลวงพ่อพนัญเชิง” ในสมัยปัจจุบัน ผู้ใดมีทุกข์ร้อนเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ เกรงอุปัทวเหตุกิจการค้าไม่สำเร็จ ไม่สมหวัง
แรกสร้างปี พ.ศ. ๑๘๖๘ (ค.ศ. 1325) ในหน้าที่ราชการ ก็ไปนมัสการหลวงพ่อเป็นที่พึ่ง หากไปด้วยตนเองไม่ได้ ให้จุดธูปเทียนอธิษฐานขอให้
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๑๔.๒๐ เมตร หลวงพ่อช่วยคุ้มครองปกป้องรักษา “ถ้าผู้นั้นตั้งจิตระลึกด้วยความบริสุทธิ์ใจจริงๆ มักได้รับผลสมความ
สูง ๑๙.๒๐ เมตร มุ่งหมาย” และเมื่อสำเร็จสมความประสงค์แล้ว ก็จะถวายสักการะแก้บนด้วยงิ้วหรือละคร (ประวัติวัด
พระวิหารหลวงวัดพนัญเชิง พนัญเชิง ๒๕๐๔, ๑๘)
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อแรกสร้างนั้น “หลวงพ่อพนัญเชิง” น่าจะมีพุทธลักษณะของพระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง
คล้ายกับพระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลองทองคำ พบในกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ (รูปที่ ๕.๔๙) เช่นมี
พระมัสสุเป็นเส้นบางเหนือพระโอษฐ์ แต่จากการซ่อมแซมตลอดช่วง ๔๑๗ ปี ของกรุงศรีอยุธยา รวมทั้ง
การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (ค.ศ. 1901) หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้องค์พระพุทธรูป
และในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ (ค.ศ. 1928) เมื่อพระหนุพังทลายลงมา จึงทำให้พุทธลักษณะผิดเพี้ยนจากเดิม

รูปที่ ๕.๔๙ พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง


ได้จากกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14)
ทองคำ สูง ๑๘ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๑๑
๕.๒ พระพุทธกัมโพชปฏิมา สมัยอยุธยา

(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1351 – 1448)

พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลองสององค์ถูกค้นพบในกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(ดูรูปที่ ๕.๔๙) หาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ เชื่อถือได้ พระพุทธปฏิมา
สององค์นี้คงอัญเชิญบรรจุลงในกรุเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๑๗ (ค.ศ. 1374) เมื่อ “สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า
และพระมหาเถรธรรสากัลญาณ แรกสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ” (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖, ๑๓๑)
และเป็นไปได้ว่า พระพุทธปฏิมาอาจจะสร้างขึ้นก่อนหน้านั้นเล็กน้อย โดยจำลองแบบพระพักตร์จาก
พระพุทธปฏิมาศิลาที่ขุดพบได้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองฯ จังหวัด ลพบุรี โดยเฉพาะลักษณะของ
พระเนตร พระมัสสุ และพระโอษฐ์ (ยอช เซเดส์ ๒๔๗๑, รูปที่ ๒๙, ๓) แตกต่างกันตรงที่พระเมาลีของเศียร
พระพุทธปฏิมาศิลาเป็นกลีบบัวซ้อนกันสามชั้น พระรัศมีเป็นกรวยเรียบ แต่พระเมาลีของพระพุทธปฏิมา
ทองคำทรงเตี้ย มีพระรัศมีเป็นเปลวสูง และมีไรพระศก ซึ่งเป็นมหาบุรุษลักษณะประการที่ ๓๒ “อุณฺหิสสีโส”
ในมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ ที่กล่าวไว้ใน ลักขณสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ สุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎก
ของเถรวาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นค่านิยมของนิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร จากลังกา จึงเป็นไปได้ว่า รูปที่ ๕.๕๐ เศียรพระประธานในวิหารทรงธรรม
วัดธรรมมิกราช พระนครศรีอยุธยา
พระพุ ท ธกั ม โพชปฏิ ม าจำลองที่ พ บในกรุ วั ด มหาธาตุ นี้ อ าจจะสร้ า งขึ้ น ที่ ล พบุ รี โดยจำลองจากพระ ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๐
พุทธกัมโพชปฏิมา ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาสำคัญของเมืองนั้น (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ กว้าง ๑.๔๐ เมตร สูง ๑.๘๐ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
พระพุทธกัมโพชปฏิมาที่สร้างขึ้นในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ครึ่ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลังคริสต์ศตวรรษที่ 14) ยังคงรักษาความเป็นธรรมชาติในส่วนของพระ
พักตร์ เช่นเศียรจากวัดธรรมมิกราช พระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๕.๕๐) มี
ลักษณะคล้ายคนจริง โดยเฉพาะในส่วนของพระขนง พระนาสิก และ
พระโอษฐ์ แต่พระมัสสุหายไป พระเศียรนี้เป็นของพระประธาน
ในวิหารทรงธรรม ซึ่งกษัตริย์สมัยอยุธยาจะเสด็จมาฟัง
พระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนะเป็นประจำ (ศิลปากร
๒๕๑๑, ๗๗) ถึงแม้ว่าพระอารามหลวงแห่งนี้น่าจะได้
รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในช่วงครึ่งหลังของ
พุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 18)
(พิ ริ ย ะ ๒๕๔๒, ๗๓) แต่ พ ระประธานอาจจะเป็ น
พระพุทธปฏิมาที่มีมาแต่เดิม

๒๑๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ส่วนพระพุทธกัมโพชปฏิมาพุทธลักษณะเหมือนที่สร้างขึ้นในสมัยกัมโพชแต่มีความล่ำสันขึ้น พระชงฆ์
เป็นสันคม (รูปที่ ๕.๕๑) ต่อมาในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14) จึง
แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย (รูปที่ ๕.๕๒)

รูปที่ ๕.๕๒ พระพุทธกัมโพชปฏิมากรจำลอง


ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๙๗ เซนติเมตร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๕.๕๑ พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง


ได้จากวัดมหาธาตุ
อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๒๐ เมตร
สูง ๑.๕๐ เมตร
พระระเบียงพระอุโบสถ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๑๓
(๒) ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้น ๒๒ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16) นิยมสร้างพระพุทธปฏิมา
ที่มีพระเพลาแคบ เช่นองค์ที่ขุดได้ในเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๕.๕๓)
ความคมของพระชงฆ์หายไป และฐานเป็นฐานหน้ากระดานที่เว้าเข้าตรงกลาง เช่นองค์ที่ขุดได้ในกรุลึก
สุดใต้ฐานพระมหาธาตุเจดีย์ (ยอดทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย (รูปที่
๕.๕๔) ที่ฐานมีจารึกอักษรไทยภาษาไทยว่า “ตนนิกํพระเจาแมเอินไวในบรพารามนิ” (ประชุมศิลาจารึก
ภาคที่ ๔ ๒๕๑๓, ๒๖๗ – ๒๖๘) จึงเป็นไปได้ว่า “บรพาราม” ในจารึกหลักนี้ได้แก่ พระมหาธาตุสุโขทัยใน
ปัจจุบัน และหากเป็นเช่นนั้นจริง พระมหาธาตุเจดีย์ อาจจะสร้างขึ้นในสมัยที่สุโขทัยเป็นเมืองลูกหลวง
ของอยุธยา

(๓) สมัยวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลองที่สร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – กลาง ๒๓ (คริสต์
ศตวรรษที่ 16 – 17) มักจะมีพระเพลากว้าง ดังเช่นพระอดีตพุทธะ ๗ พระองค์ ในพระอุโบสถวัดชุมพล-
รูปที่ ๕.๕๓ พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง นิกายาราม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๕.๕๕) ซึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ขุดได้ในเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๗๓ (ค.ศ. 1630) (ศิลปากร ๒๕๒๕ ก, ๘๖ – ๘๗)
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ปลาย ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 – กลาง 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๔๔ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

รูปที่ ๕.๕๔ พระพุทธกัมโพชปฏิมากรจำลอง รูปที่ ๕.๕๕ พระอดีตพุทธะ ๗ พระองค์


ขุดได้ในกรุพระมหาธาตุ พระประธานวัดชุมพลนิกายาราม
วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ปลาย ๒๑ สร้างปี พ.ศ. ๒๑๗๓ (ค.ศ. 1630)
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 – กลาง 16) สัมฤทธิ์ พระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม
สัมฤทธิ์ สูง ๘๓ เซนติเมตร อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
จังหวัดสุโขทัย


๒๑๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๕.๓ พระพุทธกัมโพชปฏิมา สมัยรัตนโกสินทร์

เมื่อเจ้าอาวาสวัดชุมพรรังสรรค์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร สร้างพระประธานสำหรับพระ
อุโบสถขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ (ค.ศ. 1890) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์
โปรดที่จะจำลองพระพุทธปฏิมาที่มีลักษณะคล้ายพระกัมโพชปฏิมาจำลอง (รูปที่ ๕.๕๖) ถึงแม้ว่าพระ
เศียรของพระพุทธปฏิมาองค์นี้จะมิได้เลียนแบบจากพระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลองจากพระพุทธรูปอยุธยา
ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18) ก็ตาม แต่พระวรกายที่ยืดตรงตั้งฉากกับพระเพลา
และพระรัศมีเปลวสูง แสดงให้เห็นพุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมาในหมวดพระพุทธกัมโพชปฏิมา
ได้อย่างชัดเจน

อนึ่ง พระประธานวัดชุมพรรังสรรค์องค์นี้ ยังมีพระนามว่า “พระรอดสงคราม” เพราะว่าในช่วง
สงครามโลกครั้งที่ ๒ ภัยจากการทิ้งระเบิดทำให้พระอุโบสถโดนระเบิด แต่ด้วยพุทธานุภาพขององค์
พระพุทธปฏิมากร ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถจึงรอดพ้นจากภัยทางอากาศ

ส่วนพระพุทธปฏิมา ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน (รูปที่ ๕.๕๗) ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.
๒๕๓๗ (ค.ศ. 1994) นั้น ผู้สร้างจงใจที่จะจำลองพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตามที่ได้รับทราบมาจากตำรา
วิชาประวัติศาสตร์ศิลป์อย่างเคร่งครัด การจำลองพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง หรือพระพุทธกัมโพชปฏิมาขึ้น
ที่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน แสดงให้เห็นว่า ใช่แต่พระเจ้าติโลกราชเมื่อ ๕๑๑ ปีก่อนหน้านี้ที่โปรดให้จำลอง
พระพุทธรูป “แบบลวปุระ” (ดูรูปที่ ๕.๕๙) ขึ้น แต่ชาวอำเภอลี้ในปัจจุบันก็ยังเลื่อมใสศรัทธาในพุทธลักษณะ
ของพระพุทธกัมโพชปฏิมาจวบจนทุกวันนี้

รูปที่ ๕.๕๖ พระพุทธปฏิมากร


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๓๓
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๒๕ เมตร
สูง ๑.๘๔ เมตร
วัดชุมพรรังสรรค์
อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

รูปที่ ๕.๕๗ พระพุทธรูปแบบอู่ทอง


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๗ (ค.ศ. 1994)
ก่ออิฐถือปูน
วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๑๕
๒๑๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๕.๔ พระพุทธกัมโพชปฏิมา สมัยล้านนา

ช่วงอาณาจักรล้านนา
- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)

ชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึง พระพุทธกัมโพชปฏิมา ว่าในปี พ.ศ. ๒๐๒๖ (ค.ศ. 1483) พระเจ้าติโลกราช
โปรดให้หล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ พระพุทธรูปองค์นี้เชื่อกันว่าน่าจะได้แก่ “พระพุทธรูปแบบสมัย
อู่ทอง เรียกกันว่า พระเจ้าแข้งคม” (รัตนปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๑๔๘ (๒))

ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ หล่อที่วัดป่าตาลมหาวิหาร... ครั้น
หล่อเสร็จแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ประมาณ
๕๐๐ องค์ กับพระพุทธรูปแก้ว ทอง และเงิน จากหอพระธาตุส่วนพระองค์ มา
บรรจุไว้ในพระเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ (เรื่องเดียวกัน, ๑๑๙)

ในปี พ.ศ. ๒๓๔๒ (ค.ศ. 1799) พระเจ้ากาวิละโปรดให้ย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ (รูปที่ ๕.๕๘) จากวัด
ป่าตาล ซึ่งได้กลายเป็นวัดร้างไปประดิษฐานไว้ที่วัดศรีเกิด กลางนครเชียงใหม่ (ประชุมจารึกล้านนา เล่ม
๒ ๒๕๔๑, ๑๗๓)

พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลองเป็นที่นิยมในล้านนา ดังเห็นได้จากองค์ที่มีจารึกว่า ช่างหล่อบ้านสบลี
เป็นผู้สร้าง ในปี พ.ศ. ๒๐๒๒ (ค.ศ. 1479) ในสมัยพญาติโลกราช (รูปที่ ๕.๕๙) (ศักดิ์ชัย ๒๕๓๒, ๓๒)
และอีกองค์หนึ่งที่พญาแก้วโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานในปราสาทหอคำในอุโบสถวัดมหาโพธาราม
(วัดเจ็ดยอด) ในปี พ.ศ. ๒๐๖๖ (ค.ศ. 1523) (รัตนปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๑๔๘)

รูปที่ ๕.๕๘ พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง รูปที่ ๕.๕๙ พระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง


สร้างปี พ.ศ. ๒๐๒๒ (ค.ศ. 1479) สร้างปี พ.ศ. ๒๐๓๒ (ค.ศ. 1489)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๓๙ เมตร สัมฤทธิ์ สูง ๑.๓๐ เมตร
สูง ๒.๘๕ เมตร พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญไชย
วัดศรีเกิด อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดลำพูน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๑๗
๒๑๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๖. พระพุทธชินราช

พระพุทธชินราช มีจุดเริ่มต้นในประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากพระพุทธปฏิมาสำคัญองค์อื่น ๆ เช่น
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธสิหิงค์ และพระบางเจ้า ซึ่งแต่ละองค์มีพระประวัติที่เขียนขึ้นใน
ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 – กลาง 16) แต่ประวัติของพระพุทธชินราช
เริ่มปรากฏขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19) สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑ / ค.ศ. 1851 – 1868) เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ และ
เสด็จประพาสพิษณุโลกในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ (ค.ศ. 1833) ทรงมีความเลื่อมใสในความงามของพระพุทธชินราช
ที่ประดิษฐานในวิหารทิศตะวันตก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก และในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ (ค.ศ. 1866)
ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์ ตำนานพระชินราช พระชินศรี พระศรีศาสดา ซึ่งเนื้อหาแบ่งได้เป็น ๒ ตอน ตอน
แรกกล่าวถึงประวัติการหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยพระเจ้าศรีธรรม-
ไตรปิฎก ผู้ปกครองเมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นผู้สร้างเมืองพิษณุโลก โดยที่พระองค์ได้ทรงส่งพระราชสาส์น
ไปยังพระเจ้ากรุงสยาม ณ เมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลก ขอช่างพราหมณ์มาช่วยปั้นหุ่นพระพุทธรูป

เพราะเวลานั้นมีคนเล่าลือสรรเสริญช่างเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลกมาก ว่าทำ
พระพุ ท ธรู ป ได้ ง ามๆ ดี ๆ ... ถ้ า จะทำพระพุ ท ธรู ป ขึ้ น แต่ โ ดยลำพั ง ฝี มื อ ลาว
ชาวเมืองเชียงแสน กลัวเกลือกจะไม่งามดีสู้พระพุทธรูปเมืองเชียงแสนได้
(จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๒๔, ๘๘)

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ทรงเรียบเรียงขึ้นใหม่จาก พงศาวดารเหนือ และทรง
เพิ่มเติมเรื่องการหล่อ “พระเหลือ” ซึ่งไม่มีใน พงศาวดารเหนือ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า-
นภาลัย เมื่อครั้งยังเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีรับสั่งให้พระวิเชียรปรีชา (น้อย) เป็นผู้รวบรวม
พงศาวดารฉบับนี้ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๐ นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรง
คำนวณวันเวลาที่ระบุไว้ในตำนานเล่มนั้นว่า พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาหล่อในปี พ.ศ. ๑๔๙๘
(ค.ศ. 955) และพระพุทธชินราชหล่อขึ้นในปี ๑๕๐๐ (ค.ศ. 957) “หย่อนอยู่เจ็ดวัน” (เรื่องเดียวกัน, ๙๐)

ส่วนตอนหลังทรงกล่าวโดยละเอียดถึงการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัย
อยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงได้ข้อมูลมาจาก พระสยามราชพงศาวดาร สันนิษฐานว่าน่าจะได้แก่
พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (พระราชพงศาวดาร
กรุงสยาม ๒๕๐๗) ซึ่งชำระขึ้นใหม่โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ที่มีเหตุการณ์เกี่ยวกับพระพุทธชินราชสรุปได้ดังต่อไปนี้

- พ.ศ. ๑๙๒๗ (ค.ศ. 1384) สมเด็จพระราเมศวร เสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ และเสด็จกกลับทาง
พิษณุโลก ทรงเปลื้องเครื่องต้นถวายเป็นสักการะพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์
- พ.ศ. ๒๑๐๗ (ค.ศ. 1564) เมื่อสมเด็จพระนเรศวร เสด็จกลับจากไปตีเมืองหงสาวดี จึงเปลื้อง
เครื่องทรงออกบูชาพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์
- พ.ศ. ๒๑๓๔ (ค.ศ. 1591) สมเด็จพระเอกาทศรฐ โปรดให้เอาทองนพคุณเครื่องต้นมาแผ่เป็น
ทองประพาศรี (ทองคำเปลว) แล้วเสด็จไปปิดองค์พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ด้วยพระหัตถ์
- พ.ศ. ๒๒๐๓ (ค.ศ. 1660) สมเด็จพระนารายณ์ เสด็จกลับจากตีเมืองเชียงใหม่ แวะนมัสการ
พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ อีก ๒ ปีต่อมาจึงเสด็จไปนมัสการอีกครั้งหนึ่ง
รูปที่ ๕.๖๐ พระพุทธชินราช - พ.ศ. ๒๒๔๓ (ค.ศ. 1700) สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือสมเด็จพระเจ้าเสือเสด็จไปนมัสการ
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓ พระพุทธชินราช เมื่อครั้งเสด็จไปสร้างวัดโพธิ์ประทับช้าง ที่พิจิตร
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 )
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๘๕ เมตร - พ.ศ. ๒๒๘๒ (ค.ศ. 1739) สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ โปรดให้สร้างบานประตูมุกคู่หนึ่ง
สูง ๓.๕๐ เมตร ถวายพระพุทธชินราช
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๑๙
๒๒๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
- พ.ศ. ๒๓๑๓ (ค.ศ. 1770) สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อเสด็จไปปราบเจ้าพระฝางที่สวางคบุรี
เมื่อถึงพิษณุโลก เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
และทรงเปลื้องพระภูษาบูชาพระพุทธชินราช

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จพระบวรราชเจ้า-
มหาสุรสิงหนาท เมื่อครั้งรับราชการในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่างก็เสด็จไปนมัสการพระ
พุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ด้วยกันทุกพระองค์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พระองค์แรกที่
เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราช เมื่อครั้งทรงดำรงพระสมณศักดิ์เป็นพระวชิรญาณมหาเถระในปี
พ.ศ. ๒๓๗๖ (ค.ศ. 1833) (ปวเรศวริยาลงกรณ์ ร.ศ. ๑๑๖, ๓๕๕๔) และเมื่อครั้งขึ้นครองราชยสมบัติแล้ว
ก็เสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระพุทธชินราชอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ (ค.ศ. 1866) (ทิพากรวงศ์
๒๕๔๗, ๓๐๐) ในครั้งนั้นได้ทรงพาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงผนวชเป็น
สามเณรไปด้วย (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๑๗, ๔๒) จึงเท่ากับการสร้างค่านิยมในความงามขององค์
พระพุทธชินราชพระราชทานแก่พระราชโอรสด้วย ดังที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ชื่นชมพระพุทธชินราช
และพระพุทธชินสีห์ว่า

พระพุทธชินราช (รูปที่ ๕.๖๐) พระพุทธชินศรี (รูปที่ ๕.๖๑) สองพระองค์นั้น
งามแหลมแก่ตามากกว่าพระพุทธรูปใหญ่น้อยบรรดามีในแผ่นดินสยาม ทั้งปักษ์ใต้
ฝ่ายเหนือ และตลอดการนานมาถึง ๙๐๐ ปี มีผู้เลียนแบบปั้นเอาอย่างไปมากก็หลาย
ตำบล จะมีพระพุทธรูปที่คนเปนอันมากดูเห็นว่าเป็นดีเป็นงามกว่าพระพุทธชินราช
และพระพุทธชินศรีสององค์นี้ไปก็ไม่มี (จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๒๔, ๙๖)

ดังนั้นองค์ความรู้เกี่ยวกับการหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา รวมทั้ง
รายพระนามของพระมหากษัตริย์ทั้งในสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี ที่เสด็จไปนมัสการพระพุทธรูปทั้ง
๓ องค์นี้ จึงมีต้นตอที่พระราชนิพนธ์ตำนานพระชินราช พระชินศรี และพระศรีศาสดา ในพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต่อมาสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพได้ทรงแก้ไขอายุเวลาของการหล่อพระพุทธรูปทั้ง
๓ องค์นี้เป็นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) โดยประทานเหตุผลว่า “พระเจ้าแผ่นดินซึ่งปรากฏ
พระเกียรติในเรื่องพระไตรปิฎกนั้นมีแต่พระองค์เดียว คือพระมหาธรรมราชาลิไทย... พระมหาธรรมราชา
นี้เองที่พงศาวดารเหนือเรียกว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก” และทรงกำหนดอายุเวลาของพระพุทธรูป
๓ องค์นี้ขึ้นใหม่ คือ “เมื่อราว พ.ศ. ๑๙๐๐” (ค.ศ. 1357) (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๖๐)

ด้วยเหตุผลข้างต้น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา จึงได้รับการนิยามให้เป็น
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย และเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปแบบพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นตัวอย่าง ๑ ใน
๕ แบบ ของพระพุทธปฏิมาสมัยสุโขทัย ซึ่งหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และอเล็กซานเดอร์ บี. กริสโวลด์
(Alexander B. Griswold) ได้ จ ำแนกไว้ ใ นหนั ง สื อ ศิ ล ปวั ต ถุ ใ นพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ เมื่ อ ปี
พ.ศ. ๒๔๙๕ (ค.ศ. 1952) (บริบาลบุรีภัณฑ์ และ เอ. บี. กริสโวลด์ ๒๔๙๕, ๓๒ – ๓๕)

อย่างไรก็ดี ตามข้อสันนิษฐานในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์
รูปที่ ๕.๖๑ พระพุทธชินสีห์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “การกำหนดอาายุเวลาและการจำลองพระพุทธชินราช
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก” ของพิชญา สุ่มจินดา (พิชญา ๒๕๔๘) ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ) ประจำคณะวิ จิ ต รศิ ล ป์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ได้ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น วิ ธี ก ารอั น เป็ น ที่ ม าขององค์ ค วามรู้ นั้ น
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๕๘ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ไม่สอดคล้องกับระเบียบวิธีวิจัยทางวิชาประวัติศาสตร์และวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ปัจจุบัน โดยเฉพาะ
กรุงเทพมหานคร การกำหนดอายุเวลาโดยการใช้หลักฐานประเภทตำนานไปเชื่อมโยงกับหลักฐานทางจารึก และนำเอาไป

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๒๑
กำหนดอายุเวลาของศิลปะโบราณวัตถุอีกต่อหนึ่ง นอกจากนั้นแล้วการศึกษาพระพุทธรูปเชิงงานศิลปะ
แบบตะวันตก ก็ไม่สอดคล้องกับสถานภาพของพระพุทธรูปซึ่งเป็นรูปจำลอง หรือพระพุทธปฏิมาที่มี
การเลียนแบบกันข้ามภูมิภาคและกาลเวลา

พิชญาได้กำหนดอายุเวลาของพระพุทธชินราชขึ้นใหม่จากพุทธลักษณะขององค์พระพุทธรูป จาก
รูปแบบของเรือนแก้ว โดยเทียบเคียงกับลวดลายบนซุ้มเรือนแก้วที่วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช
อายุเวลาของลวดลายดังกล่าวอาจกำหนดได้ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย และจากสถาปัตยกรรมของ
พระวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช รวมทั้งอายุเวลาของสิ่งก่อสร้างในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
พิษณุโลก โดยได้กล่าวถึง การสร้างพระวิหารหลวงทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารส
(พระศรีสรรเพชญจำลอง) ว่าสร้างขึ้นก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นจึงสร้างองค์ปรางค์พระมหาธาตุ แล้ว
จึงตามด้วยวิหารทิศทั้ง ๓ ขึ้นเพื่อประดิษฐาน พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา ในลำดับ
ต่อมา (แผนผังที่ ๑) ซึ่งวิธีการสร้างพระวิหารหลวงเป็นประธานหลักเสียก่อน แล้วจึงวางผังอาคารองค์
ประกอบอื่นเพิ่มขึ้นเช่นนี้ ดังที่ปรากฏกรณีวัดมหาธาตุ สุโขทัย หรือที่อื่นๆ ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน คือ
ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ / ค.ศ. 1656 – 1688)

แผนผังที่ ๑
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก

เนื่องจากพระพุทธชินราชเป็นพระพุทธปฏิมาองค์สำคัญซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับการสร้างที่
จารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นอกเสียจากหลักฐานประเภทตำนานใน พงศาวดารเหนือ ที่กล่าวว่า
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเป็นผู้สร้าง ซึ่งภายหลังต่อมา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนำมา
เชื่อมโยงกับบุคคลในประวัติศาสตร์ คือพระยาลิไทย ในปี พ.ศ. ๑๙๐๐ องค์ความรู้ที่รับทราบกันมาจน
ปัจจุบันจึงเข้าใจว่า พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระยาลิไทย หรือสมัยสุโขทัย
นั่นเอง นอกจากใช้วิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ศิลปะแล้ว พิชญายังชี้ให้เห็นว่าหากพระพุทธชินราชมีความ
สำคัญในทางประวัติศาสตร์มากถึงเพียงนี้แล้ว ก็น่าจะมีพระพุทธชินราชจำลองมากมายที่สร้างขึ้นใน
อดีตกาล แต่กลับปรากฏว่าเพิ่งเริ่มมีการจำลองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้นเอง
(พิชญา ๒๕๔๘)

๒๒๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๖.๑ พระพุทธชินราช สมัยอยุธยา

ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

การค้นคว้าของพิชญา สุ่มจินดา แสดงให้เห็นว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระ
ศรีศาสดา (รูปที่ ๕.๖๒) น่าจะหล่อขึ้นในสมัยอยุธยา (พิชญา ๒๕๔๘, ๑๓๙ – ๑๔๙) เพราะว่า พระพุทธชินราช
(ดูรูปที่ ๕.๖๐) เป็นหนึ่งในพระพุทธปฏิมาสามองค์ที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานในวิหารทิศ ล้อมองค์ปรางค์
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก (ดูแผนผังที่ ๑) โดยที่มีวิหารด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระอัฏฐารส
คือพระพุทธรูปยืนประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ขวา (ดูรูปที่ ๘.๓๓) วิหารด้านทิศตะวันออก หรือวิหารหลวงนี้
อาจจะสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๒ – ๒๑๙๙ / ค.ศ. 1629 – 1656)
โดยจำลองพระศรีสรรเพชญและพระวิหารของพระองค์ที่กรุงศรีอยุธยา (เรื่องเดียวกัน, ๑๔๐ – ๑๔๒)
หลังจากนั้นจึงสร้างปรางค์ประธานและระเบียงคดล้อมรอบ ต่อมาจึงสร้างวิหารทิศเพื่อประดิษฐาน
พระพุทธชินราช ในวิหารด้านทิศตะวันตก พระพุทธชินสีห์ (ดูรูปที่ ๕.๖๑) ในวิหารด้านทิศเหนือ และพระ
ศรีศาสดา (ดูรูปที่ ๕.๖๒) ในวิหารด้านทิศใต้ แทรกเข้าไปกลางระเบียงคดของแต่ละด้านในรัชสมัยของ
สมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ / ค.ศ. 1656 – 1688) พระพุทธปฏิมาทั้งสามองค์นี้มี
รูปที่ ๕.๖๒ พระศรีศาสดา พุทธลักษณะที่พ้องกัน คือมีนิ้วพระหัตถ์ที่ยาวเท่ากัน
พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑
(ค.ศ. 1656 – 1688) นอกจากพระพุทธปฏิมาสามองค์ที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีพระพุทธปฏิมาอีกสององค์ที่วัด
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๓ เมตร
วิหารพระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร ราชบูรณะ อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก องค์หนึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถ (รูปที่ ๕.๖๓) และ
กรุงเทพมหานคร อีกองค์หนึ่งเป็นพระประธานในพระวิหาร ซึ่งทั้งสององค์นี้มีนิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากัน และมีพุทธลักษณะ
ใกล้เคียงกับพระพุทธรูปสามองค์ข้างต้นทุกประการ แม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อทอดพระเนตรเห็นยังมีพระราชหัตถเลขาถึง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ
ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ ว่า “พระประธานเล่าก็ตั้งใจจะเอาอย่างพระชินราชด้วยกัน
ทั้งนั้น” (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๐๘, ๒๘ - ๒๙)

รูปที่ ๕.๖๓ พระสมณโคดม


พุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18)
สัมฤทธิ์
พระอุโบสถวัดราชบูรณะ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๒๓
๖.๒ พระพุทธชินราชจำลอง สมัยรัตนโกสินทร์ รูปที่ ๕.๖๗
พระพุทธชินราชจำลอง
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (ค.ศ. 1901)
ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ (ค.ศ. 1857) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๘๕ เมตร
พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ หล่อพระพุทธชินสีห์องค์น้อยขึ้น (รูปที่ ๕.๖๔) หกปีต่อมา จึงโปรดเกล้าฯ สูง ๓.๕๐ เมตร
พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ให้หล่อพระศรีศาสดาองค์น้อยขึ้นอีกองค์หนึ่ง (รูปที่ ๕.๖๕) และหลังจากที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร
ไปนมัสการพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก ในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ (ค.ศ. 1866) ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่ทรงพระราชนิพนธ์
ตำนานพระชินราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธชินราชองค์น้อยขึ้นอีกเป็นองค์ที่ ๓ (รูปที่ ๕.๖๖)
พระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ถูกนำมาประดิษฐานด้วยกันที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัด
ประจำรัชกาลของพระองค์ สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ (ค.ศ. 1865) และเป็นครั้งแรกที่มีการจำลอง
พระพุทธปฏิมาทั้งสามองค์นี้ (เรื่องเดียวกัน, 159 – 162)

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามขึ้นใน
ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ (ค.ศ. 1899) มีพระราชดำริว่า

ได้พยายามหาพระพุทธรูปซึ่งจะเป็นพระประธานทั้งในกรุงแลหัวเมือง ตลอด
กระทั่งถึงเมืองเชียงใหม่... ก็ไม่เปนที่พอใจ จึงคิดเห็นว่าจะหาพระพุทธรูปองค์
ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๑๗, ๔๒)

ครั้นจะเชิญพระพุทธชินราชลงมา ก็จะไม่เป็นที่พอใจของชาวพิษณุโลก จึงโปรดเกล้าฯ ให้จำลอง
ขึ้นใหม่ โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองถึงเมืองพิษณุโลก โดยมีหลวงประสิทธิปฏิมา “ซึ่งเป็น
เทือกเถาเหล่ากอช่างปั้นช่างหล่อพระพุทธรูปมา ๓ ชั่วคน” เป็นผู้ถ่ายอย่างและปั้นหุ่น และเมื่อประดิษฐาน
พระพุทธชินราชจำลอง (รูปที่ ๕.๖๗) ในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แล้วเสร็จในปี
พ.ศ. ๒๔๔๔ (ค.ศ. 1901) โปรดเกล้าฯ เลื่อนยศหลวงประสิทธิปฏิมา ผู้ “มีความสามารถอาจจะสร้าง
พระพุทธชินราช ให้งามดีได้ถึงเพียงนี้” เป็นพระประสิทธิปฏิมา จางวางช่างหล่อ (เรื่องเดียวกัน, ๔๔ – ๕๒)

รูปที่ ๕.๖๔ พระพุทธชินสีห์จำลอง รูปที่ ๕.๖๕ พระศรีศาสดาจำลอง รูปที่ ๕.๖๖ พระพุทธชินราชจำลอง


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๐๐ (ค.ศ. 1857) สร้างปี พ.ศ. ๒๔๐๖ (ค.ศ. 1863) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ (ค.ศ. 1866)
สัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์
พระอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร

๒๒๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๒๕
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. 1907) เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งยังดำรง
พระราชอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ได้เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก
และเสด็จฯ ไปนมัสการพระพุทธชินราช ทรงพระราชนิพนธ์ได้ว่า

ตั้งแต่ข้าพเจ้าเห็นพระพุทธรูปมานักแล้ว ไม่ได้เคยรู้สึกว่าดูปลื้มใจจำเริญตาเท่า
พระพุทธชินราชเลย ที่ตั้งอยู่นั้นก็เหมาะนักหนา... ยิ่งพิศไปยิ่งรู้สึกยินดีว่าไม่
เชิญลงมาเสียจากที่นั้น ถ้าพระพุทธชินราชยังคงอยู่ที่พิศณุโลกตราบใด เมือง
พิศณุโลกจะเปนเมืองที่ควรไปเที่ยวอยู่ตราบนั้น ถึงในเมืองพิศณุโลกจะไม่มีชิ้น
อะไรเหลืออยู่อีกเลย ขอให้มีแต่พระพุทธชินราชเหลืออยู่แล้ว ยังคงจะอวดได้
อยู่เสมอว่ามีของควรดูควรชมอย่างยิ่งอย่างหนึ่งในเมืองเหนือ ฤาจะว่าในเมือง
ไทยทั้งหมดก็ได้ (มหาวชิราวุธมกุฏราชกุมาร ร.ศ. ๑๒๖, ๒๓๘ – ๒๓๙)

แม้แต่ชาวต่างประเทศที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพาไปชม “พากันออกปากว่ายัง
ไม่เคยเห็นของโบราณที่แห่งอื่นในเมืองไทยจับใจ Impressive เหมือนพระชินราช” ส่วนพระองค์ท่านเองนั้น
เมื่อทอดพระเนตรครั้งแรก “ขนลุก” เพราะความรู้สึกจับใจ (สาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๐ ๒๕๐๔, ๘๖ – ๘๗)

ต่อมา เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ ตำนานพุทธเจดีย์สยาม ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๙
(ค.ศ. 1926) ทรงจำแนกพระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ ขึ้นเป็นแบบหนึ่งของพระพุทธปฏิมา
สมัยสุโขทัย ที่พระมหาธรรมราชาลิไทสร้างขึ้น

คิดสร้างพระพุทธรูป เพื่อจะให้วิเศษสุดที่จะทำได้ จึงเกิดแบบพระพุทธรูปสมัย
สุโขทัย เช่นพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ อันดวงพักตร์เป็นทำนองผลมตูม
คล้ายแบบอินเดีย แต่งามยิ่งนัก และแก้พุทธลักษณะที่แห่งอื่น เช่นทำปลายนิ้ว
พระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้งสี่นิ้วเป็นต้น แบบพระพุทธรูปอย่างที่ทำกันแพร่หลาย
ขึ้นไปจนข้างเหนือและลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนองค์พระพุทธรูปที่เป็นต้น
ตำรามีน้อย (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๙, ๑๑๐ – ๑๑๑)

พระพุทธชินราชจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวอย่างของศิลปะสมัยสุโขทัย ที่มีความงามอย่างหาที่
เปรียบมิได้ เป็นพระพุทธปฏิมาที่มีความงามที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ และเมื่อทางด้านประวัติศาสตร์
ก็ได้รับความเชื่อมโยงกับพระมหากษัตริย์ที่โดดเด่นของกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
จึงทำให้พระพุทธชินราชกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไปแล้ว

การจำลองพระพุทธชินราช เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (ดูรูปที่
๕.๖๗) มีผลต่อการสร้างค่านิยมในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่นเมื่อ
เจ้าอาวาสวัดสัตตนารถปริวัตร อำเภอเมืองฯ จังหวัดราชบุรี ได้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ มีขนาดใหญ่กว่า
ของเดิม จึงแสวงหา พระประธานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อได้พบพระพุทธรูปที่ต้องการจากวัดร้างแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นศิลาแลงแล้วจึง “ตกแต่งเสียใหม่ให้มีลักษณะคล้ายพระพุทธชินราช” (น. ณ ปากน้ำ ๒๕๔๖, ๑๓๔)
(รูปที่ ๕.๖๘) จึงเห็นได้ว่าค่านิยมในพระพุทธชินราช เริ่มแสดงออกให้เป็นที่ประจักษ์ในช่วงปลายรัชกาลนี้

๒๒๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๕.๖๘ พระประธานวัดสัตตนารถปริวัตร
แต่งใหม่เลียนแบบพระพุทธชินราช
ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ. 1909)
ศิลาแลง หน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูง ๓.๒๕ เมตร
พระอุโบสถวัดสัตตนารถปริวัตร อำเภอเมืองฯ จังหวัดราชบุรี

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๒๗
พระพุทธชินราช เป็นที่นิยมในรัชกาลปัจจุบัน สืบเนื่องมาจากการที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรีในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๑ – ๒๕๐๐ (ค.ศ. 1948 – 1957) รื้อฟื้นพระบรมราโชบายของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวให้แก่ประเทศชาติด้วยการ
สร้างพระร่วงกษัตริย์สุโขทัยขึ้นมา ให้ทรงเป็นศูนย์รวมความเป็นไทย ซึ่งประกอบด้วย ชาติ พุทธศาสนา
และพระมหากษัตรย์ (มหาวชิราวุธ [ม.ป.ป.], ๑๑๗) โดยใช้ พ่อขุนรามคำแหงแทนพระร่วงเป็นสัญลักษณ์
ของความเป็นไทย โดยให้ประชาชนคิดว่าตนเองเป็น “บิดา” ของชาติ แทน “ผู้นำ” ที่เคยใช้มาแล้วเมื่อ
เป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๘๗ (ค.ศ. 1938 – 1944) โดยให้กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งตั้งขึ้น
และนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้เองในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. 1947) มีหน้าที่
พัฒนาทางด้านวัฒนธรรมและจริยธรรมให้เกิดความกตัญญูกตเวทีต่อบิดา มารดา ความรักชาติ ความ
มั่นคงของชาติ และการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ (ทักษ์ ๒๕๒๖, ๑๒๓ – ๑๒๕) อย่างไรก็ตาม หลวง
วิจิตรวาทการ อธิบดีกรมโฆษณาการได้นำเอาความรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัยภายใต้ “ผู้นำ” คือ
พ่อขุนรามคำแหง มาแสดงเป็นตัวอย่างของ “วัฒนธรรมสุโขทัย” ในปาฐกถาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ (ค.ศ.
1939) ในช่วงรัฐบาลแรกของจอมพล ป. พิบูลสงครามก่อนหน้านี้แล้ว (วิจิตรวาทการ ๒๔๙๖, ๑๒ – ๔๑)

การบูรณปฏิสังขรณ์เมืองเก่าสุโขทัย เริ่มจากมติคณะรัฐมนตรีที่รับข้อเสนอของ จอมพล ป.
พิบูลสงคราม ให้บูรณะเมืองเก่าสุโขทัยเป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งให้สร้างอนุสาวรีย์
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชด้วย โดยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. 1953) มีพิธีอัญเชิญดวงพระวิญญาณ
พ่อขุนรามคำแหงเข้าผอบ แล้วแห่จากเนินปราสาทกลางเมืองเก่าสุโขทัยไปประดิษฐานไว้ที่ศาลแม่ย่า
หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ในโอกาสเดียวกันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ยังได้จัดทำหนังสือเรื่อง
นครสุโขทัย (เชื่อม ๒๔๙๖) โดยรวบรวมบทประพันธ์เกี่ยวกับสุโขทัยขึ้นเช่น “ประชาธิปตัย ในสมัย
รูปที่ ๕.๖๙ ก. พระอจนะ วัดศรีชุม
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สุโขทัย” ซึ่งสมพันธ์ ขันธะชวนะ เป็นผู้แต่ง ความตอนหนึ่งว่า
ถ่ายปี พ.ศ. ๒๔๓๔ (ค.ศ. 1891)
จาก Fournereau, ถ้าความเป็นไทยของคนไทยจะเลือกเอาระยะเวลาตอนไหนก็ได้ของการเป็นมา
Le Siam ancien (1908)
ทางประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้าก็อยากจะเลือกความเป็นไทยครั้งพ่อขุนรามคำแหง
เพราะเป็นเรื่องน่าภูมิใจอย่างสูง เรามีประมุขของชาติที่ปรีชาสามารถได้ให้สิ่ง
ที่ประชาธิปไตยต้องการแก่ประชาชนได้อย่างมหาศาล (สมพันธ์ ๒๔๙๖, ๘๔)

นอกจากนั้นแล้วในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ (ค.ศ. 1955) จอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังได้จัดพิมพ์หนังสือ
ประวัติศาสตร์สุโขทัย ภาค ๑ “เพื่อเผยแผ่ความรู้ประวัติศาสตร์ของชาติไทย ในสมัยที่เคยมีความเจริญ
รุ่งเรือง มีร่องรอยและเกียรติประวัติอันควรชื่นชม และเป็นคติแก่คนรุ่นหลัง” (ป. พิบูลสงคราม ๒๔๙๘,
คำนำ)

การปรับปรุงขุดแต่งและบูรณะเมืองสุโขทัยเก่า ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. 1953) ใช้เงินของกอง
สลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการโดยเริ่มที่องค์พระมหาธาตุ วัดมหาธาตุ และวัดศรีชุม ซึ่งในมณฑปรูป
สี่เหลี่ยมจตุรัสกว้าง ๓๒ เมตร สูง ๑๕ เมตร มีพระพุทธปฏิมาปูนปั้นปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๑.๓๐ เมตร
(รูปที่ ๕.๖๙ ก.) ซึ่งชำรุดเสียหายเป็นประธาน

พระพุทธถูกเจาะตรงเข่าและตรงกลางพระนาภีและพระเศียร แลเห็นรอยพอก
ในพระเศียรพระพุทธรูปเป็นชั้นๆ พระเศียรชั้นในเกศเป็นรูปบัวตูม (คณะ
กรรมการปรับปรุงบูรณะโบราณสถานฯ ๒๕๑๒, ๕๕)

๒๒๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


แต่เมื่อ ๕๒ ปีก่อนหน้านั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จไปวัดศรีชุมและทรง
บันทึกไว้ว่า

ในมณฑปนั้นมีพระก่อใหญ่หน้าตักสัก ๕ วาได้องค์หนึ่ง แต่ไม่งามเลย พระภักตร์
แตกพังออกมา เห็นพระเนตรเก่าซึ่งปั้นไว้ชั้นในไม่ได้ที่ สูงบ้างต่ำบ้างสักห้าชั้น
(นริศรานุวัดติวงศ์ ๒๕๐๖, ๙๘)

ข้อมูลจากเอกสารข้างต้น ทำให้สันนิษฐานได้ว่า พระพุทธปฏิมาองค์นี้ ซึ่ง ยอร์ช เซเดส์ ถวาย
พระนามว่า “อจนะ” แปลว่า “ผู้ไม่หวั่นไหว” เพราะพระองค์กำลังทรงแสดงปางมารวิชัย หรือ “ที่ไม่อาจ
เคลื่อนที่ได้” เพราะ “ขนาดของวัสดุที่ใช้สร้าง” (ยอร์ช เซเดส์ ๒๕๐๗, ๑๕๗ – ๑๕๘) อาจจะเป็นพระ
พุทธสิหิงค์จำลองก็เป็นได้ เพราะ “เกศเป็นรูปบัวตูม” แต่เมื่อกรมศิลปากรได้ว่าจ้างให้ บุญธรรม พูนสวัสดิ์
“เรียกกันว่าปลัดบุญธรรม เพราะบวชอยู่นานจนได้เป็นพระปลัด มีฝีมือในการซ่อมพระดังที่แลเห็นใน
ปัจจุบันนี้” (คณะกรรมการปรับปรุงบูรณะโบราณสถาน ๒๕๑๒, ๕๕) มาซ่อมพระพุทธปฏิมา ผลที่ได้คือ
พระพุทธรูปแบบสุโขทัย (รูปที่ ๕.๖๙ ข.) ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า พระอจนะองค์นี้ได้รับการกล่าวถึงใน
ศิ ล าจารึ ก ของพ่ อ ขุ น รามคำแหงที่ ว่ า “เบื้ อ งตี น นอน (คื อ ทิ ศ เหนื อ ) เมื อ งสุ โ ขทั ย นี้ มี ต ลาดปสาน
มีพระอจนะ” (สุภัทรดิศ ๒๕๒๑, รูปที่ ๓๑)

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งมีข้อเสนอทางวิชาการใหม่ที่สันนิษฐานว่า
น่าจะจารขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๓๙๘ (ค.ศ. 1851 – 1855) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พิริยะ ๒๕๔๗, ๒๕๔) โดยที่พระองค์ทรงสร้างศิลาจารึกหลักนี้ขึ้นมาเพื่อเป็น
กุศโลบายสำคัญในการปรับเปลี่ยนขนบประเพณีโบราณของไทยให้คนรุ่นเก่าที่ต่อด้านและคัดค้านความ
เปลี่ยนแปลงที่พระองค์มีพระราชดำริที่จะปรับเปลี่ยนระบอบการปกครอง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรมของสยาม ให้รับกับค่านิยมของนานาอารยประเทศ โดยทรงชี้ให้เห็นว่า พระองค์มิได้ทรง
รูปที่ ๕.๖๙ ข. พระอจนะ วัดศรีชุม “ดัดจริตผิดโบราณ” หากแต่เป็นการรื้อฟื้นพระราโชบายของพ่อขุนรามคำแหง ดังนั้น “พระราชนิพนธ์
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ปั้นโดย บุญธรรม พูนสวัสดิ์ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงเป็นกุศโลบายที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ในการ
พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. 1953) สร้างชาติและเอกลักษณ์ไทยที่เราชาวไทยภูมิใจจนทุกวันนี้” (เรื่องเดียวกัน, ๒๗๕) ด้วยกุศโลบายนี้ทำให้
ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๑๑.๓๐ เมตร ฝรั่งเห็นว่า สยามเป็นประเทศที่ “ซิวิไลยส์” แล้วจึงไม่ต้องเอามาเป็นเมืองขึ้น และมีส่วนช่วยให้สยาม
สูง ๑๕ เมตร
มณฑปวัดศรีชุม ดำรงรักษาเอกราช อิสรภาพ และอธิปไตย อีกด้วย
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ถือเป็นเอกสารหลักที่สร้างภาพลักษณ์และอุดมการณ์ให้กับอาณาจักรสุโขทัย จนอาจจะกล่าวได้ว่า
เป็นที่มาของความรับรู้เกี่ยวกับความเป็นไทย และชาติไทยในอุดมคติ ดังที่ ส. ศิวรักษ์ ได้กล่าวไว้ว่า

รากฐานแห่งการคิดนึกอย่างลึกซึ้งของไทย ปรากฏชัดอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๑
ของพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย มิไยที่นักปราชญ์รู้พลั้งบางคนจะกล่าว
หาว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลอมแปลงขึ้นในรัชกาลที่ ๓
ก็ตาม ข้าพเจ้าถือว่านั่นเป็นเสียงของจิ้งจกตุ๊กแกหรือของสุนัขที่เห่าหอน อันไม่
ควรคำนึงถึง เพราะจารึกหลักนี้เป็นประดุจทองชมพูนุทอันบริสุทธิ์ที่แสดง
ความเป็นพุทธและความเป็นไทย โดยมีความเชื่อในเรื่องผีและประยุกต์วิทยา
อย่างไสยศาสตร์ เป็นองค์ประกอบ นับเป็นการประกาศแนวทางการเมือง การ
เศรษฐกิจและวัฒนธรรม อันโยงไปถึงระบบนิเวศวิทยา ซึ่งเน้นเสรีภาพ เสมอภาพ
และภราดรภาพ (ส. ศิวรักษ์ ๒๕๓๒, ๒๖)

พระพุทธชินราช ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระพุทธปฏิมาสมัยสุโขทัย อันจะสังเกตได้จากการจัดจำแนกให้
พระพุทธชินราชเป็นหมวดหนึ่งในกลุ่มพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย จึงมีนัยของความเจริญรุ่งเรืองของชาติ
ไทยในอดี ต เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องลั ท ธิ ช าติ นิ ย มและความมั่ น คงของชาติ ซึ่ ง เห็ น ได้ ชั ด เจนที่ สุ ด จาก
กระบวนการสร้างพระพุทธชินราชจำลอง ที่เริ่มมากขึ้นในช่วงรัชกาลปัจจุบัน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๒๙
รูปที่ ๕.๗๐ พระประธานวัดราชบุรณะ
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. 1960)
สัมฤทธิ์
พระอุโบสถวัดราชบุรณะ
กรุงเทพมหานคร
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง วัดราชบุรณะ กรุงเทพมหานคร ได้รับความเสียหายจากแรง
ระเบิด พระอุโบสถและพระวิหารถูกทำลาย การบูรณะปฏิสังขรณ์เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. 1953)
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกช่อฟ้าพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งออกแบบ
โดยหลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) และทรงเททองหล่อพระประธานในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. 1960)
(ศิลปากร ๒๕๒๕ ก, ๒๖๑) พระประธานเป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ซึ่งถ่ายแบบ
มาจากพระพุทธชินราช ส่วนเรือนแก้วนั้นเป็นผลงานของ ฟู อนันตวงศ์ (รูปที่ ๕.๗๐) ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๓
(ค.ศ. 1960) เป็นช่วงของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ. ๒๕๐๑ – ๒๕๐๖ / ค.ศ. 1958 – 1963) ซึ่ง
สืบสาน “ลัทธิพ่อขุนรามคำแหง” จากจอมพล ป. พิบูลสงคราม และรื้อฟื้นพระบรมราโชบายชาตินิยม
ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วย ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เพื่อสร้างความ
มั่นคงให้กับรัฐบาล พระพุทธชินราชซึ่งเป็นทั้งสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาและความเป็นไทยที่งดงาม
ตลอดจนเป็นศูนย์รวมพระราชศรัทธาของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์สำคัญทุกพระองค์ตั้งแต่สมัย
อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ จึงกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รวมชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เข้าไว้
ด้วยกัน (พิริยะ ๒๕๔๙, ๙๕ – ๑๑๑) พระพุทธชินราชจึงเป็นพระพุทธปฏิมาสำคัญของยุค “พุทธศาสนา
แบบชาตินิยม” (ไพศาล ๒๕๔๖, ๑๐๘ – ๑๑๓) ที่เติบโตขึ้นในช่วงระยะเวลานั้น และเป็นที่แพร่หลายใน
ทศวรรษต่อมา คือช่วงรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร (พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๑๖ / ค.ศ. 1963 – 1973)

๒๓๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. 1967) จอมพลถนอม กิตติขจร และครอบครัว มีจิตศรัทธา สร้าง
พระพุทธชินราชจำลอง (รูปที่ ๕.๗๑) มีขนาดย่อมกว่าองค์ที่พิษณุโลกเล็กน้อย เพื่อถวายเป็นพระ
ประธานวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิต-
วนาราม และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายพระนามว่า “พระพุทธธรรมมิศรชมพูทีปนิวัติสุโขทัย”
อนึ่ง พระอุโบสถวัดไทยพุทธคยา ซึ่งเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ (ค.ศ. 1958) ก็จำลองแบบมาจากพระ
อุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามเช่นกัน โดยมีจุดประสงค์ที่จะ “เชิดชูความงดงามของศิลปกรรม
ไทยให้ปรากฏในต่างแดน” (๕๐ ปีวัดไทยพุทธคยา ๒๕๕๐, ๑๑๔ – ๑๑๕)

พระพุทธชินราชจำลองที่สร้างขึ้นในยุค “พุทธศาสนาแบบชาตินิยม” ที่สำคัญได้แก่ พระพุทธ-
ชินราชจำลอง รุ่น ภ.ป.ร. (รูปที่ ๕.๗๒) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้นำพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. มาไว้ที่หน้าฐาน และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อ ณ วัดสุทัศน-
เทพวราราม ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ (ค.ศ. 1973) พระพุทธรูปรุ่นนี้เป็นฝีมือของ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ ช่าง
ฝีมือดีของพิษณุโลก ผู้เชี่ยวชาญการปั้นหุ่นพระพุทธชินราชจำลอง ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ทั้งใน
ประเทศ (รูปที่ ๕.๗๓) และต่างประเทศ พระพุทธชินราชรุ่น ภ.ป.ร. สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง
กองทัพภาคที่ ๓ และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก โดยรายได้จากการเช่าบูชาพระพุทธรูปใช้ในการ
รูปที่ ๕.๗๑ พระพุทธธรรมมิศรชมพูทีปนิวัติสุโขทัย ก่อตั้งมูลนิธิเย็นศิระภิบาล เพื่อช่วยเหลือทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่บาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการ
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. 1967)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๕๑ เมตร ปราบปราบผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผลงานเชิดชูเกียรติฯ ๒๕๒๖, ๙) กล่าวได้ว่าพระพุทธชินราช
สูง ๓.๕๘ เมตร จำลองเป็นพระพุทธปฏิมาที่นิยมสร้างกันมากที่สุดในรัชกาลปัจจุบัน
วัดไทยพุทธคยา พุทธคยา รัฐพิหาร
ประเทศอินเดีย
ในรัชกาลปัจจุบัน เทคโนโลยีของการสร้างพระพุทธรูปด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทำให้สามารถสร้าง
พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่แลเห็นได้แต่ไกลขึ้นเป็นจำนวนมาก และแพร่หลายไปทั่วทุกภาคของพระราช-
อาณาจักร เช่น ในภาคเหนือนิยมการสร้างพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน หรือล้านนาแบบ “สิงห์ ๑” ซึ่ง
ได้แก่ พระพุทธสิหิงค์จำลอง (ดูรูปที่ ๖.๓๐, ๖.๓๑) ภาคกลางนิยมสร้างพระพุทธชินราชจำลองใน
เรือนแก้ว เช่นที่วัดเขาถ้ำทะลุ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี (รูปที่ ๕.๗๔) และตามวัดไทยในประเทศ
ต่างๆ เพราะชาวไทยถือว่าพระพุทธชินราช “มีบทบาทในเชิงสัญลักษณ์แห่ง “ความเป็นไทย” ในความหมาย
ที่เป็นภาพตัวแทนแห่งความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมของชาติไทยในสายตาชาวโลก” (ชาตรี ๒๕๔๙, ๘๓)

รูปที่ ๕.๗๒ พระพุทธชินราชจำลอง รุ่น ภ.ป.ร. รูปที่ ๕.๗๓ พระพุทธชินราชจำลอง รูปที่ ๕.๗๔ พระพุทธชินราชจำลอง
ปั้นโดย จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ ปั้นโดย จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. 1974) พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. 1969) วัดเขาถ้ำทะลุ อำเภอปากท่อ
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๘ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ พระอุโบสถวัดกำแพงแลง จังหวัดราชบุรี
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๓๑
๒๓๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๗๕ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐
๗. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ สูง ๑ เมตร ดั ง ที่ ไ ด้ ก ล่ า วไว้ แ ล้ ว ว่ า พระพุ ท ธปฏิ ม าประทั บ ขั ด สมาธิ ร าบ ปางมารวิ ชั ย มี จ ำนวนมากกว่ า
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพุทธปฏิมารูปแบบอื่นๆ ในประเทศไทย ซึ่งนอกเหนือจากพระพุทธชินราชแล้ว พระพุทธรูปในรูปแบบ
นี้ก็ยังคงได้รับความนิยมในการสร้างมาจนถึงปัจจุบัน

๗.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย

(๑) ช่วงอาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. ๑๘๔๒ – ๑๙๒๑ (ค.ศ. 1299 – 1378)

ลักษณะเฉพาะของพระพุทธปฏิมาสุโขทัย ได้แก่ “พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์
รูปไข่ พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวร
ห่มเฉียง ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ชอบทำปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ
ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง” (สุภัทรดิศ ๒๕๓๘, ๒๖) ซึ่งน่าจะปรากฏขึ้นในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่
๒๐ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14) เพราะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ นิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร
หรือคณะสีหฬภิกขุ ซึ่งรับเข้ามาในช่วงระยะเวลานั้น ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกันกับทีพ่ ระพุทธปฏิมา
“แบบอู่ทอง แบบที่ ๒” หรือ แบบพระพุทธกัมโพชปฏิมา และพระพุทธปฏิมา “แบบอู่ทอง แบบที่ ๓” ซึ่ง
เป็นแบบเฉพาะของพระพุทธปฏิมาอยุธยาที่พัฒนาการขึ้นใน นิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร เช่นกัน

เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่า พระพุทธปฏิมาบางองค์ที่มีจารึก มิได้ระบุปีสร้าง เช่น
พระพุทธปฏิมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๗๕) ซึ่งการ
ปั้นพระพักตร์นั้น มีลักษณะที่คล้ายคนจริง เช่น พระขนงนูนขึ้นเล็กน้อย มิได้เป็นเส้นโค้งที่
บรรจบกันที่สันพระนาสิก เป็นต้น ซึ่งยังพบในองค์ที่เอกชนเป็นผู้ครอบครองอีกด้วย
(รูปที่ ๕.๗๖) พระพุทธปฏิมาในกลุ่มนี้ อาจจะเป็นกลุ่มแรกของพระพุทธปฏิมาสุโขทัย
เพราะลักษณะของพระขนงที่เหมือนจริงนั้น เทียบเคียงได้กับพระพุทธปฏิมา “แบบ
อู่ทอง แบบที่ ๑” อาจจะกำหนดอายุเวลาได้ในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ครึ่ง
หลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)

รูปที่ ๕.๗๖ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย


ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ สูง ๔๙ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๓๓
(๒) ช่วงเมืองประเทศราชของอยุธยา พ.ศ. ๑๙๒๑ – ๒๐๐๖ (ค.ศ. 1378 – 1463)

พระพุทธปฏิมาที่มีจารึกระบุปีสร้างหลายองค์ สร้างขึ้นในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ครึ่ง
แรกคริสต์ศตวรรษที่ 15) พระพุทธปฏิมาที่สำคัญได้แก่ สององค์ที่มีจารึกสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ-
ยอดฟ้าจุฬาโลก ระบุว่า “สังฆโลก” คือได้มาจากเมืองสวรรคโลกเก่า (อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ในปัจจุบัน) องค์หนึ่งสร้างโดย ทิตไส (รูปที่ ๕.๗๗) และอีกองค์หนึ่งสร้างโดย ผ้าขาวทอง สร้างขึ้นในปี
เดียวกันคือ พ.ศ. ๑๙๖๕ (ค.ศ. 1422) (ประสาร ๒๕๑๑, ๑๐๘ – ๑๑๑) พระพุทธปฏิมาอีกองค์หนึ่งที่มี
จารึก ได้แก่ พระพุทธปฏิมากรพระประธานในพระอุโบสถ วัดหนัง กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๗๘) มีจารึก
ว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๖๖ (ค.ศ. 1423) (ศิลปากร ๒๕๔๓ ก, ๑๙๒) อีกองค์หนึ่งอยู่ในวิหารวัดหงส์รัตนาราม
กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๗๙) มีจารึกว่าสร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๖๓ หรือ ๑๙๖๖ (ค.ศ. 1420 หรือ ค.ศ. 1423)
(เอ.บี. กริสโวลด์ ๒๕๐๗, ๙๒) พระพุทธปฏิมาองค์สุดท้ายนี้มี พระขนงโก่ง เชื่อมกับสันพระนาสิกทั้ง
สองด้าน พระหนุสอบเข้า

พระพุทธปฏิมาสำคัญที่มีพุทธลักษณะที่เทียบเคียงได้กับพระพุทธปฏิมาของวัดหงส์รัตนาราม ซึ่ง
รูปที่ ๕.๗๗ พระพุทธรูปของทิตไส อาจจะสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันน่าจะได้แก่ พระสุรภีพุทธพิมพ์ พระประธานวัดปรินายก
สร้างปี พ.ศ. ๑๙๖๕ (ค.ศ. 1422)
สัมฤทธิ์ (รูปที่ ๕.๘๐) หลวงพ่อร่วง วัดมหรรณพาราม (รูปที่ ๕.๘๑) และพระสุโขทัยไตรมิตร วัดไตรมิตรวิทยาราม
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (รูปที่ ๕.๘๒) ซึ่งทั้งสามองค์นี้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร
อนึ่ง พระสุรภีพุทธพิมพ์นั้น ในด้านอิทธิปาฏิหาริย์ก็ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นที่ประจักษ์ของ
ชาวบ้านเชิงสะพานผ่านฟ้า ทั้งนี้เพราะเมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ ๒ บ้านเรือนย่านนั้นถูกโจมตีทาง
อากาศ ชาวบ้านจึงอพยพไปพึ่งพระบารมีของหลวงพ่อในพระอุโบสถ และมีเรื่องเล่ากันว่าเวลาเครื่องบิน
มาทิ้งระเบิดนั้น ต่างก็ได้เห็นรูปเสมือนหลวงพ่อลอยอยู่เหนือพระอุโบสถ ทรงแผ่อภินิหารคุ้มครอง
ป้องกันภัย จนทุกคนปลอดภัยจากการทิ้งระเบิด นอกจากนั้นแล้ว ผู้ใดเข้าไปขอพรให้หลวงพ่อประสิทธิ
ประสาทความสำเร็จใด ๆ ที่ตนมุ่งหวัง ก็ได้ผลสมความปรารถนาทุกคน (บันทึกการจัดสร้าง, บันจุ, และ
ปลุกเสก ๒๕๐๐, ๒ – ๓)

รูปที่ ๕.๗๘ พระพุทธปฏิมากร


สร้างปี พ.ศ. ๑๙๖๖ (ค.ศ. 1423)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๔๑ เมตร
สูง ๑.๙๖ เมตร
วัดหนัง กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๕.๗๙ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางมารวิชัย
สร้างปี พ.ศ. ๑๙๖๓ หรือ ๑๙๖๖
(ค.ศ. 1420 หรือ 1423)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๗๑ เซนติเมตร
สูง ๙๘ เซนติเมตร
วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพมหานคร

๒๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๕.๘๒ พระสุโขทัยไตรมิตร
(“หลวงพ่อทองคำ”)
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๓.๑๐ เมตร
สูง ๓.๙๓ เมตร
วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๕.๘๐ พระสุรภีพุทธพิมพ์


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๗๗ เมตร
วัดปรินายก กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๕.๘๑ “หลวงพ่อร่วง”


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๕๘ เมตร
สูง ๓.๘๙ เมตร
วัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๓๕
๗.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยล้านนา

(๑) ช่วงก่อตั้งอาณาจักรล้านนา พ.ศ. ๑๘๓๙ – ๑๘๙๘ (ค.ศ. 1296 – 1355)

เช่นเดียวกันกับภาคกลาง พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย เป็นที่แพร่หลายมาก
กว่าแบบอื่น ๆ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในวัฒนธรรมล้านนาที่นิยมการจารจารึกไว้ที่ฐานพระพุทธปฏิมา ยัง
ไม่พบพระพุทธปฏิมาแบบนี้ที่มีจารึกเก่าไปกว่ารัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔ – ๒๐๓๐ /
ค.ศ. 1441 – 1487) ที่กำหนดอายุเวลาให้เก่าไปกว่ารัชกาลนี้ จึงมาจากการคาดคะเนทั้งสิ้น พระพุทธ-
ปฏิมาที่อาจจะสร้างขึ้นก่อนการประดิษฐานคณะสีหฬภิกขุ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๗๓ (ค.ศ. 1430) ในล้านนาน่า
จะได้แก่พระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน (รูปที่ ๕.๘๓) ซึ่ง
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เป็นพระพุทธปฏิมารุ่นแรกของล้านนา แตกต่างกันที่การกำหนดอายุเวลา จาก
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13) (Saisingha 1999, 80) ถึงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่
๒๐ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 15) (Stratton 2004, 249) ซึ่งจากการวิเคราะห์พุทธลักษณะของ
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ โดยเฉพาะพระพักตร์ที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ น่าจะสร้างขึ้นในช่วงครึ่งหลัง
พุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 14)

(๒) ช่วงอาณาจักรล้านนา
รูปที่ ๕.๘๓ พระสมฌโคดมประทับขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย - ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๗๘ เซนติเมตร ถึงแม้จะไม่ทราบว่า พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยที่สร้างขึ้นที่ล้านนาซึ่งมี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย พุทธลักษณะที่มีความหลากหลายในส่วนปลีกย่อยเป็นอย่างมาก ว่าในแต่ละหมวดหมู่เป็นพระปฏิมา
จังหวัดลำพูน จำลองของพระปฏิมาสำคัญองค์ใดบ้าง แต่ก็ทราบจากจารึก ตำนาน และคำบอกเล่าว่า พระปฏิมาที่คน
นับถือบูชาสืบทอดกันมาหลายศตวรรษมีพระนามว่าอะไร เช่น พระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล อำเภอเมืองฯ
จังหวัดน่าน พระเจ้าล้านทอง วัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พระเจ้าเก้าตื้อ
วัดสวนดอก อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ และพระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ อำเภอเมืองฯ จังหวัด
พะเยา ซึ่งพระพุทธปฏิมาที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ สร้างขึ้นในยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา

พระเจ้าทองทิพย์ (รูปที่ ๕.๘๔) นั้น ตำนานหนึ่งกล่าวว่าพระเจ้าติโลกราชโปรดให้หล่อขึ้นเมื่อ
พ.ศ. ๑๙๙๓ (ค.ศ. 1450) เมื่อทรงตีเมืองน่านได้ (ศิลปากร ๒๕๓๐ ก, ๗๙) แต่ พงศาวดารเมืองน่านว่า
พญาคำยอดฟ้า โปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๕ (ค.ศ. 1522) (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๙ ๒๕๐๗, ๓๑๕)
อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบพระวรกายที่อวบ พระพักตร์อิ่มเอิบ พระนาสิกใหญ่ของพระปฏิมา ที่มี
จารึกว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (ดูรูปที่ ๖.๔) บ่งชี้ว่าพระเจ้าทองทิพย์นั้นน่าจะสร้างขึ้นใน
รัชกาลนั้น

พระเจ้าล้านทอง (รูปที่ ๕.๘๕) วัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเจ้า
เมืองเชียงแสนสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๓๒ (ค.ศ. 1489) (ศิลปากร ๒๕๔๓ ก, ๖๕) เป็นพระพุทธปฏิมาที่มี
ลักษณะคล้ายกับพระเจ้าทองทิพย์ แต่ฝีมือการปั้นพระหัตถ์ซึ่งดูนุ่มนวล มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ

๒๓๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๕.๘๔ พระเจ้าทองทิพย์
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้น ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๔๐ เมตร
สูง ๒.๕๖ เมตร
วัดสวนตาล อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน

รูปที่ ๕.๘๕ พระเจ้าล้านทอง


สร้างปี พ.ศ. ๒๐๓๒ (ค.ศ. 1489)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๑๐ เมตร
สูง ๓ เมตร
วัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอเชียงแสน
จังหวัดเชียงราย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๓๗
ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชนี้ มีการสร้างพระพุทธปฏิมาที่มีความหลากหลายทางรูปแบบเป็น
จำนวนมาก เช่น หลวงพ่อสมใจนึก พระประธานในอุโบสถ วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ อำเภอเมืองฯ
จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๕.๘๖) ซึ่งน่าจะจำลองแบบมาจากพระพุทธปฏิมารุ่นแรกของล้านนา (ดูรูปที่
๕.๘๓) แตกต่างกันตรงที่ มีพระวรกายที่ยืดขึ้น ทำให้ดูสูงโปร่ง นิ้วพระหัตถ์คล้ายคนจริง นอกจากนั้น
แล้วแถบผ้าที่พาดพระกรซ้ายขององค์ต้นแบบ กลับกลืนไปกับขอบจีวร แสดงให้เห็นว่าผู้ปั้นไม่เข้าใจการ
ครองจีวรของเดิม หลวงพ่อสมใจนึก อาจจะสร้างขึ้นในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าติโลกราช ประมาณ
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15) เช่นเดียวกับพระพุทธปฏิมาในวิหารสมเด็จฯ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๘๗) ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธสิหิงค์
จำลอง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๒๓ (ค.ศ. 1481) (ดูรูปที่ ๖.๔) แตกต่างกันตรงประทับขัดสมาธิราบ และมี
พระพักตร์ที่เอิบอิ่มกว่า ชายจีวรยาวจรดพระนาภี และฐานเขียงแปดเหลี่ยม ส่วนพระพุทธปฏิมา
วัดพระเจ้าเม็งราย มีจารึกปี พ.ศ. ๒๐๒๔ (ค.ศ. 1482) (รูปที่ ๕.๘๘) และวัดเจดีย์หลวง พ.ศ. ๒๐๒๕
(ค.ศ. 1482 – 1483) (รูปที่ ๕.๘๙) (ฮันส์ เพนธ์ ๒๕๑๙, ๖๓ – ๖๕) พระพุทธปฏิมาทั้งสององค์นี้มีพระ
พักตร์รูปวงรี สอบเข้าที่พระหนุ มีไรพระศก ซึ่งใกล้เคียงกับพระพุทธปฏิมาอยุธยา “แบบอู่ทอง แบบที่ ๓”
(ดูรูปที่ ๕.๑๒๕) ส่วนพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เชียงใหม่ (รูปที่ ๕.๙๐) มีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระรัตนปฏิมา (ดูรูปที่ ๓.๖ ก) แตกต่างกันที่พระหัตถ์
แสดงปางมารวิชัย ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นในรัชกาลนี้เช่นกัน

รูปที่ ๕.๘๖ หลวงพ่อสมใจนึก


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๙๐ เมตร
สูง ๒.๒๐ เมตร
อุโบสถวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่

๒๓๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๘๘ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๒๔ (ค.ศ. 1482)
รูปที่ ๕.๘๗ พระสมณโคดมสมาธิราบ ปางมารวิชัย สัมฤทธิ์ สูง ๙๐ เซนติเมตร
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ วัดพระเจ้าเม็งราย
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15) อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๖๔ เซนติเมตร
สูงรวมฐาน ๑.๐๖ เมตร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๕.๘๙ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางมารวิชัย
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๒๕
(ค.ศ. 1482 – 1483)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๑๑ เมตร
วัดเจดีย์หลวง
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่

รูปที่ ๕.๙๐ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางมารวิชัย
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๗.๕ เซนติเมตร
สูง ๒๒.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๓๙
พระพุทธปฏิมาในสมัยพญาแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘ – ๒๐๖๘ / ค.ศ. 1495 – 1525) ส่วนใหญ่มีพุทธลักษณะ
ที่พ้องกัน เช่น พระวรกายตรงและแบน ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระเมาลีเตี้ย กลืนเข้ากับขมวด
พระเกศา รัศมีเป็นเปลว ดังเช่น พระพุทธปฏิมาวัดช่างแต้ม มีจารึกปี พ.ศ. ๒๐๓๘ (ค.ศ. 1495 – 1496)
(เรื่องเดียวกัน, ๗๗) (รูปที่ ๕.๙๑) พระพุทธปฏิมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีจารึกปี พ.ศ.
๒๐๔๓ (ค.ศ. 1500) (Griswold 1957, 84) (รูปที่ ๕.๙๒) และพระพุทธปฏิมาในวัดพระธาตุหริภุญไชย
อำเภอเมืองฯ จังหวัดลำพูน (รูปที่ ๕.๙๓) ซึ่งพระพุทธปฏิมาทั้งสามองค์นี้ มีฐานบัวหงายรองรับด้วย
ฐานเขียง ฉลุลายลูกฟัก ตั้งอยู่บนชนวนเททอง ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในรัชกาลนี้

ส่วนพระเจ้าเก้าตื้อ (รูปที่ ๕.๙๔) นั้น ชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวว่า พญาแก้วโปรดให้สร้างขึ้นที่
วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) ในปี พ.ศ. ๒๐๔๘ (ค.ศ. 1505) ใช้ทองแดงหนักหนึ่งโกฏิ หรือ ๑๒,๐๐๐
กิโลกรัม มีที่ต่อถึงแปดแห่ง แล้วใช้เวลาสร้าง ๕ เดือน (รัตนปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๑๒๑) พระปฏิมาองค์
นี้มีนิ้วพระหัตถ์ที่ยาวเท่ากันอีกด้วย

รูปที่ ๕.๙๑ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางมารวิชัย
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๓๘ (ค.ศ. 1495 – 1496)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๑๒ เมตร
วัดช่างแต้ม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่

รูปที่ ๕.๙๓ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๔๐ เซนติเมตร
สูง ๘๓ เซนติเมตร
วัดพระธาตุหริภุญไชย
รูปที่ ๕.๙๒ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย อำเภอเมืองฯ จังหวัดลำพูน
พ.ศ. ๒๐๔๓ (ค.ศ. 1500)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๒๔๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๕.๙๔ พระเจ้าเก้าตื้อ
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๔๘ (ค.ศ. 1505)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๙๕ เมตร
วัดสวนดอก
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๔๑
พระพุทธปฏิมาวัดชัยพระเกียรติ มีจารึกปี พ.ศ. ๒๐๖๐ (ค.ศ. 1517 – 1518) (ฮันส์ เพนธ์ ๒๕๑๙, ๘๙)
(รูปที่ ๕.๙๕) แสดงให้เห็นพุทธลักษณะที่น่าจะได้อิทธิพลจากพุทธปฏิมาสุโขทัย

พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในช่วงสองทศวรรษสุดท้ายของรัชสมัยพญาแก้ว มักจะมีฐานที่อลังการ
เช่น องค์ที่มีจารึกปี พ.ศ. ๒๐๕๓ (ค.ศ. 1510) มีฐานทรงโค้งคล้ายท้องสำเภา (รูปที่ ๕.๙๖) และองค์ที่
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1525) มีฐานเขียงสลักลายดอกพุดตาน (รูปที่ ๕.๙๗) นอกจากจะมีนิ้ว
พระหัตถ์ที่ยาวเท่ากันแล้ว พระพุทธปฏิมาองค์สุดท้ายนี้ ยังมีพระพักตร์เสี้ยม เช่นเดียวกันกับพระเจ้า
ตนหลวง วัดศรีโคมคำ อำเภอเมืองฯ จังหวัดพะเยา (รูปที่ ๕.๙๘) มีจารึกว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๖๗
(ค.ศ. 1524) และกล่าวถึงการให้สัดส่วนของพระพุทธปฏิมาองค์นี้ เช่น พระเมาลีวัดรอบได้ ๒๐ กำ
สูง ๓ ศอก (๑.๕๐ เมตร) พระเศียรกลมใหญ่ เม็ดพระศกมี ๑.๕๐๐ เม็ด เค้าพระพักตร์ยาว ๒ วา กว้าง
๒ วา (๔ เมตร) พระขนงยาว ๓ ศอก พระเนตรยาว ๓ ศอก พระนาสิกยาว ๓ ศอก พระโอษฐ์ยาว
๒ ศอก พระกรรณยาว ๑ วา (๒ เมตร) (เทิม และประสาร ๒๕๒๕, ๑๐๒ – ๑๐๕)

- ยุคเสื่อม พ.ศ. ๒๐๖๘ – ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1525 – 1558)

พระพุทธปฏิมาซึ่งมีพระพักตร์เสี้ยม น่าจะเป็นที่นิยมในรัชกาลพญาเกศ (พ.ศ. ๒๐๖๙ – ๒๐๘๑ /
รูปที่ ๕.๙๕ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ค.ศ. 1526 – 1538) เพราะว่าพระพุทธปฏิมาที่มีจารึกในรัชกาลนี้ มีลักษณะเช่นนี้แทบทุกพระองค์
ปางมารวิชัย (Griswold 1957, No. 68 – 72) ถึงแม้ว่าพระพุทธปฏิมาในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (รูปที่
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๖๐ (ค.ศ. 1517 - 1518) ๕.๙๙) จะไม่มีจารึก แต่พุทธลักษณะก็สอดคล้องกับพระพุทธปฏิมาที่มีจารึกทุกประการ รวมทั้งนิ้ว
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๑๒ เมตร
วัดชัยพระเกียรติ พระหัตถ์ที่เรียวยาวอีกด้วย
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่
พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ต้น ๒๒ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16)
ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธปฏิมาบูชา มีพระพักตร์เสี้ยม (รูปที่ ๕.๑๐๐) ประทับเหนือฐานเขียงชั้นเดียวหรือ
ฐานสองชั้นที่มีความเรียบง่าย หรือตกแต่งด้วยลายลูกประคำ (รูปที่ ๕.๑๐๑) ซึ่งอาจจะสะท้อนให้เป็น
เศรษฐกิจที่ตกต่ำในช่วงระยะเวลานี้

รูปที่ ๕.๙๖ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ รูปที่ ๕.๙๗ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางมารวิชัย ปางมารวิชัย
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๕๓ (ค.ศ. 1510) สร้างปี พ.ศ. ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1525)
สัมฤทธิ์ สูง ๗๑ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ สูง ๑.๐๒ เมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต วิหารสมเด็จฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร

๒๔๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๙๘ พระเจ้าตนหลวง
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๖๗ (ค.ศ. 1524)
ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร
สูง ๑๖ เมตร
วัดศรีโคมคำ อำเภอเมืองฯ จังหวัดพระเยา

รูปที่ ๕.๙๙ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ รูปที่ ๕.๑๐๐ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ รูปที่ ๕.๑๐๑ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางมารวิชัย ปางมารวิชัย ปางมารวิชัย
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ต้น ๒๒ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ต้น ๒๒
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16) (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16) (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๗.๒ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ หน้าตักว้าง ๑๖.๕ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สูง ๑๔.๕ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๓๖ เซนติเมตร
ในพระบรมมหาราชวัง สมบัติของเอกชน สมบัติของเอกชน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๔๓
(๓) ช่วงพม่าปกครอง พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๑๗ (ค.ศ. 1558 – 1774)

หลังจากพระเจ้าบุเรงนองโจมตีนครเชียงใหม่ได้ในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1558) ทำให้พม่าปกครอง
ล้านนาไปอีก ๒๑๖ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๓๑๗ (ค.ศ. 1774)

ในช่วงระยะเวลากว่าสองศตวรรษที่พม่าปกครองล้านนานั้น พม่าให้ล้านนาเป็นมณฑลหนึ่งของ
ราชอาณาจักรพม่า โดยยึดถือจารีตประเพณีเดิมของท้องถิ่นในการปกครอง (สรัสวดี ๒๕๓๙, ๒๒๓ – ๒๕๓)
ซึ่งส่งผลให้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาดำเนินต่อไปโดยมิได้รับการแทรกแซงจากพม่า อันเห็นได้จากรูปแบบ
ของพระพุทธปฏิมาที่มิได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่าแม้แต่น้อย

พระพุทธปฏิมาที่มีจารึกสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลานี้ เช่น พระพุทธรูปของวัดช้างค้ำ อำเภอเมืองฯ
จังหวัดน่าน (รูปที่ ๕.๑๐๒) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๓๒ (ค.ศ. 1589) (ศิลปากร ๒๕๓๐ ก, ๑๒๑) และ
วัดปราสาท อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๕.๑๐๓) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1590)
(ฮันส์ เพนธ์ ๒๕๑๙, ๑๐๓) มีพุทธลักษณะที่ใกล้เคียงกันคือรัศมีเป็นเปลวสูง พระพักตร์เสี้ยม พระขนง
โก่งโค้งบรรจบกันเป็นเส้นคมกลางสันพระนาสิก ปลายพระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์คล้ายกระจับ นิ้วพระหัตถ์
ยาวเรียวมีขนาดเท่ากัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวพบในพระพุทธปฏิมาอยุธยาหมวดกำแพงเพชร (ดูรูปที่
๕.๑๐๒) และพระพุทธรูปล้านช้าง เช่นพระเจ้าองค์ตื้อ (ดูรูปที่ ๕.๑๑๐) ส่วนพระพุทธรูปของวัดชัย-
รูปที่ ๕.๑๐๒ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ พระเกียรติ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๕.๑๐๔) ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๓๔ (ค.ศ. 1591)
ปางมารวิชัย แตกต่างจากพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในศตวรรษก่อนหน้าตรงลักษณะที่กล่าวถึงข้างต้น แต่ฐานบัวหงาย
สร้างปี พ.ศ. ๒๑๓๒ (ค.ศ. 1589) รองรับด้วยฐานเขียงหกเหลี่ยมยังเหมือนเดิม
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๕๘ เซนติเมตร
สูง ๑.๓๕ เมตร
วัดพระธาตุช้างค้ำ ในปี พ.ศ. ๒๒๔๔ (ค.ศ. 1701) พม่าแบ่งเขตการปกครองล้านนาออกเป็น เชียงใหม่ กับเชียงแสน
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน ซึ่งต่างก็ขึ้นกับกษัตริย์ที่กรุงอังวะโดยตรง จึงทำให้เชียงแสนเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง อันเห็นได้จาก
การหล่อพระพุทธปฏิมาพระเจ้าล้านทอง วัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
(Stratton 2004, 237) ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๖๙ (ค.ศ. 1726) โดยพญาหลวงเจ้ามังคละสแพก ซึ่งปกครอง
เชียงรายและเชียงแสน พระพุทธรูปองค์นี้มีน้ำหนัก ๓ แสน ๕ หมื่นทอง (๔๒๐ กิโลกรัม) (จารึกล้านนา
ภาค ๑ เล่ม ๑ ๒๕๓๔, ๒๐ – ๒๑)

รูปที่ ๕.๑๐๓ พระสมณโคดม รูปที่ ๕.๑๐๔ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
ปางมารวิชัย สร้างปี พ.ศ. ๒๑๓๔ (ค.ศ. 1591)
สร้างปี พ.ศ. ๒๑๓๓ สัมฤทธิ์ สูง ๑ เมตร
(ค.ศ. 1590) วัดชัยพระเกียรติ
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๑๔ เมตร อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่
วัดปราสาท อำเภอเมืองฯ
จังหวัดเชียงใหม่
๒๔๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
(๔) ช่วงประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๔๔๒ (ค.ศ. 1774 – 1899)

เมื่อชาวล้านนาเข้าสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ และ
ออกจากเชียงแสนในอีกสามสิบปีต่อมา คือช่วงที่ล้านนาเป็นประเทศราชของกรุงสยาม พระพุทธรูปล้านนา
ยังคงดำรงเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น พระพุทธรูปที่ท้าวอินธนูสร้างถวายพระธาตุลำปางหลวง เมือง
ลำปางในปี พ.ศ. ๒๓๙๖ (ค.ศ. 1853 – 1854) (รูปที่ ๕.๑๐๕) สืบทอดพุทธลักษณะแบบล้านนา แต่ฐาน
บัวหงายนั้นรองรับด้วยฐานหน้ากระดานแบบภาคกลาง และพระประธานวัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา
จังหวัดน่าน (รูปที่ ๕.๑๐๖) ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๐๕ (ค.ศ. 1862) ตามประวัติจากคำบอกเล่า
(น. ณ ปากน้ำ ๒๕๒๙, ๒๓) แสดงให้เห็นอิทธิพลของพุทธลักษณะแบบล้านช้างได้ชัดเจน ซึ่งพระพุทธปฏิมา
ทั้งสององค์นี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ถึงแม้ว่าเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าเมืองน่าน จะเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและพระวิหาร
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่านในปี พ.ศ. ๒๔๑๐ (ค.ศ. 1867) แต่ใช้เวลาในการซ่อมถึงแปดปี
(เรื่องเดียวกัน, ๙) จึงเสร็จสิ้นลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระประธาน
วัดภูมินทร์ (รูปที่ ๕.๑๐๗) จึงสะท้อนให้เห็นรูปแบบและค่านิยมจากกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ขมวดพระศก
เป็นหนามทุเรียน ถึงฐานหน้ากระดานลูกแก้วอกไก่ที่ตกแต่งด้วยลายแบบภาคกลาง

รูปที่ ๕.๑๐๕ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๙๖ (ค.ศ. 1853)
สัมฤทธิ์
วัดพระธาตุลำปางหลวง
อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

รูปที่ ๕.๑๐๖ พระประธานวัดหนองบัว รูปที่ ๕.๑๐๗ พระอดีตพุทธะสี่พระองค์


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๐๕ (ค.ศ. 1862) บูรณปฎิสังขรณ์ ปี พ.ศ. ๒๔๑๐ - ๒๔๑๘
ก่ออิฐถือปูน (ค.ศ. 1867 - 1875)
วัดหนองบัว ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๒.๗๐ เมตร
อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๔๕
๗.๓ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยล้านช้าง

(๑) ช่วงอาณาจักรล้านช้าง พ.ศ. ๑๙๓๖ – ๒๒๔๖ (ค.ศ. 1393 – 1703)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยที่เชื่อว่าเป็นพระพุทธปฏิมาคู่บ้านคู่เมืองของ
อาณาจักรล้านช้าง ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์และมีความงามเป็นเลิศ ประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยหลายองค์
(สงวน รอดบุญ ๒๕๔๕, ๑๗๖ – ๑๘๐) ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
(พ.ศ. ๒๐๙๓ – ๒๑๑๕ / ค.ศ. 1550 – 1572)

พระพุทธปฏิมาที่น่าจะสร้างขึ้นก่อนสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้แก่ พระแซกคำ วัดคฤหบดี
กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๑๐๘) ซึ่งมีพระพักตร์กลม พระวรกายสั้น พระมังสาเป็นมัด คล้ายกับ
พระพุทธปฏิมาสุโขทัยที่ได้รับอิทธิพลจากพระขนมต้มของอยุธยา (ดูรูปที่ ๕.๑๓๔) จึงเป็นไปได้ว่า อาจจะ
สร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน คือครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16)
ซึ่งสอดคล้องกับตำนานที่กล่าวว่าในสมัยพระเจ้าโพธิสาลธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๐๖๓ – ๒๐๙๓ / ค.ศ. 1520 –
รูปที่ ๕.๑๐๘ พระแซกคำ 1550) พระแซกคำแสดงปาฏิหาริย์ เสด็จมาทางอากาศ พระเจ้าโพธิสาลจึงโปรดให้สร้างปราสาทเป็นที่
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16) ประดิษฐานในนครหลวงพระบาง และเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชอัญเชิญพระรัตนปฏิมา หรือพระพุทธ-
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๔๖ เซนติเมตร มหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต จากเมืองเชียงใหม่ก็นำไปประดิษฐานในปราสาทเดียวกัน
พระอุโบสถวัดคฤหบดี กรุงเทพมหานคร ครั้นเมื่อย้ายราชธานีไปที่นครเวียนจันท์ในปี พ.ศ. ๒๑๐๓ (ค.ศ. 1560) ก็อัญเชิญพระแซกคำไปไว้ที่นั่น
พร้อมกับพระรัตนปฏิมาและพระบาง (ศิลปากร ๒๕๔๓ ก, ๗๗) ต่อมาเมื่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์
สิงหเสนี) ขึ้นไปปราบสมเด็จพระราชเชษฐา (เจ้าอนุวงศ์) ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ (ค.ศ. 1826) จึงอัญเชิญ
พระแซกคำมาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์พระราชทานแก่พระยาราชมนตรี
(ภู่) ให้เป็นพระประธานวัดคฤหบดีที่ท่านเป็นผู้สร้าง

พระเจ้าองค์หลวง วัดผดุงสุข อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย (รูปที่ ๕.๑๐๙) เป็นพระ
พุทธปฏิมาก่ออิฐถือปูน ศิลาจารึกวัดผดุงสุขกล่าวว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช โปรดให้สร้างขึ้นในปี
พ.ศ. ๒๐๙๔ (ค.ศ. 1551) (การศาสนา เล่ม ๑๐ ๒๕๓๔, ๓๔๖) คือ ๙ ปีก่อนที่พระองค์จะสถาปนานคร
เวียงจันท์ขึ้นเป็นราชธานีของกรุงศรีสัตนาคนหุต

พระพุทธปฏิมาที่มีจารึกระบุปีสร้าง พ.ศ. ๒๑๐๕ (ค.ศ. 1562) ได้แก่ พระเจ้าองค์ตื้อ (หนึ่งตื้อ
ประมาณ ๑๒,๐๐๐ กิโลกรัม) วัดศรีชมภูองค์ตื้อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย (รูปที่ ๕.๑๑๐)
(มหานิมิตย์ ๒๕๔๗, ๙) พระเจ้าองค์ตื้อมีพระพักตร์เสี้ยม พระขนงโก่งเป็นสันคม พระเนตรเหลือบลง
พระโอษฐ์กว้าง ทิ้งพระหัตถ์เป็นธรรมชาติ รัศมีเป็นรูปเปลวสูง พระพุทธปฏิมาองค์นี้อาจจะจำลองมา
จากพระเจ้าองค์ตื้อที่นครเวียงจันท์ ซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชโปรดให้สร้างขึ้นในปีเดียวกันกับที่เสด็จมา
ครองนครเวียงจันท์ (สุรสวัสดิ์ ๒๕๓๕, ๗๙)

พระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดหนองคาย มีเรื่องเล่ากันว่า
เมื่อพวกฮ่อข้ามโขงมาที่วัด เพื่อที่จะทำลายขวัญของชาวบ้าน โดยจ้วงขวานฟันลงที่พระชานุ ได้ยินเสียง
ร้องจากพระโอษฐ์ และพระโลหิตไหลออกจากบาดแผล พวกฮ่อเห็นเป็นอัศจรรย์จึงยกทัพกลับ แต่ถึงแก่
ความตายหมดทุกคน นอกจากนั้นแล้ว ผู้ที่จะออกศึกสงครามมาบนบานขอให้พระองค์ทรงคุ้มครอง ก็จะ
ปลอดภัยมีชัยกลับมา และถ้าปรารถนาอยากจะได้บุตรธิดา และมีความเจริญรุ่งเรืองในอาชีพสุจริต
ก็สามารถขอให้พระเจ้าองค์ตื้อบันดาลให้สมความปรารถนานั้น รวมทั้งผู้ที่ป่วยไข้ตั้งจิตอธิษฐานโรคนั้นก็
จะหายได้ (มหานิมิตย์ ๒๕๔๗, ๒๖ – ๒๗)

รูปที่ ๕.๑๐๙ พระเจ้าองค์หลวง
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๙๔ (ค.ศ. 1551) ก่ออิฐถือปูน
หน้าตักกว้าง ๓ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร
วัดผดุงสุข อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

๒๔๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๑๑๐ พระเจ้าองค์ตื้อ
สร้างปี พ.ศ. ๒๑๐๕ (ค.ศ. 1562)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๓.๒๙ เมตร
สูง ๔ เมตร
วัดศรีชมภูองค์ตื้อ
อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๔๗
พระเสริม พระอุโบสถวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๑๑๑) มีลักษณะคล้ายกับ
พระเจ้าองค์ตื้อ แต่นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน พระพุทธรูปองค์นี้อัญเชิญมาจากเวียงจันท์ในปี พ.ศ. ๒๓๗๐
(ค.ศ. 1827) ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้า-
มหาศักดิพลเสพย์เสด็จขึ้นไปตีนครเวียงจันท์ แล้วอัญเชิญมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัย เมืองหนองคาย ซึ่งตั้งขึ้น
แทนเวียงจันท์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญมาไว้ที่กรุงเทพฯ ประดิษฐานไว้บนพระ
แท่นเศวตฉัตรในท้องพระโรง ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงอัญเชิญไปเป็นพระ
ประธานในพระอุโบสถวัดปทุมวนาราม (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๖๘ – ๖๙)

พระแสน (เมืองมหาชัย) ในพระวิหารวัดปทุมวนาราม (รูปที่ ๕.๑๑๒) และพระใส (รูปที่ ๕.๑๑๓)
ซึ่งเดิมอยู่กับพระเสริมในวัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด
เกล้าฯ ให้เชิญมาไว้ในพระวิหารวัดปทุมวนารามในปีเดียวกันคือ พ.ศ. ๒๔๐๑ (ค.ศ. 1858) (เรื่องเดียวกัน,
๗๐) พระพุทธปฏิมาทั้งสององค์นี้มีพุทธลักษณะพ้องกัน แตกต่างกันตรงที่พระแสน (เมืองมหาชัย) มีนิ้ว
พระหัตถ์ยาวเสมอกัน และฐานพระเทียบเคียงได้กับฐานพระพุทธล้านนาร่วมสมัย

รูปที่ ๕.๑๑๑ พระเสริม


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ต้น ๒๒
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๒ เมตร
พระอุโบสถวัดปทุมวนาราม
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๕.๑๑๒ พระแสน (เมืองมหาชัย) รูปที่ ๕.๑๑๓ พระใส


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ต้น ๒๒ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ต้น ๒๒
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16) (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๕๗ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๕๒ เซนติเมตร
สูง ๘๙ เซนติเมตร พระอุโบสถวัดปทุมวนาราม
พระวิหารวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร

๒๔๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ส่วนพระใส วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมืองฯ จังหวัดหนองคาย (รูปที่ ๕.๑๑๔) มีพุทธลักษณะแบบ
พระพุทธปฏิมาสกุลช่างเวียงจันท์มากกว่าองค์ที่กล่าวถึงข้างต้น นอกจากนั้นแล้ว ฐานที่มีลวดบัวตอนบน
และตอนล่างอ่อนโค้งก็เป็นลักษณะเฉพาะของสกุลช่างนี้เช่นกัน (Boun Souk 1971, 33) จึงน่าจะสร้าง
ขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวงสาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๗๖ – ๒๒๓๓ / ค.ศ. 1633 – 1690) มากกว่า
สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช

หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดหนองคายอีกองค์หนึ่ง เล่ากันว่า เมื่อ
พระเจ้าสุริยวงสาธรรมิกราช จะเสด็จขึ้นเสวยราชย์ในนครศรีสัตนาคนหุตนั้น ทรงอธิษฐานว่า หากการ
ปกครองของพระองค์จะมีความสงบสุขปราศจากศัตรูภัยแล้ว ขอให้หลวงพ่อแสดงเหตุอัศจรรย์ให้
ประจักษ์ในวันที่เสด็จขึ้นเสวยราชย์ด้วย โดยในวันดังกล่าวเกิดพายุฝน แต่มิได้เป็นอันตรายแก่คนและ
สัตว์ จึงเป็นนิมิตหมายซึ่งปรากฏว่าพระองค์ได้ทรงปกครองบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดรัชสมัยของ
พระองค์ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานี อัญเชิญพระใสจาก
วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ อำเภอเมืองฯ จังหวัดหนองคาย มาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ แต่พอถึงวัดโพธิ์ชัย
เกวียนไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทน แต่ก็เคลื่อนที่ไม่ได้อีกเช่นกัน จึงตัดสินใจที่จะ
อัญเชิญพระใสประดิษฐานไว้ในวัดโพธิ์ชัย หลังจากตั้งจิตอธิษฐานดังนั้นแล้ว ก็สามารถหามองค์พระขึ้น
โดยใช้คนเพียงไม่กี่คน (อารักษ์ ๒๕๔๕, ๙ – ๑๑)

รูปที่ ๕.๑๑๔ พระใส


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ต้น ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร
วัดโพธิ์ชัย
อำเภอเมืองฯ จังหวัดหนองคาย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๔๙
รูปที่ ๕.๑๑๕ ก. พระเศียรพระแสน (เมืองเชียงแตง)
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ต้น ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๖๕ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม
กรุงเทพมหานคร
รูปที่ ๕.๑๑๕ ข. พระแสน (เมืองเชียงแตง)
ประดิษฐานด้านหน้าพระประธาน
พระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม
กรุงเทพมหานคร

พระพุ ท ธปฏิ ม าแบบสกุ ล ช่ า งเวี ย งจั น ท์ ที่ ส ำคั ญ อี ก องค์ ห นึ่ ง ได้ แ ก่ พ ระแสน (เมื อ งเชี ย งแตง)
วัดหงส์รัตนาราม พระพุทธปฏิมาองค์นี้ พระเศียรแสดงให้เห็นพุทธลักษณะของพระพุทธรูปลาวได้อย่าง
ชัดเจน (รูปที่ ๕.๑๑๕ ก.) เช่นพระรัศมีเป็นเปลวประดับด้วยแก้วและเพชรพลอย พระศกเป็นหนามขนุน
มีไรพระศก พระขนงโก่งยกขอบสูง พระนาสิกโด่งปลายงุ้ม พระโอษฐ์ยิ้ม พระกรรณประดิษฐ์ขมวดม้วน
พระศอทำเป็นปล้อง (สงวน รอดบุญ ๒๕๔๕, ๑๗๑ – ๑๗๓) และอาจจะสร้างขึ้นโดยพระครูโพนเสม็ดที่
เมืองเชียงแตง ปัจจุบันคือ สตรึงแตรง ตำบลหางโขง แขวงจำปาศักดิ์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๓๓ – ๒๒๕๒
(ค.ศ. 1690 – 1709) ตามที่กล่าวถึงในประวัติของพระพุทธปฏิมาองค์นี้ (เติม ๒๕๓๐, ๓๙ - ๔๐) พระ
พุทธปฏิมาองค์นี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากเมืองเชียงแตง
ในปี พ.ศ. ๒๔๐๑ (ค.ศ. 1858) เพื่อประดิษฐานหน้าพระประธานในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม (รูปที่
๕.๑๑๕ ข.) ซึ่งสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระราชชนนี ทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้ ประชาชนมักจะนำ
ข้าวเหนียว ปลาร้า และไข่ต้มมาถวายเป็นการแก้บนอยู่เสมอ (วรนันทน์ ๒๕๔๓, ๑๔๒)

๒๕๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๕.๑๑๖ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ รูปที่ ๕.๑๑๗ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย ปางมารวิชัย
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ต้น ๒๓ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ต้น ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17) (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๓๖ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๔๘.๕ เซนติมเตร
สูง ๗๗ เซนติเมตร สูง ๑.๒๙ เมตร
วัดเมธังกราวาส วิหารสมเด็จฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดแพร่ กรุงเทพมหานคร

พระพุ ท ธปฏิ ม าที่ อ าจจะสร้ า งขึ้ น ในรั ช กาลของพระเจ้ า สุ ริ ย วงสาธรรมิ ก ราช ซึ่ ง ครองราชย์
ยาวนานถึง ๕๗ ปี ได้แก่ พระพุทธปฏิมาวัดเมธังกราวาส อำเภอเมืองฯ จังหวัดแพร่ (รูปที่ ๕.๑๑๖)
ประทับเหนือเกษรบัวรองรับด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายปลายงอน หน้ากระดานแต่งด้วยลูกแก้วอกไก่เหนือ
ฐานเขียงหกเหลี่ยม ส่วนพระพุทธปฏิมาในวิหารสมเด็จฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (รูปที่ ๕.๑๑๗)
นั้น ประทับเหนือฐานบัวหงาย รองรับด้วยฐานหน้ากระดานหกเหลี่ยมฉลุลูกฟัก ซ้อนกันสองชั้นตั้งบน
ชนวนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบให้กับฐานพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยในระเบียง
หอพระแก้ว นครเวียงจันท์ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน (สมเกียรติ ๒๕๔๓, ๑๘๘) ส่วนพระพุทธปฏิมาวัด
ไชยาติการาม อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ (รูปที่ ๕.๑๑๘) ซึ่งประทับบนกลีบบัวบาน รองรับด้วยฐาน
บัวคว่ำบัวหงายปลายงอน เหนือฐานเขียงยกสูง อาจจะสร้างขึ้นในช่วงปลายของรัชกาลนี้เช่นกัน

รูปที่ ๕.๑๑๘ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางมารวิชัย
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ สูง ๕๕ เซนติเมตร
วัดไชยาติการาม
อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๕๑
(๒) ช่วง ๓ นครรัฐ พ.ศ. ๒๒๔๖ – ๒๓๓๒ (ค.ศ. 1703 – 1789)

ในช่วงปี พ.ศ. ๒๒๕๔ – ๒๒๖๓ (ค.ศ. 1711 – 1720) ชาวเวียงจันท์ที่อพยพมาพร้อมกับพระครู
โพนเสม็ด จากเขตเมืองจำปาศักดิ์ ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในท้องที่ซึ่งปัจจุบันได้แก่ บ้านพระเหลา อำเภอ
พนา จังหวัดอำนาจเจริญ (ศิลปากร ๒๕๓๒, ๑๒๔) ในปี พ.ศ. ๒๒๖๓ (ค.ศ. 1720) พระครูธิ จึงได้สร้าง
“พระเหลา” (รู ป ที่ ๕.๑๑๙) ซึ่ ง เป็ น ชื่ อ ที่ ช าวบ้ า นเรี ย ก “เพราะงดงามคล้ า ยเหลาด้ ว ยมื อ จริ ง ๆ”
(พระเหลาเทพนิมิต ๒๕๔๙, เอกสารแผ่นพับ) พระเหลาเทพนิมิตจึงเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปใน
สกุลช่างเวียงจันท์อีกองค์หนึ่ง ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเหลาเห็นได้จากปรากฏการณ์ในคืนวันโกนและ
วันพระ ๗, ๘ และ ๑๔, ๑๕ ค่ำ ที่มีผู้เห็นแสงสีเขียวแกมขาวลอยออกมาจากอุโบสถเป็นประจำ
(เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน)

รูปที่ ๕.๑๑๙ พระเหลาเทพนิมิต


สร้างปี พ.ศ. ๒๒๖๓ (ค.ศ. 1720)
ก่ออิฐถือปูน
หน้าตักกว้าง ๒.๘๕ เซนติมเตร
สูง ๒.๗๐ เมตร
วัดพระเหลาเทพนิมิต
อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ

๒๕๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


(๓) ช่วงประเทศราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๓๓๒ – ๒๔๓๖ (ค.ศ. 1789 – 1893)

ในปี พ.ศ. ๒๓๑๓ – ๒๓๑๙ (ค.ศ. 1770 – 1776) ชาวลาวกลุ่มหนึ่งได้อพยพจากเมืองหนองบัวลุ่มภู
คือท้องที่จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน ไปตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และต่อมาในปี พ.ศ.
๒๓๓๕ (ค.ศ. 1792) จึงได้ตั้งเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยขึ้น โดยมีพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ เป็นเจ้าเมือง
คนแรก (ศิลปากร ๒๕๓๒, ๑๒๔) เมื่อท่านถึงอนิจกรรมแล้ว น้องชายของท่าน พระพรหมวรราชสุริยวงศ์
จึงครองเมืองสืบต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๓๕๐ (ค.ศ. 1807) มหาราชครูศรีสัทธรรมวงศาชักชวนศิษย์ของท่าน
สร้างพระพุทธปฏิมาองค์หนึ่ง ก่ออิฐถือปูน และถวายพระนามแก่พระพุทธปฏิมาว่า “พระเจ้าอินแปง”
(เทิม และประสาร ๒๕๒๔, ๕๖ – ๖๕) (รูปที่ ๕.๑๒๐) เช่นเดียวกับพระเหลา พระเจ้าอินแปงเป็น
พระพุทธปฏิมาในสกุลช่างเวียงจันท์รุ่นหลัง เห็นได้จากพระขนงที่โก่งยกขอบแยกออกจากกันเหมือนคิ้ว
คนธรรมดา และนิ้วพระหัตถ์ที่ยาวเสมอกัน

รูปที่ ๕.๑๒๐ พระเจ้าอินแปง


สร้างปี พ.ศ. ๒๓๕๐ (ค.ศ. 1807)
ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๓ เมตร
วัดมหาวนาราม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุบลราชธานี

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๕๓
๗.๔ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยกัมโพช
พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

เช่นเดียวกับพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย ที่สร้างขึ้นในรัฐกัมโพชหรือภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย ในช่วงครึ่งแรกพุทธ-
ศตวรรษที่ ๑๙ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13) ภายใต้คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ มีรูปแบบที่เรียกว่า
“แบบอู่ทอง แบบที่ ๑” คือพระพักตร์เหมือนพระพุทธรูปสมัยทวารวดี หรือเขมร และมีพระรัศมีเป็นรูปฝาชี

ตัวอย่างของพระพุทธปฏิมาในหมวดนี้ได้แก่ พระพุทธปฏิมาพบที่ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองฯ
จังหวัดสุพรรณบุรี (รูปที่ ๕.๑๒๑) ซึ่งยังธำรงรักษารูปแบบเขมรไว้ เช่น พระพักตร์เหลี่ยม มีไรพระศก
พระเกศาถักเป็นเส้น สวมกรองศอทับชายจีวรที่พับทบเป็นแถบใหญ่ ท่อนบนของสบงทำเป็นขอบนูน
และพระพุทธรูปในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต (รูปที่ ๕.๑๒๒) ซึ่งมีพระพักตร์เหลี่ยมคล้าย
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีไรพระศกเป็นแถบเรียบ พระเศียรค่อนข้างแบน เม็ดพระศกใหญ่ พระเมาลีเป็น
เส้นขีดรับกับพระรัศมีทรงกรวยเรียบ ครองจีวรห่มดอง ชายเป็นแถบใหญ่ ประทับเหนือฐานบัวคว่ำ
บัวหงาย เว้าเข้าตรงกลางรับกับพระชงฆ์

รูปที่ ๕.๑๒๑ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย


พบที่ตำบลพิหารแดง
อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๗ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน

รูปที่ ๕.๑๒๒ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย


ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๘ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

๒๕๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๗.๕ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยอยุธยา

(๑) เมืองพระยามหานคร พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1351 – 1448)

เศียรพระพุทธปฏิมาศิลาทรายขาว ได้จากวัดนครโกษา อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี (รูปที่
๕.๑๒๓) น่าจะเก่าที่สุดในบรรดา พระพุทธปฏิมา “แบบอู่ทอง แบบที่ ๓” ทั้งนี้เพราะมีพระเมาลีแบน
และพระรัศมีทรงกรวยเตี้ย นอกจากนั้นแล้วยังมีเส้นตรงที่ผ่าเหนือพระโอษฐ์ผ่านกลางพระโอษฐ์ และ
กลางพระหนุ เช่นเดียวกันกับพระพักตร์ของพระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ขวาประทานอภัย ใน “แบบ
อู่ทอง แบบที่ ๑” (ดูรูปที่ ๘.๒๑) ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ครึ่งหลังคริสต์
ศตวรรษที่ 14)

เศียรสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโค้งจรดกันเหนือสันพระนาสิก พระเนตรเหลือบ
ลง พระโอษฐ์มีเส้นล้อม และมีพระมัสสุเป็นเส้นบาง (รูปที่ ๕.๑๒๔) น่าจะเป็นเศียรของพระพุทธปฏิมา
สำคัญ และเก่าที่สุดองค์หนึ่งในหมวดนี้ กำหนดอายุได้ในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ครึ่งหลัง
คริสต์ศตวรรษที่ 14) เช่นกัน

รูปที่ ๕.๑๒๓ เศียรพระสมณโคดม


ได้จากวัดนครโกษา
อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)
ศิลาทรายขาว สูง ๕๐ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

รูปที่ ๕.๑๒๔ เศียรพระสมณโคดม


ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๑๒ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๕๕
(๒) ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – กลาง ๒๒ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 –
กลาง 16) น่าจะได้แก่กลุ่มที่พบในกรุวัดพระศรีสรรเพชญ์ (รูปที่ ๕.๑๒๕) และกลุ่มที่พบในกรุวัดราชบูรณะ
เช่นพระพุทธปฏิมาทองคำ (รูปที่ ๕.๑๒๖) โดยมีรัศมีเป็นเปลวสูงชะลูด และลวดบัวชั้นล่างของฐานหน้า
กระดานงอนขึ้นเล็กน้อย (ศิลปากร ๒๕๐๒, รูปที่ ๓๗ – ๓๘) แต่น้อยกว่าฐานของพระพุทธรูปล้านช้าง
พระพุทธปฏิมาที่อาจจะสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน น่าจะได้แก่พระพุทธปฏิมาที่ได้จากวัดสี่จีน
(ปัจจุบันคือวัดจตุรมิตรประดิษฐาราม) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๑๒๗) ซึ่งประทับ
เหนือฐานบัวคว่ำบัวหงาย ในพระระเบียงของพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระพุทธปฏิมา
“แบบอู่ทอง แบบที่ ๓” นี้เป็นที่แพร่หลายในอาณาจักรอยุธยา อันเห็นได้จากพระพุทธรูปที่พบที่เกาะถ้ำ
จังหวัดสงขลา (รูปที่ ๕.๑๒๘)

รูปที่ ๕.๑๒๕ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางสมาธิ
ได้จากกรุวัดพระศรีสรรเพชญ์
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – กลาง ๒๒
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 – กลาง 16 )
สัมฤทธิ์ สูง ๔๘.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดน่าน

รูปที่ ๕.๑๒๖ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ รูปที่ ๕.๑๒๗ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย


ปางมารวิชัย ได้จากกรุพระปรางค์ ได้จากวัดจตุรมิตรประดิษฐาราม
วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – กลาง ๒๒ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – กลาง ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 – กลาง 16) (คริสต์ศตวรรษที่ 15)
ทองคำ สูง ๑๖.๖ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๗๖ เซนติเมตรสูง ๑.๓๐ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พระระเบียงพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร

๒๕๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๑๒๘ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
พบที่เกาะถ้ำ จังหวัดสงขลา
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – กลาง ๒๑ (คริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูง ๖๔.๒ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๕๗
พระมงคลบพิตร

พระมงคลบพิตร (รูปที่ ๕.๑๒๙) เป็นพระพุทธปฏิมาสำคัญของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งน่าจะเป็นองค์
เดียวกับ “พระพุทธสยมภูวญาณโมฬี นั่งสมาธิหน้าตัก ๑๖ ศอก หล่อด้วยทองเหลืองอยู่ในพระมหาวิหาร
ยอดมณฑปในวัดสุมงคลบพิตร” (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ๒๕๓๔, ๒๕) เพราะประดิษฐาน
อยู่ในวัดสุมงคลบพิตร (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ๒๕๓๕, ๒๕๗) ซึ่งต่อ
มาเรียกชื่อวัดย่อลงเป็น วัดมงคลบพิตร (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์
(จาด) เล่ม ๒ ๒๕๐๔, ๔๙๔) และถวายพระนามพระพุทธปฏิมาตามชื่อวัดว่า “พระมงคลบพิตร” เมื่อครั้ง
ยังมีพระนามว่า “พระพุทธสยมภูวญาณโมฬี” นั้น ขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม จัดให้เป็น ๑ ใน “พระมหา-
พุทธปฏิมากรที่มีพระพุทธานุภาพเป็นหลักกรุง ๘ องค์” ซึ่งถึงแม้ว่าพระเพลาปัจจุบันวัดได้ ๙.๕๕ เมตร
ไม่ใช่ ๘ เมตร (๑๖ ศอก) แต่ก็มีขนาดที่ใหญ่พอ ๆ กัน

พระมงคลบพิตรมีพระพักตร์เป็นรูปไข่ รัศมีรองรับด้วยกลีบบัวหงาย พระขนงเป็นเส้นคมโค้ง
บรรจบกันเหนือสันพระนาสิก พระเนตรเหลือบลง หลังพระเนตรนูน พระโอษฐ์ยื่น และพระหนุหลุบ
รูปที่ ๕.๑๒๙ พระมงคลบพิตร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ ลักษณะดังกล่าวยังปรากฏในเศียรที่ได้จากศาลาการเปรียญวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (รูปที่ ๕.๑๓๐) และพระพุทธรูปประทับเหนือกองทัพมาร
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๘๑ (ค.ศ. 1538) มีพระแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่เหนือศีรษะพญามาร (รูปที่ ๕.๑๓๑) ที่มีพระพักตร์ในลักษณะเดียวกันอีกด้วย
วิหารพระมงคลบพิตร ซึ่งคงจะสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน คือประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (กลางคริสต์
วัดมงคลบพิตร
อำเภอพระนครศรีอยุธยา ศตวรรษที่ 16)
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

รูปที่ ๕.๑๓๐ เศียรพระสมณโคดม


ได้จากศาลาการเปรียญ
วัดพระศรีสรรเพชญ์
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๖๗ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๒๕๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๑๓๑ พระสมณโคดมประทับเหนือ
กองทัพมาร
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 )
สัมฤทธิ์ ลงรักปิดทอง สูง ๓๔ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย เป็นปางที่นิยมมากที่สุดในอาณาจักรอยุธยา


โดยเฉพาะพระพุทธปฏิมา “แบบอู่ทอง แบบที่ ๓” ซึ่งเป็นหมวดใหญ่ที่สุดของพระพุทธปฏิมาอยุธยา มี
พุทธลักษณะที่พ้องกัน คือ พระพักตร์เป็นรูปไข่ มีไรพระศก รัศมีเป็นเปลวสูง ชายสังฆาฏิยาว ปลายตัดตรง
ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย รองรับด้วยฐานหน้ากระดานที่เว้าเข้าตรงกลาง อันเห็นได้จาก เมื่อได้
มีการเปิดกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ (ค.ศ. 1957) พบพระพุทธ-
ปฏิมาสัมฤทธิ์ ที่จำแนกไว้ในแบบอู่ทองมากที่สุดถึง ๓๘๙ องค์ ซึ่งแยกเป็นแบบ อู่ทองแบบที่ ๑ ได้ ๗
องค์ อู่ทองแบบที่ ๒ ได้ ๒๖ องค์ และอู่ทองแบบที่ ๓ ได้ ๓๕๖ องค์ (ศิลปากร ๒๕๐๒, ๑๖) ซึ่งแสดงให้
เห็นว่า เมื่อได้มีการบรรจุพระพุทธปฏิมาลงในกรุของพระปรางค์นั้น พระพุทธปฏิมาอันเป็นที่นิยมแพร่
หลายในช่วงระยะเวลานั้นได้แก่ พระพุทธปฏิมา “แบบอู่ทอง แบบที่ ๓” แต่อายุเวลาของพระพุทธปฏิมา
“แบบอู่ทอง แบบที่ ๓” ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุเวลาของการปิดกรุ เพราะว่าได้มีการจำลองพระพุทธปฏิมา
“แบบอู่ทอง แบบที่ ๓” ก่อนปี พ.ศ. ๒๐๘๑ (ค.ศ. 1538) แล้ว ก่อนที่จะนำมาบรรจุใน พระอุระและ
พระพาหาเบื้องซ้ายพระมงคลบพิตร (ณัฏฐภัทร ๒๕๔๙, ๑๕) ในปีนั้น

อนึ่ง พระปรางค์วัดราชบูรณะไม่ปรากฏอยู่ในแผนที่ซึ่งชาวตะวันตกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๒๒๙ และ
๒๒๓๐ (ค.ศ. 1686 และ 1687) (พิริยะ ๒๕๓๖, ๔๒) แต่อยู่ในแผนที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งหมอแกมเฟอร์
เขียนขึ้นด้วยดินสอเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๒๓๓ (ค.ศ. 1690) ในช่วงที่เขาพำนักอยู่ ณ ที่นั้น
(Terwiel 2003, 45) ดังนั้น พระปรางค์วัดราชบูรณะ จึงน่าจะสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๒๓๐ – ๒๒๓๓
(ค.ศ. 1687 – 1690) คือช่วงปีสุดท้ายของสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ / ค.ศ. 1656 – 1688)
และสองปีแรกของสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑ – ๒๒๔๖ / ค.ศ. 1688 – 1703)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๕๙
- แบบสุโขทัย

พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นหลังจากอยุธยาได้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ สามารถแบ่งเป็น
กลุ่มย่อย ตามพุทธลักษณะที่สืบทอดมาจากเมื่อครั้งยังเป็นเมืองอิสระ ได้แก่ สุโขทัย กำแพงเพชร
สวรรคโลก และพิษณุโลก

