You are on page 1of 17

ศิลปะการแสดงตีกลองบูชา (กลองปู่จา)
จังหวัดน่าน

จัดทาโดย
สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน

รวบรวมและเรียบเรียง โดย นางจริยา จีนเพชร นักวิชาการวัฒนธรรมชานาญการ


ศิลปะการแสดงตีกลองบูชา (กลองปู่จา)
กลองในวัฒนธรรมล้านนา
กลอง เป็นวัฒนธรรมด้านดนตรีชนิดหนึ่งในล้านนา มีรูปลักษณ์ทรงกลมทาด้วยไม้เนื้อแข็ง
และหุ้มด้วยหนังสัตว์ กลองบางชนิดหุ้มหนังด้านเดียว กลองบางชนิดหุ้มหนัง ๒ ด้าน เมื่อตีหรือเคาะด้วยไม้
หรือค้อน จะมีเสียงดังไพเราะตามคุณลักษณะของวัส ดุที่ทาและขนาดของกลองนั้น ๆ เช่น กลองบูช า
(กลองปูจ่ า) กลองสะบัดชัย กลองชัยมงคล กลองมองเซิง กลองปู่เจ่ กลองตะหลดปด กลองตึ่งโนง
กลองแซะ กลองเสิ้งหม้อง กลองหลวง กลองแอว เป็นต้น

องค์ความรู้เกี่ยวกับกลองในล้านนา มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนานเพราะกลอง
มีบทบาทหน้าที่ในสังคมล้านนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งด้านราชการสงคราม การปกครอง การเป็น
อาณัตสัญญาในกิจกรรม การสื่อสารในพิธีกรรม การบอกสัญญาณวันโกนวันพระ และการให้ความรื่น
เริงบันเทิงหรือการแสดงศิลปะ วัฒนธรรม เช่น การฟ้อนดาบ การฟ้อนเจิง การฟ้อนหอก การฟ้อนลาย
การฟ้อนผางประทีป เป็นต้น นอกจากนี้ในอดีตยังไม่มีระบบการสื่อสารที่ทันสมัย จึงอาศัยกลองเป็นสื่อใน
กิจกรรมต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างกลองกับชุมชนล้านนา เห็นได้ชัดเจนในงานบุญประเพณีทางพุทธ
ศาสนา ที่ มั ก มีก ารประโคมกั น อย่ า งครึ ก ครื้ น ทาให้ ผู้ ค นเกิ ด ความปิ ติ ยิ น ดี ใ นงานบุ ญ ประเพณี นั้ น ๆ
ดังนั้น กลองจึงเป็นเครื่องดนตรีประจาพุทธศาสนาในล้านนา

นอกจากนี้ การดารงชีวิตของชาวล้านนา มักจะนาคุณลักษณะของกลองมาเป็นสื่อในการ


สั่งสอน สร้างความบันเทิง และบอกกล่าวเหตุการณ์ในสังคมอีกด้วย กล่าวคือ กลองเป็นสื่อในการอบรมสั่ง
สอน และเตือนใจคนในสังคมล้านนา ให้ดารงตนอย่างเหมาะสมตามคติของท้องถิ่น ได้แก่ สานวนสุภาษิตที่
ได้จากคุณลักษณะของกลองในแง่มุมต่าง ๆ เช่น เสียงที่เป็นมงคล ๓ เสียง คือ เสียงฆ้องเสียงกลอง เสียงมอง
ตาข้าว เสียงตุ๊เจ้าเทศน์ธรรม

ดังนั้น กลองในสมัยล้านนาจึง เป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันใน


ชุมชนให้เกิดความรัก ความสามัคคี และความช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้เป็นอย่างดี ทาให้เกิดการฟื้นฟู อนุรักษ์
และสืบทอดให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ชนรุ่นหลังสืบไป

ประวัติและความเป็นมาของกลองบูชา (กลองปู่จา)
กลองบูชา หรือกลองปู่จา มีประวัติและความเป็นมา ไม่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นในสมัยใด รู้แต่
เพียงว่าเป็นกลองโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งได้มีการพัฒนารูปร่าง และลักษณะการตีของกลองมาอย่างต่อเนื่อง โดย
จากกลองใบใหญ่ใบเดียว ที่ใช้ตีเป็นเครื่องส่งสัญญาณในการโจมตีข้าศึกของกองทัพในเวลาสงคราม ตีส่ง
สัญญาณบอกข่าวแก่ชุมชน ใช้เป็นเครื่องดนตรีมหรสพ เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ และความสนุกสนาน
ฯลฯ วิธีตีหรือจังหวะการตี เรียกว่า “สะบัดชัย” กลองชนิดนี้ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลองสะบัดชัย เมื่อไม่มี
การรบทัพจับศึก ก็ได้พัฒนาทั้งรูปร่างลักษณะ จังหวะการตี และได้นามาอยู่กับฝ่ายศาสนจักรใช้ในพิธีกรรม
ทางศาสนา เรียกว่า กลองบูชา ก๋องปู่จา หรือ กลองปู่จา ต่อมาได้พัฒนาเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การตี
เพื่อให้เกิดความบันเทิงสนุกสนาน ตามงานบันเทิงต่าง ๆ สามารถพบเห็นได้ในขบวนแห่ หรือ งานแสดงศิลปะ
พื้นบ้านโดยทั่วไป กลองบูชาใช้ตีได้หลายโอกาสทั้ง ในพิธีกรรมทางศาสนาและงานต่าง ๆ ของชาวบ้าน และ
งานพิธีเปิดของทางราชการ
กลองบูชา (กลองปู่จา) เป็นกลองของคนเมืองน่าน ที่ใช้ตีเป็นพุทธบูชา ซึ่งเป็นกลองประจา
วัดและอยู่คู่กับ พุทธศาสนาในเมืองน่านและถิ่น ล้านนามาช้านาน ทั้งนี้เป็นกลองที่มีความสาคัญในระดับ
หมู่บ้าน และระดับเมือง เพราะเป็นกลองตีบอกสัญญาณต่าง ๆ อาทิ บอกเหตุข้าศึกเข้าโจมตีเมือง น้าท่วม ไฟ
ไหม้ เรียกประชุม บอกเวลา บอกเหตุสาคัญที่เกิดขึ้นในวัด หรือบอกเหตุในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา เป็น
ต้น
ขณะเดียวกันในอดีตกลองชนิดนี้ ยังมีบทบาทต่อสังคม ไม่จาเป็นต้องใช้กับพุทธศาสนา
เท่านั้น ยังคงใช้เป็นสัญญาณบอกให้คนในชุมชนได้รับรู้อาทิ หากอยู่ในช่วงศึกสงคราม ได้ยินเสียงตีกลอง
บูชา (กลองปู่จา) รัวเร็ว เป็นสัญญาณบอกว่าข้าศึกบุกเข้าเมือง ในช่วงเวลาปกติได้ยินเสียงตีกลองรัวเร็ว เป็น
สัญญาณว่า อาจเกิดเหตุไฟไหม้ที่วัด หรือในหมู่บ้าน หรือในเมือง โจรปล้นบ้านหรือเมือง หากอยู่ในช่วงฤดู
ฝน ก็เป็นสัญญาณบอกเหตุน้าท่วม เป็นต้น

