You are on page 1of 14

บทที่ 1

บทนำ
ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ
“...กีฬามวยนี้กับความมั่นคงและความก้าวหน้าของประเทศชาติ ก็สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
เพราะว่ามวยนี้ เป็นการป้องกันตัว เป็นกีฬา ที่มาจากการป้องกันตัวของนักรบไทยมาตั้งแต่โบราณ
กาล มาสมัยนี้เราจะป้องกันตัวด้วยการใช้การต่อสู้ส่วนหนึ่ง และวิธีที่จะพัฒนาประเทศอีกส่วนหนึ่ง
นักมวยทราบดีว่าถ้าต่อสู้เฉพาะด้วยกาลังคงแพ้แน่ต้องมีวิชาการ ต้องมีวิธีการและต้องมีสติที่มั่นคง
รู้วิชาการที่จะบุกและวิธีการที่จะหลบ ฉะนั้นการที่มีการต่อสู้มวยเพื่อป้องกันตัว ก็ต้องอาศัยทั้งสอง
อย่างเหมือนกัน...”
พระราชดารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชพระราชทานแก่
คณะกรรมการจัดการแข่งขันโดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุน “นักมวยไทย”ในมูลนิธิอานันทมหิดล
ณ พระตาหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513
จากพระราชดารัส ที่ ว่าวงการกี ฬามวยไทยในเมื องไทยก็ ก้ าวหน้ามากมี ข้อที่ ส าคัญ คือ
เมืองไทยการชกมวยนับว่าเป็นกีฬาที่เก่าแก่และเป็นที่นิยมเป็นที่สนใจของประชาชนมาก รู้สึกว่าทุ กคน
สนับสนุนและอยากจะเห็นการกีฬามวยก้าวหน้ายิ่งขึ้นด้วยการจัดงานให้รัดกุมและถูกหลักวิชาการให้
มากขึ้น ก็จะมีผลดีต่อกีฬามวยอย่างแน่นอน หวังว่าทุกคนที่สนใจในกีฬามวย ก็จะสนใจพัฒนาให้กีฬา
มวยนี้มีสิ่งที่เรียกว่าประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น เพื่อที่จะให้เป็นกีฬาเด่นของประเทศ มวยในเมืองไทยก็เป็น
ที่สนใจหลายอย่าง เพราะว่ามีมวยแบบมวยไทยของเราเอง ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพสูง
น่าสนใจสาหรับชาวต่างประเทศ กล่าวคือ สายพระเนตรที่ยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ซึ่งสร้างนัยสาคัญแก่คาว่ากีฬามวย ศิลปะการป้องกันตัว วิชาการ สมาธิ และสติ อันมีความหมายต่อ
ชนชาติไทย มวยไทยมิ ใช่แต่เ พี ยงเพื่อสร้างความมั่ นคงใช้ป้องกั น ประเทศชาติ ดังนั้นกี ฬาจึงเป็น
กิจกรรมทางการศึกษาที่สามารถช่วยให้เกิดการถ่ายทอดคุณงามความดีและเกิดการอบรมบ่มนิสัยให้แก่
ผู้เรียน...
“การต่อสู้ป้องกันตัว” จัดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ จากการศึกษาทางด้านความเป็นศาสตร์
หมายถึง เป็นวิชาการที่สามารถศึกษาหาความรู้ได้ มีระเบียบแบบแผนในการศึกษาที่แน่นอน สาหรับ
ทางด้านความเป็นศิลป์ หมายถึง เทคนิคที่ได้มาจากการประยุกต์ความรู้มาใช้ประกอบไปด้วยวิธีการ
กลยุทธ์ ลวดลาย ซึ่งยากที่จะเรียนรู้และปฏิบัติได้อย่างเจนจบ (นอง เสียงหล่อ และสุรัตน์ เสียงหล่อ .
2551 : 2) โดยสัญชาตญาณของมนุษย์ที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดเผ่าพันธุ์ใดย่อมต้อง
รักษาชีวิตเพื่อความอยู่รอด (Survival) จากการต่อสู้กับธรรมชาติที่อยู่รอบตั วและภัยธรรมชาติที่อยู่
เหนือการควบคุมของมนุษย์รวมทัง้ สัตว์ร้ายต่าง ๆ ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร สัญชาตญาณความอยู่รอด
นี้ เรียกได้ว่าเป็นการต่อสู้เพื่อป้องกันตัวเองมีการกล่าวว่า มนุษย์รู้จักการต่อสู้ตั้งแต่เริ่มลืมตามาดูโลก
นอกจากนีก้ ารต่อสู้ป้องกันตัวเองนี้เกีย่ วข้องกับระบบพลังงานจากสรีระร่างกายพลังงานจากจิตใจและ
พลังงานจากสติปัญญา เพราะสัญชาติญาณของมนุษย์แห่งพลวัต ที่เป็นไปตามความต้องการอยู่รอด
ของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ผลักดันให้ผลปรากฏออกมาได้จริง แต่ก็สามารถขัดเกลาให้สาแดงออกมาเป็ น
2

ศิลปะที่ละเอียดอ่อนได้ แม้ในระยะของการขัดเกลาจะยังคงไว้ด้วยความรุนแรงและหยาบคายอยู่บ้าง
ก็ตาม (อัตถนิช โภคทรัพย์. 2552 : 4) การต่อสู้ป้องกันตัวมีความหมายในชนชาติ ความเป็นชนชาติ
อยูไ่ ด้เพราะเกิดจากการป้องกันชาติ บุคคลจะต้องป้องกันตัวเองและจะต้องไปทาสงคราม การล่าอาณา
นิคม ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เผ่าพันธุ์ตัวเองเข้มแข็งสามารถขยายอาณาเขตในการปกครอง สงครามเพื่อ
ล่าอาณานิคมมนุษย์ในแต่ละที่ต่างมีวิธีการต่อสู้ป้องกันตัวมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อ มรอบตัว มีความแตกต่างกั น เช่น มนุษย์ในแถบขั้วโลกที่มี หิม ะจับตั วอยู่ตลอดทั้ ง ปี
มีอุณหภูมิที่เย็นมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าหนา ๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันอุณหภูมิที่หนาวเย็นความคล่องตัว
ในการต่อสู้ป้องกันตัวในการเตะต่อยจึงไม่ค่อยมีการต่อสู้ แต่มักจะใช้ประโยชน์จากเครื่องแต่งกายที่หนา
โดยการจับ รั้ง เพื่อ ท าการทุ่ ม หรือการใช้ขอบเสื้อส่วนที่ เป็นปกคอเสื้อ รัดคอ เกี่ ยวพันไม่ให้คู่ต่อสู้
เคลื่อนไหวได้ ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของการต่อสู้ป้องกันตัวแบบจับทุ่ม ได้แก่ ยูโด (Judo) ซึ่งเป็นศิลปะ
การป้องกันตัวจากประเทศญีป่ ุ่นทีม่ ีการพัฒนามาจากยูยิตสู (Jiujitsu) เป็นวิชาการต่อสู้ที่สามารถต่อสู้
กับคู่ต่อสู้ด้วยมือเปล่าและการทาลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ ส่วนมวยปล้าเป็นกีฬาที่เกิดขึ้นเมื่อ 15,000 ปี
ในบริเวณที่ตั้งของประเทศฝรั่งเศส ด้วยการปล้าและการเข้าล็อกในทางศิลปะป้องกันตัวนั้นรูปแบบมี
ความหลากหลาย ญี่ปุ่นก็จะมีที่ผสมผสานระหว่างศาสตร์ปรัชญาชีวิตกับศาสตร์ศิลปะป้องกันตัว ไอคิโด
ก็เป็นรูปแบบการต่อสูท้ ี่หมายถึง วิถีทางสาหรับทาให้ร่างกายและจิตใจ มีความผสมกลมกลืนประสาน
สัม พั นธ์กั นด้วยดีกั บ ธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมรอบ ๆ ตัวเอง (ประพัฒ น์ ลักษณพิสุท ธิ์ และยุวดี
ลักษณพิสุทธิ์. 2537 : 5) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพมากกว่าที่จะเน้นเรื่องการป้องกันตัว
ซึ่งการป้องกั นตัวแบบไอคิโดมีคุณค่าและประโยชน์มากมายหรือแม้แต่การป้องกั นตัวแบบเทควันโด
ที่ป้องกันตัวด้วยมือเปล่าของชาวเกาหลีที่มีพัฒนาการมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาอยู่
ในชนชาติ เทควันโดจึงเป็นการต่อสู้โดยการใช้มือและเท้าอย่างมีสติ สอนให้เคารพครู สอนในเรื่อง
จิตใจ (ยุทธพิชัย ชาญเลขา และยุพยง เกษศิริ. 2540 : 20) ส่วนกังฟูหรือคาราเต้ เป็นการต่อสู้และ
ป้องกันที่มีวิธีการทาสมาธิ วิธีฝึกฝนร่างกายตลอดจนคุณค่าทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมในแง่ต่าง ๆ
ที่ให้ความสาคัญแก่การต่อสู้ด้วยมือเปล่า ซึ่งคาราเต้จะไม่สนับสนุนการใช้กาลังแต่สามารถใช้พลังทาลาย
ได้เมื่อจาเป็น สอนให้เกิดความกลมเกลียว แก้ปัญ หาด้วยสันติวิธี (คณิต ครุฑหงษ์. 2540 : 193)
สาหรับคนที่เกิดในบริเวณอากาศอบอุ่นและค่อนข้างร้อน การแต่งกายจะแต่ง ด้วยเสื้อผ้าที่บ างไม่
รุ่มร่าม มีความคล่องตัวในการเตะต่อยดี การต่อสู้จึงมักอาศัยการเตะต่อย ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของการ
ต่อสู้ป้องกันตัวแบบเตะต่อย เช่น มวยไทย มวยสากล เสี้ยวลิ้มของจีน คาราเต้ของญี่ ปุ่น หรือเทควันโด
ของเกาหลี (จรวย แก่ น วงษ์ คา. 2530 : 7 - 8) ในทางศิ ล ปะป้องกั นตั วซึ่ง ตัวรู ป แบบมี ค วาม
หลากหลาย ท่านอารยะโพธิ์ธรรมมหาเถระ นักพรตที่ได้จารึกเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศจีน
ที่เป็นแผ่นดินของเอเชียตอนเหนือในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 (ค.ศ. 1067) ประมาณพันกว่าปีมาแล้ว
ได้คิดค้นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวชนิดหนึ่งเพื่อให้เป็นการสร้างความอบอุ่นของร่างกาย คิดท่าร่ายรา
และสอนให้แก่ ผู้ที่สนใจเป็นวิทยาทานในยุคนั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวเกาหลีถูกห้ามการฝึกอาวุธและ
เป็นทานองเดียวกับคนไทย ที่อยู่ภายใต้การครอบครองของเมียนมา ชาวเกาหลีจึงได้แนะนาท่าร่ายรา
มวยของนักพรตรูปนี้ มาดัดแปลงเสริมต่อให้เกิดสมรรถภาพร้ายแรงในการต่อสู้มากยิ่งขึ้นแล้วตั้งชื่อ
เสียใหม่ว่า “คาราเต้ (Karate)” (เขตร ศรียาภัย. 2550 : 42) อาจจะกล่าวได้ว่า ต้นตารับคาราเต้ที่
ชาวเกาหลีนาไปต่อยอดการต่อสู้ก็มาจากท่านอารยะโพธิ์ธรรมมหาเถระ สืบเนื่องไปจนถึงจีนชนชาติที่
3