พระพุทธปฏิมาแบบสุโขทัย ที่เรียกว่า “หมวดวัดตะกวน” แสดงให้เห็นอิทธิพลของพระ
พุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย แบบอยุธยา “แบบอู่ทอง แบบที่ ๓” เช่นพระพักตร์
รูปไข่ พระอุระผาย พระอังสาและพระเพลาแคบ (รูปที่ ๕.๑๓๒) นอกจากนั้นแล้ว พระขนงยังโค้ง
มาบรรจบกันกลางสันพระนาสิกที่พระนลาฏอีกด้วย (รูปที่ ๕.๑๓๓) กำหนดอายุเวลาอยู่ในช่วง
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)

นอกจากนั้นแล้ว พระพุทธปฏิมาแบบสุโขทัย ยังรับอิทธิพลจากพระพุทธสิหิงค์จำลองของ
อยุธยา หรือ “พระขนมต้ม” มีพระวรกายสั้น พระมังสาเป็นมัด พระเพลาแคบ ฐานมักจะสั้นกว่า
พระเพลาอีกด้วย เช่นพระพุทธรูปวัดพระเนตร อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน (รูปที่ ๕.๑๓๔) และ
บางองค์ยังมีพระขนงโก่งเป็นเส้นนูนโค้ง บรรจบกันที่สันพระนาสิก (รูปที่ ๕.๑๓๕) เช่นเดียวกันกับ
พระพุทธปฏิมาแบบกำแพงเพชร พระพุทธรูปแบบสุโขทัยทั้งสององค์นี้ อาจจะสร้างขึ้นในช่วง
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16)

รูปที่ ๕.๑๓๒ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ วัดตะกวน จังหวัดสุโขทัย

รูปที่ ๕.๑๓๔ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางมารวิชัย
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูงจากฐาน ๕๙ เซนติเมตร
วัดพระเนตร อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน

รูปที่ ๕.๑๓๓ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ รูปที่ ๕.๑๓๕ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


ปางมารวิชัย ปางมารวิชัย
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15) (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ วัดตะกวน จังหวัดสุโขทัย สัมฤทธิ์ สูง ๔๗.๓ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

๒๖๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


- แบบกำแพงเพชร

พระพุทธรูปแบบกำแพงเพชรแสดงให้เห็นวิวัฒนาการของรูปแบบจากธรรมชาติไปสู่ความ
เหนือจริง ที่เน้นความชัดเจนของลายเส้นมากกว่าความคลุมเครือของปริมาตร ดังเช่นพระพุทธรูป
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย (รูปที่ ๕.๑๓๖) ซึ่งเน้นที่ความสมดุลของ
เส้นเว้าเส้นโค้งรวมไปถึงฐาน ที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากเศียรในพิพิธภัณฑ์เดียวกัน (รูปที่ ๕.๑๓๗)
ที่ พ ระขนงเป็ น สั น คมโค้ ง จรดกั น กลางสั น พระนาสิ ก และช่ ว งล่ า งของพระกรรณตวั ด ออก
หางพระเนตรตวัดขึ้นรับกับปลายพระโอษฐ์ทั้งสองข้าง พระพุทธรูปที่มีลักษณะดังกล่าวอาจจะ
สร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – กลาง ๒๒ (คริสต์ศตวรรษที่ 16)

รูปที่ ๕.๑๓๖ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - กลาง ๒๒
(คริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๒๐.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
จังหวัดสุโขทัย

รูปที่ ๕.๑๓๗ เศียรพระสมณโคดม


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - กลาง ๒๒
(คริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
จังหวัดสุโขทัย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๖๑
(๓) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธปฏิมา “แบบอู่ทอง แบบที่ ๓” ยังเป็นที่นิยมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ –
๒๒๓๑ / ค.ศ. 1656 – 1688) อันเห็นได้จากพระพุทธปฏิมาไม้ในเรือนแก้ว (รูปที่ ๕.๑๓๘) โดยมี
องค์ ป ระกอบที่ เ ป็ น ชาวต่ า งชาติ เช่ น แขกและฝรั่ ง เล่ น ดนตรี รวมทั้ ง ค่ า นิ ย มจากตะวั น ตก เช่ น
พระพรหมสวมรองพระบาทเป็นต้น นอกจากนั้นแล้วองค์ประกอบอื่น ๆ ของภาพ เช่น ลักษณะของ
เรือนแก้วยังเป็นที่นิยมในรัชกาลนี้เช่นกัน (พิชญา ๒๕๔๘, ๙๖ – ๙๘)

พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยเรือนแก้ว (รูปที่ ๕.๑๓๙ ก.) เป็นที่นิยมมากใน
ช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 - กลาง 18) เช่นองค์ที่ด้านหลังเป็น
จิตรกรรมลายรดน้ำรูปพระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยเช่นกัน (รูปที่ ๕.๑๓๙ ข.)
เรือนแก้วของพระพุทธปฏิมาองค์นี้ แบ่งเป็นสองตอน เหงาของตอนบนเป็นหางกินนรพนมมือ ตอนล่าง
เป็นพญานาคหันหน้าออก องค์พระพุทธปฏิมาประทับบนฐานหน้ากระดานซ้อนกันสองชั้น ชั้นล่างเป็น
หน้ากระดานอกไก่

พระพุทธปฏิมาที่ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของหมวดพระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
อยุธยา ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18) น่าจะได้แก่
รูปที่ ๕.๑๓๘ พระสมณโคดมในเรือนแก้ว พระประธานในพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี (รูปที่ ๕.๑๔๐) และ
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓ พระพุทธปฏิมาที่ได้จากกรุพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๑๔๑) ทั้ง
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17)
ไม้ สูง ๑๕๕ เซนติเมตร สองพระองค์ประทับเหนือฐานสิงห์รองรับด้วยกลีบบัวจงกล และตกแต่งลวดบัวด้วยกระจังตาอ้อย อนึ่ง
สมบัติของเอกชน พระพุ ท ธปฏิ ม าประทั บ บนฐานสิ ง ห์ เ ป็ น ที่ นิ ย มมากในช่ ว งระยะเวลานี้ ทั้ ง ที่ มี ผ้ า ทิ พ ย์ ปู ท างด้ า นหน้ า
(สมเกียรติ ๒๕๓๙, ๓๕๒ – ๓๕๖, ๓๕๙ – ๓๖๕) และที่ไม่มีผ้าทิพย์ (เรื่องเดียวกัน, ๓๕๐, ๓๖๖, ๓๖๙)

รูปที่ ๕.๑๔๑ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ


รูปที่ ๕.๑๓๙ ก. พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ รูปที่ ๕.๑๓๙ ข. ด้านหลังของรูปที่ ๕.๑๓๙ ก. ปางมารวิชัย ได้จากกรุพระอุโบสถ
ปางมารวิชัยเรือนแก้ว วัดบวรสถานสุทธาวาส กรุงเทพมหานคร
พุทธศตวรรษที่ ๒๓ พุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18) (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 - กลาง 18)
สัมฤทธิ์ สูง ๔๗ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ สูงจากฐาน ๔๕ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดน่าน

๒๖๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๑๔๐ (หน้าขวา)
พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
พุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๒๐ เมตร
วัดใหญ่สุวรรณาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๖๓
- แบบสุโขทัย

นอกจากพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
พิษณุโลกแล้ว ยังมีพระพุทธชินราช และพระพุทธชินศรีอีกคู่หนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธ-
ยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำริว่า

อยู่ ณ เมืองสุโขทัยนั้น ต้องแดดฝนตรากตรำคร่ำคร่าเพลิงป่าเผาแตกพัง หาผู้
จะรักษาทำนุบำรุงไม่ ให้อารธนาลงมาปฏิสังขรณ์พระลักษณสิ่งใดมิต้องด้วย
พระพุทธลักษณ ให้ช่างซ่อมแปลงแต่งให้ต้องด้วยพระอรรถกถาบาลี (ประชุม
จารึกวัดพระเชตุพน เล่ม ๑ ๒๔๗๒, ๑๑)

พระพุทธรูปที่เชิญมาจากสุโขทัยนี้ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปไว้ในพระวิหารวัดพระเชตุพน-
วิมลมังคลาราม

รูปที่ ๕.๑๔๒ พระพุทธชินราชวโรวาทธรรมจักร
อัครปฐมเทศนา นราศราบพิตร น่าตักห้าศอกคืบกับนิ้วหนึ่งเท่ากัน พระองค์หนึ่งทรงพระนามพระพุทธชินราช
พุทธศตวรรษที่ ๒๓ เข้ า ประดิ ษ ฐานไว้ แ ทนที่ พ ระในพระวิ ห ารฝ่ า ยทั ก ขิ ณ ทิ ศ พระองค์ ห นึ่ ง ทรง
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 - กลาง 18) พระนามพระพุ ท ธชิ น ศรี เ ข้ า ประดิ ษ ฐานไว้ แ ทนที่ ใ นพระวิ ห ารฝ่ า ยปั จ จิ ม ทิ ศ
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๗๗ เมตร
พระวิหารด้านทิศใต้ มุขหน้า (เรื่องเดียวกัน, ๗)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร พระนามของพระพุ ท ธชิ น ราช และพระพุ ท ธชิ น ศรี ซึ่ ง ปรากฏอยู่ ใ น ประชุ ม จารึ ก วั ด
พระเชตุพน นั้น มีข้อสงสัยว่าอาจเป็นพระนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็น
ผู้ถวายขึ้นใหม่ให้กับพระพุทธรูปทั้งสองที่อัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัยหรือไม่ แต่จากจารึกดังกล่าว
ก็ได้พูดถึงพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ ที่ได้อัญเชิญมาจากที่ต่าง ๆ ด้วย แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงพระนามของ
พระพุทธรูปเหล่านั้น กล่าวถึงแต่เพียงแหล่งที่มาว่ามาจากวัดนั้นวัดนี้เท่านั้น พระพุทธชินราชและ
พระพุทธชินศรีเป็นพระนามที่ถูกระบุไว้ชัดเจนในจารึกนั้น จึงคาดว่าน่าจะเป็นพระนามเดิมแท้จริง
ของพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงให้ความสำคัญกับ
พระพุทธรูปสององค์นี้มาก กล่าวว่าเมื่อพระองค์ได้พระบรมสารีริกธาตุมา ก็อัญเชิญให้บรรจุไว้ใน
พระเมาลีของพระพุทธรูป โดยทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้จากเมืองน่าน ๖๐ องค์ และจาก
พระบรมมหาราชวังอีก ๑๑ องค์ ไว้ในองค์พระพุทธชินราชวโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา
นราศราบพิตร ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วิหารด้านทิศใต้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (รูปที่ ๕.๑๔๒)
แล้วโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธสาวกปัญจวัคคีย์อยู่เบื้องหน้า อัญเชิญอรหันต์ธาตุ ๑๘๖ องค์
ใส่ในโกศแก้ว ๕ ใบ แล้วบรรจุในพระสาวกองค์ละใบ

ส่วนพระพุทธชินศรีนั้นได้แก่ พระพุทธชินสีห์มุนีนาถ อุรคอาสนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนากปรก
ดิลกภพบพิตร ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วิหารด้านทิศตะวันตก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงบรรจุพระบรมธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากพระบรม-
มหาราชวัง ๓๐ องค์ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพุทธบัลลังก์เป็นพญานาคเจ็ดเศียรขดสี่ชั้นภายใต้
ต้นจิก (รูปที่ ๕.๑๔๓)
รูปที่ ๕.๑๔๓ พระพุทธชินสีห์มุนีนาถ อุรคอาสนบังลังก์
อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตร เป็นที่น่าเสียดายว่าการแก้ไขให้ถูกต้องด้วยพระอรรถกถานั้น หมายถึงการหล่อพระหัตถ์
พุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 - กลาง 18) ใหม่ให้มีนิ้วพระหัตถ์เท่ากัน และหล่อพระเศียรใหม่ให้รับกับค่านิยมของยุคสมัย จึงคงเหลือแต่
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๗๗ เมตร พระวรกายเท่านั้นซึ่งยังคงเป็นของเดิม
พระวิหารด้านทิศตะวันตก
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร

๒๖๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาแบบสุโขทัยที่อาจจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายอีกองค์หนึ่ง ได้แก่
หลวงพ่อโต พระประธานในอุโบสถ วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม (วัดบางพลีใหญ่ใน) อำเภอ
บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (รูปที่ ๕.๑๔๔) ซึ่งเป็น ๑ ในสามองค์ที่ลอยตามน้ำมา พร้อมกับ
หลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา (ดูรูปที่ ๕.๑๘) และหลวงพ่อบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม
(ดูรูปที่ ๘.๘๗) เมื่อแพลอย มาหยุดบริเวณหน้าวัดบางพลีใหญ่ใน ชาวบ้านจึงอันเชิญขึ้นไป
ประดิษฐานในวิหาร และเมื่อสร้างอุโบสถแล้วเสร็จ จึงอาราธนาเป็นพระประธานในอุโบสถ แต่
ปรากฏว่าองค์ท่านใหญ่กว่าประตู ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันอธิษฐานขอให้ท่านผ่านเข้าประตูไปได้
รูปที่ ๕.๑๔๔ “หลวงพ่อโต” (องค์กลาง) เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้ว หลวงพ่อก็เข้าประตูไปได้ หลวงพ่อโตมีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านการรักษาโรค
หลวงพ่อบ้านแหลมจำลอง (องค์ซ้าย)
และหลวงพ่อโสธรจำลอง (องค์ขวา) ภัยไข้เจ็บ โดยนำน้ำมนต์ของท่านไปรักษาก็จะหายเป็นปกติ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977) หลวง
พุทธศตวรรษที่ ๒๓ พ่อแสดงปาฏิหาริย์ให้พระมังสา ซึ่งเป็นสัมฤทธิ์นิ่มเหมือนเนื้อคน ซึ่งสองปีต่อมาปรากฏการณ์
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 - กลาง 18) เดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง (ศิลปากร ๒๕๔๓ ก, ๓๖๐ – ๓๖๑)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๗๕ เมตร
อุโบสถวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม
(วัดบางพลีใหญ่ใน)
อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๖๕
- แบบกำแพงเพชร

ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – กลาง ๒๓ (คริสต์ศตวรรษที่ 17) พระพุทธปฏิมาแบบ
กำแพงเพชร มีพุทธลักษณะที่เด่นชัดมาก คือ พระพักตร์ยาวรี พระนลาฏมีความกว้างมากกว่า
พระหนุ พระขนงโก่งเป็นคันศร บรรจบกันที่ปลายสันพระนาสิก หางพระเนตรและมุมพระโอษฐ์
ตวัดขึ้นเป็นคันศร ดังเช่นเศียรที่ได้มาจากจังหวัดกำแพงเพชร (รูปที่ ๕.๑๔๕) และเศียรในวัด
พระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก (รูปที่ ๕.๑๔๖)

- แบบสวรรคโลก

พระพุทธปฏิมาอยุธยาแบบสวรรคโลก มีลักษณะพิเศษ คือ ชายจีวรที่ทับซ้อนเป็นริ้ว เช่น
พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก (ดูรูปที่ ๕.๔๐) หลวงพ่อวัดไร่ขิง (รูปที่ ๕.๑๔๗)
เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ที่ชายจีวรทบซ้อนกันเป็นริ้ว เทียบเคียงได้
กับพระพุทธปฏิมาปูนปั้นที่วัดช้างล้อม สวรรคโลกเก่า (ศิลปากร ๒๕๓๐ ค, ๗๑) ซึ่งจากการทำ
โครงสร้างของลำตัวช้างที่รายล้อมฐานเจดีย์ ภายในซุ้มรูปครึ่งวงกลม เป็นเทคนิคของการทำซุ้ม
แบบตะวันตก (เรื่องเดียวกัน, ๑๗๖) จึงอาจจะสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์
ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18) ก็เป็นได้ อันน่าจะเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกันกับหลวงพ่อวัดไร่ขิง

รูปที่ ๕.๑๔๕ เศียรพระสมณโคดม
อิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อไร่ขิง ปรากฏขึ้นเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ได้อัญเชิญ
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - กลาง ๒๓ หลวงพ่อมาจากวัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาประดิษฐานภายในอุโบสถวัดไร่ขิง
(คริสต์ศตวรรษที่ 17 ) ในวันสงกรานต์ปี พ.ศ. ๒๓๙๔ (ค.ศ. 1851) เกิดอัศจรรย์มีฝนโปรยลงมาเป็นความชุ่มชื่นเย็นฉ่ำ
สัมฤทธิ์ สูง ๗๙ เซนติเมตร ผู้คนจึงกล่าวกันว่า
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

หลวงพ่อจักทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนร้ายคลายความทุกข์ให้
หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำ (พระอุบาลีคุณูปมาจารย์กับตำนานวัดไร่ขิง
๒๕๔๙, ๑๗)

ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๕๘ (ค.ศ. 1914 – 1915) เชื่อกันว่าหลวงพ่อบอกหวยให้
กับชาวบ้าน จน “ขุนบาล” เจ้ามือหวยให้คนเอาตะปูมาตอกที่พระโอษฐ์หลวงพ่อ เพราะทำให้ตน
ต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก (เรื่องเดียวกัน, ๒๐) ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อจึงเป็นที่เลื่องลือ
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

รูปที่ ๕.๑๔๖ เศียรพระสมณโคดม


ได้จากวิหารพระศรีศาสดา รูปที่ ๕.๑๔๗ “หลวงพ่อวัดไร่ขิง”
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พุทธศตวรรษที่ ๒๓
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - กลาง ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 - กลาง 18)
(คริสต์ศตวรรษที่ 17 ) สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๐๔ เมตร
สัมฤทธิ์ อุโบสถวัดไร่ขิง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

๒๖๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๓๕
- แบบพิษณุโลก

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกเลิกระบบการปกครองแบบเมืองลูกหลวงแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๑๓๓
(ค.ศ. 1590) พิษณุโลกถูกจัดลำดับให้อยู่ในฐานะเมืองชั้นเอก ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญที่สุดใน
ราชอาณาจักรรองลงมาจากกรุงศรีอยุธยาที่เป็นราชธานี ดังนั้น แนวความคิดของนักวิชาการรุ่น
ใหม่ที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น จึงสันนิษฐานว่ามีการสร้างพระพุทธปฏิมาขึ้นเป็นจำนวนมากในพิษณุโลก
เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา นอกจากนั้นแล้ว ยังมีพระพุทธปฏิมาอีกสอง
องค์ที่เชื่อกันว่าอัญเชิญมาจากพิษณุโลก ได้แก่ พระทศพลญาณ พระประธานวัดบรมนิวาส (รูปที่
๕.๑๔๘) และพระสิทธารถ พระประธานวัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๕.๑๔๙)
(ดำรงราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๕๒) องค์แรกนั้นมีนิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากัน ส่วนองค์หลังนั้นนิ้วพระหัตถ์
ยาวไม่เท่ากันเหมือนดั่งมือมนุษย์สามัญ แต่มีพุทธลักษณะที่ใกล้เคียงมากกับพระพุทธชินราช

ส่วนพระสัมพุทธมุนี พระประธานในพระอุโบสถวัดเสนาสนาราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๕.๑๕๐) ซึ่งมีนิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากัน อาจจะนำมาจากพิษณุโลกเช่นกัน

รูปที่ ๕.๑๔๘ พระทศพลญาณ รูปที่ ๕.๑๔๙ พระสิทธารถ


พุทธศตวรรษที่ ๒๓ ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๒
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 - กลาง 18 ) (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 17 )
สัมฤทธิ์ สูง ๒.๑๐ เมตร สัมฤทธิ์ สูง ๑.๙๘ เมตร
พระอุโบสถวัดบรมนิวาส พระอุโบสถวัดพิชยญาติการาม รูปที่ ๕.๑๕๐
กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร พระสัมพุทธมุนี
พุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 - กลาง 18 )
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑ เมตร
สูง ๑.๕๒ เมตร
อุโบสถวัดเสนาสนาราม
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๒๖๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๖๙
๗.๖ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยรัตนโกสินทร์

ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ยังเป็นรูปแบบที่นิยม
สร้างเพื่อเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และพระวิหารสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยที่สร้างขึ้นเมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
เช่นพระศรีสรรเพชญ์ พระประธานในพระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ (รูปที่ ๕.๑๕๑) สร้างขึ้น
เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โปรดให้พระยาเทพรังสรรค์ปั้นเมื่อครั้งบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้
ในปี พ.ศ. ๒๓๒๖ (ค.ศ. 1783) (ศิลปากร ๒๕๒๕ ก, ๒๕๑) อาจจะเป็นการจำลองพุทธลักษณะของ
พระพุทธปฏิมาสำคัญของกรุงศรีอยุธยาองค์หนึ่งองค์ใดขึ้นใหม่ ทั้งนี้เพราะสอดคล้องกับพระบรมราโชบาย
ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่จะฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม โดยใช้ของเก่าเป็นหลัก (พิทยลาภ-
พฤฒิยากร ๒๕๒๕)

รูปที่ ๕.๑๕๑ พระศรีสรรเพชญ์


สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๖ (ค.ศ. 1783)
ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๕.๑๖ เมตร
สูง ๖.๙๖ เมตร
พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์
กรุงเทพมหานคร

๒๗๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระศรีศากยมุนี

พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่จะนำเอาพระพุทธปฏิมาเก่ามาใช้
แทนการสร้างขึ้นใหม่ เห็นชัดที่สุดในการที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์
องค์ใหญ่จากสุโขทัยคือ พระศรีศากยมุนี มาประดิษฐานที่วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร (รูปที่
๕.๑๕๒) พระพุทธปฏิมาองค์นี้น่าจะได้แก่พระพุทธปฏิมาที่ เดอ บาร์รอส (de Barros) ผู้ควบคุมคลัง
สินค้าของโปรตุเกสที่อินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๗๖ – ๒๑๑๐ / ค.ศ. 1533 – 1567 กล่าวว่า

ในจำนวนของพระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะ ซึ่งมีมากมายในพระราชอาณาจักร
นั้น องค์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในพระอารามในกรุงสุโขทัย ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นเมืองที่
เก่าแก่ที่สุดในพระราชอาณาจักร พระพุทธรูปองค์นี้วัดได้ ๘๐ มือ (palmos)
และยั ง มี พ ระพุ ท ธรู ป ที่ ข นาดย่ อ มกว่ า นี้ ลงมาจนถึ ง ขนาดของคนจริ ง ๆ
(Thailand and Portugal 1982, 46)

พระพุทธรูปที่ เดอ บาร์รอส กล่าวถึงนี้น่าจะได้แก่พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่พระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม
กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ (ค.ศ. 1808) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวาย
พระนามว่า พระศรีศากยมุนี ซึ่งแต่เดิมน่าจะประดิษฐานในพระวิหารด้านทิศตะวันออกของวัดมหาธาตุ
สุโขทัย ซึ่งเมื่อครั้นโปรดเกล้าฯ ให้ชะลอมานั้น ต้องรื้อเสาหรือผนังออกให้หมด จึงจะเลื่อนพระพุทธรูป
ออกมาได้ อันทำให้ฐานพระวิหารเป็นลานเกลี้ยงไม่มีร่องรอยของกำแพงหรือเสาหลงเหลืออยู่ ดังนั้น
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสสุโขทัยในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. 1907) ขณะที่
ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรวุธ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระ
วินิจฉัยว่าฐานนี้น่าจะเป็นลานปราสาทของกษัตริย์สุโขทัย เพราะปราสาทราชมณเฑียรที่เคยตั้งอยู่สร้าง
ด้วยไม้จึงไม่หลงเหลือให้เป็นที่ประจักษ์ (มหาวชิราวุธมกุฎราชกุมาร ร.ศ. ๑๒๖, ๗๔) อย่างไรก็ตามใน
การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ลานปราสาทนี้ปรากฏว่าพบฐานสี่เหลี่ยมขนาด ๙ x ๙ เมตร ทางด้านทิศตะวันตกของ
ลาน ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง ๖.๒๕ เมตรได้ (คณะกรรมการปรับปรุง
บูรณะโบราณสถานจังหวัดสุโขทัย ๒๕๑๒, แผนผังตรงข้ามหน้า ๒๑) ฐานสี่เหลี่ยมดังกล่าวจึงน่าจะเป็น
ฐานชุกชีของพระศรีศากยมุนี

เมื่อปรากฏหลักฐานว่าลานปราสาท คือพระวิหารของพระศรีศากยมุนี ซึ่งอยู่ทิศตะวันออกของ
พระมหาธาตุ จึงเป็นไปได้ว่า เป็นพระพุทธรูปที่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น

ในปี พ.ศ. ๑๙๐๔ (ค.ศ. 1361) ดังที่กล่าวถึงในศิลาจารึกหลักที่ ๔ ว่า



...เมื่อออกพระ
พรรษา ท่ามหาทาน ฉลองพระพุทธรูปสำริด
ที่ทรงหล่อเท่าองค์พระพุทธ
พระผู้เป็นเจ้า ประดิษฐานไว้กลาง
เมืองสุโขทัยนี้
โดยทิศบูรพาของพระมหาธาตุนั้น
(จารึกสมัยสุโขทัย ๒๕๒๖, ๒๓๖)

ข้อมูลของ เดอ บาร์รอส แสดงให้เห็นว่า พระศรีศากยมุนีองค์นี้เคยเป็นพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ที่
มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่สุโขทัยในราชอาณาจักรอยุธยาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (คริสต์ศตวรรษที่ 16)
แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๗๑
๒๗๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๑๕๒ พระศรีศากยมุนี ทรงพระราชดำริพระราชศรัทธาจะกระทำการปฏิสังขรณ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่
หล่อแก้ไขปี พ.ศ. ๒๓๕๑ (ค.ศ. 1808) ที่กรำแดดกรำฝนต้องเพลิงป่า หาผู้ที่จะพิทักษ์รักษามิได้อยู่ที่เมืองสุโขทัยนั้น
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๖.๒๕ เมตร
สูง ๘ เมตร ทรงพระกรุณาให้อาราธนาลงมาไว้เป็นที่เจดียฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นที่ไหว้ที่สักการบูชา พระลักขณะอันใดมิได้ต้องด้วยพระพุทธลักขณะผิดจาก
กรุงเทพมหานคร พระบาลีและพระอรรถกถานั้น ทรงพระกรุณาให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นให้ต้องด้วยพระ
อรรถกถาพระบาลี (ประชุมหมายรับสั่ง ๒๕๒๕, ๑๒๘)

และเมื่อได้ทรงแก้ไขพระเศียรและพระหัตถ์พระศรีศากยมุนีให้เข้ากับพระราชนิยมแล้ว จึงไม่
สามารถที่จะกำหนดอายุเวลาได้ว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) หรือช่วงเมือง
ประเทศราชของอยุธยา เพราะพระเศียรและพระหัตถ์นั้นกลายเป็นแบบรัตนโกสินทร์ไปเสียแล้ว

พระพุทธปฏิมาสำคัญที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. ๒๓๕๒ –
๒๓๖๗ / ค.ศ. 1809 – 1824) ได้แก่ พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัด
อรุณราชวราราม (รูปที่ ๕.๑๕๓) ซึ่งพระองค์ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์เอง (ศิลปากร ๒๕๒๑ ข, ๑๘) เช่น
เดียวกันกับพระพักตร์พระพุทธจุฬารักษ์ พระประธานในพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม (รูปที่ ๕.๑๕๔)
กล่าวกันว่าองค์หลังนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปั้นพระองค์อีกด้วย (ศิลปากร ๒๕๒๕
ก, ๑๒๕) พระพุทธปฏิมาทั้งสององค์เป็นแบบฉบับของพระพุทธปฏิมาสมัยรัตนโกสินทร์ คือพัฒนาการ
ขึ้นจากพระพุทธปฏิมาอยุธยาที่สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง
18) โดยที่มีนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน พระวรกายแข็งกระด้าง พระพักตร์เฉยเมยคล้ายหุ่น

รูปที่ ๕.๑๕๓ พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก รูปที่ ๕.๑๕๔ พระพุทธจุฬารักษ์


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19) กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๗๕ เมตร สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๕๔ เมตร สูง ๖.๒๕ เมตร
พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม พระอุโบสถวัดราชสิทธาราม
กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๗๓
รูปที่ ๕.๑๕๕ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๘๐ (ค.ศ. 1837)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๖.๓๔ เมตร
สูง ๘.๓๖ เมตร
พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๕.๑๕๖ พระเสฏฐตมมุนี


สร้าง พ.ศ. ๒๓๘๙ (ค.ศ. 1846)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๓.๕๐ เมตร
พระอุโบสถวัดราชนัดดาราม
กรุงเทพมหานคร

๒๗๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔ / ค.ศ. 1824 – 1851)
เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจากการค้า ซึ่งส่งผลให้พระองค์สามารถที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาได้
อย่างเต็มที่ กล่าวคือ ทรงสร้างพระอารามขึ้นใหม่ ๓ วัด ได้แก่ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดเทพธิดาราม
และวัดราชนัดดาราม ทรงบูรณะ คือทั้งสร้างและปฏิสังขรณ์ ๑๗ วัด และทรงอุปการะและปฏิสังขรณ์
อีก ๓๓ วัด (ราชบัณฑิตยสภา ๒๔๗๒, ๙ – ๓๕) นอกจากนั้นแล้ว พระองค์ยังโปรดการสร้างวัดเป็นการ
ส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นมูลเหตุให้กล่าวกันว่า “ใครใจบุญชอบสร้างวัดวาอารามก็เป็นคนโปรด” (เรื่อง
เดียวกัน, ๘)

พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในรัชกาลนี้ ได้แก่ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถวัด
สุทัศนเทพวราราม (รูปที่ ๕.๑๕๕) ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาที่ใหญ่ที่สุดที่หล่อขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ หน้าตัก
กว้าง ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว (5.16 เมตร) ประดิษฐานในปี พ.ศ. ๒๓๘๐ (ค.ศ. 1837) (ประวัติวัดสุทัศนฯ
๒๕๑๖, ๑๒) และพระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา พระประธานในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งหล่อ
ด้วยทองแดงทั้งองค์แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๘๙ (ค.ศ. 1846) พร้อมกับพระเสฏฐตมมุนี พระประธานวัด
ราชนัดดาราม (ศิลปากร ๒๕๒๑ ก, ๓๙) (รูปที่ ๕.๑๕๖) พระพุทธปฏิมาทั้งสององค์นี้มีพุทธลักษณะใกล้
เคียงกันมาก และแทบจะไม่แตกต่างกับที่สร้างขึ้นในรัชกาลก่อน นอกจากพระหนุแหลมขึ้น เช่นเดียวกัน
กับ พระประธานในพระอุโบสถวัดอัปสรสวรรค์ ซึ่งมีทั้งหมด ๒๘ องค์ แต่ละองค์มีจารึกพระนามที่ฐาน
อันได้แก่พระอดีตพุทธะ ๒๘ พระองค์ (รูปที่ ๕.๑๕๗) ที่สร้างขึ้นเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

รูปที่ ๕.๑๕๗ พระอดีตพุทธะ ๒๘ พระองค์


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร
สูง ๕๘ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดอัปสรสวรรค์
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๗๕
๒๗๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๑๕๘ พระสมณโคดมและพระสาวก พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ครองจีวรลายดอกห่มดอง ประทับเหนือฐานห้าชั้น
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ต้น ๒๕ แต่ละชั้นมีพระมหาสาวกประทับสมาธิเรียงรายอยู่โดยรอบ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๒๐ องค์ และในชั้นบน
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19)
สัมฤทธิ์ ฐานกว้าง ๓๒ เซนติเมตร สุดมีพระมหาสาวกประทับสมาธิอีกห้าองค์ ซึ่งอาจหมายถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็เป็นได้ (รูปที่ ๕.๑๕๘)
สูง ๓๙ เซนติเมตร พระพุทธปฏิมาลักษณะดังกล่าวเป็นที่นิยมในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และ
สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเห็นได้จากจีวรลายดอก และการสร้างภาพพระสาวก
กรุงเทพมหานคร
จำนวนมาก เช่นในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม ที่มีพระอสีติมหาสาวก ๘๐ รูป นั่งสดับฟังพระ
ธรรมเทศนา สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๐๗ (ค.ศ. 1864) (ศิลปากร ๒๕๒๕ ก, ๕๙) นอกจากนั้นแล้ว การนำเอา
พระมหากัจจายนะและพระอริยสาวก เข้ามาเป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ แสดงให้เห็นถึงความนิยมพระ
สังกัจจายน์ ในพระนามพระมหากัจจายนะ ในช่วงระยะเวลานี้ (Penth 2550, ๒๕๓, ๒๖๗) พระพุทธปฏิมา
ในรูปแบบข้างต้นสร้างในช่วงระยะเวลาเดียวกันยังแสดงภาพพระสมณโคดม ฉลองพระองค์แบบพระ
จักรพรรดิราช ในปางโปรดพญาชมภูบดีอีกด้วย (สมเกียรติ ๒๕๔๐, ๑๕๑, ๑๗๖)

พระประธานวัดชิโนรสาราม (รูปที่ ๕.๑๕๙) น่าจะสร้างขึ้นในช่วงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะว่าพุทธลักษณะสอดคล้องกับพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในรัชกาลนี้ทุก
ประการ นอกจากนั้ น แล้ ว พระอารามแห่ ง นี้
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต-
ชิโนรส ซึ่งพระนามเดิมคือ พระองค์เจ้าวาสุกรี
พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-
จุฬาโลก เป็นผู้สร้าง แต่สิ้นพระชนม์ก่อนที่จะ
แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และตกแต่งใหม่
เพิ่ ม เติ ม โดยปั้ น หรื อ เขี ย นรู ป นาคไว้ ทั่ ว พระ
อุโบสถเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งพระนามเดิม
(ศิ ล ปากร ๒๕๒๕ ก, ๑๕๗) ส่ ว นยอดและ
ปลายเรือนแก้วเป็นนาคห้าเศียร เป็นต้น

รูปที่ ๕.๑๕๙ พระประธานวัดชิโนรสาราม


ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๕๘ เมตร
สูง ๒.๑๐ เมตร
พระอุโบสถวัดชิโนรสาราม
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๗๗
ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑ / ค.ศ. 1851 – 1868) จะ
ไม่ทรงโปรดพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย เพราะพระพุทธรูปที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น
นั้น ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปที่พระองค์ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เช่นประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
(ดูรูปที่ ๕.๒๘ – ๕.๓๐) หรือประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ (ดูรูปที่ ๓.๓๒) แต่ก็โปรดเกล้าฯ ให้หล่อ
พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย เช่นพระสัมพุทธโสมนัสวัฒนนาถบพิต พระประธานวัด
โสมนัสวิหาร (รูปที่ ๕.๑๖๐) ซึ่งก็เป็นพระพุทธรูปแบบพระราชนิยมดังเช่นองค์อื่นๆ ที่พระองค์ทรงสร้าง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓ / ค.ศ. 1868 – 1910) ทรงพระ
ดำเนินตามพระยุคลบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิราช โดยทรงสร้างพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปาง
สมาธิ (ดูรูปที่ ๕.๓๐) และพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยอีกด้วย เช่นพระประธานในพระ
อุโบสถวัดปรมัยยิกาวาส เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (รูปที่ ๕.๑๖๑) ซึ่งเมื่อทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระ
อารามแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ (ค.ศ. 1875) เพื่อถวายพระราชกุศลแด่ พระอภิบาล พระเจ้าบรม-
มหัยยิกาเธอ สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ทรงพอกปูนปั้นพระประธานองค์เดิมให้แลดูงามกว่าเก่า (น. ณ ปากน้ำ
๒๕๔๖, ๘๖) พระพุทธรูปองค์นี้ไม่มีพระเมาลี และครองจีวรแบบพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกาย

รูปที่ ๕.๑๖๐ พระสัมพุทธโสมนัสวัฒนนาถบพิต รูปที่ ๕.๑๖๑ พระประธานวัดปรมัยยิกาวาส


ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐ (ค.ศ. 1857) ปั้นโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ
สัมฤทธิ์ สร้างปี พ.ศ. ๒๔๑๘ (ค.ศ. 1875 )
พระวิหาร วัดโสมนัสวิหาร สัมฤทธิ์
กรุงเทพมหานคร พระอุโบสถวัดปรมัยยิกาวาส
อำเภอเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

๒๗๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


อาจจะกล่าวได้ว่า การจำลองพระพุทธชินราช และการหล่อขยายขนาดพระพุทธปฏิมาที่มีขนาด
เล็ ก ที่ ไ ด้ ม าจากทั่ ว พระราชอาณาจั ก ร ให้ มี ข นาดใหญ่ เ ท่ า กั น เพื่ อ ประดิ ษ ฐานในพระระเบี ย งของ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ (ค.ศ. 1899) ทำให้พระอารามแห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑสถาน
สำหรับพระพุทธปฏิมา ดังเช่นที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า วัดเบญจมบพิตร
“เป็นที่รวบรวมพระต่าง ๆ เป็นมิวเซียม” (พระราชหัตถเลขา ๒๕๑๔, ๑๙๖) จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า
พระพุทธปฏิมานั้นมิใช่แต่เป็นเพียงวัตถุมงคล แต่เป็นศิลปะโบราณวัตถุ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แก่
ชาติบ้านเมือง และมีคุณค่าทางด้านสุนทรียภาพอีกด้วย จึงก่อให้เกิดค่านิยมของการสร้างพระพุทธรูป
บูชา โดยเลียนแบบมาจากพระพุทธปฏิมาโบราณ เช่นพระพุทธปฏิมานาคปรกสมัยศรีวิชัยจากวัดหัวเวียง
อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ดูรูปที่ ๕.๑๗๘) เป็นแม่แบบให้กับพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย ที่จำลองพุทธลักษณะเด่นของพระองค์ อันได้แก่พระเมาลีทรงบาตรคว่ำ และใบโพธิ์ที่
ประดับอยู่หน้าพระเมาลี ซึ่ง ณ ที่นี้ดัดแปลงเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ และชายจีวรที่พับทบซ้อนกันเป็นริ้ว (รูปที่
๕.๑๖๒) ดังนั้น จึงเป็นการจำลองพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย อันเป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะของ
ไทยที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกำหนดขึ้นใน ตำนานพุทธเจดีย์สยาม (ดำรงราชานุภาพ
๒๔๖๙, ๘๘) จากนามของอาณาจักรที่ ยอร์ช เซเดส์ เลขานุการของราชบัณฑิตสภา เป็นผู้ค้นพบขึ้น
(ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาค ๒ ๒๔๗๒, ๙ – ๑๔) เห็นได้ว่า ในรัชกาลนี้เริ่มมีการลอกเลียนรูปแบบของ
พระพุทธปฏิมาสมัยต่าง ๆ ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ ยอร์ช เซเดส์ กำหนดขึ้นแทน
โดยมีจุดกำเนิดในการจัดพระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ให้เป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปแห่งแรก
ในประเทศไทย จนประเพณีการสร้างพระพุทธรูปแบบสมัยต่างๆ เป็นที่นิยมแพร่หลายในรัชกาลปัจจุบัน

รูปที่ ๕.๑๖๒ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย


ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20)
สัมฤทธิ์
วัดสุทธจินดา
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๗๙
รูปที่ ๕.๑๖๓ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ รูปที่ ๕.๑๖๔ พระเจ้าอินแปงจำลอง
ปางมารวิชัย สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. 2004)
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๗๓ (ค.ศ. 1930) ก่ออิฐถือปูน
ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๒.๘๕ เซนติเมตร
วัดท้องลับแล สูง ๒.๗๐ เมตร
อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ วัดบ้านตำแย
อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุบลราชธานี

นอกจากค่านิยมการจำลองพระพุทธปฏิมาตามยุคสมัยต่างๆ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรง-


ราชานุ ภ าพแล้ ว ยั ง มี ก ารจำลองพระพุ ท ธปฏิ ม าตามค่ า นิ ย มของท้ อ งถิ่ น เช่ น ในช่ ว งสุ ด ท้ า ยของ
รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การสร้างพระพุทธปฏิมาตามแบบล้านนาก็ยังมิได้สิ้นสลายไป อันเห็นได้จาก
พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ (ค.ศ. 1930) ของวัดท้องลับแล อำเภอลับแล จังหวัด
อุตรดิตถ์ (รูปที่ ๕.๑๖๓) ที่ยังคงรักษาลักษณะของพระพุทธปฏิมาล้านนาไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งรัศมีที่
เป็นเปลวแหลมอิทธิพลล้านช้างอีกด้วย หรือการจำลองพระพุทธปฏิมาคู่บ้านคู่เมือง เช่น การจำลอง
พระเจ้าอินแปง หรือพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี
มาสองศตวรรษแล้ว จึงมีการจำลองเพื่อสักการบูชา เป็นจำนวนมาก ทั้งที่มีขนาดเล็ก และขนาดใหญ่
รวมทั้งที่มีขนาดใหญ่กว่าองค์ต้นแบบ เช่นที่สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. 2004) ที่วัดบ้านตำแย อำเภอเมืองฯ
จังหวัดอุบลราชธานี (รูปที่ ๕.๑๖๔)

๒๘๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๑๖๕ พระพุทธกกุสันโธ
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๒๓ นอกจากนั้นแล้วยังให้ความสำคัญกับขนาดของพระพุทธรูป โดยตั้งใจที่จะทำสถิติให้มีขนาดใหญ่
(ค.ศ. 1975 - 1980) ที่สุดในโลก เช่นที่วัดไผ่โรงวัว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ
คอนกรีตเสริมเหล็ก ปางมารวิชัย อันได้แก่ พระพุทธกกุสันโธ สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๒๓ (ค.ศ. 1975 – 1980) ที่มีขนาด
หน้าตักกว้าง ๔๐ เมตร
สูง ๕๗ เมตร หน้าตักกว้าง ๔๐ เมตร สูง ๕๗ เมตร (รูปที่ ๕.๑๖๕) และพระพุทธมหานวมินทร์ศากยะมุนี วัดม่วง
วัดไผ่โรงวัว อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. 1991) มีหน้าตักกว้าง ๖๓ เมตร
อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี สูง ๙๒ เมตร (รูปที่ ๕.๑๖๖)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๘๑
๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระมงคลมิ่งเมือง ภายในสวนพุทธอุทยาน อำเภอเมืองฯ จังหวัด
อำนาจเจริญ (รูปที่ ๕.๑๖๗) สร้างปี พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. 1965) พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการออกแบบและ
ควบคุมงานก่อสร้าง

อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และตามศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้เป็นพุทธศิลป์
ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายจิตร บัวบุศย์ เป็นผู้ออกแบบตลอดจนควบคุม
การก่อสร้างให้มีพุทธลักษณะสกุลเชียงแสนรุ่นหลัง ซึ่งเป็นที่นิยมในภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (ทศพล ๒๕๔๕, ๓๓๗)

รูปที่ ๕.๑๖๗ พระมงคลมิ่งเมือง


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. 1965)
ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๑๑ เมตร
สูง ๒๐ เมตร
พุทธอุทยานพระมงคลมิ่งเมือง
อำเภอเมืองฯ จังหวัดอำนาจเจริญ

รูปที่ ๕.๑๖๖ พระพุทธมหานวมินทร์ศากยะมุนี


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. 1991)
คอนกรีตเสริมเหล็ก
หน้าตักกว้าง ๖๓ เมตร สูง ๙๒ เมตร
วัดม่วง
อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๘๓
พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใน สกุลช่างเชียงแสนรุ่นหลัง อีกสององค์น่าจะได้แก่ พระพรหมภูมิปาโล
อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (รูปที่ ๕.๑๖๘) สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. 1968) และ พระพุทธมงคลบพิตร
วัดศรีบุญเรือง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น (รูปที่ ๕.๑๖๙) สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. 2004)

รูปที่ ๕.๑๖๘ พระพรหมภูมิปาโล


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. 1968 )
ก่ออิฐถือปูน สูง ๑๒ เมตร
ตำบลภูสิงห์
อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

รูปที่ ๕.๑๖๙ พระพุทธมงคลบพิตร


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. 2004)
คอนกรีตเสริมเหล็ก
วัดศรีบุญเรือง
อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

๒๘๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ส่วนในภาคใต้มีพระพุทธโคดมหรือพระใหญ่ วัดพระใหญ่ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(รูปที่ ๕.๑๗๐) สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. 1972) ซึ่งมีศิรจักรเป็นธรรมจักร รองรับด้วยเรือพระที่นั่ง
สุพรรณหงส์จำลอง ซึ่งอาจจะมีนัยว่า การท่องเที่ยวอุ้มชูพระพุทธศาสนาก็เป็นได้ เพราะมีนักท่องเที่ยว
ไปชมมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งบนเกาะสมุย

รูปที่ ๕.๑๗๐ พระพุทธโคดมหรือพระใหญ่


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๕(ค.ศ. 1972)
ก่ออิฐถือปูน สูง ๑๒ เมตร
วัดพระใหญ่
อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๘๕
หมวด จ.
ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร ปรากฏขึ้นครั้งแรกในคณะกัมโพช-
สงฆ์ปักขะ ซึ่งเป็นคณะสงฆ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และยังสืบทอดลงมาจนทุกวันนี้ในนามคณะ
มหานิกาย

๘. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร

๘.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร สมัยกัมโพช
พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร ส่วนใหญ่พบในเขตภาคกลาง
ตอนล่าง ซึ่งก็คือที่ตั้งของรัฐกัมโพช และรัฐสยาม อันเป็นศูนย์กลางของคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ

แผงเรือนแก้วสองด้านสัมฤทธิ์ ชูในพระหัตถ์ของเทวดาองค์เดียวกัน ซึ่งปรากฏทั้งสองด้าน
ด้านหนึ่งแสดงภาพพระสมณโคดมเทศนาโปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ (รูปที่ ๕.๑๗๑ ก.) และอีก
ด้านหนึ่งเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ แสดงธรรมเทศนาโปรดพระนางยโสธรา และพระราหุล (รูปที่ ๕.๑๗๑ ข.)
ในทั้งสองด้านนี้ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร ที่มีลักษณะคล้าย
พัดด้ามจิ๋ว ไว้ในพระหัตถ์ซ้าย แผงเรือนแก้วนี้แสดงภาพพระพุทธปฏิมาถือตาลปัตรที่เก่าที่สุดที่พบใน
ประเทศไทย กำหนดอายุอยู่ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 13)

รูปที่ ๕.๑๗๑ ก. พระสมณโคดมเทศนาโปรด


พระประยูรญาติ
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สูง ๔๑.๘ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รูปที่ ๕.๑๗๑ ข. พระสมณโคดมเทศนาโปรด
พระนางยโสธราและพระราหุล
(ด้านหลังของรูปที่ ๕.๑๗๑ ก.)

๒๘๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๘.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร สมัยอยุธยา

(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1351 – 1448)

ต่อมาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – กลาง ๒๐ (คริสต์ศตวรรษที่ 14) พระสมณโคดมยังคง
ประทับขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายถือตาลปัตร แต่พระหัตถ์ขวาแตะที่หน้าตาลปัตร ดังเช่นภาพสลักบน
ใบสีมาศิลา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ วัดสุทธจินดา อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา
(รูปที่ ๕.๑๗๒) ตาลปัตรที่มีลักษณะคล้ายพัดด้ามจิ๋วนี้ ศิลาจารึกวัดช้างล้อม สุโขทัย ซึ่งจารขึ้นในปี
พ.ศ. ๑๙๒๗ (ค.ศ. 1384) เรียกว่า “พัดสวดธรรม” (จารึกสมัยสุโขทัย ๒๕๒๖, ๑๑๓)

รูปที่ ๕.๑๗๒ พระสมณโคดมและพระอดีตพุทธะ


กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – กลาง ๒๐
(คริสต์ศตวรรษที่ 14 )
ศิลา สูง ๑๒๗ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
วัดสุทธจินดา
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๘๗
(๒) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

แต่ในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17) พระสมณโคดมจับด้านหลัง
ของตาลปัตรด้วยพระหัตถ์ขวา (รูปที่ ๕.๑๗๓) โดยมีนิ้วพระหัตถ์โผล่ออกมาทางด้านหน้า ส่วนตาลปัตร
นั้นยังเป็นพัดด้ามจิ๋วเช่นเดิม (Boisselier 1975, 169) ส่วนพระโพธิสัตว์สลักลายเส้นบนแผ่นศิลาเหนือ
อุโมงค์บันไดมณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ที่ปรากฏในภาพเรื่องกัณฑินชาดก (ประชุมศิลาจารึก เล่ม ๕
๒๕๑๔, ๑๙ – ๒๐) และมตกภัตตชาดก (เรื่องเดียวกัน, ๓๘ – ๔๐) ก็ทรงถือตาลปัตรในลักษณะเดียวกัน
ซึ่งสนับสนุนข้อสันนิษฐานว่า ภาพสลักลายเส้นเรื่องชาดกเหล่านี้อาจจะสร้างขึ้นในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษ
ที่ ๒๓ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17) แทนครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)
ดังที่เชื่อกันในปัจจุบัน (ศักดิ์ชัย ๒๕๔๕, ๙๘)

ในช่วง พ.ศ. ๒๒๓๑ (ค.ศ. 1688) นายนิโกลาส์ แชรแวส ชาวฝรั่งเศส เขียนหนังสือเรื่อง
ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม จากประสบการณ์ที่เขาได้พำนักอยู่ใน
ประเทศสยามระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๒๖ – ๒๒๓๐ (ค.ศ. 1683 – 1687) ได้เล่าที่มาของการใช้ตาลปัตรว่า

โดยเหตุที่การอุปสมบทบังคับบุคคลให้รักษาไว้ซึ่งความสำรวมในกามฉันท์ จึงได้
กำหนดไว้ว่าเมื่อจะไปไหนมาไหน จะต้องถือเครื่องป้องกันหน้าทำด้วยใบลาน
ติดมือไปด้วยเสมอ เพื่อว่าเมื่อประสบสตรีเพศเข้าแล้ว จะมิพึงให้บังเกิดอารมณ์
อันเป็นมลทินแก่พระศาสนา (นิโกลาส์ แชรแวส ๒๕๐๖, ๑๗๐)

รูปที่ ๕.๑๗๓ พระสมณโคดมแสดงพระธรรมเทศนา


ได้จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17)
ศิลาสูง ๔๐.๕ เซนติเมตร
มูลนิธิ James H.W. Thompson
กรุงเทพมหานคร

๒๘๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๘.๓ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร สมัยรัตนโกสินทร์

เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ มีรับสั่งให้ปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสาราม ในปี พ.ศ.
๒๓๖๔ – ๒๓๗๔ (ค.ศ. 1821 – 1831) พระองค์ได้ทรงสร้างพระพุทธชัยสิทธิธรรมนาท เป็นพระประธาน
ในศาลาการเปรียญ ซึ่งมีลักษณะเป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายถือ
ตาลปัตร ซึ่งมีช่องว่างตรงกลาง ให้อุบาสกอุบาสิกา แลเห็นพระพักตร์ได้ (รูปที่ ๕.๑๗๔) อันเป็น
เอกลักษณ์ของพระพุทธปฏิมาถือตาลปัตรที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตรอีกองค์หนึ่ง อาจจะสร้างในรัชกาล
ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔ / ค.ศ. 1824 – 1851) อันสังเกตได้
จากการครองจีวรลายดอก ห่มดอง (รูปที่ ๕.๑๗๕) ซึ่งเป็นที่นิยมในรัชกาลนี้ และในรัชกาลต่อไปอีกด้วย

รูปที่ ๕.๑๗๔ พระพุทธชัยสิทธิธรรมนาท


พ.ศ. ๒๓๖๔ – ๒๓๗๔ (ค.ศ. 1821 - 1831)
สัมฤทธิ์ ศาลาการเปรียญ
วัดราชโอรสาราม
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๕.๑๗๕ พระสมณโคดมแสดงพระธรรมเทศนา


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ต้น ๒๕
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19)
สัมฤทธิ์
วัดบุปผาราม
อำเภอเมือง จังหวัดตราด

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๘๙
ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร
แต่พระเศียรไม่มีพระเมาลีและพระรัศมี ครองจีวรห่มดอง ชายจีวรพับทบเป็นแถบยาวจรดพระนาภี
ซึ่งเรียกกันว่าพระศรีอาริยเมตไตรย ดังเช่นองค์ที่วัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี (รูปที่ ๕.๑๗๖)
แต่ตาลปัตรได้อันตรธานหายไป เหตุที่เรียกว่าพระศรีอาริยเมตไตรย ก็เพราะว่าทรงเป็นพระโพธิสัตว์
ดังนั้นจึงไม่มีพระเมาลีและพระรัศมี ประทับสมาธิอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต จนกว่าจะถึงเวลา จึงจะเสด็จลง
มาจุติในโลกมนุษย์ พระศรีอาริยเมตไตรยองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้
พระวิหาร (ทศพล ๒๕๔๕, ๒๖๙)

รูปที่ ๕.๑๗๖ พระศรีอาริยเมตไตรย


พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓
(ค.ศ. 1868 - 1910)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๗ เมตร
วัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

๒๙๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๑๗๗ พระศรีอาริยเมตไตรย
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๗๐ (ค.ศ. 1927)
สัมฤทธิ์ สูง ๘๙ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี
จังหวัดสิงห์บุรี

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว “ชู แช่ม” สร้างพระพุทธรูป “พระศรีอาริย์”


ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ (ค.ศ. 1927) ตามที่จารึกไว้ที่ฐาน (ศิลปากร ๒๕๕๐, ๑๐๕) (รูปที่ ๕.๑๗๗) พระพุทธรูป
องค์นี้น่าจะจำลองจากพระศรีอาริยเมตไตรย ที่วัดไลย์ เพราะพุทธลักษณะคล้ายกัน แต่ทรงถือตาลปัตร
คล้ายแว่นแก้วทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในพระหัตถ์ซ้าย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตรมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับ
พระพุทธปฏิมาแบบอื่น ๆ แต่มีความสำคัญเพราะว่าเป็นรูปแบบที่สร้างขึ้นในคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ และ
สืบทอดลงมาถึงปัจจุบัน แม้ว่าความหมายของพระพุทธปฏิมาจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๙๑
หมวด ฉ.
ปางมารวิชัย นาคปรก

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย นาคปรก เป็นที่นิยมแพร่หลายในช่วงที่คณะ
กัมโพชสงฆ์ปักขะรุ่งเรือง คือปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – กลาง ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 –
ต้น 14) แต่เมื่อชาวไทยรับนิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร จากลังกา เข้ามาเป็นศาสนาหลักในช่วงกลาง
พุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14) การสร้างพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
นาคปรก ก็สิ้นสุดลง

๙. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย นาคปรก

๙.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย นาคปรก สมัยกัมโพช
พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย นาคปรก เป็นที่นิยมมากในสมัยกัมโพช เช่น
พระพุทธปฏิมา ได้จากวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (รูปที่ ๕.๑๗๘) มีจารึก และปีนักษัตร
ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ปรากฏปีนักษัตรในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ และอาจจะสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๒๒ หรือ
๑๘๓๔ (ค.ศ. 1279 หรือ 1291) (de Casparis 1967, 34, 38) และอีกองค์หนึ่งไม่ทราบที่มา (รูปที่
๕.๑๗๙) ซึ่งแสดงให้เห็นความเรียบง่ายของพระสมณโคดมประทับบนขนดนาคใต้พังพานของพญานาค
มุจลินท์ ทั้งนี้เพราะพระสมณโคดมนาคปรกเข้ามาแทนที่รูปพระวัชรสัตว์พุทธะ หรือพระปฐมพุทธเจ้า
ในลัทธิวัชรยานของกัมพูชา ซึ่งแสดงภาพเป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิทรงเครื่อง
(ดูรูปที่ ๔.๑๘)

รูปที่ ๕.๑๗๘ พระสมณโคดมนาคปรก


พบที่วัดหัวเวียง
อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สร้างปี พ.ศ. ๑๘๒๒ หรือ ๑๘๓๔
(ค.ศ. 1279 หรือ 1291) รูปที่ ๕.๑๗๙ พระสมณโคดมนาคปรก
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๖๐ เมตร กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สูง ๔๐ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน

๒๙๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๙.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย นาคปรก สมัยรัตนโกสินทร์

ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อมีการนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาประจำวันขึ้น พระพุทธปฏิมาประทับ
ขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย นาคปรก จึงมีความสำคัญขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ในฐานะพระพุทธปฏิมาประจำ
วันเสาร์ เช่นพระพุทธปฏิมาไม่ทราบที่มา (รูปที่ ๕.๑๘๐) ประทับเหนือขนดนาคห้าชั้น ใต้พังพานของ
พญานาคเจ็ ด เศี ย ร ซึ่ ง จากรู ป แบบของพญานาค อาจจะสร้ า งขึ้ น ในช่ ว งกลางพุ ท ธศตวรรษที่ ๒๕
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20)

รูปที่ ๕.๑๘๐ พระสมณโคดมนาคปรก


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20)
สัมฤทธิ์
สมบัติเอกชน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๙๓
หมวด ช.
ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง

๑๐. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง

๑๐.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง สมัยกัมโพช
พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง ปรากฏขึ้นครั้งแรกในคณะกัมโพช
สงฆ์ปักขะ โดยดัดแปลงมาจากพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย สวมอุณหิสห้ายอด
ของอินเดียที่สร้างขึ้นในราชวงศ์ปาละ – เสนะ เช่นองค์ที่ได้จากกุรกิหาร (Kurkihar) ในรัฐพิหาร (ดูรูป
ที่ ๖.๓๖) ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าวิครหปาละที่ ๓ (พ.ศ. ๑๕๘๔ – ๑๖๑๐ / ค.ศ. 1041 –
1067) โดยเปลี่ยนจากประทับขัดสมาธิเพชร มาเป็นขัดสมาธิราบ และเปลี่ยนฐานชั้นบนจากฐานบัวคว่ำ
บัวหงาย เป็นฐานหน้ากระดานลูกแก้วอกไก่ รูปวงโค้งสามหยัก เช่น พระพุทธปฏิมาในพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ พระนคร (รูปที่ ๕.๑๘๑) แต่ยังคงรักษาลักษณะเด่นของพระพุทธรูปแบบปาละ – เสนะ เช่น
อุณหิสห้ายอด มีกระจังรูปหยดน้ำสำหรับฝังอัญมณี ศิรจักรรูปดอกบัวบาน และประภาวลีรูปวงโค้ง
รวมทั้งฐานชั้นล่างเป็นหน้ากระดานเพิ่มมุมอีกด้วย

ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้รับกับค่านิยมของท้องถิ่นมาก
ขึ้น อันเห็นได้จากพระพุทธปฏิมาพบที่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี (รูปที่
๕.๑๘๒) เช่ น รู ป แบบของอุ ณ หิ ส ห้ า ยอด ซึ่ ง แต่ เ ดิ ม ถู ก ใช้ เ ป็ น
สัญลักษณ์ของพระชินพุทธะห้าพระองค์ในลัทธิวัชรยาน เปลี่ยน
เป็นอุณหิสหลายยอดหรือเทริด ดัดแปลงลวดลายของกรอง
ศอ และยังเพิ่มชายจีวรที่พับทบเป็นแผ่นยาวจรดพระนาภี
เพิ่ ม ซุ้ ม หยั ก นาคเบื อ นที่ ป ลายเป็ น ตั ว พนั ส บดี (ธนิ ต
๒๕๐๙, ๑๗ – ๑๙) และลายฉลุภาพกองทัพมาร ที่หน้า
รูปที่ ๕.๑๘๑ พระสมณโคดม ทรงอุณหิสห้ายอด กระดานของฐานเหลี่ยมเพิ่มมุม ซึ่งตั้งอยู่บนชนวนอีกต่อ
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หนึ่ง เหนือประภามณฑลเป็นต้นโพธิ์รูปสามเหลี่ยม มี
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 13) ก้านบัวรองรับพระพุทธะสามพระองค์ ประทับขัดสมาธิ
สัมฤทธิ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ราบ ปางมารวิชัย ซึ่งน่าจะได้แก่พระอดีตพุทธะสาม
พระองค์ อันได้แก่พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระ
กัสสปะ ส่วนพระพุทธปฏิมาทรงเทริดนั้นน่าจะได้แก่พระ
สมณโคดม ในความเชื่อของคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ

รูปที่ ๕.๑๘๒ พระสมณโคดม


ทรงเครื่องในเรือนแก้ว
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์
สมบัติของเอกชน

๒๙๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ในบริบทของคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยทรงเครื่อง
น่ า จะได้ แ ก่ พ ระสมณโคดม อั น มี ห ลั ก ฐาน คื อ พระพุ ท ธปฏิ ม าทรงเครื่ อ งในเรื อ นแก้ ว สั ม ฤทธิ์ ข อง
พิพิธภัณฑ์ศิลปะคิมแบล (Kimbell Art Museum) (รูปที่ ๕.๑๘๓) พระพุทธปฏิมาองค์นี้ จากฐานถึง
ยอดนพศูลย์สูง ๒ เมตร สามารถถอดแยกออกได้เป็น ๑๓ ส่วน (Woodward 1979, 73) เป็น “พระพุทธ-
ปฏิมาองค์เดียวพบที่ชัยภูมิ ความเลอเลิศอลังการของปฏิมากรรมองค์นี้ อาจพูดได้ว่า
กษัตริย์ขอมต้องเป็นผู้สร้างขึ้นมาแน่” (ประชุม ๒๕๑๒, ๑๐๒ - ๑๐๓) พระพุทธปฏิมา
องค์นี้ทรงอุณหิส กุณฑล ทรงเปลือยพระอุระ และทรงกรองศอแบบเขมร ประทับ
เหนือฐานบัวคว่ำบัวหงาย เพิ่มมุม หน้ากระดานแสดงภาพกองทัพมาร ภายในซุ้ม
เรือนแก้วตกแต่งด้วยสิงห์พ่าห์ และซุ้มใบระกาภายในประดิษฐานพระพุทธปฏิมา
ปางมารวิชัยทรงเครื่อง ๒๗ องค์ และเมื่อรวมกับองค์ประธานจะได้ ๒๘ องค์
ซึ่งก็คือจำนวนของพระอดีตพุทธะ ตั้งแต่พระทีปังกรพุทธถึงพระสมณโคดม
ในพระไตรปิ ฎ กหมวด พุ ท ธวงส์ ขุ ท ทกนิ ก าย สุ ต ตั น ตปิ ฎ ก (บำเพ็ ญ
๒๕๓๕, ๓) จึงน่าจะสร้างขึ้นในคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ ประมาณกลาง
พุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12) (Woodward 2003,
210, 226)

รูปที่ ๕.๑๘๓ พระสมณโคดม


ทรงเครื่องในเรือนแก้ว
พบในจังหวัดชัยภูมิ
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สูง ๒ เมตร
Kimbell Art Museum,
Fortworth, Texas, U.S.A.

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๙๕
๑๐.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง ล้านนา

(๑) ช่วงก่อตั้งอาณาจักร พ.ศ.๑๘๓๙ – ๑๘๙๘ (ค.ศ. 1296 – 1355)

พระพุทธปฏิมาดุนทองคำประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงอุณหิสที่ได้รับการดัดแปลงมา
จากอุณหิสห้ายอด บรรจุอยู่ในแผ่นอิฐสำหรับวางฤกษ์พบที่วัดกานโถม (ปัจจุบันคือวัดช้างค้ำ) อำเภอ
สารภี จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๕.๑๘๔) มักจะพบคู่กับพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
เช่นที่พบในวัดกลางเมืองท่ากาน (กองโบราณคดี ๒๕๓๔, ๑๐ – ๑๑) ซึ่งน่าจะแสดงให้เห็นว่าองค์หลัง
นั้นได้แก่พระสมณโคดม ส่วนองค์ที่ทรงสวมอุณหิส ได้แก่พระสมณโคดมทรงอุณหิสห้ายอดที่สร้างขึ้น
ตามคติของพระพุทธรูปอินเดียในราชวงศ์ปาละ – เสนะ

รูปที่ ๕.๑๘๔ พระสมณโคดม ทรงอุณหิสห้ายอด


พบที่วัดกานโถม (วัดช้างค้ำ ในปัจจุบัน)
อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔)
ทองคำ องค์พระสูง ๙ เซนติเมตร
สมบัติเอกชน

๒๙๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


(๒) ช่วงอาณาจักรล้านนา

- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)

พระพุ ท ธปฏิ ม าประทั บ ขั ด สมาธิ ร าบ ปางมารวิ ชั ย ที่ ส ร้ า งขึ้ น ที่ ล้ า นนามี ส องแบบ แบบที่ ๑
ทรงครองจีวรห่มดอง ทรงสวมศิราภรณ์ พระพาหา และพระกรขวาประดับด้วยอาภรณ์ แบบที่ ๒
ทรงฉลองพระองค์แบบกษัตริย์ ไม่ครองจีวร จากพุทธลักษณะและรูปแบบของฐาน กล่าวได้ว่าทั้งสอง
แบบนี้ ส ร้ า งขึ้ น พร้ อ มกั น และส่ ว นใหญ่ ส ร้ า งขึ้ น ในรั ช กาลของพญาแก้ ว (พ.ศ. ๒๐๓๘ – ๒๐๖๘ /
ค.ศ. 1495 – 1525)

พระพุทธปฏิมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน (รูปที่ ๕.๑๘๕) เป็นตัวอย่างของแบบที่ ๑
ทรงครองจีวรห่มดอง ชายจีวรยาวจรดพระนาภี ทรงสวมศิราภรณ์ยอดเป็นบัวตูม พระพาหาและพระกร
ด้านขวาที่เปิดอยู่ตกแต่งด้วย พาหุรัด เกยูร ทองพระกร พระธำมรงค์สวมใส่อยู่ที่นิ้วพระหัตถ์ ข้อพระบาท
ทั้งสองข้างสวมทองพระบาท ประทับเหนือเกษรของฐานบัวคว่ำบัวหงาย เหนือฐานเขียงลูกฟักหกเหลี่ยม
พระพุทธปฏิมาในแบบที่ ๑ มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธปฏิมาที่ นายคาร์ล บ็อค (Carl Bock)
นำไปจากฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่ใน British Museum กรุงลอนดอน (Zwalf 1985, 181) เมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๒๕ (ค.ศ. 1882) มีจารึกระบุว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๘๔ (ค.ศ. 1541) พร้อมกับระบุพระนามว่า
“พระสิกขี” (Bock 1985, 280 – 281) ซึ่งเป็นพระอดีตพุทธะ องค์ที่ ๒ ในจำนวน ๖ องค์ที่กล่าวพระนาม
ใน มหาปทานสูตร ทีฆนิกาย อันได้แก่ พระวิปัสสี พระสีขี พระเวสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และ
พระกัสสปะ ก่อนที่จะมาถึงพระสมณโคดม และพระอนาคตพุทธะ พระเมตไตรย (บำเพ็ญ ๒๕๓๕, ๒)

จารึกที่ฐานพระพุทธรูป “พระสิกขี” แสดงให้เห็นว่า พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
ทรงเครื่องล้านนา แบบที่ ๑ ที่สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 – กลาง 16)
นั้นอาจจะเป็นพระสิกขี หรือพระอดีตพุทธะองค์หนึ่งองค์ใด

รูปที่ ๕.๑๘๕ “พระสิกขี”


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๕ เซนติเมตร
สูง ๓๔.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดน่าน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๙๗
พระพุทธปฏิมาในแบบที่ ๒ (รูปที่ ๕.๑๘๖) ทรงสวมศิราภรณ์ยอดบัวตูมเปลือยพระอุระ ทรงสวม
สร้อยพระศอเชื่อมกับสังวาลคล้องพระปรัศว์ขวา พระพาหุทั้งสองข้างสวมพาหุรัด พระกรเกยูร และ
ทองพระกร พระหัตถ์สวมพระธำมรงค์ ข้อพระบาทสวมทองพระบาท ประทับเหนือเกสรฐานบัวหงาย
รองรับด้วยฐานเขียงหกเหลี่ยม พระพุทธรูปแบบที่ ๒ นี้ องค์หนึ่งมีจารึกว่า “ศักราชได้ ๘๗๑ (พ.ศ. ๒๐๕๒ /
ค.ศ. 1509) พ่อแก้วสร้างแล” ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพญาแก้วครองราชย์ในนครเชียงใหม่ (ศิลปากร
๒๕๓๐ ก, ๑๘๔) (รู ป ที่ ๕.๑๘๗) พระพุ ท ธปฏิ ม าองค์ นี้ ทรงสวมศิ ร าภรณ์ ย อดแหลมคล้ า ยเจดี ย์
ทรงเปลือยพระอุระ สวมสังวาลไขว้ และประทับบนฐานเขียงทรงสูง

พระพุทธปฏิมาแบบที่ ๒ ซึ่งเป็นแบบที่มิได้ครองจีวร แต่ทรงฉลองพระองค์อย่างพระมหากษัตริย์
อาจจะเป็นพระสมณโคดมทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระเจ้าราชาธิราช ฉลองพระองค์แบบพระจักรพรรดิราช
เพื่อทรงโปรดพญาชมพูบดี ก็เป็นได้

รูปที่ ๕.๑๘๖ พระสมณโคดม โปรดพญาชมพูบดี


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๒ เซนติเมตร
สูง ๒๘ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน

รูปที่ ๕.๑๘๗ พระสมณโคดม โปรดพญาชมพูบดี
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๕๒ (ค.ศ. 1509)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๔.๕ เซนติเมตร
สูงรวมฐาน 33 เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดน่าน

๒๙๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๑๘๘ พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย ทรงเครื่องน้อย
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๑๐.๓ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง สมัยอยุธยา



(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ.๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

ในราชอาณาจักรอยุธยา พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยทรงเครื่อง เริ่มสร้าง
ขึ้นอีกในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 ต้น 16) (McGill 2005, 145) หลังจาก
เป็ น ที่ แ พร่ ห ลายในสมั ย กั ม โพช (ดู รู ป ที่ ๕.๑๘๑ – ๕.๑๘๓) แต่ เ มื่ อ นิ ก ายเถรวาท คณะมหาวิ ห าร
จากลังกา ได้เข้ามาเผยแผ่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14) ก็ได้หายสาบสูญไป

เมื่อแรกปรากฏขึ้นใหม่นั้นทำเป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ห่มดอง
มีเครื่องทรงแค่อุณหิสยอดแหลม จึงมักจะเรียกพระพุทธปฏิมาที่ทรงสวมแค่อุณหิสว่า “ทรงเครื่องน้อย”
ซึ่งในกรณีของพระพุทธปฏิมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (รูปที่ ๕.๑๘๘) ประดับด้วยทับทิม
อย่างไรก็ตามพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่องน้อย มีเพียงไม่กี่องค์ เมื่อ
เทียบกับพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย “ทรงเครื่องใหญ่” ซึ่งหมายถึงพระพุทธปฏิมา
ที่ทรงอุณหิส กรองศอ ทับทรวง พาหุรัด และทองพระกร เป็นต้น

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๒๙๙
(๒) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่องใหญ่ เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วง
พุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18) อันเห็นได้จากจำนวนของพระพุทธปฏิมาใน
กลุ่ ม นี้ ซึ่ ง มี ทั้ ง ขนาดเล็ ก และขนาดพระประธาน เช่ น พระพุ ท ธนิ มิ ต รวิ ชิ ต มารโมลี ศรี ส รรเพชญ์
บรมไตรโลกนาถ พระประธานพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รูปที่
๕.๑๘) ปัจจุบันพระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทรงเครื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดองค์หนึ่ง
อาจจะสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๓ – ๒๑๙๙ / ค.ศ. 1630 – 1656)
เพราะมีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระพุทธปฏิมาองค์ใหญ่ ๑๒ องค์ ในเมรุทิศ เมรุรายของวัดไชยวัฒนาราม
ซึ่งจากจารึกแผ่นทองแดงพบในพระอุระด้านพระปฤษฎางค์ของพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องว่า “แรกสถาปนา”
ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๙๒ (ค.ศ. 1649) (จารึกแผ่นทองแดง ๒๕๓๕, ๑๐๓ – ๑๐๘) แต่เมื่อแรกสร้างอาจจะ
มิได้เป็นพระพุทธปฏิมาทรงเครื่อง เช่นเดียวกันกับพระพุทธปฏิมาในเมรุทิศ เมรุราย (พิริยะ ๒๕๔๕, ๑๘๙)
แต่เป็นที่แน่นอนว่า พระพุทธปฏิมาของวัดหน้าพระเมรุต้องสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๒๖๙ (ค.ศ. 1726)
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เพราะภาพพระอุโบสถเขียนว่า “62 Wat na pra meen” (หน้าพระเมรุ)
ที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ชื่อ “De Groote Siamese Rievier Me-nam” ของสาธุคุณฟรังซัว วาเลนติน
(Franççois Valentijn) (Suáárez 1999, 234 – 235) ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕ –
๒๓๐๑ / ค.ศ. 1732 – 1758) จึงได้มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องใหญ่ ทรงสวมพระ
มหามงกุฎ กรองศอ สังวาลไขว้ประดับด้วยกระจังตาอ้อย และทับทรวง พร้อมกับพระพุทธรูปทรงเครื่อง
ของวัดไชยวัฒนาราม

รูปที่ ๕.๑๘ พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลี


ศรีสรรเพชญ์ บรมไตรโลกนาถ
พุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๔.๕๐ เมตร
สูง ๖ เมตร
พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุราชิการาม
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๓๐๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๓๐๑
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่องใหญ่ ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันส่วน
มากสร้างขึ้นในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18) เช่นองค์ในพระวิหาร
พระพุทธไสยาสน์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี (รูปที่ ๕.๑๙๐) ซึ่งมีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระพุทธ-
นิมิตรวิชิตมารโมลีฯ ที่วัดหน้าพระเมรุมาก นอกจากนั้นแล้ว เครื่องทรงของพระพุทธปฏิมาทั้งสององค์
ยังปั้นด้วยรัก และลงรักปิดทองประดับกระจก หลังจากที่หล่อพระพุทธปฏิมาพร้อมกับจีวรขึ้นมาแล้ว
เป็นที่น่าเสียดายว่าทับทรวงของพระพุทธปฏิมาองค์นี้ได้ชำรุดหักหายไปแล้ว พระพุทธปฏิมาที่มีลักษณะ
ใกล้เคียงกันรวมถึงการครองจีวรห่มดอง มีชายผ้าเป็นแถบยาวหน้าพระนาภี และทรงสวมมงกุฎซึ่งตอน
ล่างคล้ายมงกุฎยอดเดินหน ได้แก่องค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรคนายก อำเภอสวรรคโลก
จังหวัดสุโขทัย (รูปที่ ๕.๑๙๑)

รูปที่ ๕.๑๙๐ พระสมณโคดมโปรดพญาชมพูบดี


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์
พระวิหารวัดพระพุทธไสยาสน์
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี

รูปที่ ๕.๑๙๑ พระสมณโคดมโปรดพญาชมพูบดี


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๓๖ เซนติเมตร
สูง ๖๒ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรคนายก
อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

๓๐๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ต่อมาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18) จีวรหายไป และมีการเน้นที่
เครื่องทรงมากขึ้น เช่นทรงสวมมงกุฎคล้ายมงกุฎยอดน้ำเต้า กรรเจียกที่มีขนาดใหญ่ปลายตวัดขึ้น (รูปที่
๕.๑๙๒) สังวาลไขว้ตกแต่งด้วยกระจังตาอ้อย ช่อกนกที่สอดใต้ทับทรวง และพระธำมรงค์ในทุกนิ้ว
พระหัตถ์ (รูปที่ ๕.๑๙๓) รวมทั้งฐานสิงห์ประดับกระจก นอกจากนั้นแล้วยังนิยมทำฐานสิงห์ย่อมุมที่สูง
ชะลูดอีกด้วย (รูปที่ ๕.๑๙๔)

รูปที่ ๕.๑๙๒ พระสมณโคดมโปรดพญาชมพูบดี รูปที่ ๕.๑๙๓ พระสมณโคดมโปรดพญาชมพูบดี รูปที่ ๕.๑๙๔ พระสมณโคดมโปรดพญาชมพูบดี


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ได้จากวัดประเสริฐ จังหวัดราชบุรี ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18) ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๓๖ เซนติเมตร (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18) ไม้ สูงรวมฐาน ๙๔ เซนติเมตร
สูงรวมฐาน ๑.๕๑ เมตร สัมฤทธิ์ สูง ๖๙.๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๔๑ เซนติเมตร
วิหารสมเด็จฯ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๓๐๓
ไม่ มี ข้ อ สงสั ย ว่ า ในช่ ว งรั ช สมั ย สมเด็ จ พระเจ้ า บรมโกศ พระพุ ท ธปฏิ ม าประทั บ ขั ด สมาธิ ร าบ
ปางมารวิชัยทรงเครื่องใหญ่ ได้แก่พระสมณโคดมปางโปรดพญาชมพูบดี อันเห็นได้จากจดหมายของ
อัครมหาเสนาบดีไทยมีไปถึงอัครมหาเสนาบดีลังกาปี พ.ศ. ๒๒๙๙ (ค.ศ. 1756) สืบเนื่องมาจากเมื่อครั้ง
ราชทูตลังกานำภิกษุไทย ที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงให้ไปประดิษฐานสยามนิกายในประเทศลังกา
เดินทางกลับเข้ามาในปี พ.ศ. ๒๒๙๘ (ค.ศ. 1755) สมเด็จพระเจ้าบรมโกศโปรดให้ไปชมพระอารามหลวง
ทูตลังกาเห็นพระพุทธรูปทรงเครื่องในวัดพระศรีสรรเพชญ์ จึงถามเจ้าพนักงานว่าเหตุไฉนในประเทศไทย
จึงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องคล้ายเทวรูป ความทราบถึงสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ จึงรับสั่งให้เสนาบดี
ชี้แจงไปในจดหมายดังที่ได้กล่าวมาแล้ว (ท้าวมหาชมพู ๒๔๖๔, ๒) ความว่า

๓๘ ทูตทั้ง ๓ นายได้เห็นพระพุทธพิมพ์สุวรรณมัย เนื้อนิกข ทรงอุณหิส
สวมไว้ ประดับนพรัตน... หากมีใจสงสัยว่า พระพุทธพิมพ์ประดับนพรัตนอย่าง
นี้ ในลังกาไม่เคยมีเลย เพราะเหตุนั้น พระพุทธพิมพ์ ประดับงามอย่างนี้ อย่า
พากันพูดว่า เหมือนเทวรูปดังนี้เลย
๓๙ พระเจ้าราชธิราชผู้อุดมนั้น หาทรงทำพระราชกิจอันเป็นพระกุศล
ยวดยิ่ง ให้ผิดคลองพระพุทธพจน์ไม่ พระพุทธพิมพ์ที่ทรงมงกุฎเช่นนี้ ได้มี
ปรากฏในมหาชมพูบดีวัตถุ เหตุนั้น ราชบุรุษผู้เล่าเรียนนิทานนั้น ชัดเจนบอกเล่า
มีมาอย่างนี้แท้จริง
๔๐ เราได้ส่งชมพูบดีวัตถุมาให้ท่าน อัครมหาเสนาบดีลังกา เพื่อให้ท่าน
ได้สั่งสอนพราหมณ์ทั้งหลายในเกาะลังกา แล้วขอให้ทูลเรื่องนั้นแก่พระเจ้า
อุดมมหาราชลังกาทวีปด้วย... ขอให้พระเจ้ากรุงลังกาทรงสร้างพระพุทธรูป
ทรงเครื่อง เหมือนอย่างกรุงเทพมหานคร สร้างประดับเนาวรัตนล้วนเถิด
พระราชกุศลจะได้เจริญยิ่งฯ ในกรุงศิริวัฒนบุรีตลอดแว่นแคว้นในลังกาทวีป
(ดำรงราชานุภาพ ๒๕๐๓, ๒๔๙ – ๒๕๑)

๑๐.๔ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง สมัยรัตนโกสินทร์

การสร้างพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องแบบพระจักรพรรดิราช ในปางโปรดพญาชมพูบดี ยังเป็นที่
นิยมสืบต่อกันมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น พระประธานในพระอุโบสถวัดนางนอง และวัดปทุมคงคา
กรุงเทพมหานคร

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔ / ค.ศ. 1824 – 1851) ได้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่องแบบ
พระจักรพรรดิราช เป็นพระประธานวัดนางนอง (รูปที่ ๕.๑๙๕) และทรงบูรณปฏิสังขรณ์ พระอารามขึ้น
ใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ - ๒๓๘๔ (ค.ศ. 1833 - 1841) (สุจิตต์ ๒๕๓๐, ๒๑๖) เครื่องทรงของพระพุทธปฏิมา
องค์ นี้ แ ยกถอดได้ ทุ ก ชิ้ น และน่ า จะจำลองแบบมาจากเครื่ อ งทรงฤดู ร้ อ น ซึ่ ง พระบาทสมเด็ จ พระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสร้างถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แต่ได้ถวายสังวาล ตาบข้าง และ
ทองพระบาทเพิ่มขึ้น ต่อมาจึงได้ถวายพระนามว่า “พระพุทธมหาจักรพรรดิ์” นอกจากนั้นแล้วจิตรกรรม
ฝาผนังก็ยังเล่าเรื่องจาก ชมพูบดีสูตร และภาพลายรดน้ำที่บานหน้าต่างและประตู แสดงภาพสัญลักษณ์
ที่เกี่ยวเนื่องกับพระเจ้าจักรพรรดิราชทั้งสิ้น (ศานติ ๒๕๔๙, ๔๔)

๓๐๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ส่วนพระพุทธมหาชนก พระประธานวัดปทุมคงคาราช (รูปที่ ๕.๑๙๖) ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า
มหาสุรสิงหนาททรงบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เพื่อเป็นพระราชกุศลถวายสมเด็จพระปฐม-
บรมมหาชนกนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุน
ราชสีหวิกรม ผู้กำกับกรมช่างศิลาและกรมช่างสิบหมู่ อำนวยการบูรณะและให้แปลงพระประธานซึ่งเป็น
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธปฏิมาทรงเครื่อง (ดำรง-
ราชานุภาพ ๒๔๖๔, ๖๙) ดังนั้นพระพุทธมหาชนก พระองค์นี้จึงทรงเครื่องอย่างพระมหากษัตริย์ เช่น
พระมหามงกุฎที่ตกแต่งด้วยดอกไม้ไหว ทรงกรองศอ พาหุรัด สังวาลไขว้ และทับทรวง รวมทั้งเชิงสนับ
เพลาทับบนจีวรลายดอกพิกุลอีกด้วย

รูปที่ ๕.๑๙๕ พระพุทธมหาจักรพรรดิ์ รูปที่ ๕.๑๙๖ พระพุทธมหาชนก


พ.ศ. ๒๓๗๕ - ๒๓๘๔ (ค.ศ. 1832 – 1841) พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑ (ค.ศ. 1851 - 1868)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๒๕ เมตร สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒.๒ เมตร
พระอุโบสถวัดนางนอง พระอุโบสถวัดปทุมคงคา
กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๓๐๕
หมวด ซ.
ปางพระศรีอาริยเมตไตรย

๑๑. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางพระศรีอาริยเมตไตรย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางพระศรีอาริยเมตไตรย สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบทรงเครื่องอย่างพระจักรพรรดิราช พระหัตถ์ขวาวางที่พระชานุขวา
พระหัตถ์ซ้ายวางที่พระชานุซ้าย เช่นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม
อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๕.๑๙๗) มีจารึกที่ฐานว่า “พระศรีอริยเมตไตร”
จึงไม่มีข้อสงสัยว่าจะเป็นพระพุทธะพระองค์ใด อย่างไรก็ตาม พระศรีอาริยเมตไตรยในท่าประทับ
ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองข้างปรกพระชานุทั้งสองข้างไม่เคยมีมาก่อน ยกเว้นแต่ในกรณีของ
พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเลือกค้นในคัมภีร์ พระอิริยาบถของพระพุทธเจ้าซึ่งปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ
ได้ ๓๗ ปาง (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๒๓๖ – ๒๓๙) พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ พระหัตถ์
ทั้งสองข้างปรกพระชานุ มีจารึกที่ฐานว่า “สำแดงชราธรรม” ปัจจุบันเรียกว่า “ปางพิจารณาชราธรรม”
(ดูรูปที่ ๓.๙ (๒)) และยิ่งทรงฉลองพระองค์แบบพระมหากษัตริย์ไทย เช่นพระมหามงกุฎ สนับเพลา
รัดพระองค์ สร้อยพระศอ พระมหาสังวาล ทับทรวง พาหุรัดพร้อมกนกข้าง ทองพระกร ทองพระบาท
และพระธำมรงค์ทุกนิ้วพระหัตถ์ ยิ่งไม่มีที่ไหนเหมือน จึงเป็นพระพุทธรูปองค์แรกของปางนี้

เป็นที่น่าสังเกตว่า รูปพระศรีอาริยเมตไตรยในรูปแบบเดิม คือประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
ทรงเครื่อง (ดูรูปที่ ๕.๔๕ – ๕.๔๖) ได้สิ้นสุดลงพร้อมกับกรุงศรีอยุธยา และเมื่อมีการสร้างรูปพระศรี-
อาริยเมตไตรยขึ้นมาใหม่ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพลเทพ
(หลง) เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๔, ๘๒) จึงประดิษฐ์ปางใหม่ขึ้น
ซึ่งไม่เคยปรากฏในแบบแผนเดิม

รูปที่ ๕.๑๙๗ “พระศรีอริยเมตไตร”


พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑ (ค.ศ. 1851 - 1868)
สัมฤทธิ์
หน้าตักกว้าง ๙๑.๕ เซนติเมตร
สูง ๒.๒๔ เมตร
พระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม
อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๓๐๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๓๕
หมวด ฌ.
ปางขอฝน

๑๒. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางขอฝน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางขอฝน สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบครองจีวรห่มดอง พระหัตถ์ขวายกขึ้นในท่ากวัก พระหัตถ์ซ้าย
หงายขึ้นที่พระเพลา (ดูรูปที่ ๓.๕๘ – ๓.๕๙) เรียกว่า ปางขอฝน หรือปางคันธารราษฎร์ สร้างขึ้นพร้อม
กับกรุงรัตนโกสินทร์

อย่างไรก็ตามพระพุทธรูปปางขอฝนนั้นมีมาแล้วแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี อันเห็นได้จาก
คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ที่จำแนกพระ “คันธารราษฎร์นั่งสมาธิ หน้าตักศอกหนึ่งหล่อด้วย
ทองสัมฤทธิ์ ลอยน้ำมาแต่ปักษ์ใต้เชิญไว้ ในวิหารวัดธรรมิกราช มีพระพุทธานุภาพมาก ขอฝนให้ตกก็ได้”
เป็น ๑ ใน “พระมหาพุทธปฏิมากรที่มีพุทธานุภาพเป็นหลักกรุงนั้น ๘ องค์” (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่
ทรงธรรม ๒๕๓๔, ๒๔ – ๒๕)

รูปที่ ๓.๕๘ พระคันธารราษฎร์ รูปที่ ๓.๕๙ พระคันธารราษฎร์จีน


สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๖ (ค.ศ. 1783) สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๖? (ค.ศ. 1783?)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง ทองคำ
หน้าตักกว้าง ๕๗.๔๐ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๒๙.๓๐ เซนติเมตร
สูงรวมฐาน ๘๗.๕๐ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๔๘.๑๐ เซนติเมตร
หอพระคันธารราษฎร์ หอพระคันธารราษฎร์
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมาฯ) (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมาฯ)

๓๐๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ญ.
ปางประทานพร

๑๓. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางประทานพร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางประทานพร สมัยรัตนโกสินทร์

ในบรรดาพระพุทธรูปแบบสุโขทัยในพระระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีเพียงองค์เดียวที่
แสดงปางประทานพร มีพุทธลักษณะคือพระหัตถ์ขวาหงายออก พระหัตถ์ซ้ายทอดอยู่บนพระเพลา
(รูปที่ ๕.๑๙๘) ซึ่งพุทธลักษณะดังกล่าวไม่สอดคล้องกับประเพณีการสร้างพระพุทธปฏิมาสมัยสุโขทัย
ที่นิยมสร้างพระพุทธปฏิมาปางมารวิชัย นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นองค์เดียวที่เป็นตัวอย่างของปางนี้จนถึง
สมัยปัจจุบัน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าเมื่อนำเข้ามาประดิษฐานในพระระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระหัตถ์อาจชำรุดเสียหาย จึงมีการหล่อแก้ไขจาก
ปางมารวิชัยเป็นปางประทานพร โดยเฉพาะข้อพระกรที่ดูเหมือนจะคว่ำแต่พระหัตถ์กลับหงายออก

รูปที่ ๕.๑๙๘ พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ


ปางประทานพร
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์
พระระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๓๐๙
พระพุทธรูปปางนี้ปรากฏขึ้นอีกในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อคณะกรรมการฉลอง ๗๒ ปี ศิริราชพยาบาล
พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ. 1962) ดำริสร้างพระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
และพระพุทธรูปบูชาสำหรับให้ประชาชนไปสักการบูชา โดยพระธรรมจินดาภรณ์ (ทองเจือ จินฺตกาโร)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ผู้เชี่ยวชาญการสร้างพระพุทธรูปเป็นผู้คิดแบบ ส่วนผู้ปั้นคือ
นายโต ขำเดช ช่างประจำโรงหล่อไตรสรณคมน์ของนายฟุ้ง อันเจริญ บ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
(Allison and Allison ๒๕๕๐, ๓๔๘ – ๓๕๔) พระพุทธรูปเป็นแบบสุโขทัยปางประทานพร ตามมติของ
คณะกรรมการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูป ณ
วัดบวรนิเวศวิหาร (จาตุรงคมงคลฯ ๒๕๐๘, ๑๕๗ – ๑๖๗)

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางประทานพร
ภ.ป.ร. ขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. 1965) (ดูรูปที่ ๓.๑๐๐) จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายขึ้น อันเห็นได้จาก
การที่มีผู้สั่งจองขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว ๔,๒๔๗ องค์ และหน้าตัก ๕ นิ้ว ๒๑,๔๔๙ องค์ “นับเป็นการสร้าง
พระพุทธรูปครั้งมโหฬารใหญ่ยิ่งที่สุด ที่เคยมีมาในโลก” (สารานุกรมพระ 2002, ออนไลน์) และเป็น

รูปที่ ๓.๑๐๐ พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางประทานพร ภ.ป.ร. รูปที่ ๕.๑๙๙ พระพุทธเกตุมงคล


พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. 1965) สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๓ (ค.ศ. 1970)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒๒.๙ เซนติเมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก
ตึกวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หน้าตักกว้าง ๒๐ เมตร
กรุงเทพมหานคร องค์พระสูง ๒๔ เมตร
วัดเทวปราสาท
อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

๓๑๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๕.๒๐๐ ก. พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุณี
พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. 1974)
คอนกรีตเสริมเหล็ก
หน้าตักกว้าง ๒๓.๑๔ เมตร
สูง ๔๒.๕๖ เมตร
วัดพิกุลทอง
อำเภอทับช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
รูปที่ ๕.๒๐๐ ข. พระหัตถ์ขวา พระสุวรรณมงคลมหามุณี

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๓๑๑
๓๑๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๕.๒๐๒ พระพุทธสุรินทรมงคล
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977)
คอนกรีตเสริมเหล็ก
หน้าตักกว้าง ๑๕ เมตร สูง ๓๐ เมตร
วัดพนมศิลาราม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์

แรงบันดาลใจให้มีการสร้างพระพุทธรูปปางประทานพรขนาดใหญ่ขึ้นในภาคต่างๆ เช่น ในภาคเหนือ ได้แก่
หลวงพ่อพุทธเกตุมงคล วัดเทวปราสาท อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร (รูปที่ ๕.๑๙๙) ซึ่งเป็นพระพุทธรูป
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ (ค.ศ. 1970) ส่วนในภาคกลาง ได้แก่ พระ
พุทธสุวรรณมงคลมหามุณี (หลวงพ่อใหญ่) ณ วัดพิกุลทอง อำเภอทับช้าง จังหวัดสิงห์บุรี (รูปที่ ๕.๒๐๐ ก.)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. 1974) เป็นพระพุทธรูปปางประทานพรขนาดใหญ่ ซึ่งพระดรรชนีของ
พระหัตถ์ขวามีการดัดแปลงทำให้กระดกขึ้น อย่างเห็นได้ชัด (รูปที่ ๕.๒๐๐ ข.) พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ถวายพระนาม และที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ พระพุทธ-
สกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (รูปที่
๕.๒๐๑) สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. 1969) ประดิษฐานเหนือพื้นดิน ๑๑๒ เมตร หรือ ๕๖ วา ซึ่งหมายถึง
พระพุทธคุณ ๕๖ ประการ ส่วนองค์พระพุทธรูปสูง ๔๕ เมตร หมายถึง ทรงทำพุทธกิจอยู่ ๔๕ พรรษา
(ธรรมะไทย 2550, ออนไลน์) และพระพุทธสุรินทรมงคล วัดพนมศิลาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์
(รูปที่ ๕.๒๐๒) สร้างปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977) ถึงแม้ว่าทางราชการจะเรียกพระพุทธรูปประทับ
รูปที่ ๕.๒๐๑ พระพุทธสกลสีมามงคล
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. 1969) ขัดสมาธิราบ ปางประทานพรที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบันว่า “แบบพุทธศิลป์แห่งสมัยรัตนโกสินทร์”
คอนกรีตเสริมเหล็ก ก็ตาม แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกว่า “แบบสุโขทัย” อยู่ดี
หน้าตักกว้าง ๒๗.๒๕ เมตร
สูง ๔๕ เมตร
วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ๓๑๓
พระพุทธสิหิงค์จำลอง (รูปที่ ๖.๘ ข.)
วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่

พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทที่


พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร
หมวด ก.
ปางมารวิชัย


จากจำนวนของพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในประเทศไทยทั้งหมดนั้น พระพุทธปฏิมา
ประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย จัดได้ว่ามีจำนวนมากที่สุดรองลงมาจากพระพุทธปฏิมา
ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย และในบรรดาพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร
ปางมารวิชัย ที่มีความสำคัญที่สุดคือ พระพุทธสิหิงค์ ที่สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๗๓
(ค.ศ. 1430) เมื่อนิกายสีหฬภิกขุได้เข้ามาเผยแผ่ที่เชียงใหม่ จนถึงช่วงเสียกรุงศรีอยุธยา
ครั้งที่สองในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1767) ถือได้ว่าเป็นพระพุทธสิหิงค์จำลองทุกพระองค์

๑. พระพุทธสิหิงค์

หากจะกล่าวถึงพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและมีผู้เคารพศรัทธามากที่สุดในประเทศไทย พระพุทธสิหิงค์
ก็คงจะอยู่ในลำดับต้นๆ ของกลุ่มพระพุทธรูปที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจุบัน เรื่องราวของพระพุทธสิหิงค์ได้ปรากฏอยู่หน้าประวัติศาสตร์ไทยเรื่อยมา นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูป
คู่บ้านคู่เมืองของชาติไทยองค์หนึ่ง

ในหนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งรจนาโดยพระรัตนปัญญาเถระ ภิกษุในคณะอรัญวาสี ฝ่ายวัด
ป่าแดง หรือ “สีหฬภิกขุ” ได้กล่าวถึงพระพุทธปฏิมาที่มีพุทธลักษณะเหมือนพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ได้แก่
พระสีหฬปฏิมา หรือพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งจากจำนวนของพระพุทธสิหิงค์จำลองที่มีอยู่ในประเทศไทย อาจ
จะกล่าวได้ว่าเป็นหมวดพระพุทธปฏิมาที่มีการจำลองกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดหมวดหนึ่ง

พระพุทธสิหิงค์มิได้เป็นรูปเหมือนของพระพุทธเจ้าที่จำลองขึ้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพ
อยู่ แต่เป็นรูปที่ถ่ายแบบมาจากหุ่นขี้ผึ้ง ซึ่งพระยานาคราชเนรมิตขึ้น เพื่อตอบสนองข้อสงสัยของ
พระเจ้าสีหล ว่ายังมีผู้ใดเคยเห็นพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จมาลังกาถึงสามครั้งบ้าง

ทันใดนั้น ด้วยอานุภาพของพระขีณาสพ (อรหันต์) ราชาแห่งนาค ได้แปลงรูป
มาเป็นคน แล้วเนรมิตตนเป็นรูปพระพุทธ... พระราชาตรัสสั่งให้หาช่างปฏิมากร
รมชั้นอาจารย์มา แล้วโปรดเอาขี้ผึ้งปั้นถ่ายแบบพระพุทธมีอาการดั่งที่นาคราช
เนรมิต และให้ทำแม่พิมพ์ถ่ายแบบพระพุทธนั้นด้วย แล้วให้เททองซึ่งผสมด้วย
ดีบุก ทองคำ และเงิน อันหลอมละลายคว้างลงในแม่พิมพ์นั้น พระพุทธปฏิมา
นั้นเมื่อขัดและชักเงาเสร็จแล้วงามเปล่งปลั่งเหมือนองค์พระพุทธยังทรงพระชนม์
อยู่ (รัตนปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๑๐๐)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๑๕
ปัจจุบันได้พบพระพุทธปฏิมาที่มีจารึกระบุว่าเป็นพระพุทธสิหิงค์จำลองแล้วสี่องค์ องค์ที่มีอายุ
เวลาเก่าแก่ที่สุด คือ พ.ศ. ๒๐๑๓ (ค.ศ. 1470) อยู่ที่วัดพระเจ้าเม็งราย อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่
(ฮันส์ เพนธ์ ๒๕๑๙, ๕๗ – ๕๙) (รูปที่ ๖.๑) องค์หนึ่งอยู่ในศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิต-
วนาราม มีจารึก พ.ศ. ๒๐๕๑ (ค.ศ. 1508) (Griswold 1957, Pl. XXIX) (รูปที่ ๖.๒) ซึ่งคงจะเป็น ๑ ใน
บรรดาพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสาะ
แสวงหามาประดิษฐานในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ตาม “พระราชดำหริว่าพระพุทธรูปที่จะตั้งในวัด
นั้นจะหาพระหล่อของโบราณแบบต่างๆ มาตั้ง ทำนองหย่างเมื่อพระบาทสมเด็ดพระพุทธยอดฟ้า-
จุลาโลก ซงส้างวัดพระเชตุพนฯ” (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๘๗, ๔) และเมื่อมิได้ขนาดที่จะตั้งในพระระเบียง
พระอุโบสถจึงอัญเชิญมาประดิษฐานในศาลาบัณณรศภาค อีกองค์หนึ่งพบที่อำเภอฝาง จังหวัด
เชียงใหม่ มีจารึกปี พ.ศ. ๒๑๑๒ (ค.ศ. 1569) (Penth 1976, 154 – 157) และองค์ที่มีอายุน้อยที่สุด
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๒ (ค.ศ. 1689) อยู่ที่วัดโคกขาม อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร (รูปที่ ๖.๓)
พระพุทธสิหิงค์ที่มีจารึกระบุว่าเป็นพระสิหิงค์จำลองทั้งหมดนี้มีพุทธลักษณะร่วมกัน คือ

มีลักษณะพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระ
พักตร์กลม อมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชาย
จีวรเหนือพระอังสาซ้ายสั้น ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ชอบทำปางมารวิชัย
ขัดสมาธิเพชร แลเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฐานมีกลีบบัวคว่ำบัวหงายและ
เกสรบัวประกอบหล่อด้วยสัมฤทธิ์ (สุภัทรดิศ ๒๕๓๘, ๒๒)

รูปที่ ๖.๑ พระพุทธสิหิงค์


สร้างปี พ.ศ. ๒๐๑๓ (ค.ศ. 1470)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๓๔ เมตร
วัดพระเจ้าเม็งราย อำเภอเมืองฯ
จังหวัดเชียงใหม่

รูปที่ ๖.๒ พระพุทธสิหิงค์


สร้างปี พ.ศ. ๒๐๕๑? (ค.ศ. 1508?)
สัมฤทธิ์ สูง ๙๐ เซนติเมตร
วิหารสมเด็จฯ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

๓๑๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๖.๓ พระพุทธสิหิงค์
สร้างปี พ.ศ. ๒๒๓๒ (ค.ศ. 1689)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร
สูง ๘๓ เซนติเมตร
วัดโคกขาม อำเภอเมืองฯ
จังหวัดสมุทรสาคร

พุทธลักษณะที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น เป็นลักษณะของพระพุทธรูปที่นิยามว่า เป็น “เชียงแสน ชั้น


แรก” หรือ “ศิลปะเชียงแสนรุ่นเก่า” ตามทฤษฎีของการจำแนกยุคสมัยของศิลปะในประเทศไทย ของ
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๙, ๑๐๐) และยอร์ช เซเดส์ (ยอช เซเดส์
๒๔๗๑, ๓๗ – ๓๘) ซึ่งแยกพระพุทธรูปออกเป็นหมวดหมู่ตามพุทธลักษณะ และขนานนามหมวดหมู่ตามชื่อ
อาณาจักรในประวัติศาสตร์ แต่ในบริบทของพุทธศิลป์แล้ว พระพุทธรูปเป็นพระปฏิมา หรือรูปจำลอง
ของพระพุทธเจ้า ไม่ขึ้นกับการเมืองหรือการปกครองของฆราวาส เช่นเดียวกันกับการผูกพัทธสีมาให้เป็น
เขตอิสระแยกออกจากราชอาณาจักร ดังนั้นพระพุทธปฏิมาทั้งหมดที่ถูกนิยามว่า เป็น “ศิลปะเชียงแสน
รุ่นเก่า” หรือ “เชียงแสนชั้นแรก” จึงได้แก่พระพุทธสิหิงค์จำลอง ซึ่งความจริงข้อนี้เป็นที่ประจักษ์ เมื่อ
พระพุทธปฏิมาในแบบ “เชียงแสนรุ่นเก่า” ปรากฏขึ้นที่นครศรีธรรมราช ดังที่เซเดส์ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า

มี ข้ อ ประหลาดซึ่ ง เกี่ ย วกั บ ตำนานพระพุ ท ธรู ป สมั ย เชี ย งแสนข้ อ หนึ่ ง คื อ
ในบรรดาพระพุทธรูปของไทยที่พบในประเทศสยาม พระพุทธรูปเมืองนคร-
ศรีธรรมราชอันเปนเมืองที่อยู่ห่างไกลจากเมืองเชียงแสนที่สุด มีลักษณะคล้าย
กั บ พระพุ ท ธรู ป เชี ย งแสนรุ่ น เก่ า มากกว่ า พระพุ ท ธรู ป ที่ ไ ด้ พ บในเมื อ งอื่ น ๆ
พระพุทธรูปเมืองนครศรีธรรมราชเปนพระนั่งขัดสมาธิเพ็ชร์ มีพระอุระนูน
ชายจีวรสั้น เส้นพระเกศใหญ่ไม่มีไรพระศก พระรัสมีเปนดอกบัวตูมเหมือนกับ
พระพุทธรูปเชียงแสนหมดทุกอย่าง (เรื่องเดียวกัน, ๓๗)

ความที่ว่าพระพุทธรูปในแบบเชียงแสนรุ่นเก่า พบที่เมืองนครศรีธรรมราช มีความคล้ายกันกับ
พระพุทธรูป “เชียงแสนรุ่นเก่า” มากก็เพราะทั้งสองกลุ่มเป็นพระพุทธสิหิงค์จำลองเช่นกัน ดังที่พระ
พุทธสิหิงค์จำลองของวัดโคกขาม อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร (ดูรูปที่ ๖.๓) เป็นตัวบ่งบอก

เรื่ อ งราวของพระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ ที่ ป รากฏในหนั ง สื อ ชิ น กาลมาลี ป กรณ์ แสดงให้ เ ห็ น ว่ า พระ
พุทธปฏิมาพระองค์นี้ได้เป็นที่สักการบูชาตั้งแต่เมืองนครศรีธรรมราชในภาคใต้ ถึงเชียงแสน เชียงราย
และเชียงใหม่ ในภาคเหนือ ส่วนในภาคกลางก็ได้ไปประดิษฐานที่อยุธยา ชัยนาท กำแพงเพชร และ
สุโขทัย (รัตนปัญญาเถระ ๒๕๐๑, ๑๐๐ – ๑๐๕) จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ได้พบพระพุทธสิหิงค์จำลองที่
ประดิษฐานอยู่ตามเมืองสำคัญเหล่านี้

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๑๗
๑.๑ พระพุทธสิหิงค์จำลอง สมัยล้านนา

(๑) ช่วงอาณาจักรล้านนา
- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)

เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้พระสีหฬปฏิมา หรือพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาที่สำคัญที่สุดของ
คณะอรัญวาสี ฝ่ายวัดป่าแดง ที่ได้ไปอุปสมบทใหม่ที่ลังกา และกลับมาในปี พ.ศ. ๑๙๗๓ (ค.ศ. 1430) ซึ่ง
เป็นที่รู้จักกันในนามสีหฬภิกขุ ของล้านนา แต่พระพุทธปฏิมาองค์นี้ก็มิได้จำลองมาจากพระพุทธปฏิมา
ของลังกา เพราะพระพุทธปฏิมาลังกานิยมทำเป็นพระปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ซึ่งแตกต่าง
จากพระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ ที่ เ ป็ น พระปฏิ ม าประทั บ ขั ด สมาธิ เ พชร ปางมารวิ ชั ย ซึ่ ง สื บ ทอดมาจากพระ
พุทธปฏิมาของอินเดียภาคเหนือ เช่นพระพุทธปฏิมาซึ่งเป็นพระประธานของวิหารมหาโพธิ์ที่พุทธคยา
ที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ปาละ – เสนะ (Huntington 1985, 396) จึงเป็นพระพุทธปฏิมาที่จำลองมาจาก
พระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาสืบทอดกันมาแล้วจากอดีต หากแต่ปรับเปลี่ยนในส่วนปลีกย่อยให้
เข้ากับค่านิยมของท้องถิ่น

พระพุทธสิหิงค์จำลองเป็นพระปฏิมาซึ่งพระรัตนปัญญาเถระ ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และเป็นที่
แพร่หลายที่สุดในยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - กลาง ๒๑ (กลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 14 – ต้น 16) ดังเห็นได้จากการวิเคราะห์จำนวนของพระพุทธปฏิมาที่มีจารึกปรากฏที่
ฐานองค์พระ ซึ่งอยู่ในหมวดพระพุทธสิหิงค์จำลอง จากการศึกษาข้อมูลที่ได้จากจารึกพระพุทธสิหิงค์
ทั้งหมดในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๐ (ค.ศ. 1957) พบว่า

ร้อยละ 53 สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔ – ๒๐๓๐ / ค.ศ. 1441 – 1487)
ร้อยละ 33 สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย (พ.ศ. ๒๐๓๐ – ๒๐๓๘ / ค.ศ. 1487 – 1495)
ร้อยละ 13 สร้างขึ้นในสมัยพญาแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘ – ๒๐๖๙ / ค.ศ. 1495 - 1526)
ร้อยละ 0 ในสมัยพญาเกตุ (พ.ศ. ๒๐๖๙ – ๒๐๘๑ / ค.ศ. 1526 – 1538)
(Griswold 1957, 56)

พระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ จ ำลองที่ ส ร้ า งขึ้ น ในสมั ย พระเจ้ า ติ โ ลกราช มี ค วามหลากหลายทั้ ง ทางด้ า น
พุทธลักษณะและแบบของฐาน เช่น ประทับบนเกสรของฐานบัวคว่ำบัวหงาย รองรับด้วยฐานเขียง
(รูปที่ ๖.๔) ตลอดจนส่วนใหญ่จะมีพุทธลักษณะร่วมกัน คือ พระเมาลีเป็นกรวยสูง รัศมีเป็นดอกบัวตูม
พระอุระแอ่นออก บั้นพระองค์คอด ซึ่งสอดคล้องกับประการที่ ๑๙ ของมหาบุรุษลักษณะ อันได้แก่
“(๑๙) สึหปูรฺวารฺธกายะ พระกายท่อนบนเหมือนท่อนบนของราชสีห์” (ลลิตวิสตระ ๒๕๑๒, ๕๙๙)
พระพุ ท ธปฏิ ม าองค์ นี้ มี จ ารึ ก ว่ า “เถรรั ต ตปั ญ ญา” สร้ า งขึ้ น ในปี พ.ศ. ๒๐๒๔ (ค.ศ. 1481) เพื่ อ
ประดิษฐานในวัดบุปผาราม ถนนท่าแพ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นไปได้ว่า พระ “เถรรัตตปัญญา”
เป็นรูปเดียวกันกับพระรัตนปัญญาเถระที่รจนา ชินกาลมาลีปกรณ์ ในอีก ๓๖ ปี ต่อมา (สุรสวัสดิ์ และ ฮันส์
เพนธ์ ๒๕๕๐, ๕๐)

พระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ จ ำลองของวั ด พระธาตุ ช้ า งค้ ำ อำเภอเมื อ งฯ จั ง หวั ด น่ า น (รู ป ที่ ๖.๕) มี
พุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระพุทธสิหิงค์จำลองของเชียงใหม่ที่สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าติโลกราช
ยกเว้นแต่ฐาน ซึ่งเป็นฐานเขียงเตี้ยอันเป็นที่นิยมใช้กับพระพุทธปฏิมาสุโขทัย เพราะในช่วงก่อนหน้าปี
พ.ศ. ๑๙๙๒ (ค.ศ. 1449) น่านเป็นพันธมิตรกับอาณาจักรสุโขทัย

๓๑๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๖.๔ พระพุทธสิหิงค์จำลอง
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๒๓ (ค.ศ. 1480)
สัมฤทธิ์ สูง ๔๗.๕ เซนติเมตร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๖.๕ พระพุทธสิหิงค์จำลอง


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้น ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๗๔ เซนติเมตร
สูง ๑.๑ เมตร
วัดพระธาตุช้างค้ำ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๑๙
ส่วนพระพุทธสิหิงค์จำลองในสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย คงดำรงไว้ซึ่งพุทธลักษณะจากรัชกาลที่
แล้ว แต่พระพักตร์จะเหลี่ยมกว่า นอกจากนั้นแล้วฐานยังเป็นฐานเขียงชั้นเดียว (รูปที่ ๖.๖)
ในสมัยพญาแก้วนิยมทำฐานพระพุทธปฏิมาเป็นฐานบัวหงายรองรับด้วยฐานเขียงหกเหลี่ยม
ฉลุลายลูกฟัก ตั้งอยู่บนชนวนอีกต่อหนึ่ง (รูปที่ ๖.๗)

พระพุทธสิหิงค์จำลองที่สร้างขึ้นในล้านนา นิยมจารคาถาเป็นภาษาบาลีที่ฐานว่า

บฐมํสกลกขณเมกบทํ ทุติยาทิบทสสนิทสสนเตา
สมนีทุนิมาสมทู สนิทู วิภเชกมเตาบฐเมนวินา

บทอันหนึ่งเป็นปฐม เป็นลักษณะแห่งตน นักปราชญ์ผู้ประกอบด้วยปัญญา เว้น
ไว้ซึ่งบทอันเป็นปฐมแล้วพึงจำแนก (อรรถแห่งจตุราริยสัจ) โดยลำดับ (แห่ง
อักษร ๑๒ ตัวนี้) คือ ส.ม.นิ. ทุ.นิ.ม. ส.ม.ท. ส.นิ.ท. เพราะแสดงซึ่งบทมีบทที่สอง
เป็นอาทิ (ฮันส์ เพนธ์ ๒๕๑๙, ๕๕ – ๕๖)

แม้ว่าคาถาดังกล่าวจะรู้จักกันในชื่อของ “คาถาพระพุทธสิหิงค์” แต่ความหมายของคาถาบทนี้คือ
หัวใจของพุทธศาสนา คือ อริยสัจสี่ อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งคาถาบทนี้จะใช้คำย่อ “ทุ – ส –
นิ – ม” มาเขียนเป็นคำฉันท์ (สุรสวัสดิ์ และ ฮันส์ เพนธ์ ๒๕๕๐, ๖๔ – ๖๕) ดังนั้นจึงมิได้ปรากฏอยู่ที่
เฉพาะฐานพระพุทธสิหิงค์จำลองเท่านั้น แต่ปรากฏอยู่ที่ฐานพระพุทธปฏิมาปางอุ้มบาตร และพระพุทธปฏิมา
ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยอีกด้วย (ฮันส์ เพนธ์ ๒๕๑๙, รูปที่ ๑, ๕, ๖)

รูปที่ ๖.๖ พระพุทธสิหิงค์จำลอง รูปที่ ๖.๗ พระพุทธสิหิงค์จำลอง


สร้างปี พ.ศ. ๒๐๓๔ (ค.ศ. 1491) กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
สัมฤทธิ์ สูง ๗๓ เซนติเมตร (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สัมฤทธิ์ สูง ๔๑ เซนติเมตร
กรุงเทพมหานคร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

๓๒๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธสิหิงค์จำลององค์ซึ่งเคยประดิษฐานในปราสาท (คูหา) ของวิหารลายคำ ที่วัดพระสิงห์
นครเชียงใหม่ น่าจะได้แก่องค์ที่อยู่บนฐานชุกชีด้านซ้ายมือขององค์ประธาน (รูปที่ ๖.๘ ก.) ซึ่งจาก
คำบอกเล่าของนายเออร์เนสต์ ซาเทา (Ernest Satow) ทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศสยาม
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๒๘ – ๒๔๓๑ (ค.ศ. 1885 – 1888) ว่าเห็นประดิษฐานอยู่ในคูหาของปราสาทซึ่งเชื่อม
กับวิหารลายคำด้านทิศตะวันตก (Satow 1994, 147) จึงน่าจะเป็นพระพุทธสิหิงค์จำลองที่เคยได้รับการ
ยกย่องว่าเป็นพระพุทธสิหิงค์ของนครเชียงใหม่ (รูปที่ ๖.๘ ข.) เพราะเป็นองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในคูหา
ของปราสาท โดยมีทางเข้าไปบูชาผ่านประตูเหล็ก แต่ในปัจจุบันได้มีการสร้างฐานชุกชีขึ้นบริเวณหน้าช่อง
ทางนั้นแล้ว แต่เดิมวิหารลายคำเคยเป็นที่รวบรวมพระพุทธสิหิงค์จำลองไว้ด้วยกัน รวมทั้งองค์ใน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ด้วย (รูปที่ ๖.๙) อนึ่ง พระพุทธสิหิงค์จำลองซึ่งเป็นองค์ประธานใน
วิหารลายคำปัจจุบันนั้น เคยถูกโจรกรรมตัดเศียรไปในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ (ค.ศ. 1923) (Griswold 1957, 39)

รูปที่ ๖.๘ ข. พระพุทธสิหิงค์จำลอง


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้น ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15) รูปที่ ๖.๘ ก. พระพุทธสิหิงค์จำลอง (พระประธาน)
สัมฤทธิ์ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑
วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑ เมตร
วิหารลายคำ วัดพระสิงห์
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๑
รูปที่ ๖.๙ พระพุทธสิหิงค์จำลอง รูปที่ ๖.๑๐ พระพุทธนรสีห์
ได้จากวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ ได้จากพระวิหารหลวง วัดพระสิงห์
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15) สัมฤทธิ์ สูง ๙๓ เซนติเมตร
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๑๔ เมตร พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่

