You are on page 1of 21

ชีวประวัติของ แมกซิม กอรกี้ (Maxim Gorky)

นักประพันธผูยิ่งใหญชาวรัสเซียผูนี้ ผูไดชื่อวาเปนคนริเริ่มวรรณกรรมประเภท “สัจจสังคมนิยม”


(Socialist Realism)1 เกิดในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ.18682 ณ ริมฝงแมน้ําโวลกา(Volga)3 ที่เมืองนิชนินอฟกอรอด
(Nizhny Novgorod) 4 จักรวรรดิรัสเซีย(Russian Empire)5 ในครอบครัวที่ยากจน มีชื่อจริงวา อเลกไซ แมกซิมโน
วิช เพชคอฟ(Aleksei Maksimovich Peshkov)6 เขาไดกลายเปนเด็กกําพราตอนอายุ 11 ขวบ จึงไดไปอาศัยอยู
กับญาติ ที่มักจะขมเหงรังแกเขาอยูเสมอ แตในขณะเดียวกันเขาก็ไดพบกับความโชคดีคือยายของเขา อกูลินา อิ
วานอฟนา ผูซึ่งคอยคุมครองปกปองเขา ซึ่งมักจะเลานิทานใหเขาฟงอยูเสมอ มีผลใหเขาเชื่อวาในโลกนี้ยังมี
ความหวังอยู7 และการคนพบการอานหนังสือ8 โดยหนังสือที่เขาไดมาเลมแรกๆคือหนังสือของแฮนส คริสเตียน
แอนเดอรสัน (Hans Christian Andersen)และเขาโชคดีที่ไดพบหนังสือของนักประพันธชาวฝรั่งเศสสองทานคือ
บัลซัคและโฟลแบร9 และในชวงอายุ 10 ขวบหลังจากที่แมเขาเสียชีวิตนั้นเขาตองทํางานหาเลี้ยงชีพดวยตนเอง ซึ่ง
ทํางานตางๆเชน ลูกจางในรานทํารองเทา ลูกจางในคณะละคร เปนคนดักนก เปนตน โดยในภายหลังชวงชีวิตใน
วัยเด็กของเขานั้นไดถูกตัวเขานํามาเขียนเปนนิยายเรื่อง วัยเยาวของขาพเจา( My Childhood)
ตอมาเมื่อเขาไดอายุ 15 ปก็ไดออกเดินทางไปยังนครกาซาน(Kazan)10 เนื่องจากมีคนแนะนําใหเขาไป
ศึ ก ษาต อ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ในเมื อ งนี้ แต เ ขาก็ ไ ม ไ ด เ รี ย นตามที่ เ ขาคาดหวั ง ซึ่ ง เห็ น ได จ ากข อ ความที่ รํ า ลึ ก ถึ ง
ความหลังของเขาที่วา “ถามีผูหนึ่งผูใดเสนอตอขาพเจาวา “จงไปเลาเรียน แตมีเงื่อนไขอยูวาเจาตองยอมใหโบยตอ
หนาสาธารณชน ณ สนามจัตุรัสนิโคลาเยฟสกีทุกๆ วันอาทิตย” 11 เขาก็ยอมเพื่อที่จะไดเรียน ซึ่งไมเปนไปตามที่

1
http://en.wikipedia.org/wiki/Maxim_Gorky
2
เปนการนับวันที่แบบปฏิทินแผนใหม(เกรกอเรียน) ถาเปนการนับวันที่โดยใชปฏิทินแผนเกา(จูเลียน)ที่ใชในรัศเซีย จนถึงป ค.ศ.1918
นั้นจะเปนวันที่ 15 มีนาคมแทน
3
เปนแมน้ําสายสําคัญของรัสเซีย ไหลผานทางตะวันตกของรัสเซีย เปนแมน้ําสายที่ยาวที่สุดของทวีปยุโรป
4
เปลี่ยนชื่อเปน กอรกี้(Gorky)ในชวงป ค.ศ. 1932-1990 เพื่อเปนเกียรติแกตัวเกอรกี้กอ นกลับไปใชชื่อเดิม ใน ปค.ศ.1991 เปนเมือง
ใหญอันดับที่ 4 ของรัสเซีย อยูติดแมนา้ํ โวลกา
5
ตอนนั้นเปนการปกครองโดยราชวงศโรมานอฟ มีซารที่มีอาํ นาจอัตตาธิปไตยเปนประมุขของประเทศ
6
เปนชื่อจริงที่พอแมของเขา ตั้งให สวนนามปากกาของเขาไดนํามาจากชือ่ ของบิดาของเขา แมกซิม ซัมฟาติวิช ที่เขาเห็นวาเปนคนที่วิเศษ
คนหนึ่ง
7
อเล็กซานเดอร, รอสคิน จากลุมแมน้ําโวลกา:ชีวประวัติของแมกซิม กอรกี้ แปลโดย อรุณ ชัยโรจน (พิมพครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เจริญ
วิทยการพิมพ, 2517)หนา 8-18
8
อางแลว หนา 29-30
9
อางแลว หนา 29-30,32
10
เปนศูนยกลางอํานาจของพวกมองโกลในรัสเซีย ชวงศตวรรษที่13-14 เปนสถานที่ที่ขาน(Khan) อาศัยอยู อยูติดแมน้ําโวลกา
ปจจุบันเปนเมืองหลวงของตาตารสถาน(Tatarstan)
11
อเล็กซานเดอร, รอสคิน จากลุมแมน้ําโวลกา:ชีวประวัติของแมกซิม กอรกี้ แปลโดย อรุณ ชัยโรจน (พิมพครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เจริญ
วิทยการพิมพ, 2517)หนา 41-42
เขาหวังไว แตเขากลับ ไดไปเลาเรียนสิ่งตางๆจากในโรงงาน หองใตถุนตึกที่ชานนครซึ่งเคยอาศั ยอยู ทาเรือ
สมาคมการเมืองใตดินและการไดคลุกคลีกับพวกนักศึกษา กุย ตํารวจและพวกปฏิวัติแทน
และตอมาในเดือนธันวาคม ป ค.ศ. 1887 เขาก็ไดตัดสินใจฆาตัวตายเนื่องจากรูขาวที่ยายผูเปนที่รักยิ่ง
ของเขาไดเสียชีวิตลง แตก็รอดตาย โดยหลังจากรอดตายนั้นเขาไดรับกําลังใจจากเพื่อนๆของเขา ทําใหเขามีพลัง
ที่จะมีชีวิตตอเนื่องจาก “อาการปวดฟนในหัวใจ”ไดผานพนไปแลว12 และในขณะที่ทํางานอยูในโรงงานขนมปง
ไดไปเจอกับมิคไฮล อันโตโนวิช โรมาส13 ที่ทําใหเขาไดอานหนังสือตางๆมากมายไมวาจะเปนเรื่องเจา(The
Prince) ของ นิโคโล แมคคิเวลลี(Niccolo Machiavelli) หรือลีเวียธาน(Leviathan) ของ โทมัส ฮอบส(Thomas
Hobbes)14 แตตอมาทรัพยสินของโรมาสถูกคนในทองถิ่นทําลาย กอรกี้จึงตองออกเดินทางอีกครั้ง ซึ่งชีวิต
ในชวงนี้เขาไดนํามาเขียนเปน เรื่องมหาวิทยาลัยของฉัน (My Universities)
โดยเขาได เ ดิ น เท า ทั่ ว จั ก รวรรดิ รั ส เซี ย เป น เวลา 5 ป ก อ นที่ จ ะหยุ ด พั ก ชั่ ว คราวที่ เ มื อ งคอเคซั ส ใน
แควนทิฟฟลิส ณ ที่นี้ที่เขาไดเขียนหนังสือเปนครั้งแรกภายใตการชักชวนของอเล็กซานเดอร เมโฟดิวิช คาลูชนีซึ่ง
เปนสมาชิกขององคกรลับ “นารอดนายา โฟลยา” (Narodnaya Volya)15 และไดรับการตีพิมพเปนครั้งแรกในเดือน
กันยายน ค.ศ. 1892 ภายใตนามปากกา “แมกซิม กอรกี้” ที่มีความหมายวา “แมกซิมผูระทมขมขื่น” โดยเรื่องแรกที่
ไดรับการตีพิมพเปนเรื่องนิยายปรัมปราที่เขาไดฟงจากยิปซีชราผูหนึ่งในแคมปชาวยิปซี16
หลังจากนั้นเขาก็เดินทางกลับบานเกิดและก็แตงงานกับ ออลกา ไดทํางานในสํานักทนายความและใน
ขณะเดียวกันก็เขียนหนังสือดวย และไดพบกับโคโรเลนโคนักเขียนเอกในยุคนั้น และโคโรเลนโคก็ใหคําแนะนํา
ที่สําคัญแกเขาวา “อยาปลอยใหบทประพันธลองลอยไปกับประโยคที่ไพเราะเสนาะโสต ใหประหยัดในการใช
ถอยคํา และอยาสรรเสริญเยินยอคนจนเลอเลิศเกินไป”17 หลังจากนั้นเขาก็ไดหยากับภรรยาผูชมชอบการใชชีวิตที่
ฟุมเฟอย และเดินทางไปยังเมืองซามารา
ณ เมือ งแหงนี้เขาได เริ่ม ตนชี วิ ตการเปนนักเขีย น โดยใชนามปากกาวา “เยกุดิล ขลามิดา”(Yegudil
Khlamida) โดยเขียนเรื่องเบ็ดเตล็ดทั่วไป ในหนังสือพิมพทองถิ่น ซามารสกา ยา กาเซตา โดยแรงบันดาลใจของ
เขาไมไดมาจากการศึกษาวรรณคดีเพียงอยางเดียว แตยังไดมาจากสามัญชนคนทั่วไปอีกดวย ซึ่งเขาเห็นวาเปนแรง
บันดาลใจที่ยิ่งใหญและเขายังเห็นวาจุดมุงหมายของวรรณคดีที่ดีมีมากกวาการสรางความพึงพอใจใหแกผูที่อาน
แตยังตองชวยปลุกเราดวงจิตผูอานใหตื่นขึ้นสูความรูสึกใหมๆ18

12
อเล็กซานเดอร, รอสคิน จากลุมแมน้ําโวลกา:ชีวประวัติของแมกซิม กอรกี้ แปลโดย อรุณ ชัยโรจน(พิมพครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เจริญ
วิทยการพิมพ, 2517)หนา 67
13
เปนชื่อที่ใชในหมูบ านที่เขาอาศัยอยู สวนตัวกอรกี้เองนั้นจะเรียกเขาวา โกกอล
14
แมกซิม กอรก,ี้ มหาวิทยาลัยของฉัน แปลโดยชาลีมาน-คําเพลิง (กรุงเทพฯ:เจริญวิทยการพิมพ 2518) หนา 180
15
หรือมีอีกชือ่ หนึ่งวากลุมเจตจํานงประชาชน (People’s Will) เปนกลุมที่สนับสนุนการใชการกอการรายและใชความรุนอรงใน
การตอตานพระเจาซาร เปนหนึ่งในองคกรสังคมนิยมในปลายศตวรรษที่ 19
16
อเล็กซานเดอร, รอสคิน จากลุมแมน้ําโวลกา:ชีวประวัติของแมกซิม กอรกี้ แปลโดย อรุณ ชัยโรจน(พิมพครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เจริญ
วิทยการพิมพ, 2517) หนา 119
17
อางแลว หนา 125
18
แมกซิม กอรกี้ , แม แปลโดย ศรีบรู พา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 15
ตอมากอรกี้ก็ไดกลับไปบานเกิดเพื่อเขียนในหนังสือพิมพในทองถิ่นตามคําเชิญชองหนังสือพิมพนิชนิ
นอฟกอรอดสกี้ ลิสตอค และเขาก็ไดวิจารณสังคมรัสเซียผานทางบทความของเขา ที่เขียนถึงงานแสดงสินคา
อุตสาหกรรม โดยไดแสดงทัศนะที่เกี่ยวกับงานนี้ในแงของชีวิตอันตกต่ําของผูที่ผลิตสิ่งเหลานี้ไมไดเขียนถึงความ
เกรียงไกรหรือเอิกเกริกเกรียวกราวของงาน

