You are on page 1of 9

บทที่ 1 ปรัชญากับวิถีชีวิต

● เป็นคำสันสกฤต ปฺร (คำอุปสัค) แปลว่ารอบ + ชญา (เป็นธาตุ) แปลว่ารู้ จึงแปลว่า ความรอบรู้ ตรงกับ ปัญญา ในบาลี
● ภาษาอังกฤษ คือ philosophy โดยพีทากอรัส นักปรัชญากรีกมาใช้คนแรก มาจากภาษาละติน คำว่า philos รัก sophos ฉลาด จึงแปลว่า
รักความรู้ หรือปรารถนาความรู้
● นักปรัชญาไม่ใช่ผู้รู้ แต่เป็นผู้อยากรู้
● สิ่งสำคัญในวิชาปรัชญา คือ เหตุผล เพราะการค้นหาความจริง จำเป็นต้องใช้เหตุผล จะสามารถสืบสาวหาต้นสายปลายเหตุได้

ความรู้ของมนุษย์ แบ่งเป็น
● ความจริงทางประสาทสัมผัส
○ Natural fact ประสาทสัมผัส สาขาวิทยาศาสตร์
○ Social fact ข้อเท็จจริงทางสังคม สาขาสังคมศาสตร์
คือ ความจริงทางประสาทสัมผัสคือความจริงในการอธิบายคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทางกายภาพ

● คุณค่า สาขาภาษา
○ คุณค่าทางจริยะ เป็นคุณค่าทางการประพฤติ
○ คุณค่าทางสุนทรียะ เป็นคุณค่าทางความงาม ไม่ตายตัว ปัจเจกบุคคล
คุณค่า คือ สิ่งที่มนุษย์ใช้ในการประเมินคุณสมบัตขิ องสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

ความแตกต่างของปรัชญากับศาสนา
เริ่มต้นด้วยความเชื่อหนึ่งเหมือนกัน

ต้องมีเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อ ไม่ต้องมีเหตุผลหรือการอ้างหลักฐาน หรือไม่ต้องมีเหตุผลก็ได้

ความเชื่อที่จริงที่มีเหตุผลสนับสนุน เรียกว่า ความรู้ ใช้ศรัทธาสนับสนุนความเชื่อ

สาขาต่าง ๆ ของปรัชญา
อภิปรัชญา ลักษณะของความมีอยู่ และความจริงพื้นฐานทั่วไป อภิคือใหญ่หรือเหนือ ตัวอย่าง การตั้งคำถามต่อพระเจ้าหรือโลกหลังความ
ตาย
อัคฆวิทยา ความรู้เกี่ยวกับคุณค่า และการให้คุณค่าต่อสิ่งหนึ่ง ๆ โดยมีคุณค่าทางจริยศาสตร์ (พฤติกรรมมนุษย์) และคุณค่าทาง
สุนทรียศาสตร์ (ความงามของศิลปะ) อัคฆ คือคุณค่า ลักษณะคุณค่า ประเภท บรรทัดฐาน และสถานะทางอภิปรัชญาของคุณค่า (คุณค่ามีอยู่จริงหรือไม่)
ญาณวิทยา ความรู้คืออะไร มีแหล่งที่มาจากไหนจึงเรียกว่าความรู้ ธรรมชาติ ขอบเขต และลักษณะความรู้
ตรรกวิทยา การใช้เหตุผล และการตรวจสอบการอ้างเหตุผล

เรียนปรัชญาแล้วได้อะไร
● วิชาต่าง ๆ มักจะมีคำตอบจากฐานของความเชื่อ แต่นักปรัชญาจะตั้งคำถามต่อความเชื่อ
● ถ้ามีหลายเหตุผล จะตรวจสอบการอ้างเหตุผลแบบใดสมเหตุสมผลมากกว่ากัน
● ช่วยให้สามารถตรวจสอบความเชื่อที่หลากหลาย แล้วนำความเชื่อที่หลากหลายเหล่านั้น มาพิจารณาตรวจสอบดูเหตุผล
● สามารถตอบปัญหาของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นรากฐานของความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ
● เปิดโอกาสให้คิดในเชิงนามธรรม มองเห็นภาพกว้าง เห็นความเชื่อมโยงกันของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งทำให้เข้าใจอะไรได้รวดเร็ว
● การเปิดใจกว้าง เพราะคำตอบที่หาได้นั้น ไม่ใช่คำตอบทีถ่ ูกที่สุด แต่เป็นคำตอบที่สมเหตุสมผลที่สุดในขณะนั้น หรือการรับฟังความเห็นของผู้
อื่น ซึ่งคำตอบของผู้อื่นอาจจะดีกว่าของเรา
● ความหวังเป็นสิ่งจำเป็น คนเราก็อยู่เพื่อความหวังทั้งนั้น

