You are on page 1of 105

68

ภาคผนวก ง
เอกสารประกอบการเรียนนวดแผนไทย
69

เอกสารประกอบการเรียนนวดแผนไทย

โครงการการพัฒนาทักษะการนวดแผนไทย
ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่
2557
70

พระบรมครูแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์
แพทย์ประจาพระพุทธองค์
71

คาไหว้พระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะควะตา ธัมโม ธัมมังนะมะสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (กล่าว 3 ครั้ง)

คาไหว้บรมครูชีวกโกมารภัจจ์
โอม นะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง การุณิโก สัพพะสัตตานัง
โอสะถะ ทิพพะมันตัง ปะภาโส สุริยาจันทัง โกมาระภัจจ์โต
ปะกาเสสิ วันทามิ บัณฑิโต สุเมธะโส อะโรคา สุมานาโหมิ (กล่าว 3 ครั้ง)

คามงคลเสริมบารมีตน
ปิโยเทวา มะนุสสานัง ปิโยพรหมมา นะมุตตะโม
ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปินินทรียัง นะมามิหัง นะโมพุทธายะ (กล่าว 1 ครั้ง)

นะวนนะเวียน นะสถิตนะเสถียร เอหิมามา


นะเวียนนะแวะ นะไปตังเวียน นะเวียนมาหากู

เอหิมามา ปิยังมะมะ นะโมพุทธายะ (กล่าว 1 ครั้ง)


นะ มะ พะ ทะ นะโมพุทธายะ (กล่าว 3 ครั้ง)
นะอะ นะวะ โรคา พยาธิ วินาสสันติ (กล่าว 3 ครั้ง)
สาธุโนภันเต
72

คาไหว้ครู
ของเจ้าพระยาสุเรทราธิบดี
(ม.ร.ว. เปีย มาลากุล)
ข้าพเจ้า ขอประณตน้อม ศิรวันทนาการ แต่ท่านอาจารย์ผู้ทรง ปกติการุณยภาพ ในศิษย์
สานุศิษย์ทั้งปวง ว่าโดยย่อเป็นสามประการคือ
เมตตาคุณ มีจิตปราถนาและพยายาม เพื่อชักนาให้ศิษย์ประพฤติดี มีสันดานมั่น อยู่ในทางที่
ชอบ และประกอบแต่ล้วนคุณประโยชน์ ประการหนึ่ง
กรุณาคุณ มีจิตปรารถนาและพยายาม เพื่อขัดเกลาสันดานศิษย์ คือ กาจัดความชั่วอันมัว
หมอง และเป็นเหตุแห่งทุกข์โทษภัยทัง้ ปวง ให้ล่วงเสียประการหนึ่ง
อนุสิฏธิคุณ มีจิตปรารถนาและพยายาม พร่าแจงแสดงเวทย์ ขจัดเหตุสงสัยให้ได้ความสว่าง
ประดุจนาไปด้วยดวงประทีป เพื่อจะปลูกฝังความรู้ไปไว้ในสันดานแห่งศิษย์ให้เป็นผู้ฉลาดแหลมคม
ด้วยปัญญา ประการหนึ่ง
ขอท่านอาจารย์รับเครื่องสักการะ อันข้าพเจ้าน้อมนามา และจงสาแดงซึง่ ปกติคุณูปการ
ข้าพเจ้า ประดุจนายช่างหม้อ ผูพ้ ยายามกล่อมเกลา เพื่อให้หม้อมีรูปร่างอันดีฉันนั้น ข้าพเจ้าขอแสดง
แก่ท่านอาจารย์ พร้อมทั้งกายและใจว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ตงั้ อยู่ในความสดับ เพื่อให้ได้รับโอวาทด้วยความ
เคารพอยูท่ ุกเมื่อ
ขอเดชะปูชะนียาธิษฐานอันนี้ จงดลบันดาลให้ สติปญ ั ญาของข้าพเจ้าแตกประดุจหญ้าแพรก
ดอกมะเขือ และให้งอกงามเจริญขึ้นโดยเร็วพลัน นับแต่กาลวันนี้ให้การศึกษาของข้าพเจ้า เป็น
ผลสาเร็จอันดี ดุจคาอธิษฐานฉะนี้เทอญ
73

คากล่าวบูชาพระบรมครูชีวกโกมารภัจจ์
“โอม นะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง การุณิโก สัพพะสัตตานัง
โอสะถะ ทิพพะมันตัง ปะภาโส สุริยาจันทัง โกมาระภัจจ์โต
ปะภาเสสิ วันทามิ บัณฑิโต สุเมธะโส อะโรคา สุมานะโหมิ” (กล่าว 3 ครั้ง)

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแต่ท่านชีวก ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอน้อมตนเป็นผู้มีความ


กรุณาต่อสรรพสัตว์จงึ ขอประกาศซึง่ โอสถทิพมนต์ของท่านโกมารภัจจ์ อันเปรียบประดุจแสงแห่งพระ
อาทิตย์ และพระจันทร์
ข้าพเจ้าขอน้อมให้แด่ท่าน ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นบัณฑิต เป็นปราชญ์เป็นผู้ไม่มีโรค
และเป็นผูม้ ีใจดีงามเทอญ
“ปิโยเทวา มะนุสสานัง ปิโยพรหมมา นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปินินทรียัง
นะมามิหงั นะโมพุทธายะ” (กล่าว 1 ครั้ง)
“นะวน นะเวียน นะสถิต นะเสถียร เอหิมามา นะเวียน นะแวะ นะไปตังเวียน นะเวียน
มาหากู เอหิมามา ปิยงั มะมะ นะโมพุทธายะ” (กล่าว 1 ครั้ง)
นะ มะ พะ ทะ นะโมพุทธายะ (กล่าว 3 ครั้ง)
นะอะ นะวะ โรคา พยาธิ วินาสสันติ (กล่าว 3 ครั้ง)
สาธุโนภันเต
อะหัง วันทามิ โอมนะโม พุทธายะ สิทธัง (กล่าว 1 ครั้ง)
เสสัง เภสัชชะมังคะลัง ยาจามะ (กล่าว 3 ครั้ง)
74

จริยธรรมของหมอนวดไทย
ข้อ 1. หมอนวดไทย จักต้องดูแลรักษาสุขภาพของผูป้ ่วยและสาธารณะชนอันเป็นอันดับ
แรกเสมอ ต้องให้บริการแก่ผปู้ ่วยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อ 2. หมอนวดไทย จักต้องยึดมั่นในความซือ่ สัตย์ สุจริต มีเมตตา กรุณา ไม่โลภ ไม่มุ่งอามิส
สินจ้าง เคารพกฎหมายบ้านเมืองไม่ประพฤติหรือร่วมทาการใด ๆ ให้เกิดความเสื่อมเสียและถือเป็น
หน้าที่ทจี่ ะต้องรีบดาเนินแก้ไข เมื่อได้ทราบว่ามีการกระทาใด ๆ ให้เกิดความเสือ่ มเสียและถือเป็น
หน้าที่ทจี่ ะต้องรีบดาเนินการแก้ไข เมื่อได้ทราบว่ามีการกระทาใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสีย
ต่อการนวดไทย
ข้อ 3. หมอนวดไทย จักต้องหมัน่ สารวจ สรุปประสบการณ์และจดบันทึกการนวด ศึกษา
ติดตามความรู้และความก้าวหน้าของวิชาการนวดไทย จากคัมภีร์ ตารับตาราต่าง ๆ และผูเ้ ชี่ยวชาญ
รวมทั้งเข้าร่วมเสริมความรู้ พัฒนาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนและเผยแพร่วิชาความรู้ เพื่อรักษาไว้ซึ่ง
ประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพให้อยู่ในมาตรฐาน และสามารให้บริการผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น
ข้อ 4. หมอนวดไทยจักต้องรักษาความลับของผูป้ ่วย เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย
หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย รวมทั้งไม่โอ้อวด ไม่หลอกลวง ไม่ล่วงเกินหรือลวนลามผูป้ ่วย
ด้วยกาย วาจา ใจ ทางด้านกามอารมณ์และอื่น ๆ
ข้อ 5. หมอนวดไทย จะต้องไม่ลมุ่ หลงมัวเมาในอบายมุขทั้งปวง
ข้อ 6. หมอนวดไทย จักต้องไม่ประกอบอาชีพในทีล่ ับตาหรืออโคจรสถาน เช่น แหล่ง
อบายมุข สถานเริงรมย์ทมี่ ีการกระทาอันเป็นการยั้วยุกามอารมณ์ เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินเพื่อเป็นการ
ปฐมพยาบาล
ข้อ 7. หมอนวดไทย จักต้องยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน
ข้อ 8. หมอนวดไทย จักต้องติดต่อประสานงาน สร้างความสามัคคีในหมูเ่ พื่อร่วมวิชาชีพ
เดียวกัน และเพือ่ นในวงการสาธารณสุขทัง้ มวล เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบสาธารณสุขที่เหมาะสม
สอดคล้องกับสังคมไทย
ข้อ 9. หมอนวดไทย จักต้องประสานร่วมมือกับองค์กรที่เกีย่ วข้องเพื่อพัฒนาวิชาชีพการนวด
ไทย และการแพทย์แผนไทยให้ดียงิ่ ขึ้น รวมทัง้ อุทิศเวลา ความรู้ ความสามารถ และปัจจัยต่าง ๆ เพื่อ
ช่วยกิจกรรมขององค์กรเท่าที่พึงกระทาได้

มารยาทของหมอนวดไทย
หมอนวดไทยจักต้องมีมารยาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
ข้อ 1. แต่งกายสะอาด รัดกุม สุภาพเรียบร้อย และทาใจให้สดใส
ข้อ 2. รักษาความสะอาดของเท้าและมือทั้งก่อนและหลังนวด รวมทั้งรักษาความสะอาดของ
เครื่องมือเครื่องใช้ในการนวด
ข้อ 3. ก่อนทาการนวดผู้ป่วย ต้องสารวมจิตใจให้เป็นสมาธิ ระลึกคุณครูอาจารย์ คารวะ
ผู้ป่วย แล้วซักอาการ ตรวจวินจิ ฉัย (จับชีพจร นับการหายใจ ฯลฯ) แล้วจึงทาการนวดตามแบบแผน
ข้อ 4. เวลานวดให้นั่งห่างจากผูป้ ่วยพอสมควร เมื่อนวดข้างซ้ายควรนั่งซ้าย นวดข้างขวาควร
นั่งข้างขวา ไม่ควรคร่อมตัวผู้ป่วยถ้าไม่จาเป็น
75

ข้อ 5. ขณะทาการนวดผู้ป่วย ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารหรือสิ่งใด ๆ และไม่


หายใจรดตัวผู้ป่วย
ข้อ 6. ขณะทาการนวด ต้องชี้แจง ปลอบใจ ให้กาลังใจแก่ผปู้ ่วย ไม่พูดให้ผู้ป่วยตกใจ
สะเทือนใจ หรือหวาดกลัว
ข้อ 7. ขณะทาการนวด ต้องรับฟัง สังเกตและซักถามอาการในขณะนวดเป็นนิจ ควรหยุด
นวดเมื่อผูป้ ่วยบอกให้พัก หรือเจ็บปวดจนทนไม่ได้
ข้อ 8. ไม่ทาการนวดผู้อื่น เมื่อตนเองไม่สบายหรือมีไข้
ข้อ 9. ไม่ควรนวดผู้ป่วยที่เพิง่ รับประทานอาหารมาไม่ถึง 30 นาที
ข้อ 10. การรักษาผู้ป่วยต้องไม่เลี้ยงไข้ ต้องรักษาตน มิใช่รกั ษาโรค หากเกินความสามารถ
ของตน ต้องแนะนาหรือส่งต่อให้ผู้มีความรู้ดีกว่า

จรรยาบรรณผูป้ ระกอบวิชาชีพการนวดไทย
1. มีเมตตาจิตแก่ผมู้ าใช้บริการ โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ
2. ไม่โลภ ไม่เห็นแก่ลาภของผู้มาใช้บริการแต่ฝ่ายเดียว
3. ไม่โอ้อวดวิชาความรู้ให้ผู้ใช้บริการหลงเชื่อ
4. ไม่หวง กีดกั้นผูป้ ระกอบอาชีพการนวดไทยทีม่ ีความรู้ดีกว่าตน
5. ไม่ลุแก่อานาจอคติ 4 คือ ฉันทาคติ (รัก) โมหาคติ (หลง) โทสาคติ (โกรธ) พญาคติ (กลัว)
6. ไม่รู้สึกหวั่นไหวในโลกธรรม 8 (ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์)
7. มีความระเอียด สะดุ้ง กลัวบาป มีหิริ – โอตตัปปะ
8. ไม่เป็นคนเกียจคร้าน เผอเรอ มักง่าย
9. มีความสุขุม รอบคอบ ไม่ประมาท
10. ไม่มีสันดานชอบการพนัน ไม่มัวเมาในหมูอ่ บายมุข
76

ประวัติการนวดไทย
ประวัติการ นวดไทย ไม่ชัดเจน
สืบสาวแหล่ง จากตารา โยคะศาสตร์
วัฒนธรรม จากอินเดีย ชื่อเส้นพาด
คล้ายกับอาสน์ โยคี ฤๅษีดัดตน
สมัยกรุง ศรีอยุธยา พาเขินขาด
ยุคบรม ไตรโลกนารถ มีผู้ค้น
พบหลักฐาน บรรดาศักดิ์ กาลังพล
นวดซ้ายขวา ข้างละคน สองเจ้ากรม
ครั้งสมเด็จ พระนารายณ์ มหาราช
ลาลูแบร์ ฝรัง่ คาด อิงเจือสม
ใครเจ็บป่วย ยืดเส้นสาย ขับไล่ลม
บ้างนวดข่ม บ้างเท้าเหยียบ เหยียบชานาญ
ประวัติตัด ลัดตอน ถึง ร. 3
โปรดให้ตาม สรรพวิชา จารึกขาน
มหาวิทยาลัย แรกของแพทย์ แผนโบราณ
ตั้งสถาน วัดโพธิ์เขต พระเชตุพน
ถึง ร.4 มีทาเนียบ เทียบกรมนวด
ศักดินาหวด ถึงแปดร้อย ตาแหน่งต้น
วรองค์รักษ์ สัมพาห์แพทย์ ภักดีดล
ประสาทผล วิจิตรประสิทธิ์หัตถ์ พินาศนาคา
ร. 5 ทรง โปรดหมอนวด ตามเสด็จ
ชาระเสร็จ คัมภีร์นวด กวดรักษา
มีจิตกรรม อยู่ที่วัด มัชณิมา
สี่สบิ ท่า ฤๅษีดัดตน ให้ยลกัน
77

ความรู้
เรื่องการนวดไทย
78

ประวัติความเป็นมาของการนวดไทย

การนวดไทยนับเป็นภูมิปัญญาอันล้าค่าของคนไทยที่มีประวัติและเรื่องราวสืบทอดกันมาช้า
นาน ดังจะเห็นได้ว่าการนวดมีบทบาทสาคัญในการรักษาโรคตั้งแต่อดี ตจนถึงปัจจุบัน โดยเชื่อว่าการ
นวดมีจุดเริ่มต้นมาจากการช่วยเหลือกันเองภายในครอบครัว เช่น สามีนวดให้ภรรยา ภรรยานวดให้
สามี ลูกหลานนวดให้พ่อแม่ หรือปู่ย่า ตายาย มีการใช้อวัยวะต่าง ๆ เช่น ศอก เข่า และเท้า นวดให้
กันหรือ นวดให้ตนเอง มีการพัฒ นาการใช้อุปกรณ์ในการนวด เพื่อช่วยให้ใช้น้าหนักได้มากขึ้น เช่น
นมสาว ไม้กดท้อง จากการนวดช่วยเหลือตนเองภายในครอบครัวจนเกิดความชานาญและมั่นใจจึ งได้
มีการนวดช่วยเหลือความเจ็บป่วยของเพื่อนบ้าน จนได้รับความนิยมและเชื่อถือ จากผู้มารับบริการจน
เกิดหมอนวดในที่สุด จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการนวดที่เก่าแก่ที่สุดคือ ศิลาจารึกสมัย
สุโขทัยที่ขุดพบที่ป่ามะม่วง ตรงกับสมัยพ่อขุนรามคาแหง มีรอยจารึกเป็นรูปการรักษาโดยการนวด
เมื่อถึงยุคสมัยกรุงศรีอยุธยารัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การแพทย์แผนไทยเจริญรุ่งเรืองมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวดไทย จนมีปรากฏในทาเนียบศักดิ นา ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนที่
ตราขึ้นในปี พ.ศ. 1998 มี การแบ่งกรมหมอนวดเป็นฝ่ายขวา – ซ้าย เป็นกรมฯ ที่ ค่อนข้างใหญ่ มี
หน้าที่ความรับผิดชอบมากและต้องใช้หมอมากกว่ากรมอื่น ๆ หลักฐานจากจดหมายเหตุของ ราชทูต
ลา ลู แบร์ ประเทศฝรั่งเศส ได้บันทึกเรื่องหมอนวดในแผ่นดินสยามมีความว่า “ในกรุงสยามนั้นถ้าใคร
ป่วยไข้ลง ก็จะเริ่มทาเส้นสายยืดโดยให้ผู้ชานาญในทางนี้ขึ้นไปบนร่างกายคนไข้ แล้วใช้เท้าเหยียบ
กล่าวกันว่าหญิงมีครรภ์มักใช้ให้เด็กเหยียบเพื่อให้คลอดบุตรง่าย ไม่พักเจ็บปวดมาก” ต่อมาสมัยพระ
บรมไตรโลกนาถ ในกฎหมายตราสามดวง “นาพลเรือน” กล่าวถึงการแบ่งส่วนราชการให้กรมหมอ
นวด จาแนกตาแหน่งเป็น หลวง ขุน หมื่น พัน และมีศักดินาเช่นเดียวกับข้าราชการสมัยนั้น ต่อมาใน
สมัย รัตนโกสินทร์ การแพทย์แผนไทยได้สืบ ทอดรูปแบบต่อจากสมั ยอยุธยา แต่เอกสารและวิชา
ความรู้บ างส่วนได้ส าบสูญ ไป เนื่อ งจากสภาวะสงครามทั้ ง ถูก จับ ไปเป็นเชลยอีก ส่วนหนึ่งด้วย แต่
อย่างไรก็ตาม หมอกลางบ้านและหมอพระที่อยู่ตามหัวเมื องยังมี อีกเป็น จานวนมาก จึงง่ายต่อการ
ระดม ในชั้นหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดให้ปั้นรูปฤๅษีดัดตน ซึ่งรูปหล่อ
ด้วยสังกะสีผสมดีบุก เพิ่มเติมจนครบ 80 ท่า และจารึกสรรพวิชาการนวดไทยลงบนแผ่นหินอ่อน 60
ภาพ แสดงถึงจุดนวดอย่างละเอี ยดประดับบนผนังศิลารายและบนเสาภายในวัดโพธิ์ ต่อมารัช สมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว จากหลักฐานการแบ่งส่วนราชการยังคงมีก รมหมอนวด
เช่นเดียวกับสมัยอยุธยาและทรงโปรดให้หมอยาและหมอนวดถวายการรักษาความเจ็บป่วยยามทรง
ประชวร แม้เสด็จประพาสแห่งใดจะต้องมีหมอถวายงานนวดทุกครั้ง ได้ชาระตาราการนวดไทยและ
เรีย กต าราแพทย์ ห ลวงหรื อ แพทย์ในพระราชส านั ก ครั้น เมื่ อการแพทย์แ ผนตะวัน ตกเข้ามาใน
สังคมไทย การนวดจึงหมดบทบาทจากราชสานักในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวส่วน
หมอนวดแบบชาวบ้านยังคงใช้การนวดแบบดั้งเดิมที่ได้รับการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ
จะเห็น ได้ว่าหมอนวดไทยมี อดี ตมี วิวัฒ นาการ การพั ฒ นาองค์ค วามรู้อ ย่างต่ อเนื่อ งมาก
พอสมควร ปัจจุบันการนวดไทยสามารถจาแนกเป็น การนวดแบบราชสานัก การนวดเชลยศักดิ์ (นวด
พื้นบ้านทั่วไป)
79

การนวดแบบราชสานัก หมายถึงการนวดเพื่อถวายกษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงของราชสานัก
การนวดแบบราชสานักพิจารณาถึงคุณสมบัติของผู้เรียนอย่างประณีตถี่ถ้วน และการสอนมีขั้นตอน
จรรยามารยาทของการนวด การนวดต้องสุภาพมาก ใช้อวัยวะได้น้อย และต้องตรงตามจุด จึงกล่าวได้
ว่าการฝึกมือและการนวดมีเอกลักษณ์เฉพาะ
การนวดเชลยศักดิ์ หมายถึงการนวดแบบสามัญชน มีการสืบทอดฝึกฝนแบบแผนการนวด
ตามวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเหมาะมากสาหรับชาวบ้านจะนวดกันเองใช้สองมือและอวัยวะส่วนอื่นโดย
ไม่ต้องใช้ยา ในปัจจุบันจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในสังคมไทย
การนวดไม่ใช่เพื่อรักษาความเจ็บป่วยเท่านั้น แต่มีคุณค่าต่ อสุขภาพ เป็นกระบวนการดูแล
สุขภาพและรักษาโรคโดยอาศัยการสัมผัสอย่างมีหลักการระหว่างผู้ให้การรักษา (หมอนวด) และผู้รับ
การรักษา (ผู้ป่วย) การนวดจะส่งผลโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ คือตั้งแต่ทาให้เกิดการไหลเวียนของ
เลือดลม กล้ามเนื้อผ่อนคลายรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายอาการฟกช้า เคล็ด ขัดยอกจนกระทั่ง
สามารถช่วยให้สุขภาพดีจิตใจสดชื่น กระปรี้กระเปร่า จิตใจผ่อนคลายได้อย่า งดี การนวดทุกรูปแบบ
จะมีส่วนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ส่งเสริมความสัมพันธ์ ภายในครอบครัวและสังคมอีกทาง
หนึ่ง
ในสังคมไทยสมัยก่อน การถ่ายทอดวิชาการนวดไทยยังไม่มี การสอนอย่างถูกระเบียบแบบ
แผน เป็นการถ่ายทอดตามสายบรรพบุรุษหรือตระกูลเดียวกัน ผู้เป็นอาจารย์จะพิจารณาว่ามีหน่วย
ก้านเหมาะสมที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ หรืออาจเป็นผู้ที่คุ้นเคยและอยากเรียนวิชามาฝากเป็นศิษย์
โดยจะมีวิธีไหว้ครูและครอบวิชาหมอนวดให้ วิธีการเรียนการสอนมีลักษณะแบบตัวต่อตัว เริ่มเรียน
จากการฝึกกาลังนิ้วตั้งแต่ขยาก้อนขี้ผึ้ง ดินน้ามันหรือดินเหนียว จนมีกาลังนิ้วและมือแข็งแรงมากขึ้น
จากนั้นจะสอนเรื่องจุดนวด เส้นประตูลม ฯลฯ แล้วเริ่มฝึกปฏิบัติ หัดนวดครูแ ละติดตามครูเพื่อรับรู้
ประสบการณ์วิธีการนวดและการจับเส้นจากครูให้ได้มากที่สุด การเรียนรู้ต้องใช้ความอุตสาหะอย่าง
มากในการฝึกปรือ จึงจะสามารถรับวิชาการนวดไทยได้อย่างถูกต้องและแม่นยา
การนวดหรือหัตถเวชเป็นการรักษาโรควิธีหนึ่ง ซึ่งมีผลทางการรักษาโรคบางโรคได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะโรคที่ไม่สามารถบาบัดได้ด้วยการใช้ยาฉีดหรือยากิน การนวดจึงมีบทบาทสาคัญอย่างหนึ่ง
ในการรักษาโรค
การนวดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มีม าช้านาน การนวดได้เป็นที่รู้จัก กันอย่างแพร่หลายใน
แผ่นดิน สมัยอยุ ธยา ไปจนถึงสมั ยรัชการที่ 5 และรัช กาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หมอนวดที่ มี
ชื่อเสียงมากในยุคนั้นได้แก่ “หมออินเทวดา” ซึ่งเป็นหมอนวดราชสานักและยังมีหมอนวดร่วมสมัยอีก
หลายท่าน หมออินเทวดา ได้ถ่ายทอดวิชกาการนวดทั้งหมดได้แก่บุตรชายคือ หมอชิต เดชพันธ์ ซึ่ง
ต่อมาได้ถ่ายทอดให้กับศิษย์หลายท่านและในจานวนนั้นมี อาจารย์ณรงค์สักข์ บุญรัตนหิรัญ ซึ่งเป็น
ศิษย์เอกรวมอยู่ด้วย และต่อมาเป็นอาจารย์อยู่ที่อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) โดยการเชิญของ
ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ท่านจึงได้ถ่ายทอดวิชาการนวดแบบราชสานักนี้ให้แก่นักศึกษา
ของอายุรเวทวิทยาลัยฯ ทุกคน เพื่อให้เป็นผู้ สืบทอดวิชาการนวดไทยสายราชสานัก มิให้เสื่อมสูญไป
นับได้ว่า อาจารย์ณรงค์สักข์ บุญรัตนหิรัญ ได้เป็นผู้อนุรักษ์ศาสตร์และศิลปะแขนงนี้ผู้หนึ่ง ทาให้ดารง
อยู่คู่ชาติบ้านเมืองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแม้ว่าอาจารย์ณรงค์สักข์ บุญรัตนหิรัญ จะไม่สามารถ
ถ่ายทอดความรู้ในการนวดได้จนหมดสิ้น เนื่องจากระยะเวลาในการเรียนการสอนมีจากัด ในขณะที่
80