มีอารยะธรรมสูงมาเก่าแก่แต่โบราณนับพันปี มีรูปร่างใหญ่โตสมบูรณ์ได้เลือกเอาวิธีการต่อสู้ด้วยวิธี
ควักและทิ่มแทงด้วยนิ้วมือ (ฝึกจนแข็ง) ใช้ทะลวงตรงจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ ในประเทศมาเลเซียมีรูปแบบ
การต่อสู้ที่เรียกว่า “สีระ” เป็นการต่อสู้โชว์ลีลาท่าทางการรากริช ประเทศญี่ปุ่นนิยมการจับทุ่ม กด และ
ฟาดฟัดให้ฝ่ายตรงข้ามบอบซ้าชาวญี่ปุ่นทั่วไปเรียกว่า “ยิวยิตสู หรือ ยูโด” (เขตร ศรียาภัย. 2550 : 12 -
13) ตามตานานบอกเล่าของชนเผ่าปะหล่อง ไม่ว่าเป็นหญิงหรือชาย ล้วนแล้วแต่มีความสามารถในการใช้
ดาบ ซึ่งเป็นอาวุธสาคัญที่ใช้ในการสู้รบนอกเหนือจากธนู กระบองและอาวุธอื่น ๆ โดยดาบที่ใช้ในการรา
ต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี เพราะดาบทุกเล่มจะมีครูบาอาจารย์อยู่ ก่อนที่จะราก็จะต้องมีการไหว้ครูก่อน
ทุก ครั้ง จนถึง ยุคที่ ไม่ มี ก ารท าสงครามแล้ว การใช้ดาบจึง เริ่ม เปลี่ยนแปลงไปจากการเป็นอาวุธ
ได้นามาประยุกต์กลายเป็นการราดาบแทน เพื่อให้ลูกหลานได้เห็นถึงความสาคัญและการใช้ดาบเป็น
อาวุธในอดีต และเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของการใช้ดาบเป็นอาวุธในอดีต อีกทั้งกระบองที่เป็นอาวุธที่ใช้
ในการต่อสู้อีกชนิดหนึ่งของชนเผ่าปะหล่องที่อาศัยอยู่บริเวณผาสูงชันจึงจาเป็นต้องใช้กระบองในการ
ป้องกันตน และใช้ในการเดินทางจากช่องแคบระหว่างหน้าผาหรือภูเขาสูงชัน (ใช้ช่วยในการโหนตัว)
เป็นต้น ปัจจุบันก็ได้ปรับเปลี่ยนมาประยุกต์ให้กลายเป็นการรากระบองแทนเช่นเดียวกับ การราดาบ
ซึ่งสาระสาคัญของศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว คือ การฝึกจิตใจของคนให้เอาชนะอุปสรรคด้วยประการ
ทั้งปวง ส่วนทางภาคเหนือของประเทศไทยหรือดินแดนล้านนา มีศิลปะที่คล้ายกับการรามวยและใช้
แสดงพร้อมกับการราดาบ เช่นเดียวกับมวยไทยที่แสดงคู่กับกระบี่กระบองที่เรียกว่า “ฟ้อนเจิงเซิง ”
ซึ่งเป็นท่าที่แสดงออกในท่วงท่าของนักรบที่ฟ้อนด้วยมือเปล่าโดยการเคลื่อนไหวของร่างกายและการ
ยกแขน ยกขา ที่มีการแสดงชั้นเชิงแตกต่างกันไปตามการประดิษฐ์ท่าทางของแต่ละคนในกลุ่มของ
ชาวไตหรือไท หรือการตบมะผาบ ซึ่งเป็นการใช้มือเปล่าตบไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย พร้อมกับ
กล่าวคาถาตามความเชื่อทางไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดความคงกระพันชาตรี ความสัมพันธ์กันตามจังหวะ
การแสดงที่แสดงคู่กับการฟ้อนดาบ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับชั้นเชิงการต่อสู้ปอ้ งกันตัวผสมผสานกับลีลา
ท่าฟ้อน เช่นเดียวกับดินแดนในภาคอีสานที่มีรามวยโบราณ ซึ่งมีลีลาคล้ายกับแม่ไม้มวยไทยในปัจจุบนั
เพียงแต่มีความอ่อนไหวและขึงขัง ซึ่งมวยไทยน่าจะเกิดมาจากการร่ายราของผู้ชายในพิธีกรรมบวงสรวง
ก่อนจะมีการพัฒนามาเป็นการต่อสู้ในยุคต่อมา (จิราพร แก้วศรีงาม. 2547 : 14 - 15)

ภาพที่ 1 59 Boxing. possibly as a cult act (From a plaque).


ที่มา (อัตถนิช โภคทรัพย์. 2552 : 47)
4

จากภาพที่ 1 เป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สดุ ของการชกมวย เป็นศิลปะบนแผ่นโลหะของบาบิโลเนียน


