You are on page 1of 36

1

ศิลปะการต่อสู้ของประเทศจีน (中国武术)
1. ประวัติความเป็นมาของศิลปะการต่อสู้ของประเทศจีน
ตามตำนานกล่าวว่า ศิล ปะการต่อสู้ของประเทศจีนมีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์เซี่ย ( 夏朝 )
เมื่อกว่า 4,000 ปีก่อน จักรพรรดิเหลืองหรือจักพรรดิหวงตี้ ( 皇帝 ) ได้นำระบบการต่อสู้ที่เก่าแก่ที่สุดมาสู่
ประเทศจีน จักรพรรดิเหลืองได้รับการอธิบายว่ าเป็นนายพลที่มีชื่อเสียง ซึ่งก่อนที่จะมาเป็นผู้นำประเทศจีน
ทรงเขียนบทความเกี่ยวกับการแพทย์ โหราศาสตร์และศิลปะการต่อสู้ และหนึ่งในฝ่ายตรงข้ามหลักของเขา คือ
จิคุณ ( 蚩尤 ) ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เบิกทางให้กับศิลปะสมัยใหม่ของมวยปล้ำจีน
การกำเนิดของศิลปะการต่อสู้ ของประเทศจีนได้รับการบันทึกให้มีความจำเป็นในการป้องกันตัวเอง
เทคนิคการล่าสัตว์และการฝึกอบรมทางทหารในประเทศจีนโบราณ โดยการต่อสู้ด้วยมือเปล่าและการฝึกอาวุธ
มีความสำคัญในการฝึกทหารจีนในสมัยโบราณ ซึง่ ความรู้โดยละเอียดเกี่ยวกับสถานะและพัฒนาการของศิลปะ
การต่อสู้ของประเทศจีนเริ่มมีตั้งแต่ทศวรรษที่นานกิง ( พ.ศ. 2471 – 2580 ) เนื่องจากสถาบันกั๋วซู่กลาง
ที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคก๊กมินตั๋ง ได้พยายามรวบรวมแบบสำรวจสารานุกรมของโรงเรียนศิลปะการต่อสู้ตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2493 เพื่อจัดศิลปะการต่อสู้จีนเป็นนิทรรศการและเต็มติดต่อกีฬาภายใต้หัวข้อของ “วูซู”
ศิลปะการต่อสู้ ของประเทศจีนนั้นมีประเพณีศิลปะการต่อสู้ที่ยาวนาน ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกัน
ออกไปหลายร้อยรูปแบบ ในช่วง 2000 ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนารูปแบบที่โดดเด่นมากมาย ซึ่งแต่ละรูปแบบ
มีชุดเทคนิคและแนวคิดของตัวเอง สำหรับรูปแบบที่แตกต่างกัน มักแบ่งตามตระกูล ( 家 ) , นิกาย ( 派 ) ,
ชั้นเรียน ( 门 ) และโรงเรียน ( 教 ) โดยมีรูปแบบที่เลียนแบบการเคลื่อนไหวจากสัตว์และอื่นๆ ที่รวบรวม
แรงบันดาลใจจากปรัชญาต่างๆของจีน
ความหลากหลายของรูปแบบได้นำไปสู่การสร้างรูปแบบการจัดหมวดหมู่มากมาย เช่น การจำแนก
ประเภทศิลปะการต่อสู้ของประเทศจีนตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ โดยศิลปะการต่อสู้แบบจีนโดยเฉพาะสามารถ
เรียกได้ว่าเป็นหมัดเหนือ ( 北拳 ) หรือหมัดใต้ ( 南拳 ) ขึ้นอยู่กับจุดกำเนิด ซึ่งแยกพิกัดทางภูมิศาสตร์
โดยใช้แม่น้ำแยงซีเป็นเส้นเขตแบ่ง รูปแบบทางเหนือใช้ธาตุหยางเป็นหลัก มักจะเน้นการเตะที่รวดเร็วและ
ทรงพลัง การกระโดดสูง และโดยทั่วไปแล้วจะเคลื่อนไหวอย่างลื่นไหล และรวดเร็ว ในขณะที่รูปแบบทางใต้ ใช้
ธาตุหยินเป็นหลัก จะเน้นไปที่เทคนิคแขนและมือที่แข็งแรงและมั่นคง ท่าทางที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้และ
การวางเท้าที่รวดเร็ว การจำแนกประเภทอีกรูปแบบหนึ่ง คือ แนวคิดภายนอก ( 外家拳 ) ที่เน้น ใน
การปรับ ปรุงและการออกกำลัง กายกล้ ามเนื้ อหัว ใจและหลอดเลื อด กับ แนวคิด ภายใน ( 内家拳 )
ที่มุ่งเน้นไปที่การควบคุมพลังชี่ ( 气 ) หรือลมปราณ เกณฑ์ในการจำแนกประเภทนี้ เกี่ยวข้องกับการเน้น
การฝึกอบรมของรูปแบบเฉพาะและความเกี่ยวพันทางศาสนา 3 ศาสนาที่ยิ่งใหญ่ได้แก่ ลัทธิเต๋า พุทธศาสนา
และลัทธิขงจื้อ นอกจากนี้ ยังมีเกณฑ์อื่นๆ อีกมากมายที่ใช้ จำแนกประเภทของศิลปะการต่อสู้ของประเทศจีน
เช่ น การอธิ บ ายรู ป แบบตามการเน้ น การต่ อ สู้ สรุ ป ได้ ว ่ า ต้ น กำเนิ ด ศิ ล ปะป้ อ งกั น ตั ว ของจี น เริ ่ ม มี ใ น
ช่วงสมัยสังคมดั้งเดิมขณะที่มนุษย์ใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างกระบี่กระบองเพื่อต่อสู้กับสัตว์ และค่อยๆ สั่งสม
2

ประสบการณ์ ก ารปะทะโจมตี ป ้ อ งกั น ตั ว เรื ่ อ ยมา ผู ้ ค นจึ ง นำเอาท่ า ทางอย่ า งการเตะ ต่ อ ย หมั ด มวย
มาเรียบเรียงลำดับเป็นชุดกระบวนท่าต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ฝึกซ้อม ภายหลังจึงเกิดชุดกระบวนท่าที่แตกต่างกัน
ออกมาอย่างนับไม่ถ้วนจนถึงปัจจุบัน

2. แก่นแท้ของศิลปะการต่อสู้
2.1 พัฒ นากลยุทธ์การต่อสู้และศึกษาสถานการณ์ต่างๆ ด้ว ยข้อมูล เช่น การต่อสู้ ของฝ่ายตรงข้า ม
และการฝึกซ้อมรายบุคคล เพื่อปรับให้เข้ากับเป้าหมายและพัฒนาการฝึกอบรม
2.2 การคิดและการใช้ยุทธวิธีในการเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ หลอมรวมทุกส่วนของร่างกายและใช้เทคนิค
ที่เกี่ย วข้ องกับร่างกายอย่างชำนาญ เช่น การเตะ การตี การขว้าง และการหยิบ รวมถึงการปรับทักษะ
เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์การต่อสู้ที่แตกต่างกัน
2.3 พัฒนาความรู้ความเข้าใจและจิตตานุภาพ พัฒนาจิตใจและร่างกายในทุกวิถีทาง เพื่อเพิ่มศักยภาพ
2.4 ปรับปรุงพลังงานชีวิต สมรรถภาพทางกายและการฝึกความแข็งแกร่ง
2.5 การผลิตอุป กรณ์ฝ ึก ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการฝึก รวมถึง
การใช้โครงกระดูกภายนอก เพิ่มอวัยวะเทียม และวิธีการอื่นๆ เพื่อฝ่าฟันข้อจำกัดของโครงสร้างร่างกายมนุษย์
2.6 ส่งเสริมให้คนพัฒนาศิลปะการต่อสู้มากขึ้น ผ่านสื่อภาพยนตร์และโทรทัศน์ กิจกรรมเชิงพาณิชย์
และการส่งเสริมระดับชาติ กล่าวคือ ให้ผู้มีความสามารถในหลายสาขาร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาศิลปะการต่อสู้

3. จุดเด่นของศิลปะการต่อสู้ของประเทศจีน
จุดเด่น ของศิล ปะการต่อสู้ แบบจีน อยู่ที่ การฝึ กฝน ไม่เพียงเพื่อเอาชนะในการประลองเท่ า นั้ น
แต่เพื่อให้กายใจรวมเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งการฝึกซ้อมแต่ละชุดมีความแตกต่างกัน โดยรวมแล้วประกอบด้วย
ท่าพื้นฐาน กระบวนท่า กำลังภายใน กำลังภายนอก ซึ่งใช้การฝึกมือ สายตา ร่างกาย ก้าวย่าง จิตใจ และ
พละกำลังเหล่านี้เป็นหลักสำคัญ ในปัจจุบันสมาคมศิลปะการต่อสู้นานาชาติต้องการส่งเสริมศิลปะการต่อสู้
ของประเทศจีน ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จึงแบ่งการแข่งขันศิลปะการต่อสู้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ
หมัดยาว หมัดใต้ และมวยไท้เก๊ก โดยในอนาคต ศิลปะการต่อสู้ ของประเทศจีนนี้อาจเป็นกีฬาชนิดหนึ่งใน
โอลิมปิก
3

4. ประเภทของศิลปะการต่อสู้ของประเทศจีน
จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การแบ่งประเภทของศิลปะการต่อสู้ของจีน สามารถแบ่งได้หลากหลาย
ประเภทโดยใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยในรายงานเล่มนี้ ผู้เขียนได้แบ่งประเภทของศิลปะการต่อสู้ของประเทศ
จีนโดยใช้เกณฑ์การเน้นการฝึกอบรมของรูปแบบเฉพาะและยุคสมัย ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้
4.1 ศิลปะการต่อสู้ของประเทศจีนที่เป็นแนวคิดภายนอก ( 四大外家拳 )
4.1.1 มวยปาจี๋ หรือ มวยแปดปรมัตถ์ ( 八极拳 )
4.1.1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมวยปาจี๋

ศิลปะการต่อสู้ ชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดในมลฑลเหอเป่ย อำเภอชาง ตำบลตงหนาน โดยในท้องถิ่นเรียก


มวยนี้ว่าปาจื่อเฉวียน ( 巴子拳 ) เนื่องจากทางภาคเหนือของจีนคำว่า ปา ( 巴 ) ออกเสียงเดียวกับคำว่า
ปา ( 钯 ) ที่แปลว่าคราด ดังนั้น เดิมที ชื่อเดิมของมวยชนิดนี้ คือ ปาจื่อเฉวียน หรือ มวยคราด และชื่อนี้
เป็นชื่อทีม่ าจากรูปมือที่มีการการงอนิ้ว กำหมวดหลวมๆ ทำมือคล้ายเป็นรูปคราด ซึ่งใช้ขุดดินทางภาคเหนือ
ประวัติและความเป็นมาของมวยปาจี๋นั้น ในราชวงศ์หมิง แม่ทัพผู้โด่งดัง ชีจี้กวง ( 戚继光 )
ผู้นำทัพปราบญี่ปุ่น ในทางตอนเหนือของจีนในเวลานั้น ได้บันทึกในหนังสือจี้เซี่ยวซินซู ( 纪效新书 )
ถึงมวยปาจี๋ไว้อยู่ตอนหนึ่ง ว่าเป็นมวยที่มีชื่อในเวลานั้น แสดงให้เห็นว่ามวยปาจี๋มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงแล้ว
และเนื่องจากทางภาคเหนือ คำว่า ปาจื่อ กับปาจี๋ ที่ออกเสียงคล้ายกัน และด้วยสมัยก่อนไม่มีการจดบันทึก
จึงทำให้เสียงเพี้ยนไป นอกจากนี้ คำว่าปาจื่อนั้นความหมายไม่เพราะ จึงแก้เป็นปาจี๋เฉวียน ( มวยแปดปรมัตถ์ )
ตามลักษณะแปดท่า แปดทิศทาง แปดส่วน ( แปดอวัยวะ )
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที ่มี การจดบั นทึ กเป็นลายลัก ษณ์ อั กษรที่ อ้างอิ งถึง การสื บ ทอด
มวยปาจี๋นั้น เริ่มจากท่านปรมาจารย์อู๋จง ชนเผ่าหุย ( ชาวมุสลิม ) ในต้นราชวงศ์ชิง ที่อาศัยอยู่หมู่บ้านเมิ่ง
( 孟春 ) ในมณฑลเหอเป่ย ( 河北省 ) ซึ่งทุกวันนี้ในบริเวณนั้นยังมีการฝึกฝนกันอยู่และมี ทายาทสกุลอู๋
ผู้สืบทอดวิชาโดยตรงของอู๋จงอยู่ที่นั่นด้วย
4

แต่เพราะบุคคลท่านหนึ่ง มวยชนิดนี้จึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ฝึกฝนวิทยายุทธยุคปัจจุบัน และ


