You are on page 1of 22

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7

หัวข้อเนื้อหา
1. สิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงทั้ง 4 ของชาวจีน
2. การแพทย์แผนจีนและยาจีน
3. ลักษณะครอบครัวของชาวจีน
4. เครื่องแต่งกายที่สืบทอดต่อกันมาของชาวจีน
5. อาหารของชาวจีน
6. ชา และสุราของชาวจีน
7. ที่อยู่อาศัยของชาวจีน

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สืบค้น อธิบาย และนำเสนอเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนจีนได้อย่างถูกต้อง
2. อธิบายและสรุปแนวคิดที่ได้จากการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของจีนได้อย่าง
ถูกต้อง
3. เล่า บรรยายเกี่ยวกับการดำเนินชีวิ ตของจีนเกี่ยวกับอาหารจีน ชาจีน สุราจีน ที่
อยู่อาศัย การแพทย์แผนจีน และยาจีนได้อย่างถูกต้อง
4. วิเคราะห์และสรุปแนวคิดที่ได้จากการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนจีน

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. ทดสอบก่อนเรียน
2. แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยผู้สอนแบ่งหัวข้อให้แต่ล ะกลุ่ม และให้
สมาชิกในกลุ่มศึกษาเอกสารประกอบการสอน เรื่องการดำเนินชีวิตของคนจีน
3. ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มอภิปรายและสรุปสาระสำคัญจาก เรื่องการดำเนินชีวิตของ
คนจีน เขียนข้อสรุปลงในกระดาษ A4 และส่งตัวแทนออกมารายงาน
4. ใช้คำถามกระตุ้นให้คิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนจีนโดยใช้ประสบการณ์เดิม
5. ผู้สอนบรรยายประกอบสไลด์ MS-Power Point
6. ให้นักศึกษาทุกคนทบทวนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ การดำเนินชีวิตของคนจีน
แล้วเขียนผังความคิด (mind mapping)
7. ให้นักศึกษา ศึกษาการดำเนินชีวิตของคนจีน จากสื่ออื่นๆ นอกเหนือจากเอกสาร
ประกอบการสอน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน 109

8. ผู้สอนสรุป และให้นักศึกษาทุกคนทบทวนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ การดำเนิน


ชีวิตของคนจีน แล้วเขียนสรุปตามความเข้าใจเป็นรายบุคคล
9. ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด เรื่องการดำเนินชีวิตของคนจีน
10. ทดสอบหลังเรียน
สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาภูมิหลังทางสังคมของชาวจีน
2. เครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ โปรแกรม power point และเครื่ อ งฉายภาพ (LCD
projector)
3. MS-Power Point เรื่อง การดำเนินชีวิตของคนจีน
4. ใบงานที่ 7 เรื่อง การดำเนินชีวิตของคนจีนจีน
5. ภาพตัวอย่างเกี่ยวกั บเครื่องแต่งกายของชาวจีน อาหารจีน ชาจีน สุราจีน ที่
อยู่อาศัยของชาวจีน

การวัดผลและประเมินผล
1. ตรวจผลงานจากการทำใบงานที่ 7
2. การประเมินผลการนำเสนอผลงานการสืบค้น
3. สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรม
110 บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน

บทที่ 7
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และการดำเนินชีวิตของชาวจีน
คนจีนมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตนเองได้คิดค้นอยู่หลายอย่าง จึงทำให้คนจีนมี
ความสุขกับการใช้ชีวิต และทำให้เกิดวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เช่น ครอบครัว
เสื้อผ้า อาหาร ชา สุรา ที่อยู่อาศัย การแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ล้วนแล้วแต่มีความ
เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของชาวจีน ซึ่งเอกลักษณ์เหล่านี้ มีประวัติความเป็นมา
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหลายร้อยหลายพันปี ถึงแม้ว่าปัจจุบัน สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของ
บ้านเมืองจะมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชาวจีนใน
ปัจจุบัน แต่ชาวจีนก็ยังคงอนุรักษ์วิถีการการดำเนินชีวิตแบบในอดีตต่อไป ถึงแม้ว่าจะไม่เหมือน
อดีต 100% ก็ตาม แต่ก็ยังหลงเหลือถึงกลิ่นไอของความเป็นจีนที่รอให้คนทั่วโลกได้สัมผัส
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนเกิดขึ้นมาจากความคิด ความเชื่อ และปรัชญาจีน ไม่มี
ผู้ใดสามารถบอกได้ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด แต่หากเราอาศัยพงศาวดารและนิยาย
ปรัมปราจีนแล้ว เราอาจจะกล่าวได้ว่าปรัชญาจีนมีกำเนิดและวิวัฒนาการมานับพันๆปี
เช่นเดียวกับปรัชญาอินเดีย การเกิดขึ้นของปรัชญาจีนอาจอธิบายได้ดังนี้ ในยุคโบราณ ราว 557
ปี ก่อนพุทธศักราช เชื่อกันว่ากษัตริย์นามว่า ฟูซี เป็นผู้ให้กำเนิดปรัชญาจีน แนวความคิดของ
พระองค์มีรากฐานมาจากการผสมเส้นตรง กล่าวคือ เส้นตรงเดี่ยว เรียกว่า หยาง เป็นตัวแทน
แทนเพศชาย และเป็นสัญลักษณ์แทนความแข็งแกร่ง ส่วนเส้นตรงแยกเรียกว่า หยิน เป็นตัวแทน
เพศหญิง และเป็นสัญลักษณ์แทนความอ่อนโยนแปรปรวน
หยางและหยินแม้จะมีลักษณะตรงกันข้ามกัน แต่ทั้งสองก็รวมกันเป็นสิ่งที่เรียกว่า เอก
ภาวะ ได้ หรือประสานกลมเกลียวกันโดยอาศัยความแตกต่างนั่นเอง เส้นตรงทั้งสองนี้ในกาล
ต่อมา พระเจ้าเหวิน องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจ ได้ทรงนำมาจัดรวมกันได้ 8 กลุ่ม โดยมีกลุ่ม
ละ 3 เส้น และเรียงกันเป็นรูปวงกลม เส้นตรงทั้งสามเส้นมี 8 กลุ่ม มีสัญลักษณ์แทนองค์ประกอบ
หรือธาตุหลักของจักรวาล 8 ประการ คือ สวรรค์ ดิน ฟ้า น้ำ ลม ไฟ ภูเขา และหนองบึง ในสมัย
ต่อมา เส้นตรง 3 เส้นทั้ง 8 กลุ่มนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยมีเส้นตรง 3 เส้นเพิ่มเข้ามา จึงเป็น
เส้นตรง 6 เส้น และจัดกลุ่มได้ถึง 64 กลุ่ม แต่ละกลุ่มอธิบายธรรมชาติ จักรวาลและวิถีชีวิตของ
มนุษย์ เรียกว่า ปา กว้า
เรื่องกำเนิดปรัชญาจีนนี้ พงศาวดารจีนกล่าวย้อนไปนับหมื่นๆปี ว่ามีคนเริ่มต้นสร้าง
สวรรค์ มีชื่อว่า โกสี แล้วก็มีพี่น้องอยู่ 3 กลุ่ม คือกษัตริย์ในสรวงสวรรค์ 12 องค์ กษัตริย์บนโลก
11 องค์ และกษัตริย์ที่เป็นมนุษย์อีก 9 องค์ ทั้ง 3 กลุ่มนี้จะเป็นตัวแทน สวรรค์ โลก และมนุษย์
บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน 111

เชื่อกันว่ากษัตริย์เหล่านี้เป็นวีรบุรุษของความอัจฉริยะด้านต่างๆ เช่น ยูเชา เป็นกษัตริย์ที่สร้าง


บ้านเรือเป็นองค์แรก ส่วน ซุยหยิน ทรงเป็นวีรบุรุษด้านสร้างรถไฟเป็นต้น ปรัชญาอีกอย่างที่มี
อิทธิพลต่อการสร้างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน คือ หยินหยาง ปรัชญานี้เป็นลัทธิเกี่ยวกับ
จักรวาลวิทยา ที่ค้นหาและศึกษาความจริงเกี่ยวกับสากลจักรวาล และเชื่อว่าหยางหยิน เป็นต้น
เค้า หรือต้นกำเนิดของสรรพสิ่งต่างๆ

1. สิ่งประดิษฐ์ทมี่ ีชื่อเสียงทั้ง 4 ของชาวจีน


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน มีสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่เป็นที่รู้จักในชื่อ สิ่งประดิษฐ์ทั้ง 4
ของจีน (四大发明 sì dà fā míng) ได้แก่ เข็มทิศ ดินปืน กระดาษ และการพิมพ์
1.1 เข็มทิศ (指南针 zhǐ nán zhēn) การประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่า
ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดสิ่งหนึ่งของจีน คือ เข็มแม่เหล็ก สมัยแรกคนจีนใช้เข็มแม่เหล็กไปติดไว้บนรถ
สร้างรถชี้ทิศ เพื่อใช้ในการสงครามหรือใช้เป็นเครื่องมือหาทิศทางเวลาอยู่ในป่าลึกหรือภูเขา จาก
หลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ชาวจีนรู้จักใช้เข็มทิศหน้าปัดกลมเพื่อเดินเรือเมื่อศตวรรษ
ที่ 12 นั่นคือในขณะนั้น จูยี่ เป็นชาวมณฑลเจ้อเจียง ได้เขียนบันทึกชื่อผิงโจวเข่อถาน บันทึกไว้ว่า
ในคืนแรม ทหารเรือได้ใช้เข็มทิศหน้าปัดกลมจำแนกทิศทาง ต่อมา เจิ้งเหอ ได้เริ่มเดินทางตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1405 เดินทางไปถึงอาหรับและแอฟริกาตะวันออก ไปกลับเจ็ดครั้ง รวมเวลาได้ 28 ปี เรา
จะเห็นได้ว่าหากไม่มีเข็มทิศแล้ว การเดินทางในมหาสมุทรระยะไกลเช่นนี้ย่อมไม่สำเร็จแน่ ชาวอิ
ตาเลียนใช้เข็มทิศในศตวรรษที่ 14 จีนจึงใช้เข็มทิศเร็วกว่าอิตาลีอย่างน้อยสองศตวรรษ และหาก
อ้างอิงถึง ทรรศะของนักประวัติศาสตร์ ชาวตะวันตกได้นำเข็มทิศหน้าปัดกลมไปจากจีนนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ดีเข็มทิศทั้งสองชนิดนี้ยังไม่ได้ถูกใช้เพื่อในการเดินทาง แต่จะใช้ในพิธีกรรมหรือการ
ทำนาย จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ ๓ - ๖ จึงมีการพัฒนาเข็มทิศเพื่อใช้บอกทิศทาง