๓๒๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธนรสีห์

พระพุทธสิหิงค์จำลองที่สำคัญอีกองค์หนึ่งคือ องค์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถวายพระนามว่าพระพุทธนรสีห์ สืบเนื่องจากเมื่อครั้งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรง
ตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จไปตรวจราชการที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ (ค.ศ.
1898) ได้เสด็จไปที่วัดพระสิงห์ ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรแบบเชียงแสนองค์หนึ่ง ตั้ง
ไว้บนฐานชุกชีในวิหารหลวง ลักษณะงามและได้ขนาดตามที่พระองค์ปรารถนา จึงขอเจ้าเมืองเชียงใหม่
อัญเชิญมาบูชาไว้ในท้องพระโรงของวังที่ประทับในกรุงเทพฯ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปที่วัง ได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปองค์นี้ก็ตรัสว่า “พระองค์นี้งาม
แปลกจริงๆ” (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๘๗, ๕) และจึงโปรดเกล้าฯ ให้แห่อัญเชิญพระพุทธรูปไปที่พลับพลา
ในพระราชวังดุสิต แล้วถวายพระนามว่า “พระพุทธนรสีห์” (รูปที่ ๖.๑๐) เมื่อสร้างพระอุโบสถชั่วคราวที่
วัดเบญจมบพิตรแล้วเสร็จในปีต่อมา จึงอัญเชิญพระพุทธนรสีห์ไปเป็นพระประธาน “ทรงพระราชดำริว่า
พระพุทธนรสีห์ เป็นพระพุทธรูปอันมีพระพุทธลักษณะงามยิ่งนัก จะหาเสมอเหมือนได้โดยยาก” (ดำรง-
ราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๒๘) ต่อมาเมื่อสร้างพระอุโบสถถาวรวัดเบญจมบพิตรแล้วเสร็จ จึงโปรดเกล้าฯ ให้
อัญเชิญพระพุทธชินราชจำลองมาเป็นพระประธาน ส่วนพระพุทธนรสีห์นั้น โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไป
ประดิษฐานบนชั้นที่ ๓ ของพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต อันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์และ
ประดิษฐานสืบมาจวบจนทุกวันนี้ (ดูหัวข้อ ๑.๕, หน้า ๓๓๔)

เช่ น เดี ย วกั น พุ ท ธลั ก ษณะอั น งดงามของพระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ จ ำลองอี ก องค์ ห นึ่ ง มี พ ระนามว่ า
“หลวงพ่อดำ” (รูปที่ ๖.๑๑) ซึ่งมีผู้นำมาถวายสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถระ) ตั้งแต่ครั้งที่
ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพรหมมุนีนั้น (พ.ศ. ๒๔๕๕ – ๒๔๖๖ / ค.ศ. 1912 – 1923) น่าจะเป็น
แรงบันดาลพระทัยให้ทรงยกย่องหลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์

รูปที่ ๖.๑๑ “หลวงพ่อดำ”


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒๐ เซนติเมตร
สูง ๒๘ เซนติเมตร
วัดสุทัศนเทพวราราม
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๕
(๒) ช่วงพม่าปกครอง
พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๑๗ (ค.ศ. 1558 – 1774)

แม้ว่าพระพุทธปฏิมาที่สังรามจ่าบ้าน แม่ทัพพม่าที่พระเจ้าบุเรงนองแต่งตั้งให้ปกครองล้านนา เป็น
ผู้สร้างในปี พ.ศ. ๒๑๐๘ (ค.ศ. 1565) โดย “เก็บรวบรวมพระพุทธรูปที่เคยอยู่กระจัดกระจายและชำรุด
แตกหักมารวม (หลอมและหล่อใหม่) เพื่อมิให้มีความเสียหายต่อไปอีก และเพื่อ (หล่อ) ให้เป็นพระพุทธรูป
(ที่สมบูรณ์) ดังเดิม” (ฮันส์ เพนธ์ ๒๕๑๙, ๑๐๑) โดยพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมีพระนามว่า “พระพุทธรูป
เมืองรายเจ้า” ตามจารึกที่ฐานขององค์พระ (รูปที่ ๖.๑๒) เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระเจ้ามังราย ผู้สร้าง
เมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ (ค.ศ. 1296) และเพื่อมิให้พระวิญญาณของพระเจ้ามังรายกริ้วตนและ
ทัพพม่าที่มาตีเมืองเชียงใหม่ พร้อมกันนั้น ผู้ที่บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ก็ถือได้ว่าบูชาพระเจ้ามังรายในเวลา
เดียวกันด้วย (เรื่องเดียวกัน, ๑๐๑ – ๑๐๒) แต่โดยทั่วไปแล้ว พุทธลักษณะของ “พระพุทธรูปเมืองรายเจ้า”
ก็คือพระพุทธสิหิงค์จำลองนั่นเอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพม่าที่เข้ามาปกครองล้านนามีเจตนาที่จะสืบทอด
จารีตประเพณีและศิลปะอันงดงามของล้านนา

รูปที่ ๖.๑๒ พระพุทธรูปเมืองรายเจ้า


สร้างปี พ.ศ. ๒๑๐๘ (ค.ศ. 1565)
สัมฤทธิ์ สูง ๒.๔๑ เมตร
วัดชัยพระเกียรติ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่

๓๒๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๑.๒ พระพุทธสิหิงค์จำลอง สมัยล้านช้าง

ช่วงอาณาจักรล้านช้าง
พ.ศ. ๑๙๓๖ – ๒๒๔๖ (ค.ศ. 1393 – 1703)

เมื่อเทียบกับพระพุทธปฏิมาในหมวดอื่น ๆ แล้ว พระพุทธสิหิงค์จำลองแบบล้านช้างมีจำนวนน้อยมาก
และส่วนใหญ่สร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ศิลปะล้านนาเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปะล้านช้าง คือ ช่วง
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16) (สมเกียรติ ๒๕๔๓, ๑๒๒, ๑๒๖, ๑๔๗, ๑๔๘)
อย่างกรณีพระแจ้ง หรือพระอรุณ (รูปที่ ๖.๑๓) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญจากนครเวียงจันท์มาประดิษฐานไว้ในพระวิหารวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร “ด้วย
ทรงพระราชดำริว่า พระนามพ้องกับวัดนั้น” (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๗๑) เป็นพระพุทธสิหิงค์จำลอง
แบบล้านช้าง ที่ใช้กรรมวิธีการหล่อองค์พระกับจีวรด้วยเนื้อทองสีต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นฝีมือของ
ช่างหลวง ที่อาจจะหล่อขึ้นในช่วงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. ๒๐๙๓ - ๒๑๑๕ / ค.ศ. 1550 - 1572)

รูปที่ ๖.๑๓ พระแจ้ง หรือ พระอรุณ


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ต้น ๒๒
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖)
สัมฤทธิ์ หน้าตัก ๕๐ เซนติเมตร
พระวิหารวัดอรุณราชวราราม
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๒๕



๑.๓ พระพุทธสิหิงค์จำลอง สมัยสุโขทัย

ช่วงเมืองประเทศราชของอยุธยา
พ.ศ. ๑๙๒๑ – ๒๐๐๖ (ค.ศ. 1378 – 1463)

พระพุทธสิหิงค์จำลองของอาณาจักรสุโขทัยที่ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของพระปฏิมาหมวดพระพุทธสิหิงค์
ได้แก่ องค์ที่รู้จักกันในนาม “พระพุทธรูปแม่ศรีมหาตา” ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระตำหนักวาสุกรี
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๖.๑๔) เพราะที่ฐานมีจารึกอักษรไทยสุโขทัยว่า

พระเจ้าแม่ศรีมหาตา ขอปรารถนาเป็นผู้ชายชั่วหน้า จงข้าได้เป็นศิษย์ตนพระ
ศรีอาริย์โพธิสัตว์เจ้า แต่ทานข้าทั้งผองแห่ง พระองค์เจ้าอยู่หัวทั้งสอง กับแม่
พระพิลก แลแม่ศรี ให้เป็นข้าถือจังหันพระเจ้า สิ้นเบี้ย ๔๔๕๐๐ (จารึกสมัย
สุโขทัย ๒๕๒๖, ๑๙๘)

สันนิษฐานว่า ผู้สร้างพระพุทธปฏิมาพระเจ้าแม่ศรีมหาตา ปรารถนาจะเกิดเป็นผู้ชายในชาติภพ
ต่อไปและขอได้เป็นศิษย์ของพระศรีอาริยเมตไตรย หรือพระอนาคตพุทธะ ผู้นี้น่าจะเป็นพระชนนีของพระ
มหาธรรมราชาที่ ๔ ผู้ครองเมืองสุโขทัย (พ.ศ. ๑๙๖๒ – ๑๙๘๑ / ค.ศ. 1419 – 1438) โดย “ศรีมหาตา”
อาจมาจากคำว่า ศรีธรรมราชมาดา และคำว่า “พระองค์เจ้าอยู่หัวทั้งสอง” อาจจะหมายถึง พระมหา-
ธรรมราชาที่ ๔ กับพระเจ้าสามฝั่งแกน ผู้ครองล้านนา (พ.ศ. ๑๙๔๕ – ๑๙๘๔ / ค.ศ. 1402 – 1441) ซึ่ง
เป็นพระราชบิดาของพระพิลก ซึ่งก็คือ พระเจ้าติโลกราชก่อนขึ้นเสวยราชสมบัตินั่นเอง และแม่พระพิลก
ก็คือพระมเหสีของพระเจ้าสามฝั่งแกน (พิเศษ ๒๕๔๒, ๑๑๖ – ๑๑๙) ซึ่งหากข้อสันนิษฐานนี้ถูกต้อง
พระพุทธสิหิงค์จำลององค์นี้ก็น่าจะหล่อขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๑๙๖๗ – ๑๙๘๑ (ค.ศ. 1424 – 1438) เมื่อพระ
มหาธรรมราชาที่ ๔ ครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งก็สอดคล้องกับรูปแบบของตัวอักษร ซึ่งกำหนดอายุอยู่ใน
ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 – กลาง 15)

รูปที่ ๖.๑๔ “พระพุทธรูปแม่ศรีมหาตา”


ประมาณ พ.ศ. ๑๙๖๗ - ๑๙๘๑
(ค.ศ. 1424 - 1438)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร

๓๒๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๕
๑.๔ พระพุทธสิหิงค์จำลอง สมัยอยุธยา

(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง
พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

เนื่องด้วยว่าพระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธปฏิมาสำคัญของฝ่ายอรัญวาสี คณะสีหฬภิกขุซึ่งนำเข้า
มาเผยแพร่ที่อยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (พ.ศ. ๑๙๖๗ – ๑๙๙๑ / ค.ศ. 1424 – 1448) ก่อน
ที่จะนำไปเผยแพร่ที่เชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๙๗๑ (ค.ศ. 1428) พระสีหฬปฏิมา หรือพระพุทธสิหิงค์ จึงเป็น
พระพุทธปฏิมาสำคัญของกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่นั้นมา และเป็นที่บูชาแพร่หลายในช่วงกลางพุทธศตวรรษ
ที่ ๒๐ – กลาง ๒๑ (คริสต์ศตวรรษที่ 15) เช่น พระพุทธสิหิงค์จำลอง (รูปที่ ๖.๑๕) พบในพระอุระ และ
พระพาหาเบื้องซ้ายของพระมงคลบพิตร (ดูรูปที่ ๕.๑๒๙) ที่พระนครศรีอยุธยา (ณัฏฐภัทร ๒๕๔๙, ๒๙ –
๓๑) พระมงคลบพิตรองค์นี้ เดิมเป็นพระประธานของวัดชีเชียงซึ่งสมเด็จพระชัยราชาทรงสร้าง (วันวลิต
๒๕๔๘, ๘๑) ในปี พ.ศ. ๒๐๘๑ (ค.ศ. 1538) (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖, ๑๔๒) พระพุทธสิหิงค์
จำลองที่พบในพระอุระและพระพาหาของพระมงคลบพิตร จึงน่าจะสร้างขึ้นก่อนปีนั้น และยังเป็น
พระพุทธรูปสำคัญของอยุธยาจวบจนเสียกรุงครั้งที่ ๒

พระพุทธสิหิงค์จำลองของอยุธยามีพุทธลักษณะเด่น คือ พระเมาลีทรงกรวยต่ำ รัศมีเป็นดอกบัว
ตูม พระเพลากว้าง พระวรกายสั้น จึงดูว่ากล้ามพระมังสาเป็นมัด ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้สะสมพระพุทธรูป
ขนานนามพระพุทธสิหิงค์จำลองของอยุธยาว่า “พระขนมต้ม” ตัวอย่างของ “พระขนมต้ม” ที่สมบูรณ์
แบบน่าจะได้แก่พระพุทธสิหิงค์จำลองของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ อำเภอเมืองฯ
จังหวัดลพบุรี (รูปที่ ๖.๑๖) ซึ่งนอกจากกล้ามพระมังสาจะดูเป็นมัด สมกับที่ขนานนามไว้แล้ว ชายจีวรยัง
คลี่ออกเป็นจีบเหนือพระอังสาซ้าย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของ “พระขนมต้ม” อีกด้วย

รูปที่ ๖.๑๕ พระพุทธสิหิงค์จำลอง รูปที่ ๖.๑๖ พระพุทธสิหิงค์จำลอง


พบในพระอุระและพระพาหาเบื้องซ้ายของ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – กลาง ๒๒
พระมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (คริสต์ศตวรรษที่ 16 )
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ สัมฤทธิ์ สูง ๓๖ เซนติเมตร
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16) หน้าตักกว้าง ๓๐ เซนติเมตร
สัมฤทธิ์ สูง ๑๙.๗ เซนติเมตร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดลพบุรี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๓๒๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


- แบบนครศรีธรรมราช

พระพุทธสิหิงค์ของนครศรีธรรมราช หัวเมืองชั้นเอก (รูปที่ ๖.๑๗) ก็จัดอยู่ในหมวดเดียวกันกับ
“พระขนมต้ม” ที่อาจจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – กลาง ๒๒ (คริสต์ศตวรรษที่ 16) เช่น
องค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี (ดูรูปที่ ๖.๑๖) โดยมีชายจีวรคลี่ทับ
พระอังสาซ้ายเช่นกัน และน่าจะได้รับต้นแบบมาจากพระพุทธสิหิงค์จำลองของอยุธยาอีกด้วย

รูปที่ ๖.๑๗ พระพุทธสิหิงค์จำลอง


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – กลาง ๒๒
(คริสต์ศตวรรษที่ 16 )
สัมฤทธิ์ สูง ๔๓ เซนติเมตร
หอพระพุทธสิหิงค์
จังหวัดนครศรีธรรมราช

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๒๙
- แบบสุโขทัย

สืบเนื่องมาจากเมื่อครั้งอาณาจักรอยุธยาได้รวบรวมเมืองสำคัญในภาคกลางตอนเหนือไว้ทั้งหมด
ภายใต้การปกครองที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (กลางคริสต์
ศตวรรษที่ 15) หัวเมืองสำคัญในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อย่างเช่นเมืองพิษณุโลก เมือง
สวรรคโลก และเมืองกำแพงเพชร จึงมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง พระพุทธสิหิงค์ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงระยะ
เวลานี้ ยังคงรักษาพุทธลักษณะของท้องถิ่นไว้ ก่อนที่อยุธยาจะเข้ามาครองครอง

ในกรณี ข องพระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ จ ำลองที่ ส ร้ า งขึ้ น ภายใต้ ก ารปกครองของอยุ ธ ยา แต่ ยั ง จำลอง
พุทธลักษณะของพระพุทธสิหิงค์แบบสุโขทัย ซึ่งมีพุทธลักษณะร่วมกันคือ พระเมาลีทรงกรวยเตี้ย รัศมี
เป็นลูกแก้ว พระเพลากว้าง รองรับด้วยฐานเขียง ได้แก่ พระพุทธสิหิงค์จำลอง ขุดได้ที่วัดสระศรี
อำเภอเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย (รูปที่ ๖.๑๘) และ “หลวงพ่อเพชร” ของวัดท่าถนน อำเภอเมืองฯ
จังหวัดอุตรดิตถ์ (รูปที่ ๖.๑๙) ซึ่งมีจารึกไว้ที่ฐานพระพุทธรูปว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ (ค.ศ. 1900) และหลวง
นฤบาล (จุพันยา) อัญเชิญกลับไปไว้วัดท่าถนนในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ (ค.ศ. 1910) (หวน ๒๕๒๑, ๗๑) อย่างไร
ก็ดี ข้อมูลที่จารึกมิได้กล่าวไว้คือ เจ้าอาวาสวัดท่าถนน ผู้เป็นเจ้าของพระพุทธรูป มีความเสียใจอย่างมาก
ที่ทางราชการเอาพระพุทธรูปของท่านไป จึงปฏิญาณตนว่าจะไม่ขออยู่วัด จะเที่ยวธุดงค์ตามป่าช้า
ของวัดต่างๆ จนมรณภาพ (ศรัณย์ ๒๕๔๒, ๓๓) พระพุทธรูปที่กล่าวถึงข้างต้นทั้งสององค์นี้อาจจะสร้าง
ขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16)

รูปที่ ๖.๑๘ พระพุทธสิหิงค์จำลอง


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ พบที่วัดสระศรี
อำเภอเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
จังหวัดสุโขทัย

รูปที่ ๖.๑๙ “หลวงพ่อเพชร”


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๖๕ เซนติเมตร
สูงจากฐาน ๘๒ เซนติเมตร
วัดท่าถนน อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุตรดิตถ์

๓๓๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


(๒) ช่วงวงราชธานี
พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธสิหิงค์จำลอง สมัยอยุธยา ที่สร้างขึ้นในช่วงวงราชธานี คือสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรได้
ทรงจัดอันดับหัวเมือง ให้แบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี และจัตวา โดยมีศูนย์กลางการบริหารอยู่ที่
กรุงศรีอยุธยา ซึ่งบริเวณศูนย์กลางอันมีเนื้อที่กว้างขวางนี้เรียกว่า “เขตวงราชธานี” จวบจนเสียกรุงครั้ง
ที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1767)

ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๖ – ๒๓๐๑ / ค.ศ. 1733 – 1758) น่าจะมีพระพุทธ
สิหิงค์จำลองที่พระนครศรีอยุธยาอย่างน้อยสององค์ องค์หนึ่งประทับขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง ๔
ศอก หล่อด้วยนากชมพูนุช อยู่ในพระมหาวิหารยอดปราสาทในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งจัดไว้เป็น ๑ ใน
“พระมหาพุทธปฏิมากร ที่มีพระพุทธานุภาพเป็นหลักกรุง ๘ องค์” (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม
๒๕๓๔, ๒๕) อีกองค์หนึ่งคณะทูตานุทูตลังกาเมื่อเข้ามาขอพระสงฆ์สยามไปประดิษฐานนิกายสยามวงศ์
ในลังกาในปี พ.ศ. ๒๒๙๓ (ค.ศ. 1750) เห็นประดิษฐานอยู่ในมณฑป ของวัดบรมพุทธารามวิหาร (ดำรง-
ราชานุภาพ ๒๕๐๓, ๒๕๑)

พระพุทธสิหิงค์จำลองที่กล่าวถึงในเอกสารทั้งสององค์นี้น่าจะมีพุทธลักษณะใกล้เคียงกันกับพระ
พุทธสิหิงค์จำลองของอยุธยาองค์อื่น ๆ ที่ได้รับการขนานพระนามว่า “พระขนมต้ม” เช่น พระพุทธสิหิงค์
จำลองของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชนาทมุนี (รูปที่ ๖.๒๐) เห็นได้ว่านิ้วพระหัตถ์ซ้าย ซึ่งวางบน
พระเพลากระดกขึ้น ส่วนนิ้วพระบาททั้งสองข้างลอยขึ้นมาเหนือพระเพลา ซึ่งน่าจะเป็นแบบฉบับให้กับ
“พระขนมต้ม” อยุธยา เช่น พระพุทธสิหิงค์จำลอง วัดโคกขาม อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร (ดูรูปที่
๖.๓) ซึ่งมีจารึกปี พ.ศ. ๒๒๓๒ ( ค.ศ. 1689 ) คือปีที่ ๒ ของรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ( พ.ศ. ๒๒๓๑ –
๒๒๔๖ / ค.ศ. 1688 – 1703 ) พระพุทธสิหิงค์จำลองที่อาจจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ( พ.ศ.
๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ / ค.ศ. 1656 – 1688 ) น่าจะได้แก่องค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัด
สุพรรณบุรี (รูปที่ ๖.๒๑)

รูปที่ ๖.๒๐ พระพุทธสิหิงค์จำลอง รูปที่ ๖.๒๑ พระพุทธสิหิงค์จำลอง


พุทธศตวรรษที่ ๒๒ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๒
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 17) (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ สูง ๙๒ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ สูง ๖๙ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชนาทมุนี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
จังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๓๑
เช่นเดียวกับพระพุทธปฏิมาองค์อื่น ๆ ของอยุธยาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น พระพุทธสิหิงค์องค์นี้มี
แก้วฝังไว้ในพระเนตร ซึ่งสืบเนื่องมาจากความเชื่อของชาวอยุธยาว่า เมื่อพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่
ที่เมืองปาตลีบุตรนั้นเหาะเหินเดินอากาศได้ด้วยอานุภาพของแก้วมณีที่ฝังอยู่ในพระเนตร แต่เมื่อมีคน
ควักแก้วมณีที่ฝังอยู่ในพระเนตรไป พระพุทธสิหิงค์จึงเหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ (คำให้การชาวกรุงเก่า
๒๔๕๗, ๑๑๘ – ๑๑๙) ดังนั้นพระพุทธสิหิงค์ของอยุธยาจึงมีแก้วฝังในพระเนตร เพื่อให้สอดคล้องกับ
ความเชื่อดังกล่าว

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18) พระพุทธสิหิงค์จำลองมี
พระเศียรเลียนแบบพระพุทธรูปอยุธยา แต่พระวรกายยังสืบทอดพุทธลักษณะของ “พระขนมต้ม” เช่น
“หลวงพ่อเพชร” วัดท่าหลวง อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิจิตร (รูปที่ ๖.๒๒) ส่วนพระพุทธสิหิงค์จำลองใน
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต (รูปที่ ๖.๒๓) น่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันและแสดงให้เห็น
กระแสนิ ย มของพุ ท ธศิ ล ป์ อ ยุ ธ ยาในลั ก ษณะของพระเศี ย รและฐานแข้ ง สิ ง ห์ ร องรั บ กลี บ บั ว จงกล
ถึงแม้ว่าพระวรกายจะคงไว้ซึ่งพุทธลักษณะของ “พระขนมต้ม” ก็ตาม

รูปที่ ๖.๒๒ “หลวงพ่อเพชร”


พุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๓๗ เมตร
สูง ๑.๕๖ เมตร
วัดท่าหลวง อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิจิตร

๓๓๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


- แบบนครศรีธรรมราช

กระแสนิยมจากอยุธยายังเห็นได้จากพระพุทธสิหิงค์จำลองที่สร้างขึ้นที่นครศรีธรรมราชในปี
พ.ศ. ๒๒๓๗ (ค.ศ.1694) (Woodward 1997, 248) ประทับบนฐานสิงห์ ปูด้วยผ้าทิพย์ (รูปที่ ๖.๒๔) แต่
พุทธลักษณะของพระเศียรก็แสดงให้เห็นค่านิยมของท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน

รูปที่ ๖.๒๓ พระพุทธสิหิงค์จำลอง


พุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง 18)
สัมฤทธิ์ สูงเฉพาะองค์ ๑๐.๘ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

รูปที่ ๖.๒๔ พระพุทธสิหิงค์จำลอง


สร้างปี พ.ศ. ๒๒๓๗ (ค.ศ. 1694)
สัมฤทธิ์ สูง ๓๕ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๓๓
๑.๕ พระพุทธสิหิงค์จำลอง สมัยรัตนโกสินทร์

ดังที่ได้กล่าวถึงพระพุทธนรสีห์ไว้บ้างแล้ว (ดูหัวข้อ ๑.๑ หน้า ๓๒๓) เมื่อพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามแล้ว ทรงหล่อพระพุทธชินราช
จำลองมาประดิษฐานเป็นพระประธานของพระอุโบสถ จึงทรงอัญเชิญพระพุทธนรสีห์ (ดูรูปที่ ๖.๑๐) ที่
ได้มาจากวิหารหลวงวัดพระสิงห์ ซึ่งเคยเป็นพระประธานของพระอุโบสถชั่วคราว วัดเบญจมบพิตรดุสิต-
วนาราม ไปประดิษฐานไว้บนชั้นสามของพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต แล้วทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้จำลองพระพุทธนรสีห์ขึ้นใหม่ (รูปที่ ๖.๒๕) เพื่อจะนำไปประดิษฐานในศาลาการเปรียญ
ในรัชสมัยของพระองค์นั้นมณฑลพายัพเป็นแหล่งของช่างเชียงแสน มีพระพุทธรูปโบราณงามๆ มากกว่า
ที่อื่น ที่ผู้สะสมพระพุทธรูปมักจะไปแสวงหา

คนหาพระพุทธรูปมักเที่ยวเสาะหาทางนั้น นับถือกันว่าต่อเป็นพระพุทธรูปนั่ง
ขัดสมาธิ์เพชรจึงจะดี ถ้าหาได้พระขัดสมาธิ์เพชรหย่างย่อมขนาดหน้าตักไน
ระหว่าง ๖ นิ้ว จน ๑๐ นิ้วด้วยยิ่งดีขึ้น (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๘๗, ๑)

ดังนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓ / ค.ศ. 1868 –
1910) ความงามและขนาดของพระพุทธปฏิมา ซึ่งสอดคล้องต้องกับความต้องการของผู้เก็บสะสม
จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการแสวงหาพระพุทธรูป อีกทั้งการจำลองก็มุ่งที่จะจำลองรูปลักษณะ
ของงานช่างที่มีความแปลกและงามเป็นพิเศษ อันจะเห็นได้ว่า นับจากช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19) เป็นต้นมา แรงบันดาลใจในการสร้างพระพุทธรูปก็คือ ความแปลกและงาม
โดยสอดคล้องกับพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดเกล้าฯ ให้จัดการ
แสดงพระพุทธรูปบูชาขึ้นในงานสมโภชพระพุทธชินราชในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (ค.ศ. 1901) และในปีต่อๆ
มาเป็นประจำในงานประจำปีวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บอกบุญขอแรงผู้ที่มีพระพุทธรูป ตามที่ตนเห็นว่า
มีลักษณแปลกแลงามดีนั้น เชิญพระพุทธรูปมาตั้งที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
จะมีขนาดเล็กใหญ่เท่าไร ก็ตามแต่จะเชิญมาตั้งไม่มีกำหนดห้าม แต่ให้เปน
พระหล่อ จะขัดเนื้อโลหะที่หล่อฤาไม่ได้ขัดก็ตาม ที่สุดจะปิดทองที่เห็นสมควร
จะมาตั้งก็ให้มาตั้งได้ เพราะพระราชประสงค์ที่จะทรงนมัสการพระพุทธรูปมี
ลักษณพิเศษต่างๆ ยิ่งขึ้นไป (วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เล่ม ๒ ๒๕๓๘, ๑๕๐)

ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางความคิดทั้งในด้านการสร้างพระพุทธรูป และค่านิยม
ความเชื่อ ความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในสยามประเทศได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคนที่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของพระพุทธรูปอยู่ ดังที่สมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ว่า

มีคนชอบพูดกันว่าพระพุทธนรสีห์เปนพระมีอภินิหาร ให้เกิดสวัสดิมงคล อ้างว่า
ตัวฉันผู้เชิญลงมา ไม่ช้าก็ได้เลื่อนยสจากกรมหมื่นขึ้นเป็นกรมหลวง (เรื่อง
เดียวกัน, ๖)

รูปที่ ๖.๒๕ พระพุทธนรสีห์จำลอง


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (ค.ศ. 1901)
สัมฤทธิ์
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร
๓๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๕
รูปที่ ๖.๒๖ พระพุทธนรสีห์จำลอง จ.ป.ร. ภ.ป.ร.
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๙ (ค.ศ. 2006)
สัมฤทธิ์ หน้าตัก ๑ เมตร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

๓๓๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ในรัชกาลปัจจุบันได้มีการจำลองพระพุทธนรสีห์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ในโอกาสที่ธนาคารไทยพาณิชย์
ฉลองครบ ๑๐๐ ปีของการก่อตั้ง จึงได้มีการจำลองพระพุทธนรสีห์ขึ้น และจารึกพระปรมาภิไธย จ.ป.ร.
ภ.ป.ร. ไว้ที่ฐาน (รูปที่ ๖.๒๖) ถวายพระนามว่า “พระพุทธนรสีห์จำลอง จ.ป.ร. ภ.ป.ร.” ปัจจุบัน
ประดิษฐานอยู่ในวิหารสมเด็จฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

หลังจากช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19) ชนชั้นนำชาวสยามจำลองพระ
พุทธสิหิงค์ โดยเชื่อว่าเป็นการจำลองพุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมาสมัยเชียงแสน อันมีเหตุผลที่
ความงามของพระพุทธปฏิมาองค์นั้น ดังเช่นในกรณีที่ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถระ)
ได้หลวงพ่อดำ (ดูรูปที่ ๖.๑๑) มาบูชา แล้วจึงจำลองหลวงพ่อดำขึ้นมาเป็น พระชัยศิริวัฒน์ (รูปที่ ๖.๒๗)
พระพุทธปฏิมาสำหรับบูชาประจำพระองค์อีกองค์หนึ่ง

พระพุทธสิหิงค์ของนครศรีธรรมราช น่าจะเป็นต้นแบบให้กับพระพุทธสิหิงค์จำลองซึ่งสร้างขึ้นใน
รัชกาลปัจจุบัน เช่นองค์ที่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จำลองขึ้นเพื่อประดิษฐานในศาลาสวัสดิวัตน์ วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพมหานคร
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงเททองเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ (ค.ศ. 1971) (รูปที่ ๖.๒๘)

รูปที่ ๖.๒๗ พระชัยศิริวัฒน์


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20)
เงิน หน้าตักกว้าง ๑๗.๕ เซนติเมตร
วัดสุทัศนเทพวรราม
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๖.๒๘ พระพุทธสิหิงค์จำลอง


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๔ (ค.ศ. 1971)
สัมฤทธิ์
วัดราชาธิวาสวิหาร
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๓๗
ในปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์จำลอง เป็นที่รู้จักในพระนามพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนชั้นแรก หรือ
พระพุทธรูปแบบ “สิงห์ ๑” ซึ่งมีนัยว่าเป็นพระพุทธรูปแบบล้านนา จึงได้มีการจำลองขึ้นเป็นจำนวนมาก
ในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น พระประธานวัดล้านนาญาณสังวราราม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่
๖.๒๙) ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์
พระอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. 1989) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ (ค.ศ.
1993) พระพุทธนพีสีพิงครัตน์ วัดพระธาตุดอยคำ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๖.๓๐) สร้าง
ขึ้นโดยศรัทธาของเจ้ากุลวงศ์ ณ เชียงใหม่ และออกแบบโดยชัยพันธ์ ประภาสวัต สร้างและสมโภชในปี
พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. 1991)

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. 2004) ได้มีการสร้างพระพุทธรูปแบบ “ล้านนา” หรือ “เชียงแสนชั้นแรก”
นี้ขึ้น โดยถวายพระนามต่าง ๆ กัน เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา สมเด็จพระ
บรมราชินีนาถ อาทิ พระพุทธนวล้านตื้อ ที่บ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (รูปที่ ๖.๓๑)
รูปที่ ๖.๒๙ พระพุทธสิหิงค์จำลอง ซึ่ ง ถึ ง แม้ ว่ า พระพุ ท ธปฏิ ม าที่ ส ร้ า งขึ้ น ทั้ ง หมดนี้ จ ะมี พ ระนาม และขนาดที่ ต่ า งกั น แต่ ทุ ก พระองค์ มี
พ.ศ. ๒๕๓๖ (ค.ศ. 1993) พุทธลักษณะเดียวกัน นั่นคือ พุทธลักษณะของพระพุทธสิหิงค์จำลอง
สัมฤทธิ์
วัดล้านนาญาณสังวราราม
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

๓๓๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๖.๓๐ พระพุทธนพีสีพิงครัตน์
พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. 1991)
ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๑๒ เมตร
สูง ๑๗ เมตร
วัดพระธาตุดอยคำ อำเภอเมืองฯ
จังหวัดเชียงใหม่

รูปที่ ๖.๓๑ พระพุทธนวล้านตื้อ


พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. 1991)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๐ เมตร
สูง ๑๕ เมตร
สามเหลี่ยมทองคำ
อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๓๙
๒. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ที่ไม่มีพุทธลักษณะของพระพุทธสิหิงค์จำลอง
ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น พระพุ ท ธรู ป ที่ น ำมาจากประเทศพม่ า หรื อ ที่ ส ร้ า งขึ้ น ในสมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ใ นรั ช กาล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑ / ค.ศ. 1851 - 1868) ลงมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธเทววิลาส ในพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๖.๓๒) เป็นพระพุทธรูป
ประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย สลักศิลา ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญมาจาก
พระบรมมหาราชวัง มาเป็นพระประธานพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๒ (ค.ศ. 1839)
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปแบบพม่าหลายองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
(สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๔๗๐ – ๔๗๓) ซึ่งน่าจะสลักขึ้นในสมัยราชวงศ์คองบอง ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่
๒๔ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19) เมื่อกรุงอมรปุระเป็นราชธานี นครแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการสลักหินอ่อน
สีขาวของพม่าจวบจนทุกวันนี้

รูปที่ ๖.๓๒ พระพุทธเทววิลาส


พม่าสลักที่อมรปุระ
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19)
หินอ่อน หน้าตักกว้าง ๒๘ เซนติเมตร
สูง ๔๐ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดเทพธิดาราม
กรุงเทพมหานคร

๓๔๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เช่น พระพุทธรูปในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้านหลังเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตกแต่งด้วย
พลอยหลากสี (รูปที่ ๖.๓๓) แสดงให้เห็นพระราชนิยมของพระองค์อย่างชัดเจน เช่นไม่มีพระเมาลี
ทรงครองจีวรและพาดสังฆาฏิที่พระอังสาตามแบบฉบับของพระภิกษุสงฆ์ในคณะธรรมยุติกนิกาย
ประทับเหนือกลีบบัวคว่ำบัวหงายรองรับด้วยฟ่อนหญ้าคา นอกจากนั้นแล้ว การปั้นองค์พระพุทธรูปและ
ระบายสีไตรจีวรให้ดูเป็นธรรมชาติ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากค่านิยมของชาวตะวันตกที่เน้นความเหมือนจริง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพรหมมุนี (แพ ติสฺสเทวมหาเถระ)
เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เลื่อน
สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ได้สร้างพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ให้แก่เหล่า
สานุศิษย์ โดยพระองค์เป็นผู้เลือกรูปแบบพระพุทธรูป เพื่อเป็นพระชัยประจำตัวของแต่ละคน เช่น พระ
พุทธปรฺมาสโย พระชัยประจำตัวพระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์) (รูปที่ ๖.๓๔ ก.) และทรงเน้น
เรื่องการลงยันต์ดวงชะตา และดวงฤกษ์หล่อพระ (รูปที่ ๖.๓๔ ข.) (Krairiksh 1979, 220 – 223) ตาม
ตำราของพระองค์ท่าน ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี้บ่งบอกให้เห็นว่า คณะมหานิกายดำเนินตามจารีตประเพณี
ของลัทธิตันตระ แต่ใช้อักขระภาษาบาลีเป็นหลัก อันเป็นเหตุให้นักวิชาการปัจจุบันเรียกนิกายเถรวาทใน
ประเทศไทยว่า “ตันตริกเถรวาท” (Crosby 2000, 141 – 142) พระพุทธรูปองค์นี้ พระเทพรจนา
รูปที่ ๖.๓๓ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิเพชร (สิน ปฏิมาประกร) เจ้ากรมช่างปั้นในกระทรวงวังเป็นผู้ปั้นหุ่นขี้ผึ้งโดยใช้เวลา ๑๔ วัน และหลวงสุวรรณกิจ
ปางมารวิชัย (เวศ ศิลปิกุล) เป็นผู้ทำกะไหล่ทอง ทำการเททองหล่อในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. 1917) พร้อมกันนั้น ยังได้
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ต้น ๒๕ หล่อพระปรฺมาสโยองค์น้อยอีก ๓๐ องค์ สำหรับห้อยติดตัว และทำพิธีพุทธาภิเษก ปลุกเสกในปีต่อมา
(กลางคริสต์วรรษที่ 19)
วัสดุผสม ระบายสี พร้อมกับพระชัยประจำตัวลูกศิษย์อีก ๓ คนด้วย พระชัยประจำตัวที่ให้แก่ลูกศิษย์เป็นพระพุทธรูปแบบ
สูงรวมฐาน ๓๐ เซนติเมตร สุโขทัย มีชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ซึ่งแตกต่างกับพระชัยประจำพระองค์ของท่านเอง ซึ่งเป็นพระ
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พุทธสิหิงค์จำลอง (ดูรูปที่ ๖.๒๗)
ในพระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๖.๓๔ ก. พระพุทธปรฺมาสโย


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. 1917)
นวโลหะ
หน้าตักกว้าง ๑๐ เซนติเมตร
สูง ๑๙ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน
รูปที่ ๖.๓๔ ข. ยันต์ชะตา ประจำตัวของ
พระยาประเสริฐศุภกิจ
(เพิ่ม ไกรฤกษ์)
ด้านหลังพระพุทธปรฺมาสโย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๔๑
หมวด ข.
ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร

๓. พระชัยวัฒน์ (พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย
ถือตาลปัตร)

พระชัยวัฒน์ สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายถือตาลปัตร เริ่มสร้างขึ้นในสมัย
รัตนโกสินทร์ โดยถือว่าเป็นพระชัยทุกพระองค์ เพราะเจตนาในการสร้างนั้นคือการนำมาซึ่งชัยชนะ เช่น
เมื่อออกศึกสงคราม ก็อัญเชิญพระชัยนำทัพไป จึงเป็นที่มาของพระชัยหลังช้างของพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ดูรูปที่ ๓.๑๘) ต่อมาเมื่อได้มีการสร้างพระชัยประจำรัชกาลขึ้น จึงมีการเพิ่ม
คำว่า “วัฒน์” ขึ้น กลายเป็น “พระชัยวัฒน์” (ดูรูปที่ ๓.๑๙ – ๓.๒๖)

พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลมีขนาดเล็ก เพราะว่ายกไปในงานพระราชพิธีต่างๆ ได้สะดวก ใน
ปัจจุบันจะอัญเชิญไปประดิษฐานพร้อมกันในพระราชพิธีฉัตรมงคล งานบำเพ็ญพระราชกุศลถวายรัชกาล
ใด ก็จะอัญเชิญพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลนั้นเป็นประธาน เช่น พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลปัจจุบันก็จะ
อัญเชิญไปในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น

พุทธลักษณะของพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทั้ง ๘ องค์ แสดงให้เห็นพัฒนาการของพระพุทธปฏิมา
บูชาสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมได้อย่าง
ชัดเจน พระชัยวัฒน์ประจำ ๓ รัชกาลแรกสืบทอดรูปแบบพระพุทธปฏิมาสมัยอยุธยา โดยดัดแปลง
พระพักตร์ และนิ้วพระหัตถ์ รวมทั้งมีการลงยาพระรัศมี และจีวรตามพระราชนิยมให้รับกับค่านิยมร่วม
สมัย (ดูรูปที่ ๓.๑๙ – ๓.๒๑) แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ พร้อม
กับอุ้มชูคณะธรรมยุติกนิกายที่พระองค์สถาปนาขึ้น จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบพระพุทธปฏิมาให้มีพุทธลักษณะ
ที่สอดคล้องกับหลักฐานจากพระไตรปิฎกที่พระองค์ได้ทรงตรวจสอบมาแล้ว เช่น ไม่พบว่ามีการกล่าวถึง
พระเมาลี นอกจากนั้นแล้วการครองจีวรก็เลียนแบบพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกายเช่นกัน (ดูรูปที่
๖.๓๓) ส่วนการปั้นพระพุทธปฏิมาให้ดูเป็นธรรมชาตินั้น เป็นผลพวงของวัฒนธรรมตะวันตกที่เน้นความมี
เหตุผลและความเหมือนจริง พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลต่อมาแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชบายที่จะดำเนินรอยตามพระราชดำริของสมเด็จพระบรมชนกนาถ
ทุกประการ (ดูรูปที่ ๓.๒๓) พระชัยวัฒน์ของ ๒ รัชกาลต่อมาแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีพระราชนิยมแบบตะวันตก แต่ในระยะเวลาเดียวกันก็มีพระราชสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของ
พระมหากษัตริย์สยาม โดยที่พระพักตร์เป็นพระพุทธรูปไทยแต่พระวรกายเป็นประติมากรรมแบบตะวันตก
(ดูรูปที่ ๓.๒๔ – ๓.๒๕) ส่วนพระเกศาแบบคันธาระของพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ดูรูปที่ ๓.๒๕) น่าจะได้รับมาจากพระราชนิยมของพระบรมชนกนาถ ที่โปรดพระพุทธ
รูปแบบคันธารราษฎร์ (ดูรูปที่ ๘.๑๐๐) แต่ครองจีวรแบบมหานิกาย ต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน พระชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลเป็นพระพุทธรูปแบบสุโขทัยประยุกต์ (ดูรูปที่ ๓.๒๖) ซึ่งอาจจะสะท้อนให้เห็นกระแสของ
ความเป็นชาตินิยมที่เข้มข้นในรัชกาลปัจจุบัน

๓๔๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ค.
ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง เป็นหมวดที่มีจำนวนน้อยมากเมื่อ
เปรียบเทียบกับพระพุทธปฏิมาในหมวดประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยทรงเครื่อง พระพุทธปฏิมาใน
หมวดนี้มี ๒ แบบ แบบที่ ๑ ทรงครองจีวรห่มดอง สวมอุณหิสห้ายอด แบบที่ ๒ ทรงเปลือยพระอุระ
และทรงเครื่องแบบพระมหากษัตริย์ ซึ่งทั้งสองแบบนั้นพบเฉพาะที่สร้างขึ้นที่ภาคกลางในสมัยอาณาจักร
กัมโพช และที่ภาคเหนือในสมัยอาณาจักรล้านนา

๔. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร

๔.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง สมัยอาณาจักรกัมโพช
พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

พระพุทธปฏิมาแบบที่ ๑ ทรงครองจีวรห่มดอง สวมอุณหิสห้ายอด มีแถบผ้าผูกไขว้กันเป็นเงื่อน
กระตุ ก เหนื อ พระกรรณทั้ ง สองข้ า ง ทรงกรองศอ และพาหุ รั ด เช่ น องค์ ใ นพระที่ นั่ ง อั ม พรสถาน
พระราชวังดุสิต (รูปที่ ๖.๓๕) ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลโดยตรงจากพระพุทธปฏิมาอินเดียที่สร้างขึ้นใน
ราชวงศ์ปาละ – เสนะ ที่ปกครองรัฐพิหารและเบงกอล อย่างพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของ
พระเจ้าวิครหปาละที่ ๓ (พ.ศ. ๑๕๘๔ – ๑๖๑๐ / ค.ศ. 1041 – 1067) (Ray 1986, Fig. 248) (รูปที่
๖.๓๖) โดยองค์ที่สร้างขึ้นในประเทศไทยได้ดัดแปลงอุณหิสห้ายอดซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระชินพุทธะห้า
พระองค์ในลัทธิวัชรยาน และฐานหน้ากระดานเพิ่มมุมเป็นฐานปัทม์สามหยัก ให้สอดคล้องกับค่านิยมของ
ท้องถิ่น ซึ่ง ณ ที่นี้จะได้แก่รัฐกัมโพช ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ลพบุรี ในภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย

รูปที่ ๖.๓๕ พระศากยมุนีประทับขัดสมาธิเพชร


ปางมารวิชัย ทรงอุณหิสห้ายอด
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๒ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

รูปที่ ๖.๓๖ พระศากยมุนีประทับขัดสมาธิเพชร


ปางมารวิชัย ทรงอุณหิสห้ายอด
พบที่กุรกิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ต้น ๑๗
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 11)
สัมฤทธิ์ สูง ๒๑ เซนติเมตร
Patna Museum, Bihar

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๔๓
๔.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง สมัยอาณาจักรล้านนา

ช่วงอาณาจักรล้านนา
- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)

พระพุทธปฏิมาแบบที่ ๑ อีกองค์หนึ่งทรงครองจีวรห่มดอง ชายจีวรพาดอยู่เหนือพระถัน ทรงสวม
อุณหิสห้ายอด มีแถบผ้าไขว้กันเป็นเงื่อนกระตุก ทิ้งชายเหนือพระกรรณทั้งสองข้าง ทรงกุณฑล กรองศอ
และพาหุรัด เป็นพระหริภุญชัยโพธิสัตว์ เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน (ดำรง-
ราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๔๙) ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร (รูปที่
๖.๓๗) พระพุทธปฏิมาองค์นี้มีพุทธลักษณะที่ถอดแบบมาจากพระพุทธปฏิมาอินเดีย เช่น อุณหิสวางอยู่
เหนือเม็ดพระศกแถวแรก พระเนตรเหลือบลงแต่ปลายตวัดขึ้นไปที่ปลายพระขนง นอกจากนั้นแล้วชาย
แถบผ้าเหนือพระกรรณ ก็ยังลอกแบบมาจากของอินเดียเช่นกัน เมื่อพิจารณาพุทธลักษณะทั้งหมด
โดยรวมและฝีมือการหล่อชั้นครู แสดงให้เห็นว่าน่าจะสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช จึงเป็นไป
ได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้อาจจะสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)

ส่วนพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า “พระทรงเครื่อง
ลำพูน ที่ตั้งอยู่ในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรเป็นพระที่มีองค์เดียวไม่มีสองงามเลิศล้น” (พระราช
หัตถเลขา ๒๕๑๔, ๑๙๖) (รูปที่ ๖.๓๘) พระพุทธปฏิมาองค์นี้ น่าจะจำลองมาจากองค์ที่กล่าวถึงเบื้องต้น
เพราะเพิ่มไรพระศกขึ้นใต้เม็ดพระศกแถวแรก นอกจากนั้นแล้ว ยังครองจีวรทับสร้อยพระศอซ้าย ส่วน
พาหุรัด เกยูร และทองพระกรด้านซ้ายสวมทับบนจีวรอีกต่อหนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้จึงอาจจะสร้างขึ้นใน
รัชสมัยของพญาแก้วในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)

รูปที่ ๖.๓๗ พระหริภุญชัยโพธิสัตว์ รูปที่ ๖.๓๘ พระหริภุญชัยบรมโพธิ์สัตว์


จากวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 - ต้น 16)
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15) สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร
สัมฤทธิ์ สูง ๘๒ เซนติเมตร สูง ๑.๑๖ เมตร
ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ระเบียงพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร

๓๔๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๔๕
เป็นไปได้ว่าพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัยทรงเครื่อง ที่ได้จากวัดพระธาตุ
หริภุญชัย ลำพูน ที่กำหนดอายุอยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – กลาง ๒๑ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 –
ต้น 16) สร้างขึ้นในคณะสงฆ์ที่ได้ศึกษาคัมภีร์ลัทธิตันตระยาน โดยเฉพาะ กาลจักรตันตระ ที่เน้นการทำ
วิปัสสนากรรมฐานที่เชื่อมจุดสำคัญภายในตนเองกับระบบของจักรวาล รวมทั้งศึกษาระบบปฏิทิน และ
โหราศาสตร์ (Keown 2003, 134) พร้อมกับเคารพบูชาพระอาทิพุทธะ หรือพระปฐมพุทธะ ทั้งนี้เพราะ
จากการบอกเล่าของภิกษุชาวอินเดียฉายาว่าพุทธคุปตะ ผู้เป็นอาจารย์ของพระภิกษุตารนาถ ชาวทิเบต
(พ.ศ. ๒๑๑๘ – ๒๑๗๗ / ค.ศ. 1575 – 1634) กล่าวว่า

ท่ า นได้ ไ ปพำนั ก อยู่ เ ป็ น เวลานาน เพื่ อ สดั บ ฟั ง เทศนาจากพระสู ต ร และ
กฎระเบียบของมนตร์ลับ เท่าที่จะสามารถทำได้จากบัณฑิต ธรรมากษโฆษ
วัดมหาธาตุ ที่หริภุญชัย และจากฆราวาส บัณฑิตปารเหตนันทโฆษที่พะโค
พระครูเหล่านี้เป็นสานุศิษย์ของมหาสิทธศานติปาท (Ray 1936, 85 – 86)

ในบริบทของนิกายเถรวาทในประเทศไทย หลักฐานข้างต้นมิได้แสดงให้เห็นว่าลัทธิตันตระยาน
เป็นศาสนาหลักของวัดพระธาตุหริภุญชัยในช่วงระยะเวลานั้น เพียงแต่ให้ข้อมูลว่า มีพระภิกษุฉายาว่า
ธรรมากษโฆษ ซึ่งน่าจะเป็นภิกษุฝ่ายคามวาสี หรือนครวาสี เพราะจำวัดอยู่ที่วัดมหาธาตุ เป็นผู้มีความ
รอบรู้ในลัทธิตันตระยาน และได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ตันตระจากพระอาจารย์ในระดับมหาสิทธ คือผู้ที่ได้
ศึกษาเวทมนต์และคาถา จนมีอำนาจวิเศษ ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อของฝ่ายนครวาสี อันสืบทอดมา
จากคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะซึ่งมีทุนเดิมจากลัทธิวัชรยานอยู่แล้ว จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทายาทของ
คณะนี้คือ คณะมหานิกายในปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญต่อมนตร์ ยันตร์ (อุรคินทร์ [ม.ป.ป.]) ระบบปฏิทิน
และโหราศาสตร์ จนนั ก วิ ช าการชาวต่ า งประเทศรุ่ น ใหม่ ข นานนามนิ ก ายเถรวาทในประเทศไทยว่ า
“ตันตริก เถรวาท”

หลักฐานที่กล่าวถึงข้างต้นยังทำให้สันนิษฐานได้ว่า พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย
ทรงเครื่อง น่าจะสร้างขึ้นภายใต้ฝ่ายคามวาสี และอาจจะเป็นพระสมณโคดมในฐานะที่พระองค์ทรงเป็น
พระปฐมพุทธเจ้าก็เป็นได้

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัยทรงเครื่อง แบบที่ ๒ คือแบบที่ไม่สวมไตรจีวร
แต่ทรงฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์ เช่น องค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ (รูปที่ ๖.๓๙) ทรง
มงกุฎยอดสูงทรงบัวตูม สวมสังวาลไขว้ ทับทรวงเป็นทับทิม ทรงพาหุรัด เกยูร ทองพระกร ประทับ
เหนือฐานบัวหงายรองรับด้วยฐานเขียงสองชั้น และขาชนวน จากพุทธลักษณะและรูปแบบของฐานดัง
กล่าว สันนิษฐานได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพญาแก้ว ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ปลายคริสต์
ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)

รูปที่ ๖.๓๙ พระสมณโคดม ปางโปรดพญาชมพูบดี


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๕๖ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่

๓๔๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๕
พระพุทธปฏิมาในแบบที่ ๒ อาจจะเป็นพระสมณโคดมโปรดพญาชมพูบดี กล่าวคือ เมื่อพระพุทธองค์
ทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระจักรพรรดิราชทรงเครื่องอย่างพระมหากษัตริย์ ทรงพระธรรมเทศนาโปรด
พญาชมพูบดี จนทรงเลื่อมใสและขอบรรพชา ตามที่กล่าวถึงในชมพูบดีสูตรซึ่งเป็นเรื่องพุทธประวัติที่
แต่งขึ้นในประเทศไทย โดยสอนให้ผู้ที่มีบุญวาสนาเกิดมาร่ำรวยและนึกว่าตนเองเป็นใหญ่ เที่ยวรังแกผู้อื่น
ได้สำนึกตัวว่าการออกบวชและสำเร็จเป็นพระอรหันต์นั้น เป็นสุดยอดของความปรารถนา โดยมีตัวอย่าง
คือพระเจ้าชมพูบดี พระนามของพระองค์แปลว่าผู้เป็นใหญ่ในชมพูทวีป ทรงมีฤทธิ์เดชมาก วันหนึ่งเหาะ
ไปยังปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร ไม่พอพระทัยที่มีคู่แข่งจึงถีบยอดปราสาท แต่ด้วยอานุภาพของ
พระพุทธองค์ซึ่งคุ้มครองพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นสาวก จึงทำให้พระบาทของพระเจ้าชมพูบดีแตกมี
พระโลหิตไหล และเมื่อทรงฟันยอดปราสาทด้วยพระขรรค์แล้ว พระขรรค์ก็บิ่น จึงสั่งให้วิษศร ศรวิเศษ
ไปร้อยพระกรรณพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารหลบหนีไปที่เวฬุวนาราม ที่พระพุทธเจ้าประทับ
พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตจักรขึ้นมาขับไล่วิษศรกลับไป และเมื่อพระเจ้าชมพูบดีส่งนาคไปจับพระเจ้าพิมพิสาร
พระพุทธเจ้าก็ส่งครุฑไล่ขับนาคกลับไปเช่นกัน พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นว่าพระเจ้าชมพูบดีนั้นมีปัญญา
สามารถจะบรรลุมรรคผลได้ จึงตรัสให้พระอินทร์แปลงเป็นราชทูต ไปเรียกพระเจ้าชมพูบดีให้มาเฝ้า
พระอินทร์ทรงตรัสกับพระเจ้าชมพูบดีว่า เมื่อพระองค์ยังไม่ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังพระเจ้า
ราชาธิราช พระอินทร์จะทรงพาไปเฝ้าเอง พระเจ้าชมพูบดีได้ฟังเข้าก็ทรงพิโรธจึงขว้างวิษศรไปที่ราชทูต
พระอินทร์ก็เนรมิตจักรขึ้นมาต่อสู้ ศรหนีไปเข้าแล่ง และจักรก็ลากพระเจ้าชมพูบดีจนตกจากพระแท่น
จึงหมดฤทธิ์ยอมไปเข้าเฝ้าพระเจ้าราชาธิราช พระองค์ทรงเนรมิตเวฬุวนารามให้เป็นมหานครล้อมด้วย
กำแพงเจ็ดชั้น มีความสมบูรณ์พูนสุข แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนิรมิตพระองค์เองเป็นพระเจ้าราชาธิราช
ทรงฉลองพระองค์ของพระเจ้าจักรพรรดิราช เมื่อพระเจ้าชมพูบดีเข้าเฝ้าทรงแสดงฤทธิ์เดชต่าง ๆ จน
พระเจ้าชมพูบดีสู้ไม่ได้ จึงยอมจำนน พระเจ้าราชาธิราชจึงแสดงพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า แล้วเทศนา
ธรรมโปรดพระเจ้าชมพูบดี ซึ่งเกิดความเลื่อมใส เสด็จออกผนวช และสำเร็จเป็นพระอรหันต์

หลักฐานของพม่าเชื่อกันว่า ปางนี้เกิดขึ้นที่เชียงใหม่ก่อนที่จะนำไปแพร่หลายที่อื่น (San Tha
Aung 1979, 66) ซึ่งสอดคล้องกับพระวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงสันนิษฐาน
ว่า หนังสือ มหาชมพูปติสูตร ซึ่งอยู่ในหมวดสุตตสังคหะ คือหนังสือซึ่งสงเคราะห์รวมอยู่ใน พระสุตตันต-
ปิฎก นั้น แท้จริงแล้วมิได้รวมอยู่ในพระไตรปิฎกคัมภีร์ใด “ผู้ชำนาญภาษาบาฬีได้ตรวจสำนวน เห็นว่าเป็น
หนังสือแต่งในแถวประเทศของเรานี้ ภายหลังหนังสือจามเทวีวงศ์ และรัตนพิมพ์วงศ์” (ท้าวมหาชมพู
๒๔๖๔, ๔) จึงเป็นไปได้ว่า มหาชมพูปติสูตร เป็นวรรณกรรมภาษาบาลีอีกเรื่องหนึ่งที่แต่งขึ้นโดยพระ
ภิกษุชาวไทย ซึ่งน่าจะเป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี ในรัชสมัยพญาแก้ว

๓๔๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ง.
ปางสมาธิ

ช่วงก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑ / ค.ศ. 1851 -1868)
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ มีจำนวนน้อยมาก แต่หลังจากนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

๕. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ

๕.๑ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ สมัยอยุธยา

ช่วงเมืองลูกหลวง
พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19) ที่สำคัญได้แก่
พระพุทธปฏิมาของพระเจ้ายุธิษฐิระ โอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ กษัตริย์สุโขทัย ซึ่งจารึกที่ฐาน
พระพุทธรูปให้ความว่าเป็น พระราชาผู้ครองเมือง “อภินว” โปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๑๙ (ค.ศ.
1476) ซึ่งน่าจะได้แก่เมืองพะเยา ซึ่งพญายุธิษฐิระเป็นผู้สร้างขึ้นใหม่ (พิเศษ ๒๕๔๖, ๑๑๓) พระเจ้ายุ
ธิษฐิระพระองค์นี้สันนิษฐานว่าเป็นพระราชบุตรเลี้ยงของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งอาณาจักร
อยุธยา (เทิม ๒๕๓๐, ๘๐ – ๘๑) ต่อมาเกิดขัดพระทัยกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงยกเมือง
พิษณุโลกให้กับพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนา หลังจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตีเมืองพิษณุโลกได้
แล้ว พระเจ้าติโลกราชจึงแต่งตั้ง พระยายุธิษฐิระให้ไปครองเมืองพะเยา

พระพุทธรูปของพระเจ้ายุธิษฐิระ (รูปที่ ๖.๔๐) มีพุทธลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนพระพุทธปฏิมาที่
สร้างขึ้นที่อยุธยาหรือที่ล้านนา คือ มีพระพักตร์เสี้ยม พระเมาลีเล็ก พระรัศมีเป็นบัวตูม พระวรกายโปร่ง
บาง ประทับขัดสมาธิเพชรเช่นเดียวกับพระพุทธปฏิมาในหมวดพระพุทธสิหิงค์ แต่พระหัตถ์อยู่ในปาง
สมาธิ และชายจีวรยาวจรดพระนาภี คล้ายพระพุทธปฏิมาในหมวดพระรัตนปฏิมา ประทับเหนือฐานบัว
หงายรองรับด้วยฐานหน้ากระดานย่อมุมไม้สิบสอง และฐานเขียงตั้งบนขาชนวน

รูปที่ ๖.๔๐ พระพุทธรูปของพญายุธิษฐิระ


จากเจดีย์วัดป่าแดงหลวงดอนชัยบุนนาค
ตำบลท่าวังทอง (ดงเจน)
อำเภอเมืองฯ จังหวัดพะเยา
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๑๙ (ค.ศ. 1476)
สัมฤทธิ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๔๙
๕.๒ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ สมัยรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินตามรอยพระยุคลบาทของสมเด็จพระบรม-
ชนกนาถโดยทรงนำเอาพุทธลักษณะของพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้น เช่น พระนิรันตราย (องค์ครอบ) (ดูรูปที่ ๓.๘๘ ข., ๓.๘๙ ข.) เป็นพุทธลักษณะของพระพุทธรูป
สำคัญในรัชกาลของพระองค์ เช่น พระพุทธนฤมลธรรโมภาส พระประธานวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ
อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดูรูปที่ ๓.๔) ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
รูปที่ ๖.๔๑ พระประธานวัดเทพศิรินทราวาส
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. 1895) ประดิษฐวรการเป็นผู้ปั้นหล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๐ (ค.ศ. 1877) (สุทธาสินีนาฎ ๒๔๗๒, ๑๑) และ
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๑๒ เมตร พระประธานพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส (รูปที่ ๖.๔๑) ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้หล่อและอัญเชิญมา
สูง ๑.๕๐ เมตร ประดิษฐานในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. 1895)
พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ ที่สร้างขึ้นในรัชกาลนี้ยังมี พระพุทธรูปประจำจังหวัด
๔ จังหวัด หล่อขึ้นโดยพระธรรมไตรโลกาจารย์ เจ้าคณะมณฑลกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ (ค.ศ. 1900)
โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถวายพระนามพระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์ ดังนี้

พระปทุมราช ประจำจังหวัดปทุมธานี
พระนนทนารถ ประจำจังหวัดนนทบุรี
พระนครศาสดา ประจำจังหวัดนครเขื่อนขันธ์
(ปัจจุบันอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ)
พระสมุทรมหามุนินท์ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ

พระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์นี้มีขนาดเท่ากันหมด และถอดแบบมาจากพระประธานวัดปรมัยยิกาวาส
(ดูรูปที่ ๕.๑๖๑) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์
เจ้าประดิษฐวรการเป็นผู้ปั้นพอกพระพุทธรูปองค์เดิม แตกต่างกันตรงที่ พระพุทธรูปประจำจังหวัด
ประทับขัดสมาธิเพชรแทนขัดสมาธิราบ และเป็นปางสมาธิแทนปางมารวิชัย มีพระเมาลีทรงโอคว่ำ เช่น
พระนนทนารถ ซึ่งถวายพระนามใหม่ว่า “พระนนทมุนินท์” ตามที่จารึกไว้ที่ฐานพระพุทธรูป (รูปที่ ๖.๔๒)
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า พระพุทธรูปประจำจังหวัดทั้ง ๔ องค์นี้ ปัจจุบันพระสมุทรมหามุนินท์ พระประจำ
จังหวัดสมุทรปราการได้หายสาบสูญไปแล้ว (อารมณ์ ๒๕๓๐, ๖๙ – ๗๒)

รูปที่ ๖.๔๒ พระนนทมุนินท์


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๔๓ (ค.ศ. 1900)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๗๕ เซนติเมตร
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดปรมัยยิกาวาส
อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๕๑
ถึงแม้ว่าพระพุทธรูปของแกรนด์ดยุก เฮส (ดูรูปที่ ๓.๙๐) จะมิได้สร้างขึ้นในประเทศไทย และมี
พุทธลักษณะที่แปลกไปจากพระพุทธรูปของไทย คือ ไม่ครองจีวร แต่โพกผ้าที่พระเศียร พระหัตถ์แสดง
ปางสมาธิแบบจีนและญี่ปุ่น (Bunce 1997, 133 – 134) แต่ทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ต่างก็ทรงยอมรับว่าเป็นพระพุทธรูป ความว่า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ค.ศ. 1897)
ได้ทรงคุ้นเคยกับ แกรนด์ดยุก เอิรนสท์ ลุดวิก (Ernst Ludwig) เจ้าผู้ครองนครเฮส (Hess) และเป็นที่
ชอบพระราชอัธยาศัยกัน และเมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง อีกสิบปีต่อมา แกรนด์ ดยุก เฮส จึง
จำลองพระพุทธรูป ซึ่งสร้างขึ้นโดยนายกุส. บราดซเท็ตเทอร์ (Guss. Bradstetter) ที่เมืองมิวนิค
(อภินันท์ เล่ม ๒ ๒๕๓๕, ๑๒๖) มาถวายระหว่างที่ประทับอยู่ที่เมืองซันเรโม (San Remo) ประเทศอิตาลี
พระองค์มีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล เกี่ยวกับพระพุทธรูปองค์นี้ว่า

อนึ่งพ่อลืมเล่าถึงเรื่องพระ ที่แกรนด์ดุ๊กออฟเฮสสร้างไว้ที่วุฟกาเตน เมือง
ดามสตาดนั้น รังสิตได้ไปวานตาโปรเฟสเซอ ผู้ที่ทำตัวอย่างพระนั้นเอง ถ่าย
อย่างลดส่วนขนาดย่อมลงรูปหนึ่ง ได้มาที่นี่แล้ว พวกฝรั่งบ่าวตื่นเต้นกันว่าหนัก
เต็มที่ ถึงครึ่งตัน จะตั้งโต๊ะไหนมันกลัวหักเสียหมด ทำฝีมือดีมาก หน้าตา
รูปที่ ๓.๙๐ พระพุทธรูปของแกรนด์ดยุก เฮส กล้ำเนื้อเปนคนหมด เว้นไว้แต่ถ้าจะดูเปนพระแล้วไม่แลเห็นว่าเปนพระ เพราะ
สร้างโดย กุส. บราดซเท็ตเทอร์
(Guss. Bradstetter) เปลือยกายไม่มีผ้าห่ม กลับไปมีผ้าโพก อาการกิริยาที่นั่งสมาธิ์เพช แต่เท้าทั้ง
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ค.ศ. 1907) สองข้างชัน ไม่ราบลงไปกับตักเหมือนกับพระเราๆ ... มือเอานิ้วชี้งอข้างหลัง
สัมฤทธิ์ สูง ๔๑ เซนติเมตร นิ้วชนกัน นิ้วแม่มือปลายนิ้วชนกัน เปนพวกพระเชียงรุ้ง ไซเบียเรีย พวกที่ถือ
พระที่นั่งราชกรัณยสภา
พระบรมมหาราชวัง หม้อน้ำมนต์ฤาบาตร กรมสมมตออกวาจาว่าถ้าดูเปนพระแล้วออกฉุน ๆ ถ้าดู
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา เปนรูปตุ๊กตาแล้วงาม กรมดำรงต้องการ จะเอาไปเข้าแถวพระระเบียงวัด
ในพระบรมมหาราชวัง) เบญจมบพิตร แต่ครั้นเมื่อเห็นแล้ว เห็นว่าเข้ากันไม่ได้ ไม่เปนพระอย่างไทย
เขาร้องว่าขาดผ้าพาด ถ้าจะไปถ่ายตัวอย่างที่บางกอก กดพิมพ์แล้วใช้ได้ ต้อง
ทำขนาดเดียวกัน แต่ที่จะขยายให้ใหญ่ขึ้นนั้น เปนพ้นวิไสยท่านเจ้ามา ฤาพระ
ประสิทธิจะทำได้ ต้องการความรู้อยู่ในนั้นมาก พ่อได้สั่งให้ส่งเข้าไปตั้งห้อง
บรอนซ์ (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. ๑๒๖, (๑.) ๓๕๑ – ๓๕๒)

และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพฯ แล้วยังมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า มีพระราชดำริที่จะจำลองพระนิรันตราย ส่งไปพระราชทาน แกรนด์ดยุก เฮส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ มีลายพระหัตถ์เกี่ยวกับพระพุทธรูปของ แกรนด์ดยุก เฮส ว่า

แกรนด์ดยุกเฮส สร้างพระพุทธรูปนั้น ด้วยอุตสาหะใหญ่มาก แลคงทำได้ด้วย
ยากกว่าทำในนี้หลายส่วน เกินกว่าจะทำเล่น นับว่าทำด้วยอำนาจความพอใจแท้
แลช่างนึกให้อย่างออกน่าเอ็นดูฯ ข้อที่มีพ้าโพกกันโสนนั้น จะเปนอย่างพระพม่า
มีผ้าคลุมหรือกุให้ฯ แต่ถ้าแกรนด์ดุกทราบว่า พระอยู่ป่าคลุมสีสะได้ จะพอ
พระทัยเปนแน่ฯ แต่ถ้าเปนคนรู้จักคุ้นเคยกัน แทบจะต้องขอโทษเพราะเหตุ
ดูแคลนฯ ตามความสนทนากับพระองค์รังสิตเห็นแกรนด์ดยุกเปนคนตรงฯ
แปลกที่เป็นฝรั่งแต่นิยมธรรมของตะวันออก ไม่มีคำอะไรจะกล่าวให้สมกับว่า
เมื่อชาติหลังเคยเปนชาวตวันออกฯ (พระราชหัตถเลขา ๒๕๑๔, ๖๘ – ๖๙)

พระราชหัตถ์เลขาที่อ้างถึงข้างต้น แสดงให้เห็นว่าทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ มีพระราชวิสัยที่กว้างไกล พร้อมที่จะเปิดรับรูปแบบใหม่ ๆ พร้อมกับทรง
หาเหตุผลที่จะเข้ามาสนับสนุน พระพุทธรูปของแกรนด์ดยุก เฮส ว่า ชอบธรรมในพระพุทธศาสนา

๓๕๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


อนึ่ง แกรนด์ดยุก เฮส พระองค์นี้ทรงเป็นพระราชโอรสของเจ้าหญิงอลิซ (Alice) พระราชธิดา
องค์โปรดของสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พระบรมราชินีนาถของสหราชอาณาจักร ทรงเป็นเจ้าผู้ครอง
นครรัฐแห่งหนึ่งในเยอรมนี ที่ทรงมีความคิดเห็นทันสมัย แตกต่างจากเจ้านายองค์อื่น ๆ ดังที่เคยได้
รับสั่งไว้ว่า

เมื่อฉันไปงานเฉลิมพระชนม์พรรษาสมเด็จพระเจ้าไกเซอร์ที่กรุงเบอร์ลิน ฉันมัก
จะเห็นว่า เจ้าผู้ครองนครหลายพระองค์ ทรงมีทัศนคติที่ล้าหลังมาก จนทำให้
ฉันรู้สึกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับองค์อื่น ๆ แล้ว ความคิดเห็นของฉันเป็นแบบ
สังคมนิยมอย่างแท้จริง (Fahr – Becker 1997, 236)

นอกจากนั้นแล้ว คำจารึกที่พระองค์โปรดให้สลักขึ้นที่ หออภิเษกสมรสในกรุงดามสตาด (Darmstadt)
ยังแสดงให้เห็นพระอุปนิสัยของพระองค์เองที่สอดคล้องกับพระราชอัธยาศัยของพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน คือ

เคารพจารีตประเพณี และกล้าที่จะริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง และจริงใจ
ต่อคนรัก (เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน)

เมื่ อ ครั้ ง พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว มี พ ระราชดำรั ส ให้ ส มเด็ จ พระอนุ ช าธิ ร าช
เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารอยู่ในราชสำนัก
พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ให้หาหยกสีเขียวเพื่อสลักเป็น
พระพุทธรูป สมเด็จพระอนุชาธิราชจึงโปรดให้ห้างคาร์ล ฟาแบร์เช่ (Carl Fabergéé) เป็นผู้จัดทำถวาย
แต่เมื่อใกล้จะสำเร็จเกิดชำรุด จึงต้องหาหยกมาสลักขึ้นใหม่ ตามพระพุทธรูปต้นแบบที่ได้ส่งไปจาก
กรุงเทพฯ จนแล้วเสร็จ เป็นพระแก้วมรกตน้อย (ดูรูปที่ ๓.๙๗ ก.) ส่วนองค์ที่ชำรุดนั้น ห้างฟาแบร์เช่ได้
ดัดแปลงเป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ โดยจำลองแบบมาจากพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระ
ราชนิยมในสองรัชกาลก่อนหน้า คือ มีพุทธลักษณะเหมือนคนสามัญ และไม่มีพระเมาลี ประทับบนฐาน
บัวคว่ำบัวหงาย และมีเครื่องหมาย ของห้าง และปีที่สร้างสลักไว้ใต้ฐานพระพุทธรูปอีกด้วย (รูปที่ ๖.๔๓)
ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

รูปที่ ๓.๙๗ ก. พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร


(พระแก้วมรกตองค์น้อย)
สลักปี พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. 1914)
รูปที่ ๖.๔๓ พระพุทธรูป ฟาร์แบร์เช่ หยกสีเขียว
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. 1914) หน้าตักกว้าง ๒๕ เซนติเมตร
หยกรัสเซียสีเขียว สูง ๓๗ เซนติเมตร
หน้าตักกว้าง ๑๑ เซนติเมตร หอพระสุลาลัยพิมาน
สูงรวมฐาน ๑๙.๓ เซนติเมตร พระบรมมหาราชวัง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๕๓
อนึ่ง ห้างฟาแบร์เช่ ซึ่งเป็นห้างประจำราชสำนักของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ และเป็นที่รู้จักกันดี
ในราชสำนักสยาม เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทอดพระเนตรร้านของ
ฟาแบร์เช่ในกรุงมอสโคว์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสทวีปยุโรปครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๔๐ (ค.ศ. 1897)
นอกจากนั้นแล้ว นายนิโคลาส ฟาแบร์เช่ บุตรของคาร์ล ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ. 1909) พร้อมกับขายงานศิลปะรวม
ทั้งสิ้น ๘ รายการอีกด้วย (สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๒๕๒๖, ๖๐)

พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบันมีตัวอย่างคือ พระพุทธ-
กิติสิริชัย พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ บ้านกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (รูปที่
๖.๔๔) สร้างขึ้นในโอกาสที่สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบปี พ.ศ. ๒๕๓๕
(ค.ศ. 1992) เป็นพระพุทธที่ไว้พระเกศายาวเกล้าขึ้นเป็นพระจุฑามาศ ครองจีวรห่มคลุม มีสังฆาฏิพาดที่
พระอังสาซ้าย มีตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบสมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ อยู่ตรงกลางผ้าทิพย์ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้ประทาน
พระบรมสารีริกธาตุเพื่อบรรจุภายในองค์พระพุทธรูป และถวายพระนามพระพุทธรูป

รูปที่ ๖.๔๔ พระพุทธกิติสิริชัย


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. 1992)
คอนกรีตเสริมเหล็ก
หน้าตักกว้าง ๑๐ เมตร
สูงรวมฐาน ๑๘.๖๐ เมตร
พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ
อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

๓๕๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด จ.
ปางสมาธิ นาคปรก

๖. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ นาคปรก

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ นาคปรก สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ นาคปรก ไม่เคยมีมาก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะว่าพระพุทธรูปนาคปรก เมื่อแรกสร้างขึ้นที่อัมราวดี และนาคารชุนโกณฑะ
ในรัฐอานธรประเทศ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียนั้น เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ และ
เมื่อนำเข้ามาเป็นที่แพร่หลายในประเทศกัมพูชาก็ยังคงเป็นการประทับขัดสมาธิราบเช่นกัน ส่วนพระพุทธรูป
ประทับขัดสมาธิเพชร ซึ่งเป็นที่นิยมในรัฐพิหารทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียไม่เคยมีประวัติ
ของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก ดังนั้นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร นาคปรก จึงไม่ปรากฏว่า
มีการสร้างมาก่อนในประเทศไทย

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น
รูปที่ ๓.๗๓ พระพุทธนาคชินะ
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๔๗ (ค.ศ. 1904) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงผนวชเป็นพระภิกษุที่วัด
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๒.๗ เซนติเมตร บวรนิเวศวิหาร ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ (ค.ศ. 1904) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธนาคชินะขึ้น (ดูรูปที่ ๓.๗๓)
วัดบวรนิเวศวิหาร (สำนักราชเลขาธิการ ๒๕๒๘ ข, ๑๔๓) พระพุทธปฏิมานาคปรกที่สร้างขึ้นครั้งนี้เลียนแบบจากพระ
กรุงเทพมหานคร
พุทธรูปประทับขัดสมาธิราบนาคปรก ซึ่งเป็นที่นิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.
๒๓๖๗ – ๒๓๙๔ / ค.ศ. 1824 – 1851) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูป ๓๗ ปางขึ้น
ซึ่งมีพระพุทธรูปนาคปรกรวมอยู่ด้วย (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๒๓๖) (ดูรูปที่ ๓.๙ (๓)) โดยที่
พระพุทธรูปนาคปรกที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่เคยสร้างขึ้นในอดีต คือ
แทนที่จะประทับเหนือขนดนาค กลับเป็นนาคขนดพันรอบองค์พระถึงระดับพระอุระ และแผ่พังพาน
เหนือพระเศียร ซึ่งลักษณะของนาคและการแผ่พังพานนั้นเลียนแบบจากศิลปะเขมรสมัยบายน สาเหตุที่
ทรงสร้างพระพุทธรูปนาคปรกก็เพราะว่าทรงพระราชสมภพในวันเสาร์

ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ (ค.ศ. 1910) แล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า-
เจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวารขึ้น (ดูรูปที่ ๓.๕๑) ซึ่ง
ได้แก่พระพุทธรูปนาคปรก อันเป็นพระพุทธรูปประจำวันเสาร์ พระเศียรของพระพุทธรูปเป็นแบบ
พระราชนิยมของพระบรมอัยกาธิราชและสมเด็จพระบรมชนกนาถ คือปราศจากพระเมาลี พระรัศมี
เปลวลงยา ครองจีวรห่มดอง พาดสังฆาฏิตามอย่างพระภิกษุคณะธรรมยุติกนิกาย จีวรเป็นริ้วตาม
ธรรมชาติ ประทับขัดสมาธิเพชรบนปัทมาสน์ ขนดนาคเจ็ดชั้นประดับอัญมณีล้อมเป็นวงรอบพระพุทธองค์
นาคเจ็ดเศียรลงยาแบบรัตนโกสินทร์ แผ่พังพานใต้ต้นจิก

รูปที่ ๓.๕๑ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๕๓ (ค.ศ. 1910)
ทองคำลงยาประดับอัญมณี
สูงถึงยอดต้นจิก ๒๐.๘๐ เซนติเมตร
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๕๕
หมวด ฉ.
ปางประทานอภัย

๗. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางประทานอภัย

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางประทานอภัย สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ขวาหงายในปางประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้น
มีแค่ตัวอย่างเดียว อันได้แก่หลวงพ่ออภัยวงศ์ พระประธานในพระอุโบสถวัดแก้วพิจิตร อำเภอเมืองฯ
จังหวัดปราจีนบุรี (รูปที่ ๖.๔๕) พระพุทธรูปองค์นี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงออกแบบ
ประทานเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ (ค.ศ. 1921) (ยอด [ม.ป.ป.],
๗๑) เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างระดับบั้นพระองค์ พระหัตถ์ขวา
หงายออกในปางประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นและวางที่พระชานุ ครองจีวรห่มดองเป็นริ้วแบบ
เหมือนจริง

การที่พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางประทานอภัยก็น่าจะให้สอดคล้องกับสกุลของผู้สร้าง คือ อภัยวงศ์
และเนื่องด้วยว่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้ออกแบบ จึงไม่มีพระพุทธรูปในลักษณะ
ดังกล่าวก่อนหน้านี้

รูปที่ ๖.๔๕ หลวงพ่ออภัยวงศ์


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๖๔ (ค.ศ. 1921)
สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๗ เมตร
วัดแก้วพิจิตร
อำเภอเมืองฯ จังหวัดปราจีนบุรี

๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
หมวด ช.
ปางปฐมเทศนา

๘. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางปฐมเทศนา

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางปฐมเทศนา สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางปฐมเทศนา ไม่ปรากฏว่ามีการสร้างขึ้นก่อนรัชกาลปัจจุบัน
องค์แรกน่าจะได้แก่ พระพุทธรูปประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (ดูรูปที่
๓.๑๗) ดังที่กล่าวอ้างไว้ในจารึกที่ฐานของพระพุทธรูปว่า

อ.ป.ร.
รัชกาลที่ ๔๒
พ.ศ. ๒๔๗๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๙
พระพุ ท ธปฏิ ม าปางปฐมเทศนา มี ก ริ ย าการประทั บ สมาธิ เ พชรนี้ ทรง
รูปที่ ๖.๔๖ พระศากยมุนี ปางปฐมเทศนา สถาปนาไว้ในพระบวรพุทธศาสนา อุทิศส่วนพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณ
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๑ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สยามินทราธิราช ซึ่งได้ทรง
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 5) ราชย์สืบมหาจักรีบรมราชวงศ์ ธำรงสยามรัฐราชอาณาจักร วันที่ ๒ มีนาคม
สลักศิลา
ถ้ำอชัญฏา หมายเลข ๑ พ.ศ. ๒๔๗๗ และเสด็จสวรรคตวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙
รัฐมหาราษฎร ประเทศอินเดีย (เพลินพิศ ๒๕๓๓, ๓)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรม
ศิลปากรดำเนินการปั้นหุ่นและหล่อพิมพ์ โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรง
เททองหล่อพระพุทธรูปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. 1956) เป็นพระพุทธรูปปาง
ปฐมเทศนา พระหัตถ์แสดงท่าหมุนธรรมจักร หรือ ธรรมจักรมุทรา คือ
ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างหน้าพระอุระ พระหัตถ์ขวาหงายออก พระอังคุฐ
และพระดรรชนีทำท่าจีบเป็นวงกลม ส่วนพระอังคุฐและพระดรรชนีของ
พระหัตถ์ซ้ายนั้นทำท่าจีบเป็นวงเช่นเดียวกัน แต่คว่ำพระหัตถ์เข้าหาพระอุระ
เบื้องซ้าย เป็นพุทธลักษณะที่ใกล้เคียงกับพระพุทธปฏิมาอินเดียที่สร้างขึ้นใน
ราชวงศ์วากาฏก ซึ่งเป็นพันธมิตรของราชวงศ์คุปตะ ที่ถ้ำอชัญฏา (รูปที่
๖.๔๖) แตกต่างกันตรงที่ไม่ทรงถือชายจีวรในพระหัตถ์ซ้ายเช่นของอินเดีย
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์แสดงปางหมุนธรรมจักรนั้น
ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นภายใต้ลัทธิมหายานที่ใช้พระนามว่า
พระศากยมุนี และวัชรยาน ซึ่งเป็นพุทธลักษณะเฉพาะของพระไวโรจนะ จึง
เป็นเหตุทำให้ไม่มีการสร้างขึ้นในประเทศไทยก่อนรัชกาลปัจจุบัน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๕๗
นอกจากปางปฐมเทศนาที่แสดงด้วยท่าหมุนธรรมจักรแล้ว พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร
พระหั ต ถ์ ข วายกขึ้ น จี บ นิ้ ว พระหั ต ถ์ เ ป็ น รู ป วงกลมเป็ น กิ ริ ย าแสดงธรรม พระหั ต ถ์ ซ้ า ยวางหงายบน
พระเพลา ไทยเรียกว่า ปางปฐมเทศนา (ไขศรี 1996, ๘๐) ซึ่งแตกต่างจากสากลนิยมที่เรียกปางใน
ลักษณะข้างต้นว่า ปางแสดงธรรม หรือ วิตรรกมุทรา (Bunce 1997, 340 – 341)

พระพุทธรูปองค์แรกที่สร้างขึ้นในพุทธลักษณะดังกล่าวน่าจะได้แก่พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล วัดเขากง
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนราธิวาส (รูปที่ ๖.๔๗) สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ (ค.ศ.
1966) แล้วเสร็จสามปีต่อมา โดยมีแม่แบบมาจากพระพุทธรูปส่วนตัวของพลเอกประภาส จารุเสถียร
ประธานกรรมการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปใน “สกุลศิลปโจฬะรุ่นหลัง” (แบบนครศรีธรรมราช)
ทั้งนี้เพราะคณะกรรมการฯ มีมติว่า

ให้มีพุทธลักษณะของศิลปะอินเดียใต้ พระพุทธรูปลักษณะนี้ หรือสกุลนี้ พบมาก
ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกกันว่า... พระพุทธรูป “แบบนครศรีธรรมราช”
เรียกกันอย่างสามัญว่า พระพุทธรูป “แบบขนมต้ม” มีพุทธลักษณะพิเศษจาก
ความบันดาลใจของศิลปินที่เน้นหนักให้พระวรกายล่ำสันทุกส่วนผิดกับแบบอื่น
สังฆาฏิจัดกลีบแผ่กว้างเต็มพระอังสาเบื้องซ้ายและชายจีวรใต้พระเพลาทำ
เป็นริ้ว ให้ความรู้สึกทางการตกแต่งสวยงามกว่าแบบอื่นอย่างชัดเจน (กรรณิกา
๒๕๔๔, ๒๔)

โดยมีจิตร บัวบุศย์ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล จึงสร้างขึ้นตามทฤษฎีสกุลศิลปไทยพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๙ “สกุลศิลป
ไทย – โจฬะ” ซึ่งจิตร บัวบุศย์ได้เสนอไว้ในหนังสือ สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย (จิตร ๒๕๐๓,
๑๐๑) ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางแสดงธรรมก่อนที่จิตร บัวบุศย์จะ
ออกแบบขึ้นมา อนึ่ง การที่ จิตร บัวบุศย์ ได้จำแนกพระพุทธรูปในประเทศไทย ตามสกุลช่างของ
พระพุทธรูปอินเดีย เป็น “สกุลศิลปไทย – คุปตะ” “สกุลศิลปไทย – ปาละวะ” “สกุลศิลปไทย – ปาละ –
เสนา” และ “สกุลศิลปไทย – โจฬะ” น่าจะมาจากความคิดที่ว่า

การที่เขียนหนังสือขึ้นตามความนึกคิด และการค้นคว้าจากพยานหลักฐานของ
ตนเอง ย่อมจะได้ผลส่วนรวมมากกว่าที่จะเขียนตามตำราหนังสือเก่า ๆ ที่เขียน
ขึ้นไว้แล้วเสียทุกอย่างทุกตอนไป ซึ่งยังแต่จะทำให้วิชาการนั้น ๆ ไม่ก้าวหน้า
แล้ว ยังจะแสดงถึงการคิดเห็นที่ไม่อิสระกว้างขวางของผู้เขียนด้วย (เรื่อง
เดียวกัน, ฎ)

รูปที่ ๖.๔๗ พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๑๒
(ค.ศ. 1966 – 1969)
คอนกรีตเสริมเหล็ก
หน้าตักกว้าง ๑๗ เมตร
สูงรวมฐาน ๒๘.๓๐ เมตร
วัดเขากง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนราธิวาส

๓๕๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๕๙
หลังจากที่มีการสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล ให้เป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร
ปางปฐมเทศนาแล้ว จึงมีการสร้างพระพุทธรูปในพุทธลักษณะเช่นนี้อีกหลายองค์ เช่น พระพุทธรูปที่
ประดิษฐานภายในพระมหาธาตุนภเมทนีดล ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่
๖.๔๘) พระพุทธรูปองค์นี้ แหลมสิงห์ ดิษฐพันธ์ เป็นผู้ปั้นแบบ ตามมติของพลอากาศโท วรนาถ อภิจารี
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และไขศรี ตันศิริ สถาปนิกผู้ออกแบบพระมหาธาตุ ทั้งนี้เพราะกองทัพ
อากาศ เป็นผู้ก่อสร้างพระมหาสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในโอกาสที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ (ค.ศ.
1987) และในวาระที่กองทัพอากาศมีอายุครบ ๖ รอบ โดยว่าจ้างให้ช่างสลักหินในอำเภอมุนติลาน
จังหวัดจ๊อกจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นผู้แกะสลักจากหินแกรนิต เพื่อนำไปประดิษฐานอยู่บนยอด
ดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นจุดที่สูงสุดในราชอาณาจักร (๒,๑๔๖ เมตร จากระดับทะเลปานกลาง) พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายพระนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธบรมศาสดานวมินทรมหาจักรีราชานุสรณ์
สัฐิพรรษาสถาพรพิพัฒน์” แปลว่า “พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดา สร้างเป็นอนุสรณ์ที่พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา” (ศิลปากร
๒๕๔๓ ก, ๑๘๓ – ๑๘๔) เนื่องด้วยว่าอีโยมาน อาลิม มุสตาฟา (Inyoman Alim Mustapha) ช่างสลักเป็น
ชาวอินโดนีเซียและสลักจากหินแกรนิต จากจังหวัดจ๊อกจาการ์ตา พระพุทธรูปองค์นี้จึงมีพุทธลักษณะ
คล้ายกับพระพุทธรูปที่พระมหาสถูปบุโรพุทโธ แตกต่างกันตรงที่พระพุทธรูปปางนี้ไม่มีในอินโดนีเซีย

อาจจะเป็นเพราะว่าพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางปฐมเทศนาที่ได้สร้างมาแล้ว มีพุทธลักษณะ
ที่แปลกไปจากพระพุทธรูปแบบไทยประเพณีจึงมีการดัดแปลงพระพุทธรูปหมวดนี้ให้เข้ากับค่านิยมท้องถิ่น
เช่น พระพุทธปฏิมากร ธีรอุทันปุญญศุภา สัมมาสัมพุทธเจ้า วัดดอยสะเก็ด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัด
รูปที่ ๖.๔๘ พระพุทธบรมศาสดา
นวมินทรมหาจักรีราชานุสรณ์ เชียงใหม่ (รูปที่ ๖.๔๙) พระพุทธรูปองค์นี้มีพระเศียรแบบล้านนาประยุกต์ แต่ครองจีวรห่มดองจีบ
สัฐิพรรษาสถาพรพิพัฒน์ เป็นริ้วชายห้อยมาทางด้านหน้าตามแบบพระภิกษุมหานิกาย (พระมหาสมณวินิจฉัย ๒๕๑๔, ๑๐๓) ตรา
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๐ (ค.ศ. 1987) สัญลักษณ์งานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
หินแกรนิต หน้าตักกว้าง ๑.๒๐ เมตร
สูง ๑.๗๔ เมตร บนผ้าทิพย์ที่หน้าฐาน แสดงให้เห็นว่า สร้างขึ้นในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ๑๒ สิงหาคม
พระมหาธาตุนภเมทนีดล ดอยอินทนนท์ ๒๕๓๕ (ค.ศ. 1992)
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

รูปที่ ๖.๔๙ พระพุทธมหาปฏิมากร ธีรอุทันปุญญศุภา


สัมมาสัมพุทธเจ้า
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. 1992)
คอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๑๔ เมตร
วัดพระธาตุดอยสะเก็ด
อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

๓๖๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๖๑
หมวด ซ.
ปางขอฝน

๙. พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางขอฝน

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางขอฝน สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางขอฝน มีแค่ ๕๘ องค์ (ดูรูปที่ ๓.๓๓ ก., ข.) คือเท่ากับ
จำนวนพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๕ องค์เมื่อก่อนจะเสด็จขึ้นเสวยราชย์
ไม่มีฉัตรกั้น และอีก ๔๓ องค์มีฉัตรกั้น ซึ่งเท่าจำนวนปีนับตั้งแต่เสวยราชสมบัติจนเสด็จสวรรคต

พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แตกต่างจาก
พระพุทธรูปปางขอฝนหรือพระคันธารราษฎร์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างขึ้น
(ดูรูปที่ ๓.๓๓ ข.) ที่ประทับขัดสมาธิเพชร มิใช่สมาธิราบ พระอังคุฐและพระดรรชนีบรรจบกัน ทั้ง
สองพระหัตถ์ และมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงสร้างขึ้น คือไม่มี
รูปที่ ๓.๓๓ ก. พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา พระเมาลี ครองจีวรห่มดอง จีวรเป็นริ้วแบบธรรมชาติ พาดสังฆาฏิแบบพระภิกษุคณะธรรมยุติกนิกาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว สร้างปีพ.ศ. ๒๔๑๓ ส่วนที่เรียกพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะข้างต้นว่าพระคันธารราษฎร์นั้น พระบาทสมเด็จพระ
(ค.ศ. 1870) สัมฤทธิ์กะไหล่ทอง
หน้าตักกว้าง ๗.๑๐ เซนติเมตร จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินที่ปกครองคันธารราษฎร์ (ประเทศ
สูงรวมฐาน ๑๔.๖๐ เซนติเมตร ปากีสถานในปัจจุบัน)
หอพระสุลาลัยพิมาน
พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา ได้ทรงฟังเรื่องพระพุทธเจ้าทรงบันดาลให้ฝนตกนั้น ก็ทรงเลื่อมใส ให้สร้าง
ในพระบรมมหาราชวัง) พระพุทธปฏิมากรมีอาการอย่างจะสรงน้ำทำปริศนาเรียกฝนเช่นนั้น ครั้นเมื่อปี
ใดฝนแล้งก็ให้เชิญพระพุทธปฏิมากรนั้นออกตั้งบูชาขอฝน ฝนก็ตกลงได้ดัง
ประสงค์ ภายหลังมามีผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาสร้างพระพุทธรูปมีอาการเช่น
นั้น ต่อ ๆ มาก็เรียกสมญาว่าพระพุทธคันธารราษฎร์ (เรื่องเดียวกัน, ๔๒๐)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
ขึ้น จึงทรงเลือกพระคันธารราษฎร์เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา เพราะว่าในปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๕
(ค.ศ. 1852 – 1853) ฝนแล้งตลอดปี และในปีฉลูก่อนที่พระองค์จะประสูติก็ยังแล้งอยู่ แต่เมื่อพระองค์ประสูติ
ฝนตกมากในพระบรมมหาราชวังท่วมเกือบถึงเข่า จึงตกลงใช้พระคันธารราษฎร์เป็นพระพุทธรูปประจำ
พระชนมพรรษา (ดูรูปที่ ๓.๓๓ ก., ข.) ทรงอธิบายพุทธลักษณะว่า “มีดวงพระพักตร์เป็นพระอย่างใหม่ในแผ่นดิน
ปัจจุบันนี้ พาดสังฆาฏิกว้าง ไม่มียอดพระเมาฬี มีรัศมีแหลม เหมือนอย่างใหม่ ๆ” (เรื่องเดียวกัน, ๕๖๒ – ๕๖๓)

เมื่อพระองค์มีพระราชดำริว่าจะสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ (ค.ศ.
1870) นั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไม่เห็นด้วย

ท่านว่าจะมานั่งใส่คะแนนอายุด้วยพระพุทธรูปเปลืองเงินเปลืองทองเปล่าๆ
แต่ก่อนท่าน (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงพระชรา ท่านจึงทำ
ต่อพระชนมพรรษา ที่ยังเด็กยังหนุ่มอยู่จะต้องทำทำไม เมื่ออธิบายกันไปใน
เรื่องที่จะต้องถือน้ำเป็นต้น จึงได้ตกลงเป็นอันได้หล่อ (เรื่องเดียวกัน, ๖๗๗)

พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาองค์นี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ดังที่ได้รับสั่งว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ท่านโปรดพระพุทธรูปองค์นี้มาก จึงขอพระราชทานไปหล่อ
ขึ้นอีกองค์หนึ่ง และทรงไปตั้งในพิธีขอฝนปรากฏว่า “ขลังดีวิเศษ” (เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน)

๓๖๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๓.๓๓ ข.
พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รูปที่ ๓.๓๓ ก.)
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ๓๖๓
พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทที่


พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท
หมวด ก.
ปางพิจารณาชราธรรม


๑. พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางพิจารณาชราธรรม

๑.๑ พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางพิจารณาชราธรรม
สมัยอาณาจักรมอญโบราณ (“ทวารวดี”) พ.ศ. ๙๕๐ – ๑๕๐๐ (ค.ศ. 407 - 957)

พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท (ภัทราสนะ) เป็นพระพุทธปฏิมารูปแบบหนึ่งซึ่งปรากฏควบคู่
กันกับนิกายเถรวาทในประเทศไทยมาช้านานแล้ว ดังเช่น สมัยที่มอญโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคกลาง
ของประเทศไทย (สมัยทวารวดี) สร้างรูปพระอดีตพุทธะสี่พระองค์อันได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ
พระกัสสปะ และพระสมณโคดม ซึ่งแต่เดิมประทับหันพระปฤษฎางค์เข้าหากัน พระหัตถ์ขวาแสดงธรรม
พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นเหนือพระชานุ (ดูรูปที่ ๔.๗) ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระเมรุ อำเภอเมืองฯ
จังหวัดนครปฐม (Dupont 1959, 64) และพระอนาคตพุทธศรีอาริยเมตไตรย เป็นองค์ที่ห้า ซึ่งได้ไป
จากวัดพระเมรุ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐมเช่นกัน เพราะพนักบัลลังก์ยังคงปรากฏอยู่ที่วัดพระเมรุ
นครปฐม (Claeys 1931, 396) แต่องค์พระพุทธปฏิมาปัจจุบันอยู่ในพระวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุราชิการาม
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๗.๑) พระพุทธปฏิมาองค์นี้ พระหัตถ์ทั้งสอง
ข้างวางคว่ำเหนือพระชานุที่ประทับห้อยพระบาท พระหัตถ์ทั้งสองข้างที่วางคว่ำเหนือพระชานุนั้น เป็น
ลักษณะเดียวกันกับพระพุทธปฏิมาของจาม สร้างขึ้นที่ดงเซือง (Doññg – du’o’ung) ในปี พ.ศ. ๑๔๑๘
(ค.ศ. 875) (Boisselier 1963, 98 – 99) พระพุทธปฏิมาที่คว่ำพระหัตถ์ทั้งสองข้างบนพระชานุทั้งสอง
องค์นี้ น่าจะดัดแปลงมาจากรูปพระศรีอาริยเมตไตรยของจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. ๑๑๖๑ – ๑๔๕๐ /
ค.ศ. 618 – 907) เช่น พระพุทธปฏิมาที่สลักในถ้ำหมายเลข ๑๑ ที่หลงเหมิน (Lung Men) มณฑลเหอ
หนาน (Honan) ในปี พ.ศ. ๑๒๑๖ (ค.ศ. 673) และมี จ ารึ ก บ่ ง บอกว่ า เป็ น พระศรี อ าริ เ มตไตรย
(Snellgrove 1978, 220) แตกต่างกันที่พระหัตถ์ขวาคว่ำเหนือพระชานุ แต่พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้น เป็นที่
น่าสังเกตว่า พระพุทธปฏิมาประทับคว่ำพระหัตถ์ทั้งสองข้างเหนือพระชานุ ยังถือกันว่าเป็นพระศรีอาริ
ยเมตไตรยอยู่จวบจนทุกวันนี้ แต่ปรากฏอยู่ในรูปแบบประทับขัดสมาธิราบและทรงเครื่องอย่างพระ
มหาจักรพรรดิราช (ดูรูปที่ ๕.๑๙๗)

รูปที่ ๗.๑ พระศรีอาริยเมตไตรย


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 8)
ศิลา สูง ๔.๒ เมตร
พระวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุราชิการาม
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ๓๖๕
๑.๒ พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางพิจารณาชราธรรม สมัยรัตนโกสินทร์

จากต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 10) เมื่อลัทธิวัชรยานแบบกัมพูชาได้เข้ามา
เผยแผ่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน ความนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาทก็สิ้นสุดลง
จนกระทั่งปรากฏขึ้นอีกครั้งหนึ่งในอาณาจักรอยุธยาสมัยเมืองลูกหลวง เมื่อมีการสร้างพระพุทธปฏิมา
ปางป่าเลไลยก์ และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงบูรณ-
ปฏิสังขรณ์วัดสุทัศนเทพวราราม ในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๗๗ – ๒๓๘๖ (ค.ศ. 1834 – 1843) จึงมีการสร้าง
พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท พระหัตถ์ทั้งสองคว่ำอยู่เหนือพระชานุ เช่นที่ประทับบนเตียงจีนศิลา
ในศาลาด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม (รูปที่ ๗.๒)
ซึ่งน่าจะได้แก่ปางพิจารณาชราธรรมในอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นพระพุทธปฏิมาองค์นี้ จึงมิใช่พระศรี-
อาริยเมตไตรย แต่เป็นพระสมณโคดมในปางพิจารณาชราธรรม

รูปที่ ๗.๒ พระสมณโคดม พิจารณาชราธรรม


พ.ศ. ๒๓๗๗ – ๒๓๘๖ (ค.ศ. 1834 – 1843)
สัมฤทธิ์
ศาลาด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
พระวิหารหลวง
วัดสุทัศนเทพวราราม
กรุงเทพมหานคร

๓๖๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ข.
ทรงเครื่อง

๒. พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ทรงเครื่อง

พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ทรงเครื่อง สมัยล้านช้าง
- ช่วง ๓ นครรัฐ (พ.ศ. ๒๒๔๖ – ๒๓๓๒ / ค.ศ. 1703 – 1789)

เท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท พระหัตถ์ขวาคว่ำเหนือพระชานุขวา
พระหัตถ์ซ้ายหงายเหนือพระชานุซ้าย ทรงเครื่องใหญ่ มีแค่พระองค์เดียวในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
มหาวีรวงศ์ วัดสุทธจินดา อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา (รูปที่ ๗.๓) พระพุทธปฏิมาองค์นี้พระพักตร์
คล้ายพระพุทธปฏิมาล้านช้าง ทรงครองจีวรห่มดอง อุณหิสยอดชฎา กรรเจียก กรองศอ สังวาลคู่แต่ง
ด้วยกระจัง ทับทรวง รัดพระองค์ พาหุรัด ทองพระกร และพระธำมรงค์ทุกนิ้วพระหัตถ์ น่าจะสร้างขึ้น
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18) และคงจะได้แก่พระศรีอาริยเมตไตรย

รูปที่ ๗.๓ พระศรีอาริยเมตไตรย


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18)
ไม้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
วัดสุทธจินดา
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา

พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ๓๖๗
หมวด ค.
ปางป่าเลไลยก์

๓. พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางป่าเลไลยก์

๓.๑ พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางป่าเลไลยก์ สมัยอยุธยา

(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

ไม่ปรากฏว่ามีการสร้างพระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท พระหัตถ์ขวาหงายเหนือพระชานุ
พระหัตถ์ซ้ายคว่ำที่พระชานุ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “ปางป่าเลไลยก์” ในอาณาจักรล้านนา แต่เป็นที่นิยมใน
ภาคกลาง และในรัฐมอญของประเทศพม่า เนื่องด้วยว่าพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในประเทศไทยไม่มี
จารึกกำกับไว้ที่ตัวองค์พระ หรือในกรณีที่มีกล่าวถึงในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชั้นต้น แต่กลับไม่
ปรากฏพระพุทธปฏิมาหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เช่น ที่ปรากฏในจารึกสุโขทัยของอินทรสรศักดิ์ ปี พ.ศ.
๑๙๖๐ (ค.ศ. 1417) ที่กล่าวถึง “พระเจาอยอนตีน” (Griswold and Nฺa Nagara 1968, 235) ซึ่งน่าจะได้แก่
พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท มากกว่าพระพุทธปฏิมาลีลาซึ่งในจารึกเดียวกันเรียกว่า “พรเจาจงกรม”
ตามที่มีผู้เสนอไว้ (ศักดิ์ชัย ๒๕๔๕, ๑๘๗ – ๑๙๑) จึงสันนิษฐานได้ว่าการสร้างพระพุทธปฏิมาปางนี้อาจ
จะเริ่มขึ้นอีกในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14) นอกจากนั้นแล้วหลักฐานทาง
จารึกของมอญในสมัยของพระนางตะละเจ้าท้าว (Shinsawbu) ที่โปรดให้สร้างวัดไจค์มะรอ (Kyaikmaraw
Paya) จังหวัดเมาะลำแยงในรัฐมอญ ประเทศพม่า ในปี พ.ศ. ๑๙๙๘ (ค.ศ. 1455) (Martin et al. 2002, 381)
มีพระประธานเป็นพระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาทขนาดใหญ่ จึงเป็นไปได้ว่าพระพุทธปฏิมาปาง
ป่าเลไลยก์ที่มีขนาดใหญ่เช่นหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี (รูปที่ ๗.๔)
อาจจะสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน

รูปที่ ๗.๔ พระสมณโคดมปางป่าเลไลยก์


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
ก่ออิฐถือปูน สูง ๒๓.๔๘ เมตร
วัดป่าเลไลย์
อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี

๓๖๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ๓๖๙
(๒) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธปฏิมาที่อาจจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – กลาง ๒๓ (คริสต์ศตวรรษที่
17) น่าจะได้แก่พระพุทธปฏิมาปางป่าเลไลยก์ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต (รูปที่ ๗.๕) มีช้าง
และลิงหมอบอยู่ที่ฐาน ซึ่งมีพุทธลักษณะใกล้เคียงกันกับพระพุทธปฏิมาในคูหาด้านทิศตะวันตก ปรางค์
ประธานวัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๗.๖) ซึ่งจากหลักฐานของชาวตะวันตกซึ่ง
กล่าวถึงวัดนี้ได้แสดงให้เห็นว่า พระอารามแห่งนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ.
๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ / ค.ศ. 1656 – 1688) (พิริยะ ๒๕๔๕, ๑๒๑) และได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จ
พระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑ / ค.ศ. 1732 – 1758)

รูปที่ ๗.๕ พระสมณโคดมปางป่าเลไลยก์


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – กลาง ๒๓
(คริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ สูง ๙๓.๕ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๗.๖ พระสมณโคดม ปางป่าเลไลยก์


ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17)
ก่ออิฐถือปูน
คูหาด้านทิศตะวันตกปรางค์พระประธาน
วัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๓๗๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๗.๗ พระสมณโคดมปางป่าเลไลยก์
พ.ศ. ๒๓๓๖ (ค.ศ. 1793)
สัมฤทธิ์ สูง ๔.๓๕ เมตร
พระวิหารด้านทิศเหนือ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร

๓.๒ พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางป่าเลไลยก์ สมัยรัตนโกสินทร์



เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (วัด
พระเชตุพนวิมลมังคลาราม) โดย “ให้บริบูรณ์งามขึ้นกว่าเก่า” ในปี พ.ศ. ๒๓๓๖ (ค.ศ. 1793) ทรงให้หล่อ

พระพุทธรูปใหม่ สูงแปดศอก คืบห้านิ้ว ประดิษฐานไว้ในพระวิหารทิศเหนือ
บรรจุพระบรมธาตุ ถวายพระนามว่า พระป่าเลไลย มีช้างถวายคนทีน้ำ มีวานร
ถวายรวงผึ้ง (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน เล่ม ๑ ๒๔๗๒, ๔)

พระพุทธปฏิมาองค์นี้จึงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ (รูปที่ ๗.๗)

พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ๓๗๑
พระพุทธปฏิมาปางป่าเลไลยก์ ยังนิยมสร้างเป็นพระประธานในอุโบสถและวิหารสืบต่อกันมา เช่น
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ (ค.ศ. 1927) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้มีการสร้างพระ
ประธานปางนี้ขึ้นที่วัดศาลาทอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา (รูปที่ ๗.๘)

เนื่องด้วยว่า พระพุทธปฏิมาปางป่าเลไลยก์ เป็นพระประจำวันชาตาของผู้ที่เกิดวันพุธเวลากลาง
คืน โดยมีพระราหูเป็นดาวพระเคราะห์ประจำวัน ในปัจจุบันจึงนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาปางป่าเลไลยก์
เพื่อเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำวัน

รูปที่ ๗.๘ พระสมณโคดมปางป่าเลไลยก์


พ.ศ. ๒๔๗๐ (ค.ศ. 1927)
ก่ออิฐถือปูน สูง ๕.๑๐ เมตร
พระวิหารวัดศาลาทอง
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา

๓๗๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ง.
ปางขอฝน

๔. พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางขอฝน

พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางขอฝน สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ปางขอฝน คือพระหัตถ์ขวากวักเรียกฝนโดยที่พระอังคุฐ
และพระดรรชนีบรรจบกัน พระหัตถ์ซ้ายรองรับน้ำฝนที่พระเพลา สร้างขึ้นเป็นพระพุทธปฏิมาประจำ
พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีทั้งหมด ๔๒ องค์ (ดูรูปที่ ๓.๓๕) โดย ๓๒ องค์
ไม่มีฉัตรกั้น คือเท่ากับจำนวนพระชนมพรรษาเมื่อยังมิได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ มีจารึกพระนามาภิไธย
รูปที่ ๓.๓๕ พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ย่อ ปศ. (ประชาธิปกศักดิเดชน์) ที่ด้านหลังพระแท่นที่ประทับ ส่วนอีก ๑๐ องค์ มีฉัตรกั้น คือเท่าจำนวน
พ.ศ. ๒๔๖๙ – ๒๔๗๗ (ค.ศ. 1926 - 1934) ปีที่ครองราชย์ และมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร. (ประชาธิปก บรมราชาธิราช) ที่ด้านหลังพระแท่น
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง ทุกพระองค์ (สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๔๕๒)
สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๑๙.๕๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา พระพุทธปฏิมาประจำพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ประทับห้อยพระบาท
ในพระบรมมหาราชวัง) ทั้งสองบนฐานบัวหงาย “ซึ่งเขามีศัพท์เฉพาะเรียกว่า ภัทรอาสน์ หรือ ภัทราสนะ อย่างเรานั่งเก้าอี้กันทุก
วันนี้” (ธนิต ๒๕๑๐, ๑) พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ ปลายพระอังคุฐกับพระดรรชนีจรดกัน
พระหัตถ์ซ้ายหงายอยู่เหนือพระเพลาซ้าย คล้ายกับพระพุทธปฏิมาศิลาขาว “สมัยทวารวดี” ๔ องค์ ซึ่ง
แต่เดิมอยู่ในวิหารวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม (ดูรูปที่ ๔.๗) และ ๑ ใน ๔ องค์นี้ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์
ขุดพบที่วัดหน้าพระเมรุ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นพระประธาน
ในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ (เรื่องเดียวกัน, ๓) จึงเป็นไปได้ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า
อยู่หัวทรงสร้างพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ (ค.ศ. 1925) นั้น ทรงใช้รูปแบบ
ปางขอฝน ซึ่งเป็นปางของพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมพรรษาของสมเด็จพระบรมชนกนาถ และทรง
นำมาดัดแปลงร่วมกับรูปแบบของพระพุทธปฏิมาศิลาขาว สมัยทวารวดี พระประธานในพระอุโบสถวัด
พระปฐมเจดีย์องค์ดังกล่าว ซึ่งข้อสันนิษฐานนี้สอดคล้องกับค่านิยมร่วมสมัยที่สมเด็จฯ กรมพระยา
ดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ใน ตำนานพุทธเจดีย์สยาม ว่า

การเลือกหาแลแก้ไขแบบแผนพระพุทธปฏิมาที่สร้างใหม่ จึงหันไปนิยมพระพุทธ
ปฏิมาแบบต่าง ๆ ช่างที่ฝีมือดีก็คิดแก้ไขหันเข้าหาความงามให้เห็นจริงอย่าง
สามัญมนุษย์ต่อมา (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๙, ๑๔๗)

ดังนั้นพระพุทธปฏิมาปางขอฝน จึงสร้างเป็นพระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท เส้นพระเกศา
เป็นธรรมชาติ เกล้าเป็นพระเมาลี คล้ายพระพุทธปฏิมาอินเดียแบบคันธารราษฎร์ แต่มียอดเป็นพระรัศมีเปลว
ครองจีวรห่มดองแบบพระภิกษุคณะมหานิกาย ริ้วเหมือนจริงตามธรรมชาติของผ้า
รูปที่ ๔.๗ หนึ่งในพระอดีตพุทธะสี่พระองค์
เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระเมรุ
จังหวัดนครปฐม
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 8)
ศิลาขาว สูง ๓.๗๐ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระพุทธปฏิมาประทับห้อยพระบาท ๓๗๓
พระยืนทรงเครื่อง จักรพรรดิราช
วัดพระธาตุช้างค้ำ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน
(รูปที่ ๘.๑๐)

พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทที่


พระพุทธปฏิมายืน
หมวด ก.
พระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างทอดลงข้างพระอูรุ


พระพุทธปฏิมายืน ได้แก่ยืนตรงพระบาทชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองข้างทอดลงข้าง
พระอูรุ (โคนขา) ปรากฏอยู่ใน ตำราพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ตามมติของ สมเด็จพระ
มหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (ตำราพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ๒๕๓๔, ๖๙)
แต่มิได้ประทานอรรถาธิบายที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในพุทธประวัติประกอบ พระพุทธปฏิมายืน
เป็ นที่ นิ ย มแพร่ ห ลายในอาณาจั ก รล้ า นนาและล้ า นช้ า ง แต่ ไม่ ป รากฏว่ า พระพุ ท ธรู ป
ในหมวดนี้เป็นที่นิยมในอาณาจักรอยุธยา เมื่อเปรียบเทียบกับพระพุทธปฏิมายืน ยก
พระหัตถ์ขวาประทานอภัย (ปางห้ามญาติ) (ดู หัวข้อ ๕.๓ หน้า ๓๘๘)

๑. พระพุทธปฏิมายืน

๑.๑ พระพุทธปฏิมายืน สมัยล้านนา

(๑) ช่วงอาณาจักรล้านนา
- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)

พระพุทธปฏิมายืนเป็นปูชนียวัตถุคู่กับอาณาจักรล้านนา อันเห็นได้จากการที่พระสุมนเถระทูล
พระเจ้ากือนาให้สร้างพระพุทธปฏิมายืนพระหัตถ์ทั้งสองข้างทอดลงข้างพระอูรุขึ้นอีกสามองค์ที่วัด
พระยืน จังหวัดลำพูน เพราะเดิมมีอยู่แค่องค์เดียว คือองค์ทางทิศตะวันออก

พระพุทธรูปเจ้าองค์ยืนนี้ เท่ามีตนเดียวฉะนี้ดูไม่สมควรนากูจักไปชวนพระยา
แปลงแถมอีก ๓ องค์ ให้พอ ๔ องค์ จึงจะควร และกูจักให้แปลงมหามณฑป
เจดีย์สำหรับมุงเจ้ากูทั้ง ๔ ไว้ (ตำนานมูลศาสนา ๒๕๑๘, ๒๐๖)

พระพุทธปฏิมาทั้งสามองค์นี้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ (ค.ศ. 1369) และแล้วเสร็จหนึ่งปี
สี่เดือนต่อมา (ประชุมศิลาจารึก เล่ม ๓ ๒๕๐๘, ๑๓๙ – ๑๔๑) โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งอาจจะเขียนในปี
พ.ศ. ๒๐๖๐ (ค.ศ. 1517) กล่าวถึงพระยืนทั้งสี่องค์นี้ว่า

๑๕๑ เถิงพระพุทธรูปอั้น ยืนยง
กวมก่อเป็นขงทัง สี่ด้าน
ทำบุญเบิกบุญปัง พบแม่ นะแม่
ขูโนสพระเจ้าจ้าน ค่อยแก้กรรรมเรียม

พระพุทธปฏิมายืน ๓๗๕
๑๕๒ กกุสนธ์แซ่งสร้าง หนึ่งโกนา
องค์หนึ่งพระกัสสปา เจื่องเจ้า
โคดมจิ่งเจียนคลา วางศาสนาเอ่
เชิญเสวยรสเข้า ม่อนน้อมทูลถวาย

๑๕๓ สี่องค์นี้พ้นพ่วง สงสาร
นิโรธรสนิพพาน โมดมล้าง
ยังพระอาไรยนาน ลงโลก นี้หนอ
จักบอกบทข้อยค้าง แด่หื้อนานนิพพาน
(ประเสริฐ ๒๕๑๖, ๑๕๑ – ๑๕๓)

จาก โคลงนิราศหริภุญชัย เห็นได้ว่า พระพุทธปฏิมายืนทั้งสี่องค์นี้ได้แก่ พระอดีตพุทธะสี่องค์
เดิมยืนหันพระปฤษฎางค์เข้าหากัน ภายในมณฑปและหันพระพักตร์ผ่านโขง (ซุ้มประตูรูปวงโค้ง) ทั้งสี่
ด้าน สันนิษฐานว่าแต่ละองค์สูง ๘.๕๐ เมตร อันได้แก่ความสูงของพระอัฏฐารส (Griswold 1975, 53)
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (ค.ศ. 1901) เจ้าอินทยงยศ เจ้าผู้ครองนครลำพูนให้
ช่างก่อพระเจดีย์วัดพระยืนองค์ปัจจุบันขึ้นครอบปิดพระพุทธปฏิมาองค์เดิมไว้ภายใน เพราะพระพุทธปฏิมา
สามองค์ที่พระสุมนเถระสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ – ๑๙๑๓ (ค.ศ. 1369 – 1370) นั้นหักพังลงเหลือแต่
พระชงฆ์และพระบาท มีเพียงพระยืนองค์เดิมด้านทิศตะวันออกเท่านั้นที่ยังคงสภาพดีอยู่ คือยืนปล่อย
พระหัตถ์ทั้งสองข้าง (เรื่องเดียวกัน, 75 - 77) จึงได้แต่สันนิษฐานว่า พระพุทธปฏิมายืนล้านนา อย่างเช่น
องค์ที่วัดบ้านยางหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ น่าจะจำลองมาจากพระพุทธปฏิมาที่วัดพระยืน
รูปที่ ๘.๑ พระยืน
สร้าง พ.ศ. ๒๐๒๖ (ค.ศ. 1483)
ปูนปั้น พระพุทธปฏิมายืนทอดพระหัตถ์ทั้งสองข้างพระอูรุที่วัดบ้านยางหลวง อำเภอแม่แจ่ม (รูปที่
พระอุโบสถ วัดบ้านยางหลวง ๘.๑) ประดิษฐานอยู่ในซุ้มด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทภายในวิหาร มีจารึกบนฐานบัวหงาย
อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ให้ปีที่สร้างคือ พ.ศ. ๒๐๒๖ (ค.ศ. 1483) (Stratton 2004, 219) ในพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔ –
๒๐๓๐ / ค.ศ. 1441 – 1487) ทรงจีวรห่มดอง แลเห็นท่อนบนของสบงที่บั้นพระองค์ พระพาหายาว
จนนิ้วพระหัตถ์จรดพระชานุ ซึ่งเป็นลักษณะที่ ๑๘ ของมหาบุรุษลักษณะ อันได้แก่ “สฺถิโต’ นวนตปฺรลมฺพ
พาหุ พระกายยืนตรงไม่คดค้อม พระพาหายาว” (ลลิตวิสตระ ๒๕๑๒, ๕๙๙) พระยืนสัมฤทธิ์ วัด
เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (รูปที่ ๘.๒) มีลักษณะใกล้เคียงกับพระยืน วัดบ้านยางหลวง รวมทั้งรูปแบบ
ของจีวร ที่ตรงปลายทั้งสองข้างขมวดขึ้น และท่อนบนของสบงก็คล้ายกัน จึงอาจจะสร้างขึ้นในสมัย
พระเจ้าติโลกราชเช่นกัน