เป็นมวยที่ผู้ที่ต้องการฝึกฝนวิทยายุทธ์ จีนเพื่อป้องกัน ตัวเลือกเป็นอันดับต้นๆ ท่านผู้นั้น คือ ทวนเทพเจ้า
หลี่ซูเหวิน ( 神枪李书文 ) ปรมาจารย์รุ่นที่ 5 เหตุที่หลี่ซูเหวิ นมีช ื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ นอกจาก
เพราะวิชาทวนอันลือลั่นและวิชามวยอันไม่เป็นรองใครแล้วนั้น ลูกศิษย์ของหลี่ซูเหวินถึง 3 ท่าน ยังได้รับความ
ไว้วางใจจากบุคคลระดับสูงในรัฐบาลสามยุคสามสมัย ได้แก่ ศิษย์คนโตฮั่วเตี้ยนเก๋อ ( 霍殿阁 ) ที่ได้
รับเชิญจากจักรพรรดิองค์สุดท้ายผู่ อี๋หรือที่คนไทยเรียกว่าปูยี ให้เป็นราชองครักษ์และครูสอนวิชามวยให้กับ
องค์จักรพรรดิ , หลี่เจี้ยนอู่ (李健吾 ) ทีไ่ ด้รับความไว้วางใจให้เป็นองครักษ์ของท่านประธานเหมาเจ๋อตุง ,
ศิษย์คนสุดท้าย หลิวหยุนเฉียว (刘云樵 ) ผู้เป็นอดีตสายลับพรรคจีนคณะชาติ ซึ่งได้รับความไว้วางใจ
ให้สอนหน่วยองครักษ์
มวยปาจี๋นั้นมีประโยชน์ในด้านการต่อสู้ระยะประชิด มีเทคนิคการต่อสู้ครบทุกด้าน มีท่วงท่าการต่อสู้
ที่เรียบง่าย รวดเร็ว รุนแรง และว่องไว อีกทั้งเน้นหนักให้เอาชนะคู่ต่อสู้ในกระบวนท่าเดียว ทำให้สามารถ
นำไปใช้ในชีวิตจริงได้ มวยปาจี๋จึงเป็นมวยแขนงหนึ่งที่มีอิทธิพลมากในศิลปะการต่อสู้ของประเทศจีน มีการ
เผยแพร่ ทั้ ง ในประเทศจี น และต่ า งประเทศ อาจารย์ แ ละโรงเรี ย นที ่ ส อนมวยปาจี ๋ ใ นจี น มี จ ำนวนมาก
ที่ต่างประเทศ ไม่ว่ายุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออเมริกาเหนือ ต่างมีโรงเรียนมวยปาจี๋ที่มีชาวต่างชาติ
เป็นผู้ฝึกสอน หากไปค้นหาคำว่า “ #bajiquan ” หรือ “ #八极拳 ” ใน FACEBOOK หรือ INSTAGRAM
จะพบว่า มีรูปภาพและวีดิทัศน์มวยปาจี๋มากมาย และด้วยการสืบทอดมาเป็นเวลากว่า 300 ปี มวยปาจี๋ จึงได้
พัฒนาจากมวยท้องถิ่นทางเหนือของประเทศจีน มาเป็นศิลปะการต่อสู้แขนงหนึ่งที่คนทั่วโลกรู้จักกันดีและ
ชื่นชอบ
4.1.1.2 รูปแบบของมวยปาจี๋
มวยปาจี๋นั้นมีวิธีฝึกที่เรียบง่าย ท่วงท่าไม่ซับซ้อน ไม่มีท่าร่ายรำเพื่อความสวยงามเหมือนมวยจีน
ประเภทอื่นๆ แต่ความยากของมวยนี้ อยู่ที่การฝึกสั่งสมพลังภายใน โดยใช้การฝึกยืนหยุดนิ่งในแต่ละท่า
(定式 ) กำหนดจิตและกายให้สงบ และเคลื่อนจิตไปยังจุดต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งทำให้การฝึกมวยปาจี๋ แม้ใน
ชุดรำชุดแรกที่มีความยาวไม่มาก กลับต้องใช้เวลาสั่งสมพลังภายในหนึ่งปีเป็นอย่างต่ำ เมื่อมีพื้นฐานที่ดีการฝึก
ในขั้นตอนต่อไปจะไปค่อนข้างเร็ว โดยผู้ที่ฝึกมวยชนิดนี้มักจะยกคำพั งเพยจีนที่ว่า “ขมก่อนหวานทีห ลัง ”
( 先苦后甘 ) มาเปรียบเทียบอยู่เสมอ
5

4.1.1.3 บุคคลมีชื่อเสียงที่ใช้มวยปาจี๋

หลี ่ ซ ู เ หวิ น เกิ ด ในสมั ย ราชวงศ์ ช ิ ง รั ช กาลถงจื ้ อ มลฑลเหอเป่ ย อำเภอชาง ตำบลตงหนาน


หมู่บ้านจางซา ท่านมีชื่อรอง คือ ถงเฉิน ครอบครัวมีอาชีพชาวนา ในวัยเด็กได้เรียนมวยกับจินเตี้ยนเซิง โดยได้
เรียนปาจี๋เฉวียนกับต้าเชียงซู่ ( ทวนใหญ่ ) ที่หมู่บ้านเมิ่ง และต่อมาจึงได้เรียนฝ่ามือแปดทิศด้วย
ท่านมีความเชี่ยวชาญใน “ จ้างปาลิ่วเหอต้าเชียง ” ( ทวนใหญ่หกประสานยาว 1.8 จ้าง ) จนได้รับ
ฉายาว่า “ เสินเชียงหลี่ ” ( ทวนเทพแซ่หลี่ ) เคยเดินทางประลองที่มลฑลเหอเป่ย , เหอหนาน , ซานตง , และ
ทุกๆ มณฑลของภาคอีสาน โดยไม่เคยแพ้ใคร คนที่เรียนกับหลี่ซูเหวินมี นับไม่ถ้วน เหล่าศิษย์ในจำนวนนั้น
ได้แก่ ฮั่ว เตี่ย นเก๋อ , ซวี่ห ลานโจว , เยริ่นกว๋อต้ง , หลิว หู่เฉิน , จางเซียงอู่ , น่าอิ้ว คุน , หานฮว่าเฉิน ,
จ้าวซู่เต๋อ , เป่าซื่อหลง , ซวีจื้อชิง , ติงจ้งเจี๋ย , หลิวหวินเฉียว และหลิวซวี่ตง โดยในตอนแรก ท่านไม่ยอมรับ
ศิษย์ จนถึงวัยกลางคน ท่านได้รับน้ำใจจากฮั๋วเตี่ยนเก๋อมากมาย จนเกิดความซาบซึ้ง จึงยอมรับเป็นศิษย์ ต่อมา
ฮั่วเตี่ยนเก๋อถูกเสวียนถ่งฮ่องเต้ เชิญไปยังตงเป่ยเป็นอาจารย์มวยอย่างที่ได้กล่าวไปในเนื้อหาตอนต้น
4.1.1.4 วิดิทัศน์มวยปาจี๋
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับมวยปาจี๋ได้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : มาดูมวยปาจี๋ โคตรเจ๋ง หมัดวัชระอัฏฐะอานุภาพเกรียงไกร
ที่มา : https://www.bilibili.tv/th/video/2000488598
6

4.1.2 มวยหย่งชุน ( 咏春拳 )


4.1.2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมวยหย่งชุน

ตามตำนานมวยหย่งชุน เกิดขึ้นในยุคราชวงศ์ชิง หลังจากวัดเส้าหลินถูกเพลิงเผาไหม้จนวอดวาย


5 ปรมาจารย์อาวุโส ( 五祖 ) และบรรดาลูกศิษย์ต่างแยกย้ายกระจัดกระจายออกไปตามเส้นทางของตนเอง
แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งอุดมการณ์ต้านแมนจูอยู่
แม่ชีอื่อซ่า ( อู่เหมย ) หนึ่งใน 5 ปรมาจารย์อาวุโส ได้อพยพไปเป็นกบจำศีลบนเขาซ่งซาน และที่นั่น
นางได้คิดค้นศิลปะการต่อสู้แบบใหม่ขึ้น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการเห็นการต่อสู้ระหว่างนกกระเรียนกับ
งูเห่า โดยงูเห่าได้พยายามโจมตีนกกระเรียนเป็นเส้นตรง แต่นกกระเรียนได้เคลื่อนไหวตัวเองเป็นวงกลม ทำให้
งูเห่าไม่อาจทำอะไรนกกระเรียนได้ นางได้นำเอารูปแบบการต่อสู้ รูปแบบนี้มาพัฒนาจนเป็นรูปแบบใหม่
ของกังฟูซึ่งแตกต่างจากกังฟูวัดเส้าหลิน
ต่อมา แม่ชีอู่เหมยได้รับลูกศิษย์ ซึ่งเป็นผู้หญิงชื่อ เหยิ่นหย่งชุน ได้ถ่ายทอดวิชายุทธ์แขนงใหม่นี้ให้และ
ฝึกฝนจนสามารถป้องกันตนเองได้แล้ว หย่งชุนจึงลงเขากลับไปหาบิดา จากนั้น หย่งชุนได้เอาวิชานี้สู้กับ
พวกอันธพาลที่มารังควานและรังแกประชาชนในมลฑลนั้น จนชนะทั้งหมดจึงสร้างชื่อเสียงขึ้นมา
หลังจากนั้น หย่งชุนได้แต่งงานกับเหลือง ปอกเชา และพยายามจะสอนวิชานี้ให้กับสามี แต่สามี
ไม่ยอมฝึก เพราะตัวสามีนั้นได้ฝึกฝนมวยเส้าหลินมาอย่างช่ำชองแล้ว แต่หย่งชุนได้แสดงฝีมือและได้เอาชนะ
สามีทุกครั้ง สุดท้ายสามีจึงยอมเรียนวิชานี้กับภรรยา และจากจุดนี้จึงได้ตั้งชื่อมวยแขนงใหม่นี้ว่า หย่ง ชุน
ตามชื่อภรรยานั่นเอง
มวยหย่งชุนได้ถูกถ่ายทอดต่อมาในรุ่นต่อรุ่น จนกระทั่งมาถึงรุ่นของฉั่น หว่าซุน และยิปมัน โดยเฉพาะ
ยิปมันที่เป็นผู้ที่ทำให้หย่งชุนโด่งดังเป็นที่รู้จักในระดับสากล ด้วยความที่เป็นผู้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ บรูซ ลี
ซึ่งต่อมากลายเป็นนักแสดงแอ็คชั่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยมีศิลปะการป้องกันตัวแบบที่เจ้าตัวคิดค้นขึ้นมา
ที่เรียกว่า “ จีทคุนโด้ ” เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งบรูซ ลี ได้ยอมรับว่าพื้นฐานของจีทคุนโด้นำมาจากหย่งชุน
7

โดยในประเทศไทย มวยหย่งชุนได้เข้ามาในปี ค.ศ. 1988 ซึ่งชาวไทยคนแรกที่นำมาฝึกสอน คือ


อาจารย์ อนันต์ ทินะพงศ์ ที่เรียนวิชานี้ที่สหรัฐอเมริกา จาก จู เสาไหล่ หรือ โรเบิร์ต ชู ผู้ซึ่งเป็นศิษย์ของ
เจวียง ฮอกกิ่น ผู้ซึ่งเป็นศิษย์โดยตรงของยิปมัน โดยเปิดสอนเริ่มแรกอย่างไม่คิดค่าเล่าเรียนที่สวนลุมพินี
4.1.2.2 รูปแบบของมวยหย่งชุน
มวยหย่งชุนแตกต่างจากศิลปะการต่อสู้ประเภทอื่นอย่างชัดเจน เป็นมวยที่ไม่ต้องใช้พละกำลังหรือ
ความแข็งแกร่งมากนัก เหมาะสมกับสรีระของผู้หญิงที่ แรงกายอ่อนแอกว่าผู้ชาย เน้นในการป้องกันตัวและ
จู่โจมในระยะสั้นอย่างรวดเร็ว มีวิธีการยืนเท้าที่มั่นคง กล่าวคือ มวยหย่งชุนอาศัยหลักการต่อสู้อันแยบยลตาม
หลักธรรมชาติของการหลบหลีก การเคลื่อนไหวด้วยการปะทะแบบสลายแรงอย่างรวดเร็วพร้อมโจมตีเป็น
เส้นตรงในเวลาเดียวกัน ทั้งรุกและรับในจังหวะเดียวกัน โดยการใช้โครงสร้างและสรีระของร่างกายแทนกำลัง
ของมือและเท้าในการทำลายคู่ต่อสู้
8

4.1.2.3 บุคคลมีชื่อเสียงที่ใช้มวยหย่งชุน

ยิปมัน เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1893 ที่เมืองฝัวซาน มณฑลกวางตุ้ง ในครอบครัวคหบดีที่มั่งคั่ง


