You are on page 1of 17

The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ

ISSN 2773 - 8787 ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม – เมษายน 2565

“แมว” ในภาษาและวัฒนธรรมไทย

“Cat” in Thai Language and Culture


Received: March 17, 2022
พรทิพย์ เฉิดฉินนภา (Pornthip Chertchinnapa)*
Revised: March 31, 2022
Accepted: April 7, 2022

บทคัดย่อ
แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน โดยแมวนั้นเข้ามามีบทบาทต่อการใช้ภาษา และ
วัฒนธรรมประเพณีของไทย บทความนี้จัดทาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสานวนไทยที่ปรากฏคาว่า “แมว” และ
ศึกษา “แมว” ที่ปรากฏในสังคมวัฒนธรรมไทยผ่านประเพณีและพิธีกรรม ผลการศึกษาพบว่าสานวนที่ปรากฏคาว่า
“แมว” นั้นพบทั้งสิ้น 32 สานวน สานวนเหล่านี้นามาใช้เปรียบเทียบกับพฤติกรรมของบุคคล โดยสะท้อนให้เห็นพฤติ
กรรมที่ พึ งประสงค์และพฤติ กรรมที่ ไม่ พึ งประสงค์ของคนในสั งคมไทย นอกจากนี้ ยั งน ามาใช้ เปรี ยบเที ยบกั บ
เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ด้านวัฒนธรรมพบว่า “แมว”
มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อและวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยตั้งแต่เกิดจนตาย โดยแมวเป็นส่วนหนึ่งในประเพณีการ
เกิด การแต่งงาน นอกจากนี้แมวยังเป็นสัตว์ที่ใช้ในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีเนื่องในพระ
ราชพิธีบรมราชภิเษก และใช้ในพิธีกรรมขอฝน (แห่นางแมว) ในสังคมไทยอีกด้วย

คาสาคัญ : แมว, สานวนไทย, วัฒนธรรมไทย

*
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจาสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/ pornthip.c@arts.tu.ac.th
Assistant Professor at Department of Thai, Faculty of Liberal Arts, Thammasat University/
pornthip.c@arts.tu.ac.th
19
สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม – เมษายน 2565 ISSN 2773 - 8787

Abstract
Cats have long been kept as pets in Thai society. Evidently, they exert considerable
influence on the way Thais use their language and on the local traditions with which they live. The
present study aims to study Thai idioms containing the word “cat” and to investigate sociocultural
functions of “cats” in Thai traditions and rituals. Thirty-two idioms reveal that “cat” is used
metaphorically with human behaviours, depicting both satisfactory and unsatisfactory behaviours of
people in Thai society. Moreover, these idioms are figuratively employed to enhance the
understanding of certain events and situations. Concerning Thai culture, “cats” are inextricably
intertwined with Thais’ beliefs and ways of life from birth through death. That is, cats are used in
many Thai local traditions related to birth and marriage as well as in many important local rituals
such as in the ceremony of assumption of the royal residence, one of the procedures of the Royal
Coronation Ceremony of each King of Thailand and rain praying (Hae Nang Maew) in Thai society.

Keywords: cat, Thai idiom, Thai culture

บทนา
แมวเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งที่อยู่คู่กับสังคมและวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน และยังเป็นสัตว์
เลี้ยงที่คนไทยให้ความใกล้ชิดผูกพันเป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้จากคนไทยในสมัยก่อนอนุญาตให้แมว “ขึ้นไปอยู่บน
เรือน” ได้ ในขณะที่สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เช่น สุนัข ถูกเลี้ยงไว้ “ใต้ถุนเรือน” นอกจากนี้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา
สมัยก่อน ต่างถูกสอนให้ท่องบทดอกสร้อย “แมวเอ๋ยแมวเหมียว” เพื่อเป็นบทฝึกอ่านที่สอดแทรกคุณธรรมเรื่อง
ความกตัญญู โดยมีแมวเป็นเครื่องมือการสอนให้เห็นเป็นตัวอย่าง
คุณประโยชน์ประการสาคัญของการเลี้ยงแมวของคนไทยคือ การเลี้ยงแมวไว้กาจัดหนู สัตว์ที่ชอบกัด
กินทาลายทั้งข้าวเปลือกและข้าวสาร ซึ่งเป็นผลผลิตที่สาคัญของการทานาอันเป็นอาชีพหลักของคนไทย รวมถึง
กัดกินสิ่งของต่าง ๆ ให้เสียหายอีกด้วย นอกจากการเลี้ยงแมวจะมีประโยชน์แล้วคนไทยสมัยโบราณยังเชื่อว่าการ
เลี้ยงแมวที่มี “ลักษณะดี” จะทาให้เกิด “คุณ” แก่ผู้เลี้ยงจนกลายเป็นค่านิยมและความเชื่อสืบทอดต่อกันมา ดัง
ปรากฏหลักฐานในสมุดข่อยโบราณซึ่งเป็นตาราดูแมวที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา กล่าวกันว่าเป็นตาราโบราณที่
คัด ลอกสื บต่ อกันมาเป็ น “ตาราแมวไทย” กล่ าวถึง ลั กษณะแมวดี ที่จ ะให้ คุณ แก่ผู้เลี้ย ง รวมถึงแมวร้า ยที่ จ ะ
สามารถให้โทษแก่ผู้เลี้ยงได้ โดยมีเนื้อหาแต่งเป็นโคลงและมีภาพวาดแมวพันธุ์ต่าง ๆ ประกอบด้วย ในตารานี้
กล่ า วถึ ง แมวพั น ธุ์ ต่ า ง ๆ 23 สายพั น ธุ์ แบ่ ง เป็ น แมวมงคล 17 สายพั น ธุ์ แ ละแมวให้ โ ทษอี ก 6 สายพั น ธุ์
(Boontharm, 2012)
นอกจากนี้คนไทยยังมีความเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลและไม่เป็นมงคล คนสมัยก่อนเห็นว่าแมว
เป็ น สั ต ว์ ป่ า มี ลั กษณะปราดเปรียว ว่ องไว กลางคืน ดวงตาลุ กวาวดู น่ า กลั ว จึ ง คิด ว่ า แมวเป็น ผี ส างและเป็ น
สัญลักษณ์ของความชั่วร้าย แต่ในขณะเดียวกันแมวเป็นสัตว์ที่สง่างามรักสะอาด ฉลาด และช่วยจับหนู คนโบราณ
จึงเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์มงคลอีกด้วย และยังเชื่อกันว่าการฆ่าแมวนั้นบาปหนักเท่ากับการฆ่าเณร (Promthong,
20
1999: 10) ความเชื่อของคนไทยสมัยก่อนเกี่ยวกับแมวอีกประการหนึ่งคือเชื่อกันว่าหากรับประทานปลาแล้ว
ก้างปลาติดคอก็สามารถมีวิธีแก้ไขโดยง่ าย เพียงแค่ใช้เท้าของแมวลูบไปที่บริเวณคอที่มีก้างปลาติดอยู่จะทาให้
ก้างปลานั้นหลุดออกอย่างง่ายดาย
ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับชีวิตและเทศกาลต่าง ๆ นั้นก็มี “แมว” เข้ามาเกี่ยวข้องในพิธีกรรมเหล่านั้น
ด้วย ดังที่เสฐียรโกเศศได้กล่าวไว้ว่า

เรื่องแมวในคติของเราก็ไม่รู้ผิดอะไรกับคติของชาติต่าง ๆ ที่เล่ามาข้างต้น เช่น เวลา


จะเอาเด็กลงอู่หรือลงเปลต้องเอาแมวใส่เปลและแกว่งไกวสามครั้งเสียก่อนจึงเอาเด็กลงเปลได้
ในขณะปูที่นอนบ่าวสาวก็ต้องมีแมวคราว (แมวขนาดใหญ่ชนิดพ่อเฒ่า) ไว้ในห้องด้วยเพื่อเอา
เคล็ดที่ว่า ให้อยู่เรือนเหมือนก้อนเส้า ให้เฝ้าเรือนเหมือนแมวคราว
(Sathiankoses, 1996: 14)

ด้านประเพณีท้องถิ่นนั้น แมวยังมีบทบาทสาคัญในพิธีกรรมยามที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวชนบท


ของไทยจะทาพิธี “แห่นางแมวขอฝน” โดยจะใช้แมวเพศเมียเป็ นองค์ประกอบสาคัญของพิธีกรรมเนื่องจากมี
ความเชื่อว่าสีขนของแมวคล้ายกับสีของเมฆอันเป็นที่มาของฝน
อีกประการหนึ่งที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าแมวเป็นสัตว์ที่มีความใกล้ชิดกับคนไทยคือในสานวน
ไทยจะมีการนา “แมว” มาเป็นส่วนหนึ่งในสานวนไทยเป็นจานวนมาก อันเนื่องมาจากการนาสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว
มาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของคนหรือสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพหรือกล่าวเป็น
ข้อเตือนใจ นับเป็นรูปแบบการใช้ภาษาแบบหนึ่งของคนไทย เช่น สานวน “ย้อมแมวขาย” มีความหมายว่า การ
เอาสิ่งของที่มีคุณภาพที่ไม่ดี หรือลักษณะไม่ดีมาตกแต่งให้เห็นว่าเป็นสิ่งของที่ โดยมีเจตนาหลอกลวงให้ผู้อื่นเห็น
ว่าดี เช่นตัวอย่างประโยคว่า “การซื้อของออนไลน์สะดวกรวดเร็วแต่ต้องเลือกร้านที่เชื่อถือได้ ไม่งั้นอาจจะถูก
ย้อมแมวขายได้”
ปี พ.ศ.2557 กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แมวไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาวั ฒนธรรม
ของชาติ โดยได้ขึ้นทะเบียนแมวไทยในหมวดความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล และมีการ
จัดทาบัญชีรายชื่อแมวไทยเพื่อเป็นฐานข้อมูลเพื่อนาไปเป็นหลักฐานสาคัญของชาติ (Srisod, 2016: 1)
จากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าแมวเป็นสัตว์ที่มีบทบาทสาคัญต่อคนไทยและวัฒนธรรมไทยทั้งในด้าน
ภาษา ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา “แมว” ในสังคมไทย โดยในบทความนี้จะ
นาเสนอเรื่องแมวในภาษาและวัฒนธรรมไทย

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
การศึกษาเรื่อง “แมว” ในภาษาและวัฒนธรรมไทยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่
1. เพื่อศึกษาแมวในภาษาไทยจากสานวนไทยที่ปรากฏคาว่า “แมว”
2. เพื่อศึกษาเรื่องแมวในวัฒนธรรมที่ปรากฏในประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อในสังคมไทย

21
สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม – เมษายน 2565 ISSN 2773 - 8787

ขอบเขตของการศึกษา
1. การศึกษาเรื่องแมวที่ปรากฏในภาษาไทยในการศึกษาครั้งนี้พิจารณาจากสานวนไทยที่มีคาว่า
“แมว” จากหนังสือสานวนไทยจานวน 5 เล่ม คือ
1.1 การเปลี่ ย นแปลงถ้อยคาและความหมายของสานวนไทยของ ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธ ยา
(Pramoj Na Ayutthaya, 1986)
1.2 สานวนไทย ของ ประเทือง คล้ายสุบรรณ์ (Klaysuban, 1986)
1.3 ส านวน ภาษิ ต และคาพั ง เพยของไทยที่ น าสั ต ว์ ม าเปรีย บเที ย บ ของ รัช นี ซอโสตถิกุ ล
(Sosothikul, 1999)
1.4 ภาษิ ต ค าพั ง เพย ส านวนไทย ของ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน (Royal Institute of Thailand,
2008)
1.5 สานวนไทย ของ สง่า กาญจนาคพันธุ์ (Kanchanakhaphan, 2000)
2. การศึกษาเรื่องแมวในวัฒนธรรมไทยในการศึกษาครั้งนี้จะศึกษาเรื่อง “แมว” ที่ปรากฏในประเพณี
พิธีกรรม ได้แก่ ประเพณีการเกิด ประเพณีการแต่งงาน และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รวมถึงแมวที่ปรากฏใน
ความเชื่อในบริบทสังคมวัฒนธรรมไทยซึ่งครอบคลุมวัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ ด้วย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่
ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับแมวตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ทั้งในตาราดูแมว เอกสาร ตาราหรือหนังสือ และข่าว
ต่าง ๆ

ผลการศึกษา
การศึ กษาครั้ ง นี้ น าเสนอผลการศึก ษาเป็ น 2 ส่ ว น ได้ แก่ 1) แมวในภาษาไทย และ 2) แมวใน
วัฒนธรรมไทย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. แมวในภาษาไทย
การศึ ก ษาเรื่ อ งแมวที่ ป รากฏในภาษาไทยผู้ วิ จั ย ศึ ก ษาจากส านวนไทยที่ มี ค าว่ า “แมว” ทั้ ง นี้
สง่ า กาญจนาคพั น ธุ์ (Kanchanakhaphan, 2000: 1) ได้ ใ ห้ ค วามหมายของค าว่ า ส านวนไว้ ว่ า หมายถึ ง
“คาพูดเป็นสานวนคิดเป็นชั้นเชิง เป็นการเปรียบบ้าง เทียบบ้าง เปรยบ้าง ประชดประชัน พูดเล่นพูดสนุกก็มี
พูดเตือนให้สติก็ม”ี
ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา (Pramoj Na Ayutthaya, 1986: 4) ได้กล่าวถึงความหมายของสานวนไว้
ว่า “สานวน หมายถึง ถ้อยคาที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร แต่เป็นถ้อยคาที่มีความหมายอย่าง
อื่นคือเป็นชั้นเชิงชวนให้คิด ซึ่งอาจจะเป็นในเชิงเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย”
อานาจ ปักษาสุข (Paksasuk, 2019: 90) กล่าวถึงสานวนไทยว่าหมายถึง “ข้อความหรือถ้อยคาที่มิได้
มีความหมายตรงตัว ผู้ฟังต้องคิดหรือตีความจึงจะเข้าใจความหมาย เป็นศิลปะการใช้ภาษาอย่างมีชั้นเชิง โดยเป็น
การใช้คาน้อยแต่กินความมาก”
ดัง นั้น สานวนจึง เป็ นลั กษณะการใช้ภาษาแบบหนึ่ง ของคนไทย หมายถึง การใช้ ถ้อยคาที่ไ ม่ไ ด้ มี
ความหมายตรงไปตรงมา แต่ต้องใช้การคิดเปรียบเทียบจากประสบการณ์ เป็นการใช้ถ้อยคาน้อยแต่สื่อสารให้
เห็นภาพที่มีความหมายลึกซึ้ง
22
สานวนที่ปรากฏคาว่าแมวในหนังสือเกี่ยวกับสานวนไทย 5 เล่ม พบว่ามีสานวนไทยที่ปรากฏคาว่า
“แมว” ทั้งสิ้นจานวน 32 สานวน จากการศึกษาสานวนไทยที่ปรากฏคาว่า “แมว” สามารถจัดประเภทของ
สานวนไทยที่เกี่ยวกับแมวตามรูปภาษาและความหมายที่ปรากฏได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. สานวนไทยเกี่ยวกับ
“แมว” ที่นามาใช้เปรียบเทียบเพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมและคุณลักษณะของคน 2. สานวนไทยเกี่ยวกับ “แมว”
ที่นามาใช้เปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจน 3. สานวนไทยเกี่ยวกับ “แมว” ที่นามาใช้เปรียบเทียบเหตุการณ์หรือ
เรื่องราวเพื่อสอนหรือเตือน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.1 สานวนไทยเกี่ยวกั บ “แมว” ที่ นามาใช้ เ ปรียบเที ยบเพื่อแสดงให้ เ ห็ นพฤติ ก รรมและ
คุณลักษณะของคน
สานวนไทยเกี่ยวกับ “แมว” ที่นามาใช้เปรียบเทียบเพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมและคุณลักษณะ
ของคน แบ่งเป็น
1.1.1 แมวในสานวนไทยที่นามาใช้เปรียบเทียบเพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมของคน
“แมว” ที่ปรากฏในสานวนไทยที่นามาใช้เปรียบเทียบเพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมของคน แบ่ง
ได้เป็น 2 ประเภทคือ ประเภทแรกคนที่มีความประพฤติดี ได้แก่ คนที่มีพฤติกรรมอยู่กับบ้านเรือนไม่เที่ยวเตร่
และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองทา ได้แก่ สานวน “อยู่เรือนเหมือนก้อนเส้า เฝ้าเรือนเหมือนแมวคราว”
ซึ่งหมายความว่า การอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนไม่ไปไหนเหมือนกับแมวแก่ที่มักจะนอนหลับนิ่ง ๆ ทั้งวัน และ
สานวน “ขี้แล้วกลบเป็นแมว ขี้แล้วแจวเป็นหมา” ที่หมายถึง คนดีทาแต่ในสิ่งที่ดีตรงข้ามกับคนชั่ว แสดงถึง
พฤติกรรมที่ดีของคนที่มีความรับผิดชอบต่อการประทาของตนเอง ซึ่งสานวนนี้ มาจากธรรมชาติเรื่องการขับถ่าย
ของแมวที่จะต้องกลบปิดของเสียให้เรียบร้อยทุกครั้งที่ถ่ายออกมา
ประเภทที่สองเป็นสานวนที่กล่าวถึงคนที่มีความประพฤติไม่ดี ได้แก่ คนประเภทที่มีท่าทาง
ภายนอกดูเป็นคนดี แต่จริง ๆ แล้วซ่อนความชั่วร้ายไว้ข้างใน และเมื่อสบโอกาสก็จะแสดงความชั่วร้ายนั้นออกมา
ปรากฏในสานวน “ซื่อเป็นแมวนอนหวด” หมายถึง คนที่มีท่าทีซื่อ แต่ความจริงแล้วคดโกงไว้ใจไม่ได้ และสานวน
“เชื่องเหมือนแมว” หมายถึง เชื่องไม่จริง นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงพฤติกรรมของคนที่มีนิสัยลักขโมยหรือ
ฉ้อโกง ดังปรากฏในสานวน “แมวขโมย” หมายถึง คนลักลอบล่วงสิทธิของคนอื่น สานวน “ตีนแมว” หมายถึง
พวกย่องเบา และสานวน “ย้อมแมวขาย” หมายถึง การตกแต่งของที่ไม่ดีหรือมีค่าน้อยโดยมีเจตนาจะหลอกลวง
ให้คนอื่นเห็นว่าดี สานวนเหล่านี้มีที่มาจากนิสัยของแมวที่มีมาใช้เปรียบเทียบให้เห็นลักษณะของคนที่มีความ
ประพฤติไม่ดีดังที่ได้กล่าวมา
1.1.2 แมวในสานวนไทยที่นามาใช้เปรียบเทียบเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะของคน
“แมว” ที่ปรากฏในสานวนไทยนั้นนามาใช้เปรียบเทียบเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะของคน ได้แก่
ลักษณะทางกายภาพของคนที่ มีรูปร่า งหน้า ตาไม่ น่า ดู เช่ น สานวน “บ้ องแบ๊ว เหมือนแมวคราว” หมายถึง
มีหน้าตาพิลึกเหมือนแมว เป็นการเปรียบเทียบรูปร่างหน้าตาของคนที่ไม่สวยงามน่าดูกับรูปร่างหน้าตาของแมว
คราวซึ่งเป็นแมวตัวผู้ที่มีอายุมาก และสานวน “อ้วนเหมือนแมวท้อง” หมายถึง ผู้หญิงที่อ้วนท้วนสมบูรณ์ ซึ่งใช้
เปรียบเทียบลักษณะรูปร่างของคนอ้วนกับรูปร่างลักษณะของแมวท้องที่มีอวัยวะช่องท้องขยายออก
สานวนที่ป รากฏคาว่ า แมวดั ง กล่ า วมาข้า งต้ นนั้ น สื่ อให้ เห็ น พฤติ กรรมของคน การกระท า
รวมถึงคุณลักษณะที่ดีเป็นต้องการหรือเป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าบุคคลควรจะมีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ บุคคลที่ใช้
ชีวิตอยู่กับบ้านไม่นิยมการออกนอกเที่ยวเตร่ ดังปรากฏในสานวน “อยู่เรือนเหมือนก้อนเส้า เฝ้าเรือนเหมือนแมว
คราว” นับเป็นคาสอนที่สาคัญประการหนึ่งของคนไทยนั้นคือการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนงดเว้นการเที่ยวเตร่
23
สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม – เมษายน 2565 ISSN 2773 - 8787

