You are on page 1of 17

1

อาจารย์พัชรินทร์ วงษ์สว่าง
ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
เอกสารประกอบการเรียนรู้ภาคทฤษฎี
บทที่ 2 จิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์

รหัสวิชา ๐๑๑๒๓๐๐๑๐๔ จิตวิทยาพัฒนาการและกระบวนการคิด


วัตถุประสงค์ทั่วไป เมื่อจบการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนสามารถ
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์
2. ตระหนักถึงความสำคัญของทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์
3. นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในนำทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์

วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. บอกแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์ และระบุแนวทางการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการพยาบาล
ได้
2. บอกแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีของอีริคสัน ทฤษฎีของมาสโลว์ ทฤษฎีของเพียเจต์ ทฤษฎีของโคลเบิร์ก
และระบุแนวทางการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการพยาบาลได้
หัวข้อที่สอน
2.1 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory
2.2 ทฤษฎีของอีริคสัน
2.3 ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs)
2.4 ทฤษฎีของเพียเจต์
2.5 ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanistic Theory)
2.6 ทฤษฎีของโคลเบิร์ก
2

บทที่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์
บทนำ
แนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์เป็นการนำทฤษฎีที่ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านจิตเวช
ศาสตร์ มนุษยศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศาสตร์สาขาอื่นๆมาอธิบายและทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่ผิดปกติของบุคคลทั้งในภาวะปกติและเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
ทางจิต ปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งที่สามารถอธิบายความผิดปกติของพฤติกรรม ความคิด
ความรู้สึกของผู้ป่วยได้อย่างครบถ้วน จึงจำเป็นต้องมีหลายๆ ทฤษฎีที่ช่วยให้พยาบาลมีความรู้ ความ
เข้าใจ และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมี
ประสิทธิภาพ
2.1 การใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีจิตสังคม
2.2.1 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ริเริ่มโดย ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud: 1856-1939) นักประสาท
วิทยาชาวออสเตรีย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยฟรอยด์มีความเชื่อว่าระดับ
จิตใจของมนุษย์มีความแตกต่างกันในแต่ละขั้น เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ พฤติกรรมและ
ประสบการณ์ในภาวะจิตสำนึกเป็นเพียงส่วนที่เล็กน้อยส่วนหนึ่งของจิตใจเท่านั้น การแสดงออกต่างๆ ที่
เกิดขึ้นเป็นแรงกระตุ้นโดยตรงจากจิตใต้สำนึก ความขัดแย้ง แรงจูงใจ รวมไปถึงความคับข้องใจ ซึ่ง
การศึกษาระบบจิตใต้สำนึกนั้นไม่สามารถศึกษาได้โดยตรง แต่สามารถเข้าใจได้โดยการวิเคราะห์จากการ
แสดงออกขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะจิตสำนึก ฟรอยด์ได้ศึกษาและกำหนดแนวคิดของทฤษฎี ซึ่ง
ประกอบด้วย ระดับของจิตใจ (Level of mind) โครงสร้างของจิตใจ (Structure of mind)
สัญชาตญาณ (Instinct) กลไกการป้องกันทางจิต (Defense mechanism) และพัฒนาการทาง
บุคลิกภาพ (Psychosexual development) โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.2.1.1 ระดับของจิตใจ (Level of mind) ภาพเปรียบเทียบเกี่ยวกับจิตใจตามทฤษฎีจิต
วิเคราะห์ที่รู้จักกันดีเป็นภาพภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg) (ศุกร์ใจ เจริญสุข, 2557) ซึ่งฟรอยด์เปรียบเทียบจิต
ของคนเป็นเหมือนก้อนน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1) ระดับจิตสำนึก (Conscious level) เป็นระดับของจิตใจที่มนุษย์รู้สึกตัวและตระหนักใน
ตนเอง มีพฤติกรรมและการแสดงออกที่ตนรับรู้ พฤติกรรมที่แสดงออกอยู่ภายใต้การควบคุมด้วย
สติปัญญา ความรู้ และการพิจารณาให้เหมาะสมกับสิ่งที่ถูกต้องและสังคมยอมรับ
2) ระดับจิตใต้สำนึก (Subconscious/Preconscious level) เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในระดับ
กึ่งรับรู้ และไม่รับรู้ อยู่ในระดับลึกลงกว่าจิตสำนึก ต้องใช้เวลาและเหตุการณ์ช่วยกระตุ้นให้เกิดการระลึก
ได้ จิตใจในส่วนนี้จะช่วยขจัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไปจากความรู้สึกของบุคคลและเก็บไว้แต่ส่วนที่มี
ความหมายต่อตนเอง จิตใจในส่วนนี้ดำเนินการอยู่ตลอดเวลาในชีวิต
3) ระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious level) เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในส่วนลึกไม่สามารถจะนึก
ได้ในระดับจิตสำนึกธรรมดา บุคคลมักจะเก็บประสบการณ์ที่ไม่ดีและเลวร้ายในชีวิตที่ผ่านมาของตนไว้ใน
จิตไร้สำนึกโดยไม่รู้ตัว และจะแสดงออกในบางโอกาสซึ่งเจ้าตัวไม่ได้ควบคุมและไม่รู้สึกตัว
2.2.1.2 โครงสร้างของจิตใจ (Structure of mind) ฟรอยด์ แบ่งโครงสร้างของจิตใจออกเป็น 3 ระบบ
ดังนี้
1) Id เป็นแรงผลักดันของจิตใจที่ติดตัวทุกคนมาแต่กำเนิด เป็นแรงขับตามสัญชาตญาณ เป็นการ
แสวงหาความสุขโดยยึดความพึงพอใจเป็นหลัก (Pleasure principles) ฟรอยด์ เรียกกระบวนการทำงาน
3

ของจิตใจส่วนนี้ว่า “กระบวนการคิดแบบปฐมภูมิ” (Primary thinking process) ซึ่งไม่ได้กลั่นกรองหรือ


ขัดเกลาให้เหมาะสม เป็นความต้องการเบื้องต้นและกระทำเพื่อสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น
2) Ego เป็นส่วนของจิตใจที่ดำเนินการโดยอาศัยเหตุและผล เพื่อตอบสนองสิ่งที่ตนปรารถนา
ตามหลักแห่งความเป็นจริง (Reality principle) การทำงานของจิตใจส่วนนี้อยู่ในระดับจิตสำนึก มีการ
พิจารณากลั่นกรองเพื่อตอบสนองความต้องการตามแรงขับของ Id ให้อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสม
เรียกกระบวนการคิดในลักษณะนี้ว่าเป็น “กระบวนการคิดแบบทุติยภูมิ” (Secondary thinking
process)
3) Superego เป็นส่วนของจิตใจที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับมโนธรรม (Conscience) คือ ความรู้สึกผิด
ชอบชั่วดีที่มีอยู่ในจิตใจของบุคคล เกิดจากการอบรมสั่งสอนของบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดู
2.2.1.3 สัญชาตญาณ (Instinct) ฟรอยด์เชื่อว่าแรงผลักดันทางด้านบุคลิกภาพมาจากพลังงาน 2
ประเภท คือ พลังงานทางร่างกาย (Physiological energy) และพลังงานทางจิต (Psychic energy) ซึง่
พลังงานทางจิตอยู่ภายใต้จิตไร้สำนึก และเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมในคน ตัวเชื่อมระหว่างพลังงานทาง
กายและพลังงานทางจิต ได้แก่ สัญชาตญาณ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) สัญชาตญาณทางเพศ (Sexual of life instinct: Libido) ทำหน้าที่ผลักดันให้มนุษย์แสวงหา
ความพอใจตามที่ตนเองต้องการ ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ แรงขับทางเพศ ซึ่งมีมาตั้งแต่แรกเกิด ในร่างกายมี
อวัยวะต่างๆ ที่ไวต่อการสัมผัสซึ่งจะทำให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ ได้แก่ บริเวณปาก ทวารหนัก และ
อวัยวะเพศ
2) สัญชาตญาณแห่งความก้าวร้าว (Aggressive of instinct: Mortido) ทำหน้าที่ผลักดันให้
มนุษย์แข่งขันกัน ชิงดีชิงเด่นกัน เอาชนะกัน มีลักษณะพลังงานในทางทำลาย
2.1.4 กลไกการป้องกันทางจิต (Defense mechanism) กลไกการป้องกันทางจิต เป็น
กระบวนการที่เกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึก ที่บุคคลใช้เพื่อลดความวิตกกังวลเมื่อเผชิญปัญหาหรือขจัด
ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ อันมีสาเหตุมาจากความกลัว ความวิตกกังวล ความคับข้องใจ หรือความ
ขัดแย้งที่ตนแก้ไขไม่ได้ หากบุคคลใช้กลไกทางจิตที่ไม่เหมาะสมจนติดเป็นนิสัย จะมีแนวโน้มเกิดปัญหา
ทางสุขภาพจิตได้ กลไกทางจิตที่พบบ่อย (ศุกร์ใจ เจริญสุข, 2557; Videbeck, 2014) มีดังนี้
1) การชดเชย (Compensation) เป็นการกระทำเพื่อลบล้างจุดบกพร่องจุดอ่อน หรือปมด้อย
ของตน โดยการสร้างจุดเด่นทางอื่น ตัวอย่างเช่น คนที่เรียนไม่เก่งหันไปเอาดีทางด้านดนตรี
2) การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเป็นพฤติกรรม (Conversion) เป็นการเปลี่ยนความขัดแย้งในจิตใจ
เกิดเป็นอาการทางกาย ตัวอย่างเช่น เดินไม่ได้เพราะขาอ่อนแรงหลังจากถูกบังคับให้แต่งงาน
3) การปฏิเสธ (Denial) เป็นการปฏิเสธที่จะยอมรับบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็นความจริงโดยการ
เพิกเฉย เพราะการยอมรับความจริงทาให้รู้สึกไม่สบายใจ ตัวอย่างเช่น ไม่ยอมรับผลการตรวจจากแพทย์
ว่าเป็นมะเร็งจึงไปพบแพทย์ที่อื่นเพื่อให้ตรวจรักษาใหม่
4) การแทนที่ (Displacement) เป็นการถ่ายเทอารมณ์ที่มีต่อบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นหรือวัตถุ
สิ่งของอื่น โดยที่บุคคลหรือวัตถุสิ่งของนั้นไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นอารมณ์แต่อย่างใดตัวอย่างเช่น หลังจากถูก
มารดาดุรู้สึกโกรธมากจึงหันไปขว้างแจกันของมารดาแตกกระจาย
5) การโทษตัวเอง (Introjection) เป็นการตำหนิ กล่าวโทษตนเองตัวอย่างเช่น เพราะตนเองดูแล
น้องไม่ดีจึงทำให้น้องถูกรถชน
6) การโทษผู้อื่น (Projection) เป็นการโยนอารมณ์ ความรู้สึกที่รับไม่ได้ของคนเราภายในจิตไร้
สำนึกไปยังอีกคนหนึ่งหรือเป็นการโยนความผิดให้ผู้อื่น ตัวอย่างเช่น นักเรียนสอบตกบอกว่าครูสอนไม่ดี
4

