You are on page 1of 28

1

รายงาน

เรื่อง ถิ่นกำเนิดและความเป็ นมาของชนชาติไทย

จัดทำโดย

นางสาวณฐพร จันโทศรี ม.5/1 เลขที่ 9

นางสาวณิชกานต์ โชคสวัสดิ ์ ม.5/1 เลขที่ 13

นางสาวปี ยดา จำปาแก้ว ม.5/1 เลขที่ 24

นางสาววนัญญา พงษ์สระพัง ม.5/1 เลขที่ 30

นางสาววัลวรี คำศรี ม.5/1 เลขที่ 31

นางสาวศิริกัญญา มังคะรุดร ม.5/1 เลขที่ 32

เสนอ

คุณครูพิศิษฐ์ ตาปราบ
2

รายงานนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง (IS) รหัส


วิชา I30201

ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565

โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา

คำนำ

รายงานการศึกษาค้นคว้าเรื่องความเป็ นมาของชนชาติไทย ฉบับนีเ้ ป็ น


ส่วนหนึ่งของรายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS) รหัสวิชา I30201
ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 ของชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 5 โดยมีจุดประสงค์
เพื่อศึกษาหาความรู้และสร้างความเข้าใจตลอดจนเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับ
ถิ่นกำเนิด ความเป็ นมาของคนไทย
คณะผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนีใ้ นการทำรายงานการศึกษาค้นคว้า เนื่องจาก
เป็ นเรื่องที่น่าสนใจและมีความเกี่ยวข้องกับตนเองซึ่งเป็ นชนชาติไทย โดย
คณะผู้จัดทำหวังเป็ นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนีจ
้ ะให้ความรู้และเป็ น
ประโยชน์แก่ผู้อ่านต่อไป

คณะผู้จัดทำ
3

บทที่ 1

บทนำ

แนวคิด ที่มา และความสำคัญ

ในปั จจุบันแนวคิดถิ่นกำเนิดความเป็ นมาของชนชาติไทยยังเป็ นประเด็น


ปั ญหาที่หาข้อยุติไม่ได้ โดยเริ่มต้นในรัชกาลที่ 4 ที่มีการค้นคว้าอย่างจริงจัง
เมื่อผลงานของนักวิชาการตะวันตกที่เกี่ยวกับชนชาติไทยแพร่หลายแล้ว ยัง
มีงานเขียนของคนไทย คือ พงศาวดารโยนกของพระยาประชากิจกรจักร
(แช่ม บุญนาค) ซึ่งมีเนื้อหาเรื่องการศึกษาประวัติความเป็ นมาของคนไทย
จากเอกสารของไทยและต่างประเทศ
4

การศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยในสังคมไทยนัน
้ มีหลายแนวคิดทฤษฎีที่
มีการกล่าวอ้างจากหลักฐานต่างๆ มีทงั ้ แนวคิดที่เป็ นไปได้และเป็ นไปไม่ได้ใน
ปั จจุบัน อันประกอบด้วย 5 กลุ่มแนวคิด ได้แก่ กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของ
คนไทยอยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน, กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอยู่
บริเวณเทือกเขาอัลไต, กลุ่มที่เชื่อว่า คนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่
กระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณตอนใต้ของจีนและทางตอนเหนือของภาคพื้น
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย, กลุ่มที่เชื่อว่า
ถิ่นเดิมของไทยอยู่บริเวณพื้นที่ประเทศไทยในปั จจุบัน และกลุ่มที่เชื่อว่าถิ่น
เดิมของคนไทยอาจอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
หรือในอินโดจีน หรือในบริเวณคาบสมุทรมลายู แล้วค่อย ๆ แพร่กระจายไป
ทางใต้ ทางตะวันตกของอินโดจีนและทางตอนใต้ของจีน

คณะผู้จัดทำจึงอยากศึกษาและสำรวจคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับแนวคิดถิ่น
กำเนิดของชนชาติไทย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และความเข้าใจเรื่องความเป็ น
มาของชนชาติตนเอง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสำรวจความเชื่อกลุ่มประชากรตัวอย่างในช่วงอายุ 12 ปี ขึน
้ ไป ต่อ
แนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย

ขอบเขตของการศึกษา

1.ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของคนไทย 5 แนวคิด

2.สำรวจความคิดของกลุ่มประชากรตัวอย่างแบบเจาะจงเกี่ยวกับถิ่น

กำเนิดของของคนไทย 5 แนวคิด
5

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็ นมาของชนชาติตนเอง

2.ทราบถึงความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ต่อแนวคิดถิ่นกำเนิดของคนไทย

ระยะเวลาดำเนินงาน

เดือนมิถุนายน พ.ศ.2565 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ.2566

สถานที่ปฏิบัติโครงงาน

โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา จังหวัดชัยภูมิ
6

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาครัง้ นี ้ คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลและเอกสารที่
เกี่ยวข้อง ดังนี ้

1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่าง ๆ

1.1 แนวความคิดที่ 1 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาอัลไต


ตอนกลางทวีปเอเชีย ครัน
้ ต่อมาได้อพยพเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน

1.2 แนวความคิดที่ 2 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐ


ประชาชนจีน แล้วเคลื่อนย้ายลงสู่มณฑลยูนนาน

1.3 แนวความคิดที่ 3 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณตอนใต้ของ


สาธารณรัฐประชาชนจีน ตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดไป
จนถึงบริเวณรัฐอัสสัมประเทศอินเดีย
7

1.4 แนวความคิดที่ 4 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณคาบสมุทรมลายู


แล้วอพยพขึน
้ ไปสู่บริเวณภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตลอดไปจนถึงตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

1.5 แนวความคิดที่ 5 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณอันเป็ นที่ตงั ้ ของ


ประเทศไทยปั จจุบัน

2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่าง ๆ

แนวความคิดที่ 1 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาอัลไต

ตอนกลางทวีปเอเชีย ครัน
้ ต่อมาได้อพยพเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน

วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ (William Clifton Dodd) หมอสอนศาสนาชาว