กลองบูชา (กลองปู่จา)
เมืองน่าน

มุขปาฐะเกี่ยวกับการตีกลองบูชา (กลองปู่จา)
กลองบูชา (กลองปู่จา) เป็นเครื่องสูง สร้างขึ้นตามความเชื่อจากนิทานชาดก เรื่อง พุทธเสนา
กะหรือนางสิบสอง กล่าวถึงยักษ์ที่ออกกินคนทุก ๆ ๗ วัน เดือดร้อนถึงพระอินทร์ พระพรหมและเทวดา จึงดล
บันดาลให้ก้อนและแผ่นศิลาปิดปากถ้าไม่ให้ยักษ์ออกมาโดยผูกเรื่องเมื องยักษ์อยู่ที่หลวงพระบาง เมืองพุทธเสนา
กะ หรือนางสิบสองอยู่เมือง วรนคร (เมืองปัว)
ครั้นครบ ๗ วัน ชาวบ้านเกิดความกลัวว่ายักษ์จะออกมาอาละวาดกินคน จึงตีกลองบูชา (กลอง
ปู่จา) เพื่อป่าวประกาศให้พระอินทร์ พระพรหม และเทวดาได้ทราบ เพื่อจะได้มาปกปักรักษาคนไม่ให้ถูกยักษ์กิน

กลองบูชา (กลองปู่จา)
เมืองน่าน

จุดประสงค์และช่วงเวลาการตีกลองบูชา (กลองปู่จา)
๑. ตีกลองเพื่อบอกวันพระ วันโกน กล่าวคือ เป็นการตีเพื่อเตือนศรัทธาชาวบ้านให้รู้ว่าพรุ่งนี้จะ
ถึงวันพระ ให้เตรียมตัวมาทาบุญตักบาตร ฟังธรรม ถือศีลภาวนา โดยจะตีใน วันแรม ๗ ค่า วันแรม ๑๔
ค่า หรือ วันขึ้น ๗ ค่า วันแรม ๑๔ ค่า เพราะในสมัยก่อนไม่มีสื่อใด ๆ ที่จะบอกวัน เดือน ปี นอกจากปฏิทิน
แต่บางครอบครัวปฏิทินก็ไม่มี จะใช้วิธีตีกลองนี้ตอนค่าก่อนชาวบ้านจะเข้านอน โดยตีเป็นจังหวะช้า ๆ เนิบนาบ
นุ่มนวลและลุ่มลึก น่าฟัง ผู้ตีจะตีกลองแม่ แล้วไล่ตีตามลูกตูบแล้ว มาลงท้ายด้วยการตีฆ้องโหม่ง ซึ่งฆ้องโหม่ง
นี้จะมีคนตีอีกคนหนึ่ง
๒. พระสงฆ์ตีกลอง เพื่ออนุโมทนาอุบาสกอุบาสิกาที่ได้มาทาบุญ และใส่บาตรในวันพระ
โดยจะตีในตอนกลางคืนวันพระ
๓. ตีกลองเพื่อเป็นสัญญาณบอกว่าได้เวลาที่พระสงฆ์จะเริ่มเทศนาพระธรรมคาสอน ซึ่ง
ภาษาพูด เรียกว่า “ธรรมลง”
๔. ตีกลองเพื่อเป็นสัญญาณบอกกล่าวเทวดาทุกชั้นฟ้าได้มาร่วมอนุโมทนา การทาบุญในครั้ง
นั้น ๆ ซึ่งภาษาพูดว่า “ป่าวอินทร์ป่าวพรหม”
๕. ตีเพื่อเป็นสัญญาณบอกเหตุ หรือมีเหตุการณ์สาคัญเกิดขึ้น ในหมู่บ้าน เช่น ไฟ
ไหม้ ระดมคนไล่ล่าโจรที่มาปล้นวัวปล้นควายของชาวบ้าน

๖. ตีประโคมในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานทาบุญกินข้าวสลากภัต งานบุญเฉลิมฉลองกุฏิ วิหาร


ศาลาการเปรียญ เป็นต้น การตีแบบนี้ไม่มีแบบอย่างหรือกติกาใด ๆ ผู้ตีจะตีตามความถนัด ตามท่วงทีลีลาของ
ตนเอง