การหาคำตอบต่อคำถามทางปรัชญา
● คำถามทางปรัชญามักเป็นคำถามปลายเปิด ดังนั้น คำตอบไม่จำเป็นมีเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น ขึ้นอยู่กับการอ้างเหตุผลสนับสนุน
● ปรัชญาเริ่มจากการตั้งคำถามกับสิ่งที่เสนอที่มีมาก่อนหน้า เช่น ข้อเสนอการประหารฆาตกร
● เมื่อตั้งคำถามแล้ว ต่อไปให้ตรวจสอบว่า ที่เสนอมามันสมเหตุสมผลหรือไม่ ถ้าไม่ ควรแก้ไขอย่างไร
● สร้างข้อเสนอใหม่ของตนเอง พร้อมอ้างเหตุผลทีไ่ ม่เกิดความขัดแย้งเชิงตรรกะ และปิดช่องว่างที่อาจจะมีปัญหาต่อข้อเสนอใหม่ของเรา

ปรัชญากับสิ่งมีชีวิต
● ปรัชญาเกิดจากความสงสัยหรือความสนใจของมนุษย์
● โสเครติสสนใจปัญหาเกี่ยวกับชีวิตที่ดี ความหมายที่แท้จริงของคุณค่าต่าง ๆ ที่มนุษย์ยึดถือ เช่น คุณธรรม ความยุติธรรม หากเข้าใจความ
หมายที่แท้จริงได้ จะดำเนินชีวิตไปในทางที่ดี
● ขงจื่อสนใจค้นหาสังคมที่ดี โดยค้นหาว่า ในสังคม คนฐานะต่างกันควรปฏิบัติต่อกันอย่างไร ครอบครัวและรัฐจึงจะเป็นสถานที่ที่มีความสุข
● การเปลี่ยนแปลงการปกครองและระบบเศรษฐกิจ กิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ล้วนมาจากปรัชญา
● สิ่งที่เคยเป็นความเชื่อทางศาสนาและประเพณีถูกโต้แย้งและถามหาเหตุผลกันมากขึ้น

ลักษณะของวิถีสมัยใหม่
● การเชื่อมต่อกันของมนุษย์ที่ครอบคลุมทั่วโลกและทั่วถึงเพิ่มมากขึ้น
● วิถีชีวิตมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและลุ่มลึกมากขึ้น ซึ่งถูกกำหนดโดยเทคโนโลยี
● แสดงถึงระดับการเปลี่ยนแปลงทางมานุษยวิทยาและนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่าง ๆ

สัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรมและอัตนิยม
● การตัดสินปัญหานั้นวางอยู่บนพื้นฐานของระเบียบทางสังคมหรือไม่ ลักษณะแบบนี้เรียกว่า สัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรม (Cultural
Relativism)
● สัมพัทธนิยมเชิงอัตนิยม (Subjectivism) วางอยู่บนฐานทางความเชื่อที่ว่า การกระทำที่ดีคือการกระทำที่แต่ละปัจเจกบุคคลพึงพอใจ
● สัมพัทธนิยมเป็นแนวคิดที่ว่า สิ่งดี ไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุคคลและวัฒนธรรม
● ขึ้นอยู่กับบุคคล เรียกว่า อัตนิยม
● ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม เรียกว่า สัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรม

ญาณวิทยากับสังคมสมัยใหม่
● ทฤษฎีความรู้มักจำกัดในวงวิชาการ จนกระทั่งเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมากขึ้น
● อินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งที่มาของความรู้ เข้าถึงได้ง่าย
● การเมือง เกี่ยวข้องในเรื่องเสรีภาพในการพูด ที่เป็นการกระจายความรู้ หรือปชต.ที่ร่วมแสวงหาความรู้ในสังคมหนึ่ง หรือโฆษณาชวนเชื่อที่
กระจายข้อมูล
● สถาบันทางญาณวิทยา ชุมชนทางความรู้
บทที่ 2 วิถีชีวิตของมนุษย์
รูปแบบการใช้ชีวิต
1.วัตถุนิยม Materialism : การมีชีวิตอยู่เพื่อแสวงหาสุขทางกาย
● สร้างอวัยวะสำหรับรับรู้ เพื่อชื่นชมสุนทรียภาพ
● แสวงหาความสำเร็จตามที่ตนเองตั้งเป้าหมายไว้
● ทำงานหาเงิน เอาเงินไปซื้อความสุข
● ให้ความสำคัญกับสุขทางกาย คือ สุขที่จับต้องได้
● แยกให้ออกระหว่าง เสรีภาพ กับ ความสุขส่วนตัว ซึ่งความสุขส่วนตัวต้องไม่ละเมิดผู้อื่น ดังนั้น ความสุขแบบวัตถุนิยม จึงมิใช่สิ่งเดียวกันกับ
เสรีภาพทั้งหมด
● มีข้อวิจารณ์ว่า ไม่สามารถมีความสุขที่แท้จริงได้ เพราะความสุขเกิดจากความสมอยาก แต่อยากไม่สิ้นสุด ความสมอยากจึงมีไม่ได้
● ตัวอย่างประเภทนี้ คือคนส่วนใหญ่ในสังคม

2.จิตนิยม Spiritualism : สุขทางใจมีคุณค่ากว่าสุขทางกาย


แบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ ปัญญานิยมและวิมุตินิยม
ปัญญานิยม เชื่อว่า มนุษย์ประกอบด้วยกายกับจิต ที่สำคัญที่สุดคือจิตที่นำไปสู่ปัญญาหรือเหตุผล โดยปัญญาเป็นสารัตถะของความเป็น
มนุษย์ ไม่ใช่ร่างกายหรือลักษณะทางกายภาพ
วิมุตินิยม เชื่อว่า ความสงบของจิต และความหลุดพ้นจากความต้องการของจิตดีที่สุด ควรหวังในสิ่งที่อยู่ในอำนาจของเรา เช่น คุณธรรม การ
ยับยั้งชั่งใจ สิ่งที่อยู่นอกอำนาจเราคือ เงินทอง อำนาจ เกียรติยศ ถ้าหากเราหลุดพ้นสิ่งเหล่านี้ได้ ก็จะพบเจอความสงบ
● สุขทางกายไม่ใช่ที่สุด
● มีทัศนะว่าคุณค่าทางจิตใจสูงกว่าคุณค่าทางวัตถุ เพราะจิตใจคุมพฤติกรรมของมนุษย์อยู่ภายใน จะดีหรือชั่วก็อยู่ที่ใจ
● บริโภคเพื่อดำรงชีวิต ไม่ได้บริโภคเพื่อตอบสนองความอยาก ใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่แสวงหาสุขทางกาย แต่เน้นใช้ชีวิตด้วยปัญญาและเข้าใจใน
ความเป็นไปตามสรรพสิ่ง
● แสวงหาความสงบสุขทางใจ ซึ่งเป็นนามธรรมและเกี่ยวข้องกับจิตใจมากกว่าวัตถุ
● แสวงหาความรู้เพราะความรู้จะทำให้มนุษย์มีเหตุผลและเข้าใจในสัจธรรม
● แสวงหาการหลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งเป็นลักษณะร่วมของหลาย ๆ ศาสนา
● ตัวอย่างประเภทนี้ ได้แก่ พระที่ออกบวชเพื่อหลุดพ้นความทุกข์เยี่ยงพระพุทธเจ้า และผู้สูงอายุที่เข้าวัดทำบุญ เพราะแก่ตัวไปก็คิดได้ว่าสุข
ทางกายไม่ยั่งยืนและเที่ยงแท้

