You are on page 1of 13

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔

วิชาสุขศึกษา ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๑


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง เติบโตตามเกณฑ์ เวลา ๑ ชั่วโมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
มาตรฐาน พ ๑.๑ เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
ตัวชี้วัด พ ๑.๑ ม.๑/๓ วิเคราะห์ภาวะการเจริญเติบโตทางร่างกายของตนเองกับเกณฑ์มาตรฐาน
พ ๑.๑ ม.๑/๔ แสวงหาแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย
๒. สาระสำคัญ
การเจริญเติบโตทางด้านร่างกายในวัยรุ่นมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการทั้งปัจจัยภายในร่างกาย
และปัจจัยภายนอกร่างกาย การเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินภาวะการเจริญเติบโตของร่างกาย การวิเคราะห์
เปรียบเทียบภาวะการเจริญเติบโตของร่างกายกับเกณฑ์มาตรฐานจะทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเอง
ให้เติบโตสมวัยได้อย่างเหมาะสม
๓. เป้ าหมายการเรียนรู้
ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ/กระบวนการ คุณลักษณะ หลักปรัชญาเศรษฐกิจ
สมรรถนะที่สำคัญ
(K) (P) อันพึงประสงค์ (A) พอเพียง
๑. บอกความสำคัญ ๑. ปฏิบัติตนในการ ๑. มีวินัย ๑. ความสามารถ ๑. หลักความพอ
ของการเจริญ พัฒนาตนเอง ๒. ใฝ่ เรียนรู้ ในการสื่อสาร ประมาณ
เติบโตตามเกณฑ์ สมวัย ๓. มีจิตสาธารณะ ๒. ความสามารถ - นักเรียนได้รับ
มาตรฐานของวัย ในการใช้ เนื้อหาตามความ
รุ่น ทักษะชีวิต เหมาะสมกับช่วงวัย
๒. วิเคราะห์และ เพื่อให้เกิด
เปรียบเทียบ กระบวนการเรียนรู้
การเจริญเติบโต
อย่างมีประสิทธิภาพ
ของวัยรุ่นกับ
-นักเรียนรู้จักบริหาร
เกณฑ์มาตรฐาน
เวลาในการทำ
กิจกรรมในการเรียน
การสอน

๔. สาระการเรียนรู้
๑. ภาวะการเจริญเติบโตของวัยรุ่น

๕. แนวทางบูรณาการการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
(นักเรียนเปรียบเทียบน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน)

เติบโตตามเกณฑ์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(๑.หลักความพอประมาณ - นักเรียนได้รับเนื้อหาตามความเหมาะ
สมกับช่วงวัย เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
-นักเรียนรู้จักบริหารเวลาในการทำกิจกรรมในการเรียนการสอน)

๖. การเตรียมตัวของผู้สอน
๑. ศึกษาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา และกำหนดเป้ าหมายการเรียนรู้
๒. ศึกษาเนื้อหาสาระ เรื่อง เติบโตตามเกณฑ์ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษา ๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด
๓. วางแผนการจัดการเรียนการสอน และเตรียมสื่อ/นวัตกรรม
๗. สื่อ/นวัตกรรม
๑. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษา ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด
๒. โปรแกรม PowerPoint เรื่อง เติบโตตามเกณฑ์
๓. หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ สุขศึกษา ๑
๔. การใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงวิดีโอและ
ข้อมูลต่างๆ ทำให้ผู้สอนสามารถนำสื่อจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ไปยังผู้เรียนจากแอปพลิเคชัน Aimphan
Education