อเมริกัน นิกายเปรสไบธีเรียน ผูเ้ ป็ นเจ้าของความคิดนีไ้ ด้เดินทางไปสำรวจ
ความเป็ นอยู่ของชาติต่าง ๆ ในดินแดนใกล้เคียงพร้อมทัง้ เผยแพร่ศาสนา
โดยเดินทางมายังล้านนาใน พ.ศ. 2429 มาตัง้ ศูนย์เผยแพร่ศาสนาที่เชียงใหม่
และขยายไปยังลำปางแล้วไปประจำที่เชียงราย ต่อมาได้พยายายขยายสาขา
ไปยังเชียงตุงและเชียงรุ้ง

ระหว่างที่อยู่ล้านนา หมอดอดด์ได้เดินทางขึน
้ ไปเผยแพร่ศาสนาและ
สำรวจในอาณาบริเวณ แคว้นฉาน สิบสองปั นนา ยูนนาน กวางสี กวางตุ้ง
และตังเกี๋ย ได้พบคนไทกระจายอยู่หลายแห่งจึงมีความสนใจอย่างมาก ใน
ที่สุดได้เขียนหนังสือเรื่อง The Tai Race - The Elder Brother of the Chinese
(2452) ด้วยความเชื่อที่ว่าชนชาติไทมีความเก่าแก่กว่าชนชาติจีนและฮิบรู แต่
เดิมคนไทถูกเรียกว่า “ต้ามุง” หรือ“อ้ายลาว” เป็ นเจ้าของถิ่นเดิมในจีน
8

ก่อนที่จะถูกจีนโจมตีจนต้องถอยร่นลงมาทางใต้จนเข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีน
ดังนัน
้ ชนชาติไทจึงถือว่าเป็ น “พี่อ้าย” ของชนชาติจีน และด้วยการที่ชนชาติ
ไทเป็ นเชื้อสายมองโกล ถิ่นเดิมของชนชาติไทน่าจะอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต
ในมองโกเลีย

หนังสือเล่มนีม
้ ีอิทธิพลมาก เพราะได้ตอบคำถามถึงที่มาอันเก่าแก่ของ
ชนชาติไท ดังนัน
้ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนานาคนันท์) ได้นำเอาข้อมูลนี ้
มาเขียนในหนังสือชื่อ “หลักไทย” พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2471 อธิบายว่า ที่มาของ
ชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไตในเอเชียกลาง หนังสือเล่มนีไ้ ด้รับการ
ต้อนรับจากผู้อ่านชาวไทยอย่างมาก สำหรับหนังสือของหมอดอดด์เอง ต่อ
มาหลวงนิเพทย์นิติสรรค์ (ฮวดหลี หุตะโกวิท) แปลเป็ นภาษาไทยใช้ช่ อ
ื ว่า
“ชนชาติไทย” พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2474 และหลวงวิจิตรวาทการก็นำมาเขียนเล่า
ใหม่ในหนังสือเรื่อง งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย(2504)

แนวคิดที่ว่า ชนชาติไทยมีกำเนิดจากเทือกเขาอัลไตได้รับการอธิบายให้
ชัดเจนขึน
้ โดย ประภาศิริ (หลวงโกษากรณ์วิจารณ์) ในหนังสือ วิเคราะห์เรื่อง
เมืองไทยเดิม (2478) โดยประภาศิริอธิบายความหมายของคำ “อัลไต” ว่า อัล
หมายถึง อะเลอ เป็ นภาษาไทยโบราณแปลว่าแผ่นดิน ไต ก็คือ ไท เทือกเขา
อัลไตจึงแปลว่า เป็ นแผ่นดินของคนไท

คำอธิบายเรื่องที่มาของไทยว่ามาจากเทือกเขาอัลไตมีความน่าเชื่อถือ
เพราะตอบคำถามเรื่องความเก่าแก่ของชนชาติไทยได้ดีที่สุดและยังไปเชื่อม
โยงกับคำอธิบายว่า อาณาจักรน่านเจ้าในจีนตอนใต้เป็ นอาณาจักรไทยก่อน
สุโขทัย ดังนัน
้ ความรู้ทงั ้ ชุดนีจ
้ ึงถูกบรรจุเข้าไปในตำราของกระทรวง
9

ศึกษาธิการและกรมวิชาการได้นำหนังสือชนชาติไทย ฉบับของหลวงนิเพทย์
นิติสรรค์มาใช้เป็ นแบบเรียนเมื่อ พ.ศ. 2520

แต่ปัญหาสำคัญของแนวการอธิบายเรื่องนี ้ คือ หลักฐานอ่อนมาก จึงได้


เริ่มมีนักวิชาการตัง้ คำถามในเชิงข้อเท็จจริงกับการอธิบายนีอ
้ ย่างน้อยที่สุด
ตัง้ แต่ พ.ศ. 2509 ในบทความเรื่อง “ปั ญหาก่อนประวัติศาสตร์ไทย” ของ
เฟรเดอริก โมต ที่ตีพิมพ์ใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ (2509) ก็ได้แสดงความเห็น
แย้งด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น วัฒนธรรมของชาวมองโกลในเอเชียกลาง
เป็ นวัฒนธรรมเลีย
้ งสัตว์และขี่ม้า ขณะที่ชนชาติไทมีวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำและ
ไม่มีร่องรอยทัง้ ภาษาและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับม้าเลย

หลักฐานที่ยืนยันว่า มีการอพยพคนขนาดใหญ่จากเหนือลงใต้ของ
ประเทศจีนก็ไม่เคยมีเลยและน่านเจ้าก็เป็ นอาณาจักรของชนชาติหลอหลอ
และมีภาษาเป็ นกลุ่มธิเบต-พม่าไม่ใช่ชนชาติไทย คำว่า “อัลไต” ก็แปลว่า
“ทอง” ในภาษาถูจ่ อ
ื ซึ่งเป็ นชนชาติเติร์กไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับชนชาติไท

ปั ญหาเรื่องที่มาของชนชาติไทยนี ้ ต่อมากลายเป็ นประเด็นทาง


ประวัติศาสตร์ที่สำคัญเรื่องหนึ่งที่มีการถกเถียงกันหลังกรณี 14 ตุลาคม พ.ศ.
2516 ต่อมา กาญจนีละอองศรี ได้นำมารวบรวมและเขียนเป็ นบทความชื่อ
“ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย : พรมแดนแห่งความรู้” ลงในวารสาร
ธรรมศาสตร์ (2524) จึงทำให้ข้อคัดค้านเรื่องความเป็ นมาของชนชาติไทยจาก
เทือกเขาอัลไตเป็ นที่ชัดเจนขึน
้ ดังนัน
้ กรมวิชาการจึงได้ปรับเนื้อหาการเรียน
การสอน เป็ นลักษณะว่า ความเชื่อที่ว่าชนชาติไทยมาจากเทือกเขาอัลไตนัน

เป็ นเพียงทฤษฎีหนึ่ง แต่ต่อมาก็ได้มีการลดน้ำหนักการอธิบายเช่นนีล
้ งและ
ปั จจุบันแนวคิดนีไ้ ด้รับการยอมรับน้อยมาก
10

แนวความคิดที่ 2 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐ

ประชาชนจีนแล้วเคลื่อนย้ายลงสู่มณฑลยูนนาน

เตเรียน เดอลา ซูเปอรี (Terrien de la Couperie) ผู้เชี่ยวชาญทาง


นิรุกติศาสตร์ในงานเขียนเรื่อง The Cradle of The Shan Race ตีพิมพ์
เมื่อ พ.ศ. 2428 งานเขียนนีอ
้ าศัยการค้นคว้าจากหลักฐานจีนและพิจารณา
ความคล้ายคลึงทางภาษาของผู้คนในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย
สรุปไว้ว่าคนเชื้อชาติไทยตัง้ ถิ่นฐานเป็ นอาณาจักรอยู่ในดินแดนจีนมาก่อนจีน
คือ เมื่อ 2208 ปี ก่อนคริสต์ศักราชซึ่งนำข้อมูลในรายงานสำรวจภูมิประเทศ
จีนในสมัยพระเจ้ายู้ โดยสันนิษฐานว่าจีนเรียกชนชาติไทยว่า มุง หรือต้ามุง
และมีถิ่นที่อยู่ที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนนีใ้ นเขตที่เป็ นมณฑลเสฉวนของจีน
ปั จจุบัน

แนวความคิดของลาคูเปอรีได้รับการสืบทอดต่อมาในงานประวัติศาสตร์
นิพนธ์ไทยเรื่องถิ่นกำเนิดของคนไทยเริ่มจากงานของพระยาประชากิจกร
จักร์ (แช่ม บุนนาค) ใน พ.ศ. 2442, พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์
ประพันธ์ ใน พ.ศ.2455, สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ใน พ.ศ. 2456,
พระยาอนุมานราชธน ใน พ.ศ. 2483, ประภาศิริ หรือหลวงโกษากรวิจารณ์
(บุญศรี ประภาศิริ) ใน พ.ศ. 2478-2492, พระยาบริหารเทพธานี ใน พ.ศ.2496
และหลวงวิจิตรวาทการ ใน พ.ศ. 2476 และพ.ศ. 2492 โดยสรุปไว้ตรงกันว่าถิ่น
เดิมของไทย คือ บริเวณมณฑลเสฉวนปั จจุบัน หลังจากนัน
้ จึงอพยพเข้าสู่ยูน
นานทางตอนใต้ของจีนและแยกย้ายกันเข้าสู่ดินแดนประเทศไทยปั จจุบัน

กลุ่มนีไ้ ด้มีการค้นคว้าเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ เช่น การใช้ข้อมูลจากจีน


ค้นคว้าเรื่องถิ่นกำเนิดของคนไทย ตลอดจนนำพงศาวดารและตำนานท้อง
11

ถิ่นทางภาคเหนือของไทยมาวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าไทยเป็ นพวกมองโกลสาขา
หนึ่งอยู่อาศัยในดินแดนที่เป็ นประเทศจีนปั จจุบัน ในขณะที่จีนเร่ร่อนอยู่แถว
ทะเลสาบคัสเปี ยน

ชาวไทยตัง้ หลักฐานเป็ นบ้านเมืองอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองและลุ่มแม่น้ำ


แยงซีเกียง โดยอาณาจักรของคนไทย แบ่งเป็ น 2 นคร คือ นครลุงเป็ น
ศูนย์กลางฝ่ ายเหนือตัง้ อยู่บนแม่น้ำเหลือง นครปาเป็ นศูนย์กลางฝ่ ายใต้ตงั ้ อยู่
ภาคเหนือมาจนถึงภาคตะวันตกของมณฑลเสฉวน

ปั จจุบันอาณาจักรไทยสมัยนีเ้ รียกว่า อ้ายลาว หรือมุง จึงนำมาสู่ข้อ


สันนิษฐานว่าตอนกลางของประเทศจีนปั จจุบันในลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงฝั่ งซ้าย
ตัง้ แต่มณฑลเสฉวนตลอดไปเกือบจรดทะเลตะวันออกเป็ นที่อยู่ของคนไทย
เดิม ซึ่งสืบทอดเชื้อสายมาจนทุกวันนี ้ โดยคำว่า ต้ามุง น่าจะหมายถึง พวก
ไทยเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนจีนเสียอีก การเคลื่อนที่ของชนชาติไทยเริ่ม
ต้นด้วยการเคลื่อนย้ายเป็ นส่วนตัวโดยการแทรกซึมและการอพยพครัง้ ใหญ่
โดยดำเนินอยู่เรื่อย ๆ ในช่วงเวลาเกือบหนึ่งพันปี ที่ผ่านมา

ปั จจุบันแนวคิดนีไ้ ด้ถูกโต้แย้งจากการสำรวจลักษณะทางกายภาพของ
มนุษย์การสำรวจลักษณะทางวัฒนธรรม เช่น ขนบธรรมเนียม ลัทธิความเชื่อ
ภาษาและตรวจสอบเทียบกับหลักฐานจีนอื่น ๆ พบว่าแนวคิดนีไ้ ม่น่าที่จะ
เป็ นไปได้โดยเฉพาะความเชื่อว่าชนชาติไทย คือ พวกมุง หรือต้ามุงนัน
้ ยังไม่
สามารถหาหลักฐานทางวัฒนธรรมมารองรับความเชื่อนีไ้ ด้