745-539 ปีก่อนคริสตกาล หรือช่วงต้นและก่อนสมัยพุทธกาล จะเห็นว่าวิชาการหมัดมวยมีการสืบ
ทอดกันมาแต่โบราณ ร่วม 3,000 ปี ดังปรากฏจาหลักบนแผ่นโลหะ สะท้อนให้เห็นว่า มีการใช้ศิลปะ
การป้ อ งกั นตัวโดยใช้ห มั ด ดัง กล่าวในการดารงชีวิ ต การพัฒ นาทรัพยากรมนุษย์ และการดารง
ความสันติสุขของโลก
ดินแดนแห่งลุ่มน้าแม่โขงเป็นที่กาเนิดของอาณาจักรใหญ่น้อยมีนครรัฐมากมาย และมีความ
หลากหลายทางนิ เ วศวิท ยาด้ วยความสั ม พัน ธ์ ห ลายรู ป แบบทั้ ง ความกลมกลื นทางด้ านศาสนา
ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การปกครองและภูมิ ปัญญา ดินแดนลุ่มน้าแม่โขงแห่งนี้ จึงนับได้ว่าเป็น
แหล่ง อารยะธรรมที่ สาคัญ แห่ง หนึ่ง ของโลก ดินแดนแห่ง ลุ่ม น้าแม่โ ขง ช่วงระหว่างประเทศไทย
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศกัมพูชา ที่รวม
เรียกว่า อนุภูมิ ภาคลุ่มน้าแม่ โขง (Greater Mekong Sub - Region) โดยที่ช นชาติที ่อาศัย อยู่ใ น
ดินแดนนี้ประกอบด้วยชน 2 เผ่าใหญ่เป็นบรรพบุรุษประกอบด้วยชนชาติสยามผู้อยู่ม าดั้ง เดิม มีผิว
คล้า สันนิษฐานว่ามาจากอินเดียตอนใต้ เพราะใช้อักษรปัลลวะได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย และขอม ส่วน
ชนชาติไทย คือพวกผิวเหลืองที่มาจากดินแดนตอนใต้ของจีนซึ่งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรน่านเจ้า แคว้น
สิบสองจุไทย อันลือเลื่องเป็นเลิศในเพลงกระบี่ หรือดาบสองมือ ได้แก่ ไทยใหญ่ (เงี้ยว) และลาวคือ
อาณาจักรเชียงแสน สุโขทัย จึงบังเกิดอักษรสามชนิดขึ้นในดินแดนแถบนี้ คือ ขอมไทย ขอมเขมรและ
ไทยพ่อขุนรามหรือไทยปัจจุบันโดยมีรากเหง้ามาแต่อักษรปัลลวะ วัฒนธรรมและศิลปะของชนชาติใน
แถบนี้จึงเป็นอินเดียผสมจีน คืออินโดจีนตามความคิดของฝรั่ง จากข้อความดังกล่าวศิลปะการต่อสู้
ของชนชาติในแถบนี้จึงเปรียบเหมือนจระเข้น้ากร่อย ซึ่งมีความร้ายกาจที่ผสมกันระหว่า งน้าจืดและ
น้าเค็ม (วัลลภิศร์ สดประเสริฐ. 2547 : 16 - 17) โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะการป้องกันตัวที่คนชนชาติแถบ
นี้มีทักษะมากคือการใช้ ข้อมือ กาปั้น ศอก เข่า เท้า แข้ง (วัลลภิศร์ สดประเสริฐ. 2547 : 20) ซึ่งเป็น
อวัยวะในร่างกายที่ไม่ต้อ งใช้อ าวุธเป็นเครื่องมื อ ผู้วิจัยจึง สนใจศึกษาถึง ความแตกต่างของทัก ษะ
ความสามารถในการใช้ร่างกายในการต่อสู้ของคนในอนุภูมิภาคนี้ที่มีความสามารถใช้อวัยวะส่วนล่าง
ของร่างกายในการต่อ สู้ป้องกั นตัวที่เ รียกกันว่า การเตะ การถีบ การแทงเข่า การฟาดด้วยเท้า ซึ่ง
คนในซีกโลกตะวันตกและภูมิภาคอื่น ไม่ปรากฏความสามารถในการใช้ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวลักษณะ
นี้ ซึ่งต่อ มาได้มี ก ารคิดค้นประดิษฐ์เ ป็นรูปแบบและมีก ารสอนแบบถ่ายทอดสืบ ต่อกั นมา ในชื่อที่
เรียกว่า “มวย” มวยในรูปแบบดั้งเดิม ที่ปรากฏอยู่ในประเทศกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ในอนุภูมิภาคลุ่มน้าแม่โขงตอนกลางตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีที่มาโดยได้รับอิทธิพล
จากมวยสยามหรือมวยไทย มีประวัติความเป็นมาที่สอดคล้องกัน มีรูปแบบที่เป็นเทคโนโลยีวัฒนธรรม
ด้านต่าง ๆ ที่มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอันประกอบด้วย 7 ด้าน กล่าวคือ ด้านการแต่งกาย ด้านภูมิ
ปัญญาคาถา (ยันต์) ด้านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ด้านพลังจิตกับพลังกาย ด้านสมาธิ ด้านกาลังของมวยและ
ด้านจุดส่งพลัง ศิลปะมวยไทยเป็นหนึ่งในหลักฐานทางวัฒนธรรมที่แสดงจุดยืนของความเป็นชนชาติไทย
ไว้อย่างชัดเจน พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงเล่มที่ 9 (9 – 106 -63 ที.สี.) จากพระพุทธวจนะใน
พระไตรปิฎกแสดงให้เห็นถึง มวยชก เป็นศาสตร์อีกประเภทหนึ่งที่แตกต่างออกไปจากมวยปล้า มวย
ชกเป็นการละเล่น แข่งขันที่มีขนบธรรมเนียมสาหรับประกอบเทศกาลตามประเพณี มีสืบเนื่องมานาน
แล้ว (อัตถนิช โภคทรัพย์. 2552 : 15 - 16) แสดงให้เห็นว่ามวยชกมีปรากฏเป็นหลักฐานมานานนับ
5

พันปี ซึ่งมวยไทย มวยลายลาว (มวยเสือลากหาง) ที่เป็นการต่อสู้ที่ใช้ หมัด เตะ ศอก เข่า มีวิวัฒนาการ
สืบทอดมาจากการละเล่นที่ปรากฏในพระไตรปิฎกดังกล่าว แล้วมาปรับรูปแบบให้เป็นอัตลักษณ์และ
ตามโครงสร้างของวัฒนธรรมในชนชาติของตน โดยจะสังเกตเห็นว่า ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวบาง
ประเภทจะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน เช่น แขนงวิชาการเตะต่อย กล่าวว่า การคิดค้น ทดลอง ฝึกฝน มักจะ
เลียนแบบธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ความคล้ายคลึงกันย่อมเกิดขึ้นได้ (จรวย แก่นวงษ์คา. 2530 :
7- 8)
จากการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในด้านการต่อสู้ปอ้ งกันตัว พบว่ารูปแบบการต่อสู้
ป้องกันตัวที่เรียกว่า ‘มวย’ นั้นมีมาตั้ง 1,000 ปี ซึ่งปรากฏในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เพราะว่ารูปแบบ
การต่อสู้ที่เรียกว่ามวยที่ปรากฏในภูมิภาคมีความหลากหลาย ได้แก่ มวยไทย มวยของชาวขอม มวย
ลายลาวและในสมัยกรุงศรีอยุธยามีเรื่องราวของมวยไทย โดยสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงตั้ง
กองกาลังพิเ ศษขึ้นมาเมื่อ ครั้งทรงครองเมืองพิษณุโ ลก โดยกองทหารหน่วยนี้ถูกฝึ กด้านความกล้า
ความสามารถในการแฝงตัวเข้าสืบเสาะข่าว และการเข้าต่อสู้ประชิดตัว เรียกกองทหารนี้ว่ากองเสือ
หมอบแมวเซา (จิราพร แก้วศรีงาม. 2547 : 16) สมเด็จพระเจ้าเสือหรือขุนหลวงสรศักดิ์ (พ.ศ. 2245)
พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงเริ่มฝึ กมวยตั้งแต่ทรงพระเยาว์จน
เชี่ยวชาญในการต่อสู้ ทรงปลอมพระองค์เป็นชาวบ้านเข้าร่วมแข่งขันเพื่อทดสอบฝีมือ เมื่อครั้งเสด็จ
พระราชดาเนินประพาสงานฉลองพระอาราม บ้านประจันตเขต ตาบลตลาดกรวด แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ
และได้ขึ้นชกมวยคาดเชือกกับคนมวยชาวบ้าน ได้ชัยชนะถึงสามคน คือ นายกลาง หมัดตาย นายใหญ่
หมั ดเหล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก ต่อมานายขนมต้ม ที่ถูก จารึก ชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ม วยไทย
ซึ่งเรื่องราวเกิดขึ้นในวันที่ 17 มีนาคม ปี พ.ศ. 2313 โดยเป็นครูมวยชาวอยุธยา ที่มีทักษะการเรียนรู้
ตามธรรมชาติ ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า สมัยพระเจ้ามังระเป็นพระมหากษัตริย์
ของพม่า ได้มีการชกมวยหน้าพระที่นั่ง และได้ใช้ฝีมือแม่ไม้มวยไทยเป็นผู้ที่อยู่ในตานานมวยไทยที่
สามารถชกเอาชนะคนมวยพม่าถึงสิบคนผลัด ชนะหลายครั้งเป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจเหี้ยมหาญ
ของวิชามวยไทย จนพระเจ้ามังระตรัสชมว่า คนไทยนี้ช่างมีฝีไม้ลายมือดุจเสือซ่อนเล็บอยู่รอบด้าน มือ
เปล่ายังสู้ชนะได้ ถ้าเจ้านายไทยสามัคคีปองดองกันดีแล้ว กรุงศรีอยุธยาจะไม่เสียแก่พม่าเลย และในสมัย
อยุธยาตอนปลาย ได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือกและกรมตารวจหลวงขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการให้
การคุ้ม ครองกษัตริย์และพระบรมราชวงศ์ มีก ารฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้ง มวยไทยและมวยปล้าตาม
แบบอย่างแขกเปอร์เซีย (อิหร่าน) ดังนั้นจึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการเป็นจานวน
มาก และต่างได้แสดงฝีมือในการต่อสู้ในราชสานักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลต่าง ๆ สืบต่อกันมา
เป็นประจา (ชนาเทพ วะสวานนท์. 2555 : 3) ส่วนพระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อนายทองดี ฟันขาว หรือ
นายจ้อย ซึ่งเป็นผู้ที่มีความแตกฉานในวิชามวยไทย ไต่เต้าจากชาวบ้านจนได้เป็นขุนศึกคู่พระราชหฤทัย
ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยุคนี้มีนักมวยที่มีฝีมือและมีชื่อเสียงหลายคน เช่น ครูเมฆ บ้านท่าเสา ครู
ห้าว แขวงเมืองตากฯลฯจะเห็นว่านัก รบ นักมวย หรือแม้แต่ผู้นาก็ต้องใช้ศิล ปะการป้องกั นตัวเพื่อ
เตรียมตัวไว้สาหรับพัฒนาประเทศ ถ้าต่อสู้ด้วยกาลังก็ต้องพ่ายแพ้แน่ จะต้องมีการนาวิชาการ วิธีการ
และสติ อีกทั้งความสาเร็จอยู่เหนือผู้อื่นต้องมีจิตที่มั่นคง จิตวิทยาการกีฬา และทักษะที่เหนือ ในสมัย
โบราณกล่าวกันว่า วัดเป็นแหล่งศูนย์รวมของผู้ที่มีความสามารถในสรรพวิชาแขนงต่าง ๆ กีฬามวย
ไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จนถึงรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีการ
6

บันทึกทางประวัติศาสตร์ว่า มีการจัดการชกมวยถวายหน้าพระที่นั่งเป็นประจาที่วังสวนกุหลาบ ทั้งนี้


