You are on page 1of 6

บุญผะเหวด (บุญมหาชาติ)

ความเป็นมาและมูลเหตุแห่งการทาบุญมหาชาติ
การทาบุญใหญ่ตามฮีต ๑๒ ในฮีตเดือน ๔ คือ การทาบุญมหาชาติ หรือที่ชาวอีสาน
ทั่ ว ไปเรี ย ก "บุ ญ ผะเหวด" ซึ่ งมาจากค าว่ า "พระเวส" หรื อ "พระเวสสั น ดร" นั่ น เอง มี ก าร
กล่าวถึงไว้ในหนังสือ "มาลัยหมื่นมาลัยแสน" ว่า ครั้งหนึ่งพระมาลัย ได้ไปไหว้พระธาตุเกษแก้ว
จุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนากับ "พระศรีอาริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์" ผู้ซึ่ง
จะได้จุติกาลลงมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ท่านทรงทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระ
มาลั ยแล้ว จึ งสั่งความกับ พระมาลัย ว่า "หากใครต้ องการจะพบและเกิดในสมัย พระศรีอาริ ย์
ให้ ทาแต่ ความดี อย่ าฆ่ าพ่ อ ตี แ ม่ สมณชี พราหมณ์ ครู อาจารย์ อย่ า ทาร้ า ยพระพุ ทธเจ้ า
อย่ายุยงสงฆ์ให้แตกกัน และต้องฟังเทศน์มหาชาติให้จบทุกกัณฑ์ในวันเดียว ท่านทั้งหลายจะได้
เกิดร่วมและพบพระองค์" ด้วยเหตุนี้ชาวอีสานจึงได้พากันทาบุญผะเหวด และไปฟังเทศน์มหาชาติ
ให้ได้ครบ ๑๓ กัณฑ์กันทุกปี
การจั ด งาน บุ ญ ผะ เ หวด นั้ น ส าคั ญ อยู่ ที่ ก ารเท ศน์ เรื่ อ ง "พร ะ เ วส สั นดร
ชาดก" หรือ "เทศน์มหาชาติ" มีจานวนทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ โดยชาวอีสานมีความเชื่อว่าหากว่าฟัง
เทศน์ครบทั้งหมดวันเดียว และจัดเตรียมเครื่องคาย (บูชา) ได้ถูกต้อง ก็จะได้เกิดในศาสนาพระอริย
เมตไตรย แต่ถ้าหากตั้งเครื่องคาย (บูชา) ไม่ถูกต้อง จะทาให้เกิดอาเพศและสิ่งไม่ดีต่างๆ ตามมา
จึงทาให้ทุกคนในหมู่บ้านให้ความสาคัญกับงานนี้อย่างมาก โดยมาทาพิธีร่วมกัน อีกประการหนึ่ง
คือ เพื่อระลึกถึงพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์ผู้บาเพ็ญเพียรบารมีชาติสุดท้ายของพระองค์ ก่อนจะ
เสวยชาติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายหลัง

ขั้นตอนพิธีการจัดงาน
เมื่อกาหนดวันจัดงานได้แล้ว (ซึ่งรวมถึงการนิมนต์พระผู้มีลีลาการเทศน์ที่ชาวบ้านชื่น
ชอบจากที่ต่างๆ มาเทศน์ได้ครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ให้มาร่วมงานพร้อมแล้ว) ชาวบ้านจะช่วยกันหา
ดอกไม้มาตากแห้งไว้ ช่วยกันฝานดอกโน (ทาจากลาต้นหม่อน) เก็บดอกจิก ดอกจาน บานราวต้น
เดือน ๓ พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้มาร้อยเป็นมาลัย เพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสาหรับ
บุญมหาชาติ เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม งานนี้เป็นงานใหญ่ทาติดต่อกัน ๓ วัน ดังนี้
วันแรกของงาน ตอนบ่ ายๆ หรือ เย็ น จะมี การแห่ พระอุ ปคุ ตรอบบ้ านให้ช าวบ้าน
ได้สักการะบูชา โดยการทาพิธีให้ผู้ที่เคารพนับถือกล่าวนาอัญเชิญพระอุปคุต ขึ้นจากแม่น้าใหญ่
(แทนมหาสมุทร บางหมู่บ้านไม่มีแม่น้าก็จะใช้หนอง สระน้าในหมู่บ้ านแทน) ให้ชาย ๓-๕ คนนุ่งขาว
ลงงมเอาก้อนหินในน้าขึ้นมาถามว่า "ใช่พระอุปคุตหรือไม่" ในครั้งที่สามให้ผู้งมคนหนึ่งคนใดบอกว่ า
"ใช่" จากนั้นจึงนาขึ้นมาบนฝั่งจัดขบวนแห่รอบหมู่บ้าน แล้วนาไปประดิษฐานไว้ หออุปคุต ภายใน
บริเวณงานเพราะเชื่อว่าเป็นพระเถระผู้มีฤทธิ์ นิรมิ ตกุฏิอยู่กลางแม่น้า หรือมหาสมุทร สามารถ
ขจัดเภทภัยทั้งมวลที่จะเกิดขึ้นในพิธีได้