แนวความคิดที่ 3 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณตอนใต้ของ

สาธารณรัฐประชาชนจีน ตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดไป


จนถึงบริเวณรัฐอัสสัมประเทศอินเดีย
12

โคลกูฮุน (Archibal R. Colguhon) นักสำรวจชาวอังกฤษเป็ นผู้ริเริ่มความเชื่อนี ้


เขาได้เดินทางจากกวางตุ้งตลอดถึงมัณฑเลย์ในพม่า โดยได้เขียนหนังสือชื่อ
Chrysi เล่าเรื่องการเดินทางสำรวจดินแดนดังกล่าวและเขียนรายงานไว้ว่า
พบคนไทยเชื้อชาติไทยในแถบนี ้ งานเขียนนีต
้ ีพิมพ์ในอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ผู้
เขียนได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมภูมิศาสตร์ของอังกฤษ ต่อมา
หนังสือเล่มนีไ้ ด้แปลเป็ นภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันทำให้แนวคิดนีแ
้ พร่หลาย
ออกไป

นอกจากนีม
้ ีงานค้นคว้าประเภทอาศัยการตีความหลักฐานจีนอีก เช่น
งานของ E.H. Parker ปาร์คเกอร์ กงสุลอังกฤษประจำเกาะไหหลำ เขียน
บทความเรื่องน่านเจ้าพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2437 โดยอาศัยตำนานจีน
บทความนีพ
้ ูดถึงอาณาจักรน่านเจ้าเป็ นอาณาจักรของคนไทยเฉพาะราชวงศ์
สินุโลและคนไทยเหล่านีถ
้ ูกคนจีนกดดันถึงอพยพลงมาทางใต้ งานเขียนของ
ปาร์คเกอร์ได้รับการสนับสนุนจากทัง้ นักวิชาการตะวันตกและจีน
(ศาสตราจารย์ติง ศาสตราจารย์ โชนิน ศาสตราจารย์ชุนแชง) และญี่ปุ่น (โยชิ
โร ชิราโทริ)

งานค้นคว้าที่เด่นอีกคืองานของ วิลเลียม เคร์ดเนอร์ (Willian


Credner) ซึง่ ค้นคว้าเกี่ยวกับยูนนาน โดยสำรวจภูมิประเทศและเผ่าพันธุ์ที่
ตกค้างในยูนนาน สรุปว่าถิ่นเดิมของชนเผ่าไทยควรอาศัยในที่ต่ำใกล้ทะเล
เช่น มณฑลกวางสี กวางตุ้ง ส่วนแถบอัลไตคนไทยไม่น่าจะอยู่เพราะคนไทย
ชอบปลูกข้าว ชอบดินแดนแถบร้อนไม่ชอบเนินเขา

นอกจากนี ้ วูลแกรม อีเบอร์ฮาด (Wolgram E berhard) ชาวเยอรมัน


ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยาและโบราณคดีจีนได้ให้ความเห็น
13

เกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของไทยในงานเขียนชื่อ A History of China (พิมพ์เป็ นภาษา

เยอรมัน ต่อมาแปลเป็ นภาษาอังกฤษ) สรุปว่าเผ่าไทยอยู่บริเวณมณฑล


กวางตุ้ง ต่อมาอพยพมาอยู่แถบยูนนานและดินแดนในอ่าวตังเกี๋ย (สมัย
ราชวงศ์ฮั่น) ได้สร้างอาณาจักรเทียนหรือแถนจนถึงสมัยราชวงศ์ถัง เผ่าไทย
ได้สถาปนาอาณาจักรน่านเจ้าขึน
้ ที่ยูนนาน
งานเขียนของบุคคลเหล่านีไ้ ด้ให้แนวคิดแก่นก
ั วิชาการไทยและต่าง
ประเทศในระยะต่อมา เช่น ยอร์ช เซเดส์ ชาวฝรั่งเศส ได้สรุปว่าชนชาติไทย
อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีนแถบตังเกี๋ย ลาว สยาม พม่าและอัสสัม

ส่วนนักวิชาการไทยที่สนใจศึกษาค้นคว้าความเป็ นมาของคนไทยทัง้ จาก


เอกสารไทยและต่างประเทศ คือ พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค)
งานเขียนของท่าน คือ พงศารโยนก ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2441-2442 งานชิน

นีส
้ รุปว่าคนไทยมาจากตอนใต้ของจีนและนักวิชาการไทยอีกท่านหนึ่ง คือ
จิตร ภูมิศักดิ ์ ได้ใช้วิธีการทางนิรุกติศาสตร์วิเคราะห์ตำนาน พงศาวดารท้อง
ถิ่นทางเหนือของไทยและตรวจสอบกับจารึกของประเทศข้างเคียง เขียน
หนังสือ ชื่อ “ความเป็ นมาของคำสยาม ไทย ลาว จามและลักษณะสังคม
ของชื่อชนชาติ” พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. 2519 จิตรสรุปว่าที่อยู่ของคนเผ่าไทย
อาศัยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณทางตอนใต้ของจีนและบริเวณภาคเหนือ
ของไทย ลาว เขมร พม่า และรัฐอัสสัมในอินเดีย โดยให้ความเห็นเกี่ยวกับ
น่านเจ้าว่าน่านเจ้าเป็ นรัฐทางใต้สุด เดิมจีนเรียกอาณาจักรไต - หลอหลอ (น่
านเจ้า แปลว่า เจ้าทางทิศใต้)

จะเห็นได้ว่าในบรรดานักวิชาการที่เชื่อว่าอดีตของเผ่าไทยอยู่
กระจัดกระจายในบริเวณตอนใต้ของจีนและบริเวณทางเหนือของไทย ลาว
14

พม่า เวียดนาม กัมพูชาและรัฐอัสสัมของอินเดีย ต่างก็มีทัศนะที่ต่างกันใน


รายละเอียด โดยเฉพาะปั ญหาเกี่ยวกับอาณาจักรน่านเจ้าและนักวิชาการ
กลุ่มนีเ้ ริ่มศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของคนไทยโดยอาศัยหลักฐานหลายด้าน ทัง้
ด้านนิรุกติศาสตร์ มานุษยวิทยา หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี

แนวความคิดที่ 4 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณคาบสมุทรมลายู
แล้วอพยพขึน
้ ไปสู่บริเวณภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตลอดไปจนถึงตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

กลุ่มที่มีความเชื่อนีศ
้ ึกษาประวัติความเป็ นมาของชนชาติไทยด้วยวิธีทาง
วิทยาศาสตร์บนรากฐานของวิชาพันธุศาสตร์ คือ การศึกษาความถี่ของยีน
หมู่เลือดและการศึกษาเรื่องฮีโมโกลบินอี เช่น นายแพทย์สมศักดิ ์ พันธุ์
สมบุญ ได้ทำการศึกษาความถี่ของหมู่เลือดระบบ ABO, MN และ Rh พบว่า คน
ไทยมีหมู่เลือด B และ M สูงซึง่ เป็ นลักษณะ B, M ทั่วไปของประเทศทางเอเชีย
อาคเนย์ ส่วนหมู่เลือดระบบ Rh ของคนไทยและอินโดนีเซียมีลักษณะ
คล้ายคลึงกันอย่างใกล้ชิด ส่วน Cde (rh) ไม่มีในคนไทยและอินโดนีเซีย แต่มี
ในคนจีนทางตอนใต้ของประเทศ 3% ท่านจึงให้ความเห็นว่า คนไทย คน
อินโดนีเซีย (รวมทัง้ คนมาเลย์บางเผ่า) คนพื้นเมืองของแหลมอินโดจีน (ลาว
เขมร) คนจีนทางตอนใต้ของประเทศอาจเป็ นคนพื้นเมืองเดิม ซึง่ ได้ก่อตัง้ มา
เป็ นเวลาหลายพันปี มาแล้วและได้ตงั ้ หลักแหล่งอยู่ ตามบริเวณภาคตะวัน
ออกเฉียงหนือของประเทศไทย หรืออินโดจีน หรือในคาบสมุทรมาเลย์ แล้ว
จึงแพร่กระจายไปทางจีนตอนใต้ ลาว เขมร มาเลย์ อินโดนีเซียและพม่า

ส่วนการศึกษาวิจัยของนายแพทย์ประเวศ วะสี ได้สำรวจฮีโมโกลบินซึ่ง


เป็ นสารสีแดงในเม็ดเลือด พบว่าคนไทยในภาคอีสานมีฮีโมโกลบินอี ซึ่งเป็ นฮี
15

โมโกลบินที่ผิดปกติมี 52% ภาคเหนือมี 15% ทัง้ ประเทศโดยเฉลี่ย 13% ส่วน


ชาวเขาและชาวจีนแท้ไม่มีฮีโมโกลบินอีเลย ท่านจึงให้ความคิดเห็นส่วนหนึ่ง
ว่าการที่จีนไม่มีเลือดผิดปกติแบบนี ้ แต่คนไทยมีมาก แสดงว่าไทยไม่เคยอยู่
ในดินแดนจีนมาก่อน

สรุปปั จจุบันความก้าวหน้าทางวงการศึกษามีมากขึน
้ และมีการแตกแขนง
วิชาออกไปมากมาย เพื่อหาคำตอบเรื่องของมนุษย์และสังคมที่มนุษย์อยู่
ทำให้ความรู้และความเชื่อเดิมของมนุษย์ถูกตรวจสอบอย่างจริงจัง ด้วยเหตุ
นีค
้ วามเชื่อในเรื่องถิ่นกำเนิดของคนไทยซึ่งอยู่ที่มณฑลเสฉวนและทางภูเขา
อัลไตจึงถูกวิพากษ์ถงึ ความสมเหตุสมผลเมื่อมีการประสานกันค้นคว้าจากสห
วิชาการจึงได้คำตอบในแนวใหม่ว่า คนเผ่าไทเป็ นเผ่าที่อยู่กระจัดกระจายใน
แนวกว้างในบริเวณตอนใต้ของยูนนาน ทางตอนเหนือของภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้และรัฐอัสสัมของอินเดีย

พื้นฐานความเชื่อใหม่นอ
ี ้ าศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหลักฐาน
ทางโบราณคดี ทำให้ทราบได้ว่า คนเผ่านีร้ ้จ
ู ักกันในชื่อต่าง ๆ ในแต่ละท้อง
ถิ่น เช่น ไทใหญ่ ไทอาหม ผู้ไท ไทดำ ไทขาว ไทลื้อ ไทลาว ไทยวน เป็ นต้น
การค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดียังสอดคล้องกับการค้นคว้าทาง
ด้านนิรุกติศาสตร์และภาษาศาสตร์ที่พบว่า คนในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนใหญ่เรียกชนชาติไทยว่า ชาม ชาน เซม เซียม ซียาม เสียมบ้าง และใน
ภาษาจีนเรียกว่า ส่าน ส้าน (สำหรับคนไทโดยทั่วไป) เซียม (สำหรับไทสยาม)
และความหมายของคำที่เรียกคนไทก็มีความหมายสอดคล้องกับลักษณะชีวิต
ทางด้านสังคมและการทำมาหากินของคนไทยเช่นคำว่า “ส่าน” ซึ่งเป็ นคำ
ภาษาจีนเรียกคนไทแปลว่า “ลุ่มแม่น้ำ”
16

ความหมายนีม
้ ีลักษณะสอดคล้องกับชีวิตความเป็ นอยู่ของชนชาติไทที่ก่อ
ตัง้ ชุมชนขึน
้ ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและทำอาชีพกสิกรรม รู้จักทำทำนา
หยาบ ๆ พร้อมทัง้ คันคูระบายน้ำคือ เหมือง ฝาย รู้จักใช้แรงงานสัตว์และใช้
เครื่องมือในการทำนา เช่น จอบ คราด ไถ

แนวความคิดที่ 5 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณอันเป็ นที่ตง


ั ้ ของ
ประเทศไทยปั จจุบัน

พอล เบเนดิกต์ (Paul Benedict) นักภาษาศาสตร์และมนุษยวิทยาชาว


อเมริกันค้นคว้าเรื่องเผ่าไทย โดยอาศัยหลักฐานทางภาษาศาสตร์และสรุปว่า
ถิ่นเดิมของไทยน่าจะอยู่ในดินแดนประเทศไทย ตัง้ แต่เมื่อประมาณ 4000-