ส่วนพระพุทธปฏิมายืนทอดพระหัตถ์ทั้งสองข้างพระอูรุสัมฤทธิ์ ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราช-
วังดุสิต (รูปที่ ๘.๓) น่าจะสร้างขึ้นในรัชสมัยพญาแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘ – ๒๐๖๙ / ค.ศ. 1495 – 1526) เพราะ
ได้วิวัฒนาการขึ้นจากสององค์ที่กล่าวถึงข้างต้น โดยชายจีวรมีความเรียบง่ายขึ้น และท่อนบนของสบง
ได้หายไป

รูปที่ ๘.๒ พระยืน


ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูงรวมฐาน ๑.๑๙ เมตร
วิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

๓๗๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


- ยุคเสื่อม พ.ศ. ๒๐๖๘ – ๒๑๐๑ (ค.ศ. 1525 – 1558)

พระยืนทอดพระหัตถ์ทั้งสองข้างพระอูรุที่วัดพระธาตุช้างค้ำ อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน (รูปที่
๘.๔) ซึ่งมีจารึกกล่าวว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๗๐ (ค.ศ. 1527) (ศิลปากร ๒๕๓๐ ก, ๒๕๘ – ๒๕๙) ใน
รัชสมัยพญาเกศมีรูปแบบที่แสดงความเป็นท้องถิ่น มีความแข็งกระด้าง และเน้นความเรียบง่ายมากขึ้น
แต่รูปแบบของฐานยังคงเลียนแบบฐานของเชียงใหม่ คือฐานบัวหงายทรงกลม รองรับด้วยฐานเขียง
แปดเหลี่ยม

(๒) ช่วงพม่าปกครอง พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๑๗ (ค.ศ. 1558 – 1774)

หลังจากที่พม่าเข้ามาปกครองล้านนา เชียงใหม่เปลี่ยนไปเป็นฝ่ายที่รับอิทธิพลจากล้านช้าง อันเห็น
ได้จากรูปแบบของพระยืน วัดพระเจ้าเม็งราย อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๘.๕) ซึ่งชายจีวรทั้ง
สองข้างกระดกขึ้นเป็นตัวเหงา หรือกนกตัวเดียว (ดูรูปที่ ๘.๖)

รูปที่ ๘.๓ พระยืน


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๖๘.๕ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๘.๔ พระยืน


สร้างปี พ.ศ. ๒๐๗๐ (ค.ศ. 1527)
สัมฤทธิ์ สูงรวมฐาน ๙๖ เซนติเมตร
วัดพระธาตุช้างค้ำ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน

รูปที่ ๘.๕ พระยืน


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18)
ไม้
วัดพระเจ้าเม็งราย
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่

พระพุทธปฏิมายืน ๓๗๗
๑.๒ พระพุทธปฏิมายืน สมัยล้านช้าง

(๑) ช่วง ๓ นครรัฐ พ.ศ. ๒๒๔๖ – ๒๓๓๒ (ค.ศ. 1703 – 1789)

พระพุทธปฏิมายืนอันเป็นที่นิยมในล้านช้าง ช่วง ๓ นครรัฐ ชายจีวรกระดกขึ้นเป็นตัวเหงา เช่น
พระพุทธปฏิมายืนในระเบียง “หอพระแก้ว” นครเวียงจันท์ มีจารึกปี พ.ศ. ๒๒๙๘ (ค.ศ. 1755) (รูปที่ ๘.๖)
(Boun Souk 1971, 18)

(๒) ช่วงประเทศราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๓๓๒ – ๒๔๓๖ (ค.ศ. 1789 – 1893)

พระพุทธปฏิมายืนล้านช้างมีเอกลักษณ์คือชายจีวรทั้งสองด้านโค้งขึ้น เช่นองค์ของวัดเหลาเทพ
นิมิตร อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ (รูปที่ ๘.๗) พระพุทธปฏิมาองค์นี้มีพระเมาลีใหญ่ รัศมีเป็น
บัวขาบกลีบสูง ครองจีวรห่มคลุม มีรัดพระองค์แทนรัดประคด และชายพับของสบงตกแต่งด้วยลาย
ดอกไม้สี่กลีบ ฐานเป็นฐานปัทม์ อกไก่ ทรงกลม แต่ที่เป็นลักษณะพิเศษของพระยืนองค์นี้ คือช่วง
พระพาหาและพระกรยาวมาก จนนิ้วพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตะที่ชายจีวรที่โค้งกระดกขึ้น

รูปที่ ๘.๖ พระยืน
สร้างพ.ศ. ๒๒๙๘(ค.ศ. 1755)
สัมฤทธิ์ สูง ๒.๒๐ เมตร
พระระเบียง หอพระแก้วเวียงจันท์
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

รูปที่ ๘.๗ พระยืน


จากวัดพระเหลาเทพนิมิต
อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19)
ไม้ลงรักปิดทอง สูง ๙๑ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

๓๗๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๑.๓ พระพุทธปฏิมายืน สมัยอยุธยา

ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

ถึงแม้ว่าพระพุทธปฏิมายืนพระบาทชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองข้างทอดลงข้างพระอูรุ จะไม่เป็นที่
นิยมที่อยุธยา แต่ก็มีการสร้างพระยืนในรูปแบบอื่น กล่าวคือ แบบที่ครองจีวรห่มคลุมพระอังสาทั้งสองข้าง
ท่อนบนของสบง และหน้านาง ยกขอบ (บริบาลบุรีภัณฑ์ ๒๕๓๑, ๑๔๕) เช่น พระอัฏฐารส วัดมหาธาตุ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุโขทัย หรือแบบที่ครองจีวรห่มคลุม ขอบสบงตอนบนและหน้านางยกขอบ
พระพักตร์ของพระพุทธปฏิมาองค์นี้ยังอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ สังเกตจากภาพถ่ายในปี พ.ศ.
๒๔๗๐ (ค.ศ. 1927) (รูปที่ ๘.๘ ก.) ตามทรรศนะของผู้เขียนเห็นว่า สภาพความสมบูรณ์ดังกล่าว ไม่น่าจะ
เป็นไปได้ จากข้อจำกัดของวิทยาการทางการช่างแบบดั้งเดิมนั้น หากนับอายุเวลาย้อนหลังไป ๕๕๐ ปี
กลับไปหาช่วงอาณาจักรสุโขทัย กล่าวคือ พระอัฏฐารสยืนองค์นี้อาจจะไม่ได้สร้างในปี พ.ศ. ๑๙๑๙ (ค.ศ.
1376) ตามข้อสันนิษฐานของผู้ที่ศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม วัดมหาธาตุ สุโขทัย (วิโรจน์ ๒๕๔๕, ๓๑๐)
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. 1953) กรมศิลปากรจึงได้รับการดัดแปลงให้เป็นพระพุทธปฏิมาแบบสุโขทัย
โดยบุญธรรม พูนสวัสดิ์ (รูปที่ ๘.๘ ข.) ให้รับกับภาพลักษณ์สมัยสุโขทัยของทางราชการ พระอัฏฐารสยืน
วัดมหาธาตุ สุโขทัยองค์นี้ น่าจะสร้างขึ้นหลังจากได้มีการสร้างวิหารทิศ ระเบียงคดชั้นนอก รอบองค์
พระมหาธาตุ เพราะว่ามณฑปพระอัฏฐารสนั้น ตั้งอยู่ที่มุมของวิหารทิศเหนือ กับระเบียงคด จึงเป็นไปได้
ว่าอาจจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17) (พิชญา ๒๕๔๘, ๑๒๑)

รูปที่ ๘.๘ ก. พระอัฏฐารสยืน รูปที่ ๘.๘ ข. พระอัฏฐารสยืน


ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ (ค.ศ. 1927) ปั้นโดยบุญธรรม พูนสวัสดิ์
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. 1953)
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17) ก่ออิฐถือปูน
ก่ออิฐถือปูน วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

พระพุทธปฏิมายืน ๓๗๙
หมวด ข.
ทรงเครื่อง

๒. พระพุทธปฏิมายืน ทรงเครื่อง

๒.๑ พระพุทธปฏิมายืน ทรงเครื่อง สมัยล้านนา

ช่วงประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๔๔๒ (ค.ศ. 1774 – 1899)

พระพุทธปฏิมายืนทรงเครื่องที่สร้างขึ้นที่น่าน เช่นที่วัดบุญยืน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน (รูปที่
๘.๙) ทรงจีวรห่มดอง ทรงเครื่องอย่างพระมหาจักรพรรดิราช ทรงมงกุฎ กรองศอ สังวาล ทับทรวง
พาหุรัด เกยูร ทองพระกร ทองพระบาท ธำมรงค์ และฉลองพระบาท พระภูษาซ้อนกันสามชั้น ชายด้าน
ข้างตวัดขึ้น มีชายแครงห้อยทับซ้อนกันสามชั้น ชายตวัดเป็นหางหงส์ ทรงยืนอยู่เหนือฐานบัวหงาย
ลูกแก้ว แปดเหลี่ยม รูปแบบของเครื่องทรงน่าจะดัดแปลงมาจากพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องสมัยต้น
รัตนโกสินทร์ จึงสันนิษฐานว่าอาจจะสร้างขึ้นในสมัยของเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน (พ.ศ.
๒๓๒๙ – ๒๓๕๓ / ค.ศ. 1786 – 1810) ผู้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๓๓๔ (ค.ศ. 1791) และในปี พ.ศ. ๒๓๔๓ จึงให้
สร้างพระพุทธปฏิมาปูนปั้นในวิหารวัดบุญยืน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน (ศิลปากร ๒๕๓๐ ก, ๘๗)

ส่วนพระพุทธปฏิมายืนทรงเครื่อง วัดพระธาตุช้างค้ำ อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน (รูปที่ ๘.๑๐)
ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน อาจจะสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน พระพุทธปฏิมาในกลุ่มนี้ยังเป็นต้น
แบบให้กับพระยืนทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ล้านช้าง เช่นในอุโบสถวัดวิชุล นครหลวงพระบาง
(สงวน รอดบุญ ๒๕๔๕, ๒๔๑)

รูปที่ ๘.๙ พระยืนทรงเครื่อง พระจักรพรรดิราช


จากวัดบุญยืน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19)
ไม้ลงรักปิดทอง สูง ๒.๓๒ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดน่าน

รูปที่ ๘.๑๐ พระยืนทรงเครื่อง จักรพรรดิราช


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19)
ไม้ลงรักปิดทอง สูง ๒.๓๐ เมตร
วัดพระธาตุช้างค้ำ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน

๓๘๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๒.๒ พระพุทธปฏิมายืน ทรงเครื่อง สมัยอยุธยา

ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธปฏิมายืนทรงเครื่องแบบอยุธยา พบในภาคใต้ เช่นที่วัดท่าสำเภาเหนือ ตำบลชัยบุรี อำเภอ
เมืองฯ จังหวัดพัทลุง (รูปที่ ๘.๑๑) ทรงครองจีวรห่มคลุม ทรงเทริดที่ตกแต่งด้วยลายดอกจัน และ
กระจังตาอ้อย กรองศอ ทับทรวง สังวาล พาหุรัด เกยูร ทองพระกร ทองพระบาท และฉลองพระบาท
สบงคาดด้วยรัดพระองค์ หน้านางแต่งด้วยลายก้านต่อดอกและลายดอกจัน จากลักษณะของเครื่องทรง
และพระพักตร์ ที่พระขนงจรดกันเป็นเส้นคมที่สันพระนาสิก กำหนดอายุอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17) อันเป็นช่วงระยะเวลาที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ในบริเวณลุ่มทะเลสาบ
สงขลา เห็นได้จากแผนที่เมืองพัทลุง ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ หลังปี พ.ศ. ๒๒๒๓ (ค.ศ. 1680)
ซึ่งแสดงตำแหน่งวัดทางฝั่งทะเลสาบด้านทิศตะวันออกถึง ๒๕๐ แห่ง (สุธิวงศ์ [ม.ป.ป.], ๖๔ – ๖๕) และ
ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๒๔๒ (ค.ศ.1699) สมเด็จพระเพทราชา ได้พระราชทานกัลปนาวัด ๒๙๐ แห่ง ให้ขึ้นกับ
วัดเขียนบางแก้ว คณะป่าแก้วด้านฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา (สำนักนายกรัฐมนตรี ๒๕๑๐, ๘)

ส่วนพระพุทธปฏิมายืนทรงเครื่อง วัดพระพุทธ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง (รูปที่ ๘.๑๒) ทรงเทริด
คล้ายกับพระยืนที่พัทลุง แต่เครื่องทรงต่างกัน เช่นไม่มีกรองศอ ทรงสังวาลไขว้ ตาบทิศ ทับทรวงซ้อน
สองชิ้น ทรงรัดพระองค์และปั้นเหน่ง หน้านางของสบงแต่งด้วยลายรักร้อย จึงอาจจะสร้างขึ้นในช่วงปลาย
พุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18)

รูปที่ ๘.๑๑ พระยืนทรงเครื่อง


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๘๘ เมตร
วัดท่าสำเภาเหนือ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดพัทลุง

รูปที่ ๘.๑๒ พระยืนทรงเครื่อง


ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18)
ก่ออิฐถือปูน
วัดพระพุทธ
อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง

พระพุทธปฏิมายืน ๓๘๑
หมวด ค.
ปางประดิษฐานรอยพระบาท

พระพุทธปฏิมาปางนี้เป็นที่นิยมในอาณาจักรล้านนา แต่ไม่ปรากฏในอาณาจักรอยุธยา

๓. พระพุทธปฏิมายืน ปางประดิษฐานรอยพระบาท

พระพุทธปฏิมายืน ปางประดิษฐานรอยพระบาท สมัยล้านนา

ช่วงอาณาจักรล้านนา
- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)

พระพุทธปฏิมาสำคัญของปางนี้ได้แก่องค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (รูปที่ ๘.๑๓) มี
จารึกระบุปีสร้างราว พ.ศ. ๒๐๒๕ (ค.ศ. 1482) ในสมัยพระเจ้าติโลกราช แสดงให้เห็นพระสมณโคดม
กำลังประทับรอยพระบาทด้วยพระบาทขวา รอยพระบาทที่ทรงกดอยู่นั้น เป็นรอยที่สี่มีอีกสามรอยซ้อน
ลดหลั่นกัน อันได้แก่รอยพระบาทของพระอดีตพุทธะกัสสปะ พระโกนาคมนะ และพระกกุสันธะอยู่ด้าน
ล่าง และมีขนาดใหญ่ที่สุด นอกจากนั้นแล้วพระยืนองค์นี้ยังแสดงให้เห็นพระสรีระตามอย่าง มหาบุรุษ-
ลักษณะ ๓๒ ประการ ได้อีกหลายข้อเช่น
รูปที่ ๘.๑๓ พระสมณโคดมประดิษฐานรอยพระบาท
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๒๕ (ค.ศ. 1482) (๑๖) จิตานฺตรำสะ พระอังสามีเนื้อเต็ม...
สัมฤทธิ์ สูงรวมฐาน ๔๖เซนติเมตร (๑๙) สึหปูรฺวารฺธกายะ พระกาย ท่อนบนเหมือนท่อนบนของราชสีห์...
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
(๒๔) สุวิวรฺติโตรุ ต้นพระชงฆ์กลมงาม
(๒๕) เอเณยมฺฤคราชชงฆะ พระชงฆ์เหมือนแข้งพระยาเนื้อทราย
(๒๖) ทีรฺฆางฺคุสิ นิ้วพระหัตถ์นิ้วพระบาทยาว
(๒๗) อายตปรฺษฺณิปาทะ พระปรัษณี (ซ่นเท้า) ยาว
(๒๘) อุตฺสงฺคปาทะ พระบาทลาดขึ้นสูง
(ลลิตวิสตระ ๒๕๑๒, ๕๙๙)

อย่างไรก็ตาม พระพุทธปฏิมาปางประดิษฐานรอยพระบาทล้านนาส่วนใหญ่ มักจะไม่แตกต่าง
จากพระยืนทั่วไป ยกเว้นแต่พระบาทซ้ายเหยียบหลังพระบาทขวา เช่นองค์ที่ยืนบนฐานบัวหงายรองรับ
ด้วยฐานเขียงทรงกลม (รูปที่ ๘.๑๔)

รูปที่ ๘.๑๔ พระสมณโคดมประดิษฐานรอยพระบาท


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
สัมฤทธิ์ สูงรวมฐาน ๔๔ เซนติเมตร
สมบัติเอกชน

๓๘๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ง.
ปางประทานพร

พระพุทธปฏิมายืนพระหัตถ์ขวายกขึ้นประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายทอดลงข้างพระอูรุ หงาย
ฝ่าพระหัตถ์ออก เรียกว่า ปางประทานพร เป็นที่นิยมในสมัยอาณาจักรกัมโพช และสืบทอดลงมาถึง
สมัยอยุธยา

๔. พระพุทธปฏิมายืน ปางประทานพร

๔.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางประทานพร
สมัยอาณาจักรกัมโพช พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายทอดลงที่พระอูรุ ที่สร้างขึ้นใน
รัฐกัมโพช ภายใต้คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 – กลาง 14)
มี ๒ แบบ

แบบที่ ๑ พระกรขวาพาดหน้าพระอุระ พระหัตถ์ขวาหงายออก
แบบที่ ๒ พระกรขวายื่นออกทางด้านหน้า พระหัตถ์ประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายหงายประทานพร

ความแตกต่างของทั้งสองแบบนี้อยู่ที่วัสดุและเทคโนโลยีของการสร้างพระพุทธปฏิมา เช่น
สลักจากศิลา ดุนบนแผ่นโลหะ หรือพระพิมพ์ จะเป็นแบบที่ ๑ เพราะการแสดงประทานอภัยด้วยวัสดุ
และเทคโนโลยีข้างต้น เป็นเหตุให้ต้องพาดพระกรขวาหน้าพระอุระ และพระหัตถ์หงายออกทั้งนี้เป็นการ
แก้ปัญหาของช่างอันเกิดจากข้อจำกัดทางด้านวัสดุ ส่วนที่สร้างด้วยสัมฤทธิ์ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง
พาดพระกรขวาผ่านพระอุระ เพราะสามารถที่จะยื่นพระกรออกมาทางด้านหน้าได้ ยกเว้นที่ในกรณีที่
ผู้สร้างจำลองรูปแบบมาจากพระพุทธปฏิมาศิลา หรือพระพุทธปฏิมาดุน เช่น พระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์
จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๘.๑๕) ซึ่งสืบทอดพุทธลักษณะของพระ
พุทธปฏิมาเขมร เช่น พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงเชื่อมกันเป็นเส้นตรง พระเกศาถัก พระเมาลีแบนรัด
ด้วยพวงประคำ รัศมีเป็นต่อมกลม ขอบสบงด้านบนคาดด้วยรัดพระองค์ ปั้นเหน่งรูปวงกลมมีลายวงทั้ง
ด้านหน้าและด้านข้าง พระพุทธปฏิมาแบบนี้น่าจะจำลองมาจากพระพุทธปฏิมาศิลา แบบบายนของเขมร
สร้างขึ้นที่ละโว้ (ลพบุรี) (Woodward 2003, 218-219)

รูปที่ ๘.๑๕ พระสมณโคดมยืนประทานพร


ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สูง ๒๔.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระพุทธปฏิมายืน ๓๘๓
ส่วนพระพุทธปฏิมาหล่อ จะยื่นพระกรขวาตั้งฉากกับบั้นพระองค์ พระกรหงายประทานอภัย
ส่วนพระหัตถ์ซ้ายแนบพระชงฆ์ในกิริยาประทานพร เช่น องค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระ
นารายณ์ จังหวัดลพบุรี (รูปที่ ๘.๑๖) พระพุทธปฏิมาองค์นี้ พระเศียรมีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะ
เขมรแบบบายน คือ พระขนงเป็นสันตรง มีไรพระศก พระเมาลีทรงกรวย พระรัศมีเป็นลูกแก้ว ครอง
จีวรห่มดอง ชายเป็นแถบใหญ่ ขอบสบงด้านบนคาดด้วยรัดพระองค์ ลายประจำยาม ปั้นเหน่งเป็น
ดอกจัน กำหนดอายุอยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13)

หลังจากนิกายเถรวาท คณะมหาวิหารจากลังกา เข้ามาเป็นที่นิยม ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่
๑๙ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14) พระพุทธปฏิมามีความเรียบง่ายมากขึ้น คือไม่มีรัดพระองค์ และปั้นเหน่งที่
ขอบสบงด้านบน หรือลายที่หน้านางของสบง เช่น พระพุทธปฏิมาไม้ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งเดียวกัน
(รูปที่ ๘.๑๗) ซึ่งจัดจำแนกอยู่ในแบบ “สมัยอู่ทอง หมวดที่ ๑”

๔.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางประทานพร สมัยอยุธยา

ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

พระพุทธปฏิมาศิลาได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๘.๑๘) พระเศียร
มีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระพุทธปฏิมา “แบบอู่ทอง แบบที่ ๓” คือพระพักตร์รูปไข่ ไรพระศกโค้ง
ลงกลางพระนลาฏ พระรัศมีเป็นเปลวสูง เนื่องจากเป็นพระพุทธปฏิมาศิลา พระหัตถ์ขวาจึงหงายไป
ทางด้ า นซ้ า ย พระหั ต ถ์ ซ้ า ยหงายออกข้ า งพระเพลา ในลั ก ษณะเดี ย วกั น กั บ พระพุ ท ธปฏิ ม าไม้ ใน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี (ดูรูปที่ ๘.๑๗) กำหนดอายุเวลาอยู่ในช่วง
เดียวกันกับพระพุทธปฏิมา “แบบอู่ทอง แบบที่ ๓” คือกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – กลาง ๒๑ (คริสต์-
รูปที่ ๘.๑๖ พระสมณโคดมยืนประทานพร ศตวรรษที่ 15)
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สูง ๙๒ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี

รูปที่ ๘.๑๘ พระสมณโคดมยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย


รูปที่ ๘.๑๗ พระสมณโคดมยืนประทานพร ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 14) กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – กลาง ๒๑
ไม้ (คริสต์ศตวรรษที่ 15)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลา สูง ๔๔ เซนติเมตร
สมเด็จพระนารายณ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
จังหวัดลพบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๓๘๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด จ.
ปางห้ามญาติ

๕. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ

พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ เป็นพระพุทธปฏิมาที่ดัดแปลงมาจากพระพุทธปฏิมาไม้แก่น
จันทน์์ แบบพระเจ้าอุเทน (ดูรูปที่ ๑.๓ – ๑.๖) ซึ่งเป็นปางดั้งเดิมของพระพุทธปฏิมาทั้งหมด พระพุทธ
ปฏิมาหมวดนี้เข้ามาเป็นที่นิยมในประเทศไทย พร้อมกับคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษ
ที่ ๑๘ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13) โดยเริ่มขึ้นที่รัฐกัมโพช และสืบทอดมาถึงอาณาจักรอยุธยา จนอาจจะ
กล่าวได้ว่าเป็นแบบที่นิยมแพร่หลายมากที่สุด แต่กลับไม่เป็นที่นิยมในสมัยรัตนโกสินทร์ และล้านนา

๕.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ
สมัยอาณาจักรกัมโพช พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

แต่โดยทั่วไปแล้ว พระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์จะยื่นพระกรขวาออกตั้งมุมกับบั้นพระองค์ พระหัตถ์
ประทานอภั ย พระพุ ท ธปฏิ ม าที่ ส ร้ า งขึ้ น ที่ รั ฐ กั ม โพช เดิ ม จั ด ไว้ ใ นหมวดสมั ย อู่ ท อง หมวดที่ ๑ มี
พุทธลักษณะร่วมกันคือ พระรัศมีเป็นกรวยเรียบ พระหัตถ์ขวาหงายออก ลายพระหัตถ์เป็นรูปกงจักร
พระหัตถ์ซ้ายหันเข้าพระชงฆ์ ครองจีวรคลุมพระอังสาทั้งสองข้าง จีวรบางแนบพระวรกาย ชายผายออก
ทั้งสองด้าน ขอบสบงด้านบนคาดด้วยรัดพระองค์และปั้นเหน่ง หน้านางของสบงประดับด้วยลายรักร้อย
เช่นพระพุทธปฏิมาในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต (รูปที่ ๘.๑๙) พระพุทธปฏิมาองค์นี้มี
ไรพระศก พระเกศาเป็นเส้นถัก มีกระจังประดับที่พระเมาลี และมีลูกแก้วอยู่เหนือพระนลาฏ ซึ่งน่าจะได้
รับอิทธิพลมาจากพระพุทธปฏิมาจีนสมัยราชวงศ์เหลียว (Liao) (พ.ศ. ๑๔๕๐ – ๑๖๖๘ / ค.ศ. 907 – 1125)
(Snellgrove 1978, Pls. 290 – 295)
นอกจากนั้น พระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์องค์หนึ่งที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (รูปที่ ๘.๒๐)
พระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่หลงเหลือมาจากสมัยอาณาจักร
กัมโพช สูงรวมฐาน ๓.๒๐ เมตร พระเศียรเป็นแบบเขมร มีพระขนงเป็นสันนูนยาวติดต่อกัน มีไรพระศก
พระพักตร์คล้ายกับพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
(ฮง ๒๔๗๐, ๓๑) และอุณหิสประดับด้วยกระจังตรงกลางและข้างพระกรรณ พระเมาลีเป็นกลีบบัว
ซ้อนลดกันสองชั้นรองรับด้วยกระจัง ขอบด้านบนของสบงเว้าขึ้นที่พระนาภี คาดด้วยรัดพระองค์
ปั้นเหน่งเป็นลายประจำยาม ทรงยืนอยู่เหนือฐานสิงห์พ่าห์

ต่อมาพระพุทธปฏิมายืนยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย แบบ “สมัยอู่ทอง แบบที่ ๑” มีความ

รูปที่ ๘.๑๙ พระสมณโคดมยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย


ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

พระพุทธปฏิมายืน ๓๘๕
รูปที่ ๘.๒๐
พระสมณโคดมยืน
พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สูง ๓.๒๐ เมตร
พระระเบียง
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

๓๘๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


เรียบง่ายขึ้น คือ พระเมาลีเป็นกรวยเรียบ แต่ยังคงไว้ซึ่งลายรักร้อยที่รัดพระองค์และหน้านางของสบง
เช่นพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี พระปฏิมา
พระองค์นี้มีเส้นตรงผ่ากลางที่พระหนุอีกด้วย (รูปที่ ๘.๒๑)

๕.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ สมัยสุโขทัย

ช่วงก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๘๔๒ (ค.ศ. 1257 – 1299)

เนื่องด้วยว่าพุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ พบที่วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองฯ จังหวัด
สุโขทัย (รูปที่ ๘.๒๒) และพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย
(รูปที่ ๘.๒๓) มีความเรียบง่ายคล้ายกับพระพุทธปฏิมา “แบบอู่ทอง แบบที่ ๑” ซึ่งสืบทอดรูปแบบมาจาก
สมัยอาณาจักรกัมโพช จึงสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธปฏิมาทั้ง ๒ องค์นี้ น่าจะสร้างขึ้นในคณะกัมโพช-
สงฆ์ปักขะ ซึ่งเป็นคณะคามวาสี ในสมัยก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย

๕.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ สมัยอยุธยา

รูปที่ ๘.๒๑ พระสมณโคดมยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ สูง ๘๕.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
จังหวัดลพบุรี

รูปที่ ๘.๒๒ พระสมณโคดมยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย รูปที่ ๘.๒๓ พระสมณโคดมยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย


ได้จากวัดมหาธาตุ ได้จากวัดสวรรคาราม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุโขทัย อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุโขทัย
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 14) (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ สูง ๕๑ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ สูง ๕๑ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
จังหวัดสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

พระพุทธปฏิมายืน ๓๘๗

(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1351 – 1448)

เมื่อเปรียบเทียบกับพระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างทอดลงข้างพระอูรุแล้ว (ดู หมวด ก.
หน้า ๓๗๕) พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย (ปางห้ามญาติ) เป็นที่นิยมมาก ในอาณาจักร
อยุธยา ตั้งแต่ก่อนสถาปนาในปี พ.ศ. ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1351) จนเสียกรุงครั้งที่สองในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ (ค.ศ.
1767) จนอาจจะกล่าวได้ว่า เอกลักษณ์ของพระพุทธปฏิมาอยุธยาคือ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ
พระพุทธปฏิมา ในหมวดนี้มีหลายแบบ ซึ่งพัฒนาการเป็นควบคู่ไปกับพระพุทธปฏิมาอยุธยาหมวดอื่นๆ เช่น
พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัย “แบบพระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง” หรือ “แบบอู่ทอง
แบบที่ ๒” และ “แบบอู่ทอง แบบที่ ๓”

เช่นเดียวกันกับพระพุทธปฏิมาในหมวด “พระพุทธกัมโพชปฏิมา” พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ
ปรากฏขึ้นภายใต้คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ และพัฒนาการให้รองรับค่านิยมของนิกายเถรวาท คณะ
มหาวิหารจากลังกา เช่น พระพุทธปฏิมาดุนทองคำสององค์ องค์หนึ่งพบในกรุพระปรางค์ประธานวัด
มหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๘.๒๔) ซึ่งพระพักตร์แสดงอิทธิพลของพระพุทธปฏิมามอญโบราณ
ตรงที่พระขนงเชื่อมต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรยาวรี อีกองค์หนึ่งพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
พระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๘.๒๕) ซึ่งพระพักตร์ใกล้เคียงกับพระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลองทองคำ ได้จาก
กรุพระปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ (ดูรูปที่ ๕.๔๙) ทั้งสององค์ครองจีวรห่มคลุม ด้านบนของขอบสบง
และหน้านางตกแต่งด้วยลายรักร้อย อันเป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธปฏิมากัมโพช แต่รัศมีเปลวแสดงให้
เห็นค่านิยมของนิกายเถรวาท คณะมหาวิหารจากลังกา พระพุทธปฏิมาในกลุ่มนี้อาจจะสร้างขึ้นในช่วง
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14)

พระพุทธปฏิมาที่เทียบเคียงได้กับ “แบบพระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง” ได้แก่พระพุทธปฏิมา

รูปที่ ๘.๒๔ พระสมณโคดมยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย


ได้จากกรุพระปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14)
ทองคำ สูง ๓๐.๗ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

รูปที่ ๘.๒๕ พระสมณโคดมยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย


ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14)
ทองคำ สูง ๔๒.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รูปที่ ๘.๒๔ รูปที่ ๘.๒๕

๓๘๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๘.๒๖ พระสมณโคดมยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย
ได้จากวัดราชธานี
อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุโขทัย
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ สูง ๒.๙๕ เมตร
พระระเบียง
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

จากวัดราชธานี อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ในพระระเบียง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม


(รูปที่ ๘.๒๖) คือมีพระพักตร์เหลี่ยม พระเมาลีทรงโอคว่ำ พระรัศมีเป็นเปลวสูง เทียบได้กับเศียรพระพุทธ
ปฏิมา ได้จากวัดมหาธาตุ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ซึ่งก็อยู่ในพระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิต
วนาราม เช่นกัน (ดูรูปที่ ๕.๕๑) พระพุทธปฏิมาองค์นี้มีรัดพระองค์คาดทับ ชายพับตอนบนของสบง หน้า
นางของสบงเป็นลายรักร้อย ปั้นเหน่งเป็นลายประจำยาม ซึ่งเป็นลายเดียวกันกับลายปูนปั้นบนหน้า
กระดานบัวเชิงของปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี (Krairiksh 1997/8, 20) ซึ่งหากลายนี้เป็น
ลายดั้งเดิม หรือซ่อมขึ้นใหม่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่ลอกเลียนลายเดิม ก็อาจจะกำหนดอายุ
รูปที่ ๘.๒๗ พระสมณโคดมยืน
พระหัตถ์ขวาประทานอภัย ของพระ พุทธปฏิมาองค์นี้ได้ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14) ส่วนพระพุทธ
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ปฏิมาใน พระระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (รูปที่ ๘.๒๗) พระเศียรเทียบเคียงได้กับพระพุทธ
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14) กัมโพช-ปฏิมาจำลองในพระระเบียงของพระอารามเดียวกัน (ดูรูปที่ ๕.๕๒) และไม่มีเครื่องประดับใดๆ
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๘๖ เมตร
พระระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จึ ง อาจจะสร้ า งขึ้ น ในช่ ว งระยะเวลาใกล้ เ คี ย งกั น คื อ ครึ่ ง แรกพุ ท ธศตวรรษที่ ๒๐ (ครึ่ ง หลั ง คริ ส ต์
กรุงเทพมหานคร ศตวรรษที่ 14)

พระพุทธปฏิมายืน ๓๘๙
(๒) ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

- แบบสุโขทัย

พระพุทธปฏิมาแบบสุโขทัยได้แก่ พระพุทธปฏิมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
จังหวัดสุโขทัย (รูปที่ ๘.๒๘) ซึ่งพระเศียรเทียบเคียงได้กับพระพุทธปฏิมาสุโขทัย กล่าวคือ พระพักตร์
เป็นรูปไข่ พระขนงเป็นเส้นโก่ง ไม่ต่อกัน ปลายพระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เม้ม เม็ดพระศกเรียงกันเป็นแนว
ตรงจนถึงพระรัศมี ชายจีวรทั้งสองข้างขมวดเป็นปม อันเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธปฏิมายืน ห่มคลุม
ของแบบสมัยสุโขทัย กำหนดอายุอยู่ในครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)

ส่วนพระพุทธปฏิมาจากวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ในพระระเบียงวัดเบญจมบพิตร-
ดุสิตวนาราม (รูปที่ ๘.๒๙) พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง ไม่บรรจบกันที่พระนาสิก พระเนตรเหลือบลง
พระโอษฐ์ เ ม้ ม ชายจี ว รด้ า นข้ า งทั้ ง สองด้ า นค่ อ นข้ า งตรง มี พุ ท ธลั ก ษณะใกล้ เ คี ย งกั น มากกั บ พระ
พุทธปฏิมายืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย พบในพระอุระ และพระพาหาเบื้องซ้ายของพระมงคลบพิตร
พระนครศรีอยุธยา (ณัฏฐภัทร ๒๕๔๙, ๑๖) จึงน่าจะสร้างขึ้นในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่ง
หลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)

รูปที่ ๘.๒๘ พระสมณโคดมยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย


ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๐๔ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก

รูปที่ ๘.๒๙ (หน้าขวา)


พระสมณโคดมยืน
พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
ได้จากวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูง ๒.๒๖ เมตร
พระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

๓๙๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมายืน ๓๙๑
(๓) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระศรีสรรเพชญ์

ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานยืนยันหรือข้อสรุปที่แน่ชัดว่า พระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็น พระประธาน
ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ในเขตพระราชฐาน พระนครศรีอยุธยา จะเป็นพระพุทธปฏิมายืนทอดพระหัตถ์
ทั้ ง สองข้ า งพระอู รุ หรื อ ยื น ยกพระหั ต ถ์ ข วาประทานอภั ย (ปางห้ า มญาติ ) หรื อ ยกพระหั ต ถ์ ซ้ า ย
ประทานอภัย (ปางห้ามพระแก่นจันทน์) ตามที่เคยมีผู้วิเคราะห์กัน (Woodward 1997, 228) แต่ผู้เขียน
สันนิษฐานว่า พระศรีสรรเพชญ์น่าจะเป็นพระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัยหรือปาง
ห้ามญาติ เพราะเป็นรูปแบบซึ่งเป็นที่แพร่หลายมากที่สุดในช่วงเวลานั้น และจากทฤษฎีของการจำลอง
พระพุ ท ธรู ป ที่ จ ะจำลองเฉพาะพระพุ ท ธรู ป สำคั ญ จึ ง ทำให้ ส ามารถตั้ ง ข้ อ สั น นิ ษ ฐานได้ อี ก ว่ า พระ
พุทธปฏิมาปางห้ามญาติส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นในช่วงวงราชธานีนั้น ก็น่าจะจำลองพุทธลักษณะมาจาก
พระศรีสรรเพชญ์นั่นเอง ส่วนพระพุทธปฏิมายืนทอดพระหัตถ์ทั้งสองข้างพระอูรุนั้นแทบจะไม่ปรากฏใน
เขตวงราชธานีเลย ยกเว้นในกรณีของพระพุทธปฏิมาปูนปั้นที่ใช้เป็นส่วนตกแต่งคูหาของพระเจดีย์ราย
เช่นที่ วัดเจดีย์เจ็ดแถว อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (สันติ ๒๕๔๐, ๗๔)

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐฯ (พ.ศ. ๒๒๒๓ / ค.ศ. 1680) และ
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) (พ.ศ. ๒๓๓๘ / ค.ศ. 1795) ให้ส่วนสัดของ
พระศรีสรรเพชญ์ ที่ตรงกันว่า

แต่พระบาทถึงยอดพระรัศมีนั้นสูงได้ ๘ วา (16 เมตร) พระพักตร์นั้นยาวได้ ๔
ศอก (2 เมตร) กว้างพระพักตร์นั้น ๓ ศอก (1.5 เมตร) และพระอุระนั้นกว้าง
๑๑ ศอก (5.5 เมตร) (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖, ๑๔๐; ประชุม
พงศาวดาร เล่ม ๓๘ ๒๕๑๒, ๒๒)

ซึ่งจากการเทียบเคียงกับภาพร่างจากส่วนสัดที่ได้ให้ไว้ในพระราชพงศาวดาร (รูปที่ ๘.๓๐) กับ
พระพุทธปฏิมายืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัยในพระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (รูปที่ ๘.๓๑)
ปรากฏว่าพระพุทธปฏิมาองค์นี้มีส่วนสัดที่ใกล้เคียงกับภาพร่างเค้าโครงของพระศรีสรรเพชญ์ นอกจาก
นั้นแล้ว ยังได้มาจากวัดใหม่ประชุมพล อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสนับสนุน
ข้อสันนิษฐานว่า พระศรีสรรเพชญ์นั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๒ –
๒๑๙๘ / ค.ศ. 1629 – 1656) (พิริยะ ๒๕๔๕, ๑๕๓ – ๑๕๘) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจาก พระราช
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่กล่าวว่า

ในปี ส ร้ า งพระนครหลวงนั้ น (พ.ศ. ๒๑๗๔ / ค.ศ. 1631) ก็ ส ถาปนาวั ด
พระศรีสรรเพ็ชญ์เสร็จและทำการฉลอง (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๙ ๒๕๑๒, ๑๑๓)

จึงเป็นได้ว่า พระพุทธปฏิมาที่พระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามองค์นี้เป็นพระศรีสรรเพชญ์
จำลอง โดยจำลองลดขนาด ๑ ใน ๘ ของพระศรีสรรเพชญ์

๓๙๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๘.๓๐ ภาพร่างพระศรีสรรเพชญ
พระประธานวัดพระศรีสรรเพชญ์
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จากสัดส่วนที่ได้จาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
สร้างปี พ.ศ. ๒๑๗๔ (1631)

รูปที่ ๘.๓๑ พระศรีสรรเพชญจำลอง


ได้จากวัดใหม่ประชุมพล อำเภอพระนครหลวง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ สูง ๒.๓๐ เมตร
พระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมายืน ๓๙๓
พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
“พระศรีสรรเพชญ์” จัดเป็น ๑ ใน ๗ พระพุทธปฏิมาสำคัญของกรุงศรีอยุธยา (คำให้การชาว
กรุงเก่า ๒๔๕๗, ๑๙๐) และใต้พระนาม “พระพุทธศรีสรรเพชรดาญาณ ยืนสูง ๘ วา หุ้มทองคำทั้ง
พระองค์ อยู่ในพระมหาวิหารวัดพระศรีสรรเพชร” เป็น ๑ ใน “พระมหาพุทธปฏิมากรที่มีพระพุทธานุภาพ
เป็นหลักกรุง ๘ องค์” ในบัญชีรายพระนามของขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม (คำให้การขุนหลวงวัด
ประดู่ทรงธรรม ๒๕๓๔, ๒๔) จึงน่าจะเป็นต้นแบบให้กับพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในเมืองชั้นเอก เช่น
พิษณุโลก อันเห็นได้จากพุทธลักษณะของ พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร ที่พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญมาจากวัดวิหารทอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก (รูปที่ ๘.๓๒) มา
ประดิษฐานในพระวิหารวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๔ – ๕) ซึ่งรูปแบบของ
ชายจีวรที่ผายออกทางด้านข้าง และชายสบงด้านล่าง ใกล้เคียงมากกับพระศรีสรรเพชญ์จำลอง เดิมอยู่
ที่วัดใหม่ประชุมพล อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้
เคียงกัน รวมทั้งพระอัฏฐารส ในพระวิหารด้านทิศตะวันออก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองฯ จังหวัด
พิษณุโลก (รูปที่ ๘.๓๓) ก็สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระศรีสรรเพชญ์จำลองเช่นกัน (พิชญา ๒๕๔๘, ๑๖๘)

ส่วนพระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ ที่พบในภาคใต้ที่สำคัญได้แก่ พระพุทธปฏิมาที่วัดเขาอ้อ
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง (รูปที่ ๘.๓๔) เป็นตัวอย่างของพระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ โดยเห็นได้จากพระเมาลีขนาดใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลวสูง
รูปที่ ๘.๓๔ พระสมณโคดมยืน
ขอบจีวรด้านข้างผายออกตอนปลายและห้อยลงเป็นมุมแหลม นอกจากนั้นแล้ว ในรัชกาลนี้ยังได้มีการ พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
บูรณปฏิสังขรณ์วัดเขาอ้อ เป็นพระอารามขนาดใหญ่ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าบรมโกศยังพระราชทาน ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓
พระพุทธปฏิมาให้กับวัดเขาอ้ออีกด้วย (ชัยวุฒิ ๒๕๒๔, ๔๓) (กลางหลังคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์ สูง ๗๔ เซนติเมตร
วัดเขาอ้อ
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

รูปที่ ๘.๓๓ พระอัฏฐารส


กรมศิลปากรซ่อม
ปูนปั้น
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก

รูปที่ ๘.๓๒ พระอัฏฐารส


ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร
ได้จากวัดวิหารทอง
อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๐.๖๐ เมตร
วัดสระเกศ
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมายืน ๓๙๕
๓๙๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๕.๔ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ มีจำนวนน้อยมากที่สำคัญได้แก่
พระประธานในพระอุโบสถวัดเครือวัลย์วรวิหาร (รูปที่ ๘.๓๕) ซึ่งเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)
ผู้เป็นบิดาของเจ้าจอมเครือวัลย์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ และ
ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ รวมทั้งพระราชทานชื่อว่า “วัดเครือวัลย์” (ราชบัณฑิตสภา ๒๔๗๒, ๒๙)
พระพุทธปฏิมาองค์นี้แตกต่างจากแบบอยุธยา คือ พระวรกายเป็นท่อนตรง ชายจีวรด้านหลัง ตั้งมุมกับ
ชายจี ว รด้ า นหน้ า และยาวลงมาถึ ง ขอบสบง ซึ่ ง ลั ก ษณะดั ง กล่ า วยั ง พบในพระพุ ท ธปฏิ ม า พบที่ วั ด
สุนทราวาส อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง (รูปที่ ๘.๓๖) ซึ่งพระอารามแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระ
นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบทุนสร้างพระอุโบสถอีกด้วย จึงเป็นไป
ได้ว่าพระพุทธปฏิมาองค์นี้ จะสร้างขึ้นในรัชกาลนี้เช่นกัน (การศาสนา เล่ม ๓, ๒๕๒๗, ๘๔๑)

รูปที่ ๘.๓๖ พระสมณโคดมยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย


ได้จากวัดสุนทราวาส อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔
(ค.ศ. 1824 – 1851)
รูปที่ ๘.๓๕ พระสมณโคดมยืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย สัมฤทธิ์ สูง ๒๑ เซนติเมตร
พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
(ค.ศ. 1824 – 1851)
สัมฤทธิ์
พระอุโบสถวัดเครือวัลย์
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมายืน ๓๙๗
พระร่วงโรจนฤทธิ์

จากที่มิได้สร้างพระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ มาหลายรัชกาลแล้ว ทำให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า-
เจ้าอยู่หัว ตามที่มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์หล่อพระพุทธปฏิมายืน ซึ่งได้อัญเชิญชิ้น
ส่วนของพระเศียร (รูปที่ ๘.๓๗ ก.) พระหัตถ์ข้างหนึ่ง และพระบาท “ซึ่งสันนิษฐานได้แน่ว่าเป็นพุทธรูป
ยืนห้ามญาติ” (เรื่องพระปฐมเจดีย์ ๒๕๒๘, ๒๓๓) มาแต่เมืองสวรรคโลก ว่าเป็นการยากลำบากมาก

และการปฏิสังขรณ์หรือหล่อพระยืนใหญ่เช่นนี้ ช่างยังไม่เคยกระทำเพราะ
พระยืนแต่โบราณมาก็ย่อมมีอยู่น้อยองค์ และการหล่อพระใหญ่ไม่ได้หล่อกันมา
เสียนานแล้ว มีแต่พระพุทธชินราชพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงจำลอง
ขึ้นครั้ง ๑ ก็เป็นพระนั่ง ไม่สู้จะยากและลำบากเหมือนพระยืนสูงใหญ่เช่นครั้งนี้
(เรื่องเดียวกัน, ๒๓๑)

และเมื่อหล่อแล้วเสร็จจึงอัญเชิญไปประดิษฐานที่พระปฐมเจดีย์ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. 1914) และ
ได้รับพระราชทานพระนามว่า “พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนิยบพิตร”
รูปที่ ๘.๓๗ ก. เศียรพระร่วงโรจนฤทธิ์ (รูปที่ ๘.๓๗ ข)
ขุดได้จากวัดเขาใหญ่ สวรรคโลก
จังหวัดสุโขทัย ปีพ.ศ. ๒๔๕๑ พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ พระองค์นี้จึงมีส่วนในการสร้างความเจริญรุ่งเรือง ให้กับชาติไทยในอดีต
(ค.ศ. 1908)
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ โดยผ่านการสร้างภาพลักษณ์ให้กับอาณาจักรสุโขทัย
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17)
พระพุทธปฏิมายืนยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย อันเป็นที่รู้จักกันในนามของ “ปางห้ามญาติ”
หรือ “ห้ามพยาธิ” จึงกลับมาเป็นที่แพร่หลายอีกครั้งหนึ่งในปัจจุบันเพราะทำหน้าที่เป็นพระพุทธปฏิมา
ประจำวันจันทร์ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าพระพุทธปฏิมาสำหรับบูชาพระเคราะห์ กำหนดตามนพเคราะห์
สำหรับบูชาตามหลักคัมภีร์มหาทักษา (ดูบทที่ ๒ หัวข้อ ๔.๑ หน้า ๓๖) ตาม ตำราพระพุทธปฏิมาปาง
ต่างๆ ตามมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสนั้น วันจันทร์เป็น “พระห้ามสมุทร” คือ
ยืนยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย (ตำราพระพุทธปฏิมาปางต่าง ๆ ๒๕๓๔, ๒๙, ๕๖) ซึ่งตำรานี้ยัง
คงใช้มาจนปี พ.ศ. ๒๕๐๔ (ค.ศ.1961) เช่นใน ตำนานปางพระพุทธปฏิมาประจำวันชาตา (อริยกวี ๒๕๐๔ ,
๕-๑๐) ก็ยังคงเป็น พระห้ามสมุทรประจำวันจันทร์ ต่อมาพระพิมลธรรมยืนยันว่า

สำหรับพระพุทธรูปที่ถือเป็นพระประจำวันจันทร์นั้น ต้องเป็นพระปางห้ามญาติ
หรือจะเรียกว่า ห้ามพยาธิ์ ก็ตามเถิด เป็นพระยกพระหัตถ์ขวาขึ้นห้ามข้างเดียว
(พิมลธรรม ๒๕๓๓, ๙๔)

ส่วนปางห้ามสมุทร ซึ่งยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างขึ้นประทานอภัยนั้น “เรียกเต็มว่า ปางห้ามพระ
ญาติแย่งน้ำในสมุทร” (เรื่องเดียวกัน, ๘๗)

รูปที่ ๘.๓๗ ข.
พระร่วงโรจนฤทธิ์
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๕๖ (ค.ศ. 1913)
สัมฤทธิ์ สูง ๖.๘๐ เมตร
พระวิหารด้านทิศเหนือพระปฐมเจดีย์
จังหวัดนครปฐม
(รูปที่ ๘.๓๗ ก.)

๓๙๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมายืน ๓๕
๕.๕ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ สมัยล้านนา

ช่วงประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๔๔๒ (ค.ศ. 1774 – 1899)

พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย หรือปางห้ามญาติ มีแค่ตัวอย่างเดียว ได้แก่
พระอัฏฐารสในพระวิหารวัดเจดีย์หลวง อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๘.๓๘) พระเศียรของ
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ คล้ายกับเศียรพระพุทธสิหิงค์จำลองในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ (ดูรูปที่
๖.๙) ครองจีวรห่มดองแบบพระพุทธปฏิมายืนล้านนา (ดูรูปที่ ๘.๒) จึงเป็นไปได้ว่าพระพุทธปฏิมาองค์นี้
เดิมอาจจะสร้างขึ้นในปีจุลศักราช ๗๗๓ (พ.ศ. ๑๙๕๔ / ค.ศ. 1410) ตามที่กล่าวอ้างใน ตำนานวัดเจดีย์หลวง
ในเมืองนพบุรีนครเชียงใหม่ว่า “นางราชเทวีก็หื้อหล่อองค์พระเจ้ายืนองค์ ๑ สูงได้ ๑๘ ศอก กับรูปอัครสาวก
๒ องค์ไว้ในวิหาร” (สงวน โชติสุขรัตน์ เล่ม ๒ ๒๕๑๕, ๑๔๖) ซึ่งในบริบทของพระพุทธปฏิมาล้านนาแล้ว
พระพุทธปฏิมาองค์นี้น่าจะได้แก่ พระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างทอดลงข้างพระอูรุ (โคนขา)
มากกว่าจะเป็นพระพุทธปฏิมายืนปางห้ามญาติ ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพระหัตถ์ขวาที่
แสดงปางประทานอภัยนั้นมีลักษณะคล้ายมือคน คือนิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เท่ากัน แตกต่างจากพระหัตถ์ซ้าย
ที่ทอดลงข้างพระอูรุ นอกจากนั้นแล้ว พระพุทธปฏิมายืนปางห้ามญาติก็มีแค่องค์เดียว จึงเป็นไปได้ว่า
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ น่าจะได้รับการปรับเปลี่ยนพุทธลักษณะหลังจากที่พระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. ๒๓๒๕ –
๒๓๕๙ / ค.ศ. 1782 – 1816) ได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแล้ว เพื่อ
ให้สอดคล้องกับค่านิยมของชาวใต้ที่นิยมสร้างพระพุทธปฏิมาปางห้ามญาติ

รูปที่ ๘.๓๘ พระอัฏฐารส


ปรับเปลี่ยนปางปี พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๙
(ค.ศ. 1782 - 1816)
สัมฤทธิ์ สูง ๙ เมตร
พระวิหารวัดเจดีย์หลวง
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่

๔๐๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ฉ.
ปางห้ามญาติ ทรงเครื่อง

๖. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ ทรงเครื่อง

พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย ทรงเครื่อง เป็นการแสดงออกของพุทธศาสนา
นิกายเถรวาท คณะสยามนิกายอย่างแท้จริง เพราะไม่เคยมีเลยในลังกา จึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของ นิกาย
เถรวาท คณะมหาวิหาร แต่เป็นการสืบทอดจากคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ พระพุทธปฏิมาหมวดนี้หายไปใน
ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14) เมื่อ “ศาสนาสิงหล” เข้ามาแทนที่ แต่จาก
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16) เป็นต้นมา ความเชื่อดั้งเดิมของคณะ
กั ม โพชสงฆ์ ปั ก ขะหวนกลั บ มาเป็ น กระแสหลั ก จึ ง เกิ ด การสร้ า งพระพุ ท ธปฏิ ม ายื น ยกพระหั ต ถ์ ข วา
ประทานอภัยทรงเครื่องขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ ทรงเครื่อง สมัยอยุธยา

(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

ตามองค์ ค วามรู้ ที่ มี แ ต่ เ ดิ ม มานั้ น ได้ เ ชื่ อ มโยงการสร้ า งพระพุ ท ธปฏิ ม า ปางห้ า มญาติ
ทรงเครื่อง กับการรื้อฟื้นลัทธิเทวราชของเขมร ดังที่หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ บรรยายทางวิทยุโทรทัศน์
“เรื่องพระทรงเครื่อง” ว่า

ครั้ น ถึ ง สมั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาซึ่ ง คุ้ น เคยกั บ วั ฒ นธรรมขอมอยู่ แ ล้ ว ก็ ไ ด้ เ อา
ขนบธรรมเนียมของขอมมาใช้มากขึ้น ตอนนี้เองที่ลัทธิเทวราชของขอมซึ่งเป็น
ของในลัทธิมหายานเข้ามามีอิทธิพลในประชาชนชาวไทยผู้นับถือพระพุทธศาสนา
ลัทธิหินยานจนเป็นเหตุให้ขนานนามกษัตริย์ของตนอย่างพวกมหายาน เช่น
ขนานนามพระเจ้าแผ่นดินบางองค์ว่า หน่อพุทธางกูร (แปลว่าหน่อเนื้อของ
พระพุทธเจ้า) และว่าพระศรีสรรเพชญ์เป็นต้น ซึ่งเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า
และคำอ้างถึงพระเจ้าแผ่นดินก็ใช้ว่าพระพุทธเจ้าอยู่หัว หรืออ้างถึงพระเจ้าแผ่นดิน
ที่สวรรคตแล้วว่าพระพุทธเจ้าหลวง และคำรับว่าพระพุทธเจ้าข้า และคำแทน
ตัวเมื่อพูดกับพระเจ้าแผ่นดินว่าข้าพระพุทธเจ้า เหล่านี้ล้วนมีมูลเหตุมาจากลัทธิ
เทวราชของเขมรทั้งนั้นและยังใช้อยู่จนบัดนี้ (บริบาลบุรีภัณฑ์ ๒๕๓๑, ๒๔๖)

ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ การยกย่องพระมหากษัตริย์ ขึ้นมาเป็นพระพุทธเจ้า และในทาง
ตรงกันข้ามก็สร้างภาพพระพุทธเจ้าเป็นพระมหาจักรพรรดิราช ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ในช่วงกลางพุทธ-
ศตวรรรษที่ ๒๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16) นั้น มูลเหตุแท้จริงมิได้มาจากลัทธิเทวราชของเขมรเพียงอย่าง
เดียว แต่ส่วนสำคัญนั้นมาจากของสยามนิกายเอง ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุดในเรื่อง มหาชมพูปติสูตร
จาก ลักขณสูตร ทีฆนิกาย พระสุตตันตปิฎก ที่กล่าวว่า ทั้งพระพุทธเจ้าและพระมหาจักรพรรดิราช ต่าง
ก็มีมหาปุริสลักขณะ หรือมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการเช่นเดียวกัน “ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ์ ถ้าออกบวชจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” (สุชีพ ๒๕๓๕, ๓๖๑) นอกจากนั้นแล้ว
เอกปุคคลปาสิ อังคุตตรนิกาย ยังกล่าวว่าทั้งสองพระองค์เป็นอัจฉริยมนุษย์ ประสูติเพื่อประโยชน์สุข
ของส่วนรวม (เรื่องเดียวกัน, ๔๙๓) คู่ควรกับการสร้างสถูปถวาย

พระพุทธปฏิมายืน ๔๐๑
๔๐๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
รูปที่ ๘.๓๙ ก. พระร่วง ความคิดเกี่ยวกับจักรพรรดิราช ที่แพร่หลายในช่วงระยะเวลานี้ น่าจะเป็นเหตุหนึ่งที่นำมาสู่
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ (ค.ศ. 1569) เพราะทั้งพระมหาธรรมราชาช้างเผือก
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูง ๒.๗๕ เมตร (พระเจ้าบุเรงนอง) และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต่างก็แย่งชิงกันเพื่อเป็น พระมหาจักรพรรดิราชา ซึ่ง
อุโบสถวัดท่าไชยศิริ มีได้เพียงพระองค์เดียว (สุเนตร ๒๕๓๙, ๙๗ – ๑๓๑)
อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
จากบันทึกของ ฌาคส์ เดอ คูทร์ (Jacques de Coutre) ซึ่งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๑๓๙
(ค.ศ. 1596) ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรซึ่งกล่าวว่า

ข้าราชการท่านหนึ่งได้พาข้าพเจ้าไปในวิหารแห่งหนึ่งมีขนาดใหญ่มาก คล้ายกับ
โบสถ์ของเรา เต็มไปด้วยพระพุทธรูปทองคำและเงินหลายองค์ทรงสวมพระ
อุณหิสที่พระเศียร (De Coutre 1988, [n.p.])

หลักฐานของ เดอ คูทร์ สอดคล้องกับรูปแบบของพระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย
ทรงสวมเพียงอุณหิส (เรียกว่าแบบทรงเครื่องน้อย) (รูปที่ ๘.๓๙ ก.) และแบบที่ ทรงสวมอุณหิส กรองศอ
ทับทรวง พาหุรัด และทองพระกร (เรียกว่าแบบทรงเครื่องใหญ่) (รูปที่ ๘.๔๐) พระพุทธปฏิมาทั้งสอง
กลุ่มนี้พบอยู่ด้วยกันในพระอุระ และพระพาหาเบื้องซ้ายของพระมงคลบพิตร (ณัฏฐภัทร ๒๕๔๙, ๑๖ -
๑๗, ๒๑ - ๒๓) ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16)

พระพุทธปฏิมาที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เก่าสุดของพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องน้อยอยุธยา เท่าที่ปรากฏ
ได้แก่ พระประธานพระอุโบสถ วัดท่าไชยศิริ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี (ดูรูปที่ ๘.๓๙ ก.) ทรง
ครองจีวรห่มคลุมพระอังสา ขอบจีวรด้านข้างทอดขนานกับพระเพลาและพระชงฆ์ ขอบสบงด้านบนคาด
ด้วยรัดประคด หน้านางสบงมีกรอบเป็นเส้นคู่ อุณหิสแต่งด้วยลายประคำและประจำยาม ขอบบนเป็น
กลีบบัว คล้ายกับอุณหิสของเศียรพระโพธิสัตว์ สัมฤทธิ์ (รูปที่ ๘.๓๙ ข.) ๑ ในจำนวนพระโพธิสัตว์ ๕๕๐
ชาติ ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๐๑
(ค.ศ. 1458) (McGill 1993, 412 – 448) นอกจากนั้นแล้ว มงกุฎที่ตกแต่ง
ด้วยกระจัง ยอดเป็นลูกแก้ว ยังปรากฏบนเศียรพระโพธิสัตว์ที่หล่อขึ้น
พร้อมกันอีกด้วย (เรื่องเดียวกัน, Fig. 4) พระพุทธปฏิมาองค์
นี้จึงอาจจะสร้างขึ้นในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่
๒๑ (ครึ่งหลัง คริสต์ศตวรรษที่ 15)

รูปที่ ๘.๓๙ ข. เศียรพระโพธิสัตว์


จากวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา
๑ ใน ๕๕๐ ชาติ ที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
โปรดให้สร้างขึ้นใน ปี พ.ศ. ๒๐๐๑ (ค.ศ. 1458)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๔ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระพุทธปฏิมายืน ๔๐๓
รูปที่ ๘.๔๐ พระสมณโคดมยืน
พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
ทรงเครื่องใหญ่
ได้จากจังหวัดเพชรบุรี
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๙๖ เมตร
พระระเบียง
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

๔๐๔ พระพุ
พระพุททธปฏิ
ธปฏิมมาา อัอัตตลัลักกษณ์
ษณ์พพุทุทธศิ
ธศิลลป์ป์ไไทย
ทย
พระพุทธปฏิมาที่อาจจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16) น่าจะได้แก่
พระพุทธปฏิมาได้จากเพชรบุรี ในพระระเบียง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (ดูรูปที่ ๘.๔๐) มีพระเมาลี
ซ้อนกันสามชั้น ทรงอุณหิสและกรองศอที่ตกแต่งด้วยลายประจำยาม และลายกลีบบัว ห้อยทับทรวง
สวมพาหุรัดและทองพระกร ขอบสบง ด้านบนคาดด้วยรัดพระองค์ ตกแต่งด้วยลายประจำยาม และ
สุวรรณกระถอบ หน้านางลายรักร้อยกลีบบัว ใกล้เคียงกับลายเขมร

กลุ่มที่กำหนดอายุอยู่ในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16 – กลาง
17) มักจะเป็นพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งมีลักษณะที่พ้องกันคือ พระขนงเป็นเส้นคมพบกัน
กึ่งกลางพระนาสิก สันพระนาสิกเป็นเส้นเช่นกัน พระเนตรเหลือบลง พระเมาลีทรงกรวยสูง เป็นชั้นซ้อน
ลดหลั่นกัน อุณหิสทำเป็นครีบเหนือพระกรรณ กรองศอตกแต่งด้วยลายก้านขด และกระจังตาอ้อย สวม
พระกุณฑล ห้อยทับทรวง สวมพาหุรัด และทองพระกร เช่นองค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๘.๔๑) ทรงยืนบนฐานบัวหงายเหนือฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม และใน
วิหารสมเด็จฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (รูปที่ ๘.๔๒) ทรงยืนบนฐานบัวแวง มีพวยเป็นทางน้ำไหล
สำหรับเวลาสรงน้ำ เหนือฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยม

รูปที่ ๘.๔๑ พระสมณโคดมยืน พระหัตถ์ขวาประทานอภัย รูปที่ ๘.๔๒ พระสมณโคดมยืน พระหัตถ์ขวาประทานอภัย


ทรงเครื่องใหญ่ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ทรงเครื่องใหญ่ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๒
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16) (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๕๐ เมตร สัมฤทธิ์ สูงรวมฐาน ๙๔ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม วิหารสมเด็จฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมายืน ๔๐๕
(๒) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธปฏิมาในหอศาสตราคม พระบรมมหาราชวัง (รูปที่ ๘.๔๓ ก.) พระเมาลีหักหายไปและ
พระเศียรหักที่พระศอ แต่ทรงอุณหิสที่ตกแต่งด้วยอัญมณีหลากหลาย ทรงคาดรัดพระองค์ ปั้นเหน่งเป็น
ลายดอกดาวกระจาย ทรงยืนบนฐานบัวแวง มีพวย เหนือฐานหน้ากระดาน แปดเหลี่ยม พระพุทธปฏิมา
องค์นี้น่าจะเป็นพระพุทธปฏิมาสำคัญ เพราะถึงแม้ว่า พระเศียรหักที่พระศอ (รูปที่ ๘.๔๓ ข.) ก็ยังนำมา
เก็บรักษาไว้ในพระบรมมหาราชวัง เพราะตามประเพณีแล้วจะไม่เก็บพระพุทธปฏิมาที่ชำรุดไว้แม้แต่ในบ้าน

รูปที่ ๘.๔๓ ก. พระสมณโคดมยืน


พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
ทรงเครื่องใหญ่
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ สูงรวมฐาน ๑.๒๗ เมตร
หอศาสตราคม พระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๘.๔๓ ข. พระสมณโคดมยืน


พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
ทรงเครื่องใหญ่
(รูปที่ ๘.๔๓ ก.)

๔๐๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ตัวอย่างของพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องใหญ่ สร้างในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ครึ่งหลัง
คริสต์ศตวรรษที่ 17) ได้แก่ พระพุทธปฏิมาปูนปั้น ในวิหารทับเกษตร ที่ล้อมฐานองค์พระบรมธาตุ
นครศรีธรรมราช (รูปที่ ๘.๔๔) พระพุทธปฏิมาเหล่านี้ ยืนอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ทั้งลักษณะของพระ
พุทธปฏิมา และเรือนแก้ว เทียบเคียงได้กับ พระประธานในพระอุโบสถวัดรวก (ปัจจุบันวัดเสาธงทอง)
อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ ทรงเครื่องใหญ่ ประดิษฐานอยู่
ภายในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเดิมน่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่ได้รับการซ่อมแซมขึ้นใหม่หลัง
จากพระอุโบสถถูกไฟไหม้ในปี พ.ศ.๒๔๗๐ (ค.ศ. 1927) (หวน ๒๕๑๒, ๙๐) พระพุทธปฏิมาทรงเครื่อง
ใหญ่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน (รูปที่ ๘.๔๕) ทรงอุณหิสยอดชฎา กุณฑล กรองศอ ห้อยทับทรวง
สวมพาหุรัด และทองพระกร ใกล้เคียงกับพระพุทธปฏิมาในวิหารทับเกษตร ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นในช่วง
ระยะเวลาใกล้เคียงกัน

ส่วนพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องใหญ่ที่สร้างขึ้นในช่วงครึ่งหลังพุทธศตรวรรษที่ ๒๓ (ครึ่งแรก
คริสต์ศตวรรษที่ 18) ทรงสวมมงกุฎยอดน้ำเต้า กรองศอ ทับทรวง และคล้องสายสังวาลไขว้ ทรงสวม
พาหุรัด ทองพระกร และพระธำมรงค์ในทุกนิ้วพระหัตถ์ (รูปที่ ๘.๔๖)

รูปที่ ๘.๔๕ พระสมณโคดมยืน


พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
ทรงเครื่องใหญ่
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๓ รูปที่ ๘.๔๔ พระสมณโคดมยืน
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17) พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
สัมฤทธิ์ สูง ๕๓ เซนติเมตร ทรงเครื่องใหญ่ ในเรือนแก้ว
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17)
ปูนปั้นลงรักปิดทอง
วิหารทับเกษตร วัดมหาธาตุ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รูปที่ ๘.๔๖ พระสมณโคดมยืน


พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
ทรงเครื่องใหญ่
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์ สูง ๕๐ เซนติเมตร

พระพุทธปฏิมายืน ๔๐๗
หมวด ช.
ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย พระหัตถ์ขวาประทานพร

๗. พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย
พระหัตถ์ขวาประทานพร

พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย พระหัตถ์ขวาประทานพร
สมัยอาณาจักรกัมโพช พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย พระหัตถ์ขวาประทานพร พบเพียงไม่กี่องค์
เช่น องค์ที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๘.๔๗) จากพุทธลักษณะ
อันได้แก่ พระเกศาเป็นเส้นถัก พระเมาลีเป็นฐานเตี้ย มีกระจังประดับทั้งสี่ด้าน รัศมีเป็นกรวยเรียบ
เทียบเคียงได้กับพระพุทธปฏิมายืนพระหัตถ์ขวาประทานอภัย แบบกัมโพช ในพระที่นังอัมพรสถาน
พระราชวังดุสิต (ดูรูปที่ ๘.๑๙) ทรงครองจีวรห่มดอง ชายจีวรพับเป็นริ้ว คล้ายกับพระพุทธปฏิมา
นาคปรก พบที่วัดหัวเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีจารึกสร้างปี พ.ศ. ๑๘๒๒ หรือ ๑๘๓๔
(ค.ศ. 1279 หรือ 1291) (ดูรูปที่ ๕.๑๗๘) ขอบสบงตอนบนคาดด้วยรัดพระองค์ หน้านางมีลวดลาย แสดง
ให้เห็นว่าพระพุทธปฏิมาองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ ในช่วงกลางของพุทธศตวรรษที่
๑๙ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)

อีกองค์หนึ่งพระรัศมีรูปโอคว่ำ มีใบโพธิ์ประดับอยู่ด้านหน้า ครองจีวรห่มดอง ชายจีวรพับทบ
รูปที่ ๘.๔๗ พระพุทธรูปยืน เป็นริ้ว ขอบสบงด้านบนและหน้านางมีเส้นขนานเป็นกรอบ (Boriband Buribhand and Griswold
พระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย 1951, Fig. 17) จากลักษณะของพระรัศมีรูปโอคว่ำและรูปแบบของจีวร ซึ่งเทียบเคียงได้กับพระพุทธ
พระหัตถ์ขวาประทานพร ปฏิมาแบบ “สมัยอู่ทอง แบบที่ ๑” กำหนดอายุอยู่ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ครึ่งแรกคริสต์
เสี้ยวที่สองพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(เสี้ยวสุดท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 13) ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

รูปที่ ๕.๑๗๘ พระสมณโคดมนาคปรก


พบที่วัดหัวเวียง
อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สร้างปี พ.ศ. ๑๘๒๒ หรือ ๑๘๓๔
(ค.ศ. 1279 หรือ 1291)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๖๐ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๔๐๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ซ.
ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย พระหัตถ์ขวาประทานพร ทรงเครื่อง

๘. พระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย
พระหัตถ์ขวาประทานพร ทรงเครื่อง

พระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย พระหัตถ์ขวาประทานพร ทรงเครื่อง
สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย พระหัตถ์ขวาประทานพรทรงเครื่อง สร้างขึ้น
เพียงองค์เดียวในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐
พรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. 1992)

พระพุทธรูปองค์นี้ สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินตากโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ-
สถิตมหาสีมาราม เป็นผู้ประทานแบบโดยดัดแปลงจากพระพุทธรูปทรงเครื่อง สมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่ง
ทรงอุณหิส กุณฑล กรองศอ ห้อยทับทรวง ทรงพาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท ขอบบน และหน้านาง
ของสบงประดับลายรักร้อยกลีบบัว ยืนอยู่บนฐานบัวแวงทรงกลมรองรับด้วยฐานสิงห์และฐานเขียง
ย่อมุมไม้สิบสอง

นอกจากจะสร้างพระพุทธปฏิมาองค์ใหญ่ขนาดเท่าพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
และนำไปประดิษฐานในพระเจดีย์พระศรีสุริโยทัยแล้ว (ดูรูปที่ ๓.๙๓) ยังสร้างพระพุทธปฏิมาเนื้อโลหะ
ปิดทอง และรมดำ อีกอย่างละ ๓,๙๙๙ องค์ และเหรียญรูปไข่ เนื้อโลหะต่าง ๆ กัน อีก ๒๑๐,๓๙๖ องค์
(กองบัญชาการทหารสูงสุด ๒๕๓๔, ๗๔) เพื่อให้ประชาชนผู้สนใจ เช่าไปสักการบูชา โดยนำรายได้ไปก่อตั้ง
กองทุนมูลนิธิสมเด็จพระสุริโยทัย เพื่อนำดอกผลของกองทุนไปใช้ในการทำนุบำรุงรักษาพระเจดีย์
ศรีสุริโยทัย

รูปที่ ๓.๙๓ พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติทีฆายุมงคล


ปั้นโดย วิชัย สิทธิรัตน์
พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. 1991)
สัมฤทธิ์
สูงจากพระบาทถึงพระเกตุ ๑.๖๓ เมตร
พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระพุทธปฏิมายืน ๔๐๙
หมวด ฌ.
ปางห้ามพระแก่นจันทน์

๙. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์

“ห้ามพระแก่นจันทน์” เป็นชื่อเรียกปางของพระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย
ห้อยพระหัตถ์ขวาขนานกับพระเพลา ดังที่กล่าวถึงใน โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก จังหวัด
อ่างทอง ในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศเมื่อครั้งดำรงพระราช-
อิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๐ (ค.ศ. 1727) ความว่า

ขอพรพระพุทธห้าม แก่นจันทร์
ห้ามสิ่งสรรพอาธรรม์ ผ่องแผ้ว
(Griswold and Nฺa Nagara 1970, 195)

พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ เป็นแบบที่สร้างขึ้นในช่วงที่คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ
เจริญรุ่งเรืองอยู่ในรัฐกัมโพช และเป็นที่แพร่หลายในกรุงศรีอยุธยาตลอดจนรัตนโกสินทร์ แต่มีจำนวน
น้อยกว่าแบบยืนยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัยมาก

๙.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์
สมัยอาณาจักรกัมโพช พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

ถึงแม้ว่าพระพุทธปฏิมายืนปางห้ามพระแก่นจันทน์ (รูปที่ ๘.๔๘) จะเป็น ๑ ใน ๗ องค์ ที่แต่เดิม
ประดิษฐานในพระระเบียงวัดพระบรมธาตุไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสลักจากศิลาทราย
สีแดงที่ได้จากเขานางฮี ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๖ กิโลเมตร (Boribal Buribhand and Girswold
1951, 15 - 17) โดยที่ ๕ องค์ แสดงปางห้ามพระแก่นจันทน์ และอีก ๒ องค์ แสดงปางห้ามญาติ ก็ตามที
แต่จากพุทธลักษณะแล้วน่าจะได้รับรูปแบบมาจากรัฐกัมโพช ที่อยู่ตอนบนของอ่าวไทย อันเห็นได้จากพระ
เมาลีเตี้ย พระรัศมีเกลี้ยงรูปโอคว่ำ มีใบโพธิ์ประดับหน้าพระรัศมี ครองจีวรห่มดอง ขอบสบงด้านบนเว้า
ขึ้นตรงกลางรับกับปั้นเหน่งรูปประจำยาม ขอบสบง และหน้านางมีเส้นขนานเป็นกรอบ ชายจีวรพับทบ
ซ้อนกันเป็นรูปแบบของท้องถิ่น (ดูรูปที่ ๕.๑๗๘) กำหนดอายุอยู่ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 14)

รูปที่ ๘.๔๘ พระสมณโคดมยืนพระหัต์ซ้ายประทานอภัย


จากวัดพระบรมธาตุไชยา
อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 14)
ศิลาทรายแดง ลงรักปิดทอง
สูง ๑.๖๕ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
๙.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ สมัยอยุธยา

ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ องค์สำคัญที่สร้างขึ้นในกรุงศรีอยุธยาน่าจะได้แก่
พระโลกนาถศาสดาจารย์ ในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (รูปที่ ๘.๔๙)
ดังที่ศิลาจารึกครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในพระวิหารพระโลกนาถ บันทึกไว้ว่า

พระพุทธรูปยืนสูงยี่สิบศอก ทรงพระนามว่าพระโลกนาถสาศดาจารย์ ปรักหัก
พังเชิญมาแต่วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงเก่า ปฎิสังขรณ์เสร็จแล้วเชิญประดิษฐาน
ใน พระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง บรรจุพระบรมธาตุด้วย (ประชุมจารึกวัด
พระเชตุพน เล่ม ๑ ๒๔๗๒, ๓-๔)

พระพุ ท ธปฏิ ม าสู ง ๒๐ ศอก (๑๐) เมตร ที่ ไ ด้ รั บ การกล่ า วถึ ง ในบั น ทึ ก สมั ย อยุ ธ ยาได้ แ ก่
พระติโลกนารถ ซึ่งหนังสือ คำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงมีชัยชนะแก่
พระมหาอุปราชแล้ว (พ.ศ. ๒๑๓๕ / ค.ศ. 1592) จึงขยายพระนครให้กว้างขึ้น แล้ว

จึงให้สร้างพระพุทธปฎิมากร สูง ๒๐ ศอก พระองค์ ๑ สำเร็จแล้วก็ทรงบริจาค
พระราชทรัพย์บำเพ็ญ พระราชกุศลฉลองพระพุทธปฎิมากรนั้นเป็นอันมาก
ถวายพระนามว่าติโลกนารถ (คำให้การชาวกรุงเก่า ๒๔๕๗ , ๙๑)

ถึงแม้ว่าพระพักตร์และพระหัตถ์ของพระโลกนาถศาสดาจารย์ จะได้รับการ “ปฎิสังขรณ์” ซึ่ง
หมายถึงการแก้ไขให้ “ถูกต้องด้วยพระอรรถคถาบาลี” เช่น นิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากัน เมื่อครั้งพระบาท
สมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกทรงอั ญ เชิ ญ มาประดิ ษ ฐานในพระวิ ห ารด้ า นทิ ศ ตะวั น ออกมุ ข หลั ง
วัดพระเชตุพนฯ แต่ลักษณะของชายจีวรด้านหน้าที่พาดเฉียงข้ามพระเพลาไปที่บั้นพระองค์ด้านซ้ายใต้
พระกัปประ (ข้อศอก) แสดงให้เห็นความพยายามที่จะเลียนแบบลักษณะธรรมชาติของชายจีวรที่ถูกรั้ง
เมื่อยกพระกรขึ้น สะท้อนให้เห็นอิทธิพลจากทฤษฎีเหมือนจริงของศิลปะตะวันตก ซึ่งเริ่มเข้ามาแพร่หลาย
ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16) เป็นต้นมา จึงเป็นไปได้ว่า
พระโลกนาถศาสดาจารย์เป็นองค์เดียวกันกับพระติโลกนารถ ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างขึ้นในช่วง
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16) โดยเฉพาะที่ทั้งสององค์สูง ๒๐ ศอกเท่ากัน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระนามใหม่ว่า “พระพุทธโลกนาถราชมหาสมมติวงค์
องศ์อนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร”

พระพุทธปฏิมายืน ๔๑๑
๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธปฏิมาที่เชื่อกันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมา
จากวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยาอีกองค์หนึ่ง ได้แก่พระพุทธปฏิมายืนปางห้ามพระแก่นจันทน์
ในพระวิหารยอด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (รูปที่ ๘.๕๐) (สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๖๒) พระพุทธปฏิมาองค์นี้
พระเมาลีและพระรัศมีได้อันตรธานไป พระขนงเป็นเส้นคมโค้งบรรจบกันเหนือสันพระนาสิก พระเนตร
เหลือบต่ำ ใบพระกรรณกางและโค้งเข้าหาพระศอ ครองจีวรห่มคลุม ชายจีวรด้านหลังยื่นออกมาเป็นมุม
แหลม พุทธลักษณะโดยรวมคล้ายกับพระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย ที่วัดเขาอ้อ
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง (ดูรูปที่ ๘.๓๔) ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ

รูปที่ ๘.๕๐ พระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์ องค์พระสูง ๑.๔๗ เมตร
พระวิหารยอด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากสำนักราชเลขาธิการ)

รูปที่ ๘.๔๙ พระพุทธโลกนาถราชมหาสมมุติวงศ์


องค์อนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร
อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๐ เมตร
พระวิหารทิศตะวันออก มุขหลัง
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมายืน ๔๑๓
๙.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุ ท ธปฏิ ม ายื น ปางห้ า มพระแก่ น จั น ทน์ ที่ ส ร้ า งขึ้ น ในสมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ สร้ า งขึ้ น เป็ น
พระพุทธปฏิมาประจำวันอังคาร แทนพระพุทธปฏิมาไสยาสน์ อันสืบเนื่องจากพระราชดำริของพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นว่า พระพุทธปฏิมา ปางไสยาสน์ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาประจำ
วันอังคารนั้น ไม่สมควรที่จะเป็นพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวารของพระองค์ เพราะว่าเมื่ออัญเชิญ
ไปประดิษฐานในพระราชพิธีพร้อมกับพระพุทธปฏิมาองค์อื่นๆ แล้ว ดูไม่งดงาม จึงทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปฏิมา ปางห้ามพระแก่นจันทน์ คือพระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ซ้าย
ประทานอภัย เป็นพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวาร แทนพระพุทธไสยาสน์ (สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๓๖๒)

พระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระเมาลี
ทรงครองจีวรห่มดอง พาดสังฆาฏิยาวถึงพระชงฆ์ ตามแบบพระภิกษุคณะธรรมยุติกนิกาย จีวรทำเป็น
ริ้วตามธรรมชาติ (ดูรูปที่ ๓.๔๘) ซึ่งพระพุทธลักษณะดังกล่าวยังเป็นต้นแบบให้กับพระพุทธปฏิมา
ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างอุทิศส่วนพระกุศลพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้า
จันทรมณฑลโสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกษัตรีย์ (ศิลปากร ๒๕๒๕ ก, ๒๒) สมเด็จพระโสทรกนิษฐภคินี
ของพระองค์ ประดิษฐานหน้าพระประธาน พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส (ดูรูปที่ ๓.๗๐) แต่แตกต่าง
รูปที่ ๓.๔๘ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร จากพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวารตรงที่มีพระเมาลี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓ (ค.ศ. 1868 - 1910)
ทองคำ สูงรวมฐาน ๓๔.๖๐ เซนติเมตร เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวาร
หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชทานสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระองค์ทรงดำเนินตามรอยสมเด็จพระ
พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา บรมชนกนาถโดยใช้ พ ระพุ ท ธปฏิ ม าปางห้ า มพระแก่ น จั น ทน์ เป็ น พระพุ ท ธปฏิ ม าประจำวั น อั ง คาร
ในพระบรมมหาราชวัง) แทนพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวารสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
(ดูรูปที่ ๓.๕๓) มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระ
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ดูรูปที่ ๓.๓๕) คือ พระเกศาเกล้าเป็นพระเมาลี ตามอย่างพระพุทธปฏิมาอินเดียแบบ
คันธารราษฎร์ ครองจีวรห่มดองแบบพระภิกษุคณะมหานิกาย จีวรและสบงทำเป็นริ้วตามธรรมชาติ
พระพุทธปฏิมาองค์นี้หล่อขึ้นพร้อมกันกับพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมพรรษา และประจำพระชนมวาร
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล (ดูรูปที่ ๓.๒๕) ในปี พ.ศ.
๒๔๖๙ (ค.ศ. 1926) (สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๔๕๗) ภายใต้การควบคุมดูแลของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา
นริศรานุวัดติวงศ์

รูปที่ ๓.๕๓ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร


สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินี
หล่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ (ค.ศ. 1926)
รูปที่ ๓.๗๐ พระพุทธรูปฉลองพระองค์ สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี องค์พระสูง ๒๕.๑๕ เซนติเมตร
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๓๘ – ๒๔๔๓ หอพระบรมอัฐิ
(ค.ศ. 1895 - 1900) พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง สูง ๑.๗๓ เมตร พระบรมมหาราชวัง
พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส (ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
กรุงเทพมหานคร ในพระบรมมหาราชวัง)

๔๑๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ญ.
ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ทรงเครื่อง

๑๐. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ทรงเครื่อง

พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ทรงเครื่อง สมัยอยุธยา

ช่วงเมืองพระยามหานคร พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1351 – 1448)

พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ทรงเครื่อง มีเพียงไม่กี่องค์ องค์ที่เก่าที่สุดของ
พระพุทธปฏิมากลุ่มนี้เป็นพระพุทธปฏิมาไม้ พระกรซ้ายหักหายไปที่พระกัปประ พระเมาลีทรงสูง พระรัศมี
เป็นบัวตูม ทรงอุณหิส กรองศอ แต่งด้วยลายประจำยาม ขอบเป็นกลีบบัว ขอบบนของสบงคาดรัด
ประคด ปั้นเหน่งเป็นลายประจำยาม หน้านางของสบงเป็นลายรักร้อย ทรงพาหุรัดและทองพระกร
(รูปที่ ๘.๕๑) ลวดลายของอาภรณ์คล้ายกับพระพุทธปฏิมาเขมรสมัยหลังเมืองพระนครที่กำหนดอายุอยู่
ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15) (Giteau 1975, 68)

เมื่อมีการสร้างพระพุทธปฏิมายืนประทานอภัย ทรงเครื่อง ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อประมาณ
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16) ปรากฏว่าพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่จะ
ยกพระหัตถ์แสดงปางประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ขวา

รูปที่ ๘.๕๑ พระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย


ทรงเครื่อง
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15)
ไม้ สูง ๑.๑๒ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระพุทธปฏิมายืน ๔๑๕
หมวด ฎ.
ปางห้ามสมุทร

๑๑. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร

พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย ปัจจุบันเรียกว่า “พระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทร”
ซึ่งปางนี้ได้รับการกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศใน โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ว่า

ขอพรพระพุทธห้าม สมุทไทย
ห้ามชลาไลยไหล ขาดค้าง
(Griswold and Nฺa Nagara 1970, 195)

พระพุทธปฏิมายืนปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธปฏิมาหมวดใหญ่ ที่มีการสร้างแพร่หลายเริ่ม
ตั้งแต่สมัยอาณาจักรกัมโพช จนถึงรัตนโกสินทร์และเป็นที่นิยมในอาณาจักรล้านนาและล้านช้าง

๑๑.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร
รูปที่ ๘.๕๒ พระสมณโคดมยืนยกพระหัตถ์ สมัยอาณาจักรกัมโพช พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)
ทั้งสองข้างประทานอภัย
ได้จากโคปุระชั้น ๓ ด้านทิศตะวันออก พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร ครองจีวรห่มคลุม เกิดขึ้นพร้อมกับคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ
ปราสาทพระขรรค์
เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา โดยที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระพุทธปฏิมาเขมร เช่นพระพุทธปฏิมาศิลาที่นายคอมมาย (Commaille)
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ภัณฑารักษ์ชาวฝรั่งเศสคนแรกที่ดูแลโบราณสถานที่เมืองพระนคร (Angkor) พบในโคปุระชั้นที่ ๓ ด้าน
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13) ทิศตะวันออกของปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ซึ่งเป็นที่รู้จักในกลุ่มนักวิชาการว่า กลุ่ม “พระพุทธรูป
ศิลา สูง ๑.๗๘ เมตร
Musée national des Arts Asiatiques แบบคอมมาย (Commaille)” (รูปที่ ๘.๕๒) (Jessup and Zééphir 1997, 337) พระพุทธปฏิมาในกลุ่มนี้
Guimet, Paris เป็นพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในนิกายเถรวาท หลังจากที่ลัทธิวัชรยานในกัมพูชาล่มสลายลง

พระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (รูปที่ ๘.๕๓) แสดงให้เห็นการปรับ
เปลี่ยน “พระพุทธปฏิมาแบบคอมมาย” ให้รับกับค่านิยมของรัฐกัมโพช เช่น พระรัศมีเป็นลูกแก้ว มี
ไรพระศกเป็นแถบ ชายจีวรและชายสบงด้านล่างงอนขึ้นที่หน้านาง แต่ยังคงไว้ซึ่งขอบสบงด้านบนที่ยัง
คาดด้วยรัดประคด ส่วนพระพุทธปฏิมาพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๘.๕๔)
เม็ดพระศกเรียงกันตามแนวนอน พระเมาลีเตี้ยรองรับพระรัศมีลูกแก้ว ทรงกรองศอ และรัดประคด
ทับขอบสบงด้านบน ปั้นเหน่งเป็นดอกจัน หน้านางของสบงมีขอบเป็นลายน่องสิงห์ พระพุทธปฏิมาทั้ง
สามพระองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)

รูปที่ ๘.๕๔ พระสมณโคดมยืนยกพระหัตถ์


ทั้งสองข้างประทานอภัย
ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ รูปที่ ๘.๕๓ พระสมณโคดมยืนยกพระหัตถ์
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งสองข้างประทานอภัย
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13) (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร

๔๑๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมายืน ๔๑๗
๑๑.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร สมัยสุโขทัย

ช่วงเมืองประเทศราชของอยุธยา พ.ศ. ๑๙๒๑ – ๒๐๐๖ (ค.ศ. 1378 – 1463)

พระพุ ท ธปฏิ ม ายื น ยกพระหั ต ถ์ ทั้ ง สองข้ า งประทานอภั ย ในพระวิ ห ารวั ด พระธาตุช้ า งค้ ำ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน (รูปที่ ๘.๕๕) มีจารึกที่ฐานกล่าวว่า “สมเด็จเจ้าพระยาสารผาสุม เสวยราชย์ใน
นันทปุระ สถาบกสมเด็จพระเป็นเจ้า” ในปี พ.ศ. ๑๙๗๐ (ค.ศ. 1426) (เทิม ๒๕๒๙, ๒๘ – ๒๙) พระ
พุทธปฏิมาองค์นี้เป็น ๑ ใน ๕ องค์ ที่พญาสารผาสุม เจ้าเมืองน่านทรงสร้างขึ้นในปีเดียวกัน

ถึ ง แม้ ว่ า จะหล่ อ ขึ้ น ในเครื อ ข่ า ยอาณาจั ก รสุ โ ขทั ย แต่ พุ ท ธลั ก ษณะดั ด แปลงมาจากพระ
พุทธปฏิมาของกัมโพช (ดูรูปที่ ๘.๕๓) ขอบสบงด้านบนคาดด้วยรัดประคด และหน้านางเป็นแถบเรียบ
แต่ส่วนพระวรกาย และความอ่อนช้อยของนิ้วพระหัตถ์ รวมทั้งพระรัศมีรูปเปลวแสดงให้เห็นอิทธิพล
จากพระพุทธปฏิมาสุโขทัย

๑๑.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร สมัยล้านนา

สมัยอาณาจักรล้านนา
- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)
รูปที่ ๘.๕๕ พระสมณโคดมยืน
ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย
สร้างปี พ.ศ. ๑๙๗๐ (ค.ศ. 1426) ส่วนพระพุทธปฏิมาในวิหารสมเด็จฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (รูปที่ ๘.๕๖) จำลองแบบ
สัมฤทธิ์ สูง ๒ เมตร จากพระพุทธปฏิมาของพญาสารผาสุม แต่มีความแข็งกระด้างมากขึ้น ส่วนพระพักตร์และพระรัศมีคล้าย
พระวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำ กับพระพุทธปฏิมาล้านนาสมัยพญาแก้ว ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16)
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน

รูปที่ ๘.๕๖ พระสมณโคดมยืน รูปที่ ๘.๕๗ พระสมณโคดมยืน ปางห้ามสมุทร


ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย พบในพระอุระและพระพาหาเบื้องซ้าย
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ พระมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16) ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ สูงรวมฐาน ๙๑ เซนติเมตร สัมฤทธิ์ ปิดทอง สูง ๔๗ เซนติเมตร
วิหารสมเด็จฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
กรุงเทพมหานคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๔๑๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๑๑.๔ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร สมัยอยุธยา

(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1351 – 1448)

พระพุทธปฏิมายืนยกพระหัตถ์สองข้างประทานอภัย เป็นที่นิยมที่อาณาจักรอยุธยา โดยสืบทอด
พุทธลักษณะจาก “พระพุทธปฏิมาแบบคอมมาย” คือ ขอบสบงด้านบนและหน้านางไม่มีลวดลายประดับใดๆ
แต่ดัดแปลงพระรัศมีจากลูกแก้วเป็นเปลวเพลิง ซึ่งเป็นที่นิยมในพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในนิกายเถรวาท
คณะมหาวิหารจากลังกา เช่นพระพุทธปฏิมาที่พบในพระอุระและพระพาหาเบื้องซ้ายพระมงคลบพิตร
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๘.๕๗) ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นหลังพระบางเจ้า (ดูรูปที่ ๘.๖๖)

(๒) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

หลังจากพระพุทธสิหิงค์เข้ามาเป็นที่แพร่หลาย การทำพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมจึงเป็นที่นิยม
ขึ้นมา เช่นพระพุทธปฏิมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร (รูปที่ ๘.๕๘) ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นใน
ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17)

พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัยในพระวิหารยอด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(รูปที่ ๘.๕๙) สันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากวัด
รูปที่ ๘.๕๘ พระสมณโคดมยืน ปางห้ามสมุทร
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ พระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังหลวง พระนครศรีอยุธยา มาประดิษฐานในหอพระนาก “เดิมเป็นที่ไว้
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17) พระพุทธปฏิมาต่างๆ หลายสิบองค์ หุ้มทองบ้าง หุ้มเงินบ้าง หุ้มนากบ้าง” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระ
ไม้ สูง ๑.๒๘ เมตร จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาประดิษฐานในพระวิหารยอด เมื่อทรงปฏิสังขรณ์วัดพระ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
จังหวัดกำแพงเพชร ศรีรัตนศาสดาราม ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ (ค.ศ. 1882) (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๓๘๔ – ๓๘๕)
พระพุทธปฏิมาองค์นี้มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ในพระวิหาร
เดียวกัน (ดูรูปที่ ๘.๕๐) ยกเว้นพระพักตร์ ซึ่งยาวรีคล้ายกับพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปาง
สมาธิ ๒๒ องค์ จากวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา (ดูรูปที่ ๕.๒๐) จึงอาจจะสร้างขึ้นในช่วง
ระยะเวลาเดียวกัน

อนึ่ง พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร เป็นที่นิยมในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เช่น
เมื่อพระองค์ทรงส่งคณะธรรมทูต นำโดยพระอุบาลี และพระอริยมุนีไปประดิษฐานคณะสยามนิกายใน
ลังกาในปี พ.ศ. ๒๒๙๕ (ค.ศ. 1752) เกิดพายุขึ้นในมหาสมุทร จึง “เชิญพระปฏิมากรห้ามสมุทรมา
ประดิษฐานที่ศีศะเรือสำเภา” และ “ด้วยอำนาจพระพุทธปฏิมากรห้ามสมุทร แลอำนาจพระพุทธมนต์ แล
ศีลาธิคุณแห่งพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้น” (คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง ๒๔๕๙, ๘๐ – ๘๑) คลื่นลม
ทั้งปวงจึงสงบลง ทุกชีวิตจึงรอดพ้นจากภยันตราย

รูปที่ ๘.๕๙ พระสมณโคดมยืน ปางห้ามสมุทร


พ.ศ. ๒๒๘๔ - ๒๒๘๗
(ค.ศ. 1741 - 1744)
เงิน
พระวิหารยอด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง

พระพุทธปฏิมายืน ๔๑๙
๑๑.๕ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร สมัยรัตนโกสินทร์

ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ทั้ง
สองข้างประทานอภัย จึงมีพระนามว่า “พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร” พระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทรทีอ่ าจ
จะสร้างขึ้นในรัชกาลนี้น่าจะได้แก่ พระพุทธปฏิมางาช้างสลัก ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง (รูปที่ ๘.๖๐) ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ จากวัด
สุนทราวาส อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง (ดูรูปที่ ๘.๓๖) คือพระวรกายเป็นท่อนตรง ชายจีวรด้านข้าง
ผายออกเล็ ก น้ อ ย ตอนปลายของชายห้ อ ยลงทำเป็ น มุ ม แหลม หน้ า นางและขอบด้ า นบนของสบง
กลมกลืนไปกับพระวรกาย

พุทธลักษณะข้างต้นยังเป็นของพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัว (ดูรูปที่ ๓.๔๖) ซึ่งทรงพระราชสมภพในวันจันทร์ จึงเป็นพระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทร ถึง
แม้ว่าพระพุทธปฏิมาองค์ปัจจุบันจะสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ตาม
แต่ก็จำลองมาจากองค์เดิม เพราะพระองค์มีพระราชดำริว่า “ซึ่งมีอยู่เก่านั้นง่อนแง่นไม่มั่นคง เจ้าพนักงาน
เชิญไปมาก็ยับเยินไป จึงได้สร้างถวายอีกองค์หนึ่ง” (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๐๗, ๑๐๒ – ๑๐๓)
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ครองจีวรห่มคลุม ชายจีวร ด้านหน้าและด้านหลังเว้าโค้งเป็นมุมแหลม ขอบด้านบน
และหน้านางของสบงตีกรอบเป็นเส้น
รูปที่ ๘.๖๐ พระสมณโคดมปางห้ามสมุทร
พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔
(ค.ศ. 1824 - 1851) พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (รูปที่ ๘.๖๑) ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า
งาช้าง มหาศักดิพลเสพ โปรดให้หล่อขึ้นแต่เสด็จทิวงคตเสียก่อนในปี พ.ศ. ๒๓๗๕ (ค.ศ. 1832) พระบาทสมเด็จ
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการจนแล้วเสร็จ (ณัฏฐภัทร ๒๕๔๕,
๒๑๗) พระพุทธปฏิมาองค์นี้พุทธลักษณะคล้ายกับพระอัฏฐารส ปางห้ามสมุทรสูง ๓ เมตร ๒ องค์ ใน
มุขด้านตะวันออก และด้านตะวันตกของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร (รูปที่ ๘.๖๒) ซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สมโภชในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ (ค.ศ. 1844) (วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๐๔,
๑๑) คือครองจีวรห่มดอง ชายพับเป็นแผ่นยาวจรดพระนาภี จีวรแนบไปกับสบง หน้านางและขอบด้านบน
ของสบงตีกรอบเป็นเส้น

รูปที่ ๘.๖๒ พระอัฏฐารส ปางห้ามสมุทร รูปที่ ๘.๖๑ พระสมณโคดมปางห้ามสมุทร


พ.ศ. ๒๓๘๗ (ค.ศ. 1844) พ.ศ. ๒๓๗๕ (ค.ศ. 1832)
สัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส
กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร

๔๒๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมายืน ๔๒๑
สืบเนื่องจากพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่โปรดพระพุทธปฏิมาครองจีวร
ลายดอก พระพุทธปฏิมายืนปางห้ามสมุทรครองจีวรห่มดองลายดอกพิกุล มีชายผ้าทอดยาวจรดพระนาภี
ขอบสบงตอนบนและหน้านางลายกุดั่น ดังเช่นพระพุทธปฏิมาในพระวิหารยอด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(รูปที่ ๘.๖๓) เป็นแบบที่นิยมอย่างมากในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และ
ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ว่าพระองค์เองจะไม่โปรดพระพุทธปฏิมาครองจีวร
ลายดอกก็ตาม

พระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทรองค์สำคัญ ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัวได้แก่ “พระพุทธปัญญาอัคคะ” (รูปที่ ๘.๖๔) พระพุทธปฏิมาฉลองพระองค์ สมเด็จพระ
มหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพระราชูปัฏฐยาจารย์ของพระองค์ สร้างเมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. 1885) เจ็ดปีก่อนที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์จะ
สิ้นพระชนม์ (วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๐๔, ๗๘) พระพุทธปฏิมาองค์นี้มีพระเมาลีแบน นิ้วพระหัตถ์ยาว
เสมอกัน ครองจีวรห่มแหวก จีวรพาดพระกรขวาและทิ้งชายลงทางด้านขวา จีวรทำเป็นริ้วตามธรรมชาติ

เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ (ค.ศ.
1921) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหล่อพระพุทธปฏิมาฉลองพระองค์พระราชทานแด่พระ
ราชูปัฏฐยาจารย์ของพระองค์ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ (ค.ศ. 1930) (วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๑๔, ๕๙) ถวาย
พระนามว่า “พระพุทธมนุสนาค” (รูปที่ ๘.๖๕) ตามพระนามเดิมของพระองค์เจ้า “มนุษยนาคมาณพ”
พระพุทธมนุสนาคถูกสร้างขึ้นตามพระราชนิยมของยุคนั้น คือพุทธลักษณะมีความเป็นมนุษย์มากกว่าเป็น
พระพุทธปฏิมา ยกเว้นแต่พระเศียรแบบประเพณี ทรงครองจีวรห่มแหวก พาดพระกรซ้าย จีวรและสบง
ทำเป็นริ้วธรรมชาติ

พระพุทธปฏิมาฉลองพระองค์ที่สร้างอุทิศพระกุศลถวายแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทั้งสองพระ
รูปที่ ๘.๖๓ พระสมณโคดมปางห้ามสมุทร องค์นี้ สร้างเป็นพระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทร ซึ่งมิได้สร้างขึ้นเพื่อให้ตรงกับวันประสูติ เพราะทั้ง
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ สองพระองค์ทรงประสูติในวันพฤหัสบดี (วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๐๔, ๓๒; มหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๑๔, ๑)
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง แต่พระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธปฏิมาประจำวันจันทร์ จึงสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธปฏิมา
องค์พระสูง ๗๒.๕๐ เซนติเมตร ฉลองพระองค์นั้น สร้างเป็นพระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร และเมื่อผู้ที่สิ้นพระชนม์เป็นพระภิกษุ
พระวิหารยอด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธปฏิมาทั้งสององค์จึงทรงครองไตรจีวรเฉกเช่นพระสงฆ์ทั่วไป หาได้ทรงเครื่องดังเช่นพระ
ในพระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา พุทธปฏิมาฉลองพระองค์อื่นไม่
ในพระบรมมหาราชวัง)

๔๒๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๘.๖๔ พระพุทธปัญญาอัคคะ รูปที่ ๘.๖๕ พระพุทธมนุสนาค
พระพุทธรูปฉลองพระองค์ พระพุทธรูปฉลองพระองค์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. 1885) สร้างปี พ.ศ. ๒๔๗๓ (ค.ศ. 1930)
สัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์
พระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร พระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมายืน ๔๒๓
๑๒. พระบางเจ้า

พระพุทธปฏิมายืนยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธปฏิมาที่
นิยมแพร่หลายในล้านช้าง เพราะทุกองค์เป็นพระปฏิมาจำลองของ “พระบางเจ้า” พระพุทธปฏิมาคู่บ้าน
คู่เมืองของลาว ประวัติของพระองค์นั้นปรากฏควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ของประเทศ กล่าวคือ เมื่อ
พญาฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี (พ.ศ. ๑๘๙๖ – ๑๙๑๕ / ค.ศ. 1353 – 1372) รวบรวมดินแดนทั้งสองฝั่งโขง
ให้เป็นผืนแผ่นดินเดียวกันแล้ว ทรงทูลขอพระเจ้ากรุงกัมพูชา พระสสุระของพระองค์ ให้ ทรงส่ง
พระเถระและพระไตรปิฎก เพื่อประดิษฐานนิกายเถรวาท คณะมหาวิหารจากลังกา ในอาณาจักรของพระองค์
พระเจ้ากรุงกัมพูชาจึงส่งคณะธรรมทูต พร้อมกับพระพุทธรูปพระบางเจ้ามาในปี พ.ศ. ๑๙๐๒ (ค.ศ.
1359) เมื่อถึงเมืองเวียงคำ (60 กิโลเมตร เหนือเมืองเวียงจันท์) พระบางเจ้าไม่ยอมเสด็จต่อไปยังเมือง
เชียงดง – เชียงทอง (นครหลวงพระบาง) จึงต้องประดิษฐานไว้ที่นั่น (สงวน รอดบุญ ๒๕๔๕, ๖๔)

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๐๑๑ (ค.ศ. 1468) พญาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วอัญเชิญพระบางเจ้าไปเมือง
เชียงดง – เชียงทอง ทางน้ำโขง เรืออับปางลง พระบางเจ้าจมน้ำหายไป แต่ “แสดงปาฏิหาริย์เสด็จ
กลับคืนไปประดิษฐานที่เมืองเวียงคำตามเดิม” (เรื่องเดียวกัน, ๗๐)

ในปี พ.ศ. ๒๐๔๕ (ค.ศ. 1503) พญาวิชุลราช ได้อัญเชิญพระบางเจ้าไปประดิษฐานไว้ที่เมือง
เชียงดง – เชียงทอง ซึ่งนับแต่นั้นมา จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นนครหลวงพระบาง และเมื่อทรงสร้างวัดวิชุล-
มหาวิหารแล้วเสร็จในสองปีต่อมา จึงอาราธนาพระบางเจ้าไปประดิษฐาน ณ พระอารามแห่งนี้

เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18) อาณาจักรล้านช้างแบ่งแยก
ออกเป็นสามนคร อันได้แก่ หลวงพระบาง (ภาคเหนือ) เวียงจันท์ (ภาคกลาง) และจำปาสัก (ภาคใต้)
พระเจ้าไชยองค์เว้ หรือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ เจ้ามหาชีวิต ผู้ครองนครเวียงจันท์จึงอัญเชิญ
พระบางเจ้ามาประดิษฐานไว้ที่วัดป่าสักหลวง นครเวียงจันท์ ในปี พ.ศ. ๒๒๔๘ (ค.ศ. 1705)

ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ
เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ พร้อมกับเจ้าพระยาสุรสีห์ ผู้น้อง ยกทัพไปตีนครเวียงจันท์ในปี พ.ศ. ๒๓๒๑
(ค.ศ. 1778) และเมื่อตีได้แล้วจึงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระบางเจ้ามายังกรุงธนบุรี
(จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๘๒, ๑๐) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ (ค.ศ. 1782) เมื่อปราบดาภิเษกแล้ว
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า “เสด็จข้ามฟากฝั่งมหรณพ เฉลิมภพกรุงทวารวดี พระโองการให้ฐาปนา
ที่ท้องสนามใน เป็นพระอุโบสถหอไตรย์เสร็จ เชิญพระแก้วมรกฎมาประดิษฐาน” แต่ “พระบางประทาน
คืนไปเวียงจัน” (เรื่องเดียวกัน, ๑๘, ๒๐) ทั้งนี้เพราะว่า “ผีซึ่งรักษาพระแก้วมรกต กับผีซึ่งรักษาพระบาง
เป็นอริกัน พระพุทธปฏิมา ๒ พระองค์นั้นอยู่ด้วยกันในที่ใด มักมีเหตุภัยอันตราย” นอกจากนั้นแล้ว
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชดำริว่า “พระบางก็ไม่ใช่พระพุทธปฏิมาซึ่งมีลักษณะ
งาม เป็นแต่พวกชาวศรีสัตนาคนหุตนับถือกัน” (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๖๕ – ๖๖)

๔๒๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระบางเจ้ากลับไปประดิษฐานที่นครเวียงจันท์จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๗๐ (ค.ศ. 1827) เมื่อเจ้าพระยา
ราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) (ประยุทธ ๒๕๒๐, ๓๑๗) อัญเชิญกลับมากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง พระบาท
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชปุจฉาว่า

พระบางเป็นพระพุทธรูปเชิญลงมาแต่เมืองเวียงจันท์ ครั้นจะเชิญเข้าประดิษฐาน
ไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเล่า พระพุทธลักษณวิลาสก์ มิได้งาม
บริบูรณ์เหมือนด้วยพระพุทธรูปฉลองพระองค์ จะเชิญไว้ด้วยกัน ก็จะไม่จำเริญ
พระเนตรเฉลิมพระราชศรัทธา ครั้นจะเชิญไปประดิษฐานไว้ในพระอารามแห่งใดแห่ง
หนึ่งก็เกรงโจรผู้ร้าย ด้วยสรรพเครื่องสักการบูชาประดับพระองค์ล้วนแล้ว ด้วย
แก้วแลทอง ทั้งสิ่งของเครื่องสักการบูชาอื่นๆ ก็มีมาก (สงวน รอดบุญ ๒๕๔๕, ๒๐๖)

จึงพระราชทานพระบางเจ้าให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี เชิญไปประดิษฐานในพระวิหารวัดจักรวรรดิ-
ราชาวาส (วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร ๒๕๔๐, ๓๑๘)

ครั้นถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๑ (ค.ศ. 1858) เกิดดาวหาง ฝนแล้ง และความไข้
เนื่องกันถึง ๓ ปี เสียงคนทั้งหลายโทษว่า เพราะพระบางกลับลงมาอยู่ใน
กรุงเทพฯ (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๖๘)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบางเจ้ากลับไปนครหลวง
พระบาง และในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ (ค.ศ. 1888) จึงนำไปประดิษฐาน ณ วัดใหม่สุวรรณะพุมมาราม (สงวน รอดบุญ
๒๕๔๕, ๑๐๑) ปัจจุบันพระบางเจ้าประดิษฐานอยู่ในพระราชวังหลวงของอดีตเจ้ามหาชีวิตนครหลวงพระบาง

พุทธลักษณะของพระบางเจ้า (รูปที่ ๘.๖๖) เป็นพระพุทธปฏิมาเขมรแบบหลังเมืองพระนคร ใน
กลุ่ ม “พระพุ ท ธปฏิ ม าแบบคอมมาย” ร่ ว มสมั ย กั บ พระพุ ท ธปฏิ ม าสั ม ฤทธิ์ ข องวั ด พระเชตุ พ นวิ ม ล
มังคลารามราชวรมหาวิหาร (ดูรูปที่ ๘.๕๓) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน คือพระรัศมีเป็นลูกแก้วเหนือพระเมาลี
ทรงสูง และน่าจะสร้างขึ้นในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)
อย่างไรก็ตามนักวิชาการบางท่านเสนอว่า พระบางเจ้าน่าจะสร้างขึ้นตามรูปแบบของพระพุทธปฏิมาแบบ
กัมโพช “อีกทั้งพระนามยังพ้องกับชื่อเมืองนครสวรรค์เก่า (พระบาง) อันอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับที่มาของ
พระพุทธปฏิมาองค์นี้” (สุรศักดิ์ ๒๕๕๐, ๑๐๗) ซึ่งมีความเป็นไปได้ เพราะว่าพระพุทธปฏิมาที่จำลองมา
จากพระพุทธปฏิมา “แบบคอมมาย” นั้นสร้างขึ้นเป็นจำนวนมากในภาคกลางของประเทศไทย

รูปที่ ๘.๖๖ พระบางเจ้า
ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13 )
สัมฤทธิ์
พระราชวังของอดีตเจ้ามหาชีวิต
หลวงพระบาง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

พระพุทธปฏิมายืน ๔๒๕
๑๒.๑ พระบางเจ้าจำลอง สมัยล้านช้าง

ช่วง ๓ นครรัฐ พ.ศ. ๒๒๔๖ – ๒๓๓๒ (ค.ศ. 1703 – 1789)

ใช่แต่การจำลองพระบางเจ้าจะเลียนแบบตามพุทธลักษณะขององค์ที่เป็นต้นแบบ แต่ยังมีการ
จำลองที่ไม่คำนึงถึงความเหมือนอีกด้วย เช่นพระบางเจ้าจำลองในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
จังหวัดนครราชสีมา (รูปที่ ๘.๖๗) ซึ่งมีพระรัศมีเป็นเปลวสูง ชายจีวรด้านล่างเว้าโค้ง แทนแหลมตรง
ส่วนฐานเหลี่ยมบัวหงายสองชั้น รองรับด้วยฐานหน้ากระดาน มุมทั้งสี่ด้านงอนขึ้น อันเป็นแบบของสกุล
ช่างเวียงจันท์ ในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)

ส่วนพระบางเจ้าจำลอง วัดไตรภูมิ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (รูปที่ ๘.๖๘) นั้น มีจารึก
ระบุว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๘ (ค.ศ. 1765) ได้จากถ้ำเหิบ ประเทศลาว เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ.
1907) (ฉะอ้อน ๒๕๔๘, ๓ – ๗) มีความสูงถึง ๒ เมตร รัศมีเปลวสูง พระพักตร์แบบพุทธรูปสกุลช่าง
เวียงจันท์ รัดประคดและหน้านางของสบงตกแต่งด้วยลายเครือเถาและหินสี ฐานรองรับด้วยช้างที่มี
ควาญถือง้าวนั่งอยู่บนคอช้างทั้งแปดเชือก และมีห่วงสี่ห่วงที่หน้ากระดานของฐานสำหรับสอดคานหาม

พระบางเจ้าจำลองที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้สร้างพระปฏิมา หรือ รูปจำลอง มิได้
ติดอยู่กับพุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมาที่เป็นต้นแบบ แต่สร้างขึ้นตามความศรัทธาและค่านิยมของ
ท้องถิ่น

รูปที่ ๘.๖๗ พระบางเจ้าจำลอง


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์ สูง ๙๒ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
จังหวัดนครราชสีมา

รูปที่ ๘.๖๘ พระบางเจ้าจำลอง


สร้างปี พ.ศ. ๒๓๐๘
(ค.ศ. 1765)
สัมฤทธิ์ องค์พระสูง ๒ เมตร
พระวิหารวัดไตรภูมิ
อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

๔๒๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๑๒.๒ พระบางเจ้าจำลอง สมัยรัตนโกสินทร์

ในรัชกาลปัจจุบันยังมีการจำลองพระบางเจ้า พระพุทธรูปคู่บ้าน
คู่เมืองของลาว เช่นองค์ที่จำลองขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ. 2000) (รูปที่
๘.๖๙) จากพระบางเจ้ า ของวั ด พระเหลาเทพนิ มิ ต ร อำเภอพนา จั ง หวั ด
อำนาจเจริญ อีกต่อหนึ่ง ซึ่งองค์หลังนั้นจำลองขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๖๔ (ค.ศ.
1821) (ศิลปากร ๒๕๓๒, ๑๗๐ – ๑๗๑) คือ เมื่อครั้งพระบางเจ้ากลับไป
ประดิษฐานที่นครเวียงจันท์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๗๐ (ค.ศ. 1782 –
1827) เป็นที่น่าสังเกตว่า พระบางเจ้าที่จำลองขึ้นใหม่นั้น พระวรกายแบนกว่า
องค์ต้นแบบ ซึ่งมีพระสรีระที่สมบูรณ์คล้ายคนจริง เช่น “พระพุทธปฏิมาแบบ
คอมมาย” (ดูรูปที่ ๘.๕๒)

รูปที่ ๘.๖๙ พระบางเจ้าจำลอง


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๓
(ค.ศ. 2000)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๑๙ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุบลราชธานี

พระพุทธปฏิมายืน ๓๕
หมวด ฏ.
ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่อง

๑๓. พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่อง

๑๓.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่อง
สมัยอาณาจักรกัมโพช พ.ศ. ๑๘๒๕ – ๑๘๙๔ (ค.ศ. 1282 – 1351)

พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย ทรงเครื่อง แรกสร้างขึ้นในคณะ
กัมโพชสงฆ์ปักขะ และอาจจะหมายถึงพระสมณโคดมในเครื่องทรงของพระจักพรรดิราช (ดูรูปที่ ๔.๒๐)
ต่อมาเมื่อนิกายเถรวาท คณะมหาวิหารจากลังกาเป็นที่แพร่หลายขึ้น เครื่องทรง จึงลดน้อยลงและหายไป
ในที่สุด

พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นที่รัฐกัมโพช เช่นที่ได้จากวัดมหาธาตุ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบูรณ์
(รูปที่ ๘.๗๐) แสดงให้เห็นการผสมผสานกันระหว่างเครื่องทรงจากเมืองพระนคร เช่น อุณหิส กุณฑล
กรองศอ พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท กับค่านิยมท้องถิ่น ดังเช่นขอบสบงด้านบนที่เว้าลงใต้
พระนาภี คาดด้วยรัดประคด และหน้านางที่ปราศจากลวดลาย

ส่วนองค์ที่ได้จากจังหวัดสิงห์บุรี (รูปที่ ๘.๗๑) ไม่สวมอุณหิส พระเกศาเป็นเส้นถัก พระรัศมี
เป็นกรวยเรียบ มีกระจังที่หน้าพระนลาฏ และเหนือพระกรรณ ทรงกุณฑล กรองศอ ทองพระกร
ขอบสบงด้านบนคาดด้วยรัดพระองค์ ปั้นเหน่งลายประจำยาม ชายจีวรและชายหน้านางของสบงงอน
รับกัน คล้ายกับของพระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร “แบบคอมมาย” ของวัดพระเชตุพนวิมล-
มังคลาราม (ดูรูปที่ ๘.๕๓) พระพุทธปฏิมาในกลุ่มนี้น่าจะสร้างขึ้นในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ ศตวรรษที่ 13)

รูปที่ ๘.๗๐ พระสมณโคดมยืน


ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย ทรงเครื่อง
ขุดได้จากพระเจดีย์หลังพระอุโบสถวัดมหาธาตุ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบูรณ์
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สูง ๒๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
รูปที่ ๘.๗๑ พระสมณโคดมยืน
ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย ทรงเครื่อง
พบที่จังหวัดสิงห์บุรี
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13)
สัมฤทธิ์ สูง ๓๔.๖ เซนติเมตร
สมบัติเอกชน

๔๒๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมายืน ๓๕
๑๓.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางสมุทรห้าม ทรงเครื่อง สมัยอยุธยา

(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

พระพุทธปฏิมายืนปางห้ามสมุทร ทรงเครื่อง น่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแทนพระองค์ พระ
มหากษัตริย์ พระมเหสี พระราชโอรส และพระราชธิดา เช่นพระรูปพระบรมดิลก พระราชธิดาในสมเด็จ
พระมหาจักรพรรดิ์ ที่พระเจ้าหงสาวดีฟันด้วยพระแสงง้าวตกจากช้างทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อครั้งพระองค์
ทรงปลอมเป็นบุรุษออกศึกแทนพระราชบิดาที่ทรงพระประชวรไม่สามารถที่จะทำยุทธหัตถีได้ เมื่อ
พระราชทานเพลิงศพแล้ว จึงก่อพระเจดีย์บรรจุพระอัฐิ และ

พระมหาจักรวรรดิ์พระมหาเทวี ทรงพระเสน่หาอาไลยในพระราชธิดา ดังพระชนม์
ชีพของพระองค์ จึงรับสั่งให้ช่างหล่อพระรูปพระบรมดิลกด้วยทองคำหนัก
๒๗๐ บาท ประดับด้วยเพ็ชร์ พลอย นิล ทับทิม มรกฎต่างๆ ควรค่าถึง ๕๐๐๐
ครั้นเสร็จแล้วให้เชิญพระรูปพระบรมดิลกนั้นเข้าไปไว้ข้างที่พระบรรธม ต่อมา
ในรัชกาลหลังจึงให้เชิญพระรูปพระบรมดิลกไปไว้ ณ หอพระ เป็นที่สักการบูชา
ปรากฏ อยู่จนทุกวันนี้ พระบรมดิลกสิ้นพระชนม์ เมื่อจุลศักราช ๙๒๑ ปี (พ.ศ.
๒๑๐๒ / ค.ศ. 1559) (คำให้การชาวกรุงเก่า ๒๔๕๗, ๗๗ - ๗๘)
รูปที่ ๘.๗๒ พระสมณโคดมยืน
ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย
ทรงเครื่องใหญ่ นอกจากนั้นแล้ว ชาวพระนครศรีอยุธยาที่โดนจับไปเป็นเชลยศึกเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ ๒ ในปี
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ พ.ศ. ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1767) ยังกล่าวถึงพระเอกาทศรถว่า ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระรูปสมเด็จพระนเรศวร
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16) ไว้ในโรงแสงขวา (คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง ๒๔๕๙, ๑๘) สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
สัมฤทธิ์ องค์พระสูง ๑.๐๘ เมตร
วิหารสมเด็จฯ เมื่อครั้งเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ “ทำรูปภรรยาเก่าทั้งสองคนที่ตายไปแล้วนั้น ทำรูปไว้ที่วัดราชหุลาราม
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แล้วจาฤกชื่อไว้ที่ฐานนั้น” (เรื่องเดียวกัน, ๒๗)
กรุงเทพมหานคร
ในบริบทของวัฒนธรรมไทย พระรูปที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ มิได้เป็นภาพเหมือนเฉกเช่นภาพเหมือน
ของชาวตะวันตก แต่เป็นพระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่องที่ถวายพระนามตามพระนามของ
พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย ทั้งนี้ พระบรมรูปที่สร้างขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์-
ศิลปะไทย ได้แก่ พระบรมรูป ๔ รัชกาลที่ประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดร ที่พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ (ค.ศ. 1871)

จากหลักฐานที่พบพระพุทธปฏิมาในพระอุระและพระพาหาเบื้องซ้ายพระมงคลบพิตร จังหวัด
พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ปรากฏว่ า พระพุ ท ธปฏิ ม ายื น ปางห้ า มสมุ ท ร ทรงเครื่ อ งน้ อ ย คื อ ทรงสวมแต่
พระอุณหิส และทรงเครื่องใหญ่ คือ สวมอุณหิส กรองศอ พาหุรัดทองพระกร และห้อยทับทรวงนั้น ถูก
สร้างขึ้นในระยะเวลาเดียวกันทั้งสองแบบ (ณัฏฐภัทร ๒๕๔๙, ๑๖ – ๒๓) พระพุทธปฏิมาที่อาจจะสร้าง
ขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16) คือก่อนที่จะบรรจุลงในพระอุระ
และพระพาหาของพระมงคลบพิตรนั้น มีลักษณะที่ร่วมกันคือ อุณหิสทำเป็นครีบเหนือพระกรรณทั้งสอง
ข้าง มงกุฎเป็นพระเมาลีเกล้าซ้อนลดหลั่นกันสามชั้น พระรัศมีเป็นปลียอด นอกจากนั้นแล้วยังมียอด
ขนาดเล็กทั้งสี่ด้านล้อมมงกุฎ ทำให้ดูคล้ายกับมงกุฎห้ายอด เช่นพระพุทธปฏิมาในวิหารสมเด็จฯ วัด
เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (รูปที่ ๘.๗๒) ส่วนพระพุทธปฏิมาในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
(รูปที่ ๘.๗๓) ไม่มียอดเล็กสี่ยอด อย่างไรก็ตาม พระพุทธปฏิมาในหมวดนี้ทุกองค์ทรงครองจีวรห่มคลุม
รูปที่ ๘.๗๓ พระสมณโคดมยืน ขอบด้านบนของสบงและหน้านางไม่มีลวดลายตกแต่งใด ๆ จีวรด้านข้างผายออกเล็กน้อยทางตอนล่าง
ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย
ทรงเครื่องใหญ่
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๕๗.๕ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

๔๓๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16) ครีบที่
อุณหิสหายไป เช่น พระพุทธปฏิมาทรงเครื่องน้อยในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัด
สุโขทัย (รูปที่ ๘.๗๔) และพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องน้อยมีจารึกปี พ.ศ. ๒๐๘๔ (ค.ศ. 1541) ใน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (รูปที่ ๘.๗๕) พระพุทธปฏิมาองค์นี้สวมอุณหิส แต่ยังคงไว้ซึ่งเม็ด
พระศก พระเมาลีและพระรัศมีทรงเปลวสูง

รูปที่ ๘.๗๔ พระสมณโคดมยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้าง รูปที่ ๘.๗๕ พระสมณโคดมยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้าง


ประทานอภัย ทรงเครื่องน้อย ประทานอภัย ทรงเครื่องน้อย
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ สร้างปี พ.ศ. ๒๐๘๔ (ค.ศ. 1541)
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16) สัมฤทธิ์ สูง ๑.๘๗ เมตร
สัมฤทธิ์ สูง ๘๓ เซนติเมตร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
จังหวัดสุโขทัย

พระพุทธปฏิมายืน ๔๓๑
(๒) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ / ค.ศ. 1656 - 1688) งานศิลปกรรม
จากเปอร์เซีย เข้ามามีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะในประเทศไทย ทั้งนี้พระมหากษัตริย์พระองค์
นั้น “ทรงใฝ่พระทัยในศิลปะวิชาการต่างๆ ... รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย พระองค์ถึงกับทรงหา
รูปภาพที่แสดงถึงขนบธรรมเนียมของประเทศอื่นๆ ไว้ศึกษา” (สำเภากษัตริย์สุลัยมาน ๒๕๔๕, ๕๑ – ๕๒)
นอกจากนั้นแล้ว “ในเขตพระราชฐานของพระเจ้ากรุงสยามนั้น... มีเรือนหลายหลังสร้างโดยพวกอิหร่าน”
(เรื่องเดียวกัน, ๗๕) ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทับทรวงของพระพุทธปฏิมา ทรงเครื่องใหญ่ใน
พระอุโบสถวัดตึก อำเภอพระนครศรีอยุธยา (รูปที่ ๘.๗๖ ก.) จะมีลวดลายที่ดัดแปลงมาจากลายในศิลปะ
เปอร์เซีย (รูปที่ ๘.๗๖ ข.) ถึงแม้ว่าพระพุทธปฏิมาองค์นี้อาจจะสร้างขึ้นในร่วมสมัยของนายสรศักดิ์
ก็ตาม (Listopad 1995, 415) อนึ่ง อิบนิ มุหัมมัด อิบรอฮีม อาลักษณ์ของคณะราชทูตเปอร์เซียที่เข้ามา
ถวายพระราชสาสน์ในปี พ.ศ. ๒๒๒๙ (ค.ศ. 1686) ยังบันทึกไว้ด้วยว่า สมเด็จพระนารายณ์ “เมื่อทรงตื่น
จากบรรทมแล้วก็ทรงสรงและเปลี่ยนพระภูษา แล้วก็เสด็จไปกราบพระพุทธปฏิมาที่วัด รวมทั้งรูปปั้นของ
พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งที่มีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วก็ตาม” (สำเภากษัตริย์สุลัยมาน ๒๕๔๕, ๗๕) รูปปั้น
ของพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าวหมายถึงพระพุทธปฏิมาฉลองพระองค์นั่นเอง ข้อมูลดังกล่าวได้รับการ
สนับสนุนจากการวิเคราะห์พระพุทธปฏิมาทรงเครื่องฉลองพระองค์ในพระบรมมหาราชวังของพิชญา
สุ่มจินดา ที่ได้ข้อสรุปว่า พระพุทธปฏิมาฉลองพระองค์ “ส่วนใหญ่มักสร้างขึ้นในขณะที่เจ้านายพระองค์
นั้นยังมีพระชนม์อยู่ เพื่อเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติของผู้สร้าง เพราะต้องใช้ทรัพย์สินเงินทองรวมทั้ง
ฝีมือช่างที่ประณีตเป็นอันมาก ในการสร้างพระพุทธปฏิมาแต่ละองค์” (พิชญา ๒๕๕๐, ๑๑๗)

รูปที่ ๘.๗๖ ก. พระสมณโคดมยืน


ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย
ทรงเครื่อง
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 – ต้น 18)
สัมฤทธิ์
พระอุโบสถวัดตึก
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

รูปที่ ๘.๗๖ ข. ทับทรวงของพระพุทธรูป
(รูปที่ ๘.๗๖ ก.)