7) การแยกตัว (Isolation) เป็นการไม่ตอบสนองต่อการกระทำที่นำความคับข้องใจมาให้ จะ


แยกตัวออกจากสภาพการณ์นั้น ตัวอย่างเช่น เด็กคิดว่าพ่อแม่ไม่รักจึงขังตัวอยู่ในห้องคนเดียว
8) การถดถอย (Regression) เป็นการแสดงออกโดยการมีพฤติกรรมกลับไปสู่ในระดับพัฒนาการ
ของจิตใจและอารมณ์ในระดับต้นๆ เกิดขึ้นเมื่อประสบภาวะความไม่มั่นคงทางจิตใจ ตัวอย่างเช่น เด็กที่
แม่มีน้องใหม่กลับมามีพฤติกรรมปัสสาวะรดที่นอน
9) การเก็บกด (Repression) เป็นการเก็บกดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด จากระดับจิตสำนึกไปสู่
ระดับจิตไร้สำนึก เพื่อให้ลืมเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สบายใจ ตัวอย่างเช่น เคยถูกน้าชายข่มขืนในวัยเด็กแล้ว
จำไม่ได้ว่าทำไมตนเองจึงเกลียดน้าชาย
10) การเก็บกด (ระดับจิตสำนึก) (Suppression) เป็นการลืมบางสิ่งบางอย่างโดยเจตนา มี
ลักษณะคล้ายกับ Repression แต่เป็นกระบวนการขจัดความรู้สึกดังกล่าวออกไปจากความคิด และ
เกิดขึ้นโดยผู้กระทำมีความรู้ตัวและตั้งใจ ในขณะที่ Repression นั้นไม่รู้ตัวตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยบอก
พยาบาลว่ายังไม่พร้อมที่จะพูดเรื่องการทะเลาะกับสามี
11) การลบล้างความรู้สึกผิด (Undoing) เป็นการกระทำในสิ่งที่ดีเพื่อลบล้างความรู้สึกผิดที่เกิด
จากการกระทำของตนเอง ตัวอย่างเช่น ผิดนัดกับเพื่อนจึงพาเพื่อนไปเลี้ยงข้าว
12) การอ้างเหตุผล (Rationalization) เป็นการหาเหตุผลที่สังคมยอมรับมาอธิบายพฤติกรรม
ต่างๆ ของตน เป็นการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองหรือเป็นการแก้ตัว
12.1) แบบองุ่นเปรี้ยว (Sour grape) เป็นการให้เหตุผลว่าสิ่งที่ตนเองต้องการแล้วไม่ได้นั้นเป็น
สิ่งไม่ดี ตัวอย่างเช่น อยากเรียนแพทย์แต่สอบไม่ติดเลยบอกว่าอาชีพแพทย์ไม่ดีเรียนแล้วเครียด
12.2) แบบมะนาวหวาน (Sweet lemon) เป็นการหาเหตุผลมาสนับสนุนเมื่อตนเองต้องการสิ่ง
ใดแล้วไม่สามารถหามาได้ โดยบอกว่าสิ่งที่ตนเองประสบหรือการกระทำของตนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
ตัวอย่างเช่น มีบ้านหลังเล็ก บอกว่าดีเพราะดูแลทำความสะอาดง่าย
13) การหาทางทดแทน (Sublimation) เป็นการปรับเปลี่ยนความรู้สึกหรือแรงผลักดันที่ไม่ดี ที่
สังคมไม่ยอมรับ ไปเป็นวิธีการที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นการลดความกดดันทางจิตใจไปในทางสร้างสรรค์
ตัวอย่างเช่น คนก้าวร้าวผันตัวเองไปเป็นนักมวย
14) การกระทำตรงข้ามกับความรู้สึก (Reaction formation) เป็นการที่บุคคลมีพฤติกรรมการ
แสดงออกตรงข้ามกับความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของตน ตัวอย่างเช่น บอกเพื่อนร่วมงานว่าหัวหน้าเป็น
คนดีทั้งที่ในใจเกลียดหัวหน้ามาก
15) การเลียนแบบ (Identification) เป็นการรับเอาความคิด ทัศนคติค่านิยม ลักษณะประจำตัว
ของบุคคลสำคัญในชีวิตหรือบุคคลที่นิยมชมชอบมาเก็บและจดจำไว้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพ
ของตนเอง ตัวอย่างเช่น เด็กบอกพยาบาลว่า “โตขึ้นจะเป็นพยาบาลเหมือนพี่” หรือ การเลียนแบบครู
การเลียนแบบดารา เป็นต้น
4.2.1.5 พัฒนาการทางบุคลิกภาพ (Psychosexual development) ฟรอยด์ แบ่ง
พัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็น 5 ระยะ (Halter & Carson, 2010 อ้างถึงใน ศุกร์ใจ
เจริญสุข, 2557) ดังนี้
1) ระยะปาก (Oral stage) อายุ 0-1 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะมีความสุขอยู่กับการใช้ปากในการดูดไม่
ว่าจะเป็นการดูดนมมารดา ดูดนิ้ว การกัด การเคี้ยว หรือนำสิ่งต่างๆ เข้าปาก หากมารดาเลี้ยงดูโดยให้
ความรักความอบอุ่นอย่างเหมาะสม เด็กก็จะไว้วางใจมารดาและโลกภายนอกต่อไปในอนาคต แต่ถ้าหาก
มารดาไม่ตอบสนองต่อเด็กเวลาที่เด็กต้องการ เช่น หิว หรือขับถ่าย เด็กจะมีการติดอยู่ที่ขั้นพัฒนาการนี้
5

โดยจะเป็นคนที่พึ่งพาผู้อื่น ต้องการที่จะได้รับความสนใจจากผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา หากมีการหยุดชะงักของ