3500 ปี มาแล้ว พวกตระกูลมอญ เขมร อพยพมาจากอินเดียเข้าสู่แหลมอินโด


จีนได้ผลักดันคนไทยให้กระจัดกระจายไปหลายทางขึน
้ ไปถึงทางใต้ของจีน
ปั จจุบัน ต่อมาถูกจีนผลักดันจนอพยพลงใต้ไปอยู่ในเขตอัสสัม ฉาน ลาว ไทย
และตังเกี๋ยจึงมีกลุ่มชนที่พูดภาษาไทยกระจัดกระจายไปทั่ว

คอริช เวลส์ เป็ นนักวิชาการตะวันตกคนแรกที่เสนอสมมติฐานว่า ถิ่นเดิม


ของชนชาติไทย อยู่บริเวณประเทศไทยปั จจุบัน โดยอาศัยหลักฐานจาก
กะโหลกศรีษะที่ขุดได้จากตำบลพงตึก จังหวัดกาญจนบุรีที่มีอายุราวต้น
คริสต์ศตวรรษ ซึ่งเวลส์เห็นว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับกระโหลกศรีษะของคน
ไทยปั จจุบัน นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ได้ทำการศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ยุค
หินใหม่ 37 โครง ซึ่งพบบริเวณสองฝั่ งแม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ จังหวัด
กาญจนบุรี พบว่าโครงกระดูกของมนุษย์หินใหม่เหมือนกับโครงกระดูกของ
คนไทยปั จจุบันเกือบทุกอย่าง จึงสรุปว่าดินแดนไทยเมื่อครัง้ อดีตน่าจะเป็ นที่
17

อยู่อาศัยของบรรพบุรุษของคนไทยปั จจุบันมาตัง้ แต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์


แล้ว

นักวิชาการไทย นายแพทย์สุด แสงวิเชียร และศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ให้


ความเห็นว่าดินแดนไทยปั จจุบันเป็ นที่อาศัยของหมู่ชนที่เป็ นบรรพบุรุษของ
ไทยปั จจุบันมาตัง้ แต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสรุปว่าบรรพบุรุษไทยอยู่ใน
ดินแดนประเทศไทยมาตลอด เนื่องจากหลักฐานทางโบราณคดีได้แสดงถึง
ความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมรวมทัง้ การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะโครง
กระดูกที่ขุดพบ

ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดี ได้เสนอว่า มีร่อง


รอยของผู้คนอาศัยอยู่ตงั ้ แต่ยุคหินเก่าเรื่อยมาจนกระทั่งยุคหินกลาง หินใหม่
ยุคโลหะและเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ โดยแต่ละยุคได้มีการสืบเนื่องทาง
วัฒนธรรมสืบต่อมาจนถึงปั จจุบัน

แนวความคิดนีม
้ ีนักวิชาการหลายท่านพยายามนำหลักฐานทางด้าน
โบราณคดีและเอกสารมาพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าคนไทยน่าจะอยู่บริเวณนีม
้ า
ก่อน โดยไม่ได้อพยพมาจากดินแดนอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป ซึง่ แนวความคิด
นีใ้ นปั จจุบันยังไม่ถือว่าเป็ นข้อยุติ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ดร.พอล เบเนดิกต์ (2485) ได้ศึกษาและเสนอทฤษฎีเรื่องกลุ่มไทยกะได


และอินโดนีเซีย โดยอาศัยหลักฐานทางภาษาศาสตร์ว่าชนชาติไทยเป็ น
ชนชาติที่แยกออกมาจากกลุ่มซึ่งเรียกว่ากลุ่มไทยกะไดและอินโดนีเซีย ไม่มี
ความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติกับชนชาติจีน ได้กล่าวว่าภาษาไทยกับภาษา
18

อินโดนีเซียมีส่วนคล้ายกันมากและต้องถือว่าอยู่ในกลุ่มภาษาเดียวกัน การ
ผูกประโยคเหมือนกันทุกประการและแตกต่างกับคำภาษาจีนเป็ นจำนวน
มากในภาษาไทย ภาษากะไดและภาษาอินโดนีเซียสืบได้ว่ามาจากคำ ๆ
เดียวกันที่คล้ายกับคำจีนนัน
้ ส่วนใหญ่เป็ นคำที่ใช้ในการติดต่อค้าขายและมี
จำนวนน้อยเกินไปที่จะถือได้ว่าภาษาไทยกับภาษาจีนเป็ นภาษาที่ในกลุ่ม
เดียวกัน จึงอาจเป็ นไปได้ว่าคำเหล่านั่นไม่ใช่คำไทยแท้ แต่เป็ นคำที่ยืมมา
จากภาษาจีน การที่คำไทยและคำกะได้ส่วนใหญ่มีพยางค์เดียวแต่มีเสียงสูง
เสียงต่ำนัน
้ ดร. พอล เบเนดิกต์ ให้เหตุผลว่าเป็ นเพราะอิทธิพลของภาษาจีน
อันเนื่องมาจากการที่ชนชาติไทยและชนชาติกะไดได้ติดต่อกับชนชาติจีนมา
เป็ นเวลานาน

ประทีป สยามชัย (2531) ได้ศึกษา หลักฐานจากพระไตรปิ ฎกที่เกี่ยวข้อง


กับประวัติความเป็ นมาของชนชาติไทย พบว่า ในอัสสลายนสูตร คัมภีร์พระ
ไตรปิ ฏกพระพุทธองค์ได้กล่าวถึง 2 แคว้นในเขตแหลมอินโดจีนหรือในเอเชีย
ตะวันตกเฉียงใต้คือ แคว้นโยนก กับแคว้นกัมโพช ทำให้ทราบว่าในยุค
พุทธกาลสองแคว้นนีไ้ ด้มีการติดต่อกับประเทศอินเดียแล้วและทราบถึง
ระบบสังคมของทัง้ 2 แคว้นนีท
้ ี่แตกต่างไปจากอินเดียจากหลักฐานต่าง ๆ
กล่าวได้ว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ไม่ได้อพยพมาจากที่อ่ น
ื แหล่ง
ที่เป็ นจุดกำเนิดของชนชาติไทยคือ ภาคอีสานของไทยนีเ้ องการขุดค้นพบ
โบราณวัตถุต่าง ๆ ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็ นการพิสูจน์ให้เห็นว่าใน
บริเวณแถบนีม
้ ีอารยธรรมรุ่งเรืองมากกว่า 5-6 พันปี มาแล้ว ซึ่งเก่าแก่กว่า
ชนชาติจีน เชื่อว่าจากนีเ้ องเป็ นจุดเริ่มต้นของชนชาติไทย ต่อจากนัน
้ ก็ขยาย
ตัวออกไปยังทิศต่างๆครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยในปั จจุบันและส่วนต่าง ๆ
ของแหลมอินโดจีน
19

