You are on page 1of 5

1

1. บทนำเกี่ยวกับกำรปรึกษำทำงจิตวิทยำ

จิ ต วิท ยา เป็ น การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ พฤติ ก รรมและกระบวนการทางจิ ตอย่างเป็ น วิท ยาศาสตร์ โดย
พฤติกรรมจะหมายถึง การแสดงออกซึ่งเป็นการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การพูดคุย
การนั่ง การนอน การท่องเที่ยว หรือ การเดิน ส่วนกระบวนการทางจิต หมายถึง ประสบการณ์ภายในของแต่
ละบุคคลที่ไม่อาจสังเกตได้โดยตรง เช่น อารมณ์ ความรู้สึก การรับรู้ ความฝัน หรือ จินตนาการ จากคาอธิบาย
ข้างต้น จะเห็นว่า “จิตวิทยา” เป็นศาสตร์ที่มุ่งศึกษาทาความเข้าใจมนุษย์ในหลากหลายมิติ หลากหลายแง่มุม
และ ศึกษาทาความเข้าใจมนุษย์โดยใช้กระบวนการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
จิตวิทยามีจุดมุ่งหมายอยู่ 4 ประการ คือ เพื่อ บรรยาย อธิบาย ทานาย และเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม
ของแต่ละบุคคล การบรรยายหรือพรรณนาคือ การให้รายละเอียดว่าพฤติกรรมนั้นคือ “อะไร” ซึ่งเป็นขั้นตอน

จิตวิทยาการปรึกษาสาหรับผู้เริ่มต้น
2

แรกในการทาความเข้า ใจเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ ส่วนจุดมุ่งหมายข้อที่ 2 ของจิตวิทยาก็คือ การอธิบาย


การอธิบายจะกล่าวถึงสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมว่า “ทาไม” พฤติกรรมนั้นๆจึงเกิดขึ้น แล้วเมื่อรู้คาจากัด
ความของพฤติกรรมนั้ น แล้ วรู้ถึงสาเหตุ ก็จ ะนาไปสู่เรื่องของการทานายเป็น จุดมุ่งหมายประการที่ 3 ของ
จิตวิทยาเพื่อให้ทราบว่าสิ่งมีชีวิตจะแสดงพฤติกรรมอย่างไรในแต่ละสถานการณ์ ส่วนจุดมุ่งหมายสุดท้ายคือ
เรื่อ งการเปลี่ ย นแปลง การเปลี่ ย นแปลงก็ คือ การใช้ ความรู้ท างจิตวิทยาในการป้อ งกัน พฤติกรรมที่ ไม่ พึ ง
ประสงค์หรือพัฒนาพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น โดยการให้การปรึกษาทางจิตวิทยาส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การ
เปลี่ยนแปลง
การปรึกษาทางจิตวิทยา เป็นศาสตร์ทางจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฏี กระบวนการต่างๆ
ที่มุ่งให้ผู้ที่มีความไม่สบายใจ หรือมีปัญหาทางใจได้ทาความเข้าใจกับปัญหาของตนเอง และมองเห็นแนวทางใน
การแก้ปั ญ หาโดยความไม่ส บายใจหรือความทุกข์ นั้น อาจจะเกิดจาก พฤติกรรมบางอย่างในการใช้ชีวิตไม่