พัฒนาการระยะปาก (Oral fixation) จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เช่น พูดมาก ช่างนินทา ก้าวร้าว กิน
จุบจิบ สูบบุหรี่ ถุยน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่ง และกัดเล็บ เป็นต้น
2) ระยะทวารหนัก (Anal stage) อายุ 1-3 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้ถึงแรงกดดันที่ต้องการจะขับถ่าย
และเริ่มมีความสามารถที่จะควบคุมการขับถ่ายได้ หากบิดามารดามีการฝึกการขับถ่ายของเด็กได้อย่าง
เหมาะสม ไม่เข้มงวดเกินไป จะทาให้เด็กโตขึ้นเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง แต่ถ้าหากบิดามารดา
เข้มงวดในการฝึกการขับถ่ายมาก จะทาให้เด็กโตขึ้นเป็นคนเจ้าระเบียบรักความสะอาดมากเกินไป ย้ำคิด
ย้ำทำ หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะทวารหนัก (Anal fixation) จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม
เช่น เจ้าระเบียบ ตรงต่อเวลา ขาดความยืดหยุ่น วิตกกังวล กลัว ความผิดพลาด จนอาจกลายเป็นโรคย้ำ
คิดย้ำทำหรือกลายเป็นคนไร้ระเบียบในชีวิต เป็นต้น
3) ระยะพัฒนาการทางเพศ (Phallic stage) อายุ 3-6 ปี ในช่วงนี้เด็กจะให้ความสนใจทางด้าน
เพศมาก และเป็นระยะสำคัญที่เกิดปม Oedipal complex ในเด็กผู้ชาย และ Electra complex ใน
เด็กผู้หญิง โดยเด็กจะสนใจบิดามารดาเพศตรงข้าม เกิดการเลียนแบบทางเพศจากบิดาหรือมารดา
เด็กชายรู้สึกผูกพันกับมารดาจึงพร้อมเลียนแบบอย่างบิดา เด็กหญิงรู้สึกผูกพันกับบิดาจึงพร้อมเลียนแบบ
อย่างมารดา เด็กที่ติดอยู่ที่ระยะนี้จะมีจินตนาการเกี่ยวกับการรักบิดามารดาเพศตรงกันข้ามและเป็น
ปรปักษ์กับบิดามารดาเพศเดียวกัน มีการแข่งขันกับบิดามารดาเพศเดียวกันเพื่อแย่งความสนใจจากบิดา
มารดาเพศตรงข้าม ทำให้ไม่สามารถเลียนแบบค่านิยม มโนธรรมได้กลายเป็นคนไม่มีคุณธรรมจริยธรรม มี
พฤติกรรมต่อต้านสังคม หากมีการหยุดชะงักของระยะพัฒนาการทางเพศ (Phallic fixation) อาจทำให้มี
การแสดงออกทางพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมหรือมีความผิดปกติในการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ เป็น
ต้น
4) ระยะแฝง (Latency stage) อายุ 6-12 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะพัฒนาความสามารถในการสร้าง
ความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อนเพศเดียวกัน ถ้าหากในระยะนี้เด็กถูกบังคับให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์
จากครอบครัวหรือจากโรงเรียนที่เข้มงวดมากเกินไปจะทำให้เกิดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ เคร่งครัดเกินไป
และไม่ยืดหยุ่นได้ หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะนี้ จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะทางสังคม
และเกิดปมด้อย
5) ระยะวัยเจริญพันธุ์ (Genital stage) อายุ 12 ปีขึ้นไป เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงทาง
สรีรวิทยาทางด้านเพศ ระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นทำให้แรงขับทางเพศกลับมาสูงขึ้นอีก มีการพัฒนา
ความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ ระยะวัยรุ่นนี้เป็นระยะที่เด็กเริ่มต้องการความเป็นอิสระต้องการเป็นตัว
ของตัวเอง และมีการปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นที่ยอมรับจากสังคม หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการ
ระยะนี้ จะเกี่ยวข้องกับการไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งที่พอใจกับผู้อื่นได้
การประยุกต์ใช้ในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
พยาบาลสามารถนำแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์มาใช้ในการพยาบาล โดยทำความ
เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ว่ามีความหมาย มีเป้าประสงค์ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับจิตสำนึก
จิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก ซึ่งจะช่วยอธิบายถึงกลไกของพฤติกรรมมนุษย์ ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวจะ
ช่วยให้พยาบาลสามารถแยกแยะสาเหตุของปัญหาทางจิตของผู้ป่วยได้ การวิเคราะห์เกี่ยวกับกลไกการ
ป้องกันทางจิตที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วยจิตเวช จะเป็นแนวทางในการช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้กลไกการป้องกัน
ทางจิตที่เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ความเข้าใจพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยยังเป็นประโยชน์สำหรับ
6

พยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันการเกิดปัญหาทางจิตโดยการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่บิดา
มารดาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการของบุตร
2.2 ทฤษฎีจิตสังคม (Psychosocial Theory)
ทฤษฎีจิตสังคม ริเริ่มโดย อิริค เอช อิริคสัน (Erik H. Erikson: 1902-1982) อิริคสันได้
อธิบายถึงพัฒนาการทางจิตใจโดยยอมรับพัฒนาการทางจิตใจตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ แต่เน้น
ความสำคัญของปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรมและปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นต่อพัฒนาการทางจิตใจ โดย
เชื่อว่าบุคลิกภาพเป็นผลมาจากความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการแก้ไขข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการ
ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานในแต่ละช่วงชีวิตของบุคคล โดยแบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพ
เป็น 8 ขัน้ ตอน ดังนี้
1) ความไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust) อายุ 0-18 เดือน การเลี้ยงดูที่มารดา
สามารถตอบสนองความต้องการทางร่างกาย เช่น การให้นมและอาหารในเวลาที่เด็กรู้สึกหิว และสามารถ
ตอบสนองความต้องการทางจิตใจด้วยความรักความอบอุ่นอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เด็กเกิดความไว้วางใจ
และสามารถแก้ไข Internal crisis ในระยะแรกนี้ได้ และเด็กจะมีการพัฒนา Basic trust คือ ความรู้สึก
ไว้วางใจผู้อื่นและเชื่อมั่นในตนเอง รวมทั้งสามารถพึ่งพาผู้อื่นอย่างเหมาะสม อันเป็นพื้นฐานของ
พัฒนาการทางจิตใจและบุคลิกภาพในระยะต่อไป
2) ความเป็นตัวของตัวเองหรือความละอายและสงสัยไม่แน่ใจ (Autonomy vs Shame and
Doubt) อายุ 18 เดือน-3 ปี เป็นระยะที่เด็กสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆ รวมทั้งการขับถ่ายได้ดี
และเริ่มต้องการความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) แต่ในขณะเดียวกันบิดามารดาเริ่มต้องการฝึกหรือ
ควบคุมพฤติกรรมบางอย่าง การควบคุมอย่างเข้มงวดหรือเร็วเกินไปจะเกิดผลเสียต่อการพัฒนา Internal
control ของเด็กเอง หรือการที่บิดามารดาไม่สามารถช่วยควบคุมให้เด็กควบคุมตนเองได้ จะมีผลเสียต่อ
การพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองของเด็ก การควบคุมอย่างเหมาะสมช่วยให้เด็กพัฒนาความเป็นตัวของ
ตัวเองได้โดยไม่เกิดความละอายหรือไม่แน่ใจในตนเอง (Shame and Doubt)
3) ความคิดริเริ่มหรือความรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) อายุ 3-6 ปี เป็นระยะที่เด็กมีพัฒนาการ
ด้านกล้ามเนื้อ ภาษา ความคิดและปัญญา มีความอยากรู้อยากเห็นและมีความคิดริเริ่มในเรื่องต่างๆ หาก
บิดามารดาสนับสนุนโดยควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กจะสามารถแก้ไข Internal crisis นี้ได้
และมีความคิดริเริ่มในทางที่เหมาะสม (Initiative) มีความรับผิดชอบ สามารถควบคุมตนเองและมีมโน
ธรรม ส่วนเด็กที่พ่อแม่คอยปกป้อง ห้ามปราม หรือควบคุมมากเกินไปจะมีมโนธรรมที่เข้มงวดมากจนเกิด
ความรู้สึกผิด (Guilt) ในเรื่องต่างๆ ได้ง่าย
4) ความขยันหมั่นเพียรหรือความรู้สึกมีปมด้อย (Industry vs Inferiority) อายุ 6-12 ปี เป็นวัย
ที่เด็กเข้าสู่สังคมนอกครอบครัว ทั้งกับเพื่อน ครูที่โรงเรียน และบุคคลอื่นในสังคมมากขึ้น มีความสนใจ
และความสุขในการเรียนรู้และฝึกทักษะด้านต่างๆ หากบิดามารดาและครูสนับสนุนกระตุ้นให้เด็กรู้จักทำ
กิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง โดยยอมรับและให้อภัยเมื่อเด็กผิดพลาด เด็กจะมีการพัฒนาความวิริยะ
อุตสาหะ (Industry) รู้สึกว่าตนเองมีความสามารถและนับถือตนเอง (Self esteem) ส่วนเด็กที่ได้รับการ
ดูแลในทางตรงข้ามจะมีความรู้สึกมีปมด้อย (Inferiority) รู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถและไม่มีคุณค่า
5) การรู้เอกลักษณ์ของตนเองหรือสับสนในบทบาท (Identity vs Role Confusion) อายุ 12-
20 ปี เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมเป็นอย่างมาก ที่สำคัญในระยะนี้
คือ การพัฒนาอัตลักษณ์ (Identity) ที่สอดคล้องกับค่านิยมของสังคม ประสบการณ์จากพัฒนาการ
ประสบการณ์กับกลุ่มเพื่อน ครูอาจารย์ บิดามารดา และบุคคลทั่วไป การมีบุคคลที่ยึดเป็นแบบอย่างจะ
7

ช่วยให้วัยรุ่นแก้ไข Identity crisis และมีการพัฒนาอัตลักษณ์ (Identity) ที่มั่นคงได้หากพัฒนาการใน