ในยามวิกาลและให้อยู่กับบ้าน เพราะเห็นว่าเป็นต้นเหตุของการนาไปสู่อบายมุขต่าง ๆ ตามหลักคิดของสังคมไทย


เช่น การดื่มสุรา การเล่นการพนันและยาเสพติด ซึ่งแนวคิดนี้ยังคงเป็นแนวคิดที่สังคมไทยยังคงปลูกฝังให้เยาวชน
ปัจจุบัน ละเว้นจากการไปเที่ยวในช่วงเวลากลางคืน
นอกจากนี้สานวนที่ปรากฏคาว่าแมวนั้นยังสื่อให้เห็นพฤติกรรม การกระทา หรือคุณลักษณะที่
ไม่ดี ไม่เป็นที่ ต้องการของคนในสังคม จัดเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ กล่าวถึงการกระทาที่ไม่ถูกต้อง ผิด
ศีลธรรม ไม่เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ได้แก่ พฤติกรรมการลักขโมย หรือหลอกลวงผู้อื่น ดังปรากฏในสานวน
“ย้อมแมวขาย” หมายถึง ตกแต่งคนหรือของที่ไม่ดีหรือมีค่าน้อยโดยมีเจตนาจะหลอกลวงให้ผู้อื่นเชื่อว่าดี สานวน
“ตีนแมว “และสานวน “แมวขโมย” หมายถึง นักย่องเบา โจร การลักทรัพย์ การละเมิดในทรัพย์สินของผู้อื่น
รวมถึงการได้ทรัพย์สินของผู้อื่นมาโดยมิชอบเป็นสิ่งที่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งในการปลูกฝังคุณธรรมของเด็กไทย
ในเรื่องความซื่อสัตย์ โดยเฉพาะความซื่อตรงในทรัพย์สินของผู้อื่น
1.2 สานวนไทยเกี่ยวกับ “แมว” ที่นามาใช้เปรียบเทียบเหตุการณ์เพื่อแสดงให้เห็นภาพที่
ชัดเจน
“แมว” ที่ปรากฏในสานวนไทยนั้นนามาใช้เพื่อเปรียบเทียบเรื่องราวหรือเหตุการณ์ เพื่อทาให้
เข้าใจเรื่องราวหรือสถานการณ์นั้นได้ชัดเจน เช่น การทาร้ายร่างกายโดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถปกป้องตัวเองได้
หรืออยู่ในภาวะที่ไม่มีช่องทางหลบหนี ได้แก่ สานวน “ปิดประตูตีแมว” หมายถึง รังแกคนที่ไม่มีทางสู้หรือไม่
สามารถหนีได้ สถานการณ์การไว้วางใจคนมากเกินไปโดยเฉพาะคนที่ประสงค์ในสิ่งนั้นอยู่แล้วอาจจะทาให้ต้อง
สูญสียสิ่งนั้นไปได้ ได้แก่ สานวน “ฝากเนื้อไว้กับเสือฝากปลาย่างไว้กับแมว” สานวน “ใช้แมวเฝ้าปลาย่าง”
หมายถึง การฝากสิ่งของไว้กับผู้ที่ชื่นชอบสิ่งนั้นเป็นพิเศษย่อมจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไปได้ สถานการณ์การที่ผู้มี
อานาจไม่อยู่หรือไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่จะทาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานนั้นได้
ได้แก่ สานวน “แมวไม่อยู่หนูระเริง” สานวน “แมวไม่อยู่หนูระเริง แมวมาหลังคาเปิง” หมายถึง เมื่อผู้ใหญ่ไม่อยู่
ผู้น้อยก็ย่อมไม่อยู่ในระเบียบวินัย สานวนดังกล่าวทาให้เห็นภาพเหตุการณ์ของผู้น้อยซึ่งเมื่อผู้บังคับบัญชาไม่อยู่ก็
พากันไม่สนใจและละทิ้งกิจการงานต่าง ๆ โดยใช้ลักษณะพฤติกรรมของแมวที่เป็นสัตว์นักล่า ล่าสัตว์เล็ก ๆ
จาพวกหนู เมื่อแมวไม่อยู่ทาให้พวกหนูไม่ถูกรบกวนจึงออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติซึ่งสอดคล้องกับสานวนดังที่ได้
กล่าวไป
1.3 สานวนไทยเกี่ยวกับ “แมว” ที่นามาใช้เปรียบเทียบเหตุการณ์หรือเรื่องราวเพื่อสอนหรือ
เตือน
คนไทยได้นาพฤติกรรมหรือธรรมชาติของแมวมาใช้เป็นสานวนเพื่อเปรียบเทียบเหตุการณ์หรือ
เรื่องราวต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสอนหรือการเตือนให้มีความระมัดระวังในการใช้ชีวิต ได้แก่สานวน
“ใช้ แ มวไปขอไฟ ใช้ ป ลาไหลไปลงรู ” หมายถึง การส่ ง เสริ ม คนให้ ไ ปท างานในทางที่ เขาถนั ด ย่ อ มประสบ
ความสาเร็จ ดังนั้นจึงเป็นข้อคิดในการทางานว่าควรจะใช้คนให้เหมาะสมกับความสามารถหรือความถนัดของเขา
สานวน “หนูกัดเสื้อจึงรู้คุณแมว” หมายถึง เมื่อเดือดร้อนจึงนึกถึงบุญคุณของผู้นั้น สานวนดังกล่าวเป็นการเตือน
ให้เห็นความสาคัญและประโยชน์หรือคุณค่าของสิ่งที่มี แม้ว่าวันนี้ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นแต่ก็อาจจาเป็น
จะต้องใช้ในภายหน้าก็ได้ สานวน “ปิ้งปลาประชดแมว” หมายถึง ทาประชดหรือแดกกดันรังแต่จะเสียประโยชน์