ตอมาเขาก็รวบรวมขอเขียนของเขาเปนหนังสือเลมหนึ่งที่ขายดีมาก เนื่องจากเปนหนังสือเลมแรกที่เขียน
ถึงชีวิตของผูคนที่อยูตามสภาพแวดลอมอันเลวราย และใหเห็นถึงสภาพแวดลอมอันโหดรายของชาวรัสเซีย และ
เขากลาพูดวาตนตอของปญหาทั้งหมดมาจากการปกครองของ พระเจาซาร 19 และหนังสือเลมนี้ก็ทําใหชื่อของเขา
ยิ่งใหญเทียบเทา ลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) และ แอนตัน เชคอฟ (Anton Chekhov)
แตในขณะเดียวกันขอความของกอรกี้ก็สรางความกลัวใหแกรัฐบาลของพระเจาซาร มีการสงคนสอด
แนมตลอดเวลา และในชวงเวลานั้นเขาก็มีความสนิทสนมกับชาเลียปน20 เปนพิเศษ แตทางเดินของคนทั้งสอง
ตางกัน กอรกี้ทํางานเพื่อรับใชกรรมกร สวนชาเลียปนรับใชกลุมคนชั้นสูง โดยในงานฉลองเพื่อเปนเกียรติแก
ชาเลียปนในป ค.ศ.1902 เขาไดกลาวเตือนชาเลียปนใหมารับใชคนที่ถูกเอาเปรียบ เหลาผูใชแรงงานที่ถูกกดขี่ แต
ชาเลียปนก็ไมเชื่อคําเตือนของกอรกี้
ในป ค.ศ. 1901 กอรกี้ไดถูกรัฐบาลเนรเทศไปที่เมืองอาซารมาส ซึ่งเปนเมืองที่หางไกล เนื่องจากขอหา
กอความไมสงบในบานเมือง โดยกอนที่รถไฟจะออกเดินทางไปยังไครเมียเพื่อใหเขาพักรอนกอนเปนเวลา3 เดือน
กอนที่จะไปยังอาซารมาส ประชาชนที่เดินทางไปสงกอรกี้ไดตระโกนวา “แมกซิม กอรกี้ จงเจริญ ไอพวก
เบียดเบียนประชาชนจงพินาศ”21 โดยในระหวางที่เขาอยูที่ไครเมียและอาซารมาส เขาไดเขียนบทละครที่สําคัญ
2 เรื่องคือ Philistine และ The Lower Depths Of Life
ตอมาในป ค.ศ. 1902 กอรกี้ไดรับเลือกตั้งเปนสมาชิกผูทรงเกียรติสําหรับวิทยาศาสตรบัณฑิตยสถาน ทํา
ใหพระเจาซารนิโคลัสที่ 2 โกรธมาก และก็ลมการเลือกตั้ง ซึ่งก็มีนักเขียนสองคนที่ตอตานการกระทําดังกลาวดวย
การลาออกจากสถาบันแหงนั้นคือ เชคอฟและโคโรเลนโค และในปนี้เขาก็ไดพบกับเลนิน ที่ตอมากลายเปนสหาย
หลั ง จากกอร กี้ ได รั บ การปล อ ยตั ว มาแลว ในปค .ศ.1905เขาได เ ดิ น ทางไปเซนต ปเ ตอร ส เบิ ร ก (St.
Petersburg) ไดไปพบเห็นเหตุการณวันอาทิตยที่ 9 มกราคม22 เขาจึงไดเขียนคําอุทรณ “ตอประชาชนชาวรัสเซีย
และตอสาธารณมติของบางประเทศในทวีปยุโรป”23 ที่บรรยายเหตุการณและตําหนิพระเจาซาร ตอมาอีก 2 วันเขา
ก็ถูกจับอยูในคุกปเตอรแอนปอล ซึ่งเปนคุกสําหรับผูกอการกบฏ

19
แมกซิม กอรกี้ , แม แปลโดย ศรีบรู พา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 17
20
เปนนักรองที่มีชื่อเสียงชาวรัสเซีย ไดรจู ักกับกอรกี้ที่เมืองกาซาน ในขณะที่กอรกี้ทํางานเปนผูชวยคนทําขนมปง สวนชาเลียปนเปนชาง
ทํารองเทา ไดหนีออกจากรัสเซียหลังการปฏิวัติ ป ค.ศ. 1917
21
อเล็กซานเดอร, รอสคิน จากลุมแมน้ําโวลกา:ชีวประวัติของแมกซิม กอรกี้ แปลโดย อรุณ ชัยโรจน(พิมพครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เจริญ
วิทยการพิมพ, 2517) หนา 162
22
เปนการนับโดยใชปฏิทินแบบเกา ถานับวันที่โดยใชปฏิทินแบบใหมจะเปนวันที่ 24 มกราคมแทน และวันนี้มักจะถูกเรียกในอีกชื่อ
หนึ่งวาวันอาทิตยนองเลือด (Bloody Sunday)
23
แมกซิม กอรกี้ , แม แปลโดย ศรีบรู พา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 27
ตอมาเมื่อไดรับการปลอยตัวเนื่องจากรัฐบาลของพระเจาซารทนแรงกดดันไมไหว และหลังจากที่เขาถูก
ปลอยตัวพรรคบอลเซวิค(Bolshevik) ไดสงตัวเขาไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ณ ที่นี้เขาไดเขียนวรรณกรรมเอก
เรื่องหนึ่งของโลก คือ แม(Mother)
โดยในชวงป ค.ศ. 1906ถึง 1913 เขาไดอาศัยอยูที่เกาะคาปรี ประเทศอิตาลี ในชวงนี้เขาไดเขียนงาน
สนับสนุนพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยของประเทศรัสเซียโดยเฉพาะกลุมของบอลเซวิค
แตในป ค.ศ. 1913 เขาก็ไดเดินทางกลับไปยังรัสเซียอีกครั้งเนื่องจากราชวงศโรมานอฟจังานฉลองครอ
รอบ 300 ปของราชวงศ จึงอนุญาตใหกอรกี้เขาประเทศได แตเขาก็ยังเดินหนาวิจารณสังคมตอไป โดยในชวง
สงครามโลกครั้งที่ 1 เขาไดอาศัยอยูในเปโตรกราด(Petrograd)24 และทํางานเปนทีมงานของพวกบอลเซวิค แต
ความสัมพันธระหวางตัวเขากับแกนนําพรรคคนสําคัญก็แยลง25
โดยเฉพาะหลังชวงปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ.1917 ซึ่งในชวง 2 สัปดาหหลังการปฏิวัตินั้น เขาไดเขียนวา
นั้น “เลนินกับตรอตสกีไมไดมีความคิดใดๆที่เกี่ยวของกับอิสรภาพหรือสิทธิมนุษยชนมากนัก พวกเขาถูกทําให
ฉอฉลดวยความสกปรกของอํานาจ สามารถเห็นไดจากความไมเคารพที่นาอับอายในเรื่องของความมีอิสระในการ
พูดหรือเสรีภาพของพลเมืองอื่นๆสําหรับการตอสูเพื่อประชาธิปไตย”26 หลังจากที่หนังสือพิมพของเขา Novaya
Zhizn (New Life) ไดถูกเซนเซอรโดยพรรคบอลเซวิค
และตอมาเขาก็ไดพิมพหนังสือที่รวบรวมบทวิจารณเกี่ยวกับพรรคบอลเซวิคในชื่อ Untimely Thoughts
ในป ค.ศ.191827 หนังสือเลมนี้เรียกเลนินวาเปนทรราชยเนื่องจากการจับกุมที่ไรเหตุผลและการควบคุมอิสระทาง
ความคิดของเขาและยังเปนนักอนาธิปไตยอันเนื่องมาจากยุทธวิธีแบบสมคบคิด กอรกี้ยังไดเปรียบเทียบเลนินกับ
ซารและเซรเกย เนชาเยฟ (Sergei Nechaev)28 และในป ค.ศ.1919 เลนินไดสงจดหมายถึงกอรกี้ที่มีเนื้อความวา
“นี้คือคําแนะนําของผม(เลนิน)ถึงคุณ(กอรกี้) ,เปลี่ยนสิ่งที่อยูรอบตัวคุณ ,เปลี่ยนมุมมองของคุณ ,เปลี่ยนการ
กระทําของคุณ,หาไมแลวชีวิตคุณจะจบสิ้น”29
ในเดือนสิงหาคม ป ค.ศ. 1921 กอรกี้ไดกลับไปอยูที่อิตาลีอีกครั้ง และตองกลับมาที่รัสเซียอีกครั้งในป
ค.ศ. 1929 เนื่องจากความตองการทางดานวัตถุ ที่อิตาลีเขาไมมีทั้งเงินและชื่อเสียง และการกลับมาครั้งนี้เขาก็ถูก

24
คือเมืองเซนตปเตอรสเบิรก แตเปลี่ยนชือ่ ในป ค.ศ.1914 เพราะเห็นวาชือ่ เดิมมีความเปนเยอรมันซึ่งเปนศัตรูของรัสเซียในตอนนั้นมาก
เกินไป
25
จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Maxim_Gorky แตถาเปนชีวประวัตกิ อรกี้ที่เขียนในสมัยสหภาพโซเวียตแทบไมมีเรือ่ ง
เหลานี้เลย ชีวประวัติในยุคนั้นจะเขียนวากอรกี้เปนเพื่อนที่ดีคนหนึ่งของพรรคบอลเซวิค
26
ถอดความจาก “Lenin and Trotsky don't have any idea about freedom or human rights. They are already
corrupted by the dirty poison of power, this is visible by their shameful disrespect of freedom of speech and all
other civil liberties for which the democracy was fighting." จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Maxim_Gorky
27
หนังสือเลมนี้ไมเคยไดรับการตีพมิ พในรัสเซียจนกระทั่งสมัยสหภาพโซเวียตลมสลาย
28
เปนนักปฏิวัติที่เสนอการใชความรุนแรงเปนแนวทางในการปฏิบัติ ตั้งแตชวงกลางทศวรรษ 1860 แตไมไดรับการยอมรับ แตในชวง
1880แนวคิดนี้ไดรับการยอมรับอยางแพรหลาย โดยเฉพาะกลุม เจตจํานงประชาชน (People’s Will)ที่ยึดถือเปนแนวทางปฏิบัติ
29
ถอดความจาก "My advice to you: change your surroundings, your views, your actions, otherwise life may turn
away from you." จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Maxim_Gorky
ใชเปนเครื่องมือทางการเมืองเชนเขียนถึงคายกักกันแรงงาน (Gulag Camp) ในมุมมองที่เปนบวกซึ่งตางกับมุมมอง
ของยุโรปตะวันตก เนื่องจากไดไปเยี่ยมคาย Solovski ที่ถูกสรางภาพ(Clean Up)เพื่อการนี้โดยเฉพาะ30
โดยในชวงบั้นปลายชีวิตของเขา กอรกี้ไดถูกกักบริเวณอยูที่บานของเขาในกรุงมอสโคว(Moscow) และ
ไดรับหนังสือพิมพปราฟดา (Pravda)31 ที่ไมมีขาวเกี่ยวกับการจับกุมหรือการกวาดลางเลย
ในวันที่ 18 มิถุนายน ป ค.ศ. 1936 กอรกี้ไดเสียชีวิตลงโดยมีผูสงสัยวาเขาอาจถูกวางยาพิษโดยสตาลิน
และพรรคพวกก็ได32 แตกระนั้นก็ตาม วี.เอ็ม.โมโลตอฟ (V.M.Molotov) ไดกลาวในวันชุมนุมระลึกถึงกอรกี้ ณ
จัตุรัสแดง(Red Squard) วา :
“ในการที่อเล็กไซ แมคซิโนวิช กอรกี้ ไดจากไปในวันนี้ เราผูเปนมิตรของเขาและบรรดาผูอานหนังสือ
ของเขา และผู ที่ ย กย อ งเชิ ด ชู ง านของเขาอย า งเหลื อ ที่ จ ะคณนา รู สึ ก ประดุ จ ว า หน า หนั ง สื อ อั น รุ ง โรจน น า
ภาคภูมิใจไดพลิกไปเสียแลวชั่วกัปชั่วกัลป.........”
“หลังจากมรณกรรมของเลนินมาแลว ก็มาถึงมรณกรรมของกอรกี้นี้แหละที่ประเทศเราและมนุษยชาติผู
ตกยากทั้งหลาย ไดศูนยเสียสมบัติอันลนคาอยางหนักที่สุด”33
ในชวงสมัยแหงสหภาพโซเวียต กอรกี้ไดถูกยกยองใหเปนบุคคลที่ควรยึดเปนแบบอยาง(iconic image)
เนื่องจากเขามีภาพของเพื่อนผูซื่อสัตยของพรรคบอลเซวิค นักประพันธผูยิ่งใหญผูที่มาจากสามัญชน และผูกอตั้ง
แนวคิด “สัจจสังคมนิยม” แตในปจจุบันไดมีการตั้งขอสงสัยเกี่ยวกับตัวเขามากขึ้นในหมูปญญาชนไมวาจะเปน
เรื่องมุมองดานศีลธรรมของสังคมรัสเซียสมัยใหมที่ถายทอดผานงานเขียนของเขา และนักประวัติศาสตรบางคน
เริ่มมองกอรกี้ในฐานะของผูสังเกตการณที่มีความตระหนักยิ่งถึงสัญญา(Promise)และความอันตรายทางศีลธรรม
(Moral Danger)ของการปฏิวัติในรัสเซีย34

30
http://en.wikipedia.org/wiki/Maxim_Gorky
31
หนังสือพิมพของพรรคคอมมิวนิสต เปนสื่อที่เปนทางเลือกเพียงไมกี่สือของรัสเซียในยุคสหภาพโซเวียต
32
ในป ค.ศ. 1938 บูคาริน(Bukharin) ไดออกมาพูดวาเห็นกอรืกี้ถกู สายลับ NKVD ของ เจนริกค ยาโกดา(Genrikh
Grigor'evich Yagoda) ฆาตาย จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Maxim_Gorky
33
อเล็กซานเดอร, รอสคิน จากลุมแมน้ําโวลกา:ชีวประวัติของแมกซิม กอรกี้ แปลโดย อรุณ ชัยโรจน(พิมพครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เจริญ
วิทยการพิมพ, 2517)หนา 223-224
34
http://en.wikipedia.org/wiki/Maxim_Gorky
บทวิ เ คราะห ว รรณกรรมของแมกซิ ม กอร กี้ ศึ ก ษาจากเรื่ อ งแม
(Mother)และมหาวิทยาลัยของฉัน(My Universities)