ในการต่อสู้ประลองระหว่างนักมวยกับครูมวยชาวไทยด้วยกัน และการต่อสู้ระหว่างนักมวยกับครูมวย
ต่างชาติ ในยุค แรกการแข่ง ขั นมวยไทยใช้ก ารพันมื อด้วยการพัน เชือก จนกระทั่ ง นายแพ เลี้ย ง
ประเสริฐ นักมวยจากอาเภอท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อยนายเจียร์ นักมวยชาวเขมร ด้วยหมัดเหวี่ยง
ควายถึง แก่ ความตาย การชกมวยที่พันด้วยเชือกจึงเปลี่ยนมาสวมนวมแทนและเริ่มมี การก าหนด
กฎ กติกาในการชก และมี เวทีที่มี ขนาดมาตรฐานขึ้นแห่ง แรกคือ เวที มวยลุม พินีและเวทีม วยราช
ดาเนิน ที่มีการดาเนินการจัดแข่งขันมวยไทยมาจนปัจจุบัน ในการแข่งขันชกมวยในสมัยรัชกาลที่ 6
ระหว่างมวยเลี่ยะผะ (กังฟู) ชาวจีนโพ้นทะเลชื่อนายจี่ฉ่างกับนายยัง หาญทะเล ศิษย์เอกในพลเรือเอก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่มีแม่ท่าจรดมวย
แบบลักษณะมวยโคราช เน้นการยืดตัวตั้งตระหง่านพร้อมที่จะรุกและรับโดยเน้นการใช้เท้าและหมัด
เหวี่ยง ซึ่งต่อมาได้เป็นแบบอย่างในการฝึกหัดมวยไทยในสถาบันพลศึกษาส่วนใหญ่
“มวย” มาจากคาว่า ร าหมัดร ามวย ซึ่ง เป็นชื่อเรียกการฝึก สมาธิเ คลื่อนไหวเพื่อสร้าง
สุขภาพ ของชนเผ่าไท โดยมีลักษณะเด่นที่ การเคลื่อนไหวซึ่งมี การหมุนมวนข้อมือและหมัด (พันหมัด
พันมือ ) และการเคลื่อ นที่ที่มี จังหวะและการหมุนวนไปมา ซึ่งเป็นคาปรากฏเรียกกันมาแต่โ บราณ
ตั้งแต่ก่ อนตั้งอาณาจักรสุโขทัย และต่อมาในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1900 (ราวปี ค.ศ. 1357)
ปรากฏคาว่าปล้ามวย (การประลองหรือซ้อมมวยเพื่อทดสอบฝีมอื เช่นเดียวกับการปล้าไก่) ตีมวย (การ
แข่ ง ขั นชกมวยเพื่ อ การพนั นเอาแพ้ ชนะ เช่ นเดีย วกั บ ค าว่ า ตีไ ก่ ) หรือ อาจมาจากลัก ษณะการ
ประกอบการม้วนเชือกหรือผ้า เพื่อใช้หุ้มฝ่ามือและท่อนแขน เพื่อใช้ป้องกันอันตรายขณะต่อสู้ หรือ
อาจเพิ่มอันตรายในการชกกระแทกฟาดโดยการผสมกับกาวแป้ง และผงทราย คล้ายลักษณะของมวย
ผมของผู้หญิงที่นิยมไว้ผมยาว (เกล้ามวย) ได้แก่ หญิงไทย ลาวโซ่ง หญิงล้านนาในสมัยโบราณ หรือ
นักมวยจีน (มุ่ นผม) ซึ่ง นิยมถัก เป็นเปีย แล้วม้ วนพันรอบคอของตนซึ่ง สามารถใช้ได้ในการต่อสู้ใน
บางครั้ง 2 มาจากคาภาษาบาลีว่า “มัลละ” หมายถึง การปล้ารัด มวยปล้าของชาวอินเดีย มีการต่อสู้
ในลักษณะเดียวกับมวยของชาวไทยมุสลิมในทางภาคใต้ตลอดจนแหลมมลายู เรียกว่า ซีละ หรือ ปัญจสีลตั
มีผู้บัญญัติศัพท์ว่า มวยไทยพาหุยุทธ์ โดยเปรียบว่าเป็นการต่อสู้แบบรวมเอาศิลปะการต่อสู้ (Martial Arts)
ทุกแขนงโดยใช้อวัยวะทุกส่วนร่วมด้วย ได้แก่ การใช้ศีรษะ คาง เพื่อชน กระแทก โขก ยี ใช้ท่อนแขน
ฝ่ามือและกาปั้น จับ ล็อก บล็อก บัง เหวี่ยง ฟาด ปิด บัง ป้อง ฟาด ผลัก ยัน ดัน ทุบ ชก ไล่แขนอก
เฉือน ถอง กระทุ้ง พุ่ง เสย งัด ทั้งทาลายจังหวะเมื่อเสียเปรียบและหาโอกาสเข้ากระทาเมื่อได้เปรียบ
ส่วนขา แข้ง เข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า ปลายเท้า ใช้ในการบัง ถีบ เตะ แตะ เกี่ยว ตวัด ช้อนปัด กวาด ฟาด
กระแทก ทาให้บอบช้าและเสียหลักและใช้ลาตัวในการทุ่มทับจับหัก การประกอบรวมแม่แบบชุดต่อสู้
รวมเรียกว่า แม่ ไม้ และลูก ไม้ ตามเชิง มวยหรือกลมวย (วิเ ชียร สิงหปรีชา. 2542 : 9) มวยไทย
เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (The Art of Self - Defense) และเป็นกีฬา (Sport) ประจาชาติไทย
ที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่ส มัยโบราณจนถึงปัจจุบันมวยไทยหรือศิล ปะมวยไทย
มีความเป็นเอกเทศทางวิชาการที่ชาวพุทธโบราณเรียกว่า ศิลปศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งมีการถ่ายทอด
เรียนรู้อย่างต่อเนื่องยาวนาน (อัตถนิช โภคทรัพย์. 2552 : 14 - 15) ศิลปศาสตร์ในความหมายเรียกหา
ของชาวพุ ท ธโบราณ หมายถึ ง วิ ช าที่ ใ ช้ เ ลี้ ย งชี พ มวยไทย เป็ น ศิ ล ปะการต่ อ สู้ ที่ ใ ช้ ส่ ว นต่ า ง ๆ
ของร่างกาย เป็นอาวุธธรรมชาติ ได้แก่ หมัด เท้า เข่า ศอก เป็นการต่อสู้ที่ใช้ได้ในระยะใกล้ตัวและ
7

ประชิดตัว เป็นการต่อสู้ที่ผสมผสานของศาสตร์และศิลป์ได้อย่างสวยงามมหัศจรรย์และมีอันตราย
อย่างยิ่งเป็นสุนทรียศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องความงามที่มีผลต่อความรู้สึกนึกคิด เป็นความงามที่ต้องทา
ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (วินัย พูลศรี. 2545 : 160)
รูปแบบวัฒนธรรมมวยไทยดั้งเดิมก่อนให้มีการสวมนวมใช้วิธีพันมือแทนนวม ซึ่งเรียกกันว่า
การคาดเชือก หรือในภาคใต้เรียกว่า ถักหมัด ซึ่งมวยแต่ละถิ่นก็จะมีวิธีคาดเชือกต่างกันไป อาทิ เช่น
มวยโคราช มวยลพบุรี มวยไชยา เป็นต้น มวยคาดเชือกได้ถูกยกเลิกไปในยุคสมัยสนามมวยหลั กเมือง
ท่าช้าง จึงมีการสั่งให้ยกเลิกมวยคาดเชือกแล้วให้เปลี่ยนมาใช้นวมฝรั่งสวมแทน (จิราภรณ์ เจริญเดช.
2545 : 12) ลักษณะการชกของนักมวยยังแบ่งประเภทตามลักษณะของการเข้าต่อสู้ การรุก การรับ
และใช้หมัดเท้า เข่าและศอก ตามลีลาความถนัดของนักมวย ในอดีตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ มวยหลัก
หรือมวยแข็ง และมวยเกี้ยวหรือมวยอ่อน ส่วนในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกับในอดีต คือ
มวยบุก และ มวยถอย (ทฤษฎี สิทธิประเสริฐ. 2536 : 70 - 71) องค์ประกอบที่สาคัญของรูปแบบ
มวยไทยที่ จัดเป็นเทคโนโลยีทางวัฒ นธรรมมวยไทยที่ ถือว่าเป็นเอกลักษณ์โ ดดเด่น ประกอบด้วย
1) การแต่ง กายของมวยไทยไม่ นิยมสวมเสื้อผ้าหลายชิ้น เพราะมวยไทยเป็นกี ฬาที่ ต้องการความ
คล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ สวมกางเกงขาสั้นยาประมาณแค่เข่า 2) ความเชื่อและ
เครื่องรางของขลังที่นักมวยไทยนิยมใช้เ มื่อขึ้นชกมวยได้แก่ พระเครื่อง ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ตะกรุด
มงคล ประเจียด พิสมร พิรอด ว่าน และบางแห่งเคี้ยวหมาก โดยเครื่องรางของขลังเหล่านี้เกจิอาจารย์
จะเป็นผู้ทาให้และลงคาถาอาคมแต่ในปัจจุบันอนุญาตให้สวมใส่ได้เฉพาะตอนร่ายรามวยไทย จึงทาให้
เหลือแต่มงคลและประเจียดเท่านั้น ให้ผูกได้เพียงประเจียดที่ต้นแขนซ้ายขวาเพราะทาด้วยผ้าไม่มี
อันตรายส่วนผู้หญิงตรงข้ามกับเครื่องรางของขลังเนื่องจากการลงคาถาอาคม เชื่อกันว่าผู้หญิงเป็น
สิ่งอัปมงคลที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้ามายุ่งกับมวยไทย แม้ปัจจุบันจะมีผู้หญิงขึ้นชกมวยไทยแล้วก็ตาม
แต่ก็มีกฎข้อห้ามมาควบคุม อาทิ การลอดเชือก การกระโดดข้ามเชือกแบบนักมวยชายและแยกเวที
มีการเชื่อแม้กระทั่งห้ามผู้หญิงจับต้องเครื่องรางของขลังที่เกี่ยวกับมวยไทย ได้แก่ มงคล ประเจียด
หรือตะกรุด เป็นต้น เพราะเชื่อว่าจะทาให้เสื่อมลง เรื่องของความเชื่อก็จะมีถึงการห้ามผู้หญิงขึ้นบน
เวทีมวยเด็ดขาด และบางค่ายก็ห้ามผู้หญิงเข้าโดยเด็ดขาด ถึงแม้ว่าบางค่ายจะมีนักมวยหญิงก็จะใช้
เวทีแยกต่างหากไม่ปะปนกัน ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เป็นเรื่องที่คนในวงการมวยไทยไม่กล้าละเมิดเพราะ
กลัวเภทภัยจะเกิดกับนักมวยอีกทั้งเป็นเรื่องขวัญและกาลังใจของนักมวยโดยตรง เครื่องแต่งกายมีการ
สวมเครื่อ งป้อ งกั นอวัยวะส าคัญ ส่วนต่าง ๆ ได้แก่ การสวมกระจับ สวมฟันยาง ปลอกรัดข้อเท้ า
(จะสวมหรือไม่สวมก็ได้) มวยไทยไม่สวมรองเท้า 3) กติกาการแข่งขัน 4) เครื่องดนตรีประกอบการ
แข่งขันมวยไทย ที่ใช้ประกอบการไหว้ครูและร่ายรามวยไทย ก่อนการแข่งขัน 5) การไหว้ครูและร่าย
ร ามวยไทยก่ อ นการแข่ง ขั น 6) แม่ ไ ม้ ม วยไทย มี การแบ่ ง ไว้ ชั ด เจน 3 ลั ก ษณะ (ส านั ก งาน
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2540 : 250) ดังนี้
1. กลมวย แบ่งเป็นกลมวยแก้หมัด 29 กล กลมวยแก้เท้า 23 กล กลมวยแก้เข่า 3 กล
กลมวยแก้ศอก 4 กล และกลมวยจู่โจม 23 กล
2. เชิงมวย แบ่งเป็น 4 เชิง คือ เชิงหมัด 15 เชิง เชิงเท้า 15 เชิง เชิงเข่า 11 เชิง เชิงศอก 24
เชิง
8