24
สานวนนี้เป็นการเตือนให้รู้จักระงับอารมณ์โกรธและการประชดประชันว่าการการกระทาเช่นนั้นไม่ได้ทาให้เกิด
ประโยชน์อีกทั้งยังทาให้เกิดความเสียหายต่อตัวเองมากขึ้นอีกด้วย
2. แมวในวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทยเป็นเครื่องมือกาหนดบทบาทและพฤติกรรมของคนในสังคม ส่งผลให้คนในแต่ละสังคม
มีวิถีชีวิตตามที่สังคมนั้น ๆ พึงประสงค์ซึ่งแตกต่างกันไปเป็นอัตลักษณ์ประจาแต่ละสังคม สิ่งหนึ่งที่จะแสดงให้เห็น
ถึงลักษณะวัฒนธรรมไทยนั้นก็คือเรื่องของประเพณี พิธีกรรม และความเชื่ อ ทั้งนี้ปรากฏว่าแมวได้กลายเป็น
องค์ประกอบหนึ่งของประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ และแสดงถึงความเชื่อของคนในสังคมไทย ดังนั้นการศึกษาเรื่อง
แมวในวัฒนธรรมไทยครั้งนี้จะศึกษาเรื่อง “แมว” ที่ปรากฏในประเพณี พิธีกรรม รวมถึงความเชื่อที่ปรากฏใน
สังคมไทย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 แมวในประเพณีการเกิด
คติไทยโบราณเกี่ยวกับการเกิดกาหนดไว้ว่าเมื่อเด็กทารกแรกเกิดมีอายุหนึ่งเดือน “เป็นอันว่าล่วง
พ้นอันตรายจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งเข้าใจว่าผีเป็นผู้กระทาก็จัดการโกนผมไฟและทาขวัญเป็นพิธีใหญ่ออกหน้าออก
ตา ลางทีก็มีตั้งชื่อเด็กในตอนนี้เป็นการรับรองเด็กที่เกิดใหม่ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของสกุล ” (Sathiankoses,
1996: 86)
การโกนผมไฟจะมีพิธีการทาขวัญด้วยตามความเชื่อดั้งเดิมของคนไทยว่าทุกคนจะต้องมี “ขวัญ”
ประจาตัวอยู่ หากขวัญหายหรือขวัญเสียจะทาให้ผู้นั้นเกิดเจ็บป่วยได้ หลังจากโกนผมไฟและทาขวัญแล้วจะเป็น
พิธีการลงอู่หรือเปล โดยนาฟัก หินบดยา ถุงผ้าบรรจุข้าวเปลือก ถั่วงา ถ้าเป็นเด็กผู้ชายให้มีสมุดและดินสอ
ส่วนเด็กผู้หญิงให้มีเข็มและด้ายพร้อมกับมีแมวคราว นาสิ่งเหล่านี้ใส่ในเปลพร้อมไกวเปล 3 ครั้ง แล้วเอาแมวออก
จากเปล แล้วอุ้มเด็กลงไปนอนในเปลแล้วไกว 3 ครั้ง พร้อมกล่าวคาให้พรแก่เด็ก
แมวที่ใช้ในพิธีการเกิดนี้เป็น “แมวคราว” คือ แมวตัวผู้ขนาดเขื่อง เป็นแมวผู้ใหญ่มีหนวดมีเครา
แล้ว ถ้าเปรียบกับคนก็เหมือนผู้ที่ซึ่งบรรลุนิติภาวะโดยบริบูรณ์จึงเป็นแมวไม่ทิ้งถิ่น (Sathiankoses, 1996: 89)
นอกจากนี้ขณะที่ไกวเปลนั้นผู้ใหญ่จะให้พรแก่เด็กโดยกล่าวเป็นคาให้พรว่า “ให้เย็นเหมือนฟักให้
หนักเหมือนแฟง ให้อยู่เรือนเหมือนก้อนเส้า เฝ้าเรือนเหมือนแมวคราว” สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยใช้ธรรมชาติ
ของแมวโตเพศผู้ที่มีนิสัยในเวลากลางวันชอบนอนสงบเงียบประจาอยู่กับบ้าน ไม่เที่ยวเตร่ เป็นสัญลักษณ์สื่อ
ความหมายให้เด็กอยู่กับบ้านเรือน ไม่เที่ยวเตร่ หรือไม่ละทิ้งถิ่นฐาน เป็นสิ่งที่ทาให้ผู้ปกครองรู้สึกมั่นใจว่าการที่
เด็กอยู่กับบ้านไม่ไปเที่ยวเล่นนั้นจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวเด็กเอง อีกทั้งการที่แมวอยู่กับบ้านไม่ทิ้งถิ่นฐานก็
แสดงความเชื่อของผู้ปกครองที่ต้องการให้เด็กไม่ละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิด ให้อยู่กับครอบครัว จึงนับว่าเป็นการให้
แมวเป็นสื่อแสดงความเชื่อและความคิดและความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อเด็ก
2.2 แมวในประเพณีแต่งงาน
ประเพณีการแต่งงานของคนไทยโบราณนั้นจะมีพิธีกรรมขั้นตอนหนึ่งเรียกว่า “การปูที่นอนและ
ส่งตัวเจ้าสาว” ซึ่งจะต้องมี “แมว” เป็นองค์ประกอบหนึ่งของพิธีกรรมด้วย การปูที่นอนจะเป็นพิธีที่ทาในวันที่รด
น้าแต่งงานแล้ว จะมีการเชิญคู่สามีภรรยาสูงอายุที่เป็นคู่แต่งงานที่มีความสุขประสบความสาเร็จในชีวิตสมรสเป็น
คู่ปูที่นอนและทั้งสองก็นอนพอเป็นพิธี เรียกว่าฤกษ์เรียงหมอนเพื่อเป็นเคล็ดตามความเชื่อให้คู่แต่งงานใหม่มีชีวิต
ครอบครัวที่มีความสุขดุจเดียวกับคู่สามีภรรยาที่ได้รับเชิญมา ขั้นตอนพิธีนี้จะต้องมีหินบดยา ฟักเขียว แมวตัวผู้

25
สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม – เมษายน 2565 ISSN 2773 - 8787

สีขาว ถุงใส่ถั่วงาและข้าวเปลือก โดยผู้ทาพิธีปูที่นอนหยิบสิ่งของเหล่านี้วางบนที่นอนก่อนพร้อมทั้งอุ้มแมววางลง


บนฟูก แล้วกล่าวคาให้พรและลงนอนพอเป็นพิธี
แมวในพิธีแต่งงานนี้มีข้อกาหนดให้ใช้แมวคราวเป็นเครื่องหมายแห่งความอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน
เช่นเดียวกับพิธีการโกนผมไฟและลงอู่ของเด็ก แมวในพิธีแต่งงานจึงเป็นเครื่องแสดงให้ เห็นถึงความคิดความเชื่อ
ของคนไทยว่า การที่คู่สามีภรรยาที่แต่งงานแล้วมีนิสัยอยู่กับบ้านเรือนและครอบครัวไม่ไปเที่ยวเตร่ที่ใดจะทาให้
ครอบครัวอยู่อย่างมีความสุขไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน ช่วยกันทามาหากิน เลี้ยงดูครอบครัว แสดงถึงเป็น
ความคิดและคาดหวังของผู้ใหญ่ที่ ต้องการให้การสร้างครอบครัวใหม่ของคู่แต่งงานประสบความสุขตลอดไป
นั่นเอง
2.3 แมวในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติของพระมหากษัตริย์ นั้นจะมีพระราช
เฉลิ ม พระราชมณเฑี ย ร คื อ การสมโภชปราสาทราชมณเฑี ย รสถานที่ ป ระทั บ ของพระมหากษั ต ริ ย์ หาก
เปรียบเทียบกับประเพณีชาวบ้านก็เปรียบได้กับการขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่ต้องมีการนา “แมว” มาร่วม
ด้วยเช่นเดียวกับประเพณีของชาวบ้าน ทั้งนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ได้บรรยายถึง
พระราชพิธีนี้ไว้ว่า