ภูมิหลังทางประวัติศาสตรเรื่องมหาวิทยาลัยของฉัน
ถึงแมวากอรกี้ไดเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาในป ค.ศ.192335 แตเนื้อหาในเรื่องนี้จะอยูในชวงประมาณ ค.ศ.1883-
1888 ซึ่งเปนยุคที่ไดรับผลจากการการปฏิรูปตางๆที่เกิดขึ้นในรัสเซียหลังจากพายแพในสงครามไครเมีย(Crimea
Wars)36 ซึ่งเปนเสมือนเหตุการณที่แสดงถึงความลาหลังของรัสเซีย มีผลใหรัฐบาลพระเจาซารตระหนักในการให
ความสําคั ญ ของการปฏิ รู ป รัส เซีย ใหเ ปนสมัย ใหม(Modernize)37 ไมวา จะเปน ในดา นสั งคมเศรษฐกิจ ระบบ
การเมือง และเทคโนโลยีดานตางๆเปนตน ยังไงก็ตามตามการปฏิรูปในดานตางๆก็ไมสูจะไดผลนัก เนื่องจาก
รัสเซียมีมีการปกครองแบบอัตตาอํามาตยาธิปไตย (Bureaucratized Autocracy) ดังนั้นการปฏิรูปจึงเปนเพียงแค
การเปลี่ยนนโยบายของรัฐมากกวาที่จะเปลี่ยนแปลงกลไกการทํางานของรัฐอยางแทจริง ( This yery fact made
revolution the only method of changing state policy other than catching the tsar’s ear and moving the
38
machinery of state into action from above) และทําไปเพื่อรักษาอํานาจอัตตาธิปไตยของระบบซารเทานั้น
โดยการปฏิ รู ป ที่ สํ า คัญ ในยุ ค นี้ คือ การออกพระราชกฤษฎี ก าปลดปล อ ยทาสติ ด ที่ ดิน (Edict of
Emancipation of Serfs) ในป ค.ศ. 196139 เพื่อกําจัดระบบทาสติดที่ดินที่เปรียบเสมือนกับเครื่องแสดงความลา
หลังของสังคมรัสเซีย แตก็ตองประสบปญหาในระยะแรกเพราะไมไดรับความยินยอมจากพวกเจาที่ดินเทาที่ควร
เพราะเห็นวาตนเองสูญเสียผลประโยชนไป
ซึ่งการที่พระเจาซารตองประนีประนอมในเรื่องของการออกพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีความสําเร็จที่
แทจริงไมมากนัก เนื่องจากมีขั้นตอนในการที่ปลดแอกตนเองของทาสติดที่ดินจากพวกเจาที่ดินคอนขางยาก40 ทํา
ใหทาสติดที่ดินบางคนที่มีฐานะยากจนหมดอิสรภาพในการยายที่ทํากินและจําตองประกอบอาชีพในที่ดินของเจา
ที่ดินคนเดิมตอไป41 ดังนั้นผูที่ไดรับประโยชนจากพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้กลับเปนชนชั้นเจาที่ดินแทน แต
อยางไรก็ตามพวกทาสที่ดินที่ถูกปลดปลอยเปนอิสระเหลานี้ ไดกลายเปนชาวนาอิสระบาง ชาวนาที่ตองเชาที่ดิน
บาง และสวนหนึ่งก็ไปเปนกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในรัสเซีย ซึ่งตอมากรรมกรเหลานี้ก็เปน
กําลังสําคัญในการโคนลมระบบซาร

35
http://en.wikipedia.org/wiki/Maxim_Gorky
36
เกิดในชวงปค.ศ.1853-1856 มีผลใหรัสเซียตองปฏิรูปประเทศขนานใหญ
37
Hobsbawm, Eric John Ernest, The age of empire, 1875-1914 (New York : Vintage, 1987.)
p 292
38
Ibid p 292
39
เกิดขึ้นในสมัยซารอเล็กซานเดอรที่ 2 ดังนั้นพระองคจึงไดรับฉายาวาผูปลดปลอย (Alexander 2 ,The Liberator)
40
หรือถาจะพูดในภาษานักเศรษฐศาสตรก็คือมีตนทุนในการปลดแอกคอนขางสูง
41
อนันตชัย เลาหะพันธุ, สัญชัย สุวังบุตร , รัสเซียสมัยซารและสังคมนิยม (กรุงเทพ ฯ: ศักดิโสภาการพิมพ, 2548) หนา 189
และเป น ยุ ค ที่ สื บ ต อ มาจากช ว งที่ แ นวคิ ด นารอดนิ ก (Narodniks)หรื อ รั ส เซี ย ปอปปู ลิ ส ต (Russian
Populism) เริ่มเปลี่ยนฐานการจัดตั้งแนวคิดสังคมนิยมในหมูไปเปนไปหมูกรรมกรแทนชาวนา ซึ่งเปนผลมาจาก
ความลมเหลวของเหตุการณฤดูรอนที่บาคลั่ง(Mad Summer Days) ในป ค.ศ. 197442และเห็นวากรรมกรสามารถ
ยอมรับแนวความคิดสังคมนิยมไดดีกวาและยังมีกําลังเพิ่มมากขึ้นควบคูกับการขยายตัวของอุตสาหกรรม43 ทําให
เกิดกลุมที่ดินและเสรีภาพ(Land And Freedom) ที่มีกลุมนารอดนายา โฟลยา (Narodnaya Volya) ซึ่งเปนกลุมที่
นิยมใชความรุนแรงเปนแนวทางในการปฏิวัติมีบทบาทมากขึ้น แตในขณะเดียวกันก็มีกลุมที่เห็นวาใหใชแนวทาง
สันติวิ ธีดวยการจั ดตั้ ง ความคิ ดทางการเมื อ งแกชาวนาและกรรมกรอยา งคอ ยเปน คอ ยไป ซึ่ง กลุม นี้คื อกลุ ม
แบงแยกดํา ( Black Partition) หรือ เชียรนี เปเรดยาล (Cherny Peredyal) และเปนชวงที่ปญญาชนรัสเซียมีการ
ถกเถียงกันทางดานเศรษฐกิจและการเมืองเพื่อใหบรรลุในแนวมางของการปฏิวัติ
แตขณะเดียวกันในชวงเวลานี้(ค.ศ.1883-1888)ก็มีการควบคุมกลุมนักปฏิวัติตางๆอยางเขมงวดอันเปน
ผลมาจากการลอบสังหารพระเจาซารอเล็กซานเดอรที่ 2 ในป ค.ศ.1981 โดยกลุม นารอดนายา โฟลยา (Narodnaya
Volya) มีผลใหรัสเซียไดกลับสูระบบปฏิกิริยาจัดอีกครั้งเมื่อซารพระองคใหมคือ อะเล็กซานเดอรที่ 3 (Alexader 3,
ค.ศ. 1881-1894) ที่ตอตานการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปทุกรูปแบบ ทําใหเกิดการกวาดลางกลุมปฏิวัติตองหยุดนิ่ง
มีผลใหการปฏิวัติตองปรับเปลี่ยนยุทธวิธีที่มีความประนีประนอมมากขึ้น แตในขณะเดียวกัน เกออรกี
เปลฮานอฟ(Greogi Plekhanov)44ที่หนีไปอยูที่นครเจนีวา สวิตเซอรแลนด และเขาก็ไดศึกษาแนวความคิดลัทธิ
มากซ และไดเผยแพรแนวความคิดมากซสูรัสเซียผานทางการแปลเปนภาษารัสเซีย รวมถึงเปลฮานอฟยัง
ชี้ใหเห็นวารัสเซียไดเขาสูระบบทุนนิยมแลว และชนชั้นคนงานกําลังเติบโตขึ้นอีกไมชาการปฏิวัติตองเกิดขึ้น45แต
จากเรื่องมหาวิทยาลัยของฉันยังเห็นไดวาประชาชนในชนบทยังมีความศรัทธาในตัวซารอยู และชนชั้นแรงงานยัง
ไมมีความกระตือรือรนในการปกปองสิทธิของตนเอง
ดังนั้นแนวคิดลัทธิมากซเปนรัสเซียจึงเริ่มมีบทบาทสําคัญในขบวนการปฏิวัติรัสเซีย สวนแนวคิดนารอด
นิกก็ลดบทบาทลงไป ซึ่งก็มีอิทธิพลใหแนวทางการปฏิวัติในชวงนั้นคือการปลุกจิตสํานึกทางการเมืองแกกรรมกร
และยึดแนวทางมากซเปนแนวทางในการปฏิวัติ แตในเรื่องมหาวิทยาลัยของฉันแนวคิดนารอดนิกก็ยังแพรหลาย
อยูเห็นไดจากปญญาชนที่กอรกี้เจออยูในกลุมนี้
ถาจะกลาวโดยสรุปก็คือชวงเวลาประวัติศาสตรที่กอรกี้เผชิญในเรื่องมหาวิทยาลัยของฉันเปนชวงที่
ป ญ ญาชนรั ส เซี ย มี ก ารเปลี่ ย นผ า นทางความคิ ด และแนวทางการปฏิ บั ติ ง าน เป น ช ว งที่ รั ส เซี ย กํ า ลั ง เข า สู ยุ ค
“เปลี่ยนเปนอุตสาหกรรม” (Industrialization) และเปนชวงเริ่มตนของแนวคิดมากซที่จะมีอิทธิพลอยางใหญใน
รัสเซีย และเปนชวงที่รัสเซียกลับไปเปนระบบอัตตาธิปไตยที่มีการรวมอํานาจสูงโดยซารอีกครั้ง46
และถามาดูปจจัยในดานประวัติศาสตรในปที่กอรกี้เขียนหนังสือเลมนี้( ค.ศ. 1923)จะพบวา ชวงเวลานั้น
เปนยุคทองของงานประพันธในประเภทเรื่องสั้นและนวนิยาย ซึ่งเปนผลมาจากการใชนโยบายเศรษฐกิจแผนใหม

42
เปนการลงไปอยูกบั ชาวนาของพวกปญญาชนเพื่อที่จะปลูกฝงแนวคิดสังคมนิยมและโคนลมระบบซาร แตก็ไมไดผลเพราะชาวนาสวน
ใหญยังนับถือซารอยู และยังไมไวใจพวกปญญาชนมากนัก และยังยึดมั่นในจารีตประเพณีเดิมอยู
43
อนันตชัย เลาหะพันธุ, สัญชัย สุวังบุตร , รัสเซียสมัยซารและสังคมนิยม (กรุงเทพ ฯ: ศักดิโสภาการพิมพ, 2548) หนา 198
44
อดีตแกนนํากลุมแบงแยกดํา ไดรับการยกยองวาเปนบิดาของลัทธิมากซแหงรัสเซีย
45
อนันตชัย เลาหะพันธุ, สัญชัย สุวังบุตร , รัสเซียสมัยซารและสังคมนิยม (กรุงเทพ ฯ: ศักดิโสภาการพิมพ, 2548) หนา 202
46
หลังจากที่ลดลงไปในสมัยพระเจาซารอเล็กซานเดอรที่ 2
(NEP)47ที่มีผลใหสภาพเศรษฐกิจดีขึ้น ความตองการในการอานวรรณกรรมก็สูงขึ้นดวย และมีเสรีภาพทางความ
คิดเห็นและการแสดงออกมากขึ้น ซึ่งถือเปนการผอนปรนการควบคุมของพรรคคอมมิวนิสตดานศิลปวัฒนธรรม48
และในชวงหลังการปฏิวัติเปนตนมา มีการกําเนิดและเพิ่มขึ้นของบทบาทของศิลปวัฒนธรรมแนวใหม
ที่ถูกเรียกในภายหลังวา “สัจจสังคมนิยม” (Socialist Realism) ที่มีจุดมุงหมายเพื่อลดชองวางระหวางประชาชน
กับนักปฏิวัติ เปนอาวุธทางวัฒนธรรม โดยหนาที่หลักของศิลปวัฒนธรรมแนวนี้คือ สะทอนภารกิจของการตอสู
ทางประวัติศาสตรเพื่อกาวไปสูสังคมนิยมและเปนอาวุธของการตอสูทางชนชั้นตลอดจนเปนการปลุกระดม
โฆษณาทางการเมืองอีกดวย49
และยังมีแรงผลักดันจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ(Norkompros) ที่ตองการใชวรรณกรรมเปน
สิ่งถายทอดความเขาใจทางการเมืองและใหดารศึกษาเรื่องสังคมนิยมแกประชาชน50 รวมไปถึงคําขวัญของการ
สรางงานศิลปะปฏิวัติในยุคนั้นคือ “ศิลปะในทองถนน” (Art Into The Street) และ “ศิลปะเปนของประชาชน”
(Art Belongs To The People)51 โดยมีจุดประสงคเพื่อใหศิลปะไดเขาถึงคนทุกชนชั้น
รวมไปถึงในตอนนั้นรัฐบาลโซเวียตมีความพยายามผลักดันความไมรูหนังสือ(illiteracy)และปลูกฝง
อุดมการณคอมมิวนิสตใหแกประชาชน
ดังนั้นจึงอาจสรุปไดวาวรรณกรรมเรื่อง มหาวิทยาลัยของฉัน ไดรับอิทธิพลจากปจจัยทางประวัติศาสตร
ถึง 2 ชวงดวยกัน โดยชวงแรกคือในชวง ทศวรรษ 1880 และชวงที่สองคือ ชวงหลังการปฏิวัติในเดือนตุลาคม ค.ศ.
1917 ที่มีผลใหวรรณกรรมเรื่องนี้ถูกเสนอออกมาเพื่อแสดงใหเห็นถึงสภาพสังคมที่เลวรายภายใตการปกครองของ
ระบบซารและบงบอกถึงประวัติศาสตรในการปฏิวัติผานทางบันทึกประสบการณชีวิตของตัวกอรกี้เอง ซึ่งตรงกับ
แนวคิด “สัจจสังคมนิยม”ที่กําลังแพรหลายในตอนนั้นอยูพอดี