การเรียนการสอนเรื่องนวดจะต้องอาศัย การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องยาวนานเพื่อให้เกิดความ
ชานาญ แต่ก็สามารถช่วยให้มีการนาการนวดมาใช้ในการบาบัดรักษาโรคที่เหมาะสมและไม่ร้ายแรง
ให้หายหรือ ระงับ การทุ กข์ท รมานของผู้ป่วยจ านวนหนึ่งการนวดจึงเป็นวิท ยาทานอันสูงส่งที่ ควร
อนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติคู่บ้านคู่เมืองสืบไป
การนวดเพื่อรักษาโรคของไทยมี 2 แบบ คือ การนวดแบบราชสานัก และการนวดแบบเชลย
ศักดิ์ (แบบทั่วไป) ซึ่งมีการเรียนการสอนหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมาทั้งใสถาบันการศึกษาและภายใน
ครอบครัว สถานศึกษาการนวดแบบเดิ มของไทยแห่งแรก คือ วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ปัจจุบันได้มี
เพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น วัดสามพระยา วัดปรินายก เป็นต้น
ส่วนการนวดแบบราชสานัก ปัจจุบันมีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบที่ อายุรเวทวิทยาลัย
(ชีว กโกมารภั จ จ์) ซอยอารี กรุ ง เทพฯ ซึ่ ง ย้ายมาจากตึก มหามงกุ ฎ วัดบวรนิ เวศน์ ซึ่ ง ก่ อ ตั้ง โดย
ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ท่านเห็นว่าการเรียนแผนโบราณอย่างเดียวทาให้ล้าสมัย ไม่
สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าเป็นทางการได้ ส่วนการเรียนแผนปัจจุบันอย่างเดียวก็ทาให้ก้าวหน้าขึ้นไป
จนมองข้ามประโยชน์ทรัพยากรต่างๆ ของไทยที่ไม่ได้พัฒนานาไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อวย เกตุสิ งห์ จึ งน าการแพทย์ทั้ ง สองระบบนี้ ม าผสมผสาน
ประยุกต์เข้าด้วยกันโดยให้นักศึกษาที่จบ ม.6 หรือเทียบเท่า สอบทั้งข้อเขียน และสัมภาษณ์ผ่านเข้า
มาเรียนวิชาแผนโบราณทุกสาขา และวิชาพื้นฐานสาขาเวชกรรมของแผนปัจจุบัน ทุกวิชา เรียกชื่อ
ตามกฎหมายว่า แพทย์แผนโบราณแบบประยุกต์และท่านยังเล็งเห็นความสาคัญของการนวดแผนไทย
แบบราชสานักที่ยังไม่มีการสอนแพร่หลายเหมือนแบบเชลยศักดิ์ จึงได้ เชิญท่าน อาจารย์ณรงค์สักข์
บุญรัตนหิรัญ ผู้มีความรู้ความชานาญทางด้านการนวดแบบราชสานักเป็นอย่างดีได้ถ่ายทอดความรู้
ให้กับนักศึกษาแพทย์แผนโบราณแบบประยุกต์ โดยท่านได้รับความรู้และเป็นศิษย์เอกท่านหนึ่งของ
อาจารย์ชิต เดชพันธ์ ซึ่งเป็นบุตรชายคนเล็กของหมออินเทวดา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และเรียน
จากอาจารย์นายแพทย์กรุด ลูกศิษย์หลวงวาโย ท่ านอาจารย์หลวงราชรักษาแพทย์ในราชสานัก
ท่านอาจารย์พัว หลายศรีโพธิ์ ลูกศิษย์หลวงรามเดชะ และท่านยังเป็นครูมวยไทย ซึ่งเป็นผู้นาท่าแม่
ไม้มวยไทยและดาบไทยหลายท่ามาประยุกต์เป็นท่านวด และนาจุดนวดต่างๆ ไปใช้ป้องกันและปราบ
คู่ต่อสู้ เป็นผลให้มวยไทยเป็นที่รู้จักแก่ชาวโลกจนทุกวันนี้ อาจารย์ณรงค์สักข์ บุญรัตนหิรัญ นาการ
นวดไทยแบบราชสานักมาสอนให้กับ นักศึกษาแพทย์แผนโบราณแบบประยุกต์ หลักสูตร 3 ปี มีการ
เรียนและฝึกปฏิบัติควบคู่กันไป เป็นการสอนด้วยตนเอง ไม่มีตารา นักศึกษาต้องจดบันทึกที่ท่านสอน
ตลอดเวลา หากใครไม่จดท่านก็จะเตือนให้จด แต่เนื่องจากมีโรคประจาตัว หลักสูตรที่ท่านดาริจึงยัง
ไม่ได้จัดทา และได้เสียชีวิตไปเสียก่อน
การจัดท าคู่มื อและเอกสารวิชาการเกี่ ยวกั บการนวดแผนไทยแบบราชสานัก ได้เคยมี การ
รวบรวมในขณะที่อาจารย์แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ผู้อานวยการสถาบันการแพทย์แผน
ไทย ซึ่ ง ด ารงต าแหน่ ง นายแพทย์ ส าธารณสุ ข จั ง หวั ด ปราจี น บุ รี ใน ขณะนั้ น โดยรวบรวมจาก
ประสบการณ์ที่ได้รับความรู้จากอาจารย์ณรงค์สักข์ บุญรัตนหิรัญ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ร่วมกับการศึกษา
และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับแพทย์แผนโบราณประยุกต์หลายคนในขณะนั้น ทาให้มีหนังสือเส้น
จุด และ โรคในทฤษฎีก ารนวดไทย และการนวดไทยส าหรับ เจ้าหน้าที่ ส าธารณสุข และได้นามา
เผยแพร่ในการฝึกอบรมด้านการแพทย์แผนไทย รวมทั้งได้เริ่มคัดเลือกท่า ฤๅษีดัดตนมาทดลองใช้ฝึก
81

ปฏิบัติในการอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จึงเป็นที่มาของหนังสือกายบริหารแบบไทย ท่าฤๅษีดัดตน


พื้นฐาน 15 ท่า ซึ่งถูก คัดเลือ กมาจาก 108 ท่าฤๅษีดัดตนที่ได้เคยรวบรวมไว้ก่อนแล้ว และได้มีก าร
เผยแพร่ในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่-สาธารณสุขและประชาชนอย่างกว้างขวาง
ในการอบรมด้านการนวดไทยที่สถาบันการแพทย์แผนไทยและ สานักสาธารณสุขจังหวัดต่าง
ๆ ดาเนินการส่วนใหญ่เป็นการอบรมระยะสั้นเนื่องจากมีข้อจ ากัดของงบประมาณและการใช้เวลา
ยาวนานจะมีปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ต่อมาสถาบันการแพทย์-แผนไทย จึงได้มีโครงการ
ศูนย์ฝึกอบรมการแพทย์แผนไทยเพื่อศึก ษาและพัฒ นาการเรียนการสอนด้านการแพทย์แผนไทย
สาหรับขยายผลการสนับสนุนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความพร้อมในการจัดการเรี ยนการสอน การ
นวดไทยแบบราชสานัก หลัก สูตร 3 เดือน จึง เป็นเป้าหมายหนึ่งที่ จะทดลองหลัก สูตรเพื่อส่งเสริม
ประชาชนให้มีอาชีพเสริมและช่วยเหลือผู้ว่างงาน โดยเปิดอบรมที่กรมการแพทย์ด้วยเหตุนี้จึงได้เชิญ
คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากอายุรเวทวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นผู้ ถ่ายทอดการนวดแบบราชสานักและบางท่าน
เป็นศิษย์ที่เคยได้รับการสอนจากอาจารย์ณรงค์สักข์ บุญรัตนหิรัญ เช่นอาจารย์อภิชาต ลิมติยโยธิน
ร่วมกับทีมงานของสถาบันฯ จัดทาคู่มือการนวดไทยแบบราชสานักขึ้นมา โดยเพิ่มเติมรายละเอียด
เนื้อหาพร้อมทั้งภาพประกอบ ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์จิรเดช บุญรัตนหิรัญ ซึ่งเป็นบุตรชายคน
เดียวของท่านอาจารย์ณรงค์สักข์ เป็นผู้สาธิตการนวดท่าต่างๆ ประกอบการบรรยาย
ปัจจุบันสถาบันการแพทย์แผนไทย ได้รับงบประมาณกลางสนับสนุนโครงการนวดแผนไทย
เพื่อแก้ปัญหาทางสังคมเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจ ซึ่งกิจกรรมส่วนหนึ่งจะมีการอบรมนวดแผน
ไทย หลักสูตร 300 ชั่วโมง เพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงานจึงได้เพิ่มเติมเนื้อหาที่จาเป็นสาหรับผู้อบรมเพิ่มขึ้น
เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและเป็นแนวทางการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญมากขึ้นต่อไป
การพัฒนาการนวดไทยซึ่งเป็นวิทยาการพื้นบ้านให้มีป ระสิทธิภาพ ประชาชนสามารถเรียนรู้
และน ามาใช้แ ก้ ป วดเมื่ อ ยได้ ด้ วยตนเองโดยไม่ ใช้ ย า ซึ่ ง เป็ น การเปิ ด โอกาสให้ ป ระชาชนทั่ ว ไป
พัฒนาการพึ่งตนเองอย่างสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีรวมทั้ง การสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิด
ในครอบครัวและชุมชน สอดคล้องกับนโยบายและหลักการของการสาธารณสุขมูลฐาน
จากประวัติและความเป็นมาของการนวดไทย สมควรที่คนรุ่นใหม่ควรจะต่อเทียนภูมิปัญญา
ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ตราบเท่าที่ผู้ทรงความรู้ยังสามารถประสิทธิ์ประสาทวิชาได้ หากเราคน
ไทยไม่สนใจ ความรู้ในการนวดไทยที่มีประสิทธิภาพก็จะสูญหายไป อาจารย์หลายท่านจากไปพร้อม
ความรู้ หากไม่มี การรวบรวมตาราการสืบ ทอดความรู้ ที่ นาไปประยุกต์ใช้จะทาให้เป็นระบบได้ยาก
หรือเบี่ยงเบนกลายเป็นการนวดเพื่อบริการทางเพศ ซึ่งเป็นข้อเสียอย่างหนึ่งที่ทาให้ชื่อเสียงหมอนวด
ไทยเสียหาย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ราชทูต ลา ลู แบร์ เคยเขียนยกย่องไว้ว่า “นวดสบายหายปวด
เมื่อย” แต่ปัจจุบันประเทศไทยถูกมองเรื่องนี้ติดลบ จึงเป็นเรื่องที่ลูกหลานไทยจะช่วยกันแก้ไข เพื่อ
กอบกู้ชื่อเสียงของการนวดไทยกลับคืนมา การแพทย์แผนไทย การนวดไทย จะได้แตกช่อต่อกิ่งจาก
ต้นที่เติบโตและหยั่งรากลึกในสังคมไทย และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคนไทยสืบไป
82

การนวดแบบทั่วไป (แบบเชลยศักดิ์)
ปัจจุบันมี การเรียนการสอนการนวดแบบทั่ วไปตามสถาบันการศึกษา โดยผู้เรียนสามารถ
สมัครเรียนได้โดยตรง โดยไม่มีการสอบคัดเลือกอัตราค่าเรียนขึ้นอยู่กับสถานศึกษาจะกาหนด ซึ่งจะมี
หลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว อาจเรียนเฉพาะวันหยุดราชการหรือทุก วันตามแต่จะตกลงกัน การ
เรียนการสอนโดยทั่วไปเป็นการสอนตัวต่อตัวกับครูหรือศิษย์รุ่นพี่ โดยใช้การสาธิตและ การฝึกปฏิบัติ
เนื้อหาการเรียนการสอนมักเป็นการเล่าประสบการณ์ของครูและสอนกายวิภาคศาสตร์แบบโบราณ
บ้าง พร้อมทั้งอบรมจริยธรรมโดยถือ หลักศีลธรรมเป็นสาคัญ สาหรับการเริ่มต้นเรียนอาจไม่พร้อม
กัน แต่เมื่อครบกาหนดการเรียนของศิษย์ ครูผู้สอนจะทดสอบผลการเรียนด้วยตนเองโดยให้ศิษย์
ทดลองนวดครู หากทาได้ดี ถูกต้อง ครูจะออกใบรับรองให้ ถ้ายังทาได้ไม่ดีไม่ถูกต้อง ก็จะให้เรียนและ
ฝึกหัดเพิ่มเติมต่อไป

ความรู้ที่จาเป็นสาหรับการนวดไทย

โดยทั่วไปแล้วหมอนวดมีอาชีพ หรือผู้ที่จะทาหน้าที่เป็นหมอนวดไม่ว่าจะเป็นอาชีพเสริมหรือ
เพื่อช่วยเหลือกันเองภายในครอบครัว ควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จาเป็นสาหรับการนวดไทย รวมไป
ถึงการเตรียมตัว เตรียมร่างกายให้พร้อมและปฏิบัติตามที่จะกล่าวต่อไป เพียงแต่จะเข้ม ข้นเท่ าใด
ขึ้นอยู่กับระดับการนาไปใช้

1. การเตรียมร่างกายของผู้นวด
1.1 การฝึกกาลังนิ้ว
สามารถทาได้โดยฝึกซ้อมยกกระดานทุกวัน ด้วยการสั่งขัดสมาธิเพชรและหย่งมือเป็น
รูปถ้วยวางไว้ข้างลาตัว แล้วยกตัวให้พ้นจากพื้น อาจใช้การฝึกโดยบีบขี้ผึ้งจนอ่อนตัว หรืออาจฝึก
นวดกับผู้ป่วยเลย การฝึกกาลังนิ้วจะทาให้นิ้วมือมีกาลังแข็งแรงเมื่อใช้นวดผู้ป่วยจะได้มกี าลังเพียงพอ
มือไม่สั่น ไม่อ่อนแรงทาได้ตรงเป้าหมายการรักษาจะทาให้การรักษาได้ผลรวดเร็ว
1.2 การรักษาสุขภาพโดยทั่วไป
ผู้นวดต้องรักษาสุขภาพให้ดีอยูเ่ สมอทั้งทางกายและใจ หมั่นออกกาลังกายให้ร่างกาย
แข็งแรง ถ้ารู้สึกว่าไม่สบายหรือมีไข้ไม่ควรทาการนวด เพราะนอกจากการนวดจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
แล้วยังอาจแพร่โรคให้กบั ผู้ถูกนวดได้ และเล็บมือควรตัดให้สนั้ และดูแลให้สะอาด

2. แนวทางการปฏิบัตกิ ารนวด
2.1 ศีลของผู้นวด
1. ไม่ดื่มสุรา หมายถึง ไม่ดื่มสุราทัง้ ก่อนและหลังการนวด รวมทั้งการรับประทาน
อาหารทีบ่ ้านคนไข้ เพราะอาจควบคุมตนเองไม่ได้ และอาจทาให้การนวดไม่ได้ผล รวมทัง้ เป็นการ
รบกวนคนไข้และญาติ
83

2. ไม่เจ้าชู้ หมายถึง ไม่แสดงกิริยาท่าทางลวนลามหรือใช้คาพูดแทะโลมคนไข้ที่


เป็นหญิง หรือถ้าผู้นวดเป็นผู้หญิงก็ไม่ควรแสดงกิริยายั่วยวนคนไข้ที่เป็นผู้ชายต้องนวดด้วยความ
สุภาพเรียบร้อย พูดคุยแต่พอควร
3. ไม่หลอกลวง หมายถึง ไม่เลี้ยงไข้ เช่น ถ้าสามารถรักษาโรคนั้น ๆ ให้หายขาดได้
ภายใน 1 – 2 ครั้ง ก็ไม่หลอกลวงว่าต้องนวด 5- 6 ครั้ง เพื่อหวังผลประโยชน์ ลาภ ยศ สรรเสริญ

สถานที่อโคจร หมายถึง สถานที่ ที่ไม่ควรทาการนวด


1. โรงพยาบาล เหตุผลเพราะในโรงพยาบาลมีหมอเจ้าของไข้อยู่แล้ว จึงไม่เหมาะสมที่จะไป
ทาการนวดรักษา และอาจเป็นการรักษาที่ซ้าซ้อนได้
2. โรงยาฝิ่น
3. โรงน้าชา
4. บ่อนการพนัน
5. สถานที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น ริมถนน ใต้โคนต้นไม้ ฯลฯ
อนึ่งในสมัยปัจจุบัน โรงยาฝิ่น โรงน้าชาไม่มีแล้ว ถ้าในสมัยปัจจุบันก็อาจ
เปลี่ยนแปลงไปเป็นพวก ไนต์คลับ ผับ ดิสโกเธค ฯลฯ เป็นต้น
2.2 การแต่งรสมือ
หมายถึง การลงน้าหนักแต่ละรอบและจังหวะของการลงน้าหนัก ซึ่งการลงน้าหนัก
นิ้วมือที่กด มี 3 ระดับ คือ
- น้าหนักเบา ประมาณ 50% ของน้าหนักทีส่ ามารถลงได้สูงสุด
- น้าหนักปานกลาง ประมาณ 70% ของน้าหนักทีส่ ามารถลงได้สงู สุด
- น้าหนักมาก ประมาณ 90% ของนาหนักทีส่ ามารถลงได้สงู สุด
การลงจังหวะนิ้วมือในการนวด
จังหวะในการลงน้าหนักแต่ละครัง้ มี 3 จังหวะ คือ
- หน่วง เป็นการลงน้าหนักเบา เพือ่ กระตุ้นให้กล้ามเนือ้ รู้ตัว ไม่เกร็งรับการนวด
- เน้น เป็นการลงน้าหนักเพิ่มขึ้นบนตาแหน่งที่ต้องการกด
- นิ่ง เป็นการลงน้าหนักมาก และกดนิง่ ไว้พร้อมกับกาหนดลมหายใจสั้นยาวตาม
ต้องการ
การลงน้าหนักเพิ่มขึ้นทีละน้อย ทาให้กล้ามเนื้อสามารถปรับตัวรับน้าหนักได้ทาให้ไม่
เจ็บหรือป่วยมากขึ้น การลงน้าหนักมากตั้งแต่เริ่มกด จะทาให้กล้ามเนื้อเกร็งรับทันที และอาจทาให้
ตาแหน่งที่กดคลาดเคลื่อนไป และผู้ถูกนวดจะเจ็บมากหรือระบมได้เช่นกัน
2.3 การกาหนดลมหายใจ
ต้องฝึกหายใจเข้าออกให้สัมพันธ์กับการลงน้าหนักโดยทั่วไปการลงน้าหนักควรกดลง
ไปขณะที่ผู้นวดหายใจออก ซึ่งเป็นขณะที่ร่างกายผ่อนคลาย การหายใจเข้าออกปกติ 1 ครั้ง เรียกว่า
คาบน้อย ส่วนใหญ่ใช้กั บการนวดพื้นฐานต่างๆ การหายใจเข้าลึก หายใจออกยาว 1 ครั้ง เรียกว่า
คาบใหญ่ ส่วนใหญ่ใช้กับการนวดรักษาโรค และการเปิดประตูลม แต่การเปิดประตูลมมักจะใช้คาบ
ใหญ่ 3 ครั้ง
84

การกดนวดนานเพียงใดขึ้นอยู่กับ ลักษณะของโรค ระยะเวลาที่เป็น และลักษณะ


ของผู้ถูกนวด การกดโดยใช้ระยะเวลาสั้น เกินไป การรักษาจะไม่ได้ผล การกดนานเกินไปทาให้มือผู้
นวดและตาแหน่งที่ถูกนวดระบมได้
2.4 การกาหนดองศามาตราส่วนหรือท่านวดและการวางมือ
เป็นการวางท่านวดของผู้นวดให้เหมาะสมกับผู้ถูกนวดและตาแหน่งที่นวดเพือ่ ให้ใช้
แรงที่กดนั้นลงตามจุดและมีน้าหนักเพียงพอที่จะรักษาโรค ซึ่งการวางมือ การวางเท้า การนั่งของผู้
นวดต้องเหมาะสมกับมือที่กดลงบนผู้นวด โดยทั่วไปแล้วขณะที่นวดแขนจะเหยียดตรง เพื่อลงน้าหนัก
ตามแขนลงไปสู่นิ้วที่นวด หากมีการงอแขนอาจทาให้น้าหนักลงไม่ตรงจุด แม้จะใช้น้าหนักมากและทา
ให้การรักษาได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลเลย ซึง่ ในการนวดแบบราชสานักได้ให้แนวทางไว้ว่า “แขนตึง
หน้าตรง องศาได้”
มารยาทในขณะทาการนวด
1. ก่อนทาการนวด ผู้นวดควรสารวมจิตใจให้เป็นสมาธิ ระลึกถึงคุณครู อาจารย์ สาหรับการ
นวดแบบราชสานักมักจะมีการยกมือไหว้ผู้ถูกนวด เพื่อเป็นการขอขมาทีล่ ่วงเกินบนร่างกาย
2. ขณะนวดควรนั่งห่างจากตัวผู้ถูกนวดพอสมควรในด้านทีจ่ ะทาการนวดไม่ควรคร่อมตัวผู้
ถูกนวด สาหรับการนวดแบบราชสานัก จะเดินเข่าเข้าหาผู้ถกู นวดอย่างน้อย 4 ศอก และนั่งห่างจากผู้
ถูกนวดประมาณ 1 ศอก และจับชีพจรดูลมเบือ้ งสูง กับลมเบื้องต่า
3. ขณะนวดไม่ควรก้มหน้าจะทาให้หายใจรดผู้ถูกนวด ซึ่งในการนวดแบบราชสานักได้มีคา
กล่าวไว้ว่า “แม้ลมหายใจก็ไม่ได้รดพระวรกาย” ขณะทาการนวดจึงมักจะหันหน้าตรงไปข้างหน้า
โดยไม่ก้มหน้า และไม่เงยหน้ามองฟ้า อันเป็นการแสดงความไม่เคารพ
4. ขณะทาการนวด ห้ามกินอาหารหรือสิง่ ใด ๆ และระมัดระวังการพูดที่อาจทาให้ผู้ถกู นวด
ตกใจ สะเทือนใจหรือหวาดกลัว ควรซักถามและสังเกตอาการอยู่เสมอ ควรหยุดเมื่อผู้ถูกนวดขอให้พกั
หรือเจ็บปวดจนทนไม่ไหว
ข้อควรระวังในการนวด
1. ในกรณีที่นวดท้องไม่ควรนวดผู้ทรี่ ับระทานอาหารอิม่ ใหม่ๆ (ไม่เกิน 30 นาที)
2. ไม่นวดให้เกิดการฟกซ้ามากขึ้น หรือมีอาการอักเสบซ้าซ้อน
3. กรณีผสู้ ูงอายุ โรคประจาตัวบาอย่าง เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ต้องระมัดระวัง
ในการนวด
4. ไม่นวดผู้ที่มีอาการอักเสบติดเชื้อ คือ มีไข้มากกว่า 38 องศา เซลเซียส ปวด บวม แดง
ร้อน
5. ไม่ควรนวดผู้ที่หลังประสบอุบัตเิ หตุใหม่ ๆ ควรได้รับการช่วยเหลือขั้นต้น และตรวจ
วินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หากเกินความสามารถ ควรประสานความร่วมมือกับแพทย์แผนปัจจุบัน
6. ข้อห้ามหรือข้อควรระวังอื่น ๆ ที่กล่าวไว้เฉพาะแต่ละโรคหรืออาการ
85

3. ข้อปฏิบัติหลังการนวด
3.1 คาแนะนาสาหรับผู้นวด
หากผู้นวดมีอาการปวดนิ้วมือให้แช่มือในน้าอุ่นเพื่อช่วยให้กล้ามเนือ้ ผ่อนคลายและ
การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น หรือใช้ผ้าชุบน้าอุ่นประคบมือ และนวดคลึงบริเวณเนินกล้ามเนือ้ ฝ่ามือและ
รอบข้อมือ
3.2 คาแนะนาสาหรับผู้ถูกนวด
1. งดอาหารแสลง เช่น อาหารมัน อาหารทอด หน่อไม้ ข้างเหนียว เครื่องในสัตว์
เหล้า เบียร์ ของหมักดอง
2. ห้าม สลัด บีบ ดัด ส่วนที่มอี าการเจ็บปวด
3. ท่ากายบริหารเฉพาะโรคหรืออาการ
4. คาแนะนาอื่น ๆ เช่น หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทีเ่ ป็นมูลเหตุเกิดโรค

อวัยวะที่ใช้ในการนวด

อวัยวะที่ใช้ในการนวดนั้น สามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนวดได้หลายอย่างดังนี้


1. การใช้มือ มีดังนี้
1.1 การใช้นิ้วมือ เป็นการใช้ข้อกลางนิ้วหัวแม่มือกดนวด ไม่ใช่ปลายนิ้ว วางนิ้ว
ทั้งหมดลงบริเวณที่จะนวด เพื่อช่วยพยุงน้าหนักตัวของผู้นวดได้ ส่วนใหญ่จุดทีจ่ ะนวดมักเป็นแอ่ง
หรือร่องที่เข้ากันได้ดีกบั นิ้วหัวแม่มือ
1.2 การใช้ฝ่ามือ เป็นการใช้ฝ่ามือกดคลึงบริเวณที่มกี ล้ามเนือ้ อ่อนที่ไม่สามารถจะใช้
นิ้วกดหรือใช้บบี กล้ามเนื้อโดยจับกล้ามเนื้อ
1.3 การใช้สันมือ เป็นการใช้สันมือออกแรงกดคลึงให้ลกึ ถึงกล้ามเนือ้ ไปมาหรือเป็น
ลักษณะวงกลม ใช้สันมือสาหรับการทุบการสับ เป็นการออกแรงกระตุ้นกล้ามเนื้ออย่างเป็นจังหวะ
1.4 การใช้มือ เป็นการอุ้งมือทัง้ สองข้าง หรือข้างใดข้างหนึง่ ในการดึง เพื่อยืดเส้น
เอ็นของกล้ามเนื้อ เพื่อให้ส่วนนั้นทางานได้ตามปกติ การบิด เพื่อหมุนข้อต่อของกล้ามเนื้อเส้นเอ็น ให้
ยืดออกทางด้านขวาง การดัด เพือ่ ให้ข้อต่อที่ติดกันเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
2. การใช้ศอก เป็นการใช้ศอกกดหรือคลึง บริเวณที่นิ้วมือกดไม่ถึงหรือจุดนั้นต้องการน้าหนัก
แรงกดมาก เช่น บริเวณกล้ามเนือ้ บ่า ฝ่าเท้า เป็นต้น
3. การใช้เท้า เป็นการใช้เท้าเหยียบ บริเวณที่มีกล้ามเนือ้ หนา ๆ เช่น ต้นขา ห้ามใช้เท้า
เหยียบไปบนหลังผู้ถูกนวดอย่างเด็ดขาด เพราะอาจทาให้กระดูกสันหลังหัก หรือเกิดอันตรายต่อ
อวัยวะภายในได้
86

ลักษณะการนวด

1. การกด มักใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงทีส่ ่วนของร่างกาย พอช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวให้


เลือดถูกขับออกจากหลอดเลือดที่บริเวณนั้น และเมื่อลงแรงกด เลือดก็จะพุง่ มาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น
ทาให้ระบบไหลเวียนของเลือดทาหน้าที่ได้ดี ช่วยการซ่อมแซมส่วนทีส่ ึกหรอได้รวดเร็วขึ้น
ข้อเสียของการกด คือ ถ้ากดนานเกินไป หรือหนักเกินไป จะทาให้หลอดเลือดเป็น
อันตรายได้ เช่นทาให้เส้นเลือดฉีกขาด เกิดรอยซ้าเขียวบริเวณที่กดนั้น
2. การคลึง คือการใช้นิ้วหัวแม่มือ หรือสันมือ ออกแรกกดให้ลกึ ถึงกล้ามเนื้อให้เคลื่อนไป
มา หรือคลึงเป็นลักษณะวงกลม
ข้อเสียของการคลึง คือการคลึงที่รุนแรงมากอาจทาให้เส้นเลือดฉีกขาด หรือถ้าไปคลึง
ที่เส้นประสาทบางแห่งทาให้เกิดความรู้สกึ เสียวแปลบ ทาให้เส้นประสาทอักเสบได้
3. การบีบ เป็นการจับกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือแล้วออกแรงบีบทีก่ ล้ามเนื้อเป็นการเพิม่ การ
ไหลเวียนของเลือดมายังกล้ามเนื้อ ช่วยให้หายจากอาการเมือ่ ยกล้ามเนื้อ การบีบยังช่วยลดอาการ
เกร็งของกล้ามเนื้อได้ด้วย
ข้อเสียของการบีบ เช่นเดียวกับการกด คือ ถ้าบีบนานเกินไปอาจทาให้กล้ามเนือ้ ช้า
เพราะเกิดอาการฉีกขาดของเส้นเลือดภายในกล้ามเนื้อนั้น
4. การดึง เป็นการออกแรง เพือ่ ทีจ่ ะยืดเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อหรือพังพืดของข้อต่อที่หดสั้น
เข้าไปให้ยืดออก เพื่อให้ส่วนนั้นทาหน้าที่ได้ตามปกติ
ข้อเสียของการดึง คือ อาจทาให้เส้นเอ็นหรือพังพืดที่ฉีกขาดอยู่แล้วขาดมากขึ้น ดังนั้น
จึงไม่ควรทาการดึงเมื่อมีอาการแพลงของข้อต่อในระยะเริ่มแรก ต้องรอให้หลังการบาดเจ็บแล้วอย่าง
น้อย 14 วันจึงทาการดึงได้
5. การบิด เป็นการออกแรงหมุนข้อต่อหรือกล้ามเนื้อเส้นเอ็นให้ยืดออกทางด้านขวา
ข้อเสียของการบิด คล้ายกับข้อเสียของการดึง
6. การดัด เป็นการออกแรงเพื่อให้ข้อต่อที่ติดขัดเคลื่อนไหวได้ตามปกติ การดัดต้องออก
แรงมากและต้องรุนแรง ก่อนทาการดัดควรจะศึกษาเปรียบเทียบการเคลือ่ นไหวของข้อต่อทีท่ าการดัด
กับข้อต่อปกติ (ซึ่งปกติจะต้องคานึงถึงอายุของผู้ป่วยด้วย โดยถือว่าเด็กย่อมมีการเคลื่อนไหวของข้อ
ต่อดีกว่าผู้ใหญ่)
ข้อเสียของการดัด คืออาจทาให้กล้ามเนื้อฉีกขาด ถ้าผู้ป่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบ ๆ
ข้อต่อนั้น หรือกรณีทาการดัดคอในผูส้ ูงอายุซึ่งมีกระดูกค่อนข้างบาง การดัดที่รุนแรงอาจทาให้
กระดูกหักได้
ในผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ก็ไม่ควรทาควรดัดเพราะอาจทาให้ข้อต่อ
เคลื่อนออกจากเดิม หรือกรณีข้อเท้าแพลงไม่ควรทาการดัดทันที อาจทาให้มีการอักเสบและปวดมาก
ขึ้น
7. การตบตี หรือ การทุบ การสับ เป็นการออกแรงกระตุ้นกล้ามเนื้ออย่างเป็นจังหวะ เรา
มักใช้วิธีการเหล่านี้กบั บริเวณหลังเพื่อช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ หรือช่วยในการขับเสมหะเวลา
ไอ
87

ข้อเสียของการตบตี คือ ทาให้กล้ามเนื้อซอกซ้าและบาดเจ็บได้


8. การเหยียบ เป็นวิธีที่นิยมทากันโดยให้เด็กหรือผู้อื่นขึ้นไปเหยียบ หรือเดินอยูบ่ นหลัง
ข้อเสียของการเหยียบ คือ เป็นการเหยียบที่อันตรายมากเพราะจะทาให้กระดูกสันหลัง
หักและอาจทิ่มแทงถูกไขสันหลังทาให้เป็นอัมพาตได้หรือทาให้เกิดอันตรายหรือเกิดการบาดเจ็บ
อวัยวะภายในได้ เช่น ตับไต ฯลฯ

ข้อห้ามในการนวด

1. บริเวณบาดแผล เพราะอาจทาให้เกิดการติดเชื้อ เจ็บป่วยหรือแผลแยก ทาให้หายช้า แต่


นวด เบา ๆ รอบ ๆ แผลได้
2. บริเวณทีเ่ ป็นมะเร็ง เพราะการนวดอาจทาให้มะเร็งกระจายไปที่อื่น แต่ถ้าปวดเมื่อยส่วน
อื่นก็นวดได้
3. บริเวณทีเ่ กิดสีดา เพราะเสือ้ ตายจากเส้นเลือดอุดตันหรือเลือดไปเลี้ยงน้อยเพราะอาจ
นวดอาจทาให้ก้อนเลือดในหลอดเลือดดาเคลื่อนที่ไปอุดหลอดเลือดในปอดหรือสมอง ถ้าจาเป็นต้อง
นวดด้วยความระมัดระวัง
4. เส้นเลือดอักเสบ
5. โรคผิวหนัง เพราะอาจทาให้เชื้อแพร่ออกไป
6. มีอาการอักเสบอย่างเฉียบพลัน เพราะการนวดจะทาให้อาการรุนแรงขึ้น
7. ขณะมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว
8. กระดูกหัก ข้อเสื่อม ไม่ควรนวดบริเวณที่มีกระดูกหักหรือข้อเคลื่อน แต่ถ้าปวดเมื่อยที่อื่น
ก็ให้นวด
9. ภาวะเลือดออก
10. น้าร้อนลวก ไฟไหม้ พอง
11. ฝี
12. ในผู้ป่วยเบาหวานห้ามใช้การนวดทีร่ ุนแรงเพราะอาจทาให้เกิดอาการซ้า ถ้าซ้าแล้วทา
ให้เกิดเป็นแผลซึ่งหายช้า จนบางครัง้ อาจต้องตัด ส่วนนั้นออก
88

การเตรียมสถานทีอ่ ุปกรณ์การนวด ผู้นวด และผู้ถกู นวด


1. ห้องนวด ควรมิดชิด มีม่านปิด แต่ให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกบรรยากาศสงบเงียบ เพื่อ
ช่วยให้ผู้ถูกนวดจิตใจสบาย กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
2. เตียง ต้องแข็งแรงและสูงพอเหมาะ เพื่อจะได้ไม่ต้องก้ม เตียงอย่าให้กว้างเกินไปเพื่อ
สะดวกในการเดินรอบเตียง เตียงที่มีมาตรฐานควรมีขนาดกว้าง 60 ซม.ยาว 1.80 เมตร และสูง 70 –
80 ซม. สาหรับการนวดแผนโบราณมักใช้เตียงสูง 30 ซม. ถ้าไม่มีเตียงอาจนวดบนพื้นก็ได้ โดยปูเสือ่
หรือปูผ้ารองนวด
3. เบาะปูเตียง ต้องแน่น ไม่อ่อนยวบ มีผ้าปูเตียงอีกชั้นหนึ่งเพื่อมิให้เหนียวเหนอะหนะ
เมื่อมีเหงื่อออก ผ้าปูต้องสะอาด
4. หมอนหนุน นุ่มไม่หนาเกินไป นิยมหมอนมีปลอกสวมเปลี่ยนซักทาความสะอาดได้

ผู้นวด ควรปฏิบัติดังนี้
1. แต่งกายสะอาดเรียบร้อย ผมสะอาดไม่รุงรัง
2. เสื้อควรเป็นแขนสั้น เพื่อสะดวกในการทางาน
3. กางเกงที่ใส่ต้องไม่คบั เพื่อให้ก้าวไปมาสะดวก
4. ผู้นวดต้องมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง มีกาลังพอควร
5. มือผู้นวดต้องหนาและนิ้วยาวพอสมควร
6. มือต้องสะอาด ตัดเล็บสั้น ไม่ใส่แหวน ไม่ทาเล็บ
7. อย่าให้มือเป็นแผล เพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้ เล็บต้องไม่มีเชื้อรา เพราะจะแพร่เชื้อให้ผู้
ถูกนวด

ผู้ถูกนวด ควรปฏิบัติดังนี้
1. แต่งกายตามความเหมาะสม เสื้อผ้าต้องสะอาด ไม่รัดตัวจนเกินไป
2. นอนอย่างสบาย
3. ส่วนที่นวดจะต้องเปิดออกในกรณีนวดแผนโบราณอาจมีเสื้อผ้าปิดอยู่ได้บ้าง
4. ส่วนที่นวดต้องสะอาด อาจเช็ดตัวและฟอกสบูเ่ สียก่อน
89

หลักพื้นฐานการนวดไทย

การนวดไทยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผู้นวดที่ดีจาเป็นต้องมีความรู้ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติที่
ถูกต้อง การมีความรู้ทางทฤษฏีที่ถูกต้อง จะช่วยให้การปฏิบัติได้ผลดียิ่งขึ้นลดผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจาก
การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ส่วนการปฏิบัติการนวดจนมีความชานาญจะทาให้เราเกิดความรู้ซึ่งในบางครั้ง
ไม่สามารถได้ในทางทฤษฎี เป็นความรู้ที่ เกิดจากประสบการณ์ตรง ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถพัฒนา
วิธีการนวดให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
หลักพื้นฐานการนวดเพื่อไทยที่ กล่าวต่อไปนี้ เป็น ความรู้ที่ ประมาณจากประสบการณ์ของ
วิทยาการฝ่ายการนวดไทยของโครงการฟื้นฟูการนวดไทย

หลักพื้นฐานการนวดไทย แบ่งได้เป็น 3 หัวข้อ คือ


1. ข้อพึงปฏิบัติในการนวด
2. ข้อพึงระวังในการนวด
3. มารยาทของผู้นวด

1. ข้อพึงปฏิบัติในการนวด
ก. ก่อนลงมือนวด ผู้นวดพึงปฏิบัติต่อไปนี้
1. สุขภาพดีไม่มโี รค
รักษาสุขภาพให้ดี ถ้าผู้นวดไม่สบาย ก็ไม่ควรนวดผู้อื่น เพราะจะไม่ได้ผลในการรักษา
อาจทาให้ผู้ถูกนวดติดโรคจากผู้นวด ผู้นวดก็อาจหมดแรงและโรคทีเ่ ป็นอยู่อาจกาเริบได้
2. กายสะอาด – ใจสะอาด
รักษาความสะอาด แต่งกายให้สะอาด ล้างมือให้สะอาด เล็บมือให้ตัดสั้นเพื่อไม่ให้ผู้
นวดเล็บเจ็บขณะกด ทาจิตใจให้สดชื่น จ่มใสอยูเ่ สมอ
3. ซักถามอาการ
ต้องซักประวัติและซักถามอาการผู้ที่ถูกนวด
3.1 ถ้าผู้นวดมีอาการต่อไปนี้ห้ามทาการนวด
- มีอาการปวดร้าวเสียวขาแปล๊บไปตามแขน หรือขา ซึ่งอาจเป็นโรคหมอน
รองกระดูกเคลื่อน หรือหินปูนกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง
- มีอาการเคลื่อนไหวลาบาก ข้อผิดรูป หลังได้รับบาดเจ็บ ซึง่ อาจเป็นเพราะ
กระดูกหัก หรือข้อเสื่อม
- เป็นโรคติดต่อง่าย ๆ เช่น วัณโรค
- เป็นโรคผิวหนังบางชนิด เช่น เป็นแผลเรือ้ รัง
- หลังการผ่าตัด
ในกรณีเหล่านี้ห้ามทาการนวด
3.2 ถ้าผู้ถูกนวดมีอาการต่อไปนี้ ควรส่งมอบผู้ชานาญ ไม่ควรนวดเพื่อช่วยเหลือ
กันเอง
90

- อาการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน)ของข้อหรือกล้ามเนือ้


- มีความดันโลหิตสูง
- เป็นโรคเบาหวาน
- มีอาหารแขน ขาไม่มีแรง ชา เป็นอัมพฤต อัมพาต
- ข้อติดมาก (ข้อเคลื่อนไหวไม่ได้เต็มที่เท่าข้อข้างที่ปกติ)
3.3 ถ้าผู้นวดมีอาการต่อไปนี้ ผู้นวดขั้นพื้นฐานสามารถช่วยเหลือกันเองได้
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึง่ อาจเกิดจากการทางานหนัก ทางานในท่าที่ไม่ถูกต้อง
เป็นเวลานาน ๆ หรือ เดิน ยืน นั่ง นอน ในท่าที่ไม่เหมาะสม
- มีความเครียดจากการทางาน นอนไม่หลับ หรือนอนไม่พอ หรือมี
ความเครียดทางอารมณ์
ข. เมื่อลงมือนวด ผู้นวดพึงปฏิบัติดังนี้
1. หายใจช้า ๆ ลึกๆ มีสมาธิ
ผู้นวดควรแนะนาให้ผู้ถูกนวดหายใจเข้าออกช้า ๆ ลึก ๆ สบาย ๆ ทาใจให้เป็นสมาธิ
จิตใจไม่คิดฟุ้งซ่าน เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายทัง้ ทางร่างกาย จิตใจ ผู้นวดก็ควรปฏิบัตเิ ช่นเดียวกัน
2. ระลึกถึงครู
ก่อนลงมือนวด ผู้นวดจะต้องทาการไหว้ครู เพือ่ ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์
ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ และเป็นการตั้งสติให้จิตใจแน่วแน่

ผลของการนวด

การนวดมีผลต่อระบบต่าง ๆ ดังนี้
1. ต่อระบบไหลเวียนในเลือด
- การคลึงทาให้เลือดถูกบีบออกจากบริเวณนั้นและมีเลือดใหม่มาแทนที่ ช่วยในการ
ไหลเวียนของเลือดและน้าเหลือง
- สาหรับการบวม การคลึงทาให้บริเวณนั้นนิ่มลงได้ ทาให้การบวมลดลง แต่ในกรณีที่
มีการอักเสบไม่ควรคลึงอาจทาให้บวมมากขึ้นได้
- อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ทาให้ส่วนที่นวดอุ่นขึ้น
2. ต่อระบบกล้ามเนื้อ
- ทาให้กล้ามเนือ้ มีประสิทธิภาพมากขึ้นเนือ่ งจากมีเลือดมาเลีย้ งมากขึ้น เช่นการ
เตรียมตัวของนักกีฬาก่อนการแข่งขัน
- ขจัดของเสียให้กล้ามเนื้อดีขึ้น ทาให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้าน้อยลงหลังใช้แรงงาน
- ทาให้กล้ามเนื้อหย่อนลง ผ่อนคลายความเกร็ง
- ในรายที่มีพงั พืดเกิดภายในกล้ามเนื้อ การคลึงอาจทาให้พังพืดอ่อนตัวลง ทาให้
กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นดีขึ้น และอาการเจ็บปวดลง
3. ต่อผิวหนัง
- ทาให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น ทาให้ผิวแต่งตึง
91

- ยาดูดซึมได้ดีทางผิวหนัง ภายหลังการนวดที่นานพอสมควร เช่น การนวดด้วยยาแก้ช้า


- การคลึงในรายทีม่ ีแผลเป็น (ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อพังพืดออกแทนผิวหนังเดิม) ช่วยให้
เลือดไปเลีย้ งบริเวณนั้นมากขึ้น ทาให้แผลเป็นอ่อนตัวลงหรือเล็กลงไป
4. ต่อระบบทางเดินอาหาร
- เพิ่มความดึงตัวของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ กระเพาะอาหาร และลาไส้
- เกิดการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลาไส้ ทาให้เจริญอาหาร ท้องไม่อืดไม่เฟ้อ
5. ต่อจิตใจ
- ทาให้เกิดความรู้สกึ ผ่อนคลาย สบายกาย สบายใจ
- ทาให้รู้สึกแจ่มใส
- ทาให้ลดความเครียดและความกังวล
- ทาให้เกิดความรู้สกึ อบอุ่น ได้รบั ความรัก ความเอาใจใส่ โดยเฉพาะสมาชิกใน
ครอบครัว ช่วยให้กันและกัน

กายวิภาคศาสตร์แบบการแพทย์แผนไทย

ในทฤษฏีการแพทย์แผนไทยเชื่อว่าการเกิดจะเกิดขึ้นได้ต้องมีพ่อแม่ที่มีลักษณะของชายหญิง
ครบถ้วน หมายถึง พ่อมีลักษณะของชายครบ แม่มีลักษณะของหญิงครบและต้องมีจุติวิญญาณเป็น
องค์ป ระกอบที่ 3 โดยให้ความหมายของชีวิตไว้ว่า ชีวิตคือ ขั นธ์ห้ า อันได้แก่ รูป เวทนา สัญ ญา
สังขาร วิญญาณ
รูป หมายถึง รูปร่าง หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม ซึ่งในพระไตรปิฎกได้อธิบายไว้ว่า รูปมีมหาภูตรูป
4 ได้แก่ ธาตุทั้ง 4 ดิน น้า ลม ไฟ และรูปที่เกิดจากมหาภูตรูป ได้แก่ อากาศ ประสาททั้ง 5 ได้แก่ ตา
หู จมูก ลิ้น กาย อารมณ์ทั้ง 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น สัมผัส
เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากประสาททั้ง 5 และจิตใจ
สัญญา คือ ความจาต่าง ๆ การกาหนดรู้อาการ
สังขาร หมายถึง การปรุงแต่งของจิตความคิดที่ผูกเป็นเรื่องเป็นราว ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า
สังขารคือร่างกายเช่น สักจะพูดว่าคนแก่ไม่เจียมสังขาร หมายถึงทาอะไรเกินกว่าร่างกายที่ชราจะรับ
ได้ แท้จริงสังขารเป็นความนึกคิด ก่อหรือผูกเป็นเรื่องเป็นราว
วิญญาณ คือ ความรู้แจ้งของอารมณ์ เช่น วิญ ญาณของนัก ต่อสู้ หมายถึงเป็นผู้มี อารมณ์
บากบั่นตั้งมั่นต้องสู้สุดใจ ผู้มีวิญญาณเป็นนักประชาธิปไตย มีจิตใจตั้งมั่นในสิทธิ เสรีภาพ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าชีวิตคือขันธ์ห้า ซึ่งคือร่างกายและจิตใจนั่นเอง ซึ่งมนุษย์ที่เกิดมาต่างก็มีชีวิตที่แตกต่างกัน
ไป มีรูป ร่างหน้าตาแตกต่างกัน มี ความรู้สึกนึกคิดและจิตส านึก รู้แจ้งทางอารมณ์ห รือที่เรียกว่า
วิญญาณที่แตกต่างกันไป
สิ่งมีชีวิตที่เกิดมาล้วนประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 อันได้แก่ ดิน น้า ลม ไฟ ซึ่งอยู่ในภาวะสมดุล
เกี่ยวข้องกันและกัน โดยแบ่งออกเป็นรายละเอียด ดังนี้
ธาตุดิน 20 ประการ ธาตุน้า 12 ประการ
ธาตุลม 6 ประการ ธาตุไฟ 4 ประการ
92

ธาตุดิน (ปถวีธาตุ) ธาตุดิน คือ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเป็นของแข็ง มีความ


คงรูป เช่น อวัยวะต่าง ๆ ธาตุดินโดยส่วนใหญ่มี 20 ประการ ได้แก่
1. เกสา (ผม) 11. หทยัง (หัวใจ)
2. โลมา (ขน) 12. ยกนัง (ตับ)
3. นขา (เล็บ) 13. กิโลมกัง (พังพืด)
4. ทันตา (ฟัน) 14. ปิหกัง (ไต)
5. ตโจ (หนัง) 15. ปับผาสัง (ปอด)
6. มังสัง (เนือ้ ) 16. อันตัง (ไส้ใหญ่)
7. นหารู (เส้นเอ็น) 17. อันตคุนัง (ไส้น้อย)
8. อัฐิ (กระดูก) 18. อุทริยัง (อาหารใหม่)
9. อัฐิมัญชัง (เยื่อในกระดูก) 19. กรีสัง (อาหารเก่า)
10. วักกัง (ม้าม) 20. มัตถเกมัตถลุงคัง (มันสมอง)
สิ่งเหล่านี้จัดเป็นธาตุดินภายใน ส่วนธาตุดินภายนอก ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ ต้นไม้ ดิน เป็นต้น
ธาตุดินส่วนที่ทาการรักษาโรคโดยการนวด ได้แก่
1. ระบบกล้ามเนื้อ เช่น มังสัง (กล้ามเนือ้ ) นหารู (เส้นเอ็น)
2. ระบบกระดูก เช่น อัฐิ (กระดูก) อัฐมิ ัญชัง (เยื่อในกระดูก)
ถ้าระบบกล้ามเนื้อ (ธาตุดิน) เกิดปัญหา โดยอยู่ในอิริยาบถหนึ่งนาน ๆ เช่น นั่งทางานนาน ๆ
จะเกิดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณบ่า เมื่อเกิดอาการปวดตึงเรื้อรัง จะมีผลทาให้ซึ่งเกิดการ
อักเสบของกล้ามเนื้อในบริเวณดังกล่าว ซึ่งอาการปวดและอักเสบนั่นคือ อาการของธาตุลม และธาตุ
ไฟกาเริบ ทาให้การไหลเวียนของโลหิต คือ ธาตุน้าไปเลี้ยงอวัยวะส่วนที่เหนือขึ้นไป เช่น คอ และ
ศีรษะไม่ส ะดวก เมื่ อท าการรักษาโดยการนวดแล้วกล้ามเนื้อบ่าจะอ่อนตัวลง ท าให้โลหิตไปเลี้ยง
บริเวณคอและศีรษะได้ม ากขึ้น ท าให้ธาตุทั้ง 4 เกิ ดการสมดุลกั น หรือการที่ ระบบโครงสร้างของ
ร่างกายบิดเบี้ยวไป กระดูกเอียง การมีท่าที่ผิดปกตินาน ๆ เกิดการเสื่อมของธาตุดิน ข้อกระดูกต่าง ๆ
เมื่อมีการนวดหรือดัดตน จัดท่าต่าง ๆ เข้าที่ดีแล้ว อาการสมดุลในโครงสร้างก็จะกลับมาได้ ทาให้
อาการต่าง ๆ หายไป
93

ภาพแสดงองค์ประกอบของธาตุดิน
94

ธาตุน้า (อาโปธาตุ) ธาตุน้า คือ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่มีลกั ษณะเป็นน้าเป็นของเหลว


มีคุณสมบัติไหลไปมา ซึมซับทั่วไปในร่างกาย อาศัยธาตุดินเพื่อการคงอยู่อาศัยธาตุลมเพื่อการเลื่อน
ไหล ธาตุน้าภายในมีโดยประมาณ 12 ประการ ได้แก่
1. ปิตตัง (น้าดี) 7. อัสสุ (น้าตา)
2. เสมหัง (น้าเสลด) 8. วสา (น้ามันเหลว)
3. บุพโพ (น้าเหลือง) 9. เขโฬ (น้าลาย)
4. โลหิตงั (น้าเลือด) 10. สังฆานิกา (น้ามูก)
5. เสโท (น้าเหงื่อ) 11. ลสิกา (น้ามันไขข้อ)
6. เมโท (น้ามันข้น) 12. มูตตัง (น้าปัสสาวะ)
ธาตุน้าภายนอก ได้แก่ น้าฝน น้าท่า น้าหรือของเหลวในสิ่งแวดล้อมทั้งหลายภายในดินมี
น้าซึมซับอยู่ ให้ความชุ่มชื้นแก่ดินและต้นไม้
95

ภาพแสดงองค์ประกอบของธาตุน้า

ธาตุลม (วาโยธาตุ) ธาตุลม คือองค์ประกอบของสิง่ มีชวี ิต มีลักษณะเคลื่อนไหวได้ มี


คุณสมบัติคือ ความเบา เป็นสิ่งที่มีพลังในร่างกายมีการเคลือ่ นไหว เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียดได้ ธาตุลม
ย่อมอาศัยธาตุดินและธาตุน้าเป็นเครื่องนาพาพลังและขณะเดียวกันธาตุลมพยุงดินและทาให้น้า
เคลื่อนไหวไปมาได้ ธาตุลมที่สาคัญมี 6 ประการ จัดเป็นธาตุลมภายใน ได้แก่
1. อุทธังคมาวาตา (ลมพัดจากเบื้องล่างสูเ่ บื้องบน)
2. อโธคมาวาตา (ลมพัดจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง)
3. กุจฉิยาวาตา (ลมพัดอยู่ในท้องนอกลาไส้)
4. โกฎฐาสยาวาตา (ลมพัดในกระเพาะลาไส้)
5. อังคมังคานุสารีวาตา (ลมพัดทั่วร่างกาย)
6. อัสสาสะปัสสาสวาตา (ลมหายใจเข้าออก)
ลมภายนอก ได้แก่ ลมพัดต่าง ๆ ลมบก ลมทะเล ลมที่พัดอันเป็นปกติของโลกหรืออากาศที่มี
การเคลื่อนไหวไปมานั่นเอง
96

ภาพแสดงองค์ประกอบของธาตุลม

ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) ธาตุไฟ คือ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต มีลักษณะที่เป็นความร้อน มี


คุณสมบัติเผาผลาญให้แหลกสลาย ไฟทาให้ลมและน้าในร่างกายเคลื่อนที่ด้วยพลังแห่งความร้อนอัน
พอเหมาะ ไฟทาให้ดินอุ่น คือ อวัยวะต่าง ๆ ไม่เน่า ไฟภายในมี 4 ประการ ได้แก่
1. สันตัปปัคคี (ไฟทาให้ร่างกายอบอุ่น)
2. ปริทัยหัคคี (ไฟทาให้รอ้ นระส่าระส่าย)
3. ชิรณัคคี (ไฟทาให้ร่างกายแห้งเหี่ยวทรุดโทรม)
4. ปริณามัคคี (ไฟย่อยอาหาร)
ไฟภายนอกได้แก่ ความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไฟทีจ่ ุดขึ้นหรือพลังความร้อนอื่น ๆ ที่มี
คุณสมบัติเผาผลาญต่างๆ
97

ภาพแสดงองค์ประกอบของธาตุไฟ

สรุป
ธาตุทั้ง 4 ต้องอยู่ในภาวะสมดุลกัน ร่างกายจึงจะเป็นปกติไม่เจ็บป่วย โดยธาตุดินอาศัยธาตุ
น้า ทาให้ชุ่มชื่นและเต่งตึงพอเหมาะ อาศัยลมพยุงให้คงรูป และเคลื่อนไหว อาศัยไฟให้พลังงานอุ่น
ไว้ไม่ให้เน่า น้าต้องอาศัยดินเป็นที่เกาะกุมชับไว้มิให้ไหล เหือดแห้งไปจากที่ที่ควรอยู่อาศัยลมทาให้น้า
ไหลซึมซับทั่วร่างกาย ลมต้องอาศัยดินและน้า เป็นที่อาศัย และนาพาพลังไปที่ต่าง ๆ ดินปะทะลมให้
เกิดการเคลื่อนที่พอเหมาะ ไฟทาให้ลมเคลื่อนที่ไปได้ ในขณะที่ลมสามารถทาให้ไฟลุกโชนเผาผลาญ
มากมายขึ้นได้ จะเห็นได้ว่าธาตุทั้ง 4 ต่างอาศัยซึ่งกันและกัน จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปมิได้ หากมีการ
แปรปรวนเสี ย สมดุ ล ได้ แ ก่ หย่ อ น ก าเริ บ พิ ก าร จะท าให้ ร่ า งกายไม่ ส บายเกิ ด โรคขึ้ น ได้
นอกจากนี้ยัง มีเหตุส่งเสริมจากธาตุภายนอกทั้ ง 4 และพฤติกรรมอันเป็นมูล เหตุท าให้เกิ ดโรค ซึ่ง
สามารถทาให้เกิดการเจ็บป่วยได้เช่นกัน
98

ร่างกายของเรา 1
ระบบของร่างกาย

เราได้เรียนรูม้ าแล้วว่าการนวดจะได้ผลดีและปลอดภัยหรือไม่นั้น ผู้นวดจะต้องมีความรู้


พื้นฐานในร่างกายมนุษย์ เพราะการนวดเป็นการกระทาโดยตรงต่อร่างกายของคนเรา หากนวดใน
ตาแหน่งที่ไม่สมควรนวด อาจทาให้เกิดอันตรายต่อผู้ถูกนวดได้
ในวิชาร่างกายของเรานี้จะแบ่งการบรรยายออกเป็น 5 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 กล่าวถึง ระบบของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการนวด
ตอนที่ 2 กล่าวถึง ร่างกายส่วนเข่าและขา
ตอนที่ 3 กล่าวถึง ร่างกายส่วนหลัง
ตอนที่ 4 กล่าวถึง ร่างกายส่วนศีรษะและคอ

หลังจากการเรียนรู้ในวิชานี้จบแล้ว ท่านจะรู้ว่า
1. ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทาหน้าทีอ่ ะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับการนวดอย่างไร
2. ส่วนต่างๆของร่างกายประกอบด้วยอะไรบ้าง ตั้งอยูท่ ี่ใด มีจานวนเท่าใด ทาหน้าที่อย่างไร
3. ส่วนของร่างกายทีจ่ ะต้องระมัดระวังในการนวดอยู่ที่ใดบ้าง

ร่างกายของเราประกอบด้วยระบบต่าง ๆ ได้แก่
1. ระบบกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ
2. ระบบประสาท
3. ระบบไหลเวียนดลหิตและน้าเหลือง
4. ระบบหายใจ
5. ระบบทางเดินอาหาร
6. ระบบขับถ่าย
7. ระบบต่อมไร้ท่อ
8. ระบบสืบพันธุ์
99

รูปที่ 1 แสดงโครงกระดูกด้านหน้า และด้านหลัง


100

รูปที่ 2 ภาพโครงสร้างโครงกระดูกและกล้ามเนื้อด้านหน้าและด้านหลัง
101
102

1. ระบบกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ


กระดูก กระดูกของคนเรามีทงั้ หมด 206 ชิ้น
หน้าที่ :
 เป็นโครงสร้างของร่างกาย ทาให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้ และช่วยรับน้าหนักของร่างกาย (ถ้า
เปรียบเทียบร่างกายเป็นบ้าน กระดูกก็คือเสาบ้าน)
 เป็นที่ยึดเกาะกล้ามเนื้อ เอ็น และพังพืด
 ป้องกันอวัยวะภายในที่สาคัญ เช่น
กะโหลกศีรษะ ป้องกัน สมอง
กระดูกสันหลัง ป้องกัน ไขสันหลัง
กระดูกซี่โครง ป้องกัน หัวใจ ปอด
 สร้างเม็ดเลือดโดยไขกระดูก
ข้อต่อ
ประกอบด้วย :
ปลายกระดูกตัง้ แต่ 2 ชิ้น มาต่อกัน
มีกระดูกอ่อนบุที่ปลายกระดูก
มีพังพืดหุ้มรอบข้อ
มีเอ็นและกล้ามเนือ้ ช่วยให้ข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว
หน้าที่ :
ทาให้มีการเคลื่อนไหวของกระดูกในลักษณะต่าง ๆ กัน ได้แก่
1. เคลื่อนไหวแบบบานพับ เช่น ข้อศอก ข้อเข่า
2. เคลื่อนไหวได้ 2 ระนาบ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า
3. เคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง เช่น ข้อไหล่ ข้อสะโพก
103

รูปที่ 3 แสดงข้อต่อปกติ

รูปที่ 4 แสดงการเคลื่อนไหวของกระดูกในลักษณะต่าง ๆ

กล้ามเนื้อ แบ่งเป็น 3 ชนิด:


1. กล้ามเนื้อลาย
- อยู่ในอานาจจิตสานึก (เราสัง่ ให้ทางานได้)ทาหน้าที่เคลื่อนไหวร่างกาย ได้แก่
กล้ามเนื้อตามใบหน้า สาตัว แขน ขา
2. กล้ามเนื้อเรียบ
- ไม่อยู่ในจิตสานึก (เราสั่งให้ทางานไม่ได้) ได้แก่ กล้ามเนื้อของอวัยวะภายใน เช่น
กระเพาะสาไส้ หลอดเลือด
3. กล้ามเนื้อหัวใจ
- เป็นกล้ามเนื้อลายที่ไม่อยู่ในอานาจจิตสานึก
104

กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการนวดมากที่สุด คือ กล้ามเนื้อลาย


การทางานของกล้ามเนื้อลาย
เมื่อสมองส่งคาสั่งผ่านไขสันหลังผ่านไปยังเส้นประสาทถึงกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจะ
เกิดการหดตัว จะดึงกระดูก 2 ชิ้นเข้ามาหากัน ทาให้ข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว เมือ่ มีการเกร็งอยู่กับที่

ผลของการนวดต่อกล้ามเนื้อ
1. กล้ามเนื้อจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพราะเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น
2. ขจัดของเสียในกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น เมือ่ ยล้าน้อยลงหลังจากการใช้งาน
3. ทาให้กล้ามเนือ้ ผ่อนคลาย
4. ทาให้พังพืดที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้ออ่อนตัว มีความยืดหยุ่นดีขนึ้

รูปที่ 5 การทางานของกล้ามเนื้อลาย
105

รูปที่ 6 ระบบประสาท
106

2. ระบบประสาท
หน้าที่ : ควบคุมและประสาทการทางานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
อวัยวะของระบบประสาทที่ควรรู้จกั
1. สมอง อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ แบ่งเป็น 2 ซีก สมองซีกซ้ายควบคุมร่างกายซีกขวา
สมองซีกขวาควบคุมร่างกายซีกซ้าย
ทาหน้าที่ : คิด จา สั่งการเคลื่อนไหว รู้สกึ ได้ยิน และมองเห็น
2. สมองน้อย อยู่ภายในกะโหลกศีรษะบริเวณท้ายทอย
หน้าที่ : ควบคุมการทรงตัว ความตึงของกล้ามเนื้อ ประสานการทางานของกล้ามเนือ้
3. ก้านสมอง อยู่ต่อจากสมองน้อยลงมา ตรงบริเวณท้ายทอย
หน้าที่ : ควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ
4. ไขสันหลัง อยู่ต่อจากก้านสมองลงมาสิ้นสุดที่กระดูกสันหลังช่วงเอว
หน้าที่ : เป็นทางเดินของเส้นประสาททัง้ รับความรู้สกึ และสัง่ การเคลื่อนไหว
5. เส้นประสาทไขสันหลัง ออกจากไขสันหลังทัง้ 2 ข้าง มี 31 คู่
หน้าที่ : รับความรู้สึกจากส่วนกลางต่าง ๆ ของร่างกายส่งผ่านไขสันหลังไปยังสมอง
: ส่งคาสัง่ จากสมองผ่านไขสันหลังไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ผลของการนวดต่อระบบประสาท
การนวดไม่มีผลต่อระบบประสาทโดยตรง แต่พบว่าการนวดช่วยกระตุ้นสมองให้สดชื่น
กระปรี้กระเปร่า เพราะเลือดไปเลี้ยงได้ดีขึ้น ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรกด หรือ คลึง บริเวณทีม่ ี
เส้นประสาทอยู่ตื้นเพราะอาจทาให้เกิดอัมพาตของแขนหรือขาที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทนั้นได้
107

รูปที่ 7 ระบบไหลเวียนโลหิต เลือดแดง เลือดดา


108

รูปที่ 8 ระบบของน้าเหลือง

3. ระบบไหลเวียนโลหิต
ประกอบด้วย
1. หัวใจ
หน้าที่ : รับเลือดแดงจากปอดแล้วสูบฉีดเลี้ยงทั่วร่างกาย
: รับเลือดดาจากทุกส่วนของร่างกายแล้วส่งไปฟอกเลือดที่ปอด
2. หลอดเลือดแดง
หน้าที่ : ส่งเลือดแดงจากหัวใจไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
: หดตัวและขยายตัวตามจังหวะการเต้นของหัวใจ เรียกว่า “ชีพจร” สามารถคลา
ได้หลายที่
- ซอกคอ - ขมับ
- ข้อพับซอก - ข้อพับเข่า
- ข้อมือด้านนอก - หลังเท้า
- รักแร้ - ขาหนีบ
3. หลอดเลือดดา
หน้าที่ : ส่งเลือดดาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายกลับสู่หัวใจ
ผลของการนวดต่อระบบไหลเวียนโลหิต
1. ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
2. ช่วยให้บริเวณที่นวดนั้นอุ่นขึ้น เพราะเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น
3. ลดอาการบวม
109

4. ระบบหายใจ ประกอบด้วย
1. โพรงจมูก มีขนและเมือกช่วยกรองฝุ่นละอองและเชื้อโรค
2. หลอดลม
3. ปอด มีถุงเล็ก ๆ อัดแน่นอยู่ 300 ล้านถุง มี 2 ข้าง ข้างซ้ายมี 2 กลีบ ข้างขวามี 3
กลีบ
4. กะบังลม เป็นกล้ามเนือ้ ที่ใช้ในการหายใจ กั้นระหว่างช่องอกและช่องท้อง ทางาน
เหมือนลูกสูบดึงอากาศเข้าปอด
การหายใจปกติ หายใจเข้าท้องพอง = พองหนอ
หายใจเข้ายุบท้อง = ยุบหนอ
ผลของการนวดต่อระบบหายใจ
การนวดไม่มีผลโดยตรงต่อการหายใจ แต่พบว่าการนวดช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย หายใจเข้า
และออกได้ดีขึ้น

รูปที่ 9 ระบบหายใจ
110

5. ระบบทางเดินอาหาร
ประกอบด้วย
1. ปาก
2. คอหอย
3. หลอดอาหารอยู่หลังหลอดลม
4. กระเพาะอาหาร อยู่ใต้กะบังลม ค่อนไปข้างซ้าย มีกรดและน้าย่อยออกมา เมื่อ อาหารลง
สู่กระเพาะอาหาร
5. ลาไส้เล็ก ยาวประมาณ 6 เมตร มีน้าดีและน้าย่อยจากตับอ่อนปล่อยออกมาทีล่ าไส้เล็ก
ส่วนต้นเพื่อย่อยอาหาร อาหารส่วนใหญ่ดูดซึมที่ลาไส้เล็ก
6. ลาไส้ใหญ่ มีไส้ติ่งซึ่งอักเสบได้ง่ายดูดซึมน้าและเกลือแร่บางส่วนกลับสู่ร่างกาย
7. ไส้ตรง เก็บกากอาหาร
8. ทวารหนัก ขับอุจจาระ
9. ตับ อยู่ชายโครงด้านขวามี 2 กลีบ สร้างน้าดี เก็บสะสมแป้ง ทาลายสารพิษ
10. ถุงน้าดี เก็บน้าดี ปล่อยน้าดีลงสู่ไส้เล็กส่วนต้น
11. ตับอ่อน สร้างน้าย่อย ปล่อยลงสู่ลาไส้เล็กส่วนต้น
สร้างอินซูลิน เพื่อควบคุมน้าตาลในเลือด ถ้าขาดอินซูลนิ จะเป็นเบาหวาน

ผลของการนวดต่อระบบทางเดินอาหาร
1. เพิ่มการตึงตัวของระบบทางเดินอาหาร
2. เกิดการบีบตัวของกระเพาะและลาไส้ ทาให้เจริญอาหาร ท้องไม่อืดเฟ้อ

รูปที่ 10 ระบบทางเดินอาหาร
111

ร่างกายของเรา 2
เข่าและขา

1. กระดูก ระยางค์ขา
กระดูกเชิงกราน เป็นที่อยู่ของไส้ตรงกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ภายในทางด้าน
ของขอบกระดูกเชิงกรานจะคลาพบปุ่มกระดูกของขอบกระดูกเชิงกราน ทางด้านหลังจะคลาพบขอบ
ของกระดูกเชิงกรานซึง่ อยู่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงเอวชิ้นที่ 4
กระดูกต้นขา ส่วนหัวของกระดูกต้นขามีลักษณะกลม เชื่อมต่อกับ กระดูกเชิงกรานเป็น
ข้อสะโพก
กระดูกสะบ้า ช่วยให้ขามีแรง วิ่งได้สะดวก
กระดูกหน้าแข้งด้านในและด้านนอก หัวกระดูกหน้าแข้งด้านในจะเชื่อมต่อกับหัวกระดูก
ต้นขาเป็นข้อเข่า กระดูกหน้าแข้งด้านใน สามารถคลาได้ตลอดความยาว บริเวณปลายของมันจะเป็น
ตาตุ่มใน กระดูกหน้าแข้งด้านนอก สามารถคลาได้บริเวณหัวกระดูก และบริเวณปลายของมันจะเป็น
ตาตุ่มนอก
กระดูกข้อเท้า มี 7 ชิ้น
กระดูกฝ่าเท้า มีขา้ งละ 7 ชิ้น ลักษณะฝ่าเท้ามีรูปร่างโค้ง ช่วยลดแรงกระเทือนเวลาเดิน
หรือวิ่ง และไม่ทาให้เจ็บ
กระดูกนิ้วเท้า มีข้างละ 14 ชิ้น
112

รูปที่ 11 เข่าและขา
กระดูก ระยางค์ขา

รูปที่ 12 กระดูกเชิงกราน
กระดูกเชิงกรานชาย - หญิง
มองจากด้านหน้า
113

2. สลักเพชร
ข้อต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกกระเบนเหน็บ เรียกว่า สลักเพชร ดูจาก
ภายนอกจะรอยบุ๋มหรือลักยิ้มที่กน้ การปวดทีส่ ลักเพชรอาจมีสาเหตุจากการกดทับที่รากประสาทเอว
ซึ่งมักจะปวดด้านหลังของต้นขา และหน้าแข้งด้านนอกซึง่ ไม่ควรนวด
การเคลื่อนไหวของข้อใน ระยางค์ขา
ข้อสะโพก สามารถเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทางเช่นเดียวกับข้อไหล่คือ งอข้อตะโพก เหยียดขา
ไป ทาง ด้านหลัง กางขา หุบขา หมุนขาออกนอก และหมุนขาเข้าในได้
ข้อเข่า ทาหน้าที่คล้ายบานพับ คือ สามารถ งอและเหยียดได้
ข้อเท้า ทาให้เราสามารถกระดกข้อเท้าขึ้น ถีบปลายเท้าลง หันฝ่าเท้าเข้าใน หันฝ่าเท้าออก
นอก
กล้ามเนื้อขา ที่สาคัญและเกี่ยวข้องกับการนวด ได้แก่
กล้ามเนื้อก้น ทาหน้าที่ เหยียดขาและกางขา
กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ทาหน้าที่ งอเข่า
กล้ามเนื้อน่อง ทาหน้าที่เขย่งปลายเท้าและช่วยงอเข่ามีเอ็นร้อยหวายเกาะติดกับกระดูกส้น
เท้า
กล้ามเนื้อกระดูกปลายเท้า อยู่ข้างกระดูกหน้าแข้งในทางด้านนอก

เส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง
เป็นเส้นประสาทซึง่ มาจากร่างแหประสาทกระเบนเหน็บ จะกดพบเป็นลาของ
เส้นประสาทบริเวณแก้มก้น วิ่งลงไปที่ข้อพับเข่า แล้วแยกเป็น 2 แขนง แขนงหนึ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ
น่อง อีกแขนงออกมาทางด้านข้างของกระดูกหน้าแข้งนอก ให้แขนงเลี้ยงกระดูกปลายเท้าขึ้น การ
กระแทก หรือ กดเส้นประสาทนีจ้ ะทาให้เสียวแปล๊บลงไปที่เท้า ถ้าเส้นประสาทนี้ช้าจะทาให้กระดกเท้า
ไม่ขึ้น จึงไม่ควรนวดบริเวณกระดูกหน้าแข้งนอก

หลอดเลือดขา ที่สาคัญต้องระมัดระวังในการนวดคือ
หลอดเลือดแดงบริเวณหน้าต้นขา ซึ่งสามารถคลาชีพจรได้ตรงบริเวณขาหนีบ โดยอยู่
ตรงกลางระหว่างหลอดเลือดดาและเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า การเปิดปิดประตูลม
โดยการกดหลอดเลือดแดง จะต้องระวังอย่ากดถูกเส้นประสาท และไม่ควรกดนวดนานเกิน 45 วินาที
เพราะจะทาให้เกิดอาการชาตามส่วนปลายของหลอดเลือด เพราะปลายประสาทขาดเลือดไปเลี้ยง
หลอดเลือดแดงที่ข้อพับเข่า เป็นบริเวณทีส่ ามารถคลา ชีพจรได้เช่นกัน เพราะไม่มี
กล้ามเนื้ออยูบ่ ริเวณนั้นจึงควรกดเบา ๆ
หลอดเลือดแดงบริเวณหลังเท้า อยู่ระหว่างกระดูกฝ่าเท้าชิ้นที่ 1 และ 2 ก็สามารถคลา
ชีพจรได้เช่นกัน
หลอดเลือดดาที่ขา ทาหน้าที่นาเลือดจากเท้ากลับสูห่ ัวใจ โดยอาศัยแรงบีบของกล้ามเนื้อ
ขามีลิ้นเล็ก ๆ ป้องกัน ไม่ให้เลือดดาไหลย้อนกลับลงมา ในคนที่เป็นเส้นเลือดดาซึ่งมีผนังบางอยู่แล้ว
114

จึงค่อย ๆ โป่ง และถูกยืดออกจนขดเป็นก้อน การนวดโดยการลูบหนัก ๆ จากข้อเท้าขึ้นไปยังข้อพับ


บริเวณขา อ่อน สลับกับการคลึงกล้ามเนื้อขา จะช่วยไล่เลือดดากลับเข้าสูห่ ัวใจมากขึ้น
ต่อมน้าเหลือง มีต่อมน้าเหลืองที่ข้างขาหนีบ การนวดทีร่ ุนแรงบริเวณนี้อาจทาให้เกิดการ
อักเสบ ของต่อมน้าเหลืองได้
115

ร่างกายของเรา 3
ร่างกายส่วนหลัง

โครงของกระดูกสันหลัง
ถ้ามองกระดูกสันหลังทัง้ หมดทั้งจากด้านข้างจะเห็นมีโค้งไปมา คือมีโค้งมาทางด้านหน้า 2
โค้งได้แก่ ช่วงคอและเอว และมีโค้งไปทางด้านหลัง 2 โค้งได้แก่ ช่วงอกและกระเบนเหน็บถ้ามองจาก
ด้านหน้าและหลังจะเห็นกระดูกสันหลังเป็นแนวตรง
การที่กระดูกสันหลังเรามีโค้งในลักษณะนี้ มีประโยชน์เหมือนสปริง คือช่วยลดแรงกระเทือน
ที่มีกับศีรษะ ซึ่งมีสมองอยูเ่ ป็นอย่างมาก ทัง้ ยังช่วยให้เราสามารถก้ม เงยได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น
ถ้าส่วนโค้งของกระดูกสันหลังมีมาก คือมองเห็นหลังงุ้ม เอวแอ่น กล้ามเนือ้ บริเวณหลังต้อง
รับภาระมาก ทาให้มีอาการปวดหลังได้

ช่องกระดูกสันหลัง – ไขสันหลัง
หน้าที่สาคัญอีกประการหนึ่งของกระดูกสันหลังก็คือ เป็นที่อยู่ของไขสันหลังโดยกระดูกสัน
หลังแต่ละชิ้นจะมีรกู ระดูกสันหลังอยู่ตรงกลาง เมื่อกระดูกสันหลังเรียงซ้อนกัน ช่องเหล่า นีจ้ ะอยู่
ตรงกันและยาวติดต่อกันไปตลอดหลัง เรียกว่า ช่องกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นที่อยู่ของไขสันหลังที่ออกมา
จากสมอง
ถ้าหมอนรองกระดูกหรือตัวกระดูกที่แตกหัก หรือมีหินปูนเกาะ ยื่นเข้าไปในช่องนี้ ก็อาจกด
เบียด หรือระเคืองไขสันหลัง หรือรากประสาทไขสันหลัง ทาให้เกิดอาการปวดร้าวเสียวชาไปที่แขน
หรือขา
กระดูกไหปลาร้า มี 2 ข้าง เชื่อมติดด้วยกระดูกหน้าอกช่วยในการแอ่นอกไปด้านหลัง
กระดูกอก มี 3 ชิ้น ติดกัน ต่อกับกระดูกไหปลาร้าและกระดูกซี่โครง ส่วนปลายกระดูกอกคือ
สิ้นปี่ ซึ่งเป็นกระดูกอ่อน
กระดูกซี่โครง มี 12 คู่ ข้างละ 12 ชิ้น ทางด้านหลังติดกับกระดูกสันหลังช่วงอก ทาง
ด้านหน้าติดกับกระดูกอกเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นคู่ที่ 11, 12 เรียกว่า ซี่โครงลอย
116

รูปที่ 13 หลัง กระดูกสันหลัง


โค้งของกระดูกสันหลังและช่องกระดูกสันหลัง
117

รูปที่ 14 หมอนรองกระดูกสันหลัง

รูปที่ 15 กระดูกไหปลาร้า
กระดูกอก กระดูกซี่โครง
118

เส้นประสาทหลัง
ประสาทไขสันหลังช่วงอก มีข้างละ 12 เส้นไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อระหว่าง
ซี่โครงกล้ามเนื้ออก หน้าท้องและแขนบางส่วน
เส้นประสาทไขสันหลังช่วงเอว มีข้างละ 5 เส้น (5 คู่)
เส้นประสาทไขสันหลังช่วงกระเบนเหน็บ มีข้างละ 5 เส้น (5 คู่)
เส้นประสาทไขสันหลังช่วงก้นกบ มีข้างละ 1 – 3 เส้น (1 – 3 คู่)
เส้นประสาทไขสันหลังช่วงเอวคู่ที่ 1 – 4 ในแขนงรวมกันเป็นร่างแหประสาทเอว ไปเลี้ยง
กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ต้นขาด้านหน้า และหน้าแข้งด้านใน
เส้นประสาทไขสันหลังช่วงเอวคู่ที่ 4 – 5 และ ช่วงกระเบนเหน็บไปเลี้ยงกล้ามเนือ้ ก้นสะโพก
ด้านข้างต้นขาหลัง และส่วนใหญ่ของหน้าแข้งและเท้า ถ้ามีความผิดปกติทกี่ ระดูกสันหลังช่วงใด เช่น
หมอนรองกระดูกเคลือ่ นไปกดทับรากประสาทสันหลัง หรือมีหินปูนเกาะและไประคายเคืองถูก
ประสาท จึงทาให้มีอาการปวดร้าวเสียวชาไปตามเส้นประสาท เช่น ถ้ารากประสาทเอวถูกกดทับ
อาจจะมีอาการปวดร้าวเสียวไปด้านหลังของขา และหน้าแข้ง และทดสอบว่ารากประสาทถูกกดทับ
หรือไม่นั้น สามารถทาได้ง่าย ๆ โดยให้ผู้ถูกนวดนอนหงายยกขาข้างที่ชาขึ้น โดยให้หัวเข่าเหยียดตรง
จะยกได้ไม่ตั้งฉากกับพื้น โดยเฉพาะถ้ายกขาแล้วมีอาการปวดหลังหรือร้าวลงมาตามขา
119

ร่างกายของเรา 4
ไหล่และแขน

กระดูกกระยางค์แขน
กระดูกสะบัก สามารถคลาได้เกือบตลอดทั้งชิ้น
กระดูกไหปลาร้า มี 2 ข้าง เชื่อมติดด้วยกระดูกหน้าอก ช่วยในการแอ่นอกไปด้านหลัง
กระดูกต้นแขน ส่วนหัวของกระดูกต้นแขนมีลักษณะกลม เชื่อมต่อกระดูกสะบัก หัวไหล่
กระดูกแขนด้านในและด้านนอก เชื่อมต่อกับปลายกระดูกต้นแขน เช่น ข้อศอก
กระดูกข้อมือ มี 8 ชิ้น กระดูกฝ่ามือ มี 5 ชิ้น กระดูกนิ้วมือ มี 14 ชิ้น

รูปที่ 16 กระดูกระยางค์แขน
120

กล้ามเนื้อไหล่และแขน
เนื่องจากหัวไหล่มกี ารเคลื่อนไหวได้มาก จึงหลุดออกง่าย ต้องอาศัยกาลังของ
กล้ามเนื้อช่วยยึด ได้ตลอดเวลา กล้ามเนื้อที่สาคัญและเกี่ยวข้องกับการนวด ได้แก่ กล้ามเนื้อ
สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นกล้ามเนื้อบ่าและหลังช่วยในการยกไหล่ขึ้น กดไหล่ลงแบะไหล่และหมุน
ศีรษะไปอีกด้าน
กล้ามเนื้อสามเหลี่ยม ปกคลุมหัวไหล่ โดยทอดมาจากกระดูกสะบักส่วนบน ปลายกล้ามเนื้อ
รวมเป็นเอ็นยึดเกาะทีป่ ุ่มด้านนอกของกระดูกต้นแขนทาหน้าที่กางแขน หุบแขนและงอข้อศอก
บริเวณกึง่ กลางของกล้ามเนื้อสามเหลี่ยม มีถุงน้าหล่อเลี้ยงข้อต่ออยู่ใต้กล้ามเนื้อนี้ การกดบริเวณนี้
อาจทาให้ถงุ น้าอักเสบอย่างรุนแรงมากเกิดอาการบวม แดง อย่างเฉียบพลัน จึงไม่ควรกดทีก่ ลาง
หัวไหล่
กล้ามเนื้อลูกหนู ทาหน้าที่งอข้อศอก
กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง ทาหน้าที่ตรงกันข้ามกับกล้ามเนื้อลูกหนู คือ เหยียดข้อศอก
กล้ามเนื้อเหยียดข้อมือและนิ้วมือ
กล้ามเนื้องอข้อมือและนิ้ว

หลอดเลือดบริเวณแขน
บริเวณรักแร้มีหลอดเลือดแดง สามารถคลาชีพจรได้ ถัดมาจะเป็นหลอดเลือดแดงต้นแขน ซึ่ง
คลาชีพจรได้ที่ข้อศอกด้านหน้า ซึ่งใช้วางหูฟังในการวัดความดันโลหิตหลอดเลือดนีจ้ ะให้แขนง 2 เส้น
เส้นหนึ่งไปเลี้ยงแขนด้านนอกจนถึงข้อมือสามารถคลาชีพจรได้ที่ข้อมือด้านในเช่นกัน
การกดทีร่ ุนแรงบริเวณหลอดเลือดแดงดังกล่าว อาจทาให้หลอดเลือดแดงฉีกขาดเกิดอาการ
บวมตลอดแขน ดังนั้นจึงไม่ควรกดแรงเกินไป

เส้นประสาทแขน
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขน เป็นแขนงต่าง ๆ ร่างแหประสาทส่วนแขน ซึ่งตั้งต้น จาก
เส้นประสาทที่ออกจากกระดูกสันหลังช่วงคอรวมกันเป็นกลุม่ ลอดใต้กระดูกไหปลาร้าและรักแร้ แล้ว
แยกเป็นแขนงต่าง ๆ ไปเลี้ยงแขน
การเปิดปิดประตูลมบริเวณรักแร้ จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะถ้ากดถูก
เส้นประสาทบริเวณนี้จะเกิดอาการเสียวแปลบลงที่แขนเป็นอันตรายได้
เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขนแขนงหนึ่งที่อยู่ด้านหลัง และเยื้องทางด้านในของปลายศอก ซึ่งไป
เลี้ยงกล้ามเนื้อข้อมือ และนิ้วมือทางด้านใน และเลี้ยงกล้ามเนื้อเนินเล็บที่ฝ่ามือ ถ้าชนถูกเส้นประสาท
นี้ จึงอาจทาให้มืองอไม่ได้และมีการลีบเล็กของกล้ามเนื้อเนินเล็บของฝ่ามือได้
121

ร่างกายของเรา 5
ศีรษะและคอ

กระดูกที่ศีรษะและคอ
กระดูกกะโหลกศีรษะ ทาหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันสมองจากอันตรายต่าง ๆ ประกอบด้วยกระดูก
หลายชิ้นมาต่อกัน
กระหม่อมด้านหน้า มีกระดูกหน้าผากและกระดูกด้านข้างศีรษะทั้ง 2 ชิ้นมาต่อกันเป็นรูป
ขนมเปียกปูน กระหม่อมนี้จะปิดตอนเด็กอายุได้ 2 ขวบ
กระหม่อมด้านหลัง มีกระดูกท้ายทอยและกระดูกด้านข้างศีรษะทั้ง 2 ชิ้น มาต่อกันเป็นรูป
สามเหลี่ยม กระหม่อมนี้จะปิดตอนเด็กอายุได้ 2 ขวบ กระหม่อมมีประโยชน์สาหรับเวลาคลอด
ศีรษะเด็กจะได้เหลี่ยมหรือเกยกันและเล็กลง ทาให้คลอดได้ง่าย และยังเป็นจุดที่ใช้ให้น้าเกลือ ยา ทาง
หลอดเลือดดาแก่ทารกได้อีกด้วย
บริเวณกระหม่อมตอนคลอดใหม่ ๆ จะปกคลุมด้วยพังพืดและหนังศีรษะเท่านั้นการเขกศีรษะ
เด็กหรือกระแทกถูกบริเวณนี้ จะกระทบกระเทือนต่อสมองโดยตรง ทาให้สมองบาดเจ็บและพิการได้
กลายเป็นเด็กที่หัวทึบ มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวในผู้ใหญ่ไม่มีข้อห้ามในบริเวณนี้
ทัดดอกไม้ อยู่บริเวณหน้าต่อกับหูแถว ๆ ขมับ เป็นส่วนทีบ่ างที่สุดบางทีส่ ุดของกะโหลก
ศีรษะ มีกระดูก 4 ชิ้นมาต่อกัน ถ้าถูกกระแทกแรง ๆ จะทาให้กระดูกแตกทิม่ แทงเข้าเนื้อสมอง ทาให้
เลือดออกในสมองถึงตายได้ การนวดบริเวณนี้ให้คลึงเบา ๆ อย่ากดแรง
บนกะโหลกศีรษะ มีเฉพาะเยื่อหุ้มกระดูก พังพืด และหนังหุม้ ศีรษะหุม้ การนวดบนศีรษะจะ
ทาได้ (แต่ต้องแน่ใจว่ากระดูกเชื่อมติดกันดีแล้ว) ช่วยให้เลือดหล่อเลี้ยงดีขึ้น ทาให้ผมดกดาและรูส้ ึก
ผ่อนคลาย

รูปที่ 17 กะโหลกศีรษะ
122

กายวิภาคศาสตร์ของศีรษะ คอ
ศีรษะ
ส่วนของศีรษะประกอบด้วยกะโหลก มีหน้าที่หมุ้ ตั้งอยูบ่ นคอ ส่วนของศีรษะธรรมชาติสร้าง
มาให้มีของแข็งอยู่ข้างนอก ของอ่อนทีส่ าคัญอยู่ด้านในชั้นต่าง ๆ ของศีรษะ
1. หนังศีรษะ
2. กล้ามเนื้อ
3. กะโหลกศีรษะ
ตอนเด็ก ๆ กะโหลกศีรษะมีรอยเชื่อมต่อไม่สนิทเรียก “กระหม่อม” ถ้ากดอย่างแรงจะเกิด
อันตรายต่อสมองได้ง่าย เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะปิดสนิทจุดอ่อนของกะโหลกอยู่ที่ทัดดอกไม้ เป็น
ตาแหน่งที่บางที่สุดของกะโหลกศีรษะ เช่น ถ้าเตะที่ทัดดอกไม้อาจถึงแก่ชีวิตเลือด อาจออกในสมอง
เพราะฉะนั้นขณะกดนวดต้องเบามือ ส่วนด้านท้ายทอย และด้านหน้าของกะโหลกศีรษะค่อนข้างหนา
กล้ามเนื้อค่อนข้างมาก
ขากรรไกร ข้อต่อขากรรไกร ถ้าอ้าปากจะเลื่อนไปข้างหน้าเล็กน้อย เมื่อปิดปากจะสามารถ
กลับเข้าที่ได้
คอ ต่าลงมาจากขากรรไกร คือกระดูกคอ มีทงั้ หมด 7 ชิ้น กระดูกคอชิ้นที่ 1ไม่มีบมุ๋ ยื่นมา
ด้านหลัง มีลักษณะเป็นวงแหวน กระดูกคอชิ้นที่ 2 – 7 เป็นแป้นกลม ๆ รับน้าหนักได้ไม่ค่อยนัก จะมี
เส้นประสาทคอและกระดูกชิ้นเล็ก ๆ ยื่นออกมา ถ้ากระดูกคอหักทับเส้นประสาท จะหยุดหายใจ และ
เสียชีวิต ถ้ากระดูกระดับคอหัก เข้าเผือกประมาณ 1 – 2 เดือน อยู่นิ่ง ๆ จะหาย

รูปที่ 18 กระดูกสันหลังช่วงคอ
123

กล้ามเนื้อคอด้านหน้า
เป็นแผ่นบาง ๆ เวลาเกร็งหรือยกคอจะรั้งเอวไว้ เกาะทีห่ ู และขอบในของกระดูกไหปลาร้า
ช่วยหันหน้า เอียงคอ
กล้ามเนื้อคอด้านหลัง ช่วยให้ยักไหล่ได้
กล้ามเนื้อหน้าผาก ช่วยให้ยักคิ้วได้
กล้ามเนื้อกระพุ้งแก้ม ช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร
กล้ามเนื้อรอบตา ช่วยให้ปิดตาได้
กล้ามเนื้อจมูก ช่วยย่นจมูกได้
กล้ามเนื้อริมฝีปาก ช่วยดึงเวลายิ้ม
กล้ามเนื้อรอบ ๆ ริมฝีปาก ช่วย อมน้า บ้วนปาก ผิวปากได้
กล้ามเนื้อด้านล่างของคาง ทาหน้าที่แบะปาก
ข้อต่อขากรรไกรหน้าต่อรูหู จะมีเส้นประสาทจากมองคู่ที่ 7 มาเลี้ยงใบหน้า ทาหน้าที่ควบคุม
กล้ามเนื้อ ไม่เกี่ยวกับความรูส้ ึก

รูปที่ 19 กล้ามเนื้อคอด้านหน้า

ระบบประสาทที่มาเลี้ยง
บริเวณศีรษะ คอ และบ่า
เส้นประสาทคอมี 8 คู่
คู่ที่ 1 ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อคอ
คู่ที่ 2 มีประสาทรับรู้ ไปเลี้ยงหนังศีรษะด้านหลัง
คู่ที่ 3 มาเลี้ยงบริเวณท้ายทอย
คู่ที่ 4 มาเลี้ยงบริเวณกึ่งกลางของคอ
คู่ที่ 5 มาเลี้ยงคอและพาดผ่านไหล่เล็กน้อย
คู่ที่ 6 มาเลี้ยงคอผ่านลงมาแขนถึงนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลางเล็กน้อย
คู่ที่ 7 เหมือนคู่ที่ 6 แต่จะเลี้ยงด้านหน้าของนิ้วกลางด้วย
124

คู่ที่ 8 มาเลี้ยงคอ ผ่านแขนลงมานิ้วนาง และนิ้วก้อย

สมอง
ประกอบด้วย สมองใหญ่ สมองน้อย ก้านสมอง
สมองใหญ่ส่วนหน้า มีหน้าทีเ่ กี่ยวกับการเคลื่อนไหว ความจา สติปัญญา
สมองใหญ่ส่วนกลางมีหน้าทีเ่ กี่ยวกับการรับรู้ความรู้สกึ ต่าง ๆ
สมองใหญ่ส่วนข้าง มีหน้าทีเ่ กี่ยวกับการได้ยิน
สมองใหญ่ส่วนหลัง มีหน้าทีเ่ กี่ยวกับการมองเห็น
สมองน้อย ควบคุมการทรงตัวประสาทการทางานของกล้ามเนื้อ
ก้านสมอง ควบคุมการหายใจ และการเต้นของหัวใจ
- การทีจ่ ะทราบได้ว่าสมองยังมีการทางานอยูห่ รือไม่ดูได้จากการที่รมู ่านตา ขยายออกมาก
และไม่มปี ฏิกิริยาต่อแสง
- บริเวณที่อนั ตรายทีส่ ุดของศีรษะ คือ บริเวณทัดดอกไม้ ซึ่งอยู่เหนือใบหูเล็กน้อย
- ในหนึ่งวัน ตามีการกระพริบ 1,000 กว่าครั้ง
- กล้ามเนื้อเหนือไหล่ จะมีลักษณะเป็นรูปขนมเปียกปูน เรียกว่า “กล้ามเนื้อสี่เหลี่ยมเปียก
ปูน”
- ถ้าต่อมน้าลายมีการอักเสบ จะทาให้เป็นโรคคางทูม
- ต่อมน้าเหลืองใต้คางมีหน้าที่จบั กินเชื้อโรค
- ต่อมทอลชิลทาหน้าที่เป็นด่านกักกันเชื้อโรค
- เส้นเลือดที่ออกไปจากหัวใจขึ้นไปเลี้ยงสมอง ตรงบริเวณคอด้านหน้าจะแยกออกเป็น 2
แขนง แตกและเปราะง่าย ถ้ากดบริเวณเส้นเลือด อาจทาให้เลือดตกและเกิดอาการหน้ามือเป็นลมได้
- ถ้าเขียนหนังสือมาก จะทาให้กล้ามเนื้อหลังส่วนบนปวดหัวและตึงได้

รูปที่ 20 สมอง
125

อวัยวะอื่น ๆ บริเวณใบหน้า คอ ที่สาคัญต้องระมัดระวัง คือ


ต่อมน้าลาย
อยู่บริเวณหน้าหู และใต้ขากรรไกรล่าง ต่อมน้าเหลือง บริเวณใต้คางและหน้าของคอ ไม่ควร
นวดเพราะจะทาให้อักเสบได้
ต่อมไทรอยด์
อยู่ด้านหน้าของคอ ไม่ควรนวด เพราะจะทาให้อักเสบและเจ็บปวดมาก และเลือดออกได้ง่าย
สรุปได้ว่า ที่ด้านหน้าของคอ ใต้คาง และฐานของคอ เหนือกระดูกไหปลาร้าขึ้นมา ไม่ควรทาการ
นวด
ด้านหลังของคอเป็นบริเวณที่ค่อนข้างปลอดภัย เพราะส่วนใหญ่เป็นกล้ามเนื้อมักมีอาการ
ปวดเมื่อยและเกิดความเครียด ทาให้ปวดศีรษะได้ การนวดที่ท้ายทอยถึงต้นคอ และบ่า จะช่วย
บรรเทาอาการเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี
ไม่ควรทาการดัด ดึงคอ เพราะกระดูกอาจคลาดเคลื่อนไปทับเส้นประสาท ทาให้ปวดร้าว ชา
ลงตามแขน และกล้ามเนื้อแขนเป็นอัมพาตได้ ถ้ากระดูกเคลือ่ นหรือหักแทงเข้าไปในไขสันหลัง จะทา
ให้เกิดอัมพาตขึ้นทั้ง 2 แขน และ 2 ขา หมดหนทางจะทาการรักษา หรืออาจเสียชีวิตได้ทันที เพราะ
อยู่ใกล้บริเวณก้านสมอง ซึ่งควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ
126

เส้นประธานสิบ

1. เส้นอิทา (จมูกซ้าย)
เริ่มตัง้ แต่ท้อง (ไม่ได้กล่าวไว้ตั้งต้นที่จุดใดของท้อง) พาดมาที่หัวเหน่าแล่นลงไปต้นขา แล้ว
เลี้ยวตลอดไปตามบริเวณหน้าของสันหลังแบบไปกับกระดูกแล้วเลี้ยวตลบลงมาบริเวณจมูกด้านซ้าย มี
ลมประจาที่เรียกว่า ลมจันทะกาลา

ภาพเส้นอิทาด้านหน้า ภาพเส้นอิทาด้านหลัง
127

2. เส้นปิงคลา (จมูกขวา)
มีแนวกาเนิดเหมือนเส้นอิทา แต่กลับข้างกัน เคยเริ่มจากบริเวณท้องผ่านทั่วศีรษะผ่านหัวเห
น่าลงไปที่ต้นขาขวา อ้อมไปท้องแนบแนวกระดูกสันหลังด้านขาวขึ้นไปศีรษะ อ้อมวกลงมาจมูก
ด้านขวา มีลมประจาที่เรียกว่า ลมสูริยะกะลา

ภาพเส้นปิงคลาด้านหน้า ภาพเส้นปิงคลาด้านหลัง
128

3. เส้นสุมนา (ท้อง)
กาเนิดตรงกลางท้อง ตรงขึ้นไปถึงขั้วหัวใจ แนบคอหอยจนวรรคตลอดลิ้น

ภาพเส้นสุมนาด้านหน้า ภาพเส้นสุมนาด้านหลัง
129

4. เส้นกาลทารี (แขนขา)
จุดกาเนิดตามคัมภีร์โรคนิทานกล่าวว่า เส้นกาลทารีเล่นออกจากท้องแตกเป็น 4 แขนง โดย
สองเส้นผ่านขึ้นไปตามซีโ่ ครงสุดท้ายข้างละเส้น ร้อยขึ้นไปทีส่ ะบักทั้งซ้ายและขวา เล่นขึ้นไปกาดันต้น
คอตลอดเศียร เวียนลงมา ทวนไปบรรจบหลังแขนทัง้ สองไปที่ข้อมือ แตกเป็น 5 แถวตามนิ้ว ส่วนอีก
2 เส้นแล่นไปข้างล่างตามหน้าขา 2 ข้าง วางลงไปหน้าแข้ง หยุดที่ข้อมือแตกออกเป็น 5 แขนงตาม
นิ้วเท้าทั้ง 2 ข้าง

ภาพเส้นกาลทารี ด้านหน้า ภาพเส้นกาลทารีด้านหลัง


130

5. เส้นสหัสรังษี (ตาซ้าย)
จากตาราโรคนิทานกล่าวว่า เส้นนี้ออกจากท้องด้านซ้ายเล่นลงไปต้นขาตลอดลงไปฝ่าเท้า
แล่นผ่านนิ้วเท้าบริเวณต้นนิ้วทั้ง 5 แล้วย้อนขึ้นมาทางซ้ายแล้วแล่นทอดเต้านมซ้ายเข้าไปชิดแนวคอ
ข้างคอ ลอดขากรรไกรใน สุดที่ตาซ้าย เรียก สหัสรังษี

ภาพเส้นสหัสรังษีด้านหน้า ภาพเส้นสหัสรังสีด้านหลัง
131

6. เส้นทุวารี (ตาขวา)
เส้นทุวารี หรือเรียกว่า ทะวาคะตา, ทะวาระจันทร์ รวมเรียกได้ 3 ชื่อ ส่วนทางเดินของเส้นทุ
วารี เช่นเดียวกับเส้นสหัสรังษี แตกต่างกันเพียงอยู่ทางด้านขวาของร่างกาย

ภาพเส้นทุวารีด้านหน้า ภาพเส้นทุวารีด้านหลัง
132

7. เส้นจันทภูสัง (หูซ้าย)
จากตาราโรคนิทาน เส้นจันทภูสัง (โสดซ้าย) มีชื่อเรียก 3 ชื่อ คือ “อุรัง” “ภูสัมพวัง” และ
“สัมปะสาโส” กาเนิดเส้น คือ แล่นจากท้องขึ้นไปตามราวนมซ้ายจรดทีห่ ู

ภาพเส้นจันทภูสังด้านหน้า ภาพเส้นจันทภูสังด้านหลัง
133

8. เส้นรุทัง (หูขวา)
มีชื่ออีกชื่อหนึง่ คือ “สุขุมอุสะมา” แนวของเส้นเหมือนกับเส้นจันทภูสัง แตกต่างกันที่เป็น
เส้นซึง่ อยู่ทางซีกขวาของร่างกาย

ภาพเส้นรุทังด้านหน้า ภาพเส้นรุทังด้านหลัง
134

9. เส้นสิขิณี (ทวารเบา) (อวัยวะเพศ)


ตาราโรคนิทานเรียกชื่อเส้นสิขิณี “รัตคินี” หรือ “สังคินี” มีจุดกาเนิดจากท้องลงไปยัง
ท้องน้อยและอวัยวะเพศ

ภาพเส้นสิขิณีด้านหน้า ภาพเส้นสิขิณีด้านหลัง
135

10. สุขุมัง (ทวารหนัก)


ตามตาราโรคนานเรียกว่า “กังขุง” แล่นออกจากท้อง กระหวัดรอบทวาร มีหน้าที่บบี รัดให้
อุจจาระถูกขับถ่ายออกมา

ภาพเส้นสุขุมังด้านหน้า ภาพเส้นสุขุมังด้านหลัง
136

ข้อควรระวังในการนวด

ในการนวดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มักจะคาดหวังผลอยู่ 2 ประการใหญ่ ๆ คือ


ประการแรก ทาให้เกิดผลทางการไหลเวียน โดยตรงบริเวณเนื้อที่ทาการนวด
ประการสอง เป็นการเกิดผลทางอ้อม โดยผ่านการตอบสนองของระบบประสาท เช่น
การเกิดผลที่อวัยวะภายใน เป็นต้น
ในประการทีส่ องนี้ยงั ต้องทาการศึกษาและวิจัยเพื่อให้การนวดมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น และ
ไม่เกิดอันตรายต่อผู้นวด การนวดทั่วไปจึงมุง่ ไปทีผ่ ลของประการแรกมากกว่า

เนื้อที่เรานวดประกอบด้วย
ก. กล้ามเนื้อ ซึ่งมีกล้ามเนื้อที่อยู่พื้นผิวของร่างกายและส่วนที่อยู่ลึกลงไปมีลักษณะเป็นมัดๆ
ข. พังพืดหุม้ กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ มีลกั ษณะเป็นแผ่นและเหนียว
ค. หลอดเลือด มีทั้งหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดา เลือดแดงเป็นเลือดที่ผ่านปอดแล้วจึง
มีปริมาณออกซิเจนสูง แต่เลือดดาจะมีปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง
ง. ท่อน้าเหลือง อาหารโดยเฉพาะสารโปรตีนจะเข้าสูห่ ลอดเลือดดาและท่อน้าเหลืองซึ่งทา
หน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคและสิง่ แปลกปลอมทีเ่ ข้าสู่ร่างกาย
จะเห็นได้ว่า ผู้นวดจาเป็นต้องแยกแยะความรูส้ ึกปลายนิ้วและฝ่ามือทีท่ าการนวดให้ออกว่า
กาลังนวดเนือ้ เยื่อแบบไหน มีลักษณะอย่างไร เนื่องจากมือเป็นส่วนที่มเี ส้นประสาทเลี้ยงมาก โดยเฉพาะ
ปลายนิ้ว ผู้นวดที่มีความชานาญสูงจึงสามารถกดหรือคลึงในส่วนที่ที่ต้องการด้วยแรงที่เหมาะสม และไม่
เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อนั้นหรือเนื้อเยื่อที่อยูล่ ึกลงไป
ผู้ฝึกนวดใหม่ ๆ จึงไม่ควรใจร้อนทีจ่ ะเรียนรูท้ ่านวดต่าง ๆ โดยไม่คานึงถึงข้อควรระวังหรือข้อ
ต้องห้ามตามร่างกาย ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อผู้ถูกนวดและทาให้ผู้นวดอาจมีความผิดตามกฎหมายด้วย
จึงคานึงถึงสิ่งต่อไปนี้ก่อนทาการนวด

ศีรษะ
ส่วนใหญ่เป็นกระดูกกะโหลกศีรษะ การนวดตามกระดูกอาจมีผลต่อเยื่อหุ้มกระดูก ซึง่ เป็นพัง
พืดและหนังหุม้ ศีรษะ ซึ่งเต็มไปด้วยหลอดเลือด
ส่วนที่ไม่ควรกดหนัก คือ บริเวณทีท่ ัดดอกไม้ เพราะบริเวณนี้เป็นส่วนที่บางที่สุดของกะโหลก
ศีรษะ และแตกได้ง่าย เป็นจุดอ่อนถ้ากระดูกกระทบกระแทกแรง ๆ อาจทาให้กระดูกแตก และทิ่ม
แทงเข้าเนือ้ สมองตายทันที
บริเวณที่ต้องระมัดระวังโดยเฉพาะในเด็กทีก่ ระดูกยังต่อไม่เต็มที่ คือ บริเวณกระหม่อม ซึง่
ตอนคลอดใหม่ ๆ จะกดปุม่ ด้วยพังพืดและหนังศีรษะเท่านั้น การเขกศีรษะเด็กหรือกระแทกถูกบริเวณ
นี้จะกระทบกระเทือนต่อสมองโดยตรง ทาให้สมองบาดเจ็บและพิการได้กลายเป็นเด็กทีห่ ัวทึบและมี
ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวในผู้ใหญ่จะไม่มีข้อห้ามที่บริเวณนี้
137

ใบหน้า
เป็นบริเวณกล้ามเนื้อหลอดเลือด และเส้นประสาท และยังมีต่อมน้าลายทีห่ น้าหู การนวด
หรือการกดจุดต่าง ๆ บนใบหน้าจึงต้องทาด้วยความละเอียดอ่อน และไม่ควรนวดรุนแรงที่บริเวณ
หน้าหูมากเพราะมีทั้งต่อมน้าลายและร่างแหประสาท ซึ่งควบคุมการทางานของกล้ามเนื้อ การนวดที่
รุนแรงจึงอาจทาให้ต่อมน้าลายอักเสบหรือมีอาการปากเบี้ยว ตาปิดไม่ลงได้
บริเวณต่อมน้าลายที่หน้าหูนี้อาจเกิดอักเสบจากเชื้อจะทาให้เกิดคางทูม จึงควรระวังไม่ควร
ทาการนวด

คอ
ใต้คางเป็นบริเวณทีม่ ีต่อมน้าลาย ต่อมน้าเหลืองและหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง ซึ่ง
สามารถคลาชีพจรได้ที่ใต้มุมคางการกดหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองเส้นนี้ ทาให้ความดันลดลง
หน้ามืด ตาลายได้ และถ้ากดนาน ๆ อาจทาให้สมองขาดออกซิเจนเกิดอันตรายแก่ชีวิต จึงไม่ควรกด
หรือปิดเปิดประตูลมทีห่ ลอดเลือดนี้
การกดถูกเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 ซึ่งทอดผ่านบริเวณนี้ยังอาจทาให้หัวใจเต้นช้าลงได้
ส่วนล่างของคอ ที่บริเวณเหนือกระดูกไหปลาร้าขึ้นมา มีร่างแหของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยง
แขนทั้งสองข้าง และเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกะบังลม การกดหรือนวดบริเวณนี้ อาจทาให้แขนชา หรือ
หายใจติดขัดได้
ที่ด้านหน้าของคอยังมีต่อมไทรอยด์ ซึ่งไม่ควรทาการนวด เพราะทาให้อักเสบหรือเจ็บปวด
มาก และเลือดออกได้ง่ายมากบริเวณนี้
ในกรณีที่มีความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 มีอาการเกร็งของกล้ามเนือ้ ที่ทอดลง
มาจากท้ายทอย มายังกระดูกหน้าอก จะเกิดอาการคล้ายตกหมอน แต่มีอาการรุนแรงกว่าโดยที่ศีรษะ
จะหันไปด้านตรงกันข้ามกับกล้ามเนื้อ กล่าวคือ กล้ามเนื้อทางซ้ายเกร็งแข็ง ศีรษะจะหันไปทางขวามือ
การนวดจึงไม่เกิดผลมากนักเพราะไม่ได้บรรเทาที่ต้นเหตุ
สรุปได้ว่า ที่ด้านหน้าของคอ ใต้คาง และฐานของคอเหนือกระดูกไหปลาร้าขึ้นมา ไม่ควรทา
การนวด นอกจากเกิดข้อเสียต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผลทาให้ต่อมน้าเหลือง บริเวณนี้อักเสบและ
บวมใหญ่ขึ้น ซึง่ ยากต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
ด้านหลังของคอเป็นบริเวณที่ค่อนข้างปลอดภัย เพราะส่วนใหญ่เป็นกล้ามเนื้อ มักมีอาการ
ปวดเมื่อยและเกิดการเครียด ทาให้ปวดศีรษะได้ การที่ท้ายทอยลงมาถึงต้นคอ บ่า จะช่วยบรรเทา
อาการเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี
ไม่ควรทาการดัด ดึงคอ เพราะกระดูกอาจเคลื่อนไปกดทับไปถูกเส้นประสาททาให้
ปวดร้าวชาลงตามแขน และกล้ามเนื้อแขนเป็นอัมพาตได้ ถ้ากระดูกเคลื่อนหรือแตกแทงเข้าไปใน
ไขสันหลัง จะทาให้เกิดอัมพาตทั้ง 2 แขน และ 2 ขา หมดหนทางที่จะทาการรักษา หรืออาจ
เสียชีวิตได้ทันที เพราะใกล้กับบริเวณก้านสมอง ซึ่งควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ
138

หัวไหล่
ปกคลุมด้วยกล้ามเนื้อทีห่ นามาก เช่น กล้ามเนื้อสามเหลี่ยมและกล้ามเนือ้ อื่น ๆ อีก หลายมัด
ทั้งนี้เนื่องจากหัวไหล่มีการเคลื่อนไหวได้มาก จึงหลุดออกง่ายต้องอาศัยกาลังของกล้ามเนื้อช่วยยึดไว้
ตลอดเวลา
ในผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งซีกมักมีอาการไหล่หลุดได้ง่าย ประคองหรือช่วยให้ผปู้ ่วยลุกขึ้นนั่ง
ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก จึงต้องดึงเฉพาะแขนข้างที่ดี และการนวดไม่ควรทาการดัด โดยเฉพาะท่าดัด
แขนไปข้างหลัง หรือหมุนแขนเข้าแล้วดัดขึ้นข้างบนซึ่งทาให้หัวไหล่หลุดได้แม้แต่คนในปกติ
ในรายการที่ไหล่ติด เนื่องจากมีการอักเสบของเส้นเอ็นทีท่ อดลงมาจากบ่ามักเกิดจากการหิ้ว
ของที่หนักเกินไป สามารถนวดที่ด้านหน้าของหัวไหล่ โดยให้มือไขว้หลังไว้ แต่ที่จุดกึ่งกลางของ
กล้ามเนื้อสามเหลี่ยมมีถุงน้าหล่อเลี้ยงอยู่ภายใต้กล้ามเนื้อนี้ การกดบริเวณนี้อาจทาให้ถุงน้าอักเสบซึ่ง
รุนแรงมากอาจเกิดอาการบวม และร้อนอย่างเฉียบพลัน จึงไม่ควรกดที่กึ่งกลางของหัวไหล่
ในกรณีที่ผปู้ ่วยยกแขนไม่ขึ้นได้ด้วยตนเอง แต่คนอื่นยกให้ได้สูงเท่าแขนอีกด้านหนึง่ ได้ เป็น
อาการของกล้ามเนื้อที่ยึดข้อไหล่ฉีกขาด ไม่ควรนวดหรือดัดเฉพาะอาจทาให้ฉีกขาดมากขึ้น ควรรีบ
ปรึกษาแพทย์

รักแร้
เป็นบริเวณทีม่ ีเส้นเลือดและปมประสาทมากมาย การกดบริเวณนี้ต้องระวังอย่างมาก ถ้าเกิด
อาการเสียวแปลบที่แขน แสดงว่ากดถูกเส้นประสาทต้องหยุดกดทันที การปิดเปิดประตูลมบริเวณนี้
ต้องทาด้วยความระมัดระวัง

ต้นแขน
ด้านหน้าและด้านหลังต้นแขนเป็นกล้ามเนื้อทีม่ ัดใหญ่ที่ทาหน้าที่งอข้อศอกและเหยียด
ข้อศอกตามลาดับ
การนวดช่วยแก้ปวดเมื่อยได้อย่างดีในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ซึ่งต้องใช้กล้ามทั้ง 2 มัดนี้มาก
ด้านข้างของต้นแขนมีเส้นประสาทผ่านลงมาเลี้ยงที่กล้ามเนือ้ เหยียดข้อมือและนิ้ว การคลึง
เส้นประสาทบริเวณนี้อย่างรุนแรงอาจทาให้เส้นประสาทนี้เสียกล้ามเนื้อเป็นอัมพาตกระดกข้อมือไม่ได้

ข้อศอก
ในเด็ก ข้อศอกเป็นข้อที่หลุดได้ง่ายและกระดูกแตกหักง่ายเนื่องจากกระดูกต่อกันไม่สมบูรณ์
เส้นประสาทที่อยู่ด้านหลังและเยือ่ ทางด้านในของปลายข้อศอก เลี้ยงกล้ามเนื้อที่ควบคุมโดยนิ้วก้อย
การถูกชนเส้นประสาทเส้นนี้ทาให้มีอาการเสียวแปลบไปตามด้านหน้าของนิ้วก้อยทันที การนวดที่
เส้นประสาทนีจ้ ึงอาจทาให้นิ้วมือทีเ่ หยียดไม่ออกและมีการลีบของกล้ามเนื้อมือได้ ที่บริเวณข้อพับ
ของข้อศอกมีหลอดเลือดใหญ่ผ่านทางด้านในของกล้ามเนือ้ สองหัว (กล้ามเนื้อลูกหนู) ซึ่งเป็นบริเวณที่
ใช้วางหูฟังเวลาวัดความดันเลือด การกดที่รุนแรงบริเวณนี้มักทาให้เลือดฉีกขาด เกิดอาการบวมตลอด
แขนจึงไม่ควรนวดหรือกดแรงเกินไป
139

ที่ปุ่มกระดูกด้านนอกและด้านในของกระดูกต้นแขนเหนือข้อศอกเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อ
กระดูกข้อมือและนิ้ว มักฉีกขาดบ่อยในพวกทีเ่ ล่นกีฬาจาพวกไม้ตี เช่น เทนนิส แบดมินตัน หรือกอล์ฟ
แต่สาเหตุพบบ่อยในชาวบ้านมักเกิดจากการตักน้าหรือหิ้วของหนัก
การกดทีบ่ ริเวณทั้ง 2 นี้ ถ้ารุนแรงมากอาจทาให้กล้ามเนือ้ ฉีกขาดขึ้น ทาให้การรักษาไม่ค่อยมี
ประสิทธิภาพมากที่ควร และมีอาการเรื้อรังมาก เพราะเป็นพังพืดหรือแผลเป็นภายในกล้ามเนื้อง่าย

ข้อมือ
มีหลอดเลือด 2 เส้น ผ่านทางด้านหัวแม่มอื แพทย์ใช้เป็นที่จบั ชีพจร ข้าง ๆ หลอดเลือดทั้ง 2
มีเส้นประสาททอดขนานเพือ่ ผ่านขึ้นไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่บริเวณเนินทั้งสองข้างของมือที่ฐาน
นิ้วหัวแม่มือและนิ้วก้อย ถ้ามีการอักเสบของพังพืดรัดตัวเข้า ถูกเส้นประสาทและหลอดเลือดทัง้ 2 ทา
ให้กล้ามเนื้อของเนินทัง้ 2 ลีบลงได้ การรักษาต้องผ่าตัดเอาพังพืดออกไป ดังนั้นการนวดบริเวณนี้จงึ
ต้องระมัดระวังอย่าให้รุนแรงเกินไปจนเกิดการอักเสบของพังพืดหรือกดถูกเส้นประสาททั้งสอง

หลัง
การนวดด้วยมือค่อนข้างปลอดภัย แต่การนวดโดยขึ้นไปเหยียบอาจทาให้กระดูกหลังหรือ
ซี่โครงหักได้ การที่กระดูกสันหลังหักและทิ่มแทงเข้าไปในไขสันหลัง ทาให้เป็นอัมพาตครึง่ ท่อนทั้ง 2
ขา กระดูกซี่โครงหักอาจทาให้ตกเลือดในช่องปอดถึงแก่ชีวิตได้ อาการปวดหลังมีสาเหตุมาจากโรค
มากมาย แต่ว่าการปวดหลังที่ปวดเมือ่ ยบริเวณกล้ามเนื้อ เกิดจากท่าการทางานที่ไม่ถูกต้อง การนวด
มักได้ผลดีและควรแนะนาท่าการทางานที่ถูกต้องด้วยทุกครัง้ เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง

ท้อง
ใต้กระดูกสิ้นปีเ่ ป็นกระเพาะอาหาร ปลายซี่โครงทางด้านบนขวาเป็นตับและด้านซ้ายเป็นม้าม
ลาไส้ใหญ่วิ่งรอบนอกข้างท้อง ลาไส้เล็กอยู่ส่วนลางของท้อง ถุงปัสสาวะอยู่ในกระดูกเชิงกรานส่วนล่าง
ห้ามนวดบริเวณกระเพาะอาหาร ตับ และม้าม
การนวดลาไส้ใหญ่ ต้องนวดจากขวาไปซ้ายของผู้ถูกนวด และถ้ากดเจ็บบริเวณต่ากว่า
สะดือเฉียงมาทางด้านขวาของกระดูกเชิงกรานซึง่ เป็นตาแหน่งของไส้ตงิ่ ห้ามนวด เพราะอาจเป็น
อาการของไส้ติ่งอักเสบ ควรให้ผู้ป่วยรีบไปพบแพทย์
การปิดเปิดประตูลมทีก่ ึ่งกลางของท้องทาได้เฉพาะในกรณีทไี่ ม่มีอาหารในลาไส้เล็ก ซึ่งอาจ
ต้องกินเวลา 2 – 3 ชั่วโมง หลังอาหารจึงนวดได้ และควรเป็นผู้มีความชานาญ

ข้อสะโพก
ข้อสะโพกในผูส้ ูงอายุหักได้ง่าย เมือ่ หกล้มลง ทาให้ลงน้าหนักไม่ได้เดินไม่ได้ ส่วนที่หักคือ
ส่วนที่เป็นคอของกระดูกต้นขาต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกใหม่ ในรายผูส้ ูงอายุจงึ ไม่ควรออกแรงดัด
ข้อสะโพกมากเกินไป
การปวดที่ข้อต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกข้อเหน็บ (สลักเพชร) อาจมีสาเหตุจาก
การกดทับเส้นประสาททีบ่ ั้นเอว ซึง่ มักจะปวดร้าวนิ้วหัวแม่เท้า การทดสอบว่าเส้นประสาทนี้ถูกทับ
140

หรือไม่นั้นสามารถทาได้ง่าย ๆ โดยให้ผู้ถูกนวดนอนหงายยกขาข้างที่ปวดขึ้นโดยให้หัวเข่าเหยียดตรง
ถ้ายกได้น้อยกว่าขาอีกข้างหนึ่งแสดงว่าอาจมีการกดทับถูกเส้นประสาทนี่ทบี่ ริเวณกระดูกบั้นเอว ต้อง
ทาการดึงกระดูกบั้นเอว โดยใช้น้าหนักถ่วงที่กระดูกเชิงกราน

ข้อเข่า
พังพืดหุม้ ข้อเข่า กระดูกอ่อนบุผิวปลายกระดูก ต้นขาและหน้าแข้งและเส้นพังพืด ไขว้
ภายในข้อเข่ามักฉีกขาดได้ในกีฬาที่รุนแรง เช่น รักบี้ ฟุตบอล การนวดอาจช่วยในกรณีของพังพืดรอบ
เข่าได้
ถ้าพบว่าข้อเข่าหลวมมากดันไปหน้าหลังได้ (ปกติดันไม่ได้) อาจเกิดอาการฉีกขาดของพังพืด
ไขว้ ควรรีบส่งแพทย์เพื่อการวินิจฉัย ในกรณีข้อเสื่อมมีกระดูกงอก การนวดตามจุดกดเจ็บไม่ควร
รุนแรงนักอาจทาให้อักเสบได้ง่าย

กระดูกสะบ้า
มักมีการเคลื่อนทีห่ รือหลุดออกจากทีเ่ ดิม ทาให้นกั กีฬาวิ่งไม่เร็วเท่าที่ควรและเจ็บปวด แต่
เดินได้ปกติ การดันเอากระดูกสะบ้าไปมาและนวดรอบ ๆ กระดูกสะบ้าไม่ควรรุนแรง เพราะถุงน้า
หล่อเลี้ยงอยู่ใต้สะบ้าซึง่ อักเสบได้ง่าย

กระดูกหน้าแข้ง
ด้านหน้าของกระดูกหน้าแข้งปกคลุมผิวหนังเท่านั้น กล้ามเนื้อจะเกาะอยู่ด้านข้าง 2 ข้าง ของ
กระดูกหน้าแข้ง การชนถูกกระดูกหน้าแข้งจึงเจ็บปวดมากในกรณีที่มกี ารปวดร้าวที่กระดูกหน้าแข้ง
เมื่อวิ่งไประยะหนึ่ง อาจเป็นอาการของกระดูกร้าวได้ ไม่ควรนวดต้องรีบส่งแพทย์วินิจฉัย
ด้านข้างของกระดูกหน้าแข้งด้านนอก บริเวณคอกระดูกไม่มกี ล้ามเนื้อเกาะอยู่ แต่มี
เส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อกระดูกข้อเท้าทอดผ่าน การกระแทกหรือกดเส้นประสาทนีท้ าให้เสียว
แปลบลงไปที่เท้า ถ้าเส้นประสาทนี้ขาจะกระดกเท้าไม่ขึ้นจึงมิควรนวด

ข้อเท้า
อาการปวดทีพ่ บบ่อยคือ ข้อแพลงทางด้านนอกข้อเท้า ซึง่ นวดได้และความพันผ้ายืดไว้หลัง
การนวด ถ้าข้อแพลงด้านในของข้อเท้า อาการจะรุนแรงและอาจมีกระดูกหักร่วมด้วยไม่ควรนวด

เท้า
ฝ่าเท้ามีจุดต่าง ๆ ทีก่ ดรักษาโรคได้เช่นเดียวกับใบหู อาการปวดที่เท้าเกิดจากเท้าแบน จะ
ปวดเวลายืนนาน ๆ การนวดอาจช่วยได้มากและถ้าให้ใส่รองเท้าที่มเี นินของพื้นรองเท้า เพื่อเสริมส่วน
โค้งของเท้าจะช่วยรับน้าหนักของร่างกายได้ดีกว่าคนที่เท้าแบน แต่ไม่เสริมพื้นรองเท้าและอาการปวด
จะทุเลาลง
กรณีที่มหี ินปูน (กระดูกงอก) เกิดขึ้นบริเวณส้นเท้า และที่เกาะของเอ็นร้อยหวาย การนวดที่
หนักเกินไปอาจทาให้เกิดอาการอักเสบได้ง่ายจึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
141

หลาย ๆ ท่านทีก่ าลังฝึกนวดคงเกิดความลังเลใจว่ามีข้อห้าม ข้อควรระวังมากมาย แล้วจะให้


นวดอย่างไรจึงจะปลอดภัย ข้อสรุปอยู่ที่ว่า ควรเรียนรู้กายวิภาค สรีรวิทยา และพยาธิวิทยาของ
ร่างกาย จึงจะนวดได้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

ระบบประสาทส่วนปลาย ได้แก่
1. เส้นประสาทสมอง เป็นเส้นประสาทที่ออกจากสมองมาเลี้ยงบริเวณศีรษะ และ ส่วน
ใกล้เคียง มี 12 คู่ ดังนี้

คู่ที่ หน้าที่
1 การดมกลิ่น
2 การเห็นภาพ
3, 4, 6 เลี้ยงกล้ามเนื้อลูกตาทาให้สามารถกลอกตาในทิศทางต่าง ๆ ได้
5 รับความรูส้ ึกของใบหน้า ฟัน และเลี้ยงกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร
7 เลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า
8 การได้ยินและการทรงตัว
9 การรับรส และการรับความรูส้ ึกภายในลาคอ
10 การควบคุมการทางานของอวัยวะภายใน เช่น การเต้น ของ หัวใจการหลัง่
กรดและน้าย่อยในกระเพาะอาหารการบีบของลาไส้
11 เลี้ยงกล้ามเนื้อหันหน้า และกล้ามเนื้อสีเ่ หลี่ยมขนมเปียกปูน ส่วนบน
12 ควบคุมการทางานของลิ้น

2. เส้นประสาทไขสันหลัง เป็นเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง มาเลี้ยงบริเวณตั้งแต่ส่วน


คอถึงปลายเท้า มี 31 คู่ แบ่งออกเป็น
เส้นประสาทระดับคอ มี 8 คู่
เส้นประสาทระดับอก มี 12 คู่
เส้นประสาทระดับเอว มี 5 คู่
เส้นประสาทระดับกระเบนเหน็บ มี 5 คู่
เส้นประสาทระดับก้นกบ มี 1 คู่
142

การบริหารแบบไทย
ท่าฤๅษีดดั ตนพื้นฐาน 15 ท่า

กายบริหารแบบไทยท่าฤๅษีดัดตนพื้นฐาน 15 ท่า

ท่าที่ 1 ท่าบริหารกล้ามเนือ้ ใบบนใบหน้า 7 ท่า


เป็นท่าที่ รศ.นพ.กรุงไกร เจนพาณิชย์ ใช้นวดถนอมสายตา (บริหารกล้ามเนื้อ
ใบหน้า 7 ท่า
ท่าเตรียม
นั่งหรือยืน ลาตัวตรง ล้างมือ ล้างหน้าให้สะอาด
ไม่สวมแหวน ไม่ใส่ตุ้มหู

ท่าบริหาร
1. ท่าเสยผม ใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง กดขอบกระบอกตาบน (ระดับคิ้ว) ทั้งสองข้าง
พร้อมกัน ค่อย ๆ กดพร้อมกับเลื่อนนิ้วมือทั้ง 3 นิ้ว เรื่อยขึ้นไปบนศีรษะ ต่อเนื่องไปจนถึงท้ายทอยใน
ท่าเสยผม ทาซ้า 10 ครั้ง

2. ท่าทาแป้ง ใช้นิ้วกลางทัง้ 2 ข้าง กดด้านข้างดั้งจมูกพร้อมกัน ค่อย ๆ กดพร้อมกับเลื่อนนิ้ว


ขึ้นไปจนถึงหน้าผาก โดยให้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ทั้ง 2 ข้าง จรดกันทีก่ ลางหน้าผาก
จากนั้นลูบมือทั้งสองข้างแนบสนิทไปทางหางคิ้ว ผ่านแก้ม ต่อเนื่องจนไปถึงคางทาซ้า 10 ครั้ง
143

3. ท่าเช็ดปาก ใช้ฝ่ามือซ้ายวางทาบบนปาก โดยให้ปลายนิ้วนางของฝ่ามือซ้ายวางอยูท่ ี่ปลาย


ติ่งหูข้างขวา ลากมือมายังด้านซ้ายพร้อมกับเม้มริมฝีปาก โดยให้ผ่ามือกดแนบสนิทขณะทา แล้วสลับ
เป็นมือขวา ทาแบบเดียวกันนับเป็น 1 ครั้ง ทาซ้า 10 ครั้ง

4. ท่าเช็ดคาง ใช้หลังมือซ้ายทาบใต้คางโดยให้ปลายนิ้วอยู่ทตี่ ิ่งหูขวา แล้วลากมือตัง้ แต่ติ่งหู


ขวาไปตามคางจนถึงใต้หูข้างซ้าย โดยให้หลังมือกดแนบสนิทขณะทาแล้วสลับเป็นมือขวา ทาแบบ
เดียวกันนับเป็น 1 ครั้ง ทาซ้า 10 ครั้ง

5. ท่ากดใต้คาง ใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือทัง้ 2 ข้าง กดตรงกลางคางโดยให้ปลายนิ้วหัวแม่มือแนบ


กับใต้คาง ขณะกดก้มหน้าเล็กน้อยเพื่อต้านนิ้วมือ ใช้แรงกดพอสมควร นิ่งสักครู่ นับ 1-10 ในใจ
(ประมาณ 10 วินาที) แล้วเลื่อนจุดกดให้ทั่วแนวใต้คางตามลาดับ โดยเลื่อนทีละจุด ทาซ้า 5 ครั้ ง

6. ท่าถูหน้าหูและหลังหู ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางทั้ง 2 ข้างคีบหู โดยให้ฝ่ามือแนบกับแก้ม ถูนิ้ว


มือขึ้นลงแรง ๆ นับเป็น 1 ครั้ง ทาซ้า 20 ครั้ง
144

7. ท่าตบท้ายทอย ใช้ส้นมือทั้ง 2 ข้าง ปิดหูไว้ โดยให้ปลายนิ้วทั้ง 2 ข้างวางอยู่บริเวณท้าย


ทอย ปลายนิ้วกลางจรดกัน กระดกนิ้วมือทั้ง 2 ข้างให้มากทีส่ ุด แล้วตบที่ท้ายทอยพร้อมกันโดยไม่ยก
ฝ่ามือ ทาซ้า 20 ครั้ง

หมายเหตุ ในการบริหารแต่ละท่า ให้กาหนดลมหายใจเข้าออกไปด้วย

ท่าที่ 2 ดัดตนแก้ลมข้อมือและแก้ลมในลาลึงค์
เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตน แก้ลมข้อมือและแก้ลมในลาลึงค์

ดัดตนแก้ลมข้อมือ
อนิดถิคันธ์ท่านนิ่วหน้า ตาถลึง
ลมเสียดสองหัตถ์ตึง ปวดติ้ว
พับเข่านั่งคานึง นึกดัด ดั่งฤา
กายขดชระดัดนิ้ว นบถ้าเทพนม

ดัดตนแก้ลมในลาลึงค์
อัคะตะตระบะเพี้ยง เพลองผลาญภพฤา
ถวายเกราะองค์อวะตาล ท่านนั้น
นั่งดัดหัตถ์สองผสาน พนมนิ่งอยู่นา
เพื่อขัดปัศสาวะอั้น ออกได้โดยใจ

ประโยชน์ แก้ลมในข้อมือและแก้ลมในลาลึงค์
เป็นการบริหารข้อมือ และเป็นการเตรียมพร้อมฝึกลมหายใจ จากโคลงที่ 2 นั้นน่าจะได้ผล 2
ทาง คือ ข้อมือ และเมื่อเพิม่ การขมิบก้น จะช่วยบริหารบริเวณฝีเย็บได้อกี ด้วย

ท่าเตรียม
นั่งขัดสมาธิหรือตั้งเข่าหรือนั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้
พนมมือ ในท่าเทพพนม โดยให้มือทีพ่ นม
อยู่ห่างจากหน้าอกแขนตั้งฉากกับลาตัว
145

ท่าบริหาร
ให้มือซ้ายดันมือขวา มือขวาต้านแรงมือซ้าย พร้อมกับดัดปลายนิ้วให้โน้มไปด้านตรงข้าม
ในขณะดันมือค่อย ๆ สูดลมหายใจเข้าให้ลกึ ทีส่ ุด กลั้นลมหายใจไว้ แขม่วท้องขมิบก้นไว้สักครู่ ผ่อ นลม
หายใจออก พร้อมกับค่อย ๆ คลายมือกลับมาอยู่ในท่าเตรียม ทาสลับทาสลับกันระหว่างมือซ้ายกับมือ
ขวา นับเป็น 1 ครั้ง ทาซ้าจนครบ 5-10 ครั้ง

ท่าที่ 3 ดัดตนแก้ปวดท้องและข้อเท้าและแก้ลม ปวดศีรษะ


เป็นท่าที่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตน แก้ปวดท้องและข้อเท้า และแก้ลมปวดศีรษะ
ดัดตนแก้ปวดท้องและข้อเท้า
ฤๅษีสี่ชื่อให้ นามนครรามเอง
อัจนะคาวีอักษร อะตั้ง
พับชงฆ์ถวัดกร สองไปล่หลังนา
แก้ขัดข้อเท้าทั้ง ป่วยท้องบรรเทา
กรมหมื่นนุชิตขิโนรส

ดัดตนแก้ลมปวดศีรษะ
พระมโนชสานักด้าว ดงยูง ยางแฮ
จิตรพรันหวันหวาดฝูง มฤคร้าย
กาเริบโรคขบสูง สังเวช องค์เอย
นั่งดัดหัตถ์ขวาซ้าย นบเกล้าบริกรรม
พระราชนิพนธ์ ฯ

ประโยชน์ แก้ปวดท้องและข้อเท้า แก้ลมปวดศีรษะ


เมื่อฝึกท่านี้ต่อเนื่องกัน จะช่วยให้การเคลือ่ นไหวของข้อไหล่เป็นไปได้ หากฝึกท่านี้ครบชุด
น่าจะช่วยแก้ปัญหาการขัดข้องของ ไหล่ คอ อก ท้อง และส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตที่ไปเลี้ยง
บริเวณศีรษะและแขน
146

ท่าเตรียม
นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้หรือยืนก็ได้ มือทั้ง 2 ข้างประสานกันอยู่ประมาณระดับ
ลิ้น

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุดพร้อมกับค่อย ๆ ชูมือขึ้นเหนือศีรษะ แขนทั้ง 2 ข้างเหยียดตรง
แนบชิดใบหู

กลั้นลมหายใจไว้สักครูพ่ ร้อมกับผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับค่อย ๆ
ดัดมือที่ประสานกันเหนือศีรษะให้หงายขึ้นวาดมือทั้ง 2 ออกจากกันไปทางด้านหลัง
147

แล้วกาหมัดมาวางไว้ที่บั้นเอวทัง้ สองข้าง
(บริเวณหัวตะคาก) ใช้กาปั้นกดบริเวณเอวทัง้ 2 ข้าง
ขณะกดสูดลมหายใจเข้าให้ลึกที่สุด กลั้นลมหายใจ
ไว้สักครู่พร้อมกับกดเน้น ผ่อนลมหายใจออกพร้อม
กับคลายการกดกาปั้น

เลื่อนตาแหน่งที่ใช้กาปั้นกดไปทางกลางหลัง
ทีละน้อยจนกาปั้นชิดกันที่บริเวณกลางหลัง เริ่มต้น
ทาซ้าใหม่จนครบ 5-10 ครั้ง

ท่าที่ 4 ดัดตนแก้ลมเจ็บศีรษะและตามัว และแก้เกียจ


เป็นท่าที่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตน แก้ลมเจ็บศีรษะและตามัวและแก้เกียจ

ดัดตนแก้ลมเจ็บศีรษะและตามัว
มุนิมีฤทธิมาก เพียงใด
ฤาพ้นทุกข์โรคภัย นั้นได้
ปวดเวียนเศียร มัวนัยน์ อาจแก้หายนา
ขัดสมาธิ์ยกหัตถ์ขึ้น หัตถ์นั้น อิงเศียร
หงส์ทอง

ดัดตนแก้เกียจ
สังกะสีดีบกุ เข้า ระคนเจือ
หล่อคณะนุง่ หนังสือ สถิตไว้
กามันตะกีเขือ ข้อยหนุ่ม นักนอ
เหยียดยืดหัตถ์ดัดได้ แต่แก้เกียจกาย
พระราชนิพนธ์ ฯ
148

ประโยชน์ แก้ลมเจ็บศีรษะและตามัว และแก้เกียจ


เป็นท่าง่าย ๆ ที่ใช้กันบ่อยคือ บิดขี้เกียจ โดยประยุกต์ให้เคลือ่ นไหวครบทุกทิศทั้งซ้าย ขวา
หน้า และยกขึ้นสูงเหนือศีรษะเป็นการยืดแขนเต็มที่ทุกทิศ

ท่าเตรียม
นั่งขัดสมาธิหรือนั่งตัง้ เข่าหรือนัง่ ห้อยเท้าบนเก้าอี้
มือทั้งสองประสานกัน อยู่ประมาณระดับลิ้นปี

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุด พร้อมกับเหยียด
แขนดัดให้ฝ่ามือยื่นไปทางข้างซ้ายให้มากที่สุด โดยให้
ลาตัวตรง หน้าตรง แขนตึง กลั้นลมหายใจไว้สักครู่
ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับงอแขนทั้ง 2 ข้างกลับ
เข้ามาอยู่ในท่าเตรียม
ทาซ้าเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็นเหยียดแขนดัดให้ฝ่ามือที่
ประสานกันยื่นไปทางด้านขวา

ทาซ้าเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็นเหยียดแขนดัดให้ฝ่ามือที่
ประสานกันยื่นไปทางข้างหน้า
149

ทาซ้าเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็นเหยียดแขนดัดให้ฝ่ามือที่
ประสานกันชูขึ้นเหนือศีรษะ แขนทั้ง 2 ข้างเหยียดตรง
แนบชิดใบหู

ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออก พร้อมกับลดแขนลงให้มือทัง้ 2 ข้างพักไว้บนศีรษะในลักษณะหงายมือและ


ค่อย ๆ ลดมือลงมาอยู่ในท่าเตรียม

เริ่มต้นทาซ้าใหม่ โดยเหยียดแขนไปทางด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า และด้านบน ตามลาดับ


นับเป็น 1 ครั้ง ทาซ้าจนครบ 5-10 ครั้ง
150

ท่าที่ 5 ดัดตนแก้แขนขัดและแก้ขัดแขน
เป็นทีท่ ี่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตน แก้แขนขัด และแก้ขัดแขน

ดัดตนแก้แขนขัด
พระนารอดโยคี มีฌานกล้า
แต่ยังคงเมื่อยล้า ฤาห้ามได้
จึงดัดตนเร่งค้นคว้า ตามบอก ไว้เอย
พับเพียบหัตถ์คลึงศอกได้ อีกไคล้คลึงคาง
ธนูทอง

ดัดตนแก้ขัดแขน
พระโสณะสันโดษฐด้าว ดงดรึม
ภูตโขมตโฆษครหึม กู่ก้อง
ล้มไข้ขบเศียรซึม ยอกขัดแขนขา
ยกศอกขึ้นเข่าจ้อง จรดซ้ายเปลี่ยนขวา
พระองค์จ้าวทินกร

ประโยชน์แก้ขัดแขนและแก้แขนขัด
เป็นท่าที่ทาได้ง่ายและปัญหาแขนขัดที่พบบ่อย เป็นการบริหารหัวไหล่

ท่าเตรียม
นั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิหรือนั่งห้อยเท้า
บนเก้าอีห้ รือยืนก็ได้ ลาตัวตรงยกศอกข้างซ้ายให้
ตั้งฉากกับลาตัว โดยให้ฝ่ามือวางไว้แนบแก้มซ้าย
มือข้างขวากุมใต้ข้อศอกซ้ายที่ตงั้ ขึ้น
151

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุดพร้อมกับใช้
มือข้างขวาที่กุมใต้ศอกดึงข้อศอกซ้ายมาทาง
แขนข้างขวาให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันเกร็ง
ข้อศอกข้างซ้ายต้านมือขวาไว้

ขณะดึงศอก ฝ่ามือข้างที่ตั้งศอกจะถูกดึง
ให้ไล้ไปตามแนวคาง กลั้นลมหายใจไว้สักครู่
ผ่อนลมหายใจออก พร้อมกับปล่อยมือให้
กลับมาอยู่ในท่าเตรียม

เปลี่ยนเป็นใช้หลังมือซ้ายแนบแก้มซ้าย สูดลมหายใจเข้าให้ลกึ ที่สุด พร้อมกับดึงข้อศอก


เช่นเดิม ขณะดึงศอกหลังมือจะถูกดึงให้ไล้ไปตามแนวคาง กลั้นลมหายใจไว้สักครู่ ผ่อนลมหายใจออก
พร้อมกับปล่อยมือให้กลับมาอยู่ในท่าเตรียม
152

ทาซ้าเช่นเดิมโดยเปลี่ยนเป็นมือขวา โดยให้ฝ่ามือวางแนบแก้มขวา มือข้างซ้ายกุมใต้ศอกข้างขวาที่


ตั้งขึ้น

ทาซ้าเช่นเดิมแต่เปลี่ยนเป็นใช้หลังมือขวา แนบแก้มขวา เริม่ ต้นทาซ้าใหม่สลับกันซ้ายขวา นับเป็น 1


ครั้ง ทาซ้าจนครบ 5-10 ครั้ง

ท่าที่ 6 ดัดตนแก้กร่อน และแก้ขัดเข่า


เป็นท่าที่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตน แก้กร่อน และแก้ขัดเข่า

ดัดตนแก่กร่อน
ธาระนีพัฒนัง่ น้อม โน้มกาย
เท้าเหยียดมือหยิบปลาย แม่เท้า
ลมกล่อนเหือดห่างหาย เหนประจักษ
อีกแน่นนาภีเร้า รงับเส้นกล่อนไกษย์
พระสมบัดธิบาล

ดัดตนแก้เข่าขัด
นักสิทธโสภาคพร้อม พรหมจรรย์
ซื่อมหาสุธรรม์ เลอศแท้
เท้าเหยียดยึดหัตถ์ยัน ขยาเข่าสองนา
ขบขัดค่อเข่าแก้ เมื่อยล้าลมถอย
พระอมรโมลี
ประโยชน์
เป็นท่าที่ทาได้ไม่ยาก เป็นการบริหารบริเวณ เข่า หลัง เอว คาว่า “กล่อน” คือ ความเสื่อม
“กล่อนกษัย” โรคเรื้อรัง หมายถึงความเสื่อมของอวัยวะนั่นเอง
153

ท่าเตรียม
นั่งเหยียดขาทัง้ สองข้าง มือทั้ง 2 ข้างวางไว้บริเวณหน้าขา หน้าตรง หลังตรง

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุด พร้อมกับใช้มือ ทัง้ 2 นวดตั้งแต่ต้นขา

นวดต่อเนื่องไปจนถึงปลายเท้า แล้วใช้มือทั้งสองข้างจับปลายเท้าและก้มหน้าให้มากที่สุด
กลั้นลมหายใจไว้สักครู่

ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับคลายมือจากปลายเท้า นวดจากข้อเท้ากลับขึ้นมาจนถึงต้นขา แล้ว


กลับมาอยู่ในท่าเตรียม เริ่มต้นทาใหม่ ทาซ้าจนครบ 5-10 ครั้ง
154

ท่าที่ 7 ดัดตนแก้กล่อนปัตคาต และแก้เส้นมหาสนุกระงับ


เป็นทีท่ ี่ประยุกต์จากท่าฤๅษีดัดตน แก้กล่อนปัตคาต และแก้เส้นมหาสนุกระงับ

ดัดตนแก้กล่อนปัตคาต
สัชนาไลยลีห้ ลีก ละสง สารแฮ
ยืนย่างหยัดเหยียดองค์ อ่อนแล้
สองหัตถ์ท่าทีทรง ศรสาตร ไปเอย
บาบัดปัตคาต กร่อนแห้งเหือดหาย
หลวงชาญภูเบศร

ดัดตนแก้เส้นมหาสนุกระงับ
กามินทร์มือยุดเท้า เหยียดหยัด
มือหนึ่งเท้าเข่าขัด สมาธิ์คู้
เข้าฌานช่วยแรงดัด ทุกค่าคืนนา
รงับราคหยากจสู้ โรคร้ายพายใน
พระมหามนตรี

ประโยชน์แก้กล่อนปัตคาต และแก้เส้นมหาสนุกระงับ
ท่านี้จะมีผลที่อก และขา ควรทาต่อเนื่องจากท่าที่ 6 หากยืนก็ทาท่าแก้กล่อนปัตคาตท่าเดียว
หากนั่งอยูก่ ็ทาต่อเนื่องได้เลย “กล่อนปัตคาต” โบราษกล่าวว่า หมายถึงภาวะอาการขัดเจ็บของ
กล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ อันเนือ่ งมาจากความเสื่อมจากการใช้งานผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเลือด
ภายใน

ท่าเตรียม
นั่งเหยียดขาข้างซ้ายให้เฉียงออกไป
ทางด้านซ้ายงอเข่าขวาให้ฝ่าเท้าชิดต้นขาซ้าย
กาหมัดทั้ง 2 ข้างให้ขนานกันไว้ที่ระดับอก
และให้ห่างจากอก (อาจใช้ท่ายืนหากมีปญ ั หา
ในการนั่ง หรือนั่งห้อยเท้าบนเก้าอี)้
155

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุดพร้อมกับยี่นกาปั้นซ้ายเหยียดออกไปทางปลายเท้าซ้าย หันหน้าไป
ตามกาปั้นในลักษณะเล็งเป้าหมาย ดึงกาปั้นและศอกข้างขวาไปทางด้านหลังให้เต็มที่จนรู้สกึ ตึงสะบัก
และหลัง กลั้นลมหายใจไว้สักครู่ ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับเปลี่ยนกลับไปอยู่ในท่าเตรียม

ทาซ้าเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็นเหยียดขาข้างขวาเฉียงออกไปทางด้านขวา งอเข่าซ้ายให้ฝ่าเท้าชิดต้นขา


ขวา

เริ่มต้นทาซ้าใหม่สลับกันซ้ายขวา นับเป็น 1 ครั้ง ทาซ้าจนครบ 5-10 ครั้ง


156

ท่าที่ 8 ดัดตนแก้ลมในแขน
เป็นท่าที่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตน คือ แก้ลมในแขน

ดัดตนแก้ลมในแขน
เหยียดหัตถ์ดัดนิ้วนั่ง ชันเพลา
แก้เมื่อยขัดแขนเบา โทษได้
ยาคะรูปนี้เอา ยาชื่อใส่เฮย
ผสมสี่นักสิทธิให้ ชื่ออ้างอยุทธยา
กรมหมื่นนุชิตชิโนรส

ประโยชน์ แก้ลมในแขน
เป็นท่าที่ทาได้ง่ายและได้ประโยชน์ต่อแขน ข้อมือ นิ้วมือ เป็นการบริหารส่วนแขน ข้อมือ
และนิ้วมือ

ท่าเตรียม
ยืนหรือนัง่ ห้อยเท้าบนเก้าอี้ หรือนัง่ ชันเข่าข้างซ้ายและยื่นแขนข้างซ้ายออกไปข้างหน้าให้อยู่
ในระดับเดียวกันกับหัวไหล่ โดยไม่พกั มือไว้บนเข่า ใช้มือข้างขวาจับนิ้วมือซ้ายที่ยี่นออกไปให้ฝ่ามือ
ตั้งขึ้น
157

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุด พร้อมกับออกแรงดันมือข้างซ้ายที่ยื่นออกไปต้านกับ
การดึงบริเวณนิ้วมือข้างขวาเข้าหาตัว โดยแขนทั้ง 2 ข้างเหยียดตึง กลั้นลมหายใจไว้สักครู่
ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับปล่อยมือที่จบั ไว้ กางนิ้วมือข้างซ้ายที่ยี่นออกไปให้เต็มที่ แล้วกรีดนิ้วหรือ
พับนิ้วมือลงทีละนิ้วจนครบ คว่าหรือหักข้อมือลงและลดมือลงไว้ข้างตัว

เริม่ ต้นทาซ้าเช่นเดิม โดยเปลี่ยนเป็นนัง่ ชันเข่าขวาและยื่นแขนขวาออกไป ใช้มือข้างซ้ายจับ


นิ้วมือขวาดัด ทาสลับกันไปซ้ายขวา นับเป็น 1 ครั้ง ทาซ้าจนครบ 5-10 ครั้ง

ท่าที่ 9 ดัดตนดารงกายอายุศม์ยีน
เป็นท่าที่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตนดารงกายอายุศม์ยืน

ดัดตนดารงกายอายุศม์ยืน
ทิศไภย์โพ้นผนวดข้าง เขาเขอน
ทิ่วพนัศขายเนอน ท่าน้า
ประนิบัดิ์ดัดองค์เจรอญ ชนม์ชีพพระนา
กุมกดธารกรค้า พ่างพื้นยืนยัน
กรมหมื่นไกรสรวิชิต

ประโยชน์ ทดสอบการทรงตัว ยืดหลัง บริหารเข่า ต้นขา และช่วยระบบขับถ่าย


เป็นท่าทดสอบการทรงตัว ยืนขาเดียว บริหารเข่า หลัง และต้นขา มีการยืดร่างกายตาม
แนวดิ่ง
158

ท่าเตรียม
ยืนแยกขา แบะปลายเท้าออก มือทั้ง 2 ข้าง
กาหมัดวางซ้อนกันทีร่ ะดับอก (ท่ายักษ์ถือกระบอง)
แขนตั้งฉากกับลาตัว และมือห่างจากอก

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุด พร้อมกับย่อตัวลงช้าๆ
กลั้นลมหายใจไว้สักครู่ พร้อมกับแขม่วท้อง ขมิบก้น
ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับค่อย ๆ ยืดตัวให้กลับมาอยู่
ในท่าเตรียม เริ่มต้นทาซ้าใหม่จนครบ 5-10 ครั้ง

หมายเหตุท่านี้มีข้อจากัดสาหรับผู้ทมี่ ีอาการปวดหลัง อาการชาลงไปที่ขาทั้ง 2 ข้าง และมีอาการเสียว


แปลบที่หลัง
159

ท่าที่10 ดัดตนแก้ไหล่ ขา และแก้เข่า ขา


เป็นท่าที่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตน แก้ไหล่ ขา และเข่า ขา

ดัดตนแก้ไหล่ ขา
สุกทันต์นักสิทธิเ์ ถ้า เที่ยวเก็บยานา
หาไหล่ขาชาเหน็บ บ่อเปลื้อง
ลุกนั่งยิง่ ยอกเจ็บ จึ่งดัดตนเฮ
ยืนยึดเอวองค์เยื้อง ย่างเท้าท่าหนัง
พระองค์จ้าวนวม

ดัดตนแก้เข่า ขา
อิษีสิงห์หน้ามฤค ฌานมอศม้ายแฮ
สลบเพือ่ นางฟ้ากอด ท่านนั้น
ฟื้นองค์ครั่นครางออด ขาไหล่ขัดเอย
ยืนย่อบาทบีบคั้น เข่าทั้งโคนขา
พระญาณปริญัติ

ประโยชน์ แก้ไหล่ ขา ชา ขัด

ท่าเตรียม
ยืนก้าวขาข้างซ้ายเฉียงออกไปทางซ้ายมือ
ข้างเดียวกันวางแนบหน้าขา มือขวาท้าวอยู่บนสะโพก
ในลักษณะคว่ามือสันมือดันสะโพกปลายมือหันไปทางข้างหลัง
160

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุด พร้อมกับค่อยๆ
ย่อตัว ทิ้งน้าหนักลงบนขาข้างซ้ายที่ก้าวออกไป
ขณะย่อตัวค่อย ๆ บิดตัวให้หันหน้าไปทางด้านขวาช้าๆ
โดยขาซ้ายจะย่อขาขวาตึง กลั้นลมหายใจไว้สักครู่
กดเน้นสั้นมือทีท่ ้าวอยู่บนสะโพก ผ่อนลมหายใจออก
พร้อมกับค่อย ๆ เปลี่ยนกลับมา อยู่ในท่าเตรียม
เริ่มต้นทาซ้าใหม่แต่เปลี่ยนเป็นก้าวขาข้างขวาออกไป
ทาซ้าเช่นเดิมสลับกันซ้ายขวา นับเป็นหนึ่งครั้ง ทาซ้าจนครบ 5-10 ครั้ง

ท่าที่ 11 ดัดตนแก้โรคในอก
เป็นท่าที่ประยุกต์มาจากฤๅษีดัดตน แก้โรคในอก

ดันตนแก้โรคในอก
วรเชษฐแปลงเปลี่ยนข้อ ลิขิตสาร
พระรทเรื่องโบราณ บอกแจ้ง
ไสยาศนเหยียดเครียดปาน ฉุดชักไว้แฮ
แก้โรคไออกแห้ง เหือดให้เหนคุณ
พระเพชฎา

ประโยชน์ แก้โรคในอก ทาให้ปอดแข็งแรง


เป็นท่านอน ทาได้ง่ายและมีผลต่อการผายปอด เป็นท่าในการบริหารอก ไหล่ และมีการทา
ต่อเนื่องเป็น 2 จังหวะ

จังหวะที่ 1 ท่าเตรียม
นอนหงาย ขาและลาตัวเหยียดตรง แขนทั้ง 2 ข้างวางแนบลาตัว มือคว่าลง
161

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุดพร้อมกับยกแขนทั้ง 2 ข้างที่แนบลาตัวไปวางเหนือศีรษะใน
ลักษณะเหยียดตรง แนบชิดใบหู

กลั้นลมหายใจไว้สักครู่ ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกลับมาอยู่ในท่าเตรียม

ทาซ้าเช่นเดิมจนครบ 5-10 ครั้ง

จังหวะที่ 2 ท่าเตรียม
ให้มือทัง้ 2 ข้างประสานกันไว้บนหน้าท้อง ขาและลาตัวเหยียดตรง

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุดพร้อมกับยกมือที่ประสานกันดัดให้ฝ่ามือหงายขึ้นไปวางไว้เหนือศีรษะ โดย
แขนและขาเหยียดตรง แขนทั้ง 2 ข้างแนบชิดใบหู กลั้นลมหายใจไว้สักครู่

ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับลดมือทีป่ ระสานกันมาวางไว้ที่หน้าผากในลักษณะหงายมือ
162

สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุด พร้อมกับเหยียดมือทีป่ ระสานไว้ไปทางท้องน้อยจนไหล่ตงึ คาง


ยกขึ้น

ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับเปลี่ยนกลับมาอยู่ในท่าเตรียม
เริ่มต้นทาซ้าใหม่จนครบ 5-10 ครั้ง

ท่าที่ 12 ดัดตนแก้ตะคริวมือและตะคริวเท้า
เป็นท่าที่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตน แก้ตะคริวมือตะคริวเท้า

ดัดตนแก้ตะคริวมือตะคริวเท้า
อัคนีเนตร์นี้อัคคีโชน เนตรฤา
ยืนแย่หย่างยักษโขน ออกเค้น
กางกรกดสองโคน ขานีดเน้นนอ
แก้ตะคริวริ้วเส้น แต่แข้งตลอดแขน
จ่าจิตรนุกูล

ประโยชน์ แก้ตะคริวมือ ตะคริวเท้า


เป็นท่ายืนที่ย่อตัวลง เป็นการยืดร่างกายตามแนวดิ่ง เป็นการบริหารเอวและขา

ท่าเตรียม
ยืนแยกขาให้ปลายเท้าแบะออก ย่อตัวเล็กน้อย กางศอก
คว่ามือวางไว้ที่หน้าขาทั้ง 2 ข้าง โดยหันสันมือออกด้านข้าง
(ท่าเต้นโขน)
163

การบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุด พร้อมกับยกขาข้างซ้าย
ลอยขึ้นเหนือพื้นและต้านการกดของมือทั้ง 2 ข้าง
โดยให้หลังตรง เข่างอ ปลายเท้ากระดกขึ้น กลั้น
ลมหายใจไว้สักครูพ่ ร้อมกับกดมือทั้ง 2 ข้างเน้นนิ่ง
ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับวางขาให้อยู่ในท่าเตรียม
(ยังอยู่ในท่าย่อตัว)เริม่ ต้นทาใหม่ แต่เปลี่ยนเป็นยกขาข้างขวา

เริ่มต้นทาซ้าใหม่ โดยสลับขาซ้ายขวา นับเป็น 1 ครั้ง ทาซ้าจนครบ 5-10 ครั้ง


164

ท่าที่ 13 ดัดตนแก้สะโพกสลักเพชร และแก้ไหล่ตะโพกขัด


เป็นท่าที่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตน แก้ตะโพกสลักเพชร และแก้ไหล่ตะโพกขัด

ดัดตนแก้ตะโพกสลักเพชร
สระภังค์ดาบศตั้ง คนตรง
ถ่างบาททัง้ สองทรง แย่แต้
กาหมัดดัดกรผจง กดคู่ขานา
ตะโภกสลักเพชแม้ เมื่อยล้าขาหาย
พระอมรโมลี

ดัดตนแก้ไหล่ตะโพกขัด
พระอัลกัปะกะเบื้อง บรรพ์รบินนั้นฤา
รู้ฤกษบนมนตร์พิณ ผะเหลาะข้าง
เศียรหกหัตถ์จรดดิด ยืนหยงแย่นา
แก้ไหล่ตะโภกเกลียวช้าง เข่าแห้งขาหาย

ประโยชน์แก้ตะโพกสลักเพชร แก้ไหล่ตะโพกขัด
เป็นท่ายืนที่ทาต่อเนือ่ งจนมือจรดพื้นโดยเน้นทาเท่าทีท่ าได้ตามสภาพของหลังของ
แต่ละคน

ท่าเตรียม
ยืนให้ขาทั้งสองข้างขนานกันหรือเท้าชิดกัน มือทั้งสองข้างวางบนหน้าขา
165

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุด พร้อมกับใช้มือบีบนวดจาดต้นขา ไปจนถึงข้อเท้าจนสามารถก้มวางฝ่ามือ
ลงทีพ่ ื้นได้โดยขาทั้งสองข้างเหยียดตรง

ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับบีบนวดจากข้อเท้าขึ้นมาจนถึงต้นขา แล้วกลับมาอยู่ในท่าเตรียม
ระยะเริ่มต้นอาจแยกขาให้มากขึ้น แล้วขยับขาให้เลื่อนเข้ามาชิดกันทีละน้อยในการก้มวางฝ่ามือแต่ละ
ครั้ง

เริม่ ต้นทาซ้าเช่นเดิม จนครบ 5-10 ครั้ง

ข้อควรระวังผู้ที่มีอาการปวดหลัง ปวดร้าว ชาลงไปตามขา เสียวแปลบทีห่ ลังควรหลีกเลี่ยงท่านี้ และ


ขณะก้มลงถ้ามือไม่สามารถแตะพื้นได้ไม่ควรฝืน
166

ดัดตนแก้ลมอันรัดทั้งตัวท่าที่ 14 ดัดตนแก้ลมเลือดนัยน์ตามัว และแก้ลมอันรัดทั้งตัว


เป็นท่าที่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตน แก้ลมเลือดนัยน์ตามัว และแก้ลมอันรัดทั้งตัว

ดัดตนแก้ลมเลือดนัยน์ตามัว
ผิวลมสิเกิดด้วย นัยน์มัว
เนตรนั้นพลันมืดสลัว เนิ่นช้า
สุทัศน์ท่านกอดตัว คว่ากับ พื้นนา
ยกบาทสองพับท่า หัตถ์นั้นประสานเกย
สุวรรณหงส์

เวฎฐทีปกะโพ้น พงษ์กษัตริย์
ออกผนวชพนัศลัด หลักเล้น
กรทอดระทวยดัด องค์อ่อน งามเอย
แก้ทั่วสรรพางค์ เส้นระงับได้โดยเพียร
นายปรีดาราช

ประโยชน์แก้ลมเลือดนัยน์ตามัว และแก้ลมอันรัดทัง้ ตัว


เป็นท่าที่ใช้ในการบริหารส่วน คอ ขา และหน้าอก

ท่าเตรียม
นอนคว่า ขาทั้งสองของเหยียดตรง ส้นเท้าชิดกัน มือทัง้ สองข้างประสานกัน วางบนพื้น
ประมาณระดับคาง
167

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกทีส่ ุดพร้อมกับยกศีรษะขึ้นให้เต็มที่ งอขาทั้งสองข้างให้ปลายเท้างุม้ ชี้มาทาง
ศีรษะและใกล้ส่วนหลังให้มากที่สุด ส่วนของมือ หน้าท้อง และหน้าขาให้แนบพื้น กลั้นลมหายใจไว้
สักครู่

ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับลดศีรษะ และขาทั้งสองข้างกลับมาอยู่ในท่าเตรียม
เริ่มต้นทาซ้าเช่นเดิมจนครบ 5-10 ครั้ง

ข้อควรระวังผู้มีอาการเวียนศีรษะ ปวดต้นคอ หรือชาแขน ควรหลีกเลี่ยงท่านี้


168

ท่าที่ 15 ดัดตนแก้เมื่อยปลายมือปลายเท้า
เป็นท่าที่ประยุกต์มาจากฤๅษีดัดตน แก้เมือ่ ยปลายมือปลายเท้า

ดัดตนแก้เมื่อยปลายมือปลายเท้า
หัตถ์หน่วงนิ้วเท้า จบกัน
นอนเหยียดเบียดอกพลัน เหยียดแขน
องค์แอ่นแหงนภักตร์หัน เหิรหาวราว เหาะนา
กาลสิทธิแก้เมือ่ ยแสน มือเท้า เพลาหาย
สุวรรณหงส์

ประโยชน์แก้ปวดเมื่อยปลายมือปลายเท้า
เป็นท่าที่นามาใช้ในการบริหารส่วนเอว เข่า ขา และคอ

ท่าเตรียม
นอนตะแคง เท้า 2 ข้างชิดกัน แขนซ้ายเหยียดตรงขนานกับลาตัวมือคว่าลงกับพื้น ศีรษะ
หนุนต้นแขนข้างซ้าย แขนข้างขวาเหยียดตรง คว่ามือลงแนบลาตัว

ท่าบริหาร
สูดลมหายใจเข้าให้ลึกที่สุดพร้อมกับยกศีรษะขึ้นให้มากที่สุด และใช้มือข้างที่แนบลาตัวเลื่อน
ไปจับข้อเท้าข้างเดียวกับมือ เหนี่ยวข้อเท้าให้ยกขึ้นจนหัวเข่าแยกออกจากกันโดยให้แขนตึง กลั้นลม
หายใจไว้สักครู่
169

ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับปล่อยมือที่จบั ข้อเท้าลงช้า ๆ ลดศีรษะลงกลับมาอยู่ในท่าเตรียม

เริ่มต้นทาซ้าเช่นเดิมโดยพลิกตะแคงขวาทาสลับกันซ้ายขวาจนครบ ข้างละ 5-10 ครั้ง

ข้อควรระวัง
ไม่ควรแหงนหน้ามากเกินไป จะทาให้เป็นตะคริวน่องได้
170

เส้นสิบ

1. เส้นอิทา ลมประจาคือ ลมจันทะกาลา เริ่มต้นจากท้อง พาดมาที่หัวพาดมาที่หัวเหน่า


แล่นลงด้นขาด้านซ้าย เลี้ยวขึ้นแนบแนวกระดูกสันหลังถึงศีรษะ ตลบมาที่จมูก
อาการกาเริบ คือ ปวดหัวมาก วิงเวียน ตามืดมัว ตาวิงตอนกลางคือ เจ็บตา ไข้จับ ให้ตัว
ร้อน ซักปากเบี้ยว
2. เส้นปิงคลา ลมประจาคือ ลมสุริยะกะลา เริม่ ต้นจากท้อง พาดมาที่หัวเหน่าแล่นลงต้นขา
ด้านขวา น้าจาไหลซักปากเบี้ยว ชักกระดูกสันหลังถึงศีรษะ ตลบมาที่จมูกขวา
อาการกาเริบ คือ หน้าตาแดง ปวดหัวตอนเช้าถึงเที่ยง ปวดหัวมากมักเจ็บตา น้าตาไหล
ชักปากเบี้ยว
3. เส้นสุมนา ลมประจาคือ ลมชีวหาสดมภ์ เริ่มต้นจากกลางท้อง ตรงขึ้นขั้วหัวใจ แนบคอ
หอยจนจรดหลอดลิ้น อาการกาเริบ คือ สิ้นกระด้าง คางแข็งเชื่องซึม พูดไม่ชัด
4. เส้นกาลทารี ลมประจาไม่มี เริม่ ต้นจากท้อง แตกไปสี่แขนง สองเส้นบนไปสะบักซ้าย –
ขวา ขึ้นศีรษะบรรจบหลังแขนลงสู่ข้อมือ แตกเป็น 5 แขนงตามนิ้วมือ 2 ข้าง สองเส้นล่างแล่นไปตาม
หน้าแข้งหยุดที่ข้อเท้า แตกเป็น 5 แขนง ตามนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้าง
อาการกาเริบ คือ เหน็บชาทั้งตัว เจ็บเย็นสะท้าน เกิดเพราะกินแสลง
5. เส้นสหัสรังษี ลมประจาคือ ลมจักษุนิวาต เริ่มจากท้องแล่นลงต้นขาซ้าย ลงไปฝ่าเท้า
นิ้วเท้า ย้อนกลับขึ้นด้านหน้า แนวนมซ้าย ชิดคอ ลอกขากรรไกรสุดที่ตาซ้าย
อาการกาเริบ คือ ปวดกระบอกตา วิงเวียน ลืมตาไม่ขึ้น
6. เส้นทุวารี ลมประจาคือ ลมทิพจักขุขวา เริม่ จากท้องแล่นลงต้นขาขวา ลงไปฝ่าเท้า
ย้อนกลับขึ้นด้านหน้าแนวนมขวา ชิดอก ลอดขากรรไกรสุดที่ตาขวา
อาการกาเริบ คือ ปวดกระบอกตา วิงเวียน ลืมตาไม่ขึ้น ตาพร่ามัว อาจเป็นทัง้ 2 ข้าง
หรือข้างขวาข้างเดียว
7. เส้นจันทภูสัง ลมประจาไม่มี เริ่มต้นจากท้องไปตามราวนมซ้ายไปจรดที่หซู ้าย
อาการกาเริบ คือ ทาให้หูตึงลมออกจากหู
8. เส้นทุรัง ลมประจาคือ ลมคะพาหุ เริม่ ต้นจากท้องไปตามราวนมขวาไปจรดทีห่ ูขวา
อาการกาเริบ คือ ทาให้หูตึงลมออกจากหู
9. เส้นสิขิณี ลมประจาคือ ลมราทยักษ์ เริ่มต้นจากท้องไปยังท้องน้อยและอวัยวะเพศ
อาการกาเริบ คือ เสียดสีข้างทัง้ สอง ขัดเบา ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะรุ่มร้อน
- ผู้ชายบังเกิดในองคชาติ เป็นพระกามราคะนั้น
- ผู้หญิงเป็นพระโลหิต หรือเอ็นในมดลูกพิการ
10. เส้นสุขุมัง ลมประจาไม่มี เริ่มต้นจากท้อง กระหวัดรอบทวาร
อาการกาเริบ คือ ทาให้ตึงทวาร เจ็บท้อง ขัดอุจจาระ
171

การนวดไทย ทาอย่างไรจึงจะปลอดภัยและถูกกฎหมาย
ภก.พิสณฑ์ ศรีบัณฑิต

ปัจ จุบันมี ผู้สนใจศาสตร์ก ารนวดแผนไทย อันเป็นภูมิ ปัญ ญาดั้งเดิม ของไทยในการบ าบัด


บรรเทาอาการปวดเมื่อยต่างๆ รวมถึงการรักษาโรคและอาการบางชนิดด้วย อันจะเป็นการพึ่งตนเอง
ลดการพึ่ งพายาและการแพทย์แผนตะวันตก ซึ่ง ต้องนาเข้าจากต่างประเทศ ราคาแพง จึง มี ก าร
ส่งเสริมการนวดไทยในลักษณะต่าง ๆ เช่น การจัดอบรมโดยสถาบันการนวดไทย ในสถานที่ท่องเที่ยว
ต่าง ๆ แต่ก็ มี ปัญ หาบ้าง คือ อาจมี ก ารโฆษณาหรือการกระท าที่ ผิดกฎหมายพระราชบัญ ญัติการ
ประกอบโรคศิลปะ ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม และหากการกระท าดังกล่าวก่อให้เกิ ด
อันตรายแก่ผู้อื่นทางร่างกายและจิตใจ จนถึงเสียชีวิตก็จะมีความผิดตามกฎหมายอาญา ดังนั้น เพื่อให้
เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องจึงควรศึกษาข้อกฎหมายให้เข้าใจ และปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป
1. การนวดเป็นการประกอบโรคศิลปะหรือไม่?
ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 การนวดหากเป็นการกระทา
เพื่อบาบัดโรควินิจฉัยโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ ก็ถือเป็นการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งผู้ทจี่ ะกระทาต้องได้ขึ้น
ทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ จากคณะกรรมการวิชาชีพก่อนจึงจะสามารถนวด
ได้
2. การนวดที่เป็นการประกอบโรคศิลปะ มีข้อยกเว้นอย่างไรบ้าง?
การนวดเพื่อบาบัดรักษาโรคหรือฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการประกอบโรคศิลปะ และ
จะสามารถกระทาได้โดยไม่ต้องอนุญาต ถ้าเป็น
2.1 กระทาต่อตนเอง
2.2 กระทาตามหน้าที่ / ธรรมจรรยา โดยมิได้รบั ประโยชน์ตอบแทน
2.3 ฝึกหัดในความควบคุมของอาจารย์ที่กรรมการวิชาชีพกาหนด
3. การนวดเพื่อรักษาโรค ที่ถูกต้องตามกฎหมายพระราชบัญญัติการประกอบโรค ศิลปะ
เป็นอย่างไร?
การนวดเพื่อรักษาโรค ผู้นวดต้องได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขา
การแพทย์แผนไทย หรือเวชกรรรมโบราณ และต้องดาเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รบั อนุญาตแล้ว
เท่านั้น
4. การนวดแบบพื้นบ้าน ทาอย่างไรจึงจะไม่ผิดกฎหมาย?
4.1 เป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ใช่เพื่อรักษาโรค
4.2 ไม่ขึ้นป้ายรักษาโรค เช่น รักษาโรคอัมพฤต อัมพาต เบาหวาน ไต ปวดหลัง เป็นต้น
5. ถ้าเปิดร้านนวดแบบพื้นบ้านหรือแบบนวดไทย โดยมิใช่การรักษาโรคต้องขออนุญาต
ที่ใคร จะขึ้นป้ายอย่างไรได้บ้าง?
การนวดหากเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมือ่ ย มิใช่การนวดแบบให้บริการ
ทางเพศหรือมีการแสดง การจาหน่ายสุราอาหาร ก็ไม่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขหรือ
เทศบาล
172

การแสดงป้าย อาจแสดงได้ว่า “นวดแผนโบราณ” หรือ “นวดฝ่าเท้า” ได้ แต่จะ


แสดงข้อความว่าพร้อมจะบาบัดรักษาโรค หรือฟื้นฟูสภาพวินิจฉัยโรคไม่ได้
6. หากมิได้เป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ แต่ฝ่าฝืนกระทาการนวดโดยมีการ
รักษาโรคจะมีโทษอย่างไร?
จาคุกไมเกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจาทัง้ ปรับ
7. ถ้าขึ้นป้ายรักษาโรค แต่ยังไม่ได้ทาการนวด ผู้นวดจะมีความผิดหรือไม่ อย่างไร?
แม้ว่าจะไม่ได้รักษาโรค แต่ขึ้นป้ายหรือแสดงว่าพร้อมจะประกอบโรคศิลปะก็ถือว่ามี
ความผิดโทษ จาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือ ทั้งจาทั้งปรับ
8. ถ้ามีใบประกอบโรคศิลปะ เช่น สาขาเวชกรรมโบราณหรือการแพทย์แผนไทยถ้าขอ
อนุญาตเปิดสถานพยาบาลแล้ว สามารถนวดรักษาโรคได้ ใช่หรือไม่?
ถ้ามีใบประกอบโรคศิลปะและใบอนุญาตสถานพยาบาล (คลินิก) ก็สามารถทาการ
รักษาโรคได้แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสถานพยาบาลทุกอย่าง (เช่น การแสดงป้ายผู้ประกอบโรค
ศิลปะ / เวลาทาการ การทาบันทึกประวัติคนไข้)
9. ถ้าเกิดอันตรายแก่ผู้ถูกนวด ผู้นวดต้องรับผิดชอบอย่างไร?
9.1 หากทาให้ผู้อื่นเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ จะผิดประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 295 ต้องโทษจาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
9.2 ถ้าผู้ถูกนวดเป็นอันตรายสาหัส โทษจะเป็นจาคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี ดังนี้
ก. ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียม่านประสาท
ข. เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์
ค. เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
ง. หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
จ. แท้งลูก
ฉ. จิตพิการอย่างติดตัว
ช. ทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยเรื้อรังซึง่ อาจถึงตลอดชีวิต
ซ. ทุพพล หรือเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบ
กรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน
9.3 ถ้ากระทาโดยประมาท เช่น นวดแล้วเกิดอันตรายสาหัส โทษจาคุกไม่เกิน 3 ปี
หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจาทั้งปรับ
10. การนวดผู้ป่วยแล้วทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิต โทษจะรุนแรงแค่ไหน?
ถือเป็นการกระทาโดยประมาท เป็นเหตุให้ผอู้ ื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวาง โทษ
จาคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

You might also like