๘. กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้นี้ใช้วิธีการบูรณาการที่หลากหลายคือ กิจกรรมการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา
ชั่วโมงที่ ๔
ขั้นกระตุ้นความสนใจ (๕ นาที)
๑. ครูนำภาพวัยเด็กและวัยรุ่นมาให้นักเรียนเปรียบเทียบความแตกต่าง ว่าเพราะเหตุใดร่างกายของ
วัยเด็กและวัยรุ่นจึงมีขนาดที่แตกต่างกัน ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
๒. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิดที่ว่า สำคัญหรือไม่ที่ต้องดูแลรักษาร่างกายให้เจริญเติบโตตามเกณฑ์
มาตรฐานของวัยรุ่น เพราะเหตุใด
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (๕ นาที)
๓. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิดที่ว่า นักเรียนจะมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้น้ำหนักและส่วนสูง
เป็นไปตามเกณฑ์ และสอบถามนักเรียนถึงวิธีการที่นักเรียนปฏิบัติตนเพื่อให้ตนเองพัฒนาได้สมวัย
๔. นักเรียนตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสอน (๓๐ นาที)
๕. เปิ ดวิดีโอเรื่องการเจริญเติบโตของวัยรุ่นและอธิบายการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของ
วัยรุ่นกับเกณฑ์มาตรฐาน โดยกรมอนามัยได้จัดทำกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของ
เพศชายและหญิงอายุตั้งแต่ ๕-๑๘ ปี โดยให้นักเรียนดูกราฟแสดงเกณฑ์ประกอบในหนังสือเรียน
สุขศึกษา ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๑ ของ บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด
๖. นักเรียนนำน้ำหนักและส่วนสูงเปรียบเทียบกับเกณฑ์ และหาวิธีที่เหมาะสมในการดูแล
ตนเอง และเมื่อผลจากเกณฑ์ที่เปรียบเทียบสูงกว่า และต่ำกว่าเกณฑ์ จะมีวิธีการปฏิบัติตนอย่างไร
เพื่อให้ตนเองมีน้ำหนักสมตามวัยและตามเกณฑ์
๗. ครูเสริมนักเรียนถึงแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาการเจริญเติบโตให้สมวัยและเน้นให้นักเรียน
สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง ดังนี้
๑) การรับประทานอาหารต้องรับประทานอาหารมื้อหลักให้ครบ ๓ มื้อ และครบ ๕ หมู่
ในแต่ละวันอาหารมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญของเด็กวัยเรียนเพราะอยู่ในวัยเจริญเติบโตที่สมอง
ต้องใช้พลังงานในการเรียนรู้ตลอดทั้งวันจึงไม่ควรงดอาหารเช้า
๒) การดื่มนมควรดื่มนมวันละ ๑-๒ แก้ว แก้วละ ๒๐๐ ซีซี เป็นประจำ เพราะนมมีคุณค่า
ทางโภชนาการสูงคือมีโปรตีน แคลเซียม แคลเซียมในนมช่วยให้มีรูปร่างเติบโตสูงใหญ่
และแข็งแรง
๓) การออกกำลังกายเป็นการใช้พลังงานและทำให้ร่างกายแข็งแรงมีการเจริญเติบโตดี
การออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬาจะทำให้สนุกสนานเพลิดเพลินการออกกำลังกาย
เพื่อสุขภาพควรออกกำลังกายครั้งละประมาณ ๓๐ นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน
๔) การพักผ่อนคือ ช่วงเวลาที่ว่างหรือพักจากการทำงานการเรียน การเล่นเพื่อผ่อนคลาย