ระยะนี้ล้มเหลว จะเกิดความสับสนในบทบาทและความสำคัญของตนเองในสังคม (Role confusion)
ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และอาจมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทาง
เพศหรือเกเรอันธพาล
6) ความผูกพันใกล้ชิดหรือการแยกตัว (Intimacy vs Isolation) อายุ 20-40 ปี เป็นระยะที่
บุคคลมีการพัฒนาอัตลักษณ์ที่มั่นคงและพร้อมสำหรับการทำงานและการมีความรักอย่างมีความสุข มี
ความต้องการความสัมพันธ์ที่สนิทสนมกับบุคคลอื่น ( Intimacy) โดยรู้จักการประนีประนอม เสียสละ
ความสุขส่วนตัวบางอย่าง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน และสามารถมีความสุขทางเพศกับคู่ครองได้ หาก
พัฒนาการในระยะนี้ล้มเหลว บุคคลจะแยกตัวจากสังคม (Isolation) ไม่สามารถยอมรับความแตกต่าง
และไม่สามารถสร้างสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้ หมกมุ่นแต่เรื่องของตนเอง
7) การคิดถึงส่วนรวมหรือการคำนึงถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation) อายุ 40-60 ปี
เป็นระยะที่บุคคลต้องการทำระโยชน์ต่อสังคมและคนรุ่นต่อไป ด้วยการชี้แนะ สั่งสอนถ่ายทอดความรู้และ
ประสบการณ์อย่างมีความเอื้ออาทร หากพัฒนาการในระยะนี้ล้มเหลวบุคคลจะเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้า
(Stagnation) กลายเป็นคนที่ทำอะไรตามใจตัวเองและยึดความพอใจของตนเองเป็นหลัก
8) ความรู้สึกมั่นคงสมบูรณ์หรือความสิ้นหวัง (Integrity VS Despair) อายุ 60 ปีขึ้นไปบุคคลที่
สามารถแก้ไข Internal crisis ในพัฒนาการทุกระยะที่ผ่านมาได้อย่างสมบูรณ์จะเข้าใจความหมายและ
คุณค่าของตนเอง ยอมรับและรู้สึกพึงพอใจชีวิตทุกด้านของตนเอง (Integrity) สามารถละวางความยึดมั่น
ถือมั่นในเรื่องต่างๆ สามารถเผชิญสิ่งคุกคาม รวมทั้งความตายได้อย่างมั่นคง บุคคลที่ไม่สามารถพัฒนา
Ego integrity ได้ จะรู้สึกสิ้นหวัง (Despair) เนื่องจากผิดหวังกับชีวิตที่ผ่านมาโดยไม่มีโอกาสแก้ไขแล้ว
และมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไร้คุณค่าในแต่ละขั้นพัฒนาการของอิริคสัน บุคคลจะต้องพบกับปัญหาความ
ขัดแย้งเฉพาะซึ่งต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่จะพัฒนาสู่ขั้นต่อๆ ไป ถ้าบุคคลสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ได้สำเร็จก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีเหลืออยู่ก่อนที่จะก้าวสู่พัฒนาการขั้นต่อไป แต่ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหาความ
ขัดแย้งได้บุคคลก็จะมีบุคลิกภาพที่อ่อนแอ ถ้าประสบความล้มเหลวในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจะส่งผล
ทำให้เกิดภาวะจิตผิดปกติที่ส่งผลต่อการพัฒนาในแต่ละช่วงชีวิตของบุคคลการประยุกต์ใช้ในการพยาบาล
สุขภาพจิตและจิตเวชทฤษฎีจิตสังคมของอิริคสันเป็นทฤษฎีที่ครอบคลุมวงจรชีวิตของมนุษย์ โดยเกี่ยวข้อง
กับโครงสร้างจิตใจและสังคม ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการ ทาให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และเข้าใจพฤติกรรมของ
บุคคล โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของบุคลิกภาพของบุคคลในแต่ละช่วงวัย ให้ความรู้แก่บิดา
มารดาหรือผู้เลี้ยงดูในการตอบสนองความต้องการทางสังคมให้แก่บุคคล อย่างเหมาะสมนอกจากนี้
พยาบาลสามารถนำมาใช้ในการป้องกันระยะที่ 1 การป้องกันระยะที่ 2 และการป้องกันระยะที่ 3 ได้อีก
ด้วย
2.3 ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs)
นักทฤษฎีที่สำคัญ คือ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow: 1908-1970) ได้รับการยกย่องว่า
เป็นบิดาแห่งจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม (Halter, 2014) มาสโลว์พัฒนาทฤษฎีบุคลิกภาพและแรงจูงใจ
ตามลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ โดยแบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 6 ขั้น ดังนี้
1) ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
เช่น อาหาร น้ำ อากาศ การนอนหลับพักผ่อน การขับถ่าย เป็นต้น ถ้าความต้องการขั้นนี้ได้รับการ
ตอบสนอง มนุษย์ก็จะแสวงหาความต้องการในขั้นที่ 2 แต่ถ้าประสบความล้มเหลวก็จะไม่ได้รับการ
กระตุ้นให้เกิดความต้องการในระดับที่สูงขึ้น
8

2) ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองความต้องการ


ขั้นแรกแล้ว มนุษย์ก็จะพัฒนาไปสู่ความต้องการความปลอดภัย การคุ้มครองจากความกลัวและความวิตก
กังวล
3) ความต้องการความรักและเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs) เมื่อมนุษย์รู้สึกว่า
ตนเองปลอดภัยก็จะต้องการความรักและความเป็นเจ้าของเพื่อขจัดความรู้สึกโดดเดี่ยว โดยมาสโลว์ให้
ความสำคัญกับการมีครอบครัว มีบ้าน และการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
4) ความต้องการความภาคภูมิใจ (Esteem needs) เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองเรื่องความรัก
ความเป็นเจ้าของแล้ว มนุษย์ก็จะต้องการการยอมรับยกย่องในสังคม ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง
ความภาคภูมิใจ ตระหนักถึงความมีคุณค่าในตนเอง หากไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการนี้จะเกิดเป็น
ปมด้อยและมีความรู้สึกไร้ค่า
5) ความต้องการเป็นตนเองอย่างแท้จริง (Self-actualization) เป็นความต้องการที่จะเป็นใน
ทุกๆ อย่างที่เขาจะสามารถเป็นได้ เป็นความต้องการของบุคคลในการที่จะเลือกเส้นทางที่จะเติมเต็มชีวิต
และสร้างความผาสุกภายในจิตใจ
6) ความต้องการตื่นรู้ในตนเอง (Self-transcendence) เป็นความต้องการการตื่นรู้ทางจิต
วิญญาณ บุคคลที่มีความตื่นรู้ในตนเองจะมีประสบการณ์ในลักษณะสูงสุดคืนสู่สามัญมีความเป็นธรรมชาติ
อยู่กับสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Being) มองโลกอย่างเป็นองค์รวมมากกว่าองค์รวมของภาวะสุขภาพ
(Maslow, 1969 อ้างถึงใน ศุกร์ใจ เจริญสุข, 2557) มาสโลว์ อธิบายว่า พฤติกรรมเป็นผลมาจากแรงจูงใจ
ของบุคคลที่จะได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานตามลำดับขั้น เมื่อบุคคลไม่ได้รับการสนองตอบ
ตามความต้องการพื้นฐานที่เหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดการเสียสมดุลของจิตใจขึ้น หากปรับตัวไม่ได้จะทำให้
เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมา
ทฤษฎีความต้องการ (Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation)
Maslow เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลใน
การค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มี
ความหมายต่อตนเอง เป็นความจริงที่จะกล่าวว่ากระบวนการของแรงจูงใจเป็นหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพ
ของ Maslow โดยเขาเชื่อว่ามนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีความต้องการ” (wanting animal) และเป็นการยากที่
มนุษย์จะไปถึงขั้นของความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ในทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เมื่อ
บุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคง
เรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความต้องการจะได้รับ
สิ่งต่างๆ อยู่เสมอ
Maslow กล่าวว่าความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิดและความปรารถนาเหล่านี้จะ
เรียงลำดับขั้นของความปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ความปรารถนาขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับ
ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation)
Maslow เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์จากขั้นต้นไปสู่ความต้องการขั้นต่อไปไว้เป็นลำดับดังนี้
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย ( Physiological needs )
2. ความต้องการความปลอดภัย ( Safety needs )
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love needs )
4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Esteem needs )
5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualization needs )
9

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโล มีการเรียงลำดับขั้นความต้องการที่อยู่ในขั้นต่ำสุด จะต้องได้รับความ