วันที่ส องของงาน เป็น การแห่ พระเวสสันดรเข้าเมือง แต่ละคุ้ม วัดจะจัดขบวนแห่


แต่ ละกัณ ฑ์ ทั้ ง ๑๓ กั ณ ฑ์ แห่ ร อบหมู่ บ้ าน หรือ รอบเมื อ ง โดยมีผ้าขาวเขี ย น "ฮู ป แต้ม เรื่ อง
พระเวสสัน ดร" ผื นยาว แสดงเรื่ องราวต่างๆ ในแต่ละกัณฑ์ เมื่อ ถึงวัด จะนาผ้าฮูป แต้มนี่ มาขึ ง
โดยรอบศาลาโรงธรรม หรือ บริ เวณพิธีใ ห้ลูก หลานได้ เรี ยนรู้เรื่อ ง "พระเวสสัน ดร" เพื่อ ความ
ซาบซึ้งในเทศน์กัณฑ์ต่างๆ ตอนเย็นมีมหรสพสมโภชเป็นที่ ครึกครื้น (ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีการจัด
งานประเพณีบุญผะเหวดทุกปีเป็นงานใหญ่ ในวันที่ ๒ และที่ ๓ ชาวร้อยเอ็ดจะจัดให้มีโรงทาน
เลี้ยง "ข้าวปุ้นบุญผะเหวด" แก่ผู้คนที่มาร่วมในงานกินได้ตลอดเวลาฟรีๆ มีชาวบ้าน ร้านค้า และ
หน่วยงานราชการมาตั้งโรงทานกันมากมาย)
วันที่สามของงาน เริ่มตั้งแต่เช้ามืด ประมาณตี ๔ ชาวบ้านจะนาข้าวเหนียวมาปั้น
เสียบไม้จานวน ๑,๐๐๐ ก้อน เพื่อเอาบูชากัณฑ์เทศน์ คาถาพัน เรียกว่า "ข้าวพันก้อน" ชาวบ้าน
จะพากันแห่ข้าวพันก้อนรอบศาลาโรงธรรม มีหัวหน้ากล่าวคาบูชา ดังนี้

" นะโม นะไม จอมไตรปิฎก ยกออกมาเทศนาธรรม ขันหมากเบ็งงานสะพาส


ข้าวพันก้อนอาดบูชา ซาเฮาซา สามดวงยอดแก้ว ข้าไหว้แล้วถวายอาดบูชา สาธุ "

ว่าดังนี้ไ ปเรื่อ ยๆ จนครบ ๓ จบ แล้ วน าขึ้ นไปศาลาโรงธรรม แล้ว ญาติโยมพากัน ทาวั ต รเช้า
อาราธนาศีลอาราธนาเทศน์ โดยอาราธนาเทศน์พระเวสโดยเฉพาะ การอาราธนาเทศน์พระเวสนั้น
ถ้าไม่ต้องว่ายาวจะตัดบทสั้นๆ ก็ได้ ให้ขึ้นตรง "อาทิกัลยาณังฯ เปฯ อาราธนัง กโรม" เท่านี้ก็ได้