เป็นบุตรชายคนที่ 3 ในบรรดา 4 คนของครอบครัว ยิปมันเริ่มเรียนกังฟูครั้งแรกเมื่ออายุได้ 13 ปี ในแบบ
มวยหย่งชุนจากเฉินหัวซุ่น ( 陳華順 )
แต่ขณะนั้น เฉิน หัว ซุ่นอายุมากแล้ว การสอนจึงตกเป็นหน้าที่ของศิษย์พี่ อู๋ จ้งซู่ ( 吳仲素 )
เป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่เฉินหัวซุ่นจะเสียชีวิตด้วยโรคชรา และได้ฝากฝังให้อู๋ จ้งซู่ สอนยิปมันต่อให้ส ำเร็จ
และยังถือว่ายิปมันเป็นศิษย์คนสุดท้ายของเฉินหัวซุ่นด้วย
วันหนึ่ง ยิปมันถูกเพื่อนร่วมชั้นเรียนมัธยมท้าให้ทดลองสู้กับคนที่อายุมากกว่า ยิปมันได้ตกลงรับคำท้า
แต่กลายเป็นว่า เขาบังเอิญไปท้าสู้กับผู้ฝึกมวยหย่งชุนด้วยกันเอง และแพ้อย่างหมดทางสู้ คนๆ นี้ชื่อ เหลียงปี้
( 梁璧 ) ซึ่งเป็นบุตรชายของเหลียงจ้าน ( 梁贊 ) อาจารย์ปู่ของยิปมัน ยิปมันได้รู้จักกับเหลียงปี้และ
เรียนวิชากับเขาจนอายุได้ 24 ปี จึงได้กลับมาที่ฝัวซานบ้านเกิด ด้วยฝีมือที่ก้าวหน้าไปกว่าเดิมมาก
ที่ฝัวซาน ยิปมันได้งานเป็นตำรวจ จึงไม่ได้เปิดสำนักกังฟู แต่ เขาได้สอนลูกน้องของเขาบ้าง ซึ่งที่นี่
ยิปมันได้รับการนับถืออย่างยิ่งจากชาวบ้าน เสมือนเป็นวีรบุรุษของท้องถิ่น
ในช่วงสงครามจีน - ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ( ค.ศ. 1937 - ค.ศ. 1945 ) ยิปมันปฏิเสธที่จะเป็นครูฝึกสอนให้
ทหารญี่ปุ่นหลายต่อหลายครั้ง และย้ายจากฝัวซานไปอยู่เมืองอื่น
จนเมื่อปลาย ปี ค.ศ. 1949 ยิปมันเข้าร่วมกับพรรคก๊กมินตั๋งและต้องหนีไปฮ่องกงโดยพลัดพรากจาก
ครอบครัว เนื่องจากพรรคก๊กมิน ตั๋งแพ้ให้กับพรรคคอมมิว นิส ต์จีน ที่ฮ่องกง ยิปมั นจึง ได้เริ่มเปิดสำนัก
สอนหย่งชุนขึ้น ระยะแรก กิจการไม่ดี เพราะลูกศิษย์ที่สมัครอยู่กับเขาได้ไม่กี่เดือนก็ออกไป หลังจากนั้น
ไม่นาน เขาได้ย้ายสำนักไปเปิดที่เหย่าหม่าเต๋ย์ และ ณ ที่นั่น ยิปมันมีลูกศิษย์ที่ศึกษาอย่างจริงจังหลายคน เช่น
9

เจวียง ฮอกกิ่น ( Hokkin Chueng ), หว่อง ซัมเหลวียง , เจียง จกเฮง , เจียง ฮกกิ่น และอื่น ๆ ซึ่งสร้างชื่อเสียง
ในการประลองให้แก่มวยหย่งชุนเป็นอย่างมาก
ยิปมันเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่เมืองมงก๊ก เกาลูน ฮ่องกง ด้วยโรคมะเร็งที่คอ
รวมอายุได้ 79 ปี และถูกยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในยุคปัจจุบันของมวยหย่งชุน
4.1.2.4 วิดิทัศน์มวยหย่งชุน
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับมวยหย่งชุนได้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : 永春白鹤拳 基本功法 Basic Skill of Yongchun Crane
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=K2sJn2yS2Zc

4.1.3 มวยหงเฉวียน หรือ ( 洪拳 )

4.1.3.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมวยหงฉวน
มวยหงเฉวี ย น หรื อ มวยสกุ ล หง เป็ น ศิ ล ปะการต่ อ สู ้ ป ้ อ งกั น ตั ว ทางตอนใต้ ข องประเทศจี น
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวีรบุรุษในตำนานชาวจีนนามว่า หวง เฟยหง ผู้ซึ่งเป็นปรมาจารย์แห่งเพลงหมัดหงเฉวียน
10

โดยตามตำนานกล่าวว่า เพลงมวยหงเฉวียนได้รับการตั้งชื่อตาม หง ซีกวน ผู้ซึ่งได้เรียนศิลปะการต่อสู้


จาก จื้อซั่น ผู้ซึ่งเป็นปรมาจารย์ฉานแห่งวัดเส้าหลินภาคใต้ โดย จื้อซั่น เป็นอาจารย์ของ 5 ลูกศิษย์ ซึ่งมีนามว่า
หง ซีกวน , ไช่ จิ่ว หยี , โม่ ชิงเจี่ย ว , หลี่ โหย่ว ซัน และ หลิว ซานเหยี่ยน ลูกศิษย์เหล่า นี ้ใ นภายหลั ง
ได้ ก ลายเป็ น ห้ าผู้ ก ่อ ตั ้ง ที ่ม ี ช ื ่อ เสี ย งแห่ง ห้ า เพลงหมั ดวัด เส้า หลิ นตอนใต้ ( หงเฉวี ย น , ไช่ เ จี ย เฉวี ยน ,
โม่เจียเฉวียน , หลี่เจียเฉวียน และ หลิวเจียเฉวียน ) วัดที่พวกเขาได้รับการฝึกฝนได้กลายเป็นที่หลบภัยสำหรับ
ฝ่ายตรงข้ามของราชวงศ์ชิง ซึ่งใช้สถานที่แห่งนี้ดำเนินกิจกรรมของพวกเขา และได้ถูกทำลายโดยกองกำลังชิง
ในไม่นาน หงผู้เป็นพ่อค้าชาก็ได้ออกจากบ้านในมณฑลฝูเจี้ยนมายังมณฑลกวางตุ้งในที่สุด และเขาได้นำศาสตร์
สายนี้มาเผยแพร่ในเวลาต่อมา
ในปี ค.ศ. 2015 มวยหงเฉวียน ถูกรวมอยู่ใ นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของเทศบาลเมือง
กวางโจว และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 มวยหงเฉวียน ถูกรวมอยู่ในมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
ของมณฑลกวางตุ้ง
4.1.3.2 รูปแบบของมวยหงเฉวียน
เอกลักษณ์ของมวยชนิดนี้ คือ ท่ายืนม้า “ si ping ma ” ( 四平马 ) เป็นม้าต่ำและกว้าง มีเทคนิค
การใช้มือสะพานที่แข็งแกร่ง มั่นคง มีมวยหมัดเหล็กเส้น หมัดเลียนแบบสัตว์ห้าชนิด มวยเสือและกระเรียน
11

4.1.3.3 บุคคลมีชื่อเสียงที่ใช้มวยหงเฉวียน

หวง เฟยหง เกิ ด เมื ่ อ วั น ที ่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1847 ตรงกั บ ปี ท ี ่ 25 ในรั ช สมั ย ฮ่ อ งเต้ เ ต้ า กวง
แห่งราชวงศ์ชิง ( บางข้อมูลบอกว่า เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1856 ตรงกับปีที่ 6 ในรัชสมัยฮ่องเต้เสียนเฟิง ) ที่หมู่บ้าน
หลูเจ้า ใกล้ภูเขาสีเฉียว เมืองฝัวชาน มณฑลกวางตุ้ง เป็นบุตรของหวง ฉีอิง ( 黃麒英 ) ซึ่งเป็นปรมาจารย์
กังฟูผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม “ 10 พยัคฆ์กวางตุ้ง ” ( 伏虎拳 ) ที่มีชื่อเสียง
เช่นกันถึงแม้จะเป็นบุตรของปรมาจารย์กังฟู แต่ หวง ฉีอิง ก็มิได้ถ่ายทอดวิทยายุทธให้แก่บุตรชาย ด้วยเหตุผล
ที่ไม่แน่ชัดนัก หวง เฟยหง ได้มีอาจารย์สอนวิชากำลังภายในให้คือ ลู่ อาไฉ ( 陸阿采 ) ผู้เป็นสหายร่วม
สำนักเส้าหลิน กับ หง ซีกวน ( 洪熙官 ) วีรบุรุษกังฟูที่มีช ื่อเสียงอีกคน ถ่ายทอดวิช ามวยหงเฉวียน
โดยมีกระบวนท่าที่มีชื่ออย่าง “ หมัดพยัคฆ์ดำ – กระเรียนขาว ” ให้
นอกจากได้ ลู่ อาไฉเป็นอาจารย์แล้ว ในวัยเยาว์ หวง เฟยหง ยังได้ร่ำเรียนวิชาหงเฉวียนเพิ่มเติมจาก
หลิน ชื่อหรง ( 林世榮 ) จากนั้น ได้รับการสั่งสอนเพิ่มเติมจาก หวง ฉีอิง ผู้เป็นบิดา ในวัยเด็กครอบครัว
ของ หวง เฟยหง มีฐานะยากจน ต้องตระเวนรอนแรมไปเปิดทำการแสดงวิชาฝีมือและขายยาตามท้องถนน
โดยสรุปแล้ว ชีวิตในช่วงวัยเยาว์และวัยหนุ่มของ หวง เฟยหง เป็นระยะเวลาของการฝึกฝนวิชาฝีมือต่อสู้
ป้องกันตัว และการรับมรดกสืบทอดวิชาแพทย์จากบิดา ซึ่งเป็นแพทย์แผนโบราณที่ได้รับการยกย่องนับถือ
จากนั้น หวง เฟยหงได้สร้างวีรกรรมอันลือชื่อขึ้นมา 2 เหตุการณ์ที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง เหตุการณ์
แรกเกิดขึ้นเมื่อหวง เฟยหง มีอายุ 16 ปี มีชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่งคิดค้นกิจกรรมสร้างความบันเทิง โดยฝึกฝน
สุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด จนดุร้ายกระหายเลือด จากนั้น ก็เปิดเวทีท้าประลองให้ชาวจีนสู้กับสุนัข ผู้ชนะ
จะได้รับเงินรางวัลมูลค่าสูง แต่หากพลาดพลั้งบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ก็ถือเป็นคราวเคราะห์ที่ไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ
กิจกรรมนี้กลายเป็นเรื่องโจษจันเกรียวกราวไปทั่ว ผู้คนจำนวนมากที่เข้าประลองล้วนแล้ว แต่พ่ายแพ้ บ้างโชคดี
ก็แค่บาดเจ็บ แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ต้องเสียชีวิตไปอย่างไร้เปล่า
12

เมื่อหวง เฟยหง ล่วงรู้เรื่องดังกล่าว จึงเข้าประลองเพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีให้แก่ชาวจีน และเป็นฝ่ายชนะ


อย่างง่ายดาย ด้วยกระบวนท่าที่เรียกว่า “ ฝ่าเท้าไร้เงา ” ซึ่งเป็นไม้ตายประจำตัวที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากสุด
ของเขา เหตุการณ์ต่อมาคือ เมื่อครั้งที่ท่าเรือฮ่องกงเพิ่งเปิดทำการ หวง เฟยหงในวัย 21 ปี ไม่อาจทนเห็นผู้
อ่อนแอโดนนักเลงท้องถิ่นจำนวนมากรุมรังแก จึงยื่นมือเข้าขัดขวาง ด้วยการใช้กระบองไม้ไผ่เป็นอาวุธบุกเดี่ย ว
เข้าสู้กับฝ่ายตรงข้ามจำนวนหลายสิบคน กลายเป็นศึกตะลุมบอนอันลือลั่น ( บริเวณที่เกิดเหตุดังกล่าว ปัจจุบัน
คือสวนสาธารณะที่ถนนฮอลลีวูด บนเกาะฮ่องกง )
ผลการต่อสู้ หวง เฟยหง สามารถหลบหนีไปได้ และทำร้ายบรรดานักเลงอันธพาลบาดเจ็บไปหลายคน
แต่การปะทะครั้งนั้น ก็ส่งผลให้ หวง เฟยหงไม่อาจพำนักอยู่ในฮ่องกงได้อีกต่อไป และต้องเดินทางกลับไป
กวางเจา ช่วงชีวิตของหวง เฟยหง ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากสุด โดยผ่านการบอกเล่าของภาพยนตร์ต่างๆ
มากมาย ในยุคปัจจุบัน คือ ช่วงวัยอายุประมาณ 30 ปี หวง เฟยหง กลายเป็นปรมาจารย์กังฟูมีชื่อเสียง
พร้อมๆ กันนั้นเขาก็ได้เปิดร้านขายยาและสถานพยาบาล ชื่อ “ เป่าจือหลิน ( 寶芝林 ) ”
หวง เฟยหง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1924 มีอายุได้ 76 ปี ตลอดชีวิตหวง เฟยหงมีลูกศิษย์
ทั้งหมด 18 คน
4.1.3.4 วิดิทัศน์มวยหงเฉวียน
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับมวยหงเฉวียนได้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : 广州江南武术馆 《洪拳》
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=k8r0XZ2dW8k
13

4.1.4 มวยเตะชัวเจี่ยว ( 戳脚 )
4.1.4.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมวยเตะชัวเจี่ยว