ภูมิหลังทางประวัติศาสตรเรื่องแม(Mother)
กอรกี้เขียนเรื่องนี้ขึ้นในป ค.ศ. 1907 ซึ่งตอนนั้นบทบาททางการเมืองของชนชั้นแรงงานมีมาก

47
New Economic Policy เปนการใชนโยบายเศรษฐกิจที่ใหกลไกตลาดมีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรมากขึ้น แตสุดทายก็
ลมเหลวอันเปนผลมาจากความตางกันระหวางสินคาเกษตรกับสินคาอุตสาหกรรมมีมากเกินไป ซึ่งเรียกเหตุการณนี้วา วิกฤตการณกรรไกร
48
อนันตชัย เลาหะพันธุ, สัญชัย สุวังบุตร , รัสเซียสมัยซารและสังคมนิยม (กรุงเทพ ฯ: ศักดิโสภาการพิมพ, 2548) หนา 329
49
อางแลว หนา335-336
50
อางแลว หนา336
51
อางแลว หนา 338
ขึ้นเนื่องจากประเทศมีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น และแนวคิดมากซมีอิทธิพลอยางสูงในรัสเซีย และ
ความเคารพในสถาบันซารของกรรมกรก็ลดลงสืบเนื่องมาจากเหตุการณวันอาทิตยนองเลือดในป ค.ศ.190552
โดยอิทธิพลของลัทธิมากซเขาสูรัสเซียไดโดยวารสารใตดินอิสครา(Iskra)ที่เปนเคื่องมือปลุกระดมทาง
ความคิด ที่ เปน เครื่องมื อ ที่ เลนิ นผูนําลั ท ธิ มากซน อกประเทศจัดทําขึ้นมาเพื่ อ เปน เครื่องมือในการจัดตั้งทาง
การเมือง ที่จัดทํากันตั้งแต ปค.ศ.1900 และสวนสําคัญอีกอยางหนึ่งคือ.การทําหนาที่ของผูแทนอิสครา(Iskra
Agent) ที่ปฏิบัติงานในประเทศ เพื่อประสานงานกับองคกรทองถิ่นและผลักดันจัดตั้งองคกรทางการเมืองของ
มวลชนในเขตที่ยังไมมีการจัดตั้ง รวมทั้งพยายามประสานงานการเลื่อนไหวกับองคกรลัทธิมากซตางๆใหเปน
เอกภาพ53 และการปฏิวัติ ค.ศ.1905 ยังมีสวนชวยใหบทบาทและพลังสําคัญของกรรมกรในการกอการปฏิวัติ และ
ยังมีการจัดตั้งสภาคนงานหรือโซเวียตผูแทนกรรมกร( Soviet of Workers’ Depuries)ซึ่งองคกรนี้จะเปนกําลัง
สําคัญในการปฏิวัติดวยพลังจากประชาชน ในอีกไมกี่ปขางหนา
และผลจากการปฏิวัติ ค.ศ.1905มีผลใหรัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองเปนแบบระบอบกษัตริยภายใต
ระบอบรัฐธรรมนูญ โดยมีการตั้งสภาดูมา(Duma)54 ซึ่งทําใหกลุมเสรีนิยมพอใจและยุติการเคลื่อนไหว แตสภาโซ
เวียต(ที่เปนตัวแทนของกลุมแรงงาน)ที่ไมพอใจเพราะเห็นวารัฐบาลใชนโยบายตบตาประชาชน โดยจะเห็นไดวา
ซารยังทรงมีพระราชอํานาจเหนือฝายนิติบัญญัติอยู ยังไมยอมสละพระราชอํานาจอยางแทจริง ดังจะเห็นไดจาก
การที่ซารมีอํานาจในการเรียกประชุมสภาและยุบสภา ตลอดจนคัดคานกฎหมายที่ไมเห็นดวย
แตการประชุมสภาดูมาที่ลมเหลวในป ค.ศ.1906 มีผลใหซารนิโคลัสที่2 แตงตั้งปเตอร สโตลิปน (Peter
Stolypin) ที่มีชื่อเสียงดานการบริหารและปราบปรามประชาชนเปนอัครเสนาบดีคนใหม โดยปลงานที่สําคัญของ
เขาคือการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งมีผลใหชาวนาเปนอิสระจากหนี้สินและขอผูกมัดของรัฐอันเนื่องจากพระราชกฤษฎีกา
ปลดปลอยทาสติดที่ดิน ค.ศ.1861 ซี่งมีผลใหพวกชาวนารวยหรือพวกกูลัค(kulak)มีจํานวนมากขึ้น และสโตลิปน
ก็หวังวากลุมชาวนารวยจะเปนฐานพลังทางการเมืองแกซาร แตชาวนาจนซึ่งตองขายที่ดินของตนเองใหแกพวก
ชาวนารวยนั้นตองกลายเปนแรงงานรับจางในที่ดินของชาวนารวยหรือเปนกรรมกรในเมือง ทําใหเกิดความไม
พอใจในการดําเนินนโยบายของรัฐบาลสูงขึ้น และในปค.ศ.1907มีการกวาดลางองคกรปฏิวัติ จนองคกรเหลานี้
ตองวิธีการเคลื่อนไหวกบดานสูใตดินเพื่อรักษาองคกรและผูนําองคกรก็ลี้ภัยไปอยูในตางประเทศ เนื่องจาก

52
มีสาเหตุมาจากสงครามรัสเซีย-ญี่ปุน(Russo-Japanese Wars ค.ศ.1904-1905)มีผลทําใหเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา กรรมกรใน
กรุงเซนตปเตอรสเบิรกจึงออกมาประทวง แลวพระเจาซารทรงใชความรุนแรงในการสลายการชุมนุม ทําใหประชาชนรัสเซียหมดความ
ศรัทธาในพระเจาซาร
53
อนันตชัย เลาหะพันธุ, สัญชัย สุวังบุตร , รัสเซียสมัยซารและสังคมนิยม (กรุงเทพ ฯ: ศักดิโสภาการพิมพ, 2548) หนา 243
54
ประกอบดวยสองสภา คือ สภาสูง(State Council) ซึ่งสมาชิกตรึ่งหนึ่งมาจากการแตงตั้งของซารและอีกครึ่งหนึ่งกลุมตางๆเปนผู
เลือก และสภาลาง(State Duma)หรือสภาผูแทนราษฎรที่สามชิกมาจากการเลือกตั้งประกอบดวยผูแทนประชาชน 6 กลุม คือ
กลุมผูแทนชาวนา พอคานักธุรกิจ เจาที่ดนิ ชาวเมือง พระและกรรมกร โดยมีวาระการตํารงตําแหนง 5 ป โดยพรรคการเมืองที่สําคัญคือ
พรรคคาเดตส(Kadets) หรือพรรคประชาธิปไตยภายใตรัฐธรรมนูญ(Constitutional Democrats)และพรรคตุลาคม(Octobrist)
หรือพรรคสหภาพ 17 ตุลาคม (Union of 17 October Party) ซึ่งทั้งสองพรรคเปนพรรคอนุรักษเสรีนิยมที่สนับสนุนการปกครองแบบ
กษัตริยภ ายใตรัฐธรรมนูญและรักษาผลประโยชนของเจาที่ดินและนายทุนใหญ สวนพรรคฝายซายคือพรรคแรงงานสังคมนิยม
ประชาธิปไตยรัสเซีย(Socialist Revolutionary Party)
ดังนั้นประวัติศาสตรในชวงนี้อาจกลาวสรุปไดวา เปนชวงที่แสดงใหเห็นวาชนชั้นกลางของรัสเซียไม
สามารถเปนพลังในการปฏิวัติได มีแตชนชั้นแรงงานเทานั้นที่สามารถกระทําไดสําเร็จ ดังนั้นวรรณกรรมเรื่อง
“แม"”จึงถูกแตงขึ้นมาเพื่อเรียกรองใหชนชั้นแรงงานทําการปฏิวัติ
ดังบทบันทึกเรื่องจาก....ความทรงจําและเรื่องราวของเลนิน ของ แมกซิม กอรกี้ ที่เนื้อความวา
“...หลังจากนั้นก็เริ่ม สนทนากับ ขาพเจาเกี่ยวกับ ขอบกพรองในหนังสือ ของขาพเจาเรื่อ ง “แม” ซึ่ ง
ขาพเจาทราบวา ทานไดอานตนฉบับของขาพเจาแลว ขาพเจาไดเรียนใหทานทราบวา ขาพเจาเขียนเรื่องนี้ขึ้นอยาง
รีบดวน ขาพเจายังมิทันไดชี้แจงเหตุผลแหงความรีบดวนนั้นโดยตลอด เลนินก็สั่นศีรษะประจักษแจงในเหตุผลที่
ขาพเจาตองเขียนอยางรีบดวนโดยตลอดแลว เพราะวาหนังสือเลมนี้มีความจําเปนเชนเดียวกับกรรมกรตางๆที่เขา
รวมในขบวนการปฏิวัตินั่นเอง การอานหนังสือเลมนี้ใหประโยชนอยางเหลือหลาย แมจะไมเขาใจเรื่องอื่นๆอยาง
ถองแท เลนินไดใหคําเชยชมเพียงอยางเดียววา “หนังสือเลมนี้มีคุณคามาก” คําชมเชยนี้แมจะสั้น แตก็เปนคําชม
ที่มีคายิ่ง”55
ดังนั้นอาจกลาวไดวาเงื่อนไขทางดานการเมืองภายในประเทศรัสเซียหลังการปฏิวัติในป ค.ศ.1905 มีผล
ทําใหวรรณกรรมเรื่องนี้ถือกําเนิดขึ้นมา แตขาพเจาก็ไปเจอปจจัยภายนอกรัสเซียในชวงนั้นที่อาจจะสงผลตอแรง
บันดาลใจของกอรกี้ในการแตงวรรณกรรมเรื่องนี้
และสุดทายผมก็ไดพบขอมูลชุดหนึ่งที่นาสนใจคือการมีสวนรวมทางการเมืองที่มากขึ้นของผูหญิงใน
ยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาที่เห็นโอกาสในการเริ่มตนการเคลื่อนไหวของตนเองจากการเคลื่อนไหวของ
กลุมสังคมนิยม56 โดยในเยอรมันจะพบวาสมาชิกผูหญิงของพรรคสังคมนิยมมีมากขึ้นหลังป ค.ศ.1905 ซึ่งสวน
ใหญมักจะเปนภรรยา ,ลูกสาว หรือแม(ที่ปรากฏในนิยายเรื่องนี้ของกอรกี้)ของสมาชิกพรรคผูชาย แตอยางไรก็
ตามผูหญิงก็ยังไมไดรับสิทธิในการเลือกตั้ง ซึ่งถือไดวาเปนดัชนีที่วัดการมีสวนรวมทางการเมืองที่สําคัญ57

บทวิเคราะหวรรณกรรมเรื่องมหาวิทยาลัยของฉัน (My Universities)


ในความเห็ นของผมนั้นวรรณกรรมเรื่อ งนี้(มหาวิทยาลั ยของฉัน)ที่เปน หนึ่งในวรรณกรรมชุดอัตต
ชีวประวัติ(Autobiography)58ของตัวเขาเองเขียนขึ้นมาเพื่อบอกเลาสภาพของประเทศรัสเซียในชวงศตวรรษที่ 19
ผานทางประสบการณชีวิตของตัวกอรกี้เอง ซึ่งวรรณกรรมชุดนี้จะแสดงถึงประสบการณตางๆที่ตัวกอรกี้เจอ ไม
วาจะเปนสภาพสังคมในแตละสถานที่ที่เขาไดอาศัยอยูและเดินทางผานไป บุคคลตางๆที่เขาไดเจอซึ่งมีตั้งแต