ครั้งได้ฤกษ์เจ้าพนักงานจึงประโคมดุริยางค์ดนตรีแตรสังข์ พิณพาทย์มโหรีมี่สนั่น
ประนังเสียงศัพทนฤนาท เสด็จพระราชดาเนินขึ้นสู่พระราชมณเฑียร ทรงโปรยดอกพิกุลทอง
พิกุลเงิน มีนางชาระพระบาท 2 นางเชิญเครื่องราชูปโภค และนางเชื้อพระวงศ์ 6 อุ้มวิฬาร์ 1
อุ้มศิลาบด 1 อุ้มฟักเขียว 1 ถือขันข้าวเปลือก 1 ถือขันถั่วทอง 1 ถือขันงา 1
(Moonmanas, 2019)

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี
ศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ก็ปรากฏว่ามีการนาแมวมาใช้
ในพระราชพิธี โดยในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ข้ าราชบริพารฝ่ายหน้าได้
เชิญเครื่องราชูปโภคและสิ่งมงคลเข้าร่วมพิธีด้วย ซึ่งมีแมวเข้าร่วมพระราชพิธีด้วยเป็นแมวไทยวิเชียรมาศ สี
น้าตาลอ่อน มีแต้มสีน้าตาลเข้ม 9 แต้ม ดวงตาสีฟ้าสดใส ทั้งนี้ข่าวของเว็บไซต์ BBC NEWS กล่าวถึงความสาคัญ
ของแมวว่า “รวมถึงสัตว์อย่างวิฬาร์หรือแมว และไก่ขาวเข้าพิธีด้วย แมวถือเป็นสัตว์ ที่นาโชคลาภ ความร่มเย็น
เป็นสุข เชื่อว่าสามารถขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้าย เพราะสามารถมองเห็นในเวลากลางคืน ความเชื่อที่ว่าแมว
มีเก้าชีวิต สื่อถึงความยั่งยืนสถาพรและเป็นอมตะ” (BBC NEWS, 2019)
ในหนังสือประเพณีการแต่งงาน เสฐียรโกเศศได้กล่าวถึงเรื่องแมวในพิธีประเพณีไว้ว่า “เรื่องแมวนี้ได้
ฟังจากท่านผู้ใหญ่ว่า แมวนั้นน่าจะถือว่าเป็นสองนัย แมวเชื่องเป็นแมวเลี้ยงอบรมให้รู้ดีชั่วแล้วถือว่าเป็นมงคล”
และ “ส่ว นแมวคราวเป็ นเครื่องหมายของความอยู่กับ เหย้าเฝ้ากับเรือน” (Sathiankoses, 1996: 150-152)
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าในพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรของพระมหากษัตริย์ซึ่งเปรียบเสมือนการขึ้นบ้าน

26
ใหม่ของราษฎรนั้น แม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นประมุขของพระราชวงศ์และประเทศชาติ ก็ย่อมจะมีพระราช
ประสงค์ให้การปกครองบ้านเมืองและราชวงศ์นั้นเกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดุจดั่งราษฎรเจ้าของบ้านที่ปรารถนาจะ
มีความสุขในการครองเรือนด้วยเช่นกัน
2.4 แมวในพิธีแห่นางแมว
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม อาชีพหลักคือการเพาะปลูกข้าวและพืชต่าง ๆ ดังนั้นน้าจึง
เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสาคัญยิ่งต่อวิถีชี วิตของคนไทย ในปีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล คนไทยจะได้รับ
ความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้าที่ใช้ทาการเกษตร ทั้งนี้ชาวชนบทไทยแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการจัดทา
พิธี กรรมที่ เชื่ อว่ า ท าแล้ ว จะทาให้ ฝ นตกลงมาสามารถท านาปลู กข้า วกันได้ นั่น คือก็คือพิ ธี แห่น างแมว หรือ
ประเพณีแห่นางแมวขอฝน
การแห่นางแมวขอฝนนั้นมาจากความเชื่อที่สืบทอดกันต่อมาว่า แมวเป็นสัตว์ที่กลัวฝนกลัวน้า
หากฝนตกเมื่อใดแมวจะร้อง และถ้าแมวร้องแสดงว่าฝนจะตก ด้วยเหตุนี้เมื่อฝนไม่ตกตามฤดูกาล ชาวนาจะจัด
พิธีแห่นางแมวโดยนาแมวเพศเมีย พันธุ์สีสวาด แมวพันธุ์นี้จะมีขนสีเทาเข้มคล้ ายกับสีของเมฆฝน แต่ในบาง
จังหวัดก็ใช้แมวลายเพศเมีย โดยจะนาแมวนี้ใส่ลอบเป็นขบวนแห่วนไปรอบ ๆ หมู่บ้าน เมื่อผ่านบ้านใดเจ้าของ
บ้านก็จะนาน้ามาสาดใส่แมวเพื่อให้แมวร้องส่งเสียงออกมา เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่กลัวและไม่ชอบน้า การ
กระทาดังกล่าวสัมพันธ์กับความเชื่อที่ว่า การที่แมวร้องนั้นเป็นสัญญาณที่เชื่อว่าฝนจะตกนั่นเอง ทั้งนี้การแห่นาง
แมวมีการเพลงร้องประกอบในขบวนแห่นางแมวขอฝนว่า “นางแมวเอย ขอฟ้าขอฝน ขอน้ามนต์ รดนางแมว
บ้าง” เนื้อร้องต่อจากนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ ดังตั วอย่าง เพลงแห่นางแมว ขับร้องโดยคุณยาย
มาลัย ประสมทอง อายุ 80 ปี ตาบลวังลึก อาเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย ดังนี้ (Phuboon and Boonsanong,
2022)
นางแมวเอย ขอฟ้าขอฝน
ขอน้ามนต์ รดนางแมวบ้าง
ขอเบี้ยค่าจ้าง เขาหาแมวมา
ใครไม่ให้ปลา ให้ปูกัดข้าว
ใครไม่ให้เหล้า ให้ข้าวตายฝอย
ใครไม่ให้อ้อย ให้อ้อยเป็นแมง
ใครไม่ให้แตง ให้แตงคอคอด
ใครไม่ให้นอนกอด ให้มอดกินเรือน
แม่ม่ายเอย อย่าเฝือนขายลูก
ต้นไม้จะถูก ข้าวจะแพง
ทาตาแดง ๆ ฝนก็เทลงมา

ชาวอี ส านถือเอาเคล็ ด ที่ แมวร้องในเวลาถูกน้ าสาดรดในขบวนแห่ ว่ า จะเป็ น เหตุ ให้ ฝ นตกจริง ๆ


ชาวบ้านจึงร่วมมือกันสาดน้าและทาให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี ฝนฟ้าจะสามารถตกได้อย่างแน่นอน
หลังจากเสร็จสิ้นการแห่นางแมวแล้ว วันถัดมาชาวบ้านจะจัดพิธีทาบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และเชื่อว่า
หากแห่นางแมวแล้วจะทาให้ฝนตกมาภายใน 3 วัน หรือ 7 วัน

27
สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม – เมษายน 2565 ISSN 2773 - 8787

ปัจจุบัน ความเชื่อเรื่องประเพณีแห่น างแมวยังปรากฏอยู่ในหลายพื้นที่ เช่น ตาบลดอนยายหอม


อาเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จัดเป็นประเพณีสาคัญของชุมชนที่ต้องปฏิบัติสืบต่อกันมาทุกปีและหลายพื้นที่ใน
ประเทศไทย เช่นที่ ตาบลหนองพังนาค ตาบลเสือโฮก อาเภอเมือง จังหวัดชัยนาท และตาบลวังลึก อาเภอศรี
สาโรง จังหวัดสุโขทัย เป็นต้น
2.5 แมวไทยกับความเชื่อ
นอกจากแมวจะมีบทบาทในประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ของคนไทยแล้ว ยังปรากฏความเชื่อที่
เกี่ยวกับแมวในตาราดูแมว บันทึกไว้ในสมุดข่อยโบราณสืบทอดมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ โดยปรากฏหลักฐานที่
สาคัญ คือ “ตาราดูลักษณะแมว” ของวัดอนงคาราม (Anongkharam Temple, 1960) แต่งเป็นคาประพันธ์
ประเภทโคลงได้กล่าวถึงลักษณะของแมวดีหรือแมวมงคล และแมวร้าย ไว้ดังนี้
แมวมงคลคือแมวที่เชื่อว่าเลี้ยงไว้แล้วจะให้คุณประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงอาจทาให้มีฐานะร่ารวยหรือมี
หน้าที่การงานที่ดีขึ้น มีทั้งหมด 17 สายพันธุ์ เช่น
1) แมวนิลรัตน์
สมยานามชาติเชื้อ นิลรัตน์
กายดาสิทธิสามารถ เลิศพร้อม
พันเนตรเล็บลิ้นทัด นิลคู่ กายนา
หางสุดเรียวยาวน้อม นอบโน้มเสมอเศียร
2) แมวชื่อวิลาศ
ราวคอทับถงาดท้อง สองหู
ขาวตลอดหางดู ดอกฝ้าย
มีเศวตสี่บาทตรู สองเนตร เขียวแฮ
นามวิลาศนามคล้าย โภคพื้นกายดา
3) แมวศุภลักษณ์หรือทองแดง
วิลาศุภลักษณ์ล้า วิลาวรรณ
ศรีดังทองแดงฉัน เพริศแพร้ว
แสงเนตรเฉกแสงพรรณ โณภาษ
กรรษสรรพโทษแล้ว สิ่งร้ายคืนเกษม
4) แมวชื่อเก้าแต้ม
สลับดวงคอศิระต้น ขาหลัง
สองไหล่กาหนดทั้ง บาทหน้า
มีโลมดาขดบัง ปลายบาท
เก้าแห่งดาดุจม้า ผ่านพื้นขาวเสมอ

28
5) แมวชื่อมาเลศหรือดอกเลา
วิลามาเลศพื้น พรรณกาย
ขนดังดอกเลาราย เรียบร้อย
ตาดั่งน้าค้างย้อย หยาดต้องสัตบง
โคนขนเมฆมอปลาย ปลอมเสวตร
6) แมวชื่อแซมเศวต
ขนดาแซมเศวตสิ้น สรรพางค์
ขนคู่โลมกายบาง แบบน้อย
ทรงระเบียบเรียบสาอาง เรียวรุ่น งามนา
ตาดั่งแสงหิ่งห้อย เปรียบน้า ทองทา

นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงแมวไม่เป็นมงคลหรือแมวร้าย จานวน 6 ชนิดซึ่งมีความเชื่อว่าเลี้ยงไว้


แล้วจะเกิดโทษแก่ผู้เป็นเจ้าของ เช่น
1) ทุพลเพศ
ตัวขาวตาเล่ห์ย้อม ชานสลา
หนึ่งดั่งโลหิตทา เนตรไว้
ปลอมลักคาบมัศยา ทุกค่า คืนแฮ
ชื่อทุพลเพศให้ โทษร้อนแรงผลาญ
2) ปีศาจ
ปีศาจจาพวกนี้ อาจินต โทษนา
เกิดซึ่งลูกออกกิน ไป่เว้น
หางขดดั่งงูดิน ยอบขนด
ขนสยากรายเส้น ซูบเนื้อยานหนัง
3) แมวชื่อกอบเพลิง
มักนอนยุ้งอยู่ซุ้ม ขนกาย อยู่นา
เห็นแต่คนเดินชาย วิ่งคล้าย
กอบเพลิงกาหนดหมาย นามบอกไว้เอย
ทรลักษณ์ชาติค่างร้าย โทษแท้พลันถึง

จากการวิเคราะห์ลักษณะของแมวมงคลและแมวร้ายในตาราดูแมวโบราณจะเห็นได้ว่าลักษณะที่ใช้
จาแนกแมวมงคลและแมวร้าย ได้แก่
1. สีขน สีขนของแมวมงคลจะเป็นสีใดสีหนึ่งตลอดทั่วทั้งตัว เช่น น้าตาลอ่อน สีน้าตาลเข้ม สีขาว
สีเทา และสีดา

29
สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม – เมษายน 2565 ISSN 2773 - 8787

2. ลวดลายของขน ในกรณีที่แมวมงคลมีสองสี ลวดลายที่มีความพิเศษจะได้รับ การเลือกให้เป็ น


ลักษณะของแมวดี เช่น จุดสีขาว ที่มีจุดแต้มสีดา 9 จุด เรียงเป็นลักษณะสวยงามในตาแหน่งต่าง ๆ กันอย่าง
ลงตัว เป็นต้น
3. รูปร่าง แมวที่มีลักษณะดีจะต้องมีรูปร่างสง่างาม ปราดเปรียว หางยาว
ลักษณะของแมวร้ายหรือแมวไม่เป็นมงคลไม่ควรเลี้ยงไว้นั้น มีลักษณะดังนี้
1. สีขน เป็นแมวลายหลายสีปะปนกัน หรือเป็นแมวสีดาปนสีขาว (แมวด่าง)
2. รูปร่าง จะมีลักษณะ เช่น ตาสีแดง หางขอด รูปร่างพิการ
3. นิสัย ได้แก่ แมวที่มีนิสัยชอบลักขโมยอาหาร แมวที่มีลักษณะไม่เชื่อง และแมวที่กินลูกของ
ตัวเอง
จากการพิจารณาลักษณะของแมวมงคลและแมวร้ายนั้นจะเห็นได้ว่าคนไทยโบราณใช้การตัดสินจาก
สีสันและลวดลาย รูปร่างและนิสัยของแมวเป็นสาคัญ แมวที่มีสีขนสวยงาม รูปร่างปราดเปรียวสง่างาม น่ารัก ก็
ย่อมน่าจะเลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามประจาบ้าน อีกทั้งเป็นที่ชื่นชมสาหรับผู้ที่ได้พบเห็น ส่วนนิสัยของแมวก็
เป็นเรื่องที่สาคัญประการหนึ่ง หากแมวมีนิสัยลักขโมยอาหาร เลี้ยงไม่เชื่อง ดุร้าย รวมถึงแมวที่มีลักษณะรูปร่าง
ไม่น่าชมหรือพิการ ก็ไ ม่น่าที่จะเลี้ยงไว้เพราะทาให้เจ้าของบ้านต้องเดือดร้อนราคาญ หรือไม่น่ารักน่าเอ็นดู
พอที่จะเป็นสัตว์เลี้ยงอยู่ในบ้านได้ ดังนั้นความเชื่อเรื่องแมวมงคลก็มาจากลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์และ
นิสัยที่พึงประสงค์ของแมว และในทางตรงกันข้ามแมวร้ายหรือแมวที่ให้โทษก็มาจากลักษณะทางกายภาพที่ไม่พึง
ประสงค์ของแมวและนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ของแมวนั่นเอง นอกจากนี้ความเชื่อเรื่องแมวมงคลและไม่เป็นมงคลนั้น
ยังอาจมาจากความเชื่อเรื่องตาราดูลักษณะของสัตว์ไทยที่มีความเชื่อว่าสัตว์บางชนิดมีลักษณะของการให้คุณหรือ
ให้โทษแก่ผู้เลี้ยง เช่น ตาราคชลักษณ์หรือตาราดูช้าง เป็นต้น
ความเชื่อเกี่ยวกับแมวที่สาคัญอีกประการหนึ่งของคนไทยคือความเชื่อเรื่องการห้ามแมวดากระโดด
ข้ามศพ โดยเชื่อว่าหากแมวดากระโดดข้ามศพจะทาให้ศพนั้นลุกขึ้นมาได้ ดังจะเห็นได้จากภาพยนตร์หรือละคร
โทรทัศน์แนวผีของไทย มักจะมีภาพแมวดากระโดดข้ามโลงศพ หรือในฉากที่สัมพันธ์กับ โลงศพอยู่เสมอ เช่น
ละครโทรทัศน์เรื่อง ปอบผีเจ้า 2 ที่ออกอากาศในช่อง 8 (Thai Ch8, 2020)
ความเชื่อนี้เสฐียรโกเศศได้กล่าวไว้ในหนังสือประเพณีเนื่องในการตายว่า “หรือจะเป็นความคิดเชื่อถือ
สืบมาแต่ดึกดาบรรพ์ ความคิดจึงมาพ้องกันมาก ชาติมนุษย์สมัยโน้นคงจะเห็นแมวเป็นสัตว์ป่ายังไม่เป็นสัตว์เลี้ยง
ออกหากินในเวลากลางคืน ชอบด้อมและย่องกริบไปในที่มืด ตาลุกวาวดูน่ากลัว ดูประหนึ่งว่าเป็นผีหรือตัวอะไร
ดามืด ๆ” (Sathiankoses, 1996: 30-31)
ปัจจุบันยังมีความเชื่อว่า แมวดาเป็นลางร้ายบอกถึงเหตุการณ์ที่ไม่ดีล่วงหน้า ดังเช่น ข่าวแมวดาวิ่ง
ผ่านหน้าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขณะเดินอยู่ในทาเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562
ความว่า