มวยเตะชัวเจี่ยวมีพื้นฐานมาจากกังฟูขาและเท้าเป็นหลัก มีต้นกำเนิดในราชวงศ์ซ่งและเจริญรุ่งเรืองใน
ราชวงศ์หมิงและชิง ซึ่งในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 มวยชนิดนี้ได้รับการอนุมัติให้ เป็นหนึ่งในมรดก
วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชาติ นอกจากนี้ มวยเตะชัวเจี่ยว ยัง ถูกระบุว่าเป็นการแสดงศิลปะการต่อสู้และ
การแข่งขันระดับชาติของประเทศจีน
4.1.4.2 รูปแบบของมวยเตะชัวเจี่ยว
สำหรับมวยชนิดนี้ ร่างกายจะต้องตั้งตรงและสามารถยืดหยุ่นร่างกายได้สะดวก โดยมีเอวและไหล่และ
สะโพกเป็นตัวช่วย โดยใช้ช่องว่างเอว ไหล่ และสะโพก และมักจะร่วมกับการเคลื่อนไหวภาคพื้นดิน

4.1.4.3 วิดิทัศน์มวยเตะชัวเจี่ยว
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับมวยเตะชัวเจี่ยวได้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : 中国武术戳脚翻子/金成胜老师/北京
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=bskU2ArG-eM
14

4.2 ศิลปะการต่อสู้ของประเทศจีนที่เป็นแนวคิดภายใน ( 四大内家拳 )


4.2.1 มวยไทเก๊ก ( 太极拳 )
4.2.1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมวยไทเก๊ก

“ ไทเก๊ก ” คำนี้ คนจีนใช้กันมาแต่โบราณแล้ว จูซี นักปรัชญาจีนในสมัยราชวงศ์ เคยกล่าวไว้ว่า


“ ไทเก๊ก ” คือ หลักแห่งธรรมชาติ ( เต๋า ) หยินหนึ่ง หยางหนึ่ง รวมเรียกว่าเต๋า ( หลักแห่งธรรมชาติ ) และ
ไทเก๊กมิใช่สิ่งอื่นอีกสิ่งหนึ่ง แต่คือ หยินหยางในหยินหยาง เบญจธาตุในเบญจธาตุ และสรรพสิ่งในสรรพสิ่ง
มีเพียงหลักเหตุผลเดียวเท่านั้น โดยไทเก๊กหรือการฝึกพลังลมปราณ เป็นการบริหารร่างกายและทำสมาธิ
เพื่อนำสิ่งที่เรียกว่า “ ชี่ ( 气 ) ” หรือลมปราณไปปรับดุลยภาพของหยินหยางในร่างกาย ทำให้อวัยวะและ
ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานเป็นธรรมชาติ ถือว่าเป็นดุลยภาพบำบัดอย่างหนึ่ง
วิช ามวยไทเก๊กเป็ น ศิล ปะการต่ อสู้ ที่ มีช ื่ อเสียงในประเทศจีน เชื่อกันว่าปรมาจารย์ผ ู้ ให้ ก ำเนิ ด
มวยไทเก๊ก คือ นักพรตชื่อ จาง ซันเฟิง ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 – 14 แต่วิชานี้เริ่มมีชื่อเสียงใน
สมัยราชวงศ์ชิง โดยหยาง ลู่ฉาน ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดมวยไทเก๊กตระกูลหยาง และภายหลังได้แพร่ขยายไปทั่วโลก
สำหรับในประเทศไทย อาจารย์ต่ง อิงเจี๋ย (ตั่งเองเกี๊ยก) นำมวยไทเก๊กมาเผยแพร่ในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2498
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 อาจารย์ต่งส่งบุตรชายของท่านคืออาจารย์ต่ง หูหลิ่ง (ตั่งโหวเนี่ย) มาเป็นครูมวยไทเก๊ก
คนแรกในประเทศไทย จึงกล่าวได้ว่ามวยไท่เก๊กในไทยนั้นสืบสายมาจากมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง
ในปัจจุบัน มวยไทเก๊กที่แพร่หลายกันอยู่ทั่วไปมีอยู่มากมายหลายสาย หลายตระกูล ซึ่งสายมวย
อันเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันมีอยู่ 5 สายหลัก คือ ไท่เก๊กตระกูลเฉิน , ตระกูลหยาง , ตระกูลอู่ , ตระกูลอู๋ และ
ตระกูลซุน ซึ่งภายหลัง รัฐบาลจีนได้นำท่ามวยของทั้ง 5 ตระกูลมาเรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันลีลายุทธ์
ด้วย นอกจากห้าตระกูลนี้แล้ว ภายหลังยังมีมวยไท่เก๊กตระกูลอื่นๆ ซึ่งแตกแยกย่อยไปจากห้าตระกูลนี้ รวมถึง
ยังปรากฏมวยไท่เก๊กประจำถิ่นอีกหลายสายปรากฏออกมาอีกมากมาย หากไม่ว่าจะเป็นมวยไท่เก๊กสายใด
ตระกูลใด แม้ท่วงท่าจะแตกต่างกัน แต่ยังอิงเคล็ดความเดียวกัน และล้วนนับถือจาง ซันเฟิง เป็นปรมาจารย์
เช่นเดียวกัน
15

เมื ่ อ วั น ที่ 18 ธั น วาคม พ.ศ. 2563 องค์ ก ารเพื ่ อ การศึ ก ษา วิ ท ยาศาสตร์ และวั ฒ นธรรมแห่ ง
สหประชาชาติ ( UNESCO ) ได้ขึ้นทะเบียน “ มวยไทเก๊ก ” ลงในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
ของมนุษยชาติ
4.2.1.2 รูปแบบของมวยไทเก๊ก
มวยไทเก๊กมี ล ั กษณะนุ่ม นวล โอนอ่อน ผ่อนคลาย การเคลื่อนไหวลื ่น ไหลต่ อเนื่ อ ง การหายใจ
สอดประสานไปกั บ การเคลื ่ อ นไหว พร้ อ มทั ้ ง ต้ อ งตั ้ ง จิ ต ติ ด ตามการเคลื ่ อ นไหวของร่ า งกายไปตลอด
ทำให้เกิดสมาธิ เนื่องจากไม่มีการเกร็งกล้ามเนื้อหรือการออกแรงกระแทก จึงมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บร่างกาย
ได้น้อย เมื่อเทียบกับกีฬาที่ใช้แรงชนิดอื่นๆ ทำให้เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย แม้แก่ชราอายุ 90 – 100 กว่าปี
ก็ยังฝึกฝนได้ ประโยชน์ที่ได้รับนอกจากจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงทั้ งร่างกายและจิตใจแล้ว ยังสามารถใช้เป็น
ศิลปะป้องกันตัวได้หากได้รับการฝึกฝนเพื่อใช้ต่อสู้ ในปัจจุบัน ไทเก๊กมีผู้นิยมฝึกฝนกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
คุณลักษณะที่สำคัญของไทเก๊กมีอยู่ 5 ประการ คือ
1.) ความช้า ซึ่งช่วยพัฒนาความรับรู้
2.) ความเบา ช่วยให้การเคลื่อนไหวไปอย่างต่อเนื่องราบรื่น
3.) ความสมดุล ทำให้ร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่ต้องเครียดเกร็ง
4.) ความสงบ ได้มาจากความต่อเนื่องที่มีการเคลื่อนไหวแบบไหลเรื่อยเสมอกัน
5.) ความชัดเจน คือ การชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากความคิดที่เข้ามาบุกรุก
16

4.2.1.3 บุคคลมีชื่อเสียงที่ใช้มวยไทเก๊ก

จาง ซัน เฟิง ( สำเนีย งจีน กลาง ) หรือ เตียซำฮง ( สำเนียงแต้จิ๋ว ) เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงใน
ประวัติศาสตร์จีน มักกล่าวถึงในภาพยนตร์หรือนิยายกำลังภายในที่มีชื่อเสียง เช่น เรื่อง ดาบมังกรหยก
ซึ่งเขียนโดยกิมย้ง หรือจินหยง ยอดนักเขียนนวนิยายกำลังภายในชาวจีนนั่นเอง
เชื่อกันว่าจาง ซันเฟิง เกิดเมื่อวั นที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1247 ในสมัยปลายราชวงศ์ซ้อง ( ค.ศ. 960 -
ค.ศ. 1279 ) ที่มณฑลเหลียวหนิง มีชื่อเดิมว่า จาง เฉวียนอี หรือ จาง จวินอวี้ โดยที่ชื่อ ซันเฟิง นั้น เป็นฉายา
ในตอนที่เป็น นักบวชในลัทธิเต๋าแล้ว ท่านมีช ื่อเสียงในสมัยราชวงศ์ห ยวน ( ค.ศ. 1279 - ค.ศ. 1368 )
เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวบ้านสามัญชน จากการใช้กำลังภายในการช่วยเหลือคนเจ็บไข้ แล้วมีอายุยืนยาว
มาจนถึงราชวงศ์ห มิง ( ค.ศ. 1368 - ค.ศ. 1654 ) และค่อย ๆ หายหน้าไปจากหน้า ประวัต ิศ าสตร์ จี น
หลังปี ค.ศ. 1459 ท่านใช้ชีวิตมากว่า 200 ปี และไม่มีประวัติการเสียชีวิต หลายคนเชื่อกันว่าหลังจากนั้นเชื่อว่า
สำเร็จเป็นเซียนอมตะ
มีประวัติของจาง ซันเฟิงในหน้าประวัติศาสตร์มากมาย แต่ที่มีชื่อเสียงคือ การก่ อตั้งสำนักอู่ ตัง
หรือบู๊ตึ๊ง ในสำเนียงแต้จิ๋ว และการค้นคิดวิชามวยไทเก๊ก
เรื่องเล่าเกี่ย วกับ ท่านจาง ซั น เฟง คือ เรื่องที่ท่านได้พบเห็นนกกระเรียนสู้กับงู ณ ภูเขาวูตูซัน
ขณะที่กำลังสวดสาธยายพระคัมภีร์ภายในอาศรม เกิดได้ยินเสียงนกดูเหว่าหางยาวแผดร้องด้วยน้ำเสียง
ประหลาด ท่านลุกขึ้นมองออกไปนอกหน้าต่างได้พบเห็นการต่อสู้ระหว่างนกดูเหว่ากับงู นกเกาะอยู่บนกิ่งสน
แสดงอาการดุดัน เกรี้ย วกราด ดุจ พญาเหยี่ยวผู้ห ิว โหยจ้องมองหาเหยื่อและเกาะก้มหัว ต่ำโน้มตัว ลงมา
เพ่งสายตาไปที่งูซึ่งกำลังขดเป็นวงกลมอยู่บนพื้นดิน ซึ่งกำลังจ้องเพ่งไปยังนกดุเหว่าดุจเดียวกัน ฉับพลัน
นกส่งเสียงแผดร้อง พร้อมกับโฉบลงและตีปีกไปยังงู แต่งูสามารถหลบหลีกด้วยลักษณะสุขุมโดยส่ายหั ว
กลับไปกลับมา เป็นการหลบฉากอย่างนุ่มนวล ทำให้การโฉบทำร้ายของนกไร้ผล หลายคราวที่ นกดุเหว่า
โฉบกลับ มาโจมตี งู ซึ ่ง ตั ้ง รั บ ด้ว ยความมั่น คง และรักษาตำแหน่ ง การเคลื่ อ นไหวเป็นวงกลมเคลื่ อ นไหว
เฉพาะส่วนบน ต่างทำร้ายกันไม่ได้ ( บางตำรากล่าวว่างูชนะ ) ท่านบรมครูสนใจการหลบหลีกอ่อนตามและ
การเคลื่อนไหวเป็นวงกลมของงู ท่านได้อาศัยหลักการต่อสู้ของงู ที่เคลื่อนตีวงกลม ผสมกับพลังที่แฝงมากับ
17

ความนุ่มนวล แต่ปราดเปรียว รวมทั้งหลักของหยิน หยาง ในเรื่องของความแตกต่างระหว่างของสองสิ่ง


รวมเข้าเป็นหลักการของไทเก๊ก ส่งผลให้เกิดประโยชน์ยิ่งในการฝึกพลังสมาธิให้มั่นคง
4.2.1.4 วิดิทัศน์มวยไทเก๊ก
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทเก๊กได้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : 【太极拳】中国传统武术-集防身、修身、养身,武学、
哲学、医学、艺术于一体| 中国非物质文化遗产(太极拳/苏绣/
昆曲/灯彩/剪纸/玉雕/年画)《非遗传承人》
ที่มา : https://youtu.be/iBw9-CV5OAI

4.2.2 มวยสิงอี้ ( 形意拳 )


4.2.2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมวยสิงอี้

มวยสิงอี้ เป็นหนึ่งในสามศิลปะต่อสู้ป้องกันตัว ที่มีชื่อเสียงของประเทศจีน อันได้แก่ มวยไทเก๊ก