ภาพที่ 7.1 เข็มทิศสี่ยอดสิ่งประดิษฐ์ของชาวจีน


ทีม่ า (https:// sohu.com/a/344278476_757989/指南针 2 มิถุนายน 2560 )
112 บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน

1.2 ดินปืน (火药 huǒ yào) เป็นหนึ่งในสี่สิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ของจีน เบื้องต้น


การคิดค้นดินปืนมีความเกี่ยวข้องกับการกลัน่ ยาอายุวัฒนะในสมัยโบราณ กล่าวคือนักปรุงยาได้
นำแร่ธาตุและพันธุ์พืชมากมายมาผสมและใส่ลงไปในเตาต้มรวมกัน แต่ทว่าการปรุงยาอายุวัฒนะ
นั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ในขณะกลั่นยาเตาเกิดระเบิดขึ้น นักปรุงยาจึงพบธาตุที่เป็นชนวน
ระเบิดได้จากการเผาไหม้นั้นโดยบังเอิญ เป็นเหตุให้ดินปืนถูกประดิษฐ์ขึ้นและนำไปใช้ในงานด้าน
การทหาร โดยดินปืนนี้คิดค้นได้สำเร็จในสมัยราชวงศ์ถังตอนปลาย และยังมีอีกเรื่องเล่าขานของ
ชาวจีนที่เกี่ยวกับใช้ดินปืนว่า การประดิษฐ์ดินปืนนั้นสืบเนื่องมาจาก ในป่าลึกทางตะวันตกของจีน
มีผีป่าน่ากลัว ชื่อเหนียน ผู้ใดพบก็จะมีอาการจับไข้ หากนำไม้ใผ่มาตัดเป็นข้อปล้องโยนเข้าไปใน
กองไฟ จะเกิดเสียงดังเปรี้ยงปร้าง เหนียนก็จะตกใจหนีไป คืนส่งท้ายปีเก่าของจีนจึงนิยมจุด
ประทัดเพื่อขับไล่ผีเหนียนนี่เอง ภายหลังมีการนำเอาดินประสิวและกำมะถันมาห่อรวมกันใน
กระดาษทำให้เป็นประทัด นั่นคือการเริ่มต้นใช้ดินปืน ส่วนประกอบสำคัญของดินปืน คือ ดินประ
สิว กำมะถัน และผงถ่าน สมัยซ้องมีการนำดินปืนมาประดิษฐ์อาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเฉพาะสมัย
ซ้องใต้มีการนำมาใช้มากขึ้นไปอีก

ภาพที่ 7.2 ขณะปรุงยาแต่เกิดระเบิดขึ้นจนทำให้ค้นพบวิธีผลิตดินปืน


ที่มา (https:// sohu.com/a/228389123_100114228/火药 2 มิถุนายน 2560 )

1.3 การผลิตกระดาษ(造纸术 zào zhǐ shù) วัฒนธรรมและงานของมนุษย์เจริญ


ขึ้น สืบเนื่องมาจากผลของความเจริญทางด้านการพิมพ์ที่มีความก้าวหน้า โดยการพิมพ์นั้นจะต้อง
ใช้กระดาษ ดังนั้นการผลิตและการใช้กระดาษจึงมีประโยชน์ต่อวัฒนธรรมมนุษย์มาก ชาวจีนจึง
ภูมิใจมากที่ตนเป็นผู้ค้นพบวิธีการผลิตกระดาษ แต่เดิมนั้น ชาวจีนเขียนหนังสือลงบนแผ่นไม้ไผ่
กระดองเต่า และกระดูกสัตว์ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินและฮั่น ผู้คนเริ่มพากันมีความเห็นว่าการ
เขียนบนแผ่นไม้นั้นไม่สะดวก มีน้ำหนักมาก และยังพกพาไม่สะดวกอีกด้วย ดังนั้น ผู้คนจึงเปลี่ยน
มาเขียนลงบนผ้าไหมแทน แต่ว่าผ้าไหมมีราคาแพงมาก ต่อมาสมัยฮั่นตะวันออก ขุนนางผู้หนึ่ง
นามว่าไช่หลุน(蔡伦) เป็นผู้ค้นพบวิธีการผลิตกระดาษ โดยการใช้วิธีนำเปลือกไม้ เศษผ้า และตา
บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน 113

ข่ายดักปลามาบดผสมกันจนป่น จากนั้นก็นำมาต้ม และนำไปตากแห้งจนกลายเป็นแผ่น กระ


ดาษชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “กระดาษไช่หลุน” นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนที่นำความภาคภูมิใจ
นี้ส่งต่อไปยังทั่วโลก

ภาพที่ 7.3 ภาพลำดับขั้นตอนการทำกระดาษ


ที่มา (https:// china.com.cn/aboutchina /造纸术 2 มิถุนายน 2560 )

1.4 แท่นพิมพ์ (印刷术 yìn shuā shù) ก่อนการคิดค้นแท่นพิมพ์สำเร็จ คนจีน


ในสมัยนั้นจะใช้วิธีคัดลอกตาม ดังนั้นกว่าจะได้หนังสือแต่ละเล่มย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ต่อมาผู้คนเริ่ม
ใช้วิธีพิมพ์โดยวางกระดาษทาบลงบนศิลาจารึก สมัยราชวงศ์ถังมีการคิดค้นแม่พิมพ์สลักขึ้น โดย
การแกะตัวอักษรลงบนแผ่นไม้ ใช้หมึกทาแล้วเอากระดาษทาบ สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ ปี้เซิงคือผู้ที่
คิดค้นตัวเรียงพิมพ์ขึ้นได้สำเร็จ เขาใช้วิธีแกะสลักตัวอักษรแต่ละตัวลงบนดินเหนียวทีละก้อนก่อน
นำไปเผาไฟให้แข็ง ตอนพิมพ์ให้เรียงตัวอักษรที่ต้องการ ทาหมึกลงไปแล้ววางกระดาษทาบลง
ตัวอักษรทีแ่ กะสลักเหล่านี้ยังสามารถนำไปใช้ซ้ำ และแท่นพิมพ์ ของปี้เซิงยังทำให้การผลิต
หนังสือได้เร็วและมากกว่าเดิมหลายเท่า วิธีการพิมพ์ของปี้เซิงจึงเป็นต้นแบบของการพิมพ์ และ
ประเทศจีนได้รับยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นผู้คิดค้น
114 บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน

ภาพที่ 7.4 ภาพแท่นพิมพ์ หนึ่งในสี่สิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงของจีน


ที่มา (https:// china.com.cn/aboutchina /造纸术 2 มิถุนายน 2560 )

2. การแพทย์แผนจีนและยาจีน
การแพทย์แผนจีน (中医中药) หมายถึงการแพทย์แผนโบราณของจีนซึ่งสืบทอดมานาน
หลายพันปีและได้หลอมรวมเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมของชนชาติจีน การแพทย์แผน
โบราณของจีนใช้หลักการหยินหยาง และธาตุทั้งห้าเป็นทฤษฎีพื้นฐาน และใช้วิธีตรวจวินิจฉัยโรค
4 วิธี คือ การมอง สูดดม การถาม และการฟังหรือการจับแมะ(การจับชีพจร) เมื่อวินิจฉัยโรคแล้ว
จึงดำเนินการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม การแพทย์แผนโบราณของจีนมีทฤษฎีเฉพาะศาสตร์ ที่เป็น
ระบบ โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ซึ่งประกอบขึ้นจากธาตุหยิน
และหยาง ธาตุทั้งสองมีคุณ สมบั ติตรงข้ ามกันแต่ต่างอยู่บนพื้นฐานของกันและกัน ดังนั้นหาก
สภาพความสมดุลของหยินและหยางถูกทำลาย ก็ย่อมทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น นอกจากนี้ยั ง
เชื่ อ ว่ า หลั ก การดำรงชี วิ ต และการเกิ ด โรคภั ย ต่ า งๆ มี ค วามสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด กั บ การ
เปลี่ ย นแปลงของธรรมชาติ (เช่ น สภาพอากาศในแต่ ล ะฤดู ก าล สภาพของพื้ น ที่ ต่ างๆ การ
ผลัดเปลี่ยนของเวลากลางวันและกลางคืน เป็นต้น) ดังนั้นระดับการปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ
ของมนุ ษ ย์ ในสภาพแวดล้ อมทางธรรมชาติที่ แตกต่ างย่อมไม่เท่ากัน ทำให้ ส ภาพร่างกายและ
สภาวะการเกิดโรคต่างกันไปด้วย
ด้ว ยเหตุ นี้ การวินิ จ ฉั ย โรคของการแพทย์แ ผนจีน จึงให้ ค วามสำคั ญ กั บ ปั จจั ยด้ านเวลา
สิ่งแวดล้อมและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลมาก โดยจะไม่วินิจฉัยอย่างตายตัวจากอาการของ
โรคเพีย งอย่ างเดีย ว หลักการแพทย์แผนจีนถือว่าอวัยวะทุกส่ วนในร่างกายรวมเป็นองค์เดียว
ดังนั้น การวินิ จฉัยและรักษาโรคจึงไม่ได้พิจารณาจากความผิดปกติของอวัยวะเฉพาะส่วนหรือ
บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน 115

อาการป่วยเพียงด้านเดียว แต่จะพิจารณาจากปัจจัยรอบด้านและให้ความสำคัญกับแนวคิดองค์
รวมของร่างกายเป็นสำคัญ จากนั้นจึงเลือกใช้วิธีการรักษาหรือวิธีการป้องกันโรคที่เหมาะสม
วิธีการรักษาของการแพทย์แผนจีนมีหลากหลายวิธี โดยแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ
ได้แก่ การรักษาภายในด้วยการรับประทานยาและการรักษาภายนอกด้วยยาทา การนาบด้วย
ความร้อน การรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการรั กษาโดยไม่ใช้ยาแบบอื่น และโด่งดังไปทั่วโลก
เช่น การฝังเข็ม การใช้กระปุกร้อนอังผิวหนัง การขูดผิวหนัง การนวดกดจุด การนวดและชี่กง
เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาด้วยการรับประทานยาหรืออาหารบำรุงประเภทต่างๆ อีกด้วย