30
ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีเดินมาพร้อมกับผู้ติดตามจากตึกไทย คู่ฟ้ามายังตึกบัญชาการ 1 ปรากฏว่าได้
มีแมวดาเพศผู้มีเท้าสีขาววิ่งตัดหน้านายกฯ ตรงจุดต้นอโศกน้า ขณะที่ข้าราชการพากันวิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อ
ของคนโบราณที่ระบุว่าการที่แมวดาวิ่งตัดหน้าอาจเป็นลางไม่ดี การเดินหน้าในเรื่องต่าง ๆ อาจไม่ราบรื่นหรือไม่
ประสบความสาเร็จ ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ อยู่ระหว่างที่พรรคพลังประชารัฐรวบรวมพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้ งรัฐบาล
ให้ได้เสียงข้างมาก เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีในวันเปิดรัฐสภา”
(Matichon Online, 2019)

ความเชื่อดังกล่าวประกอบกับรูปลักษณ์ภายนอกที่มีสีดาและดวงตาแวววาวน่ากลัวเมื่ออยู่ในความมืด
ผลที่กระทบตามมาทาให้แมวดาถูกทอดทิ้งเป็นแมวจรจัด นับเป็นชะตากรรมที่น่าสงสารของแมวดา ดังนั้นในวันที่
17 สิงหาคมของทุกปี จึงถูกกาหนดให้เป็นวันสาคัญของแมวดา “วันยกย่องแมวดา” (Black Cat Appreciation
Day) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้คนเห็นคุณค่าและความน่ารัก ลดการมีอคติกับแมวดาเพียงแค่การตัดสินจาก
รูปลักษณ์ภายนอก ในวันดังกล่าวกลุ่มคนรักแมวได้ทากิจกรรมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความน่ารักของแมวดา เช่น
นาเสนอภาพแมวดาที่น่ารักและเรื่องเล่าที่น่า เอ็นดูของแมวดาลงในเพจเฟชบุ๊ก เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติให้คน
ทั่วไปได้เห็นว่าแมวดาก็เป็นแมวที่มีความสวยงาม และอุปนิสัยที่อ่อนโยน ไม่แตกต่างจากแมวสีอื่น ๆ
ความเชื่อประการสุดท้ายที่เกี่ยวกับแมวในสังคมไทยคือความเชื่อที่ว่า หากฆ่าแมวตายจะบาปเท่ากับ
ฆ่าเณร ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อสืบต่อกันมา ไม่ได้ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน แต่ก็แสดงให้
เห็นว่าคนไทยให้ความสาคัญของแมวเท่ากับเณร ซึ่งเป็นนักบวชที่ต้องดารงศีลหรือข้อห้ามตามข้อบัญญัติของ
ศาสนาพุทธถึง 10 ข้อ ในขณะที่คนทั่วไปรักษาศีลเพียง 5 ข้อเท่านั้น สิ่งนี้อาจจะเป็นอุบายของคนไทยสมัยก่อนที่
จะป้องกันไม่ให้คนทาลายชีวิตสัตว์เล็ก ๆ น่ารักที่ไม่มีทางสู้คนได้อย่างแมวก็อาจเป็นได้

บทสรุป
จากการศึกษาเรื่องแมวในภาษาและวัฒนธรรมไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสานวนไทยที่ปรากฏคาว่า
“แมว” และศึกษาแมวที่ปรากฏในประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อในสังคมวัฒนธรรมไทย ข้อมูลที่ใช้ศึกษาด้าน
ภาษามาจากหนังสือสานวนไทย 5 เล่ม ผลการศึกษาพบว่าสานวนไทยที่ปรากฏคาว่า “แมว”นั้นเป็นการใช้ภาษา
ที่นามาใช้เปรียบเทียบเพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมของคนซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ประเภทแรกคนที่มีความ
ประพฤติ ดี หมายถึง คนที่ มี พ ฤติ กรรมอยู่ กับบ้ า นเรือนไม่ เที่ ย วเตร่ และมี ความรับ ผิ ดชอบต่ อสิ่ง ที่ ตนเองท า
ประเภทที่สองคนที่มีความประพฤติไม่ดี ได้แก่คนประเภทที่มีท่าทางภายนอกดูเป็นคนดี แต่จริง ๆ แล้วซ่อนความ
ชั่วร้ายไว้ข้างใน และเมื่อสบโอกาสก็จะแสดงความชั่วร้ายนั้นออกมา
“แมว” ที่ ป รากฏในส านวนไทยยั ง น ามาใช้ เปรียบเที ย บเพื่ อแสดงให้ เห็น ลั กษณะของคน ได้ แ ก่
ลั กษณะทางกายภาพของคนที่ มี รูป ร่า งหน้ า ตาไม่ น่ า ดู ใช้ เปรี ย บเที ย บลั กษณะรู ป ร่ า งของคนอ้ ว น และใช้
เปรียบเทียบเพื่อแสดงลักษณะอาการของคน ในเรื่องปริมาณการกินอาหาร และอาการของความกลัวบุคคลที่มี
อานาจเหนือกว่าตน ประการต่อมา “แมว” ที่ปรากฏในสานวนไทยถูกนามาใช้เพื่อเปรียบเทียบเรื่องราวหรือ
เหตุการณ์เพื่อประโยชน์ในการทาให้เข้าใจเรื่องราวหรือสถานการณ์นั้นได้ชัดเจน เช่น การทาร้ายร่างกายโดยอีก
ฝ่ายหนึ่งไม่สามารถปกป้องตัวเองได้หรืออยู่ในภาวะที่ไม่มีช่องทางหลบหนี สถานการณ์การไว้วางใจคนมาก
เกินไปโดยเฉพาะคนที่ประสงค์ในสิ่งนั้นอยู่แล้วอาจจะทาให้ต้องสูญสียสิ่งนั้นไป หรือสถานการณ์การที่ผู้ มีอานาจ

31
สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม – เมษายน 2565 ISSN 2773 - 8787