มวยสิงอี้ และมวยปากว้าจ่าง โดยคำว่า สิง ( 形 ) แปลว่า รูปลักษณ์ ส่วนคำว่า อี้ ( 意 ) หมายถึง จิต
เมื่อรวมกันจึงเข้าใจได้ว่า มวยสิงอี้ให้ความสำคัญแก่การฝึกจิตสำนึกและรูปลักษณ์ โดยหมัดจิต คือ การฝึก
หมัดตามหลักห้าธาตุหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า หมัดห้าธาตุ ส่วนหมัดรูปลักษณ์ คือ การฝึกลักษณะการเคลื่อนไหว
ของสัตว์สิบสองอย่างเรียกว่า หมัดสิบสองท่าสัตว์ หมัดห้าธาตุเน้นฝึกพลัง ขณะที่หมัดสิบสองท่าสัตว์นั้นเน้นที่
การนำเอาจิตวิญญาณของสัตว์แต่ละชนิดมาแสดงออกทางการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ มวยสิงอี้ยังครอบคลุมถึง
18

กระบวนท่าสำหรับอาวุธอีก 4 ชนิด ได้แก่ ดาบ ทวน กระบี่และกระบอง และอาวุธอื่น ๆ มวยสิงอี้ที่เป็นที่นิยม


อย่างแพร่หลายมี 五行连环拳 , 形意八势 , 杂势捶 , 十二洪捶 , 五行连环刀,
五行连环剑 , 五行连环棍
ขยายความเพิ่มเติม หมัดห้าธาตุของมวยสิงอี้ คือ ท่าหมัดห้าแบบที่อิงอยู่บนทฤษฎีห้าธาตุ ได้แก่
หมัดผ่า ( พิเฉวียน ) คือ ธาตุทอง ลักษณะของแรงที่ใช้ คือ การตีหมัดลงเหมือนขวานทองผ่าไม้ , หมัดทะลวง
( จ้วนเฉวียน ) คือธาตุน้ำ ลักษณะของแรง คือ หมุนเป็นเกลียวเหมือนน้ำวนและมีลักษณะแรงเหมือนน้ำซึม
ผ่านการป้องกันของฝ่ายตรงข้าม , หมัดทะลาย ( เปิงเฉวียน ) คือ ธาตุไม้ ลักษณะของแรงคือยืดตรงไปข้างหน้า
เหมือนไม้เติบโต , หมัดปืนใหญ่ ( เผ้าเฉวียน ) คือ ธาตุไฟ ลักษณะของแรง คือ การเปิดกระจายออกเหมือน
ไฟระเบิดออกจากปากปืนใหญ่ และหมัดขวาง ( เหิงเฉวียน ) คือธาตุดิน ลักษณะของแรง คือ เคลื่อนขวาง
เหมือนดินสกัดน้ำ และนอกจากนี้หมัดห้าธาตุของมวยสิงอี้ยังมีความสัมพันธ์เกิดและข่มตามทฤษฎีห้าธาตุ
อย่างสมบูรณ์อีกด้วย เช่นหมัดผ่าธาตุทองสามารถกำเนิดหมัดทะลวงธาตุน้ำและสยบหมัดทะลายธาตุไม้ได้
เป็นต้น
สำหรับหมัดสิบสองท่าสัตว์นั้น คือ การนำทักษะอันเฉพาะเจาะจงของสัตว์แต่ละชนิดมาแสดงออกด้วย
การเคลื่อนไหว ซึ่งการเลียนแบบการเคลื่อนไหวและทักษะของสัตว์นี้ ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง
ของศิลปะการต่อสู้แบบจีน อย่างไรก็ตาม สำหรับสิบสองท่าสัตว์ในมวยสิงอี้นั้นมีความแตกต่างจากการ
เลียนแบบท่าสัตว์ในมวยจีนชนิดอื่นอยู่มาก กล่าวคือ ในมวยสิงอี้นั้น จะเน้นที่การลอกเลียนรูปแบบภายในและ
จิตวิญญาณของสัตว์ชนิดนั้นมากกว่าท่าทางการเคลื่อนไหวภายนอก เช่น ในท่าพยัคฆ์จะเน้นที่ความกล้าหาญ
ในการทะยานตัวไปข้างหน้าราวกับพยัคฆ์ตระครุบเหยื่อมากกว่าจะเน้นที่เรื่องของวิชาที่เลียนแบบการใช้
กรงเล็บของพยัคฆ์อย่างในมวยทั่วไป
ปัจจุบันนี้ มวยสิงอี้ได้เป็นหนึ่งในสามสุดยอดมวยภายในอย่างที่ได้กล่าวในข้างต้น ที่มีหลักการฝึก
อันถูกต้องตามมุมมองของมวยภายในโดยบริสุทธิ์ขนานแท้ เพียงแต่แตกต่างจากมวยไทเก๊ก ที่มวยสิงอี้นั้น เน้น
ที่การแสดงด้านกร้าวแกร่ง แต่มวยไทเก๊กนั้นเน้นที่การแสดงด้านอ่อนหยุ่น
4.2.2.2 รูปแบบของมวยสิงอี้
รูปแบบของมวยสิงอี้ คือ การโจมตีเป็นเส้นตรงอย่างรุนแรงและทรงพลังในระยะสั้น ผู้ฝึกฝนมวยสิงอี้
ใช้การเคลื่อนไหวประสานเพื่อสร้างพลังงานที่ใช้ในการเอาชนะคู่ต่อสู้ในขณะนั้น ป้องกันตัวพร้อมกับที่โจมตี
ซึ่งรูปแบบวิธีจะแตกต่างกันไปตามสำนัก แต่ทุกสำนักจะฝึกต่อสู้มือเปล่า โดยมีทั้งแบบเคลื่อนไหวเดียวและ
หลายรูปแบบ รวมถึงการฝึกฝนการใช้อาวุธที่มีระบบกระบวนท่าเดียวกับการฝึกต่อสู้มือเปล่า ที่ความเข้าใจ
พื้นฐานในการเคลื่อนไหวร่างกายได้ถูกกำหนดจากการใช้ทวนหรือไม้พลอง
19

4.2.2.3 บุคคลมีชื่อเสียงที่ใช้มวยสิงอี้

หลี่ฉุนยี่ ( ค.ศ.1847 – 1921 ) เป็นชาวมลฑลเหอเป่ย ชื่อที่ตั้งให้เรียกคือจงหยวน แต่คนทั่วไปมักจะ


เรียกท่านจากชื่อตัวของท่าน ในวัยเด็กนั้น ท่านมีฐานะยากจนมากและมีอาชีพเป็นคนลากรถ ท่านมีความสนใจ
ในวิชาการต่อสู้อย่างมากและท่านเริ่มต้นด้วยการเรียนมวยยาว ( ฉางเฉวียน ) และเริ่มมีกลุ่มเพื่อที่ศึกษาศิลปะ
การต่อสู้ด้วยกัน เช่น ท่านจางเจ้าตง และท่านหลี่ฉุนยี่ยังเป็นเพื่อนสนิทกับท่านเฉิงถิงหัวแห่งมวยปากว้าจ่าง
( ฝ่ามือแปดทิศ ) ด้วย
เมื่อท่านหลี่อายุได้ราวยี่สิบ กลุ่มของท่านหลี่ก็ได้เดินทางไปขอเป็นศิษย์ท่านหลิวฉีหลาน และได้เข้า
เป็นศิษย์ในศึกษาวิชามวยสิงอี้จนหมดสิ้น นอกจากนี้ ท่านหลี่ยังได้รับคำแนะนำจากท่านหลิวฉีหลานให้ไปเรียน
วิ ช าเพิ ่ ม เติ ม จากอาจารย์ ล ุ ง คื อ ท่ า นเชอยี ่ ไ จ ทำให้ ท ่ า นหลี ่ ฉ ุ น ยี่ ไ ด้ ร ั บ สื บ ทอดท่ า สั ต ว์ เ พิ ่ ม อี ก 2 ท่ า
ซึ่งท่านเชอยี่ไจได้เรียนมาจากท่านไต้เหวินสง ทำให้มวยสิงอี้สายเหอเป่ยมีท่าสัตว์เป็นสิบสองท่าอีกด้วย
ท่านหลี่ฉุนยี่เมื่อสำเร็จวิชามวยแล้ว เคยประกอบอาชีพเป็นผู้คุ้มภัย และใช้ดาบเป็นอาวุธทำให้ท่านมี
ฉายาว่า “ ดาบเดี่ยวแซ่หลี่ ” ( ตานเตาหลี่ ) ท่านยังเคยเปิดโรงเรียนศิลปะการต่อสู้ขึ้นที่เทียนจินและทำให้
มวยสิงอี้ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และหลังจากนี้จึงเข้าสู่ยุคใหม่ของมวยสิงอี้
และแบ่งเป็นสายวิชาตามที่รู้จักกันในปัจจุบันในที่สุด
4.2.2.4 วิดิทัศน์มวยสิงอี้
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับมวยสิงอีไ้ ด้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : Xing Yi ( Shanxi )
ที่มา : https://youtu.be/4M4OJRgDxi4
20

4.2.3 ปากว้าจ่าง หรือ ฝ่ามือแปดทิศ ( 八卦掌 )


4.2.3.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปากว้าจ่าง

ปากว้าจ่าง แปลตรงตัว ตามตัวอักษรได้ความว่า ฝ่ามือแปดทิศ เป็นหนึ่งในสามศิลปะป้องกันตัว


แขนงหลักของบู๊ตึ้ง โดยอีกสองแขนง คือ ไทเก๊กและมวยสิงอี้ ตามประวัติศาสตร์ที่มีการบอกเล่ากั น มา
กล่าวว่า มวยชนิดนี้ ถูกคิดค้น โดยตง ไห่ช วน หัว หน้าองครักษ์ในพระราชสำนักของราชวงศ์แมนจูหรือ
ราชวงศ์ชิงของจีน ด้วยฝีไม้ลายมือระดับหัวหน้าองครักษ์ย่อมต้องไม่ธรรมดา แต่แล้ววันหนึ่ง ขณะกำลั ง
เดินทางอยู่ ณ ภูเขาจิ่วหลงซาน ตง ไห่ชวน ได้พบกับนักพรตน้อยรูปหนึ่ง กำลังเดินจงกลมด้วยท่าทางแปลกๆ
จึงเข้าไปสนทนาด้วย คุยไปคุยมาเกิดการลองของกันขึ้น ผลคือนัก พรตน้อยใช้การเดินวงกลมที่ตนเองเดินอยู่
ทุกวันหลบหลีกตง ไห่ชวนได้ตลอด ฝ่ายหัวหน้าองครักษ์จึงตระหนักว่าเจอของจริงเข้าให้แล้ว จึงขอให้นักพรต
ช่ว ยถ่ายทอดวิช า นักพรตน้อยปฏิเสธ แต่ได้พาตง ไห่ช วนไปพบกับอาจารย์ของตน ตง ไห่ช วนจึงได้นำ
เคล็ดวิชาที่ได้รับจากนักพรตบนภูเขาจิ่วหลงซานมาผสมผสานเข้ากับวิชาดั้งเดิมของตน และบัญญัติขึ้นเป็น
วิชาปากว้าจ่าง
ปากว้าจ่าง เป็นศิลปะที่สอนให้เปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขที่เข้ามาปะทะ หมายความว่า เวลาที่เผชิญ
กั บ อะไรบางสิ ่ ง วิ ช านี้ ไ ม่ ส อนให้ ผ ู ้ ฝ ึ ก ฝนเข้ า ไปควบคุ ม สิ ่ ง นั ้ น แต่ ฝ ึ ก ให้ เ คยชิ น ที ่ จ ะเข้ า รวมกั บ สิ ่ ง นั้ น
เอาประโยชน์จากเงื่อนไขตรงนั้น มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับผลพลอยได้ การแสดงออกของปากว้าจ่าง
จึงเหมือนเป็นมวยรับ ตั้งรับ ไม่มุ่งเน้นให้ไปต่อ สู้ต่อยตีกับคนอื่น แต่หมายความว่าให้ยอมรับในสิ่งที่ คนอื่น
มอบให้ และแปรเปลี่ยนให้เป็นโอกาสของผู้ฝึกฝน
สำหรับประเทศไทย ปากว้าจ่างหรือฝ่ามือแปดทิศยังเป็นศิลปะป้องกันตัวที่ยังค่อนข้างใหม่มาก
เพราะตามปกติแล้วศิลปะการป้องกันตัวของประเทศจีนที่มาสู่ประเทศไทยนั้นส่วนมาก เป็นวิชามวยทางใต้ของ
ประเทศจีน ในขณะที่ปากว้าจ่างเป็นวิชามวยทางเหนือ ปัจจุบัน สถานที่ฝึกสอนวิชาปากว้าจ่างในประเทศไทย
มีเพียง 2 สถานที่ คือ ศูนย์บูรณาการศาสตร์และภูมิปัญญาโบราณ และสวนลุมพินีเท่านั้น
21