เหมาะสม อาจจะเกิ ด จากความคิ ด บางอย่ า งท าให้ เกิ ด ความทุ ก ข์ เช่ น คิ ด ว่ า “ฉั น จะต้ อ งดี แ ละประสบ
ความสาเร็จตลอดไป” “เขาจะต้องเข้าใจฉันเสมอ” “คนรัก
กัน ควรรู้ใจกัน ตลอดเวลา” อาจจะเกิดจาก การไม่อยู่กับ
ปัจจุบัน เช่น กังวลอนาคต ยึดติดกับอดีต หรือ อาจจะเป็น
เพราะการไม่ ย อมรั บ ความจริ ง ซึ่ ง ความจริ ง บางครั้ ง ที่
เจ็บปวด และยากที่จะยอมรับ หรือ อาจจะเป็นเพราะยึด
ติด ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง เช่น ยึดติดความสาเร็จ ยึดติด
ความสุข หรือ อาจจะเป็นเพราะว่า คิดว่าตนเองแก้ปัญหา
ต่างๆ ไม่ได้ หรือมีเหตุทาให้เกิดความทุกข์ใจ หรือยุ่งยากใจ
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาจึงเป็นกระบวนการที่ช่วย
ให้ ผู้ ค นที่ มี ปั ญ หาทางจิ ต ใจหรื อ ปั ญ หาทางร่า งกายซึ่ ง มี
ผลกระทบเนื่องมาจากสภาวะทางจิตใจ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
ตั ว เอง ผู้ อื่ น และสิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่ อ ที่ จ ะแสดงบทบาทได้ อ ย่ า งเหมาะสม รวมไปถึ ง เรี ย นรู้ วิ ธี ก ารที่ จ ะมี
ความสั มพัน ธ์กับ ผู้ อื่น ได้อย่างราบรื่น กระบวนการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาดังกล่ าว สามารถช่วยให้ บุคคล
สามารถตั้งเป้าหมายเพื่อตัดสินใจและแก้ปัญหาของตนเองได้ (Hansen, Rossberg & Cramer, 1994) โดย
จิตวิทยาการปรึกษาเป็นวิชาชีพ ที่ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้จะสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาที่กาหนด ใน
ประเทศไทยสาขานี้มักจะอยู่ในระดับปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก และมีการศึกษาในระดับปริญญาตรีในบาง
สถาบันการศึกษาเพื่อจะทาให้ผู้ที่รับบริการการปรึกษามั่นใจได้ว่า นักจิตวิทยาการให้การปรึกษามีคุณสมบัติ
ตรงตามมาตรฐานการศึกษาและวิชาชีพขั้นต่า (Wittmer & Loesch, 1986)
การปรึกษาทางจิตวิทยาเป็นกระบวนการที่ให้ผู้รับการปรึกษาเรียนรู้วิธีการตัดสินใจและกาหนดวิธีการ
ใหม่ ๆ ในการแสดงพฤติกรรม ความรู้สึก และมีมุมมอง ความคิดที่เหมาะสม โดยผู้ให้การปรึกษาจะมุ่งเน้นไปที่
เป้าหมายที่ผู้รับการปรึกษาต้องการจัดการ หรือทาความเข้าใจ (Brammer, 1993; Egan, 1990) ดังนั้นหน้าที่
ของนักจิตวิทยาการปรึกษาเปรียบเสมือนผู้เอื้อให้ผู้ที่มีความไม่สบายใจ หรือมีปัญหาทางใจเหล่านั้น ได้เข้าใจ