55
แมกซิม กอรกี้ , แม แปลโดย ศรีบรู พา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 34
56
แตในความเปนจริงผูหญิงที่มีสวนรวมทางการเมืองมักมาจากชนชั้นกลางหรือชนชั้นสูง ไมไดมาจากชนชั้นแรงงานเหมือนใน
วรรณกรรมเรือ่ งนี้
57
Hobsbawm, Eric John Ernest, The age of empire, 1875-1914 (1st. Vintage Books ed. New
York : Vintage, 1989.) p 210
58
ประกอบดวยวรรณกรรม 3 เรื่องคือ วัยเยาวของขาพเจา(My Childhood) ขาพเจาออกไปเผชิญโลก(In The World) และ
มหาวิทยาลัยของฉัน(My Universities)
กรรมกร,ตํารวจไปจนถึงปญญาชน รวมไปถึงหนังสือตางๆที่เขาไดอาน ที่มีสวนผลักดันใหเขาเปนนักเขียนผู
ยิ่งใหญที่ผลิตงสนเขียนที่รับใชประชาชน
ซึ่ งในความเห็ นของผมคิดว าเรื่ อ งมหาวิ ท ยาลัยของฉั นได ทํ าหน าที่ ต รงนี้เช นเดี ยวกั บ เรื่ องอื่ น ๆใน
วรรณกรรมชุดนี้ แตสิ่งที่ผมคิดวาเรื่องนี้ไดเนนเปนพิเศษคือเรื่องของการศึกษาแนวความคิดสังคมนิยมหรือจะ
เปนความรูในเรื่องตางๆนั้นไมจําเปนตองศึกษาจากมหาวิทยาลัยเพียงแหงเดียวแกได แตยังสามารถศึกษาไดจากที่
อื่นๆไดมากมายไมวาจะเปนในสลัม โรงงาน ทาเรือ ชนบทหรือแมกระทั่งศึกษาจากชีวิตคนสามัญธรรมดา ซึ่ง
สอดคลองกับแนวทางการศึกษาของโซเวียตในขณะนั้นที่ตองการใหนักเรียนเขาใจในคุณคาของพลังแรงงาน
อย า งไรก็ต ามผมคิ ดว า กอร กี้โ ชคดี ม ากที่ ได เรี ย นใน “มหาวิ ท ยาลัย มนุ ษ ย ”หลายแหง ที่ส อนทฤษฎี
ทางการเมืองใหเขา เพราะในชวงนั้นรัสเซียเปนประเทศที่มีอัตราการไมรูหนังสือสูงมาก โดยอัตราการไม รู
หนังสือของประเทศรัสเซียสูงกวา 50 เปอรเซ็นต59
โดยสิ่งที่กอรกี้ไดเรียนรู พบเห็นและตองการที่จะถายทอดแกผูอื่นจากมหาวิทยาลัยหลายแหงในเรื่องนี60้
มีสิ่งตางๆที่ขาพเจาสรุปไดตอไปนี้
กอรกี้ไดเดินทางไปเมืองคาซานเพื่อที่จะศึกษาในมหาวิทยาลัยตามคําชักชวนของ นิโดไล เยฟรายคอฟ
แตกอรกี้ไมมีความพรอมทั้งทางดานความรูที่จะใชในการสอบเขาและฐานะทางการเงิน โดยในชวงแรกเขาได
อาศัยอยูในบานของนิโคไลที่เขากลาววาเปนมหาวิทยาลัยแหงหนึ่งของเขา61 ที่นั้นพบเห็นสภาพขาดแคลนที่
ผูหญิงคนเดียวที่ตองแบกรับภาระครอบครัว ที่ไมมีผูชายคนไหนในครอบครัวจะมาสนใจรับฟง ผมจึงคิดวากอรกี้
อาจจะไดรับอิทธิพลสวนหนึ่งของเรื่อง “แม” จากตรงนี้ เพราะเห็นวาในบางครั้งผูหญิงก็รับภาระที่หนักหนวงได
และตอมากอรกี้ก็ไดไปทํางานที่ทาเรือใหญริมฝงแมน้ําโวลกา ซึ่งเขาตองเจอกับพวกกุลี พวกพเนจร
เรรอน และพวกหัวขโมย ที่นี้เขาไดเรียนรูถึงสันชาติญานอันหยาบชาของมนุษยดวยตนเอง และเขาก็ไดเรียนรูดวย
ตนเองจาก เนื้อเรื่องในวรรณกรรมตอนหนึ่งวา “ในชวงขณะของความหิว ความขมขื่นและความหมดหวังนั้น ฉัน
รูสึกวาตนเองไมเพียงแตละโมบอยากไดทรัพยสินเงินทองเทานั้น แตยังรูสึกวาตนเองกออาชญากรรมใดๆก็ได
ทั้งสิ้น” แตความรูสึกยิ่งผยองแบบเด็กหนุม ทําใหฉันยังรักษาทางเดินของชีวิตไวได62
ตอมาเขาก็ไดยายไปอาศัยในบาน “มารูชอฟกา” ในแหลงสลัมในที่นี้เขาไดเจอคนหลายประเภท ตั้งแต
นักศึกษายากจน หญิงโสเภณีและคนที่เหนื่อยลากับการใชชีวิต ณ ที่แหงนี้เปรียบเสมือนหนึ่งในกระจกสะทอน
สภาพสังคมที่เลวรายของรัสเซียใหเขาเห็น จนเขาตองตั้งคําถามตอตนเองวา “ชีวิตเชนนี้มคี าที่ตรงไหนกัน”63
และมี เนื้ อ เรื่ องส วนที่ผ มคิดวาน าสนใจอีกสวนหนึ่ง เพราะผมคิดวาเปนสวนที่ทําใหกอร กี้เกิด แรง
บันดาลใจในการเขียนหนังสือที่อานเขาใจงาย และมีขนาดเล็กใหพวกกรรมกรตามโรงงานอาน(ดังเห็นไดจาก
รูปแบบวรรณกรรมของเขาเอง) จากเนื้อเรื่องในชวงที่กอรกี้ไดไปรวมกลุมกับพวกนักศึกษาที่ อาสคอเย พอลเย ซึ่ง
เปนทุงหญ าขนาดใหญนอกเมืองคาซาน ซึ่งเมื่อ เขาไดสนทนาแลวเขาเกิดความรู สึกวา “ไมจําเปนตองเขีย น

59
Hobsbawm, Eric John Ernest, The age of empire, 1875-1914 (1st. Vintage Books ed. New York
: Vintage, 1989.) p 345 Table 4
60
ตั้งขอสังเกตจากชื่อเรื่อที่เปน My Universities ไมใช My University
61
แมกซิม กอรก,ี้ มหาวิทยาลัยของฉัน แปลโดยชาลีมาน-คําเพลิง (กรุงเทพฯ:เจริญวิทยการพิมพ 2518) หนา 9
62
อางแลว หนา 21-22
63
อางแลว หนา31
หนังสือเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐศาสตรเปนเลมใหญๆ มีแตคําศัพทยากๆ เพียงเพื่อจะอธิบายใหพวกที่ใชแรงงานแตเสีย
ผลประโยชนให “คนอื่น” เขาใจ”64
และเขาก็ไดเห็นในอํานาจของ “พลังแรงงาน” จากการไปลูกจางในการชวยขนยายสินคาจากเรือบรรทุก
สินคาลําใหญของเปอรเซียที่แลนมาชนหิน แลวประจวบกับเจอลมแรงพายุฝนพอดี แตแรงงานกลุมดังกลาวก็
สามารถทํางานสําเร็จลุลวงได ดังจะเห็นไดจากขอความที่กอรกี้เขียนถึงสิ่งนี้จาก “พลังที่เราใชทํางานในวันนั้น
ชางมีความรุนแรงเหลือเกิน จนราวกับวาเราจะสามารถเนรมิตทุกสิ่งทุกอยางได เหมือนกับการรายมนตของผูวิเศษ
ในตํานาน”65
ตอมาเขาไดเจอกับ เดเรนคอฟซึ่งเปนพวกนารอดนิกที่รานขายของเดเรนดอฟเอง ซึ่ง ณ ที่แหงนี้นั้นผม
คิดวาเปนหนึ่งใน “มหาวิทยาลัยชีวิต”ที่สําคัญแหงหนึ่งของเขา เขาไดเรียนรูสิ่งตางๆจากที่นี้หลายอยาง เชน
เขาไดพบกับ โกกอล66ซึ่งจะเปนคนที่มีบทบาทตอชีวิตของเขาอีก และกอรกี้ยังไดพบกับกลุมที่ชวยทํา
ใหความคิดของเขามีความตอเนื่องกันมากขึ้น และกลุมคนในรานแหงนี้ยังเปนคนแนะนําวาหนังสือเลนไหนควร
อานหรือไมควรอานแกตัวกอรกี้
แตในขณะเดียวกันเขาก็รูสึกวานักศึกษาเหลานี้ปฏิบัติตอเดเรนคอฟเหมือนกับเจานายทําตอคนใช67 แต
เขาก็ยังคิดวารายไดจํานวนนอยที่ไดจากการคาขายจะนํามาอุทิศใหพวกที่เชื่อวา “ความสุขของมวลชนตองอยู
เหนือสิ่งอื่นใด”68 ผมจึงคิดวากอรกี้ตองการสื่อใหเห็นวาคนอยาง เดเรนคอฟเปนบุคคลที่ประชาชนโซเวียตใน
แบบนั้นควรยึดถือเปนแบบอยาง
ตอมากอรกี้ก็ไดไปทํางานในรานทําขนมปง “กําแพงแหงความลืมเลือน” ณ ที่นี้เขาไดพบวาชนชั้น
แรงงานไมมีความหวังที่จะทีชีวิตที่ดีกวา ดังนั้นเขาจึงตองกระตุน และบางครั้งก็ทําไดสําเร็จ ซึ่งตัวเขาเองก็
ภาคภูมิใจเพราะอยางนอย ก็ได “ทํางานกับประชาชน” และชวยใหเขาเหลานั้นได “รับรูความจริง” ขึ้นมาบาง69
ซึ่งผมก็ขอตีความวากอรกี้ตองการสื่อวาการทํางานเพื่อประชาชนสามารถทําไดในทุกสถานการณ
แลวมีวันหนึ่งกอรกี้ก็ไดเรียนรูถึง “ดานมืด” ของคนจําพวกที่ตนเองนับถือ คือ พวกนักศึกษา ปญญาชน
จากการไปเที่ยวซองกับเพื่อนคนงานในโรงงานขนมปง ซึ่งเรื่องเหลานี้ทําใหเขาเจ็บปวดมาก โดยเฉพาะคําพูด
ของเพื่อนคนงานของเขาที่วา “คนมีการศึกษานะ บางทีเลวกวาพวกเราเสียอีก”70
แตพอกอรกี้นําเรื่องนี้ไปเลาแกพวกนักศึกษาพวกนั้นก็ดูถูกกอรกี้อยางไมไวหนา จนกอรกี้รูสีกวาตนเอง
มีสติปญญาและความกลาหาญมากกวาพวกนั้นนัก71

64
แมกซิม กอรก,ี้ มหาวิทยาลัยของฉัน แปลโดยชาลีมาน-คําเพลิง (กรุงเทพฯ:เจริญวิทยการพิมพ 2518) หนา42
65
อางแลว หนา 47
66
ในเรื่อง จากลุม แมน้ําโวลกาจะเรียกชื่อเขาเปนโรมาส
67
แมกซิม กอรก,ี้ มหาวิทยาลัยของฉัน แปลโดยชาลีมาน-คําเพลิง (กรุงเทพฯ:เจริญวิทยการพิมพ 2518) หนา 63
68
อางแลว หนา 62
69
อางแลว หนา 65
70
อางแลว หนา 70
71
อางแลว หนา 71
และกอรกี้ยังไดเลาถึงความศรัทธาตอซารและความคิดชาตินิยมในสมัยพระเจา ซารอเล็กซานเดอรที่ 3
ผานทางการคุยกับนายตํารวจ นิกิโฟริช จากคําพูดวา “สายใยที่มองไมเห็น…เหมือนกับใยแมลงมุม มันเริ่มตนขึ้น
จากหัวใจของพระมหาจักรพรรดิซารอเล็กซานเดอรที่ 3 กษัตริยแหงรัสเซียทั้งหมด มันสงผานมายังบรรดา
รัฐมนตรี รัฐบาลแลวก็ลงมายังตําแหนงตางๆเรื่อยๆจนมาถึงฉัน หรือแมแตพลทหารในกองทัพ สายใยนี้สงไปถึง
ทุกคนและทุกสิ่งทุกอยาง และก็เพราะวามันมองไมเห็นนี่เองที่ทําใหอาณาจักรของพระองคมั่นคงตลอดมาเปนนับ
ศตวรรษ นอกจากนังพระราชินีอังกฤษเทานั้นแหละมันพยายามติดสินบนไอพวกโปแลนด และแมแตชาวรัสเซีย
บางคนมันพยายามทําลายสายใยนี้ตลอดเวลา แลวก็แกลงทําเปนอางวาเพื่อประชาชน”72 และนิกิโฟริชก็ชักชวน
ใหกอรกี้ไปทํางานกับพระเจาซารหลายครั้งเพราะเห็นวาเขาเปนคนฉลาด ตองชวยงานพระเจาซารไดดีแน แตเขา
ก็ไมยอมไป จากตรงนี้อาจแสดงกอรกี้เปนคนที่มีความยึดมั่นในจุดยืนของตนเอง
และกอรกี้ยังไดเรียนรูวาคนที่ไมมีความเห็นแกตัวและพยายามตอสูดิ้นรนทุกทางเพื่อจะทํางานที่เปน
ประโยชน ก็มีสิทธิที่ชีวิตของพวกเขาจะถูกทําลายไดจากคนที่เห็นแกตัวอยูรอบๆตัวเขา ดังกรณีของเดเรนดอฟ ที่
ครอบครัวของเขาแตกแยก และจากเหตุการณนี้เองที่ทําใหกอรกี้เริ่มไมศรัทธาในตัวนักศึกษา ซึ่งตรงงนี้อาจ
ตีความไดวากอรกี้ตองการใหคนทุกคนเสียสละเพื่อคนอื่น เพราะถาใหคนเพียงไมกี่คนเสียสละแลว คนกลุมนั้น
ตองเผชิญกับความทุกข ในขณะที่คนบางกลุมไดรับผลประโยชนไป(เชนนักศึกษาที่เดเรนดอฟใหความชวยเหลือ)
รวมไปถึงเขายังมีประสบการณพบกับพวกนิยมตอลสตอยที่ดีจําคําสอนของเขาแตไมสามารถปฏิบัติตาม
ไดอยางแทจริง ดังเนื้อเรื่องที่วา “ “ความจริงคือความรัก” ผูนิยมตอลสตอยยืนยัน แตสายตาของเขาแวบหนึ่งมีแต
ความเกลียดชังและดูถูกเหยียดหยาม”73
และมหาวิทยาลัยแหงสุดทายในเรื่องนี้ก็คือ “มหาวิทยาลัยในชนบทรัสเซียแถบลุมแมน้ําโวลกา” ผาน
ทางการไปอาศัยอยูกับโกกอลที่เมือง คราสโนวิโดโว โดยโกกอลนั้นประกอบอาชีพคาขายและปลูกแอปเปล
โดยสิ่งที่โกกอลสอนกอรกี้อยางหนึ่งนั้นที่ผมคิดวามีอิทธิพลวิธีการเขียนหนังสือของกอรก้ีมาก คือ
ประโยคที่วา “สิ่งที่คนสอนเธอนั้นทําใหเธอรูสึกเจ็บปวดไดมากกวาสิ่งที่เธอเรียนรูจากหนังสือเพราะคําสอน
เหลานั้นมีแตความรุนแรง แตสิ่งที่เธอเรียนรูมานั้นมันจะฝงรากของมันลงไปลึกกวาการเรียนดวยวิธีอื่นใด”74
และเขายังเปนคนสอนกอรกี้วา ตองเขาไปพูดคุยกับพวกชาวนาวาพวกเขานี้แหละที่เปนรากฐานของทุก
สิ่งทุกอยาง ทุกคนในประเทศนี้แมแตพระเจาซารก็เคยเปนคนธรรมดามากอน ถาเขาใจแลว พวกเขาก็จะไดเรียนรู
การตอสูเพื่อที่จะไดอยูตอไปโดยไมถูกเหยียบย่ําไดอีก
มีอยูครั้งหนึ่งที่กอรกี้ถามโกกอลวาเมื่อไหรเขาจะพูดคุยกับชาวบานเสียที75 แตสิ่งที่กอรกี้ไดรับคําตอบ
กลับเปนความรูเรื่องทัศนคติของชาวนาในชนบทรัสเซีย โดยโกกอลกลาววา “ชาวนามักเปนพวกขี้ระแวง ไมไวใจ
ใครงายๆ และก็เขาใจคําวา “อิสรภาพ”อยางผิวเผินเนื่องจากเพิ่งไดรับอิสรภาพมาไมถึง 30 ป และจากการที่พระ
เจาซารไดชื่อวาเปนผูปลดปลอยชาวไรชาวนาจากพวกเจาที่ดิน นั้นจีงดูเหมือนวาพระองคเองกลับเปนเจานายของ
ทุกคน เชื่อวาวันหนึ่งพระเจาซารจะมาอธิบายคําวา “อิสรภาพ”ใหกระจาง และมีศรัทธาในพระเจาซารอยางแนว
แน เชื่อวาบางทีพระองคอาจยึดทรัพยจากพวกนายทุนก็ได ดังนั้นพวกชาวไรชาวนาจึงเปนพวกนิยมกษัตริย และ