3. อัตถิภาวนิยม Existentialism : ชีวิตคือเสรีภาพ


● เน้นความสำคัญกับอิสระเสรี เสรีภาพที่ให้ความสำคัญกับปัจเจกภาพมากว่าสากลภาพ ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล
● มีทัศนะว่ามนุษย์เป็นผู้มีเสรีภาพ เรียกว่าอิสระนิยม สามารถแยกอธิบายได้สองมุมมองคือ เสรีนิยม กับอัตถิภาวะนิยม
● มุมมองแรกมองว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์พร้อมกับเสรีภาพ แต่ทำให้พบการขัดแย้งในตัวเอง เพราะถ้าพระเจ้าให้เสรีภาพ ก็เท่ากับบังคับให้มี
เสรีภาพ การบังคับให้มีเสรีภาพจะเรียกว่าเสรีภาพได้อย่างไร
● จึงมีอีกข้อเสนอที่เรียกว่า อัตถิภาวะนิยม ที่ถือว่ามนุษย์มีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ ไม่ได้ถูกสร้างให้มีเป้าหมาย
● ซาร์ต มองว่า มนุษย์คือเสรีภาพ ท่ามกลางความไม่มีแก่นแตด สิ่งเดียวที่ช่วยยืนยันการมีอยู่ของเราคือ เสรีภาพ ถึงเราจะไม่ได้เลือก แต่เราก็ได้
สิ่งนี้มา การมีเสรีภาพคือการเลือกกระทำสิ่งต่าง ๆ จะบอกว่าเราไม่มีเสรีภาพ คือกำลังหลอกตัวเอง แม้แต่ในช่วงที่ถูกบังคับ ก็ยังมีเสรีภาพอยู่
เพราะสามารถเลือกได้ว่าจะทำตามหรือไม่ทำตาม แต่เมื่อเลือกแล้ว ต้องรับผิดชอบต่อการเลือกของเรา
● ให้ค่ากับความรู้สึกของตน เพราะการแสดงออกที่ไม่ตรงกับความต้องการหรือความรู้สึกเป็นหลอกตนเองและไม่ซื่อสัตย์ต่อเสรีภาพ
● ไม่ค่อยพบในสังคมตะวันออก เพราะถูกปลูกฝังไม่ให้ทำอะไรตามใจตนเอง ต่างจากสังคมตะวันตก และวิถีชีวิตถูกกำหนดด้วยคสพ.ครอบครัว
● อย่างไรก็ตาม กลไกทางสังคมไม่ยอมให้มีเสรีภาพจริงๆ ตามที่กลุ่มอัตถิภาวนิยมเสนอมา เพราะตราบใดที่อยู่ร่วมกันในสังคม ย่อมเกิดผลกระ
ทบตามมาอย่างแน่นอน

4.มานุษยนิยม Humanism : ชีวิตที่สมดุลย์


● ทัศนะทั้งสามล้วนสุดโต่งทั้งสิ้น
● มนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา ควรคิดอย่างรอบด้าน และใช้ชีวิตอย่างสมดุล ไม่หนักไปทางใดทางหนึ่ง
● วัตถุนิยมเห็นสุขทางกายสำคัญมากไป แต่จิตนิยมก็มองโลกแคบเกินไป เหยียดสุขทางกายว่าของต่ำ ถ้ายึดเสรีภาพ ก็ไม่มสามารถอยู่ร่วมกันใน
สังคมได้
● ถ้าเราจาดการสมดุล สุดโต่งไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ไม่ยอมรับคนที่มีแนวคิดเป็นขั้วตรวข้ามกับตนเองได้ การสร้างความพอดีในการดำรงชีวิตจะทำให้
เกิดความผ่อนคลาย
● ให้ความสำคัญทั้งกายและจิต
บทที่ 3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับวิถีสมัยใหม่
ความหมายของวิทยาศาสตร์
● มีคสพ.กับมนุษย์ ในฐานะความรู้ที่น่าเชื่อถือ และการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่
● ให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
● คาดการณ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นได้
● ทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น แต่หากสัมพันธ์กันมากขึ้น อาจจะทำลายมนุษย์ เช่น ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
● มีส่วนสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้มีความก้าวหน้าและมีพัฒนาการอย่างมาก

หลักปรัชญาพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
● วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดในการแก้ไขปัญหา
● เมื่อไม่สามารถหาข้อยุติ สามารถอ้างเหตุผลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นข้อตัดสินได้
● วิทยาศาสตร์มีความเป็นกลางและถูกต้อง
● คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นที่สิ้นสุดแล้วในการหาคำตอบ