ไม่อยู่หรือไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่จะทาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานนั้นได้ ประการ
สุดท้าย “แมว” ในสานวนไทยที่นามาใช้เปรียบเทียบเหตุการณ์หรือเรื่องราวเพื่อเป็นการสอนหรือการเตือนให้มี
ความระมัดระวังในการดาเนินชีวิตประจาวัน
ผลการศึกษาเรื่องแมวในวัฒนธรรมไทยนั้น พบว่า แมวเป็ นสั ตว์ เลี้ ยงที่ เป็ นองค์ประกอบหนึ่ง ของ
ประเพณีและพิธีกรรม เป็นสัญลักษณ์และความหมายของการสื่อความเชื่อของคนไทยหลายประการดังนี้ ใน
ประเพณี การเกิด คนไทยจะใช้ แมวตั ว ผู้ อายุ ม ากในพิ ธี การลงอู่ หรือเปลเพื่ อสื่ อความหมายให้ เด็ กนั้ น อยู่ กั บ
บ้านเรือนไม่เที่ยวเตร่ เพื่อสร้างความสบายใจให้กับพ่อแม่ว่าพฤติกรรมนี้จะทาให้ลูกอยู่อย่างปลอดภัย สาหรับ
ประเพณี การแต่ง งานนั้ น แมวจะมี บ ทบาทในพิ ธีการปูที่ น อน โดยอุ้ ม แมวคราวตัว ผู้ ลักษณะเดี ยวกับ ที่ใช้ ใน
ประเพณีการลงอู่วางลงบนที่นอน และกล่าวเป็นสานวนว่ า “ให้อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนเมือนแมวคราว” เพื่อสื่อ
ความหมายให้คู่แต่งงานอยู่ประจากับครอบครัวใหม่ไม่เที่ยวเตร่ก็จะช่วยลดปัญหาครอบครัวได้ นับเป็นวิธีการ
สร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครองของคู่บ่าวสาวได้ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมีการนาแมวมงคลเข้าร่วมในพิธี
เฉลิมพระราชมณเฑียร โดยมาจากคติความเชื่อเดียวกับประเพณีการเกิดและการแต่งงานว่าแมวเป็นเครื่องหมาย
ของผู้ที่อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนอย่างมีความสุข นอกจากนี้แมวยังเป็นองค์ประกอบสาคัญในประเพณีการแห่นาง
แมวขอฝนของคนไทยในชนบท ด้ว ยความเชื่ อที่ว่ าการที่ แมวไม่ ชอบน้าและสีขนที่คล้ายเมฆฝนของแมวจะ
สามารถทาให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลได้
ความสัมพันธ์ระหว่างแมวกับความเชื่อของคนไทยนั้นปรากฏในความเชื่อเรื่องแมวมงคล คือ แมวที่
เลี้ยงไว้แล้วจะให้ “คุณ” แก่เจ้าของ เช่น โชคลาภ และความเจริญในยศถาบรรดาศักดิ์ และความเชื่อเรื่อง “แมว
ร้าย” หมายถึง แมวที่เลี้ยงแล้วจะทาให้เกิดโทษแก่ผู้เลี้ยง และประการสุดท้ายความเชื่อเรื่องแมวดากระโดดข้าม
ศพจะทาให้ศพนั้นสามารถลุกขึ้นมาได้ ยังคงปรากฏในภาพยนตร์ประเภทสยองขวัญภูตผีปีศาจ และความเชื่อ
เรื่องแมวดาวิ่งหรือเดินผ่านจะเป็นลางร้ายก็ยังคงปรากฏอยู่ในสังคมไทยปัจจุบันโดย เช่น การเชื่อมโยงกับบริบท
ทางการเมือง
แมวที่ปรากฏในภาษาและวัฒนธรรมไทยนั้นสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมีความผูกพันใกล้ชิดกับแมวจึง
ได้นาลั กษณะ รูปร่า ง และพฤติกรรมของแมวมาใช้เปรียบเทียบกับ พฤติกรรมของคนเพื่ อใช้เป็นข้อเตือนใจ
ในขณะเดียวกันก็ยังนาพฤติกรรมหรือนิสัยที่โดดเด่น เช่น การเป็นสัตว์อยู่ประจาที่อันแสดงถึงการไม่ทิ้งถิ่นฐานมา
ใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อความคิดในพีกรรมที่สัมพันธ์กับประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนในสังคมไทย
จากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าความเชื่อเรื่องแมวในสัง คมวัฒนธรรมไทยยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารทาให้แมวกลายเป็นส่วนหนึ่งของ
วัฒนธรรมสมัยใหม่ แมวกลายเป็นรูปแบบหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างคนกับแมว ไม่ใช่ลักษณะของความเชื่อ
แต่เป็นความสัมพันธ์ของคนกับแมวที่มีความผูกพันมากกว่าการเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นความสัมพันธ์ระดับสมาชิกใน
ครอบครัว ซึ่งทาให้เห็นวิถีปฏิบัติหนึ่งที่คนไทยปฏิบัติต่อสัตว์ รวมถึงเห็นถึงบทบาทของสัตว์ที่มีอิทธิพลต่อการ
ดาเนินชีวิตของมนุษย์

32
“แมว” จากสัตว์เลี้ยงน่ารักร่วมบ้านที่ไว้ใช้ประโยชน์จับหนูไม่ให้มาทาลายพืชผล จนมาเป็นแมวในคติ
ความเชื่อพิธีกรรมและประเพณี ตลอดจนคากล่าวในสานวนไทยล้วนสะท้อนให้เห็นบทบาทและความสัมพันธ์ของ
แมวที่มีต่อสังคมไทย แม้ว่าในปัจจุบันกระแสความเจริญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะทาให้ความเชื่อ
เกี่ยวกับแมวลดลง ดังจะเห็นได้จากในประเพณีการแต่งงานในปัจจุบันแทบจะไม่ปรากฏใช้แมวเพื่อเป็นสัญลักษณ์
ของการอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนของคู่บ่าวสาว แต่อย่างไรก็ตามความเชื่อเรื่องการแห่นางแมวเพื่อขอฝนยังคงเป็น
ความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในหลาย ๆ พื้นที่ของประเทศไทย นอกจากนี้แมวนั้นยังมีบทบาทมากกว่าการเป็นสัตว์เลี้ยง
แต่มีความสัมพันธ์ในระดับ “สมาชิก” คนหนึ่งในครอบครัว ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการดาเนินชีวิตในสังคม
ปัจจุบันที่ถูกบีบรัดจากสังคมและเศรษฐกิจทาให้ผู้คนแสวงหาความสุขความผ่อนคลายและความเพลิดเพลิน จาก
สัตว์เลี้ยงน่ารักใกล้ตัวก็เป็นได้ ดังจะเห็นได้จากการใช้ภาษาในเพจเฟซบุ๊กของกลุ่มสมาชิกคนรักแมวจะมีการใช้
คาสรรพนามเรียกแมวว่า “ลูก” หรือ “น้อง” และใช้คาสรรพนามแทนตัวเองว่า “พ่อ” หรือ “แม่” เป็นต้น แมว
จึงเป็นปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทยไปสู่สภาพสังคมปัจจุบันได้ประการหนึ่ง

33
สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม – เมษายน 2565 ISSN 2773 - 8787

References
Kanchanakhaphan, Sa-nga. (2000). Thai Idioms (ส านวนไทย) (5th ed.). Bangkok: TPA School of
Language and Culture.
Klaysuban, Pratuang. (1986). Thai Idiom (สานวนไทย) (10th ed.) Bangkok: Sutthisarn Printing.
Paksasuk, Amnat. (2019). Thai Idioms Aimed Exclusively at Men: Reflection on Thai Society (สานวน
ไทยที่ใช้เฉพาะกับเพศชาย : ภาพสะท้อนสังคมไทย). Vannavidas, 19(2): 87-103.
Pramoj Na Ayutthaya, Kaisiri. (1986). The Change in Word and Meaning of Thai Idioms (การ
เปลี่ยนแปลงของถ้อยคาและความหมายของสานวนไทย) (3nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn
University Press.
Promthong, Suwanna. (1999). Cat: A Lovely Friend (แมวเพื่อนผู้น่ารัก). Bangkok: Matichon.
Royal Institute of Thailand. (2008). Thai Proverbs, Saying and Idioms (ภาษิต คาพังเพย ส านวน
ไทย) (13th ed.). Bangkok: Royal Institute of Thailand.
Sathiankoses. (1996). Rites of Transition (ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต). Bangkok: Siam.
Sosothikul, Ratchani. (1999). Animal Metaphors in Thai Idioms, Proverbs and Saying (ส านวน
ภาษิตและคาพังเพยของไทยที่นาสัตว์มาเปรียบเทียบ). Bangkok: Chulalongkorn University
Press.
Srisod, Pongpisut. (2016). Siamese Cat’s Corporate Identity Design as Public Knowledge Media
Distribution (การออกแบบสื่ ออัต ลั ก ษณ์ แมวไทยเพื่อการเผยแพร่) . Master’s dissertation,
Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

Online Medium
Anongkharam Temple. (1960). Texts about Cats (ตาราดูลักษณะแมว). [Online]. Retrieved January
28,2022fromhttp://adminebook.car.chula.ac.th/viewer/66671014365881177056806654
50787582531218450821196161/1/2/0/viewer.html
BBC NEWS. (2019). The Royal Coronation Ceremony: Thai Cat “wichianmas” in the Ceremony
of Assumption of the Royal Residence (บรมราชาภิเษก : แมวไทย “วิเชียรมาศ” ในพระราช
พิ ธี เ ฉ ลิ ม พ ร ะ ร า ช ม ณ เ ฑี ย ร ) . [Online]. Retrieved January 15, 2022 from
https://www.bbc.com/thai/thailand-48166415
Boontharm, Dinar. (2012). Texts about Cats (ต าราดู แ มว). [Online]. Retrieved January 20, 2022
from http://www.thaistudies.chula.ac.th/2019/01/04/ตาราดูแมว/
Matichon Online. (2019). A Black Cat Cut Thai Prime Minister off (แมวด าวิ่ ง ตั ด หน้ า นายกฯ).
[Online]. Retrieved January 8, 2022 from https://www.matichon.co.th/politics/news
_1424418

34
Moonmanas, Nakrob. ( 2019) . Cat’s Glory. [Online]. Retrieved January 18, 2022 from
https://readthecloud.co/cat-in-thai-history/
Phuboon, Sarid and Boonsanong, Noppharat. (2022). Thai Folk Song (เพลงพื้ น บ้ า น). [Online].
Retrieved January 9, 2022 from https://sites.google.com/site/65wangdeep/phe-lngph
Thai Ch8. (2020). Believe about Black Cat (ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับแมวดา). [Online]. Retrieved
January 12, 2022 from https://www.youtube.com/watch?v=7wyEefW6XmI

35

You might also like