ความตึงเครียดอาจจะฟังเพลง อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ ฯลฯ การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ
การนอนหลับ เพราะในขณะที่นอนหลับการทำงานของอวัยวะภายในจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจจะช้าลง จึงทำให้อวัยวะและระบบ
การทำงานของร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ สิ่งสำคัญสำหรับการนอนในวัยรุ่นคือเมื่อหลับสนิทสมองส่วน
หน้าจะผลิตโกรทฮอร์โมนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโตมากขึ้น
มีส่วนสูงเพิ่มขึ้นดังนั้นผู้ที่อยู่ในวัยเรียนควรนอนอย่างน้อย ๘-๑๐ ชั่วโมงต่อวัน เพื่อ
การเจริญเติบโตของร่างกาย
๕) นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน คือบริโภคแต่พอควรออกกำลัง
กายแล้วพักผ่อน โดยต้องปฏิบัติตนตามทางสายกลางไม่มากหรือน้อยเกินไปเช่น การออกกำลังกายควร
ออกกำลังกายสัปดาห์ละประมาณ ๓ วัน ไม่ควรเกิน ๖ วัน เป็นต้น
ขั้นสรุป (๕ นาที)
๘. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้
๙. ครูให้นักเรียนนำความรู้ เรื่อง เติบโตตามเกณฑ์ ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยสรุปตามแนวทางปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงและทำใบงานในหนังสือเสริมฝึ กประสบการณ์ สุขศึกษา ๑
ใบงานที่ ๓.๑ เรื่อง การเจริญเติบโตของวัยรุ่น และใบงานที่ ๓.๒ เรื่อง เกณฑ์การเจริญเติบโต
ขั้นตรวจสอบผลการเรียนรู้ (๕ นาที)
๑๐. ตรวจสอบและประเมินใบงานในหนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ สุขศึกษา ๑
๙. การวัดและประเมินผล
เป้ าหมายการเรียนรู้ ภาระงาน/ชิ้นงาน เครื่องมือ วิธีวัดผล เกณฑ์การประเมิน
ความรู้ ความเข้าใจ ใบงานที่ ๓.๑ เรื่อง การเจริญเติบโต ๑. แบบประเมิน ๑. สังเกตการร่วม ๑. ผ่านขั้นต่ำไม่น้อย
(K) ของวัยรุ่น ภาระงาน กิจกรรมในชั้น กว่าร้อยละ ๖๐
เรียน
ทักษะ/กระบวนการ ใบงานที่ ๓.๒ เรื่อง เกณฑ์การเจริญ ๑. แบบประเมิน ๑. สังเกตการร่วม ๑. ผ่านขั้นต่ำไม่น้อย
(P) เติบโต ภาระงาน กิจกรรมในชั้น กว่าร้อยละ ๖๐
เรียน
คุณลักษณะอันพึง ๑. พฤติกรรม ๑. แบบประเมิน ๑. ตรวจด้วยการ ๑. ผ่านขั้นต่ำไม่น้อย
ประสงค์ (A) ในชั้นเรียน คุณลักษณะ สังเกตการร่วม กว่าร้อยละ ๖๐
อันพึงประสงค์ กิจกรรมในชั้นเรียน
สมรรถนะที่สำคัญ ๑. พฤติกรรม ๑. แบบประเมิน ๑. ตรวจด้วยการ ๑. ผ่านขั้นต่ำไม่น้อย
ในชั้นเรียน สมรรถนะ สังเกตการร่วม กว่าร้อยละ ๖๐
สำคัญของผู้ กิจกรรมในชั้น
เรียน เรียน
หลักปรัชญา ๑.หลักความพอประมาณ ๑. แบบสังเกต ๑. สังเกตพฤติกรรมผู้ ๑. ผ่านขั้นต่ำไม่น้อย
เศรษฐกิจพอเพียง - นักเรียนได้รับเนื้อหาตาม พฤติกรรมราย เรียนระหว่างการ กว่าร้อยละ ๖๐
ความเหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อ บุคคลตามหลัก เรียนรู้
ปรัชญา
ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่าง
เศรษฐกิจพอ
มีประสิทธิภาพ เพียง
-นักเรียนรู้จักบริหารเวลาใน
การทำกิจกรรมในการเรียนการ
สอน