๔๓๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


- แบบกำแพงเพชร

เศียรพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องใหญ่ สวมอุณหิสที่มีลวดลายคล้ายกับอุณหิสของพระพุทธปฏิมา
ปางห้ามสมุทรทรงเครื่องน้อยในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ดูรูปที่ ๘.๗๕) เว้นแต่ลายประจำยาม
ตรงกลางไม่มีกรอบ พระพักตร์ของพระพุทธปฏิมาองค์นี้แสดงเอกลักษณ์ของพระพุทธปฏิมาแบบ
กำแพงเพชร (ดูรูปที่ ๕.๑๔๕ - ๕.๑๔๖) คือพระขนงเป็นเส้นคมโค้งจรดกันกลางสันพระนาสิก (รูปที่ ๘.๗๗)

- แบบนครศรีธรรมราช

พระพุทธปฏิมาทรงเครื่องใหญ่ที่สร้างนอกเขตวงราชธานีที่สำคัญได้แก่ พระพุทธปฏิมาวัด
หน้าพระลาน อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช (รูปที่ ๘.๗๘) มีจารึกว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๔๐
(ค.ศ. 1697) ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา (ประทุม ๒๕๑๕, ๗๒) ทรงสวมมงกุฎยอดน้ำเต้า กุณฑล
กรองศอ พาหุรัด ทองพระกร ขอบสบงตอนบนเว้ารับกับพระนาภี คาดด้วยรัดพระองค์ หน้านาง
แกะเป็ น ลาย พระขนงเป็ น เส้ น โค้ ง บรรจบกั น ที่ พ ระนลาฏเหนื อ สั น พระนาสิ ก พระเนตรเหลื อ บต่ ำ
พระโอษฐ์รูปกระจับ

รูปที่ ๘.๗๗ เศียรพระสมณโคดม ส่วนพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องใหญ่ วัดโพธาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (รูปที่
ยืนยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย ๘.๗๙) น่าจะสร้างขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา เพราะเครื่องทรงเป็นรูปแบบที่สร้างขึ้นในวงราชธานีช่วงรัชกาล
ทรงเครื่องใหญ่ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ทรงมงกุฎยอด น้ำเต้า กรรเจียกแต่งด้วยกระจัง ทรงกุณฑล กรองศอ ห้อย
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 – ต้น 17) ทับทรวง สังวาลย์ไขว้ ขอบเป็นกระจัง ทรงพาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท สวมพระธำมรงค์ในทุก
สัมฤทธิ์ นิ้วพระหัตถ์ ทรงพระภูษาลายดอกทับสบง คาดด้วยรัดพระองค์และห้อยสุวรรณกระถอบที่ด้านหน้า
สมบัติของเอกชน ปลายขอบจีวรด้านข้างห้อยลงเป็นมุมแหลม ด้านในตกแต่งด้วยลายกระจังตาอ้อย

เป็นที่น่าเสียดายว่าพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องฉลองพระองค์ของพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า
และของพระบรมวงศานุวงศ์สมัยอยุธยาได้อันตรธานไปพร้อมกับการเสียกรุงครั้งที่ ๒ จึงไม่สามารถที่
จะคาดคะเนความวิจิตรตระการตาของพระพุทธปฏิมาเหล่านี้ได้ แต่ก็เชื่อได้ว่าคงจะมีความอลังการ
ไม่น้อยไปกว่าพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องฉลองพระองค์ของสมัยรัตนโกสินทร์

รูปที่ ๘.๗๙ พระสมณโคดมยืน


รูปที่ ๘.๗๘ พระสมณโคดมยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย
ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างประทานอภัย ทรงเครื่องใหญ่
ทรงเครื่องใหญ่ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓
สร้างปี พ.ศ. ๒๒๔๐ (ค.ศ. 1697) (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์ สูง ๒.๗๕ เมตร สัมฤทธิ์ องค์พระสูง ๑.๓๓ เมตร
วัดหน้าพระลาน วัดโพธาราม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พระพุทธปฏิมายืน ๔๓๓
๑๓.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่อง สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมาทรงเครื่อง ที่สร้างในเมืองชั้นเอกที่สำคัญได้แก่ พระพุทธปฏิมาของเจ้าพระยา
นครศรีธรรมราช (พัฒน์) (รูปที่ ๘.๘๐) ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ (ค.ศ. 1784) (ประชุม
พงศาวดาร เล่ ม ๒, ๒๕๐๖, ๒๒๑ – ๒๒๗) ดั ง นั้ น พระพุ ท ธปฏิ ม าองค์ นี้ จึ ง เลี ย นแบบตามพระ
พุทธเพชรรัตน์ (ดูรูปที่ ๓.๖๓ ก.) และพระพุทธเนาวรัตน์ (ดูรูปที่ ๓.๖๔ ก.) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างขึ้น “อย่างใหม่” คือห่มดอง เพื่อที่จะทรงเครื่องต้นให้แนบเนียน

ส่วนพระพุทธปฏิมาที่วัดวัง ตำบลลำปำ อำเภอเมืองฯ จังหวัดพัทลุง (รูปที่ ๘.๘๑) ทรงครองจีวร
ห่มคลุม “มีปีกแลครีบพระกรอย่างโบราณ” พระพุทธปฏิมาองค์นี้เดิมประดิษฐาน อยู่หน้าพระประธานใน
พระอุโบสถ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องของพระยาพัทลุง (ทับ) ซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งขึ้นเป็นพระยาพัทลุง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๓ (ค.ศ. 1850) ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐
(ค.ศ. 1857) ท่านขออุปสมบทที่วัดวัง แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ไป
อุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในคณะธรรมยุติกนิกายแทน โดยพระราชทานเหตุผลว่าเพื่อเป็น
เกียรติแก่วงศ์ตระกูล (สารูป ๒๕๒๘, ๑๔๗) นอกจากนั้นแล้ว พระยาพัทลุง (ทับ) ยังเป็นผู้ทำการบูรณ-
ปฏิสังขรณ์วัดวังในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ (ค.ศ. 1860) อีกด้วย (ชัยวุฒิ ๒๕๒๔, ๑๔๓) จึงเป็นไปได้ว่า พระพุทธปฏิมา
ทรงเครื่อง ของพระยาพัทลุง (ทับ) นี้น่าจะสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๓ – ๒๔๐๐ (ค.ศ. 1850 - 1857)

รูปที่ ๘.๘๐ พระพุทธรูปทรงเครื่อง รูปที่ ๘.๘๑ พระพุทธรูปทรงเครื่องของพระยาพัทลุง (ทับ)


ของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) สร้างปี พ.ศ. ๒๓๙๓ – ๒๔๐๐
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๗ (ค.ศ. 1784) (ค.ศ. 1850 - 1857)
สัมฤทธิ์ ลงยา สัมฤทธิ์ องค์พระสูง ๑.๗๗ เมตร
วัดพระบรมธาตุ วัดวัง
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตำบลลำปํา อำเภอเมืองฯ จังหวัดพัทลุง

๔๓๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ถึ ง แม้ ว่ า จะมี ก ารสร้ า งพระพุ ท ธปฏิ ม าทรงเครื่ อ งใหญ่ บ้ า งในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบรมวงศานุวงศ์และ
ข้าราชการ เช่นองค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (รูปที่ ๘.๘๒) ที่มีการประดิษฐ์ดอกไม้ไหว
ประดับเพิ่มเติมบนพระมหามงกุฎ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ (ค.ศ. 1868) แต่การสร้างพระพุทธปฏิมาเช่นนี้
ก็มีเป็นจำนวนน้อย และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมรูป
๔ รัชกาลตามแนวทางศิลปะรูปเหมือนของชาวตะวันตกเมื่อแรกเสวยราชย์ ตามพระราชประสงค์ของ
สมเด็ จ พระบรมชนกนาถ ตามที่ ส มเด็ จ ฯ เจ้ า ฟ้ า กรมพระยานริ ศ รานุ วั ด ติ ว งศ์ กราบทู ล สมเด็ จ ฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า

เป็นพระราชดำริของทูลกระหม่อม (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
โดยพระราชประสงค์จะทรงสร้างขึ้นไว้สักการบูชาในฐานเป็นพระเทพบิดรแห่ง
กรุงรัตนโกสินทร์ เดิมทีทรงพระราชดำริจะตั้งในวิหารยอด รวมกับพระเทพ
บิดรกรุงศรีอยุธยา แต่ภายหลังทรงพระราชดำริว่าคับแคบนัก จึงทรงสร้าง
พระพุ ท ธปรางคปราสาทขึ้ น โดยพระราชประสงค์ จ ะตั้ ง พระบรมรู ป แต่
พระพุทธปรางค์ยังไม่แล้วก็มิได้สร้างพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า
หลวง จึงทรงสร้างต่อตามพระราชดำริ (ศิลปากร ๒๕๑๒, ๔๑)

รูปที่ ๘.๘๒ พระสมณโคดมยืน ปางห้ามสมุทร


ได้จากวัดวิเศษการ ธนบุรี
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๑๑ (ค.ศ. 1865)
สัมฤทธิ์ สูง ๒.๔๘ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระพุทธปฏิมายืน ๔๓๕
ส่วนที่จะสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าว่า

เมื่อรัชกาลที่ ๕ เคยมีการปรึกษาถึงเรื่องสร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์
ทูลกระหม่อม แต่เห็นกันเป็นยุติว่าในรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสร้างพระบรมรูป
ฉลองพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อนๆ ขึ้นสักการบูชาเช่นเดียวกับ
เคยสร้ า งเป็ น พระพุ ท ธรู ป ฉลองพระองค์ ม าแต่ ก่ อ นแล้ ว แต่ นั้ น เรื่ อ งสร้ า ง
พระฉลองพระองค์ก็เป็นอันเลิก (สาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๔ ๒๕๐๔, ๑๘๑)

อนึ่ง จากเนื้อหาข้างต้นเห็นได้ว่า พระบรมรูปเหมือน ๔ รัชกาล ที่ประดิษฐานในปราสาทพระ
เทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวังนั้น (ดูรูปที่ ๓.๗๑ ก - ง) เป็นการสับเปลี่ยน
พระพุทธปฏิมายืนปางห้ามสมุทรทรงเครื่อง กับภาพเหมือนจริงตามแนวศิลปะตะวันตก มิได้สร้างขึ้น
แทนเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ลัทธิเทวราช ดังที่ควอริช เวลส์ สันนิษฐาน (Quaritch Wales 1931, 170)
ตามทฤษฎีลัทธิเทวราชของยอร์ช เซเดส์ ที่กล่าวว่าเทวรูปของเขมรเป็นภาพเหมือนของกษัตริย์และ
พระราชวงศานุวงศ์ ซึ่งเมื่อสวรรคตและสิ้นพระชนม์ไปแล้ว จะไปเป็นองค์หนึ่งองค์เดียวกับเทพหรือเทวนารี
ที่พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธา (ยอร์ช เซเดส์ ๒๕๒๙, ๓๕ – ๕๑) แต่ปัจจุบันนี้เชื่อกันว่าลัทธิเทวราชที่เซเดส์
เสนอนั้น เป็นการตีความคำว่า “เทวราช” ที่คลาดเคลื่อน เพราะว่า “เทวราช” หมายถึง “พระราชาของ
เหล่าเทพ ซึ่งได้แก่พระศิวะ” มิใช่ “พระราชาผู้ทรงเป็นเทพ” (Kulke 1978, 13 – 14) อย่างไรก็ตาม ก็ยัง
มีผู้ที่เชื่อถือทฤษฎีของยอร์ช เซเดส์ อยู่มาก

ประเพณีการสร้างพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องฉลองพระองค์ถูกนำกลับมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. 1999) รัฐบาลโดยมีนายชวน
หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหล่อพระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทร
มหามงคลเฉลิมพระเกียรติ พระชนมพรรษา ๖ รอบ (ดูรูปที่ ๓.๔๑) เป็นพระพุทธปฏิมาทรงเครื่อง
ห่มคลุม ทรงพระมหามงกุฎกะไหล่ทอง ประดับอัญมณี ขนาดสูงเท่ากับพระองค์ เพื่อถวายแด่พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ศิลปากร ๒๕๔๓ ข, ๙๑) เนื่องในโอกาสมหามงคลนี้

รูปที่ ๓.๔๑ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร


มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. 1999)
ทองเหลือง กะไหล่ทอง สูง ๑.๗๒ เมตร
หอพระมณเฑียรธรรม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

๔๓๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ฐ.
ปางอุ้มบาตร

๑๔. พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร

พระพุทธปฏิมายืนปางอุ้มบาตรปรากฏขึ้นครั้งแรกในนิกายเถรวาท คณะมหาวิหารจากลังกา
เป็นที่นิยมในล้านนา อยุธยา และเป็นที่แพร่หลายในสมัยรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันใช้เป็นพระพุทธปฏิมา
ประจำวันของผู้ที่เกิดในวันพุธ กลางวัน

๑๔.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร สมัยล้านนา

(๑) ช่วงอาณาจักรล้านนา
- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)

พระพุทธปฏิมาที่มีจารึกที่เก่าสุดของบรรดาพระพุทธปฏิมาล้านนาทั้งหมดที่พบในปัจจุบัน ได้แก่
พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร วัดเชียงมั่น อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๘.๘๓) มีจารึกระบุ
จุลศักราช ๘๒๗ (พ.ศ. ๒๐๐๘ / ค.ศ. 1465) (ฮันส์ เพนธ์ ๒๕๑๙, ๕๕ – ๕๖) คือในสมัยของพระเจ้า
ติโลกราช เป็นพระพุทธปฏิมาห่มคลุม สองพระหัตถ์ประคองบาตรในระดับพระเพลา พระรัศมีและบาตร
เดิมนั้นได้อันตรธานหายไป ชายจีวรทั้งสองด้านทำเป็นชายผ้าพริ้วรับกับชายพริ้วของสบงด้านล่าง
รูปที่ ๘.๘๓ พระสมณโคดมยืน อุ้มบาตร
สร้างปี พ.ศ. ๒๐๐๘(ค.ศ. 1465)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๗๓ เมตร (๒) ช่วงประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๔๔๗ (ค.ศ. 1774 - 1899)
วิหารวัดเชียงมั่น
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน (รูปที่
๘.๘๔) สลักจากไม้สะเลียม (สะเดา) ซึ่งน่าจะจำลองแบบมาจากพระพุทธปฏิมาของพิพิธภัณฑสถานแห่ง
ชาติ เชียงแสน มีจารึกปี พ.ศ. ๒๑๒๑ (ค.ศ. 1578) (Stratton 2004, 208) กล่าวคือ ขอบจีวรด้านข้าง
ห้อยขนานกับพระเพลาและพระชงฆ์ ชายผายออก ส่วนชายจีวรด้านล่างสั้นกว่าชายสบงเล็กน้อย แต่
องค์ของวัดสะเลียมหวานน่าจะสลักขึ้นในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 19)

รูปที่ ๘.๘๔ พระสมณโคดมยืน อุ้มบาตร


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 19)
ไม้สะเดา
พระวิหาร วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

พระพุทธปฏิมายืน ๔๓๗
๑๔.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร สมัยอยุธยา

ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธปฏิมายืนปางอุ้มบาตรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(รูปที่ ๘.๘๕) ทรงครองจีวรในลักษณะเดียวกันกับพระโลกนาถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ดูรูปที่
๘.๔๙) คือชายจีวรด้านหน้ายกรั้งขึ้นไปที่บั้นพระองค์ด้านซ้ายใต้พระกัปประ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของ
พระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย แต่เมื่อเป็นพระพุทธปฏิมาที่พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้น
ประคองบาตร ริ้วจีวรดังกล่าวจึงดูไม่สมเหตุสมผลและแสดงให้เห็นว่าช่างผู้สร้างพระพุทธปฏิมานั้น
อาจจำลองแบบมาจากพระพุทธปฏิมายืนยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย ปางห้ามญาติ

ในทางตรงกันข้ามพระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (รูปที่ ๘. ๘๖)
จำลองแบบมาจากพระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ เพราะริ้วของจีวรด้านหน้าพาดพระชงฆ์และพระเพลา
ไปสู่ใต้พระกัปประด้านขวา ซึ่งทั้งสองตัวอย่างนี้น่าจะแสดงให้เห็นว่า อาจจะมีการสร้างพระพุทธปฏิมายืน
ปางอุ้มบาตรขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 – ต้น 17) และน่าจะได้รับ
แรงบันดาลใจจากล้านนา

พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร เป็นที่นิยมที่อาณาจักรอยุธยาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18) อันเห็นได้จากหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร อำเภอเมืองฯ จังหวัด
สมุทรสงคราม (รูปที่ ๘.๘๗) ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทรในพระวิหารยอด
รูปที่ ๘.๘๕ พระสมณโคดมยืน อุ้มบาตร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ดูรูปที่ ๘.๖๓) เช่น พระเมาลีใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลวสูง ขอบจีวรด้านข้าง
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ผายออกทางด้านล่างและห้อยลงที่มุม
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 – ต้น 17)
สัมฤทธิ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม อนึ่ง หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพระพุทธปฏิมา ๑ ใน ๓ องค์ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน พี่ใหญ่คือหลวงพ่อ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้านแหลม รองลงมาคือหลวงพ่อโสธร วัดโสธรวราราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา องค์น้องสุด
ท้องคือหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (ดูรูปที่ ๕.๑๔๔) ทั้ง ๓ องค์
แสดงอภินิหารโดยการลอยตามน้ำมา แต่ในที่สุดก็ขึ้นฝั่งตามสถานที่ข้างต้น ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ (ค.ศ.
1873) เกิดอหิวาตกโรคระบาด เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลมฝันว่า หลวงพ่อบ้านแหลมได้ประทานคาถา
บทหนึ่ง โดยให้ไปดูที่พระหัตถ์ของหลวงพ่อ ปรากฏว่ามีคาถาอยู่ที่พระหัตถ์ทั้งซ้ายและขวา และเมื่อจด
คาถานั้นไปทำน้ำมนต์ให้ชาวบ้านดื่ม ผู้ที่ป่วยจึงหายจากโรค กิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อจึงเป็น
ที่เลื่องลือตั้งแต่นั้นมา (ศิลปากร ๒๕๔๓ ก, ๓๖๘ – ๓๗๐)

รูปที่ ๘.๘๖ พระสมณโคดมยืน อุ้มบาตร


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 – ต้น 17)
สัมฤทธิ์ องค์พระสูง ๑.๓๐ เมตร
วิหารสมเด็จฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

๔๓๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๘.๘๗ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๖๗ เมตร
วัดเพชรสมุทร
อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุมทรสงคราม

พระพุทธปฏิมายืน ๔๓๙
๑๔.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตร เป็นที่นิยมในสมัยรัตนโกสินทร์เพราะถือกันว่าเป็นพระพุทธปฏิมา
ประจำวันพุธ เช่นพระพุทธปฏิมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช (รูปที่ ๘.๘๘) ซึ่งแสดงให้
เห็นความเรียบง่ายของพระพุทธปฏิมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เฉกเช่นพระ
พุทธปฏิมายืน ปางห้ามญาติ จากวัดสุนทราวาส อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง (ดูรูปที่ ๘.๓๖)

ความนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาปางอุ้มบาตร อันเป็นพระพุทธปฏิมาประจำวันพุธนั้น เห็นได้จาก
ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า

พระพุทธปฏิมาพระชนมพรรษา [ประจำ] วัน... เป็นธรรมเนียมมีขึ้นในแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปลายๆ ลงมาแล้ว ท่านทรงสร้างพระ
พุทธปฏิมาด้วยทองคำยืนอุ้มบาตรสององค์ หนักองค์ละ ๑ ชั่ง ๕ ตำลึง ฐาน
เงินก้าไหล่ทอง บาตรนั้นใช้ศิลาทองเมืองจีน มีฝาทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี
ทรงพระอุทิศส่วนพระกุศลถวายฉลองพระคุณแด่สมเด็จพระอัยกาธิราช คือ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งประสูติวันพุธแรม ๕ ค่ำ เดือน ๔
ปีมะโรงอัฐศก ศักราช ๑๐๙๘... อีกพระองค์หนึ่ง... ทรงพระราชอุทิศส่วน
พระราชกุศลถวายฉลองพระเดชพระคุณแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ คือพระบาท
รูปที่ ๘.๘๘ พระสมณโคดมยืน อุ้มบาตร สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งประสูติในวันพุธขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗ ค่ำปีกุน
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ นพศก ศักราช ๑๑๒๙ (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๐๗, ๙๘ – ๑๐๐)
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๕๖ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ดูรูปที่ ๓.๔๒)
นครศรีธรรมราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพุทธลักษณะคล้ายกันทุกประการ แม้กระทั่งบาตรลงยา
ลายกุดั่นก้านแย่ง ก็เหมือนกัน จะแตกต่างกันก็ตรงที่บาตรของพระพุทธปฏิมาองค์หลัง ไม่มีใบคั่น
ระหว่างกลีบดอกกุดั่น พระพุทธปฏิมาทั้งสององค์นี้ น่าจะจำลองจากพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวาร
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ปรับเปลี่ยนพระหัตถ์จากปางห้ามสมุทรเป็นปางอุ้มบาตร (ดูรูป
ที่ ๓.๔๔) กล่าวคือ มีพระเมาลีขนาดใหญ่ทรงโอคว่ำ พระรัศมีเปลว ครองจีวรห่มคลุม ขอบจีวรด้านข้าง
ห้อยขนานกับพระเพลาและพระชงฆ์ ชายจีวรด้านล่างโค้งหยักเป็นมุมแหลม

ในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ (ค.ศ. 1881) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง
พระพุ ท ธปฏิ ม าประจำพระชนมวารสมเด็ จ พระศรี ส วริ น ทิ ร าบรมราชเทวี พ ระพั น วั ส สาอั ย ยิ ก าเจ้ า
(สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๓๙๐) (ดูรูปที่ ๓.๔๙) เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา
พระบรมราชเทวี พระอัครมเหสี ในฐานะที่ทรงเป็น พระชนนีของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า
มหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร (มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ๒๕๔๙, ๒๐) พระพุทธปฏิมาองค์
นี้มีพระเมาลีเตี้ย รองรับพระรัศมีเปลวลงยา ทรงครองจีวรห่มแหวกแบบพระภิกษุคณะมหานิกาย จีวร
ทำเป็นริ้วตามธรรมชาติ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวารของ
พระองค์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หรือ ๒๔๗๐ (ค.ศ. 1926 หรือ 1927) (สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๔๕๔) พระองค์ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเทพรจนาปั้นพระพุทธปฏิมายืนอุ้มบาตรถวาย (ดูรูปที่ ๓.๕๒) พระเศียร
เลียนแบบพระพุทธปฏิมาอินเดียแบบคันธาระ หรือคันธารราษฎร์ คือพระเกศาเกล้าพระเมาลี แต่มี
พระรัศมีเป็นเปลว ครองจีวรห่มคลุมพาดลูกบวบแบบคณะธรรมยุติกนิกาย จีวรและสบงทำเป็นริ้วตาม
ธรรมชาติ

๔๔๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม

ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นปีที่ได้ทำการสร้างพระพุทธปฏิมายืน ปางอุ้มบาตรที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม
กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๘.๘๙) จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ พระพุทธปฏิมาก่ออิฐถือปูนองค์นี้ สมเด็จพระ
พุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๐ (ค.ศ. 1867) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์มรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ (ค.ศ. 1872) การ
ก่อสร้างแล้วเสร็จเพียงแค่ครึ่งองค์ (มรดกไทย ๒๕๔๒, ๙๑) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารองค์ต่อๆ มา จึง
ดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์ในอีก ๖๐ ปีต่อมา มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธปฏิมายืนครองจีวรห่มแหวก
ตามแบบคณะมหานิกาย ถึงแม้ว่าหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร จะมีพระนามว่า “พระศรีอาริยเมตไตรย์”
แต่คนก็ยังเรียกท่านว่า “หลวงพ่อโต” ตามพระนามของผู้สร้างนั่นเอง อนึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่าน
ชอบสร้างพระพุทธปฏิมาขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดศรัทธาแก่ผู้พบเห็น จนมีวลีกล่าวถึงประวัติของท่านโดย
พาดพิงพระพุทธปฏิมาที่ท่านสร้างขึ้นไว้ตามสถานที่ต่างๆ ว่า “ท่านนอนที่อยุธยา (วัดสะตือ) มานั่งที่ไชโย
(ดูรูปที่ ๕.๓๑) มาโตที่วัดอินทร์ จำศีลที่วัดระฆัง” (เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน)

รูปที่ ๘.๘๙ หลวงพ่อโต


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๑๐ – ๒๔๗๐
(ค.ศ. 1867 – 1927)
ก่ออิฐถือปูน สูง ๓๒ เมตร
วัดอินทรวิหาร
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมายืน ๔๔๑
พระพุทธปฏิมายืนปางอุ้มบาตรที่พิริยะ ไกรฤกษ์ ปั้นขึ้นเมื่อบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดบวรนิเวศ-
วิหาร ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. 1967) เพื่อเป็นพระพุทธปฏิมาประจำวันของบิดา คือนายพิพรรธน์ ไกรฤกษ์
เมื่อท่านมีอายุครบ ๕ รอบ (รูปที่ ๘.๙๐) พระพุทธปฏิมาองค์นี้ ได้รับแรงบันดาลใจพระเศียรจาก
พระพุทธปฏิมาอินเดียแบบคันธารราษฎร์ที่สร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษ
ที่ 5) แต่องค์พระพุทธปฏิมานั้นปั้นเป็นภาพเหมือน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระภิกษุวัดบวรนิเวศ-
วิหาร ครองจีวรห่มคลุมม้วนลูกบวบมายืนเป็นแบบให้ และได้รับความเห็นชอบจากสมเด็จพระญาณสังวร
(เจริญ สุวฑฺฒโน) ที่มีพระดำรัสว่าพระพุทธปฏิมานั้นจะสร้างขึ้นเป็นแบบใหม่ก็ได้ ไม่ต้องเลียนแบบของ
เดิม พร้อมกันนี้ก็ยังได้ประทานการปลุกเสกพระพุทธปฏิมาให้ด้วย

รูปที่ ๘.๙๐ พระพุทธรูปประจำวัน พิพรรธน์ ไกรฤกษ์


พิริยะ ไกรฤกษ์ ปั้นหุ่น
พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. 1974)
สัมฤทธิ์ องค์พระสูง ๓๑ เซนติเมตร
สมบัติเอกชน

๔๔๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ฑ.
ปางรำพึง

๑๕. พระพุทธปฏิมายืน ปางรำพึง

พระพุทธปฏิมายืนยกพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายหน้าพระอุระเรียกว่า “ปางรำพึง” ดังที่กล่าว
ถึงใน โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงพระราช-
นิพนธ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๐ (ค.ศ. 1727) ว่า

ขอพรพระพุทธปฏิมาเรื้อง รำพึง
ตฤกไตรในวาวดึงษ์ ถ่องถ้วน
(Griswold and Nฺa Nagara 1970, 195)

เมื่อพระพุทธปฏิมาปางรำพึงถูกกำหนดให้เป็นพระพุทธปฏิมาสำหรับผู้ที่เกิดในวันศุกร์ การสร้าง
พระพุทธปฏิมาปางนี้จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมายืน ปางรำพึง สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมาปางรำพึงที่กำหนดอายุได้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ต้น ๒๕ (กลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 19) ได้แก่องค์ในพระวิหารหลวงพ่อดุสิต วัดสระเกศ (รูปที่ ๘.๙๑) ทรงครองจีวร
รูปที่ ๘.๙๑ พระสมณโคดมยืน ปางรำพึง ห่มดอง ชายเป็นแถบยาวจรดพระนาภี จีวรเป็นลายดอก พุทธลักษณะคล้ายพระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทร
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ต้น ๒๕
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19) ในพระวิหารยอด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ดูรูปที่ ๘.๖๓)
สัมฤทธิ์
พระวิหารวัดสระเกศ หลังจากที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จสวรรคต
กรุงเทพมหานคร
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ (ค.ศ. 1894) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้า
ลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราช
กุมาร (ธงทอง ๒๕๒๙, ๑๗) และในปีต่อมา จึงสถาปนาพระชนนีของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า
มหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี (เจฟฟรี่
ไฟน์สโตน ๒๕๓๒, ๗๗) และอาจจะสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จฯ พระอรรคราชเทวี ซึ่ง
ต่อมาดำรงพระอิสสริยยศเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (ดูรูปที่ ๓.๕๐) พระราชทานในปี
นั้นด้วย ซึ่งแตกต่างจากพระพุทธรูปที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นก่อนหน้านั้น พระพุทธรูปองค์
นี้มีเม็ดพระศกเป็นก้นหอยขนาดใหญ่ พระเมาลีสูงใหญ่ พระรัศมีคล้ายกลีบบัวรูปสามเหลี่ยม ครองจีวร
ห่มแหวกมีริ้วเป็นธรรมชาติ

รูปที่ ๓.๕๐ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร


สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๓๘? (ค.ศ. 1875?)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
องค์พระสูง ๒๑.๓๕ เซนติเมตร
หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือพระพุทธปฏิมา ในพระบรมมหาราชวัง)

พระพุทธปฏิมายืน ๔๔๓
รูปที่ ๘.๙๒ พระพุทธวโลกนญานบพิตรสิริกิติ์-
ธรรมโสตถิมงคล
แก้ว หนองบัว ปั้นและหล่อ
พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977)
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
กรุงเทพมหานคร
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)

๔๔๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ในช่วงรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้ ภาวาส
บุนนาค รองราชเลขาธิการ “แสวงหาพระพุทธปฏิมาโบราณปางรำพึงที่มีพุทธลักษณะสวยงาม เมื่อได้
ทอดพระเนตรแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้นายแก้ว หนองบัว บ้านช่างหล่อ เป็นประติมากรปั้นหุ่นและหล่อ”
(เพลิ น พิ ศ ๒๕๓๓, ๓๔) เป็ น พระพุ ท ธรู ป ประจำพระชนมวาร คื อ ประจำวั น ศุ ก ร์ วั น พระราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรง
เททองหล่อพระพุทธรูป ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977) แล้วโปรดเกล้าฯ ให้
ประดิษฐานบนชุกชี พระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ถวายพระนามพระพุทธรูปว่า
“พระพุทธวโลกนญานบพิตรสิริกิติ์ธรรมโสตถิมงคล” (รูปที่ ๘.๙๒) ถึงแม้ว่าพระพุทธปฏิมาองค์นี้จะมี
แม่แบบเป็น “พระพุทธรูปโบราณปางรำพึง” แต่ช่างได้ปรับเปลี่ยนให้พระพักตร์ พระกร และพระหัตถ์
มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญ มากกว่าพระพุทธปฏิมา นอกจากนั้นแล้วจีวรก็มีความอ่อนพริ้วมากกว่า
จีวรของพระพุทธปฏิมาต้นแบบ

พระพุทธปฏิมายืน ๔๔๕
หมวด ฒ.
ปางถวายเนตร

๑๖. พระพุทธปฏิมายืน ปางถวายเนตร

สมเด็ จ พระมหาสมณเจ้ า กรมพระปรมานุ ชิ ต ชิ โ นรส ทรงบั ญ ญั ติ น ามพระพุ ท ธปฏิ ม ายื น
พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายประสานกันที่หน้าพระเพลาว่า “ปางถวายเนตร” เป็นปางและตอนเดียวกัน
กับที่กล่าวถึงใน โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง พระราชนิพนธ์ในสมเด็จ
พระเจ้าบรมโกศ ในปี พ.ศ. ๒๒๗๐ (ค.ศ. 1727) ว่า

ขอพรพุทธเนตรน้าว นำถวาย
เจ็ดสถารสการ เสมอหมาย มุ่งไว้
(Griswold and Nฺa Nagara 1970, 196)
รูปที่ ๘.๙๓ ซุ้มครึ่งซีก ประดิษฐาน
พระสมณโคดมลีลาและพระสมณโคดม พระพุทธปฏิมาปางถวายเนตร เป็นที่นิยมในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะใช้เป็นพระพุทธปฏิมา
ยืนประสานพระหัตถ์หน้าพระเพลา
เขียนช่วง พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ ประจำวันอาทิตย์ แต่ก่อนหน้าที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสจะทรงบัญญัติ
(ค.ศ. 1656 - 1688) “ปางถวายเนตร” ขึ้นมานั้น พระพุทธปฏิมายืนพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายหน้าพระเพลาก็เป็นที่
จิตรกรรมในอุโมงค์พระมณฑปวัดศรีชุม แพร่หลายที่อยุธยา ซึ่งส่งอิทธิพลต่อล้านนาด้วย
จังหวัดสุโขทัย

๑๖.๑ พระพุทธปฏิมายืน ปางถวายเนตร สมัยอยุธยา

ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธปฏิมายืนพระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายที่พระเพลา น่าจะเป็นที่นิยมแพร่หลายขึ้น
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ / ค.ศ. 1656 - 1688) ทั้งนี้เพราะข้อมูลเท่าที่มีอยู่ใน
ปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า ไม่น่าจะเก่าไปกว่ารัชกาลนั้น

พระพุทธปฏิมาปางถวายเนตร ปรากฏควบคู่กันกับพระพุทธปฏิมาลีลาเช่นจิตรกรรมฝาผนัง
ภายในอุโมงค์วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ที่แสดงให้เห็นพระพุทธปฏิมายืนกลุ่มนี้ กับพระพุทธปฏิมาลีลาที่
ประดิษฐานอยู่ด้านละองค์ภายในซุ้มครึ่งซีกของภาพวิหารหลายยอด (รูปที่ ๘.๙๓) ซึ่งซุ้มลักษณะนี้นิยม
ตกแต่งปรางค์กลีบมะเฟือง เช่นปรางค์หมายเลข ๖ ข. และ ๓๒ ค. ในวัดมหาธาตุลพบุรี สร้างในสมัย
สมเด็จพระนารายณ์ (พิริยะ ๒๕๔๔ ก, ๗๘) นอกจากนั้นแล้วพระพุทธปฏิมายืนกลุ่มนี้และพระพุทธปฏิมา
ลีลา ยังปรากฏอยู่องค์ละด้านของปรางค์กลีบมะเฟืองที่วัดมหาธาตุ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท (รูปที่
๘.๙๔ ก. และ ๘.๙๔ ข.) พระพุทธปฏิมายืนพระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายที่พระเพลา ยังใช้ตกแต่ง
เจดีย์วัดพระแก้ว อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท (รูปที่ ๘.๙๕) ซึ่งสร้างในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
เช่นกัน (เรื่องเดียวกัน, ๘๑) รวมไปถึงเจดีย์ในวัดพระรูป อำเภอเมืองฯ สุพรรณบุรี ที่สร้างในช่วงระยะ
เวลาเดียวกันนั้น (รูปที่ ๘.๙๖) ยังแสดงให้เห็นพระพุทธปฏิมายืนปางถวายเนตร สลับกับพระพุทธปฏิมา
ลีลาที่เรือนธาตุอีกด้วย

๔๔๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๘.๙๔ ก. พระสมณโคดมยืนประสานพระหัตถ์หน้าพระเพลา รูปที่ ๘.๙๔ ข. พระสมณโคดม ลีลา
สร้างปี พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ สร้างปี พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑
(ค.ศ. 1656 - 1688) (ค.ศ. 1656 - 1688)
ปูนปั้น ปูนปั้น
พระปรางค์กลีบมะเฟือง พระปรางค์กลีบมะเฟือง
วัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุ
อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท (รูปที่ ๘.๙๔ ก)

รูปที่ ๘.๙๕ พระสมณโคดมยืนประสานพระหัตถ์ที่พระเพลา รูปที่ ๘.๙๖ พระสมณโคดมลีลา


สร้างปี พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ และพระสมณโคดมยืน
(ค.ศ. 1656 - 1688) ประสานพระหัตถ์ที่พระเพลา
ปูนปั้น สร้างปี พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ (ค.ศ. 1656 - 1688)
พระเจดีย์วัดพระแก้ว ปูนปั้น
อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท วัดพระรูป อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี

พระพุทธปฏิมายืน ๔๔๗
พระยื น ศิ ล า ปางถวายเนตรได้ จ ากลพบุ รี ประดิ ษ ฐานที่ มุ ม พระระเบี ย งด้ า นทิ ศ เหนื อ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (รูปที่ ๘.๙๗) มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธปฏิมาปูนปั้นวัดพระแก้ว
อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาทแตกต่างกันตรงที่ไม่มีพระเมาลีและพระรัศมีเท่านั้น จึงอาจจะเป็นรูป
พระสาวกก็เป็นได้

ปัจจุบันยังไม่มีคำตอบว่า เหตุใดพระพุทธปฏิมายืนปางถวายเนตร จึงเป็นที่นิยมควบคู่กับ
พระพุทธปฏิมาลีลาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์

รูปที่ ๘.๙๗ พระสาวกยืนประสานพระหัตถ์ที่พระเพลา


จากจังหวัดลพบุรี
สร้างปี พ.ศ ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑
(ค.ศ. 1656 – 1688)
ศิลา สูง ๒.๐๓ เมตร
มุมพระระเบียงทิศเหนือ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

๔๔๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๑๖.๒ พระพุทธปฏิมายืน ปางถวายเนตร สมัยล้านนา

ช่วงประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๔๔๒ (ค.ศ. 1774 – 1899)

ถึงแม้ว่าพระพุทธปฏิมายืน ปางถวายเนตร จะมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับที่สร้างขึ้นที่
อยุธยา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่านิยมสร้างประดับพระสถูป คู่กับพระพุทธปฏิมาลีลา ตัวอย่างที่สำคัญของ
ล้านนาได้แก่ พระพุทธปฏิมาดุน ยืน ๕ องค์ และลีลา ๓ องค์ ที่ประดิษฐาน อยู่ระหว่างลายดอกประจำยาม
ทิศรอบองค์ระฆังของพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน พระพุทธปฏิมายืน ๓ องค์ มีจารึกว่า องค์ที่หนึ่ง
ผู้สร้างไม่ออกนาม แต่สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นกษัตริย์ เพราะปรารถนาที่จะเป็น “...ะญาจกัพดัดีราช”
(รูปที่ ๘.๙๘) องค์ที่สองพระมหาเถระรูปหนึ่งให้ช่างชื่อ “งาแดง” เป็นคนสร้าง และองค์ที่สามพระ
สูเมธังกรเป็นผู้สร้าง ส่วนพระพุทธปฏิมาลีลานั้นมีจารึกว่าผู้สร้างเป็น “เจามหาเทวีอนนเปนแมแกเจา
พระญาทงงสองพีนอง” นอกจากนั้นแล้ว จารึกยังนิยามปางของพระพุทธปฏิมายืนพระหัตถ์ขวาซ้อนทับ
พระหัตถ์ซ้ายประสานกันที่หน้าพระเพลาว่า “เทสนาแก่คนแลเทพดา” (Penth 1988 – 1989, 352 – 354)

พระพุทธปฏิมาดุนที่บุรอบองค์ระฆังนี้ เมื่อแรกสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๗๑ (ค.ศ.
1328) เมื่อพญาแสนภูบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุในปีนั้น โดยเปรียบเทียบรูปแบบศิลปะของพระพุทธ
ปฏิมาบุดุน กับรูปชาดกเขียนลายสลักเบาในมณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ซึ่งอักขรวิธีของจารึกบนรูป
ชาดกมีลักษณะคล้ายกันกับจารึกของพระพุทธปฏิมาบุดุนเหล่านี้อีก จึงกล่าวว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วง
ระยะเวลาใกล้เคียงกัน (Krairiksh, 1988 - 1989, 182 - 183) ต่อมามีผู้เสนอว่า “เจ้ามหาเทวี” ที่กล่าว
ถึงในจารึกพระพุทธปฏิมาลีลา น่าจะได้แก่พระนางจิตราเทวี ผู้มีพระโอรสสองพระองค์ องค์หนึ่งคือ
พระเจ้ากือนา และอีกองค์หนึ่งคือท้าวมหาพรหม และทรงสร้างพระพุทธปฏิมาลีลาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๓๑
(ค.ศ. 1388) (Saisingha 1999, 105 - 106) ล่าสุดมีผู้สันนิษฐานว่า พระเจ้าติโลกราชทรงสร้างพระพุทธ
ปฏิมาบุดุน ทั้ง ๘ องค์นี้ เมื่อทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. ๑๙๙๐ - ๑๙๙๑
(ค.ศ. 1447 - 1448) (Stratton 2004, 152)

รูปที่ ๘.๙๘ พระสมณโคดม


ยืนประสานพระหัตถ์หน้าพระเพลา
(เทศนาในจารึก)
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๙
(ค.ศ. 1782 – 1816)
ทองจังโก สูง ๒.๐๕ เมตร
องค์ระฆัง พระธาตุเจดีย์
วัดพระธาตุหริภุญไชย
อำเภอเมืองฯ จังหวัดลำพูน

พระพุทธปฏิมายืน ๔๔๙
ปัจจุบันนี้อายุเวลาของรูปชาดกเขียนลายสลักเบาในมณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ที่เคยใช้
เทียบเคียงในการกำหนดอายุเวลาของพระพุทธปฏิมาบุดุน คือ ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ต้น ๒๐
(ราว ค.ศ. 1351 - 1375) (Chirapravati, 2008, 38) นั้นได้เปลี่ยนไป คือน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับ
พระพุ ท ธบาทเขี ย นลายสลั ก เบาบนเพดานอุ โ มงค์ วั ด ศรี ชุ ม ในรั ช สมั ย ของสมเด็ จ พระนารายณ์
(พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ / ค.ศ. 1656 - 1688) (Di Crocco 2004, 106 - 113) และแม้กระทั่งสองปีก่อน
เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1767) ก็เคยมีผเู้ สนอมาแล้ว (พิชญา ๒๕๔๔, ๓๘) ดัง
นั้นการกำหนดอายุเวลาของพระพุทธปฏิมาบุดุนทั้ง ๘ องค์ จึงต้องมีการพิจารณากันใหม่

เนื่องด้วยว่าพระพุทธปฏิมายืนประสานพระหัตถ์หน้าพระเพลา ที่จารึกเรียกว่า ปาง “เทสนาแก่
คนแลเทพดา” นั้นพบเพียงไม่กี่องค์ในล้านนา (Stratton 2004, 210 - 211) แต่พบเป็นจำนวนมากควบคู่
ไปกั บ พระพุ ท ธปฏิ ม าลี ล าที่ อ ยุ ธ ยา จึ ง น่ า จะได้ รั บ แรงบั น ดาลใจจากฝ่ า ยหลั ง มากกว่ า ซึ่ ง จากการ
วิเคราะห์อายุเวลาของพระพุทธปฏิมายืนปางถวายเนตร ที่สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธปฏิมาลีลานั้น
ปรากฏว่าเริ่มขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ดังนั้นหากพระพุทธปฏิมาบุดุนทั้ง ๘ องค์ที่องค์ระฆัง
ของพระธาตุหริภุญไชย ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธปฏิมาอยุธยาแล้ว ก็น่าจะสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาที่
อยุธยามีบทบาทและอิทธิพลในด้านศิลปวัฒนธรรมเหนือล้านนา

นอกจากนั้นแล้ว การที่รูปแบบทางศิลปกรรมของพระพุทธปฏิมาทั้ง ๘ องค์เทียบเคียงได้กับ
ภาพชาดกเขียนลายสลักเบาในอุโมงค์วัดศรีชุม สุโขทัย ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นใน รัชสมัยของสมเด็จพระ
นารายณ์ ทั้งนี้เพราะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของอุโมงค์ที่มีเพดาน เป็นขั้นเหลี่ยมรับกับเหลี่ยมของ
บั น ไดนั้ น เป็ น แบบเดี ย วกั บ บั น ไดขึ้ น หอคอยในพระราชวั ง พลหิ ส าร์ (Bala Hisar) ที่ โ กลโคนทะ
(Golconda) รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย สร้างในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (ครึ่งหลัง
คริสต์ศตวรรษที่ 16) (Davies 1989, 465 - 466) ซึ่งเป็นไปได้ว่า ช่างชาวเปอร์เซียที่เข้ามารับราชการใน
สมัยสมเด็จพระนารายณ์ นอกเหนือไปจากทหาร ๒๐๐ คน ที่จ้างมานั้น (สำเภากษัตริย์สุลัยมาน ๒๕๔๕, ๕๒)
มาจากโกลโคนทะ ซึ่งเป็นเมืองในประเทศอินเดีย ที่สมเด็จพระนารายณ์ส่งช้างไปขาย อีกทั้งลวดลาย
เครือเถาสลับกับดอกไม้ในภาพชาดกเรื่อง “โภชาชานิยชาดก” (ประชุมศิลาจารึก เล่ม ๕ ๒๕๑๕, ๔๙)
ยังเป็นลายเครือเถาสลับกับดอกไม้แบบเดียวกันในศิลปะโมกุลจากอินเดีย (Sotheby’s 1985, 517)
อีกด้วย อิทธิพลจากศิลปะอิสลามจึงเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าภาพเขียนลายสลักเบาวัดศรีชุม น่าจะสร้างขึ้น
ในรัชกาลนี้

หลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นว่า พระพุทธปฏิมาบุดุนรอบองค์ระฆังของพระธาตุหริภุญไชยน่าจะ
สร้างขึ้นเมื่อล้านนาได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว คือในสมัยของพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ.
๒๓๒๕ – ๒๓๕๙ / ค.ศ. 1782 – 1816) ในปี พ.ศ. ๒๓๒๙ (ค.ศ. 1786) พระองค์และพระอนุชาสร้างฉัตร
รั้วเหล็ก และรั้วทองเหลืองล้อมพระธาตุหริภุญไชย (ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ๒๕๔๐, ๑๓๕) แต่มิได้ระบุว่า
ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์องค์ระฆังของ พระธาตุเจดีย์ในคราวนั้น อย่างไรก็ตาม พระราชชนนี คือพระนาง
จันทรราชเทวี ทรงมีพระโอรสที่มียศเป็น “เจาพระญา” สองพระองค์ องค์แรกคือพระเจ้ากาวิละ ซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระยามงคลวชิรปราการกำแพงแก้ว
เจ้าเมืองเชียงใหม่ องค์ที่สอง เจ้าคำสม เป็นพระยาละครลำปาง (เรื่องเดียวกัน, ๑๓๐)

๔๕๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๑๖.๓ พระพุทธปฏิมายืน ปางถวายเนตร สมัยรัตนโกสินทร์

หลังจากที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิโนรส ได้ทรงบัญญัติพระพุทธปฏิมาปาง
ต่าง ๆ ขึ้นมาแล้ว พระพุทธปฏิมายืนพระหัตถ์ประสานกันหน้าพระเพลาจึงเรียกว่าปาง “ถวายพระเนตร
บูชาพระมหาโพธิ์” อันเป็นสัตมหาสถานแห่งที่ ๒ ในจำนวนทั้งหมด ๗ แห่ง กล่าวคือ หลังจากที่พระพุทธองค์
ทรงตรัสรู้แล้ว เสด็จไปประทับตามสถานที่ต่าง ๆ แห่งละสัปดาห์ อันได้แก่

สัปดาห์ที่ ๑ ประทับเสวยวิมุติสุขใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นศรีมหาโพธิ์
ทรงยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบ
พระเนตร สถานที่พระองค์ทรงยืนนั้นเรียกว่า อนิมมิสเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จไปจงกรมทางทิศเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์
เรียกสถานที่นั้นว่า รัตนจงกรมเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๔ เสด็จไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์
ทรงเนรมิตเรือนแก้ว และทรงพิจารณาพระไตรปิฎกใน
เรือนแก้ว เรียกที่แห่งนั้นว่า รัตนฆรเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์
ประทับใต้ต้นไทร และทรงขับไล่ธิดาพญามาร ๓ ตน
สัปดาห์ที่ ๖ ทรงเสด็จไปทางทิศตะวันตกของต้นพระศรีมหาโพธิ์
ประทับใต้ต้นจิก มีพายุฝนตลอดสัปดาห์ พญานาคมุจลินท์
จึงแผ่พังพานปกป้องพระพุทธองค์
สัปดาห์ที่ ๗ ทรงเสด็จไปทางทิศใต้ของต้นจิก ประทับใต้ต้นเกด
พระอินทร์เอาผลสมอมาถวาย ท้าวจตุโลกบาลถวายบาตร
พ่อค้าสองพี่น้องเอาข้าวตูก้อนข้าวตูผงมาถวาย
(ไขศรี 1996, 121 – 122)

พระพุทธปฏิมาปางถวายเนตรเป็นพระพุทธปฏิมาสำหรับบูชาดาวพระเคราะห์ประจำวันอาทิตย์
(ตำราพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ๒๕๓๔, ๓๘ - ๓๙)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้างพระพุทธปฏิมา ปางถวายเนตร
ขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่นพระพุทธปฏิมาแก้วผลึกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (รูปที่ ๘.๙๙)
ซึ่งน่าจะเป็นพระพุทธปฏิมาประจำประชนมวารของพระบรมวงศานุวงศ์ เพราะมีฉัตร ๕ ชั้นประดับอยู่
อันแสดงถึงพระอิสริยยศ พระพุทธปฏิมาองค์นี้มีลักษณะที่เรียบง่าย เฉกเช่นพระพุทธปฏิมาอื่นๆ
ในรัชกาลนี้ และยังคล้ายกันมากกับพระพุทธปฏิมาแก้วสีต่างๆ ปางถวายเนตร ที่ประดิษฐานในหอพระ
สุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง ซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลเดียวกัน (สุริยวุฒิ ๒๕๓๕, ๕๔๐ - ๕๔๓)
รูปที่ ๘.๙๙ พระสมณโคดมยืน ถวายเนตร
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19)
แก้วผลึก องค์พระสูง ๕๗ เซนติเมตร
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง

พระพุทธปฏิมายืน ๔๕๑
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระพุทธปฏิมาปางถวายเนตรขึ้น ๒ องค์ เพื่อ
เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชมไหยิกา (ดูรูปที่ ๓.๔๓) และ
สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์บรมราชชนนี (ดูรูปที่ ๓.๔๕) ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงประสูติในวันอาทิตย์
เหมือนกัน (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๐๗, ๑๐๐ - ๑๐๑) พระพุทธปฏิมาทั้งสององค์นี้มีความแตกต่าง
จากพระพุทธปฏิมาองค์อื่น ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง คือพุทธลักษณะ
เลียนแบบพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในรัชกาลก่อน คือพระเมาลีทรงสูง ครองจีวรห่มดองแบบประเพณีนิยม
ชายจีวรยาวพับทบจรดพระนาภี ซึ่งในการที่มิได้ทรงสร้างขึ้นในแบบพระราชนิยมนั้นน่าจะเป็นการแสดง
คารวะต่อขัตติยราชประเพณี

พระพุทธปฏิมาปางถวายเนตรที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง
ขึ้ น นั้ น มี พ ระราชประสงค์ จ ะให้ เ ป็ น อนิ มิ ส เจดี ย์ คื อ สถานที่ ที่ พ ระพุ ท ธองค์ ท รงยื น ทอดพระเนตร
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในสัปดาห์ที่ ๒ หลังจากที่ทรงตรัสรู้ ดังที่มีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ว่า

หม่อมฉันจะสร้างพระพุทธปฏิมาถวายเนตร ในที่ใกล้ต้นโพธิ์วัดเบญจมบพิตร
สมมตว่าเปนอนิมมิสเจดีย์ ในใต้รากฐานพระจะฝังอิฐแลอังคารชายอุรุพงศ์
รูปที่ ๓.๔๓ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร เพราะฉนั้นคำจาฤกได้กะไว้เปนสองตอน ตอนบนว่า พระพุทธเจ้าถวายเนตร
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ณ อนิมมิสเจดีย์ พระองค์นี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๑๐ - ๒๔๑๑ สถาปนาเมื่อพระพุทธศักราช ๒๔๕๒ ทรงพระราชอุทิศเฉพาะต่อ ฯ ตอนล่าง
(ค.ศ. 1867 - 1868)
ทองคำ ฐานเงินกะไหล่ทอง พระองค์ เ จ้ า อุ รุ พ งษ์ รั ช สมโภชพระราชปิ โ ยรส ประสู ต รวั น ที่ ๑๕ ตุ ล าคม
องค์พระสูง ๒๒.๓๐ เซนติเมตร รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ สิ้น พระชนม์วันที่ ๒๐ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๘
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง มีข้อความที่จาฤกนั้นเพียงเท่านี้ (พระราชหัตถเลขา ๒๕๑๔, ๑๓๔)
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)
ต่อมาทรงระบายความอัดอั้นพระทัยในสถานภาพของงานช่างไทยว่า

การช่างในเมืองไทยฝืดเคืองเต็มที ทำบุญหม่อมฉันไม่ได้หวังสวรรค์
หวังความปลื้มใจ หวังจะเห็นการเจริญดำเนินไป มาต้องทำการพกโมโหโทโษอยู่
ครึ่งค่อน ดูไม่นับว่าเปนบุญเลยท้อใจไปเสียแล้ว
กรมนเรศร์บอกวันนี้ ว่ารับสั่งเรียกหุ่นพระถวายเนตรไปทอดพระเนตร
โปรดแลติเตียนบ้างบางอย่าง เรื่องคิดปั้นพระพุทธปฏิมานี้ คงจะได้ทรงทราบ
เมื่อครั้งรังสิตเข้ามาบ้าง เปนเรื่องที่ตึงตังอยู่ในใจหม่อมฉันกับรังสิตมานาน แต่
หาคนปั้นไม่ได้ดังใจ อยากเห็นพระเปนคน อยากให้เห็นหน้าเปนคนฉลาดอดทน
มีความคิดมาก ไม่ใช่ทำหน้าบึ้ง ไม่ใช่นั่งยิ้มกริ่ม ไม่ใช่นั่งหลับเผลอไผล ให้เต็ม
อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ หน้าตาพระพุทธเจ้าของหม่อมฉันเปนเช่นนี้ เห็นรู้จัก
ปรากฏแก่ใจ เว้นแต่หากมือทำไม่เปน ไม่สามารถที่จะทำได้ด้วยมือตนเอง ไม่
สามารถที่แนะนำให้ช่างแก้ไขให้ถึงใจได้ จึงหมดฝีมือกันอยู่เพียงเท่านี้เอง แต่
ตาคนนี้ (ช่างปั้นอิตะเลียน ชื่อ ทอรนาเรลลี (Tornarelli)) เปนผู้ที่เข้าใจดีกว่า
ช่างทั้งปวง ที่เคยเข้าใจถ้อยคำหม่อมฉัน แต่ถ้าเอามหาปุริสลักขณะเข้ายันแล้ว
เปนไม่ถูกทั้งนั้น เพราะทูลตามตรงได้ว่าไม่เชื่อ (เรื่องเดียวกัน, ๑๔๓ – ๑๔๔)

รูปที่ ๓.๔๕ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๑๐ - ๒๔๑๑ (ค.ศ. 1867 - 1868)
ทองคำ ฐานเงินกะไหล่ทอง องค์พระสูง ๒๒.๑๐ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา ในพระบรมมหาราชวัง)

๔๕๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลว่า

อาตมาภาพพอใจเหมือนกันที่จะได้เห็นพระพุทธปฏิมา เปนรูปคนมีคุณสมบัติ
เช่นนั้น แต่เห็นยังเปนพ้นวิสัยของช่างไทยจะทำได้ฯ พระพุทธปฏิมาหน้าเบี้ยวๆ
บูดๆ หรือหน้าเจี๋ยมเจี้ยม หรือหน้าเฉยเมยเห็นเข้ารำคาญใจ แต่ไม่รู้จะทำ
อย่างไรได้ ไม่สมเปนวัตถุฉลองพระองค์ของพระพุทธเจ้าเลยฯ มหาปุริสลักขณะ
เป็นอาการที่ผิดธรรมดา น่าจะแต่งออกจากรูปพระเปนเจ้า (เรื่องเดียวกัน, ๑๔๔)

พระราชหัตถเลขาและลายพระหัตถ์ที่อ้างถึงข้างต้นมีความสำคัญมากที่จะทำให้ชนรุ่นหลังได้
เข้าใจความเปลี่ยนแปลงทางพุทธศิลป์ของไทยที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ว่าเหตุใดขนบธรรมเนียมประเพณีที่เชื่อถือกันมาร่วมสองสหัสวรรษ ที่ว่าพระพุทธรูปเป็นพระพุทธปฏิมา
หรือรูปจำลองของพระพุทธรูปองค์ต้นแบบ ได้เปลี่ยนไปเป็นภาพเหมือนของคนในอุดมคติ

แม้ว่าพระพุทธปฏิมาปางถวายเนตรที่อัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลี (Alfonso Tornarelli) ปั้นถวาย
(รูปที่ ๘.๑๐๐) จะครองจีวรห่มดอง พาดลูกบวบที่ข้อพระกรซ้ายตามอย่างพระภิกษุคณะธรรมยุติกนิกาย
และปั้ น ให้ ดู ค ล้ า ยธรรมชาติ ก็ ต าม แต่ พ ระเศี ย รก็ จ ำลองจากพระพุ ท ธปฏิ ม าแบบคั น ธารราษฎร์
ที่พระองค์ทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ

ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากร
ดำเนินการปั้นและหล่อพระพุทธปฏิมายืนปางถวายเนตร ครองจีวรห่มดอง ม้วนลูกบวบพาดพระกรซ้าย
สังฆาฏิพาดพระอังสายาวถึงพระเพลา พระพักตร์ พระวรกายและจีวรเลียนแบบธรรมชาติ เม็ดพระศก
พระเมาลีและพระรัศมีเปลวเป็นแบบประเพณี (ดูรูปที่ ๓.๕๔) ทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลถวายสมเด็จ
พระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันท-
มหิดล โดยมีพิมาน มูลประมุข เป็นประติมากร และเสด็จพระราชดำเนินเททอง ณ พระที่นั่งอัมพร
สถาน พระราชวังดุสิต เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. 1956) (เพลินพิศ ๒๕๓๓, ๔) ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่
ณ หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง

รูปที่ ๘.๑๐๐ พระสมณโคดมยืน ถวายเนตร


Alfonso Tornarelli ปั้นหล่อ
พ.ศ. ๒๔๕๓ (ค.ศ. 1910)
สัมฤทธิ์ สูง ๕๙ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๓.๕๔ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร-
มหาอนันทมหิดล
พิมาน มูลประมุข ปั้นหุ่น
พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. 1956)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
องค์พระสูง ๒๒.๘๐ เซนติเมตร
หอพระบรมอัฐิ
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระบรมมหาราชวัง
(ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมา
ในพระบรมมหาราชวัง)


พระพุทธปฏิมายืน ๔๕๓
หมวด ด.
ปางเปิดโลก

๑๗. พระพุทธปฏิมายืน ปางเปิดโลก

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงบัญญัติ พระพุทธรูปยืนห้อยพระกรลง
ข้างพระวรกาย กางปลายพระหัตถ์ออกทางด้านข้างว่าเป็น “ปางเปิดโลก” อันเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติ
หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพุทธมารดาและจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ครบ ๓ เดือน
พระพุทธเจ้าก็จะเสด็จลงมายังโลก โดยขณะที่กำลังจะเสด็จลงมา พระพุทธองค์ทรงทำโลกวิวรณปาฏิหาริย์
คือ ทรงเปิดโลกทั้ง ๓ อันได้แก่ เทวโลก ยมโลก และมนุษยโลก ให้มองเห็นถึงกันหมดด้วยพุทธานุภาพ
เหล่าเทวดาในสวรรค์มองเห็นมนุษย์และสัตว์นรก มนุษย์มองเห็นเทวดาและสัตว์นรก สัตว์นรกมองเห็น
มนุษย์และเทวดา แล้วจึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่สังกัสสนคร ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

อย่างไรก็ดี เนื่องจากพระพุทธปฏิมาปางนี้มิได้เป็นพระพุทธปฏิมาสำหรับบูชาดาวพระเคราะห์
ประจำวันเกิด จึงไม่เป็นที่นิยมในการสร้างมากนัก

ตัวอย่างของพระพุทธปฏิมาปางเปิดโลกได้แก่ พระพุทธปฏิมาที่มุขด้านทิศตะวันออกของศาลา
การเปรียญ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (รูปที่ ๘.๑๐๑) ซึ่งจากพุทธลักษณะและการปั้นจีวรและสบงที่
มีความเรียบง่าย น่าจะสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

รูปที่ ๘.๑๐๑ พระสมณโคดมยืน กางพระหัตถ์ทั้งสอง เปิดโลก


พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔ (ค.ศ. 1824 - 1851)
สัมฤทธิ์
ศาลาการเปรียญ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร

๔๕๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ต.
ปางขอฝน

๑๘. พระพุทธปฏิมายืน ปางขอฝน

พระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ขวายกในกิริยากวัก พระหัตถ์ซ้ายหงายรองรับน้ำฝนตรงบั้นพระองค์
เป็นพระปางคันธารราษฎร์ หรือปางขอฝน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์
คิดค้นขึ้นตามเนื้อหาในพุทธประวัติ กล่าวคือ เมื่อพระพุทธองค์ประทับที่กรุงสาวัตถี ฝนแล้งจนสระบัวที่
พระองค์ทรงใช้แห้ง จึงเสด็จไปยืนกวักพระหัตถ์ขวาเรียกฝน พระหัตถ์ซ้ายรองรับน้ำฝนที่ขอบสระ

อนึ่ง เรื่องขอฝนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้อ้างอิงนั้นไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
กับที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงพระนิพนธ์ใน ตำนานพระปางต่าง ๆ
ที่กล่าวว่า เมื่อพุทธศาสนาได้ล่วงไปแล้วสองร้อยกว่าปี มีกษัตริย์คันธารราฐ พระองค์หนึ่งได้ทรงฟัง
เรื่องพระพุทธเจ้าทรงบันดาลให้ฝนตก

ก็ทรงเลื่อมใสให้สร้างพระพุทธปฏิมากรทรงผ้าอุทกสากฎ ทรงนุ่งด้วยชายข้างหนึ่ง
ทรงห่ ม ด้ ว ยชายข้ า งหนึ่ ง มี พ ระอาการทรงยื น พระหั ต ถ์ ข วากวั ก เรี ย กฝน
พระหัตถ์ซ้ายหงายรองน้ำฝน (ปรมานุชิตชิโนรส ๒๕๑๐, ๕)

พระพุทธปฏิมายืนปางขอฝนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
นั้น (ดูรูปที่ ๓.๖๐) เป็นพระพุทธปฏิมาแบบพระราชนิยม คือไม่มีพระเมาลี ครองผ้าอาบคลุมพระอังสา
รูปที่ ๘.๑๐๒ พระสมณโคดมยืน ขอฝน ซ้ายเป็นริ้วตามธรรมชาติ ทรงยืนบนดอกบัว ฐานทำเป็นบันไดลงไปที่สระบัว
Alfonso Tornarelli ปั้น
พ.ศ. ๒๔๕๓ (ค.ศ. 1910)
สัมฤทธิ์ สูง ๗๓ เซนติเมตร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายอัลฟอนโซ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ทอร์นาเรลลี ช่างชาวอิตาเลียน ที่ปั้นพระพุทธปฏิมาปางถวายเนตร ปั้นพระพุทธปฏิมายืนปางขอฝน
กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๘.๑๐๒) เป็นพระพุทธปฏิมาที่เลียนแบบศิลปะอินเดียแบบคันธารราษฎร์เฉพาะพระเศียร แต่
พระวรกายและจีวรเป็นแบบธรรมชาติ ยืนบนดอกบัว ซึ่งอยู่บนขั้นบันไดที่มีราวจับอยู่ทางด้านข้าง
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวิจารณ์ไว้ว่า

พระคันธารราษฎร์ องค์ที่เปนฝรั่งนั้น กรมพระนเรศรับสั่งพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเจ้าหลวง จัดให้นายโตนาเรลี ช่างอิตาเลียนในกรมศิลปากรปั้น ที่เป็น
เช่นนั้นก็ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดพระฝีมือกรีกที่เด็จพ่อเอา
มาแต่อินเดีย พระกรีกนั้นอาว์ก็ชอบเหมือนกัน แต่ไม่ชอบพระที่นายโตนาเรลีปั้น
เหตุใดจึ่งเปนเช่นนั้น เหตุด้วยกลับกันไป ทางช่างกรีกเขาทำเอางามเปนที่ตั้ง
เอาเหมือนคนเข้าประกอบ ซึ่งมาโดนทางเดียวกันเข้ากับที่อาว์พยายามจะทำ
คือเอารูปทรงงามของรูปภาพตัวท้าวตัวพญาของไทยเปนที่ตั้ง เอาสิ่งที่เหมือน
คนเข้าประกอบ ส่วนที่นายโตนาเรลีทำนั้น เอาเหมือนคนเปนที่ตั้ง อาว์ไม่ชอบที่
เห็นว่าเหมือนตาขอทานอะไรคนหนึ่ง จะอธิษฐานว่าเปนพระเจ้าหาได้ไม่ ชอบกล
หนักหนา... ฐานพระองค์นั้นที่เปนกะไดก็ด้วยกรมพระนเรศวรออกความคิด ให้
ตาฝรั่งนั้นทำโดยหลักว่าพระเจ้าเสด็จยืนที่หัวกะไดสระน้ำในเมืองสาวัตถี ซึ่ง
รูปที่ ๓.๖๐ พระสมณโคดมยืน ขอฝน สระนั้นน้ำแห้ง ตรัสเรียกผ้าชุบสรงมาทรงแล้วตรัสเรียกฝน เทวดาจึงบันดาน
พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑ ให้ฝนตกลงมาตามพระประสงค์จนเต็มสระ ตาฝรั่งแกไม่เข้าใจว่ากะไดสระควร
(ค.ศ. 1851 - 1868)
สัมฤทธิ์ องค์พระสูง ๔๑.๘๐ เซนติเมตร จะเป็นอย่างไร แกก็ทำเปนกะไดฝรั่ง มีพนักข้างเดียวอย่างกะไดที่ลงจากรักแร้
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง ตึกฝรั่ง (นริศรานุวัดติวงศ์ ๒๕๑๒, ๗๓ – ๗๔, อ้างใน สุธา ๒๕๕๐, ๑๖๖ – ๑๖๗)
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมายืน ๔๕๕
การทำบันไดลงสระน้ำมีพนักข้างเดียวแบบลงจากตึกฝรั่ง จึงไม่ถูกต้องตามกาลเทศะ ซึ่งเป็น
ข้อผิดพลาดที่ทำให้ทอร์นาเรลลีคะแนนตกในสายพระเนตรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ที่ทรงประเมินความเป็นเลิศของช่างไว้ว่า

ช่างที่ควรจะนับว่าเป็นช่างดี จะต้องประกอบด้วยองคคุณสองประการ คือต้อง
ประกอบด้วยฝีมือดีอย่างหนึ่ง ประกอบด้วยความคิดดีรู้ที่ควรมิควรอีกอย่าง
หนึ่ง ประการหลังนั้นแหละสำคัญมาก ถ้ามีแต่ฝีมือดีก็เป็นได้แต่ลูกมือเสมอไป
ต้องมีความคิดด้วย จึงจะได้เลื่อนขึ้นเป็นนายช่างได้ (สาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๑
๒๕๐๔, ๔)

ยังมีพระพุทธปฏิมายืนปางขอฝนอีกองค์หนึ่งที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัว เป็นพระพุทธปฏิมาที่มีพระพักตร์เป็นไทย เกล้าพระเกศาเป็นพระเมาลี แบบคันธารราษฎร์
ครองผ้าอาบน้ำที่ดูเปียกชุ่ม เห็นขมวดสบงที่พระนาภี ทรงยืนบนเกสรดอกบัว เหนือฐานสิงห์ย่อมุม
(รูปที่ ๘.๑๐๓) ซึ่งจากลักษณะของการปั้นริ้วผ้าเปียกแนบพระวรกาย น่าจะเป็นฝีมือของช่างชาว
ตะวันตกมากกว่าช่างไทย

รูปที่ ๘.๑๐๓ พระสมณโคดมยืน ขอฝน


พ.ศ. ๒๔๕๓? (ค.ศ. 1910?)
สัมฤทธิ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๔๕๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๘.๑๐๔ ข. ฐานพระสมณโคดมยืน ขอฝน
(รูปที่ ๘.๑๐๔ ก.)
(ภาพจากสำนักราชเลขาธิการ)

รูปที่ ๘.๑๐๔ ก. พระสมณโคดมยืน ขอฝน


พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๕
(ค.ศ. 1925 - 1932)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
องค์พระสูง ๔๕.๗๕ เซนติเมตร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการสร้างพระพุทธปฏิมาปางขอฝนขึ้นอีก
หอพระคันธารราษฎร์
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม องค์หนึ่ง โดยพระพักตร์และพระวรกายคล้ายคนจริง แต่พระเกศาเป็นเม็ดพระศก พระรัศมีเป็นบัวตูม
ในพระบรมมหาราชวัง ครองผ้าอาบน้ำที่เปียกชุ่มแนบพระวรกาย ทำเป็นริ้วตามธรรมชาติ (รูปที่ ๘.๑๐๔ ก.) ทรงยืนอยู่บนเกสร
กรุงเทพมหานคร ดอกบัวที่ผุดขึ้นเหนือน้ำที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ (รูปที่ ๘.๑๐๔ ข.)
(ภาพจากสำนักราชเลขาธิการ)

จากตัวอย่างของพระพุทธปฏิมายืน ปางขอฝนที่กล่าวถึงข้างต้น เห็นได้ว่าพัฒนาการของ
พระพุทธปฏิมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ได้เพิ่มความสมจริงให้
กับพระพุทธปฏิมา จนถึงขั้นว่ามีการสร้างฉากช่วย เช่นฝูงปลาเวียนว่ายอยู่ในน้ำ ให้แลดูเป็นธรรมชาติ
มากขึ้น และเมื่อพระพุทธปฏิมามิได้เป็นรูปจำลองของพระพุทธรูปต้นแบบอีกต่อไป ช่างจึงมีความอิสระ
ที่จะประดิษฐ์คิดรูปแบบต่างๆ ให้ดูเหมือนจริงตามจินตนาการของตนเอง

อนึ่ ง เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงเลื อ กที่ จ ะใช้ พ ระพุ ท ธปฏิ ม าปาง
คันธารราษฎร์ หรือปางขอฝน เป็นพระพุทธปฏิมาประจำพระชนมพรรษาของพระองค์แล้ว (ดูรูปที่ ๓.๓๓
ก., ข.) จึงถือเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำวันชาตาอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่เกิดในวันอังคาร นอกเหนือ
จากพระพุทธรูปปางไสยาสน์ (ศิลปากร ๒๕๔๘, ๖๗)



พระพุทธปฏิมายืน ๔๕๗

พระสมณโคดม ลีลา (รูปที่ ๙.๒๗ ก.)
ย้ายมาจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
พระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทที่


พระพุทธปฏิมาลีลา
พระพุทธปฏิมาในพระอิริยาบถก้าวเดินมีสองแบบ โดยทั้งสองแบบนั้นเรียกว่า
“ปางลีลา” อันได้แก่

แบบที่ ๑ ยกส้นพระบาทขวา ห้อยพระหัตถ์ขวา ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย หรือแสดงธรรม
ในระดับพระอุระ (รูปที่ ๙.๑) โดยอ้างพุทธประวัติตอนพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
โดยบันไดที่พระอินทร์ทรงเนรมิตขึ้น (ไขศรี 1996, ๘๗)

แบบที่ ๒ ยกส้นพระบาทซ้าย ห้อยพระหัตถ์ซ้าย ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย หรือแสดงธรรม
(รูปที่ ๙.๒) ส่วนแบบนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงบัญญัติว่า เป็นปางที่
๑๗ พระลีลา และทรงพระนิพนธ์ว่า เมื่อพระพุทธองค์ประทับที่เมืองราชคฤห์ “พระกาฬุทายีทูลเชิญ
เสด็จเมืองกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงรับแล้วเสด็จพุทธดำเนินโดยปรกติไม่เป็นการรีบด่วน” (ปรมานุชิต
ชิโนรส ๒๕๑๐, ๓)

พระพุทธปฏิมาลีลาเป็นมรดกชิ้นสำคัญที่นิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร จากลังกา มอบให้กับ
พุทธศิลป์ไทย เพราะว่าเป็นพระพุทธปฏิมาที่ประดิษฐ์คิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ฝ่ายอรัญวาสีของคณะมหาวิหาร
รูปที่ ๙.๑ ลายเส้นพระพุทธรูป แบบที่ ๑
ยกพระหัตถ์ซ้าย แสดงธรรม ที่ศรีลังกา มีอิทธิพลต่อพุทธศาสนาในประเทศไทย คือระหว่างกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ (ต้น
ยกส้นพระบาทขวา คริสต์ศตวรรษที่ 14 – ต้น 15) อันเห็นได้จากรูปแบบของพระพุทธปฏิมาปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ใน
ห้อยพระหัตถ์ขวา จิตรกรรมฝาผนังของวิหารติวังกะ (Tivanka) กรุงโปโลนนะรุวะ ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13) ที่แสดงภาพพระพุทธองค์ครองจีวรห่มดองในท่าก้าวเดิน ยกส้นพระบาทขวา
และยกพระหัตถ์ขวาแสดงธรรม (Godakumbura 1969, 38) ซึ่งน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างไทยสร้าง
พระพุทธปฏิมาลีลาขึ้นในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันก็ตรงที่พระพุทธปฏิมาลีลาของไทยนั้น
มิได้ยกส้นพระบาทและพระหัตถ์ในด้านเดียวกัน แต่กลับสลับส้นพระบาทกับพระหัตถ์

เมื่อแรกสร้างขึ้นในประเทศไทยนั้นพระพุทธปฏิมาในอิริยาบถก้าวเดินน่าจะเรียกว่า “พระเจ้า
จงกรม” ตามที่กล่าวถึงในศิลาจารึกสุโขทัยของนายอินทรสรศักดิ์ ปี พ.ศ. ๑๙๖๐ (ค.ศ. 1418) (Griswold
and Nฺa Nagara 1968, 235) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของฝ่ายอรัญวาสีที่เน้นการเจริญวิปัสสนากรรม
ฐาน (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๖๖, ๙)

เมื่อได้ประดิษฐ์คิดปางลีลาขึ้นมาแล้ว ปรากฏว่าปางนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย โดยเฉพาะที่
อาณาจักรสุโขทัย ล้านนา และอยุธยา

รูปที่ ๙.๒ ลายเส้นพระพุทธรูป แบบที่ ๒


ยกพระหัตถ์ขวา
ยกส้นพระบาทซ้าย
ห้อยพระหัตถ์ซ้าย

พระพุทธปฏิมาลีลาา ๔๕๙
๑. พระพุทธปฏิมาลีลา สมัยสุโขทัย

ช่วงเมืองประเทศราชของอยุธยา พ.ศ. ๑๙๒๑ – ๒๐๐๖ (ค.ศ. 1378 – 1463)

ถึงแม้ว่ายังไม่มีการค้นพบพระพุทธปฏิมาลีลาสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัยที่มีจารึก แต่พระพุทธปฏิมา
เขียนลายสลักเบาด้านหลังของแผ่นศิลาจารึกนายอินทรสรศักดิ์ ซึ่งมีจารึกเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๖๐ (ค.ศ.
1418) (Griswold and Nฺa Nagara 1968, 230 – 242) แสดงภาพพระพุทธปฏิมาลีลายกพระหัตถ์ขวา
และส้นพระบาทซ้าย ทรงครองจีวรห่มดอง ชายจีวรพับทบยาวจรดพระนาภี ขอบบนของสบงเว้าโค้ง
เป็นเส้นคู่รับกับพระนาภี ขอบจีวรด้านข้างทิ้งลงข้างพระชงฆ์ทั้งสองด้าน ชายจีวรและชายสบงด้านล่าง
ตัดเป็นเส้นเฉียงตามข้อพระบาทที่ยกขึ้น และขมวดเข้าตอนปลาย (รูปที่ ๙.๓ ก, ข) พุทธลักษณะทั่วไป
คล้ายกับพระพุทธปฏิมาลีลาที่สมเด็จเจ้าพระญาสารผาสุมทรงสร้างที่น่านในปี พ.ศ. ๑๙๖๙ (ค.ศ. 1926)
(ดูรูปที่ ๙.๖) (เรื่องเดียวกัน, 235)

พระพุ ท ธปฏิ ม าลี ล าที่ มี พุ ท ธลั ก ษณะคล้ า ยกั บ ภาพเขี ย นลายสลั ก เบาด้ า นหลั ง ของจารึ ก
นายอินทรสรศักดิ์ และพระพุทธปฏิมาลีลาของสมเด็จเจ้าพระญาสารผาสุม ได้แก่พระพุทธปฏิมาลีลา
ของเอกชน (รูปที่ ๙.๔) ทรงยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย และยกส้นพระบาทซ้าย ครองจีวรห่มดอง
ชายจีวรพับยาวจรดพระนาภี ขอบสบงด้านบนเว้าเป็นเส้นคู่หน้าพระนาภี ชายจีวรและชายสบงด้านล่าง
ทำเป็นเส้นขนานเฉียงตามข้อพระบาทที่ยกขึ้น ปลายจีวรขมวดเข้า พระพุทธปฏิมาองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นใน
ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15) พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
ภาณุพันธ์ยุคล ทรงเล่าประทานว่า พระพุทธปฏิมาองค์นี้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
ในลักษณะเดียวกันกับพระสุรภีพุทธพิมพ์ วัดปรินายก คือเมื่อมีการโจมตีทางอากาศ พระองค์ทอดพระเนตร
เห็นเงาพระพุทธปฏิมาลอยอยู่เหนือวัง เพื่อคุ้มครองพระองค์

รูปที่ ๙.๓ ก. พระสมณโคดม จงกรม


ได้จากวัดสรศักดิ์ เมืองเก่า
จังหวัดสุโขทัย
สร้างปี พ.ศ. ๑๙๖๐ (ค.ศ. 1418) รูปที่ ๙.๓ ข. ลายเส้นพระสมณโคดม จงกรม
ศิลา เขียนลายสลักเบา ได้จากวัดสรศักดิ์ เมืองเก่า
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดสุโขทัย (รูปที่ ๙.๓ ก.)

๔๖๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๙.๔ พระสมณโคดม ลีลา
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูง ๕๓ เซนติเมตร
สมบัติเอกชน

พระพุทธปฏิมาลีลา ๒๗
พระพุทธปฏิมาลีลาที่สำคัญที่สร้างขึ้นในอาณาจักรสุโขทัยได้แก่ พระพุทธปฏิมาลีลา ๔ องค์
ที่สมเด็จเจ้าพระญาสารผาสุม เจ้าเมืองน่าน ทรงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๗๐ (ค.ศ. 1426) (ศิลปากร
๒๕๓๐ ก, ๒๔๗ – ๒๕๓) พระพุทธปฏิมาเหล่านี้น่าจะสร้างขึ้นเป็นคู่ เช่น คู่ในพระวิหารวัดพญาภู อำเภอ
เมืองฯ จังหวัดน่าน องค์หนึ่งยกส้นพระบาทขวา และยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย (รูปที่ ๙.๕) อีกองค์
หนึ่งยกส้นพระบาทซ้ายในท่าก้าวเดิน ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย (รูปที่ ๙.๖) ส่วนอีกคู่หนึ่งอยู่ในวัด
พระธาตุช้างค้ำ อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน องค์ที่ยกส้นพระบาทขวา ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย
ประดิษฐานในพระวิหารหลวง (รูปที่ ๙.๗) อีกองค์หนึ่งยกส้นพระบาทซ้าย พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
ประดิษฐานในหอพระพุทธปฏิมาลีลา (รูปที่ ๙.๘) พระพุทธปฏิมาทุกพระองค์ มีพระอังสากว้างใหญ่
พระอุระนูน บั้นพระองค์คอด พระกรและพระชงฆ์เรียวลงทางข้อพระกรและข้อพระบาท ทรงครองจีวร
ห่มดอง ชายจีวรพับทบยาวจรดพระนาภี ชายเป็นเขี้ยวตะขาบ ขอบสบงด้านบนเว้าโค้งใต้พระนาภีเป็น
เส้นคู่ ยกเว้นองค์ยกพระหัตถ์ซ้ายของวัดพญาภู (ดูรูปที่ ๙.๕) ชายจีวรใต้พระกัปประด้านที่ยกพระกรขึ้น
ทิ้งลงเป็นเส้นตรง ตั้งฉากกับชายจีวรด้านล่าง ซึ่งเป็นเส้นเฉียงตามข้อพระบาทที่ยกขึ้นเช่นกัน ยกเว้น
องค์ยกพระหัตถ์ขวาของวัดพระธาตุช้างค้ำ (ดูรูปที่ ๙.๘) ซึ่งไม่มีชายจีวรใต้พระกัปประ ส่วนขอบจีวร
ข้างที่ยกส้นพระบาทนั้นสะบัดพริ้วอยู่หลังพระชงฆ์

พระพุทธปฏิมาลีลาที่สมเด็จเจ้าพระญาสารผาสุม ทรงสร้างขึ้นน่าจะส่งอิทธิพลให้กับพระพุทธปฏิมา
วัดนาปัง อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน (รูปที่ ๙.๙) ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธปฏิมาลีลาองค์ซึ่งยก
พระหัตถ์ขวาของวัดพญาภู (ดูรูปที่ ๙.๖) แต่มีขอบสบงด้านบนชั้นเดียวคล้ายกับองค์ยกพระหัตถ์ซ้าย
ของวัดเดียวกัน (ดูรูปที่ ๙.๓) ส่วนชายจีวรด้านล่างนั้นมิได้เป็นเส้นตรง แต่ทำเป็นชายผ้าพลิ้ว จึงน่าจะ
สร้างขึ้นภายหลังประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)

รูปที่ ๙.๕ พระสมณโคดม ลีลา


สร้างปี พ.ศ. ๑๙๗๐ (ค.ศ. 1426)
สัมฤทธิ์ สูง ๒ เมตร
อุโบสถวัดพญาภู
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน
รูปที่ ๙.๖ พระสมณโคดม ลีลา
สร้างปี พ.ศ. ๑๙๗๐ (ค.ศ. 1426)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๙๓ เมตร
อุโบสถวัดพญาภู
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน
รูปที่ ๙.๗ พระสมณโคดม ลีลา
สร้างปี พ.ศ. ๑๙๗๐ (ค.ศ. 1426)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๙๖ เมตร
พระวิหารหลวง
วัดพระธาตุช้างค้ำ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน
รูปที่ ๙.๘ พระสมณโคดม ลีลา
สร้างปี พ.ศ. ๑๙๗๐ (ค.ศ. 1426)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๘๔ เมตร
หอพระพุทธรูปลีลา
วัดพระธาตุช้างค้ำ
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน

รูปที่ ๙.๙ พระสมณโคดม ลีลา


ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๑๔ เมตร
วิหารวัดนาปัง
อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน

๔๖๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๙.๕ รูปที่ ๙.๖

รูปที่ ๙.๗ รูปที่ ๙.๘

พระพุทธปฏิมาลีลา ๔๖๓
๒. พระพุทธปฏิมาลีลา สมัยล้านนา

(๑) ช่วงอาณาจักรล้านนา

- ยุครุ่งเรือง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๒๐๖๘ (ค.ศ. 1355 – 1525)

พระพุทธปฏิมาลีลาวัดชัยภูมิการาม กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๙.๑๐) ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย
พร้ อ มกั บ ยกส้ น พระบาทขวาในท่ า ก้ า วเดิ น ครองจี ว รห่ ม ดอง ชายจี ว รพั บ ทบและคลุ ม พระกรซ้ า ย
ขอบสบงด้านบนและหน้านางทำเป็นเส้นคู่ ปลายจีวรด้านล่างและปลายสบงทั้งสองข้างขมวดเข้า
พุทธลักษณะและการครองจีวรคล้ายกับพระพุทธปฏิมายืนในวิหารสมเด็จฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
(ดูรูปที่ ๘.๒) ทุกประการ จึงอาจจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช เช่นกัน

พระพุทธปฏิมาลีลา ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต (รูปที่ ๙.๑๑) พระหัตถ์ขวายกขึ้น
หน้าพระอุระ จีบพระอังคุฐและพระดรรชนีเข้าหากันในท่าแสดงธรรม ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับ
ปางแสดงธรรม ที่พบในพระพุทธปฏิมาลีลาอยุธยา (ดูรูปที่ ๙.๑๖) ทอดพระกรซ้ายออกห่างจากพระชงฆ์
ยกส้นพระบาทซ้าย ชายจีวรสะบัดไปทางด้านขวา ขอบสบงด้านบนและหน้านางทำเป็นเส้นคู่ แสดงให้
รูปที่ ๘.๒ พระยืน
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เห็นอิทธิพลจากพระพุทธปฏิมาอยุธยา
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูงรวมฐาน ๑.๑๙ เมตร พระพุทธปฏิมาลีลาวัดพระเจ้าเม็งราย (วัดกาละก้อด) อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่
วิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร ๙.๑๒) ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย และยังคงรักษารูปแบบของพระพุทธปฏิมาลีลาของสุโขทัย แต่เพิ่ม
ชายจีวรคลุมพระกรซ้ายที่ทอดลงข้างพระเพลา ขอบสบงด้านบนหายไป นอกจากนั้นแล้วส้นพระบาท
ซ้ายยังติดฐานอีกด้วย จึงอาจจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 –
ต้น 16)

รูปที่ ๙.๑๐ พระสมณโคดม ลีลา


ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูง ๙๕.๕ เซนติเมตร
วัดชัยภูมิการาม กรุงเทพมหานคร
รูปที่ ๙.๑๑ พระสมณโคดม ลีลา
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๙๖ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
กรุงเทพมหานคร
รูปที่ ๙.๑๐ รูปที่ ๙.๑๑

๔๖๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๙.๑๒ พระเจ้าเม็งราย
(พระเจ้าค่าคิงพญามังราย)
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16)
ก่ออิฐถือปูน สูง ๔.๕๐ เมตร
วัดพระเจ้าเม็งราย
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่

พระพุทธปฏิมาลีลา ๓๑
(๒) สมัยประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๔๔๒ (ค.ศ. 1774 – 1899)

ส่วนพระพุทธปฏิมาลีลาบุดุนบนองค์ระฆังของพระธาตุหริภุญไชย ซึ่งพระมหาเทวีทรงสร้างขึ้น
นั้น (รูปที่ ๙.๑๓) ยกส้นพระบาทขวาในท่าก้าวเดิน พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นที่หน้าพระอุระ นิ้วพระหัตถ์เลือน
หายไป หากคงอยู่น่าจะแสดงปางแสดงธรรม เช่นเดียวกับพระพุทธปฏิมาลีลาอีก ๒ องค์ ขอบสบง
ด้านบนทำเป็นเส้นเดี่ยว ทรงครองจีวรห่มดอง ขอบจีวรด้านข้างทิ้งจากพระโสณีซ้ายลงเป็นเส้นตรง
พุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระพุทธปฏิมาลีลาสลักศิลา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ดูรูปที่
๙.๒๔) พระพุทธปฏิมาลีลาบุดุนน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิละเช่นเดียวกันกับพระพุทธปฏิมา
ปางถวายเนตรที่ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มเรือนธาตุของพระเจดีย์โบราณที่วัดพระรูป อำเภอเมืองฯ
จังหวัดสุพรรณบุรี (ดูรูปที่ ๘.๙๖)

รูปที่ ๘.๙๖ พระสมณโคดมลีลา


และพระสมณโคดมยืน
ประสานพระหัตถ์ที่พระเพลา
สร้างปี พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑
(ค.ศ. 1656 - 1688)
ปูนปั้น
วัดพระรูป อำเภอเมืองฯ
จังหวัดสุพรรณบุรี

รูปที่ ๙.๑๓ พระสมณโคดม ลีลา


สร้างปี พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๙
(ค.ศ. 1782 – 1816)
ทองจังโก สูง ๒.๐๕ เมตร
องค์ระฆังพระธาตุเจดีย์
วัดพระธาตุหริภุญไชย
อำเภอเมืองฯ จังหวัดลำพูน

๔๖๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๓. พระพุทธปฏิมาลีลา สมัยล้านช้าง

ช่วงอาณาจักรล้านช้าง พ.ศ. ๑๙๓๖ – ๒๒๔๖ (ค.ศ. 1393 – 1703)

พระพุทธปฏิมาลีลาของล้านช้างก็มีรูปแบบเช่นเดียวกันกับพระพุทธปฏิมาลีลาของล้านนาที่
สร้างขึ้นช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16) พระพุทธปฏิมาลีลาของล้านช้างที่สร้าง
ขึ้นหลังจากช่วงระยะเวลาดังกล่าวแสดงให้เห็นอิทธิพลจากพระพุทธปฏิมาอยุธยา เช่น ขอบสบงด้านบน
และหน้านางรัดด้วยรัดประคด พระหัตถ์แสดงปางแสดงธรรม คือจีบพระอังคุฐและพระดรรชนีเข้า
ด้วยกัน เช่น พระพุทธปฏิมาลีลาวัดไชยาติการาม อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ (รูปที่ ๙.๑๔)
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ยังทรงจับผลสมอระหว่างพระอังคุฐและพระดรรชนี ทรงยกพระหัตถ์ขวาและ
ส้นพระบาทซ้าย ขอบจีวรทั้งสองข้างทำเป็นเส้นคลื่น ปลายจีวรทั้งสองข้างขมวดเข้าตามแบบล้านนา
และมีพระรัศมีเป็นเปลวสูงคล้ายกับของพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยในพระอาราม
เดียวกัน จึงน่าจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17) เช่นกัน

รูปที่ ๙.๑๔ พระสมณโคดม ลีลา


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17)
สัมฤทธิ์ สูง ๘๒ เซนติเมตร
วัดไชยาติการาม
อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ

พระพุทธปฏิมาลีลา ๔๖๗
๔. พระพุทธปฏิมาลีลา สมัยอยุธยา

ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะได้ปกครองสุโขทัย ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (กลางคริสต์
ศตวรรษที่ 15) เป็นต้นมา และพระพุทธปฏิมาลีลาส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นในภาคกลางตอนบน ก็สร้างขึ้น
ภายใต้อิทธิพลของอยุธยา แต่ด้วยเหตุที่ว่าพระพุทธปฏิมาลีลาเหล่านี้จำลองสืบต่อกันมาโดยได้รับการ
แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย จึงจำแนกเป็นแบบสุโขทัย แบบกำแพงเพชร และแบบสวรรคโลกตาม
ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น เช่นเดียวกับการจำแนกพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
สมัยอยุธยา ออกเป็นแบบย่อยดังกล่าว

(๑) ช่วงเมืองพระยามหานคร พ.ศ. ๑๘๙๔ – ๑๙๙๑ (ค.ศ. 1351 – 1448)

พระพุทธปฏิมาลีลาอยุธยาที่สำคัญได้แก่ พระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์กะไหล่ทองบนชาลาพระวิหารหลวง
วัดสุทัศนเทพวราราม (รูปที่ ๙.๑๕) ซึ่งอัญเชิญไปจากวัดราชบุรณะ กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งพระ
อารามแห่งนี้ถูกระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ (เขียน ๒๕๑๒, ๕๐) อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายว่า
ปัจจุบันได้มีการดัดแปลงพระรัศมี จากบัวตูมเป็นบาตรคว่ำ และพระหัตถ์ซ้ายหงายออกเป็นปางประทาน
พร แทนที่จะหันเข้าหาพระเพลา (เรื่องเดียวกัน, รูปที่ ๗๖ – ๗๗) และเนื่องด้วยว่าไม่มีการปั้นด้านหลัง
ของพระพุทธปฏิมา จึงแสดงให้เห็นว่าแต่เดิมนั้นน่าจะเป็นพระพุทธปฏิมาที่ประดิษฐานอยู่ในภายในซุ้ม
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ดัดแปลงมาจากพระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ขวาประทานอภัย ครองจีวรห่มคลุม
ชายจีวรด้านหน้าเป็นวงโค้ง ด้านหลังเป็นมุมแหลม ขอบสบงด้านบนเป็นเส้นคู่ เว้ารับกับพระนาภี ขอบสบง
ด้านข้างทำเป็นริ้วทั้งสองด้าน ยกส้นพระบาทซ้ายขึ้นเพียงเล็กน้อย จึงดูคล้ายกับยืนในท่าเอียงพระโสณี
(ตริภังค์) มากกว่าก้าวเดิน พระพุทธปฏิมาองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นก่อนที่อยุธยาจะได้รับรูปแบบพระ
พุทธปฏิมาลีลาจากสุโขทัย คือประมาณครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)

รูปที่ ๙.๑๕ พระสมณโคดม ลีลา


ย้ายมาจากวัดราชบุรณะ
กรุงเทพมหานคร
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๐
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๕๘ เมตร
พระวิหารหลวง
วัดสุทัศนเทพวราราม
กรุงเทพมหานคร

๔๖๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาลีลา ๔๖๙
(๒) ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

เมื่อพระพุทธปฏิมาลีลาแบบสุโขทัยเป็นที่นิยมแพร่หลายแล้ว จึงเกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้
เป็นพระพุทธปฏิมาห่มดองแบบสุโขทัย ยกส้นพระบาทขึ้นสูง ทำท่าจีบนิ้วพระหัตถ์ในปางแสดงธรรม แต่
พระอังคุฐกับพระดรรชนีไม่บรรจบถึงกัน ดังเช่นองค์ที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา
(รูปที่ ๙.๑๖) และเมื่อพระเศียรเป็นรูปไข่ เม็ดพระศกเป็นหนามขนุน คล้ายกับเศียรพระพุทธปฏิมา “แบบ
อู่ทอง แบบที่ ๓” ยกเว้นแต่พระรัศมีเป็นบัวตูม จึงกำหนดอายุเวลาอยู่ในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่
๒๑ (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)

- แบบสุโขทัย

พระพุทธปฏิมาลีลาแบบสุโขทัยที่สร้างขึ้นหลังจากอาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมืองลูกหลวงของ
อยุ ธ ยา คื อ ช่ ว งปลายพุ ท ธศตวรรษที่ ๒๐ (กลางคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 15) เป็ น ต้ น มา เช่ น องค์ ใ น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย (รูปที่ ๙.๑๗) และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย (รูปที่ ๙.๑๘) มีชายจีวรที่พับทบเป็นแผ่นยาวจรดพระนาภีพาดผ่านพระโสณี
ซ้าย ขอบบนของสบงเป็นเส้นเดียวเว้าตามพระนาภี ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย ขอบจีวรทิ้งลงใต้
รูปที่ ๘.๓ พระยืน
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ข้อพระกรและเป็นเส้นเว้าโค้งขมวดเข้าที่มุม ชายจีวรด้านล่างเป็นเส้นโค้งรับกับชายสบง จากการเปรียบเทียบ
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16) กับพระพุทธปฏิมายืนล้านนาที่มีชายจีวรพาดผ่านพระโสณีซ้าย (ดูรูปที่ ๘.๓) กำหนดอายุได้ในช่วงกลาง
สัมฤทธิ์ สูง ๖๘.๕ เซนติเมตร พุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
กรุงเทพมหานคร
พระพุทธปฏิมาที่อาจจะสร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16)
เช่นพระพุทธปฏิมาที่วัดไทยชุมพล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุโขทัย (รูปที่ ๙.๑๙) ชายจีวรพาดผ่านพระโสณี
ขอบสบงด้านบนคาดด้วยรัดประคด ชายจีวรที่ทิ้งลงจากข้อพระกรซ้ายทำเป็นลูกคลื่น แต่ปลายขมวดที่
มุมหายไป

รูปที่ ๙.๑๖ พระสมณโคดม ลีลา


พบในพระปรางค์วัดราชบูรณะ
พระนครศรีอยุธยา
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ สูง ๕๐.๘ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๔๗๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๙.๑๘

รูปที่ ๙.๑๗

รูปที่ ๙.๑๗ พระสมณโคดม ลีลา


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 - ต้น16)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๕๔ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
จังหวัดสุโขทัย
รูปที่ ๙.๑๘ พระสมณโคดม ลีลา
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๗๐ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
จังหวัดสุโขทัย
รูปที่ ๙.๑๙ พระสมณโคดม ลีลา
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์
วัดไทยชุมพล
อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุโขทัย รูปที่ ๙.๑๙

พระพุทธปฏิมาลีลา ๔๗๑
- แบบกำแพงเพชร

กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่าน ได้รับรูปแบบและอิทธิพลจากพระพุทธปฏิมาสุโขทัย อยุธยา
และล้านนา เพื่อนำมาผสมผสานเป็นรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง

พระพุทธปฏิมาลีลาในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต (รูปที่ ๙.๒๐) มีพระเศียรใกล้เคียง
กับพระพุทธปฏิมาแบบกำแพงเพชร คือพระพักตร์ยาว พระนลาฏกว้างกว่าพระหนุ พระนาสิกงุ้ม ทรง
ครองจีวรคล้ายกับพระพุทธปฏิมาสมัยสุโขทัยที่ขอบจีวรใต้พระหัตถ์ซ้ายทิ้งลงเป็นเส้นตรง ชายจีวรด้าน
ล่างตัดเป็นเส้นตรงทำมุมทแยงขึ้นตามข้อพระบาทที่ยกขึ้น แต่แตกต่างจากพระพุทธปฏิมาสมัยสุโขทัยที่
ไม่มีเส้นขอบสบงด้านบน พระพุทธปฏิมาองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)

รูปที่ ๙.๒๐ พระสมณโคดม ลีลา


ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15)
สัมฤทธิ์ องค์พระสูง ๗๐ เซนติเมตร
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
กรุงเทพมหานคร

๔๗๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาลีลา แบบกำแพงเพชร พัฒนาการควบคู่ไปกับพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย ดังเห็นได้จากพระพักตร์ของพระพุทธปฏิมาของเอกชน (รูปที่ ๙.๒๑) ที่มีลักษณะใกล้เคียง
กับพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัด
สุโขทัย (ดูรูปที่ ๕.๑๓๖) แต่แตกต่างจากพระพุทธปฏิมาลีลาแบบสุโขทัย แบบกำแพงเพชรส่วนใหญ่ไม่มี
ชายจีวรที่พาดผ่านพระโสณีซ้าย นอกจากนั้นแล้ว ขอบจีวรด้านล่างทั้งสองด้านยังทำเป็นมุมแหลมคล้าย
พระพุทธปฏิมาอยุธยา กำหนดอายุได้ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16)

พระพุทธปฏิมาที่กำหนดอายุในช่วงเวลาเดียวกัน ได้แก่พระพุทธปฏิมาลีลาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย (รูปที่ ๙.๒๒) ซึ่งสร้างในลักษณะพระพุทธปฏิมายืน ยกพระหัตถ์ซ้าย
ประทานอภัย ส้นพระบาทขวายกขึ้นแต่เพียงเล็กน้อย พระพุทธปฏิมาองค์นี้ผสมพุทธลักษณะของ
พระพุทธปฏิมาล้านนาที่พระเศียร ส่วนการครองจีวรที่มีชายพาดผ่านพระโสณีเป็นแบบสุโขทัย แต่ชายจีวร
ด้านล่างเลียนแบบชายจีวรของพระพุทธปฏิมายืนแบบอยุธยา

รูปที่ ๕.๑๓๖ พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - กลาง ๒๒
(คริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๒๐.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
จังหวัดสุโขทัย

รูปที่ ๙.๒๒ พระสมณโคดม ลีลา


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๔๗ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
จังหวัดสุโขทัย

รูปที่ ๙.๒๑ พระสมณโคดม ลีลา


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๒๔ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน

พระพุทธปฏิมาลีลา ๔๗๓
(๓) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระกำแพงเขย่ง หรือพระกำแพงศอก เป็นพระพิมพ์ที่พบในกรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
จังหวัดสุพรรณบุรี (รูปที่ ๙.๒๓) พุทธลักษณะของพระเศียรคล้ายกับพระพุทธปฏิมา “แบบอู่ทอง แบบที่ ๓”
(มนัส ๒๕๑๒, ๑๐๓) แต่พระอิริยาบถและพุทธลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับพระพุทธปฏิมาลีลาแบบ
สวรรคโลกที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (ดูรูปที่ ๙.๒๕) นอกจากนั้นแล้ว รูปแบบของดอกบัวที่
อยู่เหนือซุ้มทั้งสองด้านก็มีลักษณะคล้ายกับดอกไม้ประดิษฐ์ที่ถักเป็นลวดลายบนพรมเปอร์เซีย (Grube
1966, 150) รวมทั้งรูปแบบของซุ้มและเสาแปดเหลี่ยมก็เป็นที่นิยมในรัชกาลนี้เช่นกัน (พิชญา ๒๕๔๘, ๙๖)

ส่วนพระพุทธปฏิมาสลักศิลา ไม่ทราบที่มาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (รูปที่ ๙.๒๔) มี
พุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธปฏิมาแบบสุโขทัย ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เช่นพระหัตถ์
แสดงปางแสดงธรรม จีบพระอังคุฐเข้ากับพระดรรชนี และขอบจีวรที่ทิ้งลงจากพระกัปประ (ข้อศอก)
ซ้ายเป็นเส้นตรงโค้งมนตอนปลาย

อนึ่งพระพุทธปฏิมาลีลาที่กล่าวถึงในโคลงพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ โคลงชะลอ
พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก ได้แก่ “พุทธยาตร”

ขอพรพุทธยาตรเยื้อง เจียรจร
กรุณานภกร ไฝ่ฝั้น
(Griswold and Nฺa Nagara 1970, 195)

รูปที่ ๙.๒๓ พระกำแพงศอก


พบในกรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑
(ค.ศ. 1656 - 1688) รูปที่ ๙.๒๔ พระสมณโคดม ลีลา
ดีบุก สูง ๓๒ เซนติเมตร ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๓
สมบัติเอกชน (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17)
ศิลา สูง ๑.๐๕ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กรุงเพมหานคร

๔๗๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


- แบบสวรรคโลก

พระพุทธปฏิมาลีลาแบบสวรรคโลกส่วนใหญ่ เป็นพระพุทธปฏิมาปูนปั้นที่ติดอยู่กับโบราณสถาน
เช่นภายในซุ้มซีกของประตูทางเข้าวิหารสิบเอ็ดยอด วัดเจดีย์เจ็ดแถว สวรรคโลก (ปัจจุบันคืออุทยาน
ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย) (รูปที่ ๙.๒๕) ซึ่งมีขอบจีวรด้านซ้ายที่ห้อยลงจากพระกัปประ เป็นลูกคลื่น
และม้วนกลับตอนปลาย ทำให้มุมขอบจีวรเป็นเส้นโค้ง ส่วนชายจีวรและชายสบงด้านล่างก็โค้งรับกับ
ข้อพระบาทขวาที่ยกขึ้น กำหนดอายุได้จากรูปแบบของวิหารสิบเอ็ดยอดที่มีรูปแบบเดียวกันกับภาพ
จิตรกรรมฝาผนังวิหารหลายยอดในอุโมงค์พระมณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ซึ่งก็มีพระพุทธปฏิมาลีลา
ประดิษฐานอยู่ในซุ้มซีก (ดูรูปที่ ๘.๙๓) จึงน่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน

พระพุทธปฏิมาลีลาปูนปั้นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สวรรคโลก (ปัจจุบันคือ เชลียง อำเภอ
รูปที่ ๙.๒๕ พระสมณโคดม ลีลา ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย) (รูปที่ ๙.๒๖) พระกรซ้ายและขอบจีวรที่ห้อยลงจากพระกัปประรวมทั้ง
พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑
(ค.ศ. 1656 – 1688) ชายจีวรด้านล่างหักหายไป ส่วนชายจีวรที่พับทบกันเป็นริ้วยาวจรดพระนาภี เป็นลักษณะเฉพาะของ
ปูนปั้น พระพุทธปฏิมาแบบสวรรคโลก (ดูรูปที่ ๕.๔๐) นอกจากนั้นแล้ว หน้านางของสบงยังทำเป็นเส้นนูนเชื่อม
พระวิหารสิบเอ็ดยอด วัดเจดีย์เจ็ดแถว กับขอบสบงด้านบน เช่นเดียวกับพระพุทธปฏิมาลีลา อยุธยา (ดูรูปที่ ๙.๒๔) และเนื่องด้วยว่าพระ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย พุทธปฏิมาลีลาองค์นี้สร้างบนฐานชุกชีขององค์พระประธานในพระวิหาร ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นเมื่อสมเด็จ
รูปที่ ๙.๒๖ พระสมณโคดม ลีลา พระเจ้าบรมโกศทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จึงน่าจะสร้างขึ้นในช่วง
พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑ รัชกาลนั้น (พิริยะ ๒๕๔๕, ๗๒ – ๗๓)
(ค.ศ. 1732 – 1758)
ปูนปั้น
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

รูปที่ ๙.๒๕ รูปที่ ๙.๒๖

พระพุทธปฏิมาลีลา ๔๗๕
รูปที่ ๙.๒๗ ก. พระสมณโคดม ลีลา
ย้ายมาจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑
(ค.ศ. 1656 – 1688)
สัมฤทธิ์ สูง ๒.๒๙ เมตร
พระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพมหานคร

๔๗๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


- แบบสุโขทัย

พระพุทธปฏิมาลีลาในพระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ซึ่งได้มาจากวัดมหาธาตุ -
ยุวราชรังสฤษดิ์ กรุงเทพมหานคร (รูปที่ ๙.๒๗ ก.) จำลองพุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมาแบบสุโขทัย
เช่น ชายจีวรพับทบยาวจรดพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ และพาดผ่านพระโสณีซ้าย ขอบจีวรที่ห้อย
จากข้อพระกรซ้ายทิ้งลงเป็นลูกคลื่นขมวดเข้าที่มุม เช่นเดียวกับมุมของชายสบงด้านล่างที่ขมวดเข้ารับกัน
ชายจีวรด้านล่างโค้งตามข้อพระบาท แต่ไม่มีขอบสบงด้านบน นอกจากนั้นแล้ว ยังจีบพระอังคุฐเข้ากับ
พระดรรชนีในปางแสดงธรรม (รูปที่ ๙.๒๗ ข.) กำหนดอายุเวลาได้จากการเปรียบเทียบกับเทวรูปพระ
นารายณ์ในส่วนรายละเอียดของพระพักตร์ เช่น พระขนงโค้งรับกับสันพระนาสิกทั้งสองด้าน ลักษณะ
ของพระโอษฐ์ที่แย้มพระสรวลที่มุม และพระหนุซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันมากกับพระพักตร์เทวรูปพระ
นารายณ์ (ส.ข. ๑๕ และ ส.ข. ๒๖) (สุภัทรดิศ ๒๕๐๙, รูปที่ ๔๓ และ ๔๗) ซึ่งจากลักษณะของพระพักตร์
และลวดลายเครื่องประดับน่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ / ค.ศ.
1656 – 1688) (Listopad 1995, 426 – 427)

ถึงแม้ว่าพระพุทธปฏิมาลีลาที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อาจจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระ
นารายณ์ แต่มิได้หมายความว่าสุนทรียภาพขององค์พระจะลดลงตามยุคสมัยด้วย และหากจะตัดคำว่า
“สมัยสุโขทัย” ออก คุณค่าของพระพุทธปฏิมาองค์นี้ที่เขียน ยิ้มศิริ ประติมากรเอกของไทย ได้เคยสดุดี
ไว้ก็ยังมีความหมายเหมือนเดิม

สิ่งที่มีค่าที่สุดในพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยชั้นครู (Classic) มีอยู่สองประการคือ
เป็นศิลปเนรมิตขึ้นใหม่จากแบบซึ่งลอกเลียนกันต่อ ๆ มา และศิลปินได้ถ่ายทอด
อุดมคติ ชีวิตจิตใจ และวิญญาณอันบริสุทธิ์ของไทยลงไปในงานอย่างเต็มเปี่ยม
ด้วยศรัทธาแห่งความเป็นไทย (เขียน ๒๕๑๒, ๘๑)

รูปที่ ๙.๒๗ ข. พระหัตถ์แสดงธรรม


พระพุทธรูปลีลา
พระอังคุฐกับพระดรรชนีบรรจบกันเป็น
สัญลักษณ์ของคาถา “เย ธมฺมา”
“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุ
ของธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น”
อันเป็นหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
(รูปที่ ๙.๒๗ก.)