3. แม่ไม้ และลูกไม้ม วยไทย เป็นศิลปะมวยไทยที่ สาคัญ ที่สุดอันเป็นพื้นฐานของการใช้


แม่ไม้มวยไทย แม่ไม้มวยไทย มี 15 ไม้ ลูกไม้มี 15 ไม้
มวยไทย เป็นองค์ประกอบหนึ่งของศิลปกรรม ที่ล้วนผูกพันอยู่กับโครงสร้างหลักธรรมของ
พระพุทธศาสนาตั้งแต่ยุคสมัยที่คนไทยเริม่ ต้นรวมตัวกันขึ้นเป็น นคร รัฐ และอาณาจักรแบบ “สยาม”
การพัฒนาความผูกพันด้วยพิธีกรรมทางความเชื่อต่าง ๆ ให้มาสอดคล้องกลมกลืนกันเป็นสังคมขนาดใหญ่
ได้นั้น จาต้องอาศัยศิลปะ คือจิตวิทยาสังคมจากศาสนาเป็นสาคัญ ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงประสานคติ
ความเชื่อพื้นถิ่นของชาวสยามโบราณกับพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นคติที่พัฒนาเด่นชัดขึ้นมาในระหว่าง
พุทธศตวรรษที่ 12 - 15 (อัตถนิช โภคทรัพย์. 2552 : 19) มวยไทยมีวิวัฒนาการมาหลายชั่วอายุคน
จึงสั่งสมวัฒนธรรมและประเพณีหลาย ๆ ด้านได้อย่างผสมผสานกลมกลืนเช่น ความเชื่อในเรื่องจิต
วิญญาณ คาถาอาคม ดนตรี วรรณกรรม คุณธรรม จริยธรรม (สมบัติ สว่างควัฒน์. 2554 : 15 - 16)
มวยในอนุภูมิภาคลุ่ม น้าแม่โขงตอนกลางที่ควรแก่การศึกษามีความน่าสนใจอีกประการ
หนึ่งที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีวัฒนธรรมมวยไทยคือ การนามวยในลักษณะมวยไทยเข้าสู่การแข่งขันให้เป็น
กีฬาชนิดหนึ่ง ในปัจจุบัน ซึ่งถือ ว่ามวยในลัก ษณะมวยไทยนี้เ ป็นศิล ปะการต่อสู้ที่ ร้ายกาจ มีพิษสง
รุนแรงรวดเร็วและเด็ดขาดที่สดุ ประเภทหนึ่งในบรรดาศิลปะการต่อสูท้ ั้งหลาย สามารถใช้อวัยวะเกือบ
ทุกส่วนให้เกิดประโยชน์อย่างยุติธรรมทุกกรณี (สมบัติ จาปาเงิน. 2549 : 7 - 9) เป็นชนิดกีฬาที่ได้รับ
ความสนใจจากชาวต่างชาติทั่วโลก แต่ก็ยังไม่สามารถนาไปบรรจุลงไปในการแข่งขันกีฬาทั้งระดับ
ภูมิ ภาคและระดับ โลกได้ทั้ ง ๆ ที่ ป ระเทศในอนุ ภูมิ ภาคลุ่ม น้าแม่ โ ขงทั้ ง ตอนบน ตอนกลาง และ
ตอนล่างมีศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่เป็นรูปแบบมวยลักษณะมวยไทยอยู่ถึง 4 ประเทศ คือ ประเทศไทย
สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมี ยนมา สาธารณรัฐประชาธิป ไตยประชาชนลาว และประเทศกั ม พูช า
เมื่อศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการของมวยไทย มวยไทยไม่ปรากฏเด่นชัดแต่มวยถูกใช้เป็นส่ว น
หนึ่งของการป้องกันตัวของนักรบชาวเขาเผ่าต่าง ๆ มองโกล พม่า จีน เป็นศิลปะการป้องกันตัว ต่าง
จากชนเผ่าคอเคซอยด์จากยุโรปทีม่ ักเน้นสมรรถภาพของอาวุธมากกว่าตัวบุคคลศิลปะการต่อสู้ปอ้ งกัน
ตัวของชาวเอเชียจึงพัฒนาไปไกลและมีประสิทธิภาพมากกว่าชาวยุโรป เช่น ยูโด และคาราเต้ของชาว
ญี่ปุ่น เทควันโดของชาวเกาหลี มวยกังฟูของชาวจีน และมวยไทยก็เป็นศิลปะการต่อสู้ซงึ่ มีชื่อเสียงทีส่ ดุ
ชนิดหนึ่งของเอเชีย หลายคนกล่าวว่ามวยไทยมีความคล้ายศิลปะการต่อสู้ของหลายประเทศในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมามีมวยที่เรียกว่า “บานโดะ” ส่วนในเวียดนามก็มี
ศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่เรียกว่า “เวียดหวูด๋าว” ซึ่งค่อนข้างคล้ายไปทางคาราเต้ (สานั กงาน
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2540 : 16) ยุคมวยไทยที่เริ่มเป็นการแข่งขัน ที่เรียกว่า การแข่งขัน
ชกมวยไทยในยุคแรกสนามมวยยังไม่มีหลังคา ทาการแข่งขันในวันอาทิตย์ โดยใช้กติกาการแข่งขัน
กีฬามวยไทยของกรมพลศึกษาฉบับ พ.ศ. 2480 จึงถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของมวยไทยสมัยใหม่ คน
ไทยให้ความสนใจเข้าชมการแข่งขันมากมาย ทั้ งเจ้าของค่ายมวย ผู้จัด และนักมวยต่างก็ มี รายได้ดี
จนถึงปี พ.ศ. 2494 สนามมวยราชดาเนินได้ก่อสร้างหลังคาอย่างแน่นหนาถาวรได้มาตรฐานจุผู้ชมได้มาก
ขึ้นและเปิดใช้แข่งขันในปี พ.ศ. 2496 โดยมีการกาหนดกติกา การให้คะแนนและนักมวยก็สวมเครื่อง
ป้องกันอันตรายซึ่งมีวิวัฒนาการมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ (ชาญณรงค์ สุหงษา. 2545 : 4 - 6) และการ
แข่งขันมวยไทยในเวทีมวยสามารถแบ่งได้ 5 สมั ยคือ พ.ศ. 2462 - พ.ศ. 2466 สมัยสวนกุหลาบ
พ.ศ. 2466 - 2472 สมัยท่าช้าง พ.ศ. 2472 - 2478 สมัยสวนสนุก พ.ศ. 2478 - 2484 สมัยหลักเมือง
9

และสวนเจ้าเชษฐ์ พ.ศ. 2484 ถึงปัจจุบัน เป็นสมัยปัจจุบัน ซึ่งในยุคปัจจุบันนี้ ได้มีการก่อสร้างสนาม