การตีกลองบูชา (กลองปู่จา) มีทั้งหมด ๓ รูปแบบ


๑. การตีแบบบูชา เพื่อเป็นพุทธบูชา และเพื่อเตือนให้พุทธศาสนิกชนได้ทราบ
ล่วงหน้าว่า ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันธรรมสวนะ หรือตีป่าวอินทร์ป่าวพรหม จะตีกลองอยู่ ๒ วัน คือ วันขึ้น ๑๔ ค่า กับ
๑๕ ค่า และวันแรก ๗ ค่า กับ ๘ ค่า โดยจะตีกลองในวันโกน เรียกว่า ตีกลองรับ ส่วนการตีกลองในวันพระ
เรียกว่า ตีกลองส่ง จะตีในเวลากลางคืนราว ๒๐.๐๐ น. – ๒๑.๐๐ น. การตีแบบบูชาจะประกอบด้วยฆ้องขนาด
เล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และฉาบประกอบการตี มีหลายทานองเรียกว่า “ระบา” ได้แก่ ระบาเสือขบจ้าง
ระบาเสือขบตุ๊ ระบาสาวน้อยเก็บผัก ระบาแม่ฮ้างติ้วซิ่น ระบาสิกตุ๊ปี้สิก ระบาลุกตางเหนือมาสุม
ระบาล่องสา และระบาล่องน่าน

การตีกลองแบบบูชา

๒. การตีแบบสะบัดชัย
ใช้สาหรับบอกเหตุนัดหมาย เฉลิมฉลองงานบุญงานกุศล รับแขกบ้านแขกเมือง รับขบวนแห่
ครัวตาน ขบวนกฐิน ขบวนผ้าป่า ก่อน-หลังฟังเทศน์ฟังธรรม โดยใช้คนตี ๒ คน คือ คนตีกลอง และคนตีแซะ
เคาะจังหวะ นอกจากเรียกว่า การตีกลองสะบัดชัย บางแห่งเรียกว่า ตุบต้าง , ม้าย่าไฟ

การตีกลองแบบสะบัดชัย

๓. การตีแบบบอกเหตุ หรือการตีกลองหน้าเดียว เพื่อบอกเหตุร้ายแรง หรือเจ้าอาวาสมรณภาพ

ประเภทการตีกลองบูชา (กลองปู่จา)
กลองบูช า หรือกลองปู่จา เป็นกลองชุดประกอบด้ว ย กลองขนาดใหญ่ ๑ ใบ (แม่กลอง)
กลองขนาดเล็ก ขนาดลดหลั่นกันไป ๓ ใบ (ลูกกลอง หรือ ลูกตุ๊บ) เนื่องจากว่าก๋องปู่จา ในอดีตมีความเกี่ยวข้อง
ทั้งด้านศาสนา พิธีการ และสังคมชาวบ้าน ดังนั้นสามารถแบ่งประเภทการตีกลองบูชา (กลองปู่จา) ออกเป็น ๒
ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
๑. การตีกลองบูชา (กลองปู่จา) ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา การตีกลองบูชา (กลองปูจา) ที่
เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา จะมีลักษณะการตีอยู่ ๒ ลักษณะ
๑) ตีกลองบูชา (ปู่จา) เป็นการตีกลอง ที่มีฆ้องชุด และฉาบประกอบการตี และ
ต้องใช้คนตีจานวน ๕ – ๗ คน การตีแบบนี้ จะใช้ ในช่วงเวลากลางคืนก่อนวันพระ ๑ วัน ซึ่งบาง
ท้องถิ่นในเมืองน่าน จะตีเฉพาะในช่วงฤดูเข้าพรรษาเท่านั้น การตีประเภทนี้ มักมีท่วงทานองการตี เรียกว่า
ระบา (ภาษาถิ่น ) ได้แก่ ระบาเสือขบจ้าง ระบาเสือขบตุ๊ ระบาสาวน้อยเก็บผัก ระบาแม่ฮ้างติ้วซิ่น ระบาตุ๊ปี้
สิก ระบาล่องสา ระบาลุกตางเหนือมาสุม และระบาล่องน่าน ในเมืองน่านการตีกลองบูชา (ปู่จา) จะตี ๓ –
๔ ครั้ง เรียกว่า วาร (ภาษาถิ่น) นิยมตี ๔ วาร ดังนี้
- วาร ๑ – ๓ จะตีกลองบูชา (กลองปู่จา) ระบาต่าง ๆ ตามแต่ละท้องถิ่น
ที่ยดึ ถือปฏิบัติมา มีท่วงทานองจังหวะที่ช้า
- วาร ๔ หรือ วารสุดท้าย ตีหลบ จะตีระบาล่องน่านที่มีจังหวะกระชับเร็วและเร้าใจ

๒. ตีแซะสะบัดชัย เป็นการตีทมี่ ีลักษณะท่วงทานองการตีที่เร็ว เร่งเร้า ใช้ผู้ตีจานวน ๒ คน


คือ คนตีกลองใหญ่ ๑ คน และ คนตีไม้แซะ ๑ คน (การตีแซะ คือ การใช้ไม้ซีกตีกระทบหน้ากลองใหญ่ เพื่อ
บอกจังหวะช้าหรือ เร็ว และกาหนดความสม่าเสมอของท่วงทานอง) ในเมืองน่าน มีระบาแซะที่ใช้ ตี ได้แก่
ระบาต้องแง้ม ระบาม้าตืบคอก ระบาม้าย่าไฟ ระบานพก๋อน ระบาสาวเกี้ยวเกล้า เป็นต้น ทั้งนี้ การตีกลอง
ชนิดนี้ ผู้ตีกลองใหญ่จะมีลีลาหรือเจิงประกอบการตีเพื่อสร้างความสนุกสนาน และความสวยงาม การตีกลอง
ชนิดนี้มักใช้ตีในโอกาส ดังนี้
๑) ธรรมลง กล่าวคือ เมื่ อได้เวลาที่พระสงฆ์จะเริ่มเทศนาพระธรรม หรือ สลับเปลี่ยนกัณฑ์
เทศน์ ในการเทศน์มหาชาติ
๒) ขบวนแห่เครื่องไทยทานต่าง ๆ เช่น ขบวนแห่ องค์ผ้าป่า ขบวนแห่กฐิน หรือขบวนแห่งาน
ประเพณีต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อเข้าสู่บริเวณวัดเพื่อเตือนให้พระภิกษุสงฆ์เตรียมตัวรับการถวายไทยทาน
๓) ตีในงานตานสลากภัต คือ เป็นการตีก่อนที่จะทาพิธีถวายทานสลากภัต เรียกว่า “ตีก่อน
สลากออก”