4.2.3.2 รูปแบบของปากว้าจ่าง
ปากว้าจ่างมีชื่อเสียงด้านลักษณะที่ เป็นการหลบหลีกและจู่โจมด้วยมือที่แบอยู่ โดยลักษณะที่โดดเด่น
ของปากว้าจ่างอีกประการ คือ การเดินเป็นวงกลม การขยับร่างกายเป็นเกลียว ซึ่งการเคลื่อนไหวเป็นเกลียว
มีข้อได้เปรียบในการรับมือกับคู่ต่อสู้หลายคน คู่ต่อสู้ติดอาวุธ และใช้ทักษะในการตอบโต้พลกำลัง
โดยการฝึกฝนของปากว้าจ่าง กำหนดให้ผู้ฝึก ฝนเดินเป็นวงกลม โดยผู้ฝึกฝนจะต้องสามารถโคจรและ
หมุนร่างกายของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น การเรียนรู้ทิศทั้งแปดทิศของปากว้าจ่าง จะทำให้ผู้ฝึกฝน
สามารถจู่โจมและตั้งรับการโจมตีจากทุกทิ ศทาง และปากว้าจ่างใช้แรงจากการหมุนมือที่แบอยู่ทางแนวตั้ง
อย่างต่อเนื่อง ผู้ฝึกฝนจะขยับร่างกายอยู่เสมอเพื่อที่จะทำให้คู่ต่อสู้เสียสมดุล

4.2.2.3 บุคคลมีชื่อเสียงที่ใช้ปากว้าจ่าง

ปรมาจารย์ต๋งไห่ชวน ( ค.ศ. 1799 – 1882 ) ผู้ให้กำเนิดศิลปะการต่อสู้ปากว้าจ่าง ( ฝ่ามือแปดทิศ )


หัวหน้าขันทีและครูฝึกทหารองค์รักษ์แห่งวังตวนอ๋องสมัยปลายราชวงค์ชิง เดิมเป็นชาวเมืองเหวินอัน รูปร่าง
สูงใหญ่ กำลังมหาศาล ฝึกวิชา “ อินหยางปาผันจ่าง ” มีฝีมือต่อสู้ส ูงส่งตั้งแต่อายุยังน้อยไม่เคยแพ้ใ คร
ในการต่อสู้แม้แต่ครั้งเดียว ต่อมา ออกเดินทางท่องเที่ยวหาประสบการณ์จนได้มาพบนักพรต “ อวิ๋นผาน ”
ที่ภูเขาจิ่วฮั่วซาน ได้ฝึกฝนวิชาเซียนอยู่บนเขานานถึง 8 ปี จึงได้ลงจากเขา ต่อมา ได้ผสมผสานวิชาบำเบ็ญ
22

อย่ า งลั ท ธิ เ ซี ย นเข้ า กั บ วิ ช าหมั ด มวย เกิ ด เป็ น วิ ช าใหม่ เ รี ย กว่ า “ จ้ ว นจ่ า ง ” ( ฝ่ า มื อ หมุ น หรื อ ฝ่ า มื อ
เปลี่ยนแปลง ) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเชื่อเป็น “ปากว้าจ่าง” สืบมาจนถึงทุกวันนี้
4.2.3.4 วิดิทัศน์ปากว้าจ่าง
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปากว้าจ่างได้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : China Kungfu: Baguazhang
ที่มา : https://youtu.be/-jR0Fn80fbs

4.2.4 ทงเป้ยเฉวียน ( 通背拳 )


4.2.3.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทงเป้ยเฉวียน

ทงเป้ยเฉวียน เป็นเทคนิคการชกมวยที่มีประวัติยาวนานมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในศิลปะการต่อสู้
แบบดั้งเดิมและแพร่หลายอย่างกว้างขวาง โดยถือกำเนิดในสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย ฉีซิ่น ชาวเจ้อเจียง
ได้ริเริ่มวิชาทงเป้ย เฉวียน ใช้ชื่อว่า ฉีซิ่น เฉวียน ซึ่ง ฉี ไท่ชาง ลูกชายของเขาใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของ
ตระกูลต่างๆ นำมารวบรวมกับวิชาการใช้แขนเดียว มือเดียวในการจู่โจมตีมาเป็นหนึ่งเดียว ผสมผสานกับ
ความแข็งแกร่งและความนุ่มนวลโดยใช้กำลังหลังเป็น แนวทาง ทงเป้ยเฉวียนจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและ
การเปลี่ยนแปลงท่าทางทีย่ ืดหยุ่นและรวดเร็ว
4.2.4.2 รูปแบบของทงเป้ยเฉวียน
ทงเป้ยเฉวียน ใช้หลักการขว้างข้อมือ ( สลัดข้อ ) การตบ การสอด การฟันลง การใช้หมัดข้อนิ้ว
มีวิธีการโจมตีชายโครงคู่ต่อสู้ 5 รูปแบบ โดยมีวิธีการใช้แขนวาดวงเพื่อเกาะเกี่ยวและจิกตี ทั้งการฟันฟาดตบ
23

ตีด้วยสันมือ รวมเป็นเทคนิคการต่อสู้ 8 วิธี ประกอบขึ้นเป็น ทงเป้ยเฉวียน มวยชนิดนี้มีลักษณะพิเศษ คือ


สำแดงท่าในลักษณะฝ่ามือ แต่จู่โจมคู่ต่อสู้ด้วยหมัด เมื่อดึงมือกลับยังคงเป็นฝ่ามือ ใช้หลักหมุนแขนสลัดข้อ
ท่ายุทธ์จู่โจมระยะยาวไกล ทรงพลังรวดเร็วฉับพลัน

4.2.4.3 วิดิทัศน์ทงเป้ยเฉวียน
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับทงเป้ยเฉวียนได้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : 通背拳基本功——穿
ที่มา : https://youtu.be/QLeq10P0f2M
24

4.3 ศิลปะการต่อสู้ของประเทศจีนยุคปัจจุบัน ( 现代武术 )


4.3.1 การต่อสู้แบบซานต่า ( 散打 )
4.3.1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการต่อสู้แบบซานต่า

ซ่านโฉ่ว หรือ ซานต่า เป็นรูปแบบศิลปะการต่อสู้และกีฬามวยใช้เท้าอย่างหนึ่งของประเทศจีน ซานต่า


เป็ น ศิ ล ปะการป้ อ งกั น ตั ว ที ่ พ ั ฒ นาโดยทหาร ซึ ่ ง มี พ ื ้ น ฐานการศึ ก ษาและปฏิ บ ั ต ิ จ ากกั ง ฟู แ ละเทคนิ ค
การต่อสู้ป้องกันตัวสมัยใหม่ ทั้งการรวบรวมการต่อยและเตะระยะประชิดของกีฬาคิกบ๊อกซิ่งกับมวยปล้ำ ,
จับทุ่ม , โยน , เตะกวาด , จับลูกเตะ และในบางการแข่งขันยังมีการใช้ศอกและเข่าอีกด้วย
ซานต่าไม่ได้จัดให้เป็นวิชามวยรูปหนึ่ง แต่จัดว่าเป็นหนึ่งในสองส่วนประกอบของการฝึกฝนศิลปะ
การต่อสู้ของจีนและส่วนมากสอนควบคู่กับการฝึกมวยที่มีรูปแบบ อย่างไรก็ตาม ซานต่าเป็นส่วนหนึ่งของ
การพัฒนาของกีฬาศิลปะการต่อสู้วูซูของรัฐบาลจีน หลักสูตรการสอนซานต่า จึงได้รับการเขียนขึ้น หลักสูตร
ดังกล่าวพัฒนาขึ้นโดยมีศิลปะการต่อสู้ป้องกันจีนเป็นที่อ้างอิง ซึ่งมีหลายรูปแบบโดยที่รัฐบาลจีนได้พัฒนา
หลักสูตรนี้ขึ้นมาสำหรับทั้งพลเรือนและทั้งการกีฬา
ปั จ จุ บ ั น หลั ก สู ต รฝึ ก สอนศิ ล ปะการต่ อ สู ้ ข องประเทศจี น นั ้ น ประกอบไปด้ ว ยรู ป แบบดั ้ ง เดิ ม
หลากหลายรูปแบบจากประเทศจีน แต่จะเจาะจงเฉพาะที่มีการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ ซานต่าซึ่งเป็น
การรวบรวมศิลปะการต่อสู้หลายรูปแบบ เช่น การจู่โจมและการจับทุ่ม ดังนั้น จึงมีการบัญญัติกฏระเบียบ
เพื่อความปลอดภัยและการแสดงถึงกีฬาที่ปราศจากความรุนแรง เช่น ไม่มีการเป่าที่ด้านหลังของศีรษะลำคอ
กระดูกสันหลังหรือขาหนีบและการหยุดการต่อสู้เมื่อนักสู้คนใดคนหนึ่งล้มลงกับพื้น อย่างไรก็ตาม โรงเรียน
หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นแบบดั้งเดิมหรือสมัยใหม่ ฝึกฝนซานต่าเป็นระบบศิลปะการต่อสู้รอบด้านโดยไม่มี
ข้อจำกัด เพียงปรับการฝึกอบรมให้สัมพันธ์กับกฎการแข่งขัน
25

4.3.1.2 รูปแบบของการต่อสู้แบบซานต่า
การโจมตีด้วยมือ
➢ กระทุ้ง
➢ ข้าม
➢ ตะขอ
➢ ฟาด
➢ Uppercut
➢ กลับกำปั้น
ข้อศอกและเข่า
➢ แนวนอน
➢ แนวตั้ง
➢ เส้นทแยงมุม
เตะ
➢ เตะแทงด้านหน้า
➢ เตะด้านหน้า
➢ เตะด้านข้าง
➢ Hook Kick
➢ ปัน่ กลับเตะ
➢ เตะวงกว้าง
➢ ขวานเตะ
พ่น
➢ สะโพกโยน
➢ ไหล่โยน
➢ กวาด
➢ การลบขาสองข้าง
➢ การลบขาเดียว
➢ การลบออกจากการล็อกร่างกาย
➢ เตะจับโยน
26

4.3.1.3 บุคคลมีชื่อเสียงที่ใช้การต่อสู้แบบซานต่า

หลิวไห่หลง เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 ในมณฑลซานตง ชื่อเสียงของเขาเพิ่มขึ้น ใน


ปี ค.ศ. 2000 ในการแข่งขัน King of Sanda ครั้งแรก เขาไม่เพียงแต่ชนะระดับน้ำหนักของเขาเท่านั้น แต่ยัง
ชนะการแข่งขันโรบินแบบยกน้ำหนักแบบโอเพ่นเวทหนึ่งคืนที่ทรหดกับนักสู้ที่เก่งกว่ามากเช่นกัน ทำให้
เขาได้รับตำแหน่งซานดา "ราชาแห่งราชา" เป็นนักกีฬาต่อสู้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของจี น ผลงานเด่นของเขา
เช่น
ในการแข่ง ขั น Sanshou World Cup ปี ค.ศ. 2002 ที่มาเก๊า หลิ ว เผชิญหน้ากับ มุส ลิ มซาลิ ฮ อฟ
ในการแข่งขันและเอาชนะเขาด้วยคะแนนเพื่อคว้าเหรียญทองส่วน 80 กิโลกรัม
ในปี พ.ศ. 2546 เขาได้เผชิญหน้ากับราชาแห่งซานต่า Yuan Yubao ในการโปรโมต “ ซูเปอร์ไฟต์ ”
ครั้งแรกและเอาชนะได้สำเร็จ ทำให้ได้รับตำแหน่ง “ Super King of Sanda ”
4.3.1.4 วิดิทัศน์การต่อสู้แบบซานต่า
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้แบบซานต่าได้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : 【散打】武術技巧-基本動作教學「接腿」
ที่มา : https://youtu.be/5KzRCgeqPrg
27

4.3.2 มวยปล้ำจีน ( 中国跤 )


4.3.2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมวยปล้ำจีน

มวยปล้ำจีน เป็นหนึ่งในกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศจีน โดยในสมัยโบราณ เรียกว่า มวยปล้ำซูโม่


ตามตำนานกล่าวว่า ห้าพันปีที่แล้วในยุคของจักรพรรดิเหลืองมีกิจกรรมมวยปล้ำโบราณ ในสมัยราชวงศ์โจว
ระบุว่า มวยปล้ำ ยิงธนูและขับรถเป็นรายการของการฝึกทหาร แต่ในช่วงครึ่งศตวรรษตั้งแต่ปลายราชวงศ์ฉิน
จนถึงจักรพรรดิจิงแห่งฮั่น กิจกรรมมวยปล้ำลดลง เมื่อถึงจักรพรรดิหวู่แห่งราชวงศ์ฮั่น มวยปล้ำจึงได้กลับมา
เป็นที่นิยมอีกครั้ง ต่อมา ในช่วงราชวงศ์จิน การแข่งขันมวยปล้ำมักจัดขึ้นในเทศกาลโคมไฟ และในสมัย
ราชวงศ์ถังการแข่งขันจัด ขึ้นในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง นอกจากนี้ มวยปล้ำจีน ยังใช้เป็นรายการบันเทิง
ในราชสำนักอีกด้วย
ผู้คนมักเข้าใจผิดคิดว่ามวยปล้ำของจีนได้รับการแนะนำโดยชาวมองโกลและอยู่ในราชวงศ์หยวน
แต่ที่จริงแล้ว เมื่อราชวงศ์หยวนปกครองที่ราบตอนกลาง มวยปล้ำของจีนได้พัฒนามาเป็นเวลากว่าพันปีและ
มีระบบที่สมบูรณ์ในตัวเอง ทหารมองโกเลียในสมัยราชวงศ์หยวนส่วนใหญ่เป็นนักขี่ม้า ดังนั้น มวยปล้ำจึง
แพร่กระจายไปในหมู่ประชาชนในทางอ้อม มวยปล้ำมองโกเลียส่วนใหญ่เน้นที่การพัวพัน การจับ และมวยปล้ำ
ของร่างกาย เมื่อปิดหรือสัมผัสก็ล้มลง และการเคลื่อนไหวค่อนข้างสบาย โดยในรัชสมัยของจักรพรรดิไท่ซูแห่ง
ราชวงศ์หมิง มวยปล้ำในแผ่นดินใหญ่ได้รับการเน้นย้ำว่าเป็นวิธีการเสริมสร้างทักษะการต่อสู้ของทหาร
ต่อมา ในสมัยราชวงศ์ชิง แมนจูยังให้ความสำคัญกับมวยปล้ำเป็นอย่า งมาก เนื่องจากการสนับสนุน
ของจักรพรรดิ จึงนำไปสู่ความนิยมในการต่อสู้มวยปล้ำในประเทศจีน ในวังมีค่ายที่ดี มีการฝึกนักรบมืออาชีพ
และเป็นผู้คุ้มกันของจักรพรรดิ ในตอนต้นของสาธารณรัฐจีน ศูนย์ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวกลางก่อตั้งขึ้นใน
หนานจิง และมีการจัดตั้งหัวข้อมวยปล้ำอย่างเป็นทางการ และคำว่า มวยปล้ำ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคำรวม
ตั้งแต่นั้นมา นักมวยปล้ำในประเทศจีนได้รับการปฏิบัติสนับสนุนที่ดีและเป็นที่เคารพ
28