Stephen Hawking กล่าวโดยมีใจความว่า ปรัชญาได้ตายไปแล้ว เพราะปรัชญาไม่ได้ติดตามพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยเฉพาะ


ฟิสิกส์ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงเป็นผู้ถือคบเพลิงแห่งการค้นพบในการแสวงหาความรู้
Sebastian De Haro กล่าวโดยมีใจความว่า นักปรัชญาหลายคนมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และปรัชญากับวิทยาศาสตร์มีความเชื่อมโยงกัน
ปรัชญาวิทยาศาสตร์จึงมีความเีก่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เป็นพิเศษ เพราะจะเกิดการวิพากษ์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ก่อให้เกิดคำตอบทางวิทยาศาสตร์

สรุป
● วิทยาศาสตร์ที่ไม่ตั้งคำถามทางปรัชญา จะเป็นวิทยาศาสตร์ที่ผิดพลาด แม้วิทยาศาสตร์จะเชื่อมั่นในวิธีการของตน
● การถูกตั้งคำถามและถามคำถามทางปรัชญากับวิทยาศาสตร์ จะเป้นการตรวจสอบ และเร่งรัดให้วิทยาศาสตร์มีความระมัดระวังต่อการ
หาความรู้มากขึ้น

การเข้าถึงความรู้ การเข้าใจโลกและสังคมแบบวิทยาศาสตร์
● มุ่งเน้นการหาข้อสรุปเพื่ออธิบายธรรมชาติ
● หัวใจหลักของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ Scientific method คือ การสังเกต สม่ำเสมอ สู่ข้อสรุป กลายเป็นหลักการหรือทฤษฎี
● ในทางตรรกวิทยาเรียกวิธีนี้ว่า วิธีการอุปนัย inductive method คือ การสรุปความจริงทั่วไปจากความจริงเฉพาะหลาย ๆ กรณี
● มีข้อวิจารณ์ว่า การสังเกตเป็นสิ่งที่พ่วงมากับทฤษฎี นั่นคือ เวลาที่เราสังเกต มักจะตีความตามกรอบความคิดหรือทฤษฎีที่เราคิดไว้ เช่น รูป
เป็ดหรือกระต่ายที่ส่วนตัวมองว่าเป็นรูปหี
● วิธีการสังเกตประสบกับปัญหาการอุปนัย
● ปัญหาการอุปนัยถูกสร้างโดย เดวิด ฮูมว์
● “การที่เราสังเกตเหตุการณ์หนึ่งซ้ำ ๆ แล้วนำไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่งเสมอนั้น ไม่จำเป็นว่าครั้งต่อไป มักจะเป็นเช่นนี้อีก”
● วิธีนี้เป็นการสรุปเกินหลักฐานที่มี เพราะเอาหลักฐานที่ผ่านมาทั้งหมด ไปสรุปสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในสังคม
● มีความเป็นสากลหรือภววิสัย คือ วิทยาศาสตร์มีความถูกต้องและมีความเป็นสากลสำหรับทุกคนในสังคม เพราะวิทยาศาสตร์สะท้อนความ
เป็นจริงของโลกได้ตามที่มันเป็น
● การเชื่อเช่นนี้นำไปสู่การยืนยันอำนาจทางความรู้ของนักวิทย์ Epistemic Authority
● แทนที่จะเชื่อในหลักฐาน วิธีการ กลับเชื่อคำพูดนักวิทย์ เพราะนักวิทยา์เป็นคนสร้างความรู้ขึ้นมา
● ควรสร้างความเข้าใจต่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากกว่าบอกให้เชื่อเพียงเพราะเป็นวิทยาศาสตร์เท่านั้น เพื่อให้ผู้คนเข้าใจและประเมินข้อมูลที่
มีในระดับหนึ่ง

ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
● ความสัมพันธ์แบบแรก เทคโนโลยีบางอย่างไม่ต้องอาศัยวิทยาศาสตร์ก็ได้ เช่น เทคโนโลยีเครื่องกล จำพวกล้อเพลา คาน รอก ถึงในภายหลัง
จะสามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อธิบายเรื่องกลไกได้ แต่ตอนที่สร้างขึ้นก็ไม่ได้ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นมา
● ส่วนเทคโนโลยีไฟฟ้า เคมี และนิวเคลียร์ต้องพึ่งพาวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้งและต้องใช้ผู้ที่อบรมมาพอสมควร
● วิทยาคือพฐ.ของความรู้ เทคโนโลยีเป็นเป้าหมายปลายทางที่เป็นการสร้างนวัตกรรม เช่น ค้นพบรังสีเรเดียม แล้วสร้างรังสียับยั้งเซลล์มะเร็ง
● มองว่าวิทยาศาสตร์เป็นการค้นพบทางช่วยเหลือมวลมนุษย์
● ความสัมพันธ์แบบที่สอง เทคโนโลยีช่วยให้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้า เช่น กล้องจุลทรรศน์เอาไว้ส่องเซลล์

เทคโนโลยี
● เทคโนโลยีเป็นสิ่งประดิษฐ์เชิงเทคนิค สำหรับใช้บรรลุเป้าหมายของมนุษย์
● เทคโนโลยีในความหมายแบบโบราณ
○ สิ่งธรรมชาติ = เกิดขึ้นตามธรรมชาติและผลิตซ้ำโดยธรรมชาติ
○ สิ่งประดิษฐ์ = มนุษย์สร้างให้เกิดขึ้น
● เทคโนโลยีในความหมายสมัยใหม่
○ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ประดิษฐ์เพื่อเป้าหมายเฉพาะของมนุษย์
○ เป็นเครื่องมือที่บริสุทธิ์และปลอดจากคุณค่าต่าง ๆ
○ วิธีการ กับ เป้าหมายเป็นอิสระต่อกัน เช่น ปืนไม่ได้ฆ่าคน คนต่างหากที่ฆ่าคน
อุปกรณ์นิยม
● เทคโนโลยีเป็นวิธีการที่นำไปสู่เป้าหมายที่มนุษย์กำหนดไว้เท่านั้น
● เป็นกลาง ขึ้นอยู่กับเจตนาและเป้าหมายของผู้ใช้

นิยัตินิยม
● เทคโนโลยีก่อให้เกิดหรือกำหนดโครงสร้างสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต
● การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอยู่ภายใต้การขับเคลื่อนของเทคโนโลยี
● จุดต่างกับอุปกรณ์นิยมคือ เทคโนโลยีมีอำนาจควบคุมมนุษย์
● คาร์ล มาร์กซ์ “เทคโนโลยีไม่มีคุณค่าในตัวมัน แต่มนุษย์ให้คุณค่ากับเทคโนโลยี นั่นคือเทคโนโลยีเป็นกลาง แต่เทคโนโลยีก็ควบคุมมนุษย์”
● เช่น เมื่อสร้างรถแล้ว จึงต้องตัดถนนเพิ่ม ตัดแล้วผังเมืองไม่ดี ต้องจัดระเบียบผังเมืองใหม่