72
แมกซิม กอรก,ี้ มหาวิทยาลัยของฉัน แปลโดยชาลีมาน-คําเพลิง (กรุงเทพฯ:เจริญวิทยการพิมพ 2518) หนา 112
73
อางแลว หนา 145
74
อางแลว หนา 178
75
อางแลว หนา 187
คิดวาการมีนายหลายคนเปนเรื่องเลวราย บางทีการมีนายคนเดียวอาจจะดีขึ้นก็ไดพวกเขากําลังรอวันนั้น(วันที่พระ
เจาซารจะมาอธิบ ายคําวา “อิสรภาพ”ใหกระจาง ) แตข ณะเดียวกันก็มีความหวั่ นเกรง กลัววาวันแหงความ
เปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญจะมาไมถึง พวกเขาก็ไมมีความเชื่อมั่นในการเปลี่ยนแปลงดวยกําลังของตนเอง ความ
ตองการของทุกคนก็เหมือนกันหมดแตเขาจะไดมันมาอยางไร และ…ไมวาจะหันไปทางไหน…เจาหนาที่ราชการ
เปนปฏิปกษกับทั้งประชาชน และกับพระเจาซารดวยในขณะเดียวกัน แตกระนั้นเราก็ยังตองมีเจาหนาที่ราชการ
เพราะไมอยางนั้นพวกชาวบานนี้แหละจะหันเขาฟาดฟนกันเอง”76 สิ่งที่โกกอลพูดก็เปนความจริงขึ้นมาเพราะ
ตอนที่บานและสวนแอปเปลของเขาถูกเผา เขาจะถูกชาวบานรุมทํารายเพราะชาวบานคิดวาเขาจะเผาเพื่อเอาเงิน
ประกัน เนื่องจากไฟไดลุกลามไปในไรนาของผูอื่นดวย
และโกกอลยังอธิบายถึงวิธีการใหกอรกี้ฟงวา “การจะทําใหชาวบานเขาใจนั้น ตองทําใหพวกเขาเรียนรู
ไปทีละนอยๆ เพื่อจะยึดอํานาจจากพระเจาซารมาอยูในมือประชาชนได ตองอธิบายใหเขาเขาใจวาประชาชนตอง
มีสิทธิเลือกเจาหนาที่บานเมือง เลือกรัฐบาล และแมแตเลือกษัตริยเองดวย”77 และเขายังสอนสิ่งที่สําคัญอีกอยาง
หนึ่งในการปฏิบัติงานแกประชาชนคือ “สิ่งที่สําคัญที่สุดคือ เราตองสอนใหประชาชนรูจักคิด แลวเขาก็จะหา
หนทางไปสูความจริงดวยตนเอง”78
และยังคนพบวาคํากลาวที่วา “ชีวิตในชนบทนั้นบริสุทธิ์สะอาดและนาเบิกบานกวาในเมือง” ไมเปน
ความจริง ดังเนื้อหาที่วา “ฉันไดเห็นชาวบานตองทํางานดวยความเหนื่อยยากไมรูจักสิ้นสุดราวกับไมใชงานของ
มนุษย หลายคนเจ็บปวย และอีกหลายคนไมสามารถทํางานไดเพราะทํางานมากเกินไป ความรื่นเริงแจมใสเปน
ของหายากในที่แหงนี้ คนงานหรือชางฝมือแมวาจะทํางานหนักเทาๆกัน แตก็มีชีวิตที่เปนสุขมากกวา และยังไม
บนเบื่อหนายชีวิตเทาชาวชนบทที่นี่”79
แตในที่สุดกอรกี้ตองออกจากมหาวิทยาลัยแหงนี้เนื่องบานของโกกอลถูกเผา โดยคําสอนสุดทายของโก
กอลตอกอรกี้เปนเรื่องของ “จงอดทนตอการตัดสินใจ”
กอรกี้ ไดแสดงความเคารพตอโกกอลในเรื่องนี้หลายครั้งซึ่งแสดงใหเห็นวาบุคคลอยาง โกกอลเปน
แบบอยางแกประชาชน เนื่องจากมีความเขาใจในสภาพสังคมรัสเซีย มีความอดทน80 มีความเปนครูที่ดีและมีการ
อุทิศตนเพื่อการปฎิวัติ81
ดังนั้นสรุปนิยามสั้นของวรรณกรรมเรื่องนี้ในมุมมองของผมไดวา “การเรียนรูสภาพสังคมในสมัยปลาย
ราชวงศโรมานอฟและแนวทางในการใชชีวิตที่พึงประสงค(ในสายตาพรรคบอลเซวิค)ผานทางชีวประวัติของ
แมกซิม กอรกี้”

76
แมกซิม กอรก,ี้ มหาวิทยาลัยของฉัน แปลโดยชาลีมาน-คําเพลิง (กรุงเทพฯ:เจริญวิทยการพิมพ 2518) หนา 187-189
77
อางแลว หนา 189
78
อางแลว หนา 232
79
อางแลว หนา 205
80
ดังเห็นไดจากตอนที่บานถูกเผา โกกอลไมรูสึกโกรธแตกลับเขาใจสาเหตุที่ตอ งเผาบานของตนเอง
81
ดังเห็นไดจากการทีจ่ ะพยายามจะทําใหชาวบานมีความเขาใจมากขึ้น โดยไมหวัน่ เกรงตอภัยทีอ่ าจจะมาจากคนรวยหรือชาวบานเอง
แมแตการที่เพื่อนสนิทของเขา คือ ไอซอตถูกฆาตายก็ไมสามารถเปลี่ยนความตัง้ ใจของเขาได
บทวิเคราะหวรรณกรรมเรื่องแม (Mother)
กอรกี้เขียนวรรณกรรมเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อ วัตถุประสงคทางการเมืองที่ตองการใหกรรมกรในรัสเซียรวม
พลังเพื่อการปฏิวัติโคนลมระบบซารและชนชั้นนายทุนในรัสเซีย โดยผานทางการใหความรูแนวคิดมากซที่
อธิบายกลั่นกรองออกมาเปนภาษาที่อานเขาใจงาย สอดแทรกคําพูดปลุกระดมลงไป และใหการกระทําของตัว
ละครในเรื่องเปนแรงบันดาลใจในแนวทางการปฏิบัติ เพื่อนําไปสูการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพและยังแสดงให
เห็นความสําคัญของการถายทอดความรูและทฤษฎีตางๆแกพวกกรรมกรไมวาจะเปนโดยการใชหนังสือหรือการ
สั่งสอนดวยปากเปลา
โดยกอรกี้ไดลงมือเขียนเรื่องนี้ ระหวางที่พํานักอยูในสหรัฐอเมริกา ซึ่งกอรกี้ไดเคาโครงเรื่องนี้จาก
ประสบการณชีวิตโดยตรงของเขา จากตัวบุคคลที่เขารูจักดีเชน ปยอดร ซาโลมอฟที่เปนคนงานนักปฏิวัติซึ่งไดเคย
ตองคําพิพากษาใหจําคุกมาแลว ในฐานที่เขารวมเดินขบวนวันที่ ระลึกกรรมกรสากร (May Day) แหงคณะคนงาน
ซอรโมโฟ และมารดาของเขาก็เปนตัวตั้งตัวตีในกระบวนการปฏิวัติ อยางเขมแข็งดวย โดยการปลอมกายเปน
นางชีและยังไดทําการเผยแพรจําหนาย จายแจก วรรณคดีฝายปฏิวัติ ไปทั่วภูมิภาคนิชนินอฟกอรอด
และเขายังไดรูจักแมของตระกูล กาโดมตเซฟส ดี ตระกูลนี้เปน ตระกูลนักปฏิวัติ ซึ่งไดถูกทรมานอยูใน
คุกอูฟาเพราะไดชวยบุตรของหลอนใหหลบหนีออกจากคุกโดยลักลอบสงลูกระเบิดไปใหเขา และเขาก็ไดใชลูก
ระเบิดลูกนั้นระเบิดกําแพงคุก กอรกี้ยังสามารถระบุนามหญิงผูเปนแมคนอื่นๆไดอีกนับจํานวนไดหลายสิบคน
ซึ่งไดถูกทรมานรวมกับบุตรของหลอน82 หรืออาจจะเปนแมของ นิโคไล เยฟรายคอฟ ที่ตองแบกรับภาระหนักใน
การทําใหครอบครัวมีสภาพเปนอยูที่ดีเพียงคนเดียวโดยที่สมาชิกในครอบครัวคนอื่นไมไดรับรูเลย หรืออาจจะ
เปนยายของเขาเองที่เปนทั้งผูปกปองและใหความรักความอบอุนแกเขาในวัยเด็ก
โดยเรื่องไดเริ่มตนในชุมชนใกลโรงงานอุตสาหกรรมแหงหนึ่งที่มีความเปนอยูที่ลําบากและซ้ําซาก โดย
ชีวิตของคนงานในแตละวันเริ่มตนจากเสียงหวูดของโรงงานที่ดังขึ้น ลวพอพวกเขาเลิกงานพวกเขาก็จะไปโรง
สุราเพื่อใหฤทธิ์ของสุราลืมความจริงที่โหดรายไป และกอรกี้ก็ชี้ใหเห็นวาไมวาโรงงานที่ไหนก็มีสภาพเหมือนกัน
จากเนื้อเรื่องที่มีใจความวา “ตามคําบอกเลาของผูที่มาใหมนั้นเห็นไดโดยแจมแจงวาชีวิตของพวกคนงานไมวาที่
ไหนๆก็เ หมือนกันทั้ งนั้ น และหากวามันเปนจริงดังนั้ น แลว จะมีอะไรเหลืออยูอีกเลาที่เขาเหลานั้นจะนํามา
สนทนากัน”83
และกอรกี้ยังแสดงใหเห็นถึงภาพของกรรมกรที่ไมเปน “แบบอยาง” ซึ่งก็คือพวกคนงานสวนใหญของ
โรงงานแหง นี้ ที่ ไมช อบใหมี ค วามเปลี่ย นแปลงเกิดขึ้ นแกชีวิ ต ของตนเอง และถ า ใครก็ต ามมี แ นวโนม ที่จ ะ
เปลี่ยนแปลงสภาพเชนนี้พวกเขาก็จะไมคบคาสมาคมดวย และมักจะไมพูดคุยกับบุคคลที่มีความคิดใหมๆ ดัง
เนื้อความที่เปนตัวอยางของสภาพเชนนี้ “คนเหลานั้นมีความเคยชินตอการรับเอาชีวิตตามที่เขาถูกยัดเยียดใหรับ
เอา พรอมทั้งยอมรับเอาความบีบบังคับที่มีตอชีวิตอยางสม่ําเสมอไวตลอดกาล โดยที่พวกเขาไมมีความหวังวา จะ
ปลดเปองความทุกขยากออกไปจากชีวิตไดอยางไร”84