แบบประเมินใบงาน/ชิ้นงาน
กลุ่มที่.............เรื่อง........................................................................................................................
รายวิชา................................รหัสวิชา...............................ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่................................
คำชี้แจง ให้ครูผู้สอนทำเครื่องหมาย ลงในช่องระดับคะแนนตามเกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน รวม หมายเหตุ
ประเด็นการประเมิน
๕ ๔ ๓ ๒ ๑
๑. รูปแบบของใบงาน/ชิ้นงาน
๒. ความถูกต้องของข้อมูล เนื้อหาสาระ
๓. ความตรงต่อเวลา
คะแนนรวม

ลงชื่อ……………………………….ผู้ประเมิน
(………………………….……)
…………/…………/……….
เกณฑ์การประเมินแบบประเมินใบงาน/ชิ้นงาน
ประเด็นการ เกณฑ์การให้คะแนน / ระดับคุณภาพ
ประเมิน ๕ ๔ ๓ ๒ ๑
๑. รูปแบบของ รูปแบบของงานถูก รูปแบบของงานถูก รูปแบบของงานถูก รูปแบบของงานถูก รูปแบบของงาน
ใบงาน/ชิ้นงาน ต้องตามกำหนด มี ต้องตามกำหนด มี ต้องตามกำหนดมี ต้องตามกำหนดบาง ไม่ถูกต้องตาม
ความเป็นระเบียบ ความเป็นระเบียบ ความเป็นระเบียบ ส่วน กำหนด
เรียบร้อย ตกแต่ง เรียบร้อย แสดงถึง เรียบร้อย
อย่างสวยงาม แสดง ความคิดริเริ่ม
ถึงความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
สร้างสรรค์
๒. ความถูกต้อง เนื้อหาสาระถูกต้อง เนื้อหาสาระถูกต้อง เนื้อหาสาระส่วนมาก เนื้อหาสาระถูกต้อง เนื้อหาสาระไม่ถูก
ของข้อมูล ครบถ้วน ละเอียด ครบถ้วน ละเอียด ถูกต้อง เพียงบางส่วน ต้อง
เนื้อหาสาระ ชัดเจน และมีการ ชัดเจน
สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
นอกเหนือจากบท
เรียน
๓. ความตรงต่อ ส่งงานภายในระยะ ส่งงานช้ากว่ากำหนด ส่งงานช้ากว่ากำหนด ส่งงานช้ากว่า ส่งงานช้ากว่า
เวลา เวลาที่กำหนด ๑ วัน ๒ วัน กำหนด ๓ วัน กำหนดเกิน ๓ วัน
ขึ้นไป

เกณฑ์การตัดสินระดับคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
๑๓ – ๑๕ ดีมาก
๑๐ – ๑๒ ดี
๗–๙ ปานกลาง
๔–๖ พอใช้
๑–๓ ควรปรับปรุง
แบบสรุปผลการประเมิน
สมรรถนะสำคัญของนักเรียน
ภาคเรียนที่…………………….ปี การศึกษา…………………

๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา

๔. ความสามารถในการใช้ทักษะ
รหัสวิชา…………………………………………………………..

๑. ความสามารถในการสื่อสาร

๒. ความสามารถในการคิด
ชื่อวิชา……………………………………………………………
ชั้น…………………………………………………………..……

รวมคะแนน
กลุ่ม…………………………………………..……………….….

ชีวิต
รหัส
ลำดับที่ ชื่อ-สกุล ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๒๐
ประจำตัว

หมายเหตุ การให้คะแนนปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอนและสถานศึกษา


แบบรวมคะแนนการประเมิน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ชื่อ-สกุล…………………………………………………………....รหัสประจำตัว…………………………….…..…
ระดับชั้น………………..กลุ่ม………………...แผนกวิชา…………………….……………………………..….……
คะแนนเฉลี่ยตามเกณฑ์
ระดับพฤติกรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายเหตุ
ดีมาก ดี พอใช้ ควรแก้ไข
๓ ๒ ๑ ๐
๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒.ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๔. ใฝ่ เรียนรู้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
๖. มุ่งมั่นในการทำงาน
๗.รักความเป็นไทย
๘. มีจิตสาธารณะ
หมายเหตุ คะแนนรวมภาคเรียนได้จากการนำคะแนนแต่ละคุณลักษณะอันพึงประสงค์มารวมกัน แล้วหารด้วย ๘ (คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์)
คะแนนรวม ๘ ค่านิยมไทย = …………………..
คะแนนเฉลี่ย = …………………..

ลงชื่อ……………………………….ผู้ประเมิน
(………………………….……)
…………/…………/………..

แบบสังเกตพฤติกรรมตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อ-นามสกุล…………………………………………………………..…..รหัสประจำ
ตัว……………………………..……………..
ระดับชั้น………………..…….……………………….....แผนกวิชา…………………….………………………………….…………

พฤติกรรมตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สรุปผล หมายเหตุ


ผ่าน ไม่ผ่าน
๑ ๐
หลัก ๑. หลักพอประมาณ ตัวอย่างพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้