4.3.2.2 รูปแบบของมวยปล้ำจีน
มวยปล้ำจีนสามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบต่อไปนี้
รูปแบบเหอเป่ย รูปแบบนี้สืบเชื้อสายมาจากจักรพรรดิเหลืองที่ต่อสู้กับการต่อสู้อย่างเด็ดขาดกับ
Chi You และ Yan Emperor ในเขต 張家口 ในปัจจุบัน อยู่ทางตอนเหนือของเหอเป่ยไปทางตะวันตก
เฉียงเหนือของปักกิ่ง โดยวิธีและกฎการฝึกอบรมที่ทันสมัย ของรูปแบบนี้ได้รับการประมวลโดย 善撲营
( The Battalion of Excellency in Catching ) ของ 内務府 หน่วยบริหารภายในของกรมราชทัณฑ์
รูปแบบปักกิ่ง เป็นของเชื้อสายจากสรูปแบบ Manchu Buku ที่ฝึกฝนโดยกองพลทหารรักษาการณ์
ของจักรพรรดิ 善撲营 หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญในหน่วยมวยปล้ำอย่างแท้จริ ง ลักษณะสำคัญของรูปแบบนี้
คือ การใช้ขาเตะและทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียสมดุลและการใช้แขนล็อค
รูปแบบเทียนจิน เป็นของเชื้อสายของมวยปล้ำสมัยราชวงศ์หมิงผสมกับ Manchu Buku ลักษณะ
สำคัญของรูปแบบนี้ คือ การใช้ขาในการเตะและออกจากสมดุล และการใช้ปลายแขนในการบล็อกและการตี
รูปแบบ Style ( 保定 ) ‘เป็นขอเชื้อสายที่เรียกว่า Kuai Jiao ( 快跤 ) หรือ "Fast Wrestling"
ลักษณะสำคัญของรูปแบบนี้ คือ การใช้เทคนิคอย่างรวดเร็ว อีกลักษณะหนึ่ง คือ การปรับตัวของเส้าหลินกวน
จาก Ping Jingyi ครูสอนมวยปล้ำชื่อดังที่เรียนรู้ รูปแบบเส้าหลินจากตระกูล Meng ของ Nanguan County
แม้ว่าเขาจะเป็นมุสลิม
รูปแบบชานซี เป็นของเชื้อสายของมวยปล้ำสมัยราชวงศ์ซ่ง ส่วนใหญ่ฝึกฝนในมณฑลระหว่างเมืองขุด
Datong ในภาคเหนือของมณฑลซานซีและเมืองหลวงของมณฑลไท่ห ยวนในตอนกลางของมณฑลซานซี
ลักษณะเด่นของรูปแบบนี้ คือ เทคนิคการจับขา เนื่องจากนักมวยปล้ำมักสวมกางเกงรัดรูปยาวถึงเข่าเท่านั้น
4.3.2.3 บุคคลมีชื่อเสียงที่ใช้มวยปล้ำจีน

ฉางทุงเซิง ได้รับขนานนามว่าเป็นบิดาแห่ง มวยปล้ำจีน ยุคปัจจุบัน เขาเป็นราชาแห่ งมวยปล้ำจีน


ที่ไม่เคยมีใครโค่นได้ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต เขาได้เข้าร่วมการแข่งขันในทัวร์นาเม้นท์ระดับชาติของ
ประเทศจีนสองครั้ง ได้แชมป์ทั้งสองครั้ง และได้รับสมญานามว่า “ ผีเสื้อโบยบิน ”
29

ฉางทุงเซิงเกิดในปี ค.ศ. 1908 หรือ ปีวอก ที่เมืองเป่ยติง มณฑลเหอเป่ย ทางตะวันออกเฉียงเหนือ


ของประเทศจีน ซึ่งเป็นมณฑลที่ผลิตยอดกังฟูให้แผ่นดินจีนมาช้านาน และในบรรดาปรมาจารย์กังฟูที่มาจาก
มณฑลนี้ ฉางทุงเซิงอาจได้ชื่อว่าเป็นนักสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 300 ปีนี้ที่ไม่เกี่ยงว่าจะสู้ด้วยกังฟูรูปแบบไหน
ฉางทุงเซิงเกิดในครอบครัวชาวหุยมุสลิม เป็นลูกคนที่สองของครอบครัว พี่ชายคนโตของเขาเสียชีวิตตั้งแต่
อายุยังน้อย ทำให้เขาต้องรับภาระเป็นลูกชายคนโตของครอบครัว ทั้ง เขาและน้องชายทั้งสองคนของเขาต่างก็
เป็นแชมป์มวยปล้ำจีน
ฉางทุงเซิงเริ่มฝึกกังฟูขั้นพื้นฐานจากบิดาและปู่ในปี ค.ศ. 1915 ด้วยวัยเพียง 7 ขวบ ต่อมาได้เรียนกับ
ยอดปรมาจารย์กังฟูชื่อดัง จ้างเฟิงเอี๋ยน ผู้เป็นเลิศด้าน ซุยเจียวเป่าถิง ซึ่งเป็นกังฟูที่ว่องไวและมีพลังที่สุดของ
กังฟูโบราณ 3 สายของจีน จ้างเฟิงเอี๋ยนเป็นลูกศิษย์ชั้นยอดของ ผิงจิงอี้ ผู้เป็นตำนานของกังฟูในยุคก่อน อนึ่ง
นายพลหม่า ผู้เขียนหนังสือเทคนิคมวยปล้ำจีนขึ้นมาเป็นคนแรกก็เป็นลูกศิษย์อีกคนหนึ่งของผิงจิงอี้
ครั้งหนึ่ง ทุงเซิงเคยท้าประลองกับคูลี่ แชมป์ชาวมองโกเลียในการชุมนุมประจำปีที่ฉางเจียกั๋ว คู่ต่อสู้
ของเขาผู้นี้สูงกว่า 6 ฟุตและหนักกว่า 400 ปอนด์ ทุงเซิงตกลงใช้เฉพาะเทคนิคมวยปล้ำเท่านั้น และในการชก
ครั้งนั้น แม้น้ำหนักจะต่างกันมากมาย แต่เขาก็สามารถทุ่มแชมป์ชาวมองโกเลียลงนอนกับพื้นครั้งแล้วครั้งเล่า
ด้วยเทคนิคมวยปล้ำจีนที่สวยงาม
ในปี ค.ศ. 1933 ด้วยวัย 25 ปี เขาเข้าแข่งขันกั๋ว ซู่ระดับชาติครั้งที่ 5 ที่เมืองนานจิง มียอดกังฟู
ทั่วประเทศจีนเข้าร่วมแข่งขัน 1,000 คน เป็นการแข่งแบบน็อคเอ๊าท์ ไม่เกี่ยงว่าจะใช้กังฟู รูปแบบใด ทุกคน
ต่อสู้เพื่อบรรลุให้ถึงตำแหน่งแชมป์เท่านั้น ปรากฎว่า เขาชนะทุกคน รวมทั้งยังคว่ำ หลิวเชียวเซิง คู่ปรับ
คนสำคัญอีกด้วย ทุงเซิงถูกประกาศให้เป็นแชมป์กังฟูเฮฟวี่เวทแห่งประเทศจีน ที่สำคัญ คือ การแข่งขันครั้งนั้น
เป็นทัวร์นาเม้น ท์ร ะดับชาติครั้งสุดท้ายของยอดกังฟูทั่ว ประเทศ หลังจากนั้นแล้ว ประเทศจีนไม่เ คยจัด
ทัวร์นาเม้นท์แบบนี้ขึ้นอีก ทำให้ปรมาจารย์ฉางเป็นยอดกัง ฟูจีนคนสุดท้ายที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถต่อกรกับ ทุก
คน ไม่ว่าจะใช้กังฟูรูปแบบไหนหรือระบบใด
4.3.2.4 วิดิทัศน์มวยปล้ำจีน
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับมวยปล้ำจีนได้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : Chinese wrestling 天津摔跤,千招会不如一招精
ที่มา : https://youtu.be/rvkPw7xr-uQ
30

4.3.3 การต่อสู้โดยใช้ง้าว ( 大枪 )
4.3.3.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการต่อสู้โดยใช้ง้าว

ง้าว เริ่มใช้เป็นอาวุธสงครามในสมัยราชวงศ์ฮั่น เป็นอาวุธที่ดัดแปลงมาจากดาบ มีลักษณะเป็นดาบ


ด้ามจับยาว จึงมีรัศมีจู่โจมไกลขึ้น ( ส่วนใหญ่ใช้ในการต่อสู้บนหลังม้ าหรือต่อสู้กับทหารม้า ) จุดเด่นของง้าว
คือ หัวง้าวที่หนักและคม ซึ่งส่วนหัวของง้าวนั้นคล้ายจะมีลักษณ์คล้ายลิ้นของมังกร และมีความโค้งเป็น
เสี้ยวพระจันทร์ ในช่วงแรก หัวง้าวมีคมเพียงด้านเดียว ต่อมาจึงมีการคิดค้นง้าวที่มีคมสองด้านขึ้นมา ส่วนใหญ่
ง้าวจะใช้โดยขุนพล แม่ทัพ ลักษณะการต่อสู้โดยการใช้ง้าวนั้นจะต่างกับการใช้หอก คือ หอกจะใช้สำหรับ
การโจมตีโดยการแทงไปที่เป้าหมายเท่านั้น แต่ง้าวจะใช้โจมตีโดยการฟัน และด้วยลักษณะเด่นของง้าวที่ มี
ส่วนหัวที่ใหญ่จึงมักจะใช้ปัด เบี่ยง หรือ รับ การโจมตีจากศัตรู ซึ่งจะเห็นได้ในฉากรบของหนังจีนโบราณ
แต่เนื่องจากง้าวมีส่วนหัวที่ใหญ่จึงทำให้มีน้ำหนักมาก ดังนั้น ผู้ใช้ง้าวส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ที่มีกำลังมากเท่านั้น
นอกจากนี้ อาวุธนี้ยังถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยนักศิลปะการต่อสู้ เพื่อจุดประสงค์ในการฝึกและ
เพื่อแสดงให้เห็น ถึงความแข็งแกร่ง บางทีก็เพื่อฝึกฝนโดยเฉพาะสำหรับการทดสอบของนายทหารด้วย
ซึ่งมักถูกใช้โดยทหารราบเป็นส่วนใหญ่
4.3.3.2 รูปแบบของการต่อสู้โดยใช้ง้าว
ง้าวสมัยใหม่ที่นักศิลปะการต่อสู้ใช้ในปัจจุบัน มักมีน้ำหนักระหว่าง 2 - 10 กิโลกรัม และโดยทั่วไป
จะประกอบด้วยด้ามไม้ที่มีความยาวประมาณ 3 – 5 ฟุต ใบมีดสั้นประมาณ 12 ถึง 18 นิ้ว ที่ปลายด้านหนึ่ง
และหัวคทาที่อีกด้านหนึ่ง ( ซึ่งส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นเครื่องถ่วงน้ำหนักของใบมีด แต่ยังสามารถใช้สำหรับ
การตีได้ ) การประกอบทั้งหมดนั้นมีความยาวรวมไม่เกิน 5 – 6 ฟุต
น้ำหนักและความยาวที่ลดลงอย่างมากจากในอดีต สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของง้าว ในฐานะ
รูปแบบที่เป็นประโยชน์มากขึ้นสำหรับนักศิลปะการต่อสู้ จุดประสงค์ของการใช้ง้าว คือ เพื่อปลดอาวุธคู่ต่อสู้
31