อาทิตย์ นามวงศ์ (2562) ได้ศึกษา ถิ่นกำเนิดของคนไทย-จีนตอนใต้ กับ


ความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมร่วมเชื้อสาย พร้อมทัง้ เสนอปั ญหาเชื้อชาติและ
วัฒนธรรมกลองมโหระทึก โดยได้เลือกทฤษฎีจีนตอนใต้นำมาใช้ในการอ้าง
สนับสนุน ซึ่งเป็ นทฤษฎีที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดในปั จจุบัน พบว่ามีการ
ใช้กลองมโหระทึกในพื้นที่อันเป็ นที่ตงั ้ ของประเทศไทยปั จจุบัน รวมทัง้ การมี
หลักฐานของการใช้ประโยชน์ในพระราชพิธีในวรรณคดี

สมัยสุโขทัย ในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยาและในพระราชพิธีสิบสองเดือน
สมัยรัตนโกสินทร์อย่างชัดแจ้ง เป็ นหลักฐานที่บ่งชีใ้ ห้เห็นการใช้กลอง
มโหระทึกโดยราชสำนักสยามอย่างเป็ นทางการ อีกทัง้ รูปแบบวัฒนธรรมใน
งานราชพิธีต่าง ๆ ที่สำคัญ ล้วนบ่งบอกถึงรูปการจิตสำนึกในระบบความเชื่อ
ที่อาจจะจัดตามลำดับในเชิงโครงสร้างของความเชื่อ คือ “อุดมการณ์” ทัง้
ในด้านศาสนา นอกจากนีม
้ ีการพบในหลายพื้นที่ทงั ้ ที่มณฑลยูนนาน
สาธารณรัฐประชาชนจีน เอเชียอาคเนย์ทางตะวันออก

รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์ (2564) ได้ศึกษา รายละเอียดโครงสร้างพันธุกรรมของ


คนไทยในแต่ละภูมิภาคว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร แสดงให้เห็นความ
หลากหลายของดีเอ็นเอของผู้คนในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ดีเอ็นเอ
ของคนไทยในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน คนเมืองในภาคเหนือของ
ไทย มีดีเอ็นเอคล้ายกับชาวไทยจากสิบสองปั นนา ประเทศจีนตอนใต้ ส่วน
คนอีสานมีดีเอ็นเอที่มีการผสมผสานระหว่างกลุ่มประชากรที่พูดมอญ-เขมร
กับดีเอ็นเอของคนไทยในสิบสองปั นนา ซึง่ ดีเอ็นเอของคนอีสานมีความต่าง
ระหว่างชายกับหญิง โดยเพศหญิงมีดีเอ็นเอเหมือนคนไทยสิบสองปั นนา
เพศชายมีดีเอ็นเอเหมือนคนมอญ-เขมร บ่งบอกถึงเหตุการณ์ในอดีตและรูป
20

แบบของการอพยพ คือ อาจอพยพมาทัง้ ชายและหญิงกลุ่มใหญ่ แต่


เนื่องจากมีประชากรดัง้ เดิมที่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานปั จจุบันเป็ นคนกลุ่มมอญ-
เขมรมาก่อน เมื่อเกิดรูปแบบการแต่งงานทำให้ดีเอ็นเอของคนอีสานใน
ปั จจุบันเป็ นเช่นนี ้ ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้มีดีเอ็นเอที่เหมือน
ดีเอ็นเอของชาวมอญ พบว่าในดีเอ็นเอของคนภาคกลางและภาคใต้ยังมีบาง
ส่วนเหมือนกับชาวอินเดียตอนใต้ แสดงถึงการผสมผสานทางพันธุกรรมจาก
เอเชียใต้สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งสามารถประมาณอายุได้ 600-700 ปี ตรงกับ
สมัยอยุธยาของไทย

บทที่ 3

วิธีการดำเนินการ

ในการจัดทำโครงงานเรื่องถิ่นกำเนิดและความเป็ นมาของชนชาติไทย ผู้


จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานโครงงาน ตามขัน
้ ตอนดังต่อไปนี ้

3.1 วัสดุ อุปกรณ์

3.1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3.1.2 เว็บไซต์ที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูล เช่น www.google.com

3.2 ขัน
้ ตอนการดำเนินงาน

3.2.1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
21

3.2.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องถิ่นกำเนิดและความเป็ นมา


ของชนชาติไทย

3.2.3 จัดทำแบบสำรวจในกลุ่มประชากรตัวอย่างเกี่ยวกับความเชื่อที่มีต่อ
แนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ผ่าน Google forms

3.2.4 ประเมินและสรุปผลข้อมูลความเชื่อของกลุ่มประชากรตัวอย่างเป็ น
ข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิวงกลม

3.2.5 จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน

3.2.6 นำเสนองาน

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การสืบค้นครัง้ นีม
้ ีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความเชื่อของกลุ่มประชากร
ตัวอย่างในช่วงอายุ 12 ปี ขึน
้ ไป ต่อแนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติ
22

ไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 4 ช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงอายุ


12-13 ปี , 14-15 ปี , 16-17 ปี และ 18 ปี ขึน
้ ไป ผูส
้ ืบค้นได้นำข้อมูลไปทำ
แบบสอบถาม โดยคาดหมายไว้ประมาณ 30 การตอบกลับขึน
้ ไปและได้
จำนวนผู้เข้าทำแบบสอบถาม 31 การตอบกลับ คิดเป็ นร้อยละ 100 ของ
แบบสอบถามทัง้ หมดเพื่อให้เป็ นไปตามวัตถุประสงค์ของการสืบค้นข้อมูล ผู้
สืบค้นข้อมูลนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และเสนอผลการวิเคราะห์โดยใช้
แผนภูมิประกอบการบรรยาย จำแนกเป็ น 3 ขัน
้ ตอนตามลำดับ ต่อไปนี ้