พึงพอใจเสียก่อนบุคคลจึงจะสามารถผ่านพ้นไปสู่ความต้องการที่อยู่ในขั้นสูงขึ้นตามลำดับดังจะอธิบาย
โดยละเอียดดังนี้
1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานที่มีอำนาจ
มากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดที่สุด จากความต้องการทั้งหมดเป็นความต้องการที่ช่วยการดำรงชีวิต ได้แก่
ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ออกซิเจน การพักผ่อนนอนหลับ ความต้องการทางเพศ ความต้องการความ
อบอุ่น ตลอดจนความต้องการที่จะถูกกระตุ้นอวัยวะรับสัมผัส แรงขับของร่างกายเหล่านี้จะเกี่ยวข้อง
โดยตรงกับความอยู่รอดของร่างกายและของอินทรีย์ความพึงพอใจที่ได้รับ ในขั้นนี้จะกระตุ้นให้เกิดความ
ต้องการในขั้นที่สูงกว่าและถ้าบุคคลใดประสบความล้มเหลวที่จะสนองความต้องการพื้นฐานนี้ก็จะไม่ได้รับ
การกระตุ้น ให้เกิดความต้องการในระดับที่สูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ถ้าความต้องการอย่างหนึ่งยังไม่ได้รับความ
พึงพอใจ บุคคลก็จะอยู่
ภายใต้ความต้องการนั้นตลอดไป ซึ่งทำให้ความต้องการอื่นๆ ไม่ปรากฏหรือกลายเป็นความต้องการระดับ
รองลงไป เช่น คนที่อดอยากหิวโหยเป็นเวลานานจะไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกได้บุคคล
เช่นนี้จะหมกมุ่นอยู่กับการจัดหาบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้มีอาหารไว้รับประทาน Maslow อธิบายต่อไปว่า
บุคคลเหล่านี้จะมีความรู้สึกเป็นสุขอย่างเต็มที่ เมื่อมีอาหารเพียงพอสำหรับเขาและจะไม่ต้องการสิ่งอื่นใด
อีก ชีวิติของเขากล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของการรับประทาน สิ่งอื่นๆ นอกจากนี้จะไม่มีความสำคัญไม่ว่าจะ
เป็นเสรีภาพ ความรัก ความรู้สึกต่อชุมชน การได้รับการยอมรับ และปรัชญาชีวิต บุคคลเช่นนี้มีชีวิตอยู่
เพื่อที่จะรับประทานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่าง การขาดแคลนอาหารมีผลต่อพฤติกรรม ได้มีการ
ทดลองและการศึกษาชีวประวัติเพื่อแสดงว่า ความต้องการทางด้านร่างกายเป็นเรื่องสำคัญที่จะเข้าใจ
พฤติกรรมมนุษย์และได้พบผลว่าเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงของพฤติกรรมซึ่งมีสาเหตุจากการขาด
อาหารหรือน้ำติดต่อกันเป็นเวลานาน ตัวอย่างคือ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ในค่าย Nazi ซึ่งเป็นที่กักขัง
เชลย เชลยเหล่านั้นจะละทิ้งมาตรฐานทางศีลธรรมและค่านิยมต่างๆ ที่เขาเคยยึดถือภายใต้สภาพการณ์
ปกติ เช่น ขโมยอาหารของคนอื่น หรือใช้วิธีการต่างๆ ที่จะได้รับอาหารเพิ่มขึ้น อีกตัวอย่างหนึ่งในปี ค.ศ.
1970 เครื่องบินของสายการบิน Peruvian ตกลงที่ฝั่งอ่าวอเมริกาใต้ผู้ที่รอดตายรวมทั้งพระนิกาย
Catholic อาศัยการมีชีวิตอยู่รอดโดยการกินซากศพของผู้ที่ตายจากเครื่องบินตก จากปรากฏการณ์นี้
ชี้ให้เห็นว่าเมื่อมนุษย์เกิดความหิวขึ้น จะมีอิทธิพลเหนือระดับศีลธรรมจรรยา จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามนุษย์
มีความต้องการทางด้านร่างกายเหนือความต้องการอื่นๆ และแรงผลักดันของความต้องการนี้ได้เกิดขึ้นกับ
บุคคลก่อนความต้องการอื่นๆ
2. ความต้องการความปลอดภัย(Safety needs) เมื่อความต้องการทางด้านร่างกายได้รับความพึงพอใจ
แล้วบุคคลก็จะพัฒนาการไปสู่ขั้นใหม่ต่อไปซึ่งขั้นนี้เรียกว่าความต้องการความปลอดภัยหรือความรู้สึก
มั่นคง (safety or security) Maslow กล่าวว่าความต้องการความปลอดภัยนี้จะสังเกตได้ง่ายในทารก
และในเด็กเล็กๆ เนื่องจากทารกและเด็กเล็กๆ ต้องการความช่วยเหลือและต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น ตัวอย่าง
ทารกจะรู้สึกกลัวเมื่อถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรือเมื่อเขาได้ยินเสียงดังๆ หรือเห็นแสงสว่างมาก ๆ แต่
ประสบการณ์และการเรียนรู้จะทำให้ความรู้สึกกลัวหมดไป ดังคำพูดที่ว่า “ฉันไม่กลัวเสียงฟ้าร้องและฟ้า
แลบอีกต่อไปแล้ว เพราะฉันรู้ธรรมชาติในการเกิดของมัน” พลังความต้องการความปลอดภัยจะเห็นได้
ชัดเจนเช่นกันเมื่อเด็กเกิดความเจ็บป่วย ตัวอย่างเด็กที่ประสบอุบัติเหตุขาหักก็จะรู้สึกกลัวและอาจ
แสดงออกด้วยอาการฝันร้ายและความต้องการที่จะได้รับความปกป้องคุ้มครองและการให้กำลังใจ
Maslow กล่าวเพิ่มเติมว่าพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกอย่างไม่กวดขันและตามใจมากจนเกินไปจะไม่ทำให้
10

เด็กเกิดความรู้สึกว่าได้รับความพึงพอใจจากความต้องการความปลอดภัยการให้นอนหรือให้กินไม่เป็น
เวลาไม่เพียงแต่ทำให้เด็กสับสนเท่านั้นแต่ยังทำให้เด็กรู้สึกไม่มั่นคงในสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเขา
สัมพันธภาพของพ่อแม่ที่ไม่ดีต่อกัน เช่น ทะเลาะกันทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน พ่อแม่แยกกันอยู่ หย่า
ตายจากไป สภาพการณ์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อความรู้ที่ดีของเด็ก ทำให้เด็กรู้ว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่มั่นคง
ไม่สามารถคาดการณ์ได้และนำไปสู่ความรู้สึกไม่ปลอดภัย ความต้องการความปลอดภัยจะยังมีอิทธิพลต่อ
บุคคลแม้ว่าจะผ่านพ้นวัยเด็กไปแล้ว แม้ในบุคคลที่ทำงานในฐานะเป็นผู้คุ้มครอง เช่น ผู้รักษาเงิน นักบัญชี
หรือทำงานเกี่ยวกับการประกันต่างๆ และผู้ที่ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้อื่น
เช่น แพทย์ พยาบาล แม้กระทั่งคนชรา บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะใฝ่หาความปลอดภัยของผู้อื่น เช่น
แพทย์พยาบาล แม้กระทั่งคนชรา บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะใฝ่หาความปลอดภัยด้วยกันทั้งสิ้น ศาสนา
และปรัชญาที่มนุษย์ยึดถือทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง เพราะทำให้บุคคลได้จัดระบบของตัวเองให้มีเหตุผล
และวิถีทางที่ทำให้บุคคลรู้สึก “ปลอดภัย” ความต้องการความปลอดภัยในเรื่องอื่นๆ จะเกี่ยวข้องกับการ
เผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สงคราม อาชญากรรม น้ำท่วม แผ่นดินไหว การจลาจล ความสับสนไม่เป็น
ระเบียบของสังคม และเหตุการณ์อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกับสภาพเหล่านี้
Maslow ได้ให้ความคิดต่อไปว่าอาการโรคประสาทในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคประสาทชนิดย้ำคิด-
ย้ำทำ (obsessive-compulsive neurotic) เป็นลักษณะเด่นชัดของการค้นหาความรู้สึกปลอดภัย ผู้ป่วย
โรคประสาทจะแสดงพฤติกรรมว่าเขากำลังประสบเหตุการณ์ทที่ร้ายกาจและกำลังมีอันตรายต่างๆ เขาจึง
ต้องการมีใครสักคนที่ปกป้องคุ้มครองเขาและเป็นบุคคลที่มีความเข้มแข็งซึ่งเขาสามารถจะพึ่งพาอาศัยได้
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love needs) ความ
ต้องการความรักและความเป็นเจ้าของเป็นความต้องการขั้นที่ 3 ความต้องการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความ
ต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลต้องการได้รับ
ความรักและความเป็นเจ้าของโดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวหรือ
กับผู้อื่นสมาชิกภายในกลุ่มจะเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับบุคคล กล่าวคือ บุคคลจะรู้สึกเจ็บปวดมากเมื่อ
ถูกทอดทิ้งไม่มีใครยอมรับ หรือถูกตัดออกจากสังคม ไม่มีเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำนวนเพื่อนๆ
ญาติพี่น้อง สามีหรือภรรยาหรือลูกๆ ได้ลดน้อยลงไป นักเรียนที่เข้าโรงเรียนที่ห่างไกลบ้านจะเกิดความ
ต้องการเป็นเจ้าของอย่างยิ่ง และจะแสวงหาอย่างมากที่จะได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน Maslow
คัดค้านกลุ่ม Freud ที่ว่าความรักเป็นผลมาจากการทดเทิดสัญชาตญาณทางเพศ(sublimation) สำหรับ
Maslow ความรักไม่ใช่สัญลักษณ์ของเรื่องเพศ (sex) เขาอธิบายว่า ความรักที่แท้จริงจะเกี่ยวข้องกับ
ความรู้สึกที่ดี ความสัมพันธ์ของความรักระหว่างคน 2 คน จะรวมถึงความรู้สึกนับถือซึ่งกันและกัน
การยกย่องและความไว้วางใจแก่กัน นอกจากนี้ Maslow ยังย้ าว่าความต้องการความรักของคนจะเป็น
ความรักที่เป็นไปในลักษณะทั้งการรู้จักให้ความรักต่อผู้อื่นและรู้จักที่จะรับความรักจากผู้อื่น การได้รับ
ความรักและได้รับการยอมรับจากผู้อื่นเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า บุคคลที่ขาด
ความรักก็จะรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่ามีความรู้สึกอ้างว้างและเคียดแค้น กล่าวโดยสรุป Maslow มีความเห็นว่า
บุคคลต้องการความรักและความรู้สึกเป็นเจ้าของ และการขาดสิ่งนี้มักจะเป็นสาเหตุให้เกิดความข้องคับใจ
และทำให้เกิดปัญหาการปรับตัวไม่ได้และความยินดีในพฤติกรรมหรือความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจใน
ลักษณะต่างๆ สิ่งที่ควรสังเกตประการหนึ่ง ก็คือมีบุคคลจำนวนมากที่มีความลำบากใจที่จะเปิดเผยตัวเอง
เมื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนมกับเพศตรงข้ามเนื่องจากกลัวว่าจะถูกปฏิเสธความรู้สึกเช่นนี้ Maslow
กล่าวว่าสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก การได้รับความรักหรือการขาดความรักในวัยเด็ก ย่อมมีผล
กับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะและการมีทัศนคติในเรื่องของความรัก Maslow เปรียบเทียบว่าความ
11