จิตวิทยาการปรึกษาสาหรับผู้เริ่มต้น
3

ปัญหาของตนเองชัดเจนมากขึ้น เข้าใจตนเองมากขึ้น รู้ตนเองมากขึ้น และมีแนวทางในการจัดการความไม่


สบายใจ หรือ มีปัญหาทางใจได้อย่างเหมาะสม และสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น
ในหนังสือ หรือตารา ภาษาอังกฤษ คาว่า “การให้การปรึกษาทางจิตวิทยา” มักจะถูกใช้แทนที่กับคา
ว่า “การบาบัดทางจิต” หรือ”จิตบาบัด” หากพิจารณาตามความหมายของทั้งสองคานี้ “การให้การปรึกษา
ทางจิตวิทยา” มักเป็น คาที่ใช้สาหรับ การช่วยเหลือคนปกติที่มีปัญหาเรื่องการปรับตัว พฤติกรรม ความคิด
อารมณ์ ส่วน “จิตบาบัด” หรือ “การบาบัดทางจิต” เป็นคาที่ใช้สาหรับคนที่มีปัญหาทางจิตใจรุนแรงหรือ มี
ความเจ็บป่วยทางจิต ใจ แต่ในหนังสือ ตาราภาษาอังกฤษหลายเล่มมักจะใช้คาทั้งสองคานี้ แทนกัน เพราะมี
ความคิดเห็นว่า “การให้การปรึกษาทางจิตวิทยา” และ “การบาบัดทางจิต” มีเป้าหมาย กระบวนการและ
เทคนิคในการให้ความช่วยเหลือไม่แตกต่างกัน ตาราภาษาอังกฤษจึงใช้คาว่า “การให้การปรึกษาทางจิตวิทยา”
“การให้การบาบัดทางจิต” หรือ “จิตบาบัด” แทนกันหรือสลับกันได้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2554)
แล้ ว หากถ้ า เปรีย บ “ชี วิต ” เหมือ น “การเดิ น ทาง” ในทุ ก การเดิ น ทางทุ ก คนก็จ ะต้ องมี ข้าวของ
สัมภาระต่างๆ ไว้ใช้ในการเดินทาง บางคนก็ นาของที่ มี
ประโยชน์ และจาเป็น ที่จะต้องใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ไป
ด้วยในการเดินทาง แต่คนที่มีความทุกข์อาจจะเผลอหยิบ
ของบางอย่างที่ไม่จาเป็ น หรือ มีข้าวของบางอย่างที่ไม่
ต้ อ งการมาด้ ว ย หรื อ อาจจะไม่ รู้ ว่ าของต่ างๆ ที่ มี นั้ น มี
คุณค่าหรือมีประโยชน์และสามารถนามาใช้ในสถานการณ์
ต่างๆ ในการดาเนินชีวิตได้อย่างไรบ้าง โดยข้าวของต่างๆ
นั้ น อาจจะถู ก เก็ บ ไว้ ใ นกระเป๋ า ที่ ใ ช้ ใ นการเดิ น ทางที่
เรียกว่า “กระเป๋าที่มองไม่เห็น” ในกระเป๋านั้นอาจจะมี
 อารมณ์ ความรู้สึก เช่น โกรธ น้อยใจ /
เสียใจ ดีใจ ผิดหวัง มีความสุข
 ความคิดการรับรู้ เช่น ฉันเป็นคนเก่ง ฉันเป็นคนมีความสุข เธอเป็นคนแย่ /ทัศนคติ/มุมมอง/
เธอเห็นแก่ตัว โลกนี้ไม่ยุติธรรม
 ความคาดหวัง เช่น ฉันอยากให้เธอเข้าใจฉัน ฉันอยากให้เธอคุยกับฉันทุกเรื่อง ฉันอยากให้ ทุก
รับผิดชอบตัวเอง
 ความต้องการทางใจ เช่น การยอมรับ ความรัก ความรู้สึกว่าฉันเป็นส่วนหนึ่ง หรือ แม้แต่
 ประสบการณ์เดิม เช่น ฉันเคยเจอคนแบบนี้มาก่อน คนแบบนี้ไว้ใจไม่ได้ , คนส่วนใหญ่เห็นแก่
ตัว ฉันรู้ดี
 รูปแบบพฤติกรรมที่เคยชิน เช่น ยอมแพ้ โทษคนอื่น โทษตนเอง ใช้เ หตุผลมากๆ หนีปัญหา
รวมไปถึง
 ความสามารถ ส่วนที่ดี เช่น กล้าหาญ อดทน เข้าใจผู้อื่น มีน้าใจ เป็นต้น/

จิตวิทยาการปรึกษาสาหรับผู้เริ่มต้น
4

หน้าที่ของนักจิตวิทยาการปรึกษาเปรียบเหมือนคนที่ทาให้ “นักเดินทาง” เข้าใจว่าในกระเป๋านั้นมี


อะไร และจะนาอะไรในกระเป๋า ใบนั้นมาใช้ในการเดินทาง หรือเผชิญปัญหาแต่ละครั้ง เพื่อให้การเดินทางนั้น
ราบรื่น และ มีความสุขมากขึ้น
โดยการให้คาปรึกษาทางจิตวิทยา แตกต่างจากการแนะนาโดยทั่วไป แตกต่างจากการพูดคุยปรึกษา
กับเพื่อน หรือ คนรู้จักทั่วไป เพราะ การให้การปรึกษาทางจิตวิทยาจะเป็นการให้บริการจากนักให้ การปรึกษา
ทางจิตวิทยาที่มีวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้จะสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาที่กาหนด มีการฝึกฝน
เรีย นรู้ จึ งจะทาให้ผู้ ที่รับ บริการการปรึกษามั่นใจได้ว่า นักจิตวิทยาการให้การปรึกษามีคุณ สมบัติตรงตาม
มาตรฐานการศึกษาและวิชาชีพขั้นต่า