พระพุทธปฏิมาลีลา ๔๗๗
๕. พระพุทธปฏิมาลีลา สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธปฏิมาลีลาเริ่มเป็นที่นิยมในกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลปัจจุบัน เพราะเป็นผลพวงที่ได้
รับจากการรณรงค์ค่านิยมความเป็นไทยโดยมีศิลปะและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยเป็นสัญลักษณ์ในสมัย
รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๕๐๐ / ค.ศ. 1947 – 1957)
แม้จะมีการสร้างพระพุทธปฏิมาลีลาขึ้นก่อนหน้านี้บ้าง แต่ก็มีเพียงไม่กี่องค์ ที่สำคัญได้แก่
พระพุทธปฏิมาลีลาแบบคันธารราษฎร์ที่คอราโด เฟโรจี (Corrado Feroci) ปั้นหล่อ (สนอง 2003, 383)
หลังจากที่เข้ามารับราชการตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากร กระทรวงวัง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ (ค.ศ. 1923)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธปฏิมาลีลาที่เฟโรจี ปั้นนี้ (รูปที่ ๙.๒๘)
เกล้าพระเกศาเป็นพระเมาลี คล้ายพระพุทธปฏิมาแบบคันธารราษฎร์ของอัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลี (ดูรูป
ที่ ๘.๑๐๐) และมีกล้ามเนื้อแบบมนุษย์สามัญ แต่ครองจีวรแบบประเพณีนิยม คือห่มดอง มีชาย
จีวรพับทบปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ ยาวเลยพระนาภี ขอบจีวรด้านข้างทั้งสองด้านกางออกทางตอนล่าง
เล็ ก น้ อ ย ขอบสบงด้ า นบนทำเป็ น เส้ น นู น สองเส้ น พระหั ต ถ์ ข วายกขึ้ น ประทานอภั ย หน้ า พระอุ ร ะ
พระหัตถ์ซ้ายแกว่งลงข้างพระเพลา เป็นพระพุทธปฏิมาที่ผสมผสานพุทธลักษณะตามแนวความคิดของ
ชาวตะวันออกกับสุนทรียภาพด้านสรีระของชาวตะวันตก

ต่อมาในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๕๐๐ / ค.ศ.
รูปที่ ๘.๑๐๐ พระสมณโคดมยืน ถวายเนตร 1947 – 1957) มีการจรรโลงความเป็นไทยแบบจารีตประเพณี ขึ้นมาแทนที่นโยบาย “ความเป็นไทย
Alfonso Tornarelli ปั้นหล่อ
พ.ศ. ๒๔๕๓ (ค.ศ. 1910) อารยะแบบสากล” ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๘๑ –
สัมฤทธิ์ สูง ๕๙ เซนติเมตร ๒๔๘๗ / ค.ศ. 1938 – 1944) เช่นทำโครงการระยะยาว ๓๐ ปี เพื่อบูรณะวัดและปูชนียสถานสำคัญ
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต จำนวน ๕,๕๓๕ แห่ง ทำการสำรวจและบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สุโขทัย และอยุธยา เป็นต้น
กรุงเทพมหานคร
(ชาตรี ๒๕๔๗, ๔๔๑ – ๔๔๕) ดังนั้น เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม สร้างพระพุทธปฏิมาขึ้นมาในปี พ.ศ.
๒๔๙๗ (ค.ศ. 1954) เพื่อประดิษฐานในพระระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน (รูปที่ ๙.๒๙)
จึงสร้างพระพุทธปฏิมาลีลาขึ้นโดยจำลองพระพุทธปฏิมาลีลาแบบสุโขทัย แต่พระพุทธปฏิมาองค์นี้กลับ
ให้ความรู้สึกว่า มิได้ทรงลีลาหรือก้าวย่างอย่างอ่อนช้อย หากแต่เป็นการก้าวเดินอย่างฉับไว ซึ่งสอดคล้อง
กับอุดมการณ์ “ก้าวหน้า” ของรัฐบาลของท่านสมัยที่ ๑ ดังที่หลวงวิจิตรวาทการได้บรรยายในปาฐกถา
เรื่อง “วัฒนธรรมสุโขทัย” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ (ค.ศ. 1939)

พระพุทธปฏิมาที่พอจะลงความเห็นเชื่อได้ว่า พ่อขุนรามคำแหงทรงสร้างก็มี
เพียง ๓ ชะนิด คือพระเดิน พระยืน และพระมารวิชัย ชะนิดที่จะได้พบเห็นมาก
ที่สุด คือพระพุทธปฏิมาในท่าเดิน ซึ่งเรียกว่าพุทธลีลา ซึ่งเป็นเครื่องสอนใจให้
คนก้าวหน้าเดิน ให้ก้าวหน้าไม่หยุดเฉย... เหตุไรพ่อขุนรามคำแหงจึงโปรดสร้าง
พระพุทธปฏิมาเดินมากกว่าแบบอื่น ข้อนี้จะอธิบายอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากว่า
พระนิสัยของพ่อขุนรามคำแหงเองเป็นผู้ที่อยู่นิ่งไม่ได้ และทรงถือความขยัน
ขันแข็งเป็นความสำคัญยิ่งสำหรับคนและชาติ ทรงมีความคิดในทางก้าวหน้าอยู่
ทุกขณะ การสร้างพระพุทธปฏิมาเดินไว้มาก ๆ ก็เพื่อให้คนบูชาความขยันขันแข็ง
และความก้าวหน้า (วิจิตรวาทการ ๒๔๙๖, ๑๕ – ๑๖)

รูปที่ ๙.๒๙ พระสมณโคดม ลีลา


รูปที่ ๙.๒๘ พระสมณโคดม ลีลา สร้างปี พ.ศ. ๒๔๙๗
Corrado Feroci ปั้นหล่อ (ค.ศ. 1954)
พ.ศ. ๒๔๖๖ – ๒๔๖๘ (ค.ศ. 1923 – 1925) สัมฤทธิ์
สัมฤทธิ์ สูง ๙๐ เซนติเมตร พระระเบียงวัดพระศรีมหาธาตุ
สมบัติของเอกชน บางเขน กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุพระพุ
ทธปฏิทธปฏิ
มาปางลี
มาลีลา
า ๔๗๙
เพื่อเฉลิมฉลอง ๒,๕๐๐ ปีของพุทธศาสนา รัฐบาลโดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายก-
รัฐมนตรี จึงมีมติให้สร้างพุทธมณฑลขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนาที่ประกอบด้วยสถานที่ปฏิบัติ
ศาสนธรรม ศึกษาค้นคว้าเผยแผ่พุทธศาสนา เป็นที่ตั้งของการบริหารคณะสงฆ์ และพิพิธภัณฑ์พุทธศาสนา
รวมทั้งเป็นนิวาสสถานของพระภิกษุสงฆ์ เสมอเหมือนนครศักดิ์สิทธิ์แห่งพุทธศาสนา ซึ่งก็คือการรื้อฟื้น
โครงการ “พุทธบุรีมณฑล” ที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำริที่จะสร้างขึ้นเมื่อคราวเป็นรัฐบาลสมัยที่หนึ่ง
ในบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสระบุรีในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๗ (ค.ศ. 1944)
(ศิลปากร ๒๕๒๕ ข, ๗) โดยจัดตั้งคณะกรรมการการจัดงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษแห่งพุทธศาสนา
ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ. 1954) อันมีพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เป็นประธานคณะกรรมการ

คณะกรรมการเห็นสมควรว่า ควรจะสร้างปูชนียสถานให้เป็นพุทธานุสรณ์ให้ยิ่งใหญ่กว่าปูชนียสถาน
ใดๆ ที่เคยสร้างมาก่อน โดยอนุมัติให้จัดซื้อที่ดินในจังหวัดนครปฐม มีอาณาบริเวณ ๒,๕๐๐ ไร่ และ
สร้างพระพุทธปฏิมาปางลีลา สูงเฉพาะองค์ ๒,๕๐๐ นิ้ว (๔๐ – ๔๕ เมตร) “มีพุทธลักษณะเป็น
ประติมากรรมของสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วหุ้มด้วยทองแดงหรือประดับ
กระจก” (เรื่องเดียวกัน, ๑๔) โดยมอบหมายให้ ศิลป์ พีระศรี ซึ่งก็คือ คอร์ราโด เฟโรจี (Corrado
Feroci) ผู้ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ (ค.ศ. 1944) และดำรงตำแหน่งคณบดีคณะ
ประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมา
รูปที่ ๙.๓๐ ก. รูปร่างพระประธานพุทธมณฑล
ศิลป์ พีระศรี ปั้นปี พ.ศ. ๒๔๙๗
(ค.ศ. 1954) ศิลป์ พีระศรี เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับพระพุทธปฏิมาในที่ประชุมคณะกรรมการฯ ว่า
ปูนปลาสเตอร์ สูง ๘๐ เซนติเมตร
หอประติมากรรมต้นแบบ กรมศิลปากร พระพุทธปฏิมานั้น ไม่ใช่องค์พระพุทธเจ้าจริง เป็นแต่เพียงสิ่งแทนอันหมายถึง
กรุงเทพมหานคร
พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์เท่านั้น ถ้าพูดในด้านความรู้สึกแห่งจิตใจแล้ว
ควรเป็นแบบ Idealistic แต่อย่างไรก็ตามขอให้เป็นหน้าที่ของศิลปินผู้ออกแบบ
จะเป็นแบบไหนก็ได้ ขอให้เกิดความรู้สึกก็แล้วกัน (เรื่องเดียวกัน, ๔๑)

ต้นแบบพระประธานพุทธมณฑล (รูปที่ ๙.๓๐ ก.) ที่ศิลป์ พีระศรี ร่างขึ้นนั้น แสดงให้เป็นที่
ประจักษ์ว่า “แบบ Idealistic” หรือ “แบบอุดมคติ” ของท่านนั้น ได้แก่แบบคลาสสิก (Classic) หรือแบบ
ศิลปะกรีกโบราณ เช่นรูป “นักกีฬาพุ่งแหลน” ของโพลีไคลตุส (Polyclitus) ซึ่งปั้นขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๑๑๐ -
๑๐๐ (ก่อน ค.ศ. 450 – 400) (กำจร ๒๕๒๔, ๑๕๓) ซึ่งถึงแม้ว่าโพลีไคลตุส จะเป็นผู้ริเริ่มรูปยืนที่ทอด
น้ำหนักไว้บนขาข้างเดียว หรือที่เรียกว่า “ตริภังค์” ในศิลปะของอินเดีย ซึ่งทำให้รูปนั้นดูมีชีวิตชีวาก็ตาม
แต่นักวิจารณ์ร่วมสมัยของท่านก็ยังกล่าวว่า “โพลีไคลตุสไม่สามารถสร้างความเป็นเทพเจ้าได้” (Clark
1960, 36) น่าจะหมายความว่า เขาสร้างความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาไม่ได้ เช่นเดียวกันกับประติมากรรมของ
ศิลป์ พีระศรี

หลังจากที่ได้ส่งรูปตัวอย่างให้คณะกรรมการฯ พิจารณา ๔ แบบแล้ว คณะกรรมการฯ จึงเลือก
พระพุทธปฏิมาครองจีวรห่มดอง พาดสังฆาฏิยาวจรดพระเพลา แบบพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกาย
พระหัตถ์ซ้ายจีบพระอังคุฐเข้ากับพระดรรชนีในท่าแสดงธรรม ยกส้นพระบาทขวา จีวรทำเป็นริ้วตาม
ธรรมชาติ ในปีต่อมา ศิลป์ พีระศรี จึงได้ปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมาสูง ๒.๑๔ เมตร (รูปที่ ๙.๓๐ ข.) เพื่อ
ประดิษฐานในโรงพิธี ณ ท้องสนามหลวงให้ประชาชนสักการบูชาในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ และใน
วาระเดียวกันยังได้ปั้นขยายจากพระพุทธปฏิมาต้นแบบ มีขนาดความสูง ๓.๕๐ เมตร ขึ้น พร้อมจำลอง
แท่นฐานตามโครงการ ประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีกลางท้องสนามหลวง อีกองค์หนึ่ง

รูปที่ ๙.๓๐ ข. รูปต้นแบบพระประธานพุทธมณฑล
ศิลป์ พีระศรี ปั้นปี พ.ศ. ๒๔๙๘ (ค.ศ. 1955)
ปูนปลาสเตอร์ สูง ๒.๑๔ เมตร
หอประติมากรรมต้นแบบ กรมศิลปากร
กรุงเทพมหานคร

๔๘๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๙.๓๐ ค. พระศรีศากยะทศพลญาณ
ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ๒๔ ปีต่อมา รัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ จึงได้พิจารณารื้อฟื้นโครงการจัดสร้าง
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๒๕ พุทธมณฑลขึ้นใหม่ โดยมีมติให้ลดขนาดของพระพุทธปฏิมาลง จาก ๒,๕๐๐ นิ้ว (๔๐ - ๔๕ เมตร) เป็น
(ค.ศ. 1980 - 1982)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๕.๘ เมตร ๒,๕๐๐ กระเบียด (๑๕.๘ เมตร) และหล่อด้วยสัมฤทธิ์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการดำเนินงาน
พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม แต่ยังคงเป็นพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ปางลีลาที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา (รูปที่ ๙.๓๐ ค.) เมื่อพร้อมที่จะ
หล่อองค์พระพุทธปฏิมาในช่วงรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองพระรัศมี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔
(ค.ศ. 1981) และในปีเดียวกันนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระประธานพุทธมณฑลนี้
ว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” ซึ่งในปีต่อมาจึงจัดให้มีพิธีสมโภชพระ
พุทธปฏิมาขึ้น พร้อมกับการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปีใน พ.ศ. ๒๕๒๕ (ค.ศ. 1982)

พระพุทธปฏิมาลีลา ๔๘๑
พระประธานพุทธมณฑลที่ศิลป์ พีระศรี ออกแบบนั้น ถือได้ว่าเป็นพระพุทธปฏิมาที่มีการ
จำลองมากที่สุดองค์หนึ่งในรัชกาลปัจจุบัน เพราะได้มีการจำลองไว้ตามพระอารามน้อยใหญ่ทั่วพระ
ราชอาณาจักร เช่น วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี (รูปที่ ๙.๓๑) วัด
ชุมแสงศรีวนาราม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี (รูปที่ ๙.๓๒) วัดบ้านเหล่า อำเภอแม่แจ่ม จังหวัด
เชียงใหม่ (รูปที่ ๙.๓๓) และในที่สาธารณะ เช่นพระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์ (พระพุทธปฏิมา
ลีลาปาง ประทานพรที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลในรัชสมัยรัชกาลที่ ๙) ภูคกงิ้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัด
เลย (รูปที่ ๙.๓๔) ซึ่งกองทัพภาคที่ ๒ จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง
เจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ และครบรอบการอภิเษกสมรส ๕๐ ปี พ.ศ.
๒๕๔๓ พระพุทธปฏิมาองค์นี้หล่อจากไฟเบอร์กลาสผสมเรซิ่น และยืนทอดพระเนตรข้ามลำน้ำโขงไปสู่
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
รูปที่ ๙.๓๑ พระประธานพุทธมณฑลจำลอง
สัมฤทธิ์
วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

๔๘๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๙.๓๒

รูปที่ ๙.๓๓

รูปที่ ๙.๓๒ พระประธานพุทธมณฑลจำลอง


พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. 1989)
สัมฤทธิ์
วัดชุมแสงศรีวนาราม
อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
รูปที่ ๙.๓๓ พระประธานพุทธมณฑลจำลอง
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. 2003)
สัมฤทธิ์
วัดบ้านเหล่า
อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
รูปที่ ๙.๓๔ พระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๓
(ค.ศ. 1999 - 2000)
ไฟเบอร์กราสผสมเรซิ่น
สูง ๑๙ เมตร
รูปที่ ๙.๓๔ ภูคกงิ้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

พระพุทธปฏิมาลีลา ๔๘๓
พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทที่

๑๐
พระพุทธปฏิมาไสยาสน์
โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง พระราชนิพนธ์สมเด็จ
พระเจ้าบรมโกศ ในปี พ.ศ. ๒๒๗๐ (ค.ศ. 1727)

ขอพรพุทธภาคย์ให้ ไสยา
อสุรินทรจินตยามา ไฝ่เฝ้า
ขอจงองค์จักรา สุรภาพ
เกษมสานต์บานจิตตเช้า ค่ำคล้อย นิจการ
(Griswold and Nฺa Nagara 1970, 195)

หากไม่นับสมัยอาณาจักรมอญโบราณ (พ.ศ. ๙๕๐ - ๑๕๐๐ / ค.ศ. 407 - 957) แล้ว พระ
พุทธไสยาสน์ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ซึ่งมีความหมายว่าบรรทม
ตามโคลงที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ได้มีพระวินิจฉัยว่าเป็นปางปรินิพพานตามพุทธประวัติ

พระพุทธไสยาสน์ (รูปที่ ๑๐.๑๓)


สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงคิดแบบ
พระเทพรจนา (สิน) ปั้นหล่อ
โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ ๔๘๕
๑. พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ สมัยอยุธยา

(๑) ช่วงเมืองลูกหลวง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590)

- แบบสุโขทัย

จากการเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปะแล้ว เห็นได้ว่าพระพุทธไสยาสน์สัมฤทธิ์ที่เก่าแก่ที่สุด
น่าจะได้แก่องค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (รูปที่ ๑๐.๑) พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ทรงบรรทม
ตะแคงขวา หลั บ พระเนตร พระหั ต ถ์ ข วาประคองพระเศี ย รที่ ห นุ น ด้ ว ยพระเขนยทรงกลมสองใบ
พระหัตถ์ซ้ายทาบบนพระเพลา พระบาทซ้อนกันเป็นมุมฉาก พุทธลักษณะส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับพระ
พุทธปฏิมาลีลา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย (ดูรูปที่ ๙.๑๘) กล่าวคือ
ทรงครองจีวรห่มดอง ชายจีวรพับทบยาวจรดพระนาภี และมีชายพาดผ่านพระโสณีด้านซ้าย ชายจีวร
และชายสบงด้านล่างขมวดเข้าเป็นปม แต่แตกต่างกับพระพุทธปฏิมาลีลาสุโขทัย ที่ขอบสบงด้านบนทำ
เป็นแถบหนา เช่นเดียวกับพระพุทธปฏิมาอยุธยา หากแต่ไม่มีหน้านางเท่านั้น จึงกำหนดอายุอยู่ในช่วง
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
รูปที่ ๙.๑๘ พระสมณโคดม ลีลา
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ส่ ว นพระพุ ท ธไสยาสน์ ซึ่ ง พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงอั ญ เชิ ญ มาจากวั ด
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16) พระพายหลวง เมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงผนวช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระ
สัมฤทธิ์ สูง ๑.๗๐ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง วิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร (รูปที่ ๑๐.๒) (สำนักราชเลขาธิการ ๒๕๒๘ ข, ๙๙) มีพุทธลักษณะ
จังหวัดสุโขทัย คล้ายกับองค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ดูรูปที่ ๑๐.๑) ยกเว้นแต่ขอบสบงด้านบนทำเป็น
เส้นบางเว้าตามพระนาภี แทนแถบหนา พระนาสิกยาวงุ้ม ปลายชายจีวรด้านล่างทำเป็นมุมแหลม
เช่นเดียวกับพระพุทธปฏิมาลีลา แบบกำแพงเพชร (ดูรูปที่ ๙.๒๑) หากแต่ว่าพระเขนยทรงกลมทำซ้อน
กันสี่ใบ จึงอาจจะสร้างขึ้นในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16) พระพุทธรูป
องค์นี้ ประติมากรเอก เขียน ยิ้มศิริ จัดให้ “เป็นเลิศในโลก จะหาพระนอนที่ดีไปกว่าองค์นี้... ไม่ได้”
(เขียน ๒๕๑๒, ๘๑)

รูปที่ ๑๐.๑ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 – ต้น 16)
สัมฤทธิ์ ยาว ๓๔ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๔๘๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๑๐.๒ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์
ได้จากวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง ยาว ๓.๕๐ เมตร
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๙.๒๑ พระสมณโคดม ลีลา


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 16)
สัมฤทธิ์ สูง ๒๔ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน

พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ ๔๘๗
(๒) ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

พระพุทธไสยาสน์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี (รูปที่ ๑๐.๓)
บรรทม ยกพระเศียรขึ้นสูง หนุนด้วยพระเขนยอิง เม็ดพระศกเป็นหนามขนุน พระเมาลีทรงโอคว่ำ
พระรัศมีเป็นบัวตูม ชายจีวรพับทบเป็นแถบยาวโค้งตามพระวรกาย เป็นแนวเดียวกับหน้านางของสบง
ขอบสบงด้านบนคาดรัดประคด พระแท่นเป็นกลีบบัวหงายซึ่งแต่เดิมประดับด้วยกระจกสลับสีขาวเขียว
รองรับด้วยแถวกระจังตาอ้อยบนฐานเขียง รูปแบบของศิลปะเทียบได้กับรูปแบบที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จ
พระนารายณ์

พระพุทธไสยาสน์ วัดขุนอินทรประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง (รูปที่ ๑๐.๔) มี
พุทธลักษณะ ใกล้เคียงกับองค์ที่กล่าวถึงข้างต้น แต่มีความยาวถึง ๕๐ เมตร (บรรจบ ๒๕๐๓, ๒๖) และ
น่าจะสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ เช่นเดียวกันกับพระพุทธไสยาสน์ วัดโลกยสุธา อำเภอ
พระนครศรีอยุธยา (Listopad 1995, 226 – 227) ที่มีความยาว ๔๒ เมตร

๔๘๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๑๐.๓ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑
(ค.ศ. 1656 - 1688)
สัมฤทธิ์ ยาว ๑.๒๕ เมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
จังหวัดลพบุรี

รูปที่ ๑๐.๔ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์


สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑
(ค.ศ. 1656 - 1688)
ก่ออิฐถือปูน ยาว ๕๐ เมตร
วัดขุนอินทรประมูล
อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ ๔๘๙
ในปี พ.ศ. ๒๒๖๙ (ค.ศ. 1726) เมื่อสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (พ.ศ. ๒๒๕๑ – ๒๒๗๕ / ค.ศ.
1709 – 1733) ทรงทราบว่าพระพุทธไสยาสน์ ณ วัดป่าโมก (รูปที่ ๑๐.๕) ประดิษฐานอยู่ริมตลิ่งที่
โดนน้ำเซาะ และกำลังจะพังทลายลงภายในหนึ่งปี พระองค์จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชะลอ
พระพุทธไสยาสน์ให้พ้นตลิ่ง ๔ เส้น ๔ วา (๑๖๘ เมตร) และปีต่อมาจึงเสด็จไปทอดพระเนตรการชะลอ
พระพุทธไสยาสน์ พร้อมด้วยพระอนุชาธิราช สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศ
เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ครั้นเมื่อสำเร็จบริบูรณ์แล้วจึงโปรดให้สร้างพระวิหารครอบองค์
พระพุทธปฏิมา ในวาระนี้กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรงพระนิพนธ์โคลงเกี่ยวกับการชะลอ
พระพุทธไสยาสน์ไว้ด้วย และในปี พ.ศ. ๒๒๙๗ (ค.ศ. 1754) จึงได้ทรงแก้ไขโคลงบทนี้อีกครั้งหนึ่ง
(Griswold and Nฺa Nagara 1970, 147 – 220)

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาสน์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี (รูปที่ ๑๐.๖) มีพุทธลักษณะ
รูปที่ ๑๐.๕ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์
พ.ศ. ๒๒๔๖ - ๒๒๕๑ ใกล้เคียงกันมากกับพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก รวมทั้งพระเขนยทรงกลมซ้อนกัน แตกต่างกันตรง
(ค.ศ. 1703 - 1708) ไม่มีเส้นรอบพระโอษฐ์ด้านบน และพระพักตร์เหลี่ยมแทนรูปไข่ พระพุทธปฏิมาองค์นี้คงจะสร้างขึ้นใน
ก่ออิฐถือปูน ยาว ๒๔ เมตร ช่ ว งครึ่ ง หลั ง พุ ท ธศตวรรษที่ ๒๓ (ครึ่ ง แรกคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 18) เช่ น กั น เดิ ม สร้ า งไว้ ก ลางแจ้ ง
พระวิหารวัดป่าโมก
อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารคลุมไว้ (วัดพระพุทธไสยาสน์
๒๕๔๙, เอกสารแผ่นพับ)

รูปที่ ๑๐.๖ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์


ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)
ก่ออิฐถือปูน ยาว ๔๓ เมตร
พระวิหารวัดพระพุทธไสยาสน์
อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี

๔๙๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑ / ค.ศ. 1733 – 1758) โปรดให้สร้างพระนอน
จักรสีห์ เมืองสิงห์บุรี (คำให้การชาวกรุงเก่า ๒๔๕๗, ๑๔๐) ยาว ๔๗.๒๗ เมตรขึ้น แล้วเสร็จและสมโภช
ในปี พ.ศ. ๒๒๙๙ (ค.ศ. 1756) (ศิลปากร ๒๕๔๓ ก, ๒๗๐) ในรัชกาลเดียวกันนี้ ยังได้มีการสร้างพระพิมพ์
บรรจุในพระเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ (พิริยะ ๒๕๔๕, ๒๒๖) ซึ่งแสดงภาพปางปรินิพพานระหว่างต้นรังคู่
มีพระอานนท์นั่งจับปลายพระบาท และเหล่าพระสาวกพนมมือห้อมล้อม (รูปที่ ๑๐.๗)

พระพุ ท ธปฏิ ม าไสยาสน์ ที่ ส ร้ า งขึ้ น ในเขตวงราชธานี ยั ง ส่ ง อิ ท ธิ พ ลให้ กั บ พระพุ ท ธไสยาสน์
ซึ่งสร้างขึ้นทั่วอาณาจักรอยุธยา และแพร่หลายไปจนถึงหัวเมืองชายขอบอย่างเช่นที่เมืองมะริด (Myeik)
วัดเถนดอคยี พญา (Theindawgyi Paya) ประเทศพม่า (รูปที่ ๑๐.๘) ซึ่งถึงแม้ว่าจะได้รับการตกแต่ง
ขึ้นใหม่ เช่นที่ขอบไรพระศก และลวดลายที่พระเขนย แต่พุทธลักษณะส่วนใหญ่ยังคงรักษารูปแบบเดิมไว้

รูปที่ ๑๐.๗ พระสมณโคดม ปางปรินิพพาน


ได้จากพระเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)
สัมฤทธิ์ ยาว ๒๐.๓ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
นครศรีธรรมราช

รูปที่ ๑๐.๘ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์


พุทธศตวรรษที่ ๒๓
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง18)
ก่ออิฐถือปูน Theindawgyi Paya, มะริด (Myeik),
จังหวัดตะนาวศรี (Tanintharyi Division)
ประเทศพม่า

พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ ๔๙๑
๒. พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ สมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธไสยาสน์เป็นที่นิยมขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ สืบเนื่องมาจากการที่พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามขึ้นในปี
พ.ศ. ๒๓๗๕ (ค.ศ. 1832) และทรงสร้างพระพุทธไสยาสน์ ยาว ๔๖ เมตรขึ้น (รูปที่ ๑๐.๙) โดยมีพระองค์เจ้า
ลดาวัลย์เป็นแม่กอง ต่อมาได้ดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นภูมินทรภักดี กำกับกรมช่างสิบหมู่ในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน ๒๕๔๔, ๒๗) ในรัชกาลเดียวกันนี้ ยัง
ได้มีการสร้างพระพุทธไสยาสน์สัมฤทธิ์ ประดิษฐานบนเตียงจีนศิลา บนชาลาของพระวิหารหลวง วัด
สุทัศนเทพวราราม (รูปที่ ๑๐.๑๐) และพระพุทธปฏิมาสลักแก้วผลึก (รูปที่ ๑๐.๑๑) เป็นที่น่าสังเกตว่า
รูปแบบของพระเขนย เปลี่ยนจากทรงกลมซ้อนลดหลั่นกันเป็นทรงเหลี่ยม นอกจากนั้นแล้ว ชายจีวร
ส่วนล่างข้างซ้ายซึ่งแต่เดิมเคยลอยอยู่เหนือพระชงฆ์ ก็เปลี่ยนเป็นแบบธรรมชาติ พับราบลู่ลงตามความ
โค้งพระชงฆ์อีกด้วย

รูปที่ ๑๐.๙ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์


สร้างปี พ.ศ. ๒๓๗๕ (ค.ศ. 1832)
ก่ออิฐถือปูน ยาว ๔๖ เมตร
วิหารพระไสยาสน์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร

๔๙๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๑๐.๑๐ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์
สร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๗๗ – ๒๓๘๖
(ค.ศ. 1834 - 1843)
สัมฤทธิ์
ชาลาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม
กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๑๐.๑๑ พระสมณโคดม ปางปรินิพพาน


สร้างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔
(ค.ศ. 1824 - 1851)
แก้วผลึก ลงยา ยาว ๑๙.๕ เซนติเมตร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ ๔๙๓
๔๙๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธไสยาสน์ที่สร้างขึ้นตามแบบดังกล่าวได้แก่ พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำวัดสุวรรณคูหา
อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา (รูปที่ ๑๐.๑๒) มีความยาว ๑๕ เมตร ซึ่งพระยาโลหภูมินทราธิบดี
เจ้าเมืองตะกั่วทุ่ง เป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ (ค.ศ. 1861) ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัว

ต่อมาเมื่อค่านิยมของชาวตะวันตกเข้ามาเป็นมาตรฐานของความเป็นเลิศทางศิลปะ รูปแบบ
ของพระพุทธไสยาสน์จึงเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น เช่น พระพุทธไสยาสน์ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรง-
ราชานุภาพ ทรงใช้เป็นตัวอย่างของพระพุทธปฏิมา “แบบรัชกาลที่ ๖” ที่

ช่างฝีมือดีก็คิดแก้ไขหันเข้าหาความงาม ให้เห็นจริงอย่างสามัญมนุษย์ต่อมา
ควรยกย่องให้เป็นตัวอย่างเช่นพระไสยา ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงคิดแบบให้สร้างอุทิศถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่ น มหิ ศ รราชหฤทั ย อยู่ ที่ โ รงเรี ย นวั ด ราชาธิ ว าส (ดำรงราชานุ ภ าพ
๒๔๖๙, ๑๔๗)

รูปที่ ๑๐.๑๒ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์


สร้างปี พ.ศ. ๒๔๐๔ (ค.ศ. 1861)
ก่ออิฐถือปูน ยาว ๑๕ เมตร
ถ้ำวัดคูหาสวรรณคูหา
อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ ๔๙๕
พระพุทธไสยาสน์ที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส (รูปที่ ๑๐.๑๓) นั้น พระเทพรจนา (สิน) เป็นผู้ปั้นและ
หล่อเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ (ค.ศ. 1921) ตามแบบที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงร่าง
ประทาน เพื่อเป็นพระประจำวันประสูติ (วันอังคาร) ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
(พระองค์เจ้าไชยันตมงคล) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวัดราชาธิวาส (ศิลปกรรมวัดราชาธิวาส ๒๕๔๖, ๑๑๔ –
รูปที่ ๑๐.๑๓ พระพุทธไสยาสน์
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ๑๑๕) พระพุทธไสยาสน์องค์นี้สร้างขึ้นตามแนวศิลปะตะวันตกที่เน้นความเหมือนจริง จึงเป็นที่นิยมและ
ทรงคิดแบบ ได้รับการยกย่อง จนมีการจำลองมากที่สุดองค์หนึ่ง มีทั้งที่เป็นพระพุทธปฏิมาขนาดเล็กสำหรับบูชา (รูป
พระเทพรจนา (สิน) ปั้นหล่อ ที่ ๑๐.๑๔) และขนาดใหญ่ เช่น ที่วัดถ้ำแสงเพชร อำเภอเมืองฯ จังหวัดอำนาจเจริญ (รูปที่ ๑๐.๑๕)
ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ (ค.ศ. 1921)
สัมฤทธิ์ ยาว ๑.๕๔ เมตร นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับการสร้างพระพุทธปฏิมาในช่วงรัชกาลปัจจุบันที่ผสมผสาน
โรงเรียนวัดราชาธิวาส พระเศียรแบบพระพุทธปฏิมาสุโขทัย เข้ากับพระวรกายของพระพุทธไสยาสน์ที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา
กรุงเทพมหานคร นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงคิดแบบขึ้น เช่นที่พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ อำเภอบางสะพาน จังหวัด
รูปที่ ๑๐.๑๔ พระพุทธไสยาสน์ จำลอง
โรงเรียนวัดราชาธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ (รูปที่ ๑๐.๑๖)
ปูนปลาสเตอร์
พิพิธภัณฑ์วัดหนองป่าพง
อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

รูปที่ ๑๐.๑๓

รูปที่ ๑๐.๑๔

๔๙๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๑๐.๑๕

รูปที่ ๑๐.๑๖ รูปที่ ๑๐.๑๕ พระพุทธไสยาสน์ จำลอง


โรงเรียนวัดราชาธิวาส
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ. 2000)
คอนกรีตเสริมเหล็ก
วัดถ้ำแสงเพชร อำเภอเมืองฯ
จังหวัดอำนาจเจริญ
รูปที่ ๑๐.๑๖ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์
สร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๙ (ค.ศ. 1996)
สัมฤทธิ์
พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ
อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ ๔๙๗
ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา (รูปที่ ๑๑.๑๓)
ระเบียงรอบองค์พระปฐมเจดีย์
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม

พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทที่

๑๑
พระพุทธปฏิมาปางอื่น ๆ
๑. พระสี่อิริยาบถ สมัยอยุธยา

ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

การสร้างพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ น่าจะเริ่มขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อมีการสร้าง
พระพุทธปฏิมาสี่อิริยาบถ อันได้แก่ พระพุทธปฏิมาประทับ ยืน ลีลา และไสยาสน์ ขึ้น เช่นที่สุโขทัยและ
กำแพงเพชร ซึ่งทั้งสองแห่งที่สร้างขึ้นในเขตอรัญญิก อันเป็นที่จำพรรษาของพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี
ซึ่งตั้งห่างจากตัวเมืองพอที่พระสงฆ์จะเดินเข้าไปบิณฑบาตได้ ทั้งนี้เพราะฝ่ายอรัญวาสีเน้นการบำเพ็ญ
ศีล ภาวนา และวิปัสสนากรรมฐาน ดังนั้นการสร้างพระพุทธปฏิมาสี่อิริยาบถ จึงสะท้อนให้เห็นคติธรรม
ของฝ่ายอรัญวาสี ที่ใช้พระพุทธปฏิมาเหล่านี้ประกอบการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ใน มหาสติปัฏฐานสูตร
พระสูตรที่ ๙ ของ พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค ตอนที่ว่าด้วยกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดังที่ได้
กล่าวว่า

๑. ภิกษุเมื่อเดินอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า “เราเดินอยู่”
๒. เมื่อยืนอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า “เรายืนอยู่”
๓. เมื่อนั่ง ย่อมรู้ชัดว่า “เรานั่งอยู่”
๔. เมื่อนอน ย่อมรู้ชัดว่า “เรานอนอยู่” เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ
ย่อมรู้ทั่วถึงกายนั้นด้วยอาการอย่างนั้นๆ
(สุริยวุฒิ ๒๕๓๐, ๖๐)

พระพุทธปฏิมาปางอื่น ๆ ๔๙๙
รูปที่ ๑๑.๑ พระสมณโคดม ปางลีลา
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 – ต้น 18) รูปที่ ๑๑.๒ พระสมณโคดม ปางห้ามพระแก่นจันทน์
ปูนปั้น กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓
พระมณฑปด้านทิศตะวันออก วัดเชตุพน (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 – ต้น 18)
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ปูนปั้น
พระมณฑปด้านทิศตะวันตก วัดเชตุพน
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย

๕๐๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระสี่อิริยาบถที่วัดเชตุพน จังหวัดสุโขทัย ประดิษฐานในมณฑปด้านทิศตะวันออกเป็นพระ
พุทธปฏิมาลีลา (รูปที่ ๑๑.๑) ด้านทิศตะวันตกเป็นพระพุทธปฏิมายืน พระกรซ้ายหักหายไปแต่ถ้ายังคง
อยู่คาดว่าน่าจะเป็นปางห้ามพระแก่นจันทน์ (รูปที่ ๑๑.๒) ด้านทิศเหนือเป็นพระพุทธปฏิมาประทับ และ
ด้านทิศใต้เป็นพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธปฏิมาทั้งสี่องค์นี้ก่ออิฐถือปูน พระเศียรหักหายไป ผนังมณฑป
เป็นหินชนวน มีช่องลมเป็นซี่ลูกกรงแบบวิหารอยุธยา

ส่วนพระสี่อิริยาบถที่วัดพระสี่อิริยาบถ จังหวัดกำแพงเพชร ประดิษฐานในมณฑปที่ผนังเว้า
เข้าหากันทั้งสี่ด้าน ด้านทิศตะวันออกเป็นพระพุทธปฏิมาลีลา (รูปที่ ๑๑.๓) ด้านทิศตะวันตกเป็นพระ
พุทธปฏิมายืน ปางห้ามพระแก่นจันทน์ แต่พระกรหักหายไป เหลือเพียงบริเวณพระกัปประ (รูปที่ ๑๑.๔)
ด้านทิศเหนือเป็นพระพุทธปฏิมาประทับ และด้านทิศใต้เป็นพระพุทธไสยาสน์

เนื่องด้วยว่า พระสี่อิริยาบถที่วัดเชตุพน จังหวัดสุโขทัย และวัดพระสี่อิริยาบถ จังหวัดกำแพงเพชร
มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก จึงน่าจะสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกำหนดได้จากลักษณะของ
สถาปัตยกรรมของพระวิหาร ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระมณฑปที่วัดพระสี่อิริยาบถ จังหวัด
กำแพงเพชร ที่มีฐานสูงย่อเหลี่ยม ด้านสกัดทางทิศตะวันออกมีมุขเด็จ ทางทิศตะวันตกมีท้ายจระนัม มี
บันไดขึ้นขนาบข้างทั้งสองด้าน คล้ายกับพระอุโบสถวัดมเหยงค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จ
พระเจ้าท้ายสระโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๕๒ (ค.ศ. 1709) และให้ฉลอง ๔ ปีต่อมา
(ศิลปากร ๒๕๑๑, ๑๔๕) จึงเป็นไปได้ว่า พระสี่อิริยาบถทั้งสองแห่งที่กล่าวถึงข้างต้นคงจะสร้างขึ้นในช่วง
ระยะเวลาใกล้เคียงกัน

รูปที่ ๑๑.๓ พระสมณโคดม ปางลีลา
กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 – ต้น 18)
ปูนปั้น
พระมณฑปด้านทิศตะวันออก
วัดพระสี่อิริยาบถ
อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร

รูปที่ ๑๑.๔ พระสมณโคดม ปางห้ามพระแก่นจันท์


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 – ต้น 18)
ปูนปั้น
พระมณฑปด้านทิศตะวันตก
วัดพระสี่อิริยาบถ
อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร

พระพุทธปฏิมาปางอื่น ๆ ๕๐๑
๒. พุทธประวัติ

๒.๑ พุทธประวัติ สมัยอยุธยา

สมัยวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

- แบบสุโขทัย

ส่วนการสร้างภาพพุทธประวัตินั้นน่าจะเริ่มขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ต้น ๒๔ (กลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 18) อันเห็นได้จาก พระพุทธปฏิมาปูนปั้นที่มณฑปวัดตระพังทองหลาง เมืองเก่า
จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาพพุทธประวัติ แต่เดิมมีอยู่สามด้าน ด้านละปาง ด้านทิศใต้แสดง
ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ (รูปที่ ๑๑.๕) ด้านทิศตะวันตกปางยมกปาฏิหาริย์ (รูปที่ ๑๑.๖) ด้านทิศเหนือ
ปางทรมานช้างนาฬาคิรี (รูปที่ ๑๑.๗) แสดงเป็นพระพุทธปฏิมายืน ปัจจุบันแทบจะไม่มีภาพหลงเหลืออยู่
เพราะถูกโจรกรรมไปเกือบหมด ถึงแม้เหตุการณ์ในพุทธประวัติจะต่างกัน แต่พระพุทธปฏิมาลีลาทั้งสอง
องค์ก็มีพุทธลักษณะคล้ายกัน คือ ยกส้นพระบาทขวาในท่าก้าวเดิน พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น แต่เนื่องด้วยว่า
รูปที่ ๑๑.๕ พระสมณโคดม หักหายไป จึงไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าเป็นปางประทานอภัยหรือปางเทศนาธรรม ทรงครองจีวรห่มดอง
ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ชายจีวรพับทบยาวจรดพระนาภี ขอบจีวรด้านซ้ายทอดลงเป็นเส้นคลื่น ปลายม้วนเข้า ส่วนชายจีวรและ
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ต้น ๒๔ สบงด้านล่างโค้งรับกับข้อพระบาทที่ยกขึ้น พุทธลักษณะทั่วไปเทียบเคียงได้กับพระพุทธปฏิมาลีลา วัด
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18)
ปูนปั้น เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (ดูรูปที่ ๙.๒๗ ก.) อย่างไรก็ตามองค์ประกอบอื่นๆ ของทั้งสองภาพ เช่น
มณฑปด้านทิศใต้ วัดตระพังทองหลาง ศิราภรณ์และเครื่องทรงของเทวดา รวมทั้งลวดลายของประภามณฑลในภาพปางยมกปาฏิหาริย์ (ดูรูปที่
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ๑๑.๖) แสดงให้เห็นอิทธิพลจากศิลปะแบบศิริวัฒนบุรี (กรุงแคนดี้) ประเทศศรีลังกา เช่นจิตรกรรม
รูปที่ ๑๑.๖ พระสมณโคดม ปางยมกปาฏิหาริย์
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ต้น ๒๔ ฝาผนังถ้ำรันคิริ ดัมบุลุ (Rangiri Dambulu) ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (กลางคริสต์
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18) ศตวรรษที่ 18) (พิริยะ ๒๕๔๕, ๗๐ – ๗๑) จึงเป็นไปได้ว่า พระพุทธปฏิมาปูนปั้นที่มณฑปวัดตระพัง-
ปูนปั้น ทองหลางนี้คงจะสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน
มณฑปด้านทิศตะวันตก
วัดตระพังทองหลาง
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย

รูปที่ ๑๑.๗ พระสมณโคดม


ปางทรมานช้างนาฬาคิรี
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ต้น ๒๔
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18)
ปูนปั้น
มณฑปด้านทิศเหนือ
วัดตระพังทองหลาง
รูปที่ ๑๑.๕ รูปที่ ๑๑.๖ อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย

๕๐๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาปางอื่น ๆ ๕๐๓
๒.๒ พุทธประวัติ สมัยรัตนโกสินทร์

สมัยรัตนโกสินทร์เป็นยุคที่มีการสร้างพระพุทธปฏิมาปางต่าง ๆ ให้เข้ากับเหตุการณ์ในพุทธประวัติ
ซึ่งก็คือการสร้างภาพให้เข้ากับเนื้อหา โดยเริ่มขึ้นที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงตรวจพระอิริยาบถของ
พระพุทธเจ้า ในพระคัมภีร์ต่างๆ จะมีสักกี่อย่างกี่ปาง ในเวลานั้นตรวจกันได้ว่ามี ๓๗ ปาง เป็นเวลาที่
แร่ทองแดงเมืองจันทึกเกิดขึ้นใหม่ แล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ นั้นไว้ทั้ง ๓๗
ปาง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อฐาน และให้จารึก
“ทรงพระราชอุทิศแด่พระเจ้าแผ่นดินในกรุงทวารวดีศรีอยุธยาโบราณ และกรุงธนบุรี ๓๔ องค์ ในกรุง
รัตนโกสินทร์สามพระองค์” (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๖, ๒๓๖ – ๒๓๙) ปัจจุบันพระพุทธปฏิมาที่ทรง
พระราชอุทิศถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีรวม ๓๔ องค์ ประดิษฐานอยู่ใน
หอพระราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น
เพื่อการนี้โดยเฉพาะ

พระพุทธปฏิมาทั้ง ๓๔ องค์นี้ (ดูรูปที่ ๓.๙ (๑ - ๓๔)) มีพุทธลักษณะร่วมกัน คือ พระพักตร์เป็น
รูปวงรี พระนลาฏกว้างกว่าพระหนุ พระขนงโก่งโค้งบรรจบกันที่พระนลาฏ พระเนตรเหลือบต่ำ เม็ดพระศก
เป็นเม็ดใหญ่ พระเมาลีทรงโอคว่ำ พระรัศมีเป็นเปลวเพลิง หากประทับขัดสมาธิราบ จะทรงครองจีวร
ห่มดอง ชายจีวรยาวจรดพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ หากเป็นพระพุทธปฏิมายืน จะมีทั้งห่มดอง
และห่มคลุม ถ้าห่มดองมีชายจีวรยาวจรดพระนาภีปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ ขอบสบงด้านบนพาดทับหน้านาง
มีกรอบเป็นเส้นคู่ ชายจีวรด้านข้างแผ่ออกทั้งสองด้าน ชายด้านหน้าเป็นเส้นโค้ง ชายด้านหลังหักลงเป็น
มุมแหลม (ดูรูปที่ ๓.๙ (๑๗)) ถ้าห่มคลุม ขอบสบงและหน้านางมีลักษณะเดียวกัน ชายจีวรทั้งสองข้าง
คลุมข้อพระกร และแผ่ออกทั้งสองด้าน (ดูรูปที่ ๓.๙ (๓๒)) นอกจากนั้นแล้วยังมีปางสรงน้ำฝนที่ทรงผ้า
อุทกสาฎกหรือผ้าอาบน้ำแนบพระวรกายอีกด้วย (ดูรูปที่ ๓.๙ (๒๙))

ส่วนพระพุทธปฏิมาอีก ๓ องค์ (ดูรูปที่ ๓.๑๐ - ๓.๑๒) องค์ ๑ เป็นพระพุทธปฏิมาประทับ
ขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงอุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถฯ
หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ดูรูปที่ ๓.๑๐) องค์ ๑ เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย ทรงอุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชฐมเหศวรสุนทรฯ หรือ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ดูรูปที่ ๓.๑๑) และอีกองค์ ๑ ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระบรมาธิวรเสรฐมหาเจสฎาธิบดินทรฯ หรือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ดูรูปที่ ๓.๑๒) พระพุทธปฏิมาของพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ทั้งสามพระองค์แรกนี้ ประดิษฐาน
อยู่ในหอพระราชพงศานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

นอกจากพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ทั้ง ๓๗ ปางแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยัง
โปรดเกล้าฯ ให้หล่อภาพพุทธประวัติตามหนังสือ ปฐมสมโพธิกถา ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ
ปรมานุชิตชิโนรส ทรงแปลจากภาษาบาลี ภาพเหล่านี้แต่เดิมประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
พระบรมมหาราชวัง (ศิลปากร ๒๕๓๐ ข., ๑๑๖ – ๑๒๐) โดยสร้างภาพเลียนแบบภาพจิตรกรรมฝาผนัง
เช่น ภาพพุทธประวัติในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งเชื่อกันว่าเขียนขึ้นใน
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ายอดฟ้าจุฬาโลก อันมีตัวอย่าง คือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ (รูปที่
๑๑.๘ ก. และ ๑๑.๘ ข.) หรือภาพตอนมารผจญ (รูปที่ ๑๑.๙ ก. และ ๑๑.๙ ข.) ซึ่งองค์พระสมณโคดมที่
ประทับปางมารวิชัยใต้ต้นโพธิ์ได้หักหายไป และตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ หลังจากที่เสด็จขึ้นไปโปรด
พระพุทธมารดา โดยพระอินทร์เนรมิตบันไดแก้วถวายให้เสด็จลงตรงกลาง บันไดทองด้านขวาสำหรับ
พระอินทร์ และบันไดเงินด้านซ้ายสำหรับพระพรหม (รูปที่ ๑๑.๑๐ ก. และ ๑๑.๑๐ ข.) ซึ่งภาพ
พุทธประวัติตามหนังสือ ปฐมสมโพธิกถา แสดงให้เห็นค่านิยมของการสร้างภาพเหมือนจริงว่าได้ปรากฏ
ขึ้นแล้วเช่นกันในงานพุทธศิลป์ไทย

๕๐๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๑๑.๘ ก. ปางมหาภิเนษกรมณ์
ย้ายมาจากพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
พระบรมมหาราชวัง
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔
(ค.ศ. 1824 - 1851)
สัมฤทธิ์ สูง ๗ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รูปที่ ๑๑.๘ ข. ภาพมหาภิเนษกรมณ์
เขียนปี พ.ศ. ๒๓๓๘ - ๒๓๔๐
(ค.ศ. 1795 - 1797)
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

รูปที่ ๑๑.๙ ก. ปางมารผจญ


สร้างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔
(ค.ศ. 1824 - 1851)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๕.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รูปที่ ๑๑.๙ ข. ภาพปางมารผจญ
เขียนปี พ.ศ. ๒๓๓๘ - ๒๓๔๐
(ค.ศ. 1795 - 1797)
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระพุทธปฏิมาปางอื่น ๆ ๕๐๕
รูปที่ ๑๑.๑๐ ก. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
สร้างปี พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔
(ค.ศ. 1824 - 1851)
สัมฤทธิ์ สูง ๑๕.๕ เซนติเมตร
ฐานยาว ๙ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รูปที่ ๑๑.๑๐ ข. ภาพปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
เขียนปี พ.ศ. ๒๓๓๘ - ๒๓๔๐
(ค.ศ. 1795 - 1797)
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๕๐๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


แม้ว่าพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์) จะได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดทองนพคุณ เขต
คลองสาน กรุงเทพมหานคร แล้วถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นพระอารามหลวง
ก็ตาม แต่ภาพพุทธประวัติจำนวน ๙๐ ภาพ ที่แต่เดิมประดับผนังและติดตามเสาศาลาการเปรียญหลังเก่า
นั้นน่าจะสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ (ค.ศ. 1915) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อมีการซ่อมแซมศาลาการเปรียญขึ้น (ภาพพุทธประวัติวัดทองนพคุณ ๒๕๒๖, ๒๑ – ๒๒) ภาพเหล่านี้
จัดได้ว่าเป็นศิลปะแบบสื่อผสม คือ เป็นประติมากรรมนูนสูง ปิดทอง และระบายสี โดยใช้สีน้ำมันเป็น
ฉากหลัง เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะแบบสัจจนิยมของชาวตะวันตก ที่เน้นสร้างภาพ
ความเหมือนจริงให้ญาติโยมรู้สึกว่าพระพุทธเจ้านั้นมิได้อยู่ไกลตัว แต่เป็นของไทย เป็นคนไทยด้วยกัน ดังที่
สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีลายพระหัตถ์กราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า

พระพุทธเจ้านั้น คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นไทย ประสูติในเมืองไทย ตรัสรู้ในเมืองไทย
เสด็จจารึกไปในเมืองไทย ตลอดเข้าสู่พระปรินิพพานก็ในเมืองไทย ผู้ที่ทราบ
ความจริงว่าพระพุทธเจ้าเป็นแขกอยู่ในประเทศอินเดียนั้นน้อยนัก (สาส์นสมเด็จ
รูปที่ ๑๑.๑๑ ปางประสูติ เล่ม ๑๗ ๒๕๑๕, ๒๒๗ – ๒๒๘)
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๕๘ (ค.ศ. 1915)
สัมฤทธิ์ ปิดทอง สีน้ำมัน
สูง ๔๐ เซนติเมตร โดยที่บุคคลสำคัญในภาพ เช่นพระนางสิริมหามายา และท้าวสุทธาวาสมหาพรหม ผู้ที่รองรับ
ศาลาการเปรียญ วัดทองนพคุณ พระโพธิสัตว์ในปางประสูติ (รูปที่ ๑๑.๑๑) ทรงฉลองพระองค์แบบกษัตริย์ ส่วนนางพระกำนัล ไว้ผมทรง
เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
รูปที่ ๑๑.๑๒ ปางทรงโปรดอุปชีวก ดอกกระทุ่ม นุ่งผ้าลาย ห่มสไบจีบ ส่วนพระพุทธองค์นั้นจำลองจากพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ๓๔ ปาง
สร้างปี พ.ศ. ๒๔๕๘ (ค.ศ. 1915) เช่นทรงยืนครองจีวรห่มดอง ชายจีวรพับทบยาวจรดพระนาภี ขอบจีวรด้านข้างผายออกทั้งสองด้านตอน
สัมฤทธิ์ ปิดทอง สีน้ำมัน ปลายเป็นมุมแหลม ขอบและหน้านางของสบงมีกรอบเป็นเส้นคู่ ดังตัวอย่างในภาพ “ทรงโปรด อุปชีวก”
สูง ๔๐ เซนติเมตร
ศาลาการเปรียญ วัดทองนพคุณ (รูปที่ ๑๑.๑๒) เป็นต้น
เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

รูปที่ ๑๑.๑๑ รูปที่ ๑๑.๑๒

พระพุทธปฏิมาปางอื่น ๆ ๕๐๗
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ (ค.ศ. 1957) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ ห ลวงบริ บ าลบุ รี ภั ณ ฑ์ รวบรวมพระพุ ท ธรู ป ปางต่ า งๆ ขึ้ น ตามเรื่ อ งพุ ท ธประวั ติ ไ ด้ ๕๕ ปาง
เพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน (บริบาลบุรีภัณฑ์
และ เกษม ๒๕๐๐) ๒๖ ปี ต่อมา ได้มีการสร้างพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ปางต่าง ๆ ขึ้นที่ระเบียงรอบ
องค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น ๘๐ องค์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๒๗ (ค.ศ. 1983 –
1984) “แม้ว่าพระพุทธปฏิมาเหล่านี้ จะสร้างขึ้นในสมัยปัจจุบัน แต่ลักษณะทางศิลปะก็ได้แรงบันดาลใจ
จากศิลปะสุโขทัย” (ไขศรี 1996, ๗๐ – ๗๑) ยกเว้นแต่ในกรณีของพระพุทธปฏิมาปางบำเพ็ญทุกรกิริยา
ซึ่งจำลองจากพระพุทธปฏิมาปางเดียวกัน ในพระระเบียงพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (รูป
ที่ ๑๑.๑๓) พระพุทธปฏิมาองค์ต้นแบบนั้น รัฐบาลอินเดียนำมาถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

เปนพระพุทธปฏิมาขนาดหน้าตักสักสอกหนึ่ง ซึ่งเขาพิมพ์จำลองพระสิลาด้วย
ปูนปลาสเตอร์ แล้วปิดทองคำเปลวตั้งไนซุ้มไม้ทำเปนรูปเรือนแก้ว สำหรับยึด
องค์พระไว้ให้แน่นใส่หีบส่งมา พระนั้นเปนรูปพระพุทธองค์เมื่อยังเปนพระ
โพธิสัตว์กำลังกะทำทุกรกิริยา ช่างโยนกคิดประดิถทำที่ไนคันธารราถ เมื่อราว
พ.ส. 900 ทำเปนพระนั่งสมาธิ แต่พระองค์กำลังซูบผอมถึงอย่างว่า “มีแต่หนัง
หุ้ ม กระดู ก ” แลเห็ น โครงพระอั ต ถิ แ ละเส้ น สายทำเหมื อ นจริ ง ผิ ด กั บ พระ
พุทธปฏิมาสามัญ แลเห็นก็รู้ทันทีว่าเปนรูปพระพุทธองค์เมื่อซงบำเพ็นเพียรหา
โมขธัม ทำดีน่าพิสวง เขาบอกมาว่าพระพุทธปฏิมาองค์นี้แหละเปนชั้นยอด
เยี่ยมทั้งความคิดและฝีมือช่างโยนก พบแต่องค์เดียวเท่านั้น รัถบาลไห้รักสาไว้
ในพิพิธภัณฑ์สถานที่เมืองละฮอ... สมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวง โปรดไห้ประดิสถาน
พระองค์นั้นไว้บนถานชุกชีบุสบกด้านหนึ่งไนพุทธปรางค์ปราสาท ที่วัดพระ
สรีรัตนสาสดาราม มีผู้สัทธาไปขอจำลองหล่อ “พระผอม” ด้วยทองสัมริทธิมี
ขึ้นแพร่หลายและทำหลายขนาด องค์ไหย่กว่าเพื่อนขนาดหน้าตักสักสองสอก
ผู้ส้างถวายสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงเปนพระระเบียงวัดเบญจมบพิตร และยัง
มีหยู่ตามวัดอีกนับไม่ถ้วน แต่องค์เดิมที่จำลองส่งมาจากอินเดียนั้นเปนอันตราย
เสียเมื่อไฟไหม้พุทธปรางค์ปราสาทแต่ไนรัชกาลที่ 5 หากมีผู้สัทธาหล่อจำลองไว้
แบบ “พระผอม” จึงยังมีหยู่ไนเมืองไทยจนทุกวันนี้ (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๘๗,
๙๒ – ๙๓, อักขรวิธีแบบสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม)

รูปที่ ๑๑.๑๓ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๒๖ (ค.ศ. 1983)
สัมฤทธิ์
ระเบียงรอบองค์พระปฐมเจดีย์
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม

๕๐๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาปางอื่น ๆ ๕๐๙
๓. พระพุทธปฏิมาประจำวันชาตา สมัยอยุธยา

ช่วงวงราชธานี พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ (ค.ศ. 1590 – 1767)

โคลงชะลอพระพุ ท ธไสยาสน์ วั ด ป่ า โมก จั ง หวั ด อ่ า งทอง ที่ ส มเด็ จ พระเจ้ า บรมโกศทรง
พระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๗๐ (ค.ศ. 1727) เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระราชวัง-
บวรสถานมงคลนั้น กล่าวถึงพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ไว้ ได้แก่ พระพุทธปฏิมาปางมารวิชัย ปางห้าม
สมุทร ปางลีลา ปางโปรดพญาชมภูบดี ปางสมาธิ ปางรำพึง ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ปางถวายเนตร
ปางไสยาสน์ (Griswold and Nฺa Nagara 1970, 194 – 196) ซึ่งพระพุทธปฏิมาที่กล่าวถึงข้างต้น สร้าง
ขึ้นในรูปแบบของพระพิมพ์ เช่น ปางไสยาสน์ในเรือนแก้ว (รูปที่ ๑๑.๑๔) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ
พระพิมพ์พระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ในเรือนแก้ว อันได้แก่ปางมารวิชัย ปางป่าเลไลยก์ ปางถวายเนตร
ปางโปรดพญาชมพูบดี (รูปที่ ๑๑.๑๕) ซึ่งมีทั้งที่เป็นแบบประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย (ยอร์ช เซเดส์
๒๕๐๗, รูปที่ ๑๔) และยืนยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัยทรงเครื่องใหญ่ (ศรีศักร ๒๕๓๗, ๓๗) พระพิมพ์
พระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ในเรือนแก้วนี้ รวมเรียกว่า “พระโคนสมอ” ซึ่งมีทั้งเนื้อดิน และเนื้อชิน
สืบเนื่องมาจากครั้งเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา) เป็นแม่กองซ่อมแซมพระราชวัง
บวรสถานมงคล “พบพระชินปรอทนี้เป็นจำนวนประมาณ ๑๓ ปี๊ป อยู่บนเพดานท้องพระโรงของ
พระราชวังนั้น จึงได้สั่งให้ชะลอพระทั้งหมดมาพักไว้ ณ ที่โคนต้นสมอพิเภก ในบริเวณพระราชวังบวรฯ...
จึงได้ชื่อ “พระโคนสมอ” แต่ครั้งนั้นเรื่อยมา” (พินัย ๒๕๐๒, ๑๘๘) กล่าวกันว่าพระพิมพ์เหล่านี้ สมเด็จ
พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงได้มาจากวัดโบราณในกรุงศรีอยุธยา ครั้งเมื่อเสด็จไปปฏิสังขรณ์
วัดสุวรรณดาราราม

พระพิมพ์ชุดโคนสมอ น่าจะสร้างขึ้นเป็นพระพุทธปฏิมาประจำวันชาตา สำหรับบูชาพระเคราะห์
เพราะสอดคล้องกับรายการ “รูปพระสำหรับบูชาพระเคราะห์” ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ
ปรมานุชิตชิโนรส คือ

• พระอาทิตย์ พระถวายเนตร์
• พระจันทร์ พระห้ามสมุท
• พระอังคาร พระไสยาศน์
• พระพุทธ พระอุ้มบาตร
• พระพฤหัสบดี พระสมาธิ
• พระสุกร พระรำพึง
• พระเสาร์ พระนาคปรก
• พระราหู พระป่าเลไลย
• พระเกษ พระสมาธิเพชร์
(ตำราพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ๒๕๓๔, ๓๙)

๕๑๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


รูปที่ ๑๑.๑๔ พระสมณโคดม ปางไสยาสน์
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)
ดินเผา
สมบัติของเอกชน

รูปที่ ๑๑.๑๕ พระสมณโคดม


ปางโปรดพญาชมพูบดี
ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๓
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 18)
ดินเผา สูง ๑๑ เซนติเมตร
กว้าง ๙ เซนติเมตร
สมบัติของเอกชน

พระพุทธปฏิมาปางอื่น ๆ ๕๑๑
๔. พระพุทธปฏิมาประจำเดือน สมัยรัตนโกสินทร์

นอกจากพระพุทธปฏิมาประจำวันซึ่งเป็นที่แพร่หลายแล้วปัจจุบันยังนิยมสร้างพระพุทธปฏิมา
ประจำเดือน ซึ่งประดิษฐ์คิดขึ้นในรัชกาลนี้อันได้แก่

เดือนอ้าย ปางปลงกรรมฐานหรือปลงกัมมัฏฐานหรือปางชักผ้าบังสุกุล
เดือนยี่ ปางชี้มาร
เดือน ๓ ปางประทานโอวาท หรือปางแสดงโอวาทปาติโมกข์
เดือน ๔ ปางนาคาวโลก
เดือน ๕ ปางขอฝนหรือปางคันธารราฐ
เดือน ๖ ปางมารวิชัย
เดือน ๗ ปางเรือนแก้ว
เดือน ๘ ปางปฐมเทศนา
เดือน ๙ ปางภัตกิจ
เดือน ๑๐ ปางประดิษฐานรอยพระบาท
เดือน ๑๑ ปางลีลาและปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
เดือน ๑๒ ปางประทานอภัย
(ไขศรี 1996, ๑๐๘)

พระพุทธปฏิมาประจำเดือนมักจะสร้างขึ้นในแบบพระราชนิยม อันได้แก่ แบบสุโขทัยประยุกต์
เช่นที่วัดพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี คือพระพุทธปฏิมาประจำเดือนยี่ ปางชี้มาร (รูปที่
๑๑.๑๖) ซึ่งทรงยืนยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเหนือพระอุระ พระดรรชนีชี้ขึ้น ซึ่งเป็นแบบที่ประดิษฐ์คิดขึ้นใหม่
รวมทั้ง ปางประทานอภัยประจำเดือนสิบสอง (รูปที่ ๑๑.๑๗) เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ
ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นหน้าพระพาหาทั้งสองข้าง หงายพระหัตถ์เข้าหากัน คล้ายกับว่ากำลังจะทำท่า
ปรบพระหัตถ์ ซึ่งเป็นแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้น ถึงแม้ว่าพุทธลักษณะทั่วไปจะจำลองมาจากพระ
พุทธปฏิมาสุโขทัย หรือแบบสุโขทัยประยุกต์ แต่ลักษณะของพระหัตถ์แสดงให้เห็นว่าเป็นแบบใหม่ที่คิด
ขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน

รูปที่ ๑๑.๑๖ ปางชี้มาร (เดือนยี่) รูปที่ ๑๑.๑๗ ปางประทานอภัย (เดือนสิบสอง)


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. 1974) สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. 1974)
สัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์
ระเบียงวัดพิกุลทอง ระเบียงวัดพิกุลทอง
อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี

๕๑๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาปางอื่น ๆ ๕๑๓
พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
บทสรุป

หนังสือ ลักษณะไทย เล่ม ๑ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย แบ่งออก


เป็น ๒ ภาค ภาคที่ ๑ พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ และภาคที่ ๒ พระพุทธปฏิมาใน
ประเทศไทยตามพระอิริยาบถ

ภาคที่ ๑ พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างสอง
สถาบันหลักของประเทศไทย นับตั้งแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติขึ้นในวรรณะกษัตริย์ ซึ่ง อัคคัญญสูตร
ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ สุตตันตปิฎก นิยามว่า

คนที่งดงามมีศักดิ์ใหญ่แต่งตั้งเป็นหัวหน้า เพื่อปกครองคน... คำว่า “มหา
สมมต” (ผู้ที่มหาชนแต่งตั้ง) กษัตริย์ (ผู้เป็นใหญ่แห่งนา) ราชา (ผู้ทำความ
อิ่มใจ สุขใจแก่ผู้อื่น) จึงเกิดขึ้น กษัตริย์ก็เกิดขึ้นจากคนพวกนั้นไม่ใช่พวกอื่น
จากคนเสมอกัน มิใช่คนไม่เสมอกัน เกิดขึ้นโดยธรรม มิใช่เกิดขึ้นโดยอธรรม
(สุชีพ ๒๕๒๖, ๓๕๓ – ๓๕๔, เน้นตามต้นฉบับ)

ตลอดช่วง ๘๐ พรรษา พระพุทธเจ้าทรงมีความเชื่อมโยงกับพระราชาตลอดมา ไม่ว่าจะเป็น
พุทธทำนายว่า “พระราชกุมารประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ถ้าครองเรือนจะได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ์ ถ้าเสด็จออกผนวชจะเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า” (เรื่องเดียวกัน, ๓๑๙) ซึ่งเป็น
เหตุให้พระพุทธองค์ทรงเทียบเคียงพระเจ้าจักรพรรดิ์กับพระพุทธเจ้า (เรื่องเดียวกัน, ๓๒๗) นอกจากนั้น
แล้ว พระพุทธองค์ก็ยังมีพระสาวกที่เป็นพระราชา เช่น พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ และ
พระเจ้าปเสนทิ ราชาแห่งแคว้นโกศล (อ.ป. ๒๕๐๘, ๓๒๓ – ๓๒๔) และเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
พระเจ้ามัลลกษัตริย์ ผู้ปกครองกรุงกุสินารา ได้แจกพระบรมสารีริกธาตุไปยังพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ครอง
กรุงราชคฤห์ เป็นต้น (สุชีพ ๒๕๒๖, ๖๓๗)

เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร พระเจ้าปเสนทิแห่ง
แคว้นโกศลเสด็จไปเฝ้า แต่ไม่พบพระพุทธองค์ จึงกลับไปเฝ้าใหม่และทูลขออนุญาตสร้างพระพุทธรูปไว้
สักการะแทนพระองค์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงโปรดให้ช่างแกะสลักพระพุทธรูปขึ้นจาก
ไม้แก่นจันทน์ จึงเชื่อกันว่าพระพุทธรูปแก่นจันทน์เป็นพระพุทธรูปองค์แรก ต่อมาจึงมีการจำลอง
พระพุทธรูปแก่นจันทน์ขึ้น และเรียกพระพุทธรูปที่เลียนแบบหรือจำลองนี้ว่า พระพุทธปฏิมา ซึ่งแปล
ว่ารูปจำลอง ดังนั้นในบริบทของพุทธศิลป์ พระพุทธรูปจึงเป็นพระพุทธปฏิมา เพราะเป็นการจำลอง
ความเหมือนและความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบต่อกันมาจากองค์ดั้งเดิม

พระพุทธรูปกับพระมหากษัตริย์มีความผูกพันกันจนแทบแยกออกจากกันมิได้ เช่น พระพุทธรูป
ปางประทานอภัยที่มีจารึกคำว่า “พุทโธ” ประดิษฐานอยู่ในด้านหนึ่งของเหรียญทองคำซึ่งมีพระบรมรูป
ของพระเจ้าจักรพรรดิกนิษกะที่ ๑ (พ.ศ. ๖๖๓ – ๖๘๘ / ค.ศ. 120 – 145) อยู่อีกด้านหนึ่ง (ดูรูปที่ ๑.๑
ก., ข.) นอกจากนั้นแล้ว ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงสละราชสมบัติเสด็จออกผนวช แต่ผู้ที่นับถือ
เลื่อมใสพระองค์เช่นพระภิกษุฉายาว่า พล ก็ยังสร้างฉัตร ซึ่งเป็นเครื่องสูงของพระราชาถวาย (ดูรูปที่
๑.๒ ก., ข.) ในปีที่ ๓ ของรัชสมัยพระเจ้าจักรพรรดิกนิษกะเช่นกัน

บทสรุป ๕๑๕
นอกจากพระพุทธรูปจะครองไตรจีวรเฉกเช่นพระภิกษุสงฆ์แล้ว พระพุทธรูปยังถูกสร้างให้มี
พุทธลักษณะตามหลักมหาบุรุษลักษณะ (มหาปุริสลักขณะในภาษาบาลี) ๓๒ ประการ ซึ่งการนิยาม
มหาบุรุษลักษณะนั้น เกิดขึ้นพร้อมกันกับการสร้างพระพุทธรูป คือในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๖ – กลาง ๗
(คริสต์ศตวรรษที่ 1) โดยที่มหาบุรุษลักษณะบางประการนั้นไม่สามารถที่จะนำมาสร้างเป็นรูปธรรมได้
แต่ช่างก็พยายามที่จะทำตามเท่าที่จะทำได้ เช่น พระเศียรมีอุษณีษะ (เมาลี) เส้นพระเกศาขมวด
เวียนขวา พระนลาฏกว้าง ระหว่างพระขนงมีพระโลมาที่ขึ้นและเวียนขวา (อุณาโลม) พระเนตรสีนิล
เหมือนขอบตาโค พระหนุเหมือนคางราชสีห์ พระมังสาอูมนูน ๗ แห่ง พระอังสาผึ่งผาย พระฉวีสีทอง
พระวรกายตรง ท่อนบนเหมือนราชสีห์ ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นได้จากพุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมา

ส่วนพระอิริยาบถของพระพุทธปฏิมานั้นมี ๔ พระอิริยาบถ ประกอบด้วย ประทับ (นั่ง) ยืน ลีลา
(เดิน) และไสยาสน์ (นอน) โดยพระอิริยาบถประทับ มีทั้งแบบประทับขัดสมาธิราบซึ่งเป็นที่นิยมสร้างกัน
ในทางตอนใต้ของอินเดียและศรีลังกา แบบประทับขัดสมาธิเพชรนิยมสร้างอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย
และแบบประทับห้อยพระบาทซึ่งเป็นที่นิยมทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกของอินเดีย พระ
อิริยาบถยืนมักนิยมสร้างแบบยืนเอียงพระวรกาย (ตริภังค์) มากกว่ายืนตรง (สมภังค์) พระอิริยาบถ
ลีลาคือทรงพระดำเนิน โดยยกส้นพระบาทข้างใดข้างหนึ่งขึ้น พระอิริยาบถไสยาสน์ คือบรรทมตะแคง
ขวา พระเศียรรองรับด้วยพระหัตถ์ขวา

นอกจากพระอิริยาบถทั้ง ๔ แล้ว พระพุทธรูปยังมีกิริยาของพระหัตถ์ที่เรียกว่า มุทรา หรือที่
ไทยเราเรียกว่า ปาง เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่ง ปางแรกได้แก่ปางประทานอภัย คือยก
พระหัตถ์ขวาขึ้นและหงายออก เป็นสัญลักษณ์ของการขจัดภยันตรายโดยมีนัยว่าเมื่อมีพระพุทธองค์เป็น
สรณะแล้วก็จะคุ้มครองมิให้เกิดภยันตราย (ดูรูปที่ ๑.๑ ข., ๑.๒ ก.) ต่อมาได้มีการสร้างพระพุทธรูปปาง
ต่างๆ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ณ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง เช่น ที่พุทธคยา
เป็นปางมารวิชัย คือ ปางที่พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่ฐาน สัญลักษณ์แห่งการ
ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ที่สารนาถ ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งพุทธองค์ทรงตรัสรู้และแสดงพระธรรม-
เทศนาครั้งแรกเป็นปางปฐมเทศนา คือยกพระหัตถ์ทั้งสองเสมอพระอุระ จีบพระอังคุฐกับพระดัชนีเป็น
วงกลม รองรับด้วยพระหัตถ์ซ้ายที่จีบเช่นกันแต่หงายลง และที่กุสินารา เป็นปางไสยาสน์ถือเป็น
สัญลักษณ์ของการเสด็จสู่ปรินิพพาน ส่วนที่ลุมพินี สถานที่ทรงประสูติแสดงภาพพระพุทธองค์ทรง
ประสูติจากพระปรัศว์ขวาของพระนางสิริมหามายา เป็นสัญลักษณ์ของลุมพินี

ต่อมาเมื่อมีการเพิ่มปูชนียสถานขึ้นอีก ๔ แห่ง จึงคิดปางขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับพุทธประวัติ
ได้แก่ ปางอุ้มบาตร เป็นสัญลักษณ์ของปางป่าเลไลยก์ที่ไพศาลี ปางโปรดช้างนาฬาคิรี ยืนยื่นพระหัตถ์
ขวาในกิริยาลูบศีรษะช้างที่ราชคฤห์ ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ที่สังกัสสะ ยืนตริภังค์เคียงข้างด้วย
พระอินทร์ถือฉัตร และพระพรหมเชิญแส้ขนจามรี และปางยมกปาฏิหาริย์ที่สาวัตถีแสดงปางปฐมเทศนา
ด้วยพระพุทธรูปหลายองค์ (ดูรูปที่ ๒.๑๗ ก., ข.) ดังนั้นความหลากหลายของปางจึงเกิดขึ้นในลัทธิ-
ศราวกยานเพื่อสร้างภาพให้พุทธประวัติ

ต่อมาเมื่อลัทธิมหายานเฟื่องฟูขึ้น จึงมีการสร้างพระตถาคตองค์อื่นๆ ที่มิใช่พระศากยมุนี ได้
ประดิษฐ์คิดปางให้แตกต่างกันออกไป เช่นพระพุทธรูปยืน หรือลีลา ปางประทานพร (พระหัตถ์ขวาทอด
ลงข้างพระวรกายและหงายออก) เป็นพระพุทธเจ้าทีปังกร (ดูรูปที่ ๒.๑๑ ก.) พระพุทธเจ้าองค์แรกใน
พุทธวงศ์ พระพุทธรูปยืนยกพระหัตถ์ทั้งสองแสดงธรรมในระดับพระอุระ เป็นพระอมิตาภพุทธะเมื่อ
เสด็จลงจากสวรรค์สุขาวดี เพื่อรับดวงวิญญาณของผู้มีจิตศรัทธาในพระองค์ไปสถิตไว้ในแดนสุขาวดี
(ดูรูปที่ ๒.๑๕ ข.)

๕๑๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


เมื่อลัทธิวัชรยานหรือตันตระยานเป็นที่แพร่หลาย จึงสร้างพระปาญจสุคต หรือพระชินพุทธะ ๕
พระองค์ขึ้น ได้แก่ พระชินพุทธอโมฆสิทธิ เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางประทานอภัย เป็น
พระชินพุทธะประจำทิศเหนือ (ดูรูปที่ ๒.๘ ข.) พระชินพุทธอักโษภยะ ปางมารวิชัยประจำทิศตะวันออก
(ดูรูปที่ ๒.๙ ข.) พระชินพุทธอมิตาภะ ปางสมาธิประจำทิศตะวันตก (ดูรูปที่ ๒.๑๐ ข.) พระชินพุทธรัตน-
สัมภวะ ปางประทานพรประจำทิศใต้ (ดูรูปที่ ๒.๑๑ ข.) พระชินพุทธไวโรจนะ ปางปฐมเทศนาประจำทิศ
เบื้องบน (ดูรูปที่ ๒.๑๒ ข.)

ต่อมาเมื่อลัทธิตันตระยานในกัมพูชาเจริญรุ่งเรืองขึ้น จึงคิดประดิษฐ์ปางใหม่เพื่อตอบสนอง
ความเชื่อและค่านิยมของท้องถิ่น อันได้แก่ ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก ทรงเครื่อง เพื่อ
เป็นบุคลาธิษฐานของพระวัชรสัตว์พุทธะ หรือพระมหาไวโรจนะ ผู้ทรงเป็นศูนย์รวมของพระปาญจสุคต
(ดูรูปที่ ๔.๑๘) โดยดัดแปลงรูปแบบจากพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก จาก
รัฐอานธรประเทศ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ซึ่งริเริ่มปางสมาธิ นาคปรก ขึ้นในช่วง
กลางพุทธศตวรรษที่ ๖ – กลาง ๗ (คริสต์ศตวรรษที่ 1) ส่วนการถวายอาภรณ์ เช่น อุณหิส กรองศอ
และทองพระกรแด่พระพุทธรูปนั้น กัมพูชารับมาจากลัทธิวัชรยานหรือตันตระยานในรัฐพิหารที่แสดง
ความแตกต่างระหว่างพระไวโรจนะ พระชินพุทธะประจำทิศเบื้องบน กับพระมหาไวโรจนะผู้เป็นองค์รวมแห่ง
พระปาญจสุคต ด้วยการสวมอุณหิสห้ายอด ซึ่งหมายถึงพระชินพุทธะทั้ง ๕ พระองค์ (ดูรูปที่ ๔.๒๑)

เมื่อลัทธิตันตระยานในกัมพูชาสิ้นสลายลง ลัทธิศราวกยาน นิกายเถรวาทจึงฟื้นฟูขึ้นใหม่ใน
ดินแดนซึ่งเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ปางต่างๆ ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายของพระตถาคตองค์ต่างๆ ใน
ลัทธิมหายานและตันตระยานจึงถูกยกเลิกไป แต่กลับมาใช้ในความหมายดั้งเดิม คือเป็นสัญลักษณ์ของ
สังเวชนียสถานและพุทธประวัติตอนต่างๆ ของพระสมณโคดม และเมื่อค่านิยมสัจธรรมจากตะวันตก
เข้ามาในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษ ๒๔ (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 19) จึงมีการประดิษฐ์ปางต่างๆ
ขึ้นมาถึง ๓๔ ปาง เพื่อสร้างภาพให้กับพุทธประวัติตอนต่าง ๆ ให้ดูสมจริงยิ่งขึ้น (ดูรูปที่ ๓.๙ (๑) – (๓๔))

สำหรับนิกายเถรวาทในประเทศนั้น ได้รับอิทธิพลจากลัทธิตันตระยาน ซึ่งให้ความสำคัญกับ
โหราศาสตร์ จึงมีการนำเอาพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ มาเป็นตัวแทนดาวนพเคราะห์ประจำวันเกิด ดังนั้น
ปางซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในประเทศไทยในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18)
เป็นต้นมา จึงได้แก่ปางประจำดาวนพเคราะห์ อันได้แก่ ปางถวายเนตร วันอาทิตย์ (ดูรูปที่ ๒.๑๘)
ปางห้ามสมุทร วันจันทร์ (ดูรูปที่ ๒.๑๙) ปางไสยาสน์ วันอังคาร (ดูรูปที่ ๒.๒๐) ปางอุ้มบาตร วันพุธ (ดู
รูปที่ ๒.๒๒) ปางสมาธิ วันพฤหัสบดี (ดูรูปที่ ๒.๒๓) ปางรำพึง วันศุกร์ (ดูรูปที่ ๒.๒๔) ปางนาคปรก วัน
เสาร์ (ดูรูปที่ ๒.๒๕) ปางป่าเลไลยก์ พระราหู (ดูรูปที่ ๒.๒๖) ปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิเพชร พระเกตุ
(ดูรูปที่ ๒.๒๗)

ในบริบทของนิกายเถรวาทในประเทศไทย ยังมีพระพุทธปฏิมาซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสร้างเพื่อ
งานพระราชพิ ธี ที่ จ ะให้ เ กิ ด ความเป็ น สิ ริ ม งคลและความอุ ด มสมบู ร ณ์ ใ ห้ แ ก่ แ ผ่ น ดิ น และพสกนิ ก ร
พระพุทธปฏิมาดังกล่าวจึงเป็นปางที่ประดิษขึ้นโดยเฉพาะ เช่น พระคันธารราษฎร์ ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมา
ปางขอฝนมีทั้งประทับขัดสมาธิราบ และยืน พระหัตถ์ขวาอยู่ในกิริยากวัก พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นเพื่อ
รองรับน้ำฝน (ดูรูปที่ ๒.๒๑) ใช้ในพระราชพิธีพรุณศาสตร์ นอกจากนั้นแล้วยังมีพระชัยวัฒน์ประจำ
รัชกาล ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ถือตาลปัตรในพระหัตถ์ซ้าย มีฉัตร ๕
ชั้น หรือเบญจปฎลเศวตฉัตรกั้น (ดูรูปที่ ๓.๑๙ – ๓.๒๖) สร้างขึ้นเพื่อคุ้มครองภยันตราย นำชัยชนะและ
ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่พระมหากษัตริย์และแผ่นดินในรัชกาลของพระองค์

ส่วนพระพุทธปฏิมาที่พระมหากษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครสร้างขึ้น เพื่อเป็นพระเกียรติยศและ
ฉลองพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้แก่พระพุทธปฏิมาทรงเครื่องฉลองพระองค์ ซึ่งเป็นพระ
พุทธรูปยืน ปางห้ามสมุทรทรงเครื่องต้น (ดูรูปที่ ๓.๖๒ – ๓.๗๐) พระพุทธปฏิมาดังกล่าวสามัญชนมิ
สามารถที่จะสร้างได้ เพราะเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์ เป็นการรวมพระพุทธเจ้ากับพระ

บทสรุป ๕๑๗
จักรพรรดิราชให้ปรากฏเป็นพระพุทธปฏิมาองค์เดียวกัน พระพุทธปฏิมายืน ปางห้ามสมุทรทรงเครื่องต้น
จึงแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของพุทธศิลป์ไทย ที่รวมพุทธศาสนาเข้ากับสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกัน ถึงแม้ว่าเมื่อสองสหัสวรรษก่อนหน้านี้ได้มีความพยายามที่จะรวมสองสถาบันนี้ให้อยู่
ด้วยกัน ดังเช่นพระพุทธรูปปางประทานอภัยบนเหรียญของพระเจ้าจักรพรรดิกนิษกะที่ ๑ (ดูรูปที่ ๑.๑
ก., ข.) แต่ก็อยู่คนละด้านของเหรียญ มิใช่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว

นับแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
ต่างมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ โดยการสร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็น
สายสัมพันธ์เชื่อมโยงพระมหากษัตริย์กับพุทธศาสนาให้แนบแน่นยิ่งขึ้น เช่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระนิรันตรายเรือนแก้ว (ดูรูปที่ ๓.๙๖) เพื่อพระราชทานไปยังพระอารามในคณะ
ธรรมยุติกนิกาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระชัยวัฒนมงคลวราภรณ์ ให้ผู้ที่
ได้รับพระราชทานยึดมั่นในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสร้างพระนิรโรคันตราย (ดูรูปที่ ๓.๙๘) พระราชทานพระอารามหลวงฝ่ายมหานิกาย และพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดิษฐานพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. บนผ้าทิพย์
ของพระพุทธรูป อันได้แก่ พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. (ดูรูปที่ ๓.๑๐๐)

แต่ในรัชกาลปัจจุบันเท่านั้น ที่ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรง
สร้างขึ้น เช่น พระพุทธนวราชบพิตร (ดูรูปที่ ๓.๑๐๑) ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และทรงบรรจุพระกำลังแผ่นดิน หรือพระสมเด็จจิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ที่
ผสมผสานขึ้นจากมวลสารศักดิ์สิทธิ์ทั้งที่เป็นส่วนพระองค์ และจากปูชนียสถานและปูชนียวัตถุทั่วพระราช
อาณาจักรไว้ที่ฐานบัวหงาย เพื่อพระราชทานไปประดิษฐานที่ศาลากลางของทุกจังหวัด ให้ประชาชนได้
สักการบูชาพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นองค์หนึ่งองค์เดียวกับพระพุทธเจ้า และราษฎรของพระองค์

ภาคที่ ๒ พระพุทธปฏิมาในประเทศไทยตามพระอิริยาบถ ตามแนวการศึกษาแบบประเพณี
คือ ศึกษาประวัติความเป็นมาของพระพุทธปฏิมา ซึ่งเป็นรูปจำลองของพระพุทธรูปสำคัญแต่ละปางแยก
ตามภูมิภาคในแต่ละช่วงระยะเวลา โดยภาพรวมสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ยุค
กว้างๆ คือ

- ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13) ได้แก่ สมัยอาณาจักรมอญโบราณ และ
สมัยจักรวรรดิกัมพูชา
- ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๔ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 - กลาง 19) คือช่วงที่ชาวไทย
เข้ามาปกครอง และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่เดิมให้เป็นของตนเอง
- หลังพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19) จนถึงปัจจุบัน อันเป็นช่วงระยะเวลาที่
สังคมไทยปรับเปลี่ยนตนเองให้สอดคล้องกับโลกทัศน์และอารยธรรมของชาวตะวันตก

๕๑๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


๑. พระพุทธปฏิมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13)

๑.๑ ลัทธิศราวกยาน

พระพุทธปฏิมาปรากฏขึ้นในประเทศไทยในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5)
โดยนำมาจากรัฐอานธรประเทศ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย เป็นพระพุทธรูปยืน
พระหัตถ์ขวาแสดงธรรม พระหัตถ์ซ้ายถือชายจีวร (ดูรูปที่ ๔.๑) หรือได้รับรูปแบบมาจากรัฐอานธร-
ประเทศ เช่น พระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทแสดงธรรมด้วยพระหัตถ์ขวา ถือชายจีวรในพระหัตถ์ซ้าย
(ดูรูปที่ ๔.๓) ซึ่งพระพุทธปฏิมาทั้งสองแบบนี้น่าจะสร้างขึ้นภายใต้คตินิกายมหาสังฆิกะ ในลัทธิศราวกยาน
ซึ่งเป็นนิกายแรกที่แยกตนเองออกจากนิกายสถวีรวาทดั้งเดิม เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๒ (ปลาย
ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์กาล)

ในช่วงศตวรรษเดียวกัน ปรากฏพระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ขวาประทานพร พระหัตถ์ซ้ายถือ
ชายจีวร (ดูรูปที่ ๔.๖) ซึ่งเป็นปางที่นิยมที่สารนาถ รัฐพิหาร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
อินเดีย ในสมัยราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. ๘๖๓ – ๑๐๙๓ / ค.ศ. 320 – 550) ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นหรือจำลอง
จากพระพุทธปฏิมาตามคตินิกายสัมมิตียะ ในลัทธิศราวกยาน ในสมัยราชวงศ์คุปตะ ปางประทานพรนั้น
ใช้แสดงภาพพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์และตอนโปรดช้างนาฬาคิรี (ดูรูปที่ ๒.๑๗ ก., ข.) อีกด้วย

นิกายเถรวาท ลัทธิศราวกยาน ซึ่งพระมหินเถระ พระโอรสของพระเจ้าอโศกนำไปประดิษฐานที่
ลังกา และสถาปนาคณะมหาวิหารขึ้น เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๓ (ประมาณ ๓ ศตวรรษก่อนคริสต์กาล)
เจริญรุ่งเรืองขึ้นบริเวณรอบอ่าวไทยในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – กลาง ๑๓ (คริสต์ศตวรรษที่ 6 – 7)
และแพร่หลายในบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในช่วงศตวรรษต่อมา นิกายนี้สร้างพระอดีตพุทธะและพระอนาคตพุทธะ
ประทับห้อยพระบาท (ดูรูปที่ ๔.๗ และ ๗.๑) พระสมณโคดมประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย (ดูรูปที่
๔.๙) และพระพุทธรูปปางปรินิพพาน

๑.๒ ลัทธิมหายาน

ลัทธิมหายานนำการถวายความจงรักภักดีต่อพระตถาคตและพระโพธิสัตว์เข้ามาในพุทธศาสนา
โดยนิยมสร้างรูปพระอมิตาภพุทธะแทนพระศากยมุนี เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ มี
ศิรจักรรอบพระศียร แและประภามณฑลรอบพระวรกาย (ดูรูปที่ ๔.๑๑)

ต่อมาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – กลาง ๑๔ (คริสต์ศตวรรษที่ 7 – 8) นิกายสุขาวดี ใน
ลัทธิมหายาน ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศจีนนั้น นิยมสร้างพระพุทธปฏิมายืน ปางแสดงธรรมด้วยสองพระหัตถ์
ซึ่งเป็นพุทธลักษณะของพระอมิตาภพุทธะ โดยที่ชาวมอญโบราณได้ดัดแปลงให้พระหัตถ์ทั้งสองข้างตั้ง
ขึ้นในระดับเดียวกัน (ดูรูปที่ ๔.๑๓) แทนแบบจีนที่พระหัตถ์ขวาตั้ง แต่พระหัตถ์ซ้ายหงายลง (ดูรูปที่ ๔.๑๒)
ดังนั้นกิริยาของมือ (ปาง) จึงเป็นตัวบ่งบอกว่าพระพุทธปฏิมานั้นเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใด นอกเหนือ
จากเป็นการแสดงถึงตอนต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น พระพุทธปฏิมาแปดปางที่สร้างขึ้นในลัทธิศราวกยาน

๑.๓ ลัทธิวัชรยาน หรือตันตระยาน

ลัทธิวัชรยาน หรือตันตระยาน ซึ่งเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลัณฑา รัฐพิหาร และเจริญ
รุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 – กลาง 11) ใช้พระพุทธรูปปางต่างๆ
ให้เป็นบุคลาธิษฐานของพระชินพุทธะทั้งห้าพระองค์ โดยสร้างเป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร
ทั้งหมด แตกต่างกันที่ปาง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่าเป็นพระชินพุทธะพระองค์ใด เช่น ปางมารวิชัย
เป็นบุคลาธิษฐานของพระชินพุทธอักโษภยะ ปางประทานอภัยของพระชินพุทธอโมฆสิทธิ ปางสมาธิของ

บทสรุป ๕๑๙
พระชินพุทธอมิตาภะ ปางประทานพรของพระชินพุทธรัตนสัมภวะ และปางปฐมเทศนาของพระชินพุทธ-
ไวโรจนะ (ดูรูปที่ ๒.๘ – ๒.๑๒) ในกรณีของ โยโคตตระ ตันตระ พระชินพุทธอักโษภยะใช้แทนที่พระ
ชินพุทธไวโรจนะ ดังในพระพุทธปฏิมาแปดปาง (ดูรูปที่ ๔.๑๔ ก., ข.) ส่วนพระศากยมุนีทำเป็นพระ
พุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย เช่นเดียวกันกับพระชินพุทธอักโษภยะ (ดูรูปที่ ๔.๑๔ ก.)

๑.๔ ลัทธิตันตระยานสมัยจักรวรรดิกัมพูชา
พ.ศ. ๑๕๐๐ – ๑๘๐๐ (ค.ศ. 957 – 1257)

อาณาจักรกัมพูชาเข้ามาปกครองภาคกลางของประเทศไทยในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ (กลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 10) และแม้ว่ากษัตริย์กัมพูชาจะนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวะ แต่ข้าราชการชั้น
ผู้ใหญ่หลายท่านก็นับถือพุทธศาสนาลัทธิตันตระยาน โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (กลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 11) เป็นต้นมา ภายใต้อิทธิพลของคัมภีร์ กาลจักรตันตระ ได้มีการสร้างรูปพระวัชร-
สัตว์พุทธะหรือพระอาทิพุทธะ อันเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่หก ผู้เป็นองค์รวมของพระปาญจสุคต หรือพระ
ชินพุทธะทั้งห้าพระองค์ โดยนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ เหนือ
ขนดลำตัวของพญานาคที่กำลังแผ่พังพานอยู่เจ็ดเศียร (ดูรูปที่ ๔.๑๘)

ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๕๗? / ค.ศ. 1181 – 1214?) พุทธศาสนาได้
ถูกยกย่องให้เป็นศาสนาประจำราชอาณาจักร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างรูปพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา
(ดูรูปที่ ๕.๔๓) พระตถาคตผู้รักษาโรคของลัทธิมหายาน ให้เป็นพระประธานของอโรคยศาลที่พระองค์
ทรงสร้างขึ้นทั่วพระราชอาณาจักร เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ นาคปรก
ถือหม้อน้ำมนต์ในพระหัตถ์ ในช่วงที่ลัทธิตันตระยานแพร่หลายในอาณาจักรกัมพูชานี้ แทบจะไม่มีการ
สร้างรูปพระศากยมุนีเลย ยกเว้นแต่พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยที่ทับหลังมณฑปด้าน
ทิศใต้ของปราสาทพิมาย


๒. พระพุทธปฏิมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๔
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 - กลาง 19)

๒.๑ นิกายเถรวาท คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ

เมื่ออาณาจักรกัมพูชาสิ้นสลายลงพร้อมกับลัทธิตันตระยานในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 13) นิกายเถรวาท ในลัทธิศราวกยาน ได้กลับเข้ามาเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่งในรัฐกัมโพช
ในภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย นิกายนี้มีชื่อว่ากัมโพชสงฆ์ปักขะ หรือคณะสงฆ์กัมโพช โดยที่
จารึกกัลยาณีที่หงสาวดี กล่าวว่าเป็นนิกายเดียวกันกับนิกายอริยารหันตปักขะ หรือ อริยะ ซึ่งเป็นนิกาย
เถรวาทดั้งเดิมของมอญ ที่พระโสณะและพระอุตตระเป็นผู้นำเข้ามา นิกายนี้เป็นนิกายที่ใช้ภาษาบาลี แต่
รับหลักธรรมจากลัทธิมหายานและลัทธิตันตระยานเข้ามาผสมผสานด้วย

พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในนิกายนี้จึงสะท้อนให้เห็นค่านิยมจากลัทธิเหล่านี้ พระปฏิมารูปพระ
สมณโคดมส่วนใหญ่เป็นพระพุทธปฏิมา ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ (ดูรูปที่ ๕.๑๓) ประทับขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย (ดูรูปที่ ๕.๑๒๑ – ๕.๑๒๒) ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ถือตาลปัตร (ดูรูปที่ ๕.๑๗๑
ก., ข.) ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย นาคปรก (ดูรูปที่ ๕.๑๗๘ – ๕.๑๗๙) ประทับขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย ทรงเครื่องพระจักรพรรดิราช (ดูรูปที่ ๕. ๑๘๑ – ๕.๑๘๓)

ส่วนพระพุทธปฏิมายืนนั้น มีปางห้ามญาติ (ดูรูปที่ ๘.๑๙ – ๘.๒๑) ปางห้ามพระแก่นจันทน์
(ดูรูปที่ ๘.๔๘) ปางห้ามสมุทร (ดูรูปที่ ๘.๕๓ – ๘.๕๔) และปางห้ามสมุทร ทรงเครื่องพระจักรพรรดิราช
(ดูรูปที่ ๘.๗๐ – ๘.๗๑)

๕๒๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
พระพุทธปฏิมาที่กล่าวถึงข้างต้น มีพุทธลักษณะที่ร่วมกันคือ มีพระเมาลีทรงโอคว่ำ หรือทรง
กรวยเรียบ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธปฏิมาในหมวด “อู่ทอง แบบที่ ๑” และทรงอาภรณ์เครื่อง
ประดับที่ดัดแปลงมาจากศิลปะสมัยบายนของเขมร

เมื่อคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะซึ่งเป็นคณะสงฆ์ฝ่ายนครวาสี หรือคามวาสี แพร่หลายไปที่อาณาจักร
ล้านนา จึงมีการจำลองพระพุทธปฏิมาแบบกัมโพชขึ้น ณ ที่นั้น (ดูรูปที่ ๕.๑๓) เช่นเดียวกับที่อาณาจักร
สุโขทัย (ดูรูปที่ ๘.๒๒ – ๘.๒๓)

๒.๒ นิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร ฝ่ายคามวาสี

ปัจจุบันยังไม่พบเอกสารของไทยที่กล่าวว่านิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร ฝ่ายคามวาสี เข้ามามี
บทบาทเมื่อใด แต่จารึกกัลยาณีให้ข้อมูลที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า น่าจะรับเข้ามาหลังปี พ.ศ. ๑๗๒๔ –
๑๗๒๕ (ค.ศ. 1181 – 1182) คือ เมื่อพระฉปัฏเถระสถาปนา “คณะสงฆ์สีหฬ” ขึ้นที่เมืองพุกาม ประเทศ
พม่า (Ray 2002, 114) ในคณะของพระฉปัฏเถระที่กลับไปเมืองพุกามหลังจากไปอุปสมบทใหม่ ในคณะ
มหาวิหาร ของลังกา หรือประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน มีด้วยกัน ๔ รูป หนึ่งในนั้นได้แก่พระตามลินทเถระ
ซึ่งเป็นพระโอรสของ “พระราชาแห่งกัมโพช” (Taw Sein Ko 1892, 51) ต่อมาพระตามลินทเถระจึงตั้ง
“คณะสงฆ์สีหฬ” ย่อยขึ้นตามฉายาของท่านเองที่เมืองพุกาม แต่จารึกกัลยาณีมิได้กล่าวว่าท่านได้นำเอา
คณะของท่านไปเผยแพร่ที่มาตุภูมิ แต่หากจะพิจารณาว่าในฐานะที่ท่านเป็นพระโอรสของกษัตริย์กัมโพช
และทรงตั้งคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ จึงเป็นไปได้มากว่า สานุศิษย์ของท่านคงจะนำพระธรรมวินัยตามคติของ
คณะสงฆ์สีหฬของพระตามลินทเถระไปเผยแพร่ที่กัมโพช

พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในคณะมหาวิหารของลังกา ได้รับการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้รับกับค่า
นิยมใหม่ ซึ่งเห็นได้จากพระรัศมีที่ทำเป็นรูปเปลวเพลิง ตามอย่างพระพุทธปฏิมาของลังกา และเนื่อง
ด้วยว่าพระพุทธปฏิมาส่วนใหญ่หมายถึงพระสมณโคดม การครองไตรจีวรจึงเหมือนเช่นพระภิกษุสงฆ์
และปราศจากอาภรณ์เครื่องประดับใดๆ ที่เห็นได้ชัดที่สุดได้แก่ พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในอาณาจักร
อยุธยา เป็นพระพุทธปฏิมาที่จำลองแบบมาจากพระพุทธรูปสำคัญของรัฐกัมโพช มีพระพักตร์เหลี่ยม
พระชงฆ์เป็นสันคม และมีไรพระศก ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาปุริสลักษณะของนิกายเถรวาทที่กล่าวถึงใน
พระสุตตันตปิฎก ของนิกายเถรวาท ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า “พระพุทธกัมโพชปฏิมา” (ดูรูปที่ ๕.๔๙ –
๕.๕๒) และเป็นที่นิยมแพร่หลาย อันเห็นได้จากการจำลองพระพุทธกัมโพชปฏิมาที่ล้านนา (ดูรูปที่ ๕.๕๘ –
๕.๕๙) และที่สุโขทัยอีกด้วย (ดูรูปที่ ๕.๕๔)

นอกเหนือจากพระพุทธกัมโพชปฏิมาแล้ว อยุธยายังสร้างพระพุทธปฏิมาในหมวด “อู่ทอง แบบที่ ๓”
ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง ยกเว้นแต่มีพระพักตร์รูปไข่ และพระชงฆ์ไม่เป็น
สันคม (ดูรูปที่ ๕.๑๒๕ – ๕.๑๒๗)

อย่างไรก็ดี คณะมหาวิหาร ฝ่ายคามวาสีที่อยุธยา น่าจะมีส่วนในการสร้างพระพุทธปฏิมายืน
ปางห้ามญาติ ที่จำลองจากพระพุทธปฏิมาแบบเดียวกันที่สร้างขึ้นในสมัยกัมโพช โดยปรับเปลี่ยนพระ
รัศมีเป็นเปลวเพลิง และยังคงไว้ซึ่งลวดลายที่รัดพระองค์และหน้านางของสบง (ดูรูปที่ ๘.๒๔ – ๘.๒๖)
ซึ่งต่อมาก็หายไปในที่สุด

เช่นเดียวกันกับพระพุทธปฏิมาปางห้ามญาติ พระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทร ก็ดัดแปลงมาจาก
พระพุทธปฏิมาในสมัยกัมโพช โดยปรับเปลี่ยนพระรัศมีเป็นเปลวเพลิง และตัดลวดลายที่รัดพระองค์และ
หน้านางของสบงออก (ดูรูปที่ ๘.๕๙)

บทสรุป ๕๒๑
ส่วนพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในคณะมหาวิหาร ฝ่ายคามวาสีในล้านนา เห็นได้จากพระพุทธปฏิมา
ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ซึ่งจัดไว้ในกลุ่มแรกที่สร้างขึ้นในล้านนา (ดูรูปที่ ๕.๘๓) นอกจากนั้น
แล้วพระประธานในพระอารามซึ่งเป็นศรีของเมืองต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรล้านนารุ่งเรือง เช่น
พระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน พระเจ้าล้านทอง อำเภอเชียงแสน จังหวัด
เชียงราย หลวงพ่อสมใจนึก วัดอุโมงค์มหาเถรจันท์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ (ดูรูปที่ ๕.๘๔ – ๕.๘๖)
และพระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ อำเภอเมืองฯ จังหวัดพะเยา (ดูรูปที่ ๕.๙๘) ก็น่าจะสร้างขึ้นในฝ่าย
คามวาสี

พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ทรงเครื่องพระจักรพรรดิราช เช่นพระ
หริภุญชัยโพธิสัตว์ และพระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
(ดูรูปที่ ๖.๓๗ – ๖.๓๘) ก็น่าจะสร้างขึ้นในคณะมหาวิหาร ฝ่ายคามวาสี เช่นกัน

๒.๓ นิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร ฝ่ายอรัญวาสี

นิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร ฝ่ายอรัญวาสีจากกรุงโปโลนนารุวะ ประเทศศรีลังกา เริ่มเข้ามามี
บทบาทในดินแดนแถบประเทศไทยในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14) ซึ่งเป็น
ช่วงระยะเวลาของการก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๔ / ค.ศ. 1951) และช่วงรุ่งเรืองของ
อาณาจักรสุโขทัย ภายใต้การปกครองของพระเจ้าลิไท (พ.ศ. ๑๘๙๐ – ๑๙๑๑? / ค.ศ. 1347 – 1368?)
และอาณาจักรล้านนาภายใต้พระเจ้ากือนา (พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๑๙๒๘ / ค.ศ. 1355 – 1385)

พระพุ ท ธปฏิ ม าที่ ส ร้ า งขึ้ น ในช่ ว งระยะเวลาที่ ค ณะมหาวิ ห าร ฝ่ า ยอรั ญ วาสี เ จริ ญ รุ่ ง เรื อ ง
ได้แก่ พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ที่สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรสุโขทัย (ดูรูปที่
๕.๗๕ – ๕.๗๖)

พระพุทธปฏิมาลีลา เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากนิกายเถรวาท คณะมหาวิหาร
ฝ่ายอรัญวาสีของลังกา โดยเป็นที่นิยมในอาณาจักรสุโขทัย (ดูรูปที่ ๙.๔ – ๙.๘) ล้านนา (ดูรูปที่ ๙.๑๐ –
๙.๑๒) และอยุธยา (ดูรูปที่ ๙.๑๕ – ๙.๑๖) และเมื่ออยุธยาปกครองสุโขทัยและเมืองต่างๆ ซึ่งเคยเป็น
ส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เช่น สวรรคโลก กำแพงเพชร และพิษณุโลกในฐานะเมืองลูกหลวงของ
อยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๑๓๓ (ค.ศ. 1448 – 1590) พระพุทธรูปลีลาที่สร้างขึ้นในเมืองเหล่านี้ก็
ยังคงสืบทอดรูปแบบเดิมๆ ตลอดมา (ดูรูปที่ ๙.๑๗ – ๙.๑๙)

ถึงแม้ว่าพระพุทธปฏิมายืน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของพระพุทธปฏิมาล้านนาจะมีมาตั้งแต่สมัย
มอญหริภุญไชย แต่เมื่อพระสุมนเถระสร้างวัดพระยืนขึ้นที่ลำพูนในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ (ค.ศ. 1369) พระยืน
จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธปฏิมาที่คณะบุปผาวาสี (คณะวัดสวนดอก) หรือฝ่ายอรัญวาสี อันมี
พระสุมนเถระเป็นผู้ก่อตั้ง ก็ได้มีการจำลองกันสืบต่อกันมา (ดูรูปที่ ๘.๑ – ๘.๓)

๒.๔ นิกายเถรวาท คณะสีหฬภิกขุ

คณะสีหฬภิกขุ เกิดขึ้นจากพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี จากวัดป่าแดง เชียงใหม่ ร่วมกับพระภิกษุจาก
กัมโพช (ลพบุรี) ที่เดินทางไปทำอุปสมบทใหม่บนแพผูกกลางแม่น้ำกัลยาณี ที่กรุงโคลัมโบ ประเทศ
ศรีลังกา ในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ (ค.ศ. 1424) และเดินทางกลับมาเผยแพร่พระธรรมวินัย ที่กรุงศรีอยุธยา
สุโขทัย พิษณุโลก และเดินทางกลับถึงเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๙๗๓ (ค.ศ. 1430) เมื่อกลับถึงวัดป่าแดงที่
เชียงใหม่แล้ว พระภิกษุกลุ่มนี้จึงเรียกตนเองว่า “คณะสีหฬภิกขุ”

๕๒๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธปฏิมาที่คณะสีหฬภิกขุสร้างขึ้นได้แก่ พระพุทธสิหิงค์ และพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
(พระแก้วมรกต) ซึ่งทั้งสององค์นี้สร้างขึ้นที่เชียงใหม่ และไม่เก่าไปกว่าปี พ.ศ. ๑๙๗๓ (ค.ศ. 1430) ซึ่งก็
คือปีที่คณะสีหฬภิกขุเดินทางกลับมาถึงเชียงใหม่นั่นเอง

พระพุทธสิหิงค์ (ดูรูปที่ ๖.๑, ๖.๒) เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย รัศมีเป็น
ลูกแก้ว หรือดอกบัวตูม มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
ในสมัยราชวงศ์ปาละ – เสนะ จึงเป็นไปได้ยากหากจะสร้างขึ้นในศรีลังกาตามที่กล่าวอ้างในตำนาน
ประวัติของพระพุทธสิหิงค์

ส่วนพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (ดูรูปที่ ๓.๖) สลักจากหยกสีเขียว เป็นพระพุทธรูปประทับ
ขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ โดยจำลองมาจากพระพุทธรูปลังกาในสมัยโปโลนนารุวะ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะ
สร้างขึ้นที่ปาตลีบุตร (ปัตนะ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ตามที่กล่าวอ้างในตำนานเช่นเดียวกัน

เนื่องด้วยว่าคณะสีหฬภิกขุ เป็นคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีที่มีความเคร่งครัด จึงมีผู้เลื่อมใสศรัทธา
นับถือเป็นจำนวนมาก ทั้งในอาณาจักรล้านนาและอยุธยา อันเห็นได้จากจำนวนของพระพุทธสิหิงค์
จำลองที่สร้างขึ้น จนอาจจะกล่าวได้ว่า พระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย รัศมีเป็น
ลูกแก้วหรือดอกบัวตูม ที่ถูกจำแนกไว้ใน “ศิลปะเชียงแสนรุ่นเก่า” สำหรับพระพุทธปฏิมาล้านนา และที่
ได้จำแนกไว้ในหมวด “พระขนมต้ม” ของพระพุทธรูปอยุธยานั้น เป็นพระพุทธสิหิงค์จำลองทุกองค์

สำหรับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ก็มีการจำลองเป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยเฉพาะในล้านนา
ทั้งนี้เพราะวัสดุที่จำลองซึ่งเป็นแก้วผลึกหรือหยก ซึ่งหาได้ไม่ยากในท้องที่ ดังนั้นพระพุทธปฏิมาแก้วผลึก
ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต อันได้แก่
พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิ์พิมลมณีมัย และในหอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง เช่น พระ
นากสวาดิเรือนแก้ว พระแก้วองค์น้อยนาคปรก และพระแก้วเชียงแสน (ดูรูปที่ ๓.๘๐ – ๓.๘๒) จึงถือ
เป็นพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง

นอกจากแก้ ว ผลึ ก แล้ ว ยั ง มี พ ระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากรจำลอง สั ม ฤทธิ์ (ดู รู ป ที่ ๕.๓)
และพระพุทธปฏิมาซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “พระพุทธสิหิงค์” ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ดูรูปที่ ๕.๕) ซึ่งพิจารณาจากพุทธลักษณะแล้วน่าจะเป็นพระ
พุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลองอีกองค์หนึ่ง

พระพุทธปฏิมายืนที่น่าจะสร้างขึ้นในคณะสีหฬภิกขุ ได้แก่พระพุทธปฏิมายืน อุ้มบาตร (ดูรูปที่
๘.๘๓) ซึ่งปรากฏขึ้นที่เชียงใหม่ในช่วงระยะเวลาที่คณะสีหฬภิกขุรุ่งเรืองสูงสุด คือในรัชสมัยพระเจ้า
ติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔ – ๒๐๓๐ / ค.ศ. 1441 – 1487) และส่งอิทธิพลถึงอยุธยาในสมัยวงราชธานี
(ดูรูปที่ ๘.๘๕ – ๘.๘๗) ซึ่งก็เป็นช่วงระยะเวลาที่ฝ่ายอรัญวาสีเป็นที่นิยมในอาณาจักรอยุธยา

ส่วนพระพุทธปฏิมาปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท (ดูรูปที่ ๘.๑๓ – ๘.๑๔) เป็นลักษณะ
เฉพาะของพระพุทธปฏิมาล้านนา และปรากฏขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นในคณะ
สีหฬภิกขุอีกเช่นกัน

บทสรุป ๕๒๓
๒.๕ คณะสยามนิกาย

“สยามนิกาย” เป็นชื่อที่พระภิกษุลังกาเรียกนิกายเถรวาทในประเทศสยาม ช่วงรัชกาลสมเด็จ
พระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑ / ค.ศ. 1733 – 1758) ซึ่งก็คือ พุทธศาสนาในราชอาณาจักร
อยุธยา ที่ประกอบด้วยสองฝ่ายหลัก คือ ฝ่ายคามวาสี ที่สืบทอดมาจากคณะสงฆ์กัมโพชสงฆ์ปักขะ
ดั้งเดิม และฝ่ายอรัญวาสี ซึ่งเข้ามาพร้อมกับคณะมหาวิหารจากลังกา อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากพระสงฆ์
แล้ว ยังมีสถาบันหนึ่งที่มักจะไม่ได้รับการกล่าวถึง แต่กลับมีความสำคัญมากที่สุดคือ สถาบันพระ
มหากษัตริย์ ซึ่งมีหน้าที่ปกครองและอุปถัมภ์สงฆ์ทั้งสองฝ่ายนี้อีกต่อหนึ่ง ดังนั้นทั้งสามกลุ่มนี้จึงเป็นแรง
บั น ดาลใจสำคั ญ ในการสร้ า งพระพุ ท ธปฏิ ม าในสมั ย อยุ ธ ยา ตลอดจนถึ ง สามรั ช กาลแรกของกรุ ง
รัตนโกสินทร์

อนึ่ง แม้ว่า “สยามนิกาย” จะมีนัยว่าเป็นนิกายหลักของราชอาณาจักรอยุธยา ที่ชาวพื้นเมือง
และชาวต่างชาติเรียกว่า “สยาม” แต่ตามความเป็นจริงแล้วอาณาจักรอื่นๆ ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์
เช่น มอญ พม่า ล้านนา ล้านช้าง และกัมพูชา ต่างก็มีองค์ประกอบทั้งสามหน่วยนี้เป็นปัจจัยหลักในการ
สร้ า งพระพุ ท ธปฏิ ม าเช่ น กั น และต่ า งก็ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ พระมหากษั ต ริ ย์ ใ นฐานะที่ ท รงเป็ น พระ
จักรพรรดิราชและพระธรรมมิกราช ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15) ซึ่งใน
กรณีของสมัยอาณาจักรอยุธยา ตั้งแต่ช่วงที่ปกครองด้วยระบบเมืองลูกหลวงเป็นต้นมา จะแตกต่างกัน
บ้างก็ตรงการให้ความสำคัญกับแต่ละหน่วยของแต่ละอาณาจักร เช่น ล้านนาให้ความสำคัญกับคณะ
สีหฬภิกขุ โดยการสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลอง และพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง แต่อยุธยาให้
ความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ เป็นต้น

เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่มีเอกสารใดที่บ่งบอกถึงการจัดระบบคณะสงฆ์อยุธยาก่อนสมัยรัตนโกสินทร์
ที่หลงเหลืออยู่ แต่ก็อาจจะอนุมานได้ว่าไม่น่าจะแตกต่างไปมากจากรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ฝ่าย
คามวาสีฝ่ายซ้าย ซึ่งมีเจ้าคณะเป็นสมเด็จพระสังฆราช ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ และสมเด็จพระวันรัตน์
เจ้าคณะฝ่ายคามวาสีฝ่ายขวาอยู่ที่วัดป่าแก้ว จึงเป็นคณะที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์มาก
กว่าฝ่ายอรัญวาสีที่มีพระพุทธาจารย์ เป็นเจ้าคณะ ที่ดูแลพระสงฆ์ฝ่ายสมถวิปัสสนา ดังนั้นจึงอาจจะ
กล่าวได้ว่า พระพุทธปฏิมาส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นในสยามนิกาย โดยเฉพาะพระพุทธปฏิมาที่พระมหากษัตริย์
ทรงสร้างนั้น อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของฝ่ายคามวาสี

(๑) คณะสยามนิกาย ฝ่ายคามวาสี

พระพุทธปฏิมาที่เป็นเอกลักษณ์ของสยามนิกาย ฝ่ายคามวาสี ได้แก่ พระพุทธรูปทรงเครื่อง
พระจักรพรรดิราช ซึ่งจากความแตกต่างของปางแยกออกได้เป็นสามหมวด ได้แก่ รูปพระศรีอาริยเมตไตรย
รูปพระสมณโคดมโปรดพญาชมภูบดี และพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ของพระมหากษัตริย์

พระศรีอ าริยเมตไตรย หรือ พระอนาคตพุ ทธะ สร้างเป็นพระพุ ทธรู ปประทับขั ดสมาธิราบ
ปางสมาธิทรงเครื่อง (ดูรูปที่ ๕.๔๔ – ๕.๔๖) ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ประทับบำเพ็ญ
สมาธิ บ นสวรรค์ ชั้ น ดุสิ ต จนกว่ า จะเสด็จ ลงมาจุ ติ เมื่ อ พุ ท ธศาสนาได้ห้ า พั นปี สร้ างขึ้ น ครั้ ง แรกใน
อาณาจักรอยุธยาสมัยเมืองลูกหลวง และสิ้นสุดลงเมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒

พระสมณโคดมทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิราชเพื่อโปรดพญาชมพูบดี สร้างเป็นพระพุทธรูป
ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง สร้างขึ้นที่ล้านนา (ดูรูปที่ ๕.๑๘๕ – ๕.๑๘๖) ก่อนที่จะเป็น
ที่นิยมแพร่หลายที่อยุธยา โดยเฉพาะในสมัยวงราชธานี (ดูรูปที่ ๕.๑๘๙ – ๕.๑๙๔) และสืบทอดลงมา
จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ดูรูปที่ ๕.๑๙๕)

๕๒๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ของพระมหากษัตริย์ เป็นพระพุทธรูปยืน ปางห้ามสมุทร
เมื่ อ เริ่ ม สร้ า งขึ้ น ในสมั ย เมื อ งลู ก หลวงเป็ น พระพุ ท ธรู ป ครองจี ว รห่ ม คลุ ม สวมอุ ณ หิ ส กรองศอ
ห้อยทับทรวง (ทรงเครื่องใหญ่) (ดูรูปที่ ๘.๗๒ – ๘.๗๓) ต่อมาในสมัยวงราชธานี จึงสวมมงกุฎ
เพิ่มสังวาลไขว้ พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท พระธำมรงค์ทุกนิ้วพระหัตถ์ และทรงพระภูษาทับจีวร
ห้อยสุวรรณกระถอบ (ดูรูปที่ ๘.๗๙)

ในช่ ว งสามรั ช กาลแรกของกรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ พระพุ ท ธรู ป ทรงเครื่ อ งฉลองพระองค์ ที่ พ ระ
มหากษัตริย์ และสมเด็จพระบวรราชเจ้าทรงสร้าง มีความวิจิตรอลังการกว่าทุกยุคสมัย นอกจากจะทรง
เครื่องต้นของพระมหากษัตริย์อันประกอบด้วยพระมหามงกุฎที่ประดับด้วยกรรเจียกจรและดอกไม้เพชร
สังวาลไขว้ที่ประดับด้วยทับทรวงและตาบทิศ พาหุรัดที่ประดับด้วยกนกเหน็บต้นพระพาหา ทองพระกร
และพระธำมรงค์ในทุกนิ้วพระหัตถ์แล้ว ยังทรงพระภูษา คาดผ้าสำรด รัดพระองค์และปั้นเหน่ง ห้อย
สุวรรณกระถอบที่ประดับด้วยชายไหว ชายแครงซ้อนกันสามชั้น ทรงทองพระบาท และฉลองพระบาท
เชิงงอน เครื่องต้นทั้งหมดตกแต่งด้วยการลงยาราชาวดี และประดับด้วยอัญมณี (ดูรูปที่ ๓.๖๒ – ๓.๖๗)
สมกับที่ได้ตั้งพระทัยไว้ว่า จะให้เป็นพระเกียรติยศสืบไปภายหน้าทุกพระองค์

นอกจากพระพุทธรูปทรงเครื่องแล้ว คณะคามวาสียังสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ขึ้น เพื่อเป็น
พระพุทธรูปประจำวันชาตา สำหรับบูชาพระเคราะห์ ซึ่งเป็นการผนวกความเชื่อทางโหราศาสตร์กับ
พุทธศาสนา อันเป็นลักษณะหนึ่งของสยามนิกาย ที่สืบทอดมาจากคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะหรือตันตริก
เถรวาท โดยเริ่มขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18) ที่กรุงศรีอยุธยา (ดูรูปที่
๑๑.๑๔ – ๑๑.๑๕) และมาจัดให้เป็นระบบขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.
๒๓๖๗ – ๒๓๙๔ / ค.ศ. 1824 – 1851) อันได้แก่ ปางถวายเนตร วันอาทิตย์ ปางห้ามสมุทร วันจันทร์
ปางไสยาสน์ วันอังคาร ปางอุ้มบาตร วันพุธ ประทับขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ วันพฤหัสบดี ปางรำพึง
วันศุกร์ ปางนาคปรก วันเสาร์ ปางป่าเลไลยก์ วันพุธกลางคืน ประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย บูชา
พระเกตุ (ดูรูปที่ ๒.๑๘ – ๒.๒๗)

ต่อมาในรัชกาลเดียวกันนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดประดิษฐ์
ปางต่างๆ แสดงพระพุทธจริยวัตรตามพุทธประวัติ ๓๗ ปาง (ดูรูปที่ ๓.๙ (๑) – (๓๔), ๓.๑๐ – ๓.๑๒)
ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้มีการสร้างพระพุทธรูปโดยอิงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ

นอกจากนั้นแล้วในรัชกาลเดียวกันยังสร้างพระพุทธรูปสัมฤทธิ์แบบต่างๆ ขนาดเล็กเล่าเรื่องพุทธ
ประวัติ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากจิตรกรรมฝาผนังร่วมสมัยอีกด้วย (ดูรูปที่ ๑๑.๘ – ๑๑.๑๐)

(๒) คณะสยามนิกาย ฝ่ายอรัญวาสี

พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในฝ่ายอรัญวาสี ได้แก่ พระพุทธรูปสี่อิริยาบถที่สร้างขึ้นในเขตอรัญญิก
เช่นที่ สุโขทัย (ดูรูปที่ ๑๑.๑ – ๑๑.๒) และที่กำแพงเพชร (ดูรูปที่ ๑๑.๓ – ๑๑.๔) ได้แก่ พระพุทธรูปลีลา
ยืน ประทับ และไสยาสน์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อช่วยในการบำเพ็ญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

บทสรุป ๕๒๕

๓. พระพุทธปฏิมาหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19)

คณะธรรมยุติกนิกาย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาคณะธรรมยุติกนิกายขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๓
(ค.ศ. 1830) ครั้งทรงดำรงพระสมณศักดิ์เป็นพระวชิรญาณมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดสมอราย (วัดราชา-
ธิวาสวิหาร) โดยทรงเน้นการศึกษาพุทธศาสนาจากพระพุทธวจนะภาษาบาลี และทรงให้วัตรปฏิบัติของ
สงฆ์ตรงตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการครองจีวร ถือบาตร และออกเสียงภาษาบาลีให้ถูกต้อง
นอกจากนั้ น แล้ ว ธรรมยุ ติ ก นิ ก ายยั ง ถื อ ว่ า คำสั่ ง สอนของพระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า นั้ น มี เ หตุ มี ผ ลทาง
วิทยาศาสตร์ แต่ถูกบิดเบือนด้วยความเชื่อและวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่พอกพูนขึ้นมาในชั้นหลัง
(Ishii 1986, 156) คณะธรรมยุติกนิกายจึง “สอนพุทธศาสนาแบบที่เน้นเหตุผล และความจริงเชิง
ประสบการณ์ หรือความจริงเชิงประจักษ์มากขึ้น” (พระไพศาล ๒๕๔๖, ๑๑)

คณะธรรมยุติกนิกายอุบัติขึ้นในช่วงที่ภัยจากตะวันตกคุกคามอิสรภาพของสยาม ซึ่งเป็นเหตุให้
ชนชั้นนำชาวสยามในยุคนั้นต้องปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ของตนเองให้เข้ากับโลกทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของ
ชาวตะวันตก ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล เพื่อให้ทันกับชาวยุโรป และต้องสร้างอุดมการณ์
ชาตินิยมขึ้นมาเพื่อสร้างความสามัคคีของคนในราชอาณาจักรให้เป็นคนชาติเดียวกัน โดยมีภาษาและ
วัฒนธรรมร่วมกัน ตลอดจนให้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ดังนั้นการสร้างชาติจึงเป็นพระราชภารกิจ
สำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะต้องทำการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน
โดยรวมอำนาจสู่ ส่ ว นกลาง การปฏิ รู ป การศึ ก ษาทั่ ว ราชอาณาจั ก ร และการรวมคณะสงฆ์ ใ ห้ เ ป็ น
“คณะสงฆ์แห่งชาติ” (เรื่องเดียวกัน, ๓๒)

พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงสื บ สานอุ ด มการณ์ ช าติ นิ ย มของสมเด็ จ พระ
บรมชนกาธิราชให้เป็นรูปธรรมที่มีความชัดเจน เช่น ทรงเปลี่ยนสัญลักษณ์ของชาติ จากธงช้างเผือกมา
เป็นธงไตรรงค์ และพระราชนิพนธ์ความหมายของสีไว้ว่า

ขาว คือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย
แดง คือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษาชาติและศาสนา
น้ำเงิน คือสีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของส่วนองค์
(สงวน อั้นคง ๒๕๒๙, ๒๑๗)

และทรงยกให้พุทธศาสนามีความสำคัญขึ้นมาในระดับที่เป็นสถาบันหลักของประเทศ (มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๔๖๓, ๖๒ – ๖๔) โดยที่คนไทยทุกคนต้อง

อุทิศตัวเราทั้งหลายและอุทิศกำลังกายกำลังสติปัญญาไว้เพื่อป้องกันรักษาชาติ,
ศาสนา, พระมหากษัตริย์. สิ่งซึ่งเปนที่เคารพรักใคร่ทั้ง ๓ คือ ความเปนไทยของ
เราอย่าง ๑ ความมั่นคงของชาติเราอย่าง ๑ พระศาสนาของเราอย่าง ๑
(เรื่องเดียวกัน, ๑๕๐)

เนื่องด้วยคณะธรรมยุติกนิกายสถาปนาขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ และพระมหากษัตริย์นับแต่
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลงมา ได้ทรงผนวชในคณะนี้ และได้ประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร
ระหว่างที่ทรงผนวชทุกพระองค์ รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราชที่สังกัดคณะนี้ก็ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์
หลายองค์ จึ ง ทำให้ ค ณะธรรมยุ ติ ก นิ ก าย มี ค วามสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งแน่ น แฟ้ น และลึ ก ซึ้ ง กั บ สถาบั น
พระมหากษัตริย์

๕๒๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ดังนั้นพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในคณะธรรมยุติกนิกายจึงสะท้อนให้เห็นลักษณะเฉพาะของคณะ
นี้ไม่ว่าจะเป็น ความถูกต้องตามคัมภีร์ภาษาบาลี ความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ความจริงเชิงประจักษ์
ความเป็นชาตินิยม และความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ได้เป็นอย่างดี

พระสัมพุทธพรรณี (ดูรูปที่ ๓.๗๖) เป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนา
ธรรมยุติกนิกายในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ (ค.ศ. 1830) ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงผนวชเป็นพระวชิรญาณมหาเถระ โดยเลียนแบบมาจากพระพุทธปฏิมาของลังกาที่นิยมสร้างประทับ
ขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ แต่แตกต่างกับพระพุทธปฏิมาของลังกาตรงที่ไม่มีพระเมาลี ทั้งนี้เพราะ
พระองค์ตรวจสอบในพระสูตรแล้ว ไม่ปรากฏว่ามี ดังนั้นเพื่อความถูกต้องตามพระคัมภีร์ภาษาบาลี
พระพุทธรูปส่วนใหญ่ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นจึงไม่มีพระเมาลี

นอกจากไม่ มี พ ระเมาลี แ ล้ ว พระพุ ท ธรู ป ที่ ส ร้ า งขึ้ น ในรั ช กาลของพระองค์ ยั ง มี ข นาดตาม
“คืบพระสุคต” ซึ่งได้แก่ความยาวของเมล็ดข้าวเปลือกต่อกัน อันเป็นผลงานจากการค้นคว้าในคัมภีร์
ภาษาบาลีและพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เรื่อง สุคตวิทตฺถิ
พระพุทธรูปที่มีขนาดตาม “คืบพระสุคต” ได้แก่ พระพุทธปริตร ในหอศาสตราคม พระบรมมหาราชวัง
(ดูรูปที่ ๓.๗๗) พระประธานวัดมกุฏกษัตริยาราม (ดูรูปที่ ๓.๓) พระประธานวัดโสมนัสวิหาร วัดเทพ-
ศิรินทราวาส และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (ดูรูปที่ ๕.๒๘, ๖.๔๑, ๕.๒๙)

ความเคร่งครัดในทางวัตรปฏิบัติ ส่งผลให้พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในธรรมยุติกนิกาย ครองไตรจีวร
ตามพระภิ ก ษุ ใ นคณะนี้ เช่ น การครองจี ว รห่ ม คลุ ม (ดู รู ป ที่ ๘.๖๔, ๘.๖๕) และครองจี ว รห่ ม ดอง
พาดสังฆาฏิ (ดูรูปที่ ๓.๔๘, ๓.๕๔) รวมทั้งการถือบาตรอย่างถูกต้องอีกด้วย (ดูรูปที่ ๓.๔๙, ๓.๕๒)

การให้ความสำคัญกับ “ความจริงเชิงประจักษ์” ของคณะธรรมยุติกนิกายสอดคล้องกับการ
สร้างภาพตามแนวเหมือนจริงของชาวตะวันตก จึงทำให้พระพุทธรูปของคณะนี้มีความเป็นคนมากกว่า
พระพุ ท ธปฏิ ม าที่ สื บ ทอดกั น มาในอดี ต นอกจากนั้ น แล้ ว พระราชปรารภของพระบาทสมเด็ จ พระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรง “อยากเห็นพระเป็นคน” เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการสร้างพระพุทธรูป
ตามแนวสัจนิยมตะวันตก เช่น ผลงานของอัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลี (ดูรูปที่ ๘.๑๐๐) และยังเป็นสาเหตุ
สำคัญที่ทำให้สังคมไทยยอมรับพระพุทธรูปที่เหมือนคนอีกด้วย นอกจากยอมรับแล้ว ช่างไทยยังใฝ่ฝันที่จะ
“คิดแก้ไขหันเข้าหาความงาม ให้เห็นจริงอย่างสามัญมนุษย์” ดังมี พระพุทธไสยาสน์ที่พระเทพรจนา
ปั้นและหล่อตามภาพร่างฝีพระหัตถ์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ดูรูปที่ ๑๐.๑๓)
อันถือเป็นตัวอย่างที่ควรยกย่อง

ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระ
ชัยวัฒนมงคลวราภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. 1885) เพื่อพระราชทานพระราชโอรสที่จะเสด็จไป
ศึกษาในต่างประเทศ และเพื่อสักการบูชาประจำพระองค์ แต่พระบรมราโชวาท ๓ ข้อ ได้แก่ (๑) ทำนุ
บำรุงพระพุทธศาสนา (๒) รักษาราชอาณาจักร และ (๓) ซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ ที่ได้พระราชทาน
พร้อมกันนั้น แสดงให้เห็นว่า พระองค์มีพระราชดำริเกี่ยวกับอุดมการณ์ชาตินิยมแล้ว ซึ่งทั้ง ๓ ข้อนี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใส่พระราชหฤทัย และทรงปรับเปลี่ยนเป็น ชาติ ศาสนา
และพระมหากษัตริย์ ในเวลาต่อมา

ความสัมพันธ์ระหว่างคณะธรรมยุติกนิกายและพระมหากษัตริย์ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจนในปี
พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. 1963) เมื่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ
สุวฑฺฒโน) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระสาสนโสภณ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระ
ปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ไปประดิษฐานที่ผ้าทิพย์ของพระพุทธรูปแบบสุโขทัย ปางประทานพร (ดูรูปที่ ๓.๙๙)
ซึ่งพระธรรมจินดาภรณ์ (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นผู้ออกแบบ โดยมีเหตุผล
ว่าประเทศชาติอยู่ได้โดยอาศัยพระพุทธานุภาพและพระราชานุภาพ ประกอบกันอยู่อย่างแยกจากกันไม่ได้

บทสรุป ๕๒๗
ดังนั้นพระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. จึงเป็นปูชนียวัตถุที่แสดงให้เห็นถึงการรวมกันของพระ
พุ ท ธศาสนาและพระมหากษั ต ริ ย์ ซึ่ ง นอกจากจะเป็ น ครั้ ง แรกที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ได้
พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระปรมาภิไธยกับพระพุทธรูปแล้ว ยังเป็นการสร้างพระพุทธรูป
ประทับขัดสมาธิราบ ปางประทานพรขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยอีกด้วย

พระพุทธปฏิมาที่เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างชาติ พุทธศาสนา และ
มหากษัตริย์ ได้แก่ พระพุทธนวราชบพิตร สร้างเป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัย แบบ
สุโขทัยประยุกต์ (ดูรูปที่ ๓.๑๐๑) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ (ค.ศ. 1966) และที่ฐานบัวหงายบรรจุพระพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดา ซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ โดยรวมผงศักดิ์สิทธิ์ส่วนพระองค์ และส่วนที่ได้มาจากปูชนียสถาน
และปูชนียวัตถุทั่วพระราชอาณาจักรเข้าไว้ด้วยกัน พระพุทธนวราชบพิตรยังเป็นพระพุทธรูปที่พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชวินิจฉัยแก้แบบจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย ก่อนที่จะนำไปหล่อ
เพื่อพระราชทานไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักรด้วยพระองค์เอง พระพุทธนวราชบพิตรจึงถือ
เป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่สร้างขึ้นเพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชร่วมกับกองบัญชาการทหารสูงสุด ได้กราบบังคมทูล
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขอพระราชทานพระราชานุญาตสร้างพระพุทธรูปเพื่ออุทิศเป็น
พระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระสุริโยทัย ผู้ทรงสละพระชนมชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย เนื่องในโอกาส
เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. 1992) พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปยืน
ทรงเครื่องฉลองพระองค์ ปางห้ามพระแก่นจันทน์ แต่พระหัตถ์ขวาประทานพร (ดูรูปที่ ๓.๙๓) ซึ่งปางนี้
สร้างขึ้นครั้งสุดท้ายในสมัยกัมโพช พระพุทธรูปมีขนาดความสูงเท่าองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม-
ราชินีนาถ จึงเป็นทั้งพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ของสมเด็จพระสุริโยทัย และสมเด็จพระ
นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในองค์เดียวกัน นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลอง
พระองค์ที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงสร้างเอง แต่กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้สร้างถวาย

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. 1995) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชร่วมกับ
กระทรวงมหาดไทยและประชาชน สร้างพระพุทธนิรโรคันตราย (ดูรูปที่ ๓.๙๕) ถวายพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เพื่อคุ้มครองพระองค์ให้พ้นจากโรคาพาธทั้งปวง เนื่องจากพระองค์ทรงพระประชวรก่อน
หน้านี้ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ.
1999) รัฐบาลจึงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ สูงเท่าพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
หัว (ดูรูปที่ ๓.๔๑) ถวายในโอกาสมหามงคลเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในรัชกาลปัจจุบัน
พระพุ ท ธรู ป ทรงเครื่ อ งฉลองพระองค์ ซึ่ ง เป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องพุ ท ธศิ ล ป์ ไ ทย มิ ไ ด้ ส ร้ า งขึ้ น โดยพระ
มหากษัตริย์ แต่สร้างขึ้นโดยประชาชนของพระองค์ เพื่อแสดงถึงความรักและภักดีที่เหล่าพสกนิกรถวาย
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การสร้างสรรค์
งานพุทธศิลป์ของไทย

จากการศึ ก ษาพระพุ ท ธปฏิ ม า อาจจะสรุ ป ได้ ว่ า ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งพุ ท ธศาสนากั บ พระ-
มหากษัตริย์ที่ได้ดำเนินควบคู่กันมากว่า ๒,๕๐๐ ปี มิได้ร่วงโรยหรือเสื่อมสลายลงในประเทศไทย
ตามกาลเวลาเลย แต่ตรงกันข้ามกลับเจริญรุ่งเรืองและมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ความ
สัมพันธ์นี้ยังคงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างพระพุทธรูปในปัจจุบัน เป็นเสมือนพลังที่ผลักดันการสร้าง
อั ต ลั ก ษณ์ แ ห่ ง ความเป็ น ไทย สมดั ง ที่ น าวาอากาศเอก ทองสุ ก จทั ช บุ ต ร อดี ต ผู้ อ ำนวยการกอง
อนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองทัพอากาศ ได้ประพันธ์ไว้ว่า

วัดกับวัง ยังอยู่คู่สยาม ตราบนั้นความเป็นไทยก็ไม่สูญ
หากวัดร้างวังไร้ใจอาดูร น้ำตาพูนเพียบถิ่นแผ่นดินไทย
(ทองสุก จทัชบุตร)

๕๒๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ตารางสรุปพระพุทธปฏิมาปางต่างๆ ตามยุคสมัย

บทสรุป ๕๒๙
บรรณานุกรม
หนังสือภาษาไทย
กรรณิกา ดำรงวงศ์. (๒๕๔๔). พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล หลวงพ่อเขากง. จดหมายเหตุ ก ารบู ร ณะปฏิ สั ง ขรณ์ วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม และพระ
นราธิวาส: วัดเขากง. บรมมหาราชวัง ในการฉลองพระนครครบ ๒๐๐ ปี ภาคที่ ๑.
กองบัญชาการทหารสูงสุด. (๒๕๓๔). พระราชพิธีสมโภชพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย (๒๕๒๕). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น.
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ. จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงษานุวงษ์. (๒๔๕๗). พระนคร: โรงพิมพ์
กองโบราณคดี กรมศิลปากร. (๒๕๓๔). เวียงท่ากาน ๑ รายงานการขุดแต่ง กรุงเทพฯ เดลิเมล์.
และการบู ร ณะโบราณสถาน. กรุ ง เทพฯ: ฝ่ า ยแผนงาน จอมเกล้าเจ้าหยู่หัว, พระบาทสมเด็ดพระ. (๒๔๘๕). เทสนาพระราชประวัติ
วิเทศสัมพันธ์ และหน่วยศิลปากรที่ ๔ ฝ่ายควบคุมดูแลรักษา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าหยู่หัว และตำนานพระพุทธ-
โบราณสถาน กองโบราณดคี กรมศิลปากร. บุสยรัตน. พระนคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธัมสาตรและ
กัลยาณิวัฒนา, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. (๒๕๒๗). เวลาเป็นของมีค่า. การเมือง. (เจ้าภาพพิมพ์แจกไนงานพระราชทานเพลิงพระสพ
กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์. พระเจ้าบรมวงสเทอ พระองค์เจ้าบุสบันบัวผัน).
การศาสนา, กรม. (๒๕๒๗). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร. เล่ม ๓. กรุงเทพฯ: จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๒๔). ตำนานพระแก้วมรกต
โรงพิมพ์การศาสนา. ตำนานพระพุ ท ธชิ น ราช พระพุ ท ธชิ น ศรี พระศรี ศ าสดา.
____________. (๒๕๓๔). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร. เล่ม ๑๐. กรุงเทพฯ: กรุ ง เทพฯ: กรมศิ ล ปากร. (พิ ม พ์ เ ป็ น อนุ ส รณ์ ใ นงาน
โรงพิมพ์การศาสนา. พระราชทานเพลิงศพ นายเดช ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
กำจร สุ น พงษ์ ศ รี . (๒๕๒๔). ประวั ติ ศ าสตร์ ศิ ล ปะตะวั น ตก. กรุ ง เทพฯ: ณ ฌาปนสถานกรมตำรวจ วัดตรีทศเทพ). (พิมพ์ครั้งแรก
คาร์เดีย เพรสบุ๊ค. พ.ศ. ๒๕๐๑).
ขจร สุขพานิช. (๒๕๒๓). ข้อมูลประวัติศาสตร์: สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: จันทบุรีนฤนาถ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (๒๕๑๕). ปทานุกรม บาลี
สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. ไทย อังกฤษ สันสกฤต. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร.
เขียน ยิ้มศิริ. (๒๕๑๒). พุทธานุสรณ์. พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในคราวอายุครบ ๕ รอบ
ไขศรี ศรีอรุณ. (1996). พระพุทธรูปที่ระเบียงรอบองค์พระปฐมเจดีย์. Patani: หม่อมหลวงบัว กิติยากร ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรี-
Prince of Songkla University. สุรนาถ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๒). (พิมพ์
คณะกรรมการปรั บ ปรุ ง บู ร ณะโบราณสถานจั ง หวั ด สุ โ ขทั ย และจั ง หวั ด ครั้งแรก ๒๕๑๓).
กำแพงเพชร. (๒๕๑๒). รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะ จาตุรงคมงคล วัดบวรนิเวศวิหาร. (๒๕๐๘). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏ-
โบราณวัตถุสถานเมืองเก่าสุโขทัย พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๒. ราชวิทยาลัย.
พระนคร: คณะกรรมการปรับปรุงบูรณะโบราณสถานจังหวัด “จารึกแผ่นทองแดง.” (๒๕๓๕). ศิลปากร ๓๕ (๖): ๑๐๓ - ๑๐๘.
สุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร. จารึกล้านนา ภาค ๑. (๒๕๓๔). ๒ เล่ม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู
คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน. (๒๕๔๔). ตำนานพระพุทธรูปสำคัญวัดพระเชตุพน. ทอมป์สัน. (ในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม-
กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. (คณะสงฆ์วัด บรมราชกุมารี พระชนมายุครบ ๓ รอบ).
พระเชตุพนจัดพิมพ์เป็นที่ระลึก สมโภชหิรัญบัฏ และฉลอง จารึกสมัยสุโขทัย. (๒๕๒๖). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
อายุวัฒนมงคล ๘๕ ปี พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสา- จิตร บัวบุศย์. (๒๕๐๓). สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย. พระนคร:
นุกโร ป.ธ. ๔) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน ๒๖ - ๑๗ พฤษภาคม โรงพิมพ์อำพลพิทยา.
๒๕๔๔). จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (ร.ศ. ๑๒๖ / พ.ศ. ๒๔๕๐). ไกลบ้าน.
คำให้ ก ารขุ น หลวงวั ด ประดู่ ท รงธรรม: เอกสารจากหอหลวง. (๒๕๓๔). ๔ เล่ม. [ม.ป.ท.].
กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย สำนัก ____________. (๒๔๘๒). พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี. เจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทร-
คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง. (๒๔๕๙). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณ- เทวี. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์. (พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกใน
พิพรรฒธนากร. (นายพลตรี พระยาเทพาธิบดี พิมพ์แจกใน งานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าอับษรสมาน กิติยากร ณ
งานปลงศพ นายพันตรี หลวงพิทักษ์นฤเบศร์ (จร บุนนาค) เมรุวัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒).
ผู้บิดา ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙). ____________. (๒๔๙๖). พระราชพิ ธี สิ บ สองเดื อ น. พระนคร: โรงพิ ม พ์
คำให้การชาวกรุงเก่า. (๒๔๕๗). พระนคร: โรงพิมพ์ไทย ณ สพานยศเส. พระจันทร์.

๕๓๐ บรรณานุกรม
____________. (๒๕๐๗). พระราชกรัณยานุสร. พระนคร: คลังวิทยา. (พิมพ์ ____________. (๒๕๔๙). “การกำหนดอายุสมัยพระพุทธรูปที่พบในพระอุระ
ครั้งแรก ๒๔๖๓). และพระพาหาเบื้องซ้ายพระมงคลบพิตร จังหวัดพระนคร-
____________. (๒๕๐๘). พระราชหัตถเลขา คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือใน ศรีอยุธยา.” ศิลปากร ๔๙ (๖) (พฤศจิกายน - ธันวาคม): ๗ - ๓๓.
รัชกาลที่ ๕. พิมพ์ครั้งที่ ๓. พระนคร: โรงพิมพ์กรมสรรพ- ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (๒๔๖๔). ตำนานเรื่องสถานที่
สามิต. (งานฌาปนกิจศพ นายยืนยง วรโพธิ์ และเด็กหญิง ต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง.
สุภาวดี วรโพธิ์). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
____________. (๒๕๑๗). “พระราชปรารภ เรื่องพระพุทธชินราช.” ใน ประชุม ____________. (๒๔๖๖). ตำนานคณะสงฆ์. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒ-
พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ธนากร. (พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเหมวดี โปรดให้
หน้า ๑๘ - ๕๖. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พิมพ์ในงานศพ ขรัวยายแสง เมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๔๖๖).
นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล วันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ____________. (๒๔๖๘). นิราสนครวัด. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒ-
๒๕๑๗). ธนากร.
เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. (๒๕๓๖). จุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่ง ____________. (๒๔๖๙). ตำนานพุทธเจดีย์สยาม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณ-
ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ. (พิมพ์ครั้งแรก พิพรรฒธนากร.
๒๕๓๒). ____________. (๒๔๘๗). นิทานโบราณคดี. พระนคร: โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์.
ฉะอ้อน วัฒนสุขชัย. (๒๕๔๘). ประวัติพระบาง. นครพนม: วัดไตรภูมิ ตำบล ____________. (๒๔๙๔). ตำนานพระพุ ท ธรู ป สำคั ญ . พระนคร: โรงพิ ม พ์
ท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. (คุณแม่ฉะอ้อน ท่าพระจันทร์.
วัฒนสุขชัย และลูกๆ หลานๆ จัดพิมพ์เนื่องในงานบุญทอด ____________. (๒๕๐๓). เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป.
กฐิ น วั น ที่ ๖ พฤศจิ ก ายน ๒๕๔๘ ณ วั ด ไตรภู มิ จั ง หวั ด พระนคร: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.
นครพนม). ต้วน ลี่ เซิง, และ ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี. (๒๕๒๙). “เอกสารโบราณของจีน
ชัยวุฒิ พิยะกูล. (๒๕๒๔). โบราณวิทยาเมืองพัทลุง. พัทลุง: ศูนย์วัฒนธรรม ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย.” รวมบทความประวัติศาสตร์ ๘
จังหวัดพัทลุง. (กุมภาพันธ์): ๑ - ๓๒.
ชาตรี ประกิตนนทการ. (๒๕๔๗). การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี. (๒๕๓๘). เชียงใหม่: ศูนย์
สยามสมั ย ไทยประยุ ก ต์ ชาติ นิ ย ม. กรุ ง เทพฯ: ศิ ล ป- วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
วัฒนธรรมฉบับพิเศษ. ตำนานมูลศาสนา. (๒๕๑๘). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์. (พระบาทสมเด็จ
____________. (๒๕๔๙). “พระพุทธชินราชในประวัติศาสตร์การสร้างความ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน
เป็นไทย.” เมืองโบราณ ๓๒ (๓) (กรกฎาคม - กันยายน): ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์).
๖๔ - ๘๖. ตำนานสิบห้าราชวงศ์. (๒๕๔๐). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัย
ชายเดียว, และ ไชยา พัฒนาสุวรรณ. (๒๕๔๑). พระกำลังแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: เชียงใหม่.
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ตำราพระพุ ท ธรู ป ปางต่ า งๆ ตามมติ ส มเด็ จ พระมหาสมณเจ้ า กรมพระ
เชียงใหม่ปัณณาสชาดก. (๒๕๔๑). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ปรมานุชิตชิโนรส. (๒๕๓๔). กรุงเทพฯ: คณะวัดพระเชตุพน-
กรมศิลปากร. วิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร.
เชื่อม ศิริสนธิ. (๒๔๙๖). นครสุโขทัย. พระนคร: แพร่พิทยา. ตำราสร้างพระพุทธรูป. (๒๔๖๓). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
โชติ กัลยาณมิตร. (๒๕๒๐). ผลงาน ๖ ศตวรรษของช่างไทย. กรุงเทพฯ: (รองอำมาตย์ขุนสิทธิคดี (ปลั่ง คทวณิช) พิมพ์แจกในการ
กรรมาธิ ก ารอนุ รั ก ษ์ ศิ ล ปสถาปั ต ยกรรม สมาคมสถาปนิ ก ปลงศพ สนองคุณ หลวงเปรื่องคดีราษฎร์ (หริ่ง คทวณิช)
สยามในพระบรมราชูปถัมภ์. ผู้บิดา).
ณัฏฐภัทร จันทวิช. (๒๕๓๘). ตาลปัตรพัดยศ ศิลปบนศาสนวัตถุ. กรุงเทพฯ: เติม วิภาคย์พจนกิจ. (๒๕๓๐). ประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ:
ริเวอร์ บุ๊คส์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิโครงการ
____________. (๒๕๔๕). กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กับงานศิลปกรรม ตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ตามแบบพระราชนิ ย ม (ศิ ล ปกรรมสกุ ล ช่ า งวั ง หน้ า สมั ย ____________. (๒๕๔๐). ประวั ติ ศ าสตร์ ล าว. พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๒. กรุ ง เทพฯ:
รัตนโกสินทร์). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

บรรณานุกรม ๕๓๑
ทศพล จังพานิชย์กุล. (๒๕๔๕). พระพุทธรูป. กรุงเทพฯ: คอมม่า. ____________. (๒๕๑๐). พระพุทธรูปศิลาขาวสมัยทวารวดี. (พิมพ์ครั้งแรก
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (๒๕๒๖). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. ๒๕๐๗). พระนคร: กรมศิลปากร. (จัดพิมพ์เป็นพุทธบูชาใน
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. โอกาส ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ทำพิธี
ท้าวมหาชมพู ต้นตำนานพระพุทธรูปทรงเครื่อง. (๒๔๖๔). พระนคร: โรงพิมพ์ เปิ ด ป้ า ยพระนามพระพุ ท ธรู ป ศิ ล าขาว และวางศิ ล าฤกษ์
โสภณพิพรรฒธนาการ. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. (๒๕๐๔). พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๐).
รัชกาลที่ ๓. เล่ม ๒. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา. ธัญญ์พิชา โรจนะ. (๒๕๕๐). “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทย
____________. (๒๕๓๙). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑. จนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. ๒๔๗๕.” ใน สรรพ-
กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. สาระ ประวัติศาสตร์ - มนุษยศาสตร์, หน้า ๑๐๙ - ๑๑๕.
____________. (๒๕๔๗). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ บรรณาธิการโดย วินัย พงศ์ศรีเพียร. กรุงเทพฯ: สามลดา.
ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯ (ขำ บุนนาค). พิมพ์ครั้งที่ ๖. (พิพิธนิพนธ์เชิดชูเกียรติ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. แถมสุข
กรุงเทพ: พิมพ์ดี. นุ่มนนท์ เนื่องในโอกาสมีอายุครบ ๖ รอบใน พ.ศ. ๒๕๕๐).
เทพย์ สาริกบุตร์, บาง เสมเสริมสุข, และ อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ, รวบรวม น. ณ ปากน้ำ. (๒๕๒๙ ก). วัดเกาะแก้วสุทธาราม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
และเรี ย บเรี ย ง, (๒๕๒๑). ตำราพรหมชาติ ฉบั บ ราษฎร์ ____________. (๒๕๒๙ ข). วัดภูมินทร์และวัดหนองบัว. กรุงเทพฯ: เมือง
ประจำบ้าน ดูด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: ลูก ส. ธรรมภักดี. โบราณ.
เทวาธิ ร าช ป. มาลากุ ล . (๒๔๙๕). เครื่ อ งราชู ป โภคและพระราชฐาน. ____________. (๒๕๔๖). วัดปรมัยยิกาวาส. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
พระนคร: โรงพิมพ์อุดม. (พิมพ์ในงานพระเมรุ พลเอก สมเด็จ นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ กรมพระยา. (๒๕๐๖). จดหมายระยะทางไป
พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระยาชั ย นาทนเรนทร ณ วั ด พิษณุโลก. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์.
เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วันที่ ๒๙ มกราคม พุทธศักราช ____________. (๒๕๑๒). หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล พิมพ์เนื่องในวัน
๒๔๙๕). ประสูติครบ ๖ รอบ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๒. พระนคร: วัชรินทร์
เทิ ม มี เ ต็ ม . (๒๕๒๙). “จารึกฐานพระพุทธรูป วั ดพญาภู และวัด ช้างค้ำ การพิมพ์.
วรวิ ห าร อำเภอเมื อ ง จั ง หวั ด น่ า น.” ศิ ล ปากร ๓๐ (๓) นิโกลาส์ แชรแวส. (๒๕๐๖). ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่ง
(กรกฎาคม): ๒๒ - ๒๙. ราชอาณาจั ก รสยาม (ในแผ่ น ดิ น สมเด็ จ พระนารายณ์
____________. (๒๕๓๐). “จารึกฐานพระพุทธรูปพระเจ้ายุธิษฐิระ อักษรธรรม มหาราช). แปลโดย สันต์ โกมลบุตร. พระนคร: ก้าวหน้า.
ล้านนา ภาษาบาลี - สันสกฤต.” ศิลปากร ๓๑ (๔) (กันยายน - (พิมพ์จำหน่ายที่กรุงปารีส เมื่อวัน ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ค.ศ.
ตุลาคม): ๘๐ - ๘๒. 1688 / พ.ศ. ๒๒๓๑).
เทิม มีเต็ม, และ ประสาร บุญประคอง. (๒๕๒๔). “ศิลาจารึก พระเจ้าอินแปง นิ ธิ เอี ย วศรี ว งศ์ . (๒๕๒๗). ปากไก่ แ ละใบเรื อ รวมความเรี ย งว่ า ด้ ว ย
อบ./๑๔.” ศิลปากร ๒๔ (๖: ฉบับพิเศษ) (มกราคม): ๕๖ - วรรณกรรมและประวัติศาสต์ต้นรัตนโกสินทร์ . กรุงเทพฯ:
๖๕. อมรินทร์การพิมพ์.
____________. (๒๕๒๕). “ศิลาจารึกพระเจ้าตนหลวง.” ศิลปากร ๒๖ (๒) บรรจบ เทียมทัด. (๒๕๐๓). “วัดโลกยสุธา.” ศิลปากร ๔ (๒): ๒๕ - ๒๗.
(พฤษภาคม): ๙๙ - ๑๐๖. บริบาลบุรีภัณฑ์, หลวง. (๒๕๓๑). เรื่องโบราณคดี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง
ธงทอง จันทรางศุ. (๒๕๒๙). สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ กรุ๊พ. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงาน
อักษรสัมพันธ์. พระราชทานเพลิงศพ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์).
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด. (๒๕๒๔). เอกสารแนะนำหนังสือชุด “ลักษณะไทย.” บริบาลบุรีภัณฑ์, หลวง, และ เกษม บุญศรี. (๒๕๐๐). เรื่องพระพุทธรูปปาง
กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. ต่างๆ. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ธนารักษ์, กรม กระทรวงการคลัง. (๒๕๔๐). จดหมายเหตุการสร้างเครื่องทรง ให้ พิ ม พ์ ขึ้ น พระราชทานในงานพระราชกุ ศ ลราชคฤหมงคล
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง ขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธ-
แอนด์พับลิชชิ่ง. ศักราช ๒๕๐๐).
ธนิต อยู่โพธิ์. (๒๕๐๙). พรหมสี่หน้า. พระนคร: กรมศิลปากร. (พิมพ์ถวายพระ
ภิกษุและสามเณร ซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. ๒๕๐๙).

๕๓๒ บรรณานุกรม
บริ บ าลบุ รี ภั ณ ฑ์ , หลวง, และ เอ.บี . กริ ส โวลด์ . (๒๔๙๕). ศิ ล ปวั ต ถุ ใ น ประชุมพงศาวดาร. เล่ม ๑. (๒๕๐๖). พระนคร: คุรุสภา.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. พระนคร: กรมศิลปากร. (เจ้าภาพ ประชุมพงศาวดาร. เล่ม ๒. (๒๕๐๖). พระนคร: คุรุสภา.
พิมพ์ในงานพระเมรุ พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม ประชุมพงศาวดาร. เล่ม ๙. (๒๕๐๗). พระนคร: คุรุสภา.
พระยาชัยนาทนเรนทร). ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๘ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ
บั น ทึ ก การจั ด สร้ า ง, บั น จุ , และปลุ ก เสก พระสุ ร ภี พุ ท ธพิ ม พ์ (จำลอง). (เจิ ม ). (๒๕๑๒). พระนคร: องค์ ก ารค้ า ของคุ รุ ส ภา
(๒๕๐๐). พระนคร: โรงพิมพ์อุตสาหกรรมการพิมพ์. ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.
บำเพ็ญ ระวิน. (๒๕๓๕). อนาคตวงส์ เมตเตยยสูตต์ และเมตเตยยวงส์ ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๙ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ
สำนวนล้านนา. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใน (เจิ ม ). (๒๕๑๒). พระนคร: องค์ ก ารค้ า ของคุ รุ ส ภา
พระบรมราชูปถัมภ์. (พิมพ์เผยแพร่เนื่องในวโรกาสฉลองมหา ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.
มงคลพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓. (๒๕๐๘). พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์
พระบรมราชินีนาถ). เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนัก
ป. พิบูลสงคราม. (๒๔๙๘). ประวัติศาสตร์สุโขทัย (ภาค ๑). พระนคร: ไทย นายกรัฐมนตรี.
บริการ. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔. (๒๕๑๓). พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์
ปฐมสมโพธิ. (๒๕๐๘). (สมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว) ทรงเรียบเรียง). เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.
(พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานประชุมเพลิงศพ หญิงภักดีพิพัฒนผล ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๕. (๒๕๑๕). พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์
(ผะอบ ณ ถลาง) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.
วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘). ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ ๒ จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ แลเมือง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. (๒๕๑๐). ภาพตำนาน ประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย. (๒๔๗๒). พระนคร: โรงพิมพ์
พระพุทธเจ้าปางต่างๆ. พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร. โสภณพิ พ รรฒธนากร. (สมเด็ จ กรมพระสวั ส ดิ วั ด นวิ ศิ ษ ฎ
(อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันเอกจำนง สังขดุลย์ โปรดให้ พิ ม พ์ ใ นงานฉลองพระชนมายุ เ สมอกั บ สมเด็ จ พระ
ท.ช., ท.ม. ๒๘ สิงหาคม ๒๕๑๐). ชนกชนนี).
ประชากิ จ กรจั ก ร์ , พระยา (แช่ ม บุ น นาค). (๒๔๗๘). พงศาวดารโยนก. ประชุมหมายรับสั่ง ภาคที่ ๒ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. (๒๕๒๕). กรุงเทพฯ:
พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนาการ. (พิมพ์เป็นที่ระลึก คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์
ในงานพระราชทานเพลิงศพมหาอำมาตย์โท เจ้าพระยาสุธรรม- สำนักนายกรัฐมนตรี.
มนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) ๒ มิถุนายน). ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. (๒๕๑๕). นครศรีธรรมราช. พระนคร: โรงพิมพ์คุรุสภา
ประชุม กาญจนรัตน์. (๒๕๑๒). หนังสือภาพพระพุทธรูป. ธนบุรี: โรงพิมพ์ ลาดพร้าว. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุน
สัตยการพิมพ์. บวรรัตนารักษ์ ณ เมรุวัดจันทาราม ต. ท่าวัง อ. เมือง จ.
ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๒ จารึกพระเจ้ากาวิละ. (๒๕๔๑). เชียงใหม่: คลัง นครศรีธรรมราช ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๕).
ข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ประยุ ท ธ ติ ก ขวี โ ร, พระอธิ ก าร. (๒๕๔๙). ประวั ติ วั ด พระเจ้ า ทองทิ พ ย์ .
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน เล่ม ๑. (๒๔๗๒). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณ- เชียงราย: วัดพระเจ้าทองทิพย์.
พิพรรฒธนากร. (พิมพ์ในงานพระศพ พระวิมาดาเธอ กรมพระ ประยุทธ สิทธิพันธ์. (๒๕๑๕). พระมหาธีรราชเจ้า. พระนคร: สยาม.
สุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา). ____________. (๒๕๒๐). ขุนนางสยาม. กรุงเทพฯ: สยาม.
ประชุมประกาศ รัชกาลที่ ๔ พุทธศักราช ๒๓๙๔ - พุทธศักราช ๒๔๐๔. ประวัติพระพุทธรูป ภ.ป.ร. วัดบวรนิเวศวิหาร. (๒๕๐๘). พระนคร: วัดบวร
(๒๕๔๑). กรุ ง เทพฯ: โรงพิ ม พ์ ก รุ ง เทพ. (พระบาทสมเด็ จ นิเวศวิหาร. (เอกสารโรเนียว).
พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ ม ประวัติวัดพนัญเชิง. (๒๕๐๗). พิมพ์ครั้งที่ ๔. นครราชสีมา: โรงพิมพ์เลิศศิลป์.
พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ใน ประวัติวัดสุทัศนเทพวราราม. (๒๕๑๖). พระนคร: วัดสุทัศนเทพวราราม. (จัด
งานพระราชทานเพลิงศพ พลโท หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร พิมพ์ในงานยกช่อฟ้าพระวิหารพระศรีศากยมุนี).
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ ประสาร บุญประคอง. (๒๕๑๑). “คำอ่านจารึกบนฐานพระพุทธรูปในวัด
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วัดเสาร์ที่ ๒๖ ธันวาคม พระเชตุพนฯ.” ศิลปากร ๑๒ (๔) (พฤศจิกายน): ๑๐๘.
พุทธศักราช ๒๕๔๑). ประเสริฐ ณ นคร. (๒๕๑๖). โคลงนิราศหริภุญชัย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. พระนคร:
โรงพิมพ์พระจันทร์.

บรรณานุกรม ๕๓๓
____________. (๒๕๓๔). งานจารึ ก และประวั ติ ศ าสตร์ ข องศาสตราจารย์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์กับตำนานวัดไร่ขิง. (๒๕๔๙). นครปฐม: วัดไร่ขิง.
ดร. ประเสริฐ ณ นคร. นครปฐม: โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและ พิ ช ญา สุ่ ม จิ น ดา. (๒๕๔๔). “การกำหนดอายุ เ วลาของแผ่ น ชาดก รอย
ฝึ ก อบรมการเกษตรแห่ ง ชาติ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ พระพุทธบาท และจิตรกรรมในมณฑปวัดศรีชุม.” รายงาน
กำแพงแสน. ส่วนหนึ่งในการศึกษาวิชาทฤษฎีและวิธีการวิจัยทางประวัติ-
ประเสริฐ ณ นคร, และ ปวงคำ ตุ้ยเขียว. (๒๕๓๗). ตำนานมูลศาสนา ศาสตร์ ศิ ล ปะ ภาควิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ คณะศิ ล ปศาสตร์
เชียงใหม่และเชียงตุง. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ ใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เอกสารอัดสำเนา.
พระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรม- ____________. (๒๕๔๘). “การกำหนดอายุเวลาและการจำลองพระพุทธ-
ราชกุมารี. ชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก.” วิทยา-
ปรีชา นุ่นสุข. (๒๕๔๑). ศิลปะศรีลังกา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. นิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์
ปวเรศวริยาลงกรณ์, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (ร.ศ. ๑๑๖ / พ.ศ. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
๒๔๔๐). “เรื่อง อภินิหารการประจักษ์.” วชิรญาณ ๓๖: ๓๕๔๔ - ____________. (๒๕๔๙). “ธรรมยุติกนิกาย: การศึกษาความสัมพันธ์กับสมณ
๓๕๗๗. วงศ์ของลังกาผ่านพุทธศิลป์.” วารสารไทยคดีศึกษา: ย้อน
ผลงานเชิดชูเกียรติ จ.ส.อ. ทวี บูรณเขตต์ เพชรน้ำเอกของวงการช่างศิลป์. กำเนิดเกิดความหลากหลาย ๓ (๑) (ตุลาคม ๒๕๔๘ - มีนาคม
(๒๕๒๖). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่ง ๒๕๔๙). ๑๖๑ - ๒๓๒.
ชาติ ร่วมกับวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม พิษณุโลก และศูนย์ ____________. (๒๕๕๐). “พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ในพระบรม
วัฒนธรรมต่างๆ ในภาคเหนือตอนล่าง. มหาราชวัง: ความรู้ที่ต้องเปลี่ยนแปลง ความขัดแย้งที่ต้อง
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร. (๒๕๒๕). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์. วิเคราะห์.” ใน ประวัติศาสตร์ศิลปะที่ต้องจารึก: รวมบทความ
(คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์และบันทึกเหตุการณ์ งาน วิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะเนื่องในโอกาสเกษียณอายุ
ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ราชการ รศ.ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ - Festschrift for Piriya
ร่วมกับธนาคารทหารไทย จัดพิมพ์เนื่องในการสมโภชกรุง Krairiksh’s 60th year, หน้า ๓๗ - ๑๕๕. บรรณาธิการโดย
รัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี). วารุณี โอสถารมย์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
พระมหาสมณวินิจฉัย. (๒๕๑๔). พระนคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย. (พิมพ์ใน พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. (๒๕๒๕). เรื่องพระบาท
งานมหาสมณานุ ส รณ์ ค รบ ๕๐ ปี แต่ วั น สิ้ น พระชนม์ แ ห่ ง สมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก ทรงฟื้ น ฟู วั ฒ นธรรม.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส). กรุงเทพฯ: สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด). (๒๕๐๔). พินัย ศักดิ์เสนีย์. (๒๕๐๒). นามานุกรมพระเครื่อง. พระนคร: ผดุงศึกษา.
๒ เล่ม. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์. พิมลธรรม ราชบัณฑิต, พระ. (๒๕๓๓). ตำนานพระพุทธรูปปางต่างๆ. กรุงเทพฯ:
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์) และจุลยุทธ- โครงการมูลนิธิหอไตร.
การวงศ์. (๒๕๓๕). กรุงเทพฯ: คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมล- พิริยะ ไกรฤกษ์. (๒๕๑๗) พุทธศาสนนิทานที่เจดีย์จุลปะโทน. แปลโดย ม.จ.
มังคลาราม. (พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชทาน สุภัทรดิศ ดิศกุล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์.
เพลิงศพ พระวิสุทธาธิบดี (สง่า ปภสฺรมหาเถร ป.ธ. ๘) ณ ____________. (๒๕๒๐). แบบศิลปในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๓๐ ____________. (๒๕๒๓). ศิลปทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. กรุงเทพฯ:
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕). กรมศิลปากร. (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับที่เป็นสมบัติของบริติชมิวเซียมกรุง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓).
ลอนดอน. (๒๕๐๗). พระนคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์. ____________. (๒๕๒๘). ประวัติศาสตร์ศิลปในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา.
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. (๒๕๑๖). ๒ เล่ม. พระนคร: คลัง กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
วิทยา. (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ____________. (๒๕๒๙). “ศิลปะแห่งแดนเนรมิต (ศิลปะสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ.
ทรงนิพนธ์ คำอธิบายประกอบ). ๑๗๕๐ - ๑๙๐๐).” เมืองโบราณ ๑๒ (๑) (มกราคม - มีนาคม):
พระราชหัตถเลขา - ลายพระหัตถ์. (๒๕๑๔). พระนคร: ธนาคารกรุงศรี- ๒๓ - ๔๙.
อยุธยา จำกัด. (พิมพ์ในงานมหาสมณานุสรณ์ครบ ๕๐ ปี ____________. (๒๕๓๖). “การปรับเปลี่ยนอายุเวลาของสถาปัตยกรรมสมัย
แต่วันสิ้นพระชนม์แห่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา อยุธยา.” สยามอารยะ ๒ (๙) (มิถุนายน): ๒๙ - ๔๕.
วชิรญาณวโรรส).

๕๓๔ บรรณานุกรม
____________. (๒๕๔๒). “การปรับเปลี่ยนยุคสมัยของพุทธศิลป์ในประเทศ มนัส โอภากุล. (๒๕๑๒). พระเมืองสุพรรณ. สุพรรณบุรี: มนัสการพิมพ์.
ไทย.” เมืองโบราณ ๒๕ (๒) (เมษายน - มิถุนายน): ๑๐ - ๔๓. มรดกไทย โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย. (๒๕๔๒). ประวัติสมเด็จ
____________. (๒๕๔๔ ก). “ประวัติศาสตร์ศิลปะอยุธยา.” ใน อยุธยากับเอเชีย. พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ
เอกสารสรุปการสัมมนาวิชาการนานาชาติทางประวัติศาสตร์, คุรุสภา.
หน้า ๔๑ - ๙๒. มหานิมิตย์ ปณฺฑิตเสวี, พระ. (๒๕๔๗). ประวัติหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ.
____________. (๒๕๔๔ ข). อารยธรรมไทย พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ หนองคาย: วัดศรีชมภูองค์ตื้อ.
เล่ม ๑ ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ มหามกุฏราชวิทยาลัย. (๒๕๑๔). พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. พระยาวชิรญาณวโรรส. พระนคร: มงคลการพิมพ์. (พิมพ์ใน
____________. (๒๕๔๕). ศิลปะสุโขทัยและอยุธยา ภาพลักษณ์ที่ต้องเปลี่ยน งานมหาสมณานุ ส รณ์ ค รบ ๕๐ ปี แต่ วั น สิ้ น พระชนม์ แ ห่ ง
แปลง: รวมบทความทางวิชาการประวัติศาสตร์ศิลปะ ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วันที่ ๑ -
พิริยะ ไกรฤกษ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔).
____________. (๒๕๔๗). จารึกพ่อขุนรามคำแหง. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มหาวชิราวุธมกุฏราชกุมาร, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า. (ร.ศ. ๑๒๖ /
ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. พ.ศ. ๒๔๕๐). เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง. พระนคร: โรงพิมพ์
____________. (๒๕๔๙). “พระพุทธชินราช: การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ บำรุงนุกูลกิจ.
ศิลปะ การศึกษาภาพลักษณ์ที่สร้างขึ้นโดยชนชั้นนำสยามสู่ มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม. (๒๔๖๘). บทเสภาเรื่อง พญา-
สามัญชน.” รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ได้รับเงินอุดหนุน ราชวั ง สั น กั บ สามั ค คี เ สวก. พระนคร: โรงพิ ม พ์ โ สภณ-
จากสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เอกสาร พิพรรฒธนากร.
อัดสำเนา. มหาวชิราวุธ, พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. [ม.ป.ป.]. พระร่วง. [ม.ป.ท.]
____________. (กำลังจัดพิมพ์). รากเหง้าแห่งศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ มานพ ถาวรวัฒน์สกุล. (๒๕๓๖). ขุนนางอยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
บุ๊คส์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ร่ ว มกั บ มู ล นิ ธิ โ ครงการตำรา
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (๒๕๔๒). “หลักฐานความสัมพันธ์ สุโขทัย - ล้านนา ชิ้น สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
สำคัญ.” ศิลปวัฒนธรรม ๒๐ (๓) (มกราคม): ๑๑๖ - ๑๑๙. มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า. (๒๕๔๙). ศรีสวรินทิรานุสรณีย์: น้อม
____________. (๒๕๔๖). “หลวงพ่ อ นาก พระพุ ท ธรู ป พระเจ้ า ยุ ธิ ษ ฐิ ร ะ.” รำลึกถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า. กรุงเทพฯ: อมรินทร์
ศิลปากร ๔๖ (๑) (มกราคม - กุมภาพันธ์): ๑๐๔ - ๑๑๔. พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
พุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ), สมเด็จพระ. (๒๕๔๙). ประวัติวัดสระเกศราช- ยอด เนตรสุวรรณ. [ม.ป.ป.]. “นายรอบรู้” นักเดินทาง: ปราจีนบุรี สระแก้ว.
วรมหาวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. กรุงเทพฯ: สารคดี.
เพลินพิศ กำราญ. (๒๕๓๓). พระพุทธปฏิมา รัชกาลที่ ๙ ทรงสร้าง. กรุงเทพฯ: ยอช เซเดส์ . (๒๔๗๑). โบราณวั ต ถุ ใ นพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานสำหรั บ พระนคร.
กรมศิลปากร กองวรรณดคีและประวัติศาสตร์. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
โพธิรังสี, พระ. (๒๕๐๖). นิทานพระพุทธสิหิงค์: ว่าด้วยตำนานพระพุทธสิหิงค์. ____________. (๒๔๗๒). ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ ๒ จารึกกรุงทวารวดี
แปลโดย แสง มนวิทูร. พระนคร: ศิวพร. (กรมศิลปากรจัด เมืองละโว้ แลเมืองประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย. พระนคร:
พิมพ์ในงานเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. ๒๕๐๖). โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. (สมเด็จกรมพระสวัสดิวัดน-
ไพศาล วิ ส าโล, พระ. (๒๕๔๖). พุ ท ธศาสนาไทยในอนาคตแนวโน้ ม และ วิศิษฎ โปรดให้พิมพ์ในงานฉลองพระชนมายุเสมอกับสมเด็จ
ทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์. พระชนกชนนี พระพุทธศก ๒๔๗๒).
ฟาเหียน, พระภิกษุ. (๒๔๘๗). จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักร. แปลโดย ยอร์ช เซเดส์. (๒๕๐๗). ตำนานอักษรไทย ตำนานพระพิมพ์ การขุดค้นที่พงตึก
พระยาสุรินทรลือชัย (จันท์ ตุงคสวัสดิ) จากต้นฉบับของ และความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สมัยโบราณแห่งประเทศ
เจ็มส์ เล็กจ์. พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. ไทย ศิลปไทยสมัยสุโขทัยราชธานีรุ่นแรกของไทย. พระนคร:
ภาพพุทธประวัติวัดทองนพคุณ. (๒๕๒๖). กรุงเทพฯ: มติชน. องค์การค้าของคุรุสภา.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ ____________. (๒๕๒๙). นครวั ด . กรุ ง เทพฯ: โรงพิ ม พ์ ม หาวิ ท ยาลั ย
พระ. (๒๔๖๓). เทศนาเสือป่า. (พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์ ธรรมศาสตร์.
เจ้าอาทรทิพยนิภา ทรงพระศรัทธาพิมพ์ขึ้นอุทิศส่วนกุศลแด่ ยุ พ ร แสงทั ก ษิ ณ . (๒๕๓๙). เครื่ อ งเบญจราชกกุ ธ ภั ณ ฑ์ และเครื่ อ งสู ง .
พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

บรรณานุกรม ๕๓๕
โยนิโอะ อิชิอิ. (๒๕๒๒). “อาณาเขตของอยุธยาในกฎหมายตราสามดวง.” ____________. (๒๕๑๔). นำเที่ยววัดบวรนิเวศวิหาร. พระนคร: โรงพิมพ์มิตร-
วารสารธรรมศาสตร์ ๙ (๒) (ตุลาคม - ธันวาคม): ๑๔๘ - ๑๖๐. สยาม. (พิมพ์ในงานมหาสมณานุสรณ์ครบ ๕๐ ปี แต่วันสิ้น
รัตนปัญญาเถระ. (๒๕๐๑). ชินกาลมาลีปกรณ์. พระนคร: กรมศิลปากร. พระชนม์แห่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ-
ราชบัณฑิตสถาน. (๒๕๔๑). ศิลปกรรมไทย: พระพุทธปฏิมา พระบรมมหาราช วโรรส วันที่ ๑ - ๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔).
วัง วัด เรือนไทยภาคกลาง. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณ ____________. (๒๕๓๑). ทศบารมี ทศพิธราชธรรม. กรุงเทพฯ: วัดบวรนิเวศ
การพิมพ์. (พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๓๖). วิหาร.
____________. (๒๕๔๖). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. (๒๕๓๘). ประมวลเอกสารสำคัญเนื่องในการ
กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. สถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. เล่ม ๒. กรุงเทพฯ:
ราชบัณฑิตยสภา. (๒๔๗๒). ตำนานเรื่องวัตถุสถานต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จ อมริ น ทร์ พ ริ้ น ติ้ ง แอนด์ พั บ ลิ ช ชิ่ ง . (วั ด เบญจมบพิ ต รดุ สิ ต-
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณ วนาราม พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศล งานพระราชทานเพลิง
พิ พ รรฒธนาการ. (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระ ศพสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต ป.ธ.๗) ณ
กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ พระวิ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ๒๕
มาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา). มีนาคม ๒๕๓๘).
ราชสกุลวงศ์พระนามเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้าในกรุงรัตนโกสินทร์ . (๒๔๖๓). วัดพระทอง (พระผุด). (๒๕๔๗). ภูเก็ต: วัดพระทอง.
พระนคร: โรงพิมพ์ไท. (สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุน วั ด ราชโอรสารามราชวรวิ ห าร. (๒๕๔๙). กรุ ง เทพฯ: วั ด ราชโอรสาราม
ศุโขไทยธรรมราชา ทรงพิมพ์ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ราชวรวิหาร.
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี วันวลิต. (๒๕๔๘). พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต พ.ศ. ๒๑๘๒. แปล
พระพันปีหลวง). จากภาษาฮอลันดาเป็นภาษาอังกฤษโดย เลียวนาร์ด แอนดายา,
เรื่องกฎหมายตราสามดวง. (๒๕๒๑). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. และแปลเป็นภาษาไทยโดย วนาศรี สามนเสน. พิมพ์ครั้งที่ ๓.
เรื่องพระปฐมเจดีย์ กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ และการบูรณะและ กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ.
ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์. (๒๕๒๘). พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: วิจิตรวาทการ, หลวง. (๒๔๙๖). “วัฒนธรรมสุโขทัย.” ใน นครสุโขทัย, หน้า
ยูนิตี้ โพรเกรส. (โดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชทาน ๑๒ - ๔๑. [ม.ป.ท.]. (พิมพ์ขึ้นเพื่อหาทุนสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุน
เพลิงศพ พระธรรมสิริชัย (ชิต ชิตวิปุลเถร) เจ้าอาวาสวัดพระ รามคำแหงมหาราช).
ปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๘). วิ นั ย พงศ์ ศ รี เ พี ย ร. (๒๕๕๐). “อั น เนื่ อ งมาแต่ สยาม”. ใน สรรพสาระ
ลลิตวิสตระ, คัมภีร์พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน. (๒๕๑๒). พระนคร: กรม ประวั ติ ศ าสตร์ - มนุ ษ ยศาสตร์ . เล่ ม ๑, หน้ า ๑ - ๑๔.
ศิลปากร. บรรณาธิการโดย วินัย พงศ์ศรีเพียร. กรุงเทพฯ: สามลดา.
โลกลี้ลับ, กองบรรณาธิการ. (๒๕๔๙). “พระอธิการประยุทธ ติกขวีโร: ผู้เร่ง (พิพิธนิพนธ์เชิดชูเกียรติ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. แถมสุข
ความเพี ย ร เพื่ อ ความหลุ ด พ้ น .” โลกลี้ ลั บ ๙๓ (๙๖๒) นุ่มนนท์ เนื่องในโอกาสมีอายุครบ ๖ รอบ ใน พ.ศ. ๒๕๕๐).
(ตุลาคม): ๑๒ - ๓๙. วิบูลย์ บูรณารมย์. [ม.ป.ป.]. วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระนอนพุทธ-
วชิรญาณวงศ์, สมเด็จพระ. (๒๔๙๓). ทศพิธราชธรรม สมเด็จพระวชิรญาณ- ไสยาสน์ พระแท่นศิลาอาสน์ พระบรมธาตุ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอ
วงศ์ พระสังฆราช ถวายในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: โรงพิมพ์วิบูลย์การพิมพ์.
รั ช กาลที่ ๙. พระนคร: โรงพิ ม พ์ ม หามกุ ฏ ราชวิ ท ยาลั ย . วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร. (๒๕๔๕). “การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมสุโขทัย กรณี
(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ศึกษาวัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย.” วิทยา-
พิมพ์พระราชทานเนื่องในงานฉลองพระสุพรรณบัฎ สมเด็จ นิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์-
พระวชิรญาณวงศ์ พระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๑ - ๒๒ สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย
พฤศจิกายน ๒๔๙๓). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร. (๒๕๔๓). พระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมือง. กรุงเทพฯ: ศรั ณ ย์ ทองปาน. (๒๕๔๒). “ความสนุ ก ในวั ด เบญจมบพิ ต ร เครื่ อ งโต๊ ะ
ทิพากร. มิวเซียม และสยามใหม่.” เมืองโบราณ ๒๕ (๔) (ตุลาคม -
วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร. (๒๕๔๐). กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง. ธันวาคม): ๓๒ - ๔๐.
วัดบวรนิเวศวิหาร. (๒๕๐๔). ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร. พระนคร: โรงพิมพ์ ศรีศักร วัลลิโภดม. (๒๕๓๗). พระเครื่องในเมืองสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน.
มหามกุฏราชวิทยาลัย.

๕๓๖ บรรณานุกรม
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๓๒). “พระพุทธรูปแข้งคม ในศิลปะล้านนา.” ศิลปากร ____________. (๒๕๒๔). จารึ ก โบราณรุ่ น แรกพบที่ ล พบุ รี แ ละใกล้ เ คี ย ง.
๓๓ (๓) (กรกฎาคม - สิงหาคม): ๓๐ - ๓๕. กรุ ง เทพฯ: บพิ ธ การพิ ม พ์ . (กรมศิ ล ปากรจั ด พิ ม พ์ เ นื่ อ งใน
____________. (๒๕๔๕). “การวิเคราะห์ข้อมูลจากการขุดค้นทางโบราณคดี โอกาสเปิดห้องนิทรรศการเรื่อง จารึกพบที่จังหวัดลพบุรีและ
ร่วมกับข้อมูลด้านศิลาจารึกและประวัติศาสตร์ศิลปะ สมัย จังหวัดใกล้เคียง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระ
สุโขทัย เพื่อการวิจัยหาประเด็นใหม่ทางวิชาการ.” รายงานการ นารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๒๔).
วิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการ ____________. (๒๕๒๕ ก). ศิ ล ปวั ฒ นธรรมไทย เล่ ม ๔ วั ด สำคั ญ กรุ ง
วิจัยแห่งชาติ. รัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. (จัดพิมพ์เนื่องใน
ศานติ ภักดีคำ. (๒๕๔๙). “จิตรกรรมฝาผนังเรื่อง ท้าวมหาชมพู พระอุโบสถ โอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๕).
วัดนางนองวรวิหาร.” เมืองโบราณ ๓๒ (๓) (กรกฎาคม - ____________. (๒๕๒๕ ข). จดหมายเหตุการสร้างพระพุทธรูปพระประธาน
กันยายน): ๓๒ - ๖๓. พุทธมณฑล. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้าง
ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๒ (จารึกวัดศรีชุม). (๒๕๒๗). กรุงเทพฯ: กอง พุทธมณฑล และกรมศิลปากร. (จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในพิธี
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลอง สมโภชพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล).
๗๐๐ ปีลายสือไทย). ____________. (๒๕๓๐ ก). เมืองน่าน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ศิลป์ พีระศรี. (๒๕๐๖). บทความจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ของ ____________. (๒๕๓๐ ข). คู่มือนิทรรศการพิเศษเฉลิมพระเกียรติ ๒๐๐ ปี
ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี. พระนคร: กรมศิลปากร. (กรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: อมรินทร์
ศิลปากรจัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ พริ้นติ้งกรุ๊พ.
ศิลป พีระศรี ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิริน- ____________. (๒๕๓๐ ค). วัดช้างล้อม. เอกสารหมายเลข ๑ / ๒๕๓๐ เรื่อง
ทราวาส เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖). “การศึกษาวิจัยเรื่อง วัดช้างล้อมใน อุทยานประวัติศาสตร์
ศิลปกรรมวัดราชาธิวาส. (๒๕๔๖). กรุงเทพฯ: สมาคมนักเรียนเก่าราชาธิวาส. ศรีสัชนาลัย อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย.” กรุงเทพฯ: กรม
(จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี โรงเรียนวัดราชา ศิลปากร.
ธิวาส). ____________. (๒๕๓๑). ศิลปกรรมวัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม. กรุงเทพฯ:
ศิลปากร, กรม. (๒๕๐๒). พระพุทธรูป และพระพิมพ์ ในกรุพระปรางค์วัดราช กรมศิลปากร.
บูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนคร: กรมศิลปากร. ____________. (๒๕๓๒). เมืองอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
____________. (๒๕๑๑). พระราชวั ง และวั ด โบราณในจั ง หวั ด พระนคร- ____________. (๒๕๓๖ ก). พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการ
ศรีอยุธยา. พระนคร: กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑ์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗). (กรม
____________. (๒๕๑๒). ศิลปกรรมและช่างไทย จาก สาส์นสมเด็จ. พระ- ศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในมหามงคล เฉลิมพระเกียรติ ๑๐๐ ปี
นคร: กรมศิลปากร. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทาน วันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพลิงศพ นายอุ่ณห์ เศวตมาลย์ ณ เมรุวัดแก้วแจ่มฟ้า สี่พระยา ๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๖).
วันที่ ๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๒). ____________. (๒๕๓๖ ข). ราชสกุลวงศ์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: กรม
____________. (๒๕๒๑ ก). ประวัติวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร. กรุงเทพฯ: ศิลปากร.
กรมศิลปากร. ____________. (๒๕๔๑). จดหมายเหตุงานพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนคริน-
____________. (๒๕๒๑ ข). ประวัติวัดอรุณราชวราราม. กรุงเทพฯ: คณะสงฆ์ ทราบรมราชชนนี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
วัดอรุณราชวราราม. (จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ____________. (๒๕๔๓ ก). พระพุทธรูปสำคัญ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
สมเด็จพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาณมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัด ____________. (๒๕๔๓ ข). พระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทร-
อรุณราชวราราม ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพ- มหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชฯ สยามิ น ทราธิ ร าช บรมนาถบพิ ต ร.
ศิรินทราวาส วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
____________. (๒๕๒๒). ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. ____________. (๒๕๔๖). นามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวดพระราชพิธี
กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์. และรัฐพิธี. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
กรมศิลปากร.

บรรณานุกรม ๕๓๗
____________. (๒๕๔๘ ก). จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานตามแนว ____________. (๒๕๔๙). ศิลปะสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์
พระราชดำริ เล่ม ๑ เรื่องประวัติศาสตร์ศิลปกรรมพระพุทธ- พับลิชชิ่ง.
รัตนสถาน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. สมบัติ จำปาเงิน. (๒๕๒๐). ประวัติพระพุทธปฏิมาในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:
____________. (๒๕๔๘ ข). จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานตามแนว โอเดียนสโตร์.
พระราชดำริ เล่ม ๒ เรื่องจดหมายเหตุจิตรกรรมฝาผนัง สมพันธ์ ขันธะชวนะ. (๒๔๙๖). “ประชาธิปตัยในสมัยสุโขทัย.” ใน นครสุโขทัย,
พระพุทธรัตนสถาน รัชกาลที่ ๙. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง หน้า ๘๑ - ๘๕. [ม.ป.ท.]. (พิมพ์ขึ้นเพื่อหาทุนสร้างอนุสาวรีย์
แอนด์พับลิชชิ่ง. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช).
____________. (๒๕๔๘ ค). จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานตามแนว สมโภชพระพุทธธรรมกายมงคล ปยุรเกศานนท์สุพพิธาน. (๒๕๔๓). ยะลา:
พระราชดำริ เล่ม ๓ เรื่องกระบวนการสร้างสรรค์จิตรกรรม อาทรการพิมพ์.
ฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน รัชกาลที่ ๙. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ สรัสวดี อ๋องสกุล. (๒๕๓๙). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ:
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. โครงการวิชาการ สำนักพิมพ์อมรินทร์.
____________. (๒๕๔๘ ง). พระพุทธรูปปางต่างๆ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร สันติ เล็กสุขุม. (๒๕๔๐). ศิลปะสุโขทัย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
กระทรวงวัฒนธรรม. ____________. (๒๕๔๔). ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การเริ่มต้นและ
____________. (๒๕๕๐). คุณธรรม จริยธรรม ตามรอยพระโพธิสัตว์. กรุงเทพฯ: การสืบเนื่องงานช่างในศาสนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ สารูป ฤทธิ์ชู. (๒๕๒๘). “สภาพการเมืองพัทลุง พ.ศ. ๒๓๑๕ - ๒๔๓๙.” ใน
พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย ประกอบนิทรรศการพิเศษ รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์และโบราณคดีพัทลุง, หน้า
เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ๒ เมษายน ๒๕๕๐ ณ พระที่นั่ง ๑๓๙ - ๑๕๔. ๒๒ - ๒๔ สิงหาคม ๒๕๒๘.
อิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มิถุนายน - สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา
สิงหาคม ๒๕๕๐). นริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (๒๕๔๒). ยอร์ช เซเดส์ กับตะวันออกศึกษา (รวม ดำรงราชานุภาพ. เล่ม ๔. (๒๕๑๕). กรุงเทพฯ: องค์การค้า
บทความแปล). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. ของคุรุสภา.
ส. พลายน้อย. (๒๕๒๗). ความรู้เรื่องตราต่างๆ เล่ม ๑ พระราชลัญจกร. ____________. เล่ม ๕. (๒๕๑๓). พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น. ____________. เล่ม ๑๐. (๒๕๐๔). พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
ส. พลายน้อย, และ ภาวาส บุนนาค. (๒๕๒๒). ตำนานพระชัยวัฒน์ และ ____________. เล่ม ๑๑. (๒๕๐๔). พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
ธัมมานุวัตต์ (ฉบับบันทึกย่อ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์. ____________. เล่ม ๑๔. (๒๕๐๔). พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
ส. ศิวรักษ์. (๒๕๓๒). ปาฐกถาเรื่องแนวคิดทางปรัชญาไทย. กรุงเทพฯ: คณะ ____________. เล่ม ๑๗. (๒๕๑๕). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
กรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา. ____________. เล่ม ๑๙. (๒๕๐๔). พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๕). ประชุมตำนานลานนาไทย. เล่ม ๒. พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี. (๒๕๑๐). ประชุมพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาสมัย
โอเดียนสโตร์. อยุธยา ภาค ๑. พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทาง
สงวน รอดบุญ. (๒๕๔๕). พุทธศิลปลาว. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: สายธาร. ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี.
สงวน อั้นคง. (๒๕๒๙). สิ่งแรกในเมืองไทย. เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา. สำนักราชเลขาธิการ. (๒๕๑๕). ประมวลพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท
(พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๐๒). ที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๑๒
สนอง วัฒนวรางกูร. (2003). พระพุทธรูปและเทวรูปชิ้นเยี่ยม. กรุงเทพฯ: จนถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๓. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ.
โรงพิมพ์กรุงเทพ. (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์. (๒๕๓๙). พระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พิมพ์ในงานพระราชทาน
ด่านสุทธาการพิมพ์. เพลิงศพ มหาเสวกตรี พระยาราชมนตรี (สง่า สิงหลกะ) ณ เมรุ
____________. (๒๕๔๐). พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: วัตถุ- วัดเทพศิรินทราวาส วันพุธที่ ๒๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕).
โบราณ.
____________. (๒๕๔๓). ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารสร้ า งพระพุ ท ธรู ป ล้ า นช้ า ง.
กรุงเทพฯ: สยาม อินเตอร์เนชั่นแนล บุ๊คส์.

๕๓๘ บรรณานุกรม
____________. (๒๕๑๙). เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ. กรุงเทพฯ: สำนักราช- สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. [ม.ป.ป.]. “รายงานการวิจัยพุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบ
เลขาธิการ. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน สงขลาฝั่งตะวันออกสมัยกรุงศรีอยุธยา.” สงขลา: สถาบัน
ในงานพระราชทานเพลิ ง ศพ พระยาอนุ รั ก ษ์ ร าชมณเฑี ย ร ทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
(ก๊าด วัชโรทัย) ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว. ณ วัดเทพศิรินทราวาส สุเนตร ชุตินธรานนท์. (๒๕๓๙). พม่ารบไทย: ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทย
วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๙). กับพม่า. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: มติชน.
____________. (๒๕๒๗). แนวพระราชดำริเก้ารัชกาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. (๒๕๐๐). “พุทธศิลปในประเทศไทย.” ใน ที่ระลึกในการ
คุ รุ ส ภา ลาดพร้ า ว. (ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ พิ ม พ์ ฉลอง ๒๕ ศตวรรษ แห่งพระพุทธศาสนา, หน้า ๓๗ - ๖๒.
พระราชทาน ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์ ม.ร.ว. พระนคร: ศิวพร
อุดมพร เกษมสันต์ ท.ช.,ท.ม. ณ สุสานหลวง วัดเทพศิริน- ____________. (๒๕๐๙). เทวรู ป สั ม ฤทธิ์ ส มั ย สุ โ ขทั ย . พระนคร: คณะ
ทราวาส วันเสาร์ที่ ๒๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๗). โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
____________. (๒๕๒๘ ก). ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ____________. (๒๕๒๑). ศิลปสุโขทัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
กรุงเทพ. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานใน ____________. (๒๕๒๕). สมุดภาพศิลปกรรมวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัด
งานฉลองชนมายุ ค รบ ๖ รอบ สมเด็ จ พระญาณสั ง วร เพชรบุรี. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร วันพฤหัสบดีที่ ๓ ตุลาคม พุทธ- เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.
ศักราช ๒๕๒๘). ____________. (๒๕๓๘). ศิลปะในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพฯ:
____________. (๒๕๒๘ ข). ศิลปกรรมวัดบวรนิเวศวิหาร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
การพิมพ์. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. (๒๕๔๖). เรื่องของพ่อ และรวมบทความทางวิชาการล้านช้าง
ในงานฉลองชนมายุ ค รบ ๖ รอบ สมเด็ จ พระญาณสั ง วร ล้านนา. [ม.ป.ท.]. (จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทาน
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร วันพฤหัสบดีที่ ๓ ตุลาคม พุทธ- เพลิงศพ นายประสม ศรีสำอาง ต.ช., ต.ม. ณ เมรุวัดพระศรี-
ศักราช ๒๕๒๘). มหาธาตุวรวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ๒๗ ตุลาคม
____________. (๒๕๓๑). พระบรมราโชวาท และพระราชดำรัส. กรุงเทพฯ: ๒๕๔๖).
โรงพิมพ์กรุงเทพ. ____________. (๒๕๕๐). เรื่องของแม่ และรวมบทความทางวิชาการ ล้านนา
สำเภากษัตริย์สุลัยมาน. (๒๕๔๕). แปลโดย ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์. กรุงเทพฯ: ล้านช้าง. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์. (จัดพิมพ์เป็นที่ระลึก
ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. (พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๑๗). เนื่องในโอกาสอายุครบ ๗ รอบ (๘๔ ปี) นางแสงทอง ศรีสำอาง
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (๒๕๓๐). บางขุนเทียนส่วนหนึ่งของแผ่นดินไทยและกรุง (นันทรัตพันธุ์) ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐).
รัตนโกสินทร์. (พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ น.ท. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์, ม.ล. (๒๕๓๕). จากหลวงพระบางถึงเวียงจันทน์. กรุงเทพฯ:
สุขุม บุนปาน ร.น.). เมืองโบราณ.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (๒๕๓๕). พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. (พิมพ์รวม สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์, ม.ล., และ ฮันส์ เพนธ์. (๒๕๕๐). พุทธศิลปะในนิกาย
เล่มเดียวจบ ครั้งที่ ๑๔). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. สีหฬภิกขุ พ.ศ. ๑๙๐๐ - ๒๑๐๐. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม
สุเชาวน์ พลอยชุม. (๒๕๓๓). สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนาคารออมสิน. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. (๒๕๓๐). “กลุ่มพระพุทธรูปสี่อิริยาบถในศิลปะสุโขทัย:
สุทธาสินีนาฎ, พระวิมาดาเธอฯ กรมพระ. (๒๔๗๒). จารึกเรื่องสร้างวัด ความหมายทางพระพุทธศาสนาบางประการ.” เมืองโบราณ
นิเวศน์ธรรมประวัติ. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ. (พระ ๑๓ (๓) (กรกฎาคม - กันยายน): ๕๗ - ๖๒.
วิมาดาเธอฯ กรมพระสุทธาสินีนาฎ โปรดให้พิมพ์เป็นมิตรพลี ____________. (๒๕๓๕). พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพฯ:
ขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๔๗๒). สำนักราชเลขาธิการ.
สุธา ลีนะวัต. (๒๕๕๐). “พระพุทธรูปที่นายอัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลีออกแบบ.” สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ, สมเด็ จ พระนางเจ้ า . (๒๕๒๖). ฟาแบร์ เ ช่ .
ใน ประวัติศาสตร์ศิลปะที่ต้องจารึก: รวมบทความวิชาการด้าน กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.
ประวัติศาสตร์ศิลปะเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ รศ.ดร. หวน พินธุพันธ์. (๒๕๑๒). ลพบุรีที่น่ารู้. ลพบุรี: หัตถโกศลการพิมพ์. (พิมพ์ครั้ง
พิริยะ ไกรฤกษ์ - Festschrift for Piriya Krairiksh’s 60th แรก พ.ศ. ๒๕๑๑).
Year, หน้า ๑๓๗ - ๑๕๕. บรรณาธิการโดยวารุณี โอสถารมย์. ____________. (๒๕๑๔). พิษณุโลกของเรา. พิษณุโลก: วิทยาลัยวิชาการ
กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ศึกษา พิษณุโลก.

บรรณานุกรม ๕๓๙
____________. (๒๕๒๑). อุ ต รดิ ต ถ์ ข องเรา. พิ ษ ณุ โ ลก: มหาวิ ท ยาลั ย แผ่นพับ
ศรีนครินทรวิโรฒ.
อ.ป. (๒๕๐๘). พุทธประวัติจากพระโอษฐ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมทาน. พระเหลาเทพนิมิต. (๒๕๔๙). เอกสารแผ่นพับ. อำนาจเจริญ: วัดพระเหลา-
(พิมพ์ครั้งแรก ๒๔๗๙). เทพนิมิต.
อภินันท์ โปษยานนท์. (๒๕๓๕). จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกใน วัดพระพุทธไสยาสน์. (๒๕๔๙). เอกสารแผ่นพับ ข้อมูลโบราณวัตถุสถาน
ราชสำนัก. ๒ เล่ม. กรุงเทพฯ: สำนักพระราชวัง. (จัดพิมพ์ ภายในวัด. เพชรบุรี: วัดพระพุทธไสยาสน์.
เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๑๒ สิงหาคม หลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก. [ม.ป.ป.]. เอกสารแผ่นพับ. สมุทรสาคร: วัดโกรกกราก.
๒๕๓๕). ประวัติพระติ้ว - พระเทียม (พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนครพนม). [ม.ป.ป.].
อรวรรณ ทรัพย์พลอย. (๒๕๓๙). “พระพุทธนิรโรคันตราย.” ศิลปากร ๓๙ (๓) เอกสารแผ่นพับ. นครพนม: วัดโอกาส.
(พฤษภาคม - มิถุนายน): ๗๗ - ๘๓.
อริยกวี, พระ. (๒๕๐๔). ตำนานปางพระพุทธปฏิมาประจำวันชาตา. พระนคร:
วัดจักรวรรดิราชาวาส.
อาคม พัฒิยะ, และ นิธิ เอียวศรีวงศ์. (๒๕๔๕). ศรีรามเทพนคร: รวมความเรียง ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
ว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น. บรรณาธิการโดย นิธิ
เอียวศรีวงศ์. กรุงเทพฯ: มติชน. (พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๒๗) ธรรมะไทย. (2550). [ออนไลน์]. “ทำเนียบวัดไทย: วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม
อารมณ์ ศรีตัญญู. (๒๕๓๐). “การค้นพบพระพุทธรูปประจำจังหวัด ๔ จังหวัด.” จ. นครราชสีมา.” จาก: <http://www.dhammathai.org/
ศิลปากร ๓๑ (๕) (พฤศจิกายน - ธันวาคม): ๖๙ - ๗๒. watthai/northeast/watthepphitak.php>. [พฤษภาคม
อารักษ์ ตั้งวิจิตร. (๒๕๔๕). ประวัติการสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อพระใส. ๒๕๕๐].
อุดรธานี: ภาคอีสานการพิมพ์ (๙๙๙). สรพล โศภิตกุล. (2006). [ออนไลน์]. “หลวงพ่อดี พุทธโชติ วัดเทวสังฆาราม
อุ ร คิ น ทร์ วิ ริ ย ะบู ร ณะ. [ม.ป.ป.]. ๑๐๘ ยั น ต์ ฉบั บ พิ ส ดาร. กรุ ง เทพฯ: อำเภอเมื อ ง จั ง หวั ด กาญจนบุ รี . ” จาก: <http://www.
สำนักงานลูก ส. ธรรมภักดี. kanchanaburi.com/kannews/02130.html>. [กรกฎาคม
อูซานเยง. (๒๕๔๒). “ศึกตะเบงชเวตี้และศึกบุเรงนอง.” ใน พม่าอ่านไทย: ว่า ๒๕๕๐].
ด้วยประวัติศาสตร์และศิลปะไทยในทัศนะพม่า, หน้า ๓๕ - ๖๘.
บรรณาธิการผู้รวบรวม สุเนตร ชุตินธรานนท์. กรุงเทพฯ: มติชน.
เอ. บี. กริสโวลด์. (๒๕๐๗). “ศักราชศิลปะสุโขทัย - คำแนะนำเพื่อการค้นคว้า สัมภาษณ์
ต่อไป.” ใน คำบรรยายสัมนาโบราณคดีสมัยสุโขทัย พ.ศ. ๒๕๐๓,
หน้า ๘๑ - ๑๐๕. (กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในงานเสด็จ ภุชชงค์ จันทวิช. สัมภาษณ์. ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐.
พระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
จังหวัดสุโขทัย วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗).
ฮง นาวานุเคราะห์. (๒๔๗๐). สมุดรูปถ่าย พระพุทธรูปหล่อ. พระนคร:
โรงพิมพ์เดลิเมล์.
ฮันส์ เพนธ์. (๒๕๑๙). คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่. กรุงเทพฯ:
สำนักนายกรัฐมนตรี.
๕๐ ปี วัดไทยพุทธคยา อินเดีย. (๒๕๕๐). กรุงเทพฯ: วัดไทยพุทธคยา. (จัดพิมพ์
เป็ น อนุ ส รณ์ ง านฉลองมหามงคลพุ ท ธารามมหาราชชยั น ตี
วัดไทยพุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ๒๔ -
๓๐ มีนาคม ๒๕๕๐).

๕๔๐ บรรณานุกรม
หนังสือภาษาต่างประเทศ

Agrawala, V.S. (1957). Sarnath. India: Department of Boribal Buribhand, Luang, and Griswold, A.B. (1951).
Archaeology. “Sculpture of Peninsular Siam in the Ayuthya
Aiyappan, A., and Srinivasan, P.R. (1960). Story of Buddhism Period.” The Journal of the Siam Society
with Special Reference to South India. Chennai: XXXVIII: Fig 17.
The Commissioner of Museums, Government _________. (1969). Thai Images of The Buddha. Bangkok:
Museum. The Fine Arts Department.
Allison, Ann Hersey, and Allison, Jane Porter. (2007 / ๒๕๕๐). Brinker, Helmut. (2002). Return of the Buddha. London:
“To Make Good Buddhas for the New Royal Academy of Arts.
Generation.” In ประวัติศาสตร์ศิลปะที่ต้องจารึก: รวม Bunce, Fredrick W. (1997). A Dictionary of Buddhist and
บทความวิ ช าการด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ ศิ ล ปะเนื่ อ งในโอกาส Hindu Iconography: Illustrated. New Delhi: D.K.
เกษียณอายุราชการ รศ.ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ - Festschrift Printworld.
for Piriya Krairiksh’s 60th year, pp. 348 - 385. Bunnag, Tej. (1977). The Provincial Administration of Siam
บรรณาธิการโดย วารุณี โอสถารมย์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ 1892 - 1915. Bangkok: Duang Kamol Book House.
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. Charoenwongsa, Pisit, and Bronson, Bennet. (1988). Prehistoric
Bauer, Christian. (1991). “Notes on Mon Epigraphy.” The Studies: The Stone and Metal Ages in Thailand.
Journal of the Siam Society 79 (1): 31 - 83. Bangkok: The Thai Antiquity Working Group.
Bereau, André. (1955). Les Sectes bouddhiques du petit Chirapravati, Pattaratorn. (2008). “Illustrating the Lives of
véhicule. Paris: École française d’Extrême - Orient. the Bodhisatta at Wat Si Chum.” In Past Lives of
Birnbaum, Raoul. (1979). The Healing Buddha. London: The Buddha, pp. 13 - 40. Edited by Peter Skilling.
Hutchinson Publishing Group. Bangkok: River Books.
Bock, Carl. (1985). Temples and Elephants. Bangkok: White Chou Ta - Kuan. (1992). The Customs of Cambodia. Bangkok:
Orchid Press. The Siam Society.
Boeles, J.J. (1964). “The King of Śri Dvāratī and His Claeys, Par J.Y. (1931). “L’Archéologie du Siam.” Bulletin de
Regalia.” The Journal of The Siam Society LII (1) l’École française d’Extrême - Orient XXXI: 361 -
(April): 99 - 114. 448.
_________. (1967). “A Note on The Ancient City Called Clark, Kenneth. (1960). The Nude A Study of Ideal Art.
Lavapura.” The Journal of the Siam Society LV (1) London: John Murray.
(January): 113 - 115. Coedès, George. (1925). “Documents sur l’histoire politique
Boisselier, Jean. (1955). La Statuaire khmére et son évolution. et religieuse du Laos occidental.” Bulletin de
Saigon: École française d’Extrême - Orient. l’École française d’Extrême - Orient XXV: 1 - 204.
_________. (1963). La Statuaire du Champa. Paris: École _________. (1928). Les Collections archéologiques du Musée
française d’Extrême - Orient. National de Bangkok. Paris et Bruxelles: Les
_________. (1972). “Travaux de la mission archeologique Éditions G. Van Oest.
française en Thailande.” Art Asiatiques XXV: 27 _________. (1939). “Reginal le May: A Concise History of
- 58. Buddhist Art in Siam.” Journal of The Siam
_________. (1975). The Heritage of Thai Sculpture. New York: Society 31 (II): 192 - 201.
John Weatherhill. Crosby, Kate. (2000). “Tantric Theravada: A Bibliographic
Boun Souk, Thao. (1971). L’Image du Buddha dans l’art Lao. Essay on the Writing of Francois Bizot and
Vientiane: L’Inprimerie Nationale. Other Literature on the Yogavacara Tradition.”
Contemporary Buddhism: An Interdisciplinary
Journal 1 (2) (November): 141 - 188.

บรรณานุกรม ๕๔๑
Damrong Rajanuphap, Prince. (1973). Monuments of the Gombrich, Richard. (2003). Theravāda Buddhism A Social
Bhuddha in Siam. Translated by Sulak Sivaraksa History from Ancient Benares to Modern Colombo.
and A.B. Griswold. Bangkok: The Siam Society. London: Routledge. (First published 1988).
Davies, Philip. (1989). Monuments of India Volume Two Griswold, A.B. (1957). Dated Buddha Images of Northern
Islamic, Rajput, European. London: Penguin Book. Siam. Ascona: Artibus Asiae.
De Casparis, J.G. (1967). “The Date of The Grahi Buddha.” _________. (1967). Towards A History of Sukhodaya Art.
The Journal of the Siam Society LV (1) (January): Bangkok: The National Museum, Bangkok.
31 - 40. _________. (1975). Wat Pra Yün Reconsidered. Bangkok:
De Coutre, Jacques. (1988). Aziatische omzwervingen: Het The Siam Society under Royal Patronage.
leven van Jaques de Coutre, een Brugs Griswold, A.B., and a Nagara, Prasert. (1968). “A Declaration
diamanthandelaar. 1591 - 1627. Edited by Johan of Independence and its Consequences; Epigraphic
Verberckmoes, and Eddy Stols. Berchem - Anvers: and Historical Studies, No.1.” The Journal of the
EPO. (Unpublished English translation manu- Siam Society LVI (2) (July): 207 - 250.
script by Philippe Annez). _________. (1970). “Devices and Expedients Văt Pā Mok,
Dhani Nivat, H.H. Prince. (1969). “The City of Thawarawadi 1727 A.D.” In In Memoriam Phya Anuman
Sri Ayudhya.” In Collected Articles by H.H. Prince Rajadhon, pp. 147 - 220. Edited by Tej Bunnag
Dhani Nivat, pp. 51 - 56. Bangkok: The Siam and Michael Smithies. Bangkok: The Siam
Society Under Royal Patronage. (Reprinted From Society.
The Journal of The Siam Society on the occasion _________. (1971). “An Inscription in Old Mòn from Wieng
of his eighty - fourth birthday). Manó in Chieng Mai Province: Epigraphic and
Di Crocco, Virginia McKeen. (2004). Footprints of The Buddhas Historical Studies, No. 6.” Journal of the Siam
of This Era in Thailand. Bangkok: The Siam Society 59 (1) (January): 153 - 156.
Society. Grube, Ernst J. (1966). The World of Islam. New York:
Dupont, Pierre. (1959). L’Archeologie mone de Dvaravati. McGraw - Hill Book.
Paris: École française d’Extrême - Orient. Gutman, Pamela. (2001). Burma’s Lost Kingdoms. Bangkok:
Dutt, Nalinaksha. (1978). Buddhist Sects in India. Delhi: Orchid Press.
Motilal Banarsidass. Henderson and Hurvitz. (1956). The Buddha of Seiryōji.
Fahr - Becker, Gabriele. (1997). Art Nouveau. Köln: Könemann. (Artibus Asiae 19 (1)). Ascona: Artibus Asiae.
Farrington, Anthony. (2001). Early Missionaries in Bangkok. Hiuen Tsiang. (1969). Si - Yu - Ki: Buddhist Records of the
Bangkok: White Lotus Co., Ltd. Western World. Translated by Samuel Beal. Delhi:
Flood, E. Thadeus. (1969). “Sukhothai - Mongol Relations: Oriental Books Reprint Corporation. (First edition
A Note on Relevant Chinese and Thai Sources.” 1884).
The Journal of The Siam Society LVII (2): 203 - 259. Huntington, Susan L. (1985). The Art of Ancient India:
Fournereau, Lucien. (1908). Le Siam ancien. Annales du Musée Buddhist, Hindu, Jain. New York: Weatherhill.
Guimet 31 (2). Ishii, Yoneo. (1986). Sangha, State, and Society: Thai Buddhism
Giteau, Madeleine. (1975). Iconographie du Cambodge post - in History. Translated by Peter Hawkes. Honolulu:
angkorien. Paris: École française d’Extrême - The University of Hawaii Press.
Orient. I - Tsing. (1966). A Record of The Buddhist Religion.
Godakumbura, C.E. (1969). Murals at Tivanka Pilimage. Translated by J. Takakusu. Delhi: Munshiram
Ceylon: Archaeological Department Colombo. Manoharlal.

๕๔๒ บรรณานุกรม
Jayawickrama, N.A. (1968). The Sheaf of Garlands of the _________. (1993). “Jatakas, Universal Monarchs, and The
Epochs of the Conqueror Being a Translation of Year 2000.” Artibus Asiae LIII (3/4): 412 - 448.
Jinakālamālīpakara am of Ratanapañña Thera of _________. (2005). The Kingdom of Siam: The Art of Central
Thailand. London: The Pali Text Society. Thailand, 1350 - 1800. San Francisco: The Asia
Jacques, Claude. (1990). Angkor. Paris: Bordas S.A. Art Museum - Chong - Moon - Lee for Asian Art
Jessup, Helen Ibbitson, and Zéphir, Thierry. (1997). Sculpture and Culture.
of Angkor and Ancient Combodia. Washington: Middleton, Sheila E. Hoey. (2002). “The Third Buddha.”
National Gallery of Art Washington. Journal of the Society for South Asian Studies 18:
Keown, Damien. (2003). Dictionary of Buddhism. New York: 67 - 72.
Oxford University. Mitra, Debala. (1971). Buddhist Monuments. Culcutta: Shri
Knowles, Elizabeth. (2001). The Oxford Dictionary of Quotations. Mahendra Nath Dutt Shishu Sahitya Samsad.
Oxford: Oxford University. (First published 1999). Moore, Elizabeth H. (2007). Early Landscapes of Myanmar.
Krairiksh, Piriya. (1979). The Sacred Image Sculpture from Bangkok: Bangkok Printing.
Thailand. Köln: Museum für Ostasiatische Kunst Munsterberg, Hugo. (1967). Chinese Buddhist Bronzes.
der Stadt Köln. Tokyo: Charles E. Tuttle.
_________. (1985). “New Evidence from Lan Na Concerning Notton, M. Camille (Traduction). (1930). Annales du Siam
the Development of Early Thai Letters and Buddha Volume II: Chronique de La:p’un. Paris: Charles -
Images.” The Siam Society’s Newsletter 1 (3): 8 - 14. Lavauzelle.
_________. (1988 - 1989). “The Repoussé Buddha Images of Pelliot, Paul. (1904). “Deux itineraires de Chine en Inde.”
The Mahā Thāt, Lamphūn.” Artibus Asiae XLIX Bulletin de l’École française d’Extrême - Orient 4:
(1/2): 169 - 184. 130 - 413.
_________. (1997). “A Reassessment of Thai Art of the Penth, Hans. (1976). “Carl Bocks Buddhafiguren aus Fāng.”
Ayutthaya Period.” Oriental Art 8: 14 - 22. Artibus Asiae 38 (2 - 3): 139 - 157.
Kulke, Hermann. (1978). The Devarāja Cult. Data paper _________. (1988 - 1989). “Inscriptions and Images on The
number 108. New York: Southeast Asia Program Phra Mahā Thāt in Lamphūn.” Artibus Asiae
Department of Asian Studies Cornell University. XLIX (3/4): 351 - 370.
Le May, Reginald. (1962). A Concise History of Buddhist Art _________. (1994). Jinakālamālī Index. Chiangmai:
in Siam. Tokyo: Charles E. Tuttle Company. Silkworm Books.
(First edition 1938). _________. (2000). A Brief History of Lan Na: Civilizations
Listopad, John. (1995). The Art and Architecture of The Reign of North Thailand. Second edition. Chiang Mai:
of Somdet Phra Narai. Unpublished Ph.D. Silkworm Books, 2000.
dissertation University of Michigan, Ann Arbor. _________. (2003). Chronology of Religious Events.
Mangrāi, Sao Sāimöng. (1981). The Pā aeng Chronicle and The Unpublished article.
Jengtung State Chronicle Translated. Michigan: _________. (2007 / ๒๕๕๐ ). “Lān Nā Images of Mahākac-
University of Michigan. cāyana.” In ประวัติศาสตร์ศิลปะที่ต้องจารึก: รวมบทความ
Martin, Steven, et al. (2002). Myanmar (Burma). Australia: วิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะเนื่องในโอกาสเกษียณอายุ
Lonely Planet. ราชการ รศ.ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ - Festschrift for Piriya
McGill, Forrest. (1977). The Art and Architecture of The Reign Krairiksh’s 60th year, pp. 236 - 275. บรรณาธิการ
of King Prasatthong of Ayutthaya (1629 - 1656) โดย วารุณี โอสถารมย์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์
Vol. 1. London: University Microfilms International. พับลิชชิ่ง.

บรรณานุกรม ๕๔๓
Quaritch Wales, H.G. (1931). Siamese State Ceremonies. _________. (1997). “The Advent of Theravāda Buddhism to
London: Bernard Quaritch, Ltd. Mainland South - East Asia.” Journal of the
_________. (1973). Early Burma - Old Siam. London: International Association of Buddhist Studies 20
Bernard Quaritch. (1): 93 - 107.
Ramchandran, T.N. (1965). “The Nāgapa i am and Other _________. (2003 - 2004). “Traces of the Dharma.” Bulletin de
Buddhist Bronzes in The Madras Museum.” l’École française d’Extrême - Orient 90 - 91: 273 -
Bulletin of The Madras Government Museum. 287.
New Series - General Section, VII (1). (First _________. (2006). “Jātaka and Paññāsa - Jātaka in South -
edition 1954). East Asia.” The Journal of the Pāli Text Society
Rawski, Evelyn S., and Rawson, Jessica, eds. (2005). China: XXVIII: 113 - 173.
The Three Emperors, 1662 - 1795. London: Snellgrove, David L., ed. (1978). The Image of The Buddha.
Royal Academy of Arts. London: Sirindia Publication and UNESCO.
Ray, Niharranjan. (1936). Sanskrit Buddhism in Burma. Sotheby’s. (1985). Indian, Himalayan, South - East Asian Art
Amsterdam: H.J. Paris. and Indian Miniatures. New York: Sotheby’s.
_________. (2002). Theravada Buddhism in Burma. Bangkok: Soper, Alexander Coburn. (1959). Literary Evidence for Early
The Orchid Press. (First published 1946). Buddhist Art in China. Ascona: Artibus Asiae.
Ray, Niharranjan, et al. (1986). Eastern Indian Bronzes. New Stone, Elizabeth Rosen. (1994). The Buddhist Art of
Delhi: Lalit Kalā Akademi. Nāgārjunako a. New Delhi: Narendra Prakash
Rowland, Benjamin. (1970). The Pelican History of Art. Jain for Motilal Banarsidass Publishers.
Middlesex: Harmondsworth, Penguin Book. Stratton, Carol. (2004). Buddhist Sculpture of Northern
(First edition 1953). Thailand. Chiang Mai: Silkworm Books.
Saisingha, Sakchai. (1999). Les Statues du Buddha de l’école du Suárez, Thomas. (1999). Early Mapping of Southeast Asia.
Lân Nâ. Unpublished Ph.D. dissertation Singapore: Periplus Editions (HK).
University of Paris IV - Sorbonne. Swearer, Donald K. (2004). Becoming The Buddha.
Salmony, Alfred. (1972). Sculpture In Siam. New York: Princeton, NJ: Princeton University Press.
Hacker Art Books. Swearer, K. and Premchit, Sommai. (1978). “The Relationship
San The Aung. (1979). The Buddhist Art of Ancient Arakan. Between the Religious and Political Order in
Rangoon: Department of Higher Education Northern Thailand (14th - 16th Centuries).” In
Ministry of Education. Religion and Legitimation of Power In Thailand,
Sarkar, H. and Nainar, S.P. (1972). Amaravati. New Delhi: Laos, and Burma, pp. 20 - 33. Edited by Bardwell
Archaeological Survey of India. L. Smith. Chambersburg: ANIMA Books.
Satow, Ernest. (1994). A Diplomat in Siam. Bangkok: Orchid Tambiah, S. J. (1977). World Conqueror and World Renouncer.
Press. Cambridge: Cambridge University.
Schroeder, Ulrich Von. (1992). The Golden Age of Sculpture Taw Sein Ko. (1892). The Kalyā ī Inscription King Dhammacetī
in Sri Lanka. Hong Kong: Visual Dharma Pegu, 1476 A.D. Rangoon.
Publication. Terentyev, Andrey. (2007). “Buddha Images - The Sandalwood
Skilling, Peter. (1992). “The Rak ā Literature of the Statue.” National Museum Volunteers Newsletter,
Śrāvakayāna.” Journal of the Pali Text Society, (August 15).
XVI: 109 - 82. Terwiel, Barend Jan, ed. (2003). Engelbert Kaempfer in Siam.
München: Iudicium.

๕๔๔ บรรณานุกรม
Thailand and Portugal. (1982). Lisbon: Calouste Gulbenkian Yamamoto, Tatsuro. (1977). “East Asian Historical Sources
Foundation. for Dvāratī Studies.” In Proceedings Seventh
Thomas, Edward J. (1971). The History of Buddhist Thought. IAHA Conference, Bangkok 22 - 26 August 1977,
New York: Barnes & Noble. pp. 1137 - 1150. Bangkok: Chulalongkorn
Vella, Walter F. (1978). Chaiyo! King Vajiravudh and the University.
Development of Thai Nationalism. Honolulu: Zwalf, W. (1985). Buddhism: Art and Faith. London: British
The University of Hawaii Foundation. Museum Publication.
Vickery, Michael Theoddore. (1977 A). Cambodia After
Angkor: The Chronicular Evidence for the
Fourteenth to Sixteenth Centuries. Two volumes.
Unpublished Ph.D. dissertation Yale University.
_________. (1977 B). “A Lost Chronicle of Ayutthaya.”
Journal of The Siam Society 65 (1) (January): 1 - 80.
_________. (1978). “Review Article: A Guide through Some
Recent Sukhothai Historiography.” Journal of
The Siam Society 66 (2) (July): 182 - 246.
_________. (1979). “A New tā nān about Ayudhya, The
Rise of Ayudhya: A History of Siam in the
Fourteenth and Fifteenth Centuries, by Charnvit
Kasetsiri.” Journal of The Siam Society 67 (2)
(July): 123 - 188.
Von Schroeder, Ulrich. (1990). Buddhist Sculptures of Sri
Lanka. Hong Kong: Visual Dharma Publications.
Winichakul, Thongchai. (1994). Siam Mapped: A History of
the Geo - Body of a Nation. Chiang Mai: Silkworm
Books.
Woodward, Jr., Hiram W. (1975). Studies in the Art of Central
Siam, 950 - 1350 A.D. A Dissertation presented
to the Faculty of the Graduate School of Yale
University in candidacy for Ph.D. degree.
_________. (1979). “The Bayon - Period Buddha Image in
the Kimbell Art Museum.” Archives of Asian Art
32: 72 - 83.
_________. (1997). The Sacred Sculpture of Thailand: The
Alexander B. Griswold Collection. The Walters Art
Gallery. Bangkok: River Books.
_________. (2003). The Art and Architecture of Thailand.
Leiden: Brill.
Wyatt, David K. (1967). “The Thai ‘Ka a Ma iarapāla’ and
Malacca.” The Journal of the Siam Society. LV (2)
(July): 279 - 286.

บรรณานุกรม ๕๔๕
พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
ภาคผนวก

ก. อภิธานศัพท์
ข. ภาพอธิบาย
๑. ราชาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย
๒. องค์ประกอบพระพุทธปฏิมา
๓. เครื่องทรงของพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์
๔. พระพุทธรูปแบบเชียงแสน
๕. พระพุทธรูปอู่ทอง

ค. รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย
(สุโขทัย - อยุธยา - ธนบุรี - รัตนโกสินทร์ - ล้านนา)

ง. แผนที่
๑. แผนที่ประเทศอินเดีย
๒. แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๓. แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงเมืองพระยามหานคร
๔. แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงเมืองลูกหลวง
๕. แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงวงราชธานี

จ. ศักราชสำคัญของพุทธศาสนาและพุทธศิลป์

ภาคผนวก ๕๔๗
ภาคผนวก ก. อภิธานศัพท์

หมวด ก. กระจัง, ลาย ชื่อลายไทยแบบหนึ่ง เขียนโดยอาศัยรูป
สามเหลี่ยมด้านเท่าเป็นกรอบบังคับ
กกุธภัณฑ์ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระราชาธิบดี ขอบด้านข้างมีรอยบากอย่างน้อยข้างละ
ซึ่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัชกาลที่ ๗ หนึ่งรอย ตรงกลางมีไส้ รูปกลีบบัวหรือ
(พ.ศ. ๒๔๖๘) ประกอบด้วย ตาอ้อยขนาดย่อมๆ ซ้อนอีกชั้นหนึ่ง
๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ
๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี
๓. ธารพระกร
๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี)
๕. ฉลองพระบาท
รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์

ลายกระจัง ลายกระจังตาอ้อย

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ กระจังตาอ้อย, ลาย ชื่อลายอย่างหนึ่ง เป็นแม่ลายใช้ประดับ
ตามชั้น ขอบ หรือใช้เป็นองค์ประกอบ
กกุสันธะ, พระ ดู อดีตพุทธะ ของลายขนาดใหญ่

กนิษฐา นิ้วก้อย กลด ร่ม (ใช้เรียกสำหรับเจ้านาย) ขนาดใหญ่
มีด้ามยาว
กโปล, กโบล แก้ม
กะไหล่ วิธีเคลือบโลหะด้วยทองหรือเงิน โดยใช้ปรอท
กร แขน ละลายเงินหรือทอง แล้วทาลงบนโลหะที่
ต้องการเคลือบ จากนั้นใช้ความร้อนไล่
กรรณ หู, ใบหู ปรอทออก

กรรเจียก ดอกไม้ทัด เครื่องทัดหู กัปประ ข้อศอก

กรรเจียกจร, - จอน เครื่องประดับสำหรับทัดหู, จอนหู กัมโพช อาณาจักรในบริเวณภาคกลางตอนล่างของ
ประเทศไทยในปัจจุบัน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละโว้
หรือลพบุรี จากปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ –
ต้น ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 – กลาง 13)
เป็นประเทศราชของอาณาจักรกัมพูชาแต่เป็น
รัฐอิสระในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 – กลาง 14)
กรรเจียกจร
กัมโพชสงฆ์ปักขะ, คณะ คณะสงฆ์กัมโพช ปรากฏชื่อในศิลาจารึกกัลยาณี
กรองศอ สร้อยคอ, สร้อยนวม เป็นนิกายเถรวาทที่เก่าแก่ของมอญ ผสมผสาน
(ดูภาพอธิบาย ๓. เครื่องทรงฯ) คติธรรมและความเชื่อมาจากลัทธิมหายานและ

๕๔๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ตันตระยานของกัมพูชา เป็นนิกายซึ่งเป็นที่นิยม กุดั่นก้านแย่ง, ลาย ชื่อลายชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรูปโครงเป็นตาข่าย
แพร่หลายในแคว้นกัมโพช ในช่วงพุทธศตวรรษ แย่งดอกแย่งก้านกัน
ที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 – กลาง 14)

กัสสปะ, พระ ดู อดีตพุทธะ

ก้านต่อดอก, ลาย

ลายกุดั่นก้านแย่ง

เกยูร สร้อยอ่อน ทองต้นแขน



เกศ, เกศา เส้นผม
ลายก้านต่อดอก
เกตุมาลา พระรัศมีที่เปล่งประกายเหนือพระเศียรของ
กุณฑล ต่างหูขนาดใหญ่ ใช้สอดใส่ในใบหูที่เจาะเป็นรู พระพุทธเจ้า เมื่อทรงบำเพ็ญฌาน
และเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้นจนใบหูยานลงมาถึงไหล่ (ดูภาพอธิบาย ๒. องค์ประกอบพระพุทธปฏิมา)
(สมัยโบราณ) ถ้าเป็นต่างหูขนาดเล็ก
เรียกตุ้มพระกรรณ โกนาคมนะ, พระ ดู อดีตพุทธะ



หมวด ข.

ขนง คิ้ว

กุณฑล ขนด ลำตัวของงู หรือนาคที่ขดเป็นวง

กุดั่น, ลาย ชื่อลายดอกไม้ ๔ กลีบ ที่วางเรียงแถวกันอยู่ ขอม ชาวมอญ หรือชาวมอญ-เขมร
เป็นพืด, ถ้าแยกอยู่ห่าง ๆ เรียกว่า ประจำยาม ที่รับอารยธรรมเขมรจากกัมพูชา (ดู เขมร)
ชาวขอมประกอบด้วยกลุ่มชน ๒ กลุ่มได้แก่
พวกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีและ
พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ซึ่งชนต่างชาติ
เรียกว่า ชาวสยาม (ดู สยาม) ส่วนพวกที่อยู่
ในบริเวณจังหวัดลพบุรีเรียกว่า ชาวกัมโพช
หรือชาวละโว้

ลายกุดั่น

ภาคผนวก ๕๔๙
ขาชนวน ก้าน หรือแท่งโลหะที่ยื่นออกมาจากฐาน เขี้ยวตะขาบ มุมผ้าตอนปลายของชายจีวรหรือชายสังฆาฏิ
พระพุทธรูปเป็นขาๆ เป็นเสมือนฐานพระพุทธรูป ที่ทำเป็นรูปมุมแหลม ๒ แฉก
อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งขาเหล่านี้ก็คือท่อลำเลียงโลหะ
หลอมละลายเข้าสู่แม่พิมพ์ในขั้นตอนของ
การหล่อพระพุทธรูป (ดู ชนวน)

เขนย หมอน

เขมร เป็นคำที่ชาวกัมพูชาใช้เรียกตนเอง
เขี้ยวตะขาบ
แข้งสิงห์, ฐาน บ้างเรียก ฐานสิงห์ (ดู สิงห์)
หมวด ค.

คณะ หมู่ หรือกลุ่ม ซึ่งแยกออกจากส่วนใหญ่อีก
ต่อหนึ่ง เช่น คณะมหานิกาย และคณะ
ธรรมยุติกนิกาย แยกออกจากนิกายเถรวาท
ฐานแข้งสิงห์ เป็นต้น

คันถธุระ การศึกษาพระธรรมวินัยควบคู่กับการปฏิบัติ
วิปัสสนา, การปฏิบัติธรรม

เขียง, ฐาน ฐานรองรับ ที่มีรูปแบบเรียบ คันธารราษฎร์ (๑) ชื่อพระพุทธรูปแบบหนึ่งพระหัตถ์ขวาทรง
ไม่มีลวดลายประดับ กิริยากวัก พระหัตถ์ซ้ายทรงกิริยารองรับ
สำหรับตั้งในพิธีขอฝนและแรกนาเป็นต้น
(๒) ชื่อแคว้นหนึ่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของ
อินเดีย ปัจจุบันอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน

คามวาสี ผู้อยู่ในหมู่บ้าน ใช้เรียกคณะสงฆ์ฝ่ายคันถธุระ
ที่ปฏิบัติธรรมในหมู่บ้านหรือเมือง
(ดู คันถธุระ, อรัญวาสี)

ฐานเขียง
เครื่องทรง ฉลองพระองค์ของพระพุทธรูปทรงเครื่อง
(ดูภาพอธิบาย ๓. เครื่องทรงฯ)


หมวด จ.