การตีกลองบูชา (กลองปู่จา) ในงานราชการและงานเทศกาลต่าง ๆ

๒. การตีกลองบูชา (กลองปู่จา) ที่เกี่ยวข้องกับสังคมในระดับหมู่บ้าน และระดับเมื อง


การตีกลองประเภทนี้ มักตีเพื่อใช้เป็นสัญญาณบอกเหตุ ดังนี้
๑) ตีกลองแลง (ก๋องแลง) เป็นการตีเพื่อบอกเวลาย่าค่า ช่วงเวลาการตี จะตีในเวลา
๑๘.๐๐ น. หรือ ๑๙.๐๐ น. ของทุกวัน
๒) ตียามปกติ ถ้าได้ยินเสียงกลองบูชา (ก๋องปู่จา) ตีเว้นระยะ ๓ ครั้ง และตีถี่ขึ้นจนรัว
เร็ว เป็นสัญญาณให้ทุกคนไปรวมตัวกันที่วัด มีเรื่องประชุม
๓) ตีช่วงฤดูฝนและฝนตกติดต่อกันหลายวัน ถ้าได้ยินเสียงกลองบูชา (กลองปู่จา) ตีรัว
เร็วแบบเดียวกับตียามปกติ (ข้อ ๒) เป็นสัญญาณบอกว่าน้าท่วมหมู่บ้านและท่วมเมือง
๔) ตีช่วงศึกสงคราม ถ้าได้ยินเสียงกลองบูชา (กลองปู่จา) ตีรัวเร็ว เป็น สัญญาณบอกว่าข้าศึก
เข้าเมือง

ตีกลองบูชา โดยใช้ฆ้องโย่ง (โหม่ง) และฆ้องอุ้ย (หุ้ย) ฆ้องเล็ก ประกอบ

ชนิดของกลองบูชา (กลองปู่จา)
การสร้างกลองบูชา (กลองปู่จา) จะสร้างขึ้นตามคติความเชื่อ เพราะถือว่าเป็นของมงคลประจา
บ้าน ประจาเมือง จึงมีคติการสร้างที่หลากหลาย และในกลอง (ก๋อง) จะต้องบรรจุน้าเต้าลงยันต์ เพื่อเป็นใจ
กลอง
ขนาดและลักษณะของกลองบูชา (กลองปู่จา) เป็นกลองประเภทขึงหนังสองหน้า มีขนาด
ใหญ่ ขุดเจาะด้วยไม้สัก ไม้ประดู่ หรือไม้ขนุน เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๗ นิ้วขึ้นไป ยาวประมาณ ๕๖ นิ้ว ตอก
ด้วยหมุดที่ทาจากไม้เนื้อแข็ง (แซ่ว) กลองใหญ่เรียกว่า “แม่” ส่วนกลองเล็ก อีก ๓ ลูก เรียงตามขนาดและ
เสียงต่างกันออกไป เรียกว่า “ลูกตุ๊บ” นิยมทาจากไม้ต้นเดียวกัน นอกจากนั้นตามคติความเชื่อของคนเมือง
น่าน กลองบูชา (กลองปู่จา) เป็นของสูง เป็นเครื่องหมายของความศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าหัวใจของความสามัคคี
ของหมู่บ้านอยู่ที่กลองบูชา (กลองปู่จา) จึงจาเป็นต้องมีขนาดสัดส่วนการผูกโฉลกที่ถูกต้อง รวมถึงทิศทางของการ
วางกลองและการแขวนกลองได้ถูกต้องตามตารา

ชนิดของกลองบูชา (กลองปู่จา) ตัวแม่กลอง มีลักษณะดังนี้


๑. กลองที่มีหน้ากลองกว้าง ๖ กามือต่อกัน ยาว ๑๖ กามือต่อกัน ชื่อว่า “นันทเภรี”
๒. กลองที่มีขนาดความยาว เป็นสองเท่าของหน้ากลอง ชื่อว่า “สุขาวหา”
๓. กลองที่มีความยาวเป็น ๓ เท่า ของรัศมีของหน้ากลอง ชื่อว่า “ไชยเภรี”
๔. กลองที่มีความยาวเท่าเส้นผ่าศูนย์กลางกลองของหน้ากลอง ชื่อว่า “เภรี”
๕. กลองที่มีความยาวเท่ากับความยาวของรัศมีของหน้ากลอง ชื่อว่า “รัตนเภรี”
ทั้งนี้ กลองบูชา (กลองปู่จา) จะถูกตึงและยึดด้วยลิ่มไม้ที่เรียกว่า “ไม้แซ่” รูไม้ที่ใช้เสียบไม้แซ่
เรียกว่า “รูแซว” และเพื่อความเป็นมงคลจะต้องเจาะรูแซวให้เป็นมงคล โดยให้ดูโฉลกรูแซว ดังนี้

๑. ตีฟาดผี
๒. ตีกินเหล้า
๓. ตีอยู่เฝ้านาง
๔. ตีมาเมียงใหม่ (ตีมาเมืองใหม่)
๕. ตีอุ้มต้าวกิ๋นเมือง
หมายเหตุ หากมีจานวนรูแซวที่เกิน ๕ รู ให้นับกลับต้นไปให้ตรงเลขที่ดี ยกเว้น ๒ กับ ๓

การนับโฉลกหน้ากลอง
๑. นันทเภรี ดี
๒. สลีเมืองชื่น ดี
๓. หมื่นเมืองพรหม ดี
๔. สารมอยู่สร้าง ดี
๕. ม้างสังโฒ ไม่ดี
๖. โพธิสัตว์ ดี
๗. วัดพระเจ้า ไม่ดี