มวยลุมพินีขึ้นอีกแห่งหนึ่งใน พ.ศ. 2521 มีอาจารย์เขตร ศรียาภัย เป็นนายสนาม จัดการแข่งขันชกมวย
ทุกวัน โดยสลับกันจัดระหว่างสนามมวยเวทีราชดาเนินกับสนามมวยเวทีลุมพินี มีการถ่ายทอดทางสถานี
วิทยุและโทรทัศน์เป็นประจา (สมบัติ จ าปาเงิน. 2549 : 14 - 15) มวยไทยจึงเกิดการแพร่หลายใน
เชิงธุรกิจและการพนันมากขึ้น
ในสภาพการณ์ปัจ จุบัน ทุ ก ๆ ประเทศมี ความใกล้ชิดกั นด้วยสื่อ และระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศ ซึ่งมีข้อดีอย่างมากอีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันอาจทาให้วัฒนธรรมบางอย่าง เช่น “มวยไทย”
อาจเสื่อ มถอยหรือล่ม สลายได้ในการข้างหน้า ในเรื่องนี้ผู้วิจัยตระหนักชัดว่าควรเข้าถึงบริบทของ
ความรู้หรือ วิชาการมวยไทย โดยเฉพาะอาณาบริเวณลุ่มน้าแม่ โขง โดยใช้เ ทคนิคศึกษาศิล ปะการ
ป้องกันตัวให้เป็นกลไกประสานประโยชน์ร่วมระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศกัมพูชา อันเป็นพื้นที่ ที่มีกลุ่มชนตระกูลภาษา
ออสโตรเอเชียติกและอื่น ๆ ที่นอกจากภาษาไทยอาศัยอยู่เป็นจานวนมาก ซึ่งอาจทาให้ได้สาระทาง
ภูมิปัญญาบางประการมาต่อยอด “มวยไทย” เพื่อความคงอยู่และยั่งยืนต่อไป ประเทศไทยประกอบด้วย
กลุ่มชาติพั นธุ์ห ลายกลุ่ม แต่ล ะกลุ่ม มี ความแตกต่างกันทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม แต่ป ระชาชน
ก็สามารถดารงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ มีลักษณะเด่นอันแสดงถึงเอกลักษณ์
และอัตลักษณ์ของตน คือกลุ่มคนที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษทางสายเลือด และบรรพบุรุษทางวัฒนธรรม
เดียวกัน กลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันมีความรู้สึกผูกพันทางสายเลือดและทางวัฒนธรรมอยู่ด้วยพร้อม ๆ กันไป
เป็นความผูกพันที่ช่วยเสริมเอกลักษณ์ของบุคคล และชนชาติพันธุ์ และขณะเดียวกันก็สามารถก่อให้เกิด
ความรู้สึกที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ (อมรา พงศาพิชญ์. 2537 : 157) นักวิชาการได้แบ่งกลุ่มชาติพันธุ์
ที่อยู่ในประเทศไทย โดยอาศัยตามลักษณะกลุ่มภาษาที่แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ใช้ ออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษากลุ่มตระกูลภาษาจีนทิเบต 2. กลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษากลุ่มตระกูลภาษาม้ง -
เมี่ยน 3. กลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาตระกูลออสโตรเนเชี่ยน 4. กลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษากลุ่มตระกูลภาษาไท
– กะได และ 5. กลุ่มชาติพันธุ์ในไทยที่ใช้ภาษากลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (ณรงค์ฤทธิ์ สุขสวัสดิ์.
2557: 1) ในการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ จะมีกลุ่มชาติพันธุ์ในไทยที่ใช้ภาษากลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
เช่น กูย (Kuy) ที่มีถิ่นเดิมอยู่บริเวณตอนเหนือของเมืองกาปงธม ประเทศกัมพูชา ชาวกูยเคยเป็นรัฐอิสระ
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 เคยส่งทูตมาค้าขายกับอยุธยาและเคยช่วยกษัตริย์เขมรปราบขบถ ต่อมาเขมรได้
ใช้อานาจทางทหารปราบชาวกูยและผนวกอาณาจักรเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเขมร ชาวกูยชอบการอพยพ
เพื่อแสวงหาที่ดินอุดมสมบูรณ์เพื่อการเพาะปลูก ชาวกูยอพยพขึ้นเหนือเข้าสู่เมืองอัตตะปือ แสนปาง
จาปาศักดิ์ และสาละวันทางตอนใต้ของลาว รวมทั้งอพยพข้ามลาน้าโขงเข้าสู่ภาคอีสานของไทยทางด้าน
แก่ งสะพื อ อ าเภอโขงเจี ยม จั ง หวั ดอุ บลราชธานี หลั ง จากนั้ นชาวกู ยแยกย้ ายกั นไปตั้ งบ้ านเรื อน
ชาวกูย อพยพเข้าประเทศไทยครั้งใหญ่ในสมัยปลายอยุธยา (พ.ศ. 2245 – 2326) ชาวเขมรที่อาศัยอยู่ใน
ประเทศกัมพูชาจะเรียกชาวเขมรในประเทศไทยว่า “เขมรไทย” หรือ “เขมรสุรินทร์” (ขแมร์สะเร็น)
เพราะชาวไทยเขมรในจังหวัดสุรนิ ทร์เป็นที่รจู้ ักกันผ่านเสียงเพลงและดนตรีที่โด่งดัง ชาวเขมรในกัมพูชาจึง
ใช้คาว่าเขมรสุรินทร์ เรียกชาวไทยเขมรโดยทั่วไปที่อยู่ในประเทศไทย (ณรงคฤทธิ์ สุขสวัสดิ.์ 2557 : 4)
นอกจากนี้ ยั งพบกลุ่ มชนตระกู ล ภาษาออสโตรเอเชี ยติ ก ใน สาธารณรั ฐประชาธิ ปไตย
ประชาชนลาวซึ่งมีปริมาณมาก ได้แก่ ชนเผ่าขะมุ อาศัยในแขวงหลวงพระบาง หลวงน้าทา อุดมไซ และ
10

พงสาลี เป็นต้น อีกทั้งชนเผ่ากาตู แงะ ตาโอย ตาเลียง ละแว ยะเห็น และบรู อาศัยอยู่ในแขวงสาละวัน
อัตปือ เซกอง และจาปาสัก เป็นจานวนมากเช่นกัน เขาเหล่านี้มี สรีระลักษณะพิเศษ ต่างจากกลุ่มชน
ตระกูลภาษาอื่น ๆ แต่สรีระเอื้อต่อศิลปะการป้องกันตัวและวิชาการมวยในเรื่องของ “ภาษาออสโตร
เอเชียติก” ก็เป็นกลไกในการรักษาภูมิปัญญาหรือศิลปะการป้องกันตัวไว้เพื่อความอยู่รอดและเป็น
มรดกตกทอดไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไป ตัวอย่างเช่น ชนเผ่าขมุ จะมีชื่อท่าทางศิลปะการป้องกันตัวเป็นภาษา
ของตัวเองเป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาเรื่อง “ศิลปะการป้องกันตัวของกลุ่มชาติพันธุ์
ออสโตรเอเชียติ กเพื่ อ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารต่ อยอดวั ฒ นธรรมมวยไทย จากการศึ กษาเอกสารและผู้ รู้
ที่เกี่ยวข้องกับวงการมวยไทย การวิจัยครั้งนี้มีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องมวยไทย จากที่ผ่านมาคนภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีส านที่ เป็นกลุ่ม ออสโตรเอเชียติก ก็ม าประกอบอาชีพมวยไทยที่ มี
ชื่อเสียงหลายคน ได้แก่ สุข ประสาทหินพิมาย และ พูล สวัสดิ์ มู ลศาสตร์สาทร จนมาถึงปัจจุบัน
บัวขาว บัญชาเมฆ นักมวยผู้มีสายเลือดกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรเอเชียติก หรือ เป็น “กูย” ในอาเภอ
สาโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ผู้มีฉายาว่า “ดาดอดคอม” “แบลคโกลด์” และ “ไวท์ โลตัส” นักมวยไทย
ที่มีชื่อเสียงมากที่สดุ ในประวัติศาสตร์วงการมวยของไทย ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันที่ประสบความสาเร็จ
ในการนาศิลปะแม่ไม้มวยไทยอันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยมาแต่บรรพบุรุษไปนาเสนอให้คนทั้งโลกได้
รู้จัก ได้เห็น ได้สัมผัสและเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จากเด็กชนบทเกิดที่บ้านสองหนอง ตาบลเกาะแก้ว อาเภอ
สาโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2525 และเรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมตอนต้นที่โรงเรียน
บ้านโนนสวรรค์ พร้อมทั้งได้ฝึกมวยและเข้าแข่งขันมาตั้งแต่อายุ 8 ปีจนถึงอายุ 15 ปีในระหว่างที่ยัง
เรียนอยู่ที่บ้านเกิดและเข้าสู่วงการมวยในสังกัด ป.ประมุข จนประสบความสาเร็จมวยไทยในระยะต้น
สูงสุดด้วยการเป็นแชมป์มวยไทย จานวน 4 ครั้ง และต่อมาได้เปลี่ยนไปชกมวยในรายการ เค-วัน
เวิล์ดแมกซ์ ในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ซึ่ง เค-วัน ก็คือมวยชนิดหนึ่งคล้ายมวยไทย แต่ห้าม
ศอก ห้ามไถนา และมีกฎที่เบากว่ามวยไทย แต่ก็คล้ายมวยไทยมาก มีฝรั่งเล่นมวยไทยแบบเค-วันกัน
ทั่วโลก แต่ที่ถือว่าเป็น “ซูเปอร์สตาร์” ไม่มีใครเกินหน้า “บัวขาว บัญชาเมฆ” คือ สามารถเรียกเงิน
ค่าชกแต่ละไฟต์ได้เป็นเงินเรือนล้าน (สมบัติ สวางควัฒน์. 2554 : 154 - 164) โดยการชกมวย เค -
วัน ประสบความสาเร็จสูงสุดชนะเลิศ จานวน 2 ครั้งและในปี พ.ศ. 2554 ประสบความสาเร็จชนะเลิศ
ในรายการ “ไทยไฟต์” ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปี พ.ศ. 2557 ได้รับพระราชทาน
ปริญญาบัตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (กลุ่มการศึกษาและ
จัดการภูมิปัญญา) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ซึ่งได้มาจากแรงเพียรพยายามก่อนจะประสบมรสุม
ชีวิตที่ทาให้บัวขาวได้รับฉายานามเพิ่มอีกว่า “นิ่งสงบ สยบมรสุม”
ในการศึกษารายกรณีของนักมวยไทยที่ประสบความสาเร็จ “บัวขาว บัญชาเมฆ” นี้มีเหตุ
ปัจจัยที่ผู้วิจัยต้องการสืบค้นประวัติการเจริญเติบโตตั้งแต่เยาว์วัยของ “บัวขาว บัญชาเมฆ” ถึงการดาเนิน
ชีวิตวัยเด็กในบ้านเกิดวิถีการดารงชีวิตจากการเลี้ยงดูของครอบครัว และแรงจูงใจที่เข้าสู่วงการมวย
โดยเริ่มต้นเป็นนักมวยและการพัฒนาการเป็นนักมวยจนประสบความสาเร็จสูงสุดกว่า 20 ปี จน “บัวขาว
บัญชาเมฆ” ได้ตกผลึกความคิดนามาสู่องค์ความรู้ใหม่ที่เรียกว่า “สมาธิมวยไทย” ซึ่งเป็นหลักการ
สาคัญที่นาให้ประสบความสาเร็จในอาชีพนักมวย นับเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในระบบการศึก ษาเกี่ยวกับ
“ศิลปะแม่ไม้มวยไทย” ที่ต้องผ่านการฝึกและปฏิบัติจริง “ศิลปะแม่ไม้มวยไทย” ไม่ใช่แค่การชกต่อยบน
11