จุไร ไรจุก ไรผม

๕๕๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ฉ. ชิวหา ลิ้น


ชินพุทธะ, พระ พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในลัทธิวัชรยาน
ฉวี ผิว
เป็นสัญลักษณ์แห่งขันธ์ทั้งห้า อันประกอบขึ้น

เป็นบุคคล โดยแต่ละพระองค์จะประจำทิศ
ฉลองพระบาท รองเท้า
ได้แก่ ทิศเบื้องบน และทิศทั้งสี่ และมีมุทรา

ประจำองค์ อันได้แก่
ฉลองพระศอ กรองศอ
พระไวโรจนะ (ผู้สว่างไสว) แทนรูป

ทรงแสดงปางหมุนธรรมจักร
ฉัตร เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไป
ประทับในทิศเบื้องบน
เป็นชั้นๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่าชั้นล่าง ลดหลั่น
พระอักโษภยะ (ผู้ไม่หวั่นไหว)
กันไปโดยลำดับ สำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือ
แทนวิญญาณ ทรงแสดงปางสัมผัสธรณี
เชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ
ประทับในทิศตะวันออก

พระรัตนสมภพ (ผู้เกิดจากรัตนะ)

แทนเวทนา ทรงแสดงปางประทานพร
หมวด ช.
ประทับในทิศใต้
พระอมิตาภะ (ผู้มีแสงสว่างเป็นนิรันดร)
ชงฆ์ ขา หรือหน้าแข้ง บริเวณตั้งแต่หัวเข่าด้านหน้า แทนสัญญา ทรงแสดงปางสมาธิ ประทับ
ลงไปจรดข้อเท้า ในทิศตะวันตก
พระอโมฆสิทธิ (ผู้บรรลุสิ่งที่ไม่ใช่ความ
ชนมวาร วาระของการเกิด วันเกิด ว่างเปล่า) แทนสังขาร ทรงแสดงปาง
ประทานอภัย ประทับในทิศเหนือ
ชนมพรรษา อายุ

ชนวน ท่อสำหรับเทโลหะลงในแม่พิมพ์เวลาหล่อ มักจะ หมวด ซ.
ตัดทิ้งเมื่อหล่อเสร็จแล้ว แต่ในกรณีของ

พระพุทธรูปล้านนานิยมทิ้งไว้สำหรับรองรับ
ซุ้มจระนํา ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์
ฐานพระ (ดู ขาชนวน)
มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป


ช่องลม ช่องบนผนังโบสถ์หรือวิหาร ที่เจาะเป็นช่วง ๆ
ซุ้มบัญชร หรือซุ้มบันแถลง ได้แก่หน้าต่าง
ในแนวตั้ง สำหรับให้อากาศถ่ายเท
จำลองเหนือชั้นเชิงบาตร

ใช้ซ้อนลดหลั่นกัน
ชานุ เข่า
เป็นสัญลักษณ์ของ

อาคารที่มีหลายชั้น
ชายแครง ผ้าห้อยทับหน้าขาทั้ง ๒ ข้าง (ดูภาพอธิบาย

๓. เครื่องทรงฯ) ในเครื่องทรงพระพุทธรูปจะ
ประดิษฐ์ชายแครงเป็นลายช่อกนก
ซุ้มบัญชร
ชายไหว ผ้าห้อยหน้าอยู่ในระหว่างชายแครง
(ดูภาพอธิบาย ๓. เครื่องทรงฯ)

ภาคผนวก ๕๕๑
หมวด ด. หมวด ต.

ดอกจัน, ลาย ตถาคต, พระ “ผู้ซึ่งได้มาหรือไปแล้วอย่างนั้น (เช่นเดียวกับ
องค์อื่นๆ)” เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้าในฐานะ
หลักธรรมหรือธรรมกาย อันเป็นหนี่งในตรีกาย
ของพระพุทธองค์ ตามปรัชญาของลัทธิมหายาน
ซึ่งเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีตรีกาย อันประกอบด้วย
ลายดอกจัน (๑) ธรรมกาย คือ กายที่เป็นหลักธรรมไม่
สามารถมองเห็นได้ (๒) สมโภคกาย หรือ
ดอกพุดตาน, ลาย สัมโภคกาย ที่ปรากฏแก่หมู่เทพและ
พระโพธิสัตว์และ (๓) นิรมาณกาย
ที่แสดงออกโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นอกจากนั้นแล้ว พระองค์เป็นเพียงหนึ่งใน
บรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งปรากฏในโลก
และทรงประกาศสัจธรรมอย่างเดียวกันตลอดมา
ลายดอกพุดตาน โดยในความเข้าใจของคนไทยทั่วไปซึ่งนับถือ
พุทธศาสนานิกายเถรวาท พระตถาคต
ดอกพิกุล, ลาย หมายถึงพระสมณโคดม ผู้สถาปนาพุทธศาสนา

ตริภังค์ หักสามส่วน คือการยืนแอ่นสะโพก ไหล่
และศีรษะไปคนละทาง

ตันตระยาน, ลัทธิ “วิถีของคัมภีร์ตันตระ” ซึ่งจำแนกออกเป็น
ลายดอกพิกุล ๔ หมวดได้แก่ กริยาตันตระ จรรยาตันตระ
โยคะตันตระ อนุตระโยคะตันตระ เกิดขึ้น
ดัชนี, ดรรชนี นิ้วชี้ ภายในลัทธิมหายาน ประมาณกลาง
พุทธศตวรรษที่ ๑๒ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7)
ดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นที่ ๒ จากสวรรค์ ๖ ชั้น โดยมุ่งไปที่การบรรลุโพธิญาณของฆราวาส
อันประกอบด้วย จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ผ่านการอภิเษก ซึ่งหมายถึงการรับเข้ามาเป็น
ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี สมาชิก โดยผู้ที่เป็นครูประพรมน้ำศักดิ์สิทธิ์ให้
(ดู ดุสิต) ดาวดึงส์เป็นสวรรค์แห่งเทวดา กับศิษย์ อันเป็นพิธีเดียวกันกับที่พราหมณ์ถวาย
๓๓ พระองค์ อยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็น น้ำศักดิ์สิทธิ์ให้กับผู้ที่จะราชาภิเษกขึ้นเป็น
ศูนย์กลางของจักรวาล มีพระอินทร์เป็นหัวหน้า พระจักรพรรดิ โดยสมมติว่าเป็นน้ำแห่งวิชชา
ซึ่งจะทำให้ศิษย์เป็นจักรพรรดิทางวิญญาณ
ดุน ดันให้เป็นรอยนูนบนแผ่นโลหะ หรือเป็นพุทธขึ้นมาได้ เมื่อได้รับการอภิเษกแล้ว
ครูถึงจะสอนศิษย์ให้แก้ไตรรหัส อันได้แก่ กาย
ดุสิต สวรรค์ชั้นที่ ๔ จากสวรรค์ ๖ ชั้น (ดู ดาวดึงส์) วาจา และจิต ด้วยการทำเครื่องหมายต่างๆ
สวรรค์อันเป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์เมตไตรย ด้วยมือ ได้แก่ มุทรา ท่องมนตร์ และคาถา
ก่อนจะเสด็จมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า (ธารนี) และทำสมาธิโดยมีมณฑล และยันต์
เป็นเครื่องมือในการบำเพ็ญสมาธิ เพื่อให้ตนเอง

๕๕๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
เป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ไตรปิฎก คัมภีร์หลักของพุทธศาสนา เชื่อว่าพระธรรมคํา
รวมทั้งใช้วิธีทางไสยศาสตร์ให้ฆราวาสประสบ สั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ปิฎก หรือ
ความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาด้านทางโลก ๓ หมวด คือ
(ดู วัชรยาน) พระวินัย เรียก วินัยปิฎก
พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก
ตาลปัตร พัดใบตาล มีด้ามยาว สำหรับพระใช้ใน พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ตรีปิฎก
พิธีกรรม เช่นในเวลาให้ศีล ต่อมาอนุโลม
เรียกพัดที่ทำด้วยผ้าหรือไหมซึ่งมีลักษณะ หมวด ถ.
คล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ตาลปัตร
ถัน เต้านม
ตาบข้าง เครื่องประดับรูปทรงข้ามหลามตัด
ประดับสายสังวาลด้านข้าง เถรวาท, นิกาย นิกายที่ ๑๕ จาก ๑๘ นิกายในลัทธิศราวกยาน
(ดูภาพอธิบาย ๓. เครื่องทรงฯ) (ดู ศราวกยาน) เดิมเรียกหีนยาน
แต่นักวิชาการปัจจุบันแยกแยะนิกายเถรวาท
ออกจากนิกายที่พระพุทธเจ้าสถาปนาขึ้น
โดยเรียกนิกายดั้งเดิมเป็นภาษาสันสกฤตว่า
“สถวีรวาท” ส่วนนิกายที่เกิดขึ้นใหม่เมื่อกลาง
พุทธศตวรรษที่ ๔ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๒
ตาบข้าง ก่อนคริสต์กาล) แต่สืบทอดเจตนารมณ์ของ
นิกายดั้งเดิมนั้นเรียกเป็นภาษาบาลีว่า
ตาบทิศ ดู ตาบข้าง “เถรวาท”
ความสับสนเกิดขึ้นจากการที่ทั้ง ๒ คำ
ไตรจีวร ผ้าสามผืนของพระภิกษุ คือ มีความหมายเดียวกัน คือ พระเถระผู้ใหญ่
อันตรวาสก หรือ สบง คือผ้านุ่งของสงฆ์ แต่นิกายเถรวาทเป็นที่แพร่หลาย ในประเทศ
อุตราสงค์ หรือ จีวร ศรีลังกา และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สังฆาฏิ หมายถึงผ้าคลุมกันหนาวที่พระภิกษุ ทุกวันนี้ เป็นนิกายที่เกิดจากจากการนำคติธรรม
ใช้ทาบบนจีวร มักจะพับทบแล้วพาดบนไหล่ซ้าย ของลัทธิมหายานผนวกเข้ากับนิกายสถวีรวาท
เมื่อครองอุตราสงค์ห่มดอง คือเปิดไหล่ขวา (นิกายที่ ๑) ดั้งเดิม จนเกิดเป็นนิกายใหม่ขึ้นที่

(๑) อันตรวาสก หรือสบง (๒) อุตราสงค์ หรือจีวร (๓) สังฆาฏิทาบบนจีวร สังฆาฏิพับพาดบนไหล่ซ้าย

ภาคผนวก ๕๕๓
มหาวิหาร กรุงอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา หมวด ธ.
ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (กลางคริสตศตวรรษ

ที่ 6 – กลาง 7)
ธรรมจักร สัญลักษณ์ของพระธรรม รูปกงล้อของเกวียน
ตามความเข้าใจของคนไทยทั่วไปนั้นยึด
มักจะตั้งบนเสามีหัวเสารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสรองรับ
ตามประวัติพุทธศาสนาที่เป็นองค์ความรู้เก่า
ธรรมจักรเป็นที่นิยมในนิกายเถรวาท เช่นที่มี
ซึ่งถือว่านิกายเถรวาทเป็นนิกายที่พระพุทธเจ้า
จารึกภาษาบาลีที่กงล้อ แต่ธรรมจักรขนาดเล็กมี
ทรงสถาปนาขึ้น (สถวีรวาท หรือนิกายที่ ๑)
กวางหมอบอยู่เคียงข้างเป็นที่นิยมในลัทธิมหายาน
และเป็นนิกายที่ธำรงคติธรรมดั้งเดิม
เช่น ที่ถ้ำอชัญฏา ประเทศอินเดีย และลัทธิ
และสืบทอด ขนบธรรมเนียมการใช้ภาษาบาลี
วัชรยาน ที่กรุงลาซา ประเทศทิเบต
ไว้อย่างเคร่งครัด

ธรรมยุติกนิกาย, คณะ คณะสงฆ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หมวด ท. ทรงสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ (ค.ศ. 1830)
เมื่อครั้งทรงผนวช เน้นที่การปฏิบัติตรงตาม
ทาฐะ, ทาฒะ เขี้ยว พระวินัย โดยมีแบบธรรมเนียมและคำสอนที่
แตกต่างจากคณะมหานิกาย ซึ่งเป็นพระสงฆ์
ทนต์ ฟัน ส่วนใหญ่ในสังคมไทย (ดู มหานิกาย)

ทรงเครื่อง, ทรงเครื่องต้น ฉลองพระองค์ทรงเครื่องต้นของพระเจ้า หมวด น.
แผ่นดินในพระราชพิธี เช่นพระราชพิธี

บรมราชาภิเษก (ดูภาพอธิบาย ๓.
นกคาบ, ลาย ลายประดิษฐ์ที่ใช้นกคาบกนก บ้างเรียก
เครื่องทรงฯ)
กนกนกคาบ


ทองพระกร กำไลแขน

ทองพระบาท กำไลข้อเท้า

ทับทรวง เครื่องประดับหน้าอกรูปข้าวหลามตัด
ประดับตรงจุดไขว้ของสายสังวาล
(ดูภาพอธิบาย ๓. เครื่องทรงฯ)
ลายนกคาบ

เทริด เครื่องประดับศีรษะคล้ายมงกุฎทรงเตี้ย
มีกรอบหน้า นขา เล็บ นพศูล

นครวาสี ดู คามวาสี

นพศูล, นภศูล เครื่องประดับ
ยอดปรางค์
เป็นรูปหอก
ที่มีกิ่งแตกออก
เป็น ๔ ทิศ
ทับทรวง เทริด

๕๕๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


นร, นระ คน, มนุษย์ หมวด บ.

นลาฏ หน้าผาก บั้นพระองค์ บั้นเอว, ช่วงเอวที่คอดลงไป

น่องสิงห์, ลาย ลายชนิดหนึ่งมักประดับส่วนริมขอบ เช่น บัวคว่ำ, ฐาน ฐานที่ประดับด้วยกลีบบัวคว่ำลง
ขอบโต๊ะ กรอบรูป ชายสบง เป็นต้น
บัวแวง บัวกลีบยาวทรงตั้ง

บัวหงาย, บัว ฐานที่ประดับด้วยกลีบบัวหงายขึ้น

บัวจงกล, ลาย บัวสาย ลายบัวกลีบยาว





ลายน่องสิงห์


นาก โลหะผสมแบบหนึ่ง โดยเอาทองคํา เงิน ฐานบัวคว่ำ บัวแวง
กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน

นากชมพูนุช นากที่มีสีเข้มออกแดง (ดู นาก)

นาค งูใหญ่มีหงอน

นาภี สะดือ

ฐานบัวหงาย บัวจงกล
นาสิก จมูก

นิกาย คณะนักบวชในศาสนาลัทธิเดียวกันที่แยกออกไป บาท เท้า
เป็นพวกๆ เช่น ฝ่ายลัทธิมหายานได้จำแนก
ลัทธิศราวกยาน (หีนยาน) ออกเป็น ๑๘ นิกาย บายน ชื่อของแบบศิลปะเขมรในรัชสมัยของ
ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยนับถือนิกายเถรวาท พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๕๗ /
เป็นนิกายหลัก โดยแบ่งการปกครองคณะสงฆ์ 1181 - 1214)
ออกเป็น ๒ คณะ ได้แก่ คณะมหานิกาย
และคณะธรรมยุติกนิกาย บุ ตีให้เข้ารูป, เอาของบางๆ หุ้มข้างนอก,
เอาของรองข้างใน
เนตร ตา

ภาคผนวก ๕๕๕
บุคลาธิษฐาน การนำสิ่งที่เป็นนามธรรมมาอธิบาย หมวด ป.
โดยใช้บุคคลเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อแทนสิ่งที่เป็น

รูปธรรม เช่น เมื่อเปรียบเทียบกิเลสเป็น
ปฐมพุทธะ, พระ ดู อาทิพุทธะ
พญามาร เป็นต้น ในกรณีลัทธิมหายานและ

ตันตระยานจะใช้เทพเจ้าและพระโพธิสัตว์ต่างๆ
ปรัศว์ สีข้าง
เป็นบุคลาธิษฐานเพื่อเป็นเครื่องมือในการ

ภาวนา และบำเพ็ญสมาธิ
ประคำ, ลาย ลายไข่ปลา




ลายประคำหรือลายไข่ปลา

ประจำยาม, ลาย ลายดอกสี่กลีบในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส





บุษบก

บุษบก มณฑปขนาดย่อม โปร่งทั้งสี่ด้านใช้เป็นที่ประทับ
สำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี หรือเป็น
อาคารขนาดย่อมที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุ
เช่น พระพุทธรูป หรือสถูป

ใบระกา เครื่องประดับหลังคา บริเวณหน้าจั่ว
ลายประจำยาม
เป็นปูนปั้นหรือไม้สลักรูปครีบ ติดบนตัว
นาคลำยอง ระหว่างช่อฟ้าถึงหางหงส์
ประติมานิรมาณวิทยา การศึกษาลักษณะรูปภาพ (Iconography)
การพิสูจน์ การอธิบาย การแยกประเภท และ
การตีความสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในภาพ
บ้างเรียกว่า ประติมานวิทยา

ประทับ นั่ง

ประภามณฑล, ประภาวลี แสงที่สว่างเรืองรองอยู่รอบองค์
พระพุทธเจ้าหรือเทพ
ใบระกา

โบสถ์ ดู อุโบสถ

๕๕๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ปราสาท ที่อยู่ของกษัตริย์หรือเทพ ปัทมาสน์ ฐานบัวที่รองรับพระพุทธรูป
เดิมในสถาปัตยกรรมอินเดีย
หมายถึงอาคารที่ตั้งบนฐานสูง ปั้นเหน่ง หัวเข็มขัด
ต่อมาหมายรวมถึงอาคารหลายชั้น
ในสถาปัตยกรรมไทยได้แก่อาคาร ปาละ – เสนะ ชื่อแบบศิลปะอินเดียที่สร้างขึ้นช่วงที่
ที่มียอดสูงประกอบด้วยซุ้มบัญชร ราชวงศ์ปาละ และเสนะปกครองแคว้น
หรือบันแถลง ซ้อนลดหลั่นกัน พิหาร เบงกอล และบริเวณประเทศ
บังกลาเทศในปัจจุบัน ช่วงประมาณ
พ.ศ. ๑๒๙๓ – ๑๗๗๓ (ค.ศ. 750 - 1230)

หมวด ผ.

ผ้าทิพย์ เป็นผ้าสมมุติบนฐานพระพุทธรูป
แทนชายผ้ารองนั่งของพระสงฆ์
และทิ้งชายผ้าลงหน้าอาสนะ
มักประดับลวดลาย

ปราสาท

ปฤษฎางค์ หลัง

ปลียอด ยอดเหนือชั้นบัวกลุ่มของสถูปและปราสาท
ซึ่งมีลักษณะคล้ายปลีกล้วย

ปัทม์, ฐาน ฐานที่ประกอบด้วยหน้ากระดาน ผ้าทิพย์
บัวคว่ำ และบัวหงาย

หมวด ฝ.

ฝ่าย พวก, ข้าง ในที่นี้เป็นกลุ่มสงฆ์ที่แยกออก
จากคณะ เช่น ลัทธิศราวกยาน นิกายเถรวาท
คณะมหาวิหาร จะแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย
ฐานปัทม์ อันได้แก่ ฝ่ายอรัญวาสี และฝ่ายคามวาสี


ภาคผนวก ๕๕๗
หมวด พ. สร้างเลียนแบบสืบต่อมา ตามประเพณีนิยม
ของไทยจะจำลองจาก “พระพุทธรูป” ต้นแบบ
พญาชมพูบดี กษัตริย์องค์หนึ่งในยุคพุทธกาลที่ทะนงตน ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญในแต่
จึงได้ไปแสดงฤทธิ์เพื่อประทุษร้ายต่อ บริบทของท้องถิ่นและลัทธิความเชื่อ
พระเจ้าพิมพิสาร แต่ด้วยอานุภาพของ โดยจะจำลองหรือสร้างพระพุทธปฏิมาให้มี
พระพุทธเจ้าได้ปกป้องพระเจ้าพิมพิสารไว้ได้ พุทธลักษณะใกล้เคียงกับ “พระพุทธรูป”
พระพุทธองค์จึงออกอุบายแสดงองค์เป็น ที่เป็นองค์ต้นแบบมากที่สุด (ดู พระพุทธรูป)
พระเจ้าราชาธิราชโดยฉลองพระองค์เป็น
พระจักรพรรดิราช และได้แสดงธรรมต่อ พระปริต พระสูตรที่รวบรวมขึ้นจาก มุททกปาฐะ
พญาชมพูบดี จนพญาชมพูบดีดวงตาเห็นธรรม ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก ใช้สวดเพื่อปกป้อง
จึงออกผนวช และบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด จากโรคันตรายและภัยพิบัติทั้งปวง นิยมสวด
ตำนานเกี่ยวกับพญาชมพูบดีเป็นฐานคติสำคัญ พระปริตพร้อมกับทำน้ำพระพุทธมนต์
ในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง เพื่อพรมศีรษะให้เกิดสวัสดิมงคลและปกป้อง
ฉลองพระองค์ จากภัยพิบัติ

พนัสบดี ตามทฤษฎีของธนิต อยู่โพธิ์ ได้แก่ สัตว์ที่เกิดขึ้น พลอยนพเก้า พลอย ๙ อย่าง บ้างเรียก นพรัตน์ หรือ
โดยการผสมผสานกันของสัตว์พาหนะของ พลอยนพรัตน์ ประกอบด้วย เพชร ทับทิม
เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ โคนนทิ มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย
(พระศิวะ), พญาครุฑ (พระนารายณ์), และหงส์ และไพฑูรย์
(พระพรหม) มีลักษณะว่าปากเป็นครุฑ
มีเขาเหมือนโค มีปีกเป็นหงส์ พังพาน คองูเมื่อแผ่ออก หรือแม่เบี้ย

พระกริ่ง พระเครื่องทำด้วยโลหะ ข้างในทำกลวงแล้ว พุทธลักษณะ ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้า
บรรจุก้อนโลหะไว้ภายใน
เมื่อเขย่าจะมีเสียงดังกรุกกริก พุ่มข้าวบิณฑ์, ลาย ชื่อลายมาจากรูปทรงของข้าวตอกปั้น
เป็นรูปคล้ายดอกบัวตูม
พระพุทธรูป รูปแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ
ปฏิมากรรม รูปเคารพพระพุทธเจ้า ซึ่งเชื่อกัน
ว่าเป็นองค์แรกหรือองค์ต้นแบบ และยึดถือ
ว่า พระพุทธรูปนี้มีพุทธลักษณะเหมือนกับ
พระพุทธเจ้าขณะที่ดำรงพระชนม์ชีพ โดยมาก
แล้วพระพุทธรูปจะมีความสำคัญและความ
ศักดิ์สิทธิ์ตามบริบทของท้องถิ่นและลัทธิ
ความเชื่อ โดยศาสนิกที่ศรัทธาจะนิยม
จำลองพระพุทธรูปองค์ต้นแบบโดยสร้างเป็น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์
“พระพุทธปฏิมา” หรือองค์จำลองเพื่อบุญกุศล
พักตร์ ใบหน้า
และสืบทอดพระศาสนา (ดู พระพุทธปฏิมา)


พาหุรัด เครื่องประดับสวมรัดต้นแขน หรือกำไลต้นแขน
พระพุทธปฏิมา รูปจำลองของพระพุทธรูป อันเป็นปฏิมากรรม

รูปเคารพพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นองค์ที่จำลองหรือ
พาหา แขนท่อนบนตั้งแต่หัวไหล่ถึงข้อศอก

๕๕๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย
โพธิสัตว์, พระ ในนิกายเถรวาท หมายถึงพระพุทธเจ้าในชาติ มงกุฎ เครื่องสวมพระเศียรพระมหากษัตริย์ มียอดสูง
ก่อนๆ และเจ้าชายสิทธัตถะก่อนที่จะตรัสรู้
แต่ในลัทธิมหายาน หมายถึงผู้ที่กำลังบำเพ็ญ
บารมี ๑๐ ประการ เพื่อบรรลุศูนยตาหรือ
สุญตา ซึ่งไม่ประสงค์จะหลุดพ้น ด้วยเพราะ
ความกรุณาที่ต้อง การช่วยเหลือสรรพสัตว์
ให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ

เพลา ขา, ตัก, ช่วงขาตั้งแต่เข่าถึงโคนขา

หมวด ฟ.

เฟื่องข้าง เครื่องประดับประเภทห้อยโยง ประดับอยู่
บริเวณชายโครงข้างลำตัว ห้อยจากทับทรวงถึง
ตาบหลัง (ดูภาพอธิบาย ๓. เครื่องทรงฯ)
มงกุฎ

หมวด ภ.
มณฑล วง, เขต, บริเวณ
ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา, พระ พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งของลัทธิมหายาน
มีหน้าที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บ มีประภามณฑลหรือ มหากัจจายนะ, พระ เดิมเป็นฉายาหรือชื่อที่ใช้ในการบวชของ
แสงรอบพระวรกายสีน้ำเงิน หรือสีแก้วไพฑูรย์ พระภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียใต้รูปหนึ่ง มีชีวิตอยู่ใน
ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๐ – กลาง ๑๑
หมวด ม. (คริสต์ศตวรรษที่ 5) เป็นผู้แต่งไวยากรณ์
ภาษาบาลีเล่มแรก ต่อมากลายเป็นฉายา
มกุฎ กรวยสวมพระเมาลี พระสาวกที่มีชื่อเสียงทางเผยแพร่พุทธศาสนา
(จุกหรือมวยผม) และมีรูปงาม เล่ากันว่ามีสตรีผู้หนึ่งหลงรักท่าน
และใช้ครอบพระเมาลี (อุษณีษะ) ท่านจึงอธิษฐานขอให้อ้วนเตี้ย และมีพระอุทร
ในพระพุทธรูปแบบบายนของ หรือพุงพลุ้ย (ดู สังกัจจายน์)
กัมพูชา (ดู บายน)
มหาทักษา เป็นคัมภีร์ในทางโหราศาสตร์ที่ว่าด้วย
การเสวยอายุของพระเคราะห์ทั้ง ๘
หรืออัฐเคราะห์ตามผังทักษา โดยตีความจำนวน
กำลังพระเคราะห์เป็นจำนวนปีที่พระเคราะห์นั้น ๆ
จะเข้ามาครองหรือเสวยอายุ อันเป็นช่วงเวลาที่
มกุฎ พระเคราะห์นั้นจะมีอิทธิพลต่อชีวิตนั่นเอง
พุทธศาสนิกชนไทยได้นำมาปรับใช้เข้ากับ
คติการบูชาพระพุทธปฏิมาประจำวัน

มหานิกาย, คณะ คณะใหญ่ ได้แก่พระสงฆ์ในคณะสยามนิกาย
ที่สืบทอดลงมาจากครั้งสมัยอยุธยา

ภาคผนวก ๕๕๙
เป็นคณะใหญ่ที่มีพระภิกษุใต้สังกัดมากที่สุด ๑ มุทรา กิริยาอาการของพระหัตถ์, ปาง
ใน ๒ คณะ ปัจจุบัน ซึ่งอีกคณะหนึ่งได้แก่
คณะธรรมยุติกนิกาย (ดู ธรรมยุติกนิกาย) มูลสรรวาสติวาส, นิกาย นิกายนี้แยกออกจากนิกายสรรวาสติวาส
ลัทธิศราวกยาน เมื่อประมาณกลางพุทธ
มหายาน, ลัทธิ ลัทธิที่ยึดคติความเชื่อในพระสูตรมหายาน เช่น ศตวรรษที่ ๑๒ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7)
ปรัชญาปารมิตาสูตร และ สัทธรรมปุณฑริกสูตร พระวินัยของนิกายนี้ได้สืบทอดไปเป็นพระวินัย
เน้นที่ความกรุณาและปรัชญา อันเป็นการปฏิบัติ ของคณะสงฆ์ในทิเบต
ตามบารมี ๑๐ ประการของพระโพธิสัตว์
หรือการถวายภักติต่อพระองค์ ลัทธิมหายาน เมตไตรย, พระ เมตฺเตยฺย (บาลี) หรือ ไมเตรย (สันสกฤต)
เชื่อว่า พระพุทธเจ้าประกอบด้วยตรีกาย ได้แก่ พระอนาคตพุทธะ ปัจจุบันเป็นพระโพธิสัตว์
อันได้แก่ ธรรมกาย สมโภคกาย และนิรมาณกาย ประทับทำสมาธิบนสวรรค์ชั้นดุสิต คอยที่จะ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นเพียงนิรมาณกาย เสด็จลงมาจุติ และเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป
ลัทธิมหายานนั้นแบ่งออกเป็น ๒ นิกายหลัก คือ (ดู ศรีอริยเมตไตรย, ศรีอาริย์)
มาธยมิกะ ของท่านนาคารชุน และ โยคาจารย์
ของท่านวสุพันธุและท่านอสังคะ เมาลี ผมจุก มวยผมบนกระหม่อม ไทยใช้เรียกแทน
อุษณีษะ (ดู อุษณีษะ)
มหาบุรุษลักษณะ มหาปุริสลักษณะ (บาลี) หมายถึงลักษณะของ
มหาบุรุษ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ แม่ธรณี, พระ สตรีซึ่งเป็นบุคคลาธิษฐานหรือสัญลักษณ์ของ
(อวัยวะส่วนปลีกย่อย) อีก ๘๐ ประการ แผ่นดิน พระพุทธเจ้าทรงเรียกให้เป็นพยานว่า
ที่กล่าวถึงในคัมภีร์ของลัทธิมหายาน พระองค์ได้ทรงสั่งสมพระบารมีเพียงพอที่จะ
ตรัสรู้ได้ในชาติภพนี้ แม่พระธรณีจึงบีบมวยผม
มหาสังฆิกะ, นิกาย นิกายในลัทธิศราวกยาน ซึ่งแยกตัวออกจาก หลั่งน้ำที่พระพุทธองค์ทรงเคยหลั่งเมื่อบำเพ็ญ
นิกายสถวีรวาท โดยเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามิใช่เป็น พระบารมีในชาติก่อนๆ น้ำดังกล่าวได้ท่วมทับ
เพียงผู้สถาปนาพุทธศาสนา แต่เป็นพุทธภาวะที่ พญามารและเหล่าไพร่พลอันเป็นบุคลาธิษฐาน
ดำรงอยู่ตลอดไป นิกายมหาสังฆิกะเป็นต้น ของกิเลสให้หมดสิ้น (ดู บุคลาธิษฐาน)
ความคิดของลัทธิมหายาน

มังสา เนื้อ

มัชฌิมา นิ้วกลาง

มัญชุศรี, พระ พระมหาโพธิสัตว์ของลัทธิมหายาน ทรงเป็น
บุคลาธิษฐานของปรัชญา (ดู บุคลาธิษฐาน)

มัสสุ หนวด มุขเด็จ

มุขเด็จ มุขโถงที่ยื่นออกมาจากด้านหน้าของปราสาท
สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จออกมหาสมาคม

๕๖๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หมวด ย. หมวด ร.

ยอดเดินหน, มงกุฎ รักร้อย, ลาย



รักร้อยกลีบบัว, ลาย





ยอดเดินหน

ลายรักร้อย ลายรักร้อยกลีบบัว

ยอดน้ำเต้า, มงกุฎ
รัดประคด เข็มขัดเชือกเพื่อรัดสบงหรือผ้านุ่งของภิกษุสงฆ์

รัดพระองค์ สายเข็มขัดมักทำจากโลหะมีค่า (ดูภาพอธิบาย
๓. เครื่องทรงฯ)
ยอดน้ำเต้า
รัศมี แสงสว่างหรือเปลวแสงที่เปล่งออกมาเหนือ
ย่อมุมไม้สิบสอง การแตกมุมใหญ่ให้เป็นมุมย่อย มักแตกมุม พระเมาลี หรือพระอุษณีษะ เมื่อพระพุทธเจ้า
เป็นเลขคี่ เช่น แยกเป็นสามในแต่ละมุม ทรงบำเพ็ญฌาน (ดูภาพอธิบาย ๒. องค์
และเรียกจำนวนย่อไม้ทั้งสี่มุม เป็นชื่อจำนวนมุม ประกอบพระพุทธปฏิมา)
ย่อที่เกิดขึ้นทั้งหมดรวมกัน
รามัญ มอญ, ชาวมอญ

เรือนแก้ว ซุ้มรอบองค์พระพุทธรูป

ย่อมุมไม้สิบสอง
เรือนแก้ว

ภาคผนวก ๕๖๑
เรือนธาตุ ส่วนของอาคาร เช่น สถูป หรือ ปรางค์ ที่บรรจุ ไรพระศก ไรผม ในการสร้างพระพุทธรูปบางแบบจะทำ
พระบรมสารีริกธาตุ เป็นกรอบนูนเหนือพระนลาฏ


หมวด ล.

ลงยา การลงสีด้วยการใส่สารเคมีลงในบริเวณที่เป็น
ร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้
ความร้อนอบให้นํ้ายาติดและให้พื้นเป็นสีต่างๆ

ลงยาราชาวดี การลงยาสีฟ้า (ดู ลงยา)


ลวดบัว, ลาย
เรือนธาตุ



ลายลวดบัว





ลัทธิ คติความเชื่อ หรือความคิดเห็นในศาสนาเดียวกัน
แต่มีความแตกต่างกัน เช่น ลัทธิศราวกยาน
ลัทธิมหายาน และลัทธิตันตระยาน เป็นต้น

ลูกแก้วอกไก่, ลาย




ลายลู
กแก้วอกไก่
เรือนธาตุ

๕๖๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ลูกบวบ ชายจีวรที่ถูกม้วนเป็นลูก เกิดจากวิธีการนุ่งห่ม วัชรยาน, ลัทธิ “วิถีของวัชระ” เป็นชื่อที่เรียก “ตันตระยาน”
โดยจะใช้มือซ้ายจับเอาไว้เพื่อไม่ให้จีวรคลาย (ดู ตันตระยาน) โดยเรียกตามวัชระ (ดู วัชระ)
ตัวออก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งประดุจ
เพชรของโพธิ ที่ไม่มีวันสิ้นสลาย ความเป็น
หนึ่งเดียวของมายา และศูนยตา กรุณา
และปรัชญา

วัชรสัตว์พุทธะ, พระ พระนามที่ศิลาจารึกเขมรเรียกพระอาทิพุทธะ
หรือพระปฐมพุทธของลัทธิตันตระยาน ซึ่งเป็น
พระพุทธเจ้าองค์ที่หก ผู้ประทานกำเนิดแก่
ลูกบวบ พระปาญจสุคต หรือพระชินพุทธะ ๕ พระองค์
(ดู ชินพุทธะ)

วัชระ อาวุธของพระอินทร์ เป็นสัญลักษณ์ของ
ความจริงสูงสุด สามารถทำลายอวิชชาทั้งหลายได้
ในลัทธิตันตระยานเป็นเครื่องมือที่พระภิกษุถือ
ในมือขวาเวลาทำวัตร เป็นสัญลักษณ์ของปัญญา
ลูกฟัก, ลาย ส่วนมือซ้ายถือ ฆณฺฏา (กระดิ่ง) สัญลักษณ์
ของอุบาย

วัชระ
ลายลูกฟัก

หมวด ว.
วิปัสสนากรรมฐาน การฝึกจิตหรือการทำสมาธิ ให้เกิดปัญญารู้แจ้ง
วงราชธานี การแบ่งเขตพื้นที่การปกครองของ บ้างเรียกว่าการเจริญวิปัสสนา หรือวิปัสสนาธุระ
กรุงศรีอยุธยา เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยสมเด็จ
พระนเรศวรจนกระทั่งเสียกรุงครั้งที่ ๒ วิหาร อาคารที่ประชุมสงฆ์ มีพระพุทธรูปเป็นองค์
(พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๓๑๐ / ค.ศ. 1590 – 1767) ประธาน แต่ต่างจากพระอุโบสถตรงที่
ประกอบด้วยหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี จัตวา พระวิหารจะอาจใช้ประกอบสังฆกรรมอย่างเช่น
โดยมีศูนย์กลางอำนาจการปกครองคือ การทำวัตรเช้าเย็น การเทศนาธรรม โดยวิหาร
กรุงศรีอยุธยา เรียกพื้นที่ศูนย์กลางนี้ว่า จะไม่ใช้ประกอบสังฆกรรมสำคัญที่บัญญัติใน
เขตวงราชธานี เรียกการปกครองของ พระวินัยให้กระทำในพระอุโบสถ เช่น
อาณาจักรอยุธยาในสมัยนี้ว่า ช่วงวงราชธานี การอุปสมบท หรือการสวดปาติโมกข์ทุก
(ดูแผนที่ ๔. แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงวงราชธานี) วันพระใหญ่ (ดู อุโบสถ)


ภาคผนวก ๕๖๓
หมวด ศ. ศิราภรณ์ เครื่องประดับพระเศียร


ศิลา หิน
ศก ผม, เส้นผม


เศวตฉัตร ฉัตรสีขาว สัญลักษณ์ของพระราชา
ศราวกยาน, ลัทธิ “วิถีของผู้สดับฟัง” เป็นลัทธิที่ปัจจุบันใช้เรียกแทน

“หีนยาน” อันได้แก่กลุ่มที่มีการสืบทอด
เศียร หัว, ศีรษะ
คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดยที่มีจุดมุ่งหมายจะบรรลุอรหันต์ และนิพพาน
ศร ธนู


ศรีอริยเมตไตรย, พระ พระนามที่นิกายเถรวาทเรียกพระอนาคต-
พุทธะ (ดู เมตไตรย, ศรีอาริย์)


หมวด ส.
ศรีอาริย์, พระ พระนามย่อที่นิกายเถรวาท เรียกพระอนาคต-
พุทธะศรีอริยเมตไตรย ในความเชื่อของ สถวีรวาท, นิกาย นิกายดั้งเดิมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
พุทธศาสนิกชนไทยแต่เดิมมา เชื่อว่ายุคที่ สถาปนาขึ้น (ดู เถรวาท)
พระศรีอาริย์จะตรัสรู้และโปรดสัตว์โลก
หรือที่เรียกว่ายุคพระศรีอาริย์ จะเป็นยุคแห่ง สนับเพลา กางเกงมีขนาดยาวประมาณครึ่งแข้ง
ความดี ความเจริญ และความสมบูรณ์พูนสุข
สบง ผ้านุ่งสำหรับพระภิกษุสามเณร (ดู ไตรจีวร)
ศอ คอ, ลำคอ
สมณโคดม, พระ พระนามที่นิกายเถรวาท
ศากยมุนี, พระ พระนามที่ลัทธิมหายานเรียกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าผู้สถาปนาพระพุทธศาสนา
ศาสนาสิงหล คำที่ตำนานต่างๆ เรียกนิกายเถรวาท
คณะมหาวิหาร ฝ่ายอรัญวาสี (ดู สีหฬภิกขุ)
สยาม คำนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในศิลาจารึกจามเมื่อ
ศิรจักร แสงสว่างรอบเศียรพระพุทธเจ้าหรือเทพเจ้า ปี พ.ศ. ๑๕๙๓ (ค.ศ. 1050) และจารึกปราสาท
นครวัด กัมพูชา ช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่
๑๗ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12)
หมายถึง ผู้ที่มีผิวดำ สยามเป็นคำที่ชาวต่างชาติ
ใช้เรียกผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี
ศิรจักร
และพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ซึ่งเป็น
ชาวขอม (ดู ขอม) หรือชาวมอญ หรือชาวมอญ –
เขมร ที่รับอารยธรรมเขมรจากกัมพูชา ต่อมา
ใช้เป็นชื่อเรียกรัฐไทยและชนชาติไทย

สยามนิกาย, คณะ นามที่ภิกษุลังกา เรียกคณะสงฆ์อยุธยา
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
(พ.ศ. ๒๒๗๖ – ๒๓๐๑ / ค.ศ. 1733 – 1758)
บ้างเรียกว่า นิกายสยามวงศ์

๕๖๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


สรรวาสติวาส, นิกาย นิกายหนึ่งในศราวกยาน ที่แยกออกจากนิกาย โดยทรงเดินจงกรมพิจารณาสัตว์โลกที่จะ
สถวีรวาท เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๓ โปรดอยู่ ๗ วัน
(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์กาล) (๔) รัตนฆรเจดีย์ หรือเจดีย์เรือนแก้วหรือ
มีพระไตรปิฎก และอรรถกถาเป็นภาษา เจดีย์แห่งอาคารที่ประดับด้วยเพชรพลอยที่เทวดา
สันสกฤต เป็นนิกายที่ริเริ่มการบำเพ็ญบารมี นำมาถวาย โดยทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้ว
ของพระโพธิสัตว์ และเป็นนิกายที่เจริญ นั้นถึง ๗ วัน
รุ่งเรืองอยู่ในแคว้นคันธารราษฎร์ (๕) อชปาลนิโครธเจดีย์ เป็นต้นไทรของ
ผู้เลี้ยงแพะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ในช่วงที่
สรีระ ร่างกาย ธิดาพญามารมาผจญอยู่ ๗ วัน
(๖) มุจลินทเจดีย์ หรือราชาแห่งต้นจิกหรือ
สรีรางคาร เถ้าอัฐิที่เหลือจากการฌาปนกิจศพ ต้นมุจละ โดยครั้งที่พระพุทธองค์ทรงประทับ
บำเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นจิกหรือต้นมุจละ เมื่อฝน
สังกัจจายน์, พระ พระนามที่ชาวไทยสมัยรัตนโกสินทร์เรียก ตกลงมา พญานาคมุจลินท์ได้ขดล้อมแล้วแผ่
พระมหากัจจายนะ สืบเนื่องมาจากได้มีการ พังพานเป็นร่มกันฝนให้พระองค์ตลอด ๗ วัน
ค้นพบรูปพระมหากัจจายนะที่วัดร้างแห่งหนึ่ง (๗) ราชายตนะเจดีย์ หรือที่อยู่แห่ง
ในธนบุรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระ พระราชา พระพุทธองค์เสวยวิมุตติผล-
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเมื่อได้บูรณะ สมาสมบัติ ประทับอยู่ใต้ต้นเกดหรือ
ปฏิสังขรณ์ วัดร้างแห่งนี้ขึ้นใหม่แล้ว ต้นราชายตนะ มีพระอินทร์มาถวายสมอทิพย์
จึงเรียกว่า วัดสังกัจจายน์ ตามชื่อรูป และพ่อค้าสองคนชื่อตปุสสะและภัลลิกะถวาย
พระภิกษุนาม กัจจายนะ (ดู มหากัจจายนะ) ข้าวมธุปิณฑิกา ซึ่งขณะนั้นพระพุทธเจ้ายังไม่มี
บาตร ท้าวจตุโลกบาลจึงถวายบาตรแด่
สังฆาฏิ ผ้าคลุมสำหรับพระสงฆ์สำหรับห่มกันหนาว พระพุทธองค์ และขอรับเป็นอุบาสกคู่แรก
และมักจะพับเป็นแถบใช้พาดบ่า ของโลก พระพุทธเจ้าจึงทรงลูบพระเศียรและ
ประทานพระเกศาแก่พ่อค้าทั้งสอง
สังวาล สายสร้อยอันเป็นเครื่องประดับใช้คล้องเฉวียงบ่า
สัมมาสัมพุทธเจ้า, พระ พระนามที่นิกายเถรวาท
สัตตมหาสถาน สถานที่สำคัญ ๗ แห่ง หรือการจำลองสถานที่ เรียกพระพุทธเจ้าองค์ผู้สถาปนาพระพุทธศาสนา
สำคัญ ๗ แห่งที่เกี่ยวกับพระพุทธประวัติช่วง
๗ สัปดาห์หลังจากที่ทรงตรัสรู้ ประกอบด้วย สัมมิตียะ, นิกาย นิกายหนึ่งใน ๑๘ นิกายของลัทธิศราวกยาน
(๑) โพธิบัลลังก์ หรือบัลลังก์แห่งต้นโพธิ์ ปรากฏขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๕
เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ประทับที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑ ก่อนคริสต์กาล)
หลังจากตรัสรู้ต่ออีก ๗ วัน รุ่งเรืองในแถบเมืองสารนาถ ประเทศอินเดีย
(๒) อนิมิสสเจดีย์ พระพุทธเจ้าทรงยืน
พิจารณาเพ่งดูต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระองค์ได้ใช้ สัมฤทธิ์ โลหะผสมชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วย
ประทับจนบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ โดยทรง ทองแดงกับดีบุก บ้างสะกดว่า สำริด
ยืนพิจารณาจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ของต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยมิได้กระพริบ สาทิสลักษณ์ ภาพเขียนเหมือนบุคคลจริง
พระเนตรอยู่ถึง ๗ วัน
(๓) รัตนจงกรมเจดีย์ หรือเจดีย์ที่ทรง
เดินจงกรมอันประดับด้วยรัตนะอันมีค่า

ภาคผนวก ๕๖๕
สุขาวดี, นิกาย เป็นนิกายหนึ่งในลัทธิมหายาน เกิดขึ้นใน ห่มคลุม การนำจีวรมาห่มพันกายให้คลุมไหล่ทั้ง
ประเทศจีนเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๙ สองข้าง โดยจะม้วนชายจีวรเข้าหาตัว
(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4) โดยเน้นที่การ ซึ่งม้วนของชายจีวรเองนี้เรียกว่าลูกบวบ
ถวายภักดี ต่อพระอมิตาภพุทธะ ด้วยการบูชา และหากจะพาดสังฆาฏิ ให้พาดทับที่ไหล่ซ้าย
ทำสมาธิ และกล่าวพระนาม ซึ่งเมื่อเสียชีวิต ใช้มือขวาแหวกชาย ลูกบวบออกมา
แล้วจะไปเกิดในสวรรค์สุขาวดี และหลุดพ้น มักห่มคลุมเมื่อออกนอกบริเวณวัด
จากสังสารวัฏ
ห่มดอง หรือการห่มลดไหล่ หรือการห่มเฉวียงบ่า คือ
สุวรรณกระถอบ เครื่องประดับที่ห้อยอยู่ข้างหน้าผ้านุ่ง การนำจีวรมาห่มพันกายให้คลุมไหล่ซ้าย
ต่อลงมาจากปั้นเหน่ง (หัวเข็มขัด) และเปิดใหล่ขวา โดยจะม้วนชายจีวรเข้าหาตัว
(ดูภาพอธิบาย ๓. เครื่องทรงฯ) อนึ่ง พระคณะธรรมยุติกนิกายจะหมุนลูกบวบ
ไปทางซ้ายออกนอกตัว ส่วนพระคณะ
สิงห์, ฐาน บ้างเรียก ฐานแข้งสิงห์ (ดู แข้งสิงห์) มหานิกายจะหมุนลูกบวบไปทางขวา เข้าหาตัว
ในกรณีที่จะพาดสังฆาฏิ จะพาดที่ไหล่ข้างซ้าย
สีหฬภิกขุ นิกายที่สืบทอดมาจากนิกายเถรวาท นอกจากนั้น พระคณะมหานิกายจะมีผ้ารัดอก
คณะมหาวิหาร ฝ่ายอรัญวาสี ของลังกา หรือประคดอกคาดทับจีวรและสังฆาฏิด้วย
เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย
ในครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ห่มแหวก คือการห่มจีวรคลุมไหล่ทั้งสองข้าง แล้วแหวก
(ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 15) ด้านหน้าให้มือออกมาเป็นการห่มจีวรแบบหนึ่ง
(ดู ศาสนาสีหล) ในสมัยก่อน

เสี้ยม ลักษณะค่อนข้างแหลม

โสณี ตะโพก หรือสะโพก

โสต หู, ช่องหู


หมวด ห.

หัตถ์ มือ

หน้านาง จีบผ้านุ่งที่พับทบซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ด้านหน้า

หนุ คาง

ห่มคลุม ห่มดอง ห่มแหวก

๕๖๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


หน้ากระดาน, ฐาน หมวด อ.



อกไก่, ลาย ดู ลูกแก้วอกไก่



องคุลี มาตราวัดสมัยโบราณ ความยาวเท่ากับข้อ

ฐานหน้
ปลายของนิ้วกลาง
ากระดาน


อดีตพุทธะ, พระ พระพุทธเจ้าในอดีตจำนวนหลายพระองค์

ตั้งแต่ ๔ ถึง ๒๘ ในนิกายเถรวาท ซึ่งตรัสรู้ก่อน

พระสมณโคดม



อนาคตพุทธะ, พระ พระพุทธเจ้าซึ่งจะตรัสรู้ในอนาคต หลังจาก

พระสมณโคดม
หางโตใบเทศ, ลาย


อนิมิสเจดีย์ ดู สัตตมหาสถาน



อมิตาภพุทธะ, พระ ดู ชินพุทธะ



อสีติมหาสาวก, พระ พระสาวกชั้นผู้ใหญ่ของพระพระพุทธเจ้า

สมณโคดม จำนวนแปดสิบรูป



อรัญวาสี ผู้อยู่ในป่า, ใช้สำหรับเรียกคณะสงฆ์

ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ดู คามวาสี,

วิปัสสนากรรมฐาน)
ลายช่อหางโตใบเทศ


อวทาน คัมภีร์เกี่ยวกับพุทธประวัติและประวัติของ
หางหงส์ เครื่องประดับหลังคาอยู่บริเวณ
พระสาวกในชาติก่อนๆ เขียนขึ้นเป็น
มุมทั้งสองด้านของหน้าจั่ว
ภาษาสันสกฤต ใช้ในนิกายสรรวาสติวาส

และนิกายมูลสรรวาสติวาส


หางหงส์
อังคุฐ นิ้วโป้ง



อังสา บ่า ไหล่ ไหปลาร้า



อัฏฐารส, พระ พระพุทธเจ้าตามความเชื่อที่ว่ามีความสูง
เหงา กนกตัวเดียว
๑๘ ศอก สร้างเป็นพระพุทธปฏิมายืน


เหงา

ภาคผนวก ๕๖๗
อัตลักษณ์ ลักษณะความเป็นตัวตน หรือลักษณะเฉพาะ อุณาโลม ขนที่งอกออกมาจากหว่างคิ้วเวียนไปทางขวา
ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือ มีสีขาวเหมือนเงินยวง อันเป็นลักษณะหนึ่ง
เป็นที่จดจำ อันจะระบุความเป็นมา ความหมาย ของมหาบุรุษลักษณะ
และสถานภาพแห่งความเป็นตนเองท่ามกลาง
ชุดความสัมพันธ์ทางสังคมต่างๆ อัตลักษณ์แปล อุทกสาฎก ผ้าอาบน้ำ, ผ้าอาบน้ำฝน
มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า identity อย่างไรก็ดี
คำแปลนี้จะมีความหมายแตกต่างไปจากคำแปล อุทร ช่วงท้อง, หน้าท้อง, พุง
จากศัพท์เดียวกันที่ว่า เอกลักษณ์ อันเน้นไปที่
ลักษณะที่เป็นเอกภาพและเป็นหนึ่งเดียว อุโบสถ สถานที่ซึ่งภายในบริเวณมีสีมา (เสมา)
แต่อัตลักษณ์มีนัยกว้างกว่า เพราะลักษณะแห่ง ล้อม สำหรับพระสงฆ์ประชุมเพื่อทําสังฆกรรม
ความเป็นตัวตนอาจจะประกอบด้วยลักษณะ สำคัญ เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท,
ย่อยๆ ที่แตกต่างและหลากหลาย เช่น โดยพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่กลางอาคาร
อัตลักษณ์แห่งพุทธศิลป์ไทย หมายถึง ลักษณะ บ้างเรียกว่า โบสถ์
แห่งความเป็นตัวตนของศิลปที่สร้างขึ้นในบริบท
ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ซึ่งประกอบ อุปัชฌาย์ พระผู้เป็นประธานในการอุปสมบท
ด้วยความหลากหลายทั้งความเชื่อลัทธินิกาย ซึ่งถือเป็นพระอาจารย์ของภิกษุผู้บวชใหม่
พื้นที่แว่นแคว้น และเวลายุคสมัย
อุปัฏฐาก ผู้อุปถัมภ์พระภิกษุสามเณร
อาทิพุทธะ, พระ พระปฐมพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าพระองค์แรก,
พระพุทธเจ้าผู้ประทานกำเนิดแก่พระปาญจสุคต อุษณีษะ กะโหลกส่วนที่นูนขึ้นออกมากลางศีรษะ
ของลัทธิตันตระยาน โดยพระอาทิพุทธะ อันเป็นหนึ่งในมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ
ปรากฏขึ้นครั้งแรกในคัมภีร์ กาลจักรตันตระ ของพระพุทธเจ้า (ดูภาพอธิบาย ๒. องค์
บ้างเรียก พระปฐมพุทธะ ประกอบพระพุทธปฏิมา)

อานิสงส์ ผลบุญ ผลแห่งการประกอบกุศลกรรม อุระ อก

อุณหิส กรอบหน้า, กระบังหน้า อูรุ ต้นขา บริเวณโคนขาจนถึงหัวเข่า

อินทร์, พระ เทพเจ้า เทวดาในพุทธศาสนา, ท้าวสักกะ,
เทวดาผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และ
อุณหิส
ชั้นจาตุมหาราช (ดู ดาวดึงส์)

โอคว่ำ, ทรง ลักษณะคล้ายขันคว่ำ

โอษฐ์ ปาก

๕๖๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ภาคผนวก ข. ภาพอธิบาย

พระเศียร (ศีรษะ)
พระศก, พระเกศ, พระเกศา (เส้นผม) พระเมาลี (จุก หรือ มวยผม)
พระจุไร (ไรจุก)
ไรพระศก (ไรผม,ตีนผม) พระจุฑามาศ (มวยผม)

พระนลาฏ (หน้าผาก) อุณาโลม (ขนระหว่างคิ้ว)

พระเนตร (ดวงตา) พระขนง (คิ้ว)

พระกรรณ (หู, ใบหู) พระโอษฐ์ (ปาก)
- พระชิวหา (ลิ้น)
พระนาสิก (จมูก) - พระทนต์ (ฟัน)

พระพักตร์ (ดวงหน้า)
พระอังสา (บ่า, ไหล่)
พระมัสสุ (หนวด)
พระหนุ (คาง) พระพาหา (แขนท่อนบน)
พระอุระ (อก)

พระศอ (คอ) พระปฤษฎางค์ (หลัง)
ยอดพระถัน (หัวนม) พระอุทร (ท้อง)
พระนาภี (สะดือ)
พระกัจฉะ (รักแร้)
พระปรัศว์ (สีข้าง) พระกร (แขนท่อนล่าง)

พระกัปประ (ข้อศอก) บั้นพระองค์ (สะเอว)

พระหัตถ์ (มือ) พระโสณี (สะโพก)

พระอูรุ (ต้นขา)
พระองคุลี (นิ้ว)

- พระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) พระเพลา (ขา, ตัก)
- พระดรรชนี (นิ้วชี้)
- พระมัชฌิมา (นิ้วกลาง)
พระคุยหฐาน พระชานุ (เข่า)
- พระอนามิกา (นิ้วนาง)
- พระกนิษฐา (นิ้วก้อย) (ของในที่ลับ)
- พระนขา (เล็บ)
พระชงฆ์ (แข้ง)

พระบาท (เท้า)
ส้นพระบาท (ส้นเท้า)
ฝ่าพระบาท (ฝ่าเท้า)


ภาพอธิบาย ๑
ราชาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ภาคผนวก ๕๖๙
อุษณีษะ หรือ พระเมาลี พระรัศมี หรือ พระเกตุมาลา

พระศก, พระเกศ, พระเกศา (เส้นผม)


เม็ดพระศก


สังฆาฏิ

จีวร

ลูกบวบ

หน้านางของสบง
สบง

ฐาน

ภาพอธิบาย ๒
องค์ประกอบพระพุทธปฏิมา

๕๗๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


มหามงกุฎ

ดอกไม้เพชร
กรรเจียรจร

กรองศอ
ตาบหน้า หรือ ทับทรวง
กนกเหน็บ
พระธำมรงค์สวมทุกพระองคุลี
พาหุรัด
(สวมแหวนทุกนิ้วพระหัตถ์)
(กำไลรัดต้นแขน)

กงจักร (เพชรรูปดอกจอก)

ทองพระกร
เฟื่องข้าง
ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิ

ตาบทิศ สังวาล

รัดพระองค์ (เข็มขัด)
ปั้นเหน่ง
(หัวเข็มขัด)
สำรด สุวรรณกระถอบ
(ผ้าคาดเอว)
ชายไหว

พระภูษา (ผ้านุ่ง) ชายแครง


ทองพระบาท
ฉลองพระบาทเชิงงอน

ภาพอธิบาย ๓
เครื่องทรงของพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์

ภาคผนวก ๕๗๑
ภาพอธิบาย ๔
พระพุทธรูปแบบเชียงแสน

พระพุทธรูปเชียงแสน เป็นชื่อของยุคสมัยที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานให้กับพระพุทธรูป
ที่พบในมณฑลพายัพ ด้วยเหตุว่าพระพุทธรูปที่งามที่สุดนั้นพบที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทรงจำแนกไว้
เป็นสองรุ่นคือ เชียงแสนชั้นแรก กับเชียงแสนชั้นหลัง อย่างไรก็ดี ในหนังสือเล่มนี้เรียกพระพุทธรูปเชียงแสนว่า
“พระพุทธรูปแบบล้านนา”

พระพุทธรูปแบบ “เชียงแสนชั้นแรก” พระพุทธรูปแบบ “เชียงแสนชั้นหลัง”



มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “เชียงแสนรุ่นเก่า” มีพระพักตร์กลม เม็ดพระศกเป็นก้นหอย มีพระรัศมีเป็นเปลว ครองจีวรห่มดอง ชายจีวรพาดยาวจรดพระนาภี ประทับขัด
ขนาดใหญ่ รัศมีเป็นบัวตูม หรือลูกแก้ว พระวรกายอวบอิ่ม พระอุระอูม ประทับ สมาธิราบ ปางมารวิชัย
ขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ครองจีวรห่มดอง ชายจีวรพาดเหนือพระถันด้านซ้าย
จากองค์ความรู้ปัจจุบัน พระพุทธรูปองค์ต้นแบบของหมวดนี้คือ พระพุทธสิหิงค์
นั่นเอง

๕๗๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ภาพอธิบาย ๕
พระพุทธรูปอู่ทอง

เป็นพระนามของพระเจ้าอู่ทองที่ ยอร์ช เซเดส์ นำมาใช้กับรูปแบบของพระพุทธรูป และกำหนดอายุเวลาอยู่ใน
ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ เอ.บี. กริสโวลด์ จำแนกออกเป็น ๓ หมวด


พระพุทธรูป “แบบอู่ทอง หมวดที่ ๑”



มี พ ระพั ก ตร์ ค ล้ า ยพระพุ ท ธรู ป มอญ – เขมร
พระเมาลีเป็นกรวยครอบทรงฝาชี หรือทรงโอคว่ำ

พระพุทธรูป “แบบอู่ทอง หมวดที่ ๒” พระพุทธรูป “แบบอู่ทอง หมวดที่ ๓”



พระพั ก ตร์ เ หลี่ ย มคล้ า ยพระพุ ท ธรู ป เขมร มี ไ ร พระพักตร์รูปไข่ มีไรพระศก พระรัศมีเปลว ฐานเว้า
พระศก เป็นกรอบที่พระนลาฏ เม็ดพระศกเล็ก เข้ า ตรงกลาง โดยพระพุ ท ธรู ป หมวดนี้ มี ก าร
เป็ น หนามขนุ น รั ศ มี เ ปลว พระวรกายเหลี่ ย ม จำลองมากที่สุด แต่ยังไม่ทราบว่ามีพระพุทธรูป
พระชงฆ์ เ ป็ น สั น คม จากองค์ ค วามรู้ ปั จ จุ บั น องค์ใดเป็นต้นแบบ
พระพุทธรูปองค์ต้นแบบของหมวดนี้คือ พระพุทธ
กัมโพชปฏิมา

ภาคผนวก ๕๗๓
ภาคผนวก ค. รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย
(สุโขทัย - อยุธยา - ธนบุรี - รัตนโกสินทร์ - ล้านนา)

๕๗๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ภาคผนวก ๕๗๕
ภาคผนวก ง. แผนที่

แผนที่ ๑
แผนที่ประเทศอินเดีย

๕๗๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


แผนที่ ๒
แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาคผนวก ๕๗๗
แผนที่ ๓
แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงเมืองพระยามหานคร

๕๗๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


แผนที่ ๔
แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงเมืองลูกหลวง

ภาคผนวก ๕๗๙
แผนที่ ๕
แผนที่สมัยอยุธยา ช่วงวงราชธานี

๕๘๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ภาคผนวก จ. ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป์

ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป
พ.ศ. ๑ ๑๐๐ ๒๐๐ ๓๐๐ ๔๐๐ ๕๐๐

กอน ค.ศ. -543 -444 -344 -244 -144 -44


ประวัติศาสตร

๑ / 543 กอน ค.ศ. ๒๗๐ - ๓๐๘ ๓๘๓ / 161 กอน ค.ศ.


มหาปรินิพพาน ๒๑๙ / 325 กอน ค.ศ. 274 - 236 กอน ค.ศ. พระเจามิลินท
พระเจาอเลกซานเดอร พระเจาอโศก
ในอินเดีย ในอินเดีย
ลัทธิศราวกยาน

๑ / 543 กอน ค.ศ. ๑๕๗ / 387 กอน ค.ศ. ๒๖๐ / 284 กอน ค.ศ. ๓๕๗ / 187 กอน ค.ศ.
นิกายสถวีรวาท นิกายมหาสังฆิกะ นิกายสรรวาสติวาส ภิกษุมหินทเถระ
แยกจากนิกายสถวีรวาท แยกจากนิกายสถวีรวาท นำพุทธศาสนาไปลังกา

๓๖๐ / 184 กอน ค.ศ. ๔๖๓ / 81 กอน ค.ศ.


ลัทธิตันตระยาน
ลัทธิมหายาน /

ปรัชญาปารมิตาสูตร พระสูตรมหายาน
ฉบับดั้งเดิม สัทธรรมปุณฑริกสูตร
พุทธศิลป

พ.ศ. ๑ ๑๐๐ ๒๐๐ ๓๐๐ ๔๐๐ ๕๐๐

กอน ค.ศ. -543 -444 -344 -244 -144 -44

ภาคผนวก ๕๘๑
ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป
พ.ศ. ๕๐๐ ๖๐๐ ๗๐๐ ๘๐๐ ๙๐๐

กอน ค.ศ. -44 ค.ศ. 1 57 157 257 357


ประวัติศาสตร

๖๖๓ - ๖๘๘ / 120 - 145


พระเจากนิษกะ
ลัทธิศราวกยาน

๕๖๘ - ๖๐๓ / 25 - 60
พุทธศาสนา
เผยแผไปยังจีน

๘๗๖ / 333
ลัทธิตันตระยาน
ลัทธิมหายาน /

๖๐๐ / 57 ๖๙๐ / 147 ๗๐๓ / 160 ลังกาวตารสูตร


คัมภีร
ปรัชญาปารมิตาสูตร สุขาวดีวยูหสูตร นาคารชุนะ
ลลิตวิสตระ
ฉบับพิสดาร แปลเปนภาษาจีน สถาปนานิกายมาธยมิกะ
ภิกษุฮุนเอี้ยง
สถาปนานิกายสุขาวดี

๘๗๖ / 333
แบบคันธารราษฏร ๖๐๐ / 57 แบบมถุรา ๘๖๓ - ๑๐๙๓ พุทธศิลปในจีน
มหาสถูปที่อมราวดี 320 - 550
แบบอมรวาดี ประติมากรรม
พุทธศิลป

แบบคุปตะ

พ.ศ. ๕๐๐ ๖๐๐ ๗๐๐ ๘๐๐ ๙๐๐

กอน ค.ศ. -44 ค.ศ. 1 57 157 257 357

๕๘๒ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป
พ.ศ. ๙๐๐ ๑๐๐๐ ๑๑๐๐ ๑๒๐๐

ค.ศ. 357 457 557 657

๙๒๘ - ๙๕๗ ๙๕๗ - ๙๙๘


385 - 414 414 - 455
พระเจาจันทรคุปตที่ ๒ พระเจากุมารคุปตที่ ๑
ประวัติศาสตร

ตั้งราชวงศคุปตะ ตั้งมหาวิทยาลัยนาลัณฑา ๑๑๕๒ - ๑๑๘๘ / 609 - 645


๙๔๒ - ๙๕๗ ภิกษุฮวนจั๋ง
399 - 414 ไปแสวงบุญในอินเดีย
ภิกษุฟาเหียน
แสวงบุญ
ในอินเดีย

๑๑๘๕ / 642
๙๖๓ / 420 ๙๘๓ / 440
ลัทธิศราวกยาน

๑๐๕๐ / 507 นิกายมูลสรรวาสติวาส


ภิกษุพุทธโฆษา คัมภีร มหาวงศ นิกายเถรวาท แยกออกจาก
(อริยารหันตปกขะ) นิกายสรรวาสติวาส
เผยแผในอาณาจักร
มอญโบราณ

ลัทธิมหายาน
เผยแผถึงสุมาตรา
๙๒๘ / 385 ภิกษุวสุพันธุและ ๑๐๙๕ / 552
ลัทธิตันตระยาน
ลัทธิมหายาน /

ภิกษุกุมารชีวะ ภิกษุอสังคะ ลัทธิมหายาน ๑๑๕๒ - ๑๑๘๘ ๑๑๘๕ / 642


ไปยังจีน สถาปนานิกายโยคาจารย เผยแผถึงญี่ปุน 609 - 645 ลัทธิมหายาน
คัมภีร จรรยาตันตระ เผยแผถึงธิเบต

ลัทธิตันตระยาน
แยกออกจากลัทธิมหายาน
๙๕๗ - ๑๐๖๓ ๑๐๐๐ - ๑๐๕๐
414 - 520 457 - 507
กลุมถ้ำยุน - กุง กลุมถ้ำมหายาน
ประเทศจีน ที่อชัญฏา ประเทศอินเดีย
พุทธศิลป

พ.ศ. ๙๐๐ ๑๐๐๐ ๑๑๐๐ ๑๒๐๐

ค.ศ. 357 457 557 657

ภาคผนวก ๕๘๓
ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป
พ.ศ. ๑๒๐๐ ๑๓๐๐ ๑๔๐๐ ๑๕๐๐

ค.ศ. 657 757 857 957

๑๒๑๔ - ๑๒๓๘ ๑๓๐๓ / 760 ๑๓๑๓ - ๑๓๙๙


671 - 695 อาหรับยึด 770 - 856
การเดินทางของ เอเชียกลาง ราชวงศ ไศเลนทร
ประวัติศาสตร

ภิกษุ อี้ - จิง ปกครองชวา


๑๒๕๓ - ๑๓๒๗ ๑๓๑๓ - ๑๓๕๘ ๑๓๔๕ / 802
710 - 784 770 - 815 สถาปนา
มุสลิมปกครอง พระเจาธรรมปาละ อาณาจักรกัมพูชา
แควนสินธุในอินเดีย สถาปนาราชวงศปาละ
ลัทธิศราวกยาน

คัมภีร
โยคะตันตระ
๑๔๑๘ - ๑๔๕๘
ลัทธิตันตระยาน

๑๒๖๐ / 717 ๑๒๙๐ / 747 ๑๓๖๐ / 817


ลัทธิมหายาน /

ลัทธิมหายาน
เปนศาสนาหลัก ภิกษุวัชรโพธิ ภิกษุปทมสัมภวะ ลัทธิตันตระยาน 875 - 915
ของศรีวิชัย นำลัทธิตันตระยาน นำลัทธิมหายาน รุงเรืองในกัมพูชา ลัทธิตันตระยาน
เผยแผในศรีวิชัย เผยแผในธิเบต รุงเรืองในจัมปา

๑๓๑๘ / 775 ๑๓๒๓ - ๑๓๕๓ ๑๔๑๘ / 875


สรางรูปพระโพธิสัตว 780 - 810 สรางวิหารลักษมิทรโลเกศวร
ปทมาปาณิ ที่ไชยา สรางพระสถูปบุโรพุทโธ ที่เวียดนาม
ที่ชวา
พุทธศิลป

พ.ศ. ๑๒๐๐ ๑๓๐๐ ๑๔๐๐ ๑๕๐๐

ค.ศ. 657 757 857 957

๕๘๔ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป
พ.ศ. ๑๕๐๐ ๑๖๐๐ ๑๗๐๐ ๑๘๐๐

ค.ศ. 957 1057 1157 1257

๑๕๙๓ / 1050 ๑๖๒๙ - ๑๖๕๕


ชาวสยามปรากฏ 1086 - 1112
ขึ้นเปนครั้งแรก พระเจาจันสิตตถา
ประวัติศาสตร

ในจารึกจาม ที่นาตรัง แหงพมา

๑๖๒๐ / 1077 ๑๗๒๔ - ๑๗๕๗ ๑๗๔๐ / 1197


พระเจาอนุรุทธ 1181 - 1214 มหาวิทยาลัย
แหงพมา พระเจาชัยวรมันที่ ๗ นาลัณฑา
สวรรคต ปกครองกัมพูชา ถูกมุสลิมทำลาย

๑๖๙๖ - ๑๗๒๙ ๑๗๖๑ / 1218


ลัทธิศราวกยาน

1153 - 1186 พระเจาสววาสิทธิ


พระเจาปรากรมพาหุที่ ๑ แหงหริภุญไชย
ปฏิรูปนิกายเถรวาท ออกผนวช
คณะมหาวิหาร
ที่โปลนนารุวะ

๑๕๐๘ / 965 ๑๕๘๒ / 1039


ลัทธิตันตระยาน
ลัทธิมหายาน /

คัมภีร ภิกษุอติสะ
กาลจักรตันตระ จาริกไปยังธิเบต

๑๕๘๔ - ๑๖๑๐ ๑๖๔๘ / 1105 ๑๖๕๐ / 1107 ๑๖๙๓ / 1150


1041 - 1067 พระเจาจันสิตตถา สรางปราสาทหิน พระเจาอาทิตตราช
พระเจาวิครหปาละที่ ๓ แหงพมา พิมาย สรางพระธาตุ
สรางพระพุทธปฏิมา สรางวิหารอนันทา หริภุญไชย ลำพูน
ทรงเครื่อง กรุกุรกิหาร พุกาม
พุทธศิลป

๑๗๒๐ - ๑๗๗๓
1177 - 1230
ศิลปะบายน
ในกัมพูชา

พ.ศ. ๑๕๐๐ ๑๖๐๐ ๑๗๐๐ ๑๘๐๐

ค.ศ. 957 1057 1157 1257

ภาคผนวก ๕๘๕
ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป
พ.ศ. ๑๘๐๐ ๑๙๐๐ ๒๐๐๐

ค.ศ. 1257 1357 1457


ประวัติศาสตร

๑๘๐๐ / 1257 ๑๘๓๙ / 1296 ๑๘๙๔ / 1351 ๑๙๖๒ / 1419


สถาปนา พระเจามังราย สถาปนา สุโขทัยเปน
อาณาจักรสุโขทัย สรางเมืองเชียงใหม กรุงศรีอยุธยา ประเทศราช
ของอยุธยา

๑๘๓๙ / 1296 ๑๘๗๔ / 1331 ๑๙๐๐ / 1357 ๑๙๑๒ / 1369 ๑๙๗๓ / 1430
คณะกัมโพชสงฆปกขะ คณะมหาวิหาร ฝายอรัญวาสี ลาว หันมานับถือ พระเจากือนาอาราธนา สถาปนาคณะสีหฬภิกขุ
ลัทธิศราวกยาน

รุงเรือง ประดิษฐานที่เมืองพัน พุทธศาสนา พระสุมนเถระ ในลานนา


จากสุโขทัยไปลานนา
๑๘๖๓ / 1320 ๑๘๙๙ / 1356
ไทยรับนิกายเถรวาท พระสุมนเถระ ๑๙๐๕ / 1362
คณะมหาวิหาร นำคณะมหาวิหาร พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท)
จากลังกา ฝายอรัญวาสีเผยแผที่สุโขทัย แหงสุโขทัย ทรงผนวช
ลัทธิตันตระยาน
ลัทธิมหายาน /

๑๘๖๓ / 1320
ลัทธิตันตระยาน
ในกัมพูชาเสื่อม

๑๘๒๒ หรือ ๑๘๓๔ ๑๘๖๗ / 1324 ๑๙๐๒ / 1359 ๑๙๐๕ / 1362 ๑๙๑๓ / 1307 ๑๙๖๐ / 1417 ๑๙๗๐ / 1427
1279 หรือ 1291 สราง อัญเชิญ รูปมหาภิเนษกรม พระเจากือนา นายอินทรสรศักดิ์ เจาพระยาสารผาสุม
พระพุทธปฏิมา หลวงพอพนัญเชิง พระบางเจา พบที่วัดมหาธาตุ สรางพระยืน ๔ องค สรางวัดสรศักดิ์ สรางพระพุทธปฏิมาลีลา
นาคปรกจากไชยา อยุธยา ไปลาว สุโขทัย วัดพระยืน ลำพูน สุโขทัย ๕ องค ที่นาน
พุทธศิลป

พ.ศ. ๑๘๐๐ ๑๙๐๐ ๒๐๐๐

ค.ศ. 1257 1357 1457

๕๘๖ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป
พ.ศ. ๒๐๐๐ ๒๐๕๐ ๒๑๐๐

ค.ศ. 1507
1457 1557
ประวัติศาสตร

๒๐๑๘ / 1475 ๒๐๒๓ / 1480


ศิลาจารึกกัลยาณี อิสลามแทนที่
พุทธศาสนาในสุมาตรา
ลัทธิศราวกยาน

๒๐๓๘ - ๒๐๖๙ ๒๐๖๐ / 1517


1495 - 1526 รัตนปญญาเถระ แตง
คณะสีหฬภิกขุ ชินกาลมาลีปกรณ
รุงเรืองในลานนา
ลัทธิตันตระยาน
ลัทธิมหายาน /

๒๐๐๐ / 1457 ๒๐๑๙ / 1476 ๒๐๒๐ / 1477 ๒๐๒๕ / 1482 ๒๐๒๖ / 1483 ๒๐๔๘ / 1505 ๒๐๘๑ / 1538 ๒๐๙๑ / 1548
สมเด็จพระบรม- พระพุทธรูปของ พระเจาติโลกราช พระเจาติโลกราช พระเจาติโลกราช พญาแกวหลอ สมเด็จพระชัยราชา พระเจาไชยเชษฐา
ไตรโลกนาถหลอ พญายุธิษฐิระ สรางวัดมหาโพธาราม อัญเชิญพระพุทธ- สรางพระพุทธรูป พระเจาเกาตื้อ สรางพระ อัญเชิญพระพุทธ-
รูปพระโพธิสัตว เชียงใหม มหามณีรัตนปฏิมากร แบบลวปุระ วัดสวนดอก เชียงใหม มงคลบพิตร มหามณีรัตนปฏิมากร
๕๐๐ ชาติ ไปประดิษฐานที่ ไปลานชาง
พุทธศิลป

วัดเจดียหลวง เชียงใหม

พ.ศ. ๒๐๐๐ ๒๐๕๐ ๒๑๐๐


1507
ค.ศ. 1457 1557

ภาคผนวก ๕๘๗
ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป
พ.ศ. ๒๑๐๐ ๒๑๕๐ ๒๒๐๐ ๒๓๐๐
1607
ค.ศ. 1557 1657 1757

๒๑๐๑ / 1558 ๒๑๑๒ / 1569 ๒๑๓๓ / 1590


พมาปกครอง กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวร
ประวัติศาสตร

ลานนา เสียแกพมาครั้งที่ ๑ ทรงจัดระบบ


วงราชธานี
๒๑๐๓ / 1560
พระเจาไชยเชษฐา
สรางนครเวียงจันท
ลัทธิศราวกยาน

๒๑๖๓ / 1620 ๒๒๙๖ / 1753


คัมภีร โยคาวจร สถาปนา
คณะสยามนิกายในลังกา
ลัทธิตันตระยาน
ลัทธิมหายาน /

๒๑๑๘ - ๒๑๗๗
1575 - 1634
ภิกษุตารนาถ

๒๑๐๕ / 1562 ๒๑๐๘ / 1565 ๒๑๓๘ / 1592 ๒๑๗๔ / 1631 ๒๒๗๐ / 1727
พระเจาองคตื้อ แมทัพพมา หลอ หลอพระโลกนาถ สรางพระศรีสรรเพชญ ชะลอพระพุทธไสยาสน
ทาบอ หนองคาย พระพุทธรูปเมืองรายเจา ที่วัดพระศรีสรรเพชญ อยุธยา วัดปาโมก อางทอง
ที่เชียงใหม
พุทธศิลป

พ.ศ. ๒๑๐๐ ๒๑๕๐ ๒๒๐๐ ๒๓๐๐


1607
ค.ศ. 1557 1657 1757

๕๘๘ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป
พ.ศ. ๒๓๐๐ ๒๓๕๐ ๒๔๐๐
1807
ค.ศ. 1757 1857

๒๓๑๐ / 1767 ๒๓๒๓ / 1780 ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔ ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑


กรุงศรีอยุธยา ลานชางเปน 1824 - 1851 1851 - 1868
เสียแกพมาครั้งที่ ๒ ประเทศราช รัชกาลพระบาทสมเด็จ รัชกาลพระบาทสมเด็จ
ประวัติศาสตร

ของสยาม พระนั่งเกลาเจาอยูหัว พระจอมเกลาเจาอยูหัว


๒๓๑๗ / 1774 ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒ ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗
ลานนาเปน 1782 - 1809 1809 - 1824
ประเทศราชของสยาม รัชกาลพระบาทสมเด็จ รัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟาจุฬาโลก พระพุทธเลิศหลานภาลัย

๒๓๗๓ / 1830
สถาปนาคณะ
ธรรมยุติกนิกาย
ลัทธิศราวกยาน
ลัทธิตันตระยาน
ลัทธิมหายาน /

๒๓๑๓ / 1770 ๒๓๒๒ / 1779 ๒๓๒๕ / 1782 ๒๓๖๕ / 1822 ๒๓๖๗ / 1824 ๒๓๗๓ / 1830 ๒๓๗๕ / 1832 ๒๓๙๑ / 1848 ๒๓๙๔ / 1851
หลวงพอโสธร เจาพระยา สรางพระชัยวัฒน อัญเชิญพระ เริ่มสราง สรางพระ สรางพระ สรางพระพุทธ- เริ่มสราง
ลอยตามน้ำมา มหากษัตริยศึก ประจำรัชกาล พุทธบุษยรัตนฯ พระพุทธรูปประจำ สัมพุทธพรรณี พุทธไสยาสน ยอดฟาจุฬาโลก พระพุทธรูป
อัญเชิญพระ สรางพระ จากจำปาศักดิ์ พระชนมพรรษา วัดพระเชตุพนฯ และพระพุทธ- ประจำรัชกาล
พุทธมหามณี- พุทธจักรพรรดิ์ มากรุงเทพฯ กรุงเทพฯ เลิศหลานภาลัย
รัตนปฏิมากร
พุทธศิลป

มายังกรุงธนบุรี

พ.ศ. ๒๓๐๐ ๒๓๕๐ ๒๔๐๐


1807
ค.ศ. 1757 1857

ภาคผนวก ๕๘๙
ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป
พ.ศ. ๒๔๐๐ ๒๔๕๐ ๒๕๐๐
1907
ค.ศ. 1857 1957

๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ ๒๔๔๐ / 1897 ๒๔๕๐ / 1907 ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗ ๒๔๗๗ - ๒๔๘๙
1868 - 1910 เสด็จประพาส เสด็จประพาส 1925 - 1935 1935 - 1946
รัชกาลพระบาทสมเด็จ ยุโรปครั้งที่ ๑ ยุโรป ครั้งที่ ๒ รัชกาลพระบาทสมเด็จ รัชกาลพระบาทสมเด็จ
ประวัติศาสตร

พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว พระปกเกลาเจาอยูหัว พระปรเมนทรมหา-


อานันทมหิดล
๒๔๓๖ / 1893 ๒๔๔๒ / 1899 ๒๔๕๓ - ๒๔๖๘
ฝงตะวันออกของ จัดตั้งระบบ 1910 - 1925 ๒๔๗๕ / 1932 ๒๔๘๙ - ปจจุบัน
แมน้ำโขงขึ้นกับ มณฑลเทศาภิบาล รัชกาลพระบาทสมเด็จ เปลี่ยนแปลง 1946 - ปจจุบัน
จักรวรรดิฝรั่งเศส พระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว การปกครอง รัชกาลปจจุบัน

๒๔๔๕ / 1902
ลัทธิศราวกยาน

๒๔๙๙ / 1956
พระราชบัญญัติ พระบาทสมเด็จ
ลักษณะปกครองคณะสงฆ พระเจาอยูหัว
ทรงผนวช
ลัทธิตันตระยาน
ลัทธิมหายาน /

๒๔๑๑ / 1868 ๒๔๑๕ / 1872 ๒๔๔๔ / 1901 ๒๔๕๒ / 1909 ๒๔๕๗ / 1914 ๒๔๖๔ / 1921 ๒๔๖๗ / 1924 ๒๔๙๙ / 1956
สราง สราง หลอพระพุทธ- ทอรนาเรลลี ฟาแบรเช สลัก พระเทพรจนา (สิน) พระเทพรจนา (สิน) พระพุทธรูปประจำ
พระนิรันตราย พระบรมรูป ชินราชจำลอง ปนพระพุทธรูป พระแกวมรกตนอย ปนหลอ ปนหลอ รัชกาลพระบาทสมเด็จ
เรือนแกว ๔ รัชกาล วัดเบญจมบพิตร ปางถวายเนตร พระพุทธไสยาสน พระนิรโรคันตราย พระปรเมนทรมหา-
โรงเรียนวัดราชาธิวาส อานันทมหิดล
พุทธศิลป

พ.ศ. ๒๔๐๐ ๒๔๕๐ ๒๕๐๐


1907
ค.ศ. 1857 1957

๕๙๐ พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย


ศักราชสำคัญของประวัติพุทธศาสนาและพุทธศิลป
พ.ศ. ๒๕๐๐ ๒๕๑๐ ๒๕๒๐ ๒๕๓๐ ๒๕๔๐ ๒๕๕๐
1967 1977 1987 1997 2007
ค.ศ. 1957
ประวัติศาสตร
ลัทธิศราวกยาน

๒๕๐๐ / 1957
ฉลอง ๒๕๐๐ ป
ของพุทธศาสนา
ลัทธิตันตระยาน
ลัทธิมหายาน /

๒๕๐๐ / 1957 ๒๕๐๘ / 1965 ๒๕๐๙ / 1966 ๒๕๑๐ / 1967 ๒๕๑๑ / 1968 ๒๕๒๐ / 1977 ๒๕๓๐ / 1987 ๒๕๓๔ / 1991 ๒๕๓๘ / 1995 ๒๕๔๒ / 1999
พระประธาน พระพุทธรูป พระพุทธ- หลอพระพุทธ- พระนิรโรคันตราย พระพุทธรูป พระพุทธรูป พระพุทธ- พระพุทธ- พระพุทธรูป
พุทธมณฑล ปางประทานพร นวราชบพิตร ธรรมิศรชมพู- ชัยวัฒนจตุรทิศ ปางลีลา ปางสมาธิ สุริโยทัย- นิรโรคันตราย ปางหามสมุทร
ของศิลป พีระศรี ภ.ป.ร. ทีปนิวัติสุโขทัย เฉลิมพระชนม- มหามงคล สิริกิติ- มหามงคล
วัดไทยพุทธคยา พรรษาครบ เฉลิมพระชนม- ฑีฆายุมงคล เฉลิมพระชนม-
๕๐ พรรษา พรรษา ๕ รอบ พรรษา ๖ รอบ
พุทธศิลป

พ.ศ. ๒๕๐๐ ๒๕๑๐ ๒๕๒๐ ๒๕๓๐ ๒๕๔๐ ๒๕๕๐


1967 1977 1987 1997 2007
ค.ศ. 1957

ภาคผนวก ๕๙๑
ดรรชนี

ก จ ชิโนรสาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๗๗


ชีเชียง, ชีเชียงใส, วัด อยุธยา ๑๖๑, ๓๒๘
กัลยาณี, วัด โคลัมโบ ศรีลังกา ๑๖๕ จตุรมิตรประดิษฐาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ชุมพรรังสรรค์, วัด จังหวัดชุมพร ๒๑๕
กัลยาณีสีมา, วัด หงสาวดี พม่า ๑๖๕ ๒๕๖ ชุมพลนิกายาราม, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กำแพงแลง, วัด จังหวัดเพชรบุรี ๒๓๑ จอมกิติ, พระธาตุเจดีย์ จังหวัดเชียงราย ๑๓๓ ๒๑๔, ๓๐๖
เกาะแก้วสุทธาราม, วัด จังหวัดเพชรบุรี ๑๘๗ จักรวรรดิราชาวาส, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๒๕ ชุมแสงศรีวนาราม, วัด จังหวัดชลบุรี ๔๘๒-๓
เกาะถ้ำ จังหวัดสงขลา ๒๕๖-๗ จุฬามณี, วัด จังหวัดพิษณุโลก ๑๖๑ เชตุพน, วัด จังหวัดสุโขทัย ๕๐๐-๑
แก้วพิจิตร, วัด จังหวัดปราจีนบุรี ๓๕๖ เจ็ดยอด, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๒๐, ๒๑๗; ดู เชิงชุม, พระธาตุ จังหวัดสกลนคร ๑๖๙
โกรกกราก, วัด จังหวัดสมุทรสาคร ๕ มหาโพธาราม เชียงทอง, วัด หลวงพระบาง ลาว ๑๖๙
เจดีย์เจ็ดแถว, วัด อุทธยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เชียงมั่น, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๔๓๗
จังหวัดสุโขทัย ๒๐๐, ๓๙๒, ๔๗๕ ไชยวัฒนาราม, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข เจดีย์หลวง, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๑๖๗, ๑๗๔, ๓๐๐
๒๓๘-๙, ๔๐๐ ไชยาติการาม, วัด จังหวัดอำนาจเจริญ ๒๕๑,
ขุนอินทรประมูล, วัด จังหวัดอ่างทอง ๔๘๘-๙ ไจค์มะรอ, วัด เมาะลำแยง พม่า ๓๖๘ ๔๖๗
เขากง, วัด จังหวัดนราธิวาส ๓๕๘ ไชโย, วัด จังหวัดอ่างทอง ๑๒๖, ๔๔๑
เขาแก่นจันทร์ จังหวัดราชบุรี ๑๒๐-๑
เขาถ้ำทะลุ, วัด จังหวัดราชบุรี ๒๓๑ ฉ
เขาสุวรรณประดิษฐ์, วัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด
๔๘๒ เฉลิมพระเกียรติ, วัด จังหวัดนนทบุรี ๔๘,
เขาใหญ่, วัด จังหวัดสุโขทัย ๓๙๘ ๒๗๕ ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ๑๑๖
เขาอ้อ, วัด จังหวัดพัทลุง ๓๙๕, ๔๑๓ แดนเมือง, วัด จังหวัดหนองคาย ๑๖๙
เขียนบางแก้ว, วัด จังหวัดพัทลุง ๓๘๑


ค ชัยพระเกียรติ, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๒๔๒,
๒๔๔, ๓๒๔ ตระพังทองหลาง, วัด จังหวัดสุโขทัย ๕๐๒
คฤหบดี, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๔๖ ชัยภูมิการาม กรุงเทพมหานคร ๔๖๔ ตะกวน, วัด จังหวัดสุโขทัย ๒๖๐
คูหาสวรรค์, วัด กรุงเทพมหานคร ๑๘๙ ช่างแต้ม, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๒๔๐ ตึก, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๔๓๒
เครือวัลย์, วัด กรุงเทพมหานคร ๓๙๗ ช้างค้ำ, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๒๙๖ ไตรภูมิ, วัด จังหวัดนครพนม ๔๒๖
โคกขาม, วัด จังหวัดสมุทรสาคร ๓๑๖-๗, ๓๓๑ ช้างล้อม, วัด จังหวัดสุโขทัย ๒๖๖, ๒๘๗ ไตรภูมิ, วัด จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒๐๒
ไตรมิตรวิทยาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๓๔-๕

๕๙๒ ดรรชนี
ถ ธ บังพวน, พระธาตุ จังหวัดหนองคาย ๑๖๙
บางพลีใหญ่ใน, วัด จังหวัดสมุทรปราการ ๒๖๕,
ถ้ำพระโพธิสัตว์ จังหวัดสระบุรี ๑๔๓ ธรรมมิกราช, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๔๓๘; ดู พลับพลาชัยชนะสงคราม
ถ้ำแสงเพชร, วัด จังหวัดอำนาจเจริญ ๔๙๖-๗ ๒๑๒ บางอ้อยช้าง, วัด จังหวัดนนทบุรี ๓๙๐
เถนดอคยี พญา, วัด ตะนาวศรี พม่า ๔๙๑ บ้านตำแย, วัด จังหวัดอุบลราชธานี ๒๘๐
บ้านปาง, วัด จังหวัดลำพูน ๒๑๕
น บ้านยางหลวง, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๓๗๖
ท บ้านเหล่า, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๔๘๒-๓
นครโกษา, วัด จังหวัดลพบุรี ๒๕๕ บ้านแหลม, วัด จังหวัดสมุทรสงคราม ๑๘๔,
ทองนพคุณ, วัด กรุงเทพมหานคร ๕๐๗ นครวัด, ปราสาท เสียมเรียบ กัมพูชา ๑๘๒ ๒๖๕, ๔๓๘-๙; ดู เพชรสมุทร
ท้องลับแล, วัด จังหวัดอุตรดิตถ์ ๒๘๐ นภเมทนีดล, พระมหาธาตุ จังหวัดเชียงใหม่ บุญยืน, วัด จังหวัดน่าน ๓๘๐
ท่าไชยศิริ, วัด จังหวัดเพชรบุรี ๔๐๓ ๓๖๐ บุปผาราม, วัด เชียงใหม่ ๒๔๐; ดู สวนดอก
ท่าถนน, วัด จังหวัดอุตรดิตถ์ ๓๓๐ นางกุย, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๔๗ บุปผาราม, วัด ถนนท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่
ท่าสำเภาเหนือ, วัด จังหวัดพัทลุง ๓๘๑ นางนอง, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๐๖, ๓๐๔-๕ ๓๑๘
ท่าหลวง, วัด จังหวัดพิจิตร ๓๓๒ นาปัง, วัด จังหวัดน่าน ๔๖๒ บุปผาราม, วัด จังหวัดตราด ๒๘๙
เทพธิดาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๗๕, ๓๔๐ นิเวศธรรมประวัติ, วัด จังหวัดพระนครศรี เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม, วัด กรุงเทพมหานคร
เทพพิทักษ์ปุณณาราม, วัด จังหวัดนครราชสีมา อยุธยา ๔๙, ๓๕๐ ๔๙, ๑๘๐, ๑๙๘, ๒๑๓, ๒๒๔, ๒๒๖,
๓๑๓ ๒๓๑, ๒๓๘-๙, ๒๔๒, ๒๕๑, ๒๕๖,
เทพศิรินทราวาส, วัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๑, ๒๗๙, ๓๐๓, ๓๑๖, ๓๑๙-๒๐, ๓๒๓,
๑๐๙, ๑๗๙, ๓๕๐, ๔๑๔, ๕๒๗ บ ๓๓๔, ๓๓๔, ๓๓๖-๗, ๓๔๔, ๓๕๒, ๓๗๖,
เทวปราสาท, วัด จังหวัดพิจิตร ๓๑๐, ๓๑๓ ๓๘๕-๖, ๓๘๙-๙๐, ๓๙๒-๓, ๔๐๔-๕,
เทวสังฆาราม, วัด จังหวัดกาญจนบุรี ๑๓๑ บรมนิวาส, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๖๘ ๔๑๘, ๔๓๐, ๔๓๘, ๔๔๘, ๔๕๒, ๔๖๔,
ไทยชุมพล, วัด จังหวัดสุโขทัย ๔๗๐-๑ บรมพุทธาราม, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๔๗๖-๗, ๕๐๒, ๕๐๘, ๕๒๒
ไทยพุทธคยา, วัด พุทธคยา อินเดีย ๒๓๑ ๓๓๑
บวรนิเวศวิหาร, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๗, ๗๖,
๗๘, ๑๐๑, ๑๐๔-๕, ๑๑๕, ๑๒๖-๗, ป
๑๓๑-๒, ๑๓๔, ๒๒๑, ๒๒๓, ๓๑๐,
๓๕๕, ๔๒๐, ๔๒๒-๓, ๔๔๒, ๔๔๔-๕, ปทุมคงคา, วัด กรุงเทพมหานคร ๑๑๕, ๕๒๙,
๔๘๖, ๕๒๖ ๓๐๕
บวรสถานสุทธาวาส, วัด กรุงเทพมหานคร ปทุมวนาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๔๘
๒๖๒, ๔๒๐ ปรมัยยิกาวาส, วัด จังหวัดนนทบุรี ๒๗๘, ๓๕๑

ดรรชนี ๕๙๓
ประดิษฐ์ธรรมคุณ, วัด จังหวัดหนองคาย พ พระธาตุหริภุญไชย, วัด จังหวัดลำพูน ๒๔๐,
๒๔๙ ๓๔๔, ๓๔๖, ๔๔๙, ๔๖๖
ประดู่, วัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑๘๒ พญาภู, วัด จังหวัดน่าน ๔๖๒ พระเนตร, วัด จังหวัดน่าน ๒๖๐
ประติมากรรมต้นแบบ, หอ กรุงเทพมหานคร พนมศิลาราม, วัด จังหวัดสุรินทร์ ๓๑๓ พระบรมธาตุ, วัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
๔๘๐ พนัญเชิง, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๔, ๒๒๒, ๔๓๔
ประเสริฐ, วัด จังหวัดราชบุรี ๓๐๓ ๒๐๘-๑๐ พระบรมธาตุไชยา, วัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปราสาท, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๒๔๔ พระแก้ว, วัด จังหวัดชัยนาท ๔๔๖-๘ ๔๑๐
ปรินายก, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๓๔-๕, ๔๖๐ พระแก้ว, วัด จังหวัดเชียงราย ๑๘๐ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร -พระที่นั่ง
ป่าแดง, วัด เชียงตุง ๑๖๐ พระแก้ว, หอ เวียงจันท์ ลาว ๒๕๑, ๓๗๘ จักรพรรดิพิมาน ๕๐๔-๖; -พระที่นั่ง
ป่าแดง, วัด เชียงใหม่ ๑๖๕-๖, ๓๑๕, ๓๑๘, พระเจ้าทองทิพย์, วัด จังหวัดเชียงราย ๖ จักรีมหาปราสาท ๑๐๓; -พระที่นั่ง
๕๒๒ พระเจ้าเม็งราย, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๒๓๘-๙, ดุสิตมหาปราสาท ๘๐, ๑๐๓; -พระ
ป่าแดง, วัด ศรีสัชนาลัย ๑๕๗-๘ ๓๑๖, ๓๗๗, ๔๖๔-๕ ที่นั่งไพศาลทักษิณ ๗๑; -พระที่นั่ง
ป่าแดงหลวงดอนชัยบุนนาค, วัด จังหวัดพะเยา พระเจ้าล้านทอง, วัด จังหวัดเชียงราย ๒๓๖-๗, ราชกรัณยสภา ๑๑๙, ๓๕๒; -พระ
๓๔๙ ๒๔๔, ๕๒๒ ที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท ๑๐๓; -
ป่ามะม่วง, วัด สุโขทัย ๑๕๗-๘ พระเจ้าสะเลียมหวาน, วัด จังหวัดลำพูน ๔๓๗ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ๑๐๓; -พระ
ป่าโมก, วัด จังหวัดอ่างทอง ๓๘, ๔๑๐, ๔๑๖, พระเชตุพนวิมลมังคลาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ๘๐, ๘๗; -หอ
๔๔๓, ๔๔๖, ๔๗๔, ๔๘๕, ๔๙๐, ๕๑๐ ๔๘, ๑๘๖-๗, ๑๘๙, ๒๐๕, ๒๑๓, ๒๓๑, พระธาตุมณเฑียร ๗๒; -หอพระ
ป่าเลไลยก์, วัด จังหวัดสุพรรณบุรี ๓๖๘ ๒๓๔, ๒๖๔, ๓๐๙, ๓๑๖, ๓๒๖, ๓๗๑, บรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ป่าสักหลวง, วัด เวียงจันท์ ลาว ๔๒๔ ๓๘๙, ๔๑๑, ๔๑๓, ๔๑๖, ๔๒๕, ๔๒๘, ๘๒-๕, ๑๐๙, ๓๕๕, ๔๑๔, ๔๔๓, ๔๕๓;
ปากน้ำ, วัด กรุงเทพมหานคร ๑๙๖ ๔๓๘, ๔๕๔, ๔๙๒; ดู โพธาราม -หอพระสุลาลัยพิมาน ๔๔, ๖๗-๙,
กรุงเทพมหานคร ๗๑, ๗๓-๕, ๘๑-๒, ๘๖, ๙๐-๑, ๙๕,
พระทอง, วัด จังหวัดภูเก็ต ๗ ๙๗, ๙๙, ๑๑๑-๔, ๑๑๖-๗, ๑๑๙, ๑๒๘,
ผ พระธาตุช้างค้ำ, วัด จังหวัดน่าน ๒๔๔, ๓๑๘-๙, ๑๗๕, ๑๙๑, ๓๕๓, ๓๖๒, ๓๗๓, ๔๕๑-๒,
๓๗๔, ๓๗๗, ๓๘๐, ๔๑๘, ๔๖๒ ๔๕๕ ๔๙๓, ๕๒๓; -หอศาสตราคม
ผดุงสุข, วัด จังหวัดหนองคาย ๒๔๖ พระธาตุดอยคำ, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๓๓๘-๙ ๑๐๘-๙, ๔๐๖, ๕๒๗
ไผ่โรงวัว, วัด จังหวัดสุพรรณบุรี ๒๘๑ พระธาตุดอยสะเก็ด, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๓๖๐ พระปฐมเจดีย์, วัด จังหวัดนครปฐม ๔๘, ๓๗๓,
พระธาตุดอยสุเทพ, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๑๘๐ ๓๙๘, ๔๙๘
พระธาตุบ้านสำราญ, วัด ๕ พระพายหลวง, วัด จังหวัดสุโขทัย ๔๘๖-๗
พระธาตุลำปางหลวง, วัด จังหวัดลำปาง ๒๔๕ พระพุทธ, วัด จังหวัดตรัง ๓๘๑
พระธาตุศรีจอมทอง, วัด จังหวัดเชียงใหม่ พระพุทธ, วัด จังหวัดนราธิวาส ๑๓๓
๑๙๘

๕๙๔ ดรรชนี
พระพุทธศรีสงขลานครินทร์, วิหาร จังหวัดสงขลา พระศรีรัตนศาสดาราม, วัด กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ๘-๙; ดู
๑๒๓ ๔๘, ๕๒-๔, ๑๐๔, ๑๐๖, ๑๒๖, ๑๗๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพุทธสิหิงค์, หอ จังหวัดชลบุรี ๑๗๘ ๔๑๙, ๔๓๔, ๕๐๘; -ปราสาทพระเทพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร จังหวัด
พระพุทธสิหิงค์, หอ จังหวัดนครศรีธรรมราช บิดร ๑๐๒-๓, ๔๓๖; -พระวิหารยอด กำแพงเพชร ๒๑๔, ๔๑๙
๓๒๙ ๔๑๓, ๔๑๙, ๔๒๒, ๔๓๘; -พระอุโบสถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น จังหวัด
พระพุทธไสยาสน์, วัด จังหวัดเพชรบุรี ๓๐๒, ๕๐-๑, ๕๕-๖, ๗๙, ๙๑, ๙๔, ๙๖, ๙๙, ขอนแก่น ๒๐๑
๔๙๐ ๑๐๖-๗, ๑๐๙, ๑๒๓, ๑๒๕, ๑๒๘-๙, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัด
พระมงคลมิ่งเมือง, พุทธอุทยาน จังหวัดอำนาจเจริญ ๑๘๐, ๑๙๓, ๒๔๒-๓, ๓๔๑, ๔๒๐, พระนครศรีอยุธยา ๑๕๐, ๓๒๘,
๒๘๓ ๔๕๑; -หอพระคันธารราษฎร์ ๘๘-๙, ๔๐๕, ๔๓๘
พระเมรุ, วัด จังหวัดนครปฐม ๑๔๔, ๑๕๒, ๓๐๘, ๔๕๗; -หอพระนาก ๔๑๙; พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัด
๓๖๕, ๓๗๓ -หอพระมณเฑียรธรรม ๗๙, ๑๒๕, พระนครศรีอยุธยา ๑๔๗, ๑๕๕,
พระยืน, วัด จังหวัดลำพูน ๑๖๕, ๓๗๕-๖, ๕๒๒ ๔๓๖; -หอพระราชกรมานุสร ๕๗, ๑๗๔, ๑๗๗, ๒๑๑-๒, ๒๕๖, ๒๘๓,
พระยืนพุทธบาทยุคล, วัด จังหวัดอุตรดิตถ์ ๖ ๕๐๔; -หอพระราชพงศานุสร ๕๗, ๓๘๔, ๓๘๘, ๔๑๕-๖, ๔๑๘, ๔๗๐
พระราชวังดุสิต -พระที่นั่งวิมานเมฆ ๑๐๓; - ๕๐๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย
พระที่นั่งอัมพรสถาน ๑๑๑, ๑๑๙, พระศรีสรรเพชญ์, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๔๓๗
๑๔๗, ๑๗๕, ๑๗๙, ๑๘๓, ๑๙๘, ๒๔๒, ๑๗๔, ๑๘๖, ๒๐๕, ๒๑๔, ๒๕๖, ๒๕๘, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
๒๕๔, ๓๒๒-๓, ๓๓๒-๔, ๓๔๓, ๓๗๐, ๓๐๔, ๓๓๑, ๓๙๒-๓, ๓๙๕, ๔๐๓, ๔๑๓, ๒๓๘-๙, ๓๒๑-๒, ๓๔๖, ๔๐๐, ๔๒๘
๓๗๖-๗, ๓๘๕, ๔๓๐, ๔๕๓, ๔๖๔, ๔๑๙, ๔๙๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชนาทมุนี จังหวัดชัยนาท
๔๗๐, ๔๗๒, ๔๗๘, ๕๒๓ พระสิงห์, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๑๖๔-๕, ๓๑๔, ๓๓๑
พระราม ๙ กาญจนาภิเษก, วัด กรุงเทพมหานคร ๓๒๑-๓, ๓๓๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๔๙ พระสี่อิริยาบถ, วัด จังหวัดกำแพงเพชร ๕๐๑ ๒๐๔, ๔๑๐
พระรูป, วัด จังหวัดสุพรรณบุรี ๔๔๖-๗, ๔๖๖ พระเหลาเทพนิมิตร, วัด จังหวัดอำนาจเจริญ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
พระศรีมหาธาตุ, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๗๘ ๑๙๙, ๒๕๒, ๓๗๘, ๔๒๗ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๔๔๐, ๔๙๑
พระศรีรัตนมหาธาตุ, วัด จังหวัดพิษณุโลก พระใหญ่, วัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒๘๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน จังหวัดน่าน ๑๘๑,
๒๑๙, ๒๒๑-๓, ๒๓๑, ๒๖๔, ๒๖๖, พลับพลาชัยชนะสงคราม, วัด จังหวัดสมุทรปราการ ๒๕๖, ๒๖๒, ๒๙๗-๘, ๓๘๐, ๔๐๗
๓๙๕ ๑๘๔, ๒๖๕; ดู บางพลีใหญ่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระศรีรัตนมหาธาตุ, วัด จังหวัดลพบุรี ๒๑๒ พิกุลทอง, วัด จังหวัดสิงห์บุรี ๓๑๑, ๓๑๓, ๕๑๒ กรุงเทพมหานคร ๑๘-๙, ๔๓, ๑๓๘,
พระศรีรัตนมหาธาตุ, วัด จังหวัดสุโขทัย ๑๕๗, พิชยญาติการาม, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๖๘ ๑๔๑, ๑๔๔, ๑๔๖, ๑๔๘-๙, ๑๕๒,
๔๗๕ ๑๗๔-๘, ๑๘๒, ๒๓๓, ๒๔๐, ๒๕๕,
พระศรีรัตนมหาธาตุ, วัด จังหวัดสุพรรณบุรี ๒๕๘, ๒๕๙-๖๐, ๒๖๖, ๒๘๖, ๒๙๒,
๔๗๔

ดรรชนี ๕๙๕
๒๙๔, ๒๙๙, ๓๐๓, ๓๔๙, ๓๕๓, ๓๗๓, พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน ภ
๓๘๒, ๓๘๕, ๓๘๘, ๔๐๓, ๔๐๘, ๔๓๑, ๒๑๗
๔๓๓, ๔๓๕, ๔๕๕-๖, ๔๖๖, ๔๗๔, ๔๘๖, พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ภักดีประกาศ, พระมหาธาตุเจดีย์ จังหวัด
๕๐๔-๖, ๕๒๓; -พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ๕๔ ประจวบคีรีขันธ์ ๓๕๔, ๔๙๗
๔๓, ๑๐๖, ๑๗๖-๘, ๕๐๔, ๕๒๓; ดู พิพิธภัณฑ์วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ภูคกงิ้ว จังหวัดเลย ๔๘๒-๓
พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ๔๙๖ ภูมินทร์, วัด จังหวัดน่าน ๒๔๕
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัด พิพิธภัณฑ์ Archaeological Museum Sarnath
นครราชสีมา ๑๔๖, ๒๘๗, ๓๖๗, ๑๘, ๒๒, ๓๕
๔๒๖ พิพิธภัณฑ์ British Museum ๒๙๗ ม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย พิพิธภัณฑ์ Government Museum, Chennai
๒๐๕, ๒๖๑, ๓๓๐, ๓๘๗, ๔๖๐, ๔๗๐-๑, ๑๔๒ มกุฏกษัตริยาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๘,
๔๗๓, ๔๘๖ พิพิธภัณฑ์ Indian Museum, Kolkata ๑๙ ๑๐๙, ๑๙๒, ๕๒๗
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดมัชฌิมาวาส จังหวัด พิพิธภัณฑ์ Kimbell Art Museum, Texas ๒๙๕ มงคลบพิตร, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สงขลา ๒๕๗ พิพิธภัณฑ์ Metropolitan Museum of Art, New York ๒๐๔, ๒๐๘, ๒๕๘-๙, ๓๒๘, ๓๙๐,
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา จังหวัดสงขลา ๑๙ ๔๐๓, ๔๑๘-๙, ๔๓๐
๓๙๗ พิพิธภัณฑ์ Nagarajunakonda Museum มโนรม, วัด หลวงพระบาง ๑๖๘
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ Andhrapradesh ๑๔๓ ม่วง, วัด จังหวัดอ่างทอง ๒๘๑, ๒๘๓
จังหวัดลพบุรี ๓๒๘-๙, ๓๘๔, ๓๘๗, พิพิธภัณฑ์ National Museum, Yangon ๑๔๖ มหรรณพาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๓๔-๕
๔๘๘-๙ พิพิธภัณฑ์ Patna Museum, Patna ๑๔๙, ๓๔๓ มหาธาตุ, วัด จังหวัดชัยนาท ๒๑๓, ๓๘๙, ๔๔๖-๗
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัด พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๔, ๔๘๐-๒ มหาธาตุ, วัด จังหวัดนครศรีธรรมราช ๔๐๗
สุโขทัย ๒๑๔, ๓๐๒, ๓๘๗, ๓๙๐, พุทธาธิวาส, วัด จังหวัดยะลา ๑๙๖ มหาธาตุ, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒๑๑-๒,
๔๓๑, ๔๗๐-๑, ๔๗๓ พุทไธสวรรย์, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๓๘๘
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน ๓๗๐ มหาธาตุ, วัด จังหวัดเพชรบูรณ์ ๑๘๑, ๔๒๘
๑๙๘, ๒๓๖ พูสี, พระธาตุ หลวงพระบาง ลาว ๑๗๐ มหาธาตุ, วัด จังหวัดลพบุรี ๓๘๙, ๔๔๖
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เพชรสมุทร, วัด จังหวัดสมุทรสงคราม ๑๘๔, มหาธาตุ, วัด จังหวัดสุโขทัย ๒๑๔, ๒๒๒,
๒๙๑ ๔๓๘-๙; ดู บ้านแหลม ๒๒๘, ๒๗๑, ๓๗๙, ๓๘๗
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี จังหวัด โพธาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๑๘๗, ๓๗๑, ; มหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์, วัด กรุงเทพมหานคร
อุบลราชธานี ๑๙๙, ๓๗๘, ๔๒๗ ดู พระเชตุพนวิมลมังคลาราม ๒๗๐, ๔๕๘, ๔๗๖-๗
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัด โพธาราม, วัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๔๓๓ มหาโพธาราม, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๑๖๖,
สุพรรณบุรี ๓๓๑ โพธิ์ชัย, วัด จังหวัดหนองคาย ๒๔๘-๙ ๒๑๗; ดู เจ็ดยอด
โพธิ์ประทับช้าง, วัด จังหวัดพิจิตร ๒๑๙

๕๙๖ ดรรชนี
มหาวนาราม, วัด จังหวัดอุบลราชธานี ๒๕๓ ราชาธิวาสวิหาร, วัด กรุงเทพมหานคร ๖๗, ศ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑๗๘ ๑๘๗, ๑๙๑, ๑๙๓, ๑๙๕, ๓๓๗, ๕๒๖;
มเหยงค์, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๕๐๑ ดู สมอราย ศรีเกิด, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๒๑๗
มูลนิธิ James H.W. Thompson ๒๘๘ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ๑๓๒, ๓๑๐ ศรีคุณเมือง, วัด จังหวัดเลย ๒๐๑
เมธังกราวาส, วัด จังหวัดแพร่ ๒๕๑ โรงพยาบาลศิริราช ๑๑, ๑๓๑, ๓๑๐ ศรีโคมคำ, วัด จังหวัดพะเยา ๒๓๖, ๒๔๒-๓,
โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร ๔๘๕, ๕๒๒
๔๙๕-๖ ศรีชมภูองค์ตื้อ, วัด จังหวัดหนองคาย ๑๙๙,
ร ไร่ขิง, วัด จังหวัดนครปฐม ๒๖๖ ๒๔๖-๗
ศรีชุม, วัด จังหวัดสุโขทัย ๒๒๘-๙, ๒๘๘, ๔๔๖,
รอ, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๔๔ ๔๔๙-๕๐, ๔๗๕
ระฆังโฆสิตาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๑๙๔, ล ศรีเทพประดิษฐาราม, วัด จังหวัดนครพนม
๔๔๑ ๑๙๙-๒๐๐
ราชธานี, วัด จังหวัดสุโขทัย ๓๘๙ ล้านนาญาณสังวราราม, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ศรีบุญเรือง, วัด จังหวัดขอนแก่น ๒๘๔
ราชนัดดาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๘, ๒๗๔-๕ ๓๓๘ ศรีสองรัก, พระธาตุ จังหวัดเลย ๑๖๙
ราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ลีเชียงพระ, วัด เชียงใหม่ ๑๖๔; ดู พระสิงห์ ศรีสุริโยทัย, พระเจดีย์ จังหวัดพระนครศรี
๔๙, ๑๐๙, ๑๓๑, ๑๙๒, ๓๑๐, ๔๐๙, โลกยสุธา, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๔๘๘ อยุธยา ๑๒๓, ๔๐๙
๕๒๗ ไลย์, วัด จังหวัดลพบุรี ๑๘๔, ๒๙๐-๑ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดลำปาง ๑๒๐-๑
ราชบุรณะ, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๓๐-๑, ๔๖๘ ศาลากลางจังหวัด จังหวัดพัทลุง ๑๒๐-๑
ราชบูรณะ, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศาลาแดง, วัด จังหวัดสระบุรี ๑๒๐-๑
-กรุปรางค์ ๑๓๘, ๑๔๘, ๑๕๕, ๑๗๔, ว ศาลาทอง, วัด จังหวัดนครราชสีมา ๓๗๒
๑๗๗, ๑๙๘, ๒๕๖, ๒๕๙, ๓๘๓-๔, ศาลาปูน, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒๖๖
๓๘๘, ๔๑๖, ๔๗๐ วัง, วัด จังหวัดพัทลุง ๔๓๔
ราชบูรณะ, วัด จังหวัดพิษณุโลก ๒๒๓ วิชุลราช, วัด หลวงพระบาง ๑๖๘, ๓๘๐, ๔๒๔
ราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, วัด วิเศษการ, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๓๕ ส
กรุงเทพมหานคร ๔๘, ๑๒๖, ๑๗๗, วิหารทอง, วัด จังหวัดพิษณุโลก ๓๙๕
๒๒๔ เวียง, วัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒๙๒ สมอราย, วัด ๑๐๖, ๑๘๗, ๑๙๑-๓, ๕๒๖; ดู
ราชสิทธาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๘, ราชาธิวาสวิหาร
๒๗๓ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
ราชโอรสาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๘, กรุงเทพมหานคร ๒๗๗, ๓๐๓
๑๙๐, ๒๘๙ สรศักดิ์, วัด จังหวัดสุโขทัย ๔๖๐

ดรรชนี ๕๙๗
สระเกศ, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๘, ๑๘๙, เสาธงทอง, วัด จังหวัดลพบุรี ๔๐๗ อ
๓๙๕, ๔๔๓ โสธรวราราม, วัด จังหวัดฉะเชิงเทรา ๑๘๔,
สระบัว, วัด จังหวัดเพชรบุรี ๑๘๗ ๔๓๘ อนงคาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๐๖
สระศรี, วัด จังหวัดสุโขทัย ๓๓๐ โสมนัสวิหาร, วัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๙, อมรินทราราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๔
สวนดอก, วัด จังหวัดเชียงใหม่ ๑๖๕-๖, ๒๓๖, ๑๙๑-๒, ๒๗๘, ๕๒๗ อรุณราชวราราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๘,
๒๔๐-๑, ๕๒๒; ดู บุปผาราม เชียงใหม่ ๙๙, ๑๐๑, ๒๗๓, ๓๒๕
สวนตาล, วัด จังหวัดน่าน ๒๓๖-๗, ๕๒๒ อัปสรสวรรค์, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๗๕
สวรรคาราม, วัด จังหวัดสุโขทัย ๓๘๗ ห อินทรวิหาร, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๔๑
สะดือเมือง, วัด เชียงใหม่ ๑๖๗ อุโมงค์มหาเถรจันทร์, วัด จังหวัดเชียงใหม่
สะตือ, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๔๔๑ หงส์รัตนาราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๓๔, ๒๓๘-๙, ๕๒๒
สัตตนารถปริวัตร, วัด จังหวัดราชบุรี ๒๒๖ ๒๕๐ โอกาส, วัด จังหวัดนครพนม ๕
สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย ๓๓๙ หนองบัว, วัด จังหวัดน่าน ๒๔๕
สีโคตบูน, พระธาตุ ท่าแขก ลาว ๑๖๙ หนัง, วัด กรุงเทพมหานคร ๒๓๔
สีบุนเฮือง, ศรีบุญเรือง, วัด จังหวัดหนองคาย หน้าพระเมรุราชิการาม, วัด จังหวัดพระนครศรี
๑๗๐ อยุธยา ๑๕๐, ๓๐๐, ๓๐๒, ๓๖๕,
สีสะเกด, วัด เวียงจันท์ ลาว ๑๗๐ ๓๗๓
สุทธจินดา, วัด จังหวัดนครราชสีมา ๒๗๙, หน้าพระลาน, วัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
๒๘๗, ๓๖๗ ๔๓๓
สุทัศนเทพวราราม, วัด กรุงเทพมหานคร ๔๘, หมากโม, พระธาตุ หลวงพระบาง ลาว ๑๖๘
๑๒๙, ๒๓๑, ๒๗๑, ๒๗๔, ๒๗๕, หลวง, พระธาตุ เวียงจันท์ ลาว ๑๖๙
๒๗๗, ๓๒๓, ๓๓๗, ๓๔๑, ๓๖๖, ๔๖๘, หัวเวียง, วัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒๗๙, ๔๐๘
๔๙๒-๓ ใหญ่สุวรรณาราม, วัด จังหวัดเพชรบุรี ๒๖๒-๓
สุนทราวาส, วัด จังหวัดพัทลุง ๓๙๗, ๔๒๐, ใหม่ประชุมพล, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๔๔๐ ๓๙๒-๓, ๓๙๕
สุวรรณคูหา, วัด จังหวัดพังงา ๔๙๕
สุวรรณดาราราม, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๕๑๐
สุวันนะพุมมาราม, วัด หลวงพระบาง ลาว
๑๗๐, ๔๒๕
เสนาสนาราม, วัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๖๘

๕๙๘ ดรรชนี
บันทึก

ดรรชนี ๕๙๙
บันทึก

๖๐๐ ดรรชนี
บันทึก

ดรรชนี ๖๐๑
บันทึก

๖๐๒ ดรรชนี

You might also like