82
อเล็กซานเดอร, รอสคิน จากลุมแมน้ําโวลกา:ชีวประวัติของแมกซิม กอรกี้ แปลโดย อรุณ ชัยโรจน(พิมพครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เจริญ
วิทยการพิมพ, 2517) หนา 204-205
83
แมกซิม กอรกี้ , แม แปลโดย ศรีบูรพา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 42
84
อางแลว หนา 43
และกอรกี้ยังไดเขียนถึงบุคคลที่เปน “ตัวอยาง” ของคนงาน “ที่ไมควรเอาเปนแบบอยาง” ซึ่งคนงานคน
นั้นคือ มิคเฮล วลาสซอฟ ที่เปนพอของตัวเอกในเรื่อง พาเวล วลาสคอฟ และเปนสามีของ “แม” เพลาเกีย
นิลอฟนา วลาสคอฟ โดยมิคเฮลเปนคนที่แข็งแรงที่สุดในโรงงาน แตมีนิสัยที่กาวราว ชอบดื่มสุรา และชอบทํา
รายภรรยาและยังไมคอยดูแลสนใจบุตรซักเทาไร เปนคนงานที่ไมมีความพยายามทําใหชีวิตของตนเองดีขึ้น แต
ในตอนกลางบทที่ 2 เขาก็ไดตายเพราะอวัยวะภายในแตก
ดังนั้น พาเวลจึงตองทํางานหาเลี้ยงครอบครัวแทนพอของเขา ในชวงแรกนั้นพาเวลก็มีความประพฤติ
เฉกเชนกับคนงานคนอื่นๆ แตตอมาเขาไดคนพบ “สัจธรรม”(แนวคิดสังคมนิยมลัทธิมากซ) จากการสั่งสอนของ
ผูอื่น โดยเขายกยองใหบุคคลเหลานั้นเปน “เกลือของแผนดิน”85และจากการอานหนังสือตองหามที่บรรยายสัจ
ธรรมของพวกคนงาน หลังจากนั้นเขามีความประพฤติที่ดูสงบนิ่งขึ้น และยังปฏิบัติตอแมของเขาโดยเปนอยางดี
และยังไดกระตุนแมของเขาใหมีความกลาหาญขึ้นดวย
และตอมาเขาพาพวกเพื่อนที่มีอุดมการณเดียวกันมาชุมนุมที่บานของเขา โดยเพื่อนๆของเขาไดแก นาตา
ซา วาซิลเยฟนา ,ฮอฮอล86 ,นิโกไล เวซอฟซิคอฟและฟโอดอร เปนตน ซึ่งเรื่องที่สนทนากันจะเปนเรื่องของ
ทฤษฎีทางการเมืองมีการอานหนังสือใหฟง และมีการถกเถียง ซึ่งผมคิดวากอรกี้ไดรับแรงบันดาลใจในฉากเหลานี้
จากการประชุมใตดินของขบวนการปญญาชนในรัสเซีย และไดทําการแจกใบปลิวปลุกระดมใหคนงานลุกขึ้นสู
รวมถึงยังไดไปเรียกรองสิทธิของคนงานจากการที่โรงงานจะเก็บคาแรงจากโรงงานคนละ 1 โกเปก87เพื่อที่จะ
ระบายน้ําออกจากบึง โดยเขาไดพูดวา “ที่เราตอสูนี้ไมใชเพื่อสตางค แตเพื่อความยุติธรรม ขอนั้นแหละเพื่อน
ไมใชสตางคที่เราหวงแหนนักหนา สตางคของเราไมกลมไปกวาเงินเหรียญอื่นๆ ถึงแมวามันจะหนักกวา มันบรรจุ
เลือดของมนุษยมากยิ่งกวาเงินของทานผูอํานวยการ คาของมันไมไดอยูที่ตัวสตางค แตอยูที่เลือด อยูที่ความ
ยุติธรรม-ขอนั้นแหละเพื่อนเอย”88
แตอยางไรก็ตามการลุกขึ้นสูของคนงานครั้งนั้นก็ตองยกเลิกไป เพราะผูอํานวยการขูจะไลพวกที่ชุมนุม
ออกจากงาน ทําใหคนงานไมกลาประทวงตอเพราะผูอํานวยการสามารถหาคนตกงานที่ไหนก็ไดมาทํางานแทน
ตน ซึ่งตรงนี้ตรงกับแนวคิดของมากซเรื่องกําลังแรงงานสํารอง ที่กลาววาแรงงานจะมีอํานาจตอรองกับนายจาง
นอยลงเนื่องจากนายจางจะจางใครมาทํางานแทนตนก็ได
ตอมาพาเวลและฮอฮอล89ก็ถูกจับ แตก็ถูกปลอยตัวออกมาเพราะไมมีหลักฐานยืนยันวาพวกเขาเปนคน
แจกใบปลิว(เนื่องจากตอนที่ทั้งสองถูกจับเพลาเกียแอบไปแจกใบปลิวแทน) และพาเวลก็ไมยอมแตงงานกับนาตา
ซาเพราะเห็นวาภารกิจในการปฏิวัติยังไมสําเร็จ ตองอุทิศตนเพื่อการปฏิวัติใหถึงที่สุดกอน
และในตอนทายของเรื่องพาเวลก็เตรียมตัวเต็มที่เพื่อการเดินขบวนในวันเมยเดย ไมวาจะเปนการแจก
ใบปลิวชักชวนใหเขารวมขบวนหรือสอนภารกิจดานตางๆใหแกผูอื่นเชนนิโคไลในเรี่องของการเรื่องเรียงพิมพ90
และยังเปนผูนําขบวนในวันเมยเดยอีกดวย โดยเขานําขบวนเขาไปอยางไมกลัวการจับกุมของเจาหนาที่ตํารวจ

85
แมกซิม กอรกี้ , แม แปลโดย ศรีบรู พา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 75
86
ชื่อจริงของเขาคือ อันเดร โอนิสิมอฟ เปนชาวยูเครน
87
สกุลเงินของรัสเซีย
88
แมกซิม กอรกี้ , แม แปลโดย ศรีบรู พา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 185
89
ตอนที่ถูกจับนั้นฮอฮอลไดมาอาศัยอยูที่บานวลาสคอฟแลว
90
แมกซิม กอรกี้ ,แม แปลโดย ศรีบูรพา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 395
ผมจึ ง คิ ด ว า กอร กี้ ส ร า ง “พาเวล” มาเพื่ อ เป น ภาพของแรงงานที่ ไ ด รั บ รู ถึ ง “สั จ ธรรม” และนํ า เอา
“สัจธรรม”เหลานั้นมมาสอนเพื่อนคนงาน และเปนคนที่อุทิศตนใหการปฏิวัติ เห็นผลประโยชนของชนชั้น
คนงานมากกวาผลประโยชนสวนตัว เปนคนงานในอุดมคติของแนวคิดมากซ91
และ “แม” เพลาเกีย นิลอฟนา วลาสคอฟ เปนตัวแทนแสดงถึงความรักอันยิ่งใหญตอมวลมนุษยชาติที่
เปนสากล ดังเห็นไดจากคําพูดในตอนที่ทหารมาจับฮอฮอล โดยเธอไดพูดวา “ผูเปนแม ยอมมีน้ําตา เพียงพอที่จะ
ใช แกทุกเรื่องเสมอ-มีพอทุกรื่อง ถานายมีแม แมของนายจะตองรูเรื่องนี้อยางแนนอน”92 และยังเห็นไดจากการที่
ฮอฮอลเรียกเธอวา “เนนโก” ซึ่งเปนคําที่ชาวยูเครนใชเรียกมารดาอันเปนที่รักยิ่ง อันแสดงใหเห็นวาไมวาจะเปน
คนงานจากชาติไหนก็จะไดรับความรักจากเธอหมด และเธอยังเปนคนชักชวนใหฮอฮอลมาอยูที่บานของเธอดวย
และจากคําพูดของฮอฮอลที่พูดหลังจากที่เขาถูกปลอยตัวออกจากคุกแลวที่แสดงใหเห็นวานางเปน “แม”ที่เปน
แบบอยาง ซี่งมีเนื้อความวา “ ใครๆก็รักสิ่งที่อยูใกลชิดกับเขา แตหัวใจที่ใหญ ยอมทําใหสิ่งที่อยูไกลเขามาอยูใกล
กับเขา ทานอาจประกอบภารกิจที่ใหญหลวงได เพราะวาทานมีความรักของมารดา อันเปนความรักที่ใหญหลวง
อยูในตัวทาน”93
และตัว “แม” เองก็ไดแสงความรักที่ยิ่งใหญผานทางคําพูดของนางเอง หลังจากที่พาเวลไดสํานึกผิดกับ
นาง ซึ่งมีเนื้อความวา “อยาพูดอะไรเลย พระผูเปนเจา94ทรงทราบดีวา ชีวิตของลูกก็ยอมเปนสมบัติของลูก สุดแต
ลูกจะใชตามที่ลูกพอใจ แต-ขอจงปลอยดวงใจของแมไวแตลําพังเถอะนะลูก จะใหผูเปนแมไมรูจักรักไดยางไรเลา
ลูกเอยผูเปนแมจําเปนตองรัก, แมรักพวกลูกทุกคน พวกของลูกทุกคนเปนที่สุดสวาทของแม และพวกของลูกทุก
คนก็สมควรที่จะไดรับความรัก ใครที่ไหนจะสงสารลูกถาแมไมสงสาร พวกของลูกทั้งหมดจะจากไป ลูกนําหน
ขบวน-คนอื่นๆติตามไปขางหลังละทิ้งทุกสิ่งทุกอยาง-อาพาชา95”96
และเธอยั งเป นตั ว แทนของคนที่ มี การเปลี่ย นแปลงในทางที่ ดี จากผูห ญิงธรรมดาที่ มีแ ต ค วามกลั ว
เปลี่ยนไปเปนแมที่มีความรักที่ยิ่งใหญและเปลี่ยนไปดวยความกลาหาญโดยในตอนแรกนั้นเธอเปนคนที่ยังเต็มไป
ดวยความหวาดกลัวในสิ่งตางอยู เพราะตลอดชีวิตที่ผานมาเธออยูกับความกลัว ไมมีสิทธิเลือกทางเดินของชีวิต
แมแตการแตงงานเธอก็ไมไดเต็มใจที่จะเลือกเองเทาไร ถึงแมในตอนสาวเธอจะคุยกับเพื่อนๆถึงชีวิตแตงงานที่
เลวราย และไมเคยคิดหาหนทางที่จะหลีกเลี่ยงจากมัน
แตตอมาเมื่อเธอไดเปดใจรับ “สัจธรรม” เธอก็มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น จากตอนแรกเธอเพียงแค
ทําหนาที่ดูแลพวกของพาเวลในขณะที่มาคุยกันที่บานของเธอเทานั้น แตผมก็เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของเธอ

91
ถาจะเห็นภาพก็ใหไปดูคนอยาง ผูใหญวิบูล ในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในแงของการสรางภาพใหบุคคลคนหนึ่งเปนสัญลักษณที่มี
ชีวิตของแนวคิดนั้น
92
แมกซิม กอรกี้ , แม แปลโดย ศรีบรู พา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 158
93
อางแลว หนา 256
94
ดังที่กอรกี้ไดกลาวโดยผานทางพาเวลแลว วา “พระผูเปนเจา”ของแมกับของพวกพระเปนคนละองคกัน ซึ่งปรากฎในวรรณกรรมเรือ่ ง
นี้ภาคแรก หนา 171-172
95
เปนชื่อเลนของพาเวล(พาชา)
96
แมกซิม กอรกี้ ,แม แปลโดย ศรีบรู พา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 343
ในตอนที่คนงานมาขอรองใหพาเวลไปเรียกรองสิทธิประโยชนในเรื่องของการตัดเงินคาจางเพื่อการระบายน้ําใน
บึง เธอไดรับอาสาพาเวล ไปสงหนังสือในเมืองที่ที่พิมพหนังสือพิมพของขบวนการปฏิวัต97ิ
รวมถึงเธอยังทําหนาที่เปนคนแจกใบปลิวในโรงงานในขณะที่พวกพาเวลติดคุกอยู โดยเธอเขาไปแจก
โดยปลอมตัวเปนแมคาขายอาหารบังหนา และเธอก็มีความพยายามที่จะเรียนหนังสือเพื่อที่จะไดอานหนังสือได
เพื่อเขาใจ “สัจธรรม” ใหมากยิ่งขึ้น
และไปตอนทายของเรื่องเธอยังไดถือธงของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย หลังจากที่พาเวลถูกจับตัว
ไปและเปนคนกลาวคําพูดกระตุนใหแรงงานเกิดความคิดขึ้นมา โดยเธอไดกลาววา “ฟงนี่แนะในนามของพระผู
เปนเจา พอคนดีทั้งหลาย พอคุณทั้งหลายที่มองดูเหตุการณที่เกิดขึ้นโดยปราศจากความกลัวพวกลูกเตาของเราเอง
เลือดที่มาจากเลือดของเราไดพากันออกไปสูโลกในนามของความยุติธรรม เพื่อคนทั้งหมด เพื่อประโยชนแกพวก
ทานทั้งหมด และเพื่อบุตรของพวกทานที่ยังไมเกิด พวกเขาไดรับเอาความทุกขทรมานอันนี้โดยไมปริปาก ในการ
แสวงหาวันที่แจมใสกวานี้ สิ่งที่พวกเขาตองการคือชีวิตอีกอยางหนึ่ง ชีวิตแหงสัจธรรมและยุติธรรม สิ่งที่เขา
ตองการคือความดีงามเพื่อคนทั้งหลาย”98 ซึ่งคําพูดของนางก็ไดผลเพราะคนที่นางพูดใหฟงกําลังตั้งใจฟงอยู
ในความของผมนั้นคิดวากอรกี้สราง เพลาเกีย นิลอฟนา วลาสคอฟ มาจากผูหญิงที่เขาไดเจอจาก
ประสบการณชีวิตของเขา โดยสรางเธอที่เต็มไปดวยความกลัวจากผูหญิงแมบานชาวรัสเซียทั่วไป และตนแบบ
ของเธอที่เปน “แม”ที่เปนแบบอยางนั้นไดมาจากบุคลิกของผูหญิงที่กอรกี้มีความนับถือในชีวิตของเขามารวมกัน
เชนความรักอันยิ่งใหญที่ผมคิดวานาจะไดมาจากยายของเขาเอง และความกลาหาญที่ไดมาจากแมของนักปฏิวัติที่
เขามีโอกาสไดเจอ
และที่กอรกี้แสดงถึงทัศคติของชาวนาตามแนวคิดมากซ(ที่มองวาชนชั้นนี้เปนอุปสรรคในการที่จะ
พัฒนาไปสูระบบสังคมนิยม) ผานทางคําพูดของตัวละครตัวหนึ่ง ไรบิน ดังคําพูดที่วา “ชาวนารูสึกในผืนดินที่อยู
ขางลางเขา ถึงแมวาที่ดินนั้นจะมิใชของเขาเอง เขารูสึกผูกพันกับมันดี-จาผืนแผนดินนั้น.. แตพวกคนงานตาม
โรงงานเหมือนกับนก-ไมมีผืนดินที่เปนถิ่นของตัวไมมีบาน วันนี้อยูที่นี้ พรุงนี้ก็จากไปแลว แมแตผูหญิงก็ไมอาจ
เหนี่ยวรั้งเขไวไดในที่เดียว”99 ซึ่งในกอนหนานั้นไรบิน ไดไปอยูตามหมูบานในชนบทเพื่อกระตุนใหชาวบาน
ตื่นตัว ซึ่งคําพูดที่กลาวมาแสดงความคิดของมากซที่วาชาวนาเปนพวกที่เฉื่อยชา(Inert) ตอการเปลี่ยนแปลงเพราะ
ยังมีความยึดติดในกรรมสิทธิ์สวนบุคคลซี่งก็คือที่ดินที่ใชในการทําการเกษตร
และในวรรณกรรมเรื่องนี้ยังไดแทรกสอดความคิดของมากซ เลนินรวมไปถึงคําพูดปลุกระดมเพื่อการ
ปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพผานทางคําพูดของตัวละครตางๆ เพื่อใหพวกกรรมกรสามารถเขาใจไดงาย
เชนคําพูดปลุกกระตุนที่กอรกี้ตองการใหแรงงานในรัสเซียหลุดพนจากความกลัว เพื่อจะไดเกิดความ
กลาหาญในการกอการปฏิวัติ โดยผานคําพูดของพาเวลที่พูดกับแมเพื่อใหนางหลุดพนจากโซตวงแหงความกลัว
ดังมีเนื้อความวา “ความกลัวนั่นแหละแม คือ ที่มาของความฉิบหายวอดวายของเราละ และพวกที่เปนนายเรากฌ
ฉวยประโยชนจากความกลัวของเรานั่นแหละ เขาคอยทําใหเราตองขวัญหนีดีฝออยูเสมอ”100

97
แมกซิม กอรกี้ ,แม แปลโดย ศรีบูรพา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 183
98
อางแลว หนา 442-443
99
อางแลว หนา 388
100
แมกซิม กอรกี้ , แม แปลโดย ศรีบรู พา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 81
หนาที่และจุดหมายที่สําคัญยิ่งของชนชั้นกรรมาชีพ ผานทางคําพูดของพาเวล ในขณะที่นั่งคุยกันถึง
ความคิดทางการเมืองในบานของเขา ซึ่งแสดงจากเนื้อความวา “เราจะตองแสดงใหบรรดาบุคคลที่ขี่ครอมอยูบน
หลังพวกเรา และไดปดตาเราไว ไดทราบเสียที่วา บัดนี้เราไดแลเห็นทุกสิ่งทุกอยางแลว เราไมใชไองั่ง และเราก็
ไมใชสัตวปา ซึ่งไมตองการอะไรอีกเลยนอกจากจะหาอาหารมาบรรจุเขาไปในกระเพาะใหเต็มเทานั้น เราตองการ
ดํารงชีวิตที่สมควรแกความเปนมนุษยของเรา เราตองพิสูจนใหศัตรูของเราไดเห็นตระหนักชีวิตที่ตองทํางานอยาง
หลังขดหลังแข็ง ที่เขาทุมเทมาใหแกพวกเรานั้น หาไดทําใหพวกเรากลายเปนคนดอยปญญาไปกวาเขาไม และ
ยิ่งกวานั้นเสียอีก หาไดเปนสิ่งกีดกันพวกเรามิใหมีสติปญญายิ่งไปกวาเขาไม เราจะติองพิสูจนใหศัตรูของเรา
ประจักษในความจริงขอนี้”101และฮอฮอลก็ไดพูดขึ้นตอวา “ เราจําเปนตองกอสรางสะพานขึ้น เพื่อจะทอดขาม
ชีวิตอันเนาเฟะนี้ไปสูอนาคตแหงภราดรภาพของมวลมนุษยในอนาคต สหายทั้งหลาย, ขอนั้นและคือภาระที่
เผชิญหนาพวกเราอยูในขณะนี้”102
และกอรกี้ยังไดพาดพิงถึงบทบาทของศาสนาที่ชนชั้นปกครองใชในการกดขี่ผูถูกปกครอง โดยผาน
คําพูดของพาเวล ที่มีเนื้อความวา “ฉันไมไดพูดถึงพระผูเปนเจา ผูมีพระเมตตากรุณาองคที่แมเคารพสักการะ”
พาเวลไดพูดตอไปวา “ หากพูดถึงพระผูเปนเจา องคที่พวกพระนําเอามาใชขูเข็ญพวกเราดุจเปนไมตะบองพระผู
เปนเจาองคที่เขาไดอาศัยนามของทาน มาพยายามทําใหคนทั้งหลายกมหัวลงนอบนอมเจตจํานงอันชั่วรายของคน
ไมกี่คน”103
และกอรกี้ยังไดพูดถึงความเปนสากลของชนชั้นแรงงานและการจะไมประนีประนอมกับชนชั้นนายทุน
โดยผานทางคําพูดของพาเวลที่วา “เขาพูดกันวามีคนชาติตางๆ อาศัยอยูในโลกนี้ มียิว และเยอรมัน, อังกฤษและ
ตาด104 แตฉันไมเชื่อเชนนั้น มีคนอยูสองจําพวกเทานั้น คนสองจําพวกที่ไมอาจจะเขากันได คือคนมีกับคนจน
มนุษยแตงกายตางๆกันและพูดภาษาตางๆกัน แตขอจงดูเถอะวาพวกคนมั่งมีที่เปนชาวฝรั่งเศส, ชาวเยอรมัน และ
ชาวอังกฤษปฏิบัติตอพวกคนงานอยางไร แลวทานทั้งหลายก็จะตระหนักไดดีวา สําหรับพวกเราที่เปนคนงานนั้น
คนเหลานั้นทั้งหมดก็คือ ไอพวกคนระยําอัปปรียนั่นเอง ขอใหมันฉิบหายตายโหงเสียที่เถอะ”105 และเขาก็พูดตอ
วา “และในอีกดานหนึ่งถาทานไดมองดู ทานก็จะเห็นวาพวกคนงานฝรั่งเศส และพวกตาด และพวกเตอรกทั้งหมด
106
ตางก็ยังชีวิตเหมือนกับหมา เชนเดียวกับพวกคนงานรัสเซียไดอยูกันมา”
และกอรกี้ยังไดพูดโดยนัยวาราชวงศโรมานอฟที่รุงเรืองไดเพราะประชาชน จากคําพูดของ “แม”ที่กลาว
ว า “จะไม มี พ ระเยซู 107ขึ้ น มาได เ ลย หากว า ประชาชนมิ ไ ด ถ วายชี วิ ต ของเขา เพื่ อ ที่ จ ะนํ า ความรุ ง โรจน ม าสู
พระองค”108

101
แมกซิม กอรกี้ , แม แปลโดย ศรีบูรพา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 102
102
อางแลว หนา102,104
103
อางแลว หนา 171-172
104
พวกมองโกล
105
แมกซิม กอรกี้ ,แม แปลโดย ศรีบูรพา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา414-415
106
อางแลว หนา 415
107
เนื่องจากซารนั้นถือวาเปนใหญทั้งทางโลกและทางธรรม เปนตัวแทนของพระเจาในศาสนาคริสตนิกานกรีก-ออโทดอกซเหมือนกับ
พระเยซูที่เปนบุตรของพระเจา
108
แมกซิม กอรกี้ ,แม แปลโดย ศรีบูรพา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516) หนา 447-448
และกอรกี้ยังไดพาดพิงถึงความคิดของเลนินดวย ซึ่งความคิดนั้นคือ “ถาไมมีทฤษฎีปฏิวัติก็ไมมีการ
เคลื่อนไหวที่ปฏิวัติ” (without revolutionary theory there can be no revolutionary movement)109 ซึ่งแสดงผาน
คําพูดของฮอฮอลที่กลาววา “ฉันไมทราบหรอกวา เมื่อไหรเรา(ชนชั้นแรงงาน)ถึงจะเริ่มการตอสู แตฉันรูวาคน
เหลานั้นจะกระหน่ําพวกเราหลายตอหลายครั้งกอนหนานั้น ตามความเห็นของฉันเราตองติดอาวุธในหัวของเรา
กอนที่จะติดอาวุธใหแกมือของเรา”110
แตในความเห็นของผมนั้นสิ่งที่กอรกี้อยากใหไดจากอานวรรณกรรมเรื่องนี้ของเขามากที่สุดคือ การเติม
ไฟแหงการตอสูกับระบบการปกครองที่ฉอฉลในใจของผูอาน เห็นไดจากตอบจบที่แมพวกของพาเวลจะถูกจับ
จากการเดินขบวนแตการเดินขบวนของพวกเขาก็ปลุกจิตสํานึกในการตอสูของคนงาน และกอรกี้ตองการที่จะ
สอนคนงานในรัสเซียวาการปฏิวัติไมสามารถจะสําเร็จไดดวยคนไมกี่คน แตตองเกิดจากความสามัคคีของชนชั้น
แรงงานที่จะทําการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคม ถึงแมการปฏิวัติจะเริ่มตนดวยพายแพแตความพายแพนี้แหละที่จะจุด
ประกายใหคนงานทั้งโลกทําการปฏิวัติ
สุดทายนี้ผมก็แอบคิดวาการที่กอรกี้เขียนเรื่อง “แม” ขึ้นมา ที่เนนหนักไปในความรักของแม แตกลับพูด
ถึงบทบาทของ “พอ” นอยมากและเปนบทบาทพอที่ไมดีดวย เขาอาจตองการสื่อวาในเมื่อ “พอ”ของรัสเซียไม
สามารถทําหนาที่ดี ขมเหงรังแกลูก ดังนั้น “ลูก”ชาวรัสเซียจึงควรโนลม “พอ” และเชิดชู “แม” ซึ่งหมายถึง
ระบอบสังคมนิยมปกครองแทน เพราะผูเปน “แม” มีทั้งความรักที่ยิ่งใหญที่เปนสากล เพียงแตในตอนแรก “แม”
อาจจะออนแอหนอยแตก็ขอให “ลูกๆทุกคน” ชวยกันดูแลและปกปอง “แม”จากการรังแกของ “พอ” กอน

109
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล , การปฏิวัติรัสเซีย: บันทึกเพื่อการบรรยาย(กรุงเทพฯ, 2548) หนา 1
110
แมกซิม กอรกี้ ,แมแปลโดย ศรีบูรพา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516)หนา 308
บรรณานุกรม
หนังสือภาษาไทย
แมกซิม กอรกี้, มหาวิทยาลัยของฉัน แปลโดยชาลีมาน-คําเพลิง (กรุงเทพฯ:เจริญวิทยการพิมพ , 2518)
แมกซิม กอรกี้ , แม แปลโดย ศรีบูรพา (กรุงเทพฯ, บพิธ, 2516)
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล , การปฏิวัติรัสเซีย: บันทึกเพื่อการบรรยาย (กรุงเทพฯ, 2548)
อนันตชัย เลาหะพันธุ, สัญชัย สุวังบุตร , รัสเซียสมัยซารและสังคมนิยม (กรุงเทพ ฯ: ศักดิโสภาการพิมพ, 2548)
อเล็กซานเดอร, รอสคิน จากลุมแมน้ําโวลกา:ชีวประวัติของแมกซิม กอรกี้ แปลโดย อรุณ ชัยโรจน(พิมพครั้งที่ 2
กรุงเทพฯ : เจริญวิทยการพิมพ, 2517)

หนังสือภาษาอังกฤษ
Hobsbawm, Eric John Ernest, The age of empire, 1875-1914 (1st. Vintage Books ed. New York : Vintage,
1989.)

Internet
http://en.wikipedia.org/wiki/Maxim_Gorky

You might also like