ต้องการความรักก็เป็น เช่นเดียวกับรถยนต์ที่สร้างขึ้นมาโดยต้องการก๊าซหรือน้ำมันนั่นเอง (Maslow


1970 p. 170)
4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Self-Esteem needs)
เมื่อความต้องการได้รับความรักและการให้ความรักแก่ผู้อื่นเป็นไปอย่างมีเหตุผลและทำให้บุคคล
เกิดความพึงพอใจแล้ว พลังผลักดันในขั้นที่ 3 ก็จะลดลงและมีความต้องการในขั้นต่อไปมาแทนที่
กล่าวคือมนุษย์ต้องการที่จะได้รับความนับถือยกย่องออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นความ
ต้องการนับถือตนเอง (self respect) ส่วนลักษณะที่ 2 เป็นความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น
(esteem from others)
4.1 ความต้องการนับถือตนเอง (self-respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อมั่นใน
ตนเอง มีความแข็งแรง มีความสามารถในตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น และมีความเป็น
อิสระ ทุกคนต้องการที่จะรู้สึกว่าเขามีคุณค่าและมีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จในงานภาระกิจ
ต่างๆ และมีชีวิตที่เด่นดัง
4.2 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others) คือ ความต้องการมี
เกียรติยศ การได้รับยกย่อง ได้รับการยอมรับ ได้รับความสนใจ มีสถานภาพ มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขาน
และเป็นที่ชื่นชมยินดีมีความต้องการที่จะได้รับความยกย่องชมเชยในสิ่งที่เขากระทำซึง่ ทำให้รู้สึกว่าตนเอง
มีคุณค่าว่าความสามารถของเขาได้รับการยอมรับจากผู้อื่น
ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมชาติของลำดับชั้นในเรื่องความ
ต้องการด้านแรงจูงใจตามทัศนะของ Maslow ในเรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายในจิตนั่นคือ บุคคลจะแสวงหา
ความต้องการได้รับการยกย่องก็เมื่อภายหลังจาก ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของได้รับการ
ตอบสนองความพึงพอใจของเขาแล้ว และ Maslow กล่าวว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่บุคคลจะย้อนกลับ
จากระดับขั้นความต้องการในขั้นที่ 4 กลับไปสู่ระดับขั้นที่ 3 อีกถ้าความต้องการระดับขั้นที่ 3 ซึ่งบุคคล
ได้รับไว้แล้วนั้นถูกกระทบกระเทือนหรือสูญสลายไปทันทีทันใด ดังตัวอย่างที่ Maslow นำมาอ้างคือหญิง
สาวคนหนึ่งซึ่งเธอคิดว่าการตอบสนองความต้องการความรักของเธอได้ดำเนินไปด้วยดีแล้วเธอจึงทุ่มเท
และเอาใจใส่ในธุรกิจของเธอ และได้ประสบความสำเร็จเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงและอย่างไม่คาดฝัน สามี
ได้ผละจากเธอไป ในเหตุการณ์เช่นนี้ปรากฏว่าเธอวางมือจากธุรกิจต่างๆ ในการที่จะส่งเสริมให้เธอได้รับ
ความยกย่องนับถือ และหันมาใช้ความพยายามที่จะเรียกร้องสามีให้กลับคืนมา ซึ่งการกระทำเช่นนี้ของ
เธอเป็นตัวอย่างของความต้องการความรักซึ่งครั้งหนึ่งเธอได้รับแล้ว และถ้าเธอได้รับความพึงพอในความ
รักโดยสามีหวนกลับคืนมาเธอก็จะกลับไปเกี่ยวข้องในโลกธุรกิจอีกครั้งหนึ่งความพึงพอใจของความ
ต้องการได้รับการยกย่องโดยทั่วๆ ไป เป็นความรู้สึกและทัศนคติของความเชื่อมั่นในตนเอง ความรู้สึกว่า
ตนเองมีคุณค่า การมีพละกำลัง การมีความสามารถ และความรู้สึกว่ามีชีวิตอยู่อย่างมีประโยชน์และเป็น
บุคคลที่มีความจำเป็นต่อโลก ในทางตรงกันข้ามการขาดความรู้สึกต่างๆ ดังกล่าวนี้ย่อมนำไปสู่ความรู้สึก
และทัศนคติของปมด้อยและความรู้สึกไม่พอเพียง เกิดความรู้สึกอ่อนแอและช่วยเหลือตนเองไม่ได้
สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการรับรู้ตนเองในทางปฏิเสธ (negative) ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกขลาดกลัวและ
รู้สึกว่าตนเองไม่มีประโยชน์และสิ้นหวังในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของชีวิต และประเมิน
ตนเองต่ำกว่าชีวิตความเป็นอยู่กับการได้รับการยกย่อง และยอมรับจากผู้อื่นอย่างจริงใจมากกว่าการมี
ชื่อเสียงจากสถานภาพหรือการได้รับการประจบประแจง การได้รับความนับถือยกย่องเป็นผลมาจาก
ความเพียรพยายามของบุคคล และความต้องการนี้อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ถ้าบุคคลนั้นต้องการคำชมเชย
12

จากผู้อื่นมากกว่าการยอมรับความจริงและเป็นที่ยอมรับกันว่าการได้รับความนับถือยกย่อง มีพื้นฐานจาก
การกระทำของบุคคลมากกว่าการควบคุมจากภายนอก
5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization needs)
ถึงลำดับขั้นสุดท้าย ถ้าความต้องการลำดับขั้นก่อนๆ ได้ทำให้เกิดความพึงพอใจอย่างมี
ประสิทธิภาพ ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงก็จะเกิดขึ้น Maslow อธิบายความต้องการเข้าใจ
ตนเองอย่างแท้จริง ว่าเป็นความปรารถนาในทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งบุคคลสามารถจะได้รับอย่างเหมาะสม
บุคคลที่ประสบผลสำเร็จในขั้นสูงสุดนี้จะใช้พลังอย่างเต็มที่ในสิ่งที่ท้าทายความสามารถและศักยภาพของ
เขาและมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงตนเอง พลังแรงขับของเขาจะกระทำพฤติกรรมตรงกับ
ความสามารถของตน กล่าวโดยสรุปการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงเป็นความต้องการอย่างหนึ่งของบุคคลที่
จะบรรลุถึงวจุดสูงสุดของศักยภาพ เช่น “นักดนตรีก็ต้องใช้ความสามารถทางด้านดนตรี ศิลปินก็จะต้อง
วาดรูป กวีจะต้องเขียนโคลงกลอน ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตนตั้งไว้ก็เชื่อได้ว่าเขาเหล่านั้น
เป็นคนที่รู้จักตนเองอย่างแท้จริง” Maslow ( 1970 : 46)
ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะดำเนินไปอย่างง่ายหรือเป็นไปโดยอัตโนมัติโดย
ความเป็นจริงแล้ว Maslow เชื่อว่าคนเรามักจะกลัวตัวเองในสิ่งเหล่านี้“ด้านที่ดีที่สุดของเราความสามารถ
พิเศษของเรา สิ่งที่ดีงามที่สุดของเรา พลังความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์” Maslow (1962 : 58)
ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงมิได้มีแต่เฉพาะในศิลปินเท่านั้น คนทั่วๆ ไป เช่น นักกีฬา
นักเรียน หรือแม้แต่กรรมกรก็สามารถจะมีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงได้ถ้าทุกคนสามารถทำในสิ่งที่
ตนต้องการให้ดีที่สุด รูปแบบเฉพาะของการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะมีความแตกต่างอย่างกว้างขวาง
จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง กล่าวได้ว่ามันคือระดับความต้องการที่แสดงความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่าง
ยิ่งใหญ่ที่สุด
Maslow ได้ยกตัวอย่างของความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ในกรณีของนักศึกษาชื่อ
Mark ซึ่งเขาได้ศึกษาวิชาบุคลิกภาพเป็นระยะเวลายาวนานเพื่อเตรียมตัวเป็นนักจิตวิทยาคลีนิค นักทฤษฎี
คนอื่นๆ อาจจะอธิบายว่าทำไมเขาจึงเลือกอาชีพนี้ ตัวอย่าง เช่น Freud อาจกล่าวว่ามันสัมพันธ์อย่าง
ลึกซึ้งกับสิ่งที่เขาเก็บกด ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ขณะที่ Adler อาจมองว่ามัน
เป็นความพยายามเพื่อชดเชยความรู้สึกด้อยบางอย่างในวัยเด็ก Skinner อาจมองว่าเป็นผลจากการถูก
วางเงื่อนไขของชีวิตในอดีต ขณะที่Bandura สัมพันธ์เรื่องนี้กับตัวแปรต่างๆ ทางการเรียนรู้ทางสังคม และ
Kelly อาจพิจารณาว่า Mark กำลังจะพุ่งตรงไปเพื่อที่จะเป็นบุคคลที่เขาต้องการจะเป็นตัวอย่างที่แสดงถึง
การมุ่งตรงไปสู่เป้าประสงค์ในอาชีพโดยความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงและถ้าจะพิจารณา
กรณีของ Mark ให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น ถ้า Mark ได้ผ่านกาเรียนวิชาจิตวิทยาจนครบหลักสูตรและได้เขียน
วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกและในที่สุดก็ได้รับปริญญาเอกทางจิตวิทยาคลีนิค สิ่งที่จะต้องวิเคราะห์
Mark ต่อไปก็คือ เมื่อเขาสำเร็จการศึกษาดังกล่าวแล้วถ้ามีบุคคลหนึ่งได้เสนองานให้เขาในตำแหน่งตำรวจ
สืบสวน ซึ่งงานในหน้าที่นีจะได้รับค่าตอบแทนอย่างสูงและได้รับผลประโยชน์พิเศษหลายๆ อย่าง
ตลอดจนรับประกันการว่าจ้างและความมั่นคงสำหรับชีวิต เมื่อประสบเหตุการณ์เช่นนี้ Mark จะทำ
อย่างไร ถ้าค าตอบของเขาคือ “ตกลง” เขาก็จะย้อนกลับมาสู่ความต้องการระดับที่ 2 คือความต้องการ
ความปลอดภัย สำหรับการวิเคราะห์ความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง Maslow กล่าวว่า “อะไรที่มนุษย์
สามารถจะเป็นได้เขาจะต้องเป็นในสิ่งนั้น” เรื่องของ Mark เป็นตัวอย่างง่ายๆ ว่า ถ้าเขาตกลงเป็นตำรวจ
สืบสวน เขาก็จะไม่มีโอกาสที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
ทำไมทุกๆ คนจึงไม่สัมฤทธิผลในการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Why Can’t All People
13