สารัตถะนิยม
● ไม่เป็นกลางและควบคุมมนุษย์ได้
● คล้ายนิยัตินิยมที่เทคโนโลยีกำหนดสังคม แต่เทคโนโลยีมีคุณค่าในตัวมันเอง จึงเรียกว่าเทคโนโลยีมีสารัตถะ (บอกได้ว่าดีหรือไม่ดี)
แบ่งได้ 2 แบบ คือ
● สารัตถะนิยมแบบแข็ง ของฌาร์ค อิลลู “เทคโนโลยีกำหนดบทบาทชีวิตอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยครอบงำไปถึงวิถีชีวิตและความคิดของ
ผู้คน ในความหมายนี้เรียกว่า เทคนิค”
● สารัตถะนิยมเชิงภววิทยา ของไฮเดกเกอร์ จำแนกเป็น 2 ลักษณะ
○ เทคโนโลยีสมัยเก่า สิ่งประดิษฐ์ที่เปิดเผยให้เห็นเบื้องหลังทางธรรมชาติ หรือที่มาของสิ่งประดิษฐ์
○ เทคโนโลยีสมัยใหม่ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่มีลักษณะท้าทายธรรมชาติในการจัดหาพลังงานที่สามารถถูกสกัดมาใช้และถูกสะสมเอา
ไว้ใช้ได้
■ เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นการเข้าไปจัดการกับธรรมชาติ โดยมองว่าธรรมชาติถูกกำหนดให้เป็นแหล่งพลังงาน
■ การใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงธรรมชาติให้เป็นทรัพยากรเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า การอัดกรอบ
เช่นสร้างเขื่อนผลิตพลังงานไฟฟ้า เทคโนโลยีสมัยเก่าคือกังหันน้ำไม่ได้เปลี่ยนการไหลของน้ำ แต่การสร้างเขื่อนทำให้
น้ำไหลตามเขื่อน ไม่ไหลตามธรรมชาติ
บทที่ 4 คุณค่าของมนุษยศาสตร์กับสังคมสมัยใหม่
การแสวงหาความรู้มี 3 สาขา ได้แก่
● วิทยาศาสตร์ ใช้วิธีการสังเกต ทดลอง ผลลัพธ์คือ ทฤษฎี ผลกระทบเป็นการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
● สังคมศาสตร์ ศึกษาสังคมโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ สังเกต วิเคราะห์ ผลลัพธ์ คือ กฎเกณฑ์ ทฤษฎี ผลกระทบ คือ การเปลี่ยนแปลงด้าน
สังคม
● มนุษยศาสตร์ ใช้ข้อมูลมนุษย์ พฤติกรรม มาตีความและวิเคราะห์ประสบการณ์ ผลลัพธ์คือ ความหมาย คุณค่า ผลกระทบคือ การสำนึกใน
ความเป็นมนุษย์

ปัญหาของสายมนุษย์
ปัจจุบันวิทยเทคโนขับเคลื่อนสังคม และระบบทุนนิยมทำให้มหาลัยกลายเป็นธุรกิจ ตลาดแรงงานไม่ต้องการ และทำลายความหลากหลาย
ของมนุษย์ (ครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว เห็นแก่ตัว วัตถุนิยม แล้งน้ำใจ ไม่รักษาวัฒนธรรม) เพราะสายมนุษย์เป็นเรื่องของคุณค่าที่จับต้องไม่ได้

ความสำคัญของสายมนุษย์กับสังคม
● ถึงสังคมจะก้าวหน้าจนสร้างวัตถุและความเจริญมากขึ้น แต่เราจะต้องตั้งคำถามและตรวจสอบอย่างแหลมคมให้มากขึ้น
● ปรัชญาช่วยให้เข้าใจตนเอง และสอนถึงวิธีตั้งคำถามต่อสมมติฐานและความเชื่อของเราเอง
● ปรัชญาให้กรอบสำหรับการตัดสินใจทางจริยธรรม และการสำรวจคำถามที่สำคัญ
● ปรัชญาสามารถพัฒนาทักษะการใช้เหตุผลและการคิดเชิงนามธรรม
● ตัวอย่าง ปรัชญากับธุรกิจ ยาลดความอ้วนมีความจำเป็นหรือไม่

คุณค่าของมนุษยศาสตร์
ภาษา ใช้สื่อสาร และแสดงถึงวัฒนธรรม เป็นซอฟต์พาวเวอร์เพื่อหล่อหลอมความคิดของผู้คนตามวรรณกรรม เช่นไตรภูมิพระร่วง และหนังสือช่วย
สะท้อนสังคมและช่วยให้เข้าใจโลก วรรณกรรมเน้นย้ำถึงความขัดแย้งของมนุษย์

ประวัติศาสตร์ ศึกษาความเป็นมา กิจกรรมทั้งสำเร็จและล้มเหลว แสดงให้เห็นเหตุผลถูกผิดในการคิดและการกระทำของมนุษย์

ศิลปะ แสดงถึงจินตนาการและความละเอียดอ่อนของมนุษย์ ความรู้สึกต่อธรรมชาติ สังคม และจิตใจ เป็นส่วนในความละเมียดละไม

ปรัชญาและศาสนา สร้างสรรค์ทางความคิด ความเชื่อ มุ่งให้มีเหตุผล เข้าใจในดีชั่ว มีการประเมินค่าทำให้มนุษย์สูงส่ง เช่น มีน้ำใจ

You might also like