เดือนสาหรับหุ้มกลอง
๑. เดือนสิบสอง เดือน กันยายน
๒. เดือนเกี๋ยง เดือน ตุลาคม
๓. เดือนสี่ เดือน มกราคม
๔. เดือนหก เดือน มีนาคม
การนับเดือนของชาวเหนือหรือชาวล้านนา จะนับไม่เหมือนที่อื่นๆ โดยจะไม่เรียกชื่อเดือนตาม
ปฏิทินของทางภาคกลาง แต่จะเรียกชื่อเดือนเป็นตัวเลขและตามภาษาของชาวเหนือเองเช่น เดือน ๔ เดือน ๖
เดือนเกี๋ยงเป็นต้น ซึ่งจะได้นามาเปรียบเทียบให้ดูดังต่อไปนี้
เดือน ๔ ตรงกับ เดือนมกราคม
เดือน ๕ ตรงกับ เดือนกุมภาพันธ์
เดือน ๖ ตรงกับ เดือนมีนาคม
เดือน ๗ ตรงกับ เดือนเมษายน
เดือน ๘ ตรงกับ เดือนพฤษภาคม
เดือน ๙ ตรงกับ เดือนมิถุนายน
เดือน ๑๐ ตรงกับ เดือนกรกฎาคม
เดือน ๑๑ ตรงกับ เดือนสิงหาคม
เดือน ๑๒ ตรงกับ เดือนกันยายน
เดือนเกี๋ยง ตรงกับ เดือนตุลาคม
๑๐

เดือนยี่ ตรงกับ เดือนพฤศจิกายน


เดือน ๓ ตรงกับ เดือนธันวาคม

วันควรหุ้มกลอง
๑. วันยี่
๒. วันเหม้า หุ้มกลองศึก
๓. วันเม็ด
๔. วันเส็ด
๕. วันไก๊

คาถาใส่หัวใจกลอง
หื้อเสียงกว่าฟ้า เสียงหนักรักกว่านางปันหุง รักกว่าหลอน แสนขอนวอนใจ อยู่บ่ได้ ตู่จัก
หื้อมึงป่าวเสียงขวาง หื้อมีเสียงเถิงเทวดาอยู่อากาศ เสียงฟ้าฟาดแสนตี ตู จักหื้อมึงป่าว เสียงขวางหื้อมึงรัก
รักเอยสวาหุบ

จังหวะการตีกลองบูชา (ปู่จา)
จังหวะในการตีแบบเดิมที่มีอยู่กับที่ในหอกลองของวัดมีลักษณะการตีที่แตกต่างกันตามโอกาส
ดังนี้
๑. ตีเรียกคน เช่น งานประชุมหรืองานส่วนรวมต่าง ๆ ที่ต้องช่วยกันทา ลักษณะ
นี้ จะตีเฉพาะกลองใหญ่ โดยเริ่มจังหวะจากช้า จากนั้นจะเร่งความเร็วของการตีขึ้นเรื่อย ๆ
๒. ตีบอกเหตุ เช่น ไฟไหม้ ไล่ขโมย จะตีเฉพาะกลองใหญ่ และมีจังหวะเร่งเร็ว
ติด ๆ กัน
๓. ตีบอกวันพระ วันโกน ลักษณะการตีทั้งกลองใบใหญ่ และกลองลูกตุ๊บ มีฉาบ
และฆ้องประกอบจังหวะด้วย
๔. ตีในงานบุญ เช่น งานสลากภัต ลักษณะนี้จะตีทั้งกลองใบใหญ่ และ กลองลูกตุ๊บ จังหวะ
เร่งเร็วเสมอต้นเสมอปลาย โดยมีคนใช้แส้ไม้ไผ่ที่เรียกว่า “ไม้แซะ” ฟาดหน้ากลอง ให้จังหวะแต่ไม่มีฉาบและ
ฆ้อ งประกอบลั ก ษณะการตี ดัง กล่ าวทั้ ง หมด เป็น การตีอ ยู่ กั บที่ ภายหลั ง เมื่ อ เข้ าขบวนก็ ไ ด้ ใ ช้จั ง หวะ หรื อ
ท่วงทานองล่องน่าน โดยมีไม้แซะตีประกอบด้วย ต่อมานิยมใช้จังหวะหรือทานองสะบัดชัย ไม่ใช้ไม้แซะ ลีลาของ
จังหวะ หรือทานองในการตีกลองบูชา (กลองปู่จา) เรียกแบบชาวเหนือว่า “ระบากลอง”
ระบากลองของแต่ละท้องถิ่น จะมีความแตกต่างกันไป การตีกลองแม่หรือกลองต้าง และลีลา
สอดแทรกของกลองลูกตุ๊บ ส่วนสว่าและฆ้องจะตีเป็นจังหวะยกพื้น เพื่อให้คนตีกลองได้ใส่ลีลาของลูกตุ๊บ
ระบากลองบางครั้งมีการนาเอาคาต่าง ๆ มาสร้างแทนเสียงกลอง เพื่อง่ายแก่การ
๑๑

จดจา ซึ่งมักมีชื่อเรียกที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพัน ธ์ระหว่างชุมชนกับวัด หรือระหว่างคนในชุมชนด้วยกัน


และอาจแทรกอารมณ์ขันลงไป เช่น เสือขบตุ๊ สาวน้อยเก็บผัก สาวหลับเต๊อะ เสือขบจ้าง ปี้หนานเจ็บต๊อง
เป็นต้น แต่มีอีกหลายชุมชนนาเสียงที่ได้ยินจากการตีกลองมาสร้างเป็นระบาเพื่อท่องจา เช่น ระบาตึ้งนั่ง

จังหวะหรือทานองในการตี (ระบา) มี ๓ ทานอง คือ


๑. ทานองพุทธบูชา หรือปูชา (ปู่จา) มีจังหวะช้า ใช้ฆ้องโย่ง (โหม่ง) และฆ้องอุ้ย (หุ้ย)
ประกอบ
๒. ทานองสะบัดชัยของจังหวัดน่าน มีจังหวะเร็ว มีคนตีแซะ ๑ คน คนตีกลอง ๑ คน
๓. ทานองล่องน่าน มีจังหวะช้าปานกลาง ใช้ฆ้องโย่ง (โหม่ง) และฆ้องอุ้ย (หุ้ย)
ฆ้องเล็ก ประกอบ