Achieve Self-Actualization) ตามความคิดของ Maslow ส่วนมากมนุษย์แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดที่ต้องการ


แสวงหาเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ภายในตน จากงานวิจัยของเขาทำให้ Maslow สรุปว่าการรู้ถึงศักยภาพ
ของตนนั้นมาจากพลังตามธรรมชาติและจากความจำเป็นบังคับ ส่วนบุคคลที่มีพรสวรรค์มีจำนวนน้อย
มากเพียง 1% ของประชากรที่ Maslow ประมาณ Maslow เชื่อว่าการนำศักยภาพของตนออกมาใช้เป็น
สิ่งที่ยากมาก บุคคลมักไม่รู้ว่า ตนเองมีความสามารถและไม่ทราบว่าศักยภาพนั้นจะได้รับการส่งเสริมได้
อย่างไร มนุษย์ส่วนใหญ่ยังคงไม่มั่นใจในตัวเองหรือไม่มั่นใจในความสามารถของตนจึงทำให้หมดโอกาส
เข้าใจตนเองอย่างแท้จริง และยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มาบดบังพัฒนาการทางด้านความต้องการของ
บุคคลดังนี้
อิทธิพลของวัฒนธรรม ตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของสังคมมีต่อการเข้าใจตนเอง คือ
แบบพิมพ์ของวัฒนธรรม (cultural stereotype) ซึง่ กำหนดว่าลักษณะเช่นไรที่แสดงความเป็นชาย
(masculine) และลักษณะใดที่ไม่ใช่ความเป็นชาย เช่นจัดพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ความเมตตากรุณา ความสุภาพและความอ่อนโยน สิ่งเหล่านี้วัฒนธรรมมีแนวโน้มที่จะพิจารณาว่า “ไม่ใช่
ลักษณะของความเป็นชาย” (unmasculine) หรือความเชื่อถือของวัฒนธรรมด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่
ไม่มีคุณค่า เช่น ยึดถือว่าบทบาทของผู้หญิงขึ้นอยู่กับจิตวิทยาพัฒนาการของผู้หญิง เป็นต้น การพิจารณา
จากเกณฑ์ต่างๆ ดังกล่าวนี้เป็นเพียงการเข้าใจ“สภาพการณ์ที่ดี” มากกว่าเป็นเกณฑ์ของการเข้าใจตนเอง
อย่างแท้จริง
ประการสุดท้าย Maslow ได้สรุปว่าการไม่เข้าใจตนเองอย่างแท้จริงเกิดจากความพยายามที่ไม่
ถูกต้องของการแสวงหาความมั่นคงปลอดภัย เช่น การที่บุคคลสร้างความรู้สึกให้ผู้อื่นเกิดความพึงพอใจ
ตนโดยพยายามหลีกเลี่ยงหรือขจัดข้อผิดพลาดต่างๆ ของตน บุคคลเช่นนี้จึงมีแนวโน้มที่จะพิทักษ์ความ
มั่นคงปลอดภัยของตน โดยแสดงพฤติกรรมในอดีตที่เคยประสบผลสำเร็จ แสวงหาความอบอุ่น และสร้าง
มนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งลักษณะเช่นนี้ย่อมขัดขวางวิถีทางที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง

2.4.ทฤษฎีของเพียเจต์
ประวัติของฌอง เพียเจต์
ความสนใจครั้งแรกของ ฌอง เพียเจต์ นั้นจริง ๆ แล้วเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งเขาก็ได้ตีพิมพ์งานวิจัยทาง
วิทยาศาสตร์งานแรกเกี่ยวกับนกกระจอกเผือกในปี 2450 เมื่ออายุ 11 ปี และในปี 2463 เขาได้เริ่ม
ทำงานเกี่ยวกับชุดการทดสอบทางสติปัญญา เพียเจต์สังเกตว่าเด็กเล็กมักจะทำผิดพลาดในสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ
ที่เด็กโตไม่ทำ จึงสรุปได้ว่าเด็กเล็กนั้นมีความคิดที่แตกต่าง และได้ใช้เวลาที่เหลือเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการ
พัฒนาสติปัญญาของเด็กเล็ก
ทฤษฎีของเพียเจต์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนของพัฒนาการทางสติปัญญา มีดังนี้คือ
ขั้นที่ 1 ประสาทการรับรู้และการเคลื่อนไหว
ขัน้ ที่ 2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด
ขั้นที่ 3 การคิดแบบเป็นรูปธรรม
ขั้นที่ 4 การคิดแบบเป็นนามธรรม เมื่อใดที่เราผ่านครบทุกขั้นตอนแล้ว ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม
เราจะได้เข้าถึงระดับสติปัญญาของมนุษย์ที่พัฒนาแล้ว

ขั้นที่ 1 ประสาทการรับรู้และการเคลื่อนไหว (อายุ 0 – 2 ปี)


14

ในขั้นตอนนี้ เราพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านประสบการณ์และการเคลื่อนไหว สมองของเรา


ต้องการที่จะมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รับรส และสัมผัสให้ได้มากที่สุด ขั้นตอนแรก เราเริ่มจากปฏิกิริยา
ตอบสนองแบบง่าย ๆ ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานก็จะเริ่มพัฒนามาเป็นนิสัย เมื่ออายุถึง 4 เดือนเราก็จะเริ่ม
รับรู้สิ่งรอบตัวนอกเหนือจากร่างกายของตัวเองมากขึ้น และเมื่อโตขึ้นก็จะเริ่มเรียนรู้การตั้งใจทำบางสิ่ง
บางอย่างด้วยตัวเอง ในแง่คิดของเพียเจต์ ก้าวสำคัญของการพัฒนาหน่วยความทรงจำก็คือการรับรู้ความ
คงอยู่ของวัตถุ เมื่อเราเห็นคุณแม่ยกตุ๊กตาหมีขึ้นมาแล้วซ่อนมันไว้ข้างหลัง เราก็จะคิดว่ามันหายไป แต่
เมื่อโตขึ้นเราก็จะเข้าใจว่าตุ๊กตาหมีตัวนั้นยังคงอยู่แม้เราจะมองไม่เห็นมันก็ตามเราเริ่มสงสัยในทุกสิ่ง เรา
อยากดมกลิ่นดอกไม้ อยากชิมอาหาร อยากฟังเสียง และพูดคุยกับคนแปลกหน้า เพื่อที่จะสำรวจได้มาก
ขึ้น เราเริ่มขยับตัว เริ่มเรียนรู้ที่จะนั่ง คลาน ยืน เดิน และอาจจะเริ่มวิ่ง การเคลื่อนไหวร่างกายที่มากขึ้น
จึงนำไปสู่การพัฒนาทางปัญญา แต่เราก็ยังคงมุ่นเน้นที่ตัวเองอยู่ ซึ่งหมายความว่าเรามองโลกใบนี้แค่จาก
มุมมองของตัวเองเท่านั้น

ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (อายุ 2 – 7 ปี)