เวทีเท่านั้น แต่เป็นการรวมเอาศาสตร์ต่าง ๆ ที่เป็นองค์ความรู้สาคัญในหลายเรื่องเช่น “การพัฒนาสมาธิ”


พร้อมกับการเชื่อม การใช้ทุกส่วนของร่างกาย ประกอบกันเป็นหนึ่งเดียว ที่เรียกว่า “สมาธิมวยไทย” เป็น
วิชาการของ “ศิลปะแม่ไม้มวยไทย” ที่ “บัวขาว บัญชาเมฆ” ได้ค้นพบโดยการบาเพ็ญเพียร พัฒนา ฝึกฝน
ทั้งร่างกายและจิตใจ จนสรุปได้ว่า หลักวิชาการที่สาคัญที่สุด อย่างหนึ่งคือ “การมีสมาธิ” จึงเป็นแขนง
หนึ่งในสาขาวิชาที่จะเปิดทาการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ในอนาคตจากคาพูดของ “บัวขาว
บัญชาเมฆ” กล่าวไว้ว่า “การเป็นนักมวยที่ประสบความสาเร็จได้ ต้องเอาชนะจิตใจตัวเองให้ได้ก่อน
และที่ส าคัญ ต้องมี ส มาธิอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง ต้องผ่านการฝึกฝนด้วยตัวเองอย่างหนักและต่อเนื่อง”
ที่ “บัวขาว บัญชาเมฆ” เรียกว่า “สมาธิมวยไทย” เป็นประเด็นสาคัญที่ทาให้ผู้วิจัยเห็นว่าควรศึกษา
กรณีศึกษา “บัวขาว บัญชาเมฆ” ที่เป็น “ต้นแบบสมาธิมวยไทย” และจะเป็น “การต่อยอดศิลปะการ
ป้องกันตัว” เพื่อให้ “มวยไทย” ต่อยอดต่อไปเป็น “ศิลปะมูลค่าสูง ” โดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า
“สมาธิ” ที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ของชาวตะวันออกเป็นแรงขับเคลื่อนที่ สาคัญที่จะนา “มวยไทย”
ให้ก้าวหน้าพ้นไปจากวังวนปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบอยู่ ตลอดจนนาเอา “หลักธรรม” ทางพระพุทธศาสนา
ในเรื่อง “ศีล สมาธิ ปัญญา” เพื่อให้ “มวยไทย” ก้าวไปสู่ “ศิลปะเชิง ปัญญา” อย่างแท้จ ริงต่อไป
ในอนาคตจากความเป็นมาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่าหากมีการศึกษาศิลปะการป้องกันตัวของกลุ่มชน
ตระกูลออสโตรเอเชียติกในอนุภูมิ ภาคลุ่มน้าแม่ โขง และเจาะลึกวิชาการศิลปะการป้องกันตัว และ
วัฒนธรรมมวยไทย อาจยังผลให้สามารถพัฒนาและต่อยอดวิชาการมวย เพื่อคงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

คำถำมกำรวิจัย
1. การใช้ศิ ล ปะการป้ อ งกั นตั วของกลุ่ม ชาติ พัน ธุ์ ใ นตระกู ล ภาษาออสโตรเอเชีย ติ ก
ในอาณาบริเวณอนุภูมิภาคลุ่มน้าแม่โขง (ประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพูชา) มีสภาพและมีความเป็นมาอย่างไร
2. “บัวขาว บัญชาเมฆ” มีต้นแบบสมาธิม วยไทยและศิลปะการป้องกันตัวในการเป็น
นักมวยมีความเป็นมาอย่างไร และนักมวยตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก จานวน 3 ราย กรณีมีความ
เป็นมาอย่างไร
3. องค์ประกอบศิลปะการป้องกันตัวเพื่อ ยุทธศาสตร์การต่อยอดวัฒนธรรมมวยไทยใน
ประเทศไทย มีประเด็นและมีลักษณะเป็นอย่างไร และรหัสสมาธิมวยไทยเพื่อการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์ในภูมิภาคมีรหัสใด

วัตถุประสงค์กำรวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพการใช้ศิลปะการป้องกันตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาออสโตร
เอเชียติก ในอาณาบริเ วณอนุภูมิภาคลุ่ มน้าแม่ โขง (ประเทศไทย สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมี ยนมา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศกัมพูชา)
2. เพื่อศึกษากรณี “บัวขาว บัญชาเมฆ” ต้นแบบสมาธิมวยไทย และศิลปะการป้องกันตัว
ของนักมวยตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก จานวน 3 รายกรณีและถอดความจากวีดิทัศน์
3. เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบศิลปะการป้องกันตัวเพื่อยุทธศาสตร์การต่อยอดวัฒนธรรม
มวยไทยในประเทศไทย และถอดรหัสสมาธิมวยไทยเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค
12

ขอบเขตกำรวิจัย
การศึ ก ษาวิ จัย เรื่ อ ง “ศิล ปะการป้ องกั น ตัว ของกลุ่ ม ชาติ พั นธุ์ อ อสโตรเอเชี ยติ ก เพื่ อ
ยุทธศาสตร์การต่อยอดวัฒนธรรมมวยไทย” ครั้งนี้ได้กาหนดขอบเขตของการวิจัยออกเป็น 3 ขอบเขต
ดังนี้ ขอบเขตด้านพื้นที่ ขอบเขตด้านเนื้อหา และขอบเขตด้านบุคคลที่ศึกษาและประชากรผู้ให้ข้อมูล
1. ขอบเขตด้ำนพื้นที่
การศึ ก ษาวิ จัย เรื่ อ ง “ศิล ปะการป้ องกั น ตัว ของกลุ่ ม ชาติ พั นธุ์ อ อสโตรเอเชี ยติ ก เพื่ อ
ยุท ธศาสตร์ก ารต่ อ ยอดวั ฒ นธรรมมวยไทย” ครั้ ง นี้ ไ ด้ ก าหนดขอบเขตพื้ น ที่ ข องการวิ จั ย แบบ
เฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) โดยเลือกพื้นที่ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลภาษาออสโตรเอเชีย
ติกและใช้ศิลปะการป้องกันตัวอาศัยอยู่ซึ่งการเลือกพื้นที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นการเลือกแบบหน่วยการ
วิจัย (Unit of Research) โดยศึกษาพื้นที่ในอาณาบริเวณอนุภูมิภาคลุ่มน้าแม่โขง รวม 4 ประเทศ
ได้แก่
1.1 พื้นที่ศึกษาในประเทศไทย มีกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรเอเชียติก จานวน 22 กลุ่ม
ภาษาหลัก โดยทั้งหมดเป็นภาษากลุ่ม มอญ เขมร มีทั้งกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย และกลุ่มใหญ่กระจายอยู่ทั่วทุก
ภูมิภาคของประเทศ มีผู้พูดเป็นจานวนประมาณร้อยละ 4.3 ของประชากรในประเทศไทยกลุม่ ภาษาที่
มีมากที่สุด 3 ลาดับ ได้แก่ เขมรถิ่นไทย กระจายตั้งอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา
อุบลราชธานี มหาสารคาม ร้อยเอ็ ด สระแก้ว ปราจีนบุรี จันทบุรี และฉะเชิงเทรา กูย กวย หรือส่วย
มีกระจายตัวอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สกลนคร ร้อยเอ็ด และภาคตะวันออก
ของประเทศไทย ขมุ มีกระจายตัวอยู่ในจังหวัดเชียงราย น่าน ลาปาง กาญจนบุรีและอุทัยธานี แต่งานวิจัย
ครั้งนี้เลือกพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา มหาสารคาม และจังหวัดสกลนคร
1.2 พื้นที่ศึกษาในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มีกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรเอเชียติก
ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษามอญ โดยกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อพยพจากแถบประเทศจีนตอนใต้ลงมา
ตามลาน้าสาละวิน เข้าดินแดนของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา แล้วตั้งบ้านเมืองขึ้นตามลุ่มแม่น้านี้
ในที่ สุด ก็ จัด ตั้ง อาณาจั ก รมอญของตนขึ้น ที่ เ มื อ งสุธ รรมวดี คื อเมื องสะเทิ ม อยู่ท างตอนใต้ ของ
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และพญาตองซู
1.3 พื้นที่ศึกษาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว มีกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรเอเชียติกได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษากูย (Kuy) หรือ ภาษาส่วย
(Soai หรือ Suai หรือ Suay) อาศัยอยู่เมืองอัตปือแสนปาง แขวงจาปาสัก และสาละวัน ทางตอนใต้
ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
1.4 พื้นที่ศึกษาในประเทศกัมพูชา ในประเทศกัมพูชามีกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรเอเชียติก
ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ขอม โดยกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อพยพจากแถบประเทศจีนตอนใต้มาตามลาน้าโขงลง
มาทางตอนใต้ สร้างบ้านแปงเมืองจนในที่สุดได้ตั้งอาณาจักรขอมที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในดินแดนปากแม่น้าโขง
คือ ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ส่วนอีกกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งได้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ที่พู ดภาษากูยหรือส่วย
อาศัยอยู่ทางเหนือของเมืองเสียมเรียบและเมืองกาปงธม และจังหวัดอุดรมีชัย
2. ขอบเขตด้ำนเนื้อหำ
การศึ ก ษาวิ จัย เรื่ อ ง “ศิล ปะการป้ องกั น ตัว ของกลุ่ ม ชาติ พั นธุ์ อ อสโตรเอเชี ยติ ก เพื่ อ
ยุท ธศาสตร์ ก ารต่ อ ยอดวั ฒ นธรรมมวยไทย” ครั้ ง นี้ เ ริ่ ม ต้ น จาก “ศิ ล ปะมวยไทย” ที่ เ ป็ น หนึ่ ง
13