การปรับเปลี่ยนหน้าที่ของกลองบูชา (กลองปูจา)
การปรับเปลี่ยนของกลองบูชา (กลองปูจา) สามารถจาแนกได ๓ ลักษณะ คือ
๑. การตีกลองบูชา (กลองปู่จา)
พัฒนาการเกี่ยวกับลักษณะการตีกลองบูชา (กลองปู่จา) เปนกลองประจาวัด แทบจะไมมีการ
เคลื่อนทีอ่ อกจากบริเวณที่ตั้ง ลักษณะการตีในจังหวะพุทธบูชา (มีฆ้อง มีสวา ตีประกอบ) จะตีแบบสารวม ไมมี
ลีลาทาทาง สวนในจังหวะสะบัดไชย (มีไม้แซะ ตีประกอบ) จะมีลีลาท่าทางบ้าง แต่ไม่มากนัก ปจจุบัน
ลักษณะการตีทั้ง ๒ จังหวะ ที่กล่าวมา ไดมีการพัฒนาโดยได้นาลีลาท่าทางของการตบมะผาบ ฟอนดาบ ฟอน
เจิง เขามาผสมในการตีกลองบูชา (กลองปูจา) ทั้งจังหวะพุทธบูชา และจังหวะสะบัดไชย เชน การตบมะผาบก
อนการตี การใชลีลาทาทาง การฟอนดาบ ฟ้อนเจิง มาใส่ท่าให้ผู้ตีกลองบูชา (กลองปูจา) ผสมกับการตีสว่า
เปนตน
๒. การสร้าง
แตครั้งอดีตการสรางกลองบูชา (กลองปูจา) มิไดเนนเปนสินคาหรือผลิตภัณฑ แตเปน การรวม
พลังศรัทธาชาวบ้ านที่สร้างขึ้นเพื่อถวายวัด ปัจจุบันการพัฒนาจากกลองที่มีขนาดใหญ่ ได้ลดสัดส่วนลง เพื่อ
สะดวกในการขนย้าย
๓. บทบาทหน้าที่
ปจจุบันกลองบูชา(กลองปูจา) ถูกลดบทบาทลงจากการเคยเปนกลองสงสัญญาณตาง ๆ โดยมีสิ่ง
ใหม่เข้ามาแทนที่ เช่น หอกระจายข่าว หอระฆัง โทรศัพท โทรทัศนวิทยุชุมชน เปนตน ดังนั้นจึงมีการ
พยายามพัฒนาให้กลองบูชา (กลองปู่จา) มีบทบาท เพิ่มจากที่เปนอยู จากการเคยเป็นกลองที่ตั้งอยู กับที่ ก็ถูก
ทาใหเคลื่อนยายเข้ามาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย
๑๒

ส่วนประกอบโครงสร้างของกลองบูชา (กลองปู่จา)
กลองบูชา (กลองปู่จา) เป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่แขวนหรือวางอยู่บนหอกลอง หรือศาลา
ตามวัดต่างๆ เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ชื่อว่า “กลองหลวง” หรือกลองแม่ นอกจากนี้ ยังมีกลองขนาดเล็ก
จานวน ๓ ใบ ผูกเรียงไว้ใกล้ ๆ กับกลองหลวงเพื่อตีสอดแทรก สลับเสียง กลองหลวงเรียกว่า “กลองลูกตุ๊บ”

กลองบูชา (กลองปู่จา)

ลั ก ษณะข องกลองบู ช า (กล องปู่ จ า ) แ ละเค รื่ อ งดนตรี ที่ ใ ช้ ป ระกอบใน การบรรเลง ดั ง นี้
๑. กลองหลวง หรือกลองแม่ จานวน ๑ ใบ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหน้ากลอง ๘๗
เซนติเมตร ความยาวของตัวกลอง ๑๔๒ เซนติเมตร ทาจากไม้ประดู่ หรือไม้สัก ภายในแขวนน้าเต้าลงอักขระ
พื้นเมืองเป็นคาถากากับเรียกว่าหัวใจกลอง

กลองหลวง (ก๋องหลวง)
๒. กลองลูกตุ๊บ จานวน ๓ ใบ มีขนาดลดหลั่นไล่เรียงกันไป อาจทาจากไม้ประดู่ ไม้สัก หรือ
ไม้ขนุน เป็นกลองบริวาร ดังนี้
- กลองลูกตุ๊บใบที่ ๑ (ติดกลองหลวง) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๒ เซนติเมตร ความยาว
ของตัวกลอง ๕๑ เซนติเมตร
๑๓

กลองลูกตุ๊บ ใบที่ ๑ (อยู่ซ้ายมือติดกับกลองหลวง)

- กลองลูกตุ๊บใบที่ ๒ (กลองใบกลาง) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๐ เซนติเมตร ความยาว


ของตัวกลอง ๔๔ เซนติเมตร

กลองลูกตุ๊บ ใบที่ ๒ (อยู่ตรงกลางติดกับกลองตุ๊บ ใบที่ ๑ กับ ๓)

- กลองลูกตุ๊บใบที่ ๓ (กลองใบซ้ายมือสุด) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๗ เซนติเมตร ความยาวของ


ตัวกลอง ๓๒ เซนติเมตร

กลองลูกตุ๊บ ใบที่ ๓ (อยู่ซ้ายมือติดกับกลองตุ๊บ ใบที่ ๒)


๑๔

กลองลูกตุ๊บ ๓ ใบ (เรียงจากกลองใบใหญ่ไปกลองใบเล็ก)