๑. ปฏิบัติกิจกรรมได้เหมาะสมตามวัย
ห่วง
๒. วางแผนการสร้างเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับฐานะ
ของตนเอง
๓. ใช้เทคโนโลยีสุขภาพได้เหมาะสมและ
สอดคล้องต่อความต้องการ
๔. ช่วยเหลือผู้อื่นด้านสุขภาพตามกำลังความ
สามารถของตน
๕. อื่นๆ................................................................
๖. อื่นๆ................................................................
๒. หลักเหตุผล ตัวอย่างพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้
๑. ตัดสินใจด้วยตนเองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
และคุณธรรม จริยธรรม
๒. มีหลักเหตุและผลในการสร้างเสริมสุขภาพ
๓. เข้าใจความแตกต่างของสังคมและอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่นได้
๔. ใช้ทรัพยากรในการสร้างเสริมสุขภาพให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
๕. อื่นๆ................................................................
๖. อื่นๆ................................................................
๓. หลักสร้างภูมิคุ้มกัน ตัวอย่างพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้
๑. ดูแลรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเอง
๒. เลือกรับวัฒนธรรมทางสุขภาพที่เหมาะสมกับการ
ดำเนินชีวิต
๓. สามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงในด้าน
ต่างๆ ภายในสังคมได้อย่างมีความสุข
๔. นำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างเสริมสุขภาพ
๕. อื่นๆ................................................................
๖. อื่นๆ................................................................

สรุปผล
พฤติกรรมตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่าน ไม่ผ่าน หมายเหตุ
๑ ๐
๑. เงื่อนไขความรู้ ตัวอย่างพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้
๑. นำความรู้และความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุข
ภาพไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง
๒. มีเจตคติที่ถูกต้องและเหมาะสมในการสร้าง
เสริมสุขภาพ
๓. มีความรู้ในทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิชา
สุขศึกษาอย่างถูกต้อง
๔. มีความรู้และความเข้าใจเรื่อง การใช้จ่ายทาง
สุขภาพ รู้วิธีเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายอย่างถูกต้อง
หลัก ๕. อื่นๆ................................................................

เงื่อนไข ๖. อื่นๆ................................................................
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ตัวอย่างพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้
๑. มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง
๒. ไม่ทุจริตในการสอบ
๓. ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพของสังคมที่ตนอาศัย
อยู่และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานั้น
๔. มีความสุภาพ เรียบร้อย รู้กาลเทศะ
๕. อื่นๆ................................................................
๖. อื่นๆ................................................................
รวมคะแนน

หมายเหตุ : แบบสังเกตนี้สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ โดยข้อที่เว้นไว้ (อื่นๆ) เพื่อให้ผู้สอนสามารถเพิ่มเติมเรื่องที่ต้องการ


ประเมินตามสภาพจริง

เกณฑ์ประเมินการสังเกตพฤติกรรม
๒๖-๓๐ คะแนน = ดีมาก (มีพฤติกรรมที่กำหนดหรือใกล้เคียง ๒๖-๓๐ รายการ)

๒๑-๒๕ คะแนน = ดี (มีพฤติกรรมที่กำหนดหรือใกล้เคียง ๒๑-๒๕ รายการ)

๑๖-๒๐ คะแนน = พอใช้ (มีพฤติกรรมที่กำหนดหรือใกล้เคียง ๑๖-๒๐ รายการ)


๐-๑๕ คะแนน = ปรับปรุง (มีพฤติกรรมที่กำหนดหรือใกล้เคียง ๐-๑๕ รายการ)

ลงชื่อ……………………………….ผู้ประเมิน
(………………………….……)
…………/…………/………..
บันทึกหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................

ลงชื่อ.............................................ผู้สอน

ลงชื่อ......................................ผู้นิเทศ
ตำแหน่ง..................................
หมายเหตุ
แบบฟอร์มอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความคิดเห็นของแต่ละโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนที่เข้าสู่
โรงเรียนมาตรฐานสากล โครงการงานสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนในฝัน
โรงเรียนต้นแบบต่างๆ อาจมีการประเมิน หรือตัวชี้วัดอื่นๆ ที่โรงเรียนกำหนด นำเข้ามาใช้ในเรื่องของ
การบูรณาการในการสอนแต่ละเรื่องแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องได้

You might also like