ตอนที่1 การวิเคราะห์ข้อมูลช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่2 การวิเคราะห์แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดถิ่นกำเนิด
ของชนชาติไทย

ตอนที่3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดถิ่นกำเนิดของ
ชนชาติไทยจากแบบสอบถาม

ตอนที่1 การวิเคราะห์ข้อมูลช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม

การวิเคราะห์ข้อมูลช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 31 คน
23

13%
16%

7%

65%

12 - 13 ปี 14 - 15 ปี 16 - 17 ปี 18 ปี ขน
ึ้ ไป

ตอนที่2 การวิเคราะห์แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดถิ่น
กำเนิดของชนชาติไทย

แนวคิดของผู้ตอบแบบสอบถามทัง้ 31 คน มีการตอบกลับดังนี ้
24

19%

39%
3%

19%

19%

แนวคิดที่ 1 แนวคิดที่ 2 แนวคิดที่ 3 แนวคิดที่ 4 แนวคิดที่ 5

 แนวความคิดที่ 1 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาอัลไต
ตอนกลางทวีปเอเชีย ครัน
้ ต่อมาได้อพยพเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชน
จีน
 แนวความคิดที่ 2 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐ
ประชาชนจีนแล้วเคลื่อนย้ายลงสู่มณฑลยูนนาน
 แนวความคิดที่ 3 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณตอนใต้ของ
สาธารณรัฐประชาชนจีน ตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตลอดไปจนถึงบริเวณรัฐอัสสัมประเทศอินเดีย
 แนวความคิดที่ 4 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณคาบสมุทรมลายู
แล้วอพยพขึน
้ ไปสู่บริเวณภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ ตลอดไปจนถึงตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
 แนวความคิดที่ 5 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณอันเป็ นที่ตงั ้ ของ
ประเทศไทยปั จจุบัน
25

บทที่ 5

สรุปผลและข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลโครงงาน

5.1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ทำแบบสำรวจความเชื่อของ
กลุ่มประชากตัวอย่างในช่วงอายุ 12 ปี ขึน
้ ไปต่อแนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติ
ไทย

จากผลการสำรวจในครัง้ นีพ
้ บว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 31 คน
ส่วนใหญ่มีอายุ 16-17 ปี คิดเป็ นร้อยละ 64.5 โดยแนวคิดที่มีความเชื่อมาก
ที่สุด คือ แนวคิดที่ 5 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณอันเป็ นที่ตงั ้ ของ
ประเทศไทย คิดเป็ นร้อยละ 38.7 แนวคิดที่มีความเชื่อรองลงมา คือ แนวคิด
ที่ 1 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกอัลไต, แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยมี
ถิ่นกำเนิดในบริเวณตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตอนเหนือของ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดไปจนถึงบริเวณรัฐอัสสัมประเทศอินเดีย ,
แนวคิดที่ 4 ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในบริเวณคาบสมุทรมลายู แล้วอพยพขึน

ไปสู่บริเวณภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดไปจนถึง
ตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งทัง้ สามแนวคิดนีค
้ ิดเป็ นร้อยละ 19.4
26

เท่ากันและแนวคิดที่มีความเชื่อน้อยที่สุด คือ แนวคิดที่ 2 ชนชาติไทยมีถิ่น


กำเนิดในมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีนแล้วเคลื่อนย้ายลงสู่มณฑล
ยูนนาน คิดเป็ นร้อยละ 3.2

5.1.2 ข้อจำกัดหรือปั ญหาของโครงงาน

5.1.2.1 ความรู้เกี่ยวกับเรื่องความเป็ นมาของชนชาติไทยของผู้ทำ


แบบทดสอบมีไม่มากพอ

5.1.2.2 ปั ญหาเรื่องความร่วมมือในการทำแบบสำรวจ

5.1.3 ข้อเสนอแนะ

5.1.3.1 ควรมีการศึกษาความรู้เรื่องความเป็ นมาของชนชาติไทยใน


แหล่งข้อมูลต่างๆ อย่างจริงจัง เพื่อใช้พิจารณาความน่าเชื่อถือของแต่ละ
แนวคิดได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึน

บรรณานุกรม

กุมุท กมลนาวิน. (2521). ความเป็ นมาของชนชาติไทยและชนชาติไทยใน


ประเทศจีน. อักษรศาสตร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2 (1+2), 167-178.


27

บ้านจอมยุทธ. (ม.ป.ป.). แนวความคิดเกี่ยวกับคนไทยมาจากไหน. สืบค้น


21 กันยายน 2565, จาก

https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/thai/05.htm
l?fbclid=IwAR2oe7NHF2pmb6bnxw-
dhKCySd8WeNp1Cw9CT5AKN4vn5hZp-oodbDGtcC4

ประทีป สยามชัย. (2531). โฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ไทย : หลักฐาน


จากพระไตรปิ ฎก.

วารสารเกษตรศาสตร์(สังคม), 9 (2), 167-174.

พิเชฐ สายพันธ์. (2561). การศึกษาคนไทในรัฐอัสสัม อินเดีย: จากแนวคิด


“รากเหง้าดัง้ เดิม” สู่

“ชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ” และ “การณ์กำหนดทางชาติพันธุ์”.


วารสารมานุษยวิทยา, 1 (1), 83-117.

วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์. (2564). วิภู กุตะนันท์ พบคำตอบ ‘คนไทยมา


จากไหน’ บนเกลียวดีเอ็นเอ.

สืบค้น 21 กันยายน 2565 จาก


https://themomentum.co/author/weerapongs/

อาทิตย์ นามวงศ์. (2562). ถิ่นกำเนิดของคนไทย – จีนตอนใต้กับความ


เชื่อมโยงทางวัฒนธรรม.
28

วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2 (1) ,


29-41.

You might also like