๓. ฆ้ อ งขนาดใหญ่ หรื อ ฆ้ อ งอุ้ ย และฆ้ อ งขนาดเล็ ก หรื อ ฆ้ อ งโหม่ ง


๔. ฉาบ (สว่า) ๑ คู่
๕. คนตีกกลอง ส่วนใหญ่ใช้ผู้ตี ๒ คน ผลัดกันตีคนละเที่ยวสลับกันไป อุปกรณ์ที่ใช้ตีกลอง
บูชา (กลองปู่จา) มีไม้ตีกลอง นิยมใช้ต้นไม้ประดู่ ซึ่งเป็นไม้ที่มีลักษณะการยึดหยุ่นได้ดี นามาเหลาเป็นปุ่มตรง
ปลาย หรือบ้างก็นาเอาผ้ามาพันอย่างแน่นหนาจนกลมได้ขนาดสาหรับไม้แซะ หรือไม้แส้ ทาจากไม้ไผ่ ผ่าเป็นซีก
เล็กๆขนาดกว้าง ๒ ซม. ยาวประมาณ ๕๐ ซม. ใช้ตีอีกด้านหนึ่งของกลอง หรื อจะตีด้านเดียวกันก็ได้ตามความ
ถนัด เพื่อบอกจังหวะ

ความเชื่อตามคติธรรม
กลองบูชา (กลองปู่จา) จะต้องทาจากไม้ต้นเดียวเท่านั้น ห้ามนาไม้มะม่วงมาทากลอง แล้วหนัง
สัตว์ที่ใช้หุ้มกลองบูชา (กลองปู่จา) จะต้องเป็นหนังวัว หรือหนังควาย ที่เป็นเพศผู้เท่านั้น การหุ้มกลองใบที่ใหญ่
ที่สุดนั้น ข้างในจะถูกบรรจุด้วยลูกน้าเต้าที่ลงด้วยอักขระเลขยันต์เมตตา มหานิยม เพื่อป้องกัน
อันตรายด้วยปราชญ์ผู้รู้เวทย์มนต์คาถา เพื่อเป็นการป้องกันเหตุร้าย ต่าง ๆ ของบ้านเมือง อีกทั้งให้เสียงมีความ
ไพเราะนุ่มนวล เยือกเย็นในขณะตีกลองบูชา (กลองปู่จา)

วิธีการสร้างกลองบูชา (กลองปู่จา)
๑. นาไม้ประดู่ที่ได้ขนาดตามที่ต้องการมาเจาะรู ซึ่งไม้จะต้องไม่กลวงในการเจาะรูนั้น ต้องเจาะ
รูให้เหลือขอบไม้ไว้ประมาณ ๓–๔ นิ้ว สาหรับกลองใบใหญ่ หากเป็นกลองใบเล็ก ให้เหลือขอบไว้ประมาณ ๑–
๑.๕ นิ้ว
๒. นาหนังวัวดิบมาขึงตากให้แห้งประมาณ ๕-๗ วัน ถ้าเป็นหนังวัวตัวผู้ ให้ใช้ตัวผู้ทั้งหมด แต่
ถ้าเป็นหนังวัวตัวเมีย ให้ใช้หนังวัวตัวเมียทั้งหมด หุ้มกลองหลวงและกลองลูกตุ๊บ แต่ส่วนมากจะนิยมใช้หนังวัวตัว
ผู้ เพราะให้เสียงไพเราะนุ่มนวลและดังกังวานได้ดี
๑๕

๓. นาหัวของข่าและต้นข่ามาตาให้ละเอียด แล้วผสมกับน้า นาหนังกลองที่แห้งมาแช่ไว้


ประมาณ ๑ คืน เพื่อไม่ให้หนังกลองเหม็น และทาให้หนังกลองขยายตัวง่ายขึ้น
๔. นาหนังกลองที่แช่น้าข่ามามัดติดกับก๊างหุ้มกลอง ปิดหน้ากลองไว้ แล้วใช้เชือกหรือ ตอก
มัดหนัง โดยเจาะรูหนังเรียกว่าหูหิ่ง แล้วจดจี๊ม เพื่อให้ หนังกลองตึง
๕. ให้ชายฉกรรจ์ตีกลองประมาณ ๑ วัน เพื่อให้หนังกลองตึง
๖. เมื่อกลองตึงแล้ว ให้นาปลอกสวมก่อน แล้วจดแซ่ตึงหนังกลองรอบ ๆ ขอบหน้ากลองจด
ครบทุกรูแซ่ของกลอง
๗. นากลองที่หุ้มหน้ากลองแล้ว ไปตากแดดเพื่อให้หนังวัวแห้งเป็นอันเสร็จขั้นตอนการสร้าง
กลองบูชา (กลองปู่จา)
การสร้างกลองหลวง จะมีการแกะสลักเป็นลายดอกไม้และลายกนกโบราณ ทั้งสองหัว - ท้าย
ของกลอง มีความสวยงามมาก ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีมาตั้งแต่แรกสร้าง แล้วมีการกลัดแซ่กลอง ( ไม้ที่เหลาเป็นท่อน
เล็กๆ ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ แล้วตอกลงไปในรูของกลองที่มีการเจาะรูเอาไว้ เพื่อยึดหนังกลองให้ติดกับตัวกลอง
ซึ่งเป็นวิธีที่มีมาตั้งแต่โบราณ ) บริเวณขอบด้านนอกของขอบลายกนก

ลวดลายอันวิจิตรงดงามที่สลักลงบนกลองบูชา (ก๋องหลวง) ทั้งหัว- ท้าย


๑๖

สาหรับการเปลี่ยนหนังหุ้มก๋องปู๋จาในที่นี้ ซึ่งพ่ออาจารย์ศรีนวลบอกเอาไว้ว่าเดือน ๔ ปัว น่าจะ


ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ แต่ไม่ทราบวันที่ที่ชัดเจน ส่วนที่บอกว่า เดือน ๔ ปัว คาว่า ปัว ในที่นี้
ตามคาบอกเล่าของพ่ออาจารย์ศรีนวล ท่านได้ให้เหตุผลเอาไว้ว่า ในสมัยนั้น อาเภอ ท่ าวังผา ทั้งหมดได้ขึ้นอยู่กับ
อาเภอ ปัว ซึ่งอาเภอ ท่าวังผาในสมัยนั้นกับอาเภอ ปัวมีการนับเดือนเหมือนกัน ส่วนทางอาเภอ เมืองน่านมีการ
นับเดือนเหมือนทางเชียงใหม่แต่ก็มีลักษณะคล้ายกัน ดังนั้นจึงมีการนับและเรียกชื่อเดือนแล้วนาชื่ออาเภอมา
ต่อท้ายเรียกว่า เดือน ๔ ปัว
การเขียนคาถาสาวหุมบนหน้ากลอง คาว่า หุมหรือหูม แปลว่า ชอบ ทานองเดียวกับคาว่า
ชอบสู้ หมายถึง ชอบใจหรือชอบในเชิงชู้สาวหรือชอบเหลือเกินทานองนั้น คาถาสาวหุมมีทั้งที่เป็นภาษาบาลี
ภาษาพื้นถิ่นล้านนา ภาษานานาชาติอื่น ๆ เช่น ไทใหญ่พม่า ขอม หรือที่ไม่เป็นภาษาใด ๆ ก็มีคือแปลไม่ออก
คาถาเป็นของคู่ตัวชายชาวล้านนา กล่าวกันว่า “ชายใดบ่มีคาถา บ่ได้สักยันต์ขาลาย บ่เป็นชายแท้ว่าอั้น” ส่วนคน
ที่ถือคาถาขึ้น หมายถึงคนที่ใช้คาถาแล้วสัมฤทธิผลด้วยดี ส่วนมากจะเป็นคนดิบคือคนที่ยังไม่เคยได้บวชเรียนและ
ถ้าได้คาถาโดยแอบจามาหรือลั กจา เชื่อว่าจะถือขึ้นดีนักแล คือใช้ได้ขลังมีพลัง มาก คาถามหานิยมสาวหุมใช้เสก
เป่าเพื่อให้บุคคลที่ตนหมายใจนั้นรู้สึกพอใจหรือมีไมตรีจิตต่อตัวเราเป็นพิเศษ วิธีใช้ ให้ท่องระลึกในใจแล้วเสก
เป่า เสกใส่สิ่งของต่าง ๆ เช่น เสกแป้ง เสกน้าล้างหน้า เป็นต้น สาหรับคาถาสาวหุมที่เขียนลงบนหนังก๋องปู๋จา
ด้านใน ก่อนที่จะมีการหุ้มก๋องปู๋จา ก็เพื่อให้เสียงกลองดังไพเราะ ใครอยู่ที่ไหนถ้าได้ยินเสียงกลองก็ให้ติดใจใน
เสียงกลอง และอีกประการหนึ่งก็คือ ในการสร้างก๋องปู๋จาทุกครั้งจะมีการทา หัวใจกลอง โดยจะมีการเขียน
คาถาอาคมลงไปบรรจุภายในกลองอยู่แล้ว ดังนั้นส่วนมากจึงพบคาถาทางด้านเมตตามหานินมในใจก๋องปู๋จา

การเก็บรักษากลองบูชา (กลองปู่จา)
กลองบูชา (กลองปู่จา) ส่วนมากจะมีโฮงกลอง (หอกลอง) โดยเฉพาะ จะแขวนกลองด้านที่ตี
เรียกว่า “หน้ากลอง” ด้านตรงข้ามกับด้านที่จะตีเรียกว่า “ก้นกลอง” ถ้าแขวนกลองโดยนาก้นกลองหันไปทาง
ทิศใต้จ ะเรี ย กว่า “แขวนกลองแบบล่องเมือง” แต่ไม่นิยมแขวนแบบขวางเมือง คือ ทิศตะวันออก กับ ทิศ
ตะวันตก

พิธีบูชาการขึ้นขันครูกลองบูชา (กลองปู่จา)
พิธีขึ้นขันครูฆ้องกลองตารับพิธีกรรมเก่า การขึ้นขันครูกลองบูชา (กลองปู่จา) ยังไม่เคยพบ
เว้นแต่ยันต์คาถาเปลือกน้าเต้าที่แขวนในเรือนกลองเป็นพิธีกรรมฝ่ายสงฆ์ และสล่ากลองแต่ก็พบผู้สืบทอดการตี
กลองบูชา(กลองปู่จา)จากครูฆ้องกลองแบบชาวบ้าน
๑๗

สิ่งของที่ใช้เป็นส่วนประกอบในพิธีขึ้นขันครู มีดังนี้
๑. กล้วยดิบ จานวน ๑ เครือ
๒. มะพร้าว ๑ ทะลาย
๓. หมาก ๑ ไหม
๔. เหล้าขาว ๑ ขวด เวลารินให้รินเข้าหาตัว
๕. ข้าวสาร ๑ ถุง (ใส่ผ้าแดง ผ้าขาว อย่างละ ๑ ผืน) แต่โบราณให้ใช้ข้าวสีใหม่ ที่ไม่มีผู้หญิง
แตะต้อง
๖. เบี้ยหรือเปลือกหอย ๓๒ อัน
๗. ทาการลงสีและตกแต่งลวดลายเพื่อให้ดูสวยงาม
๘. เงินขั้นตั้ง ๓๒ บาท บางมีใช้ ๑๕ บาทสลึง
๙. กระสวย ๑๖ อัน ซึ่งทาด้วยใบตองกล้วยดิบ ประกอบด้วยกรวย (กระสวย) ดอกไม้ ธูป เทียน
(ให้ไม้ที่กลัดตั้งขึ้น) ๘ กรวย (กระสวย) และกรวยใบพลู ๘ กรวย (ต้องเรียงซ้อนกัน เอาก้านพลู
ตั้งขึ้น)
๑๐. น้าขมิ้น น้าส้มป่อย ๑ แก้ว

****************************

You might also like