ความคิดของเรายังคงถูกจัดประเภทตามสัญลักษณ์และความคิดโดยสัญชาตญาณอยู่ เรายังคงมี
จินตนาการที่เปี่ยมล้นและเชื่อว่าวัตถุต่าง ๆ นั้นมีชีวิตเพราะยังไม่สามารถแยกแยะอะไรที่เฉพาะเจาะจงได้
ดังนั้นเพียเจต์จึงเรียกขั้นตอนนี้ว่า ขั้นก่อนปฏิบัติการคิดนั่นเอง เราเรียนรู้ที่จะพูดและเข้าใจว่าคำศัพท์
รูปภาพ และท่าทางนั้นเป็นสัญลักษณ์สำหรับบางสิ่งบางอย่าง เมื่อเราวาดรูปครอบครัวเราจะไม่เป็นกังวล
ว่าจะต้องวาดให้ถูกสัดส่วน แต่เราจะวาดจากสัญลักษณ์ที่เรามองเห็นเท่านั้น เราชอบที่จะเล่นเหตุการณ์
สมมุติเพราะมันทำให้เราได้เรียนรู้และทดลองสิ่งใหม่ ๆ อีกมากมาย เมื่ออายุราว 4 ขวบ พวกเราส่วนมาก
จะเริ่มมีข้อสงสัยและถามคำถาม เราอยากรู้ทุกอย่าง เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้เหตุผลนั่นเอง
ที่เพียเจต์เรียกวัยนี้ว่าวัยแห่ง ‘สัญชาตญาณ’ เพราะในขณะที่เราตระหนักได้ว่าเรามีความรู้มากมาย แต่
เรากลับไม่รู้ว่าเราได้มันมาได้อย่างไร ความคิดของเราในขั้นตอนนี้ยังคงมีตัวเองเป็นศูนย์กลางอยู่เพราะเรา
คิดว่าทุกคนเห็นโลกใบนี้เหมือนอย่างที่เราเห็น และยังไม่เข้าใจว่าคนอื่นมองโลกใบนี้แตกต่างไปจากตัวเรา
เอง

ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบเป็นรูปธรรม (อายุ 7 – 11 ปี)


ในที่สุดเราก็ค้นพบเหตุผลเชิงตรรกะและเริ่มพัฒนาความคิดแบบเป็นรูปธรรมขึ้นมาแล้ว เช่น
การเรียงวัตถุในลำดับที่แน่นอน ตัวอย่างหนึ่งก็คือการใช้เหตุผลแบบอุปนัย ซึ่งแปลว่าหากเราเห็นใครคน
หนึ่งกำลังกินคุกกี้ เราก็สามารถหาข้อสรุปแบบคร่าว ๆ ในการกระทำของเขาได้ และถึงตอนนี้เราก็
สามารถเข้าใจแนวคิดของ ‘การอนุรักษ์’ ได้แล้ว เราจะเข้าใจว่าหากเราเทน้ำส้มจากแก้วหนึ่งสู่อีกแก้ว
หนึ่งที่มีรูปทรงสูงกว่า ปริมาณของน้ำส้มนั้นจะยังเท่าเดิม ในขณะที่น้องสาวของเราก็จะเลือกแก้วที่สูงกว่า
เพราะคิดว่าจะได้น้ำส้มเยอะกว่า ด้วยหลักการเดียวกันนั้น หาก 3 + 5 = 8 และ 8 – 3 ก็จะต้องเท่ากับ
5 สมองของเราเรียนรู้ที่จะจัดเรียงความติดต่าง ๆ เพื่อจำแนกและสร้างความคิดแบบเป็นรูปธรรมขึ้นมา
ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้เราสามารถรู้ได้แล้วว่าการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะย้อนกลับได้โดยการทำสิ่งตรงข้าม พอ
ได้รู้สึกตื่นตาตื่นใจกับวิธีการคิดที่ค้นพบใหม่นี้แล้วเราก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้เมื่อพูดคุยกับคนอื่น
ตอนทำกิจกรรม และเมื่อเริ่มเรียนการเขียนที่โรงเรียน การประยุกต์ใช้นี้ จะช่วยทำให้เรารู้จักตัวเองมาก
ขึ้น รับรู้และเข้าใจว่าความคิดและความรู้สึกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกันทุกคน เราเริ่มเรียนรู้ที่
จะเอาใจเขามาใส่ใจเรามากขึ้น
15

ขั้นที่ 4 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบเป็นนามธรรม (อายุ 12 ปีขึ้นไป)


เมื่อเราโตขึ้นเป็นวัยรุ่นเราจะเริ่มคิดแบบเป็นนามธรรมได้แล้ว เราสามารถคิดอย่างมีเหตุผลมาก
ขึน้ เกี่ยวกับแนวความคิดที่เป็นนามธรรมและเหตุการณ์แนวสมมติได้ ความสามารถทางปัญญาที่สูงขึ้นทำ
ให้เราเข้าใจแนวคิดแบบที่ไม่สามารถจับต้องได้มากขึ้นแล้ว เช่นความสำเร็จและความล้มเหลว ความรู้สึก
รักและความรู้สึกเกลียด เราเริ่มเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับตัวตนและศีลธรรมของตัวเอง และพอจะเริ่มรู้
แล้วว่าทำไมคนอื่นถึงทำในสิ่งที่เขาทำ การเข้าใจนี้ทำให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น ตอนนี้สมองของเรา
สามารถให้เหตุผลแบบนิรนัยได้แล้ว ซึ่งแปลว่าเราสามารถเทียบข้อมูลสองอย่างและนำไปสู่ข้อสรุปแบบมี
เหตุผลได้ ทักษะใหม่นี้เองทำให้เราวางแผนและจัดลำดับความสำคัญในชีวิตของตัวเองได้ เราสามารถ
ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงได้ ตอนนี้เราสามารถตั้งปรัชญาของตัวเอง
ได้และคิดคำนึงเกี่ยวกับความคิดของตัวเองได้แล้ว การรับรู้ตัวตนของตัวเองนั้นจะเริ่มทำให้เราให้
ความสำคัญกับความคิดของตัวเองมากขึ้น และบางคนก็อาจจะเริ่มจินตนาการว่ามีผู้ชมกำลังจับตามอง
ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพียเจต์เชื่อในการเรียนรู้ไปชั่วชีวิต และมั่นใจเสมอว่าขั้นปฏิบัติการคิดแบบเป็น
นามธรรมนั้นคือขั้นสุดท้ายของการพัฒนาทางสติปัญญา

สรุป
ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์ ทำให้ช่วยการเข้าใจมนุษย์มากยิ่งขึ้นและสามารถไป
ประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการทางด้านสุขภาพเพื่อให้การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาให้
ครอบคลุมครบถ้วนด้านจิตใจ การที่จะศึกษาให้เข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับมนุษย์ พยาบาลควรมีความรู้ความ
เข้าใจในแนวคิดทฤษฎีพื้นฐานดังที่ได้กล่าวมา ซึ่งเห็นได้ว่าไม่มีทฤษฎีใดเพียงทฤษฎีเดียวที่จะใช้อธิบาย
พฤติกรรมของบุคคล สาเหตุของพฤติกรรมที่ผิดปกติ อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยทางจิตของบุคคลได้แต่ถ้า
ได้รับการดูแลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ก็จะสามารถทำให้มนุษย์ผ่านพ้นและ
จะเจริญเติบโตมาเพื่อทำให้เกิดพัฒนาการที่ดี นำไปสู่การคิดและสติปัญญาที่ดี ดังนั้นสิ่งสำคัญในการเรียน
ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์ จะเป็นพื้นฐานในการช่วยเหลือบุคคลและเป็นสิ่งในการบูรณาการ
แนวคิดทฤษฎีต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะเป็นประกอบด้วยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory
ทฤษฎีของอีริคสัน ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ทฤษฎีของเพีย
เจต์ จะช่วยให้นำมาประยุกต์ในวิชาชีพการพยาบาลทำให้เกิดได้รู้ตระหนักในตัวบุคคล และปัจจัยที่
เกี่ยวข้องกับบุคคลให้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมินสภาพปัญหา วางแผนให้
การช่วยเหลือ ปฏิบัติการช่วยเหลือ รวมทั้งประเมินผลการพยาบาลได้อย่างครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ
อารมณ์ และสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
16

หนังสืออ่านประกอบ
กนกรัตน์ สุขตุงคะ. (2555).คู่มือจิตวิทยาคลินิก: ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: นิโอ ดิจิตอล.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2544). คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และจิตเวช: สำหรับ
แพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท เรดิเอชั่น จำกัด.
จุฑารัตน์ สถิรปัญญา, วัลลภา คชภักดี. (2551). สุขภาพจิต. สงขลา: บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด.
มาโนช หล่อตระกูล .(2555). จิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยมหิดล :กรุงเทพฯ .
วิไลวรรณ ศรีสงครามและคณะ.(2549).จิตวิทยาทั่วไป.กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว .(2554). การพยาบาลจิตเวช.พิมพ์ครั้ง 3. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพฯ
ศรีเรือน แก้วกังวาน.(2545).จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย แนวคิดเชิงทฤษฎี-วัยเด็กตอนกลาง.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ใบงานมอบหมาย
1. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 10 กลุ่ม
2. ให้วิเคราะห์จากการดู Clip VDO
17

3. สิ่งทีน่ ักศึกษาเรียนบทที่ 2 มาแล้วได้นำความรู้ทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ที่มีปัญหาอย่างไร


4. ให้นักศึกษาสรุป และทำ Mapping ส่งใน class room link ดังนี้
https://classroom.google.com/c/NTcxNTU2MjEzMjU5?cjc=4dhjk6y
รหัสเข้าชั้นเรียนเพื่อส่งงาน 4dhjk6y

You might also like