ความเป็นมาของการแห่ข้าวพันก้อน
การเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์นั้นจะประกอบด้วย พระคาถา ๑,๐๐๐ คาถา
เช่น กัณฑ์ที่ ๙ มัทรี มี ๙๐ คาถา เราก็ปั้นข้าวเหนียวก้อนเล็กๆ แทนพระคาถาคือ ๙๐ ก้อน
ชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่จะนาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือหรือขนาดเท่านิ้วก้อย
เท่ากับจานวนกัณฑ์ที่ตัวเองได้รับมอบหมาย เมื่อรวมทั้งหมดทุกกัณฑ์แล้ วจะได้จานวน ๑,๐๐๐
ก้อนซึ่งเท่ากับ ๑,๐๐๐ พระคาถาในเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก
นาข้าวก้อนใส่ถาดจากบ้านเรือนของตนมารวมกันที่ศาลากลางบ้าน แล้วเริ่มจัดขบวน
แห่จากหมู่บ้านเข้ามายัง ศาลาโรงธรรม (หอแจก) จัดขบวนแห่ข้าวรอบบริเวณธรรมาสน์ที่พระ
เทศน์ โดยขบวนแห่ประกอบด้วย กลองยาว แคน ฉิ่ง ฉาบ ฯลฯ นาขบวนผู้มีศรัทธานาขบวน ผู้มี
ศรั ท ธาบางคนจะพากัน ฟ้อนร าไปตามจั งหวะเสีย งกลองอย่ างสนุ ก สนาน เวี ยนรอบศาลาโรง
ธรรม ๓ รอบ แล้วจึงนาข้าวพันก้อนเหล่านั้นไปใส่ไว้ในกรวยไม้ไผ่ ที่หลักธงชัยทั้ง ๘ ทิศ แล้วใส่ไว้
ในตระกร้าที่วางอยู่บนศาลาตามจุดที่ที่มีทุงโซและเสดกะสัด เมื่อแห่ข้าวพันก้อนเสร็จ ก็จะมี การ
เทศน์สังกาศ คือการเทศน์บอกปีศักราช เป็นการพรรณนาอายุกาลของพระพุทธศาสนา เริ่มแต่
ต้นจนถึงอันตรธาน เมื่อจบสังกาศก็จะหยุดพักให้ญาติโยมกลับไปบ้านของตน นาข้าวปลาอาหาร
มาใส่บาตรจังหัน
วัตถุประสงค์ของการแห่ข้าวพันก้อน
 เพื่อเป็นการบูชาธรรม ถือว่าเป็นการบูชาอันสาคัญยิ่ง

 เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธศาสนา

 เกิ ด ความเป็ น มงคลส าหรั บ ผู้ มาร่ ว มงานที่ จ ะบั น ดาลให้ พ บความสุ ข ความส าเร็ จ

และประกอบอาชีพเจริญรุ่งเรือง
 เพื่อเป็นการพบปะกันของชาวบ้านในงานบุญของหมู่บ้าน

 เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีของคนระหว่างหมู่บ้านและละแวกเดียวกัน

อุปกรณ์ในการทาพิธีแห่ข้าวพันก้อน
 ธูป เทียน ดอกไม้อย่างละพันเพื่อไว้บูชาคาถา “พันคาถาในการเทศน์”

 พระอุปคุต (บาตร ไตร ร่ม)

 ข้าวเหนียว (ปั้นเป็นก้อนเล็กๆ)

 เครื่องบูชาธรรม

 ปะราพิธี (ประดุจดังป่าหิมพานต์)

หลังจากพระฉันจังหันเสร็จแล้ว จึงเริ่มเทศน์ผะเหวด เริ่มเทศน์กัณฑ์ทศพร ไปจนจบที่


นครกัณฑ์ อันเป็นกัณฑ์ที่ ๑๓ เทศน์แต่เช้ามืดไปจนค่า จบแล้วจัดขันขอขมาโทษ พระสงฆ์ให้พร
เป็นอันเสร็จพิธี ในวันที่ ๓ นี้เอง ชาวบ้านชาวเมืองจะแห่ กัณฑ์หลอน มาร่วมถวายกัณฑ์เทศน์
ตลอดทั้งวัน กัณฑ์เทศน์จะมี ๒ ลักษณะ คือ
 กั ณ ฑ์ ห ลอน เป็ น การแห่ กั ณ ฑ์ เ ทศน์ ม า ถึ งบริ เ วณที่ พ ระก าลั งเทศน์ ก็ ถ วายกั ณ ฑ์

เทศน์โดยไม่เจาะจงว่า จะเป็นพระสงฆ์รูปใด
 กัณ ฑ์ จอบ เป็น กั ณฑ์ เ ทศน์ ที่ ก ลุ่ม ผู้ ถวายปรารถนาจะถวายเฉพาะภิก ษุ ที่ ตนชอบ