และหั น เหการโจมตี ข องคู ่ ต ่ อ สู้ แ ทนที ่ จ ะโจมตี ด้ ว ยเหตุ น ี ้ เ อง จึ ง มี ผ ้ า คลุ ม หน้ า ผื น ใหญ่ ต ิ ด อยู ่ ท ี ่ ป ลาย
เพื่อปราบศัตรูและทำให้คู่ต่อสู้สับสน ท่วงท่าของง้าวต้องแข็งกร้าว ดุดัน คมง้าวกวาดเป็นวงกว้าง

4.3.2.3 วิดิทัศน์การต่อสู้โดยใช้ง้าว
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้โดยใช้ง้าวได้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : dadao podao 男子大刀朴刀 第 7 名 山东队 李 壮 8 74 分 shan
dong li zhuang 中国传统武术套路 wushu kongfu
ที่มา : https://youtu.be/Hkm9sPhCPnk

4.3.4 การต่อสู้แบบเมทริกซ์ MDS ( 矩阵防卫体系 )


4.3.3.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการต่อสู้แบบเมทริกซ์ MDS

Matrix Defense System ( MDS ) ก่อตั้งโดยทีมผู้สอนที่ทุ่มเทให้กับการวิจัยเทคโนโลยีการป้องกัน


เชิงปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศจีน หลังจากหลายปีของการวิจัยทางเทคนิคและการทดสอบ
การต่อสู้จริง ระบบได้ชื่อว่า "Matrix Defense System" อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2018
32

ปัจจุบัน MDS มีที่ปรึกษาและอาจารย์ตำรวจที่จดทะเบียนแล้วมากกว่า 30 คนจากกว่า 10 จังหวัด


และเมืองต่างๆ รวมถึงอาจารย์โรงเรียนตำรวจ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแถวหน้า ปลัดอำเภอ ทหารผ่าน
ศึก และเจ้าหน้าที่สำรอง ตลอดจน MMA , Brazilian Jiu-Jitsu , Sanda , มวยไทย ไอคิโด เอ็กซ์ตรี มคาราเต้
เทควันโด และโค้ชระบบการต่อสู้อื่นๆ และผู้สืบทอดโรงเรียนศิลปะการต่อสู้แบบดั้งเดิมหลายแห่ง และมีทีม
ที่ป รึกษากฎหมายและผู ้เชี่ย วชาญด้า นการฝึ กฟื้น ฟูส มรรถภาพเฉพาะ ผู้ส อนแต่ล ะคนมีประสบการณ์
การฝึ ก อบรมระบบการป้ อ งกั น ที ่ ห ลากหลาย รวมถึ ง Israel KARV MAGA , Philippines PTK , British
NUDDA , American ISR , ระบบตำรวจ American ASP , ระบบป้องกันอันตรายร้ายแรง 0 - 5 เมตรของ
เยอรมัน เป็นต้น ระบบ MDS มีกำลังสำรองทางเทคนิคที่สมบูรณ์แบบและประสบการณ์จริงมากมาย ทีมผู้สอน
MDS มีประสบการณ์เชิงปฏิบัติมากมาย ผู้สอนชั้นนำบางคนมีส่วนร่วมในการวิจัยและการสอนด้านการป้องกัน
ประเทศมาเกือบ 10 ปี โดยทีมผู้สอน MDS ได้รวบรวมลักษณะทางเทคนิคและแนวคิดที่ยอดเยี่ยมของโรงเรียน
ระบบการต่อสู้และระบบป้องกันต่างๆ รวมกับเงื่อนไขและกฎหมายระดับชาติของประเทศจีนโดยพิจารณาจาก
คดีตำรวจ จิตวิทยาอาชญากรรม การตอบสนองฉุกเฉินของมนุษย์ และสัญชาตญาณการต่อสู้ของมนุ ษย์
โดยละทิ้ง “ เทคโนโลยีการวิจัย บนพื้นฐานของเทคโนโลยี ” ตามหลักการพื้นฐานของความเรียบง่ายและ
การปฏิบัติจริงและด้วยความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน เช่น การต่อสู้บนท้องถนนเป็นการตั้งค่าฉาก
ระบบป้องกันเชิงปฏิบัติได้ถูกสร้างขึ้นและด้วยการอ้างอิงถึง “ เมทริกซ์เป็นจุดการเปลี่ยนผ่านไปยังจุด
ในพื้น ที่ ท อพอโลยี ในคณิ ต ศาสตร์ ข ั้ น สูง ” ทฤษฎีการสร้ างแบบจำลองเทคโนโลยี ก ารป้ อ งกั น ใหม่ แ ละ
ตามลักษณะการใช้งานของเมทริกซ์สามารถใช้ในการแก้ปัญหาในหลายสาขาทำให้เกิดลักษณะของการจัดการ
กับวิกฤตที่แตกต่างกันด้วย การผสมผสานเทคโนโลยีที่คล่องตัวและใช้งานได้จริง และทำให้เ กิดการออกแบบ
“ ระบบเดียว การป้องกันทั้งหมด ” จึงได้ชื่อว่า “ ระบบป้องกันเมทริกซ์ ”
เทคโนโลยี MDS ใช้การต่อสู้เชิงป้องกันในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนเป็นข้อกำหนดเบื้องต้น และได้รับ
การสนับสนุนจากประสบการณ์การต่อสู้ตามทฤษฎีและจริงที่หลากหลาย และดำเนินการวิ จัยและทดสอบ
เทคโนโลยีการควบคุมของระบบต่างๆ ด้วยตนเอง ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทีมผู้สอน MDS ได้ตรวจสอบ
ซ้ำแล้วซ้ำอีกกับนักสู้แนวหน้าจำนวนมาก ครอบคลุมการควบคุมแบบขยายและโหมดการโจมตีที่หลากหลาย
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเลือกและใช้โมดูล การป้องกันที่มีความเกี่ยวข้องสูงตามความต้องการของ
พวกเขา ข้อจำกัดของแอปพลิเคชันเก่าที่เข้มงวดเกินไป เช่น ในการรักษา MDS เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถ
เลือกความรุนแรงในการตอบโต้ที่เหมาะสมได้ทันที และใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการตอบสนองในขณะที่ระดับ
กำลังเปลี่ยนไป เพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่ตำรวจและหลีกเลี่ยงข้อพิพาททางกฎหมาย
33

4.3.4.2 รูปแบบของการต่อสู้แบบเมทริกซ์ MDS

1) หลักสูตรการป้องกันตัวส่วนบุคคล
หลักสูตรชุดป้องกันตนเองสำหรับการป้องกันตนเองส่วนบุคคล ( ชุด SD สำหรับระยะสั้น ) ได้รับ
การออกแบบมาสำหรับบุคคลทั่วไป รวมถึงโมดูลควบคุมหลัก การต่อสู้ระยะประชิด การต่อสู้ป้องกันตัว
แบบประชิดตัว การคุกคามแบบคงที่ และการป้องกัน อุป กรณ์ เหมาะสำหรับการป้ องกัน ตัว เองทุ ก วั น
เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับ ปรุงการป้องกันความปลอดภัยส่ว นบุคคลของประชาชนและความสามารถ
ในการจัดการวิกฤต

2) หลักสูตรชุดป้องกันตัวสตรี
หลักสูตรชุดป้องกันตัวสำหรับสตรี ( ชื่อย่อของ FSD ) ออกแบบมาสำหรับสตรี รวมทั้งการต่อสู้
ระยะประชิด การต่อสู้ป้องกันตัวแบบประชิดตัว และการต่อสู้โดยใช้อุปกรณ์ป้องกัน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับ
การป้องกันตัวในแต่ละวันของผู้หญิง เพื่อจุดประสงค์ในการปรับปรุงการป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลของ
ผู้หญิงและความสามารถในการจัดการภาวะวิกฤต
34

3) หลักสูตรชุดควบคุมตำรวจ
หลักสูตรชุดควบคุมตำรวจ ( ชุด PC สำหรับระยะสั้น ) ได้รับการออกแบบสำหรับเจ้าหน้าที่ของ
หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและแผนกความปลอดภัย เป็นชุดโมดูลยุทธวิธีการป้องกันที่สมบูรณ์ที่สร้างขึ้น
ตามขั้นตอนการทำงานและการใช้บรรทัดฐานของกำลังเพื่อจัดการกับการไม่ อาวุธร้ายแรงและอาวุธร้ายแรง
ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีการป้องกันและควบคุมที่ไม่มีอาวุธเพื่อความปลอดภัยและตำรวจ เทคโนโลยีการป้องกัน
และควบคุมที่ไม่มีอาวุธสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วไปและการใช้อุปกรณ์ตำรวจ และเทคโนโลยีการตอบโต้ที่มี
ความเสี่ยงสูงและการป้องกันวีไอพีสำหรับตำรวจสายตรวจและหน่วยยามพิเศษของเอกชน นอกเหนื อจาก
ทักษะส่วนบุคคลแล้ว ยังเน้นที่ความร่วมมือด้านเทคนิคแบบกลุ่มมากขึ้น
4.3.4.3 วิดิทัศน์การต่อสู้แบบเมทริกซ์ MDS
สามารถดูวิดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้แบบเมทริกซ์ MDS ได้โดยการแสกนคิวอาร์โค้ดนี้
- ชื่อวิดิทัศน์ : PTK 国际军警战术防卫体系宣传影像|为安全执法而训练
ที่มา : https://www.bilibili.com/video/BV1MQ4y1Z7aq/
35

บรรณานุกรม
红倾橙. //(2565).//中国的 13 种武术. //สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://zhuanlan.zhihu.com
红倾橙.//(2565).//武术本质.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://zhuanlan.zhihu.com
矩阵防卫体系总部.//(2560).// MDS 矩阵防卫体系简介.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน
2565,/จาก http://www.mdschina.com.cn/About.aspx?ClassID=15
Ebi Kung.//(2556).//ศิลปะการป้องกันตัวของจีน.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
http://chinese2u.blogspot.com/2013/07/blog-post_9.html
InternetArchiveBot.//(2564).//ไทเก๊ก.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/ไท่เก๊ก
InternetArchiveBot.//(2564).//สิงอี้เฉวียน.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://th.m.wikipedia.org/wiki/สิงอี้เฉวียน
InternetArchiveBot.//(2564).//หวิงชุน.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://th.m.wikipedia.org/wiki/หวิงชุน
InternetArchiveBot.//(2564).//หงฉวน.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://th.m.wikipedia.org/wiki/หงฉวน
InternetArchiveBot.//(2565).//ปา-กว้าจ่าง.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://th.m.wikipedia.org/wiki/ปา-กว้าจ่าง
Liang.//(2560).//หลักการและจุดเด่นของมวยสิงอี้.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
http://www.internalartsthailand.com/xingyiquan-basic-principle
Matuszak Sascha.//(2558).//ฉ่วยเจียว.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://hmong.in.th/wiki/Shuai_jiao
Matuszak Sascha.//(2558).//ซันดา(กีฬา).//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://hmong.in.th/wiki/Sanda_(sport)
panty1214.//(2564).// 通背拳术.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://baike.baidu.com/item/通背拳术
36

Sanook.//(2556).//ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก


https://guru.sanook.com/3863/
THE STANDARD TEAM.//UNESCO ขึ้นทะเบียน ‘มวยไท้เก๊ก’ ของจีน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้อง
ไม่ได้ของมนุษยชาติ.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก https://thestandard.co/chinas-taijiquan-
listed-as-unesco-intangible-cultural-heritage
wujinmiao123.//(2564).//戳脚.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://baike.baidu.com/item/戳脚
XIAOCHEN.//(2560).// ประวัติมวยปาจี๋.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
http://www.internalartsthailand.com/baji-history
อ.เอกรัตน์ จันทร์รัฐิติกาล.//(2560).// วิทยายุทธจีน: ปาจี๋ (มวยแปดสุดยอด) จากมุสลิมเผ่าหุย สู่แดนจง
หยวน.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก https://www.tcjapress.com
นิยมมวย.//(2565).//ศิลปะการต่อสู้จีน.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://www.ufaboxing.com
พี่หญิง.//(2560).//มารู้จักประเภทของอาวุธกัน! ตอน อาวุธจีนโบราณประเภทยาว.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน
2565,/จากhttps://www.dek-d.com/writer/44904/
อ.เอกรัตน์ จันทร์รัฐิติกาล.//(2560).// วิทยายุทธจีน: ปาจี๋ (มวยแปดสุดยอด) จากมุสลิมเผ่าหุย สู่แดนจง
หยวน.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก https://www.tcjapress.com
ไม่ปรากฏชื่อ.//(2565).//ง้าว.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก https://hmong.in.th/th/
ไม่ปรากฏชื่อ.//(2565).//หลิวไห่หลง.//สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565,/จาก
https://sawadee.wiki/wiki/Liu_Hailong

รายงานเล่มนี้ จัดทำโดย นิสิตสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2


1. นางสาวณฐนรรจ์ ศรประจักร์ชัย รหัสนิสิต 64020018 เลขที่ 1
2. นางสาวปภาสรณ์ ศรีแก้ว รหัสนิสิต 64020019 เลขที่ 2
เสนอ อาจารย์ดารณี มณีลาภ
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 23538164 Chinese Culture

You might also like