วัตถุประสงค์ของกำรปรึกษำทำงจิตวิทยำ
การให้บริการเกี่ยวกับการให้การปรึกษาทางจิตวิทยาในแต่ละครั้งอาจจะมีการกาหนดวัตถุประสงค์
และเป้าหมายที่แตกต่างกัน แต่หากจะพูดถึงวัตถุประสงค์โดยรวมของกระบวนการให้การปรึกษาทางจิตวิทยา
สามารถอธิบายวัตถุประสงค์เป้าหมายที่สาคัญได้ดังนี้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554)
เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาทางจิตวิทยามีความเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และ เข้าใจสิ่งแวดล้อมตาม
ความเป็นจริง
เพื่อทาให้ผู้รับการปรึกษาค้นพบทักษะ ความสามารถของตนเอง ที่จะนามาใช้ในการปรับตัว ในการ
ดารงชีวิตให้มีความเหมาะสม หรือ มีความสุขมากขึ้น
เพื่ อ ช่ว ยให้ ผู้ รับ การปรึ ก ษามี ค วามสามารถในการตั ดสิ น ใจในการแก้ปั ญ หาของตนเองได้ อย่างมี
ประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตนเองไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์มาก
ขึ้น
นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้รับการปรึกษาสามารถพัฒนาความสามารถศักยภาพของตนเองเพื่อนามาใช้ให้
เกิดประโยชน์ต่อตนเองผู้อื่นและสังคมได้
ดังนั้นการให้การปรึกษาทางจิตวิทยาจึง
เป็ น วิ ช าที่ ว่ า ด้ ว ย ขั้ น ตอน กระบวนการ และ
เป้ าหมาย โดยหากจะแบ่ งเป้ าหมายของการให้
การปรึกษาทางจิตวิทยาออกเป็นระยะ สามารถ
แบ่ งได้ เป็ น เป้ าหมายระยะสั้ น และ เป้ าหมาย
ระยะยาว โดย เป้าหมายระยะสั้น หมายถึง การ
ช่ ว ยให้ แ ต่ ล ะบุ ค คลได้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลง
พฤติ ก รรม ความคิ ด มุ ม มองที่ มี ต่ อ ตนเองโดย
สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด มุมมอง
ความคาดห วั ง เพื่ อน าไป สู่ พ ฤติ ก รรมที่ พึ ง
ปรารถนาหรือพฤติกรรมที่เหมาะสมมากขึ้น โดย

จิตวิทยาการปรึกษาสาหรับผู้เริ่มต้น
5

ตระหนักรู้ในความคิด อารมณ์ ความคาดหวังของตนเอง และอาจหมายรวมถึงเพิ่มความสามารถในการเผชิญ


ปัญหา แก้ปัญหาของตนเองได้ หรือเข้าใจความขัดแย้งภายในใจ แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการมีสัมพันธภาพกับ
ผู้อื่น โดยเป้าหมายระยะทางสั้น ที่กล่าวมานั้น จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระยะยาวคือ การช่วยให้ผู้รับการ
ปรึกษาสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ บนพื้นฐานของ
การตระหนักรู้ในตนเองรวมถึง การยอมรับทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ไม่ดี ของตนเอง อันจะนาไปสู่การมีพฤติกรรม
และอารมณ์ที่สม่าเสมอ ไม่เปลี่ยนแปลงหรือแปรปรวนง่าย นั่นหมายถึง ทาให้ผู้รับการปรึกษามีความสามารถ
ในการจัดการควบคุมตนเอง ส่งผลทาให้เกิดบุคลิกภาพที่เหมาะสมมากขึ้น
จะเห็นว่าการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแต่ละครั้ง ผู้ให้การปรึกษาจะมีการกาหนดหรือวางเป้าหมาย
เพื่อวางแผนในการทางานร่วมกันกับผู้รับการปรึกษาโดยมีประโยชน์สูงสุดของผู้รับการปรึกษาเป็นสาคัญ

เอกสำรอ่ำนเพิ่มเติม

ประมวลสาระชุดวิชา แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา มหาวิทยาลั ย


สุโขทัยธรรมธิราช

หนังสือ ทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตบาบัดเบื้องต้น โดย รศ.ดร. ดวงมณี จงรักษ์

หนังสือ ทฤษฎีและเทคนิคการให้คาปรึกษา (Theories and techniques of counseling) พงษ์พันธ์


พงษ์โสภา และ วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา

หนังสือ Nelson-Jones' Theory and Practice of Counselling and Psychotherapy

จิตวิทยาการปรึกษาสาหรับผู้เริ่มต้น

You might also like