เคารพศรัท ธา จึง มีก ารส่ ง คนไปสอดแนมว่า ขึ ้น เทศน์ห รือ ยัง ภาษาอีส านเรีย กว่า "จอบ"
หรือ "แอบดู" จึงเรียกกัณฑ์เทศน์ประเภทนี้ว่า "กัณฑ์จอบ"
พระอุปคุต
พระอุปคุต พระอุปคุปต์ หรือ พระบัวเข็ม เป็นพระภิกษุองค์สาคัญองค์หนึ่งในสมัย
พระเจ้าอโศกมหาราช และเป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายสรวาสติวาทชื่อ "อุปคุต" แปลว่า ผู้คุ้มครองรักษา
จากการค้นหาข้อมูลของพระอุปคุตนั้น ทราบเพียงว่า ท่านเกิดหลังพระพุทธเจ้าเสด็จ
ปรินิพพานแล้ว ประมาณ พ.ศ. ๒๑๘ ปี แต่ไม่ทราบ ภูมิเดิมของท่านละเอียด ว่า เป็นบุตรของใคร
เกิดในวรรณะอะไร และที่ไหน
จากการสันนิษฐานตามตานาน พระเถระอุปคุต น่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร เมื่ อ
บวชแล้วบาเพ็ญเพียร จนสาเร็จเป็น พระอรหันต์ขีณาสพ สาเร็จอภิญญาต่างๆ จนสามารถแสดง
อภินิหาร เป็นที่เล่าลือมาจนทุกวันนี้ มีปฏิปทาดาเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัย ว่าท่านเนรมิต
เรือนแก้ว (กุฏิแก้ว) ขึ้นในท้องทะเลหลวง (สะดือทะเล) แล้วก็ลงไปอยู่ประจาที่กุฏิแก้วตลอดเวลา
เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ หรือมีผู้นิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมา
ช่วยเหลือ ด้วยความเต็มใจเสมอ
พระอุปคุต เป็นพระที่เป็นที่นิยมนั บถือของชาวอินเดีย มอญ ชาวไทยวน และอีสาน
สมัยก่อนพระมอญได้นาพระบัวเข็มมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ในตอนที่พระองค์ยังทรงผนวชอยู่ แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ก็ยังทรงกล่าวถึงความเป็นมาในพระราชนิพนธ์ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" ด้วย
เชื่อ กัน มาว่า พระอุ ป คุต มี อิท ธิ ฤ ทธิ์ ป ราบท้ าววสวั ตตี (พญามาร) มีเรื่ องเล่ ามาว่ า
ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒ หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคื อ
เมืองปัตนะ ภาคใต้ของประเทศอินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรง
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่พระองค์สร้างอย่าง
ยิ่งใหญ่ ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน แต่ถูกพญามารมาผจญ ท่านจึงนิมนต์พระอุปคุตไปปราบพญา
มารจนยอมแพ้ จากนั้นพระอุปคุตก็มีชื่อเสียงในทางปราบมาร ท่านมีอีกชื่อว่า "พระบัวเข็ม"
ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวไทยวนว่า พระบัวเข็ม หรือ พระอุปคุต ยังมีชีวิตอยู่
ในทุกวันขึ้น ๑๕ ค่าที่ตรงกับวันพุธ ชาวไทยวนจะเรี ยกว่าเป็น "วันเป็งปุ๊ด" (วันเพ็ญ หรือวันเพ็ง
ที่ตรงกับวันพุธ) พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุ
นี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น
ดังนั้น การตักบาตรพระอุปคุตจะตักบาตรให้สามเณรเป็นหลัก โดยตั้งแต่เที่ยงคืนจะมี
การสวดบูชาพระอุปคุตพอได้เวลา สามเณรจะบิณฑบาตไปรอบหมู่บ้านโดยของใส่บาตรจะเป็น
ขนม เนื่องจากเวลาที่ใส่บาตรเป็นเวลานึ่งข้าวของชาวบ้าน ทาให้ไม่สามารถใส่อาหารได้ตามปกติ
จึงมีการทาขนมรอไว้ใส่บาตร ดังนั้นของใส่บาตรจึงเป็นพวกขนมหรือผลไม้ ซึ่งก็คือทาไว้เพื่อใส่
บาตรสามเณรที่เป็นเด็กได้กินกันนั่นเอง และการบิณฑบาตรจะเสร็จก่อนฟ้าแจ้งเหมือนกัน แต่
เนื่องจากสังคมที่เปลี่ยนไปในวันพุธคนต้องไปทางาน เลยขยับเวลาไปตอนเที่ยงคืนแทน เพื่อคนจะ
ได้ไปทางานไหวไม่ง่วงนั่นเอง

ที่มา : https://www.isangate.com/new/tradition/318-heet-m4.html

You might also like