ภาพที่ 7.5 ภาพการรักษาด้วยการฝั่งเข็ม


ที่มา (https:// huachiewtcm.com/针刺 2 มิถุนายน 2560 )
จากภาพที่ 7.5 เป็ นการรัก ษาด้วยการฝั่งเข็ม การฝังเข็มเป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โบราณอันล้ำค่า เน้นการปรับร่างกายให้เข้าสู่สภาวะสมดุลอันเป็นขั้นตอนหนึ่งของการรักษาโรคที่
สำคัญ การฝังเข็มที่ส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาทางด้านอายุรกรรมทั่วไป ผิวหนัง สูตินรีเวช โรค
กระดูก โรคตา หู คอ จมูก ปาก อันเป็นวิธีการรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็น
วิธีการรักษาที่มีป ระวัติการค้น คว้าและแพร่ห ลายมาหลายพันปี และองค์การอนามัยโรคหรือ
WHO ได้สรุปจากผลงานวิจัยยอมรับการรักษาโรคหรื อกลุ่มอาการที่สามารถรัก ษาได้ด้วยการ
ฝังเข็มแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษา

ภาพที่ 7.6 ภาพการรักษาด้วยการใช้กระปุกร้อนอังผิวหนัง


ที่มา (https:// sohu.com/a/282498537_99907397 /罐法 2 มิถุนายน 2560 )
116 บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน

จากภาพที่ 7.6 เป็นการรักษาด้วยการใช้กระปุกร้อนอังผิวหนังหรือที่คนไทยเรียกว่าครอบ


แก้ว เป็นความรู้ทางการแพทย์แผนจีนที่โดดเด่นและสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ผ่าน
การสั่งสมประสบการณ์ต่างๆในแต่ละช่วงยุคเวลา และได้มีการพัฒนาเรียบเรียงเป็นตำรา เพื่อ
ศึกษาค้นคว้าเพิ่มประสิทธิภาพในการครอบแก้วให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันวิธีก ารครอบแก้วเป็น
ที่แพร่หลายในประเทศต่างๆทั่วโลก การรักษาด้วยการใช้กระปุกร้อนอังผิวหนังเป็นทางเลือกการ
ส่งเสริมสุขภาพร่างกายโดยการใช้ แก้วหรือกระปุก มาลนไฟให้ร้อนหรือด้วนวิธีอื่นเพื่อไล่อากาศ
ภายในภาชนะออกจนเป็นสุญญากาศ จากนั้นจึงครอบแก้วลงบนตำแหน่งที่ต้องการ ความอุ่นร้อน
และแรงดูดจากสุญญากาศจะทำให้เกิดเลือดคั่งขึ้นในบริเวณที่เส้นลมปราณติดขัด หรือที่เรียกว่า
รอบซา การทำครอบแก้วในครั้งต่อๆไป จะเกิดรอยซาลดน้อยลงจนในที่สุดเป็นรอยสีชมพูแดง
แสดงว่าได้เข้าสู่ภาวะปกติ
ในส่วนของยาจีน ที่มาของยาส่วนมากมาจากพืช มีบ้างที่มาจากสัตว์และแร่ธาตุ สิ่งเหล่านี้
ได้ผ่ านการปรุงอย่ างเป็ น พิเศษ เพื่อใช้ เป็นยารักษาภายในและภายนอก ในสมัยราชวงศ์ฮั่น มี
หนังสือเภสัชวิทยาที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่ง คือ เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิง (神农本草经) ดืทำการจดบันทึก
ชื่อยาไว้ 365 ประเภท เถาหงจิ่ง (陶弘景) หมอที่มีชื่อเสียงในราชวงศ์ใต้ – เหนือ ได้เพิ่มเติมไว้
อีก 365 ประเภท และแต่งเป็นหนังสือ เปิ๋นเฉ่าจิงจิ่จู้ (本草经集注) ในสมัยราชวงศ์หมิงหลี่สือ
เจิน (李时珍) หมอที่มีชื่อเสียงได้แต่งตำราขึ้นชื่อว่า เปิ๋นเฉ่ากางมู่ (本草纲目) สำเร็จเป็นเล่ม
เมื่อปีค.ศ. 1578 ตำราเล่มนี้มีเนื้อหาทั้งหมด 52 บท จดชื่อยาไว้ 1,892 ประเภท ในตำราที่ทำไว้
มีรูปภาพยา 1109 รูป ตำรับยา 11,096 ตำรับ ตำรานี้ถือเป็นตัวแทนของแพทย์แผนจีน
ปัจจุบันการแพทย์และยาแผนจีนได้รับการพัฒนาและแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ทั่ว
โลก ทั้งยังมีความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านการแพทย์แผนจีนในระดั บนานาชาติมากขึ้น
เรื่อยๆ ทุกวันนี้การแพทย์แผนจีนมีบทบาทมากขึ้นในวงการการแพทย์โลก และคาดการณ์ ว่า
การแพทย์ แผนจี น จะมีป ระโยชน์ อย่างกว้างขวางแก่การรักษาสุ ขภาพอนามัยของชาวโลกใน
อนาคต

3. ลักษณะครอบครัวของชาวจีน
ระบบครอบครัวของจีนยึดความกตัญญูและนับถือผู้อาวุโสตามหลักคำสอนของ “ขงจื๊อ”
หลักคำสอนของขงจื๊อ ถือว่ามนุษย์ที่สมบูรณ์เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมแนวคำสอนที่เป็นพื้นฐาน
ของภูมิปัญญาของจีนที่เชื่อว่าปัญหาต่างๆในสังคมเกิดจากคนแต่ละคน การแก้ปัญหาทางหนึ่งคือ
การฝึกฝนตนเองการอบรมตัวเอง และสามารถปกครองครอบครัวได้ เมื่อปกครองครอบครัวได้ ก็
สามารถปกครองแคว้นได้ คุณธรรมประกอบด้วยหลัก 5 ประการ ความสุภาพ มีใจโอบอ้อมอารี
จริงใจ ตั้งใจ เมตตากรุณา คุณธรรมที่สำคัญที่เป็นหัวใจของปรัชญาขงจื๊อ คือ เหริน (仁) เพราะ
คำนี้ประกอบด้วย อักขระสองตัวคือ “คน” กับ “สอง” หมายถึง มนุษยสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์
บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน 117

ระ หว่างมนุษย์กับมนุษย์ เหรินคือความรัก ความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ เริ่มจากความรักใน


บิดามารดา ความรักในความเป็นพี่น้องกัน
ครอบครั วชาวจี น ในสมัย โบราณตามขนบจารีต ประเพณี ข องจีน ผู้ คนจะยกย่ องเชิด ชู
ครอบครัวใหญ่หรือครอบครัวขยาย การแยกออกไปตั้งครอบครัวใหม่ จึงถือเป็นเรื่องน่าละอาย
ครอบครัวในอุดมคติของคนในสมัยนั้นจะต้องมีสมาชิกในครอบครัวสี่หรือห้ารุ่ นอยู่รวมในบ้าน
เดียวกัน คือ รุ่นอาวุโสกว่า ได้แก่ พ่อแม่ ปู่ย่า และรุ่นอ่อนอาวุโสกว่าได้แก่ รุ่นลูกและรุ่นหลาน
ระบบการปกครองภายในครอบครั ว ใหญ่ นี้ คื อ ระบบอาวุ โสและถื อ ลำดั บ รุ่น ของสมาชิ ก ใน
ครอบครัวอย่างเคร่งครัด หัวหน้าครอบครัวมีอำนาจเด็ดขาดในการจัดการเรื่องราวต่างๆ ภายใน
ครอบครัว โดยที่ผู้อ่อนอาวุโสนั้นไม่มีสิทธิแสดงความเห็นหรือตัดสินใจ
“เลี้ยงดูผู้น้อย ผดุงผู้เฒ่า” เป็นรูปแบบการเลี้ยงดูผู้เฒ่าผู้แก่ของครอบครัวจีนสมัยโบราณ
ชาวจีนถือว่าพ่อแม่นั้ นให้กำเนิดและเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่ า ลูกๆ ก็ควรแสดง
ความกตัญญูกตเวทีด้วยการเลี้ยงดูบุพการีในยามทีท่ ่านแก่เฒ่า
ครอบครัวชาวจีนในปัจจุบัน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังปี
ค.ศ. 1949 ครอบครัวของชาวจีนเปลี่ยนแปลงไปมาก นั บวันรูปแบบของครอบครัวชาวจีนก็ยิ่ง
หลายหลากขึ้น โดยมีแนวโน้มค่อยๆ เปลี่ ยนไปเป็นครอบครัวขนาดเล็ก หรือครอบครัวเดี่ยวมาก
ขึน้ ปัจจุบันการแยกครอบครัวออกมาเป็นครอบครัวเดี่ยวกลายเป็นทางเลือกแรกของคนหนุ่มสาว
ทั้งในเมืองและชนบท โดยมากครอบครัวในเมืองจะประกอบขึ้นด้วยสามีภรรยาและลูกหนึ่งหรือ
สองคน ส่วนในชนบทนั้น ครอบครัวจำนวนไม่น้อยยังคงสภาพครอบครัวใหญ่ที่มีสมาชิกสามรุ่น
หรือสามรุ่นขึ้นไปอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน
ชาวจีนถือจารีตประเพณีในการนับถือผู้อาวุโสและให้ความรักความเมตตาแก่ผู้น้อยมาแต่
โบราณ แม้ว่าในสังคมปัจจุบันจะมีครอบครัวจำนวนมากที่พ่อแม่และลูกที่เจริญวัยแล้วไม่ได้อาศัย
อยู่ด้วยกัน แต่ก็ยังมีการไปมาหาสู่ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ และในทางกฎหมายถือว่าลูกที่บรรลุ
นิติภาวะแล้วมีหน้าที่เลี้ยงดูบิดามารดา ความรักความผูกพันในครอบครัวและวงศ์ตระกูลของชาว
จีนนั้นแน่นแฟ้นมาก นอกจากเราจะเห็นชาวจีนไปมาหาสู่กับพ่อแม่และลูกของตนแล้ว เรายัง
สามารถสัมผัสถึงความอบอุ่นของสายสัมพันธ์ในหมู่ พี่น้อง น้าหลาน อาหลาน รวมไปถึงในหมู่
เครือญาติอื่นๆ ทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ด้วย

4. เครื่องแต่งกายอดีตจนถึงปัจจุบันของชาวจีน
ประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมีมานานถึง 5 พันปี วัฒนธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาว
จีนก็มีมายาวนานไม่แพ้กัน ซึ่งในระยะเวลา 5 พันปีมานั้น ชาวจีนได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายจาก
ชนกลุ่มน้ อย เผ่าต่าง ๆ ในประเทศจีน รวมถึงวัฒ นธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ
118 บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน

ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่งกายชาวจีนในยุคนั้นๆ ซึ่งการแต่งกายของชาวจีน
นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
เนื่องจากชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ในประเทศจีนมีอยู่ถึง 42 % ของประชากรจีนทั้งหมด ซึ่ง
เมืองที่มีช นกลุ่ มน้ อยอาศัย อยู่ เยอะที่สุ ดคือเมือง หยุนหนาน จึงจำเป็นที่จะต้องแยกประเภท
วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนออกเป็ น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัฒ นธรรมการแต่งกายแต่ละยุค
สมัยของชาวจีน และกลุ่มการแต่งกายของชนกลุ่มน้อยต่ างๆ ในประเทศจีน ซึ่งมีอยู่ถึง 56 ชนเผ่า
ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มักจะมีการแต่งกายที่มีลักษณะเอกลักษณ์และมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไป
ตามยุคสมัย แต่ในหัวข้อต่ อไปนี้จะขอกล่าวถึงวัฒ นธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมั ยของชาวจีน
โดยสังเขป ดังนี้
สมั ย ราชวงศ์ฉิ น (221-220 ปี ก่ อ นคริส ต์ศั กราช) เสื้ อ ผ้ าเครื่องแต่ งกายสมัย ฉิน ได้ รับ
อิทธิพลจากแนวคิดหยิ น หยาง (阴阳) คือ ความสมดุ ล ของสรรพสิ่ ง กฎแห่ งความสมดุล ของ
ธรรมชาติ เนื่ องจากยุ คสมัย ราชวงศ์ฉินค่ อนข้างจะสั้ น ดั่งนั้นสี ของเสื้ อจะเป็ นการผสมผสาน
ระหว่างสีเสื้อผ้าที่ฉินซีฮ่องเต้เป็นผู้กำหนดและสีเสื้อผ้าตามประเพณีจารีตของยุคจ้านกั๋ว
เสื้อผ้าผู้ชายสมัยราชวงศ์ฉินเป็นลักษณะเสื้อคลุมยาว ฉินซีฮ่องเต้ได้กำหนดให้ใช้สีดำเป็น
หลักในการตัดเย็บสำหรับเสื้อผ้าพิธีการ โดยเชื่อว่าสีดำเป็นสีที่ คู่ควรแก่การได้รับความเคารพ
ข้าราชการยศระดับ 3 ขึ้นไปให้ใช้สีเขียวประกอบในการตัดเย็บ ประชาชนทั่วไปใช้สีขาวประกอบ
ในการตัดเย็บ เสื้อผ้าผู้หญิ ง ฉินซีฮ่องเต้ไม่ได้มีการกำหนดสีในการตัดเย็บ เนื่องจากท่านชื่นชอบ
สีสันความสวยงามของเสื้อผ้าที่นางสนมในวังสวมใส่ จึงเน้นเสื้อผ้าที่มีสีสันสวยหรู ฉูดฉาด
สมั ย ราชวงศ์ ฮั่ น (202 ปี ก่ อ นคริ ส ตศั ก ราช – ค.ศ. 8) เสื้ อ ผ้ า สมั ย ราชวงศ์ ฮั่ น จะ
ประกอบด้วย เสื้ อคลุ มยาว เสื้อ ลำลองแบบสั้ น เสื้อนวมสั้ น กระโปรง (ผู้ห ญิ ง) และ กางเกง
(ผู้ชาย) ในยุคนี้ผ้าที่มีลักษณะการถั กทอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้ น คนที่มีเงินในสมัย
นั้นจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าแพรต่วน ซึ่งมีความสวยงามมาก โดยทั่วไปผู้ชาย จะสวมเสื้อสั้น
กางเกงขายาว และหากฐานะยากจน จะสวมเสื้อแขนสั้นที่ตัดเย็บด้วยผ้าหยาบ ในส่วนของ
ผู้หญิงในสมัยราชวงศ์ฮั่น เสื้อผ้ามีตั้งแต่เป็นลักษณะเสื้อและกระโปรงต่อกัน (กี่เพ้า) และแยกเสื้อ
กระโปรงเป็น 2 ชิ้น กระโปรงจะมีลวดลายหลากหลายมาก กระโปรงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัย
นั้น คือ “กระโปรงลายเทพสถิตย์” ระดับชั้น ของข้าราชการในสมัยราชวงศ์ฮั่น จะมีหมวกและ
สายประดับยศเป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งชั้นของขุนนาง ซึ่งสมัยนั้น ตำแหน่งอัครเสนาบดีเป็นขุน
นางตำแหน่งสูงสุด
สมัยราชวงศ์เว่ยจิ้น หนานเป่ย ( ค.ศ.220- ค.ศ.589) หรือที่เรารู้จักกัน “สมัยสามก๊ก” ก็
อยู่ ในยุ คนี้ สมัย ราชวงศ์เว่ย จิ้น หนานเป่ยจัดได้ว่าเป็นสมัย ที่ศาสนาพุทธและลั ทธิเต๋าเฟื่องฟู
เครื่องแต่งกายชายหญิง ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ จนถึงประชาชนทั่วไป เสื้ อผ้ าจะมี
ลักษณะหลวมยาว และมีเข็มขัดคาด หากเป็นเสื้อผ้าผู้ชายจะมีการเปิดแผงหน้าอกเล็กน้อย ไหล่
บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน 119

เสื้อลู่ลง แขนเสื้อกว้ าง สวมใส่ดูสบาย ในส่วนของเสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อกี่เพ้าแลดูเป็นกระโปรงยาว


ลากพื้น แขนเสื้อกว้าง เข็มขัดจะคาดให้ดูเป็นชั้นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสุภาพ และสง่างาม
สมัยราชวงศ์สุ่ย และสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 581-ค.ศ. 907) เสื้อผ้าของสมัยราชวงศ์สุ่ย
และสมัยราชวงศ์ถัง มีรูปแบบเสื้อผ้าที่มีความใกล้เคียงกั นสูง เสื้อผ้าต้นสมัยราชวงศ์สุ่ ยค่อนข้าง
จะเรียบง่าย เสื้อผ้ายังคงมีลักษณะกี่เพ้าหรือเสื้อคลุมยาว เมื่อกษัตริย์สุ่ยหยางขึ้นครองราชย์ ได้
เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม ซึ่งส่งผลให้เสื้อผ้าในยุคสมัยดังกล่าวได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ
ให้สวยงามขึ้นเช่นกัน
ในสมัยราชวงศ์ถัง นับได้ว่ามีความเจริ ญทั้งในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
ดังนั้นเสื้อผ้าในสมัยนี้จัดได้ว่ามีความสวยงามยิ่ง เสื้อผ้าพิธีการของสตรีชั้นสูงจะมีลักษณะเปิด
หน้าอก คอเสื้อต่ำ แขนเสื้อยาวและใหญ่ สวมเสื้อกระโปรงที่ทำจากผ้านวม มีผ้าคลุมไหล่ สมัยนั้น
เทคนิคสิ่งทอถือว่ามีความล้ำหน้า เป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ ได้รับวัฒนธรรมแบบเสื้อผ้าจาก
ต่างชาติเข้ามาผสมผสานเข้าไว้ด้วยกัน (เกาหลี ,ญี่ปุ่น) ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าสมัยราชวงศ์ถัง
เป็นยุคที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก
สมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960 - ค.ศ.1279) แบบเสื้อผ้าสมัยราชวงศ์ซ่ง ยังคงได้รับอิทธิพลตก
ทอดมาจากสมั ยราชวงศ์ถัง แต่เนื่ องจากสมัยนั้นแนวความคิดปรัช ญาของสำนักขงจื้อเฟื่องฟู
พฤติกรรมของผู้คนส่วนใหญ่คล้อยตามแนวคำสอนของท่านขงจื้อ มี รสนิยมชื่นชมในความเป็น
ธรรมชาติ ส่งผลให้แบบเสื้อผ้าของผู้คนในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่เน้นลวดลายสีฉูด ฉาด เครื่องแต่งกาย
เสื้อผ้าของข้าราชการจะเป็นเสื้อคลุมยาว แขนเสื้อใหญ่ สวมหมวกประจำตำแหน่ง มีการแบ่งสี
เสื้อผ้าเพื่อบ่งบอกยศตำแหน่ง ในส่วนของเสื้อผ้าสตรี เป็นลักษณะเสื้ อคลุมตัวใหญ่และยาว ช่วง
คอตรง ผ้าในส่วนรักแร้ทั้งสองข้างตัดแยกออกจากกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เสื้อกั๊กสมัยซ่ง”
แบบเสื้อผ้านี้ได้รับความนิยมในหมู่นางสนมในวังและสตรีทั่วไปในสมัยนั้น
สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368 - ค.ศ.1645) ในสมัยราชวงศ์หมิงหรือสมัยราชวงศ์แมนจูได้
ให้ ค วาม สำคั ญ กั บ การฟื้ น ฟู วัฒ นธรรมของชาวฮั่ น ดั งนั้ น เครื่ อ งแต่ ง กายจะมี ก ลิ่ น อายการ
ผสมผสานระหว่างสมัยราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง เสื้อผ้าชายจะเน้นเสื้อคลุมยาว เป็น
หลัก ข้าราชการจะเน้นสวมใส่ชุด “ปู่ฝู” สวมหมวกผ้าแพรบาง สวมเสื้อคอกลม ลายผ้าตรงกลาง
เสื้อคลุมยาวบ่งบอกถึงยศตำแหน่งทางราชการ สมัยนั้นผู้ชายทั่วไปยังนิยมสวมหมวกผ้าแบบสี
เหลี่ยม ในส่วนของชุดแต่งกายสตรี สวมเสื้อกันหนาวที่มีซับในแบบจีน พกผ้าคลุมที่มีไว้พาดไหล่สี
แดง หรือพัด และสวมกระโปรง เป็นต้น
รู ป แบบเสื้ อ ผ้ าส่ ว นใหญ่ เช่ น เสื้ อ กั๊ ก ยาว ยั งคงลอกเลี ย นมาจากสมั ย ราชวงศ์ ถั งและ
ราชวงศ์ซ่ง นางในสมัยราชวงศ์หมิงนิยมสวมใส่เสื้อผ้าที่ดูน่าเลื่ อมใส สวมเสื้อกั๊กเป็นชุดนอก แขน
เสื้อแลดูเข้ารูป กระโปรงจีบข้างในสวมกางเกงขายาว ในสมัยราชวงศ์หมิงหญิงสาวเริ่มนิยมพัน
เท้าให้เล็กหรือเรียกกันว่า “เท้ากลีบดอกบัว”
120 บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน

สมัย ราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644 - ค.ศ.1911 ) เครื่องแบบสมัยราชวงศ์ชิงยังคงได้รับการตก


ทอดมาจากสมัยราชวงศ์หมิง ในขณะเดียวกันก็รับเอาจุดเด่นของแบบเสื้อสมัยราชวงศ์ฮั่นเข้ามา
ประยุกต์ด้วย เสื้อผ้าผู้ชายยังคงเน้นเสื้อคลุมยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีน เสื้อชั้นในแบบยืดลักษณะ
เป็นเสื้อกล้าม โกนศรีษะออกครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งทักเปียยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีนจะสวมทับไว้ด้าน
นอกของชุดเสื้อคลุมที่หลวมยาว ชุดลักษณะดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นชุดพิธีการ ชุดแต่งกายที่เป็นเสื้อ
และกระโปรงของผู้หญิงสมัยนั้นเป็นลักษณะผสมผสานระหว่ างชาวฮั่นกับชาวแมนจู โดยเฉพาะกี่
เพ้าเป็นลักษณะของชาวแมนจูอย่างเห็นได้ชัด นอกเหนือจากนี้ยังมีเสื้อกั๊ก กระโปรง ผ้าคลุม
ไหล่ สายรั ด เอว เครื่ อ งแต่ ง กายต่ าง ๆ เรีย กได้ ว่ า ถอดมาจากสมั ย ราชวงศ์ ห มิ ง เลยก็ ว่ าได้
ประเพณีการรัดเท้ายังคงสืบทอดมาถึงสมัยชิง
สมัยปฏิวัติซินไฮ่ (ค.ศ.1911-ค.ศ.1949) ในยุคสมัยปฎิวัติซินไฮ่ หรือยุคปฏิวัติราชวงศ์ชิง
เครื่องแต่งกายของชาวจีนนับวันยิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒ นธรรมการแต่ ง
กายแบบชาวตะวันตกเริ่มเข้ามา ทำให้ไม่ว่าจะเป็นชุดเสื้อคลุมยาวหลวมของผู้ชาย กี่เพ้าผู้หญิง
เสื้อกั๊ก กางเกงและกระโปรง ล้วนถูกดัดแปลงผสมผสานระหว่างแบบเสื้อตะวันตกและแบบเสื้อ
จีน อีกทั้งในยุคดังกล่าวยั งได้ถือกำเนิดแบบเสื้อใหม่ในยุคนั้น คือ ชุดฟรอม์จ งซาน ชุดฟรอม์
นักเรียนนักศึกษา ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง
ปั จ จุ บั น แม้ วั ฒ นธรรมการแต่ ง กายของชาวจี น จะไม่ ส ามารถคงความเป็ น รู ป แบบ
เอกลักษณ์เครื่องแต่งกายประจำชาติได้อย่างประเทศในแถบอินเดีย เนื่องจากได้รับเอาค่านิยม
แบบเสื้อผ้าจากชาวตะวันตกมาเป็นส่วนใหญ่ แต่เราก็ยังคงได้พบเห็นแบบแฟชั่นที่บ่งบอกความ
เป็น เอกลักษณ์ของชาวจีน เช่น ปกเสื้อคอจีน กี่เพ้า ถังจวง เป็นต้น ซึ่งยังเป็นที่นิยม คงความ
สวยงามและเป็นแบบเสื้อที่ไม่มีวันตาย

5. อาหารของชาวจีน
ประเทศจีนมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง และแต่ละภูมิภาคก็ยังมีสภาพทาง
ธรรมชาติ วิถี ชี วิ ต ของผู้ ค น และการพั ฒ นาทางเศรษฐกิ จวั ฒ นธรรมแตกต่ างกั น จึ งทำให้ มี
วัฒนธรรมอาหารการกิน ที่แตกต่างกันไปตามสภาพแต่ละท้องถิ่น ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17
อาหารพื้นถิ่นเช่นอาหารซานตง ( 鲁菜) อาหารกวางตุ้ง (粤菜) อาหารเสฉวน (川菜) อาหาร
หวายหยาง (淮扬菜) ได้กลายเป็นอาหารท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงอย่างกว้าง ขวางในจีน จนได้รับการ
ขนานนามว่าเป็น “อาหาร 4 สายหลักของจีน” (四大菜系)
อาหารซานตง หรืออาหารหลู่ช่ายภาคเหนือของจีน เป็นอาหารพื้นถิ่นขึ้นชื่อในยุคต้นๆ
ด้วยรสชาติที่เน้นเค็มอร่อย กรอบนุ่ม การปรุงที่พิถีพิถันเป็นที่ลือชื่อทั้งในและต่างประเทศ อาหาร
ซานตงประกอบด้วยกลุ่มอาหารเมืองจี้หนาน (เมืองเอกของมณฑลซานตง) และอาหารแหลม
เจี ย วตงที่ มี ร สนิ ย มแตกต่ า งกั น อาหารจี้ ห นานพิ ถี พิ ถั น ในด้ า นความหอม สด นุ่ ม อร่ อ ย รส
บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน 121

ธรรมชาติ ได้ชื่อว่า “หนึ่งเมนูหนึ่งรสชาติ ร้อยเมนูไม่มีซ้ำ” โดยเฉพาะขึ้นชื่อในอาหารประเภท


แกงจืด อาหารซานตงที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ “ไก่ผาจีเต๋อโจว” (德州扒鸡) “ปลาหลีฮื้อแม่น้ำหวงเหอ
เปรี้ยวหวาน” (糖醋黄河鲤鱼) เป็นต้น
อาหารเสฉวน เลือกเฟ้นวัตถุดิบจำพวกเห็ดป่าของป่า ปลากุ้งแม่น้ำ ผักป่า และเนื้อสัตว์
วิธีการปรุงเน้นการผัด คั่ว ย่าง หรือ อบ ได้ชื่อว่าเป็นอาหารที่ค่อนไปทาง “รสแปลก” รูปแบบ
พลิกแพลงหลายหลาก โดดเด่นที่ รสจัด หอม เผ็ด รสชาเครื่องเทศ สไตล์เรียบง่ายแต่สดใหม่ เต็ม
ไปด้วยกลิ่นอายของพื้นถิ่น เนื่องจากอาหารเสฉวนส่วนใหญ่เลือกใช้วัตถุดิบธรรมดา มีราคาถูก จึง
สามารถพบเห็ น ร้ า นอาหารเสฉวนได้ ทั่ ว ไปในประเทศจี น ในอาหารเสฉวนจานหนึ่ ง จะมี
หลากหลายรส จัดเป็นอาหารที่มีรสชาติหลากหลายที่สุดในบรรดา “อาหาร 4 สายหลักของจีน”
อาหารเสฉวนที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ “เส้นเนื้อรสปลา” (鱼香肉丝) “เนื้อไก่กงเป่า” (宫保鸡丁) เต้าหู้
หมาโผ (麻婆豆腐) เป็นต้น
อาหารกวางตุ้ง มีป ระวัติการก่อกำเนิ ดและพัฒ นาการที่ยาวนาน มีชื่อเสียงในเรื่องการ
เลือกใช้วัตถุดิบที่หลากหลาย ลักษณะอาหารมีความแปลกใหม่เสมอ เน้นวิธีการปรุงแบบย่าง ตุ๋น
ทอด ผัด อาหารกวางตุ้งประกอบ ด้วยอาหารพื้นถิ่น เช่น อาหารกวางโจว อาหารแต้จิ๋ว และ
อาหารฮากกาตงเจียง โดยอิงอาหารกวางโจวเป็นหลัก อาหารกวางตุ้งที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ “ผัดกุ้งสด”
(油包鲜蟹仁) “ลูกหมูย่าง” (烤乳猪) เป็นต้น
อาหารหวายหยาง หรืออาหารเจียงซู (苏菜) ขึ้นชื่อในแถบลุ่มแม่น้ำหวายเหอ หยางโจ
วทางตอนปลายของแม่น้ำแยงซีเกียง เจิ้นเจียง หวายอันเป็นต้น มีความเป็นพิเศษ คือ จะให้ความ
สำคัยกับการเลือกวั ตถุดิบ พิถีพิถันในเรื่องการใช้ไฟ และให้ ความสำคัญกับความสวยงามของ
อาหาร อาหารที่ขึ้นชื่อได้แก่ “ไก่ขอทาน”(叫化鸡) “เป็ดน้ำเกลือ”(盐水鸭) “ลูกชิ้นเนื้อปู”(清
炖蟹粉狮子头) เป็นต้น
เมื่อธุรกิจอาหารตำรับ ดั้งเดิมเริ่มมีชื่อเสียงและพัฒ นาขึ้น อาหารพื้นถิ่นอื่นๆ ก็โดดเด่น
ตามมา และมีการก่อตัวเพิ่มขึน้ เป็นกลุ่มอาหารอีกส่วนหนึ่ง ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาหาร
เจ้ อ เจี ย ง (浙菜) ฝู เจี้ ย น (闽菜) อานฮุย (徽菜) หู ห นาน (湘菜) ได้ รวมกั บ “อาหาร 4 สาย
หลั ก” กลายเป็ น “อาหาร 8สายหลัก ” (八大菜系) ต่อมามีคนเพิ่มอาหารปักกิ่ง ( 京菜) และ
เซี่ยงไฮ้ (沪菜) เข้าไปด้วย จึงกลายเป็น “อาหาร 10 สายหลัก” ถ้าดูตามชื่ออาหารแล้ว แม้ว่าจะ
ตั้งชื่อตามเขตภูมิภาค แต่อิทธิพลกลับครอบคลุมไปไกลกว่าขอบเขตท้องถิ่นเดิมเสียอีก
แม้ว่าอาหารพื้นถิ่นสายต่างๆ ของจีนจะมีการพัฒนาสืบทอดกันมา และมีจำนวนนับพัน
ชนิด แต่เมื่อกล่าว ถึงอาหารพื้นถิ่นจีนแล้ว ผู้คนยังคงเคยชินที่ จะกล่าวถึงอาหารพื้นถิ่น 4 สาย
หลั ก 8 สายหลั ก และ 10 สายหลั ก ซึ่งเน้ น ในการคัด เลื อกวัตถุ ดิบ พิ ถี พิ ถัน ในการปรุง เมนู
หลากหลาย รสชาติแปลกแตกต่างกันไป ให้ความสำคัญกับสี รส กลิ่น หน้าตาของอาหาร และ
ภาชนะที่ใช้ต้องเลิศหรูเข้ากันได้อย่างลงตัว จึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอาหารพื้นถิ่นต่างๆ มี
ความเป็ น เอกลั ก ษณ์ มี ป ระวั ติ พั ฒ นาการของแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง ไม่ เพี ย งแสดงให้ เห็ น ถึ ง
122 บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน

ศิล ปวัฒ นธรรมที่ ล ะเอี ย ดลุ่ มลึ กเท่ านั้ น แต่ยังมีตำนานเล่ าขานที่งดงามน่ าประทั บ ใจอีกด้ ว ย
นับเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนอันสำคัญของวัฒนธรรมอาหารจีน

6. ชา และสุราของชาวจีน
6.1 ชาของชาวจีน
คำว่า ชา ภาษาจีนกลางจะออกเสียงว่า ฉา (茶) ซึ่งไม่แตกต่างจากภาษาไทยมาก
นัก จีนเป็นชนชาติแรกที่รู้จักการดื่มชา ผลิตชาและทำไร่ชามานานกว่า 2,000 ปีแล้ว มีตำนาน
มากมายเล่าถึงการกำเนิดของชาและประเพณีการดื่มชา ซึ่งมี เรื่องหนึ่งเล่ากันว่า นานมาแล้วใน
เมืองจีน เกิดการระบาดของอหิ วาตกโรค ผู้ คนล้ มตายกันมาก มีห มอจีนคนหนึ่ งสังเกตเห็ นว่า
สาเหตุของโรคระบาดมาจากน้ำสกปรกที่ชาวบ้านใช้ดื่มกิน จึงพยายามหาวิธีที่จะให้ชาวบ้านหัน
มาดื่มน้ำต้มสุกแทนน้ำดิบ โดยทดลองนำใบไม้หลายชนิดมาต้มน้ำร้อน เพื่อให้มีกลิ่นหอมและรสดี
ชวนดื่ม เมื่อชาวบ้านดื่มน้ำชากันมากขึ้น โรคห่าก็ค่อยๆ หมดไปในที่สุด ตั้งแต่นั้นมาชาวจีนก็นิยม
ดื่มน้ำชามาจนปัจจุบัน
อีกหนึ่งตำนานที่กล่าวถึงการกำเนิดของชา คือ ชาถูกค้นพบโดยจักรพรรดิเซิน
โดยย้อนไปถึงปี 2737 ก่อนคริสต์กาล ก็กว่า 4700 ปีมาแล้ว ในรัชสมัยของจักรพรรดิเซิ น วัน
หนึ่งจักรพรรดิเซินเสด็จล่าสัตว์ ขณะทรงพักผ่อนใต้ร่มไม้ และทรงต้มน้ำดื่มหน้ากองไฟ มีกระแส
ลมพัดพาเอาใบไม้หล่นลงในหม้อน้ำที่กำลังต้ม เมื่อจักรพรรดิทรงชิมน้ำที่ต้ม พบว่ามีรสชาติดีและ
มีกลิ่นหอมจากใบไม้ชนิดนั้น ใบไม้ชนิดนั้นก็คือใบชานั้นเอง และจากนั้นมา ชาจึงได้หยั่งรากลึกใน
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน เป็นที่รู้จักและนิยมดื่มกันไปทั่วโลกตราบจนถึงปัจจุบัน
หนั งสื อ โบราณเกี่ ย วกั บ ใบชาที่ มี ชื่ อ เสี ย งโด่ งดั งที่ สุ ด มี ชื่ อ ว่ า “ฉาจิ ง ” (茶经)
แปลว่า ตำราของชา นับเป็นหนั งสือเล่มแรกของโลกที่บันทึกถึงประวัติศาสตร์การกำเนิดชา การ
ผลิตชา ประเภทของชา ประเพณีการดื่มชาเป็นต้ น ผู้เขียนมีนามว่า “ลู่หยู่” (陸羽) ผู้ที่มีความรู้
และประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตชาและประเพณีการดื่มชามากมาย เป็นคนสมัยราชวงศ์ถัง ลู่
หยู่ตั้งแต่เด็กก็เรียนรู้จากพระจีนผู้สูงอายุหลายปี จนมีฝีมือชงชายอดเยี่ยมและตั้งแต่อายุ 24 ปี ก็
เริ่มไปสำรวจพื้นที่ต่างๆ ในเขตปลูกชา เพื่ อรวบรวมข้อมูลเอกสารและลงมือเขียน กว่าจะเขียน
ตำราฉาจิงออกมาได้ ลู่หยู่ก็อายุ 51 ปีแล้ว โดยใช้เวลานานถึง 27 ปี คนรุ่นหลังจึงยกย่องเขาเป็น
“ปราชญ์เมธีทางชา”
ใบชาของจีนสามารถแบ่งจำแนกตามวิธีการทำ ได้แก่ ชาเขียว (绿茶) ชาแดง (
红茶) ชาอู่หลง (乌龙茶) ชาดอกไม้ (花茶) ชาถัวชา (沱茶) ชาจวนฉา (砖茶) เป็นต้น และชา
แต่ละประเภทก็ยังแบ่งออกได้อีกหลายชนิด ซึ่งชาต่างๆ เหล่านี้มาจากความหลากหลายของแหล่ง
ปลูก อาทิเช่น ชาเขียวที่ขึ้ นชื่อ คือ ชาหลงจิ่ง (龙井茶) ของหางโจว ชาปี้หลัวชุน ( 碧螺春茶)
ของเจียงซู เป็นต้น จากความหลากหลายของชาจำนวนมาก นัก วิจัยบางท่านได้นับจำนวนได้
มากกว่า 700 ชนิด ส่วนอื่นที่นำมารวมด้วยมีมากกว่า 1000 ชนิด บางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงของ
บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน 123

สายพันธุ์ที่แตกต่างกันจากแหล่งปลูก ยกตั วอย่างชนิดชาที่เป็นที่นิยม คือ เธี่ยกวานยิน (铁观音)


เป็นชาที่ถูกค้นพบในเมืองอันซี มณฑลฟูเจี้ยน
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ชามีความหลากหลายก็คือ กรรมวิธีที่
แตกต่างของขบวนการ ผลิตชา หลั งจากใบชาถูกเก็บ.ชาเขียวจะได้รับความร้อน ( 杀青) เพื่อ
รักษาสารต้านอนุ มูล อิสระให้ ยังคงอยู่ มักจะเรียกขบวนการนี้ว่า การหมัก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้
เอนไซม์ธรรมชาติยังคงอยู่ในใบชา และทำให้ใบชามีรสชาติที่หอมหวานตามของแต่ละชนิดใบชา
อีกด้วย
ปัจจุบัน ในประเทศจีนมีผลิตภัณฑ์จากชามากมายหลายชนิด ต้นชาส่วนใหญ่ใน
ประเทศจีนส่วนมากนิยมปลูกกันตามแถบตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงลงมา สุดยอดชาจีนทั้งหมด
ที่ชาวจีนในประเทศจีนนิยมชมชอบและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่ 10 ชนิด โดยแต่ละชนิดเป็นชาที่มี
ชื่อเสียงโดดเด่นในแต่ละมณฑล โดยมณฑลที่มีชาเลื่องชื่ออยู่มากที่สุดคือ ฝูเจี้ยน 10 ยอดชาจีนที่
เลื่องชื่อลือชา มีดังนี่
1. ชา “ฉีเหมิน” (祁门茶) ตั้งชื่อตามเมืองฉีเหมิ น มณฑลอานฮุย ซึ่งเป็น
แหล่งผลิตชาฉีเหมิน ชาฉีเหมินจัดว่าเป็นชาชนิดเข้มข้น ดื่มแล้วชุ่มฉ่ำ หอมติดปากติดคอ ชาวจีน
ในปักกิ่งนิยมดื่มชาฉีเหมินนี้มาก
2. ชา “หลงจิ่ง” (龙井茶) หรือสระมังกร แห่งทะเลสาปซีหู เมื องหางโจว
มณฑลเจ๋อเจียง ชาหลงจิ่งเป็นชาเขียว ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด น้ำชาหลงจิ่งมีสีเขียวเหมือนมรกต ชา
หลงจิ่งเป็นที่นิยมของคอชารุ่นใหม่
3. ชา “ปี้ ห ลั ว ชุ น ” (碧螺春茶) แห่ งเมื อ ง อู๋ ของมณฑลเจี ย งซู ในอดี ต
จักรพรรดิ์เฉีย นหลงแห่ งราชวงศ์ชิง ได้เสด็จประพาสต้นมายัง มณฑลเจียงซู แล้วได้เสวยชาปิ๊
เหลยชุนนี้แล้วทรงประทับใจในรสชาติ ได้ทรงยกย่องชานี้ว่าเป็นไข่มุกงามของเจียงซู
4. ชา “เหมาเฟิง” (毛峰茶) เป็นชาที่ปลูกในแถบภูเขาหวงซาน มณฑลอาน
ฮุย ชาชนิดนี้ในอดีตจัดเป็นเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักชิงเช่นกัน
5. ชา “ลิ่ ว อั น กวาเพี ย น” (六安瓜片茶) แห่ ง เทื อ กเขาต้ า เปี ย ซาน ใน
มณฑลอานฮุย ชานี้ ในสมัยสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคกว๋อหมินตั๋ง
ประธานเหมาเจ๋อตุง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ ได้ไปตั้งศูนย์การนำพรรคที่ภูเขาต้าเปียซาน ได้เคย
ดื่มชาลิ่วอันกวาเพียนนี้แล้รู้สึกประทับใจในรสชาติของชานี้ ภายหลังเมื่อได้เป็นผู้นำประเทศแล้ว
ยังดื่มชาลิ่วอันกวาเพียน ในทำเนียบจงหนานไห่อยู่เป็นประจำ
6. ชา “อู่หลง” (乌龙茶) แห่งภูเขาอู๋อี๋ซาน ของมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน)
ชาอู่หลงหรือมังกรดำ นับว่าเป็นชาที่รู้จักกันมากที่สุดในบรรดาชาวจีนโพ้นทะเลรวมทั้งในประเทศ
ไทยของเรา ชาอู่หลงเป็นชากึ่งหมัก มีสีเหลืองอำพัน รสชาติชุ่มคอ หอมติดอกติดใจ ชาอู่หลงนี้มี
เบอร์ 12 เบอร์ 17 และอู่หลงก้านอ่อน ซึ่งให้ความหอมและรสชาติที่แตกต่างกันไป
124 บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน

7. ชา “เธี่ยกวานยิน” (铁观音) แห่งมณฑลฝูเจี้ยน ชาเธี่ยกวานยินนี้เป็นชา


ที่มีราคาแพงมาก ชาอู่หลง และเธี่ยกวานยิน ได้รับการยกย่องว่าเป็น 2 ไข่มุกงามแห่งมณฑลฝู
เจี้ยน
8. ชา “ดอกมะลิ” (茉莉花茶) ของมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งได้นำดอกมะลิอบแห้ง
ผสมกับชาเขียวหรือชาอู่หลง นับว่าอยู่ในชั้นเลิศของบรรดาชากลิ่นดอกไม้ ซึ่งชาดอกมะลิเป็นที่
นิยมชมชอบของชาวจีนในภาคเหนือเป็นอย่างมาก
9. ชา “ไป๋ เห่ าเหยินเจิน ” (白豪银针茶)เป็นชาที่ปลู กทางภาคเหนือของ
มณฑลฝูเจี้ยน ในอดีตต้องจัดเป็นเครื่องราชบรรนาการสู่ราชสำนักมิได้ขาด
10. ชา “ผู่เอ๋อร์” (普洱茶) เป็นชาที่ปลูกทางภาคใต้ของมณฑลหยุนหนาน
ที่อำเภอผู่เอ๋อร์ โดยชนชาติหยี ซึ่งเป็นชนชาติส่วนน้ อยของมณฑลหยุนหนาน ชาผู่เอ๋อร์ นับว่า
เป็นชาที่ดังและมาแรงมากในปัจจุบัน เปรียบกันว่ามีราคาเท่ากับ ทองคำเลยทีเดียว ชาผู่เอ๋อร์เป็น
ชาหมัก น้ำชามีสีดำ ชาชนิดนี้ผู้ใดได้ดื่มเป็นครั้งแรกจะรู้สึกว่ามีกลิ่นแรงและรสชาติเข้มข้นมาก
แต่เมื่อดื่มครั้งต่อไปจะรู้สึกติดใจจนลืมไม่ลง ชาผู่เอ๋อร์มีกรรมวิธีการผลิดโดยการหมักไว้ในเข่ง
ตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่และรองด้วยใบตอง หมัก แล้วอัดเป็นก้อนตั้งแต่ขนาดเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึง
ขนาดเท่าโต๊ะกลม ๆ แล้วเก็บไว้ตั้งแต่ 1 ปี 5 ปี 10 ปี ไปจนถึง 20 ปี แล้วนำออกขาย
ชาจีน นับว่ามีความผูกพันกับชาวจีน มานานจนแยกจากกันไม่ได้ ชาวจีนได้ดื่ มน้ำชาเป็น
กิจวัตรประจำวันจนกลื นกินอยู่ในวิถีชีวิต ไม่ว่าจะอดี ตหรือปัจจุบัน ชาจีนยังมีบทบาทสำคัญใน
การดำเนินชีวิตของชาวจีนทั้งในประเทศจีน และชาวจีนโพ้นทะเล

6.2 สุราของชาวจีน
ประเทศจีนถือเป็นต้นกำเนิดของสุรา และเป็นแหล่งที่มาทางวัฒนธรรมของสุรา
ด้วย ประเทศจีนเป็นประเทศแรกๆ ที่มีการหมักสุรา จากตำนานกล่าวกันว่า “ตู้คัง (杜康)” แห่ง
ราชวงศ์เซี่ยเป็นผู้คิดค้นสุราขึ้น ครั้งหนึ่งโจโฉได้แต่งบทกวีไว้ว่า “จะคลายเศร้าโศกาอย่างไร หาก
ชีวิตไร้ซึ่งตู้คัง”
สุรามีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นในจีน คือเหล้าขาว (白酒) และเหล้าเหลือง (黄酒)
เป็นเหล้าที่หมักจากธัญพืช อย่างสาโทนี่ก็เป็นเหล้าที่หมักมาจากข้าว รสชาติทั้งเปรี้ยวทั้งหวาน
ตัวอักษรเจี่ยกู่เหวิน (甲骨文) คำว่า “สุรา” หรือ “เหล้า” (酒) ในสมัยราชวงศ์ซางก็มีอักษรคำนี้
แล้ว จะเห็นได้ว่าเหล้ามีประวัติอันยาวนาน สมัยก่อนมี เพียงแต่พระราชาและชนชั้นสูงเท่านั้นที่มี
สิทธิ์ดื่มสุรา สุราถือเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพชนิดหนึ่ง (ในกรณีดื่มในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น)
ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตสูบฉีดได้ดี เสี่ยงกับโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยลง แต่ถ้าดื่มมาก
ไปก็มีอันตรายสูง อาจส่งผลร้ายต่อตับ ม้าม และสมองได้
มีเรื่องเล่ากล่าวถึงในสมัยราชวงศ์ซาง ผู้คนนิยมดื่มเหล้ามาก โดยเฉพาะชนชั้น
ปกครองในยุคหลังๆ พวกเขาดื่มเหล้ากันตลอด ไม่สนใจบ้านเมือง แม้แต่ซางโจ้วอ๋อง กษัตริย์องค์
บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน 125

สุดท้ายของราชวงศ์ซาง ที่ทรงสร้างลำธารเหล้าลำเนาเนื้อ (เอาเหล้ ามาใส่ ในสระน้ำ แล้วเอา


เนื้ อสั ต ว์ม าห้ อ ยไว้ต ามต้น ไม้) ก็ติด เหล้ าเมามายจนเสี ยเมื อง จึงมี คำพู ดว่า “ราชวงศ์ซางสิ้ น
เพราะฤทธิ์สุรา” ดังนั้น ในสมัยราชวงศ์โจว จึงได้มีบัญญัติห้ามปรามการดื่มสุราโดยเด็ดขาด
ในประเทศจีนนั้น ประวัติศาสตร์ของสุรามีมายาวนานกว่าชาเสียอีก ไหสุราที่ถู ก
ขุดพบในปีค.ศ.1986 ที่มณฑลเหอหนานนั้น เป็นสุราโบราณที่มีอายุมากกว่าสามพันปีเลยทีเดีย ว
ปัจจุบันสุราที่ขึ้นชื่อ และมีชื่อเสียงมีอยู่มากมายในประเทศจีน ได้แก่ เหมาไถ (茅台) อู่เหลียงเย่ (
五粮液) เฝินจิ่ว (汾酒) จู๋เย่ชิง (竹叶青) หลูโจวเหล่าเจี้ยว (泸州老窖) กู๋จิ่งก้งจิ่ว (古井贡酒)
เจียฟ่านจิ่ว (加饭酒) ไวน์องุ่นจางอวี้ (张裕葡萄酒) และไวน์องุ่นฉางเฉิงเชียนหง (长城千红葡
萄酒) เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นเหล้าที่มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งสิ้น
ในปี ค.ศ.1915 ในงานมหกรรมสิ น ค้านานาชาติ ป านามา ซึ่งจัด ขึ้น ที่ ป ระเทศ
สหรัฐอเมริกา ประเทศจีนได้นำเหล้าเหมาไถไปออกแสดงเพื่อร่วมรับการตัดสิน แต่ด้วยรูปร่าง
ภาชนะที่เรียบง่าย บรรจุภัณฑ์สีเหลืองนั้นดูไม่ส วยงาม ไม่สะดุดตาสะดุดใจ ทำให้ไม่ค่อยได้รับ
การต้อนรับเท่าที่ควร หนำซ้ำยังถูกเยาะหยันและเกือบถูกคัดออก คณะผู้แทนชาวจีนโกรธมาก
แต่ในขณะที่กำลังเกิดการโต้แย้งถกเถียงอยู่นั้น ผู้ เชี่ยวชาญด้านเหล้าของจีนท่านหนึ่งได้เปลี่ยน
วิกฤติให้เป็นโอกาส เจตนาทำขวดเหล้าเหมาไถตกแตกไหลนองพื้น จนในห้องประชุมเกิดกลิ่น
หอมอย่างน่าอัศจรรย์ขึ้น ทำให้ตัวแทนของแต่ละประเทศรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างมาก ในที่สุด
เหล้าเหมาไถก็ได้รางวัลเหรียญทอง และตัดสินให้เป็น 1 ใน 3 เหล้ากลั่นที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก
อันได้แก่ เหล้าเหมาไถ วิสกี้ของสก็อตแลนด์ และบรั่นดีของฝรั่งเศส

7. ที่อยู่อาศัยของชาวจีน
ด้วยความที่อาณาเขตของประเทศจีนมีความกว้างใหญ่ ไพศาล มีประชากรจำนวนมาก
ภูมิอากาศและชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละพื้นที่ก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น รูปแบบบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
ของผู้คนแต่ละที่จึงแตกต่างกัน ซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบที่อยู่อาศัยของชาวจีน
บ้านพักอาศัยของคนจีนในอดีตเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์มาก กระจัด
กระจายอยู่ในขอบเขตที่กว้างขว้างในประเทศจีน และปัจจุบันยังมีให้เห็นเป็นจำนวนมากในจีน
เนื่องจากท้องที่ต่างๆ ของจีน มีภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติแตกต่างกันและประเพณีนิยมก็ไม่
เหมือนกัน บ้านพักของคนจีนในท้องที่ต่าง ๆ จึงมีหลายแบบ อาทิเช่น
ภาพที่ 7.7 ภาพบ้านพักอาศัยที่มีมาแต่ดั้งเดิมของชาวฮั่นคือ ซื่อเหอย่วน (四合院) หรือว่า
บ้ านชั้น เดีย วที่ส ร้างขึ้น ล้ อมรอบลานบ้านทั้ง 4 ด้าน มีซื่อเหอย่วนในกรุ งปั กกิ่งเป็นแบบฉบั บ
ส่วนมากแบ่งเป็นสองส่วนคือ ลานด้านหน้ากับลานด้านหลัง ห้องทางด้านเหนือในลานด้านหน้า มี
ฐานะสูงที่สุด เป็นสถานที่จัดพิธีต่าง ๆ ในครอบครัวหรือรับแขก มีระเบียงเชื่อมห้องต่าง ๆ ใน
126 บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน

บ้าน ลานบ้านรูป 4 เหลี่ยม ปลูกต้นไม้ดอกไม้อย่างมีระเบียบ น่าอยู่ อาศัยเป็นอย่างมาก บ้านพัก


ของคนจีนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมากเป็นบ้านชนิดนี้

ภาพที่ 7.7 ภาพบ้านพักอาศัยซื่อเหอย่วน (四合院)


ที่มา (https:// bjskpj.cn/beijing/27-architecture/四合院 2 มิถุนายน 2560 )

ภาพที่ 7.8 ภาพบ้านพักอาศัยถู่โหลวแห่งฝูเจี้ยน หรือ บ้านดินแห่งฝูเจี้ยน (福建土楼) คือ


แหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในเขตภูเขา มณฑลฝูเจี้ ยน ประเทศจีน มีลักษณะขนาดใหญ่ ผัง พื้นราบ
ของบ้านชนิดนี้มีทั้งรูปทรงวงแหวนและรูป 4 เหลี่ยม มีห้องโถงชั้นเดียวอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบ
ด้วยตึก 4 ชั้นหรือ 5 ชั้น เป็นอาคารที่สร้างจากดินของชาวจีนแคะ อาคารแต่ละหลังสามารถเป็น
ที่อยู่อาศัยของผู้คนกว่า 800 คน ถู่โหลวบ้านพักชาวแคะในอำเภอโหย่งติ้งมณฑลฮกเกี้ยนเป็น
แบบฉบับของบ้านพักชนิดนี้ ซึ่งถู่โหลวแห่งฝูเจี้ยน หรือบ้านดินแห่งฝูเจี้ยน ได้ถูกจดทะเบียนเป็น
มรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามั ญครั้งที่ 32 เมื่อปี พ.ศ. 2551 ที่เมือง
ควิเบก ประเทศแคนาดา

ภาพที่ 7.8 ภาพบ้านพักอาศัยถู่โหลวแห่งฝูเจี้ยน(福建土楼)


ที่มา (https:// https://sya.tw/archives/1632 /福建土楼 2 มิถุนายน 2560 )
บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน 127

และสุดท้าย บ้านถ้ำ (窑洞) หรือถ้ำที่อยู่อาศัยบนที่ราบสูงดินเหลืองทางภาคเหนือและ


บ้ านพั ก ในเมื อ งโบราณต่ างๆ ชาวบ้ านบนที่ ร าบสู งดิ น เหลื อ งตามตอนต้ น และตอนกลางแม่
น้ำเหลืองทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เช่น มณฑลส่านซี กานซู่ เหอหนานและซานซี เป็น
ต้น มักจะขุดถ้ำตามผาดินเหลือง ภายในก่อด้วยอิฐหรือก้อนหิน ใช้เป็นที่พัก ถ้ำแบบนี้กันไฟ กัน
เสียงรบกวน หน้าหนาวอบอุ่น หน้าร้อนเย็นสบาย ทั้งประหยัดที่ดิน และประหยัดแรงงานในการ
สร้างด้วย เป็นสถาปัตยกรรมอย่างหนึ่งที่สร้างขึ้นตามสภาพที่เป็นจริงในท้องถิ่น

ภาพที่ 7.9 ภาพบ้านพักอาศัยบ้านถ้ำ (窑洞)


ที่มา (https:// wenzhengwenhua.com/article-2704-1.html /窑洞 2 มิถุนายน 2560 )

บทสรุป

ในบทที่ 7 การดำเนินชีวิตของคนจีน ผู้เรียบเรียงเอกสารประกอบการสอน ได้รวบรวม


เนื้ อ หาที่ ท ำให้ ผู้ เรี ย นเข้ าใจถึ งการดำเนิ น ชี วิ ต ของคนจี น ในเบื้ อ งต้ น โดยผู้ ร วบรวมเอกสาร
ประกอบการสอนจะเน้นกล่าวถึงลักษณะโดยรวมในการดำเนินชีวิ ตของคนจีน อาทิเช่น ลักษณะ
ครอบครัวของชาวจีน เครื่องแต่งกายอดีตจนถึงปัจจุบันของชาวจีน อาหารของชาวจีน ชาของชาว
จีน สุราของชาวจีน ที่อยู่อาศัยของชาวจีน การแพทย์แผนจีนและยาจีน ซึ้งเรื่องที่กล่าวมานี้ ล้วน
แล้วมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนจีนทั้งสิ้น
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักคราวๆ กับลักษณะครอบครัวของชาวจีน ครอบครัวชาวจีนในสมัย
โบราณ ผู้คนจะยกย่องเชิดชูครอบครัวใหญ่ การแยกออกไปตั้งครอบครัวใหม่จะถือเป็นเรื่องน่า
ละอาย ครอบครัวในอุดมคติของคนในสมัยนั้น จะต้องมีสมาชิกในครอบครัวสี่หรือห้ารุ่นอยู่รวมใน
บ้ านเดีย วกัน ระบบการปกครองภายในครอบครัว ใหญ่ คือระบบอาวุโสและถือลำดับ รุ่นของ
สมาชิกในครอบครัวอย่างเคร่งครัด หั วหน้าครอบครัวมีอำนาจเด็ดขาดในการจัดการเรื่องราว
128 บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน

ต่างๆ ภายในครอบครัว โดยที่ผู้อ่อนอาวุโสนั้นไม่มีสิทธิแสดงความเห็ นหรือตัดสินใจ ปัจจุบัน


ครอบครัวของชาวจีนเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก โดยมีแนวโน้มค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นครอบครัว
ขนาดเล็กหรือครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น โดยมากครอบครัวในเมืองจะประกอบขึ้นด้วยสามีภรรยา
และลูกหนึ่งหรือสองคน ส่วนในชนบทนั้น ครอบครัวจำนวนไม่น้อยยังคงสภาพครอบครัวใหญ่ที่มี
สมาชิกสามรุ่นหรือสี่รุ่นขึ้นไปอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน
ส่วนในด้านอาหารการกินสำหรับชาวจีนที่ขาดไม่ได้ ก็คือ ชาจีน และสุราจีน ซึ้งสองอย่างนี้
ถือเป็นองค์ประกอบหลักบนโต๊ะอาหารเลยก็ว่าได้ ส่วนด้านอาหาร ก็จะมีอาหารที่ขึ้นชื่อมากมาย
อาทิเช่น อาหารซานตง อาหารกวางตุ้ง อาหารเสฉวน อาหารหวายหยาง ได้กลายเป็นอาหาร
ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงอย่างกว้างขวางในจีน ส่วนชาจีนที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกัน ได้แก่ ชา
หลงจิ่ง ชาปี้หลัวชุน ชาอู่หลง ชาเธี่ยกวานยิน และชาผู่เอ๋อร์ เป็นต้น ในด้านสุราจีนที่ขึ้นชื่อ และ
มีชื่อเสียง ได้แก่ เหมาไถ อู่เหลียงเย่ เฝิ นจิ่ว จู๋เย่ชิง เจียฟ่า นจิ่ว เป็นต้น ซึ่งล้ วนเป็นเหล้าที่มี
ชื่อเสียงระดับโลกทั้งสิ้น
ในด้านเครื่องแต่งกายและที่อยู่อาศัย วัฒ นธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวจีนก็มีมา
ยาวนาน ชาวจีนได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายจากชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ในประเทศจีน รวมถึง
วัฒนธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่ง
กายชาวจีนในแต่ละยุค แต่ที่เรารู้จักกันดี และได้ยินบ่อยๆก็คือ ชุดกี่เพ้า ชุดกี่เพ้าเป็นชุดของสตรี
แมนจูในสมัยราชวงศ์ชิง เป็นที่นิยมสวมใส่ตั้งแต่สมัยอดีตจนปัจจุบัน ด้านที่อยู่อาศัยจะกล่าวถึง
สถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์มาก เช่น ซื่อเหอย่วน ถู่โหลวแห่งฝูเจี้ยน บ้านถ้ำ
เป็นต้น ซึ้งทั้งสามแห่งนี้เป็นบ้านพักอาศัยในจีนที่มีการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์แห่งเดียวในโลก
และสุดท้ายด้านการแพทย์แผนจีนและยาจีน การแพทย์แผนโบราณของจีนใช้หลักการห
ยินหยาง และธาตุทั้งห้าเป็นทฤษฎีพื้นฐาน และใช้วิธีตรวจวินิจฉัยโรค 4 วิธี คือ การมอง การฟัง
และสูดดม การถาม และ การจับแมะหรือการจับชีพจร เมื่อวินิจฉัยโรคแล้วจึงดำเนินการรักษา
ด้วยวิธีที่เหมาะสม ส่วนยาจีน ที่มาของยาส่วนมากมาจากพืช มีบ้างที่มาจากสัตว์และแร่ธาตุ สิ่ง
เหล่านี้ได้ผ่านการปรุงอย่างเป็นพิเศษ เพื่อใช้เป็นยารักษาภายในและภายนอก วิธีการรักษาของ
การแพทย์แผนจีนมีหลากหลายวิธี โดยแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การรักษาภายใน
ด้วยการรับประทานยาและการรักษาภายนอกด้วยยาทา การนาบด้วยความร้อน การรม เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาแบบอื่น เช่น การฝังเข็ม การใช้กระปุกร้อนอังผิวหนัง การ
ขูดผิวหนัง การนวดกดจุด การนวดและชี่กง เป็นต้น
บทที ่ 7 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการดาเนินชีวติ ของชาวจีน 129

คำถามทบทวน
1. จากการที่ท่านได้ศึกษาการดำเนินชีวิตของคนจีน ขอให้ท่านอธิบายลักษณะการดำเนิน
ชีวิตของคนจีนตามความเข้าใจของท่าน
2. จากการที่ท่านได้ศึกษาลักษณะครอบครัวของชาวจีน ขอให้ท่านอธิบายลักษณะลักษณะ
ครอบครัวของชาวจีนตามความเข้าใจของท่าน
3. จากการที่ท่านได้ศึกษาอาหารจีน ชาจีน และสุราจีน ขอให้ท่านอธิบายลักษณะอาหาร
จีน ชาจีน และสุราจีนตามความเข้าใจของท่าน
4. จากการที่ท่านได้ศึกษาที่อยู่อาศัยของชาวจีน และเครื่องแต่งกายของชาวจีน ขอให้ท่าน
อธิบายลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวจีน และเครื่องแต่งกายของชาวจีนตามความเข้าใจของท่าน
5. จากการที่ ท่ า นได้ ศึ ก ษาการแพทย์ แ ผนจี น และยาจี น ขอให้ ท่ า นอธิ บ ายลั ก ษณะ
การแพทย์แผนจีนและยาจีนตามความเข้าใจของท่าน

You might also like