ในเอกลักษณ์สาคัญด้านศิลปะการป้องกันตัวของชนชาติไทยและถือว่าเป็น “ศิลปะชั้นสูง” อย่างหนึ่ง


ของประเทศไทย แต่ยังไม่สามารถที่จะต่อยอดไปสู่การเป็นกีฬาที่ได้รับความสนใจถึงระดับนาไปบรรจุ
ไว้ในการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ทั้งที่ข้อมูลในปัจจุบันก็สามารถตรวจสอบและพบว่า
ศิลปะการป้องกันตัวแบบมวยไทยได้รับความนิยมแพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีการ
จัดตั้ง ค่ายมวยเพื่ อ ฝึก สอนให้ชาวต่างชาติในประเทศต่าง ๆ และมีก ารจัดการแข่ง ขันมวยไทยใน
รูปแบบต่าง ๆ ทั้ง ในประเทศไทยและในต่างประเทศรวมทั้ง การศึกษาถึงวัฒ นธรรมต่าง ๆ ที่ เป็น
องค์ประกอบของมวยไทยเพื่อให้สามารถต่อยอดไปสู่การอนุรักษ์ การส่งเสริมให้ยั่งยืนต่อไปได้ ผู้วิจัย
จึงต้องการศึกษานัยสาคัญโดยใช้พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่มี
ตัวแปร 4 ตัวเป็นเกณฑ์สาหรับงานวิจัยนี้ ได้แก่ 1) กีฬามวย 2) การป้องกันตัว 3) วิชาการ และ 4) สติ
3. ขอบเขตด้ำนบุคคลที่ศึกษำ
การศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ ง “ศิล ปะการป้ อ งกั น ตั ว ของกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์อ อสโตรเอเชีย ติ ก เพื่ อ
ยุทธศาสตร์การต่อยอดวัฒนธรรมมวยไทย” ครั้งนี้เป็นกระบวนการวิจัยแนวชาติพันธุ์วรรณนา ผสาน
วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ จึงมีหลายขั้นตอน เพื่อให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์การวิจัย
ผู้วิจัยแยกขอบเขตด้านประชากรกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการวิจัยข้อที่ 1 คือ เพื่อศึกษาสภาพการใช้
ศิล ปะการป้ องกั นตั วของกลุ่ มชาติพั นธุ์ ออสโตรเอเชียติก ในอาณาบริ เวณอนุ ภูมิ ภาคลุ่ มน้ าแม่ โขง
(ประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศ
กัมพูชา) และวัตถุป ระสงค์ของการวิจัย ข้อที่ 2 คือ เพื่อศึกษากรณี “บัวขาว บัญชาเมฆ” ต้นแบบ
สมาธิมวยไทย และศิลปะการป้องกันตัวของนักมวยตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก จานวน 3 ราย
กรณี ผู้วิจัยกาหนดบุคคลที่ศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูมวย นักมวย เจ้าของค่ายมวย ผู้ประกอบ
ธุรกิจมวยไทยผู้ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการป้องกันตัว ประชาชนทั่วไปในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่ง
สหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศกัมพูชา รวมทั้งหมดจานวน 60
คน ดังนี้
1. บุคคลที่ศึกษาในประเทศไทย จานวน 33 คน
2. บุคคลที่ศึกษาในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จานวน 9 คน
3. บุคคลที่ศึกษาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จานวน 9 คน
4. บุคคลที่ศึกษาในประเทศกัมพูชา จานวน 9 คน
กลุ่ม ที่ 2 เพื ่อ ให้บ รรลุวัต ถุป ระสงค์ข ้อ 3 ซึ่ง เป็น การวิจ ัย เชิง ปริม าณคือ เพื ่อ
วิเคราะห์องค์ประกอบศิลปะการป้องกันตัวเพื่อยุทธศาสตร์การต่อยอดวัฒนธรรมมวยไทยในประเทศ
ไทย และถอดรหัสสมาธิมวยไทยเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพื่อการ
ศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ตามหลักการดาเนินงานวิจัยเชิงสารวจ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเกี่ยวกับ
ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการป้องกันตัวด้วย มือ เท้า เข่า ศอก หรือเรียกว่า “มวย” ของกลุ่มชาติพันธุ์
ออสโตรเอเชียติก และความรู้เ กี่ยวกับ ศีล สมาธิ ปัญญาที่สัมพันธ์กับมวยไทย โดยกลุ่มประชากร
ตัวอย่างคือ กลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย และกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจั งหวัดสุรินทร์
ศรีสะเกษ และ สกลนคร จานวน 500 คน
14

นิยำมศัพท์เฉพำะ
ศิลปะการป้องกันตัว หมายถึง วิธีการต่อสู้ตัวต่อตัวด้วยมือ เท้า เข่า ศอก ที่เกิดขึ้นเฉพาะ
หน้าเพื่อให้ตนเองพ้นภัยได้อย่างงดงามน่าพึงชม และศึกษาเน้นความเข้าใจถึง โครงสร้างของร่างกาย
และจิตใจ กระบวนท่าเทคนิค การใช้ประโยชน์จากร่างกายให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยพึ่งพากาลัง
จากกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุดด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรเอเชียติก หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาออสโตรเอเชียติก เช่น
ตระกูลภาษา มอญ เขมร ภาษากะตูอิคและอื่น ๆ ที่อาศัยในลุ่มน้าแม่โขง ซึ่งประกอบไปด้วยส่วยหรือ
กูยหรือโกยที่อยู่ในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว และประเทศกัมพูชาที่พบในพื้นที่ศึกษา
มวย หมายถึง การชกกันด้วยมือทั้งสองข้างระหว่างคนสองคนตามแต่ครูจะสอนเพื่อเอาตัวรอด
โดยการใช้หมัด เท้า เข่า ศอก เป็นกีฬาซึ่งเรียก กีฬามวย (Boxing)
มวยไทย หมายถึง ศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย ที่ใช้หมัด ศอก แขน ท่อนล่าง เท้ า
แข้ง เข่า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ศีรษะ และลาตัวในการต่อสู้ ศิลปะการต่อสู้ในลักษณะนี้ สามารถพบเห็นได้
หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในงานวิจัยนี้หมายความรวมถึงวัฒนธรรมมวยไทย
วัฒนธรรมมวยไทย หมายถึง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
ของไทยมาแต่โบราณที่หล่อหลอมรวมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี หลายด้านเข้าด้วยกันอย่างผสมผสาน
กลมกลืน

ประโยชน์ที่ได้รับจำกกำรวิจัย
1. ได้ทราบองค์ความรู้ด้านศิลปะการป้องกั นตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรเอเชียติกใน
ประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศ
กัมพูชา
2. ได้ทราบรูปแบบและองค์ประกอบสมาธิมวยไทย และศิลปะการป้องกันตัวของนักมวย
ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
3. ได้ทราบองค์ประกอบศิลปะการป้องกันตัวเพื่อยุทธศาสตร์การต่อยอดวัฒนธรรมมวยไทย
ในประเทศไทย
4. ได้แนวทางการสร้างยุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อต่อยอดวัฒนธรรมมวยไทย
5. ได้รหัสภูมิ ปัญญาในวัฒนธรรมมวยไทยเพื่อยุทธศาสตร์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ในอนุภูมิภาคลุ่มน